SlideShare a Scribd company logo
1 of 49
Download to read offline
ÊÕ¹ÇÅ	ġɏÊÔÃԹءÙÅ	á»Å
จัดจำหน่ายโดย : สายส่งสุขภาพใจ บริษัท บุ๊ค ไทม์ จำกัด
214 ซ.พระรามที่ 2 ซอย 38
ถนนพระราม 2 แขวงบางมด
เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150
โทรศัพท์ 0-2415-2621,
0-2415-6507, 0-2415-6797
โทรสาร 0-2416-7744
www.booktime.co.th
พิมพ์ครั้งที่ 1 : มีนาคม 2555
จัดพิมพ์ : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด
โชนรังสี เฉลิมชัยกิจ
กรรมการผู้จัดการ
ณัฐพงษ์ ภาคีแพทย์
ออกแบบปกฉบับภาษาไทย พงค์ธร ชื่นประสิทธิ์
ศิลปกรรม
ฝ่ายโรงพิมพ์
ไพบูลย์ ชาคริยานนท์
ฝ่ายการตลาด
อัคคณัฐ ชุมนุม เกวลี ดวงเด่นงาม
ฝ่ายขาย
มนัญชยา ศิริวงษ์ อุดร ปัญญาชัย
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ
แดน โรม.
The back of the napkin: ปิ๊งด้วยภาพ.-- กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2555.
296 หน้า.
1. การแก้ปัญหา. 2. การบริหาร. I. สีนวล ฤกษ์สิรินุกูล, ผู้แปล. II. ชื่อเรื่อง.
658.403
ISBN 978-616-14-0035-4
พิมพ์ที่ : ฝ่ายโรงพิมพ์ บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด
โทรศัพท์ 0-2416-3294
แดน โรม
Chonrungsee Chalermchaikit
Managing Director
THE BACK OF THE NAPKIN : Solving Problems and Selling Ideas with Pictures.
By Dan Roam
Copyright © Digital Roam, Inc., 2008
First published in 2008 by Portfolio, a member of Penguin Group (USA) Inc.
Thai language translation rights © 2011 by Tathata Publication Co., Ltd.
All rights reserved including the right of reproduction in whole or in part in any form.
This edition published by arrangement with Portfolio, a member of Penguin Group (USA) Inc.
Arranged through Tuttle-Mori Agency Co., Ltd.
ประธานกรรมการบริหาร
บัญชา เฉลิมชัยกิจ
Chief Executive Officer
Bancha Chalermchaikit
วรุตม์ ทองเชื้อ
บรรณาธิการบริหาร
Editor in Chief
Varut Thongchuae
Computer Graphic
Phongtrion Chuenpasited
Thai Version Cover Design
Nuttapong Pakeephaet
Marketing Dept.
Kaewalee Doungden-ngamAkkanat Chumnum
Printing Dept.
Bhaibulaya Chakriyanonda
Sale Dept.
Mananchaya Siriwong Udon Panyachai
Distributed by :
printing :
หากต้องการสั่งซื้อจำนวนมาก
เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน การฝึกอบรม
การส่งเสริมการขายหรือให้เป็นของขวัญ
กรุณาติดต่อรับส่วนลดพิเศษได้ที่
ฝ่ายขาย โทร.02-4156797, 02-4152621 ต่อ 102
Email:order@booktime.co.th
ผู้แปล
Translator
สีนวล ฤกษ์สิรินุกูล
Seenual Reugsirinukul
กัญญา ชะเอมเทศ
Kanya Cha-emtet
จิรวรรณ พยาฆรินทรังกูร
Jirawan Payakarintarangkura
ผู้จัดการสำนักพิมพ์
Publishing House Manager
อลีน เฉลิมชัยกิจ
Aleen Chalermchaikit
ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร
Assistant Editor in Chief
นันทรัตน์ ศุภวราพงษ์
Nantarat SupavarapongบรรณาธิการEditor
Watcharawit
วัชรวิชญ์
มนุษย์เรามีภาษาไว้สื่อสารเพื่อความเข้าใจกันมานับพันปี ทุกวันนี้เรายิ่งมีเครื่องมือ
สื่อสารพร้อมพรั่ง ใช้ภาษากันมากขึ้นทุกวัน สื่อสารกันจนบางครั้งเราบ่นว่าข้อมูลท่วมท้น
เป็นเหตุให้ตัดสินใจไม่ได้ นอกจากตัดสินใจไม่ได้แล้ว ภาษาหลากหลายที่ใช้กลับกลายเป็น
สาเหตุให้เราเข้าใจกันน้อยลง เข้าใจผิดกันมากขึ้น เมื่อคิดดูแล้วก็ช่างเป็นเรื่องชวนฉงน
จริง ๆ
แดน โรม ผู้เขียนหนังสือ ปิ๊งด้วยภาพ ที่คุณถืออยู่ขณะนี้ ก็ประสบปัญหาเดียวกัน
ทั้งข้อมูลมากเกิน สื่อสารกันไม่เข้าใจ บางครั้งทั้ง ๆ ที่พูดภาษาเดียวกัน แล้วปัญหาจะ
ไม่เพิ่มมากขึ้นได้อย่างไร เมื่อต้องสื่อสารกันด้วยภาษาต่างประเทศที่ต่างฝ่ายก็ไม่เข้าใจ
ชัดเจน แดน โรม ได้ครุ่นคิดใคร่ครวญและค้นหาทางแก้ จนปรากฏเป็นหนังสือเล่มนี้
ปิ๊งด้วยภาพ หนังสือที่เมื่อคุณอ่านจบและลองทำตาม ก็จะพบว่าปัญหาต่าง ๆ ในเรื่องการ
สื่อสารเป็นปัญหาหญ้าปากคอก แก้ได้ง่าย ๆ ด้วยการขีด ๆ เขียน ๆ ภาพคร่าว ๆ แบบที่
เราทำเป็นกันมาตั้งแต่สมัยเรียนอนุบาลนั่นเทียว
สำนักพิมพ์สุขภาพใจได้พบหนังสือน่าสนใจยิ่งเล่มนี้ ได้อ่าน ได้ทดลองใช้ ได้เห็นผล
อย่างยิ่งยวด จึงคิดว่าต้องนำหนังสือแนวนี้มาสู่นักอ่านบ้านเราให้ได้ แม้เราจะยังไม่เคยจับ
ทำหนังสือแนวนี้อย่างจริงจังมาก่อน แต่ ปิ๊งด้วยภาพ ดีเกินกว่าจะอ่านแล้วเก็บไว้ เราจึงขอ
นำมาเสนอให้ผู้อ่านได้ลองใช้บ้าง และหากเห็นผล โปรดติดตามเล่มสองและสามในชุดนี้
ซึ่งจะตีพิมพ์ในปีนี้แน่นอน
ด้านหลังของกระดาษเช็ดปากเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาอย่างไร หนังสือเล่มนี้มี
คำตอบ แดน โรม ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ อธิบายว่าการคิดเป็นภาพคือทางออกที่ดีที่สุด
สำหรับการแก้ปัญหาทุกปัญหา ไม่ว่าคุณจะวาดภาพเป็นหรือไม่ก็ตาม และกระดาษเช็ดปาก
ก็เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้คุณสามารถแก้ปัญหาด้วยภาพได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา
ด้วยกลวิธีการถ่ายทอดที่ฉลาดหลักแหลม แดน โรม จะทำให้คุณเข้าใจกระบวนการ
คิดเป็นภาพอย่างลึกซึ้งภายในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง โดยมีหลักการจำง่าย ๆ เพียงแค่
3-4-5-6 เท่านั้น
3 หมายถึง เครื่องมือพื้นฐานที่คนเรามีติดตัวอยู่แล้ว
4 หมายถึง ขั้นตอนที่คนเรารู้จักวิธีปฏิบัติดีอยู่แล้ว
5 หมายถึง คำถามเพื่อกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองซีกของคนเรา
6 หมายถึง วิธีการเห็นและวิธีการแสดงออกของคนเรา
แล้วคุณจะค้นพบวิธีแก้ปัญหาที่อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่คุณอาจไม่เคยนึกถึง
มาก่อน และผู้แปลก็เชื่อมั่นว่าคุณจะรู้สึกทึ่งกับแนวคิดสร้างสรรค์ของแดน โรม
ซึ่งนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันที ทั้งในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและการแก้ปัญหา
ทางธุรกิจ
จากผู้แปล
สีนวล ฤกษ์สิรินุกูล
ประกาศลิขสิทธิ์
เนื่องจากความแตกต่างด้านภาษา วัฒนธรรม วิถีชีวิต เทคโนโลยี กฎหมาย และสภาพแวดล้อมทาง
ธุรกิจ ฯลฯ การอ้างอิงหรือใช้รูปภาพ ข้อความ เว็บไซต์ หรือลิงค์ทางอินเตอร์เน็ต เกี่ยวกับบริษัท สินค้า
ผลิตภัณฑ์หรือบริการ หรือข้อความโฆษณา เครื่องหมายการค้า รวมทั้งเนื้อหาในภาคผนวก หรือข้อมูล
เพิ่มเติมอื่นใดในหนังสือเล่มนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้อธิบายแนวคิดของหนังสือต้นฉบับภาษาอังกฤษ
เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย และชัดเจนขึ้น มิได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด
สงวนลิขสิทธิ์ฉบับภาษาไทย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ โดยบริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น
จำกัด ห้ามนำส่วนใดส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ไปทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน ไม่ว่า
รูปแบบใดๆ ชื่อผลิตภัณฑ์และเครื่องหมายการค้าต่างๆ ที่อ้างถึง เป็นลิขสิทธิ์โดยชอบด้วยกฎหมายของ
บริษัทนั้นๆ
แด่ อิซาเบลล์
คุณเห็นว่าจะมีหนังสือเล่มนี้มานานก่อนผม
และคุณก็ทำทุกวิถีทางให้มันสำเร็จ นั่นคือความรักจากใจคุณ
สารบัญ
ตอนที่ 1 เกริ่นนำ (Introductions)


























1



 
เมื่อใด กับใคร ที่ไหน : แก้ไขได้ทุกปัญหาด้วยภาพ
บทที่ 1 มองธุรกิจด้วยแนวคิดใหม่ ที่เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง 2
บทที่ 2 ปัญหาไหน ภาพไหน และ “เรา” คือ ใคร? 13
บทที่ 3 เกมพนันที่ไม่มีทางแพ้ : สี่ขั้นตอนของการคิดเป็นภาพ 33
ตอนที่ 2 ค้นพบแนวคิด (Discovering
Ideas)















45
ดูให้ดีขึ้น เห็นให้ชัดขึ้น จินตนาการให้กว้างไกลขึ้น : เครื่องมือและหลักการของการคิดเป็นภาพที่ดี
บทที่ 4 ไม่ละ ขอบคุณ ขอดูก่อน 46
บทที่ 5 หกวิธีของการเห็น 67
บทที่ 6 SQVID : เครื่องมือสร้างจินตนาการที่ใช้ได้ผล 88
บทที่ 7 กรอบการแสดงออก 120
ตอนที่ 3 พัฒนาแนวคิด (Developing
Ideas)















135
การคิดเป็นภาพแบบ MBA : การนำวิธีการคิดเป็นภาพไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง
บทที่ 8 การแสดงออกและการคิดเป็นภาพแบบ MBA 136
บทที่ 9 ใครคือลูกค้าของเรา?
ภาพสำหรับแก้ปัญหา ใคร/อะไร 141
บทที่ 10 ผู้ซื้อมีจำนวนเท่าไร?
ภาพสำหรับแก้ปัญหา เท่าไร 150
บทที่ 11 ธุรกิจของเราอยู่ที่ไหน?
ภาพสำหรับแก้ปัญหา ที่ไหน 160
(Introductions)


























(Introductions)


























จินตนาการ
ดู เห็น แสดงออก
คำนำผู้เขียน
(8)
(9)
บทที่ 12 เราจะจัดการทุกอย่างได้เมื่อไร?
ภาพสำหรับแก้ปัญหา เมื่อไร 181
บทที่ 13 เราจะปรับปรุงธุรกิจของเราให้ดีขึ้นได้อย่างไร?
ภาพสำหรับแก้ปัญหา อย่างไร 199
บทที่ 14 ทำไมเราต้องใส่ใจด้วย?
ภาพสำหรับแก้ปัญหา ทำไม 207
ตอนที่ 4 นำเสนอแนวคิด (Selling
Ideas)

















