SlideShare a Scribd company logo
1 of 48
Download to read offline
๑   ภาษาไทยถิ่นตะโหมด




                    ภาษาไทยถิ่นตะโหมด




                               สุเทพ เรืองคล้ าย
    โรงเรี ยนประชาบารุง อาเภอตะโหมด จังหวัดพัทลง
                                               ุ

           เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย
๒ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด




                                  บทที่ ๑
                      ความหมาย ความสาคัญของภาษาไทยถิ่น

๑. ความหมายของภาษา
            ภาษา เป็ นคาที่มาจากภาษาสันสกฤต มาจากรากศัพท์เดิมว่า ภาษ เป็ นคากริ ยาแปลว่า พูด,
กล่าว,บอก ภาษาบาลีเขียน ภาสา มาจาก ภาส (ความหมายเช่นเดียวกันกันภาษาสันสกฤต)
            ภาษา ความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้กาหนดไว้ดงนี้                  ั
            “ภาษา น. เสี ยงหรื อกิริยาอาการที่ทาความเข้าใจกันได้, คาพูด, ถ้อยคาที่ใช้พดกัน” ๑
                                                                                      ู
            นอกจากนี้ยงมีผรู้ท่ีได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับภาษาได้นิยามศัพท์ของภาษาไว้ต่างๆ กันดังนี้
                       ั ู้
            ๑.๑ “คาว่า ภาษา เป็ นคาสันสกฤต (บาลีเป็ นภาสา) มาจากรากเดิมว่า ภาษ แปลว่า กล่าว, พูด,
                                                                      ่
หรื อบอก เมื่อนามาใช้เป็ นคานามมีรูปเป็ นภาษาแปลตามรู ปศัพท์วา คาพูดหรื อถ้อยคา แปลเอาความว่า
เครื่ องสื่ อความหมายระหว่างมนุ ษย์ให้สามารถกาหนดรู ้ความประสงค์ของกันและกันได้ โดยมีระเบียบ
คาหรื อจังหวะเสี ยงเป็ นเครื่ องกาหนด” ๒
            ๑.๒ “คาว่า ภาษา เป็ นคาสันสกฤต แปลตามรู ปศัพท์ หมายถึ งคาพูดหรื อถ้อยคา ภาษาเป็ น
เครื่ องมือของมนุ ษย์ที่ใช้ในการสื่ อความหมายให้สามารถสื่ อสารติดต่อทาความเข้าใจกันโดยมีระเบียบ
ของคาและเสี ยงเป็ นเครื่ องกาหนด” ๓
            ๑.๓ “ภาษาคืออะไร ถ้าว่ากันตามคาชาวบ้าน ภาษาคือถ้อยคาที่ใช้พูดกันหรื อคาพูดนันเองถ้าจะ
                                                                                              ่
ว่ากันเป็ นทางวิชาการสักหน่อย ภาษาคือเสี ยงหรื อกิริยาอาการที่ทาความเข้าใจกันได้” ๔
            ๑.๔ “ภาษา เป็ นระบบการสื่ อสารที่มนุ ษย์ใช้ติดต่อกัน โดยธรรมชาติแล้วภาษาเป็ นเสี ยงเป็ น
การพูด เป็ นสิ่ งที่ทาให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์โลกอื่นๆ ทั้งปวง” ๕

        ๑
          ราชบัณฑิตยสถาน . พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ . ๒๕๓๐ .
  หน้า ๖๑๖ - ๖๑๗.
        ๒
            กาชัย ทองหล่อ . หลักภาษาไทย . ๒๕๔๐ . หน้า ๑ .
        ๓
            บรรเทา กิตติศกดิ์ . หลักภาษาไทย . ๒๕๓๙. หน้า ๑ .
                         ั
        ๔
           เปลื้อง ณ นคร . ภาษาวรรณนา . ๒๕๔๐. หน้า ๑๑ .
        ๕
           วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์ . “ภาษาและอักษรไทย,” ใน สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน
เล่ม ๑๘ . ๒๕๓๙. หน้า ๑๔๘.
๓ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด

                                            ่
        จากนิยามศัพท์ของท่านต่างๆ สรุ ปได้วาภาษามีความหมายสองนัย คือ
        ก. ภาษาความหมายแคบ หมายถึง เสี ยงพูดหรื อถ้อยคา
        ข. ภาษาความหมายกว้ าง หมายถึง เสี ยงพูดหรื อถ้อยคาและยังหมายรวมถึง กิริยาอาการที่สื่อ
ความเข้าใจกันได้ ภาษาตามความหมายนี้แบ่งออกเป็ น ๒ ประเภท คือ
        ๑). วัจนภาษา คือ ภาษาที่เป็ นถ้อยคา ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน
        ๒). อวัจนภาษา คือ ภาษาที่ไม่เป็ นถ้อยคา ไม่ใช่คาพูด ไม่ใช่ตวหนังสื อแต่เป็ นอย่างอื่นที่สื่อ
                                                                    ั
ความหมายเข้าใจกันได้แก่ ท่าทาง การส่ ายศีรษะ การพยักหน้า การแสดงออกบนใบหน้า การใช้มือ
และแขน การแสดงสัญลักษณ์และสัญญาณต่างๆ เช่น สัญญาณเสี ยงนกหวีด สัญญาณมือ สัญญาณไฟ
จราจร สัญญาณธง รวมทั้งภาษามือของคนใบ้ก็จดเป็ นอวัจนภาษาเช่นกัน
                                              ั
๒. องค์ ประกอบของภาษา
        ภาษาโดยทัวไปทุกภาษามีองค์ประกอบที่สาคัญ ๔ ประการ คือ
                     ่
        ๒.๑ เสี ย ง เสี ยงเป็ นองค์ ป ระกอบที่ ส าคัญ ของภาษา เพราะว่ า ภาษาพู ด เกิ ด จากเสี ยง
นักภาษาศาสตร์ ให้ความสาคัญของภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน ภาษาเขียนเป็ นเพียงสัญลักษณ์ ท่ีคิดขึ้น
ใช้แ ทนเสี ย งพู ด ในภายหลัง เสี ย งในภาษาพู ด เกิ ดขึ้ น ก่ อ นแล้ว จึ ง มี ภ าษาเขี ย น เสี ย งในภาษาไทย
ประกอบด้วยเสี ย งสระ เสี ย งพยัญชนะและเสี ย งวรรณยุ ก ต์ บางภาษาจะไม่ มี เ สี ย งวรรณยุก ต์เช่ น
ภาษาอังกฤษ ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษามลายู เป็ นต้น
        ๒.๒ พยางค์ และคา เกิดจากการเปล่งเสี ยงสระ เสี ยงพยัญชนะและเสี ยงวรรณยุกต์ออกมาอย่าง
กระชันชิ ดเกือบจะพร้อมๆ กันแต่ละครั้งเป็ นพยางค์ พยางค์ท่ีมีความหมายเป็ นคา คาอาจมีพยางค์เดียว
หรื อหลายพยางค์ก็ได้
        ๒.๓ ประโยค คือการเรี ยงลาดับคาเป็ นกลุ่มคา เป็ นประโยค เพื่อสื่ อความหมายในลักษณะ
ต่างๆ ตามโครงสร้างของภาษาอันมีระเบียบแบบแผนหรื อระบบไวยากรณ์ของแต่ละภาษา
                                                                           ่
        ๒.๔ ความหมาย ภาษาเป็ นเครื่ องสื่ อความเข้าใจของมนุ ษย์ยอมต้องมีความหมาย ความหมาย
ของภาษาแบ่งออกเป็ น ๒ ชนิด
                  ๒.๔.๑ ความหมายเฉพาะคา เป็ นความหมายของคาคานั้นๆ ในภาษา ที่บญญัติไว้ใน         ั
        พจนานุกรม ซึ่ งสามารถเข้าใจได้ตรงกัน เรี ยกว่าความหมายตามตัวหรื อความหมายนัยตรง เช่น
        -
             กล้ วย น. ชื่อไม้ลมลุกหลายชนิดในสกุล Musa วงศ์ Musaceae จัดแยกเป็ น ๒ จาพวกที่
                               ้
             แตกหน่อเป็ นกอ ผลสุ กเนื้อนุ่ม กินได้ มีหลายชนิดและหลายพันธุ์ เช่น กล้วยน้ าว้า กล้วย
             ไข่ กล้วยหอม ๑

        ๑
       ราชบัณฑิตยสถาน . พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ . ๒๕๓๐ .
 หน้า ๕๘.
๔ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด




         ๒.๔.๒ ความหมายในกลุ่มคา ในประโยค เป็ นความหมายของคาในภาษา ที่ตองตีความ ทา    ้
ความเข้าใจ การสื่ อสารโดยทัวไปต้องเรี ยงคาหลายๆ คาเข้าเป็ นประโยค ฉะนั้นความหมายลักษณะนี้
                                    ่
เป็ นความหมายที่แท้จริ งของภาษา ความหมายในกลุ่มคา ในประโยคอาจจะมีความหมายนัยตรง ตาม
                                                                                  ่ ั
ลักษณะข้อ ๒.๔.๑ และอาจมีความหมายนัยประหวัดหรื อความหมายเชิ งอุปมา ขึ้นอยูกบบริ บทของคา
นั้นๆ เช่น
         - “ลิงกินกล้วย” ทุกคามีความหมายนัยตรง เมื่อเข้าประโยคแล้วก็มีความหมายตรงตัว
         - “งานอย่างนี้ของกล้วยๆ” คาว่า “ กล้วย” ในประโยคนี้มีความหมายเชิงอุปมา หมายถึง ง่ายๆ
                                          ่        ่
         นอกจากนี้คา คาเดียวกันเมื่ออยูในบริ บทที่ตางกันย่อมมีความหมายแตกต่างกันเช่น
         - “ก่อนรุ่ งเช้าได้ยนเสี ยงไก่ขัน”
                             ิ
         - “แม่คดข้าวใส่ ขันไปตักบาตรทุกเช้า”
         - “เด็กคนนั้นพูดจาน่าขัน”
         - “นายช่างขันน็อตจนแน่น”
         จะเห็นว่าคาว่า “ขัน” ในประโยคทั้ง ๔ มีความหมายแตกต่างกันทุกประโยค

๓. ความหมายของภาษาถิ่น
         มีผให้ความหมายของภาษาถิ่นไว้ดงต่อไปนี้
              ู้                         ั
         ๓.๑ “ภาษาถิ่น น. ถ้อยคาที่ใช้พดกันในแต่ละท้องถิ่น” ๑
                                       ู
         ๓.๒ “ภาษาถิ่น หมายถึง ภาษาย่อยของภาษาเดียวกันที่ใช้พูดแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นต่างๆ
ที่ผพดภาษานั้นๆ อาศัยอยู” ๒
    ู้ ู                 ่
         ๓.๓ “ภาษาถิ่ น หมายถึ ง ภาษาที่ ใช้พูดจากันในท้องถิ่ นต่างๆ ซึ่ งมี ความแตกต่างกันไปตาม
ท้องถิ่นที่ผพดภาษานั้นอาศัยอยู” ๓
            ู้ ู              ่



       ๑
          ทวีศกดิ์ ญาณประทีปและคณะ. พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. ๒๕๓๐ . ๒๕๓๐ .
              ั
หน้า ๓๙๗.
       ๒
          ฉันทัส ทองช่วย. ภาษาและอักษรถิ่น (เน้ นภาคใต้ ) . ๒๕๓๔ . หน้า ๑๑ .
       ๓
          ประสิ ทธิ์ กาพย์กลอนและไพบูลย์ ดวงจันทร์ . ความรู้ เกียวกับภาษาไทย . ๒๕๓๔ .
                                                                ่
หน้า ๑๕ .
๕ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด

         ประเทศไทยมีภาษาไทยมาตรฐานใช้พดกันในประเทศ ภาษาไทยมาตรฐาน หมายถึง ภาษาที่ใช้
                                           ู
เป็ นภาษาราชการ ภาษาที่ใช้ในการเรี ยนการสอนในโรงเรี ยน ภาษาที่ใช้ในโอกาสที่เป็ นทางการต่างๆ
และภาษาที่สื่อมวลชนต่างๆ ใช้ ๑ เป็ นภาษาที่คนในกรุ งเทพฯ และจังหวัดในภาคกลางส่ วนใหญ่ใช้พูด
กัน โดยทัวไปเรี ยกกันอย่างติดปากว่า ภาษากลาง ภาษาในภูมิภาคต่างๆ ย่อมเป็ นภาษาไทยถิ่ น เช่ น
            ่
เชียงใหม่ สุ พรรณบุรี โคราช ระยอง พัทลุง ซึ่ งเป็ นท้องถิ่นในภูมิภาคต่างๆของประเทศ ภาษาไทย
ถิ่นเหล่านี้รวมอยูในภาษาไทย มีคาพืนฐาน ๒ ที่เหมือนกัน เป็ นภาษาไทยที่ววฒนาการมาจากลายสื อไท
                  ่                ้                                   ิ ั
ของพ่อขุนรามคาแหงมหาราชเหมือนกัน และเป็ นภาษาในตระกูลภาษาไท ๓ เช่นเดียวกัน

๔. คุณค่ าและความสาคัญของภาษาถิ่น
          ภาษาถิ่ นเป็ นภาษาที่คนในแต่ละท้องถิ่นใช้พูดกัน มีความสาคัญในฐานะเป็ นเครื่ องมือสื่ อสาร
สั่งสอน สร้างสรรค์ สื บสานและแสดงเอกลักษณ์ของท้องถิ่ น ภาษาถิ่ นมีคุณค่าและความสาคัญดังจะ
กล่าวต่อไปนี้
          ๔.๑ ภาษาถิ่นเป็ นเครื่องมือสื่ อสารของคนในท้ องถิ่น ประเทศไทยมีภาษาไทยมาตรฐานเป็ น
เครื่ องมือสื่ อสารที่ใช้ในระบบราชการ เป็ นภาษากลางที่ใช้ติดต่อกันของคนไทยทั้งประเทศ แต่คนใน
ภูมิภาคต่างๆ มีภาษาไทยถิ่นของตนเองใช้พดกันในกลุ่มของตนเอง เพื่อแสดงความเป็ นกันเอง เพื่อสร้าง
                                             ู
ความสนิ ทสนม เพื่อความเข้าใจที่ดีต่อกัน เช่น คนใต้เมื่อเจอกัน ไม่วาพบปะกันที่ไหนหรื อภูมิภาคใด
                                                                   ่
ของประเทศหากไม่ ใช่ ใ นโอกาสที่ เป็ นพิ ธีก ารหรื อทางการ จะพูดจากันด้วยภาษาไทยถิ่ นใต้ หรื อที่
เรี ยกว่า แหลงใต้ ขณะเดียวกันคนเหนื อก็จะพูดกันด้วยภาษาเหนื อ หรื อ อู้คาเมือง เช่นเดียวกันกับคน
อีสานก็จะ ว้ าวลาว กัน สาหรับภาษาที่คนต่างภูมิภาคใช้พูดกันเช่น คนเหนื อกับคนใต้หรื อคนอีสานก็
จะสนทนากันด้วยภาษาไทยมาตรฐานหรื อภาษากลาง

        ๑
           วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. เรื่องเดียวกัน . หน้า ๑๕๑ .
         ๒
            คาพื้นฐาน หมายถึง คาที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินชีวิตในสังคมแบบโบราณแต่ยงใช้กนอยูถึง
                                                                                  ั ั ่
ปั จจุบน เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง หู ตา น้ า ฝน บ้าน กิน นัง นอน เดิน หนึ่ง สอง สาม หมู หมา ฯลฯ
       ั                                                ่
         ๓
            ภาษาตระกูลไท หมายถึง ภาษาที่ใช้ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ เช่นภาษาลาวใน
ประเทศลาว ภาษาไทดา ไทแดง ไทขาว ไทนุง ไทโท้ ในประเทศเวียดนาม ภาษาไตเต้อหง ไทลื้อ
ลุงโจว โปอาย วูมิง ในประเทศจีน ภาษาไทพาเก ไทคาตี่ ไทไอต้อน ไทอาหม ในประเทศอินเดีย
ภาษาไทยในกลันตัน ประเทศมาเลเซียและภาษาไทอื่นๆ ที่มีวิวฒนาการมาด้วยกันและมีคาพื้นฐานที่
                                                              ั
คล้ายคลึงกัน
๖    ภาษาไทยถิ่นตะโหมด

          ๔.๒ ภาษาถิ่นเป็ นเครื่ องมือในการสั่ งสอนและควบคุมสั งคม สังคมต่างๆ มี กฎระเบียบของ
สังคมที่เป็ นตัวควบคุมให้คนในสังคมอยูร่วมกันได้อย่างสงบสุ ข ในระดับประเทศมีกฎหมายที่ตราขึ้นมา
                                          ่
ใช้ควบคุ มสังคม ในระดับท้องถิ่ นแม้ว่าจะมีกฎหมายของรัฐบาลควบคุ มแล้ว ยังมีพวกสานวน ภาษิต
และเพลงกล่อมเด็กซึ่ งเป็ นวรรณกรรมถิ่ นที่มีเนื้ อหาในการสั่งสอนและชี้ แนะแนวทางในการประพฤติ
ปฏิบติตวของคนในสังคมสอดแทรกอยู่
      ั ั                                        อันเป็ นกลวิธีในการควบคุมสังคมในด้านคุณธรรมและ
จริ ยธรรมซึ่งกฎหมายมิอาจควบคุมได้ทวถึง เช่น คาสอนที่ปรากฏในเพลงกล่อมเด็กต่อไปนี้
                                       ั่
                                            เพลงดาวจาย
                                  ดาวจายเหอ                 อีเถ้านันหมันง่าย
                                                                    ่
                         ไปคบกับชาย                         เท่เมียหมันยัง
                         ทั้งแผ่นดินหนี้                    หมึงเอาให้สิ้นอีบาหยัง
                                                                               ้
                         คบกับชายเมียยัง                    หม้ายหูอ้ ีฟังเอง เหอ
                                            เพลงตัดหัวหมึง
                                  ตัดหัวเหอ                 อย่าขั้วหม้าวโครมโครม
                         ตัดหัวหมึงแลอ้ายตายโหง             หาเมียกลางคืน
                         ตัดหัวหมึงหม้ายหยัง  ่             ตัดหัวหมึงหม้ายหยื้น
                         หาเมียกลางคืน                      ตัดหัวหม้ายยื้นเหลย
                                            เพลงโลกสาวเร็ อนต็อก
                                  โลกสาวเหอ                 โลกสาวเร็ อนต็อก
                         ขึ้นนังบนคร็ อก
                               ่                            นมยานโตงเตง
                         หมันชาติข้ ีคร้าน                  ซ้อมสารก้าหม้ายเต็มเผล้ง
                         นมยานโตงเตง                        โลกสาวชาวเร็ อนต็อก เฮอ ๑


