SlideShare a Scribd company logo
การเขียน
ความสำคัญของการเขียนเพื่อการสื่อสาร การเขียนเป็นการสื่อสารที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตการเขียนให้ดีมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิผลตามที่ต้องการ การเขียนมีความสำคัญเพราะการเขียนเป็นการแสดงความรู้ความคิด ความรู้สึก และความต้องการของผู้เขียน นอกจากนี้การเขียนยังเป็นการถ่ายทอดความรู้ความคิด และประสบการณ์ให้แก่บุคคลรุ่นหลัง ๆได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์
การเขียนให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิภาพในการเขียนจะเกิดจากคุณสมบัติต่อไปนี้ ผู้เขียนต้องมีความรู้ดีพอในเรื่องที่จะเขียนและมีวัตถุประสงค์ในการเขียนอย่างชัดเจน สามารถใช้ภาษาแสดงสารของตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ผู้เขียนต้องรู้จักเลือกรูปแบบให้เหมาะสมกับเนื้อหา เช่น การสั่งซื้อสินค้าต้องเขียนเป็นรูปจดหมายกิจธุระที่สั้นและชัดเจน คำอวยพรอาจเขียนเป็นบทร้อยกรองก็ได้ ผู้เขียนต้องรู้จักใช้ถ้อยคำสำนวน ทั้งนี้ถ้อยคำสำนวนที่ใช้นั้นจะต้องเหมาะสมกับเนื้อหา โดยคำนึงถึง วัยเพศ ความรู้ และประสบการณ์ต่าง ๆ ของผู้รับสาร นอกจากนี้ถ้อยคำสำนวนที่ใช้ในการเขียนต้องมีความหมายชัดเจน เพื่อให้สื่อสารได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ควรใช้ถ้อยคำ สำนวน ที่นิยมเขียนทั่วไปและแสดงรสนิยมการใช้ภาษาสุภาพ
การใช้สำนวนโวหาร ขั้นตอนในการเตรียมตัวเขียนนอกจากจะต้องเตรียมข้อมูลจัดทำโครงเรื่องแล้วควร เลือกใช้สำนวนโวหารให้เหมาะกับเนื้อความที่จะเขียนสำนวนโวหารในภาษาไทยแบ่งออกเป็น๕คือ๑) บรรยายโวหาร๔) สาธกโวหาร๒) พรรณนาโวหาร๕) อุปมาโวหาร๓) เทศนาโวหาร         ๑. บรรยายโวหารคือโวหารที่ใช้เล่าเรื่องหรืออธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ตามลำดับเหตุการณ์การเขียนบรรยายโวหารจะมุ่งความชัดเจนเขียนตรงไปตรงมากล่าวถึงแต่สาระสำคัญไม่จำเป็นต้องมีพลความในการเขียนทั่ว ๆ ไปมักใช้บรรยายโวหาร เพราะเหมาะในการติดต่อสื่อสารเนื่องจากสำนวนประเภทนี้มุ่งสาระเขียนอย่างสั้น ๆ ได้ความชัดเจนงานเขียนที่ควรใช้บรรยายโวหารได้แก่การเขียนอธิบายประเภทต่างๆเช่นเขียนรายงานวิทยานิพนธ์ตำราบทความการเขียนเพื่อเล่าเรื่องเช่นบันทึกจดหมายเหตุการเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นประเภทบทความเชิงวิจารณ์ข่าวเป็นต้น
๑. บรรยายโวหาร บรรยายโวหารคือโวหารที่ใช้เล่าเรื่องหรืออธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ตามลำดับเหตุการณ์การเขียนบรรยายโวหารจะมุ่งความชัดเจนเขียนตรงไปตรงมากล่าวถึงแต่สาระสำคัญไม่จำเป็นต้องมีพลความในการเขียนทั่ว ๆ  ไปมักใช้บรรยายโวหาร  เพราะเหมาะในการติดต่อสื่อสารเนื่องจากสำนวนประเภทนี้มุ่งสาระเขียนอย่างสั้น ๆ ได้ความชัดเจนงานเขียนที่ควรใช้บรรยายโวหารได้แก่การเขียนอธิบายประเภทต่างๆเช่นเขียนรายงานวิทยานิพนธ์ตำราบทความการเขียนเพื่อเล่าเรื่องเช่นบันทึกจดหมายเหตุการเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นประเภทบทความเชิงวิจารณ์ข่าวเป็นต้น
หลักการเขียนบรรยายโวหาร ๑) เรื่องที่เขียนต้องเป็นเรื่องจริงผู้เขียนควรมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะเขียนเป็นอย่างดีโดยอาจรู้มาจากประสบการณ์หรือการค้นคว้าก็ได้๒) เลือกเขียนเฉพาะสาระสำคัญไม่เน้นรายละเอียดแต่เขียนตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม๓) ใช้ภาษาให้เข้าใจง่ายหากต้องการจะกล่าวให้ชัดอาจใช้อุปมาโวหารและสาธกโวหารเข้าช่วยได้บ้าง แต่ต้องไม่มากจนส่วนที่เป็นสาระสำคัญกลายเป็นส่วนด้อยไป๔) เรียบเรียงความคิดให้ต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน
๒. พรรณนาโวหาร...          	มีจุดมุ่งหมายในการเขียนต่างจากบรรยายโวหารคือมุ่งให้ความแจ่มแจ้งละเอียดลออ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ซาบซึ้งเพลิดเพลินไปกับข้อความนั้นการเขียนพรรณาโวหารจึงยาวกว่าบรรยายโวหารมาก แต่มิใช่การเขียนอย่างเยิ่นเย้อเพราะพรรณนา-โวหารต้องมุ่งให้ภาพและอารมณ์ดังนั้นจึงมักใช้การเล่นคำเล่นเสียงใช้ภาพพจน์แม้เนื้อความที่เขียนจะน้อยแต่เต็มด้วยสำนวนโวหารที่ไพเราะอ่านได้รสชาติ 		การเขียนพรรณนา  มีสำนวนที่ใช้ให้เกิดภาษาภาพพจน์ต่างๆ เช่น  อุปมาเป็นการนำสิ่งต่างพวกกันมา เปรียบเทียบกันโดยใช้คำเชื่อม  เหมือน  คล้าย  ประดุจ ราวกับ  กว่า   อุปลักษณ์ คือสำนวนภาษาที่นำเอาสิ่งต่างกัน แต่มีคุณสมบัติรวมกันมาเปรียบเทียบกัน เช่นลูกเป็นแก้วตาดวงใจ
หลักการเขียนพรรณนาโวหาร 1) ต้องใช้คำดีหมายถึงการเลือกสรรถ้อยคำเพื่อให้สื่อความหมายสื่อภาพ สื่ออารมณ์เหมาะสมกับเนื้อเรื่องที่ต้องการบรรยายควรเลือกคำที่ให้ความหมายชัดเจน ทั้งอาจต้องเลือกให้เสียงคำสัมผัสกันเพื่อเกิดเสียงเสนาะอย่างสัมผัสสระ สัมผัสอักษรในงานร้อยกรอง2) ต้องมีใจความดีแม้จะพรรณนายืดยาวแต่ใจความต้องมุ่งให้เกิดภาพและอารมณ์ความรู้สึกสอดคล้องกับเนื้อหาที่กำลังพรรณนา3) อาจต้องใช้อุปมาโวหารคือการเปรียบเทียบเพื่อให้ได้ภาพชัดเจนและมักใช้ศิลปะการใช้คำที่เรียกว่าภาพพจน์ประเภทต่าง ๆ ทั้งนี้เป็นวิธีการที่จะทำให้พรรณนาโวหารเด่นทั้งการใช้คำและการใช้ภาพที่แจ่มแจ้งอ่านแล้วเกิดจินตนาการและความรู้สึกคล้อยตาม4) ในบางกรณีอาจต้องใช้สาธกโวหารประกอบด้วยคือการยกตัวอย่างเพื่อให้เกิดความแจ่มแจ้งโดยยกตัวอย่างสิ่งที่ละม้ายคล้ายคลึงกันเพื่อให้เกิดภาพและอารมณ์เด่นชัดพรรณนาโวหารมักใช้กับการชมความงามอื่น ๆ เช่นชมสถานที่สรรเสริญบุคคลหรือใช้พรรณนาอารมณ์ความรู้สึกเช่นรักเกลียดโกธรแค้นเศร้าสลดเป็นต้น
๓. เทศนาโวหาร        เทศนาโวหาร  หมายถึง โวหารที่มีจุดหมายแสดงความแจ่มแจ้งเพื่อให้ผู้อ่านคล้อยตามหรืออาจกล่าวได้ว่ามุ่งชักจูงให้ผู้อ่าน คิดเห็นหรือคล้อยตามความคิดเห็นของผู้เขียนเทศนาโวหารจึงยากกว่าโวหารที่กล่าวมาแล้วทั้ง๒โวหารเพราะต้องใช้กลวิธีในการชักจูงใจ หลักการเขียนเทศนาโวหารการเขียนเทศนาโวหารต้องใช้โวหารประเภทต่างๆ มาประกอบ กล่าวคือทั้งใช้บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร รวมทั้งอุปมาโวหาร และสาธกโวหารด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ใจความชัดเจนแจ่มแจ้ง เข้าใจจนเกิดความรู้สึกนึกคิดคล้อยตามผู้เขียนไปได้ หากเป็นการแสดงความคิดเห็นควรอธิบายทั้งด้านที่เป็นประโยชน์และโทษ หรือแสดงเหตุและผลการเขียนเทศนาโวหาร ผู้เขียนต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เขียนเป็นอย่างดี สามารถอธิบายอย่างชัดเจน  ต้องรู้จักใช้เหตุผล และหลักฐานสนับสนุนความคิดเห็นที่ตนเสนอด้วย
ในการเขียนเทศนาโวหาร โดยทั่วไปมักเข้าใจกันว่า เทศนาโวหาร แปลว่า โวหารที่มุ่งสั่งสอน โดยตีความ   คำว่าเทศนาว่าสั่งสอน ความจริงเทศนาในที่นี้ หมายถึง แสดง กล่าวคือ แสดงอย่างแจ่มแจ้งเพื่อให้เห็นคล้อยตาม รูปแบบงานเขียนที่ควรใช้เทศนาโวหารคือ งานเขียนประเภทบทความชักจูงใจ หรือบทความแสดงความคิดเห็น ความเรียง เป็นต้น
๔. สาธกโวหาร สาธกโวหารคือโวหารที่มุ่งให้ความชัดเจนโดยการยกตัวอย่างเพื่ออธิบายให้แจ่มแจ้งหรือสนับสนุนความคิดเห็นที่เสนอให้หนักแน่นน่าเชื่อถือสาธกโวหารเป็นโวหารเสริมบรรยายโวหารพรรณนาโวหาร และเทศนาโวหารเช่นการเลือกยกตัวอย่างมีหลักที่ควรเลือกให้เข้ากับเนื้อความ อาจยกตัวอย่างสั้น ๆ ในบรร ายโวหารหรืออาจยกตัวอย่างที่มีรายละเอียดประกอบในพรรณนาโวหารและเทศนาโวหารเป็นต้น
๕. อุปมาโวหาร     อุปมาโวหาร  หมายถึง โวหารเปรียบเทียบ โดยยกตัวอย่าง สิ่งที่คล้ายคลึงกันมาเปรียบเพื่อให้เกิดความชัดเจนด้านความหมาย ด้านภาพ และเกิดอารมณ์ ความรู้สึกมากยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่าอุปมาโวหาร คือ ภาพพจน์ประเภทอุปมานั่นเอง  อุปมาโวหารใช้เป็นโวหารเสริม  บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร  และเทศนาโวหาร  เพื่อให้ชัดเจน  น่าอ่าน  โดยอาจเปรียบเทียบอย่างสั้นๆ  หรือเปรียบเทียบอย่างละเอียดก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปมาโวหารนั้นจะนำไปเสริมโวหารประเภทใด
รูปแบบการเขียนเพื่อการสื่อสาร การเขียนเพื่อการสื่อสารมีรูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสมของเนื้อหาที่จะเขียน โดยมากจะเขียนเป็นร้อยแก้ว ในรูปแบบของจดหมายบันทึก รายงาน เรียงความ ย่อความ ร้อยกรอง ฯลฯ
สื่อสารด้วยการเขียนเรียงความ การเขียนเรียงความ           เป็นการเขียนที่แสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึกและความเข้าใจของเราให้ผู้อ่านทราบ ผู้เขียนต้องมีความรู้ในเรื่องที่จะเขียน และลำดับความคิดเห็นได้อย่างมีระเบียบ สำนวนชวนอ่าน เนื้อหาสาระที่ง่าย ๆ จะประกอบ ด้วยความรู้ ความคิดที่เสริมทางปัญญา  การเลือกเรื่องที่จะเขียนเรียงความ         ๑. ควรเป็นเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นและน่าสนใจ อาจเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในโรงเรียน เช่น วันเด็ก วันไหว้ครู วันขึ้นปีใหม่ หรือกำลังเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของคนทั่วไป เช่น การส่งยานอวกาศไปนอกโลก เป็นต้น        ๒. เป็นเรื่องใกล้ตัวมาเล่าหรือบรรยายให้ผู้อ่านเข้าใจและเห็นภาพได้ เช่น การจัดสวนดอกไม้ การปลูกผักสวนครัวภายในบ้าน        ๓. เป็นเรื่องที่ให้อธิบายความพร้อมทั้งให้ข้อคิดเห็นส่วนตัว ในเรื่องที่กำลังเป็นที่สนใจของคนส่วนมาก เช่น ปัญหายาเสพย์ติดเป็นภัยต่อสังคม ความคิดเห็นเหล่านี้ควรมีหลักเกณฑ์  ซึ่งอาจช่วยให้คนส่วนใหญ่หันมาเข้าใจ และช่วยแก้ปัญหาได้
