SlideShare a Scribd company logo
1 of 28
Download to read offline
1
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ชุดความรู้ที่ 4
ระบบแพลตฟอร์มข้อมูลเมืองเพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
ชุดความรู้ด้านระบบแพลตฟอร์มข้อมูลเมืองเพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะ แบ่งการอธิบายเป็น 2 หัวข้อ
ได้แก่ 1) แนวคิดและการออกแบบระบบแพลตฟอร์มข้อมูลเมือง 2) ระบบแพลตฟอร์มข้อมูลเมือง มีรายละเอียดได้
นี้
1) แนวคิดและการออกแบบระบบแพลตฟอร์มข้อมูลเมือง
กรอบการวิจัยโครงการพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 เฟส ซึ่งเป็นภาพรวมของโครงการใหญ่ที่
นิยามว่าเป็นกลไกระบบสารสนเทศเมือง (Urban Informatics System : UIS) เป้าหมายของระบบ ได้แก่ การมี
ชุดข้อมูลด้านต่าง ๆ ของเมืองเพื่อช่วยแสดงถึงตัวชี้วัดของความเป็นเมืองอัจฉริยะทั้ง 7 ด้าน ตามกรอบแนวคิดของ
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) สำหรับโครงการครั้งนี้ ผ่านกรณีศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ ด้าน
ขยะเหลือศูนย์ ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) Output Data Interface คือ การแสดงผลของข้อมูลเพื่อแสดงปรากฎการณ์ของ
เมือง สำหรับโครงการนี้เป็นด้านขยะเหลือศูนย์ ซึ่งชุดข้อมูลนี้จะทำเป็น Urban Open Data ข้อมูลย้อนกลับสู่การ
รู้รับของผู้มีส่วนร่วมในระดับต่าง ๆ ของโครงการตลอดจนชาวเมืองโคราชกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย และ 2) Urban
Data Analytic คือ การวิเคราะห์ข้อมูลเมืองจากการแก้ปัญหาประเด็นที่ความต้องการของเมือง ทั้งนี้ชุดข้อมูลจะ
นำไปสู่กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย ตั้งแต่การสร้างวิสัยทัศน์หรือเป้าหมายร่วมกัน การ
วางแผนยุทธศาสตร์ การกำหนดแผนงานและโครงการ(Urban Solution) การประเมินผลการดำเนินการของแผน
จะสามารถนำไปสู่การสร้างตัวชี้วัดเฉพาะเชิงพื้นที่โดยอิงกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีในเนื้อหาสาระแต่ละประเด็นเพื่อ
พัฒนาสมรรถนะฐานข้อมูลที่สำคัญของการวางแผนและดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่ท้าทายต่อไปได้
อธิบายรายละเอียดสัมพันธ์กับโครงการย่อยได้ดังภาพที่ 1
2
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดการออกแบบระบบแพลตฟอร์มข้อมูลเมือง
สำหรับโครงการย่อยที่ 1 กลไกระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ อยู่ใน 1st fade มีเป้าหมาย
คือ กระบวนการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานสำหรับชุดข้อมูลเปิดขนาดใหญ่ของเมือง (Urban Big/Open Data)
สำหรับงานวิจัยนี้เรียกว่า Urban Informatics Systems หรือ ระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการพัฒนาเมือง
อัจฉริยะ ที่ต้องสามารถเก็บข้อมูลและประมวลในระดับ Real Time ได้ เพื่อนำไปสู่การมองภาพรวมเดียวกันของ
Policy Maker ที่จะสามารถเจรจากลุ่ม Key Stakeholder ต่อรองในการแก้ปัญหาหรือสามารถ และตัดสินใจ
ร่วมกัน ตลอดจนการดำเนินรายละเอียดโครงการได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ห้องปฏิบัติการระบบ
สารสนเทศเมือง และ 2) ชุดระบบแสดงผลข้อมูลของเมือง ที่สามารถตอบสนองต่อผู้ความต้องการและความพึง
พอใจของระบบได้ดีเพียงใด
โครงการย่อยที่ 2 ระบบขยะเหลือศูนย์สู่ความเป็นเมืองโคราชอัจฉริยะด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ใน 2nd fade
โดยมีเป้าหมายของการออกแบบชั้นข้อมูลเมือง เก็บรวบรวมข้อมูลในด้านต่างๆ ที่เรียกว่า Urban Solution ที่
สามารถเชื่อมโยงกับกรอบแนวคิดของ DEPA ทั้ง 7 ด้านเมืองอัจฉริยะได้ สำหรับงานวิจัยนี้มุ่งเน้น Urban
Solution ด้าน Smart Environment ซึ่งเป็นด้านเงื่อนไขบังคับของ DEPA ของทุกเมืองในการขอประกาศความ
เป็นเมืองอัจฉริยะและสิทธิพิเศษในการลงทุนจาก BOI สำหรับโครงการครั้งนี้ใช้การแก้ปัญหาด้านขยะของเมือง
ผ่านแนวคิดขยะเหลือศูนย์ เนื่องจากมีการจัดประชุมกลุ่มย่อยของภาคส่วนต่างๆ อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า
2 ปี จนสามารถระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียอย่างน้อย 3 ภาคส่วน (Triple Helix) ที่มีศักยภาพการขับเคลื่อนได้อย่าง
3
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ชัดเจน ได้แก่ สมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดนครราชสีมา ต้องการแก้ปัญหาขยะให้กับสมาชิกแต่ละโครงการ
(ชุมชน) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับภาพรวมสำคัญของการจัดการขยะของเมือง
การประสานทำงานร่วมกับภาครัฐทั้งระดับท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาลนครนครราชสีมาและองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นโดยรอบเมืองโคราช และภาครัฐส่วนกลางของจังหวัดนครราชสีมา และ
สถาบันการศึกษาทั้งระดับอุดมศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ที่เป็นแม่งานหลักด้าน
ออกแบบภาพรวมองค์ความรู้และการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในการวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับเทคโนโลยี
ภายในกรอบแนวคิดนี้ และมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมาช่วยขับเคลื่อนในระดับโรงเรียน โดยมีโรงเรียนสาธิต
ราชภัฎนครราชสีมา เป็นพื้นที่ทดลองนำร่อง ก่อนขยายผลไปโรงเรียนต่าง ๆ ทั้งจังหวัดนครราชสีมา โดยตัวชี้วัด
ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมแต่ละพื้นที่ของชุมชน 2) ปริมาณการคัดแยกขยะรีไซเคิล 3) มูลค่าทางเศรษฐกิจในการ
สร้างความยั่งยืนของระบบ 4) การกระจายมูลค่าทางเศรษฐกิจกลับสู่ชุมชน (Economic Sharing) และการสร้าง
เคมเปญการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างแรงจูงใจเพิ่มขึ้นจากผู้ประกอบด้านต่าง ๆ ภายในเมือง 5) จำนวนเครือข่ายและ
หน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มมากขึ้น และ 6) การบรรจุแผนและงบประมาณของหน่วยงานเครือข่ายที่
เข้าร่วมภายใต้แพลตฟอร์มของโครงการนี้
ภาพที่ 2 จำนวนและประเภทชุมชนหรือองค์กรที่เตรียมเข้าร่วมโครงการโคราชเมืองขยะเหลือศูนย์
(Korat Zero Waste)
4
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
และ โครงการย่อยที่ 3 การจัดทําแผนพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะด้านสิ่งแวดล้อม และประเมินผลการมี
ส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในเมืองโคราช อยู่ใน 3rd fade มีเป้าหมาย คือ กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาแบบมี
ส่วนร่วมท่ามกลางผู้มีส่วนได้เสียระดับต่าง ๆ ตลอดการเชื่อมโยงกับกลุ่มบริษัท partner หรือ supplier ที่สามารถ
สนับสนุนโครงการจนเกิดระบบนิเวศองค์กรนวัตกรรม หรือ Job Creation ในลักษณะของ Social Enterprise
ให้กับเมืองได้ การเกิด Ecosystem ของ Job Creation ถือว่าเป็นความอย่างยืนแบบหนึ่งให้กับเมืองจากการจับ
ประเด็นปัญหาแต่ละด้านนำมาวางระบบอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการเชื่อมโยงด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมและการ
นำเสนอข้อมูลเดียวกันจากระบบสารสนเทศของเมือง โดยมีตัวชี้วัด ได้แก่ 1) จำนวนแผนพัฒนาเมืองด้านขยะ
เหลือศูนย์ในหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอยู่ในแผนยุทธศาสตร์เมืองอัจฉริยะจังหวัดนครราชสีมา และ
2) จำนวนหน่วยงานที่มีส่วนร่วมในกระบวนการมีส่วนร่วมจัดทำแผนพัฒนาเมืองด้านขยะเหลือศูนย์ และ 3) ผล
การประเมินโครงการตั้งแต่โครงการย่อยที่ 1-3 จากกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียระดับต่าง ๆ ของเมือง
ผลจากการดำเนินโครงการคาดว่าจะสามารถนำไปสู่การสรุปองค์ความรู้กลไกระบบสารสนเทศสำหรับการ
ประยุกต์ในโครงการแก้ปัญหาเมือง หรือโครงการพัฒนาตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของเมืองในด้านต่าง ๆ ที่
สอดคล้องกับตัวชี้วัดความเป็นเมืองอัจฉริยะที่ทางสำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัลกำหนดไว้ได้ ผ่านการดำเนิน
โครงการวิจัย 3 โครงการย่อย เป็นกรณีศึกษาขยะเหลือศูนย์ได้ ภาพที่ 3 และภาพที่ 4 แสดงถึงการประยุกต์
ผลผลิตแพลตฟอร์มโครงการวิจัยกับความเป็นเมืองอัจฉริยะด้านอื่นสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะได้อย่างครอบคลุม
และกระบวนการดำเนินโครงการวิจัย
ภาพที่ 3 กรอบแนวคิดการประยุกต์แพลตฟอร์มข้อมูลเมืองกับความเป็นเมืองอัจฉริยะด้านต่าง ๆ
5
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ภาพที่ 4 โครงสร้างการออกแบบระบบแพลตฟอร์มข้อมูลเมือง
นิยามคำศัพท์เฉพาะการวิจัยครั้งนี้ คำว่า
“เมืองอัจฉริยะ คือ เมืองที่มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ระบบการประเมิน
สถานการณ์และโต้ตอบด้วยระบบเองเพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมให้กับ
เมืองต่อไป (Self-monitoring & Self-Response) จนกลายเป็นระบบ
แบบวนรอบ (Loop System) ที่สามารถแก้ไขปัญหาของเมืองได้ทุก
สถานการณ์ท่ามกลางความเป็นพลวัตของเมือง (Urban Dynamic)”
การออกแบบวิจัยจึงให้ความสำคัญของการสร้างระบบการรวบรวมข้อมูลกิจกรรม ระบบประเมินข้อมูล
แบบ Real-time เพื่อสามารถนำไปสู่การวิเคราะห์ร่วมท่ามกลางกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ดังนั้นจึงสร้างนวัตกรรมความ
เป็นเมืองอัจฉริยะโดยมีผลผลิตเป็นกลไกระบบสารสนเทศเชื่อมโยงกับแนวคิดขยะเหลือศูนย์ เพื่อนำชุดข้อมูลที่
รวบรวมและวิเคราะห์นำไปสู่การร่างแผนพัฒนาเมือง
6
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ชุดข้อมูลเชิงปริมาณการวิจัยครั้งนี้ได้ออกแบบให้มีการรวบรวมผ่านระบบ Application & Cloud
Computing Platform ซึ่งจะเป็นอีก 1 นวัตกรรมการรวบรวมข้อมูลการวิจัย ทั้งในระดับภาพรวมของเมืองผ่าน
การเชื่อมโยงด้วยตำแหน่งการติดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะ และระดับผู้ใช้รายบุคคลเพื่อนำไปสู่การพิจารณา
มาตรการสร้างแรงจูงใจทั้งระบบนิเวศขยะเหลือศูนย์ของเมืองมากขึ้น
ภาพที่ 5 ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลระบบนิเวศขยะเหลือศูนย์ด้วย Application & Cloud Computing
Platform
2) ระบบแพลตฟอร์มข้อมูลเมือง
พื้นที่ออนไลน์ อยู่ในระบบ Cloud Computing ประมวลผล Platform เชื่อมโยงระหว่าง Mobile User
Application การบริหารโครงการกับระดับ User ที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งชุดข้อมูลจากการใช้ Application จะถูก
เก็บสำหรับวิเคราะห์และประมวลผ่าน Platform ที่ออกแบบไว้ใน Cloud System ที่เรียกว่า Scavenger
Platform เป็นโมดูลหนึ่งของระบบ JVIS Platform
7
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ภาพที่ 6 ความสัมพันธ์กลไกระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ Mobile User Application ระดับผู้ใช้
