SlideShare a Scribd company logo
1 of 10
Download to read offline
รายงานถอดความ จากเวที อุดมธรรม พลังปัญญา
ภายใต้ โครงการสร้างนักปราชญ์จากนักวิชาการ
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรภัทร์ ภู่เจริญ
อดีตนักวิทยาศาสตร์นาซ่า ผู้ใช้หลักการบริหารแบบพุทธะ
จัดโดย
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรม
ผู้นำเสนอ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรภัทร์ ภู่เจริญ
อดีตนักวิทยาศาสตร์นาซ่า ผู้ใช้หลักการบริหารแบบพุทธะ
รายงานถอดความ จากเวที อุดมธรรม พลังปัญญา โครงการสร้างนักปราชญ์จากนักวิชาการ
ผู้ถอดความ: ณัฐธิดา เย็นบำรุง
บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล
ทีมบรรณาธิการ: ณัฐธิดา เย็นบำรุง กฤตภัค พรหมมานุวัติ
อำนวยการผลิตโดย: สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ และมูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ
สนับสนุนโดย: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ปีที่เผยแพร่: เมษายน 2565
www.klangpanya.in.th
ที่อยู่
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
220/104 เลควิวคอนโด อาคารสุพีเรียร์ เมืองทองธานี ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทร. 084-112-0632
1
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรม1
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรภัทร์ ภู่เจริญ
การเรียนรู้ สมองต้องมีการปรับ Mood and Tone ผมชอบการเรียนการสอนสมัยใหม่ที่เรียกว่า
Immersive Learning คือ การให้ผู้เรียนดำดิ่งกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะต้องค้นหาตัวเองให้เจอ อยู่กับเรื่องใด
เรื่องหนึ่งเลย 20 ชั่วโมง ต่อเนื่อง เช่น เด็กประถม จะให้รู้จักสมุนไพร ต้องพาเขาไปอยู่หมู่บ้านสมุนไพรสักแห่ง
หนึ่งนาน ๆ เสร็จแล้วมาแลกเปลี่ยนกัน หรือพาเด็กไปไปโรงพยาบาล เห็นเลือดแล้วรู้สึกอย่างไร อยากรักษา
ไหม แล้วค่อยเรียนหมอ อันที่จริง หมอไม่เป็นต้องเรียนเมืองไทย เมืองไทยเรียนยาก เรียนต่างประเทศดีกว่า
เมืองไทยบังคับมหาวิทยาลัย 4 ปีมากเกินไป ต่างประเทศอายุเท่าไหร่ก็เรียนหมอได้
พวกอาจารย์เป็นกลุ่มที่มีอัตตาสูงมาก และไม่มีที่ปรึกษาคอยชี้แนะ อาจารย์จะไม่เห็นตัวเอง เพราะใช้
เวลาทั้งชีวิตเพื่อสอนคนอื่น ไม่มีใครกล้าสอนอาจารย์ อาจารย์ที่ขึ้นมาบริหารงานเหนื่อยที่สุด เพราะบริหาร
เรื่อง “คน” เหนื่อยบริหารคน บริหารอาจารย์ยากมาก หากอาจารย์ไปทำงานบริษัทเอกชนจะต้องถูกประเมิน
หลายชั้น หากจะทำงานร่วมกับคนอื่นต้องผ่านการประเมิน หากไม่ผ่านก็เป็นเพียงแค่คนรับจ้างทำวิจัย ไม่
สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ รอฟังคำสั่งอย่างเดียว การจะประเมินคนเพื่อไปเป็นตำแหน่งสูง ๆ ประเมินทาง
ความรู้ไม่มีประโยชน์ เพราะจ้างคนอื่นทำได้ แต่การประเมินทัศนคติ นิสัย เป็นสิ่งที่สำคัญกว่า ผู้นำต้อง “เก่ง
คน” และมี Solution Based
ความสุขทางโลกและความสุขทางธรรม
ว่าด้วยเรื่อง ความสุข (Happiness) นิยามความสุขแต่ละคนไม่เหมือนกัน ผมแบ่งเป็น 2 เรื่อง หนึ่ง
ความสุขทางโลก ส่วนใหญ่คือเรื่องเงินเป็นหลัก ก็เป็นไปตามลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow's
Hierarchy of Needs) แต่จริง ๆ ขั้นที่ 4 ขั้นที่ 5 ของมาสโลว์ ความต้องการพัฒนาศักยภาพตนเอง อันที่จริง
ต้องสอนตั้งแต่ประถม หาตัวเองให้เจอ และค่อยไปเลือกอาชีพ ต้องเรียนแบบด่ำดิ่งให้เข้าใจตัวเองว่าต้องการ
อะไร ค่อยเลือกว่าจะเรียนอะไรแบบลึก ๆ เพื่อเป็นอาชีพนั้น สมัยผมเรียนวิศวกรรมที่องค์การนาซ่าต้องเรียน
ด้วยการเอาโจทย์สังคมเป็นที่ตั้ง แล้วค่อยมานั่งคุยกัน แล้วมากำหนดวิชาที่ต้องเรียน
1 ถอดความจากงาน “อุดมธรรม พลังปัญญา” ระดมความคิด ยกระดับการเรียนรู้ของนักวิชาการเพื่อพัฒนาชีวิตและปัญญา จัดโดยกระทรวง
การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง
เสริมสุขภาวะ (สสส.) ในวันที่ 24มีนาคม พ.ศ. 2565ณ ห้องโถงชั้น 1 อาคารสวทช. กระทรวง อว.
2
ถ้าผมเปิดคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผมจะไม่สอนเรื่องความรู้ เพราะความรู้มีมากมายใน Youtube แต่
ผมจะสอนวิธีการใช้ความรู้เชื่อมกับสังคม และปัจจุบันโจทย์เปลี่ยนไปแล้ว การบริหารมหาวิทยาลัยก็ต้อง
เปลี่ยน ต้องเปลี่ยนเป็น Government-Linked Companies (GLCs) ให้รัฐถือหุ้น 40 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือ
เอกชน บริหารแบบใหม่
ความสุขทางโลก คือ การสุขจากการ Achievement นักวิจัย นักวิชาการประสบความสำเร็จตรงไหน
อยู่ตรงที่ Tiny Success งานวิจัยค่อย ๆ ขยับไปเรื่อยจนนำไปสู่เรื่องที่ยิ่งใหญ่ ผมยกตัวอย่าง เศรษฐีบางทีเขา
ไม่ได้ต้องการเงิน แต่สนุกกับความสำเร็จ และหยุดไม่ได้ ผมจึงมีหน้าที่ทำอย่างไรให้เศรษฐีทั้งหมด ให้ช่วยสังคม
ช่วยแผ่นดิน อย่าด่าเศรษฐี เพราะเศรษฐีจะช่วยสังคมได้มาก จับเศรษฐีให้เข้าใจการศึกษา เลยออกมาเป็น
รูปแบบประชารัฐ (Connected)
สอง ความสุขทางธรรม สุขทางธรรมไม่ใช่ต้องไปวัด สุขอยู่ที่ไหน ธรรมะคือการทำงาน (ท่านพุทธทาส
สอน) การทำงานคือหน้าที่ สุขที่สูงสุดเลยก็คือ ถ้าพูดแบบมหายาน ทุกวันนี้เราทำเพื่อใคร ถ้าเป้าหมายทำเพื่อ
แผ่นดิน ทำเพื่อคนอื่น สุขจะเกิดขึ้นเอง หากทำเพื่อสังคมและคนอื่นแล้วจะมีเหตุการณ์เกิดขึ้น คือ กฎแห่งแรง
ดึงดูด สังเกตอาจารย์ดี ๆ ในมหาวิทยาลัย ลูกศิษย์จะรักมาก เพราะท่านสุขข้างใน ท่านทำเพื่อคนอื่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏ ราชมงคล อย่าตามมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ต้องเป็นตัวของตัวเอง ต้องนอกกรอบ
เพราะเป็น Community Collage ในอนาคตสังคมเมืองกำลังล่มสลาย มหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ อาจจะไปไม่
รอด แต่ประเทศไทยเป็นประเทศอาหาร โควิดเกิดขึ้นแล้ว ประเทศไทยก็ยังอยู่ได้ ไทยเป็นมหาอำนาจทาง
ความสุข ตรงนี้ต่างหากที่มหาวิทยาลัยราชภัฏ และราชมงคลตอบโจทย์มาก โลกอนาคตต่อให้ไอทีจะเก่งแค่
ไหน ก็ต้องมีช่างทำงานอยู่ดี เพราะฉะนั้น อย่าดูถูกตัวเอง อย่าตั้งราคาต่ำ ต้องตั้งราคาแพงๆ มหาวิทยาลัยต้อง
ทำให้มาก คณะต้องทำให้มาก ยิ่งทำยิ่งทำให้เห็นปัญญา แล้วเราจะเห็นเลยว่าจีนและฝรั่งธรรมดา เพราะ
มหาวิทยาลัยไทยก็ทำได้
อาจารย์ต้องหัดคบนักการตลาด หัดคบคนนอก คบนักสร้าง Image อย่าคบกันเอง คุณต้อง Asking
for Help นี่คือกฎข้อที่หนึ่งของโรงเรียนในฟินแลนด์ เรื่องการตัดเกรดในฟินแลนด์ จะใช้วิธีดูเรื่อง Help เป็น
หลัก ส่วนวิชาการไว้ทีหลัง ตัดเกรดที่นิสัย ห้ามทิ้งใครไว้ข้างหลัง ใครเรียนไม่รู้เรื่อง ต้องช่วยให้ผ่าน ต้อง No
One Left Behind หากมีคนสอบตก ให้ตกทั้งห้อง เพราะถือว่าเราทิ้งเขา ไม่ช่วยเหลือเขา เพราะทุกคนมีเรื่อง
ที่ตัวเองเก่ง ห้ามล้อเลียนเขา ห้ามดูถูกเขาว่าเขาไม่เก่ง หากเด็กโตขึ้นมา ควรสอนเรื่องความกล้าหาญ
