SlideShare a Scribd company logo
1 of 10
Download to read offline
การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะ
ของครู สังกัดสำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น
Academic Administration of Elementary School Principals as
Perceived by Teachers of Khon Kaen Province
อัครเดช นีละโยธิน1
, พระราชรัตนมงคล2
, พระมหาศุภชัย สุภกิจฺโจ3
,
พระณัฐวุฒิ สัพโส4
, วิทูล ทาชา5
, ภัทราพร อรัญมาลา6
Akkharadet Neelayothin1
, Phrarajratanamongkol2
,
Phramahasuphachai Subhakicco3
, Phranatthawut Sabphaso4
,
Witoon Thacha5
, Pataraphorn Arunmala6
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพฤติกรรมการแสดงออกที่สะท้อนถึงการบริหารงานวิชาการ
ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของครู และวิเคราะห์เปรียบเทียบพฤติกรรมนั้นจำ�แนก
ตามเพศ ประสบการณ์การทำ�งาน และระดับการศึกษา ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำ�รวจ จากกลุ่มตัวอย่าง
ของประชากรที่เป็นครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัด
ขอนแก่น จำ�นวน 339 ราย
ผลการวิจัยพบว่า ครูที่มีทัศนะต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา โดย
ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบพบว่า จำ�แนกตามเพศ ประสบการณ์การทำ�งาน และระดับ
การศึกษาต่างกัน ครูมีทัศนะต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาโดยภาพรวมไม่
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำ�คัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำ�สำ�คัญ:	 การบริหารงานวิชาการ ผู้บริหาร ประถมศึกษา
Abstract
This research aimed to study the behavior which reflects the academic administration
of elementary school principals as perceived by teachers in Khon Kaen province. Comparing
and analyzing the desirable behavior by genders, work experiences and levels of education.
The survey methodology was applied. The population sample is 339 of elementary school
principals in Khon Kaen Primary Educational Service Area Office.
1, 6
	 นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
2-5
	 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
1, 6
	 Ed.D. Candidate in Education Administration, Faculty of Education, Mahamakut Buddhist University (Isan Campus)
2-5
	 Faculty of Education, Mahamakut Buddhist University
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 134 ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน พ.ศ. 2560
บทนำ�
การบริหารงานวิชาการเป็นภารกิจหลัก
ของผู้บริหารสถานศึกษา รวมถึงเป็นเครื่องชี้
วัด ความสำ�เร็จการจัดการศึกษา ซึ่งแสดงถึง
ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการสถานศึกษา
ที่ส่งผลให้นักเรียน มาตรฐานคุณภาพการศึกษา
จะปรากฏเด่นชัด โดยยึดหลักให้สถานศึกษาจัดทำ�
หลักสูตรสถานศึกษาให้เป็นไปตามกรอบ หลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเหมาะสมกับ
สภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน และ
สังคมอย่างแท้จริงโดยมีครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง
และชุมชนมีส่วนร่วม มุ่งส่งเสริมสถานศึกษาให้
จัดกระบวนการเรียนรู้ โดยถือว่าผู้เรียนมีความ
สำ�คัญที่สุด ตลอดจนมุ่งการสร้างความร่วมมือ
เป็นเครือข่ายในการบริหารวิชาการหากผู้บริหาร
สามารถบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึง
ถือได้ว่าการบริหารงานวิชาการเป็นหัวใจเป็นส่วน
ที่สำ�คัญที่สุดในสถานศึกษาผู้บริหารต้องใส่ใจ
และตระหนักในภารกิจรู้จักปรับปรุงตนเองรู้และ
เข้าใจงานวิชาการอย่างถองแท้รวมทั้งพัฒนางาน
วิชาการให้ก้าวหน้า ทันต่อการจัดการศึกษาในยุค
ปัจจุบัน นอกจากนี้ยังจะได้รับความ ไว้วางใจการ
ยอมรับนับถือจากชุมชน สังคม อันจะนำ�มาซึ่ง
ความภาคภูมิใจต้อความสำ�เร็จในที่สุด สอดคล้อง
กับ สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(2552) ได้แสดงไว้ว่า งานวิชาการถือเป็นงานที่มี
ความสำ�คัญที่สุด เป็นหัวใจของการจัดการศึกษา
ซึ่งทั้งผู้บริหาร โรงเรียน คณะครู และผู้มีส่วน
เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ต้องมีความรู้ความเข้าใจ ให้
ความสำ�คัญและ มีส่วนร่วมในการวางแผน กำ�หนด
แนวทางปฏิบัติการประเมินผล และการปรับปรุง
แก้ไขอย่างเป็น ระบบและต่อเนื่อง งานวิชาการของ
โรงเรียนประกอบด้วยงานหลักสูตรและการจัดการ
เรียนการสอน เป็นหลัก ซึ่งโรงเรียนจะต้องสร้าง
หลักสูตรของตนเอง เรียกว่า หลักสูตรสถานศึกษา
ดังนั้น ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาจะต้องทำ�
หน้าที่ในการสร้างและพัฒนาหลักสูตร การนำ�
หลักสูตรไปใช้การออกแบบการจัดการเรียนรู้
ซึ่งงานวิชาการที่ครูจะต้องปฏิบัติจะประกอบด้วย
ภารกิจหลัก และ สอดคล้องกับ กฎกระทรวง
ศึกษาธิการ (2550) ได้ให้ความสำ�คัญการบริหาร
สถานศึกษา โดยกำ�หนดหลักเกณฑ์และวิธีการ
กระจายอำ�นาจการบริหารและการจัดการศึกษา
โดยแนวทางการกระจายอำ�นาจการบริหารและ
การจัดการศึกษาให้สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษา
และสถานศึกษา แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือด้าน
วิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบริหารงานบุคคล
และด้านการบริหารทั่วไป การศึกษาวิจัยครั้งนี้มี
เป้าหมายเพื่อรู้สภาพการบริหารงานวิชาการของ
ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดขอนแก่น
งานวิชาการถือเป็นงานที่มีความสำ�คัญ
ที่สุด เป็นหัวใจของการจัดการศึกษา ซึ่งทั้งผู้บริหาร
โรงเรียน คณะครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ต้อง
มีความรู้ความเข้าใจ ให้ความสำ�คัญและมีส่วนร่วม
The results showed that (1) the overall teachers’ perception towards the academic
administration of elementary school principals is in high level. (2) With different genders,
work experiences and levels of education of teachers, the perception towards the academic
administration of elementary school principals reflects that there is no difference at the.05
level of significance.
Keywords:	Academic administration, principals, elementary school
Journal of Education, Mahasarakham University 135 Volume 11 Number 2 April-June 2017
ในการวางแผน กำ�หนดแนวทางปฏิบัติ การ
ประเมินผล และการปรับปรุงแก้ไขอย่างเป็นระบบ
และต่อเนื่อง งานวิชาการของโรงเรียนประกอบ
ด้วยงานหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนเป็น
หลัก ซึ่งโรงเรียนจะต้องสร้างหลักสูตรของตนเอง
เรียกว่า หลักสูตรสถานศึกษา ดังนั้น ผู้บริหาร
จะต้องทำ�หน้าที่ในการสร้างและพัฒนาหลักสูตร
การนำ�หลักสูตรไปใช้ การออกแบบการจัดการ
เรียนรู้ซึ่งงานวิชาการที่ครูจะต้องปฏิบัติจะประกอบ
ด้วยภารกิจหลัก (สำ�นักงานคณะกรรมการการ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2552) ซึ่งผู้บริหารจะบริหาร
งานวิชาการอย่างมีประสิทธิภายใต้ขอบข่ายงาน
วิชาการ ประกอบด้วยดังนี้ 1) การพัฒนาหลักสูตร
สถานศึกษา 2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้
3) การวัดผล ประเมินผลและเทียบโอนผลการ
เรียน 4) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
5) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อ
การศึกษา 6) การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ 7) การ
นิเทศการศึกษา 8) การแนะแนวการศึกษา
9) การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน
สถานศึกษา 10) การส่งเสริมความรู้ทางวิชาการ
แก่ชุมชน 11) การประสานความร่วมมือในการ
พัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น
(สำ�นักงานการตรวจเงินแผ่นดิน, 2554) ประกอบ
กับในระยะปัจจุบัน กระทรวงศึกษาธิการกำ�ลัง
มีนโยบายปฏิรูปการศึกษา เน้นการยกระดับ
คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานและคุณภาพของ
นักเรียนให้สูงขึ้น โดยยึดถือผู้บริหารโรงเรียนเป็น
กลไกสำ�คัญในการขับเคลื่อนนโยบายเพื่อบรรลุ
ผลสำ�เร็จ
ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษา เพื่อ
ศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน
ว่ามีมากน้อยเพียงใด และ เพื่อศึกษาการบริหาร
งานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนว่าแตกต่างกัน
หรือไม่ ทั้งโดยภาพรวมและรายด้านที่ศึกษา เพื่อ
วิเคราะห์เปรียบเทียบจำ�แนกตามสถานภาพส่วน
บุคคล เช่น เพศ ประสบการณ์การทำ�งาน และ
ระดับการศึกษา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของ
ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของครู
จังหวัดขอนแก่น
2. เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงาน
วิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตาม
ทัศนะของครู จังหวัดขอนแก่น
สมมติฐานการวิจัย
ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัด
ขอนแก่น ที่มีเพศ ประสบการณ์การทำ�งาน และ
ระดับการศึกษาต่างกัน มีระดับการบริหารงาน
วิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัด
ขอนแก่นที่แตกต่างกัน
วิธีดำ�เนินการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีดำ�เนินการวิจัยเชิง
สำ�รวจ ดังนี้
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรในการวิจัย คือ ครูโรงเรียน
ประถมศึกษา ของรัฐ สังกัดสำ�นักงานการศึกษา
ประถมศึกษา จังหวัดขอนแก่น จำ�นวน 7, 517
ราย
กลุ่มตัวอย่าง ได้กำ�หนดขนาดกลุ่ม
ตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan
ในระดับที่มีนัยสำ�คัญของ 0.05 ได้จำ�นวน 364
ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธี
การสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับฉลากแบบไม่ใส่
คืนจากบัญชีรายชื่อผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 136 ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน พ.ศ. 2560
สังกัดสำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่เป็นประชากร
ในการวิจัยในจังหวัดขอนแก่น ได้รับแบบสอบถาม
คืนจำ�นวน 339 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 93.13 ของ
แบบสอบถามที่ส่งไปทั้งหมด
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
แบบสอบถามการบริหารงานวิชาการ
ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัด
ขอนแก่น ที่พัฒนาขึ้นจากแบบการประเมินผล
การควบคุมภายในของสถานศึกษา เฉพาะงาน
ด้านวิชาการ ทั้งหมด 11 ด้านของสำ�นักงานการ
ตรวจเงินแผ่นดิน (2554) มีลักษณะเป็นแบบมาตร
ประมาณค่า 5 ระดับ แปลความตามลำ�ดับค่าจาก
มากหาน้อย ดังนี้ 5 = มากที่สุด 4 = มาก 3 =
