SlideShare a Scribd company logo
1 of 20
Download to read offline
บทที่ 1
บทนำ
แผนกำรสอนประจำบท
1. จุดประสงค์กำรเรียนรู้
1. เพื่อให้เข้าใจ ความหมาย ความสาคัญ ของเด็กปฐมวัย
2. เพื่อให้เข้าใจความหมาย ความสาคัญ ของการศึกษาปฐมวัย
3. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจจุดมุ่งหมายทางการศึกษาปฐมวัย
4. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจขอบข่ายทางการศึกษาปฐมวัย
5. เพื่อให้เข้าใจพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542
2. สำระกำรเรียนรู้
1. ความหมายของเด็กปฐมวัย
2. ความสาคัญของเด็กปฐมวัย
3. การจัดการศึกษาปฐมวัย
4. ความสาคัญของการจัดการศึกษาปฐมวัย
5. ความมุ่งหมายการจัดการศึกษาปฐมวัย
6. พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 กับการจัดการศึกษาปฐมวัย
3. กิจกรรมกำรเรียนรู้
1. ศึกษาเอกสารประกอบการสอนรายวิชาการศึกษาปฐมวัย
2. แบ่งกลุ่มศึกษาเอกสาร วิเคราะห์ระดมความคิดเห็น
3. ตัวแทนกลุ่มนาเสนอผลการศึกษา ระดมความคิดเห็น
4. บรรยาย อภิปราย ซักถาม สรุป
5. การศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับขอบข่ายการศึกษาปฐมวัย
6. ทดสอบหลังเรียน และแบบฝึกหัดท้ายบท
4. สื่อกำรเรียนเรียนรู้
1. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการศึกษาปฐมวัย
2. สไลด์ประกอบการสอน (Power point)
3. เว็บไซต์อาจารย์ผู้สอน Internet
4. หนังสือ ตารา วารสาร และงานวิจัยทางการศึกษาปฐมวัย
5. ซีดี วีดีโอ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัย
2
5. กำรประเมินผล
1. การทดสอบหลังเรียน และแบบฝึกหัด
2. ผลการอภิปรายซักถาม การตอบคาถาม
3. การนาเสนอรายงานผลการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
4. รูปเล่ม ผลงาน การศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
3
บทที่ 1
บทนำ
เนื่องจากสภาพสังคมไทยในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านเศรษฐกิจและค่านิยมใน
การดาเนินชีวิต พ่อแม่ต้องออกไปทางานนอกบ้านทาให้มีเวลาดูแลลูกน้อยลงเด็กเล็ก ๆ ที่
ยังไม่ถึง วัยเรียนจึงขาดคนดูแล ทาให้พ่อแม่ต้องส่งลูกไปรับบริการอบรมเลี้ยงดูในสถาน
รับเลี้ยงเด็กหรือ โรงเรียนอนุบาลของรัฐบาลได้เล็งเห็นความสาคัญในเรื่องนี้ จึงได้วาง
นโยบายสนับสนุนการจัดการศึกษาปฐมวัยโดยรัฐรับภาระจัดเองส่วนหนึ่ง และส่งเสริมให้
เอกชนและสถาบัน ต่าง ๆ ในสังคมช่วย อบรมเลี้ยงดูเด็กแทนพ่อแม่ จัดการอบรมเลี้ยงดู
เด็กอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยไม่ใช่การจัดการศึกษาภาคบังคับ โดย
การจัดการศึกษาภาคบังคับเป็นการจัดการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่หนึ่งเป็นต้น
ไป การจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่มีความสาคัญที่สุด โดยนักการศึกษาและ
นักจิตวิทยามีความคิดเห็นที่สอดคล้องกันว่าเด็กวัยแรกเกิดจนถึง 6 ขวบ เป็นวัยที่สาคัญ
ต่อการวางรากฐานบุคลิกภาพและการพัฒนาสมอง การจัดการศึกษาสาหรับเด็กวัยนี้จึงมี
ความสาคัญต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในทุกๆ ด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม
และสติปัญญา ตลอดจนส่งเสริมการเจริญเติบโตของเด็กให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพ เพื่อให้
มีความพร้อมที่เรียนในระดับที่สูงขึ้นต่อไปในอนาคต ในบทที่จะได้กล่าวถึงกล่าวถึง
ความเชื่อมโยงและส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยในภาพรวมตามหัวข้อ
ต่อไปนี้
1. ความหมายของเด็กปฐมวัย
2. ความสาคัญของเด็กปฐมวัย
3. การจัดการศึกษาปฐมวัย
4. ความสาคัญของการจัดการศึกษาปฐมวัย
5. ความมุ่งหมายการจัดการศึกษาปฐมวัย
6. พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 กับการจัดการศึกษาปฐมวัย
1. ควำมหมำยของเด็กปฐมวัย
คาว่าเด็กปฐมวัยอาจทาให้หลาย ๆ คนมีความเข้าใจที่แตกต่างกันไปโดยเฉพาะช่วง
อายุของเด็ก เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยตรงกัน จึงขออธิบาย
ความหมายของเด็กจากบุคคลและหน่วยงานที่ให้ความหมายเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยดังนี้
4
หรรษา นิลวิเชียร (2535 : 1) ให้ความหมายของเด็กปฐมวัยไว้ว่า เด็กปฐมวัย
หมายถึง เด็กที่มีอายุระหว่าง 2 – 8 ปี
พัชรี สวนแก้ว (2536 : 3) เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่มีอายุ 1 ปี 6 เดือน – 6 ปี
สมร ทองดี (2537 : 7) เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี
ประกายรัตน์ ภัทรธิติ (2539 : 10) เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่มีช่วงอายุระหว่าง 3
– 6 ปี ซึ่งเป็นระยะที่เด็กกาลังเจริญเติบโต สามารถพึ่งตนเองได้
เยาวพา เดชะคุปต์ (2542 : 2) เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่มีอายุตั้งแต่ปฏิสนธิ
จนถึง 6 ปี ทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษา ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์
สังคม และสติปัญญากาลังพัฒนาอย่างเต็มที่
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช (2537 : 12) เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่มีอายุ
แรกเกิด – 6 ปี
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2543 : 10) เด็กปฐมวัย หมายถึง
เด็กที่มีอายุระหว่าง 0 – 5 ปี (เด็กตั้งแต่แรกปฏิสนธิถึงอายุ 5 ปี 11 เดือน 29 วัน)
จากที่กล่าวมาทั้งหมดสรุปได้ว่า เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิด –
5 ปี 11 เดือน 29 วัน โดยคาว่าแรกเกิด หมายถึง หลังจากที่มีการปฏิสนธิ แต่การนับอายุ
ของเด็กปฐมวัยจะเริ่มนับเมื่อเด็กคลอดออกมาแล้ว การนับอายุของเด็กปฐมวัยจะไม่นับ
รวมเมื่อเด็กยังอยู่ในครรภ์มารดา เพราะว่า ตามกฎหมายได้กาหนดไว้เมื่อเด็กคลอดออก
มาแล้วยังมีชีวิตบิดามารดาจึงสามารถแจ้งกับเจ้าหน้าที่เพื่อขอรับใบสูติบัตร ดังนั้นการนับ
อายุตามกฎหมายจะเริ่มเมื่อเด็กคลอดออกมาแล้วอย่างปลอดภัย แต่นักการศึกษาจะถือว่า
หลังจากที่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้นขณะที่เด็กอยู่ในครรภ์มารดาก็ถือว่าเป็นเด็กปฐมวัย
เพราะว่าเด็กได้มีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่น พัฒนาการทางด้านร่างกาย
พัฒนาการทางด้านสติปัญญา เป็นต้น ซึ่งพัฒนาการของเด็กที่อยู่ในครรภ์มารดานั้นจะ
ส่งผลต่อเด็กหลังจากที่เด็กคลอดแล้ว
2. ควำมสำคัญของกำรพัฒนำเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่มีความสาคัญเพราะเด็กวัยนี้เป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการด้าน
ต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ถ้าเรา
สามารถส่งเสริมเด็กในวัยนี้ได้ตรงกับความสนใจและความสามารถของเด็กจะทาให้
การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีผู้ให้ความสาคัญกับเด็กปฐมวัยดังนี้
5
ประกายรัตน์ ภัทรธิติ (2539 : 11 - 12) ได้กล่าวถึงความสาคัญของเด็กปฐมวัย
ดังนี้
1. ประสบการณ์วัยเด็กนับเป็นสิ่งสาคัญและมีอิทธิพลต่อพัฒนาการด้าน
บุคลิกภาพของบุคคลที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต
2. สังคมที่แวดล้อมตัวเด็กสามารถกาหนดให้เด็กมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกันได้ และ
การกาหนดบุคลิกภาพของเด็กนี้จะเกิดขึ้นได้ง่ายเมื่อเด็กยังมีประสบการณ์ไม่มากนัก
3. เด็กปฐมวัยจะเริ่มเรียนรู้โลกภายนอกมากขึ้นและรู้จักปรับตัวให้เข้ากับ
สภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมหากได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่สอดคล้องกับความต้องการ
ตามวัย
วราภรณ์ รักวิจัย (2540 : 13) ได้กล่าวถึงความสาคัญของเด็กปฐมวัยไว้ดังนี้
1. เด็กเป็นผู้สืบทอดความดีงามต่าง ๆ จากผู้ใหญ่
2. เป็นมนุษย์ที่มีสิทธิ์ที่จะได้รับการตอบสนองความต้องการต่าง ๆ จากผู้ใหญ่ใน
สังคมที่เด็กเป็นสมาชิกอยู่ด้วย
3. เป็นมนุษย์ที่ไม่ใช่มีแต่สิทธิ์ แต่ต้องมีความรับผิดชอบที่จะปฏิบัติตนให้สมกับสิทธิ
ที่เขาได้รับ
4. เป็นตัวแทนของกลุ่มเยาวชน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสาคัญยิ่งส่วนหนึ่งของสังคม
มนุษย์
5. เพราะความดีเลวของเด็กวัยนี้สะท้อนให้เห็นคุณภาพของประชากรในอนาคต
ของสังคมโลก
6. เพราะเขามีพื้นเดิมของจิตใจบริสุทธิ์สะอาด ให้ตระหนักในความสาคัญใน
กระบวนการซึมซาบที่จะช่วยให้เด็กนั้นได้เติบโตเป็นพลเมืองที่ดี มีคุณภาพและคุณธรรม
ส่งเสริมความมั่นคงแห่งครอบครัว วงศ์ตระกูล สังคมตลอดจนประเทศชาติต่อไปด้วย
เยาวพา เดชะคุปต์ (2542 : 13) ได้สรุปความสาคัญของเด็กปฐมวัยว่า ช่วงปฐมวัย
เป็นช่วงที่สาคัญยิ่ง เพราะเป็นช่วงที่พัฒนาการทุกด้านเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้าน
ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา การพัฒนาเด็กในช่วงวัยนี้ จะเป็นการวางพื้นฐาน
ทางด้านจิตใจ อุปนิสัยและความสามารถ ซึ่งจะมีผลต่อไปในอนาคตของเด็กและของชาติ
ในที่สุด
นอกจากนี้ นันทิยา น้อยจันทร์ (2549 : 62) ได้กล่าวถึง ความสาคัญของเด็ก
ปฐมวัย และการพัฒนาเด็กปฐมวัยดังนี้
6
1. การพัฒนามนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ จาเป็นต้องเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ช่วง
ปฐมวัยและต่อเนื่องตลอดชีวิต
2. หลักวิชาและการวิจัยได้แสดงว่า ปัจจัยแวดล้อมการเลี้ยงดูที่เหมาะสมสามารถ
เปลี่ยนโครงสร้างและประสิทธิภาพการทางานของสมองมนุษย์ได้ เวลาที่สาคัญและจาเป็น
ที่สุดในการพัฒนาสมองคือในช่วง 5 ปี แรกของชีวิต
3. การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ที่ยั่งยืน และป้องกันปัญหาสังคมในระยะยาว
จาเป็นต้องเริ่มพัฒนาตั้งแต่ปฐมวัย โดยเน้นให้ครอบครัวเป็นแกนหลักและชุมชนเป็นฐานที่
มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการพัฒนาเลี้ยงดูเด็กทุกขั้นตอน
4. แนวคิดในการพัฒนาเด็กเพื่อให้มีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุล นับตั้งแต่
ปฏิสนธิ จวบจนเจริญวัย จาเป็นต้องมีการตื่นตัวและผนึกกาลังกันทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและ
เอกชนร่วมกันส่งเสริมครอบครัวให้พ่อแม่ มีความรักและความรู้สามารถเลี้ยงดูบุตรหลาน
ได้ถูกวิธี
5. ผู้ดูแลเด็ก ครู รวมทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข มีบทบาทสาคัญยิ่งต่อการพัฒนา
เด็กปฐมวัยให้เจริญเติบโตไปในทางที่พึงประสงค์ บุคคลเหล่านี้ต้องมีหลักวิชาและทักษะที่
ถูกต้องในการเลี้ยงดูเด็ก
นอกจากที่กล่าวมาเด็กปฐมวัยยังมีความสาคัญต่อสถาบันที่เล็กที่สุดในสังคมคือ
ครอบครัว ครอบครัวถือว่าเป็นหน่วยย่อยที่สุดในสังคมที่จะต้องรับผิดชอบในการอบรม
เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยโดยตรง และเด็กปฐมวัยมีความสาคัญต่อครอบครัวเพื่อทาให้ครอบครัว
มีความสมบูรณ์มากขึ้น และมีความสาคัญต่อครอบครัวดังนี้
1. เป็นสมาชิกในครอบครัว
2. ทาให้ครอบครัวมีความสมบูรณ์มากขึ้น
3. ทาให้พ่อแม่มีความรักสามัคคีต่อกันเพิ่มขึ้น
4. เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ของพ่อแม่ผู้ปกครอง
5. ทาให้พ่อแม่มีความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่มากขึ้น
6. เป็นความหวังของพ่อแม่ผู้ปกครองในอนาคต
นอกจากเด็กปฐมวัยมีความสาคัญในครอบครัวแล้ว ยังความสาคัญในฐานะที่เป็น
สมาชิกของสังคมและประเทศชาติ ดังนี้
1. เป็นสมาชิกใหม่ของสังคม
2. เป็นผู้สืบทอดประเพณีศิลปวัฒนธรรมของชุมชนหรือท้องถิ่น
3. เป็นผู้เชื่อมโยงความรักความผูกพันของบุคคลในสังคมให้ดีขึ้น
7
4. เป็นความหวังของชุมชนและสังคมและเป็นผู้กาหนดโครงสร้างของสังคมใน
อนาคต
นอกจากนี้เด็กปฐมวัยยังมีความสาคัญในด้านการเตรียมการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น
จากพื้นฐานการศึกษาในระดับปฐมวัย และการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ดังนี้
1. เป็นวัยที่เหมาะสมในการเตรียมความพร้อมทุกด้าน
2. เป็นวัยที่เหมาะสมในการวางพื้นฐานการพัฒนาเด็กในอนาคต
3. เป็นวัยที่มีการพัฒนาศักยภาพทางสมองที่รวดเร็ว
4. เป็นวัยที่มีพฤติกรรมที่แสดงออกที่หลากหลายบางครั้งทาให้ยากแก่ความเข้าใจ
5. เป็นวัยที่ผู้ปกครองเข้าใจเด็กไม่รอบด้าน หรือตีความหมายของพฤติกรรมเด็ก
ผิดได้ง่าย ๆ
6. เป็นวัยที่มีความน่าสนใจในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการมากขึ้น
7. เป็นวัยที่มีเครือข่ายทางสังคม หน่วยงานต่าง ๆ และโดยเฉพาะทางการศึกษาให้
ความสนใจการพัฒนาเด็กวัยนี้เป็นพิเศษ
8. ทาให้เกิดความรู้ในศาสตร์ปฐมวัยเพิ่มมากขึ้น จากการศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้
ใหม่ ๆ โดยเฉพาะการวิจัย เป็นต้น
จากที่กล่าวมาทั้งหมดสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้
1. เป็นผู้สืบทอดประเพณี วัฒนธรรมทางสังคมต่อจากผู้ใหญ่
2. เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสาคัญต่อประเทศชาติ
3. เป็นช่วงวัยที่พร้อมจะเรียนรู้ และสามารถเรียนรู้ได้รวดเร็ว
4. เป็นช่วงวัยที่เหมาะสมในการส่งเสริมบุคลิกภาพ
5. เป็นช่วงวัยที่เชลล์สมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
6. เป็นบุคคลที่ทาให้สถาบันครอบครัวมีความสมบูรณ์
7. เป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพประชากรของประเทศชาติในอนาคต
8. เป็นช่วงวัยที่เหมาะสมในการเตรียมความพร้อมทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย
อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
3. กำรจัดกำรศึกษำปฐมวัย
การจัดการศึกษาปฐมวัย หมายถึงการจัดการศึกษาสาหรับเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ
6 ปี การจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทยจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป คือ การศึกษา
ก่อนวัยเรียนการอนุบาลศึกษาปฐมวัยศึกษา การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา การศึกษา
8
ระดับ เด็กเล็กการศึกษาปฐมวัย ซึ่งไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรก็ตามการจัดการศึกษาใน
ระดับนี้ก็คือการจัดการศึกษาสาหรับวัยแรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี การจัดการศึกษาในระดับ
นี้ เป็นการวางพื้นฐานทางการศึกษาให้แก่เด็กในระยะเริ่มต้น โดยมุ่งเตรียม ความพร้อม
เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา มีบุคลิกภาพที่
