SlideShare a Scribd company logo
1 of 19
Download to read offline
เอกสารประกอบ เรื่อง สรีรวิทยา (Physiology)
พิษณุ ดวงกระโทก
สรีรวิทยา (Physiology)
สรีรวิทยาของมนุษย์นั้นมีความจำเพาะและมีกลไกการทำงานของร่ายกายที่ทำให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้
ลำดับโครงสร้างสิ่งมีชีวิต
อะตอม (atom) เป็นหน่วยที่เล็กที่สุด อะตอมหลายๆ อะตอมรวมกันเป็นโมเลกุล (molecule) โมเลกุลหลายๆ โมเลกุล
ประกอบกันเป็นออร์แกเนลล์ (organelle) และแต่ละออร์แกเนลล์ทำงานร่วมกันกลายเป็นเซลล์ (cell) ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
กิจกรรมต่างๆ นี้เกิดขึ้นภายในเซลล์ 1 เซลล์เท่านั้น ส่วนสิ่งมีชีวิตที่มีหลายเซลล์ ต้องอาศัยการทำงานประสานกันของเซลล์
จำนวนมาก กลุ่มเซลล์ที่รูปร่างเหมือนกันและทำหน้าที่อย่างเดียวกันรวมกันเป็นเนื้อเยื่อ (tissue) เช่น เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ กลุ่ม
เนื้อเยื่อหลายๆ กลุ่ม ประกอบกันเป็นอวัยวะ (organ) ซึ่งทำหน้าที่เฉพาะอย่าง ในสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนขึ้น อวัยวะหลายอวัยวะ
จะทำงานร่วมกันเป็นระบบอวัยวะ (organ system) เช่น ระบบขับถ่าย ระบบประสาท ระบบไหลเวียนเลือด เป็นต้น ระบบ
อวัยวะต่างๆ นี้ จะทำงานประสานกันในกระบวนการดำรงชีวิต โดยเมื่อนำระบบต่างๆ มาประกอบรวมกันจะเรียกว่า ร่างกาย
(body)
ภาวะธำรงดุล (Homeostasis)
ความพยายามที่จะทำให้เกิดความสมดุลของสิ่งต่างๆในร่างกาย เพื่อให้ร่างกายอยู่ในสภาพปกติ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จะต้อง
อาศัยกลไกต่างๆในร่างกายควบคุม โดยศูนย์กลางการควบคุม homeostasis อยู่ในสมองส่วน hypothalamus
องค์ประกอบของร่างกาย (Body Composition)
ในวัยหนุ่มโดยเฉลี่ย จะประกอบด้วยโปรตีน 18% ของน้ำหนักตัว แร่ธาตุ 7% ของน้ำหนักตัว ไขมัน 15% ของน้ำหนักตัว
และน้ำ 60% ของน้ำหนักตัว ซึ่งน้ำถือว่าเป็นส่วนประกอบที่มีมากที่สุดของร่างกาย
น้ำในร่างกายทั้งหมด (TBW) มี 60% ของน้ำหนักตัว โดยแบ่งเป็นของเหลวในเซลล์ (ICF) 40% ของน้ำหนักตัวของเหลว
นอกเซลล์ (ECF) 20% ของน้ำหนักตัว โดยของเหลวนอกเซลล์ (ECF) แบ่งได้เป็น ของเหลวระหว่างเซลล์ (ISF) 15% ของ
น้ำหนักตัวและของเหลวในเลือด (Blood plasma) 5% ของน้ำหนักตัว
ในร่างกายของเรามีปริมาตรเลือดและเม็ดเลือดต่างๆ 7% ของน้ำหนักตัวทั้งหมด
ออสโมซิส (osmosis)
เป็นการแพร่ของโมเลกุลน้ำจากบริเวณที่มีโมเลกุลของน้ำมาก (บริเวณที่สารละลายมีความเข้มข้นน้อยกว่า) ไปสู่
บริเวณที่มีโมเลกุลของน้ำน้อย (บริเวณที่สารละลายมีความเข้มข้นมากกว่า) ซึ่งโมเลกุลของสารไม่สามารถซึมผ่านเยื่อหุ้มได้
ค่าปกติของ plasma osmolarity = 275-290 milliosmole/L ค่า Tonicity คือค่าที่ใช้เพื่ออธิบาย osmolality ของ
สารละลายที่สัมพันธ์กับ plasma
สารละลายไฮโพทอนิก (Hypotonic Solution) คือสภาพของสารละลายภายนอกเซลล์ ซึ่งมีความเข้มข้นต่ำกว่า
สารละลายภายในเซลล์ ทำให้น้ำที่อยู่ภายนอกเซลล์เกิดการเคลื่อนที่หรือออสโมซิสเข้ามาภายในเซลล์ ส่งผลให้เซลล์เต่งและ
แตกได้ โดยปรากฏการณ์นี้มีชื่อเรียกว่า “พลาสมอพไทซิส” (Plasmoptysis)
สารละลายไฮเพอร์ทอนิก (Hypertonic Solution) คือสภาพของสารละลายภายนอกเซลล์ ซึ่งมีความเข้มข้นสูงกว่า
สารละลายภายในเซลล์ ทำให้น้ำภายในเซลล์เกิดการเคลื่อนที่หรือออสโมซิสออกจากเซลล์ ส่งผลให้เซลล์มีขนาดเล็กลงหรือ
มีสภาพเหี่ยวลง โดยปรากฏการณ์นี้มีชื่อเรียกว่า “พลาสโมไลซิส” (Plasmolysis)
สารละลายไอโซทอนิก (Isotonic Solution) คือสภาพของสารละลายภายนอกเซลล์ ซึ่งมีความเข้มข้นเท่ากับสารละลาย
ภายในเซลล์ ทำให้การออสโมซิสของน้ำระหว่างภายในกับภายนอกเซลล์ไม่เกิดความแตกต่าง ส่งผลให้รูปร่างของเซลล์ไม่
เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ
สรีรวิทยาของเซลล์ (Physiology of the cell)
เซลล์มีส่วนประกอบหลักมีดังนี้
1. Cell membrane*เปรียบเสมือนรั้วบ้าน
2. Cytoplasm ประกอบด้วย cytosol (ICF) + organelles + inclusions
3. Nucleus
เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane)
ประกอบด้วยไขมันและโปรตีน เป็น semipermeable ให้สารบางชนิดซึมผ่านได้ มีความหนา 7.5 nm (75 Angstrom
unit) Lipid bilayer เป็น Phospholipid ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการลำเลียงสารเข้าออกเซลล์และทำหน้าที่เป็น barrier
ฟอสโฟลิพิด (phospholipid) คือ ลิพิด (lipid) ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของ กลีเซอรอล (glycerol) 1 โมเลกุล ของกรดไขมัน
(fatty acid) 2 โมเลกุล และกรดฟอสฟอริก 1 โมเลกุล ในโมเลกุลมีทั้งส่วนที่ชอบน้ำ (hydrophilic) และไม่ชอบน้ำ
(hydrophobic) สามารถใช้เป็นอิมัลซิไฟเออร์ (emulsifier) ช่วยทำให้อิมัลชัน (emulsion) คงตัว
โปรตีน (Protein)
แบ่งเป็น Peripheral protein และ Integral protein (transmembrane protein) ทำหน้าที่เป็นโครงสร้าง เช่น cytoskeletal
ช่องทางลำเลียงไอออน เช่น transmembrane protein เป็นตัวพา เช่น Peripheral protein เป็นบริเวณที่จับกับฮอร์โมน,ligands,
สารสื่อประสาท (neurotransmitter) เป็นเอนไซม์ และเป็น Active pump เช่น sodium pump
ช่องทางการลำเลียงไอออน (Ion channels)
อาจเป็น transmembrane protein หรือช่องโปรตีนที่มีหน้าที่เฉพาะในการลำเลียงไอออนใดไอออนหนึ่ง Nongated
channels (leakage channels) เป็นช่องที่ไม่มีประตู แพร่จากไอออนมากไปสู่ไอออนน้อย Gated channels เป็นช่องที่มีประตู
ปิดเมื่ออยู่ในระยะพัก
Chemically gated channels ปิดเปิดได้เมื่อได้รับการกระตุ้นจากสารเคมี Voltage-gated channels ปิดเปิดได้เมื่อได้รับ
การกระตุ้นจากกระแสไฟฟ้า Mechanically-gated channels ปิดเปิดได้เมื่อได้รับแรงกล
Ligand-gated channels
Gated ion channels หรือ Chemically gated channels
Voltage-gated channels Mechanically-gated channels
การลำเลียงผ่าน Membrane
สารที่ลำเลียงได้แก่ O2, CO2 โมเลกุลขนาดเล็ก สารที่ไม่มีขั้ว สารมีขั้ว สารที่ละลายได้ในไขมัน เช่น steroid hormone
สารที่ละลายในน้ำ เช่น glucose, urea โมเลกุลขนาดใหญ่ เช่น Protein อนุภาคขนาดใหญ่ เช่น Bacteria วิธีการที่ใช้อาจจะ
ละลายในส่วนไขมันของ cell membrane ผ่าน ion channel ทั้ง leak และ gated ผ่านตัวพา (Carrier) หรือ Active pump
กลไกในการลำเลียง Passive transport เช่น Simple diffusion, Facilitated diffusion (Carrier), Solvent drag คือการเข้า
มาตามแรงพัดของน้ำ, Osmosis การลำเลียงผ่านตัวพา ได้แก่ Facilitated diffusion (ไม่ใช้พลังงาน) Active transport (ใช้
พลังงาน)
Active pump
เป็นการทำงานของ Na+-K+ ATPase และ Na+/K+ pump ใช้พลังงาน (ATP) เพื่อขับ Na+ 3 ตัวออกจากเซลล์และนำ K+ 2
ตัวเข้าไปในเซลล์ต่อ 1 โมลของ ATP
การลำเลียงแบบ Active transport แบ่งเป็น Primary active transport เช่น Sodium pump ใช้พลังงานจาก ATP และ
Secondary active transport ใช้พลังงานจากแหล่งอื่น โดยในการขนส่งแบบ Active transport ของ Na+ จะควบคู่ไปกับการ
ขนส่งสารอื่นๆ
คำศัพท์น่ารู้ (terminology)
Efflux คือการไหลของไอออนออกนอกเซลล์
Influx คือการไหลของไอออนเข้ามาในเซลล์
Concentration (chemical) gradient คือทิศทางการไหลจากความเข้มข้นสูงไปต่ำ
Electrical gradient คือการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน ซึ่งจะสวนทางกับประจุบวก
Down hill (Along concentration gradient) คือการไหลจากความเข้มข้นสูงไปต่ำ
Up hill (Against concentration gradient) คือการไหลจากความเข้มข้นต่ำไปสูง
Passive process คือการลำเลียงที่ไม่ใช้พลังงาน
Active process คือการลำเลียงที่ใช้พลังงาน
Uniport คือการขนส่งสาร 1 ตัวในทิศทางเดียว
Cotransport (Couple transport) คือการขนส่งสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปพร้อมๆกัน
Symport คือการขนส่งสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปพร้อมๆกัน มีทิศทางเดียวกัน
Antiport (Counter transport, exchange) คือการขนส่งสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปพร้อมๆกัน มีทิศทางตรงข้ามกัน เช่น Na+
pump
การลำเลียงสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่
โดยส่วนใหญ่แล้วจำเป็นต้องอาศัยพลังงานในการลำเลียง ได้แก่ Endocytosis เป็นกระบวนการของเซลล์ซึ่งนำสารเคมี
เข้าในเซลล์ โดยส่วนหนึ่งของเยื่อหุ้มเซลล์จะล้อมหุ้มสิ่งที่จะนำเข้า แล้วเยื่อก็จะหลุดเข้าไปในเซลล์โดยเป็นถุงเล็กๆ (vesicle)
กระบวนการฟาโกไซโทซิส (phagocytosis หรือ cell eating) หรือการกลืนกินของเซลล์ คือรูปแบบหนึ่งของการย่อย
อาหารในเซลล์ หรือเอนโดไซโทซิส (endocytosis) โดยที่อนุภาคขนาดใหญ่ (อาจเป็นสิ่งแปลกปลอมหรืออาหาร) ถูกโอบ
ล้อมรอบโดยเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์ (ส่วนมากจะใหญ่กว่าอนุภาคที่ทำการโอบ) และถูกนำเข้าไปอยู่ภายในเซลล์ (คล้ายกับ
การกิน) เพื่อทำให้อนุภาคกลายเป็นฟาโกโซม (phagosome) หรือฟูดแวคิวโอล (food vacuole) ซึ่งก็คือช่องว่างในเซลล์ที่มี
อาหารหรือสิ่งแปลกปลอมบรรจุอยู่นั่นเอง
พิโนไซโทซิส (pinocytosis หรือ cell drinking) เป็นการนำสารเข้าสู่เซลล์ โดยเมื่อสารมาเกาะติดกับเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้ม
เซลล์จะเว้าเข้าไปจนหลุดกลายเป็นกระเปาะขนาดเล็กอยู่ภายในเซลล์ ไม่มีความจำเพาะกับชนิดสาร พบได้ในเซลล์หลาย
ชนิด เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดแมกโครฟาจ (Macrophage) และเซลล์รากพืช เป็นต้น ส่วนการขนส่งสารเข้าสู่เซลล์ที่มีการ
จำเพาะกับชนิดสาร จะเรียกว่า การนำสารเข้าสู่เซลล์แบบใช้ตัวรับ (receptor-mediated endocytosis)
Exocytosis เป็นการลำเลียงสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ออกจากเซลล์โดยสารจะถูกบรรจุในเวสิเคิล (Vesicle) แล้ว
ค่อยๆ เคลื่อนมาเชื่อมกับเยื่อหุ้มเซลล์แล้วปล่อยออกนอกเซลล์ เช่น การหลั่งเอนไซม์ของเซลล์กระเพาะอาหาร การหลั่ง
ฮอร์โมนอินซูลินของเซลล์ในตับอ่อนเข้าสู่กระแสเลือด
การซึมผ่านเยื่อหุ้มเซลล์
ในเซลล์ที่มีชีวิตที่อยู่ในระยะพักจะมีการซึมผ่านของน้ำสูงมาก มีการเข้าออกของ K+ ได้อย่างอิสระ รองลงมาคือการ
เข้าออกของ Na+ (PK+ > PNa+ ~ 100 เท่า) ส่วนโปรตีนและ organic anion (A-) ไม่สามารถซึมผ่านได้
กิจกรรมทางไฟฟ้าของเซลล์
เกิดขึ้นกับเซลล์ที่มีชีวิต มีความต่างศักย์ระหว่างภายนอกและภายในของเยื่อหุ้มเซลล์
Potential difference across cell
การบันทึกศักย์ไฟฟ้าเยื่อเซลล์
ใช้ Galvanometer หรือ Cathode ray oscilloscope (CRO) ในการวัดความต่างศักย์ระหว่างภายในและภายนอกเซลล์ ถ้า
ผลที่ได้เป็น 0 mV แสดงว่า ไม่มีความต่างศักย์ระหว่างภายในและภายนอกเซลล์ Resting membrane potential (RMP) โดย
ปกติจะอยู่ที่ -9 ถึง -100 mV
Genesis of RMP เป็นความสามารถในการซึมผ่านเมมเบรนของ K+ และ Na+ เยื่อหุ้มในระยะพักจะซึมผ่าน K+ ได้ดีกว่า
Na+ ถึง 100 เท่า เยื่อหุ้มเซลล์ไม่สามารถซึมผ่านโปรตีนที่มีประจุลบออกไปนอกเซลล์ได้ โดยปกติแล้ว Na+ ไอออนมักจะ
เคลื่อนที่เข้ามาภายในเซลล์ ส่งผลให้เกิดความต่างศักย์ของอิเล็กตรอน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนไอออนผ่าน Na+-K+
ATPase pump ซึ่งการแลกเปลี่ยนจะเกิดในทิศทางตรงกันข้ามกัน
Action Potential
สาเหตุที่เป็นไปได้อาจเกิดจากการที่สารเคมีเข้ามาจับ Depolarization หรือ Hypopolarization มีการเปลี่ยนแปลงของ
ประจุไฟฟ้าที่เยื่อเซลล์ โดยภายในเซลล์มีความเป็นบวกมากขึ้นอันเนื่องจาก Na+ เข้าสู่เซลล์ ค่า PK+ ต่ำลง Hyperpolarization
เนื่องจาก K+ ไหลออกจากเซลล์มากกว่าปกติทำให้ความเป็นลบภายในเซลล์มากกว่าเมื่อเซลล์อยู่ในระยะพัก ค่า PNa+ สูงขึ้น
รอยต่อระหว่างเซลล์ (Intercellular Junctions)
Tight junction เป็นรอยต่อระหว่างเซลล์ที่มีลักษณะเหมือนรัดด้วยเข็มขัดต่อเนื่องกันไป มีความแข็งแรงและความคงตัว
