SlideShare a Scribd company logo
1




แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
           เรื่อง สารรอบตัว ชันมัธยมศึกษาปีที่ 1
                              ้
                        ชุดที่ 6 สารละลายกรด – เบส




                              สุภาภัค สมศักดิ์
   ครูชานาญการ โรงเรียนฟากกว๊านวิทยาคม
 สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36
[ครูสุภาภัค สมศักดิ์]               แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
2


                                     คาแนะนาสาหรับครู

              1. ครูผู้สอนศึกษาการใช้แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 และแผนการ
จัดการเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจจะได้ชี้แนะและเพิ่มพูนความรู้ให้แก่นักเรียนได้ถูกต้อง
              2. ครูผู้สอนต้องใช้แผนการจัดการเรียนรู้ในการใช้แบบฝึกรายวิชา ว21101
วิทยาศาสตร์ 1 เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เรียนตามแผนการจัดการ
เรียนรู้ที่กาหนดไว้
              3. ครูผู้สอนต้องเตรียมแบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 ให้ครบตาม
จานวนนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมได้อย่างครบถ้วน
              4. แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 เป็นสื่อที่ให้นักเรียนได้ฝึกกิจกรรม
ทางวิทยาศาสตร์ ครูผู้สอนคอยชี้แนะ กากับ ดูแลนักเรียน ให้ปฏิบัติกิจกรรมในแบบฝึก
รายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 และครูควรชี้แจงบทบาทของนักเรียนในการเรียนให้ชัดเจน
              5. ครูผู้สอนให้นักเรียนทาแบบทดสอบก่อนเรียน ก่อนที่นักเรียนจะศึกษาหรือทา
กิจกรรมในแบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
              6. ครูผู้สอนนาเข้าสู่บทเรียนควรอธิบายเนื้อหาพอสังเขป เกี่ยวกับบทเรียนนั้นๆ
เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียน มีความเข้าใจและสนใจในบทเรียน
              7. ครูผู้สอนดาเนินการสอนตามกิจกรรมการเรียนการสอนในแผนการจัดการ
เรียนรู้ แล้วให้นักเรียนทากิจกรรมในแบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 แต่ละชุด
              8. ครูผู้สอนต้องดูแล และให้ความช่วยเหลือ แนะนา ในการปฏิบัติกิจกรรมอย่าง
ใกล้ชิด ในขณะที่นักเรียนกาลังศึกษาเนื้อหาหรือปฏิบัติกิจกรรม เพื่อนักเรียนจะได้ขอคา
ปรึกษาหารือทันที
              9. ครูผู้สอนต้องสังเกตพฤติกรรมนักเรียน ตามแบบประเมินพฤติกรรม เพื่อ
บันทึกการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน ในการประเมินผลการเรียนของนักเรียน
             10. ครูผู้สอนต้องช่วยเหลือนักเรียนในการสรุปเนื้อหาในบทเรียนลงในสมุดบันทึก
เมื่อศึกษาแบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 แล้ว และให้นักเรียนทาแบบทดสอบหลัง
เรียน และตรวจคาตอบจากเฉลยเพื่อประเมินความก้าวหน้าทางการเรียน
              11. ผลการเรียนของนักเรียนควรเก็บไว้ในแฟ้มสะสมผลงานหรือแฟ้มข้อมูล
นักเรียน


[ครูสุภาภัค สมศักดิ์]                                       แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
3



                                  คาแนะนาสาหรับนักเรียน

        1. แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 เรื่อง สารรอบตัว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชุดที่ 1 สารและสมบัติของสาร สาหรับให้นักเรียนได้ศึกษาและทาแบบฝึกด้วยตนเอง
ประกอบด้วย
            1.1 ชื่อของแบบฝึก
            1.2 คาอธิบายเนื้อหาของเรื่องที่เรียนในชุดนั้น
            1.3 แบบฝึก
            1.4 แบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน
            1.5 เฉลยคาตอบของแบบทดสอบและแบบฝึก
        2. การทาแบบฝึกรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ให้นักเรียนปฏิบัติดังนี้
            2.1 อ่านคาชี้แจงของแบบฝึกรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานแต่ละชุดให้เข้าใจ
            2.2 ทดสอบก่อนเรียน
            2.3 ให้นักเรียนศึกษาและปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ในแบบฝึกตามลาดับตั้งแต่หน้า
แรกจนถึงหน้าสุดท้าย (ไม่ควรข้ามขั้นตอน) อ่านให้เข้าใจก่อนทาแบบฝึก หากไม่เข้าใจให้อ่านซ้า
            2.4 ทาแบบฝึกรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานแต่ละตอนในแต่ละชุดด้วยตนเองโดย
ไม่ดูเฉลย และตรวจคาตอบ
            2.5 ทดสอบหลังเรียน
            2.6 เมื่อนักเรียนมีข้อสงสัยใด ๆ ให้ถามครู
            2.7 นักเรียนสามารถศึกษาแบบฝึก และทาแบบฝึกซ้า ถ้ายังไม่เข้าใจ
            2.8 ขอให้นักเรียนพึงระลึกว่าความซื่อสัตย์คือการพัฒนาตนเองอย่างหนึ่ง




[ครูสุภาภัค สมศักดิ์]                                      แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
4


                                มาตรฐานการเรียนรู้


           มาตรฐาน ว 3.1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้าง
และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสาร
สิ่งที่เรียนรู้ นาความรู้ไปใช้ประโยชน์

                                        ตัวชีวด
                                             ้ั

1. ทดลองและอธิบายสมบัติความเป็นกรด เบส ของสารละลาย
2. ตรวจสอบค่า pH ของสารละลายและนาความรู้ไปใช้ประโยชน์

                                    สาระสาคัญ

     สมบัติความเป็นกรด เบส ของสารละลาย ตรวจสอบค่า pH ของสารละลาย


                                  จุดประสงค์การเรียนรู้

1. ทดลองและอธิบายสมบัติความเป็นกรดและเบสของสารละลาย
2. ทดสอบและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างค่าพีเอช (pH) กับสมบัติความเป็นกรดและเบสของ
สารละลายโดยใช้อินดิเคเตอร์
3. สารวจและอธิบายสมบัติของสารละลายกรดและสารละลายเบสที่ใช้ในชีวิตประจาวัน
4. อธิบายประโยชน์ของสารละลายกรดและสารละลายเบส


                        เวลาในการปฏิบตกจกรรม 4 ชัวโมง
                                     ั ิิ        ่




[ครูสุภาภัค สมศักดิ์]                                      แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
5

                           แบบทดสอบก่อนเรียน

คาชี้แจง 1. ข้อสอบเป็นแบบปรนัยมีทั้งหมด 10 ข้อ 10 คะแนน
           2. จงกาเครื่องหมายกากบาท (x) ลงบนกระดาษคาตอบข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดเป็นสมบัติของกรด                   5. สารในข้อใดเป็นเบสทั้งหมด
   ก. มีรสฝาด                                 ก. สบู่ แชมพู น้ามะกรูด
   ข. ไม่กัดกร่อนหินปูน                       ข. น้าส้ม น้าอัดลม ผงซักฟอก
   ค. กัดกร่อนโลหะเกิดแก๊สไฮโดรเจน            ค. น้าโซดา น้าอัดลม น้ามะขาม
   ง. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากแดงเป็น         ง. ยางกล้วย ยาสีฟัน น้ายาเช็ดกระจก
       น้าเงิน                             6. ถ้าสาร X มีสมบัติเป็นกลาง จะมีค่า pH
2. การทาปฏิกิริยาของเบสกันสารใดที่เกิด        เท่าไร
   สารคล้ายสบู่                               ก. เท่ากับ 7
   ก. เบสกับกรดเกลือ                          ข. มากกว่า 7
   ข. เบสกับชิ้นอะลูมิเนียม                   ค. น้อยกว่า 7
   ค. เบสกับแอมโมเนียมไนเตรต                  ง. ระหว่าง 5-6
   ง. เบสกับน้ามันพืชหรือไขมันสัตว์        7. อินดิเคเตอร์คืออะไร
3. สารในข้อใดใช้ทาน้ายาล้างห้องน้าและ         ก. สารที่ใช้ทดสอบความเค็ม
   เครื่องสุขภัณฑ์                            ข. สารที่ใช้ทดสอบความเป็นกรด
   ก. กรดไนตริก, กรดเกลือ                     ค. สารที่ใช้ทดสอบความเป็นเบส
   ข. กรดแอซีติก, โซดาซักผ้า                  ง. สารที่ใช้ทดสอบความเป็นกรดเบส
   ค. โซเดียมไฮดรอกไซด์, กรดซัลฟิวริก      8. สารละลายที่มี pH เท่ากับ 7.5 มีสมบัติ
   ง. แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์,                   การเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสอย่างไร
       โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์                   ก. เปลี่ยนจากสีน้าเงินเป็นสีแดง
4. สาร A เปลี่ยนสีเจนเชียนไวโอเลตจาก          ข. เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีน้าเงิน
   สีม่วงเป็นสีเขียว สาร A ควรเป็นสารใน       ค. ไม่เปลี่ยนกระดาษลิตมัสสีแดง
   ข้อใด                                      ง. เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีส้มอมเหลือง
   ก. น้ามะขาม
   ข. น้าส้มสายชู
   ค. กรดซัลฟิวริก
   ง. น้ายาเช็ดกระจก
[ครูสุภาภัค สมศักดิ์]                                    แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
6

9. ผงซักฟอกช่วยทาความสะอาดเสื้อผ้าที่ใช้    10. ระดับความเป็นกรดเพิ่มขึ้นค่า pH จะ
   แล้วได้ เพราะเหตุใด                          เป็นอย่างไร
   ก. สารละลายผงซักฟอกละลายไขมันได้             ก. ค่า pH คงที่
   ข. สารละลายผงซักฟอกมีฟองช่วยขจัด             ข. ค่า pH ลดลง
      คราบสกปรก                                 ค. ค่า pH เพิ่มขึ้น
   ค. สารละลายผงซักฟอกมีฤทธิ์เป็นกรด            ง. ค่า pH เท่ากับ 7
      ช่วยขจัดคราบสกปรกได้
   ง. สารละลายผงซักฟอกมีความลื่นทาให้
      คราบสกปรกหลุดออกได้ง่าย

                    **********************************************




[ครูสุภาภัค สมศักดิ์]                                    แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
7


                        ใบความรู้ เรือง สารละลายกรด-เบส
                                     ่

        สารละลายต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจาวันแต่ละชนิดจะมีสมบัติแตกต่างกัน มีทั้งชนิดที่มี
ฤทธิ์กัดกร่อนหรือที่เรียกว่ามีสมบัติเป็นกรด และชนิดที่มีสมบัติเป็นเบส สารบางชนิดเป็น
อันตราย แต่บางชนิดสามารถนามาใช้ประโยชน์ได้ สมบัติของสารละลายกรด-เบส จึงเป็น
เกณฑ์อีกประเภทหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์นามาใช้ในการจาแนกประเภทของสาร
         สารละลายกรด

      สารละลายกรด (acid solution) คือ สารที่มีธาตุไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ เป็น
สารละลายที่กรดละลายในน้า (กรดเป็นตัวละลาย น้าเป็นตัวทาละลาย) ซึ่งสามารถแตกตัวให้
ไฮโดรเจนไอออน (H )

         สมบัตของสารละลายกรด
              ิ
สมบัติของสารละลายกรด มีดังนี้
1. มีรสเปรี้ยว เช่น น้ามะนาว (กรดซิตริก) น้าส้มสายชู (กรดแอซีติก) วิตามินซี
  (กรดแอสคอร์บิก) เป็นต้น
2. ทดสอบโดยการใช้กระดาษลิตมัส (มี 2 สี คือ สีแดงและสีน้าเงิน)
   ถ้าใช้กระดาษลิตมัสสีน้าเงินจะเกิดการเปลี่ยนแปลงสีเป็นสีแดง แต่ถ้าใช้กระดาษลิตมัส
   สีแดงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงสีของกระดาษลิตมัส (มีค่า pH น้อยกว่า 7)
3. กรดทาปฏิกิริยากับโลหะได้ผลิตภัณฑ์เป็นแก๊สไฮโดรเจน (H2) เสมอ เช่น
   ปฏิกิริยาของโลหะสังกะสีในกรดเกลือ ได้เกลือซิงค์คลอไรด์ (ZnCl2) กับแก๊สไฮโดรเจน

                Zn (s) + HCl(aq)  ZnCl2 (aq) +H2(g)
         ดังนั้น โลหะ + กรด  เกลือ + แก๊สไฮโดรเจน

   โลหะที่เกิดปฏิกิริยา เช่น สังกะสี (Zn), แมกนีเซียม (Mg), ทองแดง (Cu), เงิน (Ag),
   อะลูมิเนียม (Al) เป็นต้น



[ครูสุภาภัค สมศักดิ์]                                        แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
8

4. กรดทาปฏิกิริยากับสารประกอบคาร์บอเนต เช่น หินปูน (CaCO3), โซเดียมไฮโดรเจน
   คาร์บอเนต (NaHCO3) หรือผงฟู ได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เสมอ เช่น ปฏิกิริยา
   ของหินปูนกับกรดเกลือ ดังสมการ

          CaCO3(s) + 2HCl(aq)  CaCl2 (aq) + CO2 (g)+ H2O (l)
5. สารละลายกรดสามารถนาไฟฟ้าได้
6. กรดทาปฏิกิริยากับเบสได้เกลือและน้า
7. กรดมีสมบัติกัดกร่อนโลหะ หินปูน เนื้อเยื่อของร่างกาย
     ข้อควรทราบ
      เมื่อสิ่งที่อยู่ในวงเล็บ ( ) เป็นการบอกสถานะของสารในปฏิกิริยา
(s) = solid              = ของแข็ง
(l) = liquid = ของเหลว
(g) = gas                = แก๊ส
(aq) = aqueous = สารละลายในน้า
         ประเภทของกรด
กรดแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. กรดอินทรีย์ เป็นกรดที่ได้จากสิ่งมีชีวิต มักพบในพืชหรือสัตว์ เพราะมีต้นกาเนิดมาจาก
   สิ่งมีชีวิตนั่นเอง ทดสอบด้วยเจนเชียนไวโอเลตจะไม่เปลี่ยนสี เช่น
- กรดฟอร์มิก หรือ กรดมด (HCOOH) แหล่งที่พบ เช่น มดแดง เป็นต้น
- กรดแอซีติก หรือ กรดน้าส้ม (CH3COOH) ได้จากการหมักแป้งหรือน้าตาลโดยใช้จุลินทรีย์
  แหล่งที่พบ เช่น น้าส้มสายชู เป็นต้น
- กรดซิตริก หรือกรดมะนาว (C6H8O7) เป็นกรดที่อยู่ในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว แหล่งที่พบ เช่น
   ส้ม มะนาว เป็นต้น
- กรดแอสคอร์บิก หรือวิตามินซี (C6H8O6) แหล่งที่พบ มีอยู่ในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม
   มะนาว ฝรั่ง เป็นต้น
- กรดแลกติก (C3H6O3)แหล่งที่พบ เช่น น้านม เป็นต้น
- กรดแทนนิก (C14H10O9) แหล่งที่พบ เช่น ชา เป็นต้น
- กรดอะมิโน (amino acid) เป็นกรดที่ใช้สร้างโปรตีน มักพบในเนื้อสัตว์ ผลไม้เปลือกแข็ง
   หรือพืชตระกูลถั่ว
[ครูสุภาภัค สมศักดิ์]                                       แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
9




        ภาพที่ 1       กรดอินทรีย์
        ที่มา : สุภาภัค สมศักดิ์. ภาพถ่ายของจริง. 2553.
2. กรดอนินทรีย์ หรือกรดแร่ เป็นกรดที่เกิดจากแร่ธาตุ ไม่ได้มาจากสิ่งมีชีวิต ดังนั้นอานาจ
   การกัดกร่อนจึงสูงกว่ากรดอินทรีย์ และบางชนิดก็เป็นกรดแก่ ซึ่งมีอานาจการกัดกร่อนสูง
   ถ้าถูกผิวหนังหรือ เนือเยื่อของร่างกายจะทาให้ไหม้ แสบ หรือมีผื่นคัน ทดสอบด้วย
                        ้
   เจนเชียนไวโอเลตจะเปลี่ยนสีจากสีม่วงเป็นสีเขียว เช่น
- กรดซัลฟิวริก หรือ กรดกามะถัน (H2SO4) แหล่งที่พบ เช่น ผงซักฟอก แบตเตอรี่รถยนต์
   ปุ๋ย เป็นต้น
- กรดไฮโดรคลอริก หรือ กรดเกลือ (HCl) แหล่งที่พบ เช่น น้ายาล้างห้องน้า อยู่ในกระเพาะ
   อาหารของมนุษย์ เป็นต้น
- กรดคาร์บอนิก (H2CO3) แหล่งที่พบ เช่น น้าโซดา น้าอัดลม เป็นต้น
- กรดไนตริก หรือ กรดดินประสิว (HNO3) แหล่งที่พบ เช่น น้ายาสาหรับงานชุบโลหะ น้ายา
   สาหรับงานล้างคราบไขมันที่ติดบนโลหะ น้ายาในงานทาความสะอาด เป็นต้น




        ภาพที่ 2       กรดอนินทรีย์
        ที่มา : สุภาภัค สมศักดิ์. ภาพถ่ายของจริง. 2553.