เหมาะสมตามวัยให้พร้อมที่จะเรียนในระดับต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม ความหมายของ
การจัดการศึกษาปฐมวัยในต่างประเทศ เช่น อเมริกาจะหมายถึง “โปรแกรมการศึกษาที่
จัดให้แก่เด็กแรกเกิด - 8 ปี” (Bredekamp and Copple. : 1997)
คาร์เตอร์ วี กู๊ด (Carter V Good) การจัดการศึกษาปฐมวัย หมายถึง โครงการหรือ
หลักสูตรที่จัดสาหรับเด็กในโรงเรียนเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาลหรือชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 3
ฮิมส์ (Hymes) การจัดการศึกษาปฐมวัย หมายถึง การจัดการศึกษาสาหรับเด็ก
อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี ซึ่งการจัดการศึกษาดังกล่าวจะเป็นลักษณะพิเศษที่แตกต่าง
ไปจากระดับอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะเด็กในวัยนี้เป็นวัยที่สาคัญต่อการวางรากฐานบุคลิกภาพและ
การพัฒนาสมอง
เยาวพา เดชะคุปต์ (2542 : 14) การจัดการศึกษาปฐมวัย หมายถึง การจัด
การศึกษาสาหรับเด็กตั้งแต่อายุแรกเกิดจนถึง 6 ปี ซึ่งการจัดการศึกษาดังกล่าวจะมี
ลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากระดับอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะเด็กในวัยนี้เป็นวัยที่สาคัญต่อ
การวางรากฐานบุคลิกภาพและการพัฒนาสมอง การจัดการศึกษาสาหรับเด็กในวัยนี้มีชื่อ
เรียกต่างกันหลายชื่อซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มีวิธีการลักษณะในการจัดกิจกรรมซึ่งมี
จุดมุ่งหมายที่จะช่วยพัฒนาเด็กในรูปแบบแตกต่างกัน
ที่กล่าวมาสรุปได้ว่า การจัดการศึกษาปฐมวัย หมายถึง การจัดการศึกษาสาหรับ
เด็กหรือการจัดประสบการณ์สาหรับเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปี เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยทุก
ด้านทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญารวมทั้งการวางรากฐานในการพัฒนา
บุคลิกภาพ เพื่อให้เด็กมีความสมบูรณ์ทุกด้านโดยใช้วิธีการที่หลากหลายหรือลักษณะ
พิเศษที่มีความเหมาะสม
รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัย
รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบันมีหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีส่วนร่วม
รับผิดชอบจัดการศึกษาระดับปฐมวัยมากขึ้น ดังนั้นการจัดการศึกษาจึงมีรูปแบบที่แตกต่าง
กันไปบ้างทั้งในเรื่องของการจัดชั้นเรียน เวลาเรียน และวัยของเด็กที่เข้าเรียน ดังนี้
9
1. สถานรับเลี้ยงเด็ก หมายถึง สถานที่รับเลี้ยงดูเด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดโดยรับ
เลี้ยงเฉพาะช่วงหนึ่ง ๆ เช่นแรกเกิด – อายุ 2 ปี หรืออายุ 2-3 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบ
การดาเนินงานและ วัตถุประสงค์ของการดาเนินงานของแต่ละหน่วยงาน
2. ศูนย์เด็กเล็ก หรืออาจเรียกว่า ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ หรืออาจจะเรียกอย่างอื่นอีก แม้ว่าศูนย์เด็กเล็กจะมีชื่อเรียก
แตกต่างกันไปในแต่ละหน่วยงาน แต่มีลักษณะการดาเนินงานที่คล้ายคลึงกัน คือมุ่งให้เป็น
สถานที่อบรมเลี้ยงดูเด็กตั้งแต่ช่วงอายุ 2-6 ปี ลักษณะของงานให้บริการเน้น การดูแล
สุขภาพอนามัยให้สวัสดิศึกษา และส่งเสริมให้พัฒนาด้านสังคม อารมณ์ ร่างกาย และด้าน
สติปัญญา
3. โรงเรียน โรงเรียนที่ให้การศึกษากับเด็กวัยนี้คือ โรงเรียนอนุบาล เป็นการจัด
การศึกษาแบบมีระบบ รับเด็กตั้งแต่อายุ 2 ปี 6 เดือน - 6 ปี ซึ่งยืดหยุ่นไปตาม
หน่วยงานที่โรงเรียนสังกัด เช่น โรงเรียนเอกชนส่วนใหญ่จะมีหลักสูตรอนุบาล 3 ปี รับ
เด็กตั้งอายุ 3 – 6 ปี หรือในบางแห่งอาจเริ่มรับเด็กตั้งแต่อายุ 2 ปี โรงเรียนอนุบาล
สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เดิมคือ สานักงานคณะกรรมการการ
ประถมศึกษาแห่งชาติ) ใช้หลักสูตร 2 ปี รับเด็กตั้งแต่อายุ 4 – 5 ปี ส่วนโรงเรียนอีก
ลักษณะหนึ่ง คือ โรงเรียนประถมศึกษาที่เปิดสอนชั้น เด็กเล็กหลักสูตร 1 ปี รับเด็ก
อายุ 5 – 6 ปี
ดังที่กล่าวมาแล้วจะเห็นว่าการจัดการศึกษาสาหรับเด็กวัยนี้สามารถจัดได้หลาย
รูปแบบ มีหน่วยงานที่จัดหลายหน่วยงานและเรียกชื่อต่างกันดังนั้นจึงมีนักการศึกษาหลาย
ท่านที่กาหนดให้การศึกษาปฐมวัยเป็นการศึกษาสาหรับเด็กวัย 3 – 6 ปี โดยกาหนดอายุ
เริ่มต้นที่วัย 3 ขวบ เพราะเป็นวัยที่เข้ารับการศึกษาในระบบโรงเรียนอนุบาล อย่างไรก็
ตามการศึกษาสาหรับเด็กวัยนี้สามารถเริ่มต้นได้จากครอบครัวหรือหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่
โรงเรียนอนุบาล การศึกษาปฐมวัยในประเทศไทยจึงหมายรวมถึงการจัดการศึกษาและการ
อบรมเลี้ยงดูเด็กตั้งแต่วัยแรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี ซึ่งเป็นความหมายที่นิยมใช้กันใน
ปัจจุบัน
4. ควำมสำคัญของกำรศึกษำปฐมวัย
การจัดการศึกษาปฐมวัยเริ่มมีขึ้นโดยมีบุคคลที่มีความคิดริเริ่มในประเทศต่าง ๆ
ได้วางรากฐานการจัดการศึกษาระดับนี้โดยเล็งเห็นความสาคัญของการเจริญเติบโตของ
เด็กและปัญหาการอบรมเลี้ยงดูซึ่งในการเรียนรู้ของเด็กได้อาศัยความเข้าใจในธรรมชาติ
10
และสิ่งแวดล้อมของเด็กเป็นสาคัญ บุคคลที่ควรกล่าวถึงในวงการการศึกษาปฐมวัย ซึ่ง
จัดได้ว่าเป็นแนวคิดต้นแบบของการศึกษาปฐมวัย ได้แก่ รูสโซ (Rousseau) เปสตาลอชซี่
(Pestalozzi) เฟรอเบล (Froebel) มอนเตสซอรี่ (Montessori) และ ดิวอี้ (Dewey) “และใน
ระยะเวลาต่อมาได้มีนักการศึกษาอีกหลายท่านที่ได้นาแนวคิดดังกล่าวมาสานต่อในเรื่อง
ของการจัดการปฐมวัยศึกษา ซึ่งได้แก่ คอนสแตน คามิ (Constant kamii) ลิเลียน เคทส์
(Lilian Katz) เดวิด เอลไคนด์ (David Elkind) และเดวิด ไวท์คาร์ท (David Weikart)” และ
ได้กล่าวถึงความสาคัญของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยดังนี้
สมร ทองดี (2537 : 11 –14) กล่าวถึงความสาคัญของการจัดการศึกษาปฐมวัย
สรุปได้ดังนี้
1. ความสาคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นักจิตวิทยาและนักการศึกษา
หลายท่านมีความเห็นที่สอดคล้องกันว่าเด็กปฐมวัย เป็นวัยเริ่มต้นของชีวิตมนุษย์ และ
นับเป็นช่วงวัยที่สาคัญที่สุดช่วงหนึ่ง เพราะเป็นช่วงวัยของการวางรากฐานและเตรียมตัว
เพื่อชีวิตทั้งยังเป็นช่วงระยะที่เกิดการเรียนรู้มากที่สุดในชีวิตด้วยดังเช่น
ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) อธิบายว่าวัยเริ่มต้นของชีวิตมนุษย์ คือระยะ 5
ปีแรก ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้รับในช่วงนี้จะมีอิทธิพลต่อชีวิตของบุคคลนั้นจนชั่วชีวิต
อิริก อิริคสัน (Erik Erikson) มีความเห็นสอดคล้องกับฟรอยด์เช่นกัน และอิริคสัน
ชี้ให้เห็นว่าเด็กอายุระหว่าง 3 - 6 ขวบ จะเริ่มพัฒนาความสามารถพร้อม ๆ กับความคิด
ริเริ่มสร้างสรรค์ และต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ดังนั้น ถ้าเด็กในวัยนี้ได้รับการส่งเสริมอย่าง
ถูกต้องเหมาะสมก็ย่อมจะส่งผลให้เด็กเติบโตเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของสังคม
ฮาวิกเฮอร์สท์ อาร์.เจ. (Havighurst R.J.) กล่าวว่า บุคคลแต่ละวัยจะพัฒนาไปตาม
ขั้นจากวัยเด็กจนถึงวัยชรา ซึ่งเรียกว่า งานตามขั้นพัฒนาการ (Developmental Tasks) งาน
ตามขั้นพัฒนาการ หมายถึง งานที่บุคคลแต่ละวัยสามารถเรียนรู้ได้เป็นปกติธรรมดาเมื่อ
ได้รับการส่งเสริมในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม และเขาได้ย้าว่าถ้าเด็กรู้จักปรับตัวและประสบ
ความสาเร็จในงานพัฒนาการตั้งแต่ปฐมวัย เด็กก็จะมีความสุขและนาไปสู่ความสาเร็จใน
งานพัฒนาการขั้นสูงในวัยต่อไปได้ และในทางตรงกันข้าม ถ้าเด็กประสบความล้มเหลวใน
การเรียนรู้ตั้งแต่ปฐมวัย เด็กย่อมจะประสบปัญหาการเรียนรู้ในระยะต่อมาด้วย ดังนั้นถ้า
เด็กปฐมวัยได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการแล้ว ย่อมเป็น
การส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพของสังคมและ
ประเทศชาติได้
11
2. ความสาคัญต่อการเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ นักจิตวิทยาหลายท่าน
มีความเห็นสอดคล้องกันว่าช่วงวิกฤติของชีวิตในระยะ 5 ปี แรกเป็นระยะสาคัญใน การ
วางรากฐานด้านบุคลิกภาพของมนุษย์ ดังนั้น การพัฒนาคุณภาพของประชากรจึง
จาเป็นต้องเริ่มพัฒนาตั้งแต่ระยะปฐมวัยเพื่อให้เติบโตขึ้นเป็นคนที่มีคุณภาพและมี
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคมและประเทศชาติ
3. ความสาคัญต่อกระบวนการจัดการศึกษา เพียเจท์ (Jean Piaget) ผู้สร้างทฤษฎี
ทางสติปัญญาที่ได้รับการยอมรับแพร่หลายที่สุด กล่าวว่า เด็กในช่วงอายุ 2-6 ขวบเป็น
ช่วงวัยที่เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาพูดและสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดีแต่ความสามารถใน การ
เรียนรู้ยังอยู่ในลักษณะจากัด ดังนั้นเด็กในวัยนี้จึงจาเป็นต้องฝึกทักษะการใช้ประสาทสัมผัส
ให้มากขึ้น ซึ่งการจัดสภาพแวดล้อมและประสบการณ์ที่เหมาะจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาใน
ด้านการคิด และพัฒนาการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาโครงสร้างทางสติปัญญาในขั้นต่อไปให้
สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
การจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ถึงแม้จะไม่เป็นการศึกษาภาคบังคับแต่ก็เป็น การ
จัดการศึกษาให้แก่เด็กในระยะแรก ที่มุ่งเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กเพื่อให้เด็กได้รับการ
พัฒนาทุกด้านอย่างครอบคลุมทุกด้าน ได้แก่ การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย
อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งการพัฒนาคุณธรรมและเสริมสร้างบุคลิกภาพ
ที่เหมาะสม เพื่อเป็นพื้นฐานไปสู่การดารงชีวิตในสังคมอย่างเป็นสุขและมี ความพร้อมใน
การเรียนรู้ในขั้นต่อไปได้ตามศักยภาพแห่งตน
กระบวนการศึกษาของมนุษย์ เป็นกระบวนการที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอด
ชีวิต เพราะมนุษย์จาเป็นต้องเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนอยู่เสมอ ดังนั้นการส่งเสริมให้
เด็กเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จะช่วยส่งเสริมให้เด็กสามารถพัฒนาตนเองไปตาม
ศักยภาพของตนอย่างต่อเนื่องและการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ทุกแห่งไม่ใช่เฉพาะในห้องเรียน
เท่านั้น ส่วนหนึ่งเด็กจะเรียนรู้จากประสบการณ์ในชีวิตประจาวันและจากการสอนอย่าง
เป็นทางการ ดังนั้น การจัดการศึกษาสาหรับเด็กจึงควรจัดให้สอดคล้องและต่อเนื่องกันไป
ในทุกระดับและการศึกษาปฐมวัยถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่สาคัญของกระบวนการพัฒนา
มนุษย์
4. ความสาคัญต่อการวางรากฐานในการพัฒนาประเทศ การพัฒนาประเทศชาติ
นั้นจะต้องเริ่มต้นจากการพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพ โดยมีคุณลักษณะเป็นทั้งคนเก่ง
และคนดี เป็นบุคคลที่มีทั้งสติปัญญา ความรู้ความสามารถและมีคุณธรรมจริยธรรม ซึ่ง
12
คุณสมบัติต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องได้รับการปลูกฝัง อบรมสั่งสอนตั้งแต่ยังเด็ก การพัฒนา
จะต้องอาศัยความร่วมมือจากสถาบันทางสังคมทุกสถาบันร่วมกันพัฒนาเด็กตั้งแต่เยาว์วัย
ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่มี
ความสาคัญต่อการวางรากฐานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เสริมสร้างคุณลักษณะที่พึง
ประสงค์ทั้งยังมีความสาคัญต่อกระบวนการจัดการศึกษาและการพัฒนาประเทศด้วย
5. ควำมมุ่งหมำยของกำรศึกษำปฐมวัย
เด็กเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า ในอนาคตจะต้องเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่เป็น
พลเมืองของประเทศชาติต่อไป การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องกระทาต่อเนื่องตลอด
ชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาเด็กซึ่งเป็นอนาคตของชาติจะต้องเริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิ
จนถึงวัยที่เกิดการเรียนรู้มากที่สุดในชีวิตการเรียนรู้เหล่านี้มีอิทธิพลต่อชีวิตในอนาคตของ
เด็กเป็นอย่างยิ่งการจัดการศึกษาสาหรับเด็กวัยนี้ จึงมีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมให้เด็กแต่
ละคนได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคม และสติปัญญา
มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และคุณลักษณะตามวัยซึ่งได้แก่ การมีพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน
เหมาะสมตามวัยโดยหลักสูตรก่อนประถมศึกษา พุทธศักราช 2540 กรมวิชาการ (2540)
ได้กาหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในการพัฒนาเด็กแต่ละวัยดังนี้
1. เด็กวัยแรกเกิดถึง 1 ปี คุณลักษณะที่พึงประสงค์
1.1 มีร่างกายเจริญเติบโตตามวัย ตามเกณฑ์มาตรฐาน
1.2 มีความสามารถในการใช้อวัยวะของร่างกายได้ประสานสัมพันธ์กัน
1.3 มีความสุขร่าเริงแจ่มใส อารมณ์มั่นคง สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้
1.4 มีความเข้าใจและสามารถใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายได้เหมาะสมตามวัย
2. เด็กวัย 1 - 3 ปี
คุณลักษณะที่พึงประสงค์
มีร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ เจริญเติบโตตามวัยมีพฤติกรรมอนามัยที่เหมาะสม
2.1 มีสุขภาพจิตดี ยิ้มแย้ม แจ่มใส มีความสุขและมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและ
ผู้อื่น
2.2 ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย
2.3 เล่นและทากิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
2.4 มีความสามารถในการใช้ภาษาได้เหมาะสมตามวัย
2.5 มีความสนใจต่อการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว
13
3. เด็กวัย 3 – 6 ปี
คุณลักษณะที่พึงประสงค์
3.1 มีสุขภาพดี เจริญเติบโตตามวัยและมีพฤติกรรมอนามัยที่เหมาะสม
3.2 ใช้กล้ามเนื้อใหญ่กล้ามเนื้อเล็กได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
3.3 ร่าเริง แจ่มใส มีความสุข และมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น
3.4 มีคุณธรรมและจริยธรรม มีวินัยในตนเอง และมีความรับผิดชอบ
3.5 ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับสภาพและวัย
3.6 อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบ
ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
3.7 รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมในท้องถิ่น และความเป็นไทย
3.8 ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
