SlideShare a Scribd company logo
1 of 10
Download to read offline
การเข้าสู่ความหมาย
ของศิลปะ
แอ็พโพรพริเอชัน
1
_14-17(001-012)P3.indd 1 6/12/58 BE 2:24 PM
2 …	 แอ็พโพรพริเอชันอาร์ต : ศิลปะแห่งการหยิบยืม
การเข้าสู่ความหมายของศิลปะแอ็พโพรพริเอชัน
ผลงานศิลปะเกิดขึ้นตลอดเวลามีการเดินทางมายาวนานและยังคงด�ำเนินการสร้างสรรค์
ศิลปะต่อไปอย่างต่อเนื่องยากที่จะหยุดนิ่ง ตราบใดที่มนุษย์ยังมีความคิดสร้างสรรค์และผ่าน
สู่การถ่ายทอดออกมา ผลงานศิลปะที่สร้างขึ้นจึงมีจ�ำนวนมากมหาศาลมีการคัดสรร รวบรวม
และบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ศิลปะเก็บไว้ เป็นสมบัติของมนุษยชาติให้ได้ศึกษาในหลายประเด็น
โดยเฉพาะการศึกษาถึงจินตนาการความคิดต่าง ๆ จากศิลปินซึ่งมีพัฒนาการของแต่ละยุคสมัย
อย่างเต็มไปด้วยความน่าสนใจ รวมทั้งเป็นแหล่งข้อมูลที่ส�ำคัญให้กับศิลปินรุ่นต่อมาได้ศึกษา
และพัฒนาการสร้างสรรค์ต่อไป
เป็นที่ทราบกันดีว่า สภาวะธรรมชาติ ชีวิต สิ่งแวดล้อม มนุษย์ สังคม ศาสนา และความเชื่อ
คือสิ่งส�ำคัญที่มีผลต่อจินตนาการและความคิดในการสร้างสรรค์ของศิลปินมาโดยตลอด
ดังนั้น ค�ำว่า แรงบันดาลใจ (Inspiration) และ อิทธิพล (Influence) จึงเป็นสิ่งส�ำคัญที่บอก
ถึงที่มาแห่งการสร้างสรรค์ การที่ผู้สร้างสรรค์งานศิลปะสนใจศึกษาเรียนรู้จากผลงานศิลปะและ
จากศิลปินนั้นมักจะเกิดการรับลักษณะหรือความคิดที่ชมชอบมาจากผลงานศิลปินนั้น ๆ ซึ่งถือว่า
เป็นเรื่องปกติที่ศิลปะจะส่งต่อให้กันและเป็นที่เข้าใจกันดีว่าจัดอยู่ในข่ายของทั้งแรงบันดาลใจ
และอิทธิพลที่ได้รับ แต่ทว่าในระยะแรก ๆ นั้น การรับมาแล้วถ่ายทอดใหม่จะปรับสร้างให้มี
ลักษณะเฉพาะของตนเองเป็นหน้าตาใหม่ที่ไม่เหมือนกับรูปต้นแบบ ดังการลอกหรือถอดยก
มาทุกประการ นี่คือการสร้างสรรค์ที่ส่งผ่านกันมาอย่างยาวนาน แต่ถึงกระนั้นก็มิใช่กฎเกณฑ์
ที่ตายตัว ศิลปินที่ชื่นชมผลงานของศิลปินรุ่นก่อนแล้วน�ำมาถ่ายทอดใหม่โดยยังคงลักษณะ
ที่เป็นต้นแบบนั้น ๆ ไว้ก็มีเช่นกัน ศิลปินบางคนเพิ่มเติมสิ่งหรือส่วนที่คิดใหม่ลงไปด้วยพร้อม
กับลักษณะเฉพาะตัว บางคนลอกส�ำหรับการศึกษา ลอกโครงสร้างองค์ประกอบทั้งหมดหรือ
เฉพาะส่วนซึ่งเห็นได้ในผลงานบางชิ้นของทิเชียน (Titian) หลายชิ้นของเอดัวร์ มาเน่ต์ (Édouard
Manet) และปาโบล ปีกัสโซ (Pablo Picasso) โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปินกลุ่มอิมเพรสชันนิสต์