[ครูสุภาภัค สมศักดิ์]                                      แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
10

         สารละลายเบส

       สารละลายเบส (base solution) คือ สารละลายที่เบสละลายในน้า (เบสเป็นตัวละลาย
น้าเป็นตัวทาละลาย) ซึ่งสามารถแตกตัวให้ไฮดรอกไซด์ไอออน (OH ) เมื่อละลายน้า

        สมบัตของสารละลายเบส
             ิ
สมบัติของสารละลายเบส มีดังนี้
1. มีรสฝาด เฝื่อน ขม
2. เมื่อสัมผัสจะลื่นมือ
3. ทดสอบกับกระดาษลิตมัส ถ้าใช้กระดาษลิตมัสสีแดงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงสีของกระดาษ
   ลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้าเงิน แต่ถ้าใช้กระดาษลิตมัสสีน้าเงินจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงสีของ
   กระดาษลิตมัส (มีค่า pH มากกว่า 7)
4. ทาปฏิกิริยากับเกลือแอมโมเนีย เช่น คลอรีน (Cl) ได้เป็นแอมโมเนียมคลอไรด์ (NH4Cl) จะ
   ได้น้าและแอมโมเนีย (NH3) มีกลิ่นฉุน เป็นผลิตภัณฑ์เสมอ เช่น
   ปฏิกิริยาของด่างคลี (NaOH, โซเดียมไฮดรอกไซด์) กับเกลือแอมโมเนียมคลอไรด์

        NaOH (aq) + NH4Cl(aq)  NaCl(aq) +H2O (l)+ NH3 (g)
         เบส       เกลือแอมโมเนียม        น้า      แอมโมเนีย

5. ไม่ทาปฏิกิริยากับโลหะ ยกเว้น อะลูมิเนียม (Al) และสังกะสี (Zn) ที่เมื่อทาปฏิกิริยาแล้ว
   จะได้แก๊สไฮโดรเจน (H2)
6. ผสมกับน้ามันหรือไขมัน จะได้สบู่และกลีเซอรอล เรียกปฏิกิริยานี้ว่า ปฏิกริยาการเกิดสบู่
                                                                         ิ
(saponification reaction)
7. สารละลายเบสนาไฟฟ้าได้
8. ทาปฏิกิริยากับกรดได้เกลือและน้า




        ภาพที่ 3       สารละลายเบส
        ที่มา : สุภาภัค สมศักดิ์. ภาพถ่ายของจริง. 2553.

[ครูสุภาภัค สมศักดิ์]                                        แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
11

       นอกจากนี้ยังมีสารละลายที่ทดสอบกับกระดาษลิตมัสสีแดงและสีน้าเงิน จะไม่
เปลี่ยนแปลงสีของกระดาษลิตมัส (มีค่า pH เท่ากับ 7) จัดเป็น สารละลายทีเป็นกลาง
                                                                     ่

         การตรวจสอบสารละลายกรด – เบส

          สารละลายกรด - เบส ส่วนมากจะเป็นสารละลายที่ใส ไม่มีสีจึงไม่สามารถแยกด้วย
ตาได้ ส่วนมากเป็นสารที่เป็นอันตราย เพราะมีฤทธิ์กัดกร่อนเนื้อเยื่อของร่างกาย จึงไม่สามารถ
ทดสอบด้วยการชิมหรือสัมผัสได้ แต่มีวิธีทดสอบได้โดยใช้อินดิเคเตอร์ ซึ่งมีอยู่หลายชนิด ดังนี้
        1. สารละลายลิตมัส
           สารละลายลิตมัส ทาจากสิ่งมีชีวิตพวกไลเคนส์ ตัวสารละลายมีสีม่วง เมื่อหยดลิตมัส
ลงในสารละลายที่เป็นกรดจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ถ้าหยดลงในสารละลายที่เป็นเบสจะได้สีน้าเงิน
           นอกจากสารละลายลิตมัสแล้วยังมีกระดาษลิตมัสซึ่งมี 2 สี คือ สีแดงกับสีน้าเงิน
ถ้านากระดาษลิตมัสสีน้าเงินจุ่มลงในสารละลายกรด กระดาษลิตมัสจะเปลี่ยนสีจากสีน้าเงิน
เป็นสีแดง และเมื่อจุ่มกระดาษลิตมัสสีแดงลงในสารละลายเบสจะเปลี่ยนสีจากสีแดงเป็นสี
น้าเงิน




      ภาพที่ 4         กระดาษลิตมัส
      ที่มา : สุภาภัค สมศักดิ์. ภาพถ่ายของจริง. 2553.
      2. ยูนเวอร์ซลอินดิเคเตอร์
               ิ     ั
           อินดิเคเตอร์แบบลิตมัสจะบอกได้แต่เพียงว่าสารละลายใดเป็นกรด - เบส หรือเป็น
กลางเท่านั้น ไม่สามารถบอกได้ว่าสารชนิดใดมีความเป็นกรด - เบส มากกว่ากัน ถ้าเรา
ต้องการทราบความเป็นกรด - เบส มากหรือน้อยต้องใช้ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ซึ่งมีอยู่หลาย
แบบ ดังนี้
           1. ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์แบบกระดาษ เป็นกระดาษสีน้าตาล ใช้เทียบความเป็น
กรด - เบส กับแถบสีซึ่งจะบอกได้แต่เพียงว่าสารใดเป็นกรด - เบสมากน้อยกว่ากัน


[ครูสุภาภัค สมศักดิ์]                                        แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
12

         2. ยูนิเวอร์ซลอินดิเคเตอร์แบบสารละลายจะเปลี่ยนสีเมื่อใช้ทดสอบสารละลายที่มี
                       ั
ค่า pH อยู่ในช่วงที่แตกต่างกัน เช่น
- ฟีนอล์ฟทาลีน เป็นสารละลายใสไม่มีสีซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู      เมื่อใช้ทดสอบความเป็น
กรด-เบสของสารละลายที่มีค่า pH อยู่ระหว่าง 8.3 - 10.0
- เมทิลเรด เป็นสารละลายสีแดงซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อใช้ทดสอบความเป็นกรด-เบส
ของสารละลายที่มีค่า pH อยู่ระหว่าง 4.2 - 6.2
- บรอมไทมอลบลู เป็นสารละลายสีเหลืองซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีน้าเงิน เมื่อใช้ทดสอบความเป็น
กรด-เบสของสารละลายที่มีค่า pH อยู่ระหว่าง 6.0 - 7.6
- ฟีนอลเรด เป็นสารละลายสีเหลืองซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีแดง เมื่อใช้ทดสอบความเป็นกรด-เบส
ของสารละลายที่มีค่า pH อยู่ระหว่าง 6.8-8.4




     ภาพที่ 5        ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์
     ที่มา : สุภาภัค สมศักดิ์. ภาพถ่ายของจริง. 2553.
     3. เครืองวัดค่า pH (pH meter)
             ่
         pH meter เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดค่า pH ของสารละลาย ซึ่งบอกค่าได้ละเอียดกว่า
การตรวจสอบด้วยอินดิเคเตอร์ต่าง ๆ โดยจะแสดงค่าเป็นตัวเลขที่หน้าปัด และยังสามารถ
แสดงค่า pH ที่เปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาที่เกิดปฏิกิริยาด้วย




        ภาพที่ 6       เครื่องวัดค่า pH (pH meter)
        ที่มา : สุภาภัค สมศักดิ์. ภาพถ่ายของจริง. 2553.




[ครูสุภาภัค สมศักดิ์]                                      แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
13

        ค่า pH ของสารละลายกรด - เบส
      pH มาจาก potential of hydrogen ion ซึ่งสามารถใช้บอกความเป็นกรด-เบสของ
สารละลายได้ ซึ่งค่า pH มีความสัมพันธ์กับความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออน (H3O ) ซึ่ง
ปริมาณของไฮโดรเนียมไอออนยิ่งมาก (สารละลายกรด) ค่า pH จะน้อย แต่ถ้าปริมาณของ
ไฮโดรเนียมไอออนน้อย (สารละลายเบส) ค่า pH จะมาก ซึ่งค่า pH สามารถบอกความเป็น
กรด-เบส ได้ดังนี้
 pH = 7 สารละลายมีสมบัติเป็นกลาง
 pH > 7 สารละลายมีสมบัติเป็นเบส ยิ่งมี pH มาก ยิ่งเป็นเบสที่แรงขึ้น
 pH < 7 สารละลายมีสมบัติเป็นกรด ยิ่งมี pH น้อย ยิ่งเป็นกรดที่แรงขึ้น

               pH 1                    7                  14
         กรด (pH = 1-6)           กลาง (pH = 7)        เบส(pH = 8-14)

ตัวอย่าง กาหนดให้ สารละลาย A มีค่า pH = 9 ,สารละลาย B มีค่า pH = 8 ,สารละลาย
C มีค่า pH = 3 ,สารละลาย D มีค่า pH = 5 จากค่า pH ของสารละลาย A, B, C และ D
สามารถสรุปได้อย่างไร
- ระหว่างสารละลาย A กับสารละลาย B พบว่าสารละลาย A เป็นเบสที่แรงกว่าสารละลาย B
   (pH มากกว่า)
- ระหว่างสารละลาย C กับสารละลาย D พบว่าสารละลาย C เป็นกรดแรงกว่าสารละลาย D
   (pH น้อยกว่า)

         สารละลายกรด-เบสในชีวิตประจาวัน
       ชีวิตประจาวันในปัจจุบัน เราได้ใช้สารต่างๆ ที่มีสมบัติเป็นกรด-เบสทั้งทางตรงและ
ทางอ้อม ใช้ในการปรุงอาหาร เป็นยารักษาโรค ใช้ในด้านการเกษตร และกาจัดสิ่งสกปรก
นอกจากนี้ ในร่างกายยังประกอบด้วยสารที่มีสมบัติเป็นกรด-เบส เช่น กรดเกลือในกระเพาะ
อาหาร กรดอะมิโนเป็นกรดที่ใช้สร้างโปรตีน น้าดีจากตับมีสมบัติเป็นเบส เป็นต้น สารที่มี
สมบัติเป็นกรด-เบสในชีวิตประจาวันและสิ่งแวดล้อม เช่น
       1. สารทาความสะอาดเครืองสุขภัณฑ์ มีส่วนประกอบของกรดไฮโดรคลอริก หรือกรด
                                ่
เกลือ (HCl) กรดไนตริก (HNO3) ซึ่งมีสมบัติเป็นกรด กรดมีสมบัติในการทาปฏิกิริยากับแผ่น


[ครูสุภาภัค สมศักดิ์]                                    แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
14

กระเบื้องพื้นห้องน้า ทาให้เกิดการสึกกร่อน ทาให้สิ่งสกปรกหลุดออกจากพื้นและสุขภัณฑ์ต่างๆ
ได้ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นดังสมการ

                 CaCO3(s) + 2HCl(aq)  CaCl2 (aq) +H2O (l)+ CO2 (g)
                   หินปูน    กรดเกลือ
                 (กระเบื้อง)

             การใช้น้ายาล้างห้องน้าที่มีส่วนประกอบของกรดเกลือ (HCl) นี้ต้องใช้อย่าง
ระมัดระวัง เพราะเกิดแก๊สที่เป็นพิษเข้าสู่หลอดลม เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ
          2. สารปรุงแต่งอาหาร มีทั้งที่มีสมบัติเป็นกรดและเบส เช่น
- สารปรุงแต่งอาหารที่มีสมบัติเป็นกรด เช่น กรดแอซีติกในน้าส้มสายชู, กรดซิตริกในน้า
มะนาว น้ามะขาม, กรดแอสคอร์บิกในวิตามินซี, กรดทาร์ทาริก พบในมะขามป้อม ฝรั่ง เป็นต้น
- สารปรุงแต่งอาหารที่มีสมบัติเป็นเบส เช่น น้าปูนใส (Ca(OH)2), น้าขี้เถ้า (NaOH), ผงฟู
หรือโซเดียมไบคาร์บอเนต (NaHCO3)ในขนมปัง เป็นต้น
          3. สารในภาคเกษตรกรรม มีทั้งที่มีสมบัติเป็นกรดและเบส เช่น
- ปุ๋ยที่มีสมบัติเป็นกรด เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ((NH4)2SO4) ปุ๋ยแอมโมเนียมคลอไรด์
(NH4Cl) เป็นต้น
- ปุ๋ยที่มีสมบัติเป็นเบส เช่น ปุ๋ยยูเรีย (NH2CONH2) ปุ๋ยแอมโมเนีย (NH3) เป็นต้น
- แคลเซียมไฮดรอกไซด์ หรือ ปูนขาว (Ca(OH)2) แก้ดินเปรี้ยว
          4. ยารักษาโรค มีทั้งที่มีสมบัติเป็นกรดและเบส เช่น
- ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร จะมีส่วนประกอบที่มีสมบัติเป็นเบสอ่อน เช่น โซเดียมไฮโดรเจน
คาร์บอเนต(NaHCO3), แคลเซียมคาร์บอเนต(CaCO3), แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์(Mg (OH)2),
อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (Al2O3), แคลเซียมไฮดรอกไซด์ ( Ca(OH)2) โดยสารละลายนี้จะไปทา
ปฏิกิริยากับกรด ซึ่งจะปรับสภาพความเป็นกรดในกระเพาะอาหารให้ลดลงได้
- กรดโบริก (H3BO3) เป็นยาฆ่าเชื้อโรค , น้ายาล้างตา

         ข้อควรทราบ
1. ยาลดกรดที่ประกอบด้วย Mg(OH)2 และ MgCO3 จะเป็นยาระบายแก้ท้องผูก
2. ยาลดกรดทีมี MgCO3และ NaHCO3จะทาให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารทาให้ท้องอืด
   ท้องเฟ้อ
3. ยาลดกรดที่มีหินปูน (CaCO3) อาจทาให้เกิดอาการท้องผูก รวมทั้งอาจก่อให้เกิดโรคนิ่วได้
[ครูสุภาภัค สมศักดิ์]                                      แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
15

       5. สารทีใช้ทาความสะอาด ประกอบด้วยสารที่มีสมบัติเป็นเบส เช่น
                ่
- สบู่ คือ เกลือโซเดียมหรือโพแทสเซียมของกรดไขมัน ผลิตหรือเตรียมได้จากน้ามันหรือไขมัน
กับเบส โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) หรือ โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH)
สบู่สามารถชาระล้างสิ่งสกปรกได้ โดยไปละลายคราบไขมัน ทาให้คราบไขมันแตกตัวและถูก
ล้อมรอบด้วยโมเลกุลของสบู่ ทาให้คราบไขมันนั้นหลุดออกจากผิวได้
- ผงซักฟอก คือ เกลือโซเดียมซัลโฟเนตของกรดไขมัน ผลิตหรือเตรียมได้จากน้ามันหรือไขมัน
กับเบส โซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3) จัดเป็นสารลดแรงตึงผิว
- กรดออกซาลิก (H2C2O2) ใช้กาจัดรอยเปื้อนสนิม
- แอมโมเนีย (CH3) เป็นส่วนประกอบของน้ายาเช็ดกระจก น้ายาปรับผ้านุ่ม

