SlideShare a Scribd company logo
1 of 54
Download to read offline
ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๑
เรื่อง ระบบเสียงและอวัยวะในการออกเสียง
ความหมายของภาษา
ภาษา หมายถึง เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมายระหว่างมนุษย์ด้วยกัน เพื่อสนอง
ความต้องการต่างๆ
เสียงในภาษาเกิดขึ้นได้อย่างไร
เสียงต่าง ๆ ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นเสียงพูด เสียงร้อง เสียงหัวเราะ เกิดขึ้นจากการสั่นของเส้น
เสียง ซึ่งอยู่ภายในลําคอเส้นเสียงจะสั่นได้ต้องมีลมภายในปอดผ่านออกมากระทบกับเส้นเสียง เกิดเป็นเสียง
ต่าง ๆ ขึ้น
เสียงในภาษาเกิดจากลมจากปอดผ่านหลอดลม กล่องเสียงซึ่งมีเส้นเสียงอยู่ภายใน เส้นเสียงเมื่อ
ถูกลมผ่านจะเกิดการสั่นทําให้เกิดเสียง ขณะที่ลมผ่านมาในช่องปาก หรือช่องจมูก จะถูกอวัยวะต่างๆ เช่น
ลิ้น เพดานปาก ปุ่มเหงือก ฟันและริมฝีปากกล่อมเกลาลมให้เป็นเสียงต่างๆ ตามที่ผู้พูดต้องการ
อวัยวะที่ใช้ในการออกเสียงมีอะไรบ้าง
อวัยวะที่ใช้ในการออกเสียมีดังต่อไปนี้
๑. ปอด ภายในปอดจะมีถุงลมเล็ก ๆ จํานวนมาก เมื่อต้องการเปล่งเสียงต้องอาศัยลมจากปอด
อวัยวะออกเสียงบางส่วนก็
เป็นอวัยวะเดียวกับที่ใช้กิน
อาหารนั่นเอง
ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๒
ระบายลมออกมา เพื่อนํามาใช้ในการเปล่งเสียงพูด
๒. กระบังลม เป็นกล้ามเนื้อผืนใหญ่กั้นอยู่ในช่องท้องอยู่ใต้ปอด เมื่อหายใจเข้า กระบังลมจะเคลื่อน
ตัวลงตํ่าทําให้เกิดพื้นที่กักเก็บลมมากขึ้น เมื่อหายใจออกกระบังลมจะถูกยกสูงขึ้น อากาศภายในจะถูกผลัก
ออกมาทางหลอดลม ช่องจมูกและปาก
๓. หลอดลม เป็นช่องทางเดินของลมจากปอดมาสู่กล่องเสียง
๔. เส้นเสียง เป็นอวัยวะสําคัญที่ทําให้เกิดเสียง ประกอบด้วยเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อเป็นแผ่น ๒ แผ่น
เมื่อจะเปล่งเสียงลมผ่านเส้นเสียง เส้นเสียงสั่นจึงทําให้เกิดเสียง เส้นเสียงตั้งอยู่ตรงกลางกล่องเสียง กล่องเสียง
คือ ส่วนที่อยู่เหนือหลอดลมขึ้นมา ตรงที่เราเรียกว่าลูกกระเดือก
๕. ลิ้น เป็นส่วนที่เคลื่อนไหวได้มากที่สุดในการออกเสียง เป็นอวัยวะที่ควบคุมช่องทางเดินของลม
จึงทําให้เกิดเป็นเสียงในลักษณะต่างๆ
๖. ลิ้นไก่ เป็นก้อนเนื้อเล็กๆ อยู่ต่อปลายเพดานอ่อนตรงกลางระหว่างช่องปากกับช่องจมูก
๗. ช่องจมูก เป็นโพรงในช่องจมูกอยู่เหนือลิ้นไก่ขึ้นไป เป็นช่องทางเดินลมเมื่อต้องการออกเสียง
นาสิก เช่น เสียงพยัญชนะ น ง ม
๘. เพดานอ่อน เป็นส่วนของเพดานปากต่อกับลิ้นไก่ ใช้ในการออกเสียงโดยการเอาลิ้นไปแตะเพื่อ
ควบคุมลมในการออกเสียงบางเสียง เช่น เสียงพยัญชนะ ก ค
๙.เพดานแข็ง เป็นส่วนของเพดานปากต่อกับเพดานอ่อน ใช้ในการออกเสียงโดยการเอาลิ้นไปแตะเพื่อ
ควบคุมลมในการออกเสียงบางเสียง เช่นเดียวกับเพดานอ่อน เช่น เสียงพยัญชนะ ย จ ช
๑๐. ปุ่ มเหงือก เป็นส่วนที่นูนออกมาตรงบริเวณโคนฟันบนด้านใน ลิ้นแตะอยู่ใกล้บริเวณปุ่มเหงือก
เมื่อออกเสียงพยัญชนะ เช่น เสียงพยัญชนะ ด น ล
๑๑. ฟัน เป็นอวัยวะซึ่งเป็นฐานหรือตําแห่งที่เกิดของเสียงหลายชนิด เช่น เมื่อใช้ฟันบนกับริมฝีปาก
ล่างควบคุมทางเดินลมให้ลอดช่องพอจะผ่านได้ทําให้เกิดเสียงพยัญชนะ ฟ หรือใช้ลิ้นแตะฟันบนก็สามารถ
ออกเสียงพยัญชนะ ต ท
๑๒. ริมฝีปาก เป็นอวัยวะที่สําคัญในการออกเสียงซึ่งทําให้เกิดเสียงแตกต่างกันมาก เช่นใช้ริมฝีปากบน
และริมฝีปากล่างปิดกักลมไว้ชั่วครู่ แล้วปล่อยก็จะได้เสียงพยัญชนะ บ ป พ ม ว หากออกเสียงสระก็ใช้ริม
ฝีปากกับลิ้นควบคุมลมออกเสียงได้ทั้งหมด เช่น ทําปากห่อกลมลิ้นส่วนหลังอยู่ในระดับสูง กลาง ตํ่า ก็จะได้
เสียงสระ อุ อู โอะ โอ เอาะ ออ ตามลําดับ
ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๓
ชนิดและลักษณะของเสียงในภาษาไทย
เสียงในภาษาไทย มี ๓ ชนิด คือ เสียงสระ เสียงพยัญชนะ เสียงวรรณยุกต์
๑. เสียงสระ คือ เสียงที่เกิดจากลมผ่านเส้นเสียง ซึ่งเกร็งตัวชิดกันปิดช่องทางเดินลมจนสั่นสะบัด
แล้วออกไปทางช่องปากหรือจมูก โดยที่ไม่ถูกสกัดกั้น ณ ที่ใดที่หนึ่งในช่องทางเดินลม แต่มีการใช้ลิ้นและ
ริมฝีปากกล่อมเกลาเสียงให้แตกต่างกันไปได้หลายเสียง
ลักษณะสําคัญของเสียงสระมี ๒ อย่าง คือ เป็นเสียงสั่นสะบัดหรือเสียงก้อง และเป็นเสียงผ่าน
ออกไปโดยตรง บางครั้งจึงได้ชื่อว่า เสียงแท้
๒. เสียงพยัญชนะ คือ เสียงที่เกิดจากลมผ่านเส้นเสียง ซึ่งอาจสั่นสะบัดหรือไม่ก็ได้แล้วถูกสกัดกั้น
ทั้งหมดหรือบางส่วน ณ ที่ใดที่หนึ่งในช่องทางเดินลม เช่น เพดานอ่อน เพดานแข็ง ปุ่มเหงือก ฟัน ริมฝีปาก
และลิ้น ก่อนจะปล่อยออกมาทางช่องปากหรือช่องจมูก
ลักษณะสําคัญของเสียงพยัญชนะ คือ เป็นเสียงที่ถูกกักก่อนที่จะผ่านออกไปทางช่องปากหรือช่อง
จมูก บางครั้งเรียกว่า เสียงแปร
๓. เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงที่มีการเปลี่ยนระดับสูงตํ่าโดยเส้นเสียง และเปล่งออกมาพร้อมกับ
เสียงสระ บางครั้งเรียกว่า เสียงดนตรี
บันทึกเพิ่มเติม………………………………………………………………………………………
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
………………………………………………………………………………………………………………...
เนื้อหายากครับครู ช่วย
อธิบายเพิ่มเติมหน่อยซิครับ
ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๔
บัตรคาถามกิจกรรมที่ ๑
ให้นักเรียนทํากิจกรรมตามลําดับ และ บันทึกผล
๑. ให้นักเรียนเอามือซ้ายวางไว้ใต้ราวนมของตน และใช้หัวแม่มือกับนิ้วชี้หรือนิ้วกลางของมือขวา
จับคอตรงลูกกระเดือกแล้วออกเสียงสระ อา อี อู โอ เอียและพยัญชนะ ช ฟ ค โดยออกเสียงเป็น ชึ่ ฟึ่ คึ่
แล้วสังเกตว่าต้องใช้อวัยวะส่วนใดในการออกเสียงบ้าง ขณะที่ออกเสียง ลิ้นและริมฝีปากมีลักษณะเป็น
อย่างไร จากนั้นบันทึกผล
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
๒. ให้นักเรียนตอบคําถามเพื่อทบทวนความรู้
๒.๑ ภาษา คือ……………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
๒.๒ เสียงวรรณยุกต์มีความเกี่ยวข้องกับเสียงสระอย่างไร………………………………
๒.๓ เสียงในภาษาเกิดขึ้นได้อย่างไร…………………………………………………......
๒.๔ เสียงพยัญชนะแตกต่างจากเสียงสระอย่างไร………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
๒.๕ คนที่ปากแหว่งออกเสียงบางเสียงไม่ชัด เพราะเหตุใด……………………………...
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
ตอบคําถามให้ถูกต้องนะจ๊ะ หากไม่เข้าใจ
ตรงไหน ทบทวนเนื้อหาอีกครั้ง
ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๕
เรื่อง เสียงสระ
เสียงสระ คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากปอด หลอดลม กล่องเสียง ผ่านลําคอ ช่องปาก ช่องจมูก
โดยสะดวก ลมที่เปล่งออกมาจะไม่ถูกสกัดกั้นจากอวัยวะใดๆ ในปาก แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงระดับของ
ลิ้นและรูปริมฝีปาก ขณะที่ออกเสียง เส้นเสียงที่อยู่ในกล่องเสียงจะปิดและเปิดอย่างรวดเร็ว เส้นเสียงจึงมี
ความสั่นสะเทือน เกิดความกังวาน ซึ่งเรียกว่า เสียงก้อง เสียงสระจะออกเสียงให้ยาวนาน เช่น อา อี อู
โอ เราเรียกเสียงนี้ว่า เสียงแท้ เสียงสระเป็นเสียงที่ช่วยให้พยัญชนะออกเสียงได้ เพราะเสียงพยัญชนะ
จะต้องอาศัยเสียงสระช่วยในการออกเสียง เสียงสระในภาษาไทยมี ๒๑ เสียง
การจาแนกเสียงสระเสียงสระในภาษาไทยมี ๒๑ เสียง จําแนกตามลักษณะต่างๆ ดังต่อไปนี้
๑. สระเดี่ยว มี ๑๘ เสียง แบ่งเป็นสระเสียงสั้น ๙ เสียง สระเสียงยาว ๙ เสียง
การเกิดเสียงสระเดี่ยว เมื่อลมผ่านเส้นเสียงมาในช่องปาก จะถูกลิ้นและริมฝีปากกล่อมเกลาเสียง
ซึ่งอยู่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังนี้
เสียงสระ ลักษณะลิ้น ลักษณะริมฝีปาก
สั้น ยาว ส่วนของลิ้น ระดับลิ้น
อิ อี
ส่วนหน้า
กระดกขึ้นสูง เหยียดปิดหรือเกือบปิด
เอะ เอ กระดกปานกลาง เหยียดเปิดปานกลาง
แอะ แอ ระดับตํ่าหรือปกติ เหยียดเปิดกว้าง
อึ อือ
ส่วนกลาง
กระดกขึ้นสูง เหยียดปิดหรือเกือบปิด
เออะ เออ กระดกปานกลาง เหยียดเปิดปานกลาง
อะ อา ระดับตํ่าหรือปกติ เหยียดเปิดกว้าง
อู อู
ส่วนหลัง
กระดกขึ้นสูง ห่อกลมปิดหรือเกือบปิด
โอะ โอ กระดกปานกลาง ห่อกลมเปิดปานกลาง
เอาะ ออ ระดับตํ่าหรือปกติ ห่อกลมเปิดกว้าง
๒. สระประสม มี ๓ เสียง* สระประสมเกิดจากสระเดี่ยวสองเสียง เปล่งเสียงออกมาใน
ระยะกระชันชิดกันจนฟังดูเหมือนเปล่งออกมาครั้งเดียว แต่สามารถสังเกตการเกิดเสียงสระประสมได้โดย
การสังเกตลิ้นมีการเปลี่ยนระดับและริมฝีปากเปลี่ยนลักษณะขณะออกเสียง
ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๖
เสียงสระประสม เสียงสระเดี่ยว
เอีย อี + อา
อัว อู + อา
เอือ อื +อา
* หมายเหตุ เสียง เอียะ (อิ + อะ) เอือะ (อึ + อะ) และ อัวะ (อุ + อะ) เมื่อก่อนนับเป็นสระประสม
เสียงสั้น แต่นักภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน ไม่นับเป็นเสียรสระแล้ว เนื่องจากมีคาใช้น้อย และบางคาก็เป็นคา
ที่รับมาจากภาษาอื่น หรือคาภาษาไทยถิ่น เช่น เกียะ เชือะ
ความสัมพันธ์ของลิ้นกับริมฝีปากขณะออกเสียงสระประสม
ลักษณะของ
ริมฝีปาก
ระดับ
ของลิ้น
ส่วนของลิ้น
หน้า กลาง หลัง
ปิด สูง อิ อี อึ อื อุ อู
กึ่งปิดกึ่งเปิด กลาง เอะ เอ เออะ เออ โอะ โอ
เปิด ตํ่า แอะ แอ อะ อา เอาะ ออ
การเกิดเสียงสระประสม
- เอียะ เอีย ใช้ลิ้นและริมฝีปากทําเสียงสระ อิ อี ก่อนแล้วเปลี่ยนเป็นทําเสียงสระ อะ อา
- เอือะ เอือ ใช้ลิ้นและริมฝีปากทําเสียงสระ อึ อื ก่อนแล้วเปลี่ยนเป็นทําเสียงสระ อะ อา
- อัวะ อัว ใช้ลิ้นและริมฝีปากทําเสียงสระ อุ อู ก่อนแล้วเปลี่ยนเป็นทําเสียงสระ อะ อา
สระเกิน มี ๘ รูป ไม่นับเป็นเสียงสระ เพราะมีเสียงพยัญชนะประสมอยู่กับเสียงสระเดี่ยว มีดังนี้
รูปสระ เสียงสระเดี่ยว เสียงพยัญชนะ ตัวอย่าง
อํา อะ ม สะกด สํา คํา นํา จํา
ไอ อะ ย สะกด ไทย ไป ไหน ไกล
นักเรียนลองออกเสียงสระอี อา ๆ ๆ เร็วๆ ดูซิ แล้ว
จะเป็นสระ เอียหรือไม่ แล้วสังเกตลิ้นและริม
ฝีปากด้วยว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๗
ใอ อะ ย สะกด ใจ ใส ใช่ ใกล้
เอา อะ ว สะกด เข้า เก้า เจ้า เสา
ฤ * อิ อึ เออ ร ประสม ฤทธิ์ ฤทัย ฤกษ์
ฤา อื ร ประสม ฤาษี
ฦ อึ ล ประสม เลิกใช้
ฦา อื ล ประสม เลิกใช้
บันทึกเพิ่มเติม......................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
เสียงสระ หรือเสียงแท้ มีสระเดี่ยว ๑๘ เสียง
เสียงสั้น ๙ เสียง เสียงยาว ๙ เสียง สระประสม
๓ เสียง ส่วนสระเกินไม่นับเป็นเสียงสระ
เพราะมีเสียงพยัญชนะประสมอยู่ด้วยครับ
* หมายเหตุ รูปสระ ฤ เป็นรูปสระที่ออกเสียงสระได้ ๓ เสียง คือ อิ อึ และ เออ โดยมีเสียง
พยัญชนะ ร ประสมอยู่ จะออกเสียงอย่างไรขึ้นอยู่ว่า ฤ จะประสมอยู่กับพยัญชนะตัวใด
และอยู่ในคําใด เช่น - ฤทธิ์ ออกเสียงว่า ริด (ออกเสียงสระ อิ )
- ฤทัย ออกเสียงว่า รึ – ไท (ออกเสียงสระ อึ )
- ฤกษ์ ออกเสียงว่า เริก (ออกเสียงสระ เออ)
ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๘
บัตรคาถามกิจกรรมที่ ๒
ให้นักเรียนตอบคําถามต่อไปนี้
๑. เสียงสระในภาษาไทยมีทั้งหมด …………………..เสียง แบ่งเป็นสระเดี่ยว………………………....เสียง
สระประสม……………………….เสียง
๒. สระเสียงสั้นกับสระเสียงยาวแตกต่างกันอย่างไร…………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
๓. จงอธิบายการเกิดเสียงสระเดี่ยว…………………………………………………………………………..
……………………………………………………………………………………………………………….
๔. สระประสมเกิดอย่างไร…………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………
๕. สระเกินไม่นับเป็นเสียงสระเพราะเหตุใด………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………
๖. ให้ยกตัวอย่างคําที่มีเสียงสระเดี่ยว ๕ คํา โดยไม่ให้เสียงสระซํ้ากัน………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
๗. ให้ยกตัวย่างคําที่มีเสียงสระประสม ๕ คํา (ให้มีเสียงสระซํ้ากันได้)……………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
๘. ให้ยกตัวอย่างคําที่มีรูปสระเกิน ๕ คํา โดยไม่ให้รูปซํ้ากัน……………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………
๙. สระเสียงใด ขณะออกเสียงริมฝีปากเปิดมากที่สุด……………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………
๑๐. จงอธิบายลักษณะของลิ้นและริมฝีปาก ขณะออกเสียงสระ เอีย………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
๑๑. จงอธิบายลักษณะของลิ้นและริมฝีปาก ขณะออกเสียงสระ อู…………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………
๑๒.เสียงสระมีลักษณะที่สําคัญอย่างไร……………………………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๙
เรื่อง เสียงพยัญชนะ
เสียงพยัญชนะ คือ การที่ลมออกมาจากปอด ผ่านหลอดลม กล่องเสียง เส้นเสียง สู่ช่องปาก
หรือช่องจมูก โดยใช้ลิ้นกล่อมเกลาเสียงให้กระทบกับเพดาน ปุ่มเหงือก ฟัน หรือให้ริมฝีปากกระทบกัน
เสียงที่เกิดขึ้นจะถูกสกัดกั้นในลําคอ ช่องปากหรือช่องจมูก โดยอาจจะถูกสกัดกั้นไว้ทั้งหมดหรือถูกสกัดกั้น
เพียงบางส่วน เสียงที่เกิดขึ้นลักษณะนี้เรียกว่า เสียงแปร เสียงที่แปรเกิดเป็นเสียงพยัญชนะต่างๆ จํานวน
๒๑ เสียงและมีอักษรแทนเสียงพยัญชนะจํานวน ๔๔ รูป
อวัยวะทาให้เกิดเสียงพยัญชนะต่างกัน
พยัญชนะเกิดจากลมที่ถูกดันออกมาจากปอดผ่านมาตามหลอดลม กระทบเส้นเสียงในหลอดลม
แล้วผ่านมาถึงลําคอ ลมที่ออกมานี้จะถูกกักกันไว้ในส่วนต่างๆ ของปากบางส่วนหรือถูกกักไว้ทั้งหมด แล้ว
จึงปล่อยลมนั้นออกมาทางปากหรือขึ้นจมูกก็ได้ ทําให้เรารู้สึกว่าการออกเสียงพยัญชนะไม่สะดวกเท่ากับ
การออกเสียงสระ จุดที่ลมถูกกักกั้นแล้วปล่อยให้ลมออกมานั้นเป็นที่เกิดของเสียงพยัญชนะ เราเรียกว่า
ที่เกิด ที่ตั้ง หรือฐานกรณ์ พยัญชนะมีที่เกิดหลายแห่งดังนี้
๑. เส้นเสียง ใช้เส้นเสียงทั้งสองกักลม แล้วปล่อยออกมาเป็นเสียงพยัญชนะ ได้แก่ เสียง อ ฮ
๒. เพดานอ่อน ใช้ลิ้นกับเพดานอ่อนกักลมแล้วปล่อยออกมาจากลําคอ เป็นเสียงพยัญชนะ
ได้แก่ เสียง ก ค ง ว
๓. ปุ่ มเหงือก-เพดานแข็ง ใช้ลิ้นไปแตะปุ่มเหงือก-เพดานแข็งกักลม แล้วปล่อยลมออกมาเป็น
