SlideShare a Scribd company logo
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
เรื่อง กำาเนิดระบบสุริยะ
---------------------------------------------------------------------------------
----------------------------------
4.1 วิวัฒนาการของระบบสุริยะ
ระบบสุริยะ เป็นระบบหนึ่งในกาแล็กซีทางช้างเผือก ใน
ระบบสุริยะประกอบด้วยดวงอาทิตย์ และบริวารต่างๆ เช่น ดาว
เคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง อุกบาต และดวงจันทร์ โดยจะ
โคจรรอบดวงอาทิตย์ การศึกษาเกี่ยวกับการเกิดและวิวัฒนาการ
ของระบบสุริยะจะช่วยทำาให้เข้าใจเกี่ยวกับโลกเรื่องราวเกี่ยวกับ
ดวงดาวและปรากฎการณ์บนท้องฟ้าได้มากขึ้น และเป็นข้อมูล
สำาหรับการศึกษาในด้านดาราศาสตร์ชั้นสูงต่อไป
4.1.1 ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับระบบสุริยะ
1) ระบบสุริยะ คือระบบที่ว่าด้วยดวงอาทิตย์และบริวาร
บรรดาเทห์วัตถุบนท้องฟ้าในระบบสุริยะต่างอยู่ภายใต้อำานาจแรง
โน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ บริวารส่วนใหญ่จึงโคจรรอบดวงอาทิตย์
ในระนาบเดียวกันจนเกือบเป็นวงกลม และโคจรไปในทิศทาง
เดียวกันในลักษณะทวนเข็มนาฬิกาถ้ามองจากเหนือเส้นศูนย์สูตร
ของโลก ขอบเขตของระบบสุริยะมีรัศมีกว้าง 2.4 ปีแสง
ภาพ ระบบสุริยะ (ที่มา: JPL/NASA)
โลกของเราเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะซึ่งเกิดขึ้น
มาพร้อมกับดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์มีบริวารคือ ดาวเคราะห์ ดวง
จันทร์ของดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง แก๊สและฝุ่นธุลี
เนื้อที่ส่วนใหญ่ในระบบสุริยะเป็นอวกาศ
ดวงอาทิตย์เป็นกลุ่มแก๊สรูปทรงกลมที่มีอุณหภูมิสูงมาก มีเส้น
ผ่านศูนย์กลาง 1,392,000 กิโลเมตร ยาวกว่าเส้นผ่านศูนย์กลาง
ของโลก 109 เท่า ดวงอาทิตย์มีปริมาตรขนาดใหญ่กว่า
โลก 1,304,000 เท่า นักวิทยาศาสตร์คำานวณว่า มวลสารใน
ระบบสุริยะเป็นมวลสารของดวงอาทิตย์ประมาณร้อยละ 99.85
1
ดวงอาทิตย์หมุนรอบแกนตัวเอง ดาวเคราะห์เกือบทั้งหมดหมุนรอบ
ตัวเองไปในทิศทางเดียวกันและระนาบเดียวกันขณะที่โคจรรอบ
ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ของดาวเคราะห์ต่างโคจรรอบดาว
เคราะห์ไปในทิศทางเดียวกันกับที่ดาวเคราะห์โคจรรอบดวง
อาทิตย์
2) บริวารของดวงอาทิตย์มีอะไรบ้าง
บริวารของดวงอาทิตย์ที่สำาคัญคือ ดาวเคราะห์ ทั้ง 9
ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาว
เสาร์ ดาวยูเรนัส (มฤตยู) ดาวเนปจูน และดาวพลูโต ส่วนบริวารที่
แสดงไม่ชัดเจน ได้แก่ ดาวเคราะห์น้อย คือวัตถุแข็งขนาดเล็กอยู่
ระหว่างดาวอังคาร กับดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์น้อยดวงโตที่สุด
มีขนาดความกว้างประมาณไม่ถึง 1,000 กิโลเมตร ดวงที่มีขนาด
กว้างกว่า 15 กิโลเมตร มีประมาณ 1,500 ดวง ดาวเคราะห์น้อย
ที่มีขนาดเล็กที่ไม่สามารถจะส่องกล้องเห็นหรือศึกษาได้ จากโลก
นั้น นักวิทยาศาสตร์ประมาณว่ามีจำานวนมากกว่า 10,000 ดวง
นอกจากนี้ยังมีบรรดาสะเก็ดวัตถุแข็งขนาดเล็กในอวกาศ อาจเป็น
ชิ้นส่วนจากดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหาง หรือสะเก็ดดาวขนาดจิ๋ว
ที่เรียกว่า อุกกาบาต ถ้าเข้ามาในแรงความโน้มถ่วงของโลก และ
ตกผ่านชั้นบรรยากาศของโลกจะเกิดลุกไหม้ขึ้นเห็นเป็นแสงสว่าง
วาบเป็นทางยาว เรียกว่า ดาวตก หรือ ผีพุ่งไต้ ถ้าลุกไหม้ไม่หมด
เรียกก้อนอุกกาบาต นอกจากนี้บริวารของดวงอาทิตย์ยังมีดาวหาง
ซึ่งก็คือกลุ่มของแก๊สฝุ่นธุลีและหินที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นรูป
วงรี หากดาวหางเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์พลังงานแสงและอนุภาค
จากดวงอาทิตย์จะทำาให้จุดกลางร้อนขึ้น ปล่อยแก๊สและฝุ่นเมฆ
เป็นส่วนหัวและหาง ซึ่งจะอยู่ตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์ ส่วนหัว
และจุดใจกลางจะหันเข้าดวงอาทิตย์ นักวิทยาศาสตร์คาดว่ามี
ดาวหางบริวารของดวงอาทิตย์ไม่น้อยกว่า 1 ล้านดวง แต่ปรากฏ
มาให้เห็นปีละไม่กี่ดวงเท่านั้น
จะเห็นได้ว่า ระบบสุริยะมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง บริวารมี
มวลสารเพียงน้อยนิดประมาณ 1.5 ส่วนใน 1,000 ส่วน และ
บริวารอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์แตกต่างกันไป ดวงอาทิตย์เป็นผู้ให้
พลังงานทุกประเภทแก่โลกไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ดวงอาทิตย์มี
ความสว่างระดับปานกลางแต่ขนาดค่อนข้างเล็กกว่าดาวฤกษ์
ทั่วไปที่มนุษย์รู้จัก เนื้อที่ส่วนใหญ่ในระบบสุริยะว่างเปล่า เป็น
สุญญากาศที่เกือบสมบูรณ์ ที่เรียกว่า อวกาศ ยังมีกลุ่มแก๊ส ฝุ่นธุลี
และสะเก็ดดวงดาวอยู่บ้าง
2
4.1.2 การเกิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะ
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ดวงอาทิตย์และบริวารเกิดจาก
มวลสารของแก๊สและมวลสารของฝุ่นธุลีในอวกาศมารวมตัวกัน
จุดเริ่มต้นของระบบสุริยะมีต้นกำาเนิดเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปี
มาแล้วและมีวิวัฒนาการอันยาวนานปัจจุบันดวงอาทิตย์มีอายุ
เปรียบเสมือนอยู่ในวัยกลางคน
อีกประมาณ 5,000 ล้านปีต่อไป พื้นผิวส่วนนอกจะกลายเป็น
แก๊สและฝุ่นธุลีแกนกลางจะเป็นก้อนถ่านดำา ดับแสงล่องลอยไปซึ่ง
การเกิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะ มีดังนี้
1. เมื่อเริ่มต้นการเกิดระบบสุริยะ มีกลุ่มมวลสารของแก๊ส
ส่วนใหญ่เป็นไฮโดรเจน ฮีเลียมและฝุ่นเมฆระหว่างดวงดาว รวม
กันเป็นกลุ่มด้วยแรงดึงดูดร่วมกันเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีมา
แล้ว ดังภาพ 1
ภาพ กำาเนิดระบบสุริยะ
2. ในเวลา 1 ล้านปีต่อมา กลุ่มมวลสารเริ่มอัดตัวเล็กลงจน
เกิดความร้อนและหมุนรอบศูนย์กลางโดยเกิดดวงอาทิตย์ที่
ศูนย์กลางและบริวารจะอยู่รอบนอกดังภาพ 2
3. ศูนย์กลางการหมุนวนของแก๊สและฝุ่นธุลีจะกลายเป็น
ดวงอาทิตย์ มวลสารที่เล็กลงของแก๊สและฝุ่นธุลีจะกลายเป็นดาว
เคราะห์ต่างๆ ดวงอาทิตย์เริ่มหมุนรอบตัวเอง บริวารหมุนรอบตัว
เองและโคจรวนรอบแกนดวงอาทิตย์ ดังภาพ 3 นักวิทยาศาสตร์
เชื่อว่า โลกเมื่อเริ่มต้นก่อกำาเนิดขึ้นมานั้นเป็นกลุ่มมวลสารของ
แก๊สและแร่ธาตุหลอมเหลวร้อนจัดมาก โดยเริ่มเกิดขึ้นพร้อมดวง
อาทิตย์และบริวารอื่นๆ
3
1
2
3
ภาพ เปรียบเทียบขนาดของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
4. ระยะเวลามากกว่า 1 ล้านปีต่อมา แร่ธาตุหินเหลวร้อน
ภายในโลกปะทุพ่นออกมาสู่ภายนอกโลกและแข็งตัวเป็นลาวา
พร้อมแก๊สต่างๆ สู่ผิวโลก เมื่อเริ่มเย็นตัวลง ไอนำ้าและแก๊สต่างๆ
จะรวมกลุ่มเป็นเมฆหนาอยู่เหนือพื้นโลก เมื่ออุณหภูมิของโลกเย็น
ลงกว่าจุดเดือดของนำ้าจะเกิดฝนพายุที่รุนแรงที่ผิวโลก ต่อมาจะ
เกิดนำ้าในมหาสมุทร
5. นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ในระยะเวลาช่วง 4,000 ล้าน
ปีแรกของประวัติศาสตร์โลกเป็นช่วงที่ผิวโลกมีการเปลี่ยนแปลงจึง
ยังไม่มีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นบนโลก เมื่อมีนำ้า มีบรรยากาศและอุณหภูมิ
เหมาะสม สิ่งมีชีวิตเริ่มแรกจึงอาจเริ่มเกิดขึ้นในนำ้าคือมหาสมุทร
ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เองจากผลของธรรมชาติสร้างขึ้น ดังภาพข้าง
ล่าง
ภาพ โลกของเรา
สิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นบนโลกนั้น นักวิทยาศาสตร์และนัก
ธรณีวิทยาเชื่อว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่ง่ายที่สุด นั่นคือสิ่งมีชีวิตเซลล์
เดียวที่เกิดขึ้นในนำ้าช่วงใกล้กับ 570 ล้านปีมาแล้ว ต่อมาสิ่งมีชีวิต
ทั้งพืชและสัตว์ในทะเลเริ่มมีวิวัฒนาการสูงขึ้นในช่วง 570-245
ล้านปีมาแล้ว ซึ่งพบหลักฐานเป็นปะการัง หอย ฟองนำ้า ไทรโล
ไบต์ (พบในประเทศไทย) พืชบกมีวิวัฒนาการเมื่อ 408 ล้านปีมา
แล้ว ปลามีมาเมื่อ 360 ล้านปีมาแล้ว สัตว์ครึ่งบกครึ่งนำ้าเริ่มมีเมื่อ
245 ล้านปีมาแล้ว ในระหว่าง 245-66.4 ล้านปีมาแล้วเป็นยุค
ของสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์เลื้อยคลานพวกไดโนเสาร์ครองโลกเป็น
ระยะเวลายาวนานถึง 140 ล้านปีแล้วจึงสูญพันธุ์เมื่อประมาณ
66.4 ล้านปี ระหว่าง 66 ล้านปีมาแล้ว จนถึงปัจจุบันเป็นยุคของ
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและไม้ดอก ได้มีการค้นพบกะโหลกศรีษะ
4
มนุษย์วานรอายุประมาณ 5 ล้านปีมาแล้ว ส่วนบรรพบุรุษมนุษย์
พบเมื่อ 3-4 ล้านปีมาแล้ว ค้นพบกะโหลกศรีษะมนุษย์แรกเริ่ม
มีอายุ 500,000 ปีมาแล้ว และมนุษย์ปัจจุบันพบเมื่อประมาณ
100,000 ปีมาแล้ว
4.1.3 ระบบสุริยะในกาแล็กซีทางช้างเผือก
หากมองดูดวงดาวบนท้องฟ้าในคืนเดือนมืด จะเห็นกลุ่ม
ดาวต่างๆ มากมาย ถ้าดูดาวในหน้าหนาวตอนหัวคำ่าจะเห็นเป็น
แถบแสงสีขาวสลัวคล้ายเมฆพาดจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออก
ผ่านแนวกลางฟ้าและตกทางขอบฟ้าตะวันตก ทางสีขาวสลัวนี้
เรียกว่า ทางช้างเผือก ศัพท์ทางดาราศาสตร์เรียก Milk Way
แปลว่า ทางนำ้านมกาลิเลโอเป็นคนแรกที่พบความจริงว่า ทางช้าง
เผือกคือดาวฤกษ์ที่อยู่ไกลจากโลกออกไป
ถ้าใช้กล้องสองตาดูทางช้างเผือกจะเห็นทางสีขาวสลัวนั้น
คือดวงดาว แต่เห็นเป็นเพียงจุดของแสงสว่างเท่าปลายเข็ม เพราะ
ดาวฤกษ์ที่เห็นจำานวนมากมายนั้นอยู่ไกลจากโลกมาก ทางช้าง
เผือกคือส่วนหนึ่งของกาแล็กซี ระบบสุริยะของเราอยู่ในกาแล็กซี
เรียกว่า กาแล็กซีทางช้างเผือก ศัพท์บัญญัติของราชาบัณฑิตย
สถาน ให้เรียกว่า ดาราจักรทางช้างเผือก
ระบบสุริยะเป็นเพียงจุดเล็กๆ จุดหนึ่งของกาแล็กซีทางช้าง
เผือก ดวงอาทิตย์เป็นเพียงดาวฤกษ์ดวงหนึ่งใน 100,000 ล้าน
ดวง ของกาแล็กซีทางช้างเผือก กาแล็กซีหรือดาราจักร หมายถึง
ระบบขนาดใหญ่ของดาวฤกษ์ประกอบด้วย ดาวฤกษ์กระจุกดาว
เนบิลา แก๊ส และฝุ่นธุลี กาแล็กซีที่ศึกษาและถ่ายภาพได้ประมาณ
ว่ามี 10,000 ล้านกาแล็กซี กาแล็กซีทั้งหมดรวมกันเป็นอกภพ
กล่าว
โดยสรุป เอกภพ คือ ระบบซึ่งเป็นผลรวมของกาแล็กซีทั้งหมด คือ
สสารทั้งหมด อวกาศเวลา ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์รู้จักเป็นส่วนหนึ่ง
ของเอกภพ พื้นที่ส่วนใหญ่ของเอกภพเป็นอวกาศที่ว่างเปล่า
ระบบสุริยะในกาแล็กซีทางช้างเผือก
5
โลกของเราเป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็ก มีขนาดใหญ่เป็น
อันดับ 5 เป้นบริวารของดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งใน
จำานวน 1 แสนล้านดวงของกาแล็กซีทางช้างเผือก ดาวฤกษ์อื่นๆ
อาจไม่มีหรือมีบริวารเช่นเดียวกับที่ดวงอาทิตย์มีบริวารก็ได้
ดาวฤกษ์ดวงที่ใกล้โลกที่สุดอยู่ห่างจากโลกของเรา 4.3 ปีแสง นัก
ดาราศาสตร์พบดาวเคราะห์นอกสุริยจักรวาลแล้วกว่า 100 ดวง
ในปัจจุบันมนุษย์ได้ส่งยานอวกาสรู้ข้อมูลสิถิติถึงดาวเคราะห์ดวง
สุดท้ายคือดาวพลูโตเท่านั้น
ดวงอาทิตย์เป็นเพียงดาวฤกษ์ดวงหนึ่งในจำานวน
100,000 ล้านดวงของกาแล็กซีทางช้างเผือกซึ่งมีความกว้าง
100,000 ปีแสง (ปีแสง คือ ระยะทางที่แสงใช้เวลาเดินทาง 1
ปีแสงมีความเร็ววินาทีละ 300,000 กิโลเมตร ใน 1 วินาที แสง
วิ่งรอบโลกได้ 7.5 รอบ และเดินทางจากดวงอาทิตย์ถึงโลกใน
เวลา 500 วินาที ใน 1 ปีแสงเดินทางได้ 9.46 ล้านล้าน
กิโลเมตร) ที่จุดใจกลางของกาแล็กซีมีดาวฤกษ์หนาแน่นจำานวน
มาก แต่บริเวณขอบนอกของกาแล็กซีจะมีดาวน้อยลง ดวงอาทิตย์
เป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่อยู่ห่างจากปลายแขนของกาแล็กซีทาง
ช้างเผือก โดยอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลาง 30,000 ปีแสง ถ้ามอง
ด้านข้างจะเห็นคล้ายจานเปลสองใบประกบกัน ดวงอาทิตย์อยู่ใน
ระบบสุริยะซึ่งอยู่ขอบจานที่ประกบกัน และเป็นเพียงจุดเล็กๆ จุด
หนึ่งของกาแล็กซีเท่านั้น
ข้อมูลที่น่ารู้
- ระบบสุริยะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12,000 ล้าน
กิโลเมตร
- 98% ของเนื้อสารทั้งหมดของระบบสุริยะ รวมอยู่ที่ดวง
อาทิตย์
---------------------------------------------------------------------------------
--------------------------------
วิวัฒนาการทางด้านดาราศาสตร์
มนุษย์ได้สนใจปรากฏการณ์บนท้องฟ้ามาเป็นเวลานานกว่า
3,000 ปี ก่อนคริสตกาลแล้วมนุษย์ได้ใช้ประโยชน์จากการ
เปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ในท้องฟ้า กำาหนดวัน เดือน ปี และ
6
ฤดูกาลต่างๆ แต่การศึกษาของมนุษย์สมัยนั้นยังมีอุปกรณ์และ
เครื่องมือไม่มากนัก จึงอาศัยความเชื่อและจินตนาการอธิบาย
ปรากฏการณ์ต่างๆ บนท้องฟ้า มนุษย์ในสมัยโบราณจึงเชื่อว่าบน
ท้องฟ้านั้นเป็นที่อยู่อาศัยของพระเจ้าที่ปกครองคนบนโลกอีกต่อ
หนึ่ง ความเชื่อเหล่านั้นปรากฏออกมาเป็นตำานานหรือเทพนิยาย
ต่างๆ มากมาย
ดาราศาสตร์ได้รับการพัฒนาการมากในช่วง 700 ปีก่อน
คริสตกาล ถึง ค.ศ.200 เช่น ทาเลส เชื่อว่าจักรวาลมีลักษณะ
เป็นทรงกลม อริสโตเติล บอกว่าโลกไม่ได้แบน แต่มีลักษณะเป็น
ทรงกลม อีราโตสทีเนส สามารถวัดเส้นรอบวงของโลกได้ ฮิป
ปาคัสบอกว่าแกนของโลกไม้ได้อยู่กับที่ แต่เปลี่ยนแปลงตำาแหน่ง
ไปเรื่อยๆ ในจักรวาล
ในศตวรรษที่ 2 พโตเลมี ได้พิมพ์หนังสือชื่ออัลมาเจสต์ ซึ่ง
ได้เสนอว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล มีดวงอาทิตย์และดาว
เคราะห์อื่นๆ หมุนรอบ ดาวที่เห็นอยู่บนท้องฟ้าจะอยู่กับที่บนทรง
กลมของจักรวาล ในศตวรรษที่ 15 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้ง
สำาคัญในวงการดาราศาสตร์ซึ่งเป็นการเริ่มต้นในยุคที่เราเรียกว่า
ยุคฟื้นฟูวิทยาการ นักดาราศาสตร์ที่ทำาให้ความเชื่อในสมัยก่อน
เปลี่ยนแปลงไปคือการที่ นิโคลัส โคเปอร์นิคัส ได้ประกาศให้ชาว
โลกรู้ว่าความเชื่อของพโตเลมี ที่เชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของ
จักรวาล มีดาวดวงอื่นๆ หมุนรอบนั้นเป็นความคิดที่ผิด เขาเสนอ
ว่าแท้จริงแล้วในจักรวาลนั้นมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง มีดาว
เคราะห์แบละดาวอื่นๆ หมุนรอบดวงอาทิตย์ในลักษณะเป็นทรง
กลมการที่โคเปอร์นิคัสเสนอแนวคิดเช่านี้ทำาให้เกิดการโต้แย้ง
อย่างมากทั้งทางวิทยาศาสตร์และศาสนาต่อมานักดาราศาสตร์
ชาวเดนมาร์ก ชื่อ ไทโค บราเฮ ได้ใช้เวลาศึกษาและกำาหนด
ตำาแหน่งดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ ได้จดบันทึกตำาแหน่งของดาว
เคราะห์และการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ รวมทั้งปรับปรุงความถูก
ต้องของตารางดาราศาสตร์ โจฮันเนส เคปเลอร์ นักคณิตศาสตร์
และดาราศาสตร์ชาวเยอรมันได้พิสูจน์ว่าดาวเคราะห์โคจรรอบ
ดวงอาทิตย์ไม่ได้เป็นวงกลมแต่โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี เกิด
กฎของเคปเลอร์ว่าด้วยการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ใช้ในการ
คำานวณต่างๆ เกี่ยวกับดาวเคราะห์ในระบบสุริยะยังได้ค้นพบระยะ
ห่างจากดาวเคราะห์ต่างๆ ไปยังดวงอาทิตย์ด้วย ซึ่งเป็นการค้นพบ
ที่สำาคัญมาก
ในศตวรรษที่ 17 ไอแซค นิวตัน นักวิทยาศาสตร์ชาว
อังกฤษ ได้ค้นพบกฎแห่งความโน้นถ่วงซึ่งได้อธิบายว่าสสารทุก
7
ชนิดในจักรวาลนี้ต่างก็ดึงดูดซึ่งกันและกัน สสารจะมีแรงดึงดูด
มากหรือน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับมวลของวัตถุนั้นๆ ถ้ามีมวลมาก
แรงดึงดูดก็จะมากตามไปด้วย กฎนี้เองที่ใช้อธิบายว่า ทำาไมดาว
เคราะห์จึงหมุนรอบตัวเองและโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำาไมดวง
จันทร์จึงหมุนรอบตัวเองและโคจรรอบโลก และในศตวรรษนี้เอง
ได้มีการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ขึ้นส่องทางไกลเป็นครั้งแรก
โดยช่างประกอบแว่นตาชาวดัชต์ ปีต่อมา พ.ศ.2152 กาลิเลโอ
