SlideShare a Scribd company logo
1 of 128
สวัสดีครับนักศึกษา
ผู้บรรยาย ว่าที่ ร.ต. ด.ร. อนันต์ โพธิกุล
ผู้อานวยการสถาบันการศึกษาทางไกล
วันนี้เราจะมาศึกษา
วิชา GS 105 สังคม เศรษฐกิจ การเมืองและประชาคมโลก
กันครับ
หน่วยการสอนที่ 2
กลุ่มสังคม สถาบันและการจัดลาดับช่วงชั้นทางสังคม
ตอนที่ 1 กลุ่มสังคม
ตอนที่ 2 สถาบันทางสังคม
ตอนที่ 3 การจัดลาดับช่วงชั้นทางสังคม
ตอนที่ 1 กลุ่มสังคม
• ความหมายของกลุ่ม
• การจาแนกประเภทของกลุ่มทางสังคมวิทยา
• แบบของกลุ่มคน
ตอนที่ 1 กลุ่มสังคม
ความหมายของกลุ่ม
ตามความเห็นของ Maciver and Page ได้อธิบายว่า กลุ่ม หมายถึง การรวมตัว
ของมนุษย์ชาติที่ต้องสัมพันธ์ติดต่อกับบุคคลอื่น เมื่อไม่มีความสัมพันธ์ติดต่อ
กับการรวมตัวของมนุษย์จะไม่เรียกว่า กลุ่ม แบบของการรวมกลุ่มมี
ความสัมพันธ์ทางสังคมเป็นพื้นฐาน เท่านั้น
ตามความเห็นของ Ogburn and Nimkoff เขาอธิบายว่า “บุคคลตั้งแต่สองคน
ขึ้นไปอยู่ร่วมกันและสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เรียกว่า กลุ่มสังคม”
ความหมายของกลุ่ม (ต่อ)
นักสังคมวิทยาบางท่านให้ความหมายว่า “กลุ่ม คือ คนจานวนหนึ่งมาอยู่
รวมกันหรือกาลังรอคอยสิ่งใดสิ่งหนึ่ง” หรือ “คนจานวนหนึ่งที่มีลักษณะ
บางอย่างเหมือนกัน” หรือ “คนจานวนหนึ่งซึ่งมีแบบแผนบางอย่างร่วมกัน
และมีการตอบโต้ซึ่งกันและกัน” หรือ “กลุ่มคนจานวนหนึ่งซึ่งมีความรู้สึกนึก
คิดเป็นพวกเดียวกันและมีการกระทา โต้ตอบซึ่งกันและกัน”
ความหมายของกลุ่ม (ต่อ)
สรุป ความหมายของกลุ่ม คือ กลุ่มคนที่มิใช่มีความใกล้ชิดกันทางร่างกาย
เท่านั้น แต่จะต้องมีการกระทาโต้ตอบซึ่งกันและกัน มีการติดต่อสัมพันธ์กัน
ตามสถานภาพและบทบาท มีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน มีความเชื่อในด้าน
คุณค่าร่วมกันหรือคล้ายคลึงกัน กลุ่มสังคม ได้แก่ ครอบครัว กลุ่มเพื่อน กลุ่ม
อาชีพ กลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มประชาชนของประเทศ เป็นต้น
การจาแนกประเภทของกลุ่มทางสังคมวิทยา
เราเป็นสมาชิกของกลุ่ม ซึ่งอาจเป็นด้วยสถานการณ์ของการ
จัดการทางสถิติ เราเป็นสมาชิกของกลุ่มอื่น ก็เพราะว่าเรามี
ความรู้สึกว่ามีบางสิ่งบางอย่างร่วมกันกับกลุ่มนั้น เราเป็นสมาชิก
ของอีกกลุ่ม เพราะเรามีความสัมพันธ์ทางสังคมกับกลุ่มนั้น เรา
เป็นสมาชิกของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพราะว่าเข้าร่วมเป็นสมาชิก
ของกลุ่มและมีชื่อปรากฏเป็นสมาชิกของกลุ่มนั้น
การจาแนกประเภทของกลุ่มทางสังคมวิทยา (ต่อ)
จัดกลุ่มออกได้เป็น 4 กลุ่ม ดังต่อไปนี้
• กลุ่มทางสถิติ (Statistical Group)
• กลุ่มคนพวกเดียวกัน (Societal Group)
• กลุ่มทางสังคม (Social Group)
• กลุ่มสมาคม (Associational Group)
การจาแนกประเภทของกลุ่มทางสังคมวิทยา (ต่อ)
อย่างไรก็ดี ชื่อทั้งสี่ข้างต้นอาจจะไม่ใช่ชื่อที่ดีหรือเหมาะที่สุด
แต่เมื่อไม่สามารถจะแสวงหาชื่อที่ดีกว่านี้ ชื่อทั้งสี่ก็น่าจะเป็น
ประโยชน์อยู่บ้างและก่อนอื่น เราควรจะได้ทราบว่าการจัดกลุ่ม
ดังกล่าวนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะที่สาคัญอยู่ 3 ประการ กล่าวคือ
• ความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน
• การปะทะสังสรรค์ทางสังคม
• การจัดระเบียบทางสังคม
การจาแนกประเภทของกลุ่มทางสังคมวิทยา (ต่อ)
1. กลุ่มทางสถิติ (Statistical Group) เป็นกลุ่มที่สมาชิกมิได้จัดขึ้น
ด้วยตนเอง หากเป็นการจัดขึ้นโดยนักสังคมวิทยาและนักสถิติ โดย
ปกติแล้ว สมาชิกของกลุ่มไม่มีความรู้สึกว่าเป็นสมาชิกของกลุ่ม
และไม่มีสิทธิหรือพันธะต่อกลุ่มแต่อย่างใด ขอยกตัวอย่างเช่น กลุ่ม
คนที่เกิดในโรงพยาบาลและกลุ่มคนที่เกิดนอกโรงพยาบาล เหล่านี้
เป็นต้น การจัดกลุ่มทางสถิติขึ้นนั้นก็เพื่อความมุ่งหมายของสถิติ จึง
ไม่สู้สาคัญในทางสังคมวิทยานัก ...
การจาแนกประเภทของกลุ่มทางสังคมวิทยา (ต่อ)
... ประโยชน์ที่ได้รับจากกลุ่มทางสถิติ คือ ช่วยให้ทราบถึงลักษณะ
สาคัญบางประการของชุมชนได้ เช่น ชุมชนที่เกิดในโรงพยาบาล
ร้อยละ 10 ย่อมแตกต่างจากชุมชนที่ไม่เกิดในโรงพยาบาลร้อยละ
90 เป็นต้น
การจาแนกประเภทของกลุ่มทางสังคมวิทยา (ต่อ)
2. กลุ่มคนพวกเดียวกัน (Societal Group) กลุ่มคนประเภทนี้มี
ลักษณะแตกต่างไปจากลุ่มสถิติ คือ สมาชิกของกลุ่มคนพวก
เดียวกันมีความรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกันซึ่งมีเครื่องแต่งกาย
เหมือนกันหรือมีภาษาเดียวกัน กลุ่มนี้มีความรู้สึกว่าเป็นพวก
เดียวกันทั้ง ๆ ที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนและไม่มีการปะทะสังสรรค์
กัน ตลอดทั้งไม่มีการจัดระเบียบทางสังคม เช่น กลุ่มที่มีภาษา
เดียวกัน ตัวอย่างเช่น ภาษาชาวเหนือ คนที่พูด ภาษาเหนืออาจไม่
รู้จักกันก็ได้แต่พอพูดออกมาก็รู้ได้ว่าเป็นพวกเดียวกัน
การจาแนกประเภทของกลุ่มทางสังคมวิทยา (ต่อ)
3. กลุ่มทางสังคม (Social Group) การใช้คาว่า “สังคม” ก็เพื่อ
อธิบายว่า มีการติดต่อกันทางสังคมและมีการปะทะสังสรรค์กัน
ทางสังคม สมาชิกของกลุ่มประเภทนี้ นอกจากจะมีความรู้สึกเป็น
พวกเดียวกันแล้ว ยังมีการปะทะสังสรรค์ทางสังคมอีกด้วย
กลุ่มทางสังคมนี้ก็ได้แก่ กลุ่มเพื่อนเล่น กลุ่มเพื่อนักเรียนร่วมชั้น
เดียวกัน เป็นต้น
การจาแนกประเภทของกลุ่มทางสังคมวิทยา (ต่อ)
4. กลุ่มสมาคม (Associational Group) กล่าวได้ว่า กลุ่มประเภทนี้
เป็นกลุ่มที่มีความสาคัญที่สุดในสังคมเชิงซ้อนสมัยใหม่ ทั้งนี้
เพราะว่า กลุ่มสมาคม (หรือสมาคม) เป็นกลุ่มที่ได้มีการจัดระเบียบ
หรือองค์การ เป็นกลุ่มที่มีโครงสร้างอย่างเป็นทางการ เพราะฉะนั้น
กลุ่มสมาคมจึงมีลักษณะครอบถ้วนในความหมายทางสังคมวิทยา
กล่าวคือ มีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน มีการปะทะสังสรรค์ทาง
สังคม และมีการจัดกลุ่มอย่างมีระเบียบเพื่อรักษาผลประโยชน์ของ
กลุ่ม
แบบของกลุ่มคน
กลุ่มคนย่อมมีคุณสมบัติแบบฉบับและด้วยคุณสมบัติดังกล่าว
นี้เอง ช่วยให้เข้าใจถึงรากฐานของทฤษฎีของกลุ่มตาม
ความหมายของสังคมวิทยาเป็น 2 พวกหรือคู่กันดังจะได้
อธิบายต่อไปนี้
แบบของกลุ่มคน (ต่อ)
1. แบบกลุ่มปฐมภูมิและทุติยภูมิ (Primary Groups and Secondary Groups)
2. กลุ่มพวกเราและกลุ่มพวกเขา (In - Group and Out - Group or We - Group and
They - Group)
3. ชนกลุ่มใหญ่และชนกลุ่มน้อย (Majority – Group and Minority – Group)
4. กลุ่มสมัครใจและกลุ่มไม่สมัครใจ (Voluntary – Group and Involuntary –
Group)
5. กลุ่มระดับเดียวกันและกลุ่มหลายระดับ(HorizontalGroupandVerticalGroup)
6. กลุ่มที่มีการจัดระเบียบและกลุ่มที่มิได้มีการจัดระเบียบ (Organize Group and
Unorganized Group)
แบบของกลุ่มคน (ต่อ)
1. แบบกลุ่มปฐมภูมิและทุติยภูมิ (Primary Groups and
Secondary Groups) กลุ่มปฐมภูมิ ได้แก่ กลุ่มบุคคลที่มี
ความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและมีความรู้สึกเป็น พวกเรา มีการ