(Courage) อาจารย์ต้องกล้าทำเพื่อแผ่นดิน แม้จะกลัว ก้าวข้ามความกล้าตรงนี้ ไม่ต้องสนใจเสียงด่า เสียง
คัดค้าน ทำต่อไป ทำเพื่อสังคมต่อไป เพราะเราคือนักรบที่ช่วยสังคมในคราบครูบาอาจารย์ การต่อสู้ทางปัญญา
สำคัญที่สุด
3
มหาวิทยาลัยราชภัฏ ราชมงคล ไม่จำเป็นต้องแข่งกับธรรมศาสตร์หรือจุฬา มีจุดแข็งของตนเอง มี
ความเชี่ยวชาญเฉพาะของตนเอง ในเรื่องอนาคตเขาสนใจเรื่องทักษะ ไม่ใช่วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ราช
มงคล มีงานวิจัยช่วยชุมชนจำนวนมาก ในโลกอนาคตคนเรียนสังคมศาสตร์มีประโยชน์ ให้คณะสังคมศาสตร์
จับคู่คณะวิศวกรรมศาสตร์ กลายเป็น Social Engineer นักวิศวกรสังคม หากออกแบบตึก ต้องคิดถึงสังคม
ด้วย หลายคณะควรจับคู่กันเช่น วิศวกรรมจับคู่กับกฎหมาย คณะไอทีจับคู่กับคณะนิเทศศาสตร์ เป็นต้น
ในอนาคตคน Gen X จะมีปัญหาที่สุด เพราะภาษาไม่ได้ มีการสื่อสารแบบเก่า ไม่ทำงานเป็นทีม
เพราะผ่านระบบการศึกษาแบบตัดเกรดมาโดยตลอด การตัดเกรดทำลายมนุษย์ ตอนเรียนเรียนคนเดียว แต่
ตอนทำงานต้องทำงานเป็นทีม ต้องเปลี่ยนระบบการศึกษา อาจารย์ต้องคิดใหม่ ไม่งั้นจะยิ่งทำลายประเทศ
การสอนนักศึกษาต้องสอนให้เขาทำงานเป็นทีมให้ได้ เพราะเวลาทำงานจริง ทำงานเป็นทีม เวลาผม
สัมภาษณ์เด็กเข้าทำงาน ผมสัมภาษณ์เป็นทีม แล้วให้กรณีศึกษา ให้ทีมแก้ร่วมกัน ขอดูผลงานทีม โดยเฉพาะ
ความล้มเหลวในอดีต นี่เป็นการรับสมัครงานของผม เด็กส่วนใหญ่ก็มักจะไม่ค่อยผ่าน หากผ่านผมจะจ้างทั้งทีม
เด็กราชภัฎ ราชมงคล ต้องทำให้ได้แบบนี้ ให้เป็นจุดแข็งของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ราชมงคล ที่ชนะ
มหาวิทยาลัยปกติ เด็กต้องมี Sense of Business นั่นก็คือ มี Empathy นี่เป็นธรรมะของพระพุทธเจ้า สำคัญ
ที่สุดใน Design Thinking ต้องให้ความสำคัญกับ Empathy มาก ๆ นี่คือจุดแข็งไทยแลนด์ และมหาวิทยาลัย
ราชภัฏกุมจุดแข็งไว้หลายเรื่อง เพราะทำเรื่องสังคม เช่น การพัฒนาเมืองขอนแก่น เชียงใหม่ พิษณุโลก ช่วยกัน
ทุกภาคส่วน นี่คือความเข้มแข็งของสังคม เป็น Social Learning อาจารย์ต้องออกไปเป็น Agency ให้กับสังคม
ให้สมกับเป็นราชภัฏ เพราะคนของแผ่นดิน ทำเพื่อแผ่นดิน เราภูมิใจในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ราชมงคล
สรุปแล้ว เรื่อง ความสุข (Happiness) ถ้าความสุขทางโลกคือการ Achievement เรื่องอาชีพ
นักวิชาการความสำเร็จทางโลก ความสำเร็จทางโลกของนักวิชาการ ทำเท่าไหร่ก็ไม่สำเร็จ ทำวิจัยทั้งชีวิตก็ไม่
จบ ก่อนจะไปวิจัยในโลกนี้ ต้องวิจัยตัวเองก่อน ว่าอะไรเป็น Most Significant Factor ที่ทำให้จิตเราหวั่นไหว
ตัวแปรที่ชัดเจนที่สุด เราวิจัยตัวเองก่อน เราเป็นคนอย่างไร เราเกิดมาทำไม มาทำงานเพื่ออะไร กลับมาดู
ตัวเองก่อนว่าเรากำลังจะทำอะไร ส่วนความสุขทางธรรม คือ เห็นกายไม่ใช่กาย อย่าหลงในกฎ กติกา อย่าหลง
ในระเบียบมหาวิทยาลัยที่คนตายเขียนไว้ เพราะติดระเบียบไปหมด ต้องทำเพื่อผู้อื่นและทำเพื่อสังคม
ความสุขทางโลกทางธรรมต้องไปด้วยกัน ควรกลับไปอ่านงานท่านพุทธทาส ธรรมะ คือหน้าที่ ธรรมะ
คือการทำงาน นี่คือความสุข และเรื่องที่ควรวิจัย คือ “ตัวเอง” เห็นตัวเองแล้วถึงจะเห็นคนอื่น กลายเป็น
Emotional Intelligence แล้วค่อยทำเพื่อสังคม
4
ภาพที่ 1 นักวิชาการทำงานอย่างไรให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรม
ที่มา: วรภัทร ภู่เจริญ (2565)
มรรคมีองค์ 8 กับชีวิตนักวิชาการ
อริยมรรคมีองค์ 8 นี้เป็นทางสายกลางที่เราสามารถนำมาใช้กับชีวิตได้
1. สัมมาทิฏฐิ หรือ สัมมามายเซ็ต (Mind Set) คือ The Right Mind Set ผู้นำมหาวิทยาลัยต้องพูด
เรื่อง Mind Set ให้บ่อย ๆ ต้องกล้าคิดแปลก ๆ คิดใหม่ ทำใหม่ วันนี้ต้องปรับวิธีคิด มหาวิทยาลัยราชภัฏคือ
นักรบของแผ่นดิน รบด้วยปัญญา อย่ายัดเยียดความรู้ของตนเองให้คนอื่น สงครามสมัยนี้ไม่ได้ใช้ดาบแล้ว เขา
รบกันด้วยนิวเคลียร์ การทูต สื่อมวลชน หากเรายังยืนยันจะใช้ดาบรบก็แพ้แล้ว ต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดไปตาม
ยุคสมัย ไม่ใช่อยู่แต่กับหลักวิชาตัวเอง ต้องไปรู้จักคณะอื่น วิชาอื่น ๆ ด้วย เช่น เรียนวิศวกรรมก็ต้องรู้
ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เพื่อวิศวกรรม ประวัติศาสตร์เพื่อสังคม ประวัติศาสตร์เพื่อพัฒนาเมือง คนเขา
ใหญ่ต้องรักเขาใหญ่ ต้องมีประวัติศาสตร์ของตนเอง เป็นต้น
อาจารย์มหาวิทยาลัยต้องเห็นตัวเอง ไม่ใช่รอให้สังคมมาหา โจทย์เปลี่ยนไปหมดแล้ว ปัจจุบัน
บริษัทเอกชนต้องช่วยตนเอง บริษัทเอกชนเริ่มมีมหาวิทยาลัยของตัวเองแล้ว เพราะเรียนได้ทั่วโลก
บริษัทเอกชนเขามี Facilitator เรียนไม่รู้เรื่องก็ล้อมวงคุยกัน บริษัทเอกชนก็ต้องเปลี่ยนเพราะโลกมันเปลี่ยน
ยกตัวอย่าง บริษัท CP ไปพัฒนาแม่แจ่ม ตั้ง KPI คนแม่แจ่มต้องรวยขึ้น หากไม่รวยขึ้น พนักงานอดโบนัส โดย
ใช้การจัดการความรู้เป็นหลักและใช้ Facilitator ซึ่งเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สะท้อนความคิดพัฒนา
ร่วมกัน
5
เราต้องสนใจไปเรียนกับคณะอื่นบ้าง ไปจับคู่กับคณะอื่นด้วย ประเทศไทยมีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่
แปลกมาก อาจารย์ 2 คณะ ทำงานวิจัยร่วมกัน แต่แบ่ง 50 เปอร์เซ็นต์ แบ่งครึ่ง 2 คณะ ทั้ง ๆ ที่เขาจับคู่คณะ
ได้ ผลงานควรจะต้องคูณ 4 เท่าของผลงาน เพราะเขารวมกันได้ ถ้ารวมกับประชาชนข้างนอกได้ ควรให้ 10
เท่า นี่คืองานวิจัยที่เราต้องการ แต่กลายเป็นว่าคนที่กำหนดหลักเกณฑ์แย่ คนกำกับมหาวิทยาลัยแย่ ทำให้แย่
ทั้งประเทศ โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว คุณเคยเก่ง แต่อาจจะไม่ได้เก่งแล้วตอนนี้ อาจารย์มหาวิทยาลัยต้องสอนสิ่งที่
นักศึกษาสามารถนำไปใช้ในชีวิตการทำงานได้ เลิกสนใจเรื่องการสร้างตึก ถ้าสอนในมหาวิทยาลัย คนข้างนอก
ต้องยอมรับอาจารย์ด้วย อาจารย์มหาวิทยาลัยต้องหาเงินได้ อย่างอาจารย์สอนธุรกิจแต่ไม่เคยเปิดบริษัท
มหาวิทยาลัยต่างประเทศ อาจารย์ประจำเหลือ 10 เปอร์เซ็นต์พอ ให้คนนอกมาสอน เพราะโจทย์เปลี่ยน
มหาวิทยาลัยราชภัฏ ราชมงคล จะเปลี่ยนได้ก่อนมหาวิทยาลัยใหญ่ด้วย
2. สัมมาสังกัปปะ สัมมา Purpose ทุกคนต้องมี Purpose ทำเรื่องยิ่งใหญ่เกินตัว ทำเพื่อผู้อื่น ทำเพื่อ
สังคม ถ้ามีแค่ Goal คือทำเพื่อตัวเองเฉย ๆ แต่ Goal เป็นส่วนหนึ่งของ Purpose เวลาผมสัมภาษณ์งาน ผม
จะถามเกิดมาทำไม มาอยู่บริษัทเพื่ออะไร ส่วนใหญ่เด็กตอบไม่ได้ ความคิดนี้มีในหนังสือชื่อ Energy Bus เขียน
โดย Jon Gordon ถ้าจะสอนนักศึกษา ปีหนึ่งพาไปดูงานบริษัทต่าง ๆ ก่อนเลย ส่วนวิชาการไปดูใน Youtube
ได้
คนที่มีความสุขในการทำงาน คือ มี purpose นักวิชาการอยู่ได้ด้วย Purpose ทำวิจัยไปเพื่ออะไร
ยกตัวอย่างองค์การนาซ่า Purpose คือ ทำเพื่อมวลมนุษยชาติ หรือ การพัฒนา Social Engineer การเล่น
เกมทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์กับสังคม หัวใจคือทำเพื่อสังคม ฉะนั้น อย่าดูถูกคณะสังคมศาสตร์ คณะ