221
ได้เวลาแสดงออก
บทที่ 15 ทุกเรื่องที่ผมรู้เกี่ยวกับธุรกิจ
ผมเรียนรู้จาก “การแสดงออก” และ “บอกเล่า” 222
บทที่ 16 ข้อสรุปเกี่ยวกับการวาดภาพ 237
กิตติกรรมประกาศ 243
ภาคผนวก ก บัญญัติสิบ (กับอีกครึ่ง) ประการของการคิดเป็นภาพ 246
ภาคผนวก ข ศาสตร์ว่าด้วยการคิดเป็นภาพ 252
ภาคผนวก ค แหล่งค้นคว้าสำหรับนักคิดเป็นภาพ 260
ดัชนี 265
วันหนึ่งบนรถไฟใต้ดิน
วันหนึ่งในฤดูใบไม้ร่วงของปี 2006 ผมโดยสารรถไฟใต้ดินของนิวยอร์กเพื่อมุ่งหน้าเข้าสู่
ย่านใจกลางเมือง เนื่องจากเท็ด เวียนสไตน์ ตัวแทนจัดหาสำนักพิมพ์ ซึ่งมีความเห็นว่าผม
มีแนวคิดที่เยี่ยมยอดเกี่ยวกับการเขียนหนังสือแนวธุรกิจเล่มหนึ่ง นัดหมายให้ผมพบกับ
บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาและคณะผู้บริหารของสำนักพิมพ์เพนกวิน ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์
ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เท็ดมั่นใจว่า ผมพร้อมแล้วที่จะนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการเขียนหนังสือ
ของผม เขาจึงตกลงนัดหมายให้ผมไปพบเขาที่สำนักงานของสำนักพิมพ์โดยตรง
ขณะอยู่บนรถไฟ ผมทบทวนแนวคิดของผมอีกครั้งหนึ่ง “หนังสือของผมมีชื่อว่า
แผนภูมิล้านเหรียญ : คำแนะนำสู่กระบวนการคิดเป็นภาพสำหรับที่ปรึกษา มีเนื้อหา
เกี่ยวกับวิธีช่วยให้ที่ปรึกษาธุรกิจค้นพบ พัฒนา ถ่ายทอดและแบ่งปันแนวคิดต่างๆ ได้
อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยนำภาพต่างๆ เข้ามาใช้”
ผมคิดว่า แนวทางการนำเสนอเช่นนี้ฟังดูดีทีเดียว แต่ก็ยังกังวลเกี่ยวกับส่วนสำคัญอีก
ส่วนหนึ่งคือ หนังสือเล่มนี้เกี่ยวพันอยู่กับคำถามหลายชุด ซึ่งผมคิดว่านักธุรกิจหลายคน
อาจตั้งคำถามกับตนเองในช่วงเวลาที่ต้องการนำเสนอแนวคิดออกมาเป็นภาพ เช่น “ฉันควร
นำเสนอแนวคิดเป็นตัวเลขหรือว่าปล่อยให้เป็นไปตามความรู้สึกดี” หรือ “ฉันควรนำเสนอ
แนวคิดแบบเน้นๆ ไปเลย หรือว่าควรเปรียบเทียบกับแนวคิดอื่นๆ ด้วย” เป็นต้น
เท่าที่ศึกษาค้นคว้ามาหลายปี ผมคิดว่า มีคำถามหลักอยู่ 5 ชุด ซึ่งล้วนเป็นคำถามที่
ช่วยให้การระดมความคิดเกี่ยวกับภาพมีประสิทธิภาพและสร้างความเข้าใจร่วมกันได้อย่าง
รวดเร็ว แต่ผมก็รู้ว่าผมมักลืมคำถามเหล่านั้นไปประมาณครึ่งหนึ่งในระหว่างการประชุม
ผมจำเป็นต้องหาวิธีที่จะช่วยให้ผมจดจำคำถามเหล่านั้นได้ทั้งหมด
ผมหยิบสมุดบันทึกออกมาแล้วเขียนคำถามหลัก 5 ชุดนั้นลงไปในระหว่างที่รถไฟแล่น
ส่ายไปส่ายมาตามราง
(10)
แล้วผมก็เริ่มดึงตัวอักษรตัวแรกของแต่ละชุดคำถามมาเรียงกัน เพื่อดูว่าจะเกิดเป็น
คำใดที่ช่วยให้ผมจดจำได้ง่ายขึ้นหรือไม่
ทำไมตัวอักษรที่มีอยู่ช่างยากเย็นเช่นนั้น มีสระเพียงตัวเดียว ที่เหลือก็ล้วนเป็นพยัญชนะ
ที่ผสมยากทั้งสิ้น ผมลองสลับตัวอักษรไปมา แต่ก็ไม่พบคำใดที่จำได้ง่ายๆ เลย
ตอนนี้รถไฟอยู่ห่างจากสำนักพิมพ์เพนกวินเพียง 3 สถานีเท่านั้น
ผมยังจ้องตัวอักษรที่ไม่มีความหมายเหล่านั้น
(วิสัยทัศน์ หรือ ปฏิบัติการ?)
(เปลี่ยนแปลง หรือ คงเดิม?)
(ง่าย หรือ ขยายความ?)
(คุณภาพ หรือ ปริมาณ?)
(เป็นเอกเทศ หรือ เปรียบเทียบ?)
(11)
เหลืออีก 2 สถานี
คำที่ดูเข้าท่าที่สุดคือ หากผมจินตนาการให้ V เป็น U (ในลักษณะเดียวกับ
ที่ช่างสลักหินแกะตัวอักษรลงบนหน้าจั่วของอาคารสำคัญของหน่วยงานรัฐบาล) อย่างน้อย
ที่สุดผมก็ยังมีคำที่พออ่านออกเสียงได้คือ SQUIC (สควิค หรือ สควีค)
อีกสถานีเดียว
แล้วความคิดบางอย่างก็ปรากฏขึ้น คำว่า “Change” (เปลี่ยนแปลง) มักมีการนำ
สัญลักษณ์ “เดลต้า” หรือ “D” ในภาษากรีกมาใช้แทนที่อยู่บ่อยครั้ง แล้วถ้าหากผมนำ “D”
มาแทนที่ “C” ซึ่งเป็นตัวอักษรตัวสุดท้าย ผมก็จะได้คำว่า “SQVID”
“SQVID!” ผมตะโกนบอกตัวเอง “ใช่เลย ฉันจำคำนี้ได้แน่ๆ” เพราะปลาหมึกเป็น
สัตว์ตัวลื่นๆ ที่มีหลายหนวดและดูเหมือนชุดคำถามที่ผมจดเอาไว้มาก
“SQUID”* คือคำสุดท้ายที่ผมคิดออก รถไฟหยุดที่สถานี ผมก้าวลงจากรถ
ท่านสุภาพสตรีและท่านสุภาพบุรุษ ขอเชิญพบ “ปลาหมึก” ได้แล้วครับ
ระหว่างการประชุมนำเสนอแนวคิดในการเขียนหนังสือของผม ดูเหมือนว่าผู้ฟังทุกคน
จะทึ่ง เพราะการนำภาพเข้ามาใช้เป็นเครื่องมือทางธุรกิจถือเป็นเรื่องใหม่ นอกจากนี้ ผมยัง
มีตัวอย่างภาพวาดที่ดีหลายภาพมาส่งต่อให้ดูรอบๆ โต๊ะอีกด้วย ไม่กี่นาทีหลังจากนั้น
ผมสังเกตเห็นไวท์บอร์ดขนาดใหญ่อยู่ข้างหลัง ผมหยิบปากกาขึ้นมาและพูดว่า “ถ้าพวกคุณ
ไม่ว่าอะไร ผมขออนุญาตแสดงให้เห็นว่า จริงๆ แล้วผมกำลังพูดถึงเรื่องอะไร”
คำที่ดูเข้าท่าที่สุดคือ หากผมจินตนาการให้ V เป็น U (ในลักษณะเดียวกับคำที่ดูเข้าท่าที่สุดคือ หากผมจินตนาการให้ V เป็น U (ในลักษณะเดียวกับ
ที่ช่างสลักหินแกะตัวอักษรลงบนหน้าจั่วของอาคารสำคัญของหน่วยงานรัฐบาล) อย่างน้อยที่ช่างสลักหินแกะตัวอักษรลงบนหน้าจั่วของอาคารสำคัญของหน่วยงานรัฐบาล) อย่างน้อย
* ออกเสียงว่า “สควิด” ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่า “squid” แปลว่า ปลาหมึก
(12)
ผมหันไปที่ไวท์บอร์ดและลงมือวาดรูปน่าเกลียดของปลาหมึกที่มีหนวด 5 เส้น “หนังสือ
เล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับชุดคำถามง่ายๆ สำหรับถามตัวเราเอง เพื่อช่วยให้คิดเป็นภาพได้ชัดเจน
ขึ้น” ผมเขียนอักษร S ลงไปที่แขนแรก
“เราควรแสดงแนวคิดอย่างเรียบง่าย (Simple) หรือ ขยายความ (Elaborate)”
ผมเขียนอักษร Q ลงไปที่อีกหนวดหนึ่ง “เราควรแสดงแนวคิดในเชิงคุณภาพ (Qualitative)
หรือปริมาณ (Quantitative)”
เมื่อเขียนอักษร V “เราควรแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ (Vision) หรือวิธีปฏิบัติเพื่อ
ให้บรรลุผล (Execution)”
แล้วก็เขียนอักษร I “เราควรแสดงแนวคิดอย่างเป็นเอกเทศ (Individual) หรือ
เปรียบเทียบกับแนวคิดอื่น (Comparison)”
และเมื่อเขียนอักษร D ลงไป “เราควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง (Change)
(เดลต้า) หรือสถานะที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (Status Quo)”
ผมวางปากกาลง “ชุดคำถามที่เรียกว่า ‘SQVID’ เป็นหนึ่งในเครื่องมือหลักที่บรรจุอยู่
ในหนังสือ เป็นเครื่องมือง่ายๆ ที่ช่วยให้นักธุรกิจทุกคนเห็นวิธีใช้ภาพแก้ปัญหา แม้ว่า
พวกเขาจะวาดภาพไม่เป็นเลยก็ตาม”
หลายสีเกินไป
การไปที่ไวท์บอร์ดแล้ววาดภาพปลาหมึกทำให้สถานการณ์ของการประชุมเปลี่ยนไป ก่อนหน้า
นั้นทุกคนนั่งฟังการนำเสนอของผมอย่างเงียบๆ พร้อมกับพยักหน้าในจังหวะที่เหมาะสม
ภายในห้องประชุม มีเสียงของผมเพียงเสียงเดียว แต่ตอนนี้ ทุกคนเริ่มต้นพูดคุยกัน
“สุดยอด”, “ฉันเข้าใจแล้ว”, “เป็นแบบจำลองที่เยี่ยมมาก หมายความว่าคุณสามารถใช้
ปลาหมึกแก้ไขได้ทุกปัญหาใช่หรือไม่”
สักครู่หนึ่งหลังจากนั้น บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาก็พูดขึ้นว่า “แดน เราชอบแนวคิด
ของคุณจริงๆ” ทั้งเท็ดและผมดีใจมาก
(13)
“แต่...” บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาพูดต่อ “เราจำเป็นต้องอยู่บนพื้นฐานความจริง”
อ้าว... ล้มเหลวซะแล้ว
“คุณกำลังขอให้เราสนับสนุนการจัดพิมพ์หนังสือที่มีแนวคิดยอดเยี่ยม โดยเจาะจงไป
ที่กลุ่มที่ปรึกษา ซึ่งเป็นตลาดที่เล็กมาก และคุณก็ต้องการให้เราจัดพิมพ์แบบสี่สีในขนาด
รูปเล่มที่ใหญ่ ซึ่งทำให้หนังสือมีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับขนาดของตลาด และหากพูดกัน
ตรงๆ ไม่ใช่เป็นการก้าวร้าวแต่อย่างใด ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า เราจำเป็นต้องอยู่บนพื้นฐาน
ความจริง ตอนนี้ยังไม่มีใครเคยได้ยินชื่อเสียงของคุณเลย แม้ว่าเราจะชอบแนวคิดของคุณ
มากแค่ไหนก็ตาม แต่ แผนภูมิล้านเหรียญ ฟังแล้วยังไม่ “ขาย” เท่าไรนัก คุณยังมีชื่ออื่นๆ
อีกไหม”
ผมได้เข้าสู่ขั้นตอนของการถูกปฏิเสธอย่างทันทีทันใดเสียแล้ว ปีก่อนหน้านี้ ผมตัดสินใจ
หยุดทำงานประจำ เพื่อทุ่มเทเวลาให้กับหนังสือเล่มนี้อย่างเต็มที่ ผมและภรรยาต้องปรับ
โครงสร้างเงินกู้ที่อยู่อาศัยถึง 2 ครั้ง เพื่อให้กระแสเงินสดของเรายังคงเป็นบวก และลูกๆ
ได้เรียนหนังสือต่อไป ขณะนี้ผมกำลังนั่งอยู่ต่อหน้าบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาของสื่อ
สิ่งพิมพ์ธุรกิจ ซึ่งประสบความสำเร็จที่สุดในโลก “คุณยังมีชื่ออื่นๆ อีกไหม” ไม่ได้หมายถึง
ตอนจบของเรื่องนี้
“มี” ผมมองไปที่เท็ด เขาพยักหน้า
“ผมขอให้คุณนึกถึงหนังสือเล่มเดียวกันนี้ แต่จัดพิมพ์สีเดียวในขนาดรูปเล่มที่เล็กลง
และเราจะตั้งชื่อให้กับหนังสือเล่มนี้ว่า ปิ๊งด้วยภาพ: สื่อสารทุกแนวคิด แก้ไขทุกวิกฤติ
ด้วยการคิดเป็นภาพ”
บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณายิ้ม “ผมนึกออกเลยว่า เราต้องซื้อหนังสือเล่มนี้”
ส่วนที่ดีที่สุดของการเขียนหนังสือเล่มนี้
นับตั้งแต่ปิ๊งด้วยภาพวางจำหน่ายในร้านหนังสือเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ผมก็ออกเดินทางไปทั่ว
ประเทศ เพื่อแนะนำหลักการแก้ปัญหาด้วยภาพให้กับผู้ฟังหลากหลายกลุ่ม จากกูเกิ้ล
ถึงไมโครซอฟท์ จากโบอิ้งถึงฟริโตเลย์ จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดถึงวุฒิสภาแห่ง
สหรัฐอเมริกา นับเป็นการเดินทางครั้งสำคัญของถ้อยคำและภาพประกอบกัน
ส่วนที่ดีที่สุดคือ แนวคิดและปฏิกิริยาตอบรับของกลุ่มต่างๆ ซึ่งผมมีโอกาสพูดคุย
ด้วย ทุกครั้งที่ผมวาดภาพขึ้นมาหนึ่งภาพ ก็มักมีใครคนใดคนหนึ่ง (หลายคนก็บ่อยครั้ง)
วาดบางสิ่งบางอย่างกลับคืนมา ทุกครั้งที่ผมอ้างถึงตัวอย่างในหนังสือปิ๊งด้วยภาพ ก็มักมี
ใครคนใดคนหนึ่ง (หลายคนก็บ่อยครั้ง) ยกตัวอย่างอื่นๆ ตอบกลับมา ปฏิกิริยาตอบรับ
ที่มากมายเช่นนี้ ทำให้ผมได้เรียนรู้ 2 ประเด็น
ประเด็นแรก การแก้ปัญหาด้วยภาพพร้อมจะเผยแพร่สู่ธุรกิจทุกประเภท เพราะเรา
กำลังพูดถึงวิธีการดูและมองเห็นปัญหา โดยใช้ความสามารถในตัวตนที่เราไม่ได้ใช้ ซึ่งนัก
ธุรกิจส่วนใหญ่มองข้ามไปโดยไม่ได้ตั้งใจ หรืออาจไม่เคยคิดให้ความสำคัญ แต่ไม่ว่าจะ
เป็นด้วยเหตุใด นั่นถือว่าเป็นความผิดพลาดอย่างร้ายแรง เพราะไม่มีวิธีใดที่จะทรงพลัง
มากไปกว่าการวาดรูปง่ายๆ เพื่อพิสูจน์ให้ผู้อื่นรู้ว่าเรารู้จักสิ่งนั้นเป็นอย่างดี และไม่มีวิธีใด
ที่จะทรงพลังมากไปกว่าการหยิบปากกาขึ้นมาวาดภาพองค์ประกอบต่างๆ ของปัญหา เพื่อให้
สามารถมองเห็นทางออกที่ถูกซ่อนไว้
ประเด็นที่สอง ปฏิกิริยาตอบรับเหล่านี้ ทำให้ผมเข้าใจว่าแนวคิดของปิ๊งด้วยภาพ
ไม่เพียงแต่ใช้ได้ผลกับอาชีพที่ปรึกษาเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงอาชีพอื่นๆ อีกนับร้อย
นับพัน ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจ, ครู, ผู้จัดการโครงการ, แพทย์, วิศวกร, ผู้คุมนักโทษ,
คนงานในสายการผลิต, นักบิน, โค้ชฟุตบอล, ครูฝึกนาวิกโยธิน, นักวิเคราะห์การเงิน,
แม่บ้าน, ทนายความ และอาชีพอื่นๆ เท่าที่คุณจะนึกออก ล้วนแล้วแต่ได้ค้นพบขุมพลัง
ของการแก้ปัญหาด้วยภาพมาแล้วทั้งสิ้น
ไม่เพียงแต่ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ช่วงเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ผมได้รับหนังสือปิ๊ง
ด้วยภาพฉบับภาษารัสเซีย, จีน, เกาหลี, เยอรมัน และญี่ปุ่น ผมเข้าใจทุกภาพที่ปรากฏอยู่
ในหนังสือทุกฉบับได้ ไม่ว่าผมจะพูดภาษานั้นได้หรือไม่ก็ตาม และเรายังจะได้เห็นหนังสือ
เล่มนี้ในฉบับภาษาอื่นๆ เพิ่มเติมอีก ทั้งสเปน, โปรตุเกส, อินโดนีเซีย, ตุรกี, ฝรั่งเศส,
โรมาเนีย, ฟินแลนด์, โปแลนด์ และเชค และผมขอย้ำอีกครั้งว่า ไม่ว่าเราจะหยิบหนังสือ
เล่มนี้ในฉบับภาษาใดขึ้นมา เราก็เข้าใจทุกภาพได้ตรงกันอย่างไม่มีปัญหา
นี่คือเหตุผลที่ทำให้ผมรู้ว่า การแก้ไขปัญหาด้วยภาพกำลังขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ
ปัญหาที่เราเผชิญอยู่ทุกวันนี้ล้วนเป็นปัญหาเดียวกันทั้งโลก ฉะนั้นเราจึงจำเป็นต้องแก้ไข
ปัญหาด้วยภาษาโลก ภาพง่ายๆ ที่สอดคล้องกับความเข้าใจพื้นฐานของมนุษย์ คือภาษา
ที่ว่านี้ ซึ่งก็คือประเภทของภาพที่หนังสือเล่มนี้จะแนะนำให้คุณสร้างสรรค์ขึ้นมาอย่างง่ายๆ
เส้นทางลัดสำหรับผู้ไม่มีเวลา
ตลอด 2 ปีที่ผ่านมากับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับเนื้อหาของปิ๊งด้วยภาพ ทำให้
ผมเห็นได้ชัดเจนขึ้นว่าแนวคิดใดของหนังสือเล่มนี้เหมาะกับคนประเภทใด หากคุณเพิ่ง
เรียนรู้เกี่ยวกับการคิดเป็นภาพ ช่วงแรกของหนังสือ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับกระบวนการง่ายๆ
ของการดู เห็น จินตนาการ และแสดงออก คือตอนที่เหมาะกับการเริ่มต้น เพราะเป็นการ
(15)
เชื่อมโยงการแก้ไขปัญหาด้วยภาพเข้ากับสถานการณ์ของโลกในปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยให้คุณ
ก้าวสู่โลกใบใหม่อย่างมั่นใจ
หากคุณเป็นนักคิดและนักนำเสนอทางธุรกิจที่เปี่ยมความมั่นใจ แต่ยังไม่ค่อยเชื่อมั่น
ว่าภาพช่วยให้แนวคิดกระจ่างชัดขึ้นได้อย่างไร เครื่องมือที่น่าเกลียดแต่มีประโยชน์อย่าง
SQVID (บทที่ 6) คือจุดเริ่มต้นของคุณ ยังจำได้หรือไม่ว่าเครื่องมือนี้ใช้ได้ผลที่เพนกวิน
อย่างไร SQVID เป็นเครื่องมือพื้นฐานสำหรับการคิดเกี่ยวกับปัญหาใดๆ ทำให้เรามองเห็น
ปัญหาจากแง่มุมต่างๆ อย่างสร้างสรรค์
หากคุณเป็นนักคิดเป็นภาพที่ประสบความสำเร็จ คุณสามารถตรงไปที่หลักการ <6><6>
(บทที่ 7) ซึ่งเป็นจุดที่ศาสตร์ทางด้านประสาทวิทยามาบรรจบกับศิลปะ แล้วจับมือพากัน
ออกไปเต้นรำ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของผม แม้แต่ศิลปินชั้นยอดก็แทบไม่เชื่อว่า
การสร้างสรรค์ภาพที่ต้องไปกระตุ้นการทำงานทุกส่วนของสมองจะง่ายดายถึงเพียงนี้
หากคุณเป็นนักออกแบบหรือสถาปนิกที่ช่ำชอง พร้อมที่จะนำภาพมาใช้ให้เป็นประโยชน์
ในการทำงาน ผมขอให้คุณเปิดตรงไปบทที่ 8 ซึ่งมีเนื้อหาว่าด้วยการคิดเป็นภาพแบบ
MBA และคิดหาทางแก้ปัญหาให้กับธุรกิจที่ยกมาเป็นกรณีศึกษา ตอนนี้ถือเป็นตอนที่ยาก
เพราะกรณีศึกษาจะบังคับให้คุณต้องคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับภาพอย่างลึกซึ้งมากกว่าที่คุณเคย
ถูกสอนในโรงเรียนออกแบบ แต่ในที่สุดก็จะแสดงให้คุณเห็นถึงวิธีใหม่ในการดึงเอา
พรสวรรค์ของคุณมาใช้ในการแลกเปลี่ยนแนวคิดกับนักธุรกิจ
ท้ายที่สุดนี้ ผมขอขอบคุณเอเดรียน แซคไฮม์ บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาของ
Portfolio ซึ่งเป็นผู้กล่าวว่า “ผมนึกออกได้เลยว่า เราต้องซื้อหนังสือเล่มนี้” ในครั้งแรก
และยังได้พูดอีกครั้งหนึ่งว่า “ตอนนี้เราควรพิมพ์เพิ่มอีกนะ แล้วก็ควรพิมพ์แบบสีในรูปเล่ม
ที่ใหญ่กว่าเดิมด้วย”
นี่คือ ปิ๊งด้วยภาพ ซึ่งผมวาดหวังไว้ระหว่างอยู่บนรถไฟใต้ดิน, และทุกสิ่ง
แดน โรม
กรกฎาคม 2009,
ซานฟรานซิสโก
(16)
1
เมื่อใด กับใคร ที่ไหน : แก้ไขได้ทุกปัญหาด้วยภาพ
ตอนที่ 1 (Introductions)
บทที่ 1 มองธุรกิจด้วยแนวคิดใหม่ ที่เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
บทที่ 2 ปัญหาไหน ภาพไหน และ “เรา” คือ ใคร?
บทที่ 3 เกมพนันที่ไม่มีทางแพ้ : สี่ขั้นตอนของการคิดเป็นภาพ
เกริ่นนำ
เ ท่าที่คุณคิดออก อะไรคือปัญหาทางธุรกิจที่น่าหวาดหวั่นที่สุด แล้วปัญหานั้น
เป็นเรื่องใหญ่โตระดับโลก หรือเป็นแค่เรื่องเฉพาะบุคคล เป็นปัญหาที่มีนัย
ทางการปกครอง เทคนิค หรือความรู้สึก เป็นปัญหาเกี่ยวกับเงินทอง กระบวนการ
หรือว่าคน เป็นปัญหาที่เกิดจากการบริหารงานประจำวัน หรือเกิดจากหลักการอันสูงส่งจน
จับต้องไม่ได้ เป็นปัญหาที่คุณคุ้นเคยเป็นอย่างดีหรือว่าไม่เคยชายตามองมาก่อน
ผมแน่ใจว่าคุณนึกปัญหาหนึ่งที่เข้ากับทุกเกณฑ์นี้ได้ ผมรู้ว่าผมทำได้ ผมทำธุรกิจใน
ซานฟรานซิสโก มอสโคว์ ซูริค และนิวยอร์ก ผมเคยแก้ปัญหาทั้งหมดนี้ และเคยเห็น
เพื่อนร่วมงาน เจ้านาย ลูกจ้าง และลูกค้าอีกมากมายแก้ปัญหาเหล่านี้ จริงครับ ศิลปะการ
แก้ปัญหาคือหัวใจของธุรกิจ
จะดีไหม หากมีวิธีช่วยให้เรามองเห็นปัญหาต่างๆ ได้รวดเร็วขึ้น เข้าใจปัญหาต่างๆ
ได้โดยไม่ต้องอธิบายให้มากความ ระบุปัญหาต่างๆ ได้อย่างมั่นใจ และสามารถสื่อสารถึง
ทางออกที่เราค้นพบให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับรู้ตรงกันในระยะเวลาอันสั้น
จะดีไหม หากมีวิธีช่วยแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
มากขึ้น แล้วก็-ผมไม่อยากพูดเลย-สนุกมากขึ้นด้วยน่ะ ขอบอกว่าวิธีที่ว่านั้นมีแล้วเรียกว่า
วิธีคิดเป็นภาพ ซึ่งก็คือเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ที่ว่าด้วยการแก้ปัญหาด้วยภาพนั่นเอง
บทที่ 1มองธุรกิจด้วยแนวคิดใหม่ ที่เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
มองธุรกิจด้วยแนวคิดใหม่ ที่เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
ต่อไปนี้ คือคำจำกัดความของผม
การคิดเป็นภาพ หมายถึง การดึงความสามารถที่มีติดตัวมาแต่กำเนิดในด้าน
การมองเห็น ทั้งด้วยตาที่เป็นอวัยวะและตาที่อยู่ในความคิด ออกมาใช้ให้เป็น
ประโยชน์ เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวคิดที่เป็นรูปธรรม พัฒนาได้อย่างรวดเร็วตาม
สัญชาตญาณ และถ่ายทอดต่อไปยังผู้อื่น เพื่อให้เข้าใจตรงกันอย่างง่ายๆ
ต่อจากนี้ ผมขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่การมองธุรกิจด้วยแนวคิดใหม่ที่เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
“ฉันไม่ใช่คนที่คิดเป็นภาพ”
ก่อนจะขยายความเกี่ยวกับเนื้อหาโดยสังเขปของหนังสือเล่มนี้ ผมขอเริ่มต้นจากแนวคิด
ที่สำคัญที่สุด นั่นคือ การแก้ปัญหาด้วยภาพ ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับการเรียนศิลปะหรือ
พรสวรรค์ใดๆ เลย ขอย้ำว่า ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องเลย เพราะทุกๆ ครั้งที่ผมได้รับเชิญให้ไป
ช่วยบริษัทใดบริษัทหนึ่งแก้ปัญหาด้วยภาพ หรือเป็นวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับการคิดเป็นภาพ
ให้กลุ่มนักธุรกิจ ก็มักมีใครคนใดคนหนึ่งพูดขึ้นมาว่า “เดี๋ยวก่อนนะ เรื่องนี้คงไม่เหมาะกับฉัน
เพราะฉันไม่ใช่คนที่คิดเป็นภาพ”
แล้วผมก็จะตอบว่า “ไม่มีปัญหา ผมขอพูดอย่างนี้ก็แล้วกัน ถ้าเมื่อเช้าคุณเดินเข้ามา
ในห้องนี้ได้โดยไม่สะดุดหกล้ม ผมขอรับประกันว่า คุณคิดเป็นภาพเก่งพอจะเข้าใจทุกเรื่อง
ที่เราจะคุยกันต่อไป และอาจเก็บบางสิ่งบางอย่างไปใช้ประโยชน์ได้”
อันที่จริง คนที่เริ่มต้นด้วยการพูดว่า “ฉันวาดภาพไม่เป็น แต่...” มักลงท้ายด้วยการ
กลายเป็นคนที่วาดภาพถ่ายทอดความคิดได้ชัดเจนที่สุด และผมก็มีเหตุผลมากมายมา
สนับสนุน โดยจะขอขยายความต่อไปในหนังสือเล่มนี้ ดังนั้น หากคุณไม่มั่นใจในทักษะ
การวาดภาพของคุณ ก็โปรดอย่ารีบวางหนังสือ แต่กรุณาข้ามไปยังหน้า 21-22 ซึ่งบอก
ไว้ว่า หากคุณวาดภาพกล่อง ลูกศร หรือรูปทรงต่างๆ ได้ หนังสือเล่มนี้ก็มีประโยชน์
สำหรับคุณ
ปิ๊งด้วยภาพ
คิดเป็นภาพได้ใน 4 ตอน
ต่อไปนี้คือการขับเคลื่อนของหนังสือ “ปิ๊งด้วยภาพ” ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ตอน ได้แก่ เกริ่นนำ
ค้นพบแนวคิด พัฒนาแนวคิด และนำเสนอแนวคิด เนื้อหาทุกตอนไม่ต้องการอุปกรณ์ใดๆ
นอกจากตาที่เป็นอวัยวะ ตาที่อยู่ในความคิด มือ ปากกา และกระดาษหนึ่งแผ่น (ไวท์บอร์ด
ก็ถือเป็นอุปกรณ์ที่ดีเช่นกัน)
ตอน “เกริ่นนำ” เราจะเริ่มต้นด้วยการให้คำจำกัดความของคำ ซึ่งจะปรากฏอยู่ใน
