SlideShare a Scribd company logo
1 of 78
การวิจัยทางพลศึกษา เรื่อง การศึกษาปัญหาและพฤติกรรมการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ A Study of Problems and Behaviors of Unpunctual  Classroom Attendance of Physical Education  Students at Faculty of Education, BuriramRajabhat University สุเมธ  อ่างสุวรรณ
วัตถุประสงค์ 1.  เพื่อให้ทราบถึงปัญหาการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา    คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์    2. เพื่อทราบพฤติกรรมความไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ขอบเขตของการวิจัย 1.ขอบเขตด้านเนื้อหา   	      การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัญหาและพฤติกรรมการไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์    2.   ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2.1  ประชากร 	       ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ  นักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 สาขาวิชาพลศึกษา      คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  ปีการศึกษา 2553  จำนวน  367  คน   	2.2  กลุ่มตัวอย่าง   	       กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบระดับชั้นจากประชากรที่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1- 4 สาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  ปีการศึกษา 2553 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน  240  คน
 3. ตัวแปร  ตัวแปรที่ศึกษามีดังนี้ 	      3.1  ตัวแปรอิสระ คือ ข้อมูลทั่วไปของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2553ได้แก่ 		3.1.1  เพศ 		3.1.2  อายุ 		3.1.3  การศึกษา 		3.1.4  ระดับชั้นปีการศึกษา                    3.2  ตัวแปรตาม คือ  ปัญหาและพฤติกรรมการไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษา  สาขาวิชาพลศึกษา ชั้นปีที่ 1- 4  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  ปีการศึกษา 2553 4.  ระยะเวลาการดำเนินงาน 	     ในการศึกษาในครั้งนี้  ใช้เวลาในภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2553
ประโยชน์ของการวิจัย 	1.  ได้ทราบถึงปัญหาและพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษา  สาขาวิชาพลศึกษา ชั้นปีที่ 1- 4  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์   	2.  เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดจากการเรียนวิชาพลศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1- 4 สาขาวิชาพลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 	3.นักศึกษามีคุณธรรมจริยธรรมในเรื่องการตรงต่อเวลามากขึ้นและนำไปปรับใช้กับรายวิชาอื่นได้ 	4.  ผลการวิจัยจะเป็นข้อมูลพื้นฐานให้มหาวิทยาลัยอื่น ๆ นำไปพัฒนา ปรับปรุง และส่งเสริมการเรียนวิชาพลศึกษา ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นิยามศัพท์เฉพาะ  	1.ปัญหา  หมายถึง  สิ่งที่เป็นอุปสรรคหรือสิ่งที่กีดขวางความสะดวกและประสิทธิภาพของการไม่ตรงต่อเวลา 2 .พฤติกรรม หมายถึง  กิริยาของสิ่งมีชีวิตที่แสดงออกมาเพื่อตอบสนอง ต่อสิ่งเร้า   อันเป็นไปอย่างเหมาะสมเพื่อการอยู่รอดของชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป                 3.  สาขาวิชาพลศึกษา หมายถึง นักศึกษาที่กำลังเรียนชั้นปีที่ 1- 4 สาขาวิชาพลศึกษา     คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตและกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้         1. ประชากร                    ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ  นักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 สาขาวิชาพลศึกษา   คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  ปีการศึกษา 2553  จำนวน  367  คน   	2.  กลุ่มตัวอย่าง                     กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบระดับชั้นจากประชากรที่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 - 4 สาขาวิชา พลศึกษา คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  ปีการศึกษา 2553 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 240 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ดังนี้ 1.  ลักษณะของเครื่องมือ     	เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้  มีลักษณะเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาและพฤติกรรมการไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ชั้นปีที่ 1-4  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  ที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้น แบ่งเป็น  3  ตอน  ดังนี้ 	ตอนที่  1  เป็นข้อคำถามเกี่ยวกับรายละเอียดของผู้ตอบแบบสอบถาม  ได้แก่  เพศ  อายุ  การศึกษา  ระดับชั้นปีการศึกษา  พฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน  ลักษณะเป็นข้อคำถามที่มีรูปแบบเป็นการตรวจสอบรายการ (Check  List)
	ตอนที่  2  เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาและพฤติกรรมการไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ชั้นปีที่ 1-4  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  ลักษณะของแบบสอบถามเป็นข้อคำถามที่มีรูปแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating  Scale) 5ระดับ  ซึ่งมีความหมาย  ดังนี้  คือ  มากที่สุด  มาก  ปานกลาง  น้อย  และน้อยที่สุดตามลำดับ  (ประสิทธิ์  สุวรรณรักษ์.  2542 : 196)  กำหนดน้ำหนักคะแนนดังนี้ 5     หมายถึง    	มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 4     หมายถึง    	มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 3     หมายถึง    	มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 2    หมายถึง     	มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย 1    หมายถึง     	มีความคิดเห็นศึกษาอยู่ในระดับน้อยที่สุด
2.  ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ ผู้วิจัยดำเนินการสร้างแบบสอบถามโดยมีขั้นตอน  ดังนี้ 	1.  ศึกษาค้นคว้าเอกสาร  ตำรา  บทความ  วารสาร  งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและพฤติกรรมการไม่ตรงต่อเวลา และวิชาพลศึกษา  แล้วนำมาเป็นแนวคิดในการสร้างเครื่องมือ 	2.  ศึกษาวิธีสร้างแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า  เพื่อนำมาเป็นแนวทางการสร้างแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า  5  ระดับ 	3.  ดำเนินการร่างแบบสอบถามและนำร่างแบบสอบถามเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content  Validity)  ความเที่ยงตรงทางด้านโครงสร้าง (Construct  Validity)  ความครอบคลุมของข้อคำถาม  และความชัดเจนของภาษาที่ใช้    	4.  นำแบบสอบถามที่ผ่านการทดลองใช้แล้วไปเก็บรวบรวมข้อมูลต่อไป 	ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิจัยครั้งนี้  ผู้วิจัยได้ดำเนินการแจกและจัดเก็บรวบรวมแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ด้วยตนเอง จำนวนแบบสอบถามทั้งหมด 240 ฉบับ และได้รับคืนเป็นแบบสอบถามที่สมบูรณ์เพียงพอที่จะทำวิจัยได้โดยได้รับแบบสอบถามคืนทั้งหมด 240 ฉบับ  คิดเป็นร้อยละ 100.00 การทำวิจัยครั้งนี้  ได้ดำเนินการส่งแบบสอบถามเพื่อศึกษา  และทำการเก็บรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอน  ดังนี้  1. ขอความร่วมมือจากนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ชั้นปีที่ 1 – 4    2. นำแบบสอบถามให้กลุ่มตัวอย่างด้วยตนเอง แล้วเก็บรวบรวมแบบสอบถามคืนทั้งหมด 3. นำแบบสอบถามที่ได้รับคืนมาตรวจสอบความสมบูรณ์ ถูกต้อง แล้วนำแบบสอบถามไปดำเนินการวิเคราะห์ต่อไป
การวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเรียบร้อย  การจัดทำข้อมูลผู้วิจัยได้ดำเนินการ  ดังนี้ ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามแต่ละฉบับ กรอกรหัสแบบสอบถาม ประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์  โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ  การวิเคราะห์ข้อมูล  ดำเนินการดังนี้  1. การศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ด้วยการแจกแจงความถี่(Frequency) หาค่าร้อยละ (Percentage) เสนอข้อมูลเป็นตารางแสดงจำนวนและค่าร้อยละ 	2. การศึกษาเกี่ยวกับปัญหาและพฤติกรรมการไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษา  สาขาวิชา   พลศึกษา ชั้นปีที่ 1-5  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  วิเคราะห์ด้วยการหาค่าเฉลี่ย  (Mean)  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)  เสนอข้อมูลเป็นตารางประกอบความเรียง
3.เกณฑ์การตัดสินผลการวิเคราะห์ข้อมูลของค่าเฉลี่ย ( x ) และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) แบ่งออกเป็น 5 ระดับคือ (บุญชม ศรีสะอาด.  2543 : 163) 	4.51 - 5.00 	หมายถึง  มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 	3.51 - 4.50 	หมายถึง  มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2.51 - 3.50	หมายถึง  มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 	1.51 - 2.50 	หมายถึง  มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย 	1.00 - 1.50 	หมายถึง  มีมีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุด
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์  =          ในการศึกษาวิจัยเรื่องปัญหาและพฤติกรรมการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ชั้นปีที่ 1-4  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย 1.สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิจัย                                = เมื่อ				แทน  คะแนนเฉลี่ย 		แทน  ผลรวมทั้งหมดของคะแนน 		 		แทน  จำนวนคน
1.2  ร้อยละ (Percentasge) ใช้สูตร  (บุญชม ศรีสะอาด.  2545 : 106)  ผลรวมของคะแนน  X  100 				คะแนนเต็ม  X  จำนวนนักเรียน 1.3  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) (บุญชม ศรีสะอาด.  2545 : 106) 	 S.D. = เมื่อ	S.D.	        	 แทน  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 			 แทน  ผลรวมทั้งหมดของคะแนนในแต่ละคน 	 แทน  ผลรวมทั้งหมดของคะแนนในแต่ละคนยกกำลังสอง 		 	 แทน  จำนวนคนทั้งหมด 	คะแนนร้อยละ  =
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาปัญหาและพฤติกรรม การเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาพลศึกษา  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  ผู้วิจัยได้เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามหัวข้อดังนี้ 	1.  ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 	2.  ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาพลศึกษา  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์   	3.  ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับสาเหตุการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาพลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์   	4.   ข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นเพิ่มเติม 	ตอนที่ 1  ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม     	 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ปรากฏผลตามตารางที่ 4.1 ถึงตารางที่ 4.4 และแผนภูมิที่ 4.1 ถึงแผนภูมิที่ 4.4  ดังนี้
ตารางที่ 4.1 แสดงค่าความถี่และร้อยละของข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามเพศ
แผนภูมิที่ 4.1  แสดงค่าความถี่และร้อยละของข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามเพศ จากตารางที่ 4.1 และแผนภูมิที่ 4.1   พบว่า  ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 193  คน  คิดเป็นร้อยละ 80.40  รองลงมาเป็นเพศหญิง จำนวน 47  คน คิดเป็นร้อยละ 19.60
ตารางที่ 4.2 แสดงค่าความถี่และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม  จำแนกตามช่วงอายุ
แผนภูมิที่ 4.2 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม  จำแนกตามช่วงอายุ จากตารางที่ 4.2 และแผนภูมิที่ 4.2  พบว่า  ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ    18 – 20  ปี  จำนวน 165  คน คิดเป็นร้อยละ 68.80  รองลงมาอยู่ในช่วงอายุ 21 – 34 ปี จำนวน 73 คน คิดเป็นร้อยละ 30.40 ส่วนอายุผู้ตอบแบบสอบถามที่มีจำนวนน้อยที่สุดคือ อายุ 25 ปีขึ้นไป จำนวน     2  คน  คิดเป็นร้อยละ 0.80
ตารางที่ 4.3แสดงค่าความถี่และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามระดับการศึกษา
แผนภูมิที่ 4.3 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามระดับการศึกษา จากตารางที่ 4.3 และแผนภูมิที่ 4.3  พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา    ชั้นปีที่ 1 จำนวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 41.70  รองลงมาเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 29.20  และลำดับถัดมาเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 18.30   ส่วนชั้นปีที่มีจำนวนนักศึกษาตอบแบบสอบถามน้อยที่สุด คือ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 26  คน  คิดเป็น     ร้อยละ 10.80
