SlideShare a Scribd company logo
1 of 19
Download to read offline
หัวข้อการเรียนรู้ที่ 4 ความปลอดภัยเครื่องมือและเครื่องจักรในงานผลิตภัณฑ์โลหะ
แผ่น
เครื่องมือและเครื่องจักรในงานผลิตภัณฑ์โลหะแผ่น (Sheet Metal Tool) การปฏิบัติงาน
ด้านโลหะแผ่นให้ได้ผลงานหรือผลิตภัณฑ์ที่ดีนั้น นอกจากจะต้องศึกษา ความปลอดภัยทั่วไปในงาน
ผลิตภัณฑ์โลหะแผ่น กฎความปลอดภัยในการปฏิบัติงานผลิตภัณฑ์โลหะแผ่น อุปกรณ์ป้องกัน
อันตรายส่วนบุคคลแล้ว ยังต้องศึกษาหน้าที่และหลักการทางานของเครื่องมือและเครื่องจักรในงาน
ผลิตภัณฑ์โลหะแผ่น เพื่อความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือ และเครื่องจักรในงานผลิตภัณฑ์โลหะแผ่น
และเลือกใช้วัสดุ เครื่องมือ เครื่องจักรให้มีความเหมาะสมตามลักษณะงาน สามารถปฏิบัติงานที่
ถูกต้อง เหมาะสม ในงานผลิตภัณฑ์โลหะแผ่น แบ่งได้ตามลักษณะการใช้งาน เช่น เครื่องมือวัด
เครื่องมือร่างแบบ เครื่องมือตกแต่งและขึ้นรูป เครื่องมือช่วยขึ้นรูป และเครื่องจักรที่ใช้ในงานโลหะ
แผ่น มีดังนี้
4.1 เครื่องมือวัด (Measuring Tool)
4.1.1 เกจวัดความหนาและความโต (Wire and Sheet Metal Tool) เกจชนิดนี้ทา
จากเหล็กกล้าคาร์บอน มีลักษณะกลม ปากเป็นร่องรอบตัว เพื่อใช้ในการวัดความหนาของโลหะแผ่น
และความโตของเส้นลวด ตัวเลขบนเกจวัดจะบอกความหนาของโลหะแผ่นเป็นทศนิยมหรือเศษส่วน
ของนิ้ว ด้านหน้าของเกจวัดจะบอกความหนาเป็นนัมเบอร์ (Number) ส่วนด้านหลังจะบอกเป็น
ทศนิยมของนิ้วในช่องที่ตรงกัน โดยมีตั้งแต่เบอร์ 0 ถึงเบอร์ 36 เมื่อนัมเบอร์มาก ความหนาก็จะน้อย
เช่น เบอร์ 30 มีความหนาน้อยกว่าเบอร์ 15 เป็นต้น
รูปที่ 1.13 แสดงเกจวัดความหนาและความโต
4.1.2 บรรทัดเหล็ก (Steel Ruler) เป็นเครื่องมือวัดที่รู้จักกัน มีลักษณะใช้วัดความยาว
และสาหรับขีดเส้นตรง มีความละเอียดเหมาะสมกับงานด้านโลหะแผ่น โดยทั่วไปจะทาด้วยเหล็กกล้าไร้สนิมหรือ
สเตนเลส สามารถวัดได้ทั้งระบบอังกฤษ (นิ้ว) และระบบเมตริก(มิลลิเมตร)หรืออาจมีทั้งสองระบบในบรรทัด
เดียวกันก็ได้ ส่วนด้านหลังของบรรทัดเหล็กอาจมีตารางเปรียบเทียบความยาวของระบบเมตริกกับอังกฤษ
ไว้ ความยาวของบรรทัดเหล็ก จะมีความยาวตั้งแต่ 6 นิ้ว (15 เซนติเมตร) 12 นิ้ว (30 เซนติเมตร) 36
นิ้ว (90 เซนติเมตร) และ 48 นิ้ว (120 เซนติเมตร) เป็นต้น
รูปที่ 1.14 แสดงลักษณะบรรทัดเหล็ก
4.1.3 ตลับเมตร (Tape Rule) เครื่องมือวัดชนิดหนึ่งที่มีสายวัดเก็บอยู่ในตลับอย่าง
มิดชิด ทาให้สะดวกในการนาติดตัวไปใช้งานได้ตลอดเวลา ตลับเมตรใช้ในการวัดหาระยะหรือ
ตรวจสอบขนาดของวัสดุ ชิ้นงาน ฯลฯ เนื่องจากตรงหัวสายวัดของตลับเมตรมีขอเกี่ยว ซึ่งใช้เป็นที่
เกาะยึดกับขอบของชิ้นงานที่ต้องการวัด ทาให้การดึงสายวัดออกจากตลับเพื่อใช้ในการวัดระยะหรือ
ตรวจสอบขนาดของวัสดุ หรือชิ้นงานได้สะดวกและสามารถม้วนเก็บได้สะดวก เพราะทาจากเหล็ก
สปริง และมีปุ่มบังคับไม่ให้เคลื่อนที่เข้าออกได้ตามต้องการ ขนาดที่นิยมใช้มีตั้งแต่ 1 เมตร ถึง 5
เมตร) มีหน่วยการวัดเป็นระบบอังกฤษ (นิ้ว, ฟุต) หรือระบบเมตริก (มิลลิเมตร)
รูปที่ 1.15 แสดงลักษณะตลับเมตร
4.1.4 ฉากเหล็ก (Square) เป็นเครื่องมือที่มีลักษณะเป็นรูปตัวแอล (L) แขนทั้งสองข้าง
ทามุม 90 องศา ทาจากเหล็กเครื่องมือชุบแข็ง ใช้สาหรับตรวจสอบมุมฉากของโลหะแผ่น มีความยาวให้
เลือกใช้หลายขนาดได้แก่ 8×12นิ้ว (20 × 30 เซนติเมตร), 16× 24 นิ้ว (40 × 60 เซนติเมตร) และ 18 ×
24 นิ้ว (45 × 60 เซนติเมตร)
รูปที่ 1.16 แสดงฉากเหล็ก
หน่วยวัดเป็นมิลลิเมตร
หน่วยวัดเป็นนิ้ว
4.2 เครื่องมือร่างแบบ (Lay-Out Tool) เป็นเครื่องมือที่มีลักษณะปลายแหลม เพื่อใช้ในดาร
ขีดเขียน เครื่องมือร่างแบบถ้าใช้งานแต่ตัวมันเองจะไม่เกิดผลที่ไม่ดีสักเท่าไร ทาให้จะต้องใช้งาน
ร่วมกับเครื่องมือประเภทอื่น เช่น ไม้บรรทัด
4.2.1 เหล็กขีด (Scriber) เป็นเครื่องมือที่ทาจากเหล็กกล้าคาร์บอน ซึ่งจะมีความแข็ง
กว่าโลหะแผ่น และบริเวณปลายแหลมจะผ่านการชุบแข็ง เพื่อให้ทนต่อการสึกหรอได้ดี โดยเหล็กขีด
จะคล้ายกับดินสอหรือปากกาที่มีหน้าที่ใช้ในการขีดเขียนลงบนกระดาษ แต่เหล็กจะขีดเขียนลงบน
แผ่นโลหะ
รูปที่ 1.17 แสดงเหล็กขีด
4.2.2 วงเวียนเหล็ก (Steel Dividers) เป็นเครื่องมือร่างแบบที่ใช้ในงานโลหะแผ่น ซึ่ง
จะใช้เขียนวงกลมหรือส่วนโค้ง จะปลายแหลม 2 ข้าง ในการใช้งานควรกางวงเวียนออกให้ได้ขนาดบน
ฟุตเหล็ก จากนั้นก็นาไปขีดบนชิ้นงาน อาจจะนาไปเขียนส่วนโค้ง แบ่งส่วน ถ่ายขนาด วงเวียนแบ่ง
ออกได้ 3 ลักษณะ คือ
1) วงเวียนขาสปริง (Spring dividers) วงเวียนแบบนี้สามารถปรับขนาดต่างๆได้
ตามความต้องการและแน่นอน ขาทั้งสองข้างจะถ่างอยู่ตลอดเวลา โดยมีเหล็กสปริงทาให้ถ่างออก โดย
ติดที่โคนขาด้านบนทั้งสองข้างของวงเวียน และมีแป้นเกลียวสาหรับปรับเพื่อให้ปลายทั้งสองข้างถ่าง
ออกตามขนาดที่ต้องการ แป้นเกลียวนี้จะอยู่ในแกนเกลียวใกล้ๆ กับขาของวงเวียน
รูปที่ 1.18 แสดงวงเวียนขาสปริง
2) วงเวียนขาตาย (wing dividers) วงเวียนแบบนี้ใช้ไม่ค่อยสะดวกนัก ขาทั้ง
สองข้างไม่มีแรงสปริงเหมือนแบบขาสปริง เมื่อต้องการให้ขาถ่างออกขนาดเท่าไหร่ ก็จะใช้มือจับขาทั้ง
สองข้างถ่างออก หรือเคาะให้ขาถ่างออกตามขนาดที่ต้องการ ซึ่งแบบนี้จะเสียเวลาในการปรับขนาด
มาก ในการใช้วงเวียนนั้นจะต้องระมัดระวังรักษาวงเวียนให้มีปลายแหลมคมอยู่เสมอ อย่าให้ตกลงบน
พื้นเพราะจะทาให้ปลายหักหรือทู่ได้ เมื่อจะลับปลายทั้งสองข้างของวงเวียนให้ลับบนหินน้ามัน
รูปที่ 1.19 แสดงวงเวียนขาตาย
3) วงเวียนเลื่อน (Trammels Point) ทาจากพลาสติกหรืออะลูมิเนียม เป็นวง
เวียนที่ออกแบบไว้สาหรับใช้งานที่มีรัศมีของวงกลมหรือส่วนโค้งมากกว่า 24 นิ้ว ขาของวงเวียนทั้ง 2
ข้างของวงเวียนสอดอยู่กับคานเหล็ก ข้างหนึ่งอยู่กับที่อีกข้างหนึ่งสามารถเลื่อนได้ตามขนาดที่ต้องการ
รูปที่ 1.20 แสดงวงเวียนเลื่อน
4.3 เครื่องมือตกแต่งและขึ้นรูป (Hand Tool) เครื่องมือประเภทตกแต่งและขึ้นรูป (Hand
Tool) มีชนิดและหน้าที่การทางานแตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็ก น้าหนักเบาเพื่อช่วยใน
การตบแต่งและขึ้นรูปชิ้นงาน มีเครื่องมือและอุปกรณ์ดังนี้
4.3.1 กรรไกร (Snips) เป็นเครื่องมือที่ผลิตจากวัสดุประเภทเหล็กกล้าทาเครื่องมือ
หรือเหล็กกล้าผสมสูงที่มีความแข็งสูง ซึ่งจะใช้สาหรับตัดโลหะแผ่น เช่น แผ่นอาบสังกะสี แผ่น
เหล็กกล้า แผ่นเหล็กสเตนเลส และวัสดุอื่นๆ การตัดด้วยกรรไกรจะสะดวกและง่าย ความสามารถของ
กรรไกรจะขึ้นอยู่กับการออกแบบ วัสดุที่ใช้ทากรรไกร ความหนา และความแข็งของโลหะแผ่นที่จะ
นามาตัด กรรไกรสาหรับงานโลหะแผ่นมีหลายชนิด สามารถแบ่งได้ดังนี้
1) กรรไกรตัดตรง (Straight Snips) ใช้สาหรับตัดโลหะที่เป็นเส้นตรงมีหลาย
ขนาด สามารถตัดโลหะแผ่นได้ถึงเบอร์ 18
รูปที่ 1.21 แสดงกรรไกรตัดตรง
2) กรรไกรตัดโค้ง (Circle Snips) ใบมีดของกรรไกรมีลักษณะโค้ง ใช้ตัดโค้ง
ได้เพียงอย่างเดียว เหมาะสาหรับตัดโค้งวงกลม ไม่ว่าจะเป็นโค้งซ้ายหรือโค้งขวา สามารถตัดแผ่น
โลหะหนาถึงเบอร์ 22
รูปที่ 1.22 แสดงกรรไกรตัดโค้ง
3) กรรไกรแบบผสม (Combination Snips) กรรไกรชนิดนี้ ใช้สาหรับตัด