          ข้อควรทราบ
       สารลดแรงตึงผิวทาให้ช่วยขจัดคราบไขมัน สิ่งสกปรกออกจากเสื้อผ้าได้ การทาความ
สะอาดของสบู่จะแตกต่างจากผงซักฟอกในน้ากระด้าง (น้าที่มีองค์ประกอบของแคลเซียม
ไอออน และแมกนีเซียมไอออน) ซึ่งผงซักฟอกสามารถทาความสะอาดได้ในน้ากระด้าง แต่สบู่
เกิดคราบไคลสบู่ขึ้นทาให้ฟองน้อย ประสิทธิภาพการทาความสะอาดต่า




[ครูสุภาภัค สมศักดิ์]                                    แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
16

                                    แบบฝึกที่ 1

คาสัง ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการทดลอง ต่อไปนี้
    ่
กิจกรรม การทดสอบความเป็นกรด – เบส ของสารด้วยกระดาษลิตมัส
จุดประสงค์
         1. ศึกษาสมบัติความเป็นกรด – เบส ของสารละลายด้วยกระดาษลิตมัส
         2. ทดลองและอธิบายความเป็นกรด – เบส ของสารละลายด้วยกระดาษลิตมัสได้
วิธีการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล
      1. นาสารละลายกรดไฮโดรคลอริก หยดลงบนกระดาษลิตมัสสีแดงและสีน้าเงินที่วาง
บนแผ่นกระจก แผ่นละ 1 หยด สังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล
      2. ทาการทดลองซ้ากับข้อ 1 แต่เปลี่ยนเป็นสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ น้ากลั่น
น้ามะนาว น้าหวาน น้าปูนใส น้าขี้เถ้า น้าส้มสายชู น้าผงซักฟอก น้ายาล้างห้องน้า น้าคลอง
น้าลาย น้ามะขาม น้าสบู่และน้าเกลือตามลาดับ สังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล
ตารางบันทึกผลกิจกรรม
                                             ผลการทดสอบกับกระดาษลิตมัส
                        สาร
                                            สีแดง              สีนาเงิน
                                                                  ้
สารละลายกรดไฮโดรคลอริก
สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์
น้ากลั่น
น้ามะนาว
น้าหวาน
น้าปูนใส
น้าขี้เถ้า
น้าส้มสายชู
น้าผงซักฟอก
น้ายาล้างห้องน้า
น้าส้ม

[ครูสุภาภัค สมศักดิ์]                                    แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
17

ตารางบันทึกผลกิจกรรม
                                         ผลการทดสอบกับกระดาษลิตมัส
                        สาร
                                        สีแดง              สีนาเงิน
                                                              ้
กาแฟ
น้ามะขาม
น้าสบู่
น้าเกลือ
คาถามหลังทากิจกรรม
1. สารละลายกรดเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสดังนี้ คือ…………………………………………………………..
………………………………………………………………….………………………………………………………………...
2. สารละลายเบสเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสดังนี้ คือ…………………………………………………………..
………………………………………………………………….………………………………………………………………...
3. สารละลายที่เป็นกลางเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัส คือ………………………………………………………
………………………………………………………………….………………………………………………………………...
4. จากการทดลอง สารใดมีสมบัติเป็นกรด และสารใดมีสมบัติเป็นเบส สารใดมีสมบัติเป็น
   กลาง
………………………………………………………………….………………………………………………………………...
………………………………………………………………….………………………………………………………………...

สรุปผลกิจกรรม
………………………………………………………………….………………………………………………………………...
………………………………………………………………….………………………………………………………………...
………………………………………………………………….………………………………………………………………...
………………………………………………………………….………………………………………………………………...




[ครูสุภาภัค สมศักดิ์]                               แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
18

                                   แบบฝึกที่ 2

คาสัง ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการทดลอง ต่อไปนี้
    ่
กิจกรรม การทดสอบสมบัตความเป็นกรด – เบส ของสารละลาย
                     ิ
จุดประสงค์
         1. ศึกษาสมบัติความเป็นกรด – เบส ของสารละลาย
         2. ทดลองและอธิบายสมบัติความเป็นกรด – เบส ของสารละลายได้
วิธีการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล
ตอนที่ 1
       1. นาสารละลายกรดมา 3 ชนิด ได้แก่ สารละลายกรดไฮโดรคลอริก สารละลายกรด
แอซิติก และสารละลายกรดซัลฟิวริก ใส่ในหลอดทดลองขนาดกลาง ชนิดละ 1 หลอด
หลอดละ 3 ลูกบาศก์เซนติเมตร
       2. เติมเศษเหล็กลงไปในหลอดทดลองทั้ง 3 หลอด สังเกตการเปลี่ยนแปลงและ
บันทึกผล
       3. เติมหินปูนลงไปในหลอดทดลองทั้ง 3 หลอด สังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล
ตารางบันทึกผลกิจกรรมตอนที่ 1
                                                       ผลการสังเกต
                        สาร
                                        เติมเศษเหล็ก                  เติมหินปูน
สารละลายกรดไฮโดรคลอริก
สารละลายกรดแอซิติก
สารละลายกรดซัลฟิวริก
        ตอนที่ 2
     1. นาสารละลายเบสมา 3 ชนิด ได้แก่ สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ สารละลาย
แคลเซียมไฮดรอกไซด์ และ มาใส่ในหลอดทดลองขนาดกลาง หลอดละ 3 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ชนิดละ 1 หลอด
     2. เติมเศษอะลูมิเนียมลงไปในหลอดทดลองทั้ง 3 หลอด สังเกตการเปลี่ยนแปลงและ
บันทึกผล

[ครูสุภาภัค สมศักดิ์]                                     แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
19

     3. เติมน้ามันพืชลงไปในหลอดทดลองทั้ง 3 หลอด นาไปต้มประมาณ 2 นาที แล้วเติม
น้า 3 ลูกบาศก์เซนติเมตร เขย่าหลอดแรง ๆ สังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล
ตารางบันทึกผลกิจกรรม
                                                  ผลการสังเกต
                        สาร
                                   เติมเศษอะลูมเนียม
                                               ิ             เติมน้ามันพืช
สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์
สารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์
สารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์
คาถามหลังทากิจกรรม
1. เมื่อเติมเศษเหล็กลงในกรด พบว่า……………………………………………………………………………..
    เพราะ....…………………………………………………………………………………………………..…….………..
2. เมื่อเติมหินปูนลงในกรด พบว่า…………………………………………………………………..……………..
    เพราะ....…………………………………………………………………………………………………..…….………..
3. เมื่อเติมเศษอะลูมิเนียมลงในเบส พบว่า…………………………………….…………………………………
    เพราะ....…………………………………………………………………………………………………..…….………..
4. เมื่อน้ามันพืชลงในเบส นาไปต้ม แล้วเขย่า พบว่า………………………………………………….………
    เพราะ....…………………………………………………………………………………………………..…….………..
5. ถ้าต้องการทดสอบสารละลายที่ใสไม่มีสี ว่าเป็นกรดหรือเบส มีวิธีการใดที่เหมาะสม
    ....…………………………………………………………………………………………………..…….………..
    ....…………………………………………………………………………………………………..…….………..
    ....…………………………………………………………………………………………………..…….………..
สรุปผลกิจกรรม
………………………………………………………………….………………………………………………………………...
………………………………………………………………….………………………………………………………………...
………………………………………………………………….………………………………………………………………...
………………………………………………………………….………………………………………………………………...




[ครูสุภาภัค สมศักดิ์]                                 แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
20

                                     แบบฝึกที่ 3

คาสัง ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการทดลอง ต่อไปนี้
    ่
กิจกรรม หาค่า pH ของสารละลายในชีวตประจาวัน
                                 ิ
จุดประสงค์
         1. ใช้อินดิเคเตอร์ทดสอบสมบัติความเป็นกรด-เบสของสารในชีวิตประจาวันได้
         2. เปรียบเทียบผลการทดสอบความเป็นกรด-เบสของสารละลายโดยใช้กระดาษ
             ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์กับการใช้กระดาษลิตมัสได้
วิธีการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล
       1. นาสารละลายมา 10 ชนิด ได้แก่ น้ากลั่น น้ามะนาว น้าหวาน น้าปูนใส น้าขี้เถ้า
น้าส้มสายชู น้ายาล้างห้องน้า น้าเกลือ น้ามะขาม และน้าสบู่ หยดลงในจานหลุมพลาสติก
1 – 2 หยด เขียนหมายเลข 1 – 10 ตามลาดับ
       2. หยดสารละลายแต่ละชนิด ลงบนกระดาษลิตมัสสีแดงและสีน้าเงินที่วางบนแผ่น
กระจก แผ่นละ 1 หยด สังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล
       3. ทาการทดลองซ้ากับข้อ 2 แต่เปลี่ยนเป็นกระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ (กระดาษ
pH ) สังเกตสีแล้วนาไปเปรียบเทียบกับสีมาตรฐานข้างกล่องกระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์
และบันทึกผล
ตารางบันทึกผลกิจกรรม
                                ผลการทดสอบ
                        กระดาษ กระดาษ       กระดาษ           ค่า pH           ความเป็น
          สาร
                         ลิตมัส   ลิตมัส   ยูนเวอร์ซล
                                              ิ     ั      โดยประมาณ          กรด-เบส
                         สีแดง   สีนาเงิน อินดิเคเตอร์
                                    ้
น้ากลั่น
น้ามะนาว
น้าหวาน
น้าปูนใส
น้าขี้เถ้า
น้าส้มสายชู
[ครูสุภาภัค สมศักดิ์]                                    แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
21

ตารางบันทึกผลกิจกรรม
                                ผลการทดสอบ
                        กระดาษ กระดาษ       กระดาษ          ค่า pH            ความเป็น
          สาร
                         ลิตมัส   ลิตมัส   ยูนเวอร์ซล
                                              ิ     ั     โดยประมาณ           กรด-เบส
                         สีแดง   สีนาเงิน อินดิเคเตอร์
                                    ้
น้ายาล้างห้องน้า
น้าเกลือ
น้ามะขาม
น้าสบู่
คาถามหลังทากิจกรรม
1. สารในชีวิตประจาวันมีความเป็นกรด – เบสเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
    ....…………………………………………………………………………………………………..…….………….……..
2. กระดาษลิตมัสกับกระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ ทดสอบความเป็นกรด – เบสเหมือน
    หรือต่างกันอย่างไร
    ....…………………………………………………………………………………………………..…….…………..……
    ....…………………………………………………………………………………………………..…….…………..……
3. ถ้าต้องการทดสอบสารละลายที่ใสไม่มีสี ว่าเป็นกรดหรือเบส และมีค่า pH เท่าใด มี
    วิธีการใดที่เหมาะสม
    ....…………………………………………………………………………………………………..…….………..
    ....…………………………………………………………………………………………………..…….………..
    ....…………………………………………………………………………………………………..…….………..
สรุปผลกิจกรรม
………………………………………………………………….………………………………………………………………...
………………………………………………………………….………………………………………………………………...
………………………………………………………………….………………………………………………………………...
………………………………………………………………….………………………………………………………………...




[ครูสุภาภัค สมศักดิ์]                                    แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
22

                           แบบทดสอบหลังเรียน

คาชี้แจง 1. ข้อสอบเป็นแบบปรนัยมีทั้งหมด 10 ข้อ 10 คะแนน
           2. จงกาเครื่องหมายกากบาท (x) ลงบนกระดาษคาตอบข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
1. สาร A เปลี่ยนสีเจนเชียนไวโอเลตจาก       5. ถ้าสาร X มีสมบัติเป็นกลาง จะมีค่า pH
   สีม่วงเป็นสีเขียว สาร A ควรเป็นสารใน       เท่าไร
   ข้อใด                                      ก. เท่ากับ 7
   ก. น้ามะขาม                                ข. มากกว่า 7
   ข. น้าส้มสายชู                             ค. น้อยกว่า 7
   ค. กรดซัลฟิวริก                            ง. ระหว่าง 5-6
   ง. น้ายาเช็ดกระจก                       6. สารในข้อใดเป็นเบสทั้งหมด
2. สารในข้อใดใช้ทาน้ายาล้างห้องน้าและ         ก. สบู่ แชมพู น้ามะกรูด
   เครื่องสุขภัณฑ์                            ข. น้าส้ม น้าอัดลม ผงซักฟอก
   ก. กรดไนตริก, กรดเกลือ                     ค. น้าโซดา น้าอัดลม น้ามะขาม
   ข. กรดแอซีติก, โซดาซักผ้า                  ง. ยางกล้วย ยาสีฟัน น้ายาเช็ดกระจก
   ค. โซเดียมไฮดรอกไซด์, กรดซัลฟิวริก      7. สารละลายที่มี pH เท่ากับ 7.5 มีสมบัติ
   ง. แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์,                   การเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสอย่างไร
       โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์                   ก. เปลี่ยนจากสีน้าเงินเป็นสีแดง
3. การทาปฏิกิริยาของเบสกันสารใดที่เกิด        ข. เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีน้าเงิน
   สารคล้ายสบู่                               ค. ไม่เปลี่ยนกระดาษลิตมัสสีแดง
   ก. เบสกับกรดเกลือ                          ง. เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีส้มอมเหลือง
   ข. เบสกับชิ้นอะลูมิเนียม                8. อินดิเคเตอร์คืออะไร
   ค. เบสกับแอมโมเนียมไนเตรต                  ก. สารที่ใช้ทดสอบความเค็ม
   ง. เบสกับน้ามันพืชหรือไขมันสัตว์           ข. สารที่ใช้ทดสอบความเป็นกรด
4. ข้อใดเป็นสมบัติของกรด                      ค. สารที่ใช้ทดสอบความเป็นเบส
   ก. มีรสฝาด                                 ง. สารที่ใช้ทดสอบความเป็นกรดเบส
   ข. ไม่กัดกร่อนหินปูน
   ค. กัดกร่อนโลหะเกิดแก๊สไฮโดรเจน
   ง. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากแดงเป็น
       น้าเงิน
[ครูสุภาภัค สมศักดิ์]                                    แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
23

9. ระดับความเป็นกรดเพิ่มขึ้นค่า pH จะ       10.ผงซักฟอกช่วยทาความสะอาดเสื้อผ้าที่ใช้
    เป็นอย่างไร                                แล้วได้ เพราะเหตุใด
    ก. ค่า pH คงที่                            ก. สารละลายผงซักฟอกละลายไขมันได้
    ข. ค่า pH ลดลง                             ข. สารละลายผงซักฟอกมีฟองช่วยขจัด
    ค. ค่า pH เพิ่มขึ้น                           คราบสกปรก
    ง. ค่า pH เท่ากับ 7                        ค. สารละลายผงซักฟอกมีฤทธิ์เป็นกรด
                                                  ช่วยขจัดคราบสกปรกได้
                                               ง. สารละลายผงซักฟอกมีความลื่นทาให้
                                                  คราบสกปรกหลุดออกได้ง่าย




                    **********************************************




[ครูสุภาภัค สมศักดิ์]                                     แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
24


                               บรรณานุกรม


ประดับ นาคแก้ว และดาวัลย์ เสริมบุญสุข. หนังสือเรียนสาระการเรียนรูวทยาศาสตร์
                                                                  ้ิ
       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพมหานคร : แม็ค, 2551.
ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะ, รัตนาภรณ์ อิทธิไพสิฐพันธุ์ และ สุภาภรณ์ หรินทรนิตย์. สื่อการ
        เรียนรูและเสริมสร้างทักษะตามมาตรฐานการเรียนรู้กลุมสาระการเรียนรูวทยาศาสตร์
               ้                                          ่             ้ิ
       ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพมหานคร : นิยมวิทยา, 2549.




