SlideShare a Scribd company logo
1 of 25
บทที่ 1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษาบาลี
อาจารย์ ชินวัชร นิลเนตร
คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาในอดีตถูกจารึกจดจารบันทึกเป็นภาษาบาลีหรือ
ภาษามคธ ผู้ที่จะศึกษาค้นคว้าพระพุทธศาสนาในอดีตจึงต้องศึกษาภาษาบาลี
เพื่อที่จะได้แปลภาษาบาลีมาเป็ นภาษาไทยอีกทอดหนึ่ง ทาให้การศึกษา
พระพุทธศาสนาถูกจากัดอยู่ในวงแคบ ๆ คือพระสงฆ์ผู้มีความรู้ทางภาษาบาลี แต่
ในยุคปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้นภาษาได้รับการแปลจากภาษาหนึ่งเป็น
ภาษาหนึ่งเพียงชั่วพริบตาตาเดียว ดังเช่นโปรแกรมแปลภาษาทางอินเทอร์เน็ตก็ง่าย
และสะดวกขึ้น ภาษาบาลีก็ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆจานวนมาก แต่ผู้ศึกษา
พระพุทธศาสนามีความจาเป็นต้องรู้ภาษาบาลีบ้าง จึงได้นาการศึกษาภาษาบาลีมา
นาเสนอในเบื้องต้น
1.1 ประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลี
ภาษามคธ หรือที่นิยมเรียกกันในประเทศไทยว่า “ภาษาบาลี” เป็นภาษาที่บันทึกหลัก
คาสอนของพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ในสมัยพุทธกาล เชื่อกันว่าพระพุทธเจ้าทรงใช้ภาษาบาลี
ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา แต่ภาษาบาลีไม่มีตัวอักษรจึงยากที่จะศึกษา เมื่อไปอยู่ในภาษา
ใดก็ใช้ภาษานั้น ดังนั้นการศึกษาประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลีในบทนี้ จึงเป็นเพียง
ข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น หากนักศึกษาต้องการศึกษาอย่างละเอียดต้องศึกษาวิชาวรรณคดีบาลี
ดังนั้นในบทนี้จึงนาเสนอโดยสังเขปการศึกษาพุทธวจนะ
การศึกษาในพระพุทธศาสนานั้นมีหลายระดับจุดประสงค์ที่สาคัญที่สุดคือการหลุด
พ้นนั่นคือนิพพาน แต่การที่จะหลุดพ้นนั้นเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล บางคนเพียงได้ฟังการ
แสดงธรรมเพียงครั้งเดียวก็บรรลุทันที
พระพุทธศาสนานั้นนอกจากจะเรียกว่าพระธรรมวินัยแล้วงมีคาเรียกว่าพระ
สัทธรรม
สัทธรรมหมายถึงธรรมอันดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของสัตบุรุษ, หลักหรือแก่น
ศาสนา นั่นก็คือคาสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นได้กาหนดสิ่งที่จะต้องศึกษาไว้ 3
ประการคือ
1. ปริยัตติสัทธรรม หมายถึงสัทธรรมคือคาสั่งสอนจะต้องเล่าเรียน ได้แก่พุทธ
พจน์ เป็นการศึกษาทางทฤษฎีคือ การศึกษาพระธรรมวินัยให้มีความรู้เป็นพื้นฐานโดย
แจ่มแจ้งเสียก่อนว่า คาสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีอะไรบ้าง ถ้าจะนามา
ปฏิบัติจะทาอย่างไร และเมื่อปฏิบัติแล้วจะได้ผลอย่างไร
2. ปฏิปัตติสัทธรรม คือปฏิปทาอันจะต้องปฏิบัติ ได้แก่ อัฏฐังคิกมรรค หรือ
ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือการนาเอาพระธรรมวินัยมาปฏิบัติด้วยกาย วาจา ใจ
1.1 ประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลี (ต่อ)
ชื่อเรื่องและเค ้าโครงเนื้อหาพร ้อมด ้วย SmartArt
3. ปฏิเวธสัทธรรม คือสัทธรรมคือผลอันจะพึงเข้าถึงหรือบรรลุด้วยการปฏิบัติ
ได้แก่ มรรค ผล และนิพพาน เป็นขั้นที่แสดงถึงผลของการปฏิบัติตามพระธรรมคาสั่ง
สอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มหามกุฏราชวิทยาลัย, อรรถกถาวินัย มหาวิภังค์, เล่ม
1 ภาค 1,(กรุงเทพฯ:,มหามกุฏราชวิทยาลัย,2525), หน้า 740.
• ศึกษาพระปริยัติธรรมนี้ ส่วนใหญ่เป็ นพระภิกษุ
สามเณรผู้มีศรัทธาที่ได้เข้ามาบรรพชาอุปสมบทใน
พระพุทธศาสนา บุคคลที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาแล้วมี
ภารกิจที่ต้องทาสองประการ คือประการแรกได้แก่คันถธุระ
การศึกษาพระธรรมวินัยซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนไว้
การศึกษาชนิดนี้เน้นภาคทฤษฎี และประการที่สองคือวิปัสสนา
ธุระ การเรียนพระกรรมฐานโดยเน้นลงไปที่การปฏิบัติทางกาย
การแสดงพระธรรมเทศนา คาสั่งสอนที่พระพุทธองค์ทรงแสดงด้วยพระ
โอฏฐ์ ตามที่พระองค์จะทรงโปรดประทานพระสัทธรรมเทศนาแก่พุทธบริษัทตาม
สมควรแก่ฐานะผู้ที่ฟังมีทั้งพระภิกษุสงฆ์และคฤหัสถ์ สาหรับพระภิกษุสงฆ์นั้น เมื่อ
ได้ฟังพระสัทธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้วก็นามาถ่ายทอดแก่สัทธิวิหาริกและ
อันเตวาสิกต่อกันไป เนื่องจากในกลุ่มผู้ฟังนั้นมีหลายเชื้อชาติ หลายภาษา พระพุทธ
องค์ทรงใช้ภาษาอะไรในการแสดงธรรม จึงเป็นปัญหาที่นักปราชญ์ทั้งหลายถกเถียง
กันมาโดยตลอด
การศึกษาคาสอนของพระพุทธเจ้านี้เรียกว่าคันถธุระหรือการศึกษาพระ
ปริยัติธรรมซึ่งมี 9 ประการ เรียกว่า “นวังคสัตถุศาสน์” แปลว่า คาสอนของพระ
ศาสดามีองค์เก้า ซึ่งได้แก่ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก
อัพภูตธรรม และเวทัลละ พระปริยัติธรรม หรือ นวังคสัตถุศาสน์นี้ พระพุทธเจ้าทรง
แสดงด้วยภาษาบาลี แต่ทว่าภาษาบาลีคือภาษาอะไรกันแน่
1.1 ประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลี (ต่อ)
ในสมัยพุทธกาลบรรดาสาวกผู้เข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนานั้นมีหลายวรรณะทั้ง
กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร และมาจากหลายเมือง ซึ่งแต่เมืองคงจะมีภาษาพูดของตนเอง
เนื่องพระพุทธเจ้าเป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาคือฉลาดในภาษา ดังนั้นคงต้องใช้หลายภาษาในการแสดง
พระธรรมเทศนาดังนี้มีผู้กล่าวไว้ว่า “สมัยพุทธกาล ภาษาต่างๆที่พระพุทธองค์ทรงใช้ประกาศ
พระศาสนาแสดงธรรมสั่งสอนประชาชนนั้นมีมากภาษาทั้งประเภทภาษาปรากฤต ทั้งประเภท
ภาษาสันสกฤต แต่ก็เป็นเครือของภาษาอริยกะทั้งนั้น ส่วนมากก็เป็นประเภทภาษาปรากฤต
โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษามคธที่เป็นภาษาสามัญซึ่งชาวบ้านชาวเมืองเขาใช้พูดกันทั่วๆไปใน
ท้องถิ่นอันอยู่ในอิทธิพลของภาษามคธที่เรียกว่าอสุทธมาคธี ส่วนน้อยก็เป็นประเภทภาษา
สันสกฤตคือภาษาปรากฤตที่ปรับปรุงดีแล้ว คาสั่งสอนในสมัยพุทธกาลนั้น ก็หาเรียกว่าบาลีไม่
เพราะพระพุทธองค์กาลังสั่งสอนอยู่คาสั่งสอนครั้งนั้นเป็นแต่ตรัสเรียกรวมๆว่าธรรมซึ่งทรงระบุ
ไว้9 ลักษณะเรียกว่านวังคสัตถุศาสน์
1.1 ประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลี (ต่อ)
พระพุทธเจ้าทรงใช้ภาษาอะไรแสดงพระธรรมเทศนา,พิมพ์ครั้งที่2,
(กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย,2532),หน้า 21)
ประเทศอินเดียมีภาษาหลักอยู่2 ตระกูล คือ ภาษาปรากฤต และ ภาษา
สันสกฤต ในภาษาปรากฤตแบ่งย่อยออกเป็น 6 ภาษา คือ
1. ภาษามาคธี ภาษาที่ใช้พูดกันอยู่ในแคว้นมคธ
2. ภาษามหาราษฎรี ภาษาที่ใช้พูดกันอยู่ในแคว้นมหาราษฎร์
3. ภาษาอรรถมาคธี ภาษากึ่งมาคธี เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาษาอารษปรากฤต
4. ภาษาเศารนี ภาษาที่ใช้พูดกันอยู่ในแคว้นศูรเสน
5. ภาษาไปศาจี ภาษีปีศาจ หรือภาษาชั้นต่า และ
6. ภาษาอปภรังศ ภาษาปรากฤตรุ่นหลังที่ไวยากรณ์ได้เปลี่ยนไปเกือบ
หมดแล้ว
ภาษามาคธี หรือ ภาษามคธ เป็นภาษาที่พระพุทธเจ้าทรงใช้สั่งสอนประชาชน
ครั้นต่อมาพระพุทธศาสนาได้มาเจริญแพร่หลายที่ประเทศศรี
1.1 ประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลี(ต่อ)
ภาษามาคธี หรือ ภาษามคธ เป็นภาษาที่พระพุทธเจ้าทรงใช้สั่งสอนประชาชน ครั้น
ต่อมาพระพุทธศาสนาได้มาเจริญแพร่หลายที่ประเทศศรีลังกา ภาษามาคธีได้ถูกนักปราชญ์
แก้ไขดัดแปลงรูปแบบไวยากรณ์ให้กระทัดรัดยิ่งขึ้นจึงมีชื่อใหม่ว่า “ปาลี” หรือ ภาษาบาลี เป็น
ภาษาจารึกพระไตรปิฏกดังที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบันคาว่า บาลี มาจากคาว่า ปาลี ซึ่งวิเคราะห์มา
จาก ปาล ธาตุ ในความรักษา ลง ณี ปัจจัย ๆ ที่เนื่องด้วย ณ ลบ ณ ทิ้งเสีย มีรูปวิเคราะห์ว่า
พุทธวจน ปาเลตีติ ปาลี(ภาสา) แปลโดยพยัญชนะว่า ภาษาใดย่อมรักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ
เพราะเหตุนั้น ภาษานั้นชื่อว่า ปาลี แปลโดยอรรถว่า ภาษาที่รักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ พระมหา
ฉลาด ปริญฺาโณ,คู่มือการเรียนบาลีไวยากรณ์(กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง,2530),หน้า 2)
ภาษาบาลี (Pali จากศัพท์ภาษาเดิมว่า Pāli) เป็นภาษาของอินเดียฝ่ายเหนือในสมัย
ราวคริสต์ศตวรรษที่ 7-6 ก่อนคริสต์กาล อยู่ในตระกูลอินโดยุโรเปี ยน (Indo-
European) และอยู่ในกลุ่มอินโดอารยัน (Indo-Aryan) เช่นเดียวกับภาษา
สันสกฤต นักปราชญ์ทางภาษาส่วนใหญ่จัดเข้าอยู่ในกลุ่มอินโดอารยันหรืออินดิกสมัยกลาง
(Middle Indo-Aryan หรือ Middle Indic) แต่ผู้ที่ค้านว่าไม่ใช่ เป็นภาษา
สมัยใหม่กว่านั้นก็มี เป็นภาษาปรากฤต (ภาษาถิ่นในอินเดียสมัยนั้น) ภาษาหนึ่ง ซึ่งไม่มีผู้ใด
สามารถชี้ขาดลงไปได้ว่าเป็นภาษาของถิ่นใดกันแน่และมีต้นกาเนิดมาจากภาษาอะไร อย่างไร แต่
ส่วนใหญ่ลงมติกันว่าเป็นภาษาอินดิกสมัยกลางรุ่นเก่ากว่าภาษาปรากฤตอื่น ๆ โดยดูจากรูปภาษา
