SlideShare a Scribd company logo
การสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
(Empathize)
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ
1. เพื่อให้นักศึกษาทําความเข้าใจถึงลักษณะและความสําคัญของผู้ใช้งานสุดโต่ง
2. เพื่อแนะนําวิธีการสร้างความเข้าใจถึงปัญหาและความต้องการของผู้ใช้งานได้
อย่างลึกซึ้ง
3. เพื่อแนะนําการสร้างความเข้าใจผู้ใช้งานด้วยแผนภูมิแห่งการสร้างความเข้าใจ
อย่างลึกซึ้ง (Empathy Map)
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 2
กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เป็นกระบวนการที่ให้ความสําคัญต่อ
ผู้ใช้งานเป็นหลัก (Human-Centric Design) ดังนั้น ขั้นตอนแรกในกระบวนการคิดเชิงออกแบบ
จึงเป็นการสร้างความเข้าใจถึงปัญหา และความต้องการของผู้ใช้งาน (user) อย่างลึกซึ้ง หรือที่
เรียกว่า Empathize ในขั้นตอนนี้สิ่งสําคัญที่สุดในขั้นแรกคือ การระบุกลุ่มผู้ใช้งานที่เราต้องเข้าไป
ทําความเข้าใจ และถึงแม้ว่าเราจะคาดหวังว่าผลงานออกแบบของเราจะสามารถ ตอบโจทย์ของ
ผู้ใช้งานทุกคนได้แต่กลุ่มเป้าหมายในขั้นต้นคือกลุ่มที่เรียกว่า “ผู้ใช้งานสุดโต่ง”(Extreme User)
ใบบทนี้ จะเป็นการอธิบายถึงกระบวนการการสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
(Empathize) ซึ่งนับเป็นขั้นตอนแรกของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) โดยจะเริ่มจาก
การอธิบายถึงคุณลักษณะของกลุ่มผู้ใช้งานที่มี ความสําคัญต่อโจทย์ปัญหาของงานออกแบบกลุ่ม
ต่าง ๆ และวิธีการสร้างความเข้าใจผู้ใช้งานอย่างลึกซึ้ง รวมถึงการ รวบรวมข้อมูลในรูปแบบ
แผนภูมิแห่งการสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง (Empathy Map) เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเข้าสู่
ขั้นตอนต่อไปในกระบวนการคิดเชิงออกแบบ คือ การนิยามหรือการตีกรอบปัญหา (Define)
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 3
ด้วยการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) นั้นยึดเอาปัญหาและความต้องการ
ของผู้ใช้งาน(user) เป็นหลัก ในการออกแบบผลิตภัณฑ์การบริการ หรือกระบวนการ
ดังนั้นในขั้นแรกขอบกระบวนการในการคิดเชิงออกแบบ เราจะต้องสร้างความเข้าใจถึง
ปัญหาและความต้องการของผู้ใช้งานอย่างลึกซึ้ง และกลุ่มผู้ใช้งานที่มีความสําคัญเป็นอย่าง
มาก และนับเป็นกลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มแรกที่เราจะต้องสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้งก็คือ
ผู้ใช้งานสุดโต่ง (Extreme User) โดยบริษัท IDEO และ d.school สถาบันการออกแบบที่
สแตนฟอร์ด (d.school: Institute of Design at Stanford)
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 4
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 5
รูปที่4-1 สเปกตรัมผู้ใช้งาน
กลุ่มผู้ใช้งานสุดโต่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มสูงที่สุดที่จะใช้ผลิตภัณฑ์การบริการ
หรือกระบวนการที่เราจะ ทําการออกแบบมา โดยอาจจะเป็นกลุ่มคนที่มีความคุ้นเคย และ
มีความสนใจปัญหาในด้านนี้มากที่สุด ลักษณะของผู้ใช้งานในกลุ่มนี้มักจะมีความสนใจและ
ความทุ่มเททางด้านนี้มาก ๆ และหากเราสามารถดึง ข้อมูลและวิเคราะห์ความต้องการของ
คนกลุ่มนี้ได้ก็จะเป็นสะพานให้เราสามารถออกแบบผลงานที่จะตอบ โจทย์ปัญหาของคน
กลุ่มมากได้เช่นกัน ดังนั้นการดึงข้อมูลในเชิงลึก (insight) จากคนกลุ่มนี้จึงมีความสําคัญ
เป็นอย่างมากในขั้นต้นของการออกแบบกลุ่มผู้ใช้งานสุดโต่งที่มีแนวโน้มที่จะใช้งานมาก
ที่สุด (Lead User) จะ มีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 5-10% ของประชากรผู้ใช้งานทั้งหมด
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 6
กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มที่ 2 คือกลุ่มผู้ใช้งานในกระแสหลัก หรือ Mainstream User ซึ่ง
จะเป็นประชากรส่วนใหญ่ ในจํานวนผู้ใช้งานทั้งหมด หรือประมาณ 80-90% ของจํานวน
ผู้ใช้งานทั้งหมด ซึ่งเป็นผู้ใช้งานกลุ่มหลักที่เรา จะทําการออกแบบเพื่อตอบโจทย์ปัญหาของ
พวกเขา ซึ่งในการคิดงานออกแบบผลิตภัณฑ์บริการ หรือ กระบวนการเพื่อตอบโจทย์คน
ในกลุ่มนี้จะต้องมีการทดสอบและยืนยันผลงานแล้วว่าเป็นผลงานที่สามารถ แก้ไขปัญหา
ของพวกเขาได้อย่างตรงจุด และผู้ใช้งานในกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของผลิตภัณฑ์
การ บริการ และกระบวนการที่เป็นผลลัพธ์ของการออกแบบ
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 7
กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มสุดท้ายจะเป็นกลุ่มประชากรที่มีแนวโน้มสูงสุดที่จะไม่ใช้งาน
ผลิตภัณฑ์บริการ หรือ กระบวนการที่เราออกแบบ (Skeptic) หรือเป็นกลุ่มคนที่มีแนวโน้ม
สูงที่สุดที่จะเลิกใช้งานหลังจากการใช้งาน ครั้งแรกและต่อต้านผลงานออกแบบ และถือ
เป็นกลุ่มผู้ใช้งานสุดโต่งในอีกฟากหนึ่งของสเปกตรัมผ้ใช้งานู โดยจะมีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ
5-10% ของจํานวนผู้ใช้งานทั้งหมด ผู้ใช้งานในกลุ่มนี้อาจเป็นผู้ที่ไม่มี ความคุ้นเคยใด ๆ
กับโจทย์ปัญหา หรือเป็นผู้ที่ไม่ได้สนใจ หรือตั้งใจที่จะไม่สนใจโจทย์ปัญหาที่ค้นพบ อย่างไร
ก็ตาม การทําความเข้าใจผู้ใช้งานในกลุ่มนี้โดยเฉพาะการดึงข้อมูลใจเชิงลึก (insight) จาก
ผู้ใช้งานในกลุ่มนี้ก็ นับว่ามีความสําคัญเป็นอย่างมากต่อกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์
บริการ หรือกระบวนการใหม่ๆ เพื่อที่จะทําความเข้าใจถึงข้อเสียของผลงาน และทําการ
ปรับแก้เพื่อให้ผลงานออกแบบที่คิดขึ้นตอบโจทย์ ผู้ใช้งานได้อย่างรอบด้านที่สุด
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 8
ในกระบวนการการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ผู้ใช้งาน (user) เป็นศูนย์การ
ของกระบวนการทั้งหมด ดังนั้นเพื่อให้ผลงานออกแบบสามารถตอบโจทย์ปัญหาและความต้องการ
ของผู้ใช้งานมากที่สุด เราจึงจําเป็นที่จะต้องสร้างความเข้าใจผู้ใช้งานอย่างลึกซึ้ง (Empathize)
และในการสร้างความเข้าใจผู้ใช้งานทั้งหมด เราจําเป็นที่ จะต้องทําความเข้าใจผู้ใช้งานทุกภาค
ส่วนอย่างลึกซึ้ง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้ใช้งานสุดโต่ง (Extreme User) ทั้ง 2 ขั้ว (Lead User และ
Skeptic) และกลุ่มผู้ใช้งานกระแสหลัก (Mainstream User) ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะสามารถตอบโจทย์
ความต้องการของผู้ใช้งานทุกคนได้
การสร้างความเข้าใจผู้ใช้งานได้อย่างลึกซึ้งนั้น นักออกแบบจะต้องสามารถทําความ
เข้าใจถึงปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ ของผู้ใช้ไม่ว่าจะเป็นพื้นฐานครอบครัว ลักษณะนิสัย ระดับความรู้
สติปัญญา สังคม สภาพแวดล้อม และวัฒนธรรม หรือที่เรียกว่า การศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณนา
(Ethnographic Study) เพื่อการสร้างความเข้าใจผู้ใช้งานอย่างลึกซึ้ง (Yayici, 2016) และ
สามารถทําได้ผ่านวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 9
หนึ่งในการทําความเข้าใจผู้ใช้งานคือการสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัวของผู้ใช้ไม่ว่าจะ
เป็นอากัปกิริยา ท่าทาง หรือแม้กระทั่งของใช้ส่วนตัว สภาพแวดล้อม ทั้งที่บ้าน ที่ทํางาน
ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะทําความเข้าใจชีวิตของผู้ใช้ได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการพยายามที่จะสวมบทบาท
เป็นตัวผู้ใช้เอง (Immersion) เพื่อสามารถทําความเข้าใจถึงมุมมองและ ประสบการณ์ต่าง
ๆ ของผู้ใช้
ใน Design Kit บริษัท IDEO ได้กล่าวถึงการสวมบทบาท (Immersion) ผ่านการ
ติดตามชีวิตของผู้ใช้ในแต่ละ วัน เพื่อที่จะสังเกตพฤติกรรมของผู้ใช้ในอิริยาบถต่าง ๆ
สังเกตถึงวิธีการเข้าสังคม ปฏิกิริยาต่าง ๆ ที่เขามีกับผู้คนรอบ ข้าง ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะพยายาม
ทําความเข้าใจผู้ใช้อย่างลึกซึ้ง จนไปถึงกระบวนการความคิดของผู้ใช้และกระบวนการ การ
ตัดสินใจในเหตุการณ์และสถานการณ์ต่าง ๆ (IDEO, ม.ป.ป.)
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 10
นอกจากการสังเกตพฤติกรรมและสภาพแวดล้อม หรือศึกษาผู้ใช้งานในเชิงชาติ
พันธุ์วรรณนา(Ethnography) แล้ว อีกหนึ่งวิธีที่จะทําให้นักออกแบบสามารถทําความ
เข้าใจผู้ใช้งานได้อย่างลึกซึ้งคือการได้พูดคุย หรือสัมภาษณ์ผู้ใช้งาน
หนังสือ Design Thinking Methodology Book โดย Emrah Yayici ได้กล่าวถึง
วัตถุประสงค์ในการสัมภาษณ์ผู้ใช้งานไว้ว่าเป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้งานให้มาก
ที่สุดโดยการถามคําถามที่ไม่เป็นคําถามชี้นํา และ จะต้องมีความเป็นกลางมากที่สุด
(Yayici, 2016) Angela Li ผู้เชี่ยวชาญด้านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ ผู้บริหารบริษัท
CBi China Bridge มหานครเซี่ยงไฮ้สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้อธิบายถึงลําดับและ
โครงสร้างของการสัมภาษณ์เพื่อสร้างความ เข้าใจผู้ใช้งานอย่างลึกซึ้งเอาไว้ 6 ส่วน ดังรูปที่
4-2
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 11
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 12