ประวัติศาสตร์
ภาพที่ 2 หนังสือ Energy Bus
ที่มา: https://www.amazon.com/Energy-Bus-Rules-Fuel-Positive/dp/0470100281
6
3. สัมมาวาจา หรือสัมมา Communication หากอาจารย์จะมี The Right Communication ต้อง
ไปเรียนคณะนิเทศบ้าง ต้องเรียนการละคร สอนให้ต้องโอบรับคนอื่นด้วย (Embrace) ต้องโอบรับคนอื่นให้ได้
เมื่อก่อนผมอยู่หน่วยพัฒนาอาจารย์ พวกหมอ วิศวะ ไม่เคยมาพัฒนาตัวเอง เก่งวิทยาศาสตร์ เก่งวิศวะ ไม่ได้
แปลว่าสอนเก่ง ฉะนั้น น่าจะมีการประเมินสันดานอาจารย์ก่อนเข้าสอนน่าจะเป็นเรื่องดี
4. สัมมากัมมันตะ หรือ The Right Behavior ผมประเมินคนในองค์กร ผมใช้มรรคมีองค์ 8 ประเมิน
คนในองค์ ไม่ใช้ KPI เนื่องจาก KPI หลอกกันได้ แต่ผมจะประเมินจาก การมี Core Value นั่นเอง ยกตัวอย่าง
ผมใช้หลัก กรณียเมตตสูตร ประเมินคน มีหลักคือ
• สักโก หรือความกล้า หากทำแต่เรื่องที่ชัวร์เท่านั้นไม่ดี จะถือว่าไม่นอกกรอบ
• อุชุ มีความตรงไหม เป็นคนซื่อสัตย์ไหม
• สุอุชุ มี Purpose ชัดเจน ทำเพื่อแผ่นดิน ทำเพื่อชาติบ้านเมืองจริงหรือเปล่า การทำเพื่อแผ่นดิน
เพื่อคนอื่น จะมีเทพมาอยู่ข้างเรา อาจารย์ดี ๆ ไม่มีอดตาย เพราะเขาสู้เพื่อชีวิต สู้เพื่อสังคม
• สุวะโจ จัสสะ เป็นผู้สอนง่ายหรือเปล่า อาจารย์มหาลัย Unteachable ต้องแสดงเป็นนักเรียนรู้
ให้นักศึกษาเห็น เด็กจะได้เห็น Role Model ของการ Learning
• มุทุ อ่อนน้อมถ่อมตน ไหว้ผู้ใหญ่บ่อย ๆ ทำบ่อย ๆ ใจเราจะน้อมลงเองโดยธรรมชาติ หลายคน
รอให้เด็กมาไหว้ก่อน ควรต้องไหว้คนอื่นให้เป็น
สิ่งที่อาจารย์มหาวิทยาลัยขาดคือการอ่อนน้อมถ่อมตน และไม่ยอมรับฟังคนอื่นให้ได้ อาจารย์ต้องรับ
การประเมินให้ได้ แต่มีวิธีแก้ คือ ต้องคุยกัน สะท้อนให้เห็นปัญหาซึ่งกันและกัน ว่ามหาวิทยาลัยจะไปไม่รอด
จนบริษัทเอกชนเขาต้องออกมาเปิดมหาวิทยาลัยกันเอง ยกตัวอย่าง เด็กจบวิศวกรรมในเมืองไทย ไปสมัครงาน
ที่ฝรั่งเศส ปรากฏว่าไม่ผ่าน เพราะว่า 4 ปีในมหาวิทยาลัยของคุณเป็นแค่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น แต่วิศวกรในฝรั่งเศส
ต้องประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ มาก่อน แต่ในไทยมัวแต่สอบ จนไม่ได้ประดิษฐ์อะไร มหาวิทยาลัยไทยสอนแบบนี้มีแต่
จะไปไม่รอด ธรรมชาติจะฆ่ามหาวิทยาลัยไปโดยปริยาย เพราะไม่มีเด็กจะเรียน ไม่มีลูกค้าจะเรียนแล้ว
อธิการบดีหลายคนก็มีวิสัยทัศน์น้อย มหาวิทยาลัยยิ่งจะไปไม่รอด เพราะโลกและโจทย์เปลี่ยนหมดแล้ว
ในบริษัทใหญ่ ๆ เขาจะประเมินเรื่องคุณธรรมหรือนิสัยเป็นอันแรก ทั้ง Google Yahoo บริษัทเหล่านี้
สัมภาษณ์ละเอียดมาก คนไทยตกเกือบหมด จะเก่งแค่ไหนก็ตกหมด เช่น เมื่อคุณเจอความขัดแย้งจะทำอย่างไร
เป็นต้น ต้องเถียงให้เป็น บางครั้งเราสอนให้เด็กเชื่อฟัง และไม่ถกเถียงน้อยเกินไป หลายครั้งเรานำความคิด
แบบโบราณ และบังคับให้เด็กโบราณแบบเรามากเกินไป ทำให้เด็กตายไปพร้อมเทคโนโลยีและความคิดแบบ
เก่า ต้องสอนพวกเด็กใหม่ อาจารย์สามารถมีวิธีสอนได้หลายแบบ เช่น สอนแบบ Coach คือตั้งคำถาม สอน
แบบ Facilitator คือ สอนไม่ให้รู้ตัวว่าถูกสอน หรือสอนแบบ Mentor เล่าประสบการณ์ให้ฟัง
7
ผมสอนเด็กวิศวะ ผมเริ่มจากการสอนให้พวกเขารักวิศวกรรมก่อน หลายคน ณ ปัจจุบัน เริ่มจะก้าว
เข้าสู่ CEO แล้วเพราะเขามีหัวใจ รู้จัก Soft Side ผมสอนเศรษฐีหลายบริษัท หากอยากได้พันล้าน ต้องเปลี่ยน
นิสัยชุดใหม่ทั้งหมด ถ้านิสัยและวิธีเดิมจะได้อยู่แบบเดิม ไม่มีทางได้เงินเพิ่มขึ้น ประเทศนี้ต้องสร้างเศรษฐี ต้อง
หาเงินเป็น ไม่เช่นนั้นจะไม่มีใครใส่บาตรพระ ไม่มีใครบำรุงศาสนา อาจารย์ต้องร่วมมือกับคณะบริหารธุรกิจ
หาเงินได้ หลายคณะควรรวมตัวกัน ถอดยศ ถอดตำแหน่ง ทำเพื่อมหาวิทยาลัย
5. สัมมาอาชีวะ หรือ The Right Career เชื่อมั่นในอาชีพครู จงภูมิใจในอาชีพของตนเอง อาจารย์
มหาวิทยาลัยต้องเป็นผู้นำทางสังคม ต้องเป็นนักเรียนรู้ ไม่ใช่เป็นนักเอาตัวรอด
6. สัมมาวายามะ เพียรชอบ เกิดฉันทะพยายาม ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้
7. สัมมาสติ
8. สัมมาสมาธิ
ภาพที่ 3 มรรคมีองค์ 8 กับการพัฒนาในอาชีพ
ที่มา: วรภัทร ภู่เจริญ (2565)
8
คำถาม – คำตอบ
คำถามที่ 1 อาจารย์เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ แล้วอาจารย์ได้มาเจอพุทธเมื่อใด แล้วได้ประโยชน์
อะไรจากวิธีคิดแบบนี้
คำตอบ ผมเป็นนักเรียนรู้ จุดแข็งของไทยคือศาสนาพุทธ ผมฝึกเลย เลือกสายบวชพระป่า สายหลวงปู่มั่น ผม
กราบเท้า ป.4 เพื่อเอาตัวตนออกไป การปฏิบัติธรรมทางพุทธ เป็นทักษะ ไม่ใช่วิชาการ ผมเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่
เสมอ ผมมองในหลวงรัชกาลที่ 9 ท่านเป็นวิศวกร ทำไมท่านมาทางธรรม และผมมีท่านพุทธทาสเป็นแรง
บันดาลใจ ว่าให้ตั้งคำถาม ก็เลยเข้าวัดป่า แต่ผมเลือกไม่บวช ขอเป็นฆราวาส เป็นสายบริหาร เพื่อให้ลูกศิษย์
เข้าถึงง่าย จงให้แต่ละศาสนาเข้าใจศาสนาเขามากที่สุด ผมเลยจะอยากจะพัฒนาศาสนาพุทธระดับโลก ไป
สอนในระดับโลกให้ได้ ต้องศึกษาทั้งวชิรยาน มหายาน เพราะแต่ละอย่างเป็นเรื่องเดียวกันทั้งหมด และพบว่า
สายมหายานนั้นให้ความสำคัญกับจิตอาสา เน้นไปเรื่องการทำงานเป็นทีม เลยเอาข้อเด่นของมหายาน เรื่อง
การทำงานเป็นทีมและจิตอาสาเพื่อผู้อื่น มาเผยแพร่ในไทย ร่วมกับการแปลพระสูตร นี่เป็นระบบการบริหาร
จัดการทั้งหมด ทำให้ประเทศไทยมีจุดแข็งให้ได้
คำถามที่ 2 อาจารย์เปลี่ยนผู้บริหารอย่างไร
คำตอบ การจะเปลี่ยนแปลงผู้บริหารยากมาก ต้องแก้ที่วิธีคิด ซึ่งยากสุด ต้องระเบิดจากภายในออกมา
ผู้บริหารจะมีฟอร์มมากเกินไป ผมเคยเจออธิการบดีแห่งหนึ่งเดินเข้าห้องประชุมมา ไม่มองเห็นใครเลย ไม่เห็น
ใครในสายตา เขาคิดว่าเขาฉลาดอยู่คนเดียว นี่ไม่ใช่นิสัยผู้นำที่ดี ถ้าเป็นแบบนี้ สอนเด็กไม่ได้ สอนเด็กยากแบบ
นี้
คำถามที่ 3 อาจารย์เปลี่ยนผู้บริหารเอกชนอย่างไร เพราะคนกลุ่มนี้ก็น่าจะเปลี่ยนยากเช่นเดียวกัน
คำตอบ CEO ระดับร้อยล้าน ให้คำปรึกษายากมาก เถ้าแก่ SME นี่เขาดื้อมาก คนเป็น CEO ระดับหมื่นล้าน
แสนล้าน พวกนี้เป็นคนที่ง่ายมาก ง่ายตั้งแต่แรก เพียงแต่เขายังไม่มีโอกาสสนิทกับเรา วิธีสนิทกับเค้า คือ ผม
ไปหาลูกศิษย์ หาลูกสาวเขาก่อน ลูกสาวเขาไปลูกศิษย์ทางธรรมผม จัดรายการธรรมะกัน ค่อย ๆ เข้าไปหา ผม
ใช้หลักการของ David Rock เจ้าพ่อ Neuro Science ชม ฟัง ถาม และมี Feedback เป็นระยะ สุดท้าย เขา
ระบายความทุกข์เขาออกมาเรื่อย ๆ เขาจะพาไปเจอตำแหน่งใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ Step by Step เศรษฐีเหล่านี้
เราเข้าถึงเจ้าเดียว เขาก็บอกต่อกัน คนเหล่านี้เขาจะมีเวทีพื้นที่คุยกันทุกเดือน คนพวกนี้ไม่โง่ เขาแค่ต้องการ
คนที่สะท้อน ถามให้เห็น เขาอยากเป็นคนดีทุกคน เศรษฐีแสนล้าน อยากทำเพื่อแผ่นดินทั้งนั้น เพราะเขาไม่ได้
คิดเรื่องเงินแล้ว มีแต่จะให้แล้ว กล่าวโดยสรุป คือ เราต้องทำให้เขาระเบิดจากภายใน หลอกล่อให้เขาคิดได้เอง

