SlideShare a Scribd company logo
การคิดเชิงออกแบบของกระบวนการ
(Design Thinking in Process)
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ
1. เพื่ออธิบายความหมาย และหลักการของการออกแบบกระบวนการ
2. เพื่อทําความเข้าใจการออกแบบการไหลของกระบวนการ
3. เพื่อเรียนรู้ในเรื่องของการออกแบบกระบวนการใหม่
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 2
โดยทั่วไปแล้ววัตถุประสงค์หลักขององค์กร คือ การผลิตสินค้าและบริการที่ส่งมอบ
คุณค่าและสร้างความพึง พอใจให้กับลูกค้า ธรรมชาติของกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ
สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ตั้งแต่การ ผลิตสําหรับโครงการเดี่ยว (Single project)
เช่น การสร้างสะพาน การสร้างตึกระฟ้า ไปจนถึงงานบริการ (Service) เช่น การออกแบบตกแต่ง
ภายในและการผลิตจํานวนมาก (Mass production) เช่น การผลิตรถยนต์หรือ การบริการ ของ
ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด สินค้าและบริการที่ประสบความสําเร็จจะได้รับการออกแบบมาจากเสียง
สะท้อนของลูกค้า และความต้องการของตลาด
การออกแบบเชิงกระบวนการจะมีความสําคัญต่อองค์กรในเรื่องเกี่ยวกับการแยกชิ้นส่วน
ของสินค้า หรือ บริการมาทําความเข้าใจและพิจารณาทีละส่วนและเกี่ยวข้องกับการสร้าง
กระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม ดึงดูดใจลูกค้า
และมีคุณสมบัติการใช้งานที่ตรงกับคุณค่าที่ลูกค้าอยาก ได้การออกแบบกระบวนการจะทําให้
มั่นใจได้ว่า องค์กรจะมีกระบวนการผลิตที่สามารถดําเนินการได้อย่างเรียบร้อย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์
ตามที่ต้องการการออกแบบกระบวนการจะเป็นการนําผู้ปฏิบัติการ วิธีการปฏิบัติการและ
เครื่องจักร มาร้อยเรียงกันเพื่อที่จะให้กระบวนการผลิตดําเนินไปได้อย่างต่อเนื่องและผลิตได้
เพียงพอต่อความต้องการของตลาด
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 3
การออกแบบกระบวนการ หมายถึง การกําหนดคุณลักษณะและขั้นตอนของ
กระบวนการ เพื่อให้การทํางาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีจุดควบคุมและสามารถ
ตรวจสอบได้โดยทั่วไปแล้ว การสร้างสินค้าและบริการที่มี คุณภาพนั้นจะมาจาก
กระบวนการทํางานขององค์กรที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การที่จะสร้างสิ่งเหล่านี้ได้
นั้น องค์กรจําเป็นจะต้องมีการออกแบบกระบวนการที่ดีซึ่งสิ่งต่างๆที่องค์กรจะต้อง
พิจารณามีดังต่อไปนี้ (วิสุทธิ์ลือชัย เฉลิมสุข, 2556)
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 4
1. ขั้นตอนหรือลําดับการทํางาน (Procedure) และวิธีการดําเนินงาน (Method) ซึ่ง
เป็นการออกแบบลําดับ กิจกรรมเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานใช้เครื่องมือ อุปกรณ์หรือเครื่องจักร
เพื่อทําการเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบให้เป็นสินค้า หรือบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการ
จัดลําดับกิจกรรมต้องไม่ให้เกิดความสูญเปล่าและกิจกรรมใดๆ จะต้องมีการทําเพียงครั้ง
เดียวเท่านั้น
2. ผู้รับผิดชอบและทําหน้าที่ในการปฏิบัติงาน (People) เป็นบุคคลที่จะทําหน้าที่เป็น
ผู้ผลิตและพัฒนาสินค้า หรือบริการนั้น หากองค์กรกําหนดกระบวนการอย่างถูกต้อง
กระบวนการนั้นจะมีผู้รับผิดชอบในการ ปฏิบัติการเพียงคนเดียวแล้ว ผู้อื่นจะเป็นผู้มีส่วน
ร่วมในกระบวนการเท่านั้น
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 5
3. วัตถุดิบ ส่วนประกอบต่างๆและวัสดุที่ต้องใช้ (Material) เป็นสิ่งตั้งต้นที่จะต้องใช้เพื่อให้
ได้ผลลัพธ์ตามที่ ต้องการ องค์กรต้องกําหนดคุณสมบัติลักษณะ และจํานวนของวัตถุดิบและวัสดุที่
ต้องใช้
4. เครื่องมือ อุปกรณ์เครื่องจักรที่ต้องใช้ (Tool, Equipment, Machine) เป็นสิ่งที่จะต้องใช้
ในกระบวนการ ผลิตและพัฒนาสินค้าหรือบริการนั้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และ
ระบบปฏิบัติการ เป็นต้น
5. ลักษณะผลลัพธ์ของกระบวนการ (Output) องค์กรจะต้องกําหนดคุณสมบัติว่าต้องการ
ผลลัพธ์เป็นอย่างไร หากต้องการผลลัพธ์ที่มีความแน่นอน เราก็ต้องกําหนดคุณสมบัติที่มี
เฉพาะเจาะจงลงไปด้วย ซึ่งคุณสมบัติ เหล่านี้จะนํามาใช้ประกอบการทดสอบชิ้นงานที่ผลิตและ
พัฒนาเสร็จแล้ว
6. สภาพแวดล้อมในการทํางาน (Working environment) เป็นปัจจัยและองค์ประกอบที่
แวดล้อมผู้ปฏิบัติงาน ในหน่วยงาน ซึ่งมีผลกระทบต่อบุคคลในหน่วยงาน ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ
อารมณ์และสังคม
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 6
อย่างไรก็ตามในบรรดา 6 ด้านที่องค์กรต้องพิจารณานั้น องค์กรส่วนใหญ่มักจะ
เข้าใจผิดว่าสิ่งแรกที่ต้องพิจารณา คือ ขั้นตอนหรือลําดับการทํางานเป็นลําดับแรก ในความ
เป็นจริง เมื่อองค์กรจะทําการออกแบบ กระบวนการนั้น สิ่งที่ควรจะต้องพิจารณาเป็น
อันดับแรก คือ ผลลัพธ์ที่ต้องการจากกระบวนการแต่องค์กรส่วนใหญ่ ไม่ได้คํานึงถึงในเรื่อง
นี้ซึ่งเป็นข้อผิดพลาดที่มักจะเกิดขึ้นผู้ออกแบบกระบวนการมักจะนึกถึงขั้นตอนการ
ปฏิบัติงาน แล้วก็เขียนกระบวนการที่มีความซ้ําซ้อนและวกวนไปมาทําให้เมื่อออกแบบ
กระบวนการแล้วกลับต้องแก้ไขปัญหาใน การทํางานบ่อยมาก นอกจากนั้นถ้าหากองค์กร
ต้องการให้กระบวนการทํางานสามารถดําเนินการต่อไปอย่างรวดเร็ว องค์กรจําเป็นจะต้อง
กําหนดลักษณะผลลัพธ์ของกระบวนการให้เล็กลงหรือง่ายขึ้นด้วย
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 7
ถ้าองค์กรออกแบบกระบวนการได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความละเอียดและ
แม่นยําองค์กรจะได้ผลลัพธ์จาก กระบวนการออกมาเพียงแค่อย่างเดียวและผลลัพธ์ที่ได้จะ
ตรงกับความต้องการมาก พร้อมทั้งมีต้นทุนการพัฒนาที่ต่ํา หากมีผลลัพธ์เกิดขึ้นมากกว่า
หนึ่งอย่าง อาจจะมาจากสาเหตุสําคัญ 2 ประการ ดังนี้
1. ผลลัพธ์นั้นเป็นผลพลอยได้ (By Product) ของกระบวนการ เช่น องค์กร
ต้องการผลิตน้ําตาล แต่เมื่อเข้า กระบวนการผลิต องค์กรจะได้รับกากน้ําตาลออกมาด้วย
ซึ่งน้ําตาลถือเป็นผลลัพธ์ขณะที่กากน้ําตาลเป็นผล พลอยได้
2. กระบวนการที่ออกแบบไว้ประกอบด้วยกระบวนการย่อยหลายกระบวนการ
หากเป็นกรณีนี้องค์กรควร พิจารณาอีกครั้งว่าการออกแบบกระบวนการอาจจะมีความ
ผิดพลาดหรือซับซ้อนเกินไป
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 8
การพัฒนาขั้นตอนสําหรับการวางแผน และการออกแบบกระบวนการมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ข้อกําหนดของกระบวนการ (Process Requirement) เป็นขั้นตอนแรกซึ่ง
จะเริ่มจากการสะสมและรวบรวม ข้อมูล เพื่อนํามากําหนดโครงสร้างให้ตรงกับ
วัตถุประสงค์องค์กรต้องทราบถึงข้อกําหนดของกระบวนการว่า จะต้องประกอบด้วย
อะไรบ้างในแต่ละขั้นตอน เพื่อจะได้ทําความเข้าใจถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น และผู้มีส่วน
ได้ส่วนเสียในการผลิต สิ่งเหล่านี้ยังรวมถึงการประเมินทางด้านเทคโนโลยีที่มีอยู่ความ
ต้องการวัตถุดิบ การ ออกแบบโรงงาน และการพยากรณ์ความต้องการของตลาด
2. การสร้างทีม (Team Building) เมื่อความต้องการของกระบวนการได้รับ
การอนุมัติสําหรับแต่ละ วัตถุประสงค์ทีมจะถูกคัดเลือกตามระดับความสามารถ ทักษะ
และประสบการณ์หน้าที่ของทีม คือ การทํา ความคุ้นเคยกับกระบวนการทั้งหมด
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 9
3. การวางแผน และการนําไปปฏิบัติ (Planning and Implementation)
ทีมที่วางแผนกระบวนการจะทําการ พัฒนานโยบายและขั้นตอนต่างๆที่ต้องใช้ในการผลิต
ซึ่งต้องได้รับการอนุมัติจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ
4. การตรวจสอบ (Audit) การตรวจสอบอย่างสม่ําเสมอจะถูกทําให้เกิดขึ้น
เพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการจะถูก นําไปปฏิบัติและส่งมอบตามที่ลูกค้าต้องการ
5. ขั้นสุดท้ายของผลิตภัณฑ์ (End of Life) เมื่อดําเนินการมาระยะหนึ่ง สิ่งที่
จะเกิดขึ้น คือ การหยุดผลิตสินค้า รุ่นเก่าที่ขายไม่ดีและมีการพัฒนาสินค้ารุ่นใหม่ดังนั้น
กระบวนการผลิตสินค้าเก่าก็จะถูกยกเลิกไป และการ พัฒนากระบวนการผลิตสินค้าใหม่ก็
จะเกิดขึ้น
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 10
การออกแบบกระบวนการที่ประสบความสําเร็จต้องมาจากการพิจารณาความ
เหมาะสมของกระบวนการต่อวัตถุประสงค์ขององค์กร นักออกแบบกระบวนการต้องมี
ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์กรในมุมกว้างและมองสิ่งที่จะเกิดขึ้น ในระยะยาว กระบวนการ