ตารางที่ 4.4  แสดงค่าความถี่และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามพฤติกรรมการเข้าเรียน
แผนภูมิที่ 4.4  แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามพฤติกรรมการเข้าเรียน   จากตารางที่ 4.4  และแผนภูมิที่ 4.4  พบว่า  ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการเข้าเรียนสาย 1 – 2  ครั้งต่อภาคเรียน จำนวน 132  คน คิดเป็นร้อยละ 55.00 รองลงมามีพฤติกรรมไม่เคยเข้าเรียนสายเลย  จำนวน 48 คน    คิดเป็นร้อยละ 20.00 ลำดับถัดมานักศึกษามีพฤติกรรมการเข้าเรียนสาย 3 – 4  ครั้งต่อภาคเรียน จำนวน 44 คนคิดเป็นร้อยละ 18.30  ส่วนพฤติกรรมนักศึกษาที่เคยเข้าเรียนสายมากกว่า 5 ครั้ง ต่อภาคเรียนมีจำนวนน้อยที่สุด  จำนวน  16 คน คิดเป็นร้อยละ 6.70
ตารางที่  4.5  แสดงค่าความถี่และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีพฤติกรรมไม่เคยเข้าเรียนสายเลย  
แผนภูมิที่  4.5  แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีพฤติกรรมไม่เคยเข้าเรียนสายเลย จากตารางที่  4.5  และแผนภูมิที่  4.5  พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่เคยเข้าเรียนสายเลยเป็นนักศึกษาชั้นปีที่    1  จำนวน  40  คน  คิดเป็นร้อยละ  83.3  รองลงมานักศึกษาชั้นปีที่  2  และนักศึกษาชั้นปีที่  3  จำนวน  3  คน  คิดเป็นร้อยละ  6.25  และลำดับสุดท้ายคือนักศึกษาชั้นปีที่  4  จำนวน  2  คน  คิดเป็นร้อยละ  4.2
ตารางที่  4.6  แสดงค่าความถี่และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีพฤติกรรมเคยเข้าเรียนสาย 1 – 2  ครั้งต่อภาคเรียน  
แผนภูมิที่  4.6  แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีพฤติกรรมเคยเข้าเรียนสาย 1 – 2 ครั้งต่อ  ภาคเรียน จากตารางที่  4.6  และแผนภูมิที่  4.6  พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่มีพฤติกรรมเคยเข้าเรียนสาย 1 – 2 ครั้งต่อภาคเรียน   ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่    3  จำนวน  48  คน  คิดเป็นร้อยละ  36.4  รองลงมานักศึกษาชั้นปีที่  4  จำนวน  46  คน  คิดเป็นร้อยละ  34.8  ลำดับถัดมานักศึกษาชั้นปีที่    2  จำนวน  33  คน  คิดเป็นร้อยละ  25  และลำดับสุดท้ายคือนักศึกษาชั้นปีที่  1  จำนวน  5  คน  คิดเป็นร้อยละ  3.8
ตารางที่  4.7  แสดงค่าความถี่และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีพฤติกรรมเคยเข้าเรียนสาย  3 – 4  ต่อภาคเรียน  
แผนภูมิที่  4.7  แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีพฤติกรรมเคยเข้าเรียนสาย 3 – 4 ครั้งต่อภาคเรียน จากตารางที่  4.7  และแผนภูมิที่  4.7  พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เคยเข้าเรียนสาย     3 – 4 ครั้งต่อภาคเรียน  เป็นนักศึกษาชั้นปีที่    3  และนักศึกษาชั้นปีที่  4    จำนวน  14  คน  คิดเป็น ร้อยละ  31.8  รองลงมานักศึกษาชั้นปีที่  2  จำนวน  12  คน  คิดเป็นร้อยละ  27.3  และลำดับสุดท้ายคือนักศึกษาชั้นปีที่  1  จำนวน  4  คน  คิดเป็นร้อยละ  9.1
ตารางที่  4.8  แสดงค่าความถี่และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีพฤติกรรมเคยเข้าเรียนสายมากกว่า 5  ครั้ง ต่อภาคเรียน
แผนภูมิที่  4.8  แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีพฤติกรรมเคยเข้าเรียนสายมากกว่า 5 ครั้ง 	   ต่อภาคเรียน จากตารางที่  4.8  และแผนภูมิที่  4.8  พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เคยเข้าเรียนสายมากกว่า  5  ครั้ง ต่อภาคเรียน  เป็นนักศึกษาชั้นปีที่    4  จำนวน  6  คน  คิดเป็นร้อยละ  37.5  รองลงมานักศึกษาชั้นปีที่  2  และนักศึกษาชั้นปีที่  3  จำนวน  4  คน  คิดเป็นร้อยละ  25  และลำดับสุดท้ายคือนักศึกษาชั้นปีที่  1 จำนวน  2  คน  คิดเป็นร้อยละ  12.5
ตอนที่  2  ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  ปรากฏผลตามตารางที่ 4.5 ดังนี้  ตารางที่ 4.9แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เกี่ยวกับปัญหาการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
	จากตารางที่ 4.9  พบว่า  ปัญหาการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  โดยภาพรวมอยู่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง          มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.53 (S.D = 0.69) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่นักศึกษามีปัญหาการเข้าเรียนไม่ตรงเวลามากที่สุด คือ  เนื้อหาในรายวิชาที่เรียนมีความยุ่งยากไม่น่าสนใจ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.09        (S.D = 0.69)  รองลงมา คือ เรียนไม่ทันเพื่อน และไม่เข้าใจในเนื้อหาวิชา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.81 (S.D = 1.02)  ส่วนข้อที่มีปัญหาน้อยที่สุด คือ มีพฤติกรรมการมาเรียนสายเป็นนิสัย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.18 (S.D = 1.02) ตอนที่  3  ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับสาเหตุของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  ปรากฏผลตามตารางที่ 4.6 ดังนี้
ตารางที่ 4.10 แสดงความถี่ เกี่ยวกับสาเหตุของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
จากตารางที่ 4.10  พบว่า สาเหตุของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เรียงตามลำดับได้ดังนี้ นอนตื่นสาย มีจำนวนความถี่เท่ากับ 128  รองลงมา คือ ยานพาหนะเกิดการขัดข้องขณะเดินทางมาเรียน  มีจำนวนความถี่เท่ากับ 104  ลำดับถัดมา  คือ  ทำงานที่อาจารย์สั่งไม่เสร็จ  มีจำนวนความถี่เท่ากับ 78  ส่วนข้อที่มีจำนวนความถี่น้อยที่สุด คือ  มีนัดโดยลืมดูเวลาเรียน  มีจำนวนความถี่เท่ากับ 16
ตารางที่  4.11  แสดงค่าความถี่และค่าร้อยละของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  จากสาเหตุนอนตื่นสาย  
แผนภูมิที่  4.11  แสดงค่าร้อยละของของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์   จากสาเหตุนอนตื่นสาย จากตารางที่  4.11  และแผนภูมิที่  4.11  พบว่าสาเหตุของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  จากสาเหตุการนอนตื่นสาย  เรียงตามลำดับได้ดังนี้  นักศึกษาชั้นปีที่  3  จำนวนความถี่เท่ากับ  45    คิดเป็นร้อยละ  35.2  รองลงมา  คือ  นักศึกษาชั้นปีที่  4  จำนวนความถี่เท่ากับ    42   ลำดับถัดมา  คือ  นักศึกษาชั้นปีที่  2  จำนวนความถี่เท่ากับ    32  คน  คิดเป็นร้อยละ  25  และลำดับสุดท้าย  คือ  นักศึกษาชั้นปีที่  1  จำนวนความถี่เท่ากับ  7  คิดเป็นร้อยละ  7
ตารางที่  4.12  แสดงค่าความถี่และค่าร้อยละของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  จากสาเหตุยานพาหนะเกิดการขัดข้องขณะเดินทางมาเรียน
แผนภูมิที่  4.12  แสดงค่าร้อยละของของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  จากสาเหตุยานพาหนะเกิดการขัดข้องขณะเดินทางมาเรียน จากตารางที่  4.12  และแผนภูมิที่  4.12  พบว่าสาเหตุของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  จากสาเหตุยานพาหนะเกิดการขัดข้องขณะเดินทางมาเรียน   เรียงตามลำดับได้ดังนี้  นักศึกษาชั้นปีที่  4  จำนวนความถี่เท่ากับ  42    คิดเป็นร้อย  40.38 รองลงมา  คือ  นักศึกษาชั้นปีที่  3  จำนวนความถี่เท่ากับ    40  คิดเป็นร้อยละ  38.46     ลำดับถัดมา  คือ  นักศึกษาชั้นปีที่  2  จำนวนความถี่เท่ากับ    20   คิดเป็นร้อยละ  19.23  และลำดับสุดท้าย  คือ  นักศึกษาชั้นปีที่  1  จำนวนความถี่เท่ากับ  2  คิดเป็นร้อยละ  1.93
ตารางที่  4.13  แสดงค่าความถี่และค่าร้อยละของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาพลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  จากสาเหตุทำงานที่อาจารย์สั่งไม่เสร็จ  
แผนภูมิที่  4.13  แสดงค่าร้อยละของของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  จากสาเหตุทำงานที่อาจารย์สั่งไม่เสร็จ จากตารางที่  4.13  และแผนภูมิที่  4.13  พบว่าสาเหตุของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  จากสาเหตุทำงานที่อาจารย์สั่งไม่เสร็จ   เรียงตามลำดับได้ดังนี้  นักศึกษาชั้นปีที่  4  จำนวนความถี่เท่ากับ  33    คิดเป็นร้อยละ  42.30  รองลงมา  คือ  นักศึกษาชั้นปีที่  3  จำนวนความถี่เท่ากับ    29  คิดเป็นร้อยละ 37.16   ลำดับถัดมา  คือ  นักศึกษาชั้นปีที่  2  จำนวนความถี่เท่ากับ    14   คิดเป็นร้อยละ  17.94  และลำดับสุดท้าย  คือ  นักศึกษาชั้นปีที่  1  จำนวนความถี่เท่ากับ  2  คิดเป็นร้อยละ  2.6
ตารางที่  4.14  แสดงค่าความถี่และค่าร้อยละของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  จากสาเหตุจำเวลาเรียนในรายวิชาไม่ได้
แผนภูมิที่  4.14  แสดงค่าร้อยละของของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  จากสาเหตุจำเวลาเรียนในรายวิชาไม่ได้ จากตารางที่  4.14  และแผนภูมิที่  4.14  พบว่าสาเหตุของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  จากสาเหตุจำเวลาเรียนในรายวิชาไม่ได้   เรียงตามลำดับได้ดังนี้  นักศึกษาชั้นปีที่  4  จำนวนความถี่เท่ากับ  20    คิดเป็นร้อยละ  40  รองลงมา  คือ  นักศึกษาชั้นปีที่  3  จำนวนความถี่เท่ากับ    15  คิดเป็นร้อยละ  30   ลำดับถัดมา  คือ  นักศึกษาชั้นปีที่  2  จำนวนความถี่เท่ากับ    14  คิดเป็นร้อยละ  28  และลำดับสุดท้าย  คือ  นักศึกษาชั้นปีที่  1  จำนวนความถี่เท่ากับ  1  คิดเป็นร้อยละ  2
ตารางที่  4.15  แสดงค่าความถี่และค่าร้อยละของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  จากสาเหตุไม่ได้เผื่อเวลารับประทานอาหาร
แผนภูมิที่  4.15  แสดงค่าร้อยละของของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  จากสาเหตุไม่ได้เผื่อเวลารับประทานอาหาร   จากตารางที่  4.15  และแผนภูมิที่  4.15  พบว่าสาเหตุของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  จากสาเหตุไม่ได้เผื่อเวลารับประทานอาหาร เรียงตามลำดับได้ดังนี้  นักศึกษาชั้นปีที่  4  จำนวนความถี่เท่ากับ  20    คิดเป็นร้อยละ  40  รองลงมา  คือ  นักศึกษาชั้นปีที่  2  จำนวนความถี่เท่ากับ    15  คิดเป็นร้อยละ  30   ลำดับถัดมา  คือ  นักศึกษาชั้นปีที่  3  จำนวนความถี่เท่ากับ    14  คิดเป็นร้อยละ  28  และลำดับสุดท้าย  คือ  นักศึกษาชั้นปีที่  1  จำนวนความถี่เท่ากับ  1  คิดเป็นร้อยละ  2
ตารางที่  4.16  แสดงค่าความถี่และค่าร้อยละของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  จากสาเหตุจำตารางเรียนผิด
แผนภูมิที่  4.16  แสดงค่าร้อยละของของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  จากสาเหตุจำตารางเรียนผิด จากตารางที่  4.16  และแผนภูมิที่  4.16  พบว่าสาเหตุของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  จากสาเหตุจำตารางเรียนผิด   เรียงตามลำดับได้ดังนี้  นักศึกษาชั้นปีที่  4  จำนวนความถี่เท่ากับ  18    คิดเป็นร้อยละ  40  รองลงมา  คือ  นักศึกษาชั้นปีที่ 3  จำนวนความถี่เท่ากับ    15  คิดเป็นร้อยละ  33.33   ลำดับถัดมา  คือ  นักศึกษาชั้นปีที่  2  จำนวนความถี่เท่ากับ    10  คิดเป็นร้อยละ  22.23  และลำดับสุดท้าย  คือ  นักศึกษาชั้นปีที่  1  จำนวนความถี่เท่ากับ  2  คิดเป็นร้อยละ  4.44
ตารางที่  4.17  แสดงค่าความถี่และค่าร้อยละของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  จากสาเหตุต้องไปรับเพื่อน (แฟน) มาเรียนด้วยแต่เพื่อนยังแต่งกายไม่เสร็จ
แผนภูมิที่  4.17  แสดงค่าร้อยละของของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  จากสาเหตุต้องไปรับเพื่อน (แฟน) มาเรียนด้วย แต่เพื่อนยังแต่งกายไม่เสร็จ จากตารางที่  4.17  และแผนภูมิที่  4.17  พบว่าสาเหตุของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  จากสาเหตุต้องไปรับเพื่อน (แฟน) มาเรียนด้วยแต่เพื่อนยังแต่งกายไม่เสร็จ   เรียงตามลำดับได้ดังนี้  นักศึกษาชั้นปีที่  4  จำนวนความถี่เท่ากับ  16    คิดเป็นร้อยละ  42.10  รองลงมา  คือ  นักศึกษาชั้นปีที่  3  จำนวนความถี่เท่ากับ    13  คิดเป็นร้อยละ  34.22   ลำดับถัดมา  คือ  นักศึกษาชั้นปีที่  2  จำนวนความถี่เท่ากับ   8   คิดเป็น  ร้อยละ  21.05  และลำดับสุดท้าย  คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1  จำนวนความถี่เท่ากับ  1  คิดเป็นร้อยละ  2.63
ตารางที่  4.18  แสดงค่าความถี่และค่าร้อยละของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  จากสาเหตุชุดเครื่องแต่งกายไม่พร้อม
แผนภูมิที่  4.18  แสดงค่าร้อยละของของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  จากสาเหตุชุดเครื่องแต่งกายไม่พร้อม   จากตารางที่  4.18  และแผนภูมิที่  4.18  พบว่าสาเหตุของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  จากสาเหตุชุดเครื่องแต่งกายไม่พร้อม เรียงตามลำดับได้ดังนี้  นักศึกษาชั้นปีที่  4  จำนวนความถี่เท่ากับ  14    คิดเป็นร้อยละ  41.18  รองลงมา  คือ  นักศึกษาชั้นปีที่  3  จำนวนความถี่เท่ากับ   12  คิดเป็นร้อยละ  35.5 ตามลำดับ
