SlideShare a Scribd company logo
1 of 10
Download to read offline
บทที่ 1
                       ระบบการศึกษาที่โลกมีและเป็นที่รู้จัก
                       
                          การเรียนรู้กำเนิดขึ้นมาพร้อมกับการเกิดของสิ่งมีชีวิต ระดับการเรียนรู้ของ
              สัตว์โลกแต่ละชนิดจะมีมากน้อยแตกต่างกันออกไป ระดับการเรียนรู้ของสัตว์โลก
              ชั้ น ต่ ำ ส่ ว นใหญ่ จ ะเป็ น ไปเพื่ อ ความอยู่ ร อดของชี วิ ต เช่ น เรี ย นรู้ ที่ จ ะแสวงหา
              อาหาร เรียนรู้ที่จะหลบหลีกภัยอันตรายจากศัตรู เป็นต้น ถ้าเป็นสัตว์โลกชั้นสูง
              เช่น มนุษย์ ระดับการเรียนรู้จะมีกระบวนการ มีขั้นตอนการเรียนรู้ที่เป็นระบบ
              ซับซ้อน ลึกซึ้งก้าวหน้ามากขึ้น
                         คุณสมบัติสำคัญประการหนึ่งที่มนุษย์มีก็คือ มนุษย์แต่ละบุคคล สามารถ
              เรี ย นรู้ แ ละพั ฒ นาตนเองได้ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ งตลอดเวลา ตลอดชี วิ ต ความรู้




10-030(001-110)P3.indd 1                                                                                1/6/11 6:05:15 PM
2                                                                     การศึกษาตามอัธยาศัย


            ความสามารถที่ ม นุ ษ ย์ มี จ ะถู ก สั่ ง สมพั ฒ นาและถ่ า ยทอดสื บ ทอดต่ อ กั น ไป
            ได้ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เราเรียกกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ดังกล่าวนี้ว่า
            “การศึกษา” การศึกษากับการดำเนินชีวิตของมนุษย์จึงเป็นกระบวนการอันหนึ่ง
            อันเดียวกัน ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องตลอดชีวิต และถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีก
            รุ่นหนึ่งตามลำดับ มนุษย์มีการศึกษาเรียนรู้อยู่แล้วตามธรรมชาติจึงสามารถพัฒนา
            ตนเองให้มีชีวิตอยู่รอดและสร้างสรรค์ความเจริญด้านต่าง ๆ สืบต่อกันมาได้จนถึง
            ปัจจุบัน
                     พั ฒ นาการเรี ย นรู้ ห รื อ “การศึ ก ษา” ของมนุ ษ ย์ เราตั้ ง แต่ ยุ ค เริ่ ม แรก
            มาจนถึงยุคปัจจุบันได้ก้าวหน้ามาโดยลำดับ มีการเรียน การสอน การฝึกอบรม
            หรือที่ยุคปัจจุบันรู้จักกันในนามของ “การศึกษา” ซึ่งการศึกษาที่โลกมีและเป็นที่
            รู้จักกันโดยทั่วไปมีอยู่ด้วยกัน 4 รูปแบบ คือ:-
                    การศึกษาในระบบ (Formal Education)
                    การศึกษานอกระบบ (Non-Formal Education)
                    การศึกษาตามอัธยาศัย (In-Formal Education)
                    การศึกษาตลอดชีวิต (Live Long Education)
                    ซึ่งอธิบายรายละเอียดเพิ่มได้ ดังนี้ :-

            การศึกษาในระบบ (Formal Education)
                    ความหมาย
                   ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
            พ.ศ. 2545 ได้ให้คำนิยามการศึกษาในระบบไว้ในหมวด 3 ระบบการศึกษา มาตรา
            15 (3) ดังนี้ :-




10-030(001-110)P3.indd 2                                                                             1/6/11 6:05:15 PM
บทที่ 1 ระบบการศึกษาที่โลกมีและเป็นที่รู้จัก                               

                     “... การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา
              หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของ
              การสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน ...” ซึ่งตรงกับความหมายของการศึกษาในระบบที่
              ปรากฏในหนังสือคัมภีร์ กศน. ที่หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานส่งเสริมการศึกษา
              นอกระบบและการศึกษาตลอดชีวิต สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้ให้
              นิยามความหมายของการศึกษาในระบบไว้ ดังนี้ :-
                      “... การศึกษาในระบบ (Formal Education) คือ การศึกษาที่กำหนด
              จุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมิน
              ผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน ...”
                    “... การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบ และระบบแบบแผน
              ชัดเจน มีการกำหนดวัตถุประสงค์หลักสูตร วิธีการจัดการเรียนการสอน การวัด
              ผลและการประเมิ น ผลที่ แ น่ น อน การศึ ก ษาในระบบของไทยประกอบด้ ว ย
              การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาขั้นอุดมศึกษา โดยการศึกษาขั้นพื้นฐานยัง
              แบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา ระดับ
              มัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในระดับมัธยมศึกษาตอน
              ปลายยังแบ่งออกเป็นประเภทสามัญศึกษา และประเภทอาชีวศึกษาอีกด้วย ส่วน
              การศึกษาขั้นอุดมศึกษานั้น แบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ คือ ต่ำกว่าปริญญาตรี
              ปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท และปริญญาเอก” (คัมภีร์ กศน.,
              2552)
                     ในรายงานการสั ม มนาการศึ ก ษานอกโรงเรี ย น ที่ จั ด โดยกระทรวง
              ศึกษาธิการ เมื่อปี 2517 ได้ให้คำจำกัดความของการศึกษาในระบบโรงเรียนไว้ว่า
              “... หมายถึง การศึกษาที่มีระบบมาตรฐานแน่นอน มีหลักสูตรของแต่ละระดับชั้น
              มีการกำหนดอายุและพื้นฐานความสามารถของผู้เรียน มีการให้ประกาศนียบัตร



10-030(001-110)P3.indd 3                                                           1/6/11 6:05:16 PM
4                                                                           การศึกษาตามอัธยาศัย


            ปริญญาบัตร ในระดับชั้นต่าง ๆ ซึ่งระบุให้ทราบว่าผู้ได้รับประกาศนียบัตรหรือ
            ปริญญาบัตรนั้น ๆ มีความรู้ความสามารถในระดับใด อันจะเป็นที่ยอมรับนับถือ
            โดยทั่วไป การศึกษาในระบบโรงเรียนนี้ อาจจะเป็นการศึกษาสายสามัญ สาย
            อาชีพ หรือแบบประสมก็ได้ ...” (กระทรวงศึกษาธิการ, 2517)
                     กล่ า วโดยสรุ ป ความหมายของ การศึ ก ษาในระบบ การศึ ก ษาใน
            โรงเรี ย น หรื อ การศึ ก ษารู ป นั ย ก็ เรี ย ก หมายถึ ง การศึ ก ษาที่ จั ด ให้ กั บ บุ ค คล
            กลุ่มเป้าหมายผู้อยู่ในโรงเรียน ในสถาบันการศึกษาทุกระดับ (อนุบาล ประถม
            ศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา) ทุกประเภท (ที่จัดโดยภาครัฐ และเอกชน)
            เป็นการศึกษาที่มีสถานที่เรียน มีหลักสูตร ที่จัดทำไว้เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน
            ตายตัว มีการจัดการเรียนการสอนที่มีผู้สอน ผู้เรียน และมีกิจกรรมการเรียนรู้
            มี ก ารวั ด และประเมิ น ผลความรู้ ที่ เรี ย นรู้ ไ ปโดยใช้ เ ครื่ อ งมื อ วั ด ประเมิ น ผลที่ ไ ด้
            คุณภาพมาตรฐาน มีการแจกวุฒิบัตร ประกาศนียบัตร หรือปริญญาบัตร เมื่อ
            ผู้เรียนเรียนจบหลักสูตร เป็นต้น
                     กล่าวได้ว่าการศึกษาในระบบเป็นการศึกษาที่มีระบบ ระเบียบ ในการ
            จั ด การเรี ย นรู้ ที่ ชั ด เจนแน่ น อน มี ส ถานที่ เรี ย น มี ห ลั ก สู ต ร มี สื่ อ การเรี ย น
            การสอน มีการจัดการเรียนการสอน มีการวัดและประเมินผล มีการให้วุฒิบัตร
            ประกาศนียบัตร หรือปริญญาบัตร เมื่อเรียนจบหลักสูตร เป็นการจัดการศึกษา
            ที่มีหลักเกณฑ์ชัดเจนแน่นอนตายตัว จึงยืดหยุ่นได้น้อย ตอบสนองความต้องการ
            เรียนรู้ของผู้เรียนได้จำนวนจำกัดเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น