(Impressionist) หรือกลุ่มลุทธิประทับใจ กลุ่มโพสต์อิมเพรสชันนิสต์ (Post Impressionist)
หรือกลุ่มลัทธิประทับใจยุคหลัง กลุ่มนีโออิมเพรสชันนิสต์ (Neo-Impressionist) หรือกลุ่ม
ลัทธิประทับใจใหม่ และอาร์ตนูโว (Art Nouveau) หรือนวศิลป์ ซึ่งชื่นชมอย่างหลงใหลใน
ศิลปะภาพพิมพ์แกะไม้ของญี่ปุ่นในช่วงสมัยเอโดะ ต่างได้ทั้งแรงบันดาลใจและอิทธิพลต่อ
_14-17(001-012)P3.indd 2 6/12/58 BE 2:24 PM
บทที่ 1 การเข้าสู่ความหมายของศิลปะแอ็พโพรพริเอชัน	 … 3
การสร้างสรรค์ผลงานของตนเองหยิบยืมหรือน�ำเอาหลายลักษณะจากภาพพิมพ์แกะไม้ของ
ญี่ปุ่นมาปรับอยู่ในผลงานตนเองรวมทั้งการลอกยกมาทั้งภาพ
แม้ว่าพัฒนาการของงานสร้างสรรค์ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากที่เป็นสิ่งเร้าต่อศิลปินใน
การสร้างสรรค์ออกมาโดยไม่ซํ้ากัน แต่การได้แรงบันดาลใจหรือรับอิทธิพลจากศิลปินรุ่นก่อน
ก็ยังคงด�ำเนินไปอย่างปกติ เพียงแต่การถ่ายทอดออกนั้นจะต่างกันไป ความพึงพอใจต่อสิ่งที่
ศิลปินพบเห็นแล้วเกิดประเด็นคิดที่ต้องการน�ำมาใช้ในผลงานของตนเองนั้น มาจากทั้งความรู้สึก
ส่วนตัว เจตจ�ำนงเฉพาะ และเงื่อนไขในบริบทสังคมหลายประการ ซึ่งเห็นได้จากการขับเคลื่อน
ไปของผลงานศิลปะแต่ละยุคสมัย
ค�ำว่า แรงบันดาลใจ และอิทธิพล มีการตีความที่มองกันคนละมุม ศิลปินหลายคน
มีความเห็นว่าการรับรูปแบบบางอย่างจากศิลปินอื่นมาสร้างสรรค์ใหม่แม้จะมีกลิ่นอายของ
ต้นแบบปรากฏอยู่ก็มิใช่เรื่องของการรับอิทธิพล แต่เป็นเรื่องของการรับหรือได้แรงบันดาลใจ
มาสร้างผลงาน แต่ถ้าลักษณะของต้นแบบปรากฏอยู่มากจึงจะเป็นการรับอิทธิพล บ้าง
ก็มีการตีความตรงกันข้าม ไม่ว่าจะมีการให้ความหมายค�ำอย่างไร ความหมายทั้ง 2 นี้
ก็ถูกใช้ร่วมกันจนเกิดการคละเคล้าความเข้าใจจนก่อให้เกิดพัฒนาการของ 2 ค�ำนี้และ
ยังได้แตกค�ำใหม่ขึ้นคือค�ำว่า การหยิบยืมหรือการเอามาครอบครอง ซึ่งมาจากค�ำศัพท์ว่า
“แอ็พโพรพริเอชัน” (appropriation) ในขณะเดียวกันค�ำว่าแรงบันดาลใจและอิทธิพลก็ยัง
คงใช้อยู่อย่างปกติ
ค�ำว่า “แอ็พโพรพริเอชัน” มีการอธิบายที่มักอ้างถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ถูกหยิบยืมมาสร้างสรรค์
ขึ้นใหม่ สิ่งที่หยิบยืมมาอาจรวมถึงภาพ รูปทรง หรือรูปแบบต่าง ๆ จากประวัติศาสตร์ศิลปะ
จากวัฒนธรรมป็อปปูลาร์หรือวัสดุและเทคนิคต่าง ๆ จากสิ่งที่ไม่เป็นศิลปะ เมื่อเข้าสู่ช่วงทศวรรษ