ติดต่อกันอยู่เสมอและเป็นเวลาอันยาวนาน ซึ่งจะพอสรุปลักษณะ
ของกลุ่มปฐมภูมิได้ดังนี้
แบบของกลุ่มคน (ต่อ)
ลักษณะของกลุ่มปฐมภูมิ ดังนี้
• เป็นกลุ่มขนาดเล็ก
• มีการติดต่อใกล้ชิดกันและเป็นไปโดยตรง
• มีความสนิทสนมใกล้ชิดเป็นการส่วนตัว
• มีการติดต่อกันเป็นระยะยาว
• กระทากิจกรรมต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน ช่วยเหลือกัน
• การตัดสินใจของกลุ่มใช้ความรู้สึก อารมณ์มากกว่าเหตุผล
กลุ่มปฐมภูมิ
กลุ่มปฐมภูมิมีประโยชน์ในการช่วยให้สมาชิกได้เรียนรู้ระเบียบ
ของสังคมอย่างใกล้ชิด มีความเมตตาธรรมรักใคร่กันอย่างพี่น้อง
เพื่อนฝูงโดยไม่มีอะไรแอบแฝง
ข้อเสียของกลุ่มปฐมภูมิมีอยู่บ้าง คือ สมาชิกกลุ่มรักพวกรักพ้อง
จนอาจทาให้เสียความยุติธรรมหรือบางกรณีและบางเหตุการณ์
สมาชิกจะรู้สึกขาดความเป็นตัวของตัวเอง เพราะเอาใจสมาชิก
กลุ่มมากเกินไป
กลุ่มทุติยภูมิ
กลุ่มทุติยภูมิ สมาชิกกลุ่มมีความผูกพันมิใช่เป็นการส่วนตัว มี
ความสัมพันธ์กันเป็นไปตามระเบียบกฎเกณฑ์มีแบบแผน ซึ่งพอสรุป
ลักษณะของกลุ่มทุติยภูมิดังนี้
1. มีการแบ่งงานกันทาตามความสามารถเฉพาะสาขาเพื่อประสิทธิภาพของงาน
2. มีการมอบหมายอานาจ
3. มีสายการติดต่องานเป็นไปตามลาดับขั้นตอนไม่ก้าวก่ายข้ามหน้าข้ามตากัน
4. มีการประสานงานเพื่อผลงานมีประสิทธิภาพ
กลุ่มทุติยภูมิ (ต่อ)
กลุ่มทุติยภูมิมีประโยชน์ในการดาเนินชีวิตในสังคมอุตสาหกรรม เพราะ
สมาชิกจะได้ทราบถึงสิทธิหน้าที่อย่างแจ้งชัด การปฏิบัติงานของสมาชิก
เป็นไปอย่างมีระเบียบและระบบ โดยไม่นาเรื่องส่วนตัวเข้ามาปะปน ทา
ให้เกิดความยุติธรรมและความเป็นระเบียบเสมอหน้ากัน นอกจากนั้น การ
วางตัวในหมู่สมาชิกก็กระทาได้ง่าย กล่าวคือ เมื่อหมดหน้าที่แล้ว ต่างคน
ต่างมีอิสระไม่ต้องคอยระมัดระวังในเรื่องส่วนตัว ...
กลุ่มทุติยภูมิ (ต่อ)
... ข้อเสียของกลุ่มทุติยภูมิก็มีอยู่เช่นเดียวกัน คือ สมาชิกของกลุ่มขาด
ความ อบอุ่น เพราะทุกคนมุ่งแต่งานและระเบียบ เมื่อเกิดการผิดพลาดใน
การงานบุคคล ผู้กระทาผิดย่อมได้รับการตาหนิหรือลงโทษทาให้เกิด
ความรู้สึกว่าตนขาดที่พึ่งพาอาศัยและไม่มีใครเห็นอกเห็นใจหรือยอม
เข้าใจรับรู้ข้อเท็จจริงในข้อผิดพลาดดังกล่าว ดังนั้น สมาชิกของกลุ่มทุติย
ภูมิจึงได้หาทางออกโดยการสร้างกลุ่มปฐมภูมิขึ้น เช่น นัดพบปะเพื่อน
ร่วมงานที่ใกล้ชิดและที่มีความเห็นอกเห็นใจ นัดสังสรรค์ระหว่างเพื่อน
โรงเรียนเก่า หรือนัดสังสรรค์ระหว่างกลุ่มบุคคลที่มาจากจังหวัดเดียวกัน
เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการทดแทนความต้องการทางจิตใจ
แบบของกลุ่มคน (ต่อ)
2. กลุ่มพวกเราและกลุ่มพวกเขา (In – Group and Out –
Group or We – Group and They – Group) กลุ่มพวกเรา
หมายถึง บุคคลที่เราใช้สรรพนาม “เรา” คาว่า “เรา” อาจ
หมายถึง กลุ่มบุคคลขนาดเล็ก เช่น สมาชิกในครอบครัวหรือ
กลุ่มบุคคลขนาดใหญ่ เช่นทุกคนในโลกนี้ก็ได้ลักษณะของ
กลุ่มพวกเรา จึงหมายถึง “ความเป็นพวกเดียวกัน” ส่วนกลุ่ม
พวกเขา หมายถึงกลุ่มไหนที่มิใช่พวกเรา คือ เป็นพวกเขา ...
กลุ่มพวกเราและกลุ่มพวกเขา (ต่อ)
... อาจกล่าวได้ว่า กลุ่มพวกเราและกลุ่มพวกเขานั้น มิใช่
เป็นกลุ่มจริงเป็นเรื่องของการสร้างขึ้นด้วยการใช้สรรพ
นาม “เรา” และ “เขา” เท่านั้นเอง และความแตกต่าง
ระหว่างกลุ่มทั้งสองข้างต้นอยู่ที่การสร้างหลัก
ความสัมพันธ์ทางสังคม 2 ประการด้วยกัน
กลุ่มพวกเราและกลุ่มพวกเขา (ต่อ)
1. หลักประการแรก สมาชิกของกลุ่มพวกเราโน้มเอียงที่จะ
ประเมินค่าของพวกเดียวกับตนเป็นรายบุคคลและจะ ประเมินค่า
ของบุคคลกลุ่มอื่นรวม ๆ กัน เช่นชาวอาเซียนเห็นชาวยุโรปและ
ชาวอเมริกันรวมๆกันว่า“ฝรั่ง”ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วชาวยุโรปกับ
ชาวอเมริกันมีความแตกต่างกันหลายประการ เช่น ชาวอังกฤษ
เป็นคนเงียบ ฝรั่งเศสนิยมดื่มเหล้าองุ่น เยอรมันนิยมดื่มเบียร์ และ
คนอเมริกันนิยมดื่มกาแฟ เหล่านี้เป็นต้น คือ พิจารณาโดยถือ
ลักษณะโดยรวมอันเป็นลักษณะที่แปลกไปจาก “ชาวอาเซียน”
หรือ “พวกเรา”
แบบของกลุ่มคน (ต่อ)
2. หลักประการที่สอง ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากความแตกต่าง
ระหว่างกลุ่มพวกเราและกลุ่มพวกเขา ก็คือ การคุกคามใด ๆ ไม่ว่า
จะเป็นเรื่องโกหกหรือเรื่อง จริง ๆ ซึ่งเกิดจากกลุ่มพวกเขาย่อมก่อ
ให้ เกิดสามัคคีธรรมหรือความเป็นน้าหนึ่งใจเดียวกันภายในกลุ่ม
พวกเรา เช่น ครอบครัวหนึ่งญาติพี่น้องทะเลาะเบาะแว้งกันนัวเนีย
แต่เมื่อคนภายนอก “หรือกลุ่มพวกเขา” ไปวิพากษ์วิจารณ์เข้า
ประดาญาติพี่น้องที่ทะเลาะกันอุตลุดจะหยุดทันทีและจะหันหน้า
คืนดีกันเพื่อต่อต้านบุคคลภายนอกหรือกลุ่มพวกเขาจึงเป็นอุทาหรณ์
ว่าผัวเมียทะเลาะกัน บุคคลอื่นอย่าเข้าไปเกี่ยวข้องเป็นอันขาด
แบบของกลุ่มคน (ต่อ)
3. ชนกลุ่มใหญ่และชนกลุ่มน้อย (Majority – Group and
Minority – Group) ในแต่ละกลุ่มนั้นอาจมีการแบ่งเป็นกลุ่ม
ย่อยอีกสองกลุ่ม กลุ่มใหญ่ เราก็เรียกว่า “ชนกลุ่มใหญ่”
กลุ่มเล็กกว่า เราก็เรียกว่า “ชนกลุ่มน้อย” …
ชนกลุ่มใหญ่และชนกลุ่มน้อย (ต่อ)
... การแบ่งกลุ่มคนออกเป็นสองกลุ่มดังกล่าวนั้น ไม่มี
ข้อจากัดในเรื่องจานวนแต่ประการใด เช่น คนสองคนเป็น
คนกลุ่มใหญ่ในเมื่อคนกลุ่มนั้นทั้งหมดมีสามคน
นอกจากนั้น ภายในกลุ่มเดียวกัน ชนกลุ่มใหญ่อาจจะมี
อานาจมากหรือน้อยก็ได้เช่น กลุ่มคนจานวน 100 คน ชน
กลุ่มใหญ่อาจจะมีจานวนตั้งแต่ 51 คน ถึง 90 คน ก็ได้...
ชนกลุ่มใหญ่และชนกลุ่มน้อย (ต่อ)
... คุณสมบัติของชนกลุ่มใหญ่หรือชนกลุ่มน้อยย่อมส่งผล
กระทบถึงชีวิตในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางการเมือง
ความตึงเครียดหรือการขัดกันของกลุ่มคนของเชื้อชาติย่อมจะมี
น้อย ในเมื่อชนกลุ่มใหญ่มีจานวนมากกว่าชนกลุ่มน้อยอย่าง
มากมาย แต่ในทางตรงกันข้าม ความตึงเครียดหรือการขัดกัน
จะมีมากขึ้น ในเมื่อชนกลุ่มน้อยมีจานวนมากขึ้น...
แบบของกลุ่มคน (ต่อ)
4. กลุ่มสมัครใจและกลุ่มไม่สมัครใจ (Voluntary – Group and
Involuntary – Group) กลุ่มสมัครใจ หมายถึง สมาชิกของกลุ่มเข้า
มารวมกันโดยความสมัครใจ เช่น กลุ่มอาชีพเดียวกัน กลุ่มที่มี
ผลประโยชน์ร่วมกัน กลุ่มที่มีความสนใจ ร่วมมือกัน เช่น สมาคม
พ่อค้า สมาคมผู้ปกครองนักเรียน สมาคมกล้วยไม้เป็นต้น ...
แบบของกลุ่มคน (ต่อ)
... ส่วนกลุ่มไม่สมัครใจ หมายถึง สมาชิกของกลุ่มเข้ามารวมกัน
โดยไม่มีทางเลือกเป็นอย่างอื่น เช่น กลุ่มเพศชาย กลุ่มเพศหญิง
กลุ่มเชื้อชาติ กลุ่มศาสนา เป็นต้น
อนึ่ง ความแตกต่างระหว่างกลุ่มสมัครใจและกลุ่มไม่สมัครใจนี้
จะพิจารณาได้จากสถานภาพ กล่าวคือ สถานภาพโดยการ
กระทาย่อมเกิดขึ้นในกลุ่มสมัครใจ ส่วนกลุ่มไม่สมัครใจจะเป็น
สถานภาพโดยกาเนิด
แบบของกลุ่มคน (ต่อ)
5. กลุ่มระดับเดียวกันและกลุ่มหลายระดับ (Horizontal Group
and Vertical Group) กลุ่มบางกลุ่มรับสมาชิกเฉพาะบางลาดับ
คือ เลือกจากในลาดับเดียวกันเป็นสมาชิกของกลุ่ม เช่น สมาคม
แพทย์ก็รับเฉพาะผู้มีอาชีพเป็นแพทย์สมาชิกสมาคมทหารผ่านศึก