                    ความสำคัญ
                  การศึกษาในระบบเป็นการศึกษาที่ทุกคนรู้จักดี เพราะคนส่วนใหญ่เกือบ
            ทุกคนจะต้องผ่านการศึกษาในระบบมาแล้วอย่างน้อยที่สุดก็ในช่วงของการศึกษา




10-030(001-110)P3.indd 4                                                                                    1/6/11 6:05:16 PM
บทที่ 1 ระบบการศึกษาที่โลกมีและเป็นที่รู้จัก                                                                   

              ขั้ น พื้ น ฐานระดั บ ประถมและระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษา ซึ่ ง เป็ น การศึ ก ษาภาคบั ง คั บ
              ให้ทุกคนต้องศึกษาเรียนรู้เพื่อประโยชน์ในการปกครองของรัฐ และประโยชน์ของ
              ตั ว ผู้ เรี ย นเองเพื่ อ ใช้ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ สื่ อ สารติ ด ต่ อ กั บ ผู้ อื่ น และใช้ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ
              ในการประกอบอาชี พ เลี้ ย งตนเองและครอบครั ว เพื่ อ ไม่ ใ ห้ เ ป็ น ภาระต่ อ ผู้ อื่ น
              นอกจากนี้ การศึ ก ษาในระบบ ระดั บ อุ ด มศึ ก ษาที่ สู ง ขึ้ น ไป ผู้ เรี ย นส่ ว นใหญ่
              จะนำไปใช้เพื่อประโยชน์ของตัวผู้เรียนเองเป็นสำคัญ เช่น ใช้เป็นเครื่องมือใน
              การประกอบอาชีพ พัฒนาอาชีพการงาน พัฒนาคุณภาพชีวิต ตลอดจนพัฒนา
              สังคมและประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า

              การศึกษานอกระบบ (Non-Formal Education)
                        ความหมาย
                     พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
              พ.ศ. 2545 ได้ให้คำนิยามการศึกษาในระบบไว้ในหมวด 3 ระบบการศึกษา มาตรา
              15 (2) ดังนี้ :-
                          “... การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนด
              จุ ด มุ่ ง หมาย รู ป แบบ วิ ธี ก ารจั ด การศึ ก ษา ระยะเวลาของการศึ ก ษา การวั ด
              และประเมิ น ผล ซึ่ ง เป็ น เงื่ อ นไขสำคั ญ ของการสำเร็ จ การศึ ก ษา โดยเนื้ อ หา
              และหลั ก สู ต รจะต้ อ งมี ค วามเหมาะสม และสอดคล้ อ งกั บ สภาพปั ญ หาและ
              ความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม ...” (พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
              แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2), 2545)
                   การศึกษานอกระบบ ตามมาตรา 4 ในพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษา
              นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 ได้ให้ความหมายไว้ ดังนี้ :-




10-030(001-110)P3.indd 5                                                                                                 1/6/11 6:05:17 PM
การศึกษาตามอัธยาศัย


                    “... การศึ ก ษานอกระบบ หมายความว่ า กิ จ กรรมการศึ ก ษาที่ มี ก ลุ่ ม
            เป้ า หมายผู้ รั บ บริ ก ารและวั ต ถุ ป ระสงค์ ข องการเรี ย นรู้ ที่ ชั ด เจน มี รู ป แบบ
            มีหลักสูตร วิธีการจัด และระยะเวลาเรียนที่ยืดหยุ่นและหลากหลายตามสภาพ
            ความต้องการ และศักยภาพในการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย มีวิธีการวัดผลและ
            ประเมินผลการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานเพื่อรับคุณวุฒิทางการศึกษา หรือเพื่อจัดระดับ
            ผลการเรี ย นรู้ ...” (พ.ร.บ. ส่ ง เสริ ม การศึ ก ษานอกระบบและการศึ ก ษาตาม
            อัธยาศัย, 2551)
                         ฟิลิป เอช คูมส์ กล่าวว่า “... การศึกษานอก (ระบบ) โรงเรียน หมายถึง
            กิจกรรมการศึกษาที่จัดขึ้นนอกระบบการศึกษาภาคปกติ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม
            ที่ จั ด ขึ้ น ต่ า งหากหรื อ จั ด เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของกิ จ กรรมใหญ่ อื่ น ๆ เป็ น กิ จ กรรม
            ที่ มุ่ ง ให้ บ ริ ก ารกลุ่ ม ผู้ เรี ย นที่ ก ำหนดเป็ น เป้ า หมายและอย่ า งมี ค วามมุ่ ง หมาย
            ตัวอย่างเช่น สถานเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน (ยกเว้น โรงเรียนอนุบาล) โรงเรียน
            ที่มุ่งให้โอกาส (Second Chance) แก่ผู้ไม่มีโอกาสได้รับการศึกษาเมื่ออยู่ใน
            วัยที่ควรได้รับการศึกษา หรือต้องออกจากโรงเรียนก่อนกำหนด โรงเรียนผู้ใหญ่
            กิจการลูกเสือ อนุกาชาด ยุวกสิกร กลุ่มสนใจดนตรี การฝึกฝนอาชีพ กลุ่มกสิกร
            ฯลฯ เป็นต้น ...” ( Philip H. Coombs, 1973)
                    เดวิด ไคล์น และโทมัส บี คีน ได้ให้คำจำกัดความการศึกษานอก (ระบบ)
            โรงเรี ย นไว้ ว่ า “... การศึ ก ษานอกโรงเรี ย นเหมื อ นกั บ การศึ ก ษาที่ เรี ย กว่ า
            การศึ ก ษานอกระบบ การศึ ก ษาผู้ ใ หญ่ การศึ ก ษาตลอดชี วิ ต การศึ ก ษาแบบ
            เบ็ ด เสร็ จ เป็ น คำที่ ห มายถึ ง ชนิ ด ของการศึ ก ษาที่ พั ฒ นาขึ้ น มาเพื่ อ เป็ น ทาง
            เลื อ ก หรื อ เสริ ม การศึ ก ษาในระบบโรงเรี ย น เป็ น การศึ ก ษาที่ จั ด ขึ้ น เพื่ อ ช่ ว ย
            ปิดช่องว่างของประชากรจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้ารับบริการจากการศึกษาใน
            ระบบโรงเรี ย นได้ อ ย่ า งทั่ ว ถึ ง เมื่ อ เปรี ย บเที ย บกั บ การศึ ก ษาในระบบโรงเรี ย น




