SlideShare a Scribd company logo
1
ความเปนมาและความส�าคัญของปญหา
	 สันติภาพเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ	หากตั้งค�าถามว่ามีใครต้องการท�าสงครามบ้าง	คน
ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดจะไม่มีใครต้องการเลย	คลอสวิทซ์เคยกล่าวว่า	“...หากสงครามเข้าใกล้
จุดสูงสุด	มันจะกลายเป็นความจ�าเป็นไป	ดังนั้น	ไม่ควรจะรับเอาก้าวแรกเข้ามาโดยไม่คิดถึง
สิ่งสุดท้ายไว้ก่อน...”1
		จากค�ากล่าวนี้สามารถตั้งค�าถามต่อไปได้ว่า	ถ้าไม่ต้องการสงครามแล้ว	
มีวิธีใดบ้างที่จะไม่ต้องท�าสงคราม	คลอสวิทซ์ไขปริศนานี้ไว้ด้วยเช่นกันว่า	“…สงครามเป็นเพียง
ความต่อเนื่องของนโยบายทางการเมืองด้วยวิธีการอื่นอีกแนวทางหนึ่ง…”2
	ดังนั้น	ในทางกลับกัน	
เพื่อไม่ให้เกิดสงคราม	ค�าตอบหนึ่งคือ	หน่วยทางการเมืองหรือรัฐต้องหาทางสื่อสารซึ่งกันและกัน	
และประสานนโยบายระหว่างกันให้เป็นไปได้อย่างราบรื่น	
	 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคสงครามเย็นได้รับผลกระทบด้านความมั่นคง
อย่างมาก	ได้มีความพยายามในการพัฒนาความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างกันให้มีมากขึ้น
มาตามล�าดับ	แม้ว่าจะเต็มไปด้วยเงื่อนไขข้อจ�ากัด	แต่ด้วยความวิริยะอุตสาหะของบรรดาผู้น�า
ประเทศ	ความร่วมมือจึงได้ก่อเกิดและพัฒนาเติบโตขึ้น	เมื่อสงครามเย็นจบลงปัจจัยความขัดแย้ง
ของมหาอ�านาจนอกภูมิภาคจางหายไป	โอกาสของความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
จึงมีมากขึ้น	เกิดเป็นความร่วมมือที่พัฒนาใกล้ชิดมากขึ้น	จนกระทั่งสามารถก�าหนดพิมพ์เขียวของ
การรวมตัวกันให้เกิดเป็น	“ประชาคม”	เดียวกัน	คือ	“ประชาคมอาเซียน”	ให้เป็นรูปธรรมได้ใน	ค.ศ.	
2015
1บทน�า
1
Kenneth	N.	Waltz,	“If	war	approaches	the	absolute,	it	become		imperative,	not	to	take	the	
first	step	without	thinking	what	may	be	the	last,”	in	“The	Origins	of	War	in	Neorealist	Theory,”	eds.	
Phil	Williams,	Donald	M.	Goldstein	and	Jay	M.	Shafriz,	Classic	Readings	of	International	Relations
(Belmont,	California:	Wadsworth	Publishing	Company,	1994),	p.	45.
2
Clausewitz,	On	War,	ed.		Anatol	Rapoport	(New	York:	Penguin	Books,	1978),	p.	119.
2
	 จากพิมพ์เขียวของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน 20153
ซึ่งประกอบด้วย
3 ลักษณะที่มุ่งหวังคือ ความมุ่งหวังประการแรก การเป็นประชาคมที่มีกฎเกณฑ์โดยมีกติกา/
บรรทัดฐานและค่านิยมร่วมกันเป็นความร่วมมือของอาเซียนในการพัฒนาความร่วมมือทาง
การเมือง  เพื่อสร้างความเข้มแข็งของการเป็นประชาธิปไตย เพิ่มความเป็นธรรมาภิบาล ยึดในหลัก
ของกฎหมายส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพพื้นฐานโดยยึดมั่นในสิทธิและความรับผิดชอบของ
แต่ละรัฐสมาชิกอาเซียนในการที่จะสร้างความเป็นประชาคมที่มีกฎเกณฑ์มีค่านิยมและบรรทัดฐาน
เป็นหนึ่งเดียวของอาเซียน ความมุ่งหวังประการที่ 2 คือ การเป็นประชาคมที่ท�ำให้ภูมิภาคมีความ
เป็นเอกภาพ มีความสงบสุข มีความแข็งแกร่ง พร้อมทั้งมีความรับผิดชอบร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหา
ความมั่นคงที่ครอบคลุมในทุกมิติโดยอาเซียนต้องยึดหลัก “ความมั่นคงแบบครอบคลุมทุกมิติ
หรืออย่างกว้างขวาง” (comprehensive security) กล่าวคือ ไม่เพียงแต่มีขอบเขตของความมั่นคง
ในแบบเดิมเท่านั้น แต่ยังรับผิดชอบต่อความมั่นคงแบบใหม่ที่ส�ำคัญต่อการสร้างความเข้มแข็งให้
แต่ละประเทศและของภูมิภาคได้อย่างดีด้วย เช่น ความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม
สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาประเทศ และอาเซียนยังมีพันธะต่อการสร้างมาตรการป้องกันความ
ขัดแย้งและการสร้างความไว้วางใจกันการทูตเชิงป้องกันและสร้างสันติภาพภายหลังความขัดแย้ง
อีกด้วย หลักการ “ความมั่นคงแบบครอบคลุมทุกมิติหรืออย่างกว้างขวาง” ประกอบด้วยแผนงาน
ที่ฝ่ายกลาโหมของอาเซียนต้องเข้ามามีส่วนร่วมด�ำเนินการอย่างมาก เช่น มาตรการการป้องกัน
ความขัดแย้งและมาตรการการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ มาตรการการแก้ไขความขัดแย้งและการ
ระงับข้อพิพาทโดยสันติ มาตรการการสร้างสันติภาพหลังความขัดแย้งความร่วมมือในประเด็น
ความมั่นคงรูปแบบใหม่(NTS)เพื่อการตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีโดยสอดคล้อง
กับหลักการด้านความมั่นคงที่ครอบคลุมทุกมิติจากภัยคุกคามในทุกรูปแบบอาชญากรรมข้ามชาติ
และความท้าทายข้ามแดน การเสริมสร้างความร่วมมือของอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ และ
การตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน และการตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อความ
เร่งด่วนหรือสถานการณ์วิกฤติที่ส่งผลกระทบต่ออาเซียน และความมุ่งหวังประการที่ 3 คือ การเป็น
ประชาคมที่มีพลวัตและมองออกไปสู่โลกภายนอกที่มีการรวมตัวกันมากขึ้น มีการพึ่งพาซึ่งกันและ
กันมากขึ้น ด้วยการส่งเสริมความเป็นศูนย์กลางของอาเซียน และการเสริมสร้างการปรึกษาหารือ
และความร่วมมือในประเด็นพหุภาคีที่เป็นความกังวลร่วมกัน
	3
ASEANPoliticalandSecurityCommunityBlueprint,RoadmapforanASEANCommunity2009-
2015.
3
	 จะเห็นได้ว่า ลักษณะความมุ่งหวังประการที่ 2 ของความเป็นประชาคมการเมืองและ
ความมั่นคงอาเซียนนั้น เน้นย�้ำถึงความร่วมมือของภาคกลาโหมของประเทศสมาชิกอาเซียนอย่าง
มาก โดยเป็นการมอบหมายบทบาทใหม่ที่ภาคกลาโหมของประเทศสมาชิกต้องพัฒนาขึ้น โดย
มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วน “ผู้เล่นหรือตัวกระท�ำ” มากขึ้น เช่น กลาโหมของประเทศสมาชิก