ชิ้นงานตามแนวเส้นตรงและแนวเส้นโค้ง สามารถตัดโลหะแผ่นหนาถึงเบอร์ 24
รูปที่ 1.23 แสดงกรรไกรแบบผสม
4) กรรไกรแบบโทรเจน (Trojan Snip) ลักษณะใบตัดจะเล็กยาว สามารถ
สอดเข้าไปตัดในที่แคบๆได้ ตัดได้ทั้งแนวตรงและแนวโค้ง สามารถตัดโลหะแผ่นได้หนาถึงเบอร์ 20
รูปที่ 1.24 แสดงกรรไกรแบบโทรเจน
5) กรรไกรเอวิเอชั่น (Aviation Snips) เป็นกรรไกรที่นิยมใช้กันมาก
เนื่องจากลักษณะของกรรไกรมีน้าหนักเบา ขนาดเล็กกะทัดรัด มีความสามารถตัดงานที่มีความหนาได้
เท่ากับกรรไกรขนาดใหญ่ จุดเด่นของกรรไกรเอวิเอชั่น คือ มีการเพิ่มจุดหมุนและแขน เพื่อช่วยในการ
ผ่อนแรง มีลักษณะเป็นชุดมี 3 แบบ จาแนกเป็นสีสังเกตได้ที่ด้ามคือ ด้ามสีเหลืองเป็นกรรไกรชนิดตัด
ตรง (Straight Cutting) ด้ามสีแดงเป็นกรรไกรชนิดตัดโค้งซ้าย (Left Curve Cutting) และด้ามสี
เขียวเป็นกรรไกรชนิดตัดโค้งขวา (Right Curve Cutting)
รูปที่ 1.25 แสดงกรรไกรเอวิเอชั่น
6) กรรไกรโยก (Bench Lever Shear) ใช้สาหรับตัดโลหะที่มีความหนา
ตั้งแต่ 2 มิลลิเมตรขึ้นไป ลักษณะใบคมตัดออกแบบให้เป็นเส้นตรงโดยมีมุม และแรงที่ใช้ในการตัด
คงที่ ใบคมตัดสามารถถอดเปลี่ยนได้ ใช้ตัดเหล็กเส้นแบน เหล็กกลม เหล็กเหลี่ยมและเหล็กฉาก
รูปที่ 1.26 แสดงกรรไกรโยก
7) กรรไกรไฟฟ้า (Electric Shear) เป็นกรรไกรที่ใช้ไฟฟ้าเป็นตัวช่วยในการ
ทางาน การทางานของกรรไกรไฟฟ้าจะเคลื่อนที่ขึ้นลงในแนวดิ่ง ตัดโลหะแผ่นเหล็กหนาได้ เบอร์ 14
หนา 2 มิลลิเมตร และสามารถตัดแผ่นโลหะในระยะทางยาวได้ดี
รูปที่ 1.27 แสดงกรรไกรไฟฟ้า
4.3.2 ค้อน (Hammer) เป็นเครื่องมือพื้นฐาน ใช้สาหรับตี เคาะขึ้นรูป ดัด และพับ
เป็นต้น ในงานโลหะแผ่นจะขาดเครื่องมือนี้ไม่ได้ ซึ่งทาจากเหล็กกล้าผ่านการชุบแข็งที่ผิวหน้า
สามารถต้านทานการสึกหรอได้ สามารถแยกออกเป็นประเภทต่างๆ แต่ละประเภทตามการใช้งานได้
ดังนี้
1) ค้อนหัวกลม (Ball Peen Hammer) มีลักษณะปลายด้านหน้าเรียบ ใช้
สาหรับเคาะหรือตอกเหล็กถ่ายแบบหรือนาศูนย์ ส่วนด้านหัวจะมนกลมใช้สาหรับเคาะย้าหัวหมุดย้า มี
หลายขนาดให้เลือกใช้
รูปที่ 1.28 แสดงค้อนหัวกลม
2) ค้อนเคาะขึ้นรูป (Raising Hammer) เป็นเครื่องมือที่มีรูปร่างแตกต่างกันออกไป
ใช้สาหรับขึ้นรูปโลหะแผ่นให้เป็นรูปร่างของภาชนะ หรือเครื่องประดับต่างๆ เช่น เคาะขึ้นรูปจาน ชาม
เป็นต้น
รูปที่ 1.29 แสดงค้อนเคาะขึ้นรูป
3) ค้อนย้าตะเข็บ (Setting Hammer) จะมีลักษณะหัวค้อนเป็นเหลี่ยม หน้าค้อน
จะเรียบเพื่อใช้ในการเคาะตะเข็บต่างๆ ในงานโลหะแผ่น ส่วนด้านหลังจะตัดเฉียงเพียงด้านเดียวไว้
เพื่อสะดวกในการเคาะตะเข็บให้แน่นสวยงาม
รูปที่ 1.30 แสดงค้อนย้าตะเข็บ
4) ค้อนย้าหมุด (Riveting Hammer) ลักษณะของหัวค้อนจะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขอบ
ทั้งสี่ด้านจะทาการลบคมมุม ผิวหน้านูนเล็กน้อย ส่วนด้านหางของค้อนจะเรียวเข้าหากันเป็นมุมสี
เหลี่ยม
รูปที่ 1.31 แสดงค้อนย้าหมุด
5) ค้อนยาง (Rubber Hammer) ทาจากยางธรรมชาติ มีสมบัติเหนียวนุ่มเหมาะ
สาหรับเคาะ ดัด ตี และขึ้นรูปโลหะที่อ่อน เช่น ทองแดง อะลูมิเนียม หรือเคาะโลหะแผ่นเคลือบที่ไม่
ต้องการให้แผ่นเคลือบหลุดหรือลอก เช่น แผ่นเหล็กเคลือบสังกะสี
รูปที่ 1.32 แสดงค้อนยาง
6) ค้อนพลาสติก (Plastic Hammer) ทาจากพลาสติกแข็ง หน้าตัดมีลักษณะกลม
ผิวหน้านูนเล็กน้อย บริเวณขอบมน หัวค้อนภายในทาเกลียว เพื่อขันติดกับตัวเรือนของค้อนที่เป็น
โลหะทั้งสองประกอบติดกับด้าม เหมาะสาหรับใช้เคาะขึ้นรูปชินงานที่มีเนื้ออ่อน
รูปที่ 1.33 แสดงค้อนพลาสติก
7) ค้อนไม้ (Wood Hammer) จากเนื้อไม้แข็ง และมีความเหนียวไม่แตกง่าย
เหมาะสาหรับเคาะขึ้นรูป ตี ดัด โลหะที่มีผิวอ่อน เช่น อะลูมิเนียม แผ่นเหล็กเคลือบสังกะสี เป็นต้น
รูปที่ 1.34 แสดงค้อนไม้
4.4 คีม (Pliers) คีมเป็นเครื่องมือในงานอุตสาหกรรมแทบทุกสาขา ซึ่งคีมมีประโยชน์
หลายอย่าง เช่นใช้จับ บิด พับ ดัด ขึ้นรูปโลหะได้ สาหรับงานโลหะแผ่น คีมเป็นเครื่องมือทางาน
เกี่ยวกับโลหะแผ่นได้ดี แบ่งออกได้หลายชนิดตามลักษณะการใช้งาน
4.4.1 คีมปากแบน (Flat Nose Pliers) มีลักษณะแบนที่ส่วนปลายจะขึ้นรูปฟันเป็น
หลัก ๆ ป้องกันการเลื่อนขณะจับชิ้นงาน มีความกว้างประมาน 10 มิลลิเมตร เหมาะสาหรับจับชิ้นงาน
เพื่อพับขึ้นรูป
รูปที่ 1.35 แสดงคีมปากแบน
4.4.2 คีมพับตะเข็บ (Hand Seamen) มีลักษณะคล้ายกับคีมทั่วไป แต่จะแตกต่าง
กันตรงที่ปาก ซึ่งปากจะมีลักษณะแบน กว้างประมาณ 3 นิ้ว และลึกประมาณ 1 นิ้ว ใช้สาหรับพับ
โลหะด้วยมือ เมื่อแผ่นโลหะนั้นไม่สามารถพับด้วยเครื่องพับได้
รูปที่ 1.36 แสดงคีมพับตะเข็บ
4.5 เหล็กย้าตะเข็บ (Hand Groove) ทาจากเหล็กกล้าหรือเหล็กเครื่องมือ ใช้สาหรับย้า
ตะเข็บเกี่ยว (Groove seam) โดยจะเป็นร่องลึกสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีหลายขนาดให้เลือกตามความกว้าง
ของตะเข็บที่เผื่อการใช้งานให้เลือกขนาดโตกว่าความกว้างที่เผื่อไว้ตามแบบเล็กน้อย
รูปที่ 1.37 แสดงเหล็กย้าตะเข็บ
4.6 ชุดเหล็กย้าหัวหมุด (Rivet Set) ทาจากเหล็กกล้าหรือเหล็กเครื่องมือ ใช้สาหรับตอกย้า
หัวหมุดเพื่อให้โลหะติดกัน จะมีลักษณะเป็นแท่งยาว ปลายด้านหนึ่งเรียบใช้สาหรับตอก อีกด้านหนึ่ง
จะมีรูเจาะลึกและรอยลึกรูปครึ่งวงกลม สาหรับย้าปลายหมุดให้เป็นรูปครึ่งวงกลม ชุดหนึ่งจะมีหลาย
ขนาดให้เลือกใช้โดยสัมพันธ์กับหัวหมุดที่ใช้
รูปที่ 1.38 แสดงชุดเหล็กย้าหัวหมุด
4.7 เหล็กเจาะรูด้วยมือ (Hand Punch) ใช้สาหรับเจาะรูบนแผ่นโลหะ สามารถเจาะโลหะ
ได้ถึงเบอร์ 14 ซึ่งเป็นโลหะแผ่นที่มีความหนาไม่มากนัก และจะเป็นโลหะที่ค่อนข้างอ่อน เช่น แผ่น
ทองแดง แผ่นทองเหลือง แผ่นดีบุก แผ่นหนัง และแผ่นยาง เพื่อนาไปใช้ทาปะเก็นต่าง โดยใช้มือบีบ
กดด้ามจับ กดให้พ้นเจาะทะลุงานผ่านรูเจาะ
รูปที่ 1.39 แสดงเหล็กเจาะรูด้วยมือ
4.8 เครื่องมือช่วยขึ้นรูป (Stakes) ในงานโลหะแผ่น การพับขึ้นรูปชิ้นงานลักษณะต่างๆ
สามารถกระทาได้โดยง่าย เพราะมีเครื่องจักรช่วยในการทางาน เช่น เครื่องพับช่วยให้พับได้เที่ยงตรง
และรวดเร็ว ในขณะเดียวกันชิ้นงานที่มีขนาดเล็กหรือมีการพับที่ซับซ้อน ก็ไม่สามารถใช้เครื่องพับได้
ทาให้จะต้องมีการพับด้วยมือ เครื่องมือที่ใช้ในการช่วยพับขึ้นรูปชิ้นงาน เรียกว่า เครื่องมือช่วยขึ้นรูป
(Stakes) ทาจากเหล็กเครื่องมือที่มีความแข็งและความเหนียวที่ทนต่อการเคาะ ซึ่งเครื่องมือช่วยขึ้น
รูปจะมีหลายชิ้น แต่ละชิ้นก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างหรือตามลักษณะการใช้
งาน ชุดเครื่องมือช่วยขึ้นรูปจะต้องใช้งานร่วมกับแผ่นรอง (Bench Plate) ภายในจะทาเป็นรูสี่เหลี่ยม
และเรียว มีขนาดของรูแตกต่างกันให้เลือกใช้ตามขนาดของก้านเครื่องช่วยขึ้นรูป
4.8.1 Bench Plate or Stake Holder เป็นตัวรองรับหรือยึดเครื่องมือช่วยขึ้นรูป
(Stake) เป็นแผ่นสีเหลี่ยมผืนผ้า ภายในทาเป็นรูปสี่เหลี่ยมและเรียว (Taper) มีขนาดของรูที่แตกต่าง
กันให้เลือกใช้ตามขนาดของก้าน
รูปที่ 1.40 แสดงลักษณะ Stake Holder
4.8.2 Common Square Stake เครื่องมือช่วยขึ้นรูปชนิดนี้มีส่วนหัวเป็นรูป
สี่เหลี่ยมด้านบนแบบราบ ใช้สาหรับเคาะขึ้นรูปงานทั่วไปตามที่ต้องการ