10-030(001-110)P3.indd 6                                                                                  1/6/11 6:05:17 PM
บทที่ 1 ระบบการศึกษาที่โลกมีและเป็นที่รู้จัก                                                    

              แล้ว การศึกษานอก (ระบบ) โรงเรียน เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นได้มาก
              กว่า ...” (David Kline and Thomas B. Keehn, 1971)
                     กล่าวโดยสรุป ความหมายของ การศึกษานอกระบบ การศึกษานอก
              โรงเรียน หรือการศึกษาอรูปนัยก็เรียก หมายถึง การศึกษาที่จัดให้กับบุคคลกลุ่ม
              เป้าหมายผู้อยู่นอกโรงเรียน นอกสถานศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท ทั้งที่จัดโดย
              ภาครัฐและเอกชน เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการจัดมากกว่าการศึกษา
              ในระบบ สถานที่เรียนไม่คงที่แม้จะมีหลักสูตรเป็นลายลักษณ์อักษรแต่ก็มีความ
              หลากหลาย ยืดหยุ่น ตอบสนองความต้องการการเรียนรู้ของผู้เรียนได้หลากหลาย
              เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการใช้ความรู้และประสบการณ์เดิมของผู้เรียนมา
              ต่อยอดให้สูงขึ้น มีการวัดประเมินผลที่มุ่งเน้นการปฏิบัติได้จริง ใช้วิธีการประเมิน
              ผลที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้เทียบโอนความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียนเข้ามา
              เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ตามหลักสูตรในระบบโรงเรียนได้ เมื่อเรียนจบหลักสูตร
              แล้วอาจจะแจกประกาศนียบัตร วุฒิบัตร เกียรติบัตร หรือปริญญาบัตร หรือไม่
              ก็ได้
                     กล่าวได้ว่าการศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น หลาก
              หลาย ตั้งแต่สถานที่เรียน หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดประเมินผล
              และการรับรองความรู้ เป็นการศึกษาที่เหมาะสมกับผู้มีความรู้และประสบการณ์
              จากการประกอบอาชีพ เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาอาชีพและ
              ความรู้ความสามารถให้สูงขึ้นทันต่อความเจริญก้าวหน้าและความเปลี่ยนแปลง
              ของสังคมโลกยุคปัจจุบัน

                       ความสำคัญ
                       การศึ ก ษานอกระบบเป็ น การศึ ก ษาที่ ช่ ว ยส่ ง เสริ ม เติ ม เต็ ม ความรู้ ใ ห้ แ ก่




10-030(001-110)P3.indd 7                                                                               1/6/11 6:05:18 PM
การศึกษาตามอัธยาศัย


            ผู้ด้อย พลาด ขาดโอกาสทางการศึกษาในระบบโรงเรียน และเป็นการเสริมสร้าง
            ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ให้แก่ผู้ต้องการพัฒนาตนเอง พัฒนาอาชีพ
            และพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองให้ก้าวหน้าทันต่อความเปลี่ยนแปลง
            ของสังคมและโลกยุคปัจจุบัน

            การศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) 
                    ความหมาย
                  พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
            พ.ศ. 2545 ได้ให้คำนิยามการศึกษาตลอดชีวิตไว้ในหมวด 3 ระบบการศึกษา
            มาตรา 15 (3) ดังนี้ :-
                  “... การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
            ตามความสนใจ ศั ก ยภาพ ความพร้ อ ม และโอกาส โดยศึ ก ษาจากบุ ค คล
            ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่น ๆ ...” (พ.ร.บ.
            การศึกษาแห่งชาติ, 2545)
                     กรมการศึกษานอกโรงเรียนได้ให้ความหมายของการศึกษาตามอัธยาศัย
            ไว้ว่า“... การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่ผู้เรียนเรียน
            รู้ได้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจาก
            ประสบการณ์ การทำงาน บุคคล ครอบครัว สื่อมวลชน ชุมชน แหล่งความรู้ต่าง ๆ
            เพื่อเพิ่มพูนความรู้ทักษะ ความบันเทิง และพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยมีลักษณะ
            สำคัญคือไม่มีหลักสูตร ไม่มีเวลาเรียนที่แน่นอน ไม่จำกัดอายุ ไม่มีการลงทะเบียน
            ไม่มีการสอบ ไม่มีการรับประกาศนียบัตร มีหรือไม่มีสถานศึกษาที่แน่นอน เรียน




10-030(001-110)P3.indd 8                                                                     1/6/11 6:05:18 PM
บทที่ 1 ระบบการศึกษาที่โลกมีและเป็นที่รู้จัก                                                  

              ที่ไหนก็ได้สามารถเรียนได้ตลอดเวลาและเกิดขึ้นในทุกช่วงวัย ตลอดชีวิต ...”
              (กรมการศึกษานอกโรงเรียน, 2544)
                        ในหนังสือคัมภีร์ กศน. ที่จัดทำโดยหน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานส่งเสริม
              การศึกษานอกระบบและการศึกษาตลอดชีวิต สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
              ได้ให้นิยามความหมายของการศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตามอัธยาศัยไว้
              ดังนี้ :-
                         “... การศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) เป็นการศึกษาที่
              เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสนใจ ศักยภาพ ความ
              พร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากประสบการณ์ การทำงาน บุคคล ครอบครัว
              สื่อมวลชน ชุมชน แหล่งความรู้ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง
              และการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ ไม่มีหลักสูตร ไม่มีเวลา
              เรี ย นที่ แ น่ น อน ไม่ จ ำกั ด อายุ ไม่ มี ก ารลงทะเบี ย น ไม่ มี ก ารสอบ ไม่ มี ก ารรั บ
              ประกาศนียบัตร มีหรือไม่มีสถานศึกษาที่แน่นอน เรียนที่ไหนก็ได้ สามารถเรียน
              ได้ตลอดเวลาและเกิดขึ้นในทุกช่วงวัยตลอดชีวิต
                     การเรียนรู้ตามอัธยาศัย (Informal Learning) เป็นการเรียนรู้จาก
              ประสบการณ์ โดยตั้ ง ใจ หรื อ ไม่ ตั้ ง ใจ ได้ รั บ ความรู้ อ ย่ า งไม่ รู้ ตั ว โดยผ่ า นสื่ อ
              ต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ สื่อบุคคล ฯลฯ สามารถนำความรู้นั้น
              ไปใช้ เช่น การดูละครทางโทรทัศน์เพื่อการผ่อนคลาย อ่านหนังสือ ดูรายการที่ให้
              ความรู้ที่จัดขึ้นทางโทรทัศน์ ฟังข่าววิทยุ อ่านหนังสือพิมพ์ การท่องเที่ยวตาม
              สถานที่ ต่ า ง ๆ เป็ น ต้ น ผู้ เรี ย นเป็ น ผู้ ก ำหนดการเรี ย นรู้ ด้ ว ยตนเองนั บ ตั้ ง แต่
              การเลือกที่จะเรียนรู้หรือไม่เรียน จะเรียนรู้เรื่องใดผู้เรียนเป็นผู้ประเมินผลการเรียน
              รู้ของตนเอง ...” (คัมภีร์ กศน., 2552)




10-030(001-110)P3.indd 9                                                                                1/6/11 6:05:18 PM
10                                                                       การศึกษาตามอัธยาศัย