ปานกลาง 2 = น้อย และ 1 = น้อยที่สุด
การวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อมูลที่ได้รับมา วิเคราะห์โดยโปรแกรม
คอมพิวเตอร์เพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน การทดสอบที และการทดสอบเอฟ
(Tabacnick & Fidell, 2001)
ผลการวิจัย
ระดับการแสดงออกเชิงพฤติกรรมที่แสดง
ให้เห็นถึงการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร
โรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของครู ผลการ
วิจัยพบว่า ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตาม
ทัศนะของครู มีระดับการแสดงออกเชิงพฤติกรรม
ที่แสดงให้เห็นถึงการบริหารงานวิชาการของ
ผู้บริหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =
4.26, S.D. = 0.46) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน
พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านเช่นกัน โดยเรียง
ลำ�ดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำ�สุดดังนี้
1) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ( = 4.40)
2) การพัฒนาหลักสูตร ( = 4.37) 3) การวิจัย
เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ( = 4.39) 4) การ
วัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน ( =
4.35) 5) การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี
เพื่อการศึกษา ( = 4.33) 6) การประสาน
ความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับโรงเรียน
และองค์กรอื่น ( = 4.24) 7) การพัฒนาระบบ
การประกันคุณภาพภายในโรงเรียน ( = 4.20)
8) การแนะแนวการศึกษา ( = 4.20) 9) การ
ส่งเสริมความรู้ทางวิชาการแก่ชุมชน ( = 4.12)
10) การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ ( = 4.11) และ
11) การนิเทศการศึกษา ( = 4.11)
เปรียบเทียบระดับการแสดงออกเชิง
พฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการบริหารงานวิชาการ
ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของ
ครู จำ�แนกตามเพศ ครูโรงเรียนประถมศึกษาที่เป็น
เพศชาย และเพศหญิง มีทัศนะต่อการบริหารงาน
วิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาไม่แตก
ต่างกัน ระดับนัยสำ�คัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่ง
ปฏิเสธสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ดังผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ในตารางที่ 1
Journal of Education, Mahasarakham University 137 Volume 11 Number 2 April-June 2017
เปรียบเทียบระดับการแสดงออกเชิง
พฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการบริหารงานวิชาการ
ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของ
ครู จำ�แนกตามประสบการณ์การทำ�งานของครู
โรงเรียนประถมศึกษาที่มีประสบการณ์การทำ�งาน
แตกต่างกัน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีอายุการทำ�งาน
น้อยว่า 5 ปี กลุ่มที่มีอายุการทำ�งาน 5-15 ปี
และกลุ่มที่มีอายุการทำ�งานสูงกว่า 15 ปี มีทัศนะ
ต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน
ประถมศึกษาไม่แตกต่างกัน ระดับนัยสำ�คัญทาง
สถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งปฏิเสธสมมุติฐานที่ตั้งไว้
ดังผลการวิเคราะห์ข้อมูลในตารางที่ 2
ตารางที่ 1	 ผลการเปรียบเทียบระดับการแสดงออกเชิงพฤติกรรมถึงการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร
โรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของครู จำ�แนกตามเพศ
Male Female
t pn mean S.D. n mean S.D.
215 4.71 0. 27 124 4. 59 0. 25 3.80 0.26
* p < 0.05
ตารางที่ 2	 ผลการเปรียบเทียบระดับการแสดงออกเชิงพฤติกรรมถึงการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร
โรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของครู จำ�แนกตามประสบการณ์การทำ�งาน
Years of Work Experience
Sample size, and mean
Sources of
variance
df SS MS F pless than
5 years
5 - 15
years
more than
15 years
66 179 94
4.66 4.69 4.62
Between Groups 2 0.27 .13
1.84 0.16Within Groups 336 25.20 .07
Total 338 25.47
* p < 0.05
เปรียบเทียบระดับการแสดงออกเชิง
พฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการบริหารงานวิชาการ
ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของ
ครู จำ�แนกตามระดับการศึกษา ครูโรงเรียนประถม
ศึกษาที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่สำ�เร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และกลุ่ม
ที่สำ�คัญการศึกษาระดับปริญญาโท มีทัศนะต่อการ
บริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถม
ศึกษาไม่แตกต่างกัน ระดับนัยสำ�คัญทางสถิติที่
ระดับ 0.05 ซึ่งปฏิเสธสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ดังผลการ
วิเคราะห์ข้อมูลในตารางที่ 3
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 138 ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน พ.ศ. 2560
อภิปรายผล
การวิจัยพบว่า การบริหารงานวิชาการ
ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของ
ครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก นั้นสอดคล้องกับ
ผลการวิจัยของ ประยูร เจริญสุข (2553) เรื่อง
การพัฒนาตัวบ่งชี้งานวิชาการของสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้อาจเนื่องจาก ผู้บริหารโรงเรียน
ให้ความสำ�คัญต่อการจัดการศึกษา การพัฒนา
คุณภาพการศึกษา และผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน
เพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพ ดังนั้นการจัดการศึกษา
ของผู้บริหารโรงเรียน จะประสบผลสำ�เร็จได้นั้น
ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจใน
หลักการบริหารหรือการจัดการ ตลอดจนมีภาวะ
ผู้นำ�และทักษะในการบริหารงานวิชาการในทุกๆ
ด้าน ซึ่งสอดคล้องกับ พระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ (2553) ว่าด้วยการบริหารงานวิชาการ
เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทุกชนิดในโรงเรียน
โดยเฉพาะเกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพการเรียน
การสอนให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพในการเรียน
ผู้บริหารโรงเรียนต้องเป็นผู้นำ�ทางการศึกษา การ
บริหารงานวิชาการจะประสบผลสำ�เร็จอย่างมี
ประสิทธิภาพได้ขึ้นอยู่กับความสามารถเฉพาะ
ตนมีความเชี่ยวชาญในการบริหารโรงเรียนในทุกๆ
ด้าน สอดคล้องกับนิยามและกรอบแนวคิดที่ใช้ใน
การวิจัยในครั้งนี้ คือ การบริหารงานวิชาการ โดย
บริหารด้าน1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) การวัดผล
ประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน 4) การวิจัย
เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 5) การพัฒนาสื่อ
นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 6) การ
พัฒนาแหล่งการเรียนรู้ 7) การนิเทศการศึกษา
8) การแนะแนวการศึกษา 9) การพัฒนาระบบ
การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 10) การ
ส่งเสริมความรู้ทางวิชาการแก่ชุมชน 11) การ
ประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับ
สถานศึกษาและองค์กรอื่น
การวิจัยพบว่า การบริหารงานวิชาการ
ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของ
ครู ในด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้สูงกว่า
ด้านอื่น ทั้งนี้อาจเนื่องจากว่า ผู้บริหารโรงเรียน
ให้ความสำ�คัญต่อการพัฒนากระบวนการเรียนรู้
เนื่องจากกระบวนการเรียนคือการเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรมนักเรียน นักเรียนจะมีคุณภาพตาม
ต้องการ หรือมีลักษณะอันพึงประสงค์ ประกอบ
กับในปัจจุบันมีความต้องการด้านทักษะในการ
ดำ�รงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ทีเพิ่มมากขึ้นและ
มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นผู้บริหาร
จะต้องมีการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ตลอด
เวลาและเหมาะสมกันนักเรียน ซึ่งสอดคล้องกับ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (2553) ที่
ตารางที่ 3	 ผลการเปรียบเทียบระดับการแสดงออกเชิงพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการบริหารงานวิชาการ
ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของครู จำ�แนกตามระดับการศึกษา
Education Level
t pbachelor’s degree master’s degree
n mean S.D. n mean S.D.
94 4.58 0.26 245 4.70 0.26 -3.697 0.68
* p < 0.05
Journal of Education, Mahasarakham University 139 Volume 11 Number 2 April-June 2017
กำ�หนดไว้ใน มาตรา 23 การจัดการศึกษา ทั้ง
การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการ
ศึกษา ตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำ�คัญทั้งความรู้
คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตาม
ความเหมาะสม
การวิจัยพบว่าการบริหารงานวิชาการของ
ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของครู
ในด้านการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ และ การนิเทศ
การศึกษา ต่ำ�กว่าด้านอื่น ทั้งนี้อาจเนื่องจากว่า
การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ และ การนิเทศการ
ศึกษา ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษายังไม่มี
ความอิสระในการบริหารเท่าที่ควร เนื่องจาก
ต้องสนองรับนโยบายจากตันสังกัด เพื่อให้ได้ผล
สัมฤทธิ์ของนักเรียนเป็นหลัก และขาดแคลนงบ
ประมาณ จึงไม่ได้ให้ความสำ�คัญด้านการพัฒนา
แหล่งการเรียนรู้ และ การนิเทศการศึกษา สู่การ
ปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมยังขาดความชัดเจนซึ่ง
สอดคล้องกับงานวิจัยของ ประเสริฐ เนียมแก้ว
(2556) และ ฉัตรสุดา อมรชาติ (2558) พบว่า
การบริหารวิชาการด้านการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้
และการนิเทศการศึกษา ของผู้บริหารโรงเรียนมี
ค่าเฉลี่ยต่ำ�กว่าทุกด้าน
การเปรียบเทียบ การบริหารงานวิชาการ
ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของ
ครู ที่เป็นเพศชายและเพศหญิง พบว่าการบริหาร
งานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา
ตามทัศนะของครูไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตาม
สมมุติฐาน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าครูทั้งเพศชาย
และเพศหญิง ไม่มีความแตกต่างกันในด้านความรู้
ความสามารถ ทัศนคติ การรับรู้ และที่สำ�คัญ
ด้าน จริยธรรม ค่านิยม จากผลการวิจัยผู้บริหาร
และครูที่เป็นเพศชาย มีทัศนะต่อการบริหารงาน
วิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาไม่
แตกต่างกันระหว่างครูที่เป็นเพศชายและเพศ