ส่วนประกอบหลักของเรียงความ จะประกอบด้วย    ๑. คำนำ  เป็นตัวเปิดเรื่อง เพื่อจูงใจให้น่าอ่านไม่ควรยาวเกินไปจะเป็นอย่างไรก็ได้ แต่ต้องเขียนให้เร้าใจผู้อ่าน ให้อยากอ่านต่อไป คำนำมีด้วยกันหลายแบบ    ๒. เนื้อเรื่อง  เป็นตอนสำคัญที่สุด เป็นใจความของเรื่อง โดยเรียงลำดับตั้งแต่ต้นจนจบ เพราะฉะนั้น เนื้อเรื่องจะต้องมีสาระ มีเหตุผล และควรมีการจัดลำดับอย่างเหมาะสม ยกตัวอย่างประกอบให้เนื้อความชัดเจน ย่อหน้าทุกย่อหน้าจะต้องมีสัมพันธภาพกันอย่างดี ๓. สรุป   เป็นส่วนสุดท้ายที่เขียนปิดเรื่อง ลักษณะเป็นการเขียนทิ้งท้ายให้ผู้อ่านเกิดความประทับใจ บทสรุปมีความสำคัญเท่ากับคำนำ เป็นการเขียนฝากความรู้ ความประทับใจให้กับผู้อ่าน การเขียนสรุปมีหลายแบบแต่ต้องเลือกให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง การสรุปเป็นการปิดเรื่อง ผู้อ่านจะรู้สึกว่าจบจริง ๆ
การใช้สำนวนโวหารในการเขียน ในการเขียนเรียงความทั่วไป มักใช้ ๓ โวหาร คือ             ๑. บรรยายโวหาร คือโวหารที่ในการใช้เล่าเรื่อง หรือการเล่าเรื่องตามที่ได้ประสบพบมา เช่น เขียนบทความ เล่าเรื่อง นิยาย ประวัติบุคคล สถานที่ เขียนตรงไป ตรงมา มุ่งความชัดเจน กล่าวถึงเฉพาะสาระสำคัญเท่านั้นและเป็นการเขียนแสดงความคิดเห็นเชิงวิจารณ์        ๒. พรรณนาโวหาร คือการเขียนเพื่อให้เกิดความแจ่มแจ้ง ละเอียดลออ       และจะต้องใส่ ความรู้สึก ความซาบซึ้งเพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์คล้อยตาม ใช้ในการพรรณนาความสวยงามของบ้านเมือง สถานที่ บุคคล รวมทั้งพรรณนาความรู้สึกต่าง ๆ        ๓. เทศนาโวหาร คือสำนวนที่อธิบายให้ประจักษ์ด้วยเหตุผล หรือชี้ให้เห็นคุณประโยชน์ หรือโทษของสิ่งที่กล่าวถึง มีเจตนาให้ผู้อ่านเชื่อฟังหรือคิดคล้อยตาม ต้องการแนะนำสั่งสอนสำหรับโวหารอีก ๒ ชนิด ถือว่าเป็นโวหารที่ใช้แทรกในการเขียนเรียงความทั่วไป
การเขียนบทความ      การเขียนบทความ  บทความ คือ ความเรียงที่เขียนขึ้นโดยมีหลักฐานข้อเท็จจริง และในเนื้อหาจะแทรกข้อเสนอแนะเชิงวิจารณ์หรือสร้างสรรค์เอาไว้ด้วย บทความเป็นงานเขียนที่ปรากฏคู่กับหนังสือพิมพ์ เพราะบทความมักเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์เป็นส่วนใหญ่ นิยมกันในหมู่ผู้อ่านและผู้เขียนในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รูปแบบการเขียนคล้ายกับเรียงความมาก แม้เนื้อหาสาระของบทความส่วนใหญ่จะได้จากข่าวสด แต่วิธีเขียนบทความก็ต่างจากวิธีเขียนข่าวเช่นกัน ส่วนประกอบของบทความ        ๑. รูปแบบ บทความมีรูปแบบการเขียนที่เหมือนกับเรียงความ คือมีโครงเรื่องประกอบ ด้วย ๓ ส่วน ได้แก่ คำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป การตั้งชื่อเรื่องอาจจะเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน        ๒. ความมุ่งหมาย จะเขียนขึ้นเพื่อเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่อง หรือเหตุการณ์นั้น ๆ        ๓. เนื้อเรื่อง หัวข้อเรื่องของบทความต้องทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ที่อยู่ในความสนใจของผู้อ่านขณะนั้น หากเลยสัปดาห์หนึ่งหรือมากกว่าอาจล้าสมัยไป        ๔. วิธีเขียน บทความจะเขียนด้วยท่วงทำนองแบบเรียบ ๆ ไม่โลดโผน
ประเภทของบทความ แบ่งได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ         ๑. บทความเชิงสาระ (Formal Essay) คือ บทความที่มีสาระเน้นหนักไปในเชิงวิชาการโดยผู้เขียนต้องอธิบายความรู้อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นสำคัญ ไม่ต้องคำนึงถึงการใช้สำนวนโวหาร หรือความเพลิดเพลินของผู้อ่าน ผู้อ่านต้องการความคิดมากกว่าความสนุก    ๒. บทความเชิงปกิณกะ(Informal Essay) คือ บทความที่ผู้เขียนมุ่งให้ความรู้ ความคิดกับผู้อ่านบ้างแต่ถือว่าเป็นจุดหมายรอง เพราะผู้อ่านบทความเชิงปกิณกะจะต้องได้ความเพลิดเพลินเป็นเบื้องต้นวิธีเขียนประกอบด้วย    ๑. ความนำเป็นตอนเปิดเรื่องที่มีความสำคัญยิ่ง ต้องเขียนให้เหมาะ เร้าความสนใจผู้อ่านให้มากที่สุด    ๒. เนื้อเรื่อง เป็นช่วงที่ต้องเขียนให้รับกับความนำ แล้วแสดงความคิด ข้อมูล เหตุผลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอย่างเด่นชัด โดยเรียงลำดับอย่างเหมาะสม    ๓. คำลงท้าย นับเป็นตอนที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นช่วงที่จะประเมินให้รู้ว่าผู้อ่านประทับใจมากน้อยเพียงใด ฉะนั้นนักเขียนบทความที่ดีควรพิถีพิถันคำลงท้ายเป็นพิเศษ
การเขียนย่อความ การเขียนย่อความ การเขียนย่อความ คือการเก็บใจความสำคัญของเรื่องต่าง ๆ แล้วนำมาเรียบเรียงให้       (แต่เพียงย่อ) เพื่อให้อ่านได้เข้าใจเรื่องและรวดเร็ว การย่อความจะประกอบไปด้วยใจความสำคัญ หมายถึงข้อความที่สำคัญที่สุดในบทเขียน หรือบทพูด         พลความ หมายถึง ข้อความที่สำคัญน้อยกว่าใจความ ทำหน้าที่ขยายใจความให้ชัดเจนใจความและพลความ แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น และข้อความที่แสดงอารมณ์ หรือความรู้สึก        -ข้อเท็จจริง เป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง      ทีทำอะไร หรืออยู่ในสภาพอย่างใด ที่ไหน เมื่อไร มีปริมาณหรือขนาดเท่าใด หรือลักษณะอย่างไร        - ข้อคิดเห็น เป็นข้อความแสดงความเชื่อหรือแนวคิด หรือความรู้สึกที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอาจเป็นบุคคล วัตถุ เหตุการณ์ หรือพฤติการณ์ก็ได้        - ข้อความ แสดงอารมณ์หรือความรู้สึก เป็นข้อความที่ทำให้ผู้รับสารได้ทราบว่า       ผู้ส่งสารมีอารมณ์ หรือความรู้สึกเป็นอย่างไร เช่น ขุ่นเคือง หรือชื่นชม เบิกบาน หรือเศร้าโศก
หลักการย่อความ  หลักการย่อความ มีดังนี้   ๑. อ่านเรื่องที่ย่อให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน ควรอ่านไม่น้อยกว่า ๒-๓ เที่ยว   ๒. พิจารณาข้อความใดตอนหนึ่ง ๆ ว่าอะไรเป็นสาระสำคัญที่ผู้เขียนต้องการ   ๓. นำใจความสำคัญแต่ละตอนออกมาเขียนไว้อย่างย่อ ๆ   ๔. เรียบเรียงใจความสำคัญนั้นให้ความต่อเนื่องตามลำดับ โดยใช้ถ้อยคำของผู้ย่อเอง   ๕. การใช้สรรพนาม ใช้เฉพาะบุรุษที่ ๓ เท่านั้น เพราะผู้เขียนย่อความเป็นผู้เก็บใจความจากเรื่องมาเล่าต่อ   ๖. การเจรจาโต้ตอบของบุคคลให้ย่อรวมกัน ไม่ต้องขึ้นบรรทัดใหม่ และไม่ใช้เครื่องหมายอัญประกาศ   ๗. กรณีที่เรื่องเดิมใช้คำราชาศัพท์ เมื่อย่อแล้วก็ต้องใช้ราชาศัพท์ โดยเฉพาะที่เป็นส่วนหรือเนื้อความสำคัญ
รูปแบบการย่อความ    ๑. การย่อเรื่อง เรียงความ หรือนิทาน นิยาย จดหมาย ขึ้นต้นในประโยคให้ใช้รูปประโยคว่า ย่อเรื่องอะไร ใครเป็นผู้แต่ง จากหนังสืออะไร หน้าเท่าไร มีใจความว่าอย่างไร   ๒. การย่อปาฐกถา สุนทรพจน์ โอวาท ประกาศ แจ้งความ       คำโฆษณา พระราชดำรัสเหล่านี้ ขึ้นต้นว่า เรื่องอะไร ของใคร เมื่อไร     ที่ไหน ความว่ากระไร ซึ่งเป็นการเก็บใจความสำคัญของเรื่อง   ๓. การย่อจดหมาย   ถ้าเป็นจดหมายฉบับเดียวให้ขึ้นต้นว่า        ย่อจดหมาย เรื่องอะไร ของใคร จากใคร ถึงใคร ลงเลขที่เท่าใด ลงวัน เดือน ปีใด ความว่าอย่างไร
การเขียนจดหมาย การเขียนจดหมาย             จดหมาย คือ การติดต่อสื่อสารที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรตามรูปแบบเฉพาะที่กำหนดไว้ใช้เขียนติดต่อเมื่ออยู่ไกลกัน หรือไม่สามารถพูดคุยกันได้ จดหมายมีหลายประเภท ดังนี้   ๑. จดหมายส่วนตัว เป็นจดหมายที่เขียนติดต่อกันในวงศ์ญาติ เพื่อน       ครูอาจารย์ ด้วยเรื่องต่าง ๆ       ๒. จดหมายกิจธุระ เป็นจดหมายที่บุคคลเขียนติดต่อกับบุคคลอื่น หรือบริษัทห้างร้านต่าง ๆ เพื่อแจ้งกิจธุระต่าง ๆ       ๓. จดหมายธุรกิจ เป็นจดหมายที่เขียนติดต่อกันระหว่างบริษัท ห้างร้าน องค์การต่าง ๆ ในเรื่องการงานต่าง ๆ  ๔. จดหมายราชการหรือหนังสือราชการ
๑. จดหมายส่วนตัว  จดหมายส่วนตัว คือจดหมายที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารเป็นคนใกล้ชิด อาจเป็นญาติสนิทหรือมิตรสหาย หรือผู้ที่รู้จักคุ้นเคย ภาษาสำนวนที่ใช้กันในจดหมายส่วนตัวอาจเป็นภาษาพูด หรือภาษาที่ไม่ใช่มาตรฐานก็ได้ คำขึ้นต้นและคำลงท้ายไม่มีกำหนดกฎเกณฑ์ที่ตายตัว เพียงแต่จะต้องระวังการใช้คำให้เหมาะสมกับฐานะของผู้ส่งสารและผู้รับสารเท่านั้น หลักการเขียนจดหมายส่วนตัว มีดังนี้ ๑. เขียนสื่อความหมายให้ชัดเจน ๒. ระมัดระวังการใช้ภาษาให้เหมาะสมกับฐานะความสัมพันธ์ระหว่างผู้เขียนกับผู้รับ ๓. การใช้ถ้อยคำในจดหมายส่วนตัวไม่มีหลักเกณฑ์ที่ตายตัว ต้องใช้ดุลพินิจของผู้เขียนเพื่อก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ๔. จดหมายส่วนตัวโดยทั่วไปใช้เขียนถึงคนที่รู้จักกัน แต่บางครั้งอาจเขียนถึงบุคคลที่ไม่รู้จักกันด้วยวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เช่น ถามปัญหา     ๕. เมื่อได้รับจดหมายจากผู้ใดแล้วควรรีบตอบโดยเร็วที่สุด