ได้ทราบข่าวจึงประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ขึ้นมาอาจกล่าวได้ว่า
เป็นกล้องแรกที่ใช้ศึกษาดวงดาวบนท้องฟ้า นับว่ามีประโยชน์
มหาศาลต่อวงการดาราศาสตร์ กาลิเลโอเป็นคนแรกที่ประกาศว่า
ดาวศุกร์มองเห็นเป็นเสี้ยว บนดวงจันทร์นั้นมีหลุมอุกกาบาต มี
ภูเขา มีจุดดำาบนดวงอาทิตย์ พบว่าดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์เป็น
บริวาร 4 ดวง และในศตวรรษนี้ได้มีการค้นพบวงแหวนของดาว
เสาร์ด้วย ศตวรรษที่ 18,19,20 มีการศึกษาทางด้านดาราศาสตร์
กันอย่างกว้างขวางและได้ค้นพบสิ่งใหม่ๆ มากมาย เช่น การค้น
พบ ดาวยูเรนัส (มฤตยู) ใน พ.ศ.2324 โดยวิลเลียม เฮอร์เชล
นอกจากนี้เขายังได้คำานวณขนาดของระบบสุริยะของกาแล็กซี
และการเคลื่อนที่ของดาวในอวกาศซึ่งเป็นประโยชน์ต่อวงการ
ดาราศาสตร์ในปัจจุบันมากจวบจนถึงยุคปัจจุบันนี้ เริ่มเมื่อ เบสเสล
นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้คำานวณระยะห่างของดาวฤกษ์
มากกว่า 50,000 ดวง โดยวิธีการใช้หลักความคลาดตำาแหน่ง
ของวัตถุ (parallax) ในปี พ.ศ.2389 ได้มีการค้นพบดาวเนปจูน
โดยการคำานวณแล้วมีผู้ใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องพบ ต่อมาเมื่อ
พ.ศ.2473 ได้มีการถ่ายรูปของดาวเคราะห์ดวงสุดท้าย คือ ดาว
พลูโต ด้วยกล้องจุลทรรศน์ขนาด 13 นิ้ว
ต่อมามีการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ ขนาด 200 นิ้ว ใน
ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำาให้วงการดาราศาสตร์มีการขยายสาขา
ต่างๆ ออกไปอีกหลายสาขา มีการใช้หลักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่
เข้ามาช่วยศึกษาทางด้านดาราศาสตร์ และมีการค้นพบสิ่งท้าทา
ยอื่นๆ อีกมากมาย ความลี้ลับในเอกภพจะได้รับการเปิดเผยไป
เรื่อยๆ ตราบที่มนุษย์ไม่สิ้นสุดการแสวงหา
---------------------------------------------------------------------------------
-----------------------------------
4.2 โลกของเราและดาวเคราะห์ต่างๆ
โลกของเรามีฉายา "ดาวเคราะห์สีนำ้าเงิน" หรือ"ดาว
เคราะห์มหาสมุทร" เป็นดาวเคราะห์ลำาดับที่ 3 จากดวงอาทิตย์
8
ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 และมีความหนาแน่นมากที่สุดในบรรดาดาว
เคราะห์ทั้ง 9 ดวง โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่มีอุณหภูมิและ
สภาพเหมาะสมที่สิ่งมีชีวิตสามารถก่อกำาเนิดและดำารงชีพอยู่ได้
เป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่มีพื้นนำ้ามากถึง 2 ใน 3 ส่วน มีดาว
บริวารที่เป็นดวงจันทร์เพียงดวงเดียว นอกจากโลกแล้วการศึกษา
เรื่องราวข้อเท็จจริงของดาวเคราะห์ที่เหลืออีก 8 ดวง จะมีส่วน
ช่วยทำาให้เรามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสุริยะมากยิ่งขึ้น
4.2.1 การหมุนรอบตัวเองและการโคจรของ
โลก
4.2.1.1)การหมุนรอบตัวเองของโลก
โลกหมุนรอบตังเองไปทางทิศเดียวกับการโคจรรอบ
ดวงอาทิตย์ ทำาให้เกิดกลางวันและกลางคืนเนื่องจากทิศที่โลก
หมุนไปเป็นทิสตะวันออกทำาให้เราเห็นดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และ
ดวงดาวขึ้นทางทิศตะวันออกตกทางทิศตะวันตก ในการกำาหนด
เวลา 1 วัน จะกำาหนดจากโลกหมุนรอบตัวเองครบ 1 รอบ โดยใช้
ดวงอาทิตย์เป็นหลัก หากผู้สังเกตที่ยืนอยู่ ณ ลองจิจูดต่างกัน จะ
เห็นดวงอาทิตย์ขึ้นและตกในเวลาต่างกัน ดังนั้นจึงมีการกำาหนด
เวลามาตรฐานให้เป็นสากลทั่วโลก เพื่อให้สามารถสื่อสารเรื่อง
ของเวลาได้เข้าใจตรงกันนั่นคือ 1 วัน จะมี 24 ชั่วโมง โลกหมุน
รอบตัวเองจากทิศตะวันออก ประเทศที่อยู่ทางทิศตะวันออกจะได้
รับแสงอาทิตย์ก่อนก็จะสว่างก่อน เช่น ประเทศญี่ปุ่นสว่างก่อน
ประเทศไทย ประเทศไทยสว่างก่อนประเทศอินเดีย ดังนั้นเวลา
ของแต่ละประเทศจึงไม่เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้จึงจำาเป็นต้องมีเวลา
มาตรฐานหรือเวลาที่ทางราชการกำาหนดใช้ สำาหรับประเทศไทย
นั้นใช้เวลาที่ค่ามุมลองจิจูด 105 องศาตะวันออก ซึ่งเป็นเวลาที่
เร็วกว่าเวลามาตรฐานเมืองกรีนิช หรือเวลาสากล (Greenwich
Mean Time หรือ Universal Time) 7 ชั่วโมง ประเทศสหราช
อาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและประเทศ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศไทยใช้เวลา
มาตรฐานเดียวกัน
เป็นที่ตกลงกันว่า เส้นลองจิจูดมี 360 เส้น เส้นที่ 0
องศา ผ่านหอดูดาวเมืองกรีนิชประเทศอังกฤษ ซึ่งถือเป็นเวลา
สากลของโลก โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ โดยใช้ดวงอาทิตย์เป็น
หลักในการสังเกต ในเวลา 24 ชั่วโมงโลกหมุนไปเท่ากับ 360
เส้นลองจิจูด ฉะนั้นโลกหมุนไป 1 เส้นลองจิจูด จะใช้เวลา 4 นาที
9
ตำาบลที่ซึ่งอยู่ห่างกัน 15 เส้นลองจิจูด เวลาจะต่างกัน 1 ชั่วโมง
ประเทศไทยใช้เวลามาตรฐานที่เส้นลองจิจูด 105 องศาตะวันออก
ที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ใกล้เส้นลองจิจูด
105 องศาตะวันออก เวลาจะเร็วกว่าเวลามาตรฐานกรีนิชหรือ
เวลาสากล 7 ชั่งโมง ส่วนจังหวีชัดอื่นที่ไม่ตั้งอยู่บนเส้นลองจิจูด
105 องศา เวลาจะผิดไปจากความเป็นจริงบ้าง เช่น
กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ ที่เส้นลองจิจูด 100.5 องศาตะวันออก
อยู่ห่างจากเส้น 105 องศาตะวันออก 4.5 เส้นลองจิจูด ฉะนั้น
เวลาที่แท้จริงของกรุงเทพฯ จะช้ากว่าเวลามาตรฐานของประเทศ
อยู่ 18 นาที
4.2.1.2 การโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลก
โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยมีแกนเอียงไปจากแนวตั้ง
ฉากกับระนาบทางโคจรเป็นมุมประมาณ 23 21 องศา แกนโลก
จะเอียงคงที่ตลอดวิถีโคจรเป็นผลทำาให้เกิดฤดูกาลและช่วงเวลา
กลางวันกลางคืนบนโลกยาวนานต่างกัน กล่าวคือ ทำาให้ผิวโลก
หันเข้ารับแสงอาทิตย์เปลี่ยนแปลงไป ขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวง
อาทิตย์ในเดือนมิถุนายน แงอาทิตย์ส่องที่ตรงตั้งฉากกับผิวโลก
ทำาให้ขั้วโลกเหนือเป็นฤดูร้อน ในฤดูหนาวแสงส่องมาเฉียงแม้จะ
อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่า ความร้อนจะกระจายบริเวณกว้าง
อุณหภูมิเฉลี่ยต่อพื้นที่จึงน้อยกว่าแสงส่องมาตรง และแกนของขั้ว
โลกเอียงทำาให้ช่วงเวลากลางวันกลางคืนบนโลกเปลี่ยนไป เช่น
ในเดือนธันวาคมโลกหันขั้วเหนือออกจากดวงอาทิตย์ ประเทศทาง
ซีกโลกเหนือจะได้รับแสงอาทิตย์เฉียงทั้งที่เป็นช่วงที่ขั้วโลกเหนือ
อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าขั้วโลกใต้ ทำาให้ประเทศต่างๆ ทางซีก
โลกเหนืออากาศหนาวเย็นจึงเป็นช่วงฤดูหนาว ขณะที่ประเทศทาง
ซีกโลกใต้ได้รับพลังความร้อนและแสงสว่างส่องตรงตั้งฉากและ
นานกว่าจึงมีอากาศร้อน และมีช่วงเวลากลางวันยาวนานกว่า
กลางคืนจึงเป็นช่วงฤดูร้อน ครั้น ถึงเดือนมิถุนายนโลกหันขั้ว
เหนือเข้าหาดวงอาทิตย์ ประเทศทางซีกโลกเหนืออยู่ไกลจากดวง
อาทิตย์มากกว่าแต่ได้รับสีของแสงส่องตรง ทางซีกโลกเหนือจึง
เป็นฤดูร้อน มีช่วงเวลากลางวันยาวนานกว่ากลางคืน ขณะที่ทาง
ซีกโลกใต้กลายเป็นฤดูหนาวและมีช่วงเวลากลางวันสั้นกว่ากลาง
คืนสำาหรับประเทศไทยมี 3 ฤดู สามารถสังเกตวันเริ่มต้นฤดูได้จาก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือผู้แทนพระองค์เสด็จเปลี่ยน
เครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ในวันหลังวันเข้าพรรษา
1 วัน,หลังวันลอยกระทง 1 วัน และหลังวันมาฆบูชา 31 วัน หรือ
10
1 วัน ในปีอธิกมาส นักเรียนทราบหรือไม่ เดือนและวันทาง
จันทรคติที่เป็นวันเริ่มต้นฤดูกาลในประเทศไทย
โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบ โดยสังเกตดาวฤกษ์
เป็นหลักในเวลา 365.2422 วัน เรียก 1 ปีของโลก ที่โลกโคจร
รอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบจริง แต่ถ้าสังเกตดวงอาทิตย์เป็นหลัก
เห็นดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนไปตามกลุ่มดาว 12 ราศี โลกโคจร
รองดวงอาทิตย์ 1 รอบ ในเวลา 365.2422 วัน เรียก 1 ปีฤดูกาล
หรือ 1 ปีสุริยคติ หรือ 1 ปีปฏิทิน ขณะโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์
หากสังเกตดวงอาทิตย์จะเห็นภาพดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนที่ผ่าน
กลุ่มดาว 12 ราศี ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ประจำาเดือนทั้ง 12 เดือน ผ่าน
ไปทางทิศตะวันออกตามลำาดับ การคำานวณนับปีสุริยคติ เริ่มต้นนับ
ณ จุด วิษวัต หรือจุดราตรีเสมอภาค คือ จุดที่เมื่ออาทิตย์โคจรไป
ถึงในราววันที่ 21 มีนาคม เป็นวันเริ่มฤดูใบไม้ผลิในประเทศซีก
โลกฝ่ายเหนือ และศารทวิษวัต คือดวงอาทิตย์ปรากฏโคจรไปถึง
ในวันที่ 21 กันยายน โดยจะปรากฏโคจรกลับมาถึงจุดเดิมอีกครั้ง
หนึ่งเป็นเวลา 1 ปีสุริยคติ การกำาหนดวันเริ่มต้นฤดูกาลต่างๆ
กำาหนดจากตำาแหน่งของดวงอาทิตย์ที่ปรากฏบนท้องฟ้า โดย
กำาหนดจากช่วงระยะเวลามี 365.2422 วัน แต่ความเป็นจริงแล้ว
1 ปีสุริยคติไม่ใช่มี 365 วันเสมอไป ในทุก 4 ปี จะมีวันเกินขึ้นมา
เกือบ 1 วัน ดังนั้นจึงต้องมีการแก้ไขเพื่อให้วันเริ่มต้นฤดูกาลต่างๆ
ตรงกับตำาแหน่งดวงอาทิตย์ที่ปรากฏบนท้องฟ้าในวันเริ่มฤดูกาล
ให้มากที่สุด ซึ่งมีวิธีการแก้ไขคือให้เพิ่มวันพิเศษขึ้นอีก 1 วัน ใน
ทุก 4 ปี เรียกว่า อธิกสุรทิน แปลว่าวันที่เพิ่มขึ้นในปีสุริยคติ ในปี
นั้นเดือนกุมภาพันธ์จะมี 29 วัน มีข้อยกเว้นคือปีที่หารด้วย 400
ลงตัวเป็นปีปรกติสุรทิน
นอกจากโลกจะโคจรรอบดวงอาทิตย์แล้ว ดาวเคราะห์ส่วน
ใหญ่มีบริวารเคลื่อนที่รอบดาวเคราะห์นั้นๆ เช่น ดวงจันทร์
11
เคลื่อนที่รอบโลก ดาวเคราะห์บางดวงมีบริวารจำานวนมาก ดวง
จันทร์มีหลายประเภทบางดวงเป็นหินแข็ง บางดวงเป็นนำ้าแข็งปน
หินแข็ง ส่วนดาวเคราะห์ที่ไม่มีดวงจันทร์ ได้แก่ ดาวพุธ และดาว
ศุกร์ ดวงจันทร์ของโลกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3,477 กิโลเมตร มี
ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ในบรรดาดวงจันทร์ของดาวเคราะห์ต่างๆ
ตารางแสดงดวงจันทร์ของดาวเคราะห์ต่างๆ โดยเรียงตามลำาดับ
ขนาดใหญ่ มีดังนี้
ชื่อดวง
จันทร์
ดวงจันทร์ของดาว
เคราะห์
เส้นผ่านศูนย์กลาง (กม.)
แกนนีมีด ดวงจันทร์ของดาว
พฤหัสบดี
เส้นผ่านศูนย์กลาง
5,262 กิโลเมตร
ไตแตน ดวงจันทร์ของดาว
เสาร์
เส้นผ่านศูนย์กลาง
5,150 กิโลเมตร
แคลลีสโต ดวงจันทร์ของดาว
พฤหัสบดี
เส้นผ่านศูนย์กลาง
4,800 กิโลเมตร
ไตรตัน ดวงจันทร์ของดาว
เนปจูน
เส้นผ่านศูนย์กลาง
3,800 กิโลเมตร
ไอโอ ดวงจันทร์ของดาว
พฤหัสบดี
เส้นผ่านศูนย์กลาง
3,630 กิโลเมตร
มูน ดวงจันทร์ของดาวโลก เส้นผ่านศูนย์กลาง
3,477 กิโลเมตร
ยูโรปา ดวงจันทร์ของดาว
พฤหัสบดี
เส้นผ่านศูนย์กลาง
3,138 กิโลเมตร
ดาวเคราะห์
พลูโต
เล็กกว่าดวงจันทร์ทั้ง
7 ดวง
เส้นผ่านศูนย์กลาง
2,392.5 กิโลเมตร
ดวงจันทร์ใช้เวลาประมาณ 27.322 วัน ในการหมุนรอบตัว
เองและโคจรรอบโลก ดังนั้นเราจึงเห็นดวงจันทร์เพียงด้านเดียว
เสมอ และด้วยเหตุที่โลกมีการเคลื่อนที่หมุนรอบตัวเองและโคจร
รอบดวงอาทิตย์ ขณะเดียวกับที่ดวงจันทร์ก็ต้องหมุนรอบตัวเอง
และโคจรรอบโลกเวลาที่เราจะเห็นดวงจันทร์เต็มดวงในทุกๆ 29
21 วัน การโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ ทำาให้เกิดข้างขึ้นข้าง
แรม นำ้าขึ้น นำ้าลง สุริยปราคา และจันทรุปราคา ปรากฏนำ้าขึ้น
นำ้าลงนั้นเนื่องจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ต่างส่งแรงดึงดูดมายัง
โลก จะส่งผลให้เกิดนำ้าขึ้นนำ้าลงตามริมทะเลและเมืองท่าใกล้ทะเล
12
ดวงจันทร์มีอิทธิพลสูงกว่าดวงอาทิตย์ เป็น 11 ต่อ 5 การนับ
วันและเดือนโดยถือเอาการเดินทางของดวงจันทร์เป็นหลักเรียกว่า
จันทรคติ เนื่องจากดวงจันทร์ โคจรรอบโลกมีความสัมพันธ์ร่วมกับ
โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ระยะเวลาที่ดวงจันทร์ปรากฏโคจรรอบ
โลก โดยนับจากวันเดือนดับถึงวันเดือนดับเท่ากับ 29 วัน 12
ชั่วโมง 44.05 นาที หรือเท่ากับ 29.53 วัน คือ 1 เดือนจันทรคติ
เท่ากับ 29.53 วันเพื่อให้การนับเดือนมีเลขลงตัว จึงกำาหนดให้
เดือนคู่เป็นเดือนเต็ม มี 30 วัน เดือนคี่เป็นเดือนขาด มีเพียง 29
วัน วันพระสิ้นเดือนมีแค่ แรม 14 คำ่า ปีหนึ่งจึงมีเพียง 354 วัน
การแก้ไขความคลาดเคลื่อนวันและเดือนปีจันทรคติของชาติ
ไทยให้ใกล้เคียงกับปีจริงทางสุริยคติ ซึ่งต่างกันถึง 11 วันเศษนั้น
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์
ไทยทรงคำานวณและวางเป็นกฎเกณฑ์อย่างชัดเจนคือ เพิ่มวันของ
เดือน 7 ที่เป็นเดือนคี่ซึ่งปรกติมี 29 วัน ในรอบ 5-6 ปี จะเป็นปี
อธิกวารคือ เดือน 7 มี 30 วัน โดยสังเกตดวงจันทร์ปรากฏโคจร
อยู่ใกล้ดาวฤกษ์ เช่น สังเกตดวงจันทร์เพ็ญยังไม้เข้าใกล้นักขัต
ฤกษ์อาสาฬหะในวันเข้าพรรษา การแก้ไขที่สำาคัญคือการมีเดือน
8 สองหน ทุก 19 ปีจะมีปีอธิกมาสมีเดือน 8 สองหน จำานวน 7
ครั้ง ปีนั้นจะมี 13 เดือน มีจำานวนวัน 384 วัน
4.2.3 ดาวเคราะห์อื่นๆ ในระบบสุริยะ
ปัจจุบันนักดาราศาสตร์พบว่ามี ดาวเคราะห์ 9 ดวงที่เป็น
บริวารของดวงอาทิตย์ ซึ่งโลกเป็น 1 ในดาวเคราะห์ ทั้ง 9 ดวง
แต่อาจมีดาวเคราะห์มากว่า 9 ดวงนี้ก็ได้ ดาวเคราะห์จะโคจร
เคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีเกือบเป็นวงกลม ดาวเคราะห์แบ่ง
เป็น ดาวเคราะห์ในโคจรอยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์และ ดาว
เคราะห์วงนอก ซึ่งอยู่เลยโลกออกไป
4.2.3.1 ดาวเคราะห์ใน
1) ดาวพุธ (mercury) เป็นชื่อเทพเจ้าแห่งการสื่อสาร มี
ฉายาว่า เตาไฟแช่แข็ง มีขนาดเกือบเล็กที่สุดแต่ใหญ่กว่าดาว
พลูโต อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร
โคจรรอบดวงอาทิตย์เร็วที่สุดด้วยอัตรา 48 กิโลเมตรต่อวินาที
หมุนรอบตัวเองครบ 1 รอบในเวลาประมาณ 59 วัน โคจรรอบดวง
อาทิตย์ในเวลาประมาณ 88 วัน ยานอวกาศมาริเนอร์ เอ ถ่ายภาพ
พื้นผิวดาวพุธ เต็มไปด้วยปล่องภูเขาไฟแบบดวงจันทร์ พื้นผิว
ทั่วไปตั้งแต่แรกเกิดถูกลูกอุกกาบาตถล่มเข้าใส่เป็นปล่องภูเขาไฟ
13
ไปทั่ว ด้านที่ได้รับแสงอาทิตย์จะร้อน 452 องศาเซลเซียสด้านที่
ไม่ได้รับแสงอาทิตย์จะเย็นจัดถึง -84 องศาเซลเซียส นั่นคือใน
เวลากลางวันมีอุณหภูมิสูงมากและอุณหภูมิจะลดตำ่าลงในเวลา
กลางคืน เนื่องจากบรรยากาศปกคลุม ดาวพุธสามารถสังเกตเห็น
ได้ด้วยตาเปล่า แต่โอกาสสังเกตเห็นได้นั้นยากเพราะอยู่ใกล้ขอบ
ฟ้ามาก คือ เมื่อดวงอาทิตย์ใกล้จะโผล่ขึ้นเหนือขอบฟ้า
ดาวพุธ
ภาพ พื้นผิวเต็มไปด้วยหลุมอุกาบาตคล้ายกับดวงจันทร์ของเรา
2) ดาวศุกร์ (Venus) มีฉายาว่าเทพธิดาแห่งความรักและ
ความงาม เป็นดาวเคราะห์ที่ถูกคลุมด้วยเมฆหนา สามารถเห็นได้
ด้วยตาเปล่า เพราะมีความสว่างเจิดจ้าที่สุดในท้องฟ้ารองลงมา
จากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ถ้าเห็นตอนหัวคำ่า เรียกว่า ดาว
ประจำาเมือง ถ้าเห็นตอนเช้ามืด เรียก ดาวประกายพรึก
บรรยากาศประกอบด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 95
ไนโตรเจนร้อยละ 3.5 มีแก๊สซัสเฟอร์ไดออกไซด์ปะปนอยู่บ้าง
บรรยากาศเป็นเมฆหนาปกคลุมคล้ายตู้กระจกอบความร้อน พื้น
ผิวมีความร้อนที่สุดมีอุณหภูมิสูงถึง 463 องศาเซลเซียส ดาวศุกร์
หมุนรอบตัวเอง
แบบทวนกลับกับทิศทางการโคจรคือหมุนตามเข็มนาฬิกา จากการ
ตรวจสอบด้วยเรดาร์ พบว่าหมุนรอบตัวเองแบบทวนกลับครบ 1
14
รอบ คือ 1 วันที่แท้จริงของดาวศุกร์เท่ากับ 243.16 วัน แต่ 1 วัน
บนดาวศุกร์โดยสังเกตดวงอาทิตย์เวลาเที่ยงวันหนึ่งถึงเที่ยงวันครั้ง
ถัดไปจะเท่ากับ 166.75 วัน โคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ หรือ 1
ปี เท่ากับ 224.70 วัน
ภาพ ดาวศุกร์
4.2.3.2 ดาวเคราะห์วงนอก
1) ดาวอังคาร (Mars) เป็นชื่อของเทพเจ้าแห่งสงครามมี