ในหนังสือ Complete Design Thinking Guide for Successful
Professionals ผู้เขียน Daniel Ling ได้ กล่าวถึงวิธีการสัมภาษณ์ผู้ใช้งานเอาไว้ว่า
“การสัมภาษณ์ควรเริ่มต้นจากการชวนสนทนามากกว่าการเข้าไปซักถาม”(Ling, 2015)
เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการสัมภาษณ์ คือการสร้างความเข้าใจผู้ใช้งานอย่างลึกซึ้ง
ดังนั้นการสร้างความคุ้นเคยและสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายในการสนทนาจึงเป็นเรื่อง
สําคัญเพื่อที่ผู้ถูกสัมภาษณ์จะรู้สึกผ่อนคลายในการให้ข้อมูลใจเชิงลึกได้มากยิ่งขึ้น
Angela ยังได้อธิบายต่อว่าเป้าหมายของการสัมภาษณ์ผู้ช้งานในการสร้าง
ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งนี้คือการทําความเข้าใจถึงปัญหาและความเจ็บปวดของผู้ใช้งาน
(Pain) เพื่อจะทําความเข้าใจสิ่งที่เขาต้องการ (Need) และสิ่งที่เขาคาดหวัง ว่าจะได้รับ
(Gain)
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 13
1) ไม่ควรมีสมาชิกทีมสัมภาษณ์เกิน 3 คน ต่อหนึ่งผู้ให้สัมภาษณ์เพราะจะเป็น การสร้าง
ความกดดันให้กับผู้ถูกสัมภาษณ์ และอาจเป็นการสร้างความอึดอัดให้กับบรรยากาศการสัมภาษณ์
ละสถานที่โดยสมาชิกแต่
ละคนควรมีการวางบทบาท ที่ชัดเจน อาทิเช่น ผู้ถาม ผู้จดบันทึก และช่างภาพ เป็นต้น
2) ก่อนเริ่มการสัมภาษณ์ควร มีการเตรียมคําถามและทํารายการของข้อมูลที่ต้องการให้
เรียบร้อย โดยการสัมภาษณ์ควร เริ่มจากการถามคําถามเชิงกว้าง เช่น การใช้ชีวิตปกติสิ่งที่ชอบ
หรือสิ่งที่ให้ความสําคัญต่อ ตัวผู้ใช้งานเอง ก่อนที่จะเข้าสู่การถามคําถามที่มีความเฉพาะเจาะจงลง
มาถึงวัตถุประสงค์ของโครงการที่จะทําการออกแบบ
3) การจดบันทึกควรบันทึกคําพูดของผู้ให้สัมภาษณ์อย่างแม่นยําที่สุด และควรเป็นการ
จดบันทึกคําพูดอย่างตรงตัว มิใช่การตีความหมายของผู้จด ทั้งนี้เพื่อเป็นการจดบันทึกข้อมูลที่มี
ความแม่นยํามากที่สุด
4) สิ่งที่ผู้ให้สัมภาษณ์พูดเป็นเพียงข้อมูลเชิงเดี่ยวเท่านั้น ดังนั้น สิ่งสําคัญคือการสังเกต
และจดบันทึก อากัปกิริยา และภาษากายของผู้ให้สัมภาษณ์ระหว่างการสัมภาษณ์
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 14
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 15
โดยการสัมภาษณ์ตามโครงสร้างของการสัมภาษณ์ของสถาบันการออกแบบที่
สแตนฟอร์ดจะเริ่มต้นด้วยการ แนะนําตนเองและวัตถุประสงค์ในการสัมภาษณ์จากนั้นจะ
เป็นการเริ่มการสัมภาษณ์ด้วยการสร้างความผ่อนคลายโดย ให้ผู้ให้สัมภาษณ์แนะนําตัวเอง
และพูดถึงเรื่องราวของตัวเอง จากนั้นจะเป็นการเริ่มถามคําถามเชิงกว้าง และหมั่นสร้าง
ความมั่นใจให้กับผู้ให้สัมภาษณ์และคอยกระตุ้นให้เขาพูดต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ผู้ให้
สัมภาษณ์เล่าถึงเรื่องราวต่าง ๆ ใน ชีวิตตนเองมากขึ้น อาจจะเป็นการเล่าถึงการใช้
ชีวิตประจําวัน หรือข้อมูลในเชิงลึก พยายามทําความเข้าใจความรู้สึก ของผู้ให้สัมภาษณ์
เกี่ยวกับหัวข้อในบทสนทนา จากนั้นจึงทบทวนข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์ด้วยการถาม
ถึง เหตุผลและความเป็นมาของเรื่องราวที่ได้รับฟังมาเพื่อสร้างความเข้าใจมากขึ้น ก่อนจบ
บทสนทนา (Hasso Plattner Institute of Design at Stanford, 2010)
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 16
หลังจากที่ได้ทําการรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้งานด้วยวิธีการต่าง ๆ ในการสร้าง
ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว หนึ่งในเครื่องมือสําคัญ สําหรับการรวบรวมข้อมูลเพื่อการทํา
ความเข้าใจผู้ใช้งานอย่างลึกซึ้งคือแผนภูมิแห่งการสร้างความ เข้าใจอย่างลึกซึ้ง หรือ
Empathy Map โดยองค์ประกอบของแผนภูมิแห่งการสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้งของ
สถาบัน การออกแบบที่สแตนฟอร์ดคือการนําข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและการสัมภาษณ์
มาจัดวางแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มคือ สิ่ง ที่ผู้ใช้งานพูดตอนสัมภาษณ์สิ่งที่ผู้ใช้งานทําจากการ
เล่าเรื่องราว หรือการสังเกตอากัปกิริยา สิ่งที่ผู้ใช้งานคิด และ ความรู้สึกของผู้ใช้งาน
เกี่ยวกับหัวข้อของการสนทนา ดังรูปที่ 4-4
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 17
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 18
สําหรับการทําแผนภูมิแห่งการสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง (Empathy Map) นั้น
ควรจะต้องทําแผนภูมิแยก ตามรายบุคคลของผู้ใช้งานแต่ละคนที่ได้ทําการศึกษาเพื่อทํา
ความเข้าใจมาในขั้นตอนก่อนหน้า โดยทําการแบ่งแยก อย่างชัดเจนระหว่างข้อมูลดิบ
(Raw Data) ที่ได้บันทึกมาจากขั้นตอนการสังเกตและสัมภาษณ์ เช่น คําพูด และการ
กระทํา กับข้อมูลที่เป็นการตีความหมายจากฝั่งผู้เก็บข้อมูล เช่น ความคิดและความรู้สึก
ทั้งนี้ก็เพื่อที่เราจะสามารถ ย้อนกลับมาอ้างอิงถึงข้อมูลในส่วนนี้และสามารถระบุได้
เฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้นระหว่างความเป็นจริง และสมมติฐานที่ เราได้สร้างขึ้น หลังจากที่ได้ทํา
การทดสอบการตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานจริง ในขั้นตอนการสร้างต้นแบบ และ
ทดสอบผลงานออกแบบ เพื่อทําการปรับแก้ให้เข้ากับสิ่งที่ผู้ใช้งานต้องการได้มากที่สุด โดย
การทํา Empathy Map มักจะใช้วิธีการเขียนข้อมูลแต่ละข้อที่ได้บันทึกมาลงบนกระดาษ
โน้ต Post-It เพื่อง่ายต่อการจับกลุ่มเคลื่อนย้าย ในขั้นตอนต่อไป
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 19
ขั้นตอนแรกในกระบวนการคิดเชิงออกแบบ หรือ Design Thinking นั้นเป็นการ
สร้างความเข้าใจถึงปัญหา และความต้องการของผู้ใช้งาน (user) อย่างลึกซึ้ง หรือที่
เรียกว่าการ Empathize โดยจะต้องทําการระบุกลุ่มผู้ใช้งาน ที่เราต้องเข้าไปทําความ
เข้าใจให้ชัดเจน เพื่อให้ผลงานออกแบบของเราสามารถตอบโจทย์ปัญหาและความต้องการ
ของผู้ใช้งานได้อย่างตรงจุด ตามหลักสถิติแล้ว การกระจายของค่าความน่าจะเป็น
(Probability Distribution) ของ กลุ่มผู้ใช้งานจะกระจายตัวตามหลักของการแจกแจงแบ
ปกติ(Normal Distribution) จึงทําให้เราสามารถแบ่ง ประชากรกลุ่มผู้ใช้งานผลงานการ
ออกแบบของเราได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ใช้งานสุดโต่ง (Extreme User) และกลุ่ม
ผู้ใช้งานกระแสหลัก (Mainstream User) โดยกลุ่มผู้ใช้งานสุดต่างจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
ย่อยจากหางทั้ง 2 ฝั่งของกราฟ คือ กลุ่มผู้ใช้งานสุดโต่งที่มีแนวโน้มสูงที่จะใช้งาน (Lead
User) และกลุ่มผู้ใช้งานที่มีแนวโน้มสูงที่จะไม่ใช้หรือ กลุ่มที่มีอคติในการใช้งาน (Skeptic)
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 20
หลังจากที่สามารถระบุกลุ่มผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจนแล้ว ทีมนักออกแบบก็จะต้อง
เริ่มดําเนินการสร้างความ เข้าใจอย่างลึกซึ้งผ่านการศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณนา
(Ethnographic Study) โดยการสังเกตและการสวมบทบาท (Observe & Immerse)
และโดยการสัมภาษณ์(Interview) เพื่อเก็บข้อมูลและทําความเข้าใจปัญหาและความ
ต้องการของกลุ่มผู้ใช้งานให้ได้มากที่สุด
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 21
จากนั้น จึงทําการรวบรวมข้อมูลเพื่อการทําความเข้าใจผู้ใช้งานอย่างลึกซึ้งโดยใช้
เครื่องมือที่เรียกว่า แผนภูมิ แห่งการสร้างความเขาใจอย่างลึกซึ้ง หรือ Empathy Map ซึ่ง
เป็นการนําข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การสวมบทบาท และการสัมภาษณ์มาจัดวางแบ่ง
ออกเป็น 4 กลุ่มคือ สิ่งที่ผู้ใช้งานพูดตอนสัมภาษณ์สิ่งที่ผู้ใช้งานทําจากการเล่า เรื่องราว
หรือการสังเกตอากัปกิริยา สิ่งท่ผู้ใช้งานคิดี และความรู้สึกของผู้ใช้งานเกี่ยวกับหัวข้อของ
การสนทนา โดย จะต้องสามารถแยกแยะได้อย่างชัดเจนระหว่างข้อมูลดิบ (Raw Data) ที่
ได้บันทึกมาจากขั้นตอนการสังเกตและ สัมภาษณ์กับข้อมูลที่เป็นการตีความหมายจากฝั่งผู้
เก็บข้อมูล ทั้งนี้ก็เพื่อที่เราจะสามารถย้อนกลับมาอ้างอิงถึงข้อมูล ในส่วนนี้และสามารถ
ระบุได้เฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้นระหว่างความเป็นจริง และสมมติฐานที่เราได้สร้างขึ้น ซึ่งขั้น
ตอนนี้จะ เป็นการปูทางไปสู่ขั้นตอนต่อไปของกระบวนการคิดเชิงออกแบบซึ่งก็คือ การ
นิยามหรือการตีกรอบปัญหา (Define)
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 22
1. อะไรคือความสําคัญของการสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
2. เลือกปัญหาที่สนใจมา 1 หัวข้อ แล้วลองเขียนถึงลักษณะของผู้ใช้งานสุดโต่งทั้ง
ทีมีแนวโน้มที่จะใช้งานผลงานออกแบบของเรา และผู้ที่มีแนวโน้มที่จะต่อต้าน หรือไม่ใช้
งานผลงานออกแบบของเรา
3. จดรายการข้อมูลที่จําเป็นต้องรู้เพื่อทําการออกแบบ และเตรียมคําถามสําหรับ
การสัมภาษณ์ผู้ใช้งาน
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 23
1. การทําของขวัญ (Gift Creation)
2. กิจกรรมการสร้างความเข้าใจ (Immerse Activity)
3. กิจกรรมการสํารวจและค้นหา (Exploration Activity)
4. การเข้าใจข้อมูลในเชิงรุก (Formulate Insights)
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 24

