SlideShare a Scribd company logo
1
ครู : ผู้สร้างวันพรุ่งนี้
- ภารกิจร่วมของผู้สร้างวันพรุ่งนี้ -
บทน�ำ
หากจะตั้งค�ำถามว่า อะไรคือคุณสมบัติที่มีร่วมกันระหว่างโรงเรียนมหิดล
วิทยานุสรณ์ จ.นครปฐม ซึ่งเป็นโรงเรียนชื่อดังระดับชาติ ด้วยเป้ าหมายเฉพาะ
ในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์อย่างเข้มข้นให้แก่นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือก
มาแล้วจากทั่วประเทศ ว่ามีความสามารถโดดเด่นเป็นพิเศษทางวิทยาศาสตร์และ
คณิตศาสตร์ กับโรงเรียนรวมศูนย์วัดห้วยแก้ว จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก
ในชนบทห่างไกลนักเรียนส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาทั้งมีครูผู้สอนที่ส�ำเร็จการศึกษา
ตรงตามสาขาที่สอนอยู่ไม่ครบถ้วนเสียด้วยซํ้า ค�ำตอบเบื้องต้นที่ส�ำคัญประการหนึ่ง
ส�ำหรับค�ำถามนี้ก็คือ ทั้งสองโรงเรียนต่างเป็นโรงเรียนที่เคยได้รับพระราชทาน
รางวัลที่ชื่อว่า “บัณณาสสมโภช” จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม
ราชกุมารี มาแล้วถึง ๒ ครั้งเหมือน ๆ กัน
รางวัลบัณณาสสมโภช
2
ย้อนไปเมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๙ ในวันที่ ๑๐ มีนาคม ผู้แทนโรงเรียน ๒๕ แห่ง
จากทุกภูมิภาคของประเทศ รวมทั้งโรงเรียนทั้ง ๒ แห่งดังกล่าว ได้รับพระราชทาน
วโรกาสให้เข้าเฝ้ าฯ รับพระราชทานรางวัลบัณณาสสมโภช หรือ Princess Jubilee
Award ครั้งแรกเป็นปฐมฤกษ์ ณ อาคารชัยพัฒนา พระต�ำหนักจิตรลดารโหฐาน
ชื่อของรางวัลนี้มีความหมายว่า เป็นรางวัลที่สมโภชในโอกาสทรงเจริญ
พระชนมายุครบ ๕๐ พรรษา เป็นรางวัลที่คณะกรรมการโครงการโรงเรียนส่งเสริม
กิจกรรมวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ดีเด่นแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ขอ
พระราชทานไว้ตั้งแต่เมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๔ ส�ำหรับโรงเรียนที่ได้รับการประเมิน
และคัดเลือกว่าได้ด�ำเนินงานส่งเสริมกิจกรรมวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
จนเกิดผลดีเด่น โดยคณะกรรมการโครงการฯ ได้ก�ำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์
วิธีการสรรหาและคัดเลือกโรงเรียนตามแนวพระราชด�ำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ซึ่งมีสาระส�ำคัญคือ ให้ประเมินโรงเรียนตามพื้นฐานและบริบท
ที่แตกต่างกันของแต่ละโรงเรียน นั่นคือให้รางวัลนี้เป็นรางวัลส�ำหรับโรงเรียน
ที่ประสบความส�ำเร็จในการแข่งขันกับตนเองด้วยทรัพยากรที่มี
ภาพพระราชทาน ในพิธีพระราชทานรางวัลบัณณาสสมโภช ระยะที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๔
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๔
3
ครู : ผู้สร้างวันพรุ่งนี้
จากนั้นระหว่างพุทธศักราช ๒๕๔๖-๒๕๔๘ คณะอนุกรรมการโครงการฯ
ได้ด�ำเนินการคัดเลือกโรงเรียนที่มีคุณสมบัติดีเด่นจากจ�ำนวนประมาณ ๔๐๐ แห่ง
จนเหลือ ๒๕ แห่ง แล้วน�ำเสนอต่อคณะกรรมการโครงการฯ เพื่อน�ำขึ้นทูลเกล้าฯ
ขอพระราชทานพระราชวินิจฉัย กระทั่งผู้แทนโรงเรียนทั้ง ๒๕ แห่ง ได้เข้ารับ
พระราชทานรางวัลบัณณาสสมโภชครั้งแรกในพุทธศักราช ๒๕๔๙ ดังได้กล่าวไปแล้ว
ด้วยโครงการโรงเรียนส่งเสริมกิจกรรมวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ดีเด่น
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีเป้ าหมายที่จะด�ำเนินงานโครงการอย่างต่อเนื่อง
ทั้งเพื่อติดตามผลโรงเรียนที่ได้รับพระราชทานรางวัลไปแล้วให้มีการพัฒนา
ยิ่งขึ้นไปอีก กับเพื่อขยายผลเผยแพร่ตัวอย่างที่ดี เพื่อให้โรงเรียนอื่น ๆ น�ำไป
พิจารณาปรับใช้ ดังนั้น ระหว่างพุทธศักราช ๒๕๕๐-๒๕๕๓ โครงการฯ จึงได้
ด�ำเนินการกิจกรรมเพิ่มขีดความสามารถของโรงเรียนและครูผู้สอน ควบคู่กับ
การคัดเลือกโรงเรียนที่มีคุณสมบัติดีเด่น จนได้โรงเรียน ๓๓ แห่ง รวมทั้งโรงเรียน
ที่ยกมาเป็นตัวอย่างข้างต้นทั้ง ๒ โรงเรียน เข้ารับพระราชทานรางวัลบัณณาสสมโภช
ระยะที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔
แม้เราจะได้ค�ำตอบเบื้องต้นแล้วว่าสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันระหว่างโรงเรียน
มหิดลวิทยานุสรณ์ กับโรงเรียนรวมศูนย์วัดห้วยแก้วก็คือการได้รับพระราชทาน
รางวัลบัณณาสสมโภชมาแล้วถึง ๒ ครั้ง แต่ค�ำตอบนี้ก็ย่อมน�ำไปสู่ค�ำถามถัดไปว่า
แล้วอะไรล่ะ ? ที่เป็นสิ่งที่ทั้ง ๒ โรงเรียนนี้ได้ถือปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน
กระทั่งสามารถสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนที่สมควรแก่การยกย่องเชิดชู
ด้วยรางวัลพระราชทานอันทรงเกียรตินี้
ค�ำตอบที่สั้นที่สุดก็คือ ทั้ง ๒ โรงเรียน (รวมทั้งโรงเรียนอื่น ๆ ทุกแห่งที่ได้รับ
พระราชทานรางวัลเดียวกัน) ต่างก็ให้ความส�ำคัญอย่างจริงจังในการบริหารจัดการ
กระบวนการเรียนการสอนจากทรัพยากรที่มี เพื่อสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ด้วย “กระบวนการสืบเสาะหาความรู้”
ส�ำหรับผู้คนในแวดวงการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิทยาศาสตร์ศึกษาและ
คณิตศาสตร์ศึกษา องค์ความรู้เกี่ยวกับ “กระบวนการสืบเสาะหาความรู้” ย่อมมิใช่
เรื่องใหม่ ทั้งเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า การเรียนรู้ผ่านกระบวนการสืบเสาะหาความรู้
รางวัลบัณณาสสมโภช
4
จะช่วยหล่อหลอมสมรรถนะที่จ�ำเป็นอย่างยิ่งให้กับเยาวชนที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่
ในโลกยุคหน้า แต่ขณะเดียวกันผู้อยู่ในแวดวงการศึกษาก็ย่อมทราบดีเช่นกันว่า
การน�ำกระบวนการสืบเสาะหาความรู้มาใช้จริงในห้องเรียนให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นั้นมิใช่เรื่องง่าย หากเป็นความท้าทายอย่างยิ่งส�ำหรับแต่ละโรงเรียน
แง่คิดและประสบการณ์จากโรงเรียนรางวัลพระราชทาน “บัณณาสสมโภช”
แต่ละแห่ง โดยเฉพาะโรงเรียนในบริบทที่น่าจะไม่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน
ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากนัก จึงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านได้ว่า โรงเรียนเหล่านี้