ภาษาบาลีใช้กันแพร่ หลายในฐานะภาษาที่ใช้เขียนคัมภีร์พุทธศาสนาฝ่ ายเถรวาท
ความหมายของคาว่า Pāli โดยปรกติแปลกันว่า แถว แนว ขอบเขต เป็นต้น ผู้นับถือ
พุทธศาสนาส่วนใหญ่เชื่อว่า บาลี คือภาษาของชาวมคธ ซึ่งมีถิ่นที่อยู่ทางใต้ของแคว้นพิหาร
ปัจจุบัน เพราะพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่กรุงราชคฤห์ เมืองหลวงของแคว้นมคธนาน คงจะใช้ภาษา
มคธในการเผยแพร่พุทธศาสนา ความเชื่อนี้แพร่หลายมากโดยเฉพาะในเมืองไทยสมัยก่อน จะเห็น
ได้จากพจนานุกรมหรือปทานุกรมรุ่นเก่าที่มักย่อชื่อภาษาบาลีว่า ม. อันหมายถึง มคธ คาว่า ภาษา
มคธ นี้เป็นชื่อที่เรียกกันในเมืองไทยเท่านั้น
1.1 ประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลี (ต่อ)
ศัพท์เฉพาะที่เป็นชื่อภาษาของชาวมคธคือคาว่า มาคธี (Māgadhī) แต่ก็มีผู้แย้งว่า ลักษณะ
ของภาษามาคธีต่างกันบาลีหลายประการ จึงไม่น่าจะเป็นภาษาเดียวกัน เช่น
1.ใช้เสียง ś (ตาลุชะ) ในที่ที่ภาษาบาลีใช้เสียง s (ทันตชะ) ทั้งนี้เพราะภาษามาคธีมีเสียงอุสุม
เสียงเดียว คือ เสียงอุสุมชนิดตาลุชะ(palatal ś)ไม่ใช่เสียงอุสุมชนิดทันตชะ (dental s)
เหมือนบาลี
2. เสียง rที่บาลีมี มาคธีไม่มี ใช้เสียง I แทน
3. เสียงท้ายคานาม a การันต์วิภัตติ์ที่ 1 เอกพจน์ที่บาลีเป็น o มาคธีเป็น e
4. เสียง y ระหว่างสระ (intervocalic ya) บางครั้งก็หายไป บางครั้งก็เปลี่ยนเป็นเสียง
j ไม่คงเดิมตลอดเหมือนบาลี
1.1 ประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลี (ต่อ)
นักปราชญ์ผู้ให้เหตุผลนี้ที่สาคัญมีอยู่สองคนคือ บุร์นุฟ (Burnouf)และลาสเลน
(Lassen) (พระมหาเสฐียรพงษ์ ปุณณวณฺโณ, โครงการตาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
,(พระนคร: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชช,2514),หน้า 8) แต่เหตุผลดังกล่าวก็มีผู้แย้งว่า เหตุที่เป็น
เช่นนั้นเพราะพระพุทธเจ้าเป็นชาวแคว้นโกศล มิใช่แคว้นมคธ สาเนียงพูดย่อมเพี้ยนจากคนท้องถิ่น
นั้นไปบ้างไม่มากก็น้อย เรียกว่าเป็นการพูดภาษามคธแบบชาวโกศล อีกประการหนึ่ง พระองค์ได้ตรัส
ว่า ไม่ควรยึดมั่นในภาษาถิ่นใดถิ่นหนึ่ง เมื่อเสด็จไปสอนที่ใดก็คงจะทรงใช้ภาษาถิ่นนั้น ภาษาจึงอาจเกิด
การปะปนกัน ประกอบกับการใช้ศัพท์เฉพาะที่แปลกออกไปภาษามาคธีที่พระพุทธเจ้าตรัสจึงไม่ควรจะ
ใช่ภาษามาคธีบริสุทธิ์ที่ชาวมคธใช้พูดกัน เพราะได้รับอิทธิพลมาจาภาษาอื่น เหตุผลอีกข้อหนึ่งก็คือ
เรารู้จักลักษณะภาษามาคธีอย่างที่เป็นอยู่นี้จากบทละครสันสกฤต ซึ่งเขียนขึ้นหลังสมัยพุทธกาลเป็น
เวลานาน ไม่มีใครรู้ว่าในสมัยพุทธกาลภาษาภาษามาคธีมีลักษณะอย่างไร อาจคล้ายคลึงกับภาษาบาลี
มากก็ได้ แล้วจึงได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระยะหลัง ภาษาบาลีเองก็เป็นภาษาที่ถ่ายทอดกันมาโดยมุข
ปาฐ (Oral Tradition)
1.1 ประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลี (ต่อ)
กว่าจะได้จารึกเป็นหลักฐานก็เป็นภาษาตาย ไม่มีใครใช้พูดกันแล้ว ในขณะที่ภาษามาคธีซึ่งยัง
ไม่ตายได้วิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงรูปไปเรื่อย ๆ จนแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง จึงไม่เป็นที่ยอมรับว่าเป็น
ภาษาเดียวกัน นักปราชญ์บางคน เช่น เวสเตอร์การ์ด (Westergard)คูห์น(E. Kuhn) และ
ฟรังเก (R.O. Franke) อ้างหลักฐานจากศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกว่า พระมหินทรเถระ โอรส
พระเจ้าอโศก ผู้เดินทางไปเผยแพร่พุทธศาสนายังลังกาทวีป ได้ใช้ภาษาของพระองค์ซึ่งมีลักษณะคล้าย
ภาษาบาลี เมื่อลังการับคาสอนทางพุทธศาสนาจึงรับภาษานั้นมาใช้ด้วย และภาษานี้เองที่ได้วิวัฒนาการมา
เป็นภาษาบาลีที่เรารู้จักกัน นักปราชญ์กลุ่มนี้สันนิษฐานว่าต้นกาเนิดของภาษาบาลีน่าจะอยู่บริเวณที่
เรารู้จักกัน นักปราชญ์กลุ่มนี้สันนิษฐานว่าต้นกาเนิดของภาษาบาลีน่าจะอยู่บริเวณตั้งแต่ใจกลางของ
ประเทศอินเดียจนจดเทือกเขาหิมาลัยตะวันตก ใกล้เคียงกับบริเวณกรุงอุชเชนี เพราะพระมหินทรเถระ
เป็นชาวอุชเชนี แต่ข้อเสนอดังกล่าว โอลเดนแบร์ก (Oldenberg) ไม่เห็นด้วย ทั้งข้อที่ว่า พระมหิ
นทรเถระเป็นชาวอุชเชนี และข้อที่ว่าได้เสด็จไปสืบศาสนาที่ลังกา เสนาะ ผดุงฉัตร,ความรู้เบื้องต้น
เกี่ยวกับวรรณคดีบาลี,(กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย,2532),หน้า 67) ผู้รู้บาง
กลุ่มไม่บอกประวัติของภาษาว่ามีกาเนิดแต่ไหน เพียงแต่แปลคาว่า Pāli ว่ามาจาก Pāla แปลว่า
คุ้มครอง รักษา หมายถึง เป็นภาษาที่คุ้มครองรักษาพุทธศาสนาไว้ให้ยืนยงต่อมาตราบเท่าทุกวันนี้
1.1 ประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลี (ต่อ)
บางคนก็เชื่อว่าภาษาบาลีอาจเป็นภาษาที่พระพุทธองค์ทรงประดิษฐ์ขึ้น(artificial
language) เพื่อใช้เป็นภาษากลางในการเผยแพร่พุทธศาสนา เพราะไม่ต้องการเลือกที่รัก
มักที่ชังด้วยการใช้ภาษาถิ่นใดถิ่นหนึ่ง แต่ได้ดัดแลปงให้ออกเสียงง่ายและสะดวกกว่าสันสกฤต
รูปคาหลายรูปคลายความซับซ้อนลง และไม่เหมือนภาษาถิ่นใด อาจเป็นการรวมและหลอม
ออกมาใหม่แล้วตั้งชื่อใหม่ก็เป็นได้ ข้อที่ควรสังเกตก็คือ ภาษาบาลีเดิมไม่ได้ชื่อนี้ ไม่มีใคร
ทราบว่าชื่ออะไร คาว่า Pāli เดิมเป็นคาที่ใช้เรียกคาสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ชื่อ ภาษา เช่น
ในสานวนว่า "ในพระบาลี" ภาษานี้ได้ชื่อว่า Pāliหรือบาลี เพราะใช้ถ่ายทอดพระไตรปิฎก
เช่นเดียวกับภาษาพระเวทซึ่งไม่มีใครทราบว่าชื่ออะไร เรียกกันทั่วไปว่าภาษาพระเวทเพราะใช้
บันทึกคัมภีร์พระเวท
ภาษาบาลีนั้น มติของนักปราชญ์ทั้งตะวันตก ตะวันออก เห็นขัดแย้งกันไปหมด บ้าง
ว่า เป็นภาษาชาวโกศลพูด เพราะพระผู้มีพระภาคเป็นชาวแคว้นโกศล ในธรรมเจติยสูตร พระ
เจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลพระศาสดาว่า พระผู้มีพระภาคเป็นชาวโกศล แม้หม่อมฉันก็เป็นชาว
โกศล เพราะฉะนั้น พระองค์จะต้องใช้ภาษาชาติภูมิของพระองค์ ในการประกาศพระศาสนา
1.1 ประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลี (ต่อ)
1. บางท่านก็เห็นว่า บาลีเป็นภาษาอวันตีโบราณ เพราะพระมหินทร์ เป็นชาวเวทิสาคีรีในอ
วันตี นาเอาภาษานี้ไปลังกา
2. บางมติก็ว่า เป็นภาษาอินเดียภาคใต้
3. แต่มติส่วนใหญ่ยืนยันว่า เป็นภาษามคธโบราณที่ เรียกว่า "มาคธี" จัดอยู่ในสกุลภาษา
ปรากฤต เมื่อสรุปมติต่างๆ เหล่านี้ เราได้สาระที่น่าเชื่ออยู่ข้อหนึ่งคือ ภาษาบาลีในพระไตรปิฎกนั้น
เป็นภาษามคธอย่างแน่แท้คาว่า "บาลี" นอกจากจะหมายถึงภาษาอันมีระเบียบแบบแผน คานี้ยังเลือน
มาจากคาว่า "ปาฏลี" ซึ่งหมายถึงเมืองปาฏลีบุตรนั่นเอง เพราะฉะนั้นภาษาบาลีก็คือ ภาษาปาฏลีบุตร
อันเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธต่อจากกรุงราชคฤห์ แต่เหตุใดภาษาบาลีจึงสูญไปจากอินเดีย นั่นก็
เพราะเมื่อแคว้นมคธเสื่อมอานาจลง ภาษาอื่นได้ไหลเข้ามาแทนที่ ภาษาดั้งเดิมค่อยๆ สลายตัวเอง โดย
ราษฎรหันไปนิยมพูดภาษาผู้มาปกครอง ความจริงพระศาสดามิได้ผูกขาดภาษาใดภาษาหนึ่งในการ
แสดงธรรม พระองค์เองตรัสภาษาท้องถิ่นต่างๆของอินเดียได้ ทรงแสดงธรรมด้วยหลายภาษา ทรง
อนุญาตให้เรียนพุทธพจน์ด้วยภาษาท้องถิ่นได้ ครั้งหนึ่งมีภิกษุพี่น้องสกุลพราหมณ์ ทูลขอพุทธา
นุญาต ยกพุทธพจน์ขึ้นสู่ภาษาเดียวเช่นกับภาษาในพระเวททรงติเตียน แต่เหตุไฉนปฐมสังคายนาจึง
ใช้แต่ภาษาบาลีภาษาเดียวขึ้นสู่สังคีติเล่า เหตุผลมีดังนี้คือ
1.1 ประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลี (ต่อ)
1) การประชุมสังคายนา ต้องการความสามัคคี ความเป็นระเบียบ ถ้าปล่อยให้ผู้ประชุม ต่างรูปต่างใช้ภาษา
ท้องถิ่นของตนๆที่ประชุมก็ไม่เป็นอันประชุม ไม่เป็นระเบียบ
2) ภาษาบาลี เป็นภาษาชาวมคธ การประชุมก็ทากันในมคธย่อมเป็นธรรมดาอยู่เอง ต้องเลือกภาษานี้
3) พระอรหันต์ ผู้เข้าประชุม เข้าใจว่าส่วนใหญ่เป็นชาวมคธหรือชาวเมืองอื่นที่ขึ้นอยู่กับมคธ
4) มคธในครั้งนั้น เป็นมหาอานาจชั้นหนึ่งในอินเดีย มีเมืองขึ้น เช่น โกศล วัชชี กาสี จัมปา ภาษามคธจึงเป็น
ภาษาที่มีอิทธิพลในยุคนั้น (เสถียร โพธินันทะ,ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, พิมพ์ครั้งที่ 4,(กรุงเทพฯ:
มหามกุฏราชวิทยาลัย,2543),หน้า 71)
อย่างไรก็ตามคณะสงฆ์อื่นๆ ที่ใช้ภาษาท้องถิ่นไม่ใช่มคธรองรับพุทธพจน์ก็ยังมีอีกมากกว่ามาก นั่นคือ
เหตุผลที่ใช้ภาษาบาลีในการบันทึกหลักคาสอนของพระพุทธศาสนาเถรวาท อักษรที่ใช้เขียนภาษาบาลี
1.1 ประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลี (ต่อ)
เนื่องจากภาษาบาลีไม่มีตัวอักษร มีแต่เสียงเมื่อไปอยู่ในภาษาใดจึงใช้ตัวอักษรในภาษานั้น
เขียนเช่น อักษรไทย พราหมี, เทวนาครี, สีหล, พม่า, มอญ, ขอม, ลาว โรมัน เป็นต้น(ฉลาด บุญ
ลอย, ประวัติวรรณคดีบาลีตอน 1,(พระนคร:มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2505), หน้า 23)
ภาษาบาลีไม่มีตัวอักษรของตนเอง เรียกว่าเป็นภาษาพูดที่ถ่ายทอดกันมาโดยการท่องจาโดย