หนังสือเล่มนี้ตลอดทั้งเล่ม คือ “ปัญหา” (ทุกปัญหา) “ภาพ” (ง่ายๆ) และ “คนที่ลงมือ
ทำได้” (ทุกคน) หลังจากนั้น จึงจะพูดถึงวิธีช่วยให้ทุกคนลงมือทำได้ แม้ว่าแต่ละคนจะมี
ทักษะในการคิดเป็นภาพแตกต่างกันก็ตาม แล้วต่อด้วยการทบทวนหัวข้อต่างๆ เพื่อให้
เข้าใจมากขึ้นว่าเราเป็นนักคิดเป็นภาพประเภทไหน และต้องทำอย่างไรในแต่ละขั้นตอนของ
กระบวนการคิดเป็นภาพ ซึ่งไม่มีอะไรยากเลย
ตอนที่สอง “ค้นพบแนวคิด” เราจะทบทวนหลักการเบื้องต้นของการคิดเป็นภาพที่ดี
พร้อมทั้งเรียนรู้วิธีดูให้เก่งขึ้น เห็นให้ชัดขึ้น และจินตนาการให้กว้างไกลขึ้น จากนั้น
จึงค่อยทำความคุ้นเคยกับเครื่องมือพื้นฐานต่างๆ ของการคิดเป็นภาพ เช่น SQVID
ซึ่งช่วยเร่งให้สมองคิดเป็นภาพได้เร็วขึ้น ไม่ว่าเราต้องการจะให้เป็นเช่นนั้นหรือไม่ก็ตาม
หลักการ 66 ซึ่งช่วยให้เราจัดวางสิ่งที่เห็นได้ตรงกับที่ตั้งใจจะนำเสนอ และสุดท้าย
คือ การจัดทำแผ่นร่าง ซึ่งเป็นทางลัดที่จะช่วยให้เราวาดภาพสิ่งที่คิดออกมาได้ทันที
ตอนที่สาม “พัฒนาแนวคิด” เราจะดึงหน้าเอกสาร ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีของหลักสูตร
MBA มาใช้ โดยจะปฏิบัติตามทีละขั้นตอน ผ่านกรณีศึกษาทางธุรกิจ และจะวาดภาพ
ลงบนหน้าเอกสารนั้น เมื่อวาดเสร็จ เราจะได้ภาพโครงสร้างการแก้ไขปัญหาบนหลักการ
พื้นฐาน 6 ประการ ซึ่งผ่านการทดสอบแล้วว่าเป็นทางออกที่ดีของธุรกิจ
และตอนสุดท้ายคือขายไอเดียหรือ “นำเสนอแนวคิด” ซึ่งเป็นการนำทุกเรื่องมาร้อย
เรียงเข้าด้วยกันเพื่อสร้างสรรค์และนำเสนอ โดยปราศจากการใช้คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์
โปรเจคเตอร์ และแม้กระทั่งเอกสารประกอบใดๆ มีเพียงแค่ตัวเรา ลูกค้า ไวท์บอร์ด
แผ่นใหญ่ๆ และแนวคิดคมๆ เท่านั้น
มองธุรกิจด้วยแนวคิดใหม่ ที่เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
เนื้อหาทั้งหมดมีที่มาจากไหน : อาหารเช้าแบบอังกฤษ
(การคิดเป็นภาพช่วยชีวิตผมไว้ได้อย่างไร)
ตอนเริ่มต้น ผมตั้งคำถามให้คุณคิดว่า อะไรคือปัญหาที่น่าหวาดหวั่นที่สุดของธุรกิจส่วนตัว
ผมกลับคิดย้อนไปถึงเหตุการณ์ท้าทายเฉพาะหน้า ซึ่งต้องเผชิญเมื่อหลายปีก่อน และเป็น
สาเหตุให้ผมเริ่มต้นคิดค้นเกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆ ซึ่งบรรจุอยู่ในหนังสือเล่มนี้
บางทีคุณอาจเคยตกอยู่ในสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกันแบบนี้มาก่อน กล่าวคือ ถูกเพื่อน
ร่วมงานขอร้องให้ช่วยทำงานแทนในนาทีสุดท้าย แล้วคุณก็รับปาก เพื่อที่จะตระหนักใน
ภายหลังว่าได้พาตนเองเข้าสู่สุดยอดของฝันร้ายเสียแล้ว สำหรับกรณีของผม เพื่อนร่วมงาน
จำเป็นต้องรีบออกจากสำนักงาน เพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลโดยด่วน และขอร้องให้ผม
ช่วยทำหน้าที่บรรยายครั้งสำคัญแทนเขาในวันถัดไป ผมตอบรับแล้วจึงรู้ในภายหลังว่าการ
บรรยายครั้งนั้นจะจัดขึ้นที่เชฟฟิลด์ ประเทศอังกฤษ (ขณะนั้นเราอยู่ที่นิวยอร์ก) โดยมี
กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากโทนี่ แบลร์ ผู้เพิ่งรับตำแหน่งนายก
รัฐมนตรีของอังกฤษในขณะนั้นเข้าฟัง เพื่อนร่วมงานของผมไม่ได้ระบุหัวข้อ บอกแต่เพียง
ว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต และไม่ได้บอกแม้กระทั่งว่าเขาเก็บข้อมูลไว้ที่ไหน
เช้าวันรุ่งขึ้น ผมอยู่บนรถไฟที่เดินทางออกจากสถานีเซนต์แพงครัซในลอนดอน มุ่งหน้า
ไปเชฟฟิลด์ มีอาการอ่อนเพลียจากการบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก และอยู่ท่ามกลาง
เพื่อนร่วมงานชาวอังกฤษ ซึ่งผมไม่เคยพบหน้ามาก่อน ทุกคนขอบคุณที่ผมมา “ช่วยนำ
เสนอโครงการ” ช่วยนำเสนอโครงการหรือ ผมไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าตอนนั้นน่ะกี่โมงกี่ยามแล้ว
แต่ท้ายที่สุด “อาหารเช้าแบบอังกฤษบนรถไฟของอังกฤษ” ก็นำมาซึ่งการค้นพบที่น่าทึ่ง
ขณะที่รถไฟแล่นเร็วเข้าสู่ภาคกลางของอังกฤษ บริกรสวมเสื้อนอกสีขาวก็นำอาหารมากมาย
มาบริการ ทั้งไข่กวน ไข่ดาวน้ำ มันฝรั่งต้ม มันฝรั่งทอด แพนเค้กมันฝรั่ง ไส้กรอกเลือด
ไส้กรอกขาว ไส้กรอกย่าง ซอสขาว ซอสพริกทาบาสโก้ ขนมปังปิ้ง ขนมปังก้อน ขนมปัง
ไรย์ พุดดิ้งข้าว กาแฟ ชา นม น้ำส้ม น้ำแอปพริคอต และน้ำเย็น นั่นช่างเป็นช่วงเวลา
ที่อัศจรรย์จริงๆ
หลังรับประทานอาหารเช้าเสร็จ ผมค่อยรู้สึกกลับมาเป็นผู้เป็นคนอีกครั้งหนึ่ง แล้วเฟรดดี้
หัวหน้าทีมชาวอังกฤษ ก็ขอให้ผมเล่าถึงข้อมูลใน PowerPoint ที่เตรียมมา เดี๋ยวก่อนนะ!
PowerPoint หรือ? แต่ผมไม่มีอะไรอยู่ในมือเลย ผมอธิบาย ผมไม่แน่ใจด้วยซ้ำว่าเราควร
จะพูดเรื่องอะไรกัน
ปิ๊งด้วยภาพ
“เอ้อ...ก็เรื่องบทบาทของอินเทอร์เน็ตที่มีต่อการศึกษาของชาวอเมริกันไงล่ะ” เฟรดดี้
ตอบกลับมาด้วยสีหน้าเสียขวัญ “คุณพอรู้เกี่ยวกับเรื่องพวกนี้บ้างใช่ไหม” เขาถามแบบไม่
ค่อยเต็มเสียง
“จริงๆ แล้ว...ไม่” ผมตอบแล้วหันไปทางหน้าต่างพร้อมกับคิดว่าจะกระโดดลง
จากรถไฟอย่างไรดี แต่แล้วความคิดเอาตัวรอดบางอย่างก็ผุดขึ้นมาในสมอง ผมดึงปากกา
ซึ่งเหน็บอยู่ที่กระเป๋าเสื้อสูทออกมา แล้วคว้ากระดาษเช็ดปากที่วางอยู่บนโต๊ะมาปึกหนึ่ง
มองธุรกิจด้วยแนวคิดใหม่ ที่เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
“ผมไม่ค่อยรู้อะไรเกี่ยวกับเว็บไซต์เพื่อการศึกษามากนัก แต่ผมมีความเชี่ยวชาญในการ
สร้างเว็บไซต์ที่เน้นด้านการสื่อสารเป็นหลัก” ผมพูดขึ้นพร้อมกับเตรียมจรดปากกาลงบน
กระดาษเช็ดปาก “ขออนุญาตเสนอแนวคิดซึ่งอาจเป็นที่สนใจของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการ
ศึกษาสักหน่อยได้ไหม”
ก่อนที่เฟรดดี้จะตอบ ปากกาของผมก็เริ่มเคลื่อนไหว ผมวาดวงกลมวงหนึ่ง แล้วเขียน
คำว่า “แบรนด์” ลงไปกลางวงกลม
แบรนด์
ผมพูดต่อไปว่า “เฟรดดี้ คุณก็รู้นี่ว่า ปัจจุบันมีคนมากมายที่ไม่แน่ใจว่าจะสร้างเว็บไซต์
ที่มีประโยชน์ได้อย่างไร และผมก็คิดว่านักการศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ฟังของเราในวันนี้ ก็คง
คิดเช่นเดียวกัน แต่ผมกลับเห็นว่าเรามีเพียงสามเรื่องที่ต้องคำนึงถึง เรื่องแรกคือ แบรนด์
ส่วนอีกสองเรื่องคือ เนื้อหาและหน้าที่” ผมวาดวงกลมเพิ่มอีกสองวงและเขียนกำกับลงไป
แล้วพูดต่อว่า “หากเรากำหนดได้ว่าต้องการใส่อะไรลงไปในวงกลมทั้งสาม เราก็สามารถ
สร้างเว็บไซต์ใดๆ เพื่อรองรับกลุ่มเป้าหมายใดๆ ก็ได้ รวมทั้งนักการศึกษากลุ่มนี้ด้วย”
ปิ๊งด้วยภาพ
“คำถามคือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าควรบรรจุอะไรลงในวงกลมทั้งสาม คำตอบก็คือ”
ผมวาดหน้ายิ้มเล็กๆ ไว้ข้างวงกลมแต่ละวง แล้วเขียนข้อความ “กลุ่มเป้าหมายต้องการ
ทำอะไร” (หรือเราต้องการให้กลุ่มเป้าหมายทำอะไร) กำกับไว้ข้างวงกลม “หน้าที่” “กลุ่ม
เป้าหมายต้องการรู้อะไร” (หรือเราต้องการให้กลุ่มเป้าหมายรู้อะไร) กำกับไว้ข้างวงกลม
“เนื้อหา” และ “เราต้องการให้กลุ่มเป้าหมายจดจำอะไร” กำกับไว้ข้างวงกลม “แบรนด์”
เราต้องการให้
กลุ่มเป้าหมาย
จดจำ อะไร?
แบรนด์
เนื้อหา หน้าที่
กลุ่มเป้าหมาย
ต้องการ รู้ อะไร?
กลุ่มเป้าหมาย
ต้องการ ทำ อะไร?
แบรนด์
เนื้อหา หน้าที่
มองธุรกิจด้วยแนวคิดใหม่ ที่เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
“เรากำหนดเรื่องเหล่านี้ได้จากวิสัยทัศน์ทางธุรกิจ ข้อมูลทางการตลาดและผลการ
ศึกษาวิจัยต่างๆ ของลูกค้า โดยไม่จำเป็นต้องรู้คำตอบทั้งหมดภายในวันนี้ ประเด็นสำคัญ
ก็คือภาพนี้เป็นจุดเริ่มต้น ซึ่งทำให้เรารู้ว่าควรมองหาใครและอะไร”
ต่อมา ผมวาดหน้ายิ้มเพิ่มขึ้นอีกสามหน้าและเขียนข้อความกำกับ โดยครั้งนี้ผมเชื่อม
วงกลมทั้งสามวงเข้าด้วยกัน “หากผลการวิจัยบอกให้เราใส่อะไรลงในวงกลมทั้งสาม นั่น
ย่อมเป็นหน้าที่ของทีมงานสร้างสรรค์เว็บไซต์ซึ่งต้องไปดำเนินการต่อ วิศวกรเป็นผู้กำหนด
องค์ประกอบต่างๆ ของหน้าที่ นักเขียนสื่อความหมาย เขียน และเรียบเรียงเนื้อหา ส่วน
นักออกแบบก็แต่งแต้มสีสันและสร้างประสบการณ์อันน่าจดจำ”
“ง่ายๆ เพียงแค่นี้ก็ครอบคลุมทุกอย่างแล้ว”
ผมสรุปหัวข้อและคำสำคัญลงในกระดาษเช็ดปาก
เราต้องการให้
กลุ่มเป้าหมาย
จดจำ อะไร?
แบรนด์
เนื้อหา หน้าที่
กลุ่มเป้าหมาย
ต้องการ รู้ อะไร?
กลุ่มเป้าหมาย
ต้องการ ทำ อะไร?
นักเขียน
นักออกแบบ
วิศวกร
10 ปิ๊งด้วยภาพ
“คิดว่าเป็นอย่างไรบ้าง เฟรดดี้ ผมอธิบายแนวคิดนี้ให้กับกลุ่มคนฟังของเราได้หรือเปล่า”
กระดาษเช็ดปากของผมอาจไม่เรียบเนียน แต่ก็ทำให้แนวคิดของผมชัดเจน ครอบคลุม
เข้าใจง่าย และเป็นจุดตั้งต้นของการขยายความไปสู่ประเด็นต่างๆ อีกมากมายเกี่ยวกับการ
สร้างสรรค์เว็บไซต์ให้เกิดประโยชน์
เฟรดดี้ดึงกระดาษเช็ดปากไปจากมือผมแล้วพูดว่า “เยี่ยมมาก เรื่องที่คุณพูดมาทั้งหมด
ไม่มีอยู่ในแผนการนำเสนอของเรา กลุ่มคนฟังที่เรากำลังจะนำเสนองานเป็นข้าราชการผู้ทรง
คุณวุฒิ แต่เป็นมือใหม่เรื่องอินเทอร์เน็ต งบประมาณก้อนใหญ่กำลังจะถูกจัดสรรให้โครงการ
เพื่อการศึกษาออนไลน์ของคนกลุ่มนี้ และคอของพวกเขาก็พาดเขียงอยู่ สิ่งที่พวกเขากำลัง
ใจจดใจจ่อมากที่สุดก็คือ โครงสร้างการทำงานที่ชัดเจนและหนักแน่นพอที่จะทำให้มั่นใจใน
การก้าวไปข้างหน้า และกระดาษเช็ดปากของคุณก็นำเสนอโครงสร้างที่พวกเขากำลังเสาะหา
อยู่พอดี นี่สมบูรณ์แบบ” เฟรดดี้เอนตัวพิงพนักและจ้องหน้าผม
“แต่คุณคิดว่า คุณจะสามารถพูดเรื่องนี้ได้นานถึง 45 นาทีหรือเปล่า”
“เดี๋ยวก็รู้” ผมตอบ
เราต้องการให้
กลุ่มเป้าหมาย
จดจำ อะไร?
แบรนด์
เนื้อหา หน้าที่
กลุ่มเป้าหมาย
ต้องการ รู้ อะไร?
กลุ่มเป้าหมาย
ต้องการ ทำ อะไร?
นักเขียน
นักออกแบบ
วิศวกร
แบรนด์
หน้าที่
เนื้อหา
กลุ่มเป้าหมาย
ทุกสิ่งที่เราอยากรู้สำหรับ
การสร้างสรรค์เว็บไซต์
เพื่อการศึกษา
11มองธุรกิจด้วยแนวคิดใหม่ ที่เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
ปรากฏว่าหอประชุมใหญ่ของมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ มีกระดานดำขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่
ผมเคยเห็นมา ดังนั้น ผมจึงวาดสิ่งที่อยู่ในกระดาษเช็ดปากลงไปบนกระดานดำทีละขั้นตอน
อีกครั้ง ต่อหน้าผู้เชี่ยวชาญราว 50 คน และค่อยๆ ขยายความเหมือนกับที่ผมอธิบายให้
เฟรดดี้ฟังเมื่อตอนอาหารเช้า เราไม่ได้ใช้เวลาแค่ 45 นาที แต่พวกเขาเพลิดเพลินไปกับ
กระบวนการ จนสุดท้ายก็กินเวลาไปเกือบ 2 ชั่วโมง ทีมของเฟรดดี้ชนะการคัดเลือก และ
ได้รับการว่าจ้างให้บริหารโครงการที่ดำเนินการนานที่สุดของลอนดอน
แล้วผมล่ะ การได้มีส่วนร่วมในการถ่ายทอดแนวคิดง่ายๆ จากกระดาษเช็ดปาก
ในมหาวิทยาลัยที่ยิ่งใหญ่ ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญ ซึ่งทำให้ผมได้บ่มเพาะความเข้าใจถึงพลัง
ของภาพ ในความคิดของผม การที่ปัญหาทุกอย่างถูกขจัดไปด้วยภาพง่ายๆ ในกระดาษ
เช็ดปากนั้น เนื่องมาจาก หนึ่ง การวาดภาพทำให้แนวคิดที่เคยเลือนรางก่อนหน้านี้ปรากฏ
เป็นรูปเป็นร่างขึ้น สอง ผมสามารถวาดภาพออกมาได้เกือบจะในทันที โดยไม่จำเป็นต้อง
พึ่งพาเทคโนโลยีใดๆ นอกจากกระดาษกับปากกา สาม ผมสามารถแบ่งปันภาพนั้นไปสู่
ผู้อื่นได้โดยอิสระ นำมาซึ่งการเปิดกว้างทางความคิดและก่อให้เกิดการระดมความคิด และ
สุดท้าย การอธิบายด้วยภาพ ทำให้ผมมีสมาธิอยู่กับหัวข้อที่พูด โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพา
บันทึก ร่างประเด็น หรือร่างคำกล่าวใดๆ เลย
สำหรับผม บทเรียนที่ได้รับทำให้เข้าใจแจ่มแจ้งเลยว่า เราสามารถใช้ภาพง่ายๆ ที่ผุดขึ้น
ในใจอย่างทันทีทันใด มาเป็นใบเบิกทางให้ค้นพบแนวคิดหรือช่วยให้แนวคิดชัดเจนขึ้น
และยังใช้ภาพนั้นถ่ายทอดแนวคิดต่อไปยังผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นได้ค้นพบแนวคิดใหม่ๆ สำหรับ
ตัวเขาเองอีกด้วย
หลังประสบความสำเร็จอย่างยิ่งจากอาหารเช้าแบบอังกฤษมื้อนั้นแล้ว ผมกลับมาบ้าน
พร้อมความตั้งใจที่จะเรียนรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับการใช้ภาพแก้ไขปัญหา เมื่อกลับถึงนิวยอร์ก ผม
พุ่งความสนใจไปที่การพยายามผลักดันให้เกิดการใช้ภาพในการค้นหา พัฒนา และถ่ายทอด
แนวคิดทางธุรกิจ ผมอ่านทุกอย่างเท่าที่ค้นคว้ามาได้เกี่ยวกับการบริหารธุรกิจด้วยข้อมูลเชิง
ภาพ ร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการแปลงข้อมูลให้เป็นภาพกับผู้ทรงคุณวุฒิ ค้นหา
และรวบรวมคำอธิบายต่างๆ เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ภาพจากหนังสือพิมพ์ธุรกิจต่างๆ
มีสองเรื่องซึ่งสร้างความประหลาดใจให้ผมเป็นอย่างมาก เรื่องแรกคือ ผมงงมาก
ที่ค้นพบว่าข้อมูลเกี่ยวกับการแก้ปัญหาด้วยการคิดเป็นภาพนั้นมีน้อยยิ่งกว่าน้อย ในจำนวนนี้
มีเพียงไม่กี่ชิ้นที่ให้คำแนะนำซึ่งนำไปใช้ปฏิบัติได้จริงในการบริหารงานประจำวันของโลก
ธุรกิจ ส่วนเรื่องที่สอง ผมค้นพบว่า ข้อมูลซึ่งในตอนแรกดูเหมือนจะแตกต่างกันอย่างสุดกู่
แต่จริงๆ แล้วกลับมีสาระซ้ำๆ กัน และเกือบจะทำให้ผมจนมุม ผมคิดว่าถ้าหากการคิดเป็น
1 ปิ๊งด้วยภาพ
ภาพจะมีเครื่องมือเข้ามาช่วยให้ลงมือทำได้ง่ายขึ้น วิธีนี้ก็น่าจะถูกนำมาใช้ในการจัดการกับ
ความท้าทายต่างๆ ทางธุรกิจมากขึ้น ทั้งในแง่ของการค้นหา พัฒนา และถ่ายทอดแนวคิด
ไปจนกระทั่งถึงการขาย
ผมเข้าใจดีว่า วิธีที่ดีที่สุดในการทดสอบเครื่องมือเหล่านี้ก็คือ การนำไปปฏิบัติจริงทั้ง
ในด้านการให้คำปรึกษาแก่ธุรกิจและด้านการขาย ดังนั้น จากนั้นเป็นต้นมา ผมจึงพยายาม
ใส่ภาพเข้าไปในการทำงานทุกๆ ที่เท่าที่จะทำได้ และเนื้อหาที่เหลือของหนังสือเล่มนี้ก็คือ
สิ่งที่เกิดขึ้นตามมานั่นเอง
1
ประโยชน์ที่ผมคาดหวังให้คุณได้รับจากหนังสือเล่มนี้
. วงเวลาเพียง 10 สัปดาห์เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ผมได้ร่วมงานกับบริษัทใหญ่ ซึ่งดำเนิน
ธุรกิจแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงถึง 4 บริษัท ได้แก่ กูเกิ้ล, อีเบย์, เวลล์ ฟาร์โก
และพีทส์ คอฟฟี่แอนด์ที โดยเข้าไปช่วยจัดการเกี่ยวกับความท้าทายทางธุรกิจใน
4 ด้านต่างๆ กัน ได้แก่ การกำหนดยุทธศาสตร์ธุรกิจ การพัฒนาและ ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ใหม่
การออกแบบ 4 เทคโนโลยี และการรุกด้านงานขายแนวใหม่ หากมองเพียงผิวเผิน จะดูเหมือน
ว่า 4 บริษัทกับปัญหาทางธุรกิจ 4 ประการนั้น ไม่มีอะไรใกล้เคียงกันเลย กล่าวคือ เป็นเรื่อง
การกำหนดทิศทาง การขาย การธนาคาร และการชงชากับกาแฟ ซึ่งโดยปกติก็ควรจะมีวิธีแก้ไข
ปัญหาแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัท
แต่หากพิจารณาลึกลงไป จะพบว่าทุกบริษัทมีสิ่งที่เหมือนกันอยู่ นั่นคือ มีปัญหาซึ่ง
ยากที่จะระบุให้ชัดเจนและมองหาทางออกแทบไม่เห็น จึงเป็นที่มาของการนำวิธีคิดเป็นภาพ
เข้ามาใช้ เพราะทุกปัญหาทำให้กระจ่างชัดขึ้นได้ด้วยภาพ และทุกภาพก็สร้างสรรค์ขึ้นได้
ด้วยหลักการและเครื่องมือชนิดเดียวกัน
เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้จบลง ผมคาดหวังให้คุณค้นพบวิถีใหม่ในการมองปัญหาและ
เล็งเห็นทางออกที่ดี โดยใช้เวลาอ่านเพียงชั่วระยะบินข้ามฟากจากชายฝั่งหนึ่งไปยังอีกชายฝั่ง
หนึ่ง เมื่อก้าวเข้าไปในห้องประชุมไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ในวันถัดไป คุณก็พร้อมจะเริ่มต้น
แก้ทุกปัญหาด้วยภาพได้ทันที
บทที่ 2ปัญหาไหน ภาพไหน และ “เรา” คือใคร?
1 ปิ๊งด้วยภาพ
ปัญหา? ปัญหาอะไร?
ทุกวันนี้ เมื่อผมได้ยินเสียงตัวเองพูดว่า “เราสามารถแก้ทุกปัญหาด้วยภาพ” คำถามสาม
คำถามก็มักจะผุดขึ้นมาในใจทันทีคือ หนึ่ง ปัญหาอะไร สอง ภาพอะไร และสาม “เรา”
คือใคร
ขอเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามว่า ปัญหาประเภทไหนที่แก้ได้ด้วยภาพ และคำตอบก็คือ
เกือบทุกปัญหา เพราะภาพแสดงให้เห็นหลักการอันซับซ้อน หรือสรุป ข้อมูลที่ยุ่งยากสับสน
ให้มาอยู่ในรูปแบบที่เรามองเห็นและเข้าใจได้ง่ายๆ ภาพมีประโยชน์อย่างมากต่อการค้นหา
และแก้ปัญหาทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางธุรกิจ ความขัดแย้งทางการเมือง ความซับซ้อน
ทางเทคนิค ความวุ่นวายภายในองค์กร ความไม่ลงตัวของตารางเวลา หรือแม้กระทั่งปัญหา
ส่วนบุคคล
เนื่องจากผมเป็นนักธุรกิจและต้องทำงานร่วมกับนักธุรกิจจำนวนมาก ปัญหาที่ผมพบ
บ่อยๆ จึงมักมีประเด็นเกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น ทำให้สมาชิกในทีมเข้าใจระบบงานตรงกัน
และปรับตัวเข้ากับระบบได้ ช่วยจัดระเบียบแนวคิดของผู้มีอำนาจตัดสินใจ และทำให้
พวกเขาสื่อสารแนวคิดต่อไปยังผู้อื่น สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดและเล็งเห็นผลกระทบ
ที่จะเกิดขึ้นต่อตลาด หากมีการเปลี่ยนแปลงสินค้า เป็นต้น
เพราะปัญหาดังกล่าวข้างต้นเกี่ยวข้องกับเม็ดเงินมหาศาล และส่งผลกระทบต่อการ
ทำงานของคนเป็นจำนวนมาก และเพราะการทำความเข้าใจในรายละเอียดปลีกย่อยของ
แต่ละปัญหา ต้องใช้เวลาเป็นปีๆ ในการเข้าไปศึกษาคลุกคลี จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะสรุปว่า
ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาเฉพาะของแต่ละธุรกิจ แต่จริงๆ แล้วก็ไม่ถึงขนาดนั้น วิธีคิด
เป็นภาพจึงถูกนำมาใช้ เพื่อแสดงให้เห็นและเกิดความเข้าใจว่าปัญหาเหล่านี้เป็นเพียงส่วน
หนึ่งของความท้าทายทั่วไปที่เราต้องเผชิญอยู่ทุกวัน ทั้งในการดำเนินชีวิตและการดำเนิน
ธุรกิจ
1ปัญหาไหน ภาพไหน และ “เรา” คือ ใคร?
เมื่อมองภาพรวม ผมขอแบ่งปัญหาหลักออกเป็น 6 ประการ ดังต่อไปนี้
1. ปัญหา “ใคร” (Who) และ “อะไร” (What) หรือปัญหาเกี่ยวกับคน เหตุการณ์ และบทบาทหน้าที่
• เกิดอะไรขึ้นรอบๆ ตัวฉัน และฉันควรอยู่ตรงไหน
• ใครเป็นผู้รับผิดชอบและใครมีส่วนเกี่ยวข้อง ควรกระจายความรับผิดชอบไปที่ใครบ้าง
2. ปัญหา “เท่าไร” (How much) หรือปัญหาเกี่ยวกับการวัดและนับจำนวน
• เรามี X จำนวนมากเพียงพอต่อความต้องการหรือไม่
• เราต้องเก็บรักษา X อีกจำนวนเท่าไร ถ้าเราเพิ่มจำนวนตรงนี้แล้ว จะลดจำนวนตรงนั้นได้หรือไม่
3. ปัญหา “เมื่อไร” (When) หรือปัญหาเกี่ยวกับตารางและกำหนดเวลา
• อะไรมาก่อน และอะไรมาหลัง
• เรามีงานที่ต้องทำหลายอย่าง และเมื่อไรเราจึงจะทำงานเสร็จสิ้น
4. ปัญหา “ที่ไหน” (Where) หรือปัญหาเกี่ยวกับทิศทางและวิธีรวมทุกอย่างเข้าด้วยกัน
• เรากำลังจะไปที่ไหน เราไปถูกทิศทางหรือไม่ หรือควรจะหันเหไปทางอื่น
• จะรวมส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันได้อย่างไร ส่วนไหนสำคัญที่สุดและส่วนไหนสำคัญรองลงมา
5. ปัญหา “อย่างไร” (How) หรือปัญหาเกี่ยวกับการแจกแจงว่าเรื่องหนึ่งส่งผลต่ออีกเรื่องอย่างไร
• จะเกิดอะไรขึ้น หากเราทำอย่างนี้ แล้วถ้าทำอย่างนั้นล่ะ
• เราจะประเมินผลลัพธ์ที่เกิดจากการกระทำของเราได้หรือไม่
6. ปัญหา “ทำไม” (Why) หรือปัญหาเกี่ยวกับการมองภาพรวม
• เรากำลังทำอะไร และทำไมต้องทำเช่นนั้น นี่เป็นเรื่องถูกต้องหรือไม่ หรือเราควรทำอะไร
ที่แตกต่างไปจากนี้
• หากต้องการเปลี่ยนแปลง อะไรคือทางเลือกของเรา และเราจะตัดสินใจเลือกทางที่ดีที่สุดได้อย่างไร
ปัญหาหลัก 6 ประการ (6W)
ปิ๊งด้วยภาพ
ปิ๊งด้วยภาพ
ปิ๊งด้วยภาพ
ปิ๊งด้วยภาพ
ปิ๊งด้วยภาพ
ปิ๊งด้วยภาพ
ปิ๊งด้วยภาพ
ปิ๊งด้วยภาพ
ปิ๊งด้วยภาพ
ปิ๊งด้วยภาพ
ปิ๊งด้วยภาพ
ปิ๊งด้วยภาพ
ปิ๊งด้วยภาพ
ปิ๊งด้วยภาพ
ปิ๊งด้วยภาพ
ปิ๊งด้วยภาพ
ปิ๊งด้วยภาพ