ตารางที่  4.19  แสดงค่าความถี่และค่าร้อยละของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  จากสาเหตุอุปกรณ์การเรียนไม่พร้อม
แผนภูมิที่  4.19  แสดงค่าร้อยละของของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  จากสาเหตุอุปกรณ์การเรียนไม่พร้อม จากตารางที่  4.19  และแผนภูมิที่  4.19  พบว่าสาเหตุของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  จากสาเหตุอุปกรณ์การเรียนไม่พร้อม  เรียงตามลำดับได้ดังนี้  นักศึกษาชั้นปีที่  4  จำนวนความถี่เท่ากับ  14    คิดเป็นร้อยละ  48.27  รองลงมา  คือ  นักศึกษาชั้นปีที่  3  จำนวนความถี่เท่ากับ    9  คิดเป็นร้อยละ 31.03   ลำดับถัดมา  คือ  นักศึกษาชั้นปีที่  2  จำนวนความถี่เท่ากับ    6   คิดเป็นร้อยละ  20.7 ตามลำดับ
ตารางที่  4.20  แสดงค่าความถี่และค่าร้อยละของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  จากสาเหตุมีนัดโดยลืมดูเวลาเรียน
แผนภูมิที่  4.20  แสดงค่าร้อยละของของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์   จากสาเหตุมีนัดโดยลืมดูเวลาเรียน จากตารางที่  4.20  และแผนภูมิที่  4.20  พบว่าสาเหตุของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  จากสาเหตุมีนัดโดยลืมดูเวลาเรียน เรียงตามลำดับได้ดังนี้  นักศึกษาชั้นปีที่  4  และนักศึกษาชั้นปีที่  3    จำนวนความถี่เท่ากับ  6    คิดเป็นร้อยละ  37.5  รองลงมา  คือ  นักศึกษาชั้นปีที่  2  จำนวนความถี่เท่ากับ    25  และลำดับสุดท้าย  คือ  นักศึกษาชั้นปีที่  1  จำนวนความถี่เท่ากับ  0  คิดเป็นร้อยละ  0
 ตอนที่ 4 ข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากการรวบรวมข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นอื่น ๆ เพิ่มเติม สามารถสรุปได้ดังนี้ 	1.  อาจารย์ให้งานเยอะ ปัญหาคือทำไม่ทัน และเสียค่าใช้จ่ายมาก 	2.  การเที่ยวกลางคืนดึกเกินไปมีผลทำให้ตื่นสาย และไม่อยากไปเรียน 	3.  เนื้อหาในบางรายวิชายากเกินไป 	4.  เนื้อหาในบางรายวิชาน่าเบื่อหน่าย ไม่น่าสนใจ  	5.  อาจารย์บางท่านสอนไม่เข้าใจ อยากให้ปรับเปลี่ยนวิธีสอนที่อธิบายให้เข้าใจกว่านี้ 	6.  อยากให้มีสื่อการสอนที่หลากหลาย และจำนวนเพียงพอกับนักศึกษา  
สรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ สรุปผลการวิจัย  	จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาปัญหาและพฤติกรรมการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา  ชั้นปีที่ 1-4  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  สรุปผลการวิจัย  ได้ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า  ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 193  คน  คิดเป็นร้อยละ 80.40  รองลงมาเป็นเพศหญิง จำนวน 47  คน คิดเป็นร้อยละ 19.60  ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ  18 – 20ปี  จำนวน 165  คน คิดเป็นร้อยละ 68.80  รองลงมาอยู่ในช่วงอายุ 21 – 34 ปี จำนวน 73 คน คิดเป็นร้อยละ 30.40 ส่วนอายุผู้ตอบแบบสอบถามที่มีจำนวนน้อยที่สุดคือ อายุ 25 ปีขึ้นไป จำนวน   2  คน  คิดเป็นร้อยละ 0.80  ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา    ชั้นปีที่ 1 จำนวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 41.70  รองลงมาเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 29.20
และลำดับถัดมาเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 18.30              ส่วนชั้นปีที่มีจำนวนนักศึกษาตอบแบบสอบถามน้อยที่สุด คือ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 26  คน  คิดเป็น     ร้อยละ 10.80   และนักศึกษาส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการเข้าเรียนสาย 1 – 2  ครั้งต่อภาคเรียน จำนวน 132  คน คิดเป็นร้อยละ 55.00 รองลงมามีพฤติกรรมไม่เคยเข้าเรียนสายเลย  จำนวน 48 คน  คิดเป็นร้อยละ 20.00 ลำดับถัดมานักศึกษามีพฤติกรรมการเข้าเรียนสาย 3 – 4  ครั้งต่อภาคเรียน จำนวน 44 คนคิดเป็นร้อยละ 18.30  ส่วนพฤติกรรมนักศึกษาที่เคยเข้าเรียนสายมากกว่า 5 ครั้ง ต่อภาคเรียนมีจำนวนน้อยที่สุด  จำนวน  16 คน คิดเป็นร้อยละ 6.70
	2.  ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับการศึกษาปัญหาและพฤติกรรมการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา  ชั้นปีที่ 1-4  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  พบว่า             โดยภาพรวมนักศึกษามีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.53 (S.D = 0.69) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่นักศึกษามีปัญหาการเข้าเรียนไม่ตรงเวลามากที่สุด คือ  เนื้อหาในรายวิชาที่เรียนมีความยุ่งยากไม่น่าสนใจ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.09 (S.D = 0.69)  รองลงมา คือ เรียนไม่ทันเพื่อน และไม่เข้าใจในเนื้อหาวิชา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.81 (S.D = 1.02)  ส่วนข้อที่มีปัญหาน้อยที่สุด คือ มีพฤติกรรมการมาเรียนสายเป็นนิสัย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.18 (S.D = 1.02)  และสาเหตุของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เรียงตามลำดับได้ดังนี้     นอนตื่นสาย มีจำนวนความถี่เท่ากับ 128  รองลงมา คือ ยานพาหนะเกิดการขัดข้องขณะเดินทางมาเรียน  มีจำนวนความถี่เท่ากับ 104  ลำดับถัดมา  คือ  ทำงานที่อาจารย์สั่งไม่เสร็จ  มีจำนวนความถี่เท่ากับ 78  ส่วนข้อที่มีจำนวนความถี่น้อยที่สุด คือ  มีนัดโดยลืมดูเวลาเรียน  มีจำนวนความถี่เท่ากับ 16
	อภิปรายผล 	จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล การศึกษาปัญหาและพฤติกรรมการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา  ชั้นปีที่ 1-4  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  ผลการศึกษาประเด็นที่นำมาอภิปรายผล ดังนี้  	จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาปัญหาและพฤติกรรมการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา  ชั้นปีที่ 1-4  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยภาพรวมนักศึกษามีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง  เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่นักศึกษามีปัญหาการเข้าเรียนไม่ตรงเวลามากที่สุด คือ  เนื้อหาในรายวิชาที่เรียนมีความยุ่งยากไม่น่าสนใจ รองลงมา คือ เรียนไม่ทันเพื่อน และไม่เข้าใจในเนื้อหาวิชา  ส่วนข้อที่มีปัญหาน้อยที่สุด คือ มีพฤติกรรมการมาเรียนสายเป็นนิสัย  และสาเหตุของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา  พลศึกษา  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เรียงตามลำดับได้ดังนี้  นอนตื่นสาย รองลงมา คือ ยานพาหนะเกิดการขัดข้องขณะเดินทางมาเรียน  ลำดับถัดมา  คือ  ทำงานที่อาจารย์สั่งไม่เสร็จ  ส่วนข้อที่มีจำนวนความถี่น้อยที่สุด คือ  มีนัดโดยลืมดูเวลาเรียน  ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปัญหาและสาเหตุการเข้าเรียนของนักศึกษานั้น มีปัจจัยหลาย ๆ ด้านประกอบกัน
ทั้งที่เป็นพฤติกรรมส่วนตัวของนักศึกษาเอง และเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของคณาจารย์ในมหาวิทยาลัย และองค์ประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน  ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้สอดคล้องกับผลการศึกษาของ ประมวล อรรถพงษ์  (2548 : 90-93)  ได้ศึกษาการพัฒนาดำเนินงานเสริมสร้างการมีวินัยของนักเรียนโรงเรียนโคกศรีเมือง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ สภาพปัญหาที่พบ คือ ปัญหานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีพฤติกรรมขาดความมีวินัยด้านการตรงต่อเวลา 3 ด้านคือ การมาโรงเรียน การเข้าเรียน การเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นไม่ตรงต่อเวลาและประพฤติผิดวินัยด้านการแต่งกาย คิดเป็นร้อยละ 15.92 ซึ่งประกอบด้วย การปล่อยเสื้อลอยชายไว้ผมยาว ใส่รองเท้าผิดระเบียบ ซึ่งถือเป็นปัญหาอย่างมาก ผู้ศึกษาได้จัดให้กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าและครูในโรงเรียนไปศึกษาดูงาน การจัดกิจกรรมเสริมสร้างความมีวินัยของนักเรียนโรงเรียนไทรงามพิทยาคม แล้วนำมาประชุมระดมสมองเพื่อกำหนดกิจกรรมการพัฒนาเสริมสร้างความมีวินัยของนักเรียน ได้จัดกิจรรมที่เหมาะสม 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมโฮมรูม กิจกรรมสวยด้วยมือเรากิจกรรมเชิดชูคนดีศรีสถาบัน และการนำกลยุทธ์นิเทศติดตามมาใช้ในการติดตามผลการจัดกิจกรรมซึ่งผลการพัฒนาทำให้นักเรียนมีวินัยด้านการตรงต่อเวลา และวินัยด้านการแต่งกายดีขึ้น
ส่งผลต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับผลการวิจัยของ  คัทรียา  ประกอบผล  (2551 : บทคัดย่อ)  การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาปัญหาการเข้าชั้นเรียนที่ไม่ตรงเวลาของนักศึกษาชั้นปีที่   1  สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย  คณะศิลปนาฏดุริยางค์  สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์  ประจำภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา  2551  ซึ่งจากการศึกษาวิจัยพบว่าประเด็นปัญหาที่สำคัญคือการเข้าชั้นเรียนที่ไม่ตรงเวลา  ทำให้เกิดปัญหาในการฝึกปฏิบัติวิชาทักษะนาฏศิลป์  ผู้วิจัยจึงดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการกำหนดข้อตกลงในการเข้าชั้นเรียนที่ตรงเวลา  เพื่อเป็นการปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรม  ในเรื่องการตรงต่อเวลาให้กับนักศึกษาและทำให้นักศึกษาได้เห็นถึงประโยชน์ของการเป็นผู้ตรงต่อเวลาต่อไป  สอดคล้องกับผลการศึกษาของ กฤษดา อุดมธนธีระ (2549 : 80-82) ได้ศึกษาการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างวินัยนักศึกษาด้านการตรงต่อเวลา ในการเข้าร่วมกิจกรรมหน้าเสาธง และการร่วมกิจกรรมเข้าชั้นเรียนในแต่ละรายวิชา ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคยโสธร อำเภอเมือง จังหวัดยโสธรโดยใช้กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการ การปลูกฝังความรับผิดชอบการมีวินัยในขณะที่ทำการสอนและการนิเทศภายใน ทำให้นักศึกษากลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
นักศึกษามีการพัฒนาที่ดีขึ้นทุกคน กลุ่มที่เคยมีปัญหาไม่มีพฤติกรรมให้เห็นบ่อย ถือว่าการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างวินัยนักศึกษาด้านการตรงต่อเวลาประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง ทำให้วิทยาลัยสามารถจัดกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียน ให้เป็นคนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อสังคม  สอดคล้องกับผลการศึกษาของ  สงัด หงส์พันธ์  (2549 : 59-99)  ได้ศึกษาการพัฒนาการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนด้านการตรงต่อเวลา โรงเรียนเทศบาลวัดบูรพาภิราม อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ดก่อนการพัฒนาพบปัญหาการขาดความมีวินัยในตนเองด้านการตรงต่อเวลาของนักเรียน ทำให้นักเรียนเดินทางมาโรงเรียนไม่ทันที่ครูกำหนด และส่งงานไม่ตรงตามที่ครูมอบหมาย และการเข้าเรียนไม่ตรงเวลาในภาคบ่ายของแต่ละวัน ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนเป็นอย่างมากจึงดำเนินการพัฒนาใน 3 ด้านคือ ด้านการมาโรงเรียนทันเวลา ด้านการทำงานให้เสร็จทันเวลานัดหมาย และด้านการเข้าเรียน
โดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการ 2 วงรอบ โดยใช้กลยุทธ์การประชุมสัมมนา จัดกิจกรรมสอดแทรกความมีวินัยในตนเอง และการนิเทศการสอน ผลการพัฒนาพบว่า นักเรียนได้รับการพัฒนาส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ทำให้นักเรียนมีความตรงต่อเวลาดีขึ้น และยังสอดคล้องกับผลการวิจัยของสิริวดี พรหมน้อย  (2550 : บทคัดย่อ)  ได้ทำการวิจัยการแก้ไขปัญหาการเข้าชั้นเรียนไม่ตรงเวลาของนักศึกษาชีววิทยาประยุกต์ ชั้นปีที่ 3 โดยใช้วิธีการกำหนดข้อตกลงเบื้องต้น สำหรับนักศึกษาที่เรียนวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ  ผลการวิจัยพบว่าพบว่า ภายหลังจากที่นักศึกษาได้รับทราบข้อตกลงเบื้องต้น นักศึกษาทุกคน  (ร้อยละ 100)  สามารถพัฒนาตนเองเข้าชั้นเรียนได้ตรงเวลาตั้งแต่สัปดาห์ที่ 9 เป็นต้นไป
ข้อเสนอแนะของการวิจัย 	1.ผลการศึกษาในครั้งนี้  ได้ชี้ให้เห็นว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องการมาเรียนไม่ตรงเวลาอาจเกิดจากปัญหาส่วนตัวและการบริหารเวลาไม่ถูกต้อง 	2.  ควรนำข้อมูลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้  ไปใช้ในการปรับปรุงส่งเสริมและพัฒนาพฤติกรรมการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ชั้นปีที่ 1-4  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์    ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยในครั้งต่อไป   	1.  ควรมีการศึกษาปัญหาและพฤติกรรมการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาวิชาอื่น ๆ  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 	2.  ควรมีการเปรียบเทียบปัญหาและพฤติกรรมการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาวิชาอื่น ๆ  มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์   
ภาคผนวก
จบการนำเสนอ

