SlideShare a Scribd company logo
1 of 45
ความรู้พื้นฐานด้าน
วรรณคดี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรพล วิบูลยศริน
หลักสูตรภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ความหมายของคาว่า “วรรณคดี”
วรรณ แปลว่า ใบไม้ หนังสือ
คดี แปลว่า ทาง แนวทาง
วรรณคดี แปลว่า แนวทางของการแต่งหนังสือ (สมัยโบราณเคยใช้ใบไม้
เขียนหนังสือ)
วรรณคดี หมายถึง หนังสือที่ก่อให้เกิดความรู้สึกนึกคิดแก่มนุษย์ทั่วไปในด้านอารมณ์มากกว่า
ด้านการให้ข้อเท็จจริง
วรรณคดีจึงเป็นเรื่องที่เขียนขึ้นมาอย่างมีศิลปะของการนิพนธ์ เขียนขึ้นเป็นเรื่องเป็นราว มีความ
ยาวทาให้เข้าใจเรื่องได้ (ธนิต อยู่โพธิ์)
“วรรณคดี”ตามคานิยามของวรรณคดีสโมสร
วรรณคดีเป็นคาที่ไทยบัญญัติขึ้นใช้แปลคาว่า “Literature” ปรากฏเป็นหลักฐานทาง
ราชการครั้งแรกในพระราชกฤษฎีกาวรรณคดีสโมสร เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2457 มาตราที่ 7
กาหนดไว้ว่า หนังสือที่เป็นวรรณคดีได้มีอยู่ 5 ชนิด คือ
1. กวีนิพนธ์ คือ เรื่องที่กวีเป็นผู้แต่งขึ้น เช่น ลิลิตพระลอ
2. บทละครไทย ที่เป็นบทละครรา แต่งเป็นกลอน มีกาหนดหน้าพาทย์ อันได้แก่ เพลงที่บรรเลง
ประกอบกิริยาอาการเคลื่อนไหวของบุคคลและธรรมชาติ เช่น ตอนยกทัพใช้เพลงกราว บทโศกใช้เพลงโศก
ตอนตัวละครทากิริยาหยาบคายไม่น่าดู เช่น ตอนชูชกขอสองกุมารนั้นก็ใช้เพลงเซ่นเหล้า
3. นิทาน (Fiction) หมายถึง เรื่องที่คิดแต่งขึ้น ไม่ใช่เรื่องจริงแท้ ตัวอย่างเช่น
ประวัติศาสตร์สมัยพระเจ้าบุเรงนองไม่เรียกว่านิทาน แต่ผู้ชนะสิบทิศของยาขอบเป็นนิทาน (ใน
ปัจจุบันนี้เราขยายความหมายของนิทานออกเป็นนวนิยาย และเรื่องสั้นอีก
ด้วย)
“วรรณคดี”ตามคานิยามของวรรณคดีสโมสร
วรรณคดีเป็นคาที่ไทยบัญญัติขึ้นใช้แปลคาว่า “Literature” ปรากฏเป็นหลักฐานทาง
ราชการครั้งแรกในพระราชกฤษฎีกาวรรณคดีสโมสร เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2457 มาตราที่ 7
กาหนดไว้ว่า หนังสือที่เป็นวรรณคดีได้มีอยู่ 5 ชนิด คือ
4. ละครปัจจุบัน (เรียกชื่อนี้เพื่อให้ต่างจากละครรา) คือ ละครที่ไทยเอาแบบอย่างมาจากยุโรป
ตัวละครแต่งตัวตามชีวิตจริง (เดิมเรามีแต่ละครรา ทรงเครื่อง ฉากของละครรามีเพียงแท่น ๆ เดียว สมมติ
ให้เป็นสถานที่ต่าง ๆ ได้)
5. อธิบาย (Essay) บางทีเป็นรูปบทความต่าง ๆ (Article) เช่น บทความในหนังสือพิมพ์
หรือเป็นหนังสือขนาดเล็กที่เรียกว่า จุลสาร (Pamphlet)
“วรรณคดี”ตามคานิยามของวรรณคดีสโมสร
โดยสรุปแล้ว ในวงการศึกษาวรรณคดีปัจจุบันนี้ให้ความหมายคาว่า วรรณคดีเป็น 3 ประการคือ
1. ความหมายอย่างกว้าง หมายถึง สิ่งที่เขียนขึ้น ประพันธ์ขึ้นทุกอย่าง (วรรณกรรม)
2. ความหมายอย่างแคบ หมายถึง หนังสือดี มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก มีคุณสมบัติในด้านรูปแบบ
และวิธีแสดงออก เช่น ศิลาจารึก รามเกียรติ์ ไตรภูมิพระร่วง
3. ความหมายอย่างแคบและกระชับ หมายถึง สิ่งที่เขียนขึ้นมีศิลปะการแต่งจนได้รับการยก
ย่องว่ามีวรรณศิลป์ สร้างอารมณ์และจินตนาการหรือทาให้ตระหนักในคุณค่าของชีวิตและธรรมชาติ
ตลอดจนความเข้าใจจิตใจและพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ เช่น บทนิราศ ลิลิตพระลอ
ความเป็ นมาของวรรณคดีไทย
ชาติไทยเป็นชาติที่ใหญ่และมีความเจริญมาช้านาน ทั้งยังมีนิสัยเจ้าบทเจ้ากลอน ชอบพูดให้มี
สัมผัสคล้องจองกัน ดังจะเห็นได้จากศิลาจารึก หลักที่ 1 ที่ว่า “ในน้ามีปลา ในนามีข้าว” “ไพร่ฟ้ าหน้า
ใส” ชอบเล่นคา เช่น “อย่าใฝ่สูงให้เกินศักดิ์” “ข้าเศิกข้าเสือ”
ในชีวิตของคนไทยในอดีต นับแต่เป็นเด็กนอนเปลก็มักจะได้ยินคาคล้องจองเหล่านี้จากเพลง
กล่อมเด็ก เป็นหนุ่มเป็นสาวก็มีเพลงเกี้ยวจดหมายรัก (เพลงยาว) ขณะทางานมีเพลงร้องเล่น (เพลงเกี่ยว
ข้าว) ในการบวช ปลูกเรือน แต่งงาน ตลอดจนการทาศพ ก็มีบทร้อยกรองมาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ
ความเป็นชาติมีที่มีความเจริญและเจ้าบทเจ้ากลอนทั้งสองอย่างประกอบกันนี้ชาติไทยจึงน่าจะ
เป็นชาติที่มีวรรณคดีมานานแล้ว แต่ตามประวัติศาสตร์ เรามีเอกสารเก่าแก่เพียงสมัยกรุงสุโขทัย ตั้งแต่ ปี
พ.ศ. 1800 (ราว ๆ 750 ปีมาแล้ว) ก่อนหน้านี้เราอาจจะมีวรรณคดี แต่อาจมิได้จารึกไว้ หรือเสียหาย
รือยังไม่พบต้นฉบับ
ความเป็ นมาของวรรณคดีไทย
เหตุที่หลักฐานทางวรรณคดีของไทยมีมาไม่นานเช่นนี้อาจมาจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้
1) ในสมัยก่อนกรุงสุโขทัย ยังอยู่ในระยะตั้งตัว ต้องโยกย้ายมาตั้งเมืองใหม่ และต้องต่อสู้กับ
ชาติใหญ่ที่ครอบครองอยู่แล้ว จึงทาให้ไม่มีเวลาสร้างหรือเก็บรักษาวรรณกรรม
2) อุปกรณ์การเขียน เช่น กระดาษ ยังไม่สู้ถาวรนัก วรรณกรรมมีจานวนน้อยฉบับและมีศัตรู
ตามธรรมชาติ เช่น อากาศร้อน มด ปลวก ช่วยทางานหนังสือ