แท้ ใช้ในถิ่นใดก็ใช้อักษรของถิ่นนั้นถ่ายเสียง เช่น ไทยก็ใช้อักษรไทย ลาวใช้อักษรธรรม เขมรใช้
อักษรขอม (ส่วนใหญ่เป็นขอมบรรจง) ในซีกโลกตะวันตกใช้อักษรโรมัน ถ้าอักษรภาษาใดถ่ายเสียง
ได้ไม่ครบ เสียงก็จะเปลี่ยนไป และในปัจจุบัน อักษรโรมันก็เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในการศึกษา
ภาษาบาลีเช่นเดียวกับภาษาสันสกฤต ตามเหตุผลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น อีกทั้งเพื่อให้สะดวกในการ
เปรียบเทียบเสียงระหว่างภาษา ตามหลักภาษาศาสตร์ด้วยและเมื่อถ่ายเสียงด้วยอักษรตัวโรมัน ก็จะใช้
ชื่อย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Pนักปราชญ์บางท่านยืนยันว่า ภาษาปาลิหรือบาลีนั้นหมายถึงภาษาท้องถิ่น
ของชาวมคธ มีลักษณะมีลักษณะที่สาคัญคือ (1) ภาษาบาลีเป็นอุตตมภาษาคือภาษาชั้นสูง (2) ภาษา
มคธเป็นมูลภาษาคือภาษาดั้งเดิมสมัยแรกตั้งปฐมกัป(พระเทพเมธาจารย์ (เช้า ฐิตปุญฺ, แบบเรียน
วรรณคดีประเภทคัมภีร์บาลีไวยากรณ์,(พระนคร: รงพิมพ์ประยูรวงศ์, 2504, 19)
1.1 ประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลี (ต่อ)
1.2 อักขระภาษาลี
อักขระ หมายถึง ตัวอักษรหรือตัวหนังสือในภาษาบาลี แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สระ และพยัญชนะ คือ (พัฒน์ เพ็งผลา
2553: 3-9)
1) สระภาษาลี (Vowel) มีอยู่ 8 เสียง เรียกว่านิสสัย เพราะออกเสียงเองได้คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
แบ่งเป็นสระเสียงสั้น 3 ตัว และสระเสียงยาว 3 ตัว และสระผลระหว่างเสียสั้นและเสียงยาวอีก2 สระ คือ อ+อิ =
เอ อ+อุ = โอ - สระเสียงสั้นเรียกว่า รัสสะสระ มี 3 ตัว คือ อะ อิ อุ- สระเสียงยาวเรียกว่า ทีฆะสระ มี 5 ตัว
คือ อา อี อู เอ โอ
2) พยัญชนะภาษาบาลี (Consonant) พยัญชนะในภาษาบาลีมี 33 ตัว พยัญชนะเรียกว่านิสสิต
แปลว่า อาศัย หมายถึง ต้องอาศัยสระจึงออกเสียได้พยัญชนะแบ่งเป็น2 วรรค คือ พยัญชนะวรรค (Grouped)
กับพยัญชนะอวรรค (Non-grouped) ตามต่อไปนี้
2.1) พยัญชนะวรรค หมายถึงพยัญชนะที่ฐานเกิดเดียวกัน มี 25 ตัว แบ่ง 5
วรรค แต่ละ มี 5 ตัว ดังนี้
วรรคที่ 1 เรียกว่า ก วรรค คือ ก ข ค ฆ ง เกิดที่คอ เรียกว่า กัฏฐชะ
วรรคที่ 2 เรียกว่า จ วรรค คือ จ ฉ ฌ ช ญ เกิดที่เพดาน เรียกว่า ตาลุชะ
วรรคที่ 3 เรียกว่า ฏ วรรค คือ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ เกิดที่เหงือกเรียกว่า มุทธชะ
วรรคที่ 4 เรียกว่า ต วรรค คือ ต ถ ท ธ น เกิดที่ ฟัน เรียกว่าทันตชะ
วรรคที่ 5 เรียกว่า ป วรรค คือ ป ผ พ ภ ม เกิดที่ ริมฝีปากเรียกว่าโอฏฐชะ
1.2 อักขระภาษาลี (ต่อ)
2.2) พยัญชนะอวรรค หรือเศษวรรค
พยัญชนะอวรรค หรือเศษวรรค หมายถึง พยัญชนะที่จัดเป็นพวกเดียวกันตามฐานที่เกิด
ไม่ได้มี 8 ตัวรวมนิคหิต อ คือ อวรรค (เศษวรรค) ได้แก่ ย ร ล ว ส ห ฬ อ
ตารางแสดงหน่วยเสียงในภาษาบาลี ตามแหล่งเสียง (วรรค) เขียนด้วยอักษรไทยและอักษรโรมัน
ตารางแสดงหน่วยเสียงในภาษาบาลี ตามแหล่งเสียง (วรรค) เขียนด้วยอักษรไทยและอักษรโรมัน
วรรค
สระ อโฆษะ (ไม่ก้อง) โฆษะ (ก้อง)
นาสิกรั ส ส ร ะ
(สั้น)
ที ฆสระ
(ยาว)
สิ ถิ ล
(เบา)
ธนิต (หนัก) สิถิล (เบา) ธนิต (หนัก)
กัณฐชะ อะ อา ก ข ค ฆ ง
ตาลุชะ อิ อี , เอ จ ฉ ช ฌ ญ
มุทธชะ - - ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
อักษรไทยและอักษรโรมัน
ทันตชะ - - ต ถ ท ธ น
โอฏฐชะ อุ อู , โอ ป ผ พ ภ ม
การเทียบเสียงภาษาบาลี จากอักษรไทย เป็ นอักษรโรมัน
เทียบอักษรไทยเป็นโรมันที่ใช้เขียนบาลี
อักษรไทยที่ใช้ในบาลี อักษรโรมัน
ก ข ค ฆ ง k, kh, g, gh, ṅ
จ ฉ ช ฌ ญ c, ch, j, jh, ñ
ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ṭ, ṭh, ḍ, ḍh, ṇ
ต ถ ท ธ น t, th, d, dh, n
ป ผ พ ภ ม p, ph, b, bh, m
ย ร ล ว ส ห ฬ อ y, r, l, v, s, h, ḷ , ṁ ṃ หรือ ŋ
อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ a, ā, i, ī, u, ū, e,o
ตัวอย่างการเทียบเสียงด้วยอักษรโรมัน
นโม ตสฺส : Namo tassa ภควโต อรหโต : Bhagavato Arahato
สมฺมสมฺพุทฺธสฺส: Sammāsambuddhassa อชฺฌตฺติก : Ajjhattika
อนฺตฺรธาน : antaradhāna อุปทฺทวเหตุ : Upaddavahetu
ชมฺพูนท : jambūnada ขณฺฑสกฺขรา : khaṇḍhasakkharā
ทุพฺภิกฺขภย : dubbhikkhabhaya ทุกฺกรกิริยา : dukkarakiriyā
ปจฺจตฺถรณ : paccattharaṇa ปพฺพาชนียกมฺม : pabbājanīyakamma
ปทวลญฺช : padavalañja ปุญฺญาภินิหาร : puññābhinihāra
ราชปลฺลงฺก : rājapallanka สุปฏิปนฺโน : supatipanno
1.3 การเขียนและออกเสียงคาในภาษาบาลี
พยัญชนะบาลีเมื่อนามาใช้เป็นศัพท์หรือคา มีการใช้พยัญชนะอยู่2 ชนิด คือ
1. พยัญชนะเดี่ยว หมายถึงคาที่มีพยัญชนะเดี่ยวอยู่ที่พยางค์ต้น กลาง หรือท้ายคา พยัญชนะเดี่ยว ทาหน้าที่เป็นพยัญชนะต้น เป็น
ตัวสะกดไม่ได้ยกเว้นนิคคหิต อ (อัง) พยัญชนะเดี่ยวเวลาออกเสียงจะต้องมีเสียงกากับพยัญชนะทุกตัว สระ อะ เวลาเขียนด้วยอักษรไทย
ไม่มีรูป สระ อะ ที่ตัวพยัญชนะเดี่ยว แต่เวลาออกเสียงต้องออกเสียงสระ อะ เวลาเขียนด้วยอักษรโรมัน จะมีรูปสระ a ท้ายพยัญชนะ
เดี่ยวนั้นๆ เช่น
เสียง อะ เช่น นร –nara อ่านว่า น-ะระ (คน) ธน- dhana อ่านว่า ทะ-นะ (ทรัพย์) ผล – phala อ่านว่า ผะ-ละ
(ผลไม้) คาที่พยัญชนะเดี่ยวที่มีเสียงสระอื่น ดังนี้
เสียง อา เช่น นาวา nava อ่านว่า นา-วา (เรือ) มาลา-mala อ่านว่า มา-ลา (ดอกไม้) ตารา-tara อ่านว่า ตา-รา (ดวงดาว) เป็นต้น
เสียง อิ เช่น วิธิ – vidhi อ่านว่า วิ-ทิ (วิธี) นิธิ –nidhi อ่านว่า นิ-ทิ แปลว่า ขุมทรัพย์มิติ- miti อ่านว่า มิติ แปลว่า
การวัด เป็นต้น
เสียง อี เช่น มาลี–mali อ่านว่า มา-ลี แปลว่า คนทาดอกไม้สามี – sami อ่านว่า สา-มี เป็นต้น
เสียง อุ เช่น ครุ – garu อ่านว่า คะ-รุ แปลว่าครู ปสุ- pasu อ่านว่า ปะ-สุ (สัตว์เลี้ยง) เป็นต้น
เสียง อู เช่น วิทู –vidu อ่านว่า วิ-ดู หรือ วิ-ทู แปลว่า คนฉลาด วธู –vadhu อ่านว่าวะ-ทู แปลว่า หญิงสาว เป็นต้น
เสียง เอ เช่น เวร-vera อ่านว่า เว-ระ (เวร) แปลว่าเวร เมรย –meraya อ่านว่า เม-ระ-ยะ แปลว่า น้าเมา เป็นต้น
เสีย โอ เช่น โลก –loka อ่านว่า โล-กะ แปลว่า โลก โจร-cora อ่านว่า โจ-ระ เป็นต้น
2. พยัญชนะคู่ บาลีเรียกว่าพยัญชนะซ้อนหรือพยัญชนะสังโยค หมายถึงมีการซ้อนพยัญชนะในวรรค ตัวที่ 2 และ 3 ในวรรค
เดียวกัน พยัญชนะตัวที่ 2 ทาหน้าที่เป็นตัวสะกด เวลาเขียนให้ใช้จุด( . ) ใต้ตัวสะกด ถ้าไม่มีสระทาหน้าที่เป็นไม้หันอากาศด้วย เช่น
สจฺจ อ่านว่า สัด-จะ ถ้ามีตัวสระเป็นตัวสะกด อย่างเดียว เช่น เสฏฺฐี อ่านว่า เสด-ถี, ทุกฺข อ่านว่า ดุก-ขะ/ ทุก-ขะ, อกฺขร อ่านว่า อักขะระ
วฏฺฏ อ่านว่า วัด-ตะ, วิญฺญาณ อ่านว่า วิน-ยา-นะ เป็นต้น
3. เครื่องหมายในภาษาบาลี
1. นิคคหิต (อํ) อ่านว่า อัง เป็นจุดอยู่บนตัวอักษรตัวสุดท้าย ใช้แทน ไม้หันอากาศ และ ง เช่น พุทฺธ (พุดทัง) ธมฺม (ทามัง)
สงฺฆ (สังคัง) สรณ (สะระนัง) อห (อะ-หัง) ตฺว (ตะ-วัง) เป็นต้น พยัญชนะที่อาศัยสระอยู่ และมีนิคคหิต (อ) วางกากับอยู่ข้างบน
นิคคหิตนั้นจะต้องอ่านเป็น ง เช่น ปสฺสึ อ่านว่า ปัสสิง, กาเรสึ อ่านว่า กาเรสิง
2. จุดพินทุ (.) เป็นจุดที่เขียนไว้ใต้พยัญชนะ มี สองลักษณะ ดังนี้
(2.1) เป็นตัวสะกด พยัญชนะ ที่ใช้เป็นตัวสะกดในภาษาบาลี ในกรณีที่ไม่มีสระอยู่พยัญชนะตัวหน้าพยัญชนะที่มีจุดจะเป็นตัวสะกด
และเป็นไม้หันอากาศของพยัญชนะตัวหน้า เช่น สตฺต ราชภฎฺนครราชสีมา ถ้ามีสระอยู่ให้พยัญชนะตัวหน้าอยู่เป็นเพียงแค่ตัวสะกด
วิญฺญาณ, เวสฺสุวณฺโณ, อุณฺห (ความร้อน) โกณฺทญฺญภิกฺขุ, สิกฺขา, มนุสฺโส เป็นต้น
(2.2) เป็นพยัญชนะต้น โดยปกติแล้วในภาษาบาลีไม่มีการใส่จุดใต้คาพยัญชนะต้น หรือ
พยัญชนะถ้าไม่ใช่ตัวสะกดตามที่กล่าวมาข้างบน แต่มีคาที่ยืมมาจากภาษาสันสกฤต เพื่อให้เกิดเสียงควบ
กล้า ด้านหลังเหมือนภาษาเดิม จึงมีจุดไว้เพื่อให้ออกเสียงควบกล้า เช่น ทฺวาร (ประตู) วฺยญฺชน
(พยัญชนะ) ทฺวิ (สอง) พฺราหฺมณ (bra-hma-na เป็นต้น
(2.3) พยัญชนะที่อาศัยสระอยู่ และพยัญชนะตัวถัดมาจะมีพินทุ (.) หรือจุดวางกากับอยู่ใต้
พยัญชนะ ตัวถัดมานั้น ก็ให้อ่านออกเสียงเป็นตัวสะกดธรรมดา เช่น ภิกฺขุสฺส อ่านว่า ภิกขุสสะ ปกฺ
โกเปนฺติ อ่านว่า ปักโกเปนติ
3) คาที่มี ตฺวา ตฺวาน เป็นตัวสะกด ซึ่งวางกากับอยู่สุดท้าย จะต้องอ่านออกเสียง ตฺ ซึ่งเป็นตัวสะกดของ
คาหน้า ตฺ นั้น ให้ออกเสียง ตฺ (ตะ)ด้วย ซึ่งจะมีการออกครึ่งเสียง (ออกเสียงสั้นๆ) เช่น ทตฺวา อ่านว่า ทัด
ตะวา ทตฺวาน อ่านว่า ทัดตะวานะ (ตฺ อ่านว่า ตะ ออกครึ่งเสียง)
4) กรณีที่ ต ไม่มีพินทุ (.) หรือจุดอยู่ใต้เหมือนข้อ 4 ก็ให้อ่านออกเสียงเต็มเสียงตามปกติเหมือน การ
อ่านออกเสียงในข้อ 1 เช่น ทตวา อ่านว่า ทะ ตะ วา สุตวา อ่านว่า สุ ตะ วา
5) ยังมีศัพท์ที่ทาหน้าที่เป็นตัวสะกดและต้องออกเสียงในตัวของมันเองด้วย โดยออกเสียงครึ่งเสียง
เช่น สกฺยปุตฺโต อ่านว่า สักกะยะปุตโต ตุณฺหี อ่านว่า ตุนนะฮี ตสฺมา อ่านว่า ตัสสะมา