3.9 มีความสามารถในการคิด การแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัยและมีเจตคติที่ดี
ต่อการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ
3.10 มีจินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
จุดหมายตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546
กรมวิชาการ. (2546 : 31) ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการพัฒนาเด็กปฐมวัย และ
จุดมุ่งหมายของหลักสูตร ดังต่อไปนี้
1. เด็กอายุต่ากว่า 3 ปี มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาเด็กปฐมวัยดังต่อไปนี้
1. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขภาพดี
2. ใช้อวัยวะของร่างกายได้อย่างคล่องแคล่วประสานสัมพันธ์กัน
3. มีความสุขและแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับวัย
4. รับรู้และสร้างปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
5. ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย
6. สื่อความหมายและใช้ภาษาได้เหมาะสมกับวัย
7. สนใจเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว (กรมวิชาการ. 2546 : 9)
2. เด็กอายุ 3 – 5 ปี มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาเด็กปฐมวัยดังต่อไปนี้
1. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย และมีสุขนิสัยที่ดี
2. กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสาน
สัมพันธ์กัน
14
3. มีสุขภาพจิตดี และมีความสุข
4. มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม
5. ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และการรักการออก
กาลังกาย
6. ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย
7. รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย
8. อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมใน
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
9. ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
10. มีความสามารถในการคิดและแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย
11. มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
12. มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีทักษะในการแสวงหาความรู้
6. พระรำชบัญญัติกำรศึกษำแห่งชำติ พ.ศ. 2542 กับกำรจัดกำรศึกษำปฐมวัย
ใน พ.ศ. 2542 ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
ฉบับแรกขึ้น ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 25542 เป็นต้นมา และถือว่าเป็น
กฎหมายแม่แบบที่เป็นหัวใจสาคัญในการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ การปฏิรูป
การศึกษาของไทยตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 นี้ ถือว่าเป็น
ปฏิรูปครั้งใหญ่ของประเทศ ครั้งที่ 2 นับตั้งแต่มีการปฏิรูปการศึกษาครั้งแรก ในสมัย
รัชกาลที่ 5
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กล่าวถึงการจัดการศึกษาตลอด
ชีวิตสาหรับประชาชน กล่าวคือการศึกษาครอบคลุมตั้งแต่แรกเกิดจนตาย โดยมุ่งเน้น
การจัดการศึกษาที่ให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่
น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายตามมติของ
คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2542 โดยให้ทุกส่วนของสังคมมีส่วนร่วมใน
การจัดการศึกษาปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี ในที่นี้นั้นจะครอบคลุมชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยไม่ครอบคลุมการศึกษาปฐมวัย อย่างไรก็ตาม
รัฐบาลยังคงให้ความสาคัญแก่การพัฒนาเด็กปฐมวัย ซึ่งหมายถึงเด็กในช่วงระหว่าง 0- 5
ปี (เด็กตั้งแต่แรกปฏิสนธิ ถึง อายุ 5 ปี 11 เดือน 29 วัน วัน) จึงมีการจัดทาแผนปฏิบัติการ
ในนโยบาย และมาตรฐานการพัฒนาเด็กปฐมวัยที่ครอบคลุมเด็ก 0 – 5 ปี
15
แนวกำรจัดกำรศึกษำ
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แนวการจัดการศึกษาปฐมวัย
นั้นให้เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ และจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัย ความถนัด
ความสนใจ และสัมพันธ์กับวิถีชีวิตตามธรรมชาติของผู้เรียน ดังที่ปรากฏในมาตราที่ 24
วรรค 1 – 6 ดังนี้
1. จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของ
ผู้เรียน โดยคานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์
ความรู้มาใช้เพื่อป้องกัน และแก้ปัญหา
3. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทาได้ คิด
เป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้
4. จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วน
สมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุก
วิชา
5. ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมสื่อการเรียน
และอานวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้
การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนและผู้เรียนอาจเรียนรู้
ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอน และแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ
6. จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับ
บิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
รูปแบบกำรจัดกำรศึกษำ
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2543 : 10) รูปแบบการจัดการศึกษา
ปฐมวัยสามารถทาได้ใน 3 รูปแบบ คือ
1. การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กาหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร
ระยะเวลาของการศึกษา การวัดผลและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสาเร็จการศึกษา
ที่แน่นอน
2. การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกาหนดจุดมุ่งหมาย
รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษาการวัดและประเมินผล ซึ่งเป็น
16
เงื่อนไขสาคัญของการสาเร็จการศึกษาโดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสม
สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
3. การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนด้วยตนเองตาม
ความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม
สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่น ๆ
นอกจากนี้ นันทิยา น้อยจันทร์ (2549 : 63 – 67) ตามแผนพัฒนาการศึกษา
แห่งชาติ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2540 – 2544 ได้กล่าวถึง นโยบาย เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ ใน
การพัฒนาเด็กปฐมวัยดังนี้
1. นโยบาย
นโยบายที่สาคัญด้านการจัดการศึกษาและพัฒนาเด็กปฐมวัยช่วงอายุ 0 – 5 ปี
เพื่อให้เด็กปฐมวัยทุกคนได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ โดยให้ทุกส่วนของสังคมมีส่วนร่วมใน
การบริหารจัดการให้สอดคล้องกับสภาพของท้องถิ่นและผู้รับบริการ
2. เป้าหมาย
เป้าหมายที่สาคัญสาหรับการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ
ฉบับที่ 8 มีดังนี้
1. เด็กอายุ 0 – 5 ปี ทุกคน
2. พ่อแม่ สมาชิกในครอบครัว ผู้เตรียมตัวเป็นพ่อแม่
3. ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กโดยตรง ได้แก่ ครู ผู้ดูแลเด็ก พี่เลี้ยงเด็ก ผู้เลี้ยงดูเด็ก
ผู้สูงอายุที่ดูแลเด็ก เจ้าหน้าที่สาธารณสุข นักสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ
4. ชุมชน ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรชุมชนต่าง ๆ ผู้นาทางศาสนา
อาสาสมัครในรูปแบต่าง ๆ กลุ่มอาชีพ นักเรียน/เยาวชน ฯลฯ
5. สังคม ได้แก่ สถาบันทางสังคม สื่อมวลชน นักวิชาชีพและองค์กรวิชาชีพต่าง ๆ
องค์กรของรัฐ องค์กรเอกชน ฯลฯ
3. ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 8 มีดังนี้
1. การพัฒนาเด็กอายุต่ากว่า 3 ปี ใช้หลักการบ้านเป็นฐานในการเลี้ยงดู (Home
based approach) ซึ่งบุคคลสาคัญคือ พ่อแม่ ผู้ปกครองและสมาชิกในครอบครัว
2. เด็กอายุ 3 – 5 ปี ใช้สถานพัฒนาเด็กหรือรูปแบบอื่นที่เป็นทั้งระบบ นอกระบบ
และตามอัธยาศัย โดยให้ผู้ดูแลเด็ก ฯลฯ มีลักษณะเป็น “มืออาชีพ” และร่วมมือกับพ่อแม่
ผู้ปกครองและครอบครัว
17
3. การพัฒนาเด็กอายุ 0 – 5 ปี ที่ดีและมีคุณภาพต้องมีระบบการส่งต่อเพื่อ
เชื่อมโยงจากบ้านไปศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย และโรงเรียน
4. การพัฒนาความรู้และทักษะแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กอายุ 0 – 5 ปี
5. สร้างความพร้อมให้ชุมชนและท้องถิ่นสามารถดาเนินการจัดการศึกษาและ
พัฒนาเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. สังคมร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างครบวงจร ตั้งแต่วางแผน
ปฏิบัติการเฝ้าระวัง ตรวจสอบ และประเมินผล
7. เมื่อชุมชนและท้องถิ่นมีความเข้มแข็งพอ ทั้งด้านเศรษฐกิจและความรู้
ความสามารถ ให้รัฐกระจายความรับผิดชอบไปยังชุมชน ท้องถิ่น (ครอบครัว ชุมชน อบต.
เทศบาล เอกชน องค์กรเอกชน และอื่น ๆ) ดาเนินการเต็มที่ในทุกด้าน รัฐจากัดบทบาทของ
ตนเองให้เป็นผู้กาหนดนโยบาย รูปแบบ การตรวจสอบมาตรฐาน การประเมินผล และ
การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสกลุ่มต่าง ๆ
บทสรุป
การศึกษาปฐมวัยเป็นการจัดการศึกษาสาหรับเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี
เป็นการวางพื้นฐานทางการศึกษาให้แก่เด็กในระยะเริ่มต้น โดยมุ่งเตรียมความพร้อมเพื่อ
ส่งเสริมให้เด็กแต่ละคนได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ – จิตใจ สังคม
และสติปัญญา มีบุคลิกภาพที่เหมาะสมตามวัย การจัดการศึกษาในระดับนี้มีความสาคัญ
มากในหลาย ๆ ด้าน เช่น เกี่ยวกับการพัฒนาเด็ก ครอบครัว สถาบันทางสังคม เป็นต้น
โดยเฉพาะเด็กวัยนี้เป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ที่รวดเร็ว เช่น พัฒนาการด้าน
การรับรู้ การเรียนรู้ ที่เกิดขึ้นมากที่สุดช่วงหนึ่งในชีวิต นอกจากนี้ยังเป็นช่วงวัยของ
การวางรากฐานและเตรียมตัวเพื่อพัฒนาชีวิตให้เด็กเจริญเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มี
คุณค่าของประเทศชาติ โดยมีรูปแบบการจัดการศึกษาแบบเฉพาะมีความแตกต่างจากการ
จัดการศึกษาในระดับอื่น เช่น มีจุดมุ่งหมายที่แตกต่าง โดยเน้นเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับ
เด็ก การจัดกิจกรรมการเรียน เป็นต้น ถ้าพิจารณาจุดมุ่งหมายตามหลักสูตรการศึกษา
ระดับปฐมวัยที่ผ่านมา จะมีความสอดคล้องกัน ปัจจุบันการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย
อยู่บนพื้นฐานของพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งถือว่าเป็น
แม่บทที่สาคัญในการจัดการศึกษาทุกระดับจะต้องยึดถือเป็นแนวทางที่สาคัญ เพื่อให้มี
ความสอดคล้องกับการพัฒนาการศึกษาในอนาคต
18
คำถำมท้ำยบท
1. ให้อธิบายความหมายของเด็กปฐมวัย
2. ให้อธิบายความสาคัญของเด็กปฐมวัย
3. ให้อธิบายความหมายของการจัดการศึกษาปฐมวัย
4. การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยมีความสาคัญอย่างไร
5. ให้อธิบายจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาปฐมวัย
6. ให้อธิบายแนวโน้มของการพัฒนาเด็กปฐมวัยในอนาคต
7. ให้อธิบายบทบาทของหน่วยงานต่าง ๆ ในปัจจุบันที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก
ปฐมวัย
8. ให้วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยกับ
การจัดการศึกษาในระดับอื่น
9. การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยมีความสัมพันธ์กับการจัดการศึกษาในระดับที่
สูงขึ้นอย่างไร
10. ให้นักศึกษาติดตามความเคลื่อนไหวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระดับ
ปฐมวัย
19
บรรณำนุกรม
กระทรวงศึกษาธิการ หลักสูตรกำรศึกษำปฐมวัย พุทธศักรำช 2546. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2546.
กระทรวงศึกษาธิการ หลักสูตรกำรศึกษำปฐมวัย พุทธศักรำช 2540. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2540.
นภเนตร ธรรมบวร หลักสูตรกำรศึกษำปฐมวัย. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 2546.
นันทิยา น้อยจันทร์ กำรประเมินผลพัฒนำกำรเด็กปฐมวัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม :
สานักพิมพ์นิตินัย จากัด, 2549.
นิตยา ประพฤติกิจ กำรพัฒนำเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : โอ เอส พริ้นติ้ง เฮาส์.
ปรียพร วงศ์อนุตโรจน์ จิตวิทยำกำรศึกษำ. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ, 2548.
ผกา สัตยธรรม คุณธรรมของครู. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
2544.
สุโขทัยธรรมาธิราช. กำรสร้ำงประสบกำรณ์ชีวิตระดับปฐมวัยศึกษำ. นนทบุรี :
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2535.
ประกายรัตน์ ภัทรธิติ “พัฒนาการเด็กปฐมวัย” อ้ำงจำกฝึกอบรมครูและผู้เกี่ยวข้อง
กับกำรอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยศึกษำ. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช, 2539.
วราภรณ์ รักวิจัย กำรอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. บริษัท ต้นอ้อ แกรมมี่
จากัด, 2540.
สุรางค์ โค้วตระกูล จิตวิทยำกำรศึกษำ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. กำรจัดบริกำรศูนย์เด็กก่อนวัยเรียน.
กรุงเทพฯ : กรมการฝึกหัดครู, 2526.
สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ กำรพัฒนำเด็กปฐมวัยตำมแนวพระรำช
บัญญัติกำรศึกษำแห่งชำติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : สถาบันแห่งชาติ
เพื่อการศึกษาสาหรับเด็กปฐมวัย, 2543.
พัชรี สวนแก้ว จิตวิทยำและกำรดูแลเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์
20
ดวงกมล, 2536.
เยาวพา เดชะคุปต์ กำรศึกษำปฐมวัย. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์แม็ค, 2542.
เยาวพา เดชะคุปต์ กำรจัดกำรศึกษำสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2542.
หรรษา นิลวิเชียร ปฐมวัยศึกษำ : หลักสูตรและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โอ เอส พริ้น
ติ้งเฮาส์, 2535.
Brewer,J.A. Introduction to early childhood education ; preschool to
Primary grades. Boston : Allyn an Bacon. 1995.
Erikson E.H. Child and society. New York : Harper and Row, 1970.
Frost. J.l. Early childhood rediscovered. New York : Holt Rinehart & Winston, 1977.

