SlideShare a Scribd company logo
บทที่ 13 การสืบพันธุ์ของพืชดอก
       และการเจริญเติบโต
13.1 วัฏจักรชีวิตและการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอก
 จุดประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนสามารถ
 1. สืบค้นข้อมูล อธิบาย และสรุปเกี่ยวกับวัฏจักรชีวิตของ
     พืช
 2. ทดลอง อธิบาย และสรุปโครงสร้างของดอก และการ
     สร้างสปอร์
 3. สืบค้นข้อมูล ทดลอง และอธิบายการสร้างเซลล์สืบพันธุ์
     และการปฏิสนธิของพืชดอก
 4. ทดลอง อธิบาย และสรุปส่วนประกอบและชนิดของผล
จุดประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนสามารถ
5. สืบค้นข้อมูล อธิบาย และสรุปการเกิดผลและ
   ส่วนประกอบของเมล็ด
6. ทดลอง อธิบาย และสรุปถึงการงอกของเมล็ดชนิดต่างๆ
   และปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด
7. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพของเมล็ด
   พันธุ์ และการวัดดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์
ผลและเมล็ด
การเปลี่ยนแปลงหลังการปฏิสนธิของพืชดอก ได้แก่
ไข่ จะเจริญไปเป็นเอมบริโอ อยู่ภายในเมล็ด
รังไข่ จะเจริญไปเป็นผล (Fruit)
ผนังรังไข่ (Ovary wall) จะเจริญไปเป็นเปลือกและเนื้อของผล
    (Pericarp)
โพลาร์นิวคลีไอ จะเจริญไปเป็นเอนโดสเปิร์ม (Endosperm) อยู
ภายในเมล็ด (Seed)
ออวุล จะเจริญไปเป็นเมล็ด
เยื่อหุ้มออวุล (Integument) จะเจริญไปเป็นเปลือกหุ้มเมล็ด
(Seed coat)
• แอนติโพดัล (Antipodal) และซินเนอร์จิด (Synergid) จะ
  สลายไป
• กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้ ยอดเกสรตัวเมียและก้านชู
  เกสรตัวเมีย จะเหี่ยวแห้งร่วงไป แต่ในดอกของพืชบางชนิด
  ยังคงมีกลีบเลี้ยง และเกสรตัวผู้ติดอยู่
การเกิดผล
       หลังจากการปฏิสนธิแล้ว ออวุลแต่ละอันก็จะเจริญ
เปลี่ยนแปลงไปเป็นเมล็ด (Seed) ซึ่งมีสารอาหารผสมอยู่
ด้วย และรังไข่ก็จะเจริญไปเป็นผล (Fruit) เพื่อห่อหุ้ม
เมล็ดไว้ภายในและช่วยในการกระจายพันธุ์ ผลพืชบางชนิด
อาจมีส่วนอื่นๆ ของดอก เช่น กลีบเลี้ยงติดมาด้วย ได้แก่
ผลฝรั่ง ทับทิม มังคุด สับปะรด แอปเปิล หรือส่วนของ
ฐานรองดอกหุ้มรังไข่แบบ อินฟีเรียร์เจริญมาด้วย ได้แก่
ชมพู่ ทับทิม มะเขือ และแอปเปิล
ดังนั้นความหมายของผลที่สมบูรณ์คือ รังไข่ที่สุกแล้ว
อาจมีส่วนอื่นของดอกหรือฐานรองดอกเจริญตามมาด้วย
ยังมีผลบางชนิด ซึ่งเจริญมาโดยไม่มีการผสมเกสรเรียกแบบนี้ว่า
ผลเทียม หรือผลแบบ พาร์ทีโนคาฟิก (Parthonocarpic)
และเรียกวิธีการเกิดผลแบบนี้ว่า พาร์ทีโนคาฟี
(Parthenocarpy) ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือเกิดจาก
การกระตุ้นโดยการใช้ฮอร์โมนพวกออกซิน จิเบอเรลลิน ฉีดพ่นทาให้
รังไข่เจริญเป็นผลได้ และผลที่ได้โดยวิธีการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนนี้จะ
ไม่มีเมล็ด เช่น กล้วย องุ่น แตงโม ฝรั่ง
คาว่าผลในแง่ของพฤกษศาสตร์ นอกจากจะหมายถึงผลไม้
ที่รับประทานได้แล้ว เช่น องุ่น ส้ม มะม่วง ทุเรียน ลาไย เงาะ
แอปเปิล ชมพู่ แล้วยังรวมไปถึงผลที่เรียกว่าผักต่างๆ เช่น ถั่ว
มะเขือ แตงกวา กระเจี๊ยบ และผลที่เรียกว่าเมล็ดด้วย เช่น ข้าว
ข้าวโพด และธัญพืชทั้งหลายด้วย
ชนิดของผล
      ดอกไม้มีทั้งดอกเดี่ยวและดอกช่อ และรังไข่ของ
ดอกแต่ละชนิดมีจานวนที่แตกต่างกัน ทาให้ผลที่เจริญมา
จากรังไข่มีความแตกต่างกันไปด้วย
ถ้าหากจาแนกผลตามกระบวนการเกิดผลเป็นเกณฑ์ โดยอาศัย
หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้
1. ลักษณะของดอกที่เจริญไปเป็นผล
2. จานวนรังไข่ที่เจริญไปเป็นผล
3. จานวนตาร์เพลในแต่ละรังไข่ว่ามีเท่าใด
4. ลักษณะของเพอริคาร์ปว่านุ่มหรือแข็ง
5. เพอริคาร์ปเมื่อแก่ตัวแตกตัวหรือไม่และแตกอย่างไร
6. มีกลีบเลี้ยง กลีบดอกและฐานรองดอกติดมากับผลหรือไม่
ชนิดของผล
            1. ผลเดี่ยว (simple fruit) คือ ผลที่เกิดมาจาก
รังไข่อันเดียวในดอกเดียวกัน อาจเป็นดอกเดี่ยวหรือ
ดอกช่อก็ได้ โดยลักษณะของดอกเดี่ยวที่จะกลายเป็น
ผลเดี่ยวนั้น จะ ต้องเป็นดอก 1 ดอก และมีรังไข่ 1
อัน เช่น เช่น ส้ม มะเขือ ฟักทอง มะระ แตงชนิดต่างๆ
มะม่วง มะปราง มะกอก ลาไย ทุเรียน ลิ้นจี่ ข้าวโพด
เป็นต้น
2. ผลกลุ่ม (aggregate fruit) คือ ผลที่เกิดจากรังไข่หลายรังไข่
หรือกลุ่มของรังไข่ในดอกเดียวกันของดอกเดี่ยว รังไข่แต่ละ
อันจะกลายเป็นผลย่อยหนึ่งผล เช่น น้อยหน่า สตรอเบอรี่
ลูกจาก กระดังงา การเวก นมแมว เป็นต้น
ลูกจาก
กระดังงา การะเวก
3. ผลรวม (multiple fruit) คือ ผลที่เกิดจากรังไข่
ของดอกแต่ละดอกของดอกช่อซึ่งเชือมรวมกันแน่น รังไข่
                                     ่
เหล่านี้จะกลายเป็นผลย่อยๆ เชื่อมรวมกันแน่นจนคล้าย
เป็นผลเดี่ยว โดยลักษณะของดอกที่จะกลายเป็นผลรวม
นั้น จะเป็นดอกช่อที่มีรังไข่ของดอกย่อย แต่ละดอกมา
เชื่อมรวมกัน เช่น สับปะรด ขนุน สาเก ยอ มะเดื่อ
หม่อน เป็นต้น
ลูกหม่อน
มะเดื่อ (fig)
สาเก
ยอ
โครงสร้างของผล
        เมื่อรังไข่เจริญไปเป็นผล ส่วนของผนังรังไข่จะเจริญไปเป็น
เนื้อผล หรือเจริญไปเป็นเปลือกของผลในผลไม้บางชนิด และเรียก
ผนังรังไข่ที่เจริญเปลี่ยนแปลงไปแล้วว่า เพอริคาร์ป (Pericarp)
ซึ่งประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น และแต่ละชั้นจะเจริญไปเป็นส่วน
ต่าง ๆ ของผล ดังนี้
1. ผนังชั้นนอก (Exocarp/epicarp) เป็นเนื้อเยื่อ
ชั้นผิวนอกสุดของผล ชั้นนี้ในผลบางชนิดมีผิวชั้นนอกบางหรือ
อ่อน เช่น ผลองุ่น ชมพู่ มะม่วง ผลบางชนิดผิวชั้นนอกแข็งและ
เหนียว เช่น มะพร้าว ฟักทอง
2. ผนังชั้นกลาง (Mesocarp) ผนังชั้นนี้มักนุ่ม เช่น
มะม่วง มะละกอ ผลบางชนิดมีผนังชั้นกลางเป็นเส้นใยเหนียว
เช่น มะพร้าว ตาล จาก
3. เอนโดคาร์ป (Endocarp) เป็นเนื้อเยื่อชั้นในสุดของ
เปลือก ชั้นนี้มีการเปลี่ยนแปลงได้ต่างๆ กัน แล้วแต่ชนิดของ
ผลไม้ บางชนิดชั้นนี้จะเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้อผลไม้ เช่น แตงโม
แตงกวา เป็นต้น บางชนิดอ่อนนุ่ม เช่น ส้ม และมีลักษณะแข็ง
เช่น มะม่วง มะพร้าว
เพอริคาร์ปของผลที่แยกได้ชัดเจนเป็น 3 ชั้น คือ
มะม่วง มะปราง พุทรา มะพร้าว คือ เปลือกที่อยู่นอกสุดมีสี
เขียวหรือสีเหลือง น้าตาล คือ เอพิคาร์ปที่เป็นเนื้ออ่อนนุ่มที่กิน
ได้ของมะม่วง มะปราง พุทรา และกาบมะพร้าวคือ ชั้นมีโซ
คาร์ป ส่วนเอนโดคาร์ปคือ ส่วนแข็งๆ ที่หุ้มเมล็ดไว้คือ
กะลามะพร้าว เปลือกหุ้มเมล็ดมะม่วง มะปราง พุทรา
             ผลบางชนิดของส่วนเอพิคาร์ปและมีโซคาร์ป หรือ
มีโซคาร์ปและเอนโดคาร์ปเชื่อมติดกันจนแยกออกจากกันยาก
มาก เช่น มะละกอ มะเขือเทศ ฟัก
ผลบางชนิดเพอริคาร์ปเชื่อมกันจนไม่สามารถแยก
ได้ว่าส่วนใดเป็นเอพิคาร์ป มีโซคาร์ป หรือเอนโดคาร์ป เช่น
ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ในข้าว ส่วนของเพอริคาร์ป คือ
แกลบ ราข้าวคือ เยื่อหุ้มเมล็ด ข้าวสารที่รับประทานคือ
เอนโดสเปิร์ม จมูกข้าวคือ เอมบริโอ ดังนั้นเมล็ดข้าวคือ
ผลข้าวนั่นเอง ข้าวโพด ข้าวสาลี ก็คือผลเช่นเดียวกับข้าว
ดังนั้นข้าวโพด 1 ฝักจึงประกอบไปด้วยผลจานวนมากมาย
ข้าวโพด 1 เมล็ด เท่ากับ 1 ผล
ชนิดของผล (Types of Fruit)
• ผลมีเนื้อสด (Fleshy Fruit) คือผลที่แก่แล้วมีผนังผลสด
  ไม่แห้ง แบ่งออกเป็น
       ผลเมล็ดเดียวแข็ง (Drupe)
  ผลสดที่มีเมล็ดเดียว ผนังชั้นกลางเป็นเนื้อหนาอ่อนนุ่ม ผนัง
  ชั้นในแข็งมาก ได้แก่ พุทรา มะม่วง
ผลเมล็ดเดียวแข็ง (Drupe)
• ผลแบบมีเนื้อหลายเมล็ด (Berry)
  ผลสดที่มีเมล็ดหลายเมล็ด เนื้อผลอ่อนนุ่ม ผนังชั้นนอกที่เป็น
  เปลือกมีลักษณะอ่อนนุ่ม เช่นเดียวกัน ได้แก่ มะละกอ มะเขือเทศ
• ผลแบบส้ม (Hesperidium)
  ผลที่ผนังชั้นนอกมีต่อมน้ามันจานวนมาก ผนังชั้นกลางอ่อนนุ่ม
  คล้ายฟองน้าสีขาว ผนังชั้นในมีลักษณะเป็นเยื่อบาง และมี
  บางส่วนของชั้นนี้แปรรูปเป็นถุงน้าเพื่อสะสมน้าตาล และกรด
  มะนาว ได้แก่ ส้ม มะนาว
ผลแบบส้ม (Hesperidium)
• ผลแบบแตง (Pepo)
  ผลที่เจริญมาจากรังไข่ใต้วงกลีบ ผนังชั้นนอกแข็งและหนา ผนัง
  ชั้นกลางและผนังชั้นในหนาอ่อนนุ่ม ได้แก่ แตงโม แตงกวา
  น้าเต้า
ผลแห้ง (Dry Fruit) คือผลที่แก่แล้วผนังผลแข็งและแห้ง
 แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
ผลแห้งแก่ไม่แตก (Dry Indehiscent Fruit)แบ่งออกเป็น
•ผลแห้งเมล็ดติดหรือผลแบบธัญพืช (Caryopsis or
Grain)ผลเดี่ยวหนึ่งเมล็ด เปลือกแข็งและเชื่อมติดแน่นกับเปลือก
เมล็ดหุ้ม เช่นข้าว
•ผลเปลือกแข็งมีกาบรูปถ้วย (Acorn)
ผลคล้ายผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว แต่มีกาบหุ้มผล (cupule) ทั้งหมด
หรือบางส่วน เช่น ผลเกาลัด ก่อชนิดต่างๆ
• ผลแห้งเมล็ดอ่อน (Achene)
  ผลขนาดเล็ก ผนังผลแห้งและบาง มี 1 เมล็ด ผนังผลกับเปลือก
  หุ้มเมล็ดแยกกัน ส่วนมากมีฐานรองดอกขนาดใหญเช่น บัว
  หลวง ถ้าผลเกิดจากรังไข่ใต้วงกลีบ และมีขนที่ปลายเมล็ด
  เรียกว่าผลแห้งเมล็ดล่อนปลายมีขน (cypsela) เช่นผลของ
  ทานตะวัน
• ผลเปลือกแห้งเมล็ดเดียว (Nut)
  ผลที่มีเปลือกแข็งและผิวมัน เป็นผลที่เกิดจากรังไข่ที่มีหลายคาร์
  เพลเชื่อมกันแต่มีเมล็ดเดียว เช่น ผลมะพร้าว กระจับ มะม่วงหิม
  พานต์
กระจับ
การเกิดเมล็ด
         ภายหลังการปฏิสนธิของพืชมีดอก ออวุลจะเจริญไปเป็น
เมล็ด โดยผนังออวุลจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเปลือกเมล็ด(seed
coat) ซึ่งหุ้มล้อมเอ็มบริโอและเอนโดสเปิร์มที่อยู่ภายในเอาไว้
ส่วนเนื้อเยื่อนิวเซลลัสจะหายไประหว่างการพัฒนาของเมล็ด




    หนังสือหน้า133
การเจริญและพัฒนาของเอมบริโอและเอนโดสเปิร์ม
เมล็ดจะมีส่วนประกอบที่สาคัญอยู่ 3 ส่วน คือ
1.เปลือกหุ้มเมล็ด (Seed Coat) เป็นส่วนที่อยู่นอกสุดมักมี
ลักษณะหนาและเหนียวหรือแข็งเพื่อป้องกันอันตรายให้แก่ส่วน
ต่างๆ ที่อยู่ภายใน นอกจากนี้ยังช่วยไม่ให้เกิดการสูญเสียน้า
ภายในเมล็ดออกไปด้วย
เปลือกหุ้มเมล็ดมี 2 ชั้น เปลือกชั้นนอกเรียกว่า เทสลา (Testa)
มักหนาและแข็ง ส่วนชั้นในเรียกว่า เทกเมน (Tegmen) เป็น
ชั้นเยื่อบางๆ ที่ผิวของเปลือกมักเป็นรอยแผลเล็กๆ ซึ่งเกิดจาก
ก้านของเมล็ดหลุดออกไปเรียกรอยแผลนี้ว่า ไฮลัม (Hilum)
ใกล้ๆ ไฮลัมมีรูเล็กๆ เรียกว่า ไมโครไพล์ (Micropyle) ซึ่งเป็น
ทางเข้าของหลอดละอองเรณูนั่นเอง
2. เอนโดสเปิร์ม (Endosperm) เกิดจากการผสมของสเปิร์ม
นิวเคลียสกับโพลาร์นิวคลีไอ ทาหน้าที่สะสมอาหารเป็นแป้ง น้าตาล
โปรตีน ไขมัน(ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช) ให้แก่เอมบริโอ เมล็ดพืชบาง
ชนิด เช่น ถั่วแขก ถั่วลันเตา นุ่นจะไม่พบเอนโดสเปิร์มเลย เนื่องจาก
ใบเลี้ยงย่อยจะดูดอาหารจากเอนโดสเปิร์มไปเก็บไว้ทาให้ใบเลี้ยง
หนามาก ในพืชบางชนิด เช่น มะพร้าว ตาล จะมีเอนโดสเปิร์มที่
เป็นน้าเรียกว่าลิควิดเอนโดสเปิร์ม (Liquid Endosperm)
ส่วนที่เป็นเนื้อเรียกว่า เฟสชีย์เอนโดสเปิร์ม (Fleshy
Endosperm) เมล็ดพืชบางชนิดเอนโดสเปิร์มอาจไม่พัฒนา เช่น
กล้วยไม้
3. เอ็มบริโอ (embryo) เจริญมาจากไซโกต เกิดจากเซลล์ไข่ผสมกับ
สเปิร์ม และเจริญต่อไปเป็นต้นพืช ประกอบด้วยส่วนสาคัญดังนี้
          - ใบเลี้ยง (cotyledon) อยู่ติดกับเอ็มบริโอในเมล็ดพืช ใบ
เลี้ยงคู่มีใบเลี้ยง 2 ใบ ส่วนเมล็ดพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมี 1 ใบ ใบเลี้ยง
บางชนิดไม่สามารถดูดอาหารจากเอนโดสเปิร์มมาเก็บไว้ทาให้มี
ลักษณะแบนบาง เช่น ใบเลี้ยงของเมล็ดละหุ่ง ใบเลี้ยงบางชนิดจะ
ดูดอาหารจากเอนโดสเปิร์มมาเก็บไว้ ทาให้ใบเลี้ยงอวบและมีขนาด
ใหญ่ขึ้น เช่น ใบเลี้ยงถั่วต่างๆ มะขาม มะม่วง จาวมะพร้าว เป็นต้น
มีหน้าที่…เก็บสะสมอาหารสาหรับการเจริญของเอ็มบริโอ คุ้มกัน
เอ็มบริโอระหว่างการงอก และใบเลี้ยงที่เจริญอยู่เหนือดินสามารถ
สังเคราะห์แสงได้
- เอพิคอทิล (epicotyle) อยู่เหนือตาแหน่งที่ติดกับ
ใบเลี้ยง เมื่อเจริญเติบโตต่อไปจะเจริญเป็นลาต้น ใบ และดอก
ของพืช ส่วนยอดของเอพิคอทิลในเมล็ดเป็นใบเล็กๆ 2 ใบ และ
ยอดอ่อน เรียกว่า พลูมูน (plumule) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเจริญ
ซึ่งจะเจริญเป็นใบและยอดอ่อนต่อไป

        - ไฮโพคอทิล (hypocotyle) อยู่ระหว่างตาแหน่งที่ติดกับ
ใบเลี้ยงและตาแหน่งที่จะเจริญไปเป็นราก (อยู่ใต้ใบเลี้ยง) เมื่อ
เจริญเติบโตต่อไปจะเป็นส่วนหนึ่งของลาต้น
- แรดิเคิล (radicle) เป็นส่วนล่างสุดของเอ็มบริโอต่อจาก
ส่วนไฮโพคอทิลลงมา ส่วนปลายสุดของแรดิเคิลจะอยู่ตรงกับ
ไมโครไพล์ของเมล็ด เป็นส่วนแรกของเอ็มบริโอที่งอกออกมาจาก
เมล็ด และจะเจริญเป็นรากแก้ว ถ้าเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวรากแก้ว
จะเจริญอยู่ระยะหนึ่ง หลังจากนั้นจะมีรากฝอยเจริญขึ้นมาแทน
ยอดแรกเกิด