More Related Content

What's hot

โครงงานเรื่อง กล้วยฉาบ
โครงงานเรื่อง กล้วยฉาบโครงงานเรื่อง กล้วยฉาบ
โครงงานเรื่อง กล้วยฉาบLorpiyanon Krittaya
 
โครงงาน คอม
โครงงาน คอมโครงงาน คอม
โครงงาน คอมNuchy Geez
 
หน้าปกโครงงาน
หน้าปกโครงงานหน้าปกโครงงาน
หน้าปกโครงงานKanistha Chudchum
 
บทที่ 3 บทที่ 4 และบทที่ 5
บทที่ 3 บทที่ 4 และบทที่ 5บทที่ 3 บทที่ 4 และบทที่ 5
บทที่ 3 บทที่ 4 และบทที่ 5siriyakorn saratho
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์Sitanan Norapong
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงาน
แบบเสนอโครงร่างโครงงานแบบเสนอโครงร่างโครงงาน
แบบเสนอโครงร่างโครงงานChamp Wachwittayakhang
 
บทที่ 8 การยศาสตร์
บทที่ 8 การยศาสตร์บทที่ 8 การยศาสตร์
บทที่ 8 การยศาสตร์Wanphen Wirojcharoenwong
 
บรรณานุกรม การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่าง
บรรณานุกรม การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่างบรรณานุกรม การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่าง
บรรณานุกรม การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่างKun Cool Look Natt
 
แบบเสนอหัวข้อโครงงาน
แบบเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสนอหัวข้อโครงงาน
แบบเสนอหัวข้อโครงงานKrooIndy Csaru
 
รุปเล่มโครงงานคอมM5
รุปเล่มโครงงานคอมM5รุปเล่มโครงงานคอมM5
รุปเล่มโครงงานคอมM5Tewit Chotchang
 
โครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา เรื่อง ประเภทของคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา เรื่อง ประเภทของคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา เรื่อง ประเภทของคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา เรื่อง ประเภทของคอมพิวเตอร์paveenada
 
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์N O Net Pitchanon
 
โครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียน
โครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียนโครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียน
โครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียนSuwanan Thipphimwong
 
หน่วยที่ 1 หลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 1 หลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ หน่วยที่ 1 หลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 1 หลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ Por Oraya
 
การเขียนรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์ บทที่ 4 เเละ บทที่ 5
การเขียนรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์ บทที่ 4 เเละ บทที่ 5การเขียนรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์ บทที่ 4 เเละ บทที่ 5
การเขียนรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์ บทที่ 4 เเละ บทที่ 5Janchai Pokmoonphon
 
โครงงานคอมพิวเตอร์นิทานสอนใจ
โครงงานคอมพิวเตอร์นิทานสอนใจโครงงานคอมพิวเตอร์นิทานสอนใจ
โครงงานคอมพิวเตอร์นิทานสอนใจnoeiinoii
 
9 บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน
9 บทที่  4  ผลการดำเนินงาน9 บทที่  4  ผลการดำเนินงาน
9 บทที่ 4 ผลการดำเนินงานAugusts Programmer
 

What's hot (20)

โครงงานเรื่อง กล้วยฉาบ
โครงงานเรื่อง กล้วยฉาบโครงงานเรื่อง กล้วยฉาบ
โครงงานเรื่อง กล้วยฉาบ
 
โครงงาน คอม
โครงงาน คอมโครงงาน คอม
โครงงาน คอม
 
หน้าปกโครงงาน
หน้าปกโครงงานหน้าปกโครงงาน
หน้าปกโครงงาน
 
บทที่ 3 บทที่ 4 และบทที่ 5
บทที่ 3 บทที่ 4 และบทที่ 5บทที่ 3 บทที่ 4 และบทที่ 5
บทที่ 3 บทที่ 4 และบทที่ 5
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงาน
แบบเสนอโครงร่างโครงงานแบบเสนอโครงร่างโครงงาน
แบบเสนอโครงร่างโครงงาน
 
บทที่ 8 การยศาสตร์
บทที่ 8 การยศาสตร์บทที่ 8 การยศาสตร์
บทที่ 8 การยศาสตร์
 
บรรณานุกรม การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่าง
บรรณานุกรม การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่างบรรณานุกรม การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่าง
บรรณานุกรม การศึกษาโครงเรื่องในนวนิยายแนวสลับร่าง
 
บทที่ 4 การรายงานข่าวในหนังสือพิมพ์
บทที่ 4 การรายงานข่าวในหนังสือพิมพ์ บทที่ 4 การรายงานข่าวในหนังสือพิมพ์
บทที่ 4 การรายงานข่าวในหนังสือพิมพ์
 
ปกโครงงานคณิตศาสตร์
ปกโครงงานคณิตศาสตร์ปกโครงงานคณิตศาสตร์
ปกโครงงานคณิตศาสตร์
 
แบบเสนอหัวข้อโครงงาน
แบบเสนอหัวข้อโครงงานแบบเสนอหัวข้อโครงงาน
แบบเสนอหัวข้อโครงงาน
 