More Related Content

What's hot

บทที่ 11 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 55
บทที่ 11 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 55บทที่ 11 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 55
บทที่ 11 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 55Decode Ac
 
บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55
บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55
บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55Decode Ac
 
บทที่ 2 ปรัชญาคืออะไร
บทที่ 2 ปรัชญาคืออะไรบทที่ 2 ปรัชญาคืออะไร
บทที่ 2 ปรัชญาคืออะไรPadvee Academy
 
องค์ประกอบของหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตรองค์ประกอบของหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตรSunisa199444
 
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1Sokoy_jj
 
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญาประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญาPadvee Academy
 
แผนจัดการเรียนรู้เรื่องสารเสพติด
แผนจัดการเรียนรู้เรื่องสารเสพติดแผนจัดการเรียนรู้เรื่องสารเสพติด
แผนจัดการเรียนรู้เรื่องสารเสพติดguestf57acc
 
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาThongsawan Seeha
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3Ch Khankluay
 
วิวัฒนาการการศึกษาไทย
วิวัฒนาการการศึกษาไทยวิวัฒนาการการศึกษาไทย
วิวัฒนาการการศึกษาไทยnaykulap
 
แผนGPAS 5 STEPส่งโรงเรียน มารยาทชาวพุทธพระพุทธม. 5 เทอม1 ปี65.pdf
แผนGPAS 5 STEPส่งโรงเรียน มารยาทชาวพุทธพระพุทธม. 5 เทอม1 ปี65.pdfแผนGPAS 5 STEPส่งโรงเรียน มารยาทชาวพุทธพระพุทธม. 5 เทอม1 ปี65.pdf
แผนGPAS 5 STEPส่งโรงเรียน มารยาทชาวพุทธพระพุทธม. 5 เทอม1 ปี65.pdfssuser6a0d4f
 
แบบฟอร์มแฟ้มสะสมผลงานนักเรียน 2555 โดยครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
แบบฟอร์มแฟ้มสะสมผลงานนักเรียน 2555 โดยครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์แบบฟอร์มแฟ้มสะสมผลงานนักเรียน 2555 โดยครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
แบบฟอร์มแฟ้มสะสมผลงานนักเรียน 2555 โดยครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์Kobwit Piriyawat
 
ปรัชญาทั่วไป บทที่1
ปรัชญาทั่วไป บทที่1 ปรัชญาทั่วไป บทที่1
ปรัชญาทั่วไป บทที่1 Padvee Academy
 
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning theory)
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning theory)ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning theory)
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning theory)Chantana Papattha
 
แผน Stad
แผน Stadแผน Stad
แผน Stadnangnut
 
6 ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์
6 ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์6 ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์
6 ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์Gawewat Dechaapinun
 
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotio...
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotio...เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotio...
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotio...Pitchayakarn Nitisahakul
 

What's hot (20)

บทที่ 11 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 55
บทที่ 11 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 55บทที่ 11 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 55
บทที่ 11 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 55
 
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
 
บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55
บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55
บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55
 
บทที่ 2 ปรัชญาคืออะไร
บทที่ 2 ปรัชญาคืออะไรบทที่ 2 ปรัชญาคืออะไร
บทที่ 2 ปรัชญาคืออะไร
 
องค์ประกอบของหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตรองค์ประกอบของหลักสูตร
องค์ประกอบของหลักสูตร
 
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1
 
พระไตรปิฎก
พระไตรปิฎกพระไตรปิฎก
พระไตรปิฎก
 
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญาประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
 
แผนจัดการเรียนรู้เรื่องสารเสพติด
แผนจัดการเรียนรู้เรื่องสารเสพติดแผนจัดการเรียนรู้เรื่องสารเสพติด
แผนจัดการเรียนรู้เรื่องสารเสพติด
 
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
แผนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
 
วิวัฒนาการการศึกษาไทย
วิวัฒนาการการศึกษาไทยวิวัฒนาการการศึกษาไทย
วิวัฒนาการการศึกษาไทย
 
แผนGPAS 5 STEPส่งโรงเรียน มารยาทชาวพุทธพระพุทธม. 5 เทอม1 ปี65.pdf
แผนGPAS 5 STEPส่งโรงเรียน มารยาทชาวพุทธพระพุทธม. 5 เทอม1 ปี65.pdfแผนGPAS 5 STEPส่งโรงเรียน มารยาทชาวพุทธพระพุทธม. 5 เทอม1 ปี65.pdf
แผนGPAS 5 STEPส่งโรงเรียน มารยาทชาวพุทธพระพุทธม. 5 เทอม1 ปี65.pdf
 
หน่วย 1
หน่วย 1หน่วย 1
หน่วย 1
 
แบบฟอร์มแฟ้มสะสมผลงานนักเรียน 2555 โดยครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
แบบฟอร์มแฟ้มสะสมผลงานนักเรียน 2555 โดยครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์แบบฟอร์มแฟ้มสะสมผลงานนักเรียน 2555 โดยครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
แบบฟอร์มแฟ้มสะสมผลงานนักเรียน 2555 โดยครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
 
ปรัชญาทั่วไป บทที่1
ปรัชญาทั่วไป บทที่1 ปรัชญาทั่วไป บทที่1
ปรัชญาทั่วไป บทที่1
 
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning theory)
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning theory)ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning theory)
ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning theory)
 
แผน Stad
แผน Stadแผน Stad
แผน Stad
 
6 ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์
6 ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์6 ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์
6 ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์
 
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotio...
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotio...เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotio...
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotio...
 

Viewers also liked

บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55
บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55
บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55Decode Ac
 
วิธีสอนโดยใช้การสาธิต
วิธีสอนโดยใช้การสาธิตวิธีสอนโดยใช้การสาธิต
วิธีสอนโดยใช้การสาธิตsakonrat fai
 
บทที่ 9 การอภิปราย
บทที่ 9 การอภิปรายบทที่ 9 การอภิปราย
บทที่ 9 การอภิปรายAj.Mallika Phongphaew
 
ืทฤษฎีพัฒนาการทางการคิดของบรูเนอร์
ืทฤษฎีพัฒนาการทางการคิดของบรูเนอร์ืทฤษฎีพัฒนาการทางการคิดของบรูเนอร์
ืทฤษฎีพัฒนาการทางการคิดของบรูเนอร์6Phepho
 
Jerome bruner
Jerome  brunerJerome  bruner
Jerome brunersoh26
 
ทฤษฎีการเรียนรู้ บรูเนอร์
ทฤษฎีการเรียนรู้ บรูเนอร์ทฤษฎีการเรียนรู้ บรูเนอร์
ทฤษฎีการเรียนรู้ บรูเนอร์6Phepho
 
บทที่ 7 นวัตกรรมการศึกษา
บทที่ 7 นวัตกรรมการศึกษาบทที่ 7 นวัตกรรมการศึกษา
บทที่ 7 นวัตกรรมการศึกษาParitat Pichitmal
 
บทที่ 2 ภาษาไทย
บทที่  2  ภาษาไทยบทที่  2  ภาษาไทย
บทที่ 2 ภาษาไทยpatcharee0501
 
การรับรู้สิ่งเร้าของผู้บริโภค
การรับรู้สิ่งเร้าของผู้บริโภคการรับรู้สิ่งเร้าของผู้บริโภค
การรับรู้สิ่งเร้าของผู้บริโภคRatchadaporn Khwanpanya
 
บทที่ 9 การศึกษารายกรณี 55
บทที่ 9 การศึกษารายกรณี  55บทที่ 9 การศึกษารายกรณี  55
บทที่ 9 การศึกษารายกรณี 55Decode Ac
 
นวัตกรรมการศึกษา 7 ประเภท
นวัตกรรมการศึกษา 7 ประเภทนวัตกรรมการศึกษา 7 ประเภท
นวัตกรรมการศึกษา 7 ประเภทNGamtip
 
