SlideShare a Scribd company logo
1 of 30
Download to read offline
บทที่ 2
แนวคิด ทฤษฎีของนักการศึกษา
ที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาปฐมวัย
แผนการสอนประจาบท
1. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจแนวคิด ทฤษฎีของนักการศึกษา
2. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจประวัติและผลงานของนักการศึกษา
3. เพื่อให้นักศึกษาวิเคราะห์แนวคิดที่สอดคล้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย
4. เพื่อให้นักศึกษาวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อยของแนวคิด ทฤษฎีของนักการศึกษา
5. เพื่อให้นักศึกษาประยุกต์แนวคิดทฤษฎีที่สามารถนามาปรับใช้ในระดับปฐมวัย
2. สาระการเรียนรู้
1. จอห์น อมอส โคมินิอุส
2. จอง จาค รูสโซ
3. โจฮานห์ ไฮน์ริค เปสตาลอชซี่
4. เฟรดริค วิลเฮล์ม เฟรอเบล
5. มาเรีย มอนเตสซอรี่
6. จอห์น ดิวอี้
7. จอง เพียเจท์
8. บรูเนอร์
9. คอนสแตนส์ คามิ
10. ลิเลี่ยน เคทส์
11. เดวิด เอลไคนด์
3. กิจกรรมการเรียนรู้
1. ทดสอบก่อนเรียน (แบบทดสอบ)
2. แบ่งกลุ่มศึกษาเอกสารประกอบการสอนรายวิชา
3. นาเสนอผลการวิเคราะห์แนวคิด หลักการ ทฤษฎี
4. นาเสนอผลการศึกษา อภิปราย ซักถาม
5. นักศึกษาแบ่งกลุ่มศึกษาค้นคว้าทฤษฎีแนวคิดของนักการศึกษาเพิ่มเติม จากแหล่ง
ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
22
6. กิจกรรมการศึกษาด้วยตนเอง
1. ศึกษาเอกสารประกอบการสอน ตารา วารสาร สิ่งพิมพ์ และวิจัย เป็นต้น
2. สืบค้นข้อมูลจากเว็บไชต์ ทั้งในและต่างประเทศ
3. วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ของปรัชญา แนวคิดของนักการศึกษาปฐมวัย
4. วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ของรูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัย
5. จัดทารายงานการประยุกต์ปรัชญาแนวคิดของนักการศึกษาปฐมวัยในโรงเรียน
หรือสถานศึกษา
4. สื่อการเรียนการสอน
1. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการศึกษาปฐมวัย
2. สไลด์ประกอบการสอน (Power point)
3. เว็บไชต์อาจารย์ผู้สอน
4. โรงเรียนหรือสถานศึกษาที่เปิดการเรียนการสอนในระดับปฐมวัย
5. การประเมินผล
1. ความถูกต้องของเนื้อหา
2. ความถูกต้อง และครอบคลุมเนื้อหา
3. ผลการวิเคราะห์แนวคิด หลักการ ทฤษฎี นักการศึกษา
4. รายงานผลการศึกษาค้นคว้า
ก
ก
ก
ก
ก
ก
ก
ก
ก
23
บทที่ 2
แนวคิด ทฤษฎีของนักการศึกษาที่มีอิทธิพลต่อ
การจัดการศึกษาปฐมวัย
แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยได้เริ่มต้นมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 จนมาถึง
ปัจจุบันเป็นเวลากว่า 400 ปี แล้ว ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ ได้มีนักการศึกษาตลอดจน
บุคคลที่มีแนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยไว้ หลายท่านได้
คานึงถึงความสาคัญของเด็กในหลาย ๆ ด้าน เช่น พัฒนาการ การเจริญเติบโต การเรียนรู้
ธรรมชาติของเด็ก ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น จากการศึกษาของบุคคลดังกล่าวข้อมูลต่าง ๆ
ที่ได้มาบางครั้งได้มาจากการคิด การวิเคราะห์ การลองผิดลองถูก ประสบการณ์ตรง แต่
อย่างไรก็ตาม แนวคิดดังกล่าวบางเรื่องยังมีอิทธิพลถึงปัจจุบัน ซึ่งในบทนี้จะขอนาแนวคิด
ทฤษฎีของนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัย เพื่อเป็นการปูพื้นฐานความรู้
ความเข้าใจให้กับผู้ศึกษา และให้เข้าใจบริบทและธรรมชาติของศาสตร์ที่ถูกต้องต่อไป
นักการศึกษาที่มีบทบาทสาคัญต่อการศึกษาปฐมวัยมีดังนี้
1. จอห์น อมอส โคมินิอุส (John Amos Comenius)
2. จอง จาค รูสโซ (Jean Jacques Rousseau)
3. โจฮานห์ ไฮน์ริค เปสตาลอชซี่ (Johann Heinrich Pestalozzi)
4. เฟรดริค วิลเฮล์ม เฟรอเบล (Ferdrrick Wilhelm Froebel)
5. มาเรีย มอนเตสซอรี่ (Maria Montessori)
6. จอห์น ดิวอี้ (John Dewey)
7. จอง เพียเจท์ (Jean Piaget)
8. บรูเนอร์ (Jerrome S. Bruner)
9. คอนสแตนส์ คามิ (Constance Kamii)
10. ลิเลี่ยน เคทส์ (Lilian Katz)
11. เดวิด เอลไคนด์ (David Elkind)
12. เดวิด ไวท์คาร์ท (David Weikrart)
1. จอห์น อมอส โคมินิอุส (John Amos Comnius ค.ศ. 1592 - 1670)
เป็นพระในนิกายโปรเตสแตนท์เป็นนักการศึกษาที่เกิดในเมืองโมราเวีย (Moravia)
ประเทศเซโกสโลวาเกีย ได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเฮดเดลเบอร์ก (Heidelburg
24
University) ต่อมาได้เกิดสงครามที่เรียกว่า “สงคราม 30ปี”(Thirty Year War) ขึ้นในประเทศ
เซสโกสโลวาเกียทาให้โคมินิอุสหนีไปอยู่ที่ประเทศโปแลนด์ โคมินิอุสเป็นนักปฏิรูปการศึกษา
เขาได้รับเชิญให้ไปช่วยงานปฏิรูปการศึกษาจากหลายประเทศในยุโรป เช่น ประเทศอังกฤษ
สวีเดน ฮังการี และเนเธอร์แลนด์ งานทางด้านการศึกษาที่เขาทาได้คือ การปฏิรูปหลักสูตร
ของประเทศเนเธอร์แลนด์และสวีเดน การสร้างตัวอย่างโรงเรียนขึ้นในประเทศฮังการี เป็น
ต้น โคมินิอุสได้เสนอความคิดที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาสาหรับเด็กในระยะต่อมาคือ
1. เขาเสนอว่าเด็กทุกคนควรมีสิทธิ์ได้รับการศึกษาในโรงเรียน ด้วยเหตุผลที่ว่า
คนทุกคนไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ผู้หญิงหรือผู้ชาย รวยหรือจน คนชั้นสูงหรือคนธรรมดามี
ความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกันจึงควรได้รับการศึกษาเหมือน ๆ กัน
2. เขาเน้นให้ความสาคัญของการให้การศึกษาตั้งแต่เด็กยังเล็กเพราะการศึกษา
เป็นกระบวนการที่เริ่มตั้งแต่แรกเกิดและดาเนินต่อไปจนตลอดชีวิต
3. เขาเสนอให้จัดกลุ่มเด็กตามอายุ ซึ่งรูปแบบนี้ในปัจจุบันยังใช้กันอยู่อย่าง
แพร่หลาย
โคมินิอุสได้สร้างผลงานเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยดังต่อไปนี้
1. ในปี ค.ศ. 1657 เขาได้ส่งเสริมให้มีโรงเรียนสาหรับแม่โดยให้การศึกษาแก่สตรีที่
เป็นแม่ เนื้อหาที่สอนให้แก่แม่ก็คือ วิธีสอนให้เด็กรู้จักพืช สัตว์ สิ่งของ และให้รู้จักส่วน
ต่าง ๆ ของร่างกาย และให้เด็กรู้จักสังเกตความแตกต่างระหว่างความมืดกับความสว่าง
สีต่าง ๆ การรักษาความสะอาด การปรับตัวการเชื่อฟังผู้ใหญ่ และการสวดมนต์ เป็นต้น
2. ในปี ค.ศ. 1658 โคมินิอุส ได้เขียนหนังสือสาหรับเด็กซึ่งมีรูปภาพประกอบ เพื่อ
ช่วยในการสอนเด็กหนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า Orbis Sensualium Picture หรือ Orbis Pictus (โลก
ในรูปภาพ) หนังสือเล่มนี้มีลักษณะเป็นพจนานุกรมภาพมากกว่าหนังสือภาพสมัยใหม่
นับว่าเป็นหนังสือสาหรับเด็กเล่มแรกที่มีภาพประกอบและมีผู้นาไปใช้กันอย่างแพร่หลายทั่ว
โลกด้วยการแปลเป็นภาษาต่างประเทศไว้
ผลงานที่เกี่ยวข้องทางการศึกษาปฐมวัยของโคมินิอุส คือ ในปี ค.ศ. 1657 เขาได้
ส่งเสริมให้เปิดโรงเรียนสาหรับแม่ที่มีลูกวัยอนุบาล (Mother School) ดังปรากฏในหนังสือ
“ระเบียบวิธีสอน” (The Great Didactic) ว่าควรมีโรงเรียนให้การศึกษาแก่สตรีที่เป็นแม่ใน
เรื่องการปฏิสนธิและการเลี้ยงดูเด็ก และในหนังสือชื่อโรงเรียนสาหรับทารก (School of
Infancy) ได้เสนอแนะการสอนตามหลักสูตรว่าครูควรสอนบทเรียนง่าย ๆ เกี่ยวกับวัตถุ
สอนให้รู้จักหิน พืช และสัตว์ ให้บอกชื่อและหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ให้แยกสี
ต่าง ๆ รู้จักความแตกต่างของความมืดและความสว่าง สังเกตสิ่งแวดล้อมและสภาพ
25
ทั่ว ๆ ไปของห้อง ไร่ สวน นา ถนน สอนในเรื่องการรักษาความสะอาด การปรับตัว
การเชื่อฟังผู้ใหญ่ และการสวดมนต์ เป็นต้น
ต่อมาในปี ค.ศ. 1685 โคมินิอุสได้เขียนหนังสือสาหรับเด็กโดยมีรูปภาพประกอบ
หนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า “โลกในรูปภาพ” (Orbis Picture) ซึ่งนับว่าเป็นหนังสือสาหรับเด็กเล่ม
แรกที่มีภาพประกอบหนังสือเล่มนี้เป็นแนวทางให้ครูใช้จัดการเรียนเกี่ยวกับการฝึกประสาท
สัมผัส และการศึกษาธรรมชาติรอบตัว (Gordon and Browne. 1993, p 6) “หนังสือเล่มนี้
ใช้กันอย่างกว้างขวางทั่วโลกและได้แปลเป็นภาษาต่าง ๆ หลายภาษา” (ประภาพรรณ
สุวรรณสุข. 2539 : 60)
หลักการสอนที่สาคัญของโคมินิอุส
เกี่ยวกับหลักการสอนของโคมินิอุส ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2524) ได้ศึกษาและสรุป
ไว้ดังต่อไปนี้
1. ใช้วิธีการสอนโดยเลียนแบบธรรมชาติ เนื้อหาสาระต้องจัดให้เหมาะสมกับวัย
ของผู้เรียน
2. การเรียนควรเริ่มจากวัยทารกและควรออกแบบให้เหมาะสมกับอายุ ความสนใจ
และความสามารถของผู้เรียน ควรสอนสิ่งที่มีคุณค่าต่อผู้เรียนที่จะนาไปใช้ในชีวิตประจาวันได้
3. ควรจาแนกและเรียงลาดับเนื้อหาตามความยากง่ายและสอนด้วยวิธีการอนุมาน
4. ควรมีแบบเรียนที่มีภาพประกอบควบคู่ไปกับการสอน
5. ต้องสอนตามลาดับความสาคัญก่อนหลัง เช่น สอนภาษาแม่ก่อนภาษาต่าง
ประเทศ
6. หลักการและแนวคิดทั้งหลายควรอธิบายพร้อมกับยกตัวอย่างประกอบ
7. การอ่านและการเขียนควรสอนควบคู่กันโดยให้มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาวิชาให้
มากที่สุด
8. การเรียนควรใช้วิธีการสัมผัสโดยหาของจริงมาให้ผู้เรียนศึกษาประกอบ
การอธิบาย
9. เนื้อหาควรสอนแบบบรรยายแล้วมีภาพประกอบทุกเมื่อที่ทาได้
10. การเรียนวัตถุประสงค์หรือเนื้อหาใด ๆ ควรเน้นลาดับตาแหน่งและความสัมพันธ์
กับสิ่งอื่น ๆ ไม่ควรสอนเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงอย่างเดียว ควรมีโครงร่างเนื้อหาติดไว้บน
ผนัง
11. ไม่ควรลงโทษด้วยการเฆี่ยนตีเมื่อนักเรียนตอบผิดหรือสอบตก
26
12. โรงเรียนควรมีบรรยากาศที่ดี มีวัสดุอุปกรณ์และมีครูที่มีความเข้าใจนักเรียน
ครูหนึ่งคนอาจสอนได้หลายร้อยคนพร้อมกัน เมื่อสอนกลุ่มใหญ่แล้วก็ควรแบ่งเป็นกลุ่ม
ย่อย ๆ
2. จอง จาค รูสโซ
จอง จาค รูสโซ (Jean Jacque Rousseau. ค.ศ. 1712 - 1778) เป็นบุคคลต่อมาที่
ให้ความสนใจเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัย เขาเกิดในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ แต่ใช้ชีวิตส่วน
ใหญ่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส รูสโซเป็นทั้งนักเขียนและนักทฤษฎีทางด้านสังคม ผลงานที่
เกี่ยวข้องกับการศึกษาในระดับนี้คือหนังสือเรื่อง เอมิล (Emile) ซึ่งพิมพ์ออกจาหน่ายเมื่อ
ปี ค.ศ. 1762 มีข้อคิดสาคัญเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสาหรับเด็กในช่วงวัยแรกของชีวิต
โดยเขียนวิจารณ์เกี่ยวกับการจัดการศึกษาในสมัยนั้นซึ่งมีลักษณะบังคับ กาหนดทักษะ
พื้นฐานในการเรียนรู้ ใช้แบบทดสอบมาตรฐานและแบ่งกลุ่มเด็กตามความสามารถ รูสโซ
คิดว่าสิ่ง เหล่านี้ไม่ได้เป็นธรรมชาติ แต่เป็นการควบคุมธรรมชาติ เขาจึงเสนอวิธีการเลี้ยง
เด็กโดยให้คานึงถึงธรรมชาติของเด็ก เขามีความคิดว่าหน้าที่ ที่สาคัญของการศึกษาก็คือ
การค้นให้พบธรรมชาติของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปรากฏอยู่ในตัวเด็กและประคับ
ประคองให้ดาเนินไปอย่างถูกวิธี ดังนั้น แนวคิดในการจัดการศึกษาของเขาก็คือจะต้องให้
สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กและต้องคานึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
รูสโซเชื่อว่าการให้การศึกษาควรจะเริ่มต้นตั้งแต่เด็กเริ่มเกิดและดาเนินต่อไปจนถึง
อายุ 25 ปี การให้การศึกษาควรใช้วิธีตามหลักของธรรมชาติ คือ ควรบารุงตัวเด็กให้
สุขภาพแข็งแรงโดยเน้นพัฒนาการทางกายของเด็กตามลาดับขั้น เพื่อเด็กจะได้มีกาลัง
ความสามารถที่จะศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเองต่อไป เขามีความคิดเห็นว่าครูจะต้อง
เข้าใจธรรมชาติของเด็กแต่ละวัย และการสอนก็ต้องให้สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กแต่
ละวัย โดยควรเริ่มต้นด้วยการเร้าให้เด็กเกิดความสนใจอยากรู้อยากเห็น และควร
สนับสนุนให้เด็กแสดงพฤติกรรมออกมาอย่างเสรีเพื่อว่าจะได้เกิดการเรียนรู้และเกิด
ความคิดที่ดี วิธีการของรูสโซนี้ได้ชื่อว่าธรรมชาตินิยม (Naturalism) ที่กล่าวถึงการศึกษา
โดยธรรมชาติจะเกิดจากสามแหล่งด้วยกันคือ ธรรมชาติ ผู้คน และสิ่งของ
รูสโซมีความคิดว่าการบีบบังคับ การห้ามปรามโดยเด็ดขาด เป็นการทาลาย
ธรรมชาติของเด็ก เขามีความเชื่อว่า หัวใจของการศึกษาคือชีวิตในครอบครัว ส่วนในเรื่อง
พัฒนาการเด็กรูสโซได้วางแนวความคิดไว้เป็นหลัก 4 ขั้น โดยในสองขั้นแรกจะเกี่ยวกับ
การศึกษาตั้งแต่วัยแรกเริ่มจนถึงวัย 12 ปี ซึ่งแบ่งเป็น 2 ขั้นดังนี้
27
ในขั้นแรกของการพัฒนาจะเป็น 5 ปี แรกของชีวิตรูสโซก็มีความคิดทานอง
เดียวกันกับดิวอี้ เพียเจท์และนักการศึกษาในสมัยนั้นในเรื่องของความสาคัญของกิจกรรม
ทางกาย (Physical Activity) และได้กาหนดเป็นเนื้อหาในหลักสูตรสาหรับเด็กในขั้นนี้ด้วย
ในขั้นที่สองของพัฒนาการเริ่มจากอายุ 5 – 12 ปี เด็กในวัยนี้จะเรียนรู้ทุกสิ่งทุก
อย่างจากประสบการณ์ตรงและจากการสารวจสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวซึ่งเป็นแนวความคิดที่
คล้ายคลึงกับโคมินิอุส เปสตาลอชซี่ เฟรอเบล ดิวอี้ และเพียเจท์
รูสโซ เน้นว่า เด็กก็คือเด็ก เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ย่อส่วน เด็กจะมีธรรมชาติของการเป็น
เด็กก่อนที่เขาจะเป็นผู้ใหญ่ การศึกษาของเด็กจะต้องเจริญงอกงามจากความสนใจตาม
ธรรมชาติและความอยากรู้อยากเห็น เขาจึงได้แยกรูปแบบและเนื้อหาของการสอนเด็กเล็ก
ออกจากวิธีการที่ใช้กับเด็กโตและผู้ใหญ่ และเนื่องจาก รูสโซเน้นที่การให้เด็กเรียนรู้เอง
จากประสบการณ์ตรงที่ได้จากสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว ดังนั้นเด็กจะต้องไม่ได้รับ คาสั่ง ไม่ได้
รับการลงโทษทุกชนิด และต้องไม่ถูก ขอร้องให้กล่าวคาขอโทษ การกระทาของเด็กจะไม่
ถือว่าผิดศีลธรรม
รูสโซเป็นบุคคลที่มีความสาคัญต่อการศึกษามากที่สุดคนหนึ่ง เขาได้ตั้งทฤษฎีที่มี
ความสาคัญทางการศึกษาคือ การศึกษาต้องไม่เป็นการประหยัดเวลาแต่ต้องยอมเสียเวลา
(not to gain time, but to loose it)
3. โจฮานน์ ไฮน์ริค เปสตาลอชซี่
โจฮานน์ ไฮน์ริค เปสตาลอชซี่ (Johann Heinrich Pestalozzi, 1746 - 1827) เป็น
นักการศึกษาที่นาความคิดของนักการศึกษารุ่นเก่าไปปฏิบัติจริงในห้องเรียน เปสตาลอชซี่
เป็นผู้ให้แนวความคิดเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยอีกท่านหนึ่ง เขาเลื่อมใสในผลงานของรูสโซ
มากถึงขนาดนาเอาหลักการของรูสโซไปสอนลูกของเขาเองและต่อมาได้นาเอาไปใช้ใน
โรงเรียนในสวิตเซอร์แลนด์ เปสตาลอชซี่มีความเห็นที่สอดคล้องกับรูสโซที่ว่า การศึกษา
ต้องเป็นไปตามธรรมชาติและเป็นการให้ความเจริญแต่ตนเองแต่ในขณะที่รูสโซเน้นถึง
สมรรถภาพในตัวมนุษย์ การมีสุขภาพที่แข็งแรง เปสตาลอชซี่จะเน้นในทางธรรมะที่มีอยู่ใน
ตัวคน เขาจึงมีความคิดเห็นว่า จริยศึกษาและศาสนศึกษาสาคัญกว่าพุทธิศึกษา การสอน
ให้คนมีใจเมตตากรุณาต่อกัน มีค่ามากกว่าสอนคนให้มีความรู้ เปสตาลอชซี่พบว่าอิทธิพล
ทางธรรมะ น้าใจในบ้าน และสังคมมีอานาจเปลี่ยนแปลงมนุษย์ได้แน่นอนยิ่งกว่าอิทธิพล
ทางพุทธิศึกษา ด้วยเหตุนี้ เปสตาลอชซี่จึงถือว่าการศึกษาทางบ้านเป็นสิ่งสาคัญอย่างหนึ่ง
เขาเชื่อว่าบ้านเป็นรากฐานแห่งการศึกษา บ้านเป็นที่อบรมศีลธรรมอย่างดี ดังนั้นการศึกษา
28
เพื่อฝึกฝนให้คนมีอาชีพและมีประโยชน์ต่อรัฐจะต้องมาทีหลัง การศึกษาจึงมีความจาเป็น
ในการให้ความสุขในครอบครัว
เปสตาลอชซี่ทุ่มเทความคิดทั้งหมดมาที่เด็กเล็กอย่างแท้จริง เขาได้นาเอาความคิด
ใหม่ ๆ จากทฤษฎีทางการศึกษานามาปรับปรุงแล้วนามาใช้ในห้องเรียน งานของเขาเป็น