รุปเล่มโครงงานคอมM5
รุปเล่มโครงงานคอมM5รุปเล่มโครงงานคอมM5
รุปเล่มโครงงานคอมM5
 
โครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา เรื่อง ประเภทของคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา เรื่อง ประเภทของคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา เรื่อง ประเภทของคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา เรื่อง ประเภทของคอมพิวเตอร์
 
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
 
โครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียน
โครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียนโครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียน
โครงงาน อาหารประจำชาตฺอาเซียน
 
หน่วยที่ 1 หลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 1 หลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ หน่วยที่ 1 หลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 1 หลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
 
การเขียนรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์ บทที่ 4 เเละ บทที่ 5
การเขียนรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์ บทที่ 4 เเละ บทที่ 5การเขียนรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์ บทที่ 4 เเละ บทที่ 5
การเขียนรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์ บทที่ 4 เเละ บทที่ 5
 
รายงานกล้วยฉาบ.Docx อันใหม่
รายงานกล้วยฉาบ.Docx อันใหม่รายงานกล้วยฉาบ.Docx อันใหม่
รายงานกล้วยฉาบ.Docx อันใหม่
 
โครงงานคอมพิวเตอร์นิทานสอนใจ
โครงงานคอมพิวเตอร์นิทานสอนใจโครงงานคอมพิวเตอร์นิทานสอนใจ
โครงงานคอมพิวเตอร์นิทานสอนใจ
 
9 บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน
9 บทที่  4  ผลการดำเนินงาน9 บทที่  4  ผลการดำเนินงาน
9 บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน
 

Similar to ปิ๊งด้วยภาพ

ทัศนภาพธุรกิจ ตอบจบ
ทัศนภาพธุรกิจ ตอบจบ ทัศนภาพธุรกิจ ตอบจบ
ทัศนภาพธุรกิจ ตอบจบ DrDanai Thienphut
 
การทำงาน อาเม อาเม
การทำงาน  อาเม  อาเมการทำงาน  อาเม  อาเม
การทำงาน อาเม อาเมmaykai
 
Business Model ตอนที่ 2: ร้านยาของเราทำอะไร? ทำอย่างไร? ขายให้ใคร? คุ้มหรือไม่?
Business Model ตอนที่ 2: ร้านยาของเราทำอะไร? ทำอย่างไร? ขายให้ใคร? คุ้มหรือไม่?Business Model ตอนที่ 2: ร้านยาของเราทำอะไร? ทำอย่างไร? ขายให้ใคร? คุ้มหรือไม่?
Business Model ตอนที่ 2: ร้านยาของเราทำอะไร? ทำอย่างไร? ขายให้ใคร? คุ้มหรือไม่?Utai Sukviwatsirikul
 
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา Utai Sukviwatsirikul
 

Similar to ปิ๊งด้วยภาพ (12)

ทัศนภาพธุรกิจ ตอบจบ
ทัศนภาพธุรกิจ ตอบจบ ทัศนภาพธุรกิจ ตอบจบ
ทัศนภาพธุรกิจ ตอบจบ
 
การทำงาน อาเม อาเม
การทำงาน  อาเม  อาเมการทำงาน  อาเม  อาเม
การทำงาน อาเม อาเม
 
H&f 2010
H&f 2010H&f 2010
H&f 2010
 
Business Model ตอนที่ 2: ร้านยาของเราทำอะไร? ทำอย่างไร? ขายให้ใคร? คุ้มหรือไม่?
Business Model ตอนที่ 2: ร้านยาของเราทำอะไร? ทำอย่างไร? ขายให้ใคร? คุ้มหรือไม่?Business Model ตอนที่ 2: ร้านยาของเราทำอะไร? ทำอย่างไร? ขายให้ใคร? คุ้มหรือไม่?
Business Model ตอนที่ 2: ร้านยาของเราทำอะไร? ทำอย่างไร? ขายให้ใคร? คุ้มหรือไม่?
 
Magazine
MagazineMagazine
Magazine
 
รายงานTechnology seeker
รายงานTechnology seekerรายงานTechnology seeker
รายงานTechnology seeker
 
Creative genius - Srichand
Creative genius - SrichandCreative genius - Srichand
Creative genius - Srichand
 
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
Gpp คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฎิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา
 
S mbuyer 110
S mbuyer 110S mbuyer 110
S mbuyer 110
 
Social4pr
Social4pr Social4pr
Social4pr
 
G.u.y contest 2011
G.u.y contest 2011G.u.y contest 2011
G.u.y contest 2011
 
งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอม
 

More from smittichai chaiyawong (20)

Infographic presentation
Infographic presentationInfographic presentation
Infographic presentation
 
Adobe premiere pro cc 2018
Adobe  premiere pro cc 2018Adobe  premiere pro cc 2018
Adobe premiere pro cc 2018
 
Infographic presentation
Infographic presentationInfographic presentation
Infographic presentation
 
Cinemagraph by photoshop
Cinemagraph by photoshopCinemagraph by photoshop
Cinemagraph by photoshop
 
Motion graphic by ppt
Motion graphic by pptMotion graphic by ppt
Motion graphic by ppt
 
Static excel
Static excelStatic excel
Static excel
 
การใช้งาน Power point 2013
การใช้งาน Power point 2013การใช้งาน Power point 2013
การใช้งาน Power point 2013
 
Excel 2013
Excel 2013Excel 2013
Excel 2013
 
02 word 2013
02 word 201302 word 2013
02 word 2013
 
Ms excel 2016
Ms excel 2016Ms excel 2016
Ms excel 2016
 
Ms outlook 2016
Ms outlook 2016Ms outlook 2016
Ms outlook 2016
 
Windows 10
Windows 10Windows 10
Windows 10
 
แนะนำ ProjectLibre
แนะนำ ProjectLibreแนะนำ ProjectLibre
แนะนำ ProjectLibre
 
Excel 2010 basic finish
Excel 2010 basic finishExcel 2010 basic finish
Excel 2010 basic finish
 
Advance word2013
Advance word2013Advance word2013
Advance word2013
 
เอกสาร Infographic
เอกสาร Infographicเอกสาร Infographic
เอกสาร Infographic
 
slide intro Infographic
slide intro Infographicslide intro Infographic
slide intro Infographic
 
Logical Excel
Logical ExcelLogical Excel
Logical Excel
 
PowerPoint2010 Concept
PowerPoint2010 ConceptPowerPoint2010 Concept
PowerPoint2010 Concept
 
Facebook marketingonline
Facebook marketingonlineFacebook marketingonline
Facebook marketingonline
 