เป็นต้น กลุ่มดังกล่าวนี้ เรียกว่า “กลุ่มระดับเดียวกัน”
ส่วนกลุ่มหลายระดับนั้น ประกอบด้วย คนจากทุกระดับชั้น เช่น
พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย กลุ่มผู้บาเพ็ญประโยชน์ ซึ่งรับ
สมาชิกทุกชนชั้น
แบบของกลุ่มคน (ต่อ)
6. กลุ่มที่มีการจัดระเบียบและกลุ่มที่มิได้มีการจัดระเบียบ
(Organize Group and Unorganized Group) กลุ่มบางกลุ่มที่
เกิดขึ้นเองโดยไม่มีการจัดระเบียบ เช่น กลุ่มทางสถิติ กลุ่มพวก
เดียวกัน และกลุ่มทางสังคม ล้วนเป็นกลุ่มที่เกิดขึ้นมาโดยไม่มีการ
จัดระเบียบ ...
กลุ่มสมัครใจและกลุ่มไม่สมัครใจ (ต่อ)
... แต่กลุ่มบางกลุ่มจะเกิดขึ้นมาได้ต้องมีการจัดระเบียบ เช่น กลุ่มสมาคม
หรือองค์การ เป็นกลุ่มที่มีการจัดระเบียบ คือ มีสานักงาน มีระเบียบ
กฎเกณฑ์กาหนดถึงหน้าที่และสิทธิของสมาชิก กลุ่มที่มีการจัดระเบียบนี้
ถือได้ว่า เป็นกลุ่มที่มีความสาคัญยิ่งในการจัดรูปความสัมพันธ์และการ
ติดต่อของสมาชิกของสังคม อันทาให้เกิดการกาหนด ในเรื่องอานาจและ
สิทธิว่า ใครควรจะปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติในการมีความสัมพันธ์กับ
บุคคลอื่น เพราะฉะนั้น กลุ่มที่มีการจัดระเบียบจึงเป็นสิ่งจาเป็นในสังคม
เชิงซ้อน เพราะจะช่วยให้การดาเนินชีวิตและกิจกรรมต่าง ๆ ของสังคม
ดาเนินไปได้อย่างมีระเบียบแบบแผนและกฎเกณฑ์ตามสถานภาพ
ตอนที่ 2 สถาบันทางสังคม
• ความหมายของสถาบันทางสังคม
• สถาบันทางสังคมที่สาคัญ
• หน้าที่และความสาคัญของสถาบัน
ตอนที่ 2 สถาบันทางสังคม
ความหมายของสถาบันทางสังคม
คาว่า Institution ซึ่งแปลว่า “สถาบัน” นั้น มีความหมายจาแนกออก
ได้เป็น 2 นัย ได้แก่
1. แบบอย่างพฤติกรรที่มีระเบียบแบบแผนและปฏิบัติสืบต่อกันมา
จนเป็นที่ ยอมรับกันทั่วไป เรียกว่า สถาบัน การกระทาบางอย่าง
ลาพังแต่ปฏิบัติโดยไม่มีระเบียบ ไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน แม้จะ
กระทากันทั่วไปและยอมรับกันทั่วไป ก็หาเรียกว่าเป็นสถาบันไม่
เช่น การสอนให้เด็กทาอะไรจะเป็นการพูดก็ดี ...
ความหมายของสถาบันทางสังคม (ต่อ)
... การรับประทานอาหารก็ดี การอ่านหนังสือก็ดี แต่การสอน
ดังกล่าวนี้ ไม่เฉพาะในสังคมบางแห่งเท่านั้น จึงนับว่าเป็นสถาบัน
ซึ่งได้แก่ โรงเรียน การสอนการเรียนที่บ้านหรือนอกห้องเรียนที่มิได้
จัดตั้งขึ้นเป็นแบบแผน เป็นทางการ ไม่เรียกว่าเป็นสถาบัน
ความหมายของสถาบันทางสังคม (ต่อ)
2. องค์การที่จัดตั้งขึ้น ซึ่งอาจเป็นโรงเรียน โรงพยาบาล ทีมฟุตบอล
วัด บริษัท ห้างร้าน กระทรวง ทบวง กรม สถาบันในแง่นี้ ก็คือ
องค์การ นั่นเอง ซึ่งจะต้องมีการจัดตั้งขึ้น ถ้าไม่มีการจัดตั้งเป็น
องค์การขึ้นก่อน สถาบันก็เกิดขึ้นไม่ได้หรือสถาบันจะมีขึ้นไม่ได้ ถ้า
ไม่มีองค์การรับรอง เช่น สถาบันการศึกษาจะมีไม่ได้ หากไม่มี
โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย บริษัทห้างร้านต่าง ๆ จะมีไม่ได้หากไม่มี
การประกอบธุรกิจการค้า เป็นต้น
ความหมายของสถาบันทางสังคม (ต่อ)
“สถาบัน” ในความหมายทางสังคมวิทยา มุ่งเน้นถึงสถาบันที่
เป็นนามธรรม คือ ระเบียบหรือแนวทางปฏิบัติที่ทากันมาจน
ชาชินและเป็นที่ยอมรับกันทางสังคม ลักษณะทั่วไปของ
สถาบันนอกจากจะเป็นดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมี
ลักษณะเฉพาะอีก 4 ประการ คือ
ความหมายของสถาบันทางสังคม (ต่อ)
1. สถาบันมีชีวิตยืนยาวไม่มีที่สิ้นสุด องค์การอาจแตกสลายได้แต่
สถาบัน อันเป็นแนวทางปฏิบัติจะมีความยั่งยืน เพราะสถาบันค่อย ๆ
เจริญตัวและปลูกฝังลงในอุปนิสัย จนยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้
2. การปฏิบัติอยู่ในวงกว้างไม่ใช่เฉพาะกลุ่มสถาบันนั้น มีอาณาเขต
เป็นสากลปรากฏอยู่ทั่วไปทุกหนทุกแห่ง เช่น การศึกษา การศาสนา
การเศรษฐกิจ การปกครอง ทุกสังคมจะมีสถาบันดังกล่าว
ความหมายของสถาบันทางสังคม (ต่อ)
3. ดารงอยู่และถือปฏิบัติในทุกชั้นวรรณะไม่ว่าคนยากดีมีจนคนฉลาด
คนโง่ ทุกคนจะต้องปฏิบัติตนตามสถาบันนั้น ๆ เสมอเหมือนกัน จะ
ลดหย่อนกว่ากันก็น้อยที่สุด ระบบการทั้งหลายของสถาบันย่อม
ให้ผลต่อชนทุกชั้นทั่วถึงกันและทุกระยะแห่งชีวิตของมนุษย์
4. มีความสัมพันธ์กันระหว่างสถาบันต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น
สถาบันการศึกษา การเศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง ตลอดจน
สถาบันครอบครัวจะมีความสัมพันธ์และเกื้อกูลซึ่งกันและกันและมี
ผลต่อบุคคลทุกคนและส่วนรวมด้วยเสมอ
ความหมายของสถาบันทางสังคม (ต่อ)
ตามความเห็นของ ดร.สนอง บุณโยทยาน กล่าวไว้ว่า สถาบันทางสังคม
หมายถึงทั้งสิ่งที่เป็นรูปธรรม สังเกตเห็นได้และที่เป็นนามธรรม
มองเห็นไม่ได้แต่เป็นสิ่งที่มีอยู่ รูปธรรม เช่นการประกอบพิธีกรรมทาง
ศาสนา การสมรส การดาเนินในด้านการปกครองและการเมือง (การ
ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การเปลี่ยนรัฐบาล และอื่น ๆ) ส่วนในด้านที่เป็น
นามธรรมนั้น ก็คือ สิ่งที่เป็นบรรทัดฐานสังคมต่าง ๆ ซึ่งมนุษย์รู้อยู่
แน่นอนว่ามีอยู่แม้จะมิได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม ..
ความหมายของสถาบันทางสังคม (ต่อ)
... สถาบันในวิชาสังคมวิทยา หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีลักษณะแสดงให้
เห็นว่าพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสิ่งนั้นเป็นไปในแบบของการร่วมมือกัน
โดยการร่วมมือกันอย่างถาวรและเป็นการร่วมมือภายใต้กฎเกณฑ์ใด
กฎเกณฑ์หนึ่งนอกจากนั้นการที่พฤติกรรมชุดใดชุดหนึ่งของมนุษย์จะเป็น
พฤติกรรมที่เรียกว่า สถาบันได้พฤติกรรมนั้นจะต้องมีลักษณะ เฉพาะตัว
และเปลี่ยนแปลงยาก มนุษย์ที่จะประพฤติปฏิบัติร่วมมือกันโดยมีกฎเกณฑ์
และเป็นระยะเวลานานนี้ ต้องประพฤติร่วมกันโดยรู้ตัว ถึงแม้ว่าจะ
ประพฤติปฏิบัติในสังคมที่จะเป็นสถาบันได้ต้องเป็นไปอย่างเป็น
กิจลักษณะ ไม่ใช่เป็นการปฏิบัติอย่างกันเอง
ความหมายของสถาบันทางสังคม (ต่อ)
ตามความเห็นของประสาท หลักศิลา “สถาบัน หมายถึง ระบบทาง
สังคมอย่างหนึ่ง หมายถึง ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมต่าง ๆ ที่มา
ประกอบเป็นสถาบันนั้น ๆ และคนที่อยู่ร่วมกันในสังคมหนึ่งๆ
ยอมปฏิบัติกันเช่นนั้น”
จากการอธิบายข้างต้น พอสรุปได้ว่า สถาบันทางสังคม หมายถึง
แนวทางการปฏิบัติอย่างมีระเบียบและระบบ ซึ่งบุคคลส่วนใหญ่
ในสังคมนั้นยอมรับปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมในสังคม
สถาบันทางสังคมที่สาคัญ
2. สถาบันทางสังคมที่สาคัญ
นักสังคมวิทยาได้อธิบายจาแนกสถาบันทางสังคมที่สาคัญเป็น 6
สถาบัน คือ
1. สถาบันทางครอบครัว (Family Institution)
2. สถาบันทางการศึกษา (Educational Institution)
3. สถาบันทางศาสนา (Religious Institution)
4. สถาบันทางการเมือง (Political Institution)
5. สถาบันทางเศรษฐกิจ (Economic Institution)
6. สถาบันทางนันทนาการ (Recreational Institution)
สถาบันทางสังคมที่สาคัญ (ต่อ)
