SlideShare a Scribd company logo
1 of 10
Download to read offline
1
บทน�ำ
	 ​ในบทนี้จะกล่าวถึงเสียงในภาษาญี่ปุ่น โดยจะกล่าวถึงลักษณะ
ของเสียงภาษาญี่ปุ่นในภาพรวม หลังจากนั้นจะกล่าวถึงเสียงพยัญชนะ
เสียงสระ จังหวะของเสียง เสียงสูงต�่ำ และท�ำนองเสียงในภาษาญี่ปุ่น
โดยจะมุ่งประเด็นไปที่ลักษณะเด่นของเสียงภาษาญี่ปุ่นและลักษณะ
เสียงภาษาญี่ปุ่นที่ต่างจากเสียงในภาษาไทย      
​	 จ�ำนวนเสียงในภาษาญี่ปุ่นมีไม่มาก แต่มีลักษณะพิเศษหลายอย่าง
ที่แตกต่างจากภาษาไทย เช่น โครงสร้างพยางค์แบบญี่ปุ่น การให้       
ความส�ำคัญกับเรื่องจังหวะ การมีกฎการออกเสียงสูงต�่ำที่มีลักษณะ
เฉพาะตัว กฎการออกเสียงสูงต�่ำที่แตกต่างกันในแต่ละภาษาถิ่น  
ลักษณะของเสียงในภาษาญี่ปุ่น
ภาษาญี่ปุ่นมีค�ำพ้องเสียงจ�ำนวนมาก
	 ภาษาญี่ปุ่นจัดได้ว่าเป็นภาษาที่มีค�ำพ้องเสียงมากที่สุดภาษาหนึ่ง
เหตุผลหนึ่งมาจากการที่จ�ำนวนเสียงในภาษาญี่ปุ่นที่มีจ�ำนวนน้อยเมื่อ
เสียงในภาษาญี่ปุ่น
2
เทียบกับภาษาอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น ในภาษาไทยเรามีเสียงสระเดี่ยว
ถึง 18 เสียง และมีเสียงพยัญชนะถึง 21 เสียง ในขณะที่ในภาษาญี่ปุ่น
มีเสียงสระเดี่ยวเพียง 5 เสียง มีเสียงพยัญชนะเพียง 14 เสียง การที่
ภาษาญี่ปุ่นมีจ�ำนวนเสียงที่จ�ำกัดนี้ท�ำให้เกิดค�ำพ้องเสียงจ�ำนวนมาก  
และการที่มีค�ำพ้องเสียงจ�ำนวนมากนี้ท�ำให้เมื่อน�ำเสียงมาสร้างขึ้นเป็น
ค�ำศัพท์จะท�ำให้คนฟังสามารถนึกไปถึงค�ำศัพท์ต่างๆได้เป็นจ�ำนวนมาก  
	 การน�ำเสียงมาประกอบขึ้นเป็นค�ำศัพท์เป็นความเพลิดเพลิน   
หรือเพื่อให้จ�ำง่าย เช่น การน�ำเอาเสียงตัวเลขในภาษาญี่ปุ่นมาสร้าง         
ค�ำศัพท์ที่มีเสียงคล้ายกัน ตัวอย่างเช่น ตัวเลข 118093 สามารถใช้        
เสียงตัวเลขแปลงเป็นค�ำศัพท์ที่มีเสียงใกล้เคียงกันได้ว่า 「いいわ奥さん」
(iiwa okusan) (ความหมายคือ “ดีจังคุณแม่บ้าน”) เนื่องจากเสียง
ตัวเลข 1 หรือ ichi มีเสียง i ประกอบอยู่สามารถน�ำไปเชื่อมกับค�ำ               
ที่ใช้เสียงiในค�ำว่า“ii”ที่แปลว่า“ดี”ได้ชาวญี่ปุ่นมักจะน�ำเสียงตัวเลข
ไปเชื่อมกับค�ำศัพท์เพื่อสร้างความหมายต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้จ�ำตัวเลข
ยาว ๆ ได้ง่ายขึ้น
	 ตัวอย่างที่พบมากคือ ตัวเลขเบอร์โทรศัพท์ในโฆษณาของหลาย
บริษัทมักจะใช้ตัวเลขที่สวยในความหมายว่าสามารถแปลงเป็นค�ำศัพท์
ที่มีความหมายสอดคล้องกับสินค้าของตน เช่นเบอร์โทรศัพท์ของบริษัท
ปลูกผมแห่งหนึ่งที่มีสโลแกนว่า フサフサ (fusafusa) มีความหมายว่า
“หนา ดก” และบริษัทนี้ก็จะใช้หมายเลขโทรศัพท์ที่ให้ลูกค้าติดต่อ            
มาด้วยหมายเลข 17-2323 ซึ่งสามารถแปลงเป็นเสียงค�ำศัพท์ได้ว่า          
いいな、フサフサ (iina, fusafusa) หรือ “ดีจังนะ หนาและดก” ดังที่ได้
กล่าวมาแล้วว่าตัวเลข 1 มีเสียงอ่านว่า ichi ท�ำให้น�ำเสียงตัวแรกหรือ       
i มาใช้เชื่อมโยงค�ำเสียงค�ำว่า “ii” ที่แปลว่า “ดี” ส่วนตัวเลข 7 มีเสียง
1  1  8 09 3
1     7      2  3  2  3
3
อ่านว่า nana และเสียงคล้ายกับค�ำลงท้ายของภาษาญี่ปุ่น na ที่แปล
คล้ายกับภาษาไทยว่า “นะ” ส่วนค�ำว่า フサフサ (fusafusa) มีเสียง       
คล้ายกับเลข 2 ในภาษาญี่ปุ่นที่ออกเสียงว่า “fu (tatsu)” และเลข 3  
ที่ออกเสียงว่า “sa (n)” และมีความหมายว่า “หนา ดก”
	 ​เหตุผลอีกประการหนึ่งที่เสียงตัวเลขสามารถน�ำไปเชื่อมกับ       
เสียงในค�ำศัพท์ในภาษาญี่ปุ่นได้ง่าย เพราะค�ำในภาษาญี่ปุ่นมีเสียงอ่าน
มากกว่าหนึ่งเสียงเป็นส่วนใหญ่ เสียงอ่านตัวเลขภาษาญี่ปุ่นก็เช่น
เดียวกันสามารถอ่านได้หลายแบบ เช่น ตัวเลข 1 ที่สามารถอ่านได้ว่า
ichi ถ้าอ่านเป็นแบบเสียงจีน และยังสามารถอ่านได้ว่า hitotsu ได้       
ด้วยถ้าอ่านเป็นเสียงญี่ปุ่น นอกจากนี้ บางครั้งก็สามารถน�ำเสียงอ่าน
แบบภาษาอังกฤษมาเชื่อมได้ด้วย เช่น ตัวเลข 0 สามารถอ่านได้ว่า      
zero เพิ่มจาก rei, maru หรือเนื่องจากตัวเลข 0 คล้ายกับตัวอักษร
ภาษาอังกฤษตัวโอก็อาจจะอ่านได้ว่า oo หรือ oh ได้ด้วย เมื่อตัวเลข      
มีเสียงอ่านให้เลือกมากก็สามารถน�ำไปเชื่อมกับค�ำศัพท์ได้ง่ายมากขึ้น
เสียงในภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในการสะกดค�ำ
มีลักษณะคงที่ไม่ผันแปร แต่ว่า...
	 ​เสียงในภาษาญี่ปุ่นมีลักษณะคงที่และไม่ผันแปร ท�ำให้คนที่รู้วิธี
การเขียนเพียงแค่ตัวอักษรฮิรางานะของภาษาญี่ปุ่นก็สามารถถ่ายทอด
เสียงค�ำศัพท์ใด ๆ ก็ได้ออกมา หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือสามารถสะกด
เป็นค�ำศัพท์ได้ทุกค�ำแม้จะไม่รู้ความหมายเลยก็ตาม ซึ่งจุดนี้ต่างกับ
ภาษาอื่น ๆ เช่น ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษที่เสียงที่ออกเสียงมา          
อาจจะไม่ตรงกับพยัญชนะของเสียงที่ใช้สะกดเสมอไป ท�ำให้ผู้เรียน
4
ภาษาต่างประเทศเหล่านั้นต้องเรียนรู้วิธีการสะกดค�ำในค�ำศัพท์ใหม่ ๆ
ตลอดเวลา ในขณะที่เสียงในภาษาญี่ปุ่นที่น�ำมาใช้สะกดค�ำศัพท์จะคงที่
สอดคล้องกับตัวสะกดเสมอ ท�ำให้เด็กนักเรียนชั้นประถมในประเทศ
ญี่ปุ่นสามารถสะกดค�ำศัพท์ในภาษาญี่ปุ่นออกมาได้ทุกค�ำ แม้ว่าจะไม่รู้
จักความหมายของค�ำนั้นก็ตาม
​	 ฟังแล้วดูเหมือนว่าภาษาญี่ปุ่นจะเป็นภาษาที่ง่าย แต่จริง ๆ แล้ว
ถ้าดูรายละเอียดอาจจะไม่ได้เป็นเช่นนั้น กรณีที่เขียนด้านบนหมายถึง
การเขียนเสียงที่ได้ยินออกมาเป็นตัวอักษรฮิรางานะ หากเป็นเรื่องของ
ตัวอักษรคันจิจะเป็นเรื่องตรงข้ามกันทีเดียวตัวอักษรคันจิในภาษาญี่ปุ่น
