SlideShare a Scribd company logo
1 of 11
Download to read offline
Session หน้า
รูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือด้วยระบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
Model of Collaborative Learning Using Learning Activity
Management System
ณมน จีรังสุวรรณ, ธนยศ สิริโชดก
C1_6 123
การออกแบบเว็บไซต์และบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมสาหรับ
อีเลิร์นนิงในอาเซียน: กรอบวัฒนธรรมที่ควรคานึงถึง
Proper Design of Website and Electronic Courseware for e-
Learning in ASEAN : Cultural framework for Consideration
จินตวีร์ คล้ายสังข์
C1_7 131
การพัฒนาสื่อฝึกอบรมออนไลน์ เรื่อง เครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อการเรียน
การสอน สาหรับโครงการมหาวิทยาลัย ไซเบอร์ไทย (Facebook)
Development of Web-based Training on Social Network for
Learning and Teaching of Thailand Cyber University Project
ชนากานต์ ปิ่นวิเศษ, ปณิตา วรรณพิรุณ, ณมน จีรังสุวรรณ
C1_8 140
การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางไกลสาหรับนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ธีรวดี ถังคบุตร
C1_9 147
การใช้กระบวนการเขียนบล็อกแบบร่วมมือกันในวิชาภาษาอังกฤษ: พัฒนา
ทัศนคติ คุณภาพ และ ปริมาณงานเขียน
Application of a Collaborative Blogging in EFL Classroom:
Improving Attitude, Quality and Quantity in Writing
ดารารัตน์ คาภูแสน
B2_1 152
รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วย
โครงงานนิเทศศาสตร์สาหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
Collaborative Learning Model through Social Media for
Supporting Communications Project-based Learning for
Postgraduate Students
ปณิตา วรรณพิรุณ, วีระ สุภะ
B2_2 161
ผลการบูรณาการการเรียนรู้ด้วยเครือข่ายสังคมกับ e-Learning
Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning
ปรัชญนันท์ นิลสุข, ปณิตา วรรณพิรุณ
B2_3 170
161
รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศ
ศาสตร์สาหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting
Communications Project-based Learning for Postgraduate Students
ดร.ปณิตา วรรณพิรุณ1
, ดร.วีระ สุภะ2
1
ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
(panitaw@kmutnb.ac.th)
2
สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
(wera.su@northbkk.ac.th)
ABSTRACT
This objective the study was to develop the
collaborative learning through social media
model for supporting communications project-
based learning for postgraduate students. The
research comprised of 3 steps: 1) analyzing and
synthesizing relevant literature and in-depth
interview 7 expert's opinion, 2) develop the
collaborative learning through social media
model for supporting communications project-
based learning for postgraduate students, and 3)
study the phenomena of using a collaborative
learning through social media model for
supporting communications project-based
learning. The samples were 22 postgraduate
students, Ramkhamhaeng University. They were
chosen by multistage random sampling. The
instruments consisted of in-depth interview form
for expert opinion, learning management system
for project-based learning in communication,
and problem solving skill evaluation form. Data
were statistically analyzed by arithmetic mean,
standard deviation, and t-test dependent.
The research findings were as follows:
1. The collaborative learning through social
media model for supporting communications
project-based learning for postgraduate students
consisted of nine components as followed: 1)
instructional objectives, 2) student’s role,3)
instructor’s role, 4) communications project-
based learning activities, 5) scaffolding, 6)
instructional control, 7) communication and
interaction,8) instructional media and resources,
and 9) measurement and evaluation.
2. Collaborative learning activities through
social media model for supporting
communications project-based learning
consisted of three steps as followed: 1)
introduction step; orientation, and project group
formation, 2) instruction step; study of the
contents, collaborative learning activities
through social media, communications project-
based learning activities, and summarize the project,
3) synopsis step; project presentation and
summative evaluation.
3. communications project-based learning activities
consisted of six steps as followed: 1) thinking and
choosing the topic of the project, 2) search the
involve documents, 3) write the structure of
projects: project preview, 4) doing the project, 5)
writing the report of project, and 6) presentation
the project’s product, showing, and evaluation.
4. The postgraduate students’ post-test score for the
problem solving skills were significantly higher than
the pre-test score in the problem solving skills at .05
significant level.
Keywords: instructional model, collaborative learning,
social media, project-based learning, communications
project-based learning, postgraduate students.
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้
ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วย
โครงงานนิเทศศาสตร์สาหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์และ
สังเคราะห์กรอบแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้
ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วย
โครงงานนิเทศศาสตร์และสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้เชี่ยวชาญ 7
ท่าน 2) การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคม
ออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์
สาหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และ 3) การศึกษาผล
162
การใช้รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์
เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์
สาหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน
การวิจัย คือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย
รามคาแหง จานวน 22 คน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน
ใช้เวลาในการทดลอง 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการ
วิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการ
ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคม
ออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศ
ศาสตร์ ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อ
สังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงาน
นิเทศศาสตร์ และแบบวัดทักษะการแก้ปัญหา วิเคราะห์
ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
dependent
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อ
สนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์สาหรับ
นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ประกอบด้วย 9
องค์ประกอบ คือ 1) วัตถุประสงค์การเรียน 2) บทบาท
ผู้เรียน 3) บทบาทผู้สอน 4) กิจกรรมการเรียนการสอน
ด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์5) การเสริมสร้างศักยภาพ 6)
การควบคุมการเรียนการสอน 7) การติดต่อสื่อสารและ
ปฏิสัมพันธ์ 8) สื่อการสอนและแหล่งเรียนรู้ และ 9) การ
วัดและประเมินผล
2. ขั้นตอนการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อ
สนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์สาหรับ
นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
คือ 1) ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน ประกอบด้วยการ
ปฐมนิเทศ และการจัดกลุ่มโครงงาน 2) ขั้นการเรียนการ
สอน ประกอบด้วย การนาเสนอเนื้อหา การเรียนรู้
ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ การทาโครงงานนิเทศ
ศาสตร์ และการสรุปโครงงาน 3) ขั้นสรุป ประกอบด้วย
การนาเสนอโครงงานและประเมินผลการเรียน
3. ขั้นตอนการทาโครงงานนิเทศศาสตร์ ประกอบด้วย 6
ขั้นตอน คือ 1) การคิดและเลือกหัวข้อโครงงาน 2) ศึกษา
เอกสารที่เกี่ยวข้อง 3) การเขียนเค้าโครงของโครงงาน 4)
การปฏิบัติโครงงาน 5) การเขียนรายงาน และ 6) การ
นาเสนอผลงาน การแสดงผลงาน และการประเมินผล
4. นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบการ
เรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียน
ด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมีคะแนนทักษะการ
แก้ปัญหาสูงขึ้นอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คาสาคัญ: รูปแบบการเรียนการสอน, การเรียนรู้ร่วมกัน, สื่อ
สังคมออนไลน์, การเรียนด้วยโครงงาน, โครงงานนิเทศ
ศาสตร์, นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
1) บทนา
เทคโนโลยีทางด้านสารสนเทศและการสื่อสาร (Information
and Communications Technology) สื่อสังคมออนไลน์
(social media) ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network)
มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต กระบวนการทางาน
และการเรียนของมนุษย์ในปัจจุบัน ก่อให้เกิดสังคมยุค
สารสนเทศที่ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารใน
การทางาน การใช้ชีวิต ประจาวันและการเรียนรู้ โดยใช้
เทคโนโลยีเว็บ 2.0 และระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ตเป็น
สื่อกลางในการติดต่อระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ผู้เรียน
สามารถเรียนได้โดยไม่มีข้อจากัดในเรื่องเวลาและสถานที่
เป็นการสร้างโอกาสและความเสมอภาคในการเรียนรู้ให้แก่ผู้
เรียน ผู้เรียนสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วก่อให
เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ในการ ผู้เรียนเปลี่ยนบทบาทจาก
ผู้เรียนที่รับการถ่ายทอดความรู้จากผู้สอน (passive learner)
เป็นผู้เรียนที่มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ (active
learner) โดยผู้เรียนเป็นผู้คิดตัดสินใจเลือกเนื้อหาในการเรียน
การจัด ลาดับการเรียนรู้ การควบคุมเส้นทางในการเรียนและ
การนาเสนอผลงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
ผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับเนื้อหา และผู้เรียนกับ
สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการสร้างบรรยากาศในการ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้เรียน (Bonk and Graham,
2004)
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในยุคปัจจุบันจึงจาเป็นต้อง
มีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ให้ทันสมัยและสอดคล้องกับ
สภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยการประยุกต์ใช้สื่อสังคม
ออนไลน์ เช่น facebook, twitter, youtube, multiply ในการ
เพิ่มช่องทางในการสื่อสารและสร้างปฏิสัมพันธ์ในการเรียน
ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้สอน ผู้เรียนกับกลุ่ม
163
ผู้เชี่ยวชาญ และผู้เรียนกับแหล่งข้อมูล เพื่อใช้ประโยชน์
จากเทคโนโลยีเว็บ 2.0
ผ่านสื่อสังคมออนไลน์
การเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ (Communications
project-based learning) เป็นรูปแบบวิธีสอนที่ส่งเสริม
สภาวะการเรียนรู้ภายในชั้นเรียน โดยการนาให้ผู้เรียนเข้า
สู่กระบวนการแก้ปัญหาที่ท้าทายและสร้างชิ้นงานได้
สาเร็จด้วยตนเอง การออกแบบกิจกรรมการเรียนการ
สอนด้วยโครงงานที่ดีจะกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการค้นคว้า
อย่างกระตือรือร้นและใช้ทักษะการคิดขั้นสูงในการคิด
แก้ปัญหา (Thomas, 1998) ศักยภาพในการรับรู้สิ่งของ