3) การศึกสงครามก็มีผลทาให้ชาติต้องสูญเสียวรรณกรรมไปมาก โดยเฉพาะเมื่อตอนเสียกรุง
ศรีอยุธยาครั้งที่ 2
4) ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ปรากฏว่าพระเจ้าลูกเธอพระองค์
หนึ่งสิ้นพระชนม์ลง เมื่อถึงเวลาพระราชทานเพลิงศพ เนื้อก้อนหนึ่งไม่ไหม้ไฟจึงคิดว่าถูกคุณไสย จะทรงให้
ค้นหาหมอผีที่เป็นคนทา ประชาชนที่รู้หนังสือพากันหวาดกลัว เอาหนังสือที่ตนมีอยู่ไปทิ้งน้าด้วยเกรงว่า
อาจเป็นตาราคุณไสยจะทาให้ตนเป็นอันตรายได้
ความเป็ นมาของวรรณคดีไทย
เหตุที่หลักฐานทางวรรณคดีของไทยมีมาไม่นานเช่นนี้อาจมาจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้
5) การศึกษายังอยู่ในวงแคบ คนรู้หนังสือมีจานวนน้อย คนเขียนน้อย คนอ่านน้อย และคัดลอก
ไว้เพียง 2-3 ฉบับ จานวนหนังสือจึงมีน้อยถ้าเสียหายก็เท่ากับสูญสิ้นไป ไม่มีต้นฉบับหลงเหลืออยู่เลย
6) การไม่จดจารึกไว้ก็เป็นเหตุใหญ่อีกเหตุหนึ่งที่ทาให้วรรณคดีมีประวัติไม่ไกลนัก ทาง
ภาคเหนือยกย่องว่า พญาพรหม เป็นกวีที่มีฝีปากเทียบเคียงสุนทรภู่ มีงานประพันธ์มาก แต่เมื่อศึกษาจริง
ๆ กลับปรากฏว่ามีผลงานเหลือตกทอดมาไม่มาก เพราะไม่ได้บันทึกไว้ แต่จดจาถ่ายทอดกันด้วยมุขปาฐะ
เช่นเดียวกับทางภาคใต้มีนักกลอนชื่อ ปานบอด เป็นที่นิยมยกย่องในการว่ากลอนมาก แต่หางานที่เหลือ
ตกทอดมาเป็นชิ้นเป็นอันได้ยาก มีก็แต่ที่จากันได้เฉพาะบางเรื่องบางตอนเท่านั้น
การแบ่งวรรณคดีไทยออกเป็ นยุคสมัย
การแบ่งสมัยของวรรณคดีไทย โดยถือเอาเมืองหลวงเป็นจุดศูนย์กลาง สามารถแบ่งได้ดังนี้
1) สมัยกรุงสุโขทัย
2) สมัยกรุงศรีอยุธยา
3) สมัยกรุงธนบุรี
4) สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ หรือกรุงเทพฯ
ซึ่งแตกต่างจากการแบ่งสมัยของวรรณคดีอินเดีย โดยถือว่าการแบ่งตามวรรณกรรมและลักษณะ
การแต่ง เช่น สมัยพระเวท สมัยมหากาพย์ หรือของวรรณคดีจีนที่แบ่งตามราชวงศ์ เช่น สมัยราชวงศ์ซ้อง
สมัยราชวงศ์ถัง สมัยราชวงศ์สุย
การแบ่งวรรณคดีไทยออกเป็ นยุคสมัย
1) สมัยสุโขทัย (120 ปี )
เริ่ม พ.ศ. 1800 – 1920 ตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัย จนถึงคราวเสียอิสรภาพแก่กรุงศรีอยุธยา
2) สมัยกรุงศรีอยุธยา (417 ปี ) แบ่งย่อยเป็น 3 ช่วง คือ
2.1 ตอนต้น (79 ปี)
เริ่ม พ.ศ. 1893 – 2072 ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง จนถึงสมัยสมเด็จพระ
รามาธิบดีที่ 2 (ต่อจากนั้นเว้นว่างไป 91 ปี เพราะเหตุการณ์บ้านเมืองไม่ปกติ)
2.2 ตอนกลาง (68 ปี)
เริ่ม พ.ศ. 2163 – 2231 ตั้งแต่สมัยพระเจ้าทรงธรรม จนถึงสมัยสมเด็จพระ
นารายณ์มหาราช (ต่อจากนั้นเว้นว่างไปอีก 44 ปี)
การแบ่งวรรณคดีไทยออกเป็ นยุคสมัย
2.3 ตอนปลาย (35 ปี)
เริ่ม พ.ศ. 2275 – 2310 ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จนถึงสมัยเสียกรุงครั้ง
ที่ 2
3) สมัยกรุงธนบุรี (15 ปี )
4) สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ หรือกรุงเทพฯ แบ่งย่อยเป็น 2 ช่วง คือ
4.1 สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (86 ปี)
เริ่ม พ.ศ. 2325 - 2411 ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้ าฯ จนถึงสมัย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เป็นสมัยที่วรรณคดียังมีลักษณะเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง
4.2 สมัยรับอิทธิพลตะวันตก
วรรณคดีสมัยสุโขทัย
โดยทั่วไปกล่าวกันว่ามีอยู่ 5 เรื่อง ได้แก่
1. ศิลาจารึกหลักที่ 1 หรือศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหง (ความเรียงร้อยแก้ว)
2. ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง
3. สุภาษิตพระร่วง (ร่ายสุภาพ วรรคหนึ่งมี 5 คา บทหนึ่งมี 5 วรรค)
4. ไตรภูมิพระร่วง
5. นางนพมาศ หรือเรวดีนพมาศ หรือตารับท้าวศรีจุฬาลักษณ์
หมายเหตุ: นางนพมาศ กับ สุภาษิตพระร่วง บางท่านไม่จัดไว้ในสมัยสุโขทัย แม้อาจมีเค้าเดิมมาตั้งแต่
สมัยสุโขทัยก็จริง แต่ภาษาและสานวนเป็นของใหม่ประมาณสมัยรัชกาลที่ 3
วรรณคดีสมัยสุโขทัย
ศิลาจารึกวัดป่ ามะม่วง
พระมหาธรรมราชาลิไท โปรดจารึกขึ้น
เนื้อความกล่าวถึงพระมหากษัตริย์พระองค์นั้น การ
ขึ้นครองราชย์ พระราชจริยาวัตรของพระองค์ และ
การที่ทรงศึกษาพระไตรปิฎกแตกฉาน และทรงทานุ
บารุงศาสนา ตลอดจนออกผนวชในพุทธศาสนาอีก
ด้วย
ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงนี้ไม่แพร่หลายเท่า
หลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคาแหง แต่เป็นเรื่องที่
ให้ความรู้เกี่ยวกับความเป็นไปในกรุงสุโขทัย ใน
ระยะเวลาต่อจากสมัยพ่อขุนรามคาแหงได้อย่างดี
วรรณคดีสมัยสุโขทัย
สุภาษิตพระร่วงหรือบัญญัติพระร่วง
เขียนเป็นทานองสอนสั่ง มีลักษณะการ
แต่งเป็นร่ายสุภาพ นักวรรณคดีหลายท่านกล่าวว่า
เป็นวรรณกรรมที่เขียนขึ้นใหม่ในระยะหลังจาก
สุโขทัยมาก
ที่กล่าวว่าเป็ นของพระร่วงก็เพื่ออาศัย
ความศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น ภาษิตมีทั้งหมด 158 บท
ถือว่าเป็นที่รวบรวมไว้ซึ่งภาษิตไทยแท้ และมีคุณค่า
แสดงถึงอุดมคติ และค่านิยมของสังคมไทยในอดีต
วรรณคดีสมัยสุโขทัย
ไตรภูมิพระร่วง
เดิมเรียกว่า เตภูมิกถา หอสมุดแห่งชาติ
ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2455 และได้เปลี่ยนชื่อ
เป็น ไตรภูมิพระร่วงเพื่อถวายพระเกียรติแด่พญาลิ
ไท กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง ซึ่งเป็นผู้พระราชนิพนธ์
เนื้อเรื่องกล่าวถึงภูมิทั้ง 3 คือ กามภูมิ รูป
ภูมิ และอรูปภูมิ และยังกล่าวถึง ปฏิสนธิของมนุษย์
การมีไฟบรรลัยกัลป์ ล้างโลก การตั้งโลก พระมหา
จักรพรรดิ สถานที่และสัตว์ที่วรรณคดีกล่าวอ้าง เช่น
ป่าหิมพานต์ เขาพระสุเมรุ ครุฑ นาค
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น
ในสมัยนี้มีกษัตริย์ปกครอง 5 ราชวงศ์ รวม 33 พระองค์ กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีที่
เจริญรุ่งเรืองเป็นที่รู้จักของประเทศต่าง ๆ วรรณคดีมีความเจริญเป็นพัก ๆ ควบคู่ไปกับความเจริญของ
บ้านเมือง เมื่อใดบ้านเมืองมีความสงบ และพระมหากษัตริย์มีความสนพระทัยในวรรณคดี วรรณคดีก็
เจริญรุ่งเรือง
ในสมัยอยุธยาตอนต้นมีวรรณคดีที่ควรกล่าวถึง 4 เรื่องคือ
1. ลิลิตโองการแช่งน้า
2. ลิลิตยวนพ่าย
3. มหาชาติคาหลวง
4. ลิลิตพระลอ
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น
ลิลิตโองการแช่งน้า
เชื่อกันว่าเป็นวรรณคดีในสมัยพระเจ้าอู่
ทอง เป็ นการนาน้ามาประกอบในพิธีสาคัญ
พราหมณ์เป็ นผู้ประกอบพิธี ทาให้น้าศักดิ์สิทธิ์
เพื่อให้ข้าราชการและเจ้าประเทศราชดื่มเพื่อแสดง
ความจงรักภักดี (เข้าใจว่าได้รับความคิดจากขอม)
เนื้อความไม่มีลักษณะเป็ นพุทธศาสนา
ตอนต้นเป็นการกราบไหว้เทพเจ้าศาสนาฮินดูคือ ตรี
มูรติ
ลักษณะการแต่งเป็นโคลงห้า (เก่าที่สุด)
สลับด้วยร่ายดั้น นับเป็นลิลิตเรื่องแรก (โคลงปน
ร่าย)
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น
ตัวอย่างคาแช่งผู้ทรยศ (อ่านแต่ซีกซ้ายหรือซีกขวาลงมา)
จงไปเป็นเปลวปล่อง อย่าอาศัยแก่น้าจนตาย
น้าคลองกลอกเป็นพิษ นอนเรือนคารนคาจนตาย
คาปิดเป็นตาวงุ้ม ลืมตาหงายสู่ฟ้ าจนตาย
ฟ้ ากระทุ่มทับลง ก้มหน้าลงแผ่นดินจนตาย
แล่งแผ่นดินปลงเอาชีพไป สิ ล อ ง กิ น ไ ฟ ต่ า ง ง้ ว น
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น
ลิลิตยวนพ่าย
ผู้แต่งเรื่องนี้ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้สูงทางด้านการแต่งคาประพันธ์ และรู้เรื่องต่าง ๆ ดี เพราะกล่าว
ความได้ละเอียดลออยิ่งกว่าพงศาวดาร จึงน่าจะเป็นกษัตริย์หรือเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง ใน
ระยะเวลาใกล้เคียงกับแผ่นดินพระบรมไตรโลกนาถ (แต่ไม่ใช่พระองค์ เพราะมีข้อความสรรเสริญ
พระองค์)
ลักษณะการแต่งเป็นลิลิตมีร่ายคา 60 วรรค (ร่ายดั้น) ร่ายในระหว่างเรื่องอีก 10 วรรค (ร่าย
สุภาพ) รวมกับโคลงดั้นบาทกุญชรอีก 291 โคลง ซึ่งผู้แต่งต้องมีความสามารถสูงเพราะโคลงดั้นบาท
กุญชรนั้นจะต้องมีสัมผัสสอดคล้องต่อเนื่องกันตั้งแต่บทแรกจนถึงบทสุดท้าย
ลิลิตยวนพ่ายกล่าวถึงการรบระหว่างไทยกับเชียงใหม่ เป็นลิลิตเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรม
ไตรโลกนาถ แบ่งออกเป็น 6 ตอน ซึ่ง 2 ตอนเป็นตอนสรรเสริญพระองค์ และใช้ศัพท์สันสกฤตแผลงได้
ถูกต้อง
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น
ฉันทลักษณ์ของโคลงดั้นบาทกุญชร พระบรมไตรโลกนาถ
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น
มหาชาติคาหลวง
เป็นวรรณคดีที่แต่งในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อ พ.ศ. 2025 ในระหว่างที่สมเด็จ
พระบรมไตรโลกนาถไปประทับอยู่ที่พิษณุโลกครั้งนั้น ได้มีการสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ มีการฉลองวัด
และแต่งมหาชาติคาหลวงขึ้น
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในการแต่ง มีการประชุมราชบัณฑิตและพระเถระผู้ใหญ่ช่วยกัน
แต่ง แล้วนามาอ่านในที่ประชุม ที่ใดไม่ดีก็ทรงทักท้วงแก้ไข จนเป็นที่พอพระทัยแล้วจึงทรงให้ประดิษฐ์คา
สวดเป็นทานองสวด
คาว่า คาหลวง นี้ต่อมาได้มีผู้นามาใช้อีก เช่น นันโทปนันทสูตรคาหลวง พระนลคาหลวง
พจนานุกรมให้ความหมายว่า เป็นบทพระราชนิพนธ์ของพระเจ้าแผ่นดิน แต่ปรากฏว่าถึงจะมิใช่พระราช
นิพนธ์ของพระเจ้าแผ่นดินก็เรียกว่า คาหลวง ได้ จึงอาจหมายถึง บทร้อยกรองมีลักษณะการแต่งครบทั้ง
กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ ร่าย (แต่นันโทฯ แต่งเป็นร่ายยาว) หรืออาจหมายถึง บทร้อยกรองที่แต่งแล้วใช้
สวดเข้าทานองหลวง
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น
มหาชาติคาหลวง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
