SlideShare a Scribd company logo
1
ประโยชน์และความส�ำคัญ
ของการผลิตสัตว์
_16-04(001-024)P4.indd 1 1/18/60 BE 1:53 PM
2	 การจัดการอาหารสัตว์เพื่อลดภาวะโลกร้อน
การผลิตสัตว์เป็นกิจกรรมที่ให้ผลผลิตตอบสนองความต้องการของมนุษย์เกือบครบ
ทุกด้าน โดยเฉพาะปัจจัยด้านอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค รวมทั้งให้ประโยชน์ด้าน
แรงงานและกิจกรรมสันทนาการอื่น ๆ ยิ่งประชากรมนุษย์เพิ่มจ�ำนวนมากขึ้นเท่าใด ปริมาณ
ความต้องการผลผลิตจากสัตว์ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นตามจ�ำนวนของประชากร
การด�ำเนินกระบวนการผลิตสัตว์ เพื่อให้สัตว์เจริญเติบโตและให้ผลผลิตตอบสนอง
ความต้องการของผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องค�ำนึงถึงปัจจัยส�ำคัญหลายประการที่
เกี่ยวข้อง เช่น การคัดเลือกสัตว์ (selection) และการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (breeding) ท�ำให้สัตว์
มีพันธุกรรมดี เจริญเติบโตเร็ว การจัดการสุขภาพสัตว์ (health) และการจัดการสภาพแวดล้อม
(environment) ท�ำให้สัตว์มีภูมิคุ้มกันโรคที่ดี มีส่วนสนับสนุนให้สัตว์ใช้อาหารได้ดีขึ้น ทั้งนี้ใน
ปัจจัยการผลิตสัตว์ทุกด้าน อาหารสัตว์ (feeds) คือปัจจัยการผลิตที่ส�ำคัญและเป็นต้นทุนส่วนที่
สูงที่สุดในการผลิตสัตว์
1.1 ประโยชน์และความส�ำคัญของการเลี้ยงสัตว์
สัตว์เลี้ยงให้คุณประโยชน์ในการด�ำรงชีวิตแก่มนุษย์หลายประการ โดยบุญเสริม ชีวะ-
อิสระกุล และบุญล้อม ชีวะอิสระกุล (2542) Hellstrand (2013) Johnson, Franzluebbers,
Weyers, & Reicosky (2007) และ Kebreab (2013) อธิบายไว้สรุปได้ว่า มนุษย์
ได้รับประโยชน์จากการเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มเป็นแหล่งอาหารโปรตีน (protein) จากผลผลิตเนื้อ
นม ไข่ ฯลฯ และมนุษย์ยังน�ำผลผลิตอื่นจากสัตว์ เช่น ขนหรือหนังสัตว์ มาท�ำเครื่องนุ่งห่ม
ส่วนอวัยวะจากสัตว์น�ำมาปรุงยารักษาโรคบางชนิดได้ นอกจากนี้การเลี้ยงสัตว์กระเพาะรวม
(polystomach, compound stomach) หรือสัตว์เคี้ยวเอื้อง (ruminants) เช่น
โค กระบือ แพะ แกะ ยังท�ำหน้าที่เป็นตัวกลางทางชีวภาพที่ส�ำคัญ กล่าวคือ สัตว์กระเพาะรวม
ท�ำให้มีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและพื้นที่อย่างคุ้มค่า เนื่องจากสัตว์เหล่านี้กินและใช้ประโยชน์
จากเศษเหลือทางการเกษตร เช่น ฟาง หญ้า วัชพืชที่มนุษย์และสัตว์ชนิดอื่น ๆ ไม่สามารถ
บริโภคได้ แล้วเปลี่ยนเป็นผลผลิตเนื้อ นม และแรงงานที่ให้คุณค่าแก่มนุษย์และสัตว์อื่น ประการ
สุดท้าย มูลสัตว์ (faeces, dung) น�ำมาเป็นปุ๋ยบ�ำรุงดิน สามารถสรุปประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์
ในระบบเกษตรได้ทั้งประโยชน์เชิงเดี่ยวและประโยชน์องค์รวม ดังภาพที่ 1.1
_16-04(001-024)P4.indd 2 1/18/60 BE 1:53 PM
ประโยชน์และความส�ำคัญของการผลิตสัตว์	 3
ภาพที่ 1.1 ประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์ในระบบเกษตร
ที่มา : ภาพโดยยิ่งลักษณ์ มูลสาร
แม้กระบวนการผลิตสัตว์จะเป็นหนึ่งในกิจกรรมหลักที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกจาก
ภาคการเกษตร แต่ประชากรของโลกที่เพิ่มมากขึ้นท�ำให้มีความต้องการผลผลิตจากสัตว์เพิ่ม
มากขึ้นเช่นกัน โดยคณะอนุกรรมการจัดท�ำแผนเพื่อการบริหารความมั่นคงทางด้านอาหาร
(2555) ได้รายงานผลการประชุมสุดยอดว่าด้วยความมั่นคงอาหารโลกขององค์การอาหารโลก
เมื่อ พ.ศ. 2552 พบว่า ประชากรโลกที่อยู่ในสถานะอดอยากหิวโหย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น
จ�ำนวนถึง 1,020 ล้านคน ในจ�ำนวนนี้อยู่ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก 642 ล้านคน การผลิตสัตว์
เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อชีวิตมนุษย์ทั้งทางตรงในการใช้เป็นอาหารเพื่อลดจ�ำนวนประชากร
ที่อดอยากหิวโหย เครื่องนุ่งห่ม การใช้แรงงาน สันทนาการ ตลอดจนความจ�ำเป็นทางการแพทย์
_16-04(001-024)P4.indd 3 1/18/60 BE 1:53 PM
4	 การจัดการอาหารสัตว์เพื่อลดภาวะโลกร้อน
และวิทยาศาสตร์ และยังให้ประโยชน์ทางอ้อมอื่น ๆ เช่น การสร้างงาน การสร้างรายได้ การพัฒนา
ระบบเศรษฐกิจ อธิบายได้ดังนี้
1.1.1			ประโยชน์เชิงเดี่ยวหรือประโยชน์ทางตรงของการเลี้ยงสัตว์
												1.1.1.1			สัตว์และผลผลิตจากสัตว์เป็นอาหาร (food) เป็นผลผลิตจากปศุสัตว์
ที่มีคุณค่าทางโภชนาการของมนุษย์ เป็นแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพ ธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามิน
บี 12 และไขมัน (lipid) การผลิตสัตว์จะช่วยเพิ่มมูลค่าของสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ สิ่งที่มนุษย์บริโภค
ไม่ได้ หรือเศษอาหารเหลือใช้ มาเป็นผลผลิตเนื้อ นม ไข่ ตลอดจนแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
ที่มีคุณค่าทางโภชนะและมีมูลค่าสูงขึ้น ดังภาพที่ 1.2
ภาพที่ 1.2 ผลิตภัณฑ์อาหารจากสัตว์
ที่มา : ภาพโดยยิ่งลักษณ์ มูลสาร
_16-04(001-024)P4.indd 4 1/18/60 BE 1:53 PM
ประโยชน์และความส�ำคัญของการผลิตสัตว์	 5
												1.1.1.2			ผลผลิตและผลพลอยได้จากสัตว์ เช่น หนัง ขน เขา งา กระดูกสัตว์
สามารถน�ำมาท�ำเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ เช่น รองเท้า กระเป๋า เสื้อกันหนาว เข็มขัด เครื่อง
ประดับต่าง ๆ
												1.1.1.3			สัตว์ให้แรงงานและใช้เป็นพาหนะ ปัจจุบัน บทบาทของสัตว์ในข้อนี้
มีความส�ำคัญลดลงเนื่องจากระบบคมนาคมขนส่งที่เจริญขึ้นทั่วไป การใช้แรงงานจากสัตว์จึงอาจ
พบเฉพาะในสังคมเกษตรบางพื้นที่หรือสถานที่ท่องเที่ยวเท่านั้น อันที่จริงแล้ว การใช้แรงงาน
จากสัตว์มีข้อได้เปรียบกว่าแรงงานจากเครื่องจักรหลายประการ ทั้งไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ไม่ปล่อย
ก๊าซเรือนกระจก (greenhouse gas, GHG) ไม่สิ้นเปลืองเชื้อเพลิง (fuel) หรือพลังงาน (energy)
อย่างไรก็ตาม การใช้แรงงานจากสัตว์จ�ำเป็นต้องมีการฝึกหัดจึงจะท�ำให้สัตว์ท�ำงานได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ
												1.1.1.4			สัตว์ให้ประโยชน์ทางสันทนาการ ให้ความเพลิดเพลิน และใช้ในการ
กีฬา เช่น การเลี้ยงสุนัข แมว ปลาสวยงาม ช่วยให้มนุษย์บรรเทาความเครียด การเลี้ยงสัตว์ท�ำให้
มนุษย์รู้สึกว่าตนมีคุณค่า มีความสุขมากขึ้น และอาจช่วยปรับพฤติกรรมของผู้ที่มีความ
ก้าวร้าวรุนแรงหรือผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าได้ นอกจากนี้ยังพบว่า สัตว์หลายชนิดมีความสามารถ
ทางการแสดง สร้างความบันเทิงให้แก่มนุษย์ได้เป็นอย่างดี เช่น สุนัข ลิง
												1.1.1.5			สัตว์ให้ประโยชน์ในทางการแพทย์และการสาธารณสุข เช่น การผลิต
เซรุ่มแก้พิษงู สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ถือได้ว่าเป็นยาสมุนไพร ใช้ทั้งการรักษาโรคและบ�ำรุง
ร่างกายมนุษย์ให้แข็งแรง ปัจจุบันมีการผลิตเป็นการค้า เช่น เขากวางอ่อน เลือดจระเข้ น�้ำผึ้ง
เกสรผึ้ง รวมทั้งการใช้สัตว์ในการทดลองวิทยาศาสตร์ เช่น การศึกษาผลตอบสนองทางกายวิภาค
และสรีรวิทยาของสัตว์ที่มีต่ออาหาร ยา หรือวัคซีน อย่างไรก็ตาม การทดลองประเภทนี้ต้อง
