SlideShare a Scribd company logo
1 of 88
1
บทที่ 1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษาบาลี
คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาในอดีตถูกจารึกจดจารบันทึกเป็นภาษาบาลี
หรือภาษามคธ ผู้ที่จะศึกษาค้นคว้าพระพุทธศาสนาในอดีตจึงต้องศึกษาภาษา
บาลี เพื่อที่จะได้แปลภาษาบาลีมาเป็นภาษาไทยอีกทอดหนึ่ง ทำาให้การศึกษา
พระพุทธศาสนาถูกจำากัดอยู่ในวงแคบ ๆ คือพระสงฆ์ผู้มีความรู้ทางภาษา
บาลี แต่ในยุคปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้นภาษาได้รับการแปล
จากภาษาหนึ่งเป็นภาษาหนึ่งเพียงชั่วพริบตาตาเดียว ดังเช่นโปรแกรมแปล
ภาษาทางอินเทอร์เน็ตก็ง่ายและสะดวกขึ้น ภาษาบาลีก็ได้รับการแปลเป็น
ภาษาต่างๆจำานวนมาก แต่ผู้ศึกษาพระพุทธศาสนามีความจำาเป็นต้องรู้ภาษา
บาลีบ้าง จึงได้นำาการศึกษาภาษาบาลีมานำาเสนอในเบื้องต้น
1.1 ประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลี
ภาษามคธ หรือที่นิยมเรียกกันในประเทศไทยว่า “ภาษาบาลี” เป็นภาษา
ที่บันทึกหลักคำาสอนของพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ในสมัยพุทธกาล เชื่อกันว่า
พระพุทธเจ้าทรงใช้ภาษาบาลีในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา แต่ภาษาบาลี
ไม่มีตัวอักษรจึงยากที่จะศึกษา เมื่อไปอยู่ในภาษาใดก็ใช้ภาษานั้น ดังนั้นการ
ศึกษาประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลีในบทนี้ จึงเป็นเพียงข้อมูลเบื้อง
ต้นเท่านั้น หากนักศึกษาต้องการศึกษาอย่างละเอียดต้องศึกษาวิชาวรรณคดี
บาลี ดังนั้นในบทนี้จึงนำาเสนอโดยสังเขปการศึกษาพุทธวจนะ
การศึกษาในพระพุทธศาสนานั้นมีหลายระดับจุดประสงค์ที่สำาคัญที่สุด
คือการหลุดพ้นนั่นคือนิพพาน แต่การที่จะหลุดพ้นนั้นเป็นเรื่องของแต่ละ
บุคคล บางคนเพียงได้ฟังการแสดงธรรมเพียงครั้งเดียวก็บรรลุทันที แต่บาง
คนอาจต้องใช้เวลายาวนานหลายกัปป์จึงจะบรรลุได้ หลักคำาสอนของ
พระพุทธศาสนานั้นนอกจากจะเรียกว่าพระธรรมวินัยแล้วงมีคำาเรียกว่าพระ
สัทธรรม
สัทธรรมหมายถึงธรรมอันดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของสัตบุรุษ, หลักหรือ
แก่นศาสนา นั่นก็คือคำาสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นได้กำาหนดสิ่งที่จะ
ต้องศึกษาไว้ 3 ประการคือ
1. ปริยัตติสัทธรรม หมายถึงสัทธรรมคือคำาสั่งสอนจะต้องเล่าเรียน
ได้แก่พุทธพจน์ เป็นการศึกษาทางทฤษฎีคือ การศึกษาพระธรรมวินัยให้มี
ความรู้เป็นพื้นฐานโดยแจ่มแจ้งเสียก่อนว่า คำาสอนของสมเด็จพระสัมมาสัม
พุทธเจ้ามีอะไรบ้าง ถ้าจะนำามาปฏิบัติจะทำาอย่างไร และเมื่อปฏิบัติแล้วจะได้
ผลอย่างไร
2. ปฏิปัตติสัทธรรม คือปฏิปทาอันจะต้องปฏิบัติ ได้แก่ อัฏฐังคิกมรรค
หรือไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือการนำาเอาพระธรรมวินัยมาปฏิบัติ
ด้วยกาย วาจา ใจ
3. ปฏิเวธสัทธรรม คือสัทธรรมคือผลอันจะพึงเข้าถึงหรือบรรลุด้วยการ
ปฏิบัติ ได้แก่ มรรค ผล และนิพพาน เป็นขั้นที่แสดงถึงผลของการปฏิบัติ
ตามพระธรรมคำาสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มหามกุฏราชวิทยาลัย,
อรรถกถาวินัย มหาวิภังค์, เล่ม 1 ภาค 1,(กรุงเทพฯ:,มหามกุฏราช
วิทยาลัย,2525), หน้า 740.
ผู้ศึกษาพระปริยัติธรรมนี้ ส่วนใหญ่เป็นพระภิกษุสามเณรผู้มีศรัทธาที่
ได้เข้ามาบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา บุคคลที่เข้ามาบวชใน
พระพุทธศาสนาแล้วมีภารกิจที่ต้องทำาสองประการ คือประการแรกได้แก่คันถ
ธุระ การศึกษาพระธรรมวินัยซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนไว้ การศึกษาชนิด
นี้เน้นภาคทฤษฎี และประการที่สองคือวิปัสสนาธุระ การเรียนพระกรรมฐาน
โดยเน้นลงไปที่การปฏิบัติทางกายวาจาและใจ สำาหรับการศึกษาที่เรียกว่า
“คันถธุระ” นั้นในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นั้น พระพุทธองค์ทรง
สั่งสอนสาวกเป็นประจำาทุกวัน
การแสดงพระธรรมเทศนา คำาสั่งสอนที่พระพุทธองค์ทรงแสดงด้วยพระ
โอฏฐ์ ตามที่พระองค์จะทรงโปรดประทานพระสัทธรรมเทศนาแก่พุทธบริษัท
ตามสมควรแก่ฐานะ ผู้ที่ฟังมีทั้งพระภิกษุสงฆ์และคฤหัสถ์ สำาหรับพระภิกษุ
สงฆ์นั้น เมื่อได้ฟังพระสัทธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้วก็นำามาถ่ายทอด
แก่สัทธิวิหาริกและอันเตวาสิกต่อกันไป เนื่องจากในกลุ่มผู้ฟังนั้นมีหลายเชื้อ
ชาติ หลายภาษา พระพุทธองค์ทรงใช้ภาษาอะไรในการแสดงธรรม จึงเป็น
ปัญหาที่นักปราชญ์ทั้งหลายถกเถียงกันมาโดยตลอด
การศึกษาคำาสอนของพระพุทธเจ้านี้เรียกว่าคันถธุระหรือการศึกษาพระ
ปริยัติธรรมซึ่งมี 9 ประการ เรียกว่า “นวังคสัตถุศาสน์” แปลว่า คำาสอนของ
พระศาสดามีองค์เก้า ซึ่งได้แก่ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุต
ตกะ ชาดก อัพภูตธรรม และเวทัลละ พระปริยัติธรรม หรือ นวังคสัตถุศาสน์นี้
พระพุทธเจ้าทรงแสดงด้วยภาษาบาลี แต่ทว่าภาษาบาลีคือภาษาอะไรกันแน่
ในสมัยพุทธกาลบรรดาสาวกผู้เข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนานั้นมี
หลายวรรณะทั้งกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร และมาจากหลายเมือง ซึ่งแต่
เมืองคงจะมีภาษาพูดของตนเอง เนื่องพระพุทธเจ้าเป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาคือ
ฉลาดในภาษา ดังนั้นคงต้องใช้หลายภาษาในการแสดงพระธรรมเทศนาดังนี้
มีผู้กล่าวไว้ว่า “สมัยพุทธกาล ภาษาต่างๆที่พระพุทธองค์ทรงใช้ประกาศพระ
ศาสนาแสดงธรรมสั่งสอนประชาชนนั้นมีมากภาษาทั้งประเภทภาษาปรากฤต
ทั้งประเภทภาษาสันสกฤต แต่ก็เป็นเครือของภาษาอริยกะทั้งนั้น ส่วนมากก็
เป็นประเภทภาษาปรากฤต โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษามคธที่เป็นภาษาสามัญ
ซึ่งชาวบ้านชาวเมืองเขาใช้พูดกันทั่วๆไปในท้องถิ่นอันอยู่ในอิทธิพลของ
ภาษามคธที่เรียกว่าอสุทธมาคธี ส่วนน้อยก็เป็นประเภทภาษาสันสกฤตคือ
ภาษาปรากฤตที่ปรับปรุงดีแล้ว คำาสั่งสอนในสมัยพุทธกาลนั้น ก็หาเรียกว่า
บาลีไม่ เพราะพระพุทธองค์กำาลังสั่งสอนอยู่คำาสั่งสอนครั้งนั้นเป็นแต่ตรัสเรียก
รวมๆว่าธรรมซึ่งทรงระบุไว้ 9 ลักษณะเรียกว่านวังคสัตถุศาสน์ (โปร่ง ชื่นใจ
น.ท.,พระพุทธเจ้าทรงใช้ภาษาอะไรแสดงพระธรรมเทศนา,พิมพ์ครั้งที่2,
(กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย,2532),หน้า 21)
2
3
ประเทศอินเดียมีภาษาหลักอยู่ 2 ตระกูล คือ ภาษาปรากฤต และ ภาษา
สันสกฤต ในภาษาปรากฤตแบ่งย่อยออกเป็น 6 ภาษา คือ
1. ภาษามาคธี ภาษาที่ใช้พูดกันอยู่ในแคว้นมคธ
2. ภาษามหาราษฎรี ภาษาที่ใช้พูดกันอยู่ในแคว้นมหาราษฎร์
3. ภาษาอรรถมาคธี ภาษากึ่งมาคธี เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาษา
อารษปรากฤต
4. ภาษาเศารนี ภาษาที่ใช้พูดกันอยู่ในแคว้นศูรเสน
5. ภาษาไปศาจี ภาษีปีศาจ หรือภาษาชั้นตำ่า และ
6. ภาษาอปภรังศ ภาษาปรากฤตรุ่นหลังที่ไวยากรณ์ได้เปลี่ยนไป
เกือบหมดแล้ว
ภาษามาคธี หรือ ภาษามคธ เป็นภาษาที่พระพุทธเจ้าทรงใช้สั่งสอน
ประชาชน ครั้นต่อมาพระพุทธศาสนาได้มาเจริญแพร่หลายที่ประเทศศรี
ลังกา ภาษามาคธีได้ถูกนักปราชญ์แก้ไขดัดแปลงรูปแบบไวยากรณ์ให้กระ
ทัดรัดยิ่งขึ้นจึงมีชื่อใหม่ว่า “ปาลี” หรือ ภาษาบาลี เป็นภาษาจารึกพระไตร
ปิฏกดังที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบันคำาว่า บาลี มาจากคำาว่า ปาลี ซึ่งวิเคราะห์มา
จาก ปาล ธาตุ ในความรักษา ลง ณี ปัจจัย ๆ ที่เนื่องด้วย ณ ลบ ณ ทิ้งเสีย มี
รูปวิเคราะห์ว่า พุทธวจนำ ปาเลตีติ ปาลี(ภาสา) แปลโดยพยัญชนะว่า ภาษาใด
ย่อมรักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ เพราะเหตุนั้น ภาษานั้นชื่อว่า ปาลี แปลโดย
อรรถว่า ภาษาที่รักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ พระมหาฉลาด ปริญฺญาโณ,คู่มือ
การเรียนบาลีไวยากรณ์(กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง,2530),หน้า 2)
ภาษาบาลี (Pali จากศัพท์ภาษาเดิมว่า Pāli) เป็นภาษาของอินเดีย
ฝ่ายเหนือในสมัยราวคริสต์ศตวรรษที่ 7-6 ก่อนคริสต์กาล อยู่ในตระกูลอินโด
ยุโรเปียน (Indo-European) และอยู่ในกลุ่มอินโดอารยัน (Indo-Aryan) เช่น
เดียวกับภาษาสันสกฤต นักปราชญ์ทางภาษาส่วนใหญ่จัดเข้าอยู่ในกลุ่มอิน
โดอารยันหรืออินดิกสมัยกลาง (Middle Indo-Aryan หรือ Middle Indic)
แต่ผู้ที่ค้านว่าไม่ใช่ เป็นภาษาสมัยใหม่กว่านั้นก็มี เป็นภาษาปรากฤต (ภาษา
ถิ่นในอินเดียสมัยนั้น) ภาษาหนึ่ง ซึ่งไม่มีผู้ใดสามารถชี้ขาดลงไปได้ว่าเป็น
ภาษาของถิ่นใดกันแน่และมีต้นกำาเนิดมาจากภาษาอะไร อย่างไร แต่ส่วน
ใหญ่ลงมติกันว่าเป็นภาษาอินดิกสมัยกลางรุ่นเก่ากว่าภาษาปรากฤตอื่น ๆ
โดยดูจากรูปภาษา ภาษาบาลีใช้กันแพร่หลายในฐานะภาษาที่ใช้เขียนคัมภีร์
พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
ความหมายของคำาว่า Pāli โดยปรกติแปลกันว่า แถว แนว ขอบเขต
เป็นต้น ผู้นับถือพุทธศาสนาส่วนใหญ่เชื่อว่า บาลี คือภาษาของชาวมคธ
ซึ่งมีถิ่นที่อยู่ทางใต้ของแคว้นพิหารปัจจุบัน เพราะพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่
กรุงราชคฤห์ เมืองหลวงของแคว้นมคธนาน คงจะใช้ภาษามคธในการเผย
แพร่พุทธศาสนา ความเชื่อนี้แพร่หลายมากโดยเฉพาะในเมืองไทยสมัยก่อน
จะเห็นได้จากพจนานุกรมหรือปทานุกรมรุ่นเก่าที่มักย่อชื่อภาษาบาลีว่า ม.
อันหมายถึง มคธ คำาว่า ภาษามคธ นี้เป็นชื่อที่เรียกกันในเมืองไทยเท่านั้น
ศัพท์เฉพาะที่เป็นชื่อภาษาของชาวมคธคือคำาว่า มาคธี (Māgadhī) แต่ก็มีผู้
แย้งว่า ลักษณะของภาษามาคธีต่างกันบาลีหลายประการ จึงไม่น่าจะเป็น
ภาษาเดียวกัน เช่น
1.ใช้เสียง ś (ตาลุชะ) ในที่ที่ภาษาบาลีใช้เสียง s (ทันตชะ) ทั้งนี้
เพราะภาษามาคธีมีเสียงอุสุมเสียงเดียว คือ เสียงอุสุมชนิดตาลุชะ (palatal ś)
ไม่ใช่เสียงอุสุมชนิดทันตชะ (dental s) เหมือนบาลี
2. เสียง r ที่บาลีมี มาคธีไม่มี ใช้เสียง I แทน
3. เสียงท้ายคำานาม a การันต์วิภัตติ์ที่ 1 เอกพจน์ที่บาลีเป็น o มาคธีเป็น
e
4. เสียง y ระหว่างสระ (intervocalic ya) บางครั้งก็หายไป บางครั้งก็
เปลี่ยนเป็นเสียง j ไม่คงเดิมตลอดเหมือนบาลี นักปราชญ์ผู้ให้เหตุผลนี้ที่
สำาคัญมีอยู่สองคนคือ
บุร์นุฟ (Burnouf) และลาสเลน (Lassen) (พระมหาเสฐียรพงษ์
ปุณณวณฺโณ, โครงการตำาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์,(พระนคร: โรง
พิมพ์ไทยวัฒนาพานิชช,2514), หน้า 8) แต่เหตุผลดังกล่าวก็มีผู้แย้งว่า เหตุ
ที่เป็นเช่นนั้นเพราะพระพุทธเจ้าเป็นชาวแคว้นโกศล มิใช่แคว้นมคธ สำาเนียง
พูดย่อมเพี้ยนจากคนท้องถิ่นนั้นไปบ้างไม่มากก็น้อย เรียกว่าเป็นการพูด
ภาษามคธแบบชาวโกศล อีกประการหนึ่ง พระองค์ได้ตรัสว่า ไม่ควรยึดมั่น
ในภาษาถิ่นใดถิ่นหนึ่ง เมื่อเสด็จไปสอนที่ใดก็คงจะทรงใช้ภาษาถิ่นนั้น
ภาษาจึงอาจเกิดการปะปนกัน ประกอบกับการใช้ศัพท์เฉพาะที่แปลกออกไป
ภาษามาคธีที่พระพุทธเจ้าตรัสจึงไม่ควรจะใช่ภาษามาคธีบริสุทธิ์ที่ชาวมคธ
ใช้พูดกัน เพราะได้รับอิทธิพลมาจาภาษาอื่น เหตุผลอีกข้อหนึ่งก็คือ เรารู้จัก
ลักษณะภาษามาคธีอย่างที่เป็นอยู่นี้จากบทละครสันสกฤต ซึ่งเขียนขึ้นหลัง
สมัยพุทธกาลเป็นเวลานาน ไม่มีใครรู้ว่าในสมัยพุทธกาลภาษาภาษามาคธีมี
ลักษณะอย่างไร อาจคล้ายคลึงกับภาษาบาลีมากก็ได้ แล้วจึงได้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงในระยะหลัง ภาษาบาลีเองก็เป็นภาษาที่ถ่ายทอดกันมาโดยมุข
ปาฐ (Oral Tradition) กว่าจะได้จารึกเป็นหลักฐานก็เป็นภาษาตาย ไม่มีใคร
ใช้พูดกันแล้ว ในขณะที่ภาษามาคธีซึ่งยังไม่ตายได้วิวัฒนาการเปลี่ยนแปลง
รูปไปเรื่อย ๆ จนแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง จึงไม่เป็นที่ยอมรับว่าเป็นภาษา
เดียวกัน
นักปราชญ์บางคน เช่น เวสเตอร์การ์ด (Westergard) คูห์น (E.
Kuhn) และ ฟรังเก (R.O. Franke) อ้างหลักฐานจากศิลาจารึกของพระเจ้า
อโศกว่า พระมหินทรเถระ โอรสพระเจ้าอโศก ผู้เดินทางไปเผยแพร่พุทธ
ศาสนายังลังกาทวีป ได้ใช้ภาษาของพระองค์ซึ่งมีลักษณะคล้ายภาษาบาลี
เมื่อลังการับคำาสอนทางพุทธศาสนาจึงรับภาษานั้นมาใช้ด้วย และภาษานี้เอง
ที่ได้วิวัฒนาการมาเป็นภาษาบาลีที่เรารู้จักกัน นักปราชญ์กลุ่มนี้สันนิษฐาน
ว่าต้นกำาเนิดของภาษาบาลีน่าจะอยู่บริเวณที่เรารู้จักกัน นักปราชญ์กลุ่มนี้
สันนิษฐานว่าต้นกำาเนิดของภาษาบาลีน่าจะอยู่บริเวณตั้งแต่ใจกลางของ
ประเทศอินเดียจนจดเทือกเขาหิมาลัยตะวันตก ใกล้เคียงกับบริเวณกรุงอุช
เชนี เพราะพระมหินทรเถระเป็นชาวอุชเชนี แต่ข้อเสนอดังกล่าว โอลเดนแบร์
ก (Oldenberg) ไม่เห็นด้วย ทั้งข้อที่ว่า พระมหินทรเถระเป็นชาวอุชเชนี และ
ข้อที่ว่าได้เสด็จไปสืบศาสนาที่ลังกา(เสนาะ ผดุงฉัตร,ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ
4
5
วรรณคดีบาลี,(กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย,2532),หน้า
67)
ผู้รู้บางกลุ่มไม่บอกประวัติของภาษาว่ามีกำาเนิดแต่ไหน เพียงแต่แปลคำา
ว่า Pāli ว่ามาจาก Pāla แปลว่า คุ้มครอง รักษา หมายถึง เป็นภาษาที่คุ้มครอง
รักษาพุทธศาสนาไว้ให้ยืนยงต่อมาตราบเท่าทุกวันนี้
บางคนก็เชื่อว่าภาษาบาลีอาจเป็นภาษาที่พระพุทธองค์ทรงประดิษฐ์ขึ้น
(artificial language) เพื่อใช้เป็นภาษากลางในการเผยแพร่พุทธศาสนา
เพราะไม่ต้องการเลือกที่รักมักที่ชังด้วยการใช้ภาษาถิ่นใดถิ่นหนึ่ง แต่ได้ดัด
แลปงให้ออกเสียงง่ายและสะดวกกว่าสันสกฤต รูปคำาหลายรูปคลายความซับ
ซ้อนลง และไม่เหมือนภาษาถิ่นใด อาจเป็นการรวมและหลอมออกมาใหม่
แล้วตั้งชื่อใหม่ก็เป็นได้
ข้อที่ควรสังเกตก็คือ ภาษาบาลีเดิมไม่ได้ชื่อนี้ ไม่มีใครทราบว่าชื่อ
อะไร คำาว่า Pāli เดิมเป็นคำาที่ใช้เรียกคำาสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ชื่อภาษา
เช่น ในสำานวนว่า "ในพระบาลี" ภาษานี้ได้ชื่อว่า Pāli หรือบาลี เพราะใช้
ถ่ายทอดพระไตรปิฎก เช่นเดียวกับภาษาพระเวทซึ่งไม่มีใครทราบว่าชื่ออะไร
เรียกกันทั่วไปว่าภาษาพระเวทเพราะใช้บันทึกคัมภีร์พระเวท
ภาษาบาลีนั้น มติของนักปราชญ์ทั้งตะวันตก ตะวันออก เห็นขัดแย้งกัน
ไปหมด บ้างว่า เป็นภาษาชาวโกศลพูด เพราะพระผู้มีพระภาคเป็นชาวแคว้น
โกศล ในธรรมเจติยสูตร พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลพระศาสดาว่า พระผู้มี
พระภาคเป็นชาวโกศล แม้หม่อมฉันก็เป็นชาวโกศล เพราะฉะนั้น พระองค์จะ
ต้องใช้ภาษาชาติภูมิของพระองค์ ในการประกาศพระศาสนา
1. บางท่านก็เห็นว่า บาลีเป็นภาษาอวันตีโบราณ เพราะพระมหินทร์
เป็นชาวเวทิสาคีรีในอวันตี นำาเอาภาษานี้ไปลังกา
2. บางมติก็ว่า เป็นภาษาอินเดียภาคใต้
3. แต่มติส่วนใหญ่ยืนยันว่า เป็นภาษามคธโบราณที่ เรียกว่า "มาคธี"
จัดอยู่ในสกุลภาษาปรากฤต เมื่อสรุปมติต่างๆ เหล่านี้ เราได้สาระที่น่าเชื่ออยู่
ข้อหนึ่งคือ ภาษาบาลีในพระไตรปิฎกนั้นเป็นภาษามคธอย่างแน่แท้ คำาว่า
"บาลี" นอกจากจะหมายถึงภาษาอันมีระเบียบแบบแผน คำานี้ยังเลือนมาจาก
คำาว่า "ปาฏลี" ซึ่งหมายถึงเมืองปาฏลีบุตรนั่นเอง เพราะฉะนั้นภาษาบาลีก็คือ
ภาษาปาฏลีบุตร อันเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธต่อจากกรุงราชคฤห์ แต่
เหตุใดภาษาบาลีจึงสูญไปจากอินเดีย นั่นก็เพราะเมื่อแคว้นมคธเสื่อมอำานาจ
ลง ภาษาอื่นได้ไหลเข้ามาแทนที่ ภาษาดั้งเดิมค่อยๆ สลายตัวเอง โดยราษฎร
หันไปนิยมพูดภาษาผู้มาปกครอง ความจริงพระศาสดามิได้ผูกขาดภาษาใด
ภาษาหนึ่งในการแสดงธรรม พระองค์เองตรัสภาษาท้องถิ่นต่างๆของอินเดีย
ได้ ทรงแสดงธรรมด้วยหลายภาษา ทรงอนุญาตให้เรียนพุทธพจน์ด้วยภาษา
ท้องถิ่นได้ ครั้งหนึ่งมีภิกษุพี่น้องสกุลพราหมณ์ ทูลขอพุทธานุญาต ยกพุทธ
พจน์ขึ้นสู่ภาษาเดียวเช่นกับภาษาในพระเวททรงติเตียน แต่เหตุไฉนปฐม
สังคายนาจึงใช้แต่ภาษาบาลีภาษาเดียวขึ้นสู่สังคีติเล่า เหตุผลมีดังนี้คือ
1) การประชุมสังคายนา ต้องการความสามัคคี ความเป็นระเบียบ ถ้า
ปล่อยให้ผู้ประชุม ต่างรูปต่างใช้ภาษาท้องถิ่นของตนๆที่ประชุมก็ไม่เป็นอัน
ประชุม ไม่เป็นระเบียบ
2) ภาษาบาลี เป็นภาษาชาวมคธ การประชุมก็ทำากันในมคธย่อมเป็น
ธรรมดาอยู่เอง ต้องเลือกภาษานี้
3) พระอรหันต์ ผู้เข้าประชุม เข้าใจว่าส่วนใหญ่เป็นชาวมคธหรือชาว