รูปที่ 1.41 แสดงลักษณะ Common Square Stake
4.8.3 Beak Horn Stake เครื่องมือช่วยขึ้นรูปที่มีขนาดใหญ่กว่า Stake ชนิดอื่น
จะมี 2 ด้าน ด้านหนึ่งมีลักษณะกลมเรียว ส่วนอีกด้านมีหน้าตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเรียว เหมาะสาหรับ
การขึ้นรูป การเข้าตะเข็บ การย้าหมุด และการเคาะงานทั่วไป
รูปที่ 1.42 แสดงลักษณะ Beak Horn Stake
4.8.4 Double Seaming Stake เครื่องช่วยขึ้นรูปที่มีแขนยื่นออกไปทั้ง 2 ข้าง มี
ลักษณะของหน้าตัดเป็นวงรีแขนข้างหนึ่งจะสั้น อีกข้างหนึ่งจะยาวกว่า บริเวณส่วนปลายของแขนทั้ง
2 ข้าง จะมีหัวใช้สาหรับเคาะขึ้นรูปด้านนอกงานทรงกลม
รูปที่ 1.43 แสดงลักษณะ Double Seaming Stake
4.8.5 Creasing Stake แขนหนึ่งจะมีลักษณะกลมเรียวยาวออกไป อีกด้านหนึ่งผิว
ด้านบนมีลักษณะแบน มีร่องขนาดต่างๆ พาดผ่านเพื่อให้ลวดวางอยู่ในร่อง เหมาะสาหรับงานเข้า
ตะเข็บรูปกรวยยาว งานเข้าขอบลวดและงานที่เป็นรูปเรียวต่าง ๆ
รูปที่ 1.44 แสดงลักษณะ Creasing Stake
4.8.6 Candle Case Stake มีแขนรูปร่างกลมเรียวยื่นออกไป 2 ข้าง มีความโต
แตกต่างกัน แขนด้านที่เรียวเล็กจะมีความยาวเป็น 2 เท่าของแขนอีกข้างหนึ่ง เหมาะสาหรับ
เคาะขึ้นรูปตะเข็บและย้าหมุดของงานกลมที่มีความยาวมาก
รูปที่ 1.45 แสดงลักษณะ Candle Case Stake
4.8.7 Blow Horn Stake แขนปลายทั้ง 2 ด้านต่างกัน ปลายด้านหนึ่งจะมีลักษณะ
เรียวยาวออกไป อีกปลายหนึ่งจะโค้งเป็นรูปกรวยครึ่งวงกลมเรียว ใช้สาหรับขึ้นรูปงานทรง
กรวย ใช้ย้าหมุด ย้าตะเข็บและขึ้นรูปงานทั่วไป
รูปที่ 1.46 แสดงลักษณะ Blow Horn Stake
4.8.8 Bevel-Edge Stake เครื่องมือช่วยเคาะขึ้นรูปชนิดนี้จะออกแบบก้านให้เยื้อง
ศูนย์หัวด้านบนเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ที่ขอบของมุมฉากจะมีการบากความหนาให้เอียงหลบจากบน
ลงล่างเล็กน้อย เหมาะสาหรับการพับตะเข็บสองชั้น
รูปที่ 1.47 แสดงลักษณะ Bevel-Edge Stake
4.8.9 Hatch Stake เหมาะสาหรับดัดงอแผ่นโลหะที่ต้องการรัศมีที่มีการดัดน้อย
และใช้สาหรับพับขึ้นรูปขอบของงานที่มีลักษณะตรง โดยจะมีแขนยื่นออกไปจากก้านข้างละเท่า ๆ กัน
ขอบด้านบนจะมีการบากขอบข้างเดียว (Bevel One Side) ขอบด้านบนจะมีลักษณะเป็นมุมแหลม
และตรงตามความยาว
รูปที่ 1.48 แสดงลักษณะ Hatch Stake
4.8.10 Hollow Mandrel Stake แขนข้างหนึ่งผิวด้านบน มีลักษณะโค้งขนาดใหญ่
อีกข้างหนึ่งผิวบนมีพื้นที่กว้างแบนราบ มีร่องอยู่ด้านใต้ตลอดความยาว มีสลักเกลียวเลื่อนอยู่ภายใน
ร่องนั้นใช้สาหรับยึดกับโต๊ะ เหมาะสาหรับการขึ้นรูปของงานกลม งานย้าหมุด เคาะตะเข็บ 2 ชั้น
บริเวณมุมทรงเหลี่ยมและงานเข้าตะเข็บท่อ
รูปที่ 1.49 แสดงลักษณะ Hollow Mandrel Stake
4.9 เครื่องตัด
4.9.1 เครื่องตัดตรง (Squaring Shear) หรือเครื่องตัดแบบเท้าเหยียบ สามารถตั้งระยะ
ในการตัดได้โดยมีเกจ (Gage) เลื่อนตั้งระยะใช้กาลังคนในการตัด มีอุปกรณ์ป้องกัน (Safety Guard)
กันไม่ให้มือหรือนิ้วมือเข้าไปในคมตัด สามารถตัดโลหะแผ่นได้หนาถึงเบอร์ 18 หรือประมาณ 1.2 มม.
มีขนาดที่นิยมใช้กันคือขนาด 4 ฟุต เป็นเครื่องจักรที่ใช้สาหรับตัดตรงแผ่นโลหะให้ขาดออกจากกัน
รูปที่ 1.50 แสดงเครื่องตัดตรง
4.9.2 เครื่องตัดวงกลม (Circular Shear) เครื่องตัดชนิดนี้มีอยู่ 2 แบบ คือ แบบใช้มือ
หมุนและแบบใช้มอเตอร์ ใช้สาหรับตัดโลหะแผ่นให้เป็นรูปวงกลม โดยให้ความแม่นยาในการตัดสูง
รอยตัดไม่มีครีบ สามารถตัดวงกลมได้ตามขนาดซึ่งการปรับจะปรับที่ตัวเอง
รูปที่ 1.51 แสดงเครื่องตัดวงกลม
4.9 เครื่องพับ (Folder and Brake) ใช้สาหรับพับขึ้นรูปโลหะแผ่น แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
Folder และ Brake
9.1 เครื่องพับแบบ Folder เป็นเครื่องพับที่เหมาะสาหรับการพับขอบหรือตะเข็บที่มี
ความลึกไม่มาก เพราะสามารถตั้งระยะและตั้งปรับมุมได้ เครื่องพับแบบโฟลเดอร์ที่นิยมใช้มากจะเป็น
ชนิดบาร์โฟลเดอร์ (Bar Folder) สามารถพับโลหะแผ่นได้หนาถึงเบอร์ 22 ความยาวของเครื่องไม่เกิน
90 เซนติเมตร
รูปที่ 1.52 แสดงเครื่องพับ Folder
9.2 เครื่องพับแบบ Brake เป็นเครื่องพับที่สามารถพับขอบของโลหะแผ่นโดยไม่จากัด
ความลึกในการพับ เพราะสามารถสอดแผ่นโลหะผ่านออกไปทางด้านหลังได้ ส่วนมากนิยมใช้ในการ
พับที่มีความลึกมากๆ ซึ่งจะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบแฮนด์เบรกหรือแบบคอร์นิคเบรก (Hand Brake or
Carnic Brake) และแบบบ็อกซ์แอนด์แพนเบรก (Box and Pan) หรือที่เรียกว่าแบบกล่อง
รูปที่ 1.53 แสดงเครื่องพับแบบแฮนด์เบรค (Hand Brake)
รูปที่ 1.54 แสดงเครื่องพับแบบกล่อง (Box and Pan Brake)
4.10 เครื่องม้วนขึ้นรูป (Slip Roll Forming Machine) ใช้สาหรับม้วนแผ่นโลหะให้เป็น
ทรงกระบอกหรือกรวย บริเวณขวามือของลูกกลิ้งจะทาร่องไว้หลายขนาดเพื่อใช้สาหรับม้วนลวดหรือ
เหล็กเส้นกลม โดยการหมุนลูกกลิ้ง 3 ลูก ซึ่งเป็นโลหะแท่งกระบอกตัน ลูกกลิ้งหน้า 2 ลูก จะดึงแผ่น
งานเข้ามาลูกกลิ้งตัวที่ 3 ที่อยู่ด้านหลัง จะดันชิ้นงานให้โค้งตามขนาดที่ต้องการ สามารถม้วนโลหะ
แผ่นได้หนาถึงเบอร์ 16 และเหล็กเส้นขนาด 3/8 นิ้ว
รูปที่ 1.55 แสดงเครื่องม้วนขึ้นรูป
4.11 เครื่องขึ้นรูป (Rotary Machine) ใช้สาหรับขึ้นรูปโลหะแผ่นมีหลายเครื่องติดตั้งบน
พื้นโต๊ะเดียวกันเป็นวงกลม สามารถใช้งานที่ต่อเนื่องกันได้ ลักษณะของเครื่องขึ้นรูปจะมีลักษณะและ
หลักการทางานเหมือนกัน คือ มีลูกกลิ้งคู่หนึ่งที่เป็นตัวขึ้นรูปลักษณะต่างๆ กัน มีสกรูปรับระยะ
ระหว่างลูกกลิ้ง มีเกจสาหรับตั้งระยะห่างขอบและมีมือหมุน โดยหมุนเฟืองที่อยู่ภายในเครื่องให้หมุน
ลูกกลิ้งอีกต่อหนึ่ง เครื่องขึ้นรูปมีหลายลักษณะ จะเรียกชื่อตามลักษณะงานดังต่อไปนี้
4.11.1 เครื่องเทอร์นนิ่ง (Turning Machine) ใช้สาหรับงานรูปทรงกระบอก แผ่น
โลหะวงกลมเพื่อขึ้นขอบเข้าขอบลวด หรือเพื่อเพิ่มความแข็งแรงโดยให้มีลักษณะเป็นลอน
4.11.2 เครื่องเบอร์ริ่ง (Burring Machine) ใช้สาหรับทาตะเข็บขอบก้นกระป๋อง มี
ลักษณะเหมือนเทอร์นนิ่ง แต่ขอบจะคมกว่า (เทอร์นนิ่งขอบจะโค้งมน)
4.11.2 เครื่องครีมปิ้ง (Crimping Machine) ใช้สาหรับทาจีบย่น เพื่อให้ลดขนาดท่อ
ลงสาหรับสวมกับท่อที่มีขนาดเท่ากันหรือเพิ่มความแข็งแรงให้ชิ้นงาน
4.11.3 เครื่องไวร์ริ่ง (Wiring Machine) ใช้สาหรับเข้าขอบลวดเป็นการใช้ที่ลาดับขั้น
การทางานต่อจากเครื่องเทอร์นนิ่ง เพื่อให้ขอบโลหะติดแน่นกับเส้นลวด
4.11.4 เครื่องเซทติ้งดาวน์ (Setting down Machine) ใช้สาหรับกดหรือบีบ ตะเข็บ
หรือขอบต่างๆ ให้สนิทแนบแน่น เช่น ตะเข็บหรือขอบก้นกระป๋องลักษณะการใช้งานใช้ต่อจากเครื่อง
เบอร์ริ่ง
4.11.5 เครื่องดับเบิลซีม (Double seam Machine) ใช้สาหรับบีบหรือกดตะเข็บที่
ผ่านขั้นตอนของเครื่องเซทติ่งดาวน์เพื่อให้ตะเข็บแน่นเรียบร้อยไม่ย่น จากการพับแบบ Single seam
เป็น Double seam ของก้นกระป๋อง
รูปที่ 1.56 แสดงเครื่องม้วนขึ้นรูปแบบจีบย่น (Crimping Machine)
รูปที่ 1.57 แสดงเครื่องม้วนขึ้นรูปแบบเข้าขอบลวด (Wiring Machine)
รูปที่ 1.58 แสดงส่วนประกอบของเครื่องขึ้นรูป (Rotary Machine)