                   มี นั ก การศึ ก ษาและท่ า นผู้ รู้ ไ ด้ อ ธิ บ ายความหมายของการศึ ก ษาตาม
           อั ธ ยาศั ย และการเรี ย นรู้ ต ามอั ธ ยาศั ย ไว้ แ ตกต่ า งกั น บ้ า งในรายละเอี ย ดแต่ ไ ม่
           แตกต่างกันในสาระสำคัญ ดังนี้ :-
                  การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตาม
           ความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์
           สังคม สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งความรู้อื่น ๆ
                   การเรียนรู้ตามอัธยาศัย หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ผู้เรียน
           ได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ความถนัด โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์
           สังคม สภาพแวดล้อม ธรรมชาติ สื่อหรือแหล่งความรู้อื่น ๆ (ทิศนา แขมมณี,
           2552)
                  การศึกษาตามอัธยาศัย หมายถึง การศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตซึ่งเป็น
           การเรียนรู้จากประสบการณ์ เช่น จากการทำงาน บุคคล ครอบครัว ชุมชน และ
           จากแหล่ ง ความรู้ ต่ า ง ๆ เพื่ อ เพิ่ ม พู น ความรู้ ทั ก ษะ เพื่ อ ความบั น เทิ ง และ
           การพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต ของตนเอง การอบรมสั่ ง สอนให้ ป ระพฤติ ป ฏิ บั ติ ต าม
           ระเบียบประเพณี พิธีกรรม วัฒนธรรมทางสังคม การเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ
           การอ่านหนังสือ ดูภาพยนตร์ ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ ไม่มี
           องค์กร ไม่มีระบบ และไม่จำกัดเวลา
                    การศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) เป็นกระบวนการเรียนรู้
           ตลอดชีวิต ซึ่งบุคคลสามารถแสวงหาและรับความรู้ ทักษะ เจตคติ ความเข้าใจ
           ที่ ก ระจ่ า งชั ด เกี่ ย วกั บ ประสบการณ์ ใ นชี วิ ต ประจำวั น และการแสดงออกต่ อ
           สิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว (La Bell, 1892)




10-030(001-110)P3.indd 10                                                                             1/6/11 6:05:19 PM

More Related Content

What's hot

รายงานการใช้สื่อ5บท
รายงานการใช้สื่อ5บทรายงานการใช้สื่อ5บท
รายงานการใช้สื่อ5บทJiraporn Chaimongkol
 
แบบประเมิน รางวัลทรงคุณค่า สพฐ (Obec awards) ของครูไชยวัฒน์
แบบประเมิน รางวัลทรงคุณค่า สพฐ (Obec awards) ของครูไชยวัฒน์แบบประเมิน รางวัลทรงคุณค่า สพฐ (Obec awards) ของครูไชยวัฒน์
แบบประเมิน รางวัลทรงคุณค่า สพฐ (Obec awards) ของครูไชยวัฒน์chaiwat vichianchai
 
รายงานพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
รายงานพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรายงานพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
รายงานพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนNatmol Thedsanabun
 
5มาตรฐานวิชาชีพครูและะจรรยาบรรณวิชาชีพok
5มาตรฐานวิชาชีพครูและะจรรยาบรรณวิชาชีพok5มาตรฐานวิชาชีพครูและะจรรยาบรรณวิชาชีพok
5มาตรฐานวิชาชีพครูและะจรรยาบรรณวิชาชีพokTophit Sampootong
 
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพ
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพแนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพ
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพปกรณ์กฤช ออนไลน์
 
ติวสอบครูผู้ช่วย 2556
ติวสอบครูผู้ช่วย 2556ติวสอบครูผู้ช่วย 2556
ติวสอบครูผู้ช่วย 2556Pakornkrits
 
คู่มือการใช้บทเรียนมัลติมีเดียช่วยสอน
คู่มือการใช้บทเรียนมัลติมีเดียช่วยสอนคู่มือการใช้บทเรียนมัลติมีเดียช่วยสอน
คู่มือการใช้บทเรียนมัลติมีเดียช่วยสอนChainarong Maharak
 
ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา..Week 1
ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา..Week 1ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา..Week 1
ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา..Week 1ถูกต้อง ไม่จำเป็นต้องถูกใจ
 
มคอ3อเงินยวง มนุษยสัมพันธ์
มคอ3อเงินยวง มนุษยสัมพันธ์มคอ3อเงินยวง มนุษยสัมพันธ์
มคอ3อเงินยวง มนุษยสัมพันธ์ไชยยา มะณี
 
รายงาน Obec awards
รายงาน Obec awardsรายงาน Obec awards
รายงาน Obec awardsJiraporn
 
Unit 7
Unit 7Unit 7
Unit 7Tar Bt
 
การใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
การใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551การใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
การใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551คน ขี้เล่า
 
กคศอนุมัติวิทยาฐานะเชี่ยวชาญ
กคศอนุมัติวิทยาฐานะเชี่ยวชาญกคศอนุมัติวิทยาฐานะเชี่ยวชาญ
กคศอนุมัติวิทยาฐานะเชี่ยวชาญThitiwat Paisan
 
ค่ายฮักแพงแบ่งปัน ติวสอบบรรจุครูผู้ช่วย
ค่ายฮักแพงแบ่งปัน ติวสอบบรรจุครูผู้ช่วยค่ายฮักแพงแบ่งปัน ติวสอบบรรจุครูผู้ช่วย
ค่ายฮักแพงแบ่งปัน ติวสอบบรรจุครูผู้ช่วยAon Wallapa
 
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ 2551
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ 2551หลักสูตรการศึกษานอกระบบ 2551
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ 2551Panlop
 

What's hot (20)

55102 ภาษาไทย utq
55102  ภาษาไทย utq55102  ภาษาไทย utq
55102 ภาษาไทย utq
 
รายงานการใช้สื่อ5บท
รายงานการใช้สื่อ5บทรายงานการใช้สื่อ5บท
รายงานการใช้สื่อ5บท
 
แบบประเมิน รางวัลทรงคุณค่า สพฐ (Obec awards) ของครูไชยวัฒน์
แบบประเมิน รางวัลทรงคุณค่า สพฐ (Obec awards) ของครูไชยวัฒน์แบบประเมิน รางวัลทรงคุณค่า สพฐ (Obec awards) ของครูไชยวัฒน์
แบบประเมิน รางวัลทรงคุณค่า สพฐ (Obec awards) ของครูไชยวัฒน์
 
รายงานพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
รายงานพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรายงานพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
รายงานพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
 
5มาตรฐานวิชาชีพครูและะจรรยาบรรณวิชาชีพok
5มาตรฐานวิชาชีพครูและะจรรยาบรรณวิชาชีพok5มาตรฐานวิชาชีพครูและะจรรยาบรรณวิชาชีพok
5มาตรฐานวิชาชีพครูและะจรรยาบรรณวิชาชีพok
 
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพ
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพแนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพ
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพ
 
ติวสอบครูผู้ช่วย 2556
ติวสอบครูผู้ช่วย 2556ติวสอบครูผู้ช่วย 2556
ติวสอบครูผู้ช่วย 2556
 
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัยมคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
มคอ.3 สังคมไทยร่วมสมัย
 
คู่มือการใช้บทเรียนมัลติมีเดียช่วยสอน
คู่มือการใช้บทเรียนมัลติมีเดียช่วยสอนคู่มือการใช้บทเรียนมัลติมีเดียช่วยสอน
คู่มือการใช้บทเรียนมัลติมีเดียช่วยสอน
 
ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา..Week 1
ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา..Week 1ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา..Week 1
ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา..Week 1
 