        ๑
            เป็ นเพลงกล่อมเด็กภาคใต้ ควรอ่านออกเสี ยงด้วยภาษาใต้ ภาษาเขียนบางคาอาจถ่ายทอดเสี ยง
ได้ไม่ตรงกับที่ออกเสี ยงจริ ง อธิ บายคาศัพท์ใต้ดงนี้
                                                ั
ดาวจาย – ดอกดาวกระจาย คร็ อก - ครก                   เท่ – ที่          ขั้วหม้าว - คัวข้าวเม่า
                                                                                      ่
อีเถ้านัน – ผูหญิงคนนั้น ก้า - ก็
        ่     ้                                      อีบาหยัง – อีตวการ ต็อก - ตก
                                                         ้          ั
หมัน – มัน                  หยัง - ยัง
                                 ่ ่                 โลก – ลูก          หม้าย - ไม่
ยัง – มี หยื้น – ยืน เผล้ง - ภาชนะดินเผา
                      ่                              ตัดหัว - เป็ นคาด่าใช้เรี ยกแทนนามหรื อบุคคลที่
หมึง – มึง                  เร็ อน - เรื อน          ประพฤติตวไม่ดี
                                                                  ั
๗ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด

          ๔.๓ ภาษาถิ่นเป็ นเครื่องมือในการสร้ างสรรค์ วรรณกรรมถิ่น              วรรณกรรมถิ่ นที่ก่อเกิ ดขึ้น
ในท้องถิ่น จากการจดจา เล่าขาน สื บต่อกันมาจากปากต่อปาก จากรุ่ นปู่ สู่ ลูกหลานล้วนสื บทอดกันด้วย
ภาษาถิ่ น วรรณกรรมถิ่ นเหล่ านี้ มี มากหลากหลายชนิ ด เช่ น เพลงกล่ อมเด็ก เพลงประกอบการเล่ น
สานวนภาษิต ปริ ศนาคาทาย นิทานพื้นบ้านและตานานพื้นเมือง เช่น
          - เพลงประกอบการเล่น จุมจี่จุมปุด
                                         ้ ้
          จุมจี่จุมปุด
            ้ ้              จุมแม่สีพุด
                               ้             เข้ากอชวา          พุดซาเป็ นดอก หมากงอกเป็ นใบ
             ้      ่
          พุงพิ่งอยูใน ว่ายน้ าท่อแท่ ท่อแท่ เหอ                ฉีกใบตอง        มาร้องผ้าแหก
          ฉีกดังแกร็ ก หอแหงอแง
          - เพลงกล่อมเด็ก งูสายพาน
                    งูสายพานเหอ              เลื้อยขึ้นรั้วคอก
          อ้ายเม่าหัวหงอก                    อวดตัวอี้เลี้ยงเมียสาว
          แลเหอแลดู                          อ้ายเฒ่าหัวงูมนทาบ่าว
                                                             ั
          อวดตัวอี้เลี้ยงเมียสาว             ทาบ่าวไม่คิดหงอก
          ๔.๔ ภาษาถิ่นช่ วยสื บสานวัฒนธรรมท้ องถิ่น แต่ละชุ มชนย่อมมีวฒนธรรมประจาถิ่ นของตน
                                                                              ั
ภาษาถิ่ น เป็ นส่ ว นหนึ่ งของวัฒ นธรรม อี ก ทั่ง ภาษาถิ่ น ยัง สะท้อ นภาพชี วิ ต ความเป็ นอยู่ ค่ า นิ ย ม
ขนบธรรมเนียมประเพณี ของท้องถิ่นในรู ปของสานวน ถ้อยคาต่างๆ เช่น
          - มาแต่ ตรัง หม้ ายหนังก้าโนรา
       ข้อความดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นถึงความแพร่ หลายของการแสดงหนังตะลุงและมโนราห์ในจังหวัด
ตรั ง ศิ ล ปะการแสดงพื้ น บ้า นดัง กล่ า วได้รั บ ความนิ ย มจากชาวบ้า นอย่า งกว้า งขวางจนเข้า ถึ ง และ
                ่                                                                ่
สอดแทรกอยูในวิถีชีวตของประชาชนแทบทุกคน จนชาวต่างถิ่นคาดหวังได้วา ใครก็ตามที่เป็ นชาวตรัง
                         ิ
                                                                     ๑
นั้นถ้าเล่นหนังตะลุงไม่ได้ก็ตองรามโนราห์เป็ นอย่างใดอย่างหนึ่ง
                                 ้
          - หนุมจีนตาหนาน นาตาลบ้ านแร่ กล้ วยแกกงหรา โนราท่ าแค
                                    ้
          ชาวพัทลุงเมื่อกล่าวถึงข้อความนี้ก็ทราบโดยทัวกันว่า ที่บานตาหนาน (ตานาน) มีขนมจีนขึ้นชื่อ
                                                           ่          ้
จะกิ นน้ าตาลก็ต้องไปที่ บ ้านแร่ ต้องการหามโนราห์ ไปเล่ นตามงาน ต้องที่ บา นท่ าแคเพราะเป็ นถิ่ น
                                                                                   ้
มโนราห์ ส่ วนกงหรามี การปลูกกล้วยมากโดยเฉเพาะกล้วยน้ าว้าซึ่ งเป็ นวัตถุ ดิบในการผลิ ตกล้วยฉาบ
สิ นค้าสาคัญของจังหวัดพัทลุงเป็ นของฝากติดไม้ติดมือของผูมาเยียมเยือนโดยเฉพาะกล้วยฉาบแม่แดง
                                                                ้ ่


        ๑ ฉันทัส ทองช่วย . เรื่องเดียวกัน .หน้า ๑๔ .
๘ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด

         ๔.๕ ภาษาถิ่นแสดงเอกลักษณ์ ของท้ องถิ่น ภาษาถิ่ นบ่งบอกลักษณะเฉพาะของคนในท้องถิ่ น
ได้เป็ นอย่างดี โดยเฉพาะสาเนี ยงพูดบ่งชี้ ได้อย่างชัดเจนว่าผูน้ นเป็ นคนท้องถิ่ นใด เช่ น คนสุ พรรณ
                                                                ้ ั
คนเมืองเพชร (เพชรบุรี) คนเมืองจัน (จันทรบุรี) คนสุ ราษฎร์ (สุ ราษฎร์ ธานี ) ต่างมีสาเนี ยงภาษาเป็ น
ของตนเอง หรื อแม้แต่ในจังหวัดเดี ยวกันก็อาจมีภาษาถิ่ นย่อยเฉพาะลงไปอีก เช่ น สงขลามีสาเนี ยง
                                          ่
ภาษาสะกอม เมื่อพูดก็สามารถบอกได้วาเป็ นคนจากท้องถิ่นใด
         นอกจากนี้ยงมีถอยคาที่มกจะกล่าวถึงเอกลักษณ์ในการพูดของคนในแต่ละท้องถิ่น เช่น
                    ั ้            ั
         - สงขลาห่ อนนครหมา
         คากล่าวนี้แสดงให้เห็นเอกลักษณ์การใช้ถอยคาของคนสงขลาและนครศรี ธรรมราชได้อย่าง
                                                    ้
ชัดเจนดังตัวอย่างต่อไปนี้
         สงขลา                                        นครศรีฯ                        ความหมาย
         - ฉานหม้ายห่ อนทาพรรค์น้ น    ั              - ฉานหมาทาพรรค์น้ น
                                                                        ั         - ฉันไม่ทาอย่างนั้น
         - ผมหม้ายห่อนโร้                             - ผมหมาโร้                  - ผมไม่ทราบ
         ชื่อบ้านนามเมืองก็เป็ นอีกลักษณะหนึ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ที่ปรากฏในถ้อยคาเช่น
         - เมืองลุงมีดอน นครมีท่า เมืองตรังมีนา สงขลามีบ่อ
         จากคากล่าวนี้ จะไปปรากฏที่ชื่อหมู่บาน ตาบล หรื ออาเภอของแต่ละจังหวัดที่มีคาขึ้นต้นตรง
                                               ้
ตามถ้อยดังกล่าว เช่น
         - จังหวัดนครศรี ธรรมราช
         ท่าหลา (ท่าศาลา)            ท่าพญา           ท่าหา
         - จังหวัดสงขลา
         บ่อแดง           บ่อดาน            บ่อป่ า          บ่อเพลง       บ่อตรุ           บ่อปาบ
         - จังหวัดตรัง
         นาโยง            นาโต๊ะหมิง นาข้าวเสี ย
         - จังหวัดพัทลุง
         ดอนหลา (ดอนศาลา)
๙    ภาษาไทยถิ่นตะโหมด


                                    บทที่ ๒
                            วิวฒนาการของภาษาไทยถิ่น
                               ั
๑. ความเป็ นมาของภาษาไทยถิ่น
         ภาษาไทยถิ่นในแต่ภูมิภาคของประเทศเป็ นภาษาย่อยของภาษาไทย ภาษาไทยมีววฒนาการมา
                                                                            ิ ั
ตั้งแต่โบราณ มีมาพร้อมๆ กับคนเผ่าไทย นักภาษาศาสตร์ ชาวสหรัฐอเมริ กา เจ มาร์ วิน บราวน์
(J. Marvin Brown) ได้ศึกษาประวัติความเป็ นมาของภาษาไทยถิ่ นต่างๆ สรุ ปได้ว่า ภาษาไทยมี
วิวฒนาการมาจากภาษาไทยถิ่นที่ใช้พดกันในมณฑลยูนนานทางตอนใต้ของจีน ต่อมาได้วิวฒนาการเป็ น
    ั                            ู                                           ั
ภาษาไทยถิ่น ๓ สาขา คือ
         ๑.๑ สาขาเชี ยงแสน ภาษาไทยสาขาเชี ยงแสนได้วิวฒนาการเป็ นภาษาไทยถิ่ นต่างๆ ใน
                                                         ั
ภาคเหนือและภาคกลางของประเทศ ดังแผนภูมิ ๑
                        แผนภูมิ ๑ วิวฒนาการของภาษาไทยสาขาเชียงแสน
                                     ั

                                                                                 ชาน
                                                                                 เชียงราย
                                                                                 แพร่
       เชียงแสน                           เชียงใหม่                              น่าน
                                                                                 ลาปาง
                                                                                 เชียงใหม่
                                                                                 พวน
                                            อยุธยา                               อู่ทอง
                                                                                 กรุ งเทพฯ
       ตามแผนภูมิ ๑ แสดงให้เห็นว่า ภาษาเชียงแสนได้ววฒนาการเป็ นภาษาถิ่นย่อย ๔ สาขา คือ
                                                    ิั
              ๑). สาขาชาน
              ๒). สาขาเชี ยงใหม่ ได้วิวฒนาการเป็ นภาษาไทยถิ่นอีก ๕ ถิ่น คือ เชี ยงราย แพร่
                                       ั
น่าน ลาปาง และเชียงใหม่
              ๓). สาขาพวน
              ๔). สาขาอยุธยา ได้ววฒนาการเป็ นภาษาไทยถิ่น ๒ ถิ่น คือ อู่ทอง และกรุ งเทพฯ
                                 ิั
๑๐ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด

      ๑.๒ สาขาล้านช้ าง ภาษาไทยสาขาล้านช้างได้ววฒนาการเป็ นภาษาไทยถิ่นต่างๆ ในภาคอีสาน
                                               ิั
ของประเทศไทย และภาษาลาว ดังแผนภูมิ ๒

                      แผนภูมิ ๒ วิวฒนาการของภาษาไทยสาขาล้านช้ าง
                                   ั

                                                                           หลวงพระบาง
                        หลวงพระบาง                                         แก่นท้าว
                                                                           ด่านซ้าย
                                                                           เลย
                                                                           ทุรคม
                                                                           เวียงจันทร์
                                            เวียงจันทร์                    หล่มสัก
                                                                           คอนสวรรค์
                                                                           ชัยภูมิ
        ล้านช้าง              เวียงจันทร์                                  หนองคาย
                                                                           ร้อยเอ็ด
                                                                           อุบล
                                                                           บัวใหญ่
                                            โซะ,ลาว                        ขอนแก่น
                                                                           อุดร
                                                                           พนมไพร
                                                                           ศรี สะเกษ
                                                                           ท่าตูม
                                            สกลนคร                         ย้อ
                                                                           โคราช
        ตามแผนภูมิ ๒ แสดงให้เห็นว่า ภาษาล้านช้างวิวฒนาการเป็ นภาษาถิ่น ๓ สาขา คือ
                                                    ั
                 ๑). สาขาหลวงพระบาง วิวฒนาการเป็ นภาษาถิ่นย่อย ๔ ถิ่น คือ หลวงพระบาง
                                          ั
แก่นท้าว ด่านซ้าย และเลย
๑๑ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด

                   ๒). สาขาเวียงจันทร์ วิวฒนาการเป็ นภาษาถิ่ น ๓ สาย คือ เวียงจันทร์ หนองคาย
                                          ั
และโซะ,ลาว ใน ๓ สายนี้ สายเวียงจันทร์ ได้ววฒนาการเป็ นภาษาถิ่น ๕ ถิ่น คือ
                                            ิั
ทุรคม เวียงจันทร์ หล่มสัก คอนสวรรค์ และชัยภูมิ
          สายโซะ,ลาว ได้วิวฒนาการเป็ นภาษาถิ่ น ๘ ถิ่ น คือ ร้ อยเอ็ด อุบล บัวใหญ่ ขอนแก่น อุดร
                            ั
พนมไพร ศรี สะเกษ และท่าตูม
                   ๓). สาขาสกลนคร ได้ววฒนาการเป็ นภาษาถิ่น ๒ ถิ่น คือ ย้อ และโคราช
                                      ิั
          ๑.๓ สาขาสุ โขทัย ภาษาไทยสาขาสุ โขทัยได้ววฒนาการเป็ นภาษาไทยถิ่นต่างๆ ในภาคใต้ของ
                                                     ิั
ประเทศไทย ดังแผนภูมิ ๓ (ดูหน้า ๑๑)
          ตามแผนภูมิ ๓ แสดงให้เห็นว่า ภาษาสุ โขทัยซึ่ งวิวฒนาการมาจากภาษายูนนานได้ววฒนาการ
                                                          ั                            ิ ั
เป็ นภาษาถิ่น ๒ สาขา คือ
                   ๑). สาขานครศรีธรรมราช วิวฒนาการเป็ นภาษาไทยถิ่น ๒ สาย คือ สายไชยากับสาย
                                            ั
นครศรี ธรรมราชซึ่ งแต่ละสายก็ได้แตกสาขาย่อยไปอีกคือ
          ก. สายไชยา วิวฒนาการเป็ นภาษาไทยถิ่นย่อย ๓ ถิ่น คือ ชุ มพร เกาะสมุยและไชยา สาหรับ
                          ั
ภาษาไชยาได้ววฒนาการเป็ นภาษาไทยถิ่นย่อย ๔ ถิ่น คือ ระนอง ไชยา ตะกัวป่ า และภูเก็ต
                ิั                                                         ่
          ข. สายนครศรีธรรมราช ได้ฒนาการเป็ นภาษาไทยถิ่นย่อย ๒ สาย คือ นครศรี ธรรมราชและ
สงขลา แต่ละสายก็ได้แตกสาขาย่อยไปอีกคือ ภาษานครศรี ธรรมราช ได้ววฒนาการเป็ นภาษาไทยถิ่นย่อย
                                                                      ิั
๖ ถิ่น คือ กระบี่ นคร ทุ่งสง ตรัง ควนขนุน(พัทลุง)และหัวไทร ส่ วนภาษาสงขลาได้วิวฒนาการเป็ น
                                                                                     ั
ภาษาไทยถิ่นย่อย ๔ ถิ่น คือ สงขลา ระโนด ยะลา และสตูล
                   ๒). สาขาตากใบ เป็ นภาษาถิ่นที่ได้วิวฒนาการมาจากภาษาสุ โขทัยโดยตรง เป็ นภาษา
                                                        ั
ถิ่นที่ใช้พูดกันในอาเภอตากใบ และอาเภอใกล้เคียงในจังหวัดนราธิ วาส บางอาเภอของจังหวัดปั ตตานี
ตลอดไปถึงอาเภอตุมปัต อาเภอบาเจาะ และอาเภออื่นๆ ในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ๑




       ๑
           ฉันทัส ทองช่วย . ภาษาและอักษรถิ่น (เน้ นภาคใต้ ) . ๒๕๓๔ . หน้า ๒๓ - ๒๗.
๑๒ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด



                            แผนภูมิ ๓ วิวฒนาการของภาษาไทยสาขาสุ โขทัย
                                         ั
                                                                        ชุมพร
                                                                        ระนอง
                                                                        ไชยา
                                 ไชยา                        ไชยา

                                                                        ตะกัวป่ า
                                                                              ่
                                                                        ภูเก็ต
                                                                        เกาะสมุย
           นครศรี ธรรมราช
                                                                        กระบี่

                                                                        นครศรี ฯ
                                                                        ทุ่งสง
                                     นคร                     นคร        ตรัง
                                                                        ควนขนุน
                                                                        (พัทลุง)
สุ โขทัย                      นคร                                       หัวไทร
                                                                        สงขลา
                                                                        ระโนด
                                    สงขลา
                                                             ยะลา       ยะลา
                                                                        สตูล

