SlideShare a Scribd company logo
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
รหัสวิชา ง33202 ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ปีการศึกษา 2562
ชื่อโครงงาน อ่านหนังสืออย่างไรให้เข้าใจและจำได้
ชื่อผู้ทำโครงงาน
1. นางสาว กรอรุ้ง สุขใจแสน เลขที่ 2 ชั้น ม.6/2
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์
ระยะเวลาดาเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2562
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
ใบงาน
การจัดทำข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์
ชื่อโครงงาน
อ่านหนังสืออย่างไรให้เข้าใจและจำได้
ประเภทโครงงาน พัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
ชื่อผู้ทำโครงงาน นางสาว กรอรุ้ง สุขใจแสน
ชื่อที่ปรึกษา ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์
ระยะเวลาดำเนินงาน ภาคเรียนที่ 1
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
เนื่องจากตอนนี้ดิฉันผู้ทำโครงงานกำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำเป็นจะต้องอ่านหนังสือเพื่อสอบ
เข้าระดับอุดมศึกษา และประสบปัญหากับการอ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน และไม่สามารถ
ท่องจำในสิ่งที่อ่านได้ในระยะยาว จึงทำให้เกิดอาการเครียดและวิตกกังวลเป็นอย่างมาก และเมื่อได้ไปสอบถาม
เพื่อนๆ พบว่าส่วนมากก็เจอปัญหาเดียวกันและบางคนก็จะมีวิธีการอ่านหนังสือในฉบับของตนเองที่แตกต่าง
กันออกไป ผู้จัดทำจึงอยากหาสาเหตุของปัญหาและวิธีแก้ไขปัญหาการอ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง ให้กับนักเรียนทุก
ๆ คนที่กำลังเจอปัญหาการอ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง ไม่เพียงแต่จะช่วยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เท่านั้น แต่
สามารถช่วยทุก ๆคนที่ชอบอ่านหนังสือได้อีกด้วย
วัตถุประสงค์
1.เพื่อหาสาเหตุของการอ่านหนังสือไม่เข้าใจ
2.เพื่อที่จะได้ทราบเทคนิคในการอ่านหนังสือ
3.สามารถนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
ขอบเขตโครงงาน (คุณลักษณะ ขอบเขต เงื่อนไขและข้อจำกัดของการทำโครงงาน)
การศึกษาการเทคนิควิธีการอ่านให้แก่ กลุ่มผู้อ่านหนังสือที่นำความรู้จากการอ่านไปใช้ประโยชน์
สาเหตุของปัญหาที่ผู้อ่านส่วนใหญ่มักจะประสบพบเจอ
หลักการและทฤษฎี
เหตุใดอ่านแล้วไม่เข้าใจ ทาไมอ่านแล้วไม่รู้เรื่อง
นักเรียนในโรงเรียน ทุกระดับชั้นในประเทศไทยประมาณร้อยละ 20 ปัจจุบันนี้ ประสบปัญหาการอ่าน เพราะ
อ่านหนังสือแล้วไม่เข้าใจ ตีความไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นบทเรียน โจทย์คณิตศาสตร์ อ่านการ์ตูน โฆษณา ฯลฯ
จนกระทั่งครูบางคนอาจบอกว่าเด็กโง่ และแม้แต่ผู้ใหญ่บางคนก็ประสบปัญหาการอ่านแล้วไม่เข้าใจ
เช่นเดียวกัน เช่นเดียวกับนักเรียนในประเทศอังกฤษ ที่ผู้เขียนได้มีโอกาสไปศึกษา และ ดูงานด้านการสอนผู้
พิการ ในเดือนมิถุนายน 2545 พบว่านักเรียนร้อยละ 20 ประสบปัญหาภาวะเสียการอ่านเข้าใจ
(Dyslexia) เป็นสาเหตุให้นักเรียนต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน และร้อยละ 80 ของนักโทษในเรือนจำใน
อังกฤษ ที่มีความผิดทางด้านเพศ คือ ฆ่า ข่มขืน และล่วงละเมิดทางเพศ เป็นโรคภาวะเสียการอ่านเข้าใจ
(Dyslexia) นั่นเอง ทำให้รัฐบาลของอังกฤษตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้อย่างมาก และกำลังหาวิธีการ
และมาตรการที่จะแก้ปัญหานี้อย่างเร่งด่วนเมื่อนักเรียนอ่านไม่ได้จึงไม่เข้าใจย่อมตีความโจทย์คณิตศาสตร์ไม่ได้
เขียนไม่ได้และตอบคำถามไม่ได้ จึงเป็นปัญหาที่เกี่ยวพันกันยากยิ่งที่ครูจะแก้ไข โดยเฉพาะทักษะการอ่านใน
แง่มุมของนักภาษาศาสตร์แล้ว นับเป็นทักษะที่ยุ่งยากและซับซ้อนในด้านกลไกการรับรู้ภายในสมองน้อยๆ ของ
เด็ก แม้แต่ทักษะการฟัง ซึ่งเป็นทักษะง่ายที่สุดที่เด็กต้องฟังพ่อ แม่ ครู ฯลฯ พร่ำสั่งสอน ถึงแม้เด็กรับฟังทุกวัน
แต่ก็ยังไม่จดจำ อาทิ ทำให้ทำการบ้านส่งครูทุกวัน ทำความสะอาดโต๊ะ และ ห้องเรียน ฯลฯ ดังนั้นเราจะทราบ
และเข้าใจได้อย่างไรว่าเด็กเหล่านี้มีความผิดปกติอะไรบ้างในหัวสมอง และเราจะช่วยแก้ไขปัญหานั้นได้
อย่างไร
ความหมายของDyslexiaDyslexia (อ่านออกเสียง ดิสเลคเซีย มาจากภาษากรีซ Dys : Not, Lexia :
Language หรือตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า ภาวะเสียการอ่านเข้าใจ)
ใครบ้างที่มีโอกาสอยู่ในภาวะเสียการอ่านเข้าใจนี้ ทุกคนมีโอกาสเป็นได้ แต่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัย
หลายประการ อาทิ มักจะเกิดกับเด็กพิการ เป็นกรรมพันธุ์ หรือแม้แต่เด็กฉลาดมากๆ อาทิ อัลเบอร์ต ไอสไตน์
ก็อาจเกิดภาวะนี้ได้ เช่นกัน นักเรียนที่ปรากฏอาการที่เสียภาวะเสียการอ่านเข้าใจ ครูอาจจะสังเกตจาก
พฤติกรรมของ นักเรียนหรือเกิดสาเหตุดังนี้
• ความจำแย่มาก แม้จะฟังคำสั่ง คำสอน คำอธิบาย ฯลฯ สามารถจำได้แค่ระยะเวลาอันสั้น แล้วก็
หลงลืมไปเลย แม้แต่เวลานัดหมายใครไว้ก็ลืม หรือไม่รู้ว่าวันนี้วันที่ เท่าไร และเป็นวันอะไร
• สับสนความจำในเรื่อง วัน เดือน ปี พ.ศ. และฤดูกาล
• สับสนสิ่งเหล่านี้ คือ หลงทิศว่าทิศเหนือเป็นทิศใต้ ทิศตะวันออกเป็นทิศตะวันตก หรือเมื่อครูออก
คำสั่งให้นักเรียนขวาหันนักเรียนกลับซ้ายหัน หรือจำชื่อคนผิด เช่นเรียกน้องนิดเป็นน้องหน่อย หรือจำ
ชื่อสถานที่ไม่ได้ เช่นบอกไม่ได้ว่าไปชมการบินผาดโผนที่กองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ มาเมื่อวานนี้
เป็นต้น
• สับสนด้านภาษา การเขียนอักษรกลับหน้า กลับหลัง อาทิ b เป็น d ตัว ค เป็น ตัว งเป็นการเรียงคำ