Desmosomes เป็นรอยต่อระหว่างเซลล์ที่มีลักษณะคล้ายกระดาษหนา ซึ่งเพิ่มความแข็งแรงโดย intermediate
filament ที่มีโปรตีน keratin เป็นองค์ประกอบ
Gap junctions เป็นรอยต่อระหว่างเซลล์ที่มีลักษณะเป็นช่อง ทำด้วยโปรตีน สามารถพบได้บ่อย ซึ่งใหญ่พอสำหรับการ
ผ่านของ ion และสารที่มีโมเลกุลเล็ก เช่น Sodium ion, กรดอะมิโน และน้ำตาล เป็นต้น บริเวณ Gap junctions นี้โปรตีนที่ทำ
ให้เกิดเป็นช่องให้ไอออนไหลผ่านเรียกว่า connexin โปรตีน connexin 6 โมเลกุลรวมตัวกันเป็นช่อง (channel) เรียกว่า
connexon เซลล์ที่หนึ่งส่ง connexon รวมกับเซลล์ที่สองซึ่ง connexon 2 อันของเซลล์ที่เกิด synapse ไฟฟ้ารวมกันเรียกว่า
ช่องแกปจังชั่น (Gap junction channel) ช่อง Gap junctions มีความกว้างพอที่ไอออนชนิดต่างๆ ที่ละลายอยู่ไหนไซโตพลาสซึม
และกรดอะมิโน สามารถแพร่ผ่านช่องนี้ไปได้โดยตรง ตัวอย่างเซลล์ที่มี Gap junctions เช่น cardiac muscle, intestinal
smooth muscle
Gap junctions
ระบบประสาท (Nervous system)
หน้าที่ของระบบประสาทได้แก่ ทำหน้าที่รับความรู้สึก (Sensory function) สั่งการ (Motor function) การเรียนรู้และ
ความจำ
เซลล์ประสาท (Nerve cell) เป็นหน่วยทำงานของระบบประสาท
ระบบประสาทของสัตว์ชั้นสูงแบ่งตามโครงสร้างได้ 2 ระบบ คือ ระบบประสาทกลาง (Central Nervous System)
ประกอบด้วยสมอง, ไขสันหลัง และระบบประสาทรอบนอก (Peripheral Nervous System) ประกอบด้วยเส้นประสาทสมอง
และเส้นประสาทไขสันหลัง และสามารถแบ่งตามการทำงานได้ 2 ระบบ คือ Somatic Nervous System ได้แก่ กล้ามเนื้อลาย
และ Autonomic Nervous System ได้แก่ กล้ามเนื้อรอบ กล้ามเนื้อหัวใจและต่อมต่างๆ
ระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System) เป็นระบบประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะ
ภายในของร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic Nervous System)
มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆภายในร่างกายให้เตรียมพร้อมเผชิญอันตรายหรือภาวะฉุกเฉิน ระบบประสาท
พาราซิมพาเทติก (Parasympathetic Nervous System) มีหน้าที่ควบคุมการสะสมพลังงาน ควบคุมระดับการทำงานของ
อวัยวะภายใน หลอดเลือดส่วนต่างๆให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะทำงานได้
ประเภทของเซลล์ประสาทตามโครงสร้าง ได้แก่
เซลล์ประสาทแบบ Unipolar เซลล์ประสาทเหล่านี้มีซอนยาวเพียงตัวเดียวที่รับผิดชอบในการส่งสัญญาณไฟฟ้า แอก
ซอนในเซลล์ประสาทแบบ unipolar เป็น myelinated ซึ่งช่วยให้สามารถส่งสัญญาณได้อย่างรวดเร็ว
เซลล์ประสาทหลายขั้ว (Multipolar neurons) เซลล์ประสาทเหล่านี้สามารถรับแรงกระตุ้นจากเซลล์ประสาทหลาย
เซลล์ผ่านทางเดนไดรต์ เดนไดรต์ส่งสัญญาณผ่านเซลล์ประสาททางสัญญาณไฟฟ้าแล้วกระจายไปตามซอน
เซลล์ประสาทสองขั้ว (Bipolar neurons) เซลล์ประสาทเหล่านี้ส่งสัญญาณและรับข้อมูลจากสิ่งเร้า ได้แก่ เซลล์
ประสาทในดวงตาที่รับแสงแล้วส่งสัญญาณไปยังสมอง
เซลล์ประสาทเทียมแบบขั้วเดียว (Pseudo-unipolar neurons) เซลล์ประสาทเหล่านี้จะส่งสัญญาณจากผิวหนังและ
กล้ามเนื้อไปยังไขสันหลัง เป็นเซลล์ประสาทหลักที่ทำหน้าที่ประสานการเคลื่อนไหวของแขนและขาโดยรับข้อมูลมาจากสมอง
ประเภทของเซลล์ประสาทตามหน้าที่ ได้แก่
เซลล์ประสาทรับความรู้สึก (Sensory neurons) จะรับข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นภายในและภายนอกร่างกาย และนำ
ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางเพื่อให้สามารถประมวลผลได้ ตัวอย่างเช่น หากหยิบถ่านหินที่ร้อน เซลล์ประสาทรับ
ความรู้สึกที่มีปลายนิ้วจะส่งข้อมูลไปยัง CNS ว่ามันร้อนมาก
เซลล์ประสาทสั่งการ (Motor neurons) จะรับข้อมูลจากเซลล์ประสาทอื่นๆ และถ่ายทอดคำสั่งไปยังกล้ามเนื้อ อวัยวะ
และต่อมต่างๆ ตัวอย่างเช่น หากหยิบถ่านหินร้อน เซลล์ประสาทที่สั่งการกล้ามเนื้อนิ้วจะสั่งให้ปล่อยมือ
เซลล์ประสาทกลาง (Interneurons) ซึ่งพบเฉพาะใน CNS เชื่อมต่อเซลล์ประสาทหนึ่งกับอีกเซลล์หนึ่ง รับข้อมูลจาก
เซลล์ประสาทอื่น ๆ (ไม่ว่าจะเป็นเซลล์ประสาทรับความรู้สึกหรือ interneurons) และส่งข้อมูลไปยังเซลล์ประสาทอื่นๆ (ไม่ว่า
จะเป็นเซลล์ประสาทสั่งการหรือ interneurons)
โครงสร้างของ neuron (Morphology of neuron) ในที่นี้กล่าวถึง Multipolar neuron เป็นหลัก
เซลล์ประสาท (nerve cell) ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ
1. ตัวเซลล์ (cell body) มีลักษณะค่อนข้างกลมเป็นส่วนของไซโทพลาสซึมและนิวเคลียส ภายในมีส่วนประกอบที่
สำคัญคือ ไมโตคอนเดรีย เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม (ER) และกอลจิคอมเพล็กซ์ จำนวนมาก
2. ใยประสาท (nerve fiber) เป็นส่วนของเซลล์ที่ยื่นออกจากตัวเซลล์ มี 2 ลักษณะคือ
2.1 เดนไดรต์ (dendrite) เป็นส่วนของเซลล์ประสาทที่ยื่นออกไป ส่วนใหญ่จะอยู่รอบๆตัวเซลล์ ทำหน้าที่รับ
กระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์ เซลล์ประสาทหนึ่งตัวจะมีเดนไดรต์ (dendrite) ได้หลายแขนง ลักษณะที่
สำคัญของ (dendrite) คือมี นิสเซส บอดี้ (Nissl body) ไมโตคอนเดรีย (mitochondria) และมี นิวโรฟิลา
เม้นท์ (neurofilament) รวมกันเป็นมัด กระจายทั่วไป เดนไดรต์ (dendrite)ต่างจากแอกซอนคือ ส่วนมาก
มักไม่มีปลอกหุ้มและที่ปลายมีส่วนที่ยื่นออกไปเป็นต่อมเล็กๆ เรียกว่าหนาม (spine) หรือ dendritic spine
ซึ่งเป็นที่สำหรับเชื่อมต่อกับกิ่งแอกซอนหรือเดนไดรต์ (dendrite) อื่นๆที่เรียกว่าบริเวณไซแนปส์
(synapse) ยิ่งมี spine มากก็จะรับสัญญาณได้ดี
2.2 แอกซอน (axon) เป็นใยประสาทที่นำกระแสประสาทออกจากตัวเซลล์ เซลล์ประสาทตัวหนึ่งจะมีแอก
ซอนเพียงหนึ่งแอกซอนเท่านั้น โดยเป็นส่วนยื่นของเซลล์ที่ยาวทำหน้าที่นำกระแสประสาทออกจากตัว
เซลล์ ภายในแอกซอน (axon) ไม่มีนิสเซส บอดี้ (Nissl body) และจุดที่แอกซอน (axon) ออกจากตัวเซลล์
ประสาทมีลักษณะนูนขึ้นเรียกว่า แอกซอน ฮิลล็อค (axon hillock) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดกระแส
ประสาท และต่อเนื่องตลอดความยาวของแอกซอน ปลายแอกซอนจะมีแขนงแตกออกไปมีลักษณะเป็น
ตุ่มซึ่งจะซิแนปส์ (synapse) กับเซลล์ประสาทตัวอื่น
axon อาจจะมีแขนงแตกออกออกด้านข้าง เรียกว่า collateral branch สำหรับ axon ของเซลล์
ประสาทมักมี myelin sheath หุ้มเป็นปล้องๆ ทำให้เกิดร่องระหว่างปล้อง ที่ myelin sheath หุ้ม เรียกว่า
node of Ranvier ซึ่งเป็นบริวณที่ให้สัญญาณประสาทกระโดดข้ามได้ ส่วน axon ที่ไม่มี myelin sheath
หุ้ม จะมีเยื่อ neurolemma และ schwann cell หุ้มอยู่ ส่วนปลายของ axon จะแตกออกเป็นแขนงเรียกว่า
telodendria และปลายสุดของแต่ละ telodendria จะมีลักษณะเป็นกระเปาะ เรียกว่า axon terminal ซึ่งมี
ถุง (terminal knob) บรรจุสารสื่อประสาท (neurotransmitter) ที่ปล่อยออกไปเมื่อมีสัญญาณประสาทมา
กระตุ้น แล้วส่งสัญญาณประสาทไปกระตุ้นเซลล์ถัดไปได้
การจัดระเบียบการทำงานของเซลล์ประสาท (Functional organization of neuron)
Receptor portion เป็นส่วนของ dendrites และ soma ถัดมาเป็นส่วนของ Initial
segment ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกระแสประสาท (origin of nerve impulse) ส่วน
Conduction portion เป็นส่วนของ axon และส่วนของ Effector portion ซึ่งเป็นส่วน
ปลายเส้นประสาท (nerve ending) ทำหน้าที่ในการตอบสนอง
เส้นประสาทประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ชั้นในสุดมีลักษณะกึ่งของเหลวที่มีี
โปตัสเซียมอยู่มากเรียกส่วนนี้ว่า axoplasm และอีกส่วนเป็นเยื่อหุ้มประสาท มีหน้าที่
แยก axoplasm ออกจาก extracellular fluid ซึ่งมีโซเดียมเป็นจำนวนมาก เยื่อหุ้ม
ประสาทนี้จะประกอบด้วยโมเลกุลของไขมันและโปรตีนเรียงเป็นชั้นๆ และมีช่องที่
ยอมให้ไอออนขนาดเล็กไหลผ่าน
การจัดจำแนกเส้นใยประสาท (Classification of nerve fiber)
แบ่งตามการสร้างเยื่อไมอีลิน (myelin sheath)
แอกซอน (axon) ที่มีปลอกหรือเยื่อไมอีลิน (myelin sheath) หุ้มเรียกว่า ใยประสาทไมอีลินเนท (myelinated nerve
fiber) มักจะเป็นเส้นประสาทที่หนาและมีขนาดใหญ่ ส่วนแอกซอน (axon) ที่ไม่มีปลอกหรือเยื่อไมอีลิน ( myelin sheath) หุ้ม
เรียกว่า ใยประสาทอันไมอีลินเนท (unmyelinated nerve fiber) มักมีขนาดเล็ก โดยปลอกหรือเยื่อไมอีลิน (myelin sheath) ใน
ระบบประสาทรอบนอก จะสร้างโดยเซลล์ชวันน์ (schwann cells) ส่วนเยื่อไมอีลิน (myelin sheath) ในระบบประสาท
ส่วนกลางจะสร้างโดยเซลล์โอริโกเดนโดรเกลีย (oligodendroglia)
ปลอกหรือเยื่อไมอีลิน (myelin sheath) จะทำหน้าที่ป้องกันอันตรายและเป็นฉนวนกั้นการถ่ายเทประจุไฟฟ้าระหว่าง
ข้างนอกกับข้างในแอกซอน นอกจากนี้ยังช่วยให้กระแสประสาทเดินทางได้เร็วขึ้น เนื่องจากมีโนดออฟแรนเวียร์ (node of
ranvier) ซึ่งเป็นส่วนของแอกซอนตรงบริเวณรอยต่อระหว่างเซลล์ชวันน์แต่ละเซลล์ที่ไม่มีเยื่อไมอีลินหุ้มอยู่เป็นระยะๆ โดย
ช่วงความยาวระหว่างโนดออฟแรนเวียร์ (node of ranvier) เรียกว่า อินเตอร์โนด (internode) ซึ่งจะสั้นหรือยาวขึ้นอยู่กับความ
ยาวของแอกซอน (axon) กระแสประสาทจะเดินทางได้เร็ว เมื่อเส้นใยประสาทนั้นมีเปลือกหุ้ม เยื่อไมอีลิน (myelin sheath)
ทำหน้าที่เป็นฉนวนไฟฟ้า (insulator)
แบ่งตาม Neurotransmitter ที่หลั่ง
Neurotransmitter ที่หลั่งออกมาจาก cholinergic fiber เป็น acetylcholine (Ach) และที่หลั่งออกมา จาก adrenergic
fiber เป็น norepinephrine ซึ่งที่ adrenal medulla จะเป็น epinephrine เป็นส่วนใหญ่ การเรียก cholinergic หรือ adrenergic
ทำให้ทราบถึง neurotransmitter ที่หลั่ง เพราะบาง fiber ใน Sympathetic system ไม่หลั่ง norepinephrine แต่หลั่ง
acetylcholine เช่นที่ปลาย preganglionic fiber ทุกเส้น และที่ postganglionic fiber ที่ไปที่ต่อมเหงื่อ และที่หลอดเลือดที่เป็น
ชนิด vasodilator fiber ส่วน Neurotransmitter ที่หลังออกมาจาก Dopaminergic fiber เป็น Dopamine
แบ่งตามขนาด ได้ดังนี้
Group I (Ia, Ib), II, III, IV
แบ่งตามอัตราความเร่งในการนำกระแสประสาท
Group A (Aα, Aβ, Aγ, Aδ), B, C
เส้นประสาท (nerve)
คุณสมบัติของเส้นใยประสาท
Excitability ถูกกระตุ้นและตอบสนองต่อสิ่งเร้า Electrogenesis ผลิตกระแสไฟฟ้าได้เอง
Conductivity เป็นตัวเหนี่ยวนำ Adaptation การปรับตัว
การกระตุ้นเซลล์ประสาท
1. การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า ขึ้นอยู่กับความเข้ม (V) ความถี่ (Hz) ระยะเวลา (ms,μs) ความมีขั้วทั้งแบบแคโทด (+) และ
แอโนด (-) ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct current) ประเภทไม่สม่ำเสมอ (Pulsating D.C) เป็นไฟฟ้ากระแสตรงที่เป็นช่วงคลื่นไม่
สม่ำเสมอ ไฟฟ้ากระแสตรงชนิดนี้ได้มาจากเครื่องไดนาโมหรือวงจรเรียงกระแส (เรคติไฟ) และรูปคลื่น
2. สิ่งกระตุ้นทางเคมี
3. สิ่งกระตุ้นเชิงกล
ความเข้มของสิ่งเร้า (การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า)
1. Threshold (VT) * ระดับความแรงต่ำสุดที่ทำให้เกิดการตอบสนอง
2. Subthreshold ระดับที่ไม่เกิดการตอบสนอง
3. Maximal (Vmax) * ระดับความแรงต่ำสุดที่ทำให้เกิดการตอบสนองมากที่สุด
4. Submaximal ระดับความแรงระหว่าง Threshold และ Maximal
5. Supramaximal ระดับความแรงที่มากกว่า Maximal
ปรากฎการณ์ทางไฟฟ้าของเส้นใยประสาท
1. ศักย์ไฟฟ้าระยะพักของเยื่อหุ้มเซลล์ (resting membrane potential) กล้ามเนื้อและเส้นประสาทที่จัดว่าเป็นเนื้อเยื่อที่
สามารถถูกกระตุ้น (excitable tissue) หรือเนื้อเยื่อไวต่อสิ่งเร้าหรือสิ่งที่มีการกระตุ้น ซึ่งเซลล์จะถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อ
หุ้มหรือเมมเบรน (membrane) ภายในเซลล์ประสาท จะมีปริมาณของโพแทสเซียมไอออนมากกว่าภายนอกเซลล์
และมีโซเดียมไอออนที่ภายนอกเซลล์มากกว่า ภายในเซลล์ (ความจริงมีไอออนชนิดอื่นๆด้วย) ไอออนทั้งสองชนิดนี้
มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างภายในและภายนอกเซลล์โดยทั่วไปไอออนจะมีการเคลื่อนที่
จากที่ที่มีความเข้มข้นหรือปริมาณสูงไปยังบริเวณที่ที่มีความเข้มข้นน้อยกว่า ดังน้ันภาวะปกติที่ผิวเซลล์ประสาท
โพแทสเซียมไอออนมักจะเคลื่อนจากภายในเซลล์ออกนอกเซลล์ และโซเดียมไอออนจะเคลื่อนจากภายนอกเซลล์
เข้าสู่ภายในเซลล์ โดยเยื่อหุ้มเซลล์ยอมให้โพแทสเซียมไอออนซึมออกมากกว่าที่จะยอมให้โซเดียมไอออนซึมเข้า
ทุกขณะที่อยู่นิ่งนั้นจึงคล้ายกับว่ามีประจุบวกวิ่งจากภายในเซลล์ออกมาสู่ภายนอกเซลล์อยู่เสมอ ทำให้ศักย์ไฟฟ้า
ภายในเซลล์ มีศักย์เป็นลบเมื่อเทียบกับภายนอกเซลล์พบว่า ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อจะมี
ความต่างศักย์ระหว่างภายในและภายนอกเซลล์ประมาณ 60-90 มิลลิโวลต์เฉลี่ยประมาณ –70 มิลลิโวลต์ โดย
ภายในเซลล์จะเป็นลบเมื่อเทียบกับภายนอกเซลล์ซึ่งเรียกว่า ศักย์ไฟฟ้าระยะพักของเยื่อหุ้มเซลล์
2. Electrotonic potential (Electrotonus)
มีการเปลี่ยนแปลงศักย์ไฟฟ้าที่เยื่อหุ้มเซลล์ในระดับ Subthreshold และการตอบสนองเฉพาะที่ ไม่แพร่กระจาย
ตอบสนองเป็นระดับ
3. Nerve impulse (Nerve action potential; NAP)
เป็น Threshold (VT) มีขนาดและรูปร่างตามแบบแผน มีการแสดงแอมพลิจูด ~105 mV ค่าศักย์ไฟฟ้าสูงสุด ช่วงที่
เกินกำหนด ระยะเวลา ~1-4 mS สามารถแพร่กระจายกระแสได้ตามกฎ All or none
กฎ All-or-None เมื่อเซลล์ประสาทถูกกระตุ้น ก็จะเกิดการตอบสนองคือเกิดการเปลี่ยนแปลงความต่าง
ศักย์ของเยื่อหุ้มเซลล์ขึ้น การตอบสนองของเยื่อหุ้มเซลล์นั้นมี 2 ลักษณะ คือ เกิดกระแสประสาทเมื่อแรงกระตุ้นถึง
จุด threshold หรือไม่เกิดกระแสประสาทเมื่อแรงกระตุ้นไม่ถึงจุด threshold ลักษณะการตอบสนองเช่นนี้เรียกว่า all
or none
ส่วนประกอบของกราฟ
Depolarization (Sharp rise): -70 ถึง +35 mV
Repolarization กลับมามีขั้ว (rapid fall): +35 ถึง -70 mV
Voltage-gated Na+
channel Voltage-gated K+
channel
กฎ All-or-None
การแพร่กระจายของกระแสประสาท
เริ่มต้นจาก Motor neuron รับความรู้สึกไปยัง sensory neuron บริเวณ 1st node of Ranvier มีลักษณะคือ มีการทำงาน
อยู่ตลอดเวลา เกิดขึ้นด้วยตัวเอง มีแอมพลิจูดคงที่และมีความเร็วคงที่ ถ้ามี Myelinate หรือขนาดต่างกันความเร็วจะ
แตกต่างกัน ยาชาเฉพาะที่ ได้แก่ cocaine, procaine, tetracaine, xylocaine มีการปล่อยสารสื่อประสาทจากปลายประสาท
โดยการ exocytosis มีขั้นตอนดังนี้ กระตุ้นเส้นประสาทไปยังปลายเส้นประสาท เปิดช่อง Ca2+ Ca2+ ไหลเข้ามาจาก ISF Ca2+
จับกับถุงเมมเบรน จากนั้นเกิดการปล่อยสารสื่อประสาทออกจาก vesicle
Synapse
บริเวณที่ส่งข้อมูลจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง มีตำแหน่งอยู่ที่ ในสมอง,ไขสันหลัง,ปมประสาท ประกอบด้วย
บริเวณก่อนซิแนปส์ (presynaptic components) เป็นบริเวณส่วนปลายแอกซอนซึ่งมีถุงซิแนปส์ที่มีสารสื่อประสาทอยู่ภายใน
บริเวณหลังซิแนปส์ (postsynaptic components) ประกอบด้วยเยื่อบุ (membrane) ของเซลล์ประสาทอีกตัวหนึ่งซึ่งหนาขึ้น
เรียกเยื่อบุหลังซิแนปส์ (postsynaptic membrane) และ organelles ช่องซิแนปส์ (synaptic cleft) ขนาดประมาณ 200 ถึง 300
อังสตรอม เป็นช่องว่างระหว่างเยื่อบุก่อนซิแนปส์ (presynaptic membrane) กับหลังซิแนปส์ (postsynaptic membrane)
ประเภทของ Synapse
1. Electrical synapse ส่งผ่านโดยอาศัยการไหลของกระแสไฟฟ้า เกิดขึ้นที่รอยต่อระหว่างเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์
ประสาทก่อนไซแนปส์และเซลล์ประสาทหลังไซแนปส์ที่อยู่ชิดกันจนเสมือนเป็นเยื่อหุ้มเซลล์เดียวกันซึ่งเกิดจากการ
เชื่อมติดกันของโปรตีน Gap junction หรือ connexon ที่ low electrical resistance รวมกันเป็นช่อง ทำให้ Action
potential จากเซลล์ประสาทก่อนไซแนปส์สามารถผ่านช่องโปรตีนเข้าสู่เซลล์ประสาทหลังไซแนปส์ได้ สามารถพบ
ได้ที่กล้ามเนื้อหัวใจหรือบางบริเวณของสมองมนุษย์
2. Chemical synapse (พบมากในร่างกาย) เช่น จุดต่อระหว่างเซลล์ประสาทสั่งการกับใยกล้ามเนื้อซึ่งเป็นไซแนปส์
พิเศษที่เรียกว่า แผ่นเชื่อมประสาทสั่งการและกล้ามเนื้อ (Neuromuscular junction, NMJ) ที่ปลายแอกซอนจะมีถุง
ขนาดเล็กและไมโทคอนเดรีย สะสมอยู่มากภายในถุงเหล่านี้จะบรรจุสารสื่อประสาท เมื่อกระแสประสาทเคลื่อนที่
มาถึงปลายแอกซอน ถุงเล็กๆ ดังกล่าวจะเคลื่อนไปรวมตัวกับเยื่อหุ้มเซลล์ตรงบริเวณไซแนปส์และปล่อยสารสื่อ
ประสาทออกมา เพื่อกระตุ้นเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์ถัดไปทำให้เซลล์ประสาทที่ถูกกระตุ้นมีกระแสประสาทเกิดขึ้น
และถูกถ่ายทอดต่อไปจนถึงปลายทาง เมื่อสารสื่อประสาทถูกปล่อยออกมาจากถุงบรรจุสารสื่อประสาทที่เยื่อหุ้ม
ปลายแอกซอนเข้าสู่ช่องไซแนปส์สารสื่อประสาทจะไปจับกับโปรตีนตัวรับที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์ประสาทหลัง
ไซแนปส์ ion channels ได้แก่ Na+,Cl-,K+ ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของไอออนผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลง
ความต่างศักย์ที่เดนไดรต์ของเซลล์ประสาทต่อไป และมีเอนไซม์ย่อยสารสื่อประสาทที่จับกับ receptor แล้ว
ใน Postsynaptic neuron ถูกกระตุ้นแล้วสร้างกระแสประสาทแบบกระตุ้น (EPSP) และมีการยับยั้งกระแสประสาทที่
สร้างใน Postsynaptic neuron (IPSP) โดย ion channels Na+-K+
สารสื่อประสาทชนิดกระตุ้น (Excitatory neurotransmitters) เช่น glutamate, Ach
สารสื่อประสาทชนิดยับยั้ง (Inhibitory neurotransmitters) เช่น glycine, GABA
การกระจายจาก synaptic cleft ไปยัง ISF มีการนำกลับมาใช้ใหม่บริเวณ presynaptic knob (active transport) การ
ทำลายโดยเอนไซม์
ความเข้มข้นของ Ca2+ ลดลงโดย Na+-Ca2+ antiport ดูดซึม Ca2+ ไปยังไมโตคอนเดีย ทำให้หยุดการปล่อยสารสื่อ
ประสาท
ปริมาณสารสื่อประสาทที่หลั่งขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของ Ca2+ ใน presynaptic knob
คุณสมบัติของ synapse
มีการนำทิศทางเดียว (One-way conduction) Synaptic delay: 0.5 mS (minimum) Interneurons เป็นวงจรของเซลล์
ประสาท
Electrical phenomena of synapse
เยื่อหุ้มเซลล์ประสาทหลังซิแนปส์ เกิดการดีโพลาไรเซชั่น เรียกศักย์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้ว่า ศักย์ไฟฟ้าที่เร้าเซลล์หลัง
ซิแนปส์ (excitatory postsynaptic potential หรือ EPSP) ซึ่งมีปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นคือ เมื่อกระแสประสาทเคลื่อนที่
มาถึงซิแนปติกน็อบของเซลล์ประสาทก่อนซิแนปส์ จะทำให้แคลเซียมไอออนภายนอกเซลล์เคลื่อนที่มาถึงซิแนปติกน็อบ เป็น
เหตุให้ซิแนปติกเวสิเคิลเคลื่อนที่มาติดกับเยื่อหุ้มเซลล์แล้วปล่อยสารเคมีภายใน ซึ่งอาจเป็น Acetylcholine;Ach
norepinephrine epinephrine dopamine serotonin L-glutamate หรือ L-aspartate อย่างใดอย่างหนึ่ง เข้ามาในซิแนปติก
แคลฟต์ สารเคมีเหล่านี้จะเคลื่อนที่ไปจับกับช่องโซเดียมที่ปิด-เปิด เมื่อมีสารเคมีจำเพาะเจาะจงมาจับ (chemically gated
sodium channels) ช่องโซเดียมชนิดนี้จึงเปิดออก ทำให้โซเดียมไอออนเคลื่อนที่เข้าไปในเซลล์ ซึ่งเป็นการนำประจุบวกเข้าไป
ความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างเยื่อหุ้มเซลล์์ จึงเปลี่ยนจาก -70 มิลลิโวลต์เป็น -69, -68, …… ไปเรื่อย ๆ ถ้าสารเคมีที่ถูก
ปล่อยออกมามีมากพอที่จะทำให้ช่องโซเดียมชนิดนี้เปิดออกหลายช่องๆ โซเดียมไอออนก็จะเข้าสู่เซลล์จนกระทั่ง ทำให้
ศักย์ไฟฟ้าขณะทำงานขึ้นในเยื่อหุ้มเซลล์์ประสาทหลังซิแนปส์์ เซลล์ประสาทเซลล์นี้ก็สามารถนำกระแสประสาทให้เคลื่อนที่
ไปจนถึงปลายสุดของแอกซอนได้ ส่วนสารเคมีที่เป็นสารสื่อประสาทเหล่านี้จะถูกทำลายโดยเอนไซม์ที่มีความจำเพาะต่อสาร
สื่อประสาทชนิดนั้น ๆ
เยื่อหุ้มเซลล์ประสาทหลังซิแนปส์ เกิด hyperpolarization เรียกศักย์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นที่เกิดขึ้นนี้ว่า ศักย์ไฟฟ้าที่ยับยั้งเซลล์
หลังซิแนปส์ (inhibitory postsynaptic potential หรือ IPSP) ซึ่งมีปรากฏการณ์ในตอนต้นเหมือนแบบ EPSP แต่แตกต่างที่
สารเคมีที่ปล่อยออกมาในซิแนปติกเคลฟต์อาจเป็นกรดแกมมาอะมิโนบิวทีริก (gamma aminobutyric acid, GABA) ไกลซีน
(Glycine) อะลานีน (alanine) หรือเทารีน (taurine) ไซแนปส์ (Synapse) สารเคมีเหล่านี้จะไปจับกับช่องโพแทสเซียมและช่อง
คลอรีนที่ปิด-เปิด เมื่อมีสารเคมีที่จำเพาะเจาะจงมาจับ ทำให้ช่องเหล่านี้เปิดโพแทสเซียมไอออนจึงเคลื่อนที่ออกจากเซลล์
และคลอรีนไอออนเคลื่อนที่เข้าสู่เซลล์ ทำให้ศักย์ไฟฟ้าเปลี่ยนจาก -70 มิลลิโวลต์ เป็น -71, -72, …… ไปเรื่อย ๆ เรียกว่าไฮ
เพอร์โพลาไรเซชั่น ทำให้เซลล์ประสาทหลังซิแนปส์ นำกระแสประสาทไม่ได้ จึงเป็นการยับยั้งเซลล์หลังซิแนปส์
Sensory receptor
Biotransducers ทำหน้าที่แปลงพลังงานรูปแบบต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อมให้เป็น action potentials ในเซลล์
ประสาท (Ganong,1999) สิ่งเร้าทำให้เกิดศักย์ไฟฟ้า (receptor potential) จากนั้นจะเกิด nerve impulse ทำให้
เกิดความรู้สึก สิ่งที่ทำให้รู้สึกตัว เช่น cold, warm, touch ไม่รู้สึกตัว เช่น ความดันโลหิต, PO2, PCO2 ในเลือด
ประเภทของ sensory receptor
1. Mechanoreceptor
2. Thermoreceptor
3. Nociceptor
4. Photoreceptor
5. Chemoreceptor
โครงสร้างของ sensory receptor
1. ปลายประสาทอิสระ (Naked nerve ending) (F)
2. ปลายประสาทรับความรู้สึกที่ขยาย (A, B)
3. ปลายประสาทรับความรู้สึกที่ไม่มี capsule ห่อหุ้ม (F, Hair follicle plexus)
4. ปลายประสาทรับความรู้สึกที่มี capsule ห่อหุ้ม (D, E)
กิจกรรมทางไฟฟ้าใน receptor ที่ทำให้เกิดศักย์ไฟฟ้า (receptor potential)
เป็นลักษณะ depolarizing potential ที่ไม่กระจาย ตอบสนองตามความแรง
กลไกเกิดที่เฉพาะ paccinian corpuscle เริ่มจากได้รับแรงกด เกิดการเปลี่ยนรูปของเมมเบรน
(unmyelinated nerve ending) เปิดช่อง Na+ ให้ไหลเข้า เกิด Depolarization สร้างกระแสประสาท
การถ่ายโอน (Transduction)
สรีรวิทยาของกล้ามเนื้อโครงร่าง (Physiology of Skeletal Muscle)
ประเภทของกล้ามเนื้อ
1. Skeletal muscle (กล้ามเนื้อลาย (Striated); Voluntary muscle)
2. Cardiac muscle (ชั้น Myocardium)
3. Smooth muscle
คุณสมบัติของกล้ามเนื้อ (Properties of muscle)
สามารถถูกกระตุ้นได้ หดตัวได้ มีความยืนหยุ่น (Elasticity) ต้านทานต่อการเปลี่ยนรูป ถูกดึงหรือยืดออกไปได้
(Dispensability)
กล้ามเนื้อลาย (striated muscle หรือ skeletal muscle) เป็นมัดกล้ามเนื้อส่วนใหญ่ของร่างกาย สามารถ
ควบคุมการเคลื่อนไหวของอวัยวะที่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อลายได้ ทำงานโดยประสาทสั่งงานจากความรู้สึก
(conscious) ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาทส่วนกลาง จึงถือได้ว่ามันเป็นกล้ามเนื้อชนิดที่อยู่ภายใต้
อำนาจจิตใจ (voluntary muscle) ในเซลล์มีหลายนิวเคลียส และมีไมโตคอนเดรียจำนวนมาก Sarcolemma หรือ
ที่เรียกว่า myolemma เป็นเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์กล้ามเนื้อ
ของเหลวที่อยู่ภายในเซลล์เรียกว่า Sarcoplasm ซึ่งจะมีมัดของเส้นใยฝอยที่มีชื่อเรียกว่า Fibril (ภายในมี
ลักษณะcross-striation และมี myofilament) ลอยตัวอยู่เกือบเต็มพื้นที่ของเซลล์ ช่องว่างระหว่างเส้นใยฝอย
จะมีไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) ซึ่งในเซลล์กล้ามเนื้อเรียกว่า Sarcosome และ Endoplasmic Reticulum ที่
มีชื่อเรียกว่า Sarcoplasmic Reticulum แทรกตัวอยู่โดยตลอด
ส่วน Terminal cisternae เป็นส่วนของ sarcoplasmic reticulum ซึ่ง sarcoplasmic reticulum แต่ละ
เซลล์จะมี terminae cisternae 2 อัน
Transverse tubule (t-tubule) อยู่ระหว่าง terminae cisternae ทำหน้าที่ส่งผ่าน action potential ไป
ที่ muscle fiber ส่วนประกอบของ transverse tubule 1 อัน กับ terminae cisternae 2 อัน เรียกว่า triad