ผู้เรียนจะถูกยกระดับขึ้นเมื่อได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการ
แก้ปัญหาที่มีความหมายและเมื่อผู้เรียนได้รับความ
ช่วยเหลือให้เข้าใจว่าความรู้กับทักษะเหล่านั้นสัมพันธ์
กันด้วยเหตุใด เมื่อไหร่และอย่างไร (Bransford, Brown,
& Conking,2000)
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้
ร่วมกันและมีปฏิสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อ
สนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ จะทาให้
เกิดการเรียนแบบร่วมมือเกิดขึ้นบนระบบเครือข่าย อัน
ส่งผลให้เกิดปฏิสัมพันธ์ทางความคิด ระหว่างผู้สอน
ผู้เรียนและกลุ่มเพื่อน เป็นการลดข้อจากัดในด้านการ
เรียน โดยกิจกรรมเหล่านี้สามารถช่วยในการพัฒนา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นิสัยในการเรียนด้านความ
ร่วมมือซึ่งกันและกัน ทักษะและความสามารถในการ
แก้ปัญหา ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี (Bersin, 2004)
จากที่กล่าวมาข้างต้นจึงจาเป็นต้องมีการรูปแบบการ
เรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการ
เรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์สาหรับเพื่อเป็นแนวทาง
ในการประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการ
จัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาต่อไป
2) วัตถุประสงค์การวิจัย
2.1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคม
ออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศ
ศาสตร์สาหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
2.2) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกัน
ผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วย
โครงงานนิเทศศาสตร์สาหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
2.3) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนทักษะการแก้ปัญหาของ
นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้
ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วย
โครงงานนิเทศศาสตร์สาหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
3) สมมติฐานการวิจัย
นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้
ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วย
โครงงานนิเทศศาสตร์สาหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามี
คะแนนทักษะการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี
นัยสาคัญทางสถิติ
4) ขอบเขตการวิจัย
4.1) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร คือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย
รามคาแหง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย
รามคาแหง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จานวน 22 คน
จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน
4.2) ตัวแปรในการวิจัย
ตัวแปรอิสระ คือ รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคม
ออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์
ตัวแปรตาม คือ คะแนนทักษะการแก้ปัญหา และคะแนน
ความพึงพอใจ
4.3) ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 12 สัปดาห์
การเรียนรู้
ร่วมกันผ่านสื่อ
อิเล็กทรอนิกส์
การประยุกต์สังคม
ออนไลน์เพื่อการ
เรียนการสอน
การเรียน
ด้วยโครงงาน
นิเทศศาสตร์
รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุน
การเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์
การออกแบบระบบการเรียนการสอน
164
รูปที่ 1: กรอบแนวคิดการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้
ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียน
ด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์สาหรับนักศึกษาระดับ
บัณฑิตศึกษา
5) วิธีดาเนินการวิจัย
ระยะที่ 1 การวิเคราะห์และสังเคราะห์กรอบแนวคิดใน
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคม
ออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศ
ศาสตร์
การวิเคราะห์และสังเคราะห์
1) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา
รูปแบบการเรียนการสอน การเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อ
อิเล็กทรอกนิกส์ การประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อ
การเรียนการสอน และการจัดทาโครงงานนิเทศศาสตร์
2) สัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ 7 ท่าน เกี่ยวกับการ
ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคม
ออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศ
ศาสตร์
ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อ
สังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงาน
นิเทศศาสตร์สาหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์
เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์
สาหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ตามขั้นตอนการ
ออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System
Design: ISD) 5 ขั้นตอน ดังนี้
1) ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis)
วิเคราะห์เนื้อหา สร้างแผนภาพมโนทัศน์เป็นการเริ่มต้น
ขอบเขตเนื้อหา วิเคราะห์คุณลักษณะและรูปแบบการ
เรียนรู้
ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และวิเคราะห์บริบทที่
เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อ
สนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ และ
ออกแบบโมดูลของเนื้อหาสาหรับระบบบริหารจัดการ
เรียนการสอน (LMS)
2) ขั้นการออกแบบ (Design)
2.1) ออกแบบองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนรู้
ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียน
ด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ
คือ 1) วัตถุประสงค์การเรียน 2) บทบาทผู้เรียน 3) บทบาท
ผู้สอน 4) กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยโครงงานนิเทศ
ศาสตร์5) การเสริมสร้างศักยภาพ 6) การควบคุมการเรียนการ
สอน 7) การติดต่อสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ 8) สื่อการสอน
และแหล่งเรียนรู้ และ 9) การวัดและประเมินผล
2.2) ออกแบบยุทธศาสตร์การเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคม
ออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์
ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน
ประกอบด้วยการปฐมนิเทศ และการจัดกลุ่มโครงงาน 2) ขั้น
การเรียนการสอน ประกอบด้วย การนาเสนอเนื้อหา การ
เรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ การทาโครงงานนิเทศ
ศาสตร์ และการสรุปโครงงาน 3) ขั้นสรุป ประกอบด้วยการ
นาเสนอโครงงานและประเมินผลการเรียน
2.3) ออกแบบยุทธศาสตร์การทาโครงงานนิเทศศาสตร์
ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1) การคิดและเลือกหัวข้อ
โครงงาน (ด้านวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์/วีดิทัศน์
ด้านประชาสัมพันธ์ ด้านโฆษณา และด้านวารสารศาสตร์)
2) ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง 3) การเขียนเค้าโครงของ
โครงงาน 4) การปฏิบัติโครงงาน 5) การเขียนรายงาน และ 6)
การนาเสนอผลงาน การแสดงผลงาน และการประเมินผล
3) ขั้นการพัฒนา (Development)
3.1) พัฒนาเครื่องมือตามรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อ
สังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศ
ศาสตร์ ได้แก่ ระบบบริหารจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการ
เรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียน
ด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์โดยใช้ MOODLE ร่วมกับ
FaceBook, Multiply และ YouTube คู่มือการใช้งานสาหรับ
ผู้ดูแลระบบ และคู่มือการเรียน
3.2) พัฒนาแบบวัดทักษะการแก้ปัญหาสาหรับการเรียนด้วย
โครงงานนิเทศศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของ
นักศึกษา
4) ขั้นการนาไปทดลองใช้ (Implementation)
4.1) การทดสอบแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-one testing) โดย
ให้นักศึกษาที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จานวน 3 คน เรียนโดยใช้
รูปแบบที่พัฒนาขึ้น สังเกตและการสัมภาษณ์ ปัญหาและ
ข้อเสนอแนะการใช้งาน จากนั้นนาข้อมูลมาปรับปรุง แก้ไข
ข้อบกพร่องของรูปแบบ
165
4.2) การทดสอบกับกลุ่มเล็ก (Small group testing) โดย
ให้นักศึกษาที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จานวน 5 คน เรียนเป็น
กลุ่ม โดยใช้รูปแบบที่ปรับปรุงจากการทดสอบแบบหนึ่ง
ต่อหนึ่ง สังเกตและสัมภาษณ์ ปัญหาและข้อเสนอแนะ
การใช้งาน จากนั้นนาข้อมูลมาปรับปรุงแก้ไขข้อ
บกพร่องของรูปแบบ
4.3) การทดลองนาร่อง (Field trial) โดยให้นักศึกษาที่
ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จานวน 15 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม เรียน
โดยใช้รูปแบบที่ปรับปรุงจากการทดสอบแบบกลุ่มเล็ก
5) ขั้นการประเมินผล (Evaluation)
5.1) ประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่าน
สื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงาน
นิเทศศาสตร์ ด้านการออกแบบระบบการเรียนการสอน
ด้านการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และด้าน
การเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ โดยผู้เชี่ยวชาญ 5
ท่าน
5.2) ประเมินคุณภาพของระบบบริหารจัดการเรียนรู้ตาม
รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อ
สนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ ด้าน
เนื้อหาและด้านเทคนิค โดยนาระบบบริหารจัดการเรียนรู้
และคู่มือ ที่พัฒนาขึ้นเสนอให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา 5
ท่าน ประเมินคุณภาพและความเหมาะสมของเนื้อหา
โครงงานนิเทศศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค 5
ท่าน ประเมินคุณภาพและความเหมาะสมของระบบ
บริหารจัดการเรียนรู้ด้านเทคนิค ปรับปรุงระบบบริหาร
จัดการเรียนรู้และคู่มือ ตามข้อเสนอแนะ
ระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกัน
ผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วย
โครงงานนิเทศศาสตร์สาหรับนักศึกษาระดับ
บัณฑิตศึกษา
ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อ
สังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงาน
นิเทศศาสตร์สาหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ตาม
แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest-Posttest
Design (William and Stephen, 2009)
O1 X O2
มีขั้นตอนการดาเนินการดังนี้
1) ขั้นเตรียมการก่อนการทดลอง
1.1) ปฐมนิเทศนักศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนตาม
รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อ
สนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ วิธีการวัดและ
เกณฑ์ประเมินผล และฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือตามรูปแบบ
การเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์
1.2) วัดและประเมินผลทักษะการแก้ปัญหาก่อนเรียนและ
แจ้งผลการประเมินให้แก่นักศึกษา
2) ขั้นดาเนินการทดลอง
2.1) นักศึกษาเรียนดาเนินกิจกรรมการเรียนตามรูปแบบการ
เรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียน
ด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์
2.2)วัดและประเมินผลทักษะการแก้ปัญหาหลังเรียนและแจ้ง
ผลการประเมินให้แก่นักศึกษา
2.3) สอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนตาม
รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อ
สนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์
สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบแบบที t-
test dependent
6) สรุปผลการวิจัย
ตอนที่ 1 รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์
เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์สาหรับ
นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
ตอนที่ 1.1 รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์
เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์สาหรับ
นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ประกอบด้วย 3