ปิ๊งด้วยภาพ

  • 1.
  • 3. จัดจำหน่ายโดย : สายส่งสุขภาพใจ บริษัท บุ๊ค ไทม์ จำกัด 214 ซ.พระรามที่ 2 ซอย 38 ถนนพระราม 2 แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ 0-2415-2621, 0-2415-6507, 0-2415-6797 โทรสาร 0-2416-7744 www.booktime.co.th พิมพ์ครั้งที่ 1 : มีนาคม 2555 จัดพิมพ์ : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด โชนรังสี เฉลิมชัยกิจ กรรมการผู้จัดการ ณัฐพงษ์ ภาคีแพทย์ ออกแบบปกฉบับภาษาไทย พงค์ธร ชื่นประสิทธิ์ ศิลปกรรม ฝ่ายโรงพิมพ์ ไพบูลย์ ชาคริยานนท์ ฝ่ายการตลาด อัคคณัฐ ชุมนุม เกวลี ดวงเด่นงาม ฝ่ายขาย มนัญชยา ศิริวงษ์ อุดร ปัญญาชัย ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ แดน โรม. The back of the napkin: ปิ๊งด้วยภาพ.-- กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ, 2555. 296 หน้า. 1. การแก้ปัญหา. 2. การบริหาร. I. สีนวล ฤกษ์สิรินุกูล, ผู้แปล. II. ชื่อเรื่อง. 658.403 ISBN 978-616-14-0035-4 พิมพ์ที่ : ฝ่ายโรงพิมพ์ บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด โทรศัพท์ 0-2416-3294 แดน โรม Chonrungsee Chalermchaikit Managing Director THE BACK OF THE NAPKIN : Solving Problems and Selling Ideas with Pictures. By Dan Roam Copyright © Digital Roam, Inc., 2008 First published in 2008 by Portfolio, a member of Penguin Group (USA) Inc. Thai language translation rights © 2011 by Tathata Publication Co., Ltd. All rights reserved including the right of reproduction in whole or in part in any form. This edition published by arrangement with Portfolio, a member of Penguin Group (USA) Inc. Arranged through Tuttle-Mori Agency Co., Ltd. ประธานกรรมการบริหาร บัญชา เฉลิมชัยกิจ Chief Executive Officer Bancha Chalermchaikit วรุตม์ ทองเชื้อ บรรณาธิการบริหาร Editor in Chief Varut Thongchuae Computer Graphic Phongtrion Chuenpasited Thai Version Cover Design Nuttapong Pakeephaet Marketing Dept. Kaewalee Doungden-ngamAkkanat Chumnum Printing Dept. Bhaibulaya Chakriyanonda Sale Dept. Mananchaya Siriwong Udon Panyachai Distributed by : printing : หากต้องการสั่งซื้อจำนวนมาก เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน การฝึกอบรม การส่งเสริมการขายหรือให้เป็นของขวัญ กรุณาติดต่อรับส่วนลดพิเศษได้ที่ ฝ่ายขาย โทร.02-4156797, 02-4152621 ต่อ 102 Email:order@booktime.co.th ผู้แปล Translator สีนวล ฤกษ์สิรินุกูล Seenual Reugsirinukul กัญญา ชะเอมเทศ Kanya Cha-emtet จิรวรรณ พยาฆรินทรังกูร Jirawan Payakarintarangkura ผู้จัดการสำนักพิมพ์ Publishing House Manager อลีน เฉลิมชัยกิจ Aleen Chalermchaikit ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร Assistant Editor in Chief นันทรัตน์ ศุภวราพงษ์ Nantarat SupavarapongบรรณาธิการEditor Watcharawit วัชรวิชญ์
  • 4.
  • 5. มนุษย์เรามีภาษาไว้สื่อสารเพื่อความเข้าใจกันมานับพันปี ทุกวันนี้เรายิ่งมีเครื่องมือ สื่อสารพร้อมพรั่ง ใช้ภาษากันมากขึ้นทุกวัน สื่อสารกันจนบางครั้งเราบ่นว่าข้อมูลท่วมท้น เป็นเหตุให้ตัดสินใจไม่ได้ นอกจากตัดสินใจไม่ได้แล้ว ภาษาหลากหลายที่ใช้กลับกลายเป็น สาเหตุให้เราเข้าใจกันน้อยลง เข้าใจผิดกันมากขึ้น เมื่อคิดดูแล้วก็ช่างเป็นเรื่องชวนฉงน จริง ๆ แดน โรม ผู้เขียนหนังสือ ปิ๊งด้วยภาพ ที่คุณถืออยู่ขณะนี้ ก็ประสบปัญหาเดียวกัน ทั้งข้อมูลมากเกิน สื่อสารกันไม่เข้าใจ บางครั้งทั้ง ๆ ที่พูดภาษาเดียวกัน แล้วปัญหาจะ ไม่เพิ่มมากขึ้นได้อย่างไร เมื่อต้องสื่อสารกันด้วยภาษาต่างประเทศที่ต่างฝ่ายก็ไม่เข้าใจ ชัดเจน แดน โรม ได้ครุ่นคิดใคร่ครวญและค้นหาทางแก้ จนปรากฏเป็นหนังสือเล่มนี้ ปิ๊งด้วยภาพ หนังสือที่เมื่อคุณอ่านจบและลองทำตาม ก็จะพบว่าปัญหาต่าง ๆ ในเรื่องการ สื่อสารเป็นปัญหาหญ้าปากคอก แก้ได้ง่าย ๆ ด้วยการขีด ๆ เขียน ๆ ภาพคร่าว ๆ แบบที่ เราทำเป็นกันมาตั้งแต่สมัยเรียนอนุบาลนั่นเทียว สำนักพิมพ์สุขภาพใจได้พบหนังสือน่าสนใจยิ่งเล่มนี้ ได้อ่าน ได้ทดลองใช้ ได้เห็นผล อย่างยิ่งยวด จึงคิดว่าต้องนำหนังสือแนวนี้มาสู่นักอ่านบ้านเราให้ได้ แม้เราจะยังไม่เคยจับ ทำหนังสือแนวนี้อย่างจริงจังมาก่อน แต่ ปิ๊งด้วยภาพ ดีเกินกว่าจะอ่านแล้วเก็บไว้ เราจึงขอ นำมาเสนอให้ผู้อ่านได้ลองใช้บ้าง และหากเห็นผล โปรดติดตามเล่มสองและสามในชุดนี้ ซึ่งจะตีพิมพ์ในปีนี้แน่นอน
  • 6. ด้านหลังของกระดาษเช็ดปากเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาอย่างไร หนังสือเล่มนี้มี คำตอบ แดน โรม ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ อธิบายว่าการคิดเป็นภาพคือทางออกที่ดีที่สุด สำหรับการแก้ปัญหาทุกปัญหา ไม่ว่าคุณจะวาดภาพเป็นหรือไม่ก็ตาม และกระดาษเช็ดปาก ก็เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้คุณสามารถแก้ปัญหาด้วยภาพได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา ด้วยกลวิธีการถ่ายทอดที่ฉลาดหลักแหลม แดน โรม จะทำให้คุณเข้าใจกระบวนการ คิดเป็นภาพอย่างลึกซึ้งภายในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง โดยมีหลักการจำง่าย ๆ เพียงแค่ 3-4-5-6 เท่านั้น 3 หมายถึง เครื่องมือพื้นฐานที่คนเรามีติดตัวอยู่แล้ว 4 หมายถึง ขั้นตอนที่คนเรารู้จักวิธีปฏิบัติดีอยู่แล้ว 5 หมายถึง คำถามเพื่อกระตุ้นการทำงานของสมองทั้งสองซีกของคนเรา 6 หมายถึง วิธีการเห็นและวิธีการแสดงออกของคนเรา แล้วคุณจะค้นพบวิธีแก้ปัญหาที่อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่คุณอาจไม่เคยนึกถึง มาก่อน และผู้แปลก็เชื่อมั่นว่าคุณจะรู้สึกทึ่งกับแนวคิดสร้างสรรค์ของแดน โรม ซึ่งนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันที ทั้งในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและการแก้ปัญหา ทางธุรกิจ จากผู้แปล สีนวล ฤกษ์สิรินุกูล
  • 7. ประกาศลิขสิทธิ์ เนื่องจากความแตกต่างด้านภาษา วัฒนธรรม วิถีชีวิต เทคโนโลยี กฎหมาย และสภาพแวดล้อมทาง ธุรกิจ ฯลฯ การอ้างอิงหรือใช้รูปภาพ ข้อความ เว็บไซต์ หรือลิงค์ทางอินเตอร์เน็ต เกี่ยวกับบริษัท สินค้า ผลิตภัณฑ์หรือบริการ หรือข้อความโฆษณา เครื่องหมายการค้า รวมทั้งเนื้อหาในภาคผนวก หรือข้อมูล เพิ่มเติมอื่นใดในหนังสือเล่มนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้อธิบายแนวคิดของหนังสือต้นฉบับภาษาอังกฤษ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย และชัดเจนขึ้น มิได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด สงวนลิขสิทธิ์ฉบับภาษาไทย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ โดยบริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด ห้ามนำส่วนใดส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ไปทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน ไม่ว่า รูปแบบใดๆ ชื่อผลิตภัณฑ์และเครื่องหมายการค้าต่างๆ ที่อ้างถึง เป็นลิขสิทธิ์โดยชอบด้วยกฎหมายของ บริษัทนั้นๆ
  • 9. สารบัญ ตอนที่ 1 เกริ่นนำ (Introductions) 1 เมื่อใด กับใคร ที่ไหน : แก้ไขได้ทุกปัญหาด้วยภาพ บทที่ 1 มองธุรกิจด้วยแนวคิดใหม่ ที่เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง 2 บทที่ 2 ปัญหาไหน ภาพไหน และ “เรา” คือ ใคร? 13 บทที่ 3 เกมพนันที่ไม่มีทางแพ้ : สี่ขั้นตอนของการคิดเป็นภาพ 33 ตอนที่ 2 ค้นพบแนวคิด (Discovering Ideas) 45 ดูให้ดีขึ้น เห็นให้ชัดขึ้น จินตนาการให้กว้างไกลขึ้น : เครื่องมือและหลักการของการคิดเป็นภาพที่ดี บทที่ 4 ไม่ละ ขอบคุณ ขอดูก่อน 46 บทที่ 5 หกวิธีของการเห็น 67 บทที่ 6 SQVID : เครื่องมือสร้างจินตนาการที่ใช้ได้ผล 88 บทที่ 7 กรอบการแสดงออก 120 ตอนที่ 3 พัฒนาแนวคิด (Developing Ideas) 135 การคิดเป็นภาพแบบ MBA : การนำวิธีการคิดเป็นภาพไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง บทที่ 8 การแสดงออกและการคิดเป็นภาพแบบ MBA 136 บทที่ 9 ใครคือลูกค้าของเรา? ภาพสำหรับแก้ปัญหา ใคร/อะไร 141 บทที่ 10 ผู้ซื้อมีจำนวนเท่าไร? ภาพสำหรับแก้ปัญหา เท่าไร 150 บทที่ 11 ธุรกิจของเราอยู่ที่ไหน? ภาพสำหรับแก้ปัญหา ที่ไหน 160 (Introductions) (Introductions) จินตนาการ ดู เห็น แสดงออก คำนำผู้เขียน (8)
  • 10. (9) บทที่ 12 เราจะจัดการทุกอย่างได้เมื่อไร? ภาพสำหรับแก้ปัญหา เมื่อไร 181 บทที่ 13 เราจะปรับปรุงธุรกิจของเราให้ดีขึ้นได้อย่างไร? ภาพสำหรับแก้ปัญหา อย่างไร 199 บทที่ 14 ทำไมเราต้องใส่ใจด้วย? ภาพสำหรับแก้ปัญหา ทำไม 207 ตอนที่ 4 นำเสนอแนวคิด (Selling Ideas) 221 ได้เวลาแสดงออก บทที่ 15 ทุกเรื่องที่ผมรู้เกี่ยวกับธุรกิจ ผมเรียนรู้จาก “การแสดงออก” และ “บอกเล่า” 222 บทที่ 16 ข้อสรุปเกี่ยวกับการวาดภาพ 237 กิตติกรรมประกาศ 243 ภาคผนวก ก บัญญัติสิบ (กับอีกครึ่ง) ประการของการคิดเป็นภาพ 246 ภาคผนวก ข ศาสตร์ว่าด้วยการคิดเป็นภาพ 252 ภาคผนวก ค แหล่งค้นคว้าสำหรับนักคิดเป็นภาพ 260 ดัชนี 265
  • 11. วันหนึ่งบนรถไฟใต้ดิน วันหนึ่งในฤดูใบไม้ร่วงของปี 2006 ผมโดยสารรถไฟใต้ดินของนิวยอร์กเพื่อมุ่งหน้าเข้าสู่ ย่านใจกลางเมือง เนื่องจากเท็ด เวียนสไตน์ ตัวแทนจัดหาสำนักพิมพ์ ซึ่งมีความเห็นว่าผม มีแนวคิดที่เยี่ยมยอดเกี่ยวกับการเขียนหนังสือแนวธุรกิจเล่มหนึ่ง นัดหมายให้ผมพบกับ บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาและคณะผู้บริหารของสำนักพิมพ์เพนกวิน ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เท็ดมั่นใจว่า ผมพร้อมแล้วที่จะนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการเขียนหนังสือ ของผม เขาจึงตกลงนัดหมายให้ผมไปพบเขาที่สำนักงานของสำนักพิมพ์โดยตรง ขณะอยู่บนรถไฟ ผมทบทวนแนวคิดของผมอีกครั้งหนึ่ง “หนังสือของผมมีชื่อว่า แผนภูมิล้านเหรียญ : คำแนะนำสู่กระบวนการคิดเป็นภาพสำหรับที่ปรึกษา มีเนื้อหา เกี่ยวกับวิธีช่วยให้ที่ปรึกษาธุรกิจค้นพบ พัฒนา ถ่ายทอดและแบ่งปันแนวคิดต่างๆ ได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยนำภาพต่างๆ เข้ามาใช้” ผมคิดว่า แนวทางการนำเสนอเช่นนี้ฟังดูดีทีเดียว แต่ก็ยังกังวลเกี่ยวกับส่วนสำคัญอีก ส่วนหนึ่งคือ หนังสือเล่มนี้เกี่ยวพันอยู่กับคำถามหลายชุด ซึ่งผมคิดว่านักธุรกิจหลายคน อาจตั้งคำถามกับตนเองในช่วงเวลาที่ต้องการนำเสนอแนวคิดออกมาเป็นภาพ เช่น “ฉันควร นำเสนอแนวคิดเป็นตัวเลขหรือว่าปล่อยให้เป็นไปตามความรู้สึกดี” หรือ “ฉันควรนำเสนอ แนวคิดแบบเน้นๆ ไปเลย หรือว่าควรเปรียบเทียบกับแนวคิดอื่นๆ ด้วย” เป็นต้น เท่าที่ศึกษาค้นคว้ามาหลายปี ผมคิดว่า มีคำถามหลักอยู่ 5 ชุด ซึ่งล้วนเป็นคำถามที่ ช่วยให้การระดมความคิดเกี่ยวกับภาพมีประสิทธิภาพและสร้างความเข้าใจร่วมกันได้อย่าง รวดเร็ว แต่ผมก็รู้ว่าผมมักลืมคำถามเหล่านั้นไปประมาณครึ่งหนึ่งในระหว่างการประชุม ผมจำเป็นต้องหาวิธีที่จะช่วยให้ผมจดจำคำถามเหล่านั้นได้ทั้งหมด ผมหยิบสมุดบันทึกออกมาแล้วเขียนคำถามหลัก 5 ชุดนั้นลงไปในระหว่างที่รถไฟแล่น ส่ายไปส่ายมาตามราง (10)
  • 12. แล้วผมก็เริ่มดึงตัวอักษรตัวแรกของแต่ละชุดคำถามมาเรียงกัน เพื่อดูว่าจะเกิดเป็น คำใดที่ช่วยให้ผมจดจำได้ง่ายขึ้นหรือไม่ ทำไมตัวอักษรที่มีอยู่ช่างยากเย็นเช่นนั้น มีสระเพียงตัวเดียว ที่เหลือก็ล้วนเป็นพยัญชนะ ที่ผสมยากทั้งสิ้น ผมลองสลับตัวอักษรไปมา แต่ก็ไม่พบคำใดที่จำได้ง่ายๆ เลย ตอนนี้รถไฟอยู่ห่างจากสำนักพิมพ์เพนกวินเพียง 3 สถานีเท่านั้น ผมยังจ้องตัวอักษรที่ไม่มีความหมายเหล่านั้น (วิสัยทัศน์ หรือ ปฏิบัติการ?) (เปลี่ยนแปลง หรือ คงเดิม?) (ง่าย หรือ ขยายความ?) (คุณภาพ หรือ ปริมาณ?) (เป็นเอกเทศ หรือ เปรียบเทียบ?) (11)
  • 13. เหลืออีก 2 สถานี คำที่ดูเข้าท่าที่สุดคือ หากผมจินตนาการให้ V เป็น U (ในลักษณะเดียวกับ ที่ช่างสลักหินแกะตัวอักษรลงบนหน้าจั่วของอาคารสำคัญของหน่วยงานรัฐบาล) อย่างน้อย ที่สุดผมก็ยังมีคำที่พออ่านออกเสียงได้คือ SQUIC (สควิค หรือ สควีค) อีกสถานีเดียว แล้วความคิดบางอย่างก็ปรากฏขึ้น คำว่า “Change” (เปลี่ยนแปลง) มักมีการนำ สัญลักษณ์ “เดลต้า” หรือ “D” ในภาษากรีกมาใช้แทนที่อยู่บ่อยครั้ง แล้วถ้าหากผมนำ “D” มาแทนที่ “C” ซึ่งเป็นตัวอักษรตัวสุดท้าย ผมก็จะได้คำว่า “SQVID” “SQVID!” ผมตะโกนบอกตัวเอง “ใช่เลย ฉันจำคำนี้ได้แน่ๆ” เพราะปลาหมึกเป็น สัตว์ตัวลื่นๆ ที่มีหลายหนวดและดูเหมือนชุดคำถามที่ผมจดเอาไว้มาก “SQUID”* คือคำสุดท้ายที่ผมคิดออก รถไฟหยุดที่สถานี ผมก้าวลงจากรถ ท่านสุภาพสตรีและท่านสุภาพบุรุษ ขอเชิญพบ “ปลาหมึก” ได้แล้วครับ ระหว่างการประชุมนำเสนอแนวคิดในการเขียนหนังสือของผม ดูเหมือนว่าผู้ฟังทุกคน จะทึ่ง เพราะการนำภาพเข้ามาใช้เป็นเครื่องมือทางธุรกิจถือเป็นเรื่องใหม่ นอกจากนี้ ผมยัง มีตัวอย่างภาพวาดที่ดีหลายภาพมาส่งต่อให้ดูรอบๆ โต๊ะอีกด้วย ไม่กี่นาทีหลังจากนั้น ผมสังเกตเห็นไวท์บอร์ดขนาดใหญ่อยู่ข้างหลัง ผมหยิบปากกาขึ้นมาและพูดว่า “ถ้าพวกคุณ ไม่ว่าอะไร ผมขออนุญาตแสดงให้เห็นว่า จริงๆ แล้วผมกำลังพูดถึงเรื่องอะไร” คำที่ดูเข้าท่าที่สุดคือ หากผมจินตนาการให้ V เป็น U (ในลักษณะเดียวกับคำที่ดูเข้าท่าที่สุดคือ หากผมจินตนาการให้ V เป็น U (ในลักษณะเดียวกับ ที่ช่างสลักหินแกะตัวอักษรลงบนหน้าจั่วของอาคารสำคัญของหน่วยงานรัฐบาล) อย่างน้อยที่ช่างสลักหินแกะตัวอักษรลงบนหน้าจั่วของอาคารสำคัญของหน่วยงานรัฐบาล) อย่างน้อย * ออกเสียงว่า “สควิด” ซึ่งพ้องเสียงกับคำว่า “squid” แปลว่า ปลาหมึก (12)
  • 14. ผมหันไปที่ไวท์บอร์ดและลงมือวาดรูปน่าเกลียดของปลาหมึกที่มีหนวด 5 เส้น “หนังสือ เล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับชุดคำถามง่ายๆ สำหรับถามตัวเราเอง เพื่อช่วยให้คิดเป็นภาพได้ชัดเจน ขึ้น” ผมเขียนอักษร S ลงไปที่แขนแรก “เราควรแสดงแนวคิดอย่างเรียบง่าย (Simple) หรือ ขยายความ (Elaborate)” ผมเขียนอักษร Q ลงไปที่อีกหนวดหนึ่ง “เราควรแสดงแนวคิดในเชิงคุณภาพ (Qualitative) หรือปริมาณ (Quantitative)” เมื่อเขียนอักษร V “เราควรแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ (Vision) หรือวิธีปฏิบัติเพื่อ ให้บรรลุผล (Execution)” แล้วก็เขียนอักษร I “เราควรแสดงแนวคิดอย่างเป็นเอกเทศ (Individual) หรือ เปรียบเทียบกับแนวคิดอื่น (Comparison)” และเมื่อเขียนอักษร D ลงไป “เราควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง (Change) (เดลต้า) หรือสถานะที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (Status Quo)” ผมวางปากกาลง “ชุดคำถามที่เรียกว่า ‘SQVID’ เป็นหนึ่งในเครื่องมือหลักที่บรรจุอยู่ ในหนังสือ เป็นเครื่องมือง่ายๆ ที่ช่วยให้นักธุรกิจทุกคนเห็นวิธีใช้ภาพแก้ปัญหา แม้ว่า พวกเขาจะวาดภาพไม่เป็นเลยก็ตาม” หลายสีเกินไป การไปที่ไวท์บอร์ดแล้ววาดภาพปลาหมึกทำให้สถานการณ์ของการประชุมเปลี่ยนไป ก่อนหน้า นั้นทุกคนนั่งฟังการนำเสนอของผมอย่างเงียบๆ พร้อมกับพยักหน้าในจังหวะที่เหมาะสม ภายในห้องประชุม มีเสียงของผมเพียงเสียงเดียว แต่ตอนนี้ ทุกคนเริ่มต้นพูดคุยกัน “สุดยอด”, “ฉันเข้าใจแล้ว”, “เป็นแบบจำลองที่เยี่ยมมาก หมายความว่าคุณสามารถใช้ ปลาหมึกแก้ไขได้ทุกปัญหาใช่หรือไม่” สักครู่หนึ่งหลังจากนั้น บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาก็พูดขึ้นว่า “แดน เราชอบแนวคิด ของคุณจริงๆ” ทั้งเท็ดและผมดีใจมาก (13)