More Related Content

What's hot

การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)sudoooooo
 
บทที่ 6 การใช้ภาษาบาลีและการใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทย
บทที่ 6 การใช้ภาษาบาลีและการใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทยบทที่ 6 การใช้ภาษาบาลีและการใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทย
บทที่ 6 การใช้ภาษาบาลีและการใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทยGawewat Dechaapinun
 
งานนำเสนอมัทนะพาธา
งานนำเสนอมัทนะพาธางานนำเสนอมัทนะพาธา
งานนำเสนอมัทนะพาธาSantichon Islamic School
 
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญาปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญาpentanino
 
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรีพัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรีพัน พัน
 
โวหารในการเขียน
โวหารในการเขียนโวหารในการเขียน
โวหารในการเขียนkrubuatoom
 
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนา
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนาเทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนา
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนาCC Nakhon Pathom Rajabhat University
 
ศาสนาชินโต
ศาสนาชินโตศาสนาชินโต
ศาสนาชินโตPadvee Academy
 
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิ
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิแบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิ
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิSurapong Klamboot
 
ศิลปะไทย
ศิลปะไทยศิลปะไทย
ศิลปะไทยTonkao Limsila
 
กาพย์ยานี11 ป.5
กาพย์ยานี11 ป.5กาพย์ยานี11 ป.5
กาพย์ยานี11 ป.5SAM RANGSAM
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรีกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรีTheeraphisith Candasaro
 
ปรัชญาทั่วไป ตอน ปรัชญาอินเดีย
ปรัชญาทั่วไป ตอน ปรัชญาอินเดียปรัชญาทั่วไป ตอน ปรัชญาอินเดีย
ปรัชญาทั่วไป ตอน ปรัชญาอินเดียPadvee Academy
 
คัมภีร์ฉันทศาสตร์
คัมภีร์ฉันทศาสตร์คัมภีร์ฉันทศาสตร์
คัมภีร์ฉันทศาสตร์Khwanruthai Kongpol
 
หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้
หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้
หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้Sutthiluck Kaewboonrurn
 
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6 กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6 Bom Anuchit
 
อารยธรรมจีน
อารยธรรมจีนอารยธรรมจีน
อารยธรรมจีนพัน พัน
 

What's hot (20)

การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
 
บทที่ 6 การใช้ภาษาบาลีและการใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทย
บทที่ 6 การใช้ภาษาบาลีและการใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทยบทที่ 6 การใช้ภาษาบาลีและการใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทย
บทที่ 6 การใช้ภาษาบาลีและการใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทย
 
งานนำเสนอมัทนะพาธา
งานนำเสนอมัทนะพาธางานนำเสนอมัทนะพาธา
งานนำเสนอมัทนะพาธา
 
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญาปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
 
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรีพัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
 
ใบความรู้ เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก
ใบความรู้ เรื่อง มหาเวสสันดรชาดกใบความรู้ เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก
ใบความรู้ เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก
 
โวหารในการเขียน
โวหารในการเขียนโวหารในการเขียน
โวหารในการเขียน
 
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนา
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนาเทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนา
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนา
 
ใบงานกฎหมาย
ใบงานกฎหมายใบงานกฎหมาย
ใบงานกฎหมาย
 
ศาสนาชินโต
ศาสนาชินโตศาสนาชินโต
ศาสนาชินโต
 
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิ
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิแบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิ
แบบฝึกทักษะเรื่องคำสมาสสนธิ
 
ศิลปะไทย
ศิลปะไทยศิลปะไทย
ศิลปะไทย
 
กาพย์ยานี11 ป.5
กาพย์ยานี11 ป.5กาพย์ยานี11 ป.5
กาพย์ยานี11 ป.5
 
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรีกระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
กระทู้ ธรรมศึกษาชั้นตรี
 
พัฒนาการความเป็นมาของพระไตรปิฎก
พัฒนาการความเป็นมาของพระไตรปิฎกพัฒนาการความเป็นมาของพระไตรปิฎก
พัฒนาการความเป็นมาของพระไตรปิฎก
 
ปรัชญาทั่วไป ตอน ปรัชญาอินเดีย
ปรัชญาทั่วไป ตอน ปรัชญาอินเดียปรัชญาทั่วไป ตอน ปรัชญาอินเดีย
ปรัชญาทั่วไป ตอน ปรัชญาอินเดีย
 
คัมภีร์ฉันทศาสตร์
คัมภีร์ฉันทศาสตร์คัมภีร์ฉันทศาสตร์
คัมภีร์ฉันทศาสตร์
 
หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้
หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้
หลักการทรงงาน 23 ข้อกับการประยุกต์ใช้
 
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6 กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6
กาพย์เห่เรือ บทชมปลา ภาษาไทย ม.6
 
อารยธรรมจีน
อารยธรรมจีนอารยธรรมจีน
อารยธรรมจีน
 

Viewers also liked

ไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น
ไวยากรณ์บาลีเบื้องต้นไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น
ไวยากรณ์บาลีเบื้องต้นPrasit Koeiklang
 
ภาษาบาลี ชุดที่ ๓ นามศัพท์ ลิงค์ วจนะ วิภัตติ
ภาษาบาลี ชุดที่ ๓   นามศัพท์ ลิงค์ วจนะ วิภัตติภาษาบาลี ชุดที่ ๓   นามศัพท์ ลิงค์ วจนะ วิภัตติ
ภาษาบาลี ชุดที่ ๓ นามศัพท์ ลิงค์ วจนะ วิภัตติAnchalee BuddhaBucha
 
นาม และ อัพยยศัพท์
นาม และ อัพยยศัพท์นาม และ อัพยยศัพท์
นาม และ อัพยยศัพท์Prasit Koeiklang
 
ความถนัดทางภาษาบาลี (PAT 7.6) รหัสวิชา 82
ความถนัดทางภาษาบาลี (PAT 7.6) รหัสวิชา 82ความถนัดทางภาษาบาลี (PAT 7.6) รหัสวิชา 82
ความถนัดทางภาษาบาลี (PAT 7.6) รหัสวิชา 82Korrakot Intanon
 
บทที่ 2 นามศัพท์
บทที่ 2 นามศัพท์บทที่ 2 นามศัพท์
บทที่ 2 นามศัพท์Gawewat Dechaapinun
 
Pat7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี
Pat7.6 ความถนัดทางภาษาบาลีPat7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี
Pat7.6 ความถนัดทางภาษาบาลีTheyok Tanya
 
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
Pat7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี
Pat7.6 ความถนัดทางภาษาบาลีPat7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี
Pat7.6 ความถนัดทางภาษาบาลีJutarat Piamrod
 

Viewers also liked (9)

ไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น
ไวยากรณ์บาลีเบื้องต้นไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น
ไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น
 
ภาษาบาลี ชุดที่ ๓ นามศัพท์ ลิงค์ วจนะ วิภัตติ
ภาษาบาลี ชุดที่ ๓   นามศัพท์ ลิงค์ วจนะ วิภัตติภาษาบาลี ชุดที่ ๓   นามศัพท์ ลิงค์ วจนะ วิภัตติ
ภาษาบาลี ชุดที่ ๓ นามศัพท์ ลิงค์ วจนะ วิภัตติ
 
ประมวลปัญหาเฉลยบาลี
ประมวลปัญหาเฉลยบาลีประมวลปัญหาเฉลยบาลี
ประมวลปัญหาเฉลยบาลี
 
นาม และ อัพยยศัพท์
นาม และ อัพยยศัพท์นาม และ อัพยยศัพท์
นาม และ อัพยยศัพท์
 
ความถนัดทางภาษาบาลี (PAT 7.6) รหัสวิชา 82
ความถนัดทางภาษาบาลี (PAT 7.6) รหัสวิชา 82ความถนัดทางภาษาบาลี (PAT 7.6) รหัสวิชา 82
ความถนัดทางภาษาบาลี (PAT 7.6) รหัสวิชา 82
 