More Related Content

What's hot

ระบบขับถ่าย (T) 1 2560
ระบบขับถ่าย (T) 1 2560ระบบขับถ่าย (T) 1 2560
ระบบขับถ่าย (T) 1 2560Thitaree Samphao
 
ระบบประสาท - Nervous system
ระบบประสาท - Nervous systemระบบประสาท - Nervous system
ระบบประสาท - Nervous systemsupreechafkk
 
บทท 8 ระบบประสาท (1)
บทท   8 ระบบประสาท (1)บทท   8 ระบบประสาท (1)
บทท 8 ระบบประสาท (1)Natthaya Khaothong
 
หลอดเลือดและส่วนประกอบของเลือด
หลอดเลือดและส่วนประกอบของเลือดหลอดเลือดและส่วนประกอบของเลือด
หลอดเลือดและส่วนประกอบของเลือดWan Ngamwongwan
 
ข้อสอบวิชาชีววิทยา
ข้อสอบวิชาชีววิทยาข้อสอบวิชาชีววิทยา
ข้อสอบวิชาชีววิทยาNuttarika Kornkeaw
 
แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพแบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพyangclang22
 
น้ำเหลืองและภูมิคุ้มกัน
น้ำเหลืองและภูมิคุ้มกันน้ำเหลืองและภูมิคุ้มกัน
น้ำเหลืองและภูมิคุ้มกันwaratree wanapanubese
 
4. ข้อสอบ o net - สุขศึกษาฯ (มัธยมปลาย) 0 (1)
4. ข้อสอบ o net - สุขศึกษาฯ (มัธยมปลาย) 0 (1)4. ข้อสอบ o net - สุขศึกษาฯ (มัธยมปลาย) 0 (1)
4. ข้อสอบ o net - สุขศึกษาฯ (มัธยมปลาย) 0 (1)Preeyaporn Chamnan
 
เซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิต
เซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิตเซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิต
เซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิตPopeye Kotchakorn
 
ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน (1- 2560)
ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน (1- 2560)ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน (1- 2560)
ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน (1- 2560)Thitaree Samphao
 
หน่วย คำอุปสรรค เลขนัยสำคัญ
หน่วย คำอุปสรรค เลขนัยสำคัญหน่วย คำอุปสรรค เลขนัยสำคัญ
หน่วย คำอุปสรรค เลขนัยสำคัญธงชัย ควรคนึง
 
ระบบย่อยอาหาร - Digestive system
ระบบย่อยอาหาร - Digestive systemระบบย่อยอาหาร - Digestive system
ระบบย่อยอาหาร - Digestive systemsupreechafkk
 
การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต
การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิตการรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต
การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิตIssara Mo
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอมPrangwadee Sriket
 
skeletal system
skeletal systemskeletal system
skeletal systemRungsaritS
 
บทที่ 3 พลังงานไฟฟ้า
บทที่ 3  พลังงานไฟฟ้าบทที่ 3  พลังงานไฟฟ้า
บทที่ 3 พลังงานไฟฟ้าPinutchaya Nakchumroon
 

What's hot (20)

ระบบขับถ่าย (T) 1 2560
ระบบขับถ่าย (T) 1 2560ระบบขับถ่าย (T) 1 2560
ระบบขับถ่าย (T) 1 2560
 
ระบบประสาท - Nervous system
ระบบประสาท - Nervous systemระบบประสาท - Nervous system
ระบบประสาท - Nervous system
 
บทท 8 ระบบประสาท (1)
บทท   8 ระบบประสาท (1)บทท   8 ระบบประสาท (1)
บทท 8 ระบบประสาท (1)
 
ข้อสอบวิทย์เรื่องเซลล์ 2
ข้อสอบวิทย์เรื่องเซลล์ 2ข้อสอบวิทย์เรื่องเซลล์ 2
ข้อสอบวิทย์เรื่องเซลล์ 2
 
Nervous system
Nervous systemNervous system
Nervous system
 
หลอดเลือดและส่วนประกอบของเลือด
หลอดเลือดและส่วนประกอบของเลือดหลอดเลือดและส่วนประกอบของเลือด
หลอดเลือดและส่วนประกอบของเลือด
 
ข้อสอบวิชาชีววิทยา
ข้อสอบวิชาชีววิทยาข้อสอบวิชาชีววิทยา
ข้อสอบวิชาชีววิทยา
 
แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพแบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพ
 
น้ำเหลืองและภูมิคุ้มกัน
น้ำเหลืองและภูมิคุ้มกันน้ำเหลืองและภูมิคุ้มกัน
น้ำเหลืองและภูมิคุ้มกัน
 
การทำงานของเซลล์ประสาท
การทำงานของเซลล์ประสาทการทำงานของเซลล์ประสาท
การทำงานของเซลล์ประสาท
 
4. ข้อสอบ o net - สุขศึกษาฯ (มัธยมปลาย) 0 (1)
4. ข้อสอบ o net - สุขศึกษาฯ (มัธยมปลาย) 0 (1)4. ข้อสอบ o net - สุขศึกษาฯ (มัธยมปลาย) 0 (1)
4. ข้อสอบ o net - สุขศึกษาฯ (มัธยมปลาย) 0 (1)
 
เซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิต
เซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิตเซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิต
เซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิต
 
ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน (1- 2560)
ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน (1- 2560)ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน (1- 2560)
ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน (1- 2560)
 
หน่วย คำอุปสรรค เลขนัยสำคัญ
หน่วย คำอุปสรรค เลขนัยสำคัญหน่วย คำอุปสรรค เลขนัยสำคัญ
หน่วย คำอุปสรรค เลขนัยสำคัญ
 
ระบบย่อยอาหาร - Digestive system
ระบบย่อยอาหาร - Digestive systemระบบย่อยอาหาร - Digestive system
ระบบย่อยอาหาร - Digestive system
 
การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต
การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิตการรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต
การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอม
 
skeletal system
skeletal systemskeletal system
skeletal system
 
บทที่ 3 พลังงานไฟฟ้า
บทที่ 3  พลังงานไฟฟ้าบทที่ 3  พลังงานไฟฟ้า
บทที่ 3 พลังงานไฟฟ้า
 
อวัยวะรับความรู้สึก
อวัยวะรับความรู้สึกอวัยวะรับความรู้สึก
อวัยวะรับความรู้สึก
 

Similar to สรีรวิทยา (part 1)

ชีววิทยา เรื่อง การลำเลียงสารระหว่างเซลล์ cell transport
ชีววิทยา เรื่อง การลำเลียงสารระหว่างเซลล์  cell transportชีววิทยา เรื่อง การลำเลียงสารระหว่างเซลล์  cell transport
ชีววิทยา เรื่อง การลำเลียงสารระหว่างเซลล์ cell transportkasidid20309
 
Bio About Cell
   Bio About Cell    Bio About Cell
Bio About Cell prapassri
 
M.4 สอนเสริมติว
M.4 สอนเสริมติวM.4 สอนเสริมติว
M.4 สอนเสริมติวWeeraphon Parawach
 
ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต2
ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต2ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต2
ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต2Tatthep Deesukon
 
502การย่อยอาหารจุลทรีย์ สัตว คน
502การย่อยอาหารจุลทรีย์ สัตว คน502การย่อยอาหารจุลทรีย์ สัตว คน
502การย่อยอาหารจุลทรีย์ สัตว คนThitiporn Parama
 
การลำเลียงสารผ่านเซลล์
การลำเลียงสารผ่านเซลล์การลำเลียงสารผ่านเซลล์
การลำเลียงสารผ่านเซลล์Peangjit Chamnan
 
การศึกษาเซลล์
การศึกษาเซลล์การศึกษาเซลล์
การศึกษาเซลล์Issara Mo
 
ระบบย่อยอาหาร ระบบย่อยอาหาร ระบบย่อยอาหาร
ระบบย่อยอาหาร ระบบย่อยอาหาร ระบบย่อยอาหารระบบย่อยอาหาร ระบบย่อยอาหาร ระบบย่อยอาหาร
ระบบย่อยอาหาร ระบบย่อยอาหาร ระบบย่อยอาหารcapchampz
 
ดุลยภาพสิ่งมีชีวิต
ดุลยภาพสิ่งมีชีวิตดุลยภาพสิ่งมีชีวิต
ดุลยภาพสิ่งมีชีวิตWichai Likitponrak
 
Pont มุนี
Pont มุนีPont มุนี
Pont มุนีmu_nin
 
โครงสร้างของเซลล์
โครงสร้างของเซลล์โครงสร้างของเซลล์
โครงสร้างของเซลล์chawisa44361
 
หน่วยของสิ่งมีชีวิต
หน่วยของสิ่งมีชีวิตหน่วยของสิ่งมีชีวิต
หน่วยของสิ่งมีชีวิตsupreechafkk
 
การลำเลียงสาร54
การลำเลียงสาร54การลำเลียงสาร54
การลำเลียงสาร54Oui Nuchanart
 

Similar to สรีรวิทยา (part 1) (20)

ชีววิทยา เรื่อง การลำเลียงสารระหว่างเซลล์ cell transport
ชีววิทยา เรื่อง การลำเลียงสารระหว่างเซลล์  cell transportชีววิทยา เรื่อง การลำเลียงสารระหว่างเซลล์  cell transport
ชีววิทยา เรื่อง การลำเลียงสารระหว่างเซลล์ cell transport
 