๒. การเขียนจดหมายธุรกิจ        จดหมายธุรกิจหมายถึงจดหมายที่มีไปมาระหว่างห้างร้าน  บริษัท องค์กรเอกชน หรือบุคคลทั่วไป โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อติดต่อสื่อสารเพื่อการธุรกิจต่างๆ ให้ประสบความ สำเร็จตามที่ตั้งจุดมุ่งหมายไว้ เช่น การสั่งซื้อของ การโฆษณาสินค้า การทวงหนี้ หรือสอบถาม และ คอยสอบถามเรื่องราวต่าง ๆ การสมัครงาน เป็นต้น การเขียนจดหมายประเภทนี้ต้องใช้ภาษาที่เป็นทางการ ระเบียบการเขียนมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน คำขึ้นต้น คำลงท้าย ที่มีการกำหนดไว้อย่างแน่ชัด ข้อความที่ใช้ต้องรัดกุม กระชับ สั้น แต่ได้ใจความ และสามารถสื่อสารกันได้ถูกต้อง
หลักการเขียนจดหมายธุรกิจ หลักการเขียนจดหมายกิจธุระ  มีดังนี้        ๑. ใช้ภาษามาตรฐาน ถ้อยคำสำนวนสุภาพ กะทัดรัด ตัวสะกด การันต์ และเครื่องหมายวรรคตอนต่าง ๆ ต้องถูกต้อง        ๒. มีความสมบูรณ์ เนื้อความของจดหมายสามารถสื่อสารได้ถูกต้องครบถ้วน ตามความประสงค์ของผู้เขียน        ๓. มีความชัดเจน ภาษาที่ใช้เข้าใจความหมายได้ง่ายและถูกต้องตรงตามความต้องการของผู้เขียน        ๔. แสดงความระลึกถึงผู้อ่านเพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อกัน (สมพร มันตะสูตร แพ่งพิพัฒน์,  
ลักษณะจดหมายธุรกิจที่ดี ควรมีลักษณะ ดังนี้             ๑. ใช้กระดาษและซองคุณภาพอย่างดี มีมาตรฐาน        ๒. วางรูปแบบถูกต้องตามแบบฟอร์มที่กำหนด        ๓. มีความประณีตในการพิมพ์        ๔. มีความสะอาดเรียบร้อยเป็นระเบียบ        ๕. ใช้ภาษาสุภาพ มีความถูกต้อง กะทัดรัด ชัดเจน        ๖. มีเนื้อหาตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการสื่อสาร 
การเขียนรายงาน      การเขียนรายงาน คือการเขียนที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือถ่ายทอดความรู้ความคิดหรือผลจากการศึกษาค้นคว้า สำรวจ รวมทั้งเสนอแนวทางปฏิบัติงานเรื่องต่าง ๆ    การเขียนรายงานเชิงวิชาการ คือการเขียนที่ผู้ศึกษาเขียนขึ้นเพื่อรายงานผลการศึกษา หรือผลการปฏิบัติงาน เนื้อหาในรายงานจะเกี่ยวกับการศึกษา สำรวจ วิเคราะห์ วิจัย รวมทั้งการเสนอข้อคิดเห็นและแนวทางการปฏิบัติงาน นักเรียน นักศึกษา ส่วนมากจำเป็นต้องเขียนรายงาน โดยผู้สอนมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้รู้จักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมนอกจากการศึกษาเล่าเรียนในชั้นเรียน และโดยเฉพาะเป็นการเสนอวิทยาการใหม่ ๆ ที่ได้ค้นพบมาเผยแพร่
หลักเบื้องต้นในการเขียนรายงาน คือ    ๑. ควรกำหนดหัวข้อในการเขียนรายงานให้อยู่ในขอบเขตของรายวิชาที่กำลังศึกษาอยู่   ๒. ทำโครงร่างตามหัวข้อที่กำหนดไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการค้นคว้า   ๓. ค้นคว้า ศึกษาข้อมูล หลักฐาน เพื่อนำมาประกอบการเขียนรายงาน ทำได้โดยการอ่าน การฟัง     การสังเกต การสัมภาษณ์ การทดลอง   ๔. นำข้อมูล หรือเรื่องที่ได้มาจัดลำดับให้เป็นไปตามโครงร่างที่วางไว้   ๕. ลงมือเขียนรายงานตามรูปแบบที่นิยมใช้โดยทั่วไป เช่น           - หัวข้อเรื่องเขียนกลางหน้ากระดาษ           - หัวข้อสำคัญเขียนชิดขอบซ้ายมือ และขีดเส้นใต้           - ข้อย่อยต่อไปเขียนย่อหน้าไปประมาณ ๗ ตัวอักษร และถ้ามีหัวข้อย่อย ๆ ก็จะย่อเข้าไปอีก ๓ ช่วงตัวอักษร   ๖. การเขียนรายงานต้องมีหลักฐานประกอบ เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ หรือแหล่งข้อมูลที่นำมาเขียนไว้ในรายงาน ผู้เขียนจำเป็นต้องเขียนเชิงอรรถ หมายถึงส่วนท้ายของหน้าที่เขียนบอกที่มา    ว่าเป็นของใคร มาจากไหน ส่วนอัญประกาศ คือข้อความที่ผู้เขียนนำเอาข้อเขียนหรือคำพูดของผู้อื่นมากล่าวไว้ในรายงาน   ๗. ในรายงานนั้น ๆ ควรมีข้อสรุปความคิดเห็นของผู้เขียนเองว่าได้อะไรบ้าง อาจมีการวิจารณ์และข้อเสนอแนะด้วยก็ได้ ทั้งนี้แล้วแต่ลักษณะของเรื่องที่เขียน   ๘. การใช้ภาษาในการเขียนรายงานต้องเป็นภาษาแบบทางการ กระชับ สละสลวย (ทัศนีย์ ศุภเมธี, ๒๕๒๖ : ๑๒๘)
๑ ส่วนประกอบของรายงาน             ส่วนประกอบของรายงานต่อไปนี้จะเป็นแบบแผนอย่างสากล ส่วนประกอบใหญ่ ๆ คล้าย ๆ กัน ในบางครั้งอาจพบความผิดแผกไปบ้าง ขึ้นอยู่กับผู้เขียนแต่ละคนว่าจะเคร่งครัดเพียงใด ดังนี้        ๑. ปกรายงาน สิ่งที่ต้องมีอยู่ในปกรายงานคือ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียนรายงาน และข้อความตรงส่วนล่าง ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดของรายวิชา ภาควิชาหรือคณะ วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยภาคเรียนหรือภาคการศึกษา ปีการศึกษา             - ใบรองปก เป็นกระดาษเปล่าที่ไม่มีข้อความใด ๆ เลย อยู่ถัดจากปกนอกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีไว้สำรองเมื่อปกนอกหลุดหรือฉีกขาด             - ปกใน คือส่วนที่ถัดจากใบรองปกด้านหน้าเข้าไป ใช้กระดาษเขียนรายงานธรรมดาจะเหมือนกับปกนอก เพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เขียนลงไป        ๒. คำนำ คือข้อเขียนที่ใช้กล่าวนำเรื่องรายงานเพื่อให้ทราบความเป็นมา หรือจุดมุ่งหมายของการเขียนรายงาน บางครั้งอาจมีคำขอบคุณ ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนการทำรายงาน       ๓. สารบัญ คือหน้าที่บอกหัวเรื่องในการรายงาน อาจแบ่งเป็นสารบัญเรื่อง สารบัญภาพ สารบัญตาราง มีส่วนช่วยให้ผู้อ่านรู้หัวข้อของเนื้อหาในเล่มโดยไมต้องเปิดรายงานดูทั้งเล่ม       
๒ ส่วนประกอบของรายงาน   ๓. สารบัญ คือหน้าที่บอกหัวเรื่องในการรายงาน อาจแบ่งเป็นสารบัญเรื่อง สารบัญภาพ สารบัญตาราง  มีส่วนช่วยให้ผู้อ่านรู้หัวข้อของเนื้อหาในเล่มโดยไมต้องเปิดรายงานดูทั้งเล่ม        ๔. บทนำ คือข้อความนำเรื่อง เพื่ออธิบายหรือทำความเข้าใจบางอย่างกับผู้อ่าน เช่นการอธิบายวิธีอ่านรายงาน การแบ่งเนื้อหา หรือวัตถุประสงค์ของการศึกษาเรื่องนั้น ๆ        ๕. หน้าบอกตอน คือหน้าที่บอกตอนหรือภาค จะมีในกรณีที่รายงานหรือวิทยานิพนธ์นั้นมีความยาวและเสนอเรื่องด้วยการแบ่งออกเป็นตอนหรือภาค        ๖. เนื้อหาของรายงาน หน้าแรก หรือหน้าที่ ๑ ของรายงานจะมีลักษณะพิเศษต่างจากหน้าอื่น คืออาจขึ้นต้นด้วยคำว่า บทที่ ๑ ตอนที่ ๑ หรือขึ้นต้นด้วยชื่อเรื่องกลางหน้ากระดาษ        ๗. ส่วนประกอบในเนื้อหา เนื้อหาของรายงานควรดำเนินไปตามโครงเรื่อง และประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ ๓ ส่วน คือ      - คำนำหรือบทนำ เป็นข้อความเริ่มต้น บอกกล่าวให้ผู้อ่านได้เตรียมพร้อมที่จะรับรู้ว่าเรื่องที่อ่านนั้นมีแนวทางหรือจุดมุ่งหมายอย่างไร    
๓ ส่วนประกอบของรายงาน         - เนื้อหา เป็นส่วนสำคัญที่สุดของรายงานและจะบรรยายรายละเอียดของความรู้ความคิดหรือผลการปฏิบัติงานไปตามโครงเรื่องแต่ละข้อที่ได้วางไว้แล้ว   หัวข้อในเนื้อหาจะตรงกับสารบัญ  ทุก ๆ ข้อ     - บทสรุป จะมีลักษณะการเขียนหลายแบบ เช่น การเขียนสรุปเรื่องทั้งหมดไว้ในตอนท้าย หรือเขียนเสนอแนะจากข้อมูลที่มีอยู่ในรายงาน หรือสรุปผลรายงานอย่างสั้น ๆ หรือเขียนตอนจบรายงานโดยให้ผู้อ่านรู้เองว่าถึงตอนจบแล้ว หรือจบแบบลอยๆ ไม่มีการลงท้าย        ๘. ภาคผนวก คือส่วนของความรู้เพิ่มเติมที่ผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านรู้ แต่บรรจุลงในส่วนของเนื้อหาไม่ได้ เพราะจะทำให้เนื้อหายาวและเยิ่นเย้อเกินไป        ๙. บรรณานุกรม คือรายชื่อหนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบเป็นข้อมูลในการเขียนรายงาน เอกสารอ้างอิงในการเขียนบรรณานุกรมได้แก่ หนังสือ บทความในหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สารานุกรม วิทยานิพนธ์ จุลสาร เอกสารอัดสำเนา และการสัมภาษณ์
การเขียนบันทึกส่วนตัว        การบันทึกส่วนตัว หมายถึง    การเขียนบันทึกย่อเรื่องราวที่เราได้อ่านหรือได้ฟังมา ซึ่งช่วยให้ผู้จดบันทึกกันลืม เป็นการช่วยประหยัดเวลาเมื่อจะทบทวน เรื่องนั้นๆ โดยไม่จำเป็นต้องไปอ่านใหม่ ทั้งหมด  การเขียนอนุทิน        การเขียนอนุทิน หมายถึง   การเขียนหรือจดบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเอง ครอบครัว สังคม หรือเหตุการณ์โลก แต่มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากบันทึกแบบอื่น คือ ผู้จดบันทึกสามารถใส่ความรู้สึกนึกคิดของตนที่มีต่อเรื่องราวหรือเหตุการณ์เหล่านั้นลงไปได้ด้วย
การเขียนเล่าเรื่อง         การเขียนเล่าเรื่องก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่จะทำให้เรื่องราวต่าง ๆ ที่ตนได้ประสบพบเห็นมา หรือได้อ่านมา สามารถแพร่ไปได้อย่างรวดเร็ว การเขียนเล่าเรื่องที่สำคัญมี ๒ ประเภท         ๑. การเขียนเล่าเรื่องประสบการณ์        การเขียนเล่าเรื่องประสบการณ์ ถือเป็นการได้บันทึกความทรงจำหรือเหตุการณ์  ที่ประสบมา การที่จะเขียนเล่าเรื่องได้ดีนั้นผู้เขียนต้องมีความรอบรู้ ช่างสังเกต รู้จักเปรียบเทียบและสอดแทรกความคิดเห็น เวลาที่ได้พบเห็นอะไรถ้าหากเกิดความรู้สึกประทับใจสิ่งใดขึ้นมา ก็ต้องรีบบันทึกใส่สมุดทันที               ๒. การเขียนเล่าประวัติบุคคล        บุคคลที่นำมาเล่าควรเป็นชีวิตของบุคคลที่สำคัญ น่าสนใจ เป็นวีระบุรุษ ศิลปิน หรือแม้แต่บุคคลธรรมดาที่ได้ต่อสู้กับชีวิตมาด้วยความยากลำบาก จนในที่สุดประสบความสำเร็จ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านได้ยึดเป็นแบบอย่างต่อไป หรือบางคนที่เกิดมาลำบากยากแค้น หมดกำลังใจ เพราะรู้สึกหมดหนทาง แต่เมื่อได้อ่านชีวประวัติของบุคคลบางคน  ที่สามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ จนประสบความสำเร็จได้ก็เกิดกำลังใจ ต่อสู้ชีวิตต่อไป
พบกันใหม่ คาบต่อไป นะคะ ...สวัสดี...