ปฏิบัติตามจรรยาบรรณการใช้สัตว์ทดลองอย่างเคร่งครัด
												1.1.1.6			มูลสัตว์ใช้เป็นปุ๋ยบ�ำรุงดิน โดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสห-
ประชาชาติ (the Food and Agriculture Organization of the United Nations, FAO)
รายงานว่า มูลสัตว์สามารถใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ (organic fertilizer) หรือปุ๋ยคอก (manure) หรือ
ปุ๋ยมูลสัตว์ เพื่อเสริมสารอาหารบ�ำรุงดินได้อย่างดี โดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน (nitrogen, N)
และสารประกอบฟอสเฟต (phosphates) ที่มีอยู่มากในมูลสัตว์ (Steinfeld et al., 2006)
นอกจากนี้การใช้ปุ๋ยมูลสัตว์จะปรับปรุงคุณภาพของดินและระบบนิเวศวิทยาในดินให้ดีขึ้นกว่า
_16-04(001-024)P4.indd 5 1/18/60 BE 1:53 PM
6	 การจัดการอาหารสัตว์เพื่อลดภาวะโลกร้อน
การใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์อย่างเดียว ท�ำให้ดินมีคุณสมบัติเป็นแหล่งเก็บธาตุคาร์บอน (carbon, C)
และช่วยเคลื่อนย้ายธาตุคาร์บอนจากชั้นบรรยากาศมาเก็บไว้ในดิน จึงช่วยลดการเกิดก๊าซ
เรือนกระจกได้ และยังท�ำให้เกษตรกรลดการลงทุนซื้อปุ๋ยเคมีเพื่อใช้เป็นปัจจัยการผลิตในระบบ
การเกษตร
1.1.2			ประโยชน์องค์รวมหรือประโยชน์ทางอ้อมของการเลี้ยงสัตว์
												1.1.2.1				การเลี้ยงสัตว์ในระบบเกษตร โดยเฉพาะการเกษตรแบบผสมผสาน เช่น
การเลี้ยงโค กระบือ สัตว์ปีก และสัตว์น�้ำบางชนิด ร่วมกับการปลูกพืช จะเป็นการใช้ทรัพยากร
ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ท�ำให้เกษตรกรใช้พื้นที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์ ช่วยก�ำจัด
วัชพืชหรือใช้ประโยชน์จากเศษเหลือจากกิจกรรมการเกษตร ดังภาพที่ 1.3 ประการส�ำคัญ
การเลี้ยงสัตว์ยังเป็นการเก็บออมทรัพย์สินในรูปของตัวสัตว์ที่เพิ่มขึ้นซึ่งสามารถขายเป็นรายได้
												1.1.2.2				การเลี้ยงสัตว์ช่วยให้เกิดอาชีพอื่น ๆ ตามมา เช่น รับจ้างเลี้ยงสัตว์ พ่อค้า
รับซื้อสัตว์ ท�ำให้ครอบครัวมีความเป็นอยู่ดีขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจดีขึ้น ช่วยลดปัญหาสังคม
การว่างงาน และอาชญากรรม
												1.1.2.3				สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์เป็นสินค้าส่งออกของประเทศไทย สามารถ
พัฒนาให้เกิดระบบอุตสาหกรรมต่อยอดจากผลผลิต ช่วยให้ประเทศชาติมีชื่อเสียงเป็นครัวโลก
สร้างรายได้เข้าประเทศได้จ�ำนวนมากในแต่ละปี
ภาพที่ 1.3 สัตว์กระเพาะรวมเพิ่มมูลค่าของสิ่งที่มนุษย์บริโภคไม่ได้
ที่มา : ภาพโดยยิ่งลักษณ์ มูลสาร
_16-04(001-024)P4.indd 6 1/18/60 BE 1:53 PM
ประโยชน์และความส�ำคัญของการผลิตสัตว์	 7
1.2 ความต้องการบริโภคผลผลิตปศุสัตว์ที่ส�ำคัญ
จากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก ซึ่งมีจ�ำนวนสูงกว่า 7,000 ล้านคน
ในปัจจุบัน และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มสูงถึง 9.2 ล้านคน ใน พ.ศ. 2618 (ค.ศ. 2075) จึงมีการ
คาดการณ์กันว่า ความต้องการบริโภคอาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของสัตว์จะ
เพิ่มขึ้น (Alexandratos & Bruinsma, 2012) ซึ่ง Steinfeld et al. (2006) รายงานว่า ประชากร
ของประเทศในกลุ่มอุตสาหกรรมบริโภคผลผลิตจากปศุสัตว์ (ไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์สัตว์น�้ำและ
อาหารทะเล) มากกว่าร้อยละ 40 ของอาหารโปรตีนทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ปริมาณการบริโภค
ผลผลิตสัตว์ของประเทศกลุ่มนี้ค่อนข้างคงที่ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์
สัตว์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัว ประเทศที่ส�ำคัญคือ ประเทศจีน คาดว่า
ปริมาณการบริโภคเนื้อจะเพิ่มขึ้นจนเท่ากับประเทศในยุโรปในกลางศตวรรษนี้ ส่วนประเทศที่มี
ความต้องการน้อย ได้แก่ กลุ่มประเทศแถบทะเลทรายในแอฟริกา ซึ่งมีปัจจัยด้านความสามารถ
ในการเข้าถึงทรัพยากรอาหารต�่ำเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย (McMichael, Powels, Butler, & Uauy,
2007; Steinfeld et al., 2006)
ส�ำหรับประเทศไทย ในฐานะผู้ส่งออกสินค้าเกษตรที่ส�ำคัญของโลก ส�ำนักงานเศรษฐกิจ
การเกษตรแห่งประเทศไทยได้รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรกลุ่มปศุสัตว์และประมงที่ส�ำคัญ
ของโลกและของประเทศไทยใน พ.ศ. 2554-2558 และแนวโน้มใน พ.ศ. 2559 สรุปได้ว่า
แนวโน้มการผลิตและการบริโภคผลผลิตสัตว์หลัก ได้แก่ ไก่เนื้อ ไข่ไก่ สุกร โคเนื้อ และน�้ำนมดิบ
จะเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.5-2.5 มีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้ (ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร,
2558; 2559)
1.2.1			เนื้อไก่
												เนื้อไก่เป็นเนื้อสัตว์ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ไขมันต�่ำ และมีราคาถูกกว่าเนื้อสัตว์
ประเภทอื่น การบริโภคเนื้อไก่ของโลกระหว่าง พ.ศ. 2554-2558 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่าง
ต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 1.97 ต่อปี ทั้งนี้ประเทศผู้บริโภคเนื้อไก่รายใหญ่ที่สุดของโลกคือ
สหรัฐอเมริกา มีปริมาณการบริโภคเท่ากับ 15.00 ล้านตัน รองลงมา ได้แก่ จีน และสหภาพยุโรป
ส่วนประเทศที่น�ำเข้าเนื้อไก่จากต่างประเทศสูงที่สุด ได้แก่ ญี่ปุ่น ซาอุดีอาระเบีย เม็กซิโก และ
สหภาพยุโรป ตามล�ำดับ
												ระหว่าง พ.ศ. 2554-2558 การผลิตเนื้อไก่ของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตรา
ร้อยละ 1.27 ต่อปี สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผู้ผลิตเนื้อไก่รายใหญ่ของโลก รองลงมา ได้แก่ บราซิล
_16-04(001-024)P4.indd 7 1/18/60 BE 1:53 PM
8	 การจัดการอาหารสัตว์เพื่อลดภาวะโลกร้อน
จีน และสหภาพยุโรป แต่ประเทศอินเดียมีการขยายตัวของการเลี้ยงไก่สูงที่สุด อย่างไรก็ตาม
ผลผลิตของประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้เพื่อการบริโภคในประเทศ สาเหตุส�ำคัญอีกประการหนึ่ง
ได้แก่ ผลกระทบจากการระบาดของโรคไข้หวัดนก ท�ำให้ประเทศเหล่านี้ส่งออกเนื้อไก่ได้น้อยลง
ในการนี้ บราซิล ซึ่งเป็นประเทศปลอดไข้หวัดนก จึงกลายเป็นผู้ส่งออกเนื้อไก่อันดับหนึ่งของโลก
ในปัจจุบัน (3.74 ล้านตัน ใน พ.ศ. 2558) รองลงมา ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และไทย
(3.30, 1.10, 0.54 ล้านตัน ตามล�ำดับ)
												การผลิตและการส่งออกเนื้อไก่ของไทยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นตามปริมาณความ
ต้องการบริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป โดยเฉพาะใน
รูปแบบของไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง และเนื้อไก่แปรรูป เนื่องจากการผลิตไก่เนื้อของไทยมีการจัดการ
ฟาร์มและการผลิตที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย จนได้รับอนุญาตให้ส่งออกเนื้อไก่หลังจากปัญหา
ไข้หวัดนก และมีแนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าใหม่อื่น ๆ เช่น รัสเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้