เครื่องแสดงให้เห็นถึงจุดเริ่มต้นของรูปแบบความคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับการจัดโรงเรียนสาหรับ
เด็กปฐมวัยเพราะเขาได้ต่อสู้กับการศึกษาแบบต่าง ๆ ที่ใช้มาช้านานในสมัยนั้นซึ่งเขาไม่เห็น
ด้วยอยู่ 3 ประการ คือ
1. เด็กยากจนไม่มีโอกาสเข้าโรงเรียนหรือถูกกีดกันออกจากโรงเรียน
2. ลักษณะการเรียนการสอนแบบท่องจา
3. การลงโทษเด็กอย่างรุนแรงและทารุณ เมื่อเด็กจาบทเรียนไม่ได้
และในที่สุดเปสตาลอชซี่ก็สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบการศึกษาในสมัยนั้นได้
สาเร็จโดยเปสตาลอชซี่ มีความสุขกับการสอนเด็กยากจน เขาจึงตั้งโรงเรียนสาหรับเด็ก
ยากจนขึ้นโรงเรียนของเขาใช้กฎของความเมตตากรุณายกเลิกการเฆี่ยนตีเด็กและปกครองเด็ก
ด้วยความรัก เปสตาลอชซี่ เชื่อว่าเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันในด้านความสนใจ
ความต้องการและอัตราในการเรียนรู้ เขาเป็นผู้ริเริ่มคิดในเรื่องความพร้อม โดยจะต้องใช้
เวลาและประสบการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
โดยเฉพาะประสบการณ์ตรงทางวัตถุหรือทางรูปธรรม (Object Lesson) เป็นสื่อที่จาเป็น
สาหรับการเรียนรู้ และเป็นสิ่งที่มีความหมายมากกว่าการใช้คาพูดแต่เพียงอย่างเดียว
เปสตาลอชซี่ เน้นการกระทาซ้า ๆ ในสิ่งที่เรียนรู้ โดยจะต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่อง
โดยตรงกับประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม
หลักสาคัญทางการศึกษาที่เปสตาลอชซี่ได้กล่าวไว้ คือ ในการสอนเด็กครูควรจะ
คานึงถึงธรรมชาติและความพร้อมของเด็กเป็นหลัก นอกจากนั้นยังจะต้องคานึงถึงความแตกต่าง
ระหว่างบุคคลด้วย เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันในด้านความสนใจความต้องการ
และอัตราการเรียนรู้ วิธีการสอนของเปสตาลอชซี่เป็นวิธีการสอนตามธรรมชาติคือ สอน
จากรูปธรรมไปหานามธรรม สอนจากสิ่งที่ง่ายที่สุดเสียก่อน แล้วจึงค่อยยากขึ้นไป
ตามลาดับ ความยากง่ายนั้นต้องให้เหมาะกับความเจริญของเด็ก ทั้งทางด้านร่างกาย และ
จิตใจ การศึกษาของเด็กจะต้องมาจากประสบการณ์ตรง คือ ต้องให้เด็กลงมือค้นหา
ความรู้ด้วยตนเองโดยผ่านประสาทสัมผัสเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์เปสตาลอชซี่
กล่าวไว้ว่า ครูและศิษย์จะต้องมีความรักใคร่ซึ่งกันและกัน ครูอาจลงโทษเด็กได้ แต่ต้องเป็นไป
ในทางที่ถูกที่ควรวิธีการจัดการศึกษาตามหลักของเปสตาลอชซี่นี้ นับได้ว่าเป็นการจัดการศึกษา
29
ที่สอดคล้องกับหลักจิตวิทยา เพราะได้คานึงถึงหลักพัฒนาการของเด็กเป็นเกณฑ์ใน
การจัดการเรียนการสอน
4. เฟรดริค วิลเฮล์ม เฟรอเบล
เฟรดริค วิลเฮล์ม เฟรอเบล (Ferdrrick Wilhelm Froebel, ค.ศ. 1782 - 1852) เป็น
นักการศึกษาชาวเยอรมัน ผู้ได้รับเอาแนวความคิดทางการศึกษาจากโคมินิอุสรูสโซและ
เปสตาลอชซี่ แล้วนาเอาความคิดนั้นมาพัฒนาขึ้นใหม่โดยจัดตั้งทฤษฎี ปรัชญาพัฒนาการ
ของเด็กระดับโรงเรียนอนุบาลขึ้น เขาเป็น ผู้ให้กาเนิดการศึกษาปฐมวัย โดยตั้งโรงเรียน
อนุบาลแห่งแรกขึ้นที่เมืองแบลคเกนเบอร์ก (Blackemburg) ในปี ค.ศ.1842 ในประเทศ
เยอรมนี โดยจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกชื่อ คินเดอร์การ์เทน (Kindergarten) แปลว่า
“สวนเด็ก” ขึ้นที่เมืองแบลคเกนเบอร์ก (Blackenbug)ในปี ค.ศ. 1842 จุดมุ่งหมายในการจัด
ตั้งโรงเรียนอนุบาลก็คือ เพื่อฝึกอบรมเด็ก ฝึกหัดครูและพี่เลี้ยงเด็กให้รู้จักวิธีสอนเด็กให้
ถูกต้อง เฟรอเบลได้รับแนวคิดทางการศึกษาจากรูสโซและเปสตาลอชซี่และได้นาเอา
แนวคิดเหล่านั้นมาพัฒนาใหม่ และจัดตั้งทฤษฎีปรัชญาพัฒนาการเด็กระดับโรงเรียน
อนุบาลขึ้นโดยเขียนไว้ในหนังสือ “Education of Man, Pedagogies of Kindergarten” และ
หนังสือ “Education by Development” เฟรอเบลให้ความสาคัญเกี่ยวกับคุณค่าของ
ความเป็นเด็ก เพราะความเจริญเติบโตทางด้านร่างกายและจิตใจของเด็กจะเกิดขึ้นได้ โดย
ให้เด็กได้ใช้กาลังในการเคลื่อนไหวทากิจกรรมต่าง ๆ แทนการนั่งเฉยฟังครูพูดด้วยเหตุผลนี้
เฟรอเบลจึงสนับสนุนให้เด็กเรียนโดยการเล่นการร้องเพลง และเฟรอเบลยังมีความเชื่อว่า ครู
ควรจะส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กให้เจริญขึ้นด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิด
สร้างสรรค์แบบเสรี โดยใช้การเล่นและกิจกรรม เขาได้จัดอาคารสถานที่ภายในโรงเรียนให้
ร่มรื่น และเปิดโอกาสให้เด็กฝึกทางานง่าย ๆ เช่นทาสวน เพราะเขาเชื่อว่าการทาสวนจะ
ช่วยสร้างลักษณะนิสัยที่ดีได้ เฟรอเบลจะเน้นเรื่อง กิจกรรมของเด็ก โดยถือว่าเด็กทุกคนมี
ความสามารถ ซึ่งจะแสดงออกเมื่อได้รับการสนับสนุน เช่น การเล่น การร้องเพลง
การแสดงท่าทางต่าง ๆ เป็นต้น
จากเหตุผลดังกล่าวเขาจึงพยายามตอบสนองความต้องการของเด็กโดยคิดของ
เล่นให้เด็กเล่นหลายชุด เช่นของเล่นชุดของขวัญ (Gift) ซึ่งมีทั้งหมดประมาณ 30 ชุด โดย
กาหนดว่าเด็กทุกคนจะต้องมีของเล่นชุดเดียวกันก่อน เมื่อครูแนะนาให้เด็กเล่นโดยทดลอง
ทาพร้อม ๆ กันจนเด็กเข้าใจและทาได้บ้างแล้วจึงให้โอกาสเด็กแต่ละคนคิดทดลองทาด้วย
ตนเองอีกครั้งหนึ่งใน การเล่นของเล่นดังกล่าวนั้นเฟรอเบลเน้นมากในเรื่องระเบียบ
การเตรียมตัว ขั้นตอนในการปฏิบัติ การเก็บของเล่นแต่ละอย่างให้ถูกวิธี โดยกาหนดเวลา
30
ของกิจกรรมประจาวันไว้อย่างแน่นอน แต่อย่างไรระเบียบวินัยหลาย ๆ เรื่องนั้นเป็น
การสะกัดกั้นความคิดและสติปัญญาของเด็กเขาจึงเน้นเรื่องกิจกรรมของเด็กดังที่กล่าวมา
และของเล่นอีกชุดหนึ่งของเขาซึ่งชื่อชุดอาชี (Occupations) ก็ได้รับการออกแบบมาสาหรับ
พัฒนาการเรียนรู้โดยการสัมผัส เช่น เดียวกับชุดของขวัญ โดยชุดอาชีพนี้จะประกอบไป
ด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การปั้น การตัด การพับ การร้อยลูกปัด และนอกจากจะเน้นใน
เรื่องของการเล่น เฟรอเบลยังได้ให้ความสาคัญกับกิจกรรมอีกอย่างหนึ่งคือ การเล่านิทาน
เขาแต่งนิทานสาหรับเด็กเป็นเรื่องของสัตว์มีชีวิตและความเป็นอยู่เหมือนคน ขณะเดียวกัน
ก็ให้เด็ก ๆ รู้จักรักธรรมชาติของสัตว์ โดยการร้องเพลงและท่าเลียนแบบ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่
เด็ก ๆ ชอบมากนอกจากจะจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลแล้วเขายังได้จัดตั้งสถาบันเพื่อฝึกหัด
หญิงสาวเป็นครูอนุบาลด้วย
แนวความคิดและผลงานของเฟรอเบลในเรื่องการจัดการศึกษาปฐมวัยนี้ เป็น
การวางรากฐานที่สาคัญต่อการศึกษาที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ คือ การเรียนการสอนที่ยึด
เด็กเป็นศูนย์กลาง เฟรอเบลได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการศึกษาปฐมวัย และแนวคิด
ของเขาก็ยังคงใช้ต่อมาจนถึงปัจจุบันแต่ในยุคที่เฟรอเบลมีชีวิตอยู่นั้น แนวความคิดในเรื่อง
การศึกษาปฐมวัยของเขาไม่ได้เป็นที่นิยมมากนักในประเทศเยอรมนี เนื่องจากเหตุผล
ทางการเมือง รัฐบาลเยอรมนีได้สั่งปิดโรงเรียนของเฟรอเบลในปี ค.ศ. 1851 และในปีต่อมา
คือในปี ค.ศ. 1852 เฟรอเบลก็ถึง แก่กรรม
นักการศึกษาที่ได้รับแนวคิดจากเฟรดริค วิลเฮล์ม เฟรอเบล
หลังจากที่เฟรอเบลถึงแก่กรรมแล้วได้มีผู้ที่นาเอาแนวคิดของเฟรอเบลมาใช้และ
เผยแพร่หลายราย ซึ่งได้แก่
นางบารอนเนส เบอร์ทา สตรีชาวเยอรมัน ผู้มีความสนใจในการจัดการศึกษา
ปฐมวัยของเฟรอเบล ได้เดินทางย้ายไปอยู่ในประเทศอังกฤษ และได้เผยแพร่ความคิด
เกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยของเฟรอเบล โดยได้ตั้งโรงเรียนอนุบาลขึ้นและได้รับความนิยม
ในประเทศอังกฤษ ภายหลังจึงได้นาเอาแนวความคิดนี้ไปเผยแพร่ต่อในประเทศฝรั่งเศส
สวิสเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ อิตาลี และเบลเยี่ยมด้วย ต่อมารัฐบาลเยอรมนีได้ยกเลิก
คาสั่งห้ามตั้งโรงเรียนอนุบาล นางบารอนเนสเบอร์ทา จึงกลับไปอยู่ในประเทศเยอรมันนี
และตั้งโรงเรียนอนุบาลขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
ระยะกาเนิดโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกในสหรัฐอเมริกา
ในปี ค.ศ. 1856 แนวคิดเกี่ยวกับการอนุบาลของเฟรอเบลได้เริ่มแพร่หลายไป
ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยเริ่มจากลูกศิษย์ของเฟรอเบลคนหนึ่งชื่อ นางคาร์ล เชอร์ช
31
(Mrs. Carl Schurz) ได้จัดตั้งโรงเรียนอนุบาลขึ้นแห่งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาที่เมือง
วอเตอร์ทาวน์ (Water Town) มลรัฐวิสคอนซิน (Wisconsin) โดยจัดขึ้นในบ้านของเธอเองใช้
ภาษาเยอรมันสอนให้กับลูกหลานกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่ง
ระยะต่อมานางคาร์ลเชอร์ ได้มีโอกาสพบกับอลิชาเบทพีบอดี้ (Elizabeth Peabody)
ที่เมืองบอสตัน (Boston) และได้พูดคุยกันเกี่ยวกับการอนุบาลศึกษาตามแนวคิดของ
เฟรอเบล อลิชาเบท พีบอดี้มีความเลื่อมใสในแนวความคิดของเฟรอเบล เธอจึงได้ตั้ง
โรงเรียนตามแนวคิดของเฟรอเบลขึ้นที่เมืองบอสตัน (Boston) มลรัฐแมสชาซูเซทส์
(Massachusetts) ในปี ค.ศ. 1860 นับเป็นโรงเรียนอนุบาลเอกชนแห่งแรกที่ใช้ภาษาอังกฤษ
และในปี ค.ศ. 1867 เธอเดินทางไปยังประเทศเยอรมนีเพื่อไปศึกษางานของเฟรอเบลมาก
ขึ้น หลังจากที่เธอเดินทางกลับมาจากประเทศเยอรมนีแล้วเธอได้กลายเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อ
การศึกษาปฐมวัยในอเมริกาเป็นอย่างมากโดยเขียนหนังสือและพิมพ์หนังสือออกจาหน่าย
มากมาย เช่น หนังสือชื่อ Kindergarten Messenger และต่อมาได้เขียนลงในหนังสือ New
England Journal of Education
โรงเรียนอนุบาลของรัฐแห่งแรกในอเมริกา ตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1873 ที่เมืองแซงต์หลุย
(St. Louis) โดยวิลเลียม ฮอรีสและซูซาน โบลว์ (William Horris and Susan Blow) ผู้ที่เคยไป
ดูงานการอนุบาลที่เยอรมนีและได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของเฟรอเบล ต่อจากนั้น
การอนุบาลในสหรัฐอเมริกาก็ได้พัฒนาไปเรื่อย ๆ ตามลาดับ
นางคาร์ล เชอร์ช ผู้ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของเฟรอเบลได้เปิดโรงเรียนอนุบาลแห่งแรก
ขึ้นที่เมือง วอเตอร์ทาวน์ (Watertown) มลรัฐวิสคอนซิน (Wisconsin) ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปี ค.ศ. 1856 โดยจัดสอนเป็นภาษาเยอรมันและจัดสอนที่บ้านให้กับลูกหลานเพียงไม่กี่คน
อลิซาเบล พีบอดี้ ได้พบกับนางคาร์ล เชอร์ช ที่เมืองบอสตัน (Boston) และได้รับ
คาแนะนาเกี่ยวกับการอนุบาลตามแนวคิดของเฟรอเบล พีบอดี้เห็นด้วยกับหลักการของ
เฟรอเบลเธอจึงตั้งโรงเรียนอนุบาลขึ้น ในปี ค.ศ.1860 ในเมืองบอสตัน มลรัฐแมสซาชูเซต
นับเป็นโรงเรียนอนุบาลของเอกชนแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่สอนโดยใช้ภาษาอังกฤษและ
ใช้หลักการของ เฟรอเบลในการดาเนินการสอน และเธอกับพี่สาวของเธอได้พิมพ์หนังสือ
ขึ้นมาเผยแพร่เล่มหนึ่งชื่อ “Kindergarten Guide”
ในปี ค.ศ. 1867 เธอได้ปิดโรงเรียนอนุบาลซึ่งในขณะนั้นกาลังได้รับความนิยม เพื่อ
เดินทางไปศึกษาต่อเกี่ยวกับการอนุบาลตามหลักการของเฟรอเบลที่ประเทศเยอรมนี
หลังจากที่เธอเดินทางกลับมาจากประเทศเยอรมนีแล้วเธอได้กลายเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อ
การศึกษาปฐมวัยในอเมริกาเป็นอย่างมากโดยเขียนหนังสือและพิมพ์หนังสือออกจาหน่าย
32
มากมาย เช่น หนังสือชื่อ Kindergarten Messenger และต่อมาได้เขียนลงในหนังสือชื่อ
New England Journal of Education
ซูซาน โบลว์ ได้เคยไปศึกษาดูงานอนุบาลที่เยอรมนี แล้วได้เสนอแนวคิดใน
การจัดโรงเรียนอนุบาลขึ้นในโรงเรียนของรัฐ ในเมืองแซงต์ลุย ซึ่งแนวคิดนี้พีบอดี้เคยเสนอ
แล้วแต่ไม่ประสบผลสาเร็จ ต่อมาซูซานโบลว์จึงลองเสนออีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งทดลอง
สอนให้ดูผลปรากฏว่ารับความสาเร็จอย่างสูงทาให้มีโรงเรียนอนุบาลแห่งรัฐเกิดขึ้นที่เมือง
แซงต์ลุย
5. มาเรีย มอนเตสซอรี่
มาเรีย มอนเตสซอรี่ (Maria Montessori. ค.ศ. 1870 - 1952) เป็นนักการศึกษา
อีกผู้หนึ่งที่วางแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยและได้รับการยอมรับกันจนถึงปัจจุบัน
มอนเตสซอรี่เป็นชาวอิตาลีและเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับปริญญาทางการแพทย์ หลังจาก
สาเร็จการศึกษาได้ทางานร่วมกับคณะนักจิตวิทยา มีโอกาสทางานเกี่ยวข้องกับเด็กยากจน
และเด็กที่มีปัญหาทางด้านจิตใจ ต่อมาเข้ารับการศึกษาเพิ่มเติมในด้านปรัชญาการศึกษา
จิตวิทยาและมนุษยวิทยาโดยเฉพาะเรื่องโรคภัยที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เธอประสบผลสาเร็จใน
การจัดการศึกษาให้กับเด็กที่มีความบกพร่องทางสมอง ซึ่งในยุคนั้นถือว่าเป็นผู้ไม่มี
ความสามารถทางการเรียนรู้ มอนเตสซอรี่จึงได้นาเอาสื่อวัสดุอุปกรณ์ และวิธีการจัด
กิจกรรมนามาใช้สาหรับเด็กที่มีความบกพร่องที่ใช้ในอิตาลีมาจัดโปรแกรมการศึกษา
สาหรับเด็กปกติ “ซึ่งโปรแกรมการศึกษาของมอนเตสซอรี่จัดได้ว่าเป็นหลักสูตรรูปแบบที่
สองที่สร้างขึ้นมาสาหรับเด็กปฐมวัย (หลักสูตรแรกคือหลักสูตรของเฟรอเบล)” (Jackman.
2001 : 25)
มอนเตสซอรี่เริ่มสอนเด็กปกติและได้จัดตั้งบ้านเด็ก (Children’s House) ขึ้นที่กรุง
โรมในปี ค.ศ. 1907 โปรแกรมการศึกษาของเธอตั้งอยู่บนพื้นฐานของการสังเกตเด็กเล็กซึ่ง
นาไปสู่ การสรุปว่า สติปัญญาของคนเรานั้นไม่หยุดอยู่คงที่ แต่กระตุ้นให้พัฒนาขึ้นไปได้
เธอเชื่อว่าเด็ก ๆ จะเรียนรู้ได้ดีที่สุดโดยใช้ประสาทสัมผัสของตัวเองโดยตรงกับสิ่งแวดล้อม
รอบตัว
มอนเตสซอรี่เรียกสถานที่สอนเด็กว่าบ้านเด็ก (Children’s House) แทนคาว่า
โรงเรียนเพราะมีการจัดสภาพแวดล้อมของสถานที่เรียนให้เหมือนกันกับบ้าน เพื่อจะให้มี
บรรยากาศแบบเป็นกันเอง โดยไม่จัดห้องเรียนแบบให้เด็กเข้าแถวเรียงกัน เพราะวิธีการ
เช่นนี้ไม่เอื้อให้เด็กมีเสรีภาพอย่างเต็มที่ ห้องเรียนของมอนเตสซอรี่ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่
เน้นให้เด็กพัฒนาประสาทสัมผัสและเรียนรู้มโนทัศน์ มีการจัดสื่อการเรียนการสอนเตรียม
33
ไว้ให้เด็กใช้อย่างอิสระ โดยแบ่งสื่อตามระดับความสามารถของเด็กจากสิ่งที่รู้แล้วไปยังสิ่ง
ที่ไม่รู้ จากรูปธรรมไปหานามธรรม “การสอนมโนทัศน์ก็จะแยกเป็นอิสระจากกันเพื่อ
ป้องกันการสับสน เช่น เมื่อเรียนเรื่องรูปร่าง (Shape) สื่อก็จะอยู่ในลักษณะที่เน้นให้สนใจ
เฉพาะรูปร่างอย่างเดียวโดยออกแบบให้เด็กวัดผลและแก้ไขข้อผิดพลาดของตนเองได้”
หรรษา นิลวิเชียร (2535 : 5) ได้กล่าวถึงระบบการสอนของมอนเตสซอรี่ ว่า
มอนเตสซอรีพยายามสร้างให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์มีพัฒนาการเจริญขึ้นทั้งด้าน
ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยมีวิธีการสอนที่ให้เสรีภาพแก่เด็กในการเลือก
ทากิจกรรมตามความสนใจของตนเองแต่อยู่ภายในขอบเขตที่วางไว้ ซึ่งเด็กจะเรียนรู้จาก
ประสบการณ์ตรงโดยการสังเกตและปฏิบัติการฝึกประสบการณ์ชีวิต เช่น การติดกระดุม
รูดซิป การตัด การขัดถู และการทาสวน ช่วยให้เด็กรู้จักช่วยเหลือตนเอง รู้จักการอนุรักษ์
สิ่งแวดล้อมซึ่งมีประโยชน์ต่อชีวิตในอนาคต
มอนเตสซอรี่ให้ความสาคัญกับสื่อการเรียนมากเพราะสื่อการเรียนช่วยให้เด็กได้
ฝึกประสาทสัมผัส ฝึกการแยกขนาด รูปร่าง สี พื้นผิว เสียง อุณหภูมิ ตลอดจนการเรียน
การเขียน การอ่าน และตัวเลข การจัดกิจกรรมจะจัดให้เด็กได้ฝึกเป็นรายบุคคลมากกว่า
รายกลุ่ม เด็ก ๆ มีอิสระที่จะเคลื่อนไหวและเลือกกิจกรรมของตนเอง “ถึงแม้ว่าจะไม่