เมืองอื่นที่ขึ้นอยู่กับมคธ
4) มคธในครั้งนั้น เป็นมหาอำานาจชั้นหนึ่งในอินเดีย มีเมืองขึ้น เช่น
โกศล วัชชี กาสี จัมปา ภาษามคธจึงเป็นภาษาที่มีอิทธิพลในยุคนั้น
(เสถียร โพธินันทะ, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, พิมพ์ครั้งที่ 4,(กรุงเทพฯ:
มหามกุฏราชวิทยาลัย,2543), หน้า 71)
อย่างไรก็ตามคณะสงฆ์อื่นๆ ที่ใช้ภาษาท้องถิ่นไม่ใช่มคธรองรับพุทธ
พจน์ก็ยังมีอีกมากกว่ามาก นั่นคือเหตุผลที่ใช้ภาษาบาลีในการบันทึกหลักคำา
สอนของพระพุทธศาสนาเถรวาท อักษรที่ใช้เขียนภาษาบาลี
เนื่องจากภาษาบาลีไม่มีตัวอักษร มีแต่เสียงเมื่อไปอยู่ในภาษาใดจึงใช้
ตัวอักษรในภาษานั้นเขียนเช่น อักษรไทย พราหมี, เทวนาครี, สีหล, พม่า,
มอญ, ขอม, ลาว โรมัน เป็นต้น(ฉลาด บุญลอย, ประวัติวรรณคดีบาลีตอน 1,
(พระนคร:มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2505), หน้า 23)
ภาษาบาลีไม่มีตัวอักษรของตนเอง เรียกว่าเป็นภาษาพูดที่ถ่ายทอดกัน
มาโดยการท่องจำาโดยแท้ ใช้ในถิ่นใดก็ใช้อักษรของถิ่นนั้นถ่ายเสียง เช่น
ไทยก็ใช้อักษรไทย ลาวใช้อักษรธรรม เขมรใช้อักษรขอม (ส่วนใหญ่เป็น
ขอมบรรจง) ในซีกโลกตะวันตกใช้อักษรโรมัน ถ้าอักษรภาษาใดถ่ายเสียงได้
ไม่ครบ เสียงก็จะเปลี่ยนไป และในปัจจุบัน อักษรโรมันก็เป็นที่นิยมใช้มาก
ที่สุดในการศึกษาภาษาบาลีเช่นเดียวกับภาษาสันสกฤต ตามเหตุผลที่กล่าว
มาแล้วข้างต้น อีกทั้งเพื่อให้สะดวกในการเปรียบเทียบเสียงระหว่างภาษา
ตามหลักภาษาศาสตร์ด้วยและเมื่อถ่ายเสียงด้วยอักษรตัวโรมัน ก็จะใช้ชื่อย่อ
เป็นภาษาอังกฤษว่า P
นักปราชญ์บางท่านยืนยันว่า ภาษาปาลิหรือบาลีนั้นหมายถึงภาษาท้อง
ถิ่นของชาวมคธ มีลักษณะมีลักษณะที่สำาคัญคือ (1) ภาษาบาลีเป็นอุตตม
ภาษาคือภาษาชั้นสูง (2) ภาษามคธเป็นมูลภาษาคือภาษาดั้งเดิมสมัยแรกตั้ง
ปฐมกัป(พระเทพเมธาจารย์ (เช้า ฐิตปุญฺโญ), แบบเรียนวรรณคดีประเภท
คัมภีร์บาลีไวยากรณ์, (พระนคร: รงพิมพ์ประยูรวงศ์, 2504, 19)
1.2 อักขระภาษาลี
อักขระ หมายถึง ตัวอักษรหรือตัวหนังสือในภาษาบาลี แบ่งเป็น 2
ประเภท คือ สระ และพยัญชนะ คือ (พัฒน์ เพ็งผลา 2553: 3-9)
1) สระภาษาลี (Vowel) มีอยู่ 8 เสียง เรียกว่านิสสัย เพราะออกเสียง
เองได้ คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ แบ่งเป็นสระเสียงสั้น 3 ตัว และสระเสียงยาว
3 ตัว และสระผลระหว่างเสียสั้นและเสียงยาวอีก 2 สระ คือ อ+อิ = เอ อ+อุ
= โอ
6
7
- สระเสียงสั้นเรียกว่า รัสสะสระ มี 3 ตัว คือ อะ อิ อุ
- สระเสียงยาวเรียกว่า ทีฆะสระ มี 5 ตัว คือ อา อี อู เอ โอ
2) พยัญชนะภาษาบาลี (Consonant) พยัญชนะในภาษาบาลีมี 33
ตัว พยัญชนะเรียกว่านิสสิต แปลว่า อาศัย หมายถึง ต้องอาศัยสระจึงออกเสีย
ได้ พยัญชนะแบ่งเป็น 2 วรรค คือ พยัญชนะวรรค (Grouped) กับพยัญชนะ
อวรรค (Non-grouped) ตามต่อไปนี้
2.1) พยัญชนะวรรค หมายถึงพยัญชนะที่ฐานเกิดเดียวกัน มี
25 ตัว แบ่ง 5 วรรค แต่ละ มี 5 ตัว ดังนี้
วรรคที่ 1 เรียกว่า ก วรรค คือ ก ข ค ฆ ง เกิดที่คอ เรียกว่า กัฏฐ
ชะ
วรรคที่ 2 เรียกว่า จ วรรค คือ จ ฉ ฌ ช ญ เกิดที่เพดาน เรียกว่า
ตาลุชะ
วรรคที่ 3 เรียกว่า ฏ วรรค คือ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ เกิดที่เหงือกเรียกว่า
มุทธชะ
วรรคที่ 4 เรียกว่า ต วรรค คือ ต ถ ท ธ น เกิดที่ ฟัน เรียกว่า
ทันตชะ
วรรคที่ 5 เรียกว่า ป วรรค คือ ป ผ พ ภ ม เกิดที่ ริมฝีปากเรียก
ว่าโอฏฐชะ
2.2) พยัญชนะอวรรค หรือเศษวรรค หมายถึง พยัญชนะที่
จัดเป็นพวกเดียวกันตามฐานที่เกิดไม่ได้ มี 8 ตัวรวมนิคหิต อำ คือ อวรรค
(เศษวรรค) ได้แก่ ย ร ล ว ส ห ฬ อำ
ตารางแสดงหน่วยเสียงในภาษาบาลี ตามแหล่งเสียง (วรรค) เขียน
ด้วยอักษรไทยและอักษรโรมัน
วรร
ค
สระ
อโฆษะ (ไม่
ก้อง)
โฆษะ (ก้อง)
นาสิ
กรัสส
ระ
(สั้น)
ทีฆ
สระ
(ยาว)
สิถิล
(เบา
)
ธนิต
(หนั
ก)
สิถิล
(เบา)
ธนิต
(หนัก)
กัณฐ
ชะ
อะ อา ก ข ค ฆ ง
ตาลุ
ชะ
อิ อี , เอ จ ฉ ช ฌ ญ
มุทธ
ชะ
- - ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
ทันต
ชะ
- - ต ถ ท ธ น
โอฏฐ
ชะ
อุ อู , โอ ป ผ พ ภ ม
การเทียบเสียงภาษาบาลี จากอักษรไทย เป็นอักษรโรมัน
เทียบอักษรไทยเป็นโรมันที่ใช้เขียนบาลี
อักษรไทยที่ใช้ในบาลี อักษรโรมัน
ก ข ค ฆ ง k, kh, g, gh, ṅ
จ ฉ ช ฌ ญ c, ch, j, jh, ñ
ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ṭ, ṭh, ḍ, ḍh, ṇ
ต ถ ท ธ น t, th, d, dh, n
ป ผ พ ภ ม p, ph, b, bh, m
ย ร ล ว ส ห ฬ อำ y, r, l, v, s, h, ḷ , ṁ ṃ หรือ ŋ
อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ a, ā, i, ī, u, ū, e,o
ตัวอย่างการเทียบเสียงด้วยอักษรโรมัน
นโม ตสฺส : Namo tassa ภควโต อรหโต :
Bhagavato Arahato
สมฺมสมฺพุทฺธสฺส: Sammāsambuddhassa อชฺฌตฺติก : Ajjhattika
อนฺตฺรธาน : antaradhāna อุปทฺทวเหตุ :
Upaddavahetu
ชมฺพูนท : jambūnada ขณฺฑสกฺขรา :
khaṇḍhasakkharā
ทุพฺภิกฺขภย : dubbhikkhabhaya ทุกฺกรกิริยา :
dukkarakiriyā
ปจฺจตฺถรณ : paccattharaṇa ปพฺพาชนียกมฺม :
pabbājanīyakamma
ปทวลญฺช : padavalañja ปุญฺญาภินิหาร :
puññābhinihāra
ราชปลฺลงฺก : rājapallanka สุปฏิปนฺโน : supatipanno
1.3 การเขียนและออกเสียงคำาในภาษาบาลี
พยัญชนะบาลีเมื่อนำามาใช้เป็นศัพท์หรือคำา มีการใช้พยัญชนะอยู่ 2
ชนิด คือ
1. พยัญชนะเดี่ยว หมายถึงคำาที่มีพยัญชนะเดี่ยวอยู่ที่พยางค์ต้น
กลาง หรือท้ายคำา พยัญชนะเดี่ยว ทำาหน้าที่เป็นพยัญชนะต้น เป็นตัวสะกด
ไม่ได้ ยกเว้นนิคคหิต อำ (อัง) พยัญชนะเดี่ยวเวลาออกเสียงจะต้องมีเสียง
กำากับพยัญชนะทุกตัว สระ อะ เวลาเขียนด้วยอักษรไทย ไม่มีรูป สระ อะ ที่ตัว
8
9
พยัญชนะเดี่ยว แต่เวลาออกเสียงต้องออกเสียงสระ อะ เวลาเขียนด้วยอักษร
โรมัน จะมีรูปสระ a ท้ายพยัญชนะเดี่ยวนั้นๆ เช่น
เสียง อะ เช่น นร –nara อ่านว่า น-ะระ (คน) ธน- dhana อ่านว่า ทะ-
นะ (ทรัพย์) ผล – phala อ่านว่า ผะ-ละ (ผลไม้) คำาที่พยัญชนะเดี่ยวที่มีเสียง
สระอื่น ดังนี้
เสียง อา เช่น นาวา nava อ่านว่า นา-วา (เรือ) มาลา-mala อ่านว่า
มา-ลา (ดอกไม้) ตารา-tara อ่านว่า ตา-รา (ดวงดาว) เป็นต้น
เสียง อิ เช่น วิธิ – vidhi อ่านว่า วิ-ทิ (วิธี) นิธิ –nidhi อ่านว่า นิ-ทิ แปล
ว่า ขุมทรัพย์ มิติ- miti อ่านว่า มิติ แปลว่า การวัด เป็นต้น
เสียง อี เช่น มาลี–mali อ่านว่า มา-ลี แปลว่า คนทำาดอกไม้ สามี –
sami อ่านว่า สา-มี เป็นต้น
เสียง อุ เช่น ครุ – garu อ่านว่า คะ-รุ แปลว่าครู ปสุ- pasu อ่านว่า ปะ-
สุ (สัตว์เลี้ยง) เป็นต้น
เสียง อู เช่น วิทู –vidu อ่านว่า วิ-ดู หรือ วิ-ทู แปลว่า คนฉลาด วธู –
vadhu อ่านว่าวะ-ทู แปลว่า หญิงสาว เป็นต้น
เสียง เอ เช่น เวร-vera อ่านว่า เว-ระ (เวร) แปลว่าเวร เมรย –meraya
อ่านว่า เม-ระ-ยะ แปลว่า นำ้าเมา เป็นต้น
เสีย โอ เช่น โลก –loka อ่านว่า โล-กะ แปลว่า โลก โจร-cora อ่านว่า
โจ-ระ เป็นต้น
2. พยัญชนะคู่ บาลีเรียกว่าพยัญชนะซ้อนหรือพยัญชนะสังโยค
หมายถึงมีการซ้อนพยัญชนะในวรรค ตัวที่ 2 และ 3 ในวรรคเดียวกัน
พยัญชนะตัวที่ 2 ทำาหน้าที่เป็นตัวสะกด เวลาเขียนให้ใช้จุด( . ) ใต้ตัวสะกด
ถ้าไม่มีสระทำาหน้าที่เป็นไม้หันอากาศด้วย เช่น สจฺจ อ่านว่า สัด-จะ ถ้ามีตัว
สระเป็นตัวสะกด อย่างเดียว เช่น เสฏฺฐี อ่านว่า เสด-ถี, ทุกฺข อ่านว่า ดุก-ขะ/
ทุก-ขะ, อกฺขร อ่านว่า อักขะระ วฏฺฏ อ่านว่า วัด-ตะ, วิญฺญาณ อ่านว่า วิน-
ยา-นะ เป็นต้น
3. เครื่องหมายในภาษาบาลี
1) นิคคหิต (อำ) อ่านว่า อัง เป็นจุดอยู่บนตัวอักษรตัวสุดท้าย ใช้แทน
ไม้หันอากาศ และ ง เช่น พุทฺธำ (พุดทัง) ธมฺมำ (ทำามัง) สงฺฆำ (สังคัง) สรณำ (สะ
ระนัง) อหำ (อะ-หัง) ตฺวำ (ตะ-วัง) เป็นต้น พยัญชนะที่อาศัยสระอยู่ และมีนิค
คหิต (อำ) วางกำากับอยู่ข้างบน นิคคหิตนั้นจะต้องอ่านเป็น ง เช่น ปสฺสึ อ่าน
ว่า ปัสสิง, กาเรสึ อ่านว่า กาเรสิง
2) จุดพินทุ (.) เป็นจุดที่เขียนไว้ใต้พยัญชนะ มี สองลักษณะ ดังนี้
(2.1) เป็นตัวสะกด พยัญชนะ ที่ใช้เป็นตัวสะกดในภาษาบาลี ในกรณี
ที่ไม่มีสระอยู่พยัญชนะตัวหน้าพยัญชนะที่มีจุดจะเป็นตัวสะกดและเป็นไม้หัน
อากาศของพยัญชนะตัวหน้า เช่น สตฺต ราชภฎฺนครราชสีมา ถ้ามีสระอยู่ให้
พยัญชนะตัวหน้าอยู่เป็นเพียงแค่ตัวสะกด วิญฺญาณ, เวสฺสุวณฺโณ, อุณฺห
(ความร้อน) โกณฺทญฺญภิกฺขุ, สิกฺขา, มนุสฺโส เป็นต้น
(2.2) เป็นพยัญชนะต้น โดยปกติแล้วในภาษาบาลีไม่มีการใส่จุดใต้
คำาพยัญชนะต้น หรือพยัญชนะถ้าไม่ใช่ตัวสะกดตามที่กล่าวมาข้างบน แต่มี
คำาที่ยืมมาจากภาษาสันสกฤต เพื่อให้เกิดเสียงควบกลำ้า ด้านหลังเหมือนภาษา
เดิม จึงมีจุดไว้เพื่อให้ออกเสียงควบกล้้้ำ เช่น ทฺวาร (ประตู) วฺยญฺชน
(พยัญชนะ) ทฺวิ (สอง) พฺราหฺมณ (bra-hma-na เป็นต้น
(2.3) พยัญชนะที่อาศัยสระอยู่ และพยัญชนะตัวถัดมาจะมีพินทุ (.)
หรือจุดวางกำากับอยู่ใต้พยัญชนะ ตัวถัดมานั้น ก็ให้อ่านออกเสียงเป็นตัว
สะกดธรรมดา เช่น ภิกฺขุสฺส อ่านว่า ภิกขุสสะ ปกฺโกเปนฺติ อ่านว่า ปักโกเปน
ติ
3) คำาที่มี ตฺวา ตฺวาน เป็นตัวสะกด ซึ่งวางกำากับอยู่สุดท้าย จะต้องอ่าน
ออกเสียง ตฺ ซึ่งเป็นตัวสะกดของ คำาหน้า ตฺ นั้น ให้ออกเสียง ตฺ (ตะ)ด้วย ซึ่ง
จะมีการออกครึ่งเสียง (ออกเสียงสั้นๆ) เช่น ทตฺวา อ่านว่า ทัดตะวา ทตฺ
วาน อ่านว่า ทัดตะวานะ (ตฺ อ่านว่า ตะ ออกครึ่งเสียง)
4) กรณีที่ ต ไม่มีพินทุ (.) หรือจุดอยู่ใต้ เหมือนข้อ 4 ก็ให้อ่านออก
เสียงเต็มเสียงตามปกติเหมือน การอ่านออกเสียงในข้อ 1 เช่น ทตวา อ่าน
ว่า ทะ ตะ วา สุตวา อ่านว่า สุ ตะ วา
5) ยังมีศัพท์ที่ทำาหน้าที่เป็นตัวสะกดและต้องออกเสียงในตัวของมันเอง
ด้วย โดยออกเสียงครึ่งเสียง เช่น
สกฺยปุตฺโต อ่านว่า สักกะยะปุตโต
ตุณฺหี อ่านว่า ตุนนะฮี
ตสฺมา อ่านว่า ตัสสะมา
6) กรณีที่มี ร อยู่ท้าย ให้อ่านออกเสียงเป็นเสียงควบกลำ้า เช่น
พฺรหฺมา อ่านว่า พรำามา
พฺราหฺมโณ อ่านว่า พราหมะโณ
กายินฺทฺริยานิ อ่านว่า กายินทริยานิ
7) พยัญชนะที่มีพินทุ (.) หรือจุดวางกำากับไว้ แต่ไม่ได้ทำาหน้าที่เป็นตัว
สะกด ทำาหน้าที่คล้ายควบกลำ้า เพียงแต่มีจะพินทุวางไว้หน้าพยัญชนะตัวแระ
ก็ให้อ่านออกเสียงพยัญชนะที่มีพินทุกำากับด้วย เช่น
เทวสหายกา อ่านว่า ทะเวสะหายะกา
ทฺวารานิ อ่านว่า ทะวารานิ
8) พยัญชนะที่อาศัยอยู่ใน เอยฺย ก็ให้ออกเสียง ไอยะ สั้น เช่น
กเรยฺย อ่านว่า กะไรยะ
ปจฺเจยฺย อ่านว่า ปัจไจยะ
9) พยัญชนะที่อาศัยอยู่ใน อิยฺย ก็ให้ออกเสียง อี โดยใช้ฟันล่างและ
ฟันบนกดกันแล้วจึงออกเสียง เช่น
นิยฺยาเทมิ อ่านว่า นียาเทมิ
10) พยัญชนะตัว ฑ ในภาษาบาลี ให้ออกเสียง ด ในภาษาไทย เช่น
ปิณฺฑาย อ่านว่า ปิณดายะ
ปณฺฑิโต อ่านว่า ปันดิโต
10
11
แบบฝึกหัดที่ 1
1. จงอ่านและเขียนคำาเหล่านี้ด้วยภาษาโรมมัน
คำาศัพท์ อ่านว่า เขียนด้วยภาษา
โรมันเป็น
อาจริย : อาจารย์ อาจะริยะ Acariya
ขตฺติย : กษัตริย์ ขัตติยะ Khattiya
ปุตฺต : บุตรชาย ปุตตะ Putta
สหาย : เพื่อน สหายะ Sahaya
กุมาร : ทารก กุมาระ kumara
มนุสฺส : เด็กชาย มะนุสสะ Manussa
ปุริส : บุรุษ ปุริสะ Purisa
รุกฺข ; ต้นไม้ รุกขะ Rukkha
สามเณร :สามเณร สามะเณระ samanera
เอรณฺฑ : ต้นระหุ่ง เอรันดะ Eranda
วาณิช : พ่อค้า วาณิชะ Vanija
กมฺมกร : คนทำางาน กัมมะกะระ Kammakara
2. จงอ่านข้อความต่อไปนี้ โดยเขียนเป็นภาษาอ่านด้วยภาษา
ไทย
2.1 นรา สุริยำ ปสฺสนฺติ. อ่านว่า นะรา สุริยัง ปัสสันติ
2.2 สกุโณ รุกฺเข นิสีทติ. อ่านว่า สะกุโณ รุกเข นิสีทะติ
2.3 โจรา วาณิชสฺส สุนเข โจเรนฺติ. อ่านว่า โจรา วาณิชัสสะ สุนะ
เข โจเรนติ
2.4 พุทฺธสฺส ธมฺโม โลเก ตโนติ. อ่านว่า พุท/บุทธัสสะ ธัมโม โลเก
ตะโนติ
2.5 อหำ วิหาเร ธมฺมำ สุณามิ. อ่านว่า อะหัง วิหาเร ธัมมัง สุณามิ
2.6. มยำ ปาลิภาสำ สิกฺขาม. อ่านว่า มะยัง ปาลิภาสัง สิกขาม
2.7 มยำ อุโปสเถ ลีลานิ ยาจาม. อ่านว่า มะยัง อุโปสะเถ ลีลานิ ยา
จาม
3. จงเขียนคำาอ่านและปริวรรตเขียนด้วยภาษาโรมัน ประโยค
ต่อไปนี้
อิทานิ ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ปรินิพฺพานโต ปฏฺฐาย
ฉจตฺตาฬีสุตฺตรปญฺจสตาธิกานิ เทฺวสงฺวจฺฉรสหสฺสานิ อติกฺกนฺตานิ ปจฺจุปฺปนฺ
นกาลวเสน ปุสฺสมาสสฺส ปฐมำ ทินฺนำ วารวเสน ปน วุธวาโร โหติ เอวำ ตสฺส ภคว
โต ปรินิพฺพานา สาสนายุกาลคณนา สลฺสกฺเขตพฺพาติฯ
บทที่ 2
นามศัพท์
2.1 ส่วนประกอบของนามศัทพ์
นามศัพท์ แปลว่า เสียงหรือสำาเนียงที่บอกให้รู้ ชื่อคน สัตว์ สถานที่
สิ่งของ แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
1) นามนาม (Noun)
2) คุณนาม (adjective)
3) สรรพนาม (Pronoun)
แผนผังแบ่งประเภทคำา
1.นามศัพท์
นามนาม คุณนาม
สัพพนาม
สาธารณนาม อสาธารณนาม ปกติ วิเสส อติวิเสส
นิยมส.นาม อนิยมส.นาม
2.กิริยาศัพท์
กิริยาอาขยาต 3. อัพยยศัพท์ กิริยากิตก์
อุปสรรค นิบาต ปัจจัย
2.1.1นามนาม (Noun)
นามนาม คือ คำาที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สถานที่ วัตถุสิ่งของ เช่น ผู้ชาย
ผู้หญิง สุนัก แมว ความ หมู กา ไก่ กรุงเทพฯ นครราชสีมา มหาวิทยาลัย
โรงเรียน ผลไม้ ดอกไม้ หิน รถยนต์ คอมพิวเตอร์ ดินสอ ปากกา เป็นต้น นาม
นามแบ่งออกเป็น 2 คือ
12
13
1) สาธารณนาม คือนามที่ใช้ทั่วไปไม่จำาเพราะเจาะจง แต่ใช้เรียนได้
ทั่วไป ได้แก่ คน สัตว์ สถานที่ สิ่งของ เช่น มนุสฺโส : มนุษย์, ปุริโส:
ผู้ชาย,อิตฺถี: สตรี, ติรจฺฉาโน : สัตว์เดรัจฉาน, นครำ: เมือง,ปเทโส
:ประเทศ,มหาวิทยาลโย : มหาวิทยาลัย, นายโก: นายก /ผู้นำา. ภิกฺขุ :ภิกษุ
เป็นต้น
2) อสาธารณนาม คือนามไม่ทั่วไป เป็นชื่อเฉพาะ ได้แก่ เอรวณฺโณ:
ช้างเอรวัณ,
เทวนครำ: กรุงเทพฯ, เสมานครำ: เมืองเสมา(นครราชสีมา)
2.1.2 คุณนาม (Objective)
คุณนาม คือ คำาที่บอกลักษณะของของนามว่า สูง ตำ่า ดำา ขาว โง่ ฉลาด
ดี ชั่ว ยาว สั้น ยากจน รวย สวย หล่อ เป็นต้น เช่น มหนฺต (ใหญ่) จุลฺล (เล็ก)
สุนฺทร (ดี,งาม,หล่อ) ปาป (ชั่ว/เลว) นีจ (ตำ่า) อุจฺจ (สูง) ทีฆ (ยาว) รสฺส(สั้น)
ปณฺฑิต (ฉลาด) ทนฺธ (โง่) คำาคุณศัพท์เหล่านี้เมื่อนำามาใชให้นำามาขยายนาม
หรือบอกลักษณะของนาม โดยวางไว้ข้างหน้านามเสมอ เช่น มหนฺโต
บุคฺคลโล (คนใหญ่) จุลฺโล อินฺทรีโย (สารอินทรีย์เล็ก) ปาโป มนุสฺโส (คน
บาป) เป็นต้น โดยประกอบวิภัตติ และวจนะให้เหมือนนามที่มันขยาย เช่น ม
หนฺโต ปุริโส (ผู้ชายใหญ่) มหนฺตี อิตฺถี (ผู้หญิงใหญ่) มหนฺตำ สาลำ (ศาลา
ใหญ่) เป็นต้นฯ
คำาคุณนาม เมื่อนำาไปใช้โดยไม่เรียงไว้ข้างหน้านาม จะมีต้องใข้กิริยาที่
เป็นธาตุ หุ ธาตูที่แปลว่า เป็น,มี เหมือน verb to be (is, am, are, was,
were) ในภาษาอังกฤษที่แปลว่า เป็น อยู่ คือ เช่น ปุริโส มหนฺโต โหติ : The
man is big. ผู้ชายตัวใหญ่. อหำ สุนฺทโร โหมิ : I am good. (ฉันเป็นคนดี)
คำาคุณศัพท์มีสามารถเป็นชั้นได้ 3 ชึ้น ในการเปรียบเทียบเหมือนภาษา
อังกฤษ ชั้นปกติ ชั้นวิเสส(ขั้นกว่า) และอติวิเสส(ที่สุด) ซึ่งต้องมีกฎทาง
ไวยากรณ์เหมือนกัน ตัวอย่างในภาษาอังกฤษเปรียบชั้น เช่น good (ดี)
better (ดีกว่า) best (ดีที่สุด) much (มาก) more (มากว่า) most (มากที่สุด)
ในภาษาบาลีก็มีการเปลี่ยนรูปของการเปรียบเทียบคุณในชั้นทั้ง 3 เหมือนกัน
1. ชั้นปกติ (Positive degree) เช่น สุนฺทร(ดี),ปาป(ชั่ว/เลว), อุจฺจ
(สูง) นีจ (ตำ่า) ทีฆ (ยาว) รสฺส (สั้น) มหนฺต (ใหญ่) จุลฺล (เล็ก) เสต (ขาว) กาฬ
(ดำา) รตฺต (แดง) นีล (เขียว) ปีต (เหลือง) ฯ
2. ชั้นวิเสส /ชั้นกว่า (Comparative degree) ให้เติม ปัจจัย (Suffix)
คือ อิย หรือ ตร หลังคำาคุณนามนั้น เช่น สุนฺทริย (ดีกว่า) ปาปิย (เลวกว่า) ม
หนฺตร (ใหญ่กว่า) จุลฺลตร (เล็กกว่า) เป็นต้น
3. อติวิเสส (Supertative degree) เป็นการเปลี่ยบเทียบนั้นขั้นสูงสุด
โดยเติมปัจจัย(Suffix) คือ อิฏฺฐ และตม ที่แปลว่า ที่สุดต่อท้ายคำาคุณนามนั้น
เช่น สุนฺทริฏฺฐ (ดีที่สุด) มหนฺติฏฺฐ /มหนฺตตม (ใหญ่กว่า) จุลฺลิฏฺฐ /จุลฺลตโม
(เล็กที่สุด) เป็นต้น
ตารางเปรียบคุณนามในแต่ละชั้น
ชั้น
ปกติ
ชั้นวิเสส เติม ตร
,อิย (กว่า)
ชั้นอติวิเสส เติม ตม,อิฏฺฐ
(ที่สุด)
สุนฺทร(ดี) สุนฺทรตร/ สุนฺทริย (ดีกว่า) สุนฺทรตม/สุนฺทริฏฺฐ (ดีที่สุด)
ปาป(ชั่ว/เลว ปาปตร/ ปาปิย (บาปกว่า) ปาปตม/ปาปิฏฺฐ (บาปที่สุด)