                                                                        ตากใบ
๑๓ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด


๒. การแบ่ งกลุ่มภาษาไทยถิ่น
           ประเทศไทยมีภาษาไทยมาตรฐานเป็ นภาษาราชการ ใช้ติดต่อสื่ อสารระหว่างคนไทยทั้งชาติ ใน
ท้องถิ่นภูมิภาคต่างๆ มีภาษาไทยถิ่ นใช้สื่อสารกัน นักภาษาศาสตร์ ได้แบ่งกลุ่มภาษาไทยถิ่ น โดยแบ่ง
ตามสภาพภูมิศาสตร์ออกเป็ น ๔ กลุ่ม ดังนี้
           ๒.๑ ภาษาไทยถิ่นเหนือ หมายถึง ภาษาย่อยของภาษาไทยที่พดกันในท้องที่ของจังหวัดต่างๆทาง
                                                                      ู
ภาคเหนื อของประเทศไทย เช่ น เชี ยงใหม่ เชี ยงราย แพร่ น่ าน ลาพูน ลาปาง เป็ นต้น ซึ่ งภาษาไทยถิ่ น
กลุ่มนี้ได้มีววฒนาการมาจากภาษาไทยสาขาเชียงแสน สายเชียงใหม่นนเอง
              ิั                                                        ั่
           ๒.๒ ภาษาไทยถิ่นกลาง หมายถึ ง ภาษาย่อยของภาษาไทยที่พูดกันในท้องที่จงหวัดต่างๆ ใน
                                                                                       ั
ภาคกลางของประเทศไทย เช่ น กรุ งเทพฯ อยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี อ่างทอง ฯลฯ นอกจากนี้ รวมถึ ง
ท้องที่ จงหวัดต่างๆ ในภาคตะวันตกและภาคตะวันออกด้วย เช่ น กาญจนบุ รี สุ พรรณบุ รี ชลบุ รีและ
         ั
จันทบุ รี เป็ นต้น ซึ่ งภาษาไทยถิ่ นกลางมี วิ วฒ นาการมาจากภาษาไทยสาขาเชี ย งแสนเช่ นเดี ย วกับ
                                                ั
ภาษาไทยถิ่นเหนือแต่คนละสาย คือภาษาไทยถิ่นกลางมาจากสายอยุธยา
           ๒.๓ ภาษาไทยถิ่นอีสาน หมายถึง ภาษาย่อยของภาษาไทยที่พูดกันในท้องที่จงหวัดต่างๆ ของ
                                                                                     ั
ภาคตะวันออกเฉี ยงเหนื อของประเทศไทย เช่ น นครราชสี มา นครพนม ร้ อยเอ็ด สกลนคร ขอนแก่ น
อุบลราชธานี และมหาสารคาม เป็ นต้น ภาษาไทยถิ่นอีสานมีววฒนาการมาจากภาษาไทยสาขาล้านช้าง
                                                           ิั
           ๒.๔ ภาษาไทยถิ่นใต้ หมายถึง ภาษาย่อยของภาษาไทยที่พูดกันในท้องที่ของจังหวัดต่างๆ ทาง
ภาคใต้ของประเทศไทย ได้แก่ ชุ มพร ระนอง สุ ราษฎร์ ธานี พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรั ง นครศรี ธรรมราช
พัทลุง สงขลา สตูล ยะลา ปั ตตานี และนราธิ วาส ซึ่ งภาษาไทยถิ่นใต้มีวิวฒนาการมาจากภาษาไทยสาขา
                                                                           ั
สุ โขทัย ๑
           การแบ่งภาษาไทยถิ่นเป็ น ๔ กลุ่มตามสภาพภูมิศาสตร์ น้ ี เป็ นการแบ่งอย่างหยาบๆ เพราะจริ งๆ
แล้วในแต่ละภูมิภาค ยังแบ่งแยกย่อยออกเป็ นกลุ่มเล็กๆ ลงไปอีก แม้ในจังหวัดเดียวกันก็อาจแบ่งย่อยเป็ น
กลุ่มๆ ได้อีกด้วย ซึ่ งรายละเอียดต้องอาศัยข้อมูลจากการศึกษาวิจยของนักภาษาศาสตร์ ที่ได้ทาการวิจยมา
                                                              ั                               ั
จัดแบ่งตามลักษณะเฉพาะของกลุ่ม แต่ในที่น้ ีขอกล่าวรายละเอียดเฉพาะกลุ่มภาษาไทยถิ่นใต้


๓. การแบ่ งกลุ่มภาษาไทยถิ่นใต้
       ภาษาไทยถิ่นใต้มีนกภาษาศาสตร์ ชาวไทยและชาวต่างชาติได้ทาการศึกษาวิจยแบ่งกลุ่มเอาดังนี้
                        ั                                               ั


        ๑
            ฉันทัส ทองช่วย . ภาษาและอักษรถิ่น (เน้ นภาคใต้ ) . ๒๕๓๔ . หน้า ๑๑ - ๑๒.
๑๔ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด

      ๓.๑ การแบ่ งกลุ่มภาษาไทยถิ่นใต้ ของบราวน์
      เจ. มาร์วน บราวน์ (J.Marvin Brown) ได้แบ่งกลุ่มภาษาไทยถิ่นใต้ไว้ดงนี้
                 ิ                                                        ั
      ก. กลุ่มนครศรีธรรมราช วิวฒนาการเป็ นภาษาไทยถิ่น ๒ สาย คือ
                                     ั
                   ๑. สายไชยา แบ่งออกเป็ นภาษาไทยถิ่นย่อย ๓ ถิ่น คือ
                           ๑.๑ ภาษาชุมพร
                           ๑.๒ ภาษาเกาะสมุย
                           ๑.๓ ภาษาไชยา สาหรับภาษาไชยาแบ่งออกเป็ นภาษาไทยถิ่นย่อย ๒ ถิ่น
                                  ๑.๓.๑ ภาษาระนอง ไชยา หลังสวน และสวี
                                  ๑.๓.๒ ภาษาตะกัวป่ า และภูเก็ต
                                                ่
                   ๒.สายนครศรีธรรมราช แบ่งออกเป็ นภาษาไทยถิ่นย่อย ๒ กลุ่มย่อย
                           ๒.๑ ภาษานครศรี ธรรมราชแบ่งออกเป็ นภาษาไทยถิ่นย่อย ๓ ถิ่น คือ
                                  ๒.๑.๑ ภาษากระบี่
                                  ๒.๑.๒ ภาษานครศรี ธรรมราช ทุ่งสง ตรัง ควนขนุน(พัทลุง)
                                  ๒.๑.๓ ภาษาหัวไทร
                           ๒.๒ ภาษาสงขลาแบ่งออกเป็ นภาษาไทยถิ่นย่อย ๒ ถิ่น คือ
                                  ๒.๒.๑ ภาษาสงขลาและระโนด
                                  ๒.๒.๒ ภาษายะลาแบ่งย่อยไปอีกเป็ น ๒ ถิ่นคือ
                                          ๒.๒.๒.๑ ภาษายะลา
                                          ๒.๒.๒.๒ ภาษาสตูล
      ข. กลุ่มตากใบ เป็ นภาษาไทยถิ่นไต้ที่ได้วิวฒนาการมาจากภาษาสุ โขทัยโดยตรง เป็ นภาษาไทย
                                                   ั
           ถิ่ นใต้ที่มีลกษณะสาเนี ยงพูดและลักษณะทางภาษาแตกต่างจากภาษาไทยถิ่ นใต้กลุ่มอื่นๆ
                         ั
           อย่างชัดเชน ได้แก่ภาษาที่ใช้พดกันในท้องถิ่นต่างๆ ดังนี้
                                          ู
                   ๑.อาเภอตากใบ และบางตาบลในอาเภอเมือง สุ ไหงปาดี สุ ไหง-โกลก และอาเภอแว้ง
                   ในจังหวัดนราธิวาส
                   ๒.บางตาบลในอาเภอสายบุรี ยะหริ่ ง บะนาเระ และมายอของจังหวัดปั ตตานี
                   ๓.บางตาบลในอาเภอตุมปัต บาเจาะ โกตาบารู ในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
      ๓.๒ การแบ่ งกลุ่มภาษาไทยถิ่นใต้ ของดิเลอร์
      แอนโทนี แวน นอสแตรนด์ ดิลเลอร์ (Anthony Van Nostrand Diller) ได้ศึกษาวิจยและแบ่งั
ภาษาไทยถิ่นใต้ไว้ ๖ กลุ่มดังนี้
๑๕ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด

         ๑. กลุ่ม A ได้แก่ ภาษาชุมพร ระนอง และสุ ราษฎร์ธานี
         ๒. กลุ่ม B ได้แก่ ภาษาเกาะสมุย
         ๓. กลุ่ม C ได้แก่ ภาษาพังงา กระบี่ ภูเก็ต และตรังบางส่ วน
         ๔. กลุ่ม D ได้แก่ ภาษานครศรี ธรรมราช
         ๕. กลุ่ม E ได้แก่ ภาษาพัทลุง สงขลา ตรังบางส่ วน และสตูลบางส่ วน
         ๖. กลุ่ม F ได้แก่ ภาษาสตูลบางส่ วน ยะลา ปั ตตานี และนราธิวาส
         ๓.๓ การแบ่ งกลุ่มภาษาไทยถิ่นใต้ ของฉันทัส ทองช่ วย
         ดร.ฉันทัส ทองช่วย ได้แบ่งกลุ่มภาษาไทยถิ่นใต้ออกเป็ น ๓ กลุ่ม ดังต่อไปนี้
                   ๑. กลุ่มภาคใต้ ตอนเหนือและเขตพืนทีฝั่งทะเลตะวันตก ได้แก่ภาษาไทยถิ่นต่างๆ ที่พด
                                                     ้ ่                                          ู
กันในจังหวัดประจวบคีรีขนธ์ตอนล่าง ชุมพร สุ ราษฎร์ ธานี ระนอง พังงา และภูเก็ต
                             ั
                   ๒. กลุ่มภาคใต้ ตอนกลางและเขตพืนทีฝ่ังทะเลตะวันออก ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นต่างๆ ที่พด
                                                      ้ ่                                           ู
กันในจังหวัดกระบี่ ตรัง พัทลุง นครศรี ธรรมราช และสงขลาบางอาเภอ (ระโนด สทิงพระ กระแสสิ นธุ์
และสิ งหนคร)
                   ๓. กลุ่มภาคใต้ ตอนใต้ – มาเลเซีย ได้แก่ภาษาไทยถิ่นต่างๆ ที่พดกันในเขตพื้นที่ ๕
                                                                               ู
จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ สงขลาบางส่ วน (ยกเว้นระโนด สทิงพระ กระแสสิ นธุ์และสิ งหนคร) สตูล
ยะลา ปั ตตานี และนราธิ วาส ตลอดไปจนถึงภาษาไทยถิ่นต่างๆ ที่พดกันในประเทศมาเลเซี ย ซึ่ งภาษาไทย
                                                                 ู
ถิ่นใต้กลุ่มนี้แบ่งออกได้เป็ น ๒ กลุ่มย่อย อีกคือ
                   ๓.๑ กลุ่ม ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไทรบุรี และปะลิส
                   ๓.๒ กลุ่มตากใบ – กลันตัน ๑




        ๒
            ฉันทัส ทองช่วย .ภาษาและวัฒนธรรมภาคใต้ . ๒๕๓๖ .หน้า ๑๐๗ - ๑๐๙
๑๖ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด


                                        บทที่ ๓
                                 ลักษณะภาษาไทยถิ่นพัทลุง
๑. ระบบเสี ยง
        ระบบเสี ยงของภาษาไทยถิ่นพัทลุง โดยรวมแล้วมีลกษณะคล้ายๆ กับภาษาไทยมาตรฐาน มีเสี ยง
                                                      ั
ที่สาคัญ ๓ ชนิด คือ เสี ยงสระ เสี ยงพยัญชนะ และเสี ยงวรรณยุกต์ ในรายละเอียดของเสี ยง ๓ ชนิดมี
ลักษณะเฉพาะดังต่อไปนี้
        ๑.๑ เสี ยงสระ
         ภาษาไทยถิ่ นพัทลุ งมีหน่วยเสี ยงสระ ๒๑ หน่วยเสี ยง แบ่งเป็ นสระเดี่ยว ๑๘ หน่วยเสี ยง และ
หน่วยเสี ยงสระประสม ๓ หน่วยเสี ยง
                ๑.๑.๑ หน่ วยเสี ยงสระเดี่ยว    มีท้ งหมด ๑๘ หน่ วยเสี ยง แบ่งเป็ นสระเสี ยงสั้น ๙
                                                    ั
หน่วยเสี ยง และสระเสี ยงยาว ๙ หน่วยเสี ยง
                      ตาราง ๑ แสดงหน่ วยเสี ยงสระเดี่ยวในภาษาไทยถิ่นพัทลุง

ส่ วนของลิ้น                        หน้า                        กลาง                     หลัง
ลักษณะริ มฝี ปาก                     รี                         ปกติ                     ห่อ
ระดับของลิ้น                 สั้น          ยาว           สั้น          ยาว        สั้น          ยาว
           สู ง               อิ             อี           อึ            อื         อุ            อู
         กลาง                เอะ            เอ          เออะ           เออ       โอะ            โอ
           ต่า               แอะ           แอ            อะ             อา       เอาะ           ออ

        จากตาราง ๑ สรุ ปได้ดงนี้ั
        ๑). หน่วยเสี ยงสระเดี่ยวเสี ยงสั้น ๙ หน่วยเสี ยง ดังตัวอย่างคาต่อไปนี้
        - อิ /i/         “กิน”
        - เอะ /e/        “เด็น” (กระเด็น)
        - แอะ /ε/        “แจ็กแจ็ก” (มากมาย)
        - อึ /i/         “มึก” (ดื่ม)
        - เออะ //       “เร็ อน” (เรื อน,บ้าน)
        - อะ /a /        “ทะ” (พบ)
๑๗ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด


        - อุ    /u /    “รุ น” (เข็น,ไสไป)
        - โอะ /o / “โสะ” (สุ ม)
        - เอาะ /‫/נ‬      “ต็อก” (ตก)
        ๒). หน่วยเสี ยงสระเดี่ยวเสี ยงยาว ๙ หน่วยเสี ยง ดังอย่างคาต่อไปนี้
        - อี /i: / “ตี”
        - เอ /e:/       “เล” (ทะเล)
        - แอ /ε:/       “แหลง” (พูด)
        - อื  /i:/      “ถือ”
        - เออ /:/      “เขอ” (ขื่อ)
        - อา /a :/      “พา”
        - อู /u :/      “หมู”
        - โอ /o :/       “โป” (ปู่ )
        - ออ /‫“ /:נ‬หมอ”
                 ๑.๑.๒ หน่ วยเสี ยงสระประสม ภาษาไทยถิ่นพัทลุง มีหน่วยสระประสม ๓ หน่วยเสี ยง
เป็ นสระเสี ยงยาวทั้งหมด คือ
        - เอีย /ia / “เสี ยง”
        - เอือ /ia /    “เขือ” (มะเขือ)
         - อัว /ua / “ตัว”
         สาหรับหน่วยสระประสมเสี ยงสั้นไม่มีคาใช้ อาจมีบางคาที่ลกษณะคล้ายๆ กับสระประสมเสี ยง
                                                                 ั
สั้น แต่จริ งๆ แล้วออกเสี ยงเป็ นสระประสมเสี ยงยาวตามด้วยเสี ยงพยัญชนะกักที่ช่องเส้นเสี ยง เช่น
         - เหลีย-ะ        “กระแต”
         - เฉือ-ะ         “เสี ยงไล่ไก่บางถิ่น”
         - ฉัว-ะ          “เสี ยงไล่ไก่บางถิ่น”

        ๑.๒ เสี ยงพยัญชนะ
         เสี ยงพยัญชนะเกิดจากกระแสลมจากปอดผ่านเส้นเสี ยง ผ่านมาในช่องปากแล้วถูกสกัดกั้นชัวครู่่
ไว้ท้ งหมดหรื อเพียงบางส่ วนก่อนจะปล่อยให้ออกทางปาก หรื อทางจมูก ขณะที่กระแสลมผ่านเส้นเสี ยง
      ั
                ่                                               ้
ถ้าเส้นเสี ยงอยูในสภาพคลายตัวตามปกติจะเกิดพยัญชนะที่มีเสี ยงไม่กอง หากเส้นเสี ยงเกร็ งตัวมีการสั่น
๑๘ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด

สะบัดจะทาให้เกิดพยัญชนะเสี ยงก้อง โดยมากเสี ยงพยัญชนะจะผ่านออกทางช่องปาก แต่มีพยัญชนะ
บางเสี ยงผ่านออกมาทางช่องจมูก พยัญชนะพวกนี้เราเรี ยกว่า พยัญชนะนาสิ ก
        ๑.๒.๑ หน่ วยเสียงพยัญชนะเดี่ยว
          การวิเคราะห์ลกษณะหน่วยเสี ยงพยัญชนะภาษาไทยถิ่นพัทลุง สิ่ งที่ตองพิจารณาเพื่อการวิเคราะห์
                            ั                                                  ้
หน่วยเสี ยงพยัญชนะมีดงนี้       ั
                    ก ประเภทเสี ยงพยัญชนะ ซึ่ งพิจารณาจากลักษณะการเปล่งเสี ยงของพยัญชนะแต่ละ
เสี ยง มีดงนี้
          ั
          ๑). เสี ยงกัก หรือเสี ยงระเบิด เกิดจากการที่ลมจากปอดถูกปิ ดกั้นไว้สนิ ทชัวขณะหนึ่ ง ณ ฐานที่
                                                                                      ่
                                                         ั
เกิดเสี ยง ต่อจากนั้นจะปล่อยลมอย่างรวดเร็ วจากที่กกเสี ยงออกไปทันทีทางปาก ได้แก่ เสี ยง /ป/ /พ/
/ต/ /ท/ /บ/ /ด/ /ก/ /ค/ /อ/ (/p/ /ph/ /t/ /th/ /b/ /d/ /k/ /kh/ /?/)
                                                                                    ่    ั
          ๒). เสี ยงเสี ยดแทรก เกิดจากการที่ลมผ่านอวัยวะในการเปล่งเสี ยงซึ่ งอยูใกล้กนมากๆ เหลือเพียง
ช่องแคบๆ ลมต้องแทรกตัวออกไป ได้แก่ /ฟ/ /ซ/ /ฮ/ (/f/ /s/ /h/ )
          ๓). เสี ยงกึ่งเสี ยดแทรก เกิดจากการที่ลมผ่านอวัยวะในการเปล่งเสี ยงซึ่ งปิ ดสนิ ทแล้วเปิ ดออก
ช้าๆ ทาให้เสี ยงที่เกิดมีลกษณะเสี ยดแทรกผสม ได้แก่ /จ/ /ช/ ( /c/ /ch/ )
                                  ั
          ๔). เสี ยงนาสิ ก เกิดจากการที่ลมถูกผันให้ออกทางช่องจมูกพร้อมกับทางช่องปาก โดยลดลิ้นไก่
และเพดานอ่อนลง ทาให้ช่องปากและช่องจมูกติดต่อถึงกัน ได้แก่ /ม/ /น/ /ง/ /ญ/ ( /m/ /n/ /n/ /n~/ )
          ๕). เสี ยงข้ างลิน เกิดจากการที่ลมผ่านออกมาทางข้างลิ้น โดยที่ปลายลิ้นยกไปแตะที่ปุ่มเหงือก
                              ้
ปล่อยให้ลมออกทางสองข้างลิ้น ได้แก่ /ล/ ( /l/)
          ๖). เสี ยงกระทบ เกิ ดจากการที่ลมผ่านอวัยวะในการเปล่งเสี ยงซึ่ งกระทบกันอย่างรวดเร็ วเพียง
ครั้งเดียว โดยที่ปลายลิ้นกระดกขึ้นไปแตะที่ปุ่มเหงือก แล้วสะบัดลงอย่างรวดเร็ วเพียงครั้งเดียว ได้แก่
/ร/ (/r/ ) นักภาษาศาสตร์ บางท่านเรี ยกเสี ยงนี้วา เสียงรัว แต่ก็ผคดค้านว่าเสี ยงรัวนั้นต้องกระทบกันอย่าง
                                                  ่               ู้ ั
                                            ๑
ต่อเนื่องหลายครั้ง ซึ่ งไม่มีในภาษาไทย
          ๗). เสี ยงเปิ ด มีวิธีออกเสี ยงคล้ายเสี ยงเสี ยงสระ คือ คาบเกี่ ยวกันอยูระหว่างพยัญชนะกับสระ
                                                                                  ่
                                    ่                                                        ่
ภาษาไทยมาตรฐานเรี ยกนี้ วา เสี ยงกึ่งสระ เพราะขณะออกเสี ยงอวัยวะในการเปล่งเสี ยงอยูใกล้กนแต่ไม่  ั
        ั
ใกล้กนมากลมผ่านได้สะดวก เช่นเดียวกับการออกเสี ยงสระ ได้แก่ /ย/ /ว/ ( /j/ /w/ ) แต่ในภาษาไทย
ถิ่นใต้ถือว่าเป็ นเสี ยงเปิ ดได้แก่ /อย/ ( /?j/)