เชื่อมโยงการรวบรวมขยะรีไซเคิลผ่าน Smart Recycle Bank ส่งข้อมูลเข้า Scavenger Platform เป็นโมดูลหนึ่ง
ของระบบ JVIS Platform
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ อยู่ในลักษณะของการร่วมทุนระหว่าง
โครงการฯ กับหุ้นส่วนภาคเอกชน โดยประเด็นเนื้อหาโครงการฯ ต้องเชื่อมโยงสู่การแก้ไขปัญหาร่วมระหว่าง
ภาคเอกชนกับภาครัฐ ตลอดจนการเจรจารายละเอียดการรับผิดชอบดำเนินการรวมถึงต้นทุนและเงื่อนไขต่าง ๆ
การตกผลึกกรอบแนวคิดสู่การดำเนินการ มีรายละเอียด ได้แก่
โครงสร้างการบริหาร Application ด้วยต้นทุนที่จำกัดของงบประมาณ และสามารถขับเคลื่อนโครงการได้
บรรลุเป้าหมาย Zero Waste Application ได้ถูกบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของระบบการให้บริการที่เรียกว่า JVIS ซึ่ง
เป็น Platform Application ขนาดใหญ่รวบรวม Module การให้บริการที่หลากหลายให้กับเมือง ส่วน Zero
Waste Application ถือเป็น Module หนึ่งใน JVIS
8
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ภาพที่ 7 ความสัมพันธ์เชิงระบบในการร่วมลงทุนพัฒนาระบบ JVIS and Scavenger Application
จากการวิเคราะห์ตั้งแต่ระบบการออกแบบ การร่วมทุน และโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนนำไปสู่การสร้าง
ผลผลิตโครงการวิจัยสามารถสรุปรายละเอียด ได้ตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ความสัมพันธ์เชิงระบบในการร่วมลงทุนพัฒนาระบบ JVIS and Scavenger Application
ระบบ ผลผลิต ทีมดำเนินการ
JVIS Platform and System (บริษัท
JVIS จำกัด ลงทุน ใช้โครงสร้างร่วมกับ
โครงการวิจัย)
แพลตฟอร์มโครงสร้างใหญ่ พร้อม
ระบบ Cloud Computing สำหรับ
ประยุกต์กับความเป็นเมืองอัจฉริยะ
ด้านต่าง ๆ
Database: User รายบุคคล ราย
สถานที่
บริษัท JVIS จำกัด เกิดจากเครือข่าย
ความร่วมมือของภาคเอกชน อาทิ
สมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัด
นครราชสีมา สมาคมหอการค้าจังหวัด
นครราชสีมา และสภาอุตสาหกรรม
จังหวัดนครราชสีมา
Scavenger Platform and System
(คณะวิจัย ทุนจาก บพท.)
แพลตฟอร์มในลักษณะโมดูล
(Module) เฉพาะด้านขยะรีไซเคิล
ทำงานเชื่อมโยงกับ JVIS
Database: Smart Recycle Bank
ปริมาณและประเภทขยะรีไซเคิล
จำแนกรายวัน รายบุคคล และราย
สถานที่
คณะวิจัยในโครงการ ร่วมกับบริษัท JVIS
จำกัด สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา
เครือข่ายสถาบันเมืองอัจฉริยะจังหวัด
นครราชสีมา
9
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ตารางที่ 1 ความสัมพันธ์เชิงระบบในการร่วมลงทุนพัฒนาระบบ JVIS and Scavenger Application
ระบบ ผลผลิต ทีมดำเนินการ
Urban Informatics Center (City
Data Center) (มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
งบประมาณแผ่นดิน พ.ศ.2564)
โครงสร้างทางกายภาพเชิงสัญลักษณ์
การทำงานเชิงบูรณาการ
Command Room การพิจารณา
ข้อมูลร่วมกันท่ามกลางผู้มีส่วนได้เสีย
เพื่อกำหนดนโยบาย แผนงานและ
โครงการพัฒนาเชิงพื้นที่
คณะทำงานบูรณาการแผนงานเพื่อ
พัฒนาเมืองอัจฉริยะและคณะทำงาน
บริหารยุทธศาสตร์สำนักงานเมือง
อัจฉริยะจังหวัดนครราชสีมา หนังสือ
คำสั่งที่ นม 0013/ว5111 วันที่ 5
สิงหาคม 2564 ลงนามโดยผู้ว่าราชการ
จังหวัดนครราชสีมา
การออกแบบ JVIS Platform ในระบบ Cloud Computing โครงสร้างหลักของความเป็นเมืองอัจฉริยะ
มีองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เมนู User 2) เมนูรายงานค่าสถิติ 3) เมนูจัดการโครงการ และ 4)
เมนูจัดการบริการ (Module) และ 5) รายงานปัญหา
เมนู User Interface สำหรับทีมผู้บริหาร จำแนกตามระดับการเข้าถึงชุดข้อมูลตามบทบาทที่กำหนดไว้
อาทิ ผู้ดูแลระบบสามารถเพิ่มลด Function ต่าง ๆ ได้ การเพิ่มโครงการเข้าระบบ การ Module ให้บริการผ่าน
Application หรือผู้วิเคราะห์สามารถเพิ่มข่าวสื่อสารให้กับกลุ่มผู้ใช้ Module Application มาให้บริการต่าง ๆ
ของ JVIS Platform ตลอดจนการดูแลระบบข้อมูลและการเข้าถึง Function ต่าง ๆ ของกลุ่มผู้ใช้ Application
เป็นต้น
ภาพที่ 8 User Interface จำแนกตามระดับการเข้าถึงชุดข้อมูลตามบทบาทที่กำหนดไว้ของ JVIS Platform
10
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
เมนูรายงานค่าสถิติ ประมวลผลสถิติพรรณาเพื่อให้ทีมผู้บริหารสามารถมองภาพรวมทั้งระบบนำไปสู่การ
ตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารโครงการต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที (Real-Time Management) โดยรายละเอียดสถิติ
ระดับภาพรวม อาทิ จำนวนโครงการหรือสถานประกอบการที่เข้าร่วมระบบ จำนวนผู้ใช้ Application ทั้งหมดที่
อยู่ในระบบจำแนกรายโครงการหรือสถานประกอบการ จำนวนผู้ให้บริการในโมดูลต่าง ๆ การสรุปโมดูลการ
ให้บริการยอดนิยม จำนวนเงินที่มีการใช้จ่ายผ่านระบบทั้งหมดตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านต่าง ๆ ที่ยังค้างชำระ และ
การวิเคราะห์โครงการหรือสถานประกอบการที่มีการใช้บริการหรือโมดูลในระบบมากที่สุด
ภาพที่ 9 Dashboard ของ JVIS Platform ประมวลผลทางสถิติด้านต่าง ๆ
โดยด้านซ้ายเป็นระบบเมนูบริการแพลตฟอร์มด้านโครงการและบริการหรือโมดูล Urban Solution
นอกจากนี้ จำนวนโครงการหรือสถานประกอบการที่เข้าร่วมระบบยังสามารถเชื่อมโยงแสดงผลข้อมูล
ตำแหน่งเชิงแผนที่ในภาพรวมของเมืองโคราชเพื่อสะดวกต่อการให้บริการด้านต่าง ๆ อีกด้วย
11
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ภาพที่ 10 ตำแหน่งที่ตั้งโครงการอสังหาริมทรัพย์และสถานประกอบการต่าง ๆ เตรียมเข้าร่วมระบบ JVIS
Platform ในการใช้โมดูล Urban Solution เชื่อมโยงกับตัวชี้วัดความเป็นเมืองอัจฉริยะ
เมนูสถิติ สามารถเก็บข้อมูลสรุปสถิติเชิงพรรณาจำแนกรายประเภทการให้บริการหรือโมดูล ทั้งนี้
Scavenger / Zero Waste Platform เป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการในระบบ จำแนกรายละเอียดสัมพันธ์กับ
มูลค่าการให้บริการผ่านระบบ จำนวนผู้ใช้บริการ การให้ค่าคะแนนเป็นเครดิตสู่การร่วมเคมเปญด้านต่าง ๆ ที่
กำหนดขึ้นกับกลุ่มผู้ใช้ในการสร้างแรงจูงใจ
12
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ภาพที่ 10 กลุ่มชุดรายการ Urban Solution ทำเป็นโมดูล (Module) ประกอบเข้ากับ JVIS Platform ซึ่ง
Scavenger Platform ที่เป็นผลผลิตโครงการวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบ 1 โมดูล
นอกจากนี้ เมนูสถิติสามารถประมวลเป็นแบบ Time Series จำแนกช่วงเวลา กลุ่มโครงการหรือสถาน
ประกอบที่เข้าร่วมระบบ ตลอดจนประมวลผลสัดส่วนผู้ใช้ในระบบกับการเรียกใช้บริการประเภทต่าง ๆ ได้ สัดส่วน
กลุ่มผู้ให้บริการในระบบกับสัดส่วนผู้ใช้ ตลอดจนสัดส่วนของประเภทการให้บริการที่มีอยู่ใน JVIS Platform อีก
ด้วย
13
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ภาพที่ 10 ระบบ Cloud Computing รายงานสถิติเชิงพรรณาจำแนกรายสถานที่ จำนวนผู้ใช้ในระบบ จำนวนผู้
ให้บริการในโมดูล เพื่อการพิจารณาภาพรวมของ JVIS Platform
เมนูสถิติ สามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับการสรุปโครงการที่มีการใช้บริการมากที่สุด 5 อันดับแรก มีการจัด
รายงานประเภทบริการหรือโมดูลใน Mobile User Application มากที่สุด 5 อันดับแรก และรายงานผู้พักอาศัยที่
เรียกใช้บริการมากที่สุด 5 อันดับแรก แต่อย่างไรก็ดีสำหรับระบบฐานข้อมูลของ JVIS Platform สามมารถดึง
ฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ทางสถิติขั้นสูงได้
ภาพที่ 11 ระบบ Cloud Computing ภาพรวมจำนวนโครงการที่เข้าร่วมในแพลตฟอร์ม จำนวนโมดูลให้บริการ
และกลุ่มผู้ใช้งาน Application ในแพลตฟอร์ม
14
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
เมนูจัดการโครงการ จำแนกรายโครงการที่เข้าร่วมระบบ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดโครงการ ตลอดจน
การเพิ่มและลดโครงการที่เข้าร่วมระบบหรือแพลตฟอร์ม JVIS
ภาพที่ 12 เมนูรายงานสถานที่ประกอบการที่เข้าร่วมแพลตฟอร์ม และสามารถเพิ่มสถานที่ได้จากระบบ
แพลตฟอร์ม
เมนูการจัดการโครงการ สามารถเข้าไปจัดการรายละเอียดแอพพลิเคชันด้านต่าง ๆ ของระบบได้ อาทิ
การจัดการบิล การแจ้งรับพัสดุ ข่าวสาร การให้บริการของโครงการหรือโมดูลในการ Plug-in เข้าไปให้ Mobile
User Interface
ภาพที่ 13 เมนูการบริหารแพลตฟอร์ม JVIS Platform กับสถานที่ประกอบการและโมดูลการให้บริการ Urban
Solution อาทิ Scavenger Platform
15
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
เมนูการจัดการโครงการ สามารถเข้าบริหารกลุ่ม Partner ในการเข้ามาเป็นโมดูล Plug-in เข้าระบบ JVIS
Platform ได้ ตลอดจนสามารถกำหนดให้แสดงผลหรือไม่แสดงผลได้ใน Mobile User Interface ได้ทันที (ปุ่ม
เครื่องหมาย )
ภาพที่ 14 เมนูการจัดการโมดูล Function ที่เกี่ยวข้องกับ Urban Solution เกี่ยวข้องกับความเป็นเมืองอัจฉริยะ
ด้านต่าง ๆ ซึ่ง Scavenger Platform ด้านขยะเหลือศูนย์เป็นส่วนหนึ่งของระบบ
ภาพที่ 15 การแสดงผลโมดูลการให้บริการด้านต่าง ๆ ใน Mobile User Interface/Application
16
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
เมนูจัดการบริการ (Module) สามารถบริหารกลุ่มคู่ค้ารายย่อยที่เข้าร่วมระบบ JVIS Platform แต่ละ
ประเภทการให้บริการได้ อาทิ การทำความสะอาดบ้าน การให้บริการซักรีด การให้บริการอาหาร ร้านค้า ช่างซ่อม
และการให้บริการขยะรีไซเคิล
ภาพที่ 16 เมนูจัดการบริการกลุ่มคู่ค้ารายย่อยจำแนกตาม Module ที่ให้บริการใน JVIS Platform
เมนูรายงานปัญหา สามารถแจ้งได้ผ่านระบบ Mobile User Application จะมีข้อมูลการรายงานปัญหา
ด้านต่าง ๆ อยู่ใน JVIS Platform เพื่อสามารถนำข้อมูลย้อนกลับให้เกิดการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง
ภาพที่ 17 เมนูแจ้งข้อความปัญหาด้านต่าง ๆ จาก Mobile User Application
17
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
1) Scavenger Platform and System
ระบบ Scavenger Platform ในระบบ Cloud Computing โครงสร้างหลักของความเป็นเมืองอัจฉริยะ
มีองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เมนู User 2) เมนูจัดการประเภทขยะ 3) เมนูจัดการถังขยะใน
โครงการ และ 4) เมนูรายงานโครงการ
เมนู User สำหรับทีมผู้บริหาร จำแนกตามระดับการเข้าถึงชุดข้อมูลตามบทบาทที่กำหนดไว้ อาทิ ผู้ดูแล
ระบบสามารถเพิ่มลด Function ต่าง ๆ ได้ การเพิ่มโครงการเข้าระบบ การ Module ให้บริการผ่าน Application
หรือผู้วิเคราะห์สามารถเพิ่มข่าวสื่อสารให้กับกลุ่มผู้ใช้ Module Application มาให้บริการต่าง ๆ ของ Scavenger
Platform ตลอดจนการดูแลระบบข้อมูลและการเข้าถึง Function ต่าง ๆ ของกลุ่มผู้ใช้ Application เป็นต้น
ภาพที่ 18 User Interface จำแนกตามระดับการเข้าถึงชุดข้อมูลตามบทบาทที่กำหนดไว้ของ Scavenger