ได้เพิ่มขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2558
1.2.2			ไข่ไก่
												ส�ำหรับประเทศไทยแล้ว ผลผลิตไข่ไก่ส่วนใหญ่ ร้อยละ 95-99 ใช้บริโภคภายใน
ประเทศ เนื่องจากระดับราคาไข่ไก่ในประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง การส่งออกจึงเป็นเพียงกิจกรรม
ที่ระบายผลผลิตส่วนเกินและรักษาตลาดส่งออกเท่านั้น โดยส่งออกในรูปแบบไข่ไก่สดและ
ผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่ ได้แก่ ไข่เหลวพาสเชอไรซ์ ตลาดส่งออกที่ส�ำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น นอกจากนี้
คาดการณ์ว่า ใน พ.ศ. 2559 จะมีการผลิตไข่ไก่เพิ่มขึ้น และราคาจะปรับสูงขึ้นเล็กน้อย
												การบริโภคไข่ไก่เฉลี่ยทั้งประเทศในช่วง 5 ปี (พ.ศ. 2554-2558) ขยายตัวในอัตรา
ร้อยละ 4.84 ต่อปี ใน พ.ศ. 2558 มีปริมาณการบริโภคไข่ไก่เพิ่มขึ้นจาก พ.ศ. 2557 คิด
เป็นร้อยละ 5.63 เนื่องจากไข่ไก่มีราคาถูกเมื่อเทียบกับอาหารโปรตีนชนิดอื่น และน�ำมาปรุง
อาหารได้ง่าย หลากหลาย และสะดวก รวมทั้งมีการรณรงค์ให้บริโภคไข่ไก่เพิ่มขึ้น ประกอบกับ
คาดการณ์ว่าราคาสุกรและไก่เนื้อจะมีราคาสูงขึ้น จึงคาดว่าปริมาณการบริโภคไข่ไก่ใน พ.ศ.
2558-2559 จะเพิ่มขึ้นจาก พ.ศ. 2557 อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคงมีการ
น�ำเข้าผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่ โดยเฉพาะไข่ขาวผงจากประเทศฝรั่งเศส เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.33
ต่อปี เนื่องจากมีความจ�ำเป็นต้องใช้ในส่วนผสมของผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปต่าง ๆ ที่ใช้บริโภค
ในประเทศและส่งออก
_16-04(001-024)P4.indd 8 1/18/60 BE 1:53 PM
ประโยชน์และความส�ำคัญของการผลิตสัตว์	 9
1.2.3			เนื้อสุกร
												ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรของโลกระหว่าง พ.ศ. 2554-2558 มีปริมาณ
เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.82 ต่อปี ประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่มีการบริโภคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ
สหรัฐอเมริกา บราซิล และสหภาพยุโรป ขยายการบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.89, 1.44
และ 1.38 ตามล�ำดับ ส่วนประเทศผู้ผลิตเนื้อสุกรที่ส�ำคัญของโลก ได้แก่ สหภาพยุโรป สหรัฐ-
อเมริกา จีน บราซิล รัสเซีย แคนาดา และเวียดนาม คาดการณ์ว่า ใน พ.ศ. 2559 การผลิตเนื้อสุกร
ของโลกจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
												การผลิตสุกรในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2554-2558 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง เพราะราคาสุกรมีการปรับตัวสูงขึ้นเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกร ตลอดจนมีการปรับปรุง
ด้านการจัดการฟาร์มและควบคุมโรคได้ดีขึ้น ทั้งนี้ผลผลิตสุกรถูกใช้เพื่อการบริโภคในประเทศ
เป็นส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 95 การส่งออกมีเพียงร้อยละ 5 เนื่องจากยังมีข้อจ�ำกัดด้านโรคปากและ
เท้าเปื่อย
1.2.4			เนื้อโค
												ปริมาณความต้องการบริโภคเนื้อโคในประเทศต่าง ๆ ระหว่าง พ.ศ. 2554-2558
มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.10 ต่อปี ประเทศที่มีการบริโภคมากที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา
รองลงมา ได้แก่ บราซิล และสหภาพยุโรป การผลิตเนื้อโคของโลกใน พ.ศ. 2559 มีแนวโน้ม
เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก ได้แก่ อินเดีย ซึ่งมีการผลิตเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ
60 เพื่อตอบสนองตลาดต่างประเทศ รองลงมา ได้แก่ บราซิล ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา
												เช่นเดียวกับประเทศไทยซึ่งพบว่าการผลิตโคเนื้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพราะราคา
ที่สูงขึ้นเป็นแรงจูงใจ แต่จ�ำนวนโคเนื้อในประเทศมีน้อยลงและการเพิ่มผลผลิตโคเนื้อนั้นต้องใช้
เวลา ท�ำให้ผลผลิตที่ได้ซึ่งจะใช้บริโภคในประเทศเกือบทั้งหมดยังไม่เพียงพอต่อการบริโภค
จึงต้องน�ำเข้าโคเนื้อและผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ ทั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมายและลักลอบ
น�ำเข้า โดยประการหลังท�ำให้เกิดผลกระทบต่อเสถียรภาพและความปลอดภัยในการผลิตสัตว์
ของประเทศเป็นอย่างมาก จากเหตุผลดังกล่าว ท�ำให้ราคาโคเนื้อและเนื้อโคปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ
10-20 จากปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้มีนโยบายสนับสนุนและเพิ่มการผลิตโคขุน
คุณภาพดี เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) ซึ่งมีความต้องการผลผลิตโคเนื้อ
ค่อนข้างสูง
_16-04(001-024)P4.indd 9 1/18/60 BE 1:53 PM
10	 การจัดการอาหารสัตว์เพื่อลดภาวะโลกร้อน
1.2.5			น�้ำนมและนมผง
												ความต้องการบริโภคน�้ำนมและผลิตภัณฑ์นมผงระหว่าง พ.ศ. 2554-2558
ของประเทศต่าง ๆ รวมกันมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.74 ต่อปี อินเดียเป็นประเทศที่บริโภคน�้ำนม
สูงที่สุดคือ 59.55 ล้านตันต่อปี ส่วนความต้องการบริโภคนมผงขาดมันเนยในช่วง 5 ปีดังกล่าว
มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.31 ต่อปี ประเทศที่มีการบริโภคนมผงขาดมันเนยสูงที่สุดคือ สหภาพ-
ยุโรป มีการบริโภค 0.91 ล้านตันต่อปี ประเทศที่มีผลผลิตน�้ำนมดิบมากที่สุดคือ สหภาพยุโรป
ส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์นมที่ส�ำคัญ ได้แก่ นมผงขาดมันเนย เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.78 ต่อปี
สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และนิวซีแลนด์ เป็นผู้ส่งออกที่ส�ำคัญของโลกตามล�ำดับ คาดการณ์
ว่า ปริมาณการผลิตและการส่งออกผลิตภัณฑ์นมโดยรวมของโลกใน พ.ศ. 2559 จะมีแนวโน้ม
ลดลงเล็กน้อย เนื่องจากราคาลดต�่ำลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกท�ำให้การผลิตชะลอตัว สถิติจ�ำนวน
โคนมที่มีอยู่ในประเทศที่เป็นแหล่งการเลี้ยงส�ำคัญ ระหว่าง พ.ศ. 2554-2558 แสดงในตารางที่
1.1 ประเทศที่มีการเลี้ยงโคนมเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ อินเดีย บราซิล และจีน
												ส�ำหรับการผลิตโคนมในประเทศไทยในช่วงระยะเวลา 5 ปีดังกล่าว มีการเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 3.50 ต่อปี เนื่องจากเกษตรกรมีการจัดการฟาร์มได้ดีขึ้นตรงตามมาตรฐานฟาร์ม ท�ำให้มี
ผลผลิตมากและมีคุณภาพดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาดังกล่าวมีการส่งออกแม่โคนมไปยัง
ประเทศเพื่อนบ้านเป็นจ�ำนวนมาก ท�ำให้ผลผลิตน�้ำนมดิบของไทยมีไม่มากเท่าที่ควร รวมทั้งจาก
ความต้องการบริโภคนมพร้อมดื่มที่มีอัตราเพิ่มขึ้น ประเทศไทยจึงมีการน�ำเข้าน�้ำนมและผลิตภัณฑ์
นม โดยเฉพาะนมผงขาดมันเนยเป็นจ�ำนวนมาก และส่วนหนึ่งได้น�ำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์นม
ประเภทอื่น ๆ แล้วส่งออกไปยังประเทศใกล้เคียง
_16-04(001-024)P4.indd 10 1/18/60 BE 1:53 PM

