SlideShare a Scribd company logo
1 of 2
Download to read offline
⌫⌫  
QA NEWS ฉบับที่แล้วกล่าวถึงกรอบแนวคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทักษะ
สำหรับศตวรรษที่21(Partnershipfor21st
CenturySkills)เกี่ยวกับผลการเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนทั้งในส่วนที่เป็นสาระวิชาหลัก
และความรู้สำคัญในการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 รวมทั้งทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 ในส่วนทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
ฉบับนี้ขอนำทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 ส่วนที่เหลือมานำเสนอ
ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (Information,
Media and Technology Skills)
การดำรงชีวิตในยุคศตวรรษที่ 21 อยู่ในสภาพแวดล้อมของ
เทคโนโลยีและสื่อ ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลอันมากมายและ
หลากหลาย การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างรวดเร็วของ
เทคโนโลยี รวมถึงโอกาสในการเข้ามามีส่วนร่วมของบุคคล
ในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อนทำให้ในศตวรรษที่21ประชาชนต้องมี
ทักษะและวิจารณฌาณในด้านข้อมูล สื่อ และเทคโนโลยี ดังนี้
1. ความรู้ด้านสารสนเทศ (Information Literacy)
ประกอบด้วย
- การเข้าถึงและประเมินสารสนเทศ (Access and
Evaluation Information)โดยสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างมี
ประสิทธิภาพทั้งด้านการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องและทันเวลา
และประเมินสารสนเทศอย่างมีวิจารณฌาณและครบถ้วน
- การใช้และการจัดการสารสนเทศ (Use and
Manage Information) โดยใช้สารสนเทศอย่างสร้างสรรค์และ
ตรงกับประเด็นหรือปัญหาที่กำลังดำเนินการ จัดการกับข้อมูล
สารสนเทศที่มาจากหลายๆ แหล่ง และมีจริยธรรมและยึดถือ
กฎหมายในการเข้าถึงและใช้ข้อมูลสารสนเทศ
2. ความรู้ด้านสื่อ (Media Literacy) ประกอบด้วย
- ความสามารถในการวิเคราะห์สื่อ (Analyze Media)
เข้าใจว่าสื่อนั้นๆ ถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร และเพื่อวัตถุประสงค์ใด
พิจารณาได้ว่าเหตุใดบุคคลจึงแปลความหมายของสื่อแตกต่างกัน
สื่อมีอิทธิพลต่อความเชื่อและพฤติกรรมของแต่ละบุคคลอย่างไร
และมีจริยธรรมและยึดถือกฎหมายในการเข้าถึงและใช้สื่อ
- ความสามารถในการผลิตสื่อ (Create Media
Products) เข้าใจและรู้จักใช้เครื่องมือในการสร้างสื่อที่เหมาะสม
รู้จักใช้ประโยชน์ของสื่ออย่างมีประสิทธิภาพภายใต้สภาพแวดล้อม
และความหลากหลายทางวัฒนธรรม
3. ความรู้ด้านสารสนเทศ การสื่อสาร และเทคโนโลยี
(Information, Communication and Technology Literacy) การใช้
เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ (Apply Technology Effectively)
ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการวิจัยจัดการประเมินและสื่อสาร
สารสนเทศ ใช้เทคโนโลยีดิจิตอล (เช่น คอมพิวเตอร์ PDA
เครื่องเล่นสื่อต่างๆ และ GPS เป็นต้น) เครื่องมือสื่อสาร/เครือข่าย
และเครือข่างทางสังคมในการเข้าถึง จัดการ บูรณาการ ประเมิน
และสร้างข้อมูลสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมในสังคมเศรษฐกิจ
ฐานความรู้ มีจริยธรมและยึดถือกฎหมายในประเด็นที่เกี่ยวกับ
การเข้าถึงและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ทักษะชีวิตและอาชีพ (Life and Career Skills)
การดำรงชีวิตและประกอบอาชีพในสภาพแวดล้อมปัจจุบัน
ต้องการทักษะขั้นสูงมากกว่าทักษะการคิด และเนื้อหาความรู้
ทั่วไป เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมและสภาพแวดล้อม
การทำงานที่ซับซ้อนในยุคข้อมูลสารสนเทศที่มีการแข่งขันสูง
ผู้เรียนต้องให้ความสนใจอย่างยิ่งในการพัฒนาทักษะชีวิตและ
ทักษะในการทำงาน ดังนี้
1. ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว
(Flexibility and Adaptability) ประกอบด้วย
- การปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง (Adapt to