ที่ 1980 ค�ำศัพท์นี้ใช้กันมากขึ้นด้วยการเรียกลักษณะพิเศษเฉพาะที่ศิลปินน�ำเอาผลงาน
ของศิลปินอื่นมาสร้างสรรค์เป็นผลงานชิ้นใหม่ขึ้น ซึ่งงานชิ้นใหม่นี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือ
ไม่เปลี่ยนแปลงจากผลงานต้นแบบ
เมื่อย้อนกลับเข้าทบทวนประวัติศาสตร์ศิลปะ ศึกษาถึงการเดินทางเข้าสู่ความหมายของ
ค�ำว่า “แอ็พโพรพริเอชัน” ซึ่งระบุความหมายถึงการหยิบยืมหรือการเอามาครอบครองแล้ว
_14-17(001-012)P3.indd 3 6/12/58 BE 2:24 PM
4 …	 แอ็พโพรพริเอชันอาร์ต : ศิลปะแห่งการหยิบยืม
สามารถย้อนไปที่ช่วง ค.ศ. 1912-1913 จะเห็นได้ว่า ศิลปินคู่แรกคือปาโบล ปีกัสโซ และ
จอร์ช บร๊าค (Georges Braque) ได้หยิบยืมหรือน�ำสิ่งที่พบเห็นทั่วไปซึ่งในเวลานั้นยัง
ไม่ได้นับว่าเป็นวัสดุศิลปะ เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ ขวด และเศษผ้านํ้ามัน มาท�ำคอลลาจ
(Collage) หรือปะติดอยู่ในงานจิตรกรรมของตนเอง ซึ่งเป็นการรวมลักษณะหน้าตาของ
ความเป็นจริงที่เห็นอยู่ทั่วไปในชีวิตประจ�ำวันมาเข้าสู่งานสร้างสรรค์โดยการจัดวางไว้
ด้วยกันบนผืนผ้าใบหลายชิ้น ผลงานลักษณะนี้ของศิลปินทั้งสองกล่าวได้ว่าเป็นการเปิดสู่
การอภิปรายถึงการแสดงออกเกี่ยวกับศิลปะและผลที่ตามมา (ภาพ 1-2)
ภาพ 1 Pablo Picasso. Still Life with Chair Caning, 1912.
Oil and oilcloth on canvas with rope. 27 × 35 cm. Musée Picasso, Paris.
ภาพ 2 Georges Braque. Bottle, Newspaper, Pipe and Glass, 1913.
Charcoal and collage on paper. 48 × 64 cm. Private Collection.
_14-17(001-012)P3.indd 4 6/12/58 BE 2:24 PM
บทที่ 1 การเข้าสู่ความหมายของศิลปะแอ็พโพรพริเอชัน	 … 5
ต่อมาใน ค.ศ. 1917 มาร์เซล ดูชอง (Marcel Duchamp) ได้น�ำเสนอความคิดเกี่ยวกับ
วัสดุส�ำเร็จรูป (Readymade) โดยการเริ่มที่โถปัสสาวะในชื่อผลงานว่า “นํ้าพุ” (Fountain)
และใน ค.ศ. 1919 ในผลงานที่ใช้ชื่อว่า แอล.เอช.โอ.โอ.คิว. (L.H.O.O.Q.) ดูชองหยิบยืม
หรือน�ำเอารูปก๊อปปี้ของโมนาลิช่าซึ่งเป็นวัสดุส�ำเร็จรูปหนึ่งมาเข้าสู่ผลงานของตนเองโดย
การเพิ่มเรียวหนวดบนริมฝีปากและเคราแพะตรงปลายคางบนรูปโมนาลิซ่า พร้อมทั้งเขียน
ตัวอักษร แอล.เอช.โอ.โอ.คิว. ไว้ใต้ภาพ ถึงกระนั้นก็ตาม ก็ยังเป็นการน�ำเอามาใช้ทั้งภาพ
เช่นเดียวกับการน�ำเอาโถปัสสาวะมาตั้งแสดงโดยตรง (ภาพ 3-5)
	 	 	