More Related Content

What's hot

เกณฑ์สมศ.รอบ3
เกณฑ์สมศ.รอบ3เกณฑ์สมศ.รอบ3
เกณฑ์สมศ.รอบ3arsad20
 
การแจกแจงความถี่
การแจกแจงความถี่การแจกแจงความถี่
การแจกแจงความถี่krookay2012
 
รายงาน การพัฒนาตนเอง
รายงาน การพัฒนาตนเองรายงาน การพัฒนาตนเอง
รายงาน การพัฒนาตนเองChainarong Maharak
 
O-net ม.6 คณิตศาสตร์ 56 +เฉลย
O-net ม.6 คณิตศาสตร์ 56 +เฉลยO-net ม.6 คณิตศาสตร์ 56 +เฉลย
O-net ม.6 คณิตศาสตร์ 56 +เฉลยWatcharinz
 
เฉลยข้อสอบโอเน็ตคณิตศาสตร์ ม.6 ปีการศึกษา 2558
เฉลยข้อสอบโอเน็ตคณิตศาสตร์ ม.6 ปีการศึกษา 2558เฉลยข้อสอบโอเน็ตคณิตศาสตร์ ม.6 ปีการศึกษา 2558
เฉลยข้อสอบโอเน็ตคณิตศาสตร์ ม.6 ปีการศึกษา 2558ครู กรุณา
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมFURD_RSU
 
การบูรณาการหลักการทางพระพุทธศาสนาในการทำงานจิตอาสา
การบูรณาการหลักการทางพระพุทธศาสนาในการทำงานจิตอาสาการบูรณาการหลักการทางพระพุทธศาสนาในการทำงานจิตอาสา
การบูรณาการหลักการทางพระพุทธศาสนาในการทำงานจิตอาสาPadvee Academy
 

What's hot (12)

O-net คณิตศาสตร์ 2557
O-net คณิตศาสตร์ 2557O-net คณิตศาสตร์ 2557
O-net คณิตศาสตร์ 2557
 
A msci60 key
A msci60 keyA msci60 key
A msci60 key
 
เกณฑ์สมศ.รอบ3
เกณฑ์สมศ.รอบ3เกณฑ์สมศ.รอบ3
เกณฑ์สมศ.รอบ3
 
การแจกแจงความถี่
การแจกแจงความถี่การแจกแจงความถี่
การแจกแจงความถี่
 
รายงาน การพัฒนาตนเอง
รายงาน การพัฒนาตนเองรายงาน การพัฒนาตนเอง
รายงาน การพัฒนาตนเอง
 
O-net ม.6 คณิตศาสตร์ 56 +เฉลย
O-net ม.6 คณิตศาสตร์ 56 +เฉลยO-net ม.6 คณิตศาสตร์ 56 +เฉลย
O-net ม.6 คณิตศาสตร์ 56 +เฉลย
 
เฉลยข้อสอบโอเน็ตคณิตศาสตร์ ม.6 ปีการศึกษา 2558
เฉลยข้อสอบโอเน็ตคณิตศาสตร์ ม.6 ปีการศึกษา 2558เฉลยข้อสอบโอเน็ตคณิตศาสตร์ ม.6 ปีการศึกษา 2558
เฉลยข้อสอบโอเน็ตคณิตศาสตร์ ม.6 ปีการศึกษา 2558
 
01 เซต บทนำ
01 เซต บทนำ01 เซต บทนำ
01 เซต บทนำ
 
Abstrack torkiat
Abstrack torkiatAbstrack torkiat
Abstrack torkiat
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
 
การบูรณาการหลักการทางพระพุทธศาสนาในการทำงานจิตอาสา
การบูรณาการหลักการทางพระพุทธศาสนาในการทำงานจิตอาสาการบูรณาการหลักการทางพระพุทธศาสนาในการทำงานจิตอาสา
การบูรณาการหลักการทางพระพุทธศาสนาในการทำงานจิตอาสา
 
OPEC muge102
OPEC muge102OPEC muge102
OPEC muge102
 

Similar to นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรภัทร์ ภู่เจริญ

บรรยายเทคโนโลยีการศึกษา..
บรรยายเทคโนโลยีการศึกษา..บรรยายเทคโนโลยีการศึกษา..
บรรยายเทคโนโลยีการศึกษา..Wiwat Ch
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...Klangpanya
 
วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?
วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?
วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?Satapon Yosakonkun
 
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอนาคต พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ ดร. (อนิล...
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอนาคต พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ ดร. (อนิล...ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอนาคต พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ ดร. (อนิล...
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอนาคต พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ ดร. (อนิล...Klangpanya
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...Klangpanya
 
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตกอธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตกKlangpanya
 
ใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุล
ใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุลใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุล
ใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุลKlangpanya
 
กลุ่มISIS (The Islamic State in Iraq and al-Sham)
กลุ่มISIS (The Islamic State in Iraq and al-Sham) กลุ่มISIS (The Islamic State in Iraq and al-Sham)
กลุ่มISIS (The Islamic State in Iraq and al-Sham) Klangpanya
 