การเน้นเรื่องพัฒนาการทางด้านสังคมและอารมณ์แต่ครูผู้สอนก็มีความเชื่อว่า เด็กจะ
พัฒนาความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตนเองในขณะที่เด็กพัฒนาความสามารถในการเรียน”
แนวความคิดของมอนเตสซอรี่ส่วนใหญ่แล้วจะเห็นด้วยกับหลักการของเฟรอเบล
เช่น การจัดสิ่งแวดล้อมในบริเวณโรงเรียนอนุบาลด้วยธรรมชาติ มีสนามให้เด็กวิ่งเพื่อออก
กาลังกาย มีเครื่องเล่นสนาม และ ฝึกฝนให้เด็กทาสวนครัว ในส่วนที่มอนเตสซอรี่ส่งเสริม
อีกอย่างหนึ่งคือให้เด็กมีกิจกรรมส่งเสริมสุขนิสัยที่ดีทั้งการรับประทานอาหาร การขับถ่าย
การพักผ่อน ฯลฯ
สุกัญญา กาญจนกิจ. (2537 : 28) ได้กล่าวว่าแนวคิดของมอนเตสซอรี่บางส่วนมี
ความขัดแย้งกับของเฟรอเบลอยู่บางประการ เช่น ในเรื่องของการจัดชั้นเรียนแบบตายตัว
ซึ่งมอนเตสซอรี่ไม่เห็นด้วยเพราะเธอเน้นการให้เสรีภาพแก่เด็กเพื่อแสวงหาความรู้โดย
ปล่อยให้เด็กมีประสบการณ์จากสิ่งแวดล้อมด้วยตนเองและด้วย ความสมัครใจโดยถือ
ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Difference) เป็นแนวทางในการปฏิบัติกิจกรรม
มอนเตสซอรี่ได้ทาอุปกรณ์การสอนไว้เป็นหมวดหมู่ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเอง เก้าอี้
ของเด็กมอนเตสซอรี่ก็ออกแบบให้เล็กเหมาะสมกับความสูงของเด็ก และยกไปมาได้สะดวก
ตามโอกาสและความเหมาะสมของกิจกรรม ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่ มอนเตสซอรี่มีความเห็น
ไม่ตรงกับ เฟรอเบล คือ เรื่องนิทาน เธอมีความคิดเห็นว่าการส่งเสริมพัฒนาการทาง
34
ความคิดคานึงของเด็กควรจะพัฒนาไปในทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะของ
ความเป็นจริงที่พิสูจน์ได้มากกว่าการใช้นิทาน
นอกจากนี้ หรรษา นิลวิเชียร. (2535 : 5) ได้กล่าวว่า “แนวความคิดของมอนเตส
ซอรี่ได้รับการยอมรับทั่วไปในอิตาลี และขยายออกไปทั่วโลก ในสหรัฐอเมริกาได้รับแนวคิด
ของมอนเตสซอรี่มาใช้ โดยมีการจัดสภาพแวดล้อมสิ่งต่าง ๆ ให้มีขนาดที่เหมาะสมกับตัว
เด็กและมีการใช้วัสดุอุปกรณ์เพื่อฝึกประสบการณ์ทางด้านการใช้ประสาทสัมผัส” “แต่
อย่างไรก็ตามหลังจากที่ได้นาแนวคิดของมอนเตสซอรี่ไปดาเนินการได้ระยะหนึ่งก็ได้รับการ
วิพากษ์วิจารณ์ว่าแนวคิดของมอนเตสซอรี่ขาดจุดเน้นในเรื่องพัฒนาการด้านภาษาและ
สังคม และเน้นด้านความคิดสร้างสรรค์ ดนตรี และศิลปะน้อยมาก ซึ่งนับว่าเป็นจุดอ่อน
ของแนวคิดนี้”
6. จอห์น ดิวอี้
จอห์น ดิวอี้ (John Dewey , ค.ศ. 1895 - 1952) เป็นนักการศึกษาชาวอเมริกันที่
ต่อต้านการสอนแบบดั้งเดิม (Traditional) ที่มีลักษณะการสอนที่ครูเป็นผู้เตรียมการสอน
และประสบการณ์ให้กับเด็กได้เรียนรู้ และการเรียนรู้จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากตาราที่ผู้ใหญ่
เขียนเอาไว้โดยสอนเด็กว่าสิ่งที่สอนนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งเป็น
การยัดเยียดมาตรฐานความคิดความรู้ของผู้ใหญ่ตลอดจนวิธีการต่าง ๆ ให้กับเด็ก และ
นอกจากนี้ ดิวอี้ยังไม่เห็นด้วยกับบทบาทของผู้เรียนที่จะต้องเป็นฝ่ายรับแนวความคิดของ
ผู้ใหญ่เพียงอย่างเดียว โรงเรียนแบบดั้งเดิมจะต้องพึ่งพาการสอนจากผู้ใหญ่อยู่ตลอดเวลา
และอาศัยการท่องจาเพียงอย่างเดียว
จอห์น ดิวอี้ ได้ชื่อว่าเป็นผู้นาการเคลื่อนไหวทางการศึกษาแบบก้าวหน้า หรือ
การศึกษาแบบสมัยใหม่ (Progressive Education) และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง
จากกลุ่มนักปรัชญาและนักทฤษฎีทางการศึกษาเพราะเขาได้สรุปและเสนอแนวคิดเกี่ยวกับ
การศึกษาแบบก้าวหน้าว่า โรงเรียนเป็นสถาบันทางสังคม ซึ่งจะแสดงถึงชีวิตที่เหมาะสม
และสมบูรณ์ให้กับเด็กเหมือนกับบ้าน ดังนั้นการศึกษาจึงหมายถึงขบวนการของการมีชีวิต
อยู่ในแต่ละวัน ไม่ได้หมายถึงการเตรียมตัวถึงชีวิตในอนาคตเท่านั้น ดังนั้นโรงเรียนจะต้อง
ทาหน้าที่เหมือนกับหน่วยของสังคมเล็ก ๆ ซึ่งต้องการความร่วมมือแบบประชาธิปไตยของ
สมาชิกในสังคม โดยเน้นการร่วมมือซึ่งกันและกัน ความเป็นมนุษย์การตัดสินปัญหาร่วมกัน
และการจัดอาชีพที่เหมาะสมซึ่งเน้นความสนใจของนักเรียนเองเป็นใหญ่ การเรียนการสอน
แบบนี้นักเรียนจะมีโอกาสเลือกกิจกรรมด้วยตนเองเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและ
35
การทดลองเนื้อหาวิชาจะถูกนามาบูรณาการ บทบาทครู คือเป็นผู้สังเกตและให้คาแนะนามิ
ใช้เป็นผู้ควบคุมการเรียน
7. จอง เพียเจท์
จอง เพียเจท์ (Jean Piaget . ค.ศ. 1896 - 1980) นักจิตวิทยาชาวสวิส เป็นผู้ที่
สนใจทางด้านชีววิทยามาตั้งแต่วัยเด็กเขาได้รับปริญญาเอกทางด้านชีววิทยาเขาคิดว่าการเจริญเติบโต
ทางด้านสติปัญญาเกี่ยวข้องกับด้านชีววิทยา นอกจากสนใจวิชาชีววิทยาเป็นพิเศษแล้ว
เพียเจท์ ยังสนใจวิชาปรัชญาด้าน ญาณวิทยา (Epistemology) หรือการศึกษาเกี่ยวกับ
ความรู้ ดังนั้นคาถามที่ว่า เรารู้อย่างไร คิดอย่างไร จึงเป็นส่วนสาคัญของงานวิจัยของ
เพียเจท์ในระยะต่อ ๆ มา
จอง เพียเจท์ (Jean Piaget) เป็นนักจิตวิทยาชาวสวิส ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการ
การเรียนรู้ของเด็กและพัฒนาการทางสติปัญญาโดยมีความเห็นว่าความคิดหรือสติปัญญา
นั้น หมายถึง การที่บุคคลสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับความต้องการของสิ่งแวดล้อม
สามารถจัดและดัดแปลงความคิดและการแสดงออกของคนอย่างน่าพึงพอใจ ซึ่งเป็นผล
ระหว่างการรับคือ ขบวนการปรับเข้าสู่โครงสร้าง (Assimilation) และการจัดปรับขยาย
โครงสร้าง (Accommodation) ผลของการทางานของกระบวนการดังกล่าวจะเกิดเป็น
โครงสร้างขึ้น (Schema) เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงควรเข้าใจในรายละเอียดดังนี้
Assimilation หมายถึง การที่เด็กนาเอาสิ่งที่ตนรับรู้ใหม่ ๆ เข้าไปผสมกลมกลืนกับ
ความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วซึ่งการรับนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กมองเห็นสิ่งใหม่นี้ในแง่ของสิ่งเดิมที่เคย
รู้จัก
Accommodation หมายถึง การที่เด็กนาเอาความรู้ใหม่ที่ได้ไปปรับปรุงความคิดให้
เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม
Schema หมายถึง โครงสร้าง ซึ่งเพียเจท์ เชื่อว่าโครงสร้างนี้จะพัฒนาขึ้นตามระดับ
อายุ และจะมีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์เมื่อเด็กอายุประมาณ 15 ปี โดยเพียเจท์ถือว่าเป็น
ระยะที่โครงสร้างของสติปัญญาพัฒนาขึ้นอย่างสมบูรณ์ พัฒนาการจะเป็นไปตามลาดับขั้น
จะย้ายหรือกระโดดข้ามขั้นไม่ได้ แต่อัตราของพัฒนาการอาจจะมีความแตกต่างกันในตัว
เด็กแต่ละคน ซึ่งความแตกต่างนี้เนื่องมาจาก ความแตกต่างของสิ่งแวดล้อม เพียเจท์ เน้น
ความสาคัญในเรื่องของสิ่งแวดล้อมมาก และถือว่าพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน
มีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อมเป็นสาคัญ เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความพร้อมด้วย
ความเจริญทางด้านวัฒนธรรม ผลการวิจัยของนักศึกษาและ นักจิตวิทยาหลายคนมี
36
ความเห็นสอดคล้องกับทฤษฎีเพียเจท์ และพบว่าเด็กชายอเมริกันมีสติปัญญาสูงกว่าเด็กใน
แถบเอเชียที่มีระดับอายุเท่ากัน
เพียเจท์ได้ศึกษาพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กเป็นขั้น ๆ ตามลาดับอายุ โดย
อธิบายพฤติกรรมของมนุษย์เฉพาะด้านความคิดความเข้าใจ เพียเจท์ พบว่าเด็กคิดและ
เข้าใจสิ่งต่าง ๆ แตกต่างจากผู้ใหญ่ พร้อมกับแบ่งพัฒนาการทางความคิดเป็น 4 ขั้นใหญ่
ซึ่งแต่ละขั้นอธิบายความคิดที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ต่าง ๆ การแบ่งขั้นพัฒนาการตามอายุ
มีดังนี้
1. ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (Sensorimotor stage) อยู่ในช่วงแรก
เกิดจนถึงอายุ 2 ขวบ เป็นขั้นที่เด็กรู้จักการใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น ปาก หู ตา ฯลฯ
ในขั้นนี้จะเป็นการพัฒนาการทางความคิดก่อน ระยะเวลาที่ทารกจะพูดและใช้ภาษาได้ จะ
สามารถรับรู้และแสดงกริยาอาการต่าง ๆ ได้ เป็นช่วงที่มีปฏิกิริยาสะท้อน เช่น การจับ กา
การดูด ฯลฯ ตลอดจนทาสิ่งต่าง ๆ โดยสามารถคิดก่อนทา รู้ถึงผลที่จะเกิดก่อนทาได้ด้วย
ตนเอง รวมทั้งการใช้ภาษาครั้งแรกเพื่อเลียนแบบต่อมาใช้แทนสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นจริง ในวัยนี้
เด็กเรียนรู้ที่จะ
1) มองเห็นตนเองต่างจากวัตถุที่อยู่รอบ ๆ ตัว
2) มองหาแสงสว่างและเสียง
3) พยายามอยู่กับสิ่งที่น่าสนใจนาน ๆ
4) เข้าใจสิ่งต่าง ๆ โดยการลูบจับกระทาหรือเกี่ยวข้องด้วย
5) พูดแบบอือ ๆ ออ ๆ และพัฒนาจนสามารถพูดเป็นคาที่เข้าใจได้
6) มองว่าวัตถุจะไม่เปลี่ยนแปลงและมีลักษณะเฉพาะ แม้ว่าตาแหน่งของวัตถุจะ
เปลี่ยนแปลงไป หรือเด็กจะมองเห็นวัตถุจากมุมที่แตกต่างกัน
7) เข้าใจว่าวัตถุยังคงอยู่ แม้ว่าจะลับสายตาไปแล้ว
2. ขั้นความคิดก่อนเกิดปฏิบัติการ (Pre – operational Stage) อยู่ในช่วงของอายุ
2–7 ปี เป็นขั้นที่เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาพูด และเข้าใจเครื่องหมายท่าทางที่สื่อความหมาย
เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น แต่ยังอาศัยการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ ยังไม่สามารถคิดหาเหตุผลและ
ยกเหตุผลขึ้นอ้างอิงได้ เด็กจะเริ่มเข้าใจสัญลักษณ์และใช้ภาษาแทนความหมาย ของ
เหตุการณ์และสิ่งต่าง ๆ ขั้นนี้แบ่งเป็นขั้นย่อย ๆ ได้ 2 ขั้นคือ
2.1 ขั้นก่อนเกิดความคิดรวบยอด เป็นขั้นที่เด็กชอบสารวจตรวจสอบโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งถ้าเด็กมีประสบการณ์จากการกระทามากก็ยิ่งถามคาถามและสารวจมากขึ้น เด็ก
จะสนใจว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ทาไมจึงเกิดขึ้นและเกิดอย่างไร เด็กจะหมกมุ่นอยู่กับการทา
37
สิ่งต่าง ๆ เช่น จะเอาของใส่ตู้เหมือนที่แม่ทา หรือเล่นตัดหญ้าเหมือนที่พ่อทาฯลฯจากการเล่น
บทบาทสมมุติและการเลียนแบบบทบาทคนในบ้านทาให้เด็กมีสิ่งที่จะถามมากมาย เด็กจะ
เริ่มใช้ภาษาและเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์โดย เด็กจะพยายามพูดและนาคามาสร้าง
ประโยคใหม่ ทั้งที่ยังไม่เข้าใจความหมายดีนัก นอกจากนี้ยังมีพัฒนาการต่อไปนี้
1) ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางอย่างเด่นชัดไม่สามารถเข้าใจความคิดของคนอื่นที่
เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ
2) มองไม่เห็นว่าวัตถุที่เหมือนกันบางส่วนอาจจะมีบางส่วนต่างกัน เช่น หนังสือ 2
เล่ม มีความหนาเท่ากัน แต่คุณค่าต่างกัน เป็นต้น
3) เริ่มคิดอย่างมีเหตุผล แต่เป็นเหตุผลแบบตามใจตนเอง เช่น ถ้าเหยียบเก้าอี้แล้ว
เก้าอี้ล้ม แล้วตัวเขาก็ล้มด้วยเด็กจะคิดว่าเก้าอี้เป็นสาเหตุทาให้เขาล้มเป็นต้น
4) จะตัดสินสิ่งต่าง ๆ โดย ใช้หลักเกณฑ์ตามที่ตามองเห็น
2.2 ขั้นการคิดแบบใช้ญาณหยั่งรู้ การคิดแบบใช้ญาณหยั่งรู้นี้ เพียเจท์ หมายถึง
การคิดเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่าง อย่างรวดเร็วโดยไม่คานึงถึงรายละเอียดไม่สามารถใช้
เหตุผลอย่างถูกต้อง การคิดและการตัดสินใจขึ้นอยู่กับการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น
การตัดสินใจจึงเปลี่ยนไปมา เด็กยังไม่เข้าใจว่าของสิ่งหนึ่งจะมีปริมาณเท่ากับอีกสิ่งหนึ่งใน
กรณีที่สิ่งหนึ่งเปลี่ยนรูปร่างและจานวน นอกจากนี้ลักษณะของเด็กวัยนี้คือ
1) เข้าใจจานวน
2) เข้าใจเรื่องความคงที่ (Conservation) กล่าวคือเริ่มคิดได้ว่าของบางสิ่งยังคง
เดิมโดยไม่คานึงถึงรูปร่างหรือจานวนที่เปลี่ยนไป แต่ถ้าถามถึงเหตุผลว่าทาไมจานวนของ
ยังคงเดิมเด็กจะบอกเหตุผลได้ไม่ถูกต้อง เพราะยังคิดย้อนกลับไม่ได้
3) เด็กในช่วงนี้จะเล่นเพื่อเข้าสังคมมากขึ้น เลียนแบบบทบาทต่าง ๆ เช่น ตารวจ
บุรุษไปรษณีย์ ฯลฯ และขยายวงไปเล่นกับคนอื่นด้วย นอกจากนี้บุคคลภายนอกบ้าน เช่น
ครู เพื่อน มีความสาคัญมากขึ้นและการยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง
3. ขั้นปฏิบัติการคิดเป็นรูปธรรม (Concrete operation Stage) อยู่ในช่วงอายุ 7 –
11 ปี ในช่วงอายุดังกล่าวเด็กสามารถใช้เหตุผลกับสิ่งที่แลเห็นได้ เช่น การแบ่งกลุ่ม แบ่ง
พวก ฯลฯ และมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ในขั้นนี้เด็กสามารถคิดตัดสินใจ
ได้อย่างมีเหตุผลกับสิ่งที่เป็นรูปธรรม คิดได้ว่าการกระทาใดบ้างที่จะเป็นไปได้และผลจะ
ออกมาอย่างไรโดยไม่ต้องลองผิดลองถูก สามารถบอกจานวนและคานวณแก้ปัญหาได้
เปรียบเทียบสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ เด็กวัยนี้มีความสามารถใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นดังนี้
38
1) คิดย้อนกลับได้ดี (Reversibility of thought) การย้อนกลับ คือการกระทาสิ่งใด
ที่ย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้นโดยที่ทาไม่เหมือนที่เคยทามาก่อน (เช่น การลบ) หรือการแทนที่
(นาสิ่งที่แตกต่างกันมาแทนที่กัน) การคิดแบบนี้ช่วยให้คิดแก้ปัญหาได้ในวิชาต่าง ๆ เช่น
คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา
2) รู้ความคงที่ของวัตถุต่าง ๆ ที่มองเห็นได้แม้จะเปลี่ยนแปรรูปหรือสถานที่วาง
3) สามารถตั้งเกณฑ์ที่จะแบ่งหรือจัดสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งของรอบ ๆ ตนเองให้
เป็น หมวดหมู่ได้
4) สามารถจัดลาดับสิ่งต่าง ๆ ตามขนาดน้าหนัก หรือความยาวได้ สามารถ
ลาดับสิ่งต่าง ๆ จากเล็กที่สุดไปหาใหญ่ที่สุด
5) สามารถคิดเปรียบเทียบได้ เมื่อจัดลาดับได้ก็เข้าใจว่าของใดจะใหญ่กว่าเล็กกว่า
หรือมากกว่า น้อยกว่าขึ้นอยู่กับว่าจะเปรียบเทียบอะไร แต่ถ้าจะให้เปรียบเทียบสิ่งที่เป็น
นามธรรมจะทาไม่ได้ เพราะวัยนี้คิดได้สิ่งที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น
6) สามารถมองเห็นความสัมพันธ์ของส่วนรวมส่วนย่อยได้
เด็กวัยนี้มีปัญหาในเรื่องความคิดที่เป็นนามธรรม จะคิดอย่างมีเหตุผลได้ดีที่สุด
เมื่อวัตถุและเหตุการณ์ต่าง ๆ เป็นรูปธรรม
4. ขั้นปฏิบัติการคิดที่เป็นนามธรรม(Formal operational Stage) อยู่ในช่วงอายุ 11
– 15 ปี ขึ้นไป เป็นช่วงที่เด็กรู้จักคิดหาเหตุผลและเรียนรู้เกี่ยวกับนามธรรมได้ดีขึ้น สามารถ
ตั้งสมมุติฐานและแก้ปัญหาได้ การคิดหาเหตุผลแบบตรรกศาสตร์ (Logical Thinking)
พัฒนาอย่างสมบูรณ์ เป็นขั้นที่เกิดโครงสร้างทางสติปัญญาอย่างสมบูรณ์ เด็กในวัยนี้จะมี
ความคิดเท่าผู้ใหญ่ อาจจะแตกต่างกันที่คุณภาพเท่านั้น เนื่องจากประสบการณ์ที่แตกต่างกัน
ในขั้นนี้พัฒนาการทางความคิดของเด็กเป็นขั้นสุดยอด กล่าวคือเด็กวัยนี้สามารถคิดแบบ
นักวิทยาศาสตร์คิดเกี่ยวกับนามธรรมได้อย่างมีเหตุผลคือสามารถตั้งสมมุติฐานให้เหตุผล
ถึงสิ่งที่น่าจะเป็นไปได้ คิดจากสิ่งที่ถูกต้อง สติปัญญาของเด็กปฐมวัยมีขอบเขตจากัด จึง
ควรที่จะจัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมที่จะกระตุ้นให้เด็กได้รับรู้โดยเหมาะสมกับขีด
ความสามารถโดยให้เด็กฝึกทักษะในการใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ เพื่อพัฒนาประสาท
การรับรู้และเคลื่อนไหว และจัดกิจกรรมที่จะช่วยกระตุ้นความคิดเพื่อให้เด็กได้มี
ประสบการณ์เดิมเพียงพอที่จะเป็นพื้นฐานสาหรับที่จะพัฒนาในขั้นต่อไป อย่างมี
ประสิทธิภาพสูงสุด
นวลเพ็ญ วิเชียรโชติ (2517 : 13 – 15 ) ได้สรุปทฤษฎีเพียเจท์ไว้ว่า พัฒนาการของ
เด็กตามความเชื่อของเพียเจท์ คือ ความสามารถที่จะปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมเป็น
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55