ต้องส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าและต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการในทุกระดับขององค์กร
เพื่อที่จะออกแบบกระบวนการให้ได้ผลดีกลยุทธ์ทางด้านกระบวนการจะต้องมีรายละเอียด
ที่เกี่ยวข้องกับทุกชิ้นส่วน ในกระบวนการผลิต ตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบ การมีส่วนร่วมใน
การออกแบบผลิตภัณฑ์ของลูกค้า การลงทุนทางด้าน เทคโนโลยีจนกระทั่งออกมาเป็น
ผลิตภัณฑ์ที่เสร็จสมบูรณ์
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 11
การออกแบบการไหลของกระบวนการ เป็นการบริหารจัดการลําดับขั้นตอนของ
การปฏิบัติงานระหว่าง บุคลากร หรือหน่วยงาน เพื่อจะได้ทราบว่า การผลิตชิ้นส่วนต่างๆ
หรือการสร้างสรรค์การบริการมีการไหลอย่างไรใน กระบวนการ โดยทีมงานนักออกแบบ
จะต้องทราบว่ามีอะไรไหลบ้าง มีวิธีการไหลอย่างไร การไหลเกิดขึ้นและสิ้นสุด เมื่อใดการ
ไหลเกิดขึ้นและสิ้นสุดที่ไหน ใช้เวลาในการไหลทั้งหมดเท่าไร และใครจะเป็นผู้ทําให้เกิด
การไหลเพื่อจะได้ เข้าใจการออกแบบการไหลของกระบวนการ ดังนั้นการออกแบบการ
ไหลของกระบวนการจะทําให้เห็นภาพรวมของ กิจกรรมต่างๆ สามารถระบุระยะเวลาใน
การดําเนินการว่าแต่ละขั้นตอนใช้เวลาเท่าใด ช่วยในการพิจารณาว่า กิจกรรมใดจําเป็น ตัด
ทอน หรือจะรวมกันได้
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 12
1. รูปแบบเรียงลําดับ เป็นการไหลของกิจกรรมเรียงไปตามลําดับของ
กระบวนการ คือต้องให้กิจกรรมแรกเสร็จก่อน ถึงจะทํากิจกรรมต่อไปได้
2. รูปแบบขนาน เป็นการไหลของกิจกรรมพร้อมๆกันหลายกิจกรรม โดยไม่ต้อง
รอให้กิจกรรมแรกเสร็จก่อน
3. รูปแบบผสม เป็นการไหลของกระบวนการที่ผสมกันระหว่างรูปแบบที่ 1 กับ
รูปแบบที่ 2
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 13
1. ภาพเขียนแบบการประกอบ (Assembly drawing)เป็นภาพเขียนที่แสดงว่า
ผลิตภัณฑ์นั้นมีส่วนประกอบ หรือชิ้นส่วนอะไรบ้าง
2. แผนภาพแสดงถึงการเชื่อมโยงส่วนประกอบ (Assembly chart)เป็นแผนภาพที่ใช้ใน
การอธิบายถึงการ ประกอบชิ้นส่วน อธิบายถึงการไหลของวัตถุดิบ แรงงาน และอุปกรณ์
3. แผ่นแสดงเส้นทางและการผลิต (Operation and route sheet) เป็นตารางที่
อธิบายว่าใช้ส่วนประกอบ ในการผลิตอย่างไร ต้องเข้าสู่เครื่องจักรหรือเครื่องใช้อุปกรณ์ใดบ้าง
4. แผนภาพแสดงการไหลของกระบวนการผลิต (Flow Process Chart)เป็นการ
นําเสนอว่ามี กระบวนการผลิตอย่างไรบ้าง เริ่มตั้งแต่การขนย้าย การผลิต การเก็บรักษา การ
ตรวจสอบเป็นต้น
5. แบบจําลองการไหล (Flow simulation)เป็นกระบวนการแบบจําลองของระบบจริง
แล้วดําเนินการ ทดลองเพื่อจะได้เรียนรู้พฤติกรรมการไหลของกระบวนการจริงภายใต้ข้อกําหนด
ต่างๆที่วางไว้
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 14
เมื่อทีมนักออกแบบได้ทําการออกแบบการไหลของกระบวนการแล้ว นักออกแบบ
จะต้องสร้างวิธีการติดตามงาน (Tracking) ที่มีประสิทธิภาพด้วย เนื่องจากกระบวนการ
หนึ่งอาจจะมีหลายกิจกรรม หรือมีผู้ปฏิบัติงานที่ เกี่ยวข้องหลายคนซึ่งนักออกแบบจําเป็น
ที่จะต้องติดตามงานว่าอยู่ในขั้นตอนใดและใครเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งทีมนักออกแบบจะต้อง
เก็บข้อมูลเหล่านี้และนํามาทําเป็นรายงานเพื่อติดตามผล นอกจากการสร้างระบบติดตาม
งานแล้ว ระบบการอนุมัติงาน (Approval) เพื่อส่งต่อให้กับอีกกลุ่มงานหนึ่งก็เป็นอีกหน้าที่
สําหรับทีมงานนักออกแบบ เพราะ การส่งมอบงานควรที่จะมีเจ้าหน้าที่ดูแล และตรวจรับ
งานที่ส่งผ่านมายังแผนกนั้นๆ ระบบสุดท้ายที่จะต้องคํานึงถึง คือ การกระจายงาน
(Broadcasting) และการประสานงาน (Collaboration) เพราะจะได้แก้ไขงานร่วมกันได้
เมื่อเกิดปัญหา
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 15
ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีกระบวนการทํางานและโครงสร้าง
องค์กรแบบแบนราบ (Flat) ซึ่ง แตกต่างจากองค์กรขนาดใหญ่ดังนั้นการออกแบบ
กระบวนการทางนวัตกรรม จึงมีการนํากลยุทธ์การจัดการเชิงนวัตกรรม และการบริหาร
การออกแบบมาผสมผสานกัน นํามาซึ่งกระบวนการทํางานใน 6 ขั้นตอน โดยทั้ง 6
ขั้นตอน นี้ไม่จําเป็นที่จะต้องเกิดขึ้นแบบเรียงลําดับ แต่ในบางกระบวนการสามารถที่จะทํา
พร้อมๆ กันได้
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 16
1) การสร้างแรงกระตุ้น (Impulse) เป็นจุดเริ่มต้นแรกของกระบวนการ ขั้นตอนของการ
สร้างแรงกระตุ้น ประกอบไปด้วยการผสมกันระหว่างการสังเกตและวิเคราะห์ตลาด และ
การประเมินความสามารถของ องค์กร วัตถุประสงค์ของขั้นตอนนี้คือ การอธิบายว่า
แนวโน้มของตลาดและกลุ่มลูกค้าประเภทไหนที่กําลัง เป็นที่น่าจับตามอง ในขั้นตอนการ
วิจัย
2) การวิจัย (Research) เป็นขั้นตอนที่นําวิธีการวิจัยต่างๆ มาทําความเข้าใจตลาดและ
ลูกค้าในเชิงลึก เช่น การ ใช้วิธีการชาติพันธุ์วรรณนา การวิจัยเชิงประสบการณ์การศึกษา
ทางด้านเทคโนโลยี
3) การพัฒนา (Development) เป็นขั้นที่จัดเตรียมในเรื่องของกฎเกณฑ์ซึ่งมาจากการ
วิเคราะห์ข้อมูลของการ วิจัยภาคสนาม
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 17
4) กลยุทธ์ (Strategy) โดยทั่วไปแล้วขั้นตอนนี้มักจะเป็นขั้นตอนแรก แต่การที่ปรับ
ขั้นตอนนี้ไว้หลังจากการสร้าง แรงกระตุ้น การวิจัยและการพัฒนา ทําให้การพัฒนากลยุทธ์
ทางธุรกิจตอบสนองได้ตรงกับความต้องการ ลูกค้า และสามารถปรับเปลี่ยนได้ทันต่อ
เหตุการณ์และเข้ากับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ
5) การนําไปใช้ (Implementation) ในขั้นตอนนี้การปรับปรุงกระบวนการผลิตและ
การตลาด ทั้งในเรื่องของ การสร้างแบรนด์และการติดต่อสื่อสารเพื่อนําเสนอประสบการณ์
ใหม่ๆให้กับลูกค้านั้น จะเกี่ยวข้องกับการ ออกแบบกระบวนการอย่างเต็มที่
6) การวิวัฒนาการ (Evolution) เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่สินค้าหรือบริการที่มีนวัตกรรมจะ
ถูกพัฒนาให้เกิดขึ้น โดย เน้นในเรื่องของความเกี่ยวข้องของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเสียง
สะท้อนกลับจากลูกค้า
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 18
1. การบูรณาการ (Integration)
ในปัจจุบันการดําเนินงานภายในองค์กรของหลายๆองค์กรได้มีการเปลี่ยนแปลง
รูปแบบจากเดิมที่เป็นแบบลําดับขั้น (Hierarchy) มาสู่รูปแบบของกระบวนการ(Process)
ที่ต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานมากขึ้น ดังนั้นนักออกแบบกระบวนการ
สามารถที่จะเข้ามาช่วยในการออกแบบเพื่อให้การทํางานดําเนินไปในแนวทางที่องค์กร
ต้องการโดยเฉพาะเมื่อมีการนํากลยุทธ์นวัตกรรม และการออกแบบกระบวนการมารวมกัน
จะทําให้องค์กรสามารถ สร้างผลิตภัณฑ์บริการ และประสบการณ์ใหม่ซึ่งสามารถกลายเป็น
ความสามารถหลักขององค์กร นั่นคือ นวัตกรรม จะเป็นตัวขับเคลื่อน ขณะที่กระบวนการ
อื่นๆที่เกี่ยวข้องทั้งหมดถูกออกแบบตามเป้าหมายทางการตลาดที่ได้วางไว้ กระบวนการนี้
จะถูกทําซ้ําหลายๆครั้ง นอกจากนั้นการวางกลยุทธ์โครงสร้างขององค์กร และวัฒนธรรม
องค์กรมีส่วน ต่อการบูรณาการออกแบบกระบวนการเป็นอย่างมากอีกด้วย
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 19
2. การผสมผสานความหลากหลาย (Multidisciplinary)
ในกระบวนการสร้างนวัตกรรมนั้นจําเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากหลาย
หน่วยงาน เช่น การตลาด วิศวกรรม การขาย การติดต่อสื่อสาร และการออกแบบ เป็นต้น
ซึ่งการผสมผสานความหลากหลายนี้ถือเป็นขั้นตอน สําคัญของการคิดเชิงออกแบบ เพราะ
จะทําให้องค์กรมีความสามารถในการปรับตัว และควบคุมความเสี่ยงได้ตั้งแต่ต้น ยิ่งไปกว่า
นั้น การผลิตสินค้าและบริการจะสามารถทําได้รวดเร็วและง่ายขึ้นต่อการผลักดันออกสู่
ตลาดผ่านการพัฒนา ทางด้านเทคโนโลยีและการออกแบบที่มีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง องค์กรจึง
ต้องพยายามสนับสนุนให้มีการออกแบบกิจกรรม ต่างๆโดยสร้างทีมที่มีความหลากหลาย
สาขาเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ขั้นตอนแรกๆของการออกแบบ
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 20
3. การแพร่กระจาย (Permeation)
องค์กรส่วนใหญ่มองว่าในแต่ละขั้นตอนการดําเนินงานนั้น จะมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องที่
มากมายและหลากหลายองค์กรจําเป็นจะต้องพิจารณาความเป็นไปทั้งภายในและภายนอกองค์กร
ที่จะมีผลกระทบต่อขอบเขตการดําเนินงาน และความเป็นอิสระของแต่ละหน่วยงาน หนึ่งใน