More Related Content

What's hot

โครงงานพัฒนาเกม 8
โครงงานพัฒนาเกม 8โครงงานพัฒนาเกม 8
โครงงานพัฒนาเกม 8Aungkana Na Na
 
Chapter 11 design thinking in process
Chapter 11 design thinking in processChapter 11 design thinking in process
Chapter 11 design thinking in process
Teetut Tresirichod
 
Chapter 12 design thinking in product
Chapter 12 design thinking in productChapter 12 design thinking in product
Chapter 12 design thinking in product
Teetut Tresirichod
 
บทที่6 digital marketing
บทที่6 digital marketingบทที่6 digital marketing
บทที่6 digital marketing
Thamonwan Theerabunchorn
 
บทที่ 3 โครงสร้างพื้นฐานของอีคอมเมิร์ซ อินเทอร์เน็ตและเว็บ
บทที่ 3 โครงสร้างพื้นฐานของอีคอมเมิร์ซ  อินเทอร์เน็ตและเว็บบทที่ 3 โครงสร้างพื้นฐานของอีคอมเมิร์ซ  อินเทอร์เน็ตและเว็บ
บทที่ 3 โครงสร้างพื้นฐานของอีคอมเมิร์ซ อินเทอร์เน็ตและเว็บ
Teetut Tresirichod
 
การปฏิสัมพันธ์และโมเดลปฏิสัมพันธ์ (Interaction and Interactive Model)
การปฏิสัมพันธ์และโมเดลปฏิสัมพันธ์ (Interaction and Interactive Model)การปฏิสัมพันธ์และโมเดลปฏิสัมพันธ์ (Interaction and Interactive Model)
การปฏิสัมพันธ์และโมเดลปฏิสัมพันธ์ (Interaction and Interactive Model)
Dr.Kridsanapong Lertbumroongchai
 
การสร้างแบรนด์ ให้ ธุรกิจดิจิทัล ยืนหนึ่งบนโลกออนไลน์ โดย อาจารย์แชมป์ ธิติพล...
การสร้างแบรนด์ ให้ ธุรกิจดิจิทัล ยืนหนึ่งบนโลกออนไลน์ โดย อาจารย์แชมป์ ธิติพล...การสร้างแบรนด์ ให้ ธุรกิจดิจิทัล ยืนหนึ่งบนโลกออนไลน์ โดย อาจารย์แชมป์ ธิติพล...
การสร้างแบรนด์ ให้ ธุรกิจดิจิทัล ยืนหนึ่งบนโลกออนไลน์ โดย อาจารย์แชมป์ ธิติพล...
ธิติพล เทียมจันทร์
 