Change)ปรับตัวเข้ากับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบแบบแผน
และบริบทที่หลากหลาย ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้
สภาพแวดล้อมที่คลุมเครือและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
- ความยึดหยุ่น (Be Flexible) ปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
ต่อผลสะท้อนกลับที่ได้รับ ดำเนินการในเชิงบวกกับการชื่นชม
การท้วงติง และการวิจารณ์ เข้าใจและสามารถจัดการกับ
ความเห็นและความเชื่อที่แตกต่างกันเพื่อหาทางออกที่เหมาะสม
โดยเฉพาะภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีความหลากหลาย
Q
⌫     
   ⌫     
⌦     ⌫ ⌫ ⌫
2. การริเริ่มและกำกับดูแลตนเอง (Initiative and Self-
Direction) ประกอบด้วย
- การจัดการเป้าหมายและเวลา (Manage Goals and
Time) สามารถตั้งเป้าหมายและเกณฑ์ความสำเร็จ สร้าง
ความสมดุลในเป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาว บริหารเวลา
และจัดภาระงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ทำงานได้ด้วยตนเอง (Work Independently)ควบคุม
กำหนด จัดลำดับความสำคัญ และสามารถทำงานให้บรรลุผล
โดยไม่จำเป็นต้องมีคนอื่นคอยควบคุม
- เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Be Self-directed Learners)
ขยายการเรียนรู้ของตนเองนอกเหนือจากทักษะและเนื้อหา
ขั้นพื้นฐานเพื่อสู่ความเชี่ยวชาญ มุ่งมั่นพัฒนาทักษะขั้นสูงสู่
ความเป็นมืออาชีพ มุ่งมั่นในการเรียนรู้ตลอดชีวิต วิเคราะห์และ
ถอดบทเรียนจากประสบการณ์ในอดีตเพื่อใช้พัฒนาตนเอง
ในอนาคต
3. ทักษะด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม (Social
and Cross-Cultural Skills) ประกอบด้วย
- การมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพกับผู้อื่น
(Interact Effectively with Others) พูดและฟังอย่างมีกาละเทศะ
ปฏิบัติตนโดยมีสัมมาคารวะและควรค่าแก่การนับถือ
- ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพกับคนที่หลากหลาย
(Work Effectively in Diverses Teams) เคารพความแตกต่างทาง
วัฒนธรรมและสามารถร่วมงานกับคนที่มีภูมิหลังทางสังคมและ
วัฒนธรรมหลากหลาย เปิดใจรับฟังความเห็นที่แตกต่าง และ
สามารถใช้ประโยชน์จากความแตกต่างด้านสังคมและวัฒนธรรม
เพื่อสร้างแนวคิดและนวัตกรรมใหม่ๆ รวมทั้งพัฒนาคุณภาพงาน
4. ผลิตภาพและความรับผิดชอบ (Productivity and
Accountability) ประกอบด้วย
- การจัดการโครงการ (Manage Project) สามารถตั้ง
เป้าหมายและดำเนินการไปสู่เป้าหมายได้แม้จะมีอุปสรรค์และ
แรงกดดันจากการแข่งขันสามารถจัดลำดับความสำคัญวางแผน
และบริหารงานเพื่อให้ได้รับผลตามที่คาดหวัง
- การทำให้เกิดผล(ProduceResult)มีคุณลักษณะของ
ผู้ที่จะสร้างผลงานที่มีคุณภาพ เช่น การทำงานในเชิงบวกอย่างมี
จริยธรรม การบริหารเวลาและโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถทำงานได้หลากหลายการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของกลุ่ม
อย่างกระตือรือร้น ความเป็นมืออาชีพและมีความน่าเชื่อถือ
ทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพและให้ความร่วมมือกับ
ทีม เคารพความหลากหลายในทีม และรับผิดชอบกับผลงาน
ที่เกิดขึ้น
5. ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Leadership and
Resposibility) ประกอบด้วย
- เป็นผู้นำและสามารถนำผู้อื่น (Guide and Lead
Others) สามารถใช้ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์และการแก้ปัญหา
ในการจูงใจและแนะนำผู้อื่นไปสู่เป้าหมายที่กำหนด รู้จักใช้
จุดแข็งของผู้อื่นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันสร้างแรงบันดาลใจ
ให้ผู้อื่นทุ่มเทจนถึงที่สุดด้วยการแสดงออกเป็นตัวอย่าง และมี
พฤติกรรมการใช้อำนาจอย่างมีคุณธรรมถูกต้องและตรงไปตรงมา
- ความรับผิดชอบต่อผู้อื่น(BeResponsibletoOthers)
มีจิตสาธารณะและความรับผิดชอบต่อสังคม
ส่วนที่เกี่ยวกับระบบส่งเสริมการเรียนรู้ตามกรอบแนวคิด
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จะนำเสนอในฉบับต่อไป
⌫⌫⌫⌫⌫
⌫   ⌦⌫
⌦⌫  ⌦⌫ 
  ⌦ ⌫ ⌫⌫
     ⌫    
  