หลังจากลิลิตพระลอแล้วเป็นเวลาประมาณ 91 ปี ไม่ปรากฏมีวรรณคดีเรื่องใดเหลืออยู่ จนถึงรัชกาล
พระเจ้าทรงธรรม ในระหว่างรัชกาลของพระองค์ ได้ทรงฝักใฝ่ทานุบารุงการศาสนาเป็นอันมาก พบพระพุทธบาท
(สระบุรี) และมีการฉลองสมโภชมโหฬาร พระเจ้าทรงธรรมโปรดให้แต่งมหาชาติขึ้นอีกฉบับหนึ่ง เป็นฉบับที่สอง
รองจากมหาชาติคาหลวง ให้ชื่อว่า กาพย์มหาชาติ
ในสมัยอยุธยาตอนกลางมีวรรณคดีที่ควรรู้จัก 11 เรื่อง (แต่ที่จริงมีมากกว่านี้) คือ
1. กาพย์มหาชาติ 7. โคลงเบ็ดเตล็ด
2. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา (พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสิรฐอักษรนิติ)
3. จินดามณี 8. เสือโคคาฉันท์
4. สมุทรโฆษคาฉันท์ 9. อนิรุทธคาฉันท์
5. โคลงสุภาษิต 3 เรื่อง 10. โคลงนิราศหริภุญชัย
6. เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา 11. โคลงทวาทศมาส
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
กวีในสมัยอยุธยาตอนกลาง (เน้นที่ปรากฏในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) มี 8
ท่าน คือ
1. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
2. พระมหาราชครู
3. พระโหราธิบดี
4. ศรีปราชญ์
5. ขุนเทพกวี
6. พระศรีมโหสถ
7. ทิพ หรือศรีทิพ
8. เจ้าฟ้ าอภัย
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
สมุทรโฆษคาฉันท์
ตอนต่อจากพระมหาราชครู ซึ่งเริ่มแต่ง
เอาไว้แต่ถึงอนิจกรรมก่อนแต่งจบ สมเด็จพระ
นารายณ์จึงทรงแต่งต่อไป บทพระราชนิพนธ์เริ่ม
ความตอนที่พระสมุทรโฆษและนางพิมทุมวดีไปใช้
บน จนกระทั่งถึงตอนวิทยาธรคร่าครวญอยู่ในสวน
แม้บทพระราชนิพนธ์นี้จะไม่ยาว และทรงแต่งไปไม่
จบตลอดทั้งเรื่อง แต่ก็แสดงความสามารถของ
พระองค์ในฐานะกวีท่านหนึ่ง
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา
ตีพิมพ์ในประชุมพงศาวดารภาคที่ 63
แต่งเป็นกลอนเพลงยาว
ในหนังสือ “คาให้การขุนหลวงหาวัด”
และ “คาให้การชาวกรุงเก่า” กล่าวว่าเป็ นคา
พยากรณ์ของพระพุทธเจ้าเสือ แต่ปรากฏในชื่อผู้แต่ง
เพลงยาวว่า “สมเด็จพระศรีสุริเยนทราธิบดี” ซึ่ง
เป็นสร้อยพระนามของพระนารายณ์
“ผู้มีศีลจะเสียซึ่งอานาจ นักปราชญ์จะตกต่าต้อย
กระเบื้องจะเฟื่องฟูลอย น้าเต้าอันลอยนั้นจะถอยจม”
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
เสือโคคาฉันท์
แต่งก่อนสมุทรโฆษคาฉันท์ เพราะแต่งได้
จบบริบูรณ์ บางท่านกล่าวว่าเป็นการทดลองใช้ฉันท์
เขียนเรื่องราว ก่อนที่จะแต่งสมุทรโฆษคาฉันท์ซึ่ง
เป็นเรื่องใหญ่กว่า
เนื้อเรื่องเสือโคคาฉันท์เป็ นเรื่องชาดก
สมมติให้สัตว์พูดได้และมีความคิดอย่างมนุษย์
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 การละครเฟื่องฟูมาก ได้
ทรงนาชาดกเรื่องเสือโคมาแต่งเป็นบทละครราให้ชื่อ
ว่า คาวี
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
เสือโคคาฉันท์
ทานองการแต่งทั้งฉันท์และถ้อยคาประณีตสู้สมุทรโฆษคาฉันท์ไม่ได้ อาจเป็นเพราะว่าสมุทรโฆษ
นั้นมุ่งหมายจะใช้ในงานพระราชพิธีสาคัญจึงตั้งใจเขียนอย่างเต็มที่ ดังการเปรียบเทียบสานวนต่อไปนี้
เสือโค พระเนตรคือศร สมรราชยิงใคร
ใครเห็นก็พิศมัย รัญจวนจิตจินต์จง
สมุทรโฆษ ตาสมรคือศรยิงยัน ทรวงสองโหยหรรษ์
และกามก็กวนกลางใจ
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
จินดามณี
เป็นแบบเรียนภาษาไทยเล่มแรก และใช้มา
จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 พระโหราธิบดีแต่งถวายเมื่อ ปี
พ.ศ. 2215 ตามพระบรมราชโองการของสมเด็จพระ
นารายณ์ กล่าวกันว่า เวลานั้นฝรั่งมาตั้งโรงเรียนสอน
ศาสนา และสอนหนังสือแก่เด็กไทย สมเด็จฯ เกรงว่า
เด็กไทยจะเข้ารีตนิยมฝรั่งเสียหมด จึงสอนหนังสือไทย
แก่เด็กไทยบ้าง
เนื้อเรื่องกล่าวถึงอักขรวิธี ว่าด้วยพยัญชนะ
สระ วรรณยุกต์ เป็นการหัดอ่านหนังสือไทยให้แตก ใน
ตอนท้ายอธิบายการแต่งกาพย์กลอนและให้ตัวอย่าง
ลักษณะการแต่งแบบต่าง ๆ
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย
หลังจากรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์แล้วบ้านเมืองมีเหตุการณ์ปั่นป่วน เปลี่ยนราชวงศ์
ปกครองจากราชวงศ์ปราสาททองมาเป็นราชวงศ์บ้านพลูหลวง
ในราชวงศ์นี้พระเพทราชา พระพุทธเจ้าเสือ ขุนหลวงท้ายสระ ในสมัยของทั้ง 3 พระองค์นี้
บ้านเมืองมีเหตุการณ์ยุ่งยาก และมีศึกสงครามภายนอกกับเขมร จึงเสื่อมโทรมลง มีการฆ่าฟันขุนนางคน
สาคัญ ประกอบกับพระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงแสดงให้เห็นว่าสนพระทัยวรรณคดี วรรณคดีจึงเศร้าหมองไป
ชั่วระยะเวลาหนึ่ง
จนถึงสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ วรรณคดีกลับเจริญเฟื่องฟูอีกครั้งหนึ่ง แต่ครั้งนี้มีระยะเวลาสั้น
ประมาณ 35 ปี พอถึง พ.ศ. 2310 เหตุการณ์ร้ายแรงก็บังเกิดขึ้นคือ การเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่า
อย่างยับเยินจนไม่สามารถจะตั้งเป็นเมืองหลวงของไทยอีกต่อไป
