SlideShare a Scribd company logo
1
 
                                       Solubility and Partition phenomena
                                                                                                อ.ภญ.ศุภกัญญา ตันตระบัณฑิตย์
                                                                                                  ดร.ภญ.ปิลันธนา เลิศสถิตธนกร
บทนํา
          การละลายของสารเป็นการทําให้ตัวถูกละลายหนึ่งชนิดหรือมากกว่ากระจายตัวอยูในตัวทําละลาย ให้ได้สารผสมที่มีลักษณะ
                                                                                   ่
เป็นเนื้อเดียวกัน อย่างไรก็ตามในทางเภสัชกรรม ยาเตรียมในรูปสารละลาย หมายถึง ยาน้าใส (solution) ซึ่งมีตัวยาในรูปของแข็งหรือ
                                                                                     ํ
ของเหลวหนึงชนิดหรือมากกว่า ละลายเป็นเนื้อเดียวกันในตัวทําละลาย โดยตัวทําละลายทีใช้กันมากที่สุดและสําคัญที่สุด คือน้ําบริสุทธิ์
              ่                                                                        ่
ซึ่งปัญหาที่พบบ่อยในการตังตํารับยาน้ําใส คือ ตัวยาสําคัญละลายได้ยากหรือละลายไม่หมด หรือตกตะกอนเมื่อตังทิงไว้ทําให้ยาเตรียมที่
                           ้                                                                            ้ ้
ได้มีสข่นไม่นาใช้ การศึกษาทฤษฎีของสารละลาย (solutions) และค่าการละลาย (solubility) เป็นสิ่งสําคัญและจําเป็นจะต้องทําความ
       ีุ ่
เข้าใจให้ถองแท้ เพื่อจะได้นําความรู้เหล่านั้นไปใช้ในการเตรียม การพัฒนาและการแก้ปัญหาความยุ่งยากต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการ
           ่
เตรียมตํารับยาน้ําใส
1. หลักการทั่วไปของค่าการละลาย
          1.1 สารละลาย (True solution)
           สารละลาย หมายถึง ส่วนผสมของสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป รวมตัวกันอยู่เป็นเนื้อเดียวกัน (Homogeneous) ทั้งทางเคมีและ
ฟิสิกส์ โดยทั่วไปจะหมายถึงเฉพาะส่วนผสมที่เป็นเนื้อเดียวกันซึ่งเป็นของเหลว ถึงแม้จะเป็นไปได้ที่จะมีส่วนผสมซึ่งเป็นเนื้อเดียวกันอยู่
ในรูปทั้งของแข็งและแก๊สก็ตาม เช่น ของแข็งกระจายตัวในของเหลว ของเหลวกระจายตัวในของเหลว แก๊สกระจายตัวในของเหลว หรือ
ของแข็งกระจายตัวในของแข็ง แต่ที่สําคัญที่สดในทางเภสัชกรรมคือ สารละลายของของแข็งทีกระจายตัวอยู่ในของเหลวองค์ประกอบที่มี
                                            ุ                                         ่
ปริมาณมากกว่า (major component) เรียกว่า ตัวทําละลาย (solvent) ทําหน้าที่เป็นตัวกลางให้เกิดการละลาย และองค์ประกอบ
อื่นๆ ที่มีปริมาณน้อยกว่า เรียกว่า ตัวถูกละลาย (solute) ซึ่งจะกระจายและถูกละลายอยู่ในองค์ประกอบแรก อนุภาคของตัวถูกละลาย
ที่กระจายอยูในสารละลายจะมีขนาดเล็กมาก
               ่
        ในสารละลายหนึ่งๆ ปริมาณของตัวถูกละลายที่อยูในสารละลายนั้นๆ อาจกล่าวได้ว่าเป็นความเข้มข้นของตัวถูกละลาย
                                                        ่
สารละลายที่ประกอบด้วยตัวถูกละลายปริมาณน้อยๆ ละลายอยู่ในตัวทําละลายปริมาณมากๆ เรียกว่า สารละลายเจือจาง (dilute
solution) และถ้าตัวถูกละลายปริมาณมากอยู่ในตัวทําละลาย สารละลายนั้นจะเรียกว่า สารละลายเข้มข้น (concentrated
solution) และถ้าเติมตัวถูกละลายลงไปมากเกินพอ มากเกินความสามารถปกติของมันก็จะเกิดสมดุลขึนระหว่างตัวถูกละลายบริสุทธ์
                                                                                       ้
(pure solute) และตัวถูกละลายที่ละลาย (dissolved solute)
             Solute (pure)                         Solute (dissolve)
          ตัวทําละลายอาจเป็นของแข็ง ของเหลว หรือ แก๊ส และสภาวะที่สมดุลนี้ อัตราเร็วของการละลายของตัวถูกละลายบริสทธิ์จะ ุ
เท่ากับอัตราเร็วของตัวถูกละลายที่ละลายเปลี่ยนกลับออกมาเป็นตัวถูกละลายบริสุทธิ์ ดังนั้นที่สภาวะนี้ความเข้มข้นของสารละลายจะ
คงที่ เรียกสารละลายประเภทนีว่า สารละลายอิ่มตัว (saturated solution) และความเข้มข้นของสารละลาย ณ อุณหภูมที่กําหนดให้
                              ้                                                                                    ิ
คือ ค่าการละลายของสารนั้นนันเอง สําหรับสารละลายไม่อิ่มตัว (unsaturated solution) คือ สารละลายที่มีความเข้มข้นน้อยกว่า
                                ่
สารละลายอิ่มตัว ในบางครั้งเราสามารถเตรียม สารละลายอิมตัวยิ่งยวด (supersaturated solution) ได้ ซึ่งสารละลายนี้จะมีความ
                                                           ่
เข้มข้นสูงกว่าสารละลายอิ่มตัวแต่ไม่เสถียร ดังนั้น ถ้าเติมตัวถูกละลายลงไปอีกเล็กน้อยจะทําให้ตัวถูกละลายที่มากเกินพอจะตกตะกอน
ออกมา ยกตัวอย่างเช่น sodium thiosulfate สามารถละลายได้ในปริมาณมากเมื่ออุณหภูมิสูง แต่เมื่อทําให้สารละลายเย็นตัวลงจะไม่
เกิดผลึกขึ้นซึ่งจะเป็นสารละลายอิ่มตัวยิงยวด ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นสารละลายอิ่มตัวธรรมดาโดยการให้ตกผลึกลงมาโดยอาศัยผลึกของ
                                       ่
ตัวถูกละลายนั้น หรือโดยการเขย่าอย่างรุนแรง หรือทําให้ผวของภาชนะไม่เรียบ
                                                         ิ
Solubility and Partition phenomena

 
2
 
          1.2 กลไกการละลาย
                 การที่โมเลกุลของตัวถูกละลายจะกระจายตัวอยู่ในตัวทําละลายได้นั้น เกิดจากกลไกดังแสดงในรูปที่ 1 กล่าวคือ
โมเลกุลของตัวถูกละลายต้องกระจายแยกออกจากกัน เพื่อให้โอกาสแก่โมเลกุลของตัวทําละลายเข้าล้อมรอบ ส่วนโมเลกุลของตัวทํา
ละลายก็ต้องกระจายแยกออกจากกัน เพื่อให้เกิดช่องว่างสําหรับโมเลกุลของตัวถูกละลายเข้าแทรก
                 การละลายจะเกิดขึ้นเมื่อมีขนาดของแรงดึงดูดเพียงพอระหว่างโมเลกุลของตัวถูกละลายและตัวทําละลาย (solute-
solvent interaction forces, 2W12) แรงดึงดูดนี้จะต้องมากกว่าแรงดึงดูดภายในโมเลกุลของตัวถูกละลาย (W22) และมากกว่าแรงดึงดูด
ภายในโมเลกุลของตัวทําละลาย (W11)
               ผลรวมของแรงต่างๆระหว่างโมเลกุลของตัวถูกละลายและตัวทําละลายในปฏิกิริยาการละลาย ก่อให้เกิดพลังงานทีทา
                                                                                                                ่ ํ
ให้ตวถูกละลายละลายอยู่ในตัวทําละลาย ผลรวมของพลังงานทั้งหมด (W) ต่อ1 โมเลกุลของตัวทําละลายสามารถแสดงได้ดวยสมการ
    ั                                                                                                  ้
                                            W = W22 + W11 – 2W12          ………………...สมการที่ 1
          เมื่อ     W22 คือ พลังงานที่ใช้ในการแตกแยกแรงภายในโมเลกุลของตัวถูกละลาย
                    W11 คือ พลังงานที่ใช้ในการแตกแยกแรงภายในโมเลกุลของตัวทําละลาย
                    W12 คือ พลังงานที่เกิดจากแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของตัวถูกละลายและตัวทําละลาย


                                                รูปที่ 1 แสดงกลไกของการละลาย
       ถ้า W เป็นบวก แสดงว่าพลังงานที่ต้องใช้ในการทําลายแรงยึดเหนี่ยวมากกว่าพลังงานที่เกิดขึ้นจากการสร้างแรงยึดเหนี่ยว
ระบบต้องรับพลังงานจากภายนอกเข้าไป เพื่อที่จะสามารถเกิดเป็นสารละลายได้ เรียกระบบนี้ว่า endothermic system
        ถ้า W เป็นลบ แสดงว่าพลังงานที่ต้องใช้ในการทําลายแรงยึดเหนี่ยวน้อยกว่าพลังงานที่เกิดขึนจากการสร้างแรงยึดเหนี่ยว ระบบ
                                                                                             ้
ต้องคายพลังงานออกมา เพื่อทีจะสามารถเกิดเป็นสารละลายได้ เรียกระบบนีว่า exothermic system
                           ่                                         ้




          1.3 ค่าการละลาย หรือขีดการละลาย (Solubility)
                    1.3.1 ค่าการละลาย (Solubility)
Solubility and Partition phenomena

 
3
 
                           ค่าการละลาย หมายถึงขีดความสามารถของสารในการละลายในตัวทําละลายชนิดหนึ่ง ณ อุณหภูมและ      ิ
ความดันหนึ่ง นั่นก็คือปริมาณของสารที่ได้ละลายอยู่ในสารละลายจนได้สารละลายอิ่มตัว (saturated solution) ณ อุณหภูมิและความ
ดันที่กําหนดให้ และเกิดความสมดุลขึ้นระหว่างสารละลายที่เตรียมได้กับส่วนเกินของสาร (excess solute) ซึ่งไม่ละลายและผสมอยู่ใน
สารละลายดังกล่าว
                           ค่าการละลายของสารอาจแสดงเป็นค่าที่แน่นอน เช่น molarity, molality, mole fraction, %w/w,
%w/v ตามตัวอย่างในตารางที่ 1 หรืออาจแสดงเป็นค่าโดยประมาณตามเภสัชตํารับ ดังตัวอย่างในตารางที่ 2
ตารางที่ 1 หน่วยความเข้มข้นของสารละลาย
                   ชนิด                    สัญลักษณ์                                      คําจํากัดความ
    Molarity*                                   M         จํานวนโมลของตัวถูกละลายในสารละลาย 1 ลิตร
    Normality*                                  N         จํานวนกรัมสมมูลของตัวถูกละลายในสารละลาย 1 ลิตร
    Molality                                   m          จํานวนโมลของตัวถูกละลายในตัวทําละลาย 1 กิโลกรัม
    Mole fraction                               X         จํานวนโมลของตัวถูกละลายเทียบกับจํานวนโมลของสารทุกชนิดในสารละลาย
    Mole percent                              -           Mole fraction ที่แสดงในรูปเปอร์เซ็นต์
    Percent by weight                       % w/w         จํานวนกรัมของตัวถูกละลายในสารละลาย 100 กรัม
    Percent by volume*                       % v/v        จํานวนมิลลิลิตรของตัวถูกละลายในสารละลาย 100 มิลลิลิตร
    Percent weight in volume*                % w/v        จํานวนกรัมของตัวถูกละลายในสารละลาย 100 มิลลิลิตร
    Milligram percent*                       Mg %         จํานวนมิลลิกรัมของตัวถูกละลายในสารละลาย 100 มิลลิลิตร
      * หน่วยความเข้มข้นที่ขึ้นกับอุณหภูมิ
ตารางที่ 2 การเรียกค่าการละลายของสารโดยประมาณตามเภสัชตํารับ
                   ขีดการละลายของสารโดยประมาณตามเภสัชตํารับ ส่วนของตัวทําละลายที่ใช้ละลายตัวละลาย 1 ส่วน
                   Very soluble                                                           <1
                   Freely soluble                                                         1-10
                   Soluble                                                                10-30
                   Sparingly soluble                                                     30-100
                   Slightly soluble                                                     100-1,000
                   Very slightly soluble                                              1,000-10,000
                   Practically insoluble or insoluble                                   >10,000

ตารางที่ 3 ค่าการละลายของสารบางชนิดที่อณหภูมิ 25°C
                                       ุ
                      สาร                                  คําจํากัดความ                   ค่าการละลาย
            Phenobarbital                              Very slightly soluble             1 g in 1000 ml
            Phenobarbital sodium                       Very soluble                      1 g in 1 ml
            Atropine                                   Slightly soluble                  1 g in 466 ml
            Atropine sulfate                           Very soluble                      1 g in 0.4 ml
            Codeine                                    Slightly soluble                  1 g in 120 ml
Solubility and Partition phenomena

 
4
 
            Morphine                               Very slightly soluble                 1 g in 5000 ml
            Sulfadiazine                           Practically insoluble                 1 g in 13000 ml
            Silver chloride                        Insoluble                             1 g in 520 l
            Aspirin                                Slightly soluble                      1 g in 300 ml
            Phenol                                 Soluble                               1 g in 15 ml
            Camphor                                Slightly soluble                      1 g in 800 ml
            Sodium carbonate                       Freely soluble                        1 g in 3.5 ml


          1.4 การประเมินค่าการละลาย
          มีข้อควรคํานึงถึง ดังต่อไปนี้
          1) ตัวละลายและตัวทําละลายต้องมีความบริสทธิ์ เนื่องจากสิ่งปนเปื้อนมีผลต่อขีดการละลายของสาร
                                                 ุ
          2) ต้องเตรียมสารละลายอิ่มตัวของตัวละลายในตัวทําละลาย
          3) ต้องแยกตัวละลายที่เหลืออยูออกจากสารละลายอิ่มตัวจนหมด
                                       ่
          4) ต้องควบคุมอุณหภูมิ ณ สภาวะที่ศึกษาให้คงที่
          5) วิธีการทีใช้วิเคราะห์ปริมาณสารต้องเชื่อถือได้
                      ่
          ขั้นตอนการประเมินขีดการละลายของของแข็งในตัวทําละลาย มีขั้นตอน ดังนี้
          1) ทําให้เกิดเป็นสารละลายอิ่มตัว โดยการละลายตัวถูกละลายในปริมาณที่มากเกินพอในตัวทําละลาย
          2) กรองเอาส่วนที่ไม่ละลายออก
          3) วิเคราะห์หาปริมาณตัวถูกละลายที่อยู่ในสารละลายนั้นๆ