วลี หรือประโยคสับสน เช่น ฉันกินข้าว เป็น ฉันข้าวกิน
• หรือภาษาอังกฤษ อาทิ but cut put จะออกเสียง อะ เหมือนกันหมด และมีปัญหาเรื่องการสะกด
• แยกแยะจังหวะต่างๆ ไม่ออก เป็นคนไม่มีอารมณ์ขัน เข้ากับผู้อื่นไม่ได้ หรือมีปัญหาด้านการ
ประสานงาน
ปัจจัยเสี่ยง
• ช่วงที่สตรีตั้งครรภ์ได้รับประทานยา หรือรักษาโรคหัดเยอรมัน หรือเกิดอุบัติเหตุหกล้ม
• ทารกคลอดก่อน หรือหลังกำหนด 2 สัปดาห์ขึ้นไป หรือคลอดด้วยวิธีไม่ปกติ อาทิ ผ่าท้องมารดา ใช้
คีมคีบออก เป็นต้น และน้ำหนักทารกน้อยกว่า 5 ปอนด์ และมีอาการผิดปกติอื่นๆ อาทิ หายใจไม่
ปกติ ตัวเหลืองเพราะเป็นดีซ่าน สีผิวคล้ำ และช้ำเป็นจ้ำๆ
• เด็กมีพัฒนาการ และการเรียนรู้ช้ากว่าปกติ อาทิ หัดพูด หัดเดิน หัดรับประทานอาหารเอง หรือหัด
ช่วยพยุงตัวเอง และเมื่อถึงวัยเข้าโรงเรียนก็ไม่สามารถกลัดกระดุมเสื้อได้
• เด็กเคยมีอาการไข้ มีอุณหภูมิในร่างกายสูงมากถึงขั้นชัก เพ้อคลั่งหรือ ปัสสาวะรดที่นอนบ่อย ทั้งที่
อายุมากเกินกว่าที่กำหนดแล้วก็ตาม
• เด็กบ่นปวดขาเมื่อเดินเขย่งเท้า และเมื่ออายุ 8-10 ขวบ เด็กมีปัญหาเรื่องการได้ยิน มีปัญหาเรื่อง ตา
หู คอ จมูก ซึ่งเด็กอาจจะรับเชื้อหวัด เกิดหลอดลม หรือไซนัสอักเสบ
• เมื่อเข้าโรงเรียนเด็กมีสมาธิสั้น ไม่อยู่นิ่ง ไม่ชอบเรียนหนังสือ และไม่ชอบทำการบ้าน บ่นปวดลูก
นัยน์ตาในขณะอ่านหนังสือ หรืออ้างว่าปวดศีรษะเป็นประจำ
• เด็กมักมีปัญหาการฟัง ต้องฟังบ่อยๆ ซ้ำๆ และต้องมีสมาธิการฟังมากๆ จึงจะจำและเข้าใจ
• เด็กมีปัญหาการพูด อาทิ การพูดไม่ชัด พูดติดอ่าง หรือพูดวกวน และสับสน
• เด็กอ่านหนังสือได้ดีในช่วงแรกของการอ่าน แต่ต่อมาปฏิเสธไม่ยอมอ่าน
• เด็กมีปัญหาด้านการเขียน อาทิ ชอบเขียนภาษาอังกฤษด้วยตัวพิมพ์มากกว่าตัวเขียน ตอนแรกเมื่อเด็ก
ฝึกหัดเขียนก็ทำได้ดี แต่พอตอนหลังเขียนได้แย่ลงกว่าเดิม และหลีกเลี่ยงงานที่ต้องเขียนด้วยลายมือ
ภาวะการเสียการอ่านเข้าใจ
เป็นอาการที่เกี่ยวกับระบบประสาท หรืออาการที่ไม่ปกติที่ซ่อนเร้นอยู่ในสมองของเด็ก ทำให้เด็ก
อ่านไม่ออก จึงส่งผลให้เขียนไม่ได้ ตีความไม่ได้ และมีปัญหาในการทำงานร่วมกับคนอื่น ทำให้ครูไม่ใคร่
พึงพอใจนัก หรือมักใช้ถ้อยคำ รุนแรงว่าเด็กโง่ จนทำให้นักเรียนไม่สามารถเรียนต่อไปได้เพราะทั้งครู นักเรียน
และผู้ปกครองก็ไม่เข้าใจวิธีที่จะแก้ไขปัญหา อาจจะทำให้ผู้เรียนต้องออกจากโรงเรียน กลางคัน เพราะเรียน
ต่อไปไม่ไหว
เราจะแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไร แนวทางของคำตอบก็คือ ครอบครัวต้องเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษทั้งด้านสุขภาพ
และสอนหนังสือคือการสอนอ่านและสอนเขียนอย่างใจเย็น สำหรับครูคงเป็นเรื่องยากยิ่งที่จะสอนนักเรียน
เหล่านี้เป็นพิเศษกว่าเด็กปกติอื่นๆ เพราะห้องเรียนในโรงเรียนในประเทศไทยค่อนข้างใหญ่ และขณะนี้ยังไม่มี
เทคนิคการสอน หรือกิจกรรมการเรียนใดที่จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้ ได้แต่หวังว่าครูคงจะแบ่งเวลาให้ความ
สนใจเด็กเหล่านี้เป็นพิเศษบ้าง หรือให้เพื่อนที่มีความสามารถสอนนักเรียนเหล่านั้นให้หัดอ่านหรือเขียนบ่อยขึ้น
ก็จะเป็นการดี
นักการศึกษาควรร่วมมือกันหาวิธีการที่เหมาะสมเพื่อช่วยเหลือเด็กเหล่านี้ให้เรียนได้ดีขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เด็ก
ออกไปสร้างปัญหากับสังคมต่อไป สมควรที่พวกเราควรเร่งแก้ไขปัญหานี้แล้วหรือยัง
เรียนหนัก อ่านหนังสือเยอะ...จนสมองล้า
(Brain Fag Syndrome)
อาการอ่อนล้าของสมองขณะอ่านหนังสือ ทำให้จับใจความสำคัญไม่ได้ อ่านไปก็เสียเวลาเปล่าเพราะตำราไม่
เข้าหัว วันนี้เลยอยากนำที่มาของอาการมาเล่าสู่กันฟังเพื่อให้ระวังกันให้ดี
โรค Brain Fag Syndrome คืออะไร
โรค Brain Fag Syndrome หรือโรคอ่านหนังสือเยอะจนสมองล้า เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและ
สมอง ถูกค้นพบครั้งแรกในทวีปแอฟริกาใต้ และไนจีเรียเป็นแห่งที่ 2 โดยกลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่จะเป็นนักเรียน
นักศึกษา หรือกลุ่มคนทำงานที่ต้องใช้สายตาอ่านหนังสือค่อนข้างเยอะ
ทั้งนี้นักจิตวิทยาก็ขยายความต่อว่า เหตุที่เกิดในประเทศโลกที่ 3 มากกว่าประเทศอื่น ๆ ก็เพราะความ
ยากลำบากของการเรียนหนังสือ พร้อมทั้งความกดดันที่เด็กวัยเรียนในประเทศนั้น ๆ ต้องเจอ ทำให้เกิด
ความเครียดจนตกอยู่ในกำมือของภาวะ Brain Fag Syndrome นั่นเอง
สาเหตุของโรค Brain Fag Syndrome
หลัก ๆ แล้วโรคนี้จะเกิดจากความเครียดอันเกิดจากความพยายามอย่างยิ่งที่่จะทำอะไรให้สำเร็จสักอย่าง
รวมทั้งความคาดหวังที่สูงจัดจนกลายเป็นความกดดันตัวเองให้จดจ่อกับสิ่งที่ต้องการมากเกินไป ส่วนมากจะมี
อาการทางจิตร่วมด้วยเล็กน้อย เช่น รู้สึกเหนื่อยล้าทั้งร่างกายและจิตใจจนไม่อยากจะสานต่อสิ่งที่ทำอยู่ หัว
สมองตื้อ สมาธิที่เคยมีหายไป
ใครคือกลุ่มเสี่ยง
นักเรียน นักศึกษาที่กำลังจะสอบแข่งขัน หรือกำลังพยายามพิชิตบทเรียนที่ยากเกินกว่าจะผ่านไปได้ง่าย ๆ
นอกจากนี้กลุ่มวัยทำงานที่ต้องเจอกับภาวะกดดันก็มีสิทธิ์เป็นโรคนี้ได้เช่นกัน
อาการบ่งชี้ภาวะ Brain Fag Syndrome
✔สมาธิบกพร่อง ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งที่อ่านได้
✔ความสามารถในการจดจำข้อมูลลดน้อยลง
✔เกิดอาการเป็นเหน็บ รู้สึกชาตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
✔ปวดหัว
✔ปวดบ่าและไหล่
✔หงุดหงิดง่าย
✔สีหน้าบ่งบอกถึงความไม่สบายใจ
✔กระสับกระส่าย
✔หายใจติดขัด
✔วิตกกังวล
✔น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
✔นอนไม่หลับ
✔เหงื่อออกเยอะผิดปกติ
✔เสียงสั่น