เสียงพยัญชนะ ได้แก่ เสียง จ ช
๔. เพดานแข็ง ใช้ลิ้นไปแตะที่เพดานแข็งกักลมแล้วปล่อยลมออกมาก เป็นเสียงพยัญชนะ ได้แก่
เสียง ย
๕. ปุ่ มเหงือก ใช้ลิ้นแตะที่ปุ่มเหงือกกักลมแล้วปล่อยออกมาเป็นเสียงพยัญชนะ ได้แก่ ซ ด น ร ล
๖. ฟันบน-ปุ่ มเหงือก ใช้ลิ้นไปแตะที่ฟันบน-ปุ่มเหงือกกักลม แล้วปล่อยลมออกมาเป็นเสียง
พยัญชนะ ได้แก่ เสียง ต ท
๗. ริมฝีปากล่างและฟันบน ใช้ริมฝีปากล่างกับฟันบนกักลมไว้บางส่วนเกิดเป็นเสียงพยัญชนะ
ได้แก่ เสียง ฟ
๘. ริมฝีปาก ใช้ริมฝีปากบนและริมฝีปากล่างกักลมแล้วปล่อยออกมาเป็นเสียงพยัญชนะได้แก่เสียง
บ ป พ ม ว
คุณสมบัติและประเภทของเสียงพยัญชนะ
๑. คุณสมบัติของเสียงพยัญชนะ แบ่งเป็น ๔ ลักษณะ ดังนี้
ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๑๐
๑.๑. พยัญชนะเสียงก้อง คือ เสียงที่เกิดขึ้นจากการถูกลมดันออกมากระทบเส้นเสียง
อย่างแรง ทําให้เส้นเสียงสะบัดมาก เสียงที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะเสียงก้อง มี ๑๐ เสียง คือ บ ด อ ม ง ร ล
ว ย
๑.๒. พยัญชนะเสียงไม่ก้อง คือ เสียงที่เกิดจากลมที่ถูกดันออกมาขณะที่เส้นเสียงอยู่ใน
ลักษณะเปิด ลมพุ่งออกมาโดยสะดวก ไม่สั่นสะเทือนแรงมากนัก จะมีลักษณะเสียงไม่ก้อง มี ๑๑ เสียง คือ
ก ค ป พ ต ท จ ช ฟ ซ ฮ
๑.๓. พยัญชนะเสียงหนัก คือ พยัญชนะเสียงไม่ก้อง ที่ขณะออกเสียงมีลมจํานวนหนึ่งพุ่ง
ออกมาด้วย มี ๔ เสียง คือ พ ท ซ ค
๑.๔. พยัญชนะเสียงเบา คือ พยัญชนะที่ขณะออกเสียงไม่มีกลุ่มลมพุ่งตามมา มี ๔ เสียง
คือ ป ต จ ก
๒. ประเภทของเสียงพยัญชนะ สามารถแยกได้เป็น ๖ ประเภท ดังนี้
๒.๑. เสียงพยัญชนะระเบิด คือ พยัญชนะที่เกิดจากลมถูกกักไว้ในช่องปาก แล้วให้ลมพุ่ง
ออกมาอย่างรวดเร็ว มี ๑๑ เสียง คือ ก ค จ ช ด ต ท บ ป พ อ
๒.๒. พยัญชนะเสียงเสียดแทรก คือ พยัญชนะที่เกิดจากลมที่พุ่งออกมา แล้วถูกบีบตัวให้
เสียดแทรกออกมา เช่น เสียง ฟ ซ ฮ
๒.๓. พยัญชนะเสียงนาสิก คือ พยัญชนะที่เกิดจากลมดันออกมาทางจมูก เช่น เสียง ง
ม น
๒.๔. พยัญชนะเสียงกระทบ คือ พยัญชนะที่เกิดจากเสียงที่ลมผ่านออกมาแล้วกระทบลิ้น
ที่กระดกขึ้นไปแตะปุ่มเหงือกแล้วสะบัดลงอย่างรวดเร็วเพียงครั้งเดียว ได้แก่ เสียง ร
๒.๕. พยัญชนะข้างลิ้น คือ เสียงพยัญชนะที่เกิดจากลมที่ลิ้นกักเอาไว้ แล้วยกขึ้นไปแตะ
ปุ่มเหงือก ปล่อยให้ลมออกมาทางข้างลิ้น เรียกว่า พยัญชนะข้างลิ้น ได้แก่ เสียง ล
๒.๖. พยัญชนะกึ่งสระ คือ เสียงพยัญชนะที่เกิดขึ้นจากลําคอและเปล่งเสียงออกมา โดย
ไม่ถูกสกัดกั้นคล้ายเสียงสระ ได้แก่ เสียง ว ย
ตั้งใจศึกษาเนื้อหานะครับ
ไม่เข้าใจตรงไหนถามครูได้เลยครับ
ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๑๑
พยัญชนะไทยมี ๔๔ รูป มีเสียง ๒๑ เสียง เนื่องจากพยัญชนะบางรูปเสียงซํ้ากัน ดังนี้
เสียงพยัญชนะไทย ๒๑ เสียง รูปพยัญชนะไทย ๔๔ รูป
๑.ก ก
๒.ค ข ฃ ค ฅ ฆ
๓.ง ง
๔.จ จ
๕.ช ฉ ช ฌ
๖.ซ ซ ศ ษ ส
๗.ด ฎ ด (ฑ ในบางคํา เช่น มณฑป)
๘.ต ฏ ต
๙.ท ฐ ฑ ฒ ท ธ ถ
๑๐.น ณ น
๑๑.บ บ
๑๒.ป ป
๑๓.พ พ ภ ผ
๑๔.ฟ ฟ ฝ
๑๕.ม ม
๑๖.ย ย ญ
๑๗.ร ร
๑๘.ล ล ฬ
๑๙.ว ว
๒๐.ฮ ฮ ห
๒๑.อ อ
พยัญชนะทั้ง ๒๑ เสียงเป็นพยัญชนะต้นพยางค์ได้ทั้ง ๒๑ เสียง
นักเรียนต้องออกเสียงพยัญชนะทั้ง ๒๑ เสียง ให้ถูกต้องนะครับ
โดยเฉพาะเวลาพูด พยัญชนะแต่ละเสียงมีวิธีการออกเสียงต่างกัน
พยัญชนะที่นักเรียนออกเสียงไม่ชัด ต้องพยายามฝึกฝนนะครับ เช่น
ร ล ง ฮ พยัญชนะเหล่านี้อาจออกเสียงคล้ายกัน แต่จริงๆ แล้ว
ออกเสียงไม่เหมือนกันเลย
ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๑๒
เสียงพยัญชนะควบกล้า
เสียงพยัญชนะควบกลํ้า คือ เสียงพยัญชนะต้นในพยางค์หรือคําที่ออกเสียงพยัญชนะต้น
๒ เสียงพร้อมกัน โดยมีพยัญชนะ ร ล ว เป็นตัวควบกลํ้า พยัญชนะควบกลํ้าบางครั้งเรียกว่า อักษรควบแท้
สําหรับคําไทยแท้มีพยัญชนะควบกลํ้า ๑๑ เสียงดังนี้
พยัญชนะควบกล้า ตัวอย่างคา
๑.กร กราบ เกรง กรม
๒.กล กล้า กลัว กลืน
๓.กว กว่า กวาง กวัก
๔.คร ขร ครู เคร่ง ขรุขระ ขรัว
๕.คล ขล คลาน คล้าย ขลัง ขลาด
๖.คว ขว ควาย ความ ขวิด ขวา
๗.พร พระ พร้อม พรุ่ง
๘.พล ผล พลาด พลาง ผลาญ แผล
๙.ปร ปราง เปรียบ แปรง
๑๐.ปล เปลี่ยนแปลง ปลา
๑๑.ตร ตรา ตรวจ เตรียม
และยังมีเสียงพยัญชนะควบกลํ้าต้นพยางค์ ซึ่งเป็นคําที่มาจากภาษาอื่น เช่น
เสียงพยัญชนะควบกล้า ตัวอย่าง มาจากภาษา
๑. ทร ภัทรา อินทรา สันสกฤต
๒. ฟร ฟรี อังกฤษ
๓. ฟล ฟลุก อังกฤษ
๔. ดร ดราฟท์ อังกฤษ
๕. บร บรั่นดี อังกฤษ
๖. บล บล็อก อังกฤษ
นักเรียนเขียนตัวอย่างคํา
เพิ่มเติมให้มากๆ ซิจ๊ะ
ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๑๓
เสียงพยัญชนะท้ายพยางค์
เสียงพยัญชนะท้ายพยางค์หรือมาตราตัวสะกด ในภาษาไทยมี ๘ เสียง ดังนี้
เสียงพยัญชนะ
ตัวสะกด
มาตรา
หรือ แม่
ตัวอย่างคา
ก กก กัก สุข โรค เมฆ
ง กง จึง ขัง ด่าง
ด (ต) กด พูด กิจ คช ก๊าซ กฎ รัฐ ครุฑ วุฒิ รถ บาท รส พัฒน์ ฆาต พิษ พิศ
พยาธิ ชัฏ
น กน คน หาญ คุณ พร ผล กาฬ
บ (ป) กบ กับ บาป ภาพ กราฟ โลภ
ม กม กลม ข้าม
ย เกย กาย เขย คุย
ว เกอว ก้าว เขียว แมว
บันทึกเพิ่มเติม.....................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๑๔
บัตรคาถามกิจกรรมที่ ๓
ให้นักเรียนตอบคําถามต่อไปนี้
๑.เสียงพยัญชนะต้นในภาษาไทยมี………………………………เสียง มี…………...…………………รูป
๒.เสียงพยัญชนะท้ายมี……………………เสียง มี…………………………แม่ คือ....................................
………………………………………………………………………………………………………………
๓.เสียงพยัญชนะควบกลํ้าในภาษาไทยมี………………..เสียง คือ…………………………….……………
………………………………………………………………………………………………………………
๔.แม่ ก กา คือ……………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………………
๕.มาตราสะกดที่ใช้พยัญชนะสะกดตัวเดียวคือ……………………………………………………………...
………………………………………………………………………………………………………………
๖.พยัญชนะไทยที่ไม่ใช้เป็นตัวสะกดมี………..…ตัว คือ…………………………………………………..
………………………………………………………………………………………………………………
๗.ให้นักเรียนยกตัวอย่างคําที่มีตัวสะกดในแม่ กด มา ๑๐ คํา……………………………………................
………………………………………………………………………………………………………………
๘.ให้นักเรียนยกตัวอย่างคําที่มีพยัญชนะควบกลํ้ามา ๑๐ คํา………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
๙. พยัญชนะไทยตัวใดที่ออกเสียงได้ ๒ เสียง ให้ยกตัวอย่างคําประกอบด้วย...............................................
………………………………………………………………………………………………………………..
ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๑๕
๑๐. ให้นักเรียนพิจารณาว่าคําต่อไปนี้ตัวสะกดอยู่แม่ใด แล้วนําคําเหล่าไปเขียนในตารางให้ตรงตามมาตรา
ตัวสะกด
ดอก คลึง กาน นาค สมัคร เมฆ วุฒิ เหตุ กาฬ ภาพ เขียน หาญ กอปร ฆาต ธาตุ บาท ครุฑ มิตร
จันทร์ ศุกร์ แกง คลาน โจม แล้ว คุย เลย ดอน พร ผล รัฐ บาล ญาติ นั่ง รส สมุทร เนตร สรรค์
สวย มาตร นุช อรรถ พรรค พยัคฆ์ ยุค กล พรรณ ธรรม ยนตร์ สิทธิ์
มาตรา หรือ แม่ คา
กก
กง
กด
กน
กบ
กม
เกย
เกอว
นักเรียนต้องตั้งใจตอบคําถามนะครับ
ไม่เข้าใจตรงไหนก็ศึกษาเนื้อหาอีกครั้งซิ
ครับ
คําถามบ้างข้อที่ให้ยกตัวอย่างคํา นักเรียนตอบ
แล้วอาจจะไม่ตรงกับบัตรเฉลย ถ้าไม่แน่ใจว่า
ผิดหรือถูกก็เอาให้ครูตรวจอีกทีนะครับ
ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๑๖
เรื่อง เสียงวรรณยุกต์
จัตวา
สามัญ
เอก
แผนภาพแสดงระดับเสียงวรรณยุกต์
เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงที่มีทํานองสูง ตํ่า เหมือนเสียงดนตรี เราจะได้ยินเสียงวรรณยุกต์ขณะที่
เราออกเสียงพยัญชนะหรือออกเสียงสระ เสียงวรรณยุกต์ขณะออกเสียงจะใช้ลิ้นเกล่อมเกลาเสียง จึงเกิดเป็น
เสียงสูงตํ่า บางเสียงอยู่ระหว่างเสียงสูงกับเสียงตํ่า บางทีก็เป็นเสียงตํ่าแล้วค่อยๆ เลื่อนไปสู่เสียงสูง เราเรียก
เสียงเสียงสูงตํ่าเหมือนเสียงดนตรีนี้ว่า เสียงวรรณยุกต์ หรือ เสียงดนตรี
เสียงวรรณยุกต์มี ๕ เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา
เสียงวรรณยุกต์มีความสําคัญมาก เพราะเสียงที่มีระดับเสียงตํ่าสูงต่างกัน ทําให้ความหมายของคําเปลี่ยนไป
เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมาตรฐาน มี ๕ เสียง คือ
๑. เสียงสามัญ คือ เสียงระดับปานกลางและมีระดับคงที่ตลอดไป แต่ตกตอนท้ายนิดหนึ่ง เช่น
กา นอน ใน รัง ไม่มีรูปวรรณยุกต์ ปรากฏเสียงสามัญเฉพาะในคาเป็นเท่านั้น คําตายไม่มีเสียงสามัญ
๒. เสียงเอก คือ เสียงที่เริ่มต้นระดับตํ่ากว่าเสียงสามัญเล็กน้อย แล้วลดระดับตํ่ากว่าเสียงสามัญ
คาเป็น เสียงคงที่ชั่วระยะหนึ่งแล้วค่อยๆ ลดลงเล็กน้อย เช่น ด่าง แข่ง ต่อ สู่ มีรูปวรรณยุกต์เอก ( ่่ )
คาตาย เสียงจะคงระดับตลอด เช่น เด็ก กัด จะ เจ็บ ไม่มีรูปวรรณยุกต์
ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๑๗
๓. เสียงโท คือ เสียงที่เริ่มต้นระดับสูงสุดแล้วค่อยๆ ลดระดับลงมาตํ่าที่สุด ในคําที่มีพยัญชนะต้น
เป็นอักษรกลางและสูงจะมีรูปวรรณยุกต์โท ( ่้ ) เช่น ด้าน ต้าน สู้ ห้า หากพยัญชนะต้นเป็นอักษรต่าคา
เป็นจะมีรูปวรรณยุกต์เอก ( ่่ ) เช่น ท่อ ที่ ย่า ล่าง ว่าน คู่ แม่ แน่น ถ้าพยัญชนะต้นเป็นอักษรต่า
คาตายจะไม่มีรูปวรรณยุกต์ เช่น ลาด มาก
๔. เสียงตรี คือ เสียงที่เริ่มต้นสูงกว่าเสียงสามัญเล็กน้อย คาตาย เสียงคงระดับสูงและตกลงตอนท้าย
เล็กน้อย ในคําที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรกลางจะมีรูปวรรณยุกต์ตรี ( ่๊ ) เช่น ก๊าซ จ๊ะ โต๊ะ โป๊ ะ
หากพยัญชนะต้นเป็นอักษรต่าคาตายจะไม่มีรูปวรรณยุกต์ เช่น คิด ลึก นะ ส่วน คาเป็น เสียงคงระดับสูง
ไปตลอดในคําที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรกลางจะมีรูปวรรณยุกต์ตรี ( ่๊ ) เช่น ป๊า ด๊า โต๊ะ ถ้าพยัญชนะ
ต้นเป็นอักษรต่าจะมีรูปวรรณยุกต์โท ( ่้ ) เช่น รู้ แล้ว คล้อง ไว้ ค้าน แท้
๕. เสียงจัตวา คือ เสียงที่เริ่มในระดับตํ่าสุดแล้วลดตํ่าลงอีก ต่อจากนั้นเปลี่ยนระดับขึ้นสูงสุด ในคําที่
มีพยัญชนะต้นอักษรกลางคาเป็นจะมีรูปวรรณยุกต์จัตวา ( ่๋ ) เช่น ป๋ า ก๋า หากพยัญชนะต้นเป็นอักษร
สูงคาเป็นจะไม่มีรูปวรรณยุกต์ เช่น หนู เห็น เขา สูง ไหม
ลักษณะเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทย มี ๒ พวก คือ
ก. วรรณยุกต์เสียงระดับ มีระดับเสียงค่อนข้างคงที่ไปตลอด มี ๓ เสียง คือ สามัญ เอก ตรี
ข. วรรณยุกต์เสียงเลื่อน มีการเปลี่ยนแปลงระดับเสียง มี ๒ เสียง คือ โท เลื่อนจากสูงลงตํ่า
จัตวา เลื่อนจากตํ่าขึ้นไปสูง
ความสาคัญของเสียงวรรณยุกต์
เสียงวรรณยุกต์เป็นตัวกําหนดความหมายของคําให้มีความแตกต่างกัน และช่วยให้สําเนียงการพูดมี
ระดับเสียงสูงตํ่าเกิดความไพเราะ
ข้อสังเกตเกี่ยวกับวรรณยุกต์
๑. คาไทยทุกคาต้องมีเสียงวรรณยุกต์ คําที่ใช้ในภาษาไทย มีทั้งคําที่มีและไม่มีรูปวรรณยุกต์กํากับ
แต่ทุกคําจะต้องมีเสียงวรรณยุกต์ ซึ่งเสียงวรรณยุกต์อาจไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์ที่กํากับอยู่ก็ได้
๑.๑ คําที่มีรูปวรรณยุกต์และเสียงตรงกับรูปวรรณยุกต์ เช่น
- คําว่า “ การ” ไม่มีรูปวรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงสามัญ
- คําว่า “ สิ่ง” มีรูปวรรณยุกต์เอก เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงเอก
- คําว่า “ห้าม” มีรูปวรรณยุกต์โท เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงโท
- คําว่า “โต๊ะ” มีรูปวรรณยุกต์ตรี เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงตรี
- คําว่า “ป๋ า” มีรูปวรรณยุกต์จัตวา เสียงวรรณยุกต์คือ เสียงจัตวา
๑.๒. คําที่ออกเสียงวรรณยุกต์ไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์ เช่น
- คําว่า “แพร่ น่า เที่ยว” มีรูปวรรณยุกต์เอก แต่ออกเสียงเป็นวรรณยุกต์โท
- คําว่า “น้า ค้า ไม้” มีรูปวรรณยุกต์โท แต่ออกเสียงเป็นวรรณยุกต์ตรี
ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๑๘
๑.๓. คําในภาษาไทยทุกคําจะมีเสียงวรรณยุกต์ทั้งหมด แม้ว่าคํานั้นจะไม่มีรูปวรรณยุกต์ก็
ตาม เช่น
- คําว่า “ ยาย” ไม่มีรูปวรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์คือ เสียงสามัญ
- คําว่า “ปัด” ไม่มีรูปวรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงเอก
- คําว่า “นาค” ไม่มีรูปวรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงโท
- คําว่า “คิด” ไม่มีรูปวรรณยุกต์เสียงวรรณยุกต์คือ เสียงตรี
- คําว่า “สาย” ไม่มีรูปวรรณยุกต์เสียงวรรณยุกต์คือ เสียงจัตวา
๒. คาที่ประสมด้วยสระเสียงยาว เมื่อเติมวรรณยุกต์แล้ว อาจจะออกเสียงสั้น หรืออาจจะคงเสียง
ยาวตามเดิมก็ได้
๒.๑. เติมรูปวรรณยุกต์แล้วออกเสียงสั้น เช่น เดน - เด่น, เลน - เล่น
๒.๒. เติมรูปวรรณยุกต์แล้วยังคงออกเสียงยาวตามเดิม เช่น หาม - ห้าม, ดวง - ด้วง
บันทึกเพิ่มเติม......................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
นักเรียนลองเอาชื่อของตัวเองและเพื่อนๆ ในกลุ่ม
แล้วช่วยกันคิดว่าแต่ละพยางค์มีเสียงวรรณยุกต์อะไร
เช่น สุเทพ
สุ เสียง วรรณยุกต์ เอก
เทพ เสียง วรรณยุกต์ โท
ลองคิดซิจ๊ะ
ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๑๙
บัตรคาถามกิจกรรมที่ ๔
ให้นักเรียนตอบคําถามต่อไปนี้
๑. เสียงวรรณยุกต์มีลักษณะอย่างไร…………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
๒. เสียงวรรณยุกต์มีความสําคัญอย่างไร……………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
๓. เสียงวรรณยุกต์ระดับมีเสียงอะไรบ้าง……………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
๔. เสียงวรรณยุกต์เลื่อนมีลักษณะอย่างไร…………………………………………………………...............
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
๕. เสียงวรรณยุกต์ใดที่มีระดับเสียงสูงที่สุด…………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
๖. เสียงวรรณยุกต์ใดที่มีระดับเสียงตํ่าที่สุด…………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