2. ปฏิกิริยาระหว่างตัวถูกละลายและตัวทําละลาย (Solvent-solute interaction)
          2.1 ตัวทําละลายมีขั้ว (Polar Solvents)
        ค่าการละลายจะขึ้นกับความเป็นขั้ว (polarity) ของตัวทําละลาย (นั่นคือ dipole moment) และความสามารถของตัวถูก
ละลายที่จะเกิด hydrogen bond กับตัวทําละลาย ตัวถูกละลายที่จะละลายได้ในตัวทําละลายมีขั้ว จะเป็นสารที่มีขวเช่นกัน โดยใน
                                                                                                               ั้
โครงสร้างอาจจะมีกลุ่ม –OH, -COOH, -NH2 ซึ่งเป็นกลุ่มทีมีขั้วจะจับกับโมเลกุลของตัวทําละลายมีขั้ว เช่น น้ํา ซึ่งแสดงความเป็นขั้ว
                                                      ่
ดังนี้




มีผู้เสนอกลไกสําหรับตัวทําละลายมีขั้ว (polar solvents) เช่น น้ํา ทําหน้าทีเ่ ป็นตัวทําละลายดังต่อไปนี้
     1. ลดแรงดึงดูดระหว่างขั้วประจุตางกันในผลึกของเกลือ (the lattice energy of crystal) โดยดูจากค่า dielectric constant
                                    ่
          ของตัวทําละลาย ซึ่งยิ่งมีค่าสูงจะยิ่งเพิ่มการละลายของ ionic compounds เช่น เกลือจะละลายได้ดในน้าซึ่งมีคา dielectric
                                                                                                     ี ํ         ่
Solubility and Partition phenomena

 
5
 
        constant สูงเท่ากับ 80 แต่จะละลายได้น้อยมากใน chloroform และ benzene ซึ่งมีค่า dielectric constant ต่ําเท่ากับ 5
        และ 2 ตามลําดับ
     2. ทําให้ covalent bonds ของ strong electrolytes แตกออกโดยอาศัย acid-base reaction ซึ่งตัวทําละลายจะประพฤติตัว
        เป็นพวก amphiprotic คือ ในบางกรณีน้ําจะทําหน้าที่เป็นกรดและบางกรณีจะทําหน้าที่เป็นเบส ตัวอย่างดังกรณี กรดแก่ เช่น
        HCl ก็จะแตกตัวดังนี้


          กรณีกรดอินทรีย์อ่อน (weak organic acid) จะแตกตัวไม่สมบรูณ์ จึงละลายได้น้อยในน้ํา เช่น




          แต่จะละลายได้ดีในสารละลายที่เป็นด่าง ตัวอย่างกรดอ่อนนี้ เช่น phenols และ carboxylic acid




     3. โมเลกุลของตัวทําละลายจะสามารถเกาะกับโมเลกุลหรือ ions ของตัวถูกละลาย (salvation) ผ่านทาง dipole interaction
          forces ซึ่งมักจะเป็นการเกิด hydrogen bond ทําให้การละลายเพิ่มขึ้น ตัวอย่างปฏิกริยา ion-dipole interaction ระหว่าง
                                                                                        ิ
          เกลือ sodium ของ oleic acid กับน้ํา จะแสดงดังรูป




          2.2 ตัวทําละลายไม่มีขั้ว (Nonpolar solvents)
        ตัวทําละลายไม่มีขั้ว เช่น สารพวก hydrocarbons จะมีค่า dielectric constant ต่ํา จึงไม่สามารถลดแรงดึงดูดระหว่างขั้ว
ประจุของ strong และ weak electrolytes หรือไม่สามารถจะทําละลาย covalent bond หรือไม่สามารถ ionize พวก weak
electrolyte (aprotic solvents) และไม่สามารถเกิด hydrogen bond กับพวก nonelctrolytes ได้ ดังนันสารพวก ionic และ polar
                                                                                               ้
solutes จึงไม่ละลายหรือละลายได้น้อยมากในตัวทําละลายไม่มีขั้ว (nonpolar solvents) แต่ nonpolar solvents จะสามารถละลาย
สาร nonpolar solutes ได้โดยเกิด weak van der Waals-London forces เพราะฉะนั้น พวก oils, fats หรือพวก alkaloidal
bases และ fatty acids จะละลายได้ใน nonpolar solvents เช่น carbon tetrachloride, benzene และ mineral oil
          2.3 ตัวทําละลายกึ่งมีขว (Semipolar Solvents)
                                ั้
         ตัวอย่างเช่น พวก ketones และ alcohol สามารถเหนี่ยวนําให้โมเลกุลของตัวถูกละลายที่ไม่มีขั้ว ให้เกิดความเป็นขั้ว
(polarized) ได้ในระดับหนึ่ง ทําให้เข้ากันกับตัวทําละลายได้ นอกจากนี้ ตัวทําละลายกึงมีขั้ว ยังสามารถทําให้ตัวทําละลายของพวกมี
                                                                                    ่
ขั้ว และไม่มข้วเข้ากันได้ดวย เช่น alcohol ช่วยในน้ําและ castor oil เข้ากันได้ นอกจากนี้ propylene glycol สามารถเพิมการละลาย
            ีั            ้                                                                                       ่
ระหว่างน้ํากับ peppermint oil และน้ํากับ benzyl benzoate
       ลักษณะของตัวทําละลายต่างๆ ในการละลายของตัวถูกละลาย ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นไปตามกฎ “like dissolves like” คือ
สารใดๆ ไม่วาจะอยู่ในรูปของแข็งหรือของเหลว จะสามารถละลายและเข้ากันได้เป็นเนื้อเดียวกันกับตัวทําละลายที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึง
           ่
Solubility and Partition phenomena

 
6
 
กับสารดังกล่าวเท่านั้น เช่น โครงสร้างทางเคมีที่คล้ายคลึงกัน ขนาดของแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล (intermolecular forces) ขนาดของ
แรงดึงดูดภายในโมเลกุล (cohesive forces) ความมีขั้ว (polarity) และค่า dielectic constant ที่ใกล้เคียงกัน โดยสรุปก็คือ ค่าการ
ละลายจะขึ้นกับผลทางเคมี ไฟฟ้า และโครงสร้างโมเลกุลทีมีต่อการทําปฏิกิริยาระหว่างกันของตัวทําละลายและตัวถูกละลาย
                                                        ่
ตารางที่ 4 ความเป็นขั้วของตัวทําละลาย และตัวถูกละลายทีสามารถละลายได้ในตัวทําละลายแต่ละชนิด
                                                      ่




สารละลายสามารถแบ่งตามสถานะ                                                                                  ของตัวทําละลาย
ได้ 3 ชนิด คือ
     1) สารละลายแก๊ส (Gaseous                                                                            solution) เป็น
        สารละลายที่ตัวทําละลายเป็นแก๊ส ตัวถูกละลายจะอยู่ในสถานะใดก็ได้ เช่น สารละลายแก๊ส ได้แก่ อากาศ ไอน้ําในอากาศ
     2) สารละลายของเหลว (Liquid solution) เป็นสารละลายที่ตัวทําละลายเป็นของเหลว ตัวถูกละลายจะอยู่ในสถานะใดก็ได้ เช่น
        น้ําเกลือ น้ําเชื่อม
     3) สารละลายของแข็ง (Solid solution) เป็นสารละลายที่ตัวทําละลายเป็นของแข็ง ตัวถูกละลายจะอยู่ในสถานะใดก็ได้ เช่น
        ทองเหลือง (Cu ใน Zn)

3. ค่าการละลายของก๊าซในของเหลว (Solubility of Gases in Liquids)
         ค่าการละลายของก๊าซ คือ ความเข้มข้นของก๊าซซึ่งละลายและอยู่ในดุลยภาพ (equilibrium) กับก๊าซที่อยู่เหนือสารละลายน้ํา
ตัวอย่างสารละลายของก๊าซในของเหลวในทางเภสัชกรรม เช่น hydrochloric acid, ammonia water และยาเตรียมฟองฟู่
(effervescent preparations) ซึ่งมี carbon dioxide ละลายอยู่ ยาฉีดพ่นหรือยาละอองลอย (aerosol) ซึ่งสารขับเคลื่อน
(propellant) จะเป็น carbon dioxide หรือ nitrogen ซึ่งจะละลายอยู่บางส่วนภายใต้ความดัน
    ผลของ pressure : สําหรับสารละลายเจือจางทีอุณหภูมิคงที่ อธิบายได้โดย Henry’s law คือ ความเข้มของก๊าซที่ละลายอยู่จะ
                                                  ่
เป็นสัดส่วนกับ partial pressure ของก๊าซที่อยู่เหนือสารละลายนั้นที่ดุลยภาพ ซึ่งจะเท่ากับความดันทังหมดเหนือสารละลายลบด้วย
                                                                                                ้
ความดันไอของตัวทําละลาย โดยสรุปแล้ว เมื่อความดันเพิ่มขึ้น จะทําให้ค่าการละลายของก๊าซเพิ่มขึ้นด้วย
   ผลของ temperature : โดยทั่วไปเมือ อุณหภูมิเพิ่มขึ้นจะทําให้ค่าการละลายของก๊าซส่วนใหญ่ลดลง และทําให้ก๊าซมีแนวโน้ม
                                            ่
ขยายตัวขึ้น ตัวอย่างเช่น การเตรียมน้ํากลั่นสําหรับยาฉีดตามเภสัชตํารับที่ปราศจากก๊าซ carbon dioxide เตรียมได้โดยการต้มเพือไล่
                                                                                                                         ่
อากาศออกจากน้ํา นอกจากนียังมีจดที่ตองพึงระวังคือการเปิดภาชนะที่บรรจุสารละลายของก๊าซ เช่น ยาเตรียมละอองลอย (aerosols)
                             ้ ุ ้
ในอากาศอุ่นหรือที่อุณหภูมิสูง เช่น ก๊าซทีใช้เป็น ethyl nitrate ควรจะเปิดโดยแช่ภาชนะในน้ําแข็งหรือน้ําเย็นเพื่อลดอุณหภูมิ
                                         ่
    ผลของ chemical reaction : Henry’s law จะใช้กบก๊าซกรณีที่ความเข้มข้นต่ําๆ แต่ก๊าซเช่น hydrogen chloride, ammonia
                                                    ั
และ carbon dioxide จะละลายได้ดี จะทําให้เกิดการเบียงเบนไปจากทฤษฏี เนื่องจากเกิดปฏิกริยาระหว่างก๊าซกับตัวทําละลาย ซึ่งปกติ
                                                  ่
จะทําให้คาการละลายสูงขึ้น เช่น hydrogen chloride จะมีค่าการละลายสูงกว่า oxygen ถึง 10,000 เท่า
         ่



Solubility and Partition phenomena

 
7
 
4. ค่าการละลายของของเหลวในของเหลว (Solubility of Liquid in Liquid)
        ปกติสารละลายทางเภสัชกรรมมักจะประกอบด้วยของเหลวอย่างน้อย 2 ชนิด เช่น การเติม alcohol ลงในน้ําเพือเติมเป็น  ่
hydroalcoholic solution ที่ความเข้มข้นต่างๆ หรือการเติม volatile oils ผสมกับน้ําเพื่อให้เกิดสารละลายเจือจางที่เรียกว่า
aromatic waters หรือการเติม volatile oils ใน alcohol เพื่อให้ได้สารละลายเข้มข้นที่เรียกว่า spirits และ elixirs หรือการผสม
ether กับ alcohol ในยาเตรียม collodions หรือ fixed oils ต่างๆที่จะผสมลงไปเพื่อเตรียมยาเตรียมชนิด lotions, spray และ
medicated oils
           การละลายของของเหลวในของเหลวจะได้เกิดได้ดี เมื่อแรงดึงดูดภายในโมเลกุลของสารทังตัวถูกละลายและตัวทําละลายมีค่า
                                                                                            ้
ใกล้เคียงกัน แรงดึงดูดทีจะทําให้ตัวถูกละลายลายได้ในตัวทําละลาย เป็นความดันภายใน เรียกว่า internal pressure (Pi) ซึ่งค่าความ
                        ่
ดันภายในของของเหลวที่ไม่มขวจะมีค่าต่ํา ส่วนของเหลวที่มขวจะมีค่าสูง ของเหลวที่มค่าความดันภายในใกล้เคียงกันจะละลายเข้ากันได้
                            ี ั้                         ี ั้                 ี
ดี ส่วนที่มีคาความดันภายในต่างกันมากจะไม่สามารถละลายเข้ากันได้ ซึงเราสามารถคํานวณได้จาก
             ่                                                     ่

                                                 ΔHv = ความรอนของการกลายเปนไอ (heat of vaporization)
                               Pi = ΔHv – RT
                                                  V = ปริมาตรโมลารของของเหลว ณ อุณหภูมิคงที่ T
                                     V
การละลายของของเหลวในของเหลว อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
     1. Complete miscibility หมายถึง ลักษณะของของเหลว 2 ชนิดหรือมากกว่า เมื่อนํามาผสมกันจะละลายซึ่งกันและกันในทุก
        อัตราส่วนจนได้เป็นสารละลายเนื้อเดียวกัน ได้แก่ สารพวก polar และ semipolar เช่น น้ําสามารถเข้ากันได้ (misible) กับ
        alcohol, glycerine หรือ alcohol สามารถเข้ากันได้กับสารพวก nonpolar เช่น benzene กับ carbon tetrachloride
     2. Partial miscibility หมายถึงลักษณะของของเหลว 2 ชนิดหรือมากกว่า เมื่อนํามาผสมกันจะละลายซึ่งกันและกันได้เพียง
        บางส่วนเท่านั้น เช่น phenol ผสมกับน้ํา ส่วนหนึ่งของ phenol จะละลายในน้ําและน้ําบางส่วนจะละลายใน phenol แต่
        ส่วนผสมทั้งหมดของ phenol กับน้ําจะไม่รวมกันเป็นเนื้อเดียวกัน




                                      รูปที่ 2 การละลายของ phenol ในน้ําที่อัตราส่วนและอุณหภูมิต่างๆ
Solubility and Partition phenomena

