SlideShare a Scribd company logo
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ใใใใใใใใใใใใใใใ
ใใใใใใ:
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
โฉมหน้าที่แท้จริงของทรัมป์
บทสัมภาษณ์
ศาสตราจารย์ ฝาง หนิง (房宁)
ผู้อำนวยกำรสถำบันรัฐศำสตร์
Chinese Academy of Social Sciences
โดย www.guancha.cn
โฉมหน้าที่แท้จริงของทรัมป์
สถำบันคลังปัญญำด้ำนยุทธศำสตร์ชำติ
วิทยำลัยรัฐกิจ มหำวิทยำลัยรังสิต
รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.rsu-brain.com
บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล
แปล : เทวินทร์ แซ่แต้
กองบรรณาธิการ : ปาณัท ทองพ่วง, ปลายฟ้า บุนนาค และ อุสมาน วาจิ
ที่มาบทความ : http://www.guancha.cn/FangNing/2017_02_03_392212.shtml เผยแพร่ 3/2/2017
ภาพปก : http://a.abcnews.com/images/Politics/rtr-donald-trump-white-house-lawn-jc-
170406_1_12x5_1600.jpg
เผยแพร่ : มิถุนายน 2560
ที่อยู่
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร
กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
1
ทรัมป์ ในฐานะประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เป็นคนที่สมควรวิเคราะห์ เพราะจะชอบหรือไม่
เขาก็เป็นหนึ่งในบุคคลที่จะมีบทบาทและอานาจมากที่สุดในการสร้างความเปลี่ยนแปลง ชี้ชะตา
สงครามหรือสันติภาพแก่โลกไปอีกอย่างน้อย 4 ปี จากข่าวที่ผ่านมาที่เขาใช้นโยบายสายแข็งใน
ตะวันออกกลาง และการเผชิญหน้ากับเกาหลีเหนือก็สะท้อนว่า อเมริกาไม่ได้กลับไปโดดเดี่ยวอย่างที่
เขาหาเสียงไว้แต่ยังผูกพันกับกิจการโลกต่อไปในแบบที่คาดเดาได้ยากขึ้น
สถาบันคลังปัญญาฯ จึงได้แปลบทความเรื่อง “โฉมหน้าที่แท้จริงของทรัมป์ ” จากต้นฉบับใน
ภาษาจีน ซึ่งเว็บไซต์กวานฉาเจ่อ (www.guancha.cn แปลว่า The Observer) เว็บไซต์รวบรวมนักคิด
ของจีน ได้ไปสัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ฝาง หนิง (房宁: Fang Ning) ผู้อานวยการสถาบันรัฐศาสตร์
ของ CASS (Chinese Academy of Social Sciences) (สถาบันสังคมศาสตร์แห่งประเทศจีน) ซึ่งได้
วิเคราะห์ตัวทรัมป์ และระบอบการเมืองในอเมริกาอย่างลุ่มลึกและใจกว้าง อย่างไรก็ตาม ทัศนะใน
บทความนี้ถือเป็นของศาสตราจารย์ฝาง หนิง มิใช่ของสถาบันคลังปัญญาฯ จุดประสงค์ของการแปล
คือเพื่อแนะนามุมมอง(หนึ่ง) ของจีนในเรื่องทรัมป์และระบอบการเมืองอเมริกาแก่ผู้อ่านชาวไทย ที่
แตกต่างไปจากทัศนะในสองประเด็นนี้ที่แพร่หลายอยู่เป็นหลักในประเทศไทยและตะวันตก
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
โฉมหน้าที่แท้จริงของทรัมป์
ศาสตราจารย์ฝาง หนิง
2สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2560 ทรัมป์ได้ปฏิญาณตนรับตาแหน่ง ทาให้เกิดกระแสประท้วง
ตามท้องถนนอีกระลอกหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ทรัมป์ ได้รับการเลือกตั้ง เสียงต่อต้านรอบ
กายเขาไม่เคยขาดสาย พร้อมกันนั้น ทั่วโลกก็เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ต่อทิศทางทางการเมือง
ในอนาคตของรัฐบาลทรัมป์ ไปต่างๆ นานา การวิพากษ์วิจารณ์เหล่านี้ จานวนไม่น้อยสงสัยถึง
ความแน่นอนทางนโยบายและความมั่นคงในการบริหารของเขา เว็บไซต์กวานฉาเจ่อได้พูดคุย
กับ ศาสตราจารย์ฝาง หนิงผู้อานวยการสถาบันรัฐศาสตร์ของ CASS (สถาบันสังคมศาสตร์แห่ง
ประเทศจีน) วิเคราะห์ถึง “ยุคของทรัมป์ ” กล่าวถึงสาเหตุเชิงลึกและแนวโน้มทางการเมืองใน
อนาคตของ “ประธานาธิบดีผู้ตกเป็นประเด็นข่าวอยู่เสมอ” คนนี้ เนื้อหาต่อไปนี้เรียบเรียงจาก
การสัมภาษณ์
เว็บไซต์กวานฉาเจ่อ : ทรัมป์ พึ่งปฏิญาณตนรับตาแหน่งไปอย่างสดๆ ร้อนๆ ก็เกิด
การวิพากษ์วิจารณ์เขาในด้านการบริหาร แนวคิดทางการเมือง ฯลฯ อย่างมากมาย ท่านมี
ความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับคาวิพากษ์วิจารณ์เหล่านี้
ศาสตราจารย์ฝาง หนิง : การเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกาน่าจับตามองอย่างจริงจัง ปีที่
ผ่านมา จากความผันผวนของการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา วงการวิพากษ์วิจารณ์ของจีนได้จับตา
มองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พิธีปฏิญาณตนรับตาแหน่งของทรัมป์ ก็ได้ดึงดูดสายตาจากทุกฝ่าย
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากว่าทุกคนไม่ได้ทางานเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยทางด้านนี้โดยเฉพาะ มี
ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกา รวมทั้งรัฐบาลใหม่ของทรัมป์ เพียงผิวเผิน จึงไม่
แปลกที่จะมีความคิดเห็นและการวิจารณ์ที่คลาดเคลื่อนจากความจริงหลายเรื่อง
ตัวอย่างเช่น กระแสวิพากษ์วิจารณ์ส่วนใหญ่รู้สึกแปลกใจกับสุนทรพจน์ของทรัมป์ ในพิธี
ปฏิญาณตนรับตาแหน่ง มีการพูดเล่นว่าเขา “หยิบบทสุนทรพจน์มาผิด” ด้วยซ้า แต่แท้จริงแล้ว
สุนทรพจน์ในพิธีปฏิญาณตนรับตาแหน่งของเขานั้น เป็นการสรุปการโต้วาทีทางโทรทัศน์และการ
กล่าวสุนทรพจน์รณรงค์หาเสียงเลือกตั้งครั้งสาคัญหลายต่อหลายครั้ง ตั้งแต่เขาลงสมัครรับ
เลือกตั้งมาตั้งแต่ในปี 2015 แนวคิดและคาพูดในสุนทรพจน์ของเขาในพิธีปฏิญาณตนรับ
ตาแหน่งไม่มีความแปลกใหม่ใดๆ เนื่องจากเป็นสิ่งที่เขาพูดซ้าแล้วซ้าเล่ามาก่อนหน้านี้ ในวันนั้น
เขาเพียงแต่นาแนวความคิดที่ตนยืนหยัดมาตลอดมารวบรวมแล้วนาเสนอให้อย่างครบถ้วน การ
ที่ผู้วิพากษ์วิจารณ์ต่างรู้สึกแปลกใจกับสุนทรพจน์ของเขาในวันนั้นแสดงว่ายังรู้จักเขาไม่พอ สอง
วันที่ผ่านมา เราได้ทาการวิเคราะห์เชิงสถิติมาบ้าง ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า สุนทรพจน์ใน
พิธีปฏิญาณตนรับตาแหน่งสอดคล้องกับคาพูดและตรรกะที่ผ่านมาของทรัมป์อย่างมาก
3สถำบันคลังปัญญำด้ำนยุทธศำสตร์ชำติ วิทยำลัยรัฐกิจ มหำวิทยำลัยรังสิต
อีกกระแสหนึ่งที่กล่าวว่าการบริหารงานในอนาคตของทรัมป์ ในฐานะประธานาธิบดีมีความไม่
แน่นอนสูงมาก ซึ่งไม่ถูกต้องอย่างแน่นอน ทรัมป์ ได้รับการเลือกตั้งและเข้ารับตาแหน่งไปเป็นที่
เรียบร้อยแล้วซึ่งเป็นเรื่องจริงที่แน่นอนแล้ว ณ ขณะนี้ อีกทั้งเขายังเป็นคนที่มีความมุ่งมั่นแน่วแน่ จน
อาจจะเป็นคนดื้อรั้นก็ว่าได้ การได้ขึ้นดารงตาแหน่งประธานาธิบดีของเขานั้นได้มาไม่ง่าย แน่นอนที่
เขาจะยืนหยัดดาเนินการตามแนวคิดที่ตนเสนอมาโดยตลอดอย่างแน่วแน่ เพียงแต่ว่าจะทาได้เท่าใด
นั้นต้องขึ้นอยู่กับข้อจากัดและเงื่อนไขต่างๆ แต่ที่แน่นอนคือ เขาจะพยายามดาเนินตามแนวคิดที่ตั้งไว้
ของตนเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงบางอย่าง เปลี่ยนแปลงสหรัฐอเมริกา เปลี่ยนแปลงโลก นี่เป็นสิ่งที่
แน่นอนอย่างมาก จะพูดว่าไม่แน่นอนได้อย่างไร ที่บอกว่าไม่แน่นอนนั้นอาจเป็นเพราะว่าคนพูดไม่รู้
จริง ไม่ใช่ทรัมป์ไม่แน่นอน
ปัจจุบัน ในวงการวิพากษ์วิจารณ์มีนักวิชาการ นักวิจัยหลายท่านได้แสดงความคิดเห็นต่างๆ
ออกมาโดยที่ยังไม่ได้ศึกษาวิจัยในเชิงลึก เป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อถือและเป็นมุมมองส่วนบุคคล ซึ่งบางครั้ง
ก็ห่างไกลจากความจริงมาก ปรากฏการณ์เช่นนี้เป็นเรื่องที่ไม่ดีเลย เพราะไม่เป็นผลดีต่อวงการ
วิพากษ์วิจารณ์และสาธารณชนของจีนในการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ใหม่และความ
เปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนรัฐบาลของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะที่จะเกิดขึ้นกับ
สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศของประเทศจีนและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจีนกับสหรัฐอเมริกา
ดังนั้น ผมจึงขอเรียกร้องให้นักวิชาการและนักวิจัยทั้งหลายให้ทาการศึกษาวิจัยให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อ
โน้มนากระแสการวิพากษ์วิจารณ์ให้ถูกต้องแม่นยาพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงที่จะมาถึงด้วย
การศึกษาเรียนรู้อย่างจริงจังของเรา
เว็บไซต์กวานฉาเจ่อ :บางกระแสมองว่า ช่วงที่ทรัมป์ก้าวขึ้นมาเกิดการประท้วงหลายต่อ
หลายครั้ง กังวลว่าทรัมป์ อาจดารงตาแหน่งได้ไม่ครบวาระ 4 ปี ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร
ศาสตราจารย์ฝาง หนิง :จริงหรือ เหตุใดจึงมองแบบนั้น จริงอยู่ว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้ แต่ผม
มองว่าการที่ทรัมป์ จะดารงตาแหน่งได้ไม่ครบวาระ 4 หรือ 8 ปีนั้น ปัจจัยเสี่ยงอาจมาจากสุขภาพ
ร่างกายของเขามากกว่า เพราะเขาอายุกว่า 70 ปีแล้ว การเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาไม่ใช่งานที่
สบาย การที่ทรัมป์ได้รับการเลือกตั้งเป็นที่ถกเถียงกันมากก็จริง การเลือกตั้งครั้งใหญ่ในปี 2016 ของ
สหรัฐอเมริกาถือได้ว่าเป็นการแข่งขันที่รุนแรงมาก ซึ่งเกิดขึ้นน้อยครั้งในระยะหลายปีที่ผ่านมา การ
แข่งขันที่รุนแรงเช่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงความแตกแยกในสังคมสหรัฐอเมริกาได้ระดับหนึ่ง แท้ที่จริง
แล้ว ความแตกแยกจนถึงการแบ่งขั้วเช่นนี้เริ่มปรากฏให้เห็นมาตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งใหญ่ในปี 2000
แล้ว และแนวโน้มนี้ก็สืบเนื่องต่อมาเป็นเวลา 16 ปี
4
สถำบันคลังปัญญำด้ำนยุทธศำสตร์ชำติ วิทยำลัยรัฐกิจ มหำวิทยำลัยรังสิต
คนสหรัฐอเมริกามีท่าทีที่ต่างกันมากต่อชัยชนะในการเลือกตั้งของทรัมป์ บางคนตื่นเต้นดีใจ
เปี่ยมไปด้วยความหวัง บางคนโกรธคลั่งและโศกเศร้าผิดหวังมาก เท่าที่เราทราบ ครอบครัวอเมริกัน
หลายครอบครัวไม่มีความสุขในวันคริสต์มาสที่ผ่านมาเนื่องจากพวกเขามีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน
เกี่ยวกับชัยชนะของทรัมป์ แม้ว่าจะเป็นเพื่อนหรือคนในครอบครัวก็ตาม ครั้งนี้ทีมวิจัยของเราได้ส่งผู้
สังเกตการณ์ลงพื้นที่ สังเกตว่าจานวนคนที่เข้าร่วมพิธีปฏิญาณตนรับตาแหน่งของทรัมป์น้อยกว่าการ
ปฏิญาณตนเข้ารับตาแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐครั้งที่ผ่านๆ มา และในวันที่ 21 มกราคม 2560 หนึ่ง
วันหลังจากพิธีสาบานตน ยังเกิดการชุมนุมประท้วงเพื่อสิทธิผู้หญิงครั้งใหญ่ในอเมริกาด้วย ถึงแม้ว่า
อาจจะไม่ใช่การประท้วงทรัมป์ โดยตรง แต่สาเหตุในการเข้าร่วมการประท้วงของผู้เข้าร่วมจานวนไม่
น้อยก็เกิดจากความไม่พอใจในตัวเขา
อย่างไรก็ตาม การถกเถียงในอเมริกาที่เกิดจากการที่ทรัมป์ ได้รับการเลือกตั้งนั้น ไม่ได้
หมายความว่ารัฐบาลที่เขานาพาจะเป็นรัฐบาลที่อ่อนแอ และเขาจะเป็นประธานาธิบดีที่อ่อนแอ
ตรงกันข้าม ขณะนี้ทรัมป์ มีท่าทีที่แข็งกร้าวมาก เขามีเงื่อนไขพื้นฐานในการดาเนินนโยบายของเขา
หลังจากเข้ารับตาแหน่ง
ก่อนอื่น ทรัมป์ในฐานะที่เป็น “นักการเมืองมือสมัครเล่น” ขาดการสนับสนุนจากระบบอานาจ
ในวอชิงตันหรือกลุ่ม “นักการเมืองอาชีพ” ที่เขาติเตียนอยู่ตลอด อาจพูดได้ว่า ทรัมป์ได้ทาลายธรรม
เนียมหลายข้อของการเลือกตั้งที่เคยทากันมา หากมองจากอีกมุมมองหนึ่ง นี่จึงเป็นการเลือกตั้งที่ไม่
เป็นไปตามแบบอย่าง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทรัมป์ ได้รับแรงสนับสนุนที่ยิ่งใหญ่และมั่นคงจากสังคม
อเมริกันจึงชนะมาได้
จากที่เราศึกษามา ความมุ่งมั่นและความร้อนแรงของผู้สนับสนุนทรัมป์ มีสูงกว่าฝ่ายตรงข้าม
ซึ่งหมายความว่า ในสหรัฐ ผู้ที่สนับสนุนทรัมป์ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับนโยบายของเขาเป็นอย่างมากและ
มีความคาดหวังในตัวเขาสูงมาก
ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ผิดไปจากความคาดหมายของคนในพรรคเดโมแครตมาก เดิมพรรคเด
โมแครตคาดว่าจะสามารถชิงอานาจการบริหารกลับคืนมา พร้อมกันนั้นก็ชิงที่นั่งส่วนใหญ่ในวุฒิสภา
กลับคืนมาด้วย จากนั้นก็จะสามารถเพิ่มผู้พิพากษาศาลฎีกาที่โน้มเอียงไปทางเสรีนิยมอีกคนหนึ่งใน
การแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งปัจจุบันนี้มีคะแนนเสียงอยู่ที่ 4 ต่อ 4 ระหว่างฝ่ายอนุรักษ์นิยมและ
ฝ่ายเสรีนิยม นี่คือแผนของพรรคเดโมแครต แต่ในความเป็นจริง นอกจากทรัมป์จะได้รับเลือกตั้งแล้ว