หญิง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ฉัตรสุดา อมร
ชาต (2558) ที่พบว่า การบริหารงานวิชาการของ
ผู้บริหารสถานศึกษาจำ�แนกตามเพศ ภาพรวมและ
รายด้านไม่แตกต่างกัน
การเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการ
ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะ
ของครูที่จำ�แนกตามประสบการณ์การทำ�งาน 3
กลุ่ม พบว่า การบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร
โรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของครูไม่แตก
ต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ นั้น
อาจเนื่องจากว่า จากการบริหารงานวิชาการของ
ผู้บริหารเป็นภารกิจหลักที่ต้องปฏิบัติ อยู่เป็น
ประจำ� ซึ่งข้าราชการครูทุกโรงเรียนสามารถสังเกต
เห็นได้ในระหว่างการปฏิบัติราชการ ด้วยเหตุนี้
ครูที่มีประสบการณ์ในการทำ�งานที่ต่างกัน
สามารถรวบรวมแนวคิดในการทำ�งานร่วมกันได้
สามารถยืดหยุ่นและปรับตัวเข้ากับนโยบายที่มีการ
เปลี่ยนไปได้ตลอดเวลา ดังนั้นจึงมีความเห็นไม่
แตกต่างกันต่อพฤติกรรมการบริหารงานวิชาการ
ของผู้บริหารสถานศึกษา สอดคล้องกับงานวิจัย
ของ จิรศักดิ์ ทองเพชร (2556) พบว่า สมรรถนะ
การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา
ในอำ�เภอเกาะสมุย สังกัดสำ�นักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 จำ�แนก
ตามประสบการณ์ ภาพรวมและรายด้านไม่
แตกต่างกัน
จากผลการเปรียบเทียบการบริหารงาน
วิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตาม
ทัศนะของครูที่จำ�แนกตามระดับการศึกษา 2 กลุ่ม
คือ กลุ่มที่สำ�เร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และ
กลุ่มที่สำ�เร็จการศึกษาระดับปริญญาโท พบว่า
การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน
ประถมศึกษา ตามทัศนะของครูไม่แตกต่างกัน
ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมุติฐาน นั้น อาจเนื่องจากว่า
ทั้งนี้อาจเป็นเพราะครูมีความคิดเห็นว่าผู้บริหาร
โรงเรียนประถมศึกษา ต้องมีการบริหารงานที่
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 140 ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน พ.ศ. 2560
มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมที่ผ่านมา เพื่อตอบ
สนองนโยบายตันสังกัด จึงทำ�ให้ผู้บริหารต้องมี
การพยายามที่จะปรับปรุงการบริหารและพัฒนา
โรงเรียนให้ได้เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการศึกษา
สอดคล้องกับงานวิจัยของ สุพรรณิกา สีสะอาด
(2556) พบว่าครูและผู้บริหารที่มีวุฒิการศึกษา
ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการบริหาร
งานวิชาการของโรงเรียนเอกชนระดับอนุบาล
ศึกษา ในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดย
ภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหารโรงเรียน
ประถมศึกษา
1.1 จากผลการศึกษาการพัฒนาหลักสูตร
สถานศึกษา ผู้บริหารควรศึกษาวิเคราะห์หลักสูตร
สภาพปัญหา และความต้องการของสังคมชุมชน
และท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ เป้าหมาย
และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ บริหารจัดการการ
ใช้หลักสูตรให้เหมาะสม นิเทศการใช้หลักสูตร
ติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร ปรับปรุง
และพัฒนาหลักสูตร
1.2 จากผลการศึกษาการพัฒนา
กระบวนการเรียนรู้ ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูจัด
ทำ�แผนการจัดการเรียนรู้ ตามสาระและหน่วยการ
เรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำ�คัญ จัดกระบวนการ
เรียนรู้ มีการนิเทศการเรียนการสอนแก่ครูในกลุ่ม
สาระต่างๆ โดยเน้นการนิเทศที่ร่วมมือช่วยเหลือ
ส่งเสริมให้มีการพัฒนาครูและพัฒนากระบวนการ
เรียนรู้ให้ความเหมาะสม
1.3 จากผลการศึกษาการวัดผล ประเมิน
ผลและเทียบโอนผลการเรียน ผู้บริหารควรกำ�หนด
ระเบียบแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดผลและประเมิน
ผลของสถานศึกษา ครูจัดทำ�แผนการวัดผล และ
ประเมินผล การเทียบโอน พัฒนาเครื่องมือวัดและ
ประเมินผลให้ได้มาตรฐาน
1.4 จากผลการศึกษาการวิจัยเพื่อพัฒนา
คุณภาพการศึกษา ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครู
ศึกษาวิเคราะห์ วิจัย เผยแพร่ผลงานการวิจัยหรือ
พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน และงานวิชาการ
กับสถานศึกษา บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วย
งานและสถาบันอื่น
1.5 จากผลการศึกษาการพัฒนาสื่อ
นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ผู้บริหาร
ควรใช้สื่อและเทคโนโลยี ผลิตพัฒนาสื่อ และ
นวัตกรรมการเรียนการสอน จัดหาพัฒนาและการ
ใช้สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการจัดการ
เรียนการสอน
1.6 จากผลการศึกษาการพัฒนาแหล่ง
เรียนรู้ ผู้บริหารควรสำ�รวจแหล่งการเรียนรู้ จัด
ทำ�เอกสารเผยแพร่ จัดตั้งและพัฒนาส่งเสริม
สนับสนุนให้ครูใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอก
โรงเรียนในการจัดการเรียนรู้
1.7 จากผลการศึกษาการนิเทศการ
ศึกษา ผู้บริหารควรมีการนิเทศงานวิชาการ และ
การเรียนการสอนภายในสถานศึกษา ดำ�เนินการ
นิเทศงานวิชาการ และการเรียนการสอน ประเมิน
ผลการจัดระบบ และกระบวนการนิเทศการศึกษา
ติดตาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประสบการณ์จัด
ระบบนิเทศการศึกษาภายในสถานศึกษากับสถาน
ศึกษาอื่น
1.8 จากผลการศึกษาการแนะแนวการ
ศึกษา ผู้บริหารควรมีระบบการแนะแนวทาง
วิชาการและวิชาชีพ ดำ�เนินการแนะแนวการศึกษา
ติดตามและประเมินผลประสานความร่วมมือ และ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประสบการณ์ด้านการ
แนะแนวการศึกษากับสถานศึกษา
1.9 จากผลการศึกษาการพัฒนาระบบ
Journal of Education, Mahasarakham University 141 Volume 11 Number 2 April-June 2017
ประกันคุณภาพ ผู้บริหารควรจัดระบบโครงสร้าง
องค์กร กำ�หนดเกณฑ์การประเมิน วางแผนการ
พัฒนาคุณภาพการศึกษา ดำ�เนินการพัฒนางาน
ตามแผนและติดตาม ตรวจสอบ และประเมิน
คุณภาพภายใน
1.10 จากผลการศึกษาการส่งเสริมความ
รู้ทางวิชาการแก่ชุมชน ผู้บริหารควรสำ�รวจความ
ต้องการ สนับสนุนงานวิชาการแก่ชุมชน จัดให้
ความรู้ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางวิชาการ และ
มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1.11 จากผลการศึกษาการประสาน
ความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษา
อื่น ผู้บริหารควรประสานความร่วมมือ สร้างเครือ
ข่ายความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับองค์กร
ต่างๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรขยายผลการวิจัยการบริหารงาน
วิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในระดับมัธยม และ
การจัดการศึกษาของเอกชน
2.2 ควรศึกษาปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการ
บริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน
เอกสารอ้างอิง
กฎกระทรวงศึกษาธิการ (2550). ราชกิจจานุเบกษา กำ�หนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำ�นาจการบ
ริหารและการจัดการศึกษา ด้านงานวิชาการ พ.ศ. 2550. ค้นเมื่อ 30 มกราคม 2559, จาก
http://onec.go.th/onecbackoffice/uploaded/Category/Laws/ RuleMetDistEdMnt
2550-02-12-2010.pdf
กระทรวงศึกษาธิการ. สำ�นักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). กำ�หนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำ�
นาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๐. ค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2559, จาก http://
www.moe.go.th/webld/pdf/BB/B_39.pdf
จิรศักดิ์ ทองเพชร (2556). สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำ�เภอเกาะสมุย
สังกัดสำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. ค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2559,
จาก http://e-article.plu.ac.th/index.php/2556/14-edu/161-edu560225-1
ฉัตรสุดา อมรชาติ (2558). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาอำ�เภอสุคิริน สำ�นักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2. ค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://
journal.pnu.ac.th/ojs/index.php/huso/article/view/400
ประยูร เจริญสุข. (2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้งานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์
2559, จาก http://doi1.nrct.go.th/?page=resolvedoi&resolve_ doi=10.14457/KKU.
the.2010.87
ประเสริฐ เนียมแก้ว. (2556). ภาวะผู้นาทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำ�นักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช. ค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2559, จาก https://www.
tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/42684
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 142 ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน พ.ศ. 2560
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2553). ค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2559, จาก https://www.mwit.
ac.th/~person/01-Statutes/NationalEducation.pdf
สำ�นักการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. ค้นเมื่อ 9มีนาคม 2559, จาก
http://news.ksp.or.th/library/DocBook/handbook/HB.pdf
สำ�นักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (2554). แนวทาง: การจัดวางระบบการควบคุมภายใน และการ ประเมิน
ผลการควบคุมภายใน. กรุงเทพฯ: บริษัท ซิสเต็มโฟร์กราฟฟิคส์ จำ�กัด ต้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์
2559, จาก 203.172.183.116/~2013/file/ak/5.doc
สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2552). คู่มือการดำ�เนินงานการควบคุมภายในเพื่อพัฒนา
คุณภาพการศึกษา สำ�หรับสำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์
ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำ�กัด.
สำ�นักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการจัดวางระบบควบคุมภายในและประเมินผล.
ต้นเมื่อ3 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://www.udru.ac.th/~ qaudru/attachments/article/
71/คู่มือควบคุมภายใน.pdf
สุพรรณิกา สีสะอาด (2556). การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชน ระดับอนุบาล
ศึกษาในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2559, จากhttp://sms-stou.
org/pr/media/journal/article/56-2/56-2-article9.pdf
Tabacnick, B.G., & Fidell, L.S. (2001). Using multivariate statistics. 4th
ed. Boston Allyn &
Bacon (2001)