ฉายาว่า ดาวเคราะห์สีแดง สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีสีแดงใส
สว่างน้อยกว่าดาวพฤหัสบดี จากการสำารวจดาวอังคารมี
บรรยากาศเจือจางมากเพียงร้อยละ 1-2 ของความกดบรรยากาศ
บนโลก พื้นผิวมีรังสีคอสมิกซึ่งเป็นอันตราย
ต่อสิ่งมีชีวิตพุ่งเข้าตกสู่พื้นผิวมากกว่าบนโลกเป็น 100 เท่า มีดวง
จันทร์บริวาร 2 ดวง ดวงในชื่อ
โฟบอส โคจรรอบดาวอังคารในเวลา 7 ชั่วโมงเศษเนื่องจากโฟ
บอสมีความเร็วในการโคจรสูงกว่าที่ดาวอังคารหมุนรอบตัวเอง จึง
เห็นโฟบอสขึ้นทางทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก 3 ครั้ง ใน
ช่วง 1 วันบนดาวอังคาร ดวงจันทร์ดวงนอก ชื่อ ไดมอส โคจร 1
รอบ ประมาณ 31 ชั่วโมง
15
ภาพ ดาวอังคาร
2) ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) เป็นชื่อจอมเทพหัวหน้า
เทพเจ้ามีฉายาว่า โลกยักษ์ หมุนรอบตัวเองครบ 1 รอบเร็วที่สุด
และมีขนาดใหญ่ที่สุด ใหญ่กว่าโลกถึง 1,321 เท่า ถ้ายุบรวมดาว
เคราะห์อีก 8 ดวง จะมีมวลสารไม่ถึงร้อยละ 40 ของดาวพฤหัสบดี
ดาวพฤหัสบดีจึงหนักกว่า หากรวมดาวเคราะห์น้อยและบริวารอื่นๆ
ด้วย ดาวพฤหัสก็ยังมีมวลมากกว่าเป็น 2 เท่า จากการสำารวจของ
ยานอวกาศวอยเอเจอร์พบว่าดาวพฤหัสบดีมีวงแหวนหากดูดาว
พฤหัสบดีด้วยตาเปล่าจะเห็นแสงสว่างเจิดจ้าสีขาว มีความสว่าง
รอบจากดาวศุกร์มีดวงจันทร์บริวาร 39 ดวง โดยที่ 14 ดวง พบ
จากบนโลก ดาวพฤหัสบดีจะเคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาว 12 ราศี ปีละ
1 กลุ่ม
ภาพ ดาวพฤหัสบดี
3) ดาวเสาร์ (Saturn) เป็นชื่อของเทพเจ้าแห่งการเกษตร
มีขนาดใหญ่เป็นที่สองรองจากดาวพฤหัสบดี ใหญ่กว่าโลก 760
เท่า มีความหนาแน่นน้อยกว่านำ้า สามารถลอยนำ้าได้แกนกลางเป็น
หินซึ่งร้อนจัดมากมีอุณหภูมิไม่เกิน 15,000 องศาเซลเซียส
สามารถมองด้วยตาเปล่าเห็นแสงสว่างขาวนวลสว่างน้อยกว่าดาว
16
อังคาร หากมองด้วยกล้องโทรทรรศน์จะเห็นวงแหวนสวยงามมาก
วงแหวนกว้างประมาณ 273,700 กิโลเมตร หนาประมาณ 210
เมตร มีดวงจันทร์เป็นบริวาร 30 ดวง พบจากบนโลกเพียง 10
ดวง มี 1 ดวงที่มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธ
ภาพ ดาวเสาร์
4) ดาวยูเรนัสหรือดาวมฤตยู (Uranus) มีขนาดใหญ่
เป็นอันดับ 3 ใหญ่กว่าโลก 63 เท่า มีวงแหวนล้อมรอบ 10 วง
เป็นวงแหวนทึบแสงล้อมรอบดาวยูเรนัส 9 วง ซึ่งศึกษาดาวยูเรนัส
ได้บนโลกเมื่อตอนที่โคจรผ่านดาวฤกษ์ ส่วนวงที่ 10 ถ่ายภาพได้
โดยยานอวกาศ ดาวยูเรนัสมีพื้นผิวและบรรยากาศคล้ายดาว
พฤหัสและดาวเสาร์ มีดวงจันทร์เป็นบริวาร 21 ดวง ดาวมฤตยู
มองด้วยตาเปล่าเห็นเป็นเพียงแค่จุดของแสงเท่านั้น จึงถือได้ว่า
มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น
ภาพ ดาวยูเรนัส
5) ดาวเนปจูน (Neptune) เป็นชื่อเทพเจ้าแห่งทะเล เรียก
ดาวสมุทร มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ทั้ง
9 ดวง ใหญ่กว่าโลก 58 เท่า พบได้โดยการคำานวร มีดวงจันทร์
เป็นบริวาร 8 ดวง และมีวงแหวนล้อมรอบ 6 วง มีอนุภาคอยู่เป็น
กลุ่มๆ แผ่พลังงานออกมามากกว่าได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์
อุณหภูมิที่พื้นผิวเย็นจัดมากมีอุณหภูมิ-200 องศาเซลเซียส
17
ภาพ ดาวเนปจูน
6) ดาวพลูโต (Pluto) ดาวเคราะห์ดวงสุดท้าย ค้นพบได้
โดยการถ่ายภาพ เห็นเป็นจุดแสงแปลกปลอมซึ่งไม่ใช่ดาวฤกษ์
แกนกลางเป็นหินมีผิวนอกเป็นนำ้าแข็ง มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง
2,392.5 กิโลเมตร มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้ง 9
เล็กกว่าดวงจันทร์ของดาวเคราะห์อีก 7 ดวง โคจรรอบดวง
อาทิตย์เป็นรูปวงรี
4.2.4 การสังเกตดาวเคราะห์บนท้องฟ้า
ดาวเคราะห์ที่สามรถเห็นได้ด้วยตาเปล่ามีเพียง 5 ดวง คือ
ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ ดาวพุธมี
โอกาสเห็นได้ยากมากและเห็นได้เพียงช่วงสั้นๆ คือตอนใกล้
พลบคำ่ากับตอนใกล้รุ่งสว่าง ในคืนเดือนมืดสนิท หากแหงนดูดวง
ดาวบนท้องฟ้าจะเห็นดวงดาวมากมาย 2,000-3,000 ดวง ใน
จำานวนนั้นจะเห็นดาวเคราะห์ ได้อย่างมากเพียง 2-3 ดวง ลำาแสง
จากดาวเคราะห์ที่ส่องมายังโลกจะเห็นแสงสว่างนิ่ง ส่วนดาวฤกษ์
จะเห็นคล้ายแสงกะพริบ เพราะแสงส่องมาไกลมาก ขณะผ่าน
บรรยากาศโลกแสงจะหักเหโค้งเบนจากแนวเดิมหลายทิศทาง
เนื่องจากความแปรปรวนของบรรยากาศ ทำาให้แสงดาวดูระยิบ
ระยับหรือกะพริบแสงหากเราสังเกตดาวบนท้องฟ้าในประเทศไทย
จะเห็นดาวเคราะห์อยู่ในแนวตะวันออกตะวันตก เกือบกลาง
ท้องฟ้าตามแนวทางที่ดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนที่ไป ดาวเคราะห์
ทั้งหลายจะปรากฏเคลื่อนที่ไปอยู่ในแนวเส้นสุริยวิถี คืออยู่ในแนว
กลุ่มดาว 12 ราศี หรือกลุ่มดาวประจำาเดือนทั้ง 12 เดือน
ตารางแสดงข้อมูลสถิติดาวเคราะห์ที่น่าสนใจ
ชื่อ
ดาว
เคราะ
ห์
ระยะห่างจากดวง
อาทิตย์
หมุนรอบ
ตัวเอง
โคจรรอบ
ดวง
อาทิตย์
ปริมา
ตร
เทียบ
กับ
โลก
จำานวน
ดวง
จันทร์
(พ.ศ.2
545)
ล้าน
กม.
หน่วยดา
รา
ศาสตร์
18
พุธ
ศุกร์
โลก
อังคาร
พฤหัส
บดี
เสาร์
ยูเรนัส
เนปจู
น
พลูโต
58
108
150
228
778
1,427
2,870
4,496
5,900
0.39
0.72
1.00
1.52
5.20
9.54
19.18
30.06
39.44
58.65d
243.02d
23h
56m
4.1s
23h
37m
22
9h
55m
30s
10h
39m
22s
17h
14m
24s
16h
6m
36s
6d
9h
18m
88 วัน
224.7
วัน
365.256
วัน
1.88ปี
12 ปี
29.5 ปี
84 ปี
165 ปี
248 ปี
0.05
6
0.85
7
1.00
0
0.15
1
1,32
1
764
63
58
0.00
7
-
-
1
2
39
30
21
8
1
4.3. ดวงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ที่ให้พลังงานและแสงสว่าง
มหาศาลและไม่มีวันหมดสิ้น นับว่าดวงอาทิตย์เป็นบ่อเกิดพลังงาน
ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของระบบสุริยะ สิ่งมีชีวิตบนโลกของเราทั้งพืชและ
สัตว์ต้องอาศัยพลังงานนี้ พืชต้องการพลังงานแสงเพื่อการ
สังเคราะห์แสง สัตว์ต้องการความร้อน แสงสว่าง และพลังงานจาก
อาหารเพื่อการดำารงชีวิตและต้องการพลังงานอื่นๆ เพื่ออำานวย
19
ความสะดวกสบายในการดำารงชีวิต ดังนั้นพลังงานจากดวง
อาทิตย์จึงมีความสำาคัญต่อการดำารงชีวิตบนโลก
4.3.1 ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับดวงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่อยู่ห่างจากโลก 150
ล้านกิโลเมตร มีความร้อนและแสงสว่างในตัวเองดวงอาทิตย์
เปรียบเสมือเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ยิ่งใหญ่ที่เกิดปฏิกิริยาเทอร์โม
นิวเคลียร์อย่างสมำ่าเสมอ และควบคุมไม่ได้ แสงสว่างเดินทางจาก
ดวงอาทิตย์ถึงโลกกินเวลา 499 วินาที หรือ 8.32 นาที ดวง
อาทิตย์มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1,392,000 กิโลเมตร ซึ่งยาวกว่า
โลกราว
109 เท่า มีขนาดใหญ่สามารถบรรจุโลกได้ถึง 1,304,000 เท่า
โลกของเราขณะนี้ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี อีกไม่
ถึง 5,000 ล้านปี ดวงอาทิตย์จะวิวำฒนาการเป็นดาวยักษ์แดงช่วง
นั้นโลกและดาวเคราะห์วงในจะถูกดูดกลืนเข้าสู่ดวงอาทิตย์
วิวัฒนาการต่อไป เมื่อไฮโดรเจนแกนกลางหมด มีฮีเลียมมากขึ้น
เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันฮีเลียม ฮีเลียมหลอมรวมเป็นคาร์บอน
ดวงอาทิตย์จะขยายตัวอีกครั้งหนึ่งเพื่อใช้ไฮโรเจนและฮีเลียม ผิว
นอกขยายใหญ่ 400 เท่าเกินอำานาจความโน้มถ่วง ผิวนอกจะ
ระเบิดสู่อวกาศเป็นสสารระหว่างดาว แกนกลางของดวงอาทิตย์จะ
เป็นแคระขาว และค่อยๆ เย็นลงเป็นก้อนคล้ายถ่าน เรียกแคระดำา
ล่องลอยไป
ภาพ 2 โครงสร้างภายในดวงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์ผู้ควบคุมสรรพสิ่งในระบบสุริยะ เป็นดาวฤกษ์ที่มี
ขนาดมวลสารและความสว่างมากกว่าดาวฤกษ์ทั่วไปถึงร้อยละ 80
ของดาวฤกษ์ในกาแล็กซีทางช้างเผือก แต่มีความสว่างน้อยกว่า
และมีขนาดเล็กกว่าดาวฤกษ์ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สว่างเด่น
บนท้องฟ้า มีอุณหภูมิที่ผิว 5,778 องศาเคลวินหรือเท่ากับ 5,505
20
องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่จุดใจกลางดวงอาทิตย์สูงมากประมาณ
1,5000,000 องศาเซลเซียส ดวงอาทิตย์มีความโน้มถ่วงที่ผิว
มากกว่าโลกราว 28 เท่า ดวงอาทิตย์หนักกว่าโลก 300,000 เท่า
และมีกำาลังส่องแสงสว่างกว่าดวงจันทร์วันเพ็ญ 400,000 เท่า
ดวงอาทิตย์หมุนรอบตัวเองอยู่ตลอดเวลาแบบทวนเข็มนาฬิกา โดย
หมุนรอบตัวเอง 1 รอบกินเวลา 25.38 วัน และจะพาระบบสุริยะ
ทั้งระบบไปด้วยความเร็ว 274 กิโลเมตรต่อวินาที
4.3.2 การเกิดพลังงานของดวงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์เป็นบ่อเกิดของพลังงานที่ยิ่งใหญ่ เปรียบ
เสมือนเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์พลังงานที่ดวงอาทิตย์ส่งออกมานี้มา
จากการเปลี่ยนแปลงสสารไปเป็นพลังงานที่เกดจากพลังงานเทอร์
โมนิวเคลียร์หรือพลังงานนิวเคลียร์ฟิวชันที่แกนกลางดวงอาทิตย์
ซึ่งเป็นปฏิกิริยาการรวมตัวของไฮโดรเจนกลายเป็นฮีเลียม และ
ปลดปล่อยพลังงานออกมามหาศาล พลังงานนี้เปลี่ยนจากมวลส่วน
หนึ่งของไฮโดรเจนที่หายไปตามสมการของไอน์สไตน์ คือ
E=mc2
เมื่อ E คือพลังงาน m คือ มวลสสารที่หายไป c คือ
อัตราเร็วแสงในสุญญากาศ =3*108
เมตร(300 ล้านเมตร) ต่อ
วินาที ดวงอาทิตย์เป็นตัวอย่างดาวฤกษ์ที่มีมวลขนาดกลางเป็น
แหล่งพลังงานนิวเคลียร์ ฟิวชันวิวัฒนาการขั้นต้น ดาวฤกษ์ที่มี
มวลสูงกว่าดวงอาทิตย์มีวิวัฒนาการที่สูงขึ้น มวลสารของธาตุที่
หนักกว่าไฮโดรเจนจะหลอมรวมเป็นธาตุที่หนักขึ้นและเปลี่ยนไป
เป็นพลังงาน นักวิทยาศาสตร์ประมาณว่าพลังงานนี้จะเคลื่อนที่มา
ถึงพื้นผิวอาจใช้เวลานานมากถึง 20 ล้านปี พลังงานที่เกิดขึ้นจะ
ถ่ายทอดออกมาสู่ผิวดวงอาทิตย์โดยการนำา การพาและการแผ่รังสี
ความร้อน
โลกเป็นบริวารของดวงอาทิตย์ คืออยู่ภายใต้อิทธิพลแรง
โน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ พลังงานต่างๆ ทุกชนิด ทุกประเภทรอบๆ
ตัวเราได้มาจากดวงอาทิตย์ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม หากปราศจาก
ดวงอาทิตย์สิ่งมีชีวิตบนโลกจะไม่สามารถดำารงชีวิตอยู่ได้ โลกของ
เราได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์เพียง 1 ใน 2,200 ล้านส่วน
เท่านั้น จากการศึกษาวิจัยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่โลกได้รับ
โดยพืชนำาไปใช้ในการสังเคราะห์แสง และพลังงานที่ได้รับ
โดยตรงในรูปพลังงานจลน์ในการเกิดลม คลื่น รวมกันไม่ถึงร้อย
ละ 0.2 นอกนั้นเป็นพลังงานที่สูญเปล่า เพราะถูกเมฆหมอกหรือ
ฝุ่นละอองสะท้อนออกไปสู่อวกาศ
21
พลังงานจากดวงอาทิตย์ไม่มีกาก ใช้ไม่มีวันหมดสิ้น ในเวลา
1 วินาทีดวงอาทิตย์แผ่พลังงานออกไปเท่ากับพลังงานทั้งหลายทั้ง
มวลที่มนุษย์ใช้มาตั้งแต่ดึกดำาบรรพ์ถึงปัจจุบัน พลังงานที่ดวง
อาทิตย์แผ่ออกไปในเวลา 3 วัน จะเท่ากับพลังงานทั้งหลายทั้ง
มวลที่มีอยู่ในโลกทั้งโลกดวงอาทิตย์มีการกลืนกินมวลสารของตัว
เองอยู่ตลอดเวลา เมื่อดวงอาทิตย์เกิดขึ้นจะมีการปลดปล่อย
พลังงานออกมาและจะมีวิวัฒนาการต่อไปตามลำาดับ ในที่สุดอีก
ประมาณ 5,000 ล้านปีข้างหน้า จะเกิดวิวัฒนาการขั้นสุดท้าย
ภายหลังเป็นดาวแคระขาวเกิดพลังงานนิวเคลียร์ฟิวชันนิวเคลียร์
ของฮีเลียมหลอมรวมเป็นคาร์บอน คือถ่าน เมื่อหมดฮีเลียมจะ
ค่อยๆ เย็นลง ผลที่สุดเป็นก้อนเถ้าถ่านดำา หยุดการแผ่รังสีความ
ร้อน
4.3.3.จุดบนดวงอาทิตย์
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กที่พื้นผิวดวง
อาทิตย์ บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิตำ่ากว่าบริเวณรอบข้าง จึงมี
ความสว่างน้อยกว่าบริเวณข้างเคียง จึงสังเกตเห็นเป็นจุดดำา จุด
บนดวงอาทิตย์บางจุดมีขนาดใหญ่กว่าโลกเราหลายเท่า จุดบน
ดวงอาทิตย์ มีจำานวนเพิ่มขึ้นสูงสุดทุกๆ 11 ปี ซึ่งสัมพันธ์กับการ
ประทุจ้าที่พื้นผิวของดวงอาทิตย์ ที่เรียกว่า “โซลาร์แฟลร์” (Solar
Flare)
ภาพ จุดบนดวงอาทิตย์
4.3.4 พลังงานของดวงอาทิตย์ต่อโลกและสิ่งมี
ชีวิต
ดวงอาทิตย์ เป็นแหล่งพลังงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก
โลกของเราได้ใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานนี้ทั้งทางตรงและ
ทางอ้อม
4.3.4.1 ดวงอาทิตย์ให้พลังงานแก่โลก
22
ดวงอาทิตย์ให้พลังงานเกือบทุกชนิด ทุกประเภทแก่โลก
นำ้ามันเชื้อเพลิง แก๊สธรรมชาติ ถ่านหิน เป็นพลังงานสะสมยู่ใต้ผิว
โลก ซึ่งเกิดมาจากพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่ให้พลังงานแก่สิ่งมี
ชีวิต และเมื่อสิ่งมีชีวิตนั้นตายพลังงานก็จะสะสมอยู่ใต้ผิวโลก
นั่นเอง พลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ทำาให้เกิดการ
หมุนเวียนของนำ้าบนโลกเรียกว่า วัฏจักรของนำ้า นำ้าเมื่อได้รับ
ความร้อนจะระเหยกลายเป็นไอนำ้า ไอนำ้าในอากาศทำาให้เกิด
นำ้าค้าง หมอก เมฆ ฝน หรือหิมะ ทำาให้เกิดระบบการหมุนเวียนนำ้า
จืดบนผิวโลก เพื่อสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ใช้ในด้านต่างๆ ได้
พลังงานแสงจากดวงอาทิตย์สามารถแปรรูปเป็นพลังงาน
ไฟฟ้า โดยใช้เซลล์ไฟฟ้าเปลี่ยนพลังงานแสงจากดวงอาทิตย์เป็น
ไฟฟ้ากระแสตรง เรียกว่า เซลล์แสงอาทิตย์ หรือ เซลล์สุริยะ
มนุษย์ผลิตไฟฟ้ากระแสตรง เช่นเดียวกับถ่านไฟฉายหรือ
แบตเตอรี่ใช้เป็นพลังงานต่างๆ ในชีวิตประจำาวัน และใช้เป็น
พลังงานผลิตคลื่นแม่เล็กไฟฟ้าวิทยุโทรทัศน์เพื่อใช้ในการสื่อสาร
แต่เนื่องจากผิวโลกโค้งทำาให้การส่งคลื่นตรงไปได้ไม่ไกลนัก และ
อาจชนแถบคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าที่มีอยู่ในชั้นอวกาศรอบโลกทำาให้
การสะท้อนกลับมายังเครื่องรับเกิดปัญหา เนื่องจากคลื่นถูกรบกวน
ในปัจจุบันได้มีการใช้ดาวเทียมเป็นสถานีรับและส่งคลื่นถึงผู้รับ
ซึ่งบนดาวเทียมและยานอวกาศใช้เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตกระแส
ไฟฟ้ากระแสตรงเป็นพลังงานปัจจุบันมีดาวเทียมที่มนุษย์ส่งไป
โคจรรอบโลกมกกว่า 2,000 ดวง ใช้ประโยชน์เพื่อเป็นดาวเทียม
อุตุนิยมวิทยาดาวเทียมสื่อสาร และดาวเทียมสำารวจทรัพยากร ซึ่ง
ดาวเทียมสื่อสารและดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาจะอยู่สูงจากผิวโลก
มากโดยจะโคจรในแนวระนาบเส้นศูนย์สูตร ความเร็วในแนว
วงกลมเท่ากับความเร็วในการหมุนรอบตัวเองของโลก ซึ่ง
สอดคล้องกันจึงทำาให้ดาวเทียมดูเสมือนลอยนิ่งอยู่ ณ ตำาแหน่ง
เดิมเหนือโลก โดยทั่วไปโคจรในระดับสูง 36,000 กิโลเมตร
คลื่นวิทยุ คลื่นวิทยุโทรทัศน์คลื่นโทรศัพท์ มีประโยชน์และมีความ
จำาเป็นที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำาวันของมนุษย์ ซึ่งถือเป็น
ทรัพยากรที่จำาเป็นของชาติ ฉะนั้นจึงต้องมีกฎหมายและมีผู้รับผิด
ชอบควบคุมดูแล
4.3.4.2 ชีวิตบนโลกต้องการพลังงานจากดวง
อาทิตย์
ถ้าไม่มีพลังงานจากดวงอาทิตย์มาสู่โลก สิ่งมีชีวิตจะขาด
พลังงานในการดำารงชีวิต ชีวิตต่างๆ บนโลกจะเป็นเช่นไร ถ้าโลก
ไม่ได้รับความร้อนและแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ โลกจะถูกแช่แข็ง
23
มีความเย็นจัดอย่างยิ่ง สิ่งมีชีวิตจะมีชีวิตอยู่ไม่ได้ ในบ้านหรือนอก
บ้านจะเย็นจัดยิ่งกว่าขั้วโลกในหน้าหนาวหลายสิบเท่า พลังงานที่
มีอยู่บนโลกจะไม่สามารถต่อสู้ความมืดมิดและหนาวเย็นจัดได้
กล่าวโดยสรุปแล้วทุกชีวิตบนโลกล้วนต้องอาศัยพลังงานจากดวง
อาทิตย์เพื่อการดำารงชีวิต พืชเป็นผู้ผลิต สัตว์เป็นผู้บริโภค พืชใช้
พลังงานแสงอาทิตย์ในการสังเคราะห์แสง พลังงานความร้อนจาก
ดวงอาทิตย์ทำาให้เกิดวัฏจักรของนำ้า นำ้าเป็นสิ่งจำาเป็นเพื่อการดำารง
ชีวิตของสิ่งมีชีวิต ดังนั้นพลังงานจากดวงอาทิตย์จึงเสมือนเป็นกล
ไกลหลักในวัฏจักรของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก
*****************************************************
***********************
24