More Related Content

What's hot

Chapter 1 ประวัติความเป็นมาในการควบคุมคุณภาพ
Chapter 1 ประวัติความเป็นมาในการควบคุมคุณภาพChapter 1 ประวัติความเป็นมาในการควบคุมคุณภาพ
Chapter 1 ประวัติความเป็นมาในการควบคุมคุณภาพRonnarit Junsiri
 
มาตรฐานการเขียนแบบ
มาตรฐานการเขียนแบบมาตรฐานการเขียนแบบ
มาตรฐานการเขียนแบบPeerapong Veluwanaruk
 
บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทานและดุลยภาพ
บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทานและดุลยภาพบทที่ 2 อุปสงค์ อุปทานและดุลยภาพ
บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทานและดุลยภาพOrnkapat Bualom
 
ระบบขับถ่าย
ระบบขับถ่าย ระบบขับถ่าย
ระบบขับถ่าย Thitaree Samphao
 
บทที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับพลังงาน (2)
บทที่  1 ความรู้เกี่ยวกับพลังงาน (2)บทที่  1 ความรู้เกี่ยวกับพลังงาน (2)
บทที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับพลังงาน (2)อัจฉรา นาคอ้าย
 
การแยกสาร
การแยกสารการแยกสาร
การแยกสารtaew paichibi
 
บทที่ 7 ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิต
บทที่ 7 ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิตบทที่ 7 ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิต
บทที่ 7 ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิตOrnkapat Bualom
 
คู่มือ SketchUp
คู่มือ SketchUpคู่มือ SketchUp
คู่มือ SketchUpPiyaboon Nilkaew
 
สัญลักษณ์เชื่อม01
สัญลักษณ์เชื่อม01สัญลักษณ์เชื่อม01
สัญลักษณ์เชื่อม01Narasak Sripakdee
 
Chapter 5 เครื่องมือเพื่อการควบคุมคุณภาพ
Chapter 5 เครื่องมือเพื่อการควบคุมคุณภาพChapter 5 เครื่องมือเพื่อการควบคุมคุณภาพ
Chapter 5 เครื่องมือเพื่อการควบคุมคุณภาพRonnarit Junsiri
 
แรงลัพธ์
แรงลัพธ์แรงลัพธ์
แรงลัพธ์Kan Pan
 
บทที่ 2 องค์ประกอบที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน (1)
บทที่ 2 องค์ประกอบที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน (1)บทที่ 2 องค์ประกอบที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน (1)
บทที่ 2 องค์ประกอบที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน (1)ศิริพร ขอพรกลาง
 
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ (Elasticity of demand)
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ (Elasticity of demand)ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ (Elasticity of demand)
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ (Elasticity of demand)Areewan Plienduang
 
จรรยาบรรณนักการตลาดไทย โดย สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย
จรรยาบรรณนักการตลาดไทย โดย สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยจรรยาบรรณนักการตลาดไทย โดย สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย
จรรยาบรรณนักการตลาดไทย โดย สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยMahasarakham Business School, Mahasarakham University
 
สิทธิคุ้มครองผู้บริโภค
สิทธิคุ้มครองผู้บริโภคสิทธิคุ้มครองผู้บริโภค
สิทธิคุ้มครองผู้บริโภคkrupeem
 
อาหารและโภชนาการ
อาหารและโภชนาการอาหารและโภชนาการ
อาหารและโภชนาการพัน พัน
 

What's hot (20)

Chapter 1 ประวัติความเป็นมาในการควบคุมคุณภาพ
Chapter 1 ประวัติความเป็นมาในการควบคุมคุณภาพChapter 1 ประวัติความเป็นมาในการควบคุมคุณภาพ
Chapter 1 ประวัติความเป็นมาในการควบคุมคุณภาพ
 
1 4
1 41 4
1 4
 
มาตรฐานการเขียนแบบ
มาตรฐานการเขียนแบบมาตรฐานการเขียนแบบ
มาตรฐานการเขียนแบบ
 
บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทานและดุลยภาพ
บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทานและดุลยภาพบทที่ 2 อุปสงค์ อุปทานและดุลยภาพ
บทที่ 2 อุปสงค์ อุปทานและดุลยภาพ
 
ระบบขับถ่าย
ระบบขับถ่าย ระบบขับถ่าย
ระบบขับถ่าย
 
บทที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับพลังงาน (2)
บทที่  1 ความรู้เกี่ยวกับพลังงาน (2)บทที่  1 ความรู้เกี่ยวกับพลังงาน (2)
บทที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับพลังงาน (2)
 
การแยกสาร
การแยกสารการแยกสาร
การแยกสาร
 
บทที่ 7 ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิต
บทที่ 7 ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิตบทที่ 7 ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิต
บทที่ 7 ต้นทุนการผลิต และรายรับจากการผลิต
 