อ่านได้หลายเสียง หากไม่รู้จักค�ำศัพท์นั้นมาก่อนก็อาจจะมีโอกาสที่จะ
เขียนเป็นตัวอักษรคันจิออกมาผิดได้และส�ำหรับการอ่านออกเสียงก็เช่น
เดียวกัน ถ้าเป็นการอ่านออกเสียงตัวอักษรฮิรางานะจะไม่มีปัญหา
เพราะตัวอักษรฮิรางานะมีเสียงที่จ�ำกัด แต่ถ้าเป็นการอ่านออกเสียงตัว
อักษรคันจิ แม้แต่ชาวญี่ปุ่นเองก็ไม่อาจจะอ่านออกเสียงตัวอักษรคันจิ
ออกมาได้ถูกต้องทุกค�ำ โดยเฉพาะชื่อสถานที่และชื่อคนที่เขียนด้วยตัว
อักษรคันจิ หากไม่เคยเจอหรือได้ยินมาก่อนก็จะยากที่จะเขียนออกมา
ภาพลักษณ์ของเสียงในภาษาญี่ปุ่น
โครงสร้างพยางค์พิเศษ
​	 คนที่ได้ยินภาษาญี่ปุ่นส่วนมากจะบอกว่า ฟังภาษาญี่ปุ่นเร็ว ๆ
แล้วรู้สึกเหมือนเสียง “ปืนกล (ดะดะดะดะ)” บ้าง “รถไฟวิ่ง (ฉึกฉัก
ฉึกฉัก)” บ้าง “เสียงน่ารัก (อาโนเนะ)” บ้าง เหตุที่ท�ำให้รู้สึกเช่นนั้นมา
จากสาเหตุคือ โครงสร้างพยางค์ในภาษาญี่ปุ่น เสียงสระและการออก
5
เสียงในภาษาญี่ปุ่น
	 ​พยางค์หรือที่เรียกว่า 音節 (onsetsu) ในภาษาญี่ปุ่นจะประกอบ
ด้วยเสียงพยัญชนะ 子音 (shiin) + เสียงสระ 母音 (boin) เป็นหลัก เช่น
ค�ำว่า さ (sa) จะประกอบด้วยเสียงพยัญชนะ [s] และเสียงสระ [a]  
ประกอบกัน โครงสร้างพยางค์ “เสียงพยัญชนะ + เสียงสระ” นี้เป็น
โครงสร้างพยางค์พื้นฐานของภาษาญี่ปุ่น ท�ำให้เมื่อคนพูดภาษาญี่ปุ่น
เร็ว ๆ คนที่ฟังภาษาญี่ปุ่นจะรู้สึกเหมือนกับว่าเสียงที่เปล่งออกมาจะจบ
ด้วยเสียงพยัญชนะ + เสียงสระสั้น ๆ เรียงรายติดต่อกันไป ท�ำให้ฟัง
เหมือนเสียงปืนกลหรือเสียงรถไฟที่วิ่งต่อเนื่องไปไม่หยุด
​	 การที่พยางค์ในภาษาญี่ปุ่นจบลงด้วยเสียงสระเป็นส่วนใหญ่นี้
หรือที่เรียกว่า “open syllable” เป็นสิ่งที่ต่างกับภาษาอื่น ๆ อย่าง
ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น ในภาษาไทยเรามีเสียงตัวสะกด เช่น แม่กบ        
แม่กด แม่กน ฯลฯ ท�ำให้เรามีค�ำศัพท์ที่จบด้วยเสียงสะกดพยัญชนะ       
เป็นจ�ำนวนมาก ภาษาไทยจึงจัดว่ามีเสียง “closed syllable” มาก       
ในขณะที่ในภาษาญี่ปุ่นจะมีค�ำศัพท์ที่จบด้วยเสียงตัวสะกดพยัญชนะ
เป็นจ�ำนวนน้อย เวลาชาวญี่ปุ่นพูดค�ำศัพท์ภาษาไทยที่มีเสียงตัวสะกด
จึงมักจะใส่เสียงสระลงไปด้วยเพื่อให้ออกเสียงได้สะดวกขึ้น เช่น ค�ำว่า
“ภูเก็ต” เสียง “ภู” จบด้วยเสียงสระจึงไม่มีปัญหาในการออกเสียง          
แต่ค�ำว่า “เก็ต” ชาวญี่ปุ่นจะต้องออกเป็น ケット (ketto) หรือจบด้วย
เสียงสระ [o] หรือท�ำให้ทุกพยางค์เป็น “open syllable” จึงจะออก
เสียงได้ง่าย
	 ​นอกเหนือจากโครงสร้างพยางค์พื้นฐานเสียงพยัญชนะ + เสียง
สระแล้ว  “เสียงสระ” อย่างเดียว และ “เสียงพยัญชนะ + เสียงกึ่งสระ
(半母音 (hanboin)) + เสียงสระ” ก็จัดเป็นโครงสร้างพยางค์ในภาษา
6
ญี่ปุ่นหนึ่งด้วย แต่ก็จะสังเกตได้ว่าถึงแม้จะมีเสียงกึ่งสระประกอบอยู่ก็
จะยังจบลงด้วยเสียงสระหรือเป็น “open syllable” อยู่ดี การที่เสียง
พยางค์ในภาษาญี่ปุ่นส่วนใหญ่จบลงด้วยเสียงสระนี้ ท�ำให้ภาษาญี่ปุ่น      
มีลักษณะพยางค์ที่พิเศษกว่าภาษาอื่น ท�ำให้มีชื่อเรียกพยางค์ในภาษา
ญี่ปุ่นเป็นพิเศษว่า 拍 (haku) หรือ “mora” แทนที่ค�ำว่า 音節 (on-
setsu) ภาษาญี่ปุ่นบางครั้งใช้ทับศัพท์ว่า モーラ (moora) เรียกด้วย        
โดยทั่วไปตัวอักษรฮิรางานะหนึ่งตัวจะเท่ากับ 1 拍 (haku) หรือ 1            
モーラ (moora)
​	 ตัวอย่างค�ำว่า “ภูเก็ต” ด้านบน ส�ำหรับคนไทยก็จะนับเป็น 2
พยางค์คือ  ค�ำว่า “ภู” และ “เก็ต” แต่ส�ำหรับชาวญี่ปุ่นหากลากเสียง
ยาวในค�ำว่า “ภู” ด้วยแล้วจะนับได้เป็นถึง 5 拍 (haku) เลยทีเดียว        
คือนับได้ตามจ�ำนวนอักษรฮิรางานะ ぷうけっと (โดยเสียง っ ก็นับเป็น
1 拍  (haku) ด้วย
​	 Kindaichi (金田一1988: 90) ได้สรุปตารางแสดง 拍 (haku)          
ในภาษาญี่ปุ่นไว้ดังต่อไปนี้
a	​i​	 u​	 e​	 o	​ja	​ju​	 jo	​(je)​	 wa	​(wi)​	 (we)	​wo
ha​	 hi​	 hu​	 he	 ​ho	 hja​	 hju	 ​hjo​	 (hje)​	 (hwa)	​(hwi)​	 (hwe) ​	(hwo)
ga	​gi​	 gu​	 ge	​go​	 gja	​gju​	 gjo		 (gwa)​
ka	​ki​	 ku​	 ke​	 ko	​kja	​kju	​kjo​		 (kwa)
ŋa​	 ŋi​	 ŋu​	 ŋe​	 ŋo	 ​ŋja​	 ŋju	​ŋjo
da	 ​(di)  	 (du)​	 de	 ​do​    		 (dju)
ta​	 (ti) 	 (tu)	 ​te	 ​to​      		 (tju)
na	​ni​	 nu	​ne	​no​	 nja	​nju	​njo
ba​	 bi​	 bu​	 be​	 bo	​bja	​bju	​bjo
1  2  3  4 5
7
pa	 ​pi​	 pu	 ​pe	 ​po​	 pja​	 pju	 ​pjo
ma​	 mi​	 mu​	 me	 ​mo	 ​mja​	 mju	 ​mjo
za	​zi​	 zu​	 ze	​zo​	 zja​	 zju​	 zjo​	 (zje)
sa​	 si​	 su​	 se	​so​	 sja​	 sju​	 sjo​	 (sje)
(ca)​	 ci	 ​cu	 (ce)	 (co)​	 cja	 ​cju​	 cjo​	 (cje)
ra	​ri​	 ru​	 re	​ro	​rja​	 rju	​rjo
​	 N​	 T	​R
หมายเหตุ 	(แปลและขยายความหรือเติมตัวอักษรโรมันให้เข้าใจง่ายจาก
	 	 Kindaichi (金田一 1988: 90))
	 	 ​1) 	 ในวงเล็บ(  )หมายถึงเสียงที่ปรากฏในค�ำยืมหรือค�ำที่แสดงความ
	 	 	 รู้สึก (เช่น ค�ำอุทาน)
	 	 ​2) 	 (hwa) หมายถึงเสียงตัวอักษรファ 
​	 	 3) 	 ŋa, ŋi, ŋu…หมายถึงเสียงนาสิกในตัวอักษรวรรค ガ เช่น เสียง
			 ガ (ŋa) ในค�ำว่า 鏡 (カガミ (kagami), เสียง ギ (ŋi) ในค�ำว่า 鍵 (カ
			 ギ (kagi) แต่ชาวญี่ปุ่นบางคนก็ไม่ออกเสียงเช่นนี้
​	 	 4) 	 ci, cu หมายถึงเสียงตัวอักษรチ・ツ ใช้วิธีเขียนตามแบบของ
	 	 	 นักภาษาศาสตร์ที่ชื่อ Hattori Shirou โดยก�ำหนดให้ (ca) หมาย
	 	 	 ถึง เสียง ツァ (cja) หมายถึงเสียง チャ 
 ​	 	 5) 	 N หมายถึงเสียง ハネル音 (haneru on) หรือเสียงที่จบด้วยตัว