บทที่ 5 พฤติกรรมผู้บริโภค การตลาดบนอินเทอร์เน็ตและการโฆษณา
บทที่ 5 พฤติกรรมผู้บริโภค การตลาดบนอินเทอร์เน็ตและการโฆษณาบทที่ 5 พฤติกรรมผู้บริโภค การตลาดบนอินเทอร์เน็ตและการโฆษณา
บทที่ 5 พฤติกรรมผู้บริโภค การตลาดบนอินเทอร์เน็ตและการโฆษณา
Teetut Tresirichod
 
Chapter 8 concepts of change management
Chapter 8 concepts of change managementChapter 8 concepts of change management
Chapter 8 concepts of change management
Teetut Tresirichod
 
เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน
เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน
เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน
ชื่อ น๊ะ'
 
ระดับของภาษา
ระดับของภาษาระดับของภาษา
ระดับของภาษา
ณรงค์ศักดิ์ กาหลง
 
จิตวิทยาการบริการ
จิตวิทยาการบริการจิตวิทยาการบริการ
จิตวิทยาการบริการPichitpol Chuenchom
 
Chapter 1 innovation and planning
Chapter 1 innovation and planningChapter 1 innovation and planning
Chapter 1 innovation and planning
Teetut Tresirichod
 
บทที่ 3 การวิเคราะห์วัฒนธรรมข้ามชาติ
บทที่ 3 การวิเคราะห์วัฒนธรรมข้ามชาติบทที่ 3 การวิเคราะห์วัฒนธรรมข้ามชาติ
บทที่ 3 การวิเคราะห์วัฒนธรรมข้ามชาติ
Teetut Tresirichod
 
Casestudy การศึกษารายกรณี
Casestudy การศึกษารายกรณีCasestudy การศึกษารายกรณี
Casestudy การศึกษารายกรณี
rewat Chitthaing
 
การเขียนแผนธุรกิจเพื่อการนำเสนอ
การเขียนแผนธุรกิจเพื่อการนำเสนอการเขียนแผนธุรกิจเพื่อการนำเสนอ
การเขียนแผนธุรกิจเพื่อการนำเสนอ
วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี
 
บทที่ 1 ภาพรวมของอีคอมเมิร์ซ
บทที่ 1 ภาพรวมของอีคอมเมิร์ซบทที่ 1 ภาพรวมของอีคอมเมิร์ซ
บทที่ 1 ภาพรวมของอีคอมเมิร์ซ
Teetut Tresirichod
 
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิดสัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิดSani Satjachaliao
 

What's hot (20)

โครงงานพัฒนาเกม 8
โครงงานพัฒนาเกม 8โครงงานพัฒนาเกม 8
โครงงานพัฒนาเกม 8
 
Chapter 11 design thinking in process
Chapter 11 design thinking in processChapter 11 design thinking in process
Chapter 11 design thinking in process
 
Chapter 12 design thinking in product
Chapter 12 design thinking in productChapter 12 design thinking in product
Chapter 12 design thinking in product
 
บทที่6 digital marketing
บทที่6 digital marketingบทที่6 digital marketing
บทที่6 digital marketing
 
บทที่ 3 โครงสร้างพื้นฐานของอีคอมเมิร์ซ อินเทอร์เน็ตและเว็บ
บทที่ 3 โครงสร้างพื้นฐานของอีคอมเมิร์ซ  อินเทอร์เน็ตและเว็บบทที่ 3 โครงสร้างพื้นฐานของอีคอมเมิร์ซ  อินเทอร์เน็ตและเว็บ
บทที่ 3 โครงสร้างพื้นฐานของอีคอมเมิร์ซ อินเทอร์เน็ตและเว็บ
 
Social network direct media
Social network direct mediaSocial network direct media
Social network direct media
 
การปฏิสัมพันธ์และโมเดลปฏิสัมพันธ์ (Interaction and Interactive Model)
การปฏิสัมพันธ์และโมเดลปฏิสัมพันธ์ (Interaction and Interactive Model)การปฏิสัมพันธ์และโมเดลปฏิสัมพันธ์ (Interaction and Interactive Model)
การปฏิสัมพันธ์และโมเดลปฏิสัมพันธ์ (Interaction and Interactive Model)
 
การสร้างแบรนด์ ให้ ธุรกิจดิจิทัล ยืนหนึ่งบนโลกออนไลน์ โดย อาจารย์แชมป์ ธิติพล...
การสร้างแบรนด์ ให้ ธุรกิจดิจิทัล ยืนหนึ่งบนโลกออนไลน์ โดย อาจารย์แชมป์ ธิติพล...การสร้างแบรนด์ ให้ ธุรกิจดิจิทัล ยืนหนึ่งบนโลกออนไลน์ โดย อาจารย์แชมป์ ธิติพล...
การสร้างแบรนด์ ให้ ธุรกิจดิจิทัล ยืนหนึ่งบนโลกออนไลน์ โดย อาจารย์แชมป์ ธิติพล...
 
บทที่ 5 พฤติกรรมผู้บริโภค การตลาดบนอินเทอร์เน็ตและการโฆษณา
บทที่ 5 พฤติกรรมผู้บริโภค การตลาดบนอินเทอร์เน็ตและการโฆษณาบทที่ 5 พฤติกรรมผู้บริโภค การตลาดบนอินเทอร์เน็ตและการโฆษณา
บทที่ 5 พฤติกรรมผู้บริโภค การตลาดบนอินเทอร์เน็ตและการโฆษณา
 
Chapter 8 concepts of change management
Chapter 8 concepts of change managementChapter 8 concepts of change management
Chapter 8 concepts of change management
 
เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน
เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน
เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน
 
ระดับของภาษา
ระดับของภาษาระดับของภาษา
ระดับของภาษา
 
จิตวิทยาการบริการ
จิตวิทยาการบริการจิตวิทยาการบริการ
จิตวิทยาการบริการ
 
Chapter 1 innovation and planning
Chapter 1 innovation and planningChapter 1 innovation and planning
Chapter 1 innovation and planning
 
ปก
ปกปก
ปก
 
บทที่ 3 การวิเคราะห์วัฒนธรรมข้ามชาติ
บทที่ 3 การวิเคราะห์วัฒนธรรมข้ามชาติบทที่ 3 การวิเคราะห์วัฒนธรรมข้ามชาติ
บทที่ 3 การวิเคราะห์วัฒนธรรมข้ามชาติ
 
Casestudy การศึกษารายกรณี
Casestudy การศึกษารายกรณีCasestudy การศึกษารายกรณี
Casestudy การศึกษารายกรณี
 
การเขียนแผนธุรกิจเพื่อการนำเสนอ
การเขียนแผนธุรกิจเพื่อการนำเสนอการเขียนแผนธุรกิจเพื่อการนำเสนอ
การเขียนแผนธุรกิจเพื่อการนำเสนอ
 
บทที่ 1 ภาพรวมของอีคอมเมิร์ซ
บทที่ 1 ภาพรวมของอีคอมเมิร์ซบทที่ 1 ภาพรวมของอีคอมเมิร์ซ
บทที่ 1 ภาพรวมของอีคอมเมิร์ซ
 
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิดสัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
 

Similar to Chapter 4 empathize

User experience design
User experience designUser experience design
User experience design
Manthana Kongklang
 
Design thinking การคิดเชิงออกแบบ (Thai - English)
Design thinking การคิดเชิงออกแบบ (Thai - English)Design thinking การคิดเชิงออกแบบ (Thai - English)
Design thinking การคิดเชิงออกแบบ (Thai - English)
Mayuree Srikulwong
 
การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์เรื่อง การใช้โปรแกรม-Adobe-audition-เบื้องต้น
การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์เรื่อง การใช้โปรแกรม-Adobe-audition-เบื้องต้นการพัฒนาสื่อวีดิทัศน์เรื่อง การใช้โปรแกรม-Adobe-audition-เบื้องต้น
การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์เรื่อง การใช้โปรแกรม-Adobe-audition-เบื้องต้นB CH
 
Chapter 10 design thinking for service
Chapter 10 design thinking for serviceChapter 10 design thinking for service
Chapter 10 design thinking for service
Teetut Tresirichod
 
การออกแบบและเทคโนโลยี
การออกแบบและเทคโนโลยีการออกแบบและเทคโนโลยี
การออกแบบและเทคโนโลยีkrunoommr
 
การวางแผนปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม
การวางแผนปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมการวางแผนปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม
การวางแผนปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม
Mickey Toon Luffy
 
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่  2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องบทที่  2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
moohhack
 
หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์
หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์
หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
Th Developing communication brand task
Th Developing communication brand taskTh Developing communication brand task
Th Developing communication brand task
Massimiliano La Franca
 
คู่มือ Twitter V2
คู่มือ Twitter V2คู่มือ Twitter V2
คู่มือ Twitter V2
Pakornkrits
 
ขอบข่ายของโครงงาน
ขอบข่ายของโครงงานขอบข่ายของโครงงาน
ขอบข่ายของโครงงานKtmaneewan
 
Prและสังคม2
Prและสังคม2Prและสังคม2
Prและสังคม2
Vivace Narasuwan
 
Project planning - Workshop
Project planning - WorkshopProject planning - Workshop
Project planning - Workshop
inanza
 
Understand Your Information Workshop (Thai) - UX Thailand 2017
Understand Your Information Workshop (Thai) - UX Thailand 2017Understand Your Information Workshop (Thai) - UX Thailand 2017
Understand Your Information Workshop (Thai) - UX Thailand 2017
Phijarana (Pij) Rattanathikun
 

Similar to Chapter 4 empathize (20)

User experience design
User experience designUser experience design
User experience design
 
User experience design
User experience designUser experience design
User experience design
 
Design thinking การคิดเชิงออกแบบ (Thai - English)
Design thinking การคิดเชิงออกแบบ (Thai - English)Design thinking การคิดเชิงออกแบบ (Thai - English)
Design thinking การคิดเชิงออกแบบ (Thai - English)
 
การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์เรื่อง การใช้โปรแกรม-Adobe-audition-เบื้องต้น
การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์เรื่อง การใช้โปรแกรม-Adobe-audition-เบื้องต้นการพัฒนาสื่อวีดิทัศน์เรื่อง การใช้โปรแกรม-Adobe-audition-เบื้องต้น
การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์เรื่อง การใช้โปรแกรม-Adobe-audition-เบื้องต้น
 
Chapter 10 design thinking for service
Chapter 10 design thinking for serviceChapter 10 design thinking for service
Chapter 10 design thinking for service
 
การออกแบบและเทคโนโลยี
การออกแบบและเทคโนโลยีการออกแบบและเทคโนโลยี
การออกแบบและเทคโนโลยี
 
การวางแผนปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม
การวางแผนปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมการวางแผนปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม
การวางแผนปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม
 
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่  2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องบทที่  2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
 
หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์
หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์
หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์
 
Th Developing communication brand task
Th Developing communication brand taskTh Developing communication brand task
Th Developing communication brand task
 
คู่มือ Twitter V2
คู่มือ Twitter V2คู่มือ Twitter V2
คู่มือ Twitter V2
 
ขอบข่ายของโครงงาน
ขอบข่ายของโครงงานขอบข่ายของโครงงาน
ขอบข่ายของโครงงาน
 
Original bandura
Original banduraOriginal bandura
Original bandura
 
Prและสังคม2
Prและสังคม2Prและสังคม2
Prและสังคม2
 
งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอม
 
Chapter 3
Chapter 3Chapter 3
Chapter 3
 
บทที่ 2 ทวีชัย
บทที่ 2 ทวีชัยบทที่ 2 ทวีชัย
บทที่ 2 ทวีชัย
 
Project planning - Workshop
Project planning - WorkshopProject planning - Workshop
Project planning - Workshop
 
201704 open ended-research
201704 open ended-research201704 open ended-research
201704 open ended-research
 
Understand Your Information Workshop (Thai) - UX Thailand 2017
Understand Your Information Workshop (Thai) - UX Thailand 2017Understand Your Information Workshop (Thai) - UX Thailand 2017
Understand Your Information Workshop (Thai) - UX Thailand 2017
 

More from Teetut Tresirichod

Process Model 5 for Moderated and Moderation Graph.pdf
Process Model 5 for Moderated and Moderation Graph.pdfProcess Model 5 for Moderated and Moderation Graph.pdf
Process Model 5 for Moderated and Moderation Graph.pdf
Teetut Tresirichod
 
Covariance-based Structural Equation Modeling (CB-SEM) Model Using SmartPLS4
Covariance-based Structural Equation Modeling (CB-SEM) Model Using SmartPLS4Covariance-based Structural Equation Modeling (CB-SEM) Model Using SmartPLS4
Covariance-based Structural Equation Modeling (CB-SEM) Model Using SmartPLS4
Teetut Tresirichod
 
Using JAMOVI in structural equation analysis
Using JAMOVI in structural equation analysisUsing JAMOVI in structural equation analysis
Using JAMOVI in structural equation analysis
Teetut Tresirichod
 
ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership and Communication)
ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership and Communication)ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership and Communication)
ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership and Communication)
Teetut Tresirichod
 
บทที่ 1 ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์โดยภาพรวม.pdf
บทที่ 1 ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์โดยภาพรวม.pdfบทที่ 1 ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์โดยภาพรวม.pdf
บทที่ 1 ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์โดยภาพรวม.pdf
Teetut Tresirichod
 
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLS
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLSPartial Least Square Path Modeling with SmartPLS
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLS
Teetut Tresirichod
 
Chapter 3 SHRM in a changing and shrinking world
Chapter 3 SHRM in a changing and shrinking worldChapter 3 SHRM in a changing and shrinking world
Chapter 3 SHRM in a changing and shrinking world
Teetut Tresirichod
 
Chapter 2 Strategic human resource management
Chapter 2 Strategic human resource managementChapter 2 Strategic human resource management
Chapter 2 Strategic human resource management
Teetut Tresirichod
 
Chapter 1 Strategy and human resource management
Chapter 1 Strategy and human resource managementChapter 1 Strategy and human resource management
Chapter 1 Strategy and human resource management
Teetut Tresirichod
 
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLS.pdf
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLS.pdfPartial Least Square Path Modeling with SmartPLS.pdf
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLS.pdf
Teetut Tresirichod
 
การใช้ VoSViewer
การใช้ VoSViewerการใช้ VoSViewer
การใช้ VoSViewer
Teetut Tresirichod
 
การใช้โปรแกรม QDA Miner.pdf
การใช้โปรแกรม QDA Miner.pdfการใช้โปรแกรม QDA Miner.pdf
การใช้โปรแกรม QDA Miner.pdf
Teetut Tresirichod
 
SPSS software application.pdf
SPSS software application.pdfSPSS software application.pdf
SPSS software application.pdf
Teetut Tresirichod
 
PSPP software application
PSPP software applicationPSPP software application
PSPP software application
Teetut Tresirichod
 
LINE OA
LINE OALINE OA
Partial least square path modeling with adanco
Partial least square path modeling with adancoPartial least square path modeling with adanco
Partial least square path modeling with adanco
Teetut Tresirichod
 
Chapter 10 creating an organizational image in innovation and technology
Chapter 10 creating an organizational image in innovation and technologyChapter 10 creating an organizational image in innovation and technology
Chapter 10 creating an organizational image in innovation and technology
Teetut Tresirichod
 
Chapter 9 business organization leadership and change management
Chapter 9 business organization leadership and change managementChapter 9 business organization leadership and change management
Chapter 9 business organization leadership and change management
Teetut Tresirichod
 
Chapter 7 technology development trends in the 21st century
Chapter 7 technology development trends in the 21st centuryChapter 7 technology development trends in the 21st century
Chapter 7 technology development trends in the 21st century
Teetut Tresirichod
 
Chapter 6 business technology management activities
Chapter 6 business technology management activitiesChapter 6 business technology management activities
Chapter 6 business technology management activities
Teetut Tresirichod
 

More from Teetut Tresirichod (20)

Process Model 5 for Moderated and Moderation Graph.pdf
Process Model 5 for Moderated and Moderation Graph.pdfProcess Model 5 for Moderated and Moderation Graph.pdf
Process Model 5 for Moderated and Moderation Graph.pdf
 
Covariance-based Structural Equation Modeling (CB-SEM) Model Using SmartPLS4
Covariance-based Structural Equation Modeling (CB-SEM) Model Using SmartPLS4Covariance-based Structural Equation Modeling (CB-SEM) Model Using SmartPLS4
Covariance-based Structural Equation Modeling (CB-SEM) Model Using SmartPLS4
 
Using JAMOVI in structural equation analysis
Using JAMOVI in structural equation analysisUsing JAMOVI in structural equation analysis
Using JAMOVI in structural equation analysis
 
ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership and Communication)
ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership and Communication)ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership and Communication)
ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership and Communication)
 