พรรครีพับลิกันยังสามารถครองที่นั่งส่วนใหญ่ทั้งในสภาผู้แทนราษฎรและในวุฒิสภา ซึ่งหมายความ
5
สถำบันคลังปัญญำด้ำนยุทธศำสตร์ชำติ วิทยำลัยรัฐกิจ มหำวิทยำลัยรังสิต
ว่าทรัมป์ จะสามารถแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกาสายอนุรักษ์นิยมคนใหม่ได้ในเวลาไม่ช้า สาหรับ
สถานการณ์ในมลรัฐต่างๆ ของสหรัฐอเมริกา พรรครีพับลิกันก็ได้ที่นั่งส่วนใหญ่ไป ทั้งนี้ เมื่อ
เปรียบเทียบกับสถานการณ์ในวาระที่สองของโอบามาแล้ว มีความต่างอย่างชัดเจน ทรัมป์ไม่ใช่ “เป็ด
ขาเป๋ ” ระบบและกลไกของสหรัฐอเมริกาในตอนนี้ค่อนข้างเป็นผลดีกับเขา อีกทั้งทรัมป์ ยังเป็นคน
เฉลียวฉลาด ชานาญในการใช้กลยุทธ์ มีความสามารถส่วนบุคคลไม่น้อยไปกว่าโอบามาหรือจอร์จ
ดับเบิลยู บุช
ที่มาภาพ http://static.politico.com/dims4/default/bcc7a31/2147483647/resize/1160x%3E/
quality/90/?url=http%3A%2F%2Fstatic.politico.com%2Fae%2F25%
2Fe66772f2492e94ff14f55632e408%2F170528-donald-trump-ap-17147555598804.jpg
6
สถำบันคลังปัญญำด้ำนยุทธศำสตร์ชำติ วิทยำลัยรัฐกิจ มหำวิทยำลัยรังสิต
ส่วนใหญ่แล้วโอบามา และจอร์จ ดับเบิลยู บุช จัดว่าเป็นผู้ยึดถืออุดมคติ ครั้งที่เราลงพื้นที่ไป
ศึกษาที่สหรัฐอเมริกา มักจะได้ยินคาพูดที่ว่า โอบามาคือ “นักปรัชญา” มากกว่านักการเมือง ซึ่งการ
กล่าวว่าเขาเป็น “นักปรัชญา” นี้หมายถึงว่าเวลาเขาทาอะไรส่วนใหญ่แล้วจะต้องพึ่งพาอุดมการณ์หรือ
แนวความคิดบางอย่าง ขณะที่นักการเมืองมักจะเน้นอยู่กับความเป็นจริงมาก จะคานวณเงื่อนไขและ
ต้นทุน อาศัยหลักการ “การใช้เหตุผลตามความเป็นจริง” ในการทางาน หากมองจากมุมมองนี้ โอ
บามา รวมทั้ง จอร์จ ดับเบิลยู บุช ในระดับหนึ่ง ไม่ใช่นักการเมืองแบบอย่าง แต่ทรัมป์ ถือได้ว่าเป็น
นักการเมืองแบบอย่าง เขาเฉลียวฉลาด มีเป้ าหมายที่แน่วแน่ มีกลวิธีที่พลิกแพลง ทุกคนไม่ควร
ปล่อยให้เอกลักษณ์ส่วนตัวที่เป็นเพียงภาพผิวเผินของเขามาลวงตาว่าเขาเป็นเพียงนักธุรกิจใหญ่ แต่ที่
จริงเขาเป็นนักการเมืองที่สามารถด้วย
เมื่อพูดถึงเอกลักษณ์ส่วนตัวของทรัมป์ หลายคนรู้ดีว่าเขาเป็นพ่อค้าที่เฉลียวฉลาดหรือมีเล่ห์
เหลี่ยมจัดก็ว่าได้ เขาไม่เพียงแต่หมั่นเพียรในการปฏิบัติ หากยังช่างสรุปบทเรียน เขามีหนังสือขายดี
เกี่ยวกับการดาเนินธุรกิจมาแต่ไหนแต่ไร เขาเป็นผู้หนึ่งที่เชี่ยวชาญในการใช้กลยุทธ์อย่างมาก เขา
ชานาญในการจัดการกับความสัมพันธ์ต่างๆ ได้ดีตั้งแต่อายุยังน้อย หากมองในด้านการดาเนินธุรกิจ
ทรัมป์ยังคงห่างจากนักธุรกิจที่ประสบความสาเร็จที่สุดอีกไกล แต่เขาชานาญในการใช้ความสัมพันธ์ที่
ซับซ้อนต่างๆ ให้เป็นประโยชน์ ชานาญในการใช้กลยุทธ์สับขาหลอก พูดเรื่องจริงสลับกับเรื่องเท็จ
สร้างมิตรภาพกับกลุ่มที่เป็นประโยชน์ และแตกสามัคคีกับกลุ่มศัตรู พลิกตนจากผู้รับเป็นผู้รุก เหล่านี้
เป็นเอกลักษณ์ส่วนตัวของทรัมป์
เว็บไซต์กวานฉาเจ่อ :เท่าที่เราทราบ ทีมงานของท่านใช้ศัพท์ใหม่คือคาว่า “ประชานิยม
ใหม่” ในการนิยามชัยชนะในการเลือกตั้งของทรัมป์ จากนั้นก็คาดการณ์แนวโน้มนโยบายในอนาคต
ของเขา ขอรบกวนท่านช่วยอภิปรายให้ละเอียด
ศาสตราจารย์ฝาง หนิง :ในการเตรียมตัวให้พร้อมกับสหรัฐอเมริกาที่บริหารโดยทรัมป์นั้น
การปรับปรุงวิสัยทัศน์เป็นสิ่งที่จาเป็นมาก
16 ปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลต่างๆ สหรัฐอเมริกาไม่ได้ถือว่าประเทศจีนเป็นคู่ต่อสู้อย่างจริงจัง
ถึงแม้ว่าหลังจากขึ้นดารงตาแหน่งในปี 2001 ไม่นาน จอร์จ ดับเบิลยู บุช ก็ได้เสนอแนวคิด “คู่ต่อสู้”
แต่ไม่นานได้เกิดเหตุการณ์ 9/11 ขึ้น สหรัฐอเมริกาก็เปลี่ยนทิศทางไป 8 ปีให้หลัง เมื่อโอบามาขึ้น
7
สถำบันคลังปัญญำด้ำนยุทธศำสตร์ชำติ วิทยำลัยรัฐกิจ มหำวิทยำลัยรังสิต
ดารงตาแหน่งประธานาธิบดี ก็ได้เสนอยุทธศาสตร์ “กลับสู่เอเชีย” “ปรับสมดุลสู่เอเชีย”
ขณะเดียวกัน ฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกาในสมัยแรก
ของโอบามายังได้เสนอเรื่อง “การทูตที่ลงสู่ประชาชนโดยตรง” หรือ “Smart Power Policy” ผมคิด
ว่าทั้งหมดนี้มีวัตถุประสงค์หลักที่ประเทศจีน แต่เราทราบดีว่า โอบามาเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ไม่
มีเชื้อสายยุโรปในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเกี่ยวข้องกับปัญหาที่ลึกลับที่สุด คือ “ความ
เจ็บปวดที่ไม่มีวันหาย” ของสหรัฐอเมริกา ดังนั้น หลังจากโอบามาขึ้นดารงตาแหน่ง จึงต้อง
เผชิญหน้ากับแรงต้านที่ไม่เคยพบมาก่อน ซึ่งแรงต้านเหล่านี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่นโยบายของเขา
แต่อยู่ที่ตัวโอบามาเองเป็นส่วนใหญ่ น่าเสียดายมากที่ใน 8 ปีที่ผ่านมา พูดได้ว่าโอบามาไม่ประสบ
ความสาเร็จเลยสักอย่าง ตัวเขาเองก็รู้สึกผิดหวังมาก โดยสรุป สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศในช่วง
16 ปี ที่ผ่านมาจึงได้สร้างโอกาสใหญ่ให้กับจีน ซึ่งเราเรียกว่าเป็น “ระยะแห่งโอกาสอันเป็น
ยุทธศาสตร์”
หลังจากทรัมป์ได้ดารงตาแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา สถานการณ์จะมีการเปลี่ยนแปลง
อย่างใหญ่หลวงแน่นอน ซึ่งเราควรจะเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด ตอนนี้ทุกคนสนใจทิศทางนโยบายของ
รัฐบาลทรัมป์ แต่จะวิเคราะห์ปัญหานี้ได้แม่นยา สิ่งที่สาคัญคือต้องรู้จักเหตุผลว่าทรัมป์ ขึ้นมาได้
อย่างไร ถ้าเราไม่เข้าใจเหตุผลที่ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งที่แท้จริง เราก็ไม่สามารถเข้าใจฐานทาง
การเมืองและบริบทสังคมของเขา และคงยากที่จะเข้าใจพฤติกรรมและนโยบายในอนาคตของเขาด้วย
สรุปคือ การรู้จักเหตุผลที่ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งอย่างถูกต้องเป็นพื้นฐานในการคาดการณ์พฤติกรรม
และนโยบายของเขา
ทีมงานของเราติดตามข่าวจากสหรัฐอเมริกามาตลอด โดยเฉพาะการเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา นี่
เป็นปัญหาที่สลับซับซ้อนมาก เพื่อให้การอธิบายเข้าใจง่าย เราจึงขอใช้แนวคิดเรื่องประชานิยมใหม่
(New-populism) มาอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นที่อเมริกาและปรากฏการณ์ต่างๆ เกี่ยว
กับทรัมป์
อย่างน้อยนับจากปี 2000 เป็นต้นมา โครงสร้างสังคมอเมริกาเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด
ลักษณะเด่นคือ ชนชั้นกลางคนผิวขาวซึ่งเดิมเป็นกลุ่มคนกระแสหลักของสังคมอเมริกา ขณะนี้มี
แนวโน้มถูกผลักเป็นคนชายขอบของสังคม เราทราบกันดีว่าอเมริกาเป็นประเทศอุตสาหกรรม
เมื่อก่อนคนนิยมกล่าวกันว่า อเมริกาเป็นประเทศที่อยู่บนล้อรถยนต์ ในราวปี 1960 กรรมกรทุก 4
คนจะมี 1 คนที่ทางานสัมพันธ์กับรถยนต์และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลง
8
สถำบันคลังปัญญำด้ำนยุทธศำสตร์ชำติ วิทยำลัยรัฐกิจ มหำวิทยำลัยรังสิต
เชิงโครงสร้างต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัตน์และยุคเศรษฐกิจการเงิน ทาให้สังคม
อเมริกามีการเปลี่ยนแปลงใหญ่ ผลประโยชน์ของชนชั้นกลางที่พัฒนามาจากอุตสาหกรรมการผลิต
ดั้งเดิมลดลงไป เมื่อเข้าสู่ศตวรรษใหม่ ชนชั้นกลางที่เคยเป็นตัวแทนของความฝันอเมริกา (American
Dream) ที่ดึงดูดสายตาชาวโลกและเคยเป็นที่ภูมิใจของอเมริกาได้ลดความสาคัญลง และกลายเป็น
คนชายขอบ นี่จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ที่สุดของสังคมอเมริกาและโลกตะวันตก ซึ่งผมจะไม่พูด
ถึงอีก เพราะทรัมป์ได้พูดหลายต่อหลายครั้งแล้ว
สังคมอเมริกาและโลกกาลังมีการเปลี่ยนแปลงใหญ่ เราไม่สามารถใช้แนวคิดเก่ามาดัดแปลง
และอธิบายความจริงปัจจุบันได้ แนวคิดและความเข้าใจของเราหลายอย่างล้าสมัยไปแล้ว ทรัมป์เข้าใจ
สภาพความเป็นจริงของสังคมอเมริกาที่ชนชั้นกลางดั้งเดิมถูกกีดกันเป็นคนชายขอบ และเขาฉลาด
พอที่จะใช้ประโยชน์จากอารมณ์ของสังคม กลุ่มชนที่สนับสนุนทรัมป์ เป็นหลักคือ “ผู้เลือกตั้งที่โกรธ
แค้น (angry voter)” ได้แก่กรรมกรอเมริกันเชื้อสายยุโรป คนงานชายผู้สูงอายุ ผู้มีการศึกษาน้อย
และกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในแถบ Rust Belt1
และ Bible Belt2
เราจึงขอใช้ประชานิยมใหม่ (New-populism) มานิยามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มชน
ในสังคมอเมริกา ประชานิยมเดิมพูดถึงกลุ่มชนที่อยู่ในชั้นล่างของสังคม กับผู้มีรายได้น้อย แต่พลัง
สังคมส่วนใหญ่ของทรัมป์มาจากสังคมชนชั้นกลางกระแสหลักเดิม กระแสโลกาภิวัตน์ ระบบการเงิน
โลก รวมถึงการหลั่งไหลของผู้อพยพและสินค้านาเข้าสู่อเมริกาจานวนมากที่ต่างก็ทาให้กลุ่มชนชั้น
กลางเดิม ของอเมริกาถูกผลักเป็นคนชายขอบ ถึงแม้ว่าพวกเขาไม่ได้เป็นชนชั้นล่างตามมาตรฐานทาง
เศรษฐกิจ แต่กลุ่มชนเหล่านี้ต่างก็รู้สึกผิดหวังและโกรธแค้น พวกเขาจึงต่อต้านอานาจและชนชั้นนา
1
Rust Belt เป็นคาหนึ่งที่ทรัมป์ พูดถึงมากในการหาเสียงเลือกตั้ง ความจริงคานี้นิยมใช้กันมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 แล้ว Rust
Belt หมายถึงภูมิภาคหนึ่งของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ Great Lakes จนถึง Midwest ตอนบน จาก นิวยอร์กตะวันตก เพนซิลเวเนีย
เวอร์จิเนียตะวันตก โอไฮโอ อินเดียน่า มิชิแกนตอนล่าง อิลลินอยส์ตอนบน ไอโอวาตะวันออก และวิสคอนซินตอนใต้ บริเวณนี้คือ
อดีตใจกลางย่านอุตสาหกรรมการผลิตของอเมริกา แต่ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา พื้นที่บริเวณนี้ตกต่าลงทางเศรษฐกิจ
ประชากรย้ายออก และเมืองเสื่อมโทรมลง อันเนื่องมาจากการหดตัวลงของภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่เคยยิ่งใหญ่ รวมๆแล้วคือ
ปรากฏการณ์ deindustrialization
2
Bible Belt คือ พื้นที่บริเวณตะวันออกเฉียงใต้และทางใต้ตอนกลางของสหรัฐ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เป็นฐานสาคัญของกลุ่มอนุรักษ์นิยม
โปรเตสแตนท์ในอเมริกา
9
สถำบันคลังปัญญำด้ำนยุทธศำสตร์ชำติ วิทยำลัยรัฐกิจ มหำวิทยำลัยรังสิต
คนงานโรงงานรถยนต์สมัยทศวรรษ 1930 ในมลรัฐ Detroit สหรัฐอเมริกา
ที่มาภาพ www. guancha.cn
สภาพแถบ Rust Belt ของอเมริกาในปัจจุบัน
ที่มาภาพ www. guancha.cn
ต่อต้านกระแสโลกาภิวัตน์และระบบการเงินโลก เราจึงเรียกกลุ่มชนนี้ว่าเป็นกลุ่มประชานิยมใหม่
(New-populism) ทรัมป์ถือว่าตนเป็นตัวแทนของอารมณ์ในสังคมและผลประโยชน์ของชนกลุ่มนี้ ผม
มองว่านี่เป็นเหตุผลเชิงลึกที่ทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง แต่แน่นอนว่าไม่ใช่เหตุผลทั้งหมด
การจะพิจารณาตัดสินนโยบายในอนาคตของรัฐบาลอเมริกาชุดใหม่อย่างเป็นวิทยาศาสตร์
อาจจะต้องทาความเข้าใจฐานทางการเมืองและภูมิหลังทางสังคมของทรัมป์ ตลอดจนมองทะลุไปถึง
แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาของสังคมอเมริกา
10
สถำบันคลังปัญญำด้ำนยุทธศำสตร์ชำติ วิทยำลัยรัฐกิจ มหำวิทยำลัยรังสิต
เว็บไซต์กวานฉาเจ่อ : ชาวอเมริกันชั้นล่างและผู้มีรายได้น้อย รวมทั้งผู้อพยพอย่างที่ท่านกล่าว
มาเป็นคนกลุ่มที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากรัฐบาลโอบามา หลังจากการขึ้นดารงตาแหน่งแล้ว
ทรัมป์จะจัดการมรดกทางการเมืองที่ตกทอดจากโอบามาอย่างไร และจะเสนอนโยบายอะไรเพื่อสร้าง
ผลประโยชน์ให้กับผู้สนับสนุนของตน ซึ่งเป็นคนกลุ่มกระแสหลักในสังคมสมัยก่อน
ศาสตราจารย์ฝาง หนิง:โอบามาได้ทางานสาคัญหลายอย่างหลังจากก้าวขึ้นเป็น
ประธานาธิบดีสหรัฐ งานชิ้นแรกคือในด้านการต่างประเทศ โดยเฉพาะการถอนกาลังทหารออกจาก
อิรักและอัฟกานิสถาน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุชทาสงครามอยู่ ผมคิดว่านี่
คงเป็นผลงานชิ้นหลักของโอบามา ทรัมป์ อาจยังดาเนินนโยบายนี้ต่อไป แต่ข้อแตกต่างอันเด่นชัด
ระหว่างนโยบายของทรัมป์และโอบามาอาจอยู่ที่ด้านภายในประเทศมากกว่า
สาหรับโอบามา มีคนเคยพูดว่าเขาเป็น “นักสังคมนิยมของยุโรป” ในการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว
อเมริกาจึงมีคากล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นการต่อสู้ระหว่าง “สังคมนิยมยุโรป” และ “ทุนนิยม