อาเซียนด้วยกันเอง ระหว่างกลาโหมของอาเซียนกับกลาโหมของบรรดามิตรประเทศของอาเซียน
และความสัมพันธ์ของกลาโหมกับภาคประชาสังคมส�ำหรับในส่วนของ“บทบาท”เกิดจากการขยาย
ความหมายของความมั่นคงที่กว้างขวางออกไปสู่ความมั่นคงแบบที่ไม่ใช่แบบเดิม(non-traditional
security)ซึ่งเป็นปัญหาที่ฝ่ายกลาโหมต้องการความร่วมมือกันในระดับที่เกินขีดความสามารถของ
รัฐใดรัฐหนึ่งจะแก้ไขด้วยตนเองได้
	 หลักการที่ก�ำหนดใน APSC ท�ำให้เห็นว่า หน่วยงานภาคความมั่นคงโดยเฉพาะกระทรวง
กลาโหมนั้นถูกท�ำให้มีบทบาทใหม่ ค�ำถามจึงกลับมาที่กองทัพหรือภาคส่วนความมั่นคงของรัฐ
สมาชิกว่า จากเดิมที่กองทัพมีหน้าที่ปกป้องประเทศจากภัยคุกคามภายนอกประเทศของตน เมื่อ
ชาติสมาชิกอาเซียนร่วมมือในระบบความมั่นคงมากขึ้นแล้ว บทบาทความร่วมมือด้านความมั่นคง
ของกองทัพจะเป็นอย่างไร รูปแบบระบบความมั่นคงที่จะพัฒนาไปนั้นจะเกิดขึ้นในลักษณะใด
ดังนั้น การศึกษาเพื่อให้เห็นถึงการสร้างประชาคมความมั่นคง (security community) โดยเห็นถึง
วิวัฒนาการของความร่วมมือของกระทรวงกลาโหมในภูมิภาคว่าได้พัฒนาให้สูงขึ้นอยู่ในระดับใด
จึงถือได้ว่าเป็นการเดินทางไปสู่วิสัยทัศน์ใหม่ของอาเซียนที่ควรค่าแก่การศึกษา
วัตถุประสงค์และขอบเขตของการวิจัย
	 1.	 เพื่อศึกษาให้เห็นถึงพัฒนาการของความร่วมมือด้านความมั่นคงของประเทศใน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการเป็นประชาคมความมั่นคง และระดับของความร่วมมืออยู่ที่ระดับสูง
เพียงพอที่จะไม่มีความเป็นได้ของการเกิดสงครามระหว่างกันได้ในอนาคต
	 2.	 เพื่อศึกษาถึงความร่วมมือในส่วนของกระทรวงกลาโหมของประเทศสมาชิกอาเซียนใน
ฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของ 6 กลุ่มของการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC)
ว่าได้มีระดับความสัมพันธ์และความลึกของความร่วมมือระหว่างกันเพิ่มมากขึ้นอย่างไร อันจะเป็น
เครื่องแสดงหรือยืนยันให้เห็นถึงความพร้อมของการเข้าสู่ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
ได้ในส่วนหนึ่ง
4
วิธีการวิจัย
	 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจาก
	 1.	 ข้อมูลปฐมภูมิ เช่น เอกสารของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
บันทึกล�ำดับเหตุการณ์ การประชุมของอาเซียน สนธิสัญญา ปฏิญญา ค�ำสัมภาษณ์ สุนทรพจน์
หรือค�ำกล่าวที่แสดงทัศนะของบุคคลในฐานะผู้น�ำประเทศ ผู้อยู่ในคณะรัฐบาลซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้อง
กับการตัดสินใจในการด�ำเนินนโยบายต่างประเทศของประเทศต่าง ๆ นโยบายต่างประเทศของ
ประเทศสมาชิกอาเซียน นอกจากนั้นจะสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความมั่นคง ฝ่าย
พลเรือนและนักวิชาการด้านความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยเฉพาะด้านภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอาเซียนศึกษา
	 2.	 การสัมภาษณ์นายทหารชั้นอาวุโสผู้อยู่ในกระบวนการสร้างประชาคมการเมืองและ
ความมั่นคงอาเซียน
	 3.	 ข้อมูลทุติยภูมิเช่นหนังสือบทความวิชาการและบทวิเคราะห์ข่าวสารในหนังสือพิมพ์
สมมติฐานของการวิจัย
	 การที่อาเซียนได้ประกาศการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้เกิดขึ้นในค.ศ.2015อันประกอบ
ด้วย 3 เสาหลักคือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคม
และวัฒนธรรม เป็นเพราะอาเซียนมีปัจจัยที่ส่งเสริมความร่วมมือที่ท�ำให้เห็นโอกาสและความ
เป็นไปได้ของความส�ำเร็จมากพอจนท�ำให้เกิดความเชื่อมั่นว่า อาเซียนมีความพร้อมที่จะเข้าสู่
การเป็นประชาคม
5
กรอบแนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย
	 งานวิจัยนี้ใช้ทฤษฎีการสร้างประชาคมความมั่นคงของแอ็ดเลอร์และบาร์เน็ตต์4
ที่พัฒนา
มาจากทฤษฎีของคาร์ล ดับเบิลยู ดอยส์ช (Karl W. Deutsch)5
โดยแอ็ดเลอร์และบาร์เน็ตต์เสนอ
ทฤษฎีประชาคมความมั่นคงที่มีมุมมองที่เป็นระบบง่ายต่อการใช้ในการศึกษาวิจัย ท�ำให้เห็นถึง
ความเป็นไปของพัฒนาการของการเกิดเป็นประชาคมความมั่นคงระหว่างประเทศในลักษณะเป็น
โมเดล 3 ชั้น คือ ชั้นเริ่มต้น ชั้นเติบโต และชั้นสมบูรณ์แบบ โดยในชั้นสมบูรณ์แบบยังประกอบด้วย
2 ระดับย่อยคือ แบบหลวม (loosely-coupled) และแบบแข็งแกร่ง (tightly-couple) เป้าหมาย
ของการเป็นประชาคมความมั่นคงคือ “สังคมสามารถคาดหวังและพึ่งพาได้ต่อการเปลี่ยนแปลง
ใด ๆ ของสังคมจะเป็นไปอย่างสันติ” (Dependable Expectation of Peaceful Change: DEPC)
กรอบการวิเคราะห์ตามทฤษฎีประชาคมความมั่นคง 3 ชั้นของแอ็ดเลอร์และบาร์เน็ตต์6
นี้ได้ถูก
ใช้ในการศึกษาการสร้างประชาคมในหลายภูมิภาค เช่น การศึกษาของแอ็ดเลอร์ในการเป็น
ประชาคมความมั่นคงของประเทศสมาชิก OSCE, การศึกษาของบาร์เน็ตต์และเกกอรี เกาส์ ใน
การเป็นประชาคมความมั่นคงของประเทศสมาชิก GCC, การศึกษาของ Acharya ต่อประเทศ
สมาชิกอาเซียนซึ่งเป็นการศึกษาในช่วงก่อนศตวรรษใหม่ ซึ่งอาเซียนได้มีพัฒนาการของความ
ร่วมมือสูงขึ้นมากแล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลัง ค.ศ. 2003 เป็นต้นมาที่ความร่วมมือของฝ่าย
กลาโหมอาเซียนได้มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง การศึกษาการสร้างประชาคมความมั่นคงในอเมริกาใต้
ของแอนดรู เฮอร์เรล การศึกษาการสร้างประชาคมความมั่นคงระหว่างออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
และสหรัฐฯของฮิกกอตต์และนอสสันการศึกษาของกอนซาเลซและแฮกการ์ดในการเป็นประชาคม
ความมั่นคงของสหรัฐฯ กับเม็กซิโก และการศึกษาถึงการเป็นประชาคมความมั่นคงระหว่างสหรัฐฯ
กับแคนาดาของซีน ชอร์
	 4
Emanuel Adler and Michael Barnett, “A Framework for the Study of Security Community,” in