บทที่ 2 นามศัพท์
บทที่ 2 นามศัพท์บทที่ 2 นามศัพท์
บทที่ 2 นามศัพท์
 
Pat7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี
Pat7.6 ความถนัดทางภาษาบาลีPat7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี
Pat7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี
 
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
 
Pat7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี
Pat7.6 ความถนัดทางภาษาบาลีPat7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี
Pat7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี
 

Similar to เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1

เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธตเธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธตGawewat Dechaapinun
 
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทยคำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทยพัน พัน
 
คำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤตคำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤตphornphan1111
 
ภาษาไทย ม.ปลาย พท31001
ภาษาไทย ม.ปลาย พท31001ภาษาไทย ม.ปลาย พท31001
ภาษาไทย ม.ปลาย พท31001Thidarat Termphon
 
บทความทางวิชาการ
บทความทางวิชาการบทความทางวิชาการ
บทความทางวิชาการnootsaree
 
คำยืมภาษาบาลี
คำยืมภาษาบาลีคำยืมภาษาบาลี
คำยืมภาษาบาลีพัน พัน
 
เอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรี
เอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรีเอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรี
เอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรีTheeraphisith Candasaro
 
บทท 3-6 กศบป
บทท   3-6 กศบปบทท   3-6 กศบป
บทท 3-6 กศบปNamfon Wannapa
 
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทย
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทยบทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทย
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทยAj.Mallika Phongphaew
 
Eฎภาษาไทย ม.ต้น พท21001
Eฎภาษาไทย ม.ต้น พท21001Eฎภาษาไทย ม.ต้น พท21001
Eฎภาษาไทย ม.ต้น พท21001Thidarat Termphon
 
9789740335610
97897403356109789740335610
9789740335610CUPress
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย ป.5 ใหม่1
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย  ป.5   ใหม่1ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย  ป.5   ใหม่1
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย ป.5 ใหม่1sripayom
 

Similar to เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1 (20)

เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธตเธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
 
Pali and Sanskrit in Thai
Pali   and   Sanskrit  in  ThaiPali   and   Sanskrit  in  Thai
Pali and Sanskrit in Thai
 
ภาษาบาลีสันสกฤตที่เกี่ยวกับภาษาไทย
ภาษาบาลีสันสกฤตที่เกี่ยวกับภาษาไทยภาษาบาลีสันสกฤตที่เกี่ยวกับภาษาไทย
ภาษาบาลีสันสกฤตที่เกี่ยวกับภาษาไทย
 
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทยคำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
 
คำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤตคำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤต
 
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของม.ราชภัฎสวนดุสิต
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของม.ราชภัฎสวนดุสิตภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของม.ราชภัฎสวนดุสิต
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของม.ราชภัฎสวนดุสิต
 
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของม.ราชภัฎสวนดุสิต
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของม.ราชภัฎสวนดุสิตภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของม.ราชภัฎสวนดุสิต
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของม.ราชภัฎสวนดุสิต
 
ภาษาไทย ม.ปลาย พท31001
ภาษาไทย ม.ปลาย พท31001ภาษาไทย ม.ปลาย พท31001
ภาษาไทย ม.ปลาย พท31001
 
บทความทางวิชาการ
บทความทางวิชาการบทความทางวิชาการ
บทความทางวิชาการ
 
บทที่ 1 แก้
บทที่ 1 แก้บทที่ 1 แก้
บทที่ 1 แก้
 
คำยืมภาษาบาลี
คำยืมภาษาบาลีคำยืมภาษาบาลี
คำยืมภาษาบาลี
 
ภาษาถิ่นตะโหมด
ภาษาถิ่นตะโหมดภาษาถิ่นตะโหมด
ภาษาถิ่นตะโหมด
 
3 lang
3 lang3 lang
3 lang
 
เอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรี
เอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรีเอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรี
เอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรี
 
บทท 3-6 กศบป
บทท   3-6 กศบปบทท   3-6 กศบป
บทท 3-6 กศบป
 
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทย
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทยบทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทย
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทย
 
Eฎภาษาไทย ม.ต้น พท21001
Eฎภาษาไทย ม.ต้น พท21001Eฎภาษาไทย ม.ต้น พท21001
Eฎภาษาไทย ม.ต้น พท21001
 
Wordpress2
Wordpress2Wordpress2
Wordpress2
 
9789740335610
97897403356109789740335610
9789740335610
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย ป.5 ใหม่1
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย  ป.5   ใหม่1ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย  ป.5   ใหม่1
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ภาษาไทย ป.5 ใหม่1
 

More from Gawewat Dechaapinun

เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰Gawewat Dechaapinun
 
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰Gawewat Dechaapinun
 
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรบทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรGawewat Dechaapinun
 
บทที่ ๒ ศาสนาโบราณ
บทที่ ๒ ศาสนาโบราณบทที่ ๒ ศาสนาโบราณ
บทที่ ๒ ศาสนาโบราณGawewat Dechaapinun
 
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรบทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรGawewat Dechaapinun
 
บทที่ 2 ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์
บทที่ 2 ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์บทที่ 2 ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์
บทที่ 2 ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์Gawewat Dechaapinun
 
Chapter 4 properties of glazes and control
Chapter 4 properties of glazes and controlChapter 4 properties of glazes and control
Chapter 4 properties of glazes and controlGawewat Dechaapinun
 
Chapter 2.1 glaze classifications
Chapter 2.1 glaze classificationsChapter 2.1 glaze classifications
Chapter 2.1 glaze classificationsGawewat Dechaapinun
 
Chapter 1.3 properties of glass crystalline mixtures
Chapter 1.3 properties of glass crystalline mixturesChapter 1.3 properties of glass crystalline mixtures
Chapter 1.3 properties of glass crystalline mixturesGawewat Dechaapinun
 

More from Gawewat Dechaapinun (20)

Chapter 5 glazes defects
Chapter 5 glazes defectsChapter 5 glazes defects
Chapter 5 glazes defects
 
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
 
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
 
งานนำเสนอ8
งานนำเสนอ8งานนำเสนอ8
งานนำเสนอ8
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1
 
Chapter 3 glaze manufacturing
Chapter 3 glaze manufacturingChapter 3 glaze manufacturing
Chapter 3 glaze manufacturing
 
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรบทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
 
บทที่ ๒ ศาสนาโบราณ
บทที่ ๒ ศาสนาโบราณบทที่ ๒ ศาสนาโบราณ
บทที่ ๒ ศาสนาโบราณ
 
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรบทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
 
งานนำเสนอ7
งานนำเสนอ7งานนำเสนอ7
งานนำเสนอ7
 
งานนำเสนอ6
งานนำเสนอ6งานนำเสนอ6
งานนำเสนอ6
 
บทที่ 2 ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์
บทที่ 2 ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์บทที่ 2 ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์
บทที่ 2 ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์
 
งานนำเสนอ5
งานนำเสนอ5งานนำเสนอ5
งานนำเสนอ5
 
งานนำเสนอ4
งานนำเสนอ4งานนำเสนอ4
งานนำเสนอ4
 
Chapter 4 properties of glazes and control
Chapter 4 properties of glazes and controlChapter 4 properties of glazes and control
Chapter 4 properties of glazes and control
 
Chapter 3 glaze manufacturing
Chapter 3 glaze manufacturingChapter 3 glaze manufacturing
Chapter 3 glaze manufacturing
 
Chapter 3 glaze manufacturing
Chapter 3 glaze manufacturingChapter 3 glaze manufacturing
Chapter 3 glaze manufacturing
 
Chapter 2.3 glaze calculations
Chapter 2.3 glaze calculationsChapter 2.3 glaze calculations
Chapter 2.3 glaze calculations
 
Chapter 2.1 glaze classifications
Chapter 2.1 glaze classificationsChapter 2.1 glaze classifications
Chapter 2.1 glaze classifications
 
Chapter 1.3 properties of glass crystalline mixtures
Chapter 1.3 properties of glass crystalline mixturesChapter 1.3 properties of glass crystalline mixtures
Chapter 1.3 properties of glass crystalline mixtures
 

เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1

  • 2. คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาในอดีตถูกจารึกจดจารบันทึกเป็นภาษาบาลีหรือ ภาษามคธ ผู้ที่จะศึกษาค้นคว้าพระพุทธศาสนาในอดีตจึงต้องศึกษาภาษาบาลี เพื่อที่จะได้แปลภาษาบาลีมาเป็ นภาษาไทยอีกทอดหนึ่ง ทาให้การศึกษา พระพุทธศาสนาถูกจากัดอยู่ในวงแคบ ๆ คือพระสงฆ์ผู้มีความรู้ทางภาษาบาลี แต่ ในยุคปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้นภาษาได้รับการแปลจากภาษาหนึ่งเป็น ภาษาหนึ่งเพียงชั่วพริบตาตาเดียว ดังเช่นโปรแกรมแปลภาษาทางอินเทอร์เน็ตก็ง่าย และสะดวกขึ้น ภาษาบาลีก็ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆจานวนมาก แต่ผู้ศึกษา พระพุทธศาสนามีความจาเป็นต้องรู้ภาษาบาลีบ้าง จึงได้นาการศึกษาภาษาบาลีมา นาเสนอในเบื้องต้น
  • 3. 1.1 ประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลี ภาษามคธ หรือที่นิยมเรียกกันในประเทศไทยว่า “ภาษาบาลี” เป็นภาษาที่บันทึกหลัก คาสอนของพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ในสมัยพุทธกาล เชื่อกันว่าพระพุทธเจ้าทรงใช้ภาษาบาลี ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา แต่ภาษาบาลีไม่มีตัวอักษรจึงยากที่จะศึกษา เมื่อไปอยู่ในภาษา ใดก็ใช้ภาษานั้น ดังนั้นการศึกษาประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลีในบทนี้ จึงเป็นเพียง ข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น หากนักศึกษาต้องการศึกษาอย่างละเอียดต้องศึกษาวิชาวรรณคดีบาลี ดังนั้นในบทนี้จึงนาเสนอโดยสังเขปการศึกษาพุทธวจนะ การศึกษาในพระพุทธศาสนานั้นมีหลายระดับจุดประสงค์ที่สาคัญที่สุดคือการหลุด พ้นนั่นคือนิพพาน แต่การที่จะหลุดพ้นนั้นเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล บางคนเพียงได้ฟังการ แสดงธรรมเพียงครั้งเดียวก็บรรลุทันที
  • 4. พระพุทธศาสนานั้นนอกจากจะเรียกว่าพระธรรมวินัยแล้วงมีคาเรียกว่าพระ สัทธรรม สัทธรรมหมายถึงธรรมอันดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของสัตบุรุษ, หลักหรือแก่น ศาสนา นั่นก็คือคาสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นได้กาหนดสิ่งที่จะต้องศึกษาไว้ 3 ประการคือ 1. ปริยัตติสัทธรรม หมายถึงสัทธรรมคือคาสั่งสอนจะต้องเล่าเรียน ได้แก่พุทธ พจน์ เป็นการศึกษาทางทฤษฎีคือ การศึกษาพระธรรมวินัยให้มีความรู้เป็นพื้นฐานโดย แจ่มแจ้งเสียก่อนว่า คาสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีอะไรบ้าง ถ้าจะนามา ปฏิบัติจะทาอย่างไร และเมื่อปฏิบัติแล้วจะได้ผลอย่างไร 2. ปฏิปัตติสัทธรรม คือปฏิปทาอันจะต้องปฏิบัติ ได้แก่ อัฏฐังคิกมรรค หรือ ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือการนาเอาพระธรรมวินัยมาปฏิบัติด้วยกาย วาจา ใจ 1.1 ประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลี (ต่อ)
  • 5. ชื่อเรื่องและเค ้าโครงเนื้อหาพร ้อมด ้วย SmartArt 3. ปฏิเวธสัทธรรม คือสัทธรรมคือผลอันจะพึงเข้าถึงหรือบรรลุด้วยการปฏิบัติ ได้แก่ มรรค ผล และนิพพาน เป็นขั้นที่แสดงถึงผลของการปฏิบัติตามพระธรรมคาสั่ง สอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มหามกุฏราชวิทยาลัย, อรรถกถาวินัย มหาวิภังค์, เล่ม 1 ภาค 1,(กรุงเทพฯ:,มหามกุฏราชวิทยาลัย,2525), หน้า 740. • ศึกษาพระปริยัติธรรมนี้ ส่วนใหญ่เป็ นพระภิกษุ สามเณรผู้มีศรัทธาที่ได้เข้ามาบรรพชาอุปสมบทใน พระพุทธศาสนา บุคคลที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาแล้วมี ภารกิจที่ต้องทาสองประการ คือประการแรกได้แก่คันถธุระ การศึกษาพระธรรมวินัยซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนไว้ การศึกษาชนิดนี้เน้นภาคทฤษฎี และประการที่สองคือวิปัสสนา ธุระ การเรียนพระกรรมฐานโดยเน้นลงไปที่การปฏิบัติทางกาย
  • 6. การแสดงพระธรรมเทศนา คาสั่งสอนที่พระพุทธองค์ทรงแสดงด้วยพระ โอฏฐ์ ตามที่พระองค์จะทรงโปรดประทานพระสัทธรรมเทศนาแก่พุทธบริษัทตาม สมควรแก่ฐานะผู้ที่ฟังมีทั้งพระภิกษุสงฆ์และคฤหัสถ์ สาหรับพระภิกษุสงฆ์นั้น เมื่อ ได้ฟังพระสัทธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้วก็นามาถ่ายทอดแก่สัทธิวิหาริกและ อันเตวาสิกต่อกันไป เนื่องจากในกลุ่มผู้ฟังนั้นมีหลายเชื้อชาติ หลายภาษา พระพุทธ องค์ทรงใช้ภาษาอะไรในการแสดงธรรม จึงเป็นปัญหาที่นักปราชญ์ทั้งหลายถกเถียง กันมาโดยตลอด การศึกษาคาสอนของพระพุทธเจ้านี้เรียกว่าคันถธุระหรือการศึกษาพระ ปริยัติธรรมซึ่งมี 9 ประการ เรียกว่า “นวังคสัตถุศาสน์” แปลว่า คาสอนของพระ ศาสดามีองค์เก้า ซึ่งได้แก่ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม และเวทัลละ พระปริยัติธรรม หรือ นวังคสัตถุศาสน์นี้ พระพุทธเจ้าทรง แสดงด้วยภาษาบาลี แต่ทว่าภาษาบาลีคือภาษาอะไรกันแน่ 1.1 ประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลี (ต่อ)
  • 7. ในสมัยพุทธกาลบรรดาสาวกผู้เข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนานั้นมีหลายวรรณะทั้ง กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร และมาจากหลายเมือง ซึ่งแต่เมืองคงจะมีภาษาพูดของตนเอง เนื่องพระพุทธเจ้าเป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาคือฉลาดในภาษา ดังนั้นคงต้องใช้หลายภาษาในการแสดง พระธรรมเทศนาดังนี้มีผู้กล่าวไว้ว่า “สมัยพุทธกาล ภาษาต่างๆที่พระพุทธองค์ทรงใช้ประกาศ พระศาสนาแสดงธรรมสั่งสอนประชาชนนั้นมีมากภาษาทั้งประเภทภาษาปรากฤต ทั้งประเภท ภาษาสันสกฤต แต่ก็เป็นเครือของภาษาอริยกะทั้งนั้น ส่วนมากก็เป็นประเภทภาษาปรากฤต โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษามคธที่เป็นภาษาสามัญซึ่งชาวบ้านชาวเมืองเขาใช้พูดกันทั่วๆไปใน ท้องถิ่นอันอยู่ในอิทธิพลของภาษามคธที่เรียกว่าอสุทธมาคธี ส่วนน้อยก็เป็นประเภทภาษา สันสกฤตคือภาษาปรากฤตที่ปรับปรุงดีแล้ว คาสั่งสอนในสมัยพุทธกาลนั้น ก็หาเรียกว่าบาลีไม่ เพราะพระพุทธองค์กาลังสั่งสอนอยู่คาสั่งสอนครั้งนั้นเป็นแต่ตรัสเรียกรวมๆว่าธรรมซึ่งทรงระบุ ไว้9 ลักษณะเรียกว่านวังคสัตถุศาสน์ 1.1 ประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลี (ต่อ)
  • 8. พระพุทธเจ้าทรงใช้ภาษาอะไรแสดงพระธรรมเทศนา,พิมพ์ครั้งที่2, (กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย,2532),หน้า 21) ประเทศอินเดียมีภาษาหลักอยู่2 ตระกูล คือ ภาษาปรากฤต และ ภาษา สันสกฤต ในภาษาปรากฤตแบ่งย่อยออกเป็น 6 ภาษา คือ 1. ภาษามาคธี ภาษาที่ใช้พูดกันอยู่ในแคว้นมคธ 2. ภาษามหาราษฎรี ภาษาที่ใช้พูดกันอยู่ในแคว้นมหาราษฎร์ 3. ภาษาอรรถมาคธี ภาษากึ่งมาคธี เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาษาอารษปรากฤต 4. ภาษาเศารนี ภาษาที่ใช้พูดกันอยู่ในแคว้นศูรเสน 5. ภาษาไปศาจี ภาษีปีศาจ หรือภาษาชั้นต่า และ 6. ภาษาอปภรังศ ภาษาปรากฤตรุ่นหลังที่ไวยากรณ์ได้เปลี่ยนไปเกือบ หมดแล้ว ภาษามาคธี หรือ ภาษามคธ เป็นภาษาที่พระพุทธเจ้าทรงใช้สั่งสอนประชาชน ครั้นต่อมาพระพุทธศาสนาได้มาเจริญแพร่หลายที่ประเทศศรี 1.1 ประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลี(ต่อ)
  • 9. ภาษามาคธี หรือ ภาษามคธ เป็นภาษาที่พระพุทธเจ้าทรงใช้สั่งสอนประชาชน ครั้น ต่อมาพระพุทธศาสนาได้มาเจริญแพร่หลายที่ประเทศศรีลังกา ภาษามาคธีได้ถูกนักปราชญ์ แก้ไขดัดแปลงรูปแบบไวยากรณ์ให้กระทัดรัดยิ่งขึ้นจึงมีชื่อใหม่ว่า “ปาลี” หรือ ภาษาบาลี เป็น ภาษาจารึกพระไตรปิฏกดังที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบันคาว่า บาลี มาจากคาว่า ปาลี ซึ่งวิเคราะห์มา จาก ปาล ธาตุ ในความรักษา ลง ณี ปัจจัย ๆ ที่เนื่องด้วย ณ ลบ ณ ทิ้งเสีย มีรูปวิเคราะห์ว่า พุทธวจน ปาเลตีติ ปาลี(ภาสา) แปลโดยพยัญชนะว่า ภาษาใดย่อมรักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ เพราะเหตุนั้น ภาษานั้นชื่อว่า ปาลี แปลโดยอรรถว่า ภาษาที่รักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ พระมหา ฉลาด ปริญฺาโณ,คู่มือการเรียนบาลีไวยากรณ์(กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง,2530),หน้า 2) ภาษาบาลี (Pali จากศัพท์ภาษาเดิมว่า Pāli) เป็นภาษาของอินเดียฝ่ายเหนือในสมัย ราวคริสต์ศตวรรษที่ 7-6 ก่อนคริสต์กาล อยู่ในตระกูลอินโดยุโรเปี ยน (Indo- European) และอยู่ในกลุ่มอินโดอารยัน (Indo-Aryan) เช่นเดียวกับภาษา สันสกฤต นักปราชญ์ทางภาษาส่วนใหญ่จัดเข้าอยู่ในกลุ่มอินโดอารยันหรืออินดิกสมัยกลาง