อเมริกา” โอบามาเน้นแนวคิดเรื่องความเสมอภาค เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน ฯลฯ เป็นความ
ถูกต้องชอบธรรมทางการเมืองในอเมริกา ซึ่งนโยบายที่อยู่เบื้องหลังคือ การเน้นสวัสดิการสังคมและ
การเปิดประเทศให้กว้างขึ้น ซึ่งก็คือนโยบายแบบผ่อนปรนแก่ผู้อพยพ นอกจากนี้ โอบามายังมุ่งใน
ประเด็นการพัฒนาสวัสดิการสังคมทั้งด้านการศึกษา การรักษาพยาบาล และการประกันสังคมเป็นต้น
ซึ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือระบบการบริการสุขภาพราคาถูก Obama Care ที่ใช้ชื่อของตน ซึ่งโอบามา
คาดหวังให้กลายเป็นมรดกทางการเมือง ในด้านนี้ทรัมป์ จะเดินไปทางตรงข้ามกับโอบามาอย่าง
แน่นอน
ขณะนี้ยังไม่สามารถกล่าวถึงนโยบายของทรัมป์อย่างละเอียดได้เนื่องจากการวิจัยที่เกี่ยวข้องยัง
ดาเนินการอยู่ แต่เมื่อมองผ่านฐานทางการเมืองและภูมิหลังของทรัมป์ แล้ว เราสังเกตเห็นว่า คณะ
รัฐบาลใหม่ของทรัมป์จะมี “วงนโยบาย” อยู่สามวง กล่าวคือ เป้าหมายขั้นต้น เป้าหมายขั้นกลาง และ
เป้ าหมายขั้นสุดท้าย ที่ว่ามานี้คือระบบนโยบาย แต่ไม่ใช่นโยบายในรายละเอียดประการใดประการ
หนึ่ง
11สถำบันคลังปัญญำด้ำนยุทธศำสตร์ชำติ วิทยำลัยรัฐกิจ มหำวิทยำลัยรังสิต
ทรัมป์อยู่ในฐานะที่เป็นตัวแทนของกลุ่มชนกระแสหลักดั้งเดิมในอเมริกาซึ่งก็คือชาวอเมริกัน
เชื้อสายยุโรป ดังนั้นภารกิจที่สาคัญที่สุดสาหรับเขาคือการเปลี่ยนนโยบายเกี่ยวกับผู้อพยพ ซึ่งเป็นสิ่ง
ที่เขาจาเป็นต้องทาอย่างแน่นอน ทรัมป์ ต้องระงับหรืออย่างน้อยก็ต้องควบคุมอัตราเพิ่มของจานวน
ชาวอเมริกันที่ไม่ใช่เชื้อสายยุโรปให้ชะลอตัวลง เขาจึงจาเป็นต้องดาเนินนโยบายเกี่ยวกับผู้อพยพแบบ
เข้มงวด ตัวอย่างเช่น การควบคุมชายแดนอเมริกาเพื่อสกัดคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายและการ
ตรวจสอบผู้อพยพถูกกฎหมายให้เข้มงวดมากขึ้น สิ่งที่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้คือเขาจะเนรเทศ
ผู้อพยพผิดกฎหมายอย่างที่เขาพูด อีกทั้งปรับแก้กฎหมายว่าด้วยการมอบสัญชาติอเมริกาให้บุคคลที่
กาเนิดในแผ่นดินอเมริกา ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้มาเป็นเวลานาน
ครั้งที่ผมไปดูงานการเลือกตั้งระยะกลาง (การเลือกตั้งประธานาธิบดีของอเมริกามี
กระบวนการยาวนาน เลือกหลายระดับ) ที่อเมริกาเมื่อต้นปี 2016 ที่ผ่านมา ผมได้ยิน
นายกเทศมนตรีของเมืองอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งกล่าวว่าเทอมปลายปี 2015 เป็นครั้งแรกที่จานวน
เด็กผิวสีเกินจานวนเด็กอเมริกันเชื้อสายยุโรป ในจานวนนักเรียนประถมศึกษาทั้งหมดที่เพิ่งเข้าเรียน
ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงพลิกประวัติศาสตร์ เวลานั้นเราจึงตระหนักว่าแกนหลักในการเลือกตั้งที่
คึกคักครั้งนี้คืออะไร ซึ่งก็คือภารกิจของทรัมป์ ที่เขาต้องสร้างกาแพงขึ้นมาสกัดกั้นผู้อพยพ ไม่ว่าใน
ท้ายสุดมันจะมีรูปแบบเป็นอย่างไรก็ตาม
สาหรับ “วงนโยบาย” ที่สองตามความคิดของผมคือการลดสวัสดิการสังคม เรามักพูดกันว่า
การเลือกตั้งปี 2016 ของสหรัฐอเมริกาเป็น “ความขัดแย้งของความชอบธรรมทางการเมือง” แล้วคา
ว่า “ความชอบธรรมทางการเมือง” คืออะไร สิ่งนี้มีหัวใจสาคัญสองประการ ได้แก่การไม่เลือกปฏิบัติ
(Non-Discrimination) และการดูแล ทรัมป์วิพากษ์วิจารณ์การประกันสังคมและสวัสดิการสังคม ทั้ง
ยังตาหนิการดูแลกลุ่มผู้ด้อยโอกาสบ่อยครั้ง เขามองว่านี่เป็นสาเหตุที่ทาให้ขีดความสามารถในการ
แข่งขันของอเมริกาลดลง ผู้ที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากสวัสดิการสังคมถ้วนหน้าคือคนชั้นล่างและ
กลุ่มคนผิวสีในอเมริกา หลังจากวันลงคะแนนเสียงปี 2012 (การเลือกตั้งสมัยที่สองของโอบามา) ผม
ได้คุยกับผู้อพยพจากพม่าคนหนึ่งในร้านค้าที่ Washington, D.C. เธอบอกว่า เธอได้อพยพมา
อเมริกาถึง 11 ปีแล้ว และกล่าวว่าโอบามาเป็นคนดีเพราะเขาทาให้คุณภาพชีวิตของผู้อพยพใน
อเมริกาดีขึ้นและทาให้ลูกของเธอสามารถเข้าเรียนได้
12สถำบันคลังปัญญำด้ำนยุทธศำสตร์ชำติ วิทยำลัยรัฐกิจ มหำวิทยำลัยรังสิต
อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ เห็นว่าความเสมอภาคและการดูแลที่มากเกินไปจะส่งผลกระทบต่อ
ความสามารถในการแข่งขัน อีกทั้งยังฝ่าฝืนกับค่านิยมหลักของอเมริกาด้วย ทรัมป์ มักติดปากคาว่า
loser และยังแสดงท่าทีที่ดูถูกผู้ด้อยโอกาส ทรัมป์กล่าวอย่างเปิดเผยว่าเขาไม่สงสารกลุ่มผู้ด้อยโอกาส
แม้แต่น้อย และกล่าวว่าหากคนเราอยากจะเปลี่ยนโชคชะตาของตนก็ต้องฟันฝ่าต่อสู้ สาหรับคนที่
นอนวันละ 8 ชั่วโมง และไม่ทางานจนเหงื่อท่วมตัวนั้น จะก้าวขึ้นเป็นคนชั้นสูงได้อย่างไร ในสายตา
ของทรัมป์ อเมริกาไม่ได้กาเนิดขึ้นจากการดูแล แต่เกิดจากการต่อสู้ต่างหาก อเมริกาเป็นประเทศที่
ถือการแข่งขันเพื่อความอยู่รอดเป็นหลัก เป็นจิตวิญญาณพื้นฐานของสังคมสหรัฐอเมริกา เขามองว่า
นโยบายสวัสดิการสังคมของโอบามาเอาใจชาวอเมริกามากเกินไป อาจทาให้เสียคนได้ จึงจาเป็นต้อง
เปลี่ยนแปลงใหม่ สาหรับนโยบายในรายละเอียดนั้น เขาจะผลักดันเรื่องการลดภาษี ลดสวัสดิการ
รวมไปถึงการแก้ไข Obama Care ทั้งนี้ทรัมป์ ย่อมต้องเผชิญกับแรงขัดขวางในการดาเนินนโยบาย
เหล่านี้อย่างแน่นอน
สาหรับ “วงนโยบาย” ที่สาม ผมมองว่าคือการฟื้ นฟูอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมของอเมริกา
โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิต ประเด็นเหล่านี้คงจะเกิดผลกระทบต่อสังคมในด้านต่างๆ เช่น
นโยบายการรักษาสิ่งแวดล้อม การค้าระหว่างประเทศ รวมไปถึงยุทธศาสตร์การต่างประเทศของ
อเมริกา ส่วนผลกระทบที่มีต่อประเทศจีนก็อาจเกิดจากการปรับปรุงนโยบายในวงนโยบายนี้
ตัวอย่างเช่นปัญหาการค้าที่ไม่สมดุลกับประเทศจีนเป็นต้น ซึ่งทรัมป์ได้กล่าวถึงบ่อยครั้ง
เว็บไซต์กวานฉาเจ่อ: ก่อนหน้านี้ นิตยสารอังกฤษ Prospect ฉบับเดือนมกราคม 2017 ได้
เสนอความเห็นของ Francis Fukuyama ว่าเขาเห็นว่าสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันเป็น “failed state”
นอกจากนี้ยังกล่าวว่าตัวเขาไม่ได้มองระบอบการเมืองของสหรัฐอเมริกาปัจจุบันในแง่บวก ฉะนั้นจาก
สถานการณ์ปัจจุบัน เราสามารถสรุปได้หรือไม่ว่าความเชื่อถือที่ชาวอเมริกามีต่อระบอบการปกครอง
ของตนได้ลดลงสู่จุดที่ต่าสุดในประวัติศาสตร์แล้ว
ศาสตราจารย์ฝาง หนิง : คงไม่ใช่อย่างนั้น ผมสังเกตว่าในประเทศ(จีน) เรา มีการอภิปราย
เรื่องเสรีนิยมและอนุรักษ์นิยมมาก เราต้องตระหนักว่าโลกใบนี้กาลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างกว้างขวาง
และลึกซึ้ง มนุษย์เรารู้จักสังคมตามแนวความคิดของตน แต่แนวคิดและทฤษฎีล้วนมาจากการปฏิบัติ
หากเรายังใช้แนวความคิดเดิมมาพิจารณาสถานการณ์ปัจจุบันคงจะไม่เหมาะสม เนื่องจากการปฏิบัติ
เปลี่ยนไปแล้ว และความจริงก็เปลี่ยนไปเช่นกัน การสังเกตปรากฏการณ์ทรัมป์ผ่านระบอบการเมือง
และการคาดทิศทางการปกครองของทรัมป์ก็ต้องสอดคล้องกับปัญหาโครงสร้างระบอบการเมืองด้วย
13สถำบันคลังปัญญำด้ำนยุทธศำสตร์ชำติ วิทยำลัยรัฐกิจ มหำวิทยำลัยรังสิต
เรามองว่าระบอบการเมืองอเมริกาสามารถแบ่งได้เป็น 3 ลาดับชั้น ชั้นแรกคือระบอบ
รัฐธรรมนูญ ซึ่งก็คือสถาบันตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ รวมทั้งผู้ตัดสินใจโดยตรงตามเจตนารมณ์ของ
ชาวอเมริกา เช่น ประธานาธิบดี ผู้แทนราษฎร และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล ซึ่งเป็นชั้นที่ผิวเผิน
มองเห็นได้ชัดมากที่สุดในระบอบการเมือง
ส่วนที่ลึกเข้าไปเป็นลาดับที่สองคือโครงสร้างอานาจซึ่งชาวอเมริกันนิยมเรียกกันว่า “ชนชั้น
อานาจ” ซึ่งเป็นชนชั้นที่ควบคุมอานาจการปกครองของประเทศอย่างแท้จริง อานาจการเมืองที่แท้จริง
อยู่ในกามือของชนชั้นนี้ ชนชั้นอานาจนี้ต่างไปจากผู้ตัดสินใจโดยตรงในระบอบรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ
คนพวกนี้จะปกปิดตัวตน ส่วนใหญ่ไม่มีฐานะทางกฎหมายอย่างเป็นทางการ ซึ่งในเรื่องนี้มีหนังสือชื่อ
ดังอย่าง Who’s Running America (เขียนโดย Thomas R. Dye) พูดถึง และนักรัฐศาสตร์อเมริกัน
ชื่อดังอย่าง John Joseph Mearsheimer เองก็ได้ทาการวิจัยในหัวข้อนี้มาโดยตลอด และระหว่างการดู
งาน ผมสังเกตว่าบรรดานักวิจัยของสถาบันคลังปัญญา (Think Tank) อเมริกามองว่าโครงสร้าง
อานาจของอเมริกายุคปัจจุบันประกอบด้วย 5 กลุ่มเป็นหลัก ได้แก่ Business Republicans, Reli-
gious Republicans, Military-Industrial Complex Republicans, Labor Democrats และ California
high tech Democrats
ระดับที่สามที่ลึกกว่าโครงสร้างอานาจ คือโครงสร้างผลประโยชน์ ซึ่งเกี่ยวกับโครงสร้างสังคม
ของอเมริกา โครงสร้างสังคมของอเมริกาจาแนกได้จากหลายมิติ เช่น เชื้อชาติ เพศ ศาสนา ฐานะทาง
เศรษฐกิจ อาชีพ อายุ ระดับการศึกษา และภูมิลาเนา คนแต่ละกลุ่มเหล่านี้ก็จะมีผลประโยชน์และ
วาระที่ต่างกันไป นี่คือโครงสร้างอานาจสามชั้นของอเมริกา
ขณะนี้ทรัมป์ กาลังเผชิญหน้ากับปัญหาหนึ่งคือ ถึงแม้เขาได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม “ประชา
นิยมใหม่” (New populism) แต่เขาก็ต้องเผชิญแรงต้านจากกลุ่มผู้ได้รับการศึกษาและฝ่ายพรรค
เดโมแครต (Democrat) แม้ว่าภายในพรรครีพับลิกัน (Republican) เองจะมีอุปสรรคอันหนักหนา
อยู่แล้ว ในสภาพเช่นนี้ คาถามคือ ทรัมป์ จะดารงตาแหน่งอย่างไร และจะดาเนินนโยบายของเขา
อย่างไร จะเห็นว่าในความเป็นจริงแล้วเขาต้องฟันฝ่าอุปสรรคมากมายหลายอย่าง
14สถำบันคลังปัญญำด้ำนยุทธศำสตร์ชำติ วิทยำลัยรัฐกิจ มหำวิทยำลัยรังสิต
ทรัมป์และผู้สนับสนุนของเขา
ตามปกติแล้วสามระดับชั้นในระบอบการเมืองอเมริกาต่างเชื่อมโยงกัน คือคนกลุ่มหลักใน
โครงสร้างผลประโยชน์ก็เป็นคนกลุ่มหลักในโครงสร้างอานาจด้วย ในขณะเดียวกันคนกลุ่มหลักใน
โครงสร้างอานาจย่อมเป็นส่วนประกอบในระบอบรัฐธรรมนูญ นี่คือสภาวะปกติในระบอบการเมือง
เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างคนกลุ่มหลักในระบอบรัฐธรรมนูญกับคนกลุ่มหลักในโครงสร้างอานาจ
ฝ่ายระบอบรัฐธรรมนูญก็จะเรียกร้องต่อฝ่ายโครงสร้างผลประโยชน์โดยก้าวข้ามฝ่ายโครงสร้างอานาจ
ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เราเรียกกันว่า “การเมืองประชานิยม” ในความคิดของผม ข้อความที่ทรัมป์
แสดงออกมาอย่างเด่นชัดนับตั้งแต่การรณรงค์หาเสียงจนกระทั่งพิธีปฏิญาณตนรับตาแหน่งก็คือ
การเมืองประชานิยมดังกล่าว ในขณะนี้เขาได้ประสบอุปสรรคจากโครงสร้างอานาจที่เขาเกลียดชัง
และที่ก็ต่อต้านเขา เพราะฉะนั้น ทรัมป์ จึงหันไปหากลุ่มผู้สนับสนุนและฐานเสียงของเขา และมุ่งที่จะ
สร้างความชอบธรรมทางการเมืองให้แก่ตัวเอง ในการเลือกตั้งครั้งนี้ เขาวิพากษ์วิจารณ์ความชอบ
ธรรมทางการเมืองของอเมริกา ทรัมป์ ตระหนักว่าความชอบธรรมทางการเมืองแบบเก่าของอเมริกา
นั้นล้าสมัยไปแล้ว ซึ่งหมายความว่าเขาจะต้องสร้างความชอบธรรมทางการเมืองแบบใหม่ขึ้นมา เช่น
ทรัมป์ ใฝ่ฝันถึงทุนนิยมอเมริกาที่เน้นการแข่งขัน ผู้แข็งแกร่ง และความสาเร็จ ทรัมป์ ได้สื่อข้อความ
เหล่านี้ให้สังคมอเมริกาทราบโดยตรง เราต้องตระหนักว่า คาว่า “ประชาชนชาวอเมริกัน”
สาหรับทรัมป์นั้นไม่ใช่ประชาชนสหรัฐอเมริกาอย่างที่คนเราส่วนใหญ่คิด สาหรับทรัมป์นั้น ประชาชน
อเมริกัน หมายถึงเฉพาะคนอเมริกันเชื้อสายยุโรป ไม่รวมคนผิวสี คนเอเชีย คนลาติน หรือคนเชื้อ
สายผู้อพยพจากที่อื่นๆ
ทรัมป์กาลังรณรงค์ไปยังกลุ่มคนกระแสหลักเดิมซึ่งก็คือคนผิวขาวชั้นล่างที่ถูกกีดกันเป็นคน
ชายขอบให้ร่วมแรงร่วมใจเปลี่ยนแปลงอเมริกา ทรัมป์ ค่อยๆ อธิบายความหมายของความชอบ
ธรรมทางการเมืองแบบใหม่ของเขาระหว่างการเลือกตั้ง และทาให้แนวความคิดนั้นน่าประทับใจ
ยิ่งขึ้นหลังชนะเลือกตั้ง จากนี้ไป เขาจะใช้ความชอบธรรมทางการเมืองนั้นให้เป็นประโยชน์เพื่อให้
ได้รับการยอมรับจากพวกที่อยู่ในโครงสร้างอานาจเดิม และผลักดันนโยบาย Make America Great
Again เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงใหม่ให้กับทั้งอเมริกาและโลกอย่างที่เขามุ่งหวัง.
15