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud251298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2Pisan Chueachatchai
 
สิ่งพิมพ์12
สิ่งพิมพ์12สิ่งพิมพ์12
สิ่งพิมพ์12PaChArIn27
 
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...Klangpanya
 
ใบงานที่4 พัฒนาเพื่อการศึกษา
ใบงานที่4 พัฒนาเพื่อการศึกษาใบงานที่4 พัฒนาเพื่อการศึกษา
ใบงานที่4 พัฒนาเพื่อการศึกษาKrittamook Sansumdang
 
การพัฒนาตนเพื่อความก้าวหน้าสู่อนาคต
การพัฒนาตนเพื่อความก้าวหน้าสู่อนาคตการพัฒนาตนเพื่อความก้าวหน้าสู่อนาคต
การพัฒนาตนเพื่อความก้าวหน้าสู่อนาคตAunchaleeporn Chompoorach
 
โครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ประจำปี 2557
โครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ประจำปี 2557 โครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ประจำปี 2557
โครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ประจำปี 2557 พงษ์ขจร บุญพงษ์
 
หลักสูตรกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ปรับปรุง ม.ต้น
หลักสูตรกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ปรับปรุง ม.ต้นหลักสูตรกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ปรับปรุง ม.ต้น
หลักสูตรกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ปรับปรุง ม.ต้นAon Narinchoti
 
โครงร่างวิทยานิพนธ์ นายปรัชญา จันตา
โครงร่างวิทยานิพนธ์ นายปรัชญา จันตาโครงร่างวิทยานิพนธ์ นายปรัชญา จันตา
โครงร่างวิทยานิพนธ์ นายปรัชญา จันตาKUSMP
 
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...Sawittri Phaisal
 
ธรรมะสั้นๆเพื่อวันที่ดีงาม
ธรรมะสั้นๆเพื่อวันที่ดีงามธรรมะสั้นๆเพื่อวันที่ดีงาม
ธรรมะสั้นๆเพื่อวันที่ดีงามAmnuay Nantananont
 

Similar to นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรภัทร์ ภู่เจริญ (20)

6การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
6การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์6การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
6การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
 
บรรยายเทคโนโลยีการศึกษา..
บรรยายเทคโนโลยีการศึกษา..บรรยายเทคโนโลยีการศึกษา..
บรรยายเทคโนโลยีการศึกษา..
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
บทที่ึ7
บทที่ึ7บทที่ึ7
บทที่ึ7
 
วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?
วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?
วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?
 
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอนาคต พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ ดร. (อนิล...
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอนาคต พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ ดร. (อนิล...ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอนาคต พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ ดร. (อนิล...
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอนาคต พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ ดร. (อนิล...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตกอธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
 
ใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุล
ใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุลใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุล
ใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุล
 
กลุ่มISIS (The Islamic State in Iraq and al-Sham)
กลุ่มISIS (The Islamic State in Iraq and al-Sham) กลุ่มISIS (The Islamic State in Iraq and al-Sham)
กลุ่มISIS (The Islamic State in Iraq and al-Sham)
 
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud251298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2
 
สิ่งพิมพ์12
สิ่งพิมพ์12สิ่งพิมพ์12
สิ่งพิมพ์12
 
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...
 
ใบงานที่4 พัฒนาเพื่อการศึกษา
ใบงานที่4 พัฒนาเพื่อการศึกษาใบงานที่4 พัฒนาเพื่อการศึกษา
ใบงานที่4 พัฒนาเพื่อการศึกษา
 
การพัฒนาตนเพื่อความก้าวหน้าสู่อนาคต
การพัฒนาตนเพื่อความก้าวหน้าสู่อนาคตการพัฒนาตนเพื่อความก้าวหน้าสู่อนาคต
การพัฒนาตนเพื่อความก้าวหน้าสู่อนาคต
 
โครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ประจำปี 2557
โครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ประจำปี 2557 โครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ประจำปี 2557
โครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต ประจำปี 2557
 
หลักสูตรกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ปรับปรุง ม.ต้น
หลักสูตรกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ปรับปรุง ม.ต้นหลักสูตรกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ปรับปรุง ม.ต้น
หลักสูตรกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ปรับปรุง ม.ต้น
 
โครงร่างวิทยานิพนธ์ นายปรัชญา จันตา
โครงร่างวิทยานิพนธ์ นายปรัชญา จันตาโครงร่างวิทยานิพนธ์ นายปรัชญา จันตา
โครงร่างวิทยานิพนธ์ นายปรัชญา จันตา
 
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
 
ธรรมะสั้นๆเพื่อวันที่ดีงาม
ธรรมะสั้นๆเพื่อวันที่ดีงามธรรมะสั้นๆเพื่อวันที่ดีงาม
ธรรมะสั้นๆเพื่อวันที่ดีงาม
 

More from Klangpanya

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยKlangpanya
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคKlangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยKlangpanya
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนKlangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsKlangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนKlangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationKlangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนKlangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfKlangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdfKlangpanya
 
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKorakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKlangpanya
 
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdfการบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdfKlangpanya
 

More from Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKorakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdf
 
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdfการบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
 

นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรภัทร์ ภู่เจริญ

  • 1. รายงานถอดความ จากเวที อุดมธรรม พลังปัญญา ภายใต้ โครงการสร้างนักปราชญ์จากนักวิชาการ นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรภัทร์ ภู่เจริญ อดีตนักวิทยาศาสตร์นาซ่า ผู้ใช้หลักการบริหารแบบพุทธะ จัดโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
  • 2. นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรม ผู้นำเสนอ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรภัทร์ ภู่เจริญ อดีตนักวิทยาศาสตร์นาซ่า ผู้ใช้หลักการบริหารแบบพุทธะ รายงานถอดความ จากเวที อุดมธรรม พลังปัญญา โครงการสร้างนักปราชญ์จากนักวิชาการ ผู้ถอดความ: ณัฐธิดา เย็นบำรุง บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล ทีมบรรณาธิการ: ณัฐธิดา เย็นบำรุง กฤตภัค พรหมมานุวัติ อำนวยการผลิตโดย: สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ และมูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ สนับสนุนโดย: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปีที่เผยแพร่: เมษายน 2565 www.klangpanya.in.th ที่อยู่ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ 220/104 เลควิวคอนโด อาคารสุพีเรียร์ เมืองทองธานี ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทร. 084-112-0632
  • 3. 1 นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรม1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรภัทร์ ภู่เจริญ การเรียนรู้ สมองต้องมีการปรับ Mood and Tone ผมชอบการเรียนการสอนสมัยใหม่ที่เรียกว่า Immersive Learning คือ การให้ผู้เรียนดำดิ่งกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะต้องค้นหาตัวเองให้เจอ อยู่กับเรื่องใด เรื่องหนึ่งเลย 20 ชั่วโมง ต่อเนื่อง เช่น เด็กประถม จะให้รู้จักสมุนไพร ต้องพาเขาไปอยู่หมู่บ้านสมุนไพรสักแห่ง หนึ่งนาน ๆ เสร็จแล้วมาแลกเปลี่ยนกัน หรือพาเด็กไปไปโรงพยาบาล เห็นเลือดแล้วรู้สึกอย่างไร อยากรักษา ไหม แล้วค่อยเรียนหมอ อันที่จริง หมอไม่เป็นต้องเรียนเมืองไทย เมืองไทยเรียนยาก เรียนต่างประเทศดีกว่า เมืองไทยบังคับมหาวิทยาลัย 4 ปีมากเกินไป ต่างประเทศอายุเท่าไหร่ก็เรียนหมอได้ พวกอาจารย์เป็นกลุ่มที่มีอัตตาสูงมาก และไม่มีที่ปรึกษาคอยชี้แนะ อาจารย์จะไม่เห็นตัวเอง เพราะใช้ เวลาทั้งชีวิตเพื่อสอนคนอื่น ไม่มีใครกล้าสอนอาจารย์ อาจารย์ที่ขึ้นมาบริหารงานเหนื่อยที่สุด เพราะบริหาร เรื่อง “คน” เหนื่อยบริหารคน บริหารอาจารย์ยากมาก หากอาจารย์ไปทำงานบริษัทเอกชนจะต้องถูกประเมิน หลายชั้น หากจะทำงานร่วมกับคนอื่นต้องผ่านการประเมิน หากไม่ผ่านก็เป็นเพียงแค่คนรับจ้างทำวิจัย ไม่ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ รอฟังคำสั่งอย่างเดียว การจะประเมินคนเพื่อไปเป็นตำแหน่งสูง ๆ ประเมินทาง ความรู้ไม่มีประโยชน์ เพราะจ้างคนอื่นทำได้ แต่การประเมินทัศนคติ นิสัย เป็นสิ่งที่สำคัญกว่า ผู้นำต้อง “เก่ง คน” และมี Solution Based ความสุขทางโลกและความสุขทางธรรม ว่าด้วยเรื่อง ความสุข (Happiness) นิยามความสุขแต่ละคนไม่เหมือนกัน ผมแบ่งเป็น 2 เรื่อง หนึ่ง ความสุขทางโลก ส่วนใหญ่คือเรื่องเงินเป็นหลัก ก็เป็นไปตามลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow's Hierarchy of Needs) แต่จริง ๆ ขั้นที่ 4 ขั้นที่ 5 ของมาสโลว์ ความต้องการพัฒนาศักยภาพตนเอง อันที่จริง ต้องสอนตั้งแต่ประถม หาตัวเองให้เจอ และค่อยไปเลือกอาชีพ ต้องเรียนแบบด่ำดิ่งให้เข้าใจตัวเองว่าต้องการ อะไร ค่อยเลือกว่าจะเรียนอะไรแบบลึก ๆ เพื่อเป็นอาชีพนั้น สมัยผมเรียนวิศวกรรมที่องค์การนาซ่าต้องเรียน ด้วยการเอาโจทย์สังคมเป็นที่ตั้ง แล้วค่อยมานั่งคุยกัน แล้วมากำหนดวิชาที่ต้องเรียน 1 ถอดความจากงาน “อุดมธรรม พลังปัญญา” ระดมความคิด ยกระดับการเรียนรู้ของนักวิชาการเพื่อพัฒนาชีวิตและปัญญา จัดโดยกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาวะ (สสส.) ในวันที่ 24มีนาคม พ.ศ. 2565ณ ห้องโถงชั้น 1 อาคารสวทช. กระทรวง อว.
  • 4. 2 ถ้าผมเปิดคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผมจะไม่สอนเรื่องความรู้ เพราะความรู้มีมากมายใน Youtube แต่ ผมจะสอนวิธีการใช้ความรู้เชื่อมกับสังคม และปัจจุบันโจทย์เปลี่ยนไปแล้ว การบริหารมหาวิทยาลัยก็ต้อง เปลี่ยน ต้องเปลี่ยนเป็น Government-Linked Companies (GLCs) ให้รัฐถือหุ้น 40 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือ เอกชน บริหารแบบใหม่ ความสุขทางโลก คือ การสุขจากการ Achievement นักวิจัย นักวิชาการประสบความสำเร็จตรงไหน อยู่ตรงที่ Tiny Success งานวิจัยค่อย ๆ ขยับไปเรื่อยจนนำไปสู่เรื่องที่ยิ่งใหญ่ ผมยกตัวอย่าง เศรษฐีบางทีเขา ไม่ได้ต้องการเงิน แต่สนุกกับความสำเร็จ และหยุดไม่ได้ ผมจึงมีหน้าที่ทำอย่างไรให้เศรษฐีทั้งหมด ให้ช่วยสังคม ช่วยแผ่นดิน อย่าด่าเศรษฐี เพราะเศรษฐีจะช่วยสังคมได้มาก จับเศรษฐีให้เข้าใจการศึกษา เลยออกมาเป็น รูปแบบประชารัฐ (Connected) สอง ความสุขทางธรรม สุขทางธรรมไม่ใช่ต้องไปวัด สุขอยู่ที่ไหน ธรรมะคือการทำงาน (ท่านพุทธทาส สอน) การทำงานคือหน้าที่ สุขที่สูงสุดเลยก็คือ ถ้าพูดแบบมหายาน ทุกวันนี้เราทำเพื่อใคร ถ้าเป้าหมายทำเพื่อ แผ่นดิน ทำเพื่อคนอื่น สุขจะเกิดขึ้นเอง หากทำเพื่อสังคมและคนอื่นแล้วจะมีเหตุการณ์เกิดขึ้น คือ กฎแห่งแรง ดึงดูด สังเกตอาจารย์ดี ๆ ในมหาวิทยาลัย ลูกศิษย์จะรักมาก เพราะท่านสุขข้างใน ท่านทำเพื่อคนอื่น มหาวิทยาลัยราชภัฏ ราชมงคล อย่าตามมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ต้องเป็นตัวของตัวเอง ต้องนอกกรอบ เพราะเป็น Community Collage ในอนาคตสังคมเมืองกำลังล่มสลาย มหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ อาจจะไปไม่ รอด แต่ประเทศไทยเป็นประเทศอาหาร โควิดเกิดขึ้นแล้ว ประเทศไทยก็ยังอยู่ได้ ไทยเป็นมหาอำนาจทาง ความสุข ตรงนี้ต่างหากที่มหาวิทยาลัยราชภัฏ และราชมงคลตอบโจทย์มาก โลกอนาคตต่อให้ไอทีจะเก่งแค่ ไหน ก็ต้องมีช่างทำงานอยู่ดี เพราะฉะนั้น อย่าดูถูกตัวเอง อย่าตั้งราคาต่ำ ต้องตั้งราคาแพงๆ มหาวิทยาลัยต้อง ทำให้มาก คณะต้องทำให้มาก ยิ่งทำยิ่งทำให้เห็นปัญญา แล้วเราจะเห็นเลยว่าจีนและฝรั่งธรรมดา เพราะ มหาวิทยาลัยไทยก็ทำได้ อาจารย์ต้องหัดคบนักการตลาด หัดคบคนนอก คบนักสร้าง Image อย่าคบกันเอง คุณต้อง Asking for Help นี่คือกฎข้อที่หนึ่งของโรงเรียนในฟินแลนด์ เรื่องการตัดเกรดในฟินแลนด์ จะใช้วิธีดูเรื่อง Help เป็น หลัก ส่วนวิชาการไว้ทีหลัง ตัดเกรดที่นิสัย ห้ามทิ้งใครไว้ข้างหลัง ใครเรียนไม่รู้เรื่อง ต้องช่วยให้ผ่าน ต้อง No One Left Behind หากมีคนสอบตก ให้ตกทั้งห้อง เพราะถือว่าเราทิ้งเขา ไม่ช่วยเหลือเขา เพราะทุกคนมีเรื่อง ที่ตัวเองเก่ง ห้ามล้อเลียนเขา ห้ามดูถูกเขาว่าเขาไม่เก่ง หากเด็กโตขึ้นมา ควรสอนเรื่องความกล้าหาญ (Courage) อาจารย์ต้องกล้าทำเพื่อแผ่นดิน แม้จะกลัว ก้าวข้ามความกล้าตรงนี้ ไม่ต้องสนใจเสียงด่า เสียง คัดค้าน ทำต่อไป ทำเพื่อสังคมต่อไป เพราะเราคือนักรบที่ช่วยสังคมในคราบครูบาอาจารย์ การต่อสู้ทางปัญญา สำคัญที่สุด