Platform
18
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
เมนูจัดการประเภทขยะ จำแนกรายละเอียดตามประเภทขยะ สามารถกำหนดเพิ่มและลดได้ สำหรับ
โครงการวิจัยครั้งนี้มุ่งกลุ่มประเภทขยะรีไซเคิล อาทิ ขวดแก้ว เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ เศษกระดาษ เศษ
พลาสติก เศษขยะ และโลหะ การกำหนดประเภทขยะเหล่านี้จะนำไปสู่การเชื่อมโยงกับระบบในโครงการวิจัยย่อย
ที่ 2 ในการผลิต Smart Recycle Bank เชื่อมโยงกับ Mobile User Application เพื่อดำเนินการรวบรวมประเภท
ขยะ เชื่อมโยงกับฟังค์ชันต่าง ๆ ในระบบที่ออกแบบไว้ ชุดข้อมูลดังกล่าวจะนำไปสู่การวางแผนกลยุทธเชิงบูรณา
การทั้งด้านขยะเหลือศูนย์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกลยุทธทางด้านอย่างยั่งยืนของระบบทั้งด้านธุรกิจ สังคม
และเศรษฐกิจ
ภาพที่ 19 เมนูการจัดการประเภทขยะในระบบ Scavenger Platform
ภาพที่ 20 เมนูลงรายละเอียดประเภทขยะในระบบ Scavenger Platform
19
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
เมนูจัดการถังขยะในโครงการ สามารถเชื่อมโยงกับโครงการหรือสถานประกอบการที่เข้าร่วมระบบ JVIS
Platform ในส่วนของการเพิ่มและลดจำนวนโครงการทำได้ผ่านระบบ JVIS Platform เท่านั้น แต่อย่างไรก็ดี การ
บริหารจัดการ Smart Recycle Bank จะสามารถเพิ่มและลด ตลอดจนขนาด สัดส่วน ตำแหน่ง และการออกแบบ
ผลิตภัณฑ์ Smart Recycle Bank ให้เหมาะสมกับแต่ละประเภทโครงการหรือสถานประกอบได้อย่างเหมาะสม
ภาพที่ 21 เมนูการบริหารจัดการโครงการเชื่อมโยงกับ Smart Recycle Bank
การเข้าระบบ Scavenger Platform ลงรายละเอียดแต่ละโครงการจะสามารถสร้าง ID ของ Smart
Recycle Bank ซึ่งสามารถ Generate QR Code เพื่อสร้างการเชื่อมโยงระหว่าง Smart Recycle Bank กับ
Mobile User Application รายโครงการที่เข้าร่วมระบบ เพื่อเก็บข้อมูลเข้าระบบ
ภาพที่ 22 เมนูการจัดการถังขยะในโครงการ
20
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
เมนูการบริหารจัดการลงรายละเอียดถังขยะจำแนกตามประเภทขยะรีไซเคิลที่ระบุไว้ ตลอดจนการกำหนด
สัดส่วนและขนาดของ Smart Recycle Bank เพื่อนำไปสู่การเขียนโปรแกรมเชิงระบบให้สามารถคำนวณปริมาณ
และจำนวนขยะรีไซเคิลที่สามารถรวบรวมได้จากกลุ่มผู้ใช้
ภาพที่ 23 เมนูการบริหารจัดการลงรายละเอียดถังขยะ
เมนูรายงานโครงการ สามารถรายงานสถิติเชิงพรรณาจำแนกการเก็บข้อมูลเป็นรายวัน จำนวน และ
ปริมาณการรวบรวมขยะรีไซเคิลจากกลุ่มผู้ใช้ผ่าน Smart Recycle Bank แต่ละถังขยะรายโครงการ
ภาพที่ 24 เมนูรายงานสถิติเชิงพรรณาจำแนกการเก็บข้อมูลการรวบรวมขยะรีไซเคิล
21
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
เมนูรายงานโครงการ สามารถรายงานสถิติเชิงพรรณาจำแนกเชื่อมโยงกับโครงการหรือสถาน
ประกอบการจากระบบ JVIS Platform และการรวบรวมข้อมูลขยะรีไซเคิลจำแนกรายประเภทผ่านการGenerate
QR Code ผ่านระบบ Scavenger Platform
ภาพที่ 25 เมนูรายงานการรวบรวมข้อมูลขยะรีไซเคิลเชื่อมโยงรายโครงการและจำแนกประเภทขยะรีไซเคิล
1) Dashboard Systems
Dashboard Systems ได้ออกแบบเชื่อมโยง 3 ระบบ โดยอธิบายแจกแจงรายละเอียด ได้แก่ 1) JVIS
Platform 2) Scavenger Platform และ 3) Mobile User Application
ภาพที่ 26 กรอบแนวคิดการเชื่อมโยงระบบ
• Area Database
• User Database
• Module Database
JVIS Platform
• Smart Recycle Bank
• Recycle Waste
Statistics
Scavenger
Platform
• Module
• Statistics
• News & Campaign
Mobile User
Aplication
22
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
JVIS Platform ลักษณะโครงสร้างเชิงระบบจะมี 3 ส่วน ได้แก่ 1) Area Database 2) User Database
และ 3) Module Database
ภาพที่ 27 องค์ประกอบ Scavenger Module ใน JVIS Platform
ภาพที่ 28 Dashboard การบริหารจัดการฐานข้อมูลกลุ่มผู้ใช้ Scavenger Module ฝังอยู่ใน JVIS Platform เพื่อ
สำหรับเตรียมการขยาย Module ด้านอื่น ๆ ในเชิงสถานที่ต่อไป
23
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
Scavenger Platform ลักษณะโครงสร้างเชิงระบบจะมี 2 ส่วน ได้แก่ 1) Smart Recycle Bank และ
2) Recycle Waste Statistic
ภาพที่ 29 Dashboard การบริหารจัดการฐานข้อมูล Smart Recycle Bank แต่ละสถานที่ประกอบการ
Mobile User Application ลักษณะโครงสร้างเชิงระบบจะมี 3 ส่วน ได้แก่ 1) Module 2) Statistic
และ 3) New & Campaign
ภาพที่ 30 Dashboard หรือ Mobile User Interface เชื่อมโยงกับผู้อยู่อาศัยจำแนกตามสถานประกอบการ โดย
จะมีประเภท Module ต่าง ๆ ให้บริการ รวมถึง Scavenger Module (ไอคอนเก็บขยะ) (ซ้าย) Scavenger
Interface / Zero Waste Interface ระดับผู้ใช้ รายงานแจ้งความพร้อมเก็บข้อมูลขยะรีไซเคิล (กลาง) และ การ
รายงานบันทึกข้อมูลปปริมาณขยะรีไซเคิลที่สะสมของผู้ใช้ (ขวา)
24
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
Dashboard Systems เป็นการประมวลผลผ่านระบบ Cloud แสดงผลกับ Browser ต่าง ๆ บน
คอมพิวเตอร์ หรือโน๊ตบุ๊คได้ ทั้งนี้ใช้สำหรับการแสดงผลเชื่อมโยงกับ Urban Informatics Center ที่ได้รับทุน
สนับสนุนจากสำนักงบประมาณแผ่นดิน ปี พ.ศ.2564 ซึ่งจะอธิบายในหัวข้อถัดไป
พื้นที่กายภาพ ได้แก่ การเตรียมห้อง Urban Informatics Center สำหรับการนำข้อมูลต่าง ๆ ในระบบ
Cloud Computing ที่ได้จากกิจกรรมโครงการที่ 2 (การนำร่องสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ ขับเคลื่อนด้านขยะเหลือศูนย์)
ร่วมพิจารณาประชุมท่ามกลางผู้มีส่วนได้เสียในการขับเคลื่อนนโยบายและโครงการ ตำแหน่งที่ตั้ง Urban
Informatics ตั้งอยู่ชั้น G อาคาร19 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
ทั้งนี้งบประมาณได้รับสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน ปี 2564 สามารถดำเนินการคู่ขนานได้อย่างเป็นรูปธรรม
ตลอดจนสามารถเป็นต้นแบบของ City Dashboard ศูนย์กลางขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ
ปัจจุบัน Urban Informatics Center ได้รับพิจารณาจากผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และอธิการบดี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ให้เป็นสำนักงานเมืองอัจฉริยะจังหวัดนครราชสีมา ทำงานร่วมกันทั้ง
ภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ที่เรียกว่า เครือข่ายสถาบันเมืองอัจฉริยะ และมีชุดคำสั่งแต่งตั้ง
คณะกรรมการจากผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
ภาพที่ 31 อาคาร 19 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
25
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ภาพที่ 32 Urban Informatics Center สำหรับการแสดง Dashboard ประมวลผลชุดข้อมูลทั้ง JVIS Platform
และ Scavenger Platform สู่การเป็นสำนักงานเมืองอัจฉริยะทำงานร่วมท่ามกลางเครือข่ายเมืองอัจฉริยะทั้ง
ภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา
ภาพที่ 33 Urban Informatics Center มีพื้นที่ทำงานเชิงระบบของโครงการรองรับจำนวน 6 ที่นั่ง (ซ้าย) และ
พื้นที่นั่งประชุมงานขนาดเล็ก (ขวา)
26
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ภาพที่ 34 สัญลักษณ์หน่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะให้กับเมืองโคราชและจังหวัดนครราชสีมา
ภาพที่ 35 ระบบ Monitor แสดงผลสำหรับการประมวลข้อมูลจาก JVIS Platform
และ Scavenger Platform
27
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
ภาพที่ 37 ตำแหน่งที่ตั้ง Urban Informatics Center
ภาพที่ 38 วิสัยทัศน์ Urban Informatics Center ในพันธกิจของการเป็นสำนักงานเมืองอัจฉริยะจังหวัด
นครราชสีมา เตรียมการขยายผลในด้านต่าง ๆ ของตัวชี้วัดความเป็นเมืองอัจฉริยะ
28
การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ
: กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์
การประเมินกลไกระบบสารสนเทศเพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จำแนกประเด็นวิเคราะห์เป็น 4 องค์ประกอบ
ได้แก่ 1) การเชื่อมโยงระบบ JVIS & Scavenger Platform 2) Dashboard Systems 3) Urban Informatics
Center และ 4) การทดสอบระบบสารสนเทศ
การวิเคราะห์ในตารางที่ 2 กลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะมีความพร้อมในระดับ
เตรียมทดลองใช้ในพื้นที่จริง ตลอดจนตอบรับด้านภาพลักษณ์ ความสวยงาม การออกแบบโมเดลธุรกิจเพื่อจำนวน
Smart Recycle Bank ตามสถานประกอบการต่าง ๆ นอกจากนี้แพลตฟอร์มกลไกระบบสารสนเทศเมืองยัง
สามารถประยุกต์โครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวไปสู่การพัฒนาโครงการตอบตัวชี้วัดของประเด็นการพัฒนา แผนงาน
และโครงการของเมืองได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรายละเอียดการออกแบบเชิงกระบวนการต่อไป
ตารางที่ 2 การประเมินระบบสารสนเทศเพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
องค์ประกอบ ผลผลิต การประเมิน
การเชื่อมโยงระบบ JVIS & Scavenger
Platform
Platform ตามกรอบแนวคิดด้านขยะเหลือ
ศูนย์ของ Scavenger และโครงสร้างเชิงระบบ
บริหารจัดการข้อมูลเมืองขนาดใหญ่เตรียมการ
รองรับการพัฒนา Platform ให้ครอบคลุมทุก
ด้านของความเมืองอัจฉริยะ โดย JVIS
Platform
JVIS & Scavenger Platform มีการทำงาน
เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ สามารถเก็บข้อมูล
ผ่านระบบ IoT ที่ตั้งค่าไว้ ส่งกลับมาเป็นระบบ
ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ตลอดจน
สามารถประมวลผลสถิติแสดงชุดข้อมูลเชิง
พรรณาได้ (Cloud Computing)
Dashboard Systems มีการแสดงผลชุดข้อมูลและรายละเอียด
สอดคล้องกับกรอบแนวคิดในการบริหาร
จัดการ วิเคราะห์เพื่อการพัฒนา
ในระดับเบื้องต้นสอดคล้องตามกรอบแนวคิด
แต่อย่างไรก็ตามสำหรับสถานการณ์แพร่
ระบาดไวรัสโควิด19 ไม่สามารถทดลองใน
ระบบเปิดกับสถานที่นำร่องเพื่อศึกษา
พฤติกรรมผู้ใช้จริง สำหรับการเก็บรวบรวม
ข้อมูล เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบอีกขั้นได้
Urban Informatics Center ห้องประชุมแสดงผลชุดข้อมูลเชิงพื้นที่ด้านต่าง
ๆ เตรียมรองรับการพัฒนาแพลตฟอร์มด้านต่าง
ๆ ของเมืองอัจฉริยะ
สามารถแสดงผลชุดข้อมูลจาก Server ผ่าน
ระบบ Cloud Computing เพื่อนำไปสู่การ
แสดงผลเชิงพื้นที่ สู่กระบวนการพิจารณา
ข้อมูลร่วมกันท่ามกลางกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียของ
การพัฒนาเมือง
การทดสอบระบบสารสนเทศ ความเสถียรการทำงานของระบบกลไก
สารสนเทศ ทั้ง JVIS & Scavenger Platform
กับ Mobile User Application
การทดลองเชิงระบบการประมวลในระยะเวลา
4 วัน จำนวน 1,112 ครั้ง ไม่มีการผิดพลาดใน
การส่งค่าข้อมูลเข้าระบบ Cloud Computing
จึงถือความมีความเสถียรในระดับสามารถนำไป
ประยุกต์ใช้งานในพื้นที่จริง