More Related Content

What's hot

วิธีการทางประวัติศาสตร์
วิธีการทางประวัติศาสตร์วิธีการทางประวัติศาสตร์
วิธีการทางประวัติศาสตร์
jeeraporn
 
งานสารบรรณ(1)
งานสารบรรณ(1)งานสารบรรณ(1)
งานสารบรรณ(1)Nug Bodyslam
 
13. กัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์ ๔๘ พระคาถา
13. กัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์  ๔๘ พระคาถา13. กัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์  ๔๘ พระคาถา
เล่มที่ 6 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เล่มที่ 6  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเล่มที่ 6  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เล่มที่ 6 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
Choengchai Rattanachai
 
07อาณาจักรอยุธยา
07อาณาจักรอยุธยา07อาณาจักรอยุธยา
07อาณาจักรอยุธยาJulPcc CR
 
บรรยายสรุปข้อมูลท้องถิ่น58.1
บรรยายสรุปข้อมูลท้องถิ่น58.1บรรยายสรุปข้อมูลท้องถิ่น58.1
บรรยายสรุปข้อมูลท้องถิ่น58.1
khasemsimmala
 
ระเบียบงานสารบรรณและการเขียนหนังสือราชการ
ระเบียบงานสารบรรณและการเขียนหนังสือราชการระเบียบงานสารบรรณและการเขียนหนังสือราชการ
ระเบียบงานสารบรรณและการเขียนหนังสือราชการtechno UCH
 
มหาเวสสันดรชาดก
มหาเวสสันดรชาดกมหาเวสสันดรชาดก
มหาเวสสันดรชาดก
ณรงค์ศักดิ์ กาหลง
 
พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
SUPARAT NONKEAW
 
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีrattanalive
 
1 130626211845-phpapp01 2
1 130626211845-phpapp01 21 130626211845-phpapp01 2
1 130626211845-phpapp01 2rootssk_123456
 
โครงร่างโครงงาน
โครงร่างโครงงานโครงร่างโครงงาน
โครงร่างโครงงาน
Nayapaporn Jirajanjarus
 
เล่มที่ 4 โบราณสถานที่สำคัญของเชียงแสน
เล่มที่ 4  โบราณสถานที่สำคัญของเชียงแสนเล่มที่ 4  โบราณสถานที่สำคัญของเชียงแสน
เล่มที่ 4 โบราณสถานที่สำคัญของเชียงแสน
Choengchai Rattanachai
 

What's hot (17)

วิธีการทางประวัติศาสตร์
วิธีการทางประวัติศาสตร์วิธีการทางประวัติศาสตร์
วิธีการทางประวัติศาสตร์
 
งานสารบรรณ(1)
งานสารบรรณ(1)งานสารบรรณ(1)
งานสารบรรณ(1)
 
13. กัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์ ๔๘ พระคาถา
13. กัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์  ๔๘ พระคาถา13. กัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์  ๔๘ พระคาถา
13. กัณฑ์ที่ ๑๓ นครกัณฑ์ ๔๘ พระคาถา
 
เล่มที่ 6 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เล่มที่ 6  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเล่มที่ 6  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เล่มที่ 6 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
 
Learn good
Learn goodLearn good
Learn good
 
07อาณาจักรอยุธยา
07อาณาจักรอยุธยา07อาณาจักรอยุธยา
07อาณาจักรอยุธยา
 
006
006006
006
 
บรรยายสรุปข้อมูลท้องถิ่น58.1
บรรยายสรุปข้อมูลท้องถิ่น58.1บรรยายสรุปข้อมูลท้องถิ่น58.1
บรรยายสรุปข้อมูลท้องถิ่น58.1
 
ระเบียบงานสารบรรณและการเขียนหนังสือราชการ
ระเบียบงานสารบรรณและการเขียนหนังสือราชการระเบียบงานสารบรรณและการเขียนหนังสือราชการ
ระเบียบงานสารบรรณและการเขียนหนังสือราชการ
 
มหาเวสสันดรชาดก
มหาเวสสันดรชาดกมหาเวสสันดรชาดก
มหาเวสสันดรชาดก
 
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยาพัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
 
ชุดที่53
ชุดที่53ชุดที่53
ชุดที่53
 
พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
 
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
 
1 130626211845-phpapp01 2
1 130626211845-phpapp01 21 130626211845-phpapp01 2
1 130626211845-phpapp01 2
 
โครงร่างโครงงาน
โครงร่างโครงงานโครงร่างโครงงาน
โครงร่างโครงงาน
 
เล่มที่ 4 โบราณสถานที่สำคัญของเชียงแสน
เล่มที่ 4  โบราณสถานที่สำคัญของเชียงแสนเล่มที่ 4  โบราณสถานที่สำคัญของเชียงแสน
เล่มที่ 4 โบราณสถานที่สำคัญของเชียงแสน
 

Similar to โฉมหน้าที่แท้จริงของทรัมป์

ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีน
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีนความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีน
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีน
Klangpanya
 
ภูมิ-รัฐประศาสนศาสตร์คาบสมุทรภาคใต้ : อดีต ปัจจุบัน อนาคต
ภูมิ-รัฐประศาสนศาสตร์คาบสมุทรภาคใต้ : อดีต ปัจจุบัน อนาคตภูมิ-รัฐประศาสนศาสตร์คาบสมุทรภาคใต้ : อดีต ปัจจุบัน อนาคต
ภูมิ-รัฐประศาสนศาสตร์คาบสมุทรภาคใต้ : อดีต ปัจจุบัน อนาคต
Klangpanya
 
คาบสมุทรไทยในอดีต : แง่คิดสำหรับอนาคต
คาบสมุทรไทยในอดีต : แง่คิดสำหรับอนาคตคาบสมุทรไทยในอดีต : แง่คิดสำหรับอนาคต
คาบสมุทรไทยในอดีต : แง่คิดสำหรับอนาคต
Klangpanya
 
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตกอธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
Klangpanya
 