บทที่ 1 ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์โดยภาพรวม.pdf
บทที่ 1 ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์โดยภาพรวม.pdfบทที่ 1 ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์โดยภาพรวม.pdf
บทที่ 1 ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์โดยภาพรวม.pdf
 
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLS
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLSPartial Least Square Path Modeling with SmartPLS
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLS
 
Chapter 3 SHRM in a changing and shrinking world
Chapter 3 SHRM in a changing and shrinking worldChapter 3 SHRM in a changing and shrinking world
Chapter 3 SHRM in a changing and shrinking world
 
Chapter 2 Strategic human resource management
Chapter 2 Strategic human resource managementChapter 2 Strategic human resource management
Chapter 2 Strategic human resource management
 
Chapter 1 Strategy and human resource management
Chapter 1 Strategy and human resource managementChapter 1 Strategy and human resource management
Chapter 1 Strategy and human resource management
 
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLS.pdf
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLS.pdfPartial Least Square Path Modeling with SmartPLS.pdf
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLS.pdf
 
การใช้ VoSViewer
การใช้ VoSViewerการใช้ VoSViewer
การใช้ VoSViewer
 
การใช้โปรแกรม QDA Miner.pdf
การใช้โปรแกรม QDA Miner.pdfการใช้โปรแกรม QDA Miner.pdf
การใช้โปรแกรม QDA Miner.pdf
 
SPSS software application.pdf
SPSS software application.pdfSPSS software application.pdf
SPSS software application.pdf
 
PSPP software application
PSPP software applicationPSPP software application
PSPP software application
 
LINE OA
LINE OALINE OA
LINE OA
 
Partial least square path modeling with adanco
Partial least square path modeling with adancoPartial least square path modeling with adanco
Partial least square path modeling with adanco
 
Chapter 10 creating an organizational image in innovation and technology
Chapter 10 creating an organizational image in innovation and technologyChapter 10 creating an organizational image in innovation and technology
Chapter 10 creating an organizational image in innovation and technology
 
Chapter 9 business organization leadership and change management
Chapter 9 business organization leadership and change managementChapter 9 business organization leadership and change management
Chapter 9 business organization leadership and change management
 
Chapter 7 technology development trends in the 21st century
Chapter 7 technology development trends in the 21st centuryChapter 7 technology development trends in the 21st century
Chapter 7 technology development trends in the 21st century
 
Chapter 6 business technology management activities
Chapter 6 business technology management activitiesChapter 6 business technology management activities
Chapter 6 business technology management activities
 