More Related Content

What's hot

วิจัยในชั้นเรียน ครูคิว2
วิจัยในชั้นเรียน ครูคิว2วิจัยในชั้นเรียน ครูคิว2
วิจัยในชั้นเรียน ครูคิว2
Aroonswat
 
เด็กไม่ส่งการบ้าน
เด็กไม่ส่งการบ้านเด็กไม่ส่งการบ้าน
เด็กไม่ส่งการบ้าน
aapiaa
 
03การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้
03การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ 03การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้
03การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้
JeeraJaree Srithai
 
วิจัยสำรวจทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาการงานอาชีพ
วิจัยสำรวจทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาการงานอาชีพวิจัยสำรวจทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาการงานอาชีพ
วิจัยสำรวจทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาการงานอาชีพ
Kamolthip Boonpo
 
วิจัยสุขศึกษา
วิจัยสุขศึกษาวิจัยสุขศึกษา
วิจัยสุขศึกษา
an1030
 
มคอ.3 ชีวเคมีพื้นฐาน ภาคปลาย55
มคอ.3 ชีวเคมีพื้นฐาน  ภาคปลาย55มคอ.3 ชีวเคมีพื้นฐาน  ภาคปลาย55
มคอ.3 ชีวเคมีพื้นฐาน ภาคปลาย55
ไชยยา มะณี
 

What's hot (20)

วิจัยในชั้นเรียน ครูคิว2
วิจัยในชั้นเรียน ครูคิว2วิจัยในชั้นเรียน ครูคิว2
วิจัยในชั้นเรียน ครูคิว2
 
งานนำเสนอ วิพากษ์งานวิจัย
งานนำเสนอ วิพากษ์งานวิจัยงานนำเสนอ วิพากษ์งานวิจัย
งานนำเสนอ วิพากษ์งานวิจัย
 