ระบอบประชาธิปไตยแบบจีน
ระบอบประชาธิปไตยแบบจีนระบอบประชาธิปไตยแบบจีน
ระบอบประชาธิปไตยแบบจีน
Klangpanya
 
สงกรานต์ที่ปากีสถาน : ทัศนศึกษาประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลก
สงกรานต์ที่ปากีสถาน : ทัศนศึกษาประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลกสงกรานต์ที่ปากีสถาน : ทัศนศึกษาประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลก
สงกรานต์ที่ปากีสถาน : ทัศนศึกษาประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลก
Klangpanya
 
ปักกิ่ง "นครแห่งอนาคต"
ปักกิ่ง "นครแห่งอนาคต"ปักกิ่ง "นครแห่งอนาคต"
ปักกิ่ง "นครแห่งอนาคต"
Klangpanya
 
อุดรธานี : ศรีแห่งยุทธศาสตร์
อุดรธานี : ศรีแห่งยุทธศาสตร์อุดรธานี : ศรีแห่งยุทธศาสตร์
อุดรธานี : ศรีแห่งยุทธศาสตร์
Klangpanya
 
ปากีสถาน : ความสำคัญทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลก
ปากีสถาน : ความสำคัญทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลกปากีสถาน : ความสำคัญทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลก
ปากีสถาน : ความสำคัญทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลก
Klangpanya
 
Work1 pjcom
Work1 pjcomWork1 pjcom
Work1 pjcom
Krookhuean Moonwan
 
คำสมาสศาสตร์ต้องรู้
คำสมาสศาสตร์ต้องรู้คำสมาสศาสตร์ต้องรู้
คำสมาสศาสตร์ต้องรู้
duangchan
 
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร  พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวรพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร  พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร
Sarod Paichayonrittha
 
ภาษาบาลี ชุดที่ ๓ นามศัพท์ ลิงค์ วจนะ วิภัตติ
ภาษาบาลี ชุดที่ ๓   นามศัพท์ ลิงค์ วจนะ วิภัตติภาษาบาลี ชุดที่ ๓   นามศัพท์ ลิงค์ วจนะ วิภัตติ
ภาษาบาลี ชุดที่ ๓ นามศัพท์ ลิงค์ วจนะ วิภัตติAnchalee BuddhaBucha
 
การเขียนรายงานทางวิชาการ ตอนที่ ๑
การเขียนรายงานทางวิชาการ ตอนที่ ๑การเขียนรายงานทางวิชาการ ตอนที่ ๑
การเขียนรายงานทางวิชาการ ตอนที่ ๑
bensee
 

Similar to โฉมหน้าที่แท้จริงของทรัมป์ (15)

ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีน
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีนความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีน
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีน
 
ภูมิ-รัฐประศาสนศาสตร์คาบสมุทรภาคใต้ : อดีต ปัจจุบัน อนาคต
ภูมิ-รัฐประศาสนศาสตร์คาบสมุทรภาคใต้ : อดีต ปัจจุบัน อนาคตภูมิ-รัฐประศาสนศาสตร์คาบสมุทรภาคใต้ : อดีต ปัจจุบัน อนาคต
ภูมิ-รัฐประศาสนศาสตร์คาบสมุทรภาคใต้ : อดีต ปัจจุบัน อนาคต
 
คาบสมุทรไทยในอดีต : แง่คิดสำหรับอนาคต
คาบสมุทรไทยในอดีต : แง่คิดสำหรับอนาคตคาบสมุทรไทยในอดีต : แง่คิดสำหรับอนาคต
คาบสมุทรไทยในอดีต : แง่คิดสำหรับอนาคต
 
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตกอธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
 
ระบอบประชาธิปไตยแบบจีน
ระบอบประชาธิปไตยแบบจีนระบอบประชาธิปไตยแบบจีน
ระบอบประชาธิปไตยแบบจีน
 
สงกรานต์ที่ปากีสถาน : ทัศนศึกษาประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลก
สงกรานต์ที่ปากีสถาน : ทัศนศึกษาประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลกสงกรานต์ที่ปากีสถาน : ทัศนศึกษาประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลก
สงกรานต์ที่ปากีสถาน : ทัศนศึกษาประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลก
 
ปักกิ่ง "นครแห่งอนาคต"
ปักกิ่ง "นครแห่งอนาคต"ปักกิ่ง "นครแห่งอนาคต"
ปักกิ่ง "นครแห่งอนาคต"
 
อุดรธานี : ศรีแห่งยุทธศาสตร์
อุดรธานี : ศรีแห่งยุทธศาสตร์อุดรธานี : ศรีแห่งยุทธศาสตร์
อุดรธานี : ศรีแห่งยุทธศาสตร์
 
ปากีสถาน : ความสำคัญทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลก
ปากีสถาน : ความสำคัญทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลกปากีสถาน : ความสำคัญทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลก
ปากีสถาน : ความสำคัญทางประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์โลก
 
Work1 pjcom
Work1 pjcomWork1 pjcom
Work1 pjcom
 
คำสมาสศาสตร์ต้องรู้
คำสมาสศาสตร์ต้องรู้คำสมาสศาสตร์ต้องรู้
คำสมาสศาสตร์ต้องรู้
 
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร  พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวรพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร  พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอะไร พระนิพนธ์ในสมเด็จพระญาณสังวร
 
ภาษาบาลี ชุดที่ ๓ นามศัพท์ ลิงค์ วจนะ วิภัตติ
ภาษาบาลี ชุดที่ ๓   นามศัพท์ ลิงค์ วจนะ วิภัตติภาษาบาลี ชุดที่ ๓   นามศัพท์ ลิงค์ วจนะ วิภัตติ
ภาษาบาลี ชุดที่ ๓ นามศัพท์ ลิงค์ วจนะ วิภัตติ
 
การเขียนรายงานทางวิชาการ ตอนที่ ๑
การเขียนรายงานทางวิชาการ ตอนที่ ๑การเขียนรายงานทางวิชาการ ตอนที่ ๑
การเขียนรายงานทางวิชาการ ตอนที่ ๑
 
Manomayitti 1-8
Manomayitti 1-8Manomayitti 1-8
Manomayitti 1-8
 

More from Klangpanya

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
Klangpanya
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
Klangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
Klangpanya
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
Klangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
Klangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
Klangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Klangpanya
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
Klangpanya
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
Klangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
Klangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
Klangpanya
 