ทฤษฎีการเรียนรู้ของเจโรม บรูเนอร์
ทฤษฎีการเรียนรู้ของเจโรม บรูเนอร์ทฤษฎีการเรียนรู้ของเจโรม บรูเนอร์
ทฤษฎีการเรียนรู้ของเจโรม บรูเนอร์mekshak
 

Viewers also liked (16)

Chapter 1
Chapter 1Chapter 1
Chapter 1
 
บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55
บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55
บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55
 
Chapter 2
Chapter 2Chapter 2
Chapter 2
 
Chapter 3
Chapter 3Chapter 3
Chapter 3
 
วิธีสอนโดยใช้การสาธิต
วิธีสอนโดยใช้การสาธิตวิธีสอนโดยใช้การสาธิต
วิธีสอนโดยใช้การสาธิต
 
บทที่ 9 การอภิปราย
บทที่ 9 การอภิปรายบทที่ 9 การอภิปราย
บทที่ 9 การอภิปราย
 
ืทฤษฎีพัฒนาการทางการคิดของบรูเนอร์
ืทฤษฎีพัฒนาการทางการคิดของบรูเนอร์ืทฤษฎีพัฒนาการทางการคิดของบรูเนอร์
ืทฤษฎีพัฒนาการทางการคิดของบรูเนอร์
 
Jerome bruner
Jerome  brunerJerome  bruner
Jerome bruner
 
ทฤษฎีการเรียนรู้ บรูเนอร์
ทฤษฎีการเรียนรู้ บรูเนอร์ทฤษฎีการเรียนรู้ บรูเนอร์
ทฤษฎีการเรียนรู้ บรูเนอร์
 
วิธีการสอนแบบบรรยาย
วิธีการสอนแบบบรรยายวิธีการสอนแบบบรรยาย
วิธีการสอนแบบบรรยาย
 
บทที่ 7 นวัตกรรมการศึกษา
บทที่ 7 นวัตกรรมการศึกษาบทที่ 7 นวัตกรรมการศึกษา
บทที่ 7 นวัตกรรมการศึกษา
 
บทที่ 2 ภาษาไทย
บทที่  2  ภาษาไทยบทที่  2  ภาษาไทย
บทที่ 2 ภาษาไทย
 
การรับรู้สิ่งเร้าของผู้บริโภค
การรับรู้สิ่งเร้าของผู้บริโภคการรับรู้สิ่งเร้าของผู้บริโภค
การรับรู้สิ่งเร้าของผู้บริโภค
 
บทที่ 9 การศึกษารายกรณี 55
บทที่ 9 การศึกษารายกรณี  55บทที่ 9 การศึกษารายกรณี  55
บทที่ 9 การศึกษารายกรณี 55
 
นวัตกรรมการศึกษา 7 ประเภท
นวัตกรรมการศึกษา 7 ประเภทนวัตกรรมการศึกษา 7 ประเภท
นวัตกรรมการศึกษา 7 ประเภท
 
ทฤษฎีการเรียนรู้ของเจโรม บรูเนอร์
ทฤษฎีการเรียนรู้ของเจโรม บรูเนอร์ทฤษฎีการเรียนรู้ของเจโรม บรูเนอร์
ทฤษฎีการเรียนรู้ของเจโรม บรูเนอร์
 

Similar to บทที่ 1 ความรู้พื้นฐาน ความหมาย ความสำคัญ 55

แผนการเรียนรู้ที่ 4
แผนการเรียนรู้ที่ 4แผนการเรียนรู้ที่ 4
แผนการเรียนรู้ที่ 4tassanee chaicharoen
 
แผนการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เพศศึกษา
แผนการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เพศศึกษาแผนการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เพศศึกษา
แผนการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เพศศึกษาtassanee chaicharoen
 
แผน Stad
แผน Stadแผน Stad
แผน Stadnangnut
 
แผน Stad
แผน Stadแผน Stad
แผน Stadnangnut
 
โครงงานคอมพร อมตกแต ง
โครงงานคอมพร อมตกแต งโครงงานคอมพร อมตกแต ง
โครงงานคอมพร อมตกแต งSittikorn Thipnava
 
แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์jungkookjin
 
13101602_1_20230311-211610.pdf
13101602_1_20230311-211610.pdf13101602_1_20230311-211610.pdf
13101602_1_20230311-211610.pdfssuser49d450
 
โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)
โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)
โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)Pitchayakarn Nitisahakul
 
จุดเน้นที่ 4 ภาค1 ปี55
จุดเน้นที่ 4 ภาค1 ปี55จุดเน้นที่ 4 ภาค1 ปี55
จุดเน้นที่ 4 ภาค1 ปี55tassanee chaicharoen
 
มาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต 15 มาตรฐาน
มาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต  15 มาตรฐานมาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต  15 มาตรฐาน
มาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต 15 มาตรฐานtassanee chaicharoen
 
เรียนรวมบทที่ 3 แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล [1 54]
เรียนรวมบทที่ 3 แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล [1 54]เรียนรวมบทที่ 3 แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล [1 54]
เรียนรวมบทที่ 3 แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล [1 54]CMRU
 
Slกำหนดการสอนพรพนา 2 วิชา 1 56.5 พ.ค. 56doc
Slกำหนดการสอนพรพนา 2 วิชา 1 56.5 พ.ค. 56docSlกำหนดการสอนพรพนา 2 วิชา 1 56.5 พ.ค. 56doc
Slกำหนดการสอนพรพนา 2 วิชา 1 56.5 พ.ค. 56dockrupornpana55
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สุขภาพดีมีความสุข
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สุขภาพดีมีความสุขชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สุขภาพดีมีความสุข
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สุขภาพดีมีความสุขHathaichon Nonruongrit
 

Similar to บทที่ 1 ความรู้พื้นฐาน ความหมาย ความสำคัญ 55 (20)

สุขภาพ
สุขภาพสุขภาพ
สุขภาพ
 
แผนการเรียนรู้ที่ 4
แผนการเรียนรู้ที่ 4แผนการเรียนรู้ที่ 4
แผนการเรียนรู้ที่ 4
 
แผนการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เพศศึกษา
แผนการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เพศศึกษาแผนการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เพศศึกษา
แผนการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เพศศึกษา
 
4.pdf 55
4.pdf 554.pdf 55
4.pdf 55
 
4.pdf 55
4.pdf 554.pdf 55
4.pdf 55
 
แผน Stad
แผน Stadแผน Stad
แผน Stad
 
จุดเน้นที่ 4
จุดเน้นที่ 4จุดเน้นที่ 4
จุดเน้นที่ 4
 
04chap2
04chap204chap2
04chap2
 
แผน Stad
แผน Stadแผน Stad
แผน Stad
 
โครงงานคอมพร อมตกแต ง
โครงงานคอมพร อมตกแต งโครงงานคอมพร อมตกแต ง
โครงงานคอมพร อมตกแต ง
 
09chap7
09chap709chap7
09chap7
 
แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
13101602_1_20230311-211610.pdf
13101602_1_20230311-211610.pdf13101602_1_20230311-211610.pdf
13101602_1_20230311-211610.pdf
 
โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)
โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)
โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)
 
Executive summary ศน.จิรัชญา พัดศรีเรือง
Executive summary ศน.จิรัชญา  พัดศรีเรืองExecutive summary ศน.จิรัชญา  พัดศรีเรือง
Executive summary ศน.จิรัชญา พัดศรีเรือง
 
จุดเน้นที่ 4 ภาค1 ปี55
จุดเน้นที่ 4 ภาค1 ปี55จุดเน้นที่ 4 ภาค1 ปี55
จุดเน้นที่ 4 ภาค1 ปี55
 
มาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต 15 มาตรฐาน
มาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต  15 มาตรฐานมาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต  15 มาตรฐาน
มาตรฐานโรงเรียนวัดพวงนิมิต 15 มาตรฐาน
 
เรียนรวมบทที่ 3 แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล [1 54]
เรียนรวมบทที่ 3 แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล [1 54]เรียนรวมบทที่ 3 แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล [1 54]
เรียนรวมบทที่ 3 แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล [1 54]
 
Slกำหนดการสอนพรพนา 2 วิชา 1 56.5 พ.ค. 56doc
Slกำหนดการสอนพรพนา 2 วิชา 1 56.5 พ.ค. 56docSlกำหนดการสอนพรพนา 2 วิชา 1 56.5 พ.ค. 56doc
Slกำหนดการสอนพรพนา 2 วิชา 1 56.5 พ.ค. 56doc
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สุขภาพดีมีความสุข
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สุขภาพดีมีความสุขชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สุขภาพดีมีความสุข
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สุขภาพดีมีความสุข
 