วิธีการที่หลายองค์กรนํามาปรับใช้คือ การให้ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วม ในการสร้างสรรค์ข้อเสนอทาง
คุณค่าใหม่ๆของสินค้าหรือบริการการสร้างระบบที่เชื่อมต่อเสียงสะท้อนกลับทั้งจาก ลูกค้า ผู้ส่ง
มอบสินค้า ผู้จัดหาวัตถุดิบ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคนอื่นๆ จะทําให้องค์กรลดความเสี่ยงที่สินค้าจะ
ประสบ ความล้มเหลวในตลาด
การออกแบบกระบวนการเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆนั้นมีข้อจํากัดในเรื่องของการ
นําไปใช้โดยเฉพาะองค์กรที่ ไม่ได้มีประสบการณ์มากในเรื่องของการออกแบบ องค์กรเหล่านี้
จะต้องเรียนรู้การใช้เครื่องมือใหม่ๆหลายอย่าง และ ต้องฝึกฝนด้วยการทําซ้ําหลายต่อหลายครั้ง
จึงจะเกิดความชํานาญ จนกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์กร
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 21
เมื่อผลการดําเนินงานที่เกิดขึ้นจากระบบการะบวนการผลิตสินค้าและบริการไม่
บรรลุเป้าหมายที่ตามที่ได้วางไว้องค์กรจําเป็นที่จะต้องมีการทบทวนและออกแบบ
กระบวนการขึ้นใหม่เพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการ ปรับปรุงกระบวนการใหม่
จะให้ความสําคัญกับ 2 เรื่องหลัก คือ กระบวนการจะต้องทําให้บรรลุพันธกิจขององค์กร
และกระบวนการจะต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้า
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 22
1) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ
2) โครงสร้างขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับบทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละ
หน่วยงาน
3) บุคลากรที่มีศักยภาพภายในองค์การ
4) การให้รางวัลและผลตอบแทนต่อพนักงานที่ทุ่มเทความพยามยามในการ
ปรับปรุงกระบวนการ
5) ระบบการเรียนรู้ที่ช่วยให้พนักงานสามารถนํามาทําการปรับปรุงกระบวนการ
6) ความเข้าใจในองค์ประกอบของหน้าที่งานในแต่ละตําแหน่ง และการเชื่อมต่อ
กันของแผนผังการไหลของ กระบวนการทํางาน
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 23
ขั้นที่ 1 : การมุ่งเน้น (Focus)
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นแรกในการออกแบบกระบวนการใหม่องค์กรจะไม่ทําการ
เปลี่ยนแปลงกระบวนการทํางาน พร้อมกันทั้งองค์กร แต่จะเลือกพิจารณาว่ากระบวนการ
ใดมีความจําเป็นสูงสุด โดยใช้วิธีการประเมินทางด้านความ ต้องการของลูกค้า ความ
สอดคล้องกับยุทธ์ศาสตร์ขององค์กร และทรัพยากรที่จําเป็นต้องใช้เป็นต้น กิจกรรมหลักใน
ขั้นนี้คือ การกําหนดขอบเขตของงานที่จะดําเนินการ และการจัดทําแผนงานการปรับปรุง
การออกแบบกระบวนการ ใหม่ซึ่งทีมงานนักออกแบบจะต้องรวบรวมข้อมูลของสิ่งที่เกิดขึ้น
ปัจจุบัน และกําหนดวัตถุประสงค์ของการออกแบบ กระบวนการใหม่พร้อมทั้งกําหนด
แผนงาน และระยะเวลาในการดําเนินการ เป็นต้น
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 24
ขั้นที่ 2 : การประเมิน (Assessment)
ก่อนที่จะเริ่มการออกแบบกระบวนการใหม่ทีมงานนักออกแบบจะต้องทําการประเมิน
เรื่องสําคัญ 2 เรื่อง ใหญ่ๆ คือ
 สถานการณ์และความต้องการของลูกค้า เป็นการประเมินในเรื่องของความเชื่อ ความต้องการ
และ ความคาดหวังของลูกค้าที่มีต่อองค์กร นักออกแบบจะได้ทราบว่ากระบวนการใดที่ยังไม่
สามารถส่งมอบคุณค่าได้ตามความต้องการของลูกค้า
 ความสามารถของกระบวนการ เป็นการประเมินกิจกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละกระบวนการ โดย
พิจารณาผ่านแผนผังการไหลของกระบวนการทํางานนั้นๆ ซึ่งกิจกรรมที่ไม่สามารถบรรลุผล
ตามที่ได้ ตั้งเป้าหมายไว้นักออกแบบจะได้วางแผนในการเพิ่มคุณค่าให้กับกิจกรรมนั้น หรือทํา
การกําจัด กิจกรรมที่เยิ่นเย้อและไม่จําเป็นออกจากกระบวนการ นอกจากนั้นองค์กรควร
พิจารณากิจกรรมที่มี ความเสี่ยงสูง และกิจกรรมที่จะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
เมื่อประเมินทั้งสองเรื่องนี้แล้ว นักออกแบบจะต้องทําการวิเคราะห์ในเรื่องของ
ระยะเวลาของกระบวนการ ต้นทุนที่เกิดขึ้น และคุณภาพของสินค้าและบริการใหม่ที่จะได้รับด้วย
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 25
ขั้นที่ 3 : การอภิปราย (negotiation)
ในขั้นตอนนี้ทีมงานนักออกแบบจะต้องเจรจาและทําความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับ กระบวนการใหม่เช่น ผู้ส่งมอบวัตถุดิบ พนักงานในแผนกจัดซ้อื
และลูกค้าที่รอรับบริการ เป็นต้น นักออกแบบจะมี การจัดการประชุมเพื่อให้มีการ
อภิปรายร่วมกัน โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องและมีผลกระทบอย่างสูงกับเป้าหมาย หลัก
เพื่อที่จะได้รับฟังข้อคิดเห็น และสร้างให้เกิดการผลักดันในทางปฏิบัติพร้อมกับขอความ
ร่วมมือและขอแรง สนับสนุนจากหลายๆฝ่าย การอภิปรายร่วมกันจะทําให้ทราบถึง
สถานการณ์ที่เร่งด่วนที่ต้องการจะได้รับการแก้ไข กระบวนการดําเนินงานในอุดมคติและ
ความสามารถในการดําเนินงานของแต่ละฝ่าย เป็นต้น
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 26
ขั้นที่ 4 : การออกแบบใหม่ (redesign)
ในขั้นตอนนี้ทีมงานนักออกแบบจะเริ่มดําเนินการลงรายละเอียดของการออกแบบ
กระบวนการใหม่โดยจะดู ว่ากิจกรรมใดจะคงไว้กิจกรรมใดจะปรับเปลี่ยน และกิจกรรมใดจะ
ยกเลิกไป ซึ่งส่งเหล่านี้จะต้องอาศัยเครื่องมือหลายิ ประเภท เพื่อพิสูจน์และสร้างเป็นแนวทางใน
การแก้ไขปรับปรุงกระบวนการนั้น ซึ่งวิธีการที่มักจะใช้กัน เช่น การ วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบ
ต่อผลลัพธ์ที่ต้องการผ่านการใช้สมการถดถอย (Regression analysis) การหาวิธีการปิด ช่องว่าง
โดยการหาความแตกต่างของกระบวนการที่เป็นอยู่ปัจจุบันขององค์กรกับสิ่งที่ต้องการส่งมอบ
ให้กับลูกค้า (Gap Analysis) หรือ การวัดค่าต้นทุนและผลการปฏิบัติงานอันเกิดจากการใช้
ทรัพยากรไปในกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร (Activity-based Costing) นอกจากการปรับลด
ขั้นตอน แล้วอาจจะมีการปรับเปลี่ยนเส้นทางของกระบวนการ หรือ การเพิ่มขั้นตอนการทํางาน
ด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทีมงานนักออกแบบอาจจะต้องดูว่าจะมีผลกระทบต่อ ขั้นตอนถัดไปของ
กระบวนการมากน้อยเพียงใด จะทําให้ประสิทธิภาพในการดําเนินงานดีขึ้นหรือไม่และคุณภาพ
ของ สินค้าและบริการจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 27
ขั้นที่ 5 : การนําไปปฏิบัติ (implementation)
หลังจากออกแบบกระบวนการใหม่แล้ว ทีมนักออกแบบจะต้องมีการทดสอบ
ประเมินความสามารถของ บุคลากรในการดําเนินงาน และทําการสรุปผลโครงสร้างของ
กระบวนการใหม่พร้อมทั้งวางแผนการให้รางวัลและ ผลตอบแทนเพื่อสร้างแรงจูงใจในการ
ขับเคลื่อนกระบวนการใหม่นี้เมื่อนําไปปฏิบัติแล้วจะต้องเตรียมการวัดผล เพื่อที่จะ
รับทราบข้อมูลย้อนกลับ และข้อเสนอแนะต่างๆจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จะได้นําไปแก้ไข
และปรับปรุงต่อไป
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 28
การออกแบบเชิงกระบวนการมีความสําคัญต่อองค์กรเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็น
การกําหนดคุณลักษณะและ ขั้นตอนของแต่ละกิจกรรมไปทีละส่วน เพื่อที่จะออกแบบ
กระบวนการให้ได้ผลดีกลยุทธ์ทางด้านกระบวนการจะต้องมี รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับทุก
ชิ้นส่วนในกระบวนการผลิต ตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบ การมีส่วนร่วมในการออกแบบ
ผลิตภัณฑ์ของลูกค้า การลงทุนทางด้านเทคโนโลยีจนกระทั่งออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เสร็จ
สมบูรณ์ลักษณะสําคัญของ การออกแบบกระบวนการเชิงนวัตกรรมนั้น มีด้วยกันทั้งหมด 3
ลักษณะใหญ่ๆ คือ (1) การบูรณาการกลยุทธ์ นวัตกรรม และการออกแบบกระบวนการมา
รวมกัน (2) การผสมผสานความร่วมมือจากหลายหน่วยงานและ (3) การ แพร่กระจาย
ความเข้าใจไปยังลูกค้า ผู้ส่งมอบสินค้า ผู้จัดหาวัตถุดิบ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคนอื่นๆ
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 29
1. องค์กรจะต้องพิจารณาปัจจัยใดบ้างเพื่อจะได้สร้างการออกแบบกระบวนการที่
ดีและมีประสิทธิภาพ
2. การออกแบบกระบวนการทางนวัตกรรมเหมาะสมกับองค์กรที่มีลักษณะ
อย่างไร
3. นักออกแบบสามารถที่จะใช้เครื่องมือใดบ้างในการวิเคราะห์การไหลของ
กระบวนการ
4. รูปแบบการไหลของกระบวนการสามารถทําได้กี่แบบ อะไรบ้าง
5. การออกแบบกระบวนการใหม่มีความสําคัญอย่างไรบ้างกับการดําเนินงานของ
องค์กร
ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 30