✔เกิดความผิดปกติของเส้นประสาท
✔ตาพร่ามัว
✔หูอื้อ
❌หากเกิดอาการผิดปกติเหล่านี้กับคุณเกิน 5 ข้อ อาจเป็นไปได้ที่คุณจะป่วยเป็นโรค Brain Fag
Syndrome
เทคนิคช่วยการอ่าน
8 เคล็ดลับอ่านหนังสือยังไง
ให้จำเร็วและแม่น
1. อ่านหน้าสรุปก่อน
อ่านตอนจบก่อนเลย หนังสือส่วนใหญ่ชอบเขียนชักแม่น้ำทั้งห้า เขียนอธิบายอย่างละเอียดยิบ ใช้
ประโยคที่ต้องอ่านซ้ำสองสามรอบถึงจะเข้าใจ โดยเฉพาะในหน้าแรก ๆ ของบท เราไม่จำเป็นต้องรู้ประวัติชีวิต
ของผู้เขียน บทนำ ซึ่งจะเป็นการเขียนเกริ่นแนะนำให้อ่านต่อไปเรื่อย ๆ เป็นส่วนใหญ่ ในทางกลับกัน บทส่ง
ท้าย หรือบทสรุป เป็นสิ่งที่ต้องอ่าน โดยปกติแล้วจะเป็นส่วนที่ผู้เขียนสรุปข้อมูลทั้งหมดที่ได้กล่าวมา อีกทั้ง
หากเราอ่านบทสรุปก่อน แล้วกลับมาอ่านหน้าแรกอีกครั้งก็ทำให้เราสามารถอ่านได้เข้าใจมากขึ้น แม้กระทั่งใน
เวลาที่ต้องอ่านหนังสือก่อนเพื่อไปเรียนในคาบถัดไป การอ่านส่วนบทสรุปก็ทำให้เราเห็นภาพคร่าวๆ ของ
เนื้อหาที่ต้องเรียนแล้ว
2. ใช้ปากกาไฮไลต์เพื่อนเน้นใจความสำคัญ
ความจริงแล้ว การไฮไลท์ข้อความนั้นมีประโยชน์มาก “หากใช้อย่างถูกวิธี” ไม่ควรไฮไลท์ทุกอย่างใน
หน้า และไม่ควรไฮไลท์น้อยจนเกินไป สิ่งที่ควรทำคือ การไฮไลท์ข้อความหัวข้อสรุป หรือใจความสำคัญเด่น ๆ
เมื่อเราเปิดหนังสือมาอ่านอีกครั้ง เราจะสามารถทราบทุกอย่างที่จำเป็นต้องรู้ด้วยการมองเพียงแวบเดียว
3. ดูสารบัญและหัวข้อย่อย
ทำให้เรารู้ใจความสำคัญของสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อได้อย่างดี เพราะผู้เขียนมักจะกล่าวถึงประเด็น
สำคัญซ้ำ ๆ ในทุกส่วนของหนังสือ
4. ขวนขวายกันสักนิด
แทนที่จะซึมซับทุกอย่างจากการอ่านหนังสือที่อาจารย์สั่งเท่านั้น ลองเปิดโลกใหม่ดูบ้าง หาหนังสือเล่ม
อื่นๆ ในห้องสมุด หรือในอินเตอร์เน็ตก็มีเยอะแยะไปที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียนมาอ่านดู ซึ่งหนังสือบางเล่ม
พูดถึงเล่มเดียวกันแต่เขียนได้น่าอ่าน อ่านเข้าใจง่าย มีภาพประกอบเพิ่ม สรุปแบบอ่านแล้วเข้าใจ ซึ่งจริง ๆ
เนื้อหาก็เรื่องเดียวกับที่เรียนในห้อง
5. พยายามอย่าอ่านทุกคำ
หลายคนคิดว่าการอ่านทุกคำจะช่วยให้จดจำข้อมูลได้อย่างละเอียดยิบ ความจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่
เพราะสมองจะได้รับข้อมูลมากเกินไปและเกิดความล้า เบื่อหน่ายจนตาลอยอ่านหนังสือไม่เข้าหัวในที่สุด
ที่เป็นเช่นนี้เพราะหนังสือที่ไม่ได้อยู่ในประเภทนิยายมักจะถูกเขียนอธิบายซ้ำ ๆ เพราะผู้เขียนต้องการจะกล่าว
อธิบายให้กระจ่าง แต่ใจความสำคัญจริง ๆ แล้วอยู่ที่บทสรุปเพียงไม่กี่ย่อหน้า หนังสือส่วนใหญ่ใส่ข้อมูล
หลักฐานจนแน่นมากกว่าจะกล่าวถึงประเด็น ซึ่งก็เป็นเรื่องดีและน่าสนใจ แต่ทุกหลักฐานที่อ้างนั้นก็กล่าวถึง
ประเด็นเดียว การอ่านเพิ่มเติมก็เป็นการย้ำถึงประเด็นเดิม ดังนั้นเลือกหลักฐานที่น่าสนใจที่สุดแล้วอ่านบท
ต่อไปเถอะ
6. เขียนสรุปมุมมองของผู้อ่าน
อดทนหน่อยอย่าเพิ่งเบื่อ! คนส่วนใหญ่ไม่ชอบการเขียน แต่การเขียนนั้นเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดในการ
รวบรวมข้อมูลสำคัญในระยะเวลาอันสั้น หากเป็นไปได้ให้เขียนใจความสำคัญในแบบฉบับของเราใน 1
หน้ากระดาษ โดยพูดถึงประเด็นที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ ยกตัวอย่างสั้น ๆ และคำถามหรือความรู้สึกของเราที่
ต้องการการค้นคว้าเพื่อหาคำตอบต่อไปให้ดียิ่งขึ้น
การเขียนมุมมองของผู้อ่านเช่นนี้ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราทราบถึงประเด็นสำคัญของหนังสือเช่นเดียวกับการ
ไฮไลต์ข้อความ เมื่อใกล้ถึงช่วงสอบ จะเป็นการง่ายกว่าที่เราจะนั่งอ่านมุมมองสรุปของผู้อ่าน แทนที่จะพลิก
ตำราอ่านหนังสือทั้งเล่มเพื่ออ่านทบทวนอีกครั้ง
7. อภิปรายกับผู้อื่น
คนส่วนมากไม่ชอบการทำงานกลุ่ม แต่การจับกลุ่มกันพูดถึงเนื้อหาของหนังสือที่ต้องอ่านช่วยทำให้เรา
จำได้ง่ายขึ้น บางครั้งอาจพูดถึงหนังสือในแง่ตลก ๆ ก็จะทำให้เราจำประเด็นนั้นได้เมื่อเราอยู่ในห้องสอบ
เพราะเราจะคิดถึงเรื่องตลกก่อน เป็นการใช้หลักการเชื่อมโยงข้อมูลที่ทำให้สมองของเราทำงานได้ง่ายขึ้น
การพูดคุยเกี่ยวกับหนังสือที่อ่านช่วยทำให้เราได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากบางส่วนที่เรามองข้ามไป บางคนนั้นชอบ
เรียนรู้โดยการฟัง และมักจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อได้ยินข้อมูล ดังนั้นการพูดคุยสนทนาถกเถียงประเด็นที่อยู่ใน
หนังสือจะทำให้เราจำประเด็นสำคัญนั้นได้ดีเมื่อได้ฟังผ่านหู ทำให้เราสามารถระลึกถึงข้อมูลส่วนนั้นได้เมื่ออยู่
ในการสอบ
8. จดคำถามข้อสงสัยที่เกิดขึ้นระหว่างการอ่าน
หัวใจหลักของเทคนิคนี้ คือการตั้งคำถาม อย่าเชื่อว่าผู้เขียนนั้นเขียนได้ถูกต้องซะทีเดียว ให้จดจ่อกับสิ่งที่
อาจและใช้ความคิดเชิงวิเคราะห์ในการอ่าน เช่น
• ทำไมผู้เขียนจึงกล่าวเช่นนั้น?
• หลักฐานคำอธิบายนี้เป็นจริงหรือ?
• ประเด็นนี้เกี่ยวข้องกับข้อโต้แย้งของผู้เขียนอย่างไร?
• ผู้เขียนต้องการสื่อข้อความนี้ให้แก่ใคร?
คำถามอาจซับซ้อนกว่านี้หรือง่ายกว่านี้ ขึ้นอยู่กับหนังสือที่อ่าน เคล็ดลับเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เราอ่าน
หนังสือและจดจำได้เป็นอย่างดี แต่แน่นอนว่าอาจจะมีวิธีที่หลากหลายกว่านี้ แต่ละวิธีก็อาจให้ผลลัพธ์แตกต่าง
กันไปขึ้นอยู่กับว่าใครชอบวิธีไหน
รู้แบบนี้แล้ว เราต้องลุกขึ้นมากระตือรือร้นในการอ่าน ค้นหาสิ่งที่อยากอ่าน และทุ่มเทสักหน่อย จดจำประเด็น
สำคัญ หากทำได้เช่นนี้รับรองว่าหนังสือร้อยหน้าก็อ่านจบได้ในเวลาแค่แป๊บเดียว
แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์