	 	 	 อักษร ん (n), T หมายถึงเสียง ツメル音 (tsumeru on) หรือเสียง
	 	 	 ที่มีตัวอักษร っ (tsu) ตัวเล็ก, R หมายถึงเสียง引ク音 (hiku on)
	 	 	 หรือเสียงที่ลากยาว
8
ภาพลักษณ์ของเสียงในภาษาญี่ปุ่น
เสียงที่เพราะพริ้งและการออกเสียงอย่างกระจุ๋งกระจิ๋ง
​
	 ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่ท�ำให้รู้สึกว่าภาษาญี่ปุ่นมีเสียงที่เพราะ
พริ้งหรือน่ารักคือเรื่องของสระในภาษาญี่ปุ่นสระในภาษาญี่ปุ่นมีจ�ำนวน
เพียง 5 เสียง คือ เสียง [a] [i] [u] [e] [o] ซึ่งนับว่าเป็นจ�ำนวนที่น้อย
เมื่อเทียบกับเสียงสระในภาษาอื่น การที่ภาษามีจ�ำนวนเสียงสระน้อย
จะช่วยส่งเสริมให้การฟังเสียงในภาษานั้นฟังได้ชัดเจนมากขึ้นKindaichi  
(金田一 1988: 102-103) อ้างค�ำพูดของศิลปินญี่ปุ่นที่ชื่อ 四家文子
(Yotsuya Fumiko) ที่กล่าวว่า เพลงที่มีเสียงสระ [a] [o] จ�ำนวนมาก
จะร้องง่าย ในขณะที่เพลงที่มีเสียงสระ [i] จ�ำนวนมากจะร้องยาก          
พร้อมกันนี้ได้น�ำผลการส�ำรวจของ 大西雅雄 (Oonishi Masao) ที่ท�ำ 
การส�ำรวจจ�ำนวนเสียงสระที่ใช้ในภาษาต่าง ๆ และสรุปว่า ในภาษา
ญี่ปุ่นมีการใช้เสียงสระ [a] และ [o] มากเป็นอันดับที่ 1 และ 2             
ตามล�ำดับ ท�ำให้น่าจะสรุปได้ว่าภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่มีการใช้เสียงสระ
ที่ชัดเจน
	 ​นอกจากนี้ เสียงภาษาญี่ปุ่นยังมีลักษณะเฉพาะอีกประการหนึ่ง
คือ มักจะไม่ใช้ริมฝีปากในการออกเสียง แต่จะใช้อวัยวะที่อยู่ลึกเข้าไป
เช่น เพดานแข็ง เพดานอ่อนในการออกเสียงมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น
เสียงสระ [u] ในภาษาญี่ปุ่นจะไม่ห่อริมฝีปาก ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษที่
ต่างจากเสียง [u] ในภาษาอื่น นอกจากนี้ เสียงพยัญชนะเช่นเสียง [f]  
[v] ซึ่งเป็นเสียงที่ต้องใช้ริมฝีปากในการเปล่งเสียง ก็จะไม่พบเจอใน
ภาษาญี่ปุ่น ในทางตรงกันข้ามเสียงพยัญชนะในภาษาญี่ปุ่นจ�ำนวนมาก
จะต้องใช้อวัยวะที่อยู่ลึกเข้าไปในปากในการออกเสียง เช่น เสียง [k]
9
[g] [ŋ] การที่ไม่ใช้ริมฝีปากในการเปล่งเสียงและการที่ใช้อวัยวะที่อยู่       
ลึกเข้าไปในการเปล่งเสียง ท�ำให้เวลาชาวญี่ปุ่นพูดจะไม่เปิดปากกว้าง
และจะเคลื่อนไหวริมฝีปากเพียงเล็กน้อย การออกเสียงเช่นนี้อาจจะ        
น�ำไปสู่ภาพลักษณ์ของความเรียบร้อยและกระจุ๋งกระจิ๋งหรือภาพลักษณ์
การพูดจาแบบ“อาโนเนะ”หรือ“คิขุ”น่ารักหวานแหววแบบสาวญี่ปุ่น
เสียงในค�ำเลียนเสียง
และค�ำแสดงท่าทางในภาษาญี่ปุ่น
​	
	 ภาษาญี่ปุ่นมีค�ำเลียนเสียงธรรมชาติที่เรียกว่า 擬声語 (giseigo)
ซึ่งหมายถึงค�ำเลียนเสียงของสัตว์หรือค�ำเลียนเสียงของเสียงมนุษย์         
และ 擬音語 (giongo) ที่หมายถึงค�ำที่เลียนเสียงของธรรมชาติและ       
สิ่งของ เช่น เสียงฟ้าผ่า เสียงเคาะประตู และ 擬態語 (gitaigo) เป็นค�ำ         
ที่แสดงสภาพของสิ่งของ ท่าทาง ความรู้สึกและสภาพจิตใจของมนุษย์
ซึ่งเป็นค�ำที่ไม่ได้เกิดจากการเลียนเสียงที่ได้ยินจริง เช่น ค�ำที่แสดง      
สภาพที่ว่างเปล่าค�ำที่แสดงลักษณะรอยยิ้มแบบต่างๆ  ค�ำที่แสดงอาการ
ปวดแบบต่าง ๆ ค�ำทั้งสามชนิดนี้อาจจะเรียกรวม ๆ ได้ว่า オノマトペ
(onomatope) ที่มาจากภาษาอังกฤษค�ำว่า “onomatopoeia” ในที่
นี้จะใช้ค�ำว่า オノマトペ (onomatope) เป็นค�ำเรียกรวมค�ำเลียนเสียง
ธรรมชาติและท่าทางในภาษาญี่ปุ่นทั้งหมด
​	 ค�ำเลียนเสียงธรรมชาติในแต่ละภาษาบางครั้งมีความเป็นสากล
หรือมีความคล้ายคลึงกันแต่บางครั้งอาจจะไม่เหมือนกันเช่นนกดุเหว่า
ในภาษาญี่ปุ่นจะร้องว่า カッコウ (kakkou) ในขณะที่ในภาษาอังกฤษ
ร้องว่า “cuckoo (กุ๊กกู)” ภาษาฝรั่งเศสร้องว่า “coucou (คุ คุ)”
10
​	 ภาษาญี่ปุ่นมีการใช้ オノマトペ (onomatope) อย่างแพร่หลาย
ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เราสามารถพบเจอ オノマトペ (onomatope) ได้
ทั้งในภาษาพูดในชีวิตประจ�ำวันและในภาษาเขียน เช่น ในวรรณกรรม
นวนิยาย ข้อความพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์ ข้อความโฆษณา  
​	 ลักษณะพิเศษหนึ่งของ オノマトペ (onomatope) ในภาษาญี่ปุ่น
คือ จะใช้ オノマトペ (onomatope) ที่แสดงสภาพจิตใจ หรืออารมณ์
ของมนุษย์ด้วย ซึ่งเป็นลักษณะที่ในภาษาอื่นจะไม่ค่อยพบเจอ เช่น ค�ำ      
ที่แสดงอารมณ์ที่กระวนกระวาย หงุดหงิดจะใช้ค�ำว่า いらいら (iraira)
หรือค�ำที่แสดงรอยยิ้มแบบอารมณ์ดีจะใช้ ニコニコ (nikoniko) แต่           
ถ้ายิ้มแหะ ๆ จะใช้ค�ำว่า ニャニャ (niyaniya) การใช้ オノマトペ
(onomatope) ที่แสดงสภาพจิตใจหรืออารมณ์ในลักษณะนี้ค่อนข้าง      
จะเป็นที่เข้าใจยากส�ำหรับผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวต่างชาติ เพราะเป็น     
เรื่องของความรู้สึกที่ต้องเรียนรู้มาตั้งแต่เด็ก ๆ
	 ​ลักษณะของเสียงที่มักน�ำมาใช้ประกอบขึ้นเป็น オノマトペ
(onomatope) ประการหนึ่งคือ จะน�ำเสียงซ�้ำมาประกอบ เช่น ค�ำว่า
トントン (tonton)ที่เป็นเสียงซ�้ำของค�ำว่าトン (ton)กับค�ำว่าトン (ton)
น�ำมาออกเสียงซ�้ำอีกเป็น トントン (tonton) ซึ่งแสดงเสียงเคาะ เช่น      
เสียงเวลาเคาะประตู และ ドンドン (dondon) ที่แสดงอาการการ
เปลี่ยนแปลงอย่างฉับไว หรือค�ำว่า ゴロゴロ (gorogoro) ที่แสดงการ
กระเด็นกระดอนของหินหรือเสียงฟ้าร้องค�ำราม
	 ​ลักษณะอีกประการหนึ่งในเรื่องที่เกี่ยวกับเสียง オノマトペ
(onomatope) คือจะมี オノマトペ (onomatope) จ�ำนวนหนึ่งที่มี
ลักษณะเป็นคู่เสียงระหว่างเสียงพยัญชนะที่เป็นเสียงไม่ก้องและเสียง
พยัญชนะที่เป็นเสียงก้อง ตัวอย่างค�ำที่ยกมาด้านบนค�ำว่า トントン