บทที่ 1 ความรู้พื้นฐาน ความหมาย ความสำคัญ 55

  • 1. บทที่ 1 บทนำ แผนกำรสอนประจำบท 1. จุดประสงค์กำรเรียนรู้ 1. เพื่อให้เข้าใจ ความหมาย ความสาคัญ ของเด็กปฐมวัย 2. เพื่อให้เข้าใจความหมาย ความสาคัญ ของการศึกษาปฐมวัย 3. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจจุดมุ่งหมายทางการศึกษาปฐมวัย 4. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจขอบข่ายทางการศึกษาปฐมวัย 5. เพื่อให้เข้าใจพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 2. สำระกำรเรียนรู้ 1. ความหมายของเด็กปฐมวัย 2. ความสาคัญของเด็กปฐมวัย 3. การจัดการศึกษาปฐมวัย 4. ความสาคัญของการจัดการศึกษาปฐมวัย 5. ความมุ่งหมายการจัดการศึกษาปฐมวัย 6. พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 กับการจัดการศึกษาปฐมวัย 3. กิจกรรมกำรเรียนรู้ 1. ศึกษาเอกสารประกอบการสอนรายวิชาการศึกษาปฐมวัย 2. แบ่งกลุ่มศึกษาเอกสาร วิเคราะห์ระดมความคิดเห็น 3. ตัวแทนกลุ่มนาเสนอผลการศึกษา ระดมความคิดเห็น 4. บรรยาย อภิปราย ซักถาม สรุป 5. การศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับขอบข่ายการศึกษาปฐมวัย 6. ทดสอบหลังเรียน และแบบฝึกหัดท้ายบท 4. สื่อกำรเรียนเรียนรู้ 1. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการศึกษาปฐมวัย 2. สไลด์ประกอบการสอน (Power point) 3. เว็บไซต์อาจารย์ผู้สอน Internet 4. หนังสือ ตารา วารสาร และงานวิจัยทางการศึกษาปฐมวัย 5. ซีดี วีดีโอ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัย
  • 2. 2 5. กำรประเมินผล 1. การทดสอบหลังเรียน และแบบฝึกหัด 2. ผลการอภิปรายซักถาม การตอบคาถาม 3. การนาเสนอรายงานผลการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม 4. รูปเล่ม ผลงาน การศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
  • 3. 3 บทที่ 1 บทนำ เนื่องจากสภาพสังคมไทยในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านเศรษฐกิจและค่านิยมใน การดาเนินชีวิต พ่อแม่ต้องออกไปทางานนอกบ้านทาให้มีเวลาดูแลลูกน้อยลงเด็กเล็ก ๆ ที่ ยังไม่ถึง วัยเรียนจึงขาดคนดูแล ทาให้พ่อแม่ต้องส่งลูกไปรับบริการอบรมเลี้ยงดูในสถาน รับเลี้ยงเด็กหรือ โรงเรียนอนุบาลของรัฐบาลได้เล็งเห็นความสาคัญในเรื่องนี้ จึงได้วาง นโยบายสนับสนุนการจัดการศึกษาปฐมวัยโดยรัฐรับภาระจัดเองส่วนหนึ่ง และส่งเสริมให้ เอกชนและสถาบัน ต่าง ๆ ในสังคมช่วย อบรมเลี้ยงดูเด็กแทนพ่อแม่ จัดการอบรมเลี้ยงดู เด็กอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยไม่ใช่การจัดการศึกษาภาคบังคับ โดย การจัดการศึกษาภาคบังคับเป็นการจัดการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่หนึ่งเป็นต้น ไป การจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่มีความสาคัญที่สุด โดยนักการศึกษาและ นักจิตวิทยามีความคิดเห็นที่สอดคล้องกันว่าเด็กวัยแรกเกิดจนถึง 6 ขวบ เป็นวัยที่สาคัญ ต่อการวางรากฐานบุคลิกภาพและการพัฒนาสมอง การจัดการศึกษาสาหรับเด็กวัยนี้จึงมี ความสาคัญต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในทุกๆ ด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ตลอดจนส่งเสริมการเจริญเติบโตของเด็กให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพ เพื่อให้ มีความพร้อมที่เรียนในระดับที่สูงขึ้นต่อไปในอนาคต ในบทที่จะได้กล่าวถึงกล่าวถึง ความเชื่อมโยงและส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัยในภาพรวมตามหัวข้อ ต่อไปนี้ 1. ความหมายของเด็กปฐมวัย 2. ความสาคัญของเด็กปฐมวัย 3. การจัดการศึกษาปฐมวัย 4. ความสาคัญของการจัดการศึกษาปฐมวัย 5. ความมุ่งหมายการจัดการศึกษาปฐมวัย 6. พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 กับการจัดการศึกษาปฐมวัย 1. ควำมหมำยของเด็กปฐมวัย คาว่าเด็กปฐมวัยอาจทาให้หลาย ๆ คนมีความเข้าใจที่แตกต่างกันไปโดยเฉพาะช่วง อายุของเด็ก เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยตรงกัน จึงขออธิบาย ความหมายของเด็กจากบุคคลและหน่วยงานที่ให้ความหมายเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยดังนี้
  • 4. 4 หรรษา นิลวิเชียร (2535 : 1) ให้ความหมายของเด็กปฐมวัยไว้ว่า เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่มีอายุระหว่าง 2 – 8 ปี พัชรี สวนแก้ว (2536 : 3) เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่มีอายุ 1 ปี 6 เดือน – 6 ปี สมร ทองดี (2537 : 7) เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี ประกายรัตน์ ภัทรธิติ (2539 : 10) เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่มีช่วงอายุระหว่าง 3 – 6 ปี ซึ่งเป็นระยะที่เด็กกาลังเจริญเติบโต สามารถพึ่งตนเองได้ เยาวพา เดชะคุปต์ (2542 : 2) เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่มีอายุตั้งแต่ปฏิสนธิ จนถึง 6 ปี ทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษา ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญากาลังพัฒนาอย่างเต็มที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช (2537 : 12) เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่มีอายุ แรกเกิด – 6 ปี สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2543 : 10) เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่มีอายุระหว่าง 0 – 5 ปี (เด็กตั้งแต่แรกปฏิสนธิถึงอายุ 5 ปี 11 เดือน 29 วัน) จากที่กล่าวมาทั้งหมดสรุปได้ว่า เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิด – 5 ปี 11 เดือน 29 วัน โดยคาว่าแรกเกิด หมายถึง หลังจากที่มีการปฏิสนธิ แต่การนับอายุ ของเด็กปฐมวัยจะเริ่มนับเมื่อเด็กคลอดออกมาแล้ว การนับอายุของเด็กปฐมวัยจะไม่นับ รวมเมื่อเด็กยังอยู่ในครรภ์มารดา เพราะว่า ตามกฎหมายได้กาหนดไว้เมื่อเด็กคลอดออก มาแล้วยังมีชีวิตบิดามารดาจึงสามารถแจ้งกับเจ้าหน้าที่เพื่อขอรับใบสูติบัตร ดังนั้นการนับ อายุตามกฎหมายจะเริ่มเมื่อเด็กคลอดออกมาแล้วอย่างปลอดภัย แต่นักการศึกษาจะถือว่า หลังจากที่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้นขณะที่เด็กอยู่ในครรภ์มารดาก็ถือว่าเป็นเด็กปฐมวัย เพราะว่าเด็กได้มีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่น พัฒนาการทางด้านร่างกาย พัฒนาการทางด้านสติปัญญา เป็นต้น ซึ่งพัฒนาการของเด็กที่อยู่ในครรภ์มารดานั้นจะ ส่งผลต่อเด็กหลังจากที่เด็กคลอดแล้ว 2. ควำมสำคัญของกำรพัฒนำเด็กปฐมวัย เด็กปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่มีความสาคัญเพราะเด็กวัยนี้เป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการด้าน ต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ถ้าเรา สามารถส่งเสริมเด็กในวัยนี้ได้ตรงกับความสนใจและความสามารถของเด็กจะทาให้ การเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีผู้ให้ความสาคัญกับเด็กปฐมวัยดังนี้
  • 5. 5 ประกายรัตน์ ภัทรธิติ (2539 : 11 - 12) ได้กล่าวถึงความสาคัญของเด็กปฐมวัย ดังนี้ 1. ประสบการณ์วัยเด็กนับเป็นสิ่งสาคัญและมีอิทธิพลต่อพัฒนาการด้าน บุคลิกภาพของบุคคลที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต 2. สังคมที่แวดล้อมตัวเด็กสามารถกาหนดให้เด็กมีบุคลิกภาพที่แตกต่างกันได้ และ การกาหนดบุคลิกภาพของเด็กนี้จะเกิดขึ้นได้ง่ายเมื่อเด็กยังมีประสบการณ์ไม่มากนัก 3. เด็กปฐมวัยจะเริ่มเรียนรู้โลกภายนอกมากขึ้นและรู้จักปรับตัวให้เข้ากับ สภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมหากได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่สอดคล้องกับความต้องการ ตามวัย วราภรณ์ รักวิจัย (2540 : 13) ได้กล่าวถึงความสาคัญของเด็กปฐมวัยไว้ดังนี้ 1. เด็กเป็นผู้สืบทอดความดีงามต่าง ๆ จากผู้ใหญ่ 2. เป็นมนุษย์ที่มีสิทธิ์ที่จะได้รับการตอบสนองความต้องการต่าง ๆ จากผู้ใหญ่ใน สังคมที่เด็กเป็นสมาชิกอยู่ด้วย 3. เป็นมนุษย์ที่ไม่ใช่มีแต่สิทธิ์ แต่ต้องมีความรับผิดชอบที่จะปฏิบัติตนให้สมกับสิทธิ ที่เขาได้รับ 4. เป็นตัวแทนของกลุ่มเยาวชน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสาคัญยิ่งส่วนหนึ่งของสังคม มนุษย์ 5. เพราะความดีเลวของเด็กวัยนี้สะท้อนให้เห็นคุณภาพของประชากรในอนาคต ของสังคมโลก 6. เพราะเขามีพื้นเดิมของจิตใจบริสุทธิ์สะอาด ให้ตระหนักในความสาคัญใน กระบวนการซึมซาบที่จะช่วยให้เด็กนั้นได้เติบโตเป็นพลเมืองที่ดี มีคุณภาพและคุณธรรม ส่งเสริมความมั่นคงแห่งครอบครัว วงศ์ตระกูล สังคมตลอดจนประเทศชาติต่อไปด้วย เยาวพา เดชะคุปต์ (2542 : 13) ได้สรุปความสาคัญของเด็กปฐมวัยว่า ช่วงปฐมวัย เป็นช่วงที่สาคัญยิ่ง เพราะเป็นช่วงที่พัฒนาการทุกด้านเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา การพัฒนาเด็กในช่วงวัยนี้ จะเป็นการวางพื้นฐาน ทางด้านจิตใจ อุปนิสัยและความสามารถ ซึ่งจะมีผลต่อไปในอนาคตของเด็กและของชาติ ในที่สุด นอกจากนี้ นันทิยา น้อยจันทร์ (2549 : 62) ได้กล่าวถึง ความสาคัญของเด็ก ปฐมวัย และการพัฒนาเด็กปฐมวัยดังนี้
  • 6. 6 1. การพัฒนามนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพ จาเป็นต้องเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ช่วง ปฐมวัยและต่อเนื่องตลอดชีวิต 2. หลักวิชาและการวิจัยได้แสดงว่า ปัจจัยแวดล้อมการเลี้ยงดูที่เหมาะสมสามารถ เปลี่ยนโครงสร้างและประสิทธิภาพการทางานของสมองมนุษย์ได้ เวลาที่สาคัญและจาเป็น ที่สุดในการพัฒนาสมองคือในช่วง 5 ปี แรกของชีวิต 3. การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ที่ยั่งยืน และป้องกันปัญหาสังคมในระยะยาว จาเป็นต้องเริ่มพัฒนาตั้งแต่ปฐมวัย โดยเน้นให้ครอบครัวเป็นแกนหลักและชุมชนเป็นฐานที่ มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการพัฒนาเลี้ยงดูเด็กทุกขั้นตอน 4. แนวคิดในการพัฒนาเด็กเพื่อให้มีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุล นับตั้งแต่ ปฏิสนธิ จวบจนเจริญวัย จาเป็นต้องมีการตื่นตัวและผนึกกาลังกันทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและ เอกชนร่วมกันส่งเสริมครอบครัวให้พ่อแม่ มีความรักและความรู้สามารถเลี้ยงดูบุตรหลาน ได้ถูกวิธี 5. ผู้ดูแลเด็ก ครู รวมทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข มีบทบาทสาคัญยิ่งต่อการพัฒนา เด็กปฐมวัยให้เจริญเติบโตไปในทางที่พึงประสงค์ บุคคลเหล่านี้ต้องมีหลักวิชาและทักษะที่ ถูกต้องในการเลี้ยงดูเด็ก นอกจากที่กล่าวมาเด็กปฐมวัยยังมีความสาคัญต่อสถาบันที่เล็กที่สุดในสังคมคือ ครอบครัว ครอบครัวถือว่าเป็นหน่วยย่อยที่สุดในสังคมที่จะต้องรับผิดชอบในการอบรม เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยโดยตรง และเด็กปฐมวัยมีความสาคัญต่อครอบครัวเพื่อทาให้ครอบครัว มีความสมบูรณ์มากขึ้น และมีความสาคัญต่อครอบครัวดังนี้ 1. เป็นสมาชิกในครอบครัว 2. ทาให้ครอบครัวมีความสมบูรณ์มากขึ้น 3. ทาให้พ่อแม่มีความรักสามัคคีต่อกันเพิ่มขึ้น 4. เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ของพ่อแม่ผู้ปกครอง 5. ทาให้พ่อแม่มีความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่มากขึ้น 6. เป็นความหวังของพ่อแม่ผู้ปกครองในอนาคต นอกจากเด็กปฐมวัยมีความสาคัญในครอบครัวแล้ว ยังความสาคัญในฐานะที่เป็น สมาชิกของสังคมและประเทศชาติ ดังนี้ 1. เป็นสมาชิกใหม่ของสังคม 2. เป็นผู้สืบทอดประเพณีศิลปวัฒนธรรมของชุมชนหรือท้องถิ่น 3. เป็นผู้เชื่อมโยงความรักความผูกพันของบุคคลในสังคมให้ดีขึ้น
  • 7. 7 4. เป็นความหวังของชุมชนและสังคมและเป็นผู้กาหนดโครงสร้างของสังคมใน อนาคต นอกจากนี้เด็กปฐมวัยยังมีความสาคัญในด้านการเตรียมการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น จากพื้นฐานการศึกษาในระดับปฐมวัย และการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ดังนี้ 1. เป็นวัยที่เหมาะสมในการเตรียมความพร้อมทุกด้าน 2. เป็นวัยที่เหมาะสมในการวางพื้นฐานการพัฒนาเด็กในอนาคต 3. เป็นวัยที่มีการพัฒนาศักยภาพทางสมองที่รวดเร็ว 4. เป็นวัยที่มีพฤติกรรมที่แสดงออกที่หลากหลายบางครั้งทาให้ยากแก่ความเข้าใจ 5. เป็นวัยที่ผู้ปกครองเข้าใจเด็กไม่รอบด้าน หรือตีความหมายของพฤติกรรมเด็ก ผิดได้ง่าย ๆ 6. เป็นวัยที่มีความน่าสนใจในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการมากขึ้น 7. เป็นวัยที่มีเครือข่ายทางสังคม หน่วยงานต่าง ๆ และโดยเฉพาะทางการศึกษาให้ ความสนใจการพัฒนาเด็กวัยนี้เป็นพิเศษ 8. ทาให้เกิดความรู้ในศาสตร์ปฐมวัยเพิ่มมากขึ้น จากการศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ ใหม่ ๆ โดยเฉพาะการวิจัย เป็นต้น จากที่กล่าวมาทั้งหมดสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้ 1. เป็นผู้สืบทอดประเพณี วัฒนธรรมทางสังคมต่อจากผู้ใหญ่ 2. เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสาคัญต่อประเทศชาติ 3. เป็นช่วงวัยที่พร้อมจะเรียนรู้ และสามารถเรียนรู้ได้รวดเร็ว 4. เป็นช่วงวัยที่เหมาะสมในการส่งเสริมบุคลิกภาพ 5. เป็นช่วงวัยที่เชลล์สมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว 6. เป็นบุคคลที่ทาให้สถาบันครอบครัวมีความสมบูรณ์ 7. เป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพประชากรของประเทศชาติในอนาคต 8. เป็นช่วงวัยที่เหมาะสมในการเตรียมความพร้อมทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา 3. กำรจัดกำรศึกษำปฐมวัย การจัดการศึกษาปฐมวัย หมายถึงการจัดการศึกษาสาหรับเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี การจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทยจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป คือ การศึกษา ก่อนวัยเรียนการอนุบาลศึกษาปฐมวัยศึกษา การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา การศึกษา