 
8
 
     3. Immiscible system หมายถึง ของเหลว 2 ชนิดหรือมากกว่า เมื่อนํามาผสมกันจะไม่ละลายซึ่งกันและกัน ของเหลวจะแยก
          ชั้นกันอยู่ เช่น น้ํากับน้ํามัน เป็นต้น

5. ค่าการละลายของของแข็งในของเหลว (Solubility of Solids in Liquids)
        เป็นชนิดที่สําคัญที่สุดทางเภสัชกรรม ซึ่งการทํานายค่าการละลายของของแข็งในของเหลวยังไม่แม่นยํานัก เนื่องจากการมีตัว
แปรซับซ้อนมากมายที่มีผลต่อค่าการละลาย อีกทังสารละลายทางเภสัชกรรมจะมีตัวถูกละลาย และตัวทําละลายหลายชนิด
                                             ้
          5.1 Ideal Solutions
       ค่าการละลายของของแข็งในสารละลายอุดมคติ จะขึ้นกับ อุณหภูมิ จุดหลอมเหลวของของแข็ง และ molar heat of fusion
ในสารละลายอุดมคตินี้ heat of solution จะเท่ากับ heat of fusion ซึ่งมีค่าคงที่ไม่ข้นกับอุณหภูมิและธรรมชาติของตัวทําละลาย
                                                                                  ึ

                                    ST      ΔH ƒ ⎛ T 2 − T1                          ⎞
                              − log Xi12 =     soln
                                                    ⎜                                ⎟
                                    S T2   2.303R ⎜ T1 T 2
                                                    ⎝
                                                                                     ⎟
                                                                                     ⎠
          โดยที่ Xi2 = ideal solubility ของตัวถูกละลาย (mole fraction)
                ΔHf = heat of fusion
                    T2 = จุดหลอมเหลวของตัวถูกละลาย
                    T1= อุณหภูมิของสารละลาย (oK)
                    R = ค่าคงที่ของก๊าซ เท่ากับ 1.987 cal/mole.deg
          เมื่ออุณหภูมิสงกว่า melting point ของแข็งจะกลายเป็นของเหลว ซึงเข้ากันได้กับตัวทําละลายที่เป็นของเหลวในทุกอัตราส่วน
                        ู                                              ่
ดังนั้น สมการนีจึงใช้ไม่ได้เมื่อ T1 > T2
                 ้
          5.2 Nonideal Solutions
          Activity ของตัวถูกละลายจะเท่ากับความเข้มข้นคูณด้วย activity coefficient ถ้าความเข้มข้นในหน่วย mole fraction (γ2)
จะได้
                               a2 = X2γ2            จะได้ log a2 = log X2 + log γ2
          ใน ideal solution จะได้ a2 = Xi2 (γ2 = 1) เพราะฉะนั้น จะได้

                                 S Ti   ΔH ƒ ⎛ T2 − T1 ⎞
                           − log X 12 =     soln
                                                 ⎜     ⎟                             + log γ2
                                 S T2   2.303R ⎜ T1T2 ⎟
                                                 ⎝     ⎠




Solubility and Partition phenomena

 
9
 
         จะเห็นว่า ค่าการละลายในหน่วย mole fraction จะเท่ากับผลบวกของค่าการละลายในสารละลายอุดมคติ และ log ของ
activity coefficient ของตัวถูกละลาย ซึ่ง γ2 จะขึ้นกันธรรมชาติของตัวถูกละลายและตัวทําละลาย อุณหภูมิของสารละลาย log γ2 จะ
พิจารณาจากแรงยึดระหว่างโมเลกุลของการดึงดูดระหว่างกันทีจะต้องเอาชนะ เพื่อแยกโมเลกุลของตัวทําละลายออกจากกันแล้วนําไป
                                                          ่
แทรกอยู่ในระหว่างโมเลกุลของตัวทําละลาย ดังที่ได้อธิบายในกลไกการละลาย
          5.3 Solubility of Salts in Water
       สารส่วนใหญ่จะมีขบวนการละลายเป็นแบบ endothermic (ΔHsoln เป็นบวก) นั่นคือจะต้องดูดความร้อนเข้าไปเพือใช้ในการ
                                                                                                            ่
ละลาย เพราะฉะนั้นเมื่อเพิ่มอุณหภูมิขึ้น การละลายจะสูงขึ้นด้วย ในทางกลับกัน สารบางอย่างจะมีขบวนการละลายเป็นแบบ
exothermic (ΔHsoln เป็นลบ) นั่นคือจะคายความร้อนออกขณะละลาย เพราะฉะนั้นเมื่อเพิ่มอุณหภูมิขึ้น การละลายจะต่าลงด้วย
                                                                                                         ํ
ตารางที่ 5 แสดงค่า heat of solution ของสารบางชนิด
                                 สาร                     ΔHsoln (kcal/mole), at 25°C
                      HCl                                           - 17.96
                      KOH                                           - 13.7
                      NaOH                                          - 10.6
                      CH3COOH                                       - 0.36
                      KMnO4                                         + 10.4
                      C2H2OH                                        - 3.1
                      KI                                            + 4.3
                      NaCl                                          + 1.0
                      LiCl                                          - 8.8
                      AgCl                                          + 15.0
                      Ca(OH)2                                       - 2.79
                      Methylcellulose                               +
                      Mannitol                                      + 5.26
                      Phenol                                        +
                      Sodium carbenicillin                          -
                      Hydrate salts                                 +
                      Anhydrous salts                               -
          5.4 Solubility of Slightly Soluble Electrolytes
         ค่าการละลายของ slightly soluble eledtrolytes จะอธิบายโดย solubility product constant (Ksp) ของสารนั้น เช่น
กรณี Silver chloride (AgCl) ซึ่งเป็นสาร electrolyte ที่ละลายน้ําได้น้อย เมื่อนํา AgCl ปริมาณที่มากเกินพอไปละลายในตัวทําละลาย
ที่อุณหภูมิค่าหนึ่ง จะได้สมการแสดงการละลายดังนี้
                               AgCl solid ⇔ Ag + + Cl −

          เมื่ออยูในสภาวะสมดุล
                  ่
                               [Ag + ] [Cl − ]
                                               =K
                                AgClsolid

Solubility and Partition phenomena

 
10
 
           กําหนดให้ความเข้มข้นของของแข็งทีอยู่ในสารละลายมีค่าคงที่
                                           ่
                               [Ag + ] [Cl − ] = K sp

        ค่า solubility product constant (Ksp) (ตารางที่ 6 ) สามารถนําไปใช้ในการคํานวณหาค่าการละลายของสาร electrolyte
ที่ละลายน้ําน้อยได้
ตัวอย่าง Calcium carbonate มีค่า Ksp เท่ากับ 9 x 10-9 (25°C) จงหาค่าการละลายของ calcium carbonate
***นั่นคือต้องการหาความเข้มข้นของ CaCO3 ในสภาวะสมดุลนั่นเอง
ที่สมดุล
                                     CaCO 3solid ⇔ Ca 2+ + CO 3 -
                                                              2



                                x molar             x molar         x molar
    Ksp = 9 x 10-9 = [Ca2+][CO32-]
                     9 x 10-9 = X2
                        X       = √(9x10-9) = 9.49 x 10- 5 Molar
ตารางที่ 6 ค่า solubility product constant (Ksp) ของ electrolyte ที่ละลายน้ําได้น้อย
                   สาร                            Ksp                         อุณหภูมิ (°C)
        Aluminium hydroxide                   7.7 x 10-13                         25
        Barium carbonate                      8.1 x 10-9                          25
        Barium sulfate                        1.0 x 10-10                         25
        Calcium carbonate                     9.0 x 10-9                          25
        Calcium sulfate                       6.1 x 10-5                          20
        Ferric hydroxide                      1.0 x 10-36                         18
        Ferrous hydroxide                     1.6 x 10-14                         18
        Lead carbonate                        3.3 x 10-14                         18
        Lead sulfate                          1.1 x 10-8                          18
        Magnesium carbonate                   2.6 x 10-5                          12
        Magnesium hydroxide                   1.4 x 10-11                         18
        Mercurous chloride                    2.0 x 10-18                         25
        Mercurous iodide                      1.2 x 10-28                         25
        Silver bromide                        7.7 x 10-13                         25
        Silver chloride                       1.3 x 10-10                         25
        Silver iodide                         1.5 x 10-16                         25
        Zinc hydroxide                        1.8 x 10-14                         18
        Zinc sulfide                          1.2 x 10-23                         18
            5.5 Solubility of Weak Electrolytes

Solubility and Partition phenomena

 
11
 
        ยาส่วนมากจะเป็นกรดอ่อนและด่างอ่อน ซึงมีค่าการละลายในน้ําต่ํา จึงนําไปทําปฏิกิรยากับด่างแก่หรือกรดแก่จนอยูในรูป
                                                 ่                                        ิ                      ่
ไอออนที่ละลายน้ําได้ ดังนั้นจะเห็นว่า pH มีผลต่อการละลายพวก weak electrolytes ฉะนั้นในการเตรียมยาเตรียมของสารเหล่านี้ให้
เป็นสารละลายเนื้อเดียวกัน จึงต้องปรับ pH ให้เหมาะสม ซึ่งนิสิตจะได้เรียนในหัวข้อเรื่อง acid-base


6. ปัจจัยที่มีผลต่อค่าการละลาย
          6.1 อุณหภูมิ
        จากทีกล่าวข้างต้น การเพิ่มหรือลดอุณหภูมิมผลต่อค่าการละลาย ขึ้นกับว่าการละลายของสารชนิดนั้นๆ เป็นปฏิกิริยาดูดหรือ
              ่                                           ี
คายความร้อน ในกรณีทการละลายเป็นปฏิกิรยาดูดความร้อน เช่น โพแทสเซียมไนเทรต (KNO3) เมื่อเพิ่มอุณหภูมิการละลายจะเพิ่มขึ้น
                         ี่                   ิ
ในขณะที่การละลายของแคลเอซิเทต ((CH3COO)2Ca.2H2O) ในน้ําเป็นปฏิกริยาคายความร้อน เมื่อเพิ่มอุณหภูมิการละลายจะลดลง ใน
                                                                              ิ
กรณีของการละลายเกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ในน้ํา การเพิ่มอุณหภูมิจะให้ผลเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม สารบางชนิด
จะมีละลายเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มอุณหภูมิช่วงหนึง แต่เมื่อเพิ่มอุณหภูมิขึ้นอีกการละลายจะกลับลดลง เช่น โซเดียมซัลเฟต โดยทั่วไปสารและตัว
                                           ่
ยามักจะมีการดูดความร้อนไปใช้เพื่อช่วยให้เกิดการละลาย ในกรณีนการเพิ่มอุณหภูมของสารละลายจะเป็นการเพิ่มอัตราเร็วของการ
                                                                           ี้          ิ
ละลายด้วย
          6.2 โครงสร้างโมเลกุลของตัวถูกละลาย
         จากตารางที่ 7 การเปลี่ยนแปลงรูปร่างโมเลกุลไอโซเมอร์ของเพนทานอล (pentanol isomers) ต่อค่าการละลาย พบว่า สารที่
มีลกษณะโครงสร้างแตกแขนงระเกะระกะมีการละลายในน้ําดีกว่าสารที่มลักษณะโครงสร้างเป็นระเบียบหรือมีแขนเป็น
    ั                                                              ี
ไฮโดรคาร์บอนสายตรง และสารที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก มีน้ําหนักโมเลกุลน้อย จะละลายน้ําได้ดีกว่าสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ มี
น้ําหนักโมเลกุลมาก




ตารางที่ 7 ค่าการละลายในน้ําของไอโซเมอร์ของเพนทานอล




Solubility and Partition phenomena

 
12
 




        นอกจากนี้หมู่แทนที่บนโมเลกุลของตัวถูกละลาย ถ้าเป็นหมู่แทนที่ทชอบน้ํา (hydrophilic group) มีผลให้ค่าการละลายใน
                                                                     ี่
น้ํามากกว่า หมู่แทนที่ทชอบไขมัน (lipophilic group) ตารางที่ 7 แสดงสมบัติความชอบน้ํา และชอบไขมันของหมู่แทนที่ชนิดต่างๆ
                       ี่


ตารางที่ 8 สมบัติการชอบน้ําและชอบไขมันของหมู่เคมีชนิดต่างๆ
                       Chemical group             Hydrophilic/Lipophilic properties
                            -CH3                         Lipophilic
                            -CH2                         Lipophilic
                            -Cl, -Br, -I                 Lipophilic
                            -N(CH3)2                     Lipophilic
                            -SCH3                        Lipophilic
                            -OCH2CH3                     Lipophilic
                            -OCH3                        Slightly hydrophilic
                            -NO2                         Slightly hydrophilic
                            -CHO                         Hydrophilic
                            -COOH                        Slightly hydrophilic


Solubility and Partition phenomena

 
13
 
                             -COO-                              Very hydrophilic
                             -NH2                               Hydrophilic
                             -NH3+                              Very hydrophilic
                             -OH                                Very hydrophilic


ตารางที่ 9 ผลของ hydrophilic-lipophilic group ต่อค่าการละลายในน้ําของ Acetanilid และอนุพันธ์
                       Acetanilid                      X              Solubility (mg/l)
                                                       H                      6.38
                        NH      COCH3
                                                    Methyl                    1.05
                                                    Ethoxyl                   0.93
                                                    Hydroxyl                  13.90
                        X                            Nitro                    15.98
                                                     Aceto                    9.87


         จุดเดือดและจุดหลอมเหลว เป็นค่าที่บอกถึงความแข็งแรงของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของของเหลว ตัวยาที่มจุดเดือดี
หรือจุดหลอมเหลวสูงแสดงว่ามีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลสูง ค่าการละลายจะต่ําในน้ําเมือเทียบกับตัวยาที่มจดเดือดต่ํา ดังแสดงใน
                                                                                    ่                 ีุ
ตารางที่ 10 และ11
ตารางที่ 10 แสดงค่าการละลายในน้ําของ pentanol isomer
                                            สาร         จุดเดือด (0C) ค่าการละลาย (molarity, m)
                                     n-Pentanol             137.8                0.26
                                     2-Methyl-1-butanol     128.7               0.347
                                     3-Pantanol             115.3               0.615
                                     2-Methyl-2-butanol     102.0               1.403




ตารางที่ 11 ค่าการละลายของ aromatic compounds ที่มจุดหลอมเหลวต่างๆกัน
                                                  ี
                                     สาร              จุดหลอมเหลว (°C)          เศษส่วนโมลของตัวถูกละลาย