More Related Content

What's hot

เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
Thanawut Rattanadon
 
หน้าที่พิเศษของใบ
หน้าที่พิเศษของใบหน้าที่พิเศษของใบ
หน้าที่พิเศษของใบBiobiome
 
ติวก่อนสอบ ม.2
ติวก่อนสอบ ม.2ติวก่อนสอบ ม.2
ติวก่อนสอบ ม.2
ssuser456899
 
อารยธรรมจีน
อารยธรรมจีนอารยธรรมจีน
อารยธรรมจีน
พัน พัน
 
โครงงานคณิตบทที่ 1
โครงงานคณิตบทที่ 1โครงงานคณิตบทที่ 1
โครงงานคณิตบทที่ 1
Jutarat Bussadee
 
แบบรายงานการอบรมออนไลน์รองโอ๋
แบบรายงานการอบรมออนไลน์รองโอ๋แบบรายงานการอบรมออนไลน์รองโอ๋
แบบรายงานการอบรมออนไลน์รองโอ๋
Nontaporn Pilawut
 
ใบงานเรื่อง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ใบงานเรื่อง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าใบงานเรื่อง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ใบงานเรื่อง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
Worrachet Boonyong
 
แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ_ม.4
แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ_ม.4แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ_ม.4
แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ_ม.4Sivagon Soontong
 
วรรคทองในวรรณคดี
วรรคทองในวรรณคดีวรรคทองในวรรณคดี
วรรคทองในวรรณคดี
kingkarn somchit
 
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์Pannaray Kaewmarueang
 
การลำเลียงในพืช
การลำเลียงในพืชการลำเลียงในพืช
การลำเลียงในพืชพัน พัน
 
โครงการโรงเรียนสีขาว ปลอดอบายมุข
โครงการโรงเรียนสีขาว ปลอดอบายมุขโครงการโรงเรียนสีขาว ปลอดอบายมุข
โครงการโรงเรียนสีขาว ปลอดอบายมุข
Nontaporn Pilawut
 
เฉลย แบบทดสอบหลังเรียน
เฉลย แบบทดสอบหลังเรียนเฉลย แบบทดสอบหลังเรียน
เฉลย แบบทดสอบหลังเรียนTong Thitiphong
 
คำสมาสศาสตร์ต้องรู้
คำสมาสศาสตร์ต้องรู้คำสมาสศาสตร์ต้องรู้
คำสมาสศาสตร์ต้องรู้
duangchan
 
การเขียนบรรณานุกรม
การเขียนบรรณานุกรมการเขียนบรรณานุกรม
การเขียนบรรณานุกรม
Surapong Klamboot
 

What's hot (20)

เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
 
หน้าที่พิเศษของใบ
หน้าที่พิเศษของใบหน้าที่พิเศษของใบ
หน้าที่พิเศษของใบ
 
ติวก่อนสอบ ม.2
ติวก่อนสอบ ม.2ติวก่อนสอบ ม.2
ติวก่อนสอบ ม.2
 
อารยธรรมจีน
อารยธรรมจีนอารยธรรมจีน
อารยธรรมจีน
 
โครงงานคณิตบทที่ 1
โครงงานคณิตบทที่ 1โครงงานคณิตบทที่ 1
โครงงานคณิตบทที่ 1
 
ใบงาน2
ใบงาน2ใบงาน2
ใบงาน2
 
แบบรายงานการอบรมออนไลน์รองโอ๋
แบบรายงานการอบรมออนไลน์รองโอ๋แบบรายงานการอบรมออนไลน์รองโอ๋
แบบรายงานการอบรมออนไลน์รองโอ๋
 
ภูมิศาสตร์กายภาพประเทศไทย
ภูมิศาสตร์กายภาพประเทศไทยภูมิศาสตร์กายภาพประเทศไทย
ภูมิศาสตร์กายภาพประเทศไทย
 
ใบงานเรื่อง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ใบงานเรื่อง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าใบงานเรื่อง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ใบงานเรื่อง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
 
แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ_ม.4
แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ_ม.4แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ_ม.4
แบบทดสอบหลังเรียนเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ_ม.4
 
วรรคทองในวรรณคดี
วรรคทองในวรรณคดีวรรคทองในวรรณคดี
วรรคทองในวรรณคดี
 
การเขียนแผนปฏิบัติงาน
การเขียนแผนปฏิบัติงานการเขียนแผนปฏิบัติงาน
การเขียนแผนปฏิบัติงาน
 
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
 
ม.5 เทอม 1 หน่วย 1
ม.5 เทอม 1 หน่วย 1ม.5 เทอม 1 หน่วย 1
ม.5 เทอม 1 หน่วย 1
 
การลำเลียงในพืช
การลำเลียงในพืชการลำเลียงในพืช
การลำเลียงในพืช
 
1principletest
1principletest1principletest
1principletest
 
โครงการโรงเรียนสีขาว ปลอดอบายมุข
โครงการโรงเรียนสีขาว ปลอดอบายมุขโครงการโรงเรียนสีขาว ปลอดอบายมุข
โครงการโรงเรียนสีขาว ปลอดอบายมุข
 
เฉลย แบบทดสอบหลังเรียน
เฉลย แบบทดสอบหลังเรียนเฉลย แบบทดสอบหลังเรียน
เฉลย แบบทดสอบหลังเรียน
 
