SlideShare a Scribd company logo
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้
อย่างไร?
สืบเนื่องจากภัยอันตรายที่มีต่อความมั่นคงสถาพร
ของสถาบันพระมหากษัตริย์ ขบวนการประชาธิปไตยแห่ง
ชาติผู้เผยแผ่แนวทางสร้างประชาธิปไตยพระปกเกล้า
รัชกาลที่ 7 และสถาบันประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ขอถือโอกาส
นำาเสนอเนื้อหาจากหนังสือชื่อ "จะรักษาสถาบันพระ
มหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร" เขียนโดยอ.ประเสริฐ
ทรัพย์สุนทรซึ่งได้รับการตีพิมพ์เป็นตอนๆลงในนิตยสาร
"ตะวันใหม่" ในปีพ.ศ. 2524 และต่อมาได้รับการตีพิมพ์
1
อีกครั้งในหนังสือพิมพ์ "สยามโพสต์" ในคอลัมน์ "โลกสี
ฟ้า" ของนายจำาลอง บุญสองในปีพ.ศ. 2539 และได้จัด
พิมพ์รวมเล่มขึ้นเป็นครั้งแรกเป็นหนังสือพ็อคเก็ตบุคสำาหรับ
แจกจ่ายในปีเดียวกัน ในวโรกาสอภิลักขิตสมัยฉลองครอง
สิริราชสมบัติครบ 50 ปี
ในโลกข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ได้เคยนำาเนื้อหาไป
เผยแผ่ด้วยการโพสเป็นตอนๆในเว็บบอร์ดวิทยุผู้จัดการถึง
สองครั้งเมื่อปี 2548-2549 และในปี2551 ตามลำาดับ ท่าน
ผู้อ่านจะได้ทำาความเข้าใจกับแนวทางและศึกษาปัญหาพื้น
ฐานของประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาลัทธิ
การเมืองที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา
และพระมหากษัตริย์ และผู้เขียนได้เสนอแนวทางแก้
ปัญหาไว้แล้วในบทสุดท้ายของหนังสือเล่มนี้ และผู้ปฏิบัติ
งานทั้งหมดของขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติผู้เผยแผ่
แนวทางสร้างประชาธิปไตยพระปกเกล้ารัชกาลที่ 7 และ
สถาบันประเสริฐ ทรัพย์สุนทรถือเป็นหลักการปฏิบัติอย่าง
เคร่งครัด.
นับแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ประวัติศาสตร์
ของประเทศไทยเป็นประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ระหว่าง
ขบวนการเผด็จการคอมมิวนิสต์กับขบวนการ
ประชาธิปไตย โดยขบวนเผด็จการคอมมิวนิสต์มี
ขบวนเผด็จการรัฐสภาเป็น "แนวร่วม " หากขบวน
เผด็จการคอมมิวนิสต์ชนะ ประเทศไทยก็จะมีการปกครอง
แบบคอมมิวนิสต์ เท่ากับว่า ชาติ ศาสนา และพระมหา
กษัตริย์ก็จะสิ้นไป แต่หากขบวนการประชาธิปไตยชนะ
ประเทศไทยก็จะมีการปกครองแบบประชาธิปไตย ชาติ
ศาสนา และพระมหากษัตริย์ก็จะมีความมั่นคงดำารงถาวรอยู่
ตลอดไปเหมือนกับอารยประเทศ เช่นในยุโรปได้แก่
ประเทศ อังกฤษ และบางประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย ใน
ทวีปอาเซียได้แก่ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น
นายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เป็นผู้นำาเอาพระบรม
ราโชบายของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
2
รัชกาลที่ 7 ที่ทรงสืบทอดมาจากรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่
6 มาประยุกต์เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันต่อสู้เอาชนะ
ขบวนการเผด็จการคอมมิวนิสต์ที่มีขบวนการเผด็จการ
รัฐสภาเป็นแนวร่วม เพื่อรักษาชาติ ศาสนา และพระมหา
กษัตริย์ โดยได้เสนอนโยบายต่อผู้ปกครองและประชาชน
มาตลอดระยะเวลาหลายสิบปีตลอดจนสิ้นอายุขัย การเสนอ
นโยบายของนายประเสริฐเท่าที่ผ่านมาท่านเสนอจำาเพาะ
กลุ่มแคบลงต่อผู้ปกครอง ถ้าหากผู้ปกครองคณะใดนำาไป
ปฏิบัติก็จะแก้ปัญหาชาติบ้านเมืองได้ แต่ถ้าผู้ปกครองใด
ไม่นำาไปปฏิบัติก็จะพากันล่มสลายหายไปจากการเมืองการ
ปกครองทุกคณะ และถึงแม้จะมีผู้ปกครองบางคณะรับเอา
ไปปฏิบัติไม่ครบถ้วนแต่ก็มีผลใหญ่หลวงสามารถรักษา
ชาติบ้านเมืองไว้ได้ เช่น นโยบายต่อสู้กับทฤษฎีโดมิโนเพื่อ
ให้ประเทศรอดพ้นจากการถูกยึดประเทศจากคอมมิวนิสต์
อินโดจีน และนโยบายเพื่อต่อสู้เอาชนะคอมมิวนิสต์ 66/23
บรรลุความสำาเร็จของการสร้างการปกครองแบบ
ประชาธิปไตยระดับหนึ่ง เป็นต้น
และในโอกาสอันเป็นมงคลและในการเปิดตัวสำานัก
สื่อปฏิวัติทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในขบวนการประชาธิปไตย
แห่งชาติผู้เผยแผ่แนวทางสร้างประชาธิปไตยพระปกเกล้า
รัชกาลที่ 7 และสถาบันประเสริฐ ทรัพย์สุนทรในแนวทาง
ปฏิวัติสันติ เพื่อเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์และเพื่อให้มี
ความมั่นคงยั่งยืนไปชั่วนิรันดรด้วยความสำาเร็จของการ
สถาปนาการปกครองแบบประชาธิปไตย จึงมีความ
สอดคล้องเหมาะสมอย่างสำาคัญที่สำานักสื่อปฏิวัติดังกล่าว
จะได้นำาเสนอ “จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้
มั่นคงได้อย่างไร” ซึ่งเขียนโดย นาย ประเสริฐ ทรัพย์
สุนทร อีกครั้งหนึ่ง
Cradit by: อาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
Edit : thongkrm_virut@yahoo.com
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้
3
อย่างไร?
องค์คุณเอกภาพ 3 ประการของประเทศไทย
คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ได้รับการเชิดชูขึ้นเป็น
พิเศษโดยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 พร้อม ๆ กับทรงเปลี่ยน
ธงชาติจากธงแดงรูปช้างสีขาว เป็นธง 3 สี คือ แดง ขาว
นำ้าเงิน เรียกว่า “ธงไตรรงค์”
ธงไตรรงค์ คือ สัญลักษณ์ขององค์คุณ
เอกภาพ 3 ประการ สีแดงเป็นสัญลักษณ์ของ ชาติ สีขาว
เป็นสัญลักษณ์ของศาสนา สีนำ้าเงินเป็นสัญลักษณ์ของพระ
มหากษัตริย์
ชาติ หมายความถึง ชนชาติไทย และ
ประชาชาติสยาม รวมกัน (ประชาชาติสยาม เปลี่ยนเป็น
ประชาชาติไทยโดยรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2482
ว่าด้วย นามประเทศ เมื่อเปลี่ยนนามประเทศจากประเทศ
สยามเป็นประเทศไทย ประชาชาติสยามก็เปลี่ยนเป็น
ประชาชาติไทย และสยามรัฐก็เปลี่ยนเป็นรัฐไทย)
ศาสนา หมายความถึง ศาสนาทุกศาสนาใน
ประเทศไทย โดยเฉพาะหมายความถึงพุทธศาสนา ซึ่งเป็น
ศาสนาที่สอดคล้อง
กับลักษณะของชนชาติไทย และชนชาติไทยรับเอาเป็น
ศาสนาของตนมาแต่โบราณกาล
พระมหากษัตริย์ หมายความถึง ประมุขแห่ง
รัฐว่าประเทศไทยทุกยุคทุกสมัยแต่โบราณมา มีพระมหา
กษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ ไม่ว่าสภาวการณ์ทาง
ประวัติศาสตร์และทางสังคมของประเทศไทยจะพัฒนาไป
อย่างไร พระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐคู่กับชนชาติ
ไทยเสมอไป
องค์คุณ 3 ประการนี้ เป็นเอกภาพกัน แยกกัน
ไม่ออก ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นอันหนึ่งอัน
เดียวกัน เหมือนกับ สีแดง สีขาว สีนำ้าเงิน ทั้ง 3 สี รวมกัน
อยู่อย่างแยกกันไม่ได้ในธงไตรรงค์ผืนเดียวกัน
4
ต่อมา เมื่อมีการปฏิวัติประชาธิปไตยเกิดขึ้นใน
ประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2475 รัฐบาลของระบอบ
ประชาธิปไตยได้เพิ่มองค์คุณเข้าไปอีกองค์หนึ่ง คือ
รัฐธรรมนูญ องค์คุณเอกภาพ 3 ประการจึงเปลี่ยนเป็นองค์
คุณเอกภาพ 4 ประการ คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
และรัฐธรรมนูญ
การที่รัฐบาลสมัยนั้นเพิ่มรัฐธรรมนูญเข้าไป ก็
เพราะเข้าใจผิดที่ยกความสำาคัญของรัฐธรรมนูญจนเกินไป
ซึ่งความจริงรัฐธรรมนูญหาได้มีฐานะสูงส่งเสมอด้วยชาติ
ศาสนา และพระมหากษัตริย์ไม่ ถ้ารัฐบาลสมัยนั้นจะยก
องค์คุณใดขึ้นมาเสมอด้วยองค์คุณ 3 ประการดังกล่าว องค์
คุณนั้นควรเป็น ระบอบประชาธิปไตย ฉะนั้น ถ้าจะเปลี่ยน
องค์คุณเอกภาพ 3 ประการ เป็นองค์คุณเอกภาพ 4
ประการตามดำาริของรัฐบาลสมัยนั้นแล้ว องคุณ 4 ประการ
ควรเป็น ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และระบอบ
ประชาธิปไตย เมื่อการเพิ่มรัฐธรรมนูญเข้าไปอีกองค์คุณ
หนึ่งเกิดจากความเข้าใจผิด ที่ยกความสำาคัญของ
รัฐธรรมนูญสูงเกินไป ต่อมาองคุณรัฐธรรมนูญจึงหายไป
เอง คงเหลือองค์คุณ 3 ประการ คือ ชาติ ศาสนา พระมหา
กษัตริย์ ตามพระราชดำาริอันถูกต้องของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่
6 มาจนถึงทุกวันนี้
และในปัจจุบัน กล่าวถึงองค์คุณเอกภาพ 3
ประการนี้นิยมกล่าวในฐานะเป็นสถาบัน คือ สถาบันชาติ
สถาบันศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ คนไทยพากัน
รู้สึกว่า สถาบันเอกภาพทั้ง 3 นี้ เริ่มได้รับความกระทบ
กระเทือนเมื่อมหาอำานาจเจ้าอาณานิคมทำาการคุกคามต่อ
ประเทศหนักยิ่งขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดย
มหาอำานาจมุ่งจะทำาลายเอกราชของประชาชาติสยาม ถ้า
เอกราชของประชาชาติสยามถูกทำาลายลงในครั้งนั้น จะ
เป็นภัยคุกคามอย่างรุนแรงต่อสถาบันพุทธศาสนาและ
สถาบันพระมหากษัตริย์
...ด้วยพระปรีชาญาณของพระบาทสมเด็จ
5
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว ภัยคุกคามจากมหาอำานาจต่อเอกราชของ
ประชาชาติสยามถูกขจัดโดยพื้นฐาน แต่ก็ยังไม่อาจไว้
วางใจได้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรง
ส่งเสริมความรักชาติ (Patriotism) และลัทธิชาตินิยม
(Nationalism) ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ด้วยการเชิดชูองค์คุณ 3
ประการ คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ขึ้นเป็นพิเศษ
เป็นสำาคัญประการหนึ่ง ครั้งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ
ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มหาอำานาจสังคมนิยมเข้มแข็งขึ้นอย่าง
รวดเร็วคู่ขนานกับมหาอำานาจเสรีนิยม ภัยคุกคามต่อ
ประเทศไทยด้วยรูปแบบต่าง ๆ ก็ทวียิ่งขึ้น จึงจำาเป็นต้องใช้
มาตรการสูงสุดในการรับมือภัยคุกคาม นั่นคือ การปฏิวัติ
ประชาธิปไตย การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อ
พ.ศ.2475
แต่ระบอบประชาธิปไตยประสบความล้มเหลว
เป็นเหตุสำาคัญให้ภัยคุกคามทวีขึ้นเป็นลำาดับและเลวร้าย
มากในปัจจุบัน คุณบุญชู โรจนเสถียร กล่าวคำาบรรยายที่
กรมยุทธศึกษาทหารบก เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2524 ตอน
หนึ่งว่า “ผมเห็นจะต้องเอ่ยถึงสถานการณ์ที่เห็นกันอยู่ คือ
เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศเราในช่วงเวลาไม่
นานมานี้ กำาลังแผ่เงาดำาครอบคลุมไปทั่วประเทศ ถ้าเราไม่
คิดหลอกตัวเองกัน เราก็ต้องยอมรับกันว่า ทุกคนกำาลังมี
ความกังวลห่วงใยบ้านเมืองของเรา ห่วงใยสถาบันต่าง ๆ ที่
เราเคารพบูชา ว่าตกอยู่ในสถานะที่อันตรายมาก แต่จะเป็น
ด้วยเหตุใดก็ตาม พวกเรามักเก็บไว้ในใจไม่พูดถึงกัน
อย่างไรก็ตาม วันนี้ผมอยากระบายแทน เพราะเห็นว่า ถ้า
เราประสงค์จะอยู่รอดตลอดไป เราต้องหันหน้าเข้าสู้กับ
ความจริง ไม่ว่าความเป็นจริงนั้นจะลำาบากยากเข็ญที่จะแก้
เพียงใด หรือน่ากลัวเพียงใด เราก็ต้องพร้อมใจกันฝ่าฟัน
แก้ไขอย่างกล้าหาญ ไม่ย่อท้อแม้แต่น้อย” (จาก “ตะวัน
ใหม่” ฉบับที่ 175)
คำาของคุณ บุญชู ที่กล่าวว่า “ทุกคนกำาลังมีความ
6
กังวลห่วงใยบ้านเมืองของเรา ห่วงใยสถาบันต่าง ๆ ที่เรา
เคารพบูชา ว่าตกอยู่ในฐานะที่อันตรายมาก” นั้น เป็นการ
สะท้อนสภาพความเป็นจริงอย่างถูกต้องที่สุด และคุณบุญ
ชู กล่าวว่า “แต่จะเป็นด้วยเหตุใดก็ตามพวกเรามักจะเก็บไว้
ในใจไม่พูดถึงกัน... วันนี้ผมจะขอระบายแทน” นั้น เรา
“ตะวันใหม่” ขอรับรองให้คุณบุญชูระบายแทนเพราะ
รู้สึกว่าคุณบุญชูสามารถใช้คำาพูดสั้น ๆ วาดมโนภาพ
เข้าไปถึงส่วนลึกที่สุดในหัวใจของประชาชนชาวไทย รวม
ทั้งของ “ตะวันใหม่” เกินกว่าความสามารถที่เราจะ
ระบายเองได้ โดยเฉพาะที่คุณบุญชู กล่าวว่า ทุกคนกำาลัง
ห่วงใยต่อสถาบันต่าง ๆ ที่เราเคารพบูชา ก็คือ สถาบันชาติ
สถาบันศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ นั่นเอง
อย่างไรก็ดี เราเห็นว่า ความสามารถของคุณบุญ
ชู มีเพียงแต่ระบายความในใจแทนคนไทยที่มีความห่วงใย
สถาบันอันเป็นที่เคารพบูชาเท่านั้น แต่ในปัจจุบันปัญหาไม่
ได้มีเพียงการระบายความห่วงใย ปัญหาสำาคัญที่สุดใน
ปัจจุบัน คือ ทำาอย่างไรจึงจะแก้ให้สถาบันที่เราเคารพบูชา
พ้นจากสภาพที่ “ตกอยู่ในฐานะที่อันตรายมาก” ที่คุณบุญชู
ระบายออกมาอย่างตรงกับความเป็นจริงที่สุดนั้นได้ ความ
ห่วงใยสถาบันที่เราเคารพบูชาว่าตกอยู่ในฐานะที่อันตราย
มาก คือ ทุกข์ แต่จะรู้ทุกข์เพียงอย่างเดียวมิได้ จะต้องรู้เหตุ
แห่งทุกข์ และรู้หนทางแห่งความพ้นทุกข์ด้วย
เรารู้ทุกข์กันมามากแล้ว เวลานี้ไม่ใช่เวลาที่
เพียงแต่จะรำาพันถึงทุกข์ บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่จะต้องแก้ทุกข์
และพ้นทุกข์ การที่จะพ้นทุกข์ได้นั้น จะต้องมีหนทางแก้
ทุกข์อย่างถูกต้อง ถ้ามีหนทางแก้ทุกข์ไม่ถูกต้อง ก็แก้ทุกข์
ไม่ได้ ไม่พ้นทุกข์แต่กลับจะทุกข์หนักยิ่งขึ้นก็เป็นไปได้
ความจริงคุณบุญชูไม่ได้ระบายทุกข์อย่างเดียว
คุณบุญชูได้เสนอหนทางแก้ทุกข์ด้วยเหมือนกัน เช่นเดียว
กับหลายคนที่ไม่เพียงแต่ระบายความห่วงใยต่อชาติบ้าน
เมืองเท่านั้น หากยังเสนอวิธีแก้ปัญหาของประเทศชาติอีก
ด้วย แต่วิธีแก้ปัญหานั้น มีทั้งถูกต้องและผิดพลาด วิธีแก้
ปัญหาที่ถูกต้องเท่านั้นจึงจะแก้ปัญหาได้ วิธีการแก้ปัญหา
7
ที่ผิดพลาดไม่เพียงแต่จะแก้ปัญหาไม่ได้ หากยังจะทำาให้
ปัญหาร้ายแรงยิ่งขึ้นก็เป็นไปได้
สมัยก่อนพุทธกาล มีศาสดาเป็นอันมากสอน
หนทางพ้นทุกข์ แต่ไม่สามารถจะพ้นทุกข์ ก็เพราะหนทาง
เหล่านั้นเป็นหนทางที่ผิดพลาด การที่พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น
ในโลก คือ การเกิดขึ้นของหนทางพ้นทุกข์ที่ถูกต้อง เรียก
ว่า สัมมามรรค ซึ่งปฏิเสธมิจฉามรรคของศาสนาอื่นสมัย
นั้น กล่าวโดยอนุโลมกับการเมือง สัมมามรรคก็คือ
นโยบายที่ถูกต้อง และมิจฉามรรคก็คือนโยบายที่ผิดพลาด
เพราะ “ตะวันใหม่” เห็นตรงกับคุณบุญชูและคนอื่นว่า
สถาบันต่าง ๆ ที่เราเคารพบูชาตกอยู่ในอันตรายมาก
จำาเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องแก้ไขโดยด่วนที่สุด แต่การที่
แก้ไขได้นั้น ไม่เพียงแต่จะ “ต้องหันหน้าเข้าสู่ความ
เป็นจริง ไม่ว่าความเป็นจริงนั้นจะลำาบากยากเข็ญที่
จะแก้สักเพียงใด หรือน่ากลัวเพียงใด เราจะต้อง
พร้อมใจกันฟันฝ่าแก้ไขอย่างกล้าหาญ ไม่ย่อท้อ
แม้แต่น้อย” อย่างคุณบุญชูว่าเท่านั้น ข้อสำาคัญที่สุดจะ
ต้องมีนโยบายที่ถูกต้องในการแก้ไขด้วย จึงจะแก้ไขได้
คนไทยไม่ได้ขาดความกล้าหาญ และไม่ได้ขาด
นโยบาย สิ่งที่ขาด คือ นโยบายที่ถูกต้อง คุณบุญชูได้เสนอ
นโยบายสำาหรับแก้ไขสถานการณ์ ซึ่งสถาบันต่าง ๆ ที่เรา
เคารพบูชาตกอยู่ในฐานะที่อันตรายมากไว้แล้ว เช่นเดียว
กับบุคคลอื่นและคณะบุคคลอื่นได้เสนอนโยบายไว้เป็นอัน
มาก แต่ว่าเราเห็นว่านโยบายเหล่านั้นไม่สามารถจะแก้
ปัญหาได้เพราะโดยพื้นฐานแล้วยังไม่เป็นนโยบายที่ถูก
ต้องยังไม่เป็นสัมมามรรค “ตะวันใหม่” ยืนยันว่า นโยบาย
ของเราสำาหรับแก้ไขสถานการณ์ซึ่งสถาบันต่าง ๆ ที่เรา
เคราพบูชาตกอยู่ในฐานะที่อันตรายมากนั้นเป็นนโยบายที่
ถูกต้อง และถ้านำาไปปฏิบัติอย่างครบถ้วนแล้ว สถาบันต่าง
ๆ ที่เราเคารพบูชาก็จะพ้นอันตรายและมีความมั่นคงและ
ยั่งยืนไปชั่วนิรันดร
เราจึงขอนำาเอานโยบายที่เรายืนยันว่าถูกต้อง
นั้นมาเสนอต่อสาธารณะอีกครั้งหนึ่ง เพื่อได้โปรดพิจารณา
8
โดยทั่วกัน และเพื่อให้สอดคล้องแก่กาลเวลา ซึ่งใกล้
อภิลักขิตสมัยเฉลิมฉลองกรุงเทพพระมหานครฯ ครบรอบ
200 ปี (ในปีที่เขียน) เพื่อเชิดชูสถาบันที่เราเคารพบูชา คือ
ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และในการเฉลิมฉลอง
นั้นเรียงลำาดับโดยยกสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอันดับ
แรก ฉะนั้น ในการนำาเอานโยบายของเราเพื่อแก้ไข
สถานการณ์ให้สถาบันที่เราเคารพบูชาพ้นจากฐานะที่ตก
อยู่ในอันตรายมาและให้มีความมั่นคงยั่งยืนไปชั่วนิรันดร
มาเสนอยำ้าในครั้งนี้ เราขอเริ่มต้นด้วยสถาบัพระมหา
กษัตริย์ โดยให้ชื่อเรื่องว่า “จะรักษาสถาบันพระมหา
กษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร”
เราตั้งหัวเรื่องว่าจะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์
ให้มั่นคงได้อย่างไร คำาว่า “มั่นคง” มีความหมายอย่าง
เดียวกับคำาว่า “ปลอดภัย” ตรงกับศัพท์อังกฤษว่า
Secure เช่นคำาว่า Security Council แต่ก่อนแปลเป็นไทย
ว่า “คณะมนตรีความปลอดภัย” เวลานี้แปลว่า “คณะ
มนตรีความมั่นคง” และในปัจจุบันคำาว่า Security ก็ยัง
ใช้ศัพท์คำาไทย 2 คำาอยู่ เช่น National Security Centre
ใช้คำาว่า “ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ” National
Security Council ใช้ว่า “สภาความมั่นคงแห่งชาติ”
เป็นต้น
Secure แปลว่า Untroubled by danger of
apprehension (The Concise Oxford Dictionary) แปล
เป็นไทยว่า ไม่ยุ่งยาก ไม่ลำาบาก หรือไม่กังวลด้วยอันตราย
หรือความกลัว
ฉะนั้น ความมั่นคงจึงหมายถึง ความไม่ยุ่งยาก ไม่
ลำาบาก หรือไม่กังวลด้วยอันตรายหรือความกลัว พูดง่าย ๆ
ว่าไม่มีอันตรายหรืออันตรายทำาอะไรไม่ได้นั่นเอง
ฉะนั้น การรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคง
ก็คือการทำาให้สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มีอันตรายหรือ
อันตรายทำาอะไรต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ได้นั่นเอง
เรายกคำาของคุณบุญชู โรจนเสถียร มาในฉบับ
9
ก่อนว่า “ทุกคนกำาลังกังวลห่วงใยบ้านเมืองของเรา
ห่วงใยสถาบันต่าง ๆ ที่เราเคารพบูชา ว่าตกอยู่ใน
ฐานะที่อันตรายมาก” คำาของคุณบุญชูนี้ พูดอีกนัยหนึ่ง
ก็คือ สถาบันต่าง ๆ ที่เราเคราพบูชา ตกอยู่ในฐานะที่ไม่
มั่นคงมาก คือ สถาบันชาติ สถาบันศาสนา และสถาบันพระ
มหากษัตริย์ ตกอยู่ในฐานะที่ไม่มั่นคงมากนั่นเอง เพราะ
ฉะนั้น จึงมีความจำาเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องรักษาสถาบัน
ชาติ สถาบันศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคง
ในที่นี้เราเริ่มต้นด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงตั้งหัวเรื่อง
ว่า จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
แต่ไหนแต่ไรมา คนไทยไม่เคยรู้จักและไม่เคย
คิดถึงความไม่มั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะ
สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยมีความมั่นคงมาโดยตลอด คน
ไทยเคยรู้จักแต่ความไม่มั่นคงขององค์พระมหากษัตริย์บาง
องค์ในบางสมัยเท่านั้น เช่นในสมัยกรุงศรีอยุธยา คนไทย
รู้จักความไม่มั่นคงของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระเยาว์
หรือความไม่มั่นคงของพระมหากษัตริย์ซึ่งประชาชนไม่
ยอมรับ (คือขุนวรวงศาธิราช) หรือพระมหากษัตริย์ผู้ทรงมี
ผู้คิดชิงราชสมบัติมาก หรือเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งหลัง
พระมหากษัตริย์ต้องเสด็จหนีและสิ้นพระชนม์ เหล่านี้คือ
ความไม่มั่นคงขององค์พระมหากษัตริย์บางพระองค์ซึ่งคน
ไทยรู้จัก
แต่ในขณะที่พระมหากษัตริย์บางพระองค์ไม่
มั่นคงนั้นสถาบันพระมหากษัตริย์มั่นคงโดยตลอดตรงนี้ เรา
เห็นควรชี้แจงไว้ด้วยคำาว่า “พระมหากษัตริย์” นั้นมี 2
ฐานะ คือ ฐานะสถาบัน และฐานะบุคคล ถ้ากล่าวถึงพระ
มหากษัตริย์ในฐานะบุคคลต้องใช้ราชาศัพท์ ปัญหานี้เคยมี
การโต้เถียงกันในระหว่างการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ
ร่างของคณะกรรมาธิการใช้คำาว่า “...มีพระมหากษัตริย์
เป็นประมุข” มีสมาชิกโต้แย้งว่า ต้องเติม “ทรง”
เข้าไป เป็น “...มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรง
อธิบายให้สมาชิกสภาฟังว่า “พระมหากษัตริย์” ในประโยค
10
นี้ ไม่ใช่บุคคลจึงไม่ต้องใช้ราชาศัพท์ การโต้เถียงจึงยุติ
ดังกล่าวแล้วว่า แต่ก่อนไทยไม่เคยรู้จักความไม่
มั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ เคยรู้จักแต่ความไม่
มั่นคงของพระมหากษัตริย์บางพระองค์ แล้วเหตุใดเวลานี้
คนไทยจึงเกิดความรู้สึกถึงความไม่มั่นคงของสถาบันพระ
มหากษัตริย์อย่างมาก ดังตัวอย่างที่คุณบุญชู ว่าตกอยู่ใน
ฐานะที่อันตรายมาก?
คนไทยเริ่มห่วงใยถึงความไม่มั่นคงของสถาบัน
พระมหากษัตริย์เมื่อมหาอำานาจเจ้าอาณานิคมคุกคาม
เอกราชของประเทศไทยรุนแรงยิ่งขึ้นในสมัยกรุง
รัตนโกสินทร์เพราะถ้ามหาอำานาจยึดประเทศไทยได้ อาจ
ทำาลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังตัวอย่างที่อังกฤษยกเลิก
สถาบันพระมหากษัตริย์ในพม่าเป็นต้น
ก่อนยุคล่าอาณานิคมอย่างรุนแรงนั้น แม้ว่า
ประเทศไทยจะเคยแพ้สงคราม ก็ไม่กระทบกระเทือนความ
มั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้ชนะสงครามไม่ทำาลาย
สถาบันพระมหากษัตริย์ เพียงแต่ทำาอันตรายต่อพระมหา
กษัตริย์พระองค์เดิมเท่านั้น เช่นเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยาแพ้
สงครามแก่พม่าเมื่อ พ.ศ.2112 สถาบันพระมหากษัตริย์ยัง
อยู่ และเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อ พ.ศ.2310 พระยา
ตากสินก็ยกสถาบันพระมหากษัตริย์ขึ้นมาอีกในทันทีทั้ง ๆ
ที่สุกี้ยึดกรุงศรีอยุธยาอยู่
แต่ถ้าประเทศไทยตกเป็นเมืองขึ้นแก่มหาอำานาจ
ตะวันตกก็ไม่แน่ว่ามหาอำานาจจะไม่ทำาลายสถาบันพระมหา
กษัตริย์ นี่คือเริ่มแรกที่คนไทยเกิดความห่วงใยต่อความ
มั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์แต่ความห่วงใยนี้ก็เลือน
หายไปเมื่อแน่ใจแล้วว่าประเทศไทยสามารถรักษาเอกราช
ไว้ได้ ด้วยพระปรีชาญาณของพระมหากษัตริย์ไทย
....ความห่วงใยเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อเกิดการ
เคลื่อนไหวปฏิวัติประชาธิปไตยขึ้นในประเทศไทยการ
เคลื่อนไหวประชาธิปไตย (หรือขบวนการประชาธิปไตย)
ในประเทศไทยนั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งดำาเนิน
11
การปฏิวัติประชาธิปไตยโดยพระมหากษัตริย์ เจ้านายและ
ขุนนางผู้ใหญ่ อีกส่วนหนึ่งดำาเนินการปฏิวัติประชาธิปไตย
โดยข้าราชการระดับล่างและพ่อค้าประชาชน ส่วนแรก
ไม่มีใครห่วงใยต่อความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์
ส่วนหลังก่อให้เกิดความเป็นห่วงอยู่บ้าง
การเคลื่อนไหวปฏิวัติประชาธิปไตยส่วนแรก ซึ่ง
ดำาเนินการโดยพระมหากษัตริย์ เจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่
นั้น ความมุ่งหมายประการหนึ่งในการปฏิวัติประชาธิปไตย
ก็เพื่อรักษาความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังเช่น
การปฏิวัติประชาธิปไตยในญี่ปุ่น ซึ่งดำาเนินการโดยพระ
จักรพรรดิเป็นต้น
ในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็
ทรงมีพระราชดำาริที่จะทำาการปฏิวัติประชาธิปไตยอยู่ เพียง
แต่จะทรงทำาการปฏิรูปประชาธิปไตยเสียก่อน เท่านั้น และ
การเคลื่อนไหวปฏิวัติประชาธิปไตยของเจ้านายและ
ขุนนางในสมัยนั้นก็มีความมุ่งหมายอย่างเดียวกัน ดังเช่น
คำาท้ายถวายคำากราบบังคมทูลแด่พระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ทรงรีบทำาการปฏิวัติประชาธิปไตย
ของคณะเจ้านายและขุนนางเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2428 มี
ข้อความตอนหนึ่งว่า
“ ด้วยความประสงค์อันนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวง
จึงสามารถกราบบังคมทูลพระกรุณา บังอาจชี้แจงโดย
พิสดารแลใช้ถ้อยคำาอันเรี่ยวแรงดังนี้ เพราะเป็นความ
ประสงค์ของข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงที่จะกราบบังคมทูล
แสดงความกตัญญูรักใคร่ในใต้ฝ่ายละอองธุลีพระบาทแล
บ้านเมือง ซึ่งได้เป็นของไทยมาหลายร้อยปี โดยเต็มตามใจ
คิดทุกอย่าง ไม่ได้คิดยั้งถ้อยคำา ถ้าผิดพลั้งเหลือเกิน
เรี่ยวแรงไปประการใดแล้ว พระราชอาญาไม่พ้นเกล้าฯ แล
ที่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงสามารถกราบบังคมทูลพระกรุณา
ทั้งนี้หาได้มีความประสงค์แห่งลาภ ยศฐานานุศักดิ์ฦๅช่อง
โอกาส ด้วยความประสงค์จะหาประโยชน์อย่างหนึ่งอย่าง
ใดไม่ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงมีความประสงค์จะได้ฉลอง
พระเดชพระคุณซึ่งได้ทรงพระกรุณาชุบเลี้ยงเกล้าฯ มา แล
12
ทำาความดีให้แก่บ้านเมืองซึ่งเป็นที่รักของข้าพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายเพื่อให้เป็นเอกราชต่อไปด้วยร่างกายแลชีวิต หา
ได้คิดถึงความสุขความเจริญแต่ในส่วนตัวต่อไปข้างหน้า
ไม่”
และอีกตอนหนึ่งว่า
“ ด้วยข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงมีความเชื่อถืออัน
เป็นแน่ว่า ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทมีพระราชหฤทัยทรง
พระอุตสาหะดังที่ได้มีมาเป็นพยานอยู่แต่ก่อนแล้วที่จะทรง
พระราชวินิจฉัยในราชกิจทำานุบำารุงราชอาณาเขตและ
ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ ให้มีความสุขความเจริญต่อไปแลทั้ง
โดยความกตัญญูสวามิภักดิ์ของข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวง
เฉพาะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท จึงทำาให้ข้าพระพุทธเจ้ามี
ความประสงค์อันแรงกล้าที่จะได้เห็นรัชกาลของใต้ฝ่า
ละอองธุลีพระบาทรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไปด้วยความดีความเจริญ
เพราะฉะนั้นข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงจึ่งสามารถขอรับ
พระราชทานพระบรมราชานุญาติ กราบบังคมทูลใต้ฝ่า
ละอองธุลีพระบาท ทรงพระราชดำาริถึงรัชกาลปัตยุบันนี้ ซึ่ง
ตั้งอยู่ในสมัยอันประเสริฐ คือ “ศิวิไลซ์” นี้ ไม่ควรที่จะให้มี
ความดี ความเจริญเพียงเสมอรัชกาลของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวแต่โบราณมาด้วยราชกิจแห่งพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าแผ่นดินนั้น ใช่แต่จะทรงทำานุบำารุงรักษาพระราช
กิจแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินนั้น ใช่แต่จะทรง
ทำานุบำารุงรักษาพระราชอาณาเขตให้พ้นจากภัยอันตราย
ตลอดไปชั่วรัชกาลหนึ่งนั้นมิได้ ต้องให้ความดีความเจริญ
ที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้ทรงพระราชอุตสาหะประพฤติ
มาในรัชกาลปัตยุบันนี้ เป็นการป้องกันรักษาอันแน่นอน
ของกรุงสยาม แลเป็นรากของความเจริญที่ต่อไปแลเมื่อ
รัชกาลในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทสิ้นไปแล้วให้ผู้ที่จะมา
รักษาราชประเพณีสืบไป แลทั้งข้าราชการราษฎรนั้นกลับ
ระลึกได้ถึงรัชกาลของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทด้วยความ
เคารพนับถือ ว่าเอกราชของกรุงสยามแลกำาเนิดของความ
สุขความสบายที่ตั้งอยู่เจริญรุ่งเรืองมาจนถึงวันนี้นั้น เพราะ
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทพระองค์เดียวได้ทำานุบำารุงในทาง
13
อันประเสริฐมาแลจะได้เป็นแบบอย่างของรัชกาลข้างหน้า
สืบไป”
นี่คือคำาท้ายของคำากราบบังคมทูลของคณะเจ้า
นายและขุนนางให้พระมหากษัตริย์ทรงทำาการปฏิวัติ
ประชาธิปไตย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมี
พระราชหัตถเลขาตอบว่า พระองค์ท่านทรงตั้งพระราช
หฤทัยที่จะทำาการปฏิวัติประชาธิปไตยอยู่แล้ว ดังข้อความ
ตอนหนึ่งว่า
“... แต่เราของแจ้งความแก่ท่านทั้งปวงให้ทราบ
พร้อมกันด้วยว่า ความที่น่ากลัวอันตรายอย่างใดซึ่งได้
กล่าวมานั้น ไม่เป็นการที่จะแลเห็นได้ขึ้นใหม่ของเราเลย
แต่เป็นการได้คิดเห็นอยู่แล้วทั้งสิ้น แลการที่ควรจะ
ทะนุบำารุงให้เจริญอย่างไรเล่า เรามีความปรารถนาแรง
กล้าที่จะจัดการนั้นให้สำาเร็จตลอดไปได้ ไม่ต้องมีความห่วง
ระแวงอย่างหนึ่งอย่างใดว่า เราจะเป็นผู้ขัดขวางให้การซึ่ง
จะเสียอำานาจ ซึ่งเรียกว่า แอบโซลูต เป็นต้นนั้นเลย เพราะ
เราได้เคยทดลองรู้มาแล้วตั้งแต่เวลาเป็นตุ๊กตาซึ่งไม่มี
อำานาจอันใดเลยทีเดียวนอกจากชื่อ จนถึงเวลาที่มีอำานาจ
ขึ้นมาโดยลำาดับจนเต็มบริบูรณ์ในบัดนี้ ในเวลาที่มีอำานาจ
น้อยปานนั้นได้ ความยากลำาบากอย่างไรแลในเวลาที่มี
อำานาจมากเพียงนี้ได้รับความลำาบากอย่างไร เรารู้ดีจำาได้ดี
เพราะที่จำาได้อยู่อย่างนี้ เหตุไรเล่าเราจึงไม่มีความ
ปรารถนาอำานาจปานกลาง ซึ่งจะเป็นความสุขแก่ตัวเรา
และจะเป็นการมั่นคงถาวรของพระราชอาณาจักรด้วยนั้น
เพราะเหตุฉะนี้ เราขอให้ท่านทั้งปวงเข้าใจว่า เราไม่เป็น
พระเจ้าแผ่นดินซึ่งจะต้องบีบคั้นให้หันลงมาทางกลาง
เหมือนอย่างพระเจ้าแผ่นดินในยุโรปซึ่งมีมาในพงศาวดาร
และเพราะความเห็นความรู้ซึ่งเราได้เป็นเจ้าแผ่นดินมาถึง
สิบแปดปี ได้พบได้เห็นและได้เคยทุกข์ร้อนในการหนักการ
แรงการเผ็ดการร้อนของบ้านเมือง ซึ่งมีอำานาจจะมากดขี่
ประการใด ทั้งได้ยินข่าวคราวจาเมืองอื่น ๆ ซึ่งมีเนือง ๆ
14
มิได้ขาด แลการซึ่งเราได้ขวนขวายตะเกียกตะกายอยู่ใน
การที่จะเปลี่ยนแปลงมาแต่ก่อน จนมีเหตุบ่อย ๆ เป็นพยาน
ของเราที่จะยกขึ้นได้ว่า เราไม่ได้เป็นประเจ้าแผ่นดินซึ่ง
เหมือนอย่างคางคกอยู่ในกะลาครอบที่จะทรมานให้สิ้นทิฐิ
ถือว่าตัวนั้นโตด้วยอย่างหนึ่งอย่างใดเลย”
นี่คือความพยายามเปลี่ยนแปลงระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งเวลานั้นเรียกว่า แอบโซลูตโม
นากี (Absolute Monarchy) เป็นระบอบปริมิตาญาสิทธิ
ราชย์ซึ่งเวลานั้นเรียกว่าลิมิเต็ดโมนากี (Limited
Monarchy) ซึ่งก็คือความพยายามที่จะทำาการปฏิวัติ
ประชาธิปไตยโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่
หัวและเจ้านายขุนนางผู้ใหญ่ และถ้าความพยายามนั้นเป็น
ผลสำาเร็จ ก็จะเป็นไปเพื่อความมั่นคงของสถาบันพระมหา
กษัตริย์เป็นสำาคัญประการหนึ่ง
......การปฏิวัติประชาธิปไตยสมัยรัชกาลที่ 7 ซึ่งประสบ
ความสำาเร็จอยู่ในระยะเวลาสั้น ๆ พระบาทสมเด็จพระ
ปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีส่วนสำาคัญที่สุดอยู่ส่วนหนึ่ง และถ้า
ไม่ได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนจากพระองค์ท่านแล้ว
การปฏิวัติครั้งนั้นอาจล้มเหลวโดยสิ้นเชิงก็เป็นได้
พระราชบันทึกฉบับหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระ
ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ
พ.ศ.2475 มีข้อความ ตอนต้นว่า
“ ก่อนอื่นหมด ข้าพเจ้าขอชี้แจงเสียโดย
ชัดเจนว่า เมื่อพระยาพหลฯ และคณะผู้ก่อการฯ
ร้องขอให้ข้าพเจ้าอยู่ครองราชย์สมบัติเป็นพระมหา
กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญนั้น ข้าพเจ้ายินดีรับรอง
ก็เพราะเข้าใจและเชื่อมั่นว่า คณะผู้ก่อการฯ
ต้องการจะสถาปนาการปกครองแบบ
“ประชาธิปไตย” หรือ Democratic Government
ตามแบบอย่างของประเทศอังกฤษและประเทศอื่น
15
ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ปกครองภายใต้อำานาจอัน
จำากัดโดยรัฐธรรมนูญ”
จะเห็นได้ว่า พระราชดำาริของพระบาทสมเด็จพระ
ปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่จะทำาการปฏิวัติประชาธิปไตยนั้น ใน
ด้านประมุขแห่งรัฐแล้ว ก็เพื่อรักษาระบอบพระมหากษัตริย์
ภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) ตามแบบ
อังกฤษและประเทศอื่นที่มีการปกครองระบอบนั้น
แต่การที่ทรงขัดแย้งกับคณะราษฎรก็ไม่ได้ขัดแย้ง
กันในปัญหาพระมหากษัตริย์สมเด็จพระปกเกล้าฯ กับคณะ
ราษฎรมีความเห็นตรงกันในปัญหานี้ ข้อขัดแย้งอยู่ที่ว่า
สมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทำาให้
อำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ถ้าอำานาจอธิปไตยซึ่งคณะ
ราษฎรยึดกุมไว้นั้นนำาไปใช้ให้เป็นไปตามความต้องการ
ของปวงชนแล้ว พระองค์ท่านก็จะทรงเห็นชอบด้วย ดังพระ
ราชหัตถเลขาตอนหนึ่งว่า
“ข้าพเจ้าได้พูดไว้นานแล้วว่า ข้าพเจ้าจะ
ยอมสละอำานาจของข้าพเจ้าให้แก่ราษฎรทั้งปวง
แต่ไม่สมัครที่จะสละอำานาจให้แก่บุคคลใดบุคคล
หนึ่ง หรือคณะใดคณะหนึ่ง เว้นแต่ว่าเป็นความ
ประสงค์ของประชาชนอันแท้จริงเช่นนั้น”
อย่างไรก็ดี ความล้มเหลวของการปฏิวัติ
ประชาธิปไตยครั้งนั้นและความขัดแย้งระหว่างสมเด็จพระ
ปกเกล้าฯ กับคณะราษฎรในปัญหาอำานาจอธิปไตยก็มิได้
กระทบกระเทือนความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์
ประการใดเพียงแต่สมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงสละราชสมบัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จเถลิงถวัลยราช
สมบัติสืบสันตติวงศ์ต่อไป สถาบันพระมหากษัตริย์มีความ
มั่นคงดังเดิม
16
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า การปฏิวัติ
ประชาธิปไตยซึ่งดำาเนินการโดยพระมหากษัตริย์และเจ้า
นายและขุนนางผู้ใหญ่นั้นเป็นไปเพื่อความมั่น
คงของสถาบันพระมหากษัตริย์
ในตอนก่อนเราชี้ให้เห็นว่า ความไม่มั่นคงของ
สถาบันพระมหากษัตริย์เริ่มมีขึ้นเมื่อมหาอำานาจเจ้า
อาณานิคมคุกคามเอกราชของประเทศไทยอย่างรุนแรงใน
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 ครั้ง
นั้นถ้ามหาอำานาจยึดประเทศไทยได้ ความมั่นคงของ
สถาบันพระมหากษัตริย์ก็จะสูญสิ้นหรือลดลงอย่างมาก ดัง
ตัวอย่างในประเทศเพื่อนบ้าน แต่ด้วยพระราชปรีชาญาณ
ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทย
ก็ผ่านพ้นอันตรายจากมหาอำานาจไปได้ สถาบันพระมหา
กษัตริย์ดำารงความมั่นคงต่อไป และเราได้ชี้ว่า ความมั่นคง
ของสถาบันพระมหากษัตริย์ได้รับความกระทบกระเทือนอยู่
บ้างในช่วงของการปฏิวัติประชาธิปไตย แต่จะกระทบ
กระเทือนอย่างไรนั้น จะต้องดูสภาพความเป็นจริงของ
กระบวนการปฏิวัติประชาธิปไตยอย่างรอบด้านและละเอียด
ถี่ถ้วน จึงจะมองเห็นและเข้าใจอย่างถูกต้องได้
แต่เราจำาเป็นต้องขอยำ้าไว้ในที่นี้ด้วยว่า เมื่อพูด
ถึง การปฏิวัติประชาธิปไตย เราหมายถึงจินตภาพ
(Concept) ของศัพท์วิชาการ (Technical term) ของคำานี้
ในวิชารัฐศาสตร์ อันได้แก่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง
จากระบอบเผด็จการรูปใดรูปหนึ่งเป็นระบอบประชาธิปไตย
การปกครองระบอบเผด็จการนั้นมีหลายรูป เช่น ระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ระบอบเผด็จการทหาร ระบอบ
เผด็จการฟาสซิสต์ ระบอบเผด็จการรัฐสภาเป็นต้น การ
เปลี่ยนแปลงระบอบเผด็จการเหล่านี้เป็นระบอบ
ประชาธิปไตย คือ การปฏิวัติประชาธิปไตย (Democratic
Revolution) ซึ่งในศัพท์วิชาการในวิชารัฐศาสตร์ เรา
หมายถึงจินตภาพนี้เท่านั้นโดยไม่เกี่ยวกับจินตภาพอื่นของ
ปฏิวัติประชาธิปไตย ซึ่งมีผู้ให้ความหมายไปต่าง ๆ นานา
17
ตามที่นึกคิดเอาเอง เช่น หมายถึงรัฐประหาร หมายถึงการ
ยึดอำานาจ หมายถึงวิธีการรุนแรง กระทั่งหมายถึงทำาลาย
สถาบันพระมหากษัตริย์และหมายถึงสายโซเวียต เป็นต้น
เหล่านี้เป็นจินตภาพปฏิวัติประชาธิปไตยที่หลายคนกำาหนด
ขึ้นเองตามอำาเภอใจ ซึ่งนอกจากจะไม่เอื้อเฟื้อแก่ศัพท์
วิชาการแล้ว ยังน่าขายหน้าแก่ชาวต่างประเทศและแก่ผู้รู้
ในบ้านเราเองอีกด้วย บางคนไปไกลถึงกับกล่าวว่า คำาว่า
“การปฏิวัติประชาธิปไตย” นั้นไม่มี คนบางคนตั้งขึ้น
มาเอง ก็ประธานาธิบดีมากอสเขียนหนังสือเล่มใหญ่เล่ม
หนึ่ง ให้ชื่อว่า The Democratic Revolution is the
Philippines (การปฏิวัติประชาธิปไตยในฟิลิปปินส์) ท่านผู้
นี้ตั้งคำานี้ขึ้นมาเองหรือ ?
ฉะนั้น เมื่อพูดถึงคำาว่า การปฏิวัติประชาธิปไตย
เราขอให้พูดในฐานะเป็นศัพท์วิชาการ (Technical term)
ของวิชารัฐศาสตร์เพื่อจะได้เกิดประโยชน์แก่การพิจารณา
ปัญหาของชาติบ้านเมือง แม้คำาอื่น ๆ ที่เป็น Technical
term เราก็ขอให้พิจารณาด้วยทัศนคติเช่นนี้ ปัญหาของ
ชาติบ้านเมืองเป็นปัญหาใหญ่ ๆ ถ้าแม้แต่การใช้ถ้อยคำาก็
ไม่เอื้อต่อหลักวิชาการเสียแล้วจะพิจารณาปัญหาของชาติ
บ้านเมืองกันได้อย่างไร
ในตอนก่อน เราได้กล่าวถึงการปฏิวัติ
ประชาธิปไตยซึ่งกระทำาโดยพระมหากษัตริย์ เจ้านายและ
ขุนนางผู้ใหญ่ว่า นอกจากจะไม่กระทบกระเทือนต่อความ
มั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์แล้วยังเป็นการส่งเสริม
ความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์อีกด้วย ถ้าการ
ปฏิวัติประชาธิปไตยในสมัยรัชกาลที่ 5 ประสบความสำาเร็จ
หรือสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงทำาการปฏิวัติประชาธิปไตย
สำาเร็จตามที่ทรงตั้งปณิธานไว้แล้ว สถาบันพระมหากษัตริย์
ของประเทศไทยจะมั่นคงที่สุด ชาวไทยจะไม่ต้องมากังวล
ห่วงใยต่อความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์กันอยู่ใน
เวลานี้เลย
ต่อไปนี้ มาดูการปฏิวัติประชาธิปไตยซึ่งกระทำา
โดยข้าราชการระดับล่าง และพ่อค้าประชาชน ครั้งแรกคือ
18
การปฏิวัติประชาธิปไตยซึ่งนำาโดยคณะ รศ.130 มี ร.อ.ขุน
ทวนหาญพิทักษ์ (หมอเหล็ง ศรีจันทร์) เป็นหัวหน้า ผู้นำาคน
สำาคัญ ๆ ของคณะ เช่น ร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์ ร.ต.จรูญ ษ
ตะเมต ร.ต.หม่อมราชวงศ์ แซ่ รัชนิกร นาย อุทัย
เทพหัสดิน นายเซี้ยง สุวงศ์ นาย บุญเอก ตันสถิต ฯลฯ
คณะ ร.ศ.130 เป็นคนหนุ่ม อายุถัวเฉลี่ย 20 ปี หัวหน้าคือ
ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ อายุ 28 ปี ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์
อายุเพียง 18 ปี
นายทหารของคณะ ร.ศ.130 เกือบจะทุกคนเป็น
มหาดเล็กในกรมหลวงพิษณุโลก นอกนั้นเป็นมหาดเล็ก
ในกรมหลวงนครสวรรค์ กรมหลวงราชบุรี กรมหลวง
นครชัยศรี บางคนเป็นเชื้อพระวงศ์ บางคนเป็นข้าหลวงเดิม
หรือมหาดเล็กในรัชกาลที่ 6 และกรมหลวงพิษณุโลกทรง
ระแคะระคายอยู่แล้ว ถึงการเคลื่อนไหวของคณะนี้เพราะ
เป็นข่าวที่ไม่เป็นความลับอีกต่อไป แต่พระองค์ทรงถือว่า
เป็นเรื่องของคนหนุ่มหัวก้าวหน้าและพระองค์ท่านก็ทรงมี
พระทัยใฝ่ทางก้าวหน้าอยู่เหมือนกัน
ความมุ่งหมายของคณะ ร.ศ.130 คือ ยกเลิก
ระบอบพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์และ
เปลี่ยนแปลงเป็นระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
ซึ่งครั้งนั้นหมายถึงระบอบประชาธิปไตย
คณะ ร.ศ.130 ไม่มีความมุ่งหมายที่ยกเลิกสถาบัน
พระมหากษัตริย์ สิ่งที่คาดคิดอยู่บ้างก็คือถ้าหากมีความ
จำาเป็นอย่างที่สุด ก็เปลี่ยนแปลงเพียงองค์พระประมุข
เท่านั้น มิใช่เปลี่ยนแปลงสถาบันพระมหากษัตริย์เป็น
สถาบันประธานาธิบดี แต่ คณะ ร.ศ.130 ก็ไม่เชื่อว่าต้องถึง
กับเปลี่ยนแปลงองค์พระประมุข ดังบันทึกของ ร.ต.เหรียญ
และ ร.ต.เนตร ผู้นำาคนสำาคัญของคณะ ร.ศ.130 กล่าวไว้
ว่า
“ ไม่เชื่อว่าจะต้องเปลี่ยนองค์พระประมุขของชาติ
เพราะคณะมีเหตุผลอย่างสมบูรณ์ที่ทำาให้ถวายความเชื่อ
ในพระเกียรติยศแห่งองค์พระประมุขว่า พระองค์ทรง
สืบสายโลหิตมาแต่ตระกูลขัตติยะและทรงศึกษามาจาก
19
สำานักที่ทรงเกียรติอันสูงส่ง ณ ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็น
มารดาแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย..หากคณะจัก
มีความจำาเป็นที่สุดที่จะเดินหน้าจนถึงกับจะต้องเปลี่ยนองค์
พระประมุขแห่งชาติแล้วไซร้...เช่นที่เคยมีการปรึกษา
หารือกันภายในของแต่ละกลุ่มสมาชิกไว้ดังนี้ ฝ่ายทหาร
บกจะทูลเชิญทูลกระหม่อมจักรพงศ์ ฝ่ายทหารเรือจะทูล
เชิญทูลกระหม่อมบริพัตร และฝ่ายกฎหมายกับพลเรือนจะ
ทูลเชิญในกรมหลวงราชบุรี ”
และวิธีการของการปฏิวัติประชาธิปไตยครั้งนั้น
คณะ ร.ศ.130 ได้กำาหนดไว้ว่าจะปฏิบัติการโดยสงบ มิให้มี
การต่อสู้กันด้วยกำาลัง โดยคณะปฏิวัติจะเข้าเฝ้าทูลเกล้าฯ
ถวายหนังสือแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันถือนำ้าพระพิพัฒน์สัตยา 1
เมษายน 2455 ดังบันทึกของ ร.ต.เนตร และ ร.ต.เหรียญ
กล่าวไว้ว่า
“ ยังเหลือเวลาประมาณ 50 วันเท่านั้นก็จะ
ถึงวาระสำาคัญของคณะปฏิวัติที่จะเบิกโรงดำาเนิน
การทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายหนังสืออันเป็น
ประวัติศาสตร์ของชาติไทย แด่พระบาทสมเด็จ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระประมุขแห่งชาติด้วย
คารวะอย่างสูง โดยหัวหน้าคณะปฏิวัติ ณ ภายใน
อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ท่ามกลาง
พระบรมวงศานุวงศ์ และมวลอำามาตย์ข้าราช
บริพารชั้นผู้ใหญ่ในพระราชพิธีศรีสัจจปานกาล คือ
ถือนำ้าพระพิพัฒน์สัตยาในต้นเดือน เมษายน
ร.ศ.130 (พ.ศ.2455) อันเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย
สมัยนั้น โดยมีกำาลังทหารทุกเหล่าในพระนคร
พร้อมด้วยอาวุธ ซึ่งปกติทุกปีมาเคยตั้งแถวเป็น
เกียรติยศรับเสด็จพระราชดำาเนิน ณ สนามหญ้า
หลังวัดพระแก้วโดยพร้อมสรรพ และเฉพาะปีนี้ก็
พร้อมที่จะฟังคำาสั่งของคณะปฏิวัติอยู่รอบด้านอีก
20
ด้วย เพราะทหารทุกคน ณ ที่นั้นเป็นทหารของคณะ
ปฏิวัติแล้วเกือบสิ้นเชิง........
แม้แต่ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์และ
ทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ที่ถือปืนสวมดาบ
ปลายปืนยามรักษาพระองค์อยู่หน้าประตูโบสถ์ก็คือ
ทหารคณะปฏิวัตินั่นเองตามแผนของคณะฯ จักไม่มี
การต่อสู้กันเลยจากทหารที่ถืออาวุธในพระนคร
เพราะหน่วยกำาลังที่จะช่วงใช้เพื่อรบราฆ่าฟัน
กันเองจะมีขึ้นไม่ได้เป็นอันขาด แม้นายทัพนายกอง
ชั้นสูงคนใดจะออกคำาสั่งก็หาเป็นผลประการใดไม่
ค่าที่หน่วย กำาลังอันแท้จริงของกองกำาลังนั้น ได้
ตกอยู่ในกำามือของพรรคปฏิวัติดังกล่าว นับแต่ชั้น
พลทหารและนายสิบขึ้นไป จนถึงนายทหารผู้บังคับ
บัญชา โดยตรงคือชั้นประจำากอง โดยคณะปฏิวัติจำา
ต้องจัดหน่วยกล้าตายออกคุมจุดสำาคัญ ๆ ใน
พระนครพร้อมกันเมื่อได้ยินเสียงกระหึ่มของปืน
ใหญ่อาณัติสัญญาณลั่นขึ้นในพระนครสองสามแห่ง
และพร้อมกันนั้นต้องใช้กำาลังเข้าขอร้องเชิงบังคับ
ให้นายทหารชั้นผู้ใหญ่บางคนที่เห็นสมควร และ
ชี้ตัวไว้แล้วมาดำาเนินการร่วมด้วยกับคณะในบาง
ตำาแหน่งโดยขอให้พิจารณาตัดสินใจทันทีเพื่อ
ความเจริญของชาติไทยในสมัยอารยนิยม ”
เมื่อตรวจสอบเจตนาและพฤติกรรมของคณะ
ร.ศ.130 โดยละเอียดแล้วจะไม่พบเลยว่าคณะ ร.ศ.130 มี
ความมุ่งหมายจะยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ และนำาเอา
สถาบันประธานาธิบดีหรือสถาบันอื่นมาเป็นประมุขของ
ประเทศแทน ตรงกันข้าม จะพบแต่การเชิดชูสถาบันพระ
มหากษัตริย์ ทั้งต้องการจะเชิดชูองค์พระบาทสมเด็จ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้สูงส่งยิ่งขึ้นด้วย โดยปรารถนา
ที่จะให้พระองค์ท่านทรงร่วมมือกับคณะโดยดำารงฐานะพระ
มหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งเวลานั้นเรียกว่า “ลิมิเต็
ดมอนากี” ดังคำาให้การของ ร.อ.ขุนทวยหาญฯ หัวหน้า
21
คณะต่อศาลทหารว่า
“ เพียงแต่มีการหารือกันเพื่อทำาหนังสือทูลเกล้าฯ
ถวาย ในอันจะขอพระมหากรุณาธิคุณให้องค์พระมหา
กษัตริย์ ทรงปรับปรุงการปกครองให้สอดคล้องกับกาลสมัย
โดยเปลี่ยนการปกครองเป็น ลิมิเต็ดมอนากี นอกจากนั้น
สมาชิกของคณะ ร.ศ.130 บางคนเข้าร่วมการปฏิวัติ
ประชาธิปไตย ด้วยความหวังที่จะดำารงไว้ซึ่งความเป็นพระ
ประมุขของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ด้วยเห็นว่าการปกครอง
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะเป็นภัยแก่พระองค์ท่าน
ในจำานวนนั้นมีอยู่คนหนึ่งชื่อ ร.ท. แม้น สังขวิจิตร ผู้บังคับ
กองร้อยมหาดเล็กรักษาพระองค์ ซึ่งสมเด็จพระมงกุฎเกล้า
ทรงโปรดปรานมาก และ ร.ท.แม้น ก็ถวายความจงรัก
ภักดีต่อพระองค์เสมอด้วยบิดาบังเกิดเกล้า ร.ต.เนตร บันทึก
ไว้ว่า “ การร่วมปฏิวัติของเขา ก็คือความหวังที่
จะดำารงไว้ซึ่งความเป็นประมุขของพระองค์ใน
ภาวะอนาธิปไตย โดยเห็นว่า การปกครองแบบรา
ชาธิปไตยนี้จะเป็นยาพิษแก่ราชบัลลังก์อย่างแน่แท้
”
เมื่อทอดพระเนตรเห็น ร.ท.แม้น อยู่ในรายชื่อของ
คณะ ร.ศ.130 ไม่ทรงเชื่อว่า ร.ท.แม้น จะร่วมด้วย และ
รับสั่งกับทูลกระหม่อมจักรพงษ์ว่า “ ถ้าไอ้แม้นไปกับ
พวกเขาด้วย ก็ต้องเฆี่ยนหลังมันเสีย ”
รับสั่งนี้ไปเข้าหู ร.ท.แม้น ในคุก เข้าจึงเขียน
จดหมายซุกซ่อนไปในอาหารที่รับประทานเหลือถึงบิดา
ของเขา ขอให้วิ่งเต้นด้วยวิธีต่าง ๆ รวมทั้งวิธีไสยศาสตร์
เพื่อไม่ให้เขาถูกเฆี่ยนหลังเพราะถือว่า การถูกเฆี่ยนหลัง
เป็นการเสื่อมด้วยเกียรติของชายชาตินักรบ ตลอดทั้งวงศ์
ตระกูลด้วย แม้แต่จะลงพระราชอาญาประหารชีวิตก็ไม่ว่า
จดหมายนี้ผู้คุมจับได้ และส่งขึ้นไปตามลำาดับจนถึง
ในหลวง เพียงไม่กี่วันต่อมา เมื่อพระองค์เสด็จโดยรถยนต์
พระที่นั่งไปตามถนนราชดำาเนินทอดพระเนตรเห็น ร.ต.ฟู
ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาของ ร.ท.แม้น จึงรับสั่งให้หยุดรถ
พระที่นั่งและกวักพระหัตถ์ให้ ร.ต.ฟู เข้าเฝ้าฯ ณ กลาง
22
ถนนนั้นรับสั่งว่า “ เอ็งไปบอกเจ้าแม้นมันว่า ข้าเลิก
เฆี่ยนหลังแล้ว มันจะได้สบายใจ ”
ชาวคณะ ร.ศ.130 ทุกคนยืนยันว่า ข่าวที่ว่าคณะ
ร.ศ.130 จะปลงพระชนม์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า
อยู่หัว เป็นข่าวกุ เมื่อ ร.ท.จรูญ ณ บางช้าง ผู้นำาคนหนึ่ง
ของคณะได้ทราบข่าวนี้ คิดว่าเป็นเรื่องจริง จึงเขียน
จดหมายถึงพรรคพวกที่อยู่นอกคุกแช่งด่าพวกนั้นอย่าง
รุนแรงและเรียกร้องให้สมนาคุณบุคคลต่าง ๆ อันประกอบ
ด้วย K หมายถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว )
“ เจ้าพ่อนโปเลียน ” ( หมายถึงเจ้าฟ้ากรมหลวง
พิษณุโลกประชานาถ ) และ “ วังบูรพาผู้เฒ่า ” ( หมาย
ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช ) ตอน
หนึ่งมีข้อความว่า “ เราผู้เป็นมนุษย์จึงควรบูชาคุณ
ของท่านทั้งสามนี้ไว้เหนือเกล้าฯ ของเราทุกเวลา
ตลอดชีพของเรา ” (กองจดหมายเหตุแห่งชาติ)
นอกจากข่าวกุ ซึ่งกำาลังแพร่สะพัดอย่างครึกโครม
แล้ว ยังมีพยานเท็จจาก “ ผู้หักหลัง ” คือ ร.อ.ยุทธ คง
อยู่ หรือหลวงสินาด โยธารักษ์ ซึ่งให้การว่าพวก ร.ศ.130
จะปลงพระชนม์ในหลวง และจะเปลี่ยนการปกครองเป็นรี
ปับลิค ( บุคคลผู้นี้ต่อมาได้เป็น พ.อ.พระยากำาแพงราม ถูก
จับในคดีกบฏบวรเดช และผูกคอตายในคุกบางขวาง )
เมื่อคณะ ร.ศ.130 ถูกจับได้ใหม่ ๆ มีข่าวเป็นที่เชื่อ
ถือได้ว่า ศาลทหารจะตัดสินลงโทษเพียง 3 ปี 5 ปี และว่า
ในหลวงจะไม่ทรงเอาโทษ แต่ครั้นมีข่าวกุและพยานเท็จดัง
กล่าว จึงตัดสินโทษสถานหนักแต่ถ้าดูจากเหตุผลข้อเท็จ
จริงในคำาพิพากษาแล้ว ก็ยังต้องถือว่าเป็นการลงโทษ
สถานเบา ดังคำาพิพากษาตอนหนึ่งว่า
“ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นาย
ทหารบก นายทหารเรือ รวม 7 นาย เป็นกรรมการ
พิจารณาทำาคำาปรึกษาโทษขึ้นกราบบังคมทูลพระ
กรุณา มีใจความที่วินิจฉัยตามที่ได้พิจารณาได้
ความว่า ผู้ที่ร่วมคิดในสมาคมนี้มีความเห็นจะ
23
เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นรีปับลิคบ้าง เป็นลิมิเต็
ดมอนากีบ้าง ส่วนที่จะจัดการอย่างไรจึงจะ
เปลี่ยนแปลงการปกครองได้นั้น ปรากฏชัดในที่
ประชุมถึงการกระทำาประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวด้วย แม้บางคนจะไม่มีเจตนาโดยตรง
ที่จะประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี
แต่ก็ได้สมรู้เป็นใจกันและช่วยกันปกปิดความ
เพราะฉะนั้นตามลักษณะความผิดนี้กระทำาผิดต่อ
กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 97 ตอนที่ 2 มีโทษ
ประหารชีวิตด้วยกันทุกคนไป บางคนกระทำาผิด
มากไม่สมควรลดโทษเลย แต่บางคนกระทำาความ
ผิดน้อยบ้าง ได้ให้การสารภาพให้เป็นประโยชน์ใน
การพิจารณาบ้าง และมีเหตุผลอื่นสมควรจะลด
หย่อนความผิดบ้างอันเป็นเหตุให้ควรลดโทษฐาน
ปราณีตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 37 และ
มาตรา 59 จึงกำาหนดโทษเป็น 5 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 ให้
ลงโทษประหารชีวิต 3 คน ขั้นที่ 2 ลดโทษเพียงจำา
คุกตลอดชีวิต 20 คน ขั้นที่ 3 ลดโทษลงเพียงจำาคุก
มีกำาหนด 20 ปี 32 คน ขั้นที่ 4 ลดโทษลงเพียงจำาคุก
มีกำาหนด 15 ปี 6 คน ขั้นที่ 5 ลดโทษลงเพียงจำาคุกมี
กำาหนด 12 ปี 30 คน” (คัดจากคำาพิพากษาคดี กบฏ
ร.ศ.130)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมี
พระบรมราชวินิจฉัยเด็ดขาด ดังนี้
“ได้ตรวจคำาพิพากษา ซึ่งได้พิจารณา
ปรึกษาโทษ ในคดีผู้มีชื่อ 91 คน ก่อการกำาเริบ ลง
วันที่ 5 พฤษภาคม นั้น ตลอดแล้วเห็นว่ากรรมการ
พิจารณาลงโทษพวกเหล่านั้นมีข้อสำาคัญที่จะ
ทำาร้ายต่อตัวเรา เราไม่ได้มีจิตพยาบาทคาดร้ายต่อ
พวกนี้ เห็นควรที่จะลดหย่อนผ่อนโทษโดยฐาน
กรุณา ซึ่งเป็นอำานาจของพระเจ้าแผ่นดินที่จะยก
โทษให้ได้ เพราะฉะนั้นบรรดาผู้ที่มีชื่อ 3 คน ซึ่งวาง
24
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร
จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร

More Related Content

What's hot

บทที่ ๒ ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
บทที่ ๒ ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูบทที่ ๒ ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
บทที่ ๒ ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูDnnaree Ny
 
พุทธประวัติเบื้องต้น-พระพุทธศาสนา
พุทธประวัติเบื้องต้น-พระพุทธศาสนาพุทธประวัติเบื้องต้น-พระพุทธศาสนา
พุทธประวัติเบื้องต้น-พระพุทธศาสนา
Naronglit Kunsiri
 
iyddddddบทความของ ดร
iyddddddบทความของ ดรiyddddddบทความของ ดร
iyddddddบทความของ ดร
khamaroon
 
ศาสนาพราหมณ์ บจ.๕
ศาสนาพราหมณ์ บจ.๕ศาสนาพราหมณ์ บจ.๕
ศาสนาพราหมณ์ บจ.๕
Namon Bob
 
การนำชาดกเข้ามาในประเทศไทย
การนำชาดกเข้ามาในประเทศไทยการนำชาดกเข้ามาในประเทศไทย
การนำชาดกเข้ามาในประเทศไทย
Rung Kru
 
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทยอุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
Thongkum Virut
 
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูJani Kp
 
ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามพัน พัน
 
5.3 5.5 ปฏิรูปศาสนา-ปฏิวัติอุตสาหกรรม(new)
5.3 5.5 ปฏิรูปศาสนา-ปฏิวัติอุตสาหกรรม(new)5.3 5.5 ปฏิรูปศาสนา-ปฏิวัติอุตสาหกรรม(new)
5.3 5.5 ปฏิรูปศาสนา-ปฏิวัติอุตสาหกรรม(new)Jitjaree Lertwilaiwittaya
 
แนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริง
แนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริงแนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริง
แนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริงMuttakeen Che-leah
 
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
Padvee Academy
 
Powerpoint.ppt พุทธศาสนากับวรรณคดี.ppt1
Powerpoint.ppt พุทธศาสนากับวรรณคดี.ppt1Powerpoint.ppt พุทธศาสนากับวรรณคดี.ppt1
Powerpoint.ppt พุทธศาสนากับวรรณคดี.ppt1krunoree.wordpress.com
 
บทที่ ๓ ศาสนาอียิปต์โบราณ
บทที่ ๓ ศาสนาอียิปต์โบราณบทที่ ๓ ศาสนาอียิปต์โบราณ
บทที่ ๓ ศาสนาอียิปต์โบราณ
Padvee Academy
 

What's hot (14)

บทที่ ๒ ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
บทที่ ๒ ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูบทที่ ๒ ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
บทที่ ๒ ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
 
พุทธประวัติเบื้องต้น-พระพุทธศาสนา
พุทธประวัติเบื้องต้น-พระพุทธศาสนาพุทธประวัติเบื้องต้น-พระพุทธศาสนา
พุทธประวัติเบื้องต้น-พระพุทธศาสนา
 
iyddddddบทความของ ดร
iyddddddบทความของ ดรiyddddddบทความของ ดร
iyddddddบทความของ ดร
 
ศาสนาพราหมณ์ บจ.๕
ศาสนาพราหมณ์ บจ.๕ศาสนาพราหมณ์ บจ.๕
ศาสนาพราหมณ์ บจ.๕
 
การนำชาดกเข้ามาในประเทศไทย
การนำชาดกเข้ามาในประเทศไทยการนำชาดกเข้ามาในประเทศไทย
การนำชาดกเข้ามาในประเทศไทย
 
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทยอุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
อุปสรรคความสำเร็จการปฏิวัติประชาธิปไตยในประเทศไทย
 
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
 
ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลาม
 
5.3 5.5 ปฏิรูปศาสนา-ปฏิวัติอุตสาหกรรม(new)
5.3 5.5 ปฏิรูปศาสนา-ปฏิวัติอุตสาหกรรม(new)5.3 5.5 ปฏิรูปศาสนา-ปฏิวัติอุตสาหกรรม(new)
5.3 5.5 ปฏิรูปศาสนา-ปฏิวัติอุตสาหกรรม(new)
 
แนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริง
แนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริงแนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริง
แนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริง
 
การเปลี่ยนแปลงสังคมไทย
การเปลี่ยนแปลงสังคมไทยการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย
การเปลี่ยนแปลงสังคมไทย
 
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดูศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู
 
Powerpoint.ppt พุทธศาสนากับวรรณคดี.ppt1
Powerpoint.ppt พุทธศาสนากับวรรณคดี.ppt1Powerpoint.ppt พุทธศาสนากับวรรณคดี.ppt1
Powerpoint.ppt พุทธศาสนากับวรรณคดี.ppt1
 
บทที่ ๓ ศาสนาอียิปต์โบราณ
บทที่ ๓ ศาสนาอียิปต์โบราณบทที่ ๓ ศาสนาอียิปต์โบราณ
บทที่ ๓ ศาสนาอียิปต์โบราณ
 

Similar to จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร

U2 origin of state
U2 origin of stateU2 origin of state
U2 origin of state
KatawutPK
 
ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองthongkum virut
 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตรSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
การปกครองของไทย
การปกครองของไทยการปกครองของไทย
การปกครองของไทยsangworn
 
การปกครองของไทย
การปกครองของไทยการปกครองของไทย
การปกครองของไทยsangworn
 
การปกครอง 604
การปกครอง 604การปกครอง 604
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
เล่มที่ 6 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เล่มที่ 6  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเล่มที่ 6  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เล่มที่ 6 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
Choengchai Rattanachai
 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตรSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
อิทธิพลของคริสต์ศาสนาในยุโรปสมัยกลาง
อิทธิพลของคริสต์ศาสนาในยุโรปสมัยกลางอิทธิพลของคริสต์ศาสนาในยุโรปสมัยกลาง
อิทธิพลของคริสต์ศาสนาในยุโรปสมัยกลาง
Omm Suwannavisut
 
เผด็จการ
เผด็จการเผด็จการ
เผด็จการthnaporn999
 
9789740335542
97897403355429789740335542
9789740335542
CUPress
 
Public health and the constitution (1)
Public health and the constitution (1)Public health and the constitution (1)
Public health and the constitution (1)Medical Student, GCM
 
“ธรรมกาย” กับพุทธศาสนาและการเมืองในประเทศไทย
“ธรรมกาย” กับพุทธศาสนาและการเมืองในประเทศไทย“ธรรมกาย” กับพุทธศาสนาและการเมืองในประเทศไทย
“ธรรมกาย” กับพุทธศาสนาและการเมืองในประเทศไทย
Yaowaluk Chaobanpho
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยfernbamoilsong
 

Similar to จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร (20)

U2 origin of state
U2 origin of stateU2 origin of state
U2 origin of state
 
ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
 
การปกครองของไทย
การปกครองของไทยการปกครองของไทย
การปกครองของไทย
 
การปกครองของไทย
การปกครองของไทยการปกครองของไทย
การปกครองของไทย
 
Phi yim
Phi yimPhi yim
Phi yim
 
การปกครอง 604
การปกครอง 604การปกครอง 604
การปกครอง 604
 
อยุธยา
อยุธยาอยุธยา
อยุธยา
 
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
เล่มที่ 6 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เล่มที่ 6  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเล่มที่ 6  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เล่มที่ 6 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
 
ผลงานนักเรียนชั้น ม.6/1
ผลงานนักเรียนชั้น ม.6/1ผลงานนักเรียนชั้น ม.6/1
ผลงานนักเรียนชั้น ม.6/1
 
อิทธิพลของคริสต์ศาสนาในยุโรปสมัยกลาง
อิทธิพลของคริสต์ศาสนาในยุโรปสมัยกลางอิทธิพลของคริสต์ศาสนาในยุโรปสมัยกลาง
อิทธิพลของคริสต์ศาสนาในยุโรปสมัยกลาง
 
เผด็จการ
เผด็จการเผด็จการ
เผด็จการ
 
9789740335542
97897403355429789740335542
9789740335542
 
Public health and the constitution (1)
Public health and the constitution (1)Public health and the constitution (1)
Public health and the constitution (1)
 
การปกครองของไทย
การปกครองของไทยการปกครองของไทย
การปกครองของไทย
 
“ธรรมกาย” กับพุทธศาสนาและการเมืองในประเทศไทย
“ธรรมกาย” กับพุทธศาสนาและการเมืองในประเทศไทย“ธรรมกาย” กับพุทธศาสนาและการเมืองในประเทศไทย
“ธรรมกาย” กับพุทธศาสนาและการเมืองในประเทศไทย
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 

More from Thongkum Virut

งานวิจัย
งานวิจัยงานวิจัย
งานวิจัย
Thongkum Virut
 
ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)
ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)
ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)
Thongkum Virut
 
All10
All10All10
บิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทย
บิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทยบิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทย
บิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทย
Thongkum Virut
 
ข้าว
ข้าวข้าว
ข้าว
Thongkum Virut
 
การปกครองของไทยในสมัยโบราณ
การปกครองของไทยในสมัยโบราณการปกครองของไทยในสมัยโบราณ
การปกครองของไทยในสมัยโบราณ
Thongkum Virut
 
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน   อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน   อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
Thongkum Virut
 
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
Thongkum Virut
 
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
Thongkum Virut
 
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริหนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
Thongkum Virut
 
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
Thongkum Virut
 
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทรประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
Thongkum Virut
 
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
Thongkum Virut
 
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการสหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
Thongkum Virut
 
ประวัติรัฐหวู
ประวัติรัฐหวูประวัติรัฐหวู
ประวัติรัฐหวู
Thongkum Virut
 
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลกเหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
Thongkum Virut
 
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
Thongkum Virut
 
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตยเรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
Thongkum Virut
 
คู่ขัดแย้งในสังคมไทย
คู่ขัดแย้งในสังคมไทยคู่ขัดแย้งในสังคมไทย
คู่ขัดแย้งในสังคมไทย
Thongkum Virut
 
ระบอบเผด็จการรัฐสภา
ระบอบเผด็จการรัฐสภาระบอบเผด็จการรัฐสภา
ระบอบเผด็จการรัฐสภา
Thongkum Virut
 

More from Thongkum Virut (20)

งานวิจัย
งานวิจัยงานวิจัย
งานวิจัย
 
ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)
ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)
ลัทธิชาตินิยม(Nationalism)
 
All10
All10All10
All10
 
บิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทย
บิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทยบิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทย
บิดาวิชาเศรษฐศาสตร์ไทย
 
ข้าว
ข้าวข้าว
ข้าว
 
การปกครองของไทยในสมัยโบราณ
การปกครองของไทยในสมัยโบราณการปกครองของไทยในสมัยโบราณ
การปกครองของไทยในสมัยโบราณ
 
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน   อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน   อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
หนังสือ ความขัดแย้งของการปฏิวัติ กับ ปัญหาของปัญญาชน อันโตนิโย กรัมชี - สมบ...
 
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
หนังสือ คอลัมน์ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เล่ม ๓
 
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
หนังสือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ทรงโต้แย้งเค้าโคงเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์(ฉบ...
 
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริหนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
หนังสือ ไม้ขีดก้านเดียวทีเปลียนสังคมเกาหลี จรรยา ยิ้มประเสริ
 
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
หนังสือ ดร ซุนยัดเซ็น ประวัติการต่อสู้เพื่อสร้างประชาธิปไตยใหม่ในจีนแผ่นดินใหญ่
 
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทรประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
ประวัติย่อของนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร
 
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
ยูโทเปีย ของ ทอมัส มอร์
 
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการสหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
สหภาพแรงงานในระบอบเผด็จการ
 
ประวัติรัฐหวู
ประวัติรัฐหวูประวัติรัฐหวู
ประวัติรัฐหวู
 
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลกเหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
เหล่าบุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก
 
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
ในประเทศไทยถ้าพูดถึงเรื่องที่ดิน มีเรื่องเดียว คือ การปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศ ...
 
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตยเรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
เรื่อง กฎหมายพรรคการเมืองคือเครื่องจองจำประชาธิปไตย
 
คู่ขัดแย้งในสังคมไทย
คู่ขัดแย้งในสังคมไทยคู่ขัดแย้งในสังคมไทย
คู่ขัดแย้งในสังคมไทย
 
ระบอบเผด็จการรัฐสภา
ระบอบเผด็จการรัฐสภาระบอบเผด็จการรัฐสภา
ระบอบเผด็จการรัฐสภา
 

จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร

  • 1. จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้ อย่างไร? สืบเนื่องจากภัยอันตรายที่มีต่อความมั่นคงสถาพร ของสถาบันพระมหากษัตริย์ ขบวนการประชาธิปไตยแห่ง ชาติผู้เผยแผ่แนวทางสร้างประชาธิปไตยพระปกเกล้า รัชกาลที่ 7 และสถาบันประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ขอถือโอกาส นำาเสนอเนื้อหาจากหนังสือชื่อ "จะรักษาสถาบันพระ มหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร" เขียนโดยอ.ประเสริฐ ทรัพย์สุนทรซึ่งได้รับการตีพิมพ์เป็นตอนๆลงในนิตยสาร "ตะวันใหม่" ในปีพ.ศ. 2524 และต่อมาได้รับการตีพิมพ์ 1
  • 2. อีกครั้งในหนังสือพิมพ์ "สยามโพสต์" ในคอลัมน์ "โลกสี ฟ้า" ของนายจำาลอง บุญสองในปีพ.ศ. 2539 และได้จัด พิมพ์รวมเล่มขึ้นเป็นครั้งแรกเป็นหนังสือพ็อคเก็ตบุคสำาหรับ แจกจ่ายในปีเดียวกัน ในวโรกาสอภิลักขิตสมัยฉลองครอง สิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในโลกข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ได้เคยนำาเนื้อหาไป เผยแผ่ด้วยการโพสเป็นตอนๆในเว็บบอร์ดวิทยุผู้จัดการถึง สองครั้งเมื่อปี 2548-2549 และในปี2551 ตามลำาดับ ท่าน ผู้อ่านจะได้ทำาความเข้าใจกับแนวทางและศึกษาปัญหาพื้น ฐานของประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาลัทธิ การเมืองที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และผู้เขียนได้เสนอแนวทางแก้ ปัญหาไว้แล้วในบทสุดท้ายของหนังสือเล่มนี้ และผู้ปฏิบัติ งานทั้งหมดของขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติผู้เผยแผ่ แนวทางสร้างประชาธิปไตยพระปกเกล้ารัชกาลที่ 7 และ สถาบันประเสริฐ ทรัพย์สุนทรถือเป็นหลักการปฏิบัติอย่าง เคร่งครัด. นับแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ประวัติศาสตร์ ของประเทศไทยเป็นประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ระหว่าง ขบวนการเผด็จการคอมมิวนิสต์กับขบวนการ ประชาธิปไตย โดยขบวนเผด็จการคอมมิวนิสต์มี ขบวนเผด็จการรัฐสภาเป็น "แนวร่วม " หากขบวน เผด็จการคอมมิวนิสต์ชนะ ประเทศไทยก็จะมีการปกครอง แบบคอมมิวนิสต์ เท่ากับว่า ชาติ ศาสนา และพระมหา กษัตริย์ก็จะสิ้นไป แต่หากขบวนการประชาธิปไตยชนะ ประเทศไทยก็จะมีการปกครองแบบประชาธิปไตย ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ก็จะมีความมั่นคงดำารงถาวรอยู่ ตลอดไปเหมือนกับอารยประเทศ เช่นในยุโรปได้แก่ ประเทศ อังกฤษ และบางประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย ใน ทวีปอาเซียได้แก่ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น นายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร เป็นผู้นำาเอาพระบรม ราโชบายของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 2
  • 3. รัชกาลที่ 7 ที่ทรงสืบทอดมาจากรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 มาประยุกต์เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันต่อสู้เอาชนะ ขบวนการเผด็จการคอมมิวนิสต์ที่มีขบวนการเผด็จการ รัฐสภาเป็นแนวร่วม เพื่อรักษาชาติ ศาสนา และพระมหา กษัตริย์ โดยได้เสนอนโยบายต่อผู้ปกครองและประชาชน มาตลอดระยะเวลาหลายสิบปีตลอดจนสิ้นอายุขัย การเสนอ นโยบายของนายประเสริฐเท่าที่ผ่านมาท่านเสนอจำาเพาะ กลุ่มแคบลงต่อผู้ปกครอง ถ้าหากผู้ปกครองคณะใดนำาไป ปฏิบัติก็จะแก้ปัญหาชาติบ้านเมืองได้ แต่ถ้าผู้ปกครองใด ไม่นำาไปปฏิบัติก็จะพากันล่มสลายหายไปจากการเมืองการ ปกครองทุกคณะ และถึงแม้จะมีผู้ปกครองบางคณะรับเอา ไปปฏิบัติไม่ครบถ้วนแต่ก็มีผลใหญ่หลวงสามารถรักษา ชาติบ้านเมืองไว้ได้ เช่น นโยบายต่อสู้กับทฤษฎีโดมิโนเพื่อ ให้ประเทศรอดพ้นจากการถูกยึดประเทศจากคอมมิวนิสต์ อินโดจีน และนโยบายเพื่อต่อสู้เอาชนะคอมมิวนิสต์ 66/23 บรรลุความสำาเร็จของการสร้างการปกครองแบบ ประชาธิปไตยระดับหนึ่ง เป็นต้น และในโอกาสอันเป็นมงคลและในการเปิดตัวสำานัก สื่อปฏิวัติทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในขบวนการประชาธิปไตย แห่งชาติผู้เผยแผ่แนวทางสร้างประชาธิปไตยพระปกเกล้า รัชกาลที่ 7 และสถาบันประเสริฐ ทรัพย์สุนทรในแนวทาง ปฏิวัติสันติ เพื่อเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์และเพื่อให้มี ความมั่นคงยั่งยืนไปชั่วนิรันดรด้วยความสำาเร็จของการ สถาปนาการปกครองแบบประชาธิปไตย จึงมีความ สอดคล้องเหมาะสมอย่างสำาคัญที่สำานักสื่อปฏิวัติดังกล่าว จะได้นำาเสนอ “จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ มั่นคงได้อย่างไร” ซึ่งเขียนโดย นาย ประเสริฐ ทรัพย์ สุนทร อีกครั้งหนึ่ง Cradit by: อาจารย์ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร Edit : thongkrm_virut@yahoo.com จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้ 3
  • 4. อย่างไร? องค์คุณเอกภาพ 3 ประการของประเทศไทย คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ได้รับการเชิดชูขึ้นเป็น พิเศษโดยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 พร้อม ๆ กับทรงเปลี่ยน ธงชาติจากธงแดงรูปช้างสีขาว เป็นธง 3 สี คือ แดง ขาว นำ้าเงิน เรียกว่า “ธงไตรรงค์” ธงไตรรงค์ คือ สัญลักษณ์ขององค์คุณ เอกภาพ 3 ประการ สีแดงเป็นสัญลักษณ์ของ ชาติ สีขาว เป็นสัญลักษณ์ของศาสนา สีนำ้าเงินเป็นสัญลักษณ์ของพระ มหากษัตริย์ ชาติ หมายความถึง ชนชาติไทย และ ประชาชาติสยาม รวมกัน (ประชาชาติสยาม เปลี่ยนเป็น ประชาชาติไทยโดยรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2482 ว่าด้วย นามประเทศ เมื่อเปลี่ยนนามประเทศจากประเทศ สยามเป็นประเทศไทย ประชาชาติสยามก็เปลี่ยนเป็น ประชาชาติไทย และสยามรัฐก็เปลี่ยนเป็นรัฐไทย) ศาสนา หมายความถึง ศาสนาทุกศาสนาใน ประเทศไทย โดยเฉพาะหมายความถึงพุทธศาสนา ซึ่งเป็น ศาสนาที่สอดคล้อง กับลักษณะของชนชาติไทย และชนชาติไทยรับเอาเป็น ศาสนาของตนมาแต่โบราณกาล พระมหากษัตริย์ หมายความถึง ประมุขแห่ง รัฐว่าประเทศไทยทุกยุคทุกสมัยแต่โบราณมา มีพระมหา กษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ ไม่ว่าสภาวการณ์ทาง ประวัติศาสตร์และทางสังคมของประเทศไทยจะพัฒนาไป อย่างไร พระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐคู่กับชนชาติ ไทยเสมอไป องค์คุณ 3 ประการนี้ เป็นเอกภาพกัน แยกกัน ไม่ออก ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นอันหนึ่งอัน เดียวกัน เหมือนกับ สีแดง สีขาว สีนำ้าเงิน ทั้ง 3 สี รวมกัน อยู่อย่างแยกกันไม่ได้ในธงไตรรงค์ผืนเดียวกัน 4
  • 5. ต่อมา เมื่อมีการปฏิวัติประชาธิปไตยเกิดขึ้นใน ประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2475 รัฐบาลของระบอบ ประชาธิปไตยได้เพิ่มองค์คุณเข้าไปอีกองค์หนึ่ง คือ รัฐธรรมนูญ องค์คุณเอกภาพ 3 ประการจึงเปลี่ยนเป็นองค์ คุณเอกภาพ 4 ประการ คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ การที่รัฐบาลสมัยนั้นเพิ่มรัฐธรรมนูญเข้าไป ก็ เพราะเข้าใจผิดที่ยกความสำาคัญของรัฐธรรมนูญจนเกินไป ซึ่งความจริงรัฐธรรมนูญหาได้มีฐานะสูงส่งเสมอด้วยชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ไม่ ถ้ารัฐบาลสมัยนั้นจะยก องค์คุณใดขึ้นมาเสมอด้วยองค์คุณ 3 ประการดังกล่าว องค์ คุณนั้นควรเป็น ระบอบประชาธิปไตย ฉะนั้น ถ้าจะเปลี่ยน องค์คุณเอกภาพ 3 ประการ เป็นองค์คุณเอกภาพ 4 ประการตามดำาริของรัฐบาลสมัยนั้นแล้ว องคุณ 4 ประการ ควรเป็น ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และระบอบ ประชาธิปไตย เมื่อการเพิ่มรัฐธรรมนูญเข้าไปอีกองค์คุณ หนึ่งเกิดจากความเข้าใจผิด ที่ยกความสำาคัญของ รัฐธรรมนูญสูงเกินไป ต่อมาองคุณรัฐธรรมนูญจึงหายไป เอง คงเหลือองค์คุณ 3 ประการ คือ ชาติ ศาสนา พระมหา กษัตริย์ ตามพระราชดำาริอันถูกต้องของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 6 มาจนถึงทุกวันนี้ และในปัจจุบัน กล่าวถึงองค์คุณเอกภาพ 3 ประการนี้นิยมกล่าวในฐานะเป็นสถาบัน คือ สถาบันชาติ สถาบันศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ คนไทยพากัน รู้สึกว่า สถาบันเอกภาพทั้ง 3 นี้ เริ่มได้รับความกระทบ กระเทือนเมื่อมหาอำานาจเจ้าอาณานิคมทำาการคุกคามต่อ ประเทศหนักยิ่งขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดย มหาอำานาจมุ่งจะทำาลายเอกราชของประชาชาติสยาม ถ้า เอกราชของประชาชาติสยามถูกทำาลายลงในครั้งนั้น จะ เป็นภัยคุกคามอย่างรุนแรงต่อสถาบันพุทธศาสนาและ สถาบันพระมหากษัตริย์ ...ด้วยพระปรีชาญาณของพระบาทสมเด็จ 5
  • 6. พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ภัยคุกคามจากมหาอำานาจต่อเอกราชของ ประชาชาติสยามถูกขจัดโดยพื้นฐาน แต่ก็ยังไม่อาจไว้ วางใจได้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรง ส่งเสริมความรักชาติ (Patriotism) และลัทธิชาตินิยม (Nationalism) ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ด้วยการเชิดชูองค์คุณ 3 ประการ คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ขึ้นเป็นพิเศษ เป็นสำาคัญประการหนึ่ง ครั้งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มหาอำานาจสังคมนิยมเข้มแข็งขึ้นอย่าง รวดเร็วคู่ขนานกับมหาอำานาจเสรีนิยม ภัยคุกคามต่อ ประเทศไทยด้วยรูปแบบต่าง ๆ ก็ทวียิ่งขึ้น จึงจำาเป็นต้องใช้ มาตรการสูงสุดในการรับมือภัยคุกคาม นั่นคือ การปฏิวัติ ประชาธิปไตย การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อ พ.ศ.2475 แต่ระบอบประชาธิปไตยประสบความล้มเหลว เป็นเหตุสำาคัญให้ภัยคุกคามทวีขึ้นเป็นลำาดับและเลวร้าย มากในปัจจุบัน คุณบุญชู โรจนเสถียร กล่าวคำาบรรยายที่ กรมยุทธศึกษาทหารบก เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2524 ตอน หนึ่งว่า “ผมเห็นจะต้องเอ่ยถึงสถานการณ์ที่เห็นกันอยู่ คือ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศเราในช่วงเวลาไม่ นานมานี้ กำาลังแผ่เงาดำาครอบคลุมไปทั่วประเทศ ถ้าเราไม่ คิดหลอกตัวเองกัน เราก็ต้องยอมรับกันว่า ทุกคนกำาลังมี ความกังวลห่วงใยบ้านเมืองของเรา ห่วงใยสถาบันต่าง ๆ ที่ เราเคารพบูชา ว่าตกอยู่ในสถานะที่อันตรายมาก แต่จะเป็น ด้วยเหตุใดก็ตาม พวกเรามักเก็บไว้ในใจไม่พูดถึงกัน อย่างไรก็ตาม วันนี้ผมอยากระบายแทน เพราะเห็นว่า ถ้า เราประสงค์จะอยู่รอดตลอดไป เราต้องหันหน้าเข้าสู้กับ ความจริง ไม่ว่าความเป็นจริงนั้นจะลำาบากยากเข็ญที่จะแก้ เพียงใด หรือน่ากลัวเพียงใด เราก็ต้องพร้อมใจกันฝ่าฟัน แก้ไขอย่างกล้าหาญ ไม่ย่อท้อแม้แต่น้อย” (จาก “ตะวัน ใหม่” ฉบับที่ 175) คำาของคุณ บุญชู ที่กล่าวว่า “ทุกคนกำาลังมีความ 6
  • 7. กังวลห่วงใยบ้านเมืองของเรา ห่วงใยสถาบันต่าง ๆ ที่เรา เคารพบูชา ว่าตกอยู่ในฐานะที่อันตรายมาก” นั้น เป็นการ สะท้อนสภาพความเป็นจริงอย่างถูกต้องที่สุด และคุณบุญ ชู กล่าวว่า “แต่จะเป็นด้วยเหตุใดก็ตามพวกเรามักจะเก็บไว้ ในใจไม่พูดถึงกัน... วันนี้ผมจะขอระบายแทน” นั้น เรา “ตะวันใหม่” ขอรับรองให้คุณบุญชูระบายแทนเพราะ รู้สึกว่าคุณบุญชูสามารถใช้คำาพูดสั้น ๆ วาดมโนภาพ เข้าไปถึงส่วนลึกที่สุดในหัวใจของประชาชนชาวไทย รวม ทั้งของ “ตะวันใหม่” เกินกว่าความสามารถที่เราจะ ระบายเองได้ โดยเฉพาะที่คุณบุญชู กล่าวว่า ทุกคนกำาลัง ห่วงใยต่อสถาบันต่าง ๆ ที่เราเคารพบูชา ก็คือ สถาบันชาติ สถาบันศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ นั่นเอง อย่างไรก็ดี เราเห็นว่า ความสามารถของคุณบุญ ชู มีเพียงแต่ระบายความในใจแทนคนไทยที่มีความห่วงใย สถาบันอันเป็นที่เคารพบูชาเท่านั้น แต่ในปัจจุบันปัญหาไม่ ได้มีเพียงการระบายความห่วงใย ปัญหาสำาคัญที่สุดใน ปัจจุบัน คือ ทำาอย่างไรจึงจะแก้ให้สถาบันที่เราเคารพบูชา พ้นจากสภาพที่ “ตกอยู่ในฐานะที่อันตรายมาก” ที่คุณบุญชู ระบายออกมาอย่างตรงกับความเป็นจริงที่สุดนั้นได้ ความ ห่วงใยสถาบันที่เราเคารพบูชาว่าตกอยู่ในฐานะที่อันตราย มาก คือ ทุกข์ แต่จะรู้ทุกข์เพียงอย่างเดียวมิได้ จะต้องรู้เหตุ แห่งทุกข์ และรู้หนทางแห่งความพ้นทุกข์ด้วย เรารู้ทุกข์กันมามากแล้ว เวลานี้ไม่ใช่เวลาที่ เพียงแต่จะรำาพันถึงทุกข์ บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่จะต้องแก้ทุกข์ และพ้นทุกข์ การที่จะพ้นทุกข์ได้นั้น จะต้องมีหนทางแก้ ทุกข์อย่างถูกต้อง ถ้ามีหนทางแก้ทุกข์ไม่ถูกต้อง ก็แก้ทุกข์ ไม่ได้ ไม่พ้นทุกข์แต่กลับจะทุกข์หนักยิ่งขึ้นก็เป็นไปได้ ความจริงคุณบุญชูไม่ได้ระบายทุกข์อย่างเดียว คุณบุญชูได้เสนอหนทางแก้ทุกข์ด้วยเหมือนกัน เช่นเดียว กับหลายคนที่ไม่เพียงแต่ระบายความห่วงใยต่อชาติบ้าน เมืองเท่านั้น หากยังเสนอวิธีแก้ปัญหาของประเทศชาติอีก ด้วย แต่วิธีแก้ปัญหานั้น มีทั้งถูกต้องและผิดพลาด วิธีแก้ ปัญหาที่ถูกต้องเท่านั้นจึงจะแก้ปัญหาได้ วิธีการแก้ปัญหา 7
  • 8. ที่ผิดพลาดไม่เพียงแต่จะแก้ปัญหาไม่ได้ หากยังจะทำาให้ ปัญหาร้ายแรงยิ่งขึ้นก็เป็นไปได้ สมัยก่อนพุทธกาล มีศาสดาเป็นอันมากสอน หนทางพ้นทุกข์ แต่ไม่สามารถจะพ้นทุกข์ ก็เพราะหนทาง เหล่านั้นเป็นหนทางที่ผิดพลาด การที่พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น ในโลก คือ การเกิดขึ้นของหนทางพ้นทุกข์ที่ถูกต้อง เรียก ว่า สัมมามรรค ซึ่งปฏิเสธมิจฉามรรคของศาสนาอื่นสมัย นั้น กล่าวโดยอนุโลมกับการเมือง สัมมามรรคก็คือ นโยบายที่ถูกต้อง และมิจฉามรรคก็คือนโยบายที่ผิดพลาด เพราะ “ตะวันใหม่” เห็นตรงกับคุณบุญชูและคนอื่นว่า สถาบันต่าง ๆ ที่เราเคารพบูชาตกอยู่ในอันตรายมาก จำาเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องแก้ไขโดยด่วนที่สุด แต่การที่ แก้ไขได้นั้น ไม่เพียงแต่จะ “ต้องหันหน้าเข้าสู่ความ เป็นจริง ไม่ว่าความเป็นจริงนั้นจะลำาบากยากเข็ญที่ จะแก้สักเพียงใด หรือน่ากลัวเพียงใด เราจะต้อง พร้อมใจกันฟันฝ่าแก้ไขอย่างกล้าหาญ ไม่ย่อท้อ แม้แต่น้อย” อย่างคุณบุญชูว่าเท่านั้น ข้อสำาคัญที่สุดจะ ต้องมีนโยบายที่ถูกต้องในการแก้ไขด้วย จึงจะแก้ไขได้ คนไทยไม่ได้ขาดความกล้าหาญ และไม่ได้ขาด นโยบาย สิ่งที่ขาด คือ นโยบายที่ถูกต้อง คุณบุญชูได้เสนอ นโยบายสำาหรับแก้ไขสถานการณ์ ซึ่งสถาบันต่าง ๆ ที่เรา เคารพบูชาตกอยู่ในฐานะที่อันตรายมากไว้แล้ว เช่นเดียว กับบุคคลอื่นและคณะบุคคลอื่นได้เสนอนโยบายไว้เป็นอัน มาก แต่ว่าเราเห็นว่านโยบายเหล่านั้นไม่สามารถจะแก้ ปัญหาได้เพราะโดยพื้นฐานแล้วยังไม่เป็นนโยบายที่ถูก ต้องยังไม่เป็นสัมมามรรค “ตะวันใหม่” ยืนยันว่า นโยบาย ของเราสำาหรับแก้ไขสถานการณ์ซึ่งสถาบันต่าง ๆ ที่เรา เคราพบูชาตกอยู่ในฐานะที่อันตรายมากนั้นเป็นนโยบายที่ ถูกต้อง และถ้านำาไปปฏิบัติอย่างครบถ้วนแล้ว สถาบันต่าง ๆ ที่เราเคารพบูชาก็จะพ้นอันตรายและมีความมั่นคงและ ยั่งยืนไปชั่วนิรันดร เราจึงขอนำาเอานโยบายที่เรายืนยันว่าถูกต้อง นั้นมาเสนอต่อสาธารณะอีกครั้งหนึ่ง เพื่อได้โปรดพิจารณา 8
  • 9. โดยทั่วกัน และเพื่อให้สอดคล้องแก่กาลเวลา ซึ่งใกล้ อภิลักขิตสมัยเฉลิมฉลองกรุงเทพพระมหานครฯ ครบรอบ 200 ปี (ในปีที่เขียน) เพื่อเชิดชูสถาบันที่เราเคารพบูชา คือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และในการเฉลิมฉลอง นั้นเรียงลำาดับโดยยกสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอันดับ แรก ฉะนั้น ในการนำาเอานโยบายของเราเพื่อแก้ไข สถานการณ์ให้สถาบันที่เราเคารพบูชาพ้นจากฐานะที่ตก อยู่ในอันตรายมาและให้มีความมั่นคงยั่งยืนไปชั่วนิรันดร มาเสนอยำ้าในครั้งนี้ เราขอเริ่มต้นด้วยสถาบัพระมหา กษัตริย์ โดยให้ชื่อเรื่องว่า “จะรักษาสถาบันพระมหา กษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร” เราตั้งหัวเรื่องว่าจะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้มั่นคงได้อย่างไร คำาว่า “มั่นคง” มีความหมายอย่าง เดียวกับคำาว่า “ปลอดภัย” ตรงกับศัพท์อังกฤษว่า Secure เช่นคำาว่า Security Council แต่ก่อนแปลเป็นไทย ว่า “คณะมนตรีความปลอดภัย” เวลานี้แปลว่า “คณะ มนตรีความมั่นคง” และในปัจจุบันคำาว่า Security ก็ยัง ใช้ศัพท์คำาไทย 2 คำาอยู่ เช่น National Security Centre ใช้คำาว่า “ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ” National Security Council ใช้ว่า “สภาความมั่นคงแห่งชาติ” เป็นต้น Secure แปลว่า Untroubled by danger of apprehension (The Concise Oxford Dictionary) แปล เป็นไทยว่า ไม่ยุ่งยาก ไม่ลำาบาก หรือไม่กังวลด้วยอันตราย หรือความกลัว ฉะนั้น ความมั่นคงจึงหมายถึง ความไม่ยุ่งยาก ไม่ ลำาบาก หรือไม่กังวลด้วยอันตรายหรือความกลัว พูดง่าย ๆ ว่าไม่มีอันตรายหรืออันตรายทำาอะไรไม่ได้นั่นเอง ฉะนั้น การรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคง ก็คือการทำาให้สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่มีอันตรายหรือ อันตรายทำาอะไรต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่ได้นั่นเอง เรายกคำาของคุณบุญชู โรจนเสถียร มาในฉบับ 9
  • 10. ก่อนว่า “ทุกคนกำาลังกังวลห่วงใยบ้านเมืองของเรา ห่วงใยสถาบันต่าง ๆ ที่เราเคารพบูชา ว่าตกอยู่ใน ฐานะที่อันตรายมาก” คำาของคุณบุญชูนี้ พูดอีกนัยหนึ่ง ก็คือ สถาบันต่าง ๆ ที่เราเคราพบูชา ตกอยู่ในฐานะที่ไม่ มั่นคงมาก คือ สถาบันชาติ สถาบันศาสนา และสถาบันพระ มหากษัตริย์ ตกอยู่ในฐานะที่ไม่มั่นคงมากนั่นเอง เพราะ ฉะนั้น จึงมีความจำาเป็นอย่างยิ่งยวดที่จะต้องรักษาสถาบัน ชาติ สถาบันศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคง ในที่นี้เราเริ่มต้นด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงตั้งหัวเรื่อง ว่า จะรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มั่นคงได้อย่างไร แต่ไหนแต่ไรมา คนไทยไม่เคยรู้จักและไม่เคย คิดถึงความไม่มั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะ สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยมีความมั่นคงมาโดยตลอด คน ไทยเคยรู้จักแต่ความไม่มั่นคงขององค์พระมหากษัตริย์บาง องค์ในบางสมัยเท่านั้น เช่นในสมัยกรุงศรีอยุธยา คนไทย รู้จักความไม่มั่นคงของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระเยาว์ หรือความไม่มั่นคงของพระมหากษัตริย์ซึ่งประชาชนไม่ ยอมรับ (คือขุนวรวงศาธิราช) หรือพระมหากษัตริย์ผู้ทรงมี ผู้คิดชิงราชสมบัติมาก หรือเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งหลัง พระมหากษัตริย์ต้องเสด็จหนีและสิ้นพระชนม์ เหล่านี้คือ ความไม่มั่นคงขององค์พระมหากษัตริย์บางพระองค์ซึ่งคน ไทยรู้จัก แต่ในขณะที่พระมหากษัตริย์บางพระองค์ไม่ มั่นคงนั้นสถาบันพระมหากษัตริย์มั่นคงโดยตลอดตรงนี้ เรา เห็นควรชี้แจงไว้ด้วยคำาว่า “พระมหากษัตริย์” นั้นมี 2 ฐานะ คือ ฐานะสถาบัน และฐานะบุคคล ถ้ากล่าวถึงพระ มหากษัตริย์ในฐานะบุคคลต้องใช้ราชาศัพท์ ปัญหานี้เคยมี การโต้เถียงกันในระหว่างการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ร่างของคณะกรรมาธิการใช้คำาว่า “...มีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุข” มีสมาชิกโต้แย้งว่า ต้องเติม “ทรง” เข้าไป เป็น “...มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรง อธิบายให้สมาชิกสภาฟังว่า “พระมหากษัตริย์” ในประโยค 10
  • 11. นี้ ไม่ใช่บุคคลจึงไม่ต้องใช้ราชาศัพท์ การโต้เถียงจึงยุติ ดังกล่าวแล้วว่า แต่ก่อนไทยไม่เคยรู้จักความไม่ มั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ เคยรู้จักแต่ความไม่ มั่นคงของพระมหากษัตริย์บางพระองค์ แล้วเหตุใดเวลานี้ คนไทยจึงเกิดความรู้สึกถึงความไม่มั่นคงของสถาบันพระ มหากษัตริย์อย่างมาก ดังตัวอย่างที่คุณบุญชู ว่าตกอยู่ใน ฐานะที่อันตรายมาก? คนไทยเริ่มห่วงใยถึงความไม่มั่นคงของสถาบัน พระมหากษัตริย์เมื่อมหาอำานาจเจ้าอาณานิคมคุกคาม เอกราชของประเทศไทยรุนแรงยิ่งขึ้นในสมัยกรุง รัตนโกสินทร์เพราะถ้ามหาอำานาจยึดประเทศไทยได้ อาจ ทำาลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังตัวอย่างที่อังกฤษยกเลิก สถาบันพระมหากษัตริย์ในพม่าเป็นต้น ก่อนยุคล่าอาณานิคมอย่างรุนแรงนั้น แม้ว่า ประเทศไทยจะเคยแพ้สงคราม ก็ไม่กระทบกระเทือนความ มั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ ผู้ชนะสงครามไม่ทำาลาย สถาบันพระมหากษัตริย์ เพียงแต่ทำาอันตรายต่อพระมหา กษัตริย์พระองค์เดิมเท่านั้น เช่นเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยาแพ้ สงครามแก่พม่าเมื่อ พ.ศ.2112 สถาบันพระมหากษัตริย์ยัง อยู่ และเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อ พ.ศ.2310 พระยา ตากสินก็ยกสถาบันพระมหากษัตริย์ขึ้นมาอีกในทันทีทั้ง ๆ ที่สุกี้ยึดกรุงศรีอยุธยาอยู่ แต่ถ้าประเทศไทยตกเป็นเมืองขึ้นแก่มหาอำานาจ ตะวันตกก็ไม่แน่ว่ามหาอำานาจจะไม่ทำาลายสถาบันพระมหา กษัตริย์ นี่คือเริ่มแรกที่คนไทยเกิดความห่วงใยต่อความ มั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์แต่ความห่วงใยนี้ก็เลือน หายไปเมื่อแน่ใจแล้วว่าประเทศไทยสามารถรักษาเอกราช ไว้ได้ ด้วยพระปรีชาญาณของพระมหากษัตริย์ไทย ....ความห่วงใยเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อเกิดการ เคลื่อนไหวปฏิวัติประชาธิปไตยขึ้นในประเทศไทยการ เคลื่อนไหวประชาธิปไตย (หรือขบวนการประชาธิปไตย) ในประเทศไทยนั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งดำาเนิน 11
  • 12. การปฏิวัติประชาธิปไตยโดยพระมหากษัตริย์ เจ้านายและ ขุนนางผู้ใหญ่ อีกส่วนหนึ่งดำาเนินการปฏิวัติประชาธิปไตย โดยข้าราชการระดับล่างและพ่อค้าประชาชน ส่วนแรก ไม่มีใครห่วงใยต่อความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่วนหลังก่อให้เกิดความเป็นห่วงอยู่บ้าง การเคลื่อนไหวปฏิวัติประชาธิปไตยส่วนแรก ซึ่ง ดำาเนินการโดยพระมหากษัตริย์ เจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ นั้น ความมุ่งหมายประการหนึ่งในการปฏิวัติประชาธิปไตย ก็เพื่อรักษาความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังเช่น การปฏิวัติประชาธิปไตยในญี่ปุ่น ซึ่งดำาเนินการโดยพระ จักรพรรดิเป็นต้น ในประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ ทรงมีพระราชดำาริที่จะทำาการปฏิวัติประชาธิปไตยอยู่ เพียง แต่จะทรงทำาการปฏิรูปประชาธิปไตยเสียก่อน เท่านั้น และ การเคลื่อนไหวปฏิวัติประชาธิปไตยของเจ้านายและ ขุนนางในสมัยนั้นก็มีความมุ่งหมายอย่างเดียวกัน ดังเช่น คำาท้ายถวายคำากราบบังคมทูลแด่พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ทรงรีบทำาการปฏิวัติประชาธิปไตย ของคณะเจ้านายและขุนนางเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2428 มี ข้อความตอนหนึ่งว่า “ ด้วยความประสงค์อันนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวง จึงสามารถกราบบังคมทูลพระกรุณา บังอาจชี้แจงโดย พิสดารแลใช้ถ้อยคำาอันเรี่ยวแรงดังนี้ เพราะเป็นความ ประสงค์ของข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงที่จะกราบบังคมทูล แสดงความกตัญญูรักใคร่ในใต้ฝ่ายละอองธุลีพระบาทแล บ้านเมือง ซึ่งได้เป็นของไทยมาหลายร้อยปี โดยเต็มตามใจ คิดทุกอย่าง ไม่ได้คิดยั้งถ้อยคำา ถ้าผิดพลั้งเหลือเกิน เรี่ยวแรงไปประการใดแล้ว พระราชอาญาไม่พ้นเกล้าฯ แล ที่ข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงสามารถกราบบังคมทูลพระกรุณา ทั้งนี้หาได้มีความประสงค์แห่งลาภ ยศฐานานุศักดิ์ฦๅช่อง โอกาส ด้วยความประสงค์จะหาประโยชน์อย่างหนึ่งอย่าง ใดไม่ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงมีความประสงค์จะได้ฉลอง พระเดชพระคุณซึ่งได้ทรงพระกรุณาชุบเลี้ยงเกล้าฯ มา แล 12
  • 13. ทำาความดีให้แก่บ้านเมืองซึ่งเป็นที่รักของข้าพระพุทธเจ้า ทั้งหลายเพื่อให้เป็นเอกราชต่อไปด้วยร่างกายแลชีวิต หา ได้คิดถึงความสุขความเจริญแต่ในส่วนตัวต่อไปข้างหน้า ไม่” และอีกตอนหนึ่งว่า “ ด้วยข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงมีความเชื่อถืออัน เป็นแน่ว่า ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทมีพระราชหฤทัยทรง พระอุตสาหะดังที่ได้มีมาเป็นพยานอยู่แต่ก่อนแล้วที่จะทรง พระราชวินิจฉัยในราชกิจทำานุบำารุงราชอาณาเขตและ ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ ให้มีความสุขความเจริญต่อไปแลทั้ง โดยความกตัญญูสวามิภักดิ์ของข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวง เฉพาะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท จึงทำาให้ข้าพระพุทธเจ้ามี ความประสงค์อันแรงกล้าที่จะได้เห็นรัชกาลของใต้ฝ่า ละอองธุลีพระบาทรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไปด้วยความดีความเจริญ เพราะฉะนั้นข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวงจึ่งสามารถขอรับ พระราชทานพระบรมราชานุญาติ กราบบังคมทูลใต้ฝ่า ละอองธุลีพระบาท ทรงพระราชดำาริถึงรัชกาลปัตยุบันนี้ ซึ่ง ตั้งอยู่ในสมัยอันประเสริฐ คือ “ศิวิไลซ์” นี้ ไม่ควรที่จะให้มี ความดี ความเจริญเพียงเสมอรัชกาลของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวแต่โบราณมาด้วยราชกิจแห่งพระบาทสมเด็จ พระเจ้าแผ่นดินนั้น ใช่แต่จะทรงทำานุบำารุงรักษาพระราช กิจแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินนั้น ใช่แต่จะทรง ทำานุบำารุงรักษาพระราชอาณาเขตให้พ้นจากภัยอันตราย ตลอดไปชั่วรัชกาลหนึ่งนั้นมิได้ ต้องให้ความดีความเจริญ ที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้ทรงพระราชอุตสาหะประพฤติ มาในรัชกาลปัตยุบันนี้ เป็นการป้องกันรักษาอันแน่นอน ของกรุงสยาม แลเป็นรากของความเจริญที่ต่อไปแลเมื่อ รัชกาลในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทสิ้นไปแล้วให้ผู้ที่จะมา รักษาราชประเพณีสืบไป แลทั้งข้าราชการราษฎรนั้นกลับ ระลึกได้ถึงรัชกาลของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทด้วยความ เคารพนับถือ ว่าเอกราชของกรุงสยามแลกำาเนิดของความ สุขความสบายที่ตั้งอยู่เจริญรุ่งเรืองมาจนถึงวันนี้นั้น เพราะ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทพระองค์เดียวได้ทำานุบำารุงในทาง 13
  • 14. อันประเสริฐมาแลจะได้เป็นแบบอย่างของรัชกาลข้างหน้า สืบไป” นี่คือคำาท้ายของคำากราบบังคมทูลของคณะเจ้า นายและขุนนางให้พระมหากษัตริย์ทรงทำาการปฏิวัติ ประชาธิปไตย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมี พระราชหัตถเลขาตอบว่า พระองค์ท่านทรงตั้งพระราช หฤทัยที่จะทำาการปฏิวัติประชาธิปไตยอยู่แล้ว ดังข้อความ ตอนหนึ่งว่า “... แต่เราของแจ้งความแก่ท่านทั้งปวงให้ทราบ พร้อมกันด้วยว่า ความที่น่ากลัวอันตรายอย่างใดซึ่งได้ กล่าวมานั้น ไม่เป็นการที่จะแลเห็นได้ขึ้นใหม่ของเราเลย แต่เป็นการได้คิดเห็นอยู่แล้วทั้งสิ้น แลการที่ควรจะ ทะนุบำารุงให้เจริญอย่างไรเล่า เรามีความปรารถนาแรง กล้าที่จะจัดการนั้นให้สำาเร็จตลอดไปได้ ไม่ต้องมีความห่วง ระแวงอย่างหนึ่งอย่างใดว่า เราจะเป็นผู้ขัดขวางให้การซึ่ง จะเสียอำานาจ ซึ่งเรียกว่า แอบโซลูต เป็นต้นนั้นเลย เพราะ เราได้เคยทดลองรู้มาแล้วตั้งแต่เวลาเป็นตุ๊กตาซึ่งไม่มี อำานาจอันใดเลยทีเดียวนอกจากชื่อ จนถึงเวลาที่มีอำานาจ ขึ้นมาโดยลำาดับจนเต็มบริบูรณ์ในบัดนี้ ในเวลาที่มีอำานาจ น้อยปานนั้นได้ ความยากลำาบากอย่างไรแลในเวลาที่มี อำานาจมากเพียงนี้ได้รับความลำาบากอย่างไร เรารู้ดีจำาได้ดี เพราะที่จำาได้อยู่อย่างนี้ เหตุไรเล่าเราจึงไม่มีความ ปรารถนาอำานาจปานกลาง ซึ่งจะเป็นความสุขแก่ตัวเรา และจะเป็นการมั่นคงถาวรของพระราชอาณาจักรด้วยนั้น เพราะเหตุฉะนี้ เราขอให้ท่านทั้งปวงเข้าใจว่า เราไม่เป็น พระเจ้าแผ่นดินซึ่งจะต้องบีบคั้นให้หันลงมาทางกลาง เหมือนอย่างพระเจ้าแผ่นดินในยุโรปซึ่งมีมาในพงศาวดาร และเพราะความเห็นความรู้ซึ่งเราได้เป็นเจ้าแผ่นดินมาถึง สิบแปดปี ได้พบได้เห็นและได้เคยทุกข์ร้อนในการหนักการ แรงการเผ็ดการร้อนของบ้านเมือง ซึ่งมีอำานาจจะมากดขี่ ประการใด ทั้งได้ยินข่าวคราวจาเมืองอื่น ๆ ซึ่งมีเนือง ๆ 14
  • 15. มิได้ขาด แลการซึ่งเราได้ขวนขวายตะเกียกตะกายอยู่ใน การที่จะเปลี่ยนแปลงมาแต่ก่อน จนมีเหตุบ่อย ๆ เป็นพยาน ของเราที่จะยกขึ้นได้ว่า เราไม่ได้เป็นประเจ้าแผ่นดินซึ่ง เหมือนอย่างคางคกอยู่ในกะลาครอบที่จะทรมานให้สิ้นทิฐิ ถือว่าตัวนั้นโตด้วยอย่างหนึ่งอย่างใดเลย” นี่คือความพยายามเปลี่ยนแปลงระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งเวลานั้นเรียกว่า แอบโซลูตโม นากี (Absolute Monarchy) เป็นระบอบปริมิตาญาสิทธิ ราชย์ซึ่งเวลานั้นเรียกว่าลิมิเต็ดโมนากี (Limited Monarchy) ซึ่งก็คือความพยายามที่จะทำาการปฏิวัติ ประชาธิปไตยโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัวและเจ้านายขุนนางผู้ใหญ่ และถ้าความพยายามนั้นเป็น ผลสำาเร็จ ก็จะเป็นไปเพื่อความมั่นคงของสถาบันพระมหา กษัตริย์เป็นสำาคัญประการหนึ่ง ......การปฏิวัติประชาธิปไตยสมัยรัชกาลที่ 7 ซึ่งประสบ ความสำาเร็จอยู่ในระยะเวลาสั้น ๆ พระบาทสมเด็จพระ ปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีส่วนสำาคัญที่สุดอยู่ส่วนหนึ่ง และถ้า ไม่ได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนจากพระองค์ท่านแล้ว การปฏิวัติครั้งนั้นอาจล้มเหลวโดยสิ้นเชิงก็เป็นได้ พระราชบันทึกฉบับหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระ ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ พ.ศ.2475 มีข้อความ ตอนต้นว่า “ ก่อนอื่นหมด ข้าพเจ้าขอชี้แจงเสียโดย ชัดเจนว่า เมื่อพระยาพหลฯ และคณะผู้ก่อการฯ ร้องขอให้ข้าพเจ้าอยู่ครองราชย์สมบัติเป็นพระมหา กษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญนั้น ข้าพเจ้ายินดีรับรอง ก็เพราะเข้าใจและเชื่อมั่นว่า คณะผู้ก่อการฯ ต้องการจะสถาปนาการปกครองแบบ “ประชาธิปไตย” หรือ Democratic Government ตามแบบอย่างของประเทศอังกฤษและประเทศอื่น 15
  • 16. ซึ่งมีพระมหากษัตริย์ปกครองภายใต้อำานาจอัน จำากัดโดยรัฐธรรมนูญ” จะเห็นได้ว่า พระราชดำาริของพระบาทสมเด็จพระ ปกเกล้าเจ้าอยู่หัวที่จะทำาการปฏิวัติประชาธิปไตยนั้น ใน ด้านประมุขแห่งรัฐแล้ว ก็เพื่อรักษาระบอบพระมหากษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) ตามแบบ อังกฤษและประเทศอื่นที่มีการปกครองระบอบนั้น แต่การที่ทรงขัดแย้งกับคณะราษฎรก็ไม่ได้ขัดแย้ง กันในปัญหาพระมหากษัตริย์สมเด็จพระปกเกล้าฯ กับคณะ ราษฎรมีความเห็นตรงกันในปัญหานี้ ข้อขัดแย้งอยู่ที่ว่า สมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทำาให้ อำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ถ้าอำานาจอธิปไตยซึ่งคณะ ราษฎรยึดกุมไว้นั้นนำาไปใช้ให้เป็นไปตามความต้องการ ของปวงชนแล้ว พระองค์ท่านก็จะทรงเห็นชอบด้วย ดังพระ ราชหัตถเลขาตอนหนึ่งว่า “ข้าพเจ้าได้พูดไว้นานแล้วว่า ข้าพเจ้าจะ ยอมสละอำานาจของข้าพเจ้าให้แก่ราษฎรทั้งปวง แต่ไม่สมัครที่จะสละอำานาจให้แก่บุคคลใดบุคคล หนึ่ง หรือคณะใดคณะหนึ่ง เว้นแต่ว่าเป็นความ ประสงค์ของประชาชนอันแท้จริงเช่นนั้น” อย่างไรก็ดี ความล้มเหลวของการปฏิวัติ ประชาธิปไตยครั้งนั้นและความขัดแย้งระหว่างสมเด็จพระ ปกเกล้าฯ กับคณะราษฎรในปัญหาอำานาจอธิปไตยก็มิได้ กระทบกระเทือนความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ ประการใดเพียงแต่สมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงสละราชสมบัติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จเถลิงถวัลยราช สมบัติสืบสันตติวงศ์ต่อไป สถาบันพระมหากษัตริย์มีความ มั่นคงดังเดิม 16
  • 17. จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า การปฏิวัติ ประชาธิปไตยซึ่งดำาเนินการโดยพระมหากษัตริย์และเจ้า นายและขุนนางผู้ใหญ่นั้นเป็นไปเพื่อความมั่น คงของสถาบันพระมหากษัตริย์ ในตอนก่อนเราชี้ให้เห็นว่า ความไม่มั่นคงของ สถาบันพระมหากษัตริย์เริ่มมีขึ้นเมื่อมหาอำานาจเจ้า อาณานิคมคุกคามเอกราชของประเทศไทยอย่างรุนแรงใน สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 ครั้ง นั้นถ้ามหาอำานาจยึดประเทศไทยได้ ความมั่นคงของ สถาบันพระมหากษัตริย์ก็จะสูญสิ้นหรือลดลงอย่างมาก ดัง ตัวอย่างในประเทศเพื่อนบ้าน แต่ด้วยพระราชปรีชาญาณ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทย ก็ผ่านพ้นอันตรายจากมหาอำานาจไปได้ สถาบันพระมหา กษัตริย์ดำารงความมั่นคงต่อไป และเราได้ชี้ว่า ความมั่นคง ของสถาบันพระมหากษัตริย์ได้รับความกระทบกระเทือนอยู่ บ้างในช่วงของการปฏิวัติประชาธิปไตย แต่จะกระทบ กระเทือนอย่างไรนั้น จะต้องดูสภาพความเป็นจริงของ กระบวนการปฏิวัติประชาธิปไตยอย่างรอบด้านและละเอียด ถี่ถ้วน จึงจะมองเห็นและเข้าใจอย่างถูกต้องได้ แต่เราจำาเป็นต้องขอยำ้าไว้ในที่นี้ด้วยว่า เมื่อพูด ถึง การปฏิวัติประชาธิปไตย เราหมายถึงจินตภาพ (Concept) ของศัพท์วิชาการ (Technical term) ของคำานี้ ในวิชารัฐศาสตร์ อันได้แก่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบเผด็จการรูปใดรูปหนึ่งเป็นระบอบประชาธิปไตย การปกครองระบอบเผด็จการนั้นมีหลายรูป เช่น ระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ระบอบเผด็จการทหาร ระบอบ เผด็จการฟาสซิสต์ ระบอบเผด็จการรัฐสภาเป็นต้น การ เปลี่ยนแปลงระบอบเผด็จการเหล่านี้เป็นระบอบ ประชาธิปไตย คือ การปฏิวัติประชาธิปไตย (Democratic Revolution) ซึ่งในศัพท์วิชาการในวิชารัฐศาสตร์ เรา หมายถึงจินตภาพนี้เท่านั้นโดยไม่เกี่ยวกับจินตภาพอื่นของ ปฏิวัติประชาธิปไตย ซึ่งมีผู้ให้ความหมายไปต่าง ๆ นานา 17
  • 18. ตามที่นึกคิดเอาเอง เช่น หมายถึงรัฐประหาร หมายถึงการ ยึดอำานาจ หมายถึงวิธีการรุนแรง กระทั่งหมายถึงทำาลาย สถาบันพระมหากษัตริย์และหมายถึงสายโซเวียต เป็นต้น เหล่านี้เป็นจินตภาพปฏิวัติประชาธิปไตยที่หลายคนกำาหนด ขึ้นเองตามอำาเภอใจ ซึ่งนอกจากจะไม่เอื้อเฟื้อแก่ศัพท์ วิชาการแล้ว ยังน่าขายหน้าแก่ชาวต่างประเทศและแก่ผู้รู้ ในบ้านเราเองอีกด้วย บางคนไปไกลถึงกับกล่าวว่า คำาว่า “การปฏิวัติประชาธิปไตย” นั้นไม่มี คนบางคนตั้งขึ้น มาเอง ก็ประธานาธิบดีมากอสเขียนหนังสือเล่มใหญ่เล่ม หนึ่ง ให้ชื่อว่า The Democratic Revolution is the Philippines (การปฏิวัติประชาธิปไตยในฟิลิปปินส์) ท่านผู้ นี้ตั้งคำานี้ขึ้นมาเองหรือ ? ฉะนั้น เมื่อพูดถึงคำาว่า การปฏิวัติประชาธิปไตย เราขอให้พูดในฐานะเป็นศัพท์วิชาการ (Technical term) ของวิชารัฐศาสตร์เพื่อจะได้เกิดประโยชน์แก่การพิจารณา ปัญหาของชาติบ้านเมือง แม้คำาอื่น ๆ ที่เป็น Technical term เราก็ขอให้พิจารณาด้วยทัศนคติเช่นนี้ ปัญหาของ ชาติบ้านเมืองเป็นปัญหาใหญ่ ๆ ถ้าแม้แต่การใช้ถ้อยคำาก็ ไม่เอื้อต่อหลักวิชาการเสียแล้วจะพิจารณาปัญหาของชาติ บ้านเมืองกันได้อย่างไร ในตอนก่อน เราได้กล่าวถึงการปฏิวัติ ประชาธิปไตยซึ่งกระทำาโดยพระมหากษัตริย์ เจ้านายและ ขุนนางผู้ใหญ่ว่า นอกจากจะไม่กระทบกระเทือนต่อความ มั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์แล้วยังเป็นการส่งเสริม ความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์อีกด้วย ถ้าการ ปฏิวัติประชาธิปไตยในสมัยรัชกาลที่ 5 ประสบความสำาเร็จ หรือสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงทำาการปฏิวัติประชาธิปไตย สำาเร็จตามที่ทรงตั้งปณิธานไว้แล้ว สถาบันพระมหากษัตริย์ ของประเทศไทยจะมั่นคงที่สุด ชาวไทยจะไม่ต้องมากังวล ห่วงใยต่อความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์กันอยู่ใน เวลานี้เลย ต่อไปนี้ มาดูการปฏิวัติประชาธิปไตยซึ่งกระทำา โดยข้าราชการระดับล่าง และพ่อค้าประชาชน ครั้งแรกคือ 18
  • 19. การปฏิวัติประชาธิปไตยซึ่งนำาโดยคณะ รศ.130 มี ร.อ.ขุน ทวนหาญพิทักษ์ (หมอเหล็ง ศรีจันทร์) เป็นหัวหน้า ผู้นำาคน สำาคัญ ๆ ของคณะ เช่น ร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์ ร.ต.จรูญ ษ ตะเมต ร.ต.หม่อมราชวงศ์ แซ่ รัชนิกร นาย อุทัย เทพหัสดิน นายเซี้ยง สุวงศ์ นาย บุญเอก ตันสถิต ฯลฯ คณะ ร.ศ.130 เป็นคนหนุ่ม อายุถัวเฉลี่ย 20 ปี หัวหน้าคือ ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ อายุ 28 ปี ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ อายุเพียง 18 ปี นายทหารของคณะ ร.ศ.130 เกือบจะทุกคนเป็น มหาดเล็กในกรมหลวงพิษณุโลก นอกนั้นเป็นมหาดเล็ก ในกรมหลวงนครสวรรค์ กรมหลวงราชบุรี กรมหลวง นครชัยศรี บางคนเป็นเชื้อพระวงศ์ บางคนเป็นข้าหลวงเดิม หรือมหาดเล็กในรัชกาลที่ 6 และกรมหลวงพิษณุโลกทรง ระแคะระคายอยู่แล้ว ถึงการเคลื่อนไหวของคณะนี้เพราะ เป็นข่าวที่ไม่เป็นความลับอีกต่อไป แต่พระองค์ทรงถือว่า เป็นเรื่องของคนหนุ่มหัวก้าวหน้าและพระองค์ท่านก็ทรงมี พระทัยใฝ่ทางก้าวหน้าอยู่เหมือนกัน ความมุ่งหมายของคณะ ร.ศ.130 คือ ยกเลิก ระบอบพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์และ เปลี่ยนแปลงเป็นระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งครั้งนั้นหมายถึงระบอบประชาธิปไตย คณะ ร.ศ.130 ไม่มีความมุ่งหมายที่ยกเลิกสถาบัน พระมหากษัตริย์ สิ่งที่คาดคิดอยู่บ้างก็คือถ้าหากมีความ จำาเป็นอย่างที่สุด ก็เปลี่ยนแปลงเพียงองค์พระประมุข เท่านั้น มิใช่เปลี่ยนแปลงสถาบันพระมหากษัตริย์เป็น สถาบันประธานาธิบดี แต่ คณะ ร.ศ.130 ก็ไม่เชื่อว่าต้องถึง กับเปลี่ยนแปลงองค์พระประมุข ดังบันทึกของ ร.ต.เหรียญ และ ร.ต.เนตร ผู้นำาคนสำาคัญของคณะ ร.ศ.130 กล่าวไว้ ว่า “ ไม่เชื่อว่าจะต้องเปลี่ยนองค์พระประมุขของชาติ เพราะคณะมีเหตุผลอย่างสมบูรณ์ที่ทำาให้ถวายความเชื่อ ในพระเกียรติยศแห่งองค์พระประมุขว่า พระองค์ทรง สืบสายโลหิตมาแต่ตระกูลขัตติยะและทรงศึกษามาจาก 19
  • 20. สำานักที่ทรงเกียรติอันสูงส่ง ณ ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็น มารดาแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย..หากคณะจัก มีความจำาเป็นที่สุดที่จะเดินหน้าจนถึงกับจะต้องเปลี่ยนองค์ พระประมุขแห่งชาติแล้วไซร้...เช่นที่เคยมีการปรึกษา หารือกันภายในของแต่ละกลุ่มสมาชิกไว้ดังนี้ ฝ่ายทหาร บกจะทูลเชิญทูลกระหม่อมจักรพงศ์ ฝ่ายทหารเรือจะทูล เชิญทูลกระหม่อมบริพัตร และฝ่ายกฎหมายกับพลเรือนจะ ทูลเชิญในกรมหลวงราชบุรี ” และวิธีการของการปฏิวัติประชาธิปไตยครั้งนั้น คณะ ร.ศ.130 ได้กำาหนดไว้ว่าจะปฏิบัติการโดยสงบ มิให้มี การต่อสู้กันด้วยกำาลัง โดยคณะปฏิวัติจะเข้าเฝ้าทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันถือนำ้าพระพิพัฒน์สัตยา 1 เมษายน 2455 ดังบันทึกของ ร.ต.เนตร และ ร.ต.เหรียญ กล่าวไว้ว่า “ ยังเหลือเวลาประมาณ 50 วันเท่านั้นก็จะ ถึงวาระสำาคัญของคณะปฏิวัติที่จะเบิกโรงดำาเนิน การทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายหนังสืออันเป็น ประวัติศาสตร์ของชาติไทย แด่พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระประมุขแห่งชาติด้วย คารวะอย่างสูง โดยหัวหน้าคณะปฏิวัติ ณ ภายใน อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ท่ามกลาง พระบรมวงศานุวงศ์ และมวลอำามาตย์ข้าราช บริพารชั้นผู้ใหญ่ในพระราชพิธีศรีสัจจปานกาล คือ ถือนำ้าพระพิพัฒน์สัตยาในต้นเดือน เมษายน ร.ศ.130 (พ.ศ.2455) อันเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย สมัยนั้น โดยมีกำาลังทหารทุกเหล่าในพระนคร พร้อมด้วยอาวุธ ซึ่งปกติทุกปีมาเคยตั้งแถวเป็น เกียรติยศรับเสด็จพระราชดำาเนิน ณ สนามหญ้า หลังวัดพระแก้วโดยพร้อมสรรพ และเฉพาะปีนี้ก็ พร้อมที่จะฟังคำาสั่งของคณะปฏิวัติอยู่รอบด้านอีก 20
  • 21. ด้วย เพราะทหารทุกคน ณ ที่นั้นเป็นทหารของคณะ ปฏิวัติแล้วเกือบสิ้นเชิง........ แม้แต่ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์และ ทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ที่ถือปืนสวมดาบ ปลายปืนยามรักษาพระองค์อยู่หน้าประตูโบสถ์ก็คือ ทหารคณะปฏิวัตินั่นเองตามแผนของคณะฯ จักไม่มี การต่อสู้กันเลยจากทหารที่ถืออาวุธในพระนคร เพราะหน่วยกำาลังที่จะช่วงใช้เพื่อรบราฆ่าฟัน กันเองจะมีขึ้นไม่ได้เป็นอันขาด แม้นายทัพนายกอง ชั้นสูงคนใดจะออกคำาสั่งก็หาเป็นผลประการใดไม่ ค่าที่หน่วย กำาลังอันแท้จริงของกองกำาลังนั้น ได้ ตกอยู่ในกำามือของพรรคปฏิวัติดังกล่าว นับแต่ชั้น พลทหารและนายสิบขึ้นไป จนถึงนายทหารผู้บังคับ บัญชา โดยตรงคือชั้นประจำากอง โดยคณะปฏิวัติจำา ต้องจัดหน่วยกล้าตายออกคุมจุดสำาคัญ ๆ ใน พระนครพร้อมกันเมื่อได้ยินเสียงกระหึ่มของปืน ใหญ่อาณัติสัญญาณลั่นขึ้นในพระนครสองสามแห่ง และพร้อมกันนั้นต้องใช้กำาลังเข้าขอร้องเชิงบังคับ ให้นายทหารชั้นผู้ใหญ่บางคนที่เห็นสมควร และ ชี้ตัวไว้แล้วมาดำาเนินการร่วมด้วยกับคณะในบาง ตำาแหน่งโดยขอให้พิจารณาตัดสินใจทันทีเพื่อ ความเจริญของชาติไทยในสมัยอารยนิยม ” เมื่อตรวจสอบเจตนาและพฤติกรรมของคณะ ร.ศ.130 โดยละเอียดแล้วจะไม่พบเลยว่าคณะ ร.ศ.130 มี ความมุ่งหมายจะยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ และนำาเอา สถาบันประธานาธิบดีหรือสถาบันอื่นมาเป็นประมุขของ ประเทศแทน ตรงกันข้าม จะพบแต่การเชิดชูสถาบันพระ มหากษัตริย์ ทั้งต้องการจะเชิดชูองค์พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้สูงส่งยิ่งขึ้นด้วย โดยปรารถนา ที่จะให้พระองค์ท่านทรงร่วมมือกับคณะโดยดำารงฐานะพระ มหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งเวลานั้นเรียกว่า “ลิมิเต็ ดมอนากี” ดังคำาให้การของ ร.อ.ขุนทวยหาญฯ หัวหน้า 21
  • 22. คณะต่อศาลทหารว่า “ เพียงแต่มีการหารือกันเพื่อทำาหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ในอันจะขอพระมหากรุณาธิคุณให้องค์พระมหา กษัตริย์ ทรงปรับปรุงการปกครองให้สอดคล้องกับกาลสมัย โดยเปลี่ยนการปกครองเป็น ลิมิเต็ดมอนากี นอกจากนั้น สมาชิกของคณะ ร.ศ.130 บางคนเข้าร่วมการปฏิวัติ ประชาธิปไตย ด้วยความหวังที่จะดำารงไว้ซึ่งความเป็นพระ ประมุขของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ด้วยเห็นว่าการปกครอง ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะเป็นภัยแก่พระองค์ท่าน ในจำานวนนั้นมีอยู่คนหนึ่งชื่อ ร.ท. แม้น สังขวิจิตร ผู้บังคับ กองร้อยมหาดเล็กรักษาพระองค์ ซึ่งสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ทรงโปรดปรานมาก และ ร.ท.แม้น ก็ถวายความจงรัก ภักดีต่อพระองค์เสมอด้วยบิดาบังเกิดเกล้า ร.ต.เนตร บันทึก ไว้ว่า “ การร่วมปฏิวัติของเขา ก็คือความหวังที่ จะดำารงไว้ซึ่งความเป็นประมุขของพระองค์ใน ภาวะอนาธิปไตย โดยเห็นว่า การปกครองแบบรา ชาธิปไตยนี้จะเป็นยาพิษแก่ราชบัลลังก์อย่างแน่แท้ ” เมื่อทอดพระเนตรเห็น ร.ท.แม้น อยู่ในรายชื่อของ คณะ ร.ศ.130 ไม่ทรงเชื่อว่า ร.ท.แม้น จะร่วมด้วย และ รับสั่งกับทูลกระหม่อมจักรพงษ์ว่า “ ถ้าไอ้แม้นไปกับ พวกเขาด้วย ก็ต้องเฆี่ยนหลังมันเสีย ” รับสั่งนี้ไปเข้าหู ร.ท.แม้น ในคุก เข้าจึงเขียน จดหมายซุกซ่อนไปในอาหารที่รับประทานเหลือถึงบิดา ของเขา ขอให้วิ่งเต้นด้วยวิธีต่าง ๆ รวมทั้งวิธีไสยศาสตร์ เพื่อไม่ให้เขาถูกเฆี่ยนหลังเพราะถือว่า การถูกเฆี่ยนหลัง เป็นการเสื่อมด้วยเกียรติของชายชาตินักรบ ตลอดทั้งวงศ์ ตระกูลด้วย แม้แต่จะลงพระราชอาญาประหารชีวิตก็ไม่ว่า จดหมายนี้ผู้คุมจับได้ และส่งขึ้นไปตามลำาดับจนถึง ในหลวง เพียงไม่กี่วันต่อมา เมื่อพระองค์เสด็จโดยรถยนต์ พระที่นั่งไปตามถนนราชดำาเนินทอดพระเนตรเห็น ร.ต.ฟู ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาของ ร.ท.แม้น จึงรับสั่งให้หยุดรถ พระที่นั่งและกวักพระหัตถ์ให้ ร.ต.ฟู เข้าเฝ้าฯ ณ กลาง 22
  • 23. ถนนนั้นรับสั่งว่า “ เอ็งไปบอกเจ้าแม้นมันว่า ข้าเลิก เฆี่ยนหลังแล้ว มันจะได้สบายใจ ” ชาวคณะ ร.ศ.130 ทุกคนยืนยันว่า ข่าวที่ว่าคณะ ร.ศ.130 จะปลงพระชนม์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า อยู่หัว เป็นข่าวกุ เมื่อ ร.ท.จรูญ ณ บางช้าง ผู้นำาคนหนึ่ง ของคณะได้ทราบข่าวนี้ คิดว่าเป็นเรื่องจริง จึงเขียน จดหมายถึงพรรคพวกที่อยู่นอกคุกแช่งด่าพวกนั้นอย่าง รุนแรงและเรียกร้องให้สมนาคุณบุคคลต่าง ๆ อันประกอบ ด้วย K หมายถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ) “ เจ้าพ่อนโปเลียน ” ( หมายถึงเจ้าฟ้ากรมหลวง พิษณุโลกประชานาถ ) และ “ วังบูรพาผู้เฒ่า ” ( หมาย ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช ) ตอน หนึ่งมีข้อความว่า “ เราผู้เป็นมนุษย์จึงควรบูชาคุณ ของท่านทั้งสามนี้ไว้เหนือเกล้าฯ ของเราทุกเวลา ตลอดชีพของเรา ” (กองจดหมายเหตุแห่งชาติ) นอกจากข่าวกุ ซึ่งกำาลังแพร่สะพัดอย่างครึกโครม แล้ว ยังมีพยานเท็จจาก “ ผู้หักหลัง ” คือ ร.อ.ยุทธ คง อยู่ หรือหลวงสินาด โยธารักษ์ ซึ่งให้การว่าพวก ร.ศ.130 จะปลงพระชนม์ในหลวง และจะเปลี่ยนการปกครองเป็นรี ปับลิค ( บุคคลผู้นี้ต่อมาได้เป็น พ.อ.พระยากำาแพงราม ถูก จับในคดีกบฏบวรเดช และผูกคอตายในคุกบางขวาง ) เมื่อคณะ ร.ศ.130 ถูกจับได้ใหม่ ๆ มีข่าวเป็นที่เชื่อ ถือได้ว่า ศาลทหารจะตัดสินลงโทษเพียง 3 ปี 5 ปี และว่า ในหลวงจะไม่ทรงเอาโทษ แต่ครั้นมีข่าวกุและพยานเท็จดัง กล่าว จึงตัดสินโทษสถานหนักแต่ถ้าดูจากเหตุผลข้อเท็จ จริงในคำาพิพากษาแล้ว ก็ยังต้องถือว่าเป็นการลงโทษ สถานเบา ดังคำาพิพากษาตอนหนึ่งว่า “ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นาย ทหารบก นายทหารเรือ รวม 7 นาย เป็นกรรมการ พิจารณาทำาคำาปรึกษาโทษขึ้นกราบบังคมทูลพระ กรุณา มีใจความที่วินิจฉัยตามที่ได้พิจารณาได้ ความว่า ผู้ที่ร่วมคิดในสมาคมนี้มีความเห็นจะ 23
  • 24. เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นรีปับลิคบ้าง เป็นลิมิเต็ ดมอนากีบ้าง ส่วนที่จะจัดการอย่างไรจึงจะ เปลี่ยนแปลงการปกครองได้นั้น ปรากฏชัดในที่ ประชุมถึงการกระทำาประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวด้วย แม้บางคนจะไม่มีเจตนาโดยตรง ที่จะประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี แต่ก็ได้สมรู้เป็นใจกันและช่วยกันปกปิดความ เพราะฉะนั้นตามลักษณะความผิดนี้กระทำาผิดต่อ กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 97 ตอนที่ 2 มีโทษ ประหารชีวิตด้วยกันทุกคนไป บางคนกระทำาผิด มากไม่สมควรลดโทษเลย แต่บางคนกระทำาความ ผิดน้อยบ้าง ได้ให้การสารภาพให้เป็นประโยชน์ใน การพิจารณาบ้าง และมีเหตุผลอื่นสมควรจะลด หย่อนความผิดบ้างอันเป็นเหตุให้ควรลดโทษฐาน ปราณีตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 37 และ มาตรา 59 จึงกำาหนดโทษเป็น 5 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 ให้ ลงโทษประหารชีวิต 3 คน ขั้นที่ 2 ลดโทษเพียงจำา คุกตลอดชีวิต 20 คน ขั้นที่ 3 ลดโทษลงเพียงจำาคุก มีกำาหนด 20 ปี 32 คน ขั้นที่ 4 ลดโทษลงเพียงจำาคุก มีกำาหนด 15 ปี 6 คน ขั้นที่ 5 ลดโทษลงเพียงจำาคุกมี กำาหนด 12 ปี 30 คน” (คัดจากคำาพิพากษาคดี กบฏ ร.ศ.130) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมี พระบรมราชวินิจฉัยเด็ดขาด ดังนี้ “ได้ตรวจคำาพิพากษา ซึ่งได้พิจารณา ปรึกษาโทษ ในคดีผู้มีชื่อ 91 คน ก่อการกำาเริบ ลง วันที่ 5 พฤษภาคม นั้น ตลอดแล้วเห็นว่ากรรมการ พิจารณาลงโทษพวกเหล่านั้นมีข้อสำาคัญที่จะ ทำาร้ายต่อตัวเรา เราไม่ได้มีจิตพยาบาทคาดร้ายต่อ พวกนี้ เห็นควรที่จะลดหย่อนผ่อนโทษโดยฐาน กรุณา ซึ่งเป็นอำานาจของพระเจ้าแผ่นดินที่จะยก โทษให้ได้ เพราะฉะนั้นบรรดาผู้ที่มีชื่อ 3 คน ซึ่งวาง 24