Bio About Cell
   Bio About Cell    Bio About Cell
Bio About Cell
 
M.4 สอนเสริมติว
M.4 สอนเสริมติวM.4 สอนเสริมติว
M.4 สอนเสริมติว
 
ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต2
ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต2ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต2
ดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต2
 
502การย่อยอาหารจุลทรีย์ สัตว คน
502การย่อยอาหารจุลทรีย์ สัตว คน502การย่อยอาหารจุลทรีย์ สัตว คน
502การย่อยอาหารจุลทรีย์ สัตว คน
 
การลำเลียงสารผ่านเซลล์
การลำเลียงสารผ่านเซลล์การลำเลียงสารผ่านเซลล์
การลำเลียงสารผ่านเซลล์
 
การศึกษาเซลล์
การศึกษาเซลล์การศึกษาเซลล์
การศึกษาเซลล์
 
รักษาดุลม.5
รักษาดุลม.5รักษาดุลม.5
รักษาดุลม.5
 
เซลล์
เซลล์เซลล์
เซลล์
 
Animal System
Animal SystemAnimal System
Animal System
 
ระบบย่อยอาหาร ระบบย่อยอาหาร ระบบย่อยอาหาร
ระบบย่อยอาหาร ระบบย่อยอาหาร ระบบย่อยอาหารระบบย่อยอาหาร ระบบย่อยอาหาร ระบบย่อยอาหาร
ระบบย่อยอาหาร ระบบย่อยอาหาร ระบบย่อยอาหาร
 
ดุลยภาพสิ่งมีชีวิต
ดุลยภาพสิ่งมีชีวิตดุลยภาพสิ่งมีชีวิต
ดุลยภาพสิ่งมีชีวิต
 
สรุปเซลล์
สรุปเซลล์สรุปเซลล์
สรุปเซลล์
 
B03
B03B03
B03
 
Pont มุนี
Pont มุนีPont มุนี
Pont มุนี
 
การรับรู้และการตอบสนอง
การรับรู้และการตอบสนองการรับรู้และการตอบสนอง
การรับรู้และการตอบสนอง
 
ใบงานที่10
ใบงานที่10 ใบงานที่10
ใบงานที่10
 
โครงสร้างของเซลล์
โครงสร้างของเซลล์โครงสร้างของเซลล์
โครงสร้างของเซลล์
 
หน่วยของสิ่งมีชีวิต
หน่วยของสิ่งมีชีวิตหน่วยของสิ่งมีชีวิต
หน่วยของสิ่งมีชีวิต
 
การลำเลียงสาร54
การลำเลียงสาร54การลำเลียงสาร54
การลำเลียงสาร54
 

More from pitsanu duangkartok

cancer therapy by pitsanu_duangkartok ...
cancer therapy by pitsanu_duangkartok ...cancer therapy by pitsanu_duangkartok ...
cancer therapy by pitsanu_duangkartok ...pitsanu duangkartok
 
บทนำเกี่ยวกับโรคมะเร็ง (Cancer introduction).pdf
บทนำเกี่ยวกับโรคมะเร็ง (Cancer introduction).pdfบทนำเกี่ยวกับโรคมะเร็ง (Cancer introduction).pdf
บทนำเกี่ยวกับโรคมะเร็ง (Cancer introduction).pdfpitsanu duangkartok
 
การลดลงของ MHC Class I ในมะเร็ง ตอนที่ 2.pdf
การลดลงของ MHC Class I ในมะเร็ง ตอนที่ 2.pdfการลดลงของ MHC Class I ในมะเร็ง ตอนที่ 2.pdf
การลดลงของ MHC Class I ในมะเร็ง ตอนที่ 2.pdfpitsanu duangkartok
 
MHC Class I Downregulation in Cancer Part 1
MHC Class I Downregulation in Cancer Part 1MHC Class I Downregulation in Cancer Part 1
MHC Class I Downregulation in Cancer Part 1pitsanu duangkartok
 
Melatonin a New Way to Reduce Self-Harm.pdf
Melatonin a New Way to Reduce Self-Harm.pdfMelatonin a New Way to Reduce Self-Harm.pdf
Melatonin a New Way to Reduce Self-Harm.pdfpitsanu duangkartok
 
Carbohydrates และ Glycobiology.pdf
Carbohydrates และ Glycobiology.pdfCarbohydrates และ Glycobiology.pdf
Carbohydrates และ Glycobiology.pdfpitsanu duangkartok
 
โครงสร้างและคุณสมบัติของคาร์โบไฮเดรตและไขมัน.pdf
โครงสร้างและคุณสมบัติของคาร์โบไฮเดรตและไขมัน.pdfโครงสร้างและคุณสมบัติของคาร์โบไฮเดรตและไขมัน.pdf
โครงสร้างและคุณสมบัติของคาร์โบไฮเดรตและไขมัน.pdfpitsanu duangkartok
 
มลพิษทางน้ำ (Water pollution).pdf
มลพิษทางน้ำ (Water pollution).pdfมลพิษทางน้ำ (Water pollution).pdf
มลพิษทางน้ำ (Water pollution).pdfpitsanu duangkartok
 
อาหารกับสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง.pdf
อาหารกับสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง.pdfอาหารกับสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง.pdf
อาหารกับสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง.pdfpitsanu duangkartok
 
Cellular Pathology พิษณุ ดวงกระโทก.pdf
Cellular Pathology พิษณุ ดวงกระโทก.pdfCellular Pathology พิษณุ ดวงกระโทก.pdf
Cellular Pathology พิษณุ ดวงกระโทก.pdfpitsanu duangkartok
 
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอด
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอดการศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอด
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอดpitsanu duangkartok
 
การสกัดสารจากพืชสมุนไพร
การสกัดสารจากพืชสมุนไพรการสกัดสารจากพืชสมุนไพร
การสกัดสารจากพืชสมุนไพรpitsanu duangkartok
 

More from pitsanu duangkartok (20)

cancer therapy by pitsanu_duangkartok ...
cancer therapy by pitsanu_duangkartok ...cancer therapy by pitsanu_duangkartok ...
cancer therapy by pitsanu_duangkartok ...
 
บทนำเกี่ยวกับโรคมะเร็ง (Cancer introduction).pdf
บทนำเกี่ยวกับโรคมะเร็ง (Cancer introduction).pdfบทนำเกี่ยวกับโรคมะเร็ง (Cancer introduction).pdf
บทนำเกี่ยวกับโรคมะเร็ง (Cancer introduction).pdf
 
steroid.pdf
steroid.pdfsteroid.pdf
steroid.pdf
 
Hormone exercise
Hormone exerciseHormone exercise
Hormone exercise
 
การลดลงของ MHC Class I ในมะเร็ง ตอนที่ 2.pdf
การลดลงของ MHC Class I ในมะเร็ง ตอนที่ 2.pdfการลดลงของ MHC Class I ในมะเร็ง ตอนที่ 2.pdf
การลดลงของ MHC Class I ในมะเร็ง ตอนที่ 2.pdf
 
MHC Class I Downregulation in Cancer Part 1
MHC Class I Downregulation in Cancer Part 1MHC Class I Downregulation in Cancer Part 1
MHC Class I Downregulation in Cancer Part 1
 
Melatonin a New Way to Reduce Self-Harm.pdf
Melatonin a New Way to Reduce Self-Harm.pdfMelatonin a New Way to Reduce Self-Harm.pdf
Melatonin a New Way to Reduce Self-Harm.pdf
 
Carbohydrates และ Glycobiology.pdf
Carbohydrates และ Glycobiology.pdfCarbohydrates และ Glycobiology.pdf
Carbohydrates และ Glycobiology.pdf
 
โครงสร้างและคุณสมบัติของคาร์โบไฮเดรตและไขมัน.pdf
โครงสร้างและคุณสมบัติของคาร์โบไฮเดรตและไขมัน.pdfโครงสร้างและคุณสมบัติของคาร์โบไฮเดรตและไขมัน.pdf
โครงสร้างและคุณสมบัติของคาร์โบไฮเดรตและไขมัน.pdf
 
มลพิษทางน้ำ (Water pollution).pdf
มลพิษทางน้ำ (Water pollution).pdfมลพิษทางน้ำ (Water pollution).pdf
มลพิษทางน้ำ (Water pollution).pdf
 
อาหารกับสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง.pdf
อาหารกับสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง.pdfอาหารกับสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง.pdf
อาหารกับสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็ง.pdf
 
Pharmaceutical Suspensions.pptx
Pharmaceutical Suspensions.pptxPharmaceutical Suspensions.pptx
Pharmaceutical Suspensions.pptx
 
Metabolism and Energy.pdf
Metabolism and Energy.pdfMetabolism and Energy.pdf
Metabolism and Energy.pdf
 
Ecosystem part 2
Ecosystem part 2Ecosystem part 2
Ecosystem part 2
 
ecosystem
ecosystemecosystem
ecosystem
 
Photosynthesis
PhotosynthesisPhotosynthesis
Photosynthesis
 
Cellular Pathology พิษณุ ดวงกระโทก.pdf
Cellular Pathology พิษณุ ดวงกระโทก.pdfCellular Pathology พิษณุ ดวงกระโทก.pdf
Cellular Pathology พิษณุ ดวงกระโทก.pdf
 
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอด
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอดการศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอด
การศึกษาโครงสร้างของหัวใจหมู โครงสร้างอวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊ส และการวัดปริมาตรปอด
 
Common Chemotherapy Drugs.pdf
Common Chemotherapy Drugs.pdfCommon Chemotherapy Drugs.pdf
Common Chemotherapy Drugs.pdf
 
การสกัดสารจากพืชสมุนไพร
การสกัดสารจากพืชสมุนไพรการสกัดสารจากพืชสมุนไพร
การสกัดสารจากพืชสมุนไพร
 

สรีรวิทยา (part 1)