๗. เสียงวรรณยุกต์ใดที่มีระดับเสียงของคําเป็น และคําตาย ต่างกันเล็กน้อยในตอนท้ายเสียง………………
………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
๘. จงผันเสียงวรรณยุกต์ของคําต่อไปนี้ ให้เป็นคําที่มีความหมายต่างกัน ให้ได้มากที่สุด
- ขาว………………………………………………………………………………………………
ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๒๐
- เสือ………………………………………………………………………………………………
- ปา………………………………………………………………………………………………
- คาง…………………………………………………………………………….............................
- กาน………………………………………………………………………………………………
- ทาย………………………………………………………………………………………………
- บาน………………………………………………………………………………………………
- พอ………………………………………………………………………………………………
๙. เสียงวรรณยุกต์ใดที่มีเฉพาะคําเป็นเท่านั้น....................................................................................................
๑๐.ให้บอกเสียงวรรณยุกต์ของคําในข้อความต่อไปนี้ “บางคนดูเปลือกนอกคล้ายเย็นชากระด้าง แต่ใจจริง
กลับเป็นมิตรสหายที่มีคุณธรรมดีงาม ความที่ไม่ปรารถนาโอ้อวดความจริงใจของตน น้าใจจึงยิ่งมากยิ่ง
บริสุทธิ์แท้จริง” (คําที่ขีดเส้นใต้ไม่ต้องเอา)
- เสียงสามัญ……………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………..
- เสียงเอก…………………………………………………………………………….…………
………………………………………………………………………………………………………………
- เสียงโท………………………………………………………………………………………...
………………………………………………………………………………………………………………
- เสียงตรี…………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
- เสียงจัตวา………………………………………………………………………………………
นักเรียนฝึกผันเสียงวรรณยุกต์จากคําในคําถามให้ถูกต้องนะครับ
พยายามเทียบเสียงเช่น เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า โดยการไล่เสียงด้วย
การใช้นิ้วมือนะครับ
กา นิ้วก้อย
ก่า นิ้วนาง
ก้า นิ้วกลาง
ก๊า นิ้วชี้
ก๋า นิ้วโป้ ง
ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๒๑
เรื่อง พยางค์ และคา
ความหมายของพยางค์
พยางค์เกิดจากการเปล่งเสียงพยัญชนะ เสียงสระและเสียงวรรณยุกต์ตามกันออกมาอย่างกระชั้นชิด
จนฟังดูเหมือนกับเปล่งเสียงออกมาในครั้งเดียวกัน ซึ่งเรียกว่า การประสมเสียงในภาษา เสียงที่เกิดจาก
การประสมเสียง จึงเรียกว่า พยางค์
พยางค์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งๆ ซึ่งมีเสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ เสียงวรรณยุกต์และ
บางพยางค์อาจจะมีเสียงพยัญชนะท้าย พยางค์อาจจะเป็นคําก็ได้ถ้าพยางค์นั้นมีความหมาย ดังตัวอย่าง
ต่อไปนี้
กิน เป็น ๑ พยางค์ ๑ คํา
สามี เป็น ๒ พยางค์ ๑ คํา
นาฬิกา เป็น ๓ พยางค์ ๑ คํา
องค์ประกอบของพยางค์
พยางค์ในภาษาไทยมีองค์ประกอบสําคัญอย่างน้อย ๓ ส่วน คือ
๑. เสียงพยัญชนะต้น ได้แก่ เสียงพยัญชนะที่เปล่งออกมาก่อนเสียงอื่น พยัญชนะต้นอาจเป็น
พยัญชนะต้นเดี่ยว หรือพยัญชนะต้นควบ เช่น ก้าง กับ กว้าง ตัวอักษรที่พิมพ์ตัวหนาเป็นพยัญชนะต้นเดี่ยว
และต้นควบตามลําดับ
๒. เสียงสระ ได้แก่ เสียงที่ออกตามเสียงพยัญชนะอย่างรวดเร็ว ทําให้พยัญชนะต้นออกเสียงได้
ชัดเจน เสียงสระอาจเป็นสระเดี่ยวเสียงสั้น สระเดี่ยวเสียงยาว หรือสระประสมเสียงใดเสียงหนึ่ง
๓. เสียงวรรณยุกต์ ได้แก่ เสียงสูงตํ่าที่เปล่งออกมาพร้อม ๆ กับเสียงสระ
นอกจากนี้พยางค์บางพยางค์อาจมีองค์ประกอบเพิ่มขึ้นอีก ๑ ส่วน คือ เสียงพยัญชนะท้ายหรือ
เสียงตัวสะกด
พยัญชนะสะกดในภาษาไทยมี ๘ เสียง ได้แก่ เสียงพยัญชนะในแม่ กก กด กบ กง กน กม เกย
เกอว ดังนี้
๑. เสียงสะกดแม่ กก ได้แก่ พยัญชนะสะกดที่มีเสียงเหมือนเสียง ก สะกด เช่น พก มุข นาค
เมฆ
๒. เสียงสะกดแม่ กด ได้แก่ พยัญชนะสะกดที่มีเสียงเหมือน ด สะกด เช่น มด ราชกิจ ทศพิต
คช ก๊าซ เศษ อาพาธ อากาศ โอกาส พัฒนา
๓. เสียงสะกดแม่ กบ ได้แก่ พยัญชนะสะกดที่มีเสียงเหมือน บ สะกด เช่น ปรับ บาป ภาพ
กราฟ
๔. เสียงสะกดแม่ กง ได้แก่ พยัญชนะสะกดที่มีเสียง ง สะกด เช่น คง พง ปลง
ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๒๒
๕. เสียงสะกดแม่ กน ได้แก่ พยัญชนะสะกดที่มีเสียงเหมือน น สะกด เช่น ทน หล กร
กาฬ หาญ ไพรสณฑ์
๖. เสียงสะกดแม่ กม ได้แก่ พยัญชนะสะกดที่มีเสียง ม สะกด เช่น กลม บังคม ธรรม
๗. เสียงสะกดแม่ เกย ได้แก่ พยัญชนะที่มีเสียง ย สะกด เช่น เชย เลย กาย ขาย โกย
๘. เสียงสะกดแม่ เกอว ได้แก่ พยัญชนะที่มีเสียง ว สะกด เช่น ขาว แล้ว เสียว เอว เร็ว
พยางค์ที่ไม่มีพยัญชนะท้าย เรียกว่า พยางค์เปิด
พยางค์ที่มีพยัญชนะท้าย เรียกว่า พยางค์ปิด
องค์ประกอบของคา
คํามีองค์ประกอบเช่นเดียวกับพยางค์ คือ
๑. เสียงพยัญชนะต้น
๒. เสียงสระ
๓. เสียงวรรณยุกต์
๔.เสียงพยัญชนะท้าย หรือเสียงมาตราตัวสะกด ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มี ก็แล้วแต่คํา
๕.ความหมาย ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สําคัญของคําที่ต้องมี
คําอาจมีพยางค์เดียว หรือหลายพยางค์ก็ได้
คําพยางค์เดียว เช่น ลุง ป้ า น้า พ่อ แม่ พี่ น้อง กิน นั่ง นอน เดิน
คําหลายพยางค์ เช่น บิดา มารยาท ศีรษะ นาฬิกา สบาย ทะเล
เป็นอย่างไรบ้างครับ ศึกษาเนื้อหากันมาถึง
เรื่อง พยางค์และคําแล้วนะ ตอนนี้แยกออก
หรือยังว่าพยางค์ต่างจากคําอย่างไร
ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๒๓
บัตรคาถามกิจกรรมที่ ๕
ให้นักเรียนตอบคําถามต่อไปนี้
๑. พยางค์มีองค์ประกอบที่สําคัญคือ…………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
๒. คํา มีลักษณะต่างจาก พยางค์อย่างไร……………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
๓. พยางค์ปิดมีลักษณะอย่างไร………………………………………………………………………………
๔. พยางค์เปิดมีลักษณะต่างจากพยางค์ปิดอย่างไร…………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………
๕. ให้ยกตัวอย่างคําที่มีลักษณะต่อไปนี้
๕.๑ พยางค์เปิด ๕ คํา……………………………………………………………………………
๕.๒ พยางค์ปิด ๕ คํา………………………………………………………………….................
๕.๓ คําที่มี ๒ พยางค์ ๕ คํา………………………………………………………………………
๕.๔ คําที่มี ๓ พยางค์ ๕ คํา………………………………………………………………………
๕.๕ คําที่มี ๔ พยางค์ ๕ คํา………………………………………………………………………
๕.๖ คําที่มีตัวสะกดแม่ กก ๕ คํา.....................................................................................................
๕.๗ คําที่มีตัวสะกดแม่ กง ๕ คํา.....................................................................................................
๕.๘ คําที่มีตัวสะกดแม่ กด ๕ คํา.....................................................................................................
๕.๙ คําที่มีตัวสะกดแม่ กน ๕ คํา.....................................................................................................
๕.๑๐ คําที่มีตัวสะกดแม่ กบ ๕ คํา...................................................................................................
๕.๑๑ คําที่มีตัวสะกดแม่ เกย ๕ คํา..................................................................................................
๕.๑๒ คําที่มีตัวสะกดแม่ เกอว ๕ คํา...............................................................................................
คําถามไม่ยากนะครับ
เพื่อนๆ ช่วยกันหาคําตอบและ
ยกตัวอย่างคําให้ได้มากๆ นะครับ
ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๒๔
เรื่อง อักษรแทนเสียงสระ
รูปสระ คือ ส่วนประกอบของเครื่องหมายที่ใช้เขียนแทนเสียงสระ มีทั้งหมด ๒๑ รูป ซึ่งมีชื่อ วิธีการ
เขียนและวิธีใช้ดังนี้
รูปที่ รูป ชื่อรูป วิธีใช้
๑ ะ วิสรรชนีย์ ใช้เป็นสระอะ เมื่ออยู่หลังพยัญชนะ เช่น จะ มะ และใช้ประสมกับ
สระรูปอื่นให้เป็นเสียงสระอื่น เช่น เละ แกะ โต๊ะ เอียะ อัวะ
๒ ่ั ไม้ผัด ไม้หัน
อากาศ
ใช้เขียนบนพยัญชนะแทนเสียงสระอะเมื่อมีตัวสะกด เช่น จัด และ
ประสมกับสระรูปอื่น เช่น วัว ผัวะ
๓ ่็ ไม้ไต่คู้ ใช้เขียนไว้บนพยัญชนะที่ประสมกับรัสสระที่มีวิสรรชนีย์ เพื่อแทน
วิสรรชนีย์เมื่อมีตัวสะกด เช่น เป็ด (เปะ+ด) และใช้แทนสระเอาะที่มี
วรรณยุกต์โท ซึ่งมีคําเดียวคือคําว่า ก็ (เก้าะ)
๔ า ลากข้าง ใช้เป็นสระอา สําหรับเขียนหลังพยัญชนะและใช้ประสมกับรูปสระรูป
อื่นเป็นสระ เอาะ อํา เอา เช่น เงาะ นํา เรา
๕ ่ิ พินทุ์อิ ใช้เป็นสระอิ สําหรับเขียนไว้บนพยัญชนะ เช่น ทิ ปริ และใช้ประสมกับ
สระรูปอื่นให้เป็นสระ อี อือ เอียะ เอีย เอือะ เอือ เช่น มี คือ เกี๊ยะ เมีย
เรือ
๖ ่่ ฝนทอง ใช้เขียนไว้ข้างบนพินทุ์อิ ทําให้เป็นสระอี เช่น ดี สี ผี
๗ " ฟันหนู ใช้เขียนไว้ข้างบนพินทุ์อิเป็นสระอือ เอือะ เอือ เช่น คือ เสือ
๘ ํ หยาดนํ้าค้าง
นฤคหิต
ใช้เขียนไว้ข้างบนลากข้าง ทําให้เป็นสระอํา ( ำํา) และเขียนบนพินทุ์อิ
เป็นสระอึ เช่น คํา นํา ปรึกษา ศึกษา
รูปที่ รูป ชื่อรูป วิธีใช้
๙ ุ่ ตีนเหยียด ใช้เป็นสระอุ เขียนไว้ข้างล่างตรงเส้นหลังของพยัญชนะเช่น จุ
๑๐ ู่ ตีนคู้ ใช้เป็นสระอู เขียนไว้ข้างล่างตรงเส้นหลังของพยัญชนะต้น เช่น ครู
๑๑ เ ไม้หน้า ใช้เป็นสระเอ สําหรับเขียนไว้ข้างหน้าพยัญชนะ เช่น เกเร ถ้าใช้สองรูป
ด้วยกันจะเป็นสระแอ และใช้ประสมกับสระรูปอื่นให้เป็นสระอื่น เช่น
เอือ เอา เออะ เอียะ เอีย เอาะ แอะ
ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๒๕
๑๒ ใ ไม้ม้วน ใช้เป็นสระใอ สําหรับเขียนไว้หน้าพยัญชนะ เช่น ใช่ ให้ ใน มีใช้
เฉพาะคําไทยจํานวน ๒๐ เท่านั้น
๑๓ ไ ไม้มลาย ใช้เป็นสระไอ สําหรับเขียนไว้ข้างหน้าพยัญชนะ เช่น ไป ไหน ฯลฯ
๑๔ โ ไม้โอ ใช้เป็นสระโอ สําหรับเขียนไว้ข้างหน้าพยัญชนะ เช่น โต โค ใช้
ประสมกับวิสรรชนีย์ทําให้เป็นสระ โอะ เช่น โต๊ะ โละ
๑๕ ฤ ตัวรึ ใช้เป็นสระ ฤ จะใช้โดดๆ เช่น ฤดี หรือจะใช้ประสมกับพยัญชนะ (ต้อง
เขียนไว้หลังพยัญชนะ) และออกเสียงสระได้หลายเสียง ออกเสียงเป็น ริ
เช่น กฤตพล ออกเสียงเป็น รึ เช่น ฤดี หฤทัย พฤกษาคม ออกเสียง
เป็น เรอ เช่น ฤกษ์
๑๖ ฤๅ ตัวรือ ใช้เป็นสระ ฤๅ ใช้โดดๆ เช่น ฤๅไม่ หรือใช้เป็นพยางค์หน้าของคํา เช่น
ฤๅษี
๑๗ ฦ ตัวลึ ใช้เป็นสระ ฦ (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว)
๑๘ ฦๅ ตัวลือ ใช้เป็นสระ ฦๅ (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว)
๑๙ ย ตัวยอ ใช้ประสมกับรูปสระรูปอื่น ทําให้เป็นสระอื่น เช่น สระเอีย เอียะ
๒๐ ว ตัววอ ใช้ประสมกับสระรูปอื่น เป็นสระ อัวะ อัว
๒๑ อ ตัวออ ใช้เขียนหลังพยัญชนะเป็นสระ ออ และประสมกับรูปสระรูปอื่น เป็น
สระ อือ เออะ เอือะ เอือ
การใช้รูปสระ
สระ ๒๑ รูป ใช้เขียนแทนเสียงสระ ๓๒ เสียง บางเสียงใช้สระรูปเดียว บางเสียงใช้สระหลายรูป
ประกอบกันดังนี้
เสียง รูป จานวนรูป
๑. อะ -ะ ๑
๒. อา -า ๑
๓. อิ -่ิ ๑
๔. อี -่ิ ่่ ๒
๕. อึ -่ิ ่ํ ๒
๖. อื -่ิ " ๒
๗. อุ -ุ่ ๑
๘. อู -ู่ ๑
ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๒๖
๙. เอะ เ-ะ ๒
๑๐. เอ เ ๑
๑๑. แอะ แ-ะ ๓
๑๒. แอ แ ๒
๑๓. เอียะ เ-่ิ ่่ ยะ ๕
๑๔. เอีย เ-่ิ ่่ ย ๔
๑๕. เอือะ เ-่ิ " อ ะ ๕
๑๖. เอือ เ-่ิ " อ ๔
๑๗. อัวะ ่ั ว ะ ๓
๑๘. อัว ่ั ว ๒
๑๙. โอะ โ ะ ๒
๒๐. โอ โ ๑
๒๑. เอาะ เ า ะ ๓
๒๒. ออ อ ๑
๒๓. เออะ เ อ ะ ๓
๒๔. เออ เ อ ๒
๒๕. อํา (อะ+ม สะกด) ่ํา ๒
๒๖. ไอ(อะ+ย สะกด) ไ ๑
๒๗. ใอ(อะ+ย สะกด) ใ ๑
๒๘. เอา (อะ+ว สะกด) เ า ๒
๒๙. ฤ (อิ อึ เออ มี ร ประสม) ฤ ๑
๓๐. ฤๅ(อือ มี ร ประสม) ฤๅ ๑
๓๑. ฦ (อึ มี ล ประสม) ฦ ๑
๓๒. ฦๅ(อือ มี ล ประสม) ฦๅ ๑
สระมี ๒๑ เสียง ตามที่กล่าวมาแล้วในเรื่องเสียงสระ แต่ในระบบการเขียนหนังสือไทย
มีการบัญญัติรูปสระเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อใช้เขียนแทนเสียงสระบางเสียงได้มากรูปขึ้น รูปและเสียงสระ
ที่บัญญัติขึ้นเป็นพิเศษนี้เรียกว่า สระที่มีพยัญชนะมาประสมหรือสระเกิน ๘ ตัว (และสระประสมเสียงสั้น
อีก ๓ เสียงซึ่งนักภาษาศาสตร์ปัจจุบันไม่นับเป็นเสียงสระ เพราะไม่มีคําคู่เทียบเสียง จึงถือว่าสระประสมมี
แค่ ๓ เสียง )
งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.
งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.
งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.
งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.
งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.
งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.
งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.
งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.
งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.
งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.
งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.
งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.
งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.
งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.
งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.
งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.
งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.
งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.
งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.
งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.
งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.
งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.
งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.
งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.
งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.
งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.
งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.
งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.