[ครูสุภาภัค สมศักดิ์]                                  แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
25




                        ภาคผนวก



                           ใครยังไม่เข้าใจ สามารถกลับไปทา
                           แบบฝึกและแบบทดสอบซ้าได้อีก
                           หลาย ๆ ครั้ง จนเข้าใจ




[ครูสุภาภัค สมศักดิ์]                       แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
26

                        เฉลยแบบทดสอบก่อน – หลังเรียน

                        ก่อนเรียน            หลังเรียน
                           1. ค                 1. ค
                           2. ง                 2. ก
                           3. ก                 3. ง
                          4. ค                  4. ค
                           5. ง                 5. ก
                          6. ก                  6. ง
                           7. ง                 7. ก
                          8. ก                  8. ง
                          9. ก                  9. ข
                          10. ข                10. ก




[ครูสุภาภัค สมศักดิ์]                             แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
27

                                 เฉลยแบบฝึกที่ 1

                                            ผลการทดสอบกับกระดาษลิตมัส
                        สาร
                                            สีแดง               สีนาเงิน
                                                                    ้
   สารละลายกรดไฮโดรคลอริก              ไม่เปลี่ยนแปลง      เปลี่ยนเป็นสีแดง
   สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์         เปลี่ยนเป็นสีน้าเงิน   ไม่เปลี่ยนแปลง
   น้ากลั่น                            ไม่เปลี่ยนแปลง       ไม่เปลี่ยนแปลง
   น้ามะนาว                            ไม่เปลี่ยนแปลง      เปลี่ยนเป็นสีแดง
   น้าหวาน                             ไม่เปลี่ยนแปลง       ไม่เปลี่ยนแปลง
   น้าปูนใส                          เปลี่ยนเป็นสีน้าเงิน   ไม่เปลี่ยนแปลง
   น้าขี้เถ้า                        เปลี่ยนเป็นสีน้าเงิน   ไม่เปลี่ยนแปลง
   น้าส้มสายชู                         ไม่เปลี่ยนแปลง      เปลี่ยนเป็นสีแดง
   น้าผงซักฟอก                       เปลี่ยนเป็นสีน้าเงิน   ไม่เปลี่ยนแปลง
   น้ายาล้างห้องน้า                    ไม่เปลี่ยนแปลง      เปลี่ยนเป็นสีแดง
   น้าส้ม                              ไม่เปลี่ยนแปลง      เปลี่ยนเป็นสีแดง
   กาแฟ                                ไม่เปลี่ยนแปลง      เปลี่ยนเป็นสีแดง
   น้ามะขาม                            ไม่เปลี่ยนแปลง      เปลี่ยนเป็นสีแดง
   น้าสบู่                           เปลี่ยนเป็นสีน้าเงิน   ไม่เปลี่ยนแปลง
   น้าเกลือ                            ไม่เปลี่ยนแปลง       ไม่เปลี่ยนแปลง
คาถามหลังทากิจกรรม
1. สารละลายกรดเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสสีน้าเงินเป็นสีแดง
2. สารละลายเบสเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสสีแดงเป็นสีน้าเงิน
3. สารละลายที่เป็นกลางไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสทั้งสองสี
4. สารที่มีสมบัติเป็นกรด ได้แก่ สารละลายกรดไฮโดรคลอริก น้ามะนาว น้าส้มสายชู
น้ายาล้างห้องน้า น้าส้ม กาแฟ และน้ามะขาม
   สารที่มีสมบัติเป็นเบส ได้แก่ สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ น้าปูนใส น้าขี้เถ้า
น้าผงซักฟอก และน้าสบู่
   สารที่มีสมบัติเป็นกลาง ได้แก่ น้ากลั่น น้าหวาน และน้าเกลือ


[ครูสุภาภัค สมศักดิ์]                                   แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
28

สรุปผลกิจกรรม
       สมบัตความเป็นกรด – เบส ของสารละลายเมื่อทดสอบด้วยกระดาษลิตมัส และใช้การ
             ิ
เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัส จาแนกได้ดังนี้
        1. สารละลายกรดเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้าเงินเป็นสีแดง
        2. สารละลายเบสเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้าเงิน
        3. สารละลายที่เป็นกลางไม่เปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัสทั้งสีแดงและสีน้าเงิน




[ครูสุภาภัค สมศักดิ์]                                แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
29

                                เฉลยแบบฝึกที่ 2
ตอนที่ 1
                                                  ผลการสังเกต
                 สาร
                               เติมเศษเหล็ก                เติมหินปูน
 สารละลายกรดไฮโดรคลอริก เกิดฟองแก๊ส เหล็กกร่อนเร็ว เกิดฟองแก๊ส หินปูนกร่อนเร็ว
 สารละลายกรดแอซิติก     เกิดฟองแก๊ส เหล็กกร่อนช้า เกิดฟองแก๊ส หินปูนกร่อนช้า
 สารละลายกรดซัลฟิวริก   เกิดฟองแก๊ส เหล็กกร่อนเร็ว เกิดฟองแก๊ส หินปูนกร่อนเร็ว
ตอนที่ 2
                                                    ผลการสังเกต
                    สาร
                                        เติมเศษอะลูมเนียม
                                                     ิ              เติมน้ามันพืช
สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์          เกิดฟองแก๊ส อะลูมิเนียมกร่อน เกิดฟองคล้ายสบู่
สารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์         เกิดฟองแก๊ส อะลูมิเนียมกร่อน เกิดฟองคล้ายสบู่
สารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์       เกิดฟองแก๊ส อะลูมิเนียมกร่อน เกิดฟองคล้ายสบู่
คาถามหลังทากิจกรรม
1. เกิดฟองแก๊สและเหล็กกร่อน เพราะ กรดมีสมบัติในการกัดกร่อนหรือทาปฏิกิริยากับโลหะ
2. เกิดฟองแก๊สและหินปูนกร่อน เพราะ กรดมีสมบัติในการกัดกร่อนหรือทาปฏิกิริยากับ
   หินปูน
3. เกิดฟองแก๊สและอะลูมิเนียมกร่อน เพราะ เบสมีสมบัติในการกัดกร่อนหรือทาปฏิกิริยากับ
   อะลูมิเนียม
4. เกิดฟองคล้ายสบู่ เพราะ เบสมีสมบัติในการทาปฏิกิริยากับน้ามันหรือไขมันได้สบู่
5. ทดสอบ ดังนี้
   5.1 ทดสอบด้วยกระดาษลิตมัส ถ้าเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้าเงินเป็นสีแดง แสดง
   ว่าเป็นกรด และเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้าเงิน แสดงว่าเป็นเบส
   5.2 ใส่เหล็กหรือหินปูนลงในสารละลาย ถ้าเกิดฟองแก๊ส แสดงว่าเป็นกรด
   5.3 เติมน้ามันพืชลงในสารละลาย นาไปต้มแล้วเติมน้า เขย่าถ้าเกิดฟองคล้ายสบู่ แสดง
   ว่าเป็นเบส



[ครูสุภาภัค สมศักดิ์]                                   แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
30

สรุปผลกิจกรรม
      สมบัตของสารละลายกรด มีดังนี้
            ิ
1. กรดเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้าเงินเป็นสีแดง และไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสสีแดง
2. กรดทาปฏิกิริยากับโลหะได้แก๊สไฮโดรเจน
3. กรดทาปฏิกิริยากับหินปูนได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
      สมบัตของสารละลายเบส มีดังนี้
              ิ
1. เบสจะเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้าเงินและไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสสีน้าเงิน
2. เบสทาปฏิกิริยากับน้ามันพืชหรือน้ามันสัตว์ได้สบู่




[ครูสุภาภัค สมศักดิ์]                                      แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
31

                                เฉลยแบบฝึกที่ 3

                                 ผลการเปลี่ยนสี
                      กระดาษ        กระดาษ       กระดาษ        ค่า pH  ความเป็น
           สาร
                       ลิตมัส        ลิตมัส     ยูนิเวอร์ซัล โดยประมาณ กรด-เบส
                       สีแดง        สีน้าเงิน อินดิเคเตอร์
   น้ากลั่น               ไม่           ไม่       เหลือง          7      กลาง
                    เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลง
   น้ามะนาว               ไม่      เปลี่ยนเป็น    ส้มแดง          3      กรด
                    เปลี่ยนแปลง      สีแดง
   น้าหวาน                ไม่           ไม่       เหลือง          7      กลาง
                    เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลง
   น้าปูนใส          เปลี่ยนเป็น        ไม่         ม่วง         10      เบส
                      สีน้าเงิน เปลี่ยนแปลง
   น้าขี้เถ้า        เปลี่ยนเป็น        ไม่         ม่วง         10      เบส
                      สีน้าเงิน เปลี่ยนแปลง
   น้าส้มสายชู            ไม่      เปลี่ยนเป็น      แดง           2      กรด
                    เปลี่ยนแปลง      สีแดง
   น้ายาล้างห้องน้า       ไม่      เปลี่ยนเป็น   แดงเข้ม          1      กรด
                    เปลี่ยนแปลง      สีแดง
   น้าเกลือ               ไม่           ไม่       เหลือง          7      กลาง
                    เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลง
   น้ามะขาม               ไม่      เปลี่ยนเป็น เหลืองเข้ม         5      กรด
                    เปลี่ยนแปลง      สีแดง
   น้าสบู่           เปลี่ยนเป็น        ไม่         ม่วง         10      เบส
                      สีน้าเงิน เปลี่ยนแปลง




[ครูสุภาภัค สมศักดิ์]                                 แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
32

คาถามหลังทากิจกรรม
1. สารในชีวิตประจาวันมีความเป็นกรด – เบสต่างกัน บางชนิดมีสมบัติเป็นกรด บางชนิด
   มีสมบัติเป็นเบส
2. กระดาษลิตมัส ทดสอบสารละลายว่ามีสมบัติความเป็นกรด – เบส โดยดูการเปลี่ยนสี
   กรดเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้าเงินเป็นสีแดง และไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสสีแดง
   ส่วนเบสจะเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้าเงินและไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัส
   สีน้าเงิน
   กระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ ทดสอบสารละลายว่ามีสมบัติความเป็นกรด – เบสได้
   ดีกว่ากระดาษลิตมัส เพราะเปลี่ยนสีได้ทุกช่วงของค่า pH บอกได้ถึงความแตกต่างของ
   ความเข้มข้นของสารละลายกรด - เบส
3. ใช้กระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ ทดสอบสารละลายว่ามีสมบัติความเป็นกรด – เบส
   เพราะเปลี่ยนสีได้ทุกช่วงของค่า pH บอกได้ถึงความแตกต่างของความเข้มข้นของ
   สารละลายกรด - เบส
สรุปผลกิจกรรม
1. อินดิเคเตอร์อย่างง่ายที่ใช้ทดสอบสมบัติความเป็นกรด-เบสของสารในชีวิตประจาวัน ได้แก่
   กระดาษลิตมัสและกระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์
2. กระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ สามารถบอกความเป็นกรด-เบส หรือระบุค่า pH ของ
   สารละลายได้ดีกว่ากระดาษลิตมัส เพราะสามารถเปลี่ยนสีได้ทุกช่วงของค่า pH บอกได้
   ถึงความแตกต่างของความเข้มข้นของสารละลายกรด - เบส




[ครูสุภาภัค สมศักดิ์]                                    แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1

More Related Content

What's hot

แบบทดสอบ บทที่ 6 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรม
แบบทดสอบ บทที่  6  การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรมแบบทดสอบ บทที่  6  การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรม
แบบทดสอบ บทที่ 6 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรม
dnavaroj
 
การแยกสาร (Purification)
การแยกสาร (Purification)การแยกสาร (Purification)
การแยกสาร (Purification)
ครูเสกสรรค์ สุวรรณสุข
 
การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
ครูเสกสรรค์ สุวรรณสุข
 
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศ
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศแบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศ
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศdnavaroj
 
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบwebsite22556
 
ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์Jariya Jaiyot
 
โครงสร้างหลักสูตรประถม
โครงสร้างหลักสูตรประถมโครงสร้างหลักสูตรประถม
โครงสร้างหลักสูตรประถมwangasom
 
แบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
แบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมแบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
แบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
Jariya Jaiyot
 
ธาตุและสารประกอบ
ธาตุและสารประกอบธาตุและสารประกอบ
ธาตุและสารประกอบwebsite22556
 
แบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆแบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆNaphachol Aon
 
แบบทดสอบ เรืื่องพอลิเมอร์
แบบทดสอบ เรืื่องพอลิเมอร์แบบทดสอบ เรืื่องพอลิเมอร์
แบบทดสอบ เรืื่องพอลิเมอร์Jariya Jaiyot
 
บทที่ 3 เครื่องสำอางในชีวิตประจำวัน
บทที่ 3  เครื่องสำอางในชีวิตประจำวันบทที่ 3  เครื่องสำอางในชีวิตประจำวัน
บทที่ 3 เครื่องสำอางในชีวิตประจำวันJariya Jaiyot
 
แรงเสียดทาน
แรงเสียดทานแรงเสียดทาน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน หน่วย งานและพลังงาน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน    หน่วย งานและพลังงานแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน    หน่วย งานและพลังงาน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน หน่วย งานและพลังงาน
dnavaroj
 
แบบประเมินทักษะกระบวนการ
แบบประเมินทักษะกระบวนการแบบประเมินทักษะกระบวนการ
แบบประเมินทักษะกระบวนการ
somdetpittayakom school
 
Aแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
Aแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานความร้อนAแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
Aแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานความร้อนkrupornpana55
 
แบบฝึกหัดรูปสี่เหลี่ยมป.5 6
แบบฝึกหัดรูปสี่เหลี่ยมป.5 6แบบฝึกหัดรูปสี่เหลี่ยมป.5 6
แบบฝึกหัดรูปสี่เหลี่ยมป.5 6Jaar Alissala
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชุดที่1พันธะโคเวเลนต์docx
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชุดที่1พันธะโคเวเลนต์docxชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชุดที่1พันธะโคเวเลนต์docx
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชุดที่1พันธะโคเวเลนต์docx
พนภาค ผิวเกลี้ยง
 
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 1
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 1แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 1
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 1
dnavaroj
 
แบบฝึกหัดเคมีอินทรีย์
แบบฝึกหัดเคมีอินทรีย์แบบฝึกหัดเคมีอินทรีย์
แบบฝึกหัดเคมีอินทรีย์
Kapom K.S.
 

What's hot (20)

แบบทดสอบ บทที่ 6 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรม
แบบทดสอบ บทที่  6  การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรมแบบทดสอบ บทที่  6  การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรม
แบบทดสอบ บทที่ 6 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรม
 
การแยกสาร (Purification)
การแยกสาร (Purification)การแยกสาร (Purification)
การแยกสาร (Purification)
 
การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
การเปลี่ยนแปลงพลังงานและการเกิดปฏิกิริยาเคมี
 
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศ
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศแบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศ
แบบทดสอบ บทที่ 4 ระบบนิเวศ
 
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
ใบงานที่ 1 ธาตุและสารประกอบ
 
ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์
 
โครงสร้างหลักสูตรประถม
โครงสร้างหลักสูตรประถมโครงสร้างหลักสูตรประถม
โครงสร้างหลักสูตรประถม
 
แบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
แบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมแบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
แบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
 
ธาตุและสารประกอบ
ธาตุและสารประกอบธาตุและสารประกอบ
ธาตุและสารประกอบ
 
แบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆแบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆ
 
แบบทดสอบ เรืื่องพอลิเมอร์
แบบทดสอบ เรืื่องพอลิเมอร์แบบทดสอบ เรืื่องพอลิเมอร์
แบบทดสอบ เรืื่องพอลิเมอร์
 
บทที่ 3 เครื่องสำอางในชีวิตประจำวัน
บทที่ 3  เครื่องสำอางในชีวิตประจำวันบทที่ 3  เครื่องสำอางในชีวิตประจำวัน
บทที่ 3 เครื่องสำอางในชีวิตประจำวัน
 
แรงเสียดทาน
แรงเสียดทานแรงเสียดทาน
แรงเสียดทาน
 
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน หน่วย งานและพลังงาน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน    หน่วย งานและพลังงานแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน    หน่วย งานและพลังงาน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน หน่วย งานและพลังงาน
 
แบบประเมินทักษะกระบวนการ
แบบประเมินทักษะกระบวนการแบบประเมินทักษะกระบวนการ
แบบประเมินทักษะกระบวนการ
 
Aแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
Aแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานความร้อนAแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
Aแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การถ่ายโอนพลังงานความร้อน
 
แบบฝึกหัดรูปสี่เหลี่ยมป.5 6
แบบฝึกหัดรูปสี่เหลี่ยมป.5 6แบบฝึกหัดรูปสี่เหลี่ยมป.5 6
แบบฝึกหัดรูปสี่เหลี่ยมป.5 6
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชุดที่1พันธะโคเวเลนต์docx
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชุดที่1พันธะโคเวเลนต์docxชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชุดที่1พันธะโคเวเลนต์docx
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชุดที่1พันธะโคเวเลนต์docx
 