        ๑
            เสนีย ์ วิลาวรรณ และคณะ. หลักภาษาไทย . ๒๕๔๒ .หน้า ๑๔.
๑๙ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด

                   ข. ฐานทีเ่ กิดเสี ยง ได้แก่อวัยวะในช่องปากที่สกัดกั้นลมไว้ช้ วขณะหนึ่ง ก่อนจะปล่อย
                                                                                 ั
ให้ลมผ่านออกไปทางช่ องปากหรื อช่ องจมูก พยัญชนะจึงมีเสี ยงแตกต่างกันตามชนิ ดของอวัยวะที่เป็ น
ฐานที่เกิดเสี ยง มี ๖ ฐาน ดังนี้
         ๑). ริมฝี ปากทั้งสอง /p,ph,b,m,w/
         ๒). ริมฝี ปากล่างกับฟันบน /f/
         ๓). ฟัน – ปุ่ มเหงือก /t,th,d,s,n,/
         ๔). เพดานแข็ง /c,ch,n~,l,r,?j,j/
         ๕). เพดานอ่อน /k,kh,n/
         ๖). ช่ องเส้ นเสี ยง /?,h/
                   ค. คุณสมบัติของหน่ วยเสี ยง หมายถึงลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่เส้นเสี ยงและปริ มาณ
ลมขณะออกเสี ยงพยัญชนะ คือ
         ๑). เสี ยงก้ อง เกิดจากการที่ลมผ่านเส้นเสี ยงที่เกร็ งตัวชิ ดกัน แต่ไม่ถึงกับติดกันสนิ ทพอให้ลม
ผ่านได้ โดยที่เสี ยงสั่นสะบัด ได้แก่ /b,d,r,l,w,j,m,n,n ~,n/
         ๒). เสี ยงไม่ ก้อง เกิดจากการที่ลมผ่านเส้นเสี ยงที่หย่อนตัวห่ างกัน ลมผ่านได้สะดวก โดยที่เส้น
เสี ยงไม่สั่นสะบัด ได้แก่ /p,ph,t,th,k,kh,?,c,ch,f,s,h,?j /
         ๓). เสี ยงหนัก คือพยัญชนะที่ขณะเปล่งเสี ยงมีกลุ่มลมออกมาปริ มาณมาก ได้แก่ /ph,th,kh,ch/
         ๔). เสี ยงเบา คือพยัญชนะที่ขณะเปล่งเสี ยงมีกลุ่มลมออกมาปริ มาณน้อย ได้แก่ /p,t,k,c /
         จากผลการศึ ก ษาเสี ย งพยัญชนะภาษาไทยถิ่ นพัท ลุ ง ของ ดร.ฉันทัศ ทองช่ วย มี หน่ วยเสี ย ง
พยัญชนะ ๒๑ หน่วยเสี ยง๑ แต่จากการศึกษาวิเคราะห์และสังเกตการใช้ภาษาของนักเรี ยนและชาวบ้าน
ในตะโหมดของผูเ้ ขียนเองพบว่ามีเพิ่มอีก ๒ หน่วยเสี ยง คือ /ง/ (/n/) และ /ฟ,ฝ/ (/f/) ดังตัวอย่าง
ต่อไปนี้ ทั้ง ๒๓ หน่วยเสี ยง
         ๑./p/ <ป>           เช่น ปา         ปี
         ๒./b/ <บ>           เช่น บา         บ้าน
         ๓./t/ <ต>           เช่น ตา         ตัน
         ๔./d/ <ด>           เช่น ดี         โดก (กระดูก)
         ๕./k/ <ก>           เช่น ไก(ไก่) กัด


        ๑
            ฉันทัศ ทองช่วย . ภาษาและวัฒนธรรมภาคใต้ . ๒๕๓๖ หน้า ๑๖๒ - ๑๖๔
๒๐ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด

   ๖./?/ <อ>     เช่น   อี        ไอ
   ๗./c/ <จ>     เช่น   จี(ย่าง) จัด
   ๘./?j/ <อย>   เช่น                        ่
                        อยาง(ยางพารา) อยู(อยู)
   ๙./ph/ <พ>    เช่น   พี(อ้วน) พู(ลอย)
   ๑๐./th/ <ท>   เช่น   ทา        ทา
   ๑๑./kh/ <ค>   เช่น   คา        คาน
   ๑๒./ch/ <ช>   เช่น   ชันชี(ตกลง,สัญญา)      เชียก (เชือก)
   ๑๓./s/ <ซ>    เช่น   ไซ เซ่อ (ซื้ อ)
   ๑๔./h/ <ห>    เช่น   หู        หา
   ๑๕./m/ <ม>    เช่น   มี (รวย) มัน
   ๑๖./n/ <น>    เช่น   นา        นาน
   ๑๗./n~/ <ญ>   เช่น   หญิง หญ้า
   ๑๘./l/ <ล>    เช่น   ลา        ลุง
   ๑๙./r/ <ร>    เช่น   เรื อ รู
   ๒๐./j/ <ย>    เช่น   ยัก       ยา
   ๒๑./w/ <ว>    เช่น   วัด       วา
   ๒๒./f/ <ฟ>    เช่น   ฟื น ฟาง
   ๒๓./n/ <ง>    เช่น   งัว (วัว) งาม
๒๑ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด

           หรื อจะแสดงในรู ปของตารางแสดงหน่วยเสี ยงพยัญชนะดังตารางที่ ๒ ดังนี้
                                ตาราง ๒ แสดงหน่ วยเสี ยงพยัญชนะเดี่ยวในภาษาไทยถิ่นพัทลุง
                  ฐานที่เกิดเสี ยง ริ มฝี ปาก ริ มฝี ปาก ฟัน-ปุ่ ม เพดาน เพดาน             ช่องเส้น
ประเภทและ                                        ล่างกับ เหงือก           แข็ง     อ่อน      เสี ยง
คุณสมบัติของเสี ยง                               ฟันบน
ระเบิด                  ้
                   ไม่กอง เบา /p/ ป                            /t/ ต              /k/ ก     /?/ อ
                                 หนัก /ph/ พ                /th/ ท               /kh/ ค
                    ก้อง เบา /b/ บ                          /d/ ด
                                 หนัก
กึ่งเสี ยดแทรก ไม่กอง เบา ้                                             /c/ จ
                                 หนัก                                  /ch/ ช
เสี ยดแทรก          ไม่กอง  ้                    /f/ ฟ /s/ ซ                               /h/ ห
นาสิ ก               ก้อง              /m/ ม                 /n/ น /n~ / ญ /n/ ง
ข้างลิ้น             ก้อง                                                /l/ ล
รัว                  ก้อง                                                /r/ ร
เสี ยงเปิ ด          ไม่กอง   ้                                        /?j/ อย
                      ก้อง             /w/ ว                             /j/ ย
๒ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด
   ๒
       ๑.๒.๒. พยัญชนะประสม
           พยัญชนะประสมในภาษาไทยถิ่นพัทลุง เกิดจากพยัญชนะเดี่ยว ๒ หน่วยเสี ยงเรี ยงกันโดยไม่มี
สระคันกลาง มีท้ งหมด ๑๔ แบบ ดังตาราง ๓ ต่อไปนี้
       ่             ั
                            ตาราง ๓ แสดงพยัญชนะประสมในภาษาไทยถิ่นพัทลุง
                เสี ยงที่ ๒       ล /l/                ร /r/                   ว /w/
เสี ยงที่ ๑
           ป /p/                 ปล [pl]              ปร [pr]                      -
         พ , ผ /ph/           พล , ผล [phl]        พร , ผร [phr]                   -
           บ /b/                 บล [bl]                 -                         -
           ก /k/                 กล [kl]              กร [kr]                กว [kw]
         ค , ข /kh/           คล , ข ล [khl]       คร , ขร [khr]         คว , ขว [khw]
           ม /m/                มล [ml]              มร [mr]                       -
            ต /t/                    -                ตร [tr]

                           ่
       จากตาราง ๔ สรุ ปได้วาเสี ยงพยัญชนะประสมมี ๑๔ แบบ ดังนี้
       ๑. [pl] <ปล>          เช่น เปลว (ป่ าช้า) ปลี (หัวปลี)
       ๒. [pr] <ปร>          เช่น ปราง (มะปราง) เปรี้ ยว
       ๓. [phl] <พล , ผล>    เช่น พลัด (ฝนพลัด หมายถึงฝนจากลมมรสุ มจากฝั่งทะเลอันดามัน
                             เผลอ
       ๔. [phr] <พร , ผร> เช่น โพรก (ตอโพรก พรุ่ งนี้ )
                             ผรู ด (แล่นผรู ดมาแล้ว วิงมาอย่างทันทีทนใด)
                                                       ่            ั
                             ผรี ด (ไปเล่นผรี ดหว่าไป ไปเล่นกระดานลื่นกันดีกว่า)
       ๕. [bl] <บล>          เช่น เบล่อ (เลว ไม่ดี) เบล่น (ลื่น)
       ๖. [kl] <กล>          เช่น กลอน กลิ้ง
       ๗. [kr] <กร>          เช่น กราม กรอย
       ๘. [kw] <กว>          เช่น กวัก แกวก
       ๙. [khl] <คล , ขล>    เช่น คล่าว เคลียว (บิดให้เป็ นเกลียว)
                             ขลิง (หวายชนิดหนึ่ง) ขล้ง (มัว หลงลืม สับสน)
                                                            ่
       ๑๐.[khr] <คร ,ขร>     เช่น ครก คราว (แมวคราว หมายถึงแมวตัวผู)้
                                                     ่
                             ขร็ อบ (ตะขบ) ขรั้ว (ยุงเหยิง)
๒๓ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด

        ๑๑. [khw] <คว , ขว>     เช่น ควัน ควาย
                                ขวิด ขวาน
        ๑๒. [ml] <มล> เช่น      เมละ (ดอกมะลิ) เมลือง (เป็ นมันเลื่อมแวววาว) มล้าง (ผลาญ
                                ตัด ทาลาย เช่น ไม้ไผ่กอชายทางกูมล้างเสี ยหว่าไว้ให้หนาม
                                แทงตีนแด็กไซร้แรง)
        ๑๓. [mr] <มร>           เช่น มรน (คารน) เมร่ อ (เลว ไม่ดี)
        ๑๔. [tr] <ตร>           เช่น ตรัน (ค้ า , ยัน , ต้าน) ตรอม (ตอมไก กรงขังไก่)            ตรา
                                (เก็บข้าวเป็ นรวงภาชนะ เช่น กระสอบ โดยไม่มดเป็ นเรี ยง)
                                                                            ั


        ๑.๓ เสี ยงวรรณยุกต์
        ระบบเสี ยงวรรณยุกต์ภาษาไทยถิ่นพัทลุง มีลกษณะแตกต่างที่สังเกตได้ชดเจนที่สุดเมื่อเทียบกับ
                                                       ั                     ั
ภาษาไทยมาตรฐาน ซึ่ งเป็ นลักษณะเด่นของภาษาไทยถิ่ นใต้ในจังหวัดอื่ นๆ ด้วย ไม่เฉพาะแต่พทลุ ง     ั
ระบบเสี ยงวรรณยุกต์ของภาษาไทยถิ่นใต้มีดวยกัน ๓ กลุ่ม คือ ๕ หน่วยเสี ยง ๖ หน่วยเสี ยง และ
                                             ้
๗ หน่วยเสี ยง โดยส่ วนมากเป็ นแบบ ๖ หน่วยเสี ยงและ ๗ หน่วยเสี ยง มีภาษาย่อยบางถิ่นเท่านั้นที่มี
๕ หน่ ว ยเสี ย ง เช่ น บางถิ่ น ย่อยของจัง หวัด ชุ ม พร และสตู ล ส าหรั บ ระบบเสี ย งวรรณยุ ก ต์ข อง
ภาษาไทยถิ่นพัทลุง อยูในกลุ่มแบบ ๗ หน่วยเสี ยง
                       ่
        การศึกษาวิเคราะห์ระบบเสี ยงวรรณยุกต์ ใช้กล่องทดสอบเสี ยงวรรณยุกต์ เป็ นเครื่ องมือในการ
หาจานวนหน่วยเสี ยงวรรณยุกต์ มีลกษณะดังนี้
                                     ั
                                   ตาราง ๔ ลักษณะกล่ องทดสอบเสี ยงวรรณยุกต์
                A                 B                C            DL             DS
๒๔ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด

                                                                                    ั
         กล่องทดสอบเสี ยงวรรณยุกต์น้ ี แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเสี ยงวรรณยุกต์กบพยัญชนะต้นของ
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
         ๑. แนวตั้ง
         แถว A พยางค์เป็ นหรื อคาเป็ น ไม่มีรูปวรรณยุกต์กากับ เช่น ขา ปี อาย คา
         แถว B พยางค์เป็ นหรื อคาเป็ น มีรูปวรรณยุกต์เอกกากับ เช่น ข่า ปี่ อ่าน ค่า
         แถว C พยางค์เป็ นหรื อคาเป็ น มีรูปวรรณยุกต์โทกากับ เช่น ข้า ป้ า อ้าง ค้า
         แถว DL พยางค์ตายหรื อคาตายเสี ยงยาว เช่น ขาด ปาด อาบ คาด
         แถว DS พยางค์ตายหรื อคาตายเสี ยงสั้น เช่น ขัด ปั ด อับ คัด
         ๒. แนวนอน
         แถว 1 พยางค์หรื อคาที่มีพยัญชนะต้นเป็ นอักษรสู งหรื ออักษรต่าที่มี ห นา เช่น สา ห่า ข้า
                 หมาด หนัก
         แถว 2 พยางค์หรื อคาที่มีพยัญชนะต้นเป็ นอักษรกลางต่อไปนี้ ป ต ก จ เช่น กา ป่ า ก้าน
                 จาก กัด
         แถว 3 พยางค์หรื อคาที่มีพยัญชนะต้นเป็ นอักษรกลางต่อไปนี้ อ บ ด เช่น บาน ด่าง อ้าง
                 ดาบ บัด
         แถว 4 พยางค์หรื อคาที่มีพยัญชนะต้นเป็ นอักษรต่า เช่น คา ล่า ม้า ราก ชก
         กล่องทดสอบเสี ยงวรรณยุกต์มีช่อง ๒๐ ช่ อง ใช้บรรจุคาที่มีเงื่ อนไขต่างกัน ๒๐ คา รายการ
คาที่ใช้ในการทดสอบ นักภาษาศาสตร์แนะนาให้เตรี ยมคาไว้ ๓ ชุด ทั้งหมด ๖๐ คา ดังต่อไปนี้
                 ชุ ดที่ ๑                        ชุ ดที่ ๒                           ชุ ดที่ ๓
         ๑. ขา             ๑๑. อาย        ๒๑. หา           ๓๑.บาง           ๔๑. หวาน           ๕๑. ดี
         ๒. ข่า            ๑๒. อ่าน       ๒๒. ห่า          ๓๒. บ่าง         ๔๒. หว่าน          ๕๒.ด่า
         ๓. ข้า            ๑๓. อ้าง       ๒๓. ห้า          ๓๓. บ้าน         ๔๓. หว้า           ๕๓.ด้าน
         ๔. ขาด            ๑๔. อาบ        ๒๔. หาด          ๓๔. บอด          ๔๔. หวาด           ๕๔.ดาบ
         ๕. ขัด            ๑๕. อับ        ๒๕. หัด          ๓๕. บด           ๔๕. หวัด           ๕๕.ดับ
         ๖. ปี             ๑๖. คา         ๒๖. ตอ           ๓๖. ทอ           ๔๖. กอ             ๕๖.พอ
         ๗. ปี่            ๑๗. ด่า        ๒๗. ต่อ          ๓๗. ท่อ          ๔๗. ก่อ            ๕๗.พ่อ
         ๘. ป้ า           ๑๘. ค้า        ๒๘. ต้อ          ๓๘. ท้อ          ๔๘. ก้อน           ๕๘.แพ้
         ๙. ปาด            ๑๙. คาด        ๒๙. ตาก          ๓๙. ทาก          ๔๙. กาบ            ๕๙.พาด
         ๑๐. ปัด           ๒๐. คัด        ๓๐.ตัก           ๔๐. ทัก          ๕๐. กับ            ๖๐.พัด
ภาษาถิ่นตะโหมด
ภาษาถิ่นตะโหมด
ภาษาถิ่นตะโหมด
ภาษาถิ่นตะโหมด
ภาษาถิ่นตะโหมด
ภาษาถิ่นตะโหมด
ภาษาถิ่นตะโหมด
ภาษาถิ่นตะโหมด
ภาษาถิ่นตะโหมด
ภาษาถิ่นตะโหมด
ภาษาถิ่นตะโหมด
ภาษาถิ่นตะโหมด
ภาษาถิ่นตะโหมด
ภาษาถิ่นตะโหมด
ภาษาถิ่นตะโหมด
ภาษาถิ่นตะโหมด
ภาษาถิ่นตะโหมด
ภาษาถิ่นตะโหมด
ภาษาถิ่นตะโหมด
ภาษาถิ่นตะโหมด
ภาษาถิ่นตะโหมด
ภาษาถิ่นตะโหมด
ภาษาถิ่นตะโหมด
ภาษาถิ่นตะโหมด

More Related Content

What's hot

คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทยคำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทยพัน พัน
 
ธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาkingkarn somchit
 
คำยืมภาษาบาลี
คำยืมภาษาบาลีคำยืมภาษาบาลี
คำยืมภาษาบาลีพัน พัน
 
บทที่ 7 การเขียนบทร้อยกรอง
บทที่ 7 การเขียนบทร้อยกรองบทที่ 7 การเขียนบทร้อยกรอง
บทที่ 7 การเขียนบทร้อยกรองAj.Mallika Phongphaew
 
ชนิดของคำ
ชนิดของคำชนิดของคำ
ชนิดของคำchatchaisukhum1
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอมNomoretear Cuimhne
 
ลักษณะภาษาไทย
ลักษณะภาษาไทยลักษณะภาษาไทย
ลักษณะภาษาไทยpinyada
 
ใบความรู้ภาษาไทย( คำภาษาบาลีสันสกฤต)
ใบความรู้ภาษาไทย( คำภาษาบาลีสันสกฤต)ใบความรู้ภาษาไทย( คำภาษาบาลีสันสกฤต)
ใบความรู้ภาษาไทย( คำภาษาบาลีสันสกฤต)kruteerapongbakan
 