More Related Content

Viewers also liked

Presการพัฒนาทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ผ่านการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructi...
Presการพัฒนาทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ผ่านการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructi...Presการพัฒนาทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ผ่านการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructi...
Presการพัฒนาทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ผ่านการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructi...
Tippaluk K.
 
Chapter4 lecture
Chapter4 lectureChapter4 lecture
Chapter4 lecture
supimon1956
 
กระบวนการวิเคราะห์และกำหนดความต้องการสารสนเทศ
กระบวนการวิเคราะห์และกำหนดความต้องการสารสนเทศกระบวนการวิเคราะห์และกำหนดความต้องการสารสนเทศ
กระบวนการวิเคราะห์และกำหนดความต้องการสารสนเทศ
supimon1956
 
กลยุทธ์และบริการสารสนเทศ
กลยุทธ์และบริการสารสนเทศกลยุทธ์และบริการสารสนเทศ
กลยุทธ์และบริการสารสนเทศ
Naresuan University Library
 
การวิเคราะห์และการกำหนดความต้องการสารสนเทศ
การวิเคราะห์และการกำหนดความต้องการสารสนเทศการวิเคราะห์และการกำหนดความต้องการสารสนเทศ
การวิเคราะห์และการกำหนดความต้องการสารสนเทศ
supimon1956
 
Chapter 5 telecommunication and networks & database managentment
Chapter 5 telecommunication and networks & database managentmentChapter 5 telecommunication and networks & database managentment
Chapter 5 telecommunication and networks & database managentment
Pa'rig Prig
 
Chapter 6 system development
Chapter 6 system developmentChapter 6 system development
Chapter 6 system development
Pa'rig Prig
 
Chapter 1 information technology
Chapter 1 information technologyChapter 1 information technology
Chapter 1 information technology
Pa'rig Prig
 

Viewers also liked (20)

บทที่ 2 การรู้สารสนเทศ
บทที่ 2 การรู้สารสนเทศบทที่ 2 การรู้สารสนเทศ
บทที่ 2 การรู้สารสนเทศ
 
บท 2 แนวคิดเกี่ยวกับการรู้สารสนเทศ
บท 2 แนวคิดเกี่ยวกับการรู้สารสนเทศบท 2 แนวคิดเกี่ยวกับการรู้สารสนเทศ
บท 2 แนวคิดเกี่ยวกับการรู้สารสนเทศ
 
Presการพัฒนาทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ผ่านการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructi...
Presการพัฒนาทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ผ่านการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructi...Presการพัฒนาทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ผ่านการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructi...
Presการพัฒนาทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ผ่านการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructi...
 
Chapter4 lecture
Chapter4 lectureChapter4 lecture
Chapter4 lecture
 
การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21
การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21
การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21
 
กระบวนการวิเคราะห์และกำหนดความต้องการสารสนเทศ
กระบวนการวิเคราะห์และกำหนดความต้องการสารสนเทศกระบวนการวิเคราะห์และกำหนดความต้องการสารสนเทศ
กระบวนการวิเคราะห์และกำหนดความต้องการสารสนเทศ
 
กลยุทธ์และบริการสารสนเทศ
กลยุทธ์และบริการสารสนเทศกลยุทธ์และบริการสารสนเทศ
กลยุทธ์และบริการสารสนเทศ
 