ม.ค.อ.3เหตุการณ์โลกฯ 2 52557(2558)
ม.ค.อ.3เหตุการณ์โลกฯ 2 52557(2558)ม.ค.อ.3เหตุการณ์โลกฯ 2 52557(2558)
ม.ค.อ.3เหตุการณ์โลกฯ 2 52557(2558)
 
แผน 1 1 เทคโนโลยี ป.1
แผน 1 1 เทคโนโลยี ป.1แผน 1 1 เทคโนโลยี ป.1
แผน 1 1 เทคโนโลยี ป.1
 
มคอ3อเงินยวง มนุษยสัมพันธ์
มคอ3อเงินยวง มนุษยสัมพันธ์มคอ3อเงินยวง มนุษยสัมพันธ์
มคอ3อเงินยวง มนุษยสัมพันธ์
 
รายงาน Obec awards
รายงาน Obec awardsรายงาน Obec awards
รายงาน Obec awards
 
Unit 7
Unit 7Unit 7
Unit 7
 
การใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
การใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551การใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
การใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551
 
กคศอนุมัติวิทยาฐานะเชี่ยวชาญ
กคศอนุมัติวิทยาฐานะเชี่ยวชาญกคศอนุมัติวิทยาฐานะเชี่ยวชาญ
กคศอนุมัติวิทยาฐานะเชี่ยวชาญ
 
บทที่ 6new
บทที่ 6newบทที่ 6new
บทที่ 6new
 
ค่ายฮักแพงแบ่งปัน ติวสอบบรรจุครูผู้ช่วย
ค่ายฮักแพงแบ่งปัน ติวสอบบรรจุครูผู้ช่วยค่ายฮักแพงแบ่งปัน ติวสอบบรรจุครูผู้ช่วย
ค่ายฮักแพงแบ่งปัน ติวสอบบรรจุครูผู้ช่วย
 
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ 2551
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ 2551หลักสูตรการศึกษานอกระบบ 2551
หลักสูตรการศึกษานอกระบบ 2551
 

Viewers also liked

3.แผนการเรียนรู้ backward
3.แผนการเรียนรู้ backward3.แผนการเรียนรู้ backward
3.แผนการเรียนรู้ backwardparichat441
 
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ หลักและวิธีวิเคราะห์ การสร้างสรรค์การแสดง ฯ
เอกสารประกอบการเรียน   วิชานาฏศิลป์ หลักและวิธีวิเคราะห์  การสร้างสรรค์การแสดง ฯเอกสารประกอบการเรียน   วิชานาฏศิลป์ หลักและวิธีวิเคราะห์  การสร้างสรรค์การแสดง ฯ
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ หลักและวิธีวิเคราะห์ การสร้างสรรค์การแสดง ฯPanomporn Chinchana
 
เอกสารประกอบการเรียน ชุดที่ 1-ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
เอกสารประกอบการเรียน ชุดที่ 1-ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดงเอกสารประกอบการเรียน ชุดที่ 1-ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
เอกสารประกอบการเรียน ชุดที่ 1-ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดงครูเย็นจิตร บุญศรี
 
เอกสารประกอบการเรียน เรื่องนาฏยศัพท์ ม-4 รวบรวมโดย ครูเย็นจิตร บุญศรี
เอกสารประกอบการเรียน เรื่องนาฏยศัพท์  ม-4 รวบรวมโดย ครูเย็นจิตร  บุญศรีเอกสารประกอบการเรียน เรื่องนาฏยศัพท์  ม-4 รวบรวมโดย ครูเย็นจิตร  บุญศรี
เอกสารประกอบการเรียน เรื่องนาฏยศัพท์ ม-4 รวบรวมโดย ครูเย็นจิตร บุญศรีครูเย็นจิตร บุญศรี
 
เล่มที่ 1 ระบบสุริยะ
เล่มที่ 1 ระบบสุริยะเล่มที่ 1 ระบบสุริยะ
เล่มที่ 1 ระบบสุริยะmayureesongnoo
 

Viewers also liked (6)

Music drama
Music dramaMusic drama
Music drama
 
3.แผนการเรียนรู้ backward
3.แผนการเรียนรู้ backward3.แผนการเรียนรู้ backward
3.แผนการเรียนรู้ backward
 
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ หลักและวิธีวิเคราะห์ การสร้างสรรค์การแสดง ฯ
เอกสารประกอบการเรียน   วิชานาฏศิลป์ หลักและวิธีวิเคราะห์  การสร้างสรรค์การแสดง ฯเอกสารประกอบการเรียน   วิชานาฏศิลป์ หลักและวิธีวิเคราะห์  การสร้างสรรค์การแสดง ฯ
เอกสารประกอบการเรียน วิชานาฏศิลป์ หลักและวิธีวิเคราะห์ การสร้างสรรค์การแสดง ฯ
 
เอกสารประกอบการเรียน ชุดที่ 1-ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
เอกสารประกอบการเรียน ชุดที่ 1-ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดงเอกสารประกอบการเรียน ชุดที่ 1-ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
เอกสารประกอบการเรียน ชุดที่ 1-ประวัติบุคคลสำคัญในนาฏศิลป์และการแสดง
 
เอกสารประกอบการเรียน เรื่องนาฏยศัพท์ ม-4 รวบรวมโดย ครูเย็นจิตร บุญศรี
เอกสารประกอบการเรียน เรื่องนาฏยศัพท์  ม-4 รวบรวมโดย ครูเย็นจิตร  บุญศรีเอกสารประกอบการเรียน เรื่องนาฏยศัพท์  ม-4 รวบรวมโดย ครูเย็นจิตร  บุญศรี
เอกสารประกอบการเรียน เรื่องนาฏยศัพท์ ม-4 รวบรวมโดย ครูเย็นจิตร บุญศรี
 
เล่มที่ 1 ระบบสุริยะ
เล่มที่ 1 ระบบสุริยะเล่มที่ 1 ระบบสุริยะ
เล่มที่ 1 ระบบสุริยะ
 

Similar to 9789740327745

บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11kanwan0429
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11kanwan0429
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1nattawad147
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1wanneemayss
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1nattawad147
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1nattawad147
 
1 170819173012
1 1708191730121 170819173012
1 170819173012gam030
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1nattawad147
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1benty2443
 
สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับ พรบ
สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับ พรบสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับ พรบ
สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับ พรบtunyapisit
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1kanwan0429
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1kanwan0429
 

Similar to 9789740327745 (20)

บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
1 170819173012
1 1708191730121 170819173012
1 170819173012
 
1 170819173012
1 1708191730121 170819173012
1 170819173012
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
1 170819173012
1 1708191730121 170819173012
1 170819173012
 
1 170819173012
1 1708191730121 170819173012
1 170819173012
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
1 170819173012
1 1708191730121 170819173012
1 170819173012
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
1 170819173012
1 1708191730121 170819173012
1 170819173012
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับ พรบ
สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับ พรบสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับ พรบ
สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับ พรบ
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 