More from Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 

โฉมหน้าที่แท้จริงของทรัมป์

  • 1. วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใ: สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต โฉมหน้าที่แท้จริงของทรัมป์ บทสัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ ฝาง หนิง (房宁) ผู้อำนวยกำรสถำบันรัฐศำสตร์ Chinese Academy of Social Sciences โดย www.guancha.cn
  • 2. โฉมหน้าที่แท้จริงของทรัมป์ สถำบันคลังปัญญำด้ำนยุทธศำสตร์ชำติ วิทยำลัยรัฐกิจ มหำวิทยำลัยรังสิต รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.rsu-brain.com บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล แปล : เทวินทร์ แซ่แต้ กองบรรณาธิการ : ปาณัท ทองพ่วง, ปลายฟ้า บุนนาค และ อุสมาน วาจิ ที่มาบทความ : http://www.guancha.cn/FangNing/2017_02_03_392212.shtml เผยแพร่ 3/2/2017 ภาพปก : http://a.abcnews.com/images/Politics/rtr-donald-trump-white-house-lawn-jc- 170406_1_12x5_1600.jpg เผยแพร่ : มิถุนายน 2560 ที่อยู่ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
  • 3. 1 ทรัมป์ ในฐานะประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เป็นคนที่สมควรวิเคราะห์ เพราะจะชอบหรือไม่ เขาก็เป็นหนึ่งในบุคคลที่จะมีบทบาทและอานาจมากที่สุดในการสร้างความเปลี่ยนแปลง ชี้ชะตา สงครามหรือสันติภาพแก่โลกไปอีกอย่างน้อย 4 ปี จากข่าวที่ผ่านมาที่เขาใช้นโยบายสายแข็งใน ตะวันออกกลาง และการเผชิญหน้ากับเกาหลีเหนือก็สะท้อนว่า อเมริกาไม่ได้กลับไปโดดเดี่ยวอย่างที่ เขาหาเสียงไว้แต่ยังผูกพันกับกิจการโลกต่อไปในแบบที่คาดเดาได้ยากขึ้น สถาบันคลังปัญญาฯ จึงได้แปลบทความเรื่อง “โฉมหน้าที่แท้จริงของทรัมป์ ” จากต้นฉบับใน ภาษาจีน ซึ่งเว็บไซต์กวานฉาเจ่อ (www.guancha.cn แปลว่า The Observer) เว็บไซต์รวบรวมนักคิด ของจีน ได้ไปสัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ฝาง หนิง (房宁: Fang Ning) ผู้อานวยการสถาบันรัฐศาสตร์ ของ CASS (Chinese Academy of Social Sciences) (สถาบันสังคมศาสตร์แห่งประเทศจีน) ซึ่งได้ วิเคราะห์ตัวทรัมป์ และระบอบการเมืองในอเมริกาอย่างลุ่มลึกและใจกว้าง อย่างไรก็ตาม ทัศนะใน บทความนี้ถือเป็นของศาสตราจารย์ฝาง หนิง มิใช่ของสถาบันคลังปัญญาฯ จุดประสงค์ของการแปล คือเพื่อแนะนามุมมอง(หนึ่ง) ของจีนในเรื่องทรัมป์และระบอบการเมืองอเมริกาแก่ผู้อ่านชาวไทย ที่ แตกต่างไปจากทัศนะในสองประเด็นนี้ที่แพร่หลายอยู่เป็นหลักในประเทศไทยและตะวันตก สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต โฉมหน้าที่แท้จริงของทรัมป์ ศาสตราจารย์ฝาง หนิง
  • 4. 2สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2560 ทรัมป์ได้ปฏิญาณตนรับตาแหน่ง ทาให้เกิดกระแสประท้วง ตามท้องถนนอีกระลอกหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ทรัมป์ ได้รับการเลือกตั้ง เสียงต่อต้านรอบ กายเขาไม่เคยขาดสาย พร้อมกันนั้น ทั่วโลกก็เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ต่อทิศทางทางการเมือง ในอนาคตของรัฐบาลทรัมป์ ไปต่างๆ นานา การวิพากษ์วิจารณ์เหล่านี้ จานวนไม่น้อยสงสัยถึง ความแน่นอนทางนโยบายและความมั่นคงในการบริหารของเขา เว็บไซต์กวานฉาเจ่อได้พูดคุย กับ ศาสตราจารย์ฝาง หนิงผู้อานวยการสถาบันรัฐศาสตร์ของ CASS (สถาบันสังคมศาสตร์แห่ง ประเทศจีน) วิเคราะห์ถึง “ยุคของทรัมป์ ” กล่าวถึงสาเหตุเชิงลึกและแนวโน้มทางการเมืองใน อนาคตของ “ประธานาธิบดีผู้ตกเป็นประเด็นข่าวอยู่เสมอ” คนนี้ เนื้อหาต่อไปนี้เรียบเรียงจาก การสัมภาษณ์ เว็บไซต์กวานฉาเจ่อ : ทรัมป์ พึ่งปฏิญาณตนรับตาแหน่งไปอย่างสดๆ ร้อนๆ ก็เกิด การวิพากษ์วิจารณ์เขาในด้านการบริหาร แนวคิดทางการเมือง ฯลฯ อย่างมากมาย ท่านมี ความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับคาวิพากษ์วิจารณ์เหล่านี้ ศาสตราจารย์ฝาง หนิง : การเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกาน่าจับตามองอย่างจริงจัง ปีที่ ผ่านมา จากความผันผวนของการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา วงการวิพากษ์วิจารณ์ของจีนได้จับตา มองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พิธีปฏิญาณตนรับตาแหน่งของทรัมป์ ก็ได้ดึงดูดสายตาจากทุกฝ่าย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากว่าทุกคนไม่ได้ทางานเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยทางด้านนี้โดยเฉพาะ มี ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกา รวมทั้งรัฐบาลใหม่ของทรัมป์ เพียงผิวเผิน จึงไม่ แปลกที่จะมีความคิดเห็นและการวิจารณ์ที่คลาดเคลื่อนจากความจริงหลายเรื่อง ตัวอย่างเช่น กระแสวิพากษ์วิจารณ์ส่วนใหญ่รู้สึกแปลกใจกับสุนทรพจน์ของทรัมป์ ในพิธี ปฏิญาณตนรับตาแหน่ง มีการพูดเล่นว่าเขา “หยิบบทสุนทรพจน์มาผิด” ด้วยซ้า แต่แท้จริงแล้ว สุนทรพจน์ในพิธีปฏิญาณตนรับตาแหน่งของเขานั้น เป็นการสรุปการโต้วาทีทางโทรทัศน์และการ กล่าวสุนทรพจน์รณรงค์หาเสียงเลือกตั้งครั้งสาคัญหลายต่อหลายครั้ง ตั้งแต่เขาลงสมัครรับ เลือกตั้งมาตั้งแต่ในปี 2015 แนวคิดและคาพูดในสุนทรพจน์ของเขาในพิธีปฏิญาณตนรับ ตาแหน่งไม่มีความแปลกใหม่ใดๆ เนื่องจากเป็นสิ่งที่เขาพูดซ้าแล้วซ้าเล่ามาก่อนหน้านี้ ในวันนั้น เขาเพียงแต่นาแนวความคิดที่ตนยืนหยัดมาตลอดมารวบรวมแล้วนาเสนอให้อย่างครบถ้วน การ ที่ผู้วิพากษ์วิจารณ์ต่างรู้สึกแปลกใจกับสุนทรพจน์ของเขาในวันนั้นแสดงว่ายังรู้จักเขาไม่พอ สอง วันที่ผ่านมา เราได้ทาการวิเคราะห์เชิงสถิติมาบ้าง ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า สุนทรพจน์ใน พิธีปฏิญาณตนรับตาแหน่งสอดคล้องกับคาพูดและตรรกะที่ผ่านมาของทรัมป์อย่างมาก
  • 5. 3สถำบันคลังปัญญำด้ำนยุทธศำสตร์ชำติ วิทยำลัยรัฐกิจ มหำวิทยำลัยรังสิต อีกกระแสหนึ่งที่กล่าวว่าการบริหารงานในอนาคตของทรัมป์ ในฐานะประธานาธิบดีมีความไม่ แน่นอนสูงมาก ซึ่งไม่ถูกต้องอย่างแน่นอน ทรัมป์ ได้รับการเลือกตั้งและเข้ารับตาแหน่งไปเป็นที่ เรียบร้อยแล้วซึ่งเป็นเรื่องจริงที่แน่นอนแล้ว ณ ขณะนี้ อีกทั้งเขายังเป็นคนที่มีความมุ่งมั่นแน่วแน่ จน อาจจะเป็นคนดื้อรั้นก็ว่าได้ การได้ขึ้นดารงตาแหน่งประธานาธิบดีของเขานั้นได้มาไม่ง่าย แน่นอนที่ เขาจะยืนหยัดดาเนินการตามแนวคิดที่ตนเสนอมาโดยตลอดอย่างแน่วแน่ เพียงแต่ว่าจะทาได้เท่าใด นั้นต้องขึ้นอยู่กับข้อจากัดและเงื่อนไขต่างๆ แต่ที่แน่นอนคือ เขาจะพยายามดาเนินตามแนวคิดที่ตั้งไว้ ของตนเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงบางอย่าง เปลี่ยนแปลงสหรัฐอเมริกา เปลี่ยนแปลงโลก นี่เป็นสิ่งที่ แน่นอนอย่างมาก จะพูดว่าไม่แน่นอนได้อย่างไร ที่บอกว่าไม่แน่นอนนั้นอาจเป็นเพราะว่าคนพูดไม่รู้ จริง ไม่ใช่ทรัมป์ไม่แน่นอน ปัจจุบัน ในวงการวิพากษ์วิจารณ์มีนักวิชาการ นักวิจัยหลายท่านได้แสดงความคิดเห็นต่างๆ ออกมาโดยที่ยังไม่ได้ศึกษาวิจัยในเชิงลึก เป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อถือและเป็นมุมมองส่วนบุคคล ซึ่งบางครั้ง ก็ห่างไกลจากความจริงมาก ปรากฏการณ์เช่นนี้เป็นเรื่องที่ไม่ดีเลย เพราะไม่เป็นผลดีต่อวงการ วิพากษ์วิจารณ์และสาธารณชนของจีนในการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ใหม่และความ เปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนรัฐบาลของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะที่จะเกิดขึ้นกับ สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศของประเทศจีนและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจีนกับสหรัฐอเมริกา ดังนั้น ผมจึงขอเรียกร้องให้นักวิชาการและนักวิจัยทั้งหลายให้ทาการศึกษาวิจัยให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อ โน้มนากระแสการวิพากษ์วิจารณ์ให้ถูกต้องแม่นยาพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงที่จะมาถึงด้วย การศึกษาเรียนรู้อย่างจริงจังของเรา เว็บไซต์กวานฉาเจ่อ :บางกระแสมองว่า ช่วงที่ทรัมป์ก้าวขึ้นมาเกิดการประท้วงหลายต่อ หลายครั้ง กังวลว่าทรัมป์ อาจดารงตาแหน่งได้ไม่ครบวาระ 4 ปี ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ศาสตราจารย์ฝาง หนิง :จริงหรือ เหตุใดจึงมองแบบนั้น จริงอยู่ว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้ แต่ผม มองว่าการที่ทรัมป์ จะดารงตาแหน่งได้ไม่ครบวาระ 4 หรือ 8 ปีนั้น ปัจจัยเสี่ยงอาจมาจากสุขภาพ ร่างกายของเขามากกว่า เพราะเขาอายุกว่า 70 ปีแล้ว การเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาไม่ใช่งานที่ สบาย การที่ทรัมป์ได้รับการเลือกตั้งเป็นที่ถกเถียงกันมากก็จริง การเลือกตั้งครั้งใหญ่ในปี 2016 ของ สหรัฐอเมริกาถือได้ว่าเป็นการแข่งขันที่รุนแรงมาก ซึ่งเกิดขึ้นน้อยครั้งในระยะหลายปีที่ผ่านมา การ แข่งขันที่รุนแรงเช่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงความแตกแยกในสังคมสหรัฐอเมริกาได้ระดับหนึ่ง แท้ที่จริง แล้ว ความแตกแยกจนถึงการแบ่งขั้วเช่นนี้เริ่มปรากฏให้เห็นมาตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งใหญ่ในปี 2000 แล้ว และแนวโน้มนี้ก็สืบเนื่องต่อมาเป็นเวลา 16 ปี
  • 6. 4 สถำบันคลังปัญญำด้ำนยุทธศำสตร์ชำติ วิทยำลัยรัฐกิจ มหำวิทยำลัยรังสิต คนสหรัฐอเมริกามีท่าทีที่ต่างกันมากต่อชัยชนะในการเลือกตั้งของทรัมป์ บางคนตื่นเต้นดีใจ เปี่ยมไปด้วยความหวัง บางคนโกรธคลั่งและโศกเศร้าผิดหวังมาก เท่าที่เราทราบ ครอบครัวอเมริกัน หลายครอบครัวไม่มีความสุขในวันคริสต์มาสที่ผ่านมาเนื่องจากพวกเขามีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เกี่ยวกับชัยชนะของทรัมป์ แม้ว่าจะเป็นเพื่อนหรือคนในครอบครัวก็ตาม ครั้งนี้ทีมวิจัยของเราได้ส่งผู้ สังเกตการณ์ลงพื้นที่ สังเกตว่าจานวนคนที่เข้าร่วมพิธีปฏิญาณตนรับตาแหน่งของทรัมป์น้อยกว่าการ ปฏิญาณตนเข้ารับตาแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐครั้งที่ผ่านๆ มา และในวันที่ 21 มกราคม 2560 หนึ่ง วันหลังจากพิธีสาบานตน ยังเกิดการชุมนุมประท้วงเพื่อสิทธิผู้หญิงครั้งใหญ่ในอเมริกาด้วย ถึงแม้ว่า อาจจะไม่ใช่การประท้วงทรัมป์ โดยตรง แต่สาเหตุในการเข้าร่วมการประท้วงของผู้เข้าร่วมจานวนไม่ น้อยก็เกิดจากความไม่พอใจในตัวเขา อย่างไรก็ตาม การถกเถียงในอเมริกาที่เกิดจากการที่ทรัมป์ ได้รับการเลือกตั้งนั้น ไม่ได้ หมายความว่ารัฐบาลที่เขานาพาจะเป็นรัฐบาลที่อ่อนแอ และเขาจะเป็นประธานาธิบดีที่อ่อนแอ ตรงกันข้าม ขณะนี้ทรัมป์ มีท่าทีที่แข็งกร้าวมาก เขามีเงื่อนไขพื้นฐานในการดาเนินนโยบายของเขา หลังจากเข้ารับตาแหน่ง ก่อนอื่น ทรัมป์ในฐานะที่เป็น “นักการเมืองมือสมัครเล่น” ขาดการสนับสนุนจากระบบอานาจ ในวอชิงตันหรือกลุ่ม “นักการเมืองอาชีพ” ที่เขาติเตียนอยู่ตลอด อาจพูดได้ว่า ทรัมป์ได้ทาลายธรรม เนียมหลายข้อของการเลือกตั้งที่เคยทากันมา หากมองจากอีกมุมมองหนึ่ง นี่จึงเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ เป็นไปตามแบบอย่าง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทรัมป์ ได้รับแรงสนับสนุนที่ยิ่งใหญ่และมั่นคงจากสังคม อเมริกันจึงชนะมาได้ จากที่เราศึกษามา ความมุ่งมั่นและความร้อนแรงของผู้สนับสนุนทรัมป์ มีสูงกว่าฝ่ายตรงข้าม ซึ่งหมายความว่า ในสหรัฐ ผู้ที่สนับสนุนทรัมป์ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับนโยบายของเขาเป็นอย่างมากและ มีความคาดหวังในตัวเขาสูงมาก ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ผิดไปจากความคาดหมายของคนในพรรคเดโมแครตมาก เดิมพรรคเด โมแครตคาดว่าจะสามารถชิงอานาจการบริหารกลับคืนมา พร้อมกันนั้นก็ชิงที่นั่งส่วนใหญ่ในวุฒิสภา กลับคืนมาด้วย จากนั้นก็จะสามารถเพิ่มผู้พิพากษาศาลฎีกาที่โน้มเอียงไปทางเสรีนิยมอีกคนหนึ่งใน การแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งปัจจุบันนี้มีคะแนนเสียงอยู่ที่ 4 ต่อ 4 ระหว่างฝ่ายอนุรักษ์นิยมและ ฝ่ายเสรีนิยม นี่คือแผนของพรรคเดโมแครต แต่ในความเป็นจริง นอกจากทรัมป์จะได้รับเลือกตั้งแล้ว พรรครีพับลิกันยังสามารถครองที่นั่งส่วนใหญ่ทั้งในสภาผู้แทนราษฎรและในวุฒิสภา ซึ่งหมายความ