More Related Content

Viewers also liked

9789740333579
97897403335799789740333579
9789740333579CUPress
 
9789740335252
97897403352529789740335252
9789740335252CUPress
 
9789740335252
97897403352529789740335252
9789740335252CUPress
 
9789740335467
97897403354679789740335467
9789740335467CUPress
 
9789740333395
97897403333959789740333395
9789740333395CUPress
 
9789740335146
97897403351469789740335146
9789740335146CUPress
 
9749740331698
97497403316989749740331698
9749740331698CUPress
 
9789740335832
97897403358329789740335832
9789740335832CUPress
 
หนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
หนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติหนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
หนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติSutat Inpa
 
การสอนภาษาไทย ในฐานะภาษาต่างประเทศ
การสอนภาษาไทย ในฐานะภาษาต่างประเทศการสอนภาษาไทย ในฐานะภาษาต่างประเทศ
การสอนภาษาไทย ในฐานะภาษาต่างประเทศJanjira Kunnapan
 
9789740335726
97897403357269789740335726
9789740335726CUPress
 
Learn Thai - FSI Basic Course (Part 2)
Learn Thai - FSI Basic Course (Part 2)Learn Thai - FSI Basic Course (Part 2)
Learn Thai - FSI Basic Course (Part 2)101_languages
 
Learn Thai - FSI Basic Course (Part 1)
Learn Thai - FSI Basic Course (Part 1)Learn Thai - FSI Basic Course (Part 1)
Learn Thai - FSI Basic Course (Part 1)101_languages
 
9789740335696
97897403356969789740335696
9789740335696CUPress
 
9789740335702
97897403357029789740335702
9789740335702CUPress
 
9789740335597
97897403355979789740335597
9789740335597CUPress
 
9789740335863
97897403358639789740335863
9789740335863CUPress
 

Viewers also liked (20)

9789740333579
97897403335799789740333579
9789740333579
 
9789740335252
97897403352529789740335252
9789740335252
 
9789740335252
97897403352529789740335252
9789740335252
 
9789740335467
97897403354679789740335467
9789740335467
 
9789740333395
97897403333959789740333395
9789740333395
 
9789740335146
97897403351469789740335146
9789740335146
 
9749740331698
97497403316989749740331698
9749740331698
 
9789740335832
97897403358329789740335832
9789740335832
 
หนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
หนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติหนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
หนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
 
การสอนภาษาไทย ในฐานะภาษาต่างประเทศ
การสอนภาษาไทย ในฐานะภาษาต่างประเทศการสอนภาษาไทย ในฐานะภาษาต่างประเทศ
การสอนภาษาไทย ในฐานะภาษาต่างประเทศ
 
How to say in Thai
How to say in ThaiHow to say in Thai
How to say in Thai
 
9789740335726
97897403357269789740335726
9789740335726
 
Learn Thai - FSI Basic Course (Part 2)
Learn Thai - FSI Basic Course (Part 2)Learn Thai - FSI Basic Course (Part 2)
Learn Thai - FSI Basic Course (Part 2)
 
Learn Thai - FSI Basic Course (Part 1)
Learn Thai - FSI Basic Course (Part 1)Learn Thai - FSI Basic Course (Part 1)
Learn Thai - FSI Basic Course (Part 1)
 