More Related Content

What's hot

การสื่ออารมณ์
การสื่ออารมณ์การสื่ออารมณ์
การสื่ออารมณ์patnid
 
ตำแหน่งการเกิดเสียง 56030549
ตำแหน่งการเกิดเสียง 56030549ตำแหน่งการเกิดเสียง 56030549
ตำแหน่งการเกิดเสียง 56030549Wilipda Wongsakul
 
สรุป นายสุนทร เอี่ยมแสง รหัส 56030557
สรุป นายสุนทร เอี่ยมแสง รหัส 56030557สรุป นายสุนทร เอี่ยมแสง รหัส 56030557
สรุป นายสุนทร เอี่ยมแสง รหัส 56030557Sunthon Aged
 
ตำแหน่งการเกิดเสียง
ตำแหน่งการเกิดเสียง ตำแหน่งการเกิดเสียง
ตำแหน่งการเกิดเสียง Art Pb
 
สรุปเรื่อง ตำแหน่งการเกิดเสียง และเสียงในตำแหน่งต่างๆและ สัญลักษณ์แทนเสียงสากล
สรุปเรื่อง ตำแหน่งการเกิดเสียง และเสียงในตำแหน่งต่างๆและ สัญลักษณ์แทนเสียงสากลสรุปเรื่อง ตำแหน่งการเกิดเสียง และเสียงในตำแหน่งต่างๆและ สัญลักษณ์แทนเสียงสากล
สรุปเรื่อง ตำแหน่งการเกิดเสียง และเสียงในตำแหน่งต่างๆและ สัญลักษณ์แทนเสียงสากลSunthon Aged
 
ดนตรีสากล
ดนตรีสากลดนตรีสากล
ดนตรีสากลmanoprd
 
เครื่องดนตรีสากล
เครื่องดนตรีสากลเครื่องดนตรีสากล
เครื่องดนตรีสากลพัน พัน
 
ตำแหน่งการเกิดเสียง
ตำแหน่งการเกิดเสียงตำแหน่งการเกิดเสียง
ตำแหน่งการเกิดเสียงPalm Prachya
 
ใบความรู้+ทดสอบหลังเรียนเรื่อง เสียง+ป.5+276+dltvscip5+54sc p05 f09-4page
ใบความรู้+ทดสอบหลังเรียนเรื่อง เสียง+ป.5+276+dltvscip5+54sc p05 f09-4pageใบความรู้+ทดสอบหลังเรียนเรื่อง เสียง+ป.5+276+dltvscip5+54sc p05 f09-4page
ใบความรู้+ทดสอบหลังเรียนเรื่อง เสียง+ป.5+276+dltvscip5+54sc p05 f09-4pagePrachoom Rangkasikorn
 
ใบความรู้เรื่อง เครื่องดนตรีสากล
ใบความรู้เรื่อง  เครื่องดนตรีสากลใบความรู้เรื่อง  เครื่องดนตรีสากล
ใบความรู้เรื่อง เครื่องดนตรีสากลพัน พัน
 
ตำแหน่งของการออกเสียง
ตำแหน่งของการออกเสียงตำแหน่งของการออกเสียง
ตำแหน่งของการออกเสียงyoiisina
 
ตำแหน่งของการออกเสียง และสัญลักษณ์เสียงสากล
ตำแหน่งของการออกเสียง และสัญลักษณ์เสียงสากล ตำแหน่งของการออกเสียง และสัญลักษณ์เสียงสากล
ตำแหน่งของการออกเสียง และสัญลักษณ์เสียงสากล nuengrutaii
 
ใบความรู้ ลิ้น
ใบความรู้ ลิ้นใบความรู้ ลิ้น
ใบความรู้ ลิ้นNattha Namm
 
การเกิดเสียง56030467
การเกิดเสียง56030467การเกิดเสียง56030467
การเกิดเสียง56030467Wuttikorn Buajoom
 

What's hot (20)

ชุด5
ชุด5ชุด5
ชุด5
 
การสื่ออารมณ์
การสื่ออารมณ์การสื่ออารมณ์
การสื่ออารมณ์
 
ตำแหน่งการเกิดเสียง 56030549
ตำแหน่งการเกิดเสียง 56030549ตำแหน่งการเกิดเสียง 56030549
ตำแหน่งการเกิดเสียง 56030549
 
สรุป นายสุนทร เอี่ยมแสง รหัส 56030557
สรุป นายสุนทร เอี่ยมแสง รหัส 56030557สรุป นายสุนทร เอี่ยมแสง รหัส 56030557
สรุป นายสุนทร เอี่ยมแสง รหัส 56030557
 
ตำแหน่งการเกิดเสียง
ตำแหน่งการเกิดเสียง ตำแหน่งการเกิดเสียง
ตำแหน่งการเกิดเสียง
 
สรุปเรื่อง ตำแหน่งการเกิดเสียง และเสียงในตำแหน่งต่างๆและ สัญลักษณ์แทนเสียงสากล
สรุปเรื่อง ตำแหน่งการเกิดเสียง และเสียงในตำแหน่งต่างๆและ สัญลักษณ์แทนเสียงสากลสรุปเรื่อง ตำแหน่งการเกิดเสียง และเสียงในตำแหน่งต่างๆและ สัญลักษณ์แทนเสียงสากล
สรุปเรื่อง ตำแหน่งการเกิดเสียง และเสียงในตำแหน่งต่างๆและ สัญลักษณ์แทนเสียงสากล
 
ดนตรีสากล
ดนตรีสากลดนตรีสากล
ดนตรีสากล
 
เครื่องดนตรีสากล
เครื่องดนตรีสากลเครื่องดนตรีสากล
เครื่องดนตรีสากล
 
เสียงในภาษาไทย
เสียงในภาษาไทยเสียงในภาษาไทย
เสียงในภาษาไทย
 
ตำแหน่งการเกิดเสียง
ตำแหน่งการเกิดเสียงตำแหน่งการเกิดเสียง
ตำแหน่งการเกิดเสียง
 
เครื่องดนตรีสากล
เครื่องดนตรีสากลเครื่องดนตรีสากล
เครื่องดนตรีสากล
 
ใบความรู้+ทดสอบหลังเรียนเรื่อง เสียง+ป.5+276+dltvscip5+54sc p05 f09-4page
ใบความรู้+ทดสอบหลังเรียนเรื่อง เสียง+ป.5+276+dltvscip5+54sc p05 f09-4pageใบความรู้+ทดสอบหลังเรียนเรื่อง เสียง+ป.5+276+dltvscip5+54sc p05 f09-4page
ใบความรู้+ทดสอบหลังเรียนเรื่อง เสียง+ป.5+276+dltvscip5+54sc p05 f09-4page
 
ใบความรู้เรื่อง เครื่องดนตรีสากล
ใบความรู้เรื่อง  เครื่องดนตรีสากลใบความรู้เรื่อง  เครื่องดนตรีสากล
ใบความรู้เรื่อง เครื่องดนตรีสากล
 
ตำแหน่งของการออกเสียง
ตำแหน่งของการออกเสียงตำแหน่งของการออกเสียง
ตำแหน่งของการออกเสียง
 
Tha203 2
Tha203 2Tha203 2
Tha203 2
 
Phonetic symbols 56030492
Phonetic symbols 56030492Phonetic symbols 56030492
Phonetic symbols 56030492
 
ตำแหน่งของการออกเสียง และสัญลักษณ์เสียงสากล
ตำแหน่งของการออกเสียง และสัญลักษณ์เสียงสากล ตำแหน่งของการออกเสียง และสัญลักษณ์เสียงสากล
ตำแหน่งของการออกเสียง และสัญลักษณ์เสียงสากล
 
ใบความรู้ ลิ้น
ใบความรู้ ลิ้นใบความรู้ ลิ้น
ใบความรู้ ลิ้น
 
คำอุทาน
คำอุทานคำอุทาน
คำอุทาน
 
การเกิดเสียง56030467
การเกิดเสียง56030467การเกิดเสียง56030467
การเกิดเสียง56030467
 