More Related Content

What's hot

ภัยพิบัติ
ภัยพิบัติภัยพิบัติ
ภัยพิบัติ
naleesaetor
 
บทที่4โลกของเราม 2
บทที่4โลกของเราม 2บทที่4โลกของเราม 2
บทที่4โลกของเราม 2
Wichai Likitponrak
 
พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
Benjapron Seesukong
 
เซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิต
เซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิตเซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิต
เซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิต
Popeye Kotchakorn
 
เล่มที่ 1 ระบบสุริยะ
เล่มที่ 1 ระบบสุริยะเล่มที่ 1 ระบบสุริยะ
เล่มที่ 1 ระบบสุริยะmayureesongnoo
 
ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ
ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ
ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ
ศิริชัย เชียงทอง
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
Kobwit Piriyawat
 
แผนการเรียนรู้โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์
แผนการเรียนรู้โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์แผนการเรียนรู้โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์
แผนการเรียนรู้โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์korakate
 
ใบงาน 9.1 9.3
ใบงาน 9.1 9.3ใบงาน 9.1 9.3
ใบงาน 9.1 9.3
oraneehussem
 
เรื่องที่ 1 การนับเวลาและการเทียบศักราช
เรื่องที่ 1 การนับเวลาและการเทียบศักราชเรื่องที่ 1 การนับเวลาและการเทียบศักราช
เรื่องที่ 1 การนับเวลาและการเทียบศักราชnumattapon
 
บทที่ 8 เทคโนโลยีอวกาศ
บทที่ 8 เทคโนโลยีอวกาศบทที่ 8 เทคโนโลยีอวกาศ
บทที่ 8 เทคโนโลยีอวกาศ
Ta Lattapol
 
หัวกระดาษข้อสอบ
หัวกระดาษข้อสอบหัวกระดาษข้อสอบ
หัวกระดาษข้อสอบ
worapanthewaha
 
โลกของเรา (The Earth)
โลกของเรา (The Earth)โลกของเรา (The Earth)
โลกของเรา (The Earth)
ครูเสกสรรค์ สุวรรณสุข
 
บทที่ 1 กำเนิดเอกภพ
บทที่ 1 กำเนิดเอกภพบทที่ 1 กำเนิดเอกภพ
บทที่ 1 กำเนิดเอกภพnarongsakday
 
เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
เซลล์พืชและเซลล์สัตว์เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
เซลล์พืชและเซลล์สัตว์dnavaroj
 
บทที่ 7 ระบบสุริยะ
บทที่ 7 ระบบสุริยะบทที่ 7 ระบบสุริยะ
บทที่ 7 ระบบสุริยะ
Pinutchaya Nakchumroon
 
7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง
7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง
7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง
เอเดียน คุณาสิทธิ์
 

What's hot (20)

ภัยพิบัติ
ภัยพิบัติภัยพิบัติ
ภัยพิบัติ
 
บทที่4โลกของเราม 2
บทที่4โลกของเราม 2บทที่4โลกของเราม 2
บทที่4โลกของเราม 2
 
พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
พืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
 
เซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิต
เซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิตเซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิต
เซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิต
 
เล่มที่ 1 ระบบสุริยะ
เล่มที่ 1 ระบบสุริยะเล่มที่ 1 ระบบสุริยะ
เล่มที่ 1 ระบบสุริยะ
 
ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ
ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ
ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะ
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
 
แผนการเรียนรู้โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์
แผนการเรียนรู้โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์แผนการเรียนรู้โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์
แผนการเรียนรู้โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์
 
ใบงาน 9.1 9.3
ใบงาน 9.1 9.3ใบงาน 9.1 9.3
ใบงาน 9.1 9.3
 
เรื่องที่ 1 การนับเวลาและการเทียบศักราช
เรื่องที่ 1 การนับเวลาและการเทียบศักราชเรื่องที่ 1 การนับเวลาและการเทียบศักราช
เรื่องที่ 1 การนับเวลาและการเทียบศักราช
 
บทที่ 8 เทคโนโลยีอวกาศ
บทที่ 8 เทคโนโลยีอวกาศบทที่ 8 เทคโนโลยีอวกาศ
บทที่ 8 เทคโนโลยีอวกาศ
 
เนื้อหา
เนื้อหาเนื้อหา
เนื้อหา
 
หัวกระดาษข้อสอบ
หัวกระดาษข้อสอบหัวกระดาษข้อสอบ
หัวกระดาษข้อสอบ
 
06.ถ่านหิน
06.ถ่านหิน06.ถ่านหิน
06.ถ่านหิน
 
โลกของเรา (The Earth)
โลกของเรา (The Earth)โลกของเรา (The Earth)
โลกของเรา (The Earth)
 
หน่วย 1
หน่วย 1หน่วย 1
หน่วย 1
 
บทที่ 1 กำเนิดเอกภพ
บทที่ 1 กำเนิดเอกภพบทที่ 1 กำเนิดเอกภพ
บทที่ 1 กำเนิดเอกภพ
 
เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
เซลล์พืชและเซลล์สัตว์เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
 
บทที่ 7 ระบบสุริยะ
บทที่ 7 ระบบสุริยะบทที่ 7 ระบบสุริยะ
บทที่ 7 ระบบสุริยะ
 
7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง
7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง
7.ชุดที่ 4 การสังเคราะห์แสง
 

Similar to ระบบสุริยะ

1ก่อกำเนิดมนุษย์
1ก่อกำเนิดมนุษย์1ก่อกำเนิดมนุษย์
1ก่อกำเนิดมนุษย์
Surapol Imi
 
อาณาจักรสัตว์Science
อาณาจักรสัตว์Scienceอาณาจักรสัตว์Science
อาณาจักรสัตว์Scienceteeraya
 
ธรณีประวัติ
ธรณีประวัติธรณีประวัติ
Sea animals in Thailand
 Sea animals in Thailand Sea animals in Thailand
Sea animals in Thailand
newja
 
1วิวัฒนาการ
1วิวัฒนาการ1วิวัฒนาการ
1วิวัฒนาการWan Ngamwongwan
 
ระบบสุริยะ
ระบบสุริยะระบบสุริยะ
ระบบสุริยะkalita123
 
ระบบสุริยะ
ระบบสุริยะระบบสุริยะ
ระบบสุริยะ2
ระบบสุริยะ2ระบบสุริยะ2
ระบบสุริยะ2kominoni09092518
 
ระบบสุริยะ
ระบบสุริยะระบบสุริยะ
ระบบสุริยะratchaneeseangkla
 
ระบบสุริยะจักรวาล
ระบบสุริยะจักรวาลระบบสุริยะจักรวาล
แร่ธาตุ
แร่ธาตุแร่ธาตุ
แร่ธาตุbabyoam
 
01เอกสารสอนเสริม01 16
01เอกสารสอนเสริม01 1601เอกสารสอนเสริม01 16
01เอกสารสอนเสริม01 16
กระทรวงศึกษาธิการ
 
ไอน์สไตน์ได้กล่าวถึงพระพุทธศาสนา
ไอน์สไตน์ได้กล่าวถึงพระพุทธศาสนาไอน์สไตน์ได้กล่าวถึงพระพุทธศาสนา
ไอน์สไตน์ได้กล่าวถึงพระพุทธศาสนาmocxx
 

Similar to ระบบสุริยะ (20)

Contentastrounit4
Contentastrounit4Contentastrounit4
Contentastrounit4
 
1ก่อกำเนิดมนุษย์
1ก่อกำเนิดมนุษย์1ก่อกำเนิดมนุษย์
1ก่อกำเนิดมนุษย์
 
บทที่ 3
บทที่ 3บทที่ 3
บทที่ 3
 
อาณาจักรสัตว์Science
อาณาจักรสัตว์Scienceอาณาจักรสัตว์Science
อาณาจักรสัตว์Science
 