SecurityCommunity,eds.EmanuelAdlerandMichaelBarnett(NewYork:CambridgeUniversityPress,
1998), p. 59.
	 5
Karl W. Deutsch, et al., Political Community and the North Atlantic Area; International
Organization in the Light of Historical Experience (Princeton: Princeton University Press, 1957).
	 6
Emanuel Adler and Michael Barnett, Security Community, pp. 18-23.
6
ขอบเขตของการวิจัย
	 กฎบัตรอาเซียนได้ก�ำหนดให้ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน(APSC)ประกอบ
ด้วย 6 กลุ่มงาน7
คือ ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (AMM), คณะกรรมการเขตปลอด
อาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEANWFZ commission), ที่ประชุมรัฐมนตรี
กลาโหมอาเซียน(ADMM),ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านกฎหมาย(ALAWMM),ที่ประชุมรัฐมนตรี
อาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ (AMMTC) และที่ประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้าน
การเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในแต่ละกลุ่มงานประกอบด้วยคณะท�ำงาน
ที่ท�ำหน้าโดยเฉพาะและด�ำเนินกิจกรรมในแต่ละส่วนอย่างกว้างขวางมาก ในการศึกษาวิจัยนี้
จึงจ�ำกัดขอบเขตการศึกษาเฉพาะ1ใน6ของความร่วมมือด้านความมั่นคงเท่านั้นนั่นคือในส่วนของ
กลาโหมโดยเฉพาะที่ประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนเป็นหลักเท่านั้นซึ่งเป็นพื้นที่ส�ำคัญที่สัมพันธ์
กับมุมมองพัฒนาการของประชาคมความมั่นคงตามทฤษฎีประชาคมความมั่นคงของแอ็ดเลอร์และ
บาร์เน็ตต์ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้
ข้อจ�ำกัดของการวิจัย
	 1.	 ความยากในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล ปัญหาของการเข้าถึงข้อมูลที่บางหน่วยงาน
เหมารวมว่าทุกเรื่องเป็น “ความลับของทางราชการ” โดยไม่จ�ำแนกแยกแยะว่า ประเด็นความ
ร่วมมือด้านความมั่นคงของอาเซียนเป็นเรื่องโปร่งใส เพื่อสร้างความไว้วางใจกัน ความรู้สึกของ
ผู้ให้ข้อมูลและแหล่งข้อมูลเป็นอุปสรรค เพราะมักปฏิเสธที่จะให้ผู้วิจัยเข้าถึงตัวบุคคล และเอกสาร
ที่จะให้ข้อมูล เพื่อน�ำมาศึกษาวิเคราะห์ หรือแม้จะอนุญาตให้เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ก็ต้องใช้ความ
พยายามสูงมาก ทั้งการประสานงาน การเดินทาง และเวลา
	 2.	 แหล่งข้อมูลมีทั้งบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจ�ำนวนมาก ซึ่งตัวบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ในการท�ำงานนั้นท�ำเฉพาะส่วนเฉพาะด้านอีกทั้งสถานที่ตั้งของแต่ละส่วนที่เกี่ยวข้องนั้นอยู่ห่างไกล
กัน การรวบรวมเนื้อหาการศึกษาจึงต้องใช้ในการนัดพบและการเดินทางมาก
	 7
ภาคผนวก 1 ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ในกฎบัตรอาเซียน, หน้า 41.
7
	 3.	 เอกสารปฐมภูมิเกี่ยวกับอาเซียนมีจ�ำนวนมากและเป็นภาษาอังกฤษต้องใช้เวลามาก
ในการแปลมาเป็นภาษาไทย และน�ำไปสู่การวิเคราะห์ การจัดพิมพ์ การมีเวลาศึกษาวิจัยที่จ�ำกัด
ท�ำให้ไม่สามารถแปลเอกสารเหล่านี้ออกมาให้กว้างขวางอย่างที่ตั้งใจได้ ต้องเลือกเฉพาะบางส่วน
เพื่อน�ำมาใช้การศึกษา เพราะไม่มีเวลาเพียงพอที่จะสามารถอ่านในรายละเอียดของทุกเอกสารได้
	 4.	 ข้อมูลที่เป็นเอกสารปฐมภูมิดังกล่าวในข้อ 2 มีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยในทฤษฎี
ที่น�ำมาใช้นี้อยู่ร่วมกันในเอกสารเดียวกัน การที่จะจ�ำแนกหรือลงทะเบียนข้อมูล เพื่อน�ำไปสู่การ
ประเมินและวิเคราะห์ท�ำให้รู้สึกถึงความซ�้ำซ้อนของการอ้างถึงแหล่งข้อมูลนั้นๆและอาจท�ำให้ง่าย
ที่จะจัดลงทะเบียนข้อมูลผิดประเภทปัจจัย
การน�ำเสนอผลการวิจัย
	 เป็นการพรรณนาโดยละเอียด โดยบทที่ 3 เป็นการน�ำเสนอประสบการณ์ที่ได้จากการ
สร้างประชาคมของยุโรป บทที่ 4-7 เป็นการแยกการวิเคราะห์พัฒนาการของความร่วมมือด้าน
ความมั่นคงของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามกรอบการวิเคราะห์ของทฤษฎีประชาคม
ความมั่นคง 3 ชั้นที่กล่าวมาแล้ว รายละเอียดดังนี้
	 บทที่ 1	บทน�ำ
	 บทที่ 2	แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
	 บทที่ 3	บทเรียนและข้อสังเกตจากพัฒนาการของความร่วมมือในการสร้างประชาคม
ยุโรป
	 บทที่ 4	สู่ประชาคมความมั่นคงชั้นที่ 1
	 บทที่ 5	สู่ประชาคมความมั่นคงชั้นที่ 2 และการก้าวข้าม : โครงสร้าง
	 บทที่ 6	สู่ประชาคมความมั่นคงชั้นที่ 2 : กระบวนการ
	 บทที่ 7	กรณีศึกษา : การปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์และบทบาทด้านความมั่นคงของไทยกับ
การเป็นประชาคมความมั่นคงชั้นที่ 2
	 บทที่ 8	สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ
ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย
	 1.	 เพื่อให้มีองค์ความรู้ที่กว้างขวางลึกซึ้งในเรื่องการรวมตัวระหว่างประเทศของอาเซียน
และความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านความมั่นคง โดยการทบทวนวรรณกรรมอย่างกว้างขวาง
8
	 2.	 เพื่อให้สถาบัน หน่วยงานทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงสามารถน�ำไป
ศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อประยุกต์ใช้ในการก�ำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องต่อไปได้
	 3.	 เพื่อให้โลกทัศน์ที่กว้างขวางของการรวมตัวระหว่างประเทศเป็นประชาคมความ
มั่นคงแก่บุคคลทั่วไป และเป็นประโยชน์ในการศึกษาความร่วมมือและการรวมตัวระหว่างประเทศ
ท�ำให้ “พลเมืองอาเซียน” เข้าใจถึงความมุ่งหมายของการสร้างประชาคมที่ไปไกลกว่าเพียงแค่
เป็นประชาคมอาเซียนเท่านั้น อันจะเป็นทัศนะที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติได้มากกว่า