9789740335696
97897403356969789740335696
9789740335696
 
9789740335702
97897403357029789740335702
9789740335702
 
9789740335597
97897403355979789740335597
9789740335597
 
9789740335863
97897403358639789740335863
9789740335863
 
Myanmar EP 1
Myanmar EP 1Myanmar EP 1
Myanmar EP 1
 
Thai Language pdf
Thai Language pdfThai Language pdf
Thai Language pdf
 

Similar to 9789740333449

สรุปย่อ หลักภาษาไทย
สรุปย่อ หลักภาษาไทย สรุปย่อ หลักภาษาไทย
สรุปย่อ หลักภาษาไทย Kun Cool Look Natt
 
ธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาwattanaka
 
ธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาwattanaka
 
ฝึกออกเสียงภาษาอังกฤษยังไงให้เป๊ะชัดเวอร์
ฝึกออกเสียงภาษาอังกฤษยังไงให้เป๊ะชัดเวอร์ฝึกออกเสียงภาษาอังกฤษยังไงให้เป๊ะชัดเวอร์
ฝึกออกเสียงภาษาอังกฤษยังไงให้เป๊ะชัดเวอร์Rangson Sangboonruang
 
1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิTongsamut vorasan
 
สัทสระ pinyin
สัทสระ pinyinสัทสระ pinyin
สัทสระ pinyinnammatoom
 
9789740333609
97897403336099789740333609
9789740333609CUPress
 
ภาษาไทย
ภาษาไทยภาษาไทย
ภาษาไทยguestd57bc7
 
เสียงในภาษา
เสียงในภาษาเสียงในภาษา
เสียงในภาษาkingkarn somchit
 
สื่อการสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนสะกดคำ
สื่อการสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนสะกดคำสื่อการสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนสะกดคำ
สื่อการสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนสะกดคำNook Kanokwan
 
มารู้จักพินทุ์อิ
มารู้จักพินทุ์อิมารู้จักพินทุ์อิ
มารู้จักพินทุ์อิPiyarerk Bunkoson
 
หน งส อขนาดเล_ก (2)
หน งส อขนาดเล_ก (2)หน งส อขนาดเล_ก (2)
หน งส อขนาดเล_ก (2)Apicaya Mie
 

Similar to 9789740333449 (20)

สรุปย่อ หลักภาษาไทย
สรุปย่อ หลักภาษาไทย สรุปย่อ หลักภาษาไทย
สรุปย่อ หลักภาษาไทย
 
ธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษา
 
ธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษา
 
ฝึกออกเสียงภาษาอังกฤษยังไงให้เป๊ะชัดเวอร์
ฝึกออกเสียงภาษาอังกฤษยังไงให้เป๊ะชัดเวอร์ฝึกออกเสียงภาษาอังกฤษยังไงให้เป๊ะชัดเวอร์
ฝึกออกเสียงภาษาอังกฤษยังไงให้เป๊ะชัดเวอร์
 
1276933222 morpheme
1276933222 morpheme1276933222 morpheme
1276933222 morpheme
 
1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 07+อธิบายบาลีไวยากรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
 
สัทสระ pinyin
สัทสระ pinyinสัทสระ pinyin
สัทสระ pinyin
 
ใบความรู้ลักษณะเฉพาะของภาษาไทยการสร้างคำ
ใบความรู้ลักษณะเฉพาะของภาษาไทยการสร้างคำใบความรู้ลักษณะเฉพาะของภาษาไทยการสร้างคำ
ใบความรู้ลักษณะเฉพาะของภาษาไทยการสร้างคำ
 
9789740333609
97897403336099789740333609
9789740333609
 
ภาษาไทย
ภาษาไทยภาษาไทย
ภาษาไทย
 
thai Research
thai  Researchthai  Research
thai Research
 
Thai
ThaiThai
Thai
 
Thai
ThaiThai
Thai
 
นุกูล
นุกูลนุกูล
นุกูล
 
ใบความรู้ ลักษณะภาษาไทย
ใบความรู้ ลักษณะภาษาไทยใบความรู้ ลักษณะภาษาไทย
ใบความรู้ ลักษณะภาษาไทย
 
เสียงในภาษา
เสียงในภาษาเสียงในภาษา
เสียงในภาษา
 
สื่อการสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนสะกดคำ
สื่อการสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนสะกดคำสื่อการสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนสะกดคำ
สื่อการสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง การเขียนสะกดคำ
 
มารู้จักพินทุ์อิ
มารู้จักพินทุ์อิมารู้จักพินทุ์อิ
มารู้จักพินทุ์อิ
 
งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.
งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.
งานแก้ตัวสำหรับนักเรียนติด มส.
 
หน งส อขนาดเล_ก (2)
หน งส อขนาดเล_ก (2)หน งส อขนาดเล_ก (2)
หน งส อขนาดเล_ก (2)
 