More Related Content

What's hot

โครงงานครั้งที่ 2.pptx(แก้ 2) 2
โครงงานครั้งที่ 2.pptx(แก้ 2) 2โครงงานครั้งที่ 2.pptx(แก้ 2) 2
โครงงานครั้งที่ 2.pptx(แก้ 2) 2iooido
 
การย่อยอาหารของสัตว์
การย่อยอาหารของสัตว์การย่อยอาหารของสัตว์
การย่อยอาหารของสัตว์
Y'tt Khnkt
 
เทคโนโลยีชีวภาพกับการขยายพันธุ์สัตว์
เทคโนโลยีชีวภาพกับการขยายพันธุ์สัตว์เทคโนโลยีชีวภาพกับการขยายพันธุ์สัตว์
เทคโนโลยีชีวภาพกับการขยายพันธุ์สัตว์Aobinta In
 
ความหลากหลายนิเวศ190957
ความหลากหลายนิเวศ190957ความหลากหลายนิเวศ190957
ความหลากหลายนิเวศ190957
Myundo
 
Animal digestion
Animal digestionAnimal digestion
Animal digestion
Kwan Sutanya
 
PROBIOTICS Alternative Microorganisms for Health
PROBIOTICS Alternative Microorganisms for HealthPROBIOTICS Alternative Microorganisms for Health
PROBIOTICS Alternative Microorganisms for Health
Utai Sukviwatsirikul
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
Utai Sukviwatsirikul
 
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพเทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพweerabong
 
ชุดส่งเสริมความรู้โภชนาการและการบริโภค
ชุดส่งเสริมความรู้โภชนาการและการบริโภคชุดส่งเสริมความรู้โภชนาการและการบริโภค
ชุดส่งเสริมความรู้โภชนาการและการบริโภค
tassanee chaicharoen
 
โปรไบโอทิคส์ โดย อุทัย เก้าเอี้ยน
โปรไบโอทิคส์ โดย อุทัย เก้าเอี้ยนโปรไบโอทิคส์ โดย อุทัย เก้าเอี้ยน
โปรไบโอทิคส์ โดย อุทัย เก้าเอี้ยน
Utai Sukviwatsirikul
 
ระบบนิเวศน์
 ระบบนิเวศน์ ระบบนิเวศน์
ระบบนิเวศน์
Tin Savastham
 

What's hot (14)

โครงงานครั้งที่ 2.pptx(แก้ 2) 2
โครงงานครั้งที่ 2.pptx(แก้ 2) 2โครงงานครั้งที่ 2.pptx(แก้ 2) 2
โครงงานครั้งที่ 2.pptx(แก้ 2) 2
 
อาหารตั้งครรภ์
อาหารตั้งครรภ์อาหารตั้งครรภ์
อาหารตั้งครรภ์
 
การย่อยอาหารของสัตว์
การย่อยอาหารของสัตว์การย่อยอาหารของสัตว์
การย่อยอาหารของสัตว์
 
16 maternal nutrition ppt
16 maternal nutrition ppt16 maternal nutrition ppt
16 maternal nutrition ppt
 
เทคโนโลยีชีวภาพกับการขยายพันธุ์สัตว์
เทคโนโลยีชีวภาพกับการขยายพันธุ์สัตว์เทคโนโลยีชีวภาพกับการขยายพันธุ์สัตว์
เทคโนโลยีชีวภาพกับการขยายพันธุ์สัตว์
 
ความหลากหลายนิเวศ190957
ความหลากหลายนิเวศ190957ความหลากหลายนิเวศ190957
ความหลากหลายนิเวศ190957
 
Animal digestion
Animal digestionAnimal digestion
Animal digestion
 
PROBIOTICS Alternative Microorganisms for Health
PROBIOTICS Alternative Microorganisms for HealthPROBIOTICS Alternative Microorganisms for Health
PROBIOTICS Alternative Microorganisms for Health
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
 
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพเทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
 
ชุดส่งเสริมความรู้โภชนาการและการบริโภค
ชุดส่งเสริมความรู้โภชนาการและการบริโภคชุดส่งเสริมความรู้โภชนาการและการบริโภค
ชุดส่งเสริมความรู้โภชนาการและการบริโภค
 
โปรไบโอทิคส์ โดย อุทัย เก้าเอี้ยน
โปรไบโอทิคส์ โดย อุทัย เก้าเอี้ยนโปรไบโอทิคส์ โดย อุทัย เก้าเอี้ยน
โปรไบโอทิคส์ โดย อุทัย เก้าเอี้ยน
 
Envi lecture8[2]
Envi lecture8[2]Envi lecture8[2]
Envi lecture8[2]
 
ระบบนิเวศน์
 ระบบนิเวศน์ ระบบนิเวศน์
ระบบนิเวศน์
 

Similar to 9789740335870

อาหารสุขภาพ 5
อาหารสุขภาพ 5อาหารสุขภาพ 5
อาหารสุขภาพ 5Utai Sukviwatsirikul
 
การย่อยอาหารของคน
การย่อยอาหารของคนการย่อยอาหารของคน
การย่อยอาหารของคน
Y'tt Khnkt
 
โครงงานครั้งที่ 2.pptx(แก้ 2) 1
โครงงานครั้งที่ 2.pptx(แก้ 2) 1โครงงานครั้งที่ 2.pptx(แก้ 2) 1
โครงงานครั้งที่ 2.pptx(แก้ 2) 1iooido
 
Lesson 3
Lesson 3Lesson 3
9789740330608
97897403306089789740330608
9789740330608
CUPress
 
ชิ้นงาน เรื่อง ชีวิตสัตว์
ชิ้นงาน เรื่อง ชีวิตสัตว์ชิ้นงาน เรื่อง ชีวิตสัตว์
ชิ้นงาน เรื่อง ชีวิตสัตว์
boomboom58
 
พรรัตน์ สินชัยพานิช ระบบเฝ้าระวังอาหารภายในประเทศ
พรรัตน์  สินชัยพานิช  ระบบเฝ้าระวังอาหารภายในประเทศพรรัตน์  สินชัยพานิช  ระบบเฝ้าระวังอาหารภายในประเทศ
พรรัตน์ สินชัยพานิช ระบบเฝ้าระวังอาหารภายในประเทศแผนงาน นสธ.
 
ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตม.4
ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตม.4ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตม.4
ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตม.4
Puchida Saingchin
 
5บทที่ 1
5บทที่ 15บทที่ 1
5บทที่ 1
pop Jaturong
 
พันธ์ุบุกในประเทศไทย
พันธ์ุบุกในประเทศไทยพันธ์ุบุกในประเทศไทย
พันธ์ุบุกในประเทศไทยWasan Yodsanit
 
นโยบายด้านอาหาร ภูเก็ต 17 nov 2014
นโยบายด้านอาหาร ภูเก็ต 17 nov 2014นโยบายด้านอาหาร ภูเก็ต 17 nov 2014
นโยบายด้านอาหาร ภูเก็ต 17 nov 2014
Chuchai Sornchumni
 
สไลด์ การใช้ทรัพยากรกับชุมชน+506+dltvsocp6+55t2soc p06 f05-1page
สไลด์  การใช้ทรัพยากรกับชุมชน+506+dltvsocp6+55t2soc p06 f05-1pageสไลด์  การใช้ทรัพยากรกับชุมชน+506+dltvsocp6+55t2soc p06 f05-1page
สไลด์ การใช้ทรัพยากรกับชุมชน+506+dltvsocp6+55t2soc p06 f05-1page
Prachoom Rangkasikorn
 
สไลด์ การใช้ทรัพยากรกับชุมชน+506+dltvsocp6+55t2soc p06 f05-4page
สไลด์  การใช้ทรัพยากรกับชุมชน+506+dltvsocp6+55t2soc p06 f05-4pageสไลด์  การใช้ทรัพยากรกับชุมชน+506+dltvsocp6+55t2soc p06 f05-4page
สไลด์ การใช้ทรัพยากรกับชุมชน+506+dltvsocp6+55t2soc p06 f05-4page
Prachoom Rangkasikorn
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
Vida Yosita
 
ผักสวนครัวรั้วกินได้
ผักสวนครัวรั้วกินได้ผักสวนครัวรั้วกินได้
ผักสวนครัวรั้วกินได้
ใอร่'ลุ๊ขตาล เดก'อินโนเซ้นท์'
 
การเพิ่มการบริโภค พืช ผัก ผลไม้ ฉบับปรับปรุง (2557).pdf
การเพิ่มการบริโภค พืช ผัก ผลไม้ ฉบับปรับปรุง (2557).pdfการเพิ่มการบริโภค พืช ผัก ผลไม้ ฉบับปรับปรุง (2557).pdf
การเพิ่มการบริโภค พืช ผัก ผลไม้ ฉบับปรับปรุง (2557).pdf
Vorawut Wongumpornpinit
 
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2Enormity_tung
 

Similar to 9789740335870 (20)

อาหารสุขภาพ 5
อาหารสุขภาพ 5อาหารสุขภาพ 5
อาหารสุขภาพ 5
 
การย่อยอาหารของคน
การย่อยอาหารของคนการย่อยอาหารของคน
การย่อยอาหารของคน
 
โครงงานครั้งที่ 2.pptx(แก้ 2) 1
โครงงานครั้งที่ 2.pptx(แก้ 2) 1โครงงานครั้งที่ 2.pptx(แก้ 2) 1
โครงงานครั้งที่ 2.pptx(แก้ 2) 1
 
Lesson 3
Lesson 3Lesson 3
Lesson 3
 
9789740330608
97897403306089789740330608
9789740330608
 
ชิ้นงาน เรื่อง ชีวิตสัตว์
ชิ้นงาน เรื่อง ชีวิตสัตว์ชิ้นงาน เรื่อง ชีวิตสัตว์
ชิ้นงาน เรื่อง ชีวิตสัตว์
 
พรรัตน์ สินชัยพานิช ระบบเฝ้าระวังอาหารภายในประเทศ
พรรัตน์  สินชัยพานิช  ระบบเฝ้าระวังอาหารภายในประเทศพรรัตน์  สินชัยพานิช  ระบบเฝ้าระวังอาหารภายในประเทศ
พรรัตน์ สินชัยพานิช ระบบเฝ้าระวังอาหารภายในประเทศ
 
Introl global2010
Introl global2010Introl global2010
Introl global2010
 
ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตม.4
ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตม.4ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตม.4
ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตม.4
 
5บทที่ 1
5บทที่ 15บทที่ 1
5บทที่ 1
 
พันธ์ุบุกในประเทศไทย
พันธ์ุบุกในประเทศไทยพันธ์ุบุกในประเทศไทย
พันธ์ุบุกในประเทศไทย
 
นโยบายด้านอาหาร ภูเก็ต 17 nov 2014
นโยบายด้านอาหาร ภูเก็ต 17 nov 2014นโยบายด้านอาหาร ภูเก็ต 17 nov 2014
นโยบายด้านอาหาร ภูเก็ต 17 nov 2014
 
Introl global2010
Introl global2010Introl global2010
Introl global2010
 
สไลด์ การใช้ทรัพยากรกับชุมชน+506+dltvsocp6+55t2soc p06 f05-1page
สไลด์  การใช้ทรัพยากรกับชุมชน+506+dltvsocp6+55t2soc p06 f05-1pageสไลด์  การใช้ทรัพยากรกับชุมชน+506+dltvsocp6+55t2soc p06 f05-1page
สไลด์ การใช้ทรัพยากรกับชุมชน+506+dltvsocp6+55t2soc p06 f05-1page
 
สไลด์ การใช้ทรัพยากรกับชุมชน+506+dltvsocp6+55t2soc p06 f05-4page
สไลด์  การใช้ทรัพยากรกับชุมชน+506+dltvsocp6+55t2soc p06 f05-4pageสไลด์  การใช้ทรัพยากรกับชุมชน+506+dltvsocp6+55t2soc p06 f05-4page
สไลด์ การใช้ทรัพยากรกับชุมชน+506+dltvsocp6+55t2soc p06 f05-4page
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
การเลี้ยงสัตว์ให้ได้กำไร
การเลี้ยงสัตว์ให้ได้กำไรการเลี้ยงสัตว์ให้ได้กำไร
การเลี้ยงสัตว์ให้ได้กำไร
 
ผักสวนครัวรั้วกินได้
ผักสวนครัวรั้วกินได้ผักสวนครัวรั้วกินได้
ผักสวนครัวรั้วกินได้
 
การเพิ่มการบริโภค พืช ผัก ผลไม้ ฉบับปรับปรุง (2557).pdf
การเพิ่มการบริโภค พืช ผัก ผลไม้ ฉบับปรับปรุง (2557).pdfการเพิ่มการบริโภค พืช ผัก ผลไม้ ฉบับปรับปรุง (2557).pdf
การเพิ่มการบริโภค พืช ผัก ผลไม้ ฉบับปรับปรุง (2557).pdf
 
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2
เครื่องดักจับแมลงวันจากขวดพลาสติก 2
 

More from CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
CUPress
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740335870