หน่วยที่ 3 ภาษาบาลีและสัสกฤตในภาษาไทย
หน่วยที่ 3 ภาษาบาลีและสัสกฤตในภาษาไทยหน่วยที่ 3 ภาษาบาลีและสัสกฤตในภาษาไทย
หน่วยที่ 3 ภาษาบาลีและสัสกฤตในภาษาไทยWilawun Wisanuvekin
 
หลักภาษา
หลักภาษาหลักภาษา
หลักภาษาsukuman139
 
ธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาwattanaka
 
คำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤตคำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤตphornphan1111
 

What's hot (19)

คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทยคำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
 
ธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษา
 
คำยืมภาษาบาลี
คำยืมภาษาบาลีคำยืมภาษาบาลี
คำยืมภาษาบาลี
 
บทที่ 7 การเขียนบทร้อยกรอง
บทที่ 7 การเขียนบทร้อยกรองบทที่ 7 การเขียนบทร้อยกรอง
บทที่ 7 การเขียนบทร้อยกรอง
 
ชนิดของคำ
ชนิดของคำชนิดของคำ
ชนิดของคำ
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอม
 
ลักษณะภาษาไทย
ลักษณะภาษาไทยลักษณะภาษาไทย
ลักษณะภาษาไทย
 
สรุปเนื้อหา ติว
สรุปเนื้อหา ติวสรุปเนื้อหา ติว
สรุปเนื้อหา ติว
 
Th 2014-01-01
Th 2014-01-01Th 2014-01-01
Th 2014-01-01
 
1 ธรรมชาติและพลังของภาษาไทย(5-34)
1 ธรรมชาติและพลังของภาษาไทย(5-34)1 ธรรมชาติและพลังของภาษาไทย(5-34)
1 ธรรมชาติและพลังของภาษาไทย(5-34)
 
เสียงในภาษาไทย
เสียงในภาษาไทยเสียงในภาษาไทย
เสียงในภาษาไทย
 
ใบความรู้ภาษาไทย( คำภาษาบาลีสันสกฤต)
ใบความรู้ภาษาไทย( คำภาษาบาลีสันสกฤต)ใบความรู้ภาษาไทย( คำภาษาบาลีสันสกฤต)
ใบความรู้ภาษาไทย( คำภาษาบาลีสันสกฤต)
 
หน่วยที่ 3 ภาษาบาลีและสัสกฤตในภาษาไทย
หน่วยที่ 3 ภาษาบาลีและสัสกฤตในภาษาไทยหน่วยที่ 3 ภาษาบาลีและสัสกฤตในภาษาไทย
หน่วยที่ 3 ภาษาบาลีและสัสกฤตในภาษาไทย
 
กวดวิชาภาษาไทย O net
กวดวิชาภาษาไทย O netกวดวิชาภาษาไทย O net
กวดวิชาภาษาไทย O net
 
หลักภาษา
หลักภาษาหลักภาษา
หลักภาษา
 
ใบความรู้ ลักษณะภาษาไทย
ใบความรู้ ลักษณะภาษาไทยใบความรู้ ลักษณะภาษาไทย
ใบความรู้ ลักษณะภาษาไทย
 
ธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษา
 
การสร้างคำ
การสร้างคำการสร้างคำ
การสร้างคำ
 
คำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤตคำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤต
 

Similar to ภาษาถิ่นตะโหมด

ธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาPonpirun Homsuwan
 
ธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาพัน พัน
 
9789740335610
97897403356109789740335610
9789740335610CUPress
 
การอ่าน
การอ่านการอ่าน
การอ่านcandy109
 
คำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤตคำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤตphornphan1111
 
ภาษาพูด ภาษาเขียน
ภาษาพูด ภาษาเขียนภาษาพูด ภาษาเขียน
ภาษาพูด ภาษาเขียนmonnawan
 
บทความทางวิชาการ
บทความทางวิชาการบทความทางวิชาการ
บทความทางวิชาการnootsaree
 
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทย
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทยบทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทย
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทยAj.Mallika Phongphaew
 
ภาษาถิ่นและภาษาต่างประเทศ
ภาษาถิ่นและภาษาต่างประเทศภาษาถิ่นและภาษาต่างประเทศ
ภาษาถิ่นและภาษาต่างประเทศKSPNKK
 
ธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาwattanaka
 
หนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
หนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติหนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
หนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติSutat Inpa
 
ม.ปลาย ภาษาไทย_ระดับภาษา 03
 ม.ปลาย ภาษาไทย_ระดับภาษา 03 ม.ปลาย ภาษาไทย_ระดับภาษา 03
ม.ปลาย ภาษาไทย_ระดับภาษา 03Chaichan Boonmak
 

Similar to ภาษาถิ่นตะโหมด (20)

Wordpress2
Wordpress2Wordpress2
Wordpress2
 
ธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษา
 
ธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษา
 
9789740335610
97897403356109789740335610
9789740335610
 
การอ่าน
การอ่านการอ่าน
การอ่าน
 
ลักษณะภาษาไทย
ลักษณะภาษาไทยลักษณะภาษาไทย
ลักษณะภาษาไทย
 
คำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤตคำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤต
 
ภาษาพูด ภาษาเขียน
ภาษาพูด ภาษาเขียนภาษาพูด ภาษาเขียน
ภาษาพูด ภาษาเขียน
 
บทความทางวิชาการ
บทความทางวิชาการบทความทางวิชาการ
บทความทางวิชาการ
 
Mil chapter 1_3(1)
Mil chapter 1_3(1)Mil chapter 1_3(1)
Mil chapter 1_3(1)
 
การสร้างคำ
การสร้างคำการสร้างคำ
การสร้างคำ
 
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทย
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทยบทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทย
บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทย
 
ภาษาถิ่นและภาษาต่างประเทศ
ภาษาถิ่นและภาษาต่างประเทศภาษาถิ่นและภาษาต่างประเทศ
ภาษาถิ่นและภาษาต่างประเทศ
 
ธรรมชาติของภาษาออนไลน์
ธรรมชาติของภาษาออนไลน์ธรรมชาติของภาษาออนไลน์
ธรรมชาติของภาษาออนไลน์
 
ธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษา
 
ใบความรู้เรื่อง ธรรมชาติของภาษา
ใบความรู้เรื่อง ธรรมชาติของภาษาใบความรู้เรื่อง ธรรมชาติของภาษา
ใบความรู้เรื่อง ธรรมชาติของภาษา
 
Week 2 of WS4T
Week 2 of WS4T Week 2 of WS4T
Week 2 of WS4T
 
หนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
หนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติหนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
หนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
 
ม.ปลาย ภาษาไทย_ระดับภาษา 03
 ม.ปลาย ภาษาไทย_ระดับภาษา 03 ม.ปลาย ภาษาไทย_ระดับภาษา 03
ม.ปลาย ภาษาไทย_ระดับภาษา 03
 