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย
ในสมัยอยุธยาตอนปลายมีวรรณคดีที่ควรกล่าวถึง 7 เรื่องคือ
1. โคลงชลอพระพุทธไสยาสน์
2. นันโทปนันทสูตรคาหลวง
3. พระมาลัยคาหลวง
4. กาพย์เห่เรือ และกาพย์ห่อโคลง
5. เพลงยาวเจ้าฟ้ ากุ้ง
6. ปุณโณวาทคาฉันท์
7. ศิริวิบุลกิตติ์
8. ดาหลังและอิเหนา
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย
นันโทปนันทสูตรคาหลวง
พระเจ้าธรรมธิเบศรทรงแต่งเมื่อหนีไป
ผนวชที่วัดโคกแสง (ทรงกระทาผิดฟันกรมขุนสุ
เรนทรพิทักษ์จีวรขาด) เมื่อ พ.ศ. 2279
ลักษณะการแต่งคล้ายคลึงกับมหาชาติคา
หลวง ซึ่งแต่งในสมัยพระบรมไตรโลกนาถก่อนนันโท
ฯ 254 ปี
นันโทปนันทสูตรเป็นเรื่องแต่งดีทั้งในเชิง
กวี และการใช้ถ้อยคา แสดงว่าผู้แต่งเป็นผู้รอบรู้
ในทางอักษรศาสตร์เป็นอย่างดี แต่ไม่แพร่หลาย
เพราะประชาชนนิยมและศรัทธามหาชาติคาหลวง
มากกว่า
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย
พระมาลัยคาหลวง
เรื่องนี้เจ้าฟ้ าธรรมธิเบศรได้เค้าเรื่องมาจาก
มาเลยสูตร เป็นคัมภีร์ที่พระภิกษุลังกาแต่งไว้เป็น
ภาษาบาลี เมื่อประมาณ พ.ศ. 1696 และไม่มีใน
พระไตรปิฎก
พระมาลัยเป็นที่รู้จักและเชื่อถือแพร่หลาย
ในหมู่ชาวไทย ว่าเมื่อพระพุทธศาสนามีอายุได้
5,000 ปี แล้ว ฝูงชนจะเป็นมิจฉาทิฐิประกอบ
กรรมชั่วมากขึ้น ร่างการจะเล็กลง อายุจะถอยสั้น
เข้า เมื่อถึงที่สุด ศาสนาจะเกิดมิคสัญญีและจะเกิด
พระพุทธเจ้าองค์ใหม่คือ พระศรีอาริย์
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย
กาพย์เห่เรือ และกาพย์ห่อโคลง
กาพย์เห่เรือ กล่าวถึงการเสด็จทางเรือจาก
กรุงศรีอยุธยาไปจนถึงบริเวณท่าเจ้าสนุก จะไปยัง
พระพุทธบาท เนื้อเรื่องบรรยายถึงกระบวนตามเสด็จ
ชื่อเรือ กล่าวชมความงามของเรือ ชมปลา ชมนก ชม
ไม้ ต่อท้ายด้วยเห่เรื่องกากี และเห่ครวญ
กาพย์นิราศพระบาท เป็นบทคร่าครวญ
ขณะประทับอยู่ที่พระพุทธบาท เนื้อเรื่องกล่าวชม
ความงามของหญิงที่รักตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า
แสดงความรักที่มีต่อนางตั้งแต่เช้า สาย บ่าย เย็น
ทุกวัน ทุกเดือน ทุกปี และทุกยุคตลอดไป
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย
ศิริวิบุลกิตติ์
ลักษณะการแต่งเป็นกลอนที่แปลกว่าเรื่อง
อื่น ๆ ในสมัยนั้น ทานองว่าการเล่นกลอนแปดเป็น
เรื่องพื้น ๆ ธรรมดา
หลวงศรีปรีชา (เซ่ง) จึงคิดประดิษฐ์ให้มี
วิธีการแต่งกลอนที่ยากและซับซ้อนขึ้นที่เรียกว่า
กลอนกลบท คือเพิ่มข้อบังคับในการแต่งให้ยาก
ยิ่งขึ้นกว่ากลอนธรรมดา
กลบทศิริวิบุลกิตติ์เอาเนื้อเรื่องมาจาก
ปัญญาสชาดก แต่งเป็นกลบททั้งสิ้น 86 ชนิด
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย
ศิริวิบุลกิตติ์
ลักษณะการแต่งเป็นกลอนที่แปลกว่าเรื่อง
อื่น ๆ ในสมัยนั้น ทานองว่าการเล่นกลอนแปดเป็น
เรื่องพื้น ๆ ธรรมดา
หลวงศรีปรีชา (เซ่ง) จึงคิดประดิษฐ์ให้มี
วิธีการแต่งกลอนที่ยากและซับซ้อนขึ้นที่เรียกว่า
กลอนกลบท คือเพิ่มข้อบังคับในการแต่งให้ยาก
ยิ่งขึ้นกว่ากลอนธรรมดา
กลบทศิริวิบุลกิตติ์เอาเนื้อเรื่องมาจาก
ปัญญาสชาดก แต่งเป็นกลบททั้งสิ้น 86 ชนิด
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย
ศิริวิบุลกิตติ์
ลักษณะการแต่งเป็นกลอนที่แปลกว่าเรื่อง
อื่น ๆ ในสมัยนั้น ทานองว่าการเล่นกลอนแปดเป็น
เรื่องพื้น ๆ ธรรมดา
หลวงศรีปรีชา (เซ่ง) จึงคิดประดิษฐ์ให้มี
วิธีการแต่งกลอนที่ยากและซับซ้อนขึ้นที่เรียกว่า
กลอนกลบท คือเพิ่มข้อบังคับในการแต่งให้ยาก
ยิ่งขึ้นกว่ากลอนธรรมดา
กลบทศิริวิบุลกิตติ์เอาเนื้อเรื่องมาจาก
ปัญญาสชาดก แต่งเป็นกลบททั้งสิ้น 86 ชนิด
วรรณคดีสมัยกรุงธนบุรี
ในระหว่างที่เสียกรุงแก่พม่า เมื่อ พ.ศ. 2310 นั้น วรรณคดีของเราทรุดโทรมลงเป็นอย่างยิ่ง เราต้อง
สูญเสียหนังสือวรรณคดีของเราไปเป็นอันมาก ที่สูญหายไปเลยก็มี ที่ชารุดเสียหายก็มี วรรณคดีจะเจริญได้ต้อง
อาศัยความสงบสุข และเจริญของบ้านเมืองควบคู่กัน เมื่อบ้านเมืองอยู่ในลักษณะบ้านแตกสาแหรกขาดและเป็น
ระยะเวลากู้อิสรภาพก็เป็นธรรมดาที่วรรณคดีจะทรุดโทรมไปตามสภาพการณ์
อย่างไรก็ตาม พระเจ้าตากสินทรงกู้อิสรภาพได้สาเร็จในปีที่เสียกรุงนั้นเอง วรรณคดีจึงกลับมาตั้งตัวได้
ใหม่ ประกอบกับความสนพระทัยของพระองค์ จึงได้มีการเริ่มแต่งหนังสือขึ้นใหม่ในระหว่างการฟื้นตัวและกอบกู้
เอกราช
ในสมัยกรุงธนบุรีมีวรรณคดีที่ควรกล่าวถึง 5 เรื่องคือ
1.บทละครรา รามเกียรติ์ (4 ตอน)
2. ลิลิตเพชรมงกุฎ
3. อิเหนาคาฉันท์
4. โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี
5. กฤษณาสอนน้องคาฉันท์
วรรณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ในระหว่างเวลา 1-3 รัชกาล บ้านเมืองค่อยมีความสงบสุขขึ้นตามลาดับ แม้ว่าจะยังต้องต่อสู้พุ่งรบกับพม่าอยู่