Viewers also liked

Μαστίχα Χίου
Μαστίχα ΧίουΜαστίχα Χίου
Μαστίχα ΧίουDina Prsn
 
la retta di Eulero
la retta di Eulerola retta di Eulero
la retta di EuleroFranco Cocca
 
rlistパッケージのススメ
rlistパッケージのススメrlistパッケージのススメ
rlistパッケージのススメYu Tamura
 
Bị béo phì tiềm ẩn, béo bụng gây các bệnh mạn tính nguy hiểm
Bị béo phì tiềm ẩn, béo bụng gây các bệnh mạn tính nguy hiểmBị béo phì tiềm ẩn, béo bụng gây các bệnh mạn tính nguy hiểm
Bị béo phì tiềm ẩn, béo bụng gây các bệnh mạn tính nguy hiểmcynthia344
 
Master 3 getting started and first visists (vietnamese)
 Master 3   getting started and first visists (vietnamese) Master 3   getting started and first visists (vietnamese)
Master 3 getting started and first visists (vietnamese)Tùng Kinh Bắc
 
Master 1 talking to new people (vietnamese)
 Master 1  talking to new people (vietnamese) Master 1  talking to new people (vietnamese)
Master 1 talking to new people (vietnamese)Tùng Kinh Bắc
 
Μεταλλικό νερό
Μεταλλικό νερόΜεταλλικό νερό
Μεταλλικό νερόDina Prsn
 
Tugas 1 meringkas artikel
Tugas 1 meringkas artikelTugas 1 meringkas artikel
Tugas 1 meringkas artikelFathul Umam
 
Pos un tahun 2015, 13 maret 2015
Pos un tahun 2015, 13 maret  2015Pos un tahun 2015, 13 maret  2015
Pos un tahun 2015, 13 maret 2015jihadul munir
 

Viewers also liked (14)

Μαστίχα Χίου
Μαστίχα ΧίουΜαστίχα Χίου
Μαστίχα Χίου
 
ишоукан.Nev
ишоукан.Nevишоукан.Nev
ишоукан.Nev
 
la retta di Eulero
la retta di Eulerola retta di Eulero
la retta di Eulero
 
rlistパッケージのススメ
rlistパッケージのススメrlistパッケージのススメ
rlistパッケージのススメ
 
Bị béo phì tiềm ẩn, béo bụng gây các bệnh mạn tính nguy hiểm
Bị béo phì tiềm ẩn, béo bụng gây các bệnh mạn tính nguy hiểmBị béo phì tiềm ẩn, béo bụng gây các bệnh mạn tính nguy hiểm
Bị béo phì tiềm ẩn, béo bụng gây các bệnh mạn tính nguy hiểm
 
Master 3 getting started and first visists (vietnamese)
 Master 3   getting started and first visists (vietnamese) Master 3   getting started and first visists (vietnamese)
Master 3 getting started and first visists (vietnamese)
 
Master 1 talking to new people (vietnamese)
 Master 1  talking to new people (vietnamese) Master 1  talking to new people (vietnamese)
Master 1 talking to new people (vietnamese)
 
Мир - world!
Мир - world!Мир - world!
Мир - world!
 
Μεταλλικό νερό
Μεταλλικό νερόΜεταλλικό νερό
Μεταλλικό νερό
 
Qua tang dieu ky
 Qua tang dieu ky Qua tang dieu ky
Qua tang dieu ky
 
Tugas 1 meringkas artikel
Tugas 1 meringkas artikelTugas 1 meringkas artikel
Tugas 1 meringkas artikel
 
Halaman pengesahan sabar
Halaman pengesahan sabarHalaman pengesahan sabar
Halaman pengesahan sabar
 
Holte kurskatalog 2015
Holte kurskatalog 2015Holte kurskatalog 2015
Holte kurskatalog 2015
 
Pos un tahun 2015, 13 maret 2015
Pos un tahun 2015, 13 maret  2015Pos un tahun 2015, 13 maret  2015
Pos un tahun 2015, 13 maret 2015
 

Similar to งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.

1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิTongsamut vorasan
 
เสียงกับการได้ยิน
เสียงกับการได้ยินเสียงกับการได้ยิน
เสียงกับการได้ยินkrubenjamat
 
ธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาwattanaka
 
ธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาwattanaka
 
สรุปย่อ หลักภาษาไทย
สรุปย่อ หลักภาษาไทย สรุปย่อ หลักภาษาไทย
สรุปย่อ หลักภาษาไทย Kun Cool Look Natt
 
9789740333449
97897403334499789740333449
9789740333449CUPress
 
ภาษาอังกฤษเพื่อชีวิตและสังคม ม.ปลาย พต31001
ภาษาอังกฤษเพื่อชีวิตและสังคม ม.ปลาย พต31001ภาษาอังกฤษเพื่อชีวิตและสังคม ม.ปลาย พต31001
ภาษาอังกฤษเพื่อชีวิตและสังคม ม.ปลาย พต31001Thidarat Termphon
 
ใบความรู้+หูกับการได้ยิน+ป.5+276+dltvscip5+54sc p05 f31-1page
 ใบความรู้+หูกับการได้ยิน+ป.5+276+dltvscip5+54sc p05 f31-1page ใบความรู้+หูกับการได้ยิน+ป.5+276+dltvscip5+54sc p05 f31-1page
ใบความรู้+หูกับการได้ยิน+ป.5+276+dltvscip5+54sc p05 f31-1pagePrachoom Rangkasikorn
 
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทยคำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทยพัน พัน
 
การออกเสียง
การออกเสียงการออกเสียง
การออกเสียงpatnid
 
ธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาkingkarn somchit
 
เสียงในภาษา
เสียงในภาษาเสียงในภาษา
เสียงในภาษาkingkarn somchit
 

Similar to งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส. (20)

1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
 
เสียงกับการได้ยิน
เสียงกับการได้ยินเสียงกับการได้ยิน
เสียงกับการได้ยิน
 
หู
หูหู
หู
 
ธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษา
 
ธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษา
 
สรุปย่อ หลักภาษาไทย
สรุปย่อ หลักภาษาไทย สรุปย่อ หลักภาษาไทย
สรุปย่อ หลักภาษาไทย
 
ใบความรู้ ลักษณะภาษาไทย
ใบความรู้ ลักษณะภาษาไทยใบความรู้ ลักษณะภาษาไทย
ใบความรู้ ลักษณะภาษาไทย
 
5 การประกอบเสียงเป็นพยางค์และคำ
5 การประกอบเสียงเป็นพยางค์และคำ5 การประกอบเสียงเป็นพยางค์และคำ
5 การประกอบเสียงเป็นพยางค์และคำ
 
9789740333449
97897403334499789740333449
9789740333449
 
ภาษาอังกฤษเพื่อชีวิตและสังคม ม.ปลาย พต31001
ภาษาอังกฤษเพื่อชีวิตและสังคม ม.ปลาย พต31001ภาษาอังกฤษเพื่อชีวิตและสังคม ม.ปลาย พต31001
ภาษาอังกฤษเพื่อชีวิตและสังคม ม.ปลาย พต31001
 
Korat
KoratKorat
Korat
 
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของม.ราชภัฎสวนดุสิต
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของม.ราชภัฎสวนดุสิตภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของม.ราชภัฎสวนดุสิต
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของม.ราชภัฎสวนดุสิต
 
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของม.ราชภัฎสวนดุสิต
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของม.ราชภัฎสวนดุสิตภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของม.ราชภัฎสวนดุสิต
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของม.ราชภัฎสวนดุสิต
 
ใบความรู้+หูกับการได้ยิน+ป.5+276+dltvscip5+54sc p05 f31-1page
 ใบความรู้+หูกับการได้ยิน+ป.5+276+dltvscip5+54sc p05 f31-1page ใบความรู้+หูกับการได้ยิน+ป.5+276+dltvscip5+54sc p05 f31-1page
ใบความรู้+หูกับการได้ยิน+ป.5+276+dltvscip5+54sc p05 f31-1page
 
สรุปเนื้อหา ติว
สรุปเนื้อหา ติวสรุปเนื้อหา ติว
สรุปเนื้อหา ติว
 
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทยคำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
 
การออกเสียง
การออกเสียงการออกเสียง
การออกเสียง
 
ธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษา
 
Sound
SoundSound
Sound
 
เสียงในภาษา
เสียงในภาษาเสียงในภาษา
เสียงในภาษา
 

งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.