More Related Content

What's hot

การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐาน
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐานการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐาน
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐานkruthai40
 
รายงานการศึกษาค้นคว้า ครูชำนาญการ
รายงานการศึกษาค้นคว้า ครูชำนาญการรายงานการศึกษาค้นคว้า ครูชำนาญการ
รายงานการศึกษาค้นคว้า ครูชำนาญการkanidta vatanyoo
 
วารสาร วิจัย 02
วารสาร วิจัย 02วารสาร วิจัย 02
วารสาร วิจัย 02Tam Taam
 
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตรความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตรtanongsak
 
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำruathai
 
การบริหารโรงเรียนเพื่อคุณภาพ
การบริหารโรงเรียนเพื่อคุณภาพการบริหารโรงเรียนเพื่อคุณภาพ
การบริหารโรงเรียนเพื่อคุณภาพChalermpon Dondee
 
วิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
วิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้วิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
วิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้Katekyo Sama
 
แผนการจัดการเรียนรู้การงาน วพ
แผนการจัดการเรียนรู้การงาน วพแผนการจัดการเรียนรู้การงาน วพ
แผนการจัดการเรียนรู้การงาน วพpronprom11
 
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาChowwalit Chookhampaeng
 
รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ราชการ 2559
รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ราชการ 2559รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ราชการ 2559
รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ราชการ 2559Namchai
 

What's hot (20)

plan ablpn 2561 กลยุทธ์ที่ 1 .
plan ablpn  2561 กลยุทธ์ที่ 1 .plan ablpn  2561 กลยุทธ์ที่ 1 .
plan ablpn 2561 กลยุทธ์ที่ 1 .
 
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐาน
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐานการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐาน
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐาน
 
ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง
 
วิจัย
วิจัยวิจัย
วิจัย
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  5แผนบริหารการสอนประจำบทที่  5
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 5
 
Sar 58 wichai li
Sar 58 wichai liSar 58 wichai li
Sar 58 wichai li
 
รายงานการศึกษาค้นคว้า ครูชำนาญการ
รายงานการศึกษาค้นคว้า ครูชำนาญการรายงานการศึกษาค้นคว้า ครูชำนาญการ
รายงานการศึกษาค้นคว้า ครูชำนาญการ
 
วารสาร วิจัย 02
วารสาร วิจัย 02วารสาร วิจัย 02
วารสาร วิจัย 02
 
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตรความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร
 
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ
 
การบริหารโรงเรียนเพื่อคุณภาพ
การบริหารโรงเรียนเพื่อคุณภาพการบริหารโรงเรียนเพื่อคุณภาพ
การบริหารโรงเรียนเพื่อคุณภาพ
 
จุดเน้น
จุดเน้นจุดเน้น
จุดเน้น
 
วิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
วิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้วิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
วิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
 
แผนการจัดการเรียนรู้การงาน วพ
แผนการจัดการเรียนรู้การงาน วพแผนการจัดการเรียนรู้การงาน วพ
แผนการจัดการเรียนรู้การงาน วพ
 
Sar 59 wichai li
Sar 59 wichai liSar 59 wichai li
Sar 59 wichai li
 
Sar 60 wichai li
Sar 60 wichai liSar 60 wichai li
Sar 60 wichai li
 
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 3
 
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4
แผนบริหารการสอนประจำบทที่  4แผนบริหารการสอนประจำบทที่  4
แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 4
 
รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ราชการ 2559
รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ราชการ 2559รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ราชการ 2559
รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ราชการ 2559
 

Similar to Thaijo3

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน+บทคัดย่อ
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน+บทคัดย่อการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน+บทคัดย่อ
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน+บทคัดย่อkitsada
 
สารนิพนธ์02
สารนิพนธ์02สารนิพนธ์02
สารนิพนธ์02Wes Yod
 
แบบประเมินสัมฤทธิผลการปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
แบบประเมินสัมฤทธิผลการปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการสถานศึกษาแบบประเมินสัมฤทธิผลการปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
แบบประเมินสัมฤทธิผลการปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการสถานศึกษาNontaporn Pilawut
 
แผนการจัดโครงการและกิจกรรมพัฒนานิสิต ประจำปี 2561
แผนการจัดโครงการและกิจกรรมพัฒนานิสิต ประจำปี 2561แผนการจัดโครงการและกิจกรรมพัฒนานิสิต ประจำปี 2561
แผนการจัดโครงการและกิจกรรมพัฒนานิสิต ประจำปี 2561solarcell2
 
13101602_1_20230311-211610.pdf
13101602_1_20230311-211610.pdf13101602_1_20230311-211610.pdf
13101602_1_20230311-211610.pdfssuser49d450
 