  • 2. 2 การจัดการอาหารสัตว์เพื่อลดภาวะโลกร้อน การผลิตสัตว์เป็นกิจกรรมที่ให้ผลผลิตตอบสนองความต้องการของมนุษย์เกือบครบ ทุกด้าน โดยเฉพาะปัจจัยด้านอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค รวมทั้งให้ประโยชน์ด้าน แรงงานและกิจกรรมสันทนาการอื่น ๆ ยิ่งประชากรมนุษย์เพิ่มจ�ำนวนมากขึ้นเท่าใด ปริมาณ ความต้องการผลผลิตจากสัตว์ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นตามจ�ำนวนของประชากร การด�ำเนินกระบวนการผลิตสัตว์ เพื่อให้สัตว์เจริญเติบโตและให้ผลผลิตตอบสนอง ความต้องการของผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องค�ำนึงถึงปัจจัยส�ำคัญหลายประการที่ เกี่ยวข้อง เช่น การคัดเลือกสัตว์ (selection) และการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (breeding) ท�ำให้สัตว์ มีพันธุกรรมดี เจริญเติบโตเร็ว การจัดการสุขภาพสัตว์ (health) และการจัดการสภาพแวดล้อม (environment) ท�ำให้สัตว์มีภูมิคุ้มกันโรคที่ดี มีส่วนสนับสนุนให้สัตว์ใช้อาหารได้ดีขึ้น ทั้งนี้ใน ปัจจัยการผลิตสัตว์ทุกด้าน อาหารสัตว์ (feeds) คือปัจจัยการผลิตที่ส�ำคัญและเป็นต้นทุนส่วนที่ สูงที่สุดในการผลิตสัตว์ 1.1 ประโยชน์และความส�ำคัญของการเลี้ยงสัตว์ สัตว์เลี้ยงให้คุณประโยชน์ในการด�ำรงชีวิตแก่มนุษย์หลายประการ โดยบุญเสริม ชีวะ- อิสระกุล และบุญล้อม ชีวะอิสระกุล (2542) Hellstrand (2013) Johnson, Franzluebbers, Weyers, & Reicosky (2007) และ Kebreab (2013) อธิบายไว้สรุปได้ว่า มนุษย์ ได้รับประโยชน์จากการเลี้ยงสัตว์ในฟาร์มเป็นแหล่งอาหารโปรตีน (protein) จากผลผลิตเนื้อ นม ไข่ ฯลฯ และมนุษย์ยังน�ำผลผลิตอื่นจากสัตว์ เช่น ขนหรือหนังสัตว์ มาท�ำเครื่องนุ่งห่ม ส่วนอวัยวะจากสัตว์น�ำมาปรุงยารักษาโรคบางชนิดได้ นอกจากนี้การเลี้ยงสัตว์กระเพาะรวม (polystomach, compound stomach) หรือสัตว์เคี้ยวเอื้อง (ruminants) เช่น โค กระบือ แพะ แกะ ยังท�ำหน้าที่เป็นตัวกลางทางชีวภาพที่ส�ำคัญ กล่าวคือ สัตว์กระเพาะรวม ท�ำให้มีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและพื้นที่อย่างคุ้มค่า เนื่องจากสัตว์เหล่านี้กินและใช้ประโยชน์ จากเศษเหลือทางการเกษตร เช่น ฟาง หญ้า วัชพืชที่มนุษย์และสัตว์ชนิดอื่น ๆ ไม่สามารถ บริโภคได้ แล้วเปลี่ยนเป็นผลผลิตเนื้อ นม และแรงงานที่ให้คุณค่าแก่มนุษย์และสัตว์อื่น ประการ สุดท้าย มูลสัตว์ (faeces, dung) น�ำมาเป็นปุ๋ยบ�ำรุงดิน สามารถสรุปประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์ ในระบบเกษตรได้ทั้งประโยชน์เชิงเดี่ยวและประโยชน์องค์รวม ดังภาพที่ 1.1 _16-04(001-024)P4.indd 2 1/18/60 BE 1:53 PM
  • 3. ประโยชน์และความส�ำคัญของการผลิตสัตว์ 3 ภาพที่ 1.1 ประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์ในระบบเกษตร ที่มา : ภาพโดยยิ่งลักษณ์ มูลสาร แม้กระบวนการผลิตสัตว์จะเป็นหนึ่งในกิจกรรมหลักที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกจาก ภาคการเกษตร แต่ประชากรของโลกที่เพิ่มมากขึ้นท�ำให้มีความต้องการผลผลิตจากสัตว์เพิ่ม มากขึ้นเช่นกัน โดยคณะอนุกรรมการจัดท�ำแผนเพื่อการบริหารความมั่นคงทางด้านอาหาร (2555) ได้รายงานผลการประชุมสุดยอดว่าด้วยความมั่นคงอาหารโลกขององค์การอาหารโลก เมื่อ พ.ศ. 2552 พบว่า ประชากรโลกที่อยู่ในสถานะอดอยากหิวโหย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น จ�ำนวนถึง 1,020 ล้านคน ในจ�ำนวนนี้อยู่ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก 642 ล้านคน การผลิตสัตว์ เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ต่อชีวิตมนุษย์ทั้งทางตรงในการใช้เป็นอาหารเพื่อลดจ�ำนวนประชากร ที่อดอยากหิวโหย เครื่องนุ่งห่ม การใช้แรงงาน สันทนาการ ตลอดจนความจ�ำเป็นทางการแพทย์ _16-04(001-024)P4.indd 3 1/18/60 BE 1:53 PM
  • 4. 4 การจัดการอาหารสัตว์เพื่อลดภาวะโลกร้อน และวิทยาศาสตร์ และยังให้ประโยชน์ทางอ้อมอื่น ๆ เช่น การสร้างงาน การสร้างรายได้ การพัฒนา ระบบเศรษฐกิจ อธิบายได้ดังนี้ 1.1.1 ประโยชน์เชิงเดี่ยวหรือประโยชน์ทางตรงของการเลี้ยงสัตว์ 1.1.1.1 สัตว์และผลผลิตจากสัตว์เป็นอาหาร (food) เป็นผลผลิตจากปศุสัตว์ ที่มีคุณค่าทางโภชนาการของมนุษย์ เป็นแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพ ธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามิน บี 12 และไขมัน (lipid) การผลิตสัตว์จะช่วยเพิ่มมูลค่าของสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ สิ่งที่มนุษย์บริโภค ไม่ได้ หรือเศษอาหารเหลือใช้ มาเป็นผลผลิตเนื้อ นม ไข่ ตลอดจนแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีคุณค่าทางโภชนะและมีมูลค่าสูงขึ้น ดังภาพที่ 1.2 ภาพที่ 1.2 ผลิตภัณฑ์อาหารจากสัตว์ ที่มา : ภาพโดยยิ่งลักษณ์ มูลสาร _16-04(001-024)P4.indd 4 1/18/60 BE 1:53 PM
  • 5. ประโยชน์และความส�ำคัญของการผลิตสัตว์ 5 1.1.1.2 ผลผลิตและผลพลอยได้จากสัตว์ เช่น หนัง ขน เขา งา กระดูกสัตว์ สามารถน�ำมาท�ำเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ เช่น รองเท้า กระเป๋า เสื้อกันหนาว เข็มขัด เครื่อง ประดับต่าง ๆ 1.1.1.3 สัตว์ให้แรงงานและใช้เป็นพาหนะ ปัจจุบัน บทบาทของสัตว์ในข้อนี้ มีความส�ำคัญลดลงเนื่องจากระบบคมนาคมขนส่งที่เจริญขึ้นทั่วไป การใช้แรงงานจากสัตว์จึงอาจ พบเฉพาะในสังคมเกษตรบางพื้นที่หรือสถานที่ท่องเที่ยวเท่านั้น อันที่จริงแล้ว การใช้แรงงาน จากสัตว์มีข้อได้เปรียบกว่าแรงงานจากเครื่องจักรหลายประการ ทั้งไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ไม่ปล่อย ก๊าซเรือนกระจก (greenhouse gas, GHG) ไม่สิ้นเปลืองเชื้อเพลิง (fuel) หรือพลังงาน (energy) อย่างไรก็ตาม การใช้แรงงานจากสัตว์จ�ำเป็นต้องมีการฝึกหัดจึงจะท�ำให้สัตว์ท�ำงานได้อย่าง มีประสิทธิภาพ 1.1.1.4 สัตว์ให้ประโยชน์ทางสันทนาการ ให้ความเพลิดเพลิน และใช้ในการ กีฬา เช่น การเลี้ยงสุนัข แมว ปลาสวยงาม ช่วยให้มนุษย์บรรเทาความเครียด การเลี้ยงสัตว์ท�ำให้ มนุษย์รู้สึกว่าตนมีคุณค่า มีความสุขมากขึ้น และอาจช่วยปรับพฤติกรรมของผู้ที่มีความ ก้าวร้าวรุนแรงหรือผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าได้ นอกจากนี้ยังพบว่า สัตว์หลายชนิดมีความสามารถ ทางการแสดง สร้างความบันเทิงให้แก่มนุษย์ได้เป็นอย่างดี เช่น สุนัข ลิง 1.1.1.5 สัตว์ให้ประโยชน์ในทางการแพทย์และการสาธารณสุข เช่น การผลิต เซรุ่มแก้พิษงู สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ถือได้ว่าเป็นยาสมุนไพร ใช้ทั้งการรักษาโรคและบ�ำรุง ร่างกายมนุษย์ให้แข็งแรง ปัจจุบันมีการผลิตเป็นการค้า เช่น เขากวางอ่อน เลือดจระเข้ น�้ำผึ้ง เกสรผึ้ง รวมทั้งการใช้สัตว์ในการทดลองวิทยาศาสตร์ เช่น การศึกษาผลตอบสนองทางกายวิภาค และสรีรวิทยาของสัตว์ที่มีต่ออาหาร ยา หรือวัคซีน อย่างไรก็ตาม การทดลองประเภทนี้ต้อง ปฏิบัติตามจรรยาบรรณการใช้สัตว์ทดลองอย่างเคร่งครัด 1.1.1.6 มูลสัตว์ใช้เป็นปุ๋ยบ�ำรุงดิน โดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสห- ประชาชาติ (the Food and Agriculture Organization of the United Nations, FAO) รายงานว่า มูลสัตว์สามารถใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ (organic fertilizer) หรือปุ๋ยคอก (manure) หรือ ปุ๋ยมูลสัตว์ เพื่อเสริมสารอาหารบ�ำรุงดินได้อย่างดี โดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน (nitrogen, N) และสารประกอบฟอสเฟต (phosphates) ที่มีอยู่มากในมูลสัตว์ (Steinfeld et al., 2006) นอกจากนี้การใช้ปุ๋ยมูลสัตว์จะปรับปรุงคุณภาพของดินและระบบนิเวศวิทยาในดินให้ดีขึ้นกว่า _16-04(001-024)P4.indd 5 1/18/60 BE 1:53 PM