More Related Content

What's hot

แผน Stad
แผน Stadแผน Stad
แผน Stadnangnut
 
แบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงานแบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงานpacharawalee
 
บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55
บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55
บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55Decode Ac
 
บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55
บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55
บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55Decode Ac
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10Aon Narinchoti
 
หัวกระดาษข้อสอบ
หัวกระดาษข้อสอบหัวกระดาษข้อสอบ
หัวกระดาษข้อสอบworapanthewaha
 
IS1 - 1.2 การตั้งประเด็นปัญหาหรือคำถาม
IS1 - 1.2 การตั้งประเด็นปัญหาหรือคำถามIS1 - 1.2 การตั้งประเด็นปัญหาหรือคำถาม
IS1 - 1.2 การตั้งประเด็นปัญหาหรือคำถามPloykarn Lamdual
 
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อแบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อkrupornpana55
 
เฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียง
เฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียงเฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียง
เฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียงโรงเรียนเทพลีลา
 
หลักสูตร51 vs หลักสูตร 60
หลักสูตร51 vs หลักสูตร 60หลักสูตร51 vs หลักสูตร 60
หลักสูตร51 vs หลักสูตร 60Krittalak Chawat
 
แผนการสอนการงานอาชีพ ป.6
แผนการสอนการงานอาชีพ ป.6แผนการสอนการงานอาชีพ ป.6
แผนการสอนการงานอาชีพ ป.6Napadon Yingyongsakul
 
คำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPA
คำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPAคำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPA
คำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPAณัฐพล แสงทวี
 
หน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความ
หน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความหน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความ
หน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความขนิษฐา ทวีศรี
 
บทที่ 11 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 55
บทที่ 11 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 55บทที่ 11 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 55
บทที่ 11 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 55Decode Ac
 

What's hot (20)

แผน Stad
แผน Stadแผน Stad
แผน Stad
 
แบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงานแบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงาน
 
บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55
บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55
บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55
 
บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55
บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55
บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10
 
หัวกระดาษข้อสอบ
หัวกระดาษข้อสอบหัวกระดาษข้อสอบ
หัวกระดาษข้อสอบ
 
IS1 - 1.2 การตั้งประเด็นปัญหาหรือคำถาม
IS1 - 1.2 การตั้งประเด็นปัญหาหรือคำถามIS1 - 1.2 การตั้งประเด็นปัญหาหรือคำถาม
IS1 - 1.2 การตั้งประเด็นปัญหาหรือคำถาม
 
อินธนูครู
อินธนูครูอินธนูครู
อินธนูครู
 
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อแบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
 
เฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียง
เฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียงเฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียง
เฉลยเอกสารประกอบสื่อสังคมออนไลน์เรื่องคลื่นกลและเสียง
 
คำประสม
คำประสมคำประสม
คำประสม
 
หน่วย 3
หน่วย 3 หน่วย 3
หน่วย 3
 
ใบ000
ใบ000ใบ000
ใบ000
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๕
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๕แผนการจัดการเรียนรู้ที่๕
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๕
 
หลักสูตร51 vs หลักสูตร 60
หลักสูตร51 vs หลักสูตร 60หลักสูตร51 vs หลักสูตร 60
หลักสูตร51 vs หลักสูตร 60
 
แผนการสอนการงานอาชีพ ป.6
แผนการสอนการงานอาชีพ ป.6แผนการสอนการงานอาชีพ ป.6
แผนการสอนการงานอาชีพ ป.6
 
คำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPA
คำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPAคำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPA
คำกริยาที่บ่งบอกพฤติกรรมการเรียนรู้ KPA
 
หน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความ
หน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความหน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความ
หน่วยที่ 5 การวางโครงเรื่องของเรียงความ
 
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
 
บทที่ 11 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 55
บทที่ 11 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 55บทที่ 11 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 55
บทที่ 11 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 55
 

Viewers also liked

บทที่ 1 ความรู้พื้นฐาน ความหมาย ความสำคัญ 55
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐาน ความหมาย ความสำคัญ 55บทที่ 1 ความรู้พื้นฐาน ความหมาย ความสำคัญ 55
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐาน ความหมาย ความสำคัญ 55Decode Ac
 
บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55
บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55
บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55Decode Ac
 
บทที่ 4 การจัดการศึกษาปฐมวัยในเอเชีย 55
บทที่ 4 การจัดการศึกษาปฐมวัยในเอเชีย 55บทที่ 4 การจัดการศึกษาปฐมวัยในเอเชีย 55
บทที่ 4 การจัดการศึกษาปฐมวัยในเอเชีย 55Decode Ac
 
ทฤษฎีของอิริคสัน
ทฤษฎีของอิริคสันทฤษฎีของอิริคสัน
ทฤษฎีของอิริคสัน7roommate
 
ทฤษฎีการเรียนรู้ของเจโรม บรูเนอร์
ทฤษฎีการเรียนรู้ของเจโรม บรูเนอร์ทฤษฎีการเรียนรู้ของเจโรม บรูเนอร์
ทฤษฎีการเรียนรู้ของเจโรม บรูเนอร์mekshak
 
ทฤษฎีพัฒนาการของโรเบิร์ต เจ ฮาวิกเฮิร์ส
ทฤษฎีพัฒนาการของโรเบิร์ต เจ ฮาวิกเฮิร์สทฤษฎีพัฒนาการของโรเบิร์ต เจ ฮาวิกเฮิร์ส
ทฤษฎีพัฒนาการของโรเบิร์ต เจ ฮาวิกเฮิร์สmekshak
 
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้Pattarawadee Dangkrajang
 
จิตวิทยาพัฒนาการ
จิตวิทยาพัฒนาการจิตวิทยาพัฒนาการ
จิตวิทยาพัฒนาการRukvicha Jitsumrawy
 
บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55
บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55
บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55Decode Ac
 