ธรณีประวัติ
ธรณีประวัติธรณีประวัติ
ธรณีประวัติ
 
Sea animals in Thailand
 Sea animals in Thailand Sea animals in Thailand
Sea animals in Thailand
 
Pim
PimPim
Pim
 
Pim
PimPim
Pim
 
1วิวัฒนาการ
1วิวัฒนาการ1วิวัฒนาการ
1วิวัฒนาการ
 
Contentastrounit1
Contentastrounit1Contentastrounit1
Contentastrounit1
 
ดาราศาสตร์
ดาราศาสตร์ดาราศาสตร์
ดาราศาสตร์
 
ระบบสุริยะ
ระบบสุริยะระบบสุริยะ
ระบบสุริยะ
 
ระบบสุริยะ
ระบบสุริยะระบบสุริยะ
ระบบสุริยะ
 
ระบบสุริยะ2
ระบบสุริยะ2ระบบสุริยะ2
ระบบสุริยะ2
 
ระบบสุริยะ
ระบบสุริยะระบบสุริยะ
ระบบสุริยะ
 
ระบบสุริยะจักรวาล
ระบบสุริยะจักรวาลระบบสุริยะจักรวาล
ระบบสุริยะจักรวาล
 
แร่ธาตุ
แร่ธาตุแร่ธาตุ
แร่ธาตุ
 
01เอกสารสอนเสริม01 16
01เอกสารสอนเสริม01 1601เอกสารสอนเสริม01 16
01เอกสารสอนเสริม01 16
 
Astroplan14
Astroplan14Astroplan14
Astroplan14
 
ไอน์สไตน์ได้กล่าวถึงพระพุทธศาสนา
ไอน์สไตน์ได้กล่าวถึงพระพุทธศาสนาไอน์สไตน์ได้กล่าวถึงพระพุทธศาสนา
ไอน์สไตน์ได้กล่าวถึงพระพุทธศาสนา
 

More from native

โปรแกรมเมอร์
โปรแกรมเมอร์โปรแกรมเมอร์
โปรแกรมเมอร์
native
 
แผ่นพับ โรคกระเพาะ
แผ่นพับ โรคกระเพาะแผ่นพับ โรคกระเพาะ
แผ่นพับ โรคกระเพาะ
native
 
แผ่นพับ โรคมือเท้าปาก
แผ่นพับ โรคมือเท้าปากแผ่นพับ โรคมือเท้าปาก
แผ่นพับ โรคมือเท้าปาก
native
 
แผ่นพับ โรคไข้หวัด
แผ่นพับ โรคไข้หวัดแผ่นพับ โรคไข้หวัด
แผ่นพับ โรคไข้หวัด
native
 
แผ่นพับ โรคตาแดง
แผ่นพับ โรคตาแดงแผ่นพับ โรคตาแดง
แผ่นพับ โรคตาแดง
native
 
ใบความรู้ โอเปร่า เรื่อง ขลุ่ยวิเศษ
ใบความรู้ โอเปร่า เรื่อง ขลุ่ยวิเศษใบความรู้ โอเปร่า เรื่อง ขลุ่ยวิเศษ
ใบความรู้ โอเปร่า เรื่อง ขลุ่ยวิเศษ
native
 
โอโซน
โอโซนโอโซน
โอโซน
native
 
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
native
 
คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีการใช้มากที่สุด
คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีการใช้มากที่สุดคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีการใช้มากที่สุด
คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีการใช้มากที่สุด
native
 
ใบความรู้ เรื่องพระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง
ใบความรู้ เรื่องพระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้องใบความรู้ เรื่องพระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง
ใบความรู้ เรื่องพระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง
native
 
บันทึกเหตุการณ์(วิชา ลิขิตภาษา)
บันทึกเหตุการณ์(วิชา ลิขิตภาษา)บันทึกเหตุการณ์(วิชา ลิขิตภาษา)
บันทึกเหตุการณ์(วิชา ลิขิตภาษา)
native
 
ภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อนภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อน
native
 
ไวรัสกับไวรอยด์แตกต่างกันอย่างไร
ไวรัสกับไวรอยด์แตกต่างกันอย่างไรไวรัสกับไวรอยด์แตกต่างกันอย่างไร
ไวรัสกับไวรอยด์แตกต่างกันอย่างไร
native
 
มงคลชีวิต
มงคลชีวิตมงคลชีวิต
มงคลชีวิต
native
 
กลุ่มดาว88กลุ่ม
กลุ่มดาว88กลุ่มกลุ่มดาว88กลุ่ม
กลุ่มดาว88กลุ่ม
native
 
โทมัส_เอดิสัน
โทมัส_เอดิสันโทมัส_เอดิสัน
โทมัส_เอดิสัน
native
 
ดวงอาทิตย์ The sun
ดวงอาทิตย์  The sunดวงอาทิตย์  The sun
ดวงอาทิตย์ The sunnative
 
ระบบสุริยะ Solar system
ระบบสุริยะ Solar systemระบบสุริยะ Solar system
ระบบสุริยะ Solar systemnative
 
รายงานวิชาพระพุทธ
รายงานวิชาพระพุทธรายงานวิชาพระพุทธ
รายงานวิชาพระพุทธ
native
 
ภาษาซี
ภาษาซีภาษาซี
ภาษาซีnative
 

More from native (20)

โปรแกรมเมอร์
โปรแกรมเมอร์โปรแกรมเมอร์
โปรแกรมเมอร์
 
แผ่นพับ โรคกระเพาะ
แผ่นพับ โรคกระเพาะแผ่นพับ โรคกระเพาะ
แผ่นพับ โรคกระเพาะ
 
แผ่นพับ โรคมือเท้าปาก
แผ่นพับ โรคมือเท้าปากแผ่นพับ โรคมือเท้าปาก
แผ่นพับ โรคมือเท้าปาก
 
แผ่นพับ โรคไข้หวัด
แผ่นพับ โรคไข้หวัดแผ่นพับ โรคไข้หวัด
แผ่นพับ โรคไข้หวัด
 
แผ่นพับ โรคตาแดง
แผ่นพับ โรคตาแดงแผ่นพับ โรคตาแดง
แผ่นพับ โรคตาแดง
 
ใบความรู้ โอเปร่า เรื่อง ขลุ่ยวิเศษ
ใบความรู้ โอเปร่า เรื่อง ขลุ่ยวิเศษใบความรู้ โอเปร่า เรื่อง ขลุ่ยวิเศษ
ใบความรู้ โอเปร่า เรื่อง ขลุ่ยวิเศษ
 
โอโซน
โอโซนโอโซน
โอโซน
 
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
 
คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีการใช้มากที่สุด
คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีการใช้มากที่สุดคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีการใช้มากที่สุด
คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีการใช้มากที่สุด
 
ใบความรู้ เรื่องพระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง
ใบความรู้ เรื่องพระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้องใบความรู้ เรื่องพระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง
ใบความรู้ เรื่องพระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง
 
บันทึกเหตุการณ์(วิชา ลิขิตภาษา)
บันทึกเหตุการณ์(วิชา ลิขิตภาษา)บันทึกเหตุการณ์(วิชา ลิขิตภาษา)
บันทึกเหตุการณ์(วิชา ลิขิตภาษา)
 
ภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อนภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อน
 
ไวรัสกับไวรอยด์แตกต่างกันอย่างไร
ไวรัสกับไวรอยด์แตกต่างกันอย่างไรไวรัสกับไวรอยด์แตกต่างกันอย่างไร
ไวรัสกับไวรอยด์แตกต่างกันอย่างไร
 
มงคลชีวิต
มงคลชีวิตมงคลชีวิต
มงคลชีวิต
 
กลุ่มดาว88กลุ่ม
กลุ่มดาว88กลุ่มกลุ่มดาว88กลุ่ม
กลุ่มดาว88กลุ่ม
 
โทมัส_เอดิสัน
โทมัส_เอดิสันโทมัส_เอดิสัน
โทมัส_เอดิสัน
 
ดวงอาทิตย์ The sun
ดวงอาทิตย์  The sunดวงอาทิตย์  The sun
ดวงอาทิตย์ The sun
 
ระบบสุริยะ Solar system
ระบบสุริยะ Solar systemระบบสุริยะ Solar system
ระบบสุริยะ Solar system
 
รายงานวิชาพระพุทธ
รายงานวิชาพระพุทธรายงานวิชาพระพุทธ
รายงานวิชาพระพุทธ
 
ภาษาซี
ภาษาซีภาษาซี
ภาษาซี
 

Recently uploaded

แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
atwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtxatwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtx
Bangkok, Thailand
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdfงานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
Prachyanun Nilsook
 

Recently uploaded (10)

แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
 
atwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtxatwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtx
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
 
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdfงานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
 