คู่มือการจัดทําแผนการจัดการเรียนรู้มุ่งสมรรถนะ.pdf
คู่มือการจัดทําแผนการจัดการเรียนรู้มุ่งสมรรถนะ.pdfคู่มือการจัดทําแผนการจัดการเรียนรู้มุ่งสมรรถนะ.pdf
คู่มือการจัดทําแผนการจัดการเรียนรู้มุ่งสมรรถนะ.pdfPrachyanun Nilsook
 
รายงานการพัฒนาคู่มือ
รายงานการพัฒนาคู่มือรายงานการพัฒนาคู่มือ
รายงานการพัฒนาคู่มือNirut Uthatip
 
รายงานการพัฒนาคู่มือ
รายงานการพัฒนาคู่มือรายงานการพัฒนาคู่มือ
รายงานการพัฒนาคู่มือNirut Uthatip
 
แผนการสอนคอมพิวเตอร์ ป.5
แผนการสอนคอมพิวเตอร์ ป.5แผนการสอนคอมพิวเตอร์ ป.5
แผนการสอนคอมพิวเตอร์ ป.5พิพัฒน์ ตะภา
 
Webwatpamenpon
WebwatpamenponWebwatpamenpon
Webwatpamenponwut_wss
 
การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานrbsupervision
 
แผนพัฒนาการศึกษา4
แผนพัฒนาการศึกษา4แผนพัฒนาการศึกษา4
แผนพัฒนาการศึกษา4Prachyanun Nilsook
 
การพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรJiraprapa Suwannajak
 
รายงาน SAR โดยกลุ่มงานประกันคุณภาพ โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา บทที่ 2
รายงาน SAR โดยกลุ่มงานประกันคุณภาพ โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา บทที่ 2รายงาน SAR โดยกลุ่มงานประกันคุณภาพ โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา บทที่ 2
รายงาน SAR โดยกลุ่มงานประกันคุณภาพ โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา บทที่ 2Yodhathai Reesrikom
 
O10 แผนปฎิบัติการ64(การเงิน)ใหม่
O10 แผนปฎิบัติการ64(การเงิน)ใหม่O10 แผนปฎิบัติการ64(การเงิน)ใหม่
O10 แผนปฎิบัติการ64(การเงิน)ใหม่Watcharasak Chantong
 

Similar to Thaijo3 (20)

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน+บทคัดย่อ
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน+บทคัดย่อการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน+บทคัดย่อ
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน+บทคัดย่อ
 
Techer-centered
Techer-centeredTecher-centered
Techer-centered
 
แผนการนิเทศภายใน 2564 ร่มเกล้า
แผนการนิเทศภายใน 2564 ร่มเกล้าแผนการนิเทศภายใน 2564 ร่มเกล้า
แผนการนิเทศภายใน 2564 ร่มเกล้า
 
สารนิพนธ์02
สารนิพนธ์02สารนิพนธ์02
สารนิพนธ์02
 
แบบประเมินสัมฤทธิผลการปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
แบบประเมินสัมฤทธิผลการปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการสถานศึกษาแบบประเมินสัมฤทธิผลการปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
แบบประเมินสัมฤทธิผลการปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
 
แผนการจัดโครงการและกิจกรรมพัฒนานิสิต ประจำปี 2561
แผนการจัดโครงการและกิจกรรมพัฒนานิสิต ประจำปี 2561แผนการจัดโครงการและกิจกรรมพัฒนานิสิต ประจำปี 2561
แผนการจัดโครงการและกิจกรรมพัฒนานิสิต ประจำปี 2561
 
A3
A3A3
A3
 
13101602_1_20230311-211610.pdf
13101602_1_20230311-211610.pdf13101602_1_20230311-211610.pdf
13101602_1_20230311-211610.pdf
 
Road Map นคร Model
Road Map นคร ModelRoad Map นคร Model
Road Map นคร Model
 
คู่มือการจัดทําแผนการจัดการเรียนรู้มุ่งสมรรถนะ.pdf
คู่มือการจัดทําแผนการจัดการเรียนรู้มุ่งสมรรถนะ.pdfคู่มือการจัดทําแผนการจัดการเรียนรู้มุ่งสมรรถนะ.pdf
คู่มือการจัดทําแผนการจัดการเรียนรู้มุ่งสมรรถนะ.pdf
 
รายงานการพัฒนาคู่มือ
รายงานการพัฒนาคู่มือรายงานการพัฒนาคู่มือ
รายงานการพัฒนาคู่มือ
 
รายงานการพัฒนาคู่มือ
รายงานการพัฒนาคู่มือรายงานการพัฒนาคู่มือ
รายงานการพัฒนาคู่มือ
 
แผนการสอนคอมพิวเตอร์ ป.5
แผนการสอนคอมพิวเตอร์ ป.5แผนการสอนคอมพิวเตอร์ ป.5
แผนการสอนคอมพิวเตอร์ ป.5
 
Webwatpamenpon
WebwatpamenponWebwatpamenpon
Webwatpamenpon
 
การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
 
วิชาการ
วิชาการวิชาการ
วิชาการ
 
แผนพัฒนาการศึกษา4
แผนพัฒนาการศึกษา4แผนพัฒนาการศึกษา4
แผนพัฒนาการศึกษา4
 
การพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตร
 
รายงาน SAR โดยกลุ่มงานประกันคุณภาพ โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา บทที่ 2
รายงาน SAR โดยกลุ่มงานประกันคุณภาพ โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา บทที่ 2รายงาน SAR โดยกลุ่มงานประกันคุณภาพ โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา บทที่ 2
รายงาน SAR โดยกลุ่มงานประกันคุณภาพ โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา บทที่ 2
 
O10 แผนปฎิบัติการ64(การเงิน)ใหม่
O10 แผนปฎิบัติการ64(การเงิน)ใหม่O10 แผนปฎิบัติการ64(การเงิน)ใหม่
O10 แผนปฎิบัติการ64(การเงิน)ใหม่
 

More from watomnoi school (6)