	ภาพ 3 Leonardo da Vinci. Mona Lisa (La Gioconda),	 ภาพ 4 Marcel Duchamp. L.H.O.O.Q., 1919.
	 c.1503-1505. Oil on canvas. 77 × 53 cm.	 Color reproduction of Mona Lisa altered
	 Louvre, Paris, France.	 with a pencil. Private Collection.
	
ภาพ 5 Marcel Duchamp. Fountain (Urnal), 1917.
Glazed ceramic replica (original lost). 36 × 48 ×61 cm.
_14-17(001-012)P3.indd 5 6/12/58 BE 2:24 PM
6 …	 แอ็พโพรพริเอชันอาร์ต : ศิลปะแห่งการหยิบยืม
การเดินทางของค�ำแอ็พโพรพริเอชัน เห็นได้ชัดเจนในกลุ่มศิลปินดาดาซึ่งรวมทั้งดูชอง
ด้วยศิลปินกลุ่มนี้ได้หยิบยืม สิ่งของที่พบเห็นอยู่ในชีวิตทุกวันมาใช้เป็นงานศิลปะดังเช่น ผลงาน
ของคุร์ท ชวิทเทอร์ (Kurt Schwitters) จีน อ๊าพ (Jean Arp) และฟรานซีส พีคาเบีย (Francis
Picabia) เช่นกันกับศิลปินเซอร์เรียลิสต์ เมเร่ต์ ออพเพนไฮม์ (Méret Oppenheim) ก็นิยม
ใช้วัตถุสิ่งของที่พบเห็นอยู่ทั่วไปในชีวิตประจ�ำวันดังเช่นผลงาน “วัตถุ (อาหารกลางวันในภาชนะ
หุ้มขนสัตว์)” Object (Luncheon in Fur, 1936) (ภาพ 6) ศิลปินน�ำขนเฟอร์มาหุ้มถ้วยกาแฟ
ซึ่งสิ่งที่ศิลปินหยิบเอามาใช้ร่วมกันนี้ จะให้ความหมายใหม่ต่อการรับรู้
ภาพ 6 Méret Oppenheim. Object, 1936. Fur-covered cup, saucer, and spoon.
Overall height 27/8 inches. Museum of Modern Art, New York.
โดยปกติแล้วการลอกหรือท�ำซํ้าใหม่นั้นไม่ได้รับการพิจารณายอมรับว่าเป็นงานศิลปะที่ดี
จนกระทั่งดูชองได้เปลี่ยนความคิดนี้ด้วยการสร้างผลงานศิลปะจากวัตถุส�ำเร็จรูปดังที่กล่าว
มาแล้ว ดูชองให้วัตถุในงานของเขาเป็นตัวเรียกร้องยืนกรานว่าคุณค่าของงานศิลปะไม่ได้ขึ้นอยู่กับ
การสร้างสรรค์ตามจารีตนิยมแต่ขึ้นอยู่กับความคิดทั้งหลายที่ยืนหยัดอยู่เบื้องหลังของผลงาน
เมื่อเข้าสู่ช่วง ค.ศ. 1950-1970 โรเบิร์ต เราเชนเบิร์ก (Robert Rauschenberg)
น�ำเอาวัสดุและวัตถุส�ำเร็จรูปวัตถุที่ทิ้งแล้วไม่ว่าจะเป็นยางรถยนต์ ที่นอนเก่า สัตว์สตาฟฟ์
และรูปถ่าย มารวมกันกับจิตรกรรมที่ศิลปินแสดงลักษณะของฝีแปรงและการเทสีต่าง ๆ
เข้าร่วมกันซึ่งรวมการใช้เทคนิคพิมพ์สกรีนและคอลลาจด้วย (ภาพ 7-8) เช่นกันกับเจสเปอร์
จอห์น (Jasper Johns) ที่น�ำวัตถุทิ้งไม่ใช้แล้วซึ่งพบอยู่ในชีวิตประจ�ำวันมาใช้อยู่ในผลงาน
และสร้างให้ท�ำงานร่วมกับฝีแปรงของศิลปินส่วนผลงานชิ้นที่มีความชัดเจนถึงการหยิบยืม
_14-17(001-012)P3.indd 6 6/12/58 BE 2:24 PM
บทที่ 1 การเข้าสู่ความหมายของศิลปะแอ็พโพรพริเอชัน	 … 7
มาสร้างใหม่ คือการน�ำเอาสัญลักษณ์ส�ำคัญดังเช่น ธงชาติของชาวอเมริกัน มาใช้ในผลงาน
หลายชิ้นด้วยกัน (ภาพ 9-10)
	
	 	
	 ภาพ 7 Robert Rauschenberg. Canyon, 1959.	 ภาพ 8 Robert Rauschenberg. Trophy III
	 Combine painting: mixed media	 (for Jean Tinguely), 1961.
	 on canvas with objects.	 Combine painting: mixed and objects.
	 207.5 × 178 × 61 cm.	 240 × 167 cm.
	 Sonnabend Collection, New York.	 The Museum of Contemporary Art, Los Angeles.
	 	
	 ภาพ 9 Jasper Johns. Three Flags, 1958.	 ภาพ 10 Jasper Johns. Watchman, 1964.
	 Encaustic on canvas. 78.4 × 115.6 × 12.7 cm.	 Oil on canvas with objects. 216 × 153 × 24 cm.
	Whitney Museum of American Art, New York, USA.	 Mr. Hiroshi Teshigahara.
_14-17(001-012)P3.indd 7 6/12/58 BE 2:24 PM
8 …	 แอ็พโพรพริเอชันอาร์ต : ศิลปะแห่งการหยิบยืม
ศิลปินป๊อปอาร์ตหรือศิลปินในศิลปะประชานิยมดังเช่น รอย ลิกเตนสไตน์ (Roy
Lichtenstein) คลอส โอเดนเบิร์ก (Claes Oldenburg) และแอนดี้วอร์ฮอล (Andy Warhol)
ได้รับแรงบันดาลใจจากดูชองและนิยมหยิบยืมภาพมาจากงานพาณิชยศิลป์ และวัฒนธรรม
ป็อปปูลาร์พร้อมไปกับการใช้เทคนิคของทางอุตสาหกรรมซึ่งได้ช่วยชี้วิถีทางส�ำหรับศิลปินในยุค
ค.ศ. 1970-1980 (ภาพ 11-16)
	 	
	 ภาพ 11 Roy Lichtenstein. Blang, 1962.	 ภาพ 12 Roy Lichtenstein. M-May be
	 Oil on canvas. 174 × 150 cm.	 (A Girl’s Picture), 1965. Magna on canvas.
	 Seibu Department Stores, Limited, Tokyo.	 152 × 152 cm. Museum Ludwig, Cologne.
	 	
	ภาพ 13 Claes Oldenburg. Ice Cream Cone, 1962.	 ภาพ 14 Claes Oldenburg. Meats, 1964.
	 Plaster and metal painted with enamel.	 Plaster, Clay and marble, painted.
	35 × 95 × 34 cm. Sonnabend Collection, New York.	 57 × 96 × 96 cm. Private Collection.
_14-17(001-012)P3.indd 8 6/12/58 BE 2:24 PM
บทที่ 1 การเข้าสู่ความหมายของศิลปะแอ็พโพรพริเอชัน	 … 9
	 	 	