1) องค์ประกอบของรูปแบบ
รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อ
สนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์สาหรับ
นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ
คือ
166
1.1) วัตถุประสงค์การเรียน คือ เพื่อพัฒนาทักษะการ
แก้ปัญหาทางนิเทศศาสตร์ และพัฒนาการทางานร่วมกัน
เป็นทีมของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
1.2) บทบาทผู้เรียน
1.3) บทบาทผู้สอน
1.4) กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยโครงงานนิเทศ
ศาสตร์
1.5) ฐานการเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนบน
ระบบบริหารจัดการเรียนรู้
1.6) การควบคุมการเรียนการสอนด้วยกระบวนการกากับ
ตัวเอง
1.7) การติดต่อสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคม
ออนไลน์
1.8) สื่อการสอนและแหล่งเรียนรู้บนสื่อสังคมออนไลน์
1.9) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง
2) กิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์
กิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อ
สนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์
ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ
2.1) ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน ประกอบด้วยการ
ปฐมนิเทศ และการจัดกลุ่มโครงงาน
2.2) ขั้นการเรียนการสอน ประกอบด้วย การนาเสนอ
เนื้อหา การเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ การทา
โครงงานนิเทศศาสตร์ และการสรุปโครงงาน
2.3) ขั้นสรุป ประกอบด้วยการนาเสนอโครงงานและ
ประเมินผลการเรียน
3) กิจกรรมการทาโครงงานนิเทศศาสตร์
กิจกรรมการทาโครงงานนิเทศศาสตร์ ประกอบด้วย
6 ขั้นตอน คือ
3.1) การคิดและเลือกหัวข้อโครงงาน
3.2) ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
3.3) การเขียนเค้าโครงของโครงงาน
3.4) การปฏิบัติโครงงาน
3.5) การเขียนรายงาน
3.6) การนาเสนอผลงาน การแสดงผลงาน และการ
ประเมินผล
ตอนที่ 1.2 ผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนรู้
ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วย
โครงงานนิเทศศาสตร์สาหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
ตารางที่ 1: ผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบการ
เรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียน
ด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์
รายการประเมิน X S.D. ความเหมาะสม
1.องค์ประกอบของรูปแบบ 4.75 0.50 มากที่สุด
2.กิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน
ผ่านสื่อสังคมออนไลน์
4.25 0.50 มาก
3.กิจกรรมการทาโครงงาน
นิเทศศาสตร์
4.75 0.50 มากที่สุด
4.ความเหมาะสมของรูปแบบ
ในการพัฒนาทักษะการ
แก้ปัญหาและการทางาน
ร่วมกันเป็นทีม
4.50 0.58 มากที่สุด
5.ความเหมาะสมในการ
นารูปแบบไปใช้จริง
4.75 0.50 มากที่สุด
จากตารางที่ 1 พบว่า รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคม
ออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์
มีคุณภาพด้านองค์ประกอบของรูปแบบ กิจกรรมการทา
โครงงานนิเทศศาสตร์ และมีความเหมาะสมในการนา
รูปแบบไปใช้จริง มากที่สุด ( X = 4.75, S.D. = 0.50)
รองลงมาได้แก่ ความเหมาะสมของรูปแบบในการพัฒนา
ทักษะการแก้ปัญหาและการทางานร่วมกันเป็นทีม ( X =
4.50, S.D. = 0.58) และ กิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อ
สังคมออนไลน์ ( X = 4.25, S.D. = 0.50) ตามลาดับ
ตอนที่ 2 ผลของการใช้รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อ
สังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศ
ศาสตร์สาหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
ตอนที่ 2.1 ผลการเปรียบเทียบคะแนนทักษะการแก้ปัญหา
ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบการ
เรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียน
ด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์
167
ตารางที่ 2: ผลการเปรียบเทียบคะแนนทักษะการ
แก้ปัญหาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่เรียนโดยใช้
รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อ
สนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์
คะแนนทักษะ
การแก้ปัญหา
คะแนน
เต็ม
X S.D. t-Test Sig.
ก่อนเรียน 40 15.12 4.12 10.04 * .00
หลังเรียน 40 30.45 2.17
*p < .05
จากตารางที่ 2 พบว่า นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่เรียน
โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์
เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์
สาหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามีคะแนนทักษะการ
แก้ปัญหาหลังเรียน ( X =30.45, S.D. = 2.17)
สูงกว่าก่อนเรียน ( X =15.12, S.D. = 4.12)
อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ตอนที่ 2.2 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา
ระดับบัณฑิตศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้
ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียน
ด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์
ตารางที่3: ความพึงพอใจของนักศึกษาระดับ
บัณฑิตศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่าน
สื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงาน
นิเทศศาสตร์
รายการประเมิน X S.D. ความพึงพอใจ
1)กิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน
ผ่านสื่อสังคมออนไลน์
1.1) ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน 4.59 0.50 มากที่สุด
1.2) ขั้นการเรียนการสอน 4.55 0.51 มากที่สุด
1.3) ขั้นสรุป 4.45 0.51 มาก
รวม 4.53 0.50 มากที่สุด
2)กิจกรรมการทาโครงงาน
นิเทศศาสตร์
รายการประเมิน X S.D. ความพึงพอใจ
2.1) การคิดและเลือกหัวข้อ
โครงงาน
4.45 0.51 มาก
2.2) ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง 4.73 0.46
2.3) การเขียนเค้าโครงของ
โครงงาน
4.50 0.51 มากที่สุด
2.4) การปฏิบัติโครงงาน 4.64 0.49 มากที่สุด
2.5) การเขียนรายงาน 4.73 0.46 มากที่สุด
2.6) การนาเสนอผลงาน
การแสดงผลงาน และ
การประเมินผล
4.64 0.49 มากที่สุด
รวม 4.65 0.49 มากที่สุด
ความพึงพอใจในภาพรวม 4.59 0.49 มากที่สุด
จากตารางที่ 3 พบว่า นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่เรียนโดย
ใช้รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อ
สนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์มีความพึง
พอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.59, S.D. =
0.49) นักศึกษาพึงพอใจกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อ
สังคมออนไลน์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.53,
S.D. = 0.50) และนักศึกษาพึงพอใจกิจกรรมการทาโครงงาน
นิเทศศาสตร์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.65,
S.D. = 0.49)
7) อภิปรายผลการวิจัย
7.1) ผลการศึกษาคะแนนทักษะการแก้ปัญหาของนักศึกษา
ระดับบัณฑิตศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบ
การเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการ
เรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ พบว่า นักศึกษาระดับ
บัณฑิตศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อ
สังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศ
ศาสตร์สาหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามีคะแนนทักษะ
การแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับงานวิจัยของ George
Lucas Educational Foundation (2001) ที่พบว่า การเรียนรู้
168
ด้วยโครงงานช่วยสร้างองค์ความรู้จากการค้นคว้า ผู้เรียน
ที่เรียนรู้ด้วยโครงงานจะมีส่วนร่วมในการเรียนมากขึ้น
ลดการขาดเรียน เพิ่มทักษะในการเรียนรู้แบบร่วมมือ
ช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะในการ
แก้ปัญหาทางการเรียนของผู้เรียน ซึ่งสอดคล้อง แนวคิด
ของ Bonk and Graham (2004) ที่กล่าวว่า กิจกรรมการ
เรียนสอนผ่านเว็บทาให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่าง
อิสระ สนับสนุนปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน
ด้วยกัน และผู้เรียนกับผู้สอนโดยการติดต่อแบบส่วนตัว
ช่วยให้การเรียนรู้ดีขึ้น
7.2) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียน
โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์
เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ พบว่า
นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบการ
เรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการ
เรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์มีความพึงพอใจใน
ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด สอดคล้องกับงานวิจัยของ
(Driscoll,2002)ที่พบว่าการมีปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในการ
เรียนผ่านเว็บช่วยทาให้ผู้เรียนมีโอกาสแสดงความคิดเห็น
ได้อย่างเท่าเทียมกันและตอบสนองความแตกต่าง
ระหว่างบุคคล การที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนหรือ
กับกลุ่มผู้เรียน ช่วยทาให้การจัดการเรียนการสอน
น่าสนใจมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการสนับสนุนการเรียน
การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ นอกจากนี้ ผู้เรียนยัง
สามารถทบทวนกิจกรรมการเรียนการสอนเนื้อหา และ
ฝึกทาแบบฝึกหัดได้ทุกสถานที่ ทุกเวลาที่ต้องการ และ
เป็นการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
8) ข้อเสนอแนะ
8.1 ข้อเสนอแนะสาหรับการนาผลการวิจัยไปใช้
สถาบันการศึกษาที่นารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อ
สังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงาน
นิเทศศาสตร์ไปใช้ ควรมีการเตรียมความพร้อมทางด้าน
เครื่องมือและระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จาเป็นในการ
เรียนการสอนแบบผสมผสาน ได้แก่ ห้องปฏิบัติการ
คอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ควรมีการ
พัฒนาทักษะความสามารถทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสารให้กับผู้เรียนก่อนทาการเรียนตามรูปแบบ
ได้แก่ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ การ
ใช้บริการบนอินเทอร์เน็ต เช่น การค้นหาข้อมูลสารสนเทศ
การใช้เครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การใช้งานระบบ
เครือข่ายสังคม เป็นต้น
8.2 ข้อเสนอแนะสาหรับการวิจัยครั้งต่อไป
8.2.1 ในการวิจัยครั้งนี้ศึกษากลุ่มทดลองเพียงกลุ่มเดียว ควร
ศึกษาเพื่อเปรียบเทียบผลของการเรียนตามรูปแบบที่พัฒนา
ขั้นระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่เรียนตามปกติ
8.2.2 ควรศึกษาพัฒนาการของทักษะการคิดแก้ปัญหาของ
ผู้เรียนในสัปดาห์ที่ 7 ซึ่งตามทฤษฎีการคิดพบว่า เป็น
ระยะแรกที่ผู้เรียนเริ่มมีพัฒนาการทางด้านการคิด
9) เอกสารอ้างอิง
Bersin, J. (2004). The blended learning book: Bestpractices,
proven methodologies, and lessons learned.
San Francisco: Pfeiffer.
Bonk C. J., and Graham C. R. (2004). Handbook of blended
learning: Global perspective local designs.
San Francisco, U.S.: Pfeiffer.
Bransford, J., Brown, A., & Cocking, R. (2000). How
people learn: Brain, mind, experience, and
school. Washington, DC: National Academy
Press.
Driscoll, M. (2002) Blended Learning: let’s get beyond the
hype. E-learning, 1 May, 2011.[Online]
Available:
http://elearningmag.com/ltimagazine
George Lucas Educational Foundation. (2001). Project-
based learning research , 1 May,
2011.[Online] Available:
http://www.edutopia.org
Rosenberg M. J. (2006). Beyond e-learning: approaches
and technologies to enhance organizational
Knowledge, learning, and performance. San
Francisco, U.S.: John Wiley & Sons Inc.
Thomas, J.W. (1998). Project-based learning: Overview.
Novato, CA: Buck Institute for Education.
169
William W., and Stephen G. J. (2009). Research
methods in education: an introduction. 9th
ed. Boston, U.S.: Pearson.