ทฤษฏีไวก็อตสกี้
ทฤษฏีไวก็อตสกี้ทฤษฏีไวก็อตสกี้
ทฤษฏีไวก็อตสกี้Proud N. Boonrak
 
มาตรฐานปฐมวัย 11 มาตรฐาน 51 ตังบ่งชี้..
มาตรฐานปฐมวัย  11   มาตรฐาน  51  ตังบ่งชี้..มาตรฐานปฐมวัย  11   มาตรฐาน  51  ตังบ่งชี้..
มาตรฐานปฐมวัย 11 มาตรฐาน 51 ตังบ่งชี้..Montree Jareeyanuwat
 
ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์
ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์
ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์Roiyan111
 
Teoria tridimensional felipe fróis
Teoria tridimensional   felipe fróisTeoria tridimensional   felipe fróis
Teoria tridimensional felipe fróisFelipe Fróis
 
ตารางวิเคราะห์หลักสูตรสอดคล้องฯ Backward design
ตารางวิเคราะห์หลักสูตรสอดคล้องฯ  Backward designตารางวิเคราะห์หลักสูตรสอดคล้องฯ  Backward design
ตารางวิเคราะห์หลักสูตรสอดคล้องฯ Backward designkrutitirut
 
วิธีสอนโดยใช้การสาธิต
วิธีสอนโดยใช้การสาธิตวิธีสอนโดยใช้การสาธิต
วิธีสอนโดยใช้การสาธิตsakonrat fai
 

Viewers also liked (20)

บทที่ 1 ความรู้พื้นฐาน ความหมาย ความสำคัญ 55
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐาน ความหมาย ความสำคัญ 55บทที่ 1 ความรู้พื้นฐาน ความหมาย ความสำคัญ 55
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐาน ความหมาย ความสำคัญ 55
 
บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55
บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55
บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55
 
บทที่ 4 การจัดการศึกษาปฐมวัยในเอเชีย 55
บทที่ 4 การจัดการศึกษาปฐมวัยในเอเชีย 55บทที่ 4 การจัดการศึกษาปฐมวัยในเอเชีย 55
บทที่ 4 การจัดการศึกษาปฐมวัยในเอเชีย 55
 
ทฤษฎีของอิริคสัน
ทฤษฎีของอิริคสันทฤษฎีของอิริคสัน
ทฤษฎีของอิริคสัน
 
ทฤษฎีการเรียนรู้ของเจโรม บรูเนอร์
ทฤษฎีการเรียนรู้ของเจโรม บรูเนอร์ทฤษฎีการเรียนรู้ของเจโรม บรูเนอร์
ทฤษฎีการเรียนรู้ของเจโรม บรูเนอร์
 
ทฤษฎีพัฒนาการของโรเบิร์ต เจ ฮาวิกเฮิร์ส
ทฤษฎีพัฒนาการของโรเบิร์ต เจ ฮาวิกเฮิร์สทฤษฎีพัฒนาการของโรเบิร์ต เจ ฮาวิกเฮิร์ส
ทฤษฎีพัฒนาการของโรเบิร์ต เจ ฮาวิกเฮิร์ส
 
Chapter 2
Chapter 2Chapter 2
Chapter 2
 
Chapter 3
Chapter 3Chapter 3
Chapter 3
 
Chapter 1
Chapter 1Chapter 1
Chapter 1
 
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้
 
จิตวิทยาพัฒนาการ
จิตวิทยาพัฒนาการจิตวิทยาพัฒนาการ
จิตวิทยาพัฒนาการ
 
บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55
บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55
บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55
 
ทฤษฏีไวก็อตสกี้
ทฤษฏีไวก็อตสกี้ทฤษฏีไวก็อตสกี้
ทฤษฏีไวก็อตสกี้
 
มาตรฐานปฐมวัย 11 มาตรฐาน 51 ตังบ่งชี้..
มาตรฐานปฐมวัย  11   มาตรฐาน  51  ตังบ่งชี้..มาตรฐานปฐมวัย  11   มาตรฐาน  51  ตังบ่งชี้..
มาตรฐานปฐมวัย 11 มาตรฐาน 51 ตังบ่งชี้..
 
ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์
ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์
ทฤษฎีการเรียนรู้ของสกินเนอร์
 
4.pdf 55
4.pdf 554.pdf 55
4.pdf 55
 
Teoria tridimensional felipe fróis
Teoria tridimensional   felipe fróisTeoria tridimensional   felipe fróis
Teoria tridimensional felipe fróis
 
พรบ. 2542
พรบ. 2542พรบ. 2542
พรบ. 2542
 
ตารางวิเคราะห์หลักสูตรสอดคล้องฯ Backward design
ตารางวิเคราะห์หลักสูตรสอดคล้องฯ  Backward designตารางวิเคราะห์หลักสูตรสอดคล้องฯ  Backward design
ตารางวิเคราะห์หลักสูตรสอดคล้องฯ Backward design
 
วิธีสอนโดยใช้การสาธิต
วิธีสอนโดยใช้การสาธิตวิธีสอนโดยใช้การสาธิต
วิธีสอนโดยใช้การสาธิต
 

Similar to บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55

แผนการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา
แผนการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนาแผนการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา
แผนการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนาtassanee chaicharoen
 
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์ พิร...
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์  พิร...ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์  พิร...
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์ พิร...Kobwit Piriyawat
 
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนาหน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนาtassanee chaicharoen
 
ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1ruttanaphareenoon
 
ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1ruttanaphareenoon
 
ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1ruttanaphareenoon
 
ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1ruttanaphareenoon
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...Kobwit Piriyawat
 
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษา
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษาหน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษา
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษาtassanee chaicharoen
 
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา2012
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา2012หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา2012
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา2012tassanee chaicharoen
 
Jerome bruner
Jerome  brunerJerome  bruner
Jerome brunersofia-m15
 
Jerome bruner
Jerome  brunerJerome  bruner
Jerome brunersoh26
 

Similar to บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55 (20)

03chap1
03chap103chap1
03chap1
 
แผนการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา
แผนการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนาแผนการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา
แผนการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา
 
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์ พิร...
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์  พิร...ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์  พิร...
ชุดการเรียนรู้ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์ โดยครูกอบวิทย์ พิร...
 
Random 120812202117-phpapp01
Random 120812202117-phpapp01Random 120812202117-phpapp01
Random 120812202117-phpapp01
 
08chap6
08chap608chap6
08chap6
 
06chap4
06chap406chap4
06chap4
 
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนาหน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา
 
ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1
 
ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1
 
ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1
 
ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1
 
ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1
 
ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1ทฤษฏีสนามรัตนา1
ทฤษฏีสนามรัตนา1
 
04chap2
04chap204chap2
04chap2
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
 
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษา
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษาหน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษา
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษา
 
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา2012
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา2012หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา2012
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา2012
 