3. หน้าที่และความสาคัญของสถาบัน มีดังต่อไปนี้
1. สถาบันทางครอบครัว
2. สถาบันทางการศึกษา
3. สถาบันศาสนา
4. สถาบันทางการเมืองการปกครอง
5. สถาบันทางเศรษฐกิจ
6. สถาบันนันทนาการ
หน้าที่และความสาคัญของสถาบัน (ต่อ)
1. สถาบันทางครอบครัว
สถาบันทางครอบครัว คือ สถาบันที่ชายหญิงอยู่กินกันเป็น
ครอบครัวและเป็นสถาบันที่จะยังให้สังคมดารงอยู่ได้ตลอดไป
ยอมรับกันว่า สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานของสังคม ซึ่ง
ทาหน้าที่ควบคุมความสัมพันธ์ทางเพศ การมีบุตรการอบรมเลี้ยงดู
ตลอดถึงการสร้างระบบเครือญาติ แต่เดิมมานั้น ครอบครัวทา
หน้าที่เป็นสถาบันเบ็ดเสร็จ กล่าวคือ กิจกรรมทั้งปวงของบุคคลมี
ศูนย์กลางอยู่ที่ครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การแพทย์การ
สังคมสงเคราะห์ ตลอดจนพิธีกรรมต่างๆ ...
สถาบันครอบครัว (ต่อ)
... ในสมัยหลังจึงได้มีองค์การอื่นๆ รับไปปฏิบัติแทนครอบครัว
การอยู่กันเป็นครอบครัวมีระเบียบปฏิบัติซึ่งตั้งขึ้นเป็นแบบแผน
เป็นมาตรฐานในเรื่องการสืบพันธุ์และการเลี้ยงดูบุตร ครอบครัว
ปฏิบัติหน้าที่ทั้งในด้านเฉพาะตัวและหน้าที่ของสังคมเป็นส่วนรวม
และหน้าที่อันสาคัญยิ่งของครอบครัว คือ การสร้างคน การที่สังคม
จะดารงอยู่ได้ก็ต้องมีสมาชิกมาแทนที่สมาชิกเดิมที่ล้มตายไป การ
สร้างคนจึงเป็นสถาบันขึ้นมา เรียกว่า สถาบันครอบครัว
สถาบันครอบครัว (ต่อ)
ประวัติความเป็นมาของครอบครัว
ดร.ไพฑูรย์เครือแก้ว ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของ
ครอบครัวไว้โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะด้วยกัน คือ
ระยะที่หนึ่ง เรียกว่า ระยะเสน่หาก่อนแต่งงาน (Prenuptial stage)
ระยะที่สอง เรียกว่า ระยะข้าวใหม่ปลามัน (Nuptial stage)
ระยะที่สาม เรียกว่า ระยะมีบุตรสืบสกุล (Child bearing stage)
ระยะที่สี่ เป็นระยะที่ลูก ๆ ได้พ้นอกพ่อแม่ (Maturity stage)
ประวัติความเป็นมาของครอบครัว (ต่อ)
ระยะที่หนึ่ง เรียกว่า ระยะเสน่หาก่อนแต่งงาน (Prenuptial stage)
ซึ่งเริ่มตั้งแต่หนุ่มสาวพบปะกันครั้งแรก มีการถูกตาต้องใจกันไป
จนกระทั่งถึงการตกลงปลงใจจนแต่งงาน ระยะนี้เป็นระยะที่
เรียกว่า “Romantic Love” ซึ่งเป็นความรักที่มีความเสน่หาทางกาย
และใจอย่างรุนแรงห้ามกันไม่ได้
ประวัติความเป็นมาของครอบครัว (ต่อ)
ระยะที่สอง เรียกว่า ระยะข้าวใหม่ปลามัน (Nuptial stage) ระยะนี้
เริ่มตั้งแต่คู่หนุ่มสาวร่วมชีวิตกันตั้งแต่ต้นจนเข้าหอแต่งงาน
จนกระทั่งถึงตอนเริ่มจะคลอดบุตรคนแรก เป็นระยะของความ
หวานชื่น หรือระยะนี้ อาจเรียกว่า “Honey Moon” เป็นระยะเริ่ม
ครอบครัว เริ่มอยู่ด้วยกัน มีความรับผิดชอบทุก ๆ ด้าน นับตั้งแต่
แต่งงาน อาชีพ ความเป็นไปในครอบครัว การสร้างอนาคต
ประวัติความเป็นมาของครอบครัว (ต่อ)
ระยะที่สาม เรียกว่า ระยะมีบุตรสืบสกุล (Child bearing stage) เริ่ม
จากหญิงเริ่มต้นตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอดบุตรคนแรก ซึ่งระยะนี้ถือ
ว่าทวีความรู้สึกสัมพันธ์ต่อกันยิ่งขึ้น รวมทั้งความตื่นเต้นดีใจ การ
มีบุตรถือว่าเป็นผลิตผลของความสัมพันธ์ทางเพศ ในระยะนี้ เป็น
ระยะที่ต่างฝ่ายต่างหันเหความสนใจและความชื่นชมมาสู่บุตรของ
ตน ซึ่งจะทาให้พ่อแม่มีความกระตือรือร้นในการประกอบภาระกิจ
ของตน ตลอดจนสานึกในความรับผิดชอบต่อชีวิตครอบครัว
เพิ่มขึ้น
ประวัติความเป็นมาของครอบครัว (ต่อ)
ระยะที่สี่ เป็นระยะที่ลูก ๆ ได้พ้นอกพ่อแม่ (Maturity stage) เริ่ม
จากบรรดาลูก ๆ มีอายุโตพอสมควร พ้นภาระความรับผิดชอบของ
พ่อแม่แล้ว ภาระของพ่อแม่ก็ย่อมลดน้อยลงไปด้วย พ่อแม่จะหัน
ความสนใจมาสู่กันอีกครั้งหนึ่งและหวนราลึกถึงความสดชื่นแต่
หนหลัง ทาให้เกิดความรักความเข้าใจห่วงใยต่อกันและมี
ความหวังที่จะอยู่ร่วมกันตราบเท่าชีวิต โดยมีบุตรเป็นหลักและที่
พึ่งของตน เมื่อยาม แก่เฒ่าด้วย
สถาบันครอบครัว (ต่อ)
หน้าที่ของครอบครัว
หน้าที่อันสาคัญของครอบครัว พอจะแบ่งได้ดังต่อไปนี้
1. สร้างสรรค์สมาชิกใหม่ (Reproduction) เพื่อให้สังคมอยู่ได้
เพราะสังคมจะต้องมีสมาชิกใหม่แทนที่สมาชิกเดิมที่ตายไป
2. บาบัดความต้องการทางเพศ (Sexual Gratification) ซึ่ง
ออกมาในรูปของการสมรส เป็นการลดปัญหาทางเพศบางอย่าง
เช่น การข่มขืนกระทาชาเรา การสมรสเป็นสิ่งจาเป็นในสังคมที่มี
การจัดระเบียบ
หน้าที่ของครอบครัว (ต่อ)
3. เลี้ยงดูผู้เยาว์ให้เจริญเติบโตขึ้นในสังคม (Maintenance of
Immature Children or Raising the Young) เราจะเห็นได้ว่า ไม่
มีสถาบันใดทาหน้าที่ได้ดีกว่าสถาบันนี้ เพราะความรักความอบอุ่น
เด็กจะหาที่อื่นใดเสมือนครอบครัวนั้นยากมาก พ่อแม่ส่วนใหญ่มี
ความรักลูก ย่อมประคับประคองเลี้ยงดูลูกของตนเป็นอย่างดี แม้
จะยากดีมีจนก็ตาม ครอบครัวจะเลี้ยงดูบุตรตั้งแต่เกิดจนกระทั่ง
เติบโต
หน้าที่ของครอบครัว (ต่อ)
4. ให้การอบรมสั่งสอนแก่เด็กให้รู้จักระเบียบของสังคม
(Socialization) ครอบครัวเป็นแหล่งการอบรมเบื้องต้นที่มีอิทธิพล
ต่อเด็กมาก เป็นสถาบันที่เตรียมเด็กให้ออกไปเผชิญกับสิ่งที่พ้น
ออกไปจากบ้าน ครอบครัวช่วยอบรมเด็กให้รู้จักกฎเกณฑ์คุณค่า
แบบของความประพฤติ ฯลฯ สอนให้เด็กปรับตัวเข้ากับ
สิ่งแวดล้อมในสังคม
หน้าที่ของครอบครัว (ต่อ)
5. กาหนดสถานภาพ (Social Placement) เราได้ชื่อสกุลจาก
ครอบครัว ซึ่งส่วนมากก็เปลี่ยนได้ในเวลาต่อมาโดยเฉพาะเป็น
หญิง แต่งงานแล้วก็เปลี่ยนตาม ชื่อสกุลของสามี สถานภาพที่
ครอบครัวให้นี้ทาให้เรารู้ว่าเราเป็นใครอยู่กับคนกลุ่มไหน
หน้าที่ของครอบครัว (ต่อ)
6. ให้ความรักและความอบอุ่น (Affection) ครอบครัวเป็นแหล่งที่
สมาชิกได้รับความรักความอบอุ่นอย่างบริสุทธิ์ใจ เป็นแหล่งที่ให้
ประกันว่าจะมีคนที่เรารักและคนที่รักเราเสมอ เช่น ความรักของ
สามีภรรยา ความรักของพ่อแม่ที่มีต่อลูก นอกจากนั้น ถ้าสมาชิก
คนใดประสบกับความผิดหวัง ครอบครัวจะเป็นแหล่งให้กาลังใจ
และปลุกปลอบใจเพื่อให้สามารถผ่านอุปสรรคไปได้
หน้าที่และความสาคัญของสถาบัน (ต่อ)
2. สถาบันทางการศึกษา
ความหมายของการศึกษา
ตามความเห็นของ Aristotle ว่า “การศึกษา คือ การอบรมคน
ให้เป็นพลเมืองดีและดาเนินชีวิตด้วยการกระทาดี”
Roussean กล่าวว่า “การศึกษา หมายถึง การปรับตัวให้
เหมาะสมกับโอกาสและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ”
ความหมายของการศึกษา (ต่อ)
John Locke กล่าวว่า “การศึกษาประกอบด้วยองค์ 3 คือ พุทธ
ศึกษา จริยศึกษา และพลศึกษา”
John Dewey กล่าวว่า “การศึกษา หมายถึง กระบวนการแห่ง
การดารงชีวิต มิใช่ว่าการเตรียมตัวเด็กเพื่อการดารงชีวิตในวัน
ข้างหน้า”
ความหมายของการศึกษา (ต่อ)
จากคาจากัดความของนักปราชญ์เหล่านี้ พอจะอธิบายความหมาย
ของ การศึกษาได้ว่า “การศึกษา คือ การส่งเสริมความเจริญงอก
งามของบุคคลในทางร่างกาย สติปัญญา ความประพฤติ และสังคม
เพื่อให้เขาสามารถปรับตัวให้เหมาะสมกับ สิ่งแวดล้อมและดารง
อยู่ได้ด้วยดี” …
ความหมายของการศึกษา (ต่อ)