                                Naphthalene                    80                         0.27
                               Phenanthrene                    99                         0.21

Solubility and Partition phenomena

 
14
 
                                Anthrancene                 217                      0.0081
          การจัดเรียงของโครงร่างผลึก ความแข็งแรงของการยึดเกาะโมเลกุลหรือไอออนทีอยู่ใกล้กัน สามารถแสดงได้ดวยค่าพลังงาน
                                                                                   ่                         ้
โครงร่างผลึก (crystal lattice enthalpy) การจัดเรียงของโมเลกุลที่แตกต่างกันจะมีผลให้พลังงานโครงร่างผลึกแตกต่างกัน และส่งผล
ให้สมบัติทางกายภาพของสารแตกต่างกันด้วย ได้แก่ จุดหลอมเหลว การละลาย สารที่มีสูตรโครงสร้างโมเลกุลเหมือนกันแต่มีการจัดเรียง
โมเลกุลในโครงร่างผลึกต่างกันเรียกว่า พหุสัณฐาน (polymorphs) รูปแบบของผลึกสารทีมพลังงานโครงร่างผลึกต่ําสุดจะมีความคงตัว
                                                                                   ่ี
สูงสุดจัดเป็น ผลึกที่คงตัว (stable form) และมีจุดหลอมเหลวสูงที่สุด ในทางตรงข้ามรูปแบบการจัดเรียงตัวที่มีโครงร่างผลึกสูงจะมี
ความคงตัวต่ําเป็นผลึกที่ไม่คงตัว (metastable form) และมีจุดหลอมเหลวต่ํา
          6.3 Hydration and solvation
                 6.3.1 Hydration of non-electrolytes สารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ มักจะละลายน้ําได้ยากหรือไม่ละลายน้ําเลย
แต่ถาโมเลกุลนันๆ ประกอบด้วย –OH group เป็นจํานวนมาก ก็สามารถช่วยทําให้โมเลกุลเกิด hydrogen bonding กับโมเลกุลของน้ํา
     ้         ้
ที่อยู่ลอมรอบและมีผลทําให้เกิด hydration ค่าการละลายจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก เช่น การละลายของ sucrose manitol และ sorbitol
        ้
ในน้ํา เป็นต้น
                 6.3.2 Hydration of ionic species ไอออนชนิดต่างๆทัง anions และ cations เป็นกระจายอยู่ในน้าจะมีแรง
                                                                           ้                                        ํ
ดึงดูดกับโมเลกุลของน้ําและแรงดึงดูดดังกล่าวมีขนาดค่อนข้างสูง ทําให้ไอออนเกือบทุกชนิดมีโมเลกุลของน้าล้อมรอบ เป็นชั้นบางๆ การ
                                                                                                     ํ
เคลื่อนที่ของไอออนทุกครั้งจะพาเอาชั้นของน้าไปด้วย จํานวนโมเลกุลของาน้ําที่เข้าล้อมรอบไอออนซึ่ง เรียกว่า hydration number จะ
                                           ํ
ขึ้นอยูกับขนาดและจํานวนประจุของไอออน เช่น monovalent ions จะมี hydration number = 4 ส่วน polyvalent ions จะมี
       ่
hydration number ลดน้อยลง ไอออนที่มีขนาดเล็กจะมี hydration number สูงเมื่อเทียบกับไอออนที่มขนาดใหญ่ี


7. Partition phenomena
           Partition phenomena คือปรากฎการณ์ที่ตวถูกละลาย (Solute) ละลายอยู่ในตัวทําละลาย 2 ชนิดที่ไม่เข้ากัน (Immiscible
                                                    ั
solvent) จนเกิดสภาวะสมดุล ซึ่งค่าคงที่ค่าหนึงทีใช้อธิบายปรากฎการณ์นี้ ได้แก่ค่า Partition coefficient (สัมประสิทธิการแบ่งภาค)
                                             ่ ่                                                                  ์
ซึ่งมีค่าเท่ากับอัตราส่วนความเข้มข้นของตัวถูกละลายในแต่ละวัตภาคของตัวทําละลาย 2 ชนิดที่ไม่เข้ากัน ณ สภาวะสมดุล
         โดยทั่วไปค่าสัมประสิทธิ์การแบ่งภาค (P) ของตัวถูกละลายใดๆ หมายถึง อัตราส่วนความเข้มข้นของตัวถูกละลายนั้นๆในวัต
ภาคน้ํา และวัตภาคของ hydrophobic solvent เช่น 1-Octanol ณ สภาวะสมดุล และเป็นค่าที่บ่งบอกถึงความชอบน้ําหรือไม่ชอบน้ํา
ของตัวถูกละลายแต่ละชนิด
          ถ้าตัวถูกละลายสามารถแตกตัวได้ (เป็นกรดหรือด่าง)




          ค่าสัมประสิทธิ์การแบ่งภาค หรือ ค่า P      =         [HA]o / [HA] aq
          โดยทั่วไปค่าสัมประสิทธิ์การแบ่งภาคของตัวถูกละลายหรือตัวยาใดๆ นิยมแสดงในรูปของค่า log P

Solubility and Partition phenomena

 
15
 
ตารางที่ 12 ค่าสัมประสิทธิ์การแบ่งภาคของยาบางชนิดใน 1-octanol-water หรือ 1-octanol-phosphate buffer

                             Drug                            log P

                             Ascorbic acid                   -1.64

                             Ethanol                         - 0.31

                             Phenobarbital                   1.47

                             α- Tocopherol                   12.28

       จากตาราง เมือพิจารณาจากค่า log P จะเห็นว่า ascorbic acid เป็นยาที่ชอบน้ําเนื่องจากมีคา log P ต่ํา ในขณะที่ α-
                     ่                                                                      ่
tocopherol เป็นยาที่ไม่ชอบน้ําเนื่องจากมีคา log P สูง
                                          ่


บรรณานุกรม
Gennaro, AR. (1995) Remington: the science and practice of pharmacy. 19th Ed., Mack publishing Company,
       Pennsylvania.
Lien, EJ. & Ren, SS. (2007) Partition coefficients: In Swarbrick, J., editor: Encyclopedia of Pharmaceutical
         Technology. 3rd Ed. Informa Healthcare, New York.
Martin, A., Swarbrick, J., Cammarata, A. (1983) Physical Pharmacy. 3rd Ed., Lea & Febiger, USA.
ดวงดาว ฉันทศาสตร์ (2551) สารละลายและหลักการละลาย, บริษัท ประชาชน จํากัด: กรุงเทพฯ.
สมพล ประคองพันธ์ (2529) การพัฒนาตํารับยาน้ํา, พิมพ์ครังที่ 1, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล: กรุงเทพฯ.
                                                      ้




Solubility and Partition phenomena

 

More Related Content

What's hot

6 solution
6 solution6 solution
6 solution
seluluse
 
Solubility
SolubilitySolubility
การเตรียมน้ำเกลือที่มีความเข้มข้นแตกต่างจากที่มีในบัญชีโรงพยาบาล
การเตรียมน้ำเกลือที่มีความเข้มข้นแตกต่างจากที่มีในบัญชีโรงพยาบาลการเตรียมน้ำเกลือที่มีความเข้มข้นแตกต่างจากที่มีในบัญชีโรงพยาบาล
การเตรียมน้ำเกลือที่มีความเข้มข้นแตกต่างจากที่มีในบัญชีโรงพยาบาลRachanont Hiranwong
 
บทที่ 8 กรด เบส
บทที่ 8 กรด เบสบทที่ 8 กรด เบส
บทที่ 8 กรด เบส
oraneehussem
 
Dissolution2555
Dissolution2555Dissolution2555
Dissolution2555adriamycin
 
แก๊ส
แก๊ส แก๊ส
แก๊ส
Piyanart Suebsanoh
 
ระบบยาและงานบริบาลเภสัชกรรม
ระบบยาและงานบริบาลเภสัชกรรมระบบยาและงานบริบาลเภสัชกรรม
ระบบยาและงานบริบาลเภสัชกรรม
Rachanont Hiranwong
 
แบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
แบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีแบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
แบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ืkanya pinyo
 
เคมี
เคมีเคมี
เคมีcrazygno
 
กรด เบสและสมดุลไอออน - Ion Equilibrium
กรด เบสและสมดุลไอออน - Ion Equilibriumกรด เบสและสมดุลไอออน - Ion Equilibrium
กรด เบสและสมดุลไอออน - Ion Equilibrium
Dr.Woravith Chansuvarn
 
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2Tanchanok Pps
 
มาตรฐานร้านยา (Standard of Drugstores) โดย นส.ภ.ทวินันท์ วงษ์ต้น
มาตรฐานร้านยา (Standard of Drugstores) โดย  นส.ภ.ทวินันท์ วงษ์ต้น มาตรฐานร้านยา (Standard of Drugstores) โดย  นส.ภ.ทวินันท์ วงษ์ต้น
มาตรฐานร้านยา (Standard of Drugstores) โดย นส.ภ.ทวินันท์ วงษ์ต้น
Utai Sukviwatsirikul
 
ความแตกต่างระหว่าง Drotaverine และ hyoscine
ความแตกต่างระหว่าง Drotaverine และ hyoscineความแตกต่างระหว่าง Drotaverine และ hyoscine
ความแตกต่างระหว่าง Drotaverine และ hyoscine
Aiman Sadeeyamu
 
บทที่ 3 สารละลาย
บทที่ 3 สารละลายบทที่ 3 สารละลาย
บทที่ 3 สารละลายNang Ka Nangnarak
 
Ciprofloxacin hydochloride tablet n_due form1
Ciprofloxacin hydochloride tablet n_due form1Ciprofloxacin hydochloride tablet n_due form1
Ciprofloxacin hydochloride tablet n_due form1
Utai Sukviwatsirikul
 
ปริมาณสารสัมพันธ์
ปริมาณสารสัมพันธ์ปริมาณสารสัมพันธ์
ปริมาณสารสัมพันธ์Arocha Chaichana
 

What's hot (20)

6 solution
6 solution6 solution
6 solution
 
Solubility
SolubilitySolubility
Solubility
 
การเตรียมน้ำเกลือที่มีความเข้มข้นแตกต่างจากที่มีในบัญชีโรงพยาบาล
การเตรียมน้ำเกลือที่มีความเข้มข้นแตกต่างจากที่มีในบัญชีโรงพยาบาลการเตรียมน้ำเกลือที่มีความเข้มข้นแตกต่างจากที่มีในบัญชีโรงพยาบาล
การเตรียมน้ำเกลือที่มีความเข้มข้นแตกต่างจากที่มีในบัญชีโรงพยาบาล
 
บทที่ 8 กรด เบส
บทที่ 8 กรด เบสบทที่ 8 กรด เบส
บทที่ 8 กรด เบส
 
สอนเตรียมสารละลาย
สอนเตรียมสารละลายสอนเตรียมสารละลาย
สอนเตรียมสารละลาย
 
Dissolution2555
Dissolution2555Dissolution2555
Dissolution2555
 
ค่ามาตรฐาน
ค่ามาตรฐานค่ามาตรฐาน
ค่ามาตรฐาน
 
แก๊ส
แก๊ส แก๊ส
แก๊ส
 
ระบบยาและงานบริบาลเภสัชกรรม
ระบบยาและงานบริบาลเภสัชกรรมระบบยาและงานบริบาลเภสัชกรรม
ระบบยาและงานบริบาลเภสัชกรรม
 
แบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
แบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีแบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
แบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
 
เคมี
เคมีเคมี
เคมี
 
กรด เบสและสมดุลไอออน - Ion Equilibrium
กรด เบสและสมดุลไอออน - Ion Equilibriumกรด เบสและสมดุลไอออน - Ion Equilibrium
กรด เบสและสมดุลไอออน - Ion Equilibrium
 
การตกผลึก
การตกผลึกการตกผลึก
การตกผลึก
 
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2
 
Solid liquid-gas
Solid liquid-gasSolid liquid-gas
Solid liquid-gas
 
มาตรฐานร้านยา (Standard of Drugstores) โดย นส.ภ.ทวินันท์ วงษ์ต้น
มาตรฐานร้านยา (Standard of Drugstores) โดย  นส.ภ.ทวินันท์ วงษ์ต้น มาตรฐานร้านยา (Standard of Drugstores) โดย  นส.ภ.ทวินันท์ วงษ์ต้น
มาตรฐานร้านยา (Standard of Drugstores) โดย นส.ภ.ทวินันท์ วงษ์ต้น
 
ความแตกต่างระหว่าง Drotaverine และ hyoscine
ความแตกต่างระหว่าง Drotaverine และ hyoscineความแตกต่างระหว่าง Drotaverine และ hyoscine
ความแตกต่างระหว่าง Drotaverine และ hyoscine
 
บทที่ 3 สารละลาย
บทที่ 3 สารละลายบทที่ 3 สารละลาย
บทที่ 3 สารละลาย
 
Ciprofloxacin hydochloride tablet n_due form1
Ciprofloxacin hydochloride tablet n_due form1Ciprofloxacin hydochloride tablet n_due form1
Ciprofloxacin hydochloride tablet n_due form1
 
ปริมาณสารสัมพันธ์
ปริมาณสารสัมพันธ์ปริมาณสารสัมพันธ์
ปริมาณสารสัมพันธ์
 

Viewers also liked

Mass transport
Mass transportMass transport
Mass transportadriamycin
 
จลนศาสตร์ของปฏิกิริยา และความคงตัวของเภสัชภัณฑ์
จลนศาสตร์ของปฏิกิริยา และความคงตัวของเภสัชภัณฑ์จลนศาสตร์ของปฏิกิริยา และความคงตัวของเภสัชภัณฑ์
จลนศาสตร์ของปฏิกิริยา และความคงตัวของเภสัชภัณฑ์adriamycin
 
Interfacial phenomena 2555
Interfacial phenomena 2555Interfacial phenomena 2555
Interfacial phenomena 2555adriamycin
 
บทที่ 11 เคมีอินทรีย์
บทที่ 11 เคมีอินทรีย์บทที่ 11 เคมีอินทรีย์
บทที่ 11 เคมีอินทรีย์
oraneehussem
 
Hw 1 state_of_matter
Hw 1 state_of_matterHw 1 state_of_matter
Hw 1 state_of_matteradriamycin
 
Mass transport
Mass transportMass transport
Mass transportadriamycin
 
Intro to dosage form
Intro to dosage formIntro to dosage form
Intro to dosage formadriamycin
 