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 1
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 1แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 1
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 1
 
แบบฝึกหัดเคมีอินทรีย์
แบบฝึกหัดเคมีอินทรีย์แบบฝึกหัดเคมีอินทรีย์
แบบฝึกหัดเคมีอินทรีย์
 

Similar to 6แบบฝึกกรดเบสเผยแพร่

ปฏิบัติการอินดิเคเตอร์จากธรรมชาติ
ปฏิบัติการอินดิเคเตอร์จากธรรมชาติปฏิบัติการอินดิเคเตอร์จากธรรมชาติ
ปฏิบัติการอินดิเคเตอร์จากธรรมชาติPhakawat Owat
 
4แบบฝึกขนาดอนุภาคเผยแพร่
4แบบฝึกขนาดอนุภาคเผยแพร่4แบบฝึกขนาดอนุภาคเผยแพร่
4แบบฝึกขนาดอนุภาคเผยแพร่npapak74
 
3.แผนการเรียนรู้ backward
3.แผนการเรียนรู้ backward3.แผนการเรียนรู้ backward
3.แผนการเรียนรู้ backwardparichat441
 
3.แผนการเรียนรู้ backward
3.แผนการเรียนรู้ backward3.แผนการเรียนรู้ backward
3.แผนการเรียนรู้ backwardparichat441
 
แผนการจัดการเรียนรู้ค่าpH กับความเป็นกรดเบส
แผนการจัดการเรียนรู้ค่าpH กับความเป็นกรดเบสแผนการจัดการเรียนรู้ค่าpH กับความเป็นกรดเบส
แผนการจัดการเรียนรู้ค่าpH กับความเป็นกรดเบส
Noopatty Sweet
 
ชุดการเรียน
ชุดการเรียนชุดการเรียน
ชุดการเรียน
Kay Pakham
 
หน่วยการเรียนรู้ประถม
หน่วยการเรียนรู้ประถมหน่วยการเรียนรู้ประถม
หน่วยการเรียนรู้ประถมPignoi Chimpong
 
การเปรียบเทียบการลดความชื้นจากวัสดุธรรมชาติ
การเปรียบเทียบการลดความชื้นจากวัสดุธรรมชาติการเปรียบเทียบการลดความชื้นจากวัสดุธรรมชาติ
การเปรียบเทียบการลดความชื้นจากวัสดุธรรมชาติflimgold
 
ปริซึม
ปริซึมปริซึม
ปริซึมkrookay2012
 
E0b981e0b89ce0b899e0b881e0b8b2e0b8a3e0b888e0b8b1e0b894e0b881e0b8b2e0b8a3e0b98...
E0b981e0b89ce0b899e0b881e0b8b2e0b8a3e0b888e0b8b1e0b894e0b881e0b8b2e0b8a3e0b98...E0b981e0b89ce0b899e0b881e0b8b2e0b8a3e0b888e0b8b1e0b894e0b881e0b8b2e0b8a3e0b98...
E0b981e0b89ce0b899e0b881e0b8b2e0b8a3e0b888e0b8b1e0b894e0b881e0b8b2e0b8a3e0b98...Sirirat Faiubon
 
ผลสรุปการทวนสอบของรายวิชาศึกษาทั่วไป
ผลสรุปการทวนสอบของรายวิชาศึกษาทั่วไปผลสรุปการทวนสอบของรายวิชาศึกษาทั่วไป
ผลสรุปการทวนสอบของรายวิชาศึกษาทั่วไป
komdi3
 
3.แผนการเรียนรู้ backward
3.แผนการเรียนรู้ backward3.แผนการเรียนรู้ backward
3.แผนการเรียนรู้ backwardparichat441
 
หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์.3
หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์.3หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์.3
หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์.3
กมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
คำอธิบายรายวิชา ว 40223
คำอธิบายรายวิชา ว 40223คำอธิบายรายวิชา ว 40223
คำอธิบายรายวิชา ว 40223
jirat266
 
แผนวิวัฒนาการมนูษย์2.3
แผนวิวัฒนาการมนูษย์2.3แผนวิวัฒนาการมนูษย์2.3
แผนวิวัฒนาการมนูษย์2.3
กมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
บทที่ 2วิจัยการอ่าน
บทที่ 2วิจัยการอ่านบทที่ 2วิจัยการอ่าน
บทที่ 2วิจัยการอ่านKanjana Pothinam
 

Similar to 6แบบฝึกกรดเบสเผยแพร่ (20)

ปฏิบัติการอินดิเคเตอร์จากธรรมชาติ
ปฏิบัติการอินดิเคเตอร์จากธรรมชาติปฏิบัติการอินดิเคเตอร์จากธรรมชาติ
ปฏิบัติการอินดิเคเตอร์จากธรรมชาติ
 
4แบบฝึกขนาดอนุภาคเผยแพร่
4แบบฝึกขนาดอนุภาคเผยแพร่4แบบฝึกขนาดอนุภาคเผยแพร่
4แบบฝึกขนาดอนุภาคเผยแพร่
 
P80319121248
P80319121248P80319121248
P80319121248
 
3.แผนการเรียนรู้ backward
3.แผนการเรียนรู้ backward3.แผนการเรียนรู้ backward
3.แผนการเรียนรู้ backward
 
3.แผนการเรียนรู้ backward
3.แผนการเรียนรู้ backward3.แผนการเรียนรู้ backward
3.แผนการเรียนรู้ backward
 
แผนการจัดการเรียนรู้ค่าpH กับความเป็นกรดเบส
แผนการจัดการเรียนรู้ค่าpH กับความเป็นกรดเบสแผนการจัดการเรียนรู้ค่าpH กับความเป็นกรดเบส
แผนการจัดการเรียนรู้ค่าpH กับความเป็นกรดเบส
 
ชุดการเรียน
ชุดการเรียนชุดการเรียน
ชุดการเรียน
 
หน่วยที่๒
หน่วยที่๒หน่วยที่๒
หน่วยที่๒
 
หน่วยการเรียนรู้ประถม
หน่วยการเรียนรู้ประถมหน่วยการเรียนรู้ประถม
หน่วยการเรียนรู้ประถม
 
การเปรียบเทียบการลดความชื้นจากวัสดุธรรมชาติ
การเปรียบเทียบการลดความชื้นจากวัสดุธรรมชาติการเปรียบเทียบการลดความชื้นจากวัสดุธรรมชาติ
การเปรียบเทียบการลดความชื้นจากวัสดุธรรมชาติ
 
ปริซึม
ปริซึมปริซึม
ปริซึม
 
E0b981e0b89ce0b899e0b881e0b8b2e0b8a3e0b888e0b8b1e0b894e0b881e0b8b2e0b8a3e0b98...
E0b981e0b89ce0b899e0b881e0b8b2e0b8a3e0b888e0b8b1e0b894e0b881e0b8b2e0b8a3e0b98...E0b981e0b89ce0b899e0b881e0b8b2e0b8a3e0b888e0b8b1e0b894e0b881e0b8b2e0b8a3e0b98...
E0b981e0b89ce0b899e0b881e0b8b2e0b8a3e0b888e0b8b1e0b894e0b881e0b8b2e0b8a3e0b98...
 
ผลสรุปการทวนสอบของรายวิชาศึกษาทั่วไป
ผลสรุปการทวนสอบของรายวิชาศึกษาทั่วไปผลสรุปการทวนสอบของรายวิชาศึกษาทั่วไป
ผลสรุปการทวนสอบของรายวิชาศึกษาทั่วไป
 
3.แผนการเรียนรู้ backward
3.แผนการเรียนรู้ backward3.แผนการเรียนรู้ backward
3.แผนการเรียนรู้ backward
 
หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์.3
หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์.3หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์.3
หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์.3
 
คำอธิบายรายวิชา ว 40223
คำอธิบายรายวิชา ว 40223คำอธิบายรายวิชา ว 40223
คำอธิบายรายวิชา ว 40223
 
หน่วย 3
หน่วย 3 หน่วย 3
หน่วย 3
 
หน่วย 3
หน่วย 3 หน่วย 3
หน่วย 3
 
แผนวิวัฒนาการมนูษย์2.3
แผนวิวัฒนาการมนูษย์2.3แผนวิวัฒนาการมนูษย์2.3
แผนวิวัฒนาการมนูษย์2.3
 