คำสมาสศาสตร์ต้องรู้
คำสมาสศาสตร์ต้องรู้คำสมาสศาสตร์ต้องรู้
คำสมาสศาสตร์ต้องรู้
 
การเขียนบรรณานุกรม
การเขียนบรรณานุกรมการเขียนบรรณานุกรม
การเขียนบรรณานุกรม
 

Similar to โวหารการเขียน

7 การเขียนเรียงความและการเขียนย่อความ(209-237)
7 การเขียนเรียงความและการเขียนย่อความ(209-237)7 การเขียนเรียงความและการเขียนย่อความ(209-237)
7 การเขียนเรียงความและการเขียนย่อความ(209-237)อัมพร ศรีพิทักษ์
 
ใบงานที่ 1เรื่องการเขียนเรียงความ
ใบงานที่ 1เรื่องการเขียนเรียงความใบงานที่ 1เรื่องการเขียนเรียงความ
ใบงานที่ 1เรื่องการเขียนเรียงความ
marisa724
 
ข้อสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทย
ข้อสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทยข้อสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทย
ข้อสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทย
Lhin Za
 
สารพันเลือกสรรตีความ
สารพันเลือกสรรตีความสารพันเลือกสรรตีความ
สารพันเลือกสรรตีความพัน พัน
 
Is2 การสื่อสารและการนำเสนอ กลุ่ม1
Is2  การสื่อสารและการนำเสนอ  กลุ่ม1Is2  การสื่อสารและการนำเสนอ  กลุ่ม1
Is2 การสื่อสารและการนำเสนอ กลุ่ม1พัน พัน
 
ทักษะการอ่าน
ทักษะการอ่านทักษะการอ่าน
ทักษะการอ่าน0872191189
 
ใบความรู้เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญ
ใบความรู้เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญใบความรู้เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญ
ใบความรู้เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญPiyarerk Bunkoson
 
15 เขียนคำขวัญ 1
15 เขียนคำขวัญ 115 เขียนคำขวัญ 1
15 เขียนคำขวัญ 1
กึม จันทิภา
 
การเขียนเรียงความ ย่อความ
การเขียนเรียงความ ย่อความการเขียนเรียงความ ย่อความ
การเขียนเรียงความ ย่อความ
พัน พัน
 
Work1 charrissara
Work1 charrissara Work1 charrissara
Work1 charrissara
Icyy Cha
 
เรียงความ
เรียงความเรียงความ
เรียงความkroonoi06
 
การสอน Writing
การสอน Writingการสอน Writing
การสอน WritingYoo Ni
 

Similar to โวหารการเขียน (20)

7 การเขียนเรียงความและการเขียนย่อความ(209-237)
7 การเขียนเรียงความและการเขียนย่อความ(209-237)7 การเขียนเรียงความและการเขียนย่อความ(209-237)
7 การเขียนเรียงความและการเขียนย่อความ(209-237)
 
ใบงานที่ 1เรื่องการเขียนเรียงความ
ใบงานที่ 1เรื่องการเขียนเรียงความใบงานที่ 1เรื่องการเขียนเรียงความ
ใบงานที่ 1เรื่องการเขียนเรียงความ
 
ข้อสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทย
ข้อสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทยข้อสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทย
ข้อสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษาไทย
 
การเขียน 1
การเขียน  1การเขียน  1
การเขียน 1
 
การเขียน 1
การเขียน  1การเขียน  1
การเขียน 1
 
การเขียน 1
การเขียน  1การเขียน  1
การเขียน 1
 
การเขียน 1
การเขียน  1การเขียน  1
การเขียน 1
 
การเขียน
การเขียนการเขียน
การเขียน
 
สารพันเลือกสรรตีความ
สารพันเลือกสรรตีความสารพันเลือกสรรตีความ
สารพันเลือกสรรตีความ
 
Is2 การสื่อสารและการนำเสนอ กลุ่ม1
Is2  การสื่อสารและการนำเสนอ  กลุ่ม1Is2  การสื่อสารและการนำเสนอ  กลุ่ม1
Is2 การสื่อสารและการนำเสนอ กลุ่ม1
 
ทักษะการอ่าน
ทักษะการอ่านทักษะการอ่าน
ทักษะการอ่าน
 
ใบความรู้เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญ
ใบความรู้เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญใบความรู้เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญ
ใบความรู้เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญ
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 
15 เขียนคำขวัญ 1
15 เขียนคำขวัญ 115 เขียนคำขวัญ 1
15 เขียนคำขวัญ 1
 
การเขียนเรียงความ ย่อความ
การเขียนเรียงความ ย่อความการเขียนเรียงความ ย่อความ
การเขียนเรียงความ ย่อความ
 