  • 1. ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๑ เรื่อง ระบบเสียงและอวัยวะในการออกเสียง ความหมายของภาษา ภาษา หมายถึง เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมายระหว่างมนุษย์ด้วยกัน เพื่อสนอง ความต้องการต่างๆ เสียงในภาษาเกิดขึ้นได้อย่างไร เสียงต่าง ๆ ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นเสียงพูด เสียงร้อง เสียงหัวเราะ เกิดขึ้นจากการสั่นของเส้น เสียง ซึ่งอยู่ภายในลําคอเส้นเสียงจะสั่นได้ต้องมีลมภายในปอดผ่านออกมากระทบกับเส้นเสียง เกิดเป็นเสียง ต่าง ๆ ขึ้น เสียงในภาษาเกิดจากลมจากปอดผ่านหลอดลม กล่องเสียงซึ่งมีเส้นเสียงอยู่ภายใน เส้นเสียงเมื่อ ถูกลมผ่านจะเกิดการสั่นทําให้เกิดเสียง ขณะที่ลมผ่านมาในช่องปาก หรือช่องจมูก จะถูกอวัยวะต่างๆ เช่น ลิ้น เพดานปาก ปุ่มเหงือก ฟันและริมฝีปากกล่อมเกลาลมให้เป็นเสียงต่างๆ ตามที่ผู้พูดต้องการ อวัยวะที่ใช้ในการออกเสียงมีอะไรบ้าง อวัยวะที่ใช้ในการออกเสียมีดังต่อไปนี้ ๑. ปอด ภายในปอดจะมีถุงลมเล็ก ๆ จํานวนมาก เมื่อต้องการเปล่งเสียงต้องอาศัยลมจากปอด อวัยวะออกเสียงบางส่วนก็ เป็นอวัยวะเดียวกับที่ใช้กิน อาหารนั่นเอง
  • 2. ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๒ ระบายลมออกมา เพื่อนํามาใช้ในการเปล่งเสียงพูด ๒. กระบังลม เป็นกล้ามเนื้อผืนใหญ่กั้นอยู่ในช่องท้องอยู่ใต้ปอด เมื่อหายใจเข้า กระบังลมจะเคลื่อน ตัวลงตํ่าทําให้เกิดพื้นที่กักเก็บลมมากขึ้น เมื่อหายใจออกกระบังลมจะถูกยกสูงขึ้น อากาศภายในจะถูกผลัก ออกมาทางหลอดลม ช่องจมูกและปาก ๓. หลอดลม เป็นช่องทางเดินของลมจากปอดมาสู่กล่องเสียง ๔. เส้นเสียง เป็นอวัยวะสําคัญที่ทําให้เกิดเสียง ประกอบด้วยเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อเป็นแผ่น ๒ แผ่น เมื่อจะเปล่งเสียงลมผ่านเส้นเสียง เส้นเสียงสั่นจึงทําให้เกิดเสียง เส้นเสียงตั้งอยู่ตรงกลางกล่องเสียง กล่องเสียง คือ ส่วนที่อยู่เหนือหลอดลมขึ้นมา ตรงที่เราเรียกว่าลูกกระเดือก ๕. ลิ้น เป็นส่วนที่เคลื่อนไหวได้มากที่สุดในการออกเสียง เป็นอวัยวะที่ควบคุมช่องทางเดินของลม จึงทําให้เกิดเป็นเสียงในลักษณะต่างๆ ๖. ลิ้นไก่ เป็นก้อนเนื้อเล็กๆ อยู่ต่อปลายเพดานอ่อนตรงกลางระหว่างช่องปากกับช่องจมูก ๗. ช่องจมูก เป็นโพรงในช่องจมูกอยู่เหนือลิ้นไก่ขึ้นไป เป็นช่องทางเดินลมเมื่อต้องการออกเสียง นาสิก เช่น เสียงพยัญชนะ น ง ม ๘. เพดานอ่อน เป็นส่วนของเพดานปากต่อกับลิ้นไก่ ใช้ในการออกเสียงโดยการเอาลิ้นไปแตะเพื่อ ควบคุมลมในการออกเสียงบางเสียง เช่น เสียงพยัญชนะ ก ค ๙.เพดานแข็ง เป็นส่วนของเพดานปากต่อกับเพดานอ่อน ใช้ในการออกเสียงโดยการเอาลิ้นไปแตะเพื่อ ควบคุมลมในการออกเสียงบางเสียง เช่นเดียวกับเพดานอ่อน เช่น เสียงพยัญชนะ ย จ ช ๑๐. ปุ่ มเหงือก เป็นส่วนที่นูนออกมาตรงบริเวณโคนฟันบนด้านใน ลิ้นแตะอยู่ใกล้บริเวณปุ่มเหงือก เมื่อออกเสียงพยัญชนะ เช่น เสียงพยัญชนะ ด น ล ๑๑. ฟัน เป็นอวัยวะซึ่งเป็นฐานหรือตําแห่งที่เกิดของเสียงหลายชนิด เช่น เมื่อใช้ฟันบนกับริมฝีปาก ล่างควบคุมทางเดินลมให้ลอดช่องพอจะผ่านได้ทําให้เกิดเสียงพยัญชนะ ฟ หรือใช้ลิ้นแตะฟันบนก็สามารถ ออกเสียงพยัญชนะ ต ท ๑๒. ริมฝีปาก เป็นอวัยวะที่สําคัญในการออกเสียงซึ่งทําให้เกิดเสียงแตกต่างกันมาก เช่นใช้ริมฝีปากบน และริมฝีปากล่างปิดกักลมไว้ชั่วครู่ แล้วปล่อยก็จะได้เสียงพยัญชนะ บ ป พ ม ว หากออกเสียงสระก็ใช้ริม ฝีปากกับลิ้นควบคุมลมออกเสียงได้ทั้งหมด เช่น ทําปากห่อกลมลิ้นส่วนหลังอยู่ในระดับสูง กลาง ตํ่า ก็จะได้ เสียงสระ อุ อู โอะ โอ เอาะ ออ ตามลําดับ
  • 3. ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๓ ชนิดและลักษณะของเสียงในภาษาไทย เสียงในภาษาไทย มี ๓ ชนิด คือ เสียงสระ เสียงพยัญชนะ เสียงวรรณยุกต์ ๑. เสียงสระ คือ เสียงที่เกิดจากลมผ่านเส้นเสียง ซึ่งเกร็งตัวชิดกันปิดช่องทางเดินลมจนสั่นสะบัด แล้วออกไปทางช่องปากหรือจมูก โดยที่ไม่ถูกสกัดกั้น ณ ที่ใดที่หนึ่งในช่องทางเดินลม แต่มีการใช้ลิ้นและ ริมฝีปากกล่อมเกลาเสียงให้แตกต่างกันไปได้หลายเสียง ลักษณะสําคัญของเสียงสระมี ๒ อย่าง คือ เป็นเสียงสั่นสะบัดหรือเสียงก้อง และเป็นเสียงผ่าน ออกไปโดยตรง บางครั้งจึงได้ชื่อว่า เสียงแท้ ๒. เสียงพยัญชนะ คือ เสียงที่เกิดจากลมผ่านเส้นเสียง ซึ่งอาจสั่นสะบัดหรือไม่ก็ได้แล้วถูกสกัดกั้น ทั้งหมดหรือบางส่วน ณ ที่ใดที่หนึ่งในช่องทางเดินลม เช่น เพดานอ่อน เพดานแข็ง ปุ่มเหงือก ฟัน ริมฝีปาก และลิ้น ก่อนจะปล่อยออกมาทางช่องปากหรือช่องจมูก ลักษณะสําคัญของเสียงพยัญชนะ คือ เป็นเสียงที่ถูกกักก่อนที่จะผ่านออกไปทางช่องปากหรือช่อง จมูก บางครั้งเรียกว่า เสียงแปร ๓. เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงที่มีการเปลี่ยนระดับสูงตํ่าโดยเส้นเสียง และเปล่งออกมาพร้อมกับ เสียงสระ บางครั้งเรียกว่า เสียงดนตรี บันทึกเพิ่มเติม……………………………………………………………………………………… ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ………………………………………………………………………………………………………………... เนื้อหายากครับครู ช่วย อธิบายเพิ่มเติมหน่อยซิครับ
  • 4. ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๔ บัตรคาถามกิจกรรมที่ ๑ ให้นักเรียนทํากิจกรรมตามลําดับ และ บันทึกผล ๑. ให้นักเรียนเอามือซ้ายวางไว้ใต้ราวนมของตน และใช้หัวแม่มือกับนิ้วชี้หรือนิ้วกลางของมือขวา จับคอตรงลูกกระเดือกแล้วออกเสียงสระ อา อี อู โอ เอียและพยัญชนะ ช ฟ ค โดยออกเสียงเป็น ชึ่ ฟึ่ คึ่ แล้วสังเกตว่าต้องใช้อวัยวะส่วนใดในการออกเสียงบ้าง ขณะที่ออกเสียง ลิ้นและริมฝีปากมีลักษณะเป็น อย่างไร จากนั้นบันทึกผล ……………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ๒. ให้นักเรียนตอบคําถามเพื่อทบทวนความรู้ ๒.๑ ภาษา คือ…………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ๒.๒ เสียงวรรณยุกต์มีความเกี่ยวข้องกับเสียงสระอย่างไร……………………………… ๒.๓ เสียงในภาษาเกิดขึ้นได้อย่างไร…………………………………………………...... ๒.๔ เสียงพยัญชนะแตกต่างจากเสียงสระอย่างไร……………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ๒.๕ คนที่ปากแหว่งออกเสียงบางเสียงไม่ชัด เพราะเหตุใด……………………………... ……………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ตอบคําถามให้ถูกต้องนะจ๊ะ หากไม่เข้าใจ ตรงไหน ทบทวนเนื้อหาอีกครั้ง
  • 5. ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๕ เรื่อง เสียงสระ เสียงสระ คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากปอด หลอดลม กล่องเสียง ผ่านลําคอ ช่องปาก ช่องจมูก โดยสะดวก ลมที่เปล่งออกมาจะไม่ถูกสกัดกั้นจากอวัยวะใดๆ ในปาก แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงระดับของ ลิ้นและรูปริมฝีปาก ขณะที่ออกเสียง เส้นเสียงที่อยู่ในกล่องเสียงจะปิดและเปิดอย่างรวดเร็ว เส้นเสียงจึงมี ความสั่นสะเทือน เกิดความกังวาน ซึ่งเรียกว่า เสียงก้อง เสียงสระจะออกเสียงให้ยาวนาน เช่น อา อี อู โอ เราเรียกเสียงนี้ว่า เสียงแท้ เสียงสระเป็นเสียงที่ช่วยให้พยัญชนะออกเสียงได้ เพราะเสียงพยัญชนะ จะต้องอาศัยเสียงสระช่วยในการออกเสียง เสียงสระในภาษาไทยมี ๒๑ เสียง การจาแนกเสียงสระเสียงสระในภาษาไทยมี ๒๑ เสียง จําแนกตามลักษณะต่างๆ ดังต่อไปนี้ ๑. สระเดี่ยว มี ๑๘ เสียง แบ่งเป็นสระเสียงสั้น ๙ เสียง สระเสียงยาว ๙ เสียง การเกิดเสียงสระเดี่ยว เมื่อลมผ่านเส้นเสียงมาในช่องปาก จะถูกลิ้นและริมฝีปากกล่อมเกลาเสียง ซึ่งอยู่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังนี้ เสียงสระ ลักษณะลิ้น ลักษณะริมฝีปาก สั้น ยาว ส่วนของลิ้น ระดับลิ้น อิ อี ส่วนหน้า กระดกขึ้นสูง เหยียดปิดหรือเกือบปิด เอะ เอ กระดกปานกลาง เหยียดเปิดปานกลาง แอะ แอ ระดับตํ่าหรือปกติ เหยียดเปิดกว้าง อึ อือ ส่วนกลาง กระดกขึ้นสูง เหยียดปิดหรือเกือบปิด เออะ เออ กระดกปานกลาง เหยียดเปิดปานกลาง อะ อา ระดับตํ่าหรือปกติ เหยียดเปิดกว้าง อู อู ส่วนหลัง กระดกขึ้นสูง ห่อกลมปิดหรือเกือบปิด โอะ โอ กระดกปานกลาง ห่อกลมเปิดปานกลาง เอาะ ออ ระดับตํ่าหรือปกติ ห่อกลมเปิดกว้าง ๒. สระประสม มี ๓ เสียง* สระประสมเกิดจากสระเดี่ยวสองเสียง เปล่งเสียงออกมาใน ระยะกระชันชิดกันจนฟังดูเหมือนเปล่งออกมาครั้งเดียว แต่สามารถสังเกตการเกิดเสียงสระประสมได้โดย การสังเกตลิ้นมีการเปลี่ยนระดับและริมฝีปากเปลี่ยนลักษณะขณะออกเสียง
  • 6. ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๖ เสียงสระประสม เสียงสระเดี่ยว เอีย อี + อา อัว อู + อา เอือ อื +อา * หมายเหตุ เสียง เอียะ (อิ + อะ) เอือะ (อึ + อะ) และ อัวะ (อุ + อะ) เมื่อก่อนนับเป็นสระประสม เสียงสั้น แต่นักภาษาศาสตร์ในปัจจุบัน ไม่นับเป็นเสียรสระแล้ว เนื่องจากมีคาใช้น้อย และบางคาก็เป็นคา ที่รับมาจากภาษาอื่น หรือคาภาษาไทยถิ่น เช่น เกียะ เชือะ ความสัมพันธ์ของลิ้นกับริมฝีปากขณะออกเสียงสระประสม ลักษณะของ ริมฝีปาก ระดับ ของลิ้น ส่วนของลิ้น หน้า กลาง หลัง ปิด สูง อิ อี อึ อื อุ อู กึ่งปิดกึ่งเปิด กลาง เอะ เอ เออะ เออ โอะ โอ เปิด ตํ่า แอะ แอ อะ อา เอาะ ออ การเกิดเสียงสระประสม - เอียะ เอีย ใช้ลิ้นและริมฝีปากทําเสียงสระ อิ อี ก่อนแล้วเปลี่ยนเป็นทําเสียงสระ อะ อา - เอือะ เอือ ใช้ลิ้นและริมฝีปากทําเสียงสระ อึ อื ก่อนแล้วเปลี่ยนเป็นทําเสียงสระ อะ อา - อัวะ อัว ใช้ลิ้นและริมฝีปากทําเสียงสระ อุ อู ก่อนแล้วเปลี่ยนเป็นทําเสียงสระ อะ อา สระเกิน มี ๘ รูป ไม่นับเป็นเสียงสระ เพราะมีเสียงพยัญชนะประสมอยู่กับเสียงสระเดี่ยว มีดังนี้ รูปสระ เสียงสระเดี่ยว เสียงพยัญชนะ ตัวอย่าง อํา อะ ม สะกด สํา คํา นํา จํา ไอ อะ ย สะกด ไทย ไป ไหน ไกล นักเรียนลองออกเสียงสระอี อา ๆ ๆ เร็วๆ ดูซิ แล้ว จะเป็นสระ เอียหรือไม่ แล้วสังเกตลิ้นและริม ฝีปากด้วยว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
  • 7. ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๗ ใอ อะ ย สะกด ใจ ใส ใช่ ใกล้ เอา อะ ว สะกด เข้า เก้า เจ้า เสา ฤ * อิ อึ เออ ร ประสม ฤทธิ์ ฤทัย ฤกษ์ ฤา อื ร ประสม ฤาษี ฦ อึ ล ประสม เลิกใช้ ฦา อื ล ประสม เลิกใช้ บันทึกเพิ่มเติม...................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... เสียงสระ หรือเสียงแท้ มีสระเดี่ยว ๑๘ เสียง เสียงสั้น ๙ เสียง เสียงยาว ๙ เสียง สระประสม ๓ เสียง ส่วนสระเกินไม่นับเป็นเสียงสระ เพราะมีเสียงพยัญชนะประสมอยู่ด้วยครับ * หมายเหตุ รูปสระ ฤ เป็นรูปสระที่ออกเสียงสระได้ ๓ เสียง คือ อิ อึ และ เออ โดยมีเสียง พยัญชนะ ร ประสมอยู่ จะออกเสียงอย่างไรขึ้นอยู่ว่า ฤ จะประสมอยู่กับพยัญชนะตัวใด และอยู่ในคําใด เช่น - ฤทธิ์ ออกเสียงว่า ริด (ออกเสียงสระ อิ ) - ฤทัย ออกเสียงว่า รึ – ไท (ออกเสียงสระ อึ ) - ฤกษ์ ออกเสียงว่า เริก (ออกเสียงสระ เออ)
  • 8. ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๘ บัตรคาถามกิจกรรมที่ ๒ ให้นักเรียนตอบคําถามต่อไปนี้ ๑. เสียงสระในภาษาไทยมีทั้งหมด …………………..เสียง แบ่งเป็นสระเดี่ยว………………………....เสียง สระประสม……………………….เสียง ๒. สระเสียงสั้นกับสระเสียงยาวแตกต่างกันอย่างไร………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ๓. จงอธิบายการเกิดเสียงสระเดี่ยว………………………………………………………………………….. ………………………………………………………………………………………………………………. ๔. สระประสมเกิดอย่างไร………………………………………………………………………………….. ……………………………………………………………………………………………………………… ๕. สระเกินไม่นับเป็นเสียงสระเพราะเหตุใด……………………………………………………………….. ……………………………………………………………………………………………………………… ๖. ให้ยกตัวอย่างคําที่มีเสียงสระเดี่ยว ๕ คํา โดยไม่ให้เสียงสระซํ้ากัน……………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ๗. ให้ยกตัวย่างคําที่มีเสียงสระประสม ๕ คํา (ให้มีเสียงสระซํ้ากันได้)…………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ๘. ให้ยกตัวอย่างคําที่มีรูปสระเกิน ๕ คํา โดยไม่ให้รูปซํ้ากัน…………………………………………….. ……………………………………………………………………………………………………………… ๙. สระเสียงใด ขณะออกเสียงริมฝีปากเปิดมากที่สุด………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………… ๑๐. จงอธิบายลักษณะของลิ้นและริมฝีปาก ขณะออกเสียงสระ เอีย……………………………………….. ……………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ๑๑. จงอธิบายลักษณะของลิ้นและริมฝีปาก ขณะออกเสียงสระ อู………………………………………….. ……………………………………………………………………………………………………………… ๑๒.เสียงสระมีลักษณะที่สําคัญอย่างไร…………………………………………………………………….. ……………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………