การวิเคราะห์และการกำหนดความต้องการสารสนเทศ
การวิเคราะห์และการกำหนดความต้องการสารสนเทศการวิเคราะห์และการกำหนดความต้องการสารสนเทศ
การวิเคราะห์และการกำหนดความต้องการสารสนเทศ
 
การค้นหาข้อมูลสารสนเทศ
การค้นหาข้อมูลสารสนเทศการค้นหาข้อมูลสารสนเทศ
การค้นหาข้อมูลสารสนเทศ
 
Chapter 5 telecommunication and networks & database managentment
Chapter 5 telecommunication and networks & database managentmentChapter 5 telecommunication and networks & database managentment
Chapter 5 telecommunication and networks & database managentment
 
บทที่ 3.1
บทที่ 3.1บทที่ 3.1
บทที่ 3.1
 
ปก
ปกปก
ปก
 
บทที่ 2 การจัดตั้งธุรกิจ
บทที่ 2 การจัดตั้งธุรกิจบทที่ 2 การจัดตั้งธุรกิจ
บทที่ 2 การจัดตั้งธุรกิจ
 
บทที่ 5.1
บทที่ 5.1บทที่ 5.1
บทที่ 5.1
 
Presentation1
Presentation1Presentation1
Presentation1
 
ความเป็นมา Ld
ความเป็นมา Ldความเป็นมา Ld
ความเป็นมา Ld
 
M
MM
M
 
Chapter 6 system development
Chapter 6 system developmentChapter 6 system development
Chapter 6 system development
 
Chapter 1 information technology
Chapter 1 information technologyChapter 1 information technology
Chapter 1 information technology
 
บทที่ 2การเปลี่ยนแปลงเงินทุนของห้างหุ้นส่วน (2)
บทที่ 2การเปลี่ยนแปลงเงินทุนของห้างหุ้นส่วน (2)บทที่ 2การเปลี่ยนแปลงเงินทุนของห้างหุ้นส่วน (2)
บทที่ 2การเปลี่ยนแปลงเงินทุนของห้างหุ้นส่วน (2)
 

More from Pa'rig Prig

More from Pa'rig Prig (20)

4
44
4
 
3
33
3
 
2
22
2
 
1
11
1
 
Eport2
Eport2Eport2
Eport2
 
5
55
5
 
4
44
4
 
3
33
3
 
2
22
2
 
1
11
1
 
2
22
2
 
1
11
1
 
ปกแบบประเมิน
ปกแบบประเมินปกแบบประเมิน
ปกแบบประเมิน
 
ปูนปลาสเตอร์
ปูนปลาสเตอร์ปูนปลาสเตอร์
ปูนปลาสเตอร์
 
อากาศภาค
อากาศภาคอากาศภาค
อากาศภาค
 
ธรณีภาค
ธรณีภาคธรณีภาค
ธรณีภาค
 
ชีวภาค
ชีวภาคชีวภาค
ชีวภาค
 
โลกและจักรวาล
โลกและจักรวาลโลกและจักรวาล
โลกและจักรวาล
 
บทที่ 4 การวาดรูปทรงเรขาคณิต
บทที่ 4 การวาดรูปทรงเรขาคณิตบทที่ 4 การวาดรูปทรงเรขาคณิต
บทที่ 4 การวาดรูปทรงเรขาคณิต
 
บทที่ 3 ทฤษฎีการร่างภาพ
บทที่ 3 ทฤษฎีการร่างภาพบทที่ 3 ทฤษฎีการร่างภาพ
บทที่ 3 ทฤษฎีการร่างภาพ
 