เอาชนะความท้าทายต่างๆด้วยวิธีคิดและวิธีท�ำอย่างไรเพื่อว่าเราจะมีแนวร่วมใหม่ๆ
ในการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่ดีได้มากยิ่งกว่าเดิม
5
ครู : ผู้สร้างวันพรุ่งนี้
- ค�ำถามจากวันวาน สู่ค�ำถามถึงวันพรุ่งนี้ี้ -
บทที่ ๑
นับเป็นธรรมชาติของสังคมมนุษย์ยามเผชิญวิกฤติที่มักจะตามมาด้วย
คิดทบทวนส�ำรวจตนเอง เพื่อหาวิธีป้ องกันไม่ให้ต้องตกอยู่ในวิกฤตการณ์
เช่นที่เกิดขึ้นอีกในอนาคต และหากจะถามว่าเหตุการณ์ใดคือวิกฤตการณ์ครั้งส�ำคัญ
ของสังคมไทยยุคใหม่แล้ว ผู้คนจ�ำนวนมากต่างเห็นตรงกันว่า ปัญหาเศรษฐกิจ
ของประเทศเมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๐ นับเป็นเหตุวิกฤติร้ายแรง สร้างผลกระทบ
สู่ผู้คนในวงกว้าง น�ำมาซึ่งการทบทวนตนเองในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง
พุทธศักราช ๒๕๔๑ ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ร่วมกับ
ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ได้เผยแพร่เอกสารสมุดปกขาว “วิกฤตการณ์
วิทยาศาสตร์ศึกษาของไทย” มีเนื้อความแสดงถึงสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไข
นับเป็นเอกสารที่ฉายภาพความเป็นไปของวิทยาศาสตร์ศึกษา (ซึ่งหมายรวมถึง
คณิตศาสตร์ศึกษาด้วย) ของไทยในช่วงเวลาที่ประเทศเกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่
ได้อย่างชัดเจนทั้งยังน�ำเสนอได้อย่างมีสีสันยิ่ง
“... เป็นเรื่องน่าตกใจมากที่ประเทศไทยดูเหมือนว่าไม่ได้ให้ความส�ำคัญ
แก่วิทยาศาสตร์มากเท่าที่ควร การศึกษาส่วนใหญ่ยังคงเน้นที่การจดจ�ำเนื้อหา
มากกว่าการรู้จักมีความคิดเป็นของตนเอง แทนที่นักเรียนจะได้มีโอกาสสัมผัส
กับวิทยาศาสตร์ว่าเป็นการท่องเที่ยวไปในโลกของความอยากรู้อยากเห็น
โลกของการสัมผัส การทดลอง นักเรียนกลับถูกบังคับให้มองว่าวิทยาศาสตร์
เป็นวิชาที่น่าเบื่อหน่าย เป็นวิชาที่มีบทบาทแต่เพียงในห้องเรียนหรือห้องทดลองเท่านั้น
การเรียนวิทยาศาสตร์แบบนี้จึงไม่ต่างจากการเรียนวิชาโบราณเช่นโหราศาสตร์
เพราะโหราศาสตร์ไม่มีการพิสูจน์ทดลองว่าค�ำสอนหรือเนื้อหาของวิชานี้
เป็นจริงหรือไม่ อย่างไร การเรียนโหราศาสตร์เป็นการท่องจ�ำสูตรหรือกฎต่าง ๆ ว่า
รางวัลบัณณาสสมโภช
6
เมื่อดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่ในต�ำแหน่งนั้นต�ำแหน่งนี้ในดวงชะตาของบุคคลคนหนึ่ง
บุคคลผู้นั้นจะมีชีวิตแบบใด นักเรียนที่เรียนโหราศาสตร์ไม่เคยถูกท้าทายให้สงสัย
ว่าเหตุใดกฎต่าง ๆ ในวิชานี้จึงเป็นเช่นนั้น ... แต่สถานการณ์การเรียนวิทยาศาสตร์
ในโรงเรียนทั่ว ๆ ไปของประเทศ ก็ไม่ต่างจากการเรียนโหราศาสตร์เท่าใดนัก
นักเรียนมีสูตรหรือกฎต่างๆของวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆให้ท�ำความเข้าใจกับท่องจ�ำ
...นักเรียนต้องท่องจ�ำสูตรต่าง ๆ เหล่านี้ไปเพื่อไปท�ำข้อสอบ ซึ่งมีลักษณะเป็นการ
ประยุกต์กฎกับสูตรที่เรียนมาไปใช้ในการแก้ปัญหาเชิงกลไก ...ในเมื่อชีวิตประจ�ำวัน
ภายนอกห้องเรียนของนักเรียนจะหาปัญหาใด ๆ ที่มีสูตรส�ำเร็จเป็นกลไกอย่างนี้
ได้ยากมาก วิทยาศาสตร์ก็เลยเหินห่างจากความเป็นจริงมากเท่า ๆ กับโหราศาสตร์ ...
...ในสายตาของนักเรียน วิทยาศาสตร์ก็คือวิชาอีกวิชาหนึ่งที่มีต�ำราให้ท่อง
มี “เนื้อหาความรู้” ที่จะต้องจดจ�ำมี “กระบวนการแก้โจทย์” ซึ่งประกอบด้วยสูตร
หรือกฎหรือเทคนิคต่าง ๆ ที่จะต้องจ�ำเพื่อใช้ในการแก้โจทย์ การเรียนเช่นนี้
ไม่ท�ำให้นักเรียนเป็นนักวิทยาศาสตร์ขึ้นมาได้ เพราะวิทยาศาสตร์ที่แท้จริง
ประกอบไปด้วยการท่องเที่ยวไปในโลกแห่งปัญญา ความรู้สึกตื่นเต้นที่ได้ค้นพบอะไร
ด้วยตนเอง การตั้งค�ำถาม การสงสัยในสิ่งรอบตัว ความกระตือรือร้นในการหาค�ำตอบ
ของค�ำถามต่าง ๆ แต่ในการเรียนทั่ว ๆ ไปนั้น นักเรียนไม่ใคร่มีโอกาสในการถามค�ำถาม
จากความสงสัยของตนเองจริง ๆ แต่กลับถูกแรงกดดันของการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
7
ครู : ผู้สร้างวันพรุ่งนี้
มาเบียดบังความกระตือรือร้น อยากเข้าใจโลก ฯลฯ ให้เหือดแห้งไป และในหลาย
ต่อหลายคนก็เหือดแห้งไปตลอดชีวิตของเขา ...”
เอกสารสมุดปกขาวเล่มนี้ชี้ถึงผลลัพธ์ส�ำคัญจากสภาพการณ์ดังกล่าวเอาไว้ว่า
“...เป็นไปไม่ได้เลยที่คนไทยจะด�ำรงตนอยู่ในโลกสมัยนี้ได้อย่างมีความสุข
...สามารถปรับตัวเองเพื่อสามารถเอาตัวรอดได้ในสภาพแวดล้อมใหม่ ไม่เช่นนั้น
ชะตาชีวิตของคนไทยอาจไม่ต่างจากชีวิตของไดโนเสาร์ ที่ต้องสูญพันธุ์ไป
เพราะปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ไม่ได้ ...”
เนื้อความข้างต้นนี้คือสภาวการณ์และความคาดหมายเมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๑
ซึ่งเมื่อน�ำมาอ่านทบทวนอีกครั้งในวันนี้แล้ว เราก็น่าจะได้ถือโอกาสลองถามตัวเอง
กันดูว่า วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ศึกษาไทยส่วนใหญ่ในวันนี้ยังคงเป็นเช่น
เมื่อวันนั้นหรือไม่
นอกจากนั้น พวกเราในวันนี้ก็น่าจะลองตั้งค�ำถามกันต่อไปด้วยว่า ๑) “สภาพ
แวดล้อมใหม่” ดังที่สมุดปกขาวได้กล่าวถึงนั้น มีลักษณะส�ำคัญ ๆ อย่างไร และ
๒) สิ่งไหนบ้างเป็นคุณลักษณะที่เยาวชนในยุคของเราจะพึงมี เพื่อจะ “สามารถ
ปรับตัวเองเพื่อสามารถเอาตัวรอดได้ในสภาพแวดล้อมใหม่” เมื่อพวกเขาเติบโต
เป็นผู้ใหญ่ในวันพรุ่งนี้
รางวัลบัณณาสสมโภช
8
ดร.กุศลิน มุสิกุล นักวิชาการประจ�ำสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ให้ค�ำอธิบายสั้น ๆ แต่ชัดเจนส�ำหรับค�ำถามข้อแรกไว้ว่า
ยุคปัจจุบันซึ่งเรียกกันว่ายุคศตวรรษที่๒๑นั้นเป็นยุคที่เยาวชนทุกคนจะต้องเผชิญกับ
“การแข่งขัน” ในโลก “ยุคแห่งความรู้” (Knowledge-based) ซึ่งน�ำมาสู่ค�ำตอบ
ส�ำหรับค�ำถามข้อที่ ๒ ว่า “การรู้” (Literacy) ที่แต่ละคนจ�ำเป็นต้องมีนั้น ไม่ได้มี
ความหมายเพียงการอ่านออกเขียนได้ แต่หมายถึงการรู้ว่าจะใช้ความรู้และ
ทักษะอย่างไรในการจะด�ำรงชีวิตท่ามกลางบริบทของการแข่งขันที่สูงอย่างมีความสุข
ซึ่งการที่ประชาชนจะท�ำให้ทั้งตนเองและประเทศชาติสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้นั้น