  • 9. ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๙ เรื่อง เสียงพยัญชนะ เสียงพยัญชนะ คือ การที่ลมออกมาจากปอด ผ่านหลอดลม กล่องเสียง เส้นเสียง สู่ช่องปาก หรือช่องจมูก โดยใช้ลิ้นกล่อมเกลาเสียงให้กระทบกับเพดาน ปุ่มเหงือก ฟัน หรือให้ริมฝีปากกระทบกัน เสียงที่เกิดขึ้นจะถูกสกัดกั้นในลําคอ ช่องปากหรือช่องจมูก โดยอาจจะถูกสกัดกั้นไว้ทั้งหมดหรือถูกสกัดกั้น เพียงบางส่วน เสียงที่เกิดขึ้นลักษณะนี้เรียกว่า เสียงแปร เสียงที่แปรเกิดเป็นเสียงพยัญชนะต่างๆ จํานวน ๒๑ เสียงและมีอักษรแทนเสียงพยัญชนะจํานวน ๔๔ รูป อวัยวะทาให้เกิดเสียงพยัญชนะต่างกัน พยัญชนะเกิดจากลมที่ถูกดันออกมาจากปอดผ่านมาตามหลอดลม กระทบเส้นเสียงในหลอดลม แล้วผ่านมาถึงลําคอ ลมที่ออกมานี้จะถูกกักกันไว้ในส่วนต่างๆ ของปากบางส่วนหรือถูกกักไว้ทั้งหมด แล้ว จึงปล่อยลมนั้นออกมาทางปากหรือขึ้นจมูกก็ได้ ทําให้เรารู้สึกว่าการออกเสียงพยัญชนะไม่สะดวกเท่ากับ การออกเสียงสระ จุดที่ลมถูกกักกั้นแล้วปล่อยให้ลมออกมานั้นเป็นที่เกิดของเสียงพยัญชนะ เราเรียกว่า ที่เกิด ที่ตั้ง หรือฐานกรณ์ พยัญชนะมีที่เกิดหลายแห่งดังนี้ ๑. เส้นเสียง ใช้เส้นเสียงทั้งสองกักลม แล้วปล่อยออกมาเป็นเสียงพยัญชนะ ได้แก่ เสียง อ ฮ ๒. เพดานอ่อน ใช้ลิ้นกับเพดานอ่อนกักลมแล้วปล่อยออกมาจากลําคอ เป็นเสียงพยัญชนะ ได้แก่ เสียง ก ค ง ว ๓. ปุ่ มเหงือก-เพดานแข็ง ใช้ลิ้นไปแตะปุ่มเหงือก-เพดานแข็งกักลม แล้วปล่อยลมออกมาเป็น เสียงพยัญชนะ ได้แก่ เสียง จ ช ๔. เพดานแข็ง ใช้ลิ้นไปแตะที่เพดานแข็งกักลมแล้วปล่อยลมออกมาก เป็นเสียงพยัญชนะ ได้แก่ เสียง ย ๕. ปุ่ มเหงือก ใช้ลิ้นแตะที่ปุ่มเหงือกกักลมแล้วปล่อยออกมาเป็นเสียงพยัญชนะ ได้แก่ ซ ด น ร ล ๖. ฟันบน-ปุ่ มเหงือก ใช้ลิ้นไปแตะที่ฟันบน-ปุ่มเหงือกกักลม แล้วปล่อยลมออกมาเป็นเสียง พยัญชนะ ได้แก่ เสียง ต ท ๗. ริมฝีปากล่างและฟันบน ใช้ริมฝีปากล่างกับฟันบนกักลมไว้บางส่วนเกิดเป็นเสียงพยัญชนะ ได้แก่ เสียง ฟ ๘. ริมฝีปาก ใช้ริมฝีปากบนและริมฝีปากล่างกักลมแล้วปล่อยออกมาเป็นเสียงพยัญชนะได้แก่เสียง บ ป พ ม ว คุณสมบัติและประเภทของเสียงพยัญชนะ ๑. คุณสมบัติของเสียงพยัญชนะ แบ่งเป็น ๔ ลักษณะ ดังนี้
  • 10. ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๑๐ ๑.๑. พยัญชนะเสียงก้อง คือ เสียงที่เกิดขึ้นจากการถูกลมดันออกมากระทบเส้นเสียง อย่างแรง ทําให้เส้นเสียงสะบัดมาก เสียงที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะเสียงก้อง มี ๑๐ เสียง คือ บ ด อ ม ง ร ล ว ย ๑.๒. พยัญชนะเสียงไม่ก้อง คือ เสียงที่เกิดจากลมที่ถูกดันออกมาขณะที่เส้นเสียงอยู่ใน ลักษณะเปิด ลมพุ่งออกมาโดยสะดวก ไม่สั่นสะเทือนแรงมากนัก จะมีลักษณะเสียงไม่ก้อง มี ๑๑ เสียง คือ ก ค ป พ ต ท จ ช ฟ ซ ฮ ๑.๓. พยัญชนะเสียงหนัก คือ พยัญชนะเสียงไม่ก้อง ที่ขณะออกเสียงมีลมจํานวนหนึ่งพุ่ง ออกมาด้วย มี ๔ เสียง คือ พ ท ซ ค ๑.๔. พยัญชนะเสียงเบา คือ พยัญชนะที่ขณะออกเสียงไม่มีกลุ่มลมพุ่งตามมา มี ๔ เสียง คือ ป ต จ ก ๒. ประเภทของเสียงพยัญชนะ สามารถแยกได้เป็น ๖ ประเภท ดังนี้ ๒.๑. เสียงพยัญชนะระเบิด คือ พยัญชนะที่เกิดจากลมถูกกักไว้ในช่องปาก แล้วให้ลมพุ่ง ออกมาอย่างรวดเร็ว มี ๑๑ เสียง คือ ก ค จ ช ด ต ท บ ป พ อ ๒.๒. พยัญชนะเสียงเสียดแทรก คือ พยัญชนะที่เกิดจากลมที่พุ่งออกมา แล้วถูกบีบตัวให้ เสียดแทรกออกมา เช่น เสียง ฟ ซ ฮ ๒.๓. พยัญชนะเสียงนาสิก คือ พยัญชนะที่เกิดจากลมดันออกมาทางจมูก เช่น เสียง ง ม น ๒.๔. พยัญชนะเสียงกระทบ คือ พยัญชนะที่เกิดจากเสียงที่ลมผ่านออกมาแล้วกระทบลิ้น ที่กระดกขึ้นไปแตะปุ่มเหงือกแล้วสะบัดลงอย่างรวดเร็วเพียงครั้งเดียว ได้แก่ เสียง ร ๒.๕. พยัญชนะข้างลิ้น คือ เสียงพยัญชนะที่เกิดจากลมที่ลิ้นกักเอาไว้ แล้วยกขึ้นไปแตะ ปุ่มเหงือก ปล่อยให้ลมออกมาทางข้างลิ้น เรียกว่า พยัญชนะข้างลิ้น ได้แก่ เสียง ล ๒.๖. พยัญชนะกึ่งสระ คือ เสียงพยัญชนะที่เกิดขึ้นจากลําคอและเปล่งเสียงออกมา โดย ไม่ถูกสกัดกั้นคล้ายเสียงสระ ได้แก่ เสียง ว ย ตั้งใจศึกษาเนื้อหานะครับ ไม่เข้าใจตรงไหนถามครูได้เลยครับ
  • 11. ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๑๑ พยัญชนะไทยมี ๔๔ รูป มีเสียง ๒๑ เสียง เนื่องจากพยัญชนะบางรูปเสียงซํ้ากัน ดังนี้ เสียงพยัญชนะไทย ๒๑ เสียง รูปพยัญชนะไทย ๔๔ รูป ๑.ก ก ๒.ค ข ฃ ค ฅ ฆ ๓.ง ง ๔.จ จ ๕.ช ฉ ช ฌ ๖.ซ ซ ศ ษ ส ๗.ด ฎ ด (ฑ ในบางคํา เช่น มณฑป) ๘.ต ฏ ต ๙.ท ฐ ฑ ฒ ท ธ ถ ๑๐.น ณ น ๑๑.บ บ ๑๒.ป ป ๑๓.พ พ ภ ผ ๑๔.ฟ ฟ ฝ ๑๕.ม ม ๑๖.ย ย ญ ๑๗.ร ร ๑๘.ล ล ฬ ๑๙.ว ว ๒๐.ฮ ฮ ห ๒๑.อ อ พยัญชนะทั้ง ๒๑ เสียงเป็นพยัญชนะต้นพยางค์ได้ทั้ง ๒๑ เสียง นักเรียนต้องออกเสียงพยัญชนะทั้ง ๒๑ เสียง ให้ถูกต้องนะครับ โดยเฉพาะเวลาพูด พยัญชนะแต่ละเสียงมีวิธีการออกเสียงต่างกัน พยัญชนะที่นักเรียนออกเสียงไม่ชัด ต้องพยายามฝึกฝนนะครับ เช่น ร ล ง ฮ พยัญชนะเหล่านี้อาจออกเสียงคล้ายกัน แต่จริงๆ แล้ว ออกเสียงไม่เหมือนกันเลย
  • 12. ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๑๒ เสียงพยัญชนะควบกล้า เสียงพยัญชนะควบกลํ้า คือ เสียงพยัญชนะต้นในพยางค์หรือคําที่ออกเสียงพยัญชนะต้น ๒ เสียงพร้อมกัน โดยมีพยัญชนะ ร ล ว เป็นตัวควบกลํ้า พยัญชนะควบกลํ้าบางครั้งเรียกว่า อักษรควบแท้ สําหรับคําไทยแท้มีพยัญชนะควบกลํ้า ๑๑ เสียงดังนี้ พยัญชนะควบกล้า ตัวอย่างคา ๑.กร กราบ เกรง กรม ๒.กล กล้า กลัว กลืน ๓.กว กว่า กวาง กวัก ๔.คร ขร ครู เคร่ง ขรุขระ ขรัว ๕.คล ขล คลาน คล้าย ขลัง ขลาด ๖.คว ขว ควาย ความ ขวิด ขวา ๗.พร พระ พร้อม พรุ่ง ๘.พล ผล พลาด พลาง ผลาญ แผล ๙.ปร ปราง เปรียบ แปรง ๑๐.ปล เปลี่ยนแปลง ปลา ๑๑.ตร ตรา ตรวจ เตรียม และยังมีเสียงพยัญชนะควบกลํ้าต้นพยางค์ ซึ่งเป็นคําที่มาจากภาษาอื่น เช่น เสียงพยัญชนะควบกล้า ตัวอย่าง มาจากภาษา ๑. ทร ภัทรา อินทรา สันสกฤต ๒. ฟร ฟรี อังกฤษ ๓. ฟล ฟลุก อังกฤษ ๔. ดร ดราฟท์ อังกฤษ ๕. บร บรั่นดี อังกฤษ ๖. บล บล็อก อังกฤษ นักเรียนเขียนตัวอย่างคํา เพิ่มเติมให้มากๆ ซิจ๊ะ
  • 13. ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๑๓ เสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ เสียงพยัญชนะท้ายพยางค์หรือมาตราตัวสะกด ในภาษาไทยมี ๘ เสียง ดังนี้ เสียงพยัญชนะ ตัวสะกด มาตรา หรือ แม่ ตัวอย่างคา ก กก กัก สุข โรค เมฆ ง กง จึง ขัง ด่าง ด (ต) กด พูด กิจ คช ก๊าซ กฎ รัฐ ครุฑ วุฒิ รถ บาท รส พัฒน์ ฆาต พิษ พิศ พยาธิ ชัฏ น กน คน หาญ คุณ พร ผล กาฬ บ (ป) กบ กับ บาป ภาพ กราฟ โลภ ม กม กลม ข้าม ย เกย กาย เขย คุย ว เกอว ก้าว เขียว แมว บันทึกเพิ่มเติม..................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ...........................................................................................................................................................................
  • 14. ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๑๔ บัตรคาถามกิจกรรมที่ ๓ ให้นักเรียนตอบคําถามต่อไปนี้ ๑.เสียงพยัญชนะต้นในภาษาไทยมี………………………………เสียง มี…………...…………………รูป ๒.เสียงพยัญชนะท้ายมี……………………เสียง มี…………………………แม่ คือ.................................... ……………………………………………………………………………………………………………… ๓.เสียงพยัญชนะควบกลํ้าในภาษาไทยมี………………..เสียง คือ…………………………….…………… ……………………………………………………………………………………………………………… ๔.แม่ ก กา คือ………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………… ๕.มาตราสะกดที่ใช้พยัญชนะสะกดตัวเดียวคือ……………………………………………………………... ……………………………………………………………………………………………………………… ๖.พยัญชนะไทยที่ไม่ใช้เป็นตัวสะกดมี………..…ตัว คือ………………………………………………….. ……………………………………………………………………………………………………………… ๗.ให้นักเรียนยกตัวอย่างคําที่มีตัวสะกดในแม่ กด มา ๑๐ คํา……………………………………................ ……………………………………………………………………………………………………………… ๘.ให้นักเรียนยกตัวอย่างคําที่มีพยัญชนะควบกลํ้ามา ๑๐ คํา……………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ๙. พยัญชนะไทยตัวใดที่ออกเสียงได้ ๒ เสียง ให้ยกตัวอย่างคําประกอบด้วย............................................... ………………………………………………………………………………………………………………..
  • 15. ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๑๕ ๑๐. ให้นักเรียนพิจารณาว่าคําต่อไปนี้ตัวสะกดอยู่แม่ใด แล้วนําคําเหล่าไปเขียนในตารางให้ตรงตามมาตรา ตัวสะกด ดอก คลึง กาน นาค สมัคร เมฆ วุฒิ เหตุ กาฬ ภาพ เขียน หาญ กอปร ฆาต ธาตุ บาท ครุฑ มิตร จันทร์ ศุกร์ แกง คลาน โจม แล้ว คุย เลย ดอน พร ผล รัฐ บาล ญาติ นั่ง รส สมุทร เนตร สรรค์ สวย มาตร นุช อรรถ พรรค พยัคฆ์ ยุค กล พรรณ ธรรม ยนตร์ สิทธิ์ มาตรา หรือ แม่ คา กก กง กด กน กบ กม เกย เกอว นักเรียนต้องตั้งใจตอบคําถามนะครับ ไม่เข้าใจตรงไหนก็ศึกษาเนื้อหาอีกครั้งซิ ครับ คําถามบ้างข้อที่ให้ยกตัวอย่างคํา นักเรียนตอบ แล้วอาจจะไม่ตรงกับบัตรเฉลย ถ้าไม่แน่ใจว่า ผิดหรือถูกก็เอาให้ครูตรวจอีกทีนะครับ
  • 16. ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๑๖ เรื่อง เสียงวรรณยุกต์ จัตวา สามัญ เอก แผนภาพแสดงระดับเสียงวรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงที่มีทํานองสูง ตํ่า เหมือนเสียงดนตรี เราจะได้ยินเสียงวรรณยุกต์ขณะที่ เราออกเสียงพยัญชนะหรือออกเสียงสระ เสียงวรรณยุกต์ขณะออกเสียงจะใช้ลิ้นเกล่อมเกลาเสียง จึงเกิดเป็น เสียงสูงตํ่า บางเสียงอยู่ระหว่างเสียงสูงกับเสียงตํ่า บางทีก็เป็นเสียงตํ่าแล้วค่อยๆ เลื่อนไปสู่เสียงสูง เราเรียก เสียงเสียงสูงตํ่าเหมือนเสียงดนตรีนี้ว่า เสียงวรรณยุกต์ หรือ เสียงดนตรี เสียงวรรณยุกต์มี ๕ เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา เสียงวรรณยุกต์มีความสําคัญมาก เพราะเสียงที่มีระดับเสียงตํ่าสูงต่างกัน ทําให้ความหมายของคําเปลี่ยนไป เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมาตรฐาน มี ๕ เสียง คือ ๑. เสียงสามัญ คือ เสียงระดับปานกลางและมีระดับคงที่ตลอดไป แต่ตกตอนท้ายนิดหนึ่ง เช่น กา นอน ใน รัง ไม่มีรูปวรรณยุกต์ ปรากฏเสียงสามัญเฉพาะในคาเป็นเท่านั้น คําตายไม่มีเสียงสามัญ ๒. เสียงเอก คือ เสียงที่เริ่มต้นระดับตํ่ากว่าเสียงสามัญเล็กน้อย แล้วลดระดับตํ่ากว่าเสียงสามัญ คาเป็น เสียงคงที่ชั่วระยะหนึ่งแล้วค่อยๆ ลดลงเล็กน้อย เช่น ด่าง แข่ง ต่อ สู่ มีรูปวรรณยุกต์เอก ( ่่ ) คาตาย เสียงจะคงระดับตลอด เช่น เด็ก กัด จะ เจ็บ ไม่มีรูปวรรณยุกต์
  • 17. ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๑๗ ๓. เสียงโท คือ เสียงที่เริ่มต้นระดับสูงสุดแล้วค่อยๆ ลดระดับลงมาตํ่าที่สุด ในคําที่มีพยัญชนะต้น เป็นอักษรกลางและสูงจะมีรูปวรรณยุกต์โท ( ่้ ) เช่น ด้าน ต้าน สู้ ห้า หากพยัญชนะต้นเป็นอักษรต่าคา เป็นจะมีรูปวรรณยุกต์เอก ( ่่ ) เช่น ท่อ ที่ ย่า ล่าง ว่าน คู่ แม่ แน่น ถ้าพยัญชนะต้นเป็นอักษรต่า คาตายจะไม่มีรูปวรรณยุกต์ เช่น ลาด มาก ๔. เสียงตรี คือ เสียงที่เริ่มต้นสูงกว่าเสียงสามัญเล็กน้อย คาตาย เสียงคงระดับสูงและตกลงตอนท้าย เล็กน้อย ในคําที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรกลางจะมีรูปวรรณยุกต์ตรี ( ่๊ ) เช่น ก๊าซ จ๊ะ โต๊ะ โป๊ ะ หากพยัญชนะต้นเป็นอักษรต่าคาตายจะไม่มีรูปวรรณยุกต์ เช่น คิด ลึก นะ ส่วน คาเป็น เสียงคงระดับสูง ไปตลอดในคําที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรกลางจะมีรูปวรรณยุกต์ตรี ( ่๊ ) เช่น ป๊า ด๊า โต๊ะ ถ้าพยัญชนะ ต้นเป็นอักษรต่าจะมีรูปวรรณยุกต์โท ( ่้ ) เช่น รู้ แล้ว คล้อง ไว้ ค้าน แท้ ๕. เสียงจัตวา คือ เสียงที่เริ่มในระดับตํ่าสุดแล้วลดตํ่าลงอีก ต่อจากนั้นเปลี่ยนระดับขึ้นสูงสุด ในคําที่ มีพยัญชนะต้นอักษรกลางคาเป็นจะมีรูปวรรณยุกต์จัตวา ( ่๋ ) เช่น ป๋ า ก๋า หากพยัญชนะต้นเป็นอักษร สูงคาเป็นจะไม่มีรูปวรรณยุกต์ เช่น หนู เห็น เขา สูง ไหม ลักษณะเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทย มี ๒ พวก คือ ก. วรรณยุกต์เสียงระดับ มีระดับเสียงค่อนข้างคงที่ไปตลอด มี ๓ เสียง คือ สามัญ เอก ตรี ข. วรรณยุกต์เสียงเลื่อน มีการเปลี่ยนแปลงระดับเสียง มี ๒ เสียง คือ โท เลื่อนจากสูงลงตํ่า จัตวา เลื่อนจากตํ่าขึ้นไปสูง ความสาคัญของเสียงวรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์เป็นตัวกําหนดความหมายของคําให้มีความแตกต่างกัน และช่วยให้สําเนียงการพูดมี ระดับเสียงสูงตํ่าเกิดความไพเราะ ข้อสังเกตเกี่ยวกับวรรณยุกต์ ๑. คาไทยทุกคาต้องมีเสียงวรรณยุกต์ คําที่ใช้ในภาษาไทย มีทั้งคําที่มีและไม่มีรูปวรรณยุกต์กํากับ แต่ทุกคําจะต้องมีเสียงวรรณยุกต์ ซึ่งเสียงวรรณยุกต์อาจไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์ที่กํากับอยู่ก็ได้ ๑.๑ คําที่มีรูปวรรณยุกต์และเสียงตรงกับรูปวรรณยุกต์ เช่น - คําว่า “ การ” ไม่มีรูปวรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงสามัญ - คําว่า “ สิ่ง” มีรูปวรรณยุกต์เอก เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงเอก - คําว่า “ห้าม” มีรูปวรรณยุกต์โท เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงโท - คําว่า “โต๊ะ” มีรูปวรรณยุกต์ตรี เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงตรี - คําว่า “ป๋ า” มีรูปวรรณยุกต์จัตวา เสียงวรรณยุกต์คือ เสียงจัตวา ๑.๒. คําที่ออกเสียงวรรณยุกต์ไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์ เช่น - คําว่า “แพร่ น่า เที่ยว” มีรูปวรรณยุกต์เอก แต่ออกเสียงเป็นวรรณยุกต์โท - คําว่า “น้า ค้า ไม้” มีรูปวรรณยุกต์โท แต่ออกเสียงเป็นวรรณยุกต์ตรี
  • 18. ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๑๘ ๑.๓. คําในภาษาไทยทุกคําจะมีเสียงวรรณยุกต์ทั้งหมด แม้ว่าคํานั้นจะไม่มีรูปวรรณยุกต์ก็ ตาม เช่น - คําว่า “ ยาย” ไม่มีรูปวรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์คือ เสียงสามัญ - คําว่า “ปัด” ไม่มีรูปวรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงเอก - คําว่า “นาค” ไม่มีรูปวรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงโท - คําว่า “คิด” ไม่มีรูปวรรณยุกต์เสียงวรรณยุกต์คือ เสียงตรี - คําว่า “สาย” ไม่มีรูปวรรณยุกต์เสียงวรรณยุกต์คือ เสียงจัตวา ๒. คาที่ประสมด้วยสระเสียงยาว เมื่อเติมวรรณยุกต์แล้ว อาจจะออกเสียงสั้น หรืออาจจะคงเสียง ยาวตามเดิมก็ได้ ๒.๑. เติมรูปวรรณยุกต์แล้วออกเสียงสั้น เช่น เดน - เด่น, เลน - เล่น ๒.๒. เติมรูปวรรณยุกต์แล้วยังคงออกเสียงยาวตามเดิม เช่น หาม - ห้าม, ดวง - ด้วง บันทึกเพิ่มเติม...................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... นักเรียนลองเอาชื่อของตัวเองและเพื่อนๆ ในกลุ่ม แล้วช่วยกันคิดว่าแต่ละพยางค์มีเสียงวรรณยุกต์อะไร เช่น สุเทพ สุ เสียง วรรณยุกต์ เอก เทพ เสียง วรรณยุกต์ โท ลองคิดซิจ๊ะ