  • 5. 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏ ราชมงคล ไม่จำเป็นต้องแข่งกับธรรมศาสตร์หรือจุฬา มีจุดแข็งของตนเอง มี ความเชี่ยวชาญเฉพาะของตนเอง ในเรื่องอนาคตเขาสนใจเรื่องทักษะ ไม่ใช่วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ราช มงคล มีงานวิจัยช่วยชุมชนจำนวนมาก ในโลกอนาคตคนเรียนสังคมศาสตร์มีประโยชน์ ให้คณะสังคมศาสตร์ จับคู่คณะวิศวกรรมศาสตร์ กลายเป็น Social Engineer นักวิศวกรสังคม หากออกแบบตึก ต้องคิดถึงสังคม ด้วย หลายคณะควรจับคู่กันเช่น วิศวกรรมจับคู่กับกฎหมาย คณะไอทีจับคู่กับคณะนิเทศศาสตร์ เป็นต้น ในอนาคตคน Gen X จะมีปัญหาที่สุด เพราะภาษาไม่ได้ มีการสื่อสารแบบเก่า ไม่ทำงานเป็นทีม เพราะผ่านระบบการศึกษาแบบตัดเกรดมาโดยตลอด การตัดเกรดทำลายมนุษย์ ตอนเรียนเรียนคนเดียว แต่ ตอนทำงานต้องทำงานเป็นทีม ต้องเปลี่ยนระบบการศึกษา อาจารย์ต้องคิดใหม่ ไม่งั้นจะยิ่งทำลายประเทศ การสอนนักศึกษาต้องสอนให้เขาทำงานเป็นทีมให้ได้ เพราะเวลาทำงานจริง ทำงานเป็นทีม เวลาผม สัมภาษณ์เด็กเข้าทำงาน ผมสัมภาษณ์เป็นทีม แล้วให้กรณีศึกษา ให้ทีมแก้ร่วมกัน ขอดูผลงานทีม โดยเฉพาะ ความล้มเหลวในอดีต นี่เป็นการรับสมัครงานของผม เด็กส่วนใหญ่ก็มักจะไม่ค่อยผ่าน หากผ่านผมจะจ้างทั้งทีม เด็กราชภัฎ ราชมงคล ต้องทำให้ได้แบบนี้ ให้เป็นจุดแข็งของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ราชมงคล ที่ชนะ มหาวิทยาลัยปกติ เด็กต้องมี Sense of Business นั่นก็คือ มี Empathy นี่เป็นธรรมะของพระพุทธเจ้า สำคัญ ที่สุดใน Design Thinking ต้องให้ความสำคัญกับ Empathy มาก ๆ นี่คือจุดแข็งไทยแลนด์ และมหาวิทยาลัย ราชภัฏกุมจุดแข็งไว้หลายเรื่อง เพราะทำเรื่องสังคม เช่น การพัฒนาเมืองขอนแก่น เชียงใหม่ พิษณุโลก ช่วยกัน ทุกภาคส่วน นี่คือความเข้มแข็งของสังคม เป็น Social Learning อาจารย์ต้องออกไปเป็น Agency ให้กับสังคม ให้สมกับเป็นราชภัฏ เพราะคนของแผ่นดิน ทำเพื่อแผ่นดิน เราภูมิใจในมหาวิทยาลัยราชภัฏ ราชมงคล สรุปแล้ว เรื่อง ความสุข (Happiness) ถ้าความสุขทางโลกคือการ Achievement เรื่องอาชีพ นักวิชาการความสำเร็จทางโลก ความสำเร็จทางโลกของนักวิชาการ ทำเท่าไหร่ก็ไม่สำเร็จ ทำวิจัยทั้งชีวิตก็ไม่ จบ ก่อนจะไปวิจัยในโลกนี้ ต้องวิจัยตัวเองก่อน ว่าอะไรเป็น Most Significant Factor ที่ทำให้จิตเราหวั่นไหว ตัวแปรที่ชัดเจนที่สุด เราวิจัยตัวเองก่อน เราเป็นคนอย่างไร เราเกิดมาทำไม มาทำงานเพื่ออะไร กลับมาดู ตัวเองก่อนว่าเรากำลังจะทำอะไร ส่วนความสุขทางธรรม คือ เห็นกายไม่ใช่กาย อย่าหลงในกฎ กติกา อย่าหลง ในระเบียบมหาวิทยาลัยที่คนตายเขียนไว้ เพราะติดระเบียบไปหมด ต้องทำเพื่อผู้อื่นและทำเพื่อสังคม ความสุขทางโลกทางธรรมต้องไปด้วยกัน ควรกลับไปอ่านงานท่านพุทธทาส ธรรมะ คือหน้าที่ ธรรมะ คือการทำงาน นี่คือความสุข และเรื่องที่ควรวิจัย คือ “ตัวเอง” เห็นตัวเองแล้วถึงจะเห็นคนอื่น กลายเป็น Emotional Intelligence แล้วค่อยทำเพื่อสังคม
  • 6. 4 ภาพที่ 1 นักวิชาการทำงานอย่างไรให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรม ที่มา: วรภัทร ภู่เจริญ (2565) มรรคมีองค์ 8 กับชีวิตนักวิชาการ อริยมรรคมีองค์ 8 นี้เป็นทางสายกลางที่เราสามารถนำมาใช้กับชีวิตได้ 1. สัมมาทิฏฐิ หรือ สัมมามายเซ็ต (Mind Set) คือ The Right Mind Set ผู้นำมหาวิทยาลัยต้องพูด เรื่อง Mind Set ให้บ่อย ๆ ต้องกล้าคิดแปลก ๆ คิดใหม่ ทำใหม่ วันนี้ต้องปรับวิธีคิด มหาวิทยาลัยราชภัฏคือ นักรบของแผ่นดิน รบด้วยปัญญา อย่ายัดเยียดความรู้ของตนเองให้คนอื่น สงครามสมัยนี้ไม่ได้ใช้ดาบแล้ว เขา รบกันด้วยนิวเคลียร์ การทูต สื่อมวลชน หากเรายังยืนยันจะใช้ดาบรบก็แพ้แล้ว ต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดไปตาม ยุคสมัย ไม่ใช่อยู่แต่กับหลักวิชาตัวเอง ต้องไปรู้จักคณะอื่น วิชาอื่น ๆ ด้วย เช่น เรียนวิศวกรรมก็ต้องรู้ ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เพื่อวิศวกรรม ประวัติศาสตร์เพื่อสังคม ประวัติศาสตร์เพื่อพัฒนาเมือง คนเขา ใหญ่ต้องรักเขาใหญ่ ต้องมีประวัติศาสตร์ของตนเอง เป็นต้น อาจารย์มหาวิทยาลัยต้องเห็นตัวเอง ไม่ใช่รอให้สังคมมาหา โจทย์เปลี่ยนไปหมดแล้ว ปัจจุบัน บริษัทเอกชนต้องช่วยตนเอง บริษัทเอกชนเริ่มมีมหาวิทยาลัยของตัวเองแล้ว เพราะเรียนได้ทั่วโลก บริษัทเอกชนเขามี Facilitator เรียนไม่รู้เรื่องก็ล้อมวงคุยกัน บริษัทเอกชนก็ต้องเปลี่ยนเพราะโลกมันเปลี่ยน ยกตัวอย่าง บริษัท CP ไปพัฒนาแม่แจ่ม ตั้ง KPI คนแม่แจ่มต้องรวยขึ้น หากไม่รวยขึ้น พนักงานอดโบนัส โดย ใช้การจัดการความรู้เป็นหลักและใช้ Facilitator ซึ่งเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สะท้อนความคิดพัฒนา ร่วมกัน
  • 7. 5 เราต้องสนใจไปเรียนกับคณะอื่นบ้าง ไปจับคู่กับคณะอื่นด้วย ประเทศไทยมีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่ แปลกมาก อาจารย์ 2 คณะ ทำงานวิจัยร่วมกัน แต่แบ่ง 50 เปอร์เซ็นต์ แบ่งครึ่ง 2 คณะ ทั้ง ๆ ที่เขาจับคู่คณะ ได้ ผลงานควรจะต้องคูณ 4 เท่าของผลงาน เพราะเขารวมกันได้ ถ้ารวมกับประชาชนข้างนอกได้ ควรให้ 10 เท่า นี่คืองานวิจัยที่เราต้องการ แต่กลายเป็นว่าคนที่กำหนดหลักเกณฑ์แย่ คนกำกับมหาวิทยาลัยแย่ ทำให้แย่ ทั้งประเทศ โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว คุณเคยเก่ง แต่อาจจะไม่ได้เก่งแล้วตอนนี้ อาจารย์มหาวิทยาลัยต้องสอนสิ่งที่ นักศึกษาสามารถนำไปใช้ในชีวิตการทำงานได้ เลิกสนใจเรื่องการสร้างตึก ถ้าสอนในมหาวิทยาลัย คนข้างนอก ต้องยอมรับอาจารย์ด้วย อาจารย์มหาวิทยาลัยต้องหาเงินได้ อย่างอาจารย์สอนธุรกิจแต่ไม่เคยเปิดบริษัท มหาวิทยาลัยต่างประเทศ อาจารย์ประจำเหลือ 10 เปอร์เซ็นต์พอ ให้คนนอกมาสอน เพราะโจทย์เปลี่ยน มหาวิทยาลัยราชภัฏ ราชมงคล จะเปลี่ยนได้ก่อนมหาวิทยาลัยใหญ่ด้วย 2. สัมมาสังกัปปะ สัมมา Purpose ทุกคนต้องมี Purpose ทำเรื่องยิ่งใหญ่เกินตัว ทำเพื่อผู้อื่น ทำเพื่อ สังคม ถ้ามีแค่ Goal คือทำเพื่อตัวเองเฉย ๆ แต่ Goal เป็นส่วนหนึ่งของ Purpose เวลาผมสัมภาษณ์งาน ผม จะถามเกิดมาทำไม มาอยู่บริษัทเพื่ออะไร ส่วนใหญ่เด็กตอบไม่ได้ ความคิดนี้มีในหนังสือชื่อ Energy Bus เขียน โดย Jon Gordon ถ้าจะสอนนักศึกษา ปีหนึ่งพาไปดูงานบริษัทต่าง ๆ ก่อนเลย ส่วนวิชาการไปดูใน Youtube ได้ คนที่มีความสุขในการทำงาน คือ มี purpose นักวิชาการอยู่ได้ด้วย Purpose ทำวิจัยไปเพื่ออะไร ยกตัวอย่างองค์การนาซ่า Purpose คือ ทำเพื่อมวลมนุษยชาติ หรือ การพัฒนา Social Engineer การเล่น เกมทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์กับสังคม หัวใจคือทำเพื่อสังคม ฉะนั้น อย่าดูถูกคณะสังคมศาสตร์ คณะ ประวัติศาสตร์ ภาพที่ 2 หนังสือ Energy Bus ที่มา: https://www.amazon.com/Energy-Bus-Rules-Fuel-Positive/dp/0470100281