... ฉะนั้น การศึกษาจึงมิใช่หมายความถึงเฉพาะการเรียนจบจาก
โรงเรียนเท่านั้น แต่ยังมีความหมายกว้างขวางครอบคลุมไปถึงการ
ขจัดปัญหาที่อาจบังเกิดขึ้นในชีวิต เพื่อให้ตนสามารถดารงชีวิตอยู่
ได้ในสังคมด้วยความสุข การศึกษาจึงมีอยู่ในทุกสถานที่และทุก
กาล บุคคลที่มีการศึกษาดีนั้น ย่อมหมายถึง บุคคลที่สามารถแก้ไข
ปัญหาต่าง ๆ และประสบความสาเร็จในการดาเนินชีวิตในสังคม
สถาบันทางการศึกษา (ต่อ)
รูปแบบของการศึกษา
เราอาจจะสรุปรูปแบบของการศึกษาออกได้เป็น 2 ประการ
ดังต่อไปนี้
1. การศึกษาแบบอรูปนัย (Informal Education)
2. การศึกษารูปนัย (Formal Education)
รูปแบบของการศึกษา (ต่อ)
1. การศึกษาแบบอรูปนัย (Informal Education) ได้แก่ การเรียนรู้
จาก การอบรมสั่งสอนของบิดามารดาและญาติพี่น้องในครอบครัว
หรือการเลียนแบบจากเพื่อเล่นที่โตกว่าในกลุ่มเดียวกันจน
กลายเป็นความรู้ความชานาญถ่ายทอดสืบต่อกันมาแบบอรูปนัย
และโดยมิได้ตั้งใจ เช่น เด็กเล็ก ๆ ทั่วไปย่อมมีความใกล้ชิดกับ
มารดา มากกว่าบุคคลอื่น มารดาจึงเป็นบุคคลแรกที่เลี้ยงดูและ
บารุงรักษาบุตรตั้งแต่ยังเป็นทารก เป็นผู้สอนให้บุตรรู้จักการเดิน
การพูด ตลอดจนอบรมความประพฤติและมรรยาทต่าง ๆ ...
การศึกษาแบบอรูปนัย (ต่อ)
... ในสังคมที่ไม่มีผู้รู้หนังสือ หน้าที่การอบรมสั่งสอนและถ่ายทอด
วิชาความรู้ตกเป็นภาระกิจของครอบครัว สถานฝึกอาชีพและ
สถาบันทางศาสนา ส่วนแนวการอบรมสั่งสอนนั้นก็สุดแต่ผู้ใหญ่
จะเห็นสมควรว่า เหมาะสมประการใด โดยคานึงถึงความนิยมหรือ
ขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นเป็นสาคัญ
รูปแบบของการศึกษา (ต่อ)
2. การศึกษารูปนัย (Formal Education) ได้แก่ การศึกษาซึ่งตกเป็น
หน้าที่ของกลุ่มบุคคลหรือตัวแทนของสังคม การศึกษาแบบนี้ได้
เกิดขึ้นในสมัยที่มนุษย์รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษร คิดค้นวิชาคานวณ มี
ความก้าวหน้าทางเกษตรกรรม รู้จักใช้แร่ธาตุให้เป็นประโยชน์ ดัง
ปรากฏในอารยธรรมโบราณอียิปต์บาบิโลเนียกรีกอินเดียจีนและโรมัน
แต่ในระยะเริ่มแรก การศึกษาแบบนี้มักจะจากัดอยู่ในกลุ่มอภิสิทธิ์ชน
หรือชนชั้นที่มั่งคั่งร่ารวยเท่านั้น และการศึกษาก็เน้นถึงปรัชญา จริย
ศาสตร์ ศิลปะ วาทศิลป์ คณิตศาสตร์ พลศึกษา และการทหาร ซึ่งวิชา
เหล่านี้ เห็นว่าเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อชนชั้นปกครอง ...
การศึกษารูปนัย (ต่อ)
... การศึกษาแบบรูปนัยนี้ได้วิวัฒนาการมาเรื่อย ๆ ดังเช่นปัจจุบันนี้
สังคมมีอุปกรณ์ที่ช่วยในการศึกษามากมาย เช่น มีหลักสูตรที่
กว้างขวางและวิธีการสอนที่ ทันสมัย บุคคลผู้มีหน้าที่บริหารงาน
เกี่ยวกับการศึกษาก็ได้รับการศึกษาอบรมเป็นอย่างดี
สถาบันทางการศึกษา (ต่อ)
ความมุ่งหมายของการศึกษา
เราพอสรุปความมุ่งหมายของการศึกษาออกได้เป็น 6 ประการ คือ
1. ส่งเสริมสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจ
2. ส่งเสริมความรู้สามัญทั่วไป
3. ส่งเสริมความเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว
4. เตรียมตัวเพื่อชีวกิจ
5. สร้างคนให้เป็นพลเมืองดี
6. สร้างคนให้มีอัธยาศัยและมีความประพฤติที่ดีงาม
สถาบันทางการศึกษา (ต่อ)
หน้าที่ที่สาคัญของสถาบันการศึกษา
เราอาจสรุปหน้าที่ของสถาบันการศึกษาได้เป็นข้อ ๆ ดังนี้
1. อบรมให้เรียนรู้ระเบียบแบบแผนของสังคม สอนให้สมาชิกใน
สังคมได้พัฒนาบุคลิกภาพ มีกิริยามรรยาท มีจริยธรรม คุณธรรม
เคารพในสิทธิของผู้อื่น ปฏิบัติตามหน้าที่ของตน
หน้าที่ที่สาคัญของสถาบันการศึกษา (ต่อ)
2. อบรมให้สมาชิกได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพ เพื่อการดารงชีวิตเพื่อ
เพิ่มผลผลิตในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การบริการ นอกจาก
สอนให้ผู้คนได้เรียนรู้ในการประกอบอาชีพแล้ว สถาบันการศึกษา
ยังมีหน้าที่ในการพัฒนาอาชีพ ริเริ่มสร้างสรรค์อาชีพ เพื่อผลผลิต
ใหม่ที่จะสนองความต้องการของสังคม
หน้าที่ที่สาคัญของสถาบันการศึกษา (ต่อ)
3. จัดสรรตาแหน่งและกาหนดหน้าที่การงานให้แก่บุคคล เพื่อ
บุคคลได้เรียนรู้ในอาชีพใด มีความสามารถในทางใด ก็จะไป
ทางานในอาชีพนั้น
4. ช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ในสังคม เมื่อการศึกษา
เจริญก้าวหน้าขึ้น ก่อให้เกิดความรู้ แนวคิด เทคนิคใหม่ ๆ การ
ค้นพบต่าง ๆ ทาให้เกิดการประดิษฐ์สิ่งของอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ
และมีการพัฒนาสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
หน้าที่ที่สาคัญของสถาบันการศึกษา (ต่อ)
5. ช่วยให้สังคมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ผลจากการศึกษาอบรมให้
เรียนรู้ระเบียบแบบแผน วัฒนธรรมเดียวกัน ยิ่งถ้ามีการใช้ภาษา
เดียวกันในการติดต่อสื่อสารจะทาให้เกิดความรู้สึกเป็นพวก
เดียวกัน มีความผูกพันกันดีขึ้น
หน้าที่ที่สาคัญของสถาบันการศึกษา (ต่อ)
6. ช่วยให้เกิดการเลื่อนชั้นทางสังคม ในทุกสังคมย่อม
ประกอบด้วยชนชั้นและจากการมีชนชั้น ซึ่งจัดว่าเป็น
ปรากฏการณ์ทางสังคมนั้น สมาชิกส่วนหนึ่งย่อมจะมีความ
ต้องการเลื่อนชั้นทางสังคมและปัจจัยหนึ่งจะช่วยได้ก็คือ
การศึกษา เพราะ การศึกษาจะช่วยเพิ่มโอกาสในการได้รับตาแหน่ง
หน้าที่การงานที่สูงขึ้น มีเกียรติได้รับการยกย่อง
หน้าที่ที่สาคัญของสถาบันการศึกษา (ต่อ)
7. ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพเฉพาะของสมาชิกจากการเรียนรู้ในวิชา
ต่าง ๆ เขาอาจสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่องและกลาย
มาเป็นคุณสมบัติประจาตัวเขา เช่น ความรักในศิลปะและดนตรี
หรือความซาบซึ้งในวรรณกรรม ความสนใจทางการเมือง ฯลฯ
หน้าที่และความสาคัญของสถาบัน (ต่อ)
3. สถาบันศาสนา
ความหมายของศาสนา
คาว่า “ศาสนา” มาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Religion ซึ่งมาจาก
ภาษาลาติน คาว่า Religare หรือ Religere ซึ่งแปลว่า การรวมเข้า
ด้วยกันระหว่างสิ่งหนึ่งกับ อีกสิ่งหนึ่งโดยอธิบายว่า เป็น
ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับอานาจเหนือมนุษย์(พระเจ้า) …
ความหมายของศาสนา (ต่อ)
... ในทัศนะของชาวตะวันตก คาว่า “ศาสนา” ต้องมีลักษณะ ดังนี้
1. มีลักษณะความเชื่อที่ว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งในโลก
2. มีลักษณะความเชื่อว่า คาสอนต่าง ๆ มาจากพระเจ้า
3. มีหลักความเชื่อในคาสอนโดยไม่คานึงถึงข้อพิสูจน์ แต่อาศัย
อานุภาพของพระเจ้าเป็นเกณฑ์
4.มีหลักยอมมอบตนด้วยความจงรักภักดีต่อพระเจ้า
ความหมายของศาสนา (ต่อ)
ตามข้อตกลงของกลุ่มผู้วิจัยและเชื่อถือตามโครงสร้างพื้นฐานจิตใจ
ของประชาชนชาวไทยสาขาปรัชญา สภาวิจัยแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2506
กาหนดว่า ศาสนาต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
1. มีศาสดาผู้ตั้ง 2. มีหลักคาสอน
3. มีศาสนิก 4. มีพิธีกรรม
5. มีศาสนสถาน 6. มีสัญลักษณ์
สถาบันศาสนา (ต่อ)
หน้าที่ของสถาบันศาสนา