ระบบสุริยะ

  • 1. หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง กำาเนิดระบบสุริยะ --------------------------------------------------------------------------------- ---------------------------------- 4.1 วิวัฒนาการของระบบสุริยะ ระบบสุริยะ เป็นระบบหนึ่งในกาแล็กซีทางช้างเผือก ใน ระบบสุริยะประกอบด้วยดวงอาทิตย์ และบริวารต่างๆ เช่น ดาว เคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง อุกบาต และดวงจันทร์ โดยจะ โคจรรอบดวงอาทิตย์ การศึกษาเกี่ยวกับการเกิดและวิวัฒนาการ ของระบบสุริยะจะช่วยทำาให้เข้าใจเกี่ยวกับโลกเรื่องราวเกี่ยวกับ ดวงดาวและปรากฎการณ์บนท้องฟ้าได้มากขึ้น และเป็นข้อมูล สำาหรับการศึกษาในด้านดาราศาสตร์ชั้นสูงต่อไป 4.1.1 ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับระบบสุริยะ 1) ระบบสุริยะ คือระบบที่ว่าด้วยดวงอาทิตย์และบริวาร บรรดาเทห์วัตถุบนท้องฟ้าในระบบสุริยะต่างอยู่ภายใต้อำานาจแรง โน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ บริวารส่วนใหญ่จึงโคจรรอบดวงอาทิตย์ ในระนาบเดียวกันจนเกือบเป็นวงกลม และโคจรไปในทิศทาง เดียวกันในลักษณะทวนเข็มนาฬิกาถ้ามองจากเหนือเส้นศูนย์สูตร ของโลก ขอบเขตของระบบสุริยะมีรัศมีกว้าง 2.4 ปีแสง ภาพ ระบบสุริยะ (ที่มา: JPL/NASA) โลกของเราเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะซึ่งเกิดขึ้น มาพร้อมกับดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์มีบริวารคือ ดาวเคราะห์ ดวง จันทร์ของดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง แก๊สและฝุ่นธุลี เนื้อที่ส่วนใหญ่ในระบบสุริยะเป็นอวกาศ ดวงอาทิตย์เป็นกลุ่มแก๊สรูปทรงกลมที่มีอุณหภูมิสูงมาก มีเส้น ผ่านศูนย์กลาง 1,392,000 กิโลเมตร ยาวกว่าเส้นผ่านศูนย์กลาง ของโลก 109 เท่า ดวงอาทิตย์มีปริมาตรขนาดใหญ่กว่า โลก 1,304,000 เท่า นักวิทยาศาสตร์คำานวณว่า มวลสารใน ระบบสุริยะเป็นมวลสารของดวงอาทิตย์ประมาณร้อยละ 99.85 1
  • 2. ดวงอาทิตย์หมุนรอบแกนตัวเอง ดาวเคราะห์เกือบทั้งหมดหมุนรอบ ตัวเองไปในทิศทางเดียวกันและระนาบเดียวกันขณะที่โคจรรอบ ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ของดาวเคราะห์ต่างโคจรรอบดาว เคราะห์ไปในทิศทางเดียวกันกับที่ดาวเคราะห์โคจรรอบดวง อาทิตย์ 2) บริวารของดวงอาทิตย์มีอะไรบ้าง บริวารของดวงอาทิตย์ที่สำาคัญคือ ดาวเคราะห์ ทั้ง 9 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาว เสาร์ ดาวยูเรนัส (มฤตยู) ดาวเนปจูน และดาวพลูโต ส่วนบริวารที่ แสดงไม่ชัดเจน ได้แก่ ดาวเคราะห์น้อย คือวัตถุแข็งขนาดเล็กอยู่ ระหว่างดาวอังคาร กับดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์น้อยดวงโตที่สุด มีขนาดความกว้างประมาณไม่ถึง 1,000 กิโลเมตร ดวงที่มีขนาด กว้างกว่า 15 กิโลเมตร มีประมาณ 1,500 ดวง ดาวเคราะห์น้อย ที่มีขนาดเล็กที่ไม่สามารถจะส่องกล้องเห็นหรือศึกษาได้ จากโลก นั้น นักวิทยาศาสตร์ประมาณว่ามีจำานวนมากกว่า 10,000 ดวง นอกจากนี้ยังมีบรรดาสะเก็ดวัตถุแข็งขนาดเล็กในอวกาศ อาจเป็น ชิ้นส่วนจากดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหาง หรือสะเก็ดดาวขนาดจิ๋ว ที่เรียกว่า อุกกาบาต ถ้าเข้ามาในแรงความโน้มถ่วงของโลก และ ตกผ่านชั้นบรรยากาศของโลกจะเกิดลุกไหม้ขึ้นเห็นเป็นแสงสว่าง วาบเป็นทางยาว เรียกว่า ดาวตก หรือ ผีพุ่งไต้ ถ้าลุกไหม้ไม่หมด เรียกก้อนอุกกาบาต นอกจากนี้บริวารของดวงอาทิตย์ยังมีดาวหาง ซึ่งก็คือกลุ่มของแก๊สฝุ่นธุลีและหินที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นรูป วงรี หากดาวหางเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์พลังงานแสงและอนุภาค จากดวงอาทิตย์จะทำาให้จุดกลางร้อนขึ้น ปล่อยแก๊สและฝุ่นเมฆ เป็นส่วนหัวและหาง ซึ่งจะอยู่ตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์ ส่วนหัว และจุดใจกลางจะหันเข้าดวงอาทิตย์ นักวิทยาศาสตร์คาดว่ามี ดาวหางบริวารของดวงอาทิตย์ไม่น้อยกว่า 1 ล้านดวง แต่ปรากฏ มาให้เห็นปีละไม่กี่ดวงเท่านั้น จะเห็นได้ว่า ระบบสุริยะมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง บริวารมี มวลสารเพียงน้อยนิดประมาณ 1.5 ส่วนใน 1,000 ส่วน และ บริวารอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์แตกต่างกันไป ดวงอาทิตย์เป็นผู้ให้ พลังงานทุกประเภทแก่โลกไม่ทางตรงก็ทางอ้อม ดวงอาทิตย์มี ความสว่างระดับปานกลางแต่ขนาดค่อนข้างเล็กกว่าดาวฤกษ์ ทั่วไปที่มนุษย์รู้จัก เนื้อที่ส่วนใหญ่ในระบบสุริยะว่างเปล่า เป็น สุญญากาศที่เกือบสมบูรณ์ ที่เรียกว่า อวกาศ ยังมีกลุ่มแก๊ส ฝุ่นธุลี และสะเก็ดดวงดาวอยู่บ้าง 2
  • 3. 4.1.2 การเกิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ดวงอาทิตย์และบริวารเกิดจาก มวลสารของแก๊สและมวลสารของฝุ่นธุลีในอวกาศมารวมตัวกัน จุดเริ่มต้นของระบบสุริยะมีต้นกำาเนิดเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปี มาแล้วและมีวิวัฒนาการอันยาวนานปัจจุบันดวงอาทิตย์มีอายุ เปรียบเสมือนอยู่ในวัยกลางคน อีกประมาณ 5,000 ล้านปีต่อไป พื้นผิวส่วนนอกจะกลายเป็น แก๊สและฝุ่นธุลีแกนกลางจะเป็นก้อนถ่านดำา ดับแสงล่องลอยไปซึ่ง การเกิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะ มีดังนี้ 1. เมื่อเริ่มต้นการเกิดระบบสุริยะ มีกลุ่มมวลสารของแก๊ส ส่วนใหญ่เป็นไฮโดรเจน ฮีเลียมและฝุ่นเมฆระหว่างดวงดาว รวม กันเป็นกลุ่มด้วยแรงดึงดูดร่วมกันเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีมา แล้ว ดังภาพ 1 ภาพ กำาเนิดระบบสุริยะ 2. ในเวลา 1 ล้านปีต่อมา กลุ่มมวลสารเริ่มอัดตัวเล็กลงจน เกิดความร้อนและหมุนรอบศูนย์กลางโดยเกิดดวงอาทิตย์ที่ ศูนย์กลางและบริวารจะอยู่รอบนอกดังภาพ 2 3. ศูนย์กลางการหมุนวนของแก๊สและฝุ่นธุลีจะกลายเป็น ดวงอาทิตย์ มวลสารที่เล็กลงของแก๊สและฝุ่นธุลีจะกลายเป็นดาว เคราะห์ต่างๆ ดวงอาทิตย์เริ่มหมุนรอบตัวเอง บริวารหมุนรอบตัว เองและโคจรวนรอบแกนดวงอาทิตย์ ดังภาพ 3 นักวิทยาศาสตร์ เชื่อว่า โลกเมื่อเริ่มต้นก่อกำาเนิดขึ้นมานั้นเป็นกลุ่มมวลสารของ แก๊สและแร่ธาตุหลอมเหลวร้อนจัดมาก โดยเริ่มเกิดขึ้นพร้อมดวง อาทิตย์และบริวารอื่นๆ 3 1 2 3
  • 4. ภาพ เปรียบเทียบขนาดของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ 4. ระยะเวลามากกว่า 1 ล้านปีต่อมา แร่ธาตุหินเหลวร้อน ภายในโลกปะทุพ่นออกมาสู่ภายนอกโลกและแข็งตัวเป็นลาวา พร้อมแก๊สต่างๆ สู่ผิวโลก เมื่อเริ่มเย็นตัวลง ไอนำ้าและแก๊สต่างๆ จะรวมกลุ่มเป็นเมฆหนาอยู่เหนือพื้นโลก เมื่ออุณหภูมิของโลกเย็น ลงกว่าจุดเดือดของนำ้าจะเกิดฝนพายุที่รุนแรงที่ผิวโลก ต่อมาจะ เกิดนำ้าในมหาสมุทร 5. นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ในระยะเวลาช่วง 4,000 ล้าน ปีแรกของประวัติศาสตร์โลกเป็นช่วงที่ผิวโลกมีการเปลี่ยนแปลงจึง ยังไม่มีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นบนโลก เมื่อมีนำ้า มีบรรยากาศและอุณหภูมิ เหมาะสม สิ่งมีชีวิตเริ่มแรกจึงอาจเริ่มเกิดขึ้นในนำ้าคือมหาสมุทร ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เองจากผลของธรรมชาติสร้างขึ้น ดังภาพข้าง ล่าง ภาพ โลกของเรา สิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นบนโลกนั้น นักวิทยาศาสตร์และนัก ธรณีวิทยาเชื่อว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่ง่ายที่สุด นั่นคือสิ่งมีชีวิตเซลล์ เดียวที่เกิดขึ้นในนำ้าช่วงใกล้กับ 570 ล้านปีมาแล้ว ต่อมาสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ในทะเลเริ่มมีวิวัฒนาการสูงขึ้นในช่วง 570-245 ล้านปีมาแล้ว ซึ่งพบหลักฐานเป็นปะการัง หอย ฟองนำ้า ไทรโล ไบต์ (พบในประเทศไทย) พืชบกมีวิวัฒนาการเมื่อ 408 ล้านปีมา แล้ว ปลามีมาเมื่อ 360 ล้านปีมาแล้ว สัตว์ครึ่งบกครึ่งนำ้าเริ่มมีเมื่อ 245 ล้านปีมาแล้ว ในระหว่าง 245-66.4 ล้านปีมาแล้วเป็นยุค ของสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์เลื้อยคลานพวกไดโนเสาร์ครองโลกเป็น ระยะเวลายาวนานถึง 140 ล้านปีแล้วจึงสูญพันธุ์เมื่อประมาณ 66.4 ล้านปี ระหว่าง 66 ล้านปีมาแล้ว จนถึงปัจจุบันเป็นยุคของ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและไม้ดอก ได้มีการค้นพบกะโหลกศรีษะ 4
  • 5. มนุษย์วานรอายุประมาณ 5 ล้านปีมาแล้ว ส่วนบรรพบุรุษมนุษย์ พบเมื่อ 3-4 ล้านปีมาแล้ว ค้นพบกะโหลกศรีษะมนุษย์แรกเริ่ม มีอายุ 500,000 ปีมาแล้ว และมนุษย์ปัจจุบันพบเมื่อประมาณ 100,000 ปีมาแล้ว 4.1.3 ระบบสุริยะในกาแล็กซีทางช้างเผือก หากมองดูดวงดาวบนท้องฟ้าในคืนเดือนมืด จะเห็นกลุ่ม ดาวต่างๆ มากมาย ถ้าดูดาวในหน้าหนาวตอนหัวคำ่าจะเห็นเป็น แถบแสงสีขาวสลัวคล้ายเมฆพาดจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออก ผ่านแนวกลางฟ้าและตกทางขอบฟ้าตะวันตก ทางสีขาวสลัวนี้ เรียกว่า ทางช้างเผือก ศัพท์ทางดาราศาสตร์เรียก Milk Way แปลว่า ทางนำ้านมกาลิเลโอเป็นคนแรกที่พบความจริงว่า ทางช้าง เผือกคือดาวฤกษ์ที่อยู่ไกลจากโลกออกไป ถ้าใช้กล้องสองตาดูทางช้างเผือกจะเห็นทางสีขาวสลัวนั้น คือดวงดาว แต่เห็นเป็นเพียงจุดของแสงสว่างเท่าปลายเข็ม เพราะ ดาวฤกษ์ที่เห็นจำานวนมากมายนั้นอยู่ไกลจากโลกมาก ทางช้าง เผือกคือส่วนหนึ่งของกาแล็กซี ระบบสุริยะของเราอยู่ในกาแล็กซี เรียกว่า กาแล็กซีทางช้างเผือก ศัพท์บัญญัติของราชาบัณฑิตย สถาน ให้เรียกว่า ดาราจักรทางช้างเผือก ระบบสุริยะเป็นเพียงจุดเล็กๆ จุดหนึ่งของกาแล็กซีทางช้าง เผือก ดวงอาทิตย์เป็นเพียงดาวฤกษ์ดวงหนึ่งใน 100,000 ล้าน ดวง ของกาแล็กซีทางช้างเผือก กาแล็กซีหรือดาราจักร หมายถึง ระบบขนาดใหญ่ของดาวฤกษ์ประกอบด้วย ดาวฤกษ์กระจุกดาว เนบิลา แก๊ส และฝุ่นธุลี กาแล็กซีที่ศึกษาและถ่ายภาพได้ประมาณ ว่ามี 10,000 ล้านกาแล็กซี กาแล็กซีทั้งหมดรวมกันเป็นอกภพ กล่าว โดยสรุป เอกภพ คือ ระบบซึ่งเป็นผลรวมของกาแล็กซีทั้งหมด คือ สสารทั้งหมด อวกาศเวลา ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์รู้จักเป็นส่วนหนึ่ง ของเอกภพ พื้นที่ส่วนใหญ่ของเอกภพเป็นอวกาศที่ว่างเปล่า ระบบสุริยะในกาแล็กซีทางช้างเผือก 5
  • 6. โลกของเราเป็นดาวเคราะห์ขนาดเล็ก มีขนาดใหญ่เป็น อันดับ 5 เป้นบริวารของดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งใน จำานวน 1 แสนล้านดวงของกาแล็กซีทางช้างเผือก ดาวฤกษ์อื่นๆ อาจไม่มีหรือมีบริวารเช่นเดียวกับที่ดวงอาทิตย์มีบริวารก็ได้ ดาวฤกษ์ดวงที่ใกล้โลกที่สุดอยู่ห่างจากโลกของเรา 4.3 ปีแสง นัก ดาราศาสตร์พบดาวเคราะห์นอกสุริยจักรวาลแล้วกว่า 100 ดวง ในปัจจุบันมนุษย์ได้ส่งยานอวกาสรู้ข้อมูลสิถิติถึงดาวเคราะห์ดวง สุดท้ายคือดาวพลูโตเท่านั้น ดวงอาทิตย์เป็นเพียงดาวฤกษ์ดวงหนึ่งในจำานวน 100,000 ล้านดวงของกาแล็กซีทางช้างเผือกซึ่งมีความกว้าง 100,000 ปีแสง (ปีแสง คือ ระยะทางที่แสงใช้เวลาเดินทาง 1 ปีแสงมีความเร็ววินาทีละ 300,000 กิโลเมตร ใน 1 วินาที แสง วิ่งรอบโลกได้ 7.5 รอบ และเดินทางจากดวงอาทิตย์ถึงโลกใน เวลา 500 วินาที ใน 1 ปีแสงเดินทางได้ 9.46 ล้านล้าน กิโลเมตร) ที่จุดใจกลางของกาแล็กซีมีดาวฤกษ์หนาแน่นจำานวน มาก แต่บริเวณขอบนอกของกาแล็กซีจะมีดาวน้อยลง ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่อยู่ห่างจากปลายแขนของกาแล็กซีทาง ช้างเผือก โดยอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลาง 30,000 ปีแสง ถ้ามอง ด้านข้างจะเห็นคล้ายจานเปลสองใบประกบกัน ดวงอาทิตย์อยู่ใน ระบบสุริยะซึ่งอยู่ขอบจานที่ประกบกัน และเป็นเพียงจุดเล็กๆ จุด หนึ่งของกาแล็กซีเท่านั้น ข้อมูลที่น่ารู้ - ระบบสุริยะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12,000 ล้าน กิโลเมตร - 98% ของเนื้อสารทั้งหมดของระบบสุริยะ รวมอยู่ที่ดวง อาทิตย์ --------------------------------------------------------------------------------- -------------------------------- วิวัฒนาการทางด้านดาราศาสตร์ มนุษย์ได้สนใจปรากฏการณ์บนท้องฟ้ามาเป็นเวลานานกว่า 3,000 ปี ก่อนคริสตกาลแล้วมนุษย์ได้ใช้ประโยชน์จากการ เปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ในท้องฟ้า กำาหนดวัน เดือน ปี และ 6
  • 7. ฤดูกาลต่างๆ แต่การศึกษาของมนุษย์สมัยนั้นยังมีอุปกรณ์และ เครื่องมือไม่มากนัก จึงอาศัยความเชื่อและจินตนาการอธิบาย ปรากฏการณ์ต่างๆ บนท้องฟ้า มนุษย์ในสมัยโบราณจึงเชื่อว่าบน ท้องฟ้านั้นเป็นที่อยู่อาศัยของพระเจ้าที่ปกครองคนบนโลกอีกต่อ หนึ่ง ความเชื่อเหล่านั้นปรากฏออกมาเป็นตำานานหรือเทพนิยาย ต่างๆ มากมาย ดาราศาสตร์ได้รับการพัฒนาการมากในช่วง 700 ปีก่อน คริสตกาล ถึง ค.ศ.200 เช่น ทาเลส เชื่อว่าจักรวาลมีลักษณะ เป็นทรงกลม อริสโตเติล บอกว่าโลกไม่ได้แบน แต่มีลักษณะเป็น ทรงกลม อีราโตสทีเนส สามารถวัดเส้นรอบวงของโลกได้ ฮิป ปาคัสบอกว่าแกนของโลกไม้ได้อยู่กับที่ แต่เปลี่ยนแปลงตำาแหน่ง ไปเรื่อยๆ ในจักรวาล ในศตวรรษที่ 2 พโตเลมี ได้พิมพ์หนังสือชื่ออัลมาเจสต์ ซึ่ง ได้เสนอว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล มีดวงอาทิตย์และดาว เคราะห์อื่นๆ หมุนรอบ ดาวที่เห็นอยู่บนท้องฟ้าจะอยู่กับที่บนทรง กลมของจักรวาล ในศตวรรษที่ 15 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้ง สำาคัญในวงการดาราศาสตร์ซึ่งเป็นการเริ่มต้นในยุคที่เราเรียกว่า ยุคฟื้นฟูวิทยาการ นักดาราศาสตร์ที่ทำาให้ความเชื่อในสมัยก่อน เปลี่ยนแปลงไปคือการที่ นิโคลัส โคเปอร์นิคัส ได้ประกาศให้ชาว โลกรู้ว่าความเชื่อของพโตเลมี ที่เชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของ จักรวาล มีดาวดวงอื่นๆ หมุนรอบนั้นเป็นความคิดที่ผิด เขาเสนอ ว่าแท้จริงแล้วในจักรวาลนั้นมีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง มีดาว เคราะห์แบละดาวอื่นๆ หมุนรอบดวงอาทิตย์ในลักษณะเป็นทรง กลมการที่โคเปอร์นิคัสเสนอแนวคิดเช่านี้ทำาให้เกิดการโต้แย้ง อย่างมากทั้งทางวิทยาศาสตร์และศาสนาต่อมานักดาราศาสตร์ ชาวเดนมาร์ก ชื่อ ไทโค บราเฮ ได้ใช้เวลาศึกษาและกำาหนด ตำาแหน่งดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ ได้จดบันทึกตำาแหน่งของดาว เคราะห์และการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ รวมทั้งปรับปรุงความถูก ต้องของตารางดาราศาสตร์ โจฮันเนส เคปเลอร์ นักคณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์ชาวเยอรมันได้พิสูจน์ว่าดาวเคราะห์โคจรรอบ ดวงอาทิตย์ไม่ได้เป็นวงกลมแต่โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี เกิด กฎของเคปเลอร์ว่าด้วยการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ใช้ในการ คำานวณต่างๆ เกี่ยวกับดาวเคราะห์ในระบบสุริยะยังได้ค้นพบระยะ ห่างจากดาวเคราะห์ต่างๆ ไปยังดวงอาทิตย์ด้วย ซึ่งเป็นการค้นพบ ที่สำาคัญมาก ในศตวรรษที่ 17 ไอแซค นิวตัน นักวิทยาศาสตร์ชาว อังกฤษ ได้ค้นพบกฎแห่งความโน้นถ่วงซึ่งได้อธิบายว่าสสารทุก 7
  • 8. ชนิดในจักรวาลนี้ต่างก็ดึงดูดซึ่งกันและกัน สสารจะมีแรงดึงดูด มากหรือน้อยเพียงไรขึ้นอยู่กับมวลของวัตถุนั้นๆ ถ้ามีมวลมาก แรงดึงดูดก็จะมากตามไปด้วย กฎนี้เองที่ใช้อธิบายว่า ทำาไมดาว เคราะห์จึงหมุนรอบตัวเองและโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำาไมดวง จันทร์จึงหมุนรอบตัวเองและโคจรรอบโลก และในศตวรรษนี้เอง ได้มีการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ขึ้นส่องทางไกลเป็นครั้งแรก โดยช่างประกอบแว่นตาชาวดัชต์ ปีต่อมา พ.ศ.2152 กาลิเลโอ ได้ทราบข่าวจึงประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ขึ้นมาอาจกล่าวได้ว่า เป็นกล้องแรกที่ใช้ศึกษาดวงดาวบนท้องฟ้า นับว่ามีประโยชน์ มหาศาลต่อวงการดาราศาสตร์ กาลิเลโอเป็นคนแรกที่ประกาศว่า ดาวศุกร์มองเห็นเป็นเสี้ยว บนดวงจันทร์นั้นมีหลุมอุกกาบาต มี ภูเขา มีจุดดำาบนดวงอาทิตย์ พบว่าดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์เป็น บริวาร 4 ดวง และในศตวรรษนี้ได้มีการค้นพบวงแหวนของดาว เสาร์ด้วย ศตวรรษที่ 18,19,20 มีการศึกษาทางด้านดาราศาสตร์ กันอย่างกว้างขวางและได้ค้นพบสิ่งใหม่ๆ มากมาย เช่น การค้น พบ ดาวยูเรนัส (มฤตยู) ใน พ.ศ.2324 โดยวิลเลียม เฮอร์เชล นอกจากนี้เขายังได้คำานวณขนาดของระบบสุริยะของกาแล็กซี และการเคลื่อนที่ของดาวในอวกาศซึ่งเป็นประโยชน์ต่อวงการ ดาราศาสตร์ในปัจจุบันมากจวบจนถึงยุคปัจจุบันนี้ เริ่มเมื่อ เบสเสล นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้คำานวณระยะห่างของดาวฤกษ์ มากกว่า 50,000 ดวง โดยวิธีการใช้หลักความคลาดตำาแหน่ง ของวัตถุ (parallax) ในปี พ.ศ.2389 ได้มีการค้นพบดาวเนปจูน โดยการคำานวณแล้วมีผู้ใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องพบ ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2473 ได้มีการถ่ายรูปของดาวเคราะห์ดวงสุดท้าย คือ ดาว พลูโต ด้วยกล้องจุลทรรศน์ขนาด 13 นิ้ว ต่อมามีการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ ขนาด 200 นิ้ว ใน ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำาให้วงการดาราศาสตร์มีการขยายสาขา ต่างๆ ออกไปอีกหลายสาขา มีการใช้หลักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เข้ามาช่วยศึกษาทางด้านดาราศาสตร์ และมีการค้นพบสิ่งท้าทา ยอื่นๆ อีกมากมาย ความลี้ลับในเอกภพจะได้รับการเปิดเผยไป เรื่อยๆ ตราบที่มนุษย์ไม่สิ้นสุดการแสวงหา --------------------------------------------------------------------------------- ----------------------------------- 4.2 โลกของเราและดาวเคราะห์ต่างๆ โลกของเรามีฉายา "ดาวเคราะห์สีนำ้าเงิน" หรือ"ดาว เคราะห์มหาสมุทร" เป็นดาวเคราะห์ลำาดับที่ 3 จากดวงอาทิตย์ 8
  • 9. ใหญ่เป็นอันดับที่ 5 และมีความหนาแน่นมากที่สุดในบรรดาดาว เคราะห์ทั้ง 9 ดวง โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่มีอุณหภูมิและ สภาพเหมาะสมที่สิ่งมีชีวิตสามารถก่อกำาเนิดและดำารงชีพอยู่ได้ เป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่มีพื้นนำ้ามากถึง 2 ใน 3 ส่วน มีดาว บริวารที่เป็นดวงจันทร์เพียงดวงเดียว นอกจากโลกแล้วการศึกษา เรื่องราวข้อเท็จจริงของดาวเคราะห์ที่เหลืออีก 8 ดวง จะมีส่วน ช่วยทำาให้เรามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสุริยะมากยิ่งขึ้น 4.2.1 การหมุนรอบตัวเองและการโคจรของ โลก 4.2.1.1)การหมุนรอบตัวเองของโลก โลกหมุนรอบตังเองไปทางทิศเดียวกับการโคจรรอบ ดวงอาทิตย์ ทำาให้เกิดกลางวันและกลางคืนเนื่องจากทิศที่โลก หมุนไปเป็นทิสตะวันออกทำาให้เราเห็นดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และ ดวงดาวขึ้นทางทิศตะวันออกตกทางทิศตะวันตก ในการกำาหนด เวลา 1 วัน จะกำาหนดจากโลกหมุนรอบตัวเองครบ 1 รอบ โดยใช้ ดวงอาทิตย์เป็นหลัก หากผู้สังเกตที่ยืนอยู่ ณ ลองจิจูดต่างกัน จะ เห็นดวงอาทิตย์ขึ้นและตกในเวลาต่างกัน ดังนั้นจึงมีการกำาหนด เวลามาตรฐานให้เป็นสากลทั่วโลก เพื่อให้สามารถสื่อสารเรื่อง ของเวลาได้เข้าใจตรงกันนั่นคือ 1 วัน จะมี 24 ชั่วโมง โลกหมุน รอบตัวเองจากทิศตะวันออก ประเทศที่อยู่ทางทิศตะวันออกจะได้ รับแสงอาทิตย์ก่อนก็จะสว่างก่อน เช่น ประเทศญี่ปุ่นสว่างก่อน ประเทศไทย ประเทศไทยสว่างก่อนประเทศอินเดีย ดังนั้นเวลา ของแต่ละประเทศจึงไม่เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้จึงจำาเป็นต้องมีเวลา มาตรฐานหรือเวลาที่ทางราชการกำาหนดใช้ สำาหรับประเทศไทย นั้นใช้เวลาที่ค่ามุมลองจิจูด 105 องศาตะวันออก ซึ่งเป็นเวลาที่ เร็วกว่าเวลามาตรฐานเมืองกรีนิช หรือเวลาสากล (Greenwich Mean Time หรือ Universal Time) 7 ชั่วโมง ประเทศสหราช อาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศไทยใช้เวลา มาตรฐานเดียวกัน เป็นที่ตกลงกันว่า เส้นลองจิจูดมี 360 เส้น เส้นที่ 0 องศา ผ่านหอดูดาวเมืองกรีนิชประเทศอังกฤษ ซึ่งถือเป็นเวลา สากลของโลก โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ โดยใช้ดวงอาทิตย์เป็น หลักในการสังเกต ในเวลา 24 ชั่วโมงโลกหมุนไปเท่ากับ 360 เส้นลองจิจูด ฉะนั้นโลกหมุนไป 1 เส้นลองจิจูด จะใช้เวลา 4 นาที 9
  • 10. ตำาบลที่ซึ่งอยู่ห่างกัน 15 เส้นลองจิจูด เวลาจะต่างกัน 1 ชั่วโมง ประเทศไทยใช้เวลามาตรฐานที่เส้นลองจิจูด 105 องศาตะวันออก ที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ใกล้เส้นลองจิจูด 105 องศาตะวันออก เวลาจะเร็วกว่าเวลามาตรฐานกรีนิชหรือ เวลาสากล 7 ชั่งโมง ส่วนจังหวีชัดอื่นที่ไม่ตั้งอยู่บนเส้นลองจิจูด 105 องศา เวลาจะผิดไปจากความเป็นจริงบ้าง เช่น กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ ที่เส้นลองจิจูด 100.5 องศาตะวันออก อยู่ห่างจากเส้น 105 องศาตะวันออก 4.5 เส้นลองจิจูด ฉะนั้น เวลาที่แท้จริงของกรุงเทพฯ จะช้ากว่าเวลามาตรฐานของประเทศ อยู่ 18 นาที 4.2.1.2 การโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลก โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยมีแกนเอียงไปจากแนวตั้ง ฉากกับระนาบทางโคจรเป็นมุมประมาณ 23 21 องศา แกนโลก จะเอียงคงที่ตลอดวิถีโคจรเป็นผลทำาให้เกิดฤดูกาลและช่วงเวลา กลางวันกลางคืนบนโลกยาวนานต่างกัน กล่าวคือ ทำาให้ผิวโลก หันเข้ารับแสงอาทิตย์เปลี่ยนแปลงไป ขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวง อาทิตย์ในเดือนมิถุนายน แงอาทิตย์ส่องที่ตรงตั้งฉากกับผิวโลก ทำาให้ขั้วโลกเหนือเป็นฤดูร้อน ในฤดูหนาวแสงส่องมาเฉียงแม้จะ อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่า ความร้อนจะกระจายบริเวณกว้าง อุณหภูมิเฉลี่ยต่อพื้นที่จึงน้อยกว่าแสงส่องมาตรง และแกนของขั้ว โลกเอียงทำาให้ช่วงเวลากลางวันกลางคืนบนโลกเปลี่ยนไป เช่น ในเดือนธันวาคมโลกหันขั้วเหนือออกจากดวงอาทิตย์ ประเทศทาง ซีกโลกเหนือจะได้รับแสงอาทิตย์เฉียงทั้งที่เป็นช่วงที่ขั้วโลกเหนือ อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าขั้วโลกใต้ ทำาให้ประเทศต่างๆ ทางซีก โลกเหนืออากาศหนาวเย็นจึงเป็นช่วงฤดูหนาว ขณะที่ประเทศทาง ซีกโลกใต้ได้รับพลังความร้อนและแสงสว่างส่องตรงตั้งฉากและ นานกว่าจึงมีอากาศร้อน และมีช่วงเวลากลางวันยาวนานกว่า กลางคืนจึงเป็นช่วงฤดูร้อน ครั้น ถึงเดือนมิถุนายนโลกหันขั้ว เหนือเข้าหาดวงอาทิตย์ ประเทศทางซีกโลกเหนืออยู่ไกลจากดวง อาทิตย์มากกว่าแต่ได้รับสีของแสงส่องตรง ทางซีกโลกเหนือจึง เป็นฤดูร้อน มีช่วงเวลากลางวันยาวนานกว่ากลางคืน ขณะที่ทาง ซีกโลกใต้กลายเป็นฤดูหนาวและมีช่วงเวลากลางวันสั้นกว่ากลาง คืนสำาหรับประเทศไทยมี 3 ฤดู สามารถสังเกตวันเริ่มต้นฤดูได้จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือผู้แทนพระองค์เสด็จเปลี่ยน เครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ในวันหลังวันเข้าพรรษา 1 วัน,หลังวันลอยกระทง 1 วัน และหลังวันมาฆบูชา 31 วัน หรือ 10
  • 11. 1 วัน ในปีอธิกมาส นักเรียนทราบหรือไม่ เดือนและวันทาง จันทรคติที่เป็นวันเริ่มต้นฤดูกาลในประเทศไทย โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบ โดยสังเกตดาวฤกษ์ เป็นหลักในเวลา 365.2422 วัน เรียก 1 ปีของโลก ที่โลกโคจร รอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบจริง แต่ถ้าสังเกตดวงอาทิตย์เป็นหลัก เห็นดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนไปตามกลุ่มดาว 12 ราศี โลกโคจร รองดวงอาทิตย์ 1 รอบ ในเวลา 365.2422 วัน เรียก 1 ปีฤดูกาล หรือ 1 ปีสุริยคติ หรือ 1 ปีปฏิทิน ขณะโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ หากสังเกตดวงอาทิตย์จะเห็นภาพดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนที่ผ่าน กลุ่มดาว 12 ราศี ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ประจำาเดือนทั้ง 12 เดือน ผ่าน ไปทางทิศตะวันออกตามลำาดับ การคำานวณนับปีสุริยคติ เริ่มต้นนับ ณ จุด วิษวัต หรือจุดราตรีเสมอภาค คือ จุดที่เมื่ออาทิตย์โคจรไป ถึงในราววันที่ 21 มีนาคม เป็นวันเริ่มฤดูใบไม้ผลิในประเทศซีก โลกฝ่ายเหนือ และศารทวิษวัต คือดวงอาทิตย์ปรากฏโคจรไปถึง ในวันที่ 21 กันยายน โดยจะปรากฏโคจรกลับมาถึงจุดเดิมอีกครั้ง หนึ่งเป็นเวลา 1 ปีสุริยคติ การกำาหนดวันเริ่มต้นฤดูกาลต่างๆ กำาหนดจากตำาแหน่งของดวงอาทิตย์ที่ปรากฏบนท้องฟ้า โดย กำาหนดจากช่วงระยะเวลามี 365.2422 วัน แต่ความเป็นจริงแล้ว 1 ปีสุริยคติไม่ใช่มี 365 วันเสมอไป ในทุก 4 ปี จะมีวันเกินขึ้นมา เกือบ 1 วัน ดังนั้นจึงต้องมีการแก้ไขเพื่อให้วันเริ่มต้นฤดูกาลต่างๆ ตรงกับตำาแหน่งดวงอาทิตย์ที่ปรากฏบนท้องฟ้าในวันเริ่มฤดูกาล ให้มากที่สุด ซึ่งมีวิธีการแก้ไขคือให้เพิ่มวันพิเศษขึ้นอีก 1 วัน ใน ทุก 4 ปี เรียกว่า อธิกสุรทิน แปลว่าวันที่เพิ่มขึ้นในปีสุริยคติ ในปี นั้นเดือนกุมภาพันธ์จะมี 29 วัน มีข้อยกเว้นคือปีที่หารด้วย 400 ลงตัวเป็นปีปรกติสุรทิน นอกจากโลกจะโคจรรอบดวงอาทิตย์แล้ว ดาวเคราะห์ส่วน ใหญ่มีบริวารเคลื่อนที่รอบดาวเคราะห์นั้นๆ เช่น ดวงจันทร์ 11
  • 12. เคลื่อนที่รอบโลก ดาวเคราะห์บางดวงมีบริวารจำานวนมาก ดวง จันทร์มีหลายประเภทบางดวงเป็นหินแข็ง บางดวงเป็นนำ้าแข็งปน หินแข็ง ส่วนดาวเคราะห์ที่ไม่มีดวงจันทร์ ได้แก่ ดาวพุธ และดาว ศุกร์ ดวงจันทร์ของโลกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3,477 กิโลเมตร มี ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ในบรรดาดวงจันทร์ของดาวเคราะห์ต่างๆ ตารางแสดงดวงจันทร์ของดาวเคราะห์ต่างๆ โดยเรียงตามลำาดับ ขนาดใหญ่ มีดังนี้ ชื่อดวง จันทร์ ดวงจันทร์ของดาว เคราะห์ เส้นผ่านศูนย์กลาง (กม.) แกนนีมีด ดวงจันทร์ของดาว พฤหัสบดี เส้นผ่านศูนย์กลาง 5,262 กิโลเมตร ไตแตน ดวงจันทร์ของดาว เสาร์ เส้นผ่านศูนย์กลาง 5,150 กิโลเมตร แคลลีสโต ดวงจันทร์ของดาว พฤหัสบดี เส้นผ่านศูนย์กลาง 4,800 กิโลเมตร ไตรตัน ดวงจันทร์ของดาว เนปจูน เส้นผ่านศูนย์กลาง 3,800 กิโลเมตร ไอโอ ดวงจันทร์ของดาว พฤหัสบดี เส้นผ่านศูนย์กลาง 3,630 กิโลเมตร มูน ดวงจันทร์ของดาวโลก เส้นผ่านศูนย์กลาง 3,477 กิโลเมตร ยูโรปา ดวงจันทร์ของดาว พฤหัสบดี เส้นผ่านศูนย์กลาง 3,138 กิโลเมตร ดาวเคราะห์ พลูโต เล็กกว่าดวงจันทร์ทั้ง 7 ดวง เส้นผ่านศูนย์กลาง 2,392.5 กิโลเมตร ดวงจันทร์ใช้เวลาประมาณ 27.322 วัน ในการหมุนรอบตัว เองและโคจรรอบโลก ดังนั้นเราจึงเห็นดวงจันทร์เพียงด้านเดียว เสมอ และด้วยเหตุที่โลกมีการเคลื่อนที่หมุนรอบตัวเองและโคจร รอบดวงอาทิตย์ ขณะเดียวกับที่ดวงจันทร์ก็ต้องหมุนรอบตัวเอง และโคจรรอบโลกเวลาที่เราจะเห็นดวงจันทร์เต็มดวงในทุกๆ 29 21 วัน การโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ ทำาให้เกิดข้างขึ้นข้าง แรม นำ้าขึ้น นำ้าลง สุริยปราคา และจันทรุปราคา ปรากฏนำ้าขึ้น นำ้าลงนั้นเนื่องจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ต่างส่งแรงดึงดูดมายัง โลก จะส่งผลให้เกิดนำ้าขึ้นนำ้าลงตามริมทะเลและเมืองท่าใกล้ทะเล 12
  • 13. ดวงจันทร์มีอิทธิพลสูงกว่าดวงอาทิตย์ เป็น 11 ต่อ 5 การนับ วันและเดือนโดยถือเอาการเดินทางของดวงจันทร์เป็นหลักเรียกว่า จันทรคติ เนื่องจากดวงจันทร์ โคจรรอบโลกมีความสัมพันธ์ร่วมกับ โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ระยะเวลาที่ดวงจันทร์ปรากฏโคจรรอบ โลก โดยนับจากวันเดือนดับถึงวันเดือนดับเท่ากับ 29 วัน 12 ชั่วโมง 44.05 นาที หรือเท่ากับ 29.53 วัน คือ 1 เดือนจันทรคติ เท่ากับ 29.53 วันเพื่อให้การนับเดือนมีเลขลงตัว จึงกำาหนดให้ เดือนคู่เป็นเดือนเต็ม มี 30 วัน เดือนคี่เป็นเดือนขาด มีเพียง 29 วัน วันพระสิ้นเดือนมีแค่ แรม 14 คำ่า ปีหนึ่งจึงมีเพียง 354 วัน การแก้ไขความคลาดเคลื่อนวันและเดือนปีจันทรคติของชาติ ไทยให้ใกล้เคียงกับปีจริงทางสุริยคติ ซึ่งต่างกันถึง 11 วันเศษนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ ไทยทรงคำานวณและวางเป็นกฎเกณฑ์อย่างชัดเจนคือ เพิ่มวันของ เดือน 7 ที่เป็นเดือนคี่ซึ่งปรกติมี 29 วัน ในรอบ 5-6 ปี จะเป็นปี อธิกวารคือ เดือน 7 มี 30 วัน โดยสังเกตดวงจันทร์ปรากฏโคจร อยู่ใกล้ดาวฤกษ์ เช่น สังเกตดวงจันทร์เพ็ญยังไม้เข้าใกล้นักขัต ฤกษ์อาสาฬหะในวันเข้าพรรษา การแก้ไขที่สำาคัญคือการมีเดือน 8 สองหน ทุก 19 ปีจะมีปีอธิกมาสมีเดือน 8 สองหน จำานวน 7 ครั้ง ปีนั้นจะมี 13 เดือน มีจำานวนวัน 384 วัน 4.2.3 ดาวเคราะห์อื่นๆ ในระบบสุริยะ ปัจจุบันนักดาราศาสตร์พบว่ามี ดาวเคราะห์ 9 ดวงที่เป็น บริวารของดวงอาทิตย์ ซึ่งโลกเป็น 1 ในดาวเคราะห์ ทั้ง 9 ดวง แต่อาจมีดาวเคราะห์มากว่า 9 ดวงนี้ก็ได้ ดาวเคราะห์จะโคจร เคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีเกือบเป็นวงกลม ดาวเคราะห์แบ่ง เป็น ดาวเคราะห์ในโคจรอยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์และ ดาว เคราะห์วงนอก ซึ่งอยู่เลยโลกออกไป 4.2.3.1 ดาวเคราะห์ใน 1) ดาวพุธ (mercury) เป็นชื่อเทพเจ้าแห่งการสื่อสาร มี ฉายาว่า เตาไฟแช่แข็ง มีขนาดเกือบเล็กที่สุดแต่ใหญ่กว่าดาว พลูโต อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ไม่มีดวงจันทร์เป็นบริวาร โคจรรอบดวงอาทิตย์เร็วที่สุดด้วยอัตรา 48 กิโลเมตรต่อวินาที หมุนรอบตัวเองครบ 1 รอบในเวลาประมาณ 59 วัน โคจรรอบดวง อาทิตย์ในเวลาประมาณ 88 วัน ยานอวกาศมาริเนอร์ เอ ถ่ายภาพ พื้นผิวดาวพุธ เต็มไปด้วยปล่องภูเขาไฟแบบดวงจันทร์ พื้นผิว ทั่วไปตั้งแต่แรกเกิดถูกลูกอุกกาบาตถล่มเข้าใส่เป็นปล่องภูเขาไฟ 13
  • 14. ไปทั่ว ด้านที่ได้รับแสงอาทิตย์จะร้อน 452 องศาเซลเซียสด้านที่ ไม่ได้รับแสงอาทิตย์จะเย็นจัดถึง -84 องศาเซลเซียส นั่นคือใน เวลากลางวันมีอุณหภูมิสูงมากและอุณหภูมิจะลดตำ่าลงในเวลา กลางคืน เนื่องจากบรรยากาศปกคลุม ดาวพุธสามารถสังเกตเห็น ได้ด้วยตาเปล่า แต่โอกาสสังเกตเห็นได้นั้นยากเพราะอยู่ใกล้ขอบ ฟ้ามาก คือ เมื่อดวงอาทิตย์ใกล้จะโผล่ขึ้นเหนือขอบฟ้า ดาวพุธ ภาพ พื้นผิวเต็มไปด้วยหลุมอุกาบาตคล้ายกับดวงจันทร์ของเรา 2) ดาวศุกร์ (Venus) มีฉายาว่าเทพธิดาแห่งความรักและ ความงาม เป็นดาวเคราะห์ที่ถูกคลุมด้วยเมฆหนา สามารถเห็นได้ ด้วยตาเปล่า เพราะมีความสว่างเจิดจ้าที่สุดในท้องฟ้ารองลงมา จากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ถ้าเห็นตอนหัวคำ่า เรียกว่า ดาว ประจำาเมือง ถ้าเห็นตอนเช้ามืด เรียก ดาวประกายพรึก บรรยากาศประกอบด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 95 ไนโตรเจนร้อยละ 3.5 มีแก๊สซัสเฟอร์ไดออกไซด์ปะปนอยู่บ้าง บรรยากาศเป็นเมฆหนาปกคลุมคล้ายตู้กระจกอบความร้อน พื้น ผิวมีความร้อนที่สุดมีอุณหภูมิสูงถึง 463 องศาเซลเซียส ดาวศุกร์ หมุนรอบตัวเอง แบบทวนกลับกับทิศทางการโคจรคือหมุนตามเข็มนาฬิกา จากการ ตรวจสอบด้วยเรดาร์ พบว่าหมุนรอบตัวเองแบบทวนกลับครบ 1 14