ต้นอ่อนเหนือใบเลี้ยง



    ต้นอ่อนใต้ใบเลี้ยง

           รากแรกเกิด
เอ็มบริโอของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น พวกข้าว ข้าวโพด และ
หญ้า จะมีเยื่อหุ้มหนาหุ้มอยู่ตอนบนเจริญคุมปลายยอดของ
เอ็มบริโอเอาไว้ เรียกว่า คอลีออบไทล์ (coleoptile) และมีเยื่อหุ้ม
แรดิเคิล เรียกว่า คอลีโอไรซา (coleorhiza) เยื่อหุ้มทั้งสองชนิดจะ
ช่วยป้องกันอันตรายให้แก่เอ็มบริโอส่วนของยอดอ่อนและส่วนของ
แรดิเคิล เมื่อมีการงอกเกิดขึ้น
มะพร้าว ส่วนของผลคือ เอพิคาร์ปประกอบด้วย เปลือกมะพร้าว
คือ เอกโซคาร์ป เส้นใยหรือกาบมะพร้าวคือ มีโซคาร์ป
กะลามะพร้าวคือ เอนโดคาร์ป ส่วนของเมล็ดประกอบด้วยเปลือก
หุ้มเมล็ดคือเนื้อเยื่อสีน้าตาลที่หุ้มเนื้อมะพร้าวไว้ เนื้อมะพร้าว
และน้ามะพร้าวคือ เอนโดสเปิร์ม จาวมะพร้าวคือ ใบเลี้ยงส่วนที่
งอกขึ้นมาเป็นต้นอ่อน
เอนโดสเปิร์มของมะพร้าว มี
ทั้งแข็งและเหลว ได้แก่เนื้อ
มะพร้าวและน้ามะพร้าว ส่วน
จาวคือใบเลี้ยง เปลือกหุ้ม
เมล็ดคือเยื่อสีน้าตาลที่ติดอยู่
กับเนื้อมะพร้าวอยู่ระหว่าง
เนื้อมะพร้าวกับกะลา
ละหุ่ง เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ที่มีเอนโดสเปิร์ม โดยเปลือกหุ้มเมล็ดเป็น
ทางลาย ๆ ตรงไฮลัมมีเนื้อ คล้ายฟองน้าเรียกว่า คารันเคิล
(Caruncle) ช่วยอุ้มน้าเวลางอก เมื่อลอกเปลือกชั้นนอกและ
เปลือกชั้นในออกจะพบ เอนโดสเปิร์มและเอมบริโอ โดยเอนโด
สเปิร์ม คือ ส่วนขาวๆ สามารถบิออกได้เป็น 2 ซีก ซึ่งมีลักษณะอ้วน
ใหญ่เพราะสะสมอาหารพวกไขมัน แป้ง และโปรตีนไว้มาก ด้านในมี
ใบเลี้ยง 2 ใบ มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ แบนๆ สีขาวประกอบกันอยู่
ที่โคนใบเลี้ยงมีก้อนรูปไข่เล็กๆ คือ เอมบริโอประกอบด้วย ยอดอ่อน
เอพิคอทิล ไฮโพคอทิล และแรดิเคิล
ข้าวโพด เมื่อผ่าเมล็ดข้าวโพด (ผล) ตามยาวโดยผ่าให้ตั้งฉากกับ
ด้านกว้างจะเห็นส่วนต่างๆ คือ นอกสุดเป็นเพอริคาร์ปบาง ๆ ถัด
เข้ามาเป็นชั้นเอนโดสเปิร์มซึ่งสะสมอาหารพวกแป้ง ไขมัน และ
โปรตีน ด้านล่างประกอบด้วยเอมบริโอ ซึ่งมีใบเลี้ยง 1 ใบ คือ
สคิวเทลลัมซึ่งมีลักษณะแบนกว้างอยู่บริเวณกลางๆ เมล็ด
ข้าวโพด ส่วนบนของเอมบริโอจะเป็นเอพิคอทิลและยอดอ่อนซึ่ง
มีคอลิออพไทล์หุ้มอยู่ ส่วนล่างของเอมบริโอเป็นไฮโพคอทิลและ
แรดิเคิลซึ่งมีคอลิโอไรซาหุ้มอยู่เช่นเดียวกับปลายราก
การจาแนกประเภทของเมล็ด
 โดยอาศัย endosperm แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
 1. exalbuminous seed เป็นเมล็ดที่
 endosperm จะหมดไปเมื่อเมล็ดแก่ อาหารสะสม จะ
 อยู่ในใบเลี้ยง (cotyledon) ลักษณะของใบเลี้ยงพวกนี้
 จะอวบหนา เช่น เมล็ดมะขาม, เมล็ดถั่ว

2. albuminous seed เป็นเมล็ดที่มี
endosperm มีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับ embryo
เมล็ดพวกนี้มีใบเลี้ยง (cotyledon) บาง เช่น เมล็ดละหุ่ง
น้อยหน่า มะละกอ
การงอกของเมล็ด
การงอกของเมล็ดพืช หมายถึง การเริ่มต้นเจริญเติบโต หรือ
กลับคืนเข้าสู่สภาพของการเจริญเติบโตครั้งใหม่ เมื่อเมล็ดอยู่ใน
สภาพที่เหมาะสมเมล็ดจะงอกและเจริญไปเป็นต้นพืชใหม่ เมล็ด
พืชบางชนิดจะงอกได้ทันทีเมื่อแก่เต็มที่และสภาพแวดล้อม
เหมาะสม แต่เมล็ดบางชนิด ถึงแม้สภาพแวดล้อมภายนอกจะ
เหมาะสมแต่ก็ยังงอกไม่ได้ จะต้องรอระยะเวลาหนึ่งก่อนจึงจะงอก
ได้ ระยะเวลาที่ต้องรอเรียกว่า ระยะพักตัว (Dormancy)
ลักษณะการงอกของเมล็ดพืช ต้นอ่อนส่วนที่งอกพ้นเปลือกหุ้ม
เมล็ดออกมาเป็นส่วนแรกคือ แรดิเคิล โดยแทงทะลุออกมาทาง
ไมโครไพล์ แล้วเจริญลงสู่ดิน กลายเป็นราก (Primary Root)
และจะมีรากชุดสอง (Secondary Root) แตกออกไปเพื่อ
ช่วยค้าจุน
การงอกของเมล็ดพืชชนิดต่าง ๆ มีลักษณะแตกต่างกันเป็น 2 แบบ คือ
1. การงอกที่ใบเลี้ยงชูขึ้นมาเหนือดิน (Epigeal
Germination) ได้แก่ พวกเมล็ดถั่วแขก ถั่วดา ถั่วเขียว ถั่ว
เหลือง พริก ละหุ่ง มะขาม เป็นต้น เป็นลักษณะการงอกที่มีการชูใบ
เลี้ยงขึ้นมาเหนือดิน โดยเมื่อรากอ่อนหรือแรดิเคิลงอกโผล่พ้นเมล็ด
ออกทางไมโครไพล์เจริญลงสู่พื้นดินก่อน จากนั้นส่วนของไฮโพคอทิล
จะงอกตามอย่างรวดเร็วทาให้โค้งขึ้นและดึงส่วนของเอพิคอทิลขึ้นมา
เหนือดิน
2. การงอกที่ใบเลี้ยงจมอยู่ใต้ดิน (Hypogeal
Germination) ได้แก่ การงอกของพืชใบเลียงเดี่ยว หญ้า ข้าว
                                                ้
ข้าวโพด ข้าวสาลี มะพร้าว ตาลและพืชใบเลี้ยงคู่ เช่น ถั่วลันเตา
ส้ม เป็นลักษณะการงอกที่เมื่องอกแล้วคงทิ้งใบเลี้ยงจมอยู่ใต้ดิน
เนื่องจากพืชพวกนี้มีไฮโพคอทิลสั้น เจริญช้า ในขณะที่เอพิคอทิล
และยอดอ่อนเจริญยืดยาวได้อย่างรวดเร็วและโผล่ขึ้นเหนือดินโดย
ไม่ดึงให้ใบเลี้ยงกับไฮโพคอทิลขึ้นมาด้วย พืชที่มีวิธีงอกแบบนี้มัก
เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมากกว่าพืชใบเลี้ยงคู่
การงอกแบบไฮโพเจียล หญ้า ข้าว มะพร้าว
ปัจจัยในการงอกของเมล็ด
       โดยปกติเมล็ดพืชที่แก่เต็มที่จะมีความชื้นต่า ซึ่งพบว่ามีน้า
ประมาณร้อยละ 6 – 14 มีอัตราการหายใจต่า และมีการ
เปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีน้อยมาก ดังนั้นเมื่อเมล็ดจะงอก ต้องมี
ปัจจัยที่เหมาะสมต่อการงอก ดังนี้
1. ความชื้นหรือน้า เป็นปัจจัยที่มีความสาคัญมากเนื่องจาก
.

       -น้าช่วยให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนตัวลง ทาให้แรดิเคิลและยอด
อ่อนของเอมบริโอโผล่ออกมาได้
       -น้าช่วยให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนลง เนื้อเยื่อภายในเมล็ดขยาย
ขนาดใหญ่ขึ้น ทาให้เมล็ดพองตัวขยายขนาด และมีน้าหนักเพิ่มขึ้น
ทาให้โพรโทพลาสซึมเจือจางลงแต่มีปฏิกิริยาต่างๆ มากขึ้น
       -น้าช่วยให้แก๊สออกซิเจนผ่านเข้าสู่เซลล์ของเอมบริโอได้ง่าย
ขึ้น
น้า เป็นตัวกระตุ้นปฏิกิริยาทางชีวเคมีต่างๆ ภายในเมล็ด กระตุ้น
การสร้างเอนไซม์เพื่อย่อยสลายสารอาหารที่สะสมในเมล็ด
   เอนไซม์ที่เกิดขึ้นในเมล็ด เช่น อะไมเลส จะย่อยแป้งให้เป็น
   มอลโทส โปรตีเอส จะย่อยโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโน
   ทั้งมอลโทสและกรดอะมิโนละลายน้าได้ และแพร่เข้าไปใน
   เอ็มบริโอเพื่อใช้ในการหายใจและการเจริญเติบโต
   นอกจากนี้น้ายังเป็นตัวทาละลายสารอื่นๆที่สะสมในเมล็ดและ
   ช่วยในการลาเลียงสารอาหารไปใช้ตัวอ่อนใช้ในการงอก
2. ปริมาณออกซิเจนที่ได้รับ ออกซิเจนมีความสาคัญต่อการ
  งอกของเมล็ดมาก เพราะเอมบริโอต้องการพลังงานเพี่อใช้ใน
  กระบวนการเจริญเติบโต เพราะตอนนี้อัตราเมแทบอลิซึมจะสูง
  การหายใจก่อให้เกิดพลังงาน ซึ่งจะนาไปใช้ในการแบ่งเซลล์
  ลาเลียงสาร สร้างส่วนต่างๆที่จาเป็นด้วย เมล็ดทั่วไปงอกได้ดีถ้า
  มีออกซิเจนประมาณร้อยละ 20
เมล็ดพืชน้าบางชนิดงอกได้ในสภาพที่มีออกซิเจนต่า
ความชื้นสูง โดยสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจน คืองอกได้
ในโคลนใต้น้า
       เมล็ดบางชนิดก็ไม่งอกถ้ามีออกซิเจนไม่เพียงพอ ถึงแม้
ความชื้นจะมาก เช่น เมล็ดวัชพืชที่ฝังใต้ดินลึก จะงอกได้เมื่อมี
การไถพรวนดินให้เมล็ดขึ้นมาใกล้ผิวดิน
3. อุณหภูมิ อุณหภูมิมีผลต่อการทางานของเอนไซม์ที่จาเป็นต่อ
ปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ ภายในพืช เมล็ดพืชแต่ละชนิดมีอุณหภูมิที่
เหมาะสมในการงอกต่างกัน เมล็ดพืชทั่วไปจะงอกได้ดีที่อุณหภูมิ 20
– 30 องศาเซลเซียส พืชเมืองหนาวงอกได้ดีที่อุณหภูมิ 10 – 20
องศาเซลเซียส เช่น หอมหัวใหญ่ ผักกาดหัว(งอกได้ดีที่ 20 องศา
เซลเซียส) แต่ก็มีพืชอีกหลายชนิดที่ต้องการอุณหภูมิสูงหรือต่ากว่า
นี้ เช่น ข้าวบาร์เลย์จะงอกได้เมื่ออุณหภูมิต่าใกล้จุดน้าแข็ง
บวบเหลี่ยมต้องการอุณหภูมิที่ต่างกันในช่วงกลางวันและกลางคืน
หรือให้อุณหภูมิต่าสลับกับสูง ถ้าให้อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียสเป็น
เวลา 16 ชั่วโมง สลับกับอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8
ชั่วโมงเมล็ดจึงจะงอกได้ดี
4. แสงสว่าง แสงสว่างจาเป็นสาหรับพืชบางชนิดเท่านั้น
เช่น วัชพืชต่างๆ เมล็ดยาสูบ, ผักกาดหอม, ไทร หญ้า
สาบเสือ ปอต่างๆ เป็นต้น จาเป็นต้องได้รับแสงจึงจะงอกได้
แต่ในพวกหอมหัวใหญ่ ถ้ามีแสงมากจะไปยับยั้งไม่ให้เกิดการ
งอก กระเจี๊ยบ แตงกวา ผักบุ้งจีน ฝ้าย ข้าวโพด ไม่ต้องการ
แสงในขณะงอก แต่ปัจจุบันพืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น
ยาสูบ ผักกาดหอมได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้เมล็ดสามารถ
งอกได้เลยโดยไม่ต้องใช้แสง
เมล็ดพันธุ์ที่ต้องการ และไม่ต้องการแสงสาหรับการงอก
เมล็ดพันธุ์ที่ต้องการแสง   เมล็ดพันธุ์ที่ไม่ต้องการแสง
ยาสูบ                      ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง
ปอกระเจา                   งา ปอแก้ว
สตรอว์เบอร์รี่             ถั่วเขียว ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่ว
ผักกาดเขียวปลี             ลาย ถั่วแขก ถั่วฝักยาว
ผักกาดหอม                  กะหล่าปลี ผักกาดกวางตุ้ง
พริก                       ผักกาดขาวปลี ผักกาดหัว
มะเขือ                     แตงโม แตงกวา แตงเทศ
มะเขือเทศ                  บวบเหลี่ยม หอมหัวใหญ่
                                                         (จวงจันท์, 2529)
5. ความแก่ของเมล็ดพืช เมล็ดพืชบางชนิดเมื่อเก็บเกี่ยว
มาใหม่ ๆ และนาไปเพาะหรือปลูกทันทีจะไม่งอก
แม้จะมีสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เหมาะสมต่อการงอกก็ตาม
เช่น เมล็ดที่เอ็มบริโอไม่เจริญหรือเจริญไม่เต็มที่จะไม่เกิด
การงอก หรือเมล็ดที่มีเอนโดสเปิร์มน้อย ก็งอกได้ยาก