  • 1. เอกสารประกอบ เรื่อง สรีรวิทยา (Physiology) พิษณุ ดวงกระโทก สรีรวิทยา (Physiology) สรีรวิทยาของมนุษย์นั้นมีความจำเพาะและมีกลไกการทำงานของร่ายกายที่ทำให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้ ลำดับโครงสร้างสิ่งมีชีวิต อะตอม (atom) เป็นหน่วยที่เล็กที่สุด อะตอมหลายๆ อะตอมรวมกันเป็นโมเลกุล (molecule) โมเลกุลหลายๆ โมเลกุล ประกอบกันเป็นออร์แกเนลล์ (organelle) และแต่ละออร์แกเนลล์ทำงานร่วมกันกลายเป็นเซลล์ (cell) ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว กิจกรรมต่างๆ นี้เกิดขึ้นภายในเซลล์ 1 เซลล์เท่านั้น ส่วนสิ่งมีชีวิตที่มีหลายเซลล์ ต้องอาศัยการทำงานประสานกันของเซลล์ จำนวนมาก กลุ่มเซลล์ที่รูปร่างเหมือนกันและทำหน้าที่อย่างเดียวกันรวมกันเป็นเนื้อเยื่อ (tissue) เช่น เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ กลุ่ม เนื้อเยื่อหลายๆ กลุ่ม ประกอบกันเป็นอวัยวะ (organ) ซึ่งทำหน้าที่เฉพาะอย่าง ในสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนขึ้น อวัยวะหลายอวัยวะ จะทำงานร่วมกันเป็นระบบอวัยวะ (organ system) เช่น ระบบขับถ่าย ระบบประสาท ระบบไหลเวียนเลือด เป็นต้น ระบบ อวัยวะต่างๆ นี้ จะทำงานประสานกันในกระบวนการดำรงชีวิต โดยเมื่อนำระบบต่างๆ มาประกอบรวมกันจะเรียกว่า ร่างกาย (body) ภาวะธำรงดุล (Homeostasis) ความพยายามที่จะทำให้เกิดความสมดุลของสิ่งต่างๆในร่างกาย เพื่อให้ร่างกายอยู่ในสภาพปกติ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จะต้อง อาศัยกลไกต่างๆในร่างกายควบคุม โดยศูนย์กลางการควบคุม homeostasis อยู่ในสมองส่วน hypothalamus องค์ประกอบของร่างกาย (Body Composition) ในวัยหนุ่มโดยเฉลี่ย จะประกอบด้วยโปรตีน 18% ของน้ำหนักตัว แร่ธาตุ 7% ของน้ำหนักตัว ไขมัน 15% ของน้ำหนักตัว และน้ำ 60% ของน้ำหนักตัว ซึ่งน้ำถือว่าเป็นส่วนประกอบที่มีมากที่สุดของร่างกาย น้ำในร่างกายทั้งหมด (TBW) มี 60% ของน้ำหนักตัว โดยแบ่งเป็นของเหลวในเซลล์ (ICF) 40% ของน้ำหนักตัวของเหลว นอกเซลล์ (ECF) 20% ของน้ำหนักตัว โดยของเหลวนอกเซลล์ (ECF) แบ่งได้เป็น ของเหลวระหว่างเซลล์ (ISF) 15% ของ น้ำหนักตัวและของเหลวในเลือด (Blood plasma) 5% ของน้ำหนักตัว ในร่างกายของเรามีปริมาตรเลือดและเม็ดเลือดต่างๆ 7% ของน้ำหนักตัวทั้งหมด
  • 2. ออสโมซิส (osmosis) เป็นการแพร่ของโมเลกุลน้ำจากบริเวณที่มีโมเลกุลของน้ำมาก (บริเวณที่สารละลายมีความเข้มข้นน้อยกว่า) ไปสู่ บริเวณที่มีโมเลกุลของน้ำน้อย (บริเวณที่สารละลายมีความเข้มข้นมากกว่า) ซึ่งโมเลกุลของสารไม่สามารถซึมผ่านเยื่อหุ้มได้ ค่าปกติของ plasma osmolarity = 275-290 milliosmole/L ค่า Tonicity คือค่าที่ใช้เพื่ออธิบาย osmolality ของ สารละลายที่สัมพันธ์กับ plasma สารละลายไฮโพทอนิก (Hypotonic Solution) คือสภาพของสารละลายภายนอกเซลล์ ซึ่งมีความเข้มข้นต่ำกว่า สารละลายภายในเซลล์ ทำให้น้ำที่อยู่ภายนอกเซลล์เกิดการเคลื่อนที่หรือออสโมซิสเข้ามาภายในเซลล์ ส่งผลให้เซลล์เต่งและ แตกได้ โดยปรากฏการณ์นี้มีชื่อเรียกว่า “พลาสมอพไทซิส” (Plasmoptysis) สารละลายไฮเพอร์ทอนิก (Hypertonic Solution) คือสภาพของสารละลายภายนอกเซลล์ ซึ่งมีความเข้มข้นสูงกว่า สารละลายภายในเซลล์ ทำให้น้ำภายในเซลล์เกิดการเคลื่อนที่หรือออสโมซิสออกจากเซลล์ ส่งผลให้เซลล์มีขนาดเล็กลงหรือ มีสภาพเหี่ยวลง โดยปรากฏการณ์นี้มีชื่อเรียกว่า “พลาสโมไลซิส” (Plasmolysis) สารละลายไอโซทอนิก (Isotonic Solution) คือสภาพของสารละลายภายนอกเซลล์ ซึ่งมีความเข้มข้นเท่ากับสารละลาย ภายในเซลล์ ทำให้การออสโมซิสของน้ำระหว่างภายในกับภายนอกเซลล์ไม่เกิดความแตกต่าง ส่งผลให้รูปร่างของเซลล์ไม่ เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ สรีรวิทยาของเซลล์ (Physiology of the cell)
  • 3. เซลล์มีส่วนประกอบหลักมีดังนี้ 1. Cell membrane*เปรียบเสมือนรั้วบ้าน 2. Cytoplasm ประกอบด้วย cytosol (ICF) + organelles + inclusions 3. Nucleus เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane) ประกอบด้วยไขมันและโปรตีน เป็น semipermeable ให้สารบางชนิดซึมผ่านได้ มีความหนา 7.5 nm (75 Angstrom unit) Lipid bilayer เป็น Phospholipid ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการลำเลียงสารเข้าออกเซลล์และทำหน้าที่เป็น barrier ฟอสโฟลิพิด (phospholipid) คือ ลิพิด (lipid) ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของ กลีเซอรอล (glycerol) 1 โมเลกุล ของกรดไขมัน (fatty acid) 2 โมเลกุล และกรดฟอสฟอริก 1 โมเลกุล ในโมเลกุลมีทั้งส่วนที่ชอบน้ำ (hydrophilic) และไม่ชอบน้ำ (hydrophobic) สามารถใช้เป็นอิมัลซิไฟเออร์ (emulsifier) ช่วยทำให้อิมัลชัน (emulsion) คงตัว โปรตีน (Protein) แบ่งเป็น Peripheral protein และ Integral protein (transmembrane protein) ทำหน้าที่เป็นโครงสร้าง เช่น cytoskeletal ช่องทางลำเลียงไอออน เช่น transmembrane protein เป็นตัวพา เช่น Peripheral protein เป็นบริเวณที่จับกับฮอร์โมน,ligands, สารสื่อประสาท (neurotransmitter) เป็นเอนไซม์ และเป็น Active pump เช่น sodium pump
  • 4. ช่องทางการลำเลียงไอออน (Ion channels) อาจเป็น transmembrane protein หรือช่องโปรตีนที่มีหน้าที่เฉพาะในการลำเลียงไอออนใดไอออนหนึ่ง Nongated channels (leakage channels) เป็นช่องที่ไม่มีประตู แพร่จากไอออนมากไปสู่ไอออนน้อย Gated channels เป็นช่องที่มีประตู ปิดเมื่ออยู่ในระยะพัก Chemically gated channels ปิดเปิดได้เมื่อได้รับการกระตุ้นจากสารเคมี Voltage-gated channels ปิดเปิดได้เมื่อได้รับ การกระตุ้นจากกระแสไฟฟ้า Mechanically-gated channels ปิดเปิดได้เมื่อได้รับแรงกล Ligand-gated channels Gated ion channels หรือ Chemically gated channels Voltage-gated channels Mechanically-gated channels การลำเลียงผ่าน Membrane สารที่ลำเลียงได้แก่ O2, CO2 โมเลกุลขนาดเล็ก สารที่ไม่มีขั้ว สารมีขั้ว สารที่ละลายได้ในไขมัน เช่น steroid hormone สารที่ละลายในน้ำ เช่น glucose, urea โมเลกุลขนาดใหญ่ เช่น Protein อนุภาคขนาดใหญ่ เช่น Bacteria วิธีการที่ใช้อาจจะ ละลายในส่วนไขมันของ cell membrane ผ่าน ion channel ทั้ง leak และ gated ผ่านตัวพา (Carrier) หรือ Active pump กลไกในการลำเลียง Passive transport เช่น Simple diffusion, Facilitated diffusion (Carrier), Solvent drag คือการเข้า มาตามแรงพัดของน้ำ, Osmosis การลำเลียงผ่านตัวพา ได้แก่ Facilitated diffusion (ไม่ใช้พลังงาน) Active transport (ใช้ พลังงาน)
  • 5. Active pump เป็นการทำงานของ Na+-K+ ATPase และ Na+/K+ pump ใช้พลังงาน (ATP) เพื่อขับ Na+ 3 ตัวออกจากเซลล์และนำ K+ 2 ตัวเข้าไปในเซลล์ต่อ 1 โมลของ ATP การลำเลียงแบบ Active transport แบ่งเป็น Primary active transport เช่น Sodium pump ใช้พลังงานจาก ATP และ Secondary active transport ใช้พลังงานจากแหล่งอื่น โดยในการขนส่งแบบ Active transport ของ Na+ จะควบคู่ไปกับการ ขนส่งสารอื่นๆ คำศัพท์น่ารู้ (terminology) Efflux คือการไหลของไอออนออกนอกเซลล์ Influx คือการไหลของไอออนเข้ามาในเซลล์ Concentration (chemical) gradient คือทิศทางการไหลจากความเข้มข้นสูงไปต่ำ Electrical gradient คือการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน ซึ่งจะสวนทางกับประจุบวก Down hill (Along concentration gradient) คือการไหลจากความเข้มข้นสูงไปต่ำ Up hill (Against concentration gradient) คือการไหลจากความเข้มข้นต่ำไปสูง Passive process คือการลำเลียงที่ไม่ใช้พลังงาน Active process คือการลำเลียงที่ใช้พลังงาน Uniport คือการขนส่งสาร 1 ตัวในทิศทางเดียว Cotransport (Couple transport) คือการขนส่งสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปพร้อมๆกัน Symport คือการขนส่งสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปพร้อมๆกัน มีทิศทางเดียวกัน Antiport (Counter transport, exchange) คือการขนส่งสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปพร้อมๆกัน มีทิศทางตรงข้ามกัน เช่น Na+ pump การลำเลียงสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ โดยส่วนใหญ่แล้วจำเป็นต้องอาศัยพลังงานในการลำเลียง ได้แก่ Endocytosis เป็นกระบวนการของเซลล์ซึ่งนำสารเคมี เข้าในเซลล์ โดยส่วนหนึ่งของเยื่อหุ้มเซลล์จะล้อมหุ้มสิ่งที่จะนำเข้า แล้วเยื่อก็จะหลุดเข้าไปในเซลล์โดยเป็นถุงเล็กๆ (vesicle) กระบวนการฟาโกไซโทซิส (phagocytosis หรือ cell eating) หรือการกลืนกินของเซลล์ คือรูปแบบหนึ่งของการย่อย อาหารในเซลล์ หรือเอนโดไซโทซิส (endocytosis) โดยที่อนุภาคขนาดใหญ่ (อาจเป็นสิ่งแปลกปลอมหรืออาหาร) ถูกโอบ ล้อมรอบโดยเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์ (ส่วนมากจะใหญ่กว่าอนุภาคที่ทำการโอบ) และถูกนำเข้าไปอยู่ภายในเซลล์ (คล้ายกับ การกิน) เพื่อทำให้อนุภาคกลายเป็นฟาโกโซม (phagosome) หรือฟูดแวคิวโอล (food vacuole) ซึ่งก็คือช่องว่างในเซลล์ที่มี อาหารหรือสิ่งแปลกปลอมบรรจุอยู่นั่นเอง
  • 6. พิโนไซโทซิส (pinocytosis หรือ cell drinking) เป็นการนำสารเข้าสู่เซลล์ โดยเมื่อสารมาเกาะติดกับเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้ม เซลล์จะเว้าเข้าไปจนหลุดกลายเป็นกระเปาะขนาดเล็กอยู่ภายในเซลล์ ไม่มีความจำเพาะกับชนิดสาร พบได้ในเซลล์หลาย ชนิด เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดแมกโครฟาจ (Macrophage) และเซลล์รากพืช เป็นต้น ส่วนการขนส่งสารเข้าสู่เซลล์ที่มีการ จำเพาะกับชนิดสาร จะเรียกว่า การนำสารเข้าสู่เซลล์แบบใช้ตัวรับ (receptor-mediated endocytosis) Exocytosis เป็นการลำเลียงสารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ออกจากเซลล์โดยสารจะถูกบรรจุในเวสิเคิล (Vesicle) แล้ว ค่อยๆ เคลื่อนมาเชื่อมกับเยื่อหุ้มเซลล์แล้วปล่อยออกนอกเซลล์ เช่น การหลั่งเอนไซม์ของเซลล์กระเพาะอาหาร การหลั่ง ฮอร์โมนอินซูลินของเซลล์ในตับอ่อนเข้าสู่กระแสเลือด การซึมผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ ในเซลล์ที่มีชีวิตที่อยู่ในระยะพักจะมีการซึมผ่านของน้ำสูงมาก มีการเข้าออกของ K+ ได้อย่างอิสระ รองลงมาคือการ เข้าออกของ Na+ (PK+ > PNa+ ~ 100 เท่า) ส่วนโปรตีนและ organic anion (A-) ไม่สามารถซึมผ่านได้ กิจกรรมทางไฟฟ้าของเซลล์ เกิดขึ้นกับเซลล์ที่มีชีวิต มีความต่างศักย์ระหว่างภายนอกและภายในของเยื่อหุ้มเซลล์ Potential difference across cell การบันทึกศักย์ไฟฟ้าเยื่อเซลล์ ใช้ Galvanometer หรือ Cathode ray oscilloscope (CRO) ในการวัดความต่างศักย์ระหว่างภายในและภายนอกเซลล์ ถ้า ผลที่ได้เป็น 0 mV แสดงว่า ไม่มีความต่างศักย์ระหว่างภายในและภายนอกเซลล์ Resting membrane potential (RMP) โดย ปกติจะอยู่ที่ -9 ถึง -100 mV
  • 7. Genesis of RMP เป็นความสามารถในการซึมผ่านเมมเบรนของ K+ และ Na+ เยื่อหุ้มในระยะพักจะซึมผ่าน K+ ได้ดีกว่า Na+ ถึง 100 เท่า เยื่อหุ้มเซลล์ไม่สามารถซึมผ่านโปรตีนที่มีประจุลบออกไปนอกเซลล์ได้ โดยปกติแล้ว Na+ ไอออนมักจะ เคลื่อนที่เข้ามาภายในเซลล์ ส่งผลให้เกิดความต่างศักย์ของอิเล็กตรอน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนไอออนผ่าน Na+-K+ ATPase pump ซึ่งการแลกเปลี่ยนจะเกิดในทิศทางตรงกันข้ามกัน Action Potential สาเหตุที่เป็นไปได้อาจเกิดจากการที่สารเคมีเข้ามาจับ Depolarization หรือ Hypopolarization มีการเปลี่ยนแปลงของ ประจุไฟฟ้าที่เยื่อเซลล์ โดยภายในเซลล์มีความเป็นบวกมากขึ้นอันเนื่องจาก Na+ เข้าสู่เซลล์ ค่า PK+ ต่ำลง Hyperpolarization เนื่องจาก K+ ไหลออกจากเซลล์มากกว่าปกติทำให้ความเป็นลบภายในเซลล์มากกว่าเมื่อเซลล์อยู่ในระยะพัก ค่า PNa+ สูงขึ้น รอยต่อระหว่างเซลล์ (Intercellular Junctions) Tight junction เป็นรอยต่อระหว่างเซลล์ที่มีลักษณะเหมือนรัดด้วยเข็มขัดต่อเนื่องกันไป มีความแข็งแรงและความคงตัว Desmosomes เป็นรอยต่อระหว่างเซลล์ที่มีลักษณะคล้ายกระดาษหนา ซึ่งเพิ่มความแข็งแรงโดย intermediate filament ที่มีโปรตีน keratin เป็นองค์ประกอบ Gap junctions เป็นรอยต่อระหว่างเซลล์ที่มีลักษณะเป็นช่อง ทำด้วยโปรตีน สามารถพบได้บ่อย ซึ่งใหญ่พอสำหรับการ ผ่านของ ion และสารที่มีโมเลกุลเล็ก เช่น Sodium ion, กรดอะมิโน และน้ำตาล เป็นต้น บริเวณ Gap junctions นี้โปรตีนที่ทำ ให้เกิดเป็นช่องให้ไอออนไหลผ่านเรียกว่า connexin โปรตีน connexin 6 โมเลกุลรวมตัวกันเป็นช่อง (channel) เรียกว่า connexon เซลล์ที่หนึ่งส่ง connexon รวมกับเซลล์ที่สองซึ่ง connexon 2 อันของเซลล์ที่เกิด synapse ไฟฟ้ารวมกันเรียกว่า ช่องแกปจังชั่น (Gap junction channel) ช่อง Gap junctions มีความกว้างพอที่ไอออนชนิดต่างๆ ที่ละลายอยู่ไหนไซโตพลาสซึม และกรดอะมิโน สามารถแพร่ผ่านช่องนี้ไปได้โดยตรง ตัวอย่างเซลล์ที่มี Gap junctions เช่น cardiac muscle, intestinal smooth muscle Gap junctions