บทที่ 2วิจัยการอ่าน
บทที่ 2วิจัยการอ่านบทที่ 2วิจัยการอ่าน
บทที่ 2วิจัยการอ่าน
 

6แบบฝึกกรดเบสเผยแพร่

  • 1. 1 แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 เรื่อง สารรอบตัว ชันมัธยมศึกษาปีที่ 1 ้ ชุดที่ 6 สารละลายกรด – เบส สุภาภัค สมศักดิ์ ครูชานาญการ โรงเรียนฟากกว๊านวิทยาคม สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36 [ครูสุภาภัค สมศักดิ์] แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
  • 2. 2 คาแนะนาสาหรับครู 1. ครูผู้สอนศึกษาการใช้แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 และแผนการ จัดการเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจจะได้ชี้แนะและเพิ่มพูนความรู้ให้แก่นักเรียนได้ถูกต้อง 2. ครูผู้สอนต้องใช้แผนการจัดการเรียนรู้ในการใช้แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เรียนตามแผนการจัดการ เรียนรู้ที่กาหนดไว้ 3. ครูผู้สอนต้องเตรียมแบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 ให้ครบตาม จานวนนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมได้อย่างครบถ้วน 4. แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 เป็นสื่อที่ให้นักเรียนได้ฝึกกิจกรรม ทางวิทยาศาสตร์ ครูผู้สอนคอยชี้แนะ กากับ ดูแลนักเรียน ให้ปฏิบัติกิจกรรมในแบบฝึก รายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 และครูควรชี้แจงบทบาทของนักเรียนในการเรียนให้ชัดเจน 5. ครูผู้สอนให้นักเรียนทาแบบทดสอบก่อนเรียน ก่อนที่นักเรียนจะศึกษาหรือทา กิจกรรมในแบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 6. ครูผู้สอนนาเข้าสู่บทเรียนควรอธิบายเนื้อหาพอสังเขป เกี่ยวกับบทเรียนนั้นๆ เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักเรียน มีความเข้าใจและสนใจในบทเรียน 7. ครูผู้สอนดาเนินการสอนตามกิจกรรมการเรียนการสอนในแผนการจัดการ เรียนรู้ แล้วให้นักเรียนทากิจกรรมในแบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 แต่ละชุด 8. ครูผู้สอนต้องดูแล และให้ความช่วยเหลือ แนะนา ในการปฏิบัติกิจกรรมอย่าง ใกล้ชิด ในขณะที่นักเรียนกาลังศึกษาเนื้อหาหรือปฏิบัติกิจกรรม เพื่อนักเรียนจะได้ขอคา ปรึกษาหารือทันที 9. ครูผู้สอนต้องสังเกตพฤติกรรมนักเรียน ตามแบบประเมินพฤติกรรม เพื่อ บันทึกการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน ในการประเมินผลการเรียนของนักเรียน 10. ครูผู้สอนต้องช่วยเหลือนักเรียนในการสรุปเนื้อหาในบทเรียนลงในสมุดบันทึก เมื่อศึกษาแบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 แล้ว และให้นักเรียนทาแบบทดสอบหลัง เรียน และตรวจคาตอบจากเฉลยเพื่อประเมินความก้าวหน้าทางการเรียน 11. ผลการเรียนของนักเรียนควรเก็บไว้ในแฟ้มสะสมผลงานหรือแฟ้มข้อมูล นักเรียน [ครูสุภาภัค สมศักดิ์] แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
  • 3. 3 คาแนะนาสาหรับนักเรียน 1. แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1 เรื่อง สารรอบตัว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ชุดที่ 1 สารและสมบัติของสาร สาหรับให้นักเรียนได้ศึกษาและทาแบบฝึกด้วยตนเอง ประกอบด้วย 1.1 ชื่อของแบบฝึก 1.2 คาอธิบายเนื้อหาของเรื่องที่เรียนในชุดนั้น 1.3 แบบฝึก 1.4 แบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน 1.5 เฉลยคาตอบของแบบทดสอบและแบบฝึก 2. การทาแบบฝึกรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ให้นักเรียนปฏิบัติดังนี้ 2.1 อ่านคาชี้แจงของแบบฝึกรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานแต่ละชุดให้เข้าใจ 2.2 ทดสอบก่อนเรียน 2.3 ให้นักเรียนศึกษาและปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ในแบบฝึกตามลาดับตั้งแต่หน้า แรกจนถึงหน้าสุดท้าย (ไม่ควรข้ามขั้นตอน) อ่านให้เข้าใจก่อนทาแบบฝึก หากไม่เข้าใจให้อ่านซ้า 2.4 ทาแบบฝึกรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานแต่ละตอนในแต่ละชุดด้วยตนเองโดย ไม่ดูเฉลย และตรวจคาตอบ 2.5 ทดสอบหลังเรียน 2.6 เมื่อนักเรียนมีข้อสงสัยใด ๆ ให้ถามครู 2.7 นักเรียนสามารถศึกษาแบบฝึก และทาแบบฝึกซ้า ถ้ายังไม่เข้าใจ 2.8 ขอให้นักเรียนพึงระลึกว่าความซื่อสัตย์คือการพัฒนาตนเองอย่างหนึ่ง [ครูสุภาภัค สมศักดิ์] แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
  • 4. 4 มาตรฐานการเรียนรู้ มาตรฐาน ว 3.1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้าง และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ นาความรู้ไปใช้ประโยชน์ ตัวชีวด ้ั 1. ทดลองและอธิบายสมบัติความเป็นกรด เบส ของสารละลาย 2. ตรวจสอบค่า pH ของสารละลายและนาความรู้ไปใช้ประโยชน์ สาระสาคัญ สมบัติความเป็นกรด เบส ของสารละลาย ตรวจสอบค่า pH ของสารละลาย จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. ทดลองและอธิบายสมบัติความเป็นกรดและเบสของสารละลาย 2. ทดสอบและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างค่าพีเอช (pH) กับสมบัติความเป็นกรดและเบสของ สารละลายโดยใช้อินดิเคเตอร์ 3. สารวจและอธิบายสมบัติของสารละลายกรดและสารละลายเบสที่ใช้ในชีวิตประจาวัน 4. อธิบายประโยชน์ของสารละลายกรดและสารละลายเบส เวลาในการปฏิบตกจกรรม 4 ชัวโมง ั ิิ ่ [ครูสุภาภัค สมศักดิ์] แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
  • 5. 5 แบบทดสอบก่อนเรียน คาชี้แจง 1. ข้อสอบเป็นแบบปรนัยมีทั้งหมด 10 ข้อ 10 คะแนน 2. จงกาเครื่องหมายกากบาท (x) ลงบนกระดาษคาตอบข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว 1. ข้อใดเป็นสมบัติของกรด 5. สารในข้อใดเป็นเบสทั้งหมด ก. มีรสฝาด ก. สบู่ แชมพู น้ามะกรูด ข. ไม่กัดกร่อนหินปูน ข. น้าส้ม น้าอัดลม ผงซักฟอก ค. กัดกร่อนโลหะเกิดแก๊สไฮโดรเจน ค. น้าโซดา น้าอัดลม น้ามะขาม ง. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากแดงเป็น ง. ยางกล้วย ยาสีฟัน น้ายาเช็ดกระจก น้าเงิน 6. ถ้าสาร X มีสมบัติเป็นกลาง จะมีค่า pH 2. การทาปฏิกิริยาของเบสกันสารใดที่เกิด เท่าไร สารคล้ายสบู่ ก. เท่ากับ 7 ก. เบสกับกรดเกลือ ข. มากกว่า 7 ข. เบสกับชิ้นอะลูมิเนียม ค. น้อยกว่า 7 ค. เบสกับแอมโมเนียมไนเตรต ง. ระหว่าง 5-6 ง. เบสกับน้ามันพืชหรือไขมันสัตว์ 7. อินดิเคเตอร์คืออะไร 3. สารในข้อใดใช้ทาน้ายาล้างห้องน้าและ ก. สารที่ใช้ทดสอบความเค็ม เครื่องสุขภัณฑ์ ข. สารที่ใช้ทดสอบความเป็นกรด ก. กรดไนตริก, กรดเกลือ ค. สารที่ใช้ทดสอบความเป็นเบส ข. กรดแอซีติก, โซดาซักผ้า ง. สารที่ใช้ทดสอบความเป็นกรดเบส ค. โซเดียมไฮดรอกไซด์, กรดซัลฟิวริก 8. สารละลายที่มี pH เท่ากับ 7.5 มีสมบัติ ง. แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์, การเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสอย่างไร โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ก. เปลี่ยนจากสีน้าเงินเป็นสีแดง 4. สาร A เปลี่ยนสีเจนเชียนไวโอเลตจาก ข. เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีน้าเงิน สีม่วงเป็นสีเขียว สาร A ควรเป็นสารใน ค. ไม่เปลี่ยนกระดาษลิตมัสสีแดง ข้อใด ง. เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีส้มอมเหลือง ก. น้ามะขาม ข. น้าส้มสายชู ค. กรดซัลฟิวริก ง. น้ายาเช็ดกระจก [ครูสุภาภัค สมศักดิ์] แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
  • 6. 6 9. ผงซักฟอกช่วยทาความสะอาดเสื้อผ้าที่ใช้ 10. ระดับความเป็นกรดเพิ่มขึ้นค่า pH จะ แล้วได้ เพราะเหตุใด เป็นอย่างไร ก. สารละลายผงซักฟอกละลายไขมันได้ ก. ค่า pH คงที่ ข. สารละลายผงซักฟอกมีฟองช่วยขจัด ข. ค่า pH ลดลง คราบสกปรก ค. ค่า pH เพิ่มขึ้น ค. สารละลายผงซักฟอกมีฤทธิ์เป็นกรด ง. ค่า pH เท่ากับ 7 ช่วยขจัดคราบสกปรกได้ ง. สารละลายผงซักฟอกมีความลื่นทาให้ คราบสกปรกหลุดออกได้ง่าย ********************************************** [ครูสุภาภัค สมศักดิ์] แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
  • 7. 7 ใบความรู้ เรือง สารละลายกรด-เบส ่ สารละลายต่าง ๆ ที่ใช้ในชีวิตประจาวันแต่ละชนิดจะมีสมบัติแตกต่างกัน มีทั้งชนิดที่มี ฤทธิ์กัดกร่อนหรือที่เรียกว่ามีสมบัติเป็นกรด และชนิดที่มีสมบัติเป็นเบส สารบางชนิดเป็น อันตราย แต่บางชนิดสามารถนามาใช้ประโยชน์ได้ สมบัติของสารละลายกรด-เบส จึงเป็น เกณฑ์อีกประเภทหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์นามาใช้ในการจาแนกประเภทของสาร สารละลายกรด สารละลายกรด (acid solution) คือ สารที่มีธาตุไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ เป็น สารละลายที่กรดละลายในน้า (กรดเป็นตัวละลาย น้าเป็นตัวทาละลาย) ซึ่งสามารถแตกตัวให้ ไฮโดรเจนไอออน (H ) สมบัตของสารละลายกรด ิ สมบัติของสารละลายกรด มีดังนี้ 1. มีรสเปรี้ยว เช่น น้ามะนาว (กรดซิตริก) น้าส้มสายชู (กรดแอซีติก) วิตามินซี (กรดแอสคอร์บิก) เป็นต้น 2. ทดสอบโดยการใช้กระดาษลิตมัส (มี 2 สี คือ สีแดงและสีน้าเงิน) ถ้าใช้กระดาษลิตมัสสีน้าเงินจะเกิดการเปลี่ยนแปลงสีเป็นสีแดง แต่ถ้าใช้กระดาษลิตมัส สีแดงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงสีของกระดาษลิตมัส (มีค่า pH น้อยกว่า 7) 3. กรดทาปฏิกิริยากับโลหะได้ผลิตภัณฑ์เป็นแก๊สไฮโดรเจน (H2) เสมอ เช่น ปฏิกิริยาของโลหะสังกะสีในกรดเกลือ ได้เกลือซิงค์คลอไรด์ (ZnCl2) กับแก๊สไฮโดรเจน Zn (s) + HCl(aq)  ZnCl2 (aq) +H2(g) ดังนั้น โลหะ + กรด  เกลือ + แก๊สไฮโดรเจน โลหะที่เกิดปฏิกิริยา เช่น สังกะสี (Zn), แมกนีเซียม (Mg), ทองแดง (Cu), เงิน (Ag), อะลูมิเนียม (Al) เป็นต้น [ครูสุภาภัค สมศักดิ์] แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
  • 8. 8 4. กรดทาปฏิกิริยากับสารประกอบคาร์บอเนต เช่น หินปูน (CaCO3), โซเดียมไฮโดรเจน คาร์บอเนต (NaHCO3) หรือผงฟู ได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เสมอ เช่น ปฏิกิริยา ของหินปูนกับกรดเกลือ ดังสมการ CaCO3(s) + 2HCl(aq)  CaCl2 (aq) + CO2 (g)+ H2O (l) 5. สารละลายกรดสามารถนาไฟฟ้าได้ 6. กรดทาปฏิกิริยากับเบสได้เกลือและน้า 7. กรดมีสมบัติกัดกร่อนโลหะ หินปูน เนื้อเยื่อของร่างกาย ข้อควรทราบ เมื่อสิ่งที่อยู่ในวงเล็บ ( ) เป็นการบอกสถานะของสารในปฏิกิริยา (s) = solid = ของแข็ง (l) = liquid = ของเหลว (g) = gas = แก๊ส (aq) = aqueous = สารละลายในน้า ประเภทของกรด กรดแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1. กรดอินทรีย์ เป็นกรดที่ได้จากสิ่งมีชีวิต มักพบในพืชหรือสัตว์ เพราะมีต้นกาเนิดมาจาก สิ่งมีชีวิตนั่นเอง ทดสอบด้วยเจนเชียนไวโอเลตจะไม่เปลี่ยนสี เช่น - กรดฟอร์มิก หรือ กรดมด (HCOOH) แหล่งที่พบ เช่น มดแดง เป็นต้น - กรดแอซีติก หรือ กรดน้าส้ม (CH3COOH) ได้จากการหมักแป้งหรือน้าตาลโดยใช้จุลินทรีย์ แหล่งที่พบ เช่น น้าส้มสายชู เป็นต้น - กรดซิตริก หรือกรดมะนาว (C6H8O7) เป็นกรดที่อยู่ในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว แหล่งที่พบ เช่น ส้ม มะนาว เป็นต้น - กรดแอสคอร์บิก หรือวิตามินซี (C6H8O6) แหล่งที่พบ มีอยู่ในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว ฝรั่ง เป็นต้น - กรดแลกติก (C3H6O3)แหล่งที่พบ เช่น น้านม เป็นต้น - กรดแทนนิก (C14H10O9) แหล่งที่พบ เช่น ชา เป็นต้น - กรดอะมิโน (amino acid) เป็นกรดที่ใช้สร้างโปรตีน มักพบในเนื้อสัตว์ ผลไม้เปลือกแข็ง หรือพืชตระกูลถั่ว [ครูสุภาภัค สมศักดิ์] แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
  • 9. 9 ภาพที่ 1 กรดอินทรีย์ ที่มา : สุภาภัค สมศักดิ์. ภาพถ่ายของจริง. 2553. 2. กรดอนินทรีย์ หรือกรดแร่ เป็นกรดที่เกิดจากแร่ธาตุ ไม่ได้มาจากสิ่งมีชีวิต ดังนั้นอานาจ การกัดกร่อนจึงสูงกว่ากรดอินทรีย์ และบางชนิดก็เป็นกรดแก่ ซึ่งมีอานาจการกัดกร่อนสูง ถ้าถูกผิวหนังหรือ เนือเยื่อของร่างกายจะทาให้ไหม้ แสบ หรือมีผื่นคัน ทดสอบด้วย ้ เจนเชียนไวโอเลตจะเปลี่ยนสีจากสีม่วงเป็นสีเขียว เช่น - กรดซัลฟิวริก หรือ กรดกามะถัน (H2SO4) แหล่งที่พบ เช่น ผงซักฟอก แบตเตอรี่รถยนต์ ปุ๋ย เป็นต้น - กรดไฮโดรคลอริก หรือ กรดเกลือ (HCl) แหล่งที่พบ เช่น น้ายาล้างห้องน้า อยู่ในกระเพาะ อาหารของมนุษย์ เป็นต้น - กรดคาร์บอนิก (H2CO3) แหล่งที่พบ เช่น น้าโซดา น้าอัดลม เป็นต้น - กรดไนตริก หรือ กรดดินประสิว (HNO3) แหล่งที่พบ เช่น น้ายาสาหรับงานชุบโลหะ น้ายา สาหรับงานล้างคราบไขมันที่ติดบนโลหะ น้ายาในงานทาความสะอาด เป็นต้น ภาพที่ 2 กรดอนินทรีย์ ที่มา : สุภาภัค สมศักดิ์. ภาพถ่ายของจริง. 2553. [ครูสุภาภัค สมศักดิ์] แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
  • 10. 10 สารละลายเบส สารละลายเบส (base solution) คือ สารละลายที่เบสละลายในน้า (เบสเป็นตัวละลาย น้าเป็นตัวทาละลาย) ซึ่งสามารถแตกตัวให้ไฮดรอกไซด์ไอออน (OH ) เมื่อละลายน้า สมบัตของสารละลายเบส ิ สมบัติของสารละลายเบส มีดังนี้ 1. มีรสฝาด เฝื่อน ขม 2. เมื่อสัมผัสจะลื่นมือ 3. ทดสอบกับกระดาษลิตมัส ถ้าใช้กระดาษลิตมัสสีแดงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงสีของกระดาษ ลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้าเงิน แต่ถ้าใช้กระดาษลิตมัสสีน้าเงินจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงสีของ กระดาษลิตมัส (มีค่า pH มากกว่า 7) 4. ทาปฏิกิริยากับเกลือแอมโมเนีย เช่น คลอรีน (Cl) ได้เป็นแอมโมเนียมคลอไรด์ (NH4Cl) จะ ได้น้าและแอมโมเนีย (NH3) มีกลิ่นฉุน เป็นผลิตภัณฑ์เสมอ เช่น ปฏิกิริยาของด่างคลี (NaOH, โซเดียมไฮดรอกไซด์) กับเกลือแอมโมเนียมคลอไรด์ NaOH (aq) + NH4Cl(aq)  NaCl(aq) +H2O (l)+ NH3 (g) เบส เกลือแอมโมเนียม น้า แอมโมเนีย 5. ไม่ทาปฏิกิริยากับโลหะ ยกเว้น อะลูมิเนียม (Al) และสังกะสี (Zn) ที่เมื่อทาปฏิกิริยาแล้ว จะได้แก๊สไฮโดรเจน (H2) 6. ผสมกับน้ามันหรือไขมัน จะได้สบู่และกลีเซอรอล เรียกปฏิกิริยานี้ว่า ปฏิกริยาการเกิดสบู่ ิ (saponification reaction) 7. สารละลายเบสนาไฟฟ้าได้ 8. ทาปฏิกิริยากับกรดได้เกลือและน้า ภาพที่ 3 สารละลายเบส ที่มา : สุภาภัค สมศักดิ์. ภาพถ่ายของจริง. 2553. [ครูสุภาภัค สมศักดิ์] แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