หลายครั้ง แต่เหตุการณ์ก็ได้คลี่คลายลง ทาให้พระเจ้าแผ่นดินทรงมีโอกาสทานุบารุงศิลปะและวัฒนธรรมได้ตาม
พระราชดาริและความสนพระราชหฤทัย
ในสมัยกรุงรัตโกสินทร์ตอนต้นมีวรรณคดีที่ควรกล่าวถึง 16 (26) เรื่องคือ
1. รามเกียรติ์ 9. บทละคร รามเกียรติ
2. กฎหมายตราสามดวง 10. ขุนช้างขุนแผน
3. บทละครรา อุณรุท 11. ไชยเชษฐ์ สังข์ทอง ไกรทอง มณีพิไชย คาวี
4. บทละครรา ดาหลัง 12. บทเห่ชมเครื่องคาวหวาน
5. สามก๊ก ไซฮั่น ราชาธิราช 13. พระปฐมสมโพธิ
6. ร่ายยาวมหาชาติ 14. กฤษณาสอนน้องคาฉันท์
7. ลิลิตตะเลงพ่าย 15. สวัสดิรักษา สุภาษิตสอนหญิง
8. พระอภัยมณี สิงหไตรภพ ลักษณวงศ์ 16. ระเด่นลันได พระมเหลเถไถ
วรรณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนกลาง
ในรัชกาลที่ 4-6 นี้วรรณคดียังคงรุ่งเรืองเช่นเดิม กวีมีชื่อเสียงในรัชกาลที่ 3 คงมีชีวิตอยู่และ
สร้างวรรณคดีอยู่หลายท่าน เช่น สุนทรภู่ คุณพุ่ม คุณสุวรรณ นายมี และยังมีกวีเกิดมาในสมัยนี้ทั้งรัชกาล
ที่ 4 ก็ทรงเป็นกวีและทรงพระปรีชาสามารถในด้านศาสนา โบราณคดี โหราศาสตร์ และภาษาอังกฤษ มี
การเกี่ยวข้องกับประเทศทางตะวันตกมากขึ้น วรรณคดีจึงขยายวงกว้างออกไป เช่น นิราศลอนดอน
ข้อสาคัญอีกประการหนึ่งคือ วรรณคดีเริ่มมีค่าเป็นเงินทอง หมอบรัดเลย์ขอซื้อลิขสิทธิ์นิราศ
ลอนดอนของหม่อมราโชทัย เป็นเงิน 400 บาท เมื่อปี พ.ศ. 2405 ความเคลื่อนไหวสาคัญคือ
สื่อมวลชนเกิดขึ้นในรัชกาลที่ 3
ในสมัยกรุงรัตโกสินทร์ตอนกลางมีวรรณคดีที่ควรกล่าวถึง 6 เรื่องคือ
1. อิศรญาณภาษิต 4. โคลงรามเกียรติ์
2. นิราศลอนดอน 5. สุธนคาฉันท์
3. นิราศพระปฐม 6. อุเทนคาฉันท์
วรรณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนกลาง
ในรัชกาลที่ 5 นี้วรรณคดียังคงรุ่งเรืองสืบมา พระองค์ทรงเป็นกวีเอกพระองค์หนึ่ง และมี
เหตุการณ์สาคัญอย่างอื่นที่สนับสนุนให้วรรณคดีก้าวหน้าคือ การตั้งโรงเรียนแบบปัจจุบันใน
พระบรมมหาราชวังเป็นแห่งแรก พ.ศ. 2414 เกิดหอสมุดวชิรญาณ เมื่อ พ.ศ. 2448 ซึ่งกลายเป็น
หอสมุดแห่งชาติในเวลาต่อมา
ในสมัยกรุงรัตโกสินทร์ตอนกลางมีวรรณคดีที่ควรกล่าวถึง 10 เรื่องคือ
1. พระราชพิธีสอบสองเดือน 6. ตุละวิภาคพจนกิจ
2. ไกลบ้าน 7. ศิริพจนภาค
3. ลิลิตนิทราชาคริต 8. ความพยาบาท (นวนิยายแปล)
4. เงาะป่า 9. สนุกนิ์นึก (เรื่องสั้นเรื่องแรก)
5. พรรณพฤกษากับสัตวาภิธาน 10. ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก
วรรณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนกลาง
ในรัชกาลที่ 6 ทรงเป็นองค์ประธานในการแต่งวรรณคดี ทรงสร้างสรรค์วรรณคดีประเภทต่าง ๆ
ไว้มากยิ่งกว่าคนไทยในอดีตและปัจจุบัน ทรงสนับสนุนผู้แต่งหนังสือ ทรงตราพระราชบัญญัติวรรณคดี
สโมสร พ.ศ. 2457
- วรรณคดีประเภทร้อยกรอง เจริญถึงขีดสุด
- วรรณคดีประเภทร้อยแก้ว ก้าวหน้ายิ่งขึ้นหว่าเดิม
- เป็นระยะเวลาที่คติทางตะวันตกเข้ามาในวงวรรณคดีไทยมากที่สุด
- นิยมวรรณคดีสันสกฤต (เหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา) แต่มาทางฉบับที่แปลเป็น
ภาษาอังกฤษ
วรรณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนกลาง
ในรัชกาลที่ 6 ทรงเป็นองค์ประธานในการแต่งวรรณคดี ทรงสร้างสรรค์วรรณคดีประเภทต่าง ๆ ไว้มาก
ยิ่งกว่าคนไทยในอดีตและปัจจุบัน ทรงสนับสนุนผู้แต่งหนังสือ ทรงตราพระราชบัญญัติวรรณคดีสโมสร พ.ศ.
2457
ในสมัยกรุงรัตโกสินทร์ตอนกลางมีวรรณคดีที่ควรกล่าวถึง 7 (17) เรื่องคือ
1. เวนิศวานิช ศกุนตลา มัทนะพาธา หัวใจนักรบ หัวใจคนหนุ่ม โรมิโอและจูเลียต
2. นารายณ์สิบปาง โคลนติดล้อ ปลุกใจเสือป่า พระนลคาหลวง มงคลสูตรคาฉันท์
3. ไทยรบพม่า นิราศนครวัด
4. สาวเครือฟ้ า
5. อิลราชคาฉันท์
6. สามัคคีเภทคาฉันท์
7. กามนิต
อิทธิพลของวรรณคดีตะวันตกที่ส่งผลต่อวรรณคดีไทย
1. การพิมพ์หนังสือ (ร้อยเอกเจมส์ โลว์
ชาวอังกฤษคิดประดิษฐ์ตัวพิมพ์อักษรไทยที่เมือง
เบงกอล พิมพ์ที่ประเทศสิงคโปร์)
2. หนังสือพิมพ์ (เริ่มมีขึ้นในรัชกาลที่ 3
พ.ศ. 2387)
3. ลิขสิทธิ์
4. วรรณคดีไทยที่ใช้ ฉากประเทศ
ตะวันตกเป็นท้องเรื่อง
5. การใช้นามแฝง (ในหนังสือวชิรญาณ)
6. หอสมุดแห่งชาติ (พ.ศ. 2448)
7. สมาคมหรือสโมสร
8. การแปลหนังสือหรือบทความ (ลิลิต
นิทราชาคริต กนกนคร นิทานเวตาล เว
นิศวานิช ตามใจท่าน)
9. นวนิยายและเรื่องสั้น (ความพยาบาท
และสร้อยคอที่หายไป)
10. บทละครพูดและบทละครร้อง (หัวใจ
นักรบ)
กิจกรรมท้ายบทเรียน
คาชี้แจง
 นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-6 คน สืบค้นรายชื่อวรรณคดีสาคัญเพิ่มเติมในแต่ละสมัยจาก
อินเทอร์เน็ต ดังนี้
 สมัยสุโขทัย
 สมัยกรุงศรีอยุธยา
 สมัยกรุงธนบุรี
 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (ถึงรัชกาลที่ 6)
 เกณฑ์การให้คะแนนเชิงปริมาณคือ จานวนรายชื่อวรรณคดีที่สืบค้นได้
 เกณฑ์การให้คะแนนเชิงคุณภาพคือ ความถูกต้องของรายชื่อวรรณคดีที่อยู่ในแต่ละสมัย