สุขศึกษา ป6
สุขศึกษา ป6สุขศึกษา ป6
สุขศึกษา ป6
Kruthai Kidsdee
 
Hard soft acid_base
Hard soft acid_baseHard soft acid_base
Hard soft acid_base
simachem
 
ของไหล 2
ของไหล 2ของไหล 2
ของไหล 2
luanrit
 
แอลกอฮอล์ ฟีนอล แอลดีไฮด์ คีโตน
แอลกอฮอล์ ฟีนอล แอลดีไฮด์ คีโตนแอลกอฮอล์ ฟีนอล แอลดีไฮด์ คีโตน
แอลกอฮอล์ ฟีนอล แอลดีไฮด์ คีโตนjirat266
 
พื้นฐานการวิเคราะห์ตำรับยา New
พื้นฐานการวิเคราะห์ตำรับยา Newพื้นฐานการวิเคราะห์ตำรับยา New
พื้นฐานการวิเคราะห์ตำรับยา New
Nickson Butsriwong
 
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยา
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยาบทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยา
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยา
Pa'rig Prig
 

Viewers also liked (20)

Mass transport
Mass transportMass transport
Mass transport
 
Stability
StabilityStability
Stability
 
จลนศาสตร์ของปฏิกิริยา และความคงตัวของเภสัชภัณฑ์
จลนศาสตร์ของปฏิกิริยา และความคงตัวของเภสัชภัณฑ์จลนศาสตร์ของปฏิกิริยา และความคงตัวของเภสัชภัณฑ์
จลนศาสตร์ของปฏิกิริยา และความคงตัวของเภสัชภัณฑ์
 
Interfacial phenomena 2555
Interfacial phenomena 2555Interfacial phenomena 2555
Interfacial phenomena 2555
 
บทที่ 11 เคมีอินทรีย์
บทที่ 11 เคมีอินทรีย์บทที่ 11 เคมีอินทรีย์
บทที่ 11 เคมีอินทรีย์
 
Bio physics period1
Bio physics period1Bio physics period1
Bio physics period1
 
Hw 1 state_of_matter
Hw 1 state_of_matterHw 1 state_of_matter
Hw 1 state_of_matter
 
Mass transport
Mass transportMass transport
Mass transport
 
3
33
3
 
Intro to dosage form
Intro to dosage formIntro to dosage form
Intro to dosage form
 
Compre step 2_2010 si key
Compre step 2_2010 si keyCompre step 2_2010 si key
Compre step 2_2010 si key
 
สุขศึกษา ป6
สุขศึกษา ป6สุขศึกษา ป6
สุขศึกษา ป6
 
Hard soft acid_base
Hard soft acid_baseHard soft acid_base
Hard soft acid_base
 
ของไหล 2
ของไหล 2ของไหล 2
ของไหล 2
 
แอลกอฮอล์ ฟีนอล แอลดีไฮด์ คีโตน
แอลกอฮอล์ ฟีนอล แอลดีไฮด์ คีโตนแอลกอฮอล์ ฟีนอล แอลดีไฮด์ คีโตน
แอลกอฮอล์ ฟีนอล แอลดีไฮด์ คีโตน
 
การสกัดด้วยตัวทำละลาย
การสกัดด้วยตัวทำละลายการสกัดด้วยตัวทำละลาย
การสกัดด้วยตัวทำละลาย
 
การสกัดด้วยตัวทำละลาย
การสกัดด้วยตัวทำละลายการสกัดด้วยตัวทำละลาย
การสกัดด้วยตัวทำละลาย
 
พื้นฐานการวิเคราะห์ตำรับยา New
พื้นฐานการวิเคราะห์ตำรับยา Newพื้นฐานการวิเคราะห์ตำรับยา New
พื้นฐานการวิเคราะห์ตำรับยา New
 
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยา
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยาบทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยา
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยา
 
ความตึงผิว
ความตึงผิวความตึงผิว
ความตึงผิว
 

Similar to Solu partition2555

สารละลาย
สารละลายสารละลาย
สารละลาย
nn ning
 
Concentration 2018
Concentration 2018Concentration 2018
Concentration 2018
Saipanya school
 
Concentration ..2018
Concentration ..2018Concentration ..2018
Concentration ..2018
Saipanya school
 
สารละลาย (Solution)
สารละลาย (Solution)สารละลาย (Solution)
สารละลาย (Solution)
Dr.Woravith Chansuvarn
 
3 concentration
3 concentration3 concentration
3 concentration
Saipanya school
 
สารละลาย (Solution)
สารละลาย (Solution)สารละลาย (Solution)
สารละลาย
สารละลายสารละลาย
สารละลายJariya Jaiyot
 

Similar to Solu partition2555 (8)

สารละลาย
สารละลายสารละลาย
สารละลาย
 
Concentration 2018
Concentration 2018Concentration 2018
Concentration 2018
 
Concentration ..2018
Concentration ..2018Concentration ..2018
Concentration ..2018
 
สารละลาย (Solution)
สารละลาย (Solution)สารละลาย (Solution)
สารละลาย (Solution)
 
3 concentration
3 concentration3 concentration
3 concentration
 
Substance2
Substance2Substance2
Substance2
 
สารละลาย (Solution)
สารละลาย (Solution)สารละลาย (Solution)
สารละลาย (Solution)
 
สารละลาย
สารละลายสารละลาย
สารละลาย
 

More from adriamycin

Slide interfacial phenomena pdf
Slide interfacial phenomena pdfSlide interfacial phenomena pdf
Slide interfacial phenomena pdfadriamycin
 
Complexation2555
Complexation2555Complexation2555
Complexation2555adriamycin
 
State of matter
State of matterState of matter
State of matteradriamycin
 
Hw 1 state_of_matter
Hw 1 state_of_matterHw 1 state_of_matter
Hw 1 state_of_matteradriamycin
 
State of matter
State of matterState of matter
State of matteradriamycin
 
Pharm care
Pharm carePharm care
Pharm care
adriamycin
 
ปรากฏการณ์ฝนตก
ปรากฏการณ์ฝนตกปรากฏการณ์ฝนตก
ปรากฏการณ์ฝนตกadriamycin
 
กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า
กระติกน้ำร้อนไฟฟ้ากระติกน้ำร้อนไฟฟ้า
กระติกน้ำร้อนไฟฟ้าadriamycin
 
สารลดแรงตึงผิวในผงซักฟอก
สารลดแรงตึงผิวในผงซักฟอกสารลดแรงตึงผิวในผงซักฟอก
สารลดแรงตึงผิวในผงซักฟอกadriamycin
 
สเปรย์ระงับกลิ่นกาย
สเปรย์ระงับกลิ่นกายสเปรย์ระงับกลิ่นกาย
สเปรย์ระงับกลิ่นกายadriamycin
 
น้ำกลิ้งบนใบบัว
น้ำกลิ้งบนใบบัวน้ำกลิ้งบนใบบัว
น้ำกลิ้งบนใบบัวadriamycin
 
09 น้ำกลิ้งบนใบบัว
09 น้ำกลิ้งบนใบบัว09 น้ำกลิ้งบนใบบัว
09 น้ำกลิ้งบนใบบัวadriamycin
 
การระเหิดของลูกเหม็น
การระเหิดของลูกเหม็นการระเหิดของลูกเหม็น
การระเหิดของลูกเหม็นadriamycin
 
จิงโจ้น้ำกับแรงตึงผิว
จิงโจ้น้ำกับแรงตึงผิวจิงโจ้น้ำกับแรงตึงผิว
จิงโจ้น้ำกับแรงตึงผิวadriamycin
 
การทำอาหารแห้งโดยใช้หลักพื้นฐานวัฏภาคน้ำ
การทำอาหารแห้งโดยใช้หลักพื้นฐานวัฏภาคน้ำการทำอาหารแห้งโดยใช้หลักพื้นฐานวัฏภาคน้ำ
การทำอาหารแห้งโดยใช้หลักพื้นฐานวัฏภาคน้ำadriamycin
 
น้ำกลิ้งบนใบบอน
น้ำกลิ้งบนใบบอนน้ำกลิ้งบนใบบอน
น้ำกลิ้งบนใบบอนadriamycin
 
คะแนน รุ่น11
คะแนน รุ่น11คะแนน รุ่น11
คะแนน รุ่น11adriamycin
 

More from adriamycin (20)

Slide interfacial phenomena pdf
Slide interfacial phenomena pdfSlide interfacial phenomena pdf
Slide interfacial phenomena pdf
 
Complexation2555
Complexation2555Complexation2555
Complexation2555
 
State of matter
State of matterState of matter
State of matter
 
Hw 1 state_of_matter
Hw 1 state_of_matterHw 1 state_of_matter
Hw 1 state_of_matter
 
State of matter
State of matterState of matter
State of matter
 
Intro to sci
Intro to sciIntro to sci
Intro to sci
 
Pharm care
Pharm carePharm care
Pharm care
 
Pharm care
Pharm carePharm care
Pharm care
 
Pharm care
Pharm carePharm care
Pharm care
 
ปรากฏการณ์ฝนตก
ปรากฏการณ์ฝนตกปรากฏการณ์ฝนตก
ปรากฏการณ์ฝนตก
 
กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า
กระติกน้ำร้อนไฟฟ้ากระติกน้ำร้อนไฟฟ้า
กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า
 
สารลดแรงตึงผิวในผงซักฟอก
สารลดแรงตึงผิวในผงซักฟอกสารลดแรงตึงผิวในผงซักฟอก
สารลดแรงตึงผิวในผงซักฟอก
 
สเปรย์ระงับกลิ่นกาย
สเปรย์ระงับกลิ่นกายสเปรย์ระงับกลิ่นกาย
สเปรย์ระงับกลิ่นกาย
 
น้ำกลิ้งบนใบบัว
น้ำกลิ้งบนใบบัวน้ำกลิ้งบนใบบัว
น้ำกลิ้งบนใบบัว
 
09 น้ำกลิ้งบนใบบัว
09 น้ำกลิ้งบนใบบัว09 น้ำกลิ้งบนใบบัว
09 น้ำกลิ้งบนใบบัว
 
การระเหิดของลูกเหม็น
การระเหิดของลูกเหม็นการระเหิดของลูกเหม็น
การระเหิดของลูกเหม็น
 
จิงโจ้น้ำกับแรงตึงผิว
จิงโจ้น้ำกับแรงตึงผิวจิงโจ้น้ำกับแรงตึงผิว
จิงโจ้น้ำกับแรงตึงผิว
 
การทำอาหารแห้งโดยใช้หลักพื้นฐานวัฏภาคน้ำ
การทำอาหารแห้งโดยใช้หลักพื้นฐานวัฏภาคน้ำการทำอาหารแห้งโดยใช้หลักพื้นฐานวัฏภาคน้ำ
การทำอาหารแห้งโดยใช้หลักพื้นฐานวัฏภาคน้ำ
 