อุจฺจ (สูง) อุจฺจตร /อุจฺจิย (สูงกว่า) อุจฺจตม/ อุจฺจิฏฺฐ (สูงที่สุด)
นีจ (ตำ่า) นีจตร /นีจิย นีจตม /นิจิฏฺฐ
ทีฆ (ยาว) ทีฆตร /ทีฆิย ทีฆตม/ ทีฆิฏฺฐ
มหนฺต (ใหญ่) มหนฺตร /มหนฺติย มหนฺตตม /มหนฺติฏฺฐ
รสฺส (สั้น) รสฺสตร / รสฺสิย รสฺสตม / รสฺสิฏฺฐ
จุลฺล (เล็ก) จุลฺลตร /จุลฺลิย จุลฺลตม / จุลฺลิฏฺฐ
เสต (ขาว เสตตร /เสติย เสตตม / เสติฏฺฐ
กาฬ (ดำา) กาฬตร / กาฬิย กาฬตม / กาฬิฏฺฐ
รตฺต (แดง) รตฺตตร / รตฺติย รตฺตตม /รตฺติฎฺฐ
นีล (เขียว) นีลตร / นีลิย นีลตม/นีลิฎฺฐ
ปีต (เหลือง) ปีตตร / ปีติย ปีตตม / ปีติฏฺฐ
คุณนาม เวลาใช้ต้องให้เรียงไว้หน้านามนามที่ขยาย ให้มี ลิงค์ วจนะ
วิภัตติ ตรงกัน และแปลไม่ออกสำาเนียงอายตนิบาต เช่น สุนฺทโร ธมฺโม :
ธรรมดี, สุนฺทรา กถา : ถ้อยคำาดี, สุนฺทรำ กุลำ :ตระกูลดี, มหนฺเต รุกฺ
เข ต้นไม้ ท. ใหญ่ เป็นต้นฯ
การเปรียบในชั้นต่างๆ ก็ให้เปลี่ยนรูปไปตามนามที่มันไป
ขยาย
สุนฺทรียา นารี (ผู้
หญิงงาม)
สุนฺทริยา นารี (ผู้หญิง
งามกว่า)
สุนฺทริฏฺฐา นารี (ผู้หญิง
งามที่สุด
สุนฺทโร ปุริโส
(ผู้ชายดี)
สุนฺทรตโร ปุริโส
(ผู้ชายดีกว่า)
สุนฺทรตโม ปุริโส (ชายดี
ที่สุด)
2.1.3 สัพพนาม (Promoun)
สัพพนาม หมายถึง คำาที่ใช้แทนนามนามที่ออกชื่อมาแล้ว เพื่อไม่ให้
ซำ้าซาก ซึ่งไม่เพราะหู แบ่งเป็น 2 คือ
1) ปุริสสัพพนาม คำาที่ใช้แทนนามนามทั่วไป (Personal Promoun)
หมายถึงคำาสรรพนามที่ใช้แทนคำานามตามบุรุษนามทั้ง 3 กล่าวคือ ปฐมบุรุษ
มัธยมบุรุษ และอุตมบุรุษ
(1) ปฐมบุรุษ ได้แก่ บุรุษที่ 1 (ปฐมปุริส) หมายถึงบุคคลที่เราพูด
ถึง ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษจัดเป็นบุรุษที่ 3 ในภาษาบาลีสคือ ต ศัพท์
ที่ แปลว่า เขา โดยนำาไปแจกด้วยวิภัตตินามทั้ง 7 ซึ่งจะพูดในบทต่อไป
(2) มัธยมบุรุษ ได้แก่บุรุษที่ 2 ในภาษาบาลีเรียก มัชฌิมปุริส คือ
ตุมฺห ศัพท์ แปลว่า ท่าน คุณ เป็นต้น ในภาษาอังกฤษ ได้แก่ You
14
15
(3) อุดมบุรุษ บาลีเรียกว่า อุตตมปุริส ได้แก่ บุรุษที่ 3 ในภาษา
ไทยและอังกฤษหมายถึงบุรุษที่ 1 ในภาษาบาลี คือ อมฺห ศัพท์ แปลว่า
ข้าพเจ้า กระผม หนู ดิฉัน ภาษาอังกฤษ คือ I
2. วิเสสนสัพพนาม คำาที่ใช้ขยายมนาม ทำาหน้าที่คล้ายคุณศัพท์ คือ
มีลักษณะขยายคำานาม ถ้าขยายนามบทใดก็จะเปลี่ยนไปตามนามบทนั้น
ได้แก่ ย ศัพท์(ใด) เช่น โย ปุคฺคโล (บุคคลใด) ยา วาจา (วาจาใด) ยำ ผลำ
(ผลไม้ใด) และ ต ศัพท์(นั้น) เช่น โส ปุคฺคโล (บุคคลนั้น) สา นารี (หญิงคน
นั้น) ตำ ผลำ (ผลไม้นั้น) เป็นต้น
แบบฝึกหัดที่ 2
1. ส่วนของคำาพูดในภาษาบาลีประกอบด้วยอะไรบ้าง
2. นามนามหมายถึงสิ่งใด แบ่งเป็นกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร
3. คุณนาม คืออะไร แบ่งเป็นกี่ชั้น เมื่อนำาไปใช้ควรจะมีรูปลักษณะ
อย่างไร
4. จงเปลี่ยนคำาคุณศัพท์เหล่านี้ให้เป็นชั้น กว่า และยิ่งกว่า ด้วยการเติม
ปัจจัย
ปณฺฑิต (ฉลาด), มานิต (น่านับถือ),วร (ประเสริฐ), มเหสกฺก
(มีศักดิ์ใหญ่)
5. สัพพนาม คืออะไร แบ่งเป็นกี่ประเภท แต่ละประเภท มีอะไรบ้าง
2.2 นามศัพท์และการแจกวิภัตตินาม
นามศัพท์ คือ นามนาม คุณนาม และสรรพนาม ทั้ง 3 อย่างนี้ นาม
นามเป็นประธาน คุณนามและสัพพนามเป็นบริวาร เพราะเมื่อมีนามนามแล้ว
คุณนามและสัพพนามจึงมีได้ เพราะฉะนั้น นามนามจึงสำาคัญที่สุดนามศัพท์
มีส่วนประกอบสำาคัญ 3 อย่าง คือ ลิงค์ วจนะ และวิภัตติ
2.2.1 ลิงค์
ลิงค์ หรือเพศ ของนาม คือ คำาพูดที่บ่งเพศของนามนาม เรียกว่า ลิงค์
แบ่งเป็น 3 คือ
(1) ปุงลิงค์ (เพศชาย)
(2) อิตถีลิงค์ (เพศหญิง)
(3) นปุงสกลิงค์ ไม่ใช่เพศชาย ไม่ใช่เพศหญิง
1) การกำาหนดและการแบ่งลักษณของลิงค์ (เพศ)
(1) เป็นลิงค์เดียว คือศัพท์เดียว เป็นได้ลิงค์เดียว เช่น ปุริโส
บุรุษ เป็นปุงฺลิงค์ได้อย่างเดียว, อิตฺถี หญิง เป็นอิตถีลิงค์ได้
อย่างเดียว, กุลำ ตระกูล เป็นนปุงฺสกลิงค์ได้อย่างเดียว เป็นต้น
(2) เป็น 2 ลิงค์ (ทวิลิงค์)ศัพท์เดียว มีรูปอย่างเดียว เป็นได้ 2
ลิงค์ เช่น อกฺขโร อกฺขรำ อักขระ, มโน มนำ ใจ เป็นต้น
(3) นามนามมีมูลศัพท์อย่างเดียว เปลี่ยนสระที่สุดศัพท์เป็น
เครื่องหมายให้ต่างลิงค์กัน (โดยลง อา อี อินี ปัจจัย
เครื่องหมายอิตถีลิงค์) เช่น ราชา (ปุงฺ.), ราชินี (อิตฺ), อุปาส
โก (ปุงฺ.), อุปาสิกา (อิตฺ.) เป็นต้้น
2) คุณนามและสัพพนามเป็นได้ทั้ง 3 ลิงค์ (แล้วแต่นามนามที่มันไป
ขายาย)ลิงค์แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
(1) จัดตามกำาเนิด คือ จัดลิงค์ให้ตรงตามกำาเนิดเดิมของนามนั้น
เช่น ปุริโส บุรุษ กำาเนิดเป็นปุงฺลิงค์ จัดให้เป็นปุงลิงค์
อิตฺถี หญิง กำาเนิดเป็นอิตถีลิงค์ จัดให้เป็นอิตถีลิงค์ จิตฺ
ตำ จิต กำาเนิดเป็นนปุงฺสกลิงค์ จัดให้เป็นนปุงสกลิงค์
(2) จัดตามสมมุติ คือ จัดลิงค์ตามสมมุติของภาษา ไม่ตรงตาม
กำาเนิดเดิมของนามนามนั้น เช่น ทาโร เมีย กำาเนิดเป็นอิตถี
ลิงค์ สมมุติให้เป็นปุงลิงค์ เช่น ปเทโส ประเทศ กำาเนิดเป็นนปุง
สกลิงค์ สมมุติให้เป็นปุงลิงค์ ภูมิ แผ่นดิน กำาเนิดเป็นนปุงสก
ลิงค์ สมมุติให้เป็นอิตถีลิงค์ เป็นต้น
2.2.2 วจนะของนาม
วจนะ คือ คำาพูดบอกจำานวน (ให้ทราบว่าน้อยหรือมาก) แบ่ง
เป็น 2 คือ
(1) เอกวจนะ คำาพูดสำาหรับออกชื่อของสิ่งเดียว เช่น ปุริโส
ชายคนเดียว อิตฺถี (หญิงคนเดียว) วตฺถุ (สิ่งของอันเดียว)
เป็นต้น
2) พหุวจนะ คำาพูดสำาหรับออกชื่อของมากกว่าสิ่งเดียว คือตั้งแต่
2 สิ่งขึ้นไป เช่น ปุริสา ชายหลายคน อิตฺถิโย (หญิงหลายคน)
วตฺถูนิ (สิ่งของหลายอัน) เป็นต้น
2.2.3 วิภัตติ วิภัตตินาม คือ สิ่งที่ใช้แจกศัพท์ให้มีรูปต่างๆ เพื่อให้มี
เนื้อความเชื่อมต่อกับคำาอื่นๆ ในประโยค วิภัตตินั้นมี 14 ตัว แบ่งเป็น
เอกวจนะ 7 พหุวจนะ 7 ดังนี้
วิภัต
ติ
ที่ เอกวจนะ พหุวจนะ
ปฐมา ที่ 1 สิ โย
ทุติยา ที่ 2 อำ โย
ตติยา ที่ 3 นา หิ
จตุตฺถี ที่ 4 ส นำ
ปญฺจมี ที่ 5 สฺมา หิ
16
17
ฉฏฺฐี ที่ 6 ส นำ
สตฺตมี ที่ 7 สฺมึ สุ
อาลปนะ - สิ โย
2.3 อายตนิบาต
นามศัพท์ เมื่อประกอบวิภัตติแล้ว จะมีสำาเนียงการแปลต่างกันไป ตาม
วิภัตตินั้น เมื่อนำาไปใช้มีความหมายต่อเนื่องกับคำาอื่นได้ คำาที่เชื่อมต่อความ
หมายของศัพท์ เรียกว่า อายตนิบาต (ตรงกับบุพบทในภาษาไทย หรือ
ภาษาอังกฤษ ) อายตนิบาต มีดังนี้
อายตนิบาต คำาแปลประจำาวิภัติทั้ง 7 วิภัติ
วิภัตติ ฝ่ายเอกวจนะ ฝ่ายพหุวจนะ
ปฐมา
อ. (อ่านว่า อันว่า) อ. - ท. (อ่านว่า อันว่า....ทั้ง
หลาย)
ทุติยา ซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น, ตลอด, กะ, เฉพาะ. ซึ่ง-ท., ..... เฉพาะ-ท.
ตติยา
ด้วย, โดย, อัน, ตาม, เพราะ, มี, ด้วย
ทั้ง.
ด้วย-ท., ..... ด้วยทั้ง-ท.
จตุตฺถี แก่, เพื่อ, ต่อ. แก่-ท., ...... ต่อ-ท.
ปญฺจมี แต่, จาก, กว่า, เหตุ. แต่-ท., ...... เหตุ-ท.
ฉฏฺฐี แห่ง, ของ, เมื่อ. แห่ง-ท., ...... เมื่อ-ท.
สตฺตมี
ใน, ใกล้, ที่, ครั้นเมื่อ, ในเพราะ
เหนือ, บน, ณ...
ใน -ท., ...... บน -ท.,ณ -ท. ฯ
อาลปนะ แน่ะ, ดูก่อน, ข้าแต่. แน่ะ-ท.,ดูก่อน ท. ข้าแต่-ท.
ปฐมาวิภัตติ และอาลปนวิภัตติ ไม่มีสำาเนียงอายตนิบาต แต่ใช้คำาว่า
‘อันว่า’ และ ‘แน่ะ ดูก่อน ข้าแต่’ แทน ตามลำาดับ เพื่อเป็นเครื่องสังเกต
วิภัตติ ปฐมาวิภัตติ แบ่งเป็น 2 คือ เป็นประธานในประโยคที่ไม่มีกิริยาคุม
พากย์ เรียกว่า
ลิงฺคตฺถ เช่น มหาปญฺโญ อานนฺโทอ.พระอานนท์ ผู้มีปัญญามากเป็น
ประธานในประโยคที่มีกิริยาคุมพากย์ เรียกว่า สยกตฺตา เช่น อานนฺโท ธมฺมำ
เทเสติ อ.พระอานนท์ ย่อมแสดง ซึ่งธรรม เป็นอาลปนะ คำาสำาหรับร้องเรียก
อาลปนวิภัตติ ไม่มีวิภัตติเป็นของตนเอง แต่ยืมปฐมาวิภัตติมาใช้
2.4 การันต์
การันต์ คือ สระที่สุดแห่งศัพท์ โดยย่อมี 6 คือ อ อา อิ อี อุ อู โดย
พิสดารมี 13 คือ
ในปุงลิงค์ มีการันต์ 5 คือ อ อิ อี อุ อู
ในอิตถีลิงค์ มีการันต์ 5 คือ อา อิ อี อุ อู
ในนปุงสกลิงค์ มีการันต์ 3 คือ อ อิ อุ
2.5 การแจกวิภัตตินาม
วิธีแจกนามนาม ด้วยวิภัตตินั้น แจกตามการันต์และลิงค์ (วิภัตติ
วจนะ) ศัพท์ที่การันต์และลิงค์เหมือนกัน ให้แจกเป็นแบบเดียวกัน เช่น ปุริส
อาจริย ปณฺฑิต เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ เช่นเดียวกัน ให้แจกตามแบบ อ
การันต์ ปุงลิงค์
1) ปุงลิงค์ มีการันต์ 5 ตัว คือ อ,อิ,อี,อุ,อู
อ การันต์ในปุงลิงค์แจกอย่าง ปุริส (ผู้ชาย) ดังนี้
วิภัตติ เอกวจนะ พหุวจนะ
ปฐมา ปุริโส ปุริสาป
ทุติยา ปุริสำ ปุริเส
ตติยา ปุริเสน ปุริเสหิ, ปุริเสภิ
จตุตถี ปุริสสฺส, ปุริสาย, ปุ
ริสตฺถำ
ปุริสานำ
ปญฺจมี ปุริสสฺมา, ปุริสมฺหา, ปุริ
สา
ปุริเสหิ, ปุริเสภิ
ฉัตถี ปุริสสฺส ปุริสานำ
สตฺตมี ปุริสสฺมึ, ปุริสมฺหิ, ปุริเส ปุริเสสุ
อาปนะ ปุริส ปุริสา
คำาอธิบายใน อ การันต์
1. เอา อ กับ สิ เป็น โอ, กับ โย ปฐมา เป็น อา.
2. เอา อำ เป็น อำ ในที่ปวง, อ กับ โย ทุติยา เป็น เอ.
3. เอา อ กับ นา เป็น เอน หิ และ สุ อยู่หลัง เอา อ เป็น เอ
เอา หิ เป็น ภิ ในที่ทั้งปวง.
4. เอา ส เป็น สฺส แต่ ส จตุตถี เป็น ตฺถำ, กับ อ เป็น อาย ได้
นำ อยู่หลัง ทีฆะสระในที่ทั้งปวง.
5. เอา สฺมา เป็น มฺหา ได้ ใน ปุ. นปุ. กับ อ เป็น อา.
6. เอา สฺมึ เป็น มฺหิ ได้ ใน ปุ. นปุ. กับ อ เป็น เอ.
7. อาลปนะ เอกวจนะ คงเป็น อ, พหุวจนะ เป็น อา.
ศัพท์ที่เป็น อ การันต์เหล่านี้แจกเหมือน ปุริส (บุรุษ)
อาจริย อาจารย์ กุมาร เด็ก ขตฺติย กษัตริย์
คณ หมู่ โจร โจร ฉณ มหรสพ
ชน ชน ตุรค ม้า เถน ขโมย
18
19
ฝึกแปลสำาเนียงอายตนิบาต
ปฐมาวิภัตติ
-นโร นิสีทติ. : อ. คน ย่อมนั่ง – นรา นิสีทนฺติ : อ. คนทั้งหลาย ย่อมนั่งฯ
ทุติยาวิภัตติ
-อหำ นรำ ปุจฺฉามิ. อ.ฉัน ย่อมถาม ซึ่งคน. มยำ นเร ปุจฺฉามา. อ.พวกเรา
ย่อมถาม ซึ่งคนทั้งหลาย ฯ
ตติยาวิภัตติ
-สกุโณ นเรน ฆยเต. อ.นกถูกฆ่าโดยคน. ปญฺจสีลานิ นเรหิ รกฺขนฺติ.
อ.ศีลห้า ย่อมรักษา โดยคนทั้งหลายฯ
จตุตถีวิภัตติ
- พุทฺโธ นรสฺส (นรานำ) ธมฺมำ เทเสติ. พระพุทธเจ้า ย่อมทรงแสดงซึ่ง
ธรรม แก่คน/คนทั้งหลายฯ
อิ การันต์ปุงลิงค์แจกอย่าง มุนิ (ผู้รู้)
วิภัตติ เอกวจนะ พหุวจนะ
ปฐมา มุนิ ม,,มุนิ มุนโย, มุนี มุน
โย, มุนี
ทุติยา มุนึ มุนโย, มุนี
ตติยา มุนินา มุนีหิ, มุนีภิ
จตุตถี มุนิสฺส, มุนิโน มุนีนำ
ปญฺจมี มุนิสฺมา, มุนิมฺหา มุนีหิ, มุนีภิ
ฉัตถี มุนิสฺส, มุนิโน มุนีนำ
สตฺตมี มุนิสฺมึ, มุนิมฺหิ มุนิสุ
อาปนะ มุนิ มุนโย, มุนี
คำาอธิบายใน อุ การันต์
1. สระที่มิใช่ อ อยู่หน้า ลบ สิ เสีย, โย อยู่หลัง เอา อิ ปุ. เป็น อ
ก็ได้
ลบ โย เสียแล้ว ทีฆะ สระ อิ อุ ในลิงค์ทั้ง 3 ก็ได้
2. อิ อี อุ อู ใน ปุ. นปุ. คง นา ไว้, หิ นำ สุ อยู่หลัง ทีฆะ อ อิ อุ เป็น
อา อี อู ในลิงค์ทั้งปวง
3. เอา ส เป็น สฺส ได้ ปุ. นปุ. ข้างหน้าเป็นสระที่มิใช่ อ เอา เป็น โน
ได้ 2 ลิงค์นั้น
4. อาลปนะ มีคติแห่ง ปฐมา.
ศัพท์ อิ การันต์ปุงลิงค์เหล่านี้แจกเหมือน มุนิ ศัทพ์
อคฺคิ เปลวไฟ วิธิ วิธี
ถปติ ช่างไม้ อหิ งู
มณิ แก้วมณี ปติ เจ้า, ผัว
อริ ข้าศึก วีหิ ข้าวเปลือก
นิธิ ขุมทรัพย์ สมาธิ สมาธิ
อี การันต์ ในปุงลิงค์ แจกอย่าง เสฏฺฐี (เศรษฐี)
วิภัต
ติ
เอกวจนะ พหุวจนะ
ปฐม
า
เสฏฺฐี เสฏฺฐิโน เสฏฺฐี
ทุติ
ยา
เสฏฺฐึ เสฏฺฐินำ เสฏฺฐิโน เสฏฺฐี
ตติย
า
เสฏฺฐินา เสฏฺฐีหิ เสฏฺฐีภิ
จตุต
ถี
เสฏฺฐิสฺส เสฏฺฐิโน เสฏฺฐีนำ
ปญฺ
จมี
เสฏฺฐิสฺมา เสฏฺฐิมฺ
หา
เสฏฺฐีหิ เสฏฺฐีภิ
ฉตฺ
ถี
เสฏฺฐิสฺส เสฏฺฐิโน เสฏฺฐีนำ
สตฺ
ตมี
เสฏฺฐิสฺมึ เสฏฺฐิมฺหิ เสฏฺฐีสุ
อา
ปนะ
เสฏฺฐิ เสฏฺฐิโน เสฏฺฐี
คำาอธิบายใน อี การันต์
1. เอา อำ เป็น นำ ได้บ้าง
2. อี อู ปุ. อยู่หน้า เอา โย เป็น โน แล้ว รัสสะสระตัวหน้าเสีย
หรือ ลบ โย ก็ได้
3. วิภัตติ เอกวจนะ ทั้งปวง ยก ปฐมา เสีย และ โย อยู่หลังต้อง
รัสสะ อี อู ใน ปุ. อิตฺถี.
ศัทพ์ที่เป็น อี การันต์ เหล่านี้แจกเหมือน เสฏฺฐี–เศรษฐี
ตปสี คนมีตปะ ทณฺฑี คนมีไม้เท้า
เมธาวี คนมีปัญญา สิขี นกยูง
ภาณี คนช่างพูด โภคี คนมีโภคะ
มนฺตี คนมีความคิด สุขี คนมีความสุข
อุ การันต์ ในปุงลิงค์ แจกอย่าง ครุ (ครู)
วิภัตติ เอกวจนะ พหุวจนะ
20
21
ปฐมา ครุ ครโว, ครู
ทุติยา ครุ ครโว, ครู
ตติยา ครุนา ครูหิ, ครูภิ
จตุตถี ครุสฺส ครุโน, ครูนำ
ปญฺจมี ครุสฺสมา, ครุมฺหา,
ครุมฺหา
ครูหิ, ครูภิ
ฉัตถี ครุสฺส, ครุโน, ครูนำ
สตฺตมี ครุสฺมึ, ครุมฺหิ ครูสุ
อาปนะ ครุ ครเว, ครโว,
คำาอธิบายใน อุ การันต์
วิธีเปลี่ยนวิภัตติทั้งปวง เหมือน อิ การันต์ แปลกแต่ อุ ปุลิงค์ อยู่หน้า
เอา โย เป็น โว, อาลปนะ พหุ. เป็น เว แล้ว อุ เป็น อ เท่านั้น
ศัพท์เหล่านี้แจกตาม ครุ ศัทพ์
ภิกฺขุ ภิกษุ ริปุ ข้าศึก
สตฺตุ ศัตรู เสตุ สะพาน
เหตุ เหตุ เกตุ ธง
ชนฺตุ สัตว์เกิด ปสุ สัตว์เลี้ยง
พนฺธุ พวกพ้อง พพฺพุ เสือ/ปลา/แมว
อู การันต์ปุงลิงค์แจกอย่าง วิญญู (ผู้รู้วิเศษ)
วิภั
ตติ
เอกวจนะ พหุวจนะ
ปฐ
มา
วิญฺญู วิญฺญุโน ,วิญฺญู
ทุติ
ยา
วิญฺญุ วิญูญุโน, วิญฺญู
ตติ
ยา
วิญฺญุนา วิญฺญูหิ, วิญฺญูภิ
จตุ
ตถี
วิญฺญุสฺส, วิญฺญุโน วิญฺญูนำ
ปญฺ
จมี
วิญฺญุสฺมา, วิญฺญุมฺหา วิญฺญูหิ, วิญฺญูภิ
ฉัต
ถี
วิญฺญุสฺส, วิญฺญุโน วิญฺญูนำ
สตฺ
ตมี
วิญฺญุสฺมึ, วิญฺญุมฺหิ วิญฺญูสุ
อา
ปนะ
วิญฺญุ วิญฺญุโน, วิญฺญู
วิธีเปลี่ยนวิภัตติทั้งปวง เหมือน อี การันต์ แปลกแต่ อำ คง อำ ไว้เท่านั้น
ศัทพ์เหล่านี้แจกเหมือน วิญฺญู
สยมฺภู ผู้เป็นเอง กตญฺญู ผู้รู้อุปการะที่ผู้
อื่นทำาแล้ว
เวทคู ผู้ถึงพระเวท ปารคู ผู้ถึงฝั่ง
อภิภู พระผู้เป็นยิ่ง สพฺพญฺญู ผู้รู้สิ่งทั้งปวง
2) อิตถีลิงค์ มี 5 การันต์ คือ อา อิ อี อุ อู
อา การันต์แจกเหมือนกัน กญฺญา (นางสาวน้อย)
วิภัต
ติ
เอกวจนะ พหุวจนะ
ปฐม
า
กญฺญา กญฺญาโย, กญฺญา
ทุติ
ยา
กญฺญำ กญฺญาโญ, กญฺญา
ตติย
า
กญฺญาย กญฺญาหิ, กญฺญาภิ
จตุต
ถี
กญฺญาย กญฺญานำ
ปัญจ
มี
กญฺญาย กญฺญาหิ, กญฺญาภิ
ฉัตถี กญฺญาย กญฺญานำ
สัต
ตมี
กญฺญาย,กญฺญายำ กญฺญาสุ
อาล
ปนะ
กญฺเญ กญฺญาโย, กญฺญา
คำาอธิบายใน อา การันต์
1. เอา อำ เป็นนิคหิต แล้ว รัสสะ อา ข้างหน้า.
2. อา อยู่หน้า เอา วิภัตติ เอกวจนะ คือ นา ส สฺมา สฺมึ กับ อา
เป็น อาย.
22
23
3. เอา สฺมึ เป็น ยํ บ้างก็ได้.
4. อา เอกวจนะ เอา อา เป็น เอ.
ศัทพ์ที่เป็น อา การันต์ แจกเหมือน กญฺญา คือ
อจฺฉรา นาง
อัปสร
อาภา รัศมี
อิกฺขณิ
กา
หญิง
แม่มด
อีสา งอนไถ
อุกฺกา เล็น เอสิกา เสา
ระเนียด
โอชา โอชา กจฺฉา รักแร้
คทา ตะบอง ทาริกา เด็ก
หญิง
อิ การันต์อิตถีลิงค์แจกอย่าง รัตติ (ราตรี)
วิภัตติ เอกวจนะ พหุวจนะ
ปฐมา รตฺติ รตฺติโย, รตฺตี
ทุติยา รตฺตึ รตฺติโย, รตฺตี
ตติยา รตฺติยา รตฺตีหิ,รตฺตีภิ
จตุตถี รตฺติยา รตฺตีนํ
ปัญจมี รตฺติยา,รตฺยา รตฺตีหิ,รตฺตีภิ
ฉัตถี รตฺติยา รตฺตีนํ
สัตตมี รตฺติยา,รตฺติยํ,รตฺยํ รตฺตีสุ
อาลปนะ รตฺติ รตฺติโย, รตฺตี
คําอธิบายใน อิ การันต์
1. อิ อี อุ อู อิตถีลิงค์ อยู่ข้างหน้า เอา วิภัตติ เอกวจนะ คือ นา ส สฺ
มา
สฺมึ เป็น ยา
2. อิ อิตถีลิงค์ อยู่ข้างหน้า เอา สฺมา เป็น อา เอา สฺมึ เป็น อํ แล้ว
เอา
อิ เป็น ย ได้บ้าง
ศัพท์เหล่านี้แจกตาม รตฺติ
อา
ณิ
ลิ่ม อิทฺ
ธิ
ฤทธิ์
อีติ จัญไร อุกฺ
ขลิ
หม้อข้าว
อูมิ คลื่น กฏิ สะเอว
ขนฺ
ติ
ความอดทน คณฺ
ฑิ
ระฆัง
ฉวิ ผิว
รติ-
ความ
ยินดี
อี การันต์แจกอย่าง นารี (ผู้หญิง) ดังนี้
วิภัตติ เอกวจนะ พหุวจนะ
ปฐมา นารี นาริโย, นารี
ทุติยา นารึ นาริโย, นารี
ตติยา นาริยา นารีหิ, นารีภิ
จตุตถี นาริยา นารีนํ
ปัญจมี นาริยา นารีหิ, นารีภิ
ฉัตถี นาริยา นารีนํ
สัตตมี นาริยา,นาริยํ นารีสุ
อาลปนะ นาริ นาริโย,นารี
ศัพท์เหล่านี้แจกเหมือน นารี
กุมารี เด็กหญิง ปฐวี แผ่นดิน
อิตฺถี หญิง ฆรณี หญิงแม่มด
สิมฺพลี ต้นงิ้ว มาตุลานี ป้า/น้า
ธานี เมือง กุกุฏี แม่ไก่
วิชนี พัด สขี เพื่อนหญิง
เทวี พระ
ราชินี.
อุ การันต์ในอิตถีลิงค์แจกเหมือน รชฺชุ(เชือก)
วิภัตติ เอกวจนะ พหุวจนะ
ปฐมา รชฺชุ รชฺชุโย, รชฺชู
ทุติยา รชฺชุ รชฺชุโย, รชฺชู
ตติยา รชฺชุยา รชฺชูหิ, รชฺชูภิ
จตุตถี รชฺชุยา รชฺชูนํ
ปัญจ
มี
รชฺชุยา รชฺชูหิ, รชฺชูภิ
ฉัตถี รชฺชุยา รชฺชูสุ
สัตตมี รชฺชุยา,รชฺชุยํ รชฺชูสุ
24
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต
เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต

More Related Content

What's hot

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
magicgirl123
 
ภาษาบาลี ชุดที่ ๔ การันต์
ภาษาบาลี ชุดที่ ๔   การันต์ภาษาบาลี ชุดที่ ๔   การันต์
ภาษาบาลี ชุดที่ ๔ การันต์
Anchalee BuddhaBucha
 
รวมบทสวดพระพุทธมนต์ พร้อมคำแปล
รวมบทสวดพระพุทธมนต์ พร้อมคำแปลรวมบทสวดพระพุทธมนต์ พร้อมคำแปล
รวมบทสวดพระพุทธมนต์ พร้อมคำแปล
Chavalit Deeudomwongsa
 
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
Anchalee BuddhaBucha
 
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญาปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
pentanino
 
พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
Nhui Srr
 
พุทธศาสนากับการบริหาร
พุทธศาสนากับการบริหารพุทธศาสนากับการบริหาร
พุทธศาสนากับการบริหาร
Anchalee BuddhaBucha
 
แบบฝึกการเขียนสะกดคำ ชั้น ป.5
แบบฝึกการเขียนสะกดคำ ชั้น ป.5แบบฝึกการเขียนสะกดคำ ชั้น ป.5
แบบฝึกการเขียนสะกดคำ ชั้น ป.5
กชนุช คำเวียง
 
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
Kiat Chaloemkiat
 
Ebooksint มนต์พิธี
Ebooksint มนต์พิธีEbooksint มนต์พิธี
Ebooksint มนต์พิธี
Rose Banioki
 

What's hot (20)

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
 
ภาษาบาลี ชุดที่ ๔ การันต์
ภาษาบาลี ชุดที่ ๔   การันต์ภาษาบาลี ชุดที่ ๔   การันต์
ภาษาบาลี ชุดที่ ๔ การันต์
 
บาลีเสริม ๑๐ Pdf
บาลีเสริม ๑๐ Pdfบาลีเสริม ๑๐ Pdf
บาลีเสริม ๑๐ Pdf
 
รวมบทสวดพระพุทธมนต์ พร้อมคำแปล
รวมบทสวดพระพุทธมนต์ พร้อมคำแปลรวมบทสวดพระพุทธมนต์ พร้อมคำแปล
รวมบทสวดพระพุทธมนต์ พร้อมคำแปล
 
แบบฝึก พัฒนาทักษะการอ่านสำหรับชาวต่างประเทศ (ปริญญาตรี)
แบบฝึก พัฒนาทักษะการอ่านสำหรับชาวต่างประเทศ (ปริญญาตรี) แบบฝึก พัฒนาทักษะการอ่านสำหรับชาวต่างประเทศ (ปริญญาตรี)
แบบฝึก พัฒนาทักษะการอ่านสำหรับชาวต่างประเทศ (ปริญญาตรี)
 
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
 
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญาปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
 
หน่วย 1
หน่วย 1หน่วย 1
หน่วย 1
 
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
 
พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
 
พุทธศาสนากับการบริหาร
พุทธศาสนากับการบริหารพุทธศาสนากับการบริหาร
พุทธศาสนากับการบริหาร
 
การปกครองคณะสงฆ์
การปกครองคณะสงฆ์การปกครองคณะสงฆ์
การปกครองคณะสงฆ์
 
แผนGPAS 5 STEPส่งโรงเรียน มารยาทชาวพุทธพระพุทธม. 5 เทอม1 ปี65.pdf
แผนGPAS 5 STEPส่งโรงเรียน มารยาทชาวพุทธพระพุทธม. 5 เทอม1 ปี65.pdfแผนGPAS 5 STEPส่งโรงเรียน มารยาทชาวพุทธพระพุทธม. 5 เทอม1 ปี65.pdf
แผนGPAS 5 STEPส่งโรงเรียน มารยาทชาวพุทธพระพุทธม. 5 เทอม1 ปี65.pdf
 
บทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน
บทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐานบทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน
บทที่ ๑ ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน
 
แบบฝึกการเขียนสะกดคำ ชั้น ป.5
แบบฝึกการเขียนสะกดคำ ชั้น ป.5แบบฝึกการเขียนสะกดคำ ชั้น ป.5
แบบฝึกการเขียนสะกดคำ ชั้น ป.5
 
การเป็นพิธีการมืออาชีพ
การเป็นพิธีการมืออาชีพการเป็นพิธีการมืออาชีพ
การเป็นพิธีการมืออาชีพ
 
บทสวดมนต์
บทสวดมนต์บทสวดมนต์
บทสวดมนต์
 
หนังสือแจ้งการประชุมฯสมัยสามัญ ๕๔
หนังสือแจ้งการประชุมฯสมัยสามัญ ๕๔หนังสือแจ้งการประชุมฯสมัยสามัญ ๕๔
หนังสือแจ้งการประชุมฯสมัยสามัญ ๕๔
 
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
ปกิณณะวินัยที่ภิกษุควรรู้
 
Ebooksint มนต์พิธี
Ebooksint มนต์พิธีEbooksint มนต์พิธี
Ebooksint มนต์พิธี
 

Similar to เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต

เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1
เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1
เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1
Gawewat Dechaapinun
 
บทที่ 6 การใช้ภาษาบาลีและการใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทย
บทที่ 6 การใช้ภาษาบาลีและการใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทยบทที่ 6 การใช้ภาษาบาลีและการใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทย
บทที่ 6 การใช้ภาษาบาลีและการใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทย
Gawewat Dechaapinun
 
คำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤตคำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤต
phornphan1111
 
คำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤตคำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤต
phornphan1111
 
บทความทางวิชาการ
บทความทางวิชาการบทความทางวิชาการ
บทความทางวิชาการ
nootsaree
 
ภาษาไทย ม.ปลาย พท31001
ภาษาไทย ม.ปลาย พท31001ภาษาไทย ม.ปลาย พท31001
ภาษาไทย ม.ปลาย พท31001
Thidarat Termphon
 

Similar to เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต (20)

เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1
เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1
เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1
 
Pali and Sanskrit in Thai
Pali   and   Sanskrit  in  ThaiPali   and   Sanskrit  in  Thai
Pali and Sanskrit in Thai
 
ภาษาบาลีสันสกฤตที่เกี่ยวกับภาษาไทย
ภาษาบาลีสันสกฤตที่เกี่ยวกับภาษาไทยภาษาบาลีสันสกฤตที่เกี่ยวกับภาษาไทย
ภาษาบาลีสันสกฤตที่เกี่ยวกับภาษาไทย
 
บทที่ 6 การใช้ภาษาบาลีและการใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทย
บทที่ 6 การใช้ภาษาบาลีและการใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทยบทที่ 6 การใช้ภาษาบาลีและการใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทย
บทที่ 6 การใช้ภาษาบาลีและการใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทย
 
คำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤตคำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤต
 
คำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤตคำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤต
 
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทยคำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
 
บทที่ 1 แก้
บทที่ 1 แก้บทที่ 1 แก้
บทที่ 1 แก้
 
บทความทางวิชาการ
บทความทางวิชาการบทความทางวิชาการ
บทความทางวิชาการ
 
ภาษาไทย ม.ปลาย พท31001
ภาษาไทย ม.ปลาย พท31001ภาษาไทย ม.ปลาย พท31001
ภาษาไทย ม.ปลาย พท31001
 
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของม.ราชภัฎสวนดุสิต
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของม.ราชภัฎสวนดุสิตภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของม.ราชภัฎสวนดุสิต
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของม.ราชภัฎสวนดุสิต
 
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของม.ราชภัฎสวนดุสิต
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของม.ราชภัฎสวนดุสิตภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของม.ราชภัฎสวนดุสิต
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารของม.ราชภัฎสวนดุสิต
 
คำยืมภาษาบาลี
คำยืมภาษาบาลีคำยืมภาษาบาลี
คำยืมภาษาบาลี
 
ภาษาถิ่นตะโหมด
ภาษาถิ่นตะโหมดภาษาถิ่นตะโหมด
ภาษาถิ่นตะโหมด
 
3 lang
3 lang3 lang
3 lang
 
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทย
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทยบทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทย
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทย
 
เอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรี
เอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรีเอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรี
เอกสารประกอบการศึกษานักธรรมชั้นตรี
 
9789740335610
97897403356109789740335610
9789740335610
 
สรุปเนื้อหา ติว
สรุปเนื้อหา ติวสรุปเนื้อหา ติว
สรุปเนื้อหา ติว
 
Wordpress2
Wordpress2Wordpress2
Wordpress2
 

More from Gawewat Dechaapinun

เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
Gawewat Dechaapinun
 
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
Gawewat Dechaapinun
 
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรบทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
Gawewat Dechaapinun
 
บทที่ ๒ ศาสนาโบราณ
บทที่ ๒ ศาสนาโบราณบทที่ ๒ ศาสนาโบราณ
บทที่ ๒ ศาสนาโบราณ
Gawewat Dechaapinun
 
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรบทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
Gawewat Dechaapinun
 
Chapter 4 properties of glazes and control
Chapter 4 properties of glazes and controlChapter 4 properties of glazes and control
Chapter 4 properties of glazes and control
Gawewat Dechaapinun
 
Chapter 1.3 properties of glass crystalline mixtures
Chapter 1.3 properties of glass crystalline mixturesChapter 1.3 properties of glass crystalline mixtures
Chapter 1.3 properties of glass crystalline mixtures
Gawewat Dechaapinun
 

More from Gawewat Dechaapinun (20)

Chapter 5 glazes defects
Chapter 5 glazes defectsChapter 5 glazes defects
Chapter 5 glazes defects
 
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
 
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
เน€เธ—เธ„เน‚เธ™เน‚เธฅเธขเธตเธœเธฑเธเนเธฅเธฐเธœเธฅเน„เธกเน‰
 
งานนำเสนอ8
งานนำเสนอ8งานนำเสนอ8
งานนำเสนอ8
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1
 
Chapter 3 glaze manufacturing
Chapter 3 glaze manufacturingChapter 3 glaze manufacturing
Chapter 3 glaze manufacturing
 
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรบทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
 
บทที่ ๒ ศาสนาโบราณ
บทที่ ๒ ศาสนาโบราณบทที่ ๒ ศาสนาโบราณ
บทที่ ๒ ศาสนาโบราณ
 
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรบทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
บทที่ 8 แนวคิดและความเชื่อเรื่องผีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถร
 
งานนำเสนอ7
งานนำเสนอ7งานนำเสนอ7
งานนำเสนอ7
 
งานนำเสนอ6
งานนำเสนอ6งานนำเสนอ6
งานนำเสนอ6
 
บทที่ 2 ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์
บทที่ 2 ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์บทที่ 2 ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์
บทที่ 2 ประเภทของบทเรียนคอมพิวเตอร์
 
งานนำเสนอ5
งานนำเสนอ5งานนำเสนอ5
งานนำเสนอ5
 
งานนำเสนอ4
งานนำเสนอ4งานนำเสนอ4
งานนำเสนอ4
 
Chapter 4 properties of glazes and control
Chapter 4 properties of glazes and controlChapter 4 properties of glazes and control
Chapter 4 properties of glazes and control
 
Chapter 3 glaze manufacturing
Chapter 3 glaze manufacturingChapter 3 glaze manufacturing
Chapter 3 glaze manufacturing
 
Chapter 3 glaze manufacturing
Chapter 3 glaze manufacturingChapter 3 glaze manufacturing
Chapter 3 glaze manufacturing
 
Chapter 2.3 glaze calculations
Chapter 2.3 glaze calculationsChapter 2.3 glaze calculations
Chapter 2.3 glaze calculations
 
Chapter 2.1 glaze classifications
Chapter 2.1 glaze classificationsChapter 2.1 glaze classifications
Chapter 2.1 glaze classifications
 
Chapter 1.3 properties of glass crystalline mixtures
Chapter 1.3 properties of glass crystalline mixturesChapter 1.3 properties of glass crystalline mixtures
Chapter 1.3 properties of glass crystalline mixtures
 