More from CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740327745

  • 1. บทที่ 1 ระบบการศึกษาที่โลกมีและเป็นที่รู้จัก การเรียนรู้กำเนิดขึ้นมาพร้อมกับการเกิดของสิ่งมีชีวิต ระดับการเรียนรู้ของ สัตว์โลกแต่ละชนิดจะมีมากน้อยแตกต่างกันออกไป ระดับการเรียนรู้ของสัตว์โลก ชั้ น ต่ ำ ส่ ว นใหญ่ จ ะเป็ น ไปเพื่ อ ความอยู่ ร อดของชี วิ ต เช่ น เรี ย นรู้ ที่ จ ะแสวงหา อาหาร เรียนรู้ที่จะหลบหลีกภัยอันตรายจากศัตรู เป็นต้น ถ้าเป็นสัตว์โลกชั้นสูง เช่น มนุษย์ ระดับการเรียนรู้จะมีกระบวนการ มีขั้นตอนการเรียนรู้ที่เป็นระบบ ซับซ้อน ลึกซึ้งก้าวหน้ามากขึ้น คุณสมบัติสำคัญประการหนึ่งที่มนุษย์มีก็คือ มนุษย์แต่ละบุคคล สามารถ เรี ย นรู้ แ ละพั ฒ นาตนเองได้ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ งตลอดเวลา ตลอดชี วิ ต ความรู้ 10-030(001-110)P3.indd 1 1/6/11 6:05:15 PM
  • 2. 2 การศึกษาตามอัธยาศัย ความสามารถที่ ม นุ ษ ย์ มี จ ะถู ก สั่ ง สมพั ฒ นาและถ่ า ยทอดสื บ ทอดต่ อ กั น ไป ได้ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เราเรียกกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ดังกล่าวนี้ว่า “การศึกษา” การศึกษากับการดำเนินชีวิตของมนุษย์จึงเป็นกระบวนการอันหนึ่ง อันเดียวกัน ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องตลอดชีวิต และถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีก รุ่นหนึ่งตามลำดับ มนุษย์มีการศึกษาเรียนรู้อยู่แล้วตามธรรมชาติจึงสามารถพัฒนา ตนเองให้มีชีวิตอยู่รอดและสร้างสรรค์ความเจริญด้านต่าง ๆ สืบต่อกันมาได้จนถึง ปัจจุบัน พั ฒ นาการเรี ย นรู้ ห รื อ “การศึ ก ษา” ของมนุ ษ ย์ เราตั้ ง แต่ ยุ ค เริ่ ม แรก มาจนถึงยุคปัจจุบันได้ก้าวหน้ามาโดยลำดับ มีการเรียน การสอน การฝึกอบรม หรือที่ยุคปัจจุบันรู้จักกันในนามของ “การศึกษา” ซึ่งการศึกษาที่โลกมีและเป็นที่ รู้จักกันโดยทั่วไปมีอยู่ด้วยกัน 4 รูปแบบ คือ:- การศึกษาในระบบ (Formal Education) การศึกษานอกระบบ (Non-Formal Education) การศึกษาตามอัธยาศัย (In-Formal Education) การศึกษาตลอดชีวิต (Live Long Education) ซึ่งอธิบายรายละเอียดเพิ่มได้ ดังนี้ :- การศึกษาในระบบ (Formal Education) ความหมาย ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้ให้คำนิยามการศึกษาในระบบไว้ในหมวด 3 ระบบการศึกษา มาตรา 15 (3) ดังนี้ :- 10-030(001-110)P3.indd 2 1/6/11 6:05:15 PM
  • 3. บทที่ 1 ระบบการศึกษาที่โลกมีและเป็นที่รู้จัก “... การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของ การสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน ...” ซึ่งตรงกับความหมายของการศึกษาในระบบที่ ปรากฏในหนังสือคัมภีร์ กศน. ที่หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานส่งเสริมการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตลอดชีวิต สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้ให้ นิยามความหมายของการศึกษาในระบบไว้ ดังนี้ :- “... การศึกษาในระบบ (Formal Education) คือ การศึกษาที่กำหนด จุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมิน ผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน ...” “... การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่มีรูปแบบ และระบบแบบแผน ชัดเจน มีการกำหนดวัตถุประสงค์หลักสูตร วิธีการจัดการเรียนการสอน การวัด ผลและการประเมิ น ผลที่ แ น่ น อน การศึ ก ษาในระบบของไทยประกอบด้ ว ย การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาขั้นอุดมศึกษา โดยการศึกษาขั้นพื้นฐานยัง แบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในระดับมัธยมศึกษาตอน ปลายยังแบ่งออกเป็นประเภทสามัญศึกษา และประเภทอาชีวศึกษาอีกด้วย ส่วน การศึกษาขั้นอุดมศึกษานั้น แบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ คือ ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท และปริญญาเอก” (คัมภีร์ กศน., 2552) ในรายงานการสั ม มนาการศึ ก ษานอกโรงเรี ย น ที่ จั ด โดยกระทรวง ศึกษาธิการ เมื่อปี 2517 ได้ให้คำจำกัดความของการศึกษาในระบบโรงเรียนไว้ว่า “... หมายถึง การศึกษาที่มีระบบมาตรฐานแน่นอน มีหลักสูตรของแต่ละระดับชั้น มีการกำหนดอายุและพื้นฐานความสามารถของผู้เรียน มีการให้ประกาศนียบัตร 10-030(001-110)P3.indd 3 1/6/11 6:05:16 PM
  • 4. 4 การศึกษาตามอัธยาศัย ปริญญาบัตร ในระดับชั้นต่าง ๆ ซึ่งระบุให้ทราบว่าผู้ได้รับประกาศนียบัตรหรือ ปริญญาบัตรนั้น ๆ มีความรู้ความสามารถในระดับใด อันจะเป็นที่ยอมรับนับถือ โดยทั่วไป การศึกษาในระบบโรงเรียนนี้ อาจจะเป็นการศึกษาสายสามัญ สาย อาชีพ หรือแบบประสมก็ได้ ...” (กระทรวงศึกษาธิการ, 2517) กล่ า วโดยสรุ ป ความหมายของ การศึ ก ษาในระบบ การศึ ก ษาใน โรงเรี ย น หรื อ การศึ ก ษารู ป นั ย ก็ เรี ย ก หมายถึ ง การศึ ก ษาที่ จั ด ให้ กั บ บุ ค คล กลุ่มเป้าหมายผู้อยู่ในโรงเรียน ในสถาบันการศึกษาทุกระดับ (อนุบาล ประถม ศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา) ทุกประเภท (ที่จัดโดยภาครัฐ และเอกชน) เป็นการศึกษาที่มีสถานที่เรียน มีหลักสูตร ที่จัดทำไว้เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน ตายตัว มีการจัดการเรียนการสอนที่มีผู้สอน ผู้เรียน และมีกิจกรรมการเรียนรู้ มี ก ารวั ด และประเมิ น ผลความรู้ ที่ เรี ย นรู้ ไ ปโดยใช้ เ ครื่ อ งมื อ วั ด ประเมิ น ผลที่ ไ ด้ คุณภาพมาตรฐาน มีการแจกวุฒิบัตร ประกาศนียบัตร หรือปริญญาบัตร เมื่อ ผู้เรียนเรียนจบหลักสูตร เป็นต้น กล่าวได้ว่าการศึกษาในระบบเป็นการศึกษาที่มีระบบ ระเบียบ ในการ จั ด การเรี ย นรู้ ที่ ชั ด เจนแน่ น อน มี ส ถานที่ เรี ย น มี ห ลั ก สู ต ร มี สื่ อ การเรี ย น การสอน มีการจัดการเรียนการสอน มีการวัดและประเมินผล มีการให้วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร หรือปริญญาบัตร เมื่อเรียนจบหลักสูตร เป็นการจัดการศึกษา ที่มีหลักเกณฑ์ชัดเจนแน่นอนตายตัว จึงยืดหยุ่นได้น้อย ตอบสนองความต้องการ เรียนรู้ของผู้เรียนได้จำนวนจำกัดเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ความสำคัญ การศึกษาในระบบเป็นการศึกษาที่ทุกคนรู้จักดี เพราะคนส่วนใหญ่เกือบ ทุกคนจะต้องผ่านการศึกษาในระบบมาแล้วอย่างน้อยที่สุดก็ในช่วงของการศึกษา 10-030(001-110)P3.indd 4 1/6/11 6:05:16 PM