More Related Content

Viewers also liked

9789740333685
97897403336859789740333685
9789740333685
CUPress
 
9789740332879
97897403328799789740332879
9789740332879
CUPress
 
7. The Sustainable Energy Handbook for NGOs and Local Groups
7. The Sustainable Energy Handbook for NGOs and Local Groups7. The Sustainable Energy Handbook for NGOs and Local Groups
7. The Sustainable Energy Handbook for NGOs and Local Groups
sornblog2u
 
9789740333432
97897403334329789740333432
9789740333432
CUPress
 
9789740333463
97897403334639789740333463
9789740333463
CUPress
 
9789740328322
97897403283229789740328322
9789740328322
CUPress
 
พลังงานกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
พลังงานกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนพลังงานกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
พลังงานกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
Chacrit Sitdhiwej
 
9789740333517
97897403335179789740333517
9789740333517
CUPress
 
9789740333524
97897403335249789740333524
9789740333524
CUPress
 
5. Wing Energy
5. Wing Energy5. Wing Energy
5. Wing Energy
sornblog2u
 
9789740333609
97897403336099789740333609
9789740333609
CUPress
 
07_โรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กแบบแก๊สซิฟิเคชั่นสำหรับชุมชน Vol.1 No.1
07_โรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กแบบแก๊สซิฟิเคชั่นสำหรับชุมชน Vol.1 No.107_โรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กแบบแก๊สซิฟิเคชั่นสำหรับชุมชน Vol.1 No.1
07_โรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กแบบแก๊สซิฟิเคชั่นสำหรับชุมชน Vol.1 No.1
วารสารวิชาการ เทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม
 
ปิโตรเลียม
ปิโตรเลียมปิโตรเลียม
ปิโตรเลียม
Nuttakit Wunprasert
 
เทคนิคและวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ด
เทคนิคและวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดเทคนิคและวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ด
เทคนิคและวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดsornblog2u
 
Newsletter 08
Newsletter 08Newsletter 08
Newsletter 08nnnstda
 

Viewers also liked (18)