More Related Content

What's hot

Comdaniel
ComdanielComdaniel
Comdaniel
great46540
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์สมบูรณ์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์สมบูรณ์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์สมบูรณ์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์สมบูรณ์
ธัญญลักษณ์ นาคคำ
 
Final project
Final projectFinal project
Final project
ppchanoknan
 
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
tangkwakamonwan
 
Addictsocial
AddictsocialAddictsocial
Addictsocial
KanchariyaChuensomba
 
แผนการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษา
แผนการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษาแผนการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษา
แผนการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษาtassanee chaicharoen
 
รายงานการใช้สื่อ5บท
รายงานการใช้สื่อ5บทรายงานการใช้สื่อ5บท
รายงานการใช้สื่อ5บทJiraporn Chaimongkol
 
แผนการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาหน่วยที่ 3
แผนการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาหน่วยที่ 3แผนการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาหน่วยที่ 3
แผนการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาหน่วยที่ 3tassanee chaicharoen
 
2559 project 612-04_08
2559 project 612-04_082559 project 612-04_08
2559 project 612-04_08
Yuthtachai Chaijaroen
 
Oh good
Oh goodOh good
Oh good
Film_jeera
 
2562-final-project
 2562-final-project  2562-final-project
2562-final-project
mew46716
 
Final1
Final1Final1
King 16
King 16King 16

What's hot (14)

Comdaniel
ComdanielComdaniel
Comdaniel
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์สมบูรณ์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์สมบูรณ์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์สมบูรณ์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์สมบูรณ์
 
Final project
Final projectFinal project
Final project
 
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
Addictsocial
AddictsocialAddictsocial
Addictsocial
 
Ocd
OcdOcd
Ocd
 
แผนการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษา
แผนการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษาแผนการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษา
แผนการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษา
 
รายงานการใช้สื่อ5บท
รายงานการใช้สื่อ5บทรายงานการใช้สื่อ5บท
รายงานการใช้สื่อ5บท
 
แผนการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาหน่วยที่ 3
แผนการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาหน่วยที่ 3แผนการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาหน่วยที่ 3
แผนการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาหน่วยที่ 3
 
2559 project 612-04_08
2559 project 612-04_082559 project 612-04_08
2559 project 612-04_08
 
Oh good
Oh goodOh good
Oh good
 
2562-final-project
 2562-final-project  2562-final-project
2562-final-project
 
Final1
Final1Final1
Final1
 
King 16
King 16King 16
King 16
 

Similar to แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์

โครงงานคอมพร อมตกแต ง
โครงงานคอมพร อมตกแต งโครงงานคอมพร อมตกแต ง
โครงงานคอมพร อมตกแต งSittikorn Thipnava
 
2559 project 612-04_08
2559 project 612-04_082559 project 612-04_08
2559 project 612-04_08
Yuthtachai Chaijaroen
 
2560 project 9,22
2560 project 9,222560 project 9,22
Computer project
Computer projectComputer project
Computer project
ssuser97d070
 
2560 project
2560 project 2560 project
2560 project
Gear Tanatchaporn
 
2560 project
2560 project 2560 project
2560 project
Gear Tanatchaporn
 
แผนการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เพศศึกษา
แผนการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เพศศึกษาแผนการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เพศศึกษา
แผนการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เพศศึกษา
tassanee chaicharoen
 
Tuangtham Sura M.6/9 No.37
Tuangtham Sura M.6/9 No.37Tuangtham Sura M.6/9 No.37
Tuangtham Sura M.6/9 No.37
KamontipKumjen
 
2562 final-project computer
2562 final-project computer2562 final-project computer
2562 final-project computer
tataaaz
 
โครงงานสื่อการสอนวิชาสุขศึกษา
โครงงานสื่อการสอนวิชาสุขศึกษาโครงงานสื่อการสอนวิชาสุขศึกษา
โครงงานสื่อการสอนวิชาสุขศึกษาnammint
 
เรียนรวมบทที่ 3 [1 54]
เรียนรวมบทที่ 3 [1 54]เรียนรวมบทที่ 3 [1 54]
เรียนรวมบทที่ 3 [1 54]CMRU
 
โครงงานเพื่อการศึกษา
โครงงานเพื่อการศึกษาโครงงานเพื่อการศึกษา
โครงงานเพื่อการศึกษา
Bream Mie
 
ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 2
ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 2ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 2
ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 2
โรงเรียนมหาธิคุณวิทยา
 
ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 2
ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 2ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 2
ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 2
โรงเรียนมหาธิคุณวิทยา
 
แบบเสนอโครงร างโครงงานคอมพ วเตอร_
แบบเสนอโครงร างโครงงานคอมพ วเตอร_แบบเสนอโครงร างโครงงานคอมพ วเตอร_
แบบเสนอโครงร างโครงงานคอมพ วเตอร_nnnsb
 
2562 final-project (2).docx
2562 final-project  (2).docx2562 final-project  (2).docx
2562 final-project (2).docx
ssuser0bce3f
 
2560 project
2560 project 2560 project
2560 project
Nichaphat Sanguthai
 
โครงร่างคอมพิวเตอร์
โครงร่างคอมพิวเตอร์โครงร่างคอมพิวเตอร์
โครงร่างคอมพิวเตอร์ต. เตอร์
 

Similar to แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ (20)

โครงงานคอมพร อมตกแต ง
โครงงานคอมพร อมตกแต งโครงงานคอมพร อมตกแต ง
โครงงานคอมพร อมตกแต ง
 
2559 project 612-04_08
2559 project 612-04_082559 project 612-04_08
2559 project 612-04_08
 
2560 project 9,22
2560 project 9,222560 project 9,22
2560 project 9,22
 
Computer project
Computer projectComputer project
Computer project
 
2560 project
2560 project 2560 project
2560 project
 
2560 project
2560 project 2560 project
2560 project
 
แผนการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เพศศึกษา
แผนการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เพศศึกษาแผนการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เพศศึกษา
แผนการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เพศศึกษา
 
Tuangtham Sura M.6/9 No.37
Tuangtham Sura M.6/9 No.37Tuangtham Sura M.6/9 No.37
Tuangtham Sura M.6/9 No.37
 
2562 final-project computer
2562 final-project computer2562 final-project computer
2562 final-project computer
 
AT1
AT1AT1
AT1
 
โครงงานสื่อการสอนวิชาสุขศึกษา
โครงงานสื่อการสอนวิชาสุขศึกษาโครงงานสื่อการสอนวิชาสุขศึกษา
โครงงานสื่อการสอนวิชาสุขศึกษา
 
เรียนรวมบทที่ 3 [1 54]
เรียนรวมบทที่ 3 [1 54]เรียนรวมบทที่ 3 [1 54]
เรียนรวมบทที่ 3 [1 54]
 
โครงงานเพื่อการศึกษา
โครงงานเพื่อการศึกษาโครงงานเพื่อการศึกษา
โครงงานเพื่อการศึกษา
 
ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 2
ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 2ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 2
ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 2
 
ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 2
ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 2ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 2
ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 2
 
แบบเสนอโครงร างโครงงานคอมพ วเตอร_
แบบเสนอโครงร างโครงงานคอมพ วเตอร_แบบเสนอโครงร างโครงงานคอมพ วเตอร_
แบบเสนอโครงร างโครงงานคอมพ วเตอร_
 
2561 project -2
2561 project -22561 project -2
2561 project -2
 
2562 final-project (2).docx
2562 final-project  (2).docx2562 final-project  (2).docx
2562 final-project (2).docx
 
2560 project
2560 project 2560 project
2560 project
 
โครงร่างคอมพิวเตอร์
โครงร่างคอมพิวเตอร์โครงร่างคอมพิวเตอร์
โครงร่างคอมพิวเตอร์
 

More from jungkookjin

Please stop smoking
Please stop smoking Please stop smoking
Please stop smoking
jungkookjin
 
Type of computer project
Type of computer projectType of computer project
Type of computer project
jungkookjin
 
Portfolio faculty of forestry
Portfolio faculty of forestryPortfolio faculty of forestry
Portfolio faculty of forestry
jungkookjin
 
Computer 01.02
Computer 01.02Computer 01.02
Computer 01.02
jungkookjin
 
Com
ComCom
Computer work
Computer workComputer work
Computer work
jungkookjin
 

More from jungkookjin (6)

Please stop smoking
Please stop smoking Please stop smoking
Please stop smoking
 
Type of computer project
Type of computer projectType of computer project
Type of computer project
 
Portfolio faculty of forestry
Portfolio faculty of forestryPortfolio faculty of forestry
Portfolio faculty of forestry
 
Computer 01.02
Computer 01.02Computer 01.02
Computer 01.02
 
Com
ComCom
Com
 
Computer work
Computer workComputer work
Computer work
 

Recently uploaded

งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdfงานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
Prachyanun Nilsook
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
atwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtxatwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtx
Bangkok, Thailand
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 

Recently uploaded (10)

งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdfงานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
atwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtxatwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtx
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
 

แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์

  • 1. แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา ง33202 ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปีการศึกษา 2562 ชื่อโครงงาน อ่านหนังสืออย่างไรให้เข้าใจและจำได้ ชื่อผู้ทำโครงงาน 1. นางสาว กรอรุ้ง สุขใจแสน เลขที่ 2 ชั้น ม.6/2 ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์ ระยะเวลาดาเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
  • 2. ใบงาน การจัดทำข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์ ชื่อโครงงาน อ่านหนังสืออย่างไรให้เข้าใจและจำได้ ประเภทโครงงาน พัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา ชื่อผู้ทำโครงงาน นางสาว กรอรุ้ง สุขใจแสน ชื่อที่ปรึกษา ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์ ระยะเวลาดำเนินงาน ภาคเรียนที่ 1 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน เนื่องจากตอนนี้ดิฉันผู้ทำโครงงานกำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำเป็นจะต้องอ่านหนังสือเพื่อสอบ เข้าระดับอุดมศึกษา และประสบปัญหากับการอ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน และไม่สามารถ ท่องจำในสิ่งที่อ่านได้ในระยะยาว จึงทำให้เกิดอาการเครียดและวิตกกังวลเป็นอย่างมาก และเมื่อได้ไปสอบถาม เพื่อนๆ พบว่าส่วนมากก็เจอปัญหาเดียวกันและบางคนก็จะมีวิธีการอ่านหนังสือในฉบับของตนเองที่แตกต่าง กันออกไป ผู้จัดทำจึงอยากหาสาเหตุของปัญหาและวิธีแก้ไขปัญหาการอ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง ให้กับนักเรียนทุก ๆ คนที่กำลังเจอปัญหาการอ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง ไม่เพียงแต่จะช่วยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เท่านั้น แต่ สามารถช่วยทุก ๆคนที่ชอบอ่านหนังสือได้อีกด้วย วัตถุประสงค์ 1.เพื่อหาสาเหตุของการอ่านหนังสือไม่เข้าใจ 2.เพื่อที่จะได้ทราบเทคนิคในการอ่านหนังสือ 3.สามารถนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ขอบเขตโครงงาน (คุณลักษณะ ขอบเขต เงื่อนไขและข้อจำกัดของการทำโครงงาน) การศึกษาการเทคนิควิธีการอ่านให้แก่ กลุ่มผู้อ่านหนังสือที่นำความรู้จากการอ่านไปใช้ประโยชน์ สาเหตุของปัญหาที่ผู้อ่านส่วนใหญ่มักจะประสบพบเจอ
  • 3. หลักการและทฤษฎี เหตุใดอ่านแล้วไม่เข้าใจ ทาไมอ่านแล้วไม่รู้เรื่อง นักเรียนในโรงเรียน ทุกระดับชั้นในประเทศไทยประมาณร้อยละ 20 ปัจจุบันนี้ ประสบปัญหาการอ่าน เพราะ อ่านหนังสือแล้วไม่เข้าใจ ตีความไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นบทเรียน โจทย์คณิตศาสตร์ อ่านการ์ตูน โฆษณา ฯลฯ จนกระทั่งครูบางคนอาจบอกว่าเด็กโง่ และแม้แต่ผู้ใหญ่บางคนก็ประสบปัญหาการอ่านแล้วไม่เข้าใจ เช่นเดียวกัน เช่นเดียวกับนักเรียนในประเทศอังกฤษ ที่ผู้เขียนได้มีโอกาสไปศึกษา และ ดูงานด้านการสอนผู้ พิการ ในเดือนมิถุนายน 2545 พบว่านักเรียนร้อยละ 20 ประสบปัญหาภาวะเสียการอ่านเข้าใจ (Dyslexia) เป็นสาเหตุให้นักเรียนต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน และร้อยละ 80 ของนักโทษในเรือนจำใน อังกฤษ ที่มีความผิดทางด้านเพศ คือ ฆ่า ข่มขืน และล่วงละเมิดทางเพศ เป็นโรคภาวะเสียการอ่านเข้าใจ (Dyslexia) นั่นเอง ทำให้รัฐบาลของอังกฤษตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้อย่างมาก และกำลังหาวิธีการ และมาตรการที่จะแก้ปัญหานี้อย่างเร่งด่วนเมื่อนักเรียนอ่านไม่ได้จึงไม่เข้าใจย่อมตีความโจทย์คณิตศาสตร์ไม่ได้ เขียนไม่ได้และตอบคำถามไม่ได้ จึงเป็นปัญหาที่เกี่ยวพันกันยากยิ่งที่ครูจะแก้ไข โดยเฉพาะทักษะการอ่านใน แง่มุมของนักภาษาศาสตร์แล้ว นับเป็นทักษะที่ยุ่งยากและซับซ้อนในด้านกลไกการรับรู้ภายในสมองน้อยๆ ของ เด็ก แม้แต่ทักษะการฟัง ซึ่งเป็นทักษะง่ายที่สุดที่เด็กต้องฟังพ่อ แม่ ครู ฯลฯ พร่ำสั่งสอน ถึงแม้เด็กรับฟังทุกวัน แต่ก็ยังไม่จดจำ อาทิ ทำให้ทำการบ้านส่งครูทุกวัน ทำความสะอาดโต๊ะ และ ห้องเรียน ฯลฯ ดังนั้นเราจะทราบ และเข้าใจได้อย่างไรว่าเด็กเหล่านี้มีความผิดปกติอะไรบ้างในหัวสมอง และเราจะช่วยแก้ไขปัญหานั้นได้ อย่างไร ความหมายของDyslexiaDyslexia (อ่านออกเสียง ดิสเลคเซีย มาจากภาษากรีซ Dys : Not, Lexia : Language หรือตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายว่า ภาวะเสียการอ่านเข้าใจ) ใครบ้างที่มีโอกาสอยู่ในภาวะเสียการอ่านเข้าใจนี้ ทุกคนมีโอกาสเป็นได้ แต่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัย หลายประการ อาทิ มักจะเกิดกับเด็กพิการ เป็นกรรมพันธุ์ หรือแม้แต่เด็กฉลาดมากๆ อาทิ อัลเบอร์ต ไอสไตน์ ก็อาจเกิดภาวะนี้ได้ เช่นกัน นักเรียนที่ปรากฏอาการที่เสียภาวะเสียการอ่านเข้าใจ ครูอาจจะสังเกตจาก พฤติกรรมของ นักเรียนหรือเกิดสาเหตุดังนี้ • ความจำแย่มาก แม้จะฟังคำสั่ง คำสอน คำอธิบาย ฯลฯ สามารถจำได้แค่ระยะเวลาอันสั้น แล้วก็ หลงลืมไปเลย แม้แต่เวลานัดหมายใครไว้ก็ลืม หรือไม่รู้ว่าวันนี้วันที่ เท่าไร และเป็นวันอะไร • สับสนความจำในเรื่อง วัน เดือน ปี พ.ศ. และฤดูกาล • สับสนสิ่งเหล่านี้ คือ หลงทิศว่าทิศเหนือเป็นทิศใต้ ทิศตะวันออกเป็นทิศตะวันตก หรือเมื่อครูออก คำสั่งให้นักเรียนขวาหันนักเรียนกลับซ้ายหัน หรือจำชื่อคนผิด เช่นเรียกน้องนิดเป็นน้องหน่อย หรือจำ