น้ำกลิ้งบนใบบอน
น้ำกลิ้งบนใบบอนน้ำกลิ้งบนใบบอน
น้ำกลิ้งบนใบบอน
 
คะแนน รุ่น11
คะแนน รุ่น11คะแนน รุ่น11
คะแนน รุ่น11
 

Solu partition2555

  • 1. 1   Solubility and Partition phenomena อ.ภญ.ศุภกัญญา ตันตระบัณฑิตย์ ดร.ภญ.ปิลันธนา เลิศสถิตธนกร บทนํา การละลายของสารเป็นการทําให้ตัวถูกละลายหนึ่งชนิดหรือมากกว่ากระจายตัวอยูในตัวทําละลาย ให้ได้สารผสมที่มีลักษณะ ่ เป็นเนื้อเดียวกัน อย่างไรก็ตามในทางเภสัชกรรม ยาเตรียมในรูปสารละลาย หมายถึง ยาน้าใส (solution) ซึ่งมีตัวยาในรูปของแข็งหรือ ํ ของเหลวหนึงชนิดหรือมากกว่า ละลายเป็นเนื้อเดียวกันในตัวทําละลาย โดยตัวทําละลายทีใช้กันมากที่สุดและสําคัญที่สุด คือน้ําบริสุทธิ์ ่ ่ ซึ่งปัญหาที่พบบ่อยในการตังตํารับยาน้ําใส คือ ตัวยาสําคัญละลายได้ยากหรือละลายไม่หมด หรือตกตะกอนเมื่อตังทิงไว้ทําให้ยาเตรียมที่ ้ ้ ้ ได้มีสข่นไม่นาใช้ การศึกษาทฤษฎีของสารละลาย (solutions) และค่าการละลาย (solubility) เป็นสิ่งสําคัญและจําเป็นจะต้องทําความ ีุ ่ เข้าใจให้ถองแท้ เพื่อจะได้นําความรู้เหล่านั้นไปใช้ในการเตรียม การพัฒนาและการแก้ปัญหาความยุ่งยากต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการ ่ เตรียมตํารับยาน้ําใส 1. หลักการทั่วไปของค่าการละลาย 1.1 สารละลาย (True solution) สารละลาย หมายถึง ส่วนผสมของสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป รวมตัวกันอยู่เป็นเนื้อเดียวกัน (Homogeneous) ทั้งทางเคมีและ ฟิสิกส์ โดยทั่วไปจะหมายถึงเฉพาะส่วนผสมที่เป็นเนื้อเดียวกันซึ่งเป็นของเหลว ถึงแม้จะเป็นไปได้ที่จะมีส่วนผสมซึ่งเป็นเนื้อเดียวกันอยู่ ในรูปทั้งของแข็งและแก๊สก็ตาม เช่น ของแข็งกระจายตัวในของเหลว ของเหลวกระจายตัวในของเหลว แก๊สกระจายตัวในของเหลว หรือ ของแข็งกระจายตัวในของแข็ง แต่ที่สําคัญที่สดในทางเภสัชกรรมคือ สารละลายของของแข็งทีกระจายตัวอยู่ในของเหลวองค์ประกอบที่มี ุ ่ ปริมาณมากกว่า (major component) เรียกว่า ตัวทําละลาย (solvent) ทําหน้าที่เป็นตัวกลางให้เกิดการละลาย และองค์ประกอบ อื่นๆ ที่มีปริมาณน้อยกว่า เรียกว่า ตัวถูกละลาย (solute) ซึ่งจะกระจายและถูกละลายอยู่ในองค์ประกอบแรก อนุภาคของตัวถูกละลาย ที่กระจายอยูในสารละลายจะมีขนาดเล็กมาก ่ ในสารละลายหนึ่งๆ ปริมาณของตัวถูกละลายที่อยูในสารละลายนั้นๆ อาจกล่าวได้ว่าเป็นความเข้มข้นของตัวถูกละลาย ่ สารละลายที่ประกอบด้วยตัวถูกละลายปริมาณน้อยๆ ละลายอยู่ในตัวทําละลายปริมาณมากๆ เรียกว่า สารละลายเจือจาง (dilute solution) และถ้าตัวถูกละลายปริมาณมากอยู่ในตัวทําละลาย สารละลายนั้นจะเรียกว่า สารละลายเข้มข้น (concentrated solution) และถ้าเติมตัวถูกละลายลงไปมากเกินพอ มากเกินความสามารถปกติของมันก็จะเกิดสมดุลขึนระหว่างตัวถูกละลายบริสุทธ์ ้ (pure solute) และตัวถูกละลายที่ละลาย (dissolved solute) Solute (pure) Solute (dissolve) ตัวทําละลายอาจเป็นของแข็ง ของเหลว หรือ แก๊ส และสภาวะที่สมดุลนี้ อัตราเร็วของการละลายของตัวถูกละลายบริสทธิ์จะ ุ เท่ากับอัตราเร็วของตัวถูกละลายที่ละลายเปลี่ยนกลับออกมาเป็นตัวถูกละลายบริสุทธิ์ ดังนั้นที่สภาวะนี้ความเข้มข้นของสารละลายจะ คงที่ เรียกสารละลายประเภทนีว่า สารละลายอิ่มตัว (saturated solution) และความเข้มข้นของสารละลาย ณ อุณหภูมที่กําหนดให้ ้ ิ คือ ค่าการละลายของสารนั้นนันเอง สําหรับสารละลายไม่อิ่มตัว (unsaturated solution) คือ สารละลายที่มีความเข้มข้นน้อยกว่า ่ สารละลายอิ่มตัว ในบางครั้งเราสามารถเตรียม สารละลายอิมตัวยิ่งยวด (supersaturated solution) ได้ ซึ่งสารละลายนี้จะมีความ ่ เข้มข้นสูงกว่าสารละลายอิ่มตัวแต่ไม่เสถียร ดังนั้น ถ้าเติมตัวถูกละลายลงไปอีกเล็กน้อยจะทําให้ตัวถูกละลายที่มากเกินพอจะตกตะกอน ออกมา ยกตัวอย่างเช่น sodium thiosulfate สามารถละลายได้ในปริมาณมากเมื่ออุณหภูมิสูง แต่เมื่อทําให้สารละลายเย็นตัวลงจะไม่ เกิดผลึกขึ้นซึ่งจะเป็นสารละลายอิ่มตัวยิงยวด ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นสารละลายอิ่มตัวธรรมดาโดยการให้ตกผลึกลงมาโดยอาศัยผลึกของ ่ ตัวถูกละลายนั้น หรือโดยการเขย่าอย่างรุนแรง หรือทําให้ผวของภาชนะไม่เรียบ ิ Solubility and Partition phenomena  
  • 2. 2   1.2 กลไกการละลาย การที่โมเลกุลของตัวถูกละลายจะกระจายตัวอยู่ในตัวทําละลายได้นั้น เกิดจากกลไกดังแสดงในรูปที่ 1 กล่าวคือ โมเลกุลของตัวถูกละลายต้องกระจายแยกออกจากกัน เพื่อให้โอกาสแก่โมเลกุลของตัวทําละลายเข้าล้อมรอบ ส่วนโมเลกุลของตัวทํา ละลายก็ต้องกระจายแยกออกจากกัน เพื่อให้เกิดช่องว่างสําหรับโมเลกุลของตัวถูกละลายเข้าแทรก การละลายจะเกิดขึ้นเมื่อมีขนาดของแรงดึงดูดเพียงพอระหว่างโมเลกุลของตัวถูกละลายและตัวทําละลาย (solute- solvent interaction forces, 2W12) แรงดึงดูดนี้จะต้องมากกว่าแรงดึงดูดภายในโมเลกุลของตัวถูกละลาย (W22) และมากกว่าแรงดึงดูด ภายในโมเลกุลของตัวทําละลาย (W11) ผลรวมของแรงต่างๆระหว่างโมเลกุลของตัวถูกละลายและตัวทําละลายในปฏิกิริยาการละลาย ก่อให้เกิดพลังงานทีทา ่ ํ ให้ตวถูกละลายละลายอยู่ในตัวทําละลาย ผลรวมของพลังงานทั้งหมด (W) ต่อ1 โมเลกุลของตัวทําละลายสามารถแสดงได้ดวยสมการ ั ้ W = W22 + W11 – 2W12 ………………...สมการที่ 1 เมื่อ W22 คือ พลังงานที่ใช้ในการแตกแยกแรงภายในโมเลกุลของตัวถูกละลาย W11 คือ พลังงานที่ใช้ในการแตกแยกแรงภายในโมเลกุลของตัวทําละลาย W12 คือ พลังงานที่เกิดจากแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของตัวถูกละลายและตัวทําละลาย รูปที่ 1 แสดงกลไกของการละลาย ถ้า W เป็นบวก แสดงว่าพลังงานที่ต้องใช้ในการทําลายแรงยึดเหนี่ยวมากกว่าพลังงานที่เกิดขึ้นจากการสร้างแรงยึดเหนี่ยว ระบบต้องรับพลังงานจากภายนอกเข้าไป เพื่อที่จะสามารถเกิดเป็นสารละลายได้ เรียกระบบนี้ว่า endothermic system ถ้า W เป็นลบ แสดงว่าพลังงานที่ต้องใช้ในการทําลายแรงยึดเหนี่ยวน้อยกว่าพลังงานที่เกิดขึนจากการสร้างแรงยึดเหนี่ยว ระบบ ้ ต้องคายพลังงานออกมา เพื่อทีจะสามารถเกิดเป็นสารละลายได้ เรียกระบบนีว่า exothermic system ่ ้ 1.3 ค่าการละลาย หรือขีดการละลาย (Solubility) 1.3.1 ค่าการละลาย (Solubility) Solubility and Partition phenomena  
  • 3. 3   ค่าการละลาย หมายถึงขีดความสามารถของสารในการละลายในตัวทําละลายชนิดหนึ่ง ณ อุณหภูมและ ิ ความดันหนึ่ง นั่นก็คือปริมาณของสารที่ได้ละลายอยู่ในสารละลายจนได้สารละลายอิ่มตัว (saturated solution) ณ อุณหภูมิและความ ดันที่กําหนดให้ และเกิดความสมดุลขึ้นระหว่างสารละลายที่เตรียมได้กับส่วนเกินของสาร (excess solute) ซึ่งไม่ละลายและผสมอยู่ใน สารละลายดังกล่าว ค่าการละลายของสารอาจแสดงเป็นค่าที่แน่นอน เช่น molarity, molality, mole fraction, %w/w, %w/v ตามตัวอย่างในตารางที่ 1 หรืออาจแสดงเป็นค่าโดยประมาณตามเภสัชตํารับ ดังตัวอย่างในตารางที่ 2 ตารางที่ 1 หน่วยความเข้มข้นของสารละลาย ชนิด สัญลักษณ์ คําจํากัดความ Molarity* M จํานวนโมลของตัวถูกละลายในสารละลาย 1 ลิตร Normality* N จํานวนกรัมสมมูลของตัวถูกละลายในสารละลาย 1 ลิตร Molality m จํานวนโมลของตัวถูกละลายในตัวทําละลาย 1 กิโลกรัม Mole fraction X จํานวนโมลของตัวถูกละลายเทียบกับจํานวนโมลของสารทุกชนิดในสารละลาย Mole percent - Mole fraction ที่แสดงในรูปเปอร์เซ็นต์ Percent by weight % w/w จํานวนกรัมของตัวถูกละลายในสารละลาย 100 กรัม Percent by volume* % v/v จํานวนมิลลิลิตรของตัวถูกละลายในสารละลาย 100 มิลลิลิตร Percent weight in volume* % w/v จํานวนกรัมของตัวถูกละลายในสารละลาย 100 มิลลิลิตร Milligram percent* Mg % จํานวนมิลลิกรัมของตัวถูกละลายในสารละลาย 100 มิลลิลิตร * หน่วยความเข้มข้นที่ขึ้นกับอุณหภูมิ ตารางที่ 2 การเรียกค่าการละลายของสารโดยประมาณตามเภสัชตํารับ ขีดการละลายของสารโดยประมาณตามเภสัชตํารับ ส่วนของตัวทําละลายที่ใช้ละลายตัวละลาย 1 ส่วน Very soluble <1 Freely soluble 1-10 Soluble 10-30 Sparingly soluble 30-100 Slightly soluble 100-1,000 Very slightly soluble 1,000-10,000 Practically insoluble or insoluble >10,000 ตารางที่ 3 ค่าการละลายของสารบางชนิดที่อณหภูมิ 25°C ุ สาร คําจํากัดความ ค่าการละลาย Phenobarbital Very slightly soluble 1 g in 1000 ml Phenobarbital sodium Very soluble 1 g in 1 ml Atropine Slightly soluble 1 g in 466 ml Atropine sulfate Very soluble 1 g in 0.4 ml Codeine Slightly soluble 1 g in 120 ml Solubility and Partition phenomena  
  • 4. 4   Morphine Very slightly soluble 1 g in 5000 ml Sulfadiazine Practically insoluble 1 g in 13000 ml Silver chloride Insoluble 1 g in 520 l Aspirin Slightly soluble 1 g in 300 ml Phenol Soluble 1 g in 15 ml Camphor Slightly soluble 1 g in 800 ml Sodium carbonate Freely soluble 1 g in 3.5 ml 1.4 การประเมินค่าการละลาย มีข้อควรคํานึงถึง ดังต่อไปนี้ 1) ตัวละลายและตัวทําละลายต้องมีความบริสทธิ์ เนื่องจากสิ่งปนเปื้อนมีผลต่อขีดการละลายของสาร ุ 2) ต้องเตรียมสารละลายอิ่มตัวของตัวละลายในตัวทําละลาย 3) ต้องแยกตัวละลายที่เหลืออยูออกจากสารละลายอิ่มตัวจนหมด ่ 4) ต้องควบคุมอุณหภูมิ ณ สภาวะที่ศึกษาให้คงที่ 5) วิธีการทีใช้วิเคราะห์ปริมาณสารต้องเชื่อถือได้ ่ ขั้นตอนการประเมินขีดการละลายของของแข็งในตัวทําละลาย มีขั้นตอน ดังนี้ 1) ทําให้เกิดเป็นสารละลายอิ่มตัว โดยการละลายตัวถูกละลายในปริมาณที่มากเกินพอในตัวทําละลาย 2) กรองเอาส่วนที่ไม่ละลายออก 3) วิเคราะห์หาปริมาณตัวถูกละลายที่อยู่ในสารละลายนั้นๆ 2. ปฏิกิริยาระหว่างตัวถูกละลายและตัวทําละลาย (Solvent-solute interaction) 2.1 ตัวทําละลายมีขั้ว (Polar Solvents) ค่าการละลายจะขึ้นกับความเป็นขั้ว (polarity) ของตัวทําละลาย (นั่นคือ dipole moment) และความสามารถของตัวถูก ละลายที่จะเกิด hydrogen bond กับตัวทําละลาย ตัวถูกละลายที่จะละลายได้ในตัวทําละลายมีขั้ว จะเป็นสารที่มีขวเช่นกัน โดยใน ั้ โครงสร้างอาจจะมีกลุ่ม –OH, -COOH, -NH2 ซึ่งเป็นกลุ่มทีมีขั้วจะจับกับโมเลกุลของตัวทําละลายมีขั้ว เช่น น้ํา ซึ่งแสดงความเป็นขั้ว ่ ดังนี้ มีผู้เสนอกลไกสําหรับตัวทําละลายมีขั้ว (polar solvents) เช่น น้ํา ทําหน้าทีเ่ ป็นตัวทําละลายดังต่อไปนี้ 1. ลดแรงดึงดูดระหว่างขั้วประจุตางกันในผลึกของเกลือ (the lattice energy of crystal) โดยดูจากค่า dielectric constant ่ ของตัวทําละลาย ซึ่งยิ่งมีค่าสูงจะยิ่งเพิ่มการละลายของ ionic compounds เช่น เกลือจะละลายได้ดในน้าซึ่งมีคา dielectric ี ํ ่ Solubility and Partition phenomena  