หนังสือหน้า 140-141
6. เมล็ดต้องมีชีวิตอยู่ ในการเก็บเมล็ดพืชไว้นานๆ เมล็ดพืชจะ
  หมดอายุและเพาะไม่งอก โดยปกติเมล็ดพืชที่แก่เต็มที่จะมี
  ความชื้นต่า ประมาณ ร้อยละ 10-15 มีอัตราการหายใจต่า
  มีการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ภายในเมล็ดน้อยมาก ถ้าไม่ได้รับ
  น้า แก๊สออกซิเจน และอุณหภูมิที่เหมาะสม เมล็ดจะไม่งอก
  หรือไม่เจริญเติบโต
สภาพพักตัวของเมล็ด(seed dormancy)
   คือ เมื่อสภาพต่างๆ ของเมล็ดเอื้ออานวยต่อการงอก ก็ไม่
  สามารถงอกได้ เมื่อเก็บเมล็ดไว้สักระยะหนึ่งแล้วนาไปเพาะ
  เมล็ดเหล่านี้จึงสามารถงอกได้
พืชที่มีสภาพพักตัวสั้นมาก เช่น ขนุน มะละกอ มะขามเทศ ซึ่ง
สามารถงอกได้ขณะอยู่ในผล เมล็ดโกงกางไม่มีสภาพพักตัว โดยจะ
มีการงอกบนต้นจนมีรากยาวออกมาเมื่อหล่นลงในดินเลน รากจึง
สามารถปักลงในดินและเจริญเป็นต้นได้ (Viviparous germination
เมล็ดจะงอกตั้งแต่ผลยังติดอยู่บนต้น พบได้ในพืชชายเลน เช่น
แสม, โกงกาง)
หรือพืชบางชนิดมีระยะพักตัวที่ยาวนาน แม้ได้รับ
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เมล็ดยังคงอยู่ในสภาพพักตัว
ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายในของเมล็ด สามารถแก้ไขได้โดย
กลไกตามธรรมชาติหรือโดยการช่วยเหลือของมนุษย์
เมล็ดพืชทั่วไปเมื่อได้รับสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสภาพพัก
ตัวจะหมดไป ทาให้เอ็มบริโอสามารถเจริญต่อไปได้
ระยะพักตัวของเมล็ดเนื่องมาจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งหรือ
หลายสาเหตุรวมกัน คือ
 1. เปลือกหุ้มเมล็ด
        -แข็งและหนาเกินไป ทาให้น้าและแก๊ส
 ออกซิเจนผ่านเข้าไปไม่ได้ เช่น พุทรา มะขาม ฝรั่ง ในธรรมชาติ
 เมล็ดพืชบางชนิดที่หนาและแข็งจะอ่อนตัวลงโดยการย่อยสลาย
 ของจุลินทรียในดินหรือการที่เมล็ดผ่านเข้าไปในระบบย่อย
             ์
 อาหารของสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมหรือนก เช่น เมล็ด
 โพธิ์ เมล็ดไทร เมล็ดตะขบ หรืออาจแตกออกด้วยแรงขัดถู
 หรือถูกไฟเผา เช่น เมล็ดพืชวงศ์หญ้า วงศ์ไผ่บางชนิด
เมล็ดตะเคียน เมล็ดสัก จะทาให้เกิดการผุกร่อนของเปลือกลง
น้า แก๊สออกซิเจน ผ่านเข้าไปถึงเอมบริโอได้ เอมบริโอจึงแบ่งตัว
และเจริญเติบโตได้ต่อไป วิธีการแก้การพักตัวของเมล็ด อาจทาได้
โดยการแช่น้าร้อน หรือแช่ในสารละลายกรด(ที่นิยมใช้ได้แก่ กรด
sulfuric acid, hydrochloric acid ด่าง NaOH,
KOH) เพราะจะทาให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนนุ่ม
  การใช้วิธีกลโดยการทาให้เปลือกหุ้มเมล็ดแตกออกมีหลาย
วิธี เช่น การเฉือนเปลือกแข็งบางส่วนของเมล็ดมะม่วง หรือวิธี
นาไปให้ความร้อนโดยการเผา เช่น เมล็ดมะค่าโมง หรือการใช้
ความเย็นสลับกับความร้อนซึ่งมักจะเก็บไว้ในที่อุณหภูมิต่าระยะ
หนึ่งแล้วจึงนาออกมาเพาะ
-เปลือกเมล็ดมีสารซึ่งไม่ยอมให้น้าซึมผ่าน – ไข คิวทิน
ลิกนิน ซูเบอริน
วิธีแก้สภาพพักตัว การแช่เมล็ดในน้า (soaking) ทาให้
เปลือกเมล็ดอ่อนตัวลง น้าและอากาศสามารถซึมผ่านเข้าไปได้
เอมบริโอจึงเจริญผ่านเปลือกออกมา นอกจากนี้ยังอาจทาให้
สารยับยั้งการเจริญเติบโตที่ติดเปลือกเมล็ดหมดไป ส่วนเมล็ดที่
งอกไม่ยากจะงอกได้เร็วขึ้นหากมีการแช่น้าก่อนนาไปเพาะ
การลวกน้าร้อน (hot water soaking) การใช้น้าร้อน
จะทาให้เมล็ดดูดน้าได้เร็วขึ้น อุณหภูมิของน้าร้อนประมาณ 77
– 100 องศาเซลเซียส แช่เมล็ดประมาณ 2 – 5 นาที และตาม
ด้วยแช่ในน้าเย็นนาน 12 – 24 ชั่วโมง
-เปลือกเมล็ดไม่ยอมให้ออกซิเจนแพร่ผ่านทาให้เมล็ดไม่ได้
ออกซิเจนเพื่อใช้ในกระบวนการหายใจ พบได้ในพืชพวกหญ้า
บางชนิด เมื่อเก็บเมล็ดไว้ระยะหนึ่งก็นาไปเพาะได้ วิธีแก้ระยะพัก
ตัว โดยการทุบให้เปลือกเมล็ดแตก
2. เอ็มบริโอในเมล็ดยังเจริญไม่เต็มที่ เมล็ดจากผลที่แก่
 ไม่เต็มที่ จึงต้องการช่วงเวลา เพื่อให้เอ็มบริโอมีการ
 เปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี เช่น สร้างเอนไซม์หรือฮอร์โมน
 ส่งเสริมการงอก และลดปริมาณสารที่ยับยั้งการงอกของ
 เมล็ดควบคู่กับการเจริญเติบโตจนเอ็มบริโอแก่เต็มที่ เมล็ดจึง
 งอกได้ เช่น เมล็ดแป๊ะก๊วย กล้วยไม้หลายชนิด มะพร้าว
 หมาก ปาล์มน้ามัน เป็นต้นซึ่งอาจใช้เวลาเป็นปี
วิธีแก้สภาพพักตัว ต้องทิ้งไว้ระยะหนึ่งเพื่อให้เอ็มบริโอ
เจริญเติบโตเต็มที่เสียก่อน จึงนาไปเพาะเมล็ด จะสามารถ
งอกได้ดีขึ้น
เอ็มบริโออยู่ในระยะพักตัว พบในพืชเขตหนาวหรืออบอุ่น การพัก
ตัวจะหมดไปเมื่อนาเมล็ดไปเก็บไว้ในที่อากาศเย็น อุณหภูมิ
ประมาณ 0-10 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้น
นามาเพาะเมล็ดจึงจะงอก สันนิษฐานว่าอุณหภูมิต่า ทาให้มีการ
เปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนภายในเมล็ด ซึ่งเป็นสาเหตุของการพัก
ตัวและการพ้นจากการพักตัว
เช่น เมล็ดของแอปเปิล เชอรี่ จะต้องใช้เวลาระยะหนึ่งซึ่งมักต้อง
เป็นฤดูหนาวที่มีอุณหภูมิต่า ความชื้นสูง ระยะนี้เมล็ดจะมีการ
เปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาบางอย่างภายในเอ็มบริโอเพือให้ ่
สมบรูณ์เสียก่อนจึงจะงอกได้ ซึ่งเมื่อผ่านระยะเวลานี้ไปแล้วเมล็ด
ก็จะงอกได้ เพราะอุณหภูมิที่ต่านี้ทาให้ปริมาณของกรดแอบไซซิก
(abscisic acid) ที่ยับยั้งการงอกของเมล็ดลดลงได้ ในขณะที่
จิบเบอเรลลิน(Gibberellin) หรือไซโทไคนิน
(cytokinin) ที่ส่งเสริมการงอกของเมล็ดจะเพิ่มขึน ้
3.เอนโดสเปิร์ม เช่น กล้วยไม้ มีเอนโดสเปิร์มน้อยมาก จึงงอกเอง
ได้ยากในสภาพธรรมชาติ เพราะไม่มีอาหารเพียงพอสาหรับเลี้ยง
เอ็มบริโอระหว่างการงอก
        ในธรรมชาติมีไมคอร์ไรซาบางชนิดเจริญร่วมกับเมล็ดพืช ซึ่ง
จะช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์เพื่อเป็นอาหารแก่เมล็ดที่กาลังงอก
หรือนาเมล็ดกล้วยไม้เลี้ยงในอาหารเพาะเลี้ยงและใส่สารกระตุ้น
การงอกของเมล็ด
ไมคอร์ไรซา(mycorrhiza) คือ การอยู่ร่วมกัน แบบพึ่งพา
อาศัยกัน (symbiosis) ระหว่างเซลล์ของรากพืชและรา โดย
ต้นพืชได้รับน้าและแร่ธาตุที่จาเป็นต่อการดารงชีวิตจากรา ส่วน
ราได้รับสารอาหารจากต้นพืช ผ่านมาทางระบบราก เช่น พวก
แป้ง น้าตาล โปรตีน และวิตามินต่าง ๆ นอกจากนี้ราไมคอร์ไร
ซายังช่วยป้องกันรากพืชจากการเข้าทาลายของเชื้อโรคด้วย
สปอร์ของราไมคอร์ไรซาจะมีอยู่ทั่ว ๆ ไปในดิน
4. เมล็ดบางชนิดมีสารยับยั้งการงอก เช่น มะเขือเทศ ฟัก เมล็ด
ของพืช พวกนี้จะมีสารยับยั้งการงอกเคลือบอยู่ที่ผิวชั้นด้านนอก
เมื่ออยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น ขาดน้า จะไม่มีการงอกของ
เมล็ดเกิดขึ้น เมื่อฝนตกลงมาน้าฝนจะช่วยชะล้างสารเหล่านี้
ออกไปเมล็ดจึงจะงอกได้ และสภาพอันนี้จะเหมาะสมต่อการงอก
และการอยู่รอดของต้นอ่อนที่งอกขึ้นมาใหม่ เช่น การล้างเมือก
หุ้มเมล็ดมะเขือเทศ และพืชพวกแตง แล้วผึ่งให้แห้งก่อนเพาะ
 Gibberellin เร่งการงอกหรือการตัดใบเลี้ยงของเอ็มบริโอ
 ของพืช จะช่วยให้เมล็ดงอกได้เร็วขึ้น
 Abscisic acid ยับยั้งการงอกของเมล็ด
 Cytokinnin ส่งเสริมการงอกของเมล็ดเพิ่มขึ้น
เช่น เมล็ดของแอปเปิล เชอรี่ จะต้องใช้เวลาระยะหนึ่งซึ่งมักต้อง
เป็นฤดูหนาวที่มีอุณหภูมิต่า ความชื้นสูง ระยะนี้เมล็ดจะมีการ
เปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาบางอย่างภายในเอ็มบริโอเพือให้ ่
สมบรูณ์เสียก่อนจึงจะงอกได้ ซึ่งเมื่อผ่านระยะเวลานี้ไปแล้วเมล็ด
ก็จะงอกได้ เพราะอุณหภูมิที่ต่านี้ทาให้ปริมาณของกรดแอบไซซิก
(abscisic acid) ที่ยับยั้งการงอกของเมล็ดลดลงได้ ในขณะที่
จิบเบอเรลลิน(Gibberellin) หรือไซโทไคนิน
(cytokinin) ที่ส่งเสริมการงอกของเมล็ดจะเพิ่มขึน ้
หลักการผลิตเมล็ดพันธุ์พืช
1. ชนิดของพืช เมล็ดพืชต้องมีสมบัติตรงตามพันธุ์ซึ่งผ่านการ
ตรวจคุณภาพแล้ว
2. สถานที่ผลิตเมล็ดพันธุ์พืชนั้น ควรมีสภาพภูมิอากาศเหมาะสม
กับพืชชนิดนั้น และดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง
3. มีวิธีการเก็บเกี่ยวเมล็ดพืชที่มีประสิทธิภาพ
4. ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคพืชและแมลง
5. มีกระบวนการหรือขั้นตอนการลดความชื้นของเมล็ดอย่าง
ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
6. มีการตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์
หลักการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์
• เมล็ดพันธุ์พืช ต้องตรงตามพันธุ์ที่ต้องการ
• เมล็ดมีความสมบูรณ์ ขนาดโต ไม่ลีบ
• เมล็ดต้องแก่จัดเต็มที่
• เมล็ดต้องใหม่ ไม่เก็บไว้นานเกินไป
• เปอร์เซ็นต์ความงอก เมล็ดที่ดีมีเปอร์เซ็นต์ความงอก
  80-90 % หรือสูงกว่านี้
• ความบริสุทธิ์ เมล็ดไม่เป็นโรค หรือถูกแมลงทาลาย
การตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์พืช
การตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ หมายถึง การตรวจสอบดู
ความสามารถในการงอกได้อย่างรวดเร็ว สม่าเสมอ และตั้งตัวได้ดี
เมื่อนาไปปลูก เช่น ความสามารถในการงอกหรือความมีชีวิตของ
เมล็ดพันธุ์ การตรวจสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ ความ
บริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ ความชื้นของเมล็ดพันธุ์ เป็นต้น




    หนังสือหน้า 143-145
ความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์พืช
        เมล็ดพืชดอกนอกจากจะมีความสาคัญต่อการดารงพันธุ์
ของพืชมากแล้วยังมีความสาคัญต่อสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ โดยเป็นแหล่ง
อาหารสาคัญและมีความสาคัญต่อการเพาะปลูก ใช้เมล็ดใน
การขยายพันธุ์ พืช เช่น พืชพวกข้าว ถั่ว ข้าวโพด เป็นต้น เมล็ดที่
มีความแข็งแรงสูงจะมีความสามารถในการงอกสูง ในขณะที่
เมล็ดที่ไม่แข็งแรงจะมีความสามารถในการงอกต่า
ความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์พืช (Seed Vigour)
หมายถึง ลักษณะรวม ๆ หลายประการของเมล็ด อันเป็นลักษณะ
เด่นที่เมล็ดสามารถแสดงออกมา และเมื่อนาเมล็ดนั้นไปเพาะใน
สภาวะแวดล้อมที่แปรปรวนและไม่เหมาะสมแล้ว เมล็ดที่มีความ
แข็งแรงสูงจะสามารถงอกได้ดีกว่า
 ซึ่งสามารถตรวจสอบได้หลายวิธี เช่น การเร่งอายุของเมล็ดพันธุ์
การวัดดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์
การเร่งอายุของเมล็ดพันธุ์ เป็นการกระทาเพื่อใช้ตรวจสอบความ
แข็งแรงของเมล็ดพันธุ์เพื่อที่จะทานายว่าเมล็ดพันธุ์นั้นเมื่อเก็บรักษาไว้
เป็นเวลานานแล้วจะมีค่าร้อยละของการงอกสูงหรือไม่ วิธีการเร่งอายุ
เมล็ดพันธุ์ ก็คือนาตัวอย่างของเมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่ต้องการ
ตรวจสอบมาใส่ไว้ในตู้อบที่อุณหภูมิระหว่าง 40 –50 องศาเซสเซียส
ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 100 เป็นเวลา 2 – 8 วัน แล้วนามาเพาะ
หาค่าร้อยละของการงอก ถ้าเมล็ดพันธุ์จากแหล่งใดเมื่อผ่านการเร่ง
อายุ แล้วมีค่าร้อยละของการงอกสูง แสดงว่าเมล็ดพันธุ์แหล่งนั้น
แข็งแรง ซึ่งทานายได้ว่า เมล็ดพันธุ์นั้นถูกเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่มี
การควบคุมอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ เป็นเวลา 12 -18 เดือน
 เมื่อนามาเพาะก็จะมีค่าร้อยละของการงอกสูงเช่นกัน
การตรวจสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ โดยการวัดดัชนี
การงอก
การวัดดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์อาศัยหลักการว่า เมล็ดพันธุ์ใด
มีความแข็งแรงมากย่อมจะงอกเร็วกว่าเมล็ดพันธุ์ที่มีความ
แข็งแรงน้อย วิธีการวัดดัชนีการงอกทาได้โดยการนาตัวอย่าง
ของเมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่ต้องการตรวจสอบมาเพาะ
แล้วนับจานวนเมล็ดที่งอกทุกวัน นามาคานวณหาค่าดัชนี
การงอกโดยเปรียบเทียบกับเมล็ดพันธุ์พืชชนิดเดียวกันจากแหล่ง
อื่น ๆ
สูตรดัชนีการงอก
                   จานวนต้นกล้าที่
= ผลบวกของ         งอกในแต่ละวัน
                 จานวนวันหลังเพาะ
การตรวจสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์แต่ละวิธีมี
วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบแตกต่างกันไป คือ
วิธีการเร่งอายุเมล็ดพันธุ์นั้นเหมาะสาหรับผู้ที่จะผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อ
การจาหน่ายหรือเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์นั้นไว้เพาะปลูกในฤดูกาล
ต่อไป ส่วนการหาค่าดัชนีการงอกของเมล็ดพันธ์นั้นเหมาะสาหรับ
เกษตรกรที่จะใช้ตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ก่อนที่จะนาไป
เพาะปลูก
เมล็ดมีความสาคัญในแง่ที่เป็นแหล่งสะสมพันธุกรรมของ
พืช เพราะในเซลล์ของเอ็มบริโอทุกเซลล์มีสารพันธุกรรมหรือยีน
พืชชนิดนั้นๆ อยู่ แม้ว่าต้นพืชชนิดนั้นจะตายไป แต่ถ้ามีการเก็บ
เมล็ดของพืชนั้นไว้ก็ยังมียีนของพืชนั้นๆ ที่พร้อมจะขยายพันธุ์
ต่อไปได้
          ปัจจุบันนี้หลายประเทศได้ให้ความสาคัญต่อการอนุรักษ์
พันธุ์พืชเป็นอย่างมาก สาหรับประเทศไทยสถาบันวิจัย
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยได้จัดตั้งธนาคารพันธุ์
พืชแห่งชาติขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมและอนุรักษ์พันธุ์พืชชนิดต่างๆ ทั่ว
ประเทศไทย เช่น พันธุ์พืชที่หายาก และใกล้จะสูญพันธุ์ หรือ
พันธุ์ที่ดีมีประโยชน์ เป็นต้น เพื่อไปใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืช
ต่าง ๆในอนาคต
ขั้นตอนการอนุรักษ์พันธุ์พืช เริ่มด้วยการรวบรวมเมล็ดพันธุ์
พืชมาบันทึกประวัติข้อมูลเมล็ดพันธุ์ คัดขนาดเมล็ดพันธุ์ ต่อจากนั้น
ต้องทาความสะอาด และทดสอบการงอกของเมล็ดพันธุ์ ทาเมล็ด
ให้แห้ง และเก็บรักษาไว้ในภาชนะ เช่น กระป๋อง หรือซอง
อะลูมิเนียม ขั้นสุดท้ายนาไปเก็บไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิ
0 ถึง -20 องศาเซสเซียส จะสามารถเก็บไว้ได้นานกว่า 20 ปี
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืชดอกและการขยายพันธุ์พืช
         นอกจากพืชจะขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ซึ่งเป็น
 วิธีการสืบพันธ์แบบอาศัยเพศแล้ว ยังมีการขยายพันธุ์
 แบบไม่อาศัยเพศจากส่วนอื่นๆที่ไม่ใช่เมล็ด เช่น ลาต้น
 กิ่ง ใบราก เป็นต้น อาจเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติหรือเกิด
 จากการกระทาของมนุษย์ วิธีนี้มีประโยชน์ต่อการขยาย
 พันธ์พืชที่มีลักษณะดี เพราะพืชต้นใหม่มักมีลักษณะ
 เหมือนต้นเดิมไม่กลายพันธุ์ รวมทั้งให้ดอกและผลเร็ว แต่
 มีข้อเสียที่ไม่มีรากแก้วทาให้ลาต้นไม่แข็งแรง
พืชที่ขยายพันธุ์ด้วยลาต้น มักเป็นลาต้นใต้ดินที่สะสมอาหาร
จาพวกแง่ง หรือหัว เช่น ขิงข่า ขมิ้น เผือก แห้ว กล้วย เป็นต้น
     พืชที่ขยายพันธุ์ด้วยกิ่ง อาจทาได้โดย การปักชา การตอน
การติดตา เสียบยอด หรือทาบกิ่ง เช่น ชบา พู่ระหง โกสน มะลิ
กุหลาบ มะม่วง เป็นต้น
     พืชที่ขยายพันธุ์ด้วยราก เช่น มันเทศ โมก ปีบ เป็นต้น
    ช่อดอก เช่น ป่านศรนารายณ์ ขิงแดง