1. หน้าที่ของสถาบันทางศาสนานั้น มีทั้งสนองความต้องการเฉพาะ
บุคคลและต่อสังคม หน้าที่ของศาสนาที่มีต่อเฉพาะบุคคล เน้นที่ให้
ความมั่นคงในชีวิตและมีความหมายเกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้
2. เป็นปัจจัยช่วยให้เกิดความสงบทางจิตใจและนาไปสู่สุขภาพจิตที่ดี
อันจะมีผลต่อสุขภาพร่างกายด้วย
หน้าที่ของสถาบันศาสนา (ต่อ)
3. ให้ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยจากความกลัวและปลอดจากความวิตกกังวล
4. ให้พลังใจ เพราะเชื่อว่า มีสิ่งที่จะให้ความช่วยเหลือเป็นปัจจัยเสริมให้
เกิดกิจกรรมทั้งปวงทาให้มีโอกาสเอาชนะความลาบากอุปสรรคต่างๆได้
5. เป็นปัจจัยช่วยให้คนจัดระเบียบชีวิตและมีโอกาสประสบความสาเร็จ
และความสุขสูงสุดได้
สถาบันศาสนา (ต่อ)
หน้าที่ของศาสนาต่อสังคมนั้น มีดังต่อไปนี้
1. ช่วยในการควบคุมสังคมและจัดระเบียบสังคม
2. กาหนดศีลธรรมของสังคม
3. ช่วยสร้างค่านิยมและบรรทัดฐานของสังคม
4. ยึดเหนี่ยงสังคมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
หน้าที่และความสาคัญของสถาบัน (ต่อ)
4. สถาบันทางการเมืองการปกครอง
ความหมายของการปกครอง
การปกครอง คือ การใช้อานาจอธิปไตยในการบริหารรัฐ เพื่อความ
เป็นระเบียบเรียบร้อยและความสงบสุขแห่งรัฐนั้น
ความหมายของรัฐ รัฐเป็นชุมชนทางการเมืองที่มีอธิปไตย
อิสระภาพ มีอานาจบริหารภายในรัฐและยังมีอานาจต่อต้านอานาจ
ภายนอกที่เข้ามาเกี่ยวข้องก้าวก่ายภายในรัฐนั้น ๆ
สถาบันทางการเมืองการปกครอง (ต่อ)
องค์ประกอบของรัฐ คือ
1. ประชากรที่มีจานวนพอสมควรและอาศัยอยู่ในดินแดน
ที่แน่นอน
2. ดินแดนอันมีอาณาเขตแน่นอนมั่นคง
3. รัฐบาลเป็นหน่วยงานกาหนดนโยบายปกครองและนา
นโยบายที่มีอยู่ไปใช้ให้ได้ผล
สถาบันทางการเมืองการปกครอง (ต่อ)
รูปแบบของการปกครอง
รูปแบบของการปกครองพอจะแยกได้เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
1. การปกครองแบบเผด็จการ
2. การปกครองแบบประชาธิปไตย
รูปแบบของการปกครอง (ต่อ)
1. การปกครองแบบเผด็จการ หมายถึง การปกครองที่
กาหนดและจากัดอานาจอธิปไตยของรัฐโดยบุคคลหรือ
คณะบุคคลที่เข้ามาดาเนินการบริหารรัฐนั้น ๆ แบ่งได้เป็น
2 รูปแบบ คือ
1.1 แบบอัตตาธิปไตย (Autocracy)
1.2 แบบคณาธิปไตย (Oligarchy)
การปกครองแบบเผด็จการ (ต่อ)
1.1 แบบอัตตาธิปไตย (Autocracy) เป็นการปกครองที่
ผูกขาดการมีการใช้อานาจอธิปไตยไว้ที่บุคคลคนเดียว
และผู้เผด็จการมักอ้างงานหรือประโยชน์ของรัฐเป็นสิ่ง
สาคัญเหนือกว่าความสาคัญของศักดิ์ศรีและคุณค่าของ
มนุษย์เช่น ราชาธิปไตย และฟาสซิสม์
1.2 แบบคณาธิปไตย (Oligarchy) เป็นการปกครองจาก
กลุ่มคนที่มีและใช้อานาจอธิปไตยแบบผูกขาดโดยคณะ
บุคคล เช่น อภิชนาธิปไตย และคอมมิวนิสต์
รูปแบบของการปกครอง (ต่อ)
2. การปกครองแบบประชาธิปไตย หมายถึง การปกครองที่อานาจอธิปไตย
มาจากประชาชนโดยประชาชนและเพื่อประชาชน แบ่งออกได้ดังนี้
2.1 ประชาธิปไตยแบบบริสุทธิ์หรือโดยตรง (Pure Democracy)
สาหรับรัฐที่มีประชากรมาก ๆ จึงต้องพยายามให้ประชาชนส่วนใหญ่มี
โอกาสปกครองตนเองเต็มที่ ด้วยการเลือกผู้แทนเข้าไปมีอานาจตัดสินใจ
แทนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม โดยแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ
1)ระบบรัฐสภา
2)ระบบประธานาธิบดี
ประชาธิปไตยแบบบริสุทธิ์หรือโดยตรง (ต่อ)
1) ระบบรัฐสภา ผู้แทนราษฎรใช้อานาจโดยทางรัฐสภา เพื่อเลือก
คณะรัฐบาลขึ้นมาบริการรัฐและควบคุมการดาเนินงานของรัฐบาล
2) ระบบประธานาธิบดี ประชาชนเลือกตั้งประธานาธิบดีหรือ
ผู้แทนราษฎรเลือกประธานาธิบดีขึ้นมาเป็นผู้นาทางการเมืองของ
รัฐ ดาเนินการบริหารรัฐ อานาจนิติบัญญัติ อานาจประธานาธิบดี
และศาล แยกจากกันและเท่าเทียมกัน
สถาบันการเมืองการปกครอง (ต่อ)
หน้าที่ของสถาบันการปกครอง
1. เพื่อระงับข้อขัดแย้งระหว่างบุคคล ความขัดแย้งมักจะเกิดขึ้นอยู่
เสมอในสังคมมนุษย์ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากความแตกต่างระหว่าง
คุณค่าหรือจุดหมายปลายทางหรืออาจจะเกิดจากพฤติกรรมที่ขัดต่อ
สังคมจนกระทั่งเป็นอันตรายต่อบุคคลอื่น ๆ
หน้าที่ของสถาบันการปกครอง (ต่อ)
2. เพื่อคุ้มครองบุคคลให้ปลอดภัย พ้นจากการละเมิดใด ๆ และ
ได้รับหลักประกันในสิทธิเสรีภาพ
3. รักษาความสงบเรียบร้อยส่งเสริมความมั่นคงและสวัสดิการทาง
สังคมโดยวิธีบัญญัติกฎหมายขึ้นใช้และควบคุมให้มีการปฏิบัติตาม
กฎหมาย
หน้าที่และความสาคัญของสถาบัน (ต่อ)
5. สถาบันทางเศรษฐกิจ
ความหมาย “เศรษฐกิจ” เป็นเรื่องของการครองชีพหรือมาตรฐาน
การครองชีพของมนุษย์หรือเป็นเรื่องการเป็นอยู่ของมนุษย์ใน
สังคม
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้คานิยามคาว่า
“เศรษฐกิจ” หมายถึง งานเกี่ยวกับการผลิต การจาหน่ายจ่ายแจก
และการบริโภคใช้สอยต่าง ๆ ของชุมชน ...
สถาบันทางเศรษฐกิจ (ต่อ)
... สถาบันเศรษฐกิจมีเป้าหมายอยู่ที่การอยู่ดีกินดีของประชาชน
ดังนั้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจจึงเกี่ยวข้องกับกรรมวิธีที่จะก่อให้เกิด
ความมั่งมี การอยู่ดีกินดี หรืออย่างน้อยก็เพื่อการมีกินมีใช้ของ
ประชาชน กรรมวิธีที่ดาเนินการมักขึ้นอยู่กับปรัชญาทางเศรษฐกิจ
ของผู้มีบทบาทอานาจหน้าที่ทางเศรษฐกิจของสังคมนั้น ๆ เพื่อจะ
กาหนดว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจควรจะดาเนินไปในรูปแบบใด จะ
ให้ประชาชนมีสิทธิในการดาเนินการผลิตเอง มีกรรมสิทธิ์ใน
ทรัพย์สิน รัฐจะเข้าควบคุมหรือปล่อยให้ เอกชนดาเนินงานอย่าง
เสรี ฯลฯ เหล่านี้ เป็นวิธีการซึ่งเป้าหมาย คือ การมีกินมีใช้
สถาบันทางเศรษฐกิจ (ต่อ)
ระบบเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจ ซึ่งพอจะจาแนกออกได้เป็น 3 ระบบใหญ่ ๆ ดังนี้
1. เศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism)
2. เศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (Socialism)
3. เศรษฐกิจระบบคอมมิวนิสต์ (Communism)
ระบบเศรษฐกิจ (ต่อ)
1. เศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism) เป็นระบบเศรษฐกิจที่ยึดถือ
ปรัชญาที่ว่า ประชาชนควรมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่าง ๆ รัฐเปิดโอกาส
ให้เอกชน ลงทุนประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เปิดโอกาสให้ประชาชน
มีเสรีภาพในการผลิตและแข่งขันกันอย่างเสรี
เศรษฐกิจแบบทุนนิยมเน้นในเรื่องการใช้เงินตราแลกเปลี่ยนและการเป็น
เจ้าของกิจการหรือนายทุน ซึ่งนายทุนนั้น คือ ประชาชน มิใช่รัฐบาล
ทรัพย์สินต่าง ๆ ที่ประชาชนจะมีกรรมสิทธิ์ได้นั้น รวมทั้งถนนหนทาง
โรงเรียน ระบบสื่อสารไปรษณีย์ฯลฯ
ระบบเศรษฐกิจ (ต่อ)
2. เศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (Socialism) ระบบเศรษฐกิจแบบนี้ยังคง
ยอมรับสิทธิในการถือครองกรรมสิทธิ์ของประชาชนอยู่ แต่มีลักษณะที่
แตกต่างไปจากระบบทุนนิยม คือ กิจกรรมหลักทางเศรษฐกิจ เช่น
อุตสาหกรรมพื้นฐานและปัจจัยการผลิต รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติ เป็น