More Related Content

What's hot

Chapter 5 define
Chapter 5 defineChapter 5 define
Chapter 5 define
Teetut Tresirichod
 
Chapter 2 innovation development in business organizations
Chapter 2 innovation development in business organizationsChapter 2 innovation development in business organizations
Chapter 2 innovation development in business organizations
Teetut Tresirichod
 
Chapter 7 prototype
Chapter 7 prototypeChapter 7 prototype
Chapter 7 prototype
Teetut Tresirichod
 
Chapter 1 landscape of design
Chapter 1 landscape of designChapter 1 landscape of design
Chapter 1 landscape of design
Teetut Tresirichod
 
Chapter 5 importing technology and creating innovations in the context of inn...
Chapter 5 importing technology and creating innovations in the context of inn...Chapter 5 importing technology and creating innovations in the context of inn...
Chapter 5 importing technology and creating innovations in the context of inn...
Teetut Tresirichod
 
Chapter 3 innovation challenge
Chapter 3 innovation challengeChapter 3 innovation challenge
Chapter 3 innovation challenge
Teetut Tresirichod
 
Chapter 8 concepts of change management
Chapter 8 concepts of change managementChapter 8 concepts of change management
Chapter 8 concepts of change management
Teetut Tresirichod
 
บทที่ 5 การออกแบบผลิตภัณฑ์
บทที่ 5 การออกแบบผลิตภัณฑ์บทที่ 5 การออกแบบผลิตภัณฑ์
บทที่ 5 การออกแบบผลิตภัณฑ์
Dr.Krisada [Hua] RMUTT
 
Chapter 10 creating an organizational image in innovation and technology
Chapter 10 creating an organizational image in innovation and technologyChapter 10 creating an organizational image in innovation and technology
Chapter 10 creating an organizational image in innovation and technology
Teetut Tresirichod
 
Process management
Process managementProcess management
Process management
Teetut Tresirichod
 
Chapter 4 strategic innovation management
Chapter 4 strategic innovation managementChapter 4 strategic innovation management
Chapter 4 strategic innovation management
Teetut Tresirichod
 
บทที่ 7 การวางแผนกลยุทธ์และกลยุทธ์การเจรจาต่อรองข้ามชาติ
บทที่ 7 การวางแผนกลยุทธ์และกลยุทธ์การเจรจาต่อรองข้ามชาติบทที่ 7 การวางแผนกลยุทธ์และกลยุทธ์การเจรจาต่อรองข้ามชาติ
บทที่ 7 การวางแผนกลยุทธ์และกลยุทธ์การเจรจาต่อรองข้ามชาติ
Teetut Tresirichod
 
บทที่ 6 การออกแบบกระบวนการใหม่
บทที่ 6 การออกแบบกระบวนการใหม่บทที่ 6 การออกแบบกระบวนการใหม่
บทที่ 6 การออกแบบกระบวนการใหม่
Teetut Tresirichod
 
บทที่ 12 project auditing
บทที่ 12 project auditingบทที่ 12 project auditing
บทที่ 12 project auditing
Teetut Tresirichod
 
บทที่ 8 วิเิคราะห์กระบวนการ
บทที่ 8 วิเิคราะห์กระบวนการบทที่ 8 วิเิคราะห์กระบวนการ
บทที่ 8 วิเิคราะห์กระบวนการ
Teetut Tresirichod
 
บทที่ 8 การเจรจาต่อรองในการจัดซื้อ
บทที่ 8 การเจรจาต่อรองในการจัดซื้อบทที่ 8 การเจรจาต่อรองในการจัดซื้อ
บทที่ 8 การเจรจาต่อรองในการจัดซื้อ
Teetut Tresirichod
 
การจัดการเชิงกลยุทธ์
การจัดการเชิงกลยุทธ์การจัดการเชิงกลยุทธ์
การจัดการเชิงกลยุทธ์Thida Noodaeng
 
บทที่ 1 หลักการในการจัดซื้อ
บทที่ 1 หลักการในการจัดซื้อบทที่ 1 หลักการในการจัดซื้อ
บทที่ 1 หลักการในการจัดซื้อ
Teetut Tresirichod
 
การวิเคราะห์ปัญหาด้วยแผนภูมิก้างปลา Fish Bone
การวิเคราะห์ปัญหาด้วยแผนภูมิก้างปลา Fish Boneการวิเคราะห์ปัญหาด้วยแผนภูมิก้างปลา Fish Bone
การวิเคราะห์ปัญหาด้วยแผนภูมิก้างปลา Fish Bone
Jakkrit Boonlee
 
Design thinking การคิดเชิงออกแบบ (Thai - English)
Design thinking การคิดเชิงออกแบบ (Thai - English)Design thinking การคิดเชิงออกแบบ (Thai - English)
Design thinking การคิดเชิงออกแบบ (Thai - English)
Mayuree Srikulwong
 

What's hot (20)

Chapter 5 define
Chapter 5 defineChapter 5 define
Chapter 5 define
 
Chapter 2 innovation development in business organizations
Chapter 2 innovation development in business organizationsChapter 2 innovation development in business organizations
Chapter 2 innovation development in business organizations
 
Chapter 7 prototype
Chapter 7 prototypeChapter 7 prototype
Chapter 7 prototype
 
Chapter 1 landscape of design
Chapter 1 landscape of designChapter 1 landscape of design
Chapter 1 landscape of design
 
Chapter 5 importing technology and creating innovations in the context of inn...
Chapter 5 importing technology and creating innovations in the context of inn...Chapter 5 importing technology and creating innovations in the context of inn...
Chapter 5 importing technology and creating innovations in the context of inn...
 
Chapter 3 innovation challenge
Chapter 3 innovation challengeChapter 3 innovation challenge
Chapter 3 innovation challenge
 
Chapter 8 concepts of change management
Chapter 8 concepts of change managementChapter 8 concepts of change management
Chapter 8 concepts of change management
 
บทที่ 5 การออกแบบผลิตภัณฑ์
บทที่ 5 การออกแบบผลิตภัณฑ์บทที่ 5 การออกแบบผลิตภัณฑ์
บทที่ 5 การออกแบบผลิตภัณฑ์
 
Chapter 10 creating an organizational image in innovation and technology
Chapter 10 creating an organizational image in innovation and technologyChapter 10 creating an organizational image in innovation and technology
Chapter 10 creating an organizational image in innovation and technology
 
Process management
Process managementProcess management
Process management
 
Chapter 4 strategic innovation management
Chapter 4 strategic innovation managementChapter 4 strategic innovation management
Chapter 4 strategic innovation management
 
บทที่ 7 การวางแผนกลยุทธ์และกลยุทธ์การเจรจาต่อรองข้ามชาติ
บทที่ 7 การวางแผนกลยุทธ์และกลยุทธ์การเจรจาต่อรองข้ามชาติบทที่ 7 การวางแผนกลยุทธ์และกลยุทธ์การเจรจาต่อรองข้ามชาติ
บทที่ 7 การวางแผนกลยุทธ์และกลยุทธ์การเจรจาต่อรองข้ามชาติ
 
บทที่ 6 การออกแบบกระบวนการใหม่
บทที่ 6 การออกแบบกระบวนการใหม่บทที่ 6 การออกแบบกระบวนการใหม่
บทที่ 6 การออกแบบกระบวนการใหม่
 
บทที่ 12 project auditing
บทที่ 12 project auditingบทที่ 12 project auditing
บทที่ 12 project auditing
 
บทที่ 8 วิเิคราะห์กระบวนการ
บทที่ 8 วิเิคราะห์กระบวนการบทที่ 8 วิเิคราะห์กระบวนการ
บทที่ 8 วิเิคราะห์กระบวนการ
 
บทที่ 8 การเจรจาต่อรองในการจัดซื้อ
บทที่ 8 การเจรจาต่อรองในการจัดซื้อบทที่ 8 การเจรจาต่อรองในการจัดซื้อ
บทที่ 8 การเจรจาต่อรองในการจัดซื้อ
 
การจัดการเชิงกลยุทธ์
การจัดการเชิงกลยุทธ์การจัดการเชิงกลยุทธ์
การจัดการเชิงกลยุทธ์
 
บทที่ 1 หลักการในการจัดซื้อ
บทที่ 1 หลักการในการจัดซื้อบทที่ 1 หลักการในการจัดซื้อ
บทที่ 1 หลักการในการจัดซื้อ
 
การวิเคราะห์ปัญหาด้วยแผนภูมิก้างปลา Fish Bone
การวิเคราะห์ปัญหาด้วยแผนภูมิก้างปลา Fish Boneการวิเคราะห์ปัญหาด้วยแผนภูมิก้างปลา Fish Bone
การวิเคราะห์ปัญหาด้วยแผนภูมิก้างปลา Fish Bone
 
Design thinking การคิดเชิงออกแบบ (Thai - English)
Design thinking การคิดเชิงออกแบบ (Thai - English)Design thinking การคิดเชิงออกแบบ (Thai - English)
Design thinking การคิดเชิงออกแบบ (Thai - English)
 

Similar to Chapter 11 design thinking in process

Mini Master in software testing
Mini Master in software testingMini Master in software testing
Mini Master in software testing
Software Park Thailand
 
2016 23 12-thanavisit_ lean transformations_for book_1
2016 23 12-thanavisit_ lean transformations_for  book_12016 23 12-thanavisit_ lean transformations_for  book_1
2016 23 12-thanavisit_ lean transformations_for book_1
Thanavisit Youyod
 
เกณฑ์และการสมัครรางวัล พชอ. ปี 2567 วิทยากร : ดร.วิรัช ประวันเตาข้าราชการบําน...
เกณฑ์และการสมัครรางวัล พชอ. ปี 2567 วิทยากร : ดร.วิรัช ประวันเตาข้าราชการบําน...เกณฑ์และการสมัครรางวัล พชอ. ปี 2567 วิทยากร : ดร.วิรัช ประวันเตาข้าราชการบําน...
เกณฑ์และการสมัครรางวัล พชอ. ปี 2567 วิทยากร : ดร.วิรัช ประวันเตาข้าราชการบําน...
ssuserbaf627
 
Sdlc
SdlcSdlc
Chapter 02
Chapter 02Chapter 02
Chapter 02
Komsun See
 
การออกแบบและเทคโนโลยี
การออกแบบและเทคโนโลยีการออกแบบและเทคโนโลยี
การออกแบบและเทคโนโลยีkrunoommr
 
Business developmentl
Business developmentlBusiness developmentl
Business developmentlwiwattho
 
ใบความรู้ที่3
ใบความรู้ที่3ใบความรู้ที่3
ใบความรู้ที่3Rattana Wongphu-nga
 
ใบความรู้ที่3
ใบความรู้ที่3ใบความรู้ที่3
ใบความรู้ที่3Rattana Wongphu-nga
 
Project management ver7 video
Project management ver7 videoProject management ver7 video
Project management ver7 video
Arjin Numsomran
 
Design process onwebforrobotcontest
Design process onwebforrobotcontestDesign process onwebforrobotcontest
Design process onwebforrobotcontestWeerachat Martluplao
 
4 ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
4 ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์4 ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
4 ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
Dom Pisit
 
Ms project
Ms projectMs project
Ms project
Bangalo Findsoul
 

Similar to Chapter 11 design thinking in process (20)

Mini Master in software testing
Mini Master in software testingMini Master in software testing
Mini Master in software testing
 
2016 23 12-thanavisit_ lean transformations_for book_1
2016 23 12-thanavisit_ lean transformations_for  book_12016 23 12-thanavisit_ lean transformations_for  book_1
2016 23 12-thanavisit_ lean transformations_for book_1
 
เกณฑ์และการสมัครรางวัล พชอ. ปี 2567 วิทยากร : ดร.วิรัช ประวันเตาข้าราชการบําน...
เกณฑ์และการสมัครรางวัล พชอ. ปี 2567 วิทยากร : ดร.วิรัช ประวันเตาข้าราชการบําน...เกณฑ์และการสมัครรางวัล พชอ. ปี 2567 วิทยากร : ดร.วิรัช ประวันเตาข้าราชการบําน...
เกณฑ์และการสมัครรางวัล พชอ. ปี 2567 วิทยากร : ดร.วิรัช ประวันเตาข้าราชการบําน...
 
Tqm
TqmTqm
Tqm
 
Chapter005
Chapter005Chapter005
Chapter005
 
2.budgeting&project management by kanniga
2.budgeting&project management by kanniga2.budgeting&project management by kanniga
2.budgeting&project management by kanniga
 
Sdlc
SdlcSdlc
Sdlc
 
Chapter 02
Chapter 02Chapter 02
Chapter 02
 
Tqm
TqmTqm
Tqm
 
การออกแบบและเทคโนโลยี
การออกแบบและเทคโนโลยีการออกแบบและเทคโนโลยี
การออกแบบและเทคโนโลยี
 
Km16-17
Km16-17Km16-17
Km16-17
 
Business developmentl
Business developmentlBusiness developmentl
Business developmentl
 
ใบความรู้ที่3
ใบความรู้ที่3ใบความรู้ที่3
ใบความรู้ที่3
 
ใบความรู้ที่3
ใบความรู้ที่3ใบความรู้ที่3
ใบความรู้ที่3
 
Project management ver7 video
Project management ver7 videoProject management ver7 video
Project management ver7 video
 
Design process onwebforrobotcontest
Design process onwebforrobotcontestDesign process onwebforrobotcontest
Design process onwebforrobotcontest
 
4 ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
4 ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์4 ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
4 ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
 
Ch8
Ch8Ch8
Ch8
 
Ch8
Ch8Ch8
Ch8
 
Ms project
Ms projectMs project
Ms project
 

More from Teetut Tresirichod

Process Model 5 for Moderated and Moderation Graph.pdf
Process Model 5 for Moderated and Moderation Graph.pdfProcess Model 5 for Moderated and Moderation Graph.pdf
Process Model 5 for Moderated and Moderation Graph.pdf
Teetut Tresirichod
 
Covariance-based Structural Equation Modeling (CB-SEM) Model Using SmartPLS4
Covariance-based Structural Equation Modeling (CB-SEM) Model Using SmartPLS4Covariance-based Structural Equation Modeling (CB-SEM) Model Using SmartPLS4
Covariance-based Structural Equation Modeling (CB-SEM) Model Using SmartPLS4
Teetut Tresirichod
 
Using JAMOVI in structural equation analysis
Using JAMOVI in structural equation analysisUsing JAMOVI in structural equation analysis
Using JAMOVI in structural equation analysis
Teetut Tresirichod
 
ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership and Communication)
ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership and Communication)ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership and Communication)
ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership and Communication)
Teetut Tresirichod
 
บทที่ 1 ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์โดยภาพรวม.pdf
บทที่ 1 ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์โดยภาพรวม.pdfบทที่ 1 ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์โดยภาพรวม.pdf
บทที่ 1 ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์โดยภาพรวม.pdf
Teetut Tresirichod
 
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLS
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLSPartial Least Square Path Modeling with SmartPLS
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLS
Teetut Tresirichod
 
Chapter 3 SHRM in a changing and shrinking world
Chapter 3 SHRM in a changing and shrinking worldChapter 3 SHRM in a changing and shrinking world
Chapter 3 SHRM in a changing and shrinking world
Teetut Tresirichod
 
Chapter 2 Strategic human resource management
Chapter 2 Strategic human resource managementChapter 2 Strategic human resource management
Chapter 2 Strategic human resource management
Teetut Tresirichod
 
Chapter 1 Strategy and human resource management
Chapter 1 Strategy and human resource managementChapter 1 Strategy and human resource management
Chapter 1 Strategy and human resource management
Teetut Tresirichod
 
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLS.pdf
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLS.pdfPartial Least Square Path Modeling with SmartPLS.pdf
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLS.pdf
Teetut Tresirichod
 
การใช้ VoSViewer
การใช้ VoSViewerการใช้ VoSViewer
การใช้ VoSViewer
Teetut Tresirichod
 
การใช้โปรแกรม QDA Miner.pdf
การใช้โปรแกรม QDA Miner.pdfการใช้โปรแกรม QDA Miner.pdf
การใช้โปรแกรม QDA Miner.pdf
Teetut Tresirichod
 
SPSS software application.pdf
SPSS software application.pdfSPSS software application.pdf
SPSS software application.pdf
Teetut Tresirichod
 
PSPP software application
PSPP software applicationPSPP software application
PSPP software application
Teetut Tresirichod
 
LINE OA
LINE OALINE OA
Partial least square path modeling with adanco
Partial least square path modeling with adancoPartial least square path modeling with adanco
Partial least square path modeling with adanco
Teetut Tresirichod
 
Chapter 9 business organization leadership and change management
Chapter 9 business organization leadership and change managementChapter 9 business organization leadership and change management
Chapter 9 business organization leadership and change management
Teetut Tresirichod
 
Chapter 7 technology development trends in the 21st century
Chapter 7 technology development trends in the 21st centuryChapter 7 technology development trends in the 21st century
Chapter 7 technology development trends in the 21st century
Teetut Tresirichod
 
Chapter 6 business technology management activities
Chapter 6 business technology management activitiesChapter 6 business technology management activities
Chapter 6 business technology management activities
Teetut Tresirichod
 
Chapter 1 innovation and planning
Chapter 1 innovation and planningChapter 1 innovation and planning
Chapter 1 innovation and planning
Teetut Tresirichod
 

More from Teetut Tresirichod (20)

Process Model 5 for Moderated and Moderation Graph.pdf
Process Model 5 for Moderated and Moderation Graph.pdfProcess Model 5 for Moderated and Moderation Graph.pdf
Process Model 5 for Moderated and Moderation Graph.pdf
 
Covariance-based Structural Equation Modeling (CB-SEM) Model Using SmartPLS4
Covariance-based Structural Equation Modeling (CB-SEM) Model Using SmartPLS4Covariance-based Structural Equation Modeling (CB-SEM) Model Using SmartPLS4
Covariance-based Structural Equation Modeling (CB-SEM) Model Using SmartPLS4
 
Using JAMOVI in structural equation analysis
Using JAMOVI in structural equation analysisUsing JAMOVI in structural equation analysis
Using JAMOVI in structural equation analysis
 
ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership and Communication)
ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership and Communication)ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership and Communication)
ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership and Communication)
 
บทที่ 1 ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์โดยภาพรวม.pdf
บทที่ 1 ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์โดยภาพรวม.pdfบทที่ 1 ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์โดยภาพรวม.pdf
บทที่ 1 ภาวะผู้นำและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์โดยภาพรวม.pdf
 
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLS
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLSPartial Least Square Path Modeling with SmartPLS
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLS
 
Chapter 3 SHRM in a changing and shrinking world
Chapter 3 SHRM in a changing and shrinking worldChapter 3 SHRM in a changing and shrinking world
Chapter 3 SHRM in a changing and shrinking world
 
Chapter 2 Strategic human resource management
Chapter 2 Strategic human resource managementChapter 2 Strategic human resource management
Chapter 2 Strategic human resource management
 
Chapter 1 Strategy and human resource management
Chapter 1 Strategy and human resource managementChapter 1 Strategy and human resource management
Chapter 1 Strategy and human resource management
 
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLS.pdf
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLS.pdfPartial Least Square Path Modeling with SmartPLS.pdf
Partial Least Square Path Modeling with SmartPLS.pdf
 
การใช้ VoSViewer
การใช้ VoSViewerการใช้ VoSViewer
การใช้ VoSViewer
 
การใช้โปรแกรม QDA Miner.pdf
การใช้โปรแกรม QDA Miner.pdfการใช้โปรแกรม QDA Miner.pdf
การใช้โปรแกรม QDA Miner.pdf
 
SPSS software application.pdf
SPSS software application.pdfSPSS software application.pdf
SPSS software application.pdf
 
PSPP software application
PSPP software applicationPSPP software application
PSPP software application
 
LINE OA
LINE OALINE OA
LINE OA
 
Partial least square path modeling with adanco
Partial least square path modeling with adancoPartial least square path modeling with adanco
Partial least square path modeling with adanco
 
Chapter 9 business organization leadership and change management
Chapter 9 business organization leadership and change managementChapter 9 business organization leadership and change management
Chapter 9 business organization leadership and change management
 
Chapter 7 technology development trends in the 21st century
Chapter 7 technology development trends in the 21st centuryChapter 7 technology development trends in the 21st century
Chapter 7 technology development trends in the 21st century
 
Chapter 6 business technology management activities
Chapter 6 business technology management activitiesChapter 6 business technology management activities
Chapter 6 business technology management activities
 
Chapter 1 innovation and planning
Chapter 1 innovation and planningChapter 1 innovation and planning
Chapter 1 innovation and planning
 