ระดับภาษา
ระดับภาษาระดับภาษา
ระดับภาษา
 

ภาษาถิ่นตะโหมด

  • 1. ภาษาไทยถิ่นตะโหมด ภาษาไทยถิ่นตะโหมด สุเทพ เรืองคล้ าย โรงเรี ยนประชาบารุง อาเภอตะโหมด จังหวัดพัทลง ุ เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย
  • 2. ๒ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด บทที่ ๑ ความหมาย ความสาคัญของภาษาไทยถิ่น ๑. ความหมายของภาษา ภาษา เป็ นคาที่มาจากภาษาสันสกฤต มาจากรากศัพท์เดิมว่า ภาษ เป็ นคากริ ยาแปลว่า พูด, กล่าว,บอก ภาษาบาลีเขียน ภาสา มาจาก ภาส (ความหมายเช่นเดียวกันกันภาษาสันสกฤต) ภาษา ความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้กาหนดไว้ดงนี้ ั “ภาษา น. เสี ยงหรื อกิริยาอาการที่ทาความเข้าใจกันได้, คาพูด, ถ้อยคาที่ใช้พดกัน” ๑ ู นอกจากนี้ยงมีผรู้ท่ีได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับภาษาได้นิยามศัพท์ของภาษาไว้ต่างๆ กันดังนี้ ั ู้ ๑.๑ “คาว่า ภาษา เป็ นคาสันสกฤต (บาลีเป็ นภาสา) มาจากรากเดิมว่า ภาษ แปลว่า กล่าว, พูด, ่ หรื อบอก เมื่อนามาใช้เป็ นคานามมีรูปเป็ นภาษาแปลตามรู ปศัพท์วา คาพูดหรื อถ้อยคา แปลเอาความว่า เครื่ องสื่ อความหมายระหว่างมนุ ษย์ให้สามารถกาหนดรู ้ความประสงค์ของกันและกันได้ โดยมีระเบียบ คาหรื อจังหวะเสี ยงเป็ นเครื่ องกาหนด” ๒ ๑.๒ “คาว่า ภาษา เป็ นคาสันสกฤต แปลตามรู ปศัพท์ หมายถึ งคาพูดหรื อถ้อยคา ภาษาเป็ น เครื่ องมือของมนุ ษย์ที่ใช้ในการสื่ อความหมายให้สามารถสื่ อสารติดต่อทาความเข้าใจกันโดยมีระเบียบ ของคาและเสี ยงเป็ นเครื่ องกาหนด” ๓ ๑.๓ “ภาษาคืออะไร ถ้าว่ากันตามคาชาวบ้าน ภาษาคือถ้อยคาที่ใช้พูดกันหรื อคาพูดนันเองถ้าจะ ่ ว่ากันเป็ นทางวิชาการสักหน่อย ภาษาคือเสี ยงหรื อกิริยาอาการที่ทาความเข้าใจกันได้” ๔ ๑.๔ “ภาษา เป็ นระบบการสื่ อสารที่มนุ ษย์ใช้ติดต่อกัน โดยธรรมชาติแล้วภาษาเป็ นเสี ยงเป็ น การพูด เป็ นสิ่ งที่ทาให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์โลกอื่นๆ ทั้งปวง” ๕ ๑ ราชบัณฑิตยสถาน . พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ . ๒๕๓๐ . หน้า ๖๑๖ - ๖๑๗. ๒ กาชัย ทองหล่อ . หลักภาษาไทย . ๒๕๔๐ . หน้า ๑ . ๓ บรรเทา กิตติศกดิ์ . หลักภาษาไทย . ๒๕๓๙. หน้า ๑ . ั ๔ เปลื้อง ณ นคร . ภาษาวรรณนา . ๒๕๔๐. หน้า ๑๑ . ๕ วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์ . “ภาษาและอักษรไทย,” ใน สารานุกรมไทยสาหรับเยาวชน เล่ม ๑๘ . ๒๕๓๙. หน้า ๑๔๘.
  • 3. ๓ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด ่ จากนิยามศัพท์ของท่านต่างๆ สรุ ปได้วาภาษามีความหมายสองนัย คือ ก. ภาษาความหมายแคบ หมายถึง เสี ยงพูดหรื อถ้อยคา ข. ภาษาความหมายกว้ าง หมายถึง เสี ยงพูดหรื อถ้อยคาและยังหมายรวมถึง กิริยาอาการที่สื่อ ความเข้าใจกันได้ ภาษาตามความหมายนี้แบ่งออกเป็ น ๒ ประเภท คือ ๑). วัจนภาษา คือ ภาษาที่เป็ นถ้อยคา ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ๒). อวัจนภาษา คือ ภาษาที่ไม่เป็ นถ้อยคา ไม่ใช่คาพูด ไม่ใช่ตวหนังสื อแต่เป็ นอย่างอื่นที่สื่อ ั ความหมายเข้าใจกันได้แก่ ท่าทาง การส่ ายศีรษะ การพยักหน้า การแสดงออกบนใบหน้า การใช้มือ และแขน การแสดงสัญลักษณ์และสัญญาณต่างๆ เช่น สัญญาณเสี ยงนกหวีด สัญญาณมือ สัญญาณไฟ จราจร สัญญาณธง รวมทั้งภาษามือของคนใบ้ก็จดเป็ นอวัจนภาษาเช่นกัน ั ๒. องค์ ประกอบของภาษา ภาษาโดยทัวไปทุกภาษามีองค์ประกอบที่สาคัญ ๔ ประการ คือ ่ ๒.๑ เสี ย ง เสี ยงเป็ นองค์ ป ระกอบที่ ส าคัญ ของภาษา เพราะว่ า ภาษาพู ด เกิ ด จากเสี ยง นักภาษาศาสตร์ ให้ความสาคัญของภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน ภาษาเขียนเป็ นเพียงสัญลักษณ์ ท่ีคิดขึ้น ใช้แ ทนเสี ย งพู ด ในภายหลัง เสี ย งในภาษาพู ด เกิ ดขึ้ น ก่ อ นแล้ว จึ ง มี ภ าษาเขี ย น เสี ย งในภาษาไทย ประกอบด้วยเสี ย งสระ เสี ย งพยัญชนะและเสี ย งวรรณยุ ก ต์ บางภาษาจะไม่ มี เ สี ย งวรรณยุก ต์เช่ น ภาษาอังกฤษ ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษามลายู เป็ นต้น ๒.๒ พยางค์ และคา เกิดจากการเปล่งเสี ยงสระ เสี ยงพยัญชนะและเสี ยงวรรณยุกต์ออกมาอย่าง กระชันชิ ดเกือบจะพร้อมๆ กันแต่ละครั้งเป็ นพยางค์ พยางค์ท่ีมีความหมายเป็ นคา คาอาจมีพยางค์เดียว หรื อหลายพยางค์ก็ได้ ๒.๓ ประโยค คือการเรี ยงลาดับคาเป็ นกลุ่มคา เป็ นประโยค เพื่อสื่ อความหมายในลักษณะ ต่างๆ ตามโครงสร้างของภาษาอันมีระเบียบแบบแผนหรื อระบบไวยากรณ์ของแต่ละภาษา ่ ๒.๔ ความหมาย ภาษาเป็ นเครื่ องสื่ อความเข้าใจของมนุ ษย์ยอมต้องมีความหมาย ความหมาย ของภาษาแบ่งออกเป็ น ๒ ชนิด ๒.๔.๑ ความหมายเฉพาะคา เป็ นความหมายของคาคานั้นๆ ในภาษา ที่บญญัติไว้ใน ั พจนานุกรม ซึ่ งสามารถเข้าใจได้ตรงกัน เรี ยกว่าความหมายตามตัวหรื อความหมายนัยตรง เช่น - กล้ วย น. ชื่อไม้ลมลุกหลายชนิดในสกุล Musa วงศ์ Musaceae จัดแยกเป็ น ๒ จาพวกที่ ้ แตกหน่อเป็ นกอ ผลสุ กเนื้อนุ่ม กินได้ มีหลายชนิดและหลายพันธุ์ เช่น กล้วยน้ าว้า กล้วย ไข่ กล้วยหอม ๑ ๑ ราชบัณฑิตยสถาน . พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ . ๒๕๓๐ . หน้า ๕๘.
  • 4. ๔ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด ๒.๔.๒ ความหมายในกลุ่มคา ในประโยค เป็ นความหมายของคาในภาษา ที่ตองตีความ ทา ้ ความเข้าใจ การสื่ อสารโดยทัวไปต้องเรี ยงคาหลายๆ คาเข้าเป็ นประโยค ฉะนั้นความหมายลักษณะนี้ ่ เป็ นความหมายที่แท้จริ งของภาษา ความหมายในกลุ่มคา ในประโยคอาจจะมีความหมายนัยตรง ตาม ่ ั ลักษณะข้อ ๒.๔.๑ และอาจมีความหมายนัยประหวัดหรื อความหมายเชิ งอุปมา ขึ้นอยูกบบริ บทของคา นั้นๆ เช่น - “ลิงกินกล้วย” ทุกคามีความหมายนัยตรง เมื่อเข้าประโยคแล้วก็มีความหมายตรงตัว - “งานอย่างนี้ของกล้วยๆ” คาว่า “ กล้วย” ในประโยคนี้มีความหมายเชิงอุปมา หมายถึง ง่ายๆ ่ ่ นอกจากนี้คา คาเดียวกันเมื่ออยูในบริ บทที่ตางกันย่อมมีความหมายแตกต่างกันเช่น - “ก่อนรุ่ งเช้าได้ยนเสี ยงไก่ขัน” ิ - “แม่คดข้าวใส่ ขันไปตักบาตรทุกเช้า” - “เด็กคนนั้นพูดจาน่าขัน” - “นายช่างขันน็อตจนแน่น” จะเห็นว่าคาว่า “ขัน” ในประโยคทั้ง ๔ มีความหมายแตกต่างกันทุกประโยค ๓. ความหมายของภาษาถิ่น มีผให้ความหมายของภาษาถิ่นไว้ดงต่อไปนี้ ู้ ั ๓.๑ “ภาษาถิ่น น. ถ้อยคาที่ใช้พดกันในแต่ละท้องถิ่น” ๑ ู ๓.๒ “ภาษาถิ่น หมายถึง ภาษาย่อยของภาษาเดียวกันที่ใช้พูดแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นต่างๆ ที่ผพดภาษานั้นๆ อาศัยอยู” ๒ ู้ ู ่ ๓.๓ “ภาษาถิ่ น หมายถึ ง ภาษาที่ ใช้พูดจากันในท้องถิ่ นต่างๆ ซึ่ งมี ความแตกต่างกันไปตาม ท้องถิ่นที่ผพดภาษานั้นอาศัยอยู” ๓ ู้ ู ่ ๑ ทวีศกดิ์ ญาณประทีปและคณะ. พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. ๒๕๓๐ . ๒๕๓๐ . ั หน้า ๓๙๗. ๒ ฉันทัส ทองช่วย. ภาษาและอักษรถิ่น (เน้ นภาคใต้ ) . ๒๕๓๔ . หน้า ๑๑ . ๓ ประสิ ทธิ์ กาพย์กลอนและไพบูลย์ ดวงจันทร์ . ความรู้ เกียวกับภาษาไทย . ๒๕๓๔ . ่ หน้า ๑๕ .
  • 5. ๕ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด ประเทศไทยมีภาษาไทยมาตรฐานใช้พดกันในประเทศ ภาษาไทยมาตรฐาน หมายถึง ภาษาที่ใช้ ู เป็ นภาษาราชการ ภาษาที่ใช้ในการเรี ยนการสอนในโรงเรี ยน ภาษาที่ใช้ในโอกาสที่เป็ นทางการต่างๆ และภาษาที่สื่อมวลชนต่างๆ ใช้ ๑ เป็ นภาษาที่คนในกรุ งเทพฯ และจังหวัดในภาคกลางส่ วนใหญ่ใช้พูด กัน โดยทัวไปเรี ยกกันอย่างติดปากว่า ภาษากลาง ภาษาในภูมิภาคต่างๆ ย่อมเป็ นภาษาไทยถิ่ น เช่ น ่ เชียงใหม่ สุ พรรณบุรี โคราช ระยอง พัทลุง ซึ่ งเป็ นท้องถิ่นในภูมิภาคต่างๆของประเทศ ภาษาไทย ถิ่นเหล่านี้รวมอยูในภาษาไทย มีคาพืนฐาน ๒ ที่เหมือนกัน เป็ นภาษาไทยที่ววฒนาการมาจากลายสื อไท ่ ้ ิ ั ของพ่อขุนรามคาแหงมหาราชเหมือนกัน และเป็ นภาษาในตระกูลภาษาไท ๓ เช่นเดียวกัน ๔. คุณค่ าและความสาคัญของภาษาถิ่น ภาษาถิ่ นเป็ นภาษาที่คนในแต่ละท้องถิ่นใช้พูดกัน มีความสาคัญในฐานะเป็ นเครื่ องมือสื่ อสาร สั่งสอน สร้างสรรค์ สื บสานและแสดงเอกลักษณ์ของท้องถิ่ น ภาษาถิ่ นมีคุณค่าและความสาคัญดังจะ กล่าวต่อไปนี้ ๔.๑ ภาษาถิ่นเป็ นเครื่องมือสื่ อสารของคนในท้ องถิ่น ประเทศไทยมีภาษาไทยมาตรฐานเป็ น เครื่ องมือสื่ อสารที่ใช้ในระบบราชการ เป็ นภาษากลางที่ใช้ติดต่อกันของคนไทยทั้งประเทศ แต่คนใน ภูมิภาคต่างๆ มีภาษาไทยถิ่นของตนเองใช้พดกันในกลุ่มของตนเอง เพื่อแสดงความเป็ นกันเอง เพื่อสร้าง ู ความสนิ ทสนม เพื่อความเข้าใจที่ดีต่อกัน เช่น คนใต้เมื่อเจอกัน ไม่วาพบปะกันที่ไหนหรื อภูมิภาคใด ่ ของประเทศหากไม่ ใช่ ใ นโอกาสที่ เป็ นพิ ธีก ารหรื อทางการ จะพูดจากันด้วยภาษาไทยถิ่ นใต้ หรื อที่ เรี ยกว่า แหลงใต้ ขณะเดียวกันคนเหนื อก็จะพูดกันด้วยภาษาเหนื อ หรื อ อู้คาเมือง เช่นเดียวกันกับคน อีสานก็จะ ว้ าวลาว กัน สาหรับภาษาที่คนต่างภูมิภาคใช้พูดกันเช่น คนเหนื อกับคนใต้หรื อคนอีสานก็ จะสนทนากันด้วยภาษาไทยมาตรฐานหรื อภาษากลาง ๑ วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. เรื่องเดียวกัน . หน้า ๑๕๑ . ๒ คาพื้นฐาน หมายถึง คาที่เกี่ยวข้องกับการดาเนินชีวิตในสังคมแบบโบราณแต่ยงใช้กนอยูถึง ั ั ่ ปั จจุบน เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง หู ตา น้ า ฝน บ้าน กิน นัง นอน เดิน หนึ่ง สอง สาม หมู หมา ฯลฯ ั ่ ๓ ภาษาตระกูลไท หมายถึง ภาษาที่ใช้ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ เช่นภาษาลาวใน ประเทศลาว ภาษาไทดา ไทแดง ไทขาว ไทนุง ไทโท้ ในประเทศเวียดนาม ภาษาไตเต้อหง ไทลื้อ ลุงโจว โปอาย วูมิง ในประเทศจีน ภาษาไทพาเก ไทคาตี่ ไทไอต้อน ไทอาหม ในประเทศอินเดีย ภาษาไทยในกลันตัน ประเทศมาเลเซียและภาษาไทอื่นๆ ที่มีวิวฒนาการมาด้วยกันและมีคาพื้นฐานที่ ั คล้ายคลึงกัน
  • 6. ภาษาไทยถิ่นตะโหมด ๔.๒ ภาษาถิ่นเป็ นเครื่ องมือในการสั่ งสอนและควบคุมสั งคม สังคมต่างๆ มี กฎระเบียบของ สังคมที่เป็ นตัวควบคุมให้คนในสังคมอยูร่วมกันได้อย่างสงบสุ ข ในระดับประเทศมีกฎหมายที่ตราขึ้นมา ่ ใช้ควบคุ มสังคม ในระดับท้องถิ่ นแม้ว่าจะมีกฎหมายของรัฐบาลควบคุ มแล้ว ยังมีพวกสานวน ภาษิต และเพลงกล่อมเด็กซึ่ งเป็ นวรรณกรรมถิ่ นที่มีเนื้ อหาในการสั่งสอนและชี้ แนะแนวทางในการประพฤติ ปฏิบติตวของคนในสังคมสอดแทรกอยู่ ั ั อันเป็ นกลวิธีในการควบคุมสังคมในด้านคุณธรรมและ จริ ยธรรมซึ่งกฎหมายมิอาจควบคุมได้ทวถึง เช่น คาสอนที่ปรากฏในเพลงกล่อมเด็กต่อไปนี้ ั่ เพลงดาวจาย ดาวจายเหอ อีเถ้านันหมันง่าย ่ ไปคบกับชาย เท่เมียหมันยัง ทั้งแผ่นดินหนี้ หมึงเอาให้สิ้นอีบาหยัง ้ คบกับชายเมียยัง หม้ายหูอ้ ีฟังเอง เหอ เพลงตัดหัวหมึง ตัดหัวเหอ อย่าขั้วหม้าวโครมโครม ตัดหัวหมึงแลอ้ายตายโหง หาเมียกลางคืน ตัดหัวหมึงหม้ายหยัง ่ ตัดหัวหมึงหม้ายหยื้น หาเมียกลางคืน ตัดหัวหม้ายยื้นเหลย เพลงโลกสาวเร็ อนต็อก โลกสาวเหอ โลกสาวเร็ อนต็อก ขึ้นนังบนคร็ อก ่ นมยานโตงเตง หมันชาติข้ ีคร้าน ซ้อมสารก้าหม้ายเต็มเผล้ง นมยานโตงเตง โลกสาวชาวเร็ อนต็อก เฮอ ๑ ๑ เป็ นเพลงกล่อมเด็กภาคใต้ ควรอ่านออกเสี ยงด้วยภาษาใต้ ภาษาเขียนบางคาอาจถ่ายทอดเสี ยง ได้ไม่ตรงกับที่ออกเสี ยงจริ ง อธิ บายคาศัพท์ใต้ดงนี้ ั ดาวจาย – ดอกดาวกระจาย คร็ อก - ครก เท่ – ที่ ขั้วหม้าว - คัวข้าวเม่า ่ อีเถ้านัน – ผูหญิงคนนั้น ก้า - ก็ ่ ้ อีบาหยัง – อีตวการ ต็อก - ตก ้ ั หมัน – มัน หยัง - ยัง ่ ่ โลก – ลูก หม้าย - ไม่ ยัง – มี หยื้น – ยืน เผล้ง - ภาชนะดินเผา ่ ตัดหัว - เป็ นคาด่าใช้เรี ยกแทนนามหรื อบุคคลที่ หมึง – มึง เร็ อน - เรื อน ประพฤติตวไม่ดี ั
  • 7. ๗ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด ๔.๓ ภาษาถิ่นเป็ นเครื่องมือในการสร้ างสรรค์ วรรณกรรมถิ่น วรรณกรรมถิ่ นที่ก่อเกิ ดขึ้น ในท้องถิ่น จากการจดจา เล่าขาน สื บต่อกันมาจากปากต่อปาก จากรุ่ นปู่ สู่ ลูกหลานล้วนสื บทอดกันด้วย ภาษาถิ่ น วรรณกรรมถิ่ นเหล่ านี้ มี มากหลากหลายชนิ ด เช่ น เพลงกล่ อมเด็ก เพลงประกอบการเล่ น สานวนภาษิต ปริ ศนาคาทาย นิทานพื้นบ้านและตานานพื้นเมือง เช่น - เพลงประกอบการเล่น จุมจี่จุมปุด ้ ้ จุมจี่จุมปุด ้ ้ จุมแม่สีพุด ้ เข้ากอชวา พุดซาเป็ นดอก หมากงอกเป็ นใบ ้ ่ พุงพิ่งอยูใน ว่ายน้ าท่อแท่ ท่อแท่ เหอ ฉีกใบตอง มาร้องผ้าแหก ฉีกดังแกร็ ก หอแหงอแง - เพลงกล่อมเด็ก งูสายพาน งูสายพานเหอ เลื้อยขึ้นรั้วคอก อ้ายเม่าหัวหงอก อวดตัวอี้เลี้ยงเมียสาว แลเหอแลดู อ้ายเฒ่าหัวงูมนทาบ่าว ั อวดตัวอี้เลี้ยงเมียสาว ทาบ่าวไม่คิดหงอก ๔.๔ ภาษาถิ่นช่ วยสื บสานวัฒนธรรมท้ องถิ่น แต่ละชุ มชนย่อมมีวฒนธรรมประจาถิ่ นของตน ั ภาษาถิ่ น เป็ นส่ ว นหนึ่ งของวัฒ นธรรม อี ก ทั่ง ภาษาถิ่ น ยัง สะท้อ นภาพชี วิ ต ความเป็ นอยู่ ค่ า นิ ย ม ขนบธรรมเนียมประเพณี ของท้องถิ่นในรู ปของสานวน ถ้อยคาต่างๆ เช่น - มาแต่ ตรัง หม้ ายหนังก้าโนรา ข้อความดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นถึงความแพร่ หลายของการแสดงหนังตะลุงและมโนราห์ในจังหวัด ตรั ง ศิ ล ปะการแสดงพื้ น บ้า นดัง กล่ า วได้รั บ ความนิ ย มจากชาวบ้า นอย่า งกว้า งขวางจนเข้า ถึ ง และ ่ ่ สอดแทรกอยูในวิถีชีวตของประชาชนแทบทุกคน จนชาวต่างถิ่นคาดหวังได้วา ใครก็ตามที่เป็ นชาวตรัง ิ ๑ นั้นถ้าเล่นหนังตะลุงไม่ได้ก็ตองรามโนราห์เป็ นอย่างใดอย่างหนึ่ง ้ - หนุมจีนตาหนาน นาตาลบ้ านแร่ กล้ วยแกกงหรา โนราท่ าแค ้ ชาวพัทลุงเมื่อกล่าวถึงข้อความนี้ก็ทราบโดยทัวกันว่า ที่บานตาหนาน (ตานาน) มีขนมจีนขึ้นชื่อ ่ ้ จะกิ นน้ าตาลก็ต้องไปที่ บ ้านแร่ ต้องการหามโนราห์ ไปเล่ นตามงาน ต้องที่ บา นท่ าแคเพราะเป็ นถิ่ น ้ มโนราห์ ส่ วนกงหรามี การปลูกกล้วยมากโดยเฉเพาะกล้วยน้ าว้าซึ่ งเป็ นวัตถุ ดิบในการผลิ ตกล้วยฉาบ สิ นค้าสาคัญของจังหวัดพัทลุงเป็ นของฝากติดไม้ติดมือของผูมาเยียมเยือนโดยเฉพาะกล้วยฉาบแม่แดง ้ ่ ๑ ฉันทัส ทองช่วย . เรื่องเดียวกัน .หน้า ๑๔ .