   ใบ เช่น คว่าตายหงายเป็น เศรษฐีหมื่นล้าน
พืชที่ขยายพันธุ์ด้วยไหล(stolon) เช่น บัวบก
ผักตบชวา บัว สตรอเบอรี
ข้อดีของการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
     1. ให้ผลตรงตามพันธุ์ที่ต้องการ
     2. ให้ผลเร็วกว่าการปลูกด้วยเมล็ด
     3. ใช้ขยายพันธุ์ที่ปลูกด้วยเมล็ดแล้วไม่ขึ้น
ข้อเสียของการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
1. ต้นไม่แข็งแรงเพราะไม่มีรากแก้ว(ยกเว้นการต่อกิ่ง ติดตา และ
ทาบกิ่ง)
2. วิธีการเก็บรักษาและย้ายพันธุทายากกว่า
                               ์
3. สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการปลูกมากกว่า
ปัจจุบันมีการนาเทคโนโลยีชีวภาพในการเพาะเลี้ยง
เนื้อเยื่อพืช มาใช้ในการเกษตรอย่างแพร่หลาย เช่น การขยายพันธุ์
พืชเพื่อให้ได้ต้นพืชจานวนมากในระยะเวลาอันสั้น และมีลักษณะ
เหมือนพันธุ์เดิม ซึ่งประสบผลสาเร็จกับพืชเศรษฐกิจหลาย ๆ
ชนิด เช่น กล้วยไม้ ไม้ตัดดอกอื่น ๆ กล้วย สตรอเบอรี่ นอกจากนี้
การเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชยังมีประโยชน์ในการผลิตพืชที่ปลอดโรค การ
สร้างพืชสายพันธุ์แท้ การเก็บพันธุ์พืชเพื่อการอนุรักษ์ ฯลฯ ส่วน
ทางด้านการแพทย์และเภสัชกรรม สามารถทาให้เซลล์หรือ
เนื้อเยื่อพืชสร้างสารเคมีที่ต้องการได้
การขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช(tissue culture)
         การเพาะเลี้ยงเนื้อเยือพืชเป็นการนาเอาส่วนใดส่วนหนึ่ง
                              ่
ของพืช ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะ เนื้อเยื่อ เซลล์ เช่น ยอด ลาต้น ใบ
ราก ส่วนต่าง ๆ ของดอก หรือผล แม้กระทั่งโพรโทพลาสต์
(protoplast-โพรโทพลาสซึมที่มีเยื่อหุ้มเซลล์ที่ปราศจากผนังเซลล์
ห่อหุ้ม) มาเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ซึ่งมีทั้งอาหารกึ่งแข็ง และ
อาหารเหลว ในสภาพที่ปลอดเชื้อ
ซึ่งชิ้นส่วนของพืชที่นามาเลี้ยงเหล่านี้ จะเจริญ ไป
เป็น ต้น ราก หรือเจริญเป็นแคลลัส(callus) ซึ่งส่วนใหญ่เป็น
กลุ่มเซลล์พาเรงคิมา เซลล์ส่วนนี้จะเจริญเป็นแคลลัสขนาด
ใหญ่ที่สามารถ ชักนาให้เปลี่ยนแปลงไปเป็น ต้น หรือ ราก
ระยะนี้อาจแบ่งเพิ่มจานวนได้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยแยกไปเลี้ยง
ในอาหารใหม่ ซึ่งเมื่อได้จานวนต้นในปริมาณที่มากพอแล้ว ก็
สามารถที่จะย้ายปลูกได้
หลักในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
      ในการเลี้ยงเนื้อเยื่อ พืชจะต้องนาชิ้นส่วนของพืชมาเลี้ยงใน
อาหารสังเคราะห์ซึ่งประกอบด้วยแร่ธาตุต่างๆ แร่ธาตุเหล่านี้จะเป็น
องค์ประกอบ ของโครงสร้างเซลล์ ผนังเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์
โครโมโซม คลอโรพลาสต์ ฯลฯ หรือเป็นองค์ประกอบของสารเคมีที่
จาเป็นต่อกระบวนการเมแทบอลิซึม เช่น เอนไซม์ ฮอร์โมน
กรดอะมิโน ฯลฯ
นอกจากนี้ในอาหารสังเคราะห์จะต้องมีแหล่งที่ให้
พลังงานแก่เซลล์ ได้แก่ พวกน้าตาลต่างๆและยังมีวิตามิน
สารควบคุมการเจริญเติบโตอื่นๆเช่น ออกซิน และไซโทไคนิน
สารเหล่านี้จะทาให้เนื้อเยื่อเจริญได้ดี ทาให้เกิดการแบ่งเซลล์
การขยายขนาดของเซลล์และเปลี่ยนรูปร่างของเซลล์ไปทา
หน้าที่เฉพาะอย่าง ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อทั่วไปนี้ใช้
อุณหภูมิระหว่าง 23 - 38 องศาเซลเซียส ความสว่างของแสง
ช่วง 1000 - 2000 ลักซ์
ขั้นตอนในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช มีดังนี้
         1. นาชิ้นส่วนของพืชมาตัดแบ่งและนาไปฟอกฆ่า
เชื้อจุลินทรีย์ที่ผิวของพืช แล้วนามาเลี้ยงในขวดอาหาร ตาม
ขวดที่เหมาะสมแล้วแต่ชนิดของพืช จนได้แคลลัสหรือต้นที่
ปลอดเชื้อ
            2. ตัดแบ่งแคลลัสออกเป็นชิ้นเพื่อการเพิ่มจานวนหรือ
ถ้าเจริญเป็นต้นแล้วจะมีมากกว่า 1 ต้น ก็แยกออกไปเลี้ยงใน
อาหารใหม่ทุก 1 เดือน เพื่อเพิ่มจานวนไปเรื่อยๆ ตามจานวนที่
ต้องการ
3. เมื่อได้ต้นที่มากพอแล้ว ก็ชักนาให้รากงอกและ
เมื่อเจริญเป็นต้นที่แข็งแรงแล้ว จึงนาออกจากขวดปลูกลง
ดิน
นอกจากนีในปัจจุบัน ยังมีการทาเมล็ดเทียม
                  ้
เพื่อใช้ขยายพันธุ์ได้บางชนิด เช่น แครอท ยาสูบ
หน่อไม้ฝรั่ง ซึ่งการผลิตเมล็ดเทียมนี้ได้พัฒนามาจาก
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยการนาเซลล์ของพืชที่เจริญ
มาจากเนื้อเยื่อทาเป็นเอ็มบริโอเทียมเรียกว่า โซมาติก
เอ็มบริโอ (somatic embryo) แทนไซโกติกเอ็มบริโอ ซึ่ง
เกิดจากการปฏิสนธิแล้วจึงนามาห่อหุ้มด้วยสารอาหารที่
ทาหน้าที่แทนเอนโดสเปิร์มและด้านนอกสุดห่อหุ้มด้วย
ส่วนทีแข็งแรงทาหน้าที่เป็นเปลือกหุ้ม เมล็ดเทียม
       ่
ประยุกต์ใช้กับงานด้านต่าง ๆ เช่น ทางด้าน
การเกษตร พฤกษศาสตร์ ชีวเคมี เภสัชศาสตร์
 ปรับปรุงพันธุ์
 คัดเลือกพันธุ์พืชให้ได้พืชที่ทนต่อโรค แมลง
   ยากาจัด วัชพืชหรือทนต่อดินเค็ม
 การขยายพันธุ์พืชให้ได้ปริมาณมากใน
   ระยะเวลาอันรวดเร็ว ไม่กลายพันธุ์
 การเก็บรักษาพันธุ์พืช
ประกอบด้วยส่วนสาคัญ 3 ส่วน คือ
1. ห้องเตรียมอาหาร มีโต๊ะเตรียมสาร อ่างน้า ตู้เย็น เครื่องชั่ง
  สาร เครื่องวัด pH เตาหลอมอาหาร หม้อนึ่งฆ่าเชื้อ
  ความดันไอน้า
2. ห้องถ่ายเนื้อเยื่อ มีอากาศถ่ายเทผ่านแผ่นกรอง ที่สามารถ
  กรองจุลินทรีย์ไว้ได้ตลอดเวลา
3. ห้องเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช อุณหภูมิ 25 oC ระยะเวลา
   ให้แสงประมาณ 12-16 ชั่วโมง/วัน
   ความเข้มของแสง 1,000-3,000 ลักซ์
1. พันธุ์พืชที่จะนามาเพาะเลี้ยง
2. เครื่องแก้ว
3. สารเคมี - สารเคมีที่ใช้ฆ่าเชื้อที่ติดมากับผิวพืช
              - สารเคมีที่ใช้เตรียมสูตรอาหาร
              - สารเคมีที่ควบคุมการเจริญเติบโต
4. เครื่องมือผ่าตัด ได้แก่ มีดผ่าตัด ปากคีบ
5. ตู้ถ่ายเนื้อเยื่อ
6. อุปกรณ์เบ็ดเตล็ดต่าง ๆ
beaker       forceps                scalpel




Alcohol lamp
                         petri dish
1. สารอนินทรีย์ ได้แก่ ธาตุอาหารหลัก เช่น N P K S Ca Mg และ
   ธาตุ อาหารรอง เช่น Mn Zn Cu Mo B I Co Cl
2. สารประกอบอินทรีย์
    2.1 น้าตาล
    2.2 ไวตามิน ชนิดที่มีความสาคัญ ได้แก่ ไธอะมีน
    2.3 อะมิโนแอซิด เช่น ไกลซีน
    2.4 สารควบคุมการเจริญเติบโต ได้แก่ ออกซิน ไซโตไคนิน จิบ
   เบอเรลลิน
    2.5 สารอินทรีย์พวกอิโนซิทอล อะดีนีน ช่วยส่งเสริมให้เกิดยอด
3. สารที่ได้จากธรรมชาติ เช่น กล้วยบด น้ามะพร้าว น้าส้มคั้น น้า
   มะเขือเทศ
4. สารไม่ออกฤทธิ์ เช่น วุ้น ผงถ่าน
 การเตรียมอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช จะเตรียม
เป็นสารละลายเข้มข้น คือการรวมสารเคมีพวกที่สามารถ
รวมกันได้โดยไม่ตกตะกอนไว้ด้วยกัน
         วิธีการเตรียมเริ่มจากชั่งสารเคมีตามจานวนที่
ต้องการแต่ละชนิดให้หมดก่อนแล้วจึงนามาผสมกัน เติมน้า
กลั่นให้ได้
ปริมาตรที่ต้องการ กวนให้เข้ากัน แล้วบรรจุลงใน
ขวดสารละลาย ลงรายละเอียดชนิดของสาร
ความเข้มข้น วันเดือนปี ปริมาตร แล้วเก็บในตู้เย็น
1. นาสารละลายเข้มข้นชนิดต่าง ๆ มาผสมกัน ค่อย ๆ กวนให้เข้า
   กันจนหมดครบทุกชนิด
2. เติมน้าตาล แล้วเติมน้ากลั่นให้ได้ปริมาตรที่ต้องการ ปรับ pH 5.6
   - 5.7
3. นาวุ้นผสมกับอาหารที่เตรียม หลอมวุ้นให้ละลาย
4. บรรจุลงในขวดอาหารในปริมาตรเท่า ๆ กัน ปิดฝาให้สนิท
1.            การฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในอาหาร นึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่ง
   ความดันไอน้าที่ อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ความดัน 15
   ปอนด์/ตารางนิ้ว เป็นเวลา                  15 - 20 นาที
2.            การฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บริเวณภายนอกชิ้นส่วนพืช ใช้
   สารเคมีชนิดที่ สามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้หมดทุกชนิด และล้าง
   ออกได้ง่าย เพราะถ้า ล้างออกได้ยาก สารเคมีเหล่านี้จะมีผล
   ทาให้เนื้อเยื่อพืชตาย หรือมีการ เจริญเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร
            การเติมน้ายาซักฟอกลงไปในสารเคมีที่ใช้ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
   จะทาให้ประสิทธิภาพสารเคมีเหล่านั้นดีขึ้น เนื่องจากจะทาให้ลดแรงตึง
   ผิวบริเวณผิวนอกของชิ้นส่วนพืช สารเคมีจะแทรกซึมเข้าไปทาลาย
   จุลินทรียตามซอกต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
            ์
1.    นาชิ้นส่วนพืชที่ต้องการมาล้างน้าให้สะอาด
2.    ตกแต่งชิ้นส่วนพืช ตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก
3.    จุ่มในแอลกอฮอล์ 95% เพื่อลดแรงตึงผิวบริเวณนอกชิ้นส่วนพืช
4.    นาชิ้นส่วนพืชมาเขย่าในสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เตรียมไว้นาน 10-15 นาที
5.    ใช้ปากคีบคีบชินส่วนพืช ล้างในน้ากลั่นที่นึ่งฆ่าเชื้อ 3 ครั้ง
                      ้
6.     ตัดชิ้นส่วนพืชตามขนาดที่ต้องการแล้ววางบนอาหารสังเคราะห์
7.    ลงรายละเอียด เช่น ชนิดพืช วันเดือนปี หรือรหัส
             การฆ่าเชื้อที่ติดมากับผิวพืชและการนาไปเลี้ยงบนอาหาร
     ทาในตู้ถ่ายเนื้อเยื่อโดยตลอด
นาขวดเลี้ยงเนื้อเยื่อไปวางบนชั้นในห้องเลี้ยง
เนื้อเยื่อ โดยปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมโดยทั่วไปปรับ
อุณหภูมิภายในห้องประมาณ 25 องศาเซลเซียส ระยะเวลาที่
ให้แสงประมาณ 12-16 ชั่วโมง/วัน ความเข้มของแสง 1,000-
3,000 lux
            เนื้อเยื่อพืชที่เลี้ยงควรเปลี่ยนอาหารใหม่ทุก 2
สัปดาห์ ระหว่างการเลี้ยงตรวจดูการเจริญเติบโตสังเกตการ
เปลี่ยนแปลง บันทึกรายงานได้เพื่อเป็นข้อมูล
เมื่อพืชเจริญเติบโตเป็นต้นที่สมบูรณ์แล้วก็นาไปลงปลูกใน
   กระถางดังนี้
1. เตรียมทราย : ถ่านแกลบ หรือทราย : ขุยมะพร้าว อัตราส่วน
   1:1 ใส่กระถางหรือกระบะพลาสติก
2. ใช้ปากคีบ คีบต้นพืชออกจากขวดอย่างระมัดระวัง
3. ล้างเศษวุ้นที่ติดอยู่บริเวณรากออกให้หมด
4. จุ่มยากันรา ตามอัตราส่วนที่กาหนดในสลากยา
5. ปลูกในกระถางหรือกระบะ
6. นาไปไว้ในตู้ควบคุมความชื้น แสง อุณหภูมิ เมื่อพืชเจริญตั้ง
   ตัวดี แล้วจึงย้ายลงแปลงปลูกต่อไป
Explants
Wash in running water
Preparation of sterilization solution
Shake the explants for cleaning
   in lamina air flow cabinet
Remove useless tissue damaged
      by disinfectants
Culture on media
Shoot induction on explants
      initiation media
Shoot multiplication on multiple
         shoot media
Root induction on root
  induction media
Transfer the culture ton an incubation room
         to control temperature ( 24๐ c )
and light intensity ( 2,000 lux for 14 hours / day )
ผลและเมล็ดแก้
ผลและเมล็ดแก้
ผลและเมล็ดแก้
ผลและเมล็ดแก้
ผลและเมล็ดแก้
ผลและเมล็ดแก้
ผลและเมล็ดแก้
ผลและเมล็ดแก้
ผลและเมล็ดแก้
ผลและเมล็ดแก้
ผลและเมล็ดแก้
ผลและเมล็ดแก้
ผลและเมล็ดแก้
ผลและเมล็ดแก้
ผลและเมล็ดแก้
ผลและเมล็ดแก้
ผลและเมล็ดแก้

More Related Content

What's hot

โครงสร้างและหน้าที่ของราก
โครงสร้างและหน้าที่ของรากโครงสร้างและหน้าที่ของราก
โครงสร้างและหน้าที่ของราก
Thanyamon Chat.
 
stem structure
stem structurestem structure
stem structure
Thanyamon Chat.
 
บท3การเจริญดอก
บท3การเจริญดอกบท3การเจริญดอก
บท3การเจริญดอก
Wichai Likitponrak
 
พืชมีดอกและพืชไร้ดอก
พืชมีดอกและพืชไร้ดอกพืชมีดอกและพืชไร้ดอก
พืชมีดอกและพืชไร้ดอกbiwty_keng
 
โครงสร้างและหน้าที่ของใบ
โครงสร้างและหน้าที่ของใบโครงสร้างและหน้าที่ของใบ
โครงสร้างและหน้าที่ของใบ
Thanyamon Chat.
 
การรับรู้และการตอบสนอง
การรับรู้และการตอบสนองการรับรู้และการตอบสนอง
การรับรู้และการตอบสนอง
sukanya petin
 
ขนราก
ขนรากขนราก
ขนรากdnavaroj
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการจำแนกสาร ชุดที่ 1 การแยกสารด้วยวิธีการกรอง
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการจำแนกสาร ชุดที่ 1 การแยกสารด้วยวิธีการกรองชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการจำแนกสาร ชุดที่ 1 การแยกสารด้วยวิธีการกรอง
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการจำแนกสาร ชุดที่ 1 การแยกสารด้วยวิธีการกรอง
ชลธิกาญจน์ จินาจันทร์
 
พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
Benjapron Seesukong
 
ใบงานการย่อยอาหาร Version นักเรียนค่ะ
ใบงานการย่อยอาหาร Version นักเรียนค่ะใบงานการย่อยอาหาร Version นักเรียนค่ะ
ใบงานการย่อยอาหาร Version นักเรียนค่ะ
กมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
sukanya petin
 
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบwebsite22556
 
เล่มที่ 2 โครงสร้างของราก
เล่มที่ 2 โครงสร้างของรากเล่มที่ 2 โครงสร้างของราก
เล่มที่ 2 โครงสร้างของราก
kanyamadcharoen
 
ระบบย่อยอาหารของสัตว์
ระบบย่อยอาหารของสัตว์ระบบย่อยอาหารของสัตว์
ระบบย่อยอาหารของสัตว์Anissa Aromsawa
 
สอบปลายภาคชีวะ51 2m.5
สอบปลายภาคชีวะ51 2m.5สอบปลายภาคชีวะ51 2m.5
สอบปลายภาคชีวะ51 2m.5Wichai Likitponrak
 
กระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
กระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมกระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
กระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมJariya Jaiyot
 
หน่วยของสิ่งมีชีวิต
หน่วยของสิ่งมีชีวิตหน่วยของสิ่งมีชีวิต
หน่วยของสิ่งมีชีวิตnetzad
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง เรียนรู้ชั้นบรรยากาศ
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง เรียนรู้ชั้นบรรยากาศชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง เรียนรู้ชั้นบรรยากาศ
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง เรียนรู้ชั้นบรรยากาศKhwankamon Changwiriya
 
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Wichai Likitponrak
 

What's hot (20)

โครงสร้างและหน้าที่ของราก
โครงสร้างและหน้าที่ของรากโครงสร้างและหน้าที่ของราก
โครงสร้างและหน้าที่ของราก
 
stem structure
stem structurestem structure
stem structure
 
บท3การเจริญดอก
บท3การเจริญดอกบท3การเจริญดอก
บท3การเจริญดอก
 
พืชมีดอกและพืชไร้ดอก
พืชมีดอกและพืชไร้ดอกพืชมีดอกและพืชไร้ดอก
พืชมีดอกและพืชไร้ดอก
 
โครงสร้างและหน้าที่ของใบ
โครงสร้างและหน้าที่ของใบโครงสร้างและหน้าที่ของใบ
โครงสร้างและหน้าที่ของใบ
 
การรับรู้และการตอบสนอง
การรับรู้และการตอบสนองการรับรู้และการตอบสนอง
การรับรู้และการตอบสนอง
 
ขนราก
ขนรากขนราก
ขนราก
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการจำแนกสาร ชุดที่ 1 การแยกสารด้วยวิธีการกรอง
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการจำแนกสาร ชุดที่ 1 การแยกสารด้วยวิธีการกรองชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการจำแนกสาร ชุดที่ 1 การแยกสารด้วยวิธีการกรอง
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการจำแนกสาร ชุดที่ 1 การแยกสารด้วยวิธีการกรอง
 
พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
 
ใบงานการย่อยอาหาร Version นักเรียนค่ะ
ใบงานการย่อยอาหาร Version นักเรียนค่ะใบงานการย่อยอาหาร Version นักเรียนค่ะ
ใบงานการย่อยอาหาร Version นักเรียนค่ะ
 
การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
 
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
 
เล่มที่ 2 โครงสร้างของราก
เล่มที่ 2 โครงสร้างของรากเล่มที่ 2 โครงสร้างของราก
เล่มที่ 2 โครงสร้างของราก
 
ระบบย่อยอาหารของสัตว์
ระบบย่อยอาหารของสัตว์ระบบย่อยอาหารของสัตว์
ระบบย่อยอาหารของสัตว์
 
สอบปลายภาคชีวะ51 2m.5
สอบปลายภาคชีวะ51 2m.5สอบปลายภาคชีวะ51 2m.5
สอบปลายภาคชีวะ51 2m.5
 
ข้อสอบวิทย์เรื่องเซลล์ 1
ข้อสอบวิทย์เรื่องเซลล์ 1ข้อสอบวิทย์เรื่องเซลล์ 1
ข้อสอบวิทย์เรื่องเซลล์ 1
 
กระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
กระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมกระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
กระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
 
หน่วยของสิ่งมีชีวิต
หน่วยของสิ่งมีชีวิตหน่วยของสิ่งมีชีวิต
หน่วยของสิ่งมีชีวิต
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง เรียนรู้ชั้นบรรยากาศ
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง เรียนรู้ชั้นบรรยากาศชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง เรียนรู้ชั้นบรรยากาศ
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง เรียนรู้ชั้นบรรยากาศ
 
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
 

Viewers also liked

การเกิดผลและเมล็ด
การเกิดผลและเมล็ดการเกิดผลและเมล็ด
การเกิดผลและเมล็ดNokko Bio
 
01 เมล็ดพืชและการเจริญเติบโต
01 เมล็ดพืชและการเจริญเติบโต01 เมล็ดพืชและการเจริญเติบโต
01 เมล็ดพืชและการเจริญเติบโต
นราพร ผิวขำ
 
การเกิดผลและเมล็ด
การเกิดผลและเมล็ดการเกิดผลและเมล็ด
การเกิดผลและเมล็ดNokko Bio
 
นางพัชรินทร์ สุทธหลวง01
นางพัชรินทร์ สุทธหลวง01นางพัชรินทร์ สุทธหลวง01
นางพัชรินทร์ สุทธหลวง01Art Nan
 
บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต (1)
บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต (1)บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต (1)
บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต (1)
Pinutchaya Nakchumroon
 
การงอกของเมล็ด
การงอกของเมล็ดการงอกของเมล็ด
การงอกของเมล็ดNokko Bio
 
การสืบพันธุ์ของพืช
การสืบพันธุ์ของพืชการสืบพันธุ์ของพืช
การสืบพันธุ์ของพืชchiralak
 