เด็กไม่ส่งการบ้าน
เด็กไม่ส่งการบ้านเด็กไม่ส่งการบ้าน
เด็กไม่ส่งการบ้าน
 
วิจัยในชั้นเรียน วิทยาศาสตร์
วิจัยในชั้นเรียน วิทยาศาสตร์วิจัยในชั้นเรียน วิทยาศาสตร์
วิจัยในชั้นเรียน วิทยาศาสตร์
 
ม.ค.อ.3เหตุการณ์โลกฯ 2 52557(2558)
ม.ค.อ.3เหตุการณ์โลกฯ 2 52557(2558)ม.ค.อ.3เหตุการณ์โลกฯ 2 52557(2558)
ม.ค.อ.3เหตุการณ์โลกฯ 2 52557(2558)
 
03การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้
03การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ 03การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้
03การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้
 
วิจัยสำรวจทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาการงานอาชีพ
วิจัยสำรวจทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาการงานอาชีพวิจัยสำรวจทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาการงานอาชีพ
วิจัยสำรวจทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาการงานอาชีพ
 
วิจัยในชั้นเรียนเรื่องการไม่ส่งการบ้านวิชาฟิสิกส์
วิจัยในชั้นเรียนเรื่องการไม่ส่งการบ้านวิชาฟิสิกส์วิจัยในชั้นเรียนเรื่องการไม่ส่งการบ้านวิชาฟิสิกส์
วิจัยในชั้นเรียนเรื่องการไม่ส่งการบ้านวิชาฟิสิกส์
 
ความพึงพอใจในการใช้บริการห้องสมุด
ความพึงพอใจในการใช้บริการห้องสมุดความพึงพอใจในการใช้บริการห้องสมุด
ความพึงพอใจในการใช้บริการห้องสมุด
 
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัยมคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
 
Casestudy การศึกษารายกรณี
Casestudy การศึกษารายกรณีCasestudy การศึกษารายกรณี
Casestudy การศึกษารายกรณี
 
การวิจัยในชั้นเรียน
การวิจัยในชั้นเรียนการวิจัยในชั้นเรียน
การวิจัยในชั้นเรียน
 
พฤติกรรมมาโรงเรียนสาย
พฤติกรรมมาโรงเรียนสายพฤติกรรมมาโรงเรียนสาย
พฤติกรรมมาโรงเรียนสาย
 
วิธีสอนวิทยาศาสตร์
วิธีสอนวิทยาศาสตร์วิธีสอนวิทยาศาสตร์
วิธีสอนวิทยาศาสตร์
 
วิจัยในชั้นเรียน ครู เจี๊ยบ
วิจัยในชั้นเรียน ครู เจี๊ยบวิจัยในชั้นเรียน ครู เจี๊ยบ
วิจัยในชั้นเรียน ครู เจี๊ยบ
 
วิจัยสุขศึกษา
วิจัยสุขศึกษาวิจัยสุขศึกษา
วิจัยสุขศึกษา
 
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ.3 2/2557
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ.3 2/2557ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ.3 2/2557
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ.3 2/2557
 
วิจัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558
วิจัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558วิจัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558
วิจัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558
 
วิจัยNew2556
วิจัยNew2556วิจัยNew2556
วิจัยNew2556
 
มคอ.3 ชีวเคมีพื้นฐาน ภาคปลาย55
มคอ.3 ชีวเคมีพื้นฐาน  ภาคปลาย55มคอ.3 ชีวเคมีพื้นฐาน  ภาคปลาย55
มคอ.3 ชีวเคมีพื้นฐาน ภาคปลาย55
 

Similar to งานนำเสนอวิจัย(แฟ้มงาน)

Pptวิชาเทคโน
PptวิชาเทคโนPptวิชาเทคโน
Pptวิชาเทคโน
Uraiwan Bunnuang
 
สารนิพนธ์02
สารนิพนธ์02สารนิพนธ์02
สารนิพนธ์02
Wes Yod
 
Supattra s
Supattra sSupattra s
Supattra s
peerapit
 
แผนจัดการเรียนรู้ที่ 01
แผนจัดการเรียนรู้ที่ 01แผนจัดการเรียนรู้ที่ 01
แผนจัดการเรียนรู้ที่ 01
witthawat silad
 
แผนจัดการเรียนรู้ที่ 02
แผนจัดการเรียนรู้ที่ 02แผนจัดการเรียนรู้ที่ 02
แผนจัดการเรียนรู้ที่ 02
witthawat silad
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9
tum17082519
 

Similar to งานนำเสนอวิจัย(แฟ้มงาน) (20)

7บทที่3
7บทที่3 7บทที่3
7บทที่3
 
Mko3 ปฏิบัติการหลักชีววิทยา
Mko3 ปฏิบัติการหลักชีววิทยาMko3 ปฏิบัติการหลักชีววิทยา
Mko3 ปฏิบัติการหลักชีววิทยา
 
Pptวิชาเทคโน
PptวิชาเทคโนPptวิชาเทคโน
Pptวิชาเทคโน
 
สารนิพนธ์02
สารนิพนธ์02สารนิพนธ์02
สารนิพนธ์02
 
Mko3 หลักชีววิทยา
Mko3 หลักชีววิทยาMko3 หลักชีววิทยา
Mko3 หลักชีววิทยา
 
การประเมินสถานศึกษา
การประเมินสถานศึกษาการประเมินสถานศึกษา
การประเมินสถานศึกษา
 
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊ค
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊คการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊ค
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊ค
 
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊ค
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊คการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊ค
การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยการเขียนบันทึกสนทนาโต้ตอบผ่านทางเฟสบุ๊ค
 
การวิจัยสถาบัน
การวิจัยสถาบันการวิจัยสถาบัน
การวิจัยสถาบัน
 
Supattra s
Supattra sSupattra s
Supattra s
 
วิธีการเขียนวิจัยในชั้นเรียน
วิธีการเขียนวิจัยในชั้นเรียนวิธีการเขียนวิจัยในชั้นเรียน
วิธีการเขียนวิจัยในชั้นเรียน
 
PPT อ.สกลชัย
PPT อ.สกลชัยPPT อ.สกลชัย
PPT อ.สกลชัย
 
079466 วิจัย สิทธิชัย ไชยรัตน์
079466 วิจัย สิทธิชัย ไชยรัตน์079466 วิจัย สิทธิชัย ไชยรัตน์
079466 วิจัย สิทธิชัย ไชยรัตน์
 
แผนจัดการเรียนรู้ที่ 01
แผนจัดการเรียนรู้ที่ 01แผนจัดการเรียนรู้ที่ 01
แผนจัดการเรียนรู้ที่ 01
 
บทคัดย่อทานิน
บทคัดย่อทานินบทคัดย่อทานิน
บทคัดย่อทานิน
 
ประเมินหลักสูตร
ประเมินหลักสูตรประเมินหลักสูตร
ประเมินหลักสูตร
 
Chapter 3 fixed to print
Chapter 3 fixed to printChapter 3 fixed to print
Chapter 3 fixed to print
 
แผนจัดการเรียนรู้ที่ 02
แผนจัดการเรียนรู้ที่ 02แผนจัดการเรียนรู้ที่ 02
แผนจัดการเรียนรู้ที่ 02
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9
 
นำเสนอวิจัยวิทยฐานะ
นำเสนอวิจัยวิทยฐานะนำเสนอวิจัยวิทยฐานะ
นำเสนอวิจัยวิทยฐานะ
 

งานนำเสนอวิจัย(แฟ้มงาน)