  • 8. ระบบประสาท (Nervous system) หน้าที่ของระบบประสาทได้แก่ ทำหน้าที่รับความรู้สึก (Sensory function) สั่งการ (Motor function) การเรียนรู้และ ความจำ เซลล์ประสาท (Nerve cell) เป็นหน่วยทำงานของระบบประสาท ระบบประสาทของสัตว์ชั้นสูงแบ่งตามโครงสร้างได้ 2 ระบบ คือ ระบบประสาทกลาง (Central Nervous System) ประกอบด้วยสมอง, ไขสันหลัง และระบบประสาทรอบนอก (Peripheral Nervous System) ประกอบด้วยเส้นประสาทสมอง และเส้นประสาทไขสันหลัง และสามารถแบ่งตามการทำงานได้ 2 ระบบ คือ Somatic Nervous System ได้แก่ กล้ามเนื้อลาย และ Autonomic Nervous System ได้แก่ กล้ามเนื้อรอบ กล้ามเนื้อหัวใจและต่อมต่างๆ ระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System) เป็นระบบประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะ ภายในของร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic Nervous System) มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆภายในร่างกายให้เตรียมพร้อมเผชิญอันตรายหรือภาวะฉุกเฉิน ระบบประสาท พาราซิมพาเทติก (Parasympathetic Nervous System) มีหน้าที่ควบคุมการสะสมพลังงาน ควบคุมระดับการทำงานของ อวัยวะภายใน หลอดเลือดส่วนต่างๆให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะทำงานได้ ประเภทของเซลล์ประสาทตามโครงสร้าง ได้แก่ เซลล์ประสาทแบบ Unipolar เซลล์ประสาทเหล่านี้มีซอนยาวเพียงตัวเดียวที่รับผิดชอบในการส่งสัญญาณไฟฟ้า แอก ซอนในเซลล์ประสาทแบบ unipolar เป็น myelinated ซึ่งช่วยให้สามารถส่งสัญญาณได้อย่างรวดเร็ว เซลล์ประสาทหลายขั้ว (Multipolar neurons) เซลล์ประสาทเหล่านี้สามารถรับแรงกระตุ้นจากเซลล์ประสาทหลาย เซลล์ผ่านทางเดนไดรต์ เดนไดรต์ส่งสัญญาณผ่านเซลล์ประสาททางสัญญาณไฟฟ้าแล้วกระจายไปตามซอน เซลล์ประสาทสองขั้ว (Bipolar neurons) เซลล์ประสาทเหล่านี้ส่งสัญญาณและรับข้อมูลจากสิ่งเร้า ได้แก่ เซลล์ ประสาทในดวงตาที่รับแสงแล้วส่งสัญญาณไปยังสมอง เซลล์ประสาทเทียมแบบขั้วเดียว (Pseudo-unipolar neurons) เซลล์ประสาทเหล่านี้จะส่งสัญญาณจากผิวหนังและ กล้ามเนื้อไปยังไขสันหลัง เป็นเซลล์ประสาทหลักที่ทำหน้าที่ประสานการเคลื่อนไหวของแขนและขาโดยรับข้อมูลมาจากสมอง
  • 9. ประเภทของเซลล์ประสาทตามหน้าที่ ได้แก่ เซลล์ประสาทรับความรู้สึก (Sensory neurons) จะรับข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นภายในและภายนอกร่างกาย และนำ ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางเพื่อให้สามารถประมวลผลได้ ตัวอย่างเช่น หากหยิบถ่านหินที่ร้อน เซลล์ประสาทรับ ความรู้สึกที่มีปลายนิ้วจะส่งข้อมูลไปยัง CNS ว่ามันร้อนมาก เซลล์ประสาทสั่งการ (Motor neurons) จะรับข้อมูลจากเซลล์ประสาทอื่นๆ และถ่ายทอดคำสั่งไปยังกล้ามเนื้อ อวัยวะ และต่อมต่างๆ ตัวอย่างเช่น หากหยิบถ่านหินร้อน เซลล์ประสาทที่สั่งการกล้ามเนื้อนิ้วจะสั่งให้ปล่อยมือ เซลล์ประสาทกลาง (Interneurons) ซึ่งพบเฉพาะใน CNS เชื่อมต่อเซลล์ประสาทหนึ่งกับอีกเซลล์หนึ่ง รับข้อมูลจาก เซลล์ประสาทอื่น ๆ (ไม่ว่าจะเป็นเซลล์ประสาทรับความรู้สึกหรือ interneurons) และส่งข้อมูลไปยังเซลล์ประสาทอื่นๆ (ไม่ว่า จะเป็นเซลล์ประสาทสั่งการหรือ interneurons) โครงสร้างของ neuron (Morphology of neuron) ในที่นี้กล่าวถึง Multipolar neuron เป็นหลัก เซลล์ประสาท (nerve cell) ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ 1. ตัวเซลล์ (cell body) มีลักษณะค่อนข้างกลมเป็นส่วนของไซโทพลาสซึมและนิวเคลียส ภายในมีส่วนประกอบที่ สำคัญคือ ไมโตคอนเดรีย เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม (ER) และกอลจิคอมเพล็กซ์ จำนวนมาก 2. ใยประสาท (nerve fiber) เป็นส่วนของเซลล์ที่ยื่นออกจากตัวเซลล์ มี 2 ลักษณะคือ 2.1 เดนไดรต์ (dendrite) เป็นส่วนของเซลล์ประสาทที่ยื่นออกไป ส่วนใหญ่จะอยู่รอบๆตัวเซลล์ ทำหน้าที่รับ กระแสประสาทเข้าสู่ตัวเซลล์ เซลล์ประสาทหนึ่งตัวจะมีเดนไดรต์ (dendrite) ได้หลายแขนง ลักษณะที่ สำคัญของ (dendrite) คือมี นิสเซส บอดี้ (Nissl body) ไมโตคอนเดรีย (mitochondria) และมี นิวโรฟิลา เม้นท์ (neurofilament) รวมกันเป็นมัด กระจายทั่วไป เดนไดรต์ (dendrite)ต่างจากแอกซอนคือ ส่วนมาก มักไม่มีปลอกหุ้มและที่ปลายมีส่วนที่ยื่นออกไปเป็นต่อมเล็กๆ เรียกว่าหนาม (spine) หรือ dendritic spine ซึ่งเป็นที่สำหรับเชื่อมต่อกับกิ่งแอกซอนหรือเดนไดรต์ (dendrite) อื่นๆที่เรียกว่าบริเวณไซแนปส์ (synapse) ยิ่งมี spine มากก็จะรับสัญญาณได้ดี 2.2 แอกซอน (axon) เป็นใยประสาทที่นำกระแสประสาทออกจากตัวเซลล์ เซลล์ประสาทตัวหนึ่งจะมีแอก ซอนเพียงหนึ่งแอกซอนเท่านั้น โดยเป็นส่วนยื่นของเซลล์ที่ยาวทำหน้าที่นำกระแสประสาทออกจากตัว
  • 10. เซลล์ ภายในแอกซอน (axon) ไม่มีนิสเซส บอดี้ (Nissl body) และจุดที่แอกซอน (axon) ออกจากตัวเซลล์ ประสาทมีลักษณะนูนขึ้นเรียกว่า แอกซอน ฮิลล็อค (axon hillock) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดกระแส ประสาท และต่อเนื่องตลอดความยาวของแอกซอน ปลายแอกซอนจะมีแขนงแตกออกไปมีลักษณะเป็น ตุ่มซึ่งจะซิแนปส์ (synapse) กับเซลล์ประสาทตัวอื่น axon อาจจะมีแขนงแตกออกออกด้านข้าง เรียกว่า collateral branch สำหรับ axon ของเซลล์ ประสาทมักมี myelin sheath หุ้มเป็นปล้องๆ ทำให้เกิดร่องระหว่างปล้อง ที่ myelin sheath หุ้ม เรียกว่า node of Ranvier ซึ่งเป็นบริวณที่ให้สัญญาณประสาทกระโดดข้ามได้ ส่วน axon ที่ไม่มี myelin sheath หุ้ม จะมีเยื่อ neurolemma และ schwann cell หุ้มอยู่ ส่วนปลายของ axon จะแตกออกเป็นแขนงเรียกว่า telodendria และปลายสุดของแต่ละ telodendria จะมีลักษณะเป็นกระเปาะ เรียกว่า axon terminal ซึ่งมี ถุง (terminal knob) บรรจุสารสื่อประสาท (neurotransmitter) ที่ปล่อยออกไปเมื่อมีสัญญาณประสาทมา กระตุ้น แล้วส่งสัญญาณประสาทไปกระตุ้นเซลล์ถัดไปได้ การจัดระเบียบการทำงานของเซลล์ประสาท (Functional organization of neuron) Receptor portion เป็นส่วนของ dendrites และ soma ถัดมาเป็นส่วนของ Initial segment ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกระแสประสาท (origin of nerve impulse) ส่วน Conduction portion เป็นส่วนของ axon และส่วนของ Effector portion ซึ่งเป็นส่วน ปลายเส้นประสาท (nerve ending) ทำหน้าที่ในการตอบสนอง เส้นประสาทประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ชั้นในสุดมีลักษณะกึ่งของเหลวที่มีี โปตัสเซียมอยู่มากเรียกส่วนนี้ว่า axoplasm และอีกส่วนเป็นเยื่อหุ้มประสาท มีหน้าที่ แยก axoplasm ออกจาก extracellular fluid ซึ่งมีโซเดียมเป็นจำนวนมาก เยื่อหุ้ม ประสาทนี้จะประกอบด้วยโมเลกุลของไขมันและโปรตีนเรียงเป็นชั้นๆ และมีช่องที่ ยอมให้ไอออนขนาดเล็กไหลผ่าน
  • 11. การจัดจำแนกเส้นใยประสาท (Classification of nerve fiber) แบ่งตามการสร้างเยื่อไมอีลิน (myelin sheath) แอกซอน (axon) ที่มีปลอกหรือเยื่อไมอีลิน (myelin sheath) หุ้มเรียกว่า ใยประสาทไมอีลินเนท (myelinated nerve fiber) มักจะเป็นเส้นประสาทที่หนาและมีขนาดใหญ่ ส่วนแอกซอน (axon) ที่ไม่มีปลอกหรือเยื่อไมอีลิน ( myelin sheath) หุ้ม เรียกว่า ใยประสาทอันไมอีลินเนท (unmyelinated nerve fiber) มักมีขนาดเล็ก โดยปลอกหรือเยื่อไมอีลิน (myelin sheath) ใน ระบบประสาทรอบนอก จะสร้างโดยเซลล์ชวันน์ (schwann cells) ส่วนเยื่อไมอีลิน (myelin sheath) ในระบบประสาท ส่วนกลางจะสร้างโดยเซลล์โอริโกเดนโดรเกลีย (oligodendroglia) ปลอกหรือเยื่อไมอีลิน (myelin sheath) จะทำหน้าที่ป้องกันอันตรายและเป็นฉนวนกั้นการถ่ายเทประจุไฟฟ้าระหว่าง ข้างนอกกับข้างในแอกซอน นอกจากนี้ยังช่วยให้กระแสประสาทเดินทางได้เร็วขึ้น เนื่องจากมีโนดออฟแรนเวียร์ (node of ranvier) ซึ่งเป็นส่วนของแอกซอนตรงบริเวณรอยต่อระหว่างเซลล์ชวันน์แต่ละเซลล์ที่ไม่มีเยื่อไมอีลินหุ้มอยู่เป็นระยะๆ โดย ช่วงความยาวระหว่างโนดออฟแรนเวียร์ (node of ranvier) เรียกว่า อินเตอร์โนด (internode) ซึ่งจะสั้นหรือยาวขึ้นอยู่กับความ ยาวของแอกซอน (axon) กระแสประสาทจะเดินทางได้เร็ว เมื่อเส้นใยประสาทนั้นมีเปลือกหุ้ม เยื่อไมอีลิน (myelin sheath) ทำหน้าที่เป็นฉนวนไฟฟ้า (insulator) แบ่งตาม Neurotransmitter ที่หลั่ง Neurotransmitter ที่หลั่งออกมาจาก cholinergic fiber เป็น acetylcholine (Ach) และที่หลั่งออกมา จาก adrenergic fiber เป็น norepinephrine ซึ่งที่ adrenal medulla จะเป็น epinephrine เป็นส่วนใหญ่ การเรียก cholinergic หรือ adrenergic ทำให้ทราบถึง neurotransmitter ที่หลั่ง เพราะบาง fiber ใน Sympathetic system ไม่หลั่ง norepinephrine แต่หลั่ง acetylcholine เช่นที่ปลาย preganglionic fiber ทุกเส้น และที่ postganglionic fiber ที่ไปที่ต่อมเหงื่อ และที่หลอดเลือดที่เป็น ชนิด vasodilator fiber ส่วน Neurotransmitter ที่หลังออกมาจาก Dopaminergic fiber เป็น Dopamine แบ่งตามขนาด ได้ดังนี้ Group I (Ia, Ib), II, III, IV แบ่งตามอัตราความเร่งในการนำกระแสประสาท Group A (Aα, Aβ, Aγ, Aδ), B, C
  • 12. เส้นประสาท (nerve) คุณสมบัติของเส้นใยประสาท Excitability ถูกกระตุ้นและตอบสนองต่อสิ่งเร้า Electrogenesis ผลิตกระแสไฟฟ้าได้เอง Conductivity เป็นตัวเหนี่ยวนำ Adaptation การปรับตัว การกระตุ้นเซลล์ประสาท 1. การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า ขึ้นอยู่กับความเข้ม (V) ความถี่ (Hz) ระยะเวลา (ms,μs) ความมีขั้วทั้งแบบแคโทด (+) และ แอโนด (-) ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct current) ประเภทไม่สม่ำเสมอ (Pulsating D.C) เป็นไฟฟ้ากระแสตรงที่เป็นช่วงคลื่นไม่ สม่ำเสมอ ไฟฟ้ากระแสตรงชนิดนี้ได้มาจากเครื่องไดนาโมหรือวงจรเรียงกระแส (เรคติไฟ) และรูปคลื่น 2. สิ่งกระตุ้นทางเคมี 3. สิ่งกระตุ้นเชิงกล ความเข้มของสิ่งเร้า (การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า) 1. Threshold (VT) * ระดับความแรงต่ำสุดที่ทำให้เกิดการตอบสนอง 2. Subthreshold ระดับที่ไม่เกิดการตอบสนอง 3. Maximal (Vmax) * ระดับความแรงต่ำสุดที่ทำให้เกิดการตอบสนองมากที่สุด 4. Submaximal ระดับความแรงระหว่าง Threshold และ Maximal 5. Supramaximal ระดับความแรงที่มากกว่า Maximal ปรากฎการณ์ทางไฟฟ้าของเส้นใยประสาท 1. ศักย์ไฟฟ้าระยะพักของเยื่อหุ้มเซลล์ (resting membrane potential) กล้ามเนื้อและเส้นประสาทที่จัดว่าเป็นเนื้อเยื่อที่ สามารถถูกกระตุ้น (excitable tissue) หรือเนื้อเยื่อไวต่อสิ่งเร้าหรือสิ่งที่มีการกระตุ้น ซึ่งเซลล์จะถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อ หุ้มหรือเมมเบรน (membrane) ภายในเซลล์ประสาท จะมีปริมาณของโพแทสเซียมไอออนมากกว่าภายนอกเซลล์ และมีโซเดียมไอออนที่ภายนอกเซลล์มากกว่า ภายในเซลล์ (ความจริงมีไอออนชนิดอื่นๆด้วย) ไอออนทั้งสองชนิดนี้