  • 10. (Middle Indo-Aryan หรือ Middle Indic) แต่ผู้ที่ค้านว่าไม่ใช่ เป็นภาษา สมัยใหม่กว่านั้นก็มี เป็นภาษาปรากฤต (ภาษาถิ่นในอินเดียสมัยนั้น) ภาษาหนึ่ง ซึ่งไม่มีผู้ใด สามารถชี้ขาดลงไปได้ว่าเป็นภาษาของถิ่นใดกันแน่และมีต้นกาเนิดมาจากภาษาอะไร อย่างไร แต่ ส่วนใหญ่ลงมติกันว่าเป็นภาษาอินดิกสมัยกลางรุ่นเก่ากว่าภาษาปรากฤตอื่น ๆ โดยดูจากรูปภาษา ภาษาบาลีใช้กันแพร่ หลายในฐานะภาษาที่ใช้เขียนคัมภีร์พุทธศาสนาฝ่ ายเถรวาท ความหมายของคาว่า Pāli โดยปรกติแปลกันว่า แถว แนว ขอบเขต เป็นต้น ผู้นับถือ พุทธศาสนาส่วนใหญ่เชื่อว่า บาลี คือภาษาของชาวมคธ ซึ่งมีถิ่นที่อยู่ทางใต้ของแคว้นพิหาร ปัจจุบัน เพราะพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่กรุงราชคฤห์ เมืองหลวงของแคว้นมคธนาน คงจะใช้ภาษา มคธในการเผยแพร่พุทธศาสนา ความเชื่อนี้แพร่หลายมากโดยเฉพาะในเมืองไทยสมัยก่อน จะเห็น ได้จากพจนานุกรมหรือปทานุกรมรุ่นเก่าที่มักย่อชื่อภาษาบาลีว่า ม. อันหมายถึง มคธ คาว่า ภาษา มคธ นี้เป็นชื่อที่เรียกกันในเมืองไทยเท่านั้น 1.1 ประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลี (ต่อ)
  • 11. ศัพท์เฉพาะที่เป็นชื่อภาษาของชาวมคธคือคาว่า มาคธี (Māgadhī) แต่ก็มีผู้แย้งว่า ลักษณะ ของภาษามาคธีต่างกันบาลีหลายประการ จึงไม่น่าจะเป็นภาษาเดียวกัน เช่น 1.ใช้เสียง ś (ตาลุชะ) ในที่ที่ภาษาบาลีใช้เสียง s (ทันตชะ) ทั้งนี้เพราะภาษามาคธีมีเสียงอุสุม เสียงเดียว คือ เสียงอุสุมชนิดตาลุชะ(palatal ś)ไม่ใช่เสียงอุสุมชนิดทันตชะ (dental s) เหมือนบาลี 2. เสียง rที่บาลีมี มาคธีไม่มี ใช้เสียง I แทน 3. เสียงท้ายคานาม a การันต์วิภัตติ์ที่ 1 เอกพจน์ที่บาลีเป็น o มาคธีเป็น e 4. เสียง y ระหว่างสระ (intervocalic ya) บางครั้งก็หายไป บางครั้งก็เปลี่ยนเป็นเสียง j ไม่คงเดิมตลอดเหมือนบาลี 1.1 ประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลี (ต่อ)
  • 12. นักปราชญ์ผู้ให้เหตุผลนี้ที่สาคัญมีอยู่สองคนคือ บุร์นุฟ (Burnouf)และลาสเลน (Lassen) (พระมหาเสฐียรพงษ์ ปุณณวณฺโณ, โครงการตาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ,(พระนคร: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชช,2514),หน้า 8) แต่เหตุผลดังกล่าวก็มีผู้แย้งว่า เหตุที่เป็น เช่นนั้นเพราะพระพุทธเจ้าเป็นชาวแคว้นโกศล มิใช่แคว้นมคธ สาเนียงพูดย่อมเพี้ยนจากคนท้องถิ่น นั้นไปบ้างไม่มากก็น้อย เรียกว่าเป็นการพูดภาษามคธแบบชาวโกศล อีกประการหนึ่ง พระองค์ได้ตรัส ว่า ไม่ควรยึดมั่นในภาษาถิ่นใดถิ่นหนึ่ง เมื่อเสด็จไปสอนที่ใดก็คงจะทรงใช้ภาษาถิ่นนั้น ภาษาจึงอาจเกิด การปะปนกัน ประกอบกับการใช้ศัพท์เฉพาะที่แปลกออกไปภาษามาคธีที่พระพุทธเจ้าตรัสจึงไม่ควรจะ ใช่ภาษามาคธีบริสุทธิ์ที่ชาวมคธใช้พูดกัน เพราะได้รับอิทธิพลมาจาภาษาอื่น เหตุผลอีกข้อหนึ่งก็คือ เรารู้จักลักษณะภาษามาคธีอย่างที่เป็นอยู่นี้จากบทละครสันสกฤต ซึ่งเขียนขึ้นหลังสมัยพุทธกาลเป็น เวลานาน ไม่มีใครรู้ว่าในสมัยพุทธกาลภาษาภาษามาคธีมีลักษณะอย่างไร อาจคล้ายคลึงกับภาษาบาลี มากก็ได้ แล้วจึงได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระยะหลัง ภาษาบาลีเองก็เป็นภาษาที่ถ่ายทอดกันมาโดยมุข ปาฐ (Oral Tradition) 1.1 ประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลี (ต่อ)
  • 13. กว่าจะได้จารึกเป็นหลักฐานก็เป็นภาษาตาย ไม่มีใครใช้พูดกันแล้ว ในขณะที่ภาษามาคธีซึ่งยัง ไม่ตายได้วิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงรูปไปเรื่อย ๆ จนแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง จึงไม่เป็นที่ยอมรับว่าเป็น ภาษาเดียวกัน นักปราชญ์บางคน เช่น เวสเตอร์การ์ด (Westergard)คูห์น(E. Kuhn) และ ฟรังเก (R.O. Franke) อ้างหลักฐานจากศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกว่า พระมหินทรเถระ โอรส พระเจ้าอโศก ผู้เดินทางไปเผยแพร่พุทธศาสนายังลังกาทวีป ได้ใช้ภาษาของพระองค์ซึ่งมีลักษณะคล้าย ภาษาบาลี เมื่อลังการับคาสอนทางพุทธศาสนาจึงรับภาษานั้นมาใช้ด้วย และภาษานี้เองที่ได้วิวัฒนาการมา เป็นภาษาบาลีที่เรารู้จักกัน นักปราชญ์กลุ่มนี้สันนิษฐานว่าต้นกาเนิดของภาษาบาลีน่าจะอยู่บริเวณที่ เรารู้จักกัน นักปราชญ์กลุ่มนี้สันนิษฐานว่าต้นกาเนิดของภาษาบาลีน่าจะอยู่บริเวณตั้งแต่ใจกลางของ ประเทศอินเดียจนจดเทือกเขาหิมาลัยตะวันตก ใกล้เคียงกับบริเวณกรุงอุชเชนี เพราะพระมหินทรเถระ เป็นชาวอุชเชนี แต่ข้อเสนอดังกล่าว โอลเดนแบร์ก (Oldenberg) ไม่เห็นด้วย ทั้งข้อที่ว่า พระมหิ นทรเถระเป็นชาวอุชเชนี และข้อที่ว่าได้เสด็จไปสืบศาสนาที่ลังกา เสนาะ ผดุงฉัตร,ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับวรรณคดีบาลี,(กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย,2532),หน้า 67) ผู้รู้บาง กลุ่มไม่บอกประวัติของภาษาว่ามีกาเนิดแต่ไหน เพียงแต่แปลคาว่า Pāli ว่ามาจาก Pāla แปลว่า คุ้มครอง รักษา หมายถึง เป็นภาษาที่คุ้มครองรักษาพุทธศาสนาไว้ให้ยืนยงต่อมาตราบเท่าทุกวันนี้ 1.1 ประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลี (ต่อ)
  • 14. บางคนก็เชื่อว่าภาษาบาลีอาจเป็นภาษาที่พระพุทธองค์ทรงประดิษฐ์ขึ้น(artificial language) เพื่อใช้เป็นภาษากลางในการเผยแพร่พุทธศาสนา เพราะไม่ต้องการเลือกที่รัก มักที่ชังด้วยการใช้ภาษาถิ่นใดถิ่นหนึ่ง แต่ได้ดัดแลปงให้ออกเสียงง่ายและสะดวกกว่าสันสกฤต รูปคาหลายรูปคลายความซับซ้อนลง และไม่เหมือนภาษาถิ่นใด อาจเป็นการรวมและหลอม ออกมาใหม่แล้วตั้งชื่อใหม่ก็เป็นได้ ข้อที่ควรสังเกตก็คือ ภาษาบาลีเดิมไม่ได้ชื่อนี้ ไม่มีใคร ทราบว่าชื่ออะไร คาว่า Pāli เดิมเป็นคาที่ใช้เรียกคาสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ชื่อ ภาษา เช่น ในสานวนว่า "ในพระบาลี" ภาษานี้ได้ชื่อว่า Pāliหรือบาลี เพราะใช้ถ่ายทอดพระไตรปิฎก เช่นเดียวกับภาษาพระเวทซึ่งไม่มีใครทราบว่าชื่ออะไร เรียกกันทั่วไปว่าภาษาพระเวทเพราะใช้ บันทึกคัมภีร์พระเวท ภาษาบาลีนั้น มติของนักปราชญ์ทั้งตะวันตก ตะวันออก เห็นขัดแย้งกันไปหมด บ้าง ว่า เป็นภาษาชาวโกศลพูด เพราะพระผู้มีพระภาคเป็นชาวแคว้นโกศล ในธรรมเจติยสูตร พระ เจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลพระศาสดาว่า พระผู้มีพระภาคเป็นชาวโกศล แม้หม่อมฉันก็เป็นชาว โกศล เพราะฉะนั้น พระองค์จะต้องใช้ภาษาชาติภูมิของพระองค์ ในการประกาศพระศาสนา 1.1 ประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลี (ต่อ)
  • 15. 1. บางท่านก็เห็นว่า บาลีเป็นภาษาอวันตีโบราณ เพราะพระมหินทร์ เป็นชาวเวทิสาคีรีในอ วันตี นาเอาภาษานี้ไปลังกา 2. บางมติก็ว่า เป็นภาษาอินเดียภาคใต้ 3. แต่มติส่วนใหญ่ยืนยันว่า เป็นภาษามคธโบราณที่ เรียกว่า "มาคธี" จัดอยู่ในสกุลภาษา ปรากฤต เมื่อสรุปมติต่างๆ เหล่านี้ เราได้สาระที่น่าเชื่ออยู่ข้อหนึ่งคือ ภาษาบาลีในพระไตรปิฎกนั้น เป็นภาษามคธอย่างแน่แท้คาว่า "บาลี" นอกจากจะหมายถึงภาษาอันมีระเบียบแบบแผน คานี้ยังเลือน มาจากคาว่า "ปาฏลี" ซึ่งหมายถึงเมืองปาฏลีบุตรนั่นเอง เพราะฉะนั้นภาษาบาลีก็คือ ภาษาปาฏลีบุตร อันเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธต่อจากกรุงราชคฤห์ แต่เหตุใดภาษาบาลีจึงสูญไปจากอินเดีย นั่นก็ เพราะเมื่อแคว้นมคธเสื่อมอานาจลง ภาษาอื่นได้ไหลเข้ามาแทนที่ ภาษาดั้งเดิมค่อยๆ สลายตัวเอง โดย ราษฎรหันไปนิยมพูดภาษาผู้มาปกครอง ความจริงพระศาสดามิได้ผูกขาดภาษาใดภาษาหนึ่งในการ แสดงธรรม พระองค์เองตรัสภาษาท้องถิ่นต่างๆของอินเดียได้ ทรงแสดงธรรมด้วยหลายภาษา ทรง อนุญาตให้เรียนพุทธพจน์ด้วยภาษาท้องถิ่นได้ ครั้งหนึ่งมีภิกษุพี่น้องสกุลพราหมณ์ ทูลขอพุทธา นุญาต ยกพุทธพจน์ขึ้นสู่ภาษาเดียวเช่นกับภาษาในพระเวททรงติเตียน แต่เหตุไฉนปฐมสังคายนาจึง ใช้แต่ภาษาบาลีภาษาเดียวขึ้นสู่สังคีติเล่า เหตุผลมีดังนี้คือ 1.1 ประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลี (ต่อ)
  • 16. 1) การประชุมสังคายนา ต้องการความสามัคคี ความเป็นระเบียบ ถ้าปล่อยให้ผู้ประชุม ต่างรูปต่างใช้ภาษา ท้องถิ่นของตนๆที่ประชุมก็ไม่เป็นอันประชุม ไม่เป็นระเบียบ 2) ภาษาบาลี เป็นภาษาชาวมคธ การประชุมก็ทากันในมคธย่อมเป็นธรรมดาอยู่เอง ต้องเลือกภาษานี้ 3) พระอรหันต์ ผู้เข้าประชุม เข้าใจว่าส่วนใหญ่เป็นชาวมคธหรือชาวเมืองอื่นที่ขึ้นอยู่กับมคธ 4) มคธในครั้งนั้น เป็นมหาอานาจชั้นหนึ่งในอินเดีย มีเมืองขึ้น เช่น โกศล วัชชี กาสี จัมปา ภาษามคธจึงเป็น ภาษาที่มีอิทธิพลในยุคนั้น (เสถียร โพธินันทะ,ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, พิมพ์ครั้งที่ 4,(กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย,2543),หน้า 71) อย่างไรก็ตามคณะสงฆ์อื่นๆ ที่ใช้ภาษาท้องถิ่นไม่ใช่มคธรองรับพุทธพจน์ก็ยังมีอีกมากกว่ามาก นั่นคือ เหตุผลที่ใช้ภาษาบาลีในการบันทึกหลักคาสอนของพระพุทธศาสนาเถรวาท อักษรที่ใช้เขียนภาษาบาลี 1.1 ประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลี (ต่อ)