Work1 charrissara
Work1 charrissara Work1 charrissara
Work1 charrissara
 
Wordpress2
Wordpress2Wordpress2
Wordpress2
 
นวนิยายพร้อมส่ง
นวนิยายพร้อมส่งนวนิยายพร้อมส่ง
นวนิยายพร้อมส่ง
 
เรียงความ
เรียงความเรียงความ
เรียงความ
 
การสอน Writing
การสอน Writingการสอน Writing
การสอน Writing
 

โวหารการเขียน

  • 2. ความสำคัญของการเขียนเพื่อการสื่อสาร การเขียนเป็นการสื่อสารที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตการเขียนให้ดีมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิผลตามที่ต้องการ การเขียนมีความสำคัญเพราะการเขียนเป็นการแสดงความรู้ความคิด ความรู้สึก และความต้องการของผู้เขียน นอกจากนี้การเขียนยังเป็นการถ่ายทอดความรู้ความคิด และประสบการณ์ให้แก่บุคคลรุ่นหลัง ๆได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์
  • 3. การเขียนให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิภาพในการเขียนจะเกิดจากคุณสมบัติต่อไปนี้ ผู้เขียนต้องมีความรู้ดีพอในเรื่องที่จะเขียนและมีวัตถุประสงค์ในการเขียนอย่างชัดเจน สามารถใช้ภาษาแสดงสารของตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ผู้เขียนต้องรู้จักเลือกรูปแบบให้เหมาะสมกับเนื้อหา เช่น การสั่งซื้อสินค้าต้องเขียนเป็นรูปจดหมายกิจธุระที่สั้นและชัดเจน คำอวยพรอาจเขียนเป็นบทร้อยกรองก็ได้ ผู้เขียนต้องรู้จักใช้ถ้อยคำสำนวน ทั้งนี้ถ้อยคำสำนวนที่ใช้นั้นจะต้องเหมาะสมกับเนื้อหา โดยคำนึงถึง วัยเพศ ความรู้ และประสบการณ์ต่าง ๆ ของผู้รับสาร นอกจากนี้ถ้อยคำสำนวนที่ใช้ในการเขียนต้องมีความหมายชัดเจน เพื่อให้สื่อสารได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ควรใช้ถ้อยคำ สำนวน ที่นิยมเขียนทั่วไปและแสดงรสนิยมการใช้ภาษาสุภาพ
  • 4. การใช้สำนวนโวหาร ขั้นตอนในการเตรียมตัวเขียนนอกจากจะต้องเตรียมข้อมูลจัดทำโครงเรื่องแล้วควร เลือกใช้สำนวนโวหารให้เหมาะกับเนื้อความที่จะเขียนสำนวนโวหารในภาษาไทยแบ่งออกเป็น๕คือ๑) บรรยายโวหาร๔) สาธกโวหาร๒) พรรณนาโวหาร๕) อุปมาโวหาร๓) เทศนาโวหาร         ๑. บรรยายโวหารคือโวหารที่ใช้เล่าเรื่องหรืออธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ตามลำดับเหตุการณ์การเขียนบรรยายโวหารจะมุ่งความชัดเจนเขียนตรงไปตรงมากล่าวถึงแต่สาระสำคัญไม่จำเป็นต้องมีพลความในการเขียนทั่ว ๆ ไปมักใช้บรรยายโวหาร เพราะเหมาะในการติดต่อสื่อสารเนื่องจากสำนวนประเภทนี้มุ่งสาระเขียนอย่างสั้น ๆ ได้ความชัดเจนงานเขียนที่ควรใช้บรรยายโวหารได้แก่การเขียนอธิบายประเภทต่างๆเช่นเขียนรายงานวิทยานิพนธ์ตำราบทความการเขียนเพื่อเล่าเรื่องเช่นบันทึกจดหมายเหตุการเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นประเภทบทความเชิงวิจารณ์ข่าวเป็นต้น
  • 5. ๑. บรรยายโวหาร บรรยายโวหารคือโวหารที่ใช้เล่าเรื่องหรืออธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ตามลำดับเหตุการณ์การเขียนบรรยายโวหารจะมุ่งความชัดเจนเขียนตรงไปตรงมากล่าวถึงแต่สาระสำคัญไม่จำเป็นต้องมีพลความในการเขียนทั่ว ๆ ไปมักใช้บรรยายโวหาร เพราะเหมาะในการติดต่อสื่อสารเนื่องจากสำนวนประเภทนี้มุ่งสาระเขียนอย่างสั้น ๆ ได้ความชัดเจนงานเขียนที่ควรใช้บรรยายโวหารได้แก่การเขียนอธิบายประเภทต่างๆเช่นเขียนรายงานวิทยานิพนธ์ตำราบทความการเขียนเพื่อเล่าเรื่องเช่นบันทึกจดหมายเหตุการเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นประเภทบทความเชิงวิจารณ์ข่าวเป็นต้น
  • 6. หลักการเขียนบรรยายโวหาร ๑) เรื่องที่เขียนต้องเป็นเรื่องจริงผู้เขียนควรมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะเขียนเป็นอย่างดีโดยอาจรู้มาจากประสบการณ์หรือการค้นคว้าก็ได้๒) เลือกเขียนเฉพาะสาระสำคัญไม่เน้นรายละเอียดแต่เขียนตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม๓) ใช้ภาษาให้เข้าใจง่ายหากต้องการจะกล่าวให้ชัดอาจใช้อุปมาโวหารและสาธกโวหารเข้าช่วยได้บ้าง แต่ต้องไม่มากจนส่วนที่เป็นสาระสำคัญกลายเป็นส่วนด้อยไป๔) เรียบเรียงความคิดให้ต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน
  • 7. ๒. พรรณนาโวหาร...           มีจุดมุ่งหมายในการเขียนต่างจากบรรยายโวหารคือมุ่งให้ความแจ่มแจ้งละเอียดลออ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ซาบซึ้งเพลิดเพลินไปกับข้อความนั้นการเขียนพรรณาโวหารจึงยาวกว่าบรรยายโวหารมาก แต่มิใช่การเขียนอย่างเยิ่นเย้อเพราะพรรณนา-โวหารต้องมุ่งให้ภาพและอารมณ์ดังนั้นจึงมักใช้การเล่นคำเล่นเสียงใช้ภาพพจน์แม้เนื้อความที่เขียนจะน้อยแต่เต็มด้วยสำนวนโวหารที่ไพเราะอ่านได้รสชาติ การเขียนพรรณนา มีสำนวนที่ใช้ให้เกิดภาษาภาพพจน์ต่างๆ เช่น อุปมาเป็นการนำสิ่งต่างพวกกันมา เปรียบเทียบกันโดยใช้คำเชื่อม เหมือน คล้าย ประดุจ ราวกับ กว่า อุปลักษณ์ คือสำนวนภาษาที่นำเอาสิ่งต่างกัน แต่มีคุณสมบัติรวมกันมาเปรียบเทียบกัน เช่นลูกเป็นแก้วตาดวงใจ
  • 8. หลักการเขียนพรรณนาโวหาร 1) ต้องใช้คำดีหมายถึงการเลือกสรรถ้อยคำเพื่อให้สื่อความหมายสื่อภาพ สื่ออารมณ์เหมาะสมกับเนื้อเรื่องที่ต้องการบรรยายควรเลือกคำที่ให้ความหมายชัดเจน ทั้งอาจต้องเลือกให้เสียงคำสัมผัสกันเพื่อเกิดเสียงเสนาะอย่างสัมผัสสระ สัมผัสอักษรในงานร้อยกรอง2) ต้องมีใจความดีแม้จะพรรณนายืดยาวแต่ใจความต้องมุ่งให้เกิดภาพและอารมณ์ความรู้สึกสอดคล้องกับเนื้อหาที่กำลังพรรณนา3) อาจต้องใช้อุปมาโวหารคือการเปรียบเทียบเพื่อให้ได้ภาพชัดเจนและมักใช้ศิลปะการใช้คำที่เรียกว่าภาพพจน์ประเภทต่าง ๆ ทั้งนี้เป็นวิธีการที่จะทำให้พรรณนาโวหารเด่นทั้งการใช้คำและการใช้ภาพที่แจ่มแจ้งอ่านแล้วเกิดจินตนาการและความรู้สึกคล้อยตาม4) ในบางกรณีอาจต้องใช้สาธกโวหารประกอบด้วยคือการยกตัวอย่างเพื่อให้เกิดความแจ่มแจ้งโดยยกตัวอย่างสิ่งที่ละม้ายคล้ายคลึงกันเพื่อให้เกิดภาพและอารมณ์เด่นชัดพรรณนาโวหารมักใช้กับการชมความงามอื่น ๆ เช่นชมสถานที่สรรเสริญบุคคลหรือใช้พรรณนาอารมณ์ความรู้สึกเช่นรักเกลียดโกธรแค้นเศร้าสลดเป็นต้น
  • 9. ๓. เทศนาโวหาร        เทศนาโวหาร  หมายถึง โวหารที่มีจุดหมายแสดงความแจ่มแจ้งเพื่อให้ผู้อ่านคล้อยตามหรืออาจกล่าวได้ว่ามุ่งชักจูงให้ผู้อ่าน คิดเห็นหรือคล้อยตามความคิดเห็นของผู้เขียนเทศนาโวหารจึงยากกว่าโวหารที่กล่าวมาแล้วทั้ง๒โวหารเพราะต้องใช้กลวิธีในการชักจูงใจ หลักการเขียนเทศนาโวหารการเขียนเทศนาโวหารต้องใช้โวหารประเภทต่างๆ มาประกอบ กล่าวคือทั้งใช้บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร รวมทั้งอุปมาโวหาร และสาธกโวหารด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ใจความชัดเจนแจ่มแจ้ง เข้าใจจนเกิดความรู้สึกนึกคิดคล้อยตามผู้เขียนไปได้ หากเป็นการแสดงความคิดเห็นควรอธิบายทั้งด้านที่เป็นประโยชน์และโทษ หรือแสดงเหตุและผลการเขียนเทศนาโวหาร ผู้เขียนต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เขียนเป็นอย่างดี สามารถอธิบายอย่างชัดเจน ต้องรู้จักใช้เหตุผล และหลักฐานสนับสนุนความคิดเห็นที่ตนเสนอด้วย
  • 10. ในการเขียนเทศนาโวหาร โดยทั่วไปมักเข้าใจกันว่า เทศนาโวหาร แปลว่า โวหารที่มุ่งสั่งสอน โดยตีความ คำว่าเทศนาว่าสั่งสอน ความจริงเทศนาในที่นี้ หมายถึง แสดง กล่าวคือ แสดงอย่างแจ่มแจ้งเพื่อให้เห็นคล้อยตาม รูปแบบงานเขียนที่ควรใช้เทศนาโวหารคือ งานเขียนประเภทบทความชักจูงใจ หรือบทความแสดงความคิดเห็น ความเรียง เป็นต้น
  • 11. ๔. สาธกโวหาร สาธกโวหารคือโวหารที่มุ่งให้ความชัดเจนโดยการยกตัวอย่างเพื่ออธิบายให้แจ่มแจ้งหรือสนับสนุนความคิดเห็นที่เสนอให้หนักแน่นน่าเชื่อถือสาธกโวหารเป็นโวหารเสริมบรรยายโวหารพรรณนาโวหาร และเทศนาโวหารเช่นการเลือกยกตัวอย่างมีหลักที่ควรเลือกให้เข้ากับเนื้อความ อาจยกตัวอย่างสั้น ๆ ในบรร ายโวหารหรืออาจยกตัวอย่างที่มีรายละเอียดประกอบในพรรณนาโวหารและเทศนาโวหารเป็นต้น
  • 12. ๕. อุปมาโวหาร  อุปมาโวหาร หมายถึง โวหารเปรียบเทียบ โดยยกตัวอย่าง สิ่งที่คล้ายคลึงกันมาเปรียบเพื่อให้เกิดความชัดเจนด้านความหมาย ด้านภาพ และเกิดอารมณ์ ความรู้สึกมากยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่าอุปมาโวหาร คือ ภาพพจน์ประเภทอุปมานั่นเอง อุปมาโวหารใช้เป็นโวหารเสริม บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร เพื่อให้ชัดเจน น่าอ่าน โดยอาจเปรียบเทียบอย่างสั้นๆ หรือเปรียบเทียบอย่างละเอียดก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปมาโวหารนั้นจะนำไปเสริมโวหารประเภทใด
  • 13. รูปแบบการเขียนเพื่อการสื่อสาร การเขียนเพื่อการสื่อสารมีรูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสมของเนื้อหาที่จะเขียน โดยมากจะเขียนเป็นร้อยแก้ว ในรูปแบบของจดหมายบันทึก รายงาน เรียงความ ย่อความ ร้อยกรอง ฯลฯ
  • 14. สื่อสารด้วยการเขียนเรียงความ การเขียนเรียงความ         เป็นการเขียนที่แสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึกและความเข้าใจของเราให้ผู้อ่านทราบ ผู้เขียนต้องมีความรู้ในเรื่องที่จะเขียน และลำดับความคิดเห็นได้อย่างมีระเบียบ สำนวนชวนอ่าน เนื้อหาสาระที่ง่าย ๆ จะประกอบ ด้วยความรู้ ความคิดที่เสริมทางปัญญา  การเลือกเรื่องที่จะเขียนเรียงความ         ๑. ควรเป็นเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นและน่าสนใจ อาจเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในโรงเรียน เช่น วันเด็ก วันไหว้ครู วันขึ้นปีใหม่ หรือกำลังเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของคนทั่วไป เช่น การส่งยานอวกาศไปนอกโลก เป็นต้น        ๒. เป็นเรื่องใกล้ตัวมาเล่าหรือบรรยายให้ผู้อ่านเข้าใจและเห็นภาพได้ เช่น การจัดสวนดอกไม้ การปลูกผักสวนครัวภายในบ้าน        ๓. เป็นเรื่องที่ให้อธิบายความพร้อมทั้งให้ข้อคิดเห็นส่วนตัว ในเรื่องที่กำลังเป็นที่สนใจของคนส่วนมาก เช่น ปัญหายาเสพย์ติดเป็นภัยต่อสังคม ความคิดเห็นเหล่านี้ควรมีหลักเกณฑ์  ซึ่งอาจช่วยให้คนส่วนใหญ่หันมาเข้าใจ และช่วยแก้ปัญหาได้