แต่ละคนจ�ำเป็นจะต้องมี “ศักยภาพ” คือมีทั้งความรู้ ทักษะการคิด ทักษะการใช้ชีวิต
รวมถึงทักษะการแก้ปัญหาต่าง ๆ นั่นคือต้องประกอบคุณลักษณะส�ำคัญ ๆ
ที่หลากหลาย ทั้งการเป็นนักคิดวิเคราะห์ เป็นนักแก้ปัญหา เป็นนักสร้างสรรค์
เป็นผู้รู้จักใช้ข้อมูลและข่าวสารเป็นนักประสานความร่วมมือเป็นนักเรียนรู้ด้วยตนเอง
เป็นนักสื่อสาร รวมถึงเป็นผู้ตระหนักรับรู้สภาวะของโลก
ต่อประเด็นเดียวกันนี้ ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ หารหนองบัว คณบดี
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้สรุปสาระส�ำคัญเอาไว้อย่างกระชับ
และชัดเจนว่า “... ทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ (21th Century Skill) ... เพื่อให้เห็น
แนวทางที่จะน�ำไปปฏิบัติได้จริง และเหมาะสมกับบริบทไทย จึงเสนอแนวคิดรวบยอด
โดยการสอนมุ่งเพียง ๒ ทักษะ คือ ทักษะการสรุปและการวิจารณ์
การสรุป : จะสรุปได้ ผู้เรียนต้องเข้าใจแก่นของเนื้อหาและจับประเด็นหลัก-
ประเด็นรองได้ และต้องมีความสามารถในการถ่ายทอด (สื่อสาร) โดยเน้นการสรุป
ทั้งในรูปของการพูด (เช่น ให้สรุปใน ๒ นาที หรือ ๓๐ นาที) หรือในรูปของการเขียน
(เช่น สรุปเพียง ๓ บรรทัดหรือ ๑ หน้า)
การวิจารณ์ : จะวิจารณ์ได้ ผู้เรียนต้องเข้าใจเนื้อหาที่เรียน ต้องรู้กว้าง
หรือศึกษาเพิ่มเติม จนสามารถเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของเนื้อหาที่เรียน
ว่ามีความเกี่ยวข้อง สอดคล้อง หรือขัดแย้งกับเนื้อหาอื่นอย่างไร ...”
นักการศึกษาล้วนทราบกันดีอยู่แล้วว่าแม้การเรียนการสอนในทุกวิชาล้วนสามารถ
ปลูกฝังคุณลักษณะดังกล่าวนี้สู่ผู้เรียน เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพได้ก็ตาม
9
ครู : ผู้สร้างวันพรุ่งนี้
แต่กระบวนการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้มีความเหมาะสม
ต่อการปลูกฝังคุณลักษณะทั้งหมดได้มากกว่าวิชาใด ๆ
เมื่อพุทธศักราช ๒๕๕๔ ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถ
ในการแข่งขันของประเทศ ในสังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ ได้จัดท�ำเอกสาร “ยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถ
ในการแข่งขันของประเทศไทยในระยะยาว” น�ำออกเผยแพร่ มีเนื้อหาตอนหนึ่ง
ระบุถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความส�ำคัญต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ของประเทศในระยะยาวว่าปัจจัยทั้งหลาย“ยังคงมีประสิทธิภาพตํ่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ศักยภาพของคน ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความสามารถ
ด้านการบริหารจัดการ และบริการโครงสร้างพื้นฐานที่ยังมีคุณภาพไม่ดีพอ”
ซึ่งเห็นได้ว่า ในปัจจัยส�ำคัญ ๔ ประการ ที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ของประเทศในระยะยาว แต่ยังคงมีประสิทธิภาพตํ่านั้น มีถึง ๒ ด้านหรือครึ่งต่อครึ่ง
ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
ถ้ามองในมุมกลับก็น่าจะแปลความหมายได้ว่า การพัฒนาคุณภาพการเรียน
การสอนวิชาวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ สามารถช่วยเพิ่มขีดความสามารถ
ในการแข่งขันของประเทศได้ถึงครึ่งหนึ่ง จากปัจจัยส�ำคัญทั้งหมดที่จ�ำเป็น
รางวัลบัณณาสสมโภช
10
การเตรียมคนรุ่นใหม่ให้พร้อมจะเผชิญกับโลกของการแข่งขันในอนาคต
ไม่ใช่ประเด็นส�ำคัญเฉพาะส�ำหรับสังคมไทยเท่านั้น เพราะแม้แต่ประเทศมหาอ�ำนาจ
ทางเศรษฐกิจอย่างสหรัฐอเมริกาก็ก�ำลังให้ความส�ำคัญอย่างยิ่งยวดต่อเรื่องนี้
โดยตั้งแต่ต้นพุทธศักราช ๒๕๕๕ ประธานาธิบดีบารัก โอบามาได้ประกาศขับเคลื่อน
ปฏิบัติการ “Educate to Innovate” ซึ่งอาจเรียกแบบไทย ๆ ได้ว่า “การศึกษา
เพื่อสร้างนวัตกรรม” เพื่อยกระดับความสนใจและผลสัมฤทธิ์ในวิชาที่เรียกสั้น ๆ ว่า
STEM ซึ่งคือการบูรณาการของ Science, Technology, Engineering และ
Mathematics โดยระดมความร่วมมือจากทั้งกลไก รัฐบาล บริษัทเอกชนชั้นน�ำ
องค์กรพัฒนาเอกชน รวมถึงประชาคมด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์
เพื่อร่วมกันส่งเสริมการศึกษาวิชาทั้งสี่ดังกล่าวในระดับโรงเรียน การขับเคลื่อน
ปฏิบัติการนี้ มีที่มาจากสัญญาณหลายประการที่บ่งชี้ถึงความจ�ำเป็ นว่า
เด็กนักเรียนอเมริกันจะต้องมีการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้ดีกว่า
ที่เป็นอยู่ โดยประธานาธิบดีโอบามาได้กล่าวต่อสาธารณชนไว้ว่า การพัฒนาวิชา
กลุ่ม STEM นี้เป็นปัจจัยที่ส�ำคัญยิ่งส�ำหรับการธ�ำรงและเพิ่มพูนขีดความสามารถ
ในการแข่งขันของสหรัฐอเมริกาในโลกยุคหน้า ที่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
จะตัดสินกันที่ “ความคิดใหม่ ๆ ที่น�ำไปสู่นวัตกรรม”
11
ครู : ผู้สร้างวันพรุ่งนี้
แนวคิดการศึกษาแบบ STEM แพร่หลายสู่นานาประเทศอย่างรวดเร็ว
โดยบางประเทศเช่นเกาหลีใต้ก็เห็นว่าน่าจะต้องเพิ่มเติม A หรือ Art เข้าไปด้วย
คือเป็นSTEAMโดยเชื่อว่าจะมีประสิทธิภาพยิ่งกว่าส�ำหรับประเทศไทยก็ก�ำลังตื่นตัว
กับการแสวงหาแนวทางจัดการศึกษาแบบ STEM ด้วยเช่นเดียวกัน
เมื่อแนวโน้มของโลกเป็นเช่นนี้ความท้าทายแห่งยุคสมัยส�ำหรับสังคมไทย
จึงน่าจะอยู่ที่ว่า แม้ว่าแวดวงวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ศึกษาของไทยจะรู้จัก
วิธีการสอนที่ดีมีคุณภาพสามารถสร้างสมรรถนะแก่ผู้เรียนโดยใช้ “กระบวนการเรียนรู้
แบบสืบเสาะหาความรู้” มาแล้วถึง ๔๐ ปี คือพร้อม ๆ กับการก่อตั้งสถาบันส่งเสริม
การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๕ ก็ตาม แต่จะท�ำอย่างไร
กระบวนการเรียนรู้แบบนี้จึงจะถูกน�ำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้มากขึ้น
กว่าที่แล้วๆมาเพื่อที่การเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์จะไม่มีลักษณะเช่นเดียวกับ
การเรียนวิชาโหราศาสตร์ และชั้นเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์จะท�ำหน้าที่
หล่อหลอมเยาวชนไทยที่มีสมรรถนะสูง ส�ำหรับเติบโตไปขับเคลื่อนสังคมไทย
ในวันพรุ่งนี้ได้อย่างที่ควรจะเป็น