C
CC
C
 
B
BB
B
 
A
AA
A
 
Thaijo2
Thaijo2Thaijo2
Thaijo2
 
Thaijo 1
Thaijo 1Thaijo 1
Thaijo 1
 
Siraphak sukmanee
Siraphak sukmaneeSiraphak sukmanee
Siraphak sukmanee
 

Thaijo3

  • 1. การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะ ของครู สังกัดสำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น Academic Administration of Elementary School Principals as Perceived by Teachers of Khon Kaen Province อัครเดช นีละโยธิน1 , พระราชรัตนมงคล2 , พระมหาศุภชัย สุภกิจฺโจ3 , พระณัฐวุฒิ สัพโส4 , วิทูล ทาชา5 , ภัทราพร อรัญมาลา6 Akkharadet Neelayothin1 , Phrarajratanamongkol2 , Phramahasuphachai Subhakicco3 , Phranatthawut Sabphaso4 , Witoon Thacha5 , Pataraphorn Arunmala6 บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพฤติกรรมการแสดงออกที่สะท้อนถึงการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของครู และวิเคราะห์เปรียบเทียบพฤติกรรมนั้นจำ�แนก ตามเพศ ประสบการณ์การทำ�งาน และระดับการศึกษา ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำ�รวจ จากกลุ่มตัวอย่าง ของประชากรที่เป็นครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัด ขอนแก่น จำ�นวน 339 ราย ผลการวิจัยพบว่า ครูที่มีทัศนะต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา โดย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการเปรียบเทียบพบว่า จำ�แนกตามเพศ ประสบการณ์การทำ�งาน และระดับ การศึกษาต่างกัน ครูมีทัศนะต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาโดยภาพรวมไม่ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำ�คัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำ�สำ�คัญ: การบริหารงานวิชาการ ผู้บริหาร ประถมศึกษา Abstract This research aimed to study the behavior which reflects the academic administration of elementary school principals as perceived by teachers in Khon Kaen province. Comparing and analyzing the desirable behavior by genders, work experiences and levels of education. The survey methodology was applied. The population sample is 339 of elementary school principals in Khon Kaen Primary Educational Service Area Office. 1, 6 นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน 2-5 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย 1, 6 Ed.D. Candidate in Education Administration, Faculty of Education, Mahamakut Buddhist University (Isan Campus) 2-5 Faculty of Education, Mahamakut Buddhist University
  • 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 134 ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน พ.ศ. 2560 บทนำ� การบริหารงานวิชาการเป็นภารกิจหลัก ของผู้บริหารสถานศึกษา รวมถึงเป็นเครื่องชี้ วัด ความสำ�เร็จการจัดการศึกษา ซึ่งแสดงถึง ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการสถานศึกษา ที่ส่งผลให้นักเรียน มาตรฐานคุณภาพการศึกษา จะปรากฏเด่นชัด โดยยึดหลักให้สถานศึกษาจัดทำ� หลักสูตรสถานศึกษาให้เป็นไปตามกรอบ หลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเหมาะสมกับ สภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน และ สังคมอย่างแท้จริงโดยมีครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และชุมชนมีส่วนร่วม มุ่งส่งเสริมสถานศึกษาให้ จัดกระบวนการเรียนรู้ โดยถือว่าผู้เรียนมีความ สำ�คัญที่สุด ตลอดจนมุ่งการสร้างความร่วมมือ เป็นเครือข่ายในการบริหารวิชาการหากผู้บริหาร สามารถบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึง ถือได้ว่าการบริหารงานวิชาการเป็นหัวใจเป็นส่วน ที่สำ�คัญที่สุดในสถานศึกษาผู้บริหารต้องใส่ใจ และตระหนักในภารกิจรู้จักปรับปรุงตนเองรู้และ เข้าใจงานวิชาการอย่างถองแท้รวมทั้งพัฒนางาน วิชาการให้ก้าวหน้า ทันต่อการจัดการศึกษาในยุค ปัจจุบัน นอกจากนี้ยังจะได้รับความ ไว้วางใจการ ยอมรับนับถือจากชุมชน สังคม อันจะนำ�มาซึ่ง ความภาคภูมิใจต้อความสำ�เร็จในที่สุด สอดคล้อง กับ สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2552) ได้แสดงไว้ว่า งานวิชาการถือเป็นงานที่มี ความสำ�คัญที่สุด เป็นหัวใจของการจัดการศึกษา ซึ่งทั้งผู้บริหาร โรงเรียน คณะครู และผู้มีส่วน เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ต้องมีความรู้ความเข้าใจ ให้ ความสำ�คัญและ มีส่วนร่วมในการวางแผน กำ�หนด แนวทางปฏิบัติการประเมินผล และการปรับปรุง แก้ไขอย่างเป็น ระบบและต่อเนื่อง งานวิชาการของ โรงเรียนประกอบด้วยงานหลักสูตรและการจัดการ เรียนการสอน เป็นหลัก ซึ่งโรงเรียนจะต้องสร้าง หลักสูตรของตนเอง เรียกว่า หลักสูตรสถานศึกษา ดังนั้น ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาจะต้องทำ� หน้าที่ในการสร้างและพัฒนาหลักสูตร การนำ� หลักสูตรไปใช้การออกแบบการจัดการเรียนรู้ ซึ่งงานวิชาการที่ครูจะต้องปฏิบัติจะประกอบด้วย ภารกิจหลัก และ สอดคล้องกับ กฎกระทรวง ศึกษาธิการ (2550) ได้ให้ความสำ�คัญการบริหาร สถานศึกษา โดยกำ�หนดหลักเกณฑ์และวิธีการ กระจายอำ�นาจการบริหารและการจัดการศึกษา โดยแนวทางการกระจายอำ�นาจการบริหารและ การจัดการศึกษาให้สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือด้าน วิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไป การศึกษาวิจัยครั้งนี้มี เป้าหมายเพื่อรู้สภาพการบริหารงานวิชาการของ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดขอนแก่น งานวิชาการถือเป็นงานที่มีความสำ�คัญ ที่สุด เป็นหัวใจของการจัดการศึกษา ซึ่งทั้งผู้บริหาร โรงเรียน คณะครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ต้อง มีความรู้ความเข้าใจ ให้ความสำ�คัญและมีส่วนร่วม The results showed that (1) the overall teachers’ perception towards the academic administration of elementary school principals is in high level. (2) With different genders, work experiences and levels of education of teachers, the perception towards the academic administration of elementary school principals reflects that there is no difference at the.05 level of significance. Keywords: Academic administration, principals, elementary school
  • 3. Journal of Education, Mahasarakham University 135 Volume 11 Number 2 April-June 2017 ในการวางแผน กำ�หนดแนวทางปฏิบัติ การ ประเมินผล และการปรับปรุงแก้ไขอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง งานวิชาการของโรงเรียนประกอบ ด้วยงานหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนเป็น หลัก ซึ่งโรงเรียนจะต้องสร้างหลักสูตรของตนเอง เรียกว่า หลักสูตรสถานศึกษา ดังนั้น ผู้บริหาร จะต้องทำ�หน้าที่ในการสร้างและพัฒนาหลักสูตร การนำ�หลักสูตรไปใช้ การออกแบบการจัดการ เรียนรู้ซึ่งงานวิชาการที่ครูจะต้องปฏิบัติจะประกอบ ด้วยภารกิจหลัก (สำ�นักงานคณะกรรมการการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2552) ซึ่งผู้บริหารจะบริหาร งานวิชาการอย่างมีประสิทธิภายใต้ขอบข่ายงาน วิชาการ ประกอบด้วยดังนี้ 1) การพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษา 2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) การวัดผล ประเมินผลและเทียบโอนผลการ เรียน 4) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 5) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อ การศึกษา 6) การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ 7) การ นิเทศการศึกษา 8) การแนะแนวการศึกษา 9) การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษา 10) การส่งเสริมความรู้ทางวิชาการ แก่ชุมชน 11) การประสานความร่วมมือในการ พัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น (สำ�นักงานการตรวจเงินแผ่นดิน, 2554) ประกอบ กับในระยะปัจจุบัน กระทรวงศึกษาธิการกำ�ลัง มีนโยบายปฏิรูปการศึกษา เน้นการยกระดับ คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานและคุณภาพของ นักเรียนให้สูงขึ้น โดยยึดถือผู้บริหารโรงเรียนเป็น กลไกสำ�คัญในการขับเคลื่อนนโยบายเพื่อบรรลุ ผลสำ�เร็จ ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจศึกษา เพื่อ ศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน ว่ามีมากน้อยเพียงใด และ เพื่อศึกษาการบริหาร งานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนว่าแตกต่างกัน หรือไม่ ทั้งโดยภาพรวมและรายด้านที่ศึกษา เพื่อ วิเคราะห์เปรียบเทียบจำ�แนกตามสถานภาพส่วน บุคคล เช่น เพศ ประสบการณ์การทำ�งาน และ ระดับการศึกษา วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการของ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของครู จังหวัดขอนแก่น 2. เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงาน วิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตาม ทัศนะของครู จังหวัดขอนแก่น สมมติฐานการวิจัย ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัด ขอนแก่น ที่มีเพศ ประสบการณ์การทำ�งาน และ ระดับการศึกษาต่างกัน มีระดับการบริหารงาน วิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัด ขอนแก่นที่แตกต่างกัน วิธีดำ�เนินการวิจัย การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีดำ�เนินการวิจัยเชิง สำ�รวจ ดังนี้ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรในการวิจัย คือ ครูโรงเรียน ประถมศึกษา ของรัฐ สังกัดสำ�นักงานการศึกษา ประถมศึกษา จังหวัดขอนแก่น จำ�นวน 7, 517 ราย กลุ่มตัวอย่าง ได้กำ�หนดขนาดกลุ่ม ตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan ในระดับที่มีนัยสำ�คัญของ 0.05 ได้จำ�นวน 364 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธี การสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับฉลากแบบไม่ใส่ คืนจากบัญชีรายชื่อผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา
  • 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 136 ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน พ.ศ. 2560 สังกัดสำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่เป็นประชากร ในการวิจัยในจังหวัดขอนแก่น ได้รับแบบสอบถาม คืนจำ�นวน 339 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 93.13 ของ แบบสอบถามที่ส่งไปทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัด ขอนแก่น ที่พัฒนาขึ้นจากแบบการประเมินผล การควบคุมภายในของสถานศึกษา เฉพาะงาน ด้านวิชาการ ทั้งหมด 11 ด้านของสำ�นักงานการ ตรวจเงินแผ่นดิน (2554) มีลักษณะเป็นแบบมาตร ประมาณค่า 5 ระดับ แปลความตามลำ�ดับค่าจาก มากหาน้อย ดังนี้ 5 = มากที่สุด 4 = มาก 3 = ปานกลาง 2 = น้อย และ 1 = น้อยที่สุด การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลที่ได้รับมา วิเคราะห์โดยโปรแกรม คอมพิวเตอร์เพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบที และการทดสอบเอฟ (Tabacnick & Fidell, 2001) ผลการวิจัย ระดับการแสดงออกเชิงพฤติกรรมที่แสดง ให้เห็นถึงการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร โรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของครู ผลการ วิจัยพบว่า ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตาม ทัศนะของครู มีระดับการแสดงออกเชิงพฤติกรรม ที่แสดงให้เห็นถึงการบริหารงานวิชาการของ ผู้บริหาร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.26, S.D. = 0.46) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้านเช่นกัน โดยเรียง ลำ�ดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำ�สุดดังนี้ 1) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ( = 4.40) 2) การพัฒนาหลักสูตร ( = 4.37) 3) การวิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ( = 4.39) 4) การ วัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน ( = 4.35) 5) การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อการศึกษา ( = 4.33) 6) การประสาน ความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับโรงเรียน และองค์กรอื่น ( = 4.24) 7) การพัฒนาระบบ การประกันคุณภาพภายในโรงเรียน ( = 4.20) 8) การแนะแนวการศึกษา ( = 4.20) 9) การ ส่งเสริมความรู้ทางวิชาการแก่ชุมชน ( = 4.12) 10) การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ ( = 4.11) และ 11) การนิเทศการศึกษา ( = 4.11) เปรียบเทียบระดับการแสดงออกเชิง พฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของ ครู จำ�แนกตามเพศ ครูโรงเรียนประถมศึกษาที่เป็น เพศชาย และเพศหญิง มีทัศนะต่อการบริหารงาน วิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาไม่แตก ต่างกัน ระดับนัยสำ�คัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่ง ปฏิเสธสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ดังผลการวิเคราะห์ข้อมูล ในตารางที่ 1
  • 5. Journal of Education, Mahasarakham University 137 Volume 11 Number 2 April-June 2017 เปรียบเทียบระดับการแสดงออกเชิง พฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของ ครู จำ�แนกตามประสบการณ์การทำ�งานของครู โรงเรียนประถมศึกษาที่มีประสบการณ์การทำ�งาน แตกต่างกัน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีอายุการทำ�งาน น้อยว่า 5 ปี กลุ่มที่มีอายุการทำ�งาน 5-15 ปี และกลุ่มที่มีอายุการทำ�งานสูงกว่า 15 ปี มีทัศนะ ต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน ประถมศึกษาไม่แตกต่างกัน ระดับนัยสำ�คัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งปฏิเสธสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ดังผลการวิเคราะห์ข้อมูลในตารางที่ 2 ตารางที่ 1 ผลการเปรียบเทียบระดับการแสดงออกเชิงพฤติกรรมถึงการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร โรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของครู จำ�แนกตามเพศ Male Female t pn mean S.D. n mean S.D. 215 4.71 0. 27 124 4. 59 0. 25 3.80 0.26 * p < 0.05 ตารางที่ 2 ผลการเปรียบเทียบระดับการแสดงออกเชิงพฤติกรรมถึงการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร โรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของครู จำ�แนกตามประสบการณ์การทำ�งาน Years of Work Experience Sample size, and mean Sources of variance df SS MS F pless than 5 years 5 - 15 years more than 15 years 66 179 94 4.66 4.69 4.62 Between Groups 2 0.27 .13 1.84 0.16Within Groups 336 25.20 .07 Total 338 25.47 * p < 0.05 เปรียบเทียบระดับการแสดงออกเชิง พฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของ ครู จำ�แนกตามระดับการศึกษา ครูโรงเรียนประถม ศึกษาที่มีระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่สำ�เร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และกลุ่ม ที่สำ�คัญการศึกษาระดับปริญญาโท มีทัศนะต่อการ บริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถม ศึกษาไม่แตกต่างกัน ระดับนัยสำ�คัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 ซึ่งปฏิเสธสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ดังผลการ วิเคราะห์ข้อมูลในตารางที่ 3
  • 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 138 ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน พ.ศ. 2560 อภิปรายผล การวิจัยพบว่า การบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของ ครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก นั้นสอดคล้องกับ ผลการวิจัยของ ประยูร เจริญสุข (2553) เรื่อง การพัฒนาตัวบ่งชี้งานวิชาการของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้อาจเนื่องจาก ผู้บริหารโรงเรียน ให้ความสำ�คัญต่อการจัดการศึกษา การพัฒนา คุณภาพการศึกษา และผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพ ดังนั้นการจัดการศึกษา ของผู้บริหารโรงเรียน จะประสบผลสำ�เร็จได้นั้น ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจใน หลักการบริหารหรือการจัดการ ตลอดจนมีภาวะ ผู้นำ�และทักษะในการบริหารงานวิชาการในทุกๆ ด้าน ซึ่งสอดคล้องกับ พระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ (2553) ว่าด้วยการบริหารงานวิชาการ เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทุกชนิดในโรงเรียน โดยเฉพาะเกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพการเรียน การสอนให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพในการเรียน ผู้บริหารโรงเรียนต้องเป็นผู้นำ�ทางการศึกษา การ บริหารงานวิชาการจะประสบผลสำ�เร็จอย่างมี ประสิทธิภาพได้ขึ้นอยู่กับความสามารถเฉพาะ ตนมีความเชี่ยวชาญในการบริหารโรงเรียนในทุกๆ ด้าน สอดคล้องกับนิยามและกรอบแนวคิดที่ใช้ใน การวิจัยในครั้งนี้ คือ การบริหารงานวิชาการ โดย บริหารด้าน1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) การวัดผล ประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน 4) การวิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 5) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 6) การ พัฒนาแหล่งการเรียนรู้ 7) การนิเทศการศึกษา 8) การแนะแนวการศึกษา 9) การพัฒนาระบบ การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 10) การ ส่งเสริมความรู้ทางวิชาการแก่ชุมชน 11) การ ประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับ สถานศึกษาและองค์กรอื่น การวิจัยพบว่า การบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของ ครู ในด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้สูงกว่า ด้านอื่น ทั้งนี้อาจเนื่องจากว่า ผู้บริหารโรงเรียน ให้ความสำ�คัญต่อการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เนื่องจากกระบวนการเรียนคือการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมนักเรียน นักเรียนจะมีคุณภาพตาม ต้องการ หรือมีลักษณะอันพึงประสงค์ ประกอบ กับในปัจจุบันมีความต้องการด้านทักษะในการ ดำ�รงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ทีเพิ่มมากขึ้นและ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นผู้บริหาร จะต้องมีการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ตลอด เวลาและเหมาะสมกันนักเรียน ซึ่งสอดคล้องกับ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (2553) ที่ ตารางที่ 3 ผลการเปรียบเทียบระดับการแสดงออกเชิงพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของครู จำ�แนกตามระดับการศึกษา Education Level t pbachelor’s degree master’s degree n mean S.D. n mean S.D. 94 4.58 0.26 245 4.70 0.26 -3.697 0.68 * p < 0.05
  • 7. Journal of Education, Mahasarakham University 139 Volume 11 Number 2 April-June 2017 กำ�หนดไว้ใน มาตรา 23 การจัดการศึกษา ทั้ง การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการ ศึกษา ตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำ�คัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตาม ความเหมาะสม การวิจัยพบว่าการบริหารงานวิชาการของ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของครู ในด้านการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ และ การนิเทศ การศึกษา ต่ำ�กว่าด้านอื่น ทั้งนี้อาจเนื่องจากว่า การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ และ การนิเทศการ ศึกษา ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษายังไม่มี ความอิสระในการบริหารเท่าที่ควร เนื่องจาก ต้องสนองรับนโยบายจากตันสังกัด เพื่อให้ได้ผล สัมฤทธิ์ของนักเรียนเป็นหลัก และขาดแคลนงบ ประมาณ จึงไม่ได้ให้ความสำ�คัญด้านการพัฒนา แหล่งการเรียนรู้ และ การนิเทศการศึกษา สู่การ ปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมยังขาดความชัดเจนซึ่ง สอดคล้องกับงานวิจัยของ ประเสริฐ เนียมแก้ว (2556) และ ฉัตรสุดา อมรชาติ (2558) พบว่า การบริหารวิชาการด้านการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ และการนิเทศการศึกษา ของผู้บริหารโรงเรียนมี ค่าเฉลี่ยต่ำ�กว่าทุกด้าน การเปรียบเทียบ การบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของ ครู ที่เป็นเพศชายและเพศหญิง พบว่าการบริหาร งานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของครูไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตาม สมมุติฐาน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าครูทั้งเพศชาย และเพศหญิง ไม่มีความแตกต่างกันในด้านความรู้ ความสามารถ ทัศนคติ การรับรู้ และที่สำ�คัญ ด้าน จริยธรรม ค่านิยม จากผลการวิจัยผู้บริหาร และครูที่เป็นเพศชาย มีทัศนะต่อการบริหารงาน วิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาไม่ แตกต่างกันระหว่างครูที่เป็นเพศชายและเพศ หญิง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ฉัตรสุดา อมร ชาต (2558) ที่พบว่า การบริหารงานวิชาการของ ผู้บริหารสถานศึกษาจำ�แนกตามเพศ ภาพรวมและ รายด้านไม่แตกต่างกัน การเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะ ของครูที่จำ�แนกตามประสบการณ์การทำ�งาน 3 กลุ่ม พบว่า การบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร โรงเรียนประถมศึกษา ตามทัศนะของครูไม่แตก ต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ นั้น อาจเนื่องจากว่า จากการบริหารงานวิชาการของ ผู้บริหารเป็นภารกิจหลักที่ต้องปฏิบัติ อยู่เป็น ประจำ� ซึ่งข้าราชการครูทุกโรงเรียนสามารถสังเกต เห็นได้ในระหว่างการปฏิบัติราชการ ด้วยเหตุนี้ ครูที่มีประสบการณ์ในการทำ�งานที่ต่างกัน สามารถรวบรวมแนวคิดในการทำ�งานร่วมกันได้ สามารถยืดหยุ่นและปรับตัวเข้ากับนโยบายที่มีการ เปลี่ยนไปได้ตลอดเวลา ดังนั้นจึงมีความเห็นไม่ แตกต่างกันต่อพฤติกรรมการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารสถานศึกษา สอดคล้องกับงานวิจัย ของ จิรศักดิ์ ทองเพชร (2556) พบว่า สมรรถนะ การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ในอำ�เภอเกาะสมุย สังกัดสำ�นักงานเขตพื้นที่การ ศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 จำ�แนก ตามประสบการณ์ ภาพรวมและรายด้านไม่ แตกต่างกัน จากผลการเปรียบเทียบการบริหารงาน วิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ตาม ทัศนะของครูที่จำ�แนกตามระดับการศึกษา 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่สำ�เร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และ กลุ่มที่สำ�เร็จการศึกษาระดับปริญญาโท พบว่า การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน ประถมศึกษา ตามทัศนะของครูไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมุติฐาน นั้น อาจเนื่องจากว่า ทั้งนี้อาจเป็นเพราะครูมีความคิดเห็นว่าผู้บริหาร โรงเรียนประถมศึกษา ต้องมีการบริหารงานที่
  • 8. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 140 ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน พ.ศ. 2560 มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมที่ผ่านมา เพื่อตอบ สนองนโยบายตันสังกัด จึงทำ�ให้ผู้บริหารต้องมี การพยายามที่จะปรับปรุงการบริหารและพัฒนา โรงเรียนให้ได้เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการศึกษา สอดคล้องกับงานวิจัยของ สุพรรณิกา สีสะอาด (2556) พบว่าครูและผู้บริหารที่มีวุฒิการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการบริหาร งานวิชาการของโรงเรียนเอกชนระดับอนุบาล ศึกษา ในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดย ภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหารโรงเรียน ประถมศึกษา 1.1 จากผลการศึกษาการพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษา ผู้บริหารควรศึกษาวิเคราะห์หลักสูตร สภาพปัญหา และความต้องการของสังคมชุมชน และท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ เป้าหมาย และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ บริหารจัดการการ ใช้หลักสูตรให้เหมาะสม นิเทศการใช้หลักสูตร ติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตร ปรับปรุง และพัฒนาหลักสูตร 1.2 จากผลการศึกษาการพัฒนา กระบวนการเรียนรู้ ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูจัด ทำ�แผนการจัดการเรียนรู้ ตามสาระและหน่วยการ เรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำ�คัญ จัดกระบวนการ เรียนรู้ มีการนิเทศการเรียนการสอนแก่ครูในกลุ่ม สาระต่างๆ โดยเน้นการนิเทศที่ร่วมมือช่วยเหลือ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาครูและพัฒนากระบวนการ เรียนรู้ให้ความเหมาะสม 1.3 จากผลการศึกษาการวัดผล ประเมิน ผลและเทียบโอนผลการเรียน ผู้บริหารควรกำ�หนด ระเบียบแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดผลและประเมิน ผลของสถานศึกษา ครูจัดทำ�แผนการวัดผล และ ประเมินผล การเทียบโอน พัฒนาเครื่องมือวัดและ ประเมินผลให้ได้มาตรฐาน 1.4 จากผลการศึกษาการวิจัยเพื่อพัฒนา คุณภาพการศึกษา ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครู ศึกษาวิเคราะห์ วิจัย เผยแพร่ผลงานการวิจัยหรือ พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน และงานวิชาการ กับสถานศึกษา บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วย งานและสถาบันอื่น 1.5 จากผลการศึกษาการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ผู้บริหาร ควรใช้สื่อและเทคโนโลยี ผลิตพัฒนาสื่อ และ นวัตกรรมการเรียนการสอน จัดหาพัฒนาและการ ใช้สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการจัดการ เรียนการสอน 1.6 จากผลการศึกษาการพัฒนาแหล่ง เรียนรู้ ผู้บริหารควรสำ�รวจแหล่งการเรียนรู้ จัด ทำ�เอกสารเผยแพร่ จัดตั้งและพัฒนาส่งเสริม สนับสนุนให้ครูใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอก โรงเรียนในการจัดการเรียนรู้ 1.7 จากผลการศึกษาการนิเทศการ ศึกษา ผู้บริหารควรมีการนิเทศงานวิชาการ และ การเรียนการสอนภายในสถานศึกษา ดำ�เนินการ นิเทศงานวิชาการ และการเรียนการสอน ประเมิน ผลการจัดระบบ และกระบวนการนิเทศการศึกษา ติดตาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประสบการณ์จัด ระบบนิเทศการศึกษาภายในสถานศึกษากับสถาน ศึกษาอื่น 1.8 จากผลการศึกษาการแนะแนวการ ศึกษา ผู้บริหารควรมีระบบการแนะแนวทาง วิชาการและวิชาชีพ ดำ�เนินการแนะแนวการศึกษา ติดตามและประเมินผลประสานความร่วมมือ และ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประสบการณ์ด้านการ แนะแนวการศึกษากับสถานศึกษา 1.9 จากผลการศึกษาการพัฒนาระบบ
  • 9. Journal of Education, Mahasarakham University 141 Volume 11 Number 2 April-June 2017 ประกันคุณภาพ ผู้บริหารควรจัดระบบโครงสร้าง องค์กร กำ�หนดเกณฑ์การประเมิน วางแผนการ พัฒนาคุณภาพการศึกษา ดำ�เนินการพัฒนางาน ตามแผนและติดตาม ตรวจสอบ และประเมิน คุณภาพภายใน 1.10 จากผลการศึกษาการส่งเสริมความ รู้ทางวิชาการแก่ชุมชน ผู้บริหารควรสำ�รวจความ ต้องการ สนับสนุนงานวิชาการแก่ชุมชน จัดให้ ความรู้ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางวิชาการ และ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 1.11 จากผลการศึกษาการประสาน ความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษา อื่น ผู้บริหารควรประสานความร่วมมือ สร้างเครือ ข่ายความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับองค์กร ต่างๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ 2. ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรขยายผลการวิจัยการบริหารงาน วิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในระดับมัธยม และ การจัดการศึกษาของเอกชน 2.2 ควรศึกษาปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการ บริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน เอกสารอ้างอิง กฎกระทรวงศึกษาธิการ (2550). ราชกิจจานุเบกษา กำ�หนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำ�นาจการบ ริหารและการจัดการศึกษา ด้านงานวิชาการ พ.ศ. 2550. ค้นเมื่อ 30 มกราคม 2559, จาก http://onec.go.th/onecbackoffice/uploaded/Category/Laws/ RuleMetDistEdMnt 2550-02-12-2010.pdf กระทรวงศึกษาธิการ. สำ�นักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). กำ�หนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำ� นาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๐. ค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2559, จาก http:// www.moe.go.th/webld/pdf/BB/B_39.pdf จิรศักดิ์ ทองเพชร (2556). สมรรถนะการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำ�เภอเกาะสมุย สังกัดสำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. ค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2559, จาก http://e-article.plu.ac.th/index.php/2556/14-edu/161-edu560225-1 ฉัตรสุดา อมรชาติ (2558). การบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาอำ�เภอสุคิริน สำ�นักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2. ค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http:// journal.pnu.ac.th/ojs/index.php/huso/article/view/400 ประยูร เจริญสุข. (2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้งานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://doi1.nrct.go.th/?page=resolvedoi&resolve_ doi=10.14457/KKU. the.2010.87 ประเสริฐ เนียมแก้ว. (2556). ภาวะผู้นาทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำ�นักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช. ค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2559, จาก https://www. tci-thaijo.org/index.php/Humanties-up/article/view/42684
  • 10. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 142 ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน พ.ศ. 2560 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2553). ค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2559, จาก https://www.mwit. ac.th/~person/01-Statutes/NationalEducation.pdf สำ�นักการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการครู. ค้นเมื่อ 9มีนาคม 2559, จาก http://news.ksp.or.th/library/DocBook/handbook/HB.pdf สำ�นักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (2554). แนวทาง: การจัดวางระบบการควบคุมภายใน และการ ประเมิน ผลการควบคุมภายใน. กรุงเทพฯ: บริษัท ซิสเต็มโฟร์กราฟฟิคส์ จำ�กัด ต้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2559, จาก 203.172.183.116/~2013/file/ak/5.doc สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2552). คู่มือการดำ�เนินงานการควบคุมภายในเพื่อพัฒนา คุณภาพการศึกษา สำ�หรับสำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำ�กัด. สำ�นักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการจัดวางระบบควบคุมภายในและประเมินผล. ต้นเมื่อ3 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://www.udru.ac.th/~ qaudru/attachments/article/ 71/คู่มือควบคุมภายใน.pdf สุพรรณิกา สีสะอาด (2556). การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชน ระดับอนุบาล ศึกษาในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2559, จากhttp://sms-stou. org/pr/media/journal/article/56-2/56-2-article9.pdf Tabacnick, B.G., & Fidell, L.S. (2001). Using multivariate statistics. 4th ed. Boston Allyn & Bacon (2001)