  • 4. ชื่อสถานที่ไม่ได้ เช่นบอกไม่ได้ว่าไปชมการบินผาดโผนที่กองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ มาเมื่อวานนี้ เป็นต้น • สับสนด้านภาษา การเขียนอักษรกลับหน้า กลับหลัง อาทิ b เป็น d ตัว ค เป็น ตัว งเป็นการเรียงคำ วลี หรือประโยคสับสน เช่น ฉันกินข้าว เป็น ฉันข้าวกิน • หรือภาษาอังกฤษ อาทิ but cut put จะออกเสียง อะ เหมือนกันหมด และมีปัญหาเรื่องการสะกด • แยกแยะจังหวะต่างๆ ไม่ออก เป็นคนไม่มีอารมณ์ขัน เข้ากับผู้อื่นไม่ได้ หรือมีปัญหาด้านการ ประสานงาน ปัจจัยเสี่ยง • ช่วงที่สตรีตั้งครรภ์ได้รับประทานยา หรือรักษาโรคหัดเยอรมัน หรือเกิดอุบัติเหตุหกล้ม • ทารกคลอดก่อน หรือหลังกำหนด 2 สัปดาห์ขึ้นไป หรือคลอดด้วยวิธีไม่ปกติ อาทิ ผ่าท้องมารดา ใช้ คีมคีบออก เป็นต้น และน้ำหนักทารกน้อยกว่า 5 ปอนด์ และมีอาการผิดปกติอื่นๆ อาทิ หายใจไม่ ปกติ ตัวเหลืองเพราะเป็นดีซ่าน สีผิวคล้ำ และช้ำเป็นจ้ำๆ • เด็กมีพัฒนาการ และการเรียนรู้ช้ากว่าปกติ อาทิ หัดพูด หัดเดิน หัดรับประทานอาหารเอง หรือหัด ช่วยพยุงตัวเอง และเมื่อถึงวัยเข้าโรงเรียนก็ไม่สามารถกลัดกระดุมเสื้อได้ • เด็กเคยมีอาการไข้ มีอุณหภูมิในร่างกายสูงมากถึงขั้นชัก เพ้อคลั่งหรือ ปัสสาวะรดที่นอนบ่อย ทั้งที่ อายุมากเกินกว่าที่กำหนดแล้วก็ตาม • เด็กบ่นปวดขาเมื่อเดินเขย่งเท้า และเมื่ออายุ 8-10 ขวบ เด็กมีปัญหาเรื่องการได้ยิน มีปัญหาเรื่อง ตา หู คอ จมูก ซึ่งเด็กอาจจะรับเชื้อหวัด เกิดหลอดลม หรือไซนัสอักเสบ • เมื่อเข้าโรงเรียนเด็กมีสมาธิสั้น ไม่อยู่นิ่ง ไม่ชอบเรียนหนังสือ และไม่ชอบทำการบ้าน บ่นปวดลูก นัยน์ตาในขณะอ่านหนังสือ หรืออ้างว่าปวดศีรษะเป็นประจำ • เด็กมักมีปัญหาการฟัง ต้องฟังบ่อยๆ ซ้ำๆ และต้องมีสมาธิการฟังมากๆ จึงจะจำและเข้าใจ • เด็กมีปัญหาการพูด อาทิ การพูดไม่ชัด พูดติดอ่าง หรือพูดวกวน และสับสน • เด็กอ่านหนังสือได้ดีในช่วงแรกของการอ่าน แต่ต่อมาปฏิเสธไม่ยอมอ่าน • เด็กมีปัญหาด้านการเขียน อาทิ ชอบเขียนภาษาอังกฤษด้วยตัวพิมพ์มากกว่าตัวเขียน ตอนแรกเมื่อเด็ก ฝึกหัดเขียนก็ทำได้ดี แต่พอตอนหลังเขียนได้แย่ลงกว่าเดิม และหลีกเลี่ยงงานที่ต้องเขียนด้วยลายมือ ภาวะการเสียการอ่านเข้าใจ เป็นอาการที่เกี่ยวกับระบบประสาท หรืออาการที่ไม่ปกติที่ซ่อนเร้นอยู่ในสมองของเด็ก ทำให้เด็ก อ่านไม่ออก จึงส่งผลให้เขียนไม่ได้ ตีความไม่ได้ และมีปัญหาในการทำงานร่วมกับคนอื่น ทำให้ครูไม่ใคร่ พึงพอใจนัก หรือมักใช้ถ้อยคำ รุนแรงว่าเด็กโง่ จนทำให้นักเรียนไม่สามารถเรียนต่อไปได้เพราะทั้งครู นักเรียน
  • 5. และผู้ปกครองก็ไม่เข้าใจวิธีที่จะแก้ไขปัญหา อาจจะทำให้ผู้เรียนต้องออกจากโรงเรียน กลางคัน เพราะเรียน ต่อไปไม่ไหว เราจะแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไร แนวทางของคำตอบก็คือ ครอบครัวต้องเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษทั้งด้านสุขภาพ และสอนหนังสือคือการสอนอ่านและสอนเขียนอย่างใจเย็น สำหรับครูคงเป็นเรื่องยากยิ่งที่จะสอนนักเรียน เหล่านี้เป็นพิเศษกว่าเด็กปกติอื่นๆ เพราะห้องเรียนในโรงเรียนในประเทศไทยค่อนข้างใหญ่ และขณะนี้ยังไม่มี เทคนิคการสอน หรือกิจกรรมการเรียนใดที่จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้ ได้แต่หวังว่าครูคงจะแบ่งเวลาให้ความ สนใจเด็กเหล่านี้เป็นพิเศษบ้าง หรือให้เพื่อนที่มีความสามารถสอนนักเรียนเหล่านั้นให้หัดอ่านหรือเขียนบ่อยขึ้น ก็จะเป็นการดี นักการศึกษาควรร่วมมือกันหาวิธีการที่เหมาะสมเพื่อช่วยเหลือเด็กเหล่านี้ให้เรียนได้ดีขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เด็ก ออกไปสร้างปัญหากับสังคมต่อไป สมควรที่พวกเราควรเร่งแก้ไขปัญหานี้แล้วหรือยัง เรียนหนัก อ่านหนังสือเยอะ...จนสมองล้า (Brain Fag Syndrome) อาการอ่อนล้าของสมองขณะอ่านหนังสือ ทำให้จับใจความสำคัญไม่ได้ อ่านไปก็เสียเวลาเปล่าเพราะตำราไม่ เข้าหัว วันนี้เลยอยากนำที่มาของอาการมาเล่าสู่กันฟังเพื่อให้ระวังกันให้ดี โรค Brain Fag Syndrome คืออะไร โรค Brain Fag Syndrome หรือโรคอ่านหนังสือเยอะจนสมองล้า เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและ สมอง ถูกค้นพบครั้งแรกในทวีปแอฟริกาใต้ และไนจีเรียเป็นแห่งที่ 2 โดยกลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่จะเป็นนักเรียน นักศึกษา หรือกลุ่มคนทำงานที่ต้องใช้สายตาอ่านหนังสือค่อนข้างเยอะ
  • 6. ทั้งนี้นักจิตวิทยาก็ขยายความต่อว่า เหตุที่เกิดในประเทศโลกที่ 3 มากกว่าประเทศอื่น ๆ ก็เพราะความ ยากลำบากของการเรียนหนังสือ พร้อมทั้งความกดดันที่เด็กวัยเรียนในประเทศนั้น ๆ ต้องเจอ ทำให้เกิด ความเครียดจนตกอยู่ในกำมือของภาวะ Brain Fag Syndrome นั่นเอง สาเหตุของโรค Brain Fag Syndrome หลัก ๆ แล้วโรคนี้จะเกิดจากความเครียดอันเกิดจากความพยายามอย่างยิ่งที่่จะทำอะไรให้สำเร็จสักอย่าง รวมทั้งความคาดหวังที่สูงจัดจนกลายเป็นความกดดันตัวเองให้จดจ่อกับสิ่งที่ต้องการมากเกินไป ส่วนมากจะมี อาการทางจิตร่วมด้วยเล็กน้อย เช่น รู้สึกเหนื่อยล้าทั้งร่างกายและจิตใจจนไม่อยากจะสานต่อสิ่งที่ทำอยู่ หัว สมองตื้อ สมาธิที่เคยมีหายไป ใครคือกลุ่มเสี่ยง นักเรียน นักศึกษาที่กำลังจะสอบแข่งขัน หรือกำลังพยายามพิชิตบทเรียนที่ยากเกินกว่าจะผ่านไปได้ง่าย ๆ นอกจากนี้กลุ่มวัยทำงานที่ต้องเจอกับภาวะกดดันก็มีสิทธิ์เป็นโรคนี้ได้เช่นกัน
  • 7. อาการบ่งชี้ภาวะ Brain Fag Syndrome ✔สมาธิบกพร่อง ไม่สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งที่อ่านได้ ✔ความสามารถในการจดจำข้อมูลลดน้อยลง ✔เกิดอาการเป็นเหน็บ รู้สึกชาตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ✔ปวดหัว ✔ปวดบ่าและไหล่ ✔หงุดหงิดง่าย ✔สีหน้าบ่งบอกถึงความไม่สบายใจ ✔กระสับกระส่าย ✔หายใจติดขัด ✔วิตกกังวล ✔น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ✔นอนไม่หลับ ✔เหงื่อออกเยอะผิดปกติ ✔เสียงสั่น ✔เกิดความผิดปกติของเส้นประสาท ✔ตาพร่ามัว ✔หูอื้อ ❌หากเกิดอาการผิดปกติเหล่านี้กับคุณเกิน 5 ข้อ อาจเป็นไปได้ที่คุณจะป่วยเป็นโรค Brain Fag Syndrome