More Related Content

Similar to 9789740333517

การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงาน
การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงานการพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงาน
การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงานteacherhistory
 
ชื่อผลงานวิจัย พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะค...
ชื่อผลงานวิจัย 	พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะค...ชื่อผลงานวิจัย 	พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะค...
ชื่อผลงานวิจัย พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะค...
nattasorn kamonmal
 
ระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยtyehh
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
Kobwit Piriyawat
 
รายงานการสังเคราะห์ กลยุทธ์ 2
รายงานการสังเคราะห์ กลยุทธ์ 2รายงานการสังเคราะห์ กลยุทธ์ 2
รายงานการสังเคราะห์ กลยุทธ์ 2prsaowalak
 
วิจัยทางการศึกษา
วิจัยทางการศึกษาวิจัยทางการศึกษา
วิจัยทางการศึกษา
วีณา มั่นน้อย
 
วิจัยพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้ และจ...
วิจัยพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้ และจ...วิจัยพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้ และจ...
วิจัยพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้ และจ...
พรทิพย์ สิงหรา
 
ระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยtyehh
 
Stem แนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนสาขา science,...
Stem แนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนสาขา science,...Stem แนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนสาขา science,...
Stem แนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนสาขา science,...
สอบครูดอทคอม เว็บเตรียมสอบ
 
แนวทางปฏิรูปด้านการศึกษาของไทย
แนวทางปฏิรูปด้านการศึกษาของไทยแนวทางปฏิรูปด้านการศึกษาของไทย
แนวทางปฏิรูปด้านการศึกษาของไทย
Klangpanya
 
สถานการณ ป ญหาบทท__ 4
สถานการณ ป ญหาบทท__ 4สถานการณ ป ญหาบทท__ 4
สถานการณ ป ญหาบทท__ 4Tiger Saraprung
 
วารสารออนไลน์
วารสารออนไลน์วารสารออนไลน์
วารสารออนไลน์
สพป.นว.1
 
EDK2BNPPchapter2
EDK2BNPPchapter2EDK2BNPPchapter2
EDK2BNPPchapter2
edk2bn
 
การศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอน
การศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอนการศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอน
การศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอน
benjaluk_r
 
การศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอน
การศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอนการศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอน
การศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอน
benjaluk_r
 
2เอกสารประกอบการนำเสนอ
2เอกสารประกอบการนำเสนอ2เอกสารประกอบการนำเสนอ
2เอกสารประกอบการนำเสนอkrupornpana55
 
ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการจัดการเรียนการ
ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการจัดการเรียนการทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการจัดการเรียนการ
ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการจัดการเรียนการkhamnueng_1
 
วิถีสร้าง การเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21
วิถีสร้าง การเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21วิถีสร้าง การเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21
วิถีสร้าง การเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21
Patcha Linsay
 

Similar to 9789740333517 (20)

การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงาน
การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงานการพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงาน
การพัฒนาการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ โครงงาน
 
ชื่อผลงานวิจัย พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะค...
ชื่อผลงานวิจัย 	พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะค...ชื่อผลงานวิจัย 	พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะค...
ชื่อผลงานวิจัย พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะค...
 
ระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วย
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
 
รายงานการสังเคราะห์ กลยุทธ์ 2
รายงานการสังเคราะห์ กลยุทธ์ 2รายงานการสังเคราะห์ กลยุทธ์ 2
รายงานการสังเคราะห์ กลยุทธ์ 2
 
วิจัยทางการศึกษา
วิจัยทางการศึกษาวิจัยทางการศึกษา
วิจัยทางการศึกษา
 
วิจัยพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้ และจ...
วิจัยพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้ และจ...วิจัยพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้ และจ...
วิจัยพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้ และจ...
 
ระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วย
 
Stem แนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนสาขา science,...
Stem แนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนสาขา science,...Stem แนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนสาขา science,...
Stem แนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนสาขา science,...
 
11
1111
11
 
แนวทางปฏิรูปด้านการศึกษาของไทย
แนวทางปฏิรูปด้านการศึกษาของไทยแนวทางปฏิรูปด้านการศึกษาของไทย
แนวทางปฏิรูปด้านการศึกษาของไทย
 
สถานการณ ป ญหาบทท__ 4
สถานการณ ป ญหาบทท__ 4สถานการณ ป ญหาบทท__ 4
สถานการณ ป ญหาบทท__ 4
 
วารสารออนไลน์
วารสารออนไลน์วารสารออนไลน์
วารสารออนไลน์
 
EDK2BNPPchapter2
EDK2BNPPchapter2EDK2BNPPchapter2
EDK2BNPPchapter2
 
การศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอน
การศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอนการศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอน
การศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอน
 
การศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอน
การศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอนการศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอน
การศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอน
 
2เอกสารประกอบการนำเสนอ
2เอกสารประกอบการนำเสนอ2เอกสารประกอบการนำเสนอ
2เอกสารประกอบการนำเสนอ
 
ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการจัดการเรียนการ
ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการจัดการเรียนการทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการจัดการเรียนการ
ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการจัดการเรียนการ
 
Learn c21
Learn c21Learn c21
Learn c21
 
วิถีสร้าง การเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21
วิถีสร้าง การเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21วิถีสร้าง การเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21
วิถีสร้าง การเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21
 

More from CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
CUPress
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

Recently uploaded

กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
Postharvest Technology Innovation Center
 
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
SweetdelMelon
 
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
NuttavutThongjor1
 
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdfRecap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
NuttavutThongjor1
 
Next.js web development.pdfNext.js web development.pdfNext.js web development...
Next.js web development.pdfNext.js web development.pdfNext.js web development...Next.js web development.pdfNext.js web development.pdfNext.js web development...
Next.js web development.pdfNext.js web development.pdfNext.js web development...
NuttavutThongjor1
 
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกันbio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
CholapruekSangkamane1
 
โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.pptโรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
pakpoomounhalekjit
 

Recently uploaded (7)

กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
กำหนดการ “การประชุมวิชาการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวแห่งชาติ ครั้งที่ 21”
 
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
โครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิตโครงงานคณิต...
 
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
Fullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack Nest.js and Next.js.pdfFullstack N...
 
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdfRecap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
Recap JavaScript and TypeScript.pdf Recap JavaScript and TypeScript.pdf
 
Next.js web development.pdfNext.js web development.pdfNext.js web development...
Next.js web development.pdfNext.js web development.pdfNext.js web development...Next.js web development.pdfNext.js web development.pdfNext.js web development...
Next.js web development.pdfNext.js web development.pdfNext.js web development...
 
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกันbio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
bio62สอวน.ชีววิทยา-ชีววิทยาปี62-ข้อสอบแข่งกัน
 
โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.pptโรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
โรคทางพันธุกรรมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม.ppt
 

9789740333517

  • 1. 1 ครู : ผู้สร้างวันพรุ่งนี้ - ภารกิจร่วมของผู้สร้างวันพรุ่งนี้ - บทน�ำ หากจะตั้งค�ำถามว่า อะไรคือคุณสมบัติที่มีร่วมกันระหว่างโรงเรียนมหิดล วิทยานุสรณ์ จ.นครปฐม ซึ่งเป็นโรงเรียนชื่อดังระดับชาติ ด้วยเป้ าหมายเฉพาะ ในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์อย่างเข้มข้นให้แก่นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือก มาแล้วจากทั่วประเทศ ว่ามีความสามารถโดดเด่นเป็นพิเศษทางวิทยาศาสตร์และ คณิตศาสตร์ กับโรงเรียนรวมศูนย์วัดห้วยแก้ว จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ในชนบทห่างไกลนักเรียนส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขาทั้งมีครูผู้สอนที่ส�ำเร็จการศึกษา ตรงตามสาขาที่สอนอยู่ไม่ครบถ้วนเสียด้วยซํ้า ค�ำตอบเบื้องต้นที่ส�ำคัญประการหนึ่ง ส�ำหรับค�ำถามนี้ก็คือ ทั้งสองโรงเรียนต่างเป็นโรงเรียนที่เคยได้รับพระราชทาน รางวัลที่ชื่อว่า “บัณณาสสมโภช” จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี มาแล้วถึง ๒ ครั้งเหมือน ๆ กัน
  • 2. รางวัลบัณณาสสมโภช 2 ย้อนไปเมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๙ ในวันที่ ๑๐ มีนาคม ผู้แทนโรงเรียน ๒๕ แห่ง จากทุกภูมิภาคของประเทศ รวมทั้งโรงเรียนทั้ง ๒ แห่งดังกล่าว ได้รับพระราชทาน วโรกาสให้เข้าเฝ้ าฯ รับพระราชทานรางวัลบัณณาสสมโภช หรือ Princess Jubilee Award ครั้งแรกเป็นปฐมฤกษ์ ณ อาคารชัยพัฒนา พระต�ำหนักจิตรลดารโหฐาน ชื่อของรางวัลนี้มีความหมายว่า เป็นรางวัลที่สมโภชในโอกาสทรงเจริญ พระชนมายุครบ ๕๐ พรรษา เป็นรางวัลที่คณะกรรมการโครงการโรงเรียนส่งเสริม กิจกรรมวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ดีเด่นแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ขอ พระราชทานไว้ตั้งแต่เมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๔ ส�ำหรับโรงเรียนที่ได้รับการประเมิน และคัดเลือกว่าได้ด�ำเนินงานส่งเสริมกิจกรรมวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จนเกิดผลดีเด่น โดยคณะกรรมการโครงการฯ ได้ก�ำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหาและคัดเลือกโรงเรียนตามแนวพระราชด�ำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งมีสาระส�ำคัญคือ ให้ประเมินโรงเรียนตามพื้นฐานและบริบท ที่แตกต่างกันของแต่ละโรงเรียน นั่นคือให้รางวัลนี้เป็นรางวัลส�ำหรับโรงเรียน ที่ประสบความส�ำเร็จในการแข่งขันกับตนเองด้วยทรัพยากรที่มี ภาพพระราชทาน ในพิธีพระราชทานรางวัลบัณณาสสมโภช ระยะที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๔
  • 3. 3 ครู : ผู้สร้างวันพรุ่งนี้ จากนั้นระหว่างพุทธศักราช ๒๕๔๖-๒๕๔๘ คณะอนุกรรมการโครงการฯ ได้ด�ำเนินการคัดเลือกโรงเรียนที่มีคุณสมบัติดีเด่นจากจ�ำนวนประมาณ ๔๐๐ แห่ง จนเหลือ ๒๕ แห่ง แล้วน�ำเสนอต่อคณะกรรมการโครงการฯ เพื่อน�ำขึ้นทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานพระราชวินิจฉัย กระทั่งผู้แทนโรงเรียนทั้ง ๒๕ แห่ง ได้เข้ารับ พระราชทานรางวัลบัณณาสสมโภชครั้งแรกในพุทธศักราช ๒๕๔๙ ดังได้กล่าวไปแล้ว ด้วยโครงการโรงเรียนส่งเสริมกิจกรรมวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ดีเด่น แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีเป้ าหมายที่จะด�ำเนินงานโครงการอย่างต่อเนื่อง ทั้งเพื่อติดตามผลโรงเรียนที่ได้รับพระราชทานรางวัลไปแล้วให้มีการพัฒนา ยิ่งขึ้นไปอีก กับเพื่อขยายผลเผยแพร่ตัวอย่างที่ดี เพื่อให้โรงเรียนอื่น ๆ น�ำไป พิจารณาปรับใช้ ดังนั้น ระหว่างพุทธศักราช ๒๕๕๐-๒๕๕๓ โครงการฯ จึงได้ ด�ำเนินการกิจกรรมเพิ่มขีดความสามารถของโรงเรียนและครูผู้สอน ควบคู่กับ การคัดเลือกโรงเรียนที่มีคุณสมบัติดีเด่น จนได้โรงเรียน ๓๓ แห่ง รวมทั้งโรงเรียน ที่ยกมาเป็นตัวอย่างข้างต้นทั้ง ๒ โรงเรียน เข้ารับพระราชทานรางวัลบัณณาสสมโภช ระยะที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๔ แม้เราจะได้ค�ำตอบเบื้องต้นแล้วว่าสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันระหว่างโรงเรียน มหิดลวิทยานุสรณ์ กับโรงเรียนรวมศูนย์วัดห้วยแก้วก็คือการได้รับพระราชทาน รางวัลบัณณาสสมโภชมาแล้วถึง ๒ ครั้ง แต่ค�ำตอบนี้ก็ย่อมน�ำไปสู่ค�ำถามถัดไปว่า แล้วอะไรล่ะ ? ที่เป็นสิ่งที่ทั้ง ๒ โรงเรียนนี้ได้ถือปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน กระทั่งสามารถสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนที่สมควรแก่การยกย่องเชิดชู ด้วยรางวัลพระราชทานอันทรงเกียรตินี้ ค�ำตอบที่สั้นที่สุดก็คือ ทั้ง ๒ โรงเรียน (รวมทั้งโรงเรียนอื่น ๆ ทุกแห่งที่ได้รับ พระราชทานรางวัลเดียวกัน) ต่างก็ให้ความส�ำคัญอย่างจริงจังในการบริหารจัดการ กระบวนการเรียนการสอนจากทรัพยากรที่มี เพื่อสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ด้วย “กระบวนการสืบเสาะหาความรู้” ส�ำหรับผู้คนในแวดวงการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิทยาศาสตร์ศึกษาและ คณิตศาสตร์ศึกษา องค์ความรู้เกี่ยวกับ “กระบวนการสืบเสาะหาความรู้” ย่อมมิใช่ เรื่องใหม่ ทั้งเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า การเรียนรู้ผ่านกระบวนการสืบเสาะหาความรู้
  • 4. รางวัลบัณณาสสมโภช 4 จะช่วยหล่อหลอมสมรรถนะที่จ�ำเป็นอย่างยิ่งให้กับเยาวชนที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ในโลกยุคหน้า แต่ขณะเดียวกันผู้อยู่ในแวดวงการศึกษาก็ย่อมทราบดีเช่นกันว่า การน�ำกระบวนการสืบเสาะหาความรู้มาใช้จริงในห้องเรียนให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั้นมิใช่เรื่องง่าย หากเป็นความท้าทายอย่างยิ่งส�ำหรับแต่ละโรงเรียน แง่คิดและประสบการณ์จากโรงเรียนรางวัลพระราชทาน “บัณณาสสมโภช” แต่ละแห่ง โดยเฉพาะโรงเรียนในบริบทที่น่าจะไม่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากนัก จึงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านได้ว่า โรงเรียนเหล่านี้ เอาชนะความท้าทายต่างๆด้วยวิธีคิดและวิธีท�ำอย่างไรเพื่อว่าเราจะมีแนวร่วมใหม่ๆ ในการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ที่ดีได้มากยิ่งกว่าเดิม