ภาระหน้าที่ของรัฐบาลที่จะดาเนินการ เพื่อสนองความต้องการของ
ประชาชน นอกจากนั้น กิจกรรมพื้นฐานที่รัฐไม่ได้ ดาเนินการเอง เช่น
การขนส่ง การสื่อสาร การอุตสาหกรรมบางประเภทที่จาเป็นสาหรับการ
ดาเนินชีวิตของสาธารณชน รัฐบาลจะเป็นฝ่ายกาหนดกฎเกณฑ์และตรวจ
ตราเพื่อให้เจ้าของหรือผู้รับสัมปทานดาเนินตาม
ระบบเศรษฐกิจ (ต่อ)
3. เศรษฐกิจระบบคอมมิวนิสต์ (Communism) เป็นระบบเศรษฐกิจที่มี
ปรัชญาว่า ไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินส่วนบุคคล ทรัพย์สินทั้งหมดเป็น
ของรัฐ จุดมุ่งหมายก็เพื่อให้มีการแบ่งสรรปันส่วนความร่ารวย การอยู่ดี
กินดีอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีใครมีสิทธิพิเศษ รัฐเป็นผู้ดาเนินการในการ
ผลิตทั้งหมดเพื่อประชาชนทั้งมวล
สถาบันทางเศรษฐกิจ (ต่อ)
หน้าที่ของสถาบันเศรษฐกิจ
หน้าที่สาคัญของสถาบันเศรษฐกิจมีดังนี้ คือ
1. บาบัดความต้องการทางเศรษฐกิจ เช่น มีการผลิต การแบ่งเป็นวัตถุหรือ
บริการที่มนุษย์มีความต้องการบริโภค
2. ให้ความสะดวกแก่มนุษย์ในการใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจเช่นระบบเงินเชื่อ
การใช้เงินตราจัดให้มีการแบ่งงานตลอดระบบผลกาไรค่าจ้างและดอกเบี้ย
3. พัฒนาและสร้างความเจริญก้าวหน้าในทางเศรษฐกิจ เพื่อความอุดม
สมบูรณ์และความมั่นคงในด้านนี้แก่สมาชิกในสังคม
4. ช่วยเหลือในการบริโภคให้เป็นไปได้อย่างเพียงพอและทั่วถึงให้มากที่สุด
หน้าที่และความสาคัญของสถาบัน (ต่อ)
6. สถาบันนันทนาการ
ความหมายคาว่า นันทนาการ หมายถึง ที่คนเราใช้เวลาว่างให้เป็น
ประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวม เช่น การชมภาพยนต์การเล่นกีฬา การ
ทางานอดิเรกที่ตนชอบ หรือการร่วมพัฒนาชุมชน เป็นต้น...
ความหมายนันทนาการ (ต่อ)
… “นันทนาการ” ในความหมายทางสังคมศาสตร์ หมายถึง “กิจกรรมใดที่
บุคคลเข้าร่วมทาเพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ด้วยความสมัครใจและ
เมื่อกระทาแล้วเกิดความสุขกายสบายใจสนุกสนานร่าเริง”
กล่าวได้ว่า สถาบันการนันทนาการมีบทบาทสาคัญในการปฏิบัติหน้าที่
เพื่อประโยชน์ในการพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในรูปของการกีฬา
และการบันเทิงในสังคม
ตอนที่ 3 การจัดลาดับช่วงชั้นทางสังคม
• ความหมายของการจัดลาดับช่วงชั้นทางสังคม
• รูปแบบของการจัดลาดับช่วงชั้นทางสังคม
• เกณฑ์ในการจัดชนชั้นทางสังคม
• การขัดกันทางชนชั้น
ตอนที่ 3 การจัดลาดับช่วงชั้นทางสังคม
ความหมายของการจัดลาดับช่วงชั้นทางสังคม
การจัดลาดับช่วงชั้นทางสังคม หมายถึง การที่บุคคลในสังคมได้ถูก
จัดแบ่งเป็นชั้น ๆ โดยมีระบบของอันดับชี้ให้เห็นว่า คนที่อยู่ใน
ตาแหน่งหรือฐานะนั้น ๆ มีเกียรติหรือได้รับการยกย่องอยู่ในอันดับ
ที่สูงกว่า เท่ากัน หรือต่ากว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ อยู่ในฐานะอื่น
ๆ ในสังคมเดียวกัน ชั้นของบุคคลแสดงให้เห็นถึงความแตกต่าง
ของบุคคลหรือของกลุ่มบุคคลที่อยู่ในสังคม บุคคลที่มีฐานะทาง
สังคมคนละชั้นจะมีความเท่าเทียมกันในสิทธิหน้าที่ ความ
รับผิดชอบ อานาจ อิทธิพล แบบแผนชีวิต ตลอดจนความ
สะดวกสบาย ความมีหน้าทีตาในสังคมแตกต่างกัน ...
ความหมายของการจัดลาดับช่วงชั้นทางสังคม (ต่อ)
... บุคคลที่เกิดมาและมีชีวิตอยู่ในสังคมจะต้องเป็นสมาชิกของชน
ชั้นใดชนชั้นหนึ่งเสมอ แต่บุคคลอาจเปลี่ยนฐานะของตนได้
กล่าวคือ เริ่มแรกอาจเป็นคนชั้นต่า แต่ได้รับการศึกษาเล่าเรียนและ
รับราชการดารงตาแหน่งสูง เขาก็จะเป็นคนชั้นสูงของสังคมได้ แต่
บุคคลดังที่กล่าวนี้ พบเห็นได้ยากส่วนมากแล้วบุคคลที่เป็นสมาชิก
ของชนชั้นใด มักจะเป็นสมาชิกของชนชั้นนั้นไปชั่วชีวิตของเขา
รูปแบบของการจัดลาดับช่วงชั้นทางสังคม
การจัดลาดับชนชั้นทางสังคมเป็นระบบซึ่งใช้แบ่งแยกระดับความ
แตกต่างของตาแหน่งของแต่ละบุคคล ตลอดจนการเปลี่ยนแปลง
ระดับของคนในแต่ละสังคม แต่ละบุคคล แต่ละกลุ่ม การจัดลาดับ
ชนชั้นทางสังคม แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1) วรรณะ (Caste)
2) ฐานันดร (Estate)
3) ชนชั้น (Class)
หน่วยที่ 2 กลุ่มสังคม สถาบันและการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม
หน่วยที่ 2 กลุ่มสังคม สถาบันและการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม
หน่วยที่ 2 กลุ่มสังคม สถาบันและการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม
หน่วยที่ 2 กลุ่มสังคม สถาบันและการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม
หน่วยที่ 2 กลุ่มสังคม สถาบันและการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม
หน่วยที่ 2 กลุ่มสังคม สถาบันและการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม
หน่วยที่ 2 กลุ่มสังคม สถาบันและการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม
หน่วยที่ 2 กลุ่มสังคม สถาบันและการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม
หน่วยที่ 2 กลุ่มสังคม สถาบันและการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม
หน่วยที่ 2 กลุ่มสังคม สถาบันและการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม
หน่วยที่ 2 กลุ่มสังคม สถาบันและการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม
หน่วยที่ 2 กลุ่มสังคม สถาบันและการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม
หน่วยที่ 2 กลุ่มสังคม สถาบันและการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม
หน่วยที่ 2 กลุ่มสังคม สถาบันและการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม
หน่วยที่ 2 กลุ่มสังคม สถาบันและการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม
หน่วยที่ 2 กลุ่มสังคม สถาบันและการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม
หน่วยที่ 2 กลุ่มสังคม สถาบันและการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม
หน่วยที่ 2 กลุ่มสังคม สถาบันและการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม
หน่วยที่ 2 กลุ่มสังคม สถาบันและการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม
หน่วยที่ 2 กลุ่มสังคม สถาบันและการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม
หน่วยที่ 2 กลุ่มสังคม สถาบันและการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม
หน่วยที่ 2 กลุ่มสังคม สถาบันและการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม
หน่วยที่ 2 กลุ่มสังคม สถาบันและการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม
หน่วยที่ 2 กลุ่มสังคม สถาบันและการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม
หน่วยที่ 2 กลุ่มสังคม สถาบันและการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม
หน่วยที่ 2 กลุ่มสังคม สถาบันและการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม

More Related Content

What's hot

แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศ
แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศแบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศ
แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศkrupornpana55
 
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรีถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรีWarodom Techasrisutee
 
สารคดีท่องเที่ยว แอ่วเหนือเมื่อหน้าหนาว
สารคดีท่องเที่ยว   แอ่วเหนือเมื่อหน้าหนาวสารคดีท่องเที่ยว   แอ่วเหนือเมื่อหน้าหนาว
สารคดีท่องเที่ยว แอ่วเหนือเมื่อหน้าหนาวwaraporny
 
โครงสร้างและหน้าที่ของราก
โครงสร้างและหน้าที่ของรากโครงสร้างและหน้าที่ของราก
โครงสร้างและหน้าที่ของรากThanyamon Chat.
 
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบันหน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบันPaew Tongpanya
 
พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)51
พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)51พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)51
พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)51Krusupharat
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องKittichai Pinlert
 
ตัวอย่างบทที่1 บทนำ เล่มโปรเจ็ค
ตัวอย่างบทที่1 บทนำ เล่มโปรเจ็คตัวอย่างบทที่1 บทนำ เล่มโปรเจ็ค
ตัวอย่างบทที่1 บทนำ เล่มโปรเจ็คtumetr1
 
ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011
ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011
ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011Namthip Theangtrong
 
แบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
แบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีแบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
แบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีืkanya pinyo
 
แบบฝึกหัดที่ 3 ส่วนประกอบของต้นไม้
แบบฝึกหัดที่ 3 ส่วนประกอบของต้นไม้แบบฝึกหัดที่ 3 ส่วนประกอบของต้นไม้
แบบฝึกหัดที่ 3 ส่วนประกอบของต้นไม้Wann Rattiya
 
การคายน้ำและการแลกเปลี่ยนแก๊ส
การคายน้ำและการแลกเปลี่ยนแก๊สการคายน้ำและการแลกเปลี่ยนแก๊ส
การคายน้ำและการแลกเปลี่ยนแก๊สThanyamon Chat.
 
การเลิกไพร่
การเลิกไพร่การเลิกไพร่
การเลิกไพร่PakChee
 
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6 กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6 Bom Anuchit
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกพัน พัน
 
Lab การไทเทรต
Lab การไทเทรตLab การไทเทรต
Lab การไทเทรตJariya Jaiyot
 
ระบบสมการเชิงเสัน
ระบบสมการเชิงเสันระบบสมการเชิงเสัน
ระบบสมการเชิงเสันkroojaja
 
โครงสร้างสาระวิทย์ป.4
โครงสร้างสาระวิทย์ป.4โครงสร้างสาระวิทย์ป.4
โครงสร้างสาระวิทย์ป.4supphawan
 

What's hot (20)

แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศ
แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศแบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศ
แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยระบบนิเวศ
 
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรีถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
ถอดคำประพันธ์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
 
สารคดีท่องเที่ยว แอ่วเหนือเมื่อหน้าหนาว
สารคดีท่องเที่ยว   แอ่วเหนือเมื่อหน้าหนาวสารคดีท่องเที่ยว   แอ่วเหนือเมื่อหน้าหนาว
สารคดีท่องเที่ยว แอ่วเหนือเมื่อหน้าหนาว
 
โครงสร้างและหน้าที่ของราก
โครงสร้างและหน้าที่ของรากโครงสร้างและหน้าที่ของราก
โครงสร้างและหน้าที่ของราก
 
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบันหน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
 
พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)51
พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)51พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)51
พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)51
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
เสียง
เสียงเสียง
เสียง
 
2ตัวอย่างนำเสนอโครงการ
2ตัวอย่างนำเสนอโครงการ2ตัวอย่างนำเสนอโครงการ
2ตัวอย่างนำเสนอโครงการ
 
ตัวอย่างบทที่1 บทนำ เล่มโปรเจ็ค
ตัวอย่างบทที่1 บทนำ เล่มโปรเจ็คตัวอย่างบทที่1 บทนำ เล่มโปรเจ็ค
ตัวอย่างบทที่1 บทนำ เล่มโปรเจ็ค
 
ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011
ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011
ชีทสรุประบบสืบพันธุ์และการเจริญ 2011
 
แบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
แบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีแบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
แบบฝึกหัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
 
แบบฝึกหัดที่ 3 ส่วนประกอบของต้นไม้
แบบฝึกหัดที่ 3 ส่วนประกอบของต้นไม้แบบฝึกหัดที่ 3 ส่วนประกอบของต้นไม้
แบบฝึกหัดที่ 3 ส่วนประกอบของต้นไม้
 
การคายน้ำและการแลกเปลี่ยนแก๊ส
การคายน้ำและการแลกเปลี่ยนแก๊สการคายน้ำและการแลกเปลี่ยนแก๊ส
การคายน้ำและการแลกเปลี่ยนแก๊ส
 
การเลิกไพร่
การเลิกไพร่การเลิกไพร่
การเลิกไพร่
 
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6 กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
 
Lab การไทเทรต
Lab การไทเทรตLab การไทเทรต
Lab การไทเทรต
 
ระบบสมการเชิงเสัน
ระบบสมการเชิงเสันระบบสมการเชิงเสัน
ระบบสมการเชิงเสัน
 
โครงสร้างสาระวิทย์ป.4
โครงสร้างสาระวิทย์ป.4โครงสร้างสาระวิทย์ป.4
โครงสร้างสาระวิทย์ป.4
 

Similar to หน่วยที่ 2 กลุ่มสังคม สถาบันและการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม

หน่วยที่ 2 วิชา สังคมเศรษฐกิจ..
หน่วยที่ 2 วิชา สังคมเศรษฐกิจ..หน่วยที่ 2 วิชา สังคมเศรษฐกิจ..
หน่วยที่ 2 วิชา สังคมเศรษฐกิจ..Chalit Arm'k
 
บทความการเรียนแบบร่วมมือ
บทความการเรียนแบบร่วมมือบทความการเรียนแบบร่วมมือ
บทความการเรียนแบบร่วมมือjoongka3332
 
การเรียนรู้แบบร่วมมือ
การเรียนรู้แบบร่วมมือการเรียนรู้แบบร่วมมือ
การเรียนรู้แบบร่วมมือSukanya Burana
 
การเรียนรู้แบบร่วมมือ
การเรียนรู้แบบร่วมมือการเรียนรู้แบบร่วมมือ
การเรียนรู้แบบร่วมมือSukanya Burana
 
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่  2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องบทที่  2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องmoohhack
 
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคม
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคมหน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคม
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคมChalit Arm'k
 
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education Weerachat Martluplao
 
เทคนิคการสอน กระบวนการกลุ่ม
เทคนิคการสอน  กระบวนการกลุ่มเทคนิคการสอน  กระบวนการกลุ่ม
เทคนิคการสอน กระบวนการกลุ่มJunya Punngam
 
Participatory action research
Participatory action researchParticipatory action research
Participatory action researchUltraman Taro
 
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบ 4 mat
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบ 4 matเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบ 4 mat
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบ 4 matSiriphan Kristiansen
 
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคมหน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคมChalit Arm'k
 
จิตวิทยาการเรียนร้2
จิตวิทยาการเรียนร้2จิตวิทยาการเรียนร้2
จิตวิทยาการเรียนร้2kungcomedu
 
การแนะแนวและให้คำปรึกษา
การแนะแนวและให้คำปรึกษาการแนะแนวและให้คำปรึกษา
การแนะแนวและให้คำปรึกษาAoun หมูอ้วน
 

Similar to หน่วยที่ 2 กลุ่มสังคม สถาบันและการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม (20)

หน่วยที่ 2 วิชา สังคมเศรษฐกิจ..
หน่วยที่ 2 วิชา สังคมเศรษฐกิจ..หน่วยที่ 2 วิชา สังคมเศรษฐกิจ..
หน่วยที่ 2 วิชา สังคมเศรษฐกิจ..
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๕
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๕แผนการจัดการเรียนรู้ที่๕
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๕
 
บทความการเรียนแบบร่วมมือ
บทความการเรียนแบบร่วมมือบทความการเรียนแบบร่วมมือ
บทความการเรียนแบบร่วมมือ
 
การเรียนรู้แบบร่วมมือ
การเรียนรู้แบบร่วมมือการเรียนรู้แบบร่วมมือ
การเรียนรู้แบบร่วมมือ
 
การเรียนรู้แบบร่วมมือ
การเรียนรู้แบบร่วมมือการเรียนรู้แบบร่วมมือ
การเรียนรู้แบบร่วมมือ
 
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่  2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องบทที่  2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
 
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคม
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคมหน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคม
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคม
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1
 
Random 120812202117-phpapp01
Random 120812202117-phpapp01Random 120812202117-phpapp01
Random 120812202117-phpapp01
 
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education
 
51105
5110551105
51105
 
เทคนิคการสอน กระบวนการกลุ่ม
เทคนิคการสอน  กระบวนการกลุ่มเทคนิคการสอน  กระบวนการกลุ่ม
เทคนิคการสอน กระบวนการกลุ่ม
 
Participatory action research
Participatory action researchParticipatory action research
Participatory action research
 
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบ 4 mat
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบ 4 matเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบ 4 mat
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนแบบ 4 mat
 
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคมหน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม
 
Learning Style
Learning StyleLearning Style
Learning Style
 
จิตวิทยาการเรียนร้2
จิตวิทยาการเรียนร้2จิตวิทยาการเรียนร้2
จิตวิทยาการเรียนร้2
 
การแนะแนวและให้คำปรึกษา
การแนะแนวและให้คำปรึกษาการแนะแนวและให้คำปรึกษา
การแนะแนวและให้คำปรึกษา
 
R61(1)
R61(1)R61(1)
R61(1)
 
ม.ค.อ.3เหตุการณ์โลกฯ 2 52557(2558)
ม.ค.อ.3เหตุการณ์โลกฯ 2 52557(2558)ม.ค.อ.3เหตุการณ์โลกฯ 2 52557(2558)
ม.ค.อ.3เหตุการณ์โลกฯ 2 52557(2558)
 

หน่วยที่ 2 กลุ่มสังคม สถาบันและการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคม