SlideShare a Scribd company logo
1 of 33
Download to read offline
โดย พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ
ผู้อานวยการสานักสันติวิธีและธรรมาภิบาล
สถาบันพระปกเกล้า
www.elifesara.com ekkachais@hotmail.com
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมหาเจษฎาราชเจ้า
พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์จักรี
•การสร้างชาติให้เกิดความมั่นคง
•จะต้องทําให้เกิดความมั่นคงทุกๆด้าน
• ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ
• ด้านการเมือง
• ด้านสังคมจิตวิทยา
• และด้านการทหาร
การปกบ้านป้องเมืองสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๓) พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔
ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของสยามประเทศ รอยต่อของการเผชิญหน้ากับชาติตะวันตก
• ๒๓๖๗ โปรดเกล้าให้ส่งกองทัพไปช่วยอังกฤษรบพม่า
• ๒๓๖๙ ลงนามสนธิสัญญาเบอร์นีย์
• ๒๓๖๙ เจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ก่อการกบฏขึ้น
• ๒๓๗๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งให้เจ้าพระยาพระคลัง(ดิส บุนนาค)เป็นว่าที่สมุห
กลาโหม
• ๒๓๗๖ ให้เจ้าพระยาบดินเดชาไปปราบกบฏญวน
• ๒๓๘๑ เกิดกบฏวันหมาดหลี ที่หัวเมืองไทรบุรี
• ๒๓๘๒ ประกาศห้ามสูบฝิ่น มีการเผาฝิ่น ปราบอั้งยี่ค้าฝิ่น
ผลงานที่สาคัญด้านต่างๆ ของรัชกาลที่ ๓
• ความเฉลียวฉลาด ความรอบรู้ ความมีประสบการณ์ในพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์นั้น บรรดาชาวยุโรปที่
เข้ามาสู่สยามประเทศต่างมีความเห็นพ้องต้องกันว่าทรงมีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ เหล่านี้
๑. ทรงมีความรู้ความสามารถกํากับการกองเรือพาณิชย์
๒. กรณีเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาราษฎร
๓. การสงครามต่ออริราชศัตรู การนําทัพป้องกันราชอาณาจักร
๔. ความสัมพันธ์ต่างประเทศ
๕. การตราพระราชกําหนดกฎหมาย
๖. การพระพุทธศาสนา
๗. นโยบายการปกครองบ้านเมือง
๘. การศาลสถิตยุติธรรม
๙. การคลัง
• ความเฉลียวฉลาด มีความรอบรู้ และประสบการณ์ในการรับราชการในตําแหน่งต่างๆก่อนขึ้น
ครองราช จึงเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปของบรรดาชาวยุโรปที่เข้ามาสู่สยามต่างมีความเห็นพ้องต้องกันว่า
• ทรงมีความรู้ความสามารถกํากับการกองเรือพาณิชย์
• การสร้างให้ประชาราษฎรเกิดความสงบสุข
• การนําทัพป้องกันราชอาณาจักรในการสงครามต่ออริราชศัตรู
• การสร้างความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
• การตราพระราชกําหนดกฎหมาย
ความสามารถของพระองค์เจ้า กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
• การพระพุทธศาสนา
• นโยบายการปกครองบ้านเมือง
• การศาลสถิตยุติธรรม
• การคลัง
• เก็บภาษี
• ทรงมีพระเนตรอันยาวทั่วเขตขัณฑสีมาอาณาจักร
• รู้ตื้นลึกพฤติการณ์ จุดอ่อน จุดแข็ง ของประเทศตนเองและประเทศเพื่อนบ้าน
• ทรงมีวิจารณญาณสุขุมคัมภีรภาพ ในการวิเคราะห์ต่อเหตุการณ์ต่างๆ
• สามารถประมาณสถานการณ์สิ่งต่างๆที่จะเกิดขึ้นได้ถูกต้องแม่นยํา และตัดสินใจเด็ดขาดโดยเฉพาะ
• ด้านการทหาร
• การต่างประเทศ
• การเศรษฐกิจและการคลัง
• การรัฐศาสตร์ และภูมิรัฐศาสตร์(Geopolitics) เรื่องปกบ้านแปลงเมือง เพื่อ”ป้องเมือง”
ความสามารถของพระองค์เจ้า กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
กับการสร้างรากฐานด้านการป้องกันประเทศ
• ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ โดยเจ้าพระยาทิพากรวงศามหาโกษาธิ
บดี ได้ กล่าวถึงพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ที่
สาคัญเมื่อใกล้สวรรคตพระราชทานแก่ขุนนาง ข้าราชบริพารที่เข้าเฝ้าฯ ไว้ว่า
"การศึก สงครามข้างญวน ข้างพม่า ก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวัง
ให้ดี อย่าให้เสียทีแก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่คิดควร จะเรียนเอาไว้ก็ให้เอาอย่างเขา
แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปเสียทีเดียว ทุกวันนี้คิดสละห่วงใยได้หมด อาลัยแต่วัดวา สร้าง
ไว้ใหญ่โตหลายวัดที่ยังค้างอยู่ก็มี ถ้าชารุดทรุดโทรมไปจะไม่มีผู้ช่วยทานุบารุง เงินในพระ
คลังที่เหลือจับจ่ายในราชการแผ่นดินมีอยู่ ๔๐,๐๐๐ ชั่งนี้ ขอสัก ๑๐,๐๐๐ ชั่งเถิดให้ไว้
บารุงวัดวาที่ยังค้างอยู่"
พระองค์ทรงห่วงบ้านเมืองที่จะมีภัยจากพวกฝรั่ง
การป้องกันประเทศ
• จากที่เจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ก่อการกบฏขึ้น และญวนได้เข้ามาแทรกแซง จนแม่ทัพไทยได้ลวงญวนไปฆ่าเสียจํานวน
มาก ทําให้ทรงตระหนักว่าญวนคงโกรธอาจก่อศึกสงครามขึ้นอีก ทรงมีพระราชดําริว่า “จะไว้ใจทางทะเลไม่ได้”
• ทรงดําเนินการป้องกันประเทศในด้านต่างๆ ที่สําคัญดังต่อไปนี้ คือ
๑. สร้างป้อมปราการทางทะเลรักษาพระนคร เพื่อรักษาปากน้ําที่สําคัญทุกปากน้ําจัดทหารราบและทหารปืนใหญ่ขึ้น
๒. สร้างเมืองหน้าด่าน เพื่อเป็นการเสริมสร้างสมรรถภาพในการป้องกันเมืองชายแดนต่างๆ ให้เข้มแข็งขึ้น
๓. สร้างเรือรบ ในรัชการก่อนๆ ส่วนมากเป็นเรือลําเล็กไม่สามารถลําเลียงทหารได้มาก ทําให้เป็นปัญหา เกิดความเสียเปรียบในการทํา
สงครามทางทะเล
๔. การขุดคลอง ช่วยย่นระยะทางในการขนส่งเสบียงอาหารและกําลังกองทัพ
๕. การสงคราม ธรรมดาแล้วชาติไหนบ้านเมืองไหนถ้าต้องทําสงครามแล้ว มีแต่บ้านเมืองจะข้าวยากหมากแพง และผู้คนยากจน แต่
รัชกาลที่ ๓ ท่านรบด้วย รวยด้วย ดังจะเห็นว่า เมื่อสิ้นรัชกาลยังมีเงินเหลือไว้สร้างวัดและไถ่เมืองสมัย รัชกาลที่๔ และรัชกาลที่๕
๖. หัวใจแผ่นดิน ทรงเป็นนักปกครองที่ยึดหลักประชาธิปไตยอย่างยิ่ง พระองค์ทรงเป็นนักการเมืองที่เจนจัดเวทีและเล่นการเมืองเป็น
ทรงเล่นการเมืองอย่างขาวสะอาด เป็นผู้มีประสบการณ์ เป็นคนทันคน ทรงใช้คนเป็น ทรงปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ทัน
กาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป
• พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงจัดตั้งทหารมะรีน ขึ้น เมื่อปี พ.ศ.
๒๓๖๗ ทําหน้าที่รบอย่างทหารราบ เป็นกองเกียรติยศสําหรับรับเสด็จเป็นส่วนใหญ่ และ
ยังได้ลงเรือรบหลวงสําหรับเป็นกองเกียรติยศ เวลาขึ้นบกเมื่อต้องเดินทางเสด็จประพาสไป
ต่างประเทศ
• คําว่า “ทหารนาวิกโยธิน” จึงถือกําเนิดขึ้นมาในกองทัพเรือ โดยจัดตั้งเป็น กรมนาวิก
โยธินปัจจุบันเป็นหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน แต่จากสถานการณ์ทางการเมืองทําให้กรม
นาวิกโยธินถูกยุบไปเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ต่อมารัฐบาลเห็นความจําเป็นของทหารหน่วยนี้ จึง
ขออนุมัติให้จัดตั้งขึ้นมาใหม่
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดตั้ง ทหารมะรีน
“ ช่างเหล็กเจ๊กช่างทําปืนใหญ่ เชื่อมชิดสนิทในได้ที่
เหล็กเสืองเครื่องขันขยันดี ราวกับฝีมือนอกเอาออกกลึง
ช่างแสงแต่งลวดลายฉลัก กระสุนสักห้าหกนิ้วกิ่ง
ระเบิดดูดีร้ายก็หลายตึง ไม่แตกร้าวคราวหนึ่งถึงสิบนัด
ผู้แก่เถ้าเล่าว่าไม่เคยเห็น เหมือนทําเล่นคล่องคล่องไม่ข้องขัด
พระดําริห์ตริใช้ได้ก็ชัด เป็นมหามหัศอัศจรรย์
เพลงยาวยอพระเกียรติของ พระยาไชยวิชิต(เผือก) ตอนหนึ่งว่า
พระปรีชาสามารถด้านรัฐศาสตร์ และภูมิรัฐศาสตร์
• แผนที่แสดงการปกบ้านป้องเมือง ตามทฤษฎีภูมิรัฐศาสตร์(Geopolitics) ใน
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
• รูปร่างของประเทศสยามเป็นหัวช้าง มิใช่เป็นขวานโบราณตามที่เข้าใจ พระองค์
ทรงประมาณสถานการณ์ว่า
๑. ทรงป้องกันประเทศจากอริราชศัตรูโดยเฉพาะ ญวณ
๒. บํารุงขวัญความเป็นอยู่ของชาวตะวันออกเฉียงเหนือ(อิสาณ)ทรงมีพระราโชบายอย่าง
ชัดเจนถูกต้องคือ
๒.๑ ป้องกันเขมรมิให้ญวณคุกคามข่มเหงหรือกลืนชาติ ให้เขมรเป็นเอกราชเป็นประเทศกันชน ระหว่างญวณไท
๒.๒ ยกหมู่บ้านทางอิสาณเป็นเมือง(จังหวัด) ๘ เมือง เพื่อความมั่นคง เข้มแข็งของชาติใน”ทางลึก” ตามทฤษฎี
ภูมิรัฐศาสตร์
๓. ยกเมืองสตูล เป็นเมืองของไทยเพื่อป้องกันทางใต้
การรัฐศาสตร์ และภูมิรัฐศาสตร์(Geopolitics)
เรื่องปกบ้านแปลงเมือง เพื่อ”ป้องเมือง”
•สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) – อังกฤษ ส่งทูตมาเจริญ
สัมพันธไมตรีกับสยาม เพราะต้องการ “เมืองท่า” ค้าขาย – พ.ศ. ๒๓๓๔ ได้ทําสัญญาเช่า
“เกาะหมาก (ปีนัง)” จากเมืองไทรบุรี (เป็นเมืองประเทศราชของสยามขณะนั้น)
•พ.ศ. ๒๓๖๔ ผู้สําเร็จราชการอังกฤษ ประจําอินเดีย ส่ง จอห์น ครอว์เฟิร์ด มาเจรจาเรื่อง
การค้าและการเมือง (๔ เดือน) แต่ไม่สําเร็จ
•พ.ศ. ๒๓๖๘ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ผู้สําเร็จราชการ
อังกฤษประจําอินเดีย ได้ส่ง ร้อยเอกเฮนรี่ เบอร์นี่ มาเจรจาอีกครั้ง เป็นเวลาถึง ๕ เดือน จึง
เจรจาสําเร็จ
๒๓๖๙ การลงนามสนธิสัญญาเบอร์นีย์
•สยามกับอังกฤษ ตกลงทําสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ เมื่อวันที่ ๒๐
มิถุนายน ๒๓๖๙ เรียกว่า “สนธิสัญญาเบอร์นีย์”
•การทําสนธิสัญญาเบอร์นีย์ ครั้งนี้เป็นเพราะ สถานการณ์ในขณะนั้นอังกฤษได้ทําสงคราม
ชนะพม่า ทําให้สยามตระหนักถึงอิทธิพลของอังกฤษ จึงยินยอมทําสนธิสัญญาดังกล่าว
•“สนธิสัญญาเบอร์นีย์” – นับเป็น การเริ่มต้นการเข้ามามีบทบาททางการค้าของอังกฤษใน
สยามอีกครั้งหนึ่ง
๒๓๖๙ การลงนามสนธิสัญญาเบอร์นีย์
• สยามและอังกฤษ จะเป็นมิตรไมตรีต่อกัน จะไม่แย่งชิงเอาบ้านเมืองหรือดินแดนซึ่งกันและกัน
• ถ้ามี “คดี” เกิดขึ้นในเขตสยาม ให้สยามตัดสินตามขนบธรรมเนียมประเพณีของสยาม คนอีกฝ่ายหนึ่ง
ไปอยู่ในอาณาเขตของอีกฝ่ายหนึ่ง จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายของอาณาเขตนั้น
• อังกฤษยอมรับอํานาจอธิปไตยของสยามที่มีเหนือไทรบุรี – ฝ่ายสยาม ยินยอมให้ไทรบุรีค้าขายกับปีนัง
และให้ปีนังซื้อเสบียงอาหารจากไทรบุรี โดยไม่เสียภาษีขาออก
• อังกฤษยอมรับสิทธิและอธิปไตยของสยามที่มีเหนือกลันตันและตรังกานู
• อังกฤษและสยาม รับประกันความเป็นอิสระของเประและสลังงอ สยามรับรองว่าจะไม่ใช้กําลังเข้ารุกราน
รัฐทั้งสอง
๒๓๖๙ การลงนามสนธิสัญญาเบอร์นีย์
สาระสาคัญ “สนธิสัญญาเบอร์นีย์” ด้านการค้าและด้านการเมือง
•พ่อค้าอังกฤษ สามารถเข้ามาค้าขายได้อย่างเสรี และเสียภาษีในอัตราที่แน่นอน
•อังกฤษ ยอมรับเรื่อง การผูกขาดการค้าของรัฐบาลสยาม
•อังกฤษ ยอมรับเรื่องการห้ามนําเข้า ฝิ่นและอาวุธปืนเข้ามาในสยาม
•สนธิสัญญาเบอร์นีย์ ใช้อยู่ระยะหนึ่ง อังกฤษขอเจรจาแก้ไขสนธิสัญญา แต่รัชกาลที่ ๓
พร้อมทั้งขุนนางผู้ใหญ่ปฏิเสธข้อเสนอของอังกฤษ เพราะร่างสัญญาใหม่อังกฤษได้รับ
ประโยชน์ฝ่ายเดียว
• มีข่าวลือว่าอังกฤษจะนําเรือรบมายึดกรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้เจ้า
อนุวงศ์เกณฑ์กองทัพเวียงจันทน์ลงมาช่วยทําศึก
• เจ้าอนุวงศ์ออกอุบายแก่เจ้าเมืองตามรายทางว่า อังกฤษกําลังเตรียมทัพเรือมายึดกรุงเทพฯ เจ้าเมืองตาม
รายทาง เช่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น สุรินทร์ ขุขันธ์ หลงเชื่อและให้การสนับสนุนเจ้าอนุวงศ์ ยอม
ให้เดินทัพผ่านโดยสะดวก และมอบเสบียงอาหารให้เพิ่มเติมด้วย
• ทัพมาถึงนครราชสีมา พระยานครราชสีมาและพระยาปลัดไม่อยู่ เจ้าอนุวงศ์ก็เข้ายึดนครราชสีมาและส่ง
กองทัพไปกวาดต้อนผู้คนถึงสระบุรี
• พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวให้กรมพระราชวังบวรเป็นแม่ทัพใหญ่ยกไปปราบ จนเกิดวีรกรรม
ท้าวสุรนารี และโปรดเกล้าให้พระยากรสุภาวดี(สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพหน้า เป็นเจ้าพระยาสุภาวดี
ว่าที่สมุหนายก
พ.ศ. ๒๓๖๙ กบฏเจ้าอนุวงศ์
• พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ
กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์กับเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) เป็นแม่กองจัดสร้างป้อมปราการจํานวน ๖
ป้อม ใช้เวลา ๓ ปี
• ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ กับเจ้าพระยาพระคลัง เป็น
ผู้อํานวยการสร้างพระเจดีย์ขึ้นที่เกาะหาดทรายท้ายป้อมผีเสื้อสมุทร เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการที่พระองค์
ทรงสละพระราชทรัพย์ เพื่อปกป้องประเทศชาติและพระศาสนา
• รัชกาลที่ ๒ เสด็จสวรรคตเสียก่อน เมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เสด็จเถลิงถวัลย
ราชสมบัติ เป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) จึงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดสร้าง
ต่อจนแล้วเสร็จ
การสร้างพระสมุทรเจดีย์ ปี พุทธศักราช ๒๓๗๐
ความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว”บิดาแห่งการค้าไทย”
• ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ และ ๒ ฐานะทางการคลังของรัฐบาลไม่มั่นคงเลย
• รัฐบาลมีภาระในการสร้างพระนคร สร้างวัด สะสมอาวุธยุทโธปกรณ์ และต้องทาการสงครามกับข้าศึกหลายด้านจานวน
หลายครั้งหลายหน
• เรื่องการขาดแคลนเงินแผ่นดินนั้นถึงกับเป็นเหตุใหญ่ที่ทาให้วังหลวงกับวังหน้าต้องประจันกันด้วยปืนใหญ่เกือบจะเป็นศึก
กลางเมือง ดังพระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ ๑ กล่าวไว้ว่า
“ ครั้น ณ วันอาทิตย์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๐ ค่า สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคลลงมาเฝ้ากราบทูล
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า เงินที่พระราชทานขึ้นไปปีละ ๑,๐๐๐ ชั่ง นั้น ไม่พอแจกเบี้ยหวัดข้าราชการวังหน้า
จะขอรับพระราชทานเงินเติมอีกให้พอแจกจ่าย จึงดารัสว่า เงินเก็บมาได้แต่ส่วยสาอากรก็พอใช้ทานุบารุงแผ่นดิน
เหลือจึงได้เอามาแจกเบี้ยวหวัด ก็ไม่ใคร่พอ ต้องเอาเงินกาไรจากตกแต่งสาเภามาเพิ่มเติมเข้าอีก จึงพอใช้ไปได้ปี
หนึ่งๆ เงินคงคลังที่สะสมไว้ก็ยังไม่มี กรมพระราชวังบวรฯ ไม่ได้ตามพระราชประสงค์ก็ขัดเคือง มิได้ลงมาเฝ้า
เลย______”
สร้างความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ
• วิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒ สมัยรัชกาลที่ ๕ (พ.ศ.๒๔๓๖) ฝรั่งเศสยื่นคาขาดแก่รัฐบาลสยาม ข้อหนึ่งที่ต้องจ่ายเงิน ๓
ล้านฟรังก์ โดยชาระเป็นเงินเหรียญทันทีเพื่อชดใช้ค่าเสียหายต่างๆ ภายใน ๔๘ ชั่วโมง มิฉะนั้นกองทัพเรือฝรั่งเศสจะ
ปิดอ่าวไทยทันที และสั่งทูตฝรั่งเศสออกจากสยาม สยามอาจตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสได้
• “ปัญหาของไทยตอนนั้นคือ การที่จะหาเงินจานวนมากมาชาระให้ทันเส้นตาย เสนาบดีพระคลังมหาสมบัติถวาย
รายงานว่าเงินในพระคลังมีไม่เพียงพอกับที่ฝรั่งเศสเรียกร้อง แต่มีพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ทูลเตือนให้ทราบถึงเงินพระ
คลังข้างที่จากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงสะสมไว้ในถุงแดง” จึงถูกนามาใช้สมทบเป็นค่าปรับ
• มจ.หญิงพูนพิสมัย ดิศกุล ทรงนิพนธ์ในเรื่อง "เหตุการณ์ ร.ศ.๑๑๒ และเสียเขตแดนใน ร.๕“ ว่า “...ฝรั่งเศสไม่ต้องการ
ให้ ไทยจ่ายค่าเสียหายเป็นธนบัตร หากว่าต้องการเป็น "เงินกริ๋งๆ" คราวนี้ก็ต้องเทถุงกันหมด เงินถุงแดงข้างพระที่ ที่
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ทรงเก็บไว้ ด้วยมีพระราชดารัสว่า "เอาไว้ถ่ายบ้านถ่ายเมือง"ก็ได้ใช้จริงคราวนี้ ผู้ใหญ่เล่าว่า
เจ้านายในพระราชวังเอาเงินถวายกันจนเกลี้ยง ใส่ถุงขนออกจากในวังทางประตูต้นสน ไปลงเรือทางท่าราชวรดิฐกันทั้ง
กลางคืนกลางวัน...”
วิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒ สมัยรัชกาลที่ ๕ (พ.ศ.๒๔๓๖)
• “เงินถุงแดง” เป็น เงินที่พระองค์ท่านทรงได้จากการค้าสาเภาส่วนพระองค์เมื่อครั้งยังทรงดารงพระอิศริยยศ พระเจ้าลูก
ยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
• นอกจากจะถวายสมเด็จพระบรมชนกนาถใช้ในการแผ่นดินแล้ว ทรงเก็บหอมรอมริบเงินที่ได้จากการค้าส่วนพระองค์ไว้
เป็นจานวนมากโดยเก็บใส่ "ถุงผ้าสีแดง" ไว้ข้างพระแท่นที่บรรทม จึงเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า “เงินพระคลังข้างที่” คา
ว่า “พระคลังข้างที่” ทรงพระราชทานเป็นทุนสารองให้แก่แผ่นดินสาหรับใช้ในยามบ้านเมืองอยู่ในภาวะคับขันในเวลา
ต่อมา
• เงินในถุงแดงที่ทรงสะสมนี้ประมาณ ๔๐,๐๐๐ ชั่งเศษ โดยก่อนเสด็จสวรรคตได้มีพระดํารัสสั่งเสียมอบเงินถุงแดงนี้ไว้
ใช้ไถ่บ้านไถ่เมือง แต่ได้ทรงขอไว้สําหรับปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ๑๐,๐๐๐ ชั่ง
• ซึ่งภายหลังก็จริงดังพระราชดํารัส เมื่อถึงเวลาต้องไถ่บ้านไถ่เมืองกับฝรั่งเศสในสมัย รศ 112 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ไทย
เราต้องใช้เงิน 3 หมื่นชั่งเศษของพระนั่งเกล้าฯ ไถ่บ้านไถ่เมือง ซึ่งเวลานั้นก็ประมาณ สองล้านห้า-สองล้านหก ซึ่ง
เป็นจํานวนเงินที่ไม่น้อยเลย
"เงินถุงแดง" มรดกของชาติจากรัชกาลที่ ๓
ที่รักษาเอกราชของชาติ จากวิกฤต ร.ศ.๑๑๒
• พระวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลของรัชกาลที่ ๓ ที่ทรงเห็นภัยคุกคามเอกราชสยาม
จากชาติตะวันตกในยุคนั้น ทรงห่วงใยบ้านเมืองและวัดวาอารามที่ทรง
สร้างขึ้นไว้ให้เป็นศรีสง่าแก่บ้านเมือง
• ในคติจีนมีความเชื่อว่า ถุงผ้าสีแดงสามารถขับไล่ภยันตรายและสิ่งชั่วร้าย
ได้ และสื่อความหมายอันเป็นมงคล และความโชคดี สันนิษฐานว่าการเก็บ
เงินใส่ถุงผ้าสีแดง อาจได้รับอิทธิพลจากคติจีนดังกล่าว
• ในรัฐสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นยุคที่มีการติดต่อค้าขายกับจีนอย่างเฟื่องฟู จึง
น่าจะสัมพันธ์กับการนาเงินใส่ซองสีแดงมอบให้ลูกหลานในเทศกาลหรืองาน
มงคล ของจีน อันแสดงถึงความมั่งคั่งร่ารวย ความสุขสวัสดิมงคลและ
ความโชคดีด้วยเช่นกัน
พระวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลของรัชกาลที่ ๓
• ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น จะมีการค้าขายกับต่างประเทศ สิ่งที่ใช้แลกเปลี่ยนและในระบบเศรษฐกิจการค้าขายระหว่าง
ประเทศ จึงน่าจะเป็นเงินเหรียญต่างประเทศที่มีการยอมรับกันในยุคนั้น สมัยรัชกาลที่ ๓ มีเงินต่างประเทศเช่นเงินเม็กซิโก
เงินเปรู และเงินรูปีของอินเดีย เป็นต้น ที่ยอมรับในการแลกเปลี่ยน ซื้อขายสินค้ากันอยู่ในเมืองไทยแล้ว แม้ในสมัยนั้นจะ
เป็นเงินพดด้วงก็ตาม
• สันนิษฐานว่าเงินในถุงแดงน่าจะเป็นเงินต่างประเทศที่ใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนในสมัยนั้น ดังเช่นเหรียญรูปนกของ
เม็กซิโก ซึ่งใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนสินค้าที่หลายชาติให้การยอมรับในสมัยนั้น
• เหรียญนกเม็กซิโก มีลักษณะเป็นเหรียญกลมแบนมีรูปนกอินทรีย์อยู่ด้านหนึ่ง (รูปนกอินทรีย์กางปีกปากคาบอสรพิษ เป็น
สัญลักษณ์ของประเทศเม็กซิโก) ไทยจึงเรียก "เหรียญนก"
• เหรียญเงินที่ใช้ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๗-๒๓๙๔) สอดคล้องกับที่ฝรั่งเศสกล่าวถึงเงินค่าปรับสงครามของไทยที่
ชาระด้วยเหรียญเม็กซิกัน มีบันทึกในเอกสารฝรั่งเศสที่กล่าวถึงเงินเม็กซิกันที่บรรทุกใส่เรือมาจากสยามในเหตุการณ์ ร.
ศ.112 มีน้าหนักประมาณ 23 ตัน
"เหรียญนก“ ในเงินถุงแดง
ความมั่นคงในสังคมสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ผู้คนและสังคมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
จํานวนประชากรในประเทศไทย ตามบันทึกของบาทหลวงปาลเลอกัวซ์
ที่มา: สังฆราชปาลเลอกัวซ์, เล่าเรื่องเมืองไทย, แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร(กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์ก้าวหน้า, ๒๕๐๖), น. ๓-๔.
เชื้อชาติ จํานวน
สยามและลาว ๑,๙๐๐,๐๐๐ คน
จีน ๑,๕๐๐,๐๐๐ คน
มาลายา ๑,๐๐๐,๐๐๐ คน
ลาว ๑,๐๐๐,๐๐๐ คน
เขมร ๕๐๐,๐๐๐ คน
มอญ ๕๐,๐๐๐ คน
กะเหรี่ยง ชอง ละว้า ๕๐,๐๐๐ คน
รวม ๖,๐๐๐,๐๐๐* คน
ผู้คนและสังคมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
จํานวนประชากรในประเทศไทย ตามบันทึกของจอห์น ครอเฟิร์ด หัวหน้าคณะทูตที่มาถึงกรุงเทพฯ ใน พ.ศ. ๒๓๖๕
ที่มา: เอกสารของครอเฟิร์ด, แปลโดย ไพโรจน์ เกษแม่นกิจ(กรุงเทพฯ : กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๑๕)น. ๙๕.
*จํานวนนี้อาจมีการคลาดเคลื่อน เพราะมีการคัดลอกต่อๆกันมา
เชื้อชาติ จํานวน
สยามและลาว (มีมากที่สุด) ๔,๒๐๐,๐๐๐ คน
มอญ ๔๒,๐๐๐ คน
เขมร ๕๐,๐๐๐ คน
มลายู ๑๕,๐๐๐ คน
จีน ๗๐๐,๐๐๐ คน
รวม ๕,๑๔๒,๐๐๐* คน
ด้านสังคมจิตวิทยาในต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
• ตอนปลายรัชกาลที่ ๒ มีชาวจีนอพยพมาเมืองไทยปีละ ๗,๐๐๐ คน และในตอนปลายรัชกาลที่ ๓ ได้เพิ่มปีละ
๑๕,๐๐๐ คน
• ชาวจีนที่อพยพเข้ามาเป็นระลอกๆ มีบทบาททางด้านเศรษฐกิจมาก โดยเป็นพ่อค้าคนกลาง เจ้าภาษีนายอากร ผู้ทํา
การค้าทางเรือ ผู้เดินเรือค้าขาย และยังใช้เป็นแรงงานที่สําคัญอีกด้วย
• ชาวจีนอพยพเหล่านี้ค่อยๆผสมกลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งของประชากรไทยในระดับต่างๆ
• ในระดับชนชั้นปกครอง เช่น หลวงพิชัยวารีบิดาของเจ้าพระยานิกรบดินทร (โต กัลยาณมิตร) ขุนนางคนสําคัญ
สมัย ร.๓มีนามเดิมว่ามั่ง หรือมั่น แซ่อิ๋ง เป็นจีนฮกเกี้ยนเกิดที่ตําบลไซจั๋มกัวยิม เมืองเอ้หมึง อพยพเข้ามาเมืองไทย
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทําการค้าสําเภาเจริญขึ้น รัชสมัย ร.๑ ได้เป็นหลวงพิชัยวารี
• ข้าราชการที่รัชกาลที่ ๓ ทรงแต่งตั้งเมื่อขึ้นครองราชย์สมบัติ มีหลายคนเป็นคนเชื้อสายจีน เป็นข้าหลวงเดิมมา
ตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ ๒ เช่น เจ๊สัวโต เป็นพระยาพิชัยวารี เจ๊สัวบุญมา เป็นพระวิเศษวารี เป็นต้น
• มีการเคลื่อนย้ายคนจากหัวเมืองใต้และมลายู มีการส่งเรือออกไปรับผู้อพยพชาวมุสลิมส่วนแรกถูกส่งไป
อยู่กับพระยาราชวังสรรค์ ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่คลองนางหงส์ ริมคลองมหานาคต่อออกไปคลองบางกะปิ
พวกที่เดินทางเข้ามาภายหลังถูกส่งออกไปในพื้นที่คลองแสนแสบที่ไกลออกไป
• นอกจากนี้ชาวมุสลิมยังตั้งบ้านเรือนกระจายอยู่ในพื้นที่อื่นๆ เช่น บริเวณที่ทําการไปรษณีย์กลางใน
ปัจจุบัน เดิมเป็นชุมชนมุสลิมเรียกว่าสุเหร่าบ้านแขก และทางถนนเจริญกรุงฟากตะวันออก ตั้งแต่
ถนนสุรวงศ์ด้านเหนือไปถึงคลองสะพานยาวก็มีหมู่บ้านอิสลาม
• ส่วนทางฟากธนบุรีตามแนวคลองบางกอกใหญ่ถึงคลองบางหลวง มีหมู่บ้านอิสลามอยู่กันมาตั้งแต่สมัย
อยุธยาและต่อมาในสมัยหลังอาจจะมีมุสลิมที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้เคียงกันบริเวณหลังวัดพิชัยญาติ
ซึ่งเรียกกันในปัจจุบันว่าบ้านแขก
การเคลื่อนย้ายคนกลุ่มมุสลิมในรัชสมัยรัชกาลที่ ๓
การอพยพชาวลาวในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
• กลุ่มลาวพวน เป็นคนในสังกัดเจ้าพระยาบดินทร์เดชาในรัชกาลที่ ๓ อยู่ในบริเวณต่างๆ เช่น แถบวัดคอกหมูใกล้สี่แยก
หลานหลวง บริเวณฝั่งธนบุรีที่บางไส้ไก่ มีวัดลาวเป็นศูนย์กลางชุมชน ลาวที่วัดจักรวรรดิ ลาววัดสุทธิวราราม วัดนี้เรียกว่าวัด
ลาวมาก่อนเพราะมีบ้านเรือนของลาวอยู่หลังวัด
• เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ ไปตีไทดําแล้วกวาดต้อนมายังกรุงเทพฯ ทูลขอแลกชาวไทดํากับชาวลาวเวียงจันทน์ที่ถูกกวาด
ต้อนมาสมัยกรุงธนบุรี และทูลขอให้อาณาจักรลาวเวียงจันทน์เป็นเอกราชไม่ขึ้นตรงกับกรุงเทพฯ แต่รัชกาลที่ ๓ ทรงไม่
อนุญาต เพราะหากยอมก็จะมีกลุ่มอื่นๆขอบ้าง เมื่อไม่พระราชทานเจ้าอนุวงศ์รู้สึกอัปยศ จึงตั้งต้นคิดกบฏ
• ปี พ.ศ. ๒๓๗๖ - ๒๓๗๘ เกิดศึกญวน คือหัวพันห้าทั้งหก เมืองพวน เมื่อกองทัพสยามชนะจึงนําชาวพวนและชาวไทดําลง
มายังกรุงเทพฯ
• ปี พ.ศ. ๒๓๗๙ - ๒๓๘๑ จากพงศาวดารเมืองหลวงพระบาง หลังเจ้าอนุวงศ์สวรรคตราชวงศ์ลาวเวียงจันทน์ล่มสลาย หัว
เมืองหลวงพระบางจึงขึ้นตรงต่อสยาม อุปราชเมืองหลวงพระบางยกทัพไปตีเมืองไทดํา กวาดต้อนชาวไทดํามาเป็นเครื่อง
ถวายบรรณา
การเคลื่อนย้ายชาวเวียดนามรัชสมัยรัชกาลที่ ๓
• มีเวียดนามซึ่งเป็นคาทอลิกอพยพเข้ามาจากการเกลี้ยกล่อมของบาทหลวงที่ทางรัฐบาลกรุงเทพฯ ส่งออกไปกับกองทัพ
ในปี พ.ศ. ๒๓๘๕
• ได้ตั้งบ้านเรือนเหนือบ้านเขมรริมวัดส้มเกลี้ยง และโปรดฯ ให้สักว่าญวนสวามิภักดิ์กกลุ่มหนึ่ง ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง
เจ้าพระยาบดินทร์เดชาส่งมาจากค่ายองเตียนกุน โปรดฯ ให้สักข้อมือว่ากองอาสารบญวน
• พระราชทานให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิสเรศรังสรรค์ไว้ใช้สอย ในภายหลังมีเข้ามาอีกก็ส่งให้ไปอยู่
รวมกับกลุ่มเดิมตามศาสนา
• ส่วนเวียดนามที่นับถือศาสนาพุทธมีชุมชนอยู่ที่บ้านหม้อ พาหุรัด และบางโพ
• กลุ่มหนีภัยทางการเมืองและศาสนา และถูกกวาดต้อนเข้ามาในฐานะเชลยสงครามระหว่างไทยกับเวียดนาม ชาว
เวียดนามอพยพและถูกกวาดต้อนเหล่านี้ ก่อให้เกิดการผสมกลมกลืนทางเชื้อชาติ วัฒนธรรมระหว่างชาวไทยและชาว
เวียดนามในที่สุด
ขอบคุณครับ
แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือถามคาถามเพิ่มเติมได้ที่
www.facebook.com/ekkachai.srivilas
www.elifesara.com

More Related Content

What's hot

ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ม.3
ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ม.3ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ม.3
ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ม.3Oae Butrawong Skr
 
กำเนิดรัฐชาติ
กำเนิดรัฐชาติกำเนิดรัฐชาติ
กำเนิดรัฐชาติWarinthorn Limpanakorn
 
พุทธประวัติ ส16101 ป.6
พุทธประวัติ ส16101 ป.6พุทธประวัติ ส16101 ป.6
พุทธประวัติ ส16101 ป.6Thanawut Rattanadon
 
ประวัติและผลงาน 9 รัชกาลของไทย
ประวัติและผลงาน 9 รัชกาลของไทยประวัติและผลงาน 9 รัชกาลของไทย
ประวัติและผลงาน 9 รัชกาลของไทยSukanda Panpetch
 
งานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมาร
งานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมารงานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมาร
งานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมารSantichon Islamic School
 
2 ระบบเศรษฐกิจ
2 ระบบเศรษฐกิจ2 ระบบเศรษฐกิจ
2 ระบบเศรษฐกิจKunlaya Kamwut
 
รัฐเดี่ยว รัฐรวม
รัฐเดี่ยว รัฐรวมรัฐเดี่ยว รัฐรวม
รัฐเดี่ยว รัฐรวมthnaporn999
 
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นNattha Namm
 
งานนำเสนอมัทนะพาธา
งานนำเสนอมัทนะพาธางานนำเสนอมัทนะพาธา
งานนำเสนอมัทนะพาธาSantichon Islamic School
 
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยหน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยPaew Tongpanya
 
กัณฑ์มัทรี
กัณฑ์มัทรีกัณฑ์มัทรี
กัณฑ์มัทรีMilky' __
 
Key of 5 การสถาปนาธนบุรี
Key of 5 การสถาปนาธนบุรีKey of 5 การสถาปนาธนบุรี
Key of 5 การสถาปนาธนบุรีPracha Wongsrida
 
ทวีปอเมริกาเหนือ
ทวีปอเมริกาเหนือทวีปอเมริกาเหนือ
ทวีปอเมริกาเหนือพัน พัน
 
ประวัติศาสตร์ ม.2
ประวัติศาสตร์ ม.2ประวัติศาสตร์ ม.2
ประวัติศาสตร์ ม.2Krusangworn
 
ไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วงไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วงPonpirun Homsuwan
 

What's hot (20)

อารยธรรมจีน
อารยธรรมจีน อารยธรรมจีน
อารยธรรมจีน
 
ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ม.3
ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ม.3ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ม.3
ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ม.3
 
กำเนิดรัฐชาติ
กำเนิดรัฐชาติกำเนิดรัฐชาติ
กำเนิดรัฐชาติ
 
พุทธประวัติ ส16101 ป.6
พุทธประวัติ ส16101 ป.6พุทธประวัติ ส16101 ป.6
พุทธประวัติ ส16101 ป.6
 
ประวัติและผลงาน 9 รัชกาลของไทย
ประวัติและผลงาน 9 รัชกาลของไทยประวัติและผลงาน 9 รัชกาลของไทย
ประวัติและผลงาน 9 รัชกาลของไทย
 
งานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมาร
งานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมารงานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมาร
งานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมาร
 
2 ระบบเศรษฐกิจ
2 ระบบเศรษฐกิจ2 ระบบเศรษฐกิจ
2 ระบบเศรษฐกิจ
 
การเมืองก...Pptx กลุ่ม 2
การเมืองก...Pptx กลุ่ม 2การเมืองก...Pptx กลุ่ม 2
การเมืองก...Pptx กลุ่ม 2
 
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรีประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
 
รัฐเดี่ยว รัฐรวม
รัฐเดี่ยว รัฐรวมรัฐเดี่ยว รัฐรวม
รัฐเดี่ยว รัฐรวม
 
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
 
งานนำเสนอมัทนะพาธา
งานนำเสนอมัทนะพาธางานนำเสนอมัทนะพาธา
งานนำเสนอมัทนะพาธา
 
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยหน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
 
ความสำคัญของพระมหากษัตริย์ต่อชาติไทย
ความสำคัญของพระมหากษัตริย์ต่อชาติไทยความสำคัญของพระมหากษัตริย์ต่อชาติไทย
ความสำคัญของพระมหากษัตริย์ต่อชาติไทย
 
กัณฑ์มัทรี
กัณฑ์มัทรีกัณฑ์มัทรี
กัณฑ์มัทรี
 
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ Ppt[1]
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ Ppt[1]คัมภีร์ฉันทศาสตร์ Ppt[1]
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ Ppt[1]
 
Key of 5 การสถาปนาธนบุรี
Key of 5 การสถาปนาธนบุรีKey of 5 การสถาปนาธนบุรี
Key of 5 การสถาปนาธนบุรี
 
ทวีปอเมริกาเหนือ
ทวีปอเมริกาเหนือทวีปอเมริกาเหนือ
ทวีปอเมริกาเหนือ
 
ประวัติศาสตร์ ม.2
ประวัติศาสตร์ ม.2ประวัติศาสตร์ ม.2
ประวัติศาสตร์ ม.2
 
ไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วงไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วง
 

Similar to พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

สุโขทัย
สุโขทัยสุโขทัย
สุโขทัยsangworn
 
9789740335542
97897403355429789740335542
9789740335542CUPress
 
คร งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ย
คร  งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ยคร  งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ย
คร งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ยปาล์มมี่ ไม่เล่นเกมส์
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยfernbamoilsong
 
อาณาจักรอยุธยา
อาณาจักรอยุธยาอาณาจักรอยุธยา
อาณาจักรอยุธยาsangworn
 
ผลงานนักเรียนชั้นม.6/1 เรื่องการสถาปนา สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
ผลงานนักเรียนชั้นม.6/1 เรื่องการสถาปนา สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรีผลงานนักเรียนชั้นม.6/1 เรื่องการสถาปนา สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
ผลงานนักเรียนชั้นม.6/1 เรื่องการสถาปนา สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรีPrincess Chulabhorn's College, Chiang Rai Thailand
 
ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก
ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก
ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกSompak3111
 
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรีPrincess Chulabhorn's College, Chiang Rai Thailand
 
ความสัมพันธ์กับอาณาจักรต่างๆในสมัยสุโขทัย อยุธยา
ความสัมพันธ์กับอาณาจักรต่างๆในสมัยสุโขทัย อยุธยาความสัมพันธ์กับอาณาจักรต่างๆในสมัยสุโขทัย อยุธยา
ความสัมพันธ์กับอาณาจักรต่างๆในสมัยสุโขทัย อยุธยาPrincess Chulabhorn's College, Chiang Rai Thailand
 
อาณษจักรสุโขทัย
อาณษจักรสุโขทัยอาณษจักรสุโขทัย
อาณษจักรสุโขทัยkrunrita
 

Similar to พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (19)

กลุ่ม 1 การสถาปนา
กลุ่ม 1 การสถาปนากลุ่ม 1 การสถาปนา
กลุ่ม 1 การสถาปนา
 
สุโขทัย
สุโขทัยสุโขทัย
สุโขทัย
 
9789740335542
97897403355429789740335542
9789740335542
 
คร งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ย
คร  งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ยคร  งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ย
คร งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ย
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
อาณาจักรอยุธยา
อาณาจักรอยุธยาอาณาจักรอยุธยา
อาณาจักรอยุธยา
 
อาณาจักรอยุธยา
อาณาจักรอยุธยาอาณาจักรอยุธยา
อาณาจักรอยุธยา
 
การสถาปนา..
การสถาปนา..การสถาปนา..
การสถาปนา..
 
ผลงานนักเรียนชั้นม.6/1 เรื่องการสถาปนา สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
ผลงานนักเรียนชั้นม.6/1 เรื่องการสถาปนา สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรีผลงานนักเรียนชั้นม.6/1 เรื่องการสถาปนา สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
ผลงานนักเรียนชั้นม.6/1 เรื่องการสถาปนา สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
 
ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก
ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก
ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก
 
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
 
อยุธยา
อยุธยาอยุธยา
อยุธยา
 
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
 
ความสัมพันธ์กับอาณาจักรต่างๆในสมัยสุโขทัย อยุธยา
ความสัมพันธ์กับอาณาจักรต่างๆในสมัยสุโขทัย อยุธยาความสัมพันธ์กับอาณาจักรต่างๆในสมัยสุโขทัย อยุธยา
ความสัมพันธ์กับอาณาจักรต่างๆในสมัยสุโขทัย อยุธยา
 
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
 
อาณษจักรสุโขทัย
อาณษจักรสุโขทัยอาณษจักรสุโขทัย
อาณษจักรสุโขทัย
 
ประวัติสมเด็จพระสุริโยทัย
ประวัติสมเด็จพระสุริโยทัยประวัติสมเด็จพระสุริโยทัย
ประวัติสมเด็จพระสุริโยทัย
 
การปกครองของไทย
การปกครองของไทยการปกครองของไทย
การปกครองของไทย
 

More from Taraya Srivilas

การบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
การบริหารความขัดแย้ง บยส แจกการบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
การบริหารความขัดแย้ง บยส แจกTaraya Srivilas
 
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจกนโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจกTaraya Srivilas
 
โปสเตอร์สัญญาประชาคม
โปสเตอร์สัญญาประชาคมโปสเตอร์สัญญาประชาคม
โปสเตอร์สัญญาประชาคมTaraya Srivilas
 
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6Taraya Srivilas
 
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงานการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงานTaraya Srivilas
 
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชนแนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชนTaraya Srivilas
 
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว แจก
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว  แจกสันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว  แจก
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว แจกTaraya Srivilas
 
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69Taraya Srivilas
 
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจสันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจTaraya Srivilas
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webสถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webTaraya Srivilas
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webสถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webTaraya Srivilas
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 Taraya Srivilas
 
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทยการสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทยTaraya Srivilas
 
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิงสถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิงTaraya Srivilas
 
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้Taraya Srivilas
 
บทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคตบทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคตTaraya Srivilas
 
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุขบทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุขTaraya Srivilas
 
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่Taraya Srivilas
 
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าTaraya Srivilas
 

More from Taraya Srivilas (20)

การบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
การบริหารความขัดแย้ง บยส แจกการบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
การบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
 
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจกนโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
 
โปสเตอร์สัญญาประชาคม
โปสเตอร์สัญญาประชาคมโปสเตอร์สัญญาประชาคม
โปสเตอร์สัญญาประชาคม
 
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
 
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงานการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
 
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชนแนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
 
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว แจก
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว  แจกสันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว  แจก
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว แจก
 
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
 
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจสันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webสถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webสถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
 
American first muslim
American first muslimAmerican first muslim
American first muslim
 
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทยการสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
 
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิงสถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
 
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
 
บทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคตบทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคต
 
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุขบทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
 
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
 
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
 

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

  • 1. โดย พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อานวยการสานักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า www.elifesara.com ekkachais@hotmail.com พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์จักรี
  • 2. •การสร้างชาติให้เกิดความมั่นคง •จะต้องทําให้เกิดความมั่นคงทุกๆด้าน • ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ • ด้านการเมือง • ด้านสังคมจิตวิทยา • และด้านการทหาร การปกบ้านป้องเมืองสมัยพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • 3. พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๓) พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔ ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของสยามประเทศ รอยต่อของการเผชิญหน้ากับชาติตะวันตก • ๒๓๖๗ โปรดเกล้าให้ส่งกองทัพไปช่วยอังกฤษรบพม่า • ๒๓๖๙ ลงนามสนธิสัญญาเบอร์นีย์ • ๒๓๖๙ เจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ก่อการกบฏขึ้น • ๒๓๗๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งให้เจ้าพระยาพระคลัง(ดิส บุนนาค)เป็นว่าที่สมุห กลาโหม • ๒๓๗๖ ให้เจ้าพระยาบดินเดชาไปปราบกบฏญวน • ๒๓๘๑ เกิดกบฏวันหมาดหลี ที่หัวเมืองไทรบุรี • ๒๓๘๒ ประกาศห้ามสูบฝิ่น มีการเผาฝิ่น ปราบอั้งยี่ค้าฝิ่น
  • 4. ผลงานที่สาคัญด้านต่างๆ ของรัชกาลที่ ๓ • ความเฉลียวฉลาด ความรอบรู้ ความมีประสบการณ์ในพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์นั้น บรรดาชาวยุโรปที่ เข้ามาสู่สยามประเทศต่างมีความเห็นพ้องต้องกันว่าทรงมีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ เหล่านี้ ๑. ทรงมีความรู้ความสามารถกํากับการกองเรือพาณิชย์ ๒. กรณีเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาราษฎร ๓. การสงครามต่ออริราชศัตรู การนําทัพป้องกันราชอาณาจักร ๔. ความสัมพันธ์ต่างประเทศ ๕. การตราพระราชกําหนดกฎหมาย ๖. การพระพุทธศาสนา ๗. นโยบายการปกครองบ้านเมือง ๘. การศาลสถิตยุติธรรม ๙. การคลัง
  • 5. • ความเฉลียวฉลาด มีความรอบรู้ และประสบการณ์ในการรับราชการในตําแหน่งต่างๆก่อนขึ้น ครองราช จึงเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปของบรรดาชาวยุโรปที่เข้ามาสู่สยามต่างมีความเห็นพ้องต้องกันว่า • ทรงมีความรู้ความสามารถกํากับการกองเรือพาณิชย์ • การสร้างให้ประชาราษฎรเกิดความสงบสุข • การนําทัพป้องกันราชอาณาจักรในการสงครามต่ออริราชศัตรู • การสร้างความสัมพันธ์กับต่างประเทศ • การตราพระราชกําหนดกฎหมาย ความสามารถของพระองค์เจ้า กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ • การพระพุทธศาสนา • นโยบายการปกครองบ้านเมือง • การศาลสถิตยุติธรรม • การคลัง • เก็บภาษี
  • 6. • ทรงมีพระเนตรอันยาวทั่วเขตขัณฑสีมาอาณาจักร • รู้ตื้นลึกพฤติการณ์ จุดอ่อน จุดแข็ง ของประเทศตนเองและประเทศเพื่อนบ้าน • ทรงมีวิจารณญาณสุขุมคัมภีรภาพ ในการวิเคราะห์ต่อเหตุการณ์ต่างๆ • สามารถประมาณสถานการณ์สิ่งต่างๆที่จะเกิดขึ้นได้ถูกต้องแม่นยํา และตัดสินใจเด็ดขาดโดยเฉพาะ • ด้านการทหาร • การต่างประเทศ • การเศรษฐกิจและการคลัง • การรัฐศาสตร์ และภูมิรัฐศาสตร์(Geopolitics) เรื่องปกบ้านแปลงเมือง เพื่อ”ป้องเมือง” ความสามารถของพระองค์เจ้า กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
  • 8. • ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ โดยเจ้าพระยาทิพากรวงศามหาโกษาธิ บดี ได้ กล่าวถึงพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ที่ สาคัญเมื่อใกล้สวรรคตพระราชทานแก่ขุนนาง ข้าราชบริพารที่เข้าเฝ้าฯ ไว้ว่า "การศึก สงครามข้างญวน ข้างพม่า ก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวัง ให้ดี อย่าให้เสียทีแก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่คิดควร จะเรียนเอาไว้ก็ให้เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปเสียทีเดียว ทุกวันนี้คิดสละห่วงใยได้หมด อาลัยแต่วัดวา สร้าง ไว้ใหญ่โตหลายวัดที่ยังค้างอยู่ก็มี ถ้าชารุดทรุดโทรมไปจะไม่มีผู้ช่วยทานุบารุง เงินในพระ คลังที่เหลือจับจ่ายในราชการแผ่นดินมีอยู่ ๔๐,๐๐๐ ชั่งนี้ ขอสัก ๑๐,๐๐๐ ชั่งเถิดให้ไว้ บารุงวัดวาที่ยังค้างอยู่" พระองค์ทรงห่วงบ้านเมืองที่จะมีภัยจากพวกฝรั่ง
  • 9. การป้องกันประเทศ • จากที่เจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ก่อการกบฏขึ้น และญวนได้เข้ามาแทรกแซง จนแม่ทัพไทยได้ลวงญวนไปฆ่าเสียจํานวน มาก ทําให้ทรงตระหนักว่าญวนคงโกรธอาจก่อศึกสงครามขึ้นอีก ทรงมีพระราชดําริว่า “จะไว้ใจทางทะเลไม่ได้” • ทรงดําเนินการป้องกันประเทศในด้านต่างๆ ที่สําคัญดังต่อไปนี้ คือ ๑. สร้างป้อมปราการทางทะเลรักษาพระนคร เพื่อรักษาปากน้ําที่สําคัญทุกปากน้ําจัดทหารราบและทหารปืนใหญ่ขึ้น ๒. สร้างเมืองหน้าด่าน เพื่อเป็นการเสริมสร้างสมรรถภาพในการป้องกันเมืองชายแดนต่างๆ ให้เข้มแข็งขึ้น ๓. สร้างเรือรบ ในรัชการก่อนๆ ส่วนมากเป็นเรือลําเล็กไม่สามารถลําเลียงทหารได้มาก ทําให้เป็นปัญหา เกิดความเสียเปรียบในการทํา สงครามทางทะเล ๔. การขุดคลอง ช่วยย่นระยะทางในการขนส่งเสบียงอาหารและกําลังกองทัพ ๕. การสงคราม ธรรมดาแล้วชาติไหนบ้านเมืองไหนถ้าต้องทําสงครามแล้ว มีแต่บ้านเมืองจะข้าวยากหมากแพง และผู้คนยากจน แต่ รัชกาลที่ ๓ ท่านรบด้วย รวยด้วย ดังจะเห็นว่า เมื่อสิ้นรัชกาลยังมีเงินเหลือไว้สร้างวัดและไถ่เมืองสมัย รัชกาลที่๔ และรัชกาลที่๕ ๖. หัวใจแผ่นดิน ทรงเป็นนักปกครองที่ยึดหลักประชาธิปไตยอย่างยิ่ง พระองค์ทรงเป็นนักการเมืองที่เจนจัดเวทีและเล่นการเมืองเป็น ทรงเล่นการเมืองอย่างขาวสะอาด เป็นผู้มีประสบการณ์ เป็นคนทันคน ทรงใช้คนเป็น ทรงปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ทัน กาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป
  • 10. • พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงจัดตั้งทหารมะรีน ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๗ ทําหน้าที่รบอย่างทหารราบ เป็นกองเกียรติยศสําหรับรับเสด็จเป็นส่วนใหญ่ และ ยังได้ลงเรือรบหลวงสําหรับเป็นกองเกียรติยศ เวลาขึ้นบกเมื่อต้องเดินทางเสด็จประพาสไป ต่างประเทศ • คําว่า “ทหารนาวิกโยธิน” จึงถือกําเนิดขึ้นมาในกองทัพเรือ โดยจัดตั้งเป็น กรมนาวิก โยธินปัจจุบันเป็นหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน แต่จากสถานการณ์ทางการเมืองทําให้กรม นาวิกโยธินถูกยุบไปเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ต่อมารัฐบาลเห็นความจําเป็นของทหารหน่วยนี้ จึง ขออนุมัติให้จัดตั้งขึ้นมาใหม่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดตั้ง ทหารมะรีน
  • 11. “ ช่างเหล็กเจ๊กช่างทําปืนใหญ่ เชื่อมชิดสนิทในได้ที่ เหล็กเสืองเครื่องขันขยันดี ราวกับฝีมือนอกเอาออกกลึง ช่างแสงแต่งลวดลายฉลัก กระสุนสักห้าหกนิ้วกิ่ง ระเบิดดูดีร้ายก็หลายตึง ไม่แตกร้าวคราวหนึ่งถึงสิบนัด ผู้แก่เถ้าเล่าว่าไม่เคยเห็น เหมือนทําเล่นคล่องคล่องไม่ข้องขัด พระดําริห์ตริใช้ได้ก็ชัด เป็นมหามหัศอัศจรรย์ เพลงยาวยอพระเกียรติของ พระยาไชยวิชิต(เผือก) ตอนหนึ่งว่า
  • 13. • แผนที่แสดงการปกบ้านป้องเมือง ตามทฤษฎีภูมิรัฐศาสตร์(Geopolitics) ใน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว • รูปร่างของประเทศสยามเป็นหัวช้าง มิใช่เป็นขวานโบราณตามที่เข้าใจ พระองค์ ทรงประมาณสถานการณ์ว่า ๑. ทรงป้องกันประเทศจากอริราชศัตรูโดยเฉพาะ ญวณ ๒. บํารุงขวัญความเป็นอยู่ของชาวตะวันออกเฉียงเหนือ(อิสาณ)ทรงมีพระราโชบายอย่าง ชัดเจนถูกต้องคือ ๒.๑ ป้องกันเขมรมิให้ญวณคุกคามข่มเหงหรือกลืนชาติ ให้เขมรเป็นเอกราชเป็นประเทศกันชน ระหว่างญวณไท ๒.๒ ยกหมู่บ้านทางอิสาณเป็นเมือง(จังหวัด) ๘ เมือง เพื่อความมั่นคง เข้มแข็งของชาติใน”ทางลึก” ตามทฤษฎี ภูมิรัฐศาสตร์ ๓. ยกเมืองสตูล เป็นเมืองของไทยเพื่อป้องกันทางใต้ การรัฐศาสตร์ และภูมิรัฐศาสตร์(Geopolitics) เรื่องปกบ้านแปลงเมือง เพื่อ”ป้องเมือง”
  • 14. •สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) – อังกฤษ ส่งทูตมาเจริญ สัมพันธไมตรีกับสยาม เพราะต้องการ “เมืองท่า” ค้าขาย – พ.ศ. ๒๓๓๔ ได้ทําสัญญาเช่า “เกาะหมาก (ปีนัง)” จากเมืองไทรบุรี (เป็นเมืองประเทศราชของสยามขณะนั้น) •พ.ศ. ๒๓๖๔ ผู้สําเร็จราชการอังกฤษ ประจําอินเดีย ส่ง จอห์น ครอว์เฟิร์ด มาเจรจาเรื่อง การค้าและการเมือง (๔ เดือน) แต่ไม่สําเร็จ •พ.ศ. ๒๓๖๘ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ผู้สําเร็จราชการ อังกฤษประจําอินเดีย ได้ส่ง ร้อยเอกเฮนรี่ เบอร์นี่ มาเจรจาอีกครั้ง เป็นเวลาถึง ๕ เดือน จึง เจรจาสําเร็จ ๒๓๖๙ การลงนามสนธิสัญญาเบอร์นีย์
  • 15. •สยามกับอังกฤษ ตกลงทําสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๓๖๙ เรียกว่า “สนธิสัญญาเบอร์นีย์” •การทําสนธิสัญญาเบอร์นีย์ ครั้งนี้เป็นเพราะ สถานการณ์ในขณะนั้นอังกฤษได้ทําสงคราม ชนะพม่า ทําให้สยามตระหนักถึงอิทธิพลของอังกฤษ จึงยินยอมทําสนธิสัญญาดังกล่าว •“สนธิสัญญาเบอร์นีย์” – นับเป็น การเริ่มต้นการเข้ามามีบทบาททางการค้าของอังกฤษใน สยามอีกครั้งหนึ่ง ๒๓๖๙ การลงนามสนธิสัญญาเบอร์นีย์
  • 16. • สยามและอังกฤษ จะเป็นมิตรไมตรีต่อกัน จะไม่แย่งชิงเอาบ้านเมืองหรือดินแดนซึ่งกันและกัน • ถ้ามี “คดี” เกิดขึ้นในเขตสยาม ให้สยามตัดสินตามขนบธรรมเนียมประเพณีของสยาม คนอีกฝ่ายหนึ่ง ไปอยู่ในอาณาเขตของอีกฝ่ายหนึ่ง จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายของอาณาเขตนั้น • อังกฤษยอมรับอํานาจอธิปไตยของสยามที่มีเหนือไทรบุรี – ฝ่ายสยาม ยินยอมให้ไทรบุรีค้าขายกับปีนัง และให้ปีนังซื้อเสบียงอาหารจากไทรบุรี โดยไม่เสียภาษีขาออก • อังกฤษยอมรับสิทธิและอธิปไตยของสยามที่มีเหนือกลันตันและตรังกานู • อังกฤษและสยาม รับประกันความเป็นอิสระของเประและสลังงอ สยามรับรองว่าจะไม่ใช้กําลังเข้ารุกราน รัฐทั้งสอง ๒๓๖๙ การลงนามสนธิสัญญาเบอร์นีย์
  • 17. สาระสาคัญ “สนธิสัญญาเบอร์นีย์” ด้านการค้าและด้านการเมือง •พ่อค้าอังกฤษ สามารถเข้ามาค้าขายได้อย่างเสรี และเสียภาษีในอัตราที่แน่นอน •อังกฤษ ยอมรับเรื่อง การผูกขาดการค้าของรัฐบาลสยาม •อังกฤษ ยอมรับเรื่องการห้ามนําเข้า ฝิ่นและอาวุธปืนเข้ามาในสยาม •สนธิสัญญาเบอร์นีย์ ใช้อยู่ระยะหนึ่ง อังกฤษขอเจรจาแก้ไขสนธิสัญญา แต่รัชกาลที่ ๓ พร้อมทั้งขุนนางผู้ใหญ่ปฏิเสธข้อเสนอของอังกฤษ เพราะร่างสัญญาใหม่อังกฤษได้รับ ประโยชน์ฝ่ายเดียว
  • 18. • มีข่าวลือว่าอังกฤษจะนําเรือรบมายึดกรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้เจ้า อนุวงศ์เกณฑ์กองทัพเวียงจันทน์ลงมาช่วยทําศึก • เจ้าอนุวงศ์ออกอุบายแก่เจ้าเมืองตามรายทางว่า อังกฤษกําลังเตรียมทัพเรือมายึดกรุงเทพฯ เจ้าเมืองตาม รายทาง เช่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น สุรินทร์ ขุขันธ์ หลงเชื่อและให้การสนับสนุนเจ้าอนุวงศ์ ยอม ให้เดินทัพผ่านโดยสะดวก และมอบเสบียงอาหารให้เพิ่มเติมด้วย • ทัพมาถึงนครราชสีมา พระยานครราชสีมาและพระยาปลัดไม่อยู่ เจ้าอนุวงศ์ก็เข้ายึดนครราชสีมาและส่ง กองทัพไปกวาดต้อนผู้คนถึงสระบุรี • พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวให้กรมพระราชวังบวรเป็นแม่ทัพใหญ่ยกไปปราบ จนเกิดวีรกรรม ท้าวสุรนารี และโปรดเกล้าให้พระยากรสุภาวดี(สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพหน้า เป็นเจ้าพระยาสุภาวดี ว่าที่สมุหนายก พ.ศ. ๒๓๖๙ กบฏเจ้าอนุวงศ์
  • 19. • พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์กับเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) เป็นแม่กองจัดสร้างป้อมปราการจํานวน ๖ ป้อม ใช้เวลา ๓ ปี • ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ กับเจ้าพระยาพระคลัง เป็น ผู้อํานวยการสร้างพระเจดีย์ขึ้นที่เกาะหาดทรายท้ายป้อมผีเสื้อสมุทร เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการที่พระองค์ ทรงสละพระราชทรัพย์ เพื่อปกป้องประเทศชาติและพระศาสนา • รัชกาลที่ ๒ เสด็จสวรรคตเสียก่อน เมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เสด็จเถลิงถวัลย ราชสมบัติ เป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) จึงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดสร้าง ต่อจนแล้วเสร็จ การสร้างพระสมุทรเจดีย์ ปี พุทธศักราช ๒๓๗๐
  • 21. • ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ และ ๒ ฐานะทางการคลังของรัฐบาลไม่มั่นคงเลย • รัฐบาลมีภาระในการสร้างพระนคร สร้างวัด สะสมอาวุธยุทโธปกรณ์ และต้องทาการสงครามกับข้าศึกหลายด้านจานวน หลายครั้งหลายหน • เรื่องการขาดแคลนเงินแผ่นดินนั้นถึงกับเป็นเหตุใหญ่ที่ทาให้วังหลวงกับวังหน้าต้องประจันกันด้วยปืนใหญ่เกือบจะเป็นศึก กลางเมือง ดังพระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ ๑ กล่าวไว้ว่า “ ครั้น ณ วันอาทิตย์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๐ ค่า สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคลลงมาเฝ้ากราบทูล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า เงินที่พระราชทานขึ้นไปปีละ ๑,๐๐๐ ชั่ง นั้น ไม่พอแจกเบี้ยหวัดข้าราชการวังหน้า จะขอรับพระราชทานเงินเติมอีกให้พอแจกจ่าย จึงดารัสว่า เงินเก็บมาได้แต่ส่วยสาอากรก็พอใช้ทานุบารุงแผ่นดิน เหลือจึงได้เอามาแจกเบี้ยวหวัด ก็ไม่ใคร่พอ ต้องเอาเงินกาไรจากตกแต่งสาเภามาเพิ่มเติมเข้าอีก จึงพอใช้ไปได้ปี หนึ่งๆ เงินคงคลังที่สะสมไว้ก็ยังไม่มี กรมพระราชวังบวรฯ ไม่ได้ตามพระราชประสงค์ก็ขัดเคือง มิได้ลงมาเฝ้า เลย______” สร้างความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ
  • 22. • วิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒ สมัยรัชกาลที่ ๕ (พ.ศ.๒๔๓๖) ฝรั่งเศสยื่นคาขาดแก่รัฐบาลสยาม ข้อหนึ่งที่ต้องจ่ายเงิน ๓ ล้านฟรังก์ โดยชาระเป็นเงินเหรียญทันทีเพื่อชดใช้ค่าเสียหายต่างๆ ภายใน ๔๘ ชั่วโมง มิฉะนั้นกองทัพเรือฝรั่งเศสจะ ปิดอ่าวไทยทันที และสั่งทูตฝรั่งเศสออกจากสยาม สยามอาจตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสได้ • “ปัญหาของไทยตอนนั้นคือ การที่จะหาเงินจานวนมากมาชาระให้ทันเส้นตาย เสนาบดีพระคลังมหาสมบัติถวาย รายงานว่าเงินในพระคลังมีไม่เพียงพอกับที่ฝรั่งเศสเรียกร้อง แต่มีพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ทูลเตือนให้ทราบถึงเงินพระ คลังข้างที่จากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงสะสมไว้ในถุงแดง” จึงถูกนามาใช้สมทบเป็นค่าปรับ • มจ.หญิงพูนพิสมัย ดิศกุล ทรงนิพนธ์ในเรื่อง "เหตุการณ์ ร.ศ.๑๑๒ และเสียเขตแดนใน ร.๕“ ว่า “...ฝรั่งเศสไม่ต้องการ ให้ ไทยจ่ายค่าเสียหายเป็นธนบัตร หากว่าต้องการเป็น "เงินกริ๋งๆ" คราวนี้ก็ต้องเทถุงกันหมด เงินถุงแดงข้างพระที่ ที่ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ทรงเก็บไว้ ด้วยมีพระราชดารัสว่า "เอาไว้ถ่ายบ้านถ่ายเมือง"ก็ได้ใช้จริงคราวนี้ ผู้ใหญ่เล่าว่า เจ้านายในพระราชวังเอาเงินถวายกันจนเกลี้ยง ใส่ถุงขนออกจากในวังทางประตูต้นสน ไปลงเรือทางท่าราชวรดิฐกันทั้ง กลางคืนกลางวัน...” วิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒ สมัยรัชกาลที่ ๕ (พ.ศ.๒๔๓๖)
  • 23. • “เงินถุงแดง” เป็น เงินที่พระองค์ท่านทรงได้จากการค้าสาเภาส่วนพระองค์เมื่อครั้งยังทรงดารงพระอิศริยยศ พระเจ้าลูก ยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ • นอกจากจะถวายสมเด็จพระบรมชนกนาถใช้ในการแผ่นดินแล้ว ทรงเก็บหอมรอมริบเงินที่ได้จากการค้าส่วนพระองค์ไว้ เป็นจานวนมากโดยเก็บใส่ "ถุงผ้าสีแดง" ไว้ข้างพระแท่นที่บรรทม จึงเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า “เงินพระคลังข้างที่” คา ว่า “พระคลังข้างที่” ทรงพระราชทานเป็นทุนสารองให้แก่แผ่นดินสาหรับใช้ในยามบ้านเมืองอยู่ในภาวะคับขันในเวลา ต่อมา • เงินในถุงแดงที่ทรงสะสมนี้ประมาณ ๔๐,๐๐๐ ชั่งเศษ โดยก่อนเสด็จสวรรคตได้มีพระดํารัสสั่งเสียมอบเงินถุงแดงนี้ไว้ ใช้ไถ่บ้านไถ่เมือง แต่ได้ทรงขอไว้สําหรับปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ๑๐,๐๐๐ ชั่ง • ซึ่งภายหลังก็จริงดังพระราชดํารัส เมื่อถึงเวลาต้องไถ่บ้านไถ่เมืองกับฝรั่งเศสในสมัย รศ 112 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ไทย เราต้องใช้เงิน 3 หมื่นชั่งเศษของพระนั่งเกล้าฯ ไถ่บ้านไถ่เมือง ซึ่งเวลานั้นก็ประมาณ สองล้านห้า-สองล้านหก ซึ่ง เป็นจํานวนเงินที่ไม่น้อยเลย "เงินถุงแดง" มรดกของชาติจากรัชกาลที่ ๓ ที่รักษาเอกราชของชาติ จากวิกฤต ร.ศ.๑๑๒
  • 24. • พระวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลของรัชกาลที่ ๓ ที่ทรงเห็นภัยคุกคามเอกราชสยาม จากชาติตะวันตกในยุคนั้น ทรงห่วงใยบ้านเมืองและวัดวาอารามที่ทรง สร้างขึ้นไว้ให้เป็นศรีสง่าแก่บ้านเมือง • ในคติจีนมีความเชื่อว่า ถุงผ้าสีแดงสามารถขับไล่ภยันตรายและสิ่งชั่วร้าย ได้ และสื่อความหมายอันเป็นมงคล และความโชคดี สันนิษฐานว่าการเก็บ เงินใส่ถุงผ้าสีแดง อาจได้รับอิทธิพลจากคติจีนดังกล่าว • ในรัฐสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นยุคที่มีการติดต่อค้าขายกับจีนอย่างเฟื่องฟู จึง น่าจะสัมพันธ์กับการนาเงินใส่ซองสีแดงมอบให้ลูกหลานในเทศกาลหรืองาน มงคล ของจีน อันแสดงถึงความมั่งคั่งร่ารวย ความสุขสวัสดิมงคลและ ความโชคดีด้วยเช่นกัน พระวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลของรัชกาลที่ ๓
  • 25. • ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น จะมีการค้าขายกับต่างประเทศ สิ่งที่ใช้แลกเปลี่ยนและในระบบเศรษฐกิจการค้าขายระหว่าง ประเทศ จึงน่าจะเป็นเงินเหรียญต่างประเทศที่มีการยอมรับกันในยุคนั้น สมัยรัชกาลที่ ๓ มีเงินต่างประเทศเช่นเงินเม็กซิโก เงินเปรู และเงินรูปีของอินเดีย เป็นต้น ที่ยอมรับในการแลกเปลี่ยน ซื้อขายสินค้ากันอยู่ในเมืองไทยแล้ว แม้ในสมัยนั้นจะ เป็นเงินพดด้วงก็ตาม • สันนิษฐานว่าเงินในถุงแดงน่าจะเป็นเงินต่างประเทศที่ใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนในสมัยนั้น ดังเช่นเหรียญรูปนกของ เม็กซิโก ซึ่งใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนสินค้าที่หลายชาติให้การยอมรับในสมัยนั้น • เหรียญนกเม็กซิโก มีลักษณะเป็นเหรียญกลมแบนมีรูปนกอินทรีย์อยู่ด้านหนึ่ง (รูปนกอินทรีย์กางปีกปากคาบอสรพิษ เป็น สัญลักษณ์ของประเทศเม็กซิโก) ไทยจึงเรียก "เหรียญนก" • เหรียญเงินที่ใช้ตรงกับสมัยรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๗-๒๓๙๔) สอดคล้องกับที่ฝรั่งเศสกล่าวถึงเงินค่าปรับสงครามของไทยที่ ชาระด้วยเหรียญเม็กซิกัน มีบันทึกในเอกสารฝรั่งเศสที่กล่าวถึงเงินเม็กซิกันที่บรรทุกใส่เรือมาจากสยามในเหตุการณ์ ร. ศ.112 มีน้าหนักประมาณ 23 ตัน "เหรียญนก“ ในเงินถุงแดง
  • 27. ผู้คนและสังคมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จํานวนประชากรในประเทศไทย ตามบันทึกของบาทหลวงปาลเลอกัวซ์ ที่มา: สังฆราชปาลเลอกัวซ์, เล่าเรื่องเมืองไทย, แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร(กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์ก้าวหน้า, ๒๕๐๖), น. ๓-๔. เชื้อชาติ จํานวน สยามและลาว ๑,๙๐๐,๐๐๐ คน จีน ๑,๕๐๐,๐๐๐ คน มาลายา ๑,๐๐๐,๐๐๐ คน ลาว ๑,๐๐๐,๐๐๐ คน เขมร ๕๐๐,๐๐๐ คน มอญ ๕๐,๐๐๐ คน กะเหรี่ยง ชอง ละว้า ๕๐,๐๐๐ คน รวม ๖,๐๐๐,๐๐๐* คน
  • 28. ผู้คนและสังคมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จํานวนประชากรในประเทศไทย ตามบันทึกของจอห์น ครอเฟิร์ด หัวหน้าคณะทูตที่มาถึงกรุงเทพฯ ใน พ.ศ. ๒๓๖๕ ที่มา: เอกสารของครอเฟิร์ด, แปลโดย ไพโรจน์ เกษแม่นกิจ(กรุงเทพฯ : กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๑๕)น. ๙๕. *จํานวนนี้อาจมีการคลาดเคลื่อน เพราะมีการคัดลอกต่อๆกันมา เชื้อชาติ จํานวน สยามและลาว (มีมากที่สุด) ๔,๒๐๐,๐๐๐ คน มอญ ๔๒,๐๐๐ คน เขมร ๕๐,๐๐๐ คน มลายู ๑๕,๐๐๐ คน จีน ๗๐๐,๐๐๐ คน รวม ๕,๑๔๒,๐๐๐* คน
  • 29. ด้านสังคมจิตวิทยาในต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ • ตอนปลายรัชกาลที่ ๒ มีชาวจีนอพยพมาเมืองไทยปีละ ๗,๐๐๐ คน และในตอนปลายรัชกาลที่ ๓ ได้เพิ่มปีละ ๑๕,๐๐๐ คน • ชาวจีนที่อพยพเข้ามาเป็นระลอกๆ มีบทบาททางด้านเศรษฐกิจมาก โดยเป็นพ่อค้าคนกลาง เจ้าภาษีนายอากร ผู้ทํา การค้าทางเรือ ผู้เดินเรือค้าขาย และยังใช้เป็นแรงงานที่สําคัญอีกด้วย • ชาวจีนอพยพเหล่านี้ค่อยๆผสมกลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งของประชากรไทยในระดับต่างๆ • ในระดับชนชั้นปกครอง เช่น หลวงพิชัยวารีบิดาของเจ้าพระยานิกรบดินทร (โต กัลยาณมิตร) ขุนนางคนสําคัญ สมัย ร.๓มีนามเดิมว่ามั่ง หรือมั่น แซ่อิ๋ง เป็นจีนฮกเกี้ยนเกิดที่ตําบลไซจั๋มกัวยิม เมืองเอ้หมึง อพยพเข้ามาเมืองไทย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทําการค้าสําเภาเจริญขึ้น รัชสมัย ร.๑ ได้เป็นหลวงพิชัยวารี • ข้าราชการที่รัชกาลที่ ๓ ทรงแต่งตั้งเมื่อขึ้นครองราชย์สมบัติ มีหลายคนเป็นคนเชื้อสายจีน เป็นข้าหลวงเดิมมา ตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ ๒ เช่น เจ๊สัวโต เป็นพระยาพิชัยวารี เจ๊สัวบุญมา เป็นพระวิเศษวารี เป็นต้น
  • 30. • มีการเคลื่อนย้ายคนจากหัวเมืองใต้และมลายู มีการส่งเรือออกไปรับผู้อพยพชาวมุสลิมส่วนแรกถูกส่งไป อยู่กับพระยาราชวังสรรค์ ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่คลองนางหงส์ ริมคลองมหานาคต่อออกไปคลองบางกะปิ พวกที่เดินทางเข้ามาภายหลังถูกส่งออกไปในพื้นที่คลองแสนแสบที่ไกลออกไป • นอกจากนี้ชาวมุสลิมยังตั้งบ้านเรือนกระจายอยู่ในพื้นที่อื่นๆ เช่น บริเวณที่ทําการไปรษณีย์กลางใน ปัจจุบัน เดิมเป็นชุมชนมุสลิมเรียกว่าสุเหร่าบ้านแขก และทางถนนเจริญกรุงฟากตะวันออก ตั้งแต่ ถนนสุรวงศ์ด้านเหนือไปถึงคลองสะพานยาวก็มีหมู่บ้านอิสลาม • ส่วนทางฟากธนบุรีตามแนวคลองบางกอกใหญ่ถึงคลองบางหลวง มีหมู่บ้านอิสลามอยู่กันมาตั้งแต่สมัย อยุธยาและต่อมาในสมัยหลังอาจจะมีมุสลิมที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้เคียงกันบริเวณหลังวัดพิชัยญาติ ซึ่งเรียกกันในปัจจุบันว่าบ้านแขก การเคลื่อนย้ายคนกลุ่มมุสลิมในรัชสมัยรัชกาลที่ ๓
  • 31. การอพยพชาวลาวในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว • กลุ่มลาวพวน เป็นคนในสังกัดเจ้าพระยาบดินทร์เดชาในรัชกาลที่ ๓ อยู่ในบริเวณต่างๆ เช่น แถบวัดคอกหมูใกล้สี่แยก หลานหลวง บริเวณฝั่งธนบุรีที่บางไส้ไก่ มีวัดลาวเป็นศูนย์กลางชุมชน ลาวที่วัดจักรวรรดิ ลาววัดสุทธิวราราม วัดนี้เรียกว่าวัด ลาวมาก่อนเพราะมีบ้านเรือนของลาวอยู่หลังวัด • เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ ไปตีไทดําแล้วกวาดต้อนมายังกรุงเทพฯ ทูลขอแลกชาวไทดํากับชาวลาวเวียงจันทน์ที่ถูกกวาด ต้อนมาสมัยกรุงธนบุรี และทูลขอให้อาณาจักรลาวเวียงจันทน์เป็นเอกราชไม่ขึ้นตรงกับกรุงเทพฯ แต่รัชกาลที่ ๓ ทรงไม่ อนุญาต เพราะหากยอมก็จะมีกลุ่มอื่นๆขอบ้าง เมื่อไม่พระราชทานเจ้าอนุวงศ์รู้สึกอัปยศ จึงตั้งต้นคิดกบฏ • ปี พ.ศ. ๒๓๗๖ - ๒๓๗๘ เกิดศึกญวน คือหัวพันห้าทั้งหก เมืองพวน เมื่อกองทัพสยามชนะจึงนําชาวพวนและชาวไทดําลง มายังกรุงเทพฯ • ปี พ.ศ. ๒๓๗๙ - ๒๓๘๑ จากพงศาวดารเมืองหลวงพระบาง หลังเจ้าอนุวงศ์สวรรคตราชวงศ์ลาวเวียงจันทน์ล่มสลาย หัว เมืองหลวงพระบางจึงขึ้นตรงต่อสยาม อุปราชเมืองหลวงพระบางยกทัพไปตีเมืองไทดํา กวาดต้อนชาวไทดํามาเป็นเครื่อง ถวายบรรณา
  • 32. การเคลื่อนย้ายชาวเวียดนามรัชสมัยรัชกาลที่ ๓ • มีเวียดนามซึ่งเป็นคาทอลิกอพยพเข้ามาจากการเกลี้ยกล่อมของบาทหลวงที่ทางรัฐบาลกรุงเทพฯ ส่งออกไปกับกองทัพ ในปี พ.ศ. ๒๓๘๕ • ได้ตั้งบ้านเรือนเหนือบ้านเขมรริมวัดส้มเกลี้ยง และโปรดฯ ให้สักว่าญวนสวามิภักดิ์กกลุ่มหนึ่ง ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง เจ้าพระยาบดินทร์เดชาส่งมาจากค่ายองเตียนกุน โปรดฯ ให้สักข้อมือว่ากองอาสารบญวน • พระราชทานให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิสเรศรังสรรค์ไว้ใช้สอย ในภายหลังมีเข้ามาอีกก็ส่งให้ไปอยู่ รวมกับกลุ่มเดิมตามศาสนา • ส่วนเวียดนามที่นับถือศาสนาพุทธมีชุมชนอยู่ที่บ้านหม้อ พาหุรัด และบางโพ • กลุ่มหนีภัยทางการเมืองและศาสนา และถูกกวาดต้อนเข้ามาในฐานะเชลยสงครามระหว่างไทยกับเวียดนาม ชาว เวียดนามอพยพและถูกกวาดต้อนเหล่านี้ ก่อให้เกิดการผสมกลมกลืนทางเชื้อชาติ วัฒนธรรมระหว่างชาวไทยและชาว เวียดนามในที่สุด