เธ เธฒเธฉเธฒเธšเธฒเธฅเธต

  • 1. 1 บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษาบาลี คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาในอดีตถูกจารึกจดจารบันทึกเป็นภาษาบาลี หรือภาษามคธ ผู้ที่จะศึกษาค้นคว้าพระพุทธศาสนาในอดีตจึงต้องศึกษาภาษา บาลี เพื่อที่จะได้แปลภาษาบาลีมาเป็นภาษาไทยอีกทอดหนึ่ง ทำาให้การศึกษา พระพุทธศาสนาถูกจำากัดอยู่ในวงแคบ ๆ คือพระสงฆ์ผู้มีความรู้ทางภาษา บาลี แต่ในยุคปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้นภาษาได้รับการแปล จากภาษาหนึ่งเป็นภาษาหนึ่งเพียงชั่วพริบตาตาเดียว ดังเช่นโปรแกรมแปล ภาษาทางอินเทอร์เน็ตก็ง่ายและสะดวกขึ้น ภาษาบาลีก็ได้รับการแปลเป็น ภาษาต่างๆจำานวนมาก แต่ผู้ศึกษาพระพุทธศาสนามีความจำาเป็นต้องรู้ภาษา บาลีบ้าง จึงได้นำาการศึกษาภาษาบาลีมานำาเสนอในเบื้องต้น 1.1 ประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลี ภาษามคธ หรือที่นิยมเรียกกันในประเทศไทยว่า “ภาษาบาลี” เป็นภาษา ที่บันทึกหลักคำาสอนของพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ในสมัยพุทธกาล เชื่อกันว่า พระพุทธเจ้าทรงใช้ภาษาบาลีในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา แต่ภาษาบาลี ไม่มีตัวอักษรจึงยากที่จะศึกษา เมื่อไปอยู่ในภาษาใดก็ใช้ภาษานั้น ดังนั้นการ ศึกษาประวัติและวิวัฒนาการของภาษาบาลีในบทนี้ จึงเป็นเพียงข้อมูลเบื้อง ต้นเท่านั้น หากนักศึกษาต้องการศึกษาอย่างละเอียดต้องศึกษาวิชาวรรณคดี บาลี ดังนั้นในบทนี้จึงนำาเสนอโดยสังเขปการศึกษาพุทธวจนะ การศึกษาในพระพุทธศาสนานั้นมีหลายระดับจุดประสงค์ที่สำาคัญที่สุด คือการหลุดพ้นนั่นคือนิพพาน แต่การที่จะหลุดพ้นนั้นเป็นเรื่องของแต่ละ บุคคล บางคนเพียงได้ฟังการแสดงธรรมเพียงครั้งเดียวก็บรรลุทันที แต่บาง คนอาจต้องใช้เวลายาวนานหลายกัปป์จึงจะบรรลุได้ หลักคำาสอนของ พระพุทธศาสนานั้นนอกจากจะเรียกว่าพระธรรมวินัยแล้วงมีคำาเรียกว่าพระ สัทธรรม สัทธรรมหมายถึงธรรมอันดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของสัตบุรุษ, หลักหรือ แก่นศาสนา นั่นก็คือคำาสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นได้กำาหนดสิ่งที่จะ ต้องศึกษาไว้ 3 ประการคือ 1. ปริยัตติสัทธรรม หมายถึงสัทธรรมคือคำาสั่งสอนจะต้องเล่าเรียน ได้แก่พุทธพจน์ เป็นการศึกษาทางทฤษฎีคือ การศึกษาพระธรรมวินัยให้มี ความรู้เป็นพื้นฐานโดยแจ่มแจ้งเสียก่อนว่า คำาสอนของสมเด็จพระสัมมาสัม พุทธเจ้ามีอะไรบ้าง ถ้าจะนำามาปฏิบัติจะทำาอย่างไร และเมื่อปฏิบัติแล้วจะได้ ผลอย่างไร 2. ปฏิปัตติสัทธรรม คือปฏิปทาอันจะต้องปฏิบัติ ได้แก่ อัฏฐังคิกมรรค หรือไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา คือการนำาเอาพระธรรมวินัยมาปฏิบัติ ด้วยกาย วาจา ใจ
  • 2. 3. ปฏิเวธสัทธรรม คือสัทธรรมคือผลอันจะพึงเข้าถึงหรือบรรลุด้วยการ ปฏิบัติ ได้แก่ มรรค ผล และนิพพาน เป็นขั้นที่แสดงถึงผลของการปฏิบัติ ตามพระธรรมคำาสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มหามกุฏราชวิทยาลัย, อรรถกถาวินัย มหาวิภังค์, เล่ม 1 ภาค 1,(กรุงเทพฯ:,มหามกุฏราช วิทยาลัย,2525), หน้า 740. ผู้ศึกษาพระปริยัติธรรมนี้ ส่วนใหญ่เป็นพระภิกษุสามเณรผู้มีศรัทธาที่ ได้เข้ามาบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา บุคคลที่เข้ามาบวชใน พระพุทธศาสนาแล้วมีภารกิจที่ต้องทำาสองประการ คือประการแรกได้แก่คันถ ธุระ การศึกษาพระธรรมวินัยซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงสั่งสอนไว้ การศึกษาชนิด นี้เน้นภาคทฤษฎี และประการที่สองคือวิปัสสนาธุระ การเรียนพระกรรมฐาน โดยเน้นลงไปที่การปฏิบัติทางกายวาจาและใจ สำาหรับการศึกษาที่เรียกว่า “คันถธุระ” นั้นในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นั้น พระพุทธองค์ทรง สั่งสอนสาวกเป็นประจำาทุกวัน การแสดงพระธรรมเทศนา คำาสั่งสอนที่พระพุทธองค์ทรงแสดงด้วยพระ โอฏฐ์ ตามที่พระองค์จะทรงโปรดประทานพระสัทธรรมเทศนาแก่พุทธบริษัท ตามสมควรแก่ฐานะ ผู้ที่ฟังมีทั้งพระภิกษุสงฆ์และคฤหัสถ์ สำาหรับพระภิกษุ สงฆ์นั้น เมื่อได้ฟังพระสัทธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าแล้วก็นำามาถ่ายทอด แก่สัทธิวิหาริกและอันเตวาสิกต่อกันไป เนื่องจากในกลุ่มผู้ฟังนั้นมีหลายเชื้อ ชาติ หลายภาษา พระพุทธองค์ทรงใช้ภาษาอะไรในการแสดงธรรม จึงเป็น ปัญหาที่นักปราชญ์ทั้งหลายถกเถียงกันมาโดยตลอด การศึกษาคำาสอนของพระพุทธเจ้านี้เรียกว่าคันถธุระหรือการศึกษาพระ ปริยัติธรรมซึ่งมี 9 ประการ เรียกว่า “นวังคสัตถุศาสน์” แปลว่า คำาสอนของ พระศาสดามีองค์เก้า ซึ่งได้แก่ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุต ตกะ ชาดก อัพภูตธรรม และเวทัลละ พระปริยัติธรรม หรือ นวังคสัตถุศาสน์นี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงด้วยภาษาบาลี แต่ทว่าภาษาบาลีคือภาษาอะไรกันแน่ ในสมัยพุทธกาลบรรดาสาวกผู้เข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนานั้นมี หลายวรรณะทั้งกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร และมาจากหลายเมือง ซึ่งแต่ เมืองคงจะมีภาษาพูดของตนเอง เนื่องพระพุทธเจ้าเป็นนิรุตติปฏิสัมภิทาคือ ฉลาดในภาษา ดังนั้นคงต้องใช้หลายภาษาในการแสดงพระธรรมเทศนาดังนี้ มีผู้กล่าวไว้ว่า “สมัยพุทธกาล ภาษาต่างๆที่พระพุทธองค์ทรงใช้ประกาศพระ ศาสนาแสดงธรรมสั่งสอนประชาชนนั้นมีมากภาษาทั้งประเภทภาษาปรากฤต ทั้งประเภทภาษาสันสกฤต แต่ก็เป็นเครือของภาษาอริยกะทั้งนั้น ส่วนมากก็ เป็นประเภทภาษาปรากฤต โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษามคธที่เป็นภาษาสามัญ ซึ่งชาวบ้านชาวเมืองเขาใช้พูดกันทั่วๆไปในท้องถิ่นอันอยู่ในอิทธิพลของ ภาษามคธที่เรียกว่าอสุทธมาคธี ส่วนน้อยก็เป็นประเภทภาษาสันสกฤตคือ ภาษาปรากฤตที่ปรับปรุงดีแล้ว คำาสั่งสอนในสมัยพุทธกาลนั้น ก็หาเรียกว่า บาลีไม่ เพราะพระพุทธองค์กำาลังสั่งสอนอยู่คำาสั่งสอนครั้งนั้นเป็นแต่ตรัสเรียก รวมๆว่าธรรมซึ่งทรงระบุไว้ 9 ลักษณะเรียกว่านวังคสัตถุศาสน์ (โปร่ง ชื่นใจ น.ท.,พระพุทธเจ้าทรงใช้ภาษาอะไรแสดงพระธรรมเทศนา,พิมพ์ครั้งที่2, (กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย,2532),หน้า 21) 2
  • 3. 3 ประเทศอินเดียมีภาษาหลักอยู่ 2 ตระกูล คือ ภาษาปรากฤต และ ภาษา สันสกฤต ในภาษาปรากฤตแบ่งย่อยออกเป็น 6 ภาษา คือ 1. ภาษามาคธี ภาษาที่ใช้พูดกันอยู่ในแคว้นมคธ 2. ภาษามหาราษฎรี ภาษาที่ใช้พูดกันอยู่ในแคว้นมหาราษฎร์ 3. ภาษาอรรถมาคธี ภาษากึ่งมาคธี เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาษา อารษปรากฤต 4. ภาษาเศารนี ภาษาที่ใช้พูดกันอยู่ในแคว้นศูรเสน 5. ภาษาไปศาจี ภาษีปีศาจ หรือภาษาชั้นตำ่า และ 6. ภาษาอปภรังศ ภาษาปรากฤตรุ่นหลังที่ไวยากรณ์ได้เปลี่ยนไป เกือบหมดแล้ว ภาษามาคธี หรือ ภาษามคธ เป็นภาษาที่พระพุทธเจ้าทรงใช้สั่งสอน ประชาชน ครั้นต่อมาพระพุทธศาสนาได้มาเจริญแพร่หลายที่ประเทศศรี ลังกา ภาษามาคธีได้ถูกนักปราชญ์แก้ไขดัดแปลงรูปแบบไวยากรณ์ให้กระ ทัดรัดยิ่งขึ้นจึงมีชื่อใหม่ว่า “ปาลี” หรือ ภาษาบาลี เป็นภาษาจารึกพระไตร ปิฏกดังที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบันคำาว่า บาลี มาจากคำาว่า ปาลี ซึ่งวิเคราะห์มา จาก ปาล ธาตุ ในความรักษา ลง ณี ปัจจัย ๆ ที่เนื่องด้วย ณ ลบ ณ ทิ้งเสีย มี รูปวิเคราะห์ว่า พุทธวจนำ ปาเลตีติ ปาลี(ภาสา) แปลโดยพยัญชนะว่า ภาษาใด ย่อมรักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ เพราะเหตุนั้น ภาษานั้นชื่อว่า ปาลี แปลโดย อรรถว่า ภาษาที่รักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ พระมหาฉลาด ปริญฺญาโณ,คู่มือ การเรียนบาลีไวยากรณ์(กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง,2530),หน้า 2) ภาษาบาลี (Pali จากศัพท์ภาษาเดิมว่า Pāli) เป็นภาษาของอินเดีย ฝ่ายเหนือในสมัยราวคริสต์ศตวรรษที่ 7-6 ก่อนคริสต์กาล อยู่ในตระกูลอินโด ยุโรเปียน (Indo-European) และอยู่ในกลุ่มอินโดอารยัน (Indo-Aryan) เช่น เดียวกับภาษาสันสกฤต นักปราชญ์ทางภาษาส่วนใหญ่จัดเข้าอยู่ในกลุ่มอิน โดอารยันหรืออินดิกสมัยกลาง (Middle Indo-Aryan หรือ Middle Indic) แต่ผู้ที่ค้านว่าไม่ใช่ เป็นภาษาสมัยใหม่กว่านั้นก็มี เป็นภาษาปรากฤต (ภาษา ถิ่นในอินเดียสมัยนั้น) ภาษาหนึ่ง ซึ่งไม่มีผู้ใดสามารถชี้ขาดลงไปได้ว่าเป็น ภาษาของถิ่นใดกันแน่และมีต้นกำาเนิดมาจากภาษาอะไร อย่างไร แต่ส่วน ใหญ่ลงมติกันว่าเป็นภาษาอินดิกสมัยกลางรุ่นเก่ากว่าภาษาปรากฤตอื่น ๆ โดยดูจากรูปภาษา ภาษาบาลีใช้กันแพร่หลายในฐานะภาษาที่ใช้เขียนคัมภีร์ พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ความหมายของคำาว่า Pāli โดยปรกติแปลกันว่า แถว แนว ขอบเขต เป็นต้น ผู้นับถือพุทธศาสนาส่วนใหญ่เชื่อว่า บาลี คือภาษาของชาวมคธ ซึ่งมีถิ่นที่อยู่ทางใต้ของแคว้นพิหารปัจจุบัน เพราะพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ กรุงราชคฤห์ เมืองหลวงของแคว้นมคธนาน คงจะใช้ภาษามคธในการเผย แพร่พุทธศาสนา ความเชื่อนี้แพร่หลายมากโดยเฉพาะในเมืองไทยสมัยก่อน จะเห็นได้จากพจนานุกรมหรือปทานุกรมรุ่นเก่าที่มักย่อชื่อภาษาบาลีว่า ม. อันหมายถึง มคธ คำาว่า ภาษามคธ นี้เป็นชื่อที่เรียกกันในเมืองไทยเท่านั้น ศัพท์เฉพาะที่เป็นชื่อภาษาของชาวมคธคือคำาว่า มาคธี (Māgadhī) แต่ก็มีผู้
  • 4. แย้งว่า ลักษณะของภาษามาคธีต่างกันบาลีหลายประการ จึงไม่น่าจะเป็น ภาษาเดียวกัน เช่น 1.ใช้เสียง ś (ตาลุชะ) ในที่ที่ภาษาบาลีใช้เสียง s (ทันตชะ) ทั้งนี้ เพราะภาษามาคธีมีเสียงอุสุมเสียงเดียว คือ เสียงอุสุมชนิดตาลุชะ (palatal ś) ไม่ใช่เสียงอุสุมชนิดทันตชะ (dental s) เหมือนบาลี 2. เสียง r ที่บาลีมี มาคธีไม่มี ใช้เสียง I แทน 3. เสียงท้ายคำานาม a การันต์วิภัตติ์ที่ 1 เอกพจน์ที่บาลีเป็น o มาคธีเป็น e 4. เสียง y ระหว่างสระ (intervocalic ya) บางครั้งก็หายไป บางครั้งก็ เปลี่ยนเป็นเสียง j ไม่คงเดิมตลอดเหมือนบาลี นักปราชญ์ผู้ให้เหตุผลนี้ที่ สำาคัญมีอยู่สองคนคือ บุร์นุฟ (Burnouf) และลาสเลน (Lassen) (พระมหาเสฐียรพงษ์ ปุณณวณฺโณ, โครงการตำาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์,(พระนคร: โรง พิมพ์ไทยวัฒนาพานิชช,2514), หน้า 8) แต่เหตุผลดังกล่าวก็มีผู้แย้งว่า เหตุ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะพระพุทธเจ้าเป็นชาวแคว้นโกศล มิใช่แคว้นมคธ สำาเนียง พูดย่อมเพี้ยนจากคนท้องถิ่นนั้นไปบ้างไม่มากก็น้อย เรียกว่าเป็นการพูด ภาษามคธแบบชาวโกศล อีกประการหนึ่ง พระองค์ได้ตรัสว่า ไม่ควรยึดมั่น ในภาษาถิ่นใดถิ่นหนึ่ง เมื่อเสด็จไปสอนที่ใดก็คงจะทรงใช้ภาษาถิ่นนั้น ภาษาจึงอาจเกิดการปะปนกัน ประกอบกับการใช้ศัพท์เฉพาะที่แปลกออกไป ภาษามาคธีที่พระพุทธเจ้าตรัสจึงไม่ควรจะใช่ภาษามาคธีบริสุทธิ์ที่ชาวมคธ ใช้พูดกัน เพราะได้รับอิทธิพลมาจาภาษาอื่น เหตุผลอีกข้อหนึ่งก็คือ เรารู้จัก ลักษณะภาษามาคธีอย่างที่เป็นอยู่นี้จากบทละครสันสกฤต ซึ่งเขียนขึ้นหลัง สมัยพุทธกาลเป็นเวลานาน ไม่มีใครรู้ว่าในสมัยพุทธกาลภาษาภาษามาคธีมี ลักษณะอย่างไร อาจคล้ายคลึงกับภาษาบาลีมากก็ได้ แล้วจึงได้เกิดการ เปลี่ยนแปลงในระยะหลัง ภาษาบาลีเองก็เป็นภาษาที่ถ่ายทอดกันมาโดยมุข ปาฐ (Oral Tradition) กว่าจะได้จารึกเป็นหลักฐานก็เป็นภาษาตาย ไม่มีใคร ใช้พูดกันแล้ว ในขณะที่ภาษามาคธีซึ่งยังไม่ตายได้วิวัฒนาการเปลี่ยนแปลง รูปไปเรื่อย ๆ จนแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง จึงไม่เป็นที่ยอมรับว่าเป็นภาษา เดียวกัน นักปราชญ์บางคน เช่น เวสเตอร์การ์ด (Westergard) คูห์น (E. Kuhn) และ ฟรังเก (R.O. Franke) อ้างหลักฐานจากศิลาจารึกของพระเจ้า อโศกว่า พระมหินทรเถระ โอรสพระเจ้าอโศก ผู้เดินทางไปเผยแพร่พุทธ ศาสนายังลังกาทวีป ได้ใช้ภาษาของพระองค์ซึ่งมีลักษณะคล้ายภาษาบาลี เมื่อลังการับคำาสอนทางพุทธศาสนาจึงรับภาษานั้นมาใช้ด้วย และภาษานี้เอง ที่ได้วิวัฒนาการมาเป็นภาษาบาลีที่เรารู้จักกัน นักปราชญ์กลุ่มนี้สันนิษฐาน ว่าต้นกำาเนิดของภาษาบาลีน่าจะอยู่บริเวณที่เรารู้จักกัน นักปราชญ์กลุ่มนี้ สันนิษฐานว่าต้นกำาเนิดของภาษาบาลีน่าจะอยู่บริเวณตั้งแต่ใจกลางของ ประเทศอินเดียจนจดเทือกเขาหิมาลัยตะวันตก ใกล้เคียงกับบริเวณกรุงอุช เชนี เพราะพระมหินทรเถระเป็นชาวอุชเชนี แต่ข้อเสนอดังกล่าว โอลเดนแบร์ ก (Oldenberg) ไม่เห็นด้วย ทั้งข้อที่ว่า พระมหินทรเถระเป็นชาวอุชเชนี และ ข้อที่ว่าได้เสด็จไปสืบศาสนาที่ลังกา(เสนาะ ผดุงฉัตร,ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ 4
  • 5. 5 วรรณคดีบาลี,(กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย,2532),หน้า 67) ผู้รู้บางกลุ่มไม่บอกประวัติของภาษาว่ามีกำาเนิดแต่ไหน เพียงแต่แปลคำา ว่า Pāli ว่ามาจาก Pāla แปลว่า คุ้มครอง รักษา หมายถึง เป็นภาษาที่คุ้มครอง รักษาพุทธศาสนาไว้ให้ยืนยงต่อมาตราบเท่าทุกวันนี้ บางคนก็เชื่อว่าภาษาบาลีอาจเป็นภาษาที่พระพุทธองค์ทรงประดิษฐ์ขึ้น (artificial language) เพื่อใช้เป็นภาษากลางในการเผยแพร่พุทธศาสนา เพราะไม่ต้องการเลือกที่รักมักที่ชังด้วยการใช้ภาษาถิ่นใดถิ่นหนึ่ง แต่ได้ดัด แลปงให้ออกเสียงง่ายและสะดวกกว่าสันสกฤต รูปคำาหลายรูปคลายความซับ ซ้อนลง และไม่เหมือนภาษาถิ่นใด อาจเป็นการรวมและหลอมออกมาใหม่ แล้วตั้งชื่อใหม่ก็เป็นได้ ข้อที่ควรสังเกตก็คือ ภาษาบาลีเดิมไม่ได้ชื่อนี้ ไม่มีใครทราบว่าชื่อ อะไร คำาว่า Pāli เดิมเป็นคำาที่ใช้เรียกคำาสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ชื่อภาษา เช่น ในสำานวนว่า "ในพระบาลี" ภาษานี้ได้ชื่อว่า Pāli หรือบาลี เพราะใช้ ถ่ายทอดพระไตรปิฎก เช่นเดียวกับภาษาพระเวทซึ่งไม่มีใครทราบว่าชื่ออะไร เรียกกันทั่วไปว่าภาษาพระเวทเพราะใช้บันทึกคัมภีร์พระเวท ภาษาบาลีนั้น มติของนักปราชญ์ทั้งตะวันตก ตะวันออก เห็นขัดแย้งกัน ไปหมด บ้างว่า เป็นภาษาชาวโกศลพูด เพราะพระผู้มีพระภาคเป็นชาวแคว้น โกศล ในธรรมเจติยสูตร พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลพระศาสดาว่า พระผู้มี พระภาคเป็นชาวโกศล แม้หม่อมฉันก็เป็นชาวโกศล เพราะฉะนั้น พระองค์จะ ต้องใช้ภาษาชาติภูมิของพระองค์ ในการประกาศพระศาสนา 1. บางท่านก็เห็นว่า บาลีเป็นภาษาอวันตีโบราณ เพราะพระมหินทร์ เป็นชาวเวทิสาคีรีในอวันตี นำาเอาภาษานี้ไปลังกา 2. บางมติก็ว่า เป็นภาษาอินเดียภาคใต้ 3. แต่มติส่วนใหญ่ยืนยันว่า เป็นภาษามคธโบราณที่ เรียกว่า "มาคธี" จัดอยู่ในสกุลภาษาปรากฤต เมื่อสรุปมติต่างๆ เหล่านี้ เราได้สาระที่น่าเชื่ออยู่ ข้อหนึ่งคือ ภาษาบาลีในพระไตรปิฎกนั้นเป็นภาษามคธอย่างแน่แท้ คำาว่า "บาลี" นอกจากจะหมายถึงภาษาอันมีระเบียบแบบแผน คำานี้ยังเลือนมาจาก คำาว่า "ปาฏลี" ซึ่งหมายถึงเมืองปาฏลีบุตรนั่นเอง เพราะฉะนั้นภาษาบาลีก็คือ ภาษาปาฏลีบุตร อันเป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธต่อจากกรุงราชคฤห์ แต่ เหตุใดภาษาบาลีจึงสูญไปจากอินเดีย นั่นก็เพราะเมื่อแคว้นมคธเสื่อมอำานาจ ลง ภาษาอื่นได้ไหลเข้ามาแทนที่ ภาษาดั้งเดิมค่อยๆ สลายตัวเอง โดยราษฎร หันไปนิยมพูดภาษาผู้มาปกครอง ความจริงพระศาสดามิได้ผูกขาดภาษาใด ภาษาหนึ่งในการแสดงธรรม พระองค์เองตรัสภาษาท้องถิ่นต่างๆของอินเดีย ได้ ทรงแสดงธรรมด้วยหลายภาษา ทรงอนุญาตให้เรียนพุทธพจน์ด้วยภาษา ท้องถิ่นได้ ครั้งหนึ่งมีภิกษุพี่น้องสกุลพราหมณ์ ทูลขอพุทธานุญาต ยกพุทธ พจน์ขึ้นสู่ภาษาเดียวเช่นกับภาษาในพระเวททรงติเตียน แต่เหตุไฉนปฐม สังคายนาจึงใช้แต่ภาษาบาลีภาษาเดียวขึ้นสู่สังคีติเล่า เหตุผลมีดังนี้คือ