  • 19. ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๑๙ บัตรคาถามกิจกรรมที่ ๔ ให้นักเรียนตอบคําถามต่อไปนี้ ๑. เสียงวรรณยุกต์มีลักษณะอย่างไร………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ๒. เสียงวรรณยุกต์มีความสําคัญอย่างไร…………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ๓. เสียงวรรณยุกต์ระดับมีเสียงอะไรบ้าง…………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ๔. เสียงวรรณยุกต์เลื่อนมีลักษณะอย่างไร…………………………………………………………............... ……………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ๕. เสียงวรรณยุกต์ใดที่มีระดับเสียงสูงที่สุด………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ๖. เสียงวรรณยุกต์ใดที่มีระดับเสียงตํ่าที่สุด………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ๗. เสียงวรรณยุกต์ใดที่มีระดับเสียงของคําเป็น และคําตาย ต่างกันเล็กน้อยในตอนท้ายเสียง……………… ……………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ๘. จงผันเสียงวรรณยุกต์ของคําต่อไปนี้ ให้เป็นคําที่มีความหมายต่างกัน ให้ได้มากที่สุด - ขาว………………………………………………………………………………………………
  • 20. ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๒๐ - เสือ……………………………………………………………………………………………… - ปา……………………………………………………………………………………………… - คาง……………………………………………………………………………............................. - กาน……………………………………………………………………………………………… - ทาย……………………………………………………………………………………………… - บาน……………………………………………………………………………………………… - พอ……………………………………………………………………………………………… ๙. เสียงวรรณยุกต์ใดที่มีเฉพาะคําเป็นเท่านั้น.................................................................................................... ๑๐.ให้บอกเสียงวรรณยุกต์ของคําในข้อความต่อไปนี้ “บางคนดูเปลือกนอกคล้ายเย็นชากระด้าง แต่ใจจริง กลับเป็นมิตรสหายที่มีคุณธรรมดีงาม ความที่ไม่ปรารถนาโอ้อวดความจริงใจของตน น้าใจจึงยิ่งมากยิ่ง บริสุทธิ์แท้จริง” (คําที่ขีดเส้นใต้ไม่ต้องเอา) - เสียงสามัญ…………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………….. - เสียงเอก…………………………………………………………………………….………… ……………………………………………………………………………………………………………… - เสียงโท………………………………………………………………………………………... ……………………………………………………………………………………………………………… - เสียงตรี………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… - เสียงจัตวา……………………………………………………………………………………… นักเรียนฝึกผันเสียงวรรณยุกต์จากคําในคําถามให้ถูกต้องนะครับ พยายามเทียบเสียงเช่น เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า โดยการไล่เสียงด้วย การใช้นิ้วมือนะครับ กา นิ้วก้อย ก่า นิ้วนาง ก้า นิ้วกลาง ก๊า นิ้วชี้ ก๋า นิ้วโป้ ง
  • 21. ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๒๑ เรื่อง พยางค์ และคา ความหมายของพยางค์ พยางค์เกิดจากการเปล่งเสียงพยัญชนะ เสียงสระและเสียงวรรณยุกต์ตามกันออกมาอย่างกระชั้นชิด จนฟังดูเหมือนกับเปล่งเสียงออกมาในครั้งเดียวกัน ซึ่งเรียกว่า การประสมเสียงในภาษา เสียงที่เกิดจาก การประสมเสียง จึงเรียกว่า พยางค์ พยางค์ คือ เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่งๆ ซึ่งมีเสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ เสียงวรรณยุกต์และ บางพยางค์อาจจะมีเสียงพยัญชนะท้าย พยางค์อาจจะเป็นคําก็ได้ถ้าพยางค์นั้นมีความหมาย ดังตัวอย่าง ต่อไปนี้ กิน เป็น ๑ พยางค์ ๑ คํา สามี เป็น ๒ พยางค์ ๑ คํา นาฬิกา เป็น ๓ พยางค์ ๑ คํา องค์ประกอบของพยางค์ พยางค์ในภาษาไทยมีองค์ประกอบสําคัญอย่างน้อย ๓ ส่วน คือ ๑. เสียงพยัญชนะต้น ได้แก่ เสียงพยัญชนะที่เปล่งออกมาก่อนเสียงอื่น พยัญชนะต้นอาจเป็น พยัญชนะต้นเดี่ยว หรือพยัญชนะต้นควบ เช่น ก้าง กับ กว้าง ตัวอักษรที่พิมพ์ตัวหนาเป็นพยัญชนะต้นเดี่ยว และต้นควบตามลําดับ ๒. เสียงสระ ได้แก่ เสียงที่ออกตามเสียงพยัญชนะอย่างรวดเร็ว ทําให้พยัญชนะต้นออกเสียงได้ ชัดเจน เสียงสระอาจเป็นสระเดี่ยวเสียงสั้น สระเดี่ยวเสียงยาว หรือสระประสมเสียงใดเสียงหนึ่ง ๓. เสียงวรรณยุกต์ ได้แก่ เสียงสูงตํ่าที่เปล่งออกมาพร้อม ๆ กับเสียงสระ นอกจากนี้พยางค์บางพยางค์อาจมีองค์ประกอบเพิ่มขึ้นอีก ๑ ส่วน คือ เสียงพยัญชนะท้ายหรือ เสียงตัวสะกด พยัญชนะสะกดในภาษาไทยมี ๘ เสียง ได้แก่ เสียงพยัญชนะในแม่ กก กด กบ กง กน กม เกย เกอว ดังนี้ ๑. เสียงสะกดแม่ กก ได้แก่ พยัญชนะสะกดที่มีเสียงเหมือนเสียง ก สะกด เช่น พก มุข นาค เมฆ ๒. เสียงสะกดแม่ กด ได้แก่ พยัญชนะสะกดที่มีเสียงเหมือน ด สะกด เช่น มด ราชกิจ ทศพิต คช ก๊าซ เศษ อาพาธ อากาศ โอกาส พัฒนา ๓. เสียงสะกดแม่ กบ ได้แก่ พยัญชนะสะกดที่มีเสียงเหมือน บ สะกด เช่น ปรับ บาป ภาพ กราฟ ๔. เสียงสะกดแม่ กง ได้แก่ พยัญชนะสะกดที่มีเสียง ง สะกด เช่น คง พง ปลง
  • 22. ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๒๒ ๕. เสียงสะกดแม่ กน ได้แก่ พยัญชนะสะกดที่มีเสียงเหมือน น สะกด เช่น ทน หล กร กาฬ หาญ ไพรสณฑ์ ๖. เสียงสะกดแม่ กม ได้แก่ พยัญชนะสะกดที่มีเสียง ม สะกด เช่น กลม บังคม ธรรม ๗. เสียงสะกดแม่ เกย ได้แก่ พยัญชนะที่มีเสียง ย สะกด เช่น เชย เลย กาย ขาย โกย ๘. เสียงสะกดแม่ เกอว ได้แก่ พยัญชนะที่มีเสียง ว สะกด เช่น ขาว แล้ว เสียว เอว เร็ว พยางค์ที่ไม่มีพยัญชนะท้าย เรียกว่า พยางค์เปิด พยางค์ที่มีพยัญชนะท้าย เรียกว่า พยางค์ปิด องค์ประกอบของคา คํามีองค์ประกอบเช่นเดียวกับพยางค์ คือ ๑. เสียงพยัญชนะต้น ๒. เสียงสระ ๓. เสียงวรรณยุกต์ ๔.เสียงพยัญชนะท้าย หรือเสียงมาตราตัวสะกด ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มี ก็แล้วแต่คํา ๕.ความหมาย ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สําคัญของคําที่ต้องมี คําอาจมีพยางค์เดียว หรือหลายพยางค์ก็ได้ คําพยางค์เดียว เช่น ลุง ป้ า น้า พ่อ แม่ พี่ น้อง กิน นั่ง นอน เดิน คําหลายพยางค์ เช่น บิดา มารยาท ศีรษะ นาฬิกา สบาย ทะเล เป็นอย่างไรบ้างครับ ศึกษาเนื้อหากันมาถึง เรื่อง พยางค์และคําแล้วนะ ตอนนี้แยกออก หรือยังว่าพยางค์ต่างจากคําอย่างไร
  • 23. ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๒๓ บัตรคาถามกิจกรรมที่ ๕ ให้นักเรียนตอบคําถามต่อไปนี้ ๑. พยางค์มีองค์ประกอบที่สําคัญคือ………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ๒. คํา มีลักษณะต่างจาก พยางค์อย่างไร…………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ๓. พยางค์ปิดมีลักษณะอย่างไร……………………………………………………………………………… ๔. พยางค์เปิดมีลักษณะต่างจากพยางค์ปิดอย่างไร………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………… ๕. ให้ยกตัวอย่างคําที่มีลักษณะต่อไปนี้ ๕.๑ พยางค์เปิด ๕ คํา…………………………………………………………………………… ๕.๒ พยางค์ปิด ๕ คํา…………………………………………………………………................. ๕.๓ คําที่มี ๒ พยางค์ ๕ คํา……………………………………………………………………… ๕.๔ คําที่มี ๓ พยางค์ ๕ คํา……………………………………………………………………… ๕.๕ คําที่มี ๔ พยางค์ ๕ คํา……………………………………………………………………… ๕.๖ คําที่มีตัวสะกดแม่ กก ๕ คํา..................................................................................................... ๕.๗ คําที่มีตัวสะกดแม่ กง ๕ คํา..................................................................................................... ๕.๘ คําที่มีตัวสะกดแม่ กด ๕ คํา..................................................................................................... ๕.๙ คําที่มีตัวสะกดแม่ กน ๕ คํา..................................................................................................... ๕.๑๐ คําที่มีตัวสะกดแม่ กบ ๕ คํา................................................................................................... ๕.๑๑ คําที่มีตัวสะกดแม่ เกย ๕ คํา.................................................................................................. ๕.๑๒ คําที่มีตัวสะกดแม่ เกอว ๕ คํา............................................................................................... คําถามไม่ยากนะครับ เพื่อนๆ ช่วยกันหาคําตอบและ ยกตัวอย่างคําให้ได้มากๆ นะครับ
  • 24. ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๒๔ เรื่อง อักษรแทนเสียงสระ รูปสระ คือ ส่วนประกอบของเครื่องหมายที่ใช้เขียนแทนเสียงสระ มีทั้งหมด ๒๑ รูป ซึ่งมีชื่อ วิธีการ เขียนและวิธีใช้ดังนี้ รูปที่ รูป ชื่อรูป วิธีใช้ ๑ ะ วิสรรชนีย์ ใช้เป็นสระอะ เมื่ออยู่หลังพยัญชนะ เช่น จะ มะ และใช้ประสมกับ สระรูปอื่นให้เป็นเสียงสระอื่น เช่น เละ แกะ โต๊ะ เอียะ อัวะ ๒ ่ั ไม้ผัด ไม้หัน อากาศ ใช้เขียนบนพยัญชนะแทนเสียงสระอะเมื่อมีตัวสะกด เช่น จัด และ ประสมกับสระรูปอื่น เช่น วัว ผัวะ ๓ ่็ ไม้ไต่คู้ ใช้เขียนไว้บนพยัญชนะที่ประสมกับรัสสระที่มีวิสรรชนีย์ เพื่อแทน วิสรรชนีย์เมื่อมีตัวสะกด เช่น เป็ด (เปะ+ด) และใช้แทนสระเอาะที่มี วรรณยุกต์โท ซึ่งมีคําเดียวคือคําว่า ก็ (เก้าะ) ๔ า ลากข้าง ใช้เป็นสระอา สําหรับเขียนหลังพยัญชนะและใช้ประสมกับรูปสระรูป อื่นเป็นสระ เอาะ อํา เอา เช่น เงาะ นํา เรา ๕ ่ิ พินทุ์อิ ใช้เป็นสระอิ สําหรับเขียนไว้บนพยัญชนะ เช่น ทิ ปริ และใช้ประสมกับ สระรูปอื่นให้เป็นสระ อี อือ เอียะ เอีย เอือะ เอือ เช่น มี คือ เกี๊ยะ เมีย เรือ ๖ ่่ ฝนทอง ใช้เขียนไว้ข้างบนพินทุ์อิ ทําให้เป็นสระอี เช่น ดี สี ผี ๗ " ฟันหนู ใช้เขียนไว้ข้างบนพินทุ์อิเป็นสระอือ เอือะ เอือ เช่น คือ เสือ ๘ ํ หยาดนํ้าค้าง นฤคหิต ใช้เขียนไว้ข้างบนลากข้าง ทําให้เป็นสระอํา ( ำํา) และเขียนบนพินทุ์อิ เป็นสระอึ เช่น คํา นํา ปรึกษา ศึกษา รูปที่ รูป ชื่อรูป วิธีใช้ ๙ ุ่ ตีนเหยียด ใช้เป็นสระอุ เขียนไว้ข้างล่างตรงเส้นหลังของพยัญชนะเช่น จุ ๑๐ ู่ ตีนคู้ ใช้เป็นสระอู เขียนไว้ข้างล่างตรงเส้นหลังของพยัญชนะต้น เช่น ครู ๑๑ เ ไม้หน้า ใช้เป็นสระเอ สําหรับเขียนไว้ข้างหน้าพยัญชนะ เช่น เกเร ถ้าใช้สองรูป ด้วยกันจะเป็นสระแอ และใช้ประสมกับสระรูปอื่นให้เป็นสระอื่น เช่น เอือ เอา เออะ เอียะ เอีย เอาะ แอะ
  • 25. ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๒๕ ๑๒ ใ ไม้ม้วน ใช้เป็นสระใอ สําหรับเขียนไว้หน้าพยัญชนะ เช่น ใช่ ให้ ใน มีใช้ เฉพาะคําไทยจํานวน ๒๐ เท่านั้น ๑๓ ไ ไม้มลาย ใช้เป็นสระไอ สําหรับเขียนไว้ข้างหน้าพยัญชนะ เช่น ไป ไหน ฯลฯ ๑๔ โ ไม้โอ ใช้เป็นสระโอ สําหรับเขียนไว้ข้างหน้าพยัญชนะ เช่น โต โค ใช้ ประสมกับวิสรรชนีย์ทําให้เป็นสระ โอะ เช่น โต๊ะ โละ ๑๕ ฤ ตัวรึ ใช้เป็นสระ ฤ จะใช้โดดๆ เช่น ฤดี หรือจะใช้ประสมกับพยัญชนะ (ต้อง เขียนไว้หลังพยัญชนะ) และออกเสียงสระได้หลายเสียง ออกเสียงเป็น ริ เช่น กฤตพล ออกเสียงเป็น รึ เช่น ฤดี หฤทัย พฤกษาคม ออกเสียง เป็น เรอ เช่น ฤกษ์ ๑๖ ฤๅ ตัวรือ ใช้เป็นสระ ฤๅ ใช้โดดๆ เช่น ฤๅไม่ หรือใช้เป็นพยางค์หน้าของคํา เช่น ฤๅษี ๑๗ ฦ ตัวลึ ใช้เป็นสระ ฦ (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว) ๑๘ ฦๅ ตัวลือ ใช้เป็นสระ ฦๅ (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว) ๑๙ ย ตัวยอ ใช้ประสมกับรูปสระรูปอื่น ทําให้เป็นสระอื่น เช่น สระเอีย เอียะ ๒๐ ว ตัววอ ใช้ประสมกับสระรูปอื่น เป็นสระ อัวะ อัว ๒๑ อ ตัวออ ใช้เขียนหลังพยัญชนะเป็นสระ ออ และประสมกับรูปสระรูปอื่น เป็น สระ อือ เออะ เอือะ เอือ การใช้รูปสระ สระ ๒๑ รูป ใช้เขียนแทนเสียงสระ ๓๒ เสียง บางเสียงใช้สระรูปเดียว บางเสียงใช้สระหลายรูป ประกอบกันดังนี้ เสียง รูป จานวนรูป ๑. อะ -ะ ๑ ๒. อา -า ๑ ๓. อิ -่ิ ๑ ๔. อี -่ิ ่่ ๒ ๕. อึ -่ิ ่ํ ๒ ๖. อื -่ิ " ๒ ๗. อุ -ุ่ ๑ ๘. อู -ู่ ๑
  • 26. ชุดการเรียน เรื่อง เสียงและอักษรแทนเสียงในภาษาไทย วิชาหลักภาษาไทย ท ๓๐๒๐๓ ชั้น ม.๕ หน้าที่ ๒๖ ๙. เอะ เ-ะ ๒ ๑๐. เอ เ ๑ ๑๑. แอะ แ-ะ ๓ ๑๒. แอ แ ๒ ๑๓. เอียะ เ-่ิ ่่ ยะ ๕ ๑๔. เอีย เ-่ิ ่่ ย ๔ ๑๕. เอือะ เ-่ิ " อ ะ ๕ ๑๖. เอือ เ-่ิ " อ ๔ ๑๗. อัวะ ่ั ว ะ ๓ ๑๘. อัว ่ั ว ๒ ๑๙. โอะ โ ะ ๒ ๒๐. โอ โ ๑ ๒๑. เอาะ เ า ะ ๓ ๒๒. ออ อ ๑ ๒๓. เออะ เ อ ะ ๓ ๒๔. เออ เ อ ๒ ๒๕. อํา (อะ+ม สะกด) ่ํา ๒ ๒๖. ไอ(อะ+ย สะกด) ไ ๑ ๒๗. ใอ(อะ+ย สะกด) ใ ๑ ๒๘. เอา (อะ+ว สะกด) เ า ๒ ๒๙. ฤ (อิ อึ เออ มี ร ประสม) ฤ ๑ ๓๐. ฤๅ(อือ มี ร ประสม) ฤๅ ๑ ๓๑. ฦ (อึ มี ล ประสม) ฦ ๑ ๓๒. ฦๅ(อือ มี ล ประสม) ฦๅ ๑ สระมี ๒๑ เสียง ตามที่กล่าวมาแล้วในเรื่องเสียงสระ แต่ในระบบการเขียนหนังสือไทย มีการบัญญัติรูปสระเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อใช้เขียนแทนเสียงสระบางเสียงได้มากรูปขึ้น รูปและเสียงสระ ที่บัญญัติขึ้นเป็นพิเศษนี้เรียกว่า สระที่มีพยัญชนะมาประสมหรือสระเกิน ๘ ตัว (และสระประสมเสียงสั้น อีก ๓ เสียงซึ่งนักภาษาศาสตร์ปัจจุบันไม่นับเป็นเสียงสระ เพราะไม่มีคําคู่เทียบเสียง จึงถือว่าสระประสมมี แค่ ๓ เสียง )