2 1
2 12 1
2 1
 
คู่มือ SketchUp
คู่มือ SketchUpคู่มือ SketchUp
คู่มือ SketchUp
 
สัญลักษณ์เชื่อม01
สัญลักษณ์เชื่อม01สัญลักษณ์เชื่อม01
สัญลักษณ์เชื่อม01
 
Chapter 5 เครื่องมือเพื่อการควบคุมคุณภาพ
Chapter 5 เครื่องมือเพื่อการควบคุมคุณภาพChapter 5 เครื่องมือเพื่อการควบคุมคุณภาพ
Chapter 5 เครื่องมือเพื่อการควบคุมคุณภาพ
 
แรงลัพธ์
แรงลัพธ์แรงลัพธ์
แรงลัพธ์
 
2 7
2 72 7
2 7
 
บทที่ 2 องค์ประกอบที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน (1)
บทที่ 2 องค์ประกอบที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน (1)บทที่ 2 องค์ประกอบที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน (1)
บทที่ 2 องค์ประกอบที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน (1)
 
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ (Elasticity of demand)
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ (Elasticity of demand)ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ (Elasticity of demand)
ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ (Elasticity of demand)
 
จรรยาบรรณนักการตลาดไทย โดย สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย
จรรยาบรรณนักการตลาดไทย โดย สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยจรรยาบรรณนักการตลาดไทย โดย สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย
จรรยาบรรณนักการตลาดไทย โดย สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย
 
สิทธิคุ้มครองผู้บริโภค
สิทธิคุ้มครองผู้บริโภคสิทธิคุ้มครองผู้บริโภค
สิทธิคุ้มครองผู้บริโภค
 
อาหารและโภชนาการ
อาหารและโภชนาการอาหารและโภชนาการ
อาหารและโภชนาการ
 
501
501501
501
 

Similar to 104

ใบความรู้เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือช่างพื้นฐานงานประดิษฐ์
ใบความรู้เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือช่างพื้นฐานงานประดิษฐ์ใบความรู้เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือช่างพื้นฐานงานประดิษฐ์
ใบความรู้เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือช่างพื้นฐานงานประดิษฐ์Duangsuwun Lasadang
 
ใบความรู้ช่าง
ใบความรู้ช่างใบความรู้ช่าง
ใบความรู้ช่างDuangsuwun Lasadang
 
เรื่องที่ 4 มาตราส่วนและการกำหนดขนาด
เรื่องที่ 4  มาตราส่วนและการกำหนดขนาดเรื่องที่ 4  มาตราส่วนและการกำหนดขนาด
เรื่องที่ 4 มาตราส่วนและการกำหนดขนาดkruood
 

Similar to 104 (7)

ใบความรู้เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือช่างพื้นฐานงานประดิษฐ์
ใบความรู้เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือช่างพื้นฐานงานประดิษฐ์ใบความรู้เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือช่างพื้นฐานงานประดิษฐ์
ใบความรู้เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือช่างพื้นฐานงานประดิษฐ์
 
การปฏิบัติงาน
การปฏิบัติงานการปฏิบัติงาน
การปฏิบัติงาน
 
เครื่องมือ3
เครื่องมือ3เครื่องมือ3
เครื่องมือ3
 
01-Bolt and Nut
01-Bolt and Nut01-Bolt and Nut
01-Bolt and Nut
 
ใบความรู้ช่าง
ใบความรู้ช่างใบความรู้ช่าง
ใบความรู้ช่าง
 
เรื่องที่ 4 มาตราส่วนและการกำหนดขนาด
เรื่องที่ 4  มาตราส่วนและการกำหนดขนาดเรื่องที่ 4  มาตราส่วนและการกำหนดขนาด
เรื่องที่ 4 มาตราส่วนและการกำหนดขนาด
 
5 stamping and punching force
5  stamping and punching force5  stamping and punching force
5 stamping and punching force
 

More from Pannathat Champakul (20)

เค้าโครงวิทยานิพนธ์ ระบบการจัดการเรียนรู้ยูบิควิตัสด้วยจินตวิศวกรรมฯ
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ ระบบการจัดการเรียนรู้ยูบิควิตัสด้วยจินตวิศวกรรมฯเค้าโครงวิทยานิพนธ์ ระบบการจัดการเรียนรู้ยูบิควิตัสด้วยจินตวิศวกรรมฯ
เค้าโครงวิทยานิพนธ์ ระบบการจัดการเรียนรู้ยูบิควิตัสด้วยจินตวิศวกรรมฯ
 