  • 6. 1) การประชุมสังคายนา ต้องการความสามัคคี ความเป็นระเบียบ ถ้า ปล่อยให้ผู้ประชุม ต่างรูปต่างใช้ภาษาท้องถิ่นของตนๆที่ประชุมก็ไม่เป็นอัน ประชุม ไม่เป็นระเบียบ 2) ภาษาบาลี เป็นภาษาชาวมคธ การประชุมก็ทำากันในมคธย่อมเป็น ธรรมดาอยู่เอง ต้องเลือกภาษานี้ 3) พระอรหันต์ ผู้เข้าประชุม เข้าใจว่าส่วนใหญ่เป็นชาวมคธหรือชาว เมืองอื่นที่ขึ้นอยู่กับมคธ 4) มคธในครั้งนั้น เป็นมหาอำานาจชั้นหนึ่งในอินเดีย มีเมืองขึ้น เช่น โกศล วัชชี กาสี จัมปา ภาษามคธจึงเป็นภาษาที่มีอิทธิพลในยุคนั้น (เสถียร โพธินันทะ, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, พิมพ์ครั้งที่ 4,(กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย,2543), หน้า 71) อย่างไรก็ตามคณะสงฆ์อื่นๆ ที่ใช้ภาษาท้องถิ่นไม่ใช่มคธรองรับพุทธ พจน์ก็ยังมีอีกมากกว่ามาก นั่นคือเหตุผลที่ใช้ภาษาบาลีในการบันทึกหลักคำา สอนของพระพุทธศาสนาเถรวาท อักษรที่ใช้เขียนภาษาบาลี เนื่องจากภาษาบาลีไม่มีตัวอักษร มีแต่เสียงเมื่อไปอยู่ในภาษาใดจึงใช้ ตัวอักษรในภาษานั้นเขียนเช่น อักษรไทย พราหมี, เทวนาครี, สีหล, พม่า, มอญ, ขอม, ลาว โรมัน เป็นต้น(ฉลาด บุญลอย, ประวัติวรรณคดีบาลีตอน 1, (พระนคร:มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2505), หน้า 23) ภาษาบาลีไม่มีตัวอักษรของตนเอง เรียกว่าเป็นภาษาพูดที่ถ่ายทอดกัน มาโดยการท่องจำาโดยแท้ ใช้ในถิ่นใดก็ใช้อักษรของถิ่นนั้นถ่ายเสียง เช่น ไทยก็ใช้อักษรไทย ลาวใช้อักษรธรรม เขมรใช้อักษรขอม (ส่วนใหญ่เป็น ขอมบรรจง) ในซีกโลกตะวันตกใช้อักษรโรมัน ถ้าอักษรภาษาใดถ่ายเสียงได้ ไม่ครบ เสียงก็จะเปลี่ยนไป และในปัจจุบัน อักษรโรมันก็เป็นที่นิยมใช้มาก ที่สุดในการศึกษาภาษาบาลีเช่นเดียวกับภาษาสันสกฤต ตามเหตุผลที่กล่าว มาแล้วข้างต้น อีกทั้งเพื่อให้สะดวกในการเปรียบเทียบเสียงระหว่างภาษา ตามหลักภาษาศาสตร์ด้วยและเมื่อถ่ายเสียงด้วยอักษรตัวโรมัน ก็จะใช้ชื่อย่อ เป็นภาษาอังกฤษว่า P นักปราชญ์บางท่านยืนยันว่า ภาษาปาลิหรือบาลีนั้นหมายถึงภาษาท้อง ถิ่นของชาวมคธ มีลักษณะมีลักษณะที่สำาคัญคือ (1) ภาษาบาลีเป็นอุตตม ภาษาคือภาษาชั้นสูง (2) ภาษามคธเป็นมูลภาษาคือภาษาดั้งเดิมสมัยแรกตั้ง ปฐมกัป(พระเทพเมธาจารย์ (เช้า ฐิตปุญฺโญ), แบบเรียนวรรณคดีประเภท คัมภีร์บาลีไวยากรณ์, (พระนคร: รงพิมพ์ประยูรวงศ์, 2504, 19) 1.2 อักขระภาษาลี อักขระ หมายถึง ตัวอักษรหรือตัวหนังสือในภาษาบาลี แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สระ และพยัญชนะ คือ (พัฒน์ เพ็งผลา 2553: 3-9) 1) สระภาษาลี (Vowel) มีอยู่ 8 เสียง เรียกว่านิสสัย เพราะออกเสียง เองได้ คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ แบ่งเป็นสระเสียงสั้น 3 ตัว และสระเสียงยาว 3 ตัว และสระผลระหว่างเสียสั้นและเสียงยาวอีก 2 สระ คือ อ+อิ = เอ อ+อุ = โอ 6
  • 7. 7 - สระเสียงสั้นเรียกว่า รัสสะสระ มี 3 ตัว คือ อะ อิ อุ - สระเสียงยาวเรียกว่า ทีฆะสระ มี 5 ตัว คือ อา อี อู เอ โอ 2) พยัญชนะภาษาบาลี (Consonant) พยัญชนะในภาษาบาลีมี 33 ตัว พยัญชนะเรียกว่านิสสิต แปลว่า อาศัย หมายถึง ต้องอาศัยสระจึงออกเสีย ได้ พยัญชนะแบ่งเป็น 2 วรรค คือ พยัญชนะวรรค (Grouped) กับพยัญชนะ อวรรค (Non-grouped) ตามต่อไปนี้ 2.1) พยัญชนะวรรค หมายถึงพยัญชนะที่ฐานเกิดเดียวกัน มี 25 ตัว แบ่ง 5 วรรค แต่ละ มี 5 ตัว ดังนี้ วรรคที่ 1 เรียกว่า ก วรรค คือ ก ข ค ฆ ง เกิดที่คอ เรียกว่า กัฏฐ ชะ วรรคที่ 2 เรียกว่า จ วรรค คือ จ ฉ ฌ ช ญ เกิดที่เพดาน เรียกว่า ตาลุชะ วรรคที่ 3 เรียกว่า ฏ วรรค คือ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ เกิดที่เหงือกเรียกว่า มุทธชะ วรรคที่ 4 เรียกว่า ต วรรค คือ ต ถ ท ธ น เกิดที่ ฟัน เรียกว่า ทันตชะ วรรคที่ 5 เรียกว่า ป วรรค คือ ป ผ พ ภ ม เกิดที่ ริมฝีปากเรียก ว่าโอฏฐชะ 2.2) พยัญชนะอวรรค หรือเศษวรรค หมายถึง พยัญชนะที่ จัดเป็นพวกเดียวกันตามฐานที่เกิดไม่ได้ มี 8 ตัวรวมนิคหิต อำ คือ อวรรค (เศษวรรค) ได้แก่ ย ร ล ว ส ห ฬ อำ ตารางแสดงหน่วยเสียงในภาษาบาลี ตามแหล่งเสียง (วรรค) เขียน ด้วยอักษรไทยและอักษรโรมัน วรร ค สระ อโฆษะ (ไม่ ก้อง) โฆษะ (ก้อง) นาสิ กรัสส ระ (สั้น) ทีฆ สระ (ยาว) สิถิล (เบา ) ธนิต (หนั ก) สิถิล (เบา) ธนิต (หนัก) กัณฐ ชะ อะ อา ก ข ค ฆ ง ตาลุ ชะ อิ อี , เอ จ ฉ ช ฌ ญ มุทธ ชะ - - ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ทันต ชะ - - ต ถ ท ธ น
  • 8. โอฏฐ ชะ อุ อู , โอ ป ผ พ ภ ม การเทียบเสียงภาษาบาลี จากอักษรไทย เป็นอักษรโรมัน เทียบอักษรไทยเป็นโรมันที่ใช้เขียนบาลี อักษรไทยที่ใช้ในบาลี อักษรโรมัน ก ข ค ฆ ง k, kh, g, gh, ṅ จ ฉ ช ฌ ญ c, ch, j, jh, ñ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ṭ, ṭh, ḍ, ḍh, ṇ ต ถ ท ธ น t, th, d, dh, n ป ผ พ ภ ม p, ph, b, bh, m ย ร ล ว ส ห ฬ อำ y, r, l, v, s, h, ḷ , ṁ ṃ หรือ ŋ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ a, ā, i, ī, u, ū, e,o ตัวอย่างการเทียบเสียงด้วยอักษรโรมัน นโม ตสฺส : Namo tassa ภควโต อรหโต : Bhagavato Arahato สมฺมสมฺพุทฺธสฺส: Sammāsambuddhassa อชฺฌตฺติก : Ajjhattika อนฺตฺรธาน : antaradhāna อุปทฺทวเหตุ : Upaddavahetu ชมฺพูนท : jambūnada ขณฺฑสกฺขรา : khaṇḍhasakkharā ทุพฺภิกฺขภย : dubbhikkhabhaya ทุกฺกรกิริยา : dukkarakiriyā ปจฺจตฺถรณ : paccattharaṇa ปพฺพาชนียกมฺม : pabbājanīyakamma ปทวลญฺช : padavalañja ปุญฺญาภินิหาร : puññābhinihāra ราชปลฺลงฺก : rājapallanka สุปฏิปนฺโน : supatipanno 1.3 การเขียนและออกเสียงคำาในภาษาบาลี พยัญชนะบาลีเมื่อนำามาใช้เป็นศัพท์หรือคำา มีการใช้พยัญชนะอยู่ 2 ชนิด คือ 1. พยัญชนะเดี่ยว หมายถึงคำาที่มีพยัญชนะเดี่ยวอยู่ที่พยางค์ต้น กลาง หรือท้ายคำา พยัญชนะเดี่ยว ทำาหน้าที่เป็นพยัญชนะต้น เป็นตัวสะกด ไม่ได้ ยกเว้นนิคคหิต อำ (อัง) พยัญชนะเดี่ยวเวลาออกเสียงจะต้องมีเสียง กำากับพยัญชนะทุกตัว สระ อะ เวลาเขียนด้วยอักษรไทย ไม่มีรูป สระ อะ ที่ตัว 8
  • 9. 9 พยัญชนะเดี่ยว แต่เวลาออกเสียงต้องออกเสียงสระ อะ เวลาเขียนด้วยอักษร โรมัน จะมีรูปสระ a ท้ายพยัญชนะเดี่ยวนั้นๆ เช่น เสียง อะ เช่น นร –nara อ่านว่า น-ะระ (คน) ธน- dhana อ่านว่า ทะ- นะ (ทรัพย์) ผล – phala อ่านว่า ผะ-ละ (ผลไม้) คำาที่พยัญชนะเดี่ยวที่มีเสียง สระอื่น ดังนี้ เสียง อา เช่น นาวา nava อ่านว่า นา-วา (เรือ) มาลา-mala อ่านว่า มา-ลา (ดอกไม้) ตารา-tara อ่านว่า ตา-รา (ดวงดาว) เป็นต้น เสียง อิ เช่น วิธิ – vidhi อ่านว่า วิ-ทิ (วิธี) นิธิ –nidhi อ่านว่า นิ-ทิ แปล ว่า ขุมทรัพย์ มิติ- miti อ่านว่า มิติ แปลว่า การวัด เป็นต้น เสียง อี เช่น มาลี–mali อ่านว่า มา-ลี แปลว่า คนทำาดอกไม้ สามี – sami อ่านว่า สา-มี เป็นต้น เสียง อุ เช่น ครุ – garu อ่านว่า คะ-รุ แปลว่าครู ปสุ- pasu อ่านว่า ปะ- สุ (สัตว์เลี้ยง) เป็นต้น เสียง อู เช่น วิทู –vidu อ่านว่า วิ-ดู หรือ วิ-ทู แปลว่า คนฉลาด วธู – vadhu อ่านว่าวะ-ทู แปลว่า หญิงสาว เป็นต้น เสียง เอ เช่น เวร-vera อ่านว่า เว-ระ (เวร) แปลว่าเวร เมรย –meraya อ่านว่า เม-ระ-ยะ แปลว่า นำ้าเมา เป็นต้น เสีย โอ เช่น โลก –loka อ่านว่า โล-กะ แปลว่า โลก โจร-cora อ่านว่า โจ-ระ เป็นต้น 2. พยัญชนะคู่ บาลีเรียกว่าพยัญชนะซ้อนหรือพยัญชนะสังโยค หมายถึงมีการซ้อนพยัญชนะในวรรค ตัวที่ 2 และ 3 ในวรรคเดียวกัน พยัญชนะตัวที่ 2 ทำาหน้าที่เป็นตัวสะกด เวลาเขียนให้ใช้จุด( . ) ใต้ตัวสะกด ถ้าไม่มีสระทำาหน้าที่เป็นไม้หันอากาศด้วย เช่น สจฺจ อ่านว่า สัด-จะ ถ้ามีตัว สระเป็นตัวสะกด อย่างเดียว เช่น เสฏฺฐี อ่านว่า เสด-ถี, ทุกฺข อ่านว่า ดุก-ขะ/ ทุก-ขะ, อกฺขร อ่านว่า อักขะระ วฏฺฏ อ่านว่า วัด-ตะ, วิญฺญาณ อ่านว่า วิน- ยา-นะ เป็นต้น 3. เครื่องหมายในภาษาบาลี 1) นิคคหิต (อำ) อ่านว่า อัง เป็นจุดอยู่บนตัวอักษรตัวสุดท้าย ใช้แทน ไม้หันอากาศ และ ง เช่น พุทฺธำ (พุดทัง) ธมฺมำ (ทำามัง) สงฺฆำ (สังคัง) สรณำ (สะ ระนัง) อหำ (อะ-หัง) ตฺวำ (ตะ-วัง) เป็นต้น พยัญชนะที่อาศัยสระอยู่ และมีนิค คหิต (อำ) วางกำากับอยู่ข้างบน นิคคหิตนั้นจะต้องอ่านเป็น ง เช่น ปสฺสึ อ่าน ว่า ปัสสิง, กาเรสึ อ่านว่า กาเรสิง 2) จุดพินทุ (.) เป็นจุดที่เขียนไว้ใต้พยัญชนะ มี สองลักษณะ ดังนี้ (2.1) เป็นตัวสะกด พยัญชนะ ที่ใช้เป็นตัวสะกดในภาษาบาลี ในกรณี ที่ไม่มีสระอยู่พยัญชนะตัวหน้าพยัญชนะที่มีจุดจะเป็นตัวสะกดและเป็นไม้หัน อากาศของพยัญชนะตัวหน้า เช่น สตฺต ราชภฎฺนครราชสีมา ถ้ามีสระอยู่ให้ พยัญชนะตัวหน้าอยู่เป็นเพียงแค่ตัวสะกด วิญฺญาณ, เวสฺสุวณฺโณ, อุณฺห (ความร้อน) โกณฺทญฺญภิกฺขุ, สิกฺขา, มนุสฺโส เป็นต้น
  • 10. (2.2) เป็นพยัญชนะต้น โดยปกติแล้วในภาษาบาลีไม่มีการใส่จุดใต้ คำาพยัญชนะต้น หรือพยัญชนะถ้าไม่ใช่ตัวสะกดตามที่กล่าวมาข้างบน แต่มี คำาที่ยืมมาจากภาษาสันสกฤต เพื่อให้เกิดเสียงควบกลำ้า ด้านหลังเหมือนภาษา เดิม จึงมีจุดไว้เพื่อให้ออกเสียงควบกล้้้ำ เช่น ทฺวาร (ประตู) วฺยญฺชน (พยัญชนะ) ทฺวิ (สอง) พฺราหฺมณ (bra-hma-na เป็นต้น (2.3) พยัญชนะที่อาศัยสระอยู่ และพยัญชนะตัวถัดมาจะมีพินทุ (.) หรือจุดวางกำากับอยู่ใต้พยัญชนะ ตัวถัดมานั้น ก็ให้อ่านออกเสียงเป็นตัว สะกดธรรมดา เช่น ภิกฺขุสฺส อ่านว่า ภิกขุสสะ ปกฺโกเปนฺติ อ่านว่า ปักโกเปน ติ 3) คำาที่มี ตฺวา ตฺวาน เป็นตัวสะกด ซึ่งวางกำากับอยู่สุดท้าย จะต้องอ่าน ออกเสียง ตฺ ซึ่งเป็นตัวสะกดของ คำาหน้า ตฺ นั้น ให้ออกเสียง ตฺ (ตะ)ด้วย ซึ่ง จะมีการออกครึ่งเสียง (ออกเสียงสั้นๆ) เช่น ทตฺวา อ่านว่า ทัดตะวา ทตฺ วาน อ่านว่า ทัดตะวานะ (ตฺ อ่านว่า ตะ ออกครึ่งเสียง) 4) กรณีที่ ต ไม่มีพินทุ (.) หรือจุดอยู่ใต้ เหมือนข้อ 4 ก็ให้อ่านออก เสียงเต็มเสียงตามปกติเหมือน การอ่านออกเสียงในข้อ 1 เช่น ทตวา อ่าน ว่า ทะ ตะ วา สุตวา อ่านว่า สุ ตะ วา 5) ยังมีศัพท์ที่ทำาหน้าที่เป็นตัวสะกดและต้องออกเสียงในตัวของมันเอง ด้วย โดยออกเสียงครึ่งเสียง เช่น สกฺยปุตฺโต อ่านว่า สักกะยะปุตโต ตุณฺหี อ่านว่า ตุนนะฮี ตสฺมา อ่านว่า ตัสสะมา 6) กรณีที่มี ร อยู่ท้าย ให้อ่านออกเสียงเป็นเสียงควบกลำ้า เช่น พฺรหฺมา อ่านว่า พรำามา พฺราหฺมโณ อ่านว่า พราหมะโณ กายินฺทฺริยานิ อ่านว่า กายินทริยานิ 7) พยัญชนะที่มีพินทุ (.) หรือจุดวางกำากับไว้ แต่ไม่ได้ทำาหน้าที่เป็นตัว สะกด ทำาหน้าที่คล้ายควบกลำ้า เพียงแต่มีจะพินทุวางไว้หน้าพยัญชนะตัวแระ ก็ให้อ่านออกเสียงพยัญชนะที่มีพินทุกำากับด้วย เช่น เทวสหายกา อ่านว่า ทะเวสะหายะกา ทฺวารานิ อ่านว่า ทะวารานิ 8) พยัญชนะที่อาศัยอยู่ใน เอยฺย ก็ให้ออกเสียง ไอยะ สั้น เช่น กเรยฺย อ่านว่า กะไรยะ ปจฺเจยฺย อ่านว่า ปัจไจยะ 9) พยัญชนะที่อาศัยอยู่ใน อิยฺย ก็ให้ออกเสียง อี โดยใช้ฟันล่างและ ฟันบนกดกันแล้วจึงออกเสียง เช่น นิยฺยาเทมิ อ่านว่า นียาเทมิ 10) พยัญชนะตัว ฑ ในภาษาบาลี ให้ออกเสียง ด ในภาษาไทย เช่น ปิณฺฑาย อ่านว่า ปิณดายะ ปณฺฑิโต อ่านว่า ปันดิโต 10
  • 11. 11 แบบฝึกหัดที่ 1 1. จงอ่านและเขียนคำาเหล่านี้ด้วยภาษาโรมมัน คำาศัพท์ อ่านว่า เขียนด้วยภาษา โรมันเป็น อาจริย : อาจารย์ อาจะริยะ Acariya ขตฺติย : กษัตริย์ ขัตติยะ Khattiya ปุตฺต : บุตรชาย ปุตตะ Putta สหาย : เพื่อน สหายะ Sahaya กุมาร : ทารก กุมาระ kumara มนุสฺส : เด็กชาย มะนุสสะ Manussa ปุริส : บุรุษ ปุริสะ Purisa รุกฺข ; ต้นไม้ รุกขะ Rukkha สามเณร :สามเณร สามะเณระ samanera เอรณฺฑ : ต้นระหุ่ง เอรันดะ Eranda วาณิช : พ่อค้า วาณิชะ Vanija กมฺมกร : คนทำางาน กัมมะกะระ Kammakara 2. จงอ่านข้อความต่อไปนี้ โดยเขียนเป็นภาษาอ่านด้วยภาษา ไทย 2.1 นรา สุริยำ ปสฺสนฺติ. อ่านว่า นะรา สุริยัง ปัสสันติ 2.2 สกุโณ รุกฺเข นิสีทติ. อ่านว่า สะกุโณ รุกเข นิสีทะติ 2.3 โจรา วาณิชสฺส สุนเข โจเรนฺติ. อ่านว่า โจรา วาณิชัสสะ สุนะ เข โจเรนติ 2.4 พุทฺธสฺส ธมฺโม โลเก ตโนติ. อ่านว่า พุท/บุทธัสสะ ธัมโม โลเก ตะโนติ 2.5 อหำ วิหาเร ธมฺมำ สุณามิ. อ่านว่า อะหัง วิหาเร ธัมมัง สุณามิ 2.6. มยำ ปาลิภาสำ สิกฺขาม. อ่านว่า มะยัง ปาลิภาสัง สิกขาม 2.7 มยำ อุโปสเถ ลีลานิ ยาจาม. อ่านว่า มะยัง อุโปสะเถ ลีลานิ ยา จาม 3. จงเขียนคำาอ่านและปริวรรตเขียนด้วยภาษาโรมัน ประโยค ต่อไปนี้ อิทานิ ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ปรินิพฺพานโต ปฏฺฐาย ฉจตฺตาฬีสุตฺตรปญฺจสตาธิกานิ เทฺวสงฺวจฺฉรสหสฺสานิ อติกฺกนฺตานิ ปจฺจุปฺปนฺ นกาลวเสน ปุสฺสมาสสฺส ปฐมำ ทินฺนำ วารวเสน ปน วุธวาโร โหติ เอวำ ตสฺส ภคว โต ปรินิพฺพานา สาสนายุกาลคณนา สลฺสกฺเขตพฺพาติฯ
  • 12. บทที่ 2 นามศัพท์ 2.1 ส่วนประกอบของนามศัทพ์ นามศัพท์ แปลว่า เสียงหรือสำาเนียงที่บอกให้รู้ ชื่อคน สัตว์ สถานที่ สิ่งของ แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ 1) นามนาม (Noun) 2) คุณนาม (adjective) 3) สรรพนาม (Pronoun) แผนผังแบ่งประเภทคำา 1.นามศัพท์ นามนาม คุณนาม สัพพนาม สาธารณนาม อสาธารณนาม ปกติ วิเสส อติวิเสส นิยมส.นาม อนิยมส.นาม 2.กิริยาศัพท์ กิริยาอาขยาต 3. อัพยยศัพท์ กิริยากิตก์ อุปสรรค นิบาต ปัจจัย 2.1.1นามนาม (Noun) นามนาม คือ คำาที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สถานที่ วัตถุสิ่งของ เช่น ผู้ชาย ผู้หญิง สุนัก แมว ความ หมู กา ไก่ กรุงเทพฯ นครราชสีมา มหาวิทยาลัย โรงเรียน ผลไม้ ดอกไม้ หิน รถยนต์ คอมพิวเตอร์ ดินสอ ปากกา เป็นต้น นาม นามแบ่งออกเป็น 2 คือ 12
  • 13. 13 1) สาธารณนาม คือนามที่ใช้ทั่วไปไม่จำาเพราะเจาะจง แต่ใช้เรียนได้ ทั่วไป ได้แก่ คน สัตว์ สถานที่ สิ่งของ เช่น มนุสฺโส : มนุษย์, ปุริโส: ผู้ชาย,อิตฺถี: สตรี, ติรจฺฉาโน : สัตว์เดรัจฉาน, นครำ: เมือง,ปเทโส :ประเทศ,มหาวิทยาลโย : มหาวิทยาลัย, นายโก: นายก /ผู้นำา. ภิกฺขุ :ภิกษุ เป็นต้น 2) อสาธารณนาม คือนามไม่ทั่วไป เป็นชื่อเฉพาะ ได้แก่ เอรวณฺโณ: ช้างเอรวัณ, เทวนครำ: กรุงเทพฯ, เสมานครำ: เมืองเสมา(นครราชสีมา) 2.1.2 คุณนาม (Objective) คุณนาม คือ คำาที่บอกลักษณะของของนามว่า สูง ตำ่า ดำา ขาว โง่ ฉลาด ดี ชั่ว ยาว สั้น ยากจน รวย สวย หล่อ เป็นต้น เช่น มหนฺต (ใหญ่) จุลฺล (เล็ก) สุนฺทร (ดี,งาม,หล่อ) ปาป (ชั่ว/เลว) นีจ (ตำ่า) อุจฺจ (สูง) ทีฆ (ยาว) รสฺส(สั้น) ปณฺฑิต (ฉลาด) ทนฺธ (โง่) คำาคุณศัพท์เหล่านี้เมื่อนำามาใชให้นำามาขยายนาม หรือบอกลักษณะของนาม โดยวางไว้ข้างหน้านามเสมอ เช่น มหนฺโต บุคฺคลโล (คนใหญ่) จุลฺโล อินฺทรีโย (สารอินทรีย์เล็ก) ปาโป มนุสฺโส (คน บาป) เป็นต้น โดยประกอบวิภัตติ และวจนะให้เหมือนนามที่มันขยาย เช่น ม หนฺโต ปุริโส (ผู้ชายใหญ่) มหนฺตี อิตฺถี (ผู้หญิงใหญ่) มหนฺตำ สาลำ (ศาลา ใหญ่) เป็นต้นฯ คำาคุณนาม เมื่อนำาไปใช้โดยไม่เรียงไว้ข้างหน้านาม จะมีต้องใข้กิริยาที่ เป็นธาตุ หุ ธาตูที่แปลว่า เป็น,มี เหมือน verb to be (is, am, are, was, were) ในภาษาอังกฤษที่แปลว่า เป็น อยู่ คือ เช่น ปุริโส มหนฺโต โหติ : The man is big. ผู้ชายตัวใหญ่. อหำ สุนฺทโร โหมิ : I am good. (ฉันเป็นคนดี) คำาคุณศัพท์มีสามารถเป็นชั้นได้ 3 ชึ้น ในการเปรียบเทียบเหมือนภาษา อังกฤษ ชั้นปกติ ชั้นวิเสส(ขั้นกว่า) และอติวิเสส(ที่สุด) ซึ่งต้องมีกฎทาง ไวยากรณ์เหมือนกัน ตัวอย่างในภาษาอังกฤษเปรียบชั้น เช่น good (ดี) better (ดีกว่า) best (ดีที่สุด) much (มาก) more (มากว่า) most (มากที่สุด) ในภาษาบาลีก็มีการเปลี่ยนรูปของการเปรียบเทียบคุณในชั้นทั้ง 3 เหมือนกัน 1. ชั้นปกติ (Positive degree) เช่น สุนฺทร(ดี),ปาป(ชั่ว/เลว), อุจฺจ (สูง) นีจ (ตำ่า) ทีฆ (ยาว) รสฺส (สั้น) มหนฺต (ใหญ่) จุลฺล (เล็ก) เสต (ขาว) กาฬ (ดำา) รตฺต (แดง) นีล (เขียว) ปีต (เหลือง) ฯ 2. ชั้นวิเสส /ชั้นกว่า (Comparative degree) ให้เติม ปัจจัย (Suffix) คือ อิย หรือ ตร หลังคำาคุณนามนั้น เช่น สุนฺทริย (ดีกว่า) ปาปิย (เลวกว่า) ม หนฺตร (ใหญ่กว่า) จุลฺลตร (เล็กกว่า) เป็นต้น 3. อติวิเสส (Supertative degree) เป็นการเปลี่ยบเทียบนั้นขั้นสูงสุด โดยเติมปัจจัย(Suffix) คือ อิฏฺฐ และตม ที่แปลว่า ที่สุดต่อท้ายคำาคุณนามนั้น เช่น สุนฺทริฏฺฐ (ดีที่สุด) มหนฺติฏฺฐ /มหนฺตตม (ใหญ่กว่า) จุลฺลิฏฺฐ /จุลฺลตโม (เล็กที่สุด) เป็นต้น ตารางเปรียบคุณนามในแต่ละชั้น