Jerome bruner
Jerome  brunerJerome  bruner
Jerome bruner
 
Jerome bruner
Jerome  brunerJerome  bruner
Jerome bruner
 
Jerome bruner
Jerome  brunerJerome  bruner
Jerome bruner
 

บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55

  • 1. บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีของนักการศึกษา ที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาปฐมวัย แผนการสอนประจาบท 1. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจแนวคิด ทฤษฎีของนักการศึกษา 2. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจประวัติและผลงานของนักการศึกษา 3. เพื่อให้นักศึกษาวิเคราะห์แนวคิดที่สอดคล้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย 4. เพื่อให้นักศึกษาวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อยของแนวคิด ทฤษฎีของนักการศึกษา 5. เพื่อให้นักศึกษาประยุกต์แนวคิดทฤษฎีที่สามารถนามาปรับใช้ในระดับปฐมวัย 2. สาระการเรียนรู้ 1. จอห์น อมอส โคมินิอุส 2. จอง จาค รูสโซ 3. โจฮานห์ ไฮน์ริค เปสตาลอชซี่ 4. เฟรดริค วิลเฮล์ม เฟรอเบล 5. มาเรีย มอนเตสซอรี่ 6. จอห์น ดิวอี้ 7. จอง เพียเจท์ 8. บรูเนอร์ 9. คอนสแตนส์ คามิ 10. ลิเลี่ยน เคทส์ 11. เดวิด เอลไคนด์ 3. กิจกรรมการเรียนรู้ 1. ทดสอบก่อนเรียน (แบบทดสอบ) 2. แบ่งกลุ่มศึกษาเอกสารประกอบการสอนรายวิชา 3. นาเสนอผลการวิเคราะห์แนวคิด หลักการ ทฤษฎี 4. นาเสนอผลการศึกษา อภิปราย ซักถาม 5. นักศึกษาแบ่งกลุ่มศึกษาค้นคว้าทฤษฎีแนวคิดของนักการศึกษาเพิ่มเติม จากแหล่ง ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • 2. 22 6. กิจกรรมการศึกษาด้วยตนเอง 1. ศึกษาเอกสารประกอบการสอน ตารา วารสาร สิ่งพิมพ์ และวิจัย เป็นต้น 2. สืบค้นข้อมูลจากเว็บไชต์ ทั้งในและต่างประเทศ 3. วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ของปรัชญา แนวคิดของนักการศึกษาปฐมวัย 4. วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ของรูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัย 5. จัดทารายงานการประยุกต์ปรัชญาแนวคิดของนักการศึกษาปฐมวัยในโรงเรียน หรือสถานศึกษา 4. สื่อการเรียนการสอน 1. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการศึกษาปฐมวัย 2. สไลด์ประกอบการสอน (Power point) 3. เว็บไชต์อาจารย์ผู้สอน 4. โรงเรียนหรือสถานศึกษาที่เปิดการเรียนการสอนในระดับปฐมวัย 5. การประเมินผล 1. ความถูกต้องของเนื้อหา 2. ความถูกต้อง และครอบคลุมเนื้อหา 3. ผลการวิเคราะห์แนวคิด หลักการ ทฤษฎี นักการศึกษา 4. รายงานผลการศึกษาค้นคว้า ก ก ก ก ก ก ก ก ก
  • 3. 23 บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีของนักการศึกษาที่มีอิทธิพลต่อ การจัดการศึกษาปฐมวัย แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยได้เริ่มต้นมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 จนมาถึง ปัจจุบันเป็นเวลากว่า 400 ปี แล้ว ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ ได้มีนักการศึกษาตลอดจน บุคคลที่มีแนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยไว้ หลายท่านได้ คานึงถึงความสาคัญของเด็กในหลาย ๆ ด้าน เช่น พัฒนาการ การเจริญเติบโต การเรียนรู้ ธรรมชาติของเด็ก ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น จากการศึกษาของบุคคลดังกล่าวข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้มาบางครั้งได้มาจากการคิด การวิเคราะห์ การลองผิดลองถูก ประสบการณ์ตรง แต่ อย่างไรก็ตาม แนวคิดดังกล่าวบางเรื่องยังมีอิทธิพลถึงปัจจุบัน ซึ่งในบทนี้จะขอนาแนวคิด ทฤษฎีของนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัย เพื่อเป็นการปูพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้ศึกษา และให้เข้าใจบริบทและธรรมชาติของศาสตร์ที่ถูกต้องต่อไป นักการศึกษาที่มีบทบาทสาคัญต่อการศึกษาปฐมวัยมีดังนี้ 1. จอห์น อมอส โคมินิอุส (John Amos Comenius) 2. จอง จาค รูสโซ (Jean Jacques Rousseau) 3. โจฮานห์ ไฮน์ริค เปสตาลอชซี่ (Johann Heinrich Pestalozzi) 4. เฟรดริค วิลเฮล์ม เฟรอเบล (Ferdrrick Wilhelm Froebel) 5. มาเรีย มอนเตสซอรี่ (Maria Montessori) 6. จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) 7. จอง เพียเจท์ (Jean Piaget) 8. บรูเนอร์ (Jerrome S. Bruner) 9. คอนสแตนส์ คามิ (Constance Kamii) 10. ลิเลี่ยน เคทส์ (Lilian Katz) 11. เดวิด เอลไคนด์ (David Elkind) 12. เดวิด ไวท์คาร์ท (David Weikrart) 1. จอห์น อมอส โคมินิอุส (John Amos Comnius ค.ศ. 1592 - 1670) เป็นพระในนิกายโปรเตสแตนท์เป็นนักการศึกษาที่เกิดในเมืองโมราเวีย (Moravia) ประเทศเซโกสโลวาเกีย ได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเฮดเดลเบอร์ก (Heidelburg
  • 4. 24 University) ต่อมาได้เกิดสงครามที่เรียกว่า “สงคราม 30ปี”(Thirty Year War) ขึ้นในประเทศ เซสโกสโลวาเกียทาให้โคมินิอุสหนีไปอยู่ที่ประเทศโปแลนด์ โคมินิอุสเป็นนักปฏิรูปการศึกษา เขาได้รับเชิญให้ไปช่วยงานปฏิรูปการศึกษาจากหลายประเทศในยุโรป เช่น ประเทศอังกฤษ สวีเดน ฮังการี และเนเธอร์แลนด์ งานทางด้านการศึกษาที่เขาทาได้คือ การปฏิรูปหลักสูตร ของประเทศเนเธอร์แลนด์และสวีเดน การสร้างตัวอย่างโรงเรียนขึ้นในประเทศฮังการี เป็น ต้น โคมินิอุสได้เสนอความคิดที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาสาหรับเด็กในระยะต่อมาคือ 1. เขาเสนอว่าเด็กทุกคนควรมีสิทธิ์ได้รับการศึกษาในโรงเรียน ด้วยเหตุผลที่ว่า คนทุกคนไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ ผู้หญิงหรือผู้ชาย รวยหรือจน คนชั้นสูงหรือคนธรรมดามี ความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกันจึงควรได้รับการศึกษาเหมือน ๆ กัน 2. เขาเน้นให้ความสาคัญของการให้การศึกษาตั้งแต่เด็กยังเล็กเพราะการศึกษา เป็นกระบวนการที่เริ่มตั้งแต่แรกเกิดและดาเนินต่อไปจนตลอดชีวิต 3. เขาเสนอให้จัดกลุ่มเด็กตามอายุ ซึ่งรูปแบบนี้ในปัจจุบันยังใช้กันอยู่อย่าง แพร่หลาย โคมินิอุสได้สร้างผลงานเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยดังต่อไปนี้ 1. ในปี ค.ศ. 1657 เขาได้ส่งเสริมให้มีโรงเรียนสาหรับแม่โดยให้การศึกษาแก่สตรีที่ เป็นแม่ เนื้อหาที่สอนให้แก่แม่ก็คือ วิธีสอนให้เด็กรู้จักพืช สัตว์ สิ่งของ และให้รู้จักส่วน ต่าง ๆ ของร่างกาย และให้เด็กรู้จักสังเกตความแตกต่างระหว่างความมืดกับความสว่าง สีต่าง ๆ การรักษาความสะอาด การปรับตัวการเชื่อฟังผู้ใหญ่ และการสวดมนต์ เป็นต้น 2. ในปี ค.ศ. 1658 โคมินิอุส ได้เขียนหนังสือสาหรับเด็กซึ่งมีรูปภาพประกอบ เพื่อ ช่วยในการสอนเด็กหนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า Orbis Sensualium Picture หรือ Orbis Pictus (โลก ในรูปภาพ) หนังสือเล่มนี้มีลักษณะเป็นพจนานุกรมภาพมากกว่าหนังสือภาพสมัยใหม่ นับว่าเป็นหนังสือสาหรับเด็กเล่มแรกที่มีภาพประกอบและมีผู้นาไปใช้กันอย่างแพร่หลายทั่ว โลกด้วยการแปลเป็นภาษาต่างประเทศไว้ ผลงานที่เกี่ยวข้องทางการศึกษาปฐมวัยของโคมินิอุส คือ ในปี ค.ศ. 1657 เขาได้ ส่งเสริมให้เปิดโรงเรียนสาหรับแม่ที่มีลูกวัยอนุบาล (Mother School) ดังปรากฏในหนังสือ “ระเบียบวิธีสอน” (The Great Didactic) ว่าควรมีโรงเรียนให้การศึกษาแก่สตรีที่เป็นแม่ใน เรื่องการปฏิสนธิและการเลี้ยงดูเด็ก และในหนังสือชื่อโรงเรียนสาหรับทารก (School of Infancy) ได้เสนอแนะการสอนตามหลักสูตรว่าครูควรสอนบทเรียนง่าย ๆ เกี่ยวกับวัตถุ สอนให้รู้จักหิน พืช และสัตว์ ให้บอกชื่อและหน้าที่ของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ให้แยกสี ต่าง ๆ รู้จักความแตกต่างของความมืดและความสว่าง สังเกตสิ่งแวดล้อมและสภาพ
  • 5. 25 ทั่ว ๆ ไปของห้อง ไร่ สวน นา ถนน สอนในเรื่องการรักษาความสะอาด การปรับตัว การเชื่อฟังผู้ใหญ่ และการสวดมนต์ เป็นต้น ต่อมาในปี ค.ศ. 1685 โคมินิอุสได้เขียนหนังสือสาหรับเด็กโดยมีรูปภาพประกอบ หนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า “โลกในรูปภาพ” (Orbis Picture) ซึ่งนับว่าเป็นหนังสือสาหรับเด็กเล่ม แรกที่มีภาพประกอบหนังสือเล่มนี้เป็นแนวทางให้ครูใช้จัดการเรียนเกี่ยวกับการฝึกประสาท สัมผัส และการศึกษาธรรมชาติรอบตัว (Gordon and Browne. 1993, p 6) “หนังสือเล่มนี้ ใช้กันอย่างกว้างขวางทั่วโลกและได้แปลเป็นภาษาต่าง ๆ หลายภาษา” (ประภาพรรณ สุวรรณสุข. 2539 : 60) หลักการสอนที่สาคัญของโคมินิอุส เกี่ยวกับหลักการสอนของโคมินิอุส ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2524) ได้ศึกษาและสรุป ไว้ดังต่อไปนี้ 1. ใช้วิธีการสอนโดยเลียนแบบธรรมชาติ เนื้อหาสาระต้องจัดให้เหมาะสมกับวัย ของผู้เรียน 2. การเรียนควรเริ่มจากวัยทารกและควรออกแบบให้เหมาะสมกับอายุ ความสนใจ และความสามารถของผู้เรียน ควรสอนสิ่งที่มีคุณค่าต่อผู้เรียนที่จะนาไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ 3. ควรจาแนกและเรียงลาดับเนื้อหาตามความยากง่ายและสอนด้วยวิธีการอนุมาน 4. ควรมีแบบเรียนที่มีภาพประกอบควบคู่ไปกับการสอน 5. ต้องสอนตามลาดับความสาคัญก่อนหลัง เช่น สอนภาษาแม่ก่อนภาษาต่าง ประเทศ 6. หลักการและแนวคิดทั้งหลายควรอธิบายพร้อมกับยกตัวอย่างประกอบ 7. การอ่านและการเขียนควรสอนควบคู่กันโดยให้มีความสัมพันธ์กับเนื้อหาวิชาให้ มากที่สุด 8. การเรียนควรใช้วิธีการสัมผัสโดยหาของจริงมาให้ผู้เรียนศึกษาประกอบ การอธิบาย 9. เนื้อหาควรสอนแบบบรรยายแล้วมีภาพประกอบทุกเมื่อที่ทาได้ 10. การเรียนวัตถุประสงค์หรือเนื้อหาใด ๆ ควรเน้นลาดับตาแหน่งและความสัมพันธ์ กับสิ่งอื่น ๆ ไม่ควรสอนเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงอย่างเดียว ควรมีโครงร่างเนื้อหาติดไว้บน ผนัง 11. ไม่ควรลงโทษด้วยการเฆี่ยนตีเมื่อนักเรียนตอบผิดหรือสอบตก
  • 6. 26 12. โรงเรียนควรมีบรรยากาศที่ดี มีวัสดุอุปกรณ์และมีครูที่มีความเข้าใจนักเรียน ครูหนึ่งคนอาจสอนได้หลายร้อยคนพร้อมกัน เมื่อสอนกลุ่มใหญ่แล้วก็ควรแบ่งเป็นกลุ่ม ย่อย ๆ 2. จอง จาค รูสโซ จอง จาค รูสโซ (Jean Jacque Rousseau. ค.ศ. 1712 - 1778) เป็นบุคคลต่อมาที่ ให้ความสนใจเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัย เขาเกิดในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ แต่ใช้ชีวิตส่วน ใหญ่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส รูสโซเป็นทั้งนักเขียนและนักทฤษฎีทางด้านสังคม ผลงานที่ เกี่ยวข้องกับการศึกษาในระดับนี้คือหนังสือเรื่อง เอมิล (Emile) ซึ่งพิมพ์ออกจาหน่ายเมื่อ ปี ค.ศ. 1762 มีข้อคิดสาคัญเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสาหรับเด็กในช่วงวัยแรกของชีวิต โดยเขียนวิจารณ์เกี่ยวกับการจัดการศึกษาในสมัยนั้นซึ่งมีลักษณะบังคับ กาหนดทักษะ พื้นฐานในการเรียนรู้ ใช้แบบทดสอบมาตรฐานและแบ่งกลุ่มเด็กตามความสามารถ รูสโซ คิดว่าสิ่ง เหล่านี้ไม่ได้เป็นธรรมชาติ แต่เป็นการควบคุมธรรมชาติ เขาจึงเสนอวิธีการเลี้ยง เด็กโดยให้คานึงถึงธรรมชาติของเด็ก เขามีความคิดว่าหน้าที่ ที่สาคัญของการศึกษาก็คือ การค้นให้พบธรรมชาติของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปรากฏอยู่ในตัวเด็กและประคับ ประคองให้ดาเนินไปอย่างถูกวิธี ดังนั้น แนวคิดในการจัดการศึกษาของเขาก็คือจะต้องให้ สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กและต้องคานึงความแตกต่างระหว่างบุคคล รูสโซเชื่อว่าการให้การศึกษาควรจะเริ่มต้นตั้งแต่เด็กเริ่มเกิดและดาเนินต่อไปจนถึง อายุ 25 ปี การให้การศึกษาควรใช้วิธีตามหลักของธรรมชาติ คือ ควรบารุงตัวเด็กให้ สุขภาพแข็งแรงโดยเน้นพัฒนาการทางกายของเด็กตามลาดับขั้น เพื่อเด็กจะได้มีกาลัง ความสามารถที่จะศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเองต่อไป เขามีความคิดเห็นว่าครูจะต้อง เข้าใจธรรมชาติของเด็กแต่ละวัย และการสอนก็ต้องให้สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กแต่ ละวัย โดยควรเริ่มต้นด้วยการเร้าให้เด็กเกิดความสนใจอยากรู้อยากเห็น และควร สนับสนุนให้เด็กแสดงพฤติกรรมออกมาอย่างเสรีเพื่อว่าจะได้เกิดการเรียนรู้และเกิด ความคิดที่ดี วิธีการของรูสโซนี้ได้ชื่อว่าธรรมชาตินิยม (Naturalism) ที่กล่าวถึงการศึกษา โดยธรรมชาติจะเกิดจากสามแหล่งด้วยกันคือ ธรรมชาติ ผู้คน และสิ่งของ รูสโซมีความคิดว่าการบีบบังคับ การห้ามปรามโดยเด็ดขาด เป็นการทาลาย ธรรมชาติของเด็ก เขามีความเชื่อว่า หัวใจของการศึกษาคือชีวิตในครอบครัว ส่วนในเรื่อง พัฒนาการเด็กรูสโซได้วางแนวความคิดไว้เป็นหลัก 4 ขั้น โดยในสองขั้นแรกจะเกี่ยวกับ การศึกษาตั้งแต่วัยแรกเริ่มจนถึงวัย 12 ปี ซึ่งแบ่งเป็น 2 ขั้นดังนี้
  • 7. 27 ในขั้นแรกของการพัฒนาจะเป็น 5 ปี แรกของชีวิตรูสโซก็มีความคิดทานอง เดียวกันกับดิวอี้ เพียเจท์และนักการศึกษาในสมัยนั้นในเรื่องของความสาคัญของกิจกรรม ทางกาย (Physical Activity) และได้กาหนดเป็นเนื้อหาในหลักสูตรสาหรับเด็กในขั้นนี้ด้วย ในขั้นที่สองของพัฒนาการเริ่มจากอายุ 5 – 12 ปี เด็กในวัยนี้จะเรียนรู้ทุกสิ่งทุก อย่างจากประสบการณ์ตรงและจากการสารวจสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวซึ่งเป็นแนวความคิดที่ คล้ายคลึงกับโคมินิอุส เปสตาลอชซี่ เฟรอเบล ดิวอี้ และเพียเจท์ รูสโซ เน้นว่า เด็กก็คือเด็ก เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ย่อส่วน เด็กจะมีธรรมชาติของการเป็น เด็กก่อนที่เขาจะเป็นผู้ใหญ่ การศึกษาของเด็กจะต้องเจริญงอกงามจากความสนใจตาม ธรรมชาติและความอยากรู้อยากเห็น เขาจึงได้แยกรูปแบบและเนื้อหาของการสอนเด็กเล็ก ออกจากวิธีการที่ใช้กับเด็กโตและผู้ใหญ่ และเนื่องจาก รูสโซเน้นที่การให้เด็กเรียนรู้เอง จากประสบการณ์ตรงที่ได้จากสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว ดังนั้นเด็กจะต้องไม่ได้รับ คาสั่ง ไม่ได้ รับการลงโทษทุกชนิด และต้องไม่ถูก ขอร้องให้กล่าวคาขอโทษ การกระทาของเด็กจะไม่ ถือว่าผิดศีลธรรม รูสโซเป็นบุคคลที่มีความสาคัญต่อการศึกษามากที่สุดคนหนึ่ง เขาได้ตั้งทฤษฎีที่มี ความสาคัญทางการศึกษาคือ การศึกษาต้องไม่เป็นการประหยัดเวลาแต่ต้องยอมเสียเวลา (not to gain time, but to loose it) 3. โจฮานน์ ไฮน์ริค เปสตาลอชซี่ โจฮานน์ ไฮน์ริค เปสตาลอชซี่ (Johann Heinrich Pestalozzi, 1746 - 1827) เป็น นักการศึกษาที่นาความคิดของนักการศึกษารุ่นเก่าไปปฏิบัติจริงในห้องเรียน เปสตาลอชซี่ เป็นผู้ให้แนวความคิดเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยอีกท่านหนึ่ง เขาเลื่อมใสในผลงานของรูสโซ มากถึงขนาดนาเอาหลักการของรูสโซไปสอนลูกของเขาเองและต่อมาได้นาเอาไปใช้ใน โรงเรียนในสวิตเซอร์แลนด์ เปสตาลอชซี่มีความเห็นที่สอดคล้องกับรูสโซที่ว่า การศึกษา ต้องเป็นไปตามธรรมชาติและเป็นการให้ความเจริญแต่ตนเองแต่ในขณะที่รูสโซเน้นถึง สมรรถภาพในตัวมนุษย์ การมีสุขภาพที่แข็งแรง เปสตาลอชซี่จะเน้นในทางธรรมะที่มีอยู่ใน ตัวคน เขาจึงมีความคิดเห็นว่า จริยศึกษาและศาสนศึกษาสาคัญกว่าพุทธิศึกษา การสอน ให้คนมีใจเมตตากรุณาต่อกัน มีค่ามากกว่าสอนคนให้มีความรู้ เปสตาลอชซี่พบว่าอิทธิพล ทางธรรมะ น้าใจในบ้าน และสังคมมีอานาจเปลี่ยนแปลงมนุษย์ได้แน่นอนยิ่งกว่าอิทธิพล ทางพุทธิศึกษา ด้วยเหตุนี้ เปสตาลอชซี่จึงถือว่าการศึกษาทางบ้านเป็นสิ่งสาคัญอย่างหนึ่ง เขาเชื่อว่าบ้านเป็นรากฐานแห่งการศึกษา บ้านเป็นที่อบรมศีลธรรมอย่างดี ดังนั้นการศึกษา