  • 17. เนื่องจากภาษาบาลีไม่มีตัวอักษร มีแต่เสียงเมื่อไปอยู่ในภาษาใดจึงใช้ตัวอักษรในภาษานั้น เขียนเช่น อักษรไทย พราหมี, เทวนาครี, สีหล, พม่า, มอญ, ขอม, ลาว โรมัน เป็นต้น(ฉลาด บุญ ลอย, ประวัติวรรณคดีบาลีตอน 1,(พระนคร:มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2505), หน้า 23) ภาษาบาลีไม่มีตัวอักษรของตนเอง เรียกว่าเป็นภาษาพูดที่ถ่ายทอดกันมาโดยการท่องจาโดย แท้ ใช้ในถิ่นใดก็ใช้อักษรของถิ่นนั้นถ่ายเสียง เช่น ไทยก็ใช้อักษรไทย ลาวใช้อักษรธรรม เขมรใช้ อักษรขอม (ส่วนใหญ่เป็นขอมบรรจง) ในซีกโลกตะวันตกใช้อักษรโรมัน ถ้าอักษรภาษาใดถ่ายเสียง ได้ไม่ครบ เสียงก็จะเปลี่ยนไป และในปัจจุบัน อักษรโรมันก็เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในการศึกษา ภาษาบาลีเช่นเดียวกับภาษาสันสกฤต ตามเหตุผลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น อีกทั้งเพื่อให้สะดวกในการ เปรียบเทียบเสียงระหว่างภาษา ตามหลักภาษาศาสตร์ด้วยและเมื่อถ่ายเสียงด้วยอักษรตัวโรมัน ก็จะใช้ ชื่อย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Pนักปราชญ์บางท่านยืนยันว่า ภาษาปาลิหรือบาลีนั้นหมายถึงภาษาท้องถิ่น ของชาวมคธ มีลักษณะมีลักษณะที่สาคัญคือ (1) ภาษาบาลีเป็นอุตตมภาษาคือภาษาชั้นสูง (2) ภาษา มคธเป็นมูลภาษาคือภาษาดั้งเดิมสมัยแรกตั้งปฐมกัป(พระเทพเมธาจารย์ (เช้า ฐิตปุญฺ, แบบเรียน วรรณคดีประเภทคัมภีร์บาลีไวยากรณ์,(พระนคร: รงพิมพ์ประยูรวงศ์, 2504, 19) 1.1 ประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลี (ต่อ)
  • 18. 1.2 อักขระภาษาลี อักขระ หมายถึง ตัวอักษรหรือตัวหนังสือในภาษาบาลี แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สระ และพยัญชนะ คือ (พัฒน์ เพ็งผลา 2553: 3-9) 1) สระภาษาลี (Vowel) มีอยู่ 8 เสียง เรียกว่านิสสัย เพราะออกเสียงเองได้คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ แบ่งเป็นสระเสียงสั้น 3 ตัว และสระเสียงยาว 3 ตัว และสระผลระหว่างเสียสั้นและเสียงยาวอีก2 สระ คือ อ+อิ = เอ อ+อุ = โอ - สระเสียงสั้นเรียกว่า รัสสะสระ มี 3 ตัว คือ อะ อิ อุ- สระเสียงยาวเรียกว่า ทีฆะสระ มี 5 ตัว คือ อา อี อู เอ โอ 2) พยัญชนะภาษาบาลี (Consonant) พยัญชนะในภาษาบาลีมี 33 ตัว พยัญชนะเรียกว่านิสสิต แปลว่า อาศัย หมายถึง ต้องอาศัยสระจึงออกเสียได้พยัญชนะแบ่งเป็น2 วรรค คือ พยัญชนะวรรค (Grouped) กับพยัญชนะอวรรค (Non-grouped) ตามต่อไปนี้
  • 19. 2.1) พยัญชนะวรรค หมายถึงพยัญชนะที่ฐานเกิดเดียวกัน มี 25 ตัว แบ่ง 5 วรรค แต่ละ มี 5 ตัว ดังนี้ วรรคที่ 1 เรียกว่า ก วรรค คือ ก ข ค ฆ ง เกิดที่คอ เรียกว่า กัฏฐชะ วรรคที่ 2 เรียกว่า จ วรรค คือ จ ฉ ฌ ช ญ เกิดที่เพดาน เรียกว่า ตาลุชะ วรรคที่ 3 เรียกว่า ฏ วรรค คือ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ เกิดที่เหงือกเรียกว่า มุทธชะ วรรคที่ 4 เรียกว่า ต วรรค คือ ต ถ ท ธ น เกิดที่ ฟัน เรียกว่าทันตชะ วรรคที่ 5 เรียกว่า ป วรรค คือ ป ผ พ ภ ม เกิดที่ ริมฝีปากเรียกว่าโอฏฐชะ 1.2 อักขระภาษาลี (ต่อ)
  • 20. 2.2) พยัญชนะอวรรค หรือเศษวรรค พยัญชนะอวรรค หรือเศษวรรค หมายถึง พยัญชนะที่จัดเป็นพวกเดียวกันตามฐานที่เกิด ไม่ได้มี 8 ตัวรวมนิคหิต อ คือ อวรรค (เศษวรรค) ได้แก่ ย ร ล ว ส ห ฬ อ ตารางแสดงหน่วยเสียงในภาษาบาลี ตามแหล่งเสียง (วรรค) เขียนด้วยอักษรไทยและอักษรโรมัน ตารางแสดงหน่วยเสียงในภาษาบาลี ตามแหล่งเสียง (วรรค) เขียนด้วยอักษรไทยและอักษรโรมัน วรรค สระ อโฆษะ (ไม่ก้อง) โฆษะ (ก้อง) นาสิกรั ส ส ร ะ (สั้น) ที ฆสระ (ยาว) สิ ถิ ล (เบา) ธนิต (หนัก) สิถิล (เบา) ธนิต (หนัก) กัณฐชะ อะ อา ก ข ค ฆ ง ตาลุชะ อิ อี , เอ จ ฉ ช ฌ ญ มุทธชะ - - ฏ ฐ ฑ ฒ ณ อักษรไทยและอักษรโรมัน ทันตชะ - - ต ถ ท ธ น โอฏฐชะ อุ อู , โอ ป ผ พ ภ ม
  • 21. การเทียบเสียงภาษาบาลี จากอักษรไทย เป็ นอักษรโรมัน เทียบอักษรไทยเป็นโรมันที่ใช้เขียนบาลี อักษรไทยที่ใช้ในบาลี อักษรโรมัน ก ข ค ฆ ง k, kh, g, gh, ṅ จ ฉ ช ฌ ญ c, ch, j, jh, ñ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ṭ, ṭh, ḍ, ḍh, ṇ ต ถ ท ธ น t, th, d, dh, n ป ผ พ ภ ม p, ph, b, bh, m ย ร ล ว ส ห ฬ อ y, r, l, v, s, h, ḷ , ṁ ṃ หรือ ŋ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ a, ā, i, ī, u, ū, e,o
  • 22. ตัวอย่างการเทียบเสียงด้วยอักษรโรมัน นโม ตสฺส : Namo tassa ภควโต อรหโต : Bhagavato Arahato สมฺมสมฺพุทฺธสฺส: Sammāsambuddhassa อชฺฌตฺติก : Ajjhattika อนฺตฺรธาน : antaradhāna อุปทฺทวเหตุ : Upaddavahetu ชมฺพูนท : jambūnada ขณฺฑสกฺขรา : khaṇḍhasakkharā ทุพฺภิกฺขภย : dubbhikkhabhaya ทุกฺกรกิริยา : dukkarakiriyā ปจฺจตฺถรณ : paccattharaṇa ปพฺพาชนียกมฺม : pabbājanīyakamma ปทวลญฺช : padavalañja ปุญฺญาภินิหาร : puññābhinihāra ราชปลฺลงฺก : rājapallanka สุปฏิปนฺโน : supatipanno
  • 23. 1.3 การเขียนและออกเสียงคาในภาษาบาลี พยัญชนะบาลีเมื่อนามาใช้เป็นศัพท์หรือคา มีการใช้พยัญชนะอยู่2 ชนิด คือ 1. พยัญชนะเดี่ยว หมายถึงคาที่มีพยัญชนะเดี่ยวอยู่ที่พยางค์ต้น กลาง หรือท้ายคา พยัญชนะเดี่ยว ทาหน้าที่เป็นพยัญชนะต้น เป็น ตัวสะกดไม่ได้ยกเว้นนิคคหิต อ (อัง) พยัญชนะเดี่ยวเวลาออกเสียงจะต้องมีเสียงกากับพยัญชนะทุกตัว สระ อะ เวลาเขียนด้วยอักษรไทย ไม่มีรูป สระ อะ ที่ตัวพยัญชนะเดี่ยว แต่เวลาออกเสียงต้องออกเสียงสระ อะ เวลาเขียนด้วยอักษรโรมัน จะมีรูปสระ a ท้ายพยัญชนะ เดี่ยวนั้นๆ เช่น เสียง อะ เช่น นร –nara อ่านว่า น-ะระ (คน) ธน- dhana อ่านว่า ทะ-นะ (ทรัพย์) ผล – phala อ่านว่า ผะ-ละ (ผลไม้) คาที่พยัญชนะเดี่ยวที่มีเสียงสระอื่น ดังนี้ เสียง อา เช่น นาวา nava อ่านว่า นา-วา (เรือ) มาลา-mala อ่านว่า มา-ลา (ดอกไม้) ตารา-tara อ่านว่า ตา-รา (ดวงดาว) เป็นต้น เสียง อิ เช่น วิธิ – vidhi อ่านว่า วิ-ทิ (วิธี) นิธิ –nidhi อ่านว่า นิ-ทิ แปลว่า ขุมทรัพย์มิติ- miti อ่านว่า มิติ แปลว่า การวัด เป็นต้น เสียง อี เช่น มาลี–mali อ่านว่า มา-ลี แปลว่า คนทาดอกไม้สามี – sami อ่านว่า สา-มี เป็นต้น เสียง อุ เช่น ครุ – garu อ่านว่า คะ-รุ แปลว่าครู ปสุ- pasu อ่านว่า ปะ-สุ (สัตว์เลี้ยง) เป็นต้น
  • 24. เสียง อู เช่น วิทู –vidu อ่านว่า วิ-ดู หรือ วิ-ทู แปลว่า คนฉลาด วธู –vadhu อ่านว่าวะ-ทู แปลว่า หญิงสาว เป็นต้น เสียง เอ เช่น เวร-vera อ่านว่า เว-ระ (เวร) แปลว่าเวร เมรย –meraya อ่านว่า เม-ระ-ยะ แปลว่า น้าเมา เป็นต้น เสีย โอ เช่น โลก –loka อ่านว่า โล-กะ แปลว่า โลก โจร-cora อ่านว่า โจ-ระ เป็นต้น 2. พยัญชนะคู่ บาลีเรียกว่าพยัญชนะซ้อนหรือพยัญชนะสังโยค หมายถึงมีการซ้อนพยัญชนะในวรรค ตัวที่ 2 และ 3 ในวรรค เดียวกัน พยัญชนะตัวที่ 2 ทาหน้าที่เป็นตัวสะกด เวลาเขียนให้ใช้จุด( . ) ใต้ตัวสะกด ถ้าไม่มีสระทาหน้าที่เป็นไม้หันอากาศด้วย เช่น สจฺจ อ่านว่า สัด-จะ ถ้ามีตัวสระเป็นตัวสะกด อย่างเดียว เช่น เสฏฺฐี อ่านว่า เสด-ถี, ทุกฺข อ่านว่า ดุก-ขะ/ ทุก-ขะ, อกฺขร อ่านว่า อักขะระ วฏฺฏ อ่านว่า วัด-ตะ, วิญฺญาณ อ่านว่า วิน-ยา-นะ เป็นต้น 3. เครื่องหมายในภาษาบาลี 1. นิคคหิต (อํ) อ่านว่า อัง เป็นจุดอยู่บนตัวอักษรตัวสุดท้าย ใช้แทน ไม้หันอากาศ และ ง เช่น พุทฺธ (พุดทัง) ธมฺม (ทามัง) สงฺฆ (สังคัง) สรณ (สะระนัง) อห (อะ-หัง) ตฺว (ตะ-วัง) เป็นต้น พยัญชนะที่อาศัยสระอยู่ และมีนิคคหิต (อ) วางกากับอยู่ข้างบน นิคคหิตนั้นจะต้องอ่านเป็น ง เช่น ปสฺสึ อ่านว่า ปัสสิง, กาเรสึ อ่านว่า กาเรสิง 2. จุดพินทุ (.) เป็นจุดที่เขียนไว้ใต้พยัญชนะ มี สองลักษณะ ดังนี้ (2.1) เป็นตัวสะกด พยัญชนะ ที่ใช้เป็นตัวสะกดในภาษาบาลี ในกรณีที่ไม่มีสระอยู่พยัญชนะตัวหน้าพยัญชนะที่มีจุดจะเป็นตัวสะกด และเป็นไม้หันอากาศของพยัญชนะตัวหน้า เช่น สตฺต ราชภฎฺนครราชสีมา ถ้ามีสระอยู่ให้พยัญชนะตัวหน้าอยู่เป็นเพียงแค่ตัวสะกด วิญฺญาณ, เวสฺสุวณฺโณ, อุณฺห (ความร้อน) โกณฺทญฺญภิกฺขุ, สิกฺขา, มนุสฺโส เป็นต้น
  • 25. (2.2) เป็นพยัญชนะต้น โดยปกติแล้วในภาษาบาลีไม่มีการใส่จุดใต้คาพยัญชนะต้น หรือ พยัญชนะถ้าไม่ใช่ตัวสะกดตามที่กล่าวมาข้างบน แต่มีคาที่ยืมมาจากภาษาสันสกฤต เพื่อให้เกิดเสียงควบ กล้า ด้านหลังเหมือนภาษาเดิม จึงมีจุดไว้เพื่อให้ออกเสียงควบกล้า เช่น ทฺวาร (ประตู) วฺยญฺชน (พยัญชนะ) ทฺวิ (สอง) พฺราหฺมณ (bra-hma-na เป็นต้น (2.3) พยัญชนะที่อาศัยสระอยู่ และพยัญชนะตัวถัดมาจะมีพินทุ (.) หรือจุดวางกากับอยู่ใต้ พยัญชนะ ตัวถัดมานั้น ก็ให้อ่านออกเสียงเป็นตัวสะกดธรรมดา เช่น ภิกฺขุสฺส อ่านว่า ภิกขุสสะ ปกฺ โกเปนฺติ อ่านว่า ปักโกเปนติ 3) คาที่มี ตฺวา ตฺวาน เป็นตัวสะกด ซึ่งวางกากับอยู่สุดท้าย จะต้องอ่านออกเสียง ตฺ ซึ่งเป็นตัวสะกดของ คาหน้า ตฺ นั้น ให้ออกเสียง ตฺ (ตะ)ด้วย ซึ่งจะมีการออกครึ่งเสียง (ออกเสียงสั้นๆ) เช่น ทตฺวา อ่านว่า ทัด ตะวา ทตฺวาน อ่านว่า ทัดตะวานะ (ตฺ อ่านว่า ตะ ออกครึ่งเสียง) 4) กรณีที่ ต ไม่มีพินทุ (.) หรือจุดอยู่ใต้เหมือนข้อ 4 ก็ให้อ่านออกเสียงเต็มเสียงตามปกติเหมือน การ อ่านออกเสียงในข้อ 1 เช่น ทตวา อ่านว่า ทะ ตะ วา สุตวา อ่านว่า สุ ตะ วา 5) ยังมีศัพท์ที่ทาหน้าที่เป็นตัวสะกดและต้องออกเสียงในตัวของมันเองด้วย โดยออกเสียงครึ่งเสียง เช่น สกฺยปุตฺโต อ่านว่า สักกะยะปุตโต ตุณฺหี อ่านว่า ตุนนะฮี ตสฺมา อ่านว่า ตัสสะมา