ส่วนประกอบของดอกไม้
ส่วนประกอบของดอกไม้ส่วนประกอบของดอกไม้
ส่วนประกอบของดอกไม้
sawaddee
 
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชAnana Anana
 
9. ชุดที่ 6 การสืบพันธุ์ของพืช
9. ชุดที่ 6 การสืบพันธุ์ของพืช9. ชุดที่ 6 การสืบพันธุ์ของพืช
9. ชุดที่ 6 การสืบพันธุ์ของพืช
เอเดียน คุณาสิทธิ์
 
มะเขือเทศพื้นเมือง เบอร์ ๓
มะเขือเทศพื้นเมือง เบอร์ ๓มะเขือเทศพื้นเมือง เบอร์ ๓
มะเขือเทศพื้นเมือง เบอร์ ๓
kaewpanya km
 
ทิงเจอร์ขาว ทิงเจอร์ไอโอดีน ทิงเจอร์ล้างแผล ประโยชน์และการใช้งาน
ทิงเจอร์ขาว ทิงเจอร์ไอโอดีน ทิงเจอร์ล้างแผล ประโยชน์และการใช้งานทิงเจอร์ขาว ทิงเจอร์ไอโอดีน ทิงเจอร์ล้างแผล ประโยชน์และการใช้งาน
ทิงเจอร์ขาว ทิงเจอร์ไอโอดีน ทิงเจอร์ล้างแผล ประโยชน์และการใช้งาน
cm carent
 
โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น
โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้นโครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น
โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้นNokko Bio
 
ส่วนต่างๆ ของพืช
ส่วนต่างๆ ของพืชส่วนต่างๆ ของพืช
ส่วนต่างๆ ของพืชPress Trade
 
โครงสร้างและหน้าที่ของใบ
โครงสร้างและหน้าที่ของใบโครงสร้างและหน้าที่ของใบ
โครงสร้างและหน้าที่ของใบnokbiology
 
การค้นคว้าเกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง
การค้นคว้าเกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสงการค้นคว้าเกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง
การค้นคว้าเกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสงnokbiology
 
ดอกตอนที่ 3
ดอกตอนที่ 3ดอกตอนที่ 3
ดอกตอนที่ 3
krabi Primary Educational Service Area Office
 

Viewers also liked (20)

การเกิดผลและเมล็ด
การเกิดผลและเมล็ดการเกิดผลและเมล็ด
การเกิดผลและเมล็ด
 
01 เมล็ดพืชและการเจริญเติบโต
01 เมล็ดพืชและการเจริญเติบโต01 เมล็ดพืชและการเจริญเติบโต
01 เมล็ดพืชและการเจริญเติบโต
 
การเกิดผลและเมล็ด
การเกิดผลและเมล็ดการเกิดผลและเมล็ด
การเกิดผลและเมล็ด
 
นางพัชรินทร์ สุทธหลวง01
นางพัชรินทร์ สุทธหลวง01นางพัชรินทร์ สุทธหลวง01
นางพัชรินทร์ สุทธหลวง01
 
บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต (1)
บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต (1)บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต (1)
บทที่ 13 การสืบพันธุ์และการเจริญเติบโต (1)
 
การงอกของเมล็ด
การงอกของเมล็ดการงอกของเมล็ด
การงอกของเมล็ด
 
การสืบพันธุ์ของพืช
การสืบพันธุ์ของพืชการสืบพันธุ์ของพืช
การสืบพันธุ์ของพืช
 
ส่วนประกอบของดอกไม้
ส่วนประกอบของดอกไม้ส่วนประกอบของดอกไม้
ส่วนประกอบของดอกไม้
 
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
 
9. ชุดที่ 6 การสืบพันธุ์ของพืช
9. ชุดที่ 6 การสืบพันธุ์ของพืช9. ชุดที่ 6 การสืบพันธุ์ของพืช
9. ชุดที่ 6 การสืบพันธุ์ของพืช
 
ส่วนประกอบของดอก
ส่วนประกอบของดอกส่วนประกอบของดอก
ส่วนประกอบของดอก
 
มะเขือเทศพื้นเมือง เบอร์ ๓
มะเขือเทศพื้นเมือง เบอร์ ๓มะเขือเทศพื้นเมือง เบอร์ ๓
มะเขือเทศพื้นเมือง เบอร์ ๓
 
ทิงเจอร์ขาว ทิงเจอร์ไอโอดีน ทิงเจอร์ล้างแผล ประโยชน์และการใช้งาน
ทิงเจอร์ขาว ทิงเจอร์ไอโอดีน ทิงเจอร์ล้างแผล ประโยชน์และการใช้งานทิงเจอร์ขาว ทิงเจอร์ไอโอดีน ทิงเจอร์ล้างแผล ประโยชน์และการใช้งาน
ทิงเจอร์ขาว ทิงเจอร์ไอโอดีน ทิงเจอร์ล้างแผล ประโยชน์และการใช้งาน
 
20080802 Cannonball Tree Botany
20080802 Cannonball Tree Botany20080802 Cannonball Tree Botany
20080802 Cannonball Tree Botany
 
โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น
โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้นโครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น
โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น
 
ส่วนต่างๆ ของพืช
ส่วนต่างๆ ของพืชส่วนต่างๆ ของพืช
ส่วนต่างๆ ของพืช
 
โครงสร้างและหน้าที่ของใบ
โครงสร้างและหน้าที่ของใบโครงสร้างและหน้าที่ของใบ
โครงสร้างและหน้าที่ของใบ
 
การค้นคว้าเกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง
การค้นคว้าเกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสงการค้นคว้าเกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง
การค้นคว้าเกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง
 
การสืบพันธุ์ของพืช2
การสืบพันธุ์ของพืช2การสืบพันธุ์ของพืช2
การสืบพันธุ์ของพืช2
 
ดอกตอนที่ 3
ดอกตอนที่ 3ดอกตอนที่ 3
ดอกตอนที่ 3
 

Similar to ผลและเมล็ดแก้

บทที่-7-ผลและเมล็ด.ppt
บทที่-7-ผลและเมล็ด.pptบทที่-7-ผลและเมล็ด.ppt
บทที่-7-ผลและเมล็ด.ppt
BewwyKh1
 
ผล.pptx
ผล.pptxผล.pptx
ผล.pptx
BewwyKh1
 
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
Gawewat Dechaapinun
 
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
Gawewat Dechaapinun
 
10.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน1
10.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน110.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน1
10.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน1
Wichai Likitponrak
 
สมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็กสมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็ก
Mixky Dhechachortchuang
 
ชุดโลกของพืช เรื่
ชุดโลกของพืช  เรื่ชุดโลกของพืช  เรื่
ชุดโลกของพืช เรื่plernpit19
 
โครงสร้างภายในของใบ
โครงสร้างภายในของใบโครงสร้างภายในของใบ
โครงสร้างภายในของใบBiobiome
 
โครงสร้างภายในของใบ
โครงสร้างภายในของใบโครงสร้างภายในของใบ
โครงสร้างภายในของใบBiobiome
 
ผักบุ้งทะเล
ผักบุ้งทะเลผักบุ้งทะเล
ผักบุ้งทะเลKrujhim
 
Plant tissue
Plant tissuePlant tissue
Plant tissue
sukanya petin
 
structure and function of the stem
structure and function of the stemstructure and function of the stem
structure and function of the stem
Thanyamon Chat.
 
โครงงานเสร็จสมบูรณ์
โครงงานเสร็จสมบูรณ์โครงงานเสร็จสมบูรณ์
โครงงานเสร็จสมบูรณ์Yuporn Tugsila
 

Similar to ผลและเมล็ดแก้ (20)

บทที่-7-ผลและเมล็ด.ppt
บทที่-7-ผลและเมล็ด.pptบทที่-7-ผลและเมล็ด.ppt
บทที่-7-ผลและเมล็ด.ppt
 
ผล.pptx
ผล.pptxผล.pptx
ผล.pptx
 
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
 
001 3
001 3001 3
001 3
 
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
 
2
22
2
 
1
11
1
 
10.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน1
10.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน110.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน1
10.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน1
 
สมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็กสมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็ก
 
ลำต้น54
ลำต้น54ลำต้น54
ลำต้น54
 
การสืบพันธุ์ของพืช2
การสืบพันธุ์ของพืช2การสืบพันธุ์ของพืช2
การสืบพันธุ์ของพืช2
 
ราก (Root)
ราก (Root)ราก (Root)
ราก (Root)
 
ชุดโลกของพืช เรื่
ชุดโลกของพืช  เรื่ชุดโลกของพืช  เรื่
ชุดโลกของพืช เรื่
 
โครงสร้างภายในของใบ
โครงสร้างภายในของใบโครงสร้างภายในของใบ
โครงสร้างภายในของใบ
 
โครงสร้างภายในของใบ
โครงสร้างภายในของใบโครงสร้างภายในของใบ
โครงสร้างภายในของใบ
 
ผักบุ้งทะเล
ผักบุ้งทะเลผักบุ้งทะเล
ผักบุ้งทะเล
 
Plant tissue
Plant tissuePlant tissue
Plant tissue
 
structure and function of the stem
structure and function of the stemstructure and function of the stem
structure and function of the stem
 