  • 15. ส่วนประกอบหลักของเรียงความ จะประกอบด้วย    ๑. คำนำ  เป็นตัวเปิดเรื่อง เพื่อจูงใจให้น่าอ่านไม่ควรยาวเกินไปจะเป็นอย่างไรก็ได้ แต่ต้องเขียนให้เร้าใจผู้อ่าน ให้อยากอ่านต่อไป คำนำมีด้วยกันหลายแบบ  ๒. เนื้อเรื่อง  เป็นตอนสำคัญที่สุด เป็นใจความของเรื่อง โดยเรียงลำดับตั้งแต่ต้นจนจบ เพราะฉะนั้น เนื้อเรื่องจะต้องมีสาระ มีเหตุผล และควรมีการจัดลำดับอย่างเหมาะสม ยกตัวอย่างประกอบให้เนื้อความชัดเจน ย่อหน้าทุกย่อหน้าจะต้องมีสัมพันธภาพกันอย่างดี ๓. สรุป   เป็นส่วนสุดท้ายที่เขียนปิดเรื่อง ลักษณะเป็นการเขียนทิ้งท้ายให้ผู้อ่านเกิดความประทับใจ บทสรุปมีความสำคัญเท่ากับคำนำ เป็นการเขียนฝากความรู้ ความประทับใจให้กับผู้อ่าน การเขียนสรุปมีหลายแบบแต่ต้องเลือกให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง การสรุปเป็นการปิดเรื่อง ผู้อ่านจะรู้สึกว่าจบจริง ๆ
  • 16. การใช้สำนวนโวหารในการเขียน ในการเขียนเรียงความทั่วไป มักใช้ ๓ โวหาร คือ       ๑. บรรยายโวหาร คือโวหารที่ในการใช้เล่าเรื่อง หรือการเล่าเรื่องตามที่ได้ประสบพบมา เช่น เขียนบทความ เล่าเรื่อง นิยาย ประวัติบุคคล สถานที่ เขียนตรงไป ตรงมา มุ่งความชัดเจน กล่าวถึงเฉพาะสาระสำคัญเท่านั้นและเป็นการเขียนแสดงความคิดเห็นเชิงวิจารณ์        ๒. พรรณนาโวหาร คือการเขียนเพื่อให้เกิดความแจ่มแจ้ง ละเอียดลออ และจะต้องใส่ ความรู้สึก ความซาบซึ้งเพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์คล้อยตาม ใช้ในการพรรณนาความสวยงามของบ้านเมือง สถานที่ บุคคล รวมทั้งพรรณนาความรู้สึกต่าง ๆ        ๓. เทศนาโวหาร คือสำนวนที่อธิบายให้ประจักษ์ด้วยเหตุผล หรือชี้ให้เห็นคุณประโยชน์ หรือโทษของสิ่งที่กล่าวถึง มีเจตนาให้ผู้อ่านเชื่อฟังหรือคิดคล้อยตาม ต้องการแนะนำสั่งสอนสำหรับโวหารอีก ๒ ชนิด ถือว่าเป็นโวหารที่ใช้แทรกในการเขียนเรียงความทั่วไป
  • 17. การเขียนบทความ      การเขียนบทความ  บทความ คือ ความเรียงที่เขียนขึ้นโดยมีหลักฐานข้อเท็จจริง และในเนื้อหาจะแทรกข้อเสนอแนะเชิงวิจารณ์หรือสร้างสรรค์เอาไว้ด้วย บทความเป็นงานเขียนที่ปรากฏคู่กับหนังสือพิมพ์ เพราะบทความมักเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์เป็นส่วนใหญ่ นิยมกันในหมู่ผู้อ่านและผู้เขียนในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รูปแบบการเขียนคล้ายกับเรียงความมาก แม้เนื้อหาสาระของบทความส่วนใหญ่จะได้จากข่าวสด แต่วิธีเขียนบทความก็ต่างจากวิธีเขียนข่าวเช่นกัน ส่วนประกอบของบทความ        ๑. รูปแบบ บทความมีรูปแบบการเขียนที่เหมือนกับเรียงความ คือมีโครงเรื่องประกอบ ด้วย ๓ ส่วน ได้แก่ คำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป การตั้งชื่อเรื่องอาจจะเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน        ๒. ความมุ่งหมาย จะเขียนขึ้นเพื่อเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่อง หรือเหตุการณ์นั้น ๆ        ๓. เนื้อเรื่อง หัวข้อเรื่องของบทความต้องทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ที่อยู่ในความสนใจของผู้อ่านขณะนั้น หากเลยสัปดาห์หนึ่งหรือมากกว่าอาจล้าสมัยไป        ๔. วิธีเขียน บทความจะเขียนด้วยท่วงทำนองแบบเรียบ ๆ ไม่โลดโผน
  • 18. ประเภทของบทความ แบ่งได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ         ๑. บทความเชิงสาระ (Formal Essay) คือ บทความที่มีสาระเน้นหนักไปในเชิงวิชาการโดยผู้เขียนต้องอธิบายความรู้อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นสำคัญ ไม่ต้องคำนึงถึงการใช้สำนวนโวหาร หรือความเพลิดเพลินของผู้อ่าน ผู้อ่านต้องการความคิดมากกว่าความสนุก    ๒. บทความเชิงปกิณกะ(Informal Essay) คือ บทความที่ผู้เขียนมุ่งให้ความรู้ ความคิดกับผู้อ่านบ้างแต่ถือว่าเป็นจุดหมายรอง เพราะผู้อ่านบทความเชิงปกิณกะจะต้องได้ความเพลิดเพลินเป็นเบื้องต้นวิธีเขียนประกอบด้วย    ๑. ความนำเป็นตอนเปิดเรื่องที่มีความสำคัญยิ่ง ต้องเขียนให้เหมาะ เร้าความสนใจผู้อ่านให้มากที่สุด    ๒. เนื้อเรื่อง เป็นช่วงที่ต้องเขียนให้รับกับความนำ แล้วแสดงความคิด ข้อมูล เหตุผลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอย่างเด่นชัด โดยเรียงลำดับอย่างเหมาะสม    ๓. คำลงท้าย นับเป็นตอนที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นช่วงที่จะประเมินให้รู้ว่าผู้อ่านประทับใจมากน้อยเพียงใด ฉะนั้นนักเขียนบทความที่ดีควรพิถีพิถันคำลงท้ายเป็นพิเศษ
  • 19. การเขียนย่อความ การเขียนย่อความ การเขียนย่อความ คือการเก็บใจความสำคัญของเรื่องต่าง ๆ แล้วนำมาเรียบเรียงให้ (แต่เพียงย่อ) เพื่อให้อ่านได้เข้าใจเรื่องและรวดเร็ว การย่อความจะประกอบไปด้วยใจความสำคัญ หมายถึงข้อความที่สำคัญที่สุดในบทเขียน หรือบทพูด พลความ หมายถึง ข้อความที่สำคัญน้อยกว่าใจความ ทำหน้าที่ขยายใจความให้ชัดเจนใจความและพลความ แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น และข้อความที่แสดงอารมณ์ หรือความรู้สึก        -ข้อเท็จจริง เป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทีทำอะไร หรืออยู่ในสภาพอย่างใด ที่ไหน เมื่อไร มีปริมาณหรือขนาดเท่าใด หรือลักษณะอย่างไร        - ข้อคิดเห็น เป็นข้อความแสดงความเชื่อหรือแนวคิด หรือความรู้สึกที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอาจเป็นบุคคล วัตถุ เหตุการณ์ หรือพฤติการณ์ก็ได้        - ข้อความ แสดงอารมณ์หรือความรู้สึก เป็นข้อความที่ทำให้ผู้รับสารได้ทราบว่า ผู้ส่งสารมีอารมณ์ หรือความรู้สึกเป็นอย่างไร เช่น ขุ่นเคือง หรือชื่นชม เบิกบาน หรือเศร้าโศก
  • 20. หลักการย่อความ หลักการย่อความ มีดังนี้   ๑. อ่านเรื่องที่ย่อให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน ควรอ่านไม่น้อยกว่า ๒-๓ เที่ยว   ๒. พิจารณาข้อความใดตอนหนึ่ง ๆ ว่าอะไรเป็นสาระสำคัญที่ผู้เขียนต้องการ   ๓. นำใจความสำคัญแต่ละตอนออกมาเขียนไว้อย่างย่อ ๆ   ๔. เรียบเรียงใจความสำคัญนั้นให้ความต่อเนื่องตามลำดับ โดยใช้ถ้อยคำของผู้ย่อเอง   ๕. การใช้สรรพนาม ใช้เฉพาะบุรุษที่ ๓ เท่านั้น เพราะผู้เขียนย่อความเป็นผู้เก็บใจความจากเรื่องมาเล่าต่อ   ๖. การเจรจาโต้ตอบของบุคคลให้ย่อรวมกัน ไม่ต้องขึ้นบรรทัดใหม่ และไม่ใช้เครื่องหมายอัญประกาศ   ๗. กรณีที่เรื่องเดิมใช้คำราชาศัพท์ เมื่อย่อแล้วก็ต้องใช้ราชาศัพท์ โดยเฉพาะที่เป็นส่วนหรือเนื้อความสำคัญ
  • 21. รูปแบบการย่อความ    ๑. การย่อเรื่อง เรียงความ หรือนิทาน นิยาย จดหมาย ขึ้นต้นในประโยคให้ใช้รูปประโยคว่า ย่อเรื่องอะไร ใครเป็นผู้แต่ง จากหนังสืออะไร หน้าเท่าไร มีใจความว่าอย่างไร   ๒. การย่อปาฐกถา สุนทรพจน์ โอวาท ประกาศ แจ้งความ คำโฆษณา พระราชดำรัสเหล่านี้ ขึ้นต้นว่า เรื่องอะไร ของใคร เมื่อไร ที่ไหน ความว่ากระไร ซึ่งเป็นการเก็บใจความสำคัญของเรื่อง   ๓. การย่อจดหมาย ถ้าเป็นจดหมายฉบับเดียวให้ขึ้นต้นว่า ย่อจดหมาย เรื่องอะไร ของใคร จากใคร ถึงใคร ลงเลขที่เท่าใด ลงวัน เดือน ปีใด ความว่าอย่างไร
  • 22. การเขียนจดหมาย การเขียนจดหมาย       จดหมาย คือ การติดต่อสื่อสารที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรตามรูปแบบเฉพาะที่กำหนดไว้ใช้เขียนติดต่อเมื่ออยู่ไกลกัน หรือไม่สามารถพูดคุยกันได้ จดหมายมีหลายประเภท ดังนี้   ๑. จดหมายส่วนตัว เป็นจดหมายที่เขียนติดต่อกันในวงศ์ญาติ เพื่อน ครูอาจารย์ ด้วยเรื่องต่าง ๆ     ๒. จดหมายกิจธุระ เป็นจดหมายที่บุคคลเขียนติดต่อกับบุคคลอื่น หรือบริษัทห้างร้านต่าง ๆ เพื่อแจ้งกิจธุระต่าง ๆ    ๓. จดหมายธุรกิจ เป็นจดหมายที่เขียนติดต่อกันระหว่างบริษัท ห้างร้าน องค์การต่าง ๆ ในเรื่องการงานต่าง ๆ  ๔. จดหมายราชการหรือหนังสือราชการ
  • 23. ๑. จดหมายส่วนตัว  จดหมายส่วนตัว คือจดหมายที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารเป็นคนใกล้ชิด อาจเป็นญาติสนิทหรือมิตรสหาย หรือผู้ที่รู้จักคุ้นเคย ภาษาสำนวนที่ใช้กันในจดหมายส่วนตัวอาจเป็นภาษาพูด หรือภาษาที่ไม่ใช่มาตรฐานก็ได้ คำขึ้นต้นและคำลงท้ายไม่มีกำหนดกฎเกณฑ์ที่ตายตัว เพียงแต่จะต้องระวังการใช้คำให้เหมาะสมกับฐานะของผู้ส่งสารและผู้รับสารเท่านั้น หลักการเขียนจดหมายส่วนตัว มีดังนี้ ๑. เขียนสื่อความหมายให้ชัดเจน ๒. ระมัดระวังการใช้ภาษาให้เหมาะสมกับฐานะความสัมพันธ์ระหว่างผู้เขียนกับผู้รับ ๓. การใช้ถ้อยคำในจดหมายส่วนตัวไม่มีหลักเกณฑ์ที่ตายตัว ต้องใช้ดุลพินิจของผู้เขียนเพื่อก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ๔. จดหมายส่วนตัวโดยทั่วไปใช้เขียนถึงคนที่รู้จักกัน แต่บางครั้งอาจเขียนถึงบุคคลที่ไม่รู้จักกันด้วยวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เช่น ถามปัญหา ๕. เมื่อได้รับจดหมายจากผู้ใดแล้วควรรีบตอบโดยเร็วที่สุด