Chapter 11 design thinking in process

  • 1. การคิดเชิงออกแบบของกระบวนการ (Design Thinking in Process) ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ
  • 2. 1. เพื่ออธิบายความหมาย และหลักการของการออกแบบกระบวนการ 2. เพื่อทําความเข้าใจการออกแบบการไหลของกระบวนการ 3. เพื่อเรียนรู้ในเรื่องของการออกแบบกระบวนการใหม่ ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 2
  • 3. โดยทั่วไปแล้ววัตถุประสงค์หลักขององค์กร คือ การผลิตสินค้าและบริการที่ส่งมอบ คุณค่าและสร้างความพึง พอใจให้กับลูกค้า ธรรมชาติของกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ตั้งแต่การ ผลิตสําหรับโครงการเดี่ยว (Single project) เช่น การสร้างสะพาน การสร้างตึกระฟ้า ไปจนถึงงานบริการ (Service) เช่น การออกแบบตกแต่ง ภายในและการผลิตจํานวนมาก (Mass production) เช่น การผลิตรถยนต์หรือ การบริการ ของ ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด สินค้าและบริการที่ประสบความสําเร็จจะได้รับการออกแบบมาจากเสียง สะท้อนของลูกค้า และความต้องการของตลาด การออกแบบเชิงกระบวนการจะมีความสําคัญต่อองค์กรในเรื่องเกี่ยวกับการแยกชิ้นส่วน ของสินค้า หรือ บริการมาทําความเข้าใจและพิจารณาทีละส่วนและเกี่ยวข้องกับการสร้าง กระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม ดึงดูดใจลูกค้า และมีคุณสมบัติการใช้งานที่ตรงกับคุณค่าที่ลูกค้าอยาก ได้การออกแบบกระบวนการจะทําให้ มั่นใจได้ว่า องค์กรจะมีกระบวนการผลิตที่สามารถดําเนินการได้อย่างเรียบร้อย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ ตามที่ต้องการการออกแบบกระบวนการจะเป็นการนําผู้ปฏิบัติการ วิธีการปฏิบัติการและ เครื่องจักร มาร้อยเรียงกันเพื่อที่จะให้กระบวนการผลิตดําเนินไปได้อย่างต่อเนื่องและผลิตได้ เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 3
  • 4. การออกแบบกระบวนการ หมายถึง การกําหนดคุณลักษณะและขั้นตอนของ กระบวนการ เพื่อให้การทํางาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีจุดควบคุมและสามารถ ตรวจสอบได้โดยทั่วไปแล้ว การสร้างสินค้าและบริการที่มี คุณภาพนั้นจะมาจาก กระบวนการทํางานขององค์กรที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การที่จะสร้างสิ่งเหล่านี้ได้ นั้น องค์กรจําเป็นจะต้องมีการออกแบบกระบวนการที่ดีซึ่งสิ่งต่างๆที่องค์กรจะต้อง พิจารณามีดังต่อไปนี้ (วิสุทธิ์ลือชัย เฉลิมสุข, 2556) ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 4
  • 5. 1. ขั้นตอนหรือลําดับการทํางาน (Procedure) และวิธีการดําเนินงาน (Method) ซึ่ง เป็นการออกแบบลําดับ กิจกรรมเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานใช้เครื่องมือ อุปกรณ์หรือเครื่องจักร เพื่อทําการเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบให้เป็นสินค้า หรือบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการ จัดลําดับกิจกรรมต้องไม่ให้เกิดความสูญเปล่าและกิจกรรมใดๆ จะต้องมีการทําเพียงครั้ง เดียวเท่านั้น 2. ผู้รับผิดชอบและทําหน้าที่ในการปฏิบัติงาน (People) เป็นบุคคลที่จะทําหน้าที่เป็น ผู้ผลิตและพัฒนาสินค้า หรือบริการนั้น หากองค์กรกําหนดกระบวนการอย่างถูกต้อง กระบวนการนั้นจะมีผู้รับผิดชอบในการ ปฏิบัติการเพียงคนเดียวแล้ว ผู้อื่นจะเป็นผู้มีส่วน ร่วมในกระบวนการเท่านั้น ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 5
  • 6. 3. วัตถุดิบ ส่วนประกอบต่างๆและวัสดุที่ต้องใช้ (Material) เป็นสิ่งตั้งต้นที่จะต้องใช้เพื่อให้ ได้ผลลัพธ์ตามที่ ต้องการ องค์กรต้องกําหนดคุณสมบัติลักษณะ และจํานวนของวัตถุดิบและวัสดุที่ ต้องใช้ 4. เครื่องมือ อุปกรณ์เครื่องจักรที่ต้องใช้ (Tool, Equipment, Machine) เป็นสิ่งที่จะต้องใช้ ในกระบวนการ ผลิตและพัฒนาสินค้าหรือบริการนั้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และ ระบบปฏิบัติการ เป็นต้น 5. ลักษณะผลลัพธ์ของกระบวนการ (Output) องค์กรจะต้องกําหนดคุณสมบัติว่าต้องการ ผลลัพธ์เป็นอย่างไร หากต้องการผลลัพธ์ที่มีความแน่นอน เราก็ต้องกําหนดคุณสมบัติที่มี เฉพาะเจาะจงลงไปด้วย ซึ่งคุณสมบัติ เหล่านี้จะนํามาใช้ประกอบการทดสอบชิ้นงานที่ผลิตและ พัฒนาเสร็จแล้ว 6. สภาพแวดล้อมในการทํางาน (Working environment) เป็นปัจจัยและองค์ประกอบที่ แวดล้อมผู้ปฏิบัติงาน ในหน่วยงาน ซึ่งมีผลกระทบต่อบุคคลในหน่วยงาน ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 6
  • 7. อย่างไรก็ตามในบรรดา 6 ด้านที่องค์กรต้องพิจารณานั้น องค์กรส่วนใหญ่มักจะ เข้าใจผิดว่าสิ่งแรกที่ต้องพิจารณา คือ ขั้นตอนหรือลําดับการทํางานเป็นลําดับแรก ในความ เป็นจริง เมื่อองค์กรจะทําการออกแบบ กระบวนการนั้น สิ่งที่ควรจะต้องพิจารณาเป็น อันดับแรก คือ ผลลัพธ์ที่ต้องการจากกระบวนการแต่องค์กรส่วนใหญ่ ไม่ได้คํานึงถึงในเรื่อง นี้ซึ่งเป็นข้อผิดพลาดที่มักจะเกิดขึ้นผู้ออกแบบกระบวนการมักจะนึกถึงขั้นตอนการ ปฏิบัติงาน แล้วก็เขียนกระบวนการที่มีความซ้ําซ้อนและวกวนไปมาทําให้เมื่อออกแบบ กระบวนการแล้วกลับต้องแก้ไขปัญหาใน การทํางานบ่อยมาก นอกจากนั้นถ้าหากองค์กร ต้องการให้กระบวนการทํางานสามารถดําเนินการต่อไปอย่างรวดเร็ว องค์กรจําเป็นจะต้อง กําหนดลักษณะผลลัพธ์ของกระบวนการให้เล็กลงหรือง่ายขึ้นด้วย ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 7
  • 8. ถ้าองค์กรออกแบบกระบวนการได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความละเอียดและ แม่นยําองค์กรจะได้ผลลัพธ์จาก กระบวนการออกมาเพียงแค่อย่างเดียวและผลลัพธ์ที่ได้จะ ตรงกับความต้องการมาก พร้อมทั้งมีต้นทุนการพัฒนาที่ต่ํา หากมีผลลัพธ์เกิดขึ้นมากกว่า หนึ่งอย่าง อาจจะมาจากสาเหตุสําคัญ 2 ประการ ดังนี้ 1. ผลลัพธ์นั้นเป็นผลพลอยได้ (By Product) ของกระบวนการ เช่น องค์กร ต้องการผลิตน้ําตาล แต่เมื่อเข้า กระบวนการผลิต องค์กรจะได้รับกากน้ําตาลออกมาด้วย ซึ่งน้ําตาลถือเป็นผลลัพธ์ขณะที่กากน้ําตาลเป็นผล พลอยได้ 2. กระบวนการที่ออกแบบไว้ประกอบด้วยกระบวนการย่อยหลายกระบวนการ หากเป็นกรณีนี้องค์กรควร พิจารณาอีกครั้งว่าการออกแบบกระบวนการอาจจะมีความ ผิดพลาดหรือซับซ้อนเกินไป ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 8
  • 9. การพัฒนาขั้นตอนสําหรับการวางแผน และการออกแบบกระบวนการมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. ข้อกําหนดของกระบวนการ (Process Requirement) เป็นขั้นตอนแรกซึ่ง จะเริ่มจากการสะสมและรวบรวม ข้อมูล เพื่อนํามากําหนดโครงสร้างให้ตรงกับ วัตถุประสงค์องค์กรต้องทราบถึงข้อกําหนดของกระบวนการว่า จะต้องประกอบด้วย อะไรบ้างในแต่ละขั้นตอน เพื่อจะได้ทําความเข้าใจถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น และผู้มีส่วน ได้ส่วนเสียในการผลิต สิ่งเหล่านี้ยังรวมถึงการประเมินทางด้านเทคโนโลยีที่มีอยู่ความ ต้องการวัตถุดิบ การ ออกแบบโรงงาน และการพยากรณ์ความต้องการของตลาด 2. การสร้างทีม (Team Building) เมื่อความต้องการของกระบวนการได้รับ การอนุมัติสําหรับแต่ละ วัตถุประสงค์ทีมจะถูกคัดเลือกตามระดับความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์หน้าที่ของทีม คือ การทํา ความคุ้นเคยกับกระบวนการทั้งหมด ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 9
  • 10. 3. การวางแผน และการนําไปปฏิบัติ (Planning and Implementation) ทีมที่วางแผนกระบวนการจะทําการ พัฒนานโยบายและขั้นตอนต่างๆที่ต้องใช้ในการผลิต ซึ่งต้องได้รับการอนุมัติจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ 4. การตรวจสอบ (Audit) การตรวจสอบอย่างสม่ําเสมอจะถูกทําให้เกิดขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการจะถูก นําไปปฏิบัติและส่งมอบตามที่ลูกค้าต้องการ 5. ขั้นสุดท้ายของผลิตภัณฑ์ (End of Life) เมื่อดําเนินการมาระยะหนึ่ง สิ่งที่ จะเกิดขึ้น คือ การหยุดผลิตสินค้า รุ่นเก่าที่ขายไม่ดีและมีการพัฒนาสินค้ารุ่นใหม่ดังนั้น กระบวนการผลิตสินค้าเก่าก็จะถูกยกเลิกไป และการ พัฒนากระบวนการผลิตสินค้าใหม่ก็ จะเกิดขึ้น ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 10