  • 15. “แต่...” บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาพูดต่อ “เราจำเป็นต้องอยู่บนพื้นฐานความจริง” อ้าว... ล้มเหลวซะแล้ว “คุณกำลังขอให้เราสนับสนุนการจัดพิมพ์หนังสือที่มีแนวคิดยอดเยี่ยม โดยเจาะจงไป ที่กลุ่มที่ปรึกษา ซึ่งเป็นตลาดที่เล็กมาก และคุณก็ต้องการให้เราจัดพิมพ์แบบสี่สีในขนาด รูปเล่มที่ใหญ่ ซึ่งทำให้หนังสือมีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับขนาดของตลาด และหากพูดกัน ตรงๆ ไม่ใช่เป็นการก้าวร้าวแต่อย่างใด ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า เราจำเป็นต้องอยู่บนพื้นฐาน ความจริง ตอนนี้ยังไม่มีใครเคยได้ยินชื่อเสียงของคุณเลย แม้ว่าเราจะชอบแนวคิดของคุณ มากแค่ไหนก็ตาม แต่ แผนภูมิล้านเหรียญ ฟังแล้วยังไม่ “ขาย” เท่าไรนัก คุณยังมีชื่ออื่นๆ อีกไหม” ผมได้เข้าสู่ขั้นตอนของการถูกปฏิเสธอย่างทันทีทันใดเสียแล้ว ปีก่อนหน้านี้ ผมตัดสินใจ หยุดทำงานประจำ เพื่อทุ่มเทเวลาให้กับหนังสือเล่มนี้อย่างเต็มที่ ผมและภรรยาต้องปรับ โครงสร้างเงินกู้ที่อยู่อาศัยถึง 2 ครั้ง เพื่อให้กระแสเงินสดของเรายังคงเป็นบวก และลูกๆ ได้เรียนหนังสือต่อไป ขณะนี้ผมกำลังนั่งอยู่ต่อหน้าบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาของสื่อ สิ่งพิมพ์ธุรกิจ ซึ่งประสบความสำเร็จที่สุดในโลก “คุณยังมีชื่ออื่นๆ อีกไหม” ไม่ได้หมายถึง ตอนจบของเรื่องนี้ “มี” ผมมองไปที่เท็ด เขาพยักหน้า “ผมขอให้คุณนึกถึงหนังสือเล่มเดียวกันนี้ แต่จัดพิมพ์สีเดียวในขนาดรูปเล่มที่เล็กลง และเราจะตั้งชื่อให้กับหนังสือเล่มนี้ว่า ปิ๊งด้วยภาพ: สื่อสารทุกแนวคิด แก้ไขทุกวิกฤติ ด้วยการคิดเป็นภาพ” บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณายิ้ม “ผมนึกออกเลยว่า เราต้องซื้อหนังสือเล่มนี้” ส่วนที่ดีที่สุดของการเขียนหนังสือเล่มนี้ นับตั้งแต่ปิ๊งด้วยภาพวางจำหน่ายในร้านหนังสือเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ผมก็ออกเดินทางไปทั่ว ประเทศ เพื่อแนะนำหลักการแก้ปัญหาด้วยภาพให้กับผู้ฟังหลากหลายกลุ่ม จากกูเกิ้ล ถึงไมโครซอฟท์ จากโบอิ้งถึงฟริโตเลย์ จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดถึงวุฒิสภาแห่ง สหรัฐอเมริกา นับเป็นการเดินทางครั้งสำคัญของถ้อยคำและภาพประกอบกัน ส่วนที่ดีที่สุดคือ แนวคิดและปฏิกิริยาตอบรับของกลุ่มต่างๆ ซึ่งผมมีโอกาสพูดคุย ด้วย ทุกครั้งที่ผมวาดภาพขึ้นมาหนึ่งภาพ ก็มักมีใครคนใดคนหนึ่ง (หลายคนก็บ่อยครั้ง) วาดบางสิ่งบางอย่างกลับคืนมา ทุกครั้งที่ผมอ้างถึงตัวอย่างในหนังสือปิ๊งด้วยภาพ ก็มักมี ใครคนใดคนหนึ่ง (หลายคนก็บ่อยครั้ง) ยกตัวอย่างอื่นๆ ตอบกลับมา ปฏิกิริยาตอบรับ ที่มากมายเช่นนี้ ทำให้ผมได้เรียนรู้ 2 ประเด็น
  • 16. ประเด็นแรก การแก้ปัญหาด้วยภาพพร้อมจะเผยแพร่สู่ธุรกิจทุกประเภท เพราะเรา กำลังพูดถึงวิธีการดูและมองเห็นปัญหา โดยใช้ความสามารถในตัวตนที่เราไม่ได้ใช้ ซึ่งนัก ธุรกิจส่วนใหญ่มองข้ามไปโดยไม่ได้ตั้งใจ หรืออาจไม่เคยคิดให้ความสำคัญ แต่ไม่ว่าจะ เป็นด้วยเหตุใด นั่นถือว่าเป็นความผิดพลาดอย่างร้ายแรง เพราะไม่มีวิธีใดที่จะทรงพลัง มากไปกว่าการวาดรูปง่ายๆ เพื่อพิสูจน์ให้ผู้อื่นรู้ว่าเรารู้จักสิ่งนั้นเป็นอย่างดี และไม่มีวิธีใด ที่จะทรงพลังมากไปกว่าการหยิบปากกาขึ้นมาวาดภาพองค์ประกอบต่างๆ ของปัญหา เพื่อให้ สามารถมองเห็นทางออกที่ถูกซ่อนไว้ ประเด็นที่สอง ปฏิกิริยาตอบรับเหล่านี้ ทำให้ผมเข้าใจว่าแนวคิดของปิ๊งด้วยภาพ ไม่เพียงแต่ใช้ได้ผลกับอาชีพที่ปรึกษาเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงอาชีพอื่นๆ อีกนับร้อย นับพัน ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจ, ครู, ผู้จัดการโครงการ, แพทย์, วิศวกร, ผู้คุมนักโทษ, คนงานในสายการผลิต, นักบิน, โค้ชฟุตบอล, ครูฝึกนาวิกโยธิน, นักวิเคราะห์การเงิน, แม่บ้าน, ทนายความ และอาชีพอื่นๆ เท่าที่คุณจะนึกออก ล้วนแล้วแต่ได้ค้นพบขุมพลัง ของการแก้ปัญหาด้วยภาพมาแล้วทั้งสิ้น ไม่เพียงแต่ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ช่วงเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ผมได้รับหนังสือปิ๊ง ด้วยภาพฉบับภาษารัสเซีย, จีน, เกาหลี, เยอรมัน และญี่ปุ่น ผมเข้าใจทุกภาพที่ปรากฏอยู่ ในหนังสือทุกฉบับได้ ไม่ว่าผมจะพูดภาษานั้นได้หรือไม่ก็ตาม และเรายังจะได้เห็นหนังสือ เล่มนี้ในฉบับภาษาอื่นๆ เพิ่มเติมอีก ทั้งสเปน, โปรตุเกส, อินโดนีเซีย, ตุรกี, ฝรั่งเศส, โรมาเนีย, ฟินแลนด์, โปแลนด์ และเชค และผมขอย้ำอีกครั้งว่า ไม่ว่าเราจะหยิบหนังสือ เล่มนี้ในฉบับภาษาใดขึ้นมา เราก็เข้าใจทุกภาพได้ตรงกันอย่างไม่มีปัญหา นี่คือเหตุผลที่ทำให้ผมรู้ว่า การแก้ไขปัญหาด้วยภาพกำลังขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ ปัญหาที่เราเผชิญอยู่ทุกวันนี้ล้วนเป็นปัญหาเดียวกันทั้งโลก ฉะนั้นเราจึงจำเป็นต้องแก้ไข ปัญหาด้วยภาษาโลก ภาพง่ายๆ ที่สอดคล้องกับความเข้าใจพื้นฐานของมนุษย์ คือภาษา ที่ว่านี้ ซึ่งก็คือประเภทของภาพที่หนังสือเล่มนี้จะแนะนำให้คุณสร้างสรรค์ขึ้นมาอย่างง่ายๆ เส้นทางลัดสำหรับผู้ไม่มีเวลา ตลอด 2 ปีที่ผ่านมากับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับเนื้อหาของปิ๊งด้วยภาพ ทำให้ ผมเห็นได้ชัดเจนขึ้นว่าแนวคิดใดของหนังสือเล่มนี้เหมาะกับคนประเภทใด หากคุณเพิ่ง เรียนรู้เกี่ยวกับการคิดเป็นภาพ ช่วงแรกของหนังสือ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับกระบวนการง่ายๆ ของการดู เห็น จินตนาการ และแสดงออก คือตอนที่เหมาะกับการเริ่มต้น เพราะเป็นการ (15)
  • 17. เชื่อมโยงการแก้ไขปัญหาด้วยภาพเข้ากับสถานการณ์ของโลกในปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยให้คุณ ก้าวสู่โลกใบใหม่อย่างมั่นใจ หากคุณเป็นนักคิดและนักนำเสนอทางธุรกิจที่เปี่ยมความมั่นใจ แต่ยังไม่ค่อยเชื่อมั่น ว่าภาพช่วยให้แนวคิดกระจ่างชัดขึ้นได้อย่างไร เครื่องมือที่น่าเกลียดแต่มีประโยชน์อย่าง SQVID (บทที่ 6) คือจุดเริ่มต้นของคุณ ยังจำได้หรือไม่ว่าเครื่องมือนี้ใช้ได้ผลที่เพนกวิน อย่างไร SQVID เป็นเครื่องมือพื้นฐานสำหรับการคิดเกี่ยวกับปัญหาใดๆ ทำให้เรามองเห็น ปัญหาจากแง่มุมต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ หากคุณเป็นนักคิดเป็นภาพที่ประสบความสำเร็จ คุณสามารถตรงไปที่หลักการ <6><6> (บทที่ 7) ซึ่งเป็นจุดที่ศาสตร์ทางด้านประสาทวิทยามาบรรจบกับศิลปะ แล้วจับมือพากัน ออกไปเต้นรำ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของผม แม้แต่ศิลปินชั้นยอดก็แทบไม่เชื่อว่า การสร้างสรรค์ภาพที่ต้องไปกระตุ้นการทำงานทุกส่วนของสมองจะง่ายดายถึงเพียงนี้ หากคุณเป็นนักออกแบบหรือสถาปนิกที่ช่ำชอง พร้อมที่จะนำภาพมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ในการทำงาน ผมขอให้คุณเปิดตรงไปบทที่ 8 ซึ่งมีเนื้อหาว่าด้วยการคิดเป็นภาพแบบ MBA และคิดหาทางแก้ปัญหาให้กับธุรกิจที่ยกมาเป็นกรณีศึกษา ตอนนี้ถือเป็นตอนที่ยาก เพราะกรณีศึกษาจะบังคับให้คุณต้องคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับภาพอย่างลึกซึ้งมากกว่าที่คุณเคย ถูกสอนในโรงเรียนออกแบบ แต่ในที่สุดก็จะแสดงให้คุณเห็นถึงวิธีใหม่ในการดึงเอา พรสวรรค์ของคุณมาใช้ในการแลกเปลี่ยนแนวคิดกับนักธุรกิจ ท้ายที่สุดนี้ ผมขอขอบคุณเอเดรียน แซคไฮม์ บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาของ Portfolio ซึ่งเป็นผู้กล่าวว่า “ผมนึกออกได้เลยว่า เราต้องซื้อหนังสือเล่มนี้” ในครั้งแรก และยังได้พูดอีกครั้งหนึ่งว่า “ตอนนี้เราควรพิมพ์เพิ่มอีกนะ แล้วก็ควรพิมพ์แบบสีในรูปเล่ม ที่ใหญ่กว่าเดิมด้วย” นี่คือ ปิ๊งด้วยภาพ ซึ่งผมวาดหวังไว้ระหว่างอยู่บนรถไฟใต้ดิน, และทุกสิ่ง แดน โรม กรกฎาคม 2009, ซานฟรานซิสโก (16)
  • 18. 1 เมื่อใด กับใคร ที่ไหน : แก้ไขได้ทุกปัญหาด้วยภาพ ตอนที่ 1 (Introductions) บทที่ 1 มองธุรกิจด้วยแนวคิดใหม่ ที่เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง บทที่ 2 ปัญหาไหน ภาพไหน และ “เรา” คือ ใคร? บทที่ 3 เกมพนันที่ไม่มีทางแพ้ : สี่ขั้นตอนของการคิดเป็นภาพ เกริ่นนำ
  • 19. เ ท่าที่คุณคิดออก อะไรคือปัญหาทางธุรกิจที่น่าหวาดหวั่นที่สุด แล้วปัญหานั้น เป็นเรื่องใหญ่โตระดับโลก หรือเป็นแค่เรื่องเฉพาะบุคคล เป็นปัญหาที่มีนัย ทางการปกครอง เทคนิค หรือความรู้สึก เป็นปัญหาเกี่ยวกับเงินทอง กระบวนการ หรือว่าคน เป็นปัญหาที่เกิดจากการบริหารงานประจำวัน หรือเกิดจากหลักการอันสูงส่งจน จับต้องไม่ได้ เป็นปัญหาที่คุณคุ้นเคยเป็นอย่างดีหรือว่าไม่เคยชายตามองมาก่อน ผมแน่ใจว่าคุณนึกปัญหาหนึ่งที่เข้ากับทุกเกณฑ์นี้ได้ ผมรู้ว่าผมทำได้ ผมทำธุรกิจใน ซานฟรานซิสโก มอสโคว์ ซูริค และนิวยอร์ก ผมเคยแก้ปัญหาทั้งหมดนี้ และเคยเห็น เพื่อนร่วมงาน เจ้านาย ลูกจ้าง และลูกค้าอีกมากมายแก้ปัญหาเหล่านี้ จริงครับ ศิลปะการ แก้ปัญหาคือหัวใจของธุรกิจ จะดีไหม หากมีวิธีช่วยให้เรามองเห็นปัญหาต่างๆ ได้รวดเร็วขึ้น เข้าใจปัญหาต่างๆ ได้โดยไม่ต้องอธิบายให้มากความ ระบุปัญหาต่างๆ ได้อย่างมั่นใจ และสามารถสื่อสารถึง ทางออกที่เราค้นพบให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับรู้ตรงกันในระยะเวลาอันสั้น จะดีไหม หากมีวิธีช่วยแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มากขึ้น แล้วก็-ผมไม่อยากพูดเลย-สนุกมากขึ้นด้วยน่ะ ขอบอกว่าวิธีที่ว่านั้นมีแล้วเรียกว่า วิธีคิดเป็นภาพ ซึ่งก็คือเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ที่ว่าด้วยการแก้ปัญหาด้วยภาพนั่นเอง บทที่ 1มองธุรกิจด้วยแนวคิดใหม่ ที่เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
  • 20. มองธุรกิจด้วยแนวคิดใหม่ ที่เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ต่อไปนี้ คือคำจำกัดความของผม การคิดเป็นภาพ หมายถึง การดึงความสามารถที่มีติดตัวมาแต่กำเนิดในด้าน การมองเห็น ทั้งด้วยตาที่เป็นอวัยวะและตาที่อยู่ในความคิด ออกมาใช้ให้เป็น ประโยชน์ เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวคิดที่เป็นรูปธรรม พัฒนาได้อย่างรวดเร็วตาม สัญชาตญาณ และถ่ายทอดต่อไปยังผู้อื่น เพื่อให้เข้าใจตรงกันอย่างง่ายๆ ต่อจากนี้ ผมขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่การมองธุรกิจด้วยแนวคิดใหม่ที่เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง “ฉันไม่ใช่คนที่คิดเป็นภาพ” ก่อนจะขยายความเกี่ยวกับเนื้อหาโดยสังเขปของหนังสือเล่มนี้ ผมขอเริ่มต้นจากแนวคิด ที่สำคัญที่สุด นั่นคือ การแก้ปัญหาด้วยภาพ ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับการเรียนศิลปะหรือ พรสวรรค์ใดๆ เลย ขอย้ำว่า ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องเลย เพราะทุกๆ ครั้งที่ผมได้รับเชิญให้ไป ช่วยบริษัทใดบริษัทหนึ่งแก้ปัญหาด้วยภาพ หรือเป็นวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับการคิดเป็นภาพ ให้กลุ่มนักธุรกิจ ก็มักมีใครคนใดคนหนึ่งพูดขึ้นมาว่า “เดี๋ยวก่อนนะ เรื่องนี้คงไม่เหมาะกับฉัน เพราะฉันไม่ใช่คนที่คิดเป็นภาพ” แล้วผมก็จะตอบว่า “ไม่มีปัญหา ผมขอพูดอย่างนี้ก็แล้วกัน ถ้าเมื่อเช้าคุณเดินเข้ามา ในห้องนี้ได้โดยไม่สะดุดหกล้ม ผมขอรับประกันว่า คุณคิดเป็นภาพเก่งพอจะเข้าใจทุกเรื่อง ที่เราจะคุยกันต่อไป และอาจเก็บบางสิ่งบางอย่างไปใช้ประโยชน์ได้” อันที่จริง คนที่เริ่มต้นด้วยการพูดว่า “ฉันวาดภาพไม่เป็น แต่...” มักลงท้ายด้วยการ กลายเป็นคนที่วาดภาพถ่ายทอดความคิดได้ชัดเจนที่สุด และผมก็มีเหตุผลมากมายมา สนับสนุน โดยจะขอขยายความต่อไปในหนังสือเล่มนี้ ดังนั้น หากคุณไม่มั่นใจในทักษะ การวาดภาพของคุณ ก็โปรดอย่ารีบวางหนังสือ แต่กรุณาข้ามไปยังหน้า 21-22 ซึ่งบอก ไว้ว่า หากคุณวาดภาพกล่อง ลูกศร หรือรูปทรงต่างๆ ได้ หนังสือเล่มนี้ก็มีประโยชน์ สำหรับคุณ
  • 21. ปิ๊งด้วยภาพ คิดเป็นภาพได้ใน 4 ตอน ต่อไปนี้คือการขับเคลื่อนของหนังสือ “ปิ๊งด้วยภาพ” ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ตอน ได้แก่ เกริ่นนำ ค้นพบแนวคิด พัฒนาแนวคิด และนำเสนอแนวคิด เนื้อหาทุกตอนไม่ต้องการอุปกรณ์ใดๆ นอกจากตาที่เป็นอวัยวะ ตาที่อยู่ในความคิด มือ ปากกา และกระดาษหนึ่งแผ่น (ไวท์บอร์ด ก็ถือเป็นอุปกรณ์ที่ดีเช่นกัน) ตอน “เกริ่นนำ” เราจะเริ่มต้นด้วยการให้คำจำกัดความของคำ ซึ่งจะปรากฏอยู่ใน หนังสือเล่มนี้ตลอดทั้งเล่ม คือ “ปัญหา” (ทุกปัญหา) “ภาพ” (ง่ายๆ) และ “คนที่ลงมือ ทำได้” (ทุกคน) หลังจากนั้น จึงจะพูดถึงวิธีช่วยให้ทุกคนลงมือทำได้ แม้ว่าแต่ละคนจะมี ทักษะในการคิดเป็นภาพแตกต่างกันก็ตาม แล้วต่อด้วยการทบทวนหัวข้อต่างๆ เพื่อให้ เข้าใจมากขึ้นว่าเราเป็นนักคิดเป็นภาพประเภทไหน และต้องทำอย่างไรในแต่ละขั้นตอนของ กระบวนการคิดเป็นภาพ ซึ่งไม่มีอะไรยากเลย ตอนที่สอง “ค้นพบแนวคิด” เราจะทบทวนหลักการเบื้องต้นของการคิดเป็นภาพที่ดี พร้อมทั้งเรียนรู้วิธีดูให้เก่งขึ้น เห็นให้ชัดขึ้น และจินตนาการให้กว้างไกลขึ้น จากนั้น จึงค่อยทำความคุ้นเคยกับเครื่องมือพื้นฐานต่างๆ ของการคิดเป็นภาพ เช่น SQVID ซึ่งช่วยเร่งให้สมองคิดเป็นภาพได้เร็วขึ้น ไม่ว่าเราต้องการจะให้เป็นเช่นนั้นหรือไม่ก็ตาม หลักการ 66 ซึ่งช่วยให้เราจัดวางสิ่งที่เห็นได้ตรงกับที่ตั้งใจจะนำเสนอ และสุดท้าย คือ การจัดทำแผ่นร่าง ซึ่งเป็นทางลัดที่จะช่วยให้เราวาดภาพสิ่งที่คิดออกมาได้ทันที ตอนที่สาม “พัฒนาแนวคิด” เราจะดึงหน้าเอกสาร ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีของหลักสูตร MBA มาใช้ โดยจะปฏิบัติตามทีละขั้นตอน ผ่านกรณีศึกษาทางธุรกิจ และจะวาดภาพ ลงบนหน้าเอกสารนั้น เมื่อวาดเสร็จ เราจะได้ภาพโครงสร้างการแก้ไขปัญหาบนหลักการ พื้นฐาน 6 ประการ ซึ่งผ่านการทดสอบแล้วว่าเป็นทางออกที่ดีของธุรกิจ และตอนสุดท้ายคือขายไอเดียหรือ “นำเสนอแนวคิด” ซึ่งเป็นการนำทุกเรื่องมาร้อย เรียงเข้าด้วยกันเพื่อสร้างสรรค์และนำเสนอ โดยปราศจากการใช้คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ โปรเจคเตอร์ และแม้กระทั่งเอกสารประกอบใดๆ มีเพียงแค่ตัวเรา ลูกค้า ไวท์บอร์ด แผ่นใหญ่ๆ และแนวคิดคมๆ เท่านั้น
  • 22. มองธุรกิจด้วยแนวคิดใหม่ ที่เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง เนื้อหาทั้งหมดมีที่มาจากไหน : อาหารเช้าแบบอังกฤษ (การคิดเป็นภาพช่วยชีวิตผมไว้ได้อย่างไร) ตอนเริ่มต้น ผมตั้งคำถามให้คุณคิดว่า อะไรคือปัญหาที่น่าหวาดหวั่นที่สุดของธุรกิจส่วนตัว ผมกลับคิดย้อนไปถึงเหตุการณ์ท้าทายเฉพาะหน้า ซึ่งต้องเผชิญเมื่อหลายปีก่อน และเป็น สาเหตุให้ผมเริ่มต้นคิดค้นเกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆ ซึ่งบรรจุอยู่ในหนังสือเล่มนี้ บางทีคุณอาจเคยตกอยู่ในสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกันแบบนี้มาก่อน กล่าวคือ ถูกเพื่อน ร่วมงานขอร้องให้ช่วยทำงานแทนในนาทีสุดท้าย แล้วคุณก็รับปาก เพื่อที่จะตระหนักใน ภายหลังว่าได้พาตนเองเข้าสู่สุดยอดของฝันร้ายเสียแล้ว สำหรับกรณีของผม เพื่อนร่วมงาน จำเป็นต้องรีบออกจากสำนักงาน เพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลโดยด่วน และขอร้องให้ผม ช่วยทำหน้าที่บรรยายครั้งสำคัญแทนเขาในวันถัดไป ผมตอบรับแล้วจึงรู้ในภายหลังว่าการ บรรยายครั้งนั้นจะจัดขึ้นที่เชฟฟิลด์ ประเทศอังกฤษ (ขณะนั้นเราอยู่ที่นิวยอร์ก) โดยมี กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากโทนี่ แบลร์ ผู้เพิ่งรับตำแหน่งนายก รัฐมนตรีของอังกฤษในขณะนั้นเข้าฟัง เพื่อนร่วมงานของผมไม่ได้ระบุหัวข้อ บอกแต่เพียง ว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต และไม่ได้บอกแม้กระทั่งว่าเขาเก็บข้อมูลไว้ที่ไหน เช้าวันรุ่งขึ้น ผมอยู่บนรถไฟที่เดินทางออกจากสถานีเซนต์แพงครัซในลอนดอน มุ่งหน้า ไปเชฟฟิลด์ มีอาการอ่อนเพลียจากการบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก และอยู่ท่ามกลาง เพื่อนร่วมงานชาวอังกฤษ ซึ่งผมไม่เคยพบหน้ามาก่อน ทุกคนขอบคุณที่ผมมา “ช่วยนำ เสนอโครงการ” ช่วยนำเสนอโครงการหรือ ผมไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าตอนนั้นน่ะกี่โมงกี่ยามแล้ว แต่ท้ายที่สุด “อาหารเช้าแบบอังกฤษบนรถไฟของอังกฤษ” ก็นำมาซึ่งการค้นพบที่น่าทึ่ง ขณะที่รถไฟแล่นเร็วเข้าสู่ภาคกลางของอังกฤษ บริกรสวมเสื้อนอกสีขาวก็นำอาหารมากมาย มาบริการ ทั้งไข่กวน ไข่ดาวน้ำ มันฝรั่งต้ม มันฝรั่งทอด แพนเค้กมันฝรั่ง ไส้กรอกเลือด ไส้กรอกขาว ไส้กรอกย่าง ซอสขาว ซอสพริกทาบาสโก้ ขนมปังปิ้ง ขนมปังก้อน ขนมปัง ไรย์ พุดดิ้งข้าว กาแฟ ชา นม น้ำส้ม น้ำแอปพริคอต และน้ำเย็น นั่นช่างเป็นช่วงเวลา ที่อัศจรรย์จริงๆ หลังรับประทานอาหารเช้าเสร็จ ผมค่อยรู้สึกกลับมาเป็นผู้เป็นคนอีกครั้งหนึ่ง แล้วเฟรดดี้ หัวหน้าทีมชาวอังกฤษ ก็ขอให้ผมเล่าถึงข้อมูลใน PowerPoint ที่เตรียมมา เดี๋ยวก่อนนะ! PowerPoint หรือ? แต่ผมไม่มีอะไรอยู่ในมือเลย ผมอธิบาย ผมไม่แน่ใจด้วยซ้ำว่าเราควร จะพูดเรื่องอะไรกัน