More Related Content

What's hot

เทคนิคการสอนตาม Tqf3
เทคนิคการสอนตาม Tqf3เทคนิคการสอนตาม Tqf3
เทคนิคการสอนตาม Tqf3Prachyanun Nilsook
 
ภารกิจเลือกรูปแบบการสอน
ภารกิจเลือกรูปแบบการสอนภารกิจเลือกรูปแบบการสอน
ภารกิจเลือกรูปแบบการสอนTar Bt
 
ระบบการจัดการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์มัลติยูสเซอร์ในสังคมคลาวด์
ระบบการจัดการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์มัลติยูสเซอร์ในสังคมคลาวด์ระบบการจัดการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์มัลติยูสเซอร์ในสังคมคลาวด์
ระบบการจัดการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์มัลติยูสเซอร์ในสังคมคลาวด์Prachyanun Nilsook
 
บันได 6 ขั้นสู่ความสำเร็จ การสอนแบบโครงงานในเนื้อหา
บันได 6 ขั้นสู่ความสำเร็จ  การสอนแบบโครงงานในเนื้อหาบันได 6 ขั้นสู่ความสำเร็จ  การสอนแบบโครงงานในเนื้อหา
บันได 6 ขั้นสู่ความสำเร็จ การสอนแบบโครงงานในเนื้อหาpanida428
 
การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล
การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัลการจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล
การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัลssuserea9dad1
 
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานน...
รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานน...รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานน...
รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานน...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
Strategy for designing and developing Interactive e-Learning
Strategy for designing and developing Interactive e-LearningStrategy for designing and developing Interactive e-Learning
Strategy for designing and developing Interactive e-LearningPanita Wannapiroon Kmutnb
 
Online active learning
Online active learningOnline active learning
Online active learningTar Bt
 
บทที่10ประเมินคุณภาพสื่อการสอนและสื่อการเรียนรู้
บทที่10ประเมินคุณภาพสื่อการสอนและสื่อการเรียนรู้บทที่10ประเมินคุณภาพสื่อการสอนและสื่อการเรียนรู้
บทที่10ประเมินคุณภาพสื่อการสอนและสื่อการเรียนรู้Thamonwan Kottapan
 
บทที่8การผลิตสื่อกราฟฟิกเพื่อการเรียนการสอน
บทที่8การผลิตสื่อกราฟฟิกเพื่อการเรียนการสอนบทที่8การผลิตสื่อกราฟฟิกเพื่อการเรียนการสอน
บทที่8การผลิตสื่อกราฟฟิกเพื่อการเรียนการสอนThamonwan Kottapan
 

What's hot (20)

เทคนิคการสอนตาม Tqf3
เทคนิคการสอนตาม Tqf3เทคนิคการสอนตาม Tqf3
เทคนิคการสอนตาม Tqf3
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
ภารกิจเลือกรูปแบบการสอน
ภารกิจเลือกรูปแบบการสอนภารกิจเลือกรูปแบบการสอน
ภารกิจเลือกรูปแบบการสอน
 
Team-based Learning
Team-based LearningTeam-based Learning
Team-based Learning
 
ระบบการจัดการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์มัลติยูสเซอร์ในสังคมคลาวด์
ระบบการจัดการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์มัลติยูสเซอร์ในสังคมคลาวด์ระบบการจัดการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์มัลติยูสเซอร์ในสังคมคลาวด์
ระบบการจัดการเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์มัลติยูสเซอร์ในสังคมคลาวด์
 
บันได 6 ขั้นสู่ความสำเร็จ การสอนแบบโครงงานในเนื้อหา
บันได 6 ขั้นสู่ความสำเร็จ  การสอนแบบโครงงานในเนื้อหาบันได 6 ขั้นสู่ความสำเร็จ  การสอนแบบโครงงานในเนื้อหา
บันได 6 ขั้นสู่ความสำเร็จ การสอนแบบโครงงานในเนื้อหา
 
การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล
การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัลการจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล
การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล
 
ปก
ปกปก
ปก
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
13นิตยา
13นิตยา13นิตยา
13นิตยา
 
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...
 
รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานน...
รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานน...รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานน...
รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานน...
 
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...
 