  • 8. 28 เพื่อฝึกฝนให้คนมีอาชีพและมีประโยชน์ต่อรัฐจะต้องมาทีหลัง การศึกษาจึงมีความจาเป็น ในการให้ความสุขในครอบครัว เปสตาลอชซี่ทุ่มเทความคิดทั้งหมดมาที่เด็กเล็กอย่างแท้จริง เขาได้นาเอาความคิด ใหม่ ๆ จากทฤษฎีทางการศึกษานามาปรับปรุงแล้วนามาใช้ในห้องเรียน งานของเขาเป็น เครื่องแสดงให้เห็นถึงจุดเริ่มต้นของรูปแบบความคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับการจัดโรงเรียนสาหรับ เด็กปฐมวัยเพราะเขาได้ต่อสู้กับการศึกษาแบบต่าง ๆ ที่ใช้มาช้านานในสมัยนั้นซึ่งเขาไม่เห็น ด้วยอยู่ 3 ประการ คือ 1. เด็กยากจนไม่มีโอกาสเข้าโรงเรียนหรือถูกกีดกันออกจากโรงเรียน 2. ลักษณะการเรียนการสอนแบบท่องจา 3. การลงโทษเด็กอย่างรุนแรงและทารุณ เมื่อเด็กจาบทเรียนไม่ได้ และในที่สุดเปสตาลอชซี่ก็สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบการศึกษาในสมัยนั้นได้ สาเร็จโดยเปสตาลอชซี่ มีความสุขกับการสอนเด็กยากจน เขาจึงตั้งโรงเรียนสาหรับเด็ก ยากจนขึ้นโรงเรียนของเขาใช้กฎของความเมตตากรุณายกเลิกการเฆี่ยนตีเด็กและปกครองเด็ก ด้วยความรัก เปสตาลอชซี่ เชื่อว่าเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันในด้านความสนใจ ความต้องการและอัตราในการเรียนรู้ เขาเป็นผู้ริเริ่มคิดในเรื่องความพร้อม โดยจะต้องใช้ เวลาและประสบการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะประสบการณ์ตรงทางวัตถุหรือทางรูปธรรม (Object Lesson) เป็นสื่อที่จาเป็น สาหรับการเรียนรู้ และเป็นสิ่งที่มีความหมายมากกว่าการใช้คาพูดแต่เพียงอย่างเดียว เปสตาลอชซี่ เน้นการกระทาซ้า ๆ ในสิ่งที่เรียนรู้ โดยจะต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่อง โดยตรงกับประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม หลักสาคัญทางการศึกษาที่เปสตาลอชซี่ได้กล่าวไว้ คือ ในการสอนเด็กครูควรจะ คานึงถึงธรรมชาติและความพร้อมของเด็กเป็นหลัก นอกจากนั้นยังจะต้องคานึงถึงความแตกต่าง ระหว่างบุคคลด้วย เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันในด้านความสนใจความต้องการ และอัตราการเรียนรู้ วิธีการสอนของเปสตาลอชซี่เป็นวิธีการสอนตามธรรมชาติคือ สอน จากรูปธรรมไปหานามธรรม สอนจากสิ่งที่ง่ายที่สุดเสียก่อน แล้วจึงค่อยยากขึ้นไป ตามลาดับ ความยากง่ายนั้นต้องให้เหมาะกับความเจริญของเด็ก ทั้งทางด้านร่างกาย และ จิตใจ การศึกษาของเด็กจะต้องมาจากประสบการณ์ตรง คือ ต้องให้เด็กลงมือค้นหา ความรู้ด้วยตนเองโดยผ่านประสาทสัมผัสเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์เปสตาลอชซี่ กล่าวไว้ว่า ครูและศิษย์จะต้องมีความรักใคร่ซึ่งกันและกัน ครูอาจลงโทษเด็กได้ แต่ต้องเป็นไป ในทางที่ถูกที่ควรวิธีการจัดการศึกษาตามหลักของเปสตาลอชซี่นี้ นับได้ว่าเป็นการจัดการศึกษา
  • 9. 29 ที่สอดคล้องกับหลักจิตวิทยา เพราะได้คานึงถึงหลักพัฒนาการของเด็กเป็นเกณฑ์ใน การจัดการเรียนการสอน 4. เฟรดริค วิลเฮล์ม เฟรอเบล เฟรดริค วิลเฮล์ม เฟรอเบล (Ferdrrick Wilhelm Froebel, ค.ศ. 1782 - 1852) เป็น นักการศึกษาชาวเยอรมัน ผู้ได้รับเอาแนวความคิดทางการศึกษาจากโคมินิอุสรูสโซและ เปสตาลอชซี่ แล้วนาเอาความคิดนั้นมาพัฒนาขึ้นใหม่โดยจัดตั้งทฤษฎี ปรัชญาพัฒนาการ ของเด็กระดับโรงเรียนอนุบาลขึ้น เขาเป็น ผู้ให้กาเนิดการศึกษาปฐมวัย โดยตั้งโรงเรียน อนุบาลแห่งแรกขึ้นที่เมืองแบลคเกนเบอร์ก (Blackemburg) ในปี ค.ศ.1842 ในประเทศ เยอรมนี โดยจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกชื่อ คินเดอร์การ์เทน (Kindergarten) แปลว่า “สวนเด็ก” ขึ้นที่เมืองแบลคเกนเบอร์ก (Blackenbug)ในปี ค.ศ. 1842 จุดมุ่งหมายในการจัด ตั้งโรงเรียนอนุบาลก็คือ เพื่อฝึกอบรมเด็ก ฝึกหัดครูและพี่เลี้ยงเด็กให้รู้จักวิธีสอนเด็กให้ ถูกต้อง เฟรอเบลได้รับแนวคิดทางการศึกษาจากรูสโซและเปสตาลอชซี่และได้นาเอา แนวคิดเหล่านั้นมาพัฒนาใหม่ และจัดตั้งทฤษฎีปรัชญาพัฒนาการเด็กระดับโรงเรียน อนุบาลขึ้นโดยเขียนไว้ในหนังสือ “Education of Man, Pedagogies of Kindergarten” และ หนังสือ “Education by Development” เฟรอเบลให้ความสาคัญเกี่ยวกับคุณค่าของ ความเป็นเด็ก เพราะความเจริญเติบโตทางด้านร่างกายและจิตใจของเด็กจะเกิดขึ้นได้ โดย ให้เด็กได้ใช้กาลังในการเคลื่อนไหวทากิจกรรมต่าง ๆ แทนการนั่งเฉยฟังครูพูดด้วยเหตุผลนี้ เฟรอเบลจึงสนับสนุนให้เด็กเรียนโดยการเล่นการร้องเพลง และเฟรอเบลยังมีความเชื่อว่า ครู ควรจะส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กให้เจริญขึ้นด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิด สร้างสรรค์แบบเสรี โดยใช้การเล่นและกิจกรรม เขาได้จัดอาคารสถานที่ภายในโรงเรียนให้ ร่มรื่น และเปิดโอกาสให้เด็กฝึกทางานง่าย ๆ เช่นทาสวน เพราะเขาเชื่อว่าการทาสวนจะ ช่วยสร้างลักษณะนิสัยที่ดีได้ เฟรอเบลจะเน้นเรื่อง กิจกรรมของเด็ก โดยถือว่าเด็กทุกคนมี ความสามารถ ซึ่งจะแสดงออกเมื่อได้รับการสนับสนุน เช่น การเล่น การร้องเพลง การแสดงท่าทางต่าง ๆ เป็นต้น จากเหตุผลดังกล่าวเขาจึงพยายามตอบสนองความต้องการของเด็กโดยคิดของ เล่นให้เด็กเล่นหลายชุด เช่นของเล่นชุดของขวัญ (Gift) ซึ่งมีทั้งหมดประมาณ 30 ชุด โดย กาหนดว่าเด็กทุกคนจะต้องมีของเล่นชุดเดียวกันก่อน เมื่อครูแนะนาให้เด็กเล่นโดยทดลอง ทาพร้อม ๆ กันจนเด็กเข้าใจและทาได้บ้างแล้วจึงให้โอกาสเด็กแต่ละคนคิดทดลองทาด้วย ตนเองอีกครั้งหนึ่งใน การเล่นของเล่นดังกล่าวนั้นเฟรอเบลเน้นมากในเรื่องระเบียบ การเตรียมตัว ขั้นตอนในการปฏิบัติ การเก็บของเล่นแต่ละอย่างให้ถูกวิธี โดยกาหนดเวลา
  • 10. 30 ของกิจกรรมประจาวันไว้อย่างแน่นอน แต่อย่างไรระเบียบวินัยหลาย ๆ เรื่องนั้นเป็น การสะกัดกั้นความคิดและสติปัญญาของเด็กเขาจึงเน้นเรื่องกิจกรรมของเด็กดังที่กล่าวมา และของเล่นอีกชุดหนึ่งของเขาซึ่งชื่อชุดอาชี (Occupations) ก็ได้รับการออกแบบมาสาหรับ พัฒนาการเรียนรู้โดยการสัมผัส เช่น เดียวกับชุดของขวัญ โดยชุดอาชีพนี้จะประกอบไป ด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การปั้น การตัด การพับ การร้อยลูกปัด และนอกจากจะเน้นใน เรื่องของการเล่น เฟรอเบลยังได้ให้ความสาคัญกับกิจกรรมอีกอย่างหนึ่งคือ การเล่านิทาน เขาแต่งนิทานสาหรับเด็กเป็นเรื่องของสัตว์มีชีวิตและความเป็นอยู่เหมือนคน ขณะเดียวกัน ก็ให้เด็ก ๆ รู้จักรักธรรมชาติของสัตว์ โดยการร้องเพลงและท่าเลียนแบบ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ เด็ก ๆ ชอบมากนอกจากจะจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลแล้วเขายังได้จัดตั้งสถาบันเพื่อฝึกหัด หญิงสาวเป็นครูอนุบาลด้วย แนวความคิดและผลงานของเฟรอเบลในเรื่องการจัดการศึกษาปฐมวัยนี้ เป็น การวางรากฐานที่สาคัญต่อการศึกษาที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ คือ การเรียนการสอนที่ยึด เด็กเป็นศูนย์กลาง เฟรอเบลได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการศึกษาปฐมวัย และแนวคิด ของเขาก็ยังคงใช้ต่อมาจนถึงปัจจุบันแต่ในยุคที่เฟรอเบลมีชีวิตอยู่นั้น แนวความคิดในเรื่อง การศึกษาปฐมวัยของเขาไม่ได้เป็นที่นิยมมากนักในประเทศเยอรมนี เนื่องจากเหตุผล ทางการเมือง รัฐบาลเยอรมนีได้สั่งปิดโรงเรียนของเฟรอเบลในปี ค.ศ. 1851 และในปีต่อมา คือในปี ค.ศ. 1852 เฟรอเบลก็ถึง แก่กรรม นักการศึกษาที่ได้รับแนวคิดจากเฟรดริค วิลเฮล์ม เฟรอเบล หลังจากที่เฟรอเบลถึงแก่กรรมแล้วได้มีผู้ที่นาเอาแนวคิดของเฟรอเบลมาใช้และ เผยแพร่หลายราย ซึ่งได้แก่ นางบารอนเนส เบอร์ทา สตรีชาวเยอรมัน ผู้มีความสนใจในการจัดการศึกษา ปฐมวัยของเฟรอเบล ได้เดินทางย้ายไปอยู่ในประเทศอังกฤษ และได้เผยแพร่ความคิด เกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยของเฟรอเบล โดยได้ตั้งโรงเรียนอนุบาลขึ้นและได้รับความนิยม ในประเทศอังกฤษ ภายหลังจึงได้นาเอาแนวความคิดนี้ไปเผยแพร่ต่อในประเทศฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ อิตาลี และเบลเยี่ยมด้วย ต่อมารัฐบาลเยอรมนีได้ยกเลิก คาสั่งห้ามตั้งโรงเรียนอนุบาล นางบารอนเนสเบอร์ทา จึงกลับไปอยู่ในประเทศเยอรมันนี และตั้งโรงเรียนอนุบาลขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ระยะกาเนิดโรงเรียนอนุบาลแห่งแรกในสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1856 แนวคิดเกี่ยวกับการอนุบาลของเฟรอเบลได้เริ่มแพร่หลายไป ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยเริ่มจากลูกศิษย์ของเฟรอเบลคนหนึ่งชื่อ นางคาร์ล เชอร์ช
  • 11. 31 (Mrs. Carl Schurz) ได้จัดตั้งโรงเรียนอนุบาลขึ้นแห่งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาที่เมือง วอเตอร์ทาวน์ (Water Town) มลรัฐวิสคอนซิน (Wisconsin) โดยจัดขึ้นในบ้านของเธอเองใช้ ภาษาเยอรมันสอนให้กับลูกหลานกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มหนึ่ง ระยะต่อมานางคาร์ลเชอร์ ได้มีโอกาสพบกับอลิชาเบทพีบอดี้ (Elizabeth Peabody) ที่เมืองบอสตัน (Boston) และได้พูดคุยกันเกี่ยวกับการอนุบาลศึกษาตามแนวคิดของ เฟรอเบล อลิชาเบท พีบอดี้มีความเลื่อมใสในแนวความคิดของเฟรอเบล เธอจึงได้ตั้ง โรงเรียนตามแนวคิดของเฟรอเบลขึ้นที่เมืองบอสตัน (Boston) มลรัฐแมสชาซูเซทส์ (Massachusetts) ในปี ค.ศ. 1860 นับเป็นโรงเรียนอนุบาลเอกชนแห่งแรกที่ใช้ภาษาอังกฤษ และในปี ค.ศ. 1867 เธอเดินทางไปยังประเทศเยอรมนีเพื่อไปศึกษางานของเฟรอเบลมาก ขึ้น หลังจากที่เธอเดินทางกลับมาจากประเทศเยอรมนีแล้วเธอได้กลายเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อ การศึกษาปฐมวัยในอเมริกาเป็นอย่างมากโดยเขียนหนังสือและพิมพ์หนังสือออกจาหน่าย มากมาย เช่น หนังสือชื่อ Kindergarten Messenger และต่อมาได้เขียนลงในหนังสือ New England Journal of Education โรงเรียนอนุบาลของรัฐแห่งแรกในอเมริกา ตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1873 ที่เมืองแซงต์หลุย (St. Louis) โดยวิลเลียม ฮอรีสและซูซาน โบลว์ (William Horris and Susan Blow) ผู้ที่เคยไป ดูงานการอนุบาลที่เยอรมนีและได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของเฟรอเบล ต่อจากนั้น การอนุบาลในสหรัฐอเมริกาก็ได้พัฒนาไปเรื่อย ๆ ตามลาดับ นางคาร์ล เชอร์ช ผู้ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของเฟรอเบลได้เปิดโรงเรียนอนุบาลแห่งแรก ขึ้นที่เมือง วอเตอร์ทาวน์ (Watertown) มลรัฐวิสคอนซิน (Wisconsin) ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1856 โดยจัดสอนเป็นภาษาเยอรมันและจัดสอนที่บ้านให้กับลูกหลานเพียงไม่กี่คน อลิซาเบล พีบอดี้ ได้พบกับนางคาร์ล เชอร์ช ที่เมืองบอสตัน (Boston) และได้รับ คาแนะนาเกี่ยวกับการอนุบาลตามแนวคิดของเฟรอเบล พีบอดี้เห็นด้วยกับหลักการของ เฟรอเบลเธอจึงตั้งโรงเรียนอนุบาลขึ้น ในปี ค.ศ.1860 ในเมืองบอสตัน มลรัฐแมสซาชูเซต นับเป็นโรงเรียนอนุบาลของเอกชนแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่สอนโดยใช้ภาษาอังกฤษและ ใช้หลักการของ เฟรอเบลในการดาเนินการสอน และเธอกับพี่สาวของเธอได้พิมพ์หนังสือ ขึ้นมาเผยแพร่เล่มหนึ่งชื่อ “Kindergarten Guide” ในปี ค.ศ. 1867 เธอได้ปิดโรงเรียนอนุบาลซึ่งในขณะนั้นกาลังได้รับความนิยม เพื่อ เดินทางไปศึกษาต่อเกี่ยวกับการอนุบาลตามหลักการของเฟรอเบลที่ประเทศเยอรมนี หลังจากที่เธอเดินทางกลับมาจากประเทศเยอรมนีแล้วเธอได้กลายเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อ การศึกษาปฐมวัยในอเมริกาเป็นอย่างมากโดยเขียนหนังสือและพิมพ์หนังสือออกจาหน่าย
  • 12. 32 มากมาย เช่น หนังสือชื่อ Kindergarten Messenger และต่อมาได้เขียนลงในหนังสือชื่อ New England Journal of Education ซูซาน โบลว์ ได้เคยไปศึกษาดูงานอนุบาลที่เยอรมนี แล้วได้เสนอแนวคิดใน การจัดโรงเรียนอนุบาลขึ้นในโรงเรียนของรัฐ ในเมืองแซงต์ลุย ซึ่งแนวคิดนี้พีบอดี้เคยเสนอ แล้วแต่ไม่ประสบผลสาเร็จ ต่อมาซูซานโบลว์จึงลองเสนออีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งทดลอง สอนให้ดูผลปรากฏว่ารับความสาเร็จอย่างสูงทาให้มีโรงเรียนอนุบาลแห่งรัฐเกิดขึ้นที่เมือง แซงต์ลุย 5. มาเรีย มอนเตสซอรี่ มาเรีย มอนเตสซอรี่ (Maria Montessori. ค.ศ. 1870 - 1952) เป็นนักการศึกษา อีกผู้หนึ่งที่วางแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัยและได้รับการยอมรับกันจนถึงปัจจุบัน มอนเตสซอรี่เป็นชาวอิตาลีและเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับปริญญาทางการแพทย์ หลังจาก สาเร็จการศึกษาได้ทางานร่วมกับคณะนักจิตวิทยา มีโอกาสทางานเกี่ยวข้องกับเด็กยากจน และเด็กที่มีปัญหาทางด้านจิตใจ ต่อมาเข้ารับการศึกษาเพิ่มเติมในด้านปรัชญาการศึกษา จิตวิทยาและมนุษยวิทยาโดยเฉพาะเรื่องโรคภัยที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เธอประสบผลสาเร็จใน การจัดการศึกษาให้กับเด็กที่มีความบกพร่องทางสมอง ซึ่งในยุคนั้นถือว่าเป็นผู้ไม่มี ความสามารถทางการเรียนรู้ มอนเตสซอรี่จึงได้นาเอาสื่อวัสดุอุปกรณ์ และวิธีการจัด กิจกรรมนามาใช้สาหรับเด็กที่มีความบกพร่องที่ใช้ในอิตาลีมาจัดโปรแกรมการศึกษา สาหรับเด็กปกติ “ซึ่งโปรแกรมการศึกษาของมอนเตสซอรี่จัดได้ว่าเป็นหลักสูตรรูปแบบที่ สองที่สร้างขึ้นมาสาหรับเด็กปฐมวัย (หลักสูตรแรกคือหลักสูตรของเฟรอเบล)” (Jackman. 2001 : 25) มอนเตสซอรี่เริ่มสอนเด็กปกติและได้จัดตั้งบ้านเด็ก (Children’s House) ขึ้นที่กรุง โรมในปี ค.ศ. 1907 โปรแกรมการศึกษาของเธอตั้งอยู่บนพื้นฐานของการสังเกตเด็กเล็กซึ่ง นาไปสู่ การสรุปว่า สติปัญญาของคนเรานั้นไม่หยุดอยู่คงที่ แต่กระตุ้นให้พัฒนาขึ้นไปได้ เธอเชื่อว่าเด็ก ๆ จะเรียนรู้ได้ดีที่สุดโดยใช้ประสาทสัมผัสของตัวเองโดยตรงกับสิ่งแวดล้อม รอบตัว มอนเตสซอรี่เรียกสถานที่สอนเด็กว่าบ้านเด็ก (Children’s House) แทนคาว่า โรงเรียนเพราะมีการจัดสภาพแวดล้อมของสถานที่เรียนให้เหมือนกันกับบ้าน เพื่อจะให้มี บรรยากาศแบบเป็นกันเอง โดยไม่จัดห้องเรียนแบบให้เด็กเข้าแถวเรียงกัน เพราะวิธีการ เช่นนี้ไม่เอื้อให้เด็กมีเสรีภาพอย่างเต็มที่ ห้องเรียนของมอนเตสซอรี่ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ เน้นให้เด็กพัฒนาประสาทสัมผัสและเรียนรู้มโนทัศน์ มีการจัดสื่อการเรียนการสอนเตรียม