  • 5. 5 ครู : ผู้สร้างวันพรุ่งนี้ - ค�ำถามจากวันวาน สู่ค�ำถามถึงวันพรุ่งนี้ี้ - บทที่ ๑ นับเป็นธรรมชาติของสังคมมนุษย์ยามเผชิญวิกฤติที่มักจะตามมาด้วย คิดทบทวนส�ำรวจตนเอง เพื่อหาวิธีป้ องกันไม่ให้ต้องตกอยู่ในวิกฤตการณ์ เช่นที่เกิดขึ้นอีกในอนาคต และหากจะถามว่าเหตุการณ์ใดคือวิกฤตการณ์ครั้งส�ำคัญ ของสังคมไทยยุคใหม่แล้ว ผู้คนจ�ำนวนมากต่างเห็นตรงกันว่า ปัญหาเศรษฐกิจ ของประเทศเมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๐ นับเป็นเหตุวิกฤติร้ายแรง สร้างผลกระทบ สู่ผู้คนในวงกว้าง น�ำมาซึ่งการทบทวนตนเองในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง พุทธศักราช ๒๕๔๑ ส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ร่วมกับ ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ได้เผยแพร่เอกสารสมุดปกขาว “วิกฤตการณ์ วิทยาศาสตร์ศึกษาของไทย” มีเนื้อความแสดงถึงสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไข นับเป็นเอกสารที่ฉายภาพความเป็นไปของวิทยาศาสตร์ศึกษา (ซึ่งหมายรวมถึง คณิตศาสตร์ศึกษาด้วย) ของไทยในช่วงเวลาที่ประเทศเกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ได้อย่างชัดเจนทั้งยังน�ำเสนอได้อย่างมีสีสันยิ่ง “... เป็นเรื่องน่าตกใจมากที่ประเทศไทยดูเหมือนว่าไม่ได้ให้ความส�ำคัญ แก่วิทยาศาสตร์มากเท่าที่ควร การศึกษาส่วนใหญ่ยังคงเน้นที่การจดจ�ำเนื้อหา มากกว่าการรู้จักมีความคิดเป็นของตนเอง แทนที่นักเรียนจะได้มีโอกาสสัมผัส กับวิทยาศาสตร์ว่าเป็นการท่องเที่ยวไปในโลกของความอยากรู้อยากเห็น โลกของการสัมผัส การทดลอง นักเรียนกลับถูกบังคับให้มองว่าวิทยาศาสตร์ เป็นวิชาที่น่าเบื่อหน่าย เป็นวิชาที่มีบทบาทแต่เพียงในห้องเรียนหรือห้องทดลองเท่านั้น การเรียนวิทยาศาสตร์แบบนี้จึงไม่ต่างจากการเรียนวิชาโบราณเช่นโหราศาสตร์ เพราะโหราศาสตร์ไม่มีการพิสูจน์ทดลองว่าค�ำสอนหรือเนื้อหาของวิชานี้ เป็นจริงหรือไม่ อย่างไร การเรียนโหราศาสตร์เป็นการท่องจ�ำสูตรหรือกฎต่าง ๆ ว่า
  • 6. รางวัลบัณณาสสมโภช 6 เมื่อดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่ในต�ำแหน่งนั้นต�ำแหน่งนี้ในดวงชะตาของบุคคลคนหนึ่ง บุคคลผู้นั้นจะมีชีวิตแบบใด นักเรียนที่เรียนโหราศาสตร์ไม่เคยถูกท้าทายให้สงสัย ว่าเหตุใดกฎต่าง ๆ ในวิชานี้จึงเป็นเช่นนั้น ... แต่สถานการณ์การเรียนวิทยาศาสตร์ ในโรงเรียนทั่ว ๆ ไปของประเทศ ก็ไม่ต่างจากการเรียนโหราศาสตร์เท่าใดนัก นักเรียนมีสูตรหรือกฎต่างๆของวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆให้ท�ำความเข้าใจกับท่องจ�ำ ...นักเรียนต้องท่องจ�ำสูตรต่าง ๆ เหล่านี้ไปเพื่อไปท�ำข้อสอบ ซึ่งมีลักษณะเป็นการ ประยุกต์กฎกับสูตรที่เรียนมาไปใช้ในการแก้ปัญหาเชิงกลไก ...ในเมื่อชีวิตประจ�ำวัน ภายนอกห้องเรียนของนักเรียนจะหาปัญหาใด ๆ ที่มีสูตรส�ำเร็จเป็นกลไกอย่างนี้ ได้ยากมาก วิทยาศาสตร์ก็เลยเหินห่างจากความเป็นจริงมากเท่า ๆ กับโหราศาสตร์ ... ...ในสายตาของนักเรียน วิทยาศาสตร์ก็คือวิชาอีกวิชาหนึ่งที่มีต�ำราให้ท่อง มี “เนื้อหาความรู้” ที่จะต้องจดจ�ำมี “กระบวนการแก้โจทย์” ซึ่งประกอบด้วยสูตร หรือกฎหรือเทคนิคต่าง ๆ ที่จะต้องจ�ำเพื่อใช้ในการแก้โจทย์ การเรียนเช่นนี้ ไม่ท�ำให้นักเรียนเป็นนักวิทยาศาสตร์ขึ้นมาได้ เพราะวิทยาศาสตร์ที่แท้จริง ประกอบไปด้วยการท่องเที่ยวไปในโลกแห่งปัญญา ความรู้สึกตื่นเต้นที่ได้ค้นพบอะไร ด้วยตนเอง การตั้งค�ำถาม การสงสัยในสิ่งรอบตัว ความกระตือรือร้นในการหาค�ำตอบ ของค�ำถามต่าง ๆ แต่ในการเรียนทั่ว ๆ ไปนั้น นักเรียนไม่ใคร่มีโอกาสในการถามค�ำถาม จากความสงสัยของตนเองจริง ๆ แต่กลับถูกแรงกดดันของการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
  • 7. 7 ครู : ผู้สร้างวันพรุ่งนี้ มาเบียดบังความกระตือรือร้น อยากเข้าใจโลก ฯลฯ ให้เหือดแห้งไป และในหลาย ต่อหลายคนก็เหือดแห้งไปตลอดชีวิตของเขา ...” เอกสารสมุดปกขาวเล่มนี้ชี้ถึงผลลัพธ์ส�ำคัญจากสภาพการณ์ดังกล่าวเอาไว้ว่า “...เป็นไปไม่ได้เลยที่คนไทยจะด�ำรงตนอยู่ในโลกสมัยนี้ได้อย่างมีความสุข ...สามารถปรับตัวเองเพื่อสามารถเอาตัวรอดได้ในสภาพแวดล้อมใหม่ ไม่เช่นนั้น ชะตาชีวิตของคนไทยอาจไม่ต่างจากชีวิตของไดโนเสาร์ ที่ต้องสูญพันธุ์ไป เพราะปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ไม่ได้ ...” เนื้อความข้างต้นนี้คือสภาวการณ์และความคาดหมายเมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๑ ซึ่งเมื่อน�ำมาอ่านทบทวนอีกครั้งในวันนี้แล้ว เราก็น่าจะได้ถือโอกาสลองถามตัวเอง กันดูว่า วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ศึกษาไทยส่วนใหญ่ในวันนี้ยังคงเป็นเช่น เมื่อวันนั้นหรือไม่ นอกจากนั้น พวกเราในวันนี้ก็น่าจะลองตั้งค�ำถามกันต่อไปด้วยว่า ๑) “สภาพ แวดล้อมใหม่” ดังที่สมุดปกขาวได้กล่าวถึงนั้น มีลักษณะส�ำคัญ ๆ อย่างไร และ ๒) สิ่งไหนบ้างเป็นคุณลักษณะที่เยาวชนในยุคของเราจะพึงมี เพื่อจะ “สามารถ ปรับตัวเองเพื่อสามารถเอาตัวรอดได้ในสภาพแวดล้อมใหม่” เมื่อพวกเขาเติบโต เป็นผู้ใหญ่ในวันพรุ่งนี้