More Related Content

What's hot

ลักษณะนโยบายสาธารณะที่ดีควรเป็นอย่างไร
ลักษณะนโยบายสาธารณะที่ดีควรเป็นอย่างไรลักษณะนโยบายสาธารณะที่ดีควรเป็นอย่างไร
ลักษณะนโยบายสาธารณะที่ดีควรเป็นอย่างไรประพันธ์ เวารัมย์
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)Nattakorn Sunkdon
 
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบันหน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบันPaew Tongpanya
 
หลักการเขียนวิสัยทัศน์ที่ดี
หลักการเขียนวิสัยทัศน์ที่ดีหลักการเขียนวิสัยทัศน์ที่ดี
หลักการเขียนวิสัยทัศน์ที่ดีDr.Choen Krainara
 
ธุรกิจบริการสุขภาพ
ธุรกิจบริการสุขภาพธุรกิจบริการสุขภาพ
ธุรกิจบริการสุขภาพUtai Sukviwatsirikul
 
การตั้งถิ่นฐานและลักษณะที่อยู่อาศัย
การตั้งถิ่นฐานและลักษณะที่อยู่อาศัยการตั้งถิ่นฐานและลักษณะที่อยู่อาศัย
การตั้งถิ่นฐานและลักษณะที่อยู่อาศัยNakhon Pathom Rajabhat University
 
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อ
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อแบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อ
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อKruthai Kidsdee
 
Phitsanulok MICE city profle (Thai)
Phitsanulok MICE city profle (Thai)Phitsanulok MICE city profle (Thai)
Phitsanulok MICE city profle (Thai)Chuta Tharachai
 
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบันหน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบันPaew Tongpanya
 
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคมโครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคมจตุรพล ชานันโท
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจบริษัทเสียงดีจำกัด
ตัวอย่างแผนธุรกิจบริษัทเสียงดีจำกัดตัวอย่างแผนธุรกิจบริษัทเสียงดีจำกัด
ตัวอย่างแผนธุรกิจบริษัทเสียงดีจำกัดNattakorn Sunkdon
 
ความคิดสร้างสรรค์ สร้างได้ (Creative Thinking)
ความคิดสร้างสรรค์ สร้างได้ (Creative Thinking)ความคิดสร้างสรรค์ สร้างได้ (Creative Thinking)
ความคิดสร้างสรรค์ สร้างได้ (Creative Thinking)Padvee Academy
 
ข้อสอบวิชาการศึกษา ชุดที่ 1-5 (150 ข้อ)
ข้อสอบวิชาการศึกษา ชุดที่ 1-5 (150 ข้อ)ข้อสอบวิชาการศึกษา ชุดที่ 1-5 (150 ข้อ)
ข้อสอบวิชาการศึกษา ชุดที่ 1-5 (150 ข้อ)ปกรณ์กฤช ออนไลน์
 
โครงสร้างทางการเงินและการจัดหาเงินทุน
โครงสร้างทางการเงินและการจัดหาเงินทุนโครงสร้างทางการเงินและการจัดหาเงินทุน
โครงสร้างทางการเงินและการจัดหาเงินทุนtumetr1
 
หน่วยที่-4 สหกรณ์และการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาชุมชนของไทย
หน่วยที่-4 สหกรณ์และการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาชุมชนของไทยหน่วยที่-4 สหกรณ์และการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาชุมชนของไทย
หน่วยที่-4 สหกรณ์และการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาชุมชนของไทยPaew Tongpanya
 
พฤติกรรมองค์กร
พฤติกรรมองค์กร พฤติกรรมองค์กร
พฤติกรรมองค์กร Prathum Charoenroop
 
การสร้างเครือข่ายและการประสานงาน
การสร้างเครือข่ายและการประสานงานการสร้างเครือข่ายและการประสานงาน
การสร้างเครือข่ายและการประสานงานTaraya Srivilas
 

What's hot (20)

ลักษณะนโยบายสาธารณะที่ดีควรเป็นอย่างไร
ลักษณะนโยบายสาธารณะที่ดีควรเป็นอย่างไรลักษณะนโยบายสาธารณะที่ดีควรเป็นอย่างไร
ลักษณะนโยบายสาธารณะที่ดีควรเป็นอย่างไร
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)
 
เอกสารแสดงวิสัยทัศน์และผลงาน
เอกสารแสดงวิสัยทัศน์และผลงานเอกสารแสดงวิสัยทัศน์และผลงาน
เอกสารแสดงวิสัยทัศน์และผลงาน
 
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบันหน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
 
หลักการเขียนวิสัยทัศน์ที่ดี
หลักการเขียนวิสัยทัศน์ที่ดีหลักการเขียนวิสัยทัศน์ที่ดี
หลักการเขียนวิสัยทัศน์ที่ดี
 
ธุรกิจบริการสุขภาพ
ธุรกิจบริการสุขภาพธุรกิจบริการสุขภาพ
ธุรกิจบริการสุขภาพ
 
การตั้งถิ่นฐานและลักษณะที่อยู่อาศัย
การตั้งถิ่นฐานและลักษณะที่อยู่อาศัยการตั้งถิ่นฐานและลักษณะที่อยู่อาศัย
การตั้งถิ่นฐานและลักษณะที่อยู่อาศัย
 
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อ
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อแบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อ
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อ
 
Phitsanulok MICE city profle (Thai)
Phitsanulok MICE city profle (Thai)Phitsanulok MICE city profle (Thai)
Phitsanulok MICE city profle (Thai)
 
การปฏิวัติอุตสาหกรรม
การปฏิวัติอุตสาหกรรมการปฏิวัติอุตสาหกรรม
การปฏิวัติอุตสาหกรรม
 
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบันหน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
 
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคมโครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจบริษัทเสียงดีจำกัด
ตัวอย่างแผนธุรกิจบริษัทเสียงดีจำกัดตัวอย่างแผนธุรกิจบริษัทเสียงดีจำกัด
ตัวอย่างแผนธุรกิจบริษัทเสียงดีจำกัด
 
ความคิดสร้างสรรค์ สร้างได้ (Creative Thinking)
ความคิดสร้างสรรค์ สร้างได้ (Creative Thinking)ความคิดสร้างสรรค์ สร้างได้ (Creative Thinking)
ความคิดสร้างสรรค์ สร้างได้ (Creative Thinking)
 
ข้อสอบวิชาการศึกษา ชุดที่ 1-5 (150 ข้อ)
ข้อสอบวิชาการศึกษา ชุดที่ 1-5 (150 ข้อ)ข้อสอบวิชาการศึกษา ชุดที่ 1-5 (150 ข้อ)
ข้อสอบวิชาการศึกษา ชุดที่ 1-5 (150 ข้อ)
 
1111111111111111111
11111111111111111111111111111111111111
1111111111111111111
 
โครงสร้างทางการเงินและการจัดหาเงินทุน
โครงสร้างทางการเงินและการจัดหาเงินทุนโครงสร้างทางการเงินและการจัดหาเงินทุน
โครงสร้างทางการเงินและการจัดหาเงินทุน
 
หน่วยที่-4 สหกรณ์และการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาชุมชนของไทย
หน่วยที่-4 สหกรณ์และการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาชุมชนของไทยหน่วยที่-4 สหกรณ์และการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาชุมชนของไทย
หน่วยที่-4 สหกรณ์และการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาชุมชนของไทย
 
พฤติกรรมองค์กร
พฤติกรรมองค์กร พฤติกรรมองค์กร
พฤติกรรมองค์กร
 
การสร้างเครือข่ายและการประสานงาน
การสร้างเครือข่ายและการประสานงานการสร้างเครือข่ายและการประสานงาน
การสร้างเครือข่ายและการประสานงาน
 

Similar to ระบบแพลตฟอร์มข้อมูลเมืองเพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

ระบบขยะเหลือศูนย์และถังธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะ
ระบบขยะเหลือศูนย์และถังธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะระบบขยะเหลือศูนย์และถังธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะ
ระบบขยะเหลือศูนย์และถังธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะSarit Tiyawongsuwan
 
คู่มือการใช้แอพพลิเคชันธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะ
คู่มือการใช้แอพพลิเคชันธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะคู่มือการใช้แอพพลิเคชันธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะ
คู่มือการใช้แอพพลิเคชันธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะSarit Tiyawongsuwan
 
FURD CITIES MONITOR VOL.3 (MAY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.3 (MAY 2017)FURD CITIES MONITOR VOL.3 (MAY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.3 (MAY 2017)FURD_RSU
 
การประกวดศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนหรือศูนย์ดิจิทัลชุมชนดีเด่น และบุคคลดีเด่น...
การประกวดศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนหรือศูนย์ดิจิทัลชุมชนดีเด่น และบุคคลดีเด่น...การประกวดศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนหรือศูนย์ดิจิทัลชุมชนดีเด่น และบุคคลดีเด่น...
การประกวดศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนหรือศูนย์ดิจิทัลชุมชนดีเด่น และบุคคลดีเด่น...Saran Yuwanna
 
มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ
มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ
มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐSuphot Chaichana
 
เมืองอัจฉริยะกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
เมืองอัจฉริยะกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมืองอัจฉริยะกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
เมืองอัจฉริยะกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจSarit Tiyawongsuwan
 
ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน # 2
ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน # 2ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน # 2
ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน # 2Prachyanun Nilsook
 
แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2559 2561)
แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2559 2561)แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2559 2561)
แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2559 2561)Totsaporn Inthanin
 
Smart Agriculture under Thailand 4.0
Smart Agriculture under Thailand 4.0Smart Agriculture under Thailand 4.0
Smart Agriculture under Thailand 4.0Pisuth paiboonrat
 
ใบงานที่ 2 - 8
ใบงานที่ 2 - 8ใบงานที่ 2 - 8
ใบงานที่ 2 - 8PluemSupichaya
 
สุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของคนเมือง: หลักคิด การวิเคราะห์เชิงระบบ และแนวทาง...
สุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของคนเมือง: หลักคิด การวิเคราะห์เชิงระบบ และแนวทาง...สุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของคนเมือง: หลักคิด การวิเคราะห์เชิงระบบ และแนวทาง...
สุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของคนเมือง: หลักคิด การวิเคราะห์เชิงระบบ และแนวทาง...FURD_RSU
 
การบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุด
การบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุดการบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุด
การบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุดMaykin Likitboonyalit
 

Similar to ระบบแพลตฟอร์มข้อมูลเมืองเพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (20)

ระบบขยะเหลือศูนย์และถังธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะ
ระบบขยะเหลือศูนย์และถังธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะระบบขยะเหลือศูนย์และถังธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะ
ระบบขยะเหลือศูนย์และถังธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะ
 
คู่มือการใช้แอพพลิเคชันธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะ
คู่มือการใช้แอพพลิเคชันธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะคู่มือการใช้แอพพลิเคชันธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะ
คู่มือการใช้แอพพลิเคชันธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะ
 
2560 project แอพพลิเคชัน Smart CHIANGMAI
2560 project แอพพลิเคชัน Smart CHIANGMAI 2560 project แอพพลิเคชัน Smart CHIANGMAI
2560 project แอพพลิเคชัน Smart CHIANGMAI
 
FURD CITIES MONITOR VOL.3 (MAY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.3 (MAY 2017)FURD CITIES MONITOR VOL.3 (MAY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.3 (MAY 2017)
 
การประกวดศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนหรือศูนย์ดิจิทัลชุมชนดีเด่น และบุคคลดีเด่น...
การประกวดศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนหรือศูนย์ดิจิทัลชุมชนดีเด่น และบุคคลดีเด่น...การประกวดศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนหรือศูนย์ดิจิทัลชุมชนดีเด่น และบุคคลดีเด่น...
การประกวดศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนหรือศูนย์ดิจิทัลชุมชนดีเด่น และบุคคลดีเด่น...
 