	 ภาพ 15 Andy Warhol.	 ภาพ 16 Andy Warhol.
	 210 Coca-Cola Bottles, 1962.	 Twenty-Five Colored Marilyns, 1962.
	 Silkscreen ink, acrylic and pencil	 Acrylic on canvas. 209 × 169.5 cm.
	 on canvas. 209.5 × 266.5 cm.	 Collection of the Modern Art
	 Courtesy: Thomas Ammann Fine Art AG, Zurich.	 Museum of Fort Worth, Texas.
ชารอน แมต แอตคินส์ (Sharon Matt Atkins) ผู้ท�ำงานวิจัยเรื่อง “ศิลปะแอ็พโพรพริเอชัน
และเอกลักษณ์ตั้งแต่ ค.ศ. 1980” ได้อธิบายถึงแอ็พโพรพริเอชันว่า ตามความหมายที่สืบทอด
กันมานั้นอ้างถึงการครอบครองบางสิ่งที่เป็นของคนอื่น เป็นค�ำที่ไม่ใช่การอธิบายความแตกต่าง
ในชนิดของวัตถุที่ถูกหยิบยืมมาหรือเป้าหมายของสุนทรีย์ที่แตกต่างกัน “แอ็พโพรพริเอชัน”
เป็นค�ำอธิบายประวัติศาสตร์ศิลปะหนึ่งที่ผลิแตกออกมาของยุคโพสต์โมเดิร์น (Postmodern)
ค�ำนี้เข้าสู่การอภิปรายศิลปะร่วมสมัยที่เป็นผลของอิทธิพลจากนิทรรศการ “รูปภาพ”
(Pictures) และการสร้างทฤษฎีในเวลาต่อมาของศิลปินจากการแสดงนิทรรศการ “รูปภาพ”
ซึ่งได้รวบรวมผลงานของศิลปินที่หยิบยืมภาพจากวัฒนธรรมป็อปปูลาร์ หรือข้อมูลจากศิลปะชั้น
สูงที่ผู้ชมสามารถจดจ�ำได้ บุคลิกของภาพเป็นดังการสะท้อนการเปรียบเทียบแรงดลใจและเพิ่ม
ความหมายอื่นลงไป การทดลองอย่างยิ่งใหญ่ครั้งแรกของแอ็พโพรพริเอชันเกิดขึ้นในนิทรรศการ
“อาร์ต อะเบาต์ อาร์ต” (Art about Art) ค.ศ. 1978 ซึ่งจัดโดยพิพิธภัณฑ์วิทนีย์แห่งศิลปะ
อเมริกัน (The Whitney Museum of American Art) มีสาระส�ำคัญของเนื้อหาที่ศิลปิน
ร่วมสมัยผู้ได้รับเชิญมาทั้งหมด ท�ำการหยิบยืมข้อมูลจากประวัติศาสตร์ศิลปะมาใช้
ในผลงานของตนเอง การแสดงครั้งนี้ได้พิสูจน์ถึงการเกิดขึ้นในเวลาอันเหมาะสมอย่างทีเดียว
_14-17(001-012)P3.indd 9 6/12/58 BE 2:24 PM
10 …	 แอ็พโพรพริเอชันอาร์ต : ศิลปะแห่งการหยิบยืม
ด้วยเพราะ “แอ็พโพรพริเอชัน” กลายเป็นลักษณะหนึ่งของแบบนิยมหลักแห่งยุค จะเห็นได้ว่า
ในช่วงต้นของทศวรรษที่ 1980 ศิลปินเริ่มคัดเลือกรูปต่าง ๆ จากประวัติศาสตร์ศิลปะ โฆษณา
ทีวี และสื่ออื่น ๆ น�ำมาเป็นส่วนส�ำคัญหลักในผลงานของเขา ศิลปินหลายคนลอกตรงยกมา
โดยปราศจากการปรับแปร บ้างก็เชื่อมกับภาพอื่น ๆ ซึ่งจะไม่เหมือนกับการอ้างมาก่อนที่สร้าง
ขึ้นด้วยการแสดงความคารวะหรือสร้างขึ้นด้วยจุดประสงค์ของการศึกษา
นอกจากนี้ชารอนยังกล่าวถึงลักษณะผลงานแอ็พโพรพริเอชันในช่วงต้นของทศวรรษ
ที่ 1980 และช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ว่า
-				ในช่วงปีแรก ๆ ของทศวรรษที่ 1980 เป็นผลงานที่อ้างอิงถึงข้อมูลแหล่งที่มาอื่นที่ไม่ใช่
ศิลปะ ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากผลงานของครูเกอร์ (Kruger) เกี่ยวกับการตัดค�ำตัวอักษรพิมพ์
มาใช้ในผลงาน รวมทั้งผลงานชุดเครื่องดูดฝุ่นฮูเวอร์ (Hoover) ของคูนส์ (Koons) ด้วย
-				ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 จะเป็นผลงานที่อ้างอิงภาพจากประวัติศาสตร์ศิลปะ
เมื่อศิลปินยืมภาพต้นแบบมาแล้วก็จะจัดการแก้ปัญหาทางความคิดและท�ำระบบการน�ำเสนอ
ใหม่ ใช้กลวิธีต่อการประลองความคิดกับภาพต้นแบบ ต่อมาศิลปินก็ได้อิทธิพลอย่างมากจาก
ความสนใจต่อเรื่องราวของการเมือง ศิลปินเชื่อมความสามารถพิเศษในการสร้างสรรค์กับการ
พิจารณาประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก มีการก่อรูปแบบ เพศสภาพ เชื้อชาติ และพื้นเพของ
ชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ (Atkins, 2004: 10)
ปัจจุบันนักวิจารณ์และนักประวัติศาสตร์ใช้ค�ำ “แอ็พโพรพริเอชัน” ในการอธิบาย
ผลงานศิลปะถึงลักษณะที่หยิบยืมมาใช้ซึ่งจ�ำแนกความแตกต่างกันออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
-				กลุ่มแรก สร้างสรรค์โดยการเชื่อมและก�ำหนดรูปทรงที่หยิบยืมมาเข้าสู่วิถีทางของ
ตนเองดังเช่นผลงานของ เจสเปอร์ จอห์น โรเบิร์ต เราเชนเบิร์ก จูเลียน ชนาเบล (Julian
Schnabel) และซิกมาร์ โพลเก้ (Sigmar Polke)
-				กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มที่นิยมหยิบยืมมาใช้โดยตรง ศิลปินจะท�ำคัดลอกขึ้นใหม่หรือท�ำการ
ถ่ายภาพจากรูปถ่ายประวัติศาสตร์ศิลปะจากงานพาณิชยศิลป์ แล้วน�ำเสนอตรงดังที่ต้นแบบ
เป็นแต่เดิม แต่ทว่าเป็นการแสดงออกถึงความคิดที่ซ้อนอยู่ดังเช่น ผลงานของเชอรี่ เลวายน์
(Sherrie Levine) และเบทตี้ ซาร์ (Betye Saar) (Stokstad, 2002: 1166)
_14-17(001-012)P3.indd 10 6/12/58 BE 2:24 PM