  • 1. การวิจัยทางพลศึกษา เรื่อง การศึกษาปัญหาและพฤติกรรมการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ A Study of Problems and Behaviors of Unpunctual Classroom Attendance of Physical Education Students at Faculty of Education, BuriramRajabhat University สุเมธ อ่างสุวรรณ
  • 2. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ทราบถึงปัญหาการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2. เพื่อทราบพฤติกรรมความไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • 3. ขอบเขตของการวิจัย 1.ขอบเขตด้านเนื้อหา การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัญหาและพฤติกรรมการไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2.1 ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 สาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2553 จำนวน 367 คน 2.2 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบระดับชั้นจากประชากรที่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1- 4 สาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2553 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 240 คน
  • 4. 3. ตัวแปร ตัวแปรที่ศึกษามีดังนี้ 3.1 ตัวแปรอิสระ คือ ข้อมูลทั่วไปของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2553ได้แก่ 3.1.1 เพศ 3.1.2 อายุ 3.1.3 การศึกษา 3.1.4 ระดับชั้นปีการศึกษา 3.2 ตัวแปรตาม คือ ปัญหาและพฤติกรรมการไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษา สาขาวิชาพลศึกษา ชั้นปีที่ 1- 4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2553 4. ระยะเวลาการดำเนินงาน ในการศึกษาในครั้งนี้ ใช้เวลาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553
  • 5. ประโยชน์ของการวิจัย 1. ได้ทราบถึงปัญหาและพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษา สาขาวิชาพลศึกษา ชั้นปีที่ 1- 4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2. เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดจากการเรียนวิชาพลศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1- 4 สาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 3.นักศึกษามีคุณธรรมจริยธรรมในเรื่องการตรงต่อเวลามากขึ้นและนำไปปรับใช้กับรายวิชาอื่นได้ 4. ผลการวิจัยจะเป็นข้อมูลพื้นฐานให้มหาวิทยาลัยอื่น ๆ นำไปพัฒนา ปรับปรุง และส่งเสริมการเรียนวิชาพลศึกษา ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • 6. นิยามศัพท์เฉพาะ 1.ปัญหา หมายถึง สิ่งที่เป็นอุปสรรคหรือสิ่งที่กีดขวางความสะดวกและประสิทธิภาพของการไม่ตรงต่อเวลา 2 .พฤติกรรม หมายถึง กิริยาของสิ่งมีชีวิตที่แสดงออกมาเพื่อตอบสนอง ต่อสิ่งเร้า อันเป็นไปอย่างเหมาะสมเพื่อการอยู่รอดของชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป 3. สาขาวิชาพลศึกษา หมายถึง นักศึกษาที่กำลังเรียนชั้นปีที่ 1- 4 สาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553
  • 7. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตและกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ 1. ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 สาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2553 จำนวน 367 คน 2. กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบระดับชั้นจากประชากรที่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 - 4 สาขาวิชา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2553 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 240 คน
  • 8. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้ 1. ลักษณะของเครื่องมือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ มีลักษณะเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาและพฤติกรรมการไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ชั้นปีที่ 1-4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้น แบ่งเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 เป็นข้อคำถามเกี่ยวกับรายละเอียดของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา ระดับชั้นปีการศึกษา พฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน ลักษณะเป็นข้อคำถามที่มีรูปแบบเป็นการตรวจสอบรายการ (Check List)
  • 9. ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาและพฤติกรรมการไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ชั้นปีที่ 1-4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ลักษณะของแบบสอบถามเป็นข้อคำถามที่มีรูปแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5ระดับ ซึ่งมีความหมาย ดังนี้ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุดตามลำดับ (ประสิทธิ์ สุวรรณรักษ์. 2542 : 196) กำหนดน้ำหนักคะแนนดังนี้ 5 หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 4 หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 3 หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 2 หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย 1 หมายถึง มีความคิดเห็นศึกษาอยู่ในระดับน้อยที่สุด
  • 10. 2. ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ ผู้วิจัยดำเนินการสร้างแบบสอบถามโดยมีขั้นตอน ดังนี้ 1. ศึกษาค้นคว้าเอกสาร ตำรา บทความ วารสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและพฤติกรรมการไม่ตรงต่อเวลา และวิชาพลศึกษา แล้วนำมาเป็นแนวคิดในการสร้างเครื่องมือ 2. ศึกษาวิธีสร้างแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า เพื่อนำมาเป็นแนวทางการสร้างแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 3. ดำเนินการร่างแบบสอบถามและนำร่างแบบสอบถามเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) ความเที่ยงตรงทางด้านโครงสร้าง (Construct Validity) ความครอบคลุมของข้อคำถาม และความชัดเจนของภาษาที่ใช้ 4. นำแบบสอบถามที่ผ่านการทดลองใช้แล้วไปเก็บรวบรวมข้อมูลต่อไป ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
  • 11. การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการแจกและจัดเก็บรวบรวมแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ด้วยตนเอง จำนวนแบบสอบถามทั้งหมด 240 ฉบับ และได้รับคืนเป็นแบบสอบถามที่สมบูรณ์เพียงพอที่จะทำวิจัยได้โดยได้รับแบบสอบถามคืนทั้งหมด 240 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100.00 การทำวิจัยครั้งนี้ ได้ดำเนินการส่งแบบสอบถามเพื่อศึกษา และทำการเก็บรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอน ดังนี้ 1. ขอความร่วมมือจากนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ชั้นปีที่ 1 – 4 2. นำแบบสอบถามให้กลุ่มตัวอย่างด้วยตนเอง แล้วเก็บรวบรวมแบบสอบถามคืนทั้งหมด 3. นำแบบสอบถามที่ได้รับคืนมาตรวจสอบความสมบูรณ์ ถูกต้อง แล้วนำแบบสอบถามไปดำเนินการวิเคราะห์ต่อไป
  • 12. การวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเรียบร้อย การจัดทำข้อมูลผู้วิจัยได้ดำเนินการ ดังนี้ ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามแต่ละฉบับ กรอกรหัสแบบสอบถาม ประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ การวิเคราะห์ข้อมูล ดำเนินการดังนี้ 1. การศึกษาข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ด้วยการแจกแจงความถี่(Frequency) หาค่าร้อยละ (Percentage) เสนอข้อมูลเป็นตารางแสดงจำนวนและค่าร้อยละ 2. การศึกษาเกี่ยวกับปัญหาและพฤติกรรมการไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษา สาขาวิชา พลศึกษา ชั้นปีที่ 1-5 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ วิเคราะห์ด้วยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เสนอข้อมูลเป็นตารางประกอบความเรียง
  • 13. 3.เกณฑ์การตัดสินผลการวิเคราะห์ข้อมูลของค่าเฉลี่ย ( x ) และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) แบ่งออกเป็น 5 ระดับคือ (บุญชม ศรีสะอาด. 2543 : 163) 4.51 - 5.00 หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด 3.51 - 4.50 หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2.51 - 3.50 หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 1.51 - 2.50 หมายถึง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย 1.00 - 1.50 หมายถึง มีมีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อยที่สุด
  • 14. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ = ในการศึกษาวิจัยเรื่องปัญหาและพฤติกรรมการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ชั้นปีที่ 1-4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย 1.สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิจัย = เมื่อ แทน คะแนนเฉลี่ย แทน ผลรวมทั้งหมดของคะแนน แทน จำนวนคน
  • 15. 1.2 ร้อยละ (Percentasge) ใช้สูตร (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 106)  ผลรวมของคะแนน X 100 คะแนนเต็ม X จำนวนนักเรียน 1.3 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 106)  S.D. = เมื่อ S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แทน ผลรวมทั้งหมดของคะแนนในแต่ละคน แทน ผลรวมทั้งหมดของคะแนนในแต่ละคนยกกำลังสอง แทน จำนวนคนทั้งหมด คะแนนร้อยละ =
  • 16. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาปัญหาและพฤติกรรม การเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ผู้วิจัยได้เสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามหัวข้อดังนี้ 1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 2. ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 3. ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับสาเหตุการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 4. ข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นเพิ่มเติม ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ปรากฏผลตามตารางที่ 4.1 ถึงตารางที่ 4.4 และแผนภูมิที่ 4.1 ถึงแผนภูมิที่ 4.4 ดังนี้
  • 18. แผนภูมิที่ 4.1 แสดงค่าความถี่และร้อยละของข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามเพศ จากตารางที่ 4.1 และแผนภูมิที่ 4.1 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 193 คน คิดเป็นร้อยละ 80.40 รองลงมาเป็นเพศหญิง จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 19.60
  • 20. แผนภูมิที่ 4.2 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามช่วงอายุ จากตารางที่ 4.2 และแผนภูมิที่ 4.2 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 18 – 20 ปี จำนวน 165 คน คิดเป็นร้อยละ 68.80 รองลงมาอยู่ในช่วงอายุ 21 – 34 ปี จำนวน 73 คน คิดเป็นร้อยละ 30.40 ส่วนอายุผู้ตอบแบบสอบถามที่มีจำนวนน้อยที่สุดคือ อายุ 25 ปีขึ้นไป จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.80
  • 22. แผนภูมิที่ 4.3 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามระดับการศึกษา จากตารางที่ 4.3 และแผนภูมิที่ 4.3 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 จำนวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 41.70 รองลงมาเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 29.20 และลำดับถัดมาเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 18.30 ส่วนชั้นปีที่มีจำนวนนักศึกษาตอบแบบสอบถามน้อยที่สุด คือ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 26 คน คิดเป็น ร้อยละ 10.80
  • 23. ตารางที่ 4.4 แสดงค่าความถี่และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามพฤติกรรมการเข้าเรียน
  • 24. แผนภูมิที่ 4.4 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามพฤติกรรมการเข้าเรียน   จากตารางที่ 4.4 และแผนภูมิที่ 4.4 พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการเข้าเรียนสาย 1 – 2 ครั้งต่อภาคเรียน จำนวน 132 คน คิดเป็นร้อยละ 55.00 รองลงมามีพฤติกรรมไม่เคยเข้าเรียนสายเลย จำนวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 20.00 ลำดับถัดมานักศึกษามีพฤติกรรมการเข้าเรียนสาย 3 – 4 ครั้งต่อภาคเรียน จำนวน 44 คนคิดเป็นร้อยละ 18.30 ส่วนพฤติกรรมนักศึกษาที่เคยเข้าเรียนสายมากกว่า 5 ครั้ง ต่อภาคเรียนมีจำนวนน้อยที่สุด จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 6.70
  • 25. ตารางที่ 4.5 แสดงค่าความถี่และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีพฤติกรรมไม่เคยเข้าเรียนสายเลย  