  • 5. บทที่ 1 ระบบการศึกษาที่โลกมีและเป็นที่รู้จัก ขั้ น พื้ น ฐานระดั บ ประถมและระดั บ มั ธ ยมศึ ก ษา ซึ่ ง เป็ น การศึ ก ษาภาคบั ง คั บ ให้ทุกคนต้องศึกษาเรียนรู้เพื่อประโยชน์ในการปกครองของรัฐ และประโยชน์ของ ตั ว ผู้ เรี ย นเองเพื่ อ ใช้ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ สื่ อ สารติ ด ต่ อ กั บ ผู้ อื่ น และใช้ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ ในการประกอบอาชี พ เลี้ ย งตนเองและครอบครั ว เพื่ อ ไม่ ใ ห้ เ ป็ น ภาระต่ อ ผู้ อื่ น นอกจากนี้ การศึ ก ษาในระบบ ระดั บ อุ ด มศึ ก ษาที่ สู ง ขึ้ น ไป ผู้ เรี ย นส่ ว นใหญ่ จะนำไปใช้เพื่อประโยชน์ของตัวผู้เรียนเองเป็นสำคัญ เช่น ใช้เป็นเครื่องมือใน การประกอบอาชีพ พัฒนาอาชีพการงาน พัฒนาคุณภาพชีวิต ตลอดจนพัฒนา สังคมและประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า การศึกษานอกระบบ (Non-Formal Education) ความหมาย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้ให้คำนิยามการศึกษาในระบบไว้ในหมวด 3 ระบบการศึกษา มาตรา 15 (2) ดังนี้ :- “... การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนด จุ ด มุ่ ง หมาย รู ป แบบ วิ ธี ก ารจั ด การศึ ก ษา ระยะเวลาของการศึ ก ษา การวั ด และประเมิ น ผล ซึ่ ง เป็ น เงื่ อ นไขสำคั ญ ของการสำเร็ จ การศึ ก ษา โดยเนื้ อ หา และหลั ก สู ต รจะต้ อ งมี ค วามเหมาะสม และสอดคล้ อ งกั บ สภาพปั ญ หาและ ความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม ...” (พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2), 2545) การศึกษานอกระบบ ตามมาตรา 4 ในพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 ได้ให้ความหมายไว้ ดังนี้ :- 10-030(001-110)P3.indd 5 1/6/11 6:05:17 PM
  • 6. การศึกษาตามอัธยาศัย “... การศึ ก ษานอกระบบ หมายความว่ า กิ จ กรรมการศึ ก ษาที่ มี ก ลุ่ ม เป้ า หมายผู้ รั บ บริ ก ารและวั ต ถุ ป ระสงค์ ข องการเรี ย นรู้ ที่ ชั ด เจน มี รู ป แบบ มีหลักสูตร วิธีการจัด และระยะเวลาเรียนที่ยืดหยุ่นและหลากหลายตามสภาพ ความต้องการ และศักยภาพในการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมาย มีวิธีการวัดผลและ ประเมินผลการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานเพื่อรับคุณวุฒิทางการศึกษา หรือเพื่อจัดระดับ ผลการเรี ย นรู้ ...” (พ.ร.บ. ส่ ง เสริ ม การศึ ก ษานอกระบบและการศึ ก ษาตาม อัธยาศัย, 2551) ฟิลิป เอช คูมส์ กล่าวว่า “... การศึกษานอก (ระบบ) โรงเรียน หมายถึง กิจกรรมการศึกษาที่จัดขึ้นนอกระบบการศึกษาภาคปกติ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม ที่ จั ด ขึ้ น ต่ า งหากหรื อ จั ด เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของกิ จ กรรมใหญ่ อื่ น ๆ เป็ น กิ จ กรรม ที่ มุ่ ง ให้ บ ริ ก ารกลุ่ ม ผู้ เรี ย นที่ ก ำหนดเป็ น เป้ า หมายและอย่ า งมี ค วามมุ่ ง หมาย ตัวอย่างเช่น สถานเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน (ยกเว้น โรงเรียนอนุบาล) โรงเรียน ที่มุ่งให้โอกาส (Second Chance) แก่ผู้ไม่มีโอกาสได้รับการศึกษาเมื่ออยู่ใน วัยที่ควรได้รับการศึกษา หรือต้องออกจากโรงเรียนก่อนกำหนด โรงเรียนผู้ใหญ่ กิจการลูกเสือ อนุกาชาด ยุวกสิกร กลุ่มสนใจดนตรี การฝึกฝนอาชีพ กลุ่มกสิกร ฯลฯ เป็นต้น ...” ( Philip H. Coombs, 1973) เดวิด ไคล์น และโทมัส บี คีน ได้ให้คำจำกัดความการศึกษานอก (ระบบ) โรงเรี ย นไว้ ว่ า “... การศึ ก ษานอกโรงเรี ย นเหมื อ นกั บ การศึ ก ษาที่ เรี ย กว่ า การศึ ก ษานอกระบบ การศึ ก ษาผู้ ใ หญ่ การศึ ก ษาตลอดชี วิ ต การศึ ก ษาแบบ เบ็ ด เสร็ จ เป็ น คำที่ ห มายถึ ง ชนิ ด ของการศึ ก ษาที่ พั ฒ นาขึ้ น มาเพื่ อ เป็ น ทาง เลื อ ก หรื อ เสริ ม การศึ ก ษาในระบบโรงเรี ย น เป็ น การศึ ก ษาที่ จั ด ขึ้ น เพื่ อ ช่ ว ย ปิดช่องว่างของประชากรจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้ารับบริการจากการศึกษาใน ระบบโรงเรี ย นได้ อ ย่ า งทั่ ว ถึ ง เมื่ อ เปรี ย บเที ย บกั บ การศึ ก ษาในระบบโรงเรี ย น 10-030(001-110)P3.indd 6 1/6/11 6:05:17 PM
  • 7. บทที่ 1 ระบบการศึกษาที่โลกมีและเป็นที่รู้จัก แล้ว การศึกษานอก (ระบบ) โรงเรียน เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นได้มาก กว่า ...” (David Kline and Thomas B. Keehn, 1971) กล่าวโดยสรุป ความหมายของ การศึกษานอกระบบ การศึกษานอก โรงเรียน หรือการศึกษาอรูปนัยก็เรียก หมายถึง การศึกษาที่จัดให้กับบุคคลกลุ่ม เป้าหมายผู้อยู่นอกโรงเรียน นอกสถานศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท ทั้งที่จัดโดย ภาครัฐและเอกชน เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการจัดมากกว่าการศึกษา ในระบบ สถานที่เรียนไม่คงที่แม้จะมีหลักสูตรเป็นลายลักษณ์อักษรแต่ก็มีความ หลากหลาย ยืดหยุ่น ตอบสนองความต้องการการเรียนรู้ของผู้เรียนได้หลากหลาย เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการใช้ความรู้และประสบการณ์เดิมของผู้เรียนมา ต่อยอดให้สูงขึ้น มีการวัดประเมินผลที่มุ่งเน้นการปฏิบัติได้จริง ใช้วิธีการประเมิน ผลที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้เทียบโอนความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียนเข้ามา เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ตามหลักสูตรในระบบโรงเรียนได้ เมื่อเรียนจบหลักสูตร แล้วอาจจะแจกประกาศนียบัตร วุฒิบัตร เกียรติบัตร หรือปริญญาบัตร หรือไม่ ก็ได้ กล่าวได้ว่าการศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น หลาก หลาย ตั้งแต่สถานที่เรียน หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดประเมินผล และการรับรองความรู้ เป็นการศึกษาที่เหมาะสมกับผู้มีความรู้และประสบการณ์ จากการประกอบอาชีพ เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาอาชีพและ ความรู้ความสามารถให้สูงขึ้นทันต่อความเจริญก้าวหน้าและความเปลี่ยนแปลง ของสังคมโลกยุคปัจจุบัน ความสำคัญ การศึ ก ษานอกระบบเป็ น การศึ ก ษาที่ ช่ ว ยส่ ง เสริ ม เติ ม เต็ ม ความรู้ ใ ห้ แ ก่ 10-030(001-110)P3.indd 7 1/6/11 6:05:18 PM