  • 14. ชั้น ปกติ ชั้นวิเสส เติม ตร ,อิย (กว่า) ชั้นอติวิเสส เติม ตม,อิฏฺฐ (ที่สุด) สุนฺทร(ดี) สุนฺทรตร/ สุนฺทริย (ดีกว่า) สุนฺทรตม/สุนฺทริฏฺฐ (ดีที่สุด) ปาป(ชั่ว/เลว ปาปตร/ ปาปิย (บาปกว่า) ปาปตม/ปาปิฏฺฐ (บาปที่สุด) อุจฺจ (สูง) อุจฺจตร /อุจฺจิย (สูงกว่า) อุจฺจตม/ อุจฺจิฏฺฐ (สูงที่สุด) นีจ (ตำ่า) นีจตร /นีจิย นีจตม /นิจิฏฺฐ ทีฆ (ยาว) ทีฆตร /ทีฆิย ทีฆตม/ ทีฆิฏฺฐ มหนฺต (ใหญ่) มหนฺตร /มหนฺติย มหนฺตตม /มหนฺติฏฺฐ รสฺส (สั้น) รสฺสตร / รสฺสิย รสฺสตม / รสฺสิฏฺฐ จุลฺล (เล็ก) จุลฺลตร /จุลฺลิย จุลฺลตม / จุลฺลิฏฺฐ เสต (ขาว เสตตร /เสติย เสตตม / เสติฏฺฐ กาฬ (ดำา) กาฬตร / กาฬิย กาฬตม / กาฬิฏฺฐ รตฺต (แดง) รตฺตตร / รตฺติย รตฺตตม /รตฺติฎฺฐ นีล (เขียว) นีลตร / นีลิย นีลตม/นีลิฎฺฐ ปีต (เหลือง) ปีตตร / ปีติย ปีตตม / ปีติฏฺฐ คุณนาม เวลาใช้ต้องให้เรียงไว้หน้านามนามที่ขยาย ให้มี ลิงค์ วจนะ วิภัตติ ตรงกัน และแปลไม่ออกสำาเนียงอายตนิบาต เช่น สุนฺทโร ธมฺโม : ธรรมดี, สุนฺทรา กถา : ถ้อยคำาดี, สุนฺทรำ กุลำ :ตระกูลดี, มหนฺเต รุกฺ เข ต้นไม้ ท. ใหญ่ เป็นต้นฯ การเปรียบในชั้นต่างๆ ก็ให้เปลี่ยนรูปไปตามนามที่มันไป ขยาย สุนฺทรียา นารี (ผู้ หญิงงาม) สุนฺทริยา นารี (ผู้หญิง งามกว่า) สุนฺทริฏฺฐา นารี (ผู้หญิง งามที่สุด สุนฺทโร ปุริโส (ผู้ชายดี) สุนฺทรตโร ปุริโส (ผู้ชายดีกว่า) สุนฺทรตโม ปุริโส (ชายดี ที่สุด) 2.1.3 สัพพนาม (Promoun) สัพพนาม หมายถึง คำาที่ใช้แทนนามนามที่ออกชื่อมาแล้ว เพื่อไม่ให้ ซำ้าซาก ซึ่งไม่เพราะหู แบ่งเป็น 2 คือ 1) ปุริสสัพพนาม คำาที่ใช้แทนนามนามทั่วไป (Personal Promoun) หมายถึงคำาสรรพนามที่ใช้แทนคำานามตามบุรุษนามทั้ง 3 กล่าวคือ ปฐมบุรุษ มัธยมบุรุษ และอุตมบุรุษ (1) ปฐมบุรุษ ได้แก่ บุรุษที่ 1 (ปฐมปุริส) หมายถึงบุคคลที่เราพูด ถึง ในภาษาไทยและภาษาอังกฤษจัดเป็นบุรุษที่ 3 ในภาษาบาลีสคือ ต ศัพท์ ที่ แปลว่า เขา โดยนำาไปแจกด้วยวิภัตตินามทั้ง 7 ซึ่งจะพูดในบทต่อไป (2) มัธยมบุรุษ ได้แก่บุรุษที่ 2 ในภาษาบาลีเรียก มัชฌิมปุริส คือ ตุมฺห ศัพท์ แปลว่า ท่าน คุณ เป็นต้น ในภาษาอังกฤษ ได้แก่ You 14
  • 15. 15 (3) อุดมบุรุษ บาลีเรียกว่า อุตตมปุริส ได้แก่ บุรุษที่ 3 ในภาษา ไทยและอังกฤษหมายถึงบุรุษที่ 1 ในภาษาบาลี คือ อมฺห ศัพท์ แปลว่า ข้าพเจ้า กระผม หนู ดิฉัน ภาษาอังกฤษ คือ I 2. วิเสสนสัพพนาม คำาที่ใช้ขยายมนาม ทำาหน้าที่คล้ายคุณศัพท์ คือ มีลักษณะขยายคำานาม ถ้าขยายนามบทใดก็จะเปลี่ยนไปตามนามบทนั้น ได้แก่ ย ศัพท์(ใด) เช่น โย ปุคฺคโล (บุคคลใด) ยา วาจา (วาจาใด) ยำ ผลำ (ผลไม้ใด) และ ต ศัพท์(นั้น) เช่น โส ปุคฺคโล (บุคคลนั้น) สา นารี (หญิงคน นั้น) ตำ ผลำ (ผลไม้นั้น) เป็นต้น แบบฝึกหัดที่ 2 1. ส่วนของคำาพูดในภาษาบาลีประกอบด้วยอะไรบ้าง 2. นามนามหมายถึงสิ่งใด แบ่งเป็นกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร 3. คุณนาม คืออะไร แบ่งเป็นกี่ชั้น เมื่อนำาไปใช้ควรจะมีรูปลักษณะ อย่างไร 4. จงเปลี่ยนคำาคุณศัพท์เหล่านี้ให้เป็นชั้น กว่า และยิ่งกว่า ด้วยการเติม ปัจจัย ปณฺฑิต (ฉลาด), มานิต (น่านับถือ),วร (ประเสริฐ), มเหสกฺก (มีศักดิ์ใหญ่) 5. สัพพนาม คืออะไร แบ่งเป็นกี่ประเภท แต่ละประเภท มีอะไรบ้าง 2.2 นามศัพท์และการแจกวิภัตตินาม นามศัพท์ คือ นามนาม คุณนาม และสรรพนาม ทั้ง 3 อย่างนี้ นาม นามเป็นประธาน คุณนามและสัพพนามเป็นบริวาร เพราะเมื่อมีนามนามแล้ว คุณนามและสัพพนามจึงมีได้ เพราะฉะนั้น นามนามจึงสำาคัญที่สุดนามศัพท์ มีส่วนประกอบสำาคัญ 3 อย่าง คือ ลิงค์ วจนะ และวิภัตติ 2.2.1 ลิงค์ ลิงค์ หรือเพศ ของนาม คือ คำาพูดที่บ่งเพศของนามนาม เรียกว่า ลิงค์ แบ่งเป็น 3 คือ (1) ปุงลิงค์ (เพศชาย) (2) อิตถีลิงค์ (เพศหญิง) (3) นปุงสกลิงค์ ไม่ใช่เพศชาย ไม่ใช่เพศหญิง 1) การกำาหนดและการแบ่งลักษณของลิงค์ (เพศ) (1) เป็นลิงค์เดียว คือศัพท์เดียว เป็นได้ลิงค์เดียว เช่น ปุริโส บุรุษ เป็นปุงฺลิงค์ได้อย่างเดียว, อิตฺถี หญิง เป็นอิตถีลิงค์ได้ อย่างเดียว, กุลำ ตระกูล เป็นนปุงฺสกลิงค์ได้อย่างเดียว เป็นต้น (2) เป็น 2 ลิงค์ (ทวิลิงค์)ศัพท์เดียว มีรูปอย่างเดียว เป็นได้ 2 ลิงค์ เช่น อกฺขโร อกฺขรำ อักขระ, มโน มนำ ใจ เป็นต้น
  • 16. (3) นามนามมีมูลศัพท์อย่างเดียว เปลี่ยนสระที่สุดศัพท์เป็น เครื่องหมายให้ต่างลิงค์กัน (โดยลง อา อี อินี ปัจจัย เครื่องหมายอิตถีลิงค์) เช่น ราชา (ปุงฺ.), ราชินี (อิตฺ), อุปาส โก (ปุงฺ.), อุปาสิกา (อิตฺ.) เป็นต้้น 2) คุณนามและสัพพนามเป็นได้ทั้ง 3 ลิงค์ (แล้วแต่นามนามที่มันไป ขายาย)ลิงค์แบ่งเป็น 2 ลักษณะ (1) จัดตามกำาเนิด คือ จัดลิงค์ให้ตรงตามกำาเนิดเดิมของนามนั้น เช่น ปุริโส บุรุษ กำาเนิดเป็นปุงฺลิงค์ จัดให้เป็นปุงลิงค์ อิตฺถี หญิง กำาเนิดเป็นอิตถีลิงค์ จัดให้เป็นอิตถีลิงค์ จิตฺ ตำ จิต กำาเนิดเป็นนปุงฺสกลิงค์ จัดให้เป็นนปุงสกลิงค์ (2) จัดตามสมมุติ คือ จัดลิงค์ตามสมมุติของภาษา ไม่ตรงตาม กำาเนิดเดิมของนามนามนั้น เช่น ทาโร เมีย กำาเนิดเป็นอิตถี ลิงค์ สมมุติให้เป็นปุงลิงค์ เช่น ปเทโส ประเทศ กำาเนิดเป็นนปุง สกลิงค์ สมมุติให้เป็นปุงลิงค์ ภูมิ แผ่นดิน กำาเนิดเป็นนปุงสก ลิงค์ สมมุติให้เป็นอิตถีลิงค์ เป็นต้น 2.2.2 วจนะของนาม วจนะ คือ คำาพูดบอกจำานวน (ให้ทราบว่าน้อยหรือมาก) แบ่ง เป็น 2 คือ (1) เอกวจนะ คำาพูดสำาหรับออกชื่อของสิ่งเดียว เช่น ปุริโส ชายคนเดียว อิตฺถี (หญิงคนเดียว) วตฺถุ (สิ่งของอันเดียว) เป็นต้น 2) พหุวจนะ คำาพูดสำาหรับออกชื่อของมากกว่าสิ่งเดียว คือตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไป เช่น ปุริสา ชายหลายคน อิตฺถิโย (หญิงหลายคน) วตฺถูนิ (สิ่งของหลายอัน) เป็นต้น 2.2.3 วิภัตติ วิภัตตินาม คือ สิ่งที่ใช้แจกศัพท์ให้มีรูปต่างๆ เพื่อให้มี เนื้อความเชื่อมต่อกับคำาอื่นๆ ในประโยค วิภัตตินั้นมี 14 ตัว แบ่งเป็น เอกวจนะ 7 พหุวจนะ 7 ดังนี้ วิภัต ติ ที่ เอกวจนะ พหุวจนะ ปฐมา ที่ 1 สิ โย ทุติยา ที่ 2 อำ โย ตติยา ที่ 3 นา หิ จตุตฺถี ที่ 4 ส นำ ปญฺจมี ที่ 5 สฺมา หิ 16
  • 17. 17 ฉฏฺฐี ที่ 6 ส นำ สตฺตมี ที่ 7 สฺมึ สุ อาลปนะ - สิ โย 2.3 อายตนิบาต นามศัพท์ เมื่อประกอบวิภัตติแล้ว จะมีสำาเนียงการแปลต่างกันไป ตาม วิภัตตินั้น เมื่อนำาไปใช้มีความหมายต่อเนื่องกับคำาอื่นได้ คำาที่เชื่อมต่อความ หมายของศัพท์ เรียกว่า อายตนิบาต (ตรงกับบุพบทในภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ ) อายตนิบาต มีดังนี้ อายตนิบาต คำาแปลประจำาวิภัติทั้ง 7 วิภัติ วิภัตติ ฝ่ายเอกวจนะ ฝ่ายพหุวจนะ ปฐมา อ. (อ่านว่า อันว่า) อ. - ท. (อ่านว่า อันว่า....ทั้ง หลาย) ทุติยา ซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น, ตลอด, กะ, เฉพาะ. ซึ่ง-ท., ..... เฉพาะ-ท. ตติยา ด้วย, โดย, อัน, ตาม, เพราะ, มี, ด้วย ทั้ง. ด้วย-ท., ..... ด้วยทั้ง-ท. จตุตฺถี แก่, เพื่อ, ต่อ. แก่-ท., ...... ต่อ-ท. ปญฺจมี แต่, จาก, กว่า, เหตุ. แต่-ท., ...... เหตุ-ท. ฉฏฺฐี แห่ง, ของ, เมื่อ. แห่ง-ท., ...... เมื่อ-ท. สตฺตมี ใน, ใกล้, ที่, ครั้นเมื่อ, ในเพราะ เหนือ, บน, ณ... ใน -ท., ...... บน -ท.,ณ -ท. ฯ อาลปนะ แน่ะ, ดูก่อน, ข้าแต่. แน่ะ-ท.,ดูก่อน ท. ข้าแต่-ท. ปฐมาวิภัตติ และอาลปนวิภัตติ ไม่มีสำาเนียงอายตนิบาต แต่ใช้คำาว่า ‘อันว่า’ และ ‘แน่ะ ดูก่อน ข้าแต่’ แทน ตามลำาดับ เพื่อเป็นเครื่องสังเกต วิภัตติ ปฐมาวิภัตติ แบ่งเป็น 2 คือ เป็นประธานในประโยคที่ไม่มีกิริยาคุม พากย์ เรียกว่า ลิงฺคตฺถ เช่น มหาปญฺโญ อานนฺโทอ.พระอานนท์ ผู้มีปัญญามากเป็น ประธานในประโยคที่มีกิริยาคุมพากย์ เรียกว่า สยกตฺตา เช่น อานนฺโท ธมฺมำ เทเสติ อ.พระอานนท์ ย่อมแสดง ซึ่งธรรม เป็นอาลปนะ คำาสำาหรับร้องเรียก อาลปนวิภัตติ ไม่มีวิภัตติเป็นของตนเอง แต่ยืมปฐมาวิภัตติมาใช้ 2.4 การันต์ การันต์ คือ สระที่สุดแห่งศัพท์ โดยย่อมี 6 คือ อ อา อิ อี อุ อู โดย พิสดารมี 13 คือ
  • 18. ในปุงลิงค์ มีการันต์ 5 คือ อ อิ อี อุ อู ในอิตถีลิงค์ มีการันต์ 5 คือ อา อิ อี อุ อู ในนปุงสกลิงค์ มีการันต์ 3 คือ อ อิ อุ 2.5 การแจกวิภัตตินาม วิธีแจกนามนาม ด้วยวิภัตตินั้น แจกตามการันต์และลิงค์ (วิภัตติ วจนะ) ศัพท์ที่การันต์และลิงค์เหมือนกัน ให้แจกเป็นแบบเดียวกัน เช่น ปุริส อาจริย ปณฺฑิต เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ เช่นเดียวกัน ให้แจกตามแบบ อ การันต์ ปุงลิงค์ 1) ปุงลิงค์ มีการันต์ 5 ตัว คือ อ,อิ,อี,อุ,อู อ การันต์ในปุงลิงค์แจกอย่าง ปุริส (ผู้ชาย) ดังนี้ วิภัตติ เอกวจนะ พหุวจนะ ปฐมา ปุริโส ปุริสาป ทุติยา ปุริสำ ปุริเส ตติยา ปุริเสน ปุริเสหิ, ปุริเสภิ จตุตถี ปุริสสฺส, ปุริสาย, ปุ ริสตฺถำ ปุริสานำ ปญฺจมี ปุริสสฺมา, ปุริสมฺหา, ปุริ สา ปุริเสหิ, ปุริเสภิ ฉัตถี ปุริสสฺส ปุริสานำ สตฺตมี ปุริสสฺมึ, ปุริสมฺหิ, ปุริเส ปุริเสสุ อาปนะ ปุริส ปุริสา คำาอธิบายใน อ การันต์ 1. เอา อ กับ สิ เป็น โอ, กับ โย ปฐมา เป็น อา. 2. เอา อำ เป็น อำ ในที่ปวง, อ กับ โย ทุติยา เป็น เอ. 3. เอา อ กับ นา เป็น เอน หิ และ สุ อยู่หลัง เอา อ เป็น เอ เอา หิ เป็น ภิ ในที่ทั้งปวง. 4. เอา ส เป็น สฺส แต่ ส จตุตถี เป็น ตฺถำ, กับ อ เป็น อาย ได้ นำ อยู่หลัง ทีฆะสระในที่ทั้งปวง. 5. เอา สฺมา เป็น มฺหา ได้ ใน ปุ. นปุ. กับ อ เป็น อา. 6. เอา สฺมึ เป็น มฺหิ ได้ ใน ปุ. นปุ. กับ อ เป็น เอ. 7. อาลปนะ เอกวจนะ คงเป็น อ, พหุวจนะ เป็น อา. ศัพท์ที่เป็น อ การันต์เหล่านี้แจกเหมือน ปุริส (บุรุษ) อาจริย อาจารย์ กุมาร เด็ก ขตฺติย กษัตริย์ คณ หมู่ โจร โจร ฉณ มหรสพ ชน ชน ตุรค ม้า เถน ขโมย 18
  • 19. 19 ฝึกแปลสำาเนียงอายตนิบาต ปฐมาวิภัตติ -นโร นิสีทติ. : อ. คน ย่อมนั่ง – นรา นิสีทนฺติ : อ. คนทั้งหลาย ย่อมนั่งฯ ทุติยาวิภัตติ -อหำ นรำ ปุจฺฉามิ. อ.ฉัน ย่อมถาม ซึ่งคน. มยำ นเร ปุจฺฉามา. อ.พวกเรา ย่อมถาม ซึ่งคนทั้งหลาย ฯ ตติยาวิภัตติ -สกุโณ นเรน ฆยเต. อ.นกถูกฆ่าโดยคน. ปญฺจสีลานิ นเรหิ รกฺขนฺติ. อ.ศีลห้า ย่อมรักษา โดยคนทั้งหลายฯ จตุตถีวิภัตติ - พุทฺโธ นรสฺส (นรานำ) ธมฺมำ เทเสติ. พระพุทธเจ้า ย่อมทรงแสดงซึ่ง ธรรม แก่คน/คนทั้งหลายฯ อิ การันต์ปุงลิงค์แจกอย่าง มุนิ (ผู้รู้) วิภัตติ เอกวจนะ พหุวจนะ ปฐมา มุนิ ม,,มุนิ มุนโย, มุนี มุน โย, มุนี ทุติยา มุนึ มุนโย, มุนี ตติยา มุนินา มุนีหิ, มุนีภิ จตุตถี มุนิสฺส, มุนิโน มุนีนำ ปญฺจมี มุนิสฺมา, มุนิมฺหา มุนีหิ, มุนีภิ ฉัตถี มุนิสฺส, มุนิโน มุนีนำ สตฺตมี มุนิสฺมึ, มุนิมฺหิ มุนิสุ อาปนะ มุนิ มุนโย, มุนี คำาอธิบายใน อุ การันต์ 1. สระที่มิใช่ อ อยู่หน้า ลบ สิ เสีย, โย อยู่หลัง เอา อิ ปุ. เป็น อ ก็ได้ ลบ โย เสียแล้ว ทีฆะ สระ อิ อุ ในลิงค์ทั้ง 3 ก็ได้ 2. อิ อี อุ อู ใน ปุ. นปุ. คง นา ไว้, หิ นำ สุ อยู่หลัง ทีฆะ อ อิ อุ เป็น อา อี อู ในลิงค์ทั้งปวง 3. เอา ส เป็น สฺส ได้ ปุ. นปุ. ข้างหน้าเป็นสระที่มิใช่ อ เอา เป็น โน ได้ 2 ลิงค์นั้น 4. อาลปนะ มีคติแห่ง ปฐมา. ศัพท์ อิ การันต์ปุงลิงค์เหล่านี้แจกเหมือน มุนิ ศัทพ์ อคฺคิ เปลวไฟ วิธิ วิธี ถปติ ช่างไม้ อหิ งู
  • 20. มณิ แก้วมณี ปติ เจ้า, ผัว อริ ข้าศึก วีหิ ข้าวเปลือก นิธิ ขุมทรัพย์ สมาธิ สมาธิ อี การันต์ ในปุงลิงค์ แจกอย่าง เสฏฺฐี (เศรษฐี) วิภัต ติ เอกวจนะ พหุวจนะ ปฐม า เสฏฺฐี เสฏฺฐิโน เสฏฺฐี ทุติ ยา เสฏฺฐึ เสฏฺฐินำ เสฏฺฐิโน เสฏฺฐี ตติย า เสฏฺฐินา เสฏฺฐีหิ เสฏฺฐีภิ จตุต ถี เสฏฺฐิสฺส เสฏฺฐิโน เสฏฺฐีนำ ปญฺ จมี เสฏฺฐิสฺมา เสฏฺฐิมฺ หา เสฏฺฐีหิ เสฏฺฐีภิ ฉตฺ ถี เสฏฺฐิสฺส เสฏฺฐิโน เสฏฺฐีนำ สตฺ ตมี เสฏฺฐิสฺมึ เสฏฺฐิมฺหิ เสฏฺฐีสุ อา ปนะ เสฏฺฐิ เสฏฺฐิโน เสฏฺฐี คำาอธิบายใน อี การันต์ 1. เอา อำ เป็น นำ ได้บ้าง 2. อี อู ปุ. อยู่หน้า เอา โย เป็น โน แล้ว รัสสะสระตัวหน้าเสีย หรือ ลบ โย ก็ได้ 3. วิภัตติ เอกวจนะ ทั้งปวง ยก ปฐมา เสีย และ โย อยู่หลังต้อง รัสสะ อี อู ใน ปุ. อิตฺถี. ศัทพ์ที่เป็น อี การันต์ เหล่านี้แจกเหมือน เสฏฺฐี–เศรษฐี ตปสี คนมีตปะ ทณฺฑี คนมีไม้เท้า เมธาวี คนมีปัญญา สิขี นกยูง ภาณี คนช่างพูด โภคี คนมีโภคะ มนฺตี คนมีความคิด สุขี คนมีความสุข อุ การันต์ ในปุงลิงค์ แจกอย่าง ครุ (ครู) วิภัตติ เอกวจนะ พหุวจนะ 20
  • 21. 21 ปฐมา ครุ ครโว, ครู ทุติยา ครุ ครโว, ครู ตติยา ครุนา ครูหิ, ครูภิ จตุตถี ครุสฺส ครุโน, ครูนำ ปญฺจมี ครุสฺสมา, ครุมฺหา, ครุมฺหา ครูหิ, ครูภิ ฉัตถี ครุสฺส, ครุโน, ครูนำ สตฺตมี ครุสฺมึ, ครุมฺหิ ครูสุ อาปนะ ครุ ครเว, ครโว, คำาอธิบายใน อุ การันต์ วิธีเปลี่ยนวิภัตติทั้งปวง เหมือน อิ การันต์ แปลกแต่ อุ ปุลิงค์ อยู่หน้า เอา โย เป็น โว, อาลปนะ พหุ. เป็น เว แล้ว อุ เป็น อ เท่านั้น ศัพท์เหล่านี้แจกตาม ครุ ศัทพ์ ภิกฺขุ ภิกษุ ริปุ ข้าศึก สตฺตุ ศัตรู เสตุ สะพาน เหตุ เหตุ เกตุ ธง ชนฺตุ สัตว์เกิด ปสุ สัตว์เลี้ยง พนฺธุ พวกพ้อง พพฺพุ เสือ/ปลา/แมว อู การันต์ปุงลิงค์แจกอย่าง วิญญู (ผู้รู้วิเศษ) วิภั ตติ เอกวจนะ พหุวจนะ ปฐ มา วิญฺญู วิญฺญุโน ,วิญฺญู ทุติ ยา วิญฺญุ วิญูญุโน, วิญฺญู ตติ ยา วิญฺญุนา วิญฺญูหิ, วิญฺญูภิ จตุ ตถี วิญฺญุสฺส, วิญฺญุโน วิญฺญูนำ ปญฺ จมี วิญฺญุสฺมา, วิญฺญุมฺหา วิญฺญูหิ, วิญฺญูภิ ฉัต ถี วิญฺญุสฺส, วิญฺญุโน วิญฺญูนำ สตฺ ตมี วิญฺญุสฺมึ, วิญฺญุมฺหิ วิญฺญูสุ
  • 22. อา ปนะ วิญฺญุ วิญฺญุโน, วิญฺญู วิธีเปลี่ยนวิภัตติทั้งปวง เหมือน อี การันต์ แปลกแต่ อำ คง อำ ไว้เท่านั้น ศัทพ์เหล่านี้แจกเหมือน วิญฺญู สยมฺภู ผู้เป็นเอง กตญฺญู ผู้รู้อุปการะที่ผู้ อื่นทำาแล้ว เวทคู ผู้ถึงพระเวท ปารคู ผู้ถึงฝั่ง อภิภู พระผู้เป็นยิ่ง สพฺพญฺญู ผู้รู้สิ่งทั้งปวง 2) อิตถีลิงค์ มี 5 การันต์ คือ อา อิ อี อุ อู อา การันต์แจกเหมือนกัน กญฺญา (นางสาวน้อย) วิภัต ติ เอกวจนะ พหุวจนะ ปฐม า กญฺญา กญฺญาโย, กญฺญา ทุติ ยา กญฺญำ กญฺญาโญ, กญฺญา ตติย า กญฺญาย กญฺญาหิ, กญฺญาภิ จตุต ถี กญฺญาย กญฺญานำ ปัญจ มี กญฺญาย กญฺญาหิ, กญฺญาภิ ฉัตถี กญฺญาย กญฺญานำ สัต ตมี กญฺญาย,กญฺญายำ กญฺญาสุ อาล ปนะ กญฺเญ กญฺญาโย, กญฺญา คำาอธิบายใน อา การันต์ 1. เอา อำ เป็นนิคหิต แล้ว รัสสะ อา ข้างหน้า. 2. อา อยู่หน้า เอา วิภัตติ เอกวจนะ คือ นา ส สฺมา สฺมึ กับ อา เป็น อาย. 22
  • 23. 23 3. เอา สฺมึ เป็น ยํ บ้างก็ได้. 4. อา เอกวจนะ เอา อา เป็น เอ. ศัทพ์ที่เป็น อา การันต์ แจกเหมือน กญฺญา คือ อจฺฉรา นาง อัปสร อาภา รัศมี อิกฺขณิ กา หญิง แม่มด อีสา งอนไถ อุกฺกา เล็น เอสิกา เสา ระเนียด โอชา โอชา กจฺฉา รักแร้ คทา ตะบอง ทาริกา เด็ก หญิง อิ การันต์อิตถีลิงค์แจกอย่าง รัตติ (ราตรี) วิภัตติ เอกวจนะ พหุวจนะ ปฐมา รตฺติ รตฺติโย, รตฺตี ทุติยา รตฺตึ รตฺติโย, รตฺตี ตติยา รตฺติยา รตฺตีหิ,รตฺตีภิ จตุตถี รตฺติยา รตฺตีนํ ปัญจมี รตฺติยา,รตฺยา รตฺตีหิ,รตฺตีภิ ฉัตถี รตฺติยา รตฺตีนํ สัตตมี รตฺติยา,รตฺติยํ,รตฺยํ รตฺตีสุ อาลปนะ รตฺติ รตฺติโย, รตฺตี คําอธิบายใน อิ การันต์ 1. อิ อี อุ อู อิตถีลิงค์ อยู่ข้างหน้า เอา วิภัตติ เอกวจนะ คือ นา ส สฺ มา สฺมึ เป็น ยา 2. อิ อิตถีลิงค์ อยู่ข้างหน้า เอา สฺมา เป็น อา เอา สฺมึ เป็น อํ แล้ว เอา อิ เป็น ย ได้บ้าง ศัพท์เหล่านี้แจกตาม รตฺติ อา ณิ ลิ่ม อิทฺ ธิ ฤทธิ์ อีติ จัญไร อุกฺ ขลิ หม้อข้าว
  • 24. อูมิ คลื่น กฏิ สะเอว ขนฺ ติ ความอดทน คณฺ ฑิ ระฆัง ฉวิ ผิว รติ- ความ ยินดี อี การันต์แจกอย่าง นารี (ผู้หญิง) ดังนี้ วิภัตติ เอกวจนะ พหุวจนะ ปฐมา นารี นาริโย, นารี ทุติยา นารึ นาริโย, นารี ตติยา นาริยา นารีหิ, นารีภิ จตุตถี นาริยา นารีนํ ปัญจมี นาริยา นารีหิ, นารีภิ ฉัตถี นาริยา นารีนํ สัตตมี นาริยา,นาริยํ นารีสุ อาลปนะ นาริ นาริโย,นารี ศัพท์เหล่านี้แจกเหมือน นารี กุมารี เด็กหญิง ปฐวี แผ่นดิน อิตฺถี หญิง ฆรณี หญิงแม่มด สิมฺพลี ต้นงิ้ว มาตุลานี ป้า/น้า ธานี เมือง กุกุฏี แม่ไก่ วิชนี พัด สขี เพื่อนหญิง เทวี พระ ราชินี. อุ การันต์ในอิตถีลิงค์แจกเหมือน รชฺชุ(เชือก) วิภัตติ เอกวจนะ พหุวจนะ ปฐมา รชฺชุ รชฺชุโย, รชฺชู ทุติยา รชฺชุ รชฺชุโย, รชฺชู ตติยา รชฺชุยา รชฺชูหิ, รชฺชูภิ จตุตถี รชฺชุยา รชฺชูนํ ปัญจ มี รชฺชุยา รชฺชูหิ, รชฺชูภิ ฉัตถี รชฺชุยา รชฺชูสุ สัตตมี รชฺชุยา,รชฺชุยํ รชฺชูสุ 24