  • 11. 11 นอกจากนี้ยังมีสารละลายที่ทดสอบกับกระดาษลิตมัสสีแดงและสีน้าเงิน จะไม่ เปลี่ยนแปลงสีของกระดาษลิตมัส (มีค่า pH เท่ากับ 7) จัดเป็น สารละลายทีเป็นกลาง ่ การตรวจสอบสารละลายกรด – เบส สารละลายกรด - เบส ส่วนมากจะเป็นสารละลายที่ใส ไม่มีสีจึงไม่สามารถแยกด้วย ตาได้ ส่วนมากเป็นสารที่เป็นอันตราย เพราะมีฤทธิ์กัดกร่อนเนื้อเยื่อของร่างกาย จึงไม่สามารถ ทดสอบด้วยการชิมหรือสัมผัสได้ แต่มีวิธีทดสอบได้โดยใช้อินดิเคเตอร์ ซึ่งมีอยู่หลายชนิด ดังนี้ 1. สารละลายลิตมัส สารละลายลิตมัส ทาจากสิ่งมีชีวิตพวกไลเคนส์ ตัวสารละลายมีสีม่วง เมื่อหยดลิตมัส ลงในสารละลายที่เป็นกรดจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ถ้าหยดลงในสารละลายที่เป็นเบสจะได้สีน้าเงิน นอกจากสารละลายลิตมัสแล้วยังมีกระดาษลิตมัสซึ่งมี 2 สี คือ สีแดงกับสีน้าเงิน ถ้านากระดาษลิตมัสสีน้าเงินจุ่มลงในสารละลายกรด กระดาษลิตมัสจะเปลี่ยนสีจากสีน้าเงิน เป็นสีแดง และเมื่อจุ่มกระดาษลิตมัสสีแดงลงในสารละลายเบสจะเปลี่ยนสีจากสีแดงเป็นสี น้าเงิน ภาพที่ 4 กระดาษลิตมัส ที่มา : สุภาภัค สมศักดิ์. ภาพถ่ายของจริง. 2553. 2. ยูนเวอร์ซลอินดิเคเตอร์ ิ ั อินดิเคเตอร์แบบลิตมัสจะบอกได้แต่เพียงว่าสารละลายใดเป็นกรด - เบส หรือเป็น กลางเท่านั้น ไม่สามารถบอกได้ว่าสารชนิดใดมีความเป็นกรด - เบส มากกว่ากัน ถ้าเรา ต้องการทราบความเป็นกรด - เบส มากหรือน้อยต้องใช้ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ซึ่งมีอยู่หลาย แบบ ดังนี้ 1. ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์แบบกระดาษ เป็นกระดาษสีน้าตาล ใช้เทียบความเป็น กรด - เบส กับแถบสีซึ่งจะบอกได้แต่เพียงว่าสารใดเป็นกรด - เบสมากน้อยกว่ากัน [ครูสุภาภัค สมศักดิ์] แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
  • 12. 12 2. ยูนิเวอร์ซลอินดิเคเตอร์แบบสารละลายจะเปลี่ยนสีเมื่อใช้ทดสอบสารละลายที่มี ั ค่า pH อยู่ในช่วงที่แตกต่างกัน เช่น - ฟีนอล์ฟทาลีน เป็นสารละลายใสไม่มีสีซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู เมื่อใช้ทดสอบความเป็น กรด-เบสของสารละลายที่มีค่า pH อยู่ระหว่าง 8.3 - 10.0 - เมทิลเรด เป็นสารละลายสีแดงซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อใช้ทดสอบความเป็นกรด-เบส ของสารละลายที่มีค่า pH อยู่ระหว่าง 4.2 - 6.2 - บรอมไทมอลบลู เป็นสารละลายสีเหลืองซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีน้าเงิน เมื่อใช้ทดสอบความเป็น กรด-เบสของสารละลายที่มีค่า pH อยู่ระหว่าง 6.0 - 7.6 - ฟีนอลเรด เป็นสารละลายสีเหลืองซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีแดง เมื่อใช้ทดสอบความเป็นกรด-เบส ของสารละลายที่มีค่า pH อยู่ระหว่าง 6.8-8.4 ภาพที่ 5 ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ ที่มา : สุภาภัค สมศักดิ์. ภาพถ่ายของจริง. 2553. 3. เครืองวัดค่า pH (pH meter) ่ pH meter เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดค่า pH ของสารละลาย ซึ่งบอกค่าได้ละเอียดกว่า การตรวจสอบด้วยอินดิเคเตอร์ต่าง ๆ โดยจะแสดงค่าเป็นตัวเลขที่หน้าปัด และยังสามารถ แสดงค่า pH ที่เปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาที่เกิดปฏิกิริยาด้วย ภาพที่ 6 เครื่องวัดค่า pH (pH meter) ที่มา : สุภาภัค สมศักดิ์. ภาพถ่ายของจริง. 2553. [ครูสุภาภัค สมศักดิ์] แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
  • 13. 13 ค่า pH ของสารละลายกรด - เบส pH มาจาก potential of hydrogen ion ซึ่งสามารถใช้บอกความเป็นกรด-เบสของ สารละลายได้ ซึ่งค่า pH มีความสัมพันธ์กับความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออน (H3O ) ซึ่ง ปริมาณของไฮโดรเนียมไอออนยิ่งมาก (สารละลายกรด) ค่า pH จะน้อย แต่ถ้าปริมาณของ ไฮโดรเนียมไอออนน้อย (สารละลายเบส) ค่า pH จะมาก ซึ่งค่า pH สามารถบอกความเป็น กรด-เบส ได้ดังนี้  pH = 7 สารละลายมีสมบัติเป็นกลาง  pH > 7 สารละลายมีสมบัติเป็นเบส ยิ่งมี pH มาก ยิ่งเป็นเบสที่แรงขึ้น  pH < 7 สารละลายมีสมบัติเป็นกรด ยิ่งมี pH น้อย ยิ่งเป็นกรดที่แรงขึ้น pH 1 7 14 กรด (pH = 1-6) กลาง (pH = 7) เบส(pH = 8-14) ตัวอย่าง กาหนดให้ สารละลาย A มีค่า pH = 9 ,สารละลาย B มีค่า pH = 8 ,สารละลาย C มีค่า pH = 3 ,สารละลาย D มีค่า pH = 5 จากค่า pH ของสารละลาย A, B, C และ D สามารถสรุปได้อย่างไร - ระหว่างสารละลาย A กับสารละลาย B พบว่าสารละลาย A เป็นเบสที่แรงกว่าสารละลาย B (pH มากกว่า) - ระหว่างสารละลาย C กับสารละลาย D พบว่าสารละลาย C เป็นกรดแรงกว่าสารละลาย D (pH น้อยกว่า) สารละลายกรด-เบสในชีวิตประจาวัน ชีวิตประจาวันในปัจจุบัน เราได้ใช้สารต่างๆ ที่มีสมบัติเป็นกรด-เบสทั้งทางตรงและ ทางอ้อม ใช้ในการปรุงอาหาร เป็นยารักษาโรค ใช้ในด้านการเกษตร และกาจัดสิ่งสกปรก นอกจากนี้ ในร่างกายยังประกอบด้วยสารที่มีสมบัติเป็นกรด-เบส เช่น กรดเกลือในกระเพาะ อาหาร กรดอะมิโนเป็นกรดที่ใช้สร้างโปรตีน น้าดีจากตับมีสมบัติเป็นเบส เป็นต้น สารที่มี สมบัติเป็นกรด-เบสในชีวิตประจาวันและสิ่งแวดล้อม เช่น 1. สารทาความสะอาดเครืองสุขภัณฑ์ มีส่วนประกอบของกรดไฮโดรคลอริก หรือกรด ่ เกลือ (HCl) กรดไนตริก (HNO3) ซึ่งมีสมบัติเป็นกรด กรดมีสมบัติในการทาปฏิกิริยากับแผ่น [ครูสุภาภัค สมศักดิ์] แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
  • 14. 14 กระเบื้องพื้นห้องน้า ทาให้เกิดการสึกกร่อน ทาให้สิ่งสกปรกหลุดออกจากพื้นและสุขภัณฑ์ต่างๆ ได้ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นดังสมการ CaCO3(s) + 2HCl(aq)  CaCl2 (aq) +H2O (l)+ CO2 (g) หินปูน กรดเกลือ (กระเบื้อง) การใช้น้ายาล้างห้องน้าที่มีส่วนประกอบของกรดเกลือ (HCl) นี้ต้องใช้อย่าง ระมัดระวัง เพราะเกิดแก๊สที่เป็นพิษเข้าสู่หลอดลม เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ 2. สารปรุงแต่งอาหาร มีทั้งที่มีสมบัติเป็นกรดและเบส เช่น - สารปรุงแต่งอาหารที่มีสมบัติเป็นกรด เช่น กรดแอซีติกในน้าส้มสายชู, กรดซิตริกในน้า มะนาว น้ามะขาม, กรดแอสคอร์บิกในวิตามินซี, กรดทาร์ทาริก พบในมะขามป้อม ฝรั่ง เป็นต้น - สารปรุงแต่งอาหารที่มีสมบัติเป็นเบส เช่น น้าปูนใส (Ca(OH)2), น้าขี้เถ้า (NaOH), ผงฟู หรือโซเดียมไบคาร์บอเนต (NaHCO3)ในขนมปัง เป็นต้น 3. สารในภาคเกษตรกรรม มีทั้งที่มีสมบัติเป็นกรดและเบส เช่น - ปุ๋ยที่มีสมบัติเป็นกรด เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ((NH4)2SO4) ปุ๋ยแอมโมเนียมคลอไรด์ (NH4Cl) เป็นต้น - ปุ๋ยที่มีสมบัติเป็นเบส เช่น ปุ๋ยยูเรีย (NH2CONH2) ปุ๋ยแอมโมเนีย (NH3) เป็นต้น - แคลเซียมไฮดรอกไซด์ หรือ ปูนขาว (Ca(OH)2) แก้ดินเปรี้ยว 4. ยารักษาโรค มีทั้งที่มีสมบัติเป็นกรดและเบส เช่น - ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร จะมีส่วนประกอบที่มีสมบัติเป็นเบสอ่อน เช่น โซเดียมไฮโดรเจน คาร์บอเนต(NaHCO3), แคลเซียมคาร์บอเนต(CaCO3), แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์(Mg (OH)2), อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (Al2O3), แคลเซียมไฮดรอกไซด์ ( Ca(OH)2) โดยสารละลายนี้จะไปทา ปฏิกิริยากับกรด ซึ่งจะปรับสภาพความเป็นกรดในกระเพาะอาหารให้ลดลงได้ - กรดโบริก (H3BO3) เป็นยาฆ่าเชื้อโรค , น้ายาล้างตา ข้อควรทราบ 1. ยาลดกรดที่ประกอบด้วย Mg(OH)2 และ MgCO3 จะเป็นยาระบายแก้ท้องผูก 2. ยาลดกรดทีมี MgCO3และ NaHCO3จะทาให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารทาให้ท้องอืด ท้องเฟ้อ 3. ยาลดกรดที่มีหินปูน (CaCO3) อาจทาให้เกิดอาการท้องผูก รวมทั้งอาจก่อให้เกิดโรคนิ่วได้ [ครูสุภาภัค สมศักดิ์] แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
  • 15. 15 5. สารทีใช้ทาความสะอาด ประกอบด้วยสารที่มีสมบัติเป็นเบส เช่น ่ - สบู่ คือ เกลือโซเดียมหรือโพแทสเซียมของกรดไขมัน ผลิตหรือเตรียมได้จากน้ามันหรือไขมัน กับเบส โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) หรือ โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) สบู่สามารถชาระล้างสิ่งสกปรกได้ โดยไปละลายคราบไขมัน ทาให้คราบไขมันแตกตัวและถูก ล้อมรอบด้วยโมเลกุลของสบู่ ทาให้คราบไขมันนั้นหลุดออกจากผิวได้ - ผงซักฟอก คือ เกลือโซเดียมซัลโฟเนตของกรดไขมัน ผลิตหรือเตรียมได้จากน้ามันหรือไขมัน กับเบส โซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3) จัดเป็นสารลดแรงตึงผิว - กรดออกซาลิก (H2C2O2) ใช้กาจัดรอยเปื้อนสนิม - แอมโมเนีย (CH3) เป็นส่วนประกอบของน้ายาเช็ดกระจก น้ายาปรับผ้านุ่ม ข้อควรทราบ สารลดแรงตึงผิวทาให้ช่วยขจัดคราบไขมัน สิ่งสกปรกออกจากเสื้อผ้าได้ การทาความ สะอาดของสบู่จะแตกต่างจากผงซักฟอกในน้ากระด้าง (น้าที่มีองค์ประกอบของแคลเซียม ไอออน และแมกนีเซียมไอออน) ซึ่งผงซักฟอกสามารถทาความสะอาดได้ในน้ากระด้าง แต่สบู่ เกิดคราบไคลสบู่ขึ้นทาให้ฟองน้อย ประสิทธิภาพการทาความสะอาดต่า [ครูสุภาภัค สมศักดิ์] แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
  • 16. 16 แบบฝึกที่ 1 คาสัง ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการทดลอง ต่อไปนี้ ่ กิจกรรม การทดสอบความเป็นกรด – เบส ของสารด้วยกระดาษลิตมัส จุดประสงค์ 1. ศึกษาสมบัติความเป็นกรด – เบส ของสารละลายด้วยกระดาษลิตมัส 2. ทดลองและอธิบายความเป็นกรด – เบส ของสารละลายด้วยกระดาษลิตมัสได้ วิธีการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล 1. นาสารละลายกรดไฮโดรคลอริก หยดลงบนกระดาษลิตมัสสีแดงและสีน้าเงินที่วาง บนแผ่นกระจก แผ่นละ 1 หยด สังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล 2. ทาการทดลองซ้ากับข้อ 1 แต่เปลี่ยนเป็นสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ น้ากลั่น น้ามะนาว น้าหวาน น้าปูนใส น้าขี้เถ้า น้าส้มสายชู น้าผงซักฟอก น้ายาล้างห้องน้า น้าคลอง น้าลาย น้ามะขาม น้าสบู่และน้าเกลือตามลาดับ สังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล ตารางบันทึกผลกิจกรรม ผลการทดสอบกับกระดาษลิตมัส สาร สีแดง สีนาเงิน ้ สารละลายกรดไฮโดรคลอริก สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ น้ากลั่น น้ามะนาว น้าหวาน น้าปูนใส น้าขี้เถ้า น้าส้มสายชู น้าผงซักฟอก น้ายาล้างห้องน้า น้าส้ม [ครูสุภาภัค สมศักดิ์] แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
  • 17. 17 ตารางบันทึกผลกิจกรรม ผลการทดสอบกับกระดาษลิตมัส สาร สีแดง สีนาเงิน ้ กาแฟ น้ามะขาม น้าสบู่ น้าเกลือ คาถามหลังทากิจกรรม 1. สารละลายกรดเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสดังนี้ คือ………………………………………………………….. ………………………………………………………………….………………………………………………………………... 2. สารละลายเบสเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสดังนี้ คือ………………………………………………………….. ………………………………………………………………….………………………………………………………………... 3. สารละลายที่เป็นกลางเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัส คือ……………………………………………………… ………………………………………………………………….………………………………………………………………... 4. จากการทดลอง สารใดมีสมบัติเป็นกรด และสารใดมีสมบัติเป็นเบส สารใดมีสมบัติเป็น กลาง ………………………………………………………………….………………………………………………………………... ………………………………………………………………….………………………………………………………………... สรุปผลกิจกรรม ………………………………………………………………….………………………………………………………………... ………………………………………………………………….………………………………………………………………... ………………………………………………………………….………………………………………………………………... ………………………………………………………………….………………………………………………………………... [ครูสุภาภัค สมศักดิ์] แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
  • 18. 18 แบบฝึกที่ 2 คาสัง ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการทดลอง ต่อไปนี้ ่ กิจกรรม การทดสอบสมบัตความเป็นกรด – เบส ของสารละลาย ิ จุดประสงค์ 1. ศึกษาสมบัติความเป็นกรด – เบส ของสารละลาย 2. ทดลองและอธิบายสมบัติความเป็นกรด – เบส ของสารละลายได้ วิธีการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล ตอนที่ 1 1. นาสารละลายกรดมา 3 ชนิด ได้แก่ สารละลายกรดไฮโดรคลอริก สารละลายกรด แอซิติก และสารละลายกรดซัลฟิวริก ใส่ในหลอดทดลองขนาดกลาง ชนิดละ 1 หลอด หลอดละ 3 ลูกบาศก์เซนติเมตร 2. เติมเศษเหล็กลงไปในหลอดทดลองทั้ง 3 หลอด สังเกตการเปลี่ยนแปลงและ บันทึกผล 3. เติมหินปูนลงไปในหลอดทดลองทั้ง 3 หลอด สังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล ตารางบันทึกผลกิจกรรมตอนที่ 1 ผลการสังเกต สาร เติมเศษเหล็ก เติมหินปูน สารละลายกรดไฮโดรคลอริก สารละลายกรดแอซิติก สารละลายกรดซัลฟิวริก ตอนที่ 2 1. นาสารละลายเบสมา 3 ชนิด ได้แก่ สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ สารละลาย แคลเซียมไฮดรอกไซด์ และ มาใส่ในหลอดทดลองขนาดกลาง หลอดละ 3 ลูกบาศก์เซนติเมตร ชนิดละ 1 หลอด 2. เติมเศษอะลูมิเนียมลงไปในหลอดทดลองทั้ง 3 หลอด สังเกตการเปลี่ยนแปลงและ บันทึกผล [ครูสุภาภัค สมศักดิ์] แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
  • 19. 19 3. เติมน้ามันพืชลงไปในหลอดทดลองทั้ง 3 หลอด นาไปต้มประมาณ 2 นาที แล้วเติม น้า 3 ลูกบาศก์เซนติเมตร เขย่าหลอดแรง ๆ สังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล ตารางบันทึกผลกิจกรรม ผลการสังเกต สาร เติมเศษอะลูมเนียม ิ เติมน้ามันพืช สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ สารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์ สารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ คาถามหลังทากิจกรรม 1. เมื่อเติมเศษเหล็กลงในกรด พบว่า…………………………………………………………………………….. เพราะ....…………………………………………………………………………………………………..…….……….. 2. เมื่อเติมหินปูนลงในกรด พบว่า…………………………………………………………………..…………….. เพราะ....…………………………………………………………………………………………………..…….……….. 3. เมื่อเติมเศษอะลูมิเนียมลงในเบส พบว่า…………………………………….………………………………… เพราะ....…………………………………………………………………………………………………..…….……….. 4. เมื่อน้ามันพืชลงในเบส นาไปต้ม แล้วเขย่า พบว่า………………………………………………….……… เพราะ....…………………………………………………………………………………………………..…….……….. 5. ถ้าต้องการทดสอบสารละลายที่ใสไม่มีสี ว่าเป็นกรดหรือเบส มีวิธีการใดที่เหมาะสม ....…………………………………………………………………………………………………..…….……….. ....…………………………………………………………………………………………………..…….……….. ....…………………………………………………………………………………………………..…….……….. สรุปผลกิจกรรม ………………………………………………………………….………………………………………………………………... ………………………………………………………………….………………………………………………………………... ………………………………………………………………….………………………………………………………………... ………………………………………………………………….………………………………………………………………... [ครูสุภาภัค สมศักดิ์] แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