Tanyaluck nathi 607 11
Tanyaluck nathi 607 11Tanyaluck nathi 607 11
Tanyaluck nathi 607 11
 
มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ
มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ
มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ
 
Thai Government Website Standard
Thai Government Website StandardThai Government Website Standard
Thai Government Website Standard
 
Government website standard-v1
Government website standard-v1Government website standard-v1
Government website standard-v1
 
2560 project แฟรงเซฟ ใหม่
2560 project แฟรงเซฟ ใหม่2560 project แฟรงเซฟ ใหม่
2560 project แฟรงเซฟ ใหม่
 
2560 project แฟรงเซฟ
2560 project แฟรงเซฟ2560 project แฟรงเซฟ
2560 project แฟรงเซฟ
 
2560 project แอพพลิเคชัน Smart CHIANGMAI
2560 project แอพพลิเคชัน Smart CHIANGMAI2560 project แอพพลิเคชัน Smart CHIANGMAI
2560 project แอพพลิเคชัน Smart CHIANGMAI
 
เมืองอัจฉริยะกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
เมืองอัจฉริยะกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมืองอัจฉริยะกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
เมืองอัจฉริยะกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
 
ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน # 2
ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน # 2ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน # 2
ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน # 2
 
แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2559 2561)
แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2559 2561)แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2559 2561)
แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2559 2561)
 
Group1
Group1Group1
Group1
 
Smart Agriculture under Thailand 4.0
Smart Agriculture under Thailand 4.0Smart Agriculture under Thailand 4.0
Smart Agriculture under Thailand 4.0
 
ใบงานที่ 2 - 8
ใบงานที่ 2 - 8ใบงานที่ 2 - 8
ใบงานที่ 2 - 8
 
สุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของคนเมือง: หลักคิด การวิเคราะห์เชิงระบบ และแนวทาง...
สุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของคนเมือง: หลักคิด การวิเคราะห์เชิงระบบ และแนวทาง...สุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของคนเมือง: หลักคิด การวิเคราะห์เชิงระบบ และแนวทาง...
สุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของคนเมือง: หลักคิด การวิเคราะห์เชิงระบบ และแนวทาง...
 
การบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุด
การบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุดการบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุด
การบริการลูกค้าสัมพันธ์ ในงานห้องสมุด
 

More from Sarit Tiyawongsuwan

Urban-Transport Planning_20221208.pdf
Urban-Transport Planning_20221208.pdfUrban-Transport Planning_20221208.pdf
Urban-Transport Planning_20221208.pdfSarit Tiyawongsuwan
 
08-09 กฎหมายการผังเมือง.pdf
08-09 กฎหมายการผังเมือง.pdf08-09 กฎหมายการผังเมือง.pdf
08-09 กฎหมายการผังเมือง.pdfSarit Tiyawongsuwan
 
06-07 กฎหมายว่าด้วยจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนาพื้นที่.pdf
06-07 กฎหมายว่าด้วยจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนาพื้นที่.pdf06-07 กฎหมายว่าด้วยจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนาพื้นที่.pdf
06-07 กฎหมายว่าด้วยจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนาพื้นที่.pdfSarit Tiyawongsuwan
 
04-05 พรบ การจัดสรรที่ดิน.pdf
04-05 พรบ การจัดสรรที่ดิน.pdf04-05 พรบ การจัดสรรที่ดิน.pdf
04-05 พรบ การจัดสรรที่ดิน.pdfSarit Tiyawongsuwan
 
03 ภาพรวมและลำดับศักดิ์กฎหมาย.pdf
03 ภาพรวมและลำดับศักดิ์กฎหมาย.pdf03 ภาพรวมและลำดับศักดิ์กฎหมาย.pdf
03 ภาพรวมและลำดับศักดิ์กฎหมาย.pdfSarit Tiyawongsuwan
 
02 ภาพรวมและลำดับศักดิ์กฎหมาย 20191113.pdf
02 ภาพรวมและลำดับศักดิ์กฎหมาย 20191113.pdf02 ภาพรวมและลำดับศักดิ์กฎหมาย 20191113.pdf
02 ภาพรวมและลำดับศักดิ์กฎหมาย 20191113.pdfSarit Tiyawongsuwan
 
แผนแม่บท TOD ประเทศไทย (2563).pdf
แผนแม่บท TOD ประเทศไทย (2563).pdfแผนแม่บท TOD ประเทศไทย (2563).pdf
แผนแม่บท TOD ประเทศไทย (2563).pdfSarit Tiyawongsuwan
 
หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาเมืองและพื้นที่รอบสถานีขนส่งม...
หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาเมืองและพื้นที่รอบสถานีขนส่งม...หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาเมืองและพื้นที่รอบสถานีขนส่งม...
หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาเมืองและพื้นที่รอบสถานีขนส่งม...Sarit Tiyawongsuwan
 
กระบวนการเป็นเมืองอัจฉริยะ กรณีศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ ประเด็นขยะเหลือศูนย์
กระบวนการเป็นเมืองอัจฉริยะ กรณีศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ ประเด็นขยะเหลือศูนย์กระบวนการเป็นเมืองอัจฉริยะ กรณีศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ ประเด็นขยะเหลือศูนย์
กระบวนการเป็นเมืองอัจฉริยะ กรณีศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ ประเด็นขยะเหลือศูนย์Sarit Tiyawongsuwan
 
คู่มือแนวทางการลดคัดแยก และใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย
คู่มือแนวทางการลดคัดแยก และใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอยคู่มือแนวทางการลดคัดแยก และใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย
คู่มือแนวทางการลดคัดแยก และใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอยSarit Tiyawongsuwan
 
05 Questionnaire for Aesthetics Evaluation
05 Questionnaire for Aesthetics Evaluation05 Questionnaire for Aesthetics Evaluation
05 Questionnaire for Aesthetics EvaluationSarit Tiyawongsuwan
 
04 Tool for Urban Aesthetics Evaluation
04 Tool for Urban Aesthetics Evaluation04 Tool for Urban Aesthetics Evaluation
04 Tool for Urban Aesthetics EvaluationSarit Tiyawongsuwan
 
Urban Housing Management : A Case Study of Pattaya City, Thailand
Urban Housing Management : A Case Study of Pattaya City, ThailandUrban Housing Management : A Case Study of Pattaya City, Thailand
Urban Housing Management : A Case Study of Pattaya City, ThailandSarit Tiyawongsuwan
 

More from Sarit Tiyawongsuwan (20)

Urban-Transport Planning_20221208.pdf
Urban-Transport Planning_20221208.pdfUrban-Transport Planning_20221208.pdf
Urban-Transport Planning_20221208.pdf
 
08-09 กฎหมายการผังเมือง.pdf
08-09 กฎหมายการผังเมือง.pdf08-09 กฎหมายการผังเมือง.pdf
08-09 กฎหมายการผังเมือง.pdf
 
06-07 กฎหมายว่าด้วยจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนาพื้นที่.pdf
06-07 กฎหมายว่าด้วยจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนาพื้นที่.pdf06-07 กฎหมายว่าด้วยจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนาพื้นที่.pdf
06-07 กฎหมายว่าด้วยจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนาพื้นที่.pdf
 
04-05 พรบ การจัดสรรที่ดิน.pdf
04-05 พรบ การจัดสรรที่ดิน.pdf04-05 พรบ การจัดสรรที่ดิน.pdf
04-05 พรบ การจัดสรรที่ดิน.pdf
 
03 ภาพรวมและลำดับศักดิ์กฎหมาย.pdf
03 ภาพรวมและลำดับศักดิ์กฎหมาย.pdf03 ภาพรวมและลำดับศักดิ์กฎหมาย.pdf
03 ภาพรวมและลำดับศักดิ์กฎหมาย.pdf
 
02 ภาพรวมและลำดับศักดิ์กฎหมาย 20191113.pdf
02 ภาพรวมและลำดับศักดิ์กฎหมาย 20191113.pdf02 ภาพรวมและลำดับศักดิ์กฎหมาย 20191113.pdf
02 ภาพรวมและลำดับศักดิ์กฎหมาย 20191113.pdf
 
แผนแม่บท TOD ประเทศไทย (2563).pdf
แผนแม่บท TOD ประเทศไทย (2563).pdfแผนแม่บท TOD ประเทศไทย (2563).pdf
แผนแม่บท TOD ประเทศไทย (2563).pdf
 
หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาเมืองและพื้นที่รอบสถานีขนส่งม...
หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาเมืองและพื้นที่รอบสถานีขนส่งม...หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาเมืองและพื้นที่รอบสถานีขนส่งม...
หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาเมืองและพื้นที่รอบสถานีขนส่งม...
 
กระบวนการเป็นเมืองอัจฉริยะ กรณีศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ ประเด็นขยะเหลือศูนย์
กระบวนการเป็นเมืองอัจฉริยะ กรณีศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ ประเด็นขยะเหลือศูนย์กระบวนการเป็นเมืองอัจฉริยะ กรณีศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ ประเด็นขยะเหลือศูนย์
กระบวนการเป็นเมืองอัจฉริยะ กรณีศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ ประเด็นขยะเหลือศูนย์
 
CHIANG RAI ZERO WASTE
CHIANG RAI ZERO WASTE CHIANG RAI ZERO WASTE
CHIANG RAI ZERO WASTE
 
คู่มือแนวทางการลดคัดแยก และใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย
คู่มือแนวทางการลดคัดแยก และใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอยคู่มือแนวทางการลดคัดแยก และใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย
คู่มือแนวทางการลดคัดแยก และใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอย
 
06 Questionnaire Analysis
06 Questionnaire Analysis06 Questionnaire Analysis
06 Questionnaire Analysis
 
05 Questionnaire for Aesthetics Evaluation
05 Questionnaire for Aesthetics Evaluation05 Questionnaire for Aesthetics Evaluation
05 Questionnaire for Aesthetics Evaluation
 
04 Tool for Urban Aesthetics Evaluation
04 Tool for Urban Aesthetics Evaluation04 Tool for Urban Aesthetics Evaluation
04 Tool for Urban Aesthetics Evaluation
 
03 Urban Aesthetics Perception
03 Urban Aesthetics Perception03 Urban Aesthetics Perception
03 Urban Aesthetics Perception
 
02 Townscape and Image of City
02 Townscape and Image of City02 Townscape and Image of City
02 Townscape and Image of City
 
01 Introduction to Aesthetics
01 Introduction to Aesthetics01 Introduction to Aesthetics
01 Introduction to Aesthetics
 
Urban Housing Management : A Case Study of Pattaya City, Thailand
Urban Housing Management : A Case Study of Pattaya City, ThailandUrban Housing Management : A Case Study of Pattaya City, Thailand
Urban Housing Management : A Case Study of Pattaya City, Thailand
 
Urban Heat Island
Urban Heat IslandUrban Heat Island
Urban Heat Island
 
10 Conclusion
10 Conclusion10 Conclusion
10 Conclusion
 

ระบบแพลตฟอร์มข้อมูลเมืองเพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

  • 1. 1 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ชุดความรู้ที่ 4 ระบบแพลตฟอร์มข้อมูลเมืองเพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ชุดความรู้ด้านระบบแพลตฟอร์มข้อมูลเมืองเพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะ แบ่งการอธิบายเป็น 2 หัวข้อ ได้แก่ 1) แนวคิดและการออกแบบระบบแพลตฟอร์มข้อมูลเมือง 2) ระบบแพลตฟอร์มข้อมูลเมือง มีรายละเอียดได้ นี้ 1) แนวคิดและการออกแบบระบบแพลตฟอร์มข้อมูลเมือง กรอบการวิจัยโครงการพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 เฟส ซึ่งเป็นภาพรวมของโครงการใหญ่ที่ นิยามว่าเป็นกลไกระบบสารสนเทศเมือง (Urban Informatics System : UIS) เป้าหมายของระบบ ได้แก่ การมี ชุดข้อมูลด้านต่าง ๆ ของเมืองเพื่อช่วยแสดงถึงตัวชี้วัดของความเป็นเมืองอัจฉริยะทั้ง 7 ด้าน ตามกรอบแนวคิดของ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) สำหรับโครงการครั้งนี้ ผ่านกรณีศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ ด้าน ขยะเหลือศูนย์ ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) Output Data Interface คือ การแสดงผลของข้อมูลเพื่อแสดงปรากฎการณ์ของ เมือง สำหรับโครงการนี้เป็นด้านขยะเหลือศูนย์ ซึ่งชุดข้อมูลนี้จะทำเป็น Urban Open Data ข้อมูลย้อนกลับสู่การ รู้รับของผู้มีส่วนร่วมในระดับต่าง ๆ ของโครงการตลอดจนชาวเมืองโคราชกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย และ 2) Urban Data Analytic คือ การวิเคราะห์ข้อมูลเมืองจากการแก้ปัญหาประเด็นที่ความต้องการของเมือง ทั้งนี้ชุดข้อมูลจะ นำไปสู่กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย ตั้งแต่การสร้างวิสัยทัศน์หรือเป้าหมายร่วมกัน การ วางแผนยุทธศาสตร์ การกำหนดแผนงานและโครงการ(Urban Solution) การประเมินผลการดำเนินการของแผน จะสามารถนำไปสู่การสร้างตัวชี้วัดเฉพาะเชิงพื้นที่โดยอิงกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีในเนื้อหาสาระแต่ละประเด็นเพื่อ พัฒนาสมรรถนะฐานข้อมูลที่สำคัญของการวางแผนและดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่ท้าทายต่อไปได้ อธิบายรายละเอียดสัมพันธ์กับโครงการย่อยได้ดังภาพที่ 1
  • 2. 2 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดการออกแบบระบบแพลตฟอร์มข้อมูลเมือง สำหรับโครงการย่อยที่ 1 กลไกระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ อยู่ใน 1st fade มีเป้าหมาย คือ กระบวนการเตรียมโครงสร้างพื้นฐานสำหรับชุดข้อมูลเปิดขนาดใหญ่ของเมือง (Urban Big/Open Data) สำหรับงานวิจัยนี้เรียกว่า Urban Informatics Systems หรือ ระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการพัฒนาเมือง อัจฉริยะ ที่ต้องสามารถเก็บข้อมูลและประมวลในระดับ Real Time ได้ เพื่อนำไปสู่การมองภาพรวมเดียวกันของ Policy Maker ที่จะสามารถเจรจากลุ่ม Key Stakeholder ต่อรองในการแก้ปัญหาหรือสามารถ และตัดสินใจ ร่วมกัน ตลอดจนการดำเนินรายละเอียดโครงการได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ห้องปฏิบัติการระบบ สารสนเทศเมือง และ 2) ชุดระบบแสดงผลข้อมูลของเมือง ที่สามารถตอบสนองต่อผู้ความต้องการและความพึง พอใจของระบบได้ดีเพียงใด โครงการย่อยที่ 2 ระบบขยะเหลือศูนย์สู่ความเป็นเมืองโคราชอัจฉริยะด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ใน 2nd fade โดยมีเป้าหมายของการออกแบบชั้นข้อมูลเมือง เก็บรวบรวมข้อมูลในด้านต่างๆ ที่เรียกว่า Urban Solution ที่ สามารถเชื่อมโยงกับกรอบแนวคิดของ DEPA ทั้ง 7 ด้านเมืองอัจฉริยะได้ สำหรับงานวิจัยนี้มุ่งเน้น Urban Solution ด้าน Smart Environment ซึ่งเป็นด้านเงื่อนไขบังคับของ DEPA ของทุกเมืองในการขอประกาศความ เป็นเมืองอัจฉริยะและสิทธิพิเศษในการลงทุนจาก BOI สำหรับโครงการครั้งนี้ใช้การแก้ปัญหาด้านขยะของเมือง ผ่านแนวคิดขยะเหลือศูนย์ เนื่องจากมีการจัดประชุมกลุ่มย่อยของภาคส่วนต่างๆ อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 2 ปี จนสามารถระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียอย่างน้อย 3 ภาคส่วน (Triple Helix) ที่มีศักยภาพการขับเคลื่อนได้อย่าง
  • 3. 3 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ชัดเจน ได้แก่ สมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดนครราชสีมา ต้องการแก้ปัญหาขยะให้กับสมาชิกแต่ละโครงการ (ชุมชน) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับภาพรวมสำคัญของการจัดการขยะของเมือง การประสานทำงานร่วมกับภาครัฐทั้งระดับท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาลนครนครราชสีมาและองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นโดยรอบเมืองโคราช และภาครัฐส่วนกลางของจังหวัดนครราชสีมา และ สถาบันการศึกษาทั้งระดับอุดมศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ที่เป็นแม่งานหลักด้าน ออกแบบภาพรวมองค์ความรู้และการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในการวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับเทคโนโลยี ภายในกรอบแนวคิดนี้ และมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมาช่วยขับเคลื่อนในระดับโรงเรียน โดยมีโรงเรียนสาธิต ราชภัฎนครราชสีมา เป็นพื้นที่ทดลองนำร่อง ก่อนขยายผลไปโรงเรียนต่าง ๆ ทั้งจังหวัดนครราชสีมา โดยตัวชี้วัด ได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมแต่ละพื้นที่ของชุมชน 2) ปริมาณการคัดแยกขยะรีไซเคิล 3) มูลค่าทางเศรษฐกิจในการ สร้างความยั่งยืนของระบบ 4) การกระจายมูลค่าทางเศรษฐกิจกลับสู่ชุมชน (Economic Sharing) และการสร้าง เคมเปญการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างแรงจูงใจเพิ่มขึ้นจากผู้ประกอบด้านต่าง ๆ ภายในเมือง 5) จำนวนเครือข่ายและ หน่วยงานต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มมากขึ้น และ 6) การบรรจุแผนและงบประมาณของหน่วยงานเครือข่ายที่ เข้าร่วมภายใต้แพลตฟอร์มของโครงการนี้ ภาพที่ 2 จำนวนและประเภทชุมชนหรือองค์กรที่เตรียมเข้าร่วมโครงการโคราชเมืองขยะเหลือศูนย์ (Korat Zero Waste)
  • 4. 4 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ และ โครงการย่อยที่ 3 การจัดทําแผนพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะด้านสิ่งแวดล้อม และประเมินผลการมี ส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในเมืองโคราช อยู่ใน 3rd fade มีเป้าหมาย คือ กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาแบบมี ส่วนร่วมท่ามกลางผู้มีส่วนได้เสียระดับต่าง ๆ ตลอดการเชื่อมโยงกับกลุ่มบริษัท partner หรือ supplier ที่สามารถ สนับสนุนโครงการจนเกิดระบบนิเวศองค์กรนวัตกรรม หรือ Job Creation ในลักษณะของ Social Enterprise ให้กับเมืองได้ การเกิด Ecosystem ของ Job Creation ถือว่าเป็นความอย่างยืนแบบหนึ่งให้กับเมืองจากการจับ ประเด็นปัญหาแต่ละด้านนำมาวางระบบอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการเชื่อมโยงด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมและการ นำเสนอข้อมูลเดียวกันจากระบบสารสนเทศของเมือง โดยมีตัวชี้วัด ได้แก่ 1) จำนวนแผนพัฒนาเมืองด้านขยะ เหลือศูนย์ในหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอยู่ในแผนยุทธศาสตร์เมืองอัจฉริยะจังหวัดนครราชสีมา และ 2) จำนวนหน่วยงานที่มีส่วนร่วมในกระบวนการมีส่วนร่วมจัดทำแผนพัฒนาเมืองด้านขยะเหลือศูนย์ และ 3) ผล การประเมินโครงการตั้งแต่โครงการย่อยที่ 1-3 จากกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียระดับต่าง ๆ ของเมือง ผลจากการดำเนินโครงการคาดว่าจะสามารถนำไปสู่การสรุปองค์ความรู้กลไกระบบสารสนเทศสำหรับการ ประยุกต์ในโครงการแก้ปัญหาเมือง หรือโครงการพัฒนาตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของเมืองในด้านต่าง ๆ ที่ สอดคล้องกับตัวชี้วัดความเป็นเมืองอัจฉริยะที่ทางสำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัลกำหนดไว้ได้ ผ่านการดำเนิน โครงการวิจัย 3 โครงการย่อย เป็นกรณีศึกษาขยะเหลือศูนย์ได้ ภาพที่ 3 และภาพที่ 4 แสดงถึงการประยุกต์ ผลผลิตแพลตฟอร์มโครงการวิจัยกับความเป็นเมืองอัจฉริยะด้านอื่นสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะได้อย่างครอบคลุม และกระบวนการดำเนินโครงการวิจัย ภาพที่ 3 กรอบแนวคิดการประยุกต์แพลตฟอร์มข้อมูลเมืองกับความเป็นเมืองอัจฉริยะด้านต่าง ๆ
  • 5. 5 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ภาพที่ 4 โครงสร้างการออกแบบระบบแพลตฟอร์มข้อมูลเมือง นิยามคำศัพท์เฉพาะการวิจัยครั้งนี้ คำว่า “เมืองอัจฉริยะ คือ เมืองที่มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ระบบการประเมิน สถานการณ์และโต้ตอบด้วยระบบเองเพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมให้กับ เมืองต่อไป (Self-monitoring & Self-Response) จนกลายเป็นระบบ แบบวนรอบ (Loop System) ที่สามารถแก้ไขปัญหาของเมืองได้ทุก สถานการณ์ท่ามกลางความเป็นพลวัตของเมือง (Urban Dynamic)” การออกแบบวิจัยจึงให้ความสำคัญของการสร้างระบบการรวบรวมข้อมูลกิจกรรม ระบบประเมินข้อมูล แบบ Real-time เพื่อสามารถนำไปสู่การวิเคราะห์ร่วมท่ามกลางกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ดังนั้นจึงสร้างนวัตกรรมความ เป็นเมืองอัจฉริยะโดยมีผลผลิตเป็นกลไกระบบสารสนเทศเชื่อมโยงกับแนวคิดขยะเหลือศูนย์ เพื่อนำชุดข้อมูลที่ รวบรวมและวิเคราะห์นำไปสู่การร่างแผนพัฒนาเมือง
  • 6. 6 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ชุดข้อมูลเชิงปริมาณการวิจัยครั้งนี้ได้ออกแบบให้มีการรวบรวมผ่านระบบ Application & Cloud Computing Platform ซึ่งจะเป็นอีก 1 นวัตกรรมการรวบรวมข้อมูลการวิจัย ทั้งในระดับภาพรวมของเมืองผ่าน การเชื่อมโยงด้วยตำแหน่งการติดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิลอัจฉริยะ และระดับผู้ใช้รายบุคคลเพื่อนำไปสู่การพิจารณา มาตรการสร้างแรงจูงใจทั้งระบบนิเวศขยะเหลือศูนย์ของเมืองมากขึ้น ภาพที่ 5 ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลระบบนิเวศขยะเหลือศูนย์ด้วย Application & Cloud Computing Platform 2) ระบบแพลตฟอร์มข้อมูลเมือง พื้นที่ออนไลน์ อยู่ในระบบ Cloud Computing ประมวลผล Platform เชื่อมโยงระหว่าง Mobile User Application การบริหารโครงการกับระดับ User ที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งชุดข้อมูลจากการใช้ Application จะถูก เก็บสำหรับวิเคราะห์และประมวลผ่าน Platform ที่ออกแบบไว้ใน Cloud System ที่เรียกว่า Scavenger Platform เป็นโมดูลหนึ่งของระบบ JVIS Platform