Strategy for designing and developing Interactive e-Learning
Strategy for designing and developing Interactive e-LearningStrategy for designing and developing Interactive e-Learning
Strategy for designing and developing Interactive e-Learning
 
Online active learning
Online active learningOnline active learning
Online active learning
 
บทที่10ประเมินคุณภาพสื่อการสอนและสื่อการเรียนรู้
บทที่10ประเมินคุณภาพสื่อการสอนและสื่อการเรียนรู้บทที่10ประเมินคุณภาพสื่อการสอนและสื่อการเรียนรู้
บทที่10ประเมินคุณภาพสื่อการสอนและสื่อการเรียนรู้
 
World class
World classWorld class
World class
 
บทที่8การผลิตสื่อกราฟฟิกเพื่อการเรียนการสอน
บทที่8การผลิตสื่อกราฟฟิกเพื่อการเรียนการสอนบทที่8การผลิตสื่อกราฟฟิกเพื่อการเรียนการสอน
บทที่8การผลิตสื่อกราฟฟิกเพื่อการเรียนการสอน
 
คำนำ
คำนำคำนำ
คำนำ
 

Similar to Wera_Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communications Project-based Learning for Postgraduate Students

Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning. [NEC2012]
Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning. [NEC2012]Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning. [NEC2012]
Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning. [NEC2012]Panita Wannapiroon Kmutnb
 
Development of Blended Learning Model by Using Cognitive Tools to Develop Cri...
Development of Blended Learning Model by Using Cognitive Tools to Develop Cri...Development of Blended Learning Model by Using Cognitive Tools to Develop Cri...
Development of Blended Learning Model by Using Cognitive Tools to Develop Cri...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
Model of learning by social media
Model of learning by social mediaModel of learning by social media
Model of learning by social mediaKrit Chanthraphrom
 
The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...
The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...
The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...
ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...
ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
การพัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้อย่างร...
การพัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้อย่างร...การพัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้อย่างร...
การพัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้อย่างร...Wichit Chawaha
 
Pegagogy-based Hybrid Learning : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
Pegagogy-based Hybrid Learning : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติPegagogy-based Hybrid Learning : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
Pegagogy-based Hybrid Learning : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติTee Lek
 
การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านเอ็มเลิร์นนิงตามแนวทฤษฎีการเชื่อมต่อด้วย...
การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านเอ็มเลิร์นนิงตามแนวทฤษฎีการเชื่อมต่อด้วย...การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านเอ็มเลิร์นนิงตามแนวทฤษฎีการเชื่อมต่อด้วย...
การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านเอ็มเลิร์นนิงตามแนวทฤษฎีการเชื่อมต่อด้วย...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
นำเสนอความก้าวหน้า
นำเสนอความก้าวหน้านำเสนอความก้าวหน้า
นำเสนอความก้าวหน้าRamkhamhaeng University
 
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่ 1
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่ 1การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่ 1
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่ 1Ailada_oa
 

Similar to Wera_Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communications Project-based Learning for Postgraduate Students (20)

Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning. [NEC2012]
Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning. [NEC2012]Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning. [NEC2012]
Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning. [NEC2012]
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
Development of Blended Learning Model by Using Cognitive Tools to Develop Cri...
Development of Blended Learning Model by Using Cognitive Tools to Develop Cri...Development of Blended Learning Model by Using Cognitive Tools to Develop Cri...
Development of Blended Learning Model by Using Cognitive Tools to Develop Cri...
 
Model of learning by social media
Model of learning by social mediaModel of learning by social media
Model of learning by social media
 
วิจัย
วิจัยวิจัย
วิจัย
 
Isd Report Dr Supanee
Isd Report Dr SupaneeIsd Report Dr Supanee
Isd Report Dr Supanee
 
The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...
The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...
The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...
 
ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...
ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...
ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...
 
การพัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้อย่างร...
การพัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้อย่างร...การพัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้อย่างร...
การพัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้อย่างร...
 
บทคัดย่อ
บทคัดย่อบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
 
Pegagogy-based Hybrid Learning : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
Pegagogy-based Hybrid Learning : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติPegagogy-based Hybrid Learning : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
Pegagogy-based Hybrid Learning : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
 
เอ4bestp59
เอ4bestp59เอ4bestp59
เอ4bestp59
 
บทที่ 3
บทที่ 3บทที่ 3
บทที่ 3
 
บทที่ 3
บทที่ 3บทที่ 3
บทที่ 3
 
Socialmedia(group4)
Socialmedia(group4)Socialmedia(group4)
Socialmedia(group4)
 
การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านเอ็มเลิร์นนิงตามแนวทฤษฎีการเชื่อมต่อด้วย...
การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านเอ็มเลิร์นนิงตามแนวทฤษฎีการเชื่อมต่อด้วย...การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านเอ็มเลิร์นนิงตามแนวทฤษฎีการเชื่อมต่อด้วย...
การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านเอ็มเลิร์นนิงตามแนวทฤษฎีการเชื่อมต่อด้วย...
 
960447
960447960447
960447
 
นำเสนอความก้าวหน้า
นำเสนอความก้าวหน้านำเสนอความก้าวหน้า
นำเสนอความก้าวหน้า
 
บทที่ 3
บทที่ 3บทที่ 3
บทที่ 3
 
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่ 1
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่ 1การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่ 1
การออกแบบการสอนระดับครูมือใหม่ 1
 

More from Wera Supa CPC

Untitled Presentation
Untitled PresentationUntitled Presentation
Untitled PresentationWera Supa CPC
 
journal ited85 p 23-30wera_panita
 journal ited85 p 23-30wera_panita journal ited85 p 23-30wera_panita
journal ited85 p 23-30wera_panitaWera Supa CPC
 
Wera_Blended Learning Model for Buddhist Education via DMC Satellite Channel
Wera_Blended Learning Model for Buddhist Education via DMC Satellite ChannelWera_Blended Learning Model for Buddhist Education via DMC Satellite Channel
Wera_Blended Learning Model for Buddhist Education via DMC Satellite ChannelWera Supa CPC
 
Wera_Blended Learning Model for Buddhist Education via DMC Satellite Channel
Wera_Blended Learning Model for Buddhist Education via DMC Satellite ChannelWera_Blended Learning Model for Buddhist Education via DMC Satellite Channel
Wera_Blended Learning Model for Buddhist Education via DMC Satellite ChannelWera Supa CPC
 
Iec2014 Dr.Wera Supa Dean, Faculty of Communication Arts, North Bangkok Unive...
Iec2014 Dr.Wera Supa Dean, Faculty of Communication Arts, North Bangkok Unive...Iec2014 Dr.Wera Supa Dean, Faculty of Communication Arts, North Bangkok Unive...
Iec2014 Dr.Wera Supa Dean, Faculty of Communication Arts, North Bangkok Unive...Wera Supa CPC
 

More from Wera Supa CPC (6)

Untitled Presentation
Untitled PresentationUntitled Presentation
Untitled Presentation
 
IEC 2014_Wera Supa
IEC 2014_Wera  SupaIEC 2014_Wera  Supa
IEC 2014_Wera Supa
 
journal ited85 p 23-30wera_panita
 journal ited85 p 23-30wera_panita journal ited85 p 23-30wera_panita
journal ited85 p 23-30wera_panita
 
Wera_Blended Learning Model for Buddhist Education via DMC Satellite Channel
Wera_Blended Learning Model for Buddhist Education via DMC Satellite ChannelWera_Blended Learning Model for Buddhist Education via DMC Satellite Channel
Wera_Blended Learning Model for Buddhist Education via DMC Satellite Channel
 
Wera_Blended Learning Model for Buddhist Education via DMC Satellite Channel
Wera_Blended Learning Model for Buddhist Education via DMC Satellite ChannelWera_Blended Learning Model for Buddhist Education via DMC Satellite Channel
Wera_Blended Learning Model for Buddhist Education via DMC Satellite Channel
 
Iec2014 Dr.Wera Supa Dean, Faculty of Communication Arts, North Bangkok Unive...
Iec2014 Dr.Wera Supa Dean, Faculty of Communication Arts, North Bangkok Unive...Iec2014 Dr.Wera Supa Dean, Faculty of Communication Arts, North Bangkok Unive...
Iec2014 Dr.Wera Supa Dean, Faculty of Communication Arts, North Bangkok Unive...
 

Wera_Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communications Project-based Learning for Postgraduate Students