ราก544
ราก544ราก544
ราก544
 
โครงงานเสร็จสมบูรณ์
โครงงานเสร็จสมบูรณ์โครงงานเสร็จสมบูรณ์
โครงงานเสร็จสมบูรณ์
 

ผลและเมล็ดแก้

  • 2. 13.1 วัฏจักรชีวิตและการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอก จุดประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนสามารถ 1. สืบค้นข้อมูล อธิบาย และสรุปเกี่ยวกับวัฏจักรชีวิตของ พืช 2. ทดลอง อธิบาย และสรุปโครงสร้างของดอก และการ สร้างสปอร์ 3. สืบค้นข้อมูล ทดลอง และอธิบายการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ และการปฏิสนธิของพืชดอก 4. ทดลอง อธิบาย และสรุปส่วนประกอบและชนิดของผล
  • 3. จุดประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนสามารถ 5. สืบค้นข้อมูล อธิบาย และสรุปการเกิดผลและ ส่วนประกอบของเมล็ด 6. ทดลอง อธิบาย และสรุปถึงการงอกของเมล็ดชนิดต่างๆ และปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด 7. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพของเมล็ด พันธุ์ และการวัดดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์
  • 5. การเปลี่ยนแปลงหลังการปฏิสนธิของพืชดอก ได้แก่ ไข่ จะเจริญไปเป็นเอมบริโอ อยู่ภายในเมล็ด รังไข่ จะเจริญไปเป็นผล (Fruit) ผนังรังไข่ (Ovary wall) จะเจริญไปเป็นเปลือกและเนื้อของผล (Pericarp) โพลาร์นิวคลีไอ จะเจริญไปเป็นเอนโดสเปิร์ม (Endosperm) อยู ภายในเมล็ด (Seed) ออวุล จะเจริญไปเป็นเมล็ด เยื่อหุ้มออวุล (Integument) จะเจริญไปเป็นเปลือกหุ้มเมล็ด (Seed coat)
  • 6. • แอนติโพดัล (Antipodal) และซินเนอร์จิด (Synergid) จะ สลายไป • กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้ ยอดเกสรตัวเมียและก้านชู เกสรตัวเมีย จะเหี่ยวแห้งร่วงไป แต่ในดอกของพืชบางชนิด ยังคงมีกลีบเลี้ยง และเกสรตัวผู้ติดอยู่
  • 7. การเกิดผล หลังจากการปฏิสนธิแล้ว ออวุลแต่ละอันก็จะเจริญ เปลี่ยนแปลงไปเป็นเมล็ด (Seed) ซึ่งมีสารอาหารผสมอยู่ ด้วย และรังไข่ก็จะเจริญไปเป็นผล (Fruit) เพื่อห่อหุ้ม เมล็ดไว้ภายในและช่วยในการกระจายพันธุ์ ผลพืชบางชนิด อาจมีส่วนอื่นๆ ของดอก เช่น กลีบเลี้ยงติดมาด้วย ได้แก่ ผลฝรั่ง ทับทิม มังคุด สับปะรด แอปเปิล หรือส่วนของ ฐานรองดอกหุ้มรังไข่แบบ อินฟีเรียร์เจริญมาด้วย ได้แก่ ชมพู่ ทับทิม มะเขือ และแอปเปิล
  • 8.
  • 9.
  • 10. ดังนั้นความหมายของผลที่สมบูรณ์คือ รังไข่ที่สุกแล้ว อาจมีส่วนอื่นของดอกหรือฐานรองดอกเจริญตามมาด้วย ยังมีผลบางชนิด ซึ่งเจริญมาโดยไม่มีการผสมเกสรเรียกแบบนี้ว่า ผลเทียม หรือผลแบบ พาร์ทีโนคาฟิก (Parthonocarpic) และเรียกวิธีการเกิดผลแบบนี้ว่า พาร์ทีโนคาฟี (Parthenocarpy) ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือเกิดจาก การกระตุ้นโดยการใช้ฮอร์โมนพวกออกซิน จิเบอเรลลิน ฉีดพ่นทาให้ รังไข่เจริญเป็นผลได้ และผลที่ได้โดยวิธีการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนนี้จะ ไม่มีเมล็ด เช่น กล้วย องุ่น แตงโม ฝรั่ง
  • 11. คาว่าผลในแง่ของพฤกษศาสตร์ นอกจากจะหมายถึงผลไม้ ที่รับประทานได้แล้ว เช่น องุ่น ส้ม มะม่วง ทุเรียน ลาไย เงาะ แอปเปิล ชมพู่ แล้วยังรวมไปถึงผลที่เรียกว่าผักต่างๆ เช่น ถั่ว มะเขือ แตงกวา กระเจี๊ยบ และผลที่เรียกว่าเมล็ดด้วย เช่น ข้าว ข้าวโพด และธัญพืชทั้งหลายด้วย
  • 12. ชนิดของผล ดอกไม้มีทั้งดอกเดี่ยวและดอกช่อ และรังไข่ของ ดอกแต่ละชนิดมีจานวนที่แตกต่างกัน ทาให้ผลที่เจริญมา จากรังไข่มีความแตกต่างกันไปด้วย
  • 13. ถ้าหากจาแนกผลตามกระบวนการเกิดผลเป็นเกณฑ์ โดยอาศัย หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้ 1. ลักษณะของดอกที่เจริญไปเป็นผล 2. จานวนรังไข่ที่เจริญไปเป็นผล 3. จานวนตาร์เพลในแต่ละรังไข่ว่ามีเท่าใด 4. ลักษณะของเพอริคาร์ปว่านุ่มหรือแข็ง 5. เพอริคาร์ปเมื่อแก่ตัวแตกตัวหรือไม่และแตกอย่างไร 6. มีกลีบเลี้ยง กลีบดอกและฐานรองดอกติดมากับผลหรือไม่
  • 14. ชนิดของผล 1. ผลเดี่ยว (simple fruit) คือ ผลที่เกิดมาจาก รังไข่อันเดียวในดอกเดียวกัน อาจเป็นดอกเดี่ยวหรือ ดอกช่อก็ได้ โดยลักษณะของดอกเดี่ยวที่จะกลายเป็น ผลเดี่ยวนั้น จะ ต้องเป็นดอก 1 ดอก และมีรังไข่ 1 อัน เช่น เช่น ส้ม มะเขือ ฟักทอง มะระ แตงชนิดต่างๆ มะม่วง มะปราง มะกอก ลาไย ทุเรียน ลิ้นจี่ ข้าวโพด เป็นต้น
  • 15.
  • 16.
  • 17. 2. ผลกลุ่ม (aggregate fruit) คือ ผลที่เกิดจากรังไข่หลายรังไข่ หรือกลุ่มของรังไข่ในดอกเดียวกันของดอกเดี่ยว รังไข่แต่ละ อันจะกลายเป็นผลย่อยหนึ่งผล เช่น น้อยหน่า สตรอเบอรี่ ลูกจาก กระดังงา การเวก นมแมว เป็นต้น
  • 20.
  • 21.
  • 22. 3. ผลรวม (multiple fruit) คือ ผลที่เกิดจากรังไข่ ของดอกแต่ละดอกของดอกช่อซึ่งเชือมรวมกันแน่น รังไข่ ่ เหล่านี้จะกลายเป็นผลย่อยๆ เชื่อมรวมกันแน่นจนคล้าย เป็นผลเดี่ยว โดยลักษณะของดอกที่จะกลายเป็นผลรวม นั้น จะเป็นดอกช่อที่มีรังไข่ของดอกย่อย แต่ละดอกมา เชื่อมรวมกัน เช่น สับปะรด ขนุน สาเก ยอ มะเดื่อ หม่อน เป็นต้น
  • 27.
  • 28. โครงสร้างของผล เมื่อรังไข่เจริญไปเป็นผล ส่วนของผนังรังไข่จะเจริญไปเป็น เนื้อผล หรือเจริญไปเป็นเปลือกของผลในผลไม้บางชนิด และเรียก ผนังรังไข่ที่เจริญเปลี่ยนแปลงไปแล้วว่า เพอริคาร์ป (Pericarp) ซึ่งประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น และแต่ละชั้นจะเจริญไปเป็นส่วน ต่าง ๆ ของผล ดังนี้
  • 29. 1. ผนังชั้นนอก (Exocarp/epicarp) เป็นเนื้อเยื่อ ชั้นผิวนอกสุดของผล ชั้นนี้ในผลบางชนิดมีผิวชั้นนอกบางหรือ อ่อน เช่น ผลองุ่น ชมพู่ มะม่วง ผลบางชนิดผิวชั้นนอกแข็งและ เหนียว เช่น มะพร้าว ฟักทอง
  • 30.
  • 31. 2. ผนังชั้นกลาง (Mesocarp) ผนังชั้นนี้มักนุ่ม เช่น มะม่วง มะละกอ ผลบางชนิดมีผนังชั้นกลางเป็นเส้นใยเหนียว เช่น มะพร้าว ตาล จาก
  • 32. 3. เอนโดคาร์ป (Endocarp) เป็นเนื้อเยื่อชั้นในสุดของ เปลือก ชั้นนี้มีการเปลี่ยนแปลงได้ต่างๆ กัน แล้วแต่ชนิดของ ผลไม้ บางชนิดชั้นนี้จะเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้อผลไม้ เช่น แตงโม แตงกวา เป็นต้น บางชนิดอ่อนนุ่ม เช่น ส้ม และมีลักษณะแข็ง เช่น มะม่วง มะพร้าว
  • 33.
  • 34. เพอริคาร์ปของผลที่แยกได้ชัดเจนเป็น 3 ชั้น คือ มะม่วง มะปราง พุทรา มะพร้าว คือ เปลือกที่อยู่นอกสุดมีสี เขียวหรือสีเหลือง น้าตาล คือ เอพิคาร์ปที่เป็นเนื้ออ่อนนุ่มที่กิน ได้ของมะม่วง มะปราง พุทรา และกาบมะพร้าวคือ ชั้นมีโซ คาร์ป ส่วนเอนโดคาร์ปคือ ส่วนแข็งๆ ที่หุ้มเมล็ดไว้คือ กะลามะพร้าว เปลือกหุ้มเมล็ดมะม่วง มะปราง พุทรา ผลบางชนิดของส่วนเอพิคาร์ปและมีโซคาร์ป หรือ มีโซคาร์ปและเอนโดคาร์ปเชื่อมติดกันจนแยกออกจากกันยาก มาก เช่น มะละกอ มะเขือเทศ ฟัก
  • 35.
  • 36. ผลบางชนิดเพอริคาร์ปเชื่อมกันจนไม่สามารถแยก ได้ว่าส่วนใดเป็นเอพิคาร์ป มีโซคาร์ป หรือเอนโดคาร์ป เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ในข้าว ส่วนของเพอริคาร์ป คือ แกลบ ราข้าวคือ เยื่อหุ้มเมล็ด ข้าวสารที่รับประทานคือ เอนโดสเปิร์ม จมูกข้าวคือ เอมบริโอ ดังนั้นเมล็ดข้าวคือ ผลข้าวนั่นเอง ข้าวโพด ข้าวสาลี ก็คือผลเช่นเดียวกับข้าว ดังนั้นข้าวโพด 1 ฝักจึงประกอบไปด้วยผลจานวนมากมาย
  • 37.
  • 38. ข้าวโพด 1 เมล็ด เท่ากับ 1 ผล
  • 39.
  • 40.
  • 41.
  • 42. ชนิดของผล (Types of Fruit) • ผลมีเนื้อสด (Fleshy Fruit) คือผลที่แก่แล้วมีผนังผลสด ไม่แห้ง แบ่งออกเป็น ผลเมล็ดเดียวแข็ง (Drupe) ผลสดที่มีเมล็ดเดียว ผนังชั้นกลางเป็นเนื้อหนาอ่อนนุ่ม ผนัง ชั้นในแข็งมาก ได้แก่ พุทรา มะม่วง
  • 44.
  • 45. • ผลแบบมีเนื้อหลายเมล็ด (Berry) ผลสดที่มีเมล็ดหลายเมล็ด เนื้อผลอ่อนนุ่ม ผนังชั้นนอกที่เป็น เปลือกมีลักษณะอ่อนนุ่ม เช่นเดียวกัน ได้แก่ มะละกอ มะเขือเทศ
  • 46.
  • 47. • ผลแบบส้ม (Hesperidium) ผลที่ผนังชั้นนอกมีต่อมน้ามันจานวนมาก ผนังชั้นกลางอ่อนนุ่ม คล้ายฟองน้าสีขาว ผนังชั้นในมีลักษณะเป็นเยื่อบาง และมี บางส่วนของชั้นนี้แปรรูปเป็นถุงน้าเพื่อสะสมน้าตาล และกรด มะนาว ได้แก่ ส้ม มะนาว
  • 49. • ผลแบบแตง (Pepo) ผลที่เจริญมาจากรังไข่ใต้วงกลีบ ผนังชั้นนอกแข็งและหนา ผนัง ชั้นกลางและผนังชั้นในหนาอ่อนนุ่ม ได้แก่ แตงโม แตงกวา น้าเต้า
  • 50.
  • 51. ผลแห้ง (Dry Fruit) คือผลที่แก่แล้วผนังผลแข็งและแห้ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ผลแห้งแก่ไม่แตก (Dry Indehiscent Fruit)แบ่งออกเป็น •ผลแห้งเมล็ดติดหรือผลแบบธัญพืช (Caryopsis or Grain)ผลเดี่ยวหนึ่งเมล็ด เปลือกแข็งและเชื่อมติดแน่นกับเปลือก เมล็ดหุ้ม เช่นข้าว •ผลเปลือกแข็งมีกาบรูปถ้วย (Acorn) ผลคล้ายผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว แต่มีกาบหุ้มผล (cupule) ทั้งหมด หรือบางส่วน เช่น ผลเกาลัด ก่อชนิดต่างๆ
  • 52.
  • 53. • ผลแห้งเมล็ดอ่อน (Achene) ผลขนาดเล็ก ผนังผลแห้งและบาง มี 1 เมล็ด ผนังผลกับเปลือก หุ้มเมล็ดแยกกัน ส่วนมากมีฐานรองดอกขนาดใหญเช่น บัว หลวง ถ้าผลเกิดจากรังไข่ใต้วงกลีบ และมีขนที่ปลายเมล็ด เรียกว่าผลแห้งเมล็ดล่อนปลายมีขน (cypsela) เช่นผลของ ทานตะวัน
  • 54.
  • 55. • ผลเปลือกแห้งเมล็ดเดียว (Nut) ผลที่มีเปลือกแข็งและผิวมัน เป็นผลที่เกิดจากรังไข่ที่มีหลายคาร์ เพลเชื่อมกันแต่มีเมล็ดเดียว เช่น ผลมะพร้าว กระจับ มะม่วงหิม พานต์
  • 57. การเกิดเมล็ด ภายหลังการปฏิสนธิของพืชมีดอก ออวุลจะเจริญไปเป็น เมล็ด โดยผนังออวุลจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเปลือกเมล็ด(seed coat) ซึ่งหุ้มล้อมเอ็มบริโอและเอนโดสเปิร์มที่อยู่ภายในเอาไว้ ส่วนเนื้อเยื่อนิวเซลลัสจะหายไประหว่างการพัฒนาของเมล็ด หนังสือหน้า133
  • 59. เมล็ดจะมีส่วนประกอบที่สาคัญอยู่ 3 ส่วน คือ 1.เปลือกหุ้มเมล็ด (Seed Coat) เป็นส่วนที่อยู่นอกสุดมักมี ลักษณะหนาและเหนียวหรือแข็งเพื่อป้องกันอันตรายให้แก่ส่วน ต่างๆ ที่อยู่ภายใน นอกจากนี้ยังช่วยไม่ให้เกิดการสูญเสียน้า ภายในเมล็ดออกไปด้วย
  • 60. เปลือกหุ้มเมล็ดมี 2 ชั้น เปลือกชั้นนอกเรียกว่า เทสลา (Testa) มักหนาและแข็ง ส่วนชั้นในเรียกว่า เทกเมน (Tegmen) เป็น ชั้นเยื่อบางๆ ที่ผิวของเปลือกมักเป็นรอยแผลเล็กๆ ซึ่งเกิดจาก ก้านของเมล็ดหลุดออกไปเรียกรอยแผลนี้ว่า ไฮลัม (Hilum) ใกล้ๆ ไฮลัมมีรูเล็กๆ เรียกว่า ไมโครไพล์ (Micropyle) ซึ่งเป็น ทางเข้าของหลอดละอองเรณูนั่นเอง
  • 61.
  • 62. 2. เอนโดสเปิร์ม (Endosperm) เกิดจากการผสมของสเปิร์ม นิวเคลียสกับโพลาร์นิวคลีไอ ทาหน้าที่สะสมอาหารเป็นแป้ง น้าตาล โปรตีน ไขมัน(ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช) ให้แก่เอมบริโอ เมล็ดพืชบาง ชนิด เช่น ถั่วแขก ถั่วลันเตา นุ่นจะไม่พบเอนโดสเปิร์มเลย เนื่องจาก ใบเลี้ยงย่อยจะดูดอาหารจากเอนโดสเปิร์มไปเก็บไว้ทาให้ใบเลี้ยง หนามาก ในพืชบางชนิด เช่น มะพร้าว ตาล จะมีเอนโดสเปิร์มที่ เป็นน้าเรียกว่าลิควิดเอนโดสเปิร์ม (Liquid Endosperm) ส่วนที่เป็นเนื้อเรียกว่า เฟสชีย์เอนโดสเปิร์ม (Fleshy Endosperm) เมล็ดพืชบางชนิดเอนโดสเปิร์มอาจไม่พัฒนา เช่น กล้วยไม้
  • 63. 3. เอ็มบริโอ (embryo) เจริญมาจากไซโกต เกิดจากเซลล์ไข่ผสมกับ สเปิร์ม และเจริญต่อไปเป็นต้นพืช ประกอบด้วยส่วนสาคัญดังนี้ - ใบเลี้ยง (cotyledon) อยู่ติดกับเอ็มบริโอในเมล็ดพืช ใบ เลี้ยงคู่มีใบเลี้ยง 2 ใบ ส่วนเมล็ดพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมี 1 ใบ ใบเลี้ยง บางชนิดไม่สามารถดูดอาหารจากเอนโดสเปิร์มมาเก็บไว้ทาให้มี ลักษณะแบนบาง เช่น ใบเลี้ยงของเมล็ดละหุ่ง ใบเลี้ยงบางชนิดจะ ดูดอาหารจากเอนโดสเปิร์มมาเก็บไว้ ทาให้ใบเลี้ยงอวบและมีขนาด ใหญ่ขึ้น เช่น ใบเลี้ยงถั่วต่างๆ มะขาม มะม่วง จาวมะพร้าว เป็นต้น มีหน้าที่…เก็บสะสมอาหารสาหรับการเจริญของเอ็มบริโอ คุ้มกัน เอ็มบริโอระหว่างการงอก และใบเลี้ยงที่เจริญอยู่เหนือดินสามารถ สังเคราะห์แสงได้
  • 64. - เอพิคอทิล (epicotyle) อยู่เหนือตาแหน่งที่ติดกับ ใบเลี้ยง เมื่อเจริญเติบโตต่อไปจะเจริญเป็นลาต้น ใบ และดอก ของพืช ส่วนยอดของเอพิคอทิลในเมล็ดเป็นใบเล็กๆ 2 ใบ และ ยอดอ่อน เรียกว่า พลูมูน (plumule) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเจริญ ซึ่งจะเจริญเป็นใบและยอดอ่อนต่อไป - ไฮโพคอทิล (hypocotyle) อยู่ระหว่างตาแหน่งที่ติดกับ ใบเลี้ยงและตาแหน่งที่จะเจริญไปเป็นราก (อยู่ใต้ใบเลี้ยง) เมื่อ เจริญเติบโตต่อไปจะเป็นส่วนหนึ่งของลาต้น
  • 65. - แรดิเคิล (radicle) เป็นส่วนล่างสุดของเอ็มบริโอต่อจาก ส่วนไฮโพคอทิลลงมา ส่วนปลายสุดของแรดิเคิลจะอยู่ตรงกับ ไมโครไพล์ของเมล็ด เป็นส่วนแรกของเอ็มบริโอที่งอกออกมาจาก เมล็ด และจะเจริญเป็นรากแก้ว ถ้าเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวรากแก้ว จะเจริญอยู่ระยะหนึ่ง หลังจากนั้นจะมีรากฝอยเจริญขึ้นมาแทน
  • 66. ยอดแรกเกิด ต้นอ่อนเหนือใบเลี้ยง ต้นอ่อนใต้ใบเลี้ยง รากแรกเกิด
  • 67. เอ็มบริโอของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น พวกข้าว ข้าวโพด และ หญ้า จะมีเยื่อหุ้มหนาหุ้มอยู่ตอนบนเจริญคุมปลายยอดของ เอ็มบริโอเอาไว้ เรียกว่า คอลีออบไทล์ (coleoptile) และมีเยื่อหุ้ม แรดิเคิล เรียกว่า คอลีโอไรซา (coleorhiza) เยื่อหุ้มทั้งสองชนิดจะ ช่วยป้องกันอันตรายให้แก่เอ็มบริโอส่วนของยอดอ่อนและส่วนของ แรดิเคิล เมื่อมีการงอกเกิดขึ้น
  • 68.
  • 69.
  • 70.
  • 71.
  • 72. มะพร้าว ส่วนของผลคือ เอพิคาร์ปประกอบด้วย เปลือกมะพร้าว คือ เอกโซคาร์ป เส้นใยหรือกาบมะพร้าวคือ มีโซคาร์ป กะลามะพร้าวคือ เอนโดคาร์ป ส่วนของเมล็ดประกอบด้วยเปลือก หุ้มเมล็ดคือเนื้อเยื่อสีน้าตาลที่หุ้มเนื้อมะพร้าวไว้ เนื้อมะพร้าว และน้ามะพร้าวคือ เอนโดสเปิร์ม จาวมะพร้าวคือ ใบเลี้ยงส่วนที่ งอกขึ้นมาเป็นต้นอ่อน
  • 73. เอนโดสเปิร์มของมะพร้าว มี ทั้งแข็งและเหลว ได้แก่เนื้อ มะพร้าวและน้ามะพร้าว ส่วน จาวคือใบเลี้ยง เปลือกหุ้ม เมล็ดคือเยื่อสีน้าตาลที่ติดอยู่ กับเนื้อมะพร้าวอยู่ระหว่าง เนื้อมะพร้าวกับกะลา
  • 74.
  • 75. ละหุ่ง เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ที่มีเอนโดสเปิร์ม โดยเปลือกหุ้มเมล็ดเป็น ทางลาย ๆ ตรงไฮลัมมีเนื้อ คล้ายฟองน้าเรียกว่า คารันเคิล (Caruncle) ช่วยอุ้มน้าเวลางอก เมื่อลอกเปลือกชั้นนอกและ เปลือกชั้นในออกจะพบ เอนโดสเปิร์มและเอมบริโอ โดยเอนโด สเปิร์ม คือ ส่วนขาวๆ สามารถบิออกได้เป็น 2 ซีก ซึ่งมีลักษณะอ้วน ใหญ่เพราะสะสมอาหารพวกไขมัน แป้ง และโปรตีนไว้มาก ด้านในมี ใบเลี้ยง 2 ใบ มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ แบนๆ สีขาวประกอบกันอยู่ ที่โคนใบเลี้ยงมีก้อนรูปไข่เล็กๆ คือ เอมบริโอประกอบด้วย ยอดอ่อน เอพิคอทิล ไฮโพคอทิล และแรดิเคิล
  • 76.
  • 77. ข้าวโพด เมื่อผ่าเมล็ดข้าวโพด (ผล) ตามยาวโดยผ่าให้ตั้งฉากกับ ด้านกว้างจะเห็นส่วนต่างๆ คือ นอกสุดเป็นเพอริคาร์ปบาง ๆ ถัด เข้ามาเป็นชั้นเอนโดสเปิร์มซึ่งสะสมอาหารพวกแป้ง ไขมัน และ โปรตีน ด้านล่างประกอบด้วยเอมบริโอ ซึ่งมีใบเลี้ยง 1 ใบ คือ สคิวเทลลัมซึ่งมีลักษณะแบนกว้างอยู่บริเวณกลางๆ เมล็ด ข้าวโพด ส่วนบนของเอมบริโอจะเป็นเอพิคอทิลและยอดอ่อนซึ่ง มีคอลิออพไทล์หุ้มอยู่ ส่วนล่างของเอมบริโอเป็นไฮโพคอทิลและ แรดิเคิลซึ่งมีคอลิโอไรซาหุ้มอยู่เช่นเดียวกับปลายราก
  • 78.
  • 79. การจาแนกประเภทของเมล็ด โดยอาศัย endosperm แบ่งได้เป็น 2 ประเภท 1. exalbuminous seed เป็นเมล็ดที่ endosperm จะหมดไปเมื่อเมล็ดแก่ อาหารสะสม จะ อยู่ในใบเลี้ยง (cotyledon) ลักษณะของใบเลี้ยงพวกนี้ จะอวบหนา เช่น เมล็ดมะขาม, เมล็ดถั่ว 2. albuminous seed เป็นเมล็ดที่มี endosperm มีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับ embryo เมล็ดพวกนี้มีใบเลี้ยง (cotyledon) บาง เช่น เมล็ดละหุ่ง น้อยหน่า มะละกอ