More from CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740333449

  • 1. 1 บทน�ำ ​ในบทนี้จะกล่าวถึงเสียงในภาษาญี่ปุ่น โดยจะกล่าวถึงลักษณะ ของเสียงภาษาญี่ปุ่นในภาพรวม หลังจากนั้นจะกล่าวถึงเสียงพยัญชนะ เสียงสระ จังหวะของเสียง เสียงสูงต�่ำ และท�ำนองเสียงในภาษาญี่ปุ่น โดยจะมุ่งประเด็นไปที่ลักษณะเด่นของเสียงภาษาญี่ปุ่นและลักษณะ เสียงภาษาญี่ปุ่นที่ต่างจากเสียงในภาษาไทย ​ จ�ำนวนเสียงในภาษาญี่ปุ่นมีไม่มาก แต่มีลักษณะพิเศษหลายอย่าง ที่แตกต่างจากภาษาไทย เช่น โครงสร้างพยางค์แบบญี่ปุ่น การให้ ความส�ำคัญกับเรื่องจังหวะ การมีกฎการออกเสียงสูงต�่ำที่มีลักษณะ เฉพาะตัว กฎการออกเสียงสูงต�่ำที่แตกต่างกันในแต่ละภาษาถิ่น ลักษณะของเสียงในภาษาญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่นมีค�ำพ้องเสียงจ�ำนวนมาก ภาษาญี่ปุ่นจัดได้ว่าเป็นภาษาที่มีค�ำพ้องเสียงมากที่สุดภาษาหนึ่ง เหตุผลหนึ่งมาจากการที่จ�ำนวนเสียงในภาษาญี่ปุ่นที่มีจ�ำนวนน้อยเมื่อ เสียงในภาษาญี่ปุ่น
  • 2. 2 เทียบกับภาษาอื่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น ในภาษาไทยเรามีเสียงสระเดี่ยว ถึง 18 เสียง และมีเสียงพยัญชนะถึง 21 เสียง ในขณะที่ในภาษาญี่ปุ่น มีเสียงสระเดี่ยวเพียง 5 เสียง มีเสียงพยัญชนะเพียง 14 เสียง การที่ ภาษาญี่ปุ่นมีจ�ำนวนเสียงที่จ�ำกัดนี้ท�ำให้เกิดค�ำพ้องเสียงจ�ำนวนมาก และการที่มีค�ำพ้องเสียงจ�ำนวนมากนี้ท�ำให้เมื่อน�ำเสียงมาสร้างขึ้นเป็น ค�ำศัพท์จะท�ำให้คนฟังสามารถนึกไปถึงค�ำศัพท์ต่างๆได้เป็นจ�ำนวนมาก การน�ำเสียงมาประกอบขึ้นเป็นค�ำศัพท์เป็นความเพลิดเพลิน หรือเพื่อให้จ�ำง่าย เช่น การน�ำเอาเสียงตัวเลขในภาษาญี่ปุ่นมาสร้าง ค�ำศัพท์ที่มีเสียงคล้ายกัน ตัวอย่างเช่น ตัวเลข 118093 สามารถใช้ เสียงตัวเลขแปลงเป็นค�ำศัพท์ที่มีเสียงใกล้เคียงกันได้ว่า 「いいわ奥さん」 (iiwa okusan) (ความหมายคือ “ดีจังคุณแม่บ้าน”) เนื่องจากเสียง ตัวเลข 1 หรือ ichi มีเสียง i ประกอบอยู่สามารถน�ำไปเชื่อมกับค�ำ ที่ใช้เสียงiในค�ำว่า“ii”ที่แปลว่า“ดี”ได้ชาวญี่ปุ่นมักจะน�ำเสียงตัวเลข ไปเชื่อมกับค�ำศัพท์เพื่อสร้างความหมายต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้จ�ำตัวเลข ยาว ๆ ได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างที่พบมากคือ ตัวเลขเบอร์โทรศัพท์ในโฆษณาของหลาย บริษัทมักจะใช้ตัวเลขที่สวยในความหมายว่าสามารถแปลงเป็นค�ำศัพท์ ที่มีความหมายสอดคล้องกับสินค้าของตน เช่นเบอร์โทรศัพท์ของบริษัท ปลูกผมแห่งหนึ่งที่มีสโลแกนว่า フサフサ (fusafusa) มีความหมายว่า “หนา ดก” และบริษัทนี้ก็จะใช้หมายเลขโทรศัพท์ที่ให้ลูกค้าติดต่อ มาด้วยหมายเลข 17-2323 ซึ่งสามารถแปลงเป็นเสียงค�ำศัพท์ได้ว่า いいな、フサフサ (iina, fusafusa) หรือ “ดีจังนะ หนาและดก” ดังที่ได้ กล่าวมาแล้วว่าตัวเลข 1 มีเสียงอ่านว่า ichi ท�ำให้น�ำเสียงตัวแรกหรือ i มาใช้เชื่อมโยงค�ำเสียงค�ำว่า “ii” ที่แปลว่า “ดี” ส่วนตัวเลข 7 มีเสียง 1 1 8 09 3 1 7 2  3  2  3
  • 3. 3 อ่านว่า nana และเสียงคล้ายกับค�ำลงท้ายของภาษาญี่ปุ่น na ที่แปล คล้ายกับภาษาไทยว่า “นะ” ส่วนค�ำว่า フサフサ (fusafusa) มีเสียง คล้ายกับเลข 2 ในภาษาญี่ปุ่นที่ออกเสียงว่า “fu (tatsu)” และเลข 3 ที่ออกเสียงว่า “sa (n)” และมีความหมายว่า “หนา ดก” ​เหตุผลอีกประการหนึ่งที่เสียงตัวเลขสามารถน�ำไปเชื่อมกับ เสียงในค�ำศัพท์ในภาษาญี่ปุ่นได้ง่าย เพราะค�ำในภาษาญี่ปุ่นมีเสียงอ่าน มากกว่าหนึ่งเสียงเป็นส่วนใหญ่ เสียงอ่านตัวเลขภาษาญี่ปุ่นก็เช่น เดียวกันสามารถอ่านได้หลายแบบ เช่น ตัวเลข 1 ที่สามารถอ่านได้ว่า ichi ถ้าอ่านเป็นแบบเสียงจีน และยังสามารถอ่านได้ว่า hitotsu ได้ ด้วยถ้าอ่านเป็นเสียงญี่ปุ่น นอกจากนี้ บางครั้งก็สามารถน�ำเสียงอ่าน แบบภาษาอังกฤษมาเชื่อมได้ด้วย เช่น ตัวเลข 0 สามารถอ่านได้ว่า zero เพิ่มจาก rei, maru หรือเนื่องจากตัวเลข 0 คล้ายกับตัวอักษร ภาษาอังกฤษตัวโอก็อาจจะอ่านได้ว่า oo หรือ oh ได้ด้วย เมื่อตัวเลข มีเสียงอ่านให้เลือกมากก็สามารถน�ำไปเชื่อมกับค�ำศัพท์ได้ง่ายมากขึ้น เสียงในภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในการสะกดค�ำ มีลักษณะคงที่ไม่ผันแปร แต่ว่า... ​เสียงในภาษาญี่ปุ่นมีลักษณะคงที่และไม่ผันแปร ท�ำให้คนที่รู้วิธี การเขียนเพียงแค่ตัวอักษรฮิรางานะของภาษาญี่ปุ่นก็สามารถถ่ายทอด เสียงค�ำศัพท์ใด ๆ ก็ได้ออกมา หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือสามารถสะกด เป็นค�ำศัพท์ได้ทุกค�ำแม้จะไม่รู้ความหมายเลยก็ตาม ซึ่งจุดนี้ต่างกับ ภาษาอื่น ๆ เช่น ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษที่เสียงที่ออกเสียงมา อาจจะไม่ตรงกับพยัญชนะของเสียงที่ใช้สะกดเสมอไป ท�ำให้ผู้เรียน