505
505505
505
 
407
407407
407
 
603
603603
603
 
602
602602
602
 
601
601601
601
 
600
600600
600
 
504
504504
504
 
503
503503
503
 
502
502502
502
 
500
500500
500
 
406
406406
406
 
405
405405
405
 
404
404404
404
 
400
400400
400
 
305
305305
305
 
304
304304
304
 
303
303303
303
 
302
302302
302
 
301
301301
301
 

104

  • 1. หัวข้อการเรียนรู้ที่ 4 ความปลอดภัยเครื่องมือและเครื่องจักรในงานผลิตภัณฑ์โลหะ แผ่น เครื่องมือและเครื่องจักรในงานผลิตภัณฑ์โลหะแผ่น (Sheet Metal Tool) การปฏิบัติงาน ด้านโลหะแผ่นให้ได้ผลงานหรือผลิตภัณฑ์ที่ดีนั้น นอกจากจะต้องศึกษา ความปลอดภัยทั่วไปในงาน ผลิตภัณฑ์โลหะแผ่น กฎความปลอดภัยในการปฏิบัติงานผลิตภัณฑ์โลหะแผ่น อุปกรณ์ป้องกัน อันตรายส่วนบุคคลแล้ว ยังต้องศึกษาหน้าที่และหลักการทางานของเครื่องมือและเครื่องจักรในงาน ผลิตภัณฑ์โลหะแผ่น เพื่อความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือ และเครื่องจักรในงานผลิตภัณฑ์โลหะแผ่น และเลือกใช้วัสดุ เครื่องมือ เครื่องจักรให้มีความเหมาะสมตามลักษณะงาน สามารถปฏิบัติงานที่ ถูกต้อง เหมาะสม ในงานผลิตภัณฑ์โลหะแผ่น แบ่งได้ตามลักษณะการใช้งาน เช่น เครื่องมือวัด เครื่องมือร่างแบบ เครื่องมือตกแต่งและขึ้นรูป เครื่องมือช่วยขึ้นรูป และเครื่องจักรที่ใช้ในงานโลหะ แผ่น มีดังนี้ 4.1 เครื่องมือวัด (Measuring Tool) 4.1.1 เกจวัดความหนาและความโต (Wire and Sheet Metal Tool) เกจชนิดนี้ทา จากเหล็กกล้าคาร์บอน มีลักษณะกลม ปากเป็นร่องรอบตัว เพื่อใช้ในการวัดความหนาของโลหะแผ่น และความโตของเส้นลวด ตัวเลขบนเกจวัดจะบอกความหนาของโลหะแผ่นเป็นทศนิยมหรือเศษส่วน ของนิ้ว ด้านหน้าของเกจวัดจะบอกความหนาเป็นนัมเบอร์ (Number) ส่วนด้านหลังจะบอกเป็น ทศนิยมของนิ้วในช่องที่ตรงกัน โดยมีตั้งแต่เบอร์ 0 ถึงเบอร์ 36 เมื่อนัมเบอร์มาก ความหนาก็จะน้อย เช่น เบอร์ 30 มีความหนาน้อยกว่าเบอร์ 15 เป็นต้น รูปที่ 1.13 แสดงเกจวัดความหนาและความโต 4.1.2 บรรทัดเหล็ก (Steel Ruler) เป็นเครื่องมือวัดที่รู้จักกัน มีลักษณะใช้วัดความยาว และสาหรับขีดเส้นตรง มีความละเอียดเหมาะสมกับงานด้านโลหะแผ่น โดยทั่วไปจะทาด้วยเหล็กกล้าไร้สนิมหรือ สเตนเลส สามารถวัดได้ทั้งระบบอังกฤษ (นิ้ว) และระบบเมตริก(มิลลิเมตร)หรืออาจมีทั้งสองระบบในบรรทัด เดียวกันก็ได้ ส่วนด้านหลังของบรรทัดเหล็กอาจมีตารางเปรียบเทียบความยาวของระบบเมตริกกับอังกฤษ ไว้ ความยาวของบรรทัดเหล็ก จะมีความยาวตั้งแต่ 6 นิ้ว (15 เซนติเมตร) 12 นิ้ว (30 เซนติเมตร) 36 นิ้ว (90 เซนติเมตร) และ 48 นิ้ว (120 เซนติเมตร) เป็นต้น
  • 2. รูปที่ 1.14 แสดงลักษณะบรรทัดเหล็ก 4.1.3 ตลับเมตร (Tape Rule) เครื่องมือวัดชนิดหนึ่งที่มีสายวัดเก็บอยู่ในตลับอย่าง มิดชิด ทาให้สะดวกในการนาติดตัวไปใช้งานได้ตลอดเวลา ตลับเมตรใช้ในการวัดหาระยะหรือ ตรวจสอบขนาดของวัสดุ ชิ้นงาน ฯลฯ เนื่องจากตรงหัวสายวัดของตลับเมตรมีขอเกี่ยว ซึ่งใช้เป็นที่ เกาะยึดกับขอบของชิ้นงานที่ต้องการวัด ทาให้การดึงสายวัดออกจากตลับเพื่อใช้ในการวัดระยะหรือ ตรวจสอบขนาดของวัสดุ หรือชิ้นงานได้สะดวกและสามารถม้วนเก็บได้สะดวก เพราะทาจากเหล็ก สปริง และมีปุ่มบังคับไม่ให้เคลื่อนที่เข้าออกได้ตามต้องการ ขนาดที่นิยมใช้มีตั้งแต่ 1 เมตร ถึง 5 เมตร) มีหน่วยการวัดเป็นระบบอังกฤษ (นิ้ว, ฟุต) หรือระบบเมตริก (มิลลิเมตร) รูปที่ 1.15 แสดงลักษณะตลับเมตร 4.1.4 ฉากเหล็ก (Square) เป็นเครื่องมือที่มีลักษณะเป็นรูปตัวแอล (L) แขนทั้งสองข้าง ทามุม 90 องศา ทาจากเหล็กเครื่องมือชุบแข็ง ใช้สาหรับตรวจสอบมุมฉากของโลหะแผ่น มีความยาวให้ เลือกใช้หลายขนาดได้แก่ 8×12นิ้ว (20 × 30 เซนติเมตร), 16× 24 นิ้ว (40 × 60 เซนติเมตร) และ 18 × 24 นิ้ว (45 × 60 เซนติเมตร) รูปที่ 1.16 แสดงฉากเหล็ก หน่วยวัดเป็นมิลลิเมตร หน่วยวัดเป็นนิ้ว
  • 3. 4.2 เครื่องมือร่างแบบ (Lay-Out Tool) เป็นเครื่องมือที่มีลักษณะปลายแหลม เพื่อใช้ในดาร ขีดเขียน เครื่องมือร่างแบบถ้าใช้งานแต่ตัวมันเองจะไม่เกิดผลที่ไม่ดีสักเท่าไร ทาให้จะต้องใช้งาน ร่วมกับเครื่องมือประเภทอื่น เช่น ไม้บรรทัด 4.2.1 เหล็กขีด (Scriber) เป็นเครื่องมือที่ทาจากเหล็กกล้าคาร์บอน ซึ่งจะมีความแข็ง กว่าโลหะแผ่น และบริเวณปลายแหลมจะผ่านการชุบแข็ง เพื่อให้ทนต่อการสึกหรอได้ดี โดยเหล็กขีด จะคล้ายกับดินสอหรือปากกาที่มีหน้าที่ใช้ในการขีดเขียนลงบนกระดาษ แต่เหล็กจะขีดเขียนลงบน แผ่นโลหะ รูปที่ 1.17 แสดงเหล็กขีด 4.2.2 วงเวียนเหล็ก (Steel Dividers) เป็นเครื่องมือร่างแบบที่ใช้ในงานโลหะแผ่น ซึ่ง จะใช้เขียนวงกลมหรือส่วนโค้ง จะปลายแหลม 2 ข้าง ในการใช้งานควรกางวงเวียนออกให้ได้ขนาดบน ฟุตเหล็ก จากนั้นก็นาไปขีดบนชิ้นงาน อาจจะนาไปเขียนส่วนโค้ง แบ่งส่วน ถ่ายขนาด วงเวียนแบ่ง ออกได้ 3 ลักษณะ คือ 1) วงเวียนขาสปริง (Spring dividers) วงเวียนแบบนี้สามารถปรับขนาดต่างๆได้ ตามความต้องการและแน่นอน ขาทั้งสองข้างจะถ่างอยู่ตลอดเวลา โดยมีเหล็กสปริงทาให้ถ่างออก โดย ติดที่โคนขาด้านบนทั้งสองข้างของวงเวียน และมีแป้นเกลียวสาหรับปรับเพื่อให้ปลายทั้งสองข้างถ่าง ออกตามขนาดที่ต้องการ แป้นเกลียวนี้จะอยู่ในแกนเกลียวใกล้ๆ กับขาของวงเวียน รูปที่ 1.18 แสดงวงเวียนขาสปริง 2) วงเวียนขาตาย (wing dividers) วงเวียนแบบนี้ใช้ไม่ค่อยสะดวกนัก ขาทั้ง สองข้างไม่มีแรงสปริงเหมือนแบบขาสปริง เมื่อต้องการให้ขาถ่างออกขนาดเท่าไหร่ ก็จะใช้มือจับขาทั้ง สองข้างถ่างออก หรือเคาะให้ขาถ่างออกตามขนาดที่ต้องการ ซึ่งแบบนี้จะเสียเวลาในการปรับขนาด มาก ในการใช้วงเวียนนั้นจะต้องระมัดระวังรักษาวงเวียนให้มีปลายแหลมคมอยู่เสมอ อย่าให้ตกลงบน พื้นเพราะจะทาให้ปลายหักหรือทู่ได้ เมื่อจะลับปลายทั้งสองข้างของวงเวียนให้ลับบนหินน้ามัน
  • 4. รูปที่ 1.19 แสดงวงเวียนขาตาย 3) วงเวียนเลื่อน (Trammels Point) ทาจากพลาสติกหรืออะลูมิเนียม เป็นวง เวียนที่ออกแบบไว้สาหรับใช้งานที่มีรัศมีของวงกลมหรือส่วนโค้งมากกว่า 24 นิ้ว ขาของวงเวียนทั้ง 2 ข้างของวงเวียนสอดอยู่กับคานเหล็ก ข้างหนึ่งอยู่กับที่อีกข้างหนึ่งสามารถเลื่อนได้ตามขนาดที่ต้องการ รูปที่ 1.20 แสดงวงเวียนเลื่อน 4.3 เครื่องมือตกแต่งและขึ้นรูป (Hand Tool) เครื่องมือประเภทตกแต่งและขึ้นรูป (Hand Tool) มีชนิดและหน้าที่การทางานแตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็ก น้าหนักเบาเพื่อช่วยใน การตบแต่งและขึ้นรูปชิ้นงาน มีเครื่องมือและอุปกรณ์ดังนี้ 4.3.1 กรรไกร (Snips) เป็นเครื่องมือที่ผลิตจากวัสดุประเภทเหล็กกล้าทาเครื่องมือ หรือเหล็กกล้าผสมสูงที่มีความแข็งสูง ซึ่งจะใช้สาหรับตัดโลหะแผ่น เช่น แผ่นอาบสังกะสี แผ่น เหล็กกล้า แผ่นเหล็กสเตนเลส และวัสดุอื่นๆ การตัดด้วยกรรไกรจะสะดวกและง่าย ความสามารถของ กรรไกรจะขึ้นอยู่กับการออกแบบ วัสดุที่ใช้ทากรรไกร ความหนา และความแข็งของโลหะแผ่นที่จะ นามาตัด กรรไกรสาหรับงานโลหะแผ่นมีหลายชนิด สามารถแบ่งได้ดังนี้ 1) กรรไกรตัดตรง (Straight Snips) ใช้สาหรับตัดโลหะที่เป็นเส้นตรงมีหลาย ขนาด สามารถตัดโลหะแผ่นได้ถึงเบอร์ 18 รูปที่ 1.21 แสดงกรรไกรตัดตรง