  • 7. 7 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ภาพที่ 6 ความสัมพันธ์กลไกระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ Mobile User Application ระดับผู้ใช้ เชื่อมโยงการรวบรวมขยะรีไซเคิลผ่าน Smart Recycle Bank ส่งข้อมูลเข้า Scavenger Platform เป็นโมดูลหนึ่ง ของระบบ JVIS Platform การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ อยู่ในลักษณะของการร่วมทุนระหว่าง โครงการฯ กับหุ้นส่วนภาคเอกชน โดยประเด็นเนื้อหาโครงการฯ ต้องเชื่อมโยงสู่การแก้ไขปัญหาร่วมระหว่าง ภาคเอกชนกับภาครัฐ ตลอดจนการเจรจารายละเอียดการรับผิดชอบดำเนินการรวมถึงต้นทุนและเงื่อนไขต่าง ๆ การตกผลึกกรอบแนวคิดสู่การดำเนินการ มีรายละเอียด ได้แก่ โครงสร้างการบริหาร Application ด้วยต้นทุนที่จำกัดของงบประมาณ และสามารถขับเคลื่อนโครงการได้ บรรลุเป้าหมาย Zero Waste Application ได้ถูกบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของระบบการให้บริการที่เรียกว่า JVIS ซึ่ง เป็น Platform Application ขนาดใหญ่รวบรวม Module การให้บริการที่หลากหลายให้กับเมือง ส่วน Zero Waste Application ถือเป็น Module หนึ่งใน JVIS
  • 8. 8 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ภาพที่ 7 ความสัมพันธ์เชิงระบบในการร่วมลงทุนพัฒนาระบบ JVIS and Scavenger Application จากการวิเคราะห์ตั้งแต่ระบบการออกแบบ การร่วมทุน และโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนนำไปสู่การสร้าง ผลผลิตโครงการวิจัยสามารถสรุปรายละเอียด ได้ตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ความสัมพันธ์เชิงระบบในการร่วมลงทุนพัฒนาระบบ JVIS and Scavenger Application ระบบ ผลผลิต ทีมดำเนินการ JVIS Platform and System (บริษัท JVIS จำกัด ลงทุน ใช้โครงสร้างร่วมกับ โครงการวิจัย) แพลตฟอร์มโครงสร้างใหญ่ พร้อม ระบบ Cloud Computing สำหรับ ประยุกต์กับความเป็นเมืองอัจฉริยะ ด้านต่าง ๆ Database: User รายบุคคล ราย สถานที่ บริษัท JVIS จำกัด เกิดจากเครือข่าย ความร่วมมือของภาคเอกชน อาทิ สมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัด นครราชสีมา สมาคมหอการค้าจังหวัด นครราชสีมา และสภาอุตสาหกรรม จังหวัดนครราชสีมา Scavenger Platform and System (คณะวิจัย ทุนจาก บพท.) แพลตฟอร์มในลักษณะโมดูล (Module) เฉพาะด้านขยะรีไซเคิล ทำงานเชื่อมโยงกับ JVIS Database: Smart Recycle Bank ปริมาณและประเภทขยะรีไซเคิล จำแนกรายวัน รายบุคคล และราย สถานที่ คณะวิจัยในโครงการ ร่วมกับบริษัท JVIS จำกัด สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา เครือข่ายสถาบันเมืองอัจฉริยะจังหวัด นครราชสีมา
  • 9. 9 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ตารางที่ 1 ความสัมพันธ์เชิงระบบในการร่วมลงทุนพัฒนาระบบ JVIS and Scavenger Application ระบบ ผลผลิต ทีมดำเนินการ Urban Informatics Center (City Data Center) (มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน งบประมาณแผ่นดิน พ.ศ.2564) โครงสร้างทางกายภาพเชิงสัญลักษณ์ การทำงานเชิงบูรณาการ Command Room การพิจารณา ข้อมูลร่วมกันท่ามกลางผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อกำหนดนโยบาย แผนงานและ โครงการพัฒนาเชิงพื้นที่ คณะทำงานบูรณาการแผนงานเพื่อ พัฒนาเมืองอัจฉริยะและคณะทำงาน บริหารยุทธศาสตร์สำนักงานเมือง อัจฉริยะจังหวัดนครราชสีมา หนังสือ คำสั่งที่ นม 0013/ว5111 วันที่ 5 สิงหาคม 2564 ลงนามโดยผู้ว่าราชการ จังหวัดนครราชสีมา การออกแบบ JVIS Platform ในระบบ Cloud Computing โครงสร้างหลักของความเป็นเมืองอัจฉริยะ มีองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เมนู User 2) เมนูรายงานค่าสถิติ 3) เมนูจัดการโครงการ และ 4) เมนูจัดการบริการ (Module) และ 5) รายงานปัญหา เมนู User Interface สำหรับทีมผู้บริหาร จำแนกตามระดับการเข้าถึงชุดข้อมูลตามบทบาทที่กำหนดไว้ อาทิ ผู้ดูแลระบบสามารถเพิ่มลด Function ต่าง ๆ ได้ การเพิ่มโครงการเข้าระบบ การ Module ให้บริการผ่าน Application หรือผู้วิเคราะห์สามารถเพิ่มข่าวสื่อสารให้กับกลุ่มผู้ใช้ Module Application มาให้บริการต่าง ๆ ของ JVIS Platform ตลอดจนการดูแลระบบข้อมูลและการเข้าถึง Function ต่าง ๆ ของกลุ่มผู้ใช้ Application เป็นต้น ภาพที่ 8 User Interface จำแนกตามระดับการเข้าถึงชุดข้อมูลตามบทบาทที่กำหนดไว้ของ JVIS Platform
  • 10. 10 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ เมนูรายงานค่าสถิติ ประมวลผลสถิติพรรณาเพื่อให้ทีมผู้บริหารสามารถมองภาพรวมทั้งระบบนำไปสู่การ ตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารโครงการต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที (Real-Time Management) โดยรายละเอียดสถิติ ระดับภาพรวม อาทิ จำนวนโครงการหรือสถานประกอบการที่เข้าร่วมระบบ จำนวนผู้ใช้ Application ทั้งหมดที่ อยู่ในระบบจำแนกรายโครงการหรือสถานประกอบการ จำนวนผู้ให้บริการในโมดูลต่าง ๆ การสรุปโมดูลการ ให้บริการยอดนิยม จำนวนเงินที่มีการใช้จ่ายผ่านระบบทั้งหมดตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านต่าง ๆ ที่ยังค้างชำระ และ การวิเคราะห์โครงการหรือสถานประกอบการที่มีการใช้บริการหรือโมดูลในระบบมากที่สุด ภาพที่ 9 Dashboard ของ JVIS Platform ประมวลผลทางสถิติด้านต่าง ๆ โดยด้านซ้ายเป็นระบบเมนูบริการแพลตฟอร์มด้านโครงการและบริการหรือโมดูล Urban Solution นอกจากนี้ จำนวนโครงการหรือสถานประกอบการที่เข้าร่วมระบบยังสามารถเชื่อมโยงแสดงผลข้อมูล ตำแหน่งเชิงแผนที่ในภาพรวมของเมืองโคราชเพื่อสะดวกต่อการให้บริการด้านต่าง ๆ อีกด้วย
  • 11. 11 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ภาพที่ 10 ตำแหน่งที่ตั้งโครงการอสังหาริมทรัพย์และสถานประกอบการต่าง ๆ เตรียมเข้าร่วมระบบ JVIS Platform ในการใช้โมดูล Urban Solution เชื่อมโยงกับตัวชี้วัดความเป็นเมืองอัจฉริยะ เมนูสถิติ สามารถเก็บข้อมูลสรุปสถิติเชิงพรรณาจำแนกรายประเภทการให้บริการหรือโมดูล ทั้งนี้ Scavenger / Zero Waste Platform เป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการในระบบ จำแนกรายละเอียดสัมพันธ์กับ มูลค่าการให้บริการผ่านระบบ จำนวนผู้ใช้บริการ การให้ค่าคะแนนเป็นเครดิตสู่การร่วมเคมเปญด้านต่าง ๆ ที่ กำหนดขึ้นกับกลุ่มผู้ใช้ในการสร้างแรงจูงใจ
  • 12. 12 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ภาพที่ 10 กลุ่มชุดรายการ Urban Solution ทำเป็นโมดูล (Module) ประกอบเข้ากับ JVIS Platform ซึ่ง Scavenger Platform ที่เป็นผลผลิตโครงการวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบ 1 โมดูล นอกจากนี้ เมนูสถิติสามารถประมวลเป็นแบบ Time Series จำแนกช่วงเวลา กลุ่มโครงการหรือสถาน ประกอบที่เข้าร่วมระบบ ตลอดจนประมวลผลสัดส่วนผู้ใช้ในระบบกับการเรียกใช้บริการประเภทต่าง ๆ ได้ สัดส่วน กลุ่มผู้ให้บริการในระบบกับสัดส่วนผู้ใช้ ตลอดจนสัดส่วนของประเภทการให้บริการที่มีอยู่ใน JVIS Platform อีก ด้วย
  • 13. 13 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ภาพที่ 10 ระบบ Cloud Computing รายงานสถิติเชิงพรรณาจำแนกรายสถานที่ จำนวนผู้ใช้ในระบบ จำนวนผู้ ให้บริการในโมดูล เพื่อการพิจารณาภาพรวมของ JVIS Platform เมนูสถิติ สามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับการสรุปโครงการที่มีการใช้บริการมากที่สุด 5 อันดับแรก มีการจัด รายงานประเภทบริการหรือโมดูลใน Mobile User Application มากที่สุด 5 อันดับแรก และรายงานผู้พักอาศัยที่ เรียกใช้บริการมากที่สุด 5 อันดับแรก แต่อย่างไรก็ดีสำหรับระบบฐานข้อมูลของ JVIS Platform สามมารถดึง ฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ทางสถิติขั้นสูงได้ ภาพที่ 11 ระบบ Cloud Computing ภาพรวมจำนวนโครงการที่เข้าร่วมในแพลตฟอร์ม จำนวนโมดูลให้บริการ และกลุ่มผู้ใช้งาน Application ในแพลตฟอร์ม
  • 14. 14 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ เมนูจัดการโครงการ จำแนกรายโครงการที่เข้าร่วมระบบ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดโครงการ ตลอดจน การเพิ่มและลดโครงการที่เข้าร่วมระบบหรือแพลตฟอร์ม JVIS ภาพที่ 12 เมนูรายงานสถานที่ประกอบการที่เข้าร่วมแพลตฟอร์ม และสามารถเพิ่มสถานที่ได้จากระบบ แพลตฟอร์ม เมนูการจัดการโครงการ สามารถเข้าไปจัดการรายละเอียดแอพพลิเคชันด้านต่าง ๆ ของระบบได้ อาทิ การจัดการบิล การแจ้งรับพัสดุ ข่าวสาร การให้บริการของโครงการหรือโมดูลในการ Plug-in เข้าไปให้ Mobile User Interface ภาพที่ 13 เมนูการบริหารแพลตฟอร์ม JVIS Platform กับสถานที่ประกอบการและโมดูลการให้บริการ Urban Solution อาทิ Scavenger Platform
  • 15. 15 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ เมนูการจัดการโครงการ สามารถเข้าบริหารกลุ่ม Partner ในการเข้ามาเป็นโมดูล Plug-in เข้าระบบ JVIS Platform ได้ ตลอดจนสามารถกำหนดให้แสดงผลหรือไม่แสดงผลได้ใน Mobile User Interface ได้ทันที (ปุ่ม เครื่องหมาย ) ภาพที่ 14 เมนูการจัดการโมดูล Function ที่เกี่ยวข้องกับ Urban Solution เกี่ยวข้องกับความเป็นเมืองอัจฉริยะ ด้านต่าง ๆ ซึ่ง Scavenger Platform ด้านขยะเหลือศูนย์เป็นส่วนหนึ่งของระบบ ภาพที่ 15 การแสดงผลโมดูลการให้บริการด้านต่าง ๆ ใน Mobile User Interface/Application
  • 16. 16 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ เมนูจัดการบริการ (Module) สามารถบริหารกลุ่มคู่ค้ารายย่อยที่เข้าร่วมระบบ JVIS Platform แต่ละ ประเภทการให้บริการได้ อาทิ การทำความสะอาดบ้าน การให้บริการซักรีด การให้บริการอาหาร ร้านค้า ช่างซ่อม และการให้บริการขยะรีไซเคิล ภาพที่ 16 เมนูจัดการบริการกลุ่มคู่ค้ารายย่อยจำแนกตาม Module ที่ให้บริการใน JVIS Platform เมนูรายงานปัญหา สามารถแจ้งได้ผ่านระบบ Mobile User Application จะมีข้อมูลการรายงานปัญหา ด้านต่าง ๆ อยู่ใน JVIS Platform เพื่อสามารถนำข้อมูลย้อนกลับให้เกิดการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ภาพที่ 17 เมนูแจ้งข้อความปัญหาด้านต่าง ๆ จาก Mobile User Application
  • 17. 17 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ 1) Scavenger Platform and System ระบบ Scavenger Platform ในระบบ Cloud Computing โครงสร้างหลักของความเป็นเมืองอัจฉริยะ มีองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เมนู User 2) เมนูจัดการประเภทขยะ 3) เมนูจัดการถังขยะใน โครงการ และ 4) เมนูรายงานโครงการ เมนู User สำหรับทีมผู้บริหาร จำแนกตามระดับการเข้าถึงชุดข้อมูลตามบทบาทที่กำหนดไว้ อาทิ ผู้ดูแล ระบบสามารถเพิ่มลด Function ต่าง ๆ ได้ การเพิ่มโครงการเข้าระบบ การ Module ให้บริการผ่าน Application หรือผู้วิเคราะห์สามารถเพิ่มข่าวสื่อสารให้กับกลุ่มผู้ใช้ Module Application มาให้บริการต่าง ๆ ของ Scavenger Platform ตลอดจนการดูแลระบบข้อมูลและการเข้าถึง Function ต่าง ๆ ของกลุ่มผู้ใช้ Application เป็นต้น ภาพที่ 18 User Interface จำแนกตามระดับการเข้าถึงชุดข้อมูลตามบทบาทที่กำหนดไว้ของ Scavenger Platform