  • 8. การศึกษาตามอัธยาศัย ผู้ด้อย พลาด ขาดโอกาสทางการศึกษาในระบบโรงเรียน และเป็นการเสริมสร้าง ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ให้แก่ผู้ต้องการพัฒนาตนเอง พัฒนาอาชีพ และพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองให้ก้าวหน้าทันต่อความเปลี่ยนแปลง ของสังคมและโลกยุคปัจจุบัน การศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) ความหมาย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้ให้คำนิยามการศึกษาตลอดชีวิตไว้ในหมวด 3 ระบบการศึกษา มาตรา 15 (3) ดังนี้ :- “... การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสนใจ ศั ก ยภาพ ความพร้ อ ม และโอกาส โดยศึ ก ษาจากบุ ค คล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่น ๆ ...” (พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ, 2545) กรมการศึกษานอกโรงเรียนได้ให้ความหมายของการศึกษาตามอัธยาศัย ไว้ว่า“... การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่ผู้เรียนเรียน รู้ได้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจาก ประสบการณ์ การทำงาน บุคคล ครอบครัว สื่อมวลชน ชุมชน แหล่งความรู้ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ทักษะ ความบันเทิง และพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยมีลักษณะ สำคัญคือไม่มีหลักสูตร ไม่มีเวลาเรียนที่แน่นอน ไม่จำกัดอายุ ไม่มีการลงทะเบียน ไม่มีการสอบ ไม่มีการรับประกาศนียบัตร มีหรือไม่มีสถานศึกษาที่แน่นอน เรียน 10-030(001-110)P3.indd 8 1/6/11 6:05:18 PM
  • 9. บทที่ 1 ระบบการศึกษาที่โลกมีและเป็นที่รู้จัก ที่ไหนก็ได้สามารถเรียนได้ตลอดเวลาและเกิดขึ้นในทุกช่วงวัย ตลอดชีวิต ...” (กรมการศึกษานอกโรงเรียน, 2544) ในหนังสือคัมภีร์ กศน. ที่จัดทำโดยหน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานส่งเสริม การศึกษานอกระบบและการศึกษาตลอดชีวิต สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้นิยามความหมายของการศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตามอัธยาศัยไว้ ดังนี้ :- “... การศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) เป็นการศึกษาที่ เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสนใจ ศักยภาพ ความ พร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากประสบการณ์ การทำงาน บุคคล ครอบครัว สื่อมวลชน ชุมชน แหล่งความรู้ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ ไม่มีหลักสูตร ไม่มีเวลา เรี ย นที่ แ น่ น อน ไม่ จ ำกั ด อายุ ไม่ มี ก ารลงทะเบี ย น ไม่ มี ก ารสอบ ไม่ มี ก ารรั บ ประกาศนียบัตร มีหรือไม่มีสถานศึกษาที่แน่นอน เรียนที่ไหนก็ได้ สามารถเรียน ได้ตลอดเวลาและเกิดขึ้นในทุกช่วงวัยตลอดชีวิต การเรียนรู้ตามอัธยาศัย (Informal Learning) เป็นการเรียนรู้จาก ประสบการณ์ โดยตั้ ง ใจ หรื อ ไม่ ตั้ ง ใจ ได้ รั บ ความรู้ อ ย่ า งไม่ รู้ ตั ว โดยผ่ า นสื่ อ ต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ สื่อบุคคล ฯลฯ สามารถนำความรู้นั้น ไปใช้ เช่น การดูละครทางโทรทัศน์เพื่อการผ่อนคลาย อ่านหนังสือ ดูรายการที่ให้ ความรู้ที่จัดขึ้นทางโทรทัศน์ ฟังข่าววิทยุ อ่านหนังสือพิมพ์ การท่องเที่ยวตาม สถานที่ ต่ า ง ๆ เป็ น ต้ น ผู้ เรี ย นเป็ น ผู้ ก ำหนดการเรี ย นรู้ ด้ ว ยตนเองนั บ ตั้ ง แต่ การเลือกที่จะเรียนรู้หรือไม่เรียน จะเรียนรู้เรื่องใดผู้เรียนเป็นผู้ประเมินผลการเรียน รู้ของตนเอง ...” (คัมภีร์ กศน., 2552) 10-030(001-110)P3.indd 9 1/6/11 6:05:18 PM
  • 10. 10 การศึกษาตามอัธยาศัย มี นั ก การศึ ก ษาและท่ า นผู้ รู้ ไ ด้ อ ธิ บ ายความหมายของการศึ ก ษาตาม อั ธ ยาศั ย และการเรี ย นรู้ ต ามอั ธ ยาศั ย ไว้ แ ตกต่ า งกั น บ้ า งในรายละเอี ย ดแต่ ไ ม่ แตกต่างกันในสาระสำคัญ ดังนี้ :- การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตาม ความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งความรู้อื่น ๆ การเรียนรู้ตามอัธยาศัย หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ผู้เรียน ได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ความถนัด โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม ธรรมชาติ สื่อหรือแหล่งความรู้อื่น ๆ (ทิศนา แขมมณี, 2552) การศึกษาตามอัธยาศัย หมายถึง การศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตซึ่งเป็น การเรียนรู้จากประสบการณ์ เช่น จากการทำงาน บุคคล ครอบครัว ชุมชน และ จากแหล่ ง ความรู้ ต่ า ง ๆ เพื่ อ เพิ่ ม พู น ความรู้ ทั ก ษะ เพื่ อ ความบั น เทิ ง และ การพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต ของตนเอง การอบรมสั่ ง สอนให้ ป ระพฤติ ป ฏิ บั ติ ต าม ระเบียบประเพณี พิธีกรรม วัฒนธรรมทางสังคม การเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ การอ่านหนังสือ ดูภาพยนตร์ ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ ไม่มี องค์กร ไม่มีระบบ และไม่จำกัดเวลา การศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) เป็นกระบวนการเรียนรู้ ตลอดชีวิต ซึ่งบุคคลสามารถแสวงหาและรับความรู้ ทักษะ เจตคติ ความเข้าใจ ที่ ก ระจ่ า งชั ด เกี่ ย วกั บ ประสบการณ์ ใ นชี วิ ต ประจำวั น และการแสดงออกต่ อ สิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว (La Bell, 1892) 10-030(001-110)P3.indd 10 1/6/11 6:05:19 PM