  • 80. การงอกของเมล็ด การงอกของเมล็ดพืช หมายถึง การเริ่มต้นเจริญเติบโต หรือ กลับคืนเข้าสู่สภาพของการเจริญเติบโตครั้งใหม่ เมื่อเมล็ดอยู่ใน สภาพที่เหมาะสมเมล็ดจะงอกและเจริญไปเป็นต้นพืชใหม่ เมล็ด พืชบางชนิดจะงอกได้ทันทีเมื่อแก่เต็มที่และสภาพแวดล้อม เหมาะสม แต่เมล็ดบางชนิด ถึงแม้สภาพแวดล้อมภายนอกจะ เหมาะสมแต่ก็ยังงอกไม่ได้ จะต้องรอระยะเวลาหนึ่งก่อนจึงจะงอก ได้ ระยะเวลาที่ต้องรอเรียกว่า ระยะพักตัว (Dormancy)
  • 81. ลักษณะการงอกของเมล็ดพืช ต้นอ่อนส่วนที่งอกพ้นเปลือกหุ้ม เมล็ดออกมาเป็นส่วนแรกคือ แรดิเคิล โดยแทงทะลุออกมาทาง ไมโครไพล์ แล้วเจริญลงสู่ดิน กลายเป็นราก (Primary Root) และจะมีรากชุดสอง (Secondary Root) แตกออกไปเพื่อ ช่วยค้าจุน
  • 82. การงอกของเมล็ดพืชชนิดต่าง ๆ มีลักษณะแตกต่างกันเป็น 2 แบบ คือ 1. การงอกที่ใบเลี้ยงชูขึ้นมาเหนือดิน (Epigeal Germination) ได้แก่ พวกเมล็ดถั่วแขก ถั่วดา ถั่วเขียว ถั่ว เหลือง พริก ละหุ่ง มะขาม เป็นต้น เป็นลักษณะการงอกที่มีการชูใบ เลี้ยงขึ้นมาเหนือดิน โดยเมื่อรากอ่อนหรือแรดิเคิลงอกโผล่พ้นเมล็ด ออกทางไมโครไพล์เจริญลงสู่พื้นดินก่อน จากนั้นส่วนของไฮโพคอทิล จะงอกตามอย่างรวดเร็วทาให้โค้งขึ้นและดึงส่วนของเอพิคอทิลขึ้นมา เหนือดิน
  • 83. 2. การงอกที่ใบเลี้ยงจมอยู่ใต้ดิน (Hypogeal Germination) ได้แก่ การงอกของพืชใบเลียงเดี่ยว หญ้า ข้าว ้ ข้าวโพด ข้าวสาลี มะพร้าว ตาลและพืชใบเลี้ยงคู่ เช่น ถั่วลันเตา ส้ม เป็นลักษณะการงอกที่เมื่องอกแล้วคงทิ้งใบเลี้ยงจมอยู่ใต้ดิน เนื่องจากพืชพวกนี้มีไฮโพคอทิลสั้น เจริญช้า ในขณะที่เอพิคอทิล และยอดอ่อนเจริญยืดยาวได้อย่างรวดเร็วและโผล่ขึ้นเหนือดินโดย ไม่ดึงให้ใบเลี้ยงกับไฮโพคอทิลขึ้นมาด้วย พืชที่มีวิธีงอกแบบนี้มัก เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมากกว่าพืชใบเลี้ยงคู่
  • 84.
  • 86.
  • 87.
  • 88. ปัจจัยในการงอกของเมล็ด โดยปกติเมล็ดพืชที่แก่เต็มที่จะมีความชื้นต่า ซึ่งพบว่ามีน้า ประมาณร้อยละ 6 – 14 มีอัตราการหายใจต่า และมีการ เปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีน้อยมาก ดังนั้นเมื่อเมล็ดจะงอก ต้องมี ปัจจัยที่เหมาะสมต่อการงอก ดังนี้
  • 89. 1. ความชื้นหรือน้า เป็นปัจจัยที่มีความสาคัญมากเนื่องจาก . -น้าช่วยให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนตัวลง ทาให้แรดิเคิลและยอด อ่อนของเอมบริโอโผล่ออกมาได้ -น้าช่วยให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนลง เนื้อเยื่อภายในเมล็ดขยาย ขนาดใหญ่ขึ้น ทาให้เมล็ดพองตัวขยายขนาด และมีน้าหนักเพิ่มขึ้น ทาให้โพรโทพลาสซึมเจือจางลงแต่มีปฏิกิริยาต่างๆ มากขึ้น -น้าช่วยให้แก๊สออกซิเจนผ่านเข้าสู่เซลล์ของเอมบริโอได้ง่าย ขึ้น
  • 90. น้า เป็นตัวกระตุ้นปฏิกิริยาทางชีวเคมีต่างๆ ภายในเมล็ด กระตุ้น การสร้างเอนไซม์เพื่อย่อยสลายสารอาหารที่สะสมในเมล็ด เอนไซม์ที่เกิดขึ้นในเมล็ด เช่น อะไมเลส จะย่อยแป้งให้เป็น มอลโทส โปรตีเอส จะย่อยโปรตีนให้เป็นกรดอะมิโน ทั้งมอลโทสและกรดอะมิโนละลายน้าได้ และแพร่เข้าไปใน เอ็มบริโอเพื่อใช้ในการหายใจและการเจริญเติบโต นอกจากนี้น้ายังเป็นตัวทาละลายสารอื่นๆที่สะสมในเมล็ดและ ช่วยในการลาเลียงสารอาหารไปใช้ตัวอ่อนใช้ในการงอก
  • 91. 2. ปริมาณออกซิเจนที่ได้รับ ออกซิเจนมีความสาคัญต่อการ งอกของเมล็ดมาก เพราะเอมบริโอต้องการพลังงานเพี่อใช้ใน กระบวนการเจริญเติบโต เพราะตอนนี้อัตราเมแทบอลิซึมจะสูง การหายใจก่อให้เกิดพลังงาน ซึ่งจะนาไปใช้ในการแบ่งเซลล์ ลาเลียงสาร สร้างส่วนต่างๆที่จาเป็นด้วย เมล็ดทั่วไปงอกได้ดีถ้า มีออกซิเจนประมาณร้อยละ 20
  • 92. เมล็ดพืชน้าบางชนิดงอกได้ในสภาพที่มีออกซิเจนต่า ความชื้นสูง โดยสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจน คืองอกได้ ในโคลนใต้น้า เมล็ดบางชนิดก็ไม่งอกถ้ามีออกซิเจนไม่เพียงพอ ถึงแม้ ความชื้นจะมาก เช่น เมล็ดวัชพืชที่ฝังใต้ดินลึก จะงอกได้เมื่อมี การไถพรวนดินให้เมล็ดขึ้นมาใกล้ผิวดิน
  • 93. 3. อุณหภูมิ อุณหภูมิมีผลต่อการทางานของเอนไซม์ที่จาเป็นต่อ ปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ ภายในพืช เมล็ดพืชแต่ละชนิดมีอุณหภูมิที่ เหมาะสมในการงอกต่างกัน เมล็ดพืชทั่วไปจะงอกได้ดีที่อุณหภูมิ 20 – 30 องศาเซลเซียส พืชเมืองหนาวงอกได้ดีที่อุณหภูมิ 10 – 20 องศาเซลเซียส เช่น หอมหัวใหญ่ ผักกาดหัว(งอกได้ดีที่ 20 องศา เซลเซียส) แต่ก็มีพืชอีกหลายชนิดที่ต้องการอุณหภูมิสูงหรือต่ากว่า นี้ เช่น ข้าวบาร์เลย์จะงอกได้เมื่ออุณหภูมิต่าใกล้จุดน้าแข็ง บวบเหลี่ยมต้องการอุณหภูมิที่ต่างกันในช่วงกลางวันและกลางคืน หรือให้อุณหภูมิต่าสลับกับสูง ถ้าให้อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียสเป็น เวลา 16 ชั่วโมง สลับกับอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8 ชั่วโมงเมล็ดจึงจะงอกได้ดี
  • 94. 4. แสงสว่าง แสงสว่างจาเป็นสาหรับพืชบางชนิดเท่านั้น เช่น วัชพืชต่างๆ เมล็ดยาสูบ, ผักกาดหอม, ไทร หญ้า สาบเสือ ปอต่างๆ เป็นต้น จาเป็นต้องได้รับแสงจึงจะงอกได้ แต่ในพวกหอมหัวใหญ่ ถ้ามีแสงมากจะไปยับยั้งไม่ให้เกิดการ งอก กระเจี๊ยบ แตงกวา ผักบุ้งจีน ฝ้าย ข้าวโพด ไม่ต้องการ แสงในขณะงอก แต่ปัจจุบันพืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น ยาสูบ ผักกาดหอมได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้เมล็ดสามารถ งอกได้เลยโดยไม่ต้องใช้แสง
  • 95. เมล็ดพันธุ์ที่ต้องการ และไม่ต้องการแสงสาหรับการงอก เมล็ดพันธุ์ที่ต้องการแสง เมล็ดพันธุ์ที่ไม่ต้องการแสง ยาสูบ ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ปอกระเจา งา ปอแก้ว สตรอว์เบอร์รี่ ถั่วเขียว ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่ว ผักกาดเขียวปลี ลาย ถั่วแขก ถั่วฝักยาว ผักกาดหอม กะหล่าปลี ผักกาดกวางตุ้ง พริก ผักกาดขาวปลี ผักกาดหัว มะเขือ แตงโม แตงกวา แตงเทศ มะเขือเทศ บวบเหลี่ยม หอมหัวใหญ่ (จวงจันท์, 2529)
  • 96. 5. ความแก่ของเมล็ดพืช เมล็ดพืชบางชนิดเมื่อเก็บเกี่ยว มาใหม่ ๆ และนาไปเพาะหรือปลูกทันทีจะไม่งอก แม้จะมีสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่เหมาะสมต่อการงอกก็ตาม เช่น เมล็ดที่เอ็มบริโอไม่เจริญหรือเจริญไม่เต็มที่จะไม่เกิด การงอก หรือเมล็ดที่มีเอนโดสเปิร์มน้อย ก็งอกได้ยาก หนังสือหน้า 140-141
  • 97. 6. เมล็ดต้องมีชีวิตอยู่ ในการเก็บเมล็ดพืชไว้นานๆ เมล็ดพืชจะ หมดอายุและเพาะไม่งอก โดยปกติเมล็ดพืชที่แก่เต็มที่จะมี ความชื้นต่า ประมาณ ร้อยละ 10-15 มีอัตราการหายใจต่า มีการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ภายในเมล็ดน้อยมาก ถ้าไม่ได้รับ น้า แก๊สออกซิเจน และอุณหภูมิที่เหมาะสม เมล็ดจะไม่งอก หรือไม่เจริญเติบโต
  • 98. สภาพพักตัวของเมล็ด(seed dormancy) คือ เมื่อสภาพต่างๆ ของเมล็ดเอื้ออานวยต่อการงอก ก็ไม่ สามารถงอกได้ เมื่อเก็บเมล็ดไว้สักระยะหนึ่งแล้วนาไปเพาะ เมล็ดเหล่านี้จึงสามารถงอกได้ พืชที่มีสภาพพักตัวสั้นมาก เช่น ขนุน มะละกอ มะขามเทศ ซึ่ง สามารถงอกได้ขณะอยู่ในผล เมล็ดโกงกางไม่มีสภาพพักตัว โดยจะ มีการงอกบนต้นจนมีรากยาวออกมาเมื่อหล่นลงในดินเลน รากจึง สามารถปักลงในดินและเจริญเป็นต้นได้ (Viviparous germination เมล็ดจะงอกตั้งแต่ผลยังติดอยู่บนต้น พบได้ในพืชชายเลน เช่น แสม, โกงกาง)
  • 99. หรือพืชบางชนิดมีระยะพักตัวที่ยาวนาน แม้ได้รับ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เมล็ดยังคงอยู่ในสภาพพักตัว ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายในของเมล็ด สามารถแก้ไขได้โดย กลไกตามธรรมชาติหรือโดยการช่วยเหลือของมนุษย์ เมล็ดพืชทั่วไปเมื่อได้รับสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสภาพพัก ตัวจะหมดไป ทาให้เอ็มบริโอสามารถเจริญต่อไปได้
  • 100. ระยะพักตัวของเมล็ดเนื่องมาจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งหรือ หลายสาเหตุรวมกัน คือ 1. เปลือกหุ้มเมล็ด -แข็งและหนาเกินไป ทาให้น้าและแก๊ส ออกซิเจนผ่านเข้าไปไม่ได้ เช่น พุทรา มะขาม ฝรั่ง ในธรรมชาติ เมล็ดพืชบางชนิดที่หนาและแข็งจะอ่อนตัวลงโดยการย่อยสลาย ของจุลินทรียในดินหรือการที่เมล็ดผ่านเข้าไปในระบบย่อย ์ อาหารของสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมหรือนก เช่น เมล็ด โพธิ์ เมล็ดไทร เมล็ดตะขบ หรืออาจแตกออกด้วยแรงขัดถู หรือถูกไฟเผา เช่น เมล็ดพืชวงศ์หญ้า วงศ์ไผ่บางชนิด
  • 101. เมล็ดตะเคียน เมล็ดสัก จะทาให้เกิดการผุกร่อนของเปลือกลง น้า แก๊สออกซิเจน ผ่านเข้าไปถึงเอมบริโอได้ เอมบริโอจึงแบ่งตัว และเจริญเติบโตได้ต่อไป วิธีการแก้การพักตัวของเมล็ด อาจทาได้ โดยการแช่น้าร้อน หรือแช่ในสารละลายกรด(ที่นิยมใช้ได้แก่ กรด sulfuric acid, hydrochloric acid ด่าง NaOH, KOH) เพราะจะทาให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนนุ่ม การใช้วิธีกลโดยการทาให้เปลือกหุ้มเมล็ดแตกออกมีหลาย วิธี เช่น การเฉือนเปลือกแข็งบางส่วนของเมล็ดมะม่วง หรือวิธี นาไปให้ความร้อนโดยการเผา เช่น เมล็ดมะค่าโมง หรือการใช้ ความเย็นสลับกับความร้อนซึ่งมักจะเก็บไว้ในที่อุณหภูมิต่าระยะ หนึ่งแล้วจึงนาออกมาเพาะ
  • 102. -เปลือกเมล็ดมีสารซึ่งไม่ยอมให้น้าซึมผ่าน – ไข คิวทิน ลิกนิน ซูเบอริน วิธีแก้สภาพพักตัว การแช่เมล็ดในน้า (soaking) ทาให้ เปลือกเมล็ดอ่อนตัวลง น้าและอากาศสามารถซึมผ่านเข้าไปได้ เอมบริโอจึงเจริญผ่านเปลือกออกมา นอกจากนี้ยังอาจทาให้ สารยับยั้งการเจริญเติบโตที่ติดเปลือกเมล็ดหมดไป ส่วนเมล็ดที่ งอกไม่ยากจะงอกได้เร็วขึ้นหากมีการแช่น้าก่อนนาไปเพาะ การลวกน้าร้อน (hot water soaking) การใช้น้าร้อน จะทาให้เมล็ดดูดน้าได้เร็วขึ้น อุณหภูมิของน้าร้อนประมาณ 77 – 100 องศาเซลเซียส แช่เมล็ดประมาณ 2 – 5 นาที และตาม ด้วยแช่ในน้าเย็นนาน 12 – 24 ชั่วโมง
  • 104. 2. เอ็มบริโอในเมล็ดยังเจริญไม่เต็มที่ เมล็ดจากผลที่แก่ ไม่เต็มที่ จึงต้องการช่วงเวลา เพื่อให้เอ็มบริโอมีการ เปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี เช่น สร้างเอนไซม์หรือฮอร์โมน ส่งเสริมการงอก และลดปริมาณสารที่ยับยั้งการงอกของ เมล็ดควบคู่กับการเจริญเติบโตจนเอ็มบริโอแก่เต็มที่ เมล็ดจึง งอกได้ เช่น เมล็ดแป๊ะก๊วย กล้วยไม้หลายชนิด มะพร้าว หมาก ปาล์มน้ามัน เป็นต้นซึ่งอาจใช้เวลาเป็นปี วิธีแก้สภาพพักตัว ต้องทิ้งไว้ระยะหนึ่งเพื่อให้เอ็มบริโอ เจริญเติบโตเต็มที่เสียก่อน จึงนาไปเพาะเมล็ด จะสามารถ งอกได้ดีขึ้น
  • 105. เอ็มบริโออยู่ในระยะพักตัว พบในพืชเขตหนาวหรืออบอุ่น การพัก ตัวจะหมดไปเมื่อนาเมล็ดไปเก็บไว้ในที่อากาศเย็น อุณหภูมิ ประมาณ 0-10 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้น นามาเพาะเมล็ดจึงจะงอก สันนิษฐานว่าอุณหภูมิต่า ทาให้มีการ เปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนภายในเมล็ด ซึ่งเป็นสาเหตุของการพัก ตัวและการพ้นจากการพักตัว
  • 106. เช่น เมล็ดของแอปเปิล เชอรี่ จะต้องใช้เวลาระยะหนึ่งซึ่งมักต้อง เป็นฤดูหนาวที่มีอุณหภูมิต่า ความชื้นสูง ระยะนี้เมล็ดจะมีการ เปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาบางอย่างภายในเอ็มบริโอเพือให้ ่ สมบรูณ์เสียก่อนจึงจะงอกได้ ซึ่งเมื่อผ่านระยะเวลานี้ไปแล้วเมล็ด ก็จะงอกได้ เพราะอุณหภูมิที่ต่านี้ทาให้ปริมาณของกรดแอบไซซิก (abscisic acid) ที่ยับยั้งการงอกของเมล็ดลดลงได้ ในขณะที่ จิบเบอเรลลิน(Gibberellin) หรือไซโทไคนิน (cytokinin) ที่ส่งเสริมการงอกของเมล็ดจะเพิ่มขึน ้
  • 107. 3.เอนโดสเปิร์ม เช่น กล้วยไม้ มีเอนโดสเปิร์มน้อยมาก จึงงอกเอง ได้ยากในสภาพธรรมชาติ เพราะไม่มีอาหารเพียงพอสาหรับเลี้ยง เอ็มบริโอระหว่างการงอก ในธรรมชาติมีไมคอร์ไรซาบางชนิดเจริญร่วมกับเมล็ดพืช ซึ่ง จะช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์เพื่อเป็นอาหารแก่เมล็ดที่กาลังงอก หรือนาเมล็ดกล้วยไม้เลี้ยงในอาหารเพาะเลี้ยงและใส่สารกระตุ้น การงอกของเมล็ด
  • 108. ไมคอร์ไรซา(mycorrhiza) คือ การอยู่ร่วมกัน แบบพึ่งพา อาศัยกัน (symbiosis) ระหว่างเซลล์ของรากพืชและรา โดย ต้นพืชได้รับน้าและแร่ธาตุที่จาเป็นต่อการดารงชีวิตจากรา ส่วน ราได้รับสารอาหารจากต้นพืช ผ่านมาทางระบบราก เช่น พวก แป้ง น้าตาล โปรตีน และวิตามินต่าง ๆ นอกจากนี้ราไมคอร์ไร ซายังช่วยป้องกันรากพืชจากการเข้าทาลายของเชื้อโรคด้วย สปอร์ของราไมคอร์ไรซาจะมีอยู่ทั่ว ๆ ไปในดิน
  • 109. 4. เมล็ดบางชนิดมีสารยับยั้งการงอก เช่น มะเขือเทศ ฟัก เมล็ด ของพืช พวกนี้จะมีสารยับยั้งการงอกเคลือบอยู่ที่ผิวชั้นด้านนอก เมื่ออยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น ขาดน้า จะไม่มีการงอกของ เมล็ดเกิดขึ้น เมื่อฝนตกลงมาน้าฝนจะช่วยชะล้างสารเหล่านี้ ออกไปเมล็ดจึงจะงอกได้ และสภาพอันนี้จะเหมาะสมต่อการงอก และการอยู่รอดของต้นอ่อนที่งอกขึ้นมาใหม่ เช่น การล้างเมือก หุ้มเมล็ดมะเขือเทศ และพืชพวกแตง แล้วผึ่งให้แห้งก่อนเพาะ Gibberellin เร่งการงอกหรือการตัดใบเลี้ยงของเอ็มบริโอ ของพืช จะช่วยให้เมล็ดงอกได้เร็วขึ้น Abscisic acid ยับยั้งการงอกของเมล็ด Cytokinnin ส่งเสริมการงอกของเมล็ดเพิ่มขึ้น
  • 110. เช่น เมล็ดของแอปเปิล เชอรี่ จะต้องใช้เวลาระยะหนึ่งซึ่งมักต้อง เป็นฤดูหนาวที่มีอุณหภูมิต่า ความชื้นสูง ระยะนี้เมล็ดจะมีการ เปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาบางอย่างภายในเอ็มบริโอเพือให้ ่ สมบรูณ์เสียก่อนจึงจะงอกได้ ซึ่งเมื่อผ่านระยะเวลานี้ไปแล้วเมล็ด ก็จะงอกได้ เพราะอุณหภูมิที่ต่านี้ทาให้ปริมาณของกรดแอบไซซิก (abscisic acid) ที่ยับยั้งการงอกของเมล็ดลดลงได้ ในขณะที่ จิบเบอเรลลิน(Gibberellin) หรือไซโทไคนิน (cytokinin) ที่ส่งเสริมการงอกของเมล็ดจะเพิ่มขึน ้
  • 111. หลักการผลิตเมล็ดพันธุ์พืช 1. ชนิดของพืช เมล็ดพืชต้องมีสมบัติตรงตามพันธุ์ซึ่งผ่านการ ตรวจคุณภาพแล้ว 2. สถานที่ผลิตเมล็ดพันธุ์พืชนั้น ควรมีสภาพภูมิอากาศเหมาะสม กับพืชชนิดนั้น และดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง 3. มีวิธีการเก็บเกี่ยวเมล็ดพืชที่มีประสิทธิภาพ 4. ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคพืชและแมลง 5. มีกระบวนการหรือขั้นตอนการลดความชื้นของเมล็ดอย่าง ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ 6. มีการตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์
  • 112. หลักการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ • เมล็ดพันธุ์พืช ต้องตรงตามพันธุ์ที่ต้องการ • เมล็ดมีความสมบูรณ์ ขนาดโต ไม่ลีบ • เมล็ดต้องแก่จัดเต็มที่ • เมล็ดต้องใหม่ ไม่เก็บไว้นานเกินไป • เปอร์เซ็นต์ความงอก เมล็ดที่ดีมีเปอร์เซ็นต์ความงอก 80-90 % หรือสูงกว่านี้ • ความบริสุทธิ์ เมล็ดไม่เป็นโรค หรือถูกแมลงทาลาย
  • 113. การตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์พืช การตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ หมายถึง การตรวจสอบดู ความสามารถในการงอกได้อย่างรวดเร็ว สม่าเสมอ และตั้งตัวได้ดี เมื่อนาไปปลูก เช่น ความสามารถในการงอกหรือความมีชีวิตของ เมล็ดพันธุ์ การตรวจสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ ความ บริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ ความชื้นของเมล็ดพันธุ์ เป็นต้น หนังสือหน้า 143-145