  • 13. มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างภายในและภายนอกเซลล์โดยทั่วไปไอออนจะมีการเคลื่อนที่ จากที่ที่มีความเข้มข้นหรือปริมาณสูงไปยังบริเวณที่ที่มีความเข้มข้นน้อยกว่า ดังน้ันภาวะปกติที่ผิวเซลล์ประสาท โพแทสเซียมไอออนมักจะเคลื่อนจากภายในเซลล์ออกนอกเซลล์ และโซเดียมไอออนจะเคลื่อนจากภายนอกเซลล์ เข้าสู่ภายในเซลล์ โดยเยื่อหุ้มเซลล์ยอมให้โพแทสเซียมไอออนซึมออกมากกว่าที่จะยอมให้โซเดียมไอออนซึมเข้า ทุกขณะที่อยู่นิ่งนั้นจึงคล้ายกับว่ามีประจุบวกวิ่งจากภายในเซลล์ออกมาสู่ภายนอกเซลล์อยู่เสมอ ทำให้ศักย์ไฟฟ้า ภายในเซลล์ มีศักย์เป็นลบเมื่อเทียบกับภายนอกเซลล์พบว่า ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อจะมี ความต่างศักย์ระหว่างภายในและภายนอกเซลล์ประมาณ 60-90 มิลลิโวลต์เฉลี่ยประมาณ –70 มิลลิโวลต์ โดย ภายในเซลล์จะเป็นลบเมื่อเทียบกับภายนอกเซลล์ซึ่งเรียกว่า ศักย์ไฟฟ้าระยะพักของเยื่อหุ้มเซลล์ 2. Electrotonic potential (Electrotonus) มีการเปลี่ยนแปลงศักย์ไฟฟ้าที่เยื่อหุ้มเซลล์ในระดับ Subthreshold และการตอบสนองเฉพาะที่ ไม่แพร่กระจาย ตอบสนองเป็นระดับ 3. Nerve impulse (Nerve action potential; NAP) เป็น Threshold (VT) มีขนาดและรูปร่างตามแบบแผน มีการแสดงแอมพลิจูด ~105 mV ค่าศักย์ไฟฟ้าสูงสุด ช่วงที่ เกินกำหนด ระยะเวลา ~1-4 mS สามารถแพร่กระจายกระแสได้ตามกฎ All or none กฎ All-or-None เมื่อเซลล์ประสาทถูกกระตุ้น ก็จะเกิดการตอบสนองคือเกิดการเปลี่ยนแปลงความต่าง ศักย์ของเยื่อหุ้มเซลล์ขึ้น การตอบสนองของเยื่อหุ้มเซลล์นั้นมี 2 ลักษณะ คือ เกิดกระแสประสาทเมื่อแรงกระตุ้นถึง จุด threshold หรือไม่เกิดกระแสประสาทเมื่อแรงกระตุ้นไม่ถึงจุด threshold ลักษณะการตอบสนองเช่นนี้เรียกว่า all or none ส่วนประกอบของกราฟ Depolarization (Sharp rise): -70 ถึง +35 mV Repolarization กลับมามีขั้ว (rapid fall): +35 ถึง -70 mV Voltage-gated Na+ channel Voltage-gated K+ channel
  • 14. กฎ All-or-None การแพร่กระจายของกระแสประสาท เริ่มต้นจาก Motor neuron รับความรู้สึกไปยัง sensory neuron บริเวณ 1st node of Ranvier มีลักษณะคือ มีการทำงาน อยู่ตลอดเวลา เกิดขึ้นด้วยตัวเอง มีแอมพลิจูดคงที่และมีความเร็วคงที่ ถ้ามี Myelinate หรือขนาดต่างกันความเร็วจะ แตกต่างกัน ยาชาเฉพาะที่ ได้แก่ cocaine, procaine, tetracaine, xylocaine มีการปล่อยสารสื่อประสาทจากปลายประสาท โดยการ exocytosis มีขั้นตอนดังนี้ กระตุ้นเส้นประสาทไปยังปลายเส้นประสาท เปิดช่อง Ca2+ Ca2+ ไหลเข้ามาจาก ISF Ca2+ จับกับถุงเมมเบรน จากนั้นเกิดการปล่อยสารสื่อประสาทออกจาก vesicle Synapse บริเวณที่ส่งข้อมูลจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง มีตำแหน่งอยู่ที่ ในสมอง,ไขสันหลัง,ปมประสาท ประกอบด้วย บริเวณก่อนซิแนปส์ (presynaptic components) เป็นบริเวณส่วนปลายแอกซอนซึ่งมีถุงซิแนปส์ที่มีสารสื่อประสาทอยู่ภายใน
  • 15. บริเวณหลังซิแนปส์ (postsynaptic components) ประกอบด้วยเยื่อบุ (membrane) ของเซลล์ประสาทอีกตัวหนึ่งซึ่งหนาขึ้น เรียกเยื่อบุหลังซิแนปส์ (postsynaptic membrane) และ organelles ช่องซิแนปส์ (synaptic cleft) ขนาดประมาณ 200 ถึง 300 อังสตรอม เป็นช่องว่างระหว่างเยื่อบุก่อนซิแนปส์ (presynaptic membrane) กับหลังซิแนปส์ (postsynaptic membrane) ประเภทของ Synapse 1. Electrical synapse ส่งผ่านโดยอาศัยการไหลของกระแสไฟฟ้า เกิดขึ้นที่รอยต่อระหว่างเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์ ประสาทก่อนไซแนปส์และเซลล์ประสาทหลังไซแนปส์ที่อยู่ชิดกันจนเสมือนเป็นเยื่อหุ้มเซลล์เดียวกันซึ่งเกิดจากการ เชื่อมติดกันของโปรตีน Gap junction หรือ connexon ที่ low electrical resistance รวมกันเป็นช่อง ทำให้ Action potential จากเซลล์ประสาทก่อนไซแนปส์สามารถผ่านช่องโปรตีนเข้าสู่เซลล์ประสาทหลังไซแนปส์ได้ สามารถพบ ได้ที่กล้ามเนื้อหัวใจหรือบางบริเวณของสมองมนุษย์ 2. Chemical synapse (พบมากในร่างกาย) เช่น จุดต่อระหว่างเซลล์ประสาทสั่งการกับใยกล้ามเนื้อซึ่งเป็นไซแนปส์ พิเศษที่เรียกว่า แผ่นเชื่อมประสาทสั่งการและกล้ามเนื้อ (Neuromuscular junction, NMJ) ที่ปลายแอกซอนจะมีถุง ขนาดเล็กและไมโทคอนเดรีย สะสมอยู่มากภายในถุงเหล่านี้จะบรรจุสารสื่อประสาท เมื่อกระแสประสาทเคลื่อนที่ มาถึงปลายแอกซอน ถุงเล็กๆ ดังกล่าวจะเคลื่อนไปรวมตัวกับเยื่อหุ้มเซลล์ตรงบริเวณไซแนปส์และปล่อยสารสื่อ ประสาทออกมา เพื่อกระตุ้นเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์ถัดไปทำให้เซลล์ประสาทที่ถูกกระตุ้นมีกระแสประสาทเกิดขึ้น และถูกถ่ายทอดต่อไปจนถึงปลายทาง เมื่อสารสื่อประสาทถูกปล่อยออกมาจากถุงบรรจุสารสื่อประสาทที่เยื่อหุ้ม ปลายแอกซอนเข้าสู่ช่องไซแนปส์สารสื่อประสาทจะไปจับกับโปรตีนตัวรับที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์ประสาทหลัง ไซแนปส์ ion channels ได้แก่ Na+,Cl-,K+ ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของไอออนผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลง ความต่างศักย์ที่เดนไดรต์ของเซลล์ประสาทต่อไป และมีเอนไซม์ย่อยสารสื่อประสาทที่จับกับ receptor แล้ว
  • 16. ใน Postsynaptic neuron ถูกกระตุ้นแล้วสร้างกระแสประสาทแบบกระตุ้น (EPSP) และมีการยับยั้งกระแสประสาทที่ สร้างใน Postsynaptic neuron (IPSP) โดย ion channels Na+-K+ สารสื่อประสาทชนิดกระตุ้น (Excitatory neurotransmitters) เช่น glutamate, Ach สารสื่อประสาทชนิดยับยั้ง (Inhibitory neurotransmitters) เช่น glycine, GABA การกระจายจาก synaptic cleft ไปยัง ISF มีการนำกลับมาใช้ใหม่บริเวณ presynaptic knob (active transport) การ ทำลายโดยเอนไซม์ ความเข้มข้นของ Ca2+ ลดลงโดย Na+-Ca2+ antiport ดูดซึม Ca2+ ไปยังไมโตคอนเดีย ทำให้หยุดการปล่อยสารสื่อ ประสาท ปริมาณสารสื่อประสาทที่หลั่งขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของ Ca2+ ใน presynaptic knob คุณสมบัติของ synapse มีการนำทิศทางเดียว (One-way conduction) Synaptic delay: 0.5 mS (minimum) Interneurons เป็นวงจรของเซลล์ ประสาท
  • 17. Electrical phenomena of synapse เยื่อหุ้มเซลล์ประสาทหลังซิแนปส์ เกิดการดีโพลาไรเซชั่น เรียกศักย์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้ว่า ศักย์ไฟฟ้าที่เร้าเซลล์หลัง ซิแนปส์ (excitatory postsynaptic potential หรือ EPSP) ซึ่งมีปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นคือ เมื่อกระแสประสาทเคลื่อนที่ มาถึงซิแนปติกน็อบของเซลล์ประสาทก่อนซิแนปส์ จะทำให้แคลเซียมไอออนภายนอกเซลล์เคลื่อนที่มาถึงซิแนปติกน็อบ เป็น เหตุให้ซิแนปติกเวสิเคิลเคลื่อนที่มาติดกับเยื่อหุ้มเซลล์แล้วปล่อยสารเคมีภายใน ซึ่งอาจเป็น Acetylcholine;Ach norepinephrine epinephrine dopamine serotonin L-glutamate หรือ L-aspartate อย่างใดอย่างหนึ่ง เข้ามาในซิแนปติก แคลฟต์ สารเคมีเหล่านี้จะเคลื่อนที่ไปจับกับช่องโซเดียมที่ปิด-เปิด เมื่อมีสารเคมีจำเพาะเจาะจงมาจับ (chemically gated sodium channels) ช่องโซเดียมชนิดนี้จึงเปิดออก ทำให้โซเดียมไอออนเคลื่อนที่เข้าไปในเซลล์ ซึ่งเป็นการนำประจุบวกเข้าไป ความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างเยื่อหุ้มเซลล์์ จึงเปลี่ยนจาก -70 มิลลิโวลต์เป็น -69, -68, …… ไปเรื่อย ๆ ถ้าสารเคมีที่ถูก ปล่อยออกมามีมากพอที่จะทำให้ช่องโซเดียมชนิดนี้เปิดออกหลายช่องๆ โซเดียมไอออนก็จะเข้าสู่เซลล์จนกระทั่ง ทำให้ ศักย์ไฟฟ้าขณะทำงานขึ้นในเยื่อหุ้มเซลล์์ประสาทหลังซิแนปส์์ เซลล์ประสาทเซลล์นี้ก็สามารถนำกระแสประสาทให้เคลื่อนที่ ไปจนถึงปลายสุดของแอกซอนได้ ส่วนสารเคมีที่เป็นสารสื่อประสาทเหล่านี้จะถูกทำลายโดยเอนไซม์ที่มีความจำเพาะต่อสาร สื่อประสาทชนิดนั้น ๆ เยื่อหุ้มเซลล์ประสาทหลังซิแนปส์ เกิด hyperpolarization เรียกศักย์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นที่เกิดขึ้นนี้ว่า ศักย์ไฟฟ้าที่ยับยั้งเซลล์ หลังซิแนปส์ (inhibitory postsynaptic potential หรือ IPSP) ซึ่งมีปรากฏการณ์ในตอนต้นเหมือนแบบ EPSP แต่แตกต่างที่ สารเคมีที่ปล่อยออกมาในซิแนปติกเคลฟต์อาจเป็นกรดแกมมาอะมิโนบิวทีริก (gamma aminobutyric acid, GABA) ไกลซีน (Glycine) อะลานีน (alanine) หรือเทารีน (taurine) ไซแนปส์ (Synapse) สารเคมีเหล่านี้จะไปจับกับช่องโพแทสเซียมและช่อง คลอรีนที่ปิด-เปิด เมื่อมีสารเคมีที่จำเพาะเจาะจงมาจับ ทำให้ช่องเหล่านี้เปิดโพแทสเซียมไอออนจึงเคลื่อนที่ออกจากเซลล์ และคลอรีนไอออนเคลื่อนที่เข้าสู่เซลล์ ทำให้ศักย์ไฟฟ้าเปลี่ยนจาก -70 มิลลิโวลต์ เป็น -71, -72, …… ไปเรื่อย ๆ เรียกว่าไฮ เพอร์โพลาไรเซชั่น ทำให้เซลล์ประสาทหลังซิแนปส์ นำกระแสประสาทไม่ได้ จึงเป็นการยับยั้งเซลล์หลังซิแนปส์
  • 18. Sensory receptor Biotransducers ทำหน้าที่แปลงพลังงานรูปแบบต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อมให้เป็น action potentials ในเซลล์ ประสาท (Ganong,1999) สิ่งเร้าทำให้เกิดศักย์ไฟฟ้า (receptor potential) จากนั้นจะเกิด nerve impulse ทำให้ เกิดความรู้สึก สิ่งที่ทำให้รู้สึกตัว เช่น cold, warm, touch ไม่รู้สึกตัว เช่น ความดันโลหิต, PO2, PCO2 ในเลือด ประเภทของ sensory receptor 1. Mechanoreceptor 2. Thermoreceptor 3. Nociceptor 4. Photoreceptor 5. Chemoreceptor โครงสร้างของ sensory receptor 1. ปลายประสาทอิสระ (Naked nerve ending) (F) 2. ปลายประสาทรับความรู้สึกที่ขยาย (A, B) 3. ปลายประสาทรับความรู้สึกที่ไม่มี capsule ห่อหุ้ม (F, Hair follicle plexus) 4. ปลายประสาทรับความรู้สึกที่มี capsule ห่อหุ้ม (D, E) กิจกรรมทางไฟฟ้าใน receptor ที่ทำให้เกิดศักย์ไฟฟ้า (receptor potential) เป็นลักษณะ depolarizing potential ที่ไม่กระจาย ตอบสนองตามความแรง กลไกเกิดที่เฉพาะ paccinian corpuscle เริ่มจากได้รับแรงกด เกิดการเปลี่ยนรูปของเมมเบรน (unmyelinated nerve ending) เปิดช่อง Na+ ให้ไหลเข้า เกิด Depolarization สร้างกระแสประสาท การถ่ายโอน (Transduction)
  • 19. สรีรวิทยาของกล้ามเนื้อโครงร่าง (Physiology of Skeletal Muscle) ประเภทของกล้ามเนื้อ 1. Skeletal muscle (กล้ามเนื้อลาย (Striated); Voluntary muscle) 2. Cardiac muscle (ชั้น Myocardium) 3. Smooth muscle คุณสมบัติของกล้ามเนื้อ (Properties of muscle) สามารถถูกกระตุ้นได้ หดตัวได้ มีความยืนหยุ่น (Elasticity) ต้านทานต่อการเปลี่ยนรูป ถูกดึงหรือยืดออกไปได้ (Dispensability) กล้ามเนื้อลาย (striated muscle หรือ skeletal muscle) เป็นมัดกล้ามเนื้อส่วนใหญ่ของร่างกาย สามารถ ควบคุมการเคลื่อนไหวของอวัยวะที่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อลายได้ ทำงานโดยประสาทสั่งงานจากความรู้สึก (conscious) ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาทส่วนกลาง จึงถือได้ว่ามันเป็นกล้ามเนื้อชนิดที่อยู่ภายใต้ อำนาจจิตใจ (voluntary muscle) ในเซลล์มีหลายนิวเคลียส และมีไมโตคอนเดรียจำนวนมาก Sarcolemma หรือ ที่เรียกว่า myolemma เป็นเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์กล้ามเนื้อ ของเหลวที่อยู่ภายในเซลล์เรียกว่า Sarcoplasm ซึ่งจะมีมัดของเส้นใยฝอยที่มีชื่อเรียกว่า Fibril (ภายในมี ลักษณะcross-striation และมี myofilament) ลอยตัวอยู่เกือบเต็มพื้นที่ของเซลล์ ช่องว่างระหว่างเส้นใยฝอย จะมีไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) ซึ่งในเซลล์กล้ามเนื้อเรียกว่า Sarcosome และ Endoplasmic Reticulum ที่ มีชื่อเรียกว่า Sarcoplasmic Reticulum แทรกตัวอยู่โดยตลอด ส่วน Terminal cisternae เป็นส่วนของ sarcoplasmic reticulum ซึ่ง sarcoplasmic reticulum แต่ละ เซลล์จะมี terminae cisternae 2 อัน Transverse tubule (t-tubule) อยู่ระหว่าง terminae cisternae ทำหน้าที่ส่งผ่าน action potential ไป ที่ muscle fiber ส่วนประกอบของ transverse tubule 1 อัน กับ terminae cisternae 2 อัน เรียกว่า triad