  • 6. 6 การจัดการอาหารสัตว์เพื่อลดภาวะโลกร้อน การใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์อย่างเดียว ท�ำให้ดินมีคุณสมบัติเป็นแหล่งเก็บธาตุคาร์บอน (carbon, C) และช่วยเคลื่อนย้ายธาตุคาร์บอนจากชั้นบรรยากาศมาเก็บไว้ในดิน จึงช่วยลดการเกิดก๊าซ เรือนกระจกได้ และยังท�ำให้เกษตรกรลดการลงทุนซื้อปุ๋ยเคมีเพื่อใช้เป็นปัจจัยการผลิตในระบบ การเกษตร 1.1.2 ประโยชน์องค์รวมหรือประโยชน์ทางอ้อมของการเลี้ยงสัตว์ 1.1.2.1 การเลี้ยงสัตว์ในระบบเกษตร โดยเฉพาะการเกษตรแบบผสมผสาน เช่น การเลี้ยงโค กระบือ สัตว์ปีก และสัตว์น�้ำบางชนิด ร่วมกับการปลูกพืช จะเป็นการใช้ทรัพยากร ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ท�ำให้เกษตรกรใช้พื้นที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์ ช่วยก�ำจัด วัชพืชหรือใช้ประโยชน์จากเศษเหลือจากกิจกรรมการเกษตร ดังภาพที่ 1.3 ประการส�ำคัญ การเลี้ยงสัตว์ยังเป็นการเก็บออมทรัพย์สินในรูปของตัวสัตว์ที่เพิ่มขึ้นซึ่งสามารถขายเป็นรายได้ 1.1.2.2 การเลี้ยงสัตว์ช่วยให้เกิดอาชีพอื่น ๆ ตามมา เช่น รับจ้างเลี้ยงสัตว์ พ่อค้า รับซื้อสัตว์ ท�ำให้ครอบครัวมีความเป็นอยู่ดีขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจดีขึ้น ช่วยลดปัญหาสังคม การว่างงาน และอาชญากรรม 1.1.2.3 สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์เป็นสินค้าส่งออกของประเทศไทย สามารถ พัฒนาให้เกิดระบบอุตสาหกรรมต่อยอดจากผลผลิต ช่วยให้ประเทศชาติมีชื่อเสียงเป็นครัวโลก สร้างรายได้เข้าประเทศได้จ�ำนวนมากในแต่ละปี ภาพที่ 1.3 สัตว์กระเพาะรวมเพิ่มมูลค่าของสิ่งที่มนุษย์บริโภคไม่ได้ ที่มา : ภาพโดยยิ่งลักษณ์ มูลสาร _16-04(001-024)P4.indd 6 1/18/60 BE 1:53 PM
  • 7. ประโยชน์และความส�ำคัญของการผลิตสัตว์ 7 1.2 ความต้องการบริโภคผลผลิตปศุสัตว์ที่ส�ำคัญ จากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก ซึ่งมีจ�ำนวนสูงกว่า 7,000 ล้านคน ในปัจจุบัน และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มสูงถึง 9.2 ล้านคน ใน พ.ศ. 2618 (ค.ศ. 2075) จึงมีการ คาดการณ์กันว่า ความต้องการบริโภคอาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของสัตว์จะ เพิ่มขึ้น (Alexandratos & Bruinsma, 2012) ซึ่ง Steinfeld et al. (2006) รายงานว่า ประชากร ของประเทศในกลุ่มอุตสาหกรรมบริโภคผลผลิตจากปศุสัตว์ (ไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์สัตว์น�้ำและ อาหารทะเล) มากกว่าร้อยละ 40 ของอาหารโปรตีนทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ปริมาณการบริโภค ผลผลิตสัตว์ของประเทศกลุ่มนี้ค่อนข้างคงที่ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์ สัตว์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัว ประเทศที่ส�ำคัญคือ ประเทศจีน คาดว่า ปริมาณการบริโภคเนื้อจะเพิ่มขึ้นจนเท่ากับประเทศในยุโรปในกลางศตวรรษนี้ ส่วนประเทศที่มี ความต้องการน้อย ได้แก่ กลุ่มประเทศแถบทะเลทรายในแอฟริกา ซึ่งมีปัจจัยด้านความสามารถ ในการเข้าถึงทรัพยากรอาหารต�่ำเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย (McMichael, Powels, Butler, & Uauy, 2007; Steinfeld et al., 2006) ส�ำหรับประเทศไทย ในฐานะผู้ส่งออกสินค้าเกษตรที่ส�ำคัญของโลก ส�ำนักงานเศรษฐกิจ การเกษตรแห่งประเทศไทยได้รายงานสถานการณ์สินค้าเกษตรกลุ่มปศุสัตว์และประมงที่ส�ำคัญ ของโลกและของประเทศไทยใน พ.ศ. 2554-2558 และแนวโน้มใน พ.ศ. 2559 สรุปได้ว่า แนวโน้มการผลิตและการบริโภคผลผลิตสัตว์หลัก ได้แก่ ไก่เนื้อ ไข่ไก่ สุกร โคเนื้อ และน�้ำนมดิบ จะเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.5-2.5 มีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้ (ส�ำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2558; 2559) 1.2.1 เนื้อไก่ เนื้อไก่เป็นเนื้อสัตว์ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ไขมันต�่ำ และมีราคาถูกกว่าเนื้อสัตว์ ประเภทอื่น การบริโภคเนื้อไก่ของโลกระหว่าง พ.ศ. 2554-2558 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 1.97 ต่อปี ทั้งนี้ประเทศผู้บริโภคเนื้อไก่รายใหญ่ที่สุดของโลกคือ สหรัฐอเมริกา มีปริมาณการบริโภคเท่ากับ 15.00 ล้านตัน รองลงมา ได้แก่ จีน และสหภาพยุโรป ส่วนประเทศที่น�ำเข้าเนื้อไก่จากต่างประเทศสูงที่สุด ได้แก่ ญี่ปุ่น ซาอุดีอาระเบีย เม็กซิโก และ สหภาพยุโรป ตามล�ำดับ ระหว่าง พ.ศ. 2554-2558 การผลิตเนื้อไก่ของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตรา ร้อยละ 1.27 ต่อปี สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผู้ผลิตเนื้อไก่รายใหญ่ของโลก รองลงมา ได้แก่ บราซิล _16-04(001-024)P4.indd 7 1/18/60 BE 1:53 PM
  • 8. 8 การจัดการอาหารสัตว์เพื่อลดภาวะโลกร้อน จีน และสหภาพยุโรป แต่ประเทศอินเดียมีการขยายตัวของการเลี้ยงไก่สูงที่สุด อย่างไรก็ตาม ผลผลิตของประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้เพื่อการบริโภคในประเทศ สาเหตุส�ำคัญอีกประการหนึ่ง ได้แก่ ผลกระทบจากการระบาดของโรคไข้หวัดนก ท�ำให้ประเทศเหล่านี้ส่งออกเนื้อไก่ได้น้อยลง ในการนี้ บราซิล ซึ่งเป็นประเทศปลอดไข้หวัดนก จึงกลายเป็นผู้ส่งออกเนื้อไก่อันดับหนึ่งของโลก ในปัจจุบัน (3.74 ล้านตัน ใน พ.ศ. 2558) รองลงมา ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และไทย (3.30, 1.10, 0.54 ล้านตัน ตามล�ำดับ) การผลิตและการส่งออกเนื้อไก่ของไทยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นตามปริมาณความ ต้องการบริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป โดยเฉพาะใน รูปแบบของไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง และเนื้อไก่แปรรูป เนื่องจากการผลิตไก่เนื้อของไทยมีการจัดการ ฟาร์มและการผลิตที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย จนได้รับอนุญาตให้ส่งออกเนื้อไก่หลังจากปัญหา ไข้หวัดนก และมีแนวโน้มการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าใหม่อื่น ๆ เช่น รัสเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ได้เพิ่มขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2558 1.2.2 ไข่ไก่ ส�ำหรับประเทศไทยแล้ว ผลผลิตไข่ไก่ส่วนใหญ่ ร้อยละ 95-99 ใช้บริโภคภายใน ประเทศ เนื่องจากระดับราคาไข่ไก่ในประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง การส่งออกจึงเป็นเพียงกิจกรรม ที่ระบายผลผลิตส่วนเกินและรักษาตลาดส่งออกเท่านั้น โดยส่งออกในรูปแบบไข่ไก่สดและ ผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่ ได้แก่ ไข่เหลวพาสเชอไรซ์ ตลาดส่งออกที่ส�ำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น นอกจากนี้ คาดการณ์ว่า ใน พ.