  • 5. 5   constant สูงเท่ากับ 80 แต่จะละลายได้น้อยมากใน chloroform และ benzene ซึ่งมีค่า dielectric constant ต่ําเท่ากับ 5 และ 2 ตามลําดับ 2. ทําให้ covalent bonds ของ strong electrolytes แตกออกโดยอาศัย acid-base reaction ซึ่งตัวทําละลายจะประพฤติตัว เป็นพวก amphiprotic คือ ในบางกรณีน้ําจะทําหน้าที่เป็นกรดและบางกรณีจะทําหน้าที่เป็นเบส ตัวอย่างดังกรณี กรดแก่ เช่น HCl ก็จะแตกตัวดังนี้ กรณีกรดอินทรีย์อ่อน (weak organic acid) จะแตกตัวไม่สมบรูณ์ จึงละลายได้น้อยในน้ํา เช่น แต่จะละลายได้ดีในสารละลายที่เป็นด่าง ตัวอย่างกรดอ่อนนี้ เช่น phenols และ carboxylic acid 3. โมเลกุลของตัวทําละลายจะสามารถเกาะกับโมเลกุลหรือ ions ของตัวถูกละลาย (salvation) ผ่านทาง dipole interaction forces ซึ่งมักจะเป็นการเกิด hydrogen bond ทําให้การละลายเพิ่มขึ้น ตัวอย่างปฏิกริยา ion-dipole interaction ระหว่าง ิ เกลือ sodium ของ oleic acid กับน้ํา จะแสดงดังรูป 2.2 ตัวทําละลายไม่มีขั้ว (Nonpolar solvents) ตัวทําละลายไม่มีขั้ว เช่น สารพวก hydrocarbons จะมีค่า dielectric constant ต่ํา จึงไม่สามารถลดแรงดึงดูดระหว่างขั้ว ประจุของ strong และ weak electrolytes หรือไม่สามารถจะทําละลาย covalent bond หรือไม่สามารถ ionize พวก weak electrolyte (aprotic solvents) และไม่สามารถเกิด hydrogen bond กับพวก nonelctrolytes ได้ ดังนันสารพวก ionic และ polar ้ solutes จึงไม่ละลายหรือละลายได้น้อยมากในตัวทําละลายไม่มีขั้ว (nonpolar solvents) แต่ nonpolar solvents จะสามารถละลาย สาร nonpolar solutes ได้โดยเกิด weak van der Waals-London forces เพราะฉะนั้น พวก oils, fats หรือพวก alkaloidal bases และ fatty acids จะละลายได้ใน nonpolar solvents เช่น carbon tetrachloride, benzene และ mineral oil 2.3 ตัวทําละลายกึ่งมีขว (Semipolar Solvents) ั้ ตัวอย่างเช่น พวก ketones และ alcohol สามารถเหนี่ยวนําให้โมเลกุลของตัวถูกละลายที่ไม่มีขั้ว ให้เกิดความเป็นขั้ว (polarized) ได้ในระดับหนึ่ง ทําให้เข้ากันกับตัวทําละลายได้ นอกจากนี้ ตัวทําละลายกึงมีขั้ว ยังสามารถทําให้ตัวทําละลายของพวกมี ่ ขั้ว และไม่มข้วเข้ากันได้ดวย เช่น alcohol ช่วยในน้ําและ castor oil เข้ากันได้ นอกจากนี้ propylene glycol สามารถเพิมการละลาย ีั ้ ่ ระหว่างน้ํากับ peppermint oil และน้ํากับ benzyl benzoate ลักษณะของตัวทําละลายต่างๆ ในการละลายของตัวถูกละลาย ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นไปตามกฎ “like dissolves like” คือ สารใดๆ ไม่วาจะอยู่ในรูปของแข็งหรือของเหลว จะสามารถละลายและเข้ากันได้เป็นเนื้อเดียวกันกับตัวทําละลายที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึง ่ Solubility and Partition phenomena  
  • 6. 6   กับสารดังกล่าวเท่านั้น เช่น โครงสร้างทางเคมีที่คล้ายคลึงกัน ขนาดของแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล (intermolecular forces) ขนาดของ แรงดึงดูดภายในโมเลกุล (cohesive forces) ความมีขั้ว (polarity) และค่า dielectic constant ที่ใกล้เคียงกัน โดยสรุปก็คือ ค่าการ ละลายจะขึ้นกับผลทางเคมี ไฟฟ้า และโครงสร้างโมเลกุลทีมีต่อการทําปฏิกิริยาระหว่างกันของตัวทําละลายและตัวถูกละลาย ่ ตารางที่ 4 ความเป็นขั้วของตัวทําละลาย และตัวถูกละลายทีสามารถละลายได้ในตัวทําละลายแต่ละชนิด ่ สารละลายสามารถแบ่งตามสถานะ ของตัวทําละลาย ได้ 3 ชนิด คือ 1) สารละลายแก๊ส (Gaseous solution) เป็น สารละลายที่ตัวทําละลายเป็นแก๊ส ตัวถูกละลายจะอยู่ในสถานะใดก็ได้ เช่น สารละลายแก๊ส ได้แก่ อากาศ ไอน้ําในอากาศ 2) สารละลายของเหลว (Liquid solution) เป็นสารละลายที่ตัวทําละลายเป็นของเหลว ตัวถูกละลายจะอยู่ในสถานะใดก็ได้ เช่น น้ําเกลือ น้ําเชื่อม 3) สารละลายของแข็ง (Solid solution) เป็นสารละลายที่ตัวทําละลายเป็นของแข็ง ตัวถูกละลายจะอยู่ในสถานะใดก็ได้ เช่น ทองเหลือง (Cu ใน Zn) 3. ค่าการละลายของก๊าซในของเหลว (Solubility of Gases in Liquids) ค่าการละลายของก๊าซ คือ ความเข้มข้นของก๊าซซึ่งละลายและอยู่ในดุลยภาพ (equilibrium) กับก๊าซที่อยู่เหนือสารละลายน้ํา ตัวอย่างสารละลายของก๊าซในของเหลวในทางเภสัชกรรม เช่น hydrochloric acid, ammonia water และยาเตรียมฟองฟู่ (effervescent preparations) ซึ่งมี carbon dioxide ละลายอยู่ ยาฉีดพ่นหรือยาละอองลอย (aerosol) ซึ่งสารขับเคลื่อน (propellant) จะเป็น carbon dioxide หรือ nitrogen ซึ่งจะละลายอยู่บางส่วนภายใต้ความดัน ผลของ pressure : สําหรับสารละลายเจือจางทีอุณหภูมิคงที่ อธิบายได้โดย Henry’s law คือ ความเข้มของก๊าซที่ละลายอยู่จะ ่ เป็นสัดส่วนกับ partial pressure ของก๊าซที่อยู่เหนือสารละลายนั้นที่ดุลยภาพ ซึ่งจะเท่ากับความดันทังหมดเหนือสารละลายลบด้วย ้ ความดันไอของตัวทําละลาย โดยสรุปแล้ว เมื่อความดันเพิ่มขึ้น จะทําให้ค่าการละลายของก๊าซเพิ่มขึ้นด้วย ผลของ temperature : โดยทั่วไปเมือ อุณหภูมิเพิ่มขึ้นจะทําให้ค่าการละลายของก๊าซส่วนใหญ่ลดลง และทําให้ก๊าซมีแนวโน้ม ่ ขยายตัวขึ้น ตัวอย่างเช่น การเตรียมน้ํากลั่นสําหรับยาฉีดตามเภสัชตํารับที่ปราศจากก๊าซ carbon dioxide เตรียมได้โดยการต้มเพือไล่ ่ อากาศออกจากน้ํา นอกจากนียังมีจดที่ตองพึงระวังคือการเปิดภาชนะที่บรรจุสารละลายของก๊าซ เช่น ยาเตรียมละอองลอย (aerosols) ้ ุ ้ ในอากาศอุ่นหรือที่อุณหภูมิสูง เช่น ก๊าซทีใช้เป็น ethyl nitrate ควรจะเปิดโดยแช่ภาชนะในน้ําแข็งหรือน้ําเย็นเพื่อลดอุณหภูมิ ่ ผลของ chemical reaction : Henry’s law จะใช้กบก๊าซกรณีที่ความเข้มข้นต่ําๆ แต่ก๊าซเช่น hydrogen chloride, ammonia ั และ carbon dioxide จะละลายได้ดี จะทําให้เกิดการเบียงเบนไปจากทฤษฏี เนื่องจากเกิดปฏิกริยาระหว่างก๊าซกับตัวทําละลาย ซึ่งปกติ ่ จะทําให้คาการละลายสูงขึ้น เช่น hydrogen chloride จะมีค่าการละลายสูงกว่า oxygen ถึง 10,000 เท่า ่ Solubility and Partition phenomena  
  • 7. 7   4. ค่าการละลายของของเหลวในของเหลว (Solubility of Liquid in Liquid) ปกติสารละลายทางเภสัชกรรมมักจะประกอบด้วยของเหลวอย่างน้อย 2 ชนิด เช่น การเติม alcohol ลงในน้ําเพือเติมเป็น ่ hydroalcoholic solution ที่ความเข้มข้นต่างๆ หรือการเติม volatile oils ผสมกับน้ําเพื่อให้เกิดสารละลายเจือจางที่เรียกว่า aromatic waters หรือการเติม volatile oils ใน alcohol เพื่อให้ได้สารละลายเข้มข้นที่เรียกว่า spirits และ elixirs หรือการผสม ether กับ alcohol ในยาเตรียม collodions หรือ fixed oils ต่างๆที่จะผสมลงไปเพื่อเตรียมยาเตรียมชนิด lotions, spray และ medicated oils การละลายของของเหลวในของเหลวจะได้เกิดได้ดี เมื่อแรงดึงดูดภายในโมเลกุลของสารทังตัวถูกละลายและตัวทําละลายมีค่า ้ ใกล้เคียงกัน แรงดึงดูดทีจะทําให้ตัวถูกละลายลายได้ในตัวทําละลาย เป็นความดันภายใน เรียกว่า internal pressure (Pi) ซึ่งค่าความ ่ ดันภายในของของเหลวที่ไม่มขวจะมีค่าต่ํา ส่วนของเหลวที่มขวจะมีค่าสูง ของเหลวที่มค่าความดันภายในใกล้เคียงกันจะละลายเข้ากันได้ ี ั้ ี ั้ ี ดี ส่วนที่มีคาความดันภายในต่างกันมากจะไม่สามารถละลายเข้ากันได้ ซึงเราสามารถคํานวณได้จาก ่ ่ ΔHv = ความรอนของการกลายเปนไอ (heat of vaporization) Pi = ΔHv – RT V = ปริมาตรโมลารของของเหลว ณ อุณหภูมิคงที่ T V การละลายของของเหลวในของเหลว อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. Complete miscibility หมายถึง ลักษณะของของเหลว 2 ชนิดหรือมากกว่า เมื่อนํามาผสมกันจะละลายซึ่งกันและกันในทุก อัตราส่วนจนได้เป็นสารละลายเนื้อเดียวกัน ได้แก่ สารพวก polar และ semipolar เช่น น้ําสามารถเข้ากันได้ (misible) กับ alcohol, glycerine หรือ alcohol สามารถเข้ากันได้กับสารพวก nonpolar เช่น benzene กับ carbon tetrachloride 2. Partial miscibility หมายถึงลักษณะของของเหลว 2 ชนิดหรือมากกว่า เมื่อนํามาผสมกันจะละลายซึ่งกันและกันได้เพียง บางส่วนเท่านั้น เช่น phenol ผสมกับน้ํา ส่วนหนึ่งของ phenol จะละลายในน้ําและน้ําบางส่วนจะละลายใน phenol แต่ ส่วนผสมทั้งหมดของ phenol กับน้ําจะไม่รวมกันเป็นเนื้อเดียวกัน รูปที่ 2 การละลายของ phenol ในน้ําที่อัตราส่วนและอุณหภูมิต่างๆ Solubility and Partition phenomena  
  • 8. 8   3. Immiscible system หมายถึง ของเหลว 2 ชนิดหรือมากกว่า เมื่อนํามาผสมกันจะไม่ละลายซึ่งกันและกัน ของเหลวจะแยก ชั้นกันอยู่ เช่น น้ํากับน้ํามัน เป็นต้น 5. ค่าการละลายของของแข็งในของเหลว (Solubility of Solids in Liquids) เป็นชนิดที่สําคัญที่สุดทางเภสัชกรรม ซึ่งการทํานายค่าการละลายของของแข็งในของเหลวยังไม่แม่นยํานัก เนื่องจากการมีตัว แปรซับซ้อนมากมายที่มีผลต่อค่าการละลาย อีกทังสารละลายทางเภสัชกรรมจะมีตัวถูกละลาย และตัวทําละลายหลายชนิด ้ 5.1 Ideal Solutions ค่าการละลายของของแข็งในสารละลายอุดมคติ จะขึ้นกับ อุณหภูมิ จุดหลอมเหลวของของแข็ง และ molar heat of fusion ในสารละลายอุดมคตินี้ heat of solution จะเท่ากับ heat of fusion ซึ่งมีค่าคงที่ไม่ข้นกับอุณหภูมิและธรรมชาติของตัวทําละลาย ึ ST ΔH ƒ ⎛ T 2 − T1 ⎞ − log Xi12 = soln ⎜ ⎟ S T2 2.303R ⎜ T1 T 2 ⎝ ⎟ ⎠ โดยที่ Xi2 = ideal solubility ของตัวถูกละลาย (mole fraction) ΔHf = heat of fusion T2 = จุดหลอมเหลวของตัวถูกละลาย T1= อุณหภูมิของสารละลาย (oK) R = ค่าคงที่ของก๊าซ เท่ากับ 1.987 cal/mole.deg เมื่ออุณหภูมิสงกว่า melting point ของแข็งจะกลายเป็นของเหลว ซึงเข้ากันได้กับตัวทําละลายที่เป็นของเหลวในทุกอัตราส่วน ู ่ ดังนั้น สมการนีจึงใช้ไม่ได้เมื่อ T1 > T2 ้ 5.2 Nonideal Solutions Activity ของตัวถูกละลายจะเท่ากับความเข้มข้นคูณด้วย activity coefficient ถ้าความเข้มข้นในหน่วย mole fraction (γ2) จะได้ a2 = X2γ2 จะได้ log a2 = log X2 + log γ2 ใน ideal solution จะได้ a2 = Xi2 (γ2 = 1) เพราะฉะนั้น จะได้ S Ti ΔH ƒ ⎛ T2 − T1 ⎞ − log X 12 = soln ⎜ ⎟ + log γ2 S T2 2.303R ⎜ T1T2 ⎟ ⎝ ⎠ Solubility and Partition phenomena  