  • 15. รอบ คือ 1 วันที่แท้จริงของดาวศุกร์เท่ากับ 243.16 วัน แต่ 1 วัน บนดาวศุกร์โดยสังเกตดวงอาทิตย์เวลาเที่ยงวันหนึ่งถึงเที่ยงวันครั้ง ถัดไปจะเท่ากับ 166.75 วัน โคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ หรือ 1 ปี เท่ากับ 224.70 วัน ภาพ ดาวศุกร์ 4.2.3.2 ดาวเคราะห์วงนอก 1) ดาวอังคาร (Mars) เป็นชื่อของเทพเจ้าแห่งสงครามมี ฉายาว่า ดาวเคราะห์สีแดง สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีสีแดงใส สว่างน้อยกว่าดาวพฤหัสบดี จากการสำารวจดาวอังคารมี บรรยากาศเจือจางมากเพียงร้อยละ 1-2 ของความกดบรรยากาศ บนโลก พื้นผิวมีรังสีคอสมิกซึ่งเป็นอันตราย ต่อสิ่งมีชีวิตพุ่งเข้าตกสู่พื้นผิวมากกว่าบนโลกเป็น 100 เท่า มีดวง จันทร์บริวาร 2 ดวง ดวงในชื่อ โฟบอส โคจรรอบดาวอังคารในเวลา 7 ชั่วโมงเศษเนื่องจากโฟ บอสมีความเร็วในการโคจรสูงกว่าที่ดาวอังคารหมุนรอบตัวเอง จึง เห็นโฟบอสขึ้นทางทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก 3 ครั้ง ใน ช่วง 1 วันบนดาวอังคาร ดวงจันทร์ดวงนอก ชื่อ ไดมอส โคจร 1 รอบ ประมาณ 31 ชั่วโมง 15
  • 16. ภาพ ดาวอังคาร 2) ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) เป็นชื่อจอมเทพหัวหน้า เทพเจ้ามีฉายาว่า โลกยักษ์ หมุนรอบตัวเองครบ 1 รอบเร็วที่สุด และมีขนาดใหญ่ที่สุด ใหญ่กว่าโลกถึง 1,321 เท่า ถ้ายุบรวมดาว เคราะห์อีก 8 ดวง จะมีมวลสารไม่ถึงร้อยละ 40 ของดาวพฤหัสบดี ดาวพฤหัสบดีจึงหนักกว่า หากรวมดาวเคราะห์น้อยและบริวารอื่นๆ ด้วย ดาวพฤหัสก็ยังมีมวลมากกว่าเป็น 2 เท่า จากการสำารวจของ ยานอวกาศวอยเอเจอร์พบว่าดาวพฤหัสบดีมีวงแหวนหากดูดาว พฤหัสบดีด้วยตาเปล่าจะเห็นแสงสว่างเจิดจ้าสีขาว มีความสว่าง รอบจากดาวศุกร์มีดวงจันทร์บริวาร 39 ดวง โดยที่ 14 ดวง พบ จากบนโลก ดาวพฤหัสบดีจะเคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาว 12 ราศี ปีละ 1 กลุ่ม ภาพ ดาวพฤหัสบดี 3) ดาวเสาร์ (Saturn) เป็นชื่อของเทพเจ้าแห่งการเกษตร มีขนาดใหญ่เป็นที่สองรองจากดาวพฤหัสบดี ใหญ่กว่าโลก 760 เท่า มีความหนาแน่นน้อยกว่านำ้า สามารถลอยนำ้าได้แกนกลางเป็น หินซึ่งร้อนจัดมากมีอุณหภูมิไม่เกิน 15,000 องศาเซลเซียส สามารถมองด้วยตาเปล่าเห็นแสงสว่างขาวนวลสว่างน้อยกว่าดาว 16
  • 17. อังคาร หากมองด้วยกล้องโทรทรรศน์จะเห็นวงแหวนสวยงามมาก วงแหวนกว้างประมาณ 273,700 กิโลเมตร หนาประมาณ 210 เมตร มีดวงจันทร์เป็นบริวาร 30 ดวง พบจากบนโลกเพียง 10 ดวง มี 1 ดวงที่มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธ ภาพ ดาวเสาร์ 4) ดาวยูเรนัสหรือดาวมฤตยู (Uranus) มีขนาดใหญ่ เป็นอันดับ 3 ใหญ่กว่าโลก 63 เท่า มีวงแหวนล้อมรอบ 10 วง เป็นวงแหวนทึบแสงล้อมรอบดาวยูเรนัส 9 วง ซึ่งศึกษาดาวยูเรนัส ได้บนโลกเมื่อตอนที่โคจรผ่านดาวฤกษ์ ส่วนวงที่ 10 ถ่ายภาพได้ โดยยานอวกาศ ดาวยูเรนัสมีพื้นผิวและบรรยากาศคล้ายดาว พฤหัสและดาวเสาร์ มีดวงจันทร์เป็นบริวาร 21 ดวง ดาวมฤตยู มองด้วยตาเปล่าเห็นเป็นเพียงแค่จุดของแสงเท่านั้น จึงถือได้ว่า มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ภาพ ดาวยูเรนัส 5) ดาวเนปจูน (Neptune) เป็นชื่อเทพเจ้าแห่งทะเล เรียก ดาวสมุทร มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวง ใหญ่กว่าโลก 58 เท่า พบได้โดยการคำานวร มีดวงจันทร์ เป็นบริวาร 8 ดวง และมีวงแหวนล้อมรอบ 6 วง มีอนุภาคอยู่เป็น กลุ่มๆ แผ่พลังงานออกมามากกว่าได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ อุณหภูมิที่พื้นผิวเย็นจัดมากมีอุณหภูมิ-200 องศาเซลเซียส 17
  • 18. ภาพ ดาวเนปจูน 6) ดาวพลูโต (Pluto) ดาวเคราะห์ดวงสุดท้าย ค้นพบได้ โดยการถ่ายภาพ เห็นเป็นจุดแสงแปลกปลอมซึ่งไม่ใช่ดาวฤกษ์ แกนกลางเป็นหินมีผิวนอกเป็นนำ้าแข็ง มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 2,392.5 กิโลเมตร มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้ง 9 เล็กกว่าดวงจันทร์ของดาวเคราะห์อีก 7 ดวง โคจรรอบดวง อาทิตย์เป็นรูปวงรี 4.2.4 การสังเกตดาวเคราะห์บนท้องฟ้า ดาวเคราะห์ที่สามรถเห็นได้ด้วยตาเปล่ามีเพียง 5 ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ ดาวพุธมี โอกาสเห็นได้ยากมากและเห็นได้เพียงช่วงสั้นๆ คือตอนใกล้ พลบคำ่ากับตอนใกล้รุ่งสว่าง ในคืนเดือนมืดสนิท หากแหงนดูดวง ดาวบนท้องฟ้าจะเห็นดวงดาวมากมาย 2,000-3,000 ดวง ใน จำานวนนั้นจะเห็นดาวเคราะห์ ได้อย่างมากเพียง 2-3 ดวง ลำาแสง จากดาวเคราะห์ที่ส่องมายังโลกจะเห็นแสงสว่างนิ่ง ส่วนดาวฤกษ์ จะเห็นคล้ายแสงกะพริบ เพราะแสงส่องมาไกลมาก ขณะผ่าน บรรยากาศโลกแสงจะหักเหโค้งเบนจากแนวเดิมหลายทิศทาง เนื่องจากความแปรปรวนของบรรยากาศ ทำาให้แสงดาวดูระยิบ ระยับหรือกะพริบแสงหากเราสังเกตดาวบนท้องฟ้าในประเทศไทย จะเห็นดาวเคราะห์อยู่ในแนวตะวันออกตะวันตก เกือบกลาง ท้องฟ้าตามแนวทางที่ดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนที่ไป ดาวเคราะห์ ทั้งหลายจะปรากฏเคลื่อนที่ไปอยู่ในแนวเส้นสุริยวิถี คืออยู่ในแนว กลุ่มดาว 12 ราศี หรือกลุ่มดาวประจำาเดือนทั้ง 12 เดือน ตารางแสดงข้อมูลสถิติดาวเคราะห์ที่น่าสนใจ ชื่อ ดาว เคราะ ห์ ระยะห่างจากดวง อาทิตย์ หมุนรอบ ตัวเอง โคจรรอบ ดวง อาทิตย์ ปริมา ตร เทียบ กับ โลก จำานวน ดวง จันทร์ (พ.ศ.2 545) ล้าน กม. หน่วยดา รา ศาสตร์ 18
  • 19. พุธ ศุกร์ โลก อังคาร พฤหัส บดี เสาร์ ยูเรนัส เนปจู น พลูโต 58 108 150 228 778 1,427 2,870 4,496 5,900 0.39 0.72 1.00 1.52 5.20 9.54 19.18 30.06 39.44 58.65d 243.02d 23h 56m 4.1s 23h 37m 22 9h 55m 30s 10h 39m 22s 17h 14m 24s 16h 6m 36s 6d 9h 18m 88 วัน 224.7 วัน 365.256 วัน 1.88ปี 12 ปี 29.5 ปี 84 ปี 165 ปี 248 ปี 0.05 6 0.85 7 1.00 0 0.15 1 1,32 1 764 63 58 0.00 7 - - 1 2 39 30 21 8 1 4.3. ดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์ เป็นดาวฤกษ์ที่ให้พลังงานและแสงสว่าง มหาศาลและไม่มีวันหมดสิ้น นับว่าดวงอาทิตย์เป็นบ่อเกิดพลังงาน ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของระบบสุริยะ สิ่งมีชีวิตบนโลกของเราทั้งพืชและ สัตว์ต้องอาศัยพลังงานนี้ พืชต้องการพลังงานแสงเพื่อการ สังเคราะห์แสง สัตว์ต้องการความร้อน แสงสว่าง และพลังงานจาก อาหารเพื่อการดำารงชีวิตและต้องการพลังงานอื่นๆ เพื่ออำานวย 19
  • 20. ความสะดวกสบายในการดำารงชีวิต ดังนั้นพลังงานจากดวง อาทิตย์จึงมีความสำาคัญต่อการดำารงชีวิตบนโลก 4.3.1 ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่อยู่ห่างจากโลก 150 ล้านกิโลเมตร มีความร้อนและแสงสว่างในตัวเองดวงอาทิตย์ เปรียบเสมือเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ยิ่งใหญ่ที่เกิดปฏิกิริยาเทอร์โม นิวเคลียร์อย่างสมำ่าเสมอ และควบคุมไม่ได้ แสงสว่างเดินทางจาก ดวงอาทิตย์ถึงโลกกินเวลา 499 วินาที หรือ 8.32 นาที ดวง อาทิตย์มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1,392,000 กิโลเมตร ซึ่งยาวกว่า โลกราว 109 เท่า มีขนาดใหญ่สามารถบรรจุโลกได้ถึง 1,304,000 เท่า โลกของเราขณะนี้ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณ 4,600 ล้านปี อีกไม่ ถึง 5,000 ล้านปี ดวงอาทิตย์จะวิวำฒนาการเป็นดาวยักษ์แดงช่วง นั้นโลกและดาวเคราะห์วงในจะถูกดูดกลืนเข้าสู่ดวงอาทิตย์ วิวัฒนาการต่อไป เมื่อไฮโดรเจนแกนกลางหมด มีฮีเลียมมากขึ้น เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันฮีเลียม ฮีเลียมหลอมรวมเป็นคาร์บอน ดวงอาทิตย์จะขยายตัวอีกครั้งหนึ่งเพื่อใช้ไฮโรเจนและฮีเลียม ผิว นอกขยายใหญ่ 400 เท่าเกินอำานาจความโน้มถ่วง ผิวนอกจะ ระเบิดสู่อวกาศเป็นสสารระหว่างดาว แกนกลางของดวงอาทิตย์จะ เป็นแคระขาว และค่อยๆ เย็นลงเป็นก้อนคล้ายถ่าน เรียกแคระดำา ล่องลอยไป ภาพ 2 โครงสร้างภายในดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์ผู้ควบคุมสรรพสิ่งในระบบสุริยะ เป็นดาวฤกษ์ที่มี ขนาดมวลสารและความสว่างมากกว่าดาวฤกษ์ทั่วไปถึงร้อยละ 80 ของดาวฤกษ์ในกาแล็กซีทางช้างเผือก แต่มีความสว่างน้อยกว่า และมีขนาดเล็กกว่าดาวฤกษ์ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สว่างเด่น บนท้องฟ้า มีอุณหภูมิที่ผิว 5,778 องศาเคลวินหรือเท่ากับ 5,505 20
  • 21. องศาเซลเซียส อุณหภูมิที่จุดใจกลางดวงอาทิตย์สูงมากประมาณ 1,5000,000 องศาเซลเซียส ดวงอาทิตย์มีความโน้มถ่วงที่ผิว มากกว่าโลกราว 28 เท่า ดวงอาทิตย์หนักกว่าโลก 300,000 เท่า และมีกำาลังส่องแสงสว่างกว่าดวงจันทร์วันเพ็ญ 400,000 เท่า ดวงอาทิตย์หมุนรอบตัวเองอยู่ตลอดเวลาแบบทวนเข็มนาฬิกา โดย หมุนรอบตัวเอง 1 รอบกินเวลา 25.38 วัน และจะพาระบบสุริยะ ทั้งระบบไปด้วยความเร็ว 274 กิโลเมตรต่อวินาที 4.3.2 การเกิดพลังงานของดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์เป็นบ่อเกิดของพลังงานที่ยิ่งใหญ่ เปรียบ เสมือนเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์พลังงานที่ดวงอาทิตย์ส่งออกมานี้มา จากการเปลี่ยนแปลงสสารไปเป็นพลังงานที่เกดจากพลังงานเทอร์ โมนิวเคลียร์หรือพลังงานนิวเคลียร์ฟิวชันที่แกนกลางดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาการรวมตัวของไฮโดรเจนกลายเป็นฮีเลียม และ ปลดปล่อยพลังงานออกมามหาศาล พลังงานนี้เปลี่ยนจากมวลส่วน หนึ่งของไฮโดรเจนที่หายไปตามสมการของไอน์สไตน์ คือ E=mc2 เมื่อ E คือพลังงาน m คือ มวลสสารที่หายไป c คือ อัตราเร็วแสงในสุญญากาศ =3*108 เมตร(300 ล้านเมตร) ต่อ วินาที ดวงอาทิตย์เป็นตัวอย่างดาวฤกษ์ที่มีมวลขนาดกลางเป็น แหล่งพลังงานนิวเคลียร์ ฟิวชันวิวัฒนาการขั้นต้น ดาวฤกษ์ที่มี มวลสูงกว่าดวงอาทิตย์มีวิวัฒนาการที่สูงขึ้น มวลสารของธาตุที่ หนักกว่าไฮโดรเจนจะหลอมรวมเป็นธาตุที่หนักขึ้นและเปลี่ยนไป เป็นพลังงาน นักวิทยาศาสตร์ประมาณว่าพลังงานนี้จะเคลื่อนที่มา ถึงพื้นผิวอาจใช้เวลานานมากถึง 20 ล้านปี พลังงานที่เกิดขึ้นจะ ถ่ายทอดออกมาสู่ผิวดวงอาทิตย์โดยการนำา การพาและการแผ่รังสี ความร้อน โลกเป็นบริวารของดวงอาทิตย์ คืออยู่ภายใต้อิทธิพลแรง โน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ พลังงานต่างๆ ทุกชนิด ทุกประเภทรอบๆ ตัวเราได้มาจากดวงอาทิตย์ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม หากปราศจาก ดวงอาทิตย์สิ่งมีชีวิตบนโลกจะไม่สามารถดำารงชีวิตอยู่ได้ โลกของ เราได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์เพียง 1 ใน 2,200 ล้านส่วน เท่านั้น จากการศึกษาวิจัยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่โลกได้รับ โดยพืชนำาไปใช้ในการสังเคราะห์แสง และพลังงานที่ได้รับ โดยตรงในรูปพลังงานจลน์ในการเกิดลม คลื่น รวมกันไม่ถึงร้อย ละ 0.2 นอกนั้นเป็นพลังงานที่สูญเปล่า เพราะถูกเมฆหมอกหรือ ฝุ่นละอองสะท้อนออกไปสู่อวกาศ 21
  • 22. พลังงานจากดวงอาทิตย์ไม่มีกาก ใช้ไม่มีวันหมดสิ้น ในเวลา 1 วินาทีดวงอาทิตย์แผ่พลังงานออกไปเท่ากับพลังงานทั้งหลายทั้ง มวลที่มนุษย์ใช้มาตั้งแต่ดึกดำาบรรพ์ถึงปัจจุบัน พลังงานที่ดวง อาทิตย์แผ่ออกไปในเวลา 3 วัน จะเท่ากับพลังงานทั้งหลายทั้ง มวลที่มีอยู่ในโลกทั้งโลกดวงอาทิตย์มีการกลืนกินมวลสารของตัว เองอยู่ตลอดเวลา เมื่อดวงอาทิตย์เกิดขึ้นจะมีการปลดปล่อย พลังงานออกมาและจะมีวิวัฒนาการต่อไปตามลำาดับ ในที่สุดอีก ประมาณ 5,000 ล้านปีข้างหน้า จะเกิดวิวัฒนาการขั้นสุดท้าย ภายหลังเป็นดาวแคระขาวเกิดพลังงานนิวเคลียร์ฟิวชันนิวเคลียร์ ของฮีเลียมหลอมรวมเป็นคาร์บอน คือถ่าน เมื่อหมดฮีเลียมจะ ค่อยๆ เย็นลง ผลที่สุดเป็นก้อนเถ้าถ่านดำา หยุดการแผ่รังสีความ ร้อน 4.3.3.จุดบนดวงอาทิตย์ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กที่พื้นผิวดวง อาทิตย์ บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิตำ่ากว่าบริเวณรอบข้าง จึงมี ความสว่างน้อยกว่าบริเวณข้างเคียง จึงสังเกตเห็นเป็นจุดดำา จุด บนดวงอาทิตย์บางจุดมีขนาดใหญ่กว่าโลกเราหลายเท่า จุดบน ดวงอาทิตย์ มีจำานวนเพิ่มขึ้นสูงสุดทุกๆ 11 ปี ซึ่งสัมพันธ์กับการ ประทุจ้าที่พื้นผิวของดวงอาทิตย์ ที่เรียกว่า “โซลาร์แฟลร์” (Solar Flare) ภาพ จุดบนดวงอาทิตย์ 4.3.4 พลังงานของดวงอาทิตย์ต่อโลกและสิ่งมี ชีวิต ดวงอาทิตย์ เป็นแหล่งพลังงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก โลกของเราได้ใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานนี้ทั้งทางตรงและ ทางอ้อม 4.3.4.1 ดวงอาทิตย์ให้พลังงานแก่โลก 22
  • 23. ดวงอาทิตย์ให้พลังงานเกือบทุกชนิด ทุกประเภทแก่โลก นำ้ามันเชื้อเพลิง แก๊สธรรมชาติ ถ่านหิน เป็นพลังงานสะสมยู่ใต้ผิว โลก ซึ่งเกิดมาจากพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่ให้พลังงานแก่สิ่งมี ชีวิต และเมื่อสิ่งมีชีวิตนั้นตายพลังงานก็จะสะสมอยู่ใต้ผิวโลก นั่นเอง พลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ทำาให้เกิดการ หมุนเวียนของนำ้าบนโลกเรียกว่า วัฏจักรของนำ้า นำ้าเมื่อได้รับ ความร้อนจะระเหยกลายเป็นไอนำ้า ไอนำ้าในอากาศทำาให้เกิด นำ้าค้าง หมอก เมฆ ฝน หรือหิมะ ทำาให้เกิดระบบการหมุนเวียนนำ้า จืดบนผิวโลก เพื่อสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ใช้ในด้านต่างๆ ได้ พลังงานแสงจากดวงอาทิตย์สามารถแปรรูปเป็นพลังงาน ไฟฟ้า โดยใช้เซลล์ไฟฟ้าเปลี่ยนพลังงานแสงจากดวงอาทิตย์เป็น ไฟฟ้ากระแสตรง เรียกว่า เซลล์แสงอาทิตย์ หรือ เซลล์สุริยะ มนุษย์ผลิตไฟฟ้ากระแสตรง เช่นเดียวกับถ่านไฟฉายหรือ แบตเตอรี่ใช้เป็นพลังงานต่างๆ ในชีวิตประจำาวัน และใช้เป็น พลังงานผลิตคลื่นแม่เล็กไฟฟ้าวิทยุโทรทัศน์เพื่อใช้ในการสื่อสาร แต่เนื่องจากผิวโลกโค้งทำาให้การส่งคลื่นตรงไปได้ไม่ไกลนัก และ อาจชนแถบคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าที่มีอยู่ในชั้นอวกาศรอบโลกทำาให้ การสะท้อนกลับมายังเครื่องรับเกิดปัญหา เนื่องจากคลื่นถูกรบกวน ในปัจจุบันได้มีการใช้ดาวเทียมเป็นสถานีรับและส่งคลื่นถึงผู้รับ ซึ่งบนดาวเทียมและยานอวกาศใช้เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตกระแส ไฟฟ้ากระแสตรงเป็นพลังงานปัจจุบันมีดาวเทียมที่มนุษย์ส่งไป โคจรรอบโลกมกกว่า 2,000 ดวง ใช้ประโยชน์เพื่อเป็นดาวเทียม อุตุนิยมวิทยาดาวเทียมสื่อสาร และดาวเทียมสำารวจทรัพยากร ซึ่ง ดาวเทียมสื่อสารและดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาจะอยู่สูงจากผิวโลก มากโดยจะโคจรในแนวระนาบเส้นศูนย์สูตร ความเร็วในแนว วงกลมเท่ากับความเร็วในการหมุนรอบตัวเองของโลก ซึ่ง สอดคล้องกันจึงทำาให้ดาวเทียมดูเสมือนลอยนิ่งอยู่ ณ ตำาแหน่ง เดิมเหนือโลก โดยทั่วไปโคจรในระดับสูง 36,000 กิโลเมตร คลื่นวิทยุ คลื่นวิทยุโทรทัศน์คลื่นโทรศัพท์ มีประโยชน์และมีความ จำาเป็นที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำาวันของมนุษย์ ซึ่งถือเป็น ทรัพยากรที่จำาเป็นของชาติ ฉะนั้นจึงต้องมีกฎหมายและมีผู้รับผิด ชอบควบคุมดูแล 4.3.4.2 ชีวิตบนโลกต้องการพลังงานจากดวง อาทิตย์ ถ้าไม่มีพลังงานจากดวงอาทิตย์มาสู่โลก สิ่งมีชีวิตจะขาด พลังงานในการดำารงชีวิต ชีวิตต่างๆ บนโลกจะเป็นเช่นไร ถ้าโลก ไม่ได้รับความร้อนและแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ โลกจะถูกแช่แข็ง 23
  • 24. มีความเย็นจัดอย่างยิ่ง สิ่งมีชีวิตจะมีชีวิตอยู่ไม่ได้ ในบ้านหรือนอก บ้านจะเย็นจัดยิ่งกว่าขั้วโลกในหน้าหนาวหลายสิบเท่า พลังงานที่ มีอยู่บนโลกจะไม่สามารถต่อสู้ความมืดมิดและหนาวเย็นจัดได้ กล่าวโดยสรุปแล้วทุกชีวิตบนโลกล้วนต้องอาศัยพลังงานจากดวง อาทิตย์เพื่อการดำารงชีวิต พืชเป็นผู้ผลิต สัตว์เป็นผู้บริโภค พืชใช้ พลังงานแสงอาทิตย์ในการสังเคราะห์แสง พลังงานความร้อนจาก ดวงอาทิตย์ทำาให้เกิดวัฏจักรของนำ้า นำ้าเป็นสิ่งจำาเป็นเพื่อการดำารง ชีวิตของสิ่งมีชีวิต ดังนั้นพลังงานจากดวงอาทิตย์จึงเสมือนเป็นกล ไกลหลักในวัฏจักรของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก ***************************************************** *********************** 24