Chapter 4 empathize

  • 2. 1. เพื่อให้นักศึกษาทําความเข้าใจถึงลักษณะและความสําคัญของผู้ใช้งานสุดโต่ง 2. เพื่อแนะนําวิธีการสร้างความเข้าใจถึงปัญหาและความต้องการของผู้ใช้งานได้ อย่างลึกซึ้ง 3. เพื่อแนะนําการสร้างความเข้าใจผู้ใช้งานด้วยแผนภูมิแห่งการสร้างความเข้าใจ อย่างลึกซึ้ง (Empathy Map) ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 2
  • 3. กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เป็นกระบวนการที่ให้ความสําคัญต่อ ผู้ใช้งานเป็นหลัก (Human-Centric Design) ดังนั้น ขั้นตอนแรกในกระบวนการคิดเชิงออกแบบ จึงเป็นการสร้างความเข้าใจถึงปัญหา และความต้องการของผู้ใช้งาน (user) อย่างลึกซึ้ง หรือที่ เรียกว่า Empathize ในขั้นตอนนี้สิ่งสําคัญที่สุดในขั้นแรกคือ การระบุกลุ่มผู้ใช้งานที่เราต้องเข้าไป ทําความเข้าใจ และถึงแม้ว่าเราจะคาดหวังว่าผลงานออกแบบของเราจะสามารถ ตอบโจทย์ของ ผู้ใช้งานทุกคนได้แต่กลุ่มเป้าหมายในขั้นต้นคือกลุ่มที่เรียกว่า “ผู้ใช้งานสุดโต่ง”(Extreme User) ใบบทนี้ จะเป็นการอธิบายถึงกระบวนการการสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง (Empathize) ซึ่งนับเป็นขั้นตอนแรกของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) โดยจะเริ่มจาก การอธิบายถึงคุณลักษณะของกลุ่มผู้ใช้งานที่มี ความสําคัญต่อโจทย์ปัญหาของงานออกแบบกลุ่ม ต่าง ๆ และวิธีการสร้างความเข้าใจผู้ใช้งานอย่างลึกซึ้ง รวมถึงการ รวบรวมข้อมูลในรูปแบบ แผนภูมิแห่งการสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง (Empathy Map) เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเข้าสู่ ขั้นตอนต่อไปในกระบวนการคิดเชิงออกแบบ คือ การนิยามหรือการตีกรอบปัญหา (Define) ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 3
  • 4. ด้วยการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) นั้นยึดเอาปัญหาและความต้องการ ของผู้ใช้งาน(user) เป็นหลัก ในการออกแบบผลิตภัณฑ์การบริการ หรือกระบวนการ ดังนั้นในขั้นแรกขอบกระบวนการในการคิดเชิงออกแบบ เราจะต้องสร้างความเข้าใจถึง ปัญหาและความต้องการของผู้ใช้งานอย่างลึกซึ้ง และกลุ่มผู้ใช้งานที่มีความสําคัญเป็นอย่าง มาก และนับเป็นกลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มแรกที่เราจะต้องสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้งก็คือ ผู้ใช้งานสุดโต่ง (Extreme User) โดยบริษัท IDEO และ d.school สถาบันการออกแบบที่ สแตนฟอร์ด (d.school: Institute of Design at Stanford) ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 4
  • 6. กลุ่มผู้ใช้งานสุดโต่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มสูงที่สุดที่จะใช้ผลิตภัณฑ์การบริการ หรือกระบวนการที่เราจะ ทําการออกแบบมา โดยอาจจะเป็นกลุ่มคนที่มีความคุ้นเคย และ มีความสนใจปัญหาในด้านนี้มากที่สุด ลักษณะของผู้ใช้งานในกลุ่มนี้มักจะมีความสนใจและ ความทุ่มเททางด้านนี้มาก ๆ และหากเราสามารถดึง ข้อมูลและวิเคราะห์ความต้องการของ คนกลุ่มนี้ได้ก็จะเป็นสะพานให้เราสามารถออกแบบผลงานที่จะตอบ โจทย์ปัญหาของคน กลุ่มมากได้เช่นกัน ดังนั้นการดึงข้อมูลในเชิงลึก (insight) จากคนกลุ่มนี้จึงมีความสําคัญ เป็นอย่างมากในขั้นต้นของการออกแบบกลุ่มผู้ใช้งานสุดโต่งที่มีแนวโน้มที่จะใช้งานมาก ที่สุด (Lead User) จะ มีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 5-10% ของประชากรผู้ใช้งานทั้งหมด ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 6
  • 7. กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มที่ 2 คือกลุ่มผู้ใช้งานในกระแสหลัก หรือ Mainstream User ซึ่ง จะเป็นประชากรส่วนใหญ่ ในจํานวนผู้ใช้งานทั้งหมด หรือประมาณ 80-90% ของจํานวน ผู้ใช้งานทั้งหมด ซึ่งเป็นผู้ใช้งานกลุ่มหลักที่เรา จะทําการออกแบบเพื่อตอบโจทย์ปัญหาของ พวกเขา ซึ่งในการคิดงานออกแบบผลิตภัณฑ์บริการ หรือ กระบวนการเพื่อตอบโจทย์คน ในกลุ่มนี้จะต้องมีการทดสอบและยืนยันผลงานแล้วว่าเป็นผลงานที่สามารถ แก้ไขปัญหา ของพวกเขาได้อย่างตรงจุด และผู้ใช้งานในกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของผลิตภัณฑ์ การ บริการ และกระบวนการที่เป็นผลลัพธ์ของการออกแบบ ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 7
  • 8. กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มสุดท้ายจะเป็นกลุ่มประชากรที่มีแนวโน้มสูงสุดที่จะไม่ใช้งาน ผลิตภัณฑ์บริการ หรือ กระบวนการที่เราออกแบบ (Skeptic) หรือเป็นกลุ่มคนที่มีแนวโน้ม สูงที่สุดที่จะเลิกใช้งานหลังจากการใช้งาน ครั้งแรกและต่อต้านผลงานออกแบบ และถือ เป็นกลุ่มผู้ใช้งานสุดโต่งในอีกฟากหนึ่งของสเปกตรัมผ้ใช้งานู โดยจะมีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 5-10% ของจํานวนผู้ใช้งานทั้งหมด ผู้ใช้งานในกลุ่มนี้อาจเป็นผู้ที่ไม่มี ความคุ้นเคยใด ๆ กับโจทย์ปัญหา หรือเป็นผู้ที่ไม่ได้สนใจ หรือตั้งใจที่จะไม่สนใจโจทย์ปัญหาที่ค้นพบ อย่างไร ก็ตาม การทําความเข้าใจผู้ใช้งานในกลุ่มนี้โดยเฉพาะการดึงข้อมูลใจเชิงลึก (insight) จาก ผู้ใช้งานในกลุ่มนี้ก็ นับว่ามีความสําคัญเป็นอย่างมากต่อกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการใหม่ๆ เพื่อที่จะทําความเข้าใจถึงข้อเสียของผลงาน และทําการ ปรับแก้เพื่อให้ผลงานออกแบบที่คิดขึ้นตอบโจทย์ ผู้ใช้งานได้อย่างรอบด้านที่สุด ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 8
  • 9. ในกระบวนการการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ผู้ใช้งาน (user) เป็นศูนย์การ ของกระบวนการทั้งหมด ดังนั้นเพื่อให้ผลงานออกแบบสามารถตอบโจทย์ปัญหาและความต้องการ ของผู้ใช้งานมากที่สุด เราจึงจําเป็นที่จะต้องสร้างความเข้าใจผู้ใช้งานอย่างลึกซึ้ง (Empathize) และในการสร้างความเข้าใจผู้ใช้งานทั้งหมด เราจําเป็นที่ จะต้องทําความเข้าใจผู้ใช้งานทุกภาค ส่วนอย่างลึกซึ้ง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้ใช้งานสุดโต่ง (Extreme User) ทั้ง 2 ขั้ว (Lead User และ Skeptic) และกลุ่มผู้ใช้งานกระแสหลัก (Mainstream User) ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะสามารถตอบโจทย์ ความต้องการของผู้ใช้งานทุกคนได้ การสร้างความเข้าใจผู้ใช้งานได้อย่างลึกซึ้งนั้น นักออกแบบจะต้องสามารถทําความ เข้าใจถึงปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ ของผู้ใช้ไม่ว่าจะเป็นพื้นฐานครอบครัว ลักษณะนิสัย ระดับความรู้ สติปัญญา สังคม สภาพแวดล้อม และวัฒนธรรม หรือที่เรียกว่า การศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnographic Study) เพื่อการสร้างความเข้าใจผู้ใช้งานอย่างลึกซึ้ง (Yayici, 2016) และ สามารถทําได้ผ่านวิธีการต่าง ๆ ดังนี้ ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 9
  • 10. หนึ่งในการทําความเข้าใจผู้ใช้งานคือการสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัวของผู้ใช้ไม่ว่าจะ เป็นอากัปกิริยา ท่าทาง หรือแม้กระทั่งของใช้ส่วนตัว สภาพแวดล้อม ทั้งที่บ้าน ที่ทํางาน ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะทําความเข้าใจชีวิตของผู้ใช้ได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการพยายามที่จะสวมบทบาท เป็นตัวผู้ใช้เอง (Immersion) เพื่อสามารถทําความเข้าใจถึงมุมมองและ ประสบการณ์ต่าง ๆ ของผู้ใช้ ใน Design Kit บริษัท IDEO ได้กล่าวถึงการสวมบทบาท (Immersion) ผ่านการ ติดตามชีวิตของผู้ใช้ในแต่ละ วัน เพื่อที่จะสังเกตพฤติกรรมของผู้ใช้ในอิริยาบถต่าง ๆ สังเกตถึงวิธีการเข้าสังคม ปฏิกิริยาต่าง ๆ ที่เขามีกับผู้คนรอบ ข้าง ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะพยายาม ทําความเข้าใจผู้ใช้อย่างลึกซึ้ง จนไปถึงกระบวนการความคิดของผู้ใช้และกระบวนการ การ ตัดสินใจในเหตุการณ์และสถานการณ์ต่าง ๆ (IDEO, ม.ป.ป.) ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 10
  • 11. นอกจากการสังเกตพฤติกรรมและสภาพแวดล้อม หรือศึกษาผู้ใช้งานในเชิงชาติ พันธุ์วรรณนา(Ethnography) แล้ว อีกหนึ่งวิธีที่จะทําให้นักออกแบบสามารถทําความ เข้าใจผู้ใช้งานได้อย่างลึกซึ้งคือการได้พูดคุย หรือสัมภาษณ์ผู้ใช้งาน หนังสือ Design Thinking Methodology Book โดย Emrah Yayici ได้กล่าวถึง วัตถุประสงค์ในการสัมภาษณ์ผู้ใช้งานไว้ว่าเป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้งานให้มาก ที่สุดโดยการถามคําถามที่ไม่เป็นคําถามชี้นํา และ จะต้องมีความเป็นกลางมากที่สุด (Yayici, 2016) Angela Li ผู้เชี่ยวชาญด้านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ ผู้บริหารบริษัท CBi China Bridge มหานครเซี่ยงไฮ้สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้อธิบายถึงลําดับและ โครงสร้างของการสัมภาษณ์เพื่อสร้างความ เข้าใจผู้ใช้งานอย่างลึกซึ้งเอาไว้ 6 ส่วน ดังรูปที่ 4-2 ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 11