  • 8. ๘ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด ๔.๕ ภาษาถิ่นแสดงเอกลักษณ์ ของท้ องถิ่น ภาษาถิ่ นบ่งบอกลักษณะเฉพาะของคนในท้องถิ่ น ได้เป็ นอย่างดี โดยเฉพาะสาเนี ยงพูดบ่งชี้ ได้อย่างชัดเจนว่าผูน้ นเป็ นคนท้องถิ่ นใด เช่ น คนสุ พรรณ ้ ั คนเมืองเพชร (เพชรบุรี) คนเมืองจัน (จันทรบุรี) คนสุ ราษฎร์ (สุ ราษฎร์ ธานี ) ต่างมีสาเนี ยงภาษาเป็ น ของตนเอง หรื อแม้แต่ในจังหวัดเดี ยวกันก็อาจมีภาษาถิ่ นย่อยเฉพาะลงไปอีก เช่ น สงขลามีสาเนี ยง ่ ภาษาสะกอม เมื่อพูดก็สามารถบอกได้วาเป็ นคนจากท้องถิ่นใด นอกจากนี้ยงมีถอยคาที่มกจะกล่าวถึงเอกลักษณ์ในการพูดของคนในแต่ละท้องถิ่น เช่น ั ้ ั - สงขลาห่ อนนครหมา คากล่าวนี้แสดงให้เห็นเอกลักษณ์การใช้ถอยคาของคนสงขลาและนครศรี ธรรมราชได้อย่าง ้ ชัดเจนดังตัวอย่างต่อไปนี้ สงขลา นครศรีฯ ความหมาย - ฉานหม้ายห่ อนทาพรรค์น้ น ั - ฉานหมาทาพรรค์น้ น ั - ฉันไม่ทาอย่างนั้น - ผมหม้ายห่อนโร้ - ผมหมาโร้ - ผมไม่ทราบ ชื่อบ้านนามเมืองก็เป็ นอีกลักษณะหนึ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ที่ปรากฏในถ้อยคาเช่น - เมืองลุงมีดอน นครมีท่า เมืองตรังมีนา สงขลามีบ่อ จากคากล่าวนี้ จะไปปรากฏที่ชื่อหมู่บาน ตาบล หรื ออาเภอของแต่ละจังหวัดที่มีคาขึ้นต้นตรง ้ ตามถ้อยดังกล่าว เช่น - จังหวัดนครศรี ธรรมราช ท่าหลา (ท่าศาลา) ท่าพญา ท่าหา - จังหวัดสงขลา บ่อแดง บ่อดาน บ่อป่ า บ่อเพลง บ่อตรุ บ่อปาบ - จังหวัดตรัง นาโยง นาโต๊ะหมิง นาข้าวเสี ย - จังหวัดพัทลุง ดอนหลา (ดอนศาลา)
  • 9. ภาษาไทยถิ่นตะโหมด บทที่ ๒ วิวฒนาการของภาษาไทยถิ่น ั ๑. ความเป็ นมาของภาษาไทยถิ่น ภาษาไทยถิ่นในแต่ภูมิภาคของประเทศเป็ นภาษาย่อยของภาษาไทย ภาษาไทยมีววฒนาการมา ิ ั ตั้งแต่โบราณ มีมาพร้อมๆ กับคนเผ่าไทย นักภาษาศาสตร์ ชาวสหรัฐอเมริ กา เจ มาร์ วิน บราวน์ (J. Marvin Brown) ได้ศึกษาประวัติความเป็ นมาของภาษาไทยถิ่ นต่างๆ สรุ ปได้ว่า ภาษาไทยมี วิวฒนาการมาจากภาษาไทยถิ่นที่ใช้พดกันในมณฑลยูนนานทางตอนใต้ของจีน ต่อมาได้วิวฒนาการเป็ น ั ู ั ภาษาไทยถิ่น ๓ สาขา คือ ๑.๑ สาขาเชี ยงแสน ภาษาไทยสาขาเชี ยงแสนได้วิวฒนาการเป็ นภาษาไทยถิ่ นต่างๆ ใน ั ภาคเหนือและภาคกลางของประเทศ ดังแผนภูมิ ๑ แผนภูมิ ๑ วิวฒนาการของภาษาไทยสาขาเชียงแสน ั ชาน เชียงราย แพร่ เชียงแสน เชียงใหม่ น่าน ลาปาง เชียงใหม่ พวน อยุธยา อู่ทอง กรุ งเทพฯ ตามแผนภูมิ ๑ แสดงให้เห็นว่า ภาษาเชียงแสนได้ววฒนาการเป็ นภาษาถิ่นย่อย ๔ สาขา คือ ิั ๑). สาขาชาน ๒). สาขาเชี ยงใหม่ ได้วิวฒนาการเป็ นภาษาไทยถิ่นอีก ๕ ถิ่น คือ เชี ยงราย แพร่ ั น่าน ลาปาง และเชียงใหม่ ๓). สาขาพวน ๔). สาขาอยุธยา ได้ววฒนาการเป็ นภาษาไทยถิ่น ๒ ถิ่น คือ อู่ทอง และกรุ งเทพฯ ิั
  • 10. ๑๐ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด ๑.๒ สาขาล้านช้ าง ภาษาไทยสาขาล้านช้างได้ววฒนาการเป็ นภาษาไทยถิ่นต่างๆ ในภาคอีสาน ิั ของประเทศไทย และภาษาลาว ดังแผนภูมิ ๒ แผนภูมิ ๒ วิวฒนาการของภาษาไทยสาขาล้านช้ าง ั หลวงพระบาง หลวงพระบาง แก่นท้าว ด่านซ้าย เลย ทุรคม เวียงจันทร์ เวียงจันทร์ หล่มสัก คอนสวรรค์ ชัยภูมิ ล้านช้าง เวียงจันทร์ หนองคาย ร้อยเอ็ด อุบล บัวใหญ่ โซะ,ลาว ขอนแก่น อุดร พนมไพร ศรี สะเกษ ท่าตูม สกลนคร ย้อ โคราช ตามแผนภูมิ ๒ แสดงให้เห็นว่า ภาษาล้านช้างวิวฒนาการเป็ นภาษาถิ่น ๓ สาขา คือ ั ๑). สาขาหลวงพระบาง วิวฒนาการเป็ นภาษาถิ่นย่อย ๔ ถิ่น คือ หลวงพระบาง ั แก่นท้าว ด่านซ้าย และเลย
  • 11. ๑๑ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด ๒). สาขาเวียงจันทร์ วิวฒนาการเป็ นภาษาถิ่ น ๓ สาย คือ เวียงจันทร์ หนองคาย ั และโซะ,ลาว ใน ๓ สายนี้ สายเวียงจันทร์ ได้ววฒนาการเป็ นภาษาถิ่น ๕ ถิ่น คือ ิั ทุรคม เวียงจันทร์ หล่มสัก คอนสวรรค์ และชัยภูมิ สายโซะ,ลาว ได้วิวฒนาการเป็ นภาษาถิ่ น ๘ ถิ่ น คือ ร้ อยเอ็ด อุบล บัวใหญ่ ขอนแก่น อุดร ั พนมไพร ศรี สะเกษ และท่าตูม ๓). สาขาสกลนคร ได้ววฒนาการเป็ นภาษาถิ่น ๒ ถิ่น คือ ย้อ และโคราช ิั ๑.๓ สาขาสุ โขทัย ภาษาไทยสาขาสุ โขทัยได้ววฒนาการเป็ นภาษาไทยถิ่นต่างๆ ในภาคใต้ของ ิั ประเทศไทย ดังแผนภูมิ ๓ (ดูหน้า ๑๑) ตามแผนภูมิ ๓ แสดงให้เห็นว่า ภาษาสุ โขทัยซึ่ งวิวฒนาการมาจากภาษายูนนานได้ววฒนาการ ั ิ ั เป็ นภาษาถิ่น ๒ สาขา คือ ๑). สาขานครศรีธรรมราช วิวฒนาการเป็ นภาษาไทยถิ่น ๒ สาย คือ สายไชยากับสาย ั นครศรี ธรรมราชซึ่ งแต่ละสายก็ได้แตกสาขาย่อยไปอีกคือ ก. สายไชยา วิวฒนาการเป็ นภาษาไทยถิ่นย่อย ๓ ถิ่น คือ ชุ มพร เกาะสมุยและไชยา สาหรับ ั ภาษาไชยาได้ววฒนาการเป็ นภาษาไทยถิ่นย่อย ๔ ถิ่น คือ ระนอง ไชยา ตะกัวป่ า และภูเก็ต ิั ่ ข. สายนครศรีธรรมราช ได้ฒนาการเป็ นภาษาไทยถิ่นย่อย ๒ สาย คือ นครศรี ธรรมราชและ สงขลา แต่ละสายก็ได้แตกสาขาย่อยไปอีกคือ ภาษานครศรี ธรรมราช ได้ววฒนาการเป็ นภาษาไทยถิ่นย่อย ิั ๖ ถิ่น คือ กระบี่ นคร ทุ่งสง ตรัง ควนขนุน(พัทลุง)และหัวไทร ส่ วนภาษาสงขลาได้วิวฒนาการเป็ น ั ภาษาไทยถิ่นย่อย ๔ ถิ่น คือ สงขลา ระโนด ยะลา และสตูล ๒). สาขาตากใบ เป็ นภาษาถิ่นที่ได้วิวฒนาการมาจากภาษาสุ โขทัยโดยตรง เป็ นภาษา ั ถิ่นที่ใช้พูดกันในอาเภอตากใบ และอาเภอใกล้เคียงในจังหวัดนราธิ วาส บางอาเภอของจังหวัดปั ตตานี ตลอดไปถึงอาเภอตุมปัต อาเภอบาเจาะ และอาเภออื่นๆ ในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ๑ ๑ ฉันทัส ทองช่วย . ภาษาและอักษรถิ่น (เน้ นภาคใต้ ) . ๒๕๓๔ . หน้า ๒๓ - ๒๗.
  • 12. ๑๒ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด แผนภูมิ ๓ วิวฒนาการของภาษาไทยสาขาสุ โขทัย ั ชุมพร ระนอง ไชยา ไชยา ไชยา ตะกัวป่ า ่ ภูเก็ต เกาะสมุย นครศรี ธรรมราช กระบี่ นครศรี ฯ ทุ่งสง นคร นคร ตรัง ควนขนุน (พัทลุง) สุ โขทัย นคร หัวไทร สงขลา ระโนด สงขลา ยะลา ยะลา สตูล ตากใบ
  • 13. ๑๓ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด ๒. การแบ่ งกลุ่มภาษาไทยถิ่น ประเทศไทยมีภาษาไทยมาตรฐานเป็ นภาษาราชการ ใช้ติดต่อสื่ อสารระหว่างคนไทยทั้งชาติ ใน ท้องถิ่นภูมิภาคต่างๆ มีภาษาไทยถิ่ นใช้สื่อสารกัน นักภาษาศาสตร์ ได้แบ่งกลุ่มภาษาไทยถิ่ น โดยแบ่ง ตามสภาพภูมิศาสตร์ออกเป็ น ๔ กลุ่ม ดังนี้ ๒.๑ ภาษาไทยถิ่นเหนือ หมายถึง ภาษาย่อยของภาษาไทยที่พดกันในท้องที่ของจังหวัดต่างๆทาง ู ภาคเหนื อของประเทศไทย เช่ น เชี ยงใหม่ เชี ยงราย แพร่ น่ าน ลาพูน ลาปาง เป็ นต้น ซึ่ งภาษาไทยถิ่ น กลุ่มนี้ได้มีววฒนาการมาจากภาษาไทยสาขาเชียงแสน สายเชียงใหม่นนเอง ิั ั่ ๒.๒ ภาษาไทยถิ่นกลาง หมายถึ ง ภาษาย่อยของภาษาไทยที่พูดกันในท้องที่จงหวัดต่างๆ ใน ั ภาคกลางของประเทศไทย เช่ น กรุ งเทพฯ อยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี อ่างทอง ฯลฯ นอกจากนี้ รวมถึ ง ท้องที่ จงหวัดต่างๆ ในภาคตะวันตกและภาคตะวันออกด้วย เช่ น กาญจนบุ รี สุ พรรณบุ รี ชลบุ รีและ ั จันทบุ รี เป็ นต้น ซึ่ งภาษาไทยถิ่ นกลางมี วิ วฒ นาการมาจากภาษาไทยสาขาเชี ย งแสนเช่ นเดี ย วกับ ั ภาษาไทยถิ่นเหนือแต่คนละสาย คือภาษาไทยถิ่นกลางมาจากสายอยุธยา ๒.๓ ภาษาไทยถิ่นอีสาน หมายถึง ภาษาย่อยของภาษาไทยที่พูดกันในท้องที่จงหวัดต่างๆ ของ ั ภาคตะวันออกเฉี ยงเหนื อของประเทศไทย เช่ น นครราชสี มา นครพนม ร้ อยเอ็ด สกลนคร ขอนแก่ น อุบลราชธานี และมหาสารคาม เป็ นต้น ภาษาไทยถิ่นอีสานมีววฒนาการมาจากภาษาไทยสาขาล้านช้าง ิั ๒.๔ ภาษาไทยถิ่นใต้ หมายถึง ภาษาย่อยของภาษาไทยที่พูดกันในท้องที่ของจังหวัดต่างๆ ทาง ภาคใต้ของประเทศไทย ได้แก่ ชุ มพร ระนอง สุ ราษฎร์ ธานี พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรั ง นครศรี ธรรมราช พัทลุง สงขลา สตูล ยะลา ปั ตตานี และนราธิ วาส ซึ่ งภาษาไทยถิ่นใต้มีวิวฒนาการมาจากภาษาไทยสาขา ั สุ โขทัย ๑ การแบ่งภาษาไทยถิ่นเป็ น ๔ กลุ่มตามสภาพภูมิศาสตร์ น้ ี เป็ นการแบ่งอย่างหยาบๆ เพราะจริ งๆ แล้วในแต่ละภูมิภาค ยังแบ่งแยกย่อยออกเป็ นกลุ่มเล็กๆ ลงไปอีก แม้ในจังหวัดเดียวกันก็อาจแบ่งย่อยเป็ น กลุ่มๆ ได้อีกด้วย ซึ่ งรายละเอียดต้องอาศัยข้อมูลจากการศึกษาวิจยของนักภาษาศาสตร์ ที่ได้ทาการวิจยมา ั ั จัดแบ่งตามลักษณะเฉพาะของกลุ่ม แต่ในที่น้ ีขอกล่าวรายละเอียดเฉพาะกลุ่มภาษาไทยถิ่นใต้ ๓. การแบ่ งกลุ่มภาษาไทยถิ่นใต้ ภาษาไทยถิ่นใต้มีนกภาษาศาสตร์ ชาวไทยและชาวต่างชาติได้ทาการศึกษาวิจยแบ่งกลุ่มเอาดังนี้ ั ั ๑ ฉันทัส ทองช่วย . ภาษาและอักษรถิ่น (เน้ นภาคใต้ ) . ๒๕๓๔ . หน้า ๑๑ - ๑๒.
  • 14. ๑๔ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด ๓.๑ การแบ่ งกลุ่มภาษาไทยถิ่นใต้ ของบราวน์ เจ. มาร์วน บราวน์ (J.Marvin Brown) ได้แบ่งกลุ่มภาษาไทยถิ่นใต้ไว้ดงนี้ ิ ั ก. กลุ่มนครศรีธรรมราช วิวฒนาการเป็ นภาษาไทยถิ่น ๒ สาย คือ ั ๑. สายไชยา แบ่งออกเป็ นภาษาไทยถิ่นย่อย ๓ ถิ่น คือ ๑.๑ ภาษาชุมพร ๑.๒ ภาษาเกาะสมุย ๑.๓ ภาษาไชยา สาหรับภาษาไชยาแบ่งออกเป็ นภาษาไทยถิ่นย่อย ๒ ถิ่น ๑.๓.๑ ภาษาระนอง ไชยา หลังสวน และสวี ๑.๓.๒ ภาษาตะกัวป่ า และภูเก็ต ่ ๒.สายนครศรีธรรมราช แบ่งออกเป็ นภาษาไทยถิ่นย่อย ๒ กลุ่มย่อย ๒.๑ ภาษานครศรี ธรรมราชแบ่งออกเป็ นภาษาไทยถิ่นย่อย ๓ ถิ่น คือ ๒.๑.๑ ภาษากระบี่ ๒.๑.๒ ภาษานครศรี ธรรมราช ทุ่งสง ตรัง ควนขนุน(พัทลุง) ๒.๑.๓ ภาษาหัวไทร ๒.๒ ภาษาสงขลาแบ่งออกเป็ นภาษาไทยถิ่นย่อย ๒ ถิ่น คือ ๒.๒.๑ ภาษาสงขลาและระโนด ๒.๒.๒ ภาษายะลาแบ่งย่อยไปอีกเป็ น ๒ ถิ่นคือ ๒.๒.๒.๑ ภาษายะลา ๒.๒.๒.๒ ภาษาสตูล ข. กลุ่มตากใบ เป็ นภาษาไทยถิ่นไต้ที่ได้วิวฒนาการมาจากภาษาสุ โขทัยโดยตรง เป็ นภาษาไทย ั ถิ่ นใต้ที่มีลกษณะสาเนี ยงพูดและลักษณะทางภาษาแตกต่างจากภาษาไทยถิ่ นใต้กลุ่มอื่นๆ ั อย่างชัดเชน ได้แก่ภาษาที่ใช้พดกันในท้องถิ่นต่างๆ ดังนี้ ู ๑.อาเภอตากใบ และบางตาบลในอาเภอเมือง สุ ไหงปาดี สุ ไหง-โกลก และอาเภอแว้ง ในจังหวัดนราธิวาส ๒.บางตาบลในอาเภอสายบุรี ยะหริ่ ง บะนาเระ และมายอของจังหวัดปั ตตานี ๓.บางตาบลในอาเภอตุมปัต บาเจาะ โกตาบารู ในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ๓.๒ การแบ่ งกลุ่มภาษาไทยถิ่นใต้ ของดิเลอร์ แอนโทนี แวน นอสแตรนด์ ดิลเลอร์ (Anthony Van Nostrand Diller) ได้ศึกษาวิจยและแบ่งั ภาษาไทยถิ่นใต้ไว้ ๖ กลุ่มดังนี้
  • 15. ๑๕ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด ๑. กลุ่ม A ได้แก่ ภาษาชุมพร ระนอง และสุ ราษฎร์ธานี ๒. กลุ่ม B ได้แก่ ภาษาเกาะสมุย ๓. กลุ่ม C ได้แก่ ภาษาพังงา กระบี่ ภูเก็ต และตรังบางส่ วน ๔. กลุ่ม D ได้แก่ ภาษานครศรี ธรรมราช ๕. กลุ่ม E ได้แก่ ภาษาพัทลุง สงขลา ตรังบางส่ วน และสตูลบางส่ วน ๖. กลุ่ม F ได้แก่ ภาษาสตูลบางส่ วน ยะลา ปั ตตานี และนราธิวาส ๓.๓ การแบ่ งกลุ่มภาษาไทยถิ่นใต้ ของฉันทัส ทองช่ วย ดร.ฉันทัส ทองช่วย ได้แบ่งกลุ่มภาษาไทยถิ่นใต้ออกเป็ น ๓ กลุ่ม ดังต่อไปนี้ ๑. กลุ่มภาคใต้ ตอนเหนือและเขตพืนทีฝั่งทะเลตะวันตก ได้แก่ภาษาไทยถิ่นต่างๆ ที่พด ้ ่ ู กันในจังหวัดประจวบคีรีขนธ์ตอนล่าง ชุมพร สุ ราษฎร์ ธานี ระนอง พังงา และภูเก็ต ั ๒. กลุ่มภาคใต้ ตอนกลางและเขตพืนทีฝ่ังทะเลตะวันออก ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นต่างๆ ที่พด ้ ่ ู กันในจังหวัดกระบี่ ตรัง พัทลุง นครศรี ธรรมราช และสงขลาบางอาเภอ (ระโนด สทิงพระ กระแสสิ นธุ์ และสิ งหนคร) ๓. กลุ่มภาคใต้ ตอนใต้ – มาเลเซีย ได้แก่ภาษาไทยถิ่นต่างๆ ที่พดกันในเขตพื้นที่ ๕ ู จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ สงขลาบางส่ วน (ยกเว้นระโนด สทิงพระ กระแสสิ นธุ์และสิ งหนคร) สตูล ยะลา ปั ตตานี และนราธิ วาส ตลอดไปจนถึงภาษาไทยถิ่นต่างๆ ที่พดกันในประเทศมาเลเซี ย ซึ่ งภาษาไทย ู ถิ่นใต้กลุ่มนี้แบ่งออกได้เป็ น ๒ กลุ่มย่อย อีกคือ ๓.๑ กลุ่ม ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไทรบุรี และปะลิส ๓.๒ กลุ่มตากใบ – กลันตัน ๑ ๒ ฉันทัส ทองช่วย .ภาษาและวัฒนธรรมภาคใต้ . ๒๕๓๖ .หน้า ๑๐๗ - ๑๐๙