  • 1.
  • 2. Session หน้า รูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือด้วยระบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ Model of Collaborative Learning Using Learning Activity Management System ณมน จีรังสุวรรณ, ธนยศ สิริโชดก C1_6 123 การออกแบบเว็บไซต์และบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมสาหรับ อีเลิร์นนิงในอาเซียน: กรอบวัฒนธรรมที่ควรคานึงถึง Proper Design of Website and Electronic Courseware for e- Learning in ASEAN : Cultural framework for Consideration จินตวีร์ คล้ายสังข์ C1_7 131 การพัฒนาสื่อฝึกอบรมออนไลน์ เรื่อง เครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อการเรียน การสอน สาหรับโครงการมหาวิทยาลัย ไซเบอร์ไทย (Facebook) Development of Web-based Training on Social Network for Learning and Teaching of Thailand Cyber University Project ชนากานต์ ปิ่นวิเศษ, ปณิตา วรรณพิรุณ, ณมน จีรังสุวรรณ C1_8 140 การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางไกลสาหรับนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ธีรวดี ถังคบุตร C1_9 147 การใช้กระบวนการเขียนบล็อกแบบร่วมมือกันในวิชาภาษาอังกฤษ: พัฒนา ทัศนคติ คุณภาพ และ ปริมาณงานเขียน Application of a Collaborative Blogging in EFL Classroom: Improving Attitude, Quality and Quantity in Writing ดารารัตน์ คาภูแสน B2_1 152 รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วย โครงงานนิเทศศาสตร์สาหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communications Project-based Learning for Postgraduate Students ปณิตา วรรณพิรุณ, วีระ สุภะ B2_2 161 ผลการบูรณาการการเรียนรู้ด้วยเครือข่ายสังคมกับ e-Learning Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning ปรัชญนันท์ นิลสุข, ปณิตา วรรณพิรุณ B2_3 170
  • 3. 161 รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศ ศาสตร์สาหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communications Project-based Learning for Postgraduate Students ดร.ปณิตา วรรณพิรุณ1 , ดร.วีระ สุภะ2 1 ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (panitaw@kmutnb.ac.th) 2 สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ (wera.su@northbkk.ac.th) ABSTRACT This objective the study was to develop the collaborative learning through social media model for supporting communications project- based learning for postgraduate students. The research comprised of 3 steps: 1) analyzing and synthesizing relevant literature and in-depth interview 7 expert's opinion, 2) develop the collaborative learning through social media model for supporting communications project- based learning for postgraduate students, and 3) study the phenomena of using a collaborative learning through social media model for supporting communications project-based learning. The samples were 22 postgraduate students, Ramkhamhaeng University. They were chosen by multistage random sampling. The instruments consisted of in-depth interview form for expert opinion, learning management system for project-based learning in communication, and problem solving skill evaluation form. Data were statistically analyzed by arithmetic mean, standard deviation, and t-test dependent. The research findings were as follows: 1. The collaborative learning through social media model for supporting communications project-based learning for postgraduate students consisted of nine components as followed: 1) instructional objectives, 2) student’s role,3) instructor’s role, 4) communications project- based learning activities, 5) scaffolding, 6) instructional control, 7) communication and interaction,8) instructional media and resources, and 9) measurement and evaluation. 2. Collaborative learning activities through social media model for supporting communications project-based learning consisted of three steps as followed: 1) introduction step; orientation, and project group formation, 2) instruction step; study of the contents, collaborative learning activities through social media, communications project- based learning activities, and summarize the project, 3) synopsis step; project presentation and summative evaluation. 3. communications project-based learning activities consisted of six steps as followed: 1) thinking and choosing the topic of the project, 2) search the involve documents, 3) write the structure of projects: project preview, 4) doing the project, 5) writing the report of project, and 6) presentation the project’s product, showing, and evaluation. 4. The postgraduate students’ post-test score for the problem solving skills were significantly higher than the pre-test score in the problem solving skills at .05 significant level. Keywords: instructional model, collaborative learning, social media, project-based learning, communications project-based learning, postgraduate students. บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วย โครงงานนิเทศศาสตร์สาหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์และ สังเคราะห์กรอบแนวคิดในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วย โครงงานนิเทศศาสตร์และสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้เชี่ยวชาญ 7 ท่าน 2) การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคม ออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ สาหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และ 3) การศึกษาผล
  • 4. 162 การใช้รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ สาหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัย คือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย รามคาแหง จานวน 22 คน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ใช้เวลาในการทดลอง 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการ ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคม ออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศ ศาสตร์ ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อ สังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงาน นิเทศศาสตร์ และแบบวัดทักษะการแก้ปัญหา วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test dependent ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อ สนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์สาหรับ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ คือ 1) วัตถุประสงค์การเรียน 2) บทบาท ผู้เรียน 3) บทบาทผู้สอน 4) กิจกรรมการเรียนการสอน ด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์5) การเสริมสร้างศักยภาพ 6) การควบคุมการเรียนการสอน 7) การติดต่อสื่อสารและ ปฏิสัมพันธ์ 8) สื่อการสอนและแหล่งเรียนรู้ และ 9) การ วัดและประเมินผล 2. ขั้นตอนการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อ สนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์สาหรับ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน ประกอบด้วยการ ปฐมนิเทศ และการจัดกลุ่มโครงงาน 2) ขั้นการเรียนการ สอน ประกอบด้วย การนาเสนอเนื้อหา การเรียนรู้ ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ การทาโครงงานนิเทศ ศาสตร์ และการสรุปโครงงาน 3) ขั้นสรุป ประกอบด้วย การนาเสนอโครงงานและประเมินผลการเรียน 3. ขั้นตอนการทาโครงงานนิเทศศาสตร์ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1) การคิดและเลือกหัวข้อโครงงาน 2) ศึกษา เอกสารที่เกี่ยวข้อง 3) การเขียนเค้าโครงของโครงงาน 4) การปฏิบัติโครงงาน 5) การเขียนรายงาน และ 6) การ นาเสนอผลงาน การแสดงผลงาน และการประเมินผล 4. นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบการ เรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียน ด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมีคะแนนทักษะการ แก้ปัญหาสูงขึ้นอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คาสาคัญ: รูปแบบการเรียนการสอน, การเรียนรู้ร่วมกัน, สื่อ สังคมออนไลน์, การเรียนด้วยโครงงาน, โครงงานนิเทศ ศาสตร์, นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 1) บทนา เทคโนโลยีทางด้านสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communications Technology) สื่อสังคมออนไลน์ (social media) ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network) มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต กระบวนการทางาน และการเรียนของมนุษย์ในปัจจุบัน ก่อให้เกิดสังคมยุค สารสนเทศที่ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารใน การทางาน การใช้ชีวิต ประจาวันและการเรียนรู้ โดยใช้ เทคโนโลยีเว็บ 2.0 และระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ตเป็น สื่อกลางในการติดต่อระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ผู้เรียน สามารถเรียนได้โดยไม่มีข้อจากัดในเรื่องเวลาและสถานที่ เป็นการสร้างโอกาสและความเสมอภาคในการเรียนรู้ให้แก่ผู้ เรียน ผู้เรียนสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วก่อให เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ในการ ผู้เรียนเปลี่ยนบทบาทจาก ผู้เรียนที่รับการถ่ายทอดความรู้จากผู้สอน (passive learner) เป็นผู้เรียนที่มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ (active learner) โดยผู้เรียนเป็นผู้คิดตัดสินใจเลือกเนื้อหาในการเรียน การจัด ลาดับการเรียนรู้ การควบคุมเส้นทางในการเรียนและ การนาเสนอผลงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับเนื้อหา และผู้เรียนกับ สิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการสร้างบรรยากาศในการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้เรียน (Bonk and Graham, 2004) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในยุคปัจจุบันจึงจาเป็นต้อง มีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ให้ทันสมัยและสอดคล้องกับ สภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยการประยุกต์ใช้สื่อสังคม ออนไลน์ เช่น facebook, twitter, youtube, multiply ในการ เพิ่มช่องทางในการสื่อสารและสร้างปฏิสัมพันธ์ในการเรียน ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้สอน ผู้เรียนกับกลุ่ม