  • 4. 4 ภาษาต่างประเทศเหล่านั้นต้องเรียนรู้วิธีการสะกดค�ำในค�ำศัพท์ใหม่ ๆ ตลอดเวลา ในขณะที่เสียงในภาษาญี่ปุ่นที่น�ำมาใช้สะกดค�ำศัพท์จะคงที่ สอดคล้องกับตัวสะกดเสมอ ท�ำให้เด็กนักเรียนชั้นประถมในประเทศ ญี่ปุ่นสามารถสะกดค�ำศัพท์ในภาษาญี่ปุ่นออกมาได้ทุกค�ำ แม้ว่าจะไม่รู้ จักความหมายของค�ำนั้นก็ตาม ​ ฟังแล้วดูเหมือนว่าภาษาญี่ปุ่นจะเป็นภาษาที่ง่าย แต่จริง ๆ แล้ว ถ้าดูรายละเอียดอาจจะไม่ได้เป็นเช่นนั้น กรณีที่เขียนด้านบนหมายถึง การเขียนเสียงที่ได้ยินออกมาเป็นตัวอักษรฮิรางานะ หากเป็นเรื่องของ ตัวอักษรคันจิจะเป็นเรื่องตรงข้ามกันทีเดียวตัวอักษรคันจิในภาษาญี่ปุ่น อ่านได้หลายเสียง หากไม่รู้จักค�ำศัพท์นั้นมาก่อนก็อาจจะมีโอกาสที่จะ เขียนเป็นตัวอักษรคันจิออกมาผิดได้และส�ำหรับการอ่านออกเสียงก็เช่น เดียวกัน ถ้าเป็นการอ่านออกเสียงตัวอักษรฮิรางานะจะไม่มีปัญหา เพราะตัวอักษรฮิรางานะมีเสียงที่จ�ำกัด แต่ถ้าเป็นการอ่านออกเสียงตัว อักษรคันจิ แม้แต่ชาวญี่ปุ่นเองก็ไม่อาจจะอ่านออกเสียงตัวอักษรคันจิ ออกมาได้ถูกต้องทุกค�ำ โดยเฉพาะชื่อสถานที่และชื่อคนที่เขียนด้วยตัว อักษรคันจิ หากไม่เคยเจอหรือได้ยินมาก่อนก็จะยากที่จะเขียนออกมา ภาพลักษณ์ของเสียงในภาษาญี่ปุ่น โครงสร้างพยางค์พิเศษ ​ คนที่ได้ยินภาษาญี่ปุ่นส่วนมากจะบอกว่า ฟังภาษาญี่ปุ่นเร็ว ๆ แล้วรู้สึกเหมือนเสียง “ปืนกล (ดะดะดะดะ)” บ้าง “รถไฟวิ่ง (ฉึกฉัก ฉึกฉัก)” บ้าง “เสียงน่ารัก (อาโนเนะ)” บ้าง เหตุที่ท�ำให้รู้สึกเช่นนั้นมา จากสาเหตุคือ โครงสร้างพยางค์ในภาษาญี่ปุ่น เสียงสระและการออก
  • 5. 5 เสียงในภาษาญี่ปุ่น ​พยางค์หรือที่เรียกว่า 音節 (onsetsu) ในภาษาญี่ปุ่นจะประกอบ ด้วยเสียงพยัญชนะ 子音 (shiin) + เสียงสระ 母音 (boin) เป็นหลัก เช่น ค�ำว่า さ (sa) จะประกอบด้วยเสียงพยัญชนะ [s] และเสียงสระ [a] ประกอบกัน โครงสร้างพยางค์ “เสียงพยัญชนะ + เสียงสระ” นี้เป็น โครงสร้างพยางค์พื้นฐานของภาษาญี่ปุ่น ท�ำให้เมื่อคนพูดภาษาญี่ปุ่น เร็ว ๆ คนที่ฟังภาษาญี่ปุ่นจะรู้สึกเหมือนกับว่าเสียงที่เปล่งออกมาจะจบ ด้วยเสียงพยัญชนะ + เสียงสระสั้น ๆ เรียงรายติดต่อกันไป ท�ำให้ฟัง เหมือนเสียงปืนกลหรือเสียงรถไฟที่วิ่งต่อเนื่องไปไม่หยุด ​ การที่พยางค์ในภาษาญี่ปุ่นจบลงด้วยเสียงสระเป็นส่วนใหญ่นี้ หรือที่เรียกว่า “open syllable” เป็นสิ่งที่ต่างกับภาษาอื่น ๆ อย่าง ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น ในภาษาไทยเรามีเสียงตัวสะกด เช่น แม่กบ แม่กด แม่กน ฯลฯ ท�ำให้เรามีค�ำศัพท์ที่จบด้วยเสียงสะกดพยัญชนะ เป็นจ�ำนวนมาก ภาษาไทยจึงจัดว่ามีเสียง “closed syllable” มาก ในขณะที่ในภาษาญี่ปุ่นจะมีค�ำศัพท์ที่จบด้วยเสียงตัวสะกดพยัญชนะ เป็นจ�ำนวนน้อย เวลาชาวญี่ปุ่นพูดค�ำศัพท์ภาษาไทยที่มีเสียงตัวสะกด จึงมักจะใส่เสียงสระลงไปด้วยเพื่อให้ออกเสียงได้สะดวกขึ้น เช่น ค�ำว่า “ภูเก็ต” เสียง “ภู” จบด้วยเสียงสระจึงไม่มีปัญหาในการออกเสียง แต่ค�ำว่า “เก็ต” ชาวญี่ปุ่นจะต้องออกเป็น ケット (ketto) หรือจบด้วย เสียงสระ [o] หรือท�ำให้ทุกพยางค์เป็น “open syllable” จึงจะออก เสียงได้ง่าย ​นอกเหนือจากโครงสร้างพยางค์พื้นฐานเสียงพยัญชนะ + เสียง สระแล้ว “เสียงสระ” อย่างเดียว และ “เสียงพยัญชนะ + เสียงกึ่งสระ (半母音 (hanboin)) + เสียงสระ” ก็จัดเป็นโครงสร้างพยางค์ในภาษา
  • 6. 6 ญี่ปุ่นหนึ่งด้วย แต่ก็จะสังเกตได้ว่าถึงแม้จะมีเสียงกึ่งสระประกอบอยู่ก็ จะยังจบลงด้วยเสียงสระหรือเป็น “open syllable” อยู่ดี การที่เสียง พยางค์ในภาษาญี่ปุ่นส่วนใหญ่จบลงด้วยเสียงสระนี้ ท�ำให้ภาษาญี่ปุ่น มีลักษณะพยางค์ที่พิเศษกว่าภาษาอื่น ท�ำให้มีชื่อเรียกพยางค์ในภาษา ญี่ปุ่นเป็นพิเศษว่า 拍 (haku) หรือ “mora” แทนที่ค�ำว่า 音節 (on- setsu) ภาษาญี่ปุ่นบางครั้งใช้ทับศัพท์ว่า モーラ (moora) เรียกด้วย โดยทั่วไปตัวอักษรฮิรางานะหนึ่งตัวจะเท่ากับ 1 拍 (haku) หรือ 1 モーラ (moora) ​ ตัวอย่างค�ำว่า “ภูเก็ต” ด้านบน ส�ำหรับคนไทยก็จะนับเป็น 2 พยางค์คือ ค�ำว่า “ภู” และ “เก็ต” แต่ส�ำหรับชาวญี่ปุ่นหากลากเสียง ยาวในค�ำว่า “ภู” ด้วยแล้วจะนับได้เป็นถึง 5 拍 (haku) เลยทีเดียว คือนับได้ตามจ�ำนวนอักษรฮิรางานะ ぷうけっと (โดยเสียง っ ก็นับเป็น 1 拍 (haku) ด้วย ​ Kindaichi (金田一1988: 90) ได้สรุปตารางแสดง 拍 (haku) ในภาษาญี่ปุ่นไว้ดังต่อไปนี้ a ​i​ u​ e​ o ​ja ​ju​ jo ​(je)​ wa ​(wi)​ (we) ​wo ha​ hi​ hu​ he ​ho hja​ hju ​hjo​ (hje)​ (hwa) ​(hwi)​ (hwe) ​ (hwo) ga ​gi​ gu​ ge ​go​ gja ​gju​ gjo (gwa)​ ka ​ki​ ku​ ke​ ko ​kja ​kju ​kjo​ (kwa) ŋa​ ŋi​ ŋu​ ŋe​ ŋo ​ŋja​ ŋju ​ŋjo da ​(di) (du)​ de ​do​ (dju) ta​ (ti) (tu) ​te ​to​ (tju) na ​ni​ nu ​ne ​no​ nja ​nju ​njo ba​ bi​ bu​ be​ bo ​bja ​bju ​bjo 1 2  3  4 5
  • 7. 7 pa ​pi​ pu ​pe ​po​ pja​ pju ​pjo ma​ mi​ mu​ me ​mo ​mja​ mju ​mjo za ​zi​ zu​ ze ​zo​ zja​ zju​ zjo​ (zje) sa​ si​ su​ se ​so​ sja​ sju​ sjo​ (sje) (ca)​ ci ​cu (ce) (co)​ cja ​cju​ cjo​ (cje) ra ​ri​ ru​ re ​ro ​rja​ rju ​rjo ​ N​ T ​R หมายเหตุ (แปลและขยายความหรือเติมตัวอักษรโรมันให้เข้าใจง่ายจาก Kindaichi (金田一 1988: 90)) ​1) ในวงเล็บ( )หมายถึงเสียงที่ปรากฏในค�ำยืมหรือค�ำที่แสดงความ รู้สึก (เช่น ค�ำอุทาน) ​2) (hwa) หมายถึงเสียงตัวอักษรファ  ​ 3) ŋa, ŋi, ŋu…หมายถึงเสียงนาสิกในตัวอักษรวรรค ガ เช่น เสียง ガ (ŋa) ในค�ำว่า 鏡 (カガミ (kagami), เสียง ギ (ŋi) ในค�ำว่า 鍵 (カ ギ (kagi) แต่ชาวญี่ปุ่นบางคนก็ไม่ออกเสียงเช่นนี้ ​ 4) ci, cu หมายถึงเสียงตัวอักษรチ・ツ ใช้วิธีเขียนตามแบบของ นักภาษาศาสตร์ที่ชื่อ Hattori Shirou โดยก�ำหนดให้ (ca) หมาย ถึง เสียง ツァ (cja) หมายถึงเสียง チャ  ​ 5) N หมายถึงเสียง ハネル音 (haneru on) หรือเสียงที่จบด้วยตัว อักษร ん (n), T หมายถึงเสียง ツメル音 (tsumeru on) หรือเสียง ที่มีตัวอักษร っ (tsu) ตัวเล็ก, R หมายถึงเสียง引ク音 (hiku on) หรือเสียงที่ลากยาว