  • 13. ในหนังสือ Complete Design Thinking Guide for Successful Professionals ผู้เขียน Daniel Ling ได้ กล่าวถึงวิธีการสัมภาษณ์ผู้ใช้งานเอาไว้ว่า “การสัมภาษณ์ควรเริ่มต้นจากการชวนสนทนามากกว่าการเข้าไปซักถาม”(Ling, 2015) เนื่องจากวัตถุประสงค์ของการสัมภาษณ์ คือการสร้างความเข้าใจผู้ใช้งานอย่างลึกซึ้ง ดังนั้นการสร้างความคุ้นเคยและสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายในการสนทนาจึงเป็นเรื่อง สําคัญเพื่อที่ผู้ถูกสัมภาษณ์จะรู้สึกผ่อนคลายในการให้ข้อมูลใจเชิงลึกได้มากยิ่งขึ้น Angela ยังได้อธิบายต่อว่าเป้าหมายของการสัมภาษณ์ผู้ช้งานในการสร้าง ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งนี้คือการทําความเข้าใจถึงปัญหาและความเจ็บปวดของผู้ใช้งาน (Pain) เพื่อจะทําความเข้าใจสิ่งที่เขาต้องการ (Need) และสิ่งที่เขาคาดหวัง ว่าจะได้รับ (Gain) ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 13
  • 14. 1) ไม่ควรมีสมาชิกทีมสัมภาษณ์เกิน 3 คน ต่อหนึ่งผู้ให้สัมภาษณ์เพราะจะเป็น การสร้าง ความกดดันให้กับผู้ถูกสัมภาษณ์ และอาจเป็นการสร้างความอึดอัดให้กับบรรยากาศการสัมภาษณ์ ละสถานที่โดยสมาชิกแต่ ละคนควรมีการวางบทบาท ที่ชัดเจน อาทิเช่น ผู้ถาม ผู้จดบันทึก และช่างภาพ เป็นต้น 2) ก่อนเริ่มการสัมภาษณ์ควร มีการเตรียมคําถามและทํารายการของข้อมูลที่ต้องการให้ เรียบร้อย โดยการสัมภาษณ์ควร เริ่มจากการถามคําถามเชิงกว้าง เช่น การใช้ชีวิตปกติสิ่งที่ชอบ หรือสิ่งที่ให้ความสําคัญต่อ ตัวผู้ใช้งานเอง ก่อนที่จะเข้าสู่การถามคําถามที่มีความเฉพาะเจาะจงลง มาถึงวัตถุประสงค์ของโครงการที่จะทําการออกแบบ 3) การจดบันทึกควรบันทึกคําพูดของผู้ให้สัมภาษณ์อย่างแม่นยําที่สุด และควรเป็นการ จดบันทึกคําพูดอย่างตรงตัว มิใช่การตีความหมายของผู้จด ทั้งนี้เพื่อเป็นการจดบันทึกข้อมูลที่มี ความแม่นยํามากที่สุด 4) สิ่งที่ผู้ให้สัมภาษณ์พูดเป็นเพียงข้อมูลเชิงเดี่ยวเท่านั้น ดังนั้น สิ่งสําคัญคือการสังเกต และจดบันทึก อากัปกิริยา และภาษากายของผู้ให้สัมภาษณ์ระหว่างการสัมภาษณ์ ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 14
  • 16. โดยการสัมภาษณ์ตามโครงสร้างของการสัมภาษณ์ของสถาบันการออกแบบที่ สแตนฟอร์ดจะเริ่มต้นด้วยการ แนะนําตนเองและวัตถุประสงค์ในการสัมภาษณ์จากนั้นจะ เป็นการเริ่มการสัมภาษณ์ด้วยการสร้างความผ่อนคลายโดย ให้ผู้ให้สัมภาษณ์แนะนําตัวเอง และพูดถึงเรื่องราวของตัวเอง จากนั้นจะเป็นการเริ่มถามคําถามเชิงกว้าง และหมั่นสร้าง ความมั่นใจให้กับผู้ให้สัมภาษณ์และคอยกระตุ้นให้เขาพูดต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ผู้ให้ สัมภาษณ์เล่าถึงเรื่องราวต่าง ๆ ใน ชีวิตตนเองมากขึ้น อาจจะเป็นการเล่าถึงการใช้ ชีวิตประจําวัน หรือข้อมูลในเชิงลึก พยายามทําความเข้าใจความรู้สึก ของผู้ให้สัมภาษณ์ เกี่ยวกับหัวข้อในบทสนทนา จากนั้นจึงทบทวนข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์ด้วยการถาม ถึง เหตุผลและความเป็นมาของเรื่องราวที่ได้รับฟังมาเพื่อสร้างความเข้าใจมากขึ้น ก่อนจบ บทสนทนา (Hasso Plattner Institute of Design at Stanford, 2010) ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 16
  • 17. หลังจากที่ได้ทําการรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้งานด้วยวิธีการต่าง ๆ ในการสร้าง ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว หนึ่งในเครื่องมือสําคัญ สําหรับการรวบรวมข้อมูลเพื่อการทํา ความเข้าใจผู้ใช้งานอย่างลึกซึ้งคือแผนภูมิแห่งการสร้างความ เข้าใจอย่างลึกซึ้ง หรือ Empathy Map โดยองค์ประกอบของแผนภูมิแห่งการสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้งของ สถาบัน การออกแบบที่สแตนฟอร์ดคือการนําข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและการสัมภาษณ์ มาจัดวางแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มคือ สิ่ง ที่ผู้ใช้งานพูดตอนสัมภาษณ์สิ่งที่ผู้ใช้งานทําจากการ เล่าเรื่องราว หรือการสังเกตอากัปกิริยา สิ่งที่ผู้ใช้งานคิด และ ความรู้สึกของผู้ใช้งาน เกี่ยวกับหัวข้อของการสนทนา ดังรูปที่ 4-4 ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 17
  • 19. สําหรับการทําแผนภูมิแห่งการสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง (Empathy Map) นั้น ควรจะต้องทําแผนภูมิแยก ตามรายบุคคลของผู้ใช้งานแต่ละคนที่ได้ทําการศึกษาเพื่อทํา ความเข้าใจมาในขั้นตอนก่อนหน้า โดยทําการแบ่งแยก อย่างชัดเจนระหว่างข้อมูลดิบ (Raw Data) ที่ได้บันทึกมาจากขั้นตอนการสังเกตและสัมภาษณ์ เช่น คําพูด และการ กระทํา กับข้อมูลที่เป็นการตีความหมายจากฝั่งผู้เก็บข้อมูล เช่น ความคิดและความรู้สึก ทั้งนี้ก็เพื่อที่เราจะสามารถ ย้อนกลับมาอ้างอิงถึงข้อมูลในส่วนนี้และสามารถระบุได้ เฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้นระหว่างความเป็นจริง และสมมติฐานที่ เราได้สร้างขึ้น หลังจากที่ได้ทํา การทดสอบการตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานจริง ในขั้นตอนการสร้างต้นแบบ และ ทดสอบผลงานออกแบบ เพื่อทําการปรับแก้ให้เข้ากับสิ่งที่ผู้ใช้งานต้องการได้มากที่สุด โดย การทํา Empathy Map มักจะใช้วิธีการเขียนข้อมูลแต่ละข้อที่ได้บันทึกมาลงบนกระดาษ โน้ต Post-It เพื่อง่ายต่อการจับกลุ่มเคลื่อนย้าย ในขั้นตอนต่อไป ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 19
  • 20. ขั้นตอนแรกในกระบวนการคิดเชิงออกแบบ หรือ Design Thinking นั้นเป็นการ สร้างความเข้าใจถึงปัญหา และความต้องการของผู้ใช้งาน (user) อย่างลึกซึ้ง หรือที่ เรียกว่าการ Empathize โดยจะต้องทําการระบุกลุ่มผู้ใช้งาน ที่เราต้องเข้าไปทําความ เข้าใจให้ชัดเจน เพื่อให้ผลงานออกแบบของเราสามารถตอบโจทย์ปัญหาและความต้องการ ของผู้ใช้งานได้อย่างตรงจุด ตามหลักสถิติแล้ว การกระจายของค่าความน่าจะเป็น (Probability Distribution) ของ กลุ่มผู้ใช้งานจะกระจายตัวตามหลักของการแจกแจงแบ ปกติ(Normal Distribution) จึงทําให้เราสามารถแบ่ง ประชากรกลุ่มผู้ใช้งานผลงานการ ออกแบบของเราได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ใช้งานสุดโต่ง (Extreme User) และกลุ่ม ผู้ใช้งานกระแสหลัก (Mainstream User) โดยกลุ่มผู้ใช้งานสุดต่างจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ย่อยจากหางทั้ง 2 ฝั่งของกราฟ คือ กลุ่มผู้ใช้งานสุดโต่งที่มีแนวโน้มสูงที่จะใช้งาน (Lead User) และกลุ่มผู้ใช้งานที่มีแนวโน้มสูงที่จะไม่ใช้หรือ กลุ่มที่มีอคติในการใช้งาน (Skeptic) ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 20
  • 21. หลังจากที่สามารถระบุกลุ่มผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจนแล้ว ทีมนักออกแบบก็จะต้อง เริ่มดําเนินการสร้างความ เข้าใจอย่างลึกซึ้งผ่านการศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnographic Study) โดยการสังเกตและการสวมบทบาท (Observe & Immerse) และโดยการสัมภาษณ์(Interview) เพื่อเก็บข้อมูลและทําความเข้าใจปัญหาและความ ต้องการของกลุ่มผู้ใช้งานให้ได้มากที่สุด ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 21
  • 22. จากนั้น จึงทําการรวบรวมข้อมูลเพื่อการทําความเข้าใจผู้ใช้งานอย่างลึกซึ้งโดยใช้ เครื่องมือที่เรียกว่า แผนภูมิ แห่งการสร้างความเขาใจอย่างลึกซึ้ง หรือ Empathy Map ซึ่ง เป็นการนําข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การสวมบทบาท และการสัมภาษณ์มาจัดวางแบ่ง ออกเป็น 4 กลุ่มคือ สิ่งที่ผู้ใช้งานพูดตอนสัมภาษณ์สิ่งที่ผู้ใช้งานทําจากการเล่า เรื่องราว หรือการสังเกตอากัปกิริยา สิ่งท่ผู้ใช้งานคิดี และความรู้สึกของผู้ใช้งานเกี่ยวกับหัวข้อของ การสนทนา โดย จะต้องสามารถแยกแยะได้อย่างชัดเจนระหว่างข้อมูลดิบ (Raw Data) ที่ ได้บันทึกมาจากขั้นตอนการสังเกตและ สัมภาษณ์กับข้อมูลที่เป็นการตีความหมายจากฝั่งผู้ เก็บข้อมูล ทั้งนี้ก็เพื่อที่เราจะสามารถย้อนกลับมาอ้างอิงถึงข้อมูล ในส่วนนี้และสามารถ ระบุได้เฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้นระหว่างความเป็นจริง และสมมติฐานที่เราได้สร้างขึ้น ซึ่งขั้น ตอนนี้จะ เป็นการปูทางไปสู่ขั้นตอนต่อไปของกระบวนการคิดเชิงออกแบบซึ่งก็คือ การ นิยามหรือการตีกรอบปัญหา (Define) ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 22
  • 23. 1. อะไรคือความสําคัญของการสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง 2. เลือกปัญหาที่สนใจมา 1 หัวข้อ แล้วลองเขียนถึงลักษณะของผู้ใช้งานสุดโต่งทั้ง ทีมีแนวโน้มที่จะใช้งานผลงานออกแบบของเรา และผู้ที่มีแนวโน้มที่จะต่อต้าน หรือไม่ใช้ งานผลงานออกแบบของเรา 3. จดรายการข้อมูลที่จําเป็นต้องรู้เพื่อทําการออกแบบ และเตรียมคําถามสําหรับ การสัมภาษณ์ผู้ใช้งาน ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 23
  • 24. 1. การทําของขวัญ (Gift Creation) 2. กิจกรรมการสร้างความเข้าใจ (Immerse Activity) 3. กิจกรรมการสํารวจและค้นหา (Exploration Activity) 4. การเข้าใจข้อมูลในเชิงรุก (Formulate Insights) ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 24