  • 23. ปิ๊งด้วยภาพ “เอ้อ...ก็เรื่องบทบาทของอินเทอร์เน็ตที่มีต่อการศึกษาของชาวอเมริกันไงล่ะ” เฟรดดี้ ตอบกลับมาด้วยสีหน้าเสียขวัญ “คุณพอรู้เกี่ยวกับเรื่องพวกนี้บ้างใช่ไหม” เขาถามแบบไม่ ค่อยเต็มเสียง “จริงๆ แล้ว...ไม่” ผมตอบแล้วหันไปทางหน้าต่างพร้อมกับคิดว่าจะกระโดดลง จากรถไฟอย่างไรดี แต่แล้วความคิดเอาตัวรอดบางอย่างก็ผุดขึ้นมาในสมอง ผมดึงปากกา ซึ่งเหน็บอยู่ที่กระเป๋าเสื้อสูทออกมา แล้วคว้ากระดาษเช็ดปากที่วางอยู่บนโต๊ะมาปึกหนึ่ง
  • 24. มองธุรกิจด้วยแนวคิดใหม่ ที่เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง “ผมไม่ค่อยรู้อะไรเกี่ยวกับเว็บไซต์เพื่อการศึกษามากนัก แต่ผมมีความเชี่ยวชาญในการ สร้างเว็บไซต์ที่เน้นด้านการสื่อสารเป็นหลัก” ผมพูดขึ้นพร้อมกับเตรียมจรดปากกาลงบน กระดาษเช็ดปาก “ขออนุญาตเสนอแนวคิดซึ่งอาจเป็นที่สนใจของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการ ศึกษาสักหน่อยได้ไหม” ก่อนที่เฟรดดี้จะตอบ ปากกาของผมก็เริ่มเคลื่อนไหว ผมวาดวงกลมวงหนึ่ง แล้วเขียน คำว่า “แบรนด์” ลงไปกลางวงกลม แบรนด์ ผมพูดต่อไปว่า “เฟรดดี้ คุณก็รู้นี่ว่า ปัจจุบันมีคนมากมายที่ไม่แน่ใจว่าจะสร้างเว็บไซต์ ที่มีประโยชน์ได้อย่างไร และผมก็คิดว่านักการศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ฟังของเราในวันนี้ ก็คง คิดเช่นเดียวกัน แต่ผมกลับเห็นว่าเรามีเพียงสามเรื่องที่ต้องคำนึงถึง เรื่องแรกคือ แบรนด์ ส่วนอีกสองเรื่องคือ เนื้อหาและหน้าที่” ผมวาดวงกลมเพิ่มอีกสองวงและเขียนกำกับลงไป แล้วพูดต่อว่า “หากเรากำหนดได้ว่าต้องการใส่อะไรลงไปในวงกลมทั้งสาม เราก็สามารถ สร้างเว็บไซต์ใดๆ เพื่อรองรับกลุ่มเป้าหมายใดๆ ก็ได้ รวมทั้งนักการศึกษากลุ่มนี้ด้วย”
  • 25. ปิ๊งด้วยภาพ “คำถามคือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าควรบรรจุอะไรลงในวงกลมทั้งสาม คำตอบก็คือ” ผมวาดหน้ายิ้มเล็กๆ ไว้ข้างวงกลมแต่ละวง แล้วเขียนข้อความ “กลุ่มเป้าหมายต้องการ ทำอะไร” (หรือเราต้องการให้กลุ่มเป้าหมายทำอะไร) กำกับไว้ข้างวงกลม “หน้าที่” “กลุ่ม เป้าหมายต้องการรู้อะไร” (หรือเราต้องการให้กลุ่มเป้าหมายรู้อะไร) กำกับไว้ข้างวงกลม “เนื้อหา” และ “เราต้องการให้กลุ่มเป้าหมายจดจำอะไร” กำกับไว้ข้างวงกลม “แบรนด์” เราต้องการให้ กลุ่มเป้าหมาย จดจำ อะไร? แบรนด์ เนื้อหา หน้าที่ กลุ่มเป้าหมาย ต้องการ รู้ อะไร? กลุ่มเป้าหมาย ต้องการ ทำ อะไร? แบรนด์ เนื้อหา หน้าที่
  • 26. มองธุรกิจด้วยแนวคิดใหม่ ที่เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง “เรากำหนดเรื่องเหล่านี้ได้จากวิสัยทัศน์ทางธุรกิจ ข้อมูลทางการตลาดและผลการ ศึกษาวิจัยต่างๆ ของลูกค้า โดยไม่จำเป็นต้องรู้คำตอบทั้งหมดภายในวันนี้ ประเด็นสำคัญ ก็คือภาพนี้เป็นจุดเริ่มต้น ซึ่งทำให้เรารู้ว่าควรมองหาใครและอะไร” ต่อมา ผมวาดหน้ายิ้มเพิ่มขึ้นอีกสามหน้าและเขียนข้อความกำกับ โดยครั้งนี้ผมเชื่อม วงกลมทั้งสามวงเข้าด้วยกัน “หากผลการวิจัยบอกให้เราใส่อะไรลงในวงกลมทั้งสาม นั่น ย่อมเป็นหน้าที่ของทีมงานสร้างสรรค์เว็บไซต์ซึ่งต้องไปดำเนินการต่อ วิศวกรเป็นผู้กำหนด องค์ประกอบต่างๆ ของหน้าที่ นักเขียนสื่อความหมาย เขียน และเรียบเรียงเนื้อหา ส่วน นักออกแบบก็แต่งแต้มสีสันและสร้างประสบการณ์อันน่าจดจำ” “ง่ายๆ เพียงแค่นี้ก็ครอบคลุมทุกอย่างแล้ว” ผมสรุปหัวข้อและคำสำคัญลงในกระดาษเช็ดปาก เราต้องการให้ กลุ่มเป้าหมาย จดจำ อะไร? แบรนด์ เนื้อหา หน้าที่ กลุ่มเป้าหมาย ต้องการ รู้ อะไร? กลุ่มเป้าหมาย ต้องการ ทำ อะไร? นักเขียน นักออกแบบ วิศวกร
  • 27. 10 ปิ๊งด้วยภาพ “คิดว่าเป็นอย่างไรบ้าง เฟรดดี้ ผมอธิบายแนวคิดนี้ให้กับกลุ่มคนฟังของเราได้หรือเปล่า” กระดาษเช็ดปากของผมอาจไม่เรียบเนียน แต่ก็ทำให้แนวคิดของผมชัดเจน ครอบคลุม เข้าใจง่าย และเป็นจุดตั้งต้นของการขยายความไปสู่ประเด็นต่างๆ อีกมากมายเกี่ยวกับการ สร้างสรรค์เว็บไซต์ให้เกิดประโยชน์ เฟรดดี้ดึงกระดาษเช็ดปากไปจากมือผมแล้วพูดว่า “เยี่ยมมาก เรื่องที่คุณพูดมาทั้งหมด ไม่มีอยู่ในแผนการนำเสนอของเรา กลุ่มคนฟังที่เรากำลังจะนำเสนองานเป็นข้าราชการผู้ทรง คุณวุฒิ แต่เป็นมือใหม่เรื่องอินเทอร์เน็ต งบประมาณก้อนใหญ่กำลังจะถูกจัดสรรให้โครงการ เพื่อการศึกษาออนไลน์ของคนกลุ่มนี้ และคอของพวกเขาก็พาดเขียงอยู่ สิ่งที่พวกเขากำลัง ใจจดใจจ่อมากที่สุดก็คือ โครงสร้างการทำงานที่ชัดเจนและหนักแน่นพอที่จะทำให้มั่นใจใน การก้าวไปข้างหน้า และกระดาษเช็ดปากของคุณก็นำเสนอโครงสร้างที่พวกเขากำลังเสาะหา อยู่พอดี นี่สมบูรณ์แบบ” เฟรดดี้เอนตัวพิงพนักและจ้องหน้าผม “แต่คุณคิดว่า คุณจะสามารถพูดเรื่องนี้ได้นานถึง 45 นาทีหรือเปล่า” “เดี๋ยวก็รู้” ผมตอบ เราต้องการให้ กลุ่มเป้าหมาย จดจำ อะไร? แบรนด์ เนื้อหา หน้าที่ กลุ่มเป้าหมาย ต้องการ รู้ อะไร? กลุ่มเป้าหมาย ต้องการ ทำ อะไร? นักเขียน นักออกแบบ วิศวกร แบรนด์ หน้าที่ เนื้อหา กลุ่มเป้าหมาย ทุกสิ่งที่เราอยากรู้สำหรับ การสร้างสรรค์เว็บไซต์ เพื่อการศึกษา
  • 28. 11มองธุรกิจด้วยแนวคิดใหม่ ที่เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ปรากฏว่าหอประชุมใหญ่ของมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ มีกระดานดำขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ ผมเคยเห็นมา ดังนั้น ผมจึงวาดสิ่งที่อยู่ในกระดาษเช็ดปากลงไปบนกระดานดำทีละขั้นตอน อีกครั้ง ต่อหน้าผู้เชี่ยวชาญราว 50 คน และค่อยๆ ขยายความเหมือนกับที่ผมอธิบายให้ เฟรดดี้ฟังเมื่อตอนอาหารเช้า เราไม่ได้ใช้เวลาแค่ 45 นาที แต่พวกเขาเพลิดเพลินไปกับ กระบวนการ จนสุดท้ายก็กินเวลาไปเกือบ 2 ชั่วโมง ทีมของเฟรดดี้ชนะการคัดเลือก และ ได้รับการว่าจ้างให้บริหารโครงการที่ดำเนินการนานที่สุดของลอนดอน แล้วผมล่ะ การได้มีส่วนร่วมในการถ่ายทอดแนวคิดง่ายๆ จากกระดาษเช็ดปาก ในมหาวิทยาลัยที่ยิ่งใหญ่ ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญ ซึ่งทำให้ผมได้บ่มเพาะความเข้าใจถึงพลัง ของภาพ ในความคิดของผม การที่ปัญหาทุกอย่างถูกขจัดไปด้วยภาพง่ายๆ ในกระดาษ เช็ดปากนั้น เนื่องมาจาก หนึ่ง การวาดภาพทำให้แนวคิดที่เคยเลือนรางก่อนหน้านี้ปรากฏ เป็นรูปเป็นร่างขึ้น สอง ผมสามารถวาดภาพออกมาได้เกือบจะในทันที โดยไม่จำเป็นต้อง พึ่งพาเทคโนโลยีใดๆ นอกจากกระดาษกับปากกา สาม ผมสามารถแบ่งปันภาพนั้นไปสู่ ผู้อื่นได้โดยอิสระ นำมาซึ่งการเปิดกว้างทางความคิดและก่อให้เกิดการระดมความคิด และ สุดท้าย การอธิบายด้วยภาพ ทำให้ผมมีสมาธิอยู่กับหัวข้อที่พูด โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพา บันทึก ร่างประเด็น หรือร่างคำกล่าวใดๆ เลย สำหรับผม บทเรียนที่ได้รับทำให้เข้าใจแจ่มแจ้งเลยว่า เราสามารถใช้ภาพง่ายๆ ที่ผุดขึ้น ในใจอย่างทันทีทันใด มาเป็นใบเบิกทางให้ค้นพบแนวคิดหรือช่วยให้แนวคิดชัดเจนขึ้น และยังใช้ภาพนั้นถ่ายทอดแนวคิดต่อไปยังผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นได้ค้นพบแนวคิดใหม่ๆ สำหรับ ตัวเขาเองอีกด้วย หลังประสบความสำเร็จอย่างยิ่งจากอาหารเช้าแบบอังกฤษมื้อนั้นแล้ว ผมกลับมาบ้าน พร้อมความตั้งใจที่จะเรียนรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับการใช้ภาพแก้ไขปัญหา เมื่อกลับถึงนิวยอร์ก ผม พุ่งความสนใจไปที่การพยายามผลักดันให้เกิดการใช้ภาพในการค้นหา พัฒนา และถ่ายทอด แนวคิดทางธุรกิจ ผมอ่านทุกอย่างเท่าที่ค้นคว้ามาได้เกี่ยวกับการบริหารธุรกิจด้วยข้อมูลเชิง ภาพ ร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการแปลงข้อมูลให้เป็นภาพกับผู้ทรงคุณวุฒิ ค้นหา และรวบรวมคำอธิบายต่างๆ เกี่ยวกับการสร้างสรรค์ภาพจากหนังสือพิมพ์ธุรกิจต่างๆ มีสองเรื่องซึ่งสร้างความประหลาดใจให้ผมเป็นอย่างมาก เรื่องแรกคือ ผมงงมาก ที่ค้นพบว่าข้อมูลเกี่ยวกับการแก้ปัญหาด้วยการคิดเป็นภาพนั้นมีน้อยยิ่งกว่าน้อย ในจำนวนนี้ มีเพียงไม่กี่ชิ้นที่ให้คำแนะนำซึ่งนำไปใช้ปฏิบัติได้จริงในการบริหารงานประจำวันของโลก ธุรกิจ ส่วนเรื่องที่สอง ผมค้นพบว่า ข้อมูลซึ่งในตอนแรกดูเหมือนจะแตกต่างกันอย่างสุดกู่ แต่จริงๆ แล้วกลับมีสาระซ้ำๆ กัน และเกือบจะทำให้ผมจนมุม ผมคิดว่าถ้าหากการคิดเป็น
  • 29. 1 ปิ๊งด้วยภาพ ภาพจะมีเครื่องมือเข้ามาช่วยให้ลงมือทำได้ง่ายขึ้น วิธีนี้ก็น่าจะถูกนำมาใช้ในการจัดการกับ ความท้าทายต่างๆ ทางธุรกิจมากขึ้น ทั้งในแง่ของการค้นหา พัฒนา และถ่ายทอดแนวคิด ไปจนกระทั่งถึงการขาย ผมเข้าใจดีว่า วิธีที่ดีที่สุดในการทดสอบเครื่องมือเหล่านี้ก็คือ การนำไปปฏิบัติจริงทั้ง ในด้านการให้คำปรึกษาแก่ธุรกิจและด้านการขาย ดังนั้น จากนั้นเป็นต้นมา ผมจึงพยายาม ใส่ภาพเข้าไปในการทำงานทุกๆ ที่เท่าที่จะทำได้ และเนื้อหาที่เหลือของหนังสือเล่มนี้ก็คือ สิ่งที่เกิดขึ้นตามมานั่นเอง
  • 30. 1 ประโยชน์ที่ผมคาดหวังให้คุณได้รับจากหนังสือเล่มนี้ . วงเวลาเพียง 10 สัปดาห์เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ผมได้ร่วมงานกับบริษัทใหญ่ ซึ่งดำเนิน ธุรกิจแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงถึง 4 บริษัท ได้แก่ กูเกิ้ล, อีเบย์, เวลล์ ฟาร์โก และพีทส์ คอฟฟี่แอนด์ที โดยเข้าไปช่วยจัดการเกี่ยวกับความท้าทายทางธุรกิจใน 4 ด้านต่างๆ กัน ได้แก่ การกำหนดยุทธศาสตร์ธุรกิจ การพัฒนาและ ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ใหม่ การออกแบบ 4 เทคโนโลยี และการรุกด้านงานขายแนวใหม่ หากมองเพียงผิวเผิน จะดูเหมือน ว่า 4 บริษัทกับปัญหาทางธุรกิจ 4 ประการนั้น ไม่มีอะไรใกล้เคียงกันเลย กล่าวคือ เป็นเรื่อง การกำหนดทิศทาง การขาย การธนาคาร และการชงชากับกาแฟ ซึ่งโดยปกติก็ควรจะมีวิธีแก้ไข ปัญหาแตกต่างกันไปในแต่ละบริษัท แต่หากพิจารณาลึกลงไป จะพบว่าทุกบริษัทมีสิ่งที่เหมือนกันอยู่ นั่นคือ มีปัญหาซึ่ง ยากที่จะระบุให้ชัดเจนและมองหาทางออกแทบไม่เห็น จึงเป็นที่มาของการนำวิธีคิดเป็นภาพ เข้ามาใช้ เพราะทุกปัญหาทำให้กระจ่างชัดขึ้นได้ด้วยภาพ และทุกภาพก็สร้างสรรค์ขึ้นได้ ด้วยหลักการและเครื่องมือชนิดเดียวกัน เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้จบลง ผมคาดหวังให้คุณค้นพบวิถีใหม่ในการมองปัญหาและ เล็งเห็นทางออกที่ดี โดยใช้เวลาอ่านเพียงชั่วระยะบินข้ามฟากจากชายฝั่งหนึ่งไปยังอีกชายฝั่ง หนึ่ง เมื่อก้าวเข้าไปในห้องประชุมไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ในวันถัดไป คุณก็พร้อมจะเริ่มต้น แก้ทุกปัญหาด้วยภาพได้ทันที บทที่ 2ปัญหาไหน ภาพไหน และ “เรา” คือใคร?
  • 31. 1 ปิ๊งด้วยภาพ ปัญหา? ปัญหาอะไร? ทุกวันนี้ เมื่อผมได้ยินเสียงตัวเองพูดว่า “เราสามารถแก้ทุกปัญหาด้วยภาพ” คำถามสาม คำถามก็มักจะผุดขึ้นมาในใจทันทีคือ หนึ่ง ปัญหาอะไร สอง ภาพอะไร และสาม “เรา” คือใคร ขอเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามว่า ปัญหาประเภทไหนที่แก้ได้ด้วยภาพ และคำตอบก็คือ เกือบทุกปัญหา เพราะภาพแสดงให้เห็นหลักการอันซับซ้อน หรือสรุป ข้อมูลที่ยุ่งยากสับสน ให้มาอยู่ในรูปแบบที่เรามองเห็นและเข้าใจได้ง่ายๆ ภาพมีประโยชน์อย่างมากต่อการค้นหา และแก้ปัญหาทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางธุรกิจ ความขัดแย้งทางการเมือง ความซับซ้อน ทางเทคนิค ความวุ่นวายภายในองค์กร ความไม่ลงตัวของตารางเวลา หรือแม้กระทั่งปัญหา ส่วนบุคคล เนื่องจากผมเป็นนักธุรกิจและต้องทำงานร่วมกับนักธุรกิจจำนวนมาก ปัญหาที่ผมพบ บ่อยๆ จึงมักมีประเด็นเกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น ทำให้สมาชิกในทีมเข้าใจระบบงานตรงกัน และปรับตัวเข้ากับระบบได้ ช่วยจัดระเบียบแนวคิดของผู้มีอำนาจตัดสินใจ และทำให้ พวกเขาสื่อสารแนวคิดต่อไปยังผู้อื่น สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดและเล็งเห็นผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้นต่อตลาด หากมีการเปลี่ยนแปลงสินค้า เป็นต้น เพราะปัญหาดังกล่าวข้างต้นเกี่ยวข้องกับเม็ดเงินมหาศาล และส่งผลกระทบต่อการ ทำงานของคนเป็นจำนวนมาก และเพราะการทำความเข้าใจในรายละเอียดปลีกย่อยของ แต่ละปัญหา ต้องใช้เวลาเป็นปีๆ ในการเข้าไปศึกษาคลุกคลี จึงเป็นเรื่องง่ายที่จะสรุปว่า ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาเฉพาะของแต่ละธุรกิจ แต่จริงๆ แล้วก็ไม่ถึงขนาดนั้น วิธีคิด เป็นภาพจึงถูกนำมาใช้ เพื่อแสดงให้เห็นและเกิดความเข้าใจว่าปัญหาเหล่านี้เป็นเพียงส่วน หนึ่งของความท้าทายทั่วไปที่เราต้องเผชิญอยู่ทุกวัน ทั้งในการดำเนินชีวิตและการดำเนิน ธุรกิจ
  • 32. 1ปัญหาไหน ภาพไหน และ “เรา” คือ ใคร? เมื่อมองภาพรวม ผมขอแบ่งปัญหาหลักออกเป็น 6 ประการ ดังต่อไปนี้ 1. ปัญหา “ใคร” (Who) และ “อะไร” (What) หรือปัญหาเกี่ยวกับคน เหตุการณ์ และบทบาทหน้าที่ • เกิดอะไรขึ้นรอบๆ ตัวฉัน และฉันควรอยู่ตรงไหน • ใครเป็นผู้รับผิดชอบและใครมีส่วนเกี่ยวข้อง ควรกระจายความรับผิดชอบไปที่ใครบ้าง 2. ปัญหา “เท่าไร” (How much) หรือปัญหาเกี่ยวกับการวัดและนับจำนวน • เรามี X จำนวนมากเพียงพอต่อความต้องการหรือไม่ • เราต้องเก็บรักษา X อีกจำนวนเท่าไร ถ้าเราเพิ่มจำนวนตรงนี้แล้ว จะลดจำนวนตรงนั้นได้หรือไม่ 3. ปัญหา “เมื่อไร” (When) หรือปัญหาเกี่ยวกับตารางและกำหนดเวลา • อะไรมาก่อน และอะไรมาหลัง • เรามีงานที่ต้องทำหลายอย่าง และเมื่อไรเราจึงจะทำงานเสร็จสิ้น 4. ปัญหา “ที่ไหน” (Where) หรือปัญหาเกี่ยวกับทิศทางและวิธีรวมทุกอย่างเข้าด้วยกัน • เรากำลังจะไปที่ไหน เราไปถูกทิศทางหรือไม่ หรือควรจะหันเหไปทางอื่น • จะรวมส่วนต่างๆ เข้าด้วยกันได้อย่างไร ส่วนไหนสำคัญที่สุดและส่วนไหนสำคัญรองลงมา 5. ปัญหา “อย่างไร” (How) หรือปัญหาเกี่ยวกับการแจกแจงว่าเรื่องหนึ่งส่งผลต่ออีกเรื่องอย่างไร • จะเกิดอะไรขึ้น หากเราทำอย่างนี้ แล้วถ้าทำอย่างนั้นล่ะ • เราจะประเมินผลลัพธ์ที่เกิดจากการกระทำของเราได้หรือไม่ 6. ปัญหา “ทำไม” (Why) หรือปัญหาเกี่ยวกับการมองภาพรวม • เรากำลังทำอะไร และทำไมต้องทำเช่นนั้น นี่เป็นเรื่องถูกต้องหรือไม่ หรือเราควรทำอะไร ที่แตกต่างไปจากนี้ • หากต้องการเปลี่ยนแปลง อะไรคือทางเลือกของเรา และเราจะตัดสินใจเลือกทางที่ดีที่สุดได้อย่างไร ปัญหาหลัก 6 ประการ (6W)