9789740333685
97897403336859789740333685
9789740333685
 
9789740332879
97897403328799789740332879
9789740332879
 
7. The Sustainable Energy Handbook for NGOs and Local Groups
7. The Sustainable Energy Handbook for NGOs and Local Groups7. The Sustainable Energy Handbook for NGOs and Local Groups
7. The Sustainable Energy Handbook for NGOs and Local Groups
 
9789740333432
97897403334329789740333432
9789740333432
 
9789740333463
97897403334639789740333463
9789740333463
 
9789740328322
97897403283229789740328322
9789740328322
 
พลังงานกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
พลังงานกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนพลังงานกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
พลังงานกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
 
9789740333517
97897403335179789740333517
9789740333517
 
Chapter1
Chapter1Chapter1
Chapter1
 
9789740333524
97897403335249789740333524
9789740333524
 
5. Wing Energy
5. Wing Energy5. Wing Energy
5. Wing Energy
 
9789740333609
97897403336099789740333609
9789740333609
 
07_โรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กแบบแก๊สซิฟิเคชั่นสำหรับชุมชน Vol.1 No.1
07_โรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กแบบแก๊สซิฟิเคชั่นสำหรับชุมชน Vol.1 No.107_โรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กแบบแก๊สซิฟิเคชั่นสำหรับชุมชน Vol.1 No.1
07_โรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กแบบแก๊สซิฟิเคชั่นสำหรับชุมชน Vol.1 No.1
 
08.ชีวมวล
08.ชีวมวล08.ชีวมวล
08.ชีวมวล
 
ปิโตรเลียม
ปิโตรเลียมปิโตรเลียม
ปิโตรเลียม
 
แหล่งกำเนิดไฟฟ้า (Electric source)
แหล่งกำเนิดไฟฟ้า (Electric source)แหล่งกำเนิดไฟฟ้า (Electric source)
แหล่งกำเนิดไฟฟ้า (Electric source)
 
เทคนิคและวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ด
เทคนิคและวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดเทคนิคและวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ด
เทคนิคและวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ด
 
Newsletter 08
Newsletter 08Newsletter 08
Newsletter 08
 

More from CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
CUPress
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

Recently uploaded

โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
SweetdelMelon
 
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
Postharvest Technology Innovation Center
 
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกันbio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
CholapruekSangkamane1
 
Next.js web development.pdfNext.js web development.pdfNext.js web development...
Next.js web development.pdfNext.js web development.pdfNext.js web development...Next.js web development.pdfNext.js web development.pdfNext.js web development...
Next.js web development.pdfNext.js web development.pdfNext.js web development...
NuttavutThongjor1
 
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
NuttavutThongjor1
 
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdfRecap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
NuttavutThongjor1
 

Recently uploaded (6)

โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
 
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
 
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกันbio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
 
Next.js web development.pdfNext.js web development.pdfNext.js web development...
Next.js web development.pdfNext.js web development.pdfNext.js web development...Next.js web development.pdfNext.js web development.pdfNext.js web development...
Next.js web development.pdfNext.js web development.pdfNext.js web development...
 
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
 
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdfRecap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
 