  • 11. การออกแบบกระบวนการที่ประสบความสําเร็จต้องมาจากการพิจารณาความ เหมาะสมของกระบวนการต่อวัตถุประสงค์ขององค์กร นักออกแบบกระบวนการต้องมี ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์กรในมุมกว้างและมองสิ่งที่จะเกิดขึ้น ในระยะยาว กระบวนการ ต้องส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าและต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการในทุกระดับขององค์กร เพื่อที่จะออกแบบกระบวนการให้ได้ผลดีกลยุทธ์ทางด้านกระบวนการจะต้องมีรายละเอียด ที่เกี่ยวข้องกับทุกชิ้นส่วน ในกระบวนการผลิต ตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบ การมีส่วนร่วมใน การออกแบบผลิตภัณฑ์ของลูกค้า การลงทุนทางด้าน เทคโนโลยีจนกระทั่งออกมาเป็น ผลิตภัณฑ์ที่เสร็จสมบูรณ์ ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 11
  • 12. การออกแบบการไหลของกระบวนการ เป็นการบริหารจัดการลําดับขั้นตอนของ การปฏิบัติงานระหว่าง บุคลากร หรือหน่วยงาน เพื่อจะได้ทราบว่า การผลิตชิ้นส่วนต่างๆ หรือการสร้างสรรค์การบริการมีการไหลอย่างไรใน กระบวนการ โดยทีมงานนักออกแบบ จะต้องทราบว่ามีอะไรไหลบ้าง มีวิธีการไหลอย่างไร การไหลเกิดขึ้นและสิ้นสุด เมื่อใดการ ไหลเกิดขึ้นและสิ้นสุดที่ไหน ใช้เวลาในการไหลทั้งหมดเท่าไร และใครจะเป็นผู้ทําให้เกิด การไหลเพื่อจะได้ เข้าใจการออกแบบการไหลของกระบวนการ ดังนั้นการออกแบบการ ไหลของกระบวนการจะทําให้เห็นภาพรวมของ กิจกรรมต่างๆ สามารถระบุระยะเวลาใน การดําเนินการว่าแต่ละขั้นตอนใช้เวลาเท่าใด ช่วยในการพิจารณาว่า กิจกรรมใดจําเป็น ตัด ทอน หรือจะรวมกันได้ ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 12
  • 13. 1. รูปแบบเรียงลําดับ เป็นการไหลของกิจกรรมเรียงไปตามลําดับของ กระบวนการ คือต้องให้กิจกรรมแรกเสร็จก่อน ถึงจะทํากิจกรรมต่อไปได้ 2. รูปแบบขนาน เป็นการไหลของกิจกรรมพร้อมๆกันหลายกิจกรรม โดยไม่ต้อง รอให้กิจกรรมแรกเสร็จก่อน 3. รูปแบบผสม เป็นการไหลของกระบวนการที่ผสมกันระหว่างรูปแบบที่ 1 กับ รูปแบบที่ 2 ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 13
  • 14. 1. ภาพเขียนแบบการประกอบ (Assembly drawing)เป็นภาพเขียนที่แสดงว่า ผลิตภัณฑ์นั้นมีส่วนประกอบ หรือชิ้นส่วนอะไรบ้าง 2. แผนภาพแสดงถึงการเชื่อมโยงส่วนประกอบ (Assembly chart)เป็นแผนภาพที่ใช้ใน การอธิบายถึงการ ประกอบชิ้นส่วน อธิบายถึงการไหลของวัตถุดิบ แรงงาน และอุปกรณ์ 3. แผ่นแสดงเส้นทางและการผลิต (Operation and route sheet) เป็นตารางที่ อธิบายว่าใช้ส่วนประกอบ ในการผลิตอย่างไร ต้องเข้าสู่เครื่องจักรหรือเครื่องใช้อุปกรณ์ใดบ้าง 4. แผนภาพแสดงการไหลของกระบวนการผลิต (Flow Process Chart)เป็นการ นําเสนอว่ามี กระบวนการผลิตอย่างไรบ้าง เริ่มตั้งแต่การขนย้าย การผลิต การเก็บรักษา การ ตรวจสอบเป็นต้น 5. แบบจําลองการไหล (Flow simulation)เป็นกระบวนการแบบจําลองของระบบจริง แล้วดําเนินการ ทดลองเพื่อจะได้เรียนรู้พฤติกรรมการไหลของกระบวนการจริงภายใต้ข้อกําหนด ต่างๆที่วางไว้ ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 14
  • 15. เมื่อทีมนักออกแบบได้ทําการออกแบบการไหลของกระบวนการแล้ว นักออกแบบ จะต้องสร้างวิธีการติดตามงาน (Tracking) ที่มีประสิทธิภาพด้วย เนื่องจากกระบวนการ หนึ่งอาจจะมีหลายกิจกรรม หรือมีผู้ปฏิบัติงานที่ เกี่ยวข้องหลายคนซึ่งนักออกแบบจําเป็น ที่จะต้องติดตามงานว่าอยู่ในขั้นตอนใดและใครเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งทีมนักออกแบบจะต้อง เก็บข้อมูลเหล่านี้และนํามาทําเป็นรายงานเพื่อติดตามผล นอกจากการสร้างระบบติดตาม งานแล้ว ระบบการอนุมัติงาน (Approval) เพื่อส่งต่อให้กับอีกกลุ่มงานหนึ่งก็เป็นอีกหน้าที่ สําหรับทีมงานนักออกแบบ เพราะ การส่งมอบงานควรที่จะมีเจ้าหน้าที่ดูแล และตรวจรับ งานที่ส่งผ่านมายังแผนกนั้นๆ ระบบสุดท้ายที่จะต้องคํานึงถึง คือ การกระจายงาน (Broadcasting) และการประสานงาน (Collaboration) เพราะจะได้แก้ไขงานร่วมกันได้ เมื่อเกิดปัญหา ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 15
  • 16. ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีกระบวนการทํางานและโครงสร้าง องค์กรแบบแบนราบ (Flat) ซึ่ง แตกต่างจากองค์กรขนาดใหญ่ดังนั้นการออกแบบ กระบวนการทางนวัตกรรม จึงมีการนํากลยุทธ์การจัดการเชิงนวัตกรรม และการบริหาร การออกแบบมาผสมผสานกัน นํามาซึ่งกระบวนการทํางานใน 6 ขั้นตอน โดยทั้ง 6 ขั้นตอน นี้ไม่จําเป็นที่จะต้องเกิดขึ้นแบบเรียงลําดับ แต่ในบางกระบวนการสามารถที่จะทํา พร้อมๆ กันได้ ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 16
  • 17. 1) การสร้างแรงกระตุ้น (Impulse) เป็นจุดเริ่มต้นแรกของกระบวนการ ขั้นตอนของการ สร้างแรงกระตุ้น ประกอบไปด้วยการผสมกันระหว่างการสังเกตและวิเคราะห์ตลาด และ การประเมินความสามารถของ องค์กร วัตถุประสงค์ของขั้นตอนนี้คือ การอธิบายว่า แนวโน้มของตลาดและกลุ่มลูกค้าประเภทไหนที่กําลัง เป็นที่น่าจับตามอง ในขั้นตอนการ วิจัย 2) การวิจัย (Research) เป็นขั้นตอนที่นําวิธีการวิจัยต่างๆ มาทําความเข้าใจตลาดและ ลูกค้าในเชิงลึก เช่น การ ใช้วิธีการชาติพันธุ์วรรณนา การวิจัยเชิงประสบการณ์การศึกษา ทางด้านเทคโนโลยี 3) การพัฒนา (Development) เป็นขั้นที่จัดเตรียมในเรื่องของกฎเกณฑ์ซึ่งมาจากการ วิเคราะห์ข้อมูลของการ วิจัยภาคสนาม ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 17
  • 18. 4) กลยุทธ์ (Strategy) โดยทั่วไปแล้วขั้นตอนนี้มักจะเป็นขั้นตอนแรก แต่การที่ปรับ ขั้นตอนนี้ไว้หลังจากการสร้าง แรงกระตุ้น การวิจัยและการพัฒนา ทําให้การพัฒนากลยุทธ์ ทางธุรกิจตอบสนองได้ตรงกับความต้องการ ลูกค้า และสามารถปรับเปลี่ยนได้ทันต่อ เหตุการณ์และเข้ากับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ 5) การนําไปใช้ (Implementation) ในขั้นตอนนี้การปรับปรุงกระบวนการผลิตและ การตลาด ทั้งในเรื่องของ การสร้างแบรนด์และการติดต่อสื่อสารเพื่อนําเสนอประสบการณ์ ใหม่ๆให้กับลูกค้านั้น จะเกี่ยวข้องกับการ ออกแบบกระบวนการอย่างเต็มที่ 6) การวิวัฒนาการ (Evolution) เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่สินค้าหรือบริการที่มีนวัตกรรมจะ ถูกพัฒนาให้เกิดขึ้น โดย เน้นในเรื่องของความเกี่ยวข้องของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเสียง สะท้อนกลับจากลูกค้า ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 18
  • 19. 1. การบูรณาการ (Integration) ในปัจจุบันการดําเนินงานภายในองค์กรของหลายๆองค์กรได้มีการเปลี่ยนแปลง รูปแบบจากเดิมที่เป็นแบบลําดับขั้น (Hierarchy) มาสู่รูปแบบของกระบวนการ(Process) ที่ต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานมากขึ้น ดังนั้นนักออกแบบกระบวนการ สามารถที่จะเข้ามาช่วยในการออกแบบเพื่อให้การทํางานดําเนินไปในแนวทางที่องค์กร ต้องการโดยเฉพาะเมื่อมีการนํากลยุทธ์นวัตกรรม และการออกแบบกระบวนการมารวมกัน จะทําให้องค์กรสามารถ สร้างผลิตภัณฑ์บริการ และประสบการณ์ใหม่ซึ่งสามารถกลายเป็น ความสามารถหลักขององค์กร นั่นคือ นวัตกรรม จะเป็นตัวขับเคลื่อน ขณะที่กระบวนการ อื่นๆที่เกี่ยวข้องทั้งหมดถูกออกแบบตามเป้าหมายทางการตลาดที่ได้วางไว้ กระบวนการนี้ จะถูกทําซ้ําหลายๆครั้ง นอกจากนั้นการวางกลยุทธ์โครงสร้างขององค์กร และวัฒนธรรม องค์กรมีส่วน ต่อการบูรณาการออกแบบกระบวนการเป็นอย่างมากอีกด้วย ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 19
  • 20. 2. การผสมผสานความหลากหลาย (Multidisciplinary) ในกระบวนการสร้างนวัตกรรมนั้นจําเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากหลาย หน่วยงาน เช่น การตลาด วิศวกรรม การขาย การติดต่อสื่อสาร และการออกแบบ เป็นต้น ซึ่งการผสมผสานความหลากหลายนี้ถือเป็นขั้นตอน สําคัญของการคิดเชิงออกแบบ เพราะ จะทําให้องค์กรมีความสามารถในการปรับตัว และควบคุมความเสี่ยงได้ตั้งแต่ต้น ยิ่งไปกว่า นั้น การผลิตสินค้าและบริการจะสามารถทําได้รวดเร็วและง่ายขึ้นต่อการผลักดันออกสู่ ตลาดผ่านการพัฒนา ทางด้านเทคโนโลยีและการออกแบบที่มีผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง องค์กรจึง ต้องพยายามสนับสนุนให้มีการออกแบบกิจกรรม ต่างๆโดยสร้างทีมที่มีความหลากหลาย สาขาเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ขั้นตอนแรกๆของการออกแบบ ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 20