  • 9. 9   จะเห็นว่า ค่าการละลายในหน่วย mole fraction จะเท่ากับผลบวกของค่าการละลายในสารละลายอุดมคติ และ log ของ activity coefficient ของตัวถูกละลาย ซึ่ง γ2 จะขึ้นกันธรรมชาติของตัวถูกละลายและตัวทําละลาย อุณหภูมิของสารละลาย log γ2 จะ พิจารณาจากแรงยึดระหว่างโมเลกุลของการดึงดูดระหว่างกันทีจะต้องเอาชนะ เพื่อแยกโมเลกุลของตัวทําละลายออกจากกันแล้วนําไป ่ แทรกอยู่ในระหว่างโมเลกุลของตัวทําละลาย ดังที่ได้อธิบายในกลไกการละลาย 5.3 Solubility of Salts in Water สารส่วนใหญ่จะมีขบวนการละลายเป็นแบบ endothermic (ΔHsoln เป็นบวก) นั่นคือจะต้องดูดความร้อนเข้าไปเพือใช้ในการ ่ ละลาย เพราะฉะนั้นเมื่อเพิ่มอุณหภูมิขึ้น การละลายจะสูงขึ้นด้วย ในทางกลับกัน สารบางอย่างจะมีขบวนการละลายเป็นแบบ exothermic (ΔHsoln เป็นลบ) นั่นคือจะคายความร้อนออกขณะละลาย เพราะฉะนั้นเมื่อเพิ่มอุณหภูมิขึ้น การละลายจะต่าลงด้วย ํ ตารางที่ 5 แสดงค่า heat of solution ของสารบางชนิด สาร ΔHsoln (kcal/mole), at 25°C HCl - 17.96 KOH - 13.7 NaOH - 10.6 CH3COOH - 0.36 KMnO4 + 10.4 C2H2OH - 3.1 KI + 4.3 NaCl + 1.0 LiCl - 8.8 AgCl + 15.0 Ca(OH)2 - 2.79 Methylcellulose + Mannitol + 5.26 Phenol + Sodium carbenicillin - Hydrate salts + Anhydrous salts - 5.4 Solubility of Slightly Soluble Electrolytes ค่าการละลายของ slightly soluble eledtrolytes จะอธิบายโดย solubility product constant (Ksp) ของสารนั้น เช่น กรณี Silver chloride (AgCl) ซึ่งเป็นสาร electrolyte ที่ละลายน้ําได้น้อย เมื่อนํา AgCl ปริมาณที่มากเกินพอไปละลายในตัวทําละลาย ที่อุณหภูมิค่าหนึ่ง จะได้สมการแสดงการละลายดังนี้ AgCl solid ⇔ Ag + + Cl − เมื่ออยูในสภาวะสมดุล ่ [Ag + ] [Cl − ] =K AgClsolid Solubility and Partition phenomena  
  • 10. 10   กําหนดให้ความเข้มข้นของของแข็งทีอยู่ในสารละลายมีค่าคงที่ ่ [Ag + ] [Cl − ] = K sp ค่า solubility product constant (Ksp) (ตารางที่ 6 ) สามารถนําไปใช้ในการคํานวณหาค่าการละลายของสาร electrolyte ที่ละลายน้ําน้อยได้ ตัวอย่าง Calcium carbonate มีค่า Ksp เท่ากับ 9 x 10-9 (25°C) จงหาค่าการละลายของ calcium carbonate ***นั่นคือต้องการหาความเข้มข้นของ CaCO3 ในสภาวะสมดุลนั่นเอง ที่สมดุล CaCO 3solid ⇔ Ca 2+ + CO 3 - 2 x molar x molar x molar Ksp = 9 x 10-9 = [Ca2+][CO32-] 9 x 10-9 = X2 X = √(9x10-9) = 9.49 x 10- 5 Molar ตารางที่ 6 ค่า solubility product constant (Ksp) ของ electrolyte ที่ละลายน้ําได้น้อย สาร Ksp อุณหภูมิ (°C) Aluminium hydroxide 7.7 x 10-13 25 Barium carbonate 8.1 x 10-9 25 Barium sulfate 1.0 x 10-10 25 Calcium carbonate 9.0 x 10-9 25 Calcium sulfate 6.1 x 10-5 20 Ferric hydroxide 1.0 x 10-36 18 Ferrous hydroxide 1.6 x 10-14 18 Lead carbonate 3.3 x 10-14 18 Lead sulfate 1.1 x 10-8 18 Magnesium carbonate 2.6 x 10-5 12 Magnesium hydroxide 1.4 x 10-11 18 Mercurous chloride 2.0 x 10-18 25 Mercurous iodide 1.2 x 10-28 25 Silver bromide 7.7 x 10-13 25 Silver chloride 1.3 x 10-10 25 Silver iodide 1.5 x 10-16 25 Zinc hydroxide 1.8 x 10-14 18 Zinc sulfide 1.2 x 10-23 18 5.5 Solubility of Weak Electrolytes Solubility and Partition phenomena  
  • 11. 11   ยาส่วนมากจะเป็นกรดอ่อนและด่างอ่อน ซึงมีค่าการละลายในน้ําต่ํา จึงนําไปทําปฏิกิรยากับด่างแก่หรือกรดแก่จนอยูในรูป ่ ิ ่ ไอออนที่ละลายน้ําได้ ดังนั้นจะเห็นว่า pH มีผลต่อการละลายพวก weak electrolytes ฉะนั้นในการเตรียมยาเตรียมของสารเหล่านี้ให้ เป็นสารละลายเนื้อเดียวกัน จึงต้องปรับ pH ให้เหมาะสม ซึ่งนิสิตจะได้เรียนในหัวข้อเรื่อง acid-base 6. ปัจจัยที่มีผลต่อค่าการละลาย 6.1 อุณหภูมิ จากทีกล่าวข้างต้น การเพิ่มหรือลดอุณหภูมิมผลต่อค่าการละลาย ขึ้นกับว่าการละลายของสารชนิดนั้นๆ เป็นปฏิกิริยาดูดหรือ ่ ี คายความร้อน ในกรณีทการละลายเป็นปฏิกิรยาดูดความร้อน เช่น โพแทสเซียมไนเทรต (KNO3) เมื่อเพิ่มอุณหภูมิการละลายจะเพิ่มขึ้น ี่ ิ ในขณะที่การละลายของแคลเอซิเทต ((CH3COO)2Ca.2H2O) ในน้ําเป็นปฏิกริยาคายความร้อน เมื่อเพิ่มอุณหภูมิการละลายจะลดลง ใน ิ กรณีของการละลายเกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ในน้ํา การเพิ่มอุณหภูมิจะให้ผลเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม สารบางชนิด จะมีละลายเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มอุณหภูมิช่วงหนึง แต่เมื่อเพิ่มอุณหภูมิขึ้นอีกการละลายจะกลับลดลง เช่น โซเดียมซัลเฟต โดยทั่วไปสารและตัว ่ ยามักจะมีการดูดความร้อนไปใช้เพื่อช่วยให้เกิดการละลาย ในกรณีนการเพิ่มอุณหภูมของสารละลายจะเป็นการเพิ่มอัตราเร็วของการ ี้ ิ ละลายด้วย 6.2 โครงสร้างโมเลกุลของตัวถูกละลาย จากตารางที่ 7 การเปลี่ยนแปลงรูปร่างโมเลกุลไอโซเมอร์ของเพนทานอล (pentanol isomers) ต่อค่าการละลาย พบว่า สารที่ มีลกษณะโครงสร้างแตกแขนงระเกะระกะมีการละลายในน้ําดีกว่าสารที่มลักษณะโครงสร้างเป็นระเบียบหรือมีแขนเป็น ั ี ไฮโดรคาร์บอนสายตรง และสารที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก มีน้ําหนักโมเลกุลน้อย จะละลายน้ําได้ดีกว่าสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ มี น้ําหนักโมเลกุลมาก ตารางที่ 7 ค่าการละลายในน้ําของไอโซเมอร์ของเพนทานอล Solubility and Partition phenomena  
  • 12. 12   นอกจากนี้หมู่แทนที่บนโมเลกุลของตัวถูกละลาย ถ้าเป็นหมู่แทนที่ทชอบน้ํา (hydrophilic group) มีผลให้ค่าการละลายใน ี่ น้ํามากกว่า หมู่แทนที่ทชอบไขมัน (lipophilic group) ตารางที่ 7 แสดงสมบัติความชอบน้ํา และชอบไขมันของหมู่แทนที่ชนิดต่างๆ ี่ ตารางที่ 8 สมบัติการชอบน้ําและชอบไขมันของหมู่เคมีชนิดต่างๆ Chemical group Hydrophilic/Lipophilic properties -CH3 Lipophilic -CH2 Lipophilic -Cl, -Br, -I Lipophilic -N(CH3)2 Lipophilic -SCH3 Lipophilic -OCH2CH3 Lipophilic -OCH3 Slightly hydrophilic -NO2 Slightly hydrophilic -CHO Hydrophilic -COOH Slightly hydrophilic Solubility and Partition phenomena  
  • 13. 13   -COO- Very hydrophilic -NH2 Hydrophilic -NH3+ Very hydrophilic -OH Very hydrophilic ตารางที่ 9 ผลของ hydrophilic-lipophilic group ต่อค่าการละลายในน้ําของ Acetanilid และอนุพันธ์ Acetanilid X Solubility (mg/l) H 6.38 NH COCH3 Methyl 1.05 Ethoxyl 0.93 Hydroxyl 13.90 X Nitro 15.98 Aceto 9.87 จุดเดือดและจุดหลอมเหลว เป็นค่าที่บอกถึงความแข็งแรงของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของของเหลว ตัวยาที่มจุดเดือดี หรือจุดหลอมเหลวสูงแสดงว่ามีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลสูง ค่าการละลายจะต่ําในน้ําเมือเทียบกับตัวยาที่มจดเดือดต่ํา ดังแสดงใน ่ ีุ ตารางที่ 10 และ11 ตารางที่ 10 แสดงค่าการละลายในน้ําของ pentanol isomer สาร จุดเดือด (0C) ค่าการละลาย (molarity, m) n-Pentanol 137.8 0.26 2-Methyl-1-butanol 128.7 0.347 3-Pantanol 115.3 0.615 2-Methyl-2-butanol 102.0 1.403 ตารางที่ 11 ค่าการละลายของ aromatic compounds ที่มจุดหลอมเหลวต่างๆกัน ี สาร จุดหลอมเหลว (°C) เศษส่วนโมลของตัวถูกละลาย Naphthalene 80 0.27 Phenanthrene 99 0.21 Solubility and Partition phenomena  
  • 14. 14   Anthrancene 217 0.0081 การจัดเรียงของโครงร่างผลึก ความแข็งแรงของการยึดเกาะโมเลกุลหรือไอออนทีอยู่ใกล้กัน สามารถแสดงได้ดวยค่าพลังงาน ่ ้ โครงร่างผลึก (crystal lattice enthalpy) การจัดเรียงของโมเลกุลที่แตกต่างกันจะมีผลให้พลังงานโครงร่างผลึกแตกต่างกัน และส่งผล ให้สมบัติทางกายภาพของสารแตกต่างกันด้วย ได้แก่ จุดหลอมเหลว การละลาย สารที่มีสูตรโครงสร้างโมเลกุลเหมือนกันแต่มีการจัดเรียง โมเลกุลในโครงร่างผลึกต่างกันเรียกว่า พหุสัณฐาน (polymorphs) รูปแบบของผลึกสารทีมพลังงานโครงร่างผลึกต่ําสุดจะมีความคงตัว ่ี สูงสุดจัดเป็น ผลึกที่คงตัว (stable form) และมีจุดหลอมเหลวสูงที่สุด ในทางตรงข้ามรูปแบบการจัดเรียงตัวที่มีโครงร่างผลึกสูงจะมี ความคงตัวต่ําเป็นผลึกที่ไม่คงตัว (metastable form) และมีจุดหลอมเหลวต่ํา 6.3 Hydration and solvation 6.3.1 Hydration of non-electrolytes สารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ มักจะละลายน้ําได้ยากหรือไม่ละลายน้ําเลย แต่ถาโมเลกุลนันๆ ประกอบด้วย –OH group เป็นจํานวนมาก ก็สามารถช่วยทําให้โมเลกุลเกิด hydrogen bonding กับโมเลกุลของน้ํา ้ ้ ที่อยู่ลอมรอบและมีผลทําให้เกิด hydration ค่าการละลายจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก เช่น การละลายของ sucrose manitol และ sorbitol ้ ในน้ํา เป็นต้น 6.3.2 Hydration of ionic species ไอออนชนิดต่างๆทัง anions และ cations เป็นกระจายอยู่ในน้าจะมีแรง ้ ํ ดึงดูดกับโมเลกุลของน้ําและแรงดึงดูดดังกล่าวมีขนาดค่อนข้างสูง ทําให้ไอออนเกือบทุกชนิดมีโมเลกุลของน้าล้อมรอบ เป็นชั้นบางๆ การ ํ เคลื่อนที่ของไอออนทุกครั้งจะพาเอาชั้นของน้าไปด้วย จํานวนโมเลกุลของาน้ําที่เข้าล้อมรอบไอออนซึ่ง เรียกว่า hydration number จะ ํ ขึ้นอยูกับขนาดและจํานวนประจุของไอออน เช่น monovalent ions จะมี hydration number = 4 ส่วน polyvalent ions จะมี ่ hydration number ลดน้อยลง ไอออนที่มีขนาดเล็กจะมี hydration number สูงเมื่อเทียบกับไอออนที่มขนาดใหญ่ี 7. Partition phenomena Partition phenomena คือปรากฎการณ์ที่ตวถูกละลาย (Solute) ละลายอยู่ในตัวทําละลาย 2 ชนิดที่ไม่เข้ากัน (Immiscible ั solvent) จนเกิดสภาวะสมดุล ซึ่งค่าคงที่ค่าหนึงทีใช้อธิบายปรากฎการณ์นี้ ได้แก่ค่า Partition coefficient (สัมประสิทธิการแบ่งภาค) ่ ่ ์ ซึ่งมีค่าเท่ากับอัตราส่วนความเข้มข้นของตัวถูกละลายในแต่ละวัตภาคของตัวทําละลาย 2 ชนิดที่ไม่เข้ากัน ณ สภาวะสมดุล โดยทั่วไปค่าสัมประสิทธิ์การแบ่งภาค (P) ของตัวถูกละลายใดๆ หมายถึง อัตราส่วนความเข้มข้นของตัวถูกละลายนั้นๆในวัต ภาคน้ํา และวัตภาคของ hydrophobic solvent เช่น 1-Octanol ณ สภาวะสมดุล และเป็นค่าที่บ่งบอกถึงความชอบน้ําหรือไม่ชอบน้ํา ของตัวถูกละลายแต่ละชนิด ถ้าตัวถูกละลายสามารถแตกตัวได้ (เป็นกรดหรือด่าง) ค่าสัมประสิทธิ์การแบ่งภาค หรือ ค่า P = [HA]o / [HA] aq โดยทั่วไปค่าสัมประสิทธิ์การแบ่งภาคของตัวถูกละลายหรือตัวยาใดๆ นิยมแสดงในรูปของค่า log P Solubility and Partition phenomena  
  • 15. 15   ตารางที่ 12 ค่าสัมประสิทธิ์การแบ่งภาคของยาบางชนิดใน 1-octanol-water หรือ 1-octanol-phosphate buffer Drug log P Ascorbic acid -1.64 Ethanol - 0.31 Phenobarbital 1.47 α- Tocopherol 12.28 จากตาราง เมือพิจารณาจากค่า log P จะเห็นว่า ascorbic acid เป็นยาที่ชอบน้ําเนื่องจากมีคา log P ต่ํา ในขณะที่ α- ่ ่ tocopherol เป็นยาที่ไม่ชอบน้ําเนื่องจากมีคา log P สูง ่ บรรณานุกรม Gennaro, AR. (1995) Remington: the science and practice of pharmacy. 19th Ed., Mack publishing Company, Pennsylvania. Lien, EJ. & Ren, SS. (2007) Partition coefficients: In Swarbrick, J., editor: Encyclopedia of Pharmaceutical Technology. 3rd Ed. Informa Healthcare, New York. Martin, A., Swarbrick, J., Cammarata, A. (1983) Physical Pharmacy. 3rd Ed., Lea & Febiger, USA. ดวงดาว ฉันทศาสตร์ (2551) สารละลายและหลักการละลาย, บริษัท ประชาชน จํากัด: กรุงเทพฯ. สมพล ประคองพันธ์ (2529) การพัฒนาตํารับยาน้ํา, พิมพ์ครังที่ 1, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล: กรุงเทพฯ. ้ Solubility and Partition phenomena