9789740333227

  • 1. 1 ความเปนมาและความส�าคัญของปญหา สันติภาพเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ หากตั้งค�าถามว่ามีใครต้องการท�าสงครามบ้าง คน ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดจะไม่มีใครต้องการเลย คลอสวิทซ์เคยกล่าวว่า “...หากสงครามเข้าใกล้ จุดสูงสุด มันจะกลายเป็นความจ�าเป็นไป ดังนั้น ไม่ควรจะรับเอาก้าวแรกเข้ามาโดยไม่คิดถึง สิ่งสุดท้ายไว้ก่อน...”1 จากค�ากล่าวนี้สามารถตั้งค�าถามต่อไปได้ว่า ถ้าไม่ต้องการสงครามแล้ว มีวิธีใดบ้างที่จะไม่ต้องท�าสงคราม คลอสวิทซ์ไขปริศนานี้ไว้ด้วยเช่นกันว่า “…สงครามเป็นเพียง ความต่อเนื่องของนโยบายทางการเมืองด้วยวิธีการอื่นอีกแนวทางหนึ่ง…”2 ดังนั้น ในทางกลับกัน เพื่อไม่ให้เกิดสงคราม ค�าตอบหนึ่งคือ หน่วยทางการเมืองหรือรัฐต้องหาทางสื่อสารซึ่งกันและกัน และประสานนโยบายระหว่างกันให้เป็นไปได้อย่างราบรื่น ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคสงครามเย็นได้รับผลกระทบด้านความมั่นคง อย่างมาก ได้มีความพยายามในการพัฒนาความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างกันให้มีมากขึ้น มาตามล�าดับ แม้ว่าจะเต็มไปด้วยเงื่อนไขข้อจ�ากัด แต่ด้วยความวิริยะอุตสาหะของบรรดาผู้น�า ประเทศ ความร่วมมือจึงได้ก่อเกิดและพัฒนาเติบโตขึ้น เมื่อสงครามเย็นจบลงปัจจัยความขัดแย้ง ของมหาอ�านาจนอกภูมิภาคจางหายไป โอกาสของความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน จึงมีมากขึ้น เกิดเป็นความร่วมมือที่พัฒนาใกล้ชิดมากขึ้น จนกระทั่งสามารถก�าหนดพิมพ์เขียวของ การรวมตัวกันให้เกิดเป็น “ประชาคม” เดียวกัน คือ “ประชาคมอาเซียน” ให้เป็นรูปธรรมได้ใน ค.ศ. 2015 1บทน�า 1 Kenneth N. Waltz, “If war approaches the absolute, it become imperative, not to take the first step without thinking what may be the last,” in “The Origins of War in Neorealist Theory,” eds. Phil Williams, Donald M. Goldstein and Jay M. Shafriz, Classic Readings of International Relations (Belmont, California: Wadsworth Publishing Company, 1994), p. 45. 2 Clausewitz, On War, ed. Anatol Rapoport (New York: Penguin Books, 1978), p. 119.
  • 2. 2 จากพิมพ์เขียวของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน 20153 ซึ่งประกอบด้วย 3 ลักษณะที่มุ่งหวังคือ ความมุ่งหวังประการแรก การเป็นประชาคมที่มีกฎเกณฑ์โดยมีกติกา/ บรรทัดฐานและค่านิยมร่วมกันเป็นความร่วมมือของอาเซียนในการพัฒนาความร่วมมือทาง การเมือง เพื่อสร้างความเข้มแข็งของการเป็นประชาธิปไตย เพิ่มความเป็นธรรมาภิบาล ยึดในหลัก ของกฎหมายส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพพื้นฐานโดยยึดมั่นในสิทธิและความรับผิดชอบของ แต่ละรัฐสมาชิกอาเซียนในการที่จะสร้างความเป็นประชาคมที่มีกฎเกณฑ์มีค่านิยมและบรรทัดฐาน เป็นหนึ่งเดียวของอาเซียน ความมุ่งหวังประการที่ 2 คือ การเป็นประชาคมที่ท�ำให้ภูมิภาคมีความ เป็นเอกภาพ มีความสงบสุข มีความแข็งแกร่ง พร้อมทั้งมีความรับผิดชอบร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหา ความมั่นคงที่ครอบคลุมในทุกมิติโดยอาเซียนต้องยึดหลัก “ความมั่นคงแบบครอบคลุมทุกมิติ หรืออย่างกว้างขวาง” (comprehensive security) กล่าวคือ ไม่เพียงแต่มีขอบเขตของความมั่นคง ในแบบเดิมเท่านั้น แต่ยังรับผิดชอบต่อความมั่นคงแบบใหม่ที่ส�ำคัญต่อการสร้างความเข้มแข็งให้ แต่ละประเทศและของภูมิภาคได้อย่างดีด้วย เช่น ความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาประเทศ และอาเซียนยังมีพันธะต่อการสร้างมาตรการป้องกันความ ขัดแย้งและการสร้างความไว้วางใจกันการทูตเชิงป้องกันและสร้างสันติภาพภายหลังความขัดแย้ง อีกด้วย หลักการ “ความมั่นคงแบบครอบคลุมทุกมิติหรืออย่างกว้างขวาง” ประกอบด้วยแผนงาน ที่ฝ่ายกลาโหมของอาเซียนต้องเข้ามามีส่วนร่วมด�ำเนินการอย่างมาก เช่น มาตรการการป้องกัน ความขัดแย้งและมาตรการการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ มาตรการการแก้ไขความขัดแย้งและการ ระงับข้อพิพาทโดยสันติ มาตรการการสร้างสันติภาพหลังความขัดแย้งความร่วมมือในประเด็น ความมั่นคงรูปแบบใหม่(NTS)เพื่อการตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีโดยสอดคล้อง กับหลักการด้านความมั่นคงที่ครอบคลุมทุกมิติจากภัยคุกคามในทุกรูปแบบอาชญากรรมข้ามชาติ และความท้าทายข้ามแดน การเสริมสร้างความร่วมมือของอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ และ การตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน และการตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อความ เร่งด่วนหรือสถานการณ์วิกฤติที่ส่งผลกระทบต่ออาเซียน และความมุ่งหวังประการที่ 3 คือ การเป็น ประชาคมที่มีพลวัตและมองออกไปสู่โลกภายนอกที่มีการรวมตัวกันมากขึ้น มีการพึ่งพาซึ่งกันและ กันมากขึ้น ด้วยการส่งเสริมความเป็นศูนย์กลางของอาเซียน และการเสริมสร้างการปรึกษาหารือ และความร่วมมือในประเด็นพหุภาคีที่เป็นความกังวลร่วมกัน 3 ASEANPoliticalandSecurityCommunityBlueprint,RoadmapforanASEANCommunity2009- 2015.