  • 5. 163 ผู้เชี่ยวชาญ และผู้เรียนกับแหล่งข้อมูล เพื่อใช้ประโยชน์ จากเทคโนโลยีเว็บ 2.0 ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ การเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ (Communications project-based learning) เป็นรูปแบบวิธีสอนที่ส่งเสริม สภาวะการเรียนรู้ภายในชั้นเรียน โดยการนาให้ผู้เรียนเข้า สู่กระบวนการแก้ปัญหาที่ท้าทายและสร้างชิ้นงานได้ สาเร็จด้วยตนเอง การออกแบบกิจกรรมการเรียนการ สอนด้วยโครงงานที่ดีจะกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการค้นคว้า อย่างกระตือรือร้นและใช้ทักษะการคิดขั้นสูงในการคิด แก้ปัญหา (Thomas, 1998) ศักยภาพในการรับรู้สิ่งของ ผู้เรียนจะถูกยกระดับขึ้นเมื่อได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการ แก้ปัญหาที่มีความหมายและเมื่อผู้เรียนได้รับความ ช่วยเหลือให้เข้าใจว่าความรู้กับทักษะเหล่านั้นสัมพันธ์ กันด้วยเหตุใด เมื่อไหร่และอย่างไร (Bransford, Brown, & Conking,2000) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ ร่วมกันและมีปฏิสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อ สนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ จะทาให้ เกิดการเรียนแบบร่วมมือเกิดขึ้นบนระบบเครือข่าย อัน ส่งผลให้เกิดปฏิสัมพันธ์ทางความคิด ระหว่างผู้สอน ผู้เรียนและกลุ่มเพื่อน เป็นการลดข้อจากัดในด้านการ เรียน โดยกิจกรรมเหล่านี้สามารถช่วยในการพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นิสัยในการเรียนด้านความ ร่วมมือซึ่งกันและกัน ทักษะและความสามารถในการ แก้ปัญหา ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี (Bersin, 2004) จากที่กล่าวมาข้างต้นจึงจาเป็นต้องมีการรูปแบบการ เรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการ เรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์สาหรับเพื่อเป็นแนวทาง ในการประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการ จัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาต่อไป 2) วัตถุประสงค์การวิจัย 2.1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคม ออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศ ศาสตร์สาหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 2.2) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกัน ผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วย โครงงานนิเทศศาสตร์สาหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 2.3) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนทักษะการแก้ปัญหาของ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วย โครงงานนิเทศศาสตร์สาหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 3) สมมติฐานการวิจัย นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วย โครงงานนิเทศศาสตร์สาหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามี คะแนนทักษะการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี นัยสาคัญทางสถิติ 4) ขอบเขตการวิจัย 4.1) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร คือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย รามคาแหง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย รามคาแหง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จานวน 22 คน จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน 4.2) ตัวแปรในการวิจัย ตัวแปรอิสระ คือ รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคม ออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ ตัวแปรตาม คือ คะแนนทักษะการแก้ปัญหา และคะแนน ความพึงพอใจ 4.3) ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 12 สัปดาห์ การเรียนรู้ ร่วมกันผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ การประยุกต์สังคม ออนไลน์เพื่อการ เรียนการสอน การเรียน ด้วยโครงงาน นิเทศศาสตร์ รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุน การเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ การออกแบบระบบการเรียนการสอน
  • 6. 164 รูปที่ 1: กรอบแนวคิดการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียน ด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์สาหรับนักศึกษาระดับ บัณฑิตศึกษา 5) วิธีดาเนินการวิจัย ระยะที่ 1 การวิเคราะห์และสังเคราะห์กรอบแนวคิดใน การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคม ออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศ ศาสตร์ การวิเคราะห์และสังเคราะห์ 1) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา รูปแบบการเรียนการสอน การเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อ อิเล็กทรอกนิกส์ การประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อ การเรียนการสอน และการจัดทาโครงงานนิเทศศาสตร์ 2) สัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ 7 ท่าน เกี่ยวกับการ ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคม ออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศ ศาสตร์ ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อ สังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงาน นิเทศศาสตร์สาหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ สาหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ตามขั้นตอนการ ออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System Design: ISD) 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นการวิเคราะห์ (Analysis) วิเคราะห์เนื้อหา สร้างแผนภาพมโนทัศน์เป็นการเริ่มต้น ขอบเขตเนื้อหา วิเคราะห์คุณลักษณะและรูปแบบการ เรียนรู้ ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และวิเคราะห์บริบทที่ เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อ สนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ และ ออกแบบโมดูลของเนื้อหาสาหรับระบบบริหารจัดการ เรียนการสอน (LMS) 2) ขั้นการออกแบบ (Design) 2.1) ออกแบบองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนรู้ ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียน ด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ คือ 1) วัตถุประสงค์การเรียน 2) บทบาทผู้เรียน 3) บทบาท ผู้สอน 4) กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยโครงงานนิเทศ ศาสตร์5) การเสริมสร้างศักยภาพ 6) การควบคุมการเรียนการ สอน 7) การติดต่อสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ 8) สื่อการสอน และแหล่งเรียนรู้ และ 9) การวัดและประเมินผล 2.2) ออกแบบยุทธศาสตร์การเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคม ออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน ประกอบด้วยการปฐมนิเทศ และการจัดกลุ่มโครงงาน 2) ขั้น การเรียนการสอน ประกอบด้วย การนาเสนอเนื้อหา การ เรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ การทาโครงงานนิเทศ ศาสตร์ และการสรุปโครงงาน 3) ขั้นสรุป ประกอบด้วยการ นาเสนอโครงงานและประเมินผลการเรียน 2.3) ออกแบบยุทธศาสตร์การทาโครงงานนิเทศศาสตร์ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1) การคิดและเลือกหัวข้อ โครงงาน (ด้านวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์/วีดิทัศน์ ด้านประชาสัมพันธ์ ด้านโฆษณา และด้านวารสารศาสตร์) 2) ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง 3) การเขียนเค้าโครงของ โครงงาน 4) การปฏิบัติโครงงาน 5) การเขียนรายงาน และ 6) การนาเสนอผลงาน การแสดงผลงาน และการประเมินผล 3) ขั้นการพัฒนา (Development) 3.1) พัฒนาเครื่องมือตามรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อ สังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศ ศาสตร์ ได้แก่ ระบบบริหารจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการ เรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียน ด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์โดยใช้ MOODLE ร่วมกับ FaceBook, Multiply และ YouTube คู่มือการใช้งานสาหรับ ผู้ดูแลระบบ และคู่มือการเรียน 3.2) พัฒนาแบบวัดทักษะการแก้ปัญหาสาหรับการเรียนด้วย โครงงานนิเทศศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของ นักศึกษา 4) ขั้นการนาไปทดลองใช้ (Implementation) 4.1) การทดสอบแบบหนึ่งต่อหนึ่ง (One-to-one testing) โดย ให้นักศึกษาที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จานวน 3 คน เรียนโดยใช้ รูปแบบที่พัฒนาขึ้น สังเกตและการสัมภาษณ์ ปัญหาและ ข้อเสนอแนะการใช้งาน จากนั้นนาข้อมูลมาปรับปรุง แก้ไข ข้อบกพร่องของรูปแบบ
  • 7. 165 4.2) การทดสอบกับกลุ่มเล็ก (Small group testing) โดย ให้นักศึกษาที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จานวน 5 คน เรียนเป็น กลุ่ม โดยใช้รูปแบบที่ปรับปรุงจากการทดสอบแบบหนึ่ง ต่อหนึ่ง สังเกตและสัมภาษณ์ ปัญหาและข้อเสนอแนะ การใช้งาน จากนั้นนาข้อมูลมาปรับปรุงแก้ไขข้อ บกพร่องของรูปแบบ 4.3) การทดลองนาร่อง (Field trial) โดยให้นักศึกษาที่ ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จานวน 15 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม เรียน โดยใช้รูปแบบที่ปรับปรุงจากการทดสอบแบบกลุ่มเล็ก 5) ขั้นการประเมินผล (Evaluation) 5.1) ประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่าน สื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงาน นิเทศศาสตร์ ด้านการออกแบบระบบการเรียนการสอน ด้านการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และด้าน การเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน 5.2) ประเมินคุณภาพของระบบบริหารจัดการเรียนรู้ตาม รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อ สนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ ด้าน เนื้อหาและด้านเทคนิค โดยนาระบบบริหารจัดการเรียนรู้ และคู่มือ ที่พัฒนาขึ้นเสนอให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา 5 ท่าน ประเมินคุณภาพและความเหมาะสมของเนื้อหา โครงงานนิเทศศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค 5 ท่าน ประเมินคุณภาพและความเหมาะสมของระบบ บริหารจัดการเรียนรู้ด้านเทคนิค ปรับปรุงระบบบริหาร จัดการเรียนรู้และคู่มือ ตามข้อเสนอแนะ ระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกัน ผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วย โครงงานนิเทศศาสตร์สาหรับนักศึกษาระดับ บัณฑิตศึกษา ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อ สังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงาน นิเทศศาสตร์สาหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ตาม แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest-Posttest Design (William and Stephen, 2009) O1 X O2 มีขั้นตอนการดาเนินการดังนี้ 1) ขั้นเตรียมการก่อนการทดลอง 1.1) ปฐมนิเทศนักศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนตาม รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อ สนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ วิธีการวัดและ เกณฑ์ประเมินผล และฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือตามรูปแบบ การเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 1.2) วัดและประเมินผลทักษะการแก้ปัญหาก่อนเรียนและ แจ้งผลการประเมินให้แก่นักศึกษา 2) ขั้นดาเนินการทดลอง 2.1) นักศึกษาเรียนดาเนินกิจกรรมการเรียนตามรูปแบบการ เรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียน ด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ 2.2)วัดและประเมินผลทักษะการแก้ปัญหาหลังเรียนและแจ้ง ผลการประเมินให้แก่นักศึกษา 2.3) สอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนตาม รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อ สนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบแบบที t- test dependent 6) สรุปผลการวิจัย ตอนที่ 1 รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์สาหรับ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ตอนที่ 1.1 รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์สาหรับ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ประกอบด้วย 3 1) องค์ประกอบของรูปแบบ รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อ สนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์สาหรับ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ คือ