  • 26. แผนภูมิที่ 4.5 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีพฤติกรรมไม่เคยเข้าเรียนสายเลย จากตารางที่ 4.5 และแผนภูมิที่ 4.5 พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ไม่เคยเข้าเรียนสายเลยเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 83.3 รองลงมานักศึกษาชั้นปีที่ 2 และนักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 6.25 และลำดับสุดท้ายคือนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 4.2
  • 27. ตารางที่ 4.6 แสดงค่าความถี่และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีพฤติกรรมเคยเข้าเรียนสาย 1 – 2 ครั้งต่อภาคเรียน  
  • 28. แผนภูมิที่ 4.6 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีพฤติกรรมเคยเข้าเรียนสาย 1 – 2 ครั้งต่อ ภาคเรียน จากตารางที่ 4.6 และแผนภูมิที่ 4.6 พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่มีพฤติกรรมเคยเข้าเรียนสาย 1 – 2 ครั้งต่อภาคเรียน ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 36.4 รองลงมานักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 34.8 ลำดับถัดมานักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 25 และลำดับสุดท้ายคือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 3.8
  • 29. ตารางที่ 4.7 แสดงค่าความถี่และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีพฤติกรรมเคยเข้าเรียนสาย 3 – 4 ต่อภาคเรียน  
  • 30. แผนภูมิที่ 4.7 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีพฤติกรรมเคยเข้าเรียนสาย 3 – 4 ครั้งต่อภาคเรียน จากตารางที่ 4.7 และแผนภูมิที่ 4.7 พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เคยเข้าเรียนสาย 3 – 4 ครั้งต่อภาคเรียน เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 และนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 14 คน คิดเป็น ร้อยละ 31.8 รองลงมานักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 27.3 และลำดับสุดท้ายคือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 9.1
  • 31. ตารางที่ 4.8 แสดงค่าความถี่และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีพฤติกรรมเคยเข้าเรียนสายมากกว่า 5 ครั้ง ต่อภาคเรียน
  • 32. แผนภูมิที่ 4.8 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีพฤติกรรมเคยเข้าเรียนสายมากกว่า 5 ครั้ง ต่อภาคเรียน จากตารางที่ 4.8 และแผนภูมิที่ 4.8 พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เคยเข้าเรียนสายมากกว่า 5 ครั้ง ต่อภาคเรียน เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 37.5 รองลงมานักศึกษาชั้นปีที่ 2 และนักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 25 และลำดับสุดท้ายคือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 12.5
  • 33. ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปรากฏผลตามตารางที่ 4.5 ดังนี้  ตารางที่ 4.9แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เกี่ยวกับปัญหาการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • 34. จากตารางที่ 4.9 พบว่า ปัญหาการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยภาพรวมอยู่มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.53 (S.D = 0.69) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่นักศึกษามีปัญหาการเข้าเรียนไม่ตรงเวลามากที่สุด คือ เนื้อหาในรายวิชาที่เรียนมีความยุ่งยากไม่น่าสนใจ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.09 (S.D = 0.69) รองลงมา คือ เรียนไม่ทันเพื่อน และไม่เข้าใจในเนื้อหาวิชา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.81 (S.D = 1.02) ส่วนข้อที่มีปัญหาน้อยที่สุด คือ มีพฤติกรรมการมาเรียนสายเป็นนิสัย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.18 (S.D = 1.02) ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับสาเหตุของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปรากฏผลตามตารางที่ 4.6 ดังนี้
  • 35. ตารางที่ 4.10 แสดงความถี่ เกี่ยวกับสาเหตุของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • 36. จากตารางที่ 4.10 พบว่า สาเหตุของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เรียงตามลำดับได้ดังนี้ นอนตื่นสาย มีจำนวนความถี่เท่ากับ 128 รองลงมา คือ ยานพาหนะเกิดการขัดข้องขณะเดินทางมาเรียน มีจำนวนความถี่เท่ากับ 104 ลำดับถัดมา คือ ทำงานที่อาจารย์สั่งไม่เสร็จ มีจำนวนความถี่เท่ากับ 78 ส่วนข้อที่มีจำนวนความถี่น้อยที่สุด คือ มีนัดโดยลืมดูเวลาเรียน มีจำนวนความถี่เท่ากับ 16
  • 37. ตารางที่ 4.11 แสดงค่าความถี่และค่าร้อยละของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากสาเหตุนอนตื่นสาย  
  • 38. แผนภูมิที่ 4.11 แสดงค่าร้อยละของของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากสาเหตุนอนตื่นสาย จากตารางที่ 4.11 และแผนภูมิที่ 4.11 พบว่าสาเหตุของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากสาเหตุการนอนตื่นสาย เรียงตามลำดับได้ดังนี้ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวนความถี่เท่ากับ 45 คิดเป็นร้อยละ 35.2 รองลงมา คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวนความถี่เท่ากับ 42 ลำดับถัดมา คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวนความถี่เท่ากับ 32 คน คิดเป็นร้อยละ 25 และลำดับสุดท้าย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวนความถี่เท่ากับ 7 คิดเป็นร้อยละ 7
  • 39. ตารางที่ 4.12 แสดงค่าความถี่และค่าร้อยละของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากสาเหตุยานพาหนะเกิดการขัดข้องขณะเดินทางมาเรียน
  • 40. แผนภูมิที่ 4.12 แสดงค่าร้อยละของของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากสาเหตุยานพาหนะเกิดการขัดข้องขณะเดินทางมาเรียน จากตารางที่ 4.12 และแผนภูมิที่ 4.12 พบว่าสาเหตุของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากสาเหตุยานพาหนะเกิดการขัดข้องขณะเดินทางมาเรียน เรียงตามลำดับได้ดังนี้ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวนความถี่เท่ากับ 42 คิดเป็นร้อย 40.38 รองลงมา คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวนความถี่เท่ากับ 40 คิดเป็นร้อยละ 38.46 ลำดับถัดมา คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวนความถี่เท่ากับ 20 คิดเป็นร้อยละ 19.23 และลำดับสุดท้าย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวนความถี่เท่ากับ 2 คิดเป็นร้อยละ 1.93
  • 41. ตารางที่ 4.13 แสดงค่าความถี่และค่าร้อยละของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากสาเหตุทำงานที่อาจารย์สั่งไม่เสร็จ  
  • 42. แผนภูมิที่ 4.13 แสดงค่าร้อยละของของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากสาเหตุทำงานที่อาจารย์สั่งไม่เสร็จ จากตารางที่ 4.13 และแผนภูมิที่ 4.13 พบว่าสาเหตุของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากสาเหตุทำงานที่อาจารย์สั่งไม่เสร็จ เรียงตามลำดับได้ดังนี้ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวนความถี่เท่ากับ 33 คิดเป็นร้อยละ 42.30 รองลงมา คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวนความถี่เท่ากับ 29 คิดเป็นร้อยละ 37.16 ลำดับถัดมา คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวนความถี่เท่ากับ 14 คิดเป็นร้อยละ 17.94 และลำดับสุดท้าย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวนความถี่เท่ากับ 2 คิดเป็นร้อยละ 2.6
  • 43. ตารางที่ 4.14 แสดงค่าความถี่และค่าร้อยละของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากสาเหตุจำเวลาเรียนในรายวิชาไม่ได้
  • 44. แผนภูมิที่ 4.14 แสดงค่าร้อยละของของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากสาเหตุจำเวลาเรียนในรายวิชาไม่ได้ จากตารางที่ 4.14 และแผนภูมิที่ 4.14 พบว่าสาเหตุของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากสาเหตุจำเวลาเรียนในรายวิชาไม่ได้ เรียงตามลำดับได้ดังนี้ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวนความถี่เท่ากับ 20 คิดเป็นร้อยละ 40 รองลงมา คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวนความถี่เท่ากับ 15 คิดเป็นร้อยละ 30 ลำดับถัดมา คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวนความถี่เท่ากับ 14 คิดเป็นร้อยละ 28 และลำดับสุดท้าย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวนความถี่เท่ากับ 1 คิดเป็นร้อยละ 2
  • 45. ตารางที่ 4.15 แสดงค่าความถี่และค่าร้อยละของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากสาเหตุไม่ได้เผื่อเวลารับประทานอาหาร
  • 46. แผนภูมิที่ 4.15 แสดงค่าร้อยละของของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากสาเหตุไม่ได้เผื่อเวลารับประทานอาหาร   จากตารางที่ 4.15 และแผนภูมิที่ 4.15 พบว่าสาเหตุของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากสาเหตุไม่ได้เผื่อเวลารับประทานอาหาร เรียงตามลำดับได้ดังนี้ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวนความถี่เท่ากับ 20 คิดเป็นร้อยละ 40 รองลงมา คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวนความถี่เท่ากับ 15 คิดเป็นร้อยละ 30 ลำดับถัดมา คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวนความถี่เท่ากับ 14 คิดเป็นร้อยละ 28 และลำดับสุดท้าย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวนความถี่เท่ากับ 1 คิดเป็นร้อยละ 2
  • 47. ตารางที่ 4.16 แสดงค่าความถี่และค่าร้อยละของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากสาเหตุจำตารางเรียนผิด
  • 48. แผนภูมิที่ 4.16 แสดงค่าร้อยละของของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากสาเหตุจำตารางเรียนผิด จากตารางที่ 4.16 และแผนภูมิที่ 4.16 พบว่าสาเหตุของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากสาเหตุจำตารางเรียนผิด เรียงตามลำดับได้ดังนี้ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวนความถี่เท่ากับ 18 คิดเป็นร้อยละ 40 รองลงมา คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวนความถี่เท่ากับ 15 คิดเป็นร้อยละ 33.33 ลำดับถัดมา คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวนความถี่เท่ากับ 10 คิดเป็นร้อยละ 22.23 และลำดับสุดท้าย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวนความถี่เท่ากับ 2 คิดเป็นร้อยละ 4.44
  • 49. ตารางที่ 4.17 แสดงค่าความถี่และค่าร้อยละของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากสาเหตุต้องไปรับเพื่อน (แฟน) มาเรียนด้วยแต่เพื่อนยังแต่งกายไม่เสร็จ
  • 50. แผนภูมิที่ 4.17 แสดงค่าร้อยละของของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากสาเหตุต้องไปรับเพื่อน (แฟน) มาเรียนด้วย แต่เพื่อนยังแต่งกายไม่เสร็จ จากตารางที่ 4.17 และแผนภูมิที่ 4.17 พบว่าสาเหตุของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากสาเหตุต้องไปรับเพื่อน (แฟน) มาเรียนด้วยแต่เพื่อนยังแต่งกายไม่เสร็จ เรียงตามลำดับได้ดังนี้ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวนความถี่เท่ากับ 16 คิดเป็นร้อยละ 42.10 รองลงมา คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวนความถี่เท่ากับ 13 คิดเป็นร้อยละ 34.22 ลำดับถัดมา คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวนความถี่เท่ากับ 8 คิดเป็น ร้อยละ 21.05 และลำดับสุดท้าย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวนความถี่เท่ากับ 1 คิดเป็นร้อยละ 2.63
  • 51. ตารางที่ 4.18 แสดงค่าความถี่และค่าร้อยละของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากสาเหตุชุดเครื่องแต่งกายไม่พร้อม
  • 52. แผนภูมิที่ 4.18 แสดงค่าร้อยละของของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากสาเหตุชุดเครื่องแต่งกายไม่พร้อม   จากตารางที่ 4.18 และแผนภูมิที่ 4.18 พบว่าสาเหตุของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากสาเหตุชุดเครื่องแต่งกายไม่พร้อม เรียงตามลำดับได้ดังนี้ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวนความถี่เท่ากับ 14 คิดเป็นร้อยละ 41.18 รองลงมา คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวนความถี่เท่ากับ 12 คิดเป็นร้อยละ 35.5 ตามลำดับ
  • 53. ตารางที่ 4.19 แสดงค่าความถี่และค่าร้อยละของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากสาเหตุอุปกรณ์การเรียนไม่พร้อม