  • 114. ความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์พืช เมล็ดพืชดอกนอกจากจะมีความสาคัญต่อการดารงพันธุ์ ของพืชมากแล้วยังมีความสาคัญต่อสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ โดยเป็นแหล่ง อาหารสาคัญและมีความสาคัญต่อการเพาะปลูก ใช้เมล็ดใน การขยายพันธุ์ พืช เช่น พืชพวกข้าว ถั่ว ข้าวโพด เป็นต้น เมล็ดที่ มีความแข็งแรงสูงจะมีความสามารถในการงอกสูง ในขณะที่ เมล็ดที่ไม่แข็งแรงจะมีความสามารถในการงอกต่า
  • 115. ความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์พืช (Seed Vigour) หมายถึง ลักษณะรวม ๆ หลายประการของเมล็ด อันเป็นลักษณะ เด่นที่เมล็ดสามารถแสดงออกมา และเมื่อนาเมล็ดนั้นไปเพาะใน สภาวะแวดล้อมที่แปรปรวนและไม่เหมาะสมแล้ว เมล็ดที่มีความ แข็งแรงสูงจะสามารถงอกได้ดีกว่า ซึ่งสามารถตรวจสอบได้หลายวิธี เช่น การเร่งอายุของเมล็ดพันธุ์ การวัดดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์
  • 116. การเร่งอายุของเมล็ดพันธุ์ เป็นการกระทาเพื่อใช้ตรวจสอบความ แข็งแรงของเมล็ดพันธุ์เพื่อที่จะทานายว่าเมล็ดพันธุ์นั้นเมื่อเก็บรักษาไว้ เป็นเวลานานแล้วจะมีค่าร้อยละของการงอกสูงหรือไม่ วิธีการเร่งอายุ เมล็ดพันธุ์ ก็คือนาตัวอย่างของเมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่ต้องการ ตรวจสอบมาใส่ไว้ในตู้อบที่อุณหภูมิระหว่าง 40 –50 องศาเซสเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 100 เป็นเวลา 2 – 8 วัน แล้วนามาเพาะ หาค่าร้อยละของการงอก ถ้าเมล็ดพันธุ์จากแหล่งใดเมื่อผ่านการเร่ง อายุ แล้วมีค่าร้อยละของการงอกสูง แสดงว่าเมล็ดพันธุ์แหล่งนั้น แข็งแรง ซึ่งทานายได้ว่า เมล็ดพันธุ์นั้นถูกเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่มี การควบคุมอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ เป็นเวลา 12 -18 เดือน เมื่อนามาเพาะก็จะมีค่าร้อยละของการงอกสูงเช่นกัน
  • 117. การตรวจสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์ โดยการวัดดัชนี การงอก การวัดดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์อาศัยหลักการว่า เมล็ดพันธุ์ใด มีความแข็งแรงมากย่อมจะงอกเร็วกว่าเมล็ดพันธุ์ที่มีความ แข็งแรงน้อย วิธีการวัดดัชนีการงอกทาได้โดยการนาตัวอย่าง ของเมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่ต้องการตรวจสอบมาเพาะ แล้วนับจานวนเมล็ดที่งอกทุกวัน นามาคานวณหาค่าดัชนี การงอกโดยเปรียบเทียบกับเมล็ดพันธุ์พืชชนิดเดียวกันจากแหล่ง อื่น ๆ
  • 118. สูตรดัชนีการงอก จานวนต้นกล้าที่ = ผลบวกของ งอกในแต่ละวัน จานวนวันหลังเพาะ
  • 119. การตรวจสอบความแข็งแรงของเมล็ดพันธุ์แต่ละวิธีมี วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบแตกต่างกันไป คือ วิธีการเร่งอายุเมล็ดพันธุ์นั้นเหมาะสาหรับผู้ที่จะผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อ การจาหน่ายหรือเพื่อเก็บเมล็ดพันธุ์นั้นไว้เพาะปลูกในฤดูกาล ต่อไป ส่วนการหาค่าดัชนีการงอกของเมล็ดพันธ์นั้นเหมาะสาหรับ เกษตรกรที่จะใช้ตรวจสอบคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ก่อนที่จะนาไป เพาะปลูก
  • 120. เมล็ดมีความสาคัญในแง่ที่เป็นแหล่งสะสมพันธุกรรมของ พืช เพราะในเซลล์ของเอ็มบริโอทุกเซลล์มีสารพันธุกรรมหรือยีน พืชชนิดนั้นๆ อยู่ แม้ว่าต้นพืชชนิดนั้นจะตายไป แต่ถ้ามีการเก็บ เมล็ดของพืชนั้นไว้ก็ยังมียีนของพืชนั้นๆ ที่พร้อมจะขยายพันธุ์ ต่อไปได้ ปัจจุบันนี้หลายประเทศได้ให้ความสาคัญต่อการอนุรักษ์ พันธุ์พืชเป็นอย่างมาก สาหรับประเทศไทยสถาบันวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยได้จัดตั้งธนาคารพันธุ์ พืชแห่งชาติขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมและอนุรักษ์พันธุ์พืชชนิดต่างๆ ทั่ว ประเทศไทย เช่น พันธุ์พืชที่หายาก และใกล้จะสูญพันธุ์ หรือ พันธุ์ที่ดีมีประโยชน์ เป็นต้น เพื่อไปใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืช ต่าง ๆในอนาคต
  • 121. ขั้นตอนการอนุรักษ์พันธุ์พืช เริ่มด้วยการรวบรวมเมล็ดพันธุ์ พืชมาบันทึกประวัติข้อมูลเมล็ดพันธุ์ คัดขนาดเมล็ดพันธุ์ ต่อจากนั้น ต้องทาความสะอาด และทดสอบการงอกของเมล็ดพันธุ์ ทาเมล็ด ให้แห้ง และเก็บรักษาไว้ในภาชนะ เช่น กระป๋อง หรือซอง อะลูมิเนียม ขั้นสุดท้ายนาไปเก็บไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิ 0 ถึง -20 องศาเซสเซียส จะสามารถเก็บไว้ได้นานกว่า 20 ปี
  • 122. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของพืชดอกและการขยายพันธุ์พืช นอกจากพืชจะขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ซึ่งเป็น วิธีการสืบพันธ์แบบอาศัยเพศแล้ว ยังมีการขยายพันธุ์ แบบไม่อาศัยเพศจากส่วนอื่นๆที่ไม่ใช่เมล็ด เช่น ลาต้น กิ่ง ใบราก เป็นต้น อาจเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติหรือเกิด จากการกระทาของมนุษย์ วิธีนี้มีประโยชน์ต่อการขยาย พันธ์พืชที่มีลักษณะดี เพราะพืชต้นใหม่มักมีลักษณะ เหมือนต้นเดิมไม่กลายพันธุ์ รวมทั้งให้ดอกและผลเร็ว แต่ มีข้อเสียที่ไม่มีรากแก้วทาให้ลาต้นไม่แข็งแรง
  • 123. พืชที่ขยายพันธุ์ด้วยลาต้น มักเป็นลาต้นใต้ดินที่สะสมอาหาร จาพวกแง่ง หรือหัว เช่น ขิงข่า ขมิ้น เผือก แห้ว กล้วย เป็นต้น พืชที่ขยายพันธุ์ด้วยกิ่ง อาจทาได้โดย การปักชา การตอน การติดตา เสียบยอด หรือทาบกิ่ง เช่น ชบา พู่ระหง โกสน มะลิ กุหลาบ มะม่วง เป็นต้น พืชที่ขยายพันธุ์ด้วยราก เช่น มันเทศ โมก ปีบ เป็นต้น ช่อดอก เช่น ป่านศรนารายณ์ ขิงแดง ใบ เช่น คว่าตายหงายเป็น เศรษฐีหมื่นล้าน
  • 125. ข้อดีของการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ 1. ให้ผลตรงตามพันธุ์ที่ต้องการ 2. ให้ผลเร็วกว่าการปลูกด้วยเมล็ด 3. ใช้ขยายพันธุ์ที่ปลูกด้วยเมล็ดแล้วไม่ขึ้น ข้อเสียของการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ 1. ต้นไม่แข็งแรงเพราะไม่มีรากแก้ว(ยกเว้นการต่อกิ่ง ติดตา และ ทาบกิ่ง) 2. วิธีการเก็บรักษาและย้ายพันธุทายากกว่า ์ 3. สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการปลูกมากกว่า
  • 126. ปัจจุบันมีการนาเทคโนโลยีชีวภาพในการเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่อพืช มาใช้ในการเกษตรอย่างแพร่หลาย เช่น การขยายพันธุ์ พืชเพื่อให้ได้ต้นพืชจานวนมากในระยะเวลาอันสั้น และมีลักษณะ เหมือนพันธุ์เดิม ซึ่งประสบผลสาเร็จกับพืชเศรษฐกิจหลาย ๆ ชนิด เช่น กล้วยไม้ ไม้ตัดดอกอื่น ๆ กล้วย สตรอเบอรี่ นอกจากนี้ การเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชยังมีประโยชน์ในการผลิตพืชที่ปลอดโรค การ สร้างพืชสายพันธุ์แท้ การเก็บพันธุ์พืชเพื่อการอนุรักษ์ ฯลฯ ส่วน ทางด้านการแพทย์และเภสัชกรรม สามารถทาให้เซลล์หรือ เนื้อเยื่อพืชสร้างสารเคมีที่ต้องการได้
  • 127. การขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช(tissue culture) การเพาะเลี้ยงเนื้อเยือพืชเป็นการนาเอาส่วนใดส่วนหนึ่ง ่ ของพืช ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะ เนื้อเยื่อ เซลล์ เช่น ยอด ลาต้น ใบ ราก ส่วนต่าง ๆ ของดอก หรือผล แม้กระทั่งโพรโทพลาสต์ (protoplast-โพรโทพลาสซึมที่มีเยื่อหุ้มเซลล์ที่ปราศจากผนังเซลล์ ห่อหุ้ม) มาเลี้ยงในอาหารสังเคราะห์ซึ่งมีทั้งอาหารกึ่งแข็ง และ อาหารเหลว ในสภาพที่ปลอดเชื้อ
  • 128. ซึ่งชิ้นส่วนของพืชที่นามาเลี้ยงเหล่านี้ จะเจริญ ไป เป็น ต้น ราก หรือเจริญเป็นแคลลัส(callus) ซึ่งส่วนใหญ่เป็น กลุ่มเซลล์พาเรงคิมา เซลล์ส่วนนี้จะเจริญเป็นแคลลัสขนาด ใหญ่ที่สามารถ ชักนาให้เปลี่ยนแปลงไปเป็น ต้น หรือ ราก ระยะนี้อาจแบ่งเพิ่มจานวนได้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยแยกไปเลี้ยง ในอาหารใหม่ ซึ่งเมื่อได้จานวนต้นในปริมาณที่มากพอแล้ว ก็ สามารถที่จะย้ายปลูกได้
  • 129. หลักในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ในการเลี้ยงเนื้อเยื่อ พืชจะต้องนาชิ้นส่วนของพืชมาเลี้ยงใน อาหารสังเคราะห์ซึ่งประกอบด้วยแร่ธาตุต่างๆ แร่ธาตุเหล่านี้จะเป็น องค์ประกอบ ของโครงสร้างเซลล์ ผนังเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ โครโมโซม คลอโรพลาสต์ ฯลฯ หรือเป็นองค์ประกอบของสารเคมีที่ จาเป็นต่อกระบวนการเมแทบอลิซึม เช่น เอนไซม์ ฮอร์โมน กรดอะมิโน ฯลฯ
  • 130. นอกจากนี้ในอาหารสังเคราะห์จะต้องมีแหล่งที่ให้ พลังงานแก่เซลล์ ได้แก่ พวกน้าตาลต่างๆและยังมีวิตามิน สารควบคุมการเจริญเติบโตอื่นๆเช่น ออกซิน และไซโทไคนิน สารเหล่านี้จะทาให้เนื้อเยื่อเจริญได้ดี ทาให้เกิดการแบ่งเซลล์ การขยายขนาดของเซลล์และเปลี่ยนรูปร่างของเซลล์ไปทา หน้าที่เฉพาะอย่าง ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อทั่วไปนี้ใช้ อุณหภูมิระหว่าง 23 - 38 องศาเซลเซียส ความสว่างของแสง ช่วง 1000 - 2000 ลักซ์
  • 131. ขั้นตอนในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช มีดังนี้ 1. นาชิ้นส่วนของพืชมาตัดแบ่งและนาไปฟอกฆ่า เชื้อจุลินทรีย์ที่ผิวของพืช แล้วนามาเลี้ยงในขวดอาหาร ตาม ขวดที่เหมาะสมแล้วแต่ชนิดของพืช จนได้แคลลัสหรือต้นที่ ปลอดเชื้อ 2. ตัดแบ่งแคลลัสออกเป็นชิ้นเพื่อการเพิ่มจานวนหรือ ถ้าเจริญเป็นต้นแล้วจะมีมากกว่า 1 ต้น ก็แยกออกไปเลี้ยงใน อาหารใหม่ทุก 1 เดือน เพื่อเพิ่มจานวนไปเรื่อยๆ ตามจานวนที่ ต้องการ
  • 133. นอกจากนีในปัจจุบัน ยังมีการทาเมล็ดเทียม ้ เพื่อใช้ขยายพันธุ์ได้บางชนิด เช่น แครอท ยาสูบ หน่อไม้ฝรั่ง ซึ่งการผลิตเมล็ดเทียมนี้ได้พัฒนามาจาก การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยการนาเซลล์ของพืชที่เจริญ มาจากเนื้อเยื่อทาเป็นเอ็มบริโอเทียมเรียกว่า โซมาติก เอ็มบริโอ (somatic embryo) แทนไซโกติกเอ็มบริโอ ซึ่ง เกิดจากการปฏิสนธิแล้วจึงนามาห่อหุ้มด้วยสารอาหารที่ ทาหน้าที่แทนเอนโดสเปิร์มและด้านนอกสุดห่อหุ้มด้วย ส่วนทีแข็งแรงทาหน้าที่เป็นเปลือกหุ้ม เมล็ดเทียม ่
  • 134. ประยุกต์ใช้กับงานด้านต่าง ๆ เช่น ทางด้าน การเกษตร พฤกษศาสตร์ ชีวเคมี เภสัชศาสตร์  ปรับปรุงพันธุ์  คัดเลือกพันธุ์พืชให้ได้พืชที่ทนต่อโรค แมลง ยากาจัด วัชพืชหรือทนต่อดินเค็ม  การขยายพันธุ์พืชให้ได้ปริมาณมากใน ระยะเวลาอันรวดเร็ว ไม่กลายพันธุ์  การเก็บรักษาพันธุ์พืช
  • 135. ประกอบด้วยส่วนสาคัญ 3 ส่วน คือ 1. ห้องเตรียมอาหาร มีโต๊ะเตรียมสาร อ่างน้า ตู้เย็น เครื่องชั่ง สาร เครื่องวัด pH เตาหลอมอาหาร หม้อนึ่งฆ่าเชื้อ ความดันไอน้า 2. ห้องถ่ายเนื้อเยื่อ มีอากาศถ่ายเทผ่านแผ่นกรอง ที่สามารถ กรองจุลินทรีย์ไว้ได้ตลอดเวลา 3. ห้องเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช อุณหภูมิ 25 oC ระยะเวลา ให้แสงประมาณ 12-16 ชั่วโมง/วัน ความเข้มของแสง 1,000-3,000 ลักซ์
  • 136.
  • 137. 1. พันธุ์พืชที่จะนามาเพาะเลี้ยง 2. เครื่องแก้ว 3. สารเคมี - สารเคมีที่ใช้ฆ่าเชื้อที่ติดมากับผิวพืช - สารเคมีที่ใช้เตรียมสูตรอาหาร - สารเคมีที่ควบคุมการเจริญเติบโต 4. เครื่องมือผ่าตัด ได้แก่ มีดผ่าตัด ปากคีบ 5. ตู้ถ่ายเนื้อเยื่อ 6. อุปกรณ์เบ็ดเตล็ดต่าง ๆ
  • 138.
  • 139. beaker forceps scalpel Alcohol lamp petri dish
  • 140. 1. สารอนินทรีย์ ได้แก่ ธาตุอาหารหลัก เช่น N P K S Ca Mg และ ธาตุ อาหารรอง เช่น Mn Zn Cu Mo B I Co Cl 2. สารประกอบอินทรีย์ 2.1 น้าตาล 2.2 ไวตามิน ชนิดที่มีความสาคัญ ได้แก่ ไธอะมีน 2.3 อะมิโนแอซิด เช่น ไกลซีน 2.4 สารควบคุมการเจริญเติบโต ได้แก่ ออกซิน ไซโตไคนิน จิบ เบอเรลลิน 2.5 สารอินทรีย์พวกอิโนซิทอล อะดีนีน ช่วยส่งเสริมให้เกิดยอด 3. สารที่ได้จากธรรมชาติ เช่น กล้วยบด น้ามะพร้าว น้าส้มคั้น น้า มะเขือเทศ 4. สารไม่ออกฤทธิ์ เช่น วุ้น ผงถ่าน
  • 141.  การเตรียมอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช จะเตรียม เป็นสารละลายเข้มข้น คือการรวมสารเคมีพวกที่สามารถ รวมกันได้โดยไม่ตกตะกอนไว้ด้วยกัน  วิธีการเตรียมเริ่มจากชั่งสารเคมีตามจานวนที่ ต้องการแต่ละชนิดให้หมดก่อนแล้วจึงนามาผสมกัน เติมน้า กลั่นให้ได้ ปริมาตรที่ต้องการ กวนให้เข้ากัน แล้วบรรจุลงใน ขวดสารละลาย ลงรายละเอียดชนิดของสาร ความเข้มข้น วันเดือนปี ปริมาตร แล้วเก็บในตู้เย็น
  • 142. 1. นาสารละลายเข้มข้นชนิดต่าง ๆ มาผสมกัน ค่อย ๆ กวนให้เข้า กันจนหมดครบทุกชนิด 2. เติมน้าตาล แล้วเติมน้ากลั่นให้ได้ปริมาตรที่ต้องการ ปรับ pH 5.6 - 5.7 3. นาวุ้นผสมกับอาหารที่เตรียม หลอมวุ้นให้ละลาย 4. บรรจุลงในขวดอาหารในปริมาตรเท่า ๆ กัน ปิดฝาให้สนิท
  • 143. 1. การฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในอาหาร นึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่ง ความดันไอน้าที่ อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส ความดัน 15 ปอนด์/ตารางนิ้ว เป็นเวลา 15 - 20 นาที 2. การฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บริเวณภายนอกชิ้นส่วนพืช ใช้ สารเคมีชนิดที่ สามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้หมดทุกชนิด และล้าง ออกได้ง่าย เพราะถ้า ล้างออกได้ยาก สารเคมีเหล่านี้จะมีผล ทาให้เนื้อเยื่อพืชตาย หรือมีการ เจริญเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร  การเติมน้ายาซักฟอกลงไปในสารเคมีที่ใช้ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ จะทาให้ประสิทธิภาพสารเคมีเหล่านั้นดีขึ้น เนื่องจากจะทาให้ลดแรงตึง ผิวบริเวณผิวนอกของชิ้นส่วนพืช สารเคมีจะแทรกซึมเข้าไปทาลาย จุลินทรียตามซอกต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ์
  • 144. 1. นาชิ้นส่วนพืชที่ต้องการมาล้างน้าให้สะอาด 2. ตกแต่งชิ้นส่วนพืช ตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก 3. จุ่มในแอลกอฮอล์ 95% เพื่อลดแรงตึงผิวบริเวณนอกชิ้นส่วนพืช 4. นาชิ้นส่วนพืชมาเขย่าในสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เตรียมไว้นาน 10-15 นาที 5. ใช้ปากคีบคีบชินส่วนพืช ล้างในน้ากลั่นที่นึ่งฆ่าเชื้อ 3 ครั้ง ้ 6. ตัดชิ้นส่วนพืชตามขนาดที่ต้องการแล้ววางบนอาหารสังเคราะห์ 7. ลงรายละเอียด เช่น ชนิดพืช วันเดือนปี หรือรหัส  การฆ่าเชื้อที่ติดมากับผิวพืชและการนาไปเลี้ยงบนอาหาร ทาในตู้ถ่ายเนื้อเยื่อโดยตลอด
  • 145. นาขวดเลี้ยงเนื้อเยื่อไปวางบนชั้นในห้องเลี้ยง เนื้อเยื่อ โดยปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมโดยทั่วไปปรับ อุณหภูมิภายในห้องประมาณ 25 องศาเซลเซียส ระยะเวลาที่ ให้แสงประมาณ 12-16 ชั่วโมง/วัน ความเข้มของแสง 1,000- 3,000 lux เนื้อเยื่อพืชที่เลี้ยงควรเปลี่ยนอาหารใหม่ทุก 2 สัปดาห์ ระหว่างการเลี้ยงตรวจดูการเจริญเติบโตสังเกตการ เปลี่ยนแปลง บันทึกรายงานได้เพื่อเป็นข้อมูล
  • 146. เมื่อพืชเจริญเติบโตเป็นต้นที่สมบูรณ์แล้วก็นาไปลงปลูกใน กระถางดังนี้ 1. เตรียมทราย : ถ่านแกลบ หรือทราย : ขุยมะพร้าว อัตราส่วน 1:1 ใส่กระถางหรือกระบะพลาสติก 2. ใช้ปากคีบ คีบต้นพืชออกจากขวดอย่างระมัดระวัง 3. ล้างเศษวุ้นที่ติดอยู่บริเวณรากออกให้หมด 4. จุ่มยากันรา ตามอัตราส่วนที่กาหนดในสลากยา 5. ปลูกในกระถางหรือกระบะ 6. นาไปไว้ในตู้ควบคุมความชื้น แสง อุณหภูมิ เมื่อพืชเจริญตั้ง ตัวดี แล้วจึงย้ายลงแปลงปลูกต่อไป
  • 148. Wash in running water
  • 150. Shake the explants for cleaning in lamina air flow cabinet
  • 151. Remove useless tissue damaged by disinfectants
  • 153. Shoot induction on explants initiation media
  • 154. Shoot multiplication on multiple shoot media
  • 155. Root induction on root induction media
  • 156. Transfer the culture ton an incubation room to control temperature ( 24๐ c ) and light intensity ( 2,000 lux for 14 hours / day )