  • 21. 3. การแพร่กระจาย (Permeation) องค์กรส่วนใหญ่มองว่าในแต่ละขั้นตอนการดําเนินงานนั้น จะมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องที่ มากมายและหลากหลายองค์กรจําเป็นจะต้องพิจารณาความเป็นไปทั้งภายในและภายนอกองค์กร ที่จะมีผลกระทบต่อขอบเขตการดําเนินงาน และความเป็นอิสระของแต่ละหน่วยงาน หนึ่งใน วิธีการที่หลายองค์กรนํามาปรับใช้คือ การให้ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วม ในการสร้างสรรค์ข้อเสนอทาง คุณค่าใหม่ๆของสินค้าหรือบริการการสร้างระบบที่เชื่อมต่อเสียงสะท้อนกลับทั้งจาก ลูกค้า ผู้ส่ง มอบสินค้า ผู้จัดหาวัตถุดิบ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคนอื่นๆ จะทําให้องค์กรลดความเสี่ยงที่สินค้าจะ ประสบ ความล้มเหลวในตลาด การออกแบบกระบวนการเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆนั้นมีข้อจํากัดในเรื่องของการ นําไปใช้โดยเฉพาะองค์กรที่ ไม่ได้มีประสบการณ์มากในเรื่องของการออกแบบ องค์กรเหล่านี้ จะต้องเรียนรู้การใช้เครื่องมือใหม่ๆหลายอย่าง และ ต้องฝึกฝนด้วยการทําซ้ําหลายต่อหลายครั้ง จึงจะเกิดความชํานาญ จนกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์กร ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 21
  • 22. เมื่อผลการดําเนินงานที่เกิดขึ้นจากระบบการะบวนการผลิตสินค้าและบริการไม่ บรรลุเป้าหมายที่ตามที่ได้วางไว้องค์กรจําเป็นที่จะต้องมีการทบทวนและออกแบบ กระบวนการขึ้นใหม่เพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการ ปรับปรุงกระบวนการใหม่ จะให้ความสําคัญกับ 2 เรื่องหลัก คือ กระบวนการจะต้องทําให้บรรลุพันธกิจขององค์กร และกระบวนการจะต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้า ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 22
  • 23. 1) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ 2) โครงสร้างขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับบทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละ หน่วยงาน 3) บุคลากรที่มีศักยภาพภายในองค์การ 4) การให้รางวัลและผลตอบแทนต่อพนักงานที่ทุ่มเทความพยามยามในการ ปรับปรุงกระบวนการ 5) ระบบการเรียนรู้ที่ช่วยให้พนักงานสามารถนํามาทําการปรับปรุงกระบวนการ 6) ความเข้าใจในองค์ประกอบของหน้าที่งานในแต่ละตําแหน่ง และการเชื่อมต่อ กันของแผนผังการไหลของ กระบวนการทํางาน ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 23
  • 24. ขั้นที่ 1 : การมุ่งเน้น (Focus) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นแรกในการออกแบบกระบวนการใหม่องค์กรจะไม่ทําการ เปลี่ยนแปลงกระบวนการทํางาน พร้อมกันทั้งองค์กร แต่จะเลือกพิจารณาว่ากระบวนการ ใดมีความจําเป็นสูงสุด โดยใช้วิธีการประเมินทางด้านความ ต้องการของลูกค้า ความ สอดคล้องกับยุทธ์ศาสตร์ขององค์กร และทรัพยากรที่จําเป็นต้องใช้เป็นต้น กิจกรรมหลักใน ขั้นนี้คือ การกําหนดขอบเขตของงานที่จะดําเนินการ และการจัดทําแผนงานการปรับปรุง การออกแบบกระบวนการ ใหม่ซึ่งทีมงานนักออกแบบจะต้องรวบรวมข้อมูลของสิ่งที่เกิดขึ้น ปัจจุบัน และกําหนดวัตถุประสงค์ของการออกแบบ กระบวนการใหม่พร้อมทั้งกําหนด แผนงาน และระยะเวลาในการดําเนินการ เป็นต้น ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 24
  • 25. ขั้นที่ 2 : การประเมิน (Assessment) ก่อนที่จะเริ่มการออกแบบกระบวนการใหม่ทีมงานนักออกแบบจะต้องทําการประเมิน เรื่องสําคัญ 2 เรื่อง ใหญ่ๆ คือ  สถานการณ์และความต้องการของลูกค้า เป็นการประเมินในเรื่องของความเชื่อ ความต้องการ และ ความคาดหวังของลูกค้าที่มีต่อองค์กร นักออกแบบจะได้ทราบว่ากระบวนการใดที่ยังไม่ สามารถส่งมอบคุณค่าได้ตามความต้องการของลูกค้า  ความสามารถของกระบวนการ เป็นการประเมินกิจกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละกระบวนการ โดย พิจารณาผ่านแผนผังการไหลของกระบวนการทํางานนั้นๆ ซึ่งกิจกรรมที่ไม่สามารถบรรลุผล ตามที่ได้ ตั้งเป้าหมายไว้นักออกแบบจะได้วางแผนในการเพิ่มคุณค่าให้กับกิจกรรมนั้น หรือทํา การกําจัด กิจกรรมที่เยิ่นเย้อและไม่จําเป็นออกจากกระบวนการ นอกจากนั้นองค์กรควร พิจารณากิจกรรมที่มี ความเสี่ยงสูง และกิจกรรมที่จะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เมื่อประเมินทั้งสองเรื่องนี้แล้ว นักออกแบบจะต้องทําการวิเคราะห์ในเรื่องของ ระยะเวลาของกระบวนการ ต้นทุนที่เกิดขึ้น และคุณภาพของสินค้าและบริการใหม่ที่จะได้รับด้วย ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 25
  • 26. ขั้นที่ 3 : การอภิปราย (negotiation) ในขั้นตอนนี้ทีมงานนักออกแบบจะต้องเจรจาและทําความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับ กระบวนการใหม่เช่น ผู้ส่งมอบวัตถุดิบ พนักงานในแผนกจัดซ้อื และลูกค้าที่รอรับบริการ เป็นต้น นักออกแบบจะมี การจัดการประชุมเพื่อให้มีการ อภิปรายร่วมกัน โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวข้องและมีผลกระทบอย่างสูงกับเป้าหมาย หลัก เพื่อที่จะได้รับฟังข้อคิดเห็น และสร้างให้เกิดการผลักดันในทางปฏิบัติพร้อมกับขอความ ร่วมมือและขอแรง สนับสนุนจากหลายๆฝ่าย การอภิปรายร่วมกันจะทําให้ทราบถึง สถานการณ์ที่เร่งด่วนที่ต้องการจะได้รับการแก้ไข กระบวนการดําเนินงานในอุดมคติและ ความสามารถในการดําเนินงานของแต่ละฝ่าย เป็นต้น ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 26
  • 27. ขั้นที่ 4 : การออกแบบใหม่ (redesign) ในขั้นตอนนี้ทีมงานนักออกแบบจะเริ่มดําเนินการลงรายละเอียดของการออกแบบ กระบวนการใหม่โดยจะดู ว่ากิจกรรมใดจะคงไว้กิจกรรมใดจะปรับเปลี่ยน และกิจกรรมใดจะ ยกเลิกไป ซึ่งส่งเหล่านี้จะต้องอาศัยเครื่องมือหลายิ ประเภท เพื่อพิสูจน์และสร้างเป็นแนวทางใน การแก้ไขปรับปรุงกระบวนการนั้น ซึ่งวิธีการที่มักจะใช้กัน เช่น การ วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบ ต่อผลลัพธ์ที่ต้องการผ่านการใช้สมการถดถอย (Regression analysis) การหาวิธีการปิด ช่องว่าง โดยการหาความแตกต่างของกระบวนการที่เป็นอยู่ปัจจุบันขององค์กรกับสิ่งที่ต้องการส่งมอบ ให้กับลูกค้า (Gap Analysis) หรือ การวัดค่าต้นทุนและผลการปฏิบัติงานอันเกิดจากการใช้ ทรัพยากรไปในกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร (Activity-based Costing) นอกจากการปรับลด ขั้นตอน แล้วอาจจะมีการปรับเปลี่ยนเส้นทางของกระบวนการ หรือ การเพิ่มขั้นตอนการทํางาน ด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทีมงานนักออกแบบอาจจะต้องดูว่าจะมีผลกระทบต่อ ขั้นตอนถัดไปของ กระบวนการมากน้อยเพียงใด จะทําให้ประสิทธิภาพในการดําเนินงานดีขึ้นหรือไม่และคุณภาพ ของ สินค้าและบริการจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 27
  • 28. ขั้นที่ 5 : การนําไปปฏิบัติ (implementation) หลังจากออกแบบกระบวนการใหม่แล้ว ทีมนักออกแบบจะต้องมีการทดสอบ ประเมินความสามารถของ บุคลากรในการดําเนินงาน และทําการสรุปผลโครงสร้างของ กระบวนการใหม่พร้อมทั้งวางแผนการให้รางวัลและ ผลตอบแทนเพื่อสร้างแรงจูงใจในการ ขับเคลื่อนกระบวนการใหม่นี้เมื่อนําไปปฏิบัติแล้วจะต้องเตรียมการวัดผล เพื่อที่จะ รับทราบข้อมูลย้อนกลับ และข้อเสนอแนะต่างๆจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จะได้นําไปแก้ไข และปรับปรุงต่อไป ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 28
  • 29. การออกแบบเชิงกระบวนการมีความสําคัญต่อองค์กรเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็น การกําหนดคุณลักษณะและ ขั้นตอนของแต่ละกิจกรรมไปทีละส่วน เพื่อที่จะออกแบบ กระบวนการให้ได้ผลดีกลยุทธ์ทางด้านกระบวนการจะต้องมี รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับทุก ชิ้นส่วนในกระบวนการผลิต ตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบ การมีส่วนร่วมในการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ของลูกค้า การลงทุนทางด้านเทคโนโลยีจนกระทั่งออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่เสร็จ สมบูรณ์ลักษณะสําคัญของ การออกแบบกระบวนการเชิงนวัตกรรมนั้น มีด้วยกันทั้งหมด 3 ลักษณะใหญ่ๆ คือ (1) การบูรณาการกลยุทธ์ นวัตกรรม และการออกแบบกระบวนการมา รวมกัน (2) การผสมผสานความร่วมมือจากหลายหน่วยงานและ (3) การ แพร่กระจาย ความเข้าใจไปยังลูกค้า ผู้ส่งมอบสินค้า ผู้จัดหาวัตถุดิบ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคนอื่นๆ ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 29
  • 30. 1. องค์กรจะต้องพิจารณาปัจจัยใดบ้างเพื่อจะได้สร้างการออกแบบกระบวนการที่ ดีและมีประสิทธิภาพ 2. การออกแบบกระบวนการทางนวัตกรรมเหมาะสมกับองค์กรที่มีลักษณะ อย่างไร 3. นักออกแบบสามารถที่จะใช้เครื่องมือใดบ้างในการวิเคราะห์การไหลของ กระบวนการ 4. รูปแบบการไหลของกระบวนการสามารถทําได้กี่แบบ อะไรบ้าง 5. การออกแบบกระบวนการใหม่มีความสําคัญอย่างไรบ้างกับการดําเนินงานของ องค์กร ผศ.ดร.ธีทัต ตรีศิริโชติ 30