  • 8. 8 ภาพลักษณ์ของเสียงในภาษาญี่ปุ่น เสียงที่เพราะพริ้งและการออกเสียงอย่างกระจุ๋งกระจิ๋ง ​ ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่ท�ำให้รู้สึกว่าภาษาญี่ปุ่นมีเสียงที่เพราะ พริ้งหรือน่ารักคือเรื่องของสระในภาษาญี่ปุ่นสระในภาษาญี่ปุ่นมีจ�ำนวน เพียง 5 เสียง คือ เสียง [a] [i] [u] [e] [o] ซึ่งนับว่าเป็นจ�ำนวนที่น้อย เมื่อเทียบกับเสียงสระในภาษาอื่น การที่ภาษามีจ�ำนวนเสียงสระน้อย จะช่วยส่งเสริมให้การฟังเสียงในภาษานั้นฟังได้ชัดเจนมากขึ้นKindaichi (金田一 1988: 102-103) อ้างค�ำพูดของศิลปินญี่ปุ่นที่ชื่อ 四家文子 (Yotsuya Fumiko) ที่กล่าวว่า เพลงที่มีเสียงสระ [a] [o] จ�ำนวนมาก จะร้องง่าย ในขณะที่เพลงที่มีเสียงสระ [i] จ�ำนวนมากจะร้องยาก พร้อมกันนี้ได้น�ำผลการส�ำรวจของ 大西雅雄 (Oonishi Masao) ที่ท�ำ การส�ำรวจจ�ำนวนเสียงสระที่ใช้ในภาษาต่าง ๆ และสรุปว่า ในภาษา ญี่ปุ่นมีการใช้เสียงสระ [a] และ [o] มากเป็นอันดับที่ 1 และ 2 ตามล�ำดับ ท�ำให้น่าจะสรุปได้ว่าภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่มีการใช้เสียงสระ ที่ชัดเจน ​นอกจากนี้ เสียงภาษาญี่ปุ่นยังมีลักษณะเฉพาะอีกประการหนึ่ง คือ มักจะไม่ใช้ริมฝีปากในการออกเสียง แต่จะใช้อวัยวะที่อยู่ลึกเข้าไป เช่น เพดานแข็ง เพดานอ่อนในการออกเสียงมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น เสียงสระ [u] ในภาษาญี่ปุ่นจะไม่ห่อริมฝีปาก ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษที่ ต่างจากเสียง [u] ในภาษาอื่น นอกจากนี้ เสียงพยัญชนะเช่นเสียง [f] [v] ซึ่งเป็นเสียงที่ต้องใช้ริมฝีปากในการเปล่งเสียง ก็จะไม่พบเจอใน ภาษาญี่ปุ่น ในทางตรงกันข้ามเสียงพยัญชนะในภาษาญี่ปุ่นจ�ำนวนมาก จะต้องใช้อวัยวะที่อยู่ลึกเข้าไปในปากในการออกเสียง เช่น เสียง [k]
  • 9. 9 [g] [ŋ] การที่ไม่ใช้ริมฝีปากในการเปล่งเสียงและการที่ใช้อวัยวะที่อยู่ ลึกเข้าไปในการเปล่งเสียง ท�ำให้เวลาชาวญี่ปุ่นพูดจะไม่เปิดปากกว้าง และจะเคลื่อนไหวริมฝีปากเพียงเล็กน้อย การออกเสียงเช่นนี้อาจจะ น�ำไปสู่ภาพลักษณ์ของความเรียบร้อยและกระจุ๋งกระจิ๋งหรือภาพลักษณ์ การพูดจาแบบ“อาโนเนะ”หรือ“คิขุ”น่ารักหวานแหววแบบสาวญี่ปุ่น เสียงในค�ำเลียนเสียง และค�ำแสดงท่าทางในภาษาญี่ปุ่น ​ ภาษาญี่ปุ่นมีค�ำเลียนเสียงธรรมชาติที่เรียกว่า 擬声語 (giseigo) ซึ่งหมายถึงค�ำเลียนเสียงของสัตว์หรือค�ำเลียนเสียงของเสียงมนุษย์ และ 擬音語 (giongo) ที่หมายถึงค�ำที่เลียนเสียงของธรรมชาติและ สิ่งของ เช่น เสียงฟ้าผ่า เสียงเคาะประตู และ 擬態語 (gitaigo) เป็นค�ำ ที่แสดงสภาพของสิ่งของ ท่าทาง ความรู้สึกและสภาพจิตใจของมนุษย์ ซึ่งเป็นค�ำที่ไม่ได้เกิดจากการเลียนเสียงที่ได้ยินจริง เช่น ค�ำที่แสดง สภาพที่ว่างเปล่าค�ำที่แสดงลักษณะรอยยิ้มแบบต่างๆ ค�ำที่แสดงอาการ ปวดแบบต่าง ๆ ค�ำทั้งสามชนิดนี้อาจจะเรียกรวม ๆ ได้ว่า オノマトペ (onomatope) ที่มาจากภาษาอังกฤษค�ำว่า “onomatopoeia” ในที่ นี้จะใช้ค�ำว่า オノマトペ (onomatope) เป็นค�ำเรียกรวมค�ำเลียนเสียง ธรรมชาติและท่าทางในภาษาญี่ปุ่นทั้งหมด ​ ค�ำเลียนเสียงธรรมชาติในแต่ละภาษาบางครั้งมีความเป็นสากล หรือมีความคล้ายคลึงกันแต่บางครั้งอาจจะไม่เหมือนกันเช่นนกดุเหว่า ในภาษาญี่ปุ่นจะร้องว่า カッコウ (kakkou) ในขณะที่ในภาษาอังกฤษ ร้องว่า “cuckoo (กุ๊กกู)” ภาษาฝรั่งเศสร้องว่า “coucou (คุ คุ)”
  • 10. 10 ​ ภาษาญี่ปุ่นมีการใช้ オノマトペ (onomatope) อย่างแพร่หลาย ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เราสามารถพบเจอ オノマトペ (onomatope) ได้ ทั้งในภาษาพูดในชีวิตประจ�ำวันและในภาษาเขียน เช่น ในวรรณกรรม นวนิยาย ข้อความพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์ ข้อความโฆษณา ​ ลักษณะพิเศษหนึ่งของ オノマトペ (onomatope) ในภาษาญี่ปุ่น คือ จะใช้ オノマトペ (onomatope) ที่แสดงสภาพจิตใจ หรืออารมณ์ ของมนุษย์ด้วย ซึ่งเป็นลักษณะที่ในภาษาอื่นจะไม่ค่อยพบเจอ เช่น ค�ำ ที่แสดงอารมณ์ที่กระวนกระวาย หงุดหงิดจะใช้ค�ำว่า いらいら (iraira) หรือค�ำที่แสดงรอยยิ้มแบบอารมณ์ดีจะใช้ ニコニコ (nikoniko) แต่ ถ้ายิ้มแหะ ๆ จะใช้ค�ำว่า ニャニャ (niyaniya) การใช้ オノマトペ (onomatope) ที่แสดงสภาพจิตใจหรืออารมณ์ในลักษณะนี้ค่อนข้าง จะเป็นที่เข้าใจยากส�ำหรับผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชาวต่างชาติ เพราะเป็น เรื่องของความรู้สึกที่ต้องเรียนรู้มาตั้งแต่เด็ก ๆ ​ลักษณะของเสียงที่มักน�ำมาใช้ประกอบขึ้นเป็น オノマトペ (onomatope) ประการหนึ่งคือ จะน�ำเสียงซ�้ำมาประกอบ เช่น ค�ำว่า トントン (tonton)ที่เป็นเสียงซ�้ำของค�ำว่าトン (ton)กับค�ำว่าトン (ton) น�ำมาออกเสียงซ�้ำอีกเป็น トントン (tonton) ซึ่งแสดงเสียงเคาะ เช่น เสียงเวลาเคาะประตู และ ドンドン (dondon) ที่แสดงอาการการ เปลี่ยนแปลงอย่างฉับไว หรือค�ำว่า ゴロゴロ (gorogoro) ที่แสดงการ กระเด็นกระดอนของหินหรือเสียงฟ้าร้องค�ำราม ​ลักษณะอีกประการหนึ่งในเรื่องที่เกี่ยวกับเสียง オノマトペ (onomatope) คือจะมี オノマトペ (onomatope) จ�ำนวนหนึ่งที่มี ลักษณะเป็นคู่เสียงระหว่างเสียงพยัญชนะที่เป็นเสียงไม่ก้องและเสียง พยัญชนะที่เป็นเสียงก้อง ตัวอย่างค�ำที่ยกมาด้านบนค�ำว่า トントン