  • 8. รางวัลบัณณาสสมโภช 8 ดร.กุศลิน มุสิกุล นักวิชาการประจ�ำสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ให้ค�ำอธิบายสั้น ๆ แต่ชัดเจนส�ำหรับค�ำถามข้อแรกไว้ว่า ยุคปัจจุบันซึ่งเรียกกันว่ายุคศตวรรษที่๒๑นั้นเป็นยุคที่เยาวชนทุกคนจะต้องเผชิญกับ “การแข่งขัน” ในโลก “ยุคแห่งความรู้” (Knowledge-based) ซึ่งน�ำมาสู่ค�ำตอบ ส�ำหรับค�ำถามข้อที่ ๒ ว่า “การรู้” (Literacy) ที่แต่ละคนจ�ำเป็นต้องมีนั้น ไม่ได้มี ความหมายเพียงการอ่านออกเขียนได้ แต่หมายถึงการรู้ว่าจะใช้ความรู้และ ทักษะอย่างไรในการจะด�ำรงชีวิตท่ามกลางบริบทของการแข่งขันที่สูงอย่างมีความสุข ซึ่งการที่ประชาชนจะท�ำให้ทั้งตนเองและประเทศชาติสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้นั้น แต่ละคนจ�ำเป็นจะต้องมี “ศักยภาพ” คือมีทั้งความรู้ ทักษะการคิด ทักษะการใช้ชีวิต รวมถึงทักษะการแก้ปัญหาต่าง ๆ นั่นคือต้องประกอบคุณลักษณะส�ำคัญ ๆ ที่หลากหลาย ทั้งการเป็นนักคิดวิเคราะห์ เป็นนักแก้ปัญหา เป็นนักสร้างสรรค์ เป็นผู้รู้จักใช้ข้อมูลและข่าวสารเป็นนักประสานความร่วมมือเป็นนักเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นนักสื่อสาร รวมถึงเป็นผู้ตระหนักรับรู้สภาวะของโลก ต่อประเด็นเดียวกันนี้ ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ หารหนองบัว คณบดี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้สรุปสาระส�ำคัญเอาไว้อย่างกระชับ และชัดเจนว่า “... ทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ (21th Century Skill) ... เพื่อให้เห็น แนวทางที่จะน�ำไปปฏิบัติได้จริง และเหมาะสมกับบริบทไทย จึงเสนอแนวคิดรวบยอด โดยการสอนมุ่งเพียง ๒ ทักษะ คือ ทักษะการสรุปและการวิจารณ์ การสรุป : จะสรุปได้ ผู้เรียนต้องเข้าใจแก่นของเนื้อหาและจับประเด็นหลัก- ประเด็นรองได้ และต้องมีความสามารถในการถ่ายทอด (สื่อสาร) โดยเน้นการสรุป ทั้งในรูปของการพูด (เช่น ให้สรุปใน ๒ นาที หรือ ๓๐ นาที) หรือในรูปของการเขียน (เช่น สรุปเพียง ๓ บรรทัดหรือ ๑ หน้า) การวิจารณ์ : จะวิจารณ์ได้ ผู้เรียนต้องเข้าใจเนื้อหาที่เรียน ต้องรู้กว้าง หรือศึกษาเพิ่มเติม จนสามารถเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของเนื้อหาที่เรียน ว่ามีความเกี่ยวข้อง สอดคล้อง หรือขัดแย้งกับเนื้อหาอื่นอย่างไร ...” นักการศึกษาล้วนทราบกันดีอยู่แล้วว่าแม้การเรียนการสอนในทุกวิชาล้วนสามารถ ปลูกฝังคุณลักษณะดังกล่าวนี้สู่ผู้เรียน เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพได้ก็ตาม
  • 9. 9 ครู : ผู้สร้างวันพรุ่งนี้ แต่กระบวนการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้มีความเหมาะสม ต่อการปลูกฝังคุณลักษณะทั้งหมดได้มากกว่าวิชาใด ๆ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๕๔ ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ ในสังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ได้จัดท�ำเอกสาร “ยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศไทยในระยะยาว” น�ำออกเผยแพร่ มีเนื้อหาตอนหนึ่ง ระบุถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความส�ำคัญต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศในระยะยาวว่าปัจจัยทั้งหลาย“ยังคงมีประสิทธิภาพตํ่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศักยภาพของคน ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความสามารถ ด้านการบริหารจัดการ และบริการโครงสร้างพื้นฐานที่ยังมีคุณภาพไม่ดีพอ” ซึ่งเห็นได้ว่า ในปัจจัยส�ำคัญ ๔ ประการ ที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศในระยะยาว แต่ยังคงมีประสิทธิภาพตํ่านั้น มีถึง ๒ ด้านหรือครึ่งต่อครึ่ง ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ถ้ามองในมุมกลับก็น่าจะแปลความหมายได้ว่า การพัฒนาคุณภาพการเรียน การสอนวิชาวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ สามารถช่วยเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศได้ถึงครึ่งหนึ่ง จากปัจจัยส�ำคัญทั้งหมดที่จ�ำเป็น
  • 10. รางวัลบัณณาสสมโภช 10 การเตรียมคนรุ่นใหม่ให้พร้อมจะเผชิญกับโลกของการแข่งขันในอนาคต ไม่ใช่ประเด็นส�ำคัญเฉพาะส�ำหรับสังคมไทยเท่านั้น เพราะแม้แต่ประเทศมหาอ�ำนาจ ทางเศรษฐกิจอย่างสหรัฐอเมริกาก็ก�ำลังให้ความส�ำคัญอย่างยิ่งยวดต่อเรื่องนี้ โดยตั้งแต่ต้นพุทธศักราช ๒๕๕๕ ประธานาธิบดีบารัก โอบามาได้ประกาศขับเคลื่อน ปฏิบัติการ “Educate to Innovate” ซึ่งอาจเรียกแบบไทย ๆ ได้ว่า “การศึกษา เพื่อสร้างนวัตกรรม” เพื่อยกระดับความสนใจและผลสัมฤทธิ์ในวิชาที่เรียกสั้น ๆ ว่า STEM ซึ่งคือการบูรณาการของ Science, Technology, Engineering และ Mathematics โดยระดมความร่วมมือจากทั้งกลไก รัฐบาล บริษัทเอกชนชั้นน�ำ องค์กรพัฒนาเอกชน รวมถึงประชาคมด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อร่วมกันส่งเสริมการศึกษาวิชาทั้งสี่ดังกล่าวในระดับโรงเรียน การขับเคลื่อน ปฏิบัติการนี้ มีที่มาจากสัญญาณหลายประการที่บ่งชี้ถึงความจ�ำเป็ นว่า เด็กนักเรียนอเมริกันจะต้องมีการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้ดีกว่า ที่เป็นอยู่ โดยประธานาธิบดีโอบามาได้กล่าวต่อสาธารณชนไว้ว่า การพัฒนาวิชา กลุ่ม STEM นี้เป็นปัจจัยที่ส�ำคัญยิ่งส�ำหรับการธ�ำรงและเพิ่มพูนขีดความสามารถ ในการแข่งขันของสหรัฐอเมริกาในโลกยุคหน้า ที่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ จะตัดสินกันที่ “ความคิดใหม่ ๆ ที่น�ำไปสู่นวัตกรรม”
  • 11. 11 ครู : ผู้สร้างวันพรุ่งนี้ แนวคิดการศึกษาแบบ STEM แพร่หลายสู่นานาประเทศอย่างรวดเร็ว โดยบางประเทศเช่นเกาหลีใต้ก็เห็นว่าน่าจะต้องเพิ่มเติม A หรือ Art เข้าไปด้วย คือเป็นSTEAMโดยเชื่อว่าจะมีประสิทธิภาพยิ่งกว่าส�ำหรับประเทศไทยก็ก�ำลังตื่นตัว กับการแสวงหาแนวทางจัดการศึกษาแบบ STEM ด้วยเช่นเดียวกัน เมื่อแนวโน้มของโลกเป็นเช่นนี้ความท้าทายแห่งยุคสมัยส�ำหรับสังคมไทย จึงน่าจะอยู่ที่ว่า แม้ว่าแวดวงวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ศึกษาของไทยจะรู้จัก วิธีการสอนที่ดีมีคุณภาพสามารถสร้างสมรรถนะแก่ผู้เรียนโดยใช้ “กระบวนการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้” มาแล้วถึง ๔๐ ปี คือพร้อม ๆ กับการก่อตั้งสถาบันส่งเสริม การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๕ ก็ตาม แต่จะท�ำอย่างไร กระบวนการเรียนรู้แบบนี้จึงจะถูกน�ำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้มากขึ้น กว่าที่แล้วๆมาเพื่อที่การเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์จะไม่มีลักษณะเช่นเดียวกับ การเรียนวิชาโหราศาสตร์ และชั้นเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์จะท�ำหน้าที่ หล่อหลอมเยาวชนไทยที่มีสมรรถนะสูง ส�ำหรับเติบโตไปขับเคลื่อนสังคมไทย ในวันพรุ่งนี้ได้อย่างที่ควรจะเป็น