  • 7. 5 สถำบันคลังปัญญำด้ำนยุทธศำสตร์ชำติ วิทยำลัยรัฐกิจ มหำวิทยำลัยรังสิต ว่าทรัมป์ จะสามารถแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกาสายอนุรักษ์นิยมคนใหม่ได้ในเวลาไม่ช้า สาหรับ สถานการณ์ในมลรัฐต่างๆ ของสหรัฐอเมริกา พรรครีพับลิกันก็ได้ที่นั่งส่วนใหญ่ไป ทั้งนี้ เมื่อ เปรียบเทียบกับสถานการณ์ในวาระที่สองของโอบามาแล้ว มีความต่างอย่างชัดเจน ทรัมป์ไม่ใช่ “เป็ด ขาเป๋ ” ระบบและกลไกของสหรัฐอเมริกาในตอนนี้ค่อนข้างเป็นผลดีกับเขา อีกทั้งทรัมป์ ยังเป็นคน เฉลียวฉลาด ชานาญในการใช้กลยุทธ์ มีความสามารถส่วนบุคคลไม่น้อยไปกว่าโอบามาหรือจอร์จ ดับเบิลยู บุช ที่มาภาพ http://static.politico.com/dims4/default/bcc7a31/2147483647/resize/1160x%3E/ quality/90/?url=http%3A%2F%2Fstatic.politico.com%2Fae%2F25% 2Fe66772f2492e94ff14f55632e408%2F170528-donald-trump-ap-17147555598804.jpg
  • 8. 6 สถำบันคลังปัญญำด้ำนยุทธศำสตร์ชำติ วิทยำลัยรัฐกิจ มหำวิทยำลัยรังสิต ส่วนใหญ่แล้วโอบามา และจอร์จ ดับเบิลยู บุช จัดว่าเป็นผู้ยึดถืออุดมคติ ครั้งที่เราลงพื้นที่ไป ศึกษาที่สหรัฐอเมริกา มักจะได้ยินคาพูดที่ว่า โอบามาคือ “นักปรัชญา” มากกว่านักการเมือง ซึ่งการ กล่าวว่าเขาเป็น “นักปรัชญา” นี้หมายถึงว่าเวลาเขาทาอะไรส่วนใหญ่แล้วจะต้องพึ่งพาอุดมการณ์หรือ แนวความคิดบางอย่าง ขณะที่นักการเมืองมักจะเน้นอยู่กับความเป็นจริงมาก จะคานวณเงื่อนไขและ ต้นทุน อาศัยหลักการ “การใช้เหตุผลตามความเป็นจริง” ในการทางาน หากมองจากมุมมองนี้ โอ บามา รวมทั้ง จอร์จ ดับเบิลยู บุช ในระดับหนึ่ง ไม่ใช่นักการเมืองแบบอย่าง แต่ทรัมป์ ถือได้ว่าเป็น นักการเมืองแบบอย่าง เขาเฉลียวฉลาด มีเป้ าหมายที่แน่วแน่ มีกลวิธีที่พลิกแพลง ทุกคนไม่ควร ปล่อยให้เอกลักษณ์ส่วนตัวที่เป็นเพียงภาพผิวเผินของเขามาลวงตาว่าเขาเป็นเพียงนักธุรกิจใหญ่ แต่ที่ จริงเขาเป็นนักการเมืองที่สามารถด้วย เมื่อพูดถึงเอกลักษณ์ส่วนตัวของทรัมป์ หลายคนรู้ดีว่าเขาเป็นพ่อค้าที่เฉลียวฉลาดหรือมีเล่ห์ เหลี่ยมจัดก็ว่าได้ เขาไม่เพียงแต่หมั่นเพียรในการปฏิบัติ หากยังช่างสรุปบทเรียน เขามีหนังสือขายดี เกี่ยวกับการดาเนินธุรกิจมาแต่ไหนแต่ไร เขาเป็นผู้หนึ่งที่เชี่ยวชาญในการใช้กลยุทธ์อย่างมาก เขา ชานาญในการจัดการกับความสัมพันธ์ต่างๆ ได้ดีตั้งแต่อายุยังน้อย หากมองในด้านการดาเนินธุรกิจ ทรัมป์ยังคงห่างจากนักธุรกิจที่ประสบความสาเร็จที่สุดอีกไกล แต่เขาชานาญในการใช้ความสัมพันธ์ที่ ซับซ้อนต่างๆ ให้เป็นประโยชน์ ชานาญในการใช้กลยุทธ์สับขาหลอก พูดเรื่องจริงสลับกับเรื่องเท็จ สร้างมิตรภาพกับกลุ่มที่เป็นประโยชน์ และแตกสามัคคีกับกลุ่มศัตรู พลิกตนจากผู้รับเป็นผู้รุก เหล่านี้ เป็นเอกลักษณ์ส่วนตัวของทรัมป์ เว็บไซต์กวานฉาเจ่อ :เท่าที่เราทราบ ทีมงานของท่านใช้ศัพท์ใหม่คือคาว่า “ประชานิยม ใหม่” ในการนิยามชัยชนะในการเลือกตั้งของทรัมป์ จากนั้นก็คาดการณ์แนวโน้มนโยบายในอนาคต ของเขา ขอรบกวนท่านช่วยอภิปรายให้ละเอียด ศาสตราจารย์ฝาง หนิง :ในการเตรียมตัวให้พร้อมกับสหรัฐอเมริกาที่บริหารโดยทรัมป์นั้น การปรับปรุงวิสัยทัศน์เป็นสิ่งที่จาเป็นมาก 16 ปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลต่างๆ สหรัฐอเมริกาไม่ได้ถือว่าประเทศจีนเป็นคู่ต่อสู้อย่างจริงจัง ถึงแม้ว่าหลังจากขึ้นดารงตาแหน่งในปี 2001 ไม่นาน จอร์จ ดับเบิลยู บุช ก็ได้เสนอแนวคิด “คู่ต่อสู้” แต่ไม่นานได้เกิดเหตุการณ์ 9/11 ขึ้น สหรัฐอเมริกาก็เปลี่ยนทิศทางไป 8 ปีให้หลัง เมื่อโอบามาขึ้น
  • 9. 7 สถำบันคลังปัญญำด้ำนยุทธศำสตร์ชำติ วิทยำลัยรัฐกิจ มหำวิทยำลัยรังสิต ดารงตาแหน่งประธานาธิบดี ก็ได้เสนอยุทธศาสตร์ “กลับสู่เอเชีย” “ปรับสมดุลสู่เอเชีย” ขณะเดียวกัน ฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกาในสมัยแรก ของโอบามายังได้เสนอเรื่อง “การทูตที่ลงสู่ประชาชนโดยตรง” หรือ “Smart Power Policy” ผมคิด ว่าทั้งหมดนี้มีวัตถุประสงค์หลักที่ประเทศจีน แต่เราทราบดีว่า โอบามาเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ไม่ มีเชื้อสายยุโรปในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเกี่ยวข้องกับปัญหาที่ลึกลับที่สุด คือ “ความ เจ็บปวดที่ไม่มีวันหาย” ของสหรัฐอเมริกา ดังนั้น หลังจากโอบามาขึ้นดารงตาแหน่ง จึงต้อง เผชิญหน้ากับแรงต้านที่ไม่เคยพบมาก่อน ซึ่งแรงต้านเหล่านี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่นโยบายของเขา แต่อยู่ที่ตัวโอบามาเองเป็นส่วนใหญ่ น่าเสียดายมากที่ใน 8 ปีที่ผ่านมา พูดได้ว่าโอบามาไม่ประสบ ความสาเร็จเลยสักอย่าง ตัวเขาเองก็รู้สึกผิดหวังมาก โดยสรุป สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศในช่วง 16 ปี ที่ผ่านมาจึงได้สร้างโอกาสใหญ่ให้กับจีน ซึ่งเราเรียกว่าเป็น “ระยะแห่งโอกาสอันเป็น ยุทธศาสตร์” หลังจากทรัมป์ได้ดารงตาแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา สถานการณ์จะมีการเปลี่ยนแปลง อย่างใหญ่หลวงแน่นอน ซึ่งเราควรจะเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด ตอนนี้ทุกคนสนใจทิศทางนโยบายของ รัฐบาลทรัมป์ แต่จะวิเคราะห์ปัญหานี้ได้แม่นยา สิ่งที่สาคัญคือต้องรู้จักเหตุผลว่าทรัมป์ ขึ้นมาได้ อย่างไร ถ้าเราไม่เข้าใจเหตุผลที่ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งที่แท้จริง เราก็ไม่สามารถเข้าใจฐานทาง การเมืองและบริบทสังคมของเขา และคงยากที่จะเข้าใจพฤติกรรมและนโยบายในอนาคตของเขาด้วย สรุปคือ การรู้จักเหตุผลที่ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งอย่างถูกต้องเป็นพื้นฐานในการคาดการณ์พฤติกรรม และนโยบายของเขา ทีมงานของเราติดตามข่าวจากสหรัฐอเมริกามาตลอด โดยเฉพาะการเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา นี่ เป็นปัญหาที่สลับซับซ้อนมาก เพื่อให้การอธิบายเข้าใจง่าย เราจึงขอใช้แนวคิดเรื่องประชานิยมใหม่ (New-populism) มาอธิบายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นที่อเมริกาและปรากฏการณ์ต่างๆ เกี่ยว กับทรัมป์ อย่างน้อยนับจากปี 2000 เป็นต้นมา โครงสร้างสังคมอเมริกาเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด ลักษณะเด่นคือ ชนชั้นกลางคนผิวขาวซึ่งเดิมเป็นกลุ่มคนกระแสหลักของสังคมอเมริกา ขณะนี้มี แนวโน้มถูกผลักเป็นคนชายขอบของสังคม เราทราบกันดีว่าอเมริกาเป็นประเทศอุตสาหกรรม เมื่อก่อนคนนิยมกล่าวกันว่า อเมริกาเป็นประเทศที่อยู่บนล้อรถยนต์ ในราวปี 1960 กรรมกรทุก 4 คนจะมี 1 คนที่ทางานสัมพันธ์กับรถยนต์และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลง
  • 10. 8 สถำบันคลังปัญญำด้ำนยุทธศำสตร์ชำติ วิทยำลัยรัฐกิจ มหำวิทยำลัยรังสิต เชิงโครงสร้างต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัตน์และยุคเศรษฐกิจการเงิน ทาให้สังคม อเมริกามีการเปลี่ยนแปลงใหญ่ ผลประโยชน์ของชนชั้นกลางที่พัฒนามาจากอุตสาหกรรมการผลิต ดั้งเดิมลดลงไป เมื่อเข้าสู่ศตวรรษใหม่ ชนชั้นกลางที่เคยเป็นตัวแทนของความฝันอเมริกา (American Dream) ที่ดึงดูดสายตาชาวโลกและเคยเป็นที่ภูมิใจของอเมริกาได้ลดความสาคัญลง และกลายเป็น คนชายขอบ นี่จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ที่สุดของสังคมอเมริกาและโลกตะวันตก ซึ่งผมจะไม่พูด ถึงอีก เพราะทรัมป์ได้พูดหลายต่อหลายครั้งแล้ว สังคมอเมริกาและโลกกาลังมีการเปลี่ยนแปลงใหญ่ เราไม่สามารถใช้แนวคิดเก่ามาดัดแปลง และอธิบายความจริงปัจจุบันได้ แนวคิดและความเข้าใจของเราหลายอย่างล้าสมัยไปแล้ว ทรัมป์เข้าใจ สภาพความเป็นจริงของสังคมอเมริกาที่ชนชั้นกลางดั้งเดิมถูกกีดกันเป็นคนชายขอบ และเขาฉลาด พอที่จะใช้ประโยชน์จากอารมณ์ของสังคม กลุ่มชนที่สนับสนุนทรัมป์ เป็นหลักคือ “ผู้เลือกตั้งที่โกรธ แค้น (angry voter)” ได้แก่กรรมกรอเมริกันเชื้อสายยุโรป คนงานชายผู้สูงอายุ ผู้มีการศึกษาน้อย และกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในแถบ Rust Belt1 และ Bible Belt2 เราจึงขอใช้ประชานิยมใหม่ (New-populism) มานิยามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มชน ในสังคมอเมริกา ประชานิยมเดิมพูดถึงกลุ่มชนที่อยู่ในชั้นล่างของสังคม กับผู้มีรายได้น้อย แต่พลัง สังคมส่วนใหญ่ของทรัมป์มาจากสังคมชนชั้นกลางกระแสหลักเดิม กระแสโลกาภิวัตน์ ระบบการเงิน โลก รวมถึงการหลั่งไหลของผู้อพยพและสินค้านาเข้าสู่อเมริกาจานวนมากที่ต่างก็ทาให้กลุ่มชนชั้น กลางเดิม ของอเมริกาถูกผลักเป็นคนชายขอบ ถึงแม้ว่าพวกเขาไม่ได้เป็นชนชั้นล่างตามมาตรฐานทาง เศรษฐกิจ แต่กลุ่มชนเหล่านี้ต่างก็รู้สึกผิดหวังและโกรธแค้น พวกเขาจึงต่อต้านอานาจและชนชั้นนา 1 Rust Belt เป็นคาหนึ่งที่ทรัมป์ พูดถึงมากในการหาเสียงเลือกตั้ง ความจริงคานี้นิยมใช้กันมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 แล้ว Rust Belt หมายถึงภูมิภาคหนึ่งของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ Great Lakes จนถึง Midwest ตอนบน จาก นิวยอร์กตะวันตก เพนซิลเวเนีย เวอร์จิเนียตะวันตก โอไฮโอ อินเดียน่า มิชิแกนตอนล่าง อิลลินอยส์ตอนบน ไอโอวาตะวันออก และวิสคอนซินตอนใต้ บริเวณนี้คือ อดีตใจกลางย่านอุตสาหกรรมการผลิตของอเมริกา แต่ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา พื้นที่บริเวณนี้ตกต่าลงทางเศรษฐกิจ ประชากรย้ายออก และเมืองเสื่อมโทรมลง อันเนื่องมาจากการหดตัวลงของภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่เคยยิ่งใหญ่ รวมๆแล้วคือ ปรากฏการณ์ deindustrialization 2 Bible Belt คือ พื้นที่บริเวณตะวันออกเฉียงใต้และทางใต้ตอนกลางของสหรัฐ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เป็นฐานสาคัญของกลุ่มอนุรักษ์นิยม โปรเตสแตนท์ในอเมริกา
  • 11. 9 สถำบันคลังปัญญำด้ำนยุทธศำสตร์ชำติ วิทยำลัยรัฐกิจ มหำวิทยำลัยรังสิต คนงานโรงงานรถยนต์สมัยทศวรรษ 1930 ในมลรัฐ Detroit สหรัฐอเมริกา ที่มาภาพ www. guancha.cn สภาพแถบ Rust Belt ของอเมริกาในปัจจุบัน ที่มาภาพ www. guancha.cn ต่อต้านกระแสโลกาภิวัตน์และระบบการเงินโลก เราจึงเรียกกลุ่มชนนี้ว่าเป็นกลุ่มประชานิยมใหม่ (New-populism) ทรัมป์ถือว่าตนเป็นตัวแทนของอารมณ์ในสังคมและผลประโยชน์ของชนกลุ่มนี้ ผม มองว่านี่เป็นเหตุผลเชิงลึกที่ทรัมป์ชนะการเลือกตั้ง แต่แน่นอนว่าไม่ใช่เหตุผลทั้งหมด การจะพิจารณาตัดสินนโยบายในอนาคตของรัฐบาลอเมริกาชุดใหม่อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ อาจจะต้องทาความเข้าใจฐานทางการเมืองและภูมิหลังทางสังคมของทรัมป์ ตลอดจนมองทะลุไปถึง แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาของสังคมอเมริกา
  • 12. 10 สถำบันคลังปัญญำด้ำนยุทธศำสตร์ชำติ วิทยำลัยรัฐกิจ มหำวิทยำลัยรังสิต เว็บไซต์กวานฉาเจ่อ : ชาวอเมริกันชั้นล่างและผู้มีรายได้น้อย รวมทั้งผู้อพยพอย่างที่ท่านกล่าว มาเป็นคนกลุ่มที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากรัฐบาลโอบามา หลังจากการขึ้นดารงตาแหน่งแล้ว ทรัมป์จะจัดการมรดกทางการเมืองที่ตกทอดจากโอบามาอย่างไร และจะเสนอนโยบายอะไรเพื่อสร้าง ผลประโยชน์ให้กับผู้สนับสนุนของตน ซึ่งเป็นคนกลุ่มกระแสหลักในสังคมสมัยก่อน ศาสตราจารย์ฝาง หนิง:โอบามาได้ทางานสาคัญหลายอย่างหลังจากก้าวขึ้นเป็น ประธานาธิบดีสหรัฐ งานชิ้นแรกคือในด้านการต่างประเทศ โดยเฉพาะการถอนกาลังทหารออกจาก อิรักและอัฟกานิสถาน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อดีตประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุชทาสงครามอยู่ ผมคิดว่านี่ คงเป็นผลงานชิ้นหลักของโอบามา ทรัมป์ อาจยังดาเนินนโยบายนี้ต่อไป แต่ข้อแตกต่างอันเด่นชัด ระหว่างนโยบายของทรัมป์และโอบามาอาจอยู่ที่ด้านภายในประเทศมากกว่า สาหรับโอบามา มีคนเคยพูดว่าเขาเป็น “นักสังคมนิยมของยุโรป” ในการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว อเมริกาจึงมีคากล่าวว่า การเลือกตั้งครั้งนั้นเป็นการต่อสู้ระหว่าง “สังคมนิยมยุโรป” และ “ทุนนิยม อเมริกา” โอบามาเน้นแนวคิดเรื่องความเสมอภาค เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน ฯลฯ เป็นความ ถูกต้องชอบธรรมทางการเมืองในอเมริกา ซึ่งนโยบายที่อยู่เบื้องหลังคือ การเน้นสวัสดิการสังคมและ การเปิดประเทศให้กว้างขึ้น ซึ่งก็คือนโยบายแบบผ่อนปรนแก่ผู้อพยพ นอกจากนี้ โอบามายังมุ่งใน ประเด็นการพัฒนาสวัสดิการสังคมทั้งด้านการศึกษา การรักษาพยาบาล และการประกันสังคมเป็นต้น ซึ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือระบบการบริการสุขภาพราคาถูก Obama Care ที่ใช้ชื่อของตน ซึ่งโอบามา คาดหวังให้กลายเป็นมรดกทางการเมือง ในด้านนี้ทรัมป์ จะเดินไปทางตรงข้ามกับโอบามาอย่าง แน่นอน ขณะนี้ยังไม่สามารถกล่าวถึงนโยบายของทรัมป์อย่างละเอียดได้เนื่องจากการวิจัยที่เกี่ยวข้องยัง ดาเนินการอยู่ แต่เมื่อมองผ่านฐานทางการเมืองและภูมิหลังของทรัมป์ แล้ว เราสังเกตเห็นว่า คณะ รัฐบาลใหม่ของทรัมป์จะมี “วงนโยบาย” อยู่สามวง กล่าวคือ เป้าหมายขั้นต้น เป้าหมายขั้นกลาง และ เป้ าหมายขั้นสุดท้าย ที่ว่ามานี้คือระบบนโยบาย แต่ไม่ใช่นโยบายในรายละเอียดประการใดประการ หนึ่ง