  • 5. 2) กรรไกรตัดโค้ง (Circle Snips) ใบมีดของกรรไกรมีลักษณะโค้ง ใช้ตัดโค้ง ได้เพียงอย่างเดียว เหมาะสาหรับตัดโค้งวงกลม ไม่ว่าจะเป็นโค้งซ้ายหรือโค้งขวา สามารถตัดแผ่น โลหะหนาถึงเบอร์ 22 รูปที่ 1.22 แสดงกรรไกรตัดโค้ง 3) กรรไกรแบบผสม (Combination Snips) กรรไกรชนิดนี้ ใช้สาหรับตัด ชิ้นงานตามแนวเส้นตรงและแนวเส้นโค้ง สามารถตัดโลหะแผ่นหนาถึงเบอร์ 24 รูปที่ 1.23 แสดงกรรไกรแบบผสม 4) กรรไกรแบบโทรเจน (Trojan Snip) ลักษณะใบตัดจะเล็กยาว สามารถ สอดเข้าไปตัดในที่แคบๆได้ ตัดได้ทั้งแนวตรงและแนวโค้ง สามารถตัดโลหะแผ่นได้หนาถึงเบอร์ 20 รูปที่ 1.24 แสดงกรรไกรแบบโทรเจน 5) กรรไกรเอวิเอชั่น (Aviation Snips) เป็นกรรไกรที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากลักษณะของกรรไกรมีน้าหนักเบา ขนาดเล็กกะทัดรัด มีความสามารถตัดงานที่มีความหนาได้ เท่ากับกรรไกรขนาดใหญ่ จุดเด่นของกรรไกรเอวิเอชั่น คือ มีการเพิ่มจุดหมุนและแขน เพื่อช่วยในการ ผ่อนแรง มีลักษณะเป็นชุดมี 3 แบบ จาแนกเป็นสีสังเกตได้ที่ด้ามคือ ด้ามสีเหลืองเป็นกรรไกรชนิดตัด ตรง (Straight Cutting) ด้ามสีแดงเป็นกรรไกรชนิดตัดโค้งซ้าย (Left Curve Cutting) และด้ามสี เขียวเป็นกรรไกรชนิดตัดโค้งขวา (Right Curve Cutting)
  • 6. รูปที่ 1.25 แสดงกรรไกรเอวิเอชั่น 6) กรรไกรโยก (Bench Lever Shear) ใช้สาหรับตัดโลหะที่มีความหนา ตั้งแต่ 2 มิลลิเมตรขึ้นไป ลักษณะใบคมตัดออกแบบให้เป็นเส้นตรงโดยมีมุม และแรงที่ใช้ในการตัด คงที่ ใบคมตัดสามารถถอดเปลี่ยนได้ ใช้ตัดเหล็กเส้นแบน เหล็กกลม เหล็กเหลี่ยมและเหล็กฉาก รูปที่ 1.26 แสดงกรรไกรโยก 7) กรรไกรไฟฟ้า (Electric Shear) เป็นกรรไกรที่ใช้ไฟฟ้าเป็นตัวช่วยในการ ทางาน การทางานของกรรไกรไฟฟ้าจะเคลื่อนที่ขึ้นลงในแนวดิ่ง ตัดโลหะแผ่นเหล็กหนาได้ เบอร์ 14 หนา 2 มิลลิเมตร และสามารถตัดแผ่นโลหะในระยะทางยาวได้ดี รูปที่ 1.27 แสดงกรรไกรไฟฟ้า
  • 7. 4.3.2 ค้อน (Hammer) เป็นเครื่องมือพื้นฐาน ใช้สาหรับตี เคาะขึ้นรูป ดัด และพับ เป็นต้น ในงานโลหะแผ่นจะขาดเครื่องมือนี้ไม่ได้ ซึ่งทาจากเหล็กกล้าผ่านการชุบแข็งที่ผิวหน้า สามารถต้านทานการสึกหรอได้ สามารถแยกออกเป็นประเภทต่างๆ แต่ละประเภทตามการใช้งานได้ ดังนี้ 1) ค้อนหัวกลม (Ball Peen Hammer) มีลักษณะปลายด้านหน้าเรียบ ใช้ สาหรับเคาะหรือตอกเหล็กถ่ายแบบหรือนาศูนย์ ส่วนด้านหัวจะมนกลมใช้สาหรับเคาะย้าหัวหมุดย้า มี หลายขนาดให้เลือกใช้ รูปที่ 1.28 แสดงค้อนหัวกลม 2) ค้อนเคาะขึ้นรูป (Raising Hammer) เป็นเครื่องมือที่มีรูปร่างแตกต่างกันออกไป ใช้สาหรับขึ้นรูปโลหะแผ่นให้เป็นรูปร่างของภาชนะ หรือเครื่องประดับต่างๆ เช่น เคาะขึ้นรูปจาน ชาม เป็นต้น รูปที่ 1.29 แสดงค้อนเคาะขึ้นรูป 3) ค้อนย้าตะเข็บ (Setting Hammer) จะมีลักษณะหัวค้อนเป็นเหลี่ยม หน้าค้อน จะเรียบเพื่อใช้ในการเคาะตะเข็บต่างๆ ในงานโลหะแผ่น ส่วนด้านหลังจะตัดเฉียงเพียงด้านเดียวไว้ เพื่อสะดวกในการเคาะตะเข็บให้แน่นสวยงาม รูปที่ 1.30 แสดงค้อนย้าตะเข็บ
  • 8. 4) ค้อนย้าหมุด (Riveting Hammer) ลักษณะของหัวค้อนจะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขอบ ทั้งสี่ด้านจะทาการลบคมมุม ผิวหน้านูนเล็กน้อย ส่วนด้านหางของค้อนจะเรียวเข้าหากันเป็นมุมสี เหลี่ยม รูปที่ 1.31 แสดงค้อนย้าหมุด 5) ค้อนยาง (Rubber Hammer) ทาจากยางธรรมชาติ มีสมบัติเหนียวนุ่มเหมาะ สาหรับเคาะ ดัด ตี และขึ้นรูปโลหะที่อ่อน เช่น ทองแดง อะลูมิเนียม หรือเคาะโลหะแผ่นเคลือบที่ไม่ ต้องการให้แผ่นเคลือบหลุดหรือลอก เช่น แผ่นเหล็กเคลือบสังกะสี รูปที่ 1.32 แสดงค้อนยาง 6) ค้อนพลาสติก (Plastic Hammer) ทาจากพลาสติกแข็ง หน้าตัดมีลักษณะกลม ผิวหน้านูนเล็กน้อย บริเวณขอบมน หัวค้อนภายในทาเกลียว เพื่อขันติดกับตัวเรือนของค้อนที่เป็น โลหะทั้งสองประกอบติดกับด้าม เหมาะสาหรับใช้เคาะขึ้นรูปชินงานที่มีเนื้ออ่อน รูปที่ 1.33 แสดงค้อนพลาสติก
  • 9. 7) ค้อนไม้ (Wood Hammer) จากเนื้อไม้แข็ง และมีความเหนียวไม่แตกง่าย เหมาะสาหรับเคาะขึ้นรูป ตี ดัด โลหะที่มีผิวอ่อน เช่น อะลูมิเนียม แผ่นเหล็กเคลือบสังกะสี เป็นต้น รูปที่ 1.34 แสดงค้อนไม้ 4.4 คีม (Pliers) คีมเป็นเครื่องมือในงานอุตสาหกรรมแทบทุกสาขา ซึ่งคีมมีประโยชน์ หลายอย่าง เช่นใช้จับ บิด พับ ดัด ขึ้นรูปโลหะได้ สาหรับงานโลหะแผ่น คีมเป็นเครื่องมือทางาน เกี่ยวกับโลหะแผ่นได้ดี แบ่งออกได้หลายชนิดตามลักษณะการใช้งาน 4.4.1 คีมปากแบน (Flat Nose Pliers) มีลักษณะแบนที่ส่วนปลายจะขึ้นรูปฟันเป็น หลัก ๆ ป้องกันการเลื่อนขณะจับชิ้นงาน มีความกว้างประมาน 10 มิลลิเมตร เหมาะสาหรับจับชิ้นงาน เพื่อพับขึ้นรูป รูปที่ 1.35 แสดงคีมปากแบน 4.4.2 คีมพับตะเข็บ (Hand Seamen) มีลักษณะคล้ายกับคีมทั่วไป แต่จะแตกต่าง กันตรงที่ปาก ซึ่งปากจะมีลักษณะแบน กว้างประมาณ 3 นิ้ว และลึกประมาณ 1 นิ้ว ใช้สาหรับพับ โลหะด้วยมือ เมื่อแผ่นโลหะนั้นไม่สามารถพับด้วยเครื่องพับได้ รูปที่ 1.36 แสดงคีมพับตะเข็บ
  • 10. 4.5 เหล็กย้าตะเข็บ (Hand Groove) ทาจากเหล็กกล้าหรือเหล็กเครื่องมือ ใช้สาหรับย้า ตะเข็บเกี่ยว (Groove seam) โดยจะเป็นร่องลึกสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีหลายขนาดให้เลือกตามความกว้าง ของตะเข็บที่เผื่อการใช้งานให้เลือกขนาดโตกว่าความกว้างที่เผื่อไว้ตามแบบเล็กน้อย รูปที่ 1.37 แสดงเหล็กย้าตะเข็บ 4.6 ชุดเหล็กย้าหัวหมุด (Rivet Set) ทาจากเหล็กกล้าหรือเหล็กเครื่องมือ ใช้สาหรับตอกย้า หัวหมุดเพื่อให้โลหะติดกัน จะมีลักษณะเป็นแท่งยาว ปลายด้านหนึ่งเรียบใช้สาหรับตอก อีกด้านหนึ่ง จะมีรูเจาะลึกและรอยลึกรูปครึ่งวงกลม สาหรับย้าปลายหมุดให้เป็นรูปครึ่งวงกลม ชุดหนึ่งจะมีหลาย ขนาดให้เลือกใช้โดยสัมพันธ์กับหัวหมุดที่ใช้ รูปที่ 1.38 แสดงชุดเหล็กย้าหัวหมุด 4.7 เหล็กเจาะรูด้วยมือ (Hand Punch) ใช้สาหรับเจาะรูบนแผ่นโลหะ สามารถเจาะโลหะ ได้ถึงเบอร์ 14 ซึ่งเป็นโลหะแผ่นที่มีความหนาไม่มากนัก และจะเป็นโลหะที่ค่อนข้างอ่อน เช่น แผ่น ทองแดง แผ่นทองเหลือง แผ่นดีบุก แผ่นหนัง และแผ่นยาง เพื่อนาไปใช้ทาปะเก็นต่าง โดยใช้มือบีบ กดด้ามจับ กดให้พ้นเจาะทะลุงานผ่านรูเจาะ
  • 11. รูปที่ 1.39 แสดงเหล็กเจาะรูด้วยมือ 4.8 เครื่องมือช่วยขึ้นรูป (Stakes) ในงานโลหะแผ่น การพับขึ้นรูปชิ้นงานลักษณะต่างๆ สามารถกระทาได้โดยง่าย เพราะมีเครื่องจักรช่วยในการทางาน เช่น เครื่องพับช่วยให้พับได้เที่ยงตรง และรวดเร็ว ในขณะเดียวกันชิ้นงานที่มีขนาดเล็กหรือมีการพับที่ซับซ้อน ก็ไม่สามารถใช้เครื่องพับได้ ทาให้จะต้องมีการพับด้วยมือ เครื่องมือที่ใช้ในการช่วยพับขึ้นรูปชิ้นงาน เรียกว่า เครื่องมือช่วยขึ้นรูป (Stakes) ทาจากเหล็กเครื่องมือที่มีความแข็งและความเหนียวที่ทนต่อการเคาะ ซึ่งเครื่องมือช่วยขึ้น รูปจะมีหลายชิ้น แต่ละชิ้นก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างหรือตามลักษณะการใช้ งาน ชุดเครื่องมือช่วยขึ้นรูปจะต้องใช้งานร่วมกับแผ่นรอง (Bench Plate) ภายในจะทาเป็นรูสี่เหลี่ยม และเรียว มีขนาดของรูแตกต่างกันให้เลือกใช้ตามขนาดของก้านเครื่องช่วยขึ้นรูป 4.8.1 Bench Plate or Stake Holder เป็นตัวรองรับหรือยึดเครื่องมือช่วยขึ้นรูป (Stake) เป็นแผ่นสีเหลี่ยมผืนผ้า ภายในทาเป็นรูปสี่เหลี่ยมและเรียว (Taper) มีขนาดของรูที่แตกต่าง กันให้เลือกใช้ตามขนาดของก้าน รูปที่ 1.40 แสดงลักษณะ Stake Holder 4.8.2 Common Square Stake เครื่องมือช่วยขึ้นรูปชนิดนี้มีส่วนหัวเป็นรูป สี่เหลี่ยมด้านบนแบบราบ ใช้สาหรับเคาะขึ้นรูปงานทั่วไปตามที่ต้องการ