More Related Content

What's hot

สารคดีท่องเที่ยว แอ่วเหนือเมื่อหน้าหนาว
สารคดีท่องเที่ยว   แอ่วเหนือเมื่อหน้าหนาวสารคดีท่องเที่ยว   แอ่วเหนือเมื่อหน้าหนาว
สารคดีท่องเที่ยว แอ่วเหนือเมื่อหน้าหนาวwaraporny
 
โครงสร้างหลักสูตรประถม
โครงสร้างหลักสูตรประถมโครงสร้างหลักสูตรประถม
โครงสร้างหลักสูตรประถมwangasom
 
แบบประเมินงานนำเสนอในรูปแบบออนไลน์
แบบประเมินงานนำเสนอในรูปแบบออนไลน์แบบประเมินงานนำเสนอในรูปแบบออนไลน์
แบบประเมินงานนำเสนอในรูปแบบออนไลน์kruood
 
หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้
หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้
หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้Sutthiluck Kaewboonrurn
 
คำสมาส [โหมดความเข้ากันได้]
คำสมาส [โหมดความเข้ากันได้]คำสมาส [โหมดความเข้ากันได้]
คำสมาส [โหมดความเข้ากันได้]Nongkran Jarurnphong
 
แบบทดสอบมัทนะพาธา
แบบทดสอบมัทนะพาธาแบบทดสอบมัทนะพาธา
แบบทดสอบมัทนะพาธาkrudow14
 
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓kruthai40
 
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลางวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลางNattha Namm
 
กัณฑ์มัทรี
กัณฑ์มัทรีกัณฑ์มัทรี
กัณฑ์มัทรีMilky' __
 
เขียนเรื่องจากจินตนาการ ป.3
เขียนเรื่องจากจินตนาการ ป.3เขียนเรื่องจากจินตนาการ ป.3
เขียนเรื่องจากจินตนาการ ป.3เกษสุดา สนน้อย
 
แบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆแบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆNaphachol Aon
 
ไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วงไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วงพัน พัน
 
ปกรายงาน
ปกรายงานปกรายงาน
ปกรายงานJane Janjira
 
แบบทดสอบ ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.3
แบบทดสอบ ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.3แบบทดสอบ ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.3
แบบทดสอบ ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.3teerachon
 
เงามืด เงามัว
เงามืด เงามัวเงามืด เงามัว
เงามืด เงามัวPacharee Nammon
 
แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ๑
แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ๑แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ๑
แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ๑bangonchin
 
โครงสร้างหลักสูตรมัธยม
โครงสร้างหลักสูตรมัธยมโครงสร้างหลักสูตรมัธยม
โครงสร้างหลักสูตรมัธยมwangasom
 

What's hot (20)

คัมภีร์ฉันทศาสตร์ Ppt[1]
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ Ppt[1]คัมภีร์ฉันทศาสตร์ Ppt[1]
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ Ppt[1]
 
สารคดีท่องเที่ยว แอ่วเหนือเมื่อหน้าหนาว
สารคดีท่องเที่ยว   แอ่วเหนือเมื่อหน้าหนาวสารคดีท่องเที่ยว   แอ่วเหนือเมื่อหน้าหนาว
สารคดีท่องเที่ยว แอ่วเหนือเมื่อหน้าหนาว
 
ระดับภาษา 2
ระดับภาษา 2ระดับภาษา 2
ระดับภาษา 2
 
โครงสร้างหลักสูตรประถม
โครงสร้างหลักสูตรประถมโครงสร้างหลักสูตรประถม
โครงสร้างหลักสูตรประถม
 
แบบประเมินงานนำเสนอในรูปแบบออนไลน์
แบบประเมินงานนำเสนอในรูปแบบออนไลน์แบบประเมินงานนำเสนอในรูปแบบออนไลน์
แบบประเมินงานนำเสนอในรูปแบบออนไลน์
 
หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้
หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้
หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้
 
คำสมาส [โหมดความเข้ากันได้]
คำสมาส [โหมดความเข้ากันได้]คำสมาส [โหมดความเข้ากันได้]
คำสมาส [โหมดความเข้ากันได้]
 
แบบทดสอบมัทนะพาธา
แบบทดสอบมัทนะพาธาแบบทดสอบมัทนะพาธา
แบบทดสอบมัทนะพาธา
 
ขยะ
ขยะขยะ
ขยะ
 
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
บทอาขยาน ภาษาไทย ม.๓
 
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลางวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
 