  • 54. แผนภูมิที่ 4.19 แสดงค่าร้อยละของของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากสาเหตุอุปกรณ์การเรียนไม่พร้อม จากตารางที่ 4.19 และแผนภูมิที่ 4.19 พบว่าสาเหตุของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากสาเหตุอุปกรณ์การเรียนไม่พร้อม เรียงตามลำดับได้ดังนี้ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวนความถี่เท่ากับ 14 คิดเป็นร้อยละ 48.27 รองลงมา คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวนความถี่เท่ากับ 9 คิดเป็นร้อยละ 31.03 ลำดับถัดมา คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวนความถี่เท่ากับ 6 คิดเป็นร้อยละ 20.7 ตามลำดับ
  • 55. ตารางที่ 4.20 แสดงค่าความถี่และค่าร้อยละของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากสาเหตุมีนัดโดยลืมดูเวลาเรียน
  • 56. แผนภูมิที่ 4.20 แสดงค่าร้อยละของของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากสาเหตุมีนัดโดยลืมดูเวลาเรียน จากตารางที่ 4.20 และแผนภูมิที่ 4.20 พบว่าสาเหตุของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จากสาเหตุมีนัดโดยลืมดูเวลาเรียน เรียงตามลำดับได้ดังนี้ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 และนักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวนความถี่เท่ากับ 6 คิดเป็นร้อยละ 37.5 รองลงมา คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวนความถี่เท่ากับ 25 และลำดับสุดท้าย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวนความถี่เท่ากับ 0 คิดเป็นร้อยละ 0
  • 57. ตอนที่ 4 ข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากการรวบรวมข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นอื่น ๆ เพิ่มเติม สามารถสรุปได้ดังนี้ 1. อาจารย์ให้งานเยอะ ปัญหาคือทำไม่ทัน และเสียค่าใช้จ่ายมาก 2. การเที่ยวกลางคืนดึกเกินไปมีผลทำให้ตื่นสาย และไม่อยากไปเรียน 3. เนื้อหาในบางรายวิชายากเกินไป 4. เนื้อหาในบางรายวิชาน่าเบื่อหน่าย ไม่น่าสนใจ 5. อาจารย์บางท่านสอนไม่เข้าใจ อยากให้ปรับเปลี่ยนวิธีสอนที่อธิบายให้เข้าใจกว่านี้ 6. อยากให้มีสื่อการสอนที่หลากหลาย และจำนวนเพียงพอกับนักศึกษา  
  • 58. สรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ สรุปผลการวิจัย จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาปัญหาและพฤติกรรมการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ชั้นปีที่ 1-4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สรุปผลการวิจัย ได้ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 193 คน คิดเป็นร้อยละ 80.40 รองลงมาเป็นเพศหญิง จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 19.60 ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 18 – 20ปี จำนวน 165 คน คิดเป็นร้อยละ 68.80 รองลงมาอยู่ในช่วงอายุ 21 – 34 ปี จำนวน 73 คน คิดเป็นร้อยละ 30.40 ส่วนอายุผู้ตอบแบบสอบถามที่มีจำนวนน้อยที่สุดคือ อายุ 25 ปีขึ้นไป จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.80 ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 จำนวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 41.70 รองลงมาเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 29.20
  • 59. และลำดับถัดมาเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 18.30 ส่วนชั้นปีที่มีจำนวนนักศึกษาตอบแบบสอบถามน้อยที่สุด คือ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 26 คน คิดเป็น ร้อยละ 10.80 และนักศึกษาส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการเข้าเรียนสาย 1 – 2 ครั้งต่อภาคเรียน จำนวน 132 คน คิดเป็นร้อยละ 55.00 รองลงมามีพฤติกรรมไม่เคยเข้าเรียนสายเลย จำนวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 20.00 ลำดับถัดมานักศึกษามีพฤติกรรมการเข้าเรียนสาย 3 – 4 ครั้งต่อภาคเรียน จำนวน 44 คนคิดเป็นร้อยละ 18.30 ส่วนพฤติกรรมนักศึกษาที่เคยเข้าเรียนสายมากกว่า 5 ครั้ง ต่อภาคเรียนมีจำนวนน้อยที่สุด จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 6.70
  • 60. 2. ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับการศึกษาปัญหาและพฤติกรรมการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ชั้นปีที่ 1-4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ พบว่า โดยภาพรวมนักศึกษามีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.53 (S.D = 0.69) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่นักศึกษามีปัญหาการเข้าเรียนไม่ตรงเวลามากที่สุด คือ เนื้อหาในรายวิชาที่เรียนมีความยุ่งยากไม่น่าสนใจ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.09 (S.D = 0.69) รองลงมา คือ เรียนไม่ทันเพื่อน และไม่เข้าใจในเนื้อหาวิชา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.81 (S.D = 1.02) ส่วนข้อที่มีปัญหาน้อยที่สุด คือ มีพฤติกรรมการมาเรียนสายเป็นนิสัย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.18 (S.D = 1.02) และสาเหตุของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เรียงตามลำดับได้ดังนี้ นอนตื่นสาย มีจำนวนความถี่เท่ากับ 128 รองลงมา คือ ยานพาหนะเกิดการขัดข้องขณะเดินทางมาเรียน มีจำนวนความถี่เท่ากับ 104 ลำดับถัดมา คือ ทำงานที่อาจารย์สั่งไม่เสร็จ มีจำนวนความถี่เท่ากับ 78 ส่วนข้อที่มีจำนวนความถี่น้อยที่สุด คือ มีนัดโดยลืมดูเวลาเรียน มีจำนวนความถี่เท่ากับ 16
  • 61. อภิปรายผล จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล การศึกษาปัญหาและพฤติกรรมการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ชั้นปีที่ 1-4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ผลการศึกษาประเด็นที่นำมาอภิปรายผล ดังนี้ จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษาปัญหาและพฤติกรรมการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ชั้นปีที่ 1-4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยภาพรวมนักศึกษามีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่นักศึกษามีปัญหาการเข้าเรียนไม่ตรงเวลามากที่สุด คือ เนื้อหาในรายวิชาที่เรียนมีความยุ่งยากไม่น่าสนใจ รองลงมา คือ เรียนไม่ทันเพื่อน และไม่เข้าใจในเนื้อหาวิชา ส่วนข้อที่มีปัญหาน้อยที่สุด คือ มีพฤติกรรมการมาเรียนสายเป็นนิสัย และสาเหตุของการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขา พลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เรียงตามลำดับได้ดังนี้ นอนตื่นสาย รองลงมา คือ ยานพาหนะเกิดการขัดข้องขณะเดินทางมาเรียน ลำดับถัดมา คือ ทำงานที่อาจารย์สั่งไม่เสร็จ ส่วนข้อที่มีจำนวนความถี่น้อยที่สุด คือ มีนัดโดยลืมดูเวลาเรียน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปัญหาและสาเหตุการเข้าเรียนของนักศึกษานั้น มีปัจจัยหลาย ๆ ด้านประกอบกัน
  • 62. ทั้งที่เป็นพฤติกรรมส่วนตัวของนักศึกษาเอง และเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของคณาจารย์ในมหาวิทยาลัย และองค์ประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้สอดคล้องกับผลการศึกษาของ ประมวล อรรถพงษ์ (2548 : 90-93) ได้ศึกษาการพัฒนาดำเนินงานเสริมสร้างการมีวินัยของนักเรียนโรงเรียนโคกศรีเมือง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ สภาพปัญหาที่พบ คือ ปัญหานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีพฤติกรรมขาดความมีวินัยด้านการตรงต่อเวลา 3 ด้านคือ การมาโรงเรียน การเข้าเรียน การเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางโรงเรียนจัดขึ้นไม่ตรงต่อเวลาและประพฤติผิดวินัยด้านการแต่งกาย คิดเป็นร้อยละ 15.92 ซึ่งประกอบด้วย การปล่อยเสื้อลอยชายไว้ผมยาว ใส่รองเท้าผิดระเบียบ ซึ่งถือเป็นปัญหาอย่างมาก ผู้ศึกษาได้จัดให้กลุ่มผู้ร่วมศึกษาค้นคว้าและครูในโรงเรียนไปศึกษาดูงาน การจัดกิจกรรมเสริมสร้างความมีวินัยของนักเรียนโรงเรียนไทรงามพิทยาคม แล้วนำมาประชุมระดมสมองเพื่อกำหนดกิจกรรมการพัฒนาเสริมสร้างความมีวินัยของนักเรียน ได้จัดกิจรรมที่เหมาะสม 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมโฮมรูม กิจกรรมสวยด้วยมือเรากิจกรรมเชิดชูคนดีศรีสถาบัน และการนำกลยุทธ์นิเทศติดตามมาใช้ในการติดตามผลการจัดกิจกรรมซึ่งผลการพัฒนาทำให้นักเรียนมีวินัยด้านการตรงต่อเวลา และวินัยด้านการแต่งกายดีขึ้น
  • 63. ส่งผลต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับผลการวิจัยของ คัทรียา ประกอบผล (2551 : บทคัดย่อ) การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาปัญหาการเข้าชั้นเรียนที่ไม่ตรงเวลาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ซึ่งจากการศึกษาวิจัยพบว่าประเด็นปัญหาที่สำคัญคือการเข้าชั้นเรียนที่ไม่ตรงเวลา ทำให้เกิดปัญหาในการฝึกปฏิบัติวิชาทักษะนาฏศิลป์ ผู้วิจัยจึงดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการกำหนดข้อตกลงในการเข้าชั้นเรียนที่ตรงเวลา เพื่อเป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ในเรื่องการตรงต่อเวลาให้กับนักศึกษาและทำให้นักศึกษาได้เห็นถึงประโยชน์ของการเป็นผู้ตรงต่อเวลาต่อไป สอดคล้องกับผลการศึกษาของ กฤษดา อุดมธนธีระ (2549 : 80-82) ได้ศึกษาการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างวินัยนักศึกษาด้านการตรงต่อเวลา ในการเข้าร่วมกิจกรรมหน้าเสาธง และการร่วมกิจกรรมเข้าชั้นเรียนในแต่ละรายวิชา ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคยโสธร อำเภอเมือง จังหวัดยโสธรโดยใช้กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการ การปลูกฝังความรับผิดชอบการมีวินัยในขณะที่ทำการสอนและการนิเทศภายใน ทำให้นักศึกษากลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
  • 64. นักศึกษามีการพัฒนาที่ดีขึ้นทุกคน กลุ่มที่เคยมีปัญหาไม่มีพฤติกรรมให้เห็นบ่อย ถือว่าการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างวินัยนักศึกษาด้านการตรงต่อเวลาประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง ทำให้วิทยาลัยสามารถจัดกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียน ให้เป็นคนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อสังคม สอดคล้องกับผลการศึกษาของ สงัด หงส์พันธ์ (2549 : 59-99) ได้ศึกษาการพัฒนาการดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนด้านการตรงต่อเวลา โรงเรียนเทศบาลวัดบูรพาภิราม อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ดก่อนการพัฒนาพบปัญหาการขาดความมีวินัยในตนเองด้านการตรงต่อเวลาของนักเรียน ทำให้นักเรียนเดินทางมาโรงเรียนไม่ทันที่ครูกำหนด และส่งงานไม่ตรงตามที่ครูมอบหมาย และการเข้าเรียนไม่ตรงเวลาในภาคบ่ายของแต่ละวัน ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอนเป็นอย่างมากจึงดำเนินการพัฒนาใน 3 ด้านคือ ด้านการมาโรงเรียนทันเวลา ด้านการทำงานให้เสร็จทันเวลานัดหมาย และด้านการเข้าเรียน
  • 65. โดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการ 2 วงรอบ โดยใช้กลยุทธ์การประชุมสัมมนา จัดกิจกรรมสอดแทรกความมีวินัยในตนเอง และการนิเทศการสอน ผลการพัฒนาพบว่า นักเรียนได้รับการพัฒนาส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ทำให้นักเรียนมีความตรงต่อเวลาดีขึ้น และยังสอดคล้องกับผลการวิจัยของสิริวดี พรหมน้อย (2550 : บทคัดย่อ) ได้ทำการวิจัยการแก้ไขปัญหาการเข้าชั้นเรียนไม่ตรงเวลาของนักศึกษาชีววิทยาประยุกต์ ชั้นปีที่ 3 โดยใช้วิธีการกำหนดข้อตกลงเบื้องต้น สำหรับนักศึกษาที่เรียนวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ผลการวิจัยพบว่าพบว่า ภายหลังจากที่นักศึกษาได้รับทราบข้อตกลงเบื้องต้น นักศึกษาทุกคน (ร้อยละ 100) สามารถพัฒนาตนเองเข้าชั้นเรียนได้ตรงเวลาตั้งแต่สัปดาห์ที่ 9 เป็นต้นไป
  • 66. ข้อเสนอแนะของการวิจัย 1.ผลการศึกษาในครั้งนี้ ได้ชี้ให้เห็นว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องการมาเรียนไม่ตรงเวลาอาจเกิดจากปัญหาส่วนตัวและการบริหารเวลาไม่ถูกต้อง 2. ควรนำข้อมูลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ไปใช้ในการปรับปรุงส่งเสริมและพัฒนาพฤติกรรมการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา ชั้นปีที่ 1-4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์   ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยในครั้งต่อไป 1. ควรมีการศึกษาปัญหาและพฤติกรรมการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาวิชาอื่น ๆ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2. ควรมีการเปรียบเทียบปัญหาและพฤติกรรมการเข้าเรียนไม่ตรงต่อเวลาของนักศึกษาสาขาวิชาอื่น ๆ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  
  • 68.
  • 69.
  • 70.
  • 71.
  • 72.
  • 73.
  • 74.
  • 75.
  • 76.
  • 77.