  • 13. 11สถำบันคลังปัญญำด้ำนยุทธศำสตร์ชำติ วิทยำลัยรัฐกิจ มหำวิทยำลัยรังสิต ทรัมป์อยู่ในฐานะที่เป็นตัวแทนของกลุ่มชนกระแสหลักดั้งเดิมในอเมริกาซึ่งก็คือชาวอเมริกัน เชื้อสายยุโรป ดังนั้นภารกิจที่สาคัญที่สุดสาหรับเขาคือการเปลี่ยนนโยบายเกี่ยวกับผู้อพยพ ซึ่งเป็นสิ่ง ที่เขาจาเป็นต้องทาอย่างแน่นอน ทรัมป์ ต้องระงับหรืออย่างน้อยก็ต้องควบคุมอัตราเพิ่มของจานวน ชาวอเมริกันที่ไม่ใช่เชื้อสายยุโรปให้ชะลอตัวลง เขาจึงจาเป็นต้องดาเนินนโยบายเกี่ยวกับผู้อพยพแบบ เข้มงวด ตัวอย่างเช่น การควบคุมชายแดนอเมริกาเพื่อสกัดคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายและการ ตรวจสอบผู้อพยพถูกกฎหมายให้เข้มงวดมากขึ้น สิ่งที่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้คือเขาจะเนรเทศ ผู้อพยพผิดกฎหมายอย่างที่เขาพูด อีกทั้งปรับแก้กฎหมายว่าด้วยการมอบสัญชาติอเมริกาให้บุคคลที่ กาเนิดในแผ่นดินอเมริกา ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้มาเป็นเวลานาน ครั้งที่ผมไปดูงานการเลือกตั้งระยะกลาง (การเลือกตั้งประธานาธิบดีของอเมริกามี กระบวนการยาวนาน เลือกหลายระดับ) ที่อเมริกาเมื่อต้นปี 2016 ที่ผ่านมา ผมได้ยิน นายกเทศมนตรีของเมืองอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งกล่าวว่าเทอมปลายปี 2015 เป็นครั้งแรกที่จานวน เด็กผิวสีเกินจานวนเด็กอเมริกันเชื้อสายยุโรป ในจานวนนักเรียนประถมศึกษาทั้งหมดที่เพิ่งเข้าเรียน ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงพลิกประวัติศาสตร์ เวลานั้นเราจึงตระหนักว่าแกนหลักในการเลือกตั้งที่ คึกคักครั้งนี้คืออะไร ซึ่งก็คือภารกิจของทรัมป์ ที่เขาต้องสร้างกาแพงขึ้นมาสกัดกั้นผู้อพยพ ไม่ว่าใน ท้ายสุดมันจะมีรูปแบบเป็นอย่างไรก็ตาม สาหรับ “วงนโยบาย” ที่สองตามความคิดของผมคือการลดสวัสดิการสังคม เรามักพูดกันว่า การเลือกตั้งปี 2016 ของสหรัฐอเมริกาเป็น “ความขัดแย้งของความชอบธรรมทางการเมือง” แล้วคา ว่า “ความชอบธรรมทางการเมือง” คืออะไร สิ่งนี้มีหัวใจสาคัญสองประการ ได้แก่การไม่เลือกปฏิบัติ (Non-Discrimination) และการดูแล ทรัมป์วิพากษ์วิจารณ์การประกันสังคมและสวัสดิการสังคม ทั้ง ยังตาหนิการดูแลกลุ่มผู้ด้อยโอกาสบ่อยครั้ง เขามองว่านี่เป็นสาเหตุที่ทาให้ขีดความสามารถในการ แข่งขันของอเมริกาลดลง ผู้ที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากสวัสดิการสังคมถ้วนหน้าคือคนชั้นล่างและ กลุ่มคนผิวสีในอเมริกา หลังจากวันลงคะแนนเสียงปี 2012 (การเลือกตั้งสมัยที่สองของโอบามา) ผม ได้คุยกับผู้อพยพจากพม่าคนหนึ่งในร้านค้าที่ Washington, D.C. เธอบอกว่า เธอได้อพยพมา อเมริกาถึง 11 ปีแล้ว และกล่าวว่าโอบามาเป็นคนดีเพราะเขาทาให้คุณภาพชีวิตของผู้อพยพใน อเมริกาดีขึ้นและทาให้ลูกของเธอสามารถเข้าเรียนได้
  • 14. 12สถำบันคลังปัญญำด้ำนยุทธศำสตร์ชำติ วิทยำลัยรัฐกิจ มหำวิทยำลัยรังสิต อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ เห็นว่าความเสมอภาคและการดูแลที่มากเกินไปจะส่งผลกระทบต่อ ความสามารถในการแข่งขัน อีกทั้งยังฝ่าฝืนกับค่านิยมหลักของอเมริกาด้วย ทรัมป์ มักติดปากคาว่า loser และยังแสดงท่าทีที่ดูถูกผู้ด้อยโอกาส ทรัมป์กล่าวอย่างเปิดเผยว่าเขาไม่สงสารกลุ่มผู้ด้อยโอกาส แม้แต่น้อย และกล่าวว่าหากคนเราอยากจะเปลี่ยนโชคชะตาของตนก็ต้องฟันฝ่าต่อสู้ สาหรับคนที่ นอนวันละ 8 ชั่วโมง และไม่ทางานจนเหงื่อท่วมตัวนั้น จะก้าวขึ้นเป็นคนชั้นสูงได้อย่างไร ในสายตา ของทรัมป์ อเมริกาไม่ได้กาเนิดขึ้นจากการดูแล แต่เกิดจากการต่อสู้ต่างหาก อเมริกาเป็นประเทศที่ ถือการแข่งขันเพื่อความอยู่รอดเป็นหลัก เป็นจิตวิญญาณพื้นฐานของสังคมสหรัฐอเมริกา เขามองว่า นโยบายสวัสดิการสังคมของโอบามาเอาใจชาวอเมริกามากเกินไป อาจทาให้เสียคนได้ จึงจาเป็นต้อง เปลี่ยนแปลงใหม่ สาหรับนโยบายในรายละเอียดนั้น เขาจะผลักดันเรื่องการลดภาษี ลดสวัสดิการ รวมไปถึงการแก้ไข Obama Care ทั้งนี้ทรัมป์ ย่อมต้องเผชิญกับแรงขัดขวางในการดาเนินนโยบาย เหล่านี้อย่างแน่นอน สาหรับ “วงนโยบาย” ที่สาม ผมมองว่าคือการฟื้ นฟูอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมของอเมริกา โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิต ประเด็นเหล่านี้คงจะเกิดผลกระทบต่อสังคมในด้านต่างๆ เช่น นโยบายการรักษาสิ่งแวดล้อม การค้าระหว่างประเทศ รวมไปถึงยุทธศาสตร์การต่างประเทศของ อเมริกา ส่วนผลกระทบที่มีต่อประเทศจีนก็อาจเกิดจากการปรับปรุงนโยบายในวงนโยบายนี้ ตัวอย่างเช่นปัญหาการค้าที่ไม่สมดุลกับประเทศจีนเป็นต้น ซึ่งทรัมป์ได้กล่าวถึงบ่อยครั้ง เว็บไซต์กวานฉาเจ่อ: ก่อนหน้านี้ นิตยสารอังกฤษ Prospect ฉบับเดือนมกราคม 2017 ได้ เสนอความเห็นของ Francis Fukuyama ว่าเขาเห็นว่าสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันเป็น “failed state” นอกจากนี้ยังกล่าวว่าตัวเขาไม่ได้มองระบอบการเมืองของสหรัฐอเมริกาปัจจุบันในแง่บวก ฉะนั้นจาก สถานการณ์ปัจจุบัน เราสามารถสรุปได้หรือไม่ว่าความเชื่อถือที่ชาวอเมริกามีต่อระบอบการปกครอง ของตนได้ลดลงสู่จุดที่ต่าสุดในประวัติศาสตร์แล้ว ศาสตราจารย์ฝาง หนิง : คงไม่ใช่อย่างนั้น ผมสังเกตว่าในประเทศ(จีน) เรา มีการอภิปราย เรื่องเสรีนิยมและอนุรักษ์นิยมมาก เราต้องตระหนักว่าโลกใบนี้กาลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างกว้างขวาง และลึกซึ้ง มนุษย์เรารู้จักสังคมตามแนวความคิดของตน แต่แนวคิดและทฤษฎีล้วนมาจากการปฏิบัติ หากเรายังใช้แนวความคิดเดิมมาพิจารณาสถานการณ์ปัจจุบันคงจะไม่เหมาะสม เนื่องจากการปฏิบัติ เปลี่ยนไปแล้ว และความจริงก็เปลี่ยนไปเช่นกัน การสังเกตปรากฏการณ์ทรัมป์ผ่านระบอบการเมือง และการคาดทิศทางการปกครองของทรัมป์ก็ต้องสอดคล้องกับปัญหาโครงสร้างระบอบการเมืองด้วย
  • 15. 13สถำบันคลังปัญญำด้ำนยุทธศำสตร์ชำติ วิทยำลัยรัฐกิจ มหำวิทยำลัยรังสิต เรามองว่าระบอบการเมืองอเมริกาสามารถแบ่งได้เป็น 3 ลาดับชั้น ชั้นแรกคือระบอบ รัฐธรรมนูญ ซึ่งก็คือสถาบันตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ รวมทั้งผู้ตัดสินใจโดยตรงตามเจตนารมณ์ของ ชาวอเมริกา เช่น ประธานาธิบดี ผู้แทนราษฎร และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล ซึ่งเป็นชั้นที่ผิวเผิน มองเห็นได้ชัดมากที่สุดในระบอบการเมือง ส่วนที่ลึกเข้าไปเป็นลาดับที่สองคือโครงสร้างอานาจซึ่งชาวอเมริกันนิยมเรียกกันว่า “ชนชั้น อานาจ” ซึ่งเป็นชนชั้นที่ควบคุมอานาจการปกครองของประเทศอย่างแท้จริง อานาจการเมืองที่แท้จริง อยู่ในกามือของชนชั้นนี้ ชนชั้นอานาจนี้ต่างไปจากผู้ตัดสินใจโดยตรงในระบอบรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ คนพวกนี้จะปกปิดตัวตน ส่วนใหญ่ไม่มีฐานะทางกฎหมายอย่างเป็นทางการ ซึ่งในเรื่องนี้มีหนังสือชื่อ ดังอย่าง Who’s Running America (เขียนโดย Thomas R. Dye) พูดถึง และนักรัฐศาสตร์อเมริกัน ชื่อดังอย่าง John Joseph Mearsheimer เองก็ได้ทาการวิจัยในหัวข้อนี้มาโดยตลอด และระหว่างการดู งาน ผมสังเกตว่าบรรดานักวิจัยของสถาบันคลังปัญญา (Think Tank) อเมริกามองว่าโครงสร้าง อานาจของอเมริกายุคปัจจุบันประกอบด้วย 5 กลุ่มเป็นหลัก ได้แก่ Business Republicans, Reli- gious Republicans, Military-Industrial Complex Republicans, Labor Democrats และ California high tech Democrats ระดับที่สามที่ลึกกว่าโครงสร้างอานาจ คือโครงสร้างผลประโยชน์ ซึ่งเกี่ยวกับโครงสร้างสังคม ของอเมริกา โครงสร้างสังคมของอเมริกาจาแนกได้จากหลายมิติ เช่น เชื้อชาติ เพศ ศาสนา ฐานะทาง เศรษฐกิจ อาชีพ อายุ ระดับการศึกษา และภูมิลาเนา คนแต่ละกลุ่มเหล่านี้ก็จะมีผลประโยชน์และ วาระที่ต่างกันไป นี่คือโครงสร้างอานาจสามชั้นของอเมริกา ขณะนี้ทรัมป์ กาลังเผชิญหน้ากับปัญหาหนึ่งคือ ถึงแม้เขาได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม “ประชา นิยมใหม่” (New populism) แต่เขาก็ต้องเผชิญแรงต้านจากกลุ่มผู้ได้รับการศึกษาและฝ่ายพรรค เดโมแครต (Democrat) แม้ว่าภายในพรรครีพับลิกัน (Republican) เองจะมีอุปสรรคอันหนักหนา อยู่แล้ว ในสภาพเช่นนี้ คาถามคือ ทรัมป์ จะดารงตาแหน่งอย่างไร และจะดาเนินนโยบายของเขา อย่างไร จะเห็นว่าในความเป็นจริงแล้วเขาต้องฟันฝ่าอุปสรรคมากมายหลายอย่าง
  • 16. 14สถำบันคลังปัญญำด้ำนยุทธศำสตร์ชำติ วิทยำลัยรัฐกิจ มหำวิทยำลัยรังสิต ทรัมป์และผู้สนับสนุนของเขา ตามปกติแล้วสามระดับชั้นในระบอบการเมืองอเมริกาต่างเชื่อมโยงกัน คือคนกลุ่มหลักใน โครงสร้างผลประโยชน์ก็เป็นคนกลุ่มหลักในโครงสร้างอานาจด้วย ในขณะเดียวกันคนกลุ่มหลักใน โครงสร้างอานาจย่อมเป็นส่วนประกอบในระบอบรัฐธรรมนูญ นี่คือสภาวะปกติในระบอบการเมือง เมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างคนกลุ่มหลักในระบอบรัฐธรรมนูญกับคนกลุ่มหลักในโครงสร้างอานาจ ฝ่ายระบอบรัฐธรรมนูญก็จะเรียกร้องต่อฝ่ายโครงสร้างผลประโยชน์โดยก้าวข้ามฝ่ายโครงสร้างอานาจ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เราเรียกกันว่า “การเมืองประชานิยม” ในความคิดของผม ข้อความที่ทรัมป์ แสดงออกมาอย่างเด่นชัดนับตั้งแต่การรณรงค์หาเสียงจนกระทั่งพิธีปฏิญาณตนรับตาแหน่งก็คือ การเมืองประชานิยมดังกล่าว ในขณะนี้เขาได้ประสบอุปสรรคจากโครงสร้างอานาจที่เขาเกลียดชัง และที่ก็ต่อต้านเขา เพราะฉะนั้น ทรัมป์ จึงหันไปหากลุ่มผู้สนับสนุนและฐานเสียงของเขา และมุ่งที่จะ สร้างความชอบธรรมทางการเมืองให้แก่ตัวเอง ในการเลือกตั้งครั้งนี้ เขาวิพากษ์วิจารณ์ความชอบ ธรรมทางการเมืองของอเมริกา ทรัมป์ ตระหนักว่าความชอบธรรมทางการเมืองแบบเก่าของอเมริกา นั้นล้าสมัยไปแล้ว ซึ่งหมายความว่าเขาจะต้องสร้างความชอบธรรมทางการเมืองแบบใหม่ขึ้นมา เช่น ทรัมป์ ใฝ่ฝันถึงทุนนิยมอเมริกาที่เน้นการแข่งขัน ผู้แข็งแกร่ง และความสาเร็จ ทรัมป์ ได้สื่อข้อความ เหล่านี้ให้สังคมอเมริกาทราบโดยตรง เราต้องตระหนักว่า คาว่า “ประชาชนชาวอเมริกัน” สาหรับทรัมป์นั้นไม่ใช่ประชาชนสหรัฐอเมริกาอย่างที่คนเราส่วนใหญ่คิด สาหรับทรัมป์นั้น ประชาชน อเมริกัน หมายถึงเฉพาะคนอเมริกันเชื้อสายยุโรป ไม่รวมคนผิวสี คนเอเชีย คนลาติน หรือคนเชื้อ สายผู้อพยพจากที่อื่นๆ
  • 17. ทรัมป์กาลังรณรงค์ไปยังกลุ่มคนกระแสหลักเดิมซึ่งก็คือคนผิวขาวชั้นล่างที่ถูกกีดกันเป็นคน ชายขอบให้ร่วมแรงร่วมใจเปลี่ยนแปลงอเมริกา ทรัมป์ ค่อยๆ อธิบายความหมายของความชอบ ธรรมทางการเมืองแบบใหม่ของเขาระหว่างการเลือกตั้ง และทาให้แนวความคิดนั้นน่าประทับใจ ยิ่งขึ้นหลังชนะเลือกตั้ง จากนี้ไป เขาจะใช้ความชอบธรรมทางการเมืองนั้นให้เป็นประโยชน์เพื่อให้ ได้รับการยอมรับจากพวกที่อยู่ในโครงสร้างอานาจเดิม และผลักดันนโยบาย Make America Great Again เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงใหม่ให้กับทั้งอเมริกาและโลกอย่างที่เขามุ่งหวัง. 15