กัณฑ์มัทรี
กัณฑ์มัทรีกัณฑ์มัทรี
กัณฑ์มัทรี
 
เขียนเรื่องจากจินตนาการ ป.3
เขียนเรื่องจากจินตนาการ ป.3เขียนเรื่องจากจินตนาการ ป.3
เขียนเรื่องจากจินตนาการ ป.3
 
แบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆแบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆ
 
ไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วงไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วง
 
ปกรายงาน
ปกรายงานปกรายงาน
ปกรายงาน
 
แบบทดสอบ ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.3
แบบทดสอบ ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.3แบบทดสอบ ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.3
แบบทดสอบ ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.3
 
เงามืด เงามัว
เงามืด เงามัวเงามืด เงามัว
เงามืด เงามัว
 
แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ๑
แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ๑แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ๑
แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ๑
 
โครงสร้างหลักสูตรมัธยม
โครงสร้างหลักสูตรมัธยมโครงสร้างหลักสูตรมัธยม
โครงสร้างหลักสูตรมัธยม
 

Similar to ความรู้พื้นฐานด้านวรรณคดี

Similar to ความรู้พื้นฐานด้านวรรณคดี (6)

Ppt1
Ppt1Ppt1
Ppt1
 
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคมวรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
 
ประวัติของวรรณคดี
ประวัติของวรรณคดีประวัติของวรรณคดี
ประวัติของวรรณคดี
 
วรรณกรรม
วรรณกรรมวรรณกรรม
วรรณกรรม
 
สหบทกับวรรณกรรม
สหบทกับวรรณกรรมสหบทกับวรรณกรรม
สหบทกับวรรณกรรม
 
ใบความรู้ ฉันท์
ใบความรู้ ฉันท์ใบความรู้ ฉันท์
ใบความรู้ ฉันท์
 

More from Watcharapol Wiboolyasarin

คู่มือนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คู่มือนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์คู่มือนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คู่มือนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์Watcharapol Wiboolyasarin
 
สารคณะกรรมการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับที่ 4 ก.พ.59
สารคณะกรรมการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับที่ 4 ก.พ.59สารคณะกรรมการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับที่ 4 ก.พ.59
สารคณะกรรมการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับที่ 4 ก.พ.59Watcharapol Wiboolyasarin
 
การวิจารณ์วรรณคดีตามแนวตะวันออก
การวิจารณ์วรรณคดีตามแนวตะวันออกการวิจารณ์วรรณคดีตามแนวตะวันออก
การวิจารณ์วรรณคดีตามแนวตะวันออกWatcharapol Wiboolyasarin
 
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรมการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรมWatcharapol Wiboolyasarin
 
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวรรณกรรม
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวรรณกรรมความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวรรณกรรม
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวรรณกรรมWatcharapol Wiboolyasarin
 
ภาษาไทยในงานเอกสารราชการและเอกสารธุรกิจ
ภาษาไทยในงานเอกสารราชการและเอกสารธุรกิจ ภาษาไทยในงานเอกสารราชการและเอกสารธุรกิจ
ภาษาไทยในงานเอกสารราชการและเอกสารธุรกิจ Watcharapol Wiboolyasarin
 
ภาษาไทยในงานเอกสารราชการและเอกสารธุรกิจ
ภาษาไทยในงานเอกสารราชการและเอกสารธุรกิจภาษาไทยในงานเอกสารราชการและเอกสารธุรกิจ
ภาษาไทยในงานเอกสารราชการและเอกสารธุรกิจWatcharapol Wiboolyasarin
 
การอ้างอิงทางวิชาการ
การอ้างอิงทางวิชาการการอ้างอิงทางวิชาการ
การอ้างอิงทางวิชาการWatcharapol Wiboolyasarin
 
Blended Instructional Model Based on Participatory Communication withUsing R...
Blended Instructional Model Based on Participatory Communication withUsing  R...Blended Instructional Model Based on Participatory Communication withUsing  R...
Blended Instructional Model Based on Participatory Communication withUsing R...Watcharapol Wiboolyasarin
 

More from Watcharapol Wiboolyasarin (18)

การเขียนรายงาน
การเขียนรายงานการเขียนรายงาน
การเขียนรายงาน
 
การเขียนรายงาน
การเขียนรายงานการเขียนรายงาน
การเขียนรายงาน
 
คู่มือนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คู่มือนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์คู่มือนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คู่มือนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
 
สารคณะกรรมการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับที่ 4 ก.พ.59
สารคณะกรรมการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับที่ 4 ก.พ.59สารคณะกรรมการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับที่ 4 ก.พ.59
สารคณะกรรมการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับที่ 4 ก.พ.59
 
การวิจารณ์วรรณคดีตามแนวตะวันออก
การวิจารณ์วรรณคดีตามแนวตะวันออกการวิจารณ์วรรณคดีตามแนวตะวันออก
การวิจารณ์วรรณคดีตามแนวตะวันออก
 
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรมการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรม
 
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวรรณกรรม
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวรรณกรรมความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวรรณกรรม
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวรรณกรรม
 
ภาษาไทยในงานเอกสารราชการและเอกสารธุรกิจ
ภาษาไทยในงานเอกสารราชการและเอกสารธุรกิจ ภาษาไทยในงานเอกสารราชการและเอกสารธุรกิจ
ภาษาไทยในงานเอกสารราชการและเอกสารธุรกิจ
 
ภาษาไทยในงานเอกสารราชการและเอกสารธุรกิจ
ภาษาไทยในงานเอกสารราชการและเอกสารธุรกิจภาษาไทยในงานเอกสารราชการและเอกสารธุรกิจ
ภาษาไทยในงานเอกสารราชการและเอกสารธุรกิจ
 
การอ้างอิงทางวิชาการ
การอ้างอิงทางวิชาการการอ้างอิงทางวิชาการ
การอ้างอิงทางวิชาการ
 
Week 3 of TTFL
Week 3 of TTFLWeek 3 of TTFL
Week 3 of TTFL
 
Week 2 of TTFL
Week 2 of TTFLWeek 2 of TTFL
Week 2 of TTFL
 
Week 3 of WS4T
Week 3 of WS4TWeek 3 of WS4T
Week 3 of WS4T
 
Week 2 of WS4T
Week 2 of WS4T Week 2 of WS4T
Week 2 of WS4T
 
Week 1 of TTFL
Week 1 of TTFLWeek 1 of TTFL
Week 1 of TTFL
 
Week 1 of WS4T
Week 1 of WS4TWeek 1 of WS4T
Week 1 of WS4T
 
Blended Instructional Model Based on Participatory Communication withUsing R...
Blended Instructional Model Based on Participatory Communication withUsing  R...Blended Instructional Model Based on Participatory Communication withUsing  R...
Blended Instructional Model Based on Participatory Communication withUsing R...
 
ความงามทางภาษา
ความงามทางภาษาความงามทางภาษา
ความงามทางภาษา
 

ความรู้พื้นฐานด้านวรรณคดี