  • 8. 8 ระดับ เด็กเล็กการศึกษาปฐมวัย ซึ่งไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรก็ตามการจัดการศึกษาใน ระดับนี้ก็คือการจัดการศึกษาสาหรับวัยแรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี การจัดการศึกษาในระดับ นี้ เป็นการวางพื้นฐานทางการศึกษาให้แก่เด็กในระยะเริ่มต้น โดยมุ่งเตรียม ความพร้อม เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา มีบุคลิกภาพที่ เหมาะสมตามวัยให้พร้อมที่จะเรียนในระดับต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม ความหมายของ การจัดการศึกษาปฐมวัยในต่างประเทศ เช่น อเมริกาจะหมายถึง “โปรแกรมการศึกษาที่ จัดให้แก่เด็กแรกเกิด - 8 ปี” (Bredekamp and Copple. : 1997) คาร์เตอร์ วี กู๊ด (Carter V Good) การจัดการศึกษาปฐมวัย หมายถึง โครงการหรือ หลักสูตรที่จัดสาหรับเด็กในโรงเรียนเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาลหรือชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 ฮิมส์ (Hymes) การจัดการศึกษาปฐมวัย หมายถึง การจัดการศึกษาสาหรับเด็ก อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปี ซึ่งการจัดการศึกษาดังกล่าวจะเป็นลักษณะพิเศษที่แตกต่าง ไปจากระดับอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะเด็กในวัยนี้เป็นวัยที่สาคัญต่อการวางรากฐานบุคลิกภาพและ การพัฒนาสมอง เยาวพา เดชะคุปต์ (2542 : 14) การจัดการศึกษาปฐมวัย หมายถึง การจัด การศึกษาสาหรับเด็กตั้งแต่อายุแรกเกิดจนถึง 6 ปี ซึ่งการจัดการศึกษาดังกล่าวจะมี ลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากระดับอื่น ๆ ทั้งนี้เพราะเด็กในวัยนี้เป็นวัยที่สาคัญต่อ การวางรากฐานบุคลิกภาพและการพัฒนาสมอง การจัดการศึกษาสาหรับเด็กในวัยนี้มีชื่อ เรียกต่างกันหลายชื่อซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มีวิธีการลักษณะในการจัดกิจกรรมซึ่งมี จุดมุ่งหมายที่จะช่วยพัฒนาเด็กในรูปแบบแตกต่างกัน ที่กล่าวมาสรุปได้ว่า การจัดการศึกษาปฐมวัย หมายถึง การจัดการศึกษาสาหรับ เด็กหรือการจัดประสบการณ์สาหรับเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ปี เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยทุก ด้านทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญารวมทั้งการวางรากฐานในการพัฒนา บุคลิกภาพ เพื่อให้เด็กมีความสมบูรณ์ทุกด้านโดยใช้วิธีการที่หลากหลายหรือลักษณะ พิเศษที่มีความเหมาะสม รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัย รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบันมีหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีส่วนร่วม รับผิดชอบจัดการศึกษาระดับปฐมวัยมากขึ้น ดังนั้นการจัดการศึกษาจึงมีรูปแบบที่แตกต่าง กันไปบ้างทั้งในเรื่องของการจัดชั้นเรียน เวลาเรียน และวัยของเด็กที่เข้าเรียน ดังนี้
  • 9. 9 1. สถานรับเลี้ยงเด็ก หมายถึง สถานที่รับเลี้ยงดูเด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดโดยรับ เลี้ยงเฉพาะช่วงหนึ่ง ๆ เช่นแรกเกิด – อายุ 2 ปี หรืออายุ 2-3 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบ การดาเนินงานและ วัตถุประสงค์ของการดาเนินงานของแต่ละหน่วยงาน 2. ศูนย์เด็กเล็ก หรืออาจเรียกว่า ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ หรืออาจจะเรียกอย่างอื่นอีก แม้ว่าศูนย์เด็กเล็กจะมีชื่อเรียก แตกต่างกันไปในแต่ละหน่วยงาน แต่มีลักษณะการดาเนินงานที่คล้ายคลึงกัน คือมุ่งให้เป็น สถานที่อบรมเลี้ยงดูเด็กตั้งแต่ช่วงอายุ 2-6 ปี ลักษณะของงานให้บริการเน้น การดูแล สุขภาพอนามัยให้สวัสดิศึกษา และส่งเสริมให้พัฒนาด้านสังคม อารมณ์ ร่างกาย และด้าน สติปัญญา 3. โรงเรียน โรงเรียนที่ให้การศึกษากับเด็กวัยนี้คือ โรงเรียนอนุบาล เป็นการจัด การศึกษาแบบมีระบบ รับเด็กตั้งแต่อายุ 2 ปี 6 เดือน - 6 ปี ซึ่งยืดหยุ่นไปตาม หน่วยงานที่โรงเรียนสังกัด เช่น โรงเรียนเอกชนส่วนใหญ่จะมีหลักสูตรอนุบาล 3 ปี รับ เด็กตั้งอายุ 3 – 6 ปี หรือในบางแห่งอาจเริ่มรับเด็กตั้งแต่อายุ 2 ปี โรงเรียนอนุบาล สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เดิมคือ สานักงานคณะกรรมการการ ประถมศึกษาแห่งชาติ) ใช้หลักสูตร 2 ปี รับเด็กตั้งแต่อายุ 4 – 5 ปี ส่วนโรงเรียนอีก ลักษณะหนึ่ง คือ โรงเรียนประถมศึกษาที่เปิดสอนชั้น เด็กเล็กหลักสูตร 1 ปี รับเด็ก อายุ 5 – 6 ปี ดังที่กล่าวมาแล้วจะเห็นว่าการจัดการศึกษาสาหรับเด็กวัยนี้สามารถจัดได้หลาย รูปแบบ มีหน่วยงานที่จัดหลายหน่วยงานและเรียกชื่อต่างกันดังนั้นจึงมีนักการศึกษาหลาย ท่านที่กาหนดให้การศึกษาปฐมวัยเป็นการศึกษาสาหรับเด็กวัย 3 – 6 ปี โดยกาหนดอายุ เริ่มต้นที่วัย 3 ขวบ เพราะเป็นวัยที่เข้ารับการศึกษาในระบบโรงเรียนอนุบาล อย่างไรก็ ตามการศึกษาสาหรับเด็กวัยนี้สามารถเริ่มต้นได้จากครอบครัวหรือหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่ โรงเรียนอนุบาล การศึกษาปฐมวัยในประเทศไทยจึงหมายรวมถึงการจัดการศึกษาและการ อบรมเลี้ยงดูเด็กตั้งแต่วัยแรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี ซึ่งเป็นความหมายที่นิยมใช้กันใน ปัจจุบัน 4. ควำมสำคัญของกำรศึกษำปฐมวัย การจัดการศึกษาปฐมวัยเริ่มมีขึ้นโดยมีบุคคลที่มีความคิดริเริ่มในประเทศต่าง ๆ ได้วางรากฐานการจัดการศึกษาระดับนี้โดยเล็งเห็นความสาคัญของการเจริญเติบโตของ เด็กและปัญหาการอบรมเลี้ยงดูซึ่งในการเรียนรู้ของเด็กได้อาศัยความเข้าใจในธรรมชาติ
  • 10. 10 และสิ่งแวดล้อมของเด็กเป็นสาคัญ บุคคลที่ควรกล่าวถึงในวงการการศึกษาปฐมวัย ซึ่ง จัดได้ว่าเป็นแนวคิดต้นแบบของการศึกษาปฐมวัย ได้แก่ รูสโซ (Rousseau) เปสตาลอชซี่ (Pestalozzi) เฟรอเบล (Froebel) มอนเตสซอรี่ (Montessori) และ ดิวอี้ (Dewey) “และใน ระยะเวลาต่อมาได้มีนักการศึกษาอีกหลายท่านที่ได้นาแนวคิดดังกล่าวมาสานต่อในเรื่อง ของการจัดการปฐมวัยศึกษา ซึ่งได้แก่ คอนสแตน คามิ (Constant kamii) ลิเลียน เคทส์ (Lilian Katz) เดวิด เอลไคนด์ (David Elkind) และเดวิด ไวท์คาร์ท (David Weikart)” และ ได้กล่าวถึงความสาคัญของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยดังนี้ สมร ทองดี (2537 : 11 –14) กล่าวถึงความสาคัญของการจัดการศึกษาปฐมวัย สรุปได้ดังนี้ 1. ความสาคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นักจิตวิทยาและนักการศึกษา หลายท่านมีความเห็นที่สอดคล้องกันว่าเด็กปฐมวัย เป็นวัยเริ่มต้นของชีวิตมนุษย์ และ นับเป็นช่วงวัยที่สาคัญที่สุดช่วงหนึ่ง เพราะเป็นช่วงวัยของการวางรากฐานและเตรียมตัว เพื่อชีวิตทั้งยังเป็นช่วงระยะที่เกิดการเรียนรู้มากที่สุดในชีวิตด้วยดังเช่น ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) อธิบายว่าวัยเริ่มต้นของชีวิตมนุษย์ คือระยะ 5 ปีแรก ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้รับในช่วงนี้จะมีอิทธิพลต่อชีวิตของบุคคลนั้นจนชั่วชีวิต อิริก อิริคสัน (Erik Erikson) มีความเห็นสอดคล้องกับฟรอยด์เช่นกัน และอิริคสัน ชี้ให้เห็นว่าเด็กอายุระหว่าง 3 - 6 ขวบ จะเริ่มพัฒนาความสามารถพร้อม ๆ กับความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์ และต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ดังนั้น ถ้าเด็กในวัยนี้ได้รับการส่งเสริมอย่าง ถูกต้องเหมาะสมก็ย่อมจะส่งผลให้เด็กเติบโตเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าของสังคม ฮาวิกเฮอร์สท์ อาร์.เจ. (Havighurst R.J.) กล่าวว่า บุคคลแต่ละวัยจะพัฒนาไปตาม ขั้นจากวัยเด็กจนถึงวัยชรา ซึ่งเรียกว่า งานตามขั้นพัฒนาการ (Developmental Tasks) งาน ตามขั้นพัฒนาการ หมายถึง งานที่บุคคลแต่ละวัยสามารถเรียนรู้ได้เป็นปกติธรรมดาเมื่อ ได้รับการส่งเสริมในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม และเขาได้ย้าว่าถ้าเด็กรู้จักปรับตัวและประสบ ความสาเร็จในงานพัฒนาการตั้งแต่ปฐมวัย เด็กก็จะมีความสุขและนาไปสู่ความสาเร็จใน งานพัฒนาการขั้นสูงในวัยต่อไปได้ และในทางตรงกันข้าม ถ้าเด็กประสบความล้มเหลวใน การเรียนรู้ตั้งแต่ปฐมวัย เด็กย่อมจะประสบปัญหาการเรียนรู้ในระยะต่อมาด้วย ดังนั้นถ้า เด็กปฐมวัยได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการแล้ว ย่อมเป็น การส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพของสังคมและ ประเทศชาติได้
  • 11. 11 2. ความสาคัญต่อการเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ นักจิตวิทยาหลายท่าน มีความเห็นสอดคล้องกันว่าช่วงวิกฤติของชีวิตในระยะ 5 ปี แรกเป็นระยะสาคัญใน การ วางรากฐานด้านบุคลิกภาพของมนุษย์ ดังนั้น การพัฒนาคุณภาพของประชากรจึง จาเป็นต้องเริ่มพัฒนาตั้งแต่ระยะปฐมวัยเพื่อให้เติบโตขึ้นเป็นคนที่มีคุณภาพและมี คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคมและประเทศชาติ 3. ความสาคัญต่อกระบวนการจัดการศึกษา เพียเจท์ (Jean Piaget) ผู้สร้างทฤษฎี ทางสติปัญญาที่ได้รับการยอมรับแพร่หลายที่สุด กล่าวว่า เด็กในช่วงอายุ 2-6 ขวบเป็น ช่วงวัยที่เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาพูดและสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดีแต่ความสามารถใน การ เรียนรู้ยังอยู่ในลักษณะจากัด ดังนั้นเด็กในวัยนี้จึงจาเป็นต้องฝึกทักษะการใช้ประสาทสัมผัส ให้มากขึ้น ซึ่งการจัดสภาพแวดล้อมและประสบการณ์ที่เหมาะจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาใน ด้านการคิด และพัฒนาการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาโครงสร้างทางสติปัญญาในขั้นต่อไปให้ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น การจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ถึงแม้จะไม่เป็นการศึกษาภาคบังคับแต่ก็เป็น การ จัดการศึกษาให้แก่เด็กในระยะแรก ที่มุ่งเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กเพื่อให้เด็กได้รับการ พัฒนาทุกด้านอย่างครอบคลุมทุกด้าน ได้แก่ การส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งการพัฒนาคุณธรรมและเสริมสร้างบุคลิกภาพ ที่เหมาะสม เพื่อเป็นพื้นฐานไปสู่การดารงชีวิตในสังคมอย่างเป็นสุขและมี ความพร้อมใน การเรียนรู้ในขั้นต่อไปได้ตามศักยภาพแห่งตน กระบวนการศึกษาของมนุษย์ เป็นกระบวนการที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอด ชีวิต เพราะมนุษย์จาเป็นต้องเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนอยู่เสมอ ดังนั้นการส่งเสริมให้ เด็กเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จะช่วยส่งเสริมให้เด็กสามารถพัฒนาตนเองไปตาม ศักยภาพของตนอย่างต่อเนื่องและการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ทุกแห่งไม่ใช่เฉพาะในห้องเรียน เท่านั้น ส่วนหนึ่งเด็กจะเรียนรู้จากประสบการณ์ในชีวิตประจาวันและจากการสอนอย่าง เป็นทางการ ดังนั้น การจัดการศึกษาสาหรับเด็กจึงควรจัดให้สอดคล้องและต่อเนื่องกันไป ในทุกระดับและการศึกษาปฐมวัยถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่สาคัญของกระบวนการพัฒนา มนุษย์ 4. ความสาคัญต่อการวางรากฐานในการพัฒนาประเทศ การพัฒนาประเทศชาติ นั้นจะต้องเริ่มต้นจากการพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพ โดยมีคุณลักษณะเป็นทั้งคนเก่ง และคนดี เป็นบุคคลที่มีทั้งสติปัญญา ความรู้ความสามารถและมีคุณธรรมจริยธรรม ซึ่ง
  • 12. 12 คุณสมบัติต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องได้รับการปลูกฝัง อบรมสั่งสอนตั้งแต่ยังเด็ก การพัฒนา จะต้องอาศัยความร่วมมือจากสถาบันทางสังคมทุกสถาบันร่วมกันพัฒนาเด็กตั้งแต่เยาว์วัย ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่มี ความสาคัญต่อการวางรากฐานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เสริมสร้างคุณลักษณะที่พึง ประสงค์ทั้งยังมีความสาคัญต่อกระบวนการจัดการศึกษาและการพัฒนาประเทศด้วย 5. ควำมมุ่งหมำยของกำรศึกษำปฐมวัย เด็กเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า ในอนาคตจะต้องเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่เป็น พลเมืองของประเทศชาติต่อไป การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จะต้องกระทาต่อเนื่องตลอด ชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาเด็กซึ่งเป็นอนาคตของชาติจะต้องเริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิ จนถึงวัยที่เกิดการเรียนรู้มากที่สุดในชีวิตการเรียนรู้เหล่านี้มีอิทธิพลต่อชีวิตในอนาคตของ เด็กเป็นอย่างยิ่งการจัดการศึกษาสาหรับเด็กวัยนี้ จึงมีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมให้เด็กแต่ ละคนได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ - จิตใจ สังคม และสติปัญญา มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และคุณลักษณะตามวัยซึ่งได้แก่ การมีพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน เหมาะสมตามวัยโดยหลักสูตรก่อนประถมศึกษา พุทธศักราช 2540 กรมวิชาการ (2540) ได้กาหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในการพัฒนาเด็กแต่ละวัยดังนี้ 1. เด็กวัยแรกเกิดถึง 1 ปี คุณลักษณะที่พึงประสงค์ 1.1 มีร่างกายเจริญเติบโตตามวัย ตามเกณฑ์มาตรฐาน 1.2 มีความสามารถในการใช้อวัยวะของร่างกายได้ประสานสัมพันธ์กัน 1.3 มีความสุขร่าเริงแจ่มใส อารมณ์มั่นคง สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ 1.4 มีความเข้าใจและสามารถใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายได้เหมาะสมตามวัย 2. เด็กวัย 1 - 3 ปี คุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ เจริญเติบโตตามวัยมีพฤติกรรมอนามัยที่เหมาะสม 2.1 มีสุขภาพจิตดี ยิ้มแย้ม แจ่มใส มีความสุขและมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและ ผู้อื่น 2.2 ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย 2.3 เล่นและทากิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข 2.4 มีความสามารถในการใช้ภาษาได้เหมาะสมตามวัย 2.5 มีความสนใจต่อการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว
  • 13. 13 3. เด็กวัย 3 – 6 ปี คุณลักษณะที่พึงประสงค์ 3.1 มีสุขภาพดี เจริญเติบโตตามวัยและมีพฤติกรรมอนามัยที่เหมาะสม 3.2 ใช้กล้ามเนื้อใหญ่กล้ามเนื้อเล็กได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน 3.3 ร่าเริง แจ่มใส มีความสุข และมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น 3.4 มีคุณธรรมและจริยธรรม มีวินัยในตนเอง และมีความรับผิดชอบ 3.5 ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับสภาพและวัย 3.6 อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 3.7 รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมในท้องถิ่น และความเป็นไทย 3.8 ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย 3.9 มีความสามารถในการคิด การแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัยและมีเจตคติที่ดี ต่อการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ 3.10 มีจินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จุดหมายตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546 กรมวิชาการ. (2546 : 31) ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการพัฒนาเด็กปฐมวัย และ จุดมุ่งหมายของหลักสูตร ดังต่อไปนี้ 1. เด็กอายุต่ากว่า 3 ปี มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาเด็กปฐมวัยดังต่อไปนี้ 1. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขภาพดี 2. ใช้อวัยวะของร่างกายได้อย่างคล่องแคล่วประสานสัมพันธ์กัน 3. มีความสุขและแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมกับวัย 4. รับรู้และสร้างปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัว 5. ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย 6. สื่อความหมายและใช้ภาษาได้เหมาะสมกับวัย 7. สนใจเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว (กรมวิชาการ. 2546 : 9) 2. เด็กอายุ 3 – 5 ปี มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาเด็กปฐมวัยดังต่อไปนี้ 1. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย และมีสุขนิสัยที่ดี 2. กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสาน สัมพันธ์กัน
  • 14. 14 3. มีสุขภาพจิตดี และมีความสุข 4. มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม 5. ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และการรักการออก กาลังกาย 6. ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับวัย 7. รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย 8. อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมใน ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 9. ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย 10. มีความสามารถในการคิดและแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย 11. มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ 12. มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีทักษะในการแสวงหาความรู้ 6. พระรำชบัญญัติกำรศึกษำแห่งชำติ พ.ศ. 2542 กับกำรจัดกำรศึกษำปฐมวัย ใน พ.ศ. 2542 ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับแรกขึ้น ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 25542 เป็นต้นมา และถือว่าเป็น กฎหมายแม่แบบที่เป็นหัวใจสาคัญในการปฏิรูปการศึกษาของประเทศ การปฏิรูป การศึกษาของไทยตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 นี้ ถือว่าเป็น ปฏิรูปครั้งใหญ่ของประเทศ ครั้งที่ 2 นับตั้งแต่มีการปฏิรูปการศึกษาครั้งแรก ในสมัย รัชกาลที่ 5 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กล่าวถึงการจัดการศึกษาตลอด ชีวิตสาหรับประชาชน กล่าวคือการศึกษาครอบคลุมตั้งแต่แรกเกิดจนตาย โดยมุ่งเน้น การจัดการศึกษาที่ให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่ น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายตามมติของ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2542 โดยให้ทุกส่วนของสังคมมีส่วนร่วมใน การจัดการศึกษาปฐมวัย การศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี ในที่นี้นั้นจะครอบคลุมชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยไม่ครอบคลุมการศึกษาปฐมวัย อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังคงให้ความสาคัญแก่การพัฒนาเด็กปฐมวัย ซึ่งหมายถึงเด็กในช่วงระหว่าง 0- 5 ปี (เด็กตั้งแต่แรกปฏิสนธิ ถึง อายุ 5 ปี 11 เดือน 29 วัน วัน) จึงมีการจัดทาแผนปฏิบัติการ ในนโยบาย และมาตรฐานการพัฒนาเด็กปฐมวัยที่ครอบคลุมเด็ก 0 – 5 ปี
  • 15. 15 แนวกำรจัดกำรศึกษำ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แนวการจัดการศึกษาปฐมวัย นั้นให้เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ และจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัย ความถนัด ความสนใจ และสัมพันธ์กับวิถีชีวิตตามธรรมชาติของผู้เรียน ดังที่ปรากฏในมาตราที่ 24 วรรค 1 – 6 ดังนี้ 1. จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของ ผู้เรียน โดยคานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 2. ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ ความรู้มาใช้เพื่อป้องกัน และแก้ปัญหา 3. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทาได้ คิด เป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้ 4. จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วน สมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุก วิชา 5. ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมสื่อการเรียน และอานวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้ การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอน และแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ 6. จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับ บิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ รูปแบบกำรจัดกำรศึกษำ สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2543 : 10) รูปแบบการจัดการศึกษา ปฐมวัยสามารถทาได้ใน 3 รูปแบบ คือ 1. การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กาหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดผลและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสาเร็จการศึกษา ที่แน่นอน 2. การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกาหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษาการวัดและประเมินผล ซึ่งเป็น
  • 16. 16 เงื่อนไขสาคัญของการสาเร็จการศึกษาโดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม 3. การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนด้วยตนเองตาม ความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่น ๆ นอกจากนี้ นันทิยา น้อยจันทร์ (2549 : 63 – 67) ตามแผนพัฒนาการศึกษา แห่งชาติ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2540 – 2544 ได้กล่าวถึง นโยบาย เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ ใน การพัฒนาเด็กปฐมวัยดังนี้ 1. นโยบาย นโยบายที่สาคัญด้านการจัดการศึกษาและพัฒนาเด็กปฐมวัยช่วงอายุ 0 – 5 ปี เพื่อให้เด็กปฐมวัยทุกคนได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ โดยให้ทุกส่วนของสังคมมีส่วนร่วมใน การบริหารจัดการให้สอดคล้องกับสภาพของท้องถิ่นและผู้รับบริการ 2. เป้าหมาย เป้าหมายที่สาคัญสาหรับการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 มีดังนี้ 1. เด็กอายุ 0 – 5 ปี ทุกคน 2. พ่อแม่ สมาชิกในครอบครัว ผู้เตรียมตัวเป็นพ่อแม่ 3. ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กโดยตรง ได้แก่ ครู ผู้ดูแลเด็ก พี่เลี้ยงเด็ก ผู้เลี้ยงดูเด็ก ผู้สูงอายุที่ดูแลเด็ก เจ้าหน้าที่สาธารณสุข นักสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ 4. ชุมชน ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรชุมชนต่าง ๆ ผู้นาทางศาสนา อาสาสมัครในรูปแบต่าง ๆ กลุ่มอาชีพ นักเรียน/เยาวชน ฯลฯ 5. สังคม ได้แก่ สถาบันทางสังคม สื่อมวลชน นักวิชาชีพและองค์กรวิชาชีพต่าง ๆ องค์กรของรัฐ องค์กรเอกชน ฯลฯ 3. ยุทธศาสตร์ ยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 8 มีดังนี้ 1. การพัฒนาเด็กอายุต่ากว่า 3 ปี ใช้หลักการบ้านเป็นฐานในการเลี้ยงดู (Home based approach) ซึ่งบุคคลสาคัญคือ พ่อแม่ ผู้ปกครองและสมาชิกในครอบครัว 2. เด็กอายุ 3 – 5 ปี ใช้สถานพัฒนาเด็กหรือรูปแบบอื่นที่เป็นทั้งระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย โดยให้ผู้ดูแลเด็ก ฯลฯ มีลักษณะเป็น “มืออาชีพ” และร่วมมือกับพ่อแม่ ผู้ปกครองและครอบครัว
  • 17. 17 3. การพัฒนาเด็กอายุ 0 – 5 ปี ที่ดีและมีคุณภาพต้องมีระบบการส่งต่อเพื่อ เชื่อมโยงจากบ้านไปศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย และโรงเรียน 4. การพัฒนาความรู้และทักษะแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กอายุ 0 – 5 ปี 5. สร้างความพร้อมให้ชุมชนและท้องถิ่นสามารถดาเนินการจัดการศึกษาและ พัฒนาเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6. สังคมร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างครบวงจร ตั้งแต่วางแผน ปฏิบัติการเฝ้าระวัง ตรวจสอบ และประเมินผล 7. เมื่อชุมชนและท้องถิ่นมีความเข้มแข็งพอ ทั้งด้านเศรษฐกิจและความรู้ ความสามารถ ให้รัฐกระจายความรับผิดชอบไปยังชุมชน ท้องถิ่น (ครอบครัว ชุมชน อบต. เทศบาล เอกชน องค์กรเอกชน และอื่น ๆ) ดาเนินการเต็มที่ในทุกด้าน รัฐจากัดบทบาทของ ตนเองให้เป็นผู้กาหนดนโยบาย รูปแบบ การตรวจสอบมาตรฐาน การประเมินผล และ การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสกลุ่มต่าง ๆ บทสรุป การศึกษาปฐมวัยเป็นการจัดการศึกษาสาหรับเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี เป็นการวางพื้นฐานทางการศึกษาให้แก่เด็กในระยะเริ่มต้น โดยมุ่งเตรียมความพร้อมเพื่อ ส่งเสริมให้เด็กแต่ละคนได้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ – จิตใจ สังคม และสติปัญญา มีบุคลิกภาพที่เหมาะสมตามวัย การจัดการศึกษาในระดับนี้มีความสาคัญ มากในหลาย ๆ ด้าน เช่น เกี่ยวกับการพัฒนาเด็ก ครอบครัว สถาบันทางสังคม เป็นต้น โดยเฉพาะเด็กวัยนี้เป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ที่รวดเร็ว เช่น พัฒนาการด้าน การรับรู้ การเรียนรู้ ที่เกิดขึ้นมากที่สุดช่วงหนึ่งในชีวิต นอกจากนี้ยังเป็นช่วงวัยของ การวางรากฐานและเตรียมตัวเพื่อพัฒนาชีวิตให้เด็กเจริญเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มี คุณค่าของประเทศชาติ โดยมีรูปแบบการจัดการศึกษาแบบเฉพาะมีความแตกต่างจากการ จัดการศึกษาในระดับอื่น เช่น มีจุดมุ่งหมายที่แตกต่าง โดยเน้นเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับ เด็ก การจัดกิจกรรมการเรียน เป็นต้น ถ้าพิจารณาจุดมุ่งหมายตามหลักสูตรการศึกษา ระดับปฐมวัยที่ผ่านมา จะมีความสอดคล้องกัน ปัจจุบันการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย อยู่บนพื้นฐานของพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งถือว่าเป็น แม่บทที่สาคัญในการจัดการศึกษาทุกระดับจะต้องยึดถือเป็นแนวทางที่สาคัญ เพื่อให้มี ความสอดคล้องกับการพัฒนาการศึกษาในอนาคต
  • 18. 18 คำถำมท้ำยบท 1. ให้อธิบายความหมายของเด็กปฐมวัย 2. ให้อธิบายความสาคัญของเด็กปฐมวัย 3. ให้อธิบายความหมายของการจัดการศึกษาปฐมวัย 4. การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยมีความสาคัญอย่างไร 5. ให้อธิบายจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาปฐมวัย 6. ให้อธิบายแนวโน้มของการพัฒนาเด็กปฐมวัยในอนาคต 7. ให้อธิบายบทบาทของหน่วยงานต่าง ๆ ในปัจจุบันที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก ปฐมวัย 8. ให้วิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยกับ การจัดการศึกษาในระดับอื่น 9. การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยมีความสัมพันธ์กับการจัดการศึกษาในระดับที่ สูงขึ้นอย่างไร 10. ให้นักศึกษาติดตามความเคลื่อนไหวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระดับ ปฐมวัย
  • 19. 19 บรรณำนุกรม กระทรวงศึกษาธิการ หลักสูตรกำรศึกษำปฐมวัย พุทธศักรำช 2546. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2546. กระทรวงศึกษาธิการ หลักสูตรกำรศึกษำปฐมวัย พุทธศักรำช 2540. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2540. นภเนตร ธรรมบวร หลักสูตรกำรศึกษำปฐมวัย. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2546. นันทิยา น้อยจันทร์ กำรประเมินผลพัฒนำกำรเด็กปฐมวัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม : สานักพิมพ์นิตินัย จากัด, 2549. นิตยา ประพฤติกิจ กำรพัฒนำเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : โอ เอส พริ้นติ้ง เฮาส์. ปรียพร วงศ์อนุตโรจน์ จิตวิทยำกำรศึกษำ. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ, 2548. ผกา สัตยธรรม คุณธรรมของครู. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544. สุโขทัยธรรมาธิราช. กำรสร้ำงประสบกำรณ์ชีวิตระดับปฐมวัยศึกษำ. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2535. ประกายรัตน์ ภัทรธิติ “พัฒนาการเด็กปฐมวัย” อ้ำงจำกฝึกอบรมครูและผู้เกี่ยวข้อง กับกำรอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยศึกษำ. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช, 2539. วราภรณ์ รักวิจัย กำรอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. บริษัท ต้นอ้อ แกรมมี่ จากัด, 2540. สุรางค์ โค้วตระกูล จิตวิทยำกำรศึกษำ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. กำรจัดบริกำรศูนย์เด็กก่อนวัยเรียน. กรุงเทพฯ : กรมการฝึกหัดครู, 2526. สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ กำรพัฒนำเด็กปฐมวัยตำมแนวพระรำช บัญญัติกำรศึกษำแห่งชำติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : สถาบันแห่งชาติ เพื่อการศึกษาสาหรับเด็กปฐมวัย, 2543. พัชรี สวนแก้ว จิตวิทยำและกำรดูแลเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์
  • 20. 20 ดวงกมล, 2536. เยาวพา เดชะคุปต์ กำรศึกษำปฐมวัย. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์แม็ค, 2542. เยาวพา เดชะคุปต์ กำรจัดกำรศึกษำสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2542. หรรษา นิลวิเชียร ปฐมวัยศึกษำ : หลักสูตรและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โอ เอส พริ้น ติ้งเฮาส์, 2535. Brewer,J.A. Introduction to early childhood education ; preschool to Primary grades. Boston : Allyn an Bacon. 1995. Erikson E.H. Child and society. New York : Harper and Row, 1970. Frost. J.l. Early childhood rediscovered. New York : Holt Rinehart & Winston, 1977.