  • 20. 20 แบบฝึกที่ 3 คาสัง ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการทดลอง ต่อไปนี้ ่ กิจกรรม หาค่า pH ของสารละลายในชีวตประจาวัน ิ จุดประสงค์ 1. ใช้อินดิเคเตอร์ทดสอบสมบัติความเป็นกรด-เบสของสารในชีวิตประจาวันได้ 2. เปรียบเทียบผลการทดสอบความเป็นกรด-เบสของสารละลายโดยใช้กระดาษ ยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์กับการใช้กระดาษลิตมัสได้ วิธีการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล 1. นาสารละลายมา 10 ชนิด ได้แก่ น้ากลั่น น้ามะนาว น้าหวาน น้าปูนใส น้าขี้เถ้า น้าส้มสายชู น้ายาล้างห้องน้า น้าเกลือ น้ามะขาม และน้าสบู่ หยดลงในจานหลุมพลาสติก 1 – 2 หยด เขียนหมายเลข 1 – 10 ตามลาดับ 2. หยดสารละลายแต่ละชนิด ลงบนกระดาษลิตมัสสีแดงและสีน้าเงินที่วางบนแผ่น กระจก แผ่นละ 1 หยด สังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล 3. ทาการทดลองซ้ากับข้อ 2 แต่เปลี่ยนเป็นกระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ (กระดาษ pH ) สังเกตสีแล้วนาไปเปรียบเทียบกับสีมาตรฐานข้างกล่องกระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ และบันทึกผล ตารางบันทึกผลกิจกรรม ผลการทดสอบ กระดาษ กระดาษ กระดาษ ค่า pH ความเป็น สาร ลิตมัส ลิตมัส ยูนเวอร์ซล ิ ั โดยประมาณ กรด-เบส สีแดง สีนาเงิน อินดิเคเตอร์ ้ น้ากลั่น น้ามะนาว น้าหวาน น้าปูนใส น้าขี้เถ้า น้าส้มสายชู [ครูสุภาภัค สมศักดิ์] แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
  • 21. 21 ตารางบันทึกผลกิจกรรม ผลการทดสอบ กระดาษ กระดาษ กระดาษ ค่า pH ความเป็น สาร ลิตมัส ลิตมัส ยูนเวอร์ซล ิ ั โดยประมาณ กรด-เบส สีแดง สีนาเงิน อินดิเคเตอร์ ้ น้ายาล้างห้องน้า น้าเกลือ น้ามะขาม น้าสบู่ คาถามหลังทากิจกรรม 1. สารในชีวิตประจาวันมีความเป็นกรด – เบสเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ....…………………………………………………………………………………………………..…….………….…….. 2. กระดาษลิตมัสกับกระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ ทดสอบความเป็นกรด – เบสเหมือน หรือต่างกันอย่างไร ....…………………………………………………………………………………………………..…….…………..…… ....…………………………………………………………………………………………………..…….…………..…… 3. ถ้าต้องการทดสอบสารละลายที่ใสไม่มีสี ว่าเป็นกรดหรือเบส และมีค่า pH เท่าใด มี วิธีการใดที่เหมาะสม ....…………………………………………………………………………………………………..…….……….. ....…………………………………………………………………………………………………..…….……….. ....…………………………………………………………………………………………………..…….……….. สรุปผลกิจกรรม ………………………………………………………………….………………………………………………………………... ………………………………………………………………….………………………………………………………………... ………………………………………………………………….………………………………………………………………... ………………………………………………………………….………………………………………………………………... [ครูสุภาภัค สมศักดิ์] แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
  • 22. 22 แบบทดสอบหลังเรียน คาชี้แจง 1. ข้อสอบเป็นแบบปรนัยมีทั้งหมด 10 ข้อ 10 คะแนน 2. จงกาเครื่องหมายกากบาท (x) ลงบนกระดาษคาตอบข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว 1. สาร A เปลี่ยนสีเจนเชียนไวโอเลตจาก 5. ถ้าสาร X มีสมบัติเป็นกลาง จะมีค่า pH สีม่วงเป็นสีเขียว สาร A ควรเป็นสารใน เท่าไร ข้อใด ก. เท่ากับ 7 ก. น้ามะขาม ข. มากกว่า 7 ข. น้าส้มสายชู ค. น้อยกว่า 7 ค. กรดซัลฟิวริก ง. ระหว่าง 5-6 ง. น้ายาเช็ดกระจก 6. สารในข้อใดเป็นเบสทั้งหมด 2. สารในข้อใดใช้ทาน้ายาล้างห้องน้าและ ก. สบู่ แชมพู น้ามะกรูด เครื่องสุขภัณฑ์ ข. น้าส้ม น้าอัดลม ผงซักฟอก ก. กรดไนตริก, กรดเกลือ ค. น้าโซดา น้าอัดลม น้ามะขาม ข. กรดแอซีติก, โซดาซักผ้า ง. ยางกล้วย ยาสีฟัน น้ายาเช็ดกระจก ค. โซเดียมไฮดรอกไซด์, กรดซัลฟิวริก 7. สารละลายที่มี pH เท่ากับ 7.5 มีสมบัติ ง. แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์, การเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสอย่างไร โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ก. เปลี่ยนจากสีน้าเงินเป็นสีแดง 3. การทาปฏิกิริยาของเบสกันสารใดที่เกิด ข. เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีน้าเงิน สารคล้ายสบู่ ค. ไม่เปลี่ยนกระดาษลิตมัสสีแดง ก. เบสกับกรดเกลือ ง. เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีส้มอมเหลือง ข. เบสกับชิ้นอะลูมิเนียม 8. อินดิเคเตอร์คืออะไร ค. เบสกับแอมโมเนียมไนเตรต ก. สารที่ใช้ทดสอบความเค็ม ง. เบสกับน้ามันพืชหรือไขมันสัตว์ ข. สารที่ใช้ทดสอบความเป็นกรด 4. ข้อใดเป็นสมบัติของกรด ค. สารที่ใช้ทดสอบความเป็นเบส ก. มีรสฝาด ง. สารที่ใช้ทดสอบความเป็นกรดเบส ข. ไม่กัดกร่อนหินปูน ค. กัดกร่อนโลหะเกิดแก๊สไฮโดรเจน ง. เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากแดงเป็น น้าเงิน [ครูสุภาภัค สมศักดิ์] แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
  • 23. 23 9. ระดับความเป็นกรดเพิ่มขึ้นค่า pH จะ 10.ผงซักฟอกช่วยทาความสะอาดเสื้อผ้าที่ใช้ เป็นอย่างไร แล้วได้ เพราะเหตุใด ก. ค่า pH คงที่ ก. สารละลายผงซักฟอกละลายไขมันได้ ข. ค่า pH ลดลง ข. สารละลายผงซักฟอกมีฟองช่วยขจัด ค. ค่า pH เพิ่มขึ้น คราบสกปรก ง. ค่า pH เท่ากับ 7 ค. สารละลายผงซักฟอกมีฤทธิ์เป็นกรด ช่วยขจัดคราบสกปรกได้ ง. สารละลายผงซักฟอกมีความลื่นทาให้ คราบสกปรกหลุดออกได้ง่าย ********************************************** [ครูสุภาภัค สมศักดิ์] แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
  • 24. 24 บรรณานุกรม ประดับ นาคแก้ว และดาวัลย์ เสริมบุญสุข. หนังสือเรียนสาระการเรียนรูวทยาศาสตร์ ้ิ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพมหานคร : แม็ค, 2551. ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะ, รัตนาภรณ์ อิทธิไพสิฐพันธุ์ และ สุภาภรณ์ หรินทรนิตย์. สื่อการ เรียนรูและเสริมสร้างทักษะตามมาตรฐานการเรียนรู้กลุมสาระการเรียนรูวทยาศาสตร์ ้ ่ ้ิ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพมหานคร : นิยมวิทยา, 2549. [ครูสุภาภัค สมศักดิ์] แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
  • 25. 25 ภาคผนวก ใครยังไม่เข้าใจ สามารถกลับไปทา แบบฝึกและแบบทดสอบซ้าได้อีก หลาย ๆ ครั้ง จนเข้าใจ [ครูสุภาภัค สมศักดิ์] แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
  • 26. 26 เฉลยแบบทดสอบก่อน – หลังเรียน ก่อนเรียน หลังเรียน 1. ค 1. ค 2. ง 2. ก 3. ก 3. ง 4. ค 4. ค 5. ง 5. ก 6. ก 6. ง 7. ง 7. ก 8. ก 8. ง 9. ก 9. ข 10. ข 10. ก [ครูสุภาภัค สมศักดิ์] แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
  • 27. 27 เฉลยแบบฝึกที่ 1 ผลการทดสอบกับกระดาษลิตมัส สาร สีแดง สีนาเงิน ้ สารละลายกรดไฮโดรคลอริก ไม่เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนเป็นสีแดง สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ เปลี่ยนเป็นสีน้าเงิน ไม่เปลี่ยนแปลง น้ากลั่น ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เปลี่ยนแปลง น้ามะนาว ไม่เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนเป็นสีแดง น้าหวาน ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เปลี่ยนแปลง น้าปูนใส เปลี่ยนเป็นสีน้าเงิน ไม่เปลี่ยนแปลง น้าขี้เถ้า เปลี่ยนเป็นสีน้าเงิน ไม่เปลี่ยนแปลง น้าส้มสายชู ไม่เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนเป็นสีแดง น้าผงซักฟอก เปลี่ยนเป็นสีน้าเงิน ไม่เปลี่ยนแปลง น้ายาล้างห้องน้า ไม่เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนเป็นสีแดง น้าส้ม ไม่เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนเป็นสีแดง กาแฟ ไม่เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนเป็นสีแดง น้ามะขาม ไม่เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนเป็นสีแดง น้าสบู่ เปลี่ยนเป็นสีน้าเงิน ไม่เปลี่ยนแปลง น้าเกลือ ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เปลี่ยนแปลง คาถามหลังทากิจกรรม 1. สารละลายกรดเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสสีน้าเงินเป็นสีแดง 2. สารละลายเบสเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสสีแดงเป็นสีน้าเงิน 3. สารละลายที่เป็นกลางไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสทั้งสองสี 4. สารที่มีสมบัติเป็นกรด ได้แก่ สารละลายกรดไฮโดรคลอริก น้ามะนาว น้าส้มสายชู น้ายาล้างห้องน้า น้าส้ม กาแฟ และน้ามะขาม สารที่มีสมบัติเป็นเบส ได้แก่ สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ น้าปูนใส น้าขี้เถ้า น้าผงซักฟอก และน้าสบู่ สารที่มีสมบัติเป็นกลาง ได้แก่ น้ากลั่น น้าหวาน และน้าเกลือ [ครูสุภาภัค สมศักดิ์] แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
  • 28. 28 สรุปผลกิจกรรม สมบัตความเป็นกรด – เบส ของสารละลายเมื่อทดสอบด้วยกระดาษลิตมัส และใช้การ ิ เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัส จาแนกได้ดังนี้ 1. สารละลายกรดเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้าเงินเป็นสีแดง 2. สารละลายเบสเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้าเงิน 3. สารละลายที่เป็นกลางไม่เปลี่ยนสีของกระดาษลิตมัสทั้งสีแดงและสีน้าเงิน [ครูสุภาภัค สมศักดิ์] แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
  • 29. 29 เฉลยแบบฝึกที่ 2 ตอนที่ 1 ผลการสังเกต สาร เติมเศษเหล็ก เติมหินปูน สารละลายกรดไฮโดรคลอริก เกิดฟองแก๊ส เหล็กกร่อนเร็ว เกิดฟองแก๊ส หินปูนกร่อนเร็ว สารละลายกรดแอซิติก เกิดฟองแก๊ส เหล็กกร่อนช้า เกิดฟองแก๊ส หินปูนกร่อนช้า สารละลายกรดซัลฟิวริก เกิดฟองแก๊ส เหล็กกร่อนเร็ว เกิดฟองแก๊ส หินปูนกร่อนเร็ว ตอนที่ 2 ผลการสังเกต สาร เติมเศษอะลูมเนียม ิ เติมน้ามันพืช สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ เกิดฟองแก๊ส อะลูมิเนียมกร่อน เกิดฟองคล้ายสบู่ สารละลายแคลเซียมไฮดรอกไซด์ เกิดฟองแก๊ส อะลูมิเนียมกร่อน เกิดฟองคล้ายสบู่ สารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ เกิดฟองแก๊ส อะลูมิเนียมกร่อน เกิดฟองคล้ายสบู่ คาถามหลังทากิจกรรม 1. เกิดฟองแก๊สและเหล็กกร่อน เพราะ กรดมีสมบัติในการกัดกร่อนหรือทาปฏิกิริยากับโลหะ 2. เกิดฟองแก๊สและหินปูนกร่อน เพราะ กรดมีสมบัติในการกัดกร่อนหรือทาปฏิกิริยากับ หินปูน 3. เกิดฟองแก๊สและอะลูมิเนียมกร่อน เพราะ เบสมีสมบัติในการกัดกร่อนหรือทาปฏิกิริยากับ อะลูมิเนียม 4. เกิดฟองคล้ายสบู่ เพราะ เบสมีสมบัติในการทาปฏิกิริยากับน้ามันหรือไขมันได้สบู่ 5. ทดสอบ ดังนี้ 5.1 ทดสอบด้วยกระดาษลิตมัส ถ้าเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้าเงินเป็นสีแดง แสดง ว่าเป็นกรด และเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้าเงิน แสดงว่าเป็นเบส 5.2 ใส่เหล็กหรือหินปูนลงในสารละลาย ถ้าเกิดฟองแก๊ส แสดงว่าเป็นกรด 5.3 เติมน้ามันพืชลงในสารละลาย นาไปต้มแล้วเติมน้า เขย่าถ้าเกิดฟองคล้ายสบู่ แสดง ว่าเป็นเบส [ครูสุภาภัค สมศักดิ์] แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
  • 30. 30 สรุปผลกิจกรรม สมบัตของสารละลายกรด มีดังนี้ ิ 1. กรดเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้าเงินเป็นสีแดง และไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสสีแดง 2. กรดทาปฏิกิริยากับโลหะได้แก๊สไฮโดรเจน 3. กรดทาปฏิกิริยากับหินปูนได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ สมบัตของสารละลายเบส มีดังนี้ ิ 1. เบสจะเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้าเงินและไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสสีน้าเงิน 2. เบสทาปฏิกิริยากับน้ามันพืชหรือน้ามันสัตว์ได้สบู่ [ครูสุภาภัค สมศักดิ์] แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
  • 31. 31 เฉลยแบบฝึกที่ 3 ผลการเปลี่ยนสี กระดาษ กระดาษ กระดาษ ค่า pH ความเป็น สาร ลิตมัส ลิตมัส ยูนิเวอร์ซัล โดยประมาณ กรด-เบส สีแดง สีน้าเงิน อินดิเคเตอร์ น้ากลั่น ไม่ ไม่ เหลือง 7 กลาง เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลง น้ามะนาว ไม่ เปลี่ยนเป็น ส้มแดง 3 กรด เปลี่ยนแปลง สีแดง น้าหวาน ไม่ ไม่ เหลือง 7 กลาง เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลง น้าปูนใส เปลี่ยนเป็น ไม่ ม่วง 10 เบส สีน้าเงิน เปลี่ยนแปลง น้าขี้เถ้า เปลี่ยนเป็น ไม่ ม่วง 10 เบส สีน้าเงิน เปลี่ยนแปลง น้าส้มสายชู ไม่ เปลี่ยนเป็น แดง 2 กรด เปลี่ยนแปลง สีแดง น้ายาล้างห้องน้า ไม่ เปลี่ยนเป็น แดงเข้ม 1 กรด เปลี่ยนแปลง สีแดง น้าเกลือ ไม่ ไม่ เหลือง 7 กลาง เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลง น้ามะขาม ไม่ เปลี่ยนเป็น เหลืองเข้ม 5 กรด เปลี่ยนแปลง สีแดง น้าสบู่ เปลี่ยนเป็น ไม่ ม่วง 10 เบส สีน้าเงิน เปลี่ยนแปลง [ครูสุภาภัค สมศักดิ์] แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1
  • 32. 32 คาถามหลังทากิจกรรม 1. สารในชีวิตประจาวันมีความเป็นกรด – เบสต่างกัน บางชนิดมีสมบัติเป็นกรด บางชนิด มีสมบัติเป็นเบส 2. กระดาษลิตมัส ทดสอบสารละลายว่ามีสมบัติความเป็นกรด – เบส โดยดูการเปลี่ยนสี กรดเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีน้าเงินเป็นสีแดง และไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสสีแดง ส่วนเบสจะเปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากสีแดงเป็นสีน้าเงินและไม่เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัส สีน้าเงิน กระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ ทดสอบสารละลายว่ามีสมบัติความเป็นกรด – เบสได้ ดีกว่ากระดาษลิตมัส เพราะเปลี่ยนสีได้ทุกช่วงของค่า pH บอกได้ถึงความแตกต่างของ ความเข้มข้นของสารละลายกรด - เบส 3. ใช้กระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ ทดสอบสารละลายว่ามีสมบัติความเป็นกรด – เบส เพราะเปลี่ยนสีได้ทุกช่วงของค่า pH บอกได้ถึงความแตกต่างของความเข้มข้นของ สารละลายกรด - เบส สรุปผลกิจกรรม 1. อินดิเคเตอร์อย่างง่ายที่ใช้ทดสอบสมบัติความเป็นกรด-เบสของสารในชีวิตประจาวัน ได้แก่ กระดาษลิตมัสและกระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ 2. กระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์ สามารถบอกความเป็นกรด-เบส หรือระบุค่า pH ของ สารละลายได้ดีกว่ากระดาษลิตมัส เพราะสามารถเปลี่ยนสีได้ทุกช่วงของค่า pH บอกได้ ถึงความแตกต่างของความเข้มข้นของสารละลายกรด - เบส [ครูสุภาภัค สมศักดิ์] แบบฝึกรายวิชา ว21101 วิทยาศาสตร์ 1