  • 13. 33 ไว้ให้เด็กใช้อย่างอิสระ โดยแบ่งสื่อตามระดับความสามารถของเด็กจากสิ่งที่รู้แล้วไปยังสิ่ง ที่ไม่รู้ จากรูปธรรมไปหานามธรรม “การสอนมโนทัศน์ก็จะแยกเป็นอิสระจากกันเพื่อ ป้องกันการสับสน เช่น เมื่อเรียนเรื่องรูปร่าง (Shape) สื่อก็จะอยู่ในลักษณะที่เน้นให้สนใจ เฉพาะรูปร่างอย่างเดียวโดยออกแบบให้เด็กวัดผลและแก้ไขข้อผิดพลาดของตนเองได้” หรรษา นิลวิเชียร (2535 : 5) ได้กล่าวถึงระบบการสอนของมอนเตสซอรี่ ว่า มอนเตสซอรีพยายามสร้างให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์มีพัฒนาการเจริญขึ้นทั้งด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา โดยมีวิธีการสอนที่ให้เสรีภาพแก่เด็กในการเลือก ทากิจกรรมตามความสนใจของตนเองแต่อยู่ภายในขอบเขตที่วางไว้ ซึ่งเด็กจะเรียนรู้จาก ประสบการณ์ตรงโดยการสังเกตและปฏิบัติการฝึกประสบการณ์ชีวิต เช่น การติดกระดุม รูดซิป การตัด การขัดถู และการทาสวน ช่วยให้เด็กรู้จักช่วยเหลือตนเอง รู้จักการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมซึ่งมีประโยชน์ต่อชีวิตในอนาคต มอนเตสซอรี่ให้ความสาคัญกับสื่อการเรียนมากเพราะสื่อการเรียนช่วยให้เด็กได้ ฝึกประสาทสัมผัส ฝึกการแยกขนาด รูปร่าง สี พื้นผิว เสียง อุณหภูมิ ตลอดจนการเรียน การเขียน การอ่าน และตัวเลข การจัดกิจกรรมจะจัดให้เด็กได้ฝึกเป็นรายบุคคลมากกว่า รายกลุ่ม เด็ก ๆ มีอิสระที่จะเคลื่อนไหวและเลือกกิจกรรมของตนเอง “ถึงแม้ว่าจะไม่ การเน้นเรื่องพัฒนาการทางด้านสังคมและอารมณ์แต่ครูผู้สอนก็มีความเชื่อว่า เด็กจะ พัฒนาความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตนเองในขณะที่เด็กพัฒนาความสามารถในการเรียน” แนวความคิดของมอนเตสซอรี่ส่วนใหญ่แล้วจะเห็นด้วยกับหลักการของเฟรอเบล เช่น การจัดสิ่งแวดล้อมในบริเวณโรงเรียนอนุบาลด้วยธรรมชาติ มีสนามให้เด็กวิ่งเพื่อออก กาลังกาย มีเครื่องเล่นสนาม และ ฝึกฝนให้เด็กทาสวนครัว ในส่วนที่มอนเตสซอรี่ส่งเสริม อีกอย่างหนึ่งคือให้เด็กมีกิจกรรมส่งเสริมสุขนิสัยที่ดีทั้งการรับประทานอาหาร การขับถ่าย การพักผ่อน ฯลฯ สุกัญญา กาญจนกิจ. (2537 : 28) ได้กล่าวว่าแนวคิดของมอนเตสซอรี่บางส่วนมี ความขัดแย้งกับของเฟรอเบลอยู่บางประการ เช่น ในเรื่องของการจัดชั้นเรียนแบบตายตัว ซึ่งมอนเตสซอรี่ไม่เห็นด้วยเพราะเธอเน้นการให้เสรีภาพแก่เด็กเพื่อแสวงหาความรู้โดย ปล่อยให้เด็กมีประสบการณ์จากสิ่งแวดล้อมด้วยตนเองและด้วย ความสมัครใจโดยถือ ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Difference) เป็นแนวทางในการปฏิบัติกิจกรรม มอนเตสซอรี่ได้ทาอุปกรณ์การสอนไว้เป็นหมวดหมู่ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเอง เก้าอี้ ของเด็กมอนเตสซอรี่ก็ออกแบบให้เล็กเหมาะสมกับความสูงของเด็ก และยกไปมาได้สะดวก ตามโอกาสและความเหมาะสมของกิจกรรม ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่ มอนเตสซอรี่มีความเห็น ไม่ตรงกับ เฟรอเบล คือ เรื่องนิทาน เธอมีความคิดเห็นว่าการส่งเสริมพัฒนาการทาง
  • 14. 34 ความคิดคานึงของเด็กควรจะพัฒนาไปในทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะของ ความเป็นจริงที่พิสูจน์ได้มากกว่าการใช้นิทาน นอกจากนี้ หรรษา นิลวิเชียร. (2535 : 5) ได้กล่าวว่า “แนวความคิดของมอนเตส ซอรี่ได้รับการยอมรับทั่วไปในอิตาลี และขยายออกไปทั่วโลก ในสหรัฐอเมริกาได้รับแนวคิด ของมอนเตสซอรี่มาใช้ โดยมีการจัดสภาพแวดล้อมสิ่งต่าง ๆ ให้มีขนาดที่เหมาะสมกับตัว เด็กและมีการใช้วัสดุอุปกรณ์เพื่อฝึกประสบการณ์ทางด้านการใช้ประสาทสัมผัส” “แต่ อย่างไรก็ตามหลังจากที่ได้นาแนวคิดของมอนเตสซอรี่ไปดาเนินการได้ระยะหนึ่งก็ได้รับการ วิพากษ์วิจารณ์ว่าแนวคิดของมอนเตสซอรี่ขาดจุดเน้นในเรื่องพัฒนาการด้านภาษาและ สังคม และเน้นด้านความคิดสร้างสรรค์ ดนตรี และศิลปะน้อยมาก ซึ่งนับว่าเป็นจุดอ่อน ของแนวคิดนี้” 6. จอห์น ดิวอี้ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey , ค.ศ. 1895 - 1952) เป็นนักการศึกษาชาวอเมริกันที่ ต่อต้านการสอนแบบดั้งเดิม (Traditional) ที่มีลักษณะการสอนที่ครูเป็นผู้เตรียมการสอน และประสบการณ์ให้กับเด็กได้เรียนรู้ และการเรียนรู้จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากตาราที่ผู้ใหญ่ เขียนเอาไว้โดยสอนเด็กว่าสิ่งที่สอนนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งเป็น การยัดเยียดมาตรฐานความคิดความรู้ของผู้ใหญ่ตลอดจนวิธีการต่าง ๆ ให้กับเด็ก และ นอกจากนี้ ดิวอี้ยังไม่เห็นด้วยกับบทบาทของผู้เรียนที่จะต้องเป็นฝ่ายรับแนวความคิดของ ผู้ใหญ่เพียงอย่างเดียว โรงเรียนแบบดั้งเดิมจะต้องพึ่งพาการสอนจากผู้ใหญ่อยู่ตลอดเวลา และอาศัยการท่องจาเพียงอย่างเดียว จอห์น ดิวอี้ ได้ชื่อว่าเป็นผู้นาการเคลื่อนไหวทางการศึกษาแบบก้าวหน้า หรือ การศึกษาแบบสมัยใหม่ (Progressive Education) และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง จากกลุ่มนักปรัชญาและนักทฤษฎีทางการศึกษาเพราะเขาได้สรุปและเสนอแนวคิดเกี่ยวกับ การศึกษาแบบก้าวหน้าว่า โรงเรียนเป็นสถาบันทางสังคม ซึ่งจะแสดงถึงชีวิตที่เหมาะสม และสมบูรณ์ให้กับเด็กเหมือนกับบ้าน ดังนั้นการศึกษาจึงหมายถึงขบวนการของการมีชีวิต อยู่ในแต่ละวัน ไม่ได้หมายถึงการเตรียมตัวถึงชีวิตในอนาคตเท่านั้น ดังนั้นโรงเรียนจะต้อง ทาหน้าที่เหมือนกับหน่วยของสังคมเล็ก ๆ ซึ่งต้องการความร่วมมือแบบประชาธิปไตยของ สมาชิกในสังคม โดยเน้นการร่วมมือซึ่งกันและกัน ความเป็นมนุษย์การตัดสินปัญหาร่วมกัน และการจัดอาชีพที่เหมาะสมซึ่งเน้นความสนใจของนักเรียนเองเป็นใหญ่ การเรียนการสอน แบบนี้นักเรียนจะมีโอกาสเลือกกิจกรรมด้วยตนเองเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและ
  • 15. 35 การทดลองเนื้อหาวิชาจะถูกนามาบูรณาการ บทบาทครู คือเป็นผู้สังเกตและให้คาแนะนามิ ใช้เป็นผู้ควบคุมการเรียน 7. จอง เพียเจท์ จอง เพียเจท์ (Jean Piaget . ค.ศ. 1896 - 1980) นักจิตวิทยาชาวสวิส เป็นผู้ที่ สนใจทางด้านชีววิทยามาตั้งแต่วัยเด็กเขาได้รับปริญญาเอกทางด้านชีววิทยาเขาคิดว่าการเจริญเติบโต ทางด้านสติปัญญาเกี่ยวข้องกับด้านชีววิทยา นอกจากสนใจวิชาชีววิทยาเป็นพิเศษแล้ว เพียเจท์ ยังสนใจวิชาปรัชญาด้าน ญาณวิทยา (Epistemology) หรือการศึกษาเกี่ยวกับ ความรู้ ดังนั้นคาถามที่ว่า เรารู้อย่างไร คิดอย่างไร จึงเป็นส่วนสาคัญของงานวิจัยของ เพียเจท์ในระยะต่อ ๆ มา จอง เพียเจท์ (Jean Piaget) เป็นนักจิตวิทยาชาวสวิส ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการ การเรียนรู้ของเด็กและพัฒนาการทางสติปัญญาโดยมีความเห็นว่าความคิดหรือสติปัญญา นั้น หมายถึง การที่บุคคลสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับความต้องการของสิ่งแวดล้อม สามารถจัดและดัดแปลงความคิดและการแสดงออกของคนอย่างน่าพึงพอใจ ซึ่งเป็นผล ระหว่างการรับคือ ขบวนการปรับเข้าสู่โครงสร้าง (Assimilation) และการจัดปรับขยาย โครงสร้าง (Accommodation) ผลของการทางานของกระบวนการดังกล่าวจะเกิดเป็น โครงสร้างขึ้น (Schema) เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงควรเข้าใจในรายละเอียดดังนี้ Assimilation หมายถึง การที่เด็กนาเอาสิ่งที่ตนรับรู้ใหม่ ๆ เข้าไปผสมกลมกลืนกับ ความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วซึ่งการรับนี้จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กมองเห็นสิ่งใหม่นี้ในแง่ของสิ่งเดิมที่เคย รู้จัก Accommodation หมายถึง การที่เด็กนาเอาความรู้ใหม่ที่ได้ไปปรับปรุงความคิดให้ เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม Schema หมายถึง โครงสร้าง ซึ่งเพียเจท์ เชื่อว่าโครงสร้างนี้จะพัฒนาขึ้นตามระดับ อายุ และจะมีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์เมื่อเด็กอายุประมาณ 15 ปี โดยเพียเจท์ถือว่าเป็น ระยะที่โครงสร้างของสติปัญญาพัฒนาขึ้นอย่างสมบูรณ์ พัฒนาการจะเป็นไปตามลาดับขั้น จะย้ายหรือกระโดดข้ามขั้นไม่ได้ แต่อัตราของพัฒนาการอาจจะมีความแตกต่างกันในตัว เด็กแต่ละคน ซึ่งความแตกต่างนี้เนื่องมาจาก ความแตกต่างของสิ่งแวดล้อม เพียเจท์ เน้น ความสาคัญในเรื่องของสิ่งแวดล้อมมาก และถือว่าพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน มีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อมเป็นสาคัญ เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความพร้อมด้วย ความเจริญทางด้านวัฒนธรรม ผลการวิจัยของนักศึกษาและ นักจิตวิทยาหลายคนมี
  • 16. 36 ความเห็นสอดคล้องกับทฤษฎีเพียเจท์ และพบว่าเด็กชายอเมริกันมีสติปัญญาสูงกว่าเด็กใน แถบเอเชียที่มีระดับอายุเท่ากัน เพียเจท์ได้ศึกษาพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กเป็นขั้น ๆ ตามลาดับอายุ โดย อธิบายพฤติกรรมของมนุษย์เฉพาะด้านความคิดความเข้าใจ เพียเจท์ พบว่าเด็กคิดและ เข้าใจสิ่งต่าง ๆ แตกต่างจากผู้ใหญ่ พร้อมกับแบ่งพัฒนาการทางความคิดเป็น 4 ขั้นใหญ่ ซึ่งแต่ละขั้นอธิบายความคิดที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ต่าง ๆ การแบ่งขั้นพัฒนาการตามอายุ มีดังนี้ 1. ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (Sensorimotor stage) อยู่ในช่วงแรก เกิดจนถึงอายุ 2 ขวบ เป็นขั้นที่เด็กรู้จักการใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น ปาก หู ตา ฯลฯ ในขั้นนี้จะเป็นการพัฒนาการทางความคิดก่อน ระยะเวลาที่ทารกจะพูดและใช้ภาษาได้ จะ สามารถรับรู้และแสดงกริยาอาการต่าง ๆ ได้ เป็นช่วงที่มีปฏิกิริยาสะท้อน เช่น การจับ กา การดูด ฯลฯ ตลอดจนทาสิ่งต่าง ๆ โดยสามารถคิดก่อนทา รู้ถึงผลที่จะเกิดก่อนทาได้ด้วย ตนเอง รวมทั้งการใช้ภาษาครั้งแรกเพื่อเลียนแบบต่อมาใช้แทนสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นจริง ในวัยนี้ เด็กเรียนรู้ที่จะ 1) มองเห็นตนเองต่างจากวัตถุที่อยู่รอบ ๆ ตัว 2) มองหาแสงสว่างและเสียง 3) พยายามอยู่กับสิ่งที่น่าสนใจนาน ๆ 4) เข้าใจสิ่งต่าง ๆ โดยการลูบจับกระทาหรือเกี่ยวข้องด้วย 5) พูดแบบอือ ๆ ออ ๆ และพัฒนาจนสามารถพูดเป็นคาที่เข้าใจได้ 6) มองว่าวัตถุจะไม่เปลี่ยนแปลงและมีลักษณะเฉพาะ แม้ว่าตาแหน่งของวัตถุจะ เปลี่ยนแปลงไป หรือเด็กจะมองเห็นวัตถุจากมุมที่แตกต่างกัน 7) เข้าใจว่าวัตถุยังคงอยู่ แม้ว่าจะลับสายตาไปแล้ว 2. ขั้นความคิดก่อนเกิดปฏิบัติการ (Pre – operational Stage) อยู่ในช่วงของอายุ 2–7 ปี เป็นขั้นที่เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาพูด และเข้าใจเครื่องหมายท่าทางที่สื่อความหมาย เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น แต่ยังอาศัยการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ ยังไม่สามารถคิดหาเหตุผลและ ยกเหตุผลขึ้นอ้างอิงได้ เด็กจะเริ่มเข้าใจสัญลักษณ์และใช้ภาษาแทนความหมาย ของ เหตุการณ์และสิ่งต่าง ๆ ขั้นนี้แบ่งเป็นขั้นย่อย ๆ ได้ 2 ขั้นคือ 2.1 ขั้นก่อนเกิดความคิดรวบยอด เป็นขั้นที่เด็กชอบสารวจตรวจสอบโดยเฉพาะ อย่างยิ่งถ้าเด็กมีประสบการณ์จากการกระทามากก็ยิ่งถามคาถามและสารวจมากขึ้น เด็ก จะสนใจว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ทาไมจึงเกิดขึ้นและเกิดอย่างไร เด็กจะหมกมุ่นอยู่กับการทา
  • 17. 37 สิ่งต่าง ๆ เช่น จะเอาของใส่ตู้เหมือนที่แม่ทา หรือเล่นตัดหญ้าเหมือนที่พ่อทาฯลฯจากการเล่น บทบาทสมมุติและการเลียนแบบบทบาทคนในบ้านทาให้เด็กมีสิ่งที่จะถามมากมาย เด็กจะ เริ่มใช้ภาษาและเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์โดย เด็กจะพยายามพูดและนาคามาสร้าง ประโยคใหม่ ทั้งที่ยังไม่เข้าใจความหมายดีนัก นอกจากนี้ยังมีพัฒนาการต่อไปนี้ 1) ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางอย่างเด่นชัดไม่สามารถเข้าใจความคิดของคนอื่นที่ เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ 2) มองไม่เห็นว่าวัตถุที่เหมือนกันบางส่วนอาจจะมีบางส่วนต่างกัน เช่น หนังสือ 2 เล่ม มีความหนาเท่ากัน แต่คุณค่าต่างกัน เป็นต้น 3) เริ่มคิดอย่างมีเหตุผล แต่เป็นเหตุผลแบบตามใจตนเอง เช่น ถ้าเหยียบเก้าอี้แล้ว เก้าอี้ล้ม แล้วตัวเขาก็ล้มด้วยเด็กจะคิดว่าเก้าอี้เป็นสาเหตุทาให้เขาล้มเป็นต้น 4) จะตัดสินสิ่งต่าง ๆ โดย ใช้หลักเกณฑ์ตามที่ตามองเห็น 2.2 ขั้นการคิดแบบใช้ญาณหยั่งรู้ การคิดแบบใช้ญาณหยั่งรู้นี้ เพียเจท์ หมายถึง การคิดเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่าง อย่างรวดเร็วโดยไม่คานึงถึงรายละเอียดไม่สามารถใช้ เหตุผลอย่างถูกต้อง การคิดและการตัดสินใจขึ้นอยู่กับการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น การตัดสินใจจึงเปลี่ยนไปมา เด็กยังไม่เข้าใจว่าของสิ่งหนึ่งจะมีปริมาณเท่ากับอีกสิ่งหนึ่งใน กรณีที่สิ่งหนึ่งเปลี่ยนรูปร่างและจานวน นอกจากนี้ลักษณะของเด็กวัยนี้คือ 1) เข้าใจจานวน 2) เข้าใจเรื่องความคงที่ (Conservation) กล่าวคือเริ่มคิดได้ว่าของบางสิ่งยังคง เดิมโดยไม่คานึงถึงรูปร่างหรือจานวนที่เปลี่ยนไป แต่ถ้าถามถึงเหตุผลว่าทาไมจานวนของ ยังคงเดิมเด็กจะบอกเหตุผลได้ไม่ถูกต้อง เพราะยังคิดย้อนกลับไม่ได้ 3) เด็กในช่วงนี้จะเล่นเพื่อเข้าสังคมมากขึ้น เลียนแบบบทบาทต่าง ๆ เช่น ตารวจ บุรุษไปรษณีย์ ฯลฯ และขยายวงไปเล่นกับคนอื่นด้วย นอกจากนี้บุคคลภายนอกบ้าน เช่น ครู เพื่อน มีความสาคัญมากขึ้นและการยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง 3. ขั้นปฏิบัติการคิดเป็นรูปธรรม (Concrete operation Stage) อยู่ในช่วงอายุ 7 – 11 ปี ในช่วงอายุดังกล่าวเด็กสามารถใช้เหตุผลกับสิ่งที่แลเห็นได้ เช่น การแบ่งกลุ่ม แบ่ง พวก ฯลฯ และมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ในขั้นนี้เด็กสามารถคิดตัดสินใจ ได้อย่างมีเหตุผลกับสิ่งที่เป็นรูปธรรม คิดได้ว่าการกระทาใดบ้างที่จะเป็นไปได้และผลจะ ออกมาอย่างไรโดยไม่ต้องลองผิดลองถูก สามารถบอกจานวนและคานวณแก้ปัญหาได้ เปรียบเทียบสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ เด็กวัยนี้มีความสามารถใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นดังนี้
  • 18. 38 1) คิดย้อนกลับได้ดี (Reversibility of thought) การย้อนกลับ คือการกระทาสิ่งใด ที่ย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้นโดยที่ทาไม่เหมือนที่เคยทามาก่อน (เช่น การลบ) หรือการแทนที่ (นาสิ่งที่แตกต่างกันมาแทนที่กัน) การคิดแบบนี้ช่วยให้คิดแก้ปัญหาได้ในวิชาต่าง ๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา 2) รู้ความคงที่ของวัตถุต่าง ๆ ที่มองเห็นได้แม้จะเปลี่ยนแปรรูปหรือสถานที่วาง 3) สามารถตั้งเกณฑ์ที่จะแบ่งหรือจัดสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งของรอบ ๆ ตนเองให้ เป็น หมวดหมู่ได้ 4) สามารถจัดลาดับสิ่งต่าง ๆ ตามขนาดน้าหนัก หรือความยาวได้ สามารถ ลาดับสิ่งต่าง ๆ จากเล็กที่สุดไปหาใหญ่ที่สุด 5) สามารถคิดเปรียบเทียบได้ เมื่อจัดลาดับได้ก็เข้าใจว่าของใดจะใหญ่กว่าเล็กกว่า หรือมากกว่า น้อยกว่าขึ้นอยู่กับว่าจะเปรียบเทียบอะไร แต่ถ้าจะให้เปรียบเทียบสิ่งที่เป็น นามธรรมจะทาไม่ได้ เพราะวัยนี้คิดได้สิ่งที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น 6) สามารถมองเห็นความสัมพันธ์ของส่วนรวมส่วนย่อยได้ เด็กวัยนี้มีปัญหาในเรื่องความคิดที่เป็นนามธรรม จะคิดอย่างมีเหตุผลได้ดีที่สุด เมื่อวัตถุและเหตุการณ์ต่าง ๆ เป็นรูปธรรม 4. ขั้นปฏิบัติการคิดที่เป็นนามธรรม(Formal operational Stage) อยู่ในช่วงอายุ 11 – 15 ปี ขึ้นไป เป็นช่วงที่เด็กรู้จักคิดหาเหตุผลและเรียนรู้เกี่ยวกับนามธรรมได้ดีขึ้น สามารถ ตั้งสมมุติฐานและแก้ปัญหาได้ การคิดหาเหตุผลแบบตรรกศาสตร์ (Logical Thinking) พัฒนาอย่างสมบูรณ์ เป็นขั้นที่เกิดโครงสร้างทางสติปัญญาอย่างสมบูรณ์ เด็กในวัยนี้จะมี ความคิดเท่าผู้ใหญ่ อาจจะแตกต่างกันที่คุณภาพเท่านั้น เนื่องจากประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ในขั้นนี้พัฒนาการทางความคิดของเด็กเป็นขั้นสุดยอด กล่าวคือเด็กวัยนี้สามารถคิดแบบ นักวิทยาศาสตร์คิดเกี่ยวกับนามธรรมได้อย่างมีเหตุผลคือสามารถตั้งสมมุติฐานให้เหตุผล ถึงสิ่งที่น่าจะเป็นไปได้ คิดจากสิ่งที่ถูกต้อง สติปัญญาของเด็กปฐมวัยมีขอบเขตจากัด จึง ควรที่จะจัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมที่จะกระตุ้นให้เด็กได้รับรู้โดยเหมาะสมกับขีด ความสามารถโดยให้เด็กฝึกทักษะในการใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ เพื่อพัฒนาประสาท การรับรู้และเคลื่อนไหว และจัดกิจกรรมที่จะช่วยกระตุ้นความคิดเพื่อให้เด็กได้มี ประสบการณ์เดิมเพียงพอที่จะเป็นพื้นฐานสาหรับที่จะพัฒนาในขั้นต่อไป อย่างมี ประสิทธิภาพสูงสุด นวลเพ็ญ วิเชียรโชติ (2517 : 13 – 15 ) ได้สรุปทฤษฎีเพียเจท์ไว้ว่า พัฒนาการของ เด็กตามความเชื่อของเพียเจท์ คือ ความสามารถที่จะปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมเป็น