  • 3. 3 จะเห็นได้ว่า ลักษณะความมุ่งหวังประการที่ 2 ของความเป็นประชาคมการเมืองและ ความมั่นคงอาเซียนนั้น เน้นย�้ำถึงความร่วมมือของภาคกลาโหมของประเทศสมาชิกอาเซียนอย่าง มาก โดยเป็นการมอบหมายบทบาทใหม่ที่ภาคกลาโหมของประเทศสมาชิกต้องพัฒนาขึ้น โดย มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วน “ผู้เล่นหรือตัวกระท�ำ” มากขึ้น เช่น กลาโหมของประเทศสมาชิก อาเซียนด้วยกันเอง ระหว่างกลาโหมของอาเซียนกับกลาโหมของบรรดามิตรประเทศของอาเซียน และความสัมพันธ์ของกลาโหมกับภาคประชาสังคมส�ำหรับในส่วนของ“บทบาท”เกิดจากการขยาย ความหมายของความมั่นคงที่กว้างขวางออกไปสู่ความมั่นคงแบบที่ไม่ใช่แบบเดิม(non-traditional security)ซึ่งเป็นปัญหาที่ฝ่ายกลาโหมต้องการความร่วมมือกันในระดับที่เกินขีดความสามารถของ รัฐใดรัฐหนึ่งจะแก้ไขด้วยตนเองได้ หลักการที่ก�ำหนดใน APSC ท�ำให้เห็นว่า หน่วยงานภาคความมั่นคงโดยเฉพาะกระทรวง กลาโหมนั้นถูกท�ำให้มีบทบาทใหม่ ค�ำถามจึงกลับมาที่กองทัพหรือภาคส่วนความมั่นคงของรัฐ สมาชิกว่า จากเดิมที่กองทัพมีหน้าที่ปกป้องประเทศจากภัยคุกคามภายนอกประเทศของตน เมื่อ ชาติสมาชิกอาเซียนร่วมมือในระบบความมั่นคงมากขึ้นแล้ว บทบาทความร่วมมือด้านความมั่นคง ของกองทัพจะเป็นอย่างไร รูปแบบระบบความมั่นคงที่จะพัฒนาไปนั้นจะเกิดขึ้นในลักษณะใด ดังนั้น การศึกษาเพื่อให้เห็นถึงการสร้างประชาคมความมั่นคง (security community) โดยเห็นถึง วิวัฒนาการของความร่วมมือของกระทรวงกลาโหมในภูมิภาคว่าได้พัฒนาให้สูงขึ้นอยู่ในระดับใด จึงถือได้ว่าเป็นการเดินทางไปสู่วิสัยทัศน์ใหม่ของอาเซียนที่ควรค่าแก่การศึกษา วัตถุประสงค์และขอบเขตของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาให้เห็นถึงพัฒนาการของความร่วมมือด้านความมั่นคงของประเทศใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการเป็นประชาคมความมั่นคง และระดับของความร่วมมืออยู่ที่ระดับสูง เพียงพอที่จะไม่มีความเป็นได้ของการเกิดสงครามระหว่างกันได้ในอนาคต 2. เพื่อศึกษาถึงความร่วมมือในส่วนของกระทรวงกลาโหมของประเทศสมาชิกอาเซียนใน ฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของ 6 กลุ่มของการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC) ว่าได้มีระดับความสัมพันธ์และความลึกของความร่วมมือระหว่างกันเพิ่มมากขึ้นอย่างไร อันจะเป็น เครื่องแสดงหรือยืนยันให้เห็นถึงความพร้อมของการเข้าสู่ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ได้ในส่วนหนึ่ง
  • 4. 4 วิธีการวิจัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจาก 1. ข้อมูลปฐมภูมิ เช่น เอกสารของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บันทึกล�ำดับเหตุการณ์ การประชุมของอาเซียน สนธิสัญญา ปฏิญญา ค�ำสัมภาษณ์ สุนทรพจน์ หรือค�ำกล่าวที่แสดงทัศนะของบุคคลในฐานะผู้น�ำประเทศ ผู้อยู่ในคณะรัฐบาลซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้อง กับการตัดสินใจในการด�ำเนินนโยบายต่างประเทศของประเทศต่าง ๆ นโยบายต่างประเทศของ ประเทศสมาชิกอาเซียน นอกจากนั้นจะสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความมั่นคง ฝ่าย พลเรือนและนักวิชาการด้านความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยเฉพาะด้านภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอาเซียนศึกษา 2. การสัมภาษณ์นายทหารชั้นอาวุโสผู้อยู่ในกระบวนการสร้างประชาคมการเมืองและ ความมั่นคงอาเซียน 3. ข้อมูลทุติยภูมิเช่นหนังสือบทความวิชาการและบทวิเคราะห์ข่าวสารในหนังสือพิมพ์ สมมติฐานของการวิจัย การที่อาเซียนได้ประกาศการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้เกิดขึ้นในค.ศ.2015อันประกอบ ด้วย 3 เสาหลักคือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคม และวัฒนธรรม เป็นเพราะอาเซียนมีปัจจัยที่ส่งเสริมความร่วมมือที่ท�ำให้เห็นโอกาสและความ เป็นไปได้ของความส�ำเร็จมากพอจนท�ำให้เกิดความเชื่อมั่นว่า อาเซียนมีความพร้อมที่จะเข้าสู่ การเป็นประชาคม
  • 5. 5 กรอบแนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย งานวิจัยนี้ใช้ทฤษฎีการสร้างประชาคมความมั่นคงของแอ็ดเลอร์และบาร์เน็ตต์4 ที่พัฒนา มาจากทฤษฎีของคาร์ล ดับเบิลยู ดอยส์ช (Karl W. Deutsch)5 โดยแอ็ดเลอร์และบาร์เน็ตต์เสนอ ทฤษฎีประชาคมความมั่นคงที่มีมุมมองที่เป็นระบบง่ายต่อการใช้ในการศึกษาวิจัย ท�ำให้เห็นถึง ความเป็นไปของพัฒนาการของการเกิดเป็นประชาคมความมั่นคงระหว่างประเทศในลักษณะเป็น โมเดล 3 ชั้น คือ ชั้นเริ่มต้น ชั้นเติบโต และชั้นสมบูรณ์แบบ โดยในชั้นสมบูรณ์แบบยังประกอบด้วย 2 ระดับย่อยคือ แบบหลวม (loosely-coupled) และแบบแข็งแกร่ง (tightly-couple) เป้าหมาย ของการเป็นประชาคมความมั่นคงคือ “สังคมสามารถคาดหวังและพึ่งพาได้ต่อการเปลี่ยนแปลง ใด ๆ ของสังคมจะเป็นไปอย่างสันติ” (Dependable Expectation of Peaceful Change: DEPC) กรอบการวิเคราะห์ตามทฤษฎีประชาคมความมั่นคง 3 ชั้นของแอ็ดเลอร์และบาร์เน็ตต์6 นี้ได้ถูก ใช้ในการศึกษาการสร้างประชาคมในหลายภูมิภาค เช่น การศึกษาของแอ็ดเลอร์ในการเป็น ประชาคมความมั่นคงของประเทศสมาชิก OSCE, การศึกษาของบาร์เน็ตต์และเกกอรี เกาส์ ใน การเป็นประชาคมความมั่นคงของประเทศสมาชิก GCC, การศึกษาของ Acharya ต่อประเทศ สมาชิกอาเซียนซึ่งเป็นการศึกษาในช่วงก่อนศตวรรษใหม่ ซึ่งอาเซียนได้มีพัฒนาการของความ ร่วมมือสูงขึ้นมากแล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลัง ค.ศ. 2003 เป็นต้นมาที่ความร่วมมือของฝ่าย กลาโหมอาเซียนได้มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง การศึกษาการสร้างประชาคมความมั่นคงในอเมริกาใต้ ของแอนดรู เฮอร์เรล การศึกษาการสร้างประชาคมความมั่นคงระหว่างออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐฯของฮิกกอตต์และนอสสันการศึกษาของกอนซาเลซและแฮกการ์ดในการเป็นประชาคม ความมั่นคงของสหรัฐฯ กับเม็กซิโก และการศึกษาถึงการเป็นประชาคมความมั่นคงระหว่างสหรัฐฯ กับแคนาดาของซีน ชอร์ 4 Emanuel Adler and Michael Barnett, “A Framework for the Study of Security Community,” in SecurityCommunity,eds.EmanuelAdlerandMichaelBarnett(NewYork:CambridgeUniversityPress, 1998), p. 59. 5 Karl W. Deutsch, et al., Political Community and the North Atlantic Area; International Organization in the Light of Historical Experience (Princeton: Princeton University Press, 1957). 6 Emanuel Adler and Michael Barnett, Security Community, pp. 18-23.