  • 12. รูปที่ 1.41 แสดงลักษณะ Common Square Stake 4.8.3 Beak Horn Stake เครื่องมือช่วยขึ้นรูปที่มีขนาดใหญ่กว่า Stake ชนิดอื่น จะมี 2 ด้าน ด้านหนึ่งมีลักษณะกลมเรียว ส่วนอีกด้านมีหน้าตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเรียว เหมาะสาหรับ การขึ้นรูป การเข้าตะเข็บ การย้าหมุด และการเคาะงานทั่วไป รูปที่ 1.42 แสดงลักษณะ Beak Horn Stake 4.8.4 Double Seaming Stake เครื่องช่วยขึ้นรูปที่มีแขนยื่นออกไปทั้ง 2 ข้าง มี ลักษณะของหน้าตัดเป็นวงรีแขนข้างหนึ่งจะสั้น อีกข้างหนึ่งจะยาวกว่า บริเวณส่วนปลายของแขนทั้ง 2 ข้าง จะมีหัวใช้สาหรับเคาะขึ้นรูปด้านนอกงานทรงกลม รูปที่ 1.43 แสดงลักษณะ Double Seaming Stake 4.8.5 Creasing Stake แขนหนึ่งจะมีลักษณะกลมเรียวยาวออกไป อีกด้านหนึ่งผิว ด้านบนมีลักษณะแบน มีร่องขนาดต่างๆ พาดผ่านเพื่อให้ลวดวางอยู่ในร่อง เหมาะสาหรับงานเข้า ตะเข็บรูปกรวยยาว งานเข้าขอบลวดและงานที่เป็นรูปเรียวต่าง ๆ
  • 13. รูปที่ 1.44 แสดงลักษณะ Creasing Stake 4.8.6 Candle Case Stake มีแขนรูปร่างกลมเรียวยื่นออกไป 2 ข้าง มีความโต แตกต่างกัน แขนด้านที่เรียวเล็กจะมีความยาวเป็น 2 เท่าของแขนอีกข้างหนึ่ง เหมาะสาหรับ เคาะขึ้นรูปตะเข็บและย้าหมุดของงานกลมที่มีความยาวมาก รูปที่ 1.45 แสดงลักษณะ Candle Case Stake 4.8.7 Blow Horn Stake แขนปลายทั้ง 2 ด้านต่างกัน ปลายด้านหนึ่งจะมีลักษณะ เรียวยาวออกไป อีกปลายหนึ่งจะโค้งเป็นรูปกรวยครึ่งวงกลมเรียว ใช้สาหรับขึ้นรูปงานทรง กรวย ใช้ย้าหมุด ย้าตะเข็บและขึ้นรูปงานทั่วไป รูปที่ 1.46 แสดงลักษณะ Blow Horn Stake
  • 14. 4.8.8 Bevel-Edge Stake เครื่องมือช่วยเคาะขึ้นรูปชนิดนี้จะออกแบบก้านให้เยื้อง ศูนย์หัวด้านบนเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ที่ขอบของมุมฉากจะมีการบากความหนาให้เอียงหลบจากบน ลงล่างเล็กน้อย เหมาะสาหรับการพับตะเข็บสองชั้น รูปที่ 1.47 แสดงลักษณะ Bevel-Edge Stake 4.8.9 Hatch Stake เหมาะสาหรับดัดงอแผ่นโลหะที่ต้องการรัศมีที่มีการดัดน้อย และใช้สาหรับพับขึ้นรูปขอบของงานที่มีลักษณะตรง โดยจะมีแขนยื่นออกไปจากก้านข้างละเท่า ๆ กัน ขอบด้านบนจะมีการบากขอบข้างเดียว (Bevel One Side) ขอบด้านบนจะมีลักษณะเป็นมุมแหลม และตรงตามความยาว รูปที่ 1.48 แสดงลักษณะ Hatch Stake 4.8.10 Hollow Mandrel Stake แขนข้างหนึ่งผิวด้านบน มีลักษณะโค้งขนาดใหญ่ อีกข้างหนึ่งผิวบนมีพื้นที่กว้างแบนราบ มีร่องอยู่ด้านใต้ตลอดความยาว มีสลักเกลียวเลื่อนอยู่ภายใน ร่องนั้นใช้สาหรับยึดกับโต๊ะ เหมาะสาหรับการขึ้นรูปของงานกลม งานย้าหมุด เคาะตะเข็บ 2 ชั้น บริเวณมุมทรงเหลี่ยมและงานเข้าตะเข็บท่อ
  • 15. รูปที่ 1.49 แสดงลักษณะ Hollow Mandrel Stake 4.9 เครื่องตัด 4.9.1 เครื่องตัดตรง (Squaring Shear) หรือเครื่องตัดแบบเท้าเหยียบ สามารถตั้งระยะ ในการตัดได้โดยมีเกจ (Gage) เลื่อนตั้งระยะใช้กาลังคนในการตัด มีอุปกรณ์ป้องกัน (Safety Guard) กันไม่ให้มือหรือนิ้วมือเข้าไปในคมตัด สามารถตัดโลหะแผ่นได้หนาถึงเบอร์ 18 หรือประมาณ 1.2 มม. มีขนาดที่นิยมใช้กันคือขนาด 4 ฟุต เป็นเครื่องจักรที่ใช้สาหรับตัดตรงแผ่นโลหะให้ขาดออกจากกัน รูปที่ 1.50 แสดงเครื่องตัดตรง 4.9.2 เครื่องตัดวงกลม (Circular Shear) เครื่องตัดชนิดนี้มีอยู่ 2 แบบ คือ แบบใช้มือ หมุนและแบบใช้มอเตอร์ ใช้สาหรับตัดโลหะแผ่นให้เป็นรูปวงกลม โดยให้ความแม่นยาในการตัดสูง รอยตัดไม่มีครีบ สามารถตัดวงกลมได้ตามขนาดซึ่งการปรับจะปรับที่ตัวเอง รูปที่ 1.51 แสดงเครื่องตัดวงกลม
  • 16. 4.9 เครื่องพับ (Folder and Brake) ใช้สาหรับพับขึ้นรูปโลหะแผ่น แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ Folder และ Brake 9.1 เครื่องพับแบบ Folder เป็นเครื่องพับที่เหมาะสาหรับการพับขอบหรือตะเข็บที่มี ความลึกไม่มาก เพราะสามารถตั้งระยะและตั้งปรับมุมได้ เครื่องพับแบบโฟลเดอร์ที่นิยมใช้มากจะเป็น ชนิดบาร์โฟลเดอร์ (Bar Folder) สามารถพับโลหะแผ่นได้หนาถึงเบอร์ 22 ความยาวของเครื่องไม่เกิน 90 เซนติเมตร รูปที่ 1.52 แสดงเครื่องพับ Folder 9.2 เครื่องพับแบบ Brake เป็นเครื่องพับที่สามารถพับขอบของโลหะแผ่นโดยไม่จากัด ความลึกในการพับ เพราะสามารถสอดแผ่นโลหะผ่านออกไปทางด้านหลังได้ ส่วนมากนิยมใช้ในการ พับที่มีความลึกมากๆ ซึ่งจะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบแฮนด์เบรกหรือแบบคอร์นิคเบรก (Hand Brake or Carnic Brake) และแบบบ็อกซ์แอนด์แพนเบรก (Box and Pan) หรือที่เรียกว่าแบบกล่อง รูปที่ 1.53 แสดงเครื่องพับแบบแฮนด์เบรค (Hand Brake)
  • 17. รูปที่ 1.54 แสดงเครื่องพับแบบกล่อง (Box and Pan Brake) 4.10 เครื่องม้วนขึ้นรูป (Slip Roll Forming Machine) ใช้สาหรับม้วนแผ่นโลหะให้เป็น ทรงกระบอกหรือกรวย บริเวณขวามือของลูกกลิ้งจะทาร่องไว้หลายขนาดเพื่อใช้สาหรับม้วนลวดหรือ เหล็กเส้นกลม โดยการหมุนลูกกลิ้ง 3 ลูก ซึ่งเป็นโลหะแท่งกระบอกตัน ลูกกลิ้งหน้า 2 ลูก จะดึงแผ่น งานเข้ามาลูกกลิ้งตัวที่ 3 ที่อยู่ด้านหลัง จะดันชิ้นงานให้โค้งตามขนาดที่ต้องการ สามารถม้วนโลหะ แผ่นได้หนาถึงเบอร์ 16 และเหล็กเส้นขนาด 3/8 นิ้ว รูปที่ 1.55 แสดงเครื่องม้วนขึ้นรูป 4.11 เครื่องขึ้นรูป (Rotary Machine) ใช้สาหรับขึ้นรูปโลหะแผ่นมีหลายเครื่องติดตั้งบน พื้นโต๊ะเดียวกันเป็นวงกลม สามารถใช้งานที่ต่อเนื่องกันได้ ลักษณะของเครื่องขึ้นรูปจะมีลักษณะและ หลักการทางานเหมือนกัน คือ มีลูกกลิ้งคู่หนึ่งที่เป็นตัวขึ้นรูปลักษณะต่างๆ กัน มีสกรูปรับระยะ ระหว่างลูกกลิ้ง มีเกจสาหรับตั้งระยะห่างขอบและมีมือหมุน โดยหมุนเฟืองที่อยู่ภายในเครื่องให้หมุน ลูกกลิ้งอีกต่อหนึ่ง เครื่องขึ้นรูปมีหลายลักษณะ จะเรียกชื่อตามลักษณะงานดังต่อไปนี้
  • 18. 4.11.1 เครื่องเทอร์นนิ่ง (Turning Machine) ใช้สาหรับงานรูปทรงกระบอก แผ่น โลหะวงกลมเพื่อขึ้นขอบเข้าขอบลวด หรือเพื่อเพิ่มความแข็งแรงโดยให้มีลักษณะเป็นลอน 4.11.2 เครื่องเบอร์ริ่ง (Burring Machine) ใช้สาหรับทาตะเข็บขอบก้นกระป๋อง มี ลักษณะเหมือนเทอร์นนิ่ง แต่ขอบจะคมกว่า (เทอร์นนิ่งขอบจะโค้งมน) 4.11.2 เครื่องครีมปิ้ง (Crimping Machine) ใช้สาหรับทาจีบย่น เพื่อให้ลดขนาดท่อ ลงสาหรับสวมกับท่อที่มีขนาดเท่ากันหรือเพิ่มความแข็งแรงให้ชิ้นงาน 4.11.3 เครื่องไวร์ริ่ง (Wiring Machine) ใช้สาหรับเข้าขอบลวดเป็นการใช้ที่ลาดับขั้น การทางานต่อจากเครื่องเทอร์นนิ่ง เพื่อให้ขอบโลหะติดแน่นกับเส้นลวด 4.11.4 เครื่องเซทติ้งดาวน์ (Setting down Machine) ใช้สาหรับกดหรือบีบ ตะเข็บ หรือขอบต่างๆ ให้สนิทแนบแน่น เช่น ตะเข็บหรือขอบก้นกระป๋องลักษณะการใช้งานใช้ต่อจากเครื่อง เบอร์ริ่ง 4.11.5 เครื่องดับเบิลซีม (Double seam Machine) ใช้สาหรับบีบหรือกดตะเข็บที่ ผ่านขั้นตอนของเครื่องเซทติ่งดาวน์เพื่อให้ตะเข็บแน่นเรียบร้อยไม่ย่น จากการพับแบบ Single seam เป็น Double seam ของก้นกระป๋อง รูปที่ 1.56 แสดงเครื่องม้วนขึ้นรูปแบบจีบย่น (Crimping Machine)
  • 19. รูปที่ 1.57 แสดงเครื่องม้วนขึ้นรูปแบบเข้าขอบลวด (Wiring Machine) รูปที่ 1.58 แสดงส่วนประกอบของเครื่องขึ้นรูป (Rotary Machine)