  • 8. 166 1.1) วัตถุประสงค์การเรียน คือ เพื่อพัฒนาทักษะการ แก้ปัญหาทางนิเทศศาสตร์ และพัฒนาการทางานร่วมกัน เป็นทีมของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 1.2) บทบาทผู้เรียน 1.3) บทบาทผู้สอน 1.4) กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยโครงงานนิเทศ ศาสตร์ 1.5) ฐานการเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนบน ระบบบริหารจัดการเรียนรู้ 1.6) การควบคุมการเรียนการสอนด้วยกระบวนการกากับ ตัวเอง 1.7) การติดต่อสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคม ออนไลน์ 1.8) สื่อการสอนและแหล่งเรียนรู้บนสื่อสังคมออนไลน์ 1.9) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง 2) กิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ กิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อ สนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 2.1) ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน ประกอบด้วยการ ปฐมนิเทศ และการจัดกลุ่มโครงงาน 2.2) ขั้นการเรียนการสอน ประกอบด้วย การนาเสนอ เนื้อหา การเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ การทา โครงงานนิเทศศาสตร์ และการสรุปโครงงาน 2.3) ขั้นสรุป ประกอบด้วยการนาเสนอโครงงานและ ประเมินผลการเรียน 3) กิจกรรมการทาโครงงานนิเทศศาสตร์ กิจกรรมการทาโครงงานนิเทศศาสตร์ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 3.1) การคิดและเลือกหัวข้อโครงงาน 3.2) ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง 3.3) การเขียนเค้าโครงของโครงงาน 3.4) การปฏิบัติโครงงาน 3.5) การเขียนรายงาน 3.6) การนาเสนอผลงาน การแสดงผลงาน และการ ประเมินผล ตอนที่ 1.2 ผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนรู้ ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วย โครงงานนิเทศศาสตร์สาหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ตารางที่ 1: ผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบการ เรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียน ด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ รายการประเมิน X S.D. ความเหมาะสม 1.องค์ประกอบของรูปแบบ 4.75 0.50 มากที่สุด 2.กิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 4.25 0.50 มาก 3.กิจกรรมการทาโครงงาน นิเทศศาสตร์ 4.75 0.50 มากที่สุด 4.ความเหมาะสมของรูปแบบ ในการพัฒนาทักษะการ แก้ปัญหาและการทางาน ร่วมกันเป็นทีม 4.50 0.58 มากที่สุด 5.ความเหมาะสมในการ นารูปแบบไปใช้จริง 4.75 0.50 มากที่สุด จากตารางที่ 1 พบว่า รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคม ออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ มีคุณภาพด้านองค์ประกอบของรูปแบบ กิจกรรมการทา โครงงานนิเทศศาสตร์ และมีความเหมาะสมในการนา รูปแบบไปใช้จริง มากที่สุด ( X = 4.75, S.D. = 0.50) รองลงมาได้แก่ ความเหมาะสมของรูปแบบในการพัฒนา ทักษะการแก้ปัญหาและการทางานร่วมกันเป็นทีม ( X = 4.50, S.D. = 0.58) และ กิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อ สังคมออนไลน์ ( X = 4.25, S.D. = 0.50) ตามลาดับ ตอนที่ 2 ผลของการใช้รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อ สังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศ ศาสตร์สาหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ตอนที่ 2.1 ผลการเปรียบเทียบคะแนนทักษะการแก้ปัญหา ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบการ เรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียน ด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์
  • 9. 167 ตารางที่ 2: ผลการเปรียบเทียบคะแนนทักษะการ แก้ปัญหาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่เรียนโดยใช้ รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อ สนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ คะแนนทักษะ การแก้ปัญหา คะแนน เต็ม X S.D. t-Test Sig. ก่อนเรียน 40 15.12 4.12 10.04 * .00 หลังเรียน 40 30.45 2.17 *p < .05 จากตารางที่ 2 พบว่า นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่เรียน โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ สาหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามีคะแนนทักษะการ แก้ปัญหาหลังเรียน ( X =30.45, S.D. = 2.17) สูงกว่าก่อนเรียน ( X =15.12, S.D. = 4.12) อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตอนที่ 2.2 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียน ด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ ตารางที่3: ความพึงพอใจของนักศึกษาระดับ บัณฑิตศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่าน สื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงาน นิเทศศาสตร์ รายการประเมิน X S.D. ความพึงพอใจ 1)กิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 1.1) ขั้นนาเข้าสู่บทเรียน 4.59 0.50 มากที่สุด 1.2) ขั้นการเรียนการสอน 4.55 0.51 มากที่สุด 1.3) ขั้นสรุป 4.45 0.51 มาก รวม 4.53 0.50 มากที่สุด 2)กิจกรรมการทาโครงงาน นิเทศศาสตร์ รายการประเมิน X S.D. ความพึงพอใจ 2.1) การคิดและเลือกหัวข้อ โครงงาน 4.45 0.51 มาก 2.2) ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง 4.73 0.46 2.3) การเขียนเค้าโครงของ โครงงาน 4.50 0.51 มากที่สุด 2.4) การปฏิบัติโครงงาน 4.64 0.49 มากที่สุด 2.5) การเขียนรายงาน 4.73 0.46 มากที่สุด 2.6) การนาเสนอผลงาน การแสดงผลงาน และ การประเมินผล 4.64 0.49 มากที่สุด รวม 4.65 0.49 มากที่สุด ความพึงพอใจในภาพรวม 4.59 0.49 มากที่สุด จากตารางที่ 3 พบว่า นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่เรียนโดย ใช้รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อ สนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์มีความพึง พอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.59, S.D. = 0.49) นักศึกษาพึงพอใจกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อ สังคมออนไลน์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.53, S.D. = 0.50) และนักศึกษาพึงพอใจกิจกรรมการทาโครงงาน นิเทศศาสตร์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.65, S.D. = 0.49) 7) อภิปรายผลการวิจัย 7.1) ผลการศึกษาคะแนนทักษะการแก้ปัญหาของนักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบ การเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการ เรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ พบว่า นักศึกษาระดับ บัณฑิตศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อ สังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศ ศาสตร์สาหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามีคะแนนทักษะ การแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับงานวิจัยของ George Lucas Educational Foundation (2001) ที่พบว่า การเรียนรู้
  • 10. 168 ด้วยโครงงานช่วยสร้างองค์ความรู้จากการค้นคว้า ผู้เรียน ที่เรียนรู้ด้วยโครงงานจะมีส่วนร่วมในการเรียนมากขึ้น ลดการขาดเรียน เพิ่มทักษะในการเรียนรู้แบบร่วมมือ ช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะในการ แก้ปัญหาทางการเรียนของผู้เรียน ซึ่งสอดคล้อง แนวคิด ของ Bonk and Graham (2004) ที่กล่าวว่า กิจกรรมการ เรียนสอนผ่านเว็บทาให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่าง อิสระ สนับสนุนปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ด้วยกัน และผู้เรียนกับผู้สอนโดยการติดต่อแบบส่วนตัว ช่วยให้การเรียนรู้ดีขึ้น 7.2) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียน โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์ พบว่า นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่เรียนโดยใช้รูปแบบการ เรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการ เรียนด้วยโครงงานนิเทศศาสตร์มีความพึงพอใจใน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด สอดคล้องกับงานวิจัยของ (Driscoll,2002)ที่พบว่าการมีปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในการ เรียนผ่านเว็บช่วยทาให้ผู้เรียนมีโอกาสแสดงความคิดเห็น ได้อย่างเท่าเทียมกันและตอบสนองความแตกต่าง ระหว่างบุคคล การที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนหรือ กับกลุ่มผู้เรียน ช่วยทาให้การจัดการเรียนการสอน น่าสนใจมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการสนับสนุนการเรียน การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ นอกจากนี้ ผู้เรียนยัง สามารถทบทวนกิจกรรมการเรียนการสอนเนื้อหา และ ฝึกทาแบบฝึกหัดได้ทุกสถานที่ ทุกเวลาที่ต้องการ และ เป็นการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น 8) ข้อเสนอแนะ 8.1 ข้อเสนอแนะสาหรับการนาผลการวิจัยไปใช้ สถาบันการศึกษาที่นารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสื่อ สังคมออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเรียนด้วยโครงงาน นิเทศศาสตร์ไปใช้ ควรมีการเตรียมความพร้อมทางด้าน เครื่องมือและระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จาเป็นในการ เรียนการสอนแบบผสมผสาน ได้แก่ ห้องปฏิบัติการ คอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ควรมีการ พัฒนาทักษะความสามารถทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารให้กับผู้เรียนก่อนทาการเรียนตามรูปแบบ ได้แก่ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ การ ใช้บริการบนอินเทอร์เน็ต เช่น การค้นหาข้อมูลสารสนเทศ การใช้เครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การใช้งานระบบ เครือข่ายสังคม เป็นต้น 8.2 ข้อเสนอแนะสาหรับการวิจัยครั้งต่อไป 8.2.1 ในการวิจัยครั้งนี้ศึกษากลุ่มทดลองเพียงกลุ่มเดียว ควร ศึกษาเพื่อเปรียบเทียบผลของการเรียนตามรูปแบบที่พัฒนา ขั้นระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่เรียนตามปกติ 8.2.2 ควรศึกษาพัฒนาการของทักษะการคิดแก้ปัญหาของ ผู้เรียนในสัปดาห์ที่ 7 ซึ่งตามทฤษฎีการคิดพบว่า เป็น ระยะแรกที่ผู้เรียนเริ่มมีพัฒนาการทางด้านการคิด 9) เอกสารอ้างอิง Bersin, J. (2004). The blended learning book: Bestpractices, proven methodologies, and lessons learned. San Francisco: Pfeiffer. Bonk C. J., and Graham C. R. (2004). Handbook of blended learning: Global perspective local designs. San Francisco, U.S.: Pfeiffer. Bransford, J., Brown, A., & Cocking, R. (2000). How people learn: Brain, mind, experience, and school. Washington, DC: National Academy Press. Driscoll, M. (2002) Blended Learning: let’s get beyond the hype. E-learning, 1 May, 2011.[Online] Available: http://elearningmag.com/ltimagazine George Lucas Educational Foundation. (2001). Project- based learning research , 1 May, 2011.[Online] Available: http://www.edutopia.org Rosenberg M. J. (2006). Beyond e-learning: approaches and technologies to enhance organizational Knowledge, learning, and performance. San Francisco, U.S.: John Wiley & Sons Inc. Thomas, J.W. (1998). Project-based learning: Overview. Novato, CA: Buck Institute for Education.
  • 11. 169 William W., and Stephen G. J. (2009). Research methods in education: an introduction. 9th ed. Boston, U.S.: Pearson.