  • 8. เทคนิคช่วยการอ่าน 8 เคล็ดลับอ่านหนังสือยังไง ให้จำเร็วและแม่น 1. อ่านหน้าสรุปก่อน อ่านตอนจบก่อนเลย หนังสือส่วนใหญ่ชอบเขียนชักแม่น้ำทั้งห้า เขียนอธิบายอย่างละเอียดยิบ ใช้ ประโยคที่ต้องอ่านซ้ำสองสามรอบถึงจะเข้าใจ โดยเฉพาะในหน้าแรก ๆ ของบท เราไม่จำเป็นต้องรู้ประวัติชีวิต ของผู้เขียน บทนำ ซึ่งจะเป็นการเขียนเกริ่นแนะนำให้อ่านต่อไปเรื่อย ๆ เป็นส่วนใหญ่ ในทางกลับกัน บทส่ง ท้าย หรือบทสรุป เป็นสิ่งที่ต้องอ่าน โดยปกติแล้วจะเป็นส่วนที่ผู้เขียนสรุปข้อมูลทั้งหมดที่ได้กล่าวมา อีกทั้ง หากเราอ่านบทสรุปก่อน แล้วกลับมาอ่านหน้าแรกอีกครั้งก็ทำให้เราสามารถอ่านได้เข้าใจมากขึ้น แม้กระทั่งใน เวลาที่ต้องอ่านหนังสือก่อนเพื่อไปเรียนในคาบถัดไป การอ่านส่วนบทสรุปก็ทำให้เราเห็นภาพคร่าวๆ ของ เนื้อหาที่ต้องเรียนแล้ว
  • 9. 2. ใช้ปากกาไฮไลต์เพื่อนเน้นใจความสำคัญ ความจริงแล้ว การไฮไลท์ข้อความนั้นมีประโยชน์มาก “หากใช้อย่างถูกวิธี” ไม่ควรไฮไลท์ทุกอย่างใน หน้า และไม่ควรไฮไลท์น้อยจนเกินไป สิ่งที่ควรทำคือ การไฮไลท์ข้อความหัวข้อสรุป หรือใจความสำคัญเด่น ๆ เมื่อเราเปิดหนังสือมาอ่านอีกครั้ง เราจะสามารถทราบทุกอย่างที่จำเป็นต้องรู้ด้วยการมองเพียงแวบเดียว 3. ดูสารบัญและหัวข้อย่อย ทำให้เรารู้ใจความสำคัญของสิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อได้อย่างดี เพราะผู้เขียนมักจะกล่าวถึงประเด็น สำคัญซ้ำ ๆ ในทุกส่วนของหนังสือ 4. ขวนขวายกันสักนิด แทนที่จะซึมซับทุกอย่างจากการอ่านหนังสือที่อาจารย์สั่งเท่านั้น ลองเปิดโลกใหม่ดูบ้าง หาหนังสือเล่ม อื่นๆ ในห้องสมุด หรือในอินเตอร์เน็ตก็มีเยอะแยะไปที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียนมาอ่านดู ซึ่งหนังสือบางเล่ม พูดถึงเล่มเดียวกันแต่เขียนได้น่าอ่าน อ่านเข้าใจง่าย มีภาพประกอบเพิ่ม สรุปแบบอ่านแล้วเข้าใจ ซึ่งจริง ๆ เนื้อหาก็เรื่องเดียวกับที่เรียนในห้อง 5. พยายามอย่าอ่านทุกคำ หลายคนคิดว่าการอ่านทุกคำจะช่วยให้จดจำข้อมูลได้อย่างละเอียดยิบ ความจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะสมองจะได้รับข้อมูลมากเกินไปและเกิดความล้า เบื่อหน่ายจนตาลอยอ่านหนังสือไม่เข้าหัวในที่สุด ที่เป็นเช่นนี้เพราะหนังสือที่ไม่ได้อยู่ในประเภทนิยายมักจะถูกเขียนอธิบายซ้ำ ๆ เพราะผู้เขียนต้องการจะกล่าว อธิบายให้กระจ่าง แต่ใจความสำคัญจริง ๆ แล้วอยู่ที่บทสรุปเพียงไม่กี่ย่อหน้า หนังสือส่วนใหญ่ใส่ข้อมูล หลักฐานจนแน่นมากกว่าจะกล่าวถึงประเด็น ซึ่งก็เป็นเรื่องดีและน่าสนใจ แต่ทุกหลักฐานที่อ้างนั้นก็กล่าวถึง ประเด็นเดียว การอ่านเพิ่มเติมก็เป็นการย้ำถึงประเด็นเดิม ดังนั้นเลือกหลักฐานที่น่าสนใจที่สุดแล้วอ่านบท ต่อไปเถอะ
  • 10. 6. เขียนสรุปมุมมองของผู้อ่าน อดทนหน่อยอย่าเพิ่งเบื่อ! คนส่วนใหญ่ไม่ชอบการเขียน แต่การเขียนนั้นเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดในการ รวบรวมข้อมูลสำคัญในระยะเวลาอันสั้น หากเป็นไปได้ให้เขียนใจความสำคัญในแบบฉบับของเราใน 1 หน้ากระดาษ โดยพูดถึงประเด็นที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ ยกตัวอย่างสั้น ๆ และคำถามหรือความรู้สึกของเราที่ ต้องการการค้นคว้าเพื่อหาคำตอบต่อไปให้ดียิ่งขึ้น การเขียนมุมมองของผู้อ่านเช่นนี้ เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราทราบถึงประเด็นสำคัญของหนังสือเช่นเดียวกับการ ไฮไลต์ข้อความ เมื่อใกล้ถึงช่วงสอบ จะเป็นการง่ายกว่าที่เราจะนั่งอ่านมุมมองสรุปของผู้อ่าน แทนที่จะพลิก ตำราอ่านหนังสือทั้งเล่มเพื่ออ่านทบทวนอีกครั้ง 7. อภิปรายกับผู้อื่น คนส่วนมากไม่ชอบการทำงานกลุ่ม แต่การจับกลุ่มกันพูดถึงเนื้อหาของหนังสือที่ต้องอ่านช่วยทำให้เรา จำได้ง่ายขึ้น บางครั้งอาจพูดถึงหนังสือในแง่ตลก ๆ ก็จะทำให้เราจำประเด็นนั้นได้เมื่อเราอยู่ในห้องสอบ เพราะเราจะคิดถึงเรื่องตลกก่อน เป็นการใช้หลักการเชื่อมโยงข้อมูลที่ทำให้สมองของเราทำงานได้ง่ายขึ้น การพูดคุยเกี่ยวกับหนังสือที่อ่านช่วยทำให้เราได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากบางส่วนที่เรามองข้ามไป บางคนนั้นชอบ เรียนรู้โดยการฟัง และมักจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อได้ยินข้อมูล ดังนั้นการพูดคุยสนทนาถกเถียงประเด็นที่อยู่ใน หนังสือจะทำให้เราจำประเด็นสำคัญนั้นได้ดีเมื่อได้ฟังผ่านหู ทำให้เราสามารถระลึกถึงข้อมูลส่วนนั้นได้เมื่ออยู่ ในการสอบ 8. จดคำถามข้อสงสัยที่เกิดขึ้นระหว่างการอ่าน หัวใจหลักของเทคนิคนี้ คือการตั้งคำถาม อย่าเชื่อว่าผู้เขียนนั้นเขียนได้ถูกต้องซะทีเดียว ให้จดจ่อกับสิ่งที่ อาจและใช้ความคิดเชิงวิเคราะห์ในการอ่าน เช่น • ทำไมผู้เขียนจึงกล่าวเช่นนั้น? • หลักฐานคำอธิบายนี้เป็นจริงหรือ? • ประเด็นนี้เกี่ยวข้องกับข้อโต้แย้งของผู้เขียนอย่างไร? • ผู้เขียนต้องการสื่อข้อความนี้ให้แก่ใคร? คำถามอาจซับซ้อนกว่านี้หรือง่ายกว่านี้ ขึ้นอยู่กับหนังสือที่อ่าน เคล็ดลับเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้เราอ่าน หนังสือและจดจำได้เป็นอย่างดี แต่แน่นอนว่าอาจจะมีวิธีที่หลากหลายกว่านี้ แต่ละวิธีก็อาจให้ผลลัพธ์แตกต่าง กันไปขึ้นอยู่กับว่าใครชอบวิธีไหน รู้แบบนี้แล้ว เราต้องลุกขึ้นมากระตือรือร้นในการอ่าน ค้นหาสิ่งที่อยากอ่าน และทุ่มเทสักหน่อย จดจำประเด็น สำคัญ หากทำได้เช่นนี้รับรองว่าหนังสือร้อยหน้าก็อ่านจบได้ในเวลาแค่แป๊บเดียว