  • 6. 6 ขอบเขตของการวิจัย กฎบัตรอาเซียนได้ก�ำหนดให้ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน(APSC)ประกอบ ด้วย 6 กลุ่มงาน7 คือ ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (AMM), คณะกรรมการเขตปลอด อาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEANWFZ commission), ที่ประชุมรัฐมนตรี กลาโหมอาเซียน(ADMM),ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านกฎหมาย(ALAWMM),ที่ประชุมรัฐมนตรี อาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ (AMMTC) และที่ประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้าน การเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในแต่ละกลุ่มงานประกอบด้วยคณะท�ำงาน ที่ท�ำหน้าโดยเฉพาะและด�ำเนินกิจกรรมในแต่ละส่วนอย่างกว้างขวางมาก ในการศึกษาวิจัยนี้ จึงจ�ำกัดขอบเขตการศึกษาเฉพาะ1ใน6ของความร่วมมือด้านความมั่นคงเท่านั้นนั่นคือในส่วนของ กลาโหมโดยเฉพาะที่ประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนเป็นหลักเท่านั้นซึ่งเป็นพื้นที่ส�ำคัญที่สัมพันธ์ กับมุมมองพัฒนาการของประชาคมความมั่นคงตามทฤษฎีประชาคมความมั่นคงของแอ็ดเลอร์และ บาร์เน็ตต์ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ข้อจ�ำกัดของการวิจัย 1. ความยากในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล ปัญหาของการเข้าถึงข้อมูลที่บางหน่วยงาน เหมารวมว่าทุกเรื่องเป็น “ความลับของทางราชการ” โดยไม่จ�ำแนกแยกแยะว่า ประเด็นความ ร่วมมือด้านความมั่นคงของอาเซียนเป็นเรื่องโปร่งใส เพื่อสร้างความไว้วางใจกัน ความรู้สึกของ ผู้ให้ข้อมูลและแหล่งข้อมูลเป็นอุปสรรค เพราะมักปฏิเสธที่จะให้ผู้วิจัยเข้าถึงตัวบุคคล และเอกสาร ที่จะให้ข้อมูล เพื่อน�ำมาศึกษาวิเคราะห์ หรือแม้จะอนุญาตให้เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ก็ต้องใช้ความ พยายามสูงมาก ทั้งการประสานงาน การเดินทาง และเวลา 2. แหล่งข้อมูลมีทั้งบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจ�ำนวนมาก ซึ่งตัวบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในการท�ำงานนั้นท�ำเฉพาะส่วนเฉพาะด้านอีกทั้งสถานที่ตั้งของแต่ละส่วนที่เกี่ยวข้องนั้นอยู่ห่างไกล กัน การรวบรวมเนื้อหาการศึกษาจึงต้องใช้ในการนัดพบและการเดินทางมาก 7 ภาคผนวก 1 ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ในกฎบัตรอาเซียน, หน้า 41.
  • 7. 7 3. เอกสารปฐมภูมิเกี่ยวกับอาเซียนมีจ�ำนวนมากและเป็นภาษาอังกฤษต้องใช้เวลามาก ในการแปลมาเป็นภาษาไทย และน�ำไปสู่การวิเคราะห์ การจัดพิมพ์ การมีเวลาศึกษาวิจัยที่จ�ำกัด ท�ำให้ไม่สามารถแปลเอกสารเหล่านี้ออกมาให้กว้างขวางอย่างที่ตั้งใจได้ ต้องเลือกเฉพาะบางส่วน เพื่อน�ำมาใช้การศึกษา เพราะไม่มีเวลาเพียงพอที่จะสามารถอ่านในรายละเอียดของทุกเอกสารได้ 4. ข้อมูลที่เป็นเอกสารปฐมภูมิดังกล่าวในข้อ 2 มีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยในทฤษฎี ที่น�ำมาใช้นี้อยู่ร่วมกันในเอกสารเดียวกัน การที่จะจ�ำแนกหรือลงทะเบียนข้อมูล เพื่อน�ำไปสู่การ ประเมินและวิเคราะห์ท�ำให้รู้สึกถึงความซ�้ำซ้อนของการอ้างถึงแหล่งข้อมูลนั้นๆและอาจท�ำให้ง่าย ที่จะจัดลงทะเบียนข้อมูลผิดประเภทปัจจัย การน�ำเสนอผลการวิจัย เป็นการพรรณนาโดยละเอียด โดยบทที่ 3 เป็นการน�ำเสนอประสบการณ์ที่ได้จากการ สร้างประชาคมของยุโรป บทที่ 4-7 เป็นการแยกการวิเคราะห์พัฒนาการของความร่วมมือด้าน ความมั่นคงของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามกรอบการวิเคราะห์ของทฤษฎีประชาคม ความมั่นคง 3 ชั้นที่กล่าวมาแล้ว รายละเอียดดังนี้ บทที่ 1 บทน�ำ บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทที่ 3 บทเรียนและข้อสังเกตจากพัฒนาการของความร่วมมือในการสร้างประชาคม ยุโรป บทที่ 4 สู่ประชาคมความมั่นคงชั้นที่ 1 บทที่ 5 สู่ประชาคมความมั่นคงชั้นที่ 2 และการก้าวข้าม : โครงสร้าง บทที่ 6 สู่ประชาคมความมั่นคงชั้นที่ 2 : กระบวนการ บทที่ 7 กรณีศึกษา : การปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์และบทบาทด้านความมั่นคงของไทยกับ การเป็นประชาคมความมั่นคงชั้นที่ 2 บทที่ 8 สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย 1. เพื่อให้มีองค์ความรู้ที่กว้างขวางลึกซึ้งในเรื่องการรวมตัวระหว่างประเทศของอาเซียน และความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านความมั่นคง โดยการทบทวนวรรณกรรมอย่างกว้างขวาง
  • 8. 8 2. เพื่อให้สถาบัน หน่วยงานทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงสามารถน�ำไป ศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อประยุกต์ใช้ในการก�ำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องต่อไปได้ 3. เพื่อให้โลกทัศน์ที่กว้างขวางของการรวมตัวระหว่างประเทศเป็นประชาคมความ มั่นคงแก่บุคคลทั่วไป และเป็นประโยชน์ในการศึกษาความร่วมมือและการรวมตัวระหว่างประเทศ ท�ำให้ “พลเมืองอาเซียน” เข้าใจถึงความมุ่งหมายของการสร้างประชาคมที่ไปไกลกว่าเพียงแค่ เป็นประชาคมอาเซียนเท่านั้น อันจะเป็นทัศนะที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติได้มากกว่า