  • 8. 6 3. สัมมาวาจา หรือสัมมา Communication หากอาจารย์จะมี The Right Communication ต้อง ไปเรียนคณะนิเทศบ้าง ต้องเรียนการละคร สอนให้ต้องโอบรับคนอื่นด้วย (Embrace) ต้องโอบรับคนอื่นให้ได้ เมื่อก่อนผมอยู่หน่วยพัฒนาอาจารย์ พวกหมอ วิศวะ ไม่เคยมาพัฒนาตัวเอง เก่งวิทยาศาสตร์ เก่งวิศวะ ไม่ได้ แปลว่าสอนเก่ง ฉะนั้น น่าจะมีการประเมินสันดานอาจารย์ก่อนเข้าสอนน่าจะเป็นเรื่องดี 4. สัมมากัมมันตะ หรือ The Right Behavior ผมประเมินคนในองค์กร ผมใช้มรรคมีองค์ 8 ประเมิน คนในองค์ ไม่ใช้ KPI เนื่องจาก KPI หลอกกันได้ แต่ผมจะประเมินจาก การมี Core Value นั่นเอง ยกตัวอย่าง ผมใช้หลัก กรณียเมตตสูตร ประเมินคน มีหลักคือ • สักโก หรือความกล้า หากทำแต่เรื่องที่ชัวร์เท่านั้นไม่ดี จะถือว่าไม่นอกกรอบ • อุชุ มีความตรงไหม เป็นคนซื่อสัตย์ไหม • สุอุชุ มี Purpose ชัดเจน ทำเพื่อแผ่นดิน ทำเพื่อชาติบ้านเมืองจริงหรือเปล่า การทำเพื่อแผ่นดิน เพื่อคนอื่น จะมีเทพมาอยู่ข้างเรา อาจารย์ดี ๆ ไม่มีอดตาย เพราะเขาสู้เพื่อชีวิต สู้เพื่อสังคม • สุวะโจ จัสสะ เป็นผู้สอนง่ายหรือเปล่า อาจารย์มหาลัย Unteachable ต้องแสดงเป็นนักเรียนรู้ ให้นักศึกษาเห็น เด็กจะได้เห็น Role Model ของการ Learning • มุทุ อ่อนน้อมถ่อมตน ไหว้ผู้ใหญ่บ่อย ๆ ทำบ่อย ๆ ใจเราจะน้อมลงเองโดยธรรมชาติ หลายคน รอให้เด็กมาไหว้ก่อน ควรต้องไหว้คนอื่นให้เป็น สิ่งที่อาจารย์มหาวิทยาลัยขาดคือการอ่อนน้อมถ่อมตน และไม่ยอมรับฟังคนอื่นให้ได้ อาจารย์ต้องรับ การประเมินให้ได้ แต่มีวิธีแก้ คือ ต้องคุยกัน สะท้อนให้เห็นปัญหาซึ่งกันและกัน ว่ามหาวิทยาลัยจะไปไม่รอด จนบริษัทเอกชนเขาต้องออกมาเปิดมหาวิทยาลัยกันเอง ยกตัวอย่าง เด็กจบวิศวกรรมในเมืองไทย ไปสมัครงาน ที่ฝรั่งเศส ปรากฏว่าไม่ผ่าน เพราะว่า 4 ปีในมหาวิทยาลัยของคุณเป็นแค่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น แต่วิศวกรในฝรั่งเศส ต้องประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ มาก่อน แต่ในไทยมัวแต่สอบ จนไม่ได้ประดิษฐ์อะไร มหาวิทยาลัยไทยสอนแบบนี้มีแต่ จะไปไม่รอด ธรรมชาติจะฆ่ามหาวิทยาลัยไปโดยปริยาย เพราะไม่มีเด็กจะเรียน ไม่มีลูกค้าจะเรียนแล้ว อธิการบดีหลายคนก็มีวิสัยทัศน์น้อย มหาวิทยาลัยยิ่งจะไปไม่รอด เพราะโลกและโจทย์เปลี่ยนหมดแล้ว ในบริษัทใหญ่ ๆ เขาจะประเมินเรื่องคุณธรรมหรือนิสัยเป็นอันแรก ทั้ง Google Yahoo บริษัทเหล่านี้ สัมภาษณ์ละเอียดมาก คนไทยตกเกือบหมด จะเก่งแค่ไหนก็ตกหมด เช่น เมื่อคุณเจอความขัดแย้งจะทำอย่างไร เป็นต้น ต้องเถียงให้เป็น บางครั้งเราสอนให้เด็กเชื่อฟัง และไม่ถกเถียงน้อยเกินไป หลายครั้งเรานำความคิด แบบโบราณ และบังคับให้เด็กโบราณแบบเรามากเกินไป ทำให้เด็กตายไปพร้อมเทคโนโลยีและความคิดแบบ เก่า ต้องสอนพวกเด็กใหม่ อาจารย์สามารถมีวิธีสอนได้หลายแบบ เช่น สอนแบบ Coach คือตั้งคำถาม สอน แบบ Facilitator คือ สอนไม่ให้รู้ตัวว่าถูกสอน หรือสอนแบบ Mentor เล่าประสบการณ์ให้ฟัง
  • 9. 7 ผมสอนเด็กวิศวะ ผมเริ่มจากการสอนให้พวกเขารักวิศวกรรมก่อน หลายคน ณ ปัจจุบัน เริ่มจะก้าว เข้าสู่ CEO แล้วเพราะเขามีหัวใจ รู้จัก Soft Side ผมสอนเศรษฐีหลายบริษัท หากอยากได้พันล้าน ต้องเปลี่ยน นิสัยชุดใหม่ทั้งหมด ถ้านิสัยและวิธีเดิมจะได้อยู่แบบเดิม ไม่มีทางได้เงินเพิ่มขึ้น ประเทศนี้ต้องสร้างเศรษฐี ต้อง หาเงินเป็น ไม่เช่นนั้นจะไม่มีใครใส่บาตรพระ ไม่มีใครบำรุงศาสนา อาจารย์ต้องร่วมมือกับคณะบริหารธุรกิจ หาเงินได้ หลายคณะควรรวมตัวกัน ถอดยศ ถอดตำแหน่ง ทำเพื่อมหาวิทยาลัย 5. สัมมาอาชีวะ หรือ The Right Career เชื่อมั่นในอาชีพครู จงภูมิใจในอาชีพของตนเอง อาจารย์ มหาวิทยาลัยต้องเป็นผู้นำทางสังคม ต้องเป็นนักเรียนรู้ ไม่ใช่เป็นนักเอาตัวรอด 6. สัมมาวายามะ เพียรชอบ เกิดฉันทะพยายาม ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ 7. สัมมาสติ 8. สัมมาสมาธิ ภาพที่ 3 มรรคมีองค์ 8 กับการพัฒนาในอาชีพ ที่มา: วรภัทร ภู่เจริญ (2565)
  • 10. 8 คำถาม – คำตอบ คำถามที่ 1 อาจารย์เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ แล้วอาจารย์ได้มาเจอพุทธเมื่อใด แล้วได้ประโยชน์ อะไรจากวิธีคิดแบบนี้ คำตอบ ผมเป็นนักเรียนรู้ จุดแข็งของไทยคือศาสนาพุทธ ผมฝึกเลย เลือกสายบวชพระป่า สายหลวงปู่มั่น ผม กราบเท้า ป.4 เพื่อเอาตัวตนออกไป การปฏิบัติธรรมทางพุทธ เป็นทักษะ ไม่ใช่วิชาการ ผมเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่ เสมอ ผมมองในหลวงรัชกาลที่ 9 ท่านเป็นวิศวกร ทำไมท่านมาทางธรรม และผมมีท่านพุทธทาสเป็นแรง บันดาลใจ ว่าให้ตั้งคำถาม ก็เลยเข้าวัดป่า แต่ผมเลือกไม่บวช ขอเป็นฆราวาส เป็นสายบริหาร เพื่อให้ลูกศิษย์ เข้าถึงง่าย จงให้แต่ละศาสนาเข้าใจศาสนาเขามากที่สุด ผมเลยจะอยากจะพัฒนาศาสนาพุทธระดับโลก ไป สอนในระดับโลกให้ได้ ต้องศึกษาทั้งวชิรยาน มหายาน เพราะแต่ละอย่างเป็นเรื่องเดียวกันทั้งหมด และพบว่า สายมหายานนั้นให้ความสำคัญกับจิตอาสา เน้นไปเรื่องการทำงานเป็นทีม เลยเอาข้อเด่นของมหายาน เรื่อง การทำงานเป็นทีมและจิตอาสาเพื่อผู้อื่น มาเผยแพร่ในไทย ร่วมกับการแปลพระสูตร นี่เป็นระบบการบริหาร จัดการทั้งหมด ทำให้ประเทศไทยมีจุดแข็งให้ได้ คำถามที่ 2 อาจารย์เปลี่ยนผู้บริหารอย่างไร คำตอบ การจะเปลี่ยนแปลงผู้บริหารยากมาก ต้องแก้ที่วิธีคิด ซึ่งยากสุด ต้องระเบิดจากภายในออกมา ผู้บริหารจะมีฟอร์มมากเกินไป ผมเคยเจออธิการบดีแห่งหนึ่งเดินเข้าห้องประชุมมา ไม่มองเห็นใครเลย ไม่เห็น ใครในสายตา เขาคิดว่าเขาฉลาดอยู่คนเดียว นี่ไม่ใช่นิสัยผู้นำที่ดี ถ้าเป็นแบบนี้ สอนเด็กไม่ได้ สอนเด็กยากแบบ นี้ คำถามที่ 3 อาจารย์เปลี่ยนผู้บริหารเอกชนอย่างไร เพราะคนกลุ่มนี้ก็น่าจะเปลี่ยนยากเช่นเดียวกัน คำตอบ CEO ระดับร้อยล้าน ให้คำปรึกษายากมาก เถ้าแก่ SME นี่เขาดื้อมาก คนเป็น CEO ระดับหมื่นล้าน แสนล้าน พวกนี้เป็นคนที่ง่ายมาก ง่ายตั้งแต่แรก เพียงแต่เขายังไม่มีโอกาสสนิทกับเรา วิธีสนิทกับเค้า คือ ผม ไปหาลูกศิษย์ หาลูกสาวเขาก่อน ลูกสาวเขาไปลูกศิษย์ทางธรรมผม จัดรายการธรรมะกัน ค่อย ๆ เข้าไปหา ผม ใช้หลักการของ David Rock เจ้าพ่อ Neuro Science ชม ฟัง ถาม และมี Feedback เป็นระยะ สุดท้าย เขา ระบายความทุกข์เขาออกมาเรื่อย ๆ เขาจะพาไปเจอตำแหน่งใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ Step by Step เศรษฐีเหล่านี้ เราเข้าถึงเจ้าเดียว เขาก็บอกต่อกัน คนเหล่านี้เขาจะมีเวทีพื้นที่คุยกันทุกเดือน คนพวกนี้ไม่โง่ เขาแค่ต้องการ คนที่สะท้อน ถามให้เห็น เขาอยากเป็นคนดีทุกคน เศรษฐีแสนล้าน อยากทำเพื่อแผ่นดินทั้งนั้น เพราะเขาไม่ได้ คิดเรื่องเงินแล้ว มีแต่จะให้แล้ว กล่าวโดยสรุป คือ เราต้องทำให้เขาระเบิดจากภายใน หลอกล่อให้เขาคิดได้เอง