  • 18. 18 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ เมนูจัดการประเภทขยะ จำแนกรายละเอียดตามประเภทขยะ สามารถกำหนดเพิ่มและลดได้ สำหรับ โครงการวิจัยครั้งนี้มุ่งกลุ่มประเภทขยะรีไซเคิล อาทิ ขวดแก้ว เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ เศษกระดาษ เศษ พลาสติก เศษขยะ และโลหะ การกำหนดประเภทขยะเหล่านี้จะนำไปสู่การเชื่อมโยงกับระบบในโครงการวิจัยย่อย ที่ 2 ในการผลิต Smart Recycle Bank เชื่อมโยงกับ Mobile User Application เพื่อดำเนินการรวบรวมประเภท ขยะ เชื่อมโยงกับฟังค์ชันต่าง ๆ ในระบบที่ออกแบบไว้ ชุดข้อมูลดังกล่าวจะนำไปสู่การวางแผนกลยุทธเชิงบูรณา การทั้งด้านขยะเหลือศูนย์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกลยุทธทางด้านอย่างยั่งยืนของระบบทั้งด้านธุรกิจ สังคม และเศรษฐกิจ ภาพที่ 19 เมนูการจัดการประเภทขยะในระบบ Scavenger Platform ภาพที่ 20 เมนูลงรายละเอียดประเภทขยะในระบบ Scavenger Platform
  • 19. 19 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ เมนูจัดการถังขยะในโครงการ สามารถเชื่อมโยงกับโครงการหรือสถานประกอบการที่เข้าร่วมระบบ JVIS Platform ในส่วนของการเพิ่มและลดจำนวนโครงการทำได้ผ่านระบบ JVIS Platform เท่านั้น แต่อย่างไรก็ดี การ บริหารจัดการ Smart Recycle Bank จะสามารถเพิ่มและลด ตลอดจนขนาด สัดส่วน ตำแหน่ง และการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ Smart Recycle Bank ให้เหมาะสมกับแต่ละประเภทโครงการหรือสถานประกอบได้อย่างเหมาะสม ภาพที่ 21 เมนูการบริหารจัดการโครงการเชื่อมโยงกับ Smart Recycle Bank การเข้าระบบ Scavenger Platform ลงรายละเอียดแต่ละโครงการจะสามารถสร้าง ID ของ Smart Recycle Bank ซึ่งสามารถ Generate QR Code เพื่อสร้างการเชื่อมโยงระหว่าง Smart Recycle Bank กับ Mobile User Application รายโครงการที่เข้าร่วมระบบ เพื่อเก็บข้อมูลเข้าระบบ ภาพที่ 22 เมนูการจัดการถังขยะในโครงการ
  • 20. 20 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ เมนูการบริหารจัดการลงรายละเอียดถังขยะจำแนกตามประเภทขยะรีไซเคิลที่ระบุไว้ ตลอดจนการกำหนด สัดส่วนและขนาดของ Smart Recycle Bank เพื่อนำไปสู่การเขียนโปรแกรมเชิงระบบให้สามารถคำนวณปริมาณ และจำนวนขยะรีไซเคิลที่สามารถรวบรวมได้จากกลุ่มผู้ใช้ ภาพที่ 23 เมนูการบริหารจัดการลงรายละเอียดถังขยะ เมนูรายงานโครงการ สามารถรายงานสถิติเชิงพรรณาจำแนกการเก็บข้อมูลเป็นรายวัน จำนวน และ ปริมาณการรวบรวมขยะรีไซเคิลจากกลุ่มผู้ใช้ผ่าน Smart Recycle Bank แต่ละถังขยะรายโครงการ ภาพที่ 24 เมนูรายงานสถิติเชิงพรรณาจำแนกการเก็บข้อมูลการรวบรวมขยะรีไซเคิล
  • 21. 21 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ เมนูรายงานโครงการ สามารถรายงานสถิติเชิงพรรณาจำแนกเชื่อมโยงกับโครงการหรือสถาน ประกอบการจากระบบ JVIS Platform และการรวบรวมข้อมูลขยะรีไซเคิลจำแนกรายประเภทผ่านการGenerate QR Code ผ่านระบบ Scavenger Platform ภาพที่ 25 เมนูรายงานการรวบรวมข้อมูลขยะรีไซเคิลเชื่อมโยงรายโครงการและจำแนกประเภทขยะรีไซเคิล 1) Dashboard Systems Dashboard Systems ได้ออกแบบเชื่อมโยง 3 ระบบ โดยอธิบายแจกแจงรายละเอียด ได้แก่ 1) JVIS Platform 2) Scavenger Platform และ 3) Mobile User Application ภาพที่ 26 กรอบแนวคิดการเชื่อมโยงระบบ • Area Database • User Database • Module Database JVIS Platform • Smart Recycle Bank • Recycle Waste Statistics Scavenger Platform • Module • Statistics • News & Campaign Mobile User Aplication
  • 22. 22 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ JVIS Platform ลักษณะโครงสร้างเชิงระบบจะมี 3 ส่วน ได้แก่ 1) Area Database 2) User Database และ 3) Module Database ภาพที่ 27 องค์ประกอบ Scavenger Module ใน JVIS Platform ภาพที่ 28 Dashboard การบริหารจัดการฐานข้อมูลกลุ่มผู้ใช้ Scavenger Module ฝังอยู่ใน JVIS Platform เพื่อ สำหรับเตรียมการขยาย Module ด้านอื่น ๆ ในเชิงสถานที่ต่อไป
  • 23. 23 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ Scavenger Platform ลักษณะโครงสร้างเชิงระบบจะมี 2 ส่วน ได้แก่ 1) Smart Recycle Bank และ 2) Recycle Waste Statistic ภาพที่ 29 Dashboard การบริหารจัดการฐานข้อมูล Smart Recycle Bank แต่ละสถานที่ประกอบการ Mobile User Application ลักษณะโครงสร้างเชิงระบบจะมี 3 ส่วน ได้แก่ 1) Module 2) Statistic และ 3) New & Campaign ภาพที่ 30 Dashboard หรือ Mobile User Interface เชื่อมโยงกับผู้อยู่อาศัยจำแนกตามสถานประกอบการ โดย จะมีประเภท Module ต่าง ๆ ให้บริการ รวมถึง Scavenger Module (ไอคอนเก็บขยะ) (ซ้าย) Scavenger Interface / Zero Waste Interface ระดับผู้ใช้ รายงานแจ้งความพร้อมเก็บข้อมูลขยะรีไซเคิล (กลาง) และ การ รายงานบันทึกข้อมูลปปริมาณขยะรีไซเคิลที่สะสมของผู้ใช้ (ขวา)
  • 24. 24 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ Dashboard Systems เป็นการประมวลผลผ่านระบบ Cloud แสดงผลกับ Browser ต่าง ๆ บน คอมพิวเตอร์ หรือโน๊ตบุ๊คได้ ทั้งนี้ใช้สำหรับการแสดงผลเชื่อมโยงกับ Urban Informatics Center ที่ได้รับทุน สนับสนุนจากสำนักงบประมาณแผ่นดิน ปี พ.ศ.2564 ซึ่งจะอธิบายในหัวข้อถัดไป พื้นที่กายภาพ ได้แก่ การเตรียมห้อง Urban Informatics Center สำหรับการนำข้อมูลต่าง ๆ ในระบบ Cloud Computing ที่ได้จากกิจกรรมโครงการที่ 2 (การนำร่องสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ ขับเคลื่อนด้านขยะเหลือศูนย์) ร่วมพิจารณาประชุมท่ามกลางผู้มีส่วนได้เสียในการขับเคลื่อนนโยบายและโครงการ ตำแหน่งที่ตั้ง Urban Informatics ตั้งอยู่ชั้น G อาคาร19 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา ทั้งนี้งบประมาณได้รับสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน ปี 2564 สามารถดำเนินการคู่ขนานได้อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนสามารถเป็นต้นแบบของ City Dashboard ศูนย์กลางขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ ปัจจุบัน Urban Informatics Center ได้รับพิจารณาจากผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ให้เป็นสำนักงานเมืองอัจฉริยะจังหวัดนครราชสีมา ทำงานร่วมกันทั้ง ภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ที่เรียกว่า เครือข่ายสถาบันเมืองอัจฉริยะ และมีชุดคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการจากผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ภาพที่ 31 อาคาร 19 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
  • 25. 25 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ภาพที่ 32 Urban Informatics Center สำหรับการแสดง Dashboard ประมวลผลชุดข้อมูลทั้ง JVIS Platform และ Scavenger Platform สู่การเป็นสำนักงานเมืองอัจฉริยะทำงานร่วมท่ามกลางเครือข่ายเมืองอัจฉริยะทั้ง ภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ภาพที่ 33 Urban Informatics Center มีพื้นที่ทำงานเชิงระบบของโครงการรองรับจำนวน 6 ที่นั่ง (ซ้าย) และ พื้นที่นั่งประชุมงานขนาดเล็ก (ขวา)
  • 26. 26 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ภาพที่ 34 สัญลักษณ์หน่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะให้กับเมืองโคราชและจังหวัดนครราชสีมา ภาพที่ 35 ระบบ Monitor แสดงผลสำหรับการประมวลข้อมูลจาก JVIS Platform และ Scavenger Platform
  • 27. 27 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ ภาพที่ 37 ตำแหน่งที่ตั้ง Urban Informatics Center ภาพที่ 38 วิสัยทัศน์ Urban Informatics Center ในพันธกิจของการเป็นสำนักงานเมืองอัจฉริยะจังหวัด นครราชสีมา เตรียมการขยายผลในด้านต่าง ๆ ของตัวชี้วัดความเป็นเมืองอัจฉริยะ
  • 28. 28 การพัฒนากลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อการวางแผนและพัฒนาเมืองโคราชอัจฉริยะ : กรณีศึกษาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้านขยะเหลือศูนย์ การประเมินกลไกระบบสารสนเทศเพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะ จำแนกประเด็นวิเคราะห์เป็น 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การเชื่อมโยงระบบ JVIS & Scavenger Platform 2) Dashboard Systems 3) Urban Informatics Center และ 4) การทดสอบระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์ในตารางที่ 2 กลไกระบบสารสนเทศเมืองเพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะมีความพร้อมในระดับ เตรียมทดลองใช้ในพื้นที่จริง ตลอดจนตอบรับด้านภาพลักษณ์ ความสวยงาม การออกแบบโมเดลธุรกิจเพื่อจำนวน Smart Recycle Bank ตามสถานประกอบการต่าง ๆ นอกจากนี้แพลตฟอร์มกลไกระบบสารสนเทศเมืองยัง สามารถประยุกต์โครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวไปสู่การพัฒนาโครงการตอบตัวชี้วัดของประเด็นการพัฒนา แผนงาน และโครงการของเมืองได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรายละเอียดการออกแบบเชิงกระบวนการต่อไป ตารางที่ 2 การประเมินระบบสารสนเทศเพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะ องค์ประกอบ ผลผลิต การประเมิน การเชื่อมโยงระบบ JVIS & Scavenger Platform Platform ตามกรอบแนวคิดด้านขยะเหลือ ศูนย์ของ Scavenger และโครงสร้างเชิงระบบ บริหารจัดการข้อมูลเมืองขนาดใหญ่เตรียมการ รองรับการพัฒนา Platform ให้ครอบคลุมทุก ด้านของความเมืองอัจฉริยะ โดย JVIS Platform JVIS & Scavenger Platform มีการทำงาน เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ สามารถเก็บข้อมูล ผ่านระบบ IoT ที่ตั้งค่าไว้ ส่งกลับมาเป็นระบบ ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ตลอดจน สามารถประมวลผลสถิติแสดงชุดข้อมูลเชิง พรรณาได้ (Cloud Computing) Dashboard Systems มีการแสดงผลชุดข้อมูลและรายละเอียด สอดคล้องกับกรอบแนวคิดในการบริหาร จัดการ วิเคราะห์เพื่อการพัฒนา ในระดับเบื้องต้นสอดคล้องตามกรอบแนวคิด แต่อย่างไรก็ตามสำหรับสถานการณ์แพร่ ระบาดไวรัสโควิด19 ไม่สามารถทดลองใน ระบบเปิดกับสถานที่นำร่องเพื่อศึกษา พฤติกรรมผู้ใช้จริง สำหรับการเก็บรวบรวม ข้อมูล เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบอีกขั้นได้ Urban Informatics Center ห้องประชุมแสดงผลชุดข้อมูลเชิงพื้นที่ด้านต่าง ๆ เตรียมรองรับการพัฒนาแพลตฟอร์มด้านต่าง ๆ ของเมืองอัจฉริยะ สามารถแสดงผลชุดข้อมูลจาก Server ผ่าน ระบบ Cloud Computing เพื่อนำไปสู่การ แสดงผลเชิงพื้นที่ สู่กระบวนการพิจารณา ข้อมูลร่วมกันท่ามกลางกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียของ การพัฒนาเมือง การทดสอบระบบสารสนเทศ ความเสถียรการทำงานของระบบกลไก สารสนเทศ ทั้ง JVIS & Scavenger Platform กับ Mobile User Application การทดลองเชิงระบบการประมวลในระยะเวลา 4 วัน จำนวน 1,112 ครั้ง ไม่มีการผิดพลาดใน การส่งค่าข้อมูลเข้าระบบ Cloud Computing จึงถือความมีความเสถียรในระดับสามารถนำไป ประยุกต์ใช้งานในพื้นที่จริง