บทที่ 2 ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

  • 1. ⌫⌫   QA NEWS ฉบับที่แล้วกล่าวถึงกรอบแนวคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทักษะ สำหรับศตวรรษที่21(Partnershipfor21st CenturySkills)เกี่ยวกับผลการเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนทั้งในส่วนที่เป็นสาระวิชาหลัก และความรู้สำคัญในการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 รวมทั้งทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 ในส่วนทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ฉบับนี้ขอนำทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 ส่วนที่เหลือมานำเสนอ ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (Information, Media and Technology Skills) การดำรงชีวิตในยุคศตวรรษที่ 21 อยู่ในสภาพแวดล้อมของ เทคโนโลยีและสื่อ ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลอันมากมายและ หลากหลาย การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างรวดเร็วของ เทคโนโลยี รวมถึงโอกาสในการเข้ามามีส่วนร่วมของบุคคล ในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อนทำให้ในศตวรรษที่21ประชาชนต้องมี ทักษะและวิจารณฌาณในด้านข้อมูล สื่อ และเทคโนโลยี ดังนี้ 1. ความรู้ด้านสารสนเทศ (Information Literacy) ประกอบด้วย - การเข้าถึงและประเมินสารสนเทศ (Access and Evaluation Information)โดยสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างมี ประสิทธิภาพทั้งด้านการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องและทันเวลา และประเมินสารสนเทศอย่างมีวิจารณฌาณและครบถ้วน - การใช้และการจัดการสารสนเทศ (Use and Manage Information) โดยใช้สารสนเทศอย่างสร้างสรรค์และ ตรงกับประเด็นหรือปัญหาที่กำลังดำเนินการ จัดการกับข้อมูล สารสนเทศที่มาจากหลายๆ แหล่ง และมีจริยธรรมและยึดถือ กฎหมายในการเข้าถึงและใช้ข้อมูลสารสนเทศ 2. ความรู้ด้านสื่อ (Media Literacy) ประกอบด้วย - ความสามารถในการวิเคราะห์สื่อ (Analyze Media) เข้าใจว่าสื่อนั้นๆ ถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร และเพื่อวัตถุประสงค์ใด พิจารณาได้ว่าเหตุใดบุคคลจึงแปลความหมายของสื่อแตกต่างกัน สื่อมีอิทธิพลต่อความเชื่อและพฤติกรรมของแต่ละบุคคลอย่างไร และมีจริยธรรมและยึดถือกฎหมายในการเข้าถึงและใช้สื่อ - ความสามารถในการผลิตสื่อ (Create Media Products) เข้าใจและรู้จักใช้เครื่องมือในการสร้างสื่อที่เหมาะสม รู้จักใช้ประโยชน์ของสื่ออย่างมีประสิทธิภาพภายใต้สภาพแวดล้อม และความหลากหลายทางวัฒนธรรม 3. ความรู้ด้านสารสนเทศ การสื่อสาร และเทคโนโลยี (Information, Communication and Technology Literacy) การใช้ เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ (Apply Technology Effectively) ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการวิจัยจัดการประเมินและสื่อสาร สารสนเทศ ใช้เทคโนโลยีดิจิตอล (เช่น คอมพิวเตอร์ PDA เครื่องเล่นสื่อต่างๆ และ GPS เป็นต้น) เครื่องมือสื่อสาร/เครือข่าย และเครือข่างทางสังคมในการเข้าถึง จัดการ บูรณาการ ประเมิน และสร้างข้อมูลสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมในสังคมเศรษฐกิจ ฐานความรู้ มีจริยธรมและยึดถือกฎหมายในประเด็นที่เกี่ยวกับ การเข้าถึงและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะชีวิตและอาชีพ (Life and Career Skills) การดำรงชีวิตและประกอบอาชีพในสภาพแวดล้อมปัจจุบัน ต้องการทักษะขั้นสูงมากกว่าทักษะการคิด และเนื้อหาความรู้ ทั่วไป เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมและสภาพแวดล้อม การทำงานที่ซับซ้อนในยุคข้อมูลสารสนเทศที่มีการแข่งขันสูง ผู้เรียนต้องให้ความสนใจอย่างยิ่งในการพัฒนาทักษะชีวิตและ ทักษะในการทำงาน ดังนี้ 1. ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว (Flexibility and Adaptability) ประกอบด้วย - การปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง (Adapt to Change)ปรับตัวเข้ากับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบแบบแผน และบริบทที่หลากหลาย ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ สภาพแวดล้อมที่คลุมเครือและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา - ความยึดหยุ่น (Be Flexible) ปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม ต่อผลสะท้อนกลับที่ได้รับ ดำเนินการในเชิงบวกกับการชื่นชม การท้วงติง และการวิจารณ์ เข้าใจและสามารถจัดการกับ ความเห็นและความเชื่อที่แตกต่างกันเพื่อหาทางออกที่เหมาะสม โดยเฉพาะภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีความหลากหลาย Q ⌫     
  • 2.    ⌫      ⌦     ⌫ ⌫ ⌫ 2. การริเริ่มและกำกับดูแลตนเอง (Initiative and Self- Direction) ประกอบด้วย - การจัดการเป้าหมายและเวลา (Manage Goals and Time) สามารถตั้งเป้าหมายและเกณฑ์ความสำเร็จ สร้าง ความสมดุลในเป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาว บริหารเวลา และจัดภาระงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ - ทำงานได้ด้วยตนเอง (Work Independently)ควบคุม กำหนด จัดลำดับความสำคัญ และสามารถทำงานให้บรรลุผล โดยไม่จำเป็นต้องมีคนอื่นคอยควบคุม - เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Be Self-directed Learners) ขยายการเรียนรู้ของตนเองนอกเหนือจากทักษะและเนื้อหา ขั้นพื้นฐานเพื่อสู่ความเชี่ยวชาญ มุ่งมั่นพัฒนาทักษะขั้นสูงสู่ ความเป็นมืออาชีพ มุ่งมั่นในการเรียนรู้ตลอดชีวิต วิเคราะห์และ ถอดบทเรียนจากประสบการณ์ในอดีตเพื่อใช้พัฒนาตนเอง ในอนาคต 3. ทักษะด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม (Social and Cross-Cultural Skills) ประกอบด้วย - การมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพกับผู้อื่น (Interact Effectively with Others) พูดและฟังอย่างมีกาละเทศะ ปฏิบัติตนโดยมีสัมมาคารวะและควรค่าแก่การนับถือ - ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพกับคนที่หลากหลาย (Work Effectively in Diverses Teams) เคารพความแตกต่างทาง วัฒนธรรมและสามารถร่วมงานกับคนที่มีภูมิหลังทางสังคมและ วัฒนธรรมหลากหลาย เปิดใจรับฟังความเห็นที่แตกต่าง และ สามารถใช้ประโยชน์จากความแตกต่างด้านสังคมและวัฒนธรรม เพื่อสร้างแนวคิดและนวัตกรรมใหม่ๆ รวมทั้งพัฒนาคุณภาพงาน 4. ผลิตภาพและความรับผิดชอบ (Productivity and Accountability) ประกอบด้วย - การจัดการโครงการ (Manage Project) สามารถตั้ง เป้าหมายและดำเนินการไปสู่เป้าหมายได้แม้จะมีอุปสรรค์และ แรงกดดันจากการแข่งขันสามารถจัดลำดับความสำคัญวางแผน และบริหารงานเพื่อให้ได้รับผลตามที่คาดหวัง - การทำให้เกิดผล(ProduceResult)มีคุณลักษณะของ ผู้ที่จะสร้างผลงานที่มีคุณภาพ เช่น การทำงานในเชิงบวกอย่างมี จริยธรรม การบริหารเวลาและโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำงานได้หลากหลายการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของกลุ่ม อย่างกระตือรือร้น ความเป็นมืออาชีพและมีความน่าเชื่อถือ ทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพและให้ความร่วมมือกับ ทีม เคารพความหลากหลายในทีม และรับผิดชอบกับผลงาน ที่เกิดขึ้น 5. ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Leadership and Resposibility) ประกอบด้วย - เป็นผู้นำและสามารถนำผู้อื่น (Guide and Lead Others) สามารถใช้ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์และการแก้ปัญหา ในการจูงใจและแนะนำผู้อื่นไปสู่เป้าหมายที่กำหนด รู้จักใช้ จุดแข็งของผู้อื่นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันสร้างแรงบันดาลใจ ให้ผู้อื่นทุ่มเทจนถึงที่สุดด้วยการแสดงออกเป็นตัวอย่าง และมี พฤติกรรมการใช้อำนาจอย่างมีคุณธรรมถูกต้องและตรงไปตรงมา - ความรับผิดชอบต่อผู้อื่น(BeResponsibletoOthers) มีจิตสาธารณะและความรับผิดชอบต่อสังคม ส่วนที่เกี่ยวกับระบบส่งเสริมการเรียนรู้ตามกรอบแนวคิด การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จะนำเสนอในฉบับต่อไป ⌫⌫⌫⌫⌫ ⌫   ⌦⌫ ⌦⌫  ⌦⌫    ⌦ ⌫ ⌫⌫      ⌫        