  • 16. ๑๖ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด บทที่ ๓ ลักษณะภาษาไทยถิ่นพัทลุง ๑. ระบบเสี ยง ระบบเสี ยงของภาษาไทยถิ่นพัทลุง โดยรวมแล้วมีลกษณะคล้ายๆ กับภาษาไทยมาตรฐาน มีเสี ยง ั ที่สาคัญ ๓ ชนิด คือ เสี ยงสระ เสี ยงพยัญชนะ และเสี ยงวรรณยุกต์ ในรายละเอียดของเสี ยง ๓ ชนิดมี ลักษณะเฉพาะดังต่อไปนี้ ๑.๑ เสี ยงสระ ภาษาไทยถิ่ นพัทลุ งมีหน่วยเสี ยงสระ ๒๑ หน่วยเสี ยง แบ่งเป็ นสระเดี่ยว ๑๘ หน่วยเสี ยง และ หน่วยเสี ยงสระประสม ๓ หน่วยเสี ยง ๑.๑.๑ หน่ วยเสี ยงสระเดี่ยว มีท้ งหมด ๑๘ หน่ วยเสี ยง แบ่งเป็ นสระเสี ยงสั้น ๙ ั หน่วยเสี ยง และสระเสี ยงยาว ๙ หน่วยเสี ยง ตาราง ๑ แสดงหน่ วยเสี ยงสระเดี่ยวในภาษาไทยถิ่นพัทลุง ส่ วนของลิ้น หน้า กลาง หลัง ลักษณะริ มฝี ปาก รี ปกติ ห่อ ระดับของลิ้น สั้น ยาว สั้น ยาว สั้น ยาว สู ง อิ อี อึ อื อุ อู กลาง เอะ เอ เออะ เออ โอะ โอ ต่า แอะ แอ อะ อา เอาะ ออ จากตาราง ๑ สรุ ปได้ดงนี้ั ๑). หน่วยเสี ยงสระเดี่ยวเสี ยงสั้น ๙ หน่วยเสี ยง ดังตัวอย่างคาต่อไปนี้ - อิ /i/ “กิน” - เอะ /e/ “เด็น” (กระเด็น) - แอะ /ε/ “แจ็กแจ็ก” (มากมาย) - อึ /i/ “มึก” (ดื่ม) - เออะ // “เร็ อน” (เรื อน,บ้าน) - อะ /a / “ทะ” (พบ)
  • 17. ๑๗ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด - อุ /u / “รุ น” (เข็น,ไสไป) - โอะ /o / “โสะ” (สุ ม) - เอาะ /‫/נ‬ “ต็อก” (ตก) ๒). หน่วยเสี ยงสระเดี่ยวเสี ยงยาว ๙ หน่วยเสี ยง ดังอย่างคาต่อไปนี้ - อี /i: / “ตี” - เอ /e:/ “เล” (ทะเล) - แอ /ε:/ “แหลง” (พูด) - อื /i:/ “ถือ” - เออ /:/ “เขอ” (ขื่อ) - อา /a :/ “พา” - อู /u :/ “หมู” - โอ /o :/ “โป” (ปู่ ) - ออ /‫“ /:נ‬หมอ” ๑.๑.๒ หน่ วยเสี ยงสระประสม ภาษาไทยถิ่นพัทลุง มีหน่วยสระประสม ๓ หน่วยเสี ยง เป็ นสระเสี ยงยาวทั้งหมด คือ - เอีย /ia / “เสี ยง” - เอือ /ia / “เขือ” (มะเขือ) - อัว /ua / “ตัว” สาหรับหน่วยสระประสมเสี ยงสั้นไม่มีคาใช้ อาจมีบางคาที่ลกษณะคล้ายๆ กับสระประสมเสี ยง ั สั้น แต่จริ งๆ แล้วออกเสี ยงเป็ นสระประสมเสี ยงยาวตามด้วยเสี ยงพยัญชนะกักที่ช่องเส้นเสี ยง เช่น - เหลีย-ะ “กระแต” - เฉือ-ะ “เสี ยงไล่ไก่บางถิ่น” - ฉัว-ะ “เสี ยงไล่ไก่บางถิ่น” ๑.๒ เสี ยงพยัญชนะ เสี ยงพยัญชนะเกิดจากกระแสลมจากปอดผ่านเส้นเสี ยง ผ่านมาในช่องปากแล้วถูกสกัดกั้นชัวครู่่ ไว้ท้ งหมดหรื อเพียงบางส่ วนก่อนจะปล่อยให้ออกทางปาก หรื อทางจมูก ขณะที่กระแสลมผ่านเส้นเสี ยง ั ่ ้ ถ้าเส้นเสี ยงอยูในสภาพคลายตัวตามปกติจะเกิดพยัญชนะที่มีเสี ยงไม่กอง หากเส้นเสี ยงเกร็ งตัวมีการสั่น
  • 18. ๑๘ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด สะบัดจะทาให้เกิดพยัญชนะเสี ยงก้อง โดยมากเสี ยงพยัญชนะจะผ่านออกทางช่องปาก แต่มีพยัญชนะ บางเสี ยงผ่านออกมาทางช่องจมูก พยัญชนะพวกนี้เราเรี ยกว่า พยัญชนะนาสิ ก ๑.๒.๑ หน่ วยเสียงพยัญชนะเดี่ยว การวิเคราะห์ลกษณะหน่วยเสี ยงพยัญชนะภาษาไทยถิ่นพัทลุง สิ่ งที่ตองพิจารณาเพื่อการวิเคราะห์ ั ้ หน่วยเสี ยงพยัญชนะมีดงนี้ ั ก ประเภทเสี ยงพยัญชนะ ซึ่ งพิจารณาจากลักษณะการเปล่งเสี ยงของพยัญชนะแต่ละ เสี ยง มีดงนี้ ั ๑). เสี ยงกัก หรือเสี ยงระเบิด เกิดจากการที่ลมจากปอดถูกปิ ดกั้นไว้สนิ ทชัวขณะหนึ่ ง ณ ฐานที่ ่ ั เกิดเสี ยง ต่อจากนั้นจะปล่อยลมอย่างรวดเร็ วจากที่กกเสี ยงออกไปทันทีทางปาก ได้แก่ เสี ยง /ป/ /พ/ /ต/ /ท/ /บ/ /ด/ /ก/ /ค/ /อ/ (/p/ /ph/ /t/ /th/ /b/ /d/ /k/ /kh/ /?/) ่ ั ๒). เสี ยงเสี ยดแทรก เกิดจากการที่ลมผ่านอวัยวะในการเปล่งเสี ยงซึ่ งอยูใกล้กนมากๆ เหลือเพียง ช่องแคบๆ ลมต้องแทรกตัวออกไป ได้แก่ /ฟ/ /ซ/ /ฮ/ (/f/ /s/ /h/ ) ๓). เสี ยงกึ่งเสี ยดแทรก เกิดจากการที่ลมผ่านอวัยวะในการเปล่งเสี ยงซึ่ งปิ ดสนิ ทแล้วเปิ ดออก ช้าๆ ทาให้เสี ยงที่เกิดมีลกษณะเสี ยดแทรกผสม ได้แก่ /จ/ /ช/ ( /c/ /ch/ ) ั ๔). เสี ยงนาสิ ก เกิดจากการที่ลมถูกผันให้ออกทางช่องจมูกพร้อมกับทางช่องปาก โดยลดลิ้นไก่ และเพดานอ่อนลง ทาให้ช่องปากและช่องจมูกติดต่อถึงกัน ได้แก่ /ม/ /น/ /ง/ /ญ/ ( /m/ /n/ /n/ /n~/ ) ๕). เสี ยงข้ างลิน เกิดจากการที่ลมผ่านออกมาทางข้างลิ้น โดยที่ปลายลิ้นยกไปแตะที่ปุ่มเหงือก ้ ปล่อยให้ลมออกทางสองข้างลิ้น ได้แก่ /ล/ ( /l/) ๖). เสี ยงกระทบ เกิ ดจากการที่ลมผ่านอวัยวะในการเปล่งเสี ยงซึ่ งกระทบกันอย่างรวดเร็ วเพียง ครั้งเดียว โดยที่ปลายลิ้นกระดกขึ้นไปแตะที่ปุ่มเหงือก แล้วสะบัดลงอย่างรวดเร็ วเพียงครั้งเดียว ได้แก่ /ร/ (/r/ ) นักภาษาศาสตร์ บางท่านเรี ยกเสี ยงนี้วา เสียงรัว แต่ก็ผคดค้านว่าเสี ยงรัวนั้นต้องกระทบกันอย่าง ่ ู้ ั ๑ ต่อเนื่องหลายครั้ง ซึ่ งไม่มีในภาษาไทย ๗). เสี ยงเปิ ด มีวิธีออกเสี ยงคล้ายเสี ยงเสี ยงสระ คือ คาบเกี่ ยวกันอยูระหว่างพยัญชนะกับสระ ่ ่ ่ ภาษาไทยมาตรฐานเรี ยกนี้ วา เสี ยงกึ่งสระ เพราะขณะออกเสี ยงอวัยวะในการเปล่งเสี ยงอยูใกล้กนแต่ไม่ ั ั ใกล้กนมากลมผ่านได้สะดวก เช่นเดียวกับการออกเสี ยงสระ ได้แก่ /ย/ /ว/ ( /j/ /w/ ) แต่ในภาษาไทย ถิ่นใต้ถือว่าเป็ นเสี ยงเปิ ดได้แก่ /อย/ ( /?j/) ๑ เสนีย ์ วิลาวรรณ และคณะ. หลักภาษาไทย . ๒๕๔๒ .หน้า ๑๔.
  • 19. ๑๙ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด ข. ฐานทีเ่ กิดเสี ยง ได้แก่อวัยวะในช่องปากที่สกัดกั้นลมไว้ช้ วขณะหนึ่ง ก่อนจะปล่อย ั ให้ลมผ่านออกไปทางช่ องปากหรื อช่ องจมูก พยัญชนะจึงมีเสี ยงแตกต่างกันตามชนิ ดของอวัยวะที่เป็ น ฐานที่เกิดเสี ยง มี ๖ ฐาน ดังนี้ ๑). ริมฝี ปากทั้งสอง /p,ph,b,m,w/ ๒). ริมฝี ปากล่างกับฟันบน /f/ ๓). ฟัน – ปุ่ มเหงือก /t,th,d,s,n,/ ๔). เพดานแข็ง /c,ch,n~,l,r,?j,j/ ๕). เพดานอ่อน /k,kh,n/ ๖). ช่ องเส้ นเสี ยง /?,h/ ค. คุณสมบัติของหน่ วยเสี ยง หมายถึงลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่เส้นเสี ยงและปริ มาณ ลมขณะออกเสี ยงพยัญชนะ คือ ๑). เสี ยงก้ อง เกิดจากการที่ลมผ่านเส้นเสี ยงที่เกร็ งตัวชิ ดกัน แต่ไม่ถึงกับติดกันสนิ ทพอให้ลม ผ่านได้ โดยที่เสี ยงสั่นสะบัด ได้แก่ /b,d,r,l,w,j,m,n,n ~,n/ ๒). เสี ยงไม่ ก้อง เกิดจากการที่ลมผ่านเส้นเสี ยงที่หย่อนตัวห่ างกัน ลมผ่านได้สะดวก โดยที่เส้น เสี ยงไม่สั่นสะบัด ได้แก่ /p,ph,t,th,k,kh,?,c,ch,f,s,h,?j / ๓). เสี ยงหนัก คือพยัญชนะที่ขณะเปล่งเสี ยงมีกลุ่มลมออกมาปริ มาณมาก ได้แก่ /ph,th,kh,ch/ ๔). เสี ยงเบา คือพยัญชนะที่ขณะเปล่งเสี ยงมีกลุ่มลมออกมาปริ มาณน้อย ได้แก่ /p,t,k,c / จากผลการศึ ก ษาเสี ย งพยัญชนะภาษาไทยถิ่ นพัท ลุ ง ของ ดร.ฉันทัศ ทองช่ วย มี หน่ วยเสี ย ง พยัญชนะ ๒๑ หน่วยเสี ยง๑ แต่จากการศึกษาวิเคราะห์และสังเกตการใช้ภาษาของนักเรี ยนและชาวบ้าน ในตะโหมดของผูเ้ ขียนเองพบว่ามีเพิ่มอีก ๒ หน่วยเสี ยง คือ /ง/ (/n/) และ /ฟ,ฝ/ (/f/) ดังตัวอย่าง ต่อไปนี้ ทั้ง ๒๓ หน่วยเสี ยง ๑./p/ <ป> เช่น ปา ปี ๒./b/ <บ> เช่น บา บ้าน ๓./t/ <ต> เช่น ตา ตัน ๔./d/ <ด> เช่น ดี โดก (กระดูก) ๕./k/ <ก> เช่น ไก(ไก่) กัด ๑ ฉันทัศ ทองช่วย . ภาษาและวัฒนธรรมภาคใต้ . ๒๕๓๖ หน้า ๑๖๒ - ๑๖๔
  • 20. ๒๐ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด ๖./?/ <อ> เช่น อี ไอ ๗./c/ <จ> เช่น จี(ย่าง) จัด ๘./?j/ <อย> เช่น ่ อยาง(ยางพารา) อยู(อยู) ๙./ph/ <พ> เช่น พี(อ้วน) พู(ลอย) ๑๐./th/ <ท> เช่น ทา ทา ๑๑./kh/ <ค> เช่น คา คาน ๑๒./ch/ <ช> เช่น ชันชี(ตกลง,สัญญา) เชียก (เชือก) ๑๓./s/ <ซ> เช่น ไซ เซ่อ (ซื้ อ) ๑๔./h/ <ห> เช่น หู หา ๑๕./m/ <ม> เช่น มี (รวย) มัน ๑๖./n/ <น> เช่น นา นาน ๑๗./n~/ <ญ> เช่น หญิง หญ้า ๑๘./l/ <ล> เช่น ลา ลุง ๑๙./r/ <ร> เช่น เรื อ รู ๒๐./j/ <ย> เช่น ยัก ยา ๒๑./w/ <ว> เช่น วัด วา ๒๒./f/ <ฟ> เช่น ฟื น ฟาง ๒๓./n/ <ง> เช่น งัว (วัว) งาม
  • 21. ๒๑ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด หรื อจะแสดงในรู ปของตารางแสดงหน่วยเสี ยงพยัญชนะดังตารางที่ ๒ ดังนี้ ตาราง ๒ แสดงหน่ วยเสี ยงพยัญชนะเดี่ยวในภาษาไทยถิ่นพัทลุง ฐานที่เกิดเสี ยง ริ มฝี ปาก ริ มฝี ปาก ฟัน-ปุ่ ม เพดาน เพดาน ช่องเส้น ประเภทและ ล่างกับ เหงือก แข็ง อ่อน เสี ยง คุณสมบัติของเสี ยง ฟันบน ระเบิด ้ ไม่กอง เบา /p/ ป /t/ ต /k/ ก /?/ อ หนัก /ph/ พ /th/ ท /kh/ ค ก้อง เบา /b/ บ /d/ ด หนัก กึ่งเสี ยดแทรก ไม่กอง เบา ้ /c/ จ หนัก /ch/ ช เสี ยดแทรก ไม่กอง ้ /f/ ฟ /s/ ซ /h/ ห นาสิ ก ก้อง /m/ ม /n/ น /n~ / ญ /n/ ง ข้างลิ้น ก้อง /l/ ล รัว ก้อง /r/ ร เสี ยงเปิ ด ไม่กอง ้ /?j/ อย ก้อง /w/ ว /j/ ย
  • 22. ๒ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด ๒ ๑.๒.๒. พยัญชนะประสม พยัญชนะประสมในภาษาไทยถิ่นพัทลุง เกิดจากพยัญชนะเดี่ยว ๒ หน่วยเสี ยงเรี ยงกันโดยไม่มี สระคันกลาง มีท้ งหมด ๑๔ แบบ ดังตาราง ๓ ต่อไปนี้ ่ ั ตาราง ๓ แสดงพยัญชนะประสมในภาษาไทยถิ่นพัทลุง เสี ยงที่ ๒ ล /l/ ร /r/ ว /w/ เสี ยงที่ ๑ ป /p/ ปล [pl] ปร [pr] - พ , ผ /ph/ พล , ผล [phl] พร , ผร [phr] - บ /b/ บล [bl] - - ก /k/ กล [kl] กร [kr] กว [kw] ค , ข /kh/ คล , ข ล [khl] คร , ขร [khr] คว , ขว [khw] ม /m/ มล [ml] มร [mr] - ต /t/ - ตร [tr] ่ จากตาราง ๔ สรุ ปได้วาเสี ยงพยัญชนะประสมมี ๑๔ แบบ ดังนี้ ๑. [pl] <ปล> เช่น เปลว (ป่ าช้า) ปลี (หัวปลี) ๒. [pr] <ปร> เช่น ปราง (มะปราง) เปรี้ ยว ๓. [phl] <พล , ผล> เช่น พลัด (ฝนพลัด หมายถึงฝนจากลมมรสุ มจากฝั่งทะเลอันดามัน เผลอ ๔. [phr] <พร , ผร> เช่น โพรก (ตอโพรก พรุ่ งนี้ ) ผรู ด (แล่นผรู ดมาแล้ว วิงมาอย่างทันทีทนใด) ่ ั ผรี ด (ไปเล่นผรี ดหว่าไป ไปเล่นกระดานลื่นกันดีกว่า) ๕. [bl] <บล> เช่น เบล่อ (เลว ไม่ดี) เบล่น (ลื่น) ๖. [kl] <กล> เช่น กลอน กลิ้ง ๗. [kr] <กร> เช่น กราม กรอย ๘. [kw] <กว> เช่น กวัก แกวก ๙. [khl] <คล , ขล> เช่น คล่าว เคลียว (บิดให้เป็ นเกลียว) ขลิง (หวายชนิดหนึ่ง) ขล้ง (มัว หลงลืม สับสน) ่ ๑๐.[khr] <คร ,ขร> เช่น ครก คราว (แมวคราว หมายถึงแมวตัวผู)้ ่ ขร็ อบ (ตะขบ) ขรั้ว (ยุงเหยิง)
  • 23. ๒๓ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด ๑๑. [khw] <คว , ขว> เช่น ควัน ควาย ขวิด ขวาน ๑๒. [ml] <มล> เช่น เมละ (ดอกมะลิ) เมลือง (เป็ นมันเลื่อมแวววาว) มล้าง (ผลาญ ตัด ทาลาย เช่น ไม้ไผ่กอชายทางกูมล้างเสี ยหว่าไว้ให้หนาม แทงตีนแด็กไซร้แรง) ๑๓. [mr] <มร> เช่น มรน (คารน) เมร่ อ (เลว ไม่ดี) ๑๔. [tr] <ตร> เช่น ตรัน (ค้ า , ยัน , ต้าน) ตรอม (ตอมไก กรงขังไก่) ตรา (เก็บข้าวเป็ นรวงภาชนะ เช่น กระสอบ โดยไม่มดเป็ นเรี ยง) ั ๑.๓ เสี ยงวรรณยุกต์ ระบบเสี ยงวรรณยุกต์ภาษาไทยถิ่นพัทลุง มีลกษณะแตกต่างที่สังเกตได้ชดเจนที่สุดเมื่อเทียบกับ ั ั ภาษาไทยมาตรฐาน ซึ่ งเป็ นลักษณะเด่นของภาษาไทยถิ่ นใต้ในจังหวัดอื่ นๆ ด้วย ไม่เฉพาะแต่พทลุ ง ั ระบบเสี ยงวรรณยุกต์ของภาษาไทยถิ่นใต้มีดวยกัน ๓ กลุ่ม คือ ๕ หน่วยเสี ยง ๖ หน่วยเสี ยง และ ้ ๗ หน่วยเสี ยง โดยส่ วนมากเป็ นแบบ ๖ หน่วยเสี ยงและ ๗ หน่วยเสี ยง มีภาษาย่อยบางถิ่นเท่านั้นที่มี ๕ หน่ ว ยเสี ย ง เช่ น บางถิ่ น ย่อยของจัง หวัด ชุ ม พร และสตู ล ส าหรั บ ระบบเสี ย งวรรณยุ ก ต์ข อง ภาษาไทยถิ่นพัทลุง อยูในกลุ่มแบบ ๗ หน่วยเสี ยง ่ การศึกษาวิเคราะห์ระบบเสี ยงวรรณยุกต์ ใช้กล่องทดสอบเสี ยงวรรณยุกต์ เป็ นเครื่ องมือในการ หาจานวนหน่วยเสี ยงวรรณยุกต์ มีลกษณะดังนี้ ั ตาราง ๔ ลักษณะกล่ องทดสอบเสี ยงวรรณยุกต์ A B C DL DS
  • 24. ๒๔ ภาษาไทยถิ่นตะโหมด ั กล่องทดสอบเสี ยงวรรณยุกต์น้ ี แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเสี ยงวรรณยุกต์กบพยัญชนะต้นของ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ๑. แนวตั้ง แถว A พยางค์เป็ นหรื อคาเป็ น ไม่มีรูปวรรณยุกต์กากับ เช่น ขา ปี อาย คา แถว B พยางค์เป็ นหรื อคาเป็ น มีรูปวรรณยุกต์เอกกากับ เช่น ข่า ปี่ อ่าน ค่า แถว C พยางค์เป็ นหรื อคาเป็ น มีรูปวรรณยุกต์โทกากับ เช่น ข้า ป้ า อ้าง ค้า แถว DL พยางค์ตายหรื อคาตายเสี ยงยาว เช่น ขาด ปาด อาบ คาด แถว DS พยางค์ตายหรื อคาตายเสี ยงสั้น เช่น ขัด ปั ด อับ คัด ๒. แนวนอน แถว 1 พยางค์หรื อคาที่มีพยัญชนะต้นเป็ นอักษรสู งหรื ออักษรต่าที่มี ห นา เช่น สา ห่า ข้า หมาด หนัก แถว 2 พยางค์หรื อคาที่มีพยัญชนะต้นเป็ นอักษรกลางต่อไปนี้ ป ต ก จ เช่น กา ป่ า ก้าน จาก กัด แถว 3 พยางค์หรื อคาที่มีพยัญชนะต้นเป็ นอักษรกลางต่อไปนี้ อ บ ด เช่น บาน ด่าง อ้าง ดาบ บัด แถว 4 พยางค์หรื อคาที่มีพยัญชนะต้นเป็ นอักษรต่า เช่น คา ล่า ม้า ราก ชก กล่องทดสอบเสี ยงวรรณยุกต์มีช่อง ๒๐ ช่ อง ใช้บรรจุคาที่มีเงื่ อนไขต่างกัน ๒๐ คา รายการ คาที่ใช้ในการทดสอบ นักภาษาศาสตร์แนะนาให้เตรี ยมคาไว้ ๓ ชุด ทั้งหมด ๖๐ คา ดังต่อไปนี้ ชุ ดที่ ๑ ชุ ดที่ ๒ ชุ ดที่ ๓ ๑. ขา ๑๑. อาย ๒๑. หา ๓๑.บาง ๔๑. หวาน ๕๑. ดี ๒. ข่า ๑๒. อ่าน ๒๒. ห่า ๓๒. บ่าง ๔๒. หว่าน ๕๒.ด่า ๓. ข้า ๑๓. อ้าง ๒๓. ห้า ๓๓. บ้าน ๔๓. หว้า ๕๓.ด้าน ๔. ขาด ๑๔. อาบ ๒๔. หาด ๓๔. บอด ๔๔. หวาด ๕๔.ดาบ ๕. ขัด ๑๕. อับ ๒๕. หัด ๓๕. บด ๔๕. หวัด ๕๕.ดับ ๖. ปี ๑๖. คา ๒๖. ตอ ๓๖. ทอ ๔๖. กอ ๕๖.พอ ๗. ปี่ ๑๗. ด่า ๒๗. ต่อ ๓๗. ท่อ ๔๗. ก่อ ๕๗.พ่อ ๘. ป้ า ๑๘. ค้า ๒๘. ต้อ ๓๘. ท้อ ๔๘. ก้อน ๕๘.แพ้ ๙. ปาด ๑๙. คาด ๒๙. ตาก ๓๙. ทาก ๔๙. กาบ ๕๙.พาด ๑๐. ปัด ๒๐. คัด ๓๐.ตัก ๔๐. ทัก ๕๐. กับ ๖๐.พัด