  • 24. ๒. การเขียนจดหมายธุรกิจ      จดหมายธุรกิจหมายถึงจดหมายที่มีไปมาระหว่างห้างร้าน บริษัท องค์กรเอกชน หรือบุคคลทั่วไป โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อติดต่อสื่อสารเพื่อการธุรกิจต่างๆ ให้ประสบความ สำเร็จตามที่ตั้งจุดมุ่งหมายไว้ เช่น การสั่งซื้อของ การโฆษณาสินค้า การทวงหนี้ หรือสอบถาม และ คอยสอบถามเรื่องราวต่าง ๆ การสมัครงาน เป็นต้น การเขียนจดหมายประเภทนี้ต้องใช้ภาษาที่เป็นทางการ ระเบียบการเขียนมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน คำขึ้นต้น คำลงท้าย ที่มีการกำหนดไว้อย่างแน่ชัด ข้อความที่ใช้ต้องรัดกุม กระชับ สั้น แต่ได้ใจความ และสามารถสื่อสารกันได้ถูกต้อง
  • 25. หลักการเขียนจดหมายธุรกิจ หลักการเขียนจดหมายกิจธุระ มีดังนี้        ๑. ใช้ภาษามาตรฐาน ถ้อยคำสำนวนสุภาพ กะทัดรัด ตัวสะกด การันต์ และเครื่องหมายวรรคตอนต่าง ๆ ต้องถูกต้อง        ๒. มีความสมบูรณ์ เนื้อความของจดหมายสามารถสื่อสารได้ถูกต้องครบถ้วน ตามความประสงค์ของผู้เขียน        ๓. มีความชัดเจน ภาษาที่ใช้เข้าใจความหมายได้ง่ายและถูกต้องตรงตามความต้องการของผู้เขียน        ๔. แสดงความระลึกถึงผู้อ่านเพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อกัน (สมพร มันตะสูตร แพ่งพิพัฒน์,  
  • 26. ลักษณะจดหมายธุรกิจที่ดี ควรมีลักษณะ ดังนี้     ๑. ใช้กระดาษและซองคุณภาพอย่างดี มีมาตรฐาน        ๒. วางรูปแบบถูกต้องตามแบบฟอร์มที่กำหนด        ๓. มีความประณีตในการพิมพ์        ๔. มีความสะอาดเรียบร้อยเป็นระเบียบ        ๕. ใช้ภาษาสุภาพ มีความถูกต้อง กะทัดรัด ชัดเจน        ๖. มีเนื้อหาตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการสื่อสาร 
  • 27. การเขียนรายงาน การเขียนรายงาน คือการเขียนที่เรียบเรียงขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือถ่ายทอดความรู้ความคิดหรือผลจากการศึกษาค้นคว้า สำรวจ รวมทั้งเสนอแนวทางปฏิบัติงานเรื่องต่าง ๆ    การเขียนรายงานเชิงวิชาการ คือการเขียนที่ผู้ศึกษาเขียนขึ้นเพื่อรายงานผลการศึกษา หรือผลการปฏิบัติงาน เนื้อหาในรายงานจะเกี่ยวกับการศึกษา สำรวจ วิเคราะห์ วิจัย รวมทั้งการเสนอข้อคิดเห็นและแนวทางการปฏิบัติงาน นักเรียน นักศึกษา ส่วนมากจำเป็นต้องเขียนรายงาน โดยผู้สอนมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้รู้จักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมนอกจากการศึกษาเล่าเรียนในชั้นเรียน และโดยเฉพาะเป็นการเสนอวิทยาการใหม่ ๆ ที่ได้ค้นพบมาเผยแพร่
  • 28. หลักเบื้องต้นในการเขียนรายงาน คือ    ๑. ควรกำหนดหัวข้อในการเขียนรายงานให้อยู่ในขอบเขตของรายวิชาที่กำลังศึกษาอยู่   ๒. ทำโครงร่างตามหัวข้อที่กำหนดไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการค้นคว้า   ๓. ค้นคว้า ศึกษาข้อมูล หลักฐาน เพื่อนำมาประกอบการเขียนรายงาน ทำได้โดยการอ่าน การฟัง การสังเกต การสัมภาษณ์ การทดลอง   ๔. นำข้อมูล หรือเรื่องที่ได้มาจัดลำดับให้เป็นไปตามโครงร่างที่วางไว้   ๕. ลงมือเขียนรายงานตามรูปแบบที่นิยมใช้โดยทั่วไป เช่น           - หัวข้อเรื่องเขียนกลางหน้ากระดาษ           - หัวข้อสำคัญเขียนชิดขอบซ้ายมือ และขีดเส้นใต้           - ข้อย่อยต่อไปเขียนย่อหน้าไปประมาณ ๗ ตัวอักษร และถ้ามีหัวข้อย่อย ๆ ก็จะย่อเข้าไปอีก ๓ ช่วงตัวอักษร   ๖. การเขียนรายงานต้องมีหลักฐานประกอบ เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ หรือแหล่งข้อมูลที่นำมาเขียนไว้ในรายงาน ผู้เขียนจำเป็นต้องเขียนเชิงอรรถ หมายถึงส่วนท้ายของหน้าที่เขียนบอกที่มา ว่าเป็นของใคร มาจากไหน ส่วนอัญประกาศ คือข้อความที่ผู้เขียนนำเอาข้อเขียนหรือคำพูดของผู้อื่นมากล่าวไว้ในรายงาน   ๗. ในรายงานนั้น ๆ ควรมีข้อสรุปความคิดเห็นของผู้เขียนเองว่าได้อะไรบ้าง อาจมีการวิจารณ์และข้อเสนอแนะด้วยก็ได้ ทั้งนี้แล้วแต่ลักษณะของเรื่องที่เขียน   ๘. การใช้ภาษาในการเขียนรายงานต้องเป็นภาษาแบบทางการ กระชับ สละสลวย (ทัศนีย์ ศุภเมธี, ๒๕๒๖ : ๑๒๘)
  • 29. ๑ ส่วนประกอบของรายงาน        ส่วนประกอบของรายงานต่อไปนี้จะเป็นแบบแผนอย่างสากล ส่วนประกอบใหญ่ ๆ คล้าย ๆ กัน ในบางครั้งอาจพบความผิดแผกไปบ้าง ขึ้นอยู่กับผู้เขียนแต่ละคนว่าจะเคร่งครัดเพียงใด ดังนี้        ๑. ปกรายงาน สิ่งที่ต้องมีอยู่ในปกรายงานคือ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียนรายงาน และข้อความตรงส่วนล่าง ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดของรายวิชา ภาควิชาหรือคณะ วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยภาคเรียนหรือภาคการศึกษา ปีการศึกษา             - ใบรองปก เป็นกระดาษเปล่าที่ไม่มีข้อความใด ๆ เลย อยู่ถัดจากปกนอกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีไว้สำรองเมื่อปกนอกหลุดหรือฉีกขาด             - ปกใน คือส่วนที่ถัดจากใบรองปกด้านหน้าเข้าไป ใช้กระดาษเขียนรายงานธรรมดาจะเหมือนกับปกนอก เพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เขียนลงไป        ๒. คำนำ คือข้อเขียนที่ใช้กล่าวนำเรื่องรายงานเพื่อให้ทราบความเป็นมา หรือจุดมุ่งหมายของการเขียนรายงาน บางครั้งอาจมีคำขอบคุณ ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนการทำรายงาน       ๓. สารบัญ คือหน้าที่บอกหัวเรื่องในการรายงาน อาจแบ่งเป็นสารบัญเรื่อง สารบัญภาพ สารบัญตาราง มีส่วนช่วยให้ผู้อ่านรู้หัวข้อของเนื้อหาในเล่มโดยไมต้องเปิดรายงานดูทั้งเล่ม       
  • 30. ๒ ส่วนประกอบของรายงาน  ๓. สารบัญ คือหน้าที่บอกหัวเรื่องในการรายงาน อาจแบ่งเป็นสารบัญเรื่อง สารบัญภาพ สารบัญตาราง มีส่วนช่วยให้ผู้อ่านรู้หัวข้อของเนื้อหาในเล่มโดยไมต้องเปิดรายงานดูทั้งเล่ม        ๔. บทนำ คือข้อความนำเรื่อง เพื่ออธิบายหรือทำความเข้าใจบางอย่างกับผู้อ่าน เช่นการอธิบายวิธีอ่านรายงาน การแบ่งเนื้อหา หรือวัตถุประสงค์ของการศึกษาเรื่องนั้น ๆ        ๕. หน้าบอกตอน คือหน้าที่บอกตอนหรือภาค จะมีในกรณีที่รายงานหรือวิทยานิพนธ์นั้นมีความยาวและเสนอเรื่องด้วยการแบ่งออกเป็นตอนหรือภาค        ๖. เนื้อหาของรายงาน หน้าแรก หรือหน้าที่ ๑ ของรายงานจะมีลักษณะพิเศษต่างจากหน้าอื่น คืออาจขึ้นต้นด้วยคำว่า บทที่ ๑ ตอนที่ ๑ หรือขึ้นต้นด้วยชื่อเรื่องกลางหน้ากระดาษ        ๗. ส่วนประกอบในเนื้อหา เนื้อหาของรายงานควรดำเนินไปตามโครงเรื่อง และประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ ๓ ส่วน คือ      - คำนำหรือบทนำ เป็นข้อความเริ่มต้น บอกกล่าวให้ผู้อ่านได้เตรียมพร้อมที่จะรับรู้ว่าเรื่องที่อ่านนั้นมีแนวทางหรือจุดมุ่งหมายอย่างไร    
  • 31. ๓ ส่วนประกอบของรายงาน - เนื้อหา เป็นส่วนสำคัญที่สุดของรายงานและจะบรรยายรายละเอียดของความรู้ความคิดหรือผลการปฏิบัติงานไปตามโครงเรื่องแต่ละข้อที่ได้วางไว้แล้ว หัวข้อในเนื้อหาจะตรงกับสารบัญ ทุก ๆ ข้อ     - บทสรุป จะมีลักษณะการเขียนหลายแบบ เช่น การเขียนสรุปเรื่องทั้งหมดไว้ในตอนท้าย หรือเขียนเสนอแนะจากข้อมูลที่มีอยู่ในรายงาน หรือสรุปผลรายงานอย่างสั้น ๆ หรือเขียนตอนจบรายงานโดยให้ผู้อ่านรู้เองว่าถึงตอนจบแล้ว หรือจบแบบลอยๆ ไม่มีการลงท้าย        ๘. ภาคผนวก คือส่วนของความรู้เพิ่มเติมที่ผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านรู้ แต่บรรจุลงในส่วนของเนื้อหาไม่ได้ เพราะจะทำให้เนื้อหายาวและเยิ่นเย้อเกินไป        ๙. บรรณานุกรม คือรายชื่อหนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบเป็นข้อมูลในการเขียนรายงาน เอกสารอ้างอิงในการเขียนบรรณานุกรมได้แก่ หนังสือ บทความในหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ สารานุกรม วิทยานิพนธ์ จุลสาร เอกสารอัดสำเนา และการสัมภาษณ์
  • 32. การเขียนบันทึกส่วนตัว        การบันทึกส่วนตัว หมายถึง    การเขียนบันทึกย่อเรื่องราวที่เราได้อ่านหรือได้ฟังมา ซึ่งช่วยให้ผู้จดบันทึกกันลืม เป็นการช่วยประหยัดเวลาเมื่อจะทบทวน เรื่องนั้นๆ โดยไม่จำเป็นต้องไปอ่านใหม่ ทั้งหมด การเขียนอนุทิน        การเขียนอนุทิน หมายถึง   การเขียนหรือจดบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเอง ครอบครัว สังคม หรือเหตุการณ์โลก แต่มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากบันทึกแบบอื่น คือ ผู้จดบันทึกสามารถใส่ความรู้สึกนึกคิดของตนที่มีต่อเรื่องราวหรือเหตุการณ์เหล่านั้นลงไปได้ด้วย
  • 33. การเขียนเล่าเรื่อง         การเขียนเล่าเรื่องก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่จะทำให้เรื่องราวต่าง ๆ ที่ตนได้ประสบพบเห็นมา หรือได้อ่านมา สามารถแพร่ไปได้อย่างรวดเร็ว การเขียนเล่าเรื่องที่สำคัญมี ๒ ประเภท         ๑. การเขียนเล่าเรื่องประสบการณ์        การเขียนเล่าเรื่องประสบการณ์ ถือเป็นการได้บันทึกความทรงจำหรือเหตุการณ์ ที่ประสบมา การที่จะเขียนเล่าเรื่องได้ดีนั้นผู้เขียนต้องมีความรอบรู้ ช่างสังเกต รู้จักเปรียบเทียบและสอดแทรกความคิดเห็น เวลาที่ได้พบเห็นอะไรถ้าหากเกิดความรู้สึกประทับใจสิ่งใดขึ้นมา ก็ต้องรีบบันทึกใส่สมุดทันที          ๒. การเขียนเล่าประวัติบุคคล        บุคคลที่นำมาเล่าควรเป็นชีวิตของบุคคลที่สำคัญ น่าสนใจ เป็นวีระบุรุษ ศิลปิน หรือแม้แต่บุคคลธรรมดาที่ได้ต่อสู้กับชีวิตมาด้วยความยากลำบาก จนในที่สุดประสบความสำเร็จ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านได้ยึดเป็นแบบอย่างต่อไป หรือบางคนที่เกิดมาลำบากยากแค้น หมดกำลังใจ เพราะรู้สึกหมดหนทาง แต่เมื่อได้อ่านชีวประวัติของบุคคลบางคน ที่สามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ จนประสบความสำเร็จได้ก็เกิดกำลังใจ ต่อสู้ชีวิตต่อไป