ศ. 2559 จะมีการผลิตไข่ไก่เพิ่มขึ้น และราคาจะปรับสูงขึ้นเล็กน้อย การบริโภคไข่ไก่เฉลี่ยทั้งประเทศในช่วง 5 ปี (พ.ศ. 2554-2558) ขยายตัวในอัตรา ร้อยละ 4.84 ต่อปี ใน พ.ศ. 2558 มีปริมาณการบริโภคไข่ไก่เพิ่มขึ้นจาก พ.ศ. 2557 คิด เป็นร้อยละ 5.63 เนื่องจากไข่ไก่มีราคาถูกเมื่อเทียบกับอาหารโปรตีนชนิดอื่น และน�ำมาปรุง อาหารได้ง่าย หลากหลาย และสะดวก รวมทั้งมีการรณรงค์ให้บริโภคไข่ไก่เพิ่มขึ้น ประกอบกับ คาดการณ์ว่าราคาสุกรและไก่เนื้อจะมีราคาสูงขึ้น จึงคาดว่าปริมาณการบริโภคไข่ไก่ใน พ.ศ. 2558-2559 จะเพิ่มขึ้นจาก พ.ศ. 2557 อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคงมีการ น�ำเข้าผลิตภัณฑ์จากไข่ไก่ โดยเฉพาะไข่ขาวผงจากประเทศฝรั่งเศส เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.33 ต่อปี เนื่องจากมีความจ�ำเป็นต้องใช้ในส่วนผสมของผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปต่าง ๆ ที่ใช้บริโภค ในประเทศและส่งออก _16-04(001-024)P4.indd 8 1/18/60 BE 1:53 PM
  • 9. ประโยชน์และความส�ำคัญของการผลิตสัตว์ 9 1.2.3 เนื้อสุกร ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรของโลกระหว่าง พ.ศ. 2554-2558 มีปริมาณ เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.82 ต่อปี ประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่มีการบริโภคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ สหรัฐอเมริกา บราซิล และสหภาพยุโรป ขยายการบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.89, 1.44 และ 1.38 ตามล�ำดับ ส่วนประเทศผู้ผลิตเนื้อสุกรที่ส�ำคัญของโลก ได้แก่ สหภาพยุโรป สหรัฐ- อเมริกา จีน บราซิล รัสเซีย แคนาดา และเวียดนาม คาดการณ์ว่า ใน พ.ศ. 2559 การผลิตเนื้อสุกร ของโลกจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเล็กน้อย การผลิตสุกรในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2554-2558 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง เพราะราคาสุกรมีการปรับตัวสูงขึ้นเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกร ตลอดจนมีการปรับปรุง ด้านการจัดการฟาร์มและควบคุมโรคได้ดีขึ้น ทั้งนี้ผลผลิตสุกรถูกใช้เพื่อการบริโภคในประเทศ เป็นส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 95 การส่งออกมีเพียงร้อยละ 5 เนื่องจากยังมีข้อจ�ำกัดด้านโรคปากและ เท้าเปื่อย 1.2.4 เนื้อโค ปริมาณความต้องการบริโภคเนื้อโคในประเทศต่าง ๆ ระหว่าง พ.ศ. 2554-2558 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.10 ต่อปี ประเทศที่มีการบริโภคมากที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา รองลงมา ได้แก่ บราซิล และสหภาพยุโรป การผลิตเนื้อโคของโลกใน พ.ศ. 2559 มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก ได้แก่ อินเดีย ซึ่งมีการผลิตเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 60 เพื่อตอบสนองตลาดต่างประเทศ รองลงมา ได้แก่ บราซิล ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา เช่นเดียวกับประเทศไทยซึ่งพบว่าการผลิตโคเนื้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพราะราคา ที่สูงขึ้นเป็นแรงจูงใจ แต่จ�ำนวนโคเนื้อในประเทศมีน้อยลงและการเพิ่มผลผลิตโคเนื้อนั้นต้องใช้ เวลา ท�ำให้ผลผลิตที่ได้ซึ่งจะใช้บริโภคในประเทศเกือบทั้งหมดยังไม่เพียงพอต่อการบริโภค จึงต้องน�ำเข้าโคเนื้อและผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ ทั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมายและลักลอบ น�ำเข้า โดยประการหลังท�ำให้เกิดผลกระทบต่อเสถียรภาพและความปลอดภัยในการผลิตสัตว์ ของประเทศเป็นอย่างมาก จากเหตุผลดังกล่าว ท�ำให้ราคาโคเนื้อและเนื้อโคปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 10-20 จากปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้มีนโยบายสนับสนุนและเพิ่มการผลิตโคขุน คุณภาพดี เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC) ซึ่งมีความต้องการผลผลิตโคเนื้อ ค่อนข้างสูง _16-04(001-024)P4.indd 9 1/18/60 BE 1:53 PM
  • 10. 10 การจัดการอาหารสัตว์เพื่อลดภาวะโลกร้อน 1.2.5 น�้ำนมและนมผง ความต้องการบริโภคน�้ำนมและผลิตภัณฑ์นมผงระหว่าง พ.ศ. 2554-2558 ของประเทศต่าง ๆ รวมกันมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.74 ต่อปี อินเดียเป็นประเทศที่บริโภคน�้ำนม สูงที่สุดคือ 59.55 ล้านตันต่อปี ส่วนความต้องการบริโภคนมผงขาดมันเนยในช่วง 5 ปีดังกล่าว มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.31 ต่อปี ประเทศที่มีการบริโภคนมผงขาดมันเนยสูงที่สุดคือ สหภาพ- ยุโรป มีการบริโภค 0.91 ล้านตันต่อปี ประเทศที่มีผลผลิตน�้ำนมดิบมากที่สุดคือ สหภาพยุโรป ส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์นมที่ส�ำคัญ ได้แก่ นมผงขาดมันเนย เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.78 ต่อปี สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และนิวซีแลนด์ เป็นผู้ส่งออกที่ส�ำคัญของโลกตามล�ำดับ คาดการณ์ ว่า ปริมาณการผลิตและการส่งออกผลิตภัณฑ์นมโดยรวมของโลกใน พ.ศ. 2559 จะมีแนวโน้ม ลดลงเล็กน้อย เนื่องจากราคาลดต�่ำลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกท�ำให้การผลิตชะลอตัว สถิติจ�ำนวน โคนมที่มีอยู่ในประเทศที่เป็นแหล่งการเลี้ยงส�ำคัญ ระหว่าง พ.ศ. 2554-2558 แสดงในตารางที่ 1.1 ประเทศที่มีการเลี้ยงโคนมเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ อินเดีย บราซิล และจีน ส�ำหรับการผลิตโคนมในประเทศไทยในช่วงระยะเวลา 5 ปีดังกล่าว มีการเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.50 ต่อปี เนื่องจากเกษตรกรมีการจัดการฟาร์มได้ดีขึ้นตรงตามมาตรฐานฟาร์ม ท�ำให้มี ผลผลิตมากและมีคุณภาพดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาดังกล่าวมีการส่งออกแม่โคนมไปยัง ประเทศเพื่อนบ้านเป็นจ�ำนวนมาก ท�ำให้ผลผลิตน�้ำนมดิบของไทยมีไม่มากเท่าที่ควร รวมทั้งจาก ความต้องการบริโภคนมพร้อมดื่มที่มีอัตราเพิ่มขึ้น ประเทศไทยจึงมีการน�ำเข้าน�้ำนมและผลิตภัณฑ์ นม โดยเฉพาะนมผงขาดมันเนยเป็นจ�ำนวนมาก และส่วนหนึ่งได้น�ำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์นม ประเภทอื่น ๆ แล้วส่งออกไปยังประเทศใกล้เคียง _16-04(001-024)P4.indd 10 1/18/60 BE 1:53 PM