More Related Content

What's hot

Baigiangtracdiadaicuongbk 130109061511-phpapp01
Baigiangtracdiadaicuongbk 130109061511-phpapp01Baigiangtracdiadaicuongbk 130109061511-phpapp01
Baigiangtracdiadaicuongbk 130109061511-phpapp01Hao Nhien Thai Bao
 
tổng hợp câu lượng giác trong đề thi đại học 2002-2016 co loi giai
tổng hợp câu lượng giác trong đề thi đại học 2002-2016 co loi giaitổng hợp câu lượng giác trong đề thi đại học 2002-2016 co loi giai
tổng hợp câu lượng giác trong đề thi đại học 2002-2016 co loi giaiHoàng Thái Việt
 
Tìm trị riêng bằng pp qr
Tìm trị riêng bằng pp qrTìm trị riêng bằng pp qr
Tìm trị riêng bằng pp qrToàn Phan
 
BTL-thuyet-trinh (1).pptx
BTL-thuyet-trinh (1).pptxBTL-thuyet-trinh (1).pptx
BTL-thuyet-trinh (1).pptxNamTran268656
 
Bài tập tổng hợp dao động điều hòa - Con lắc đơn - Con lắc lò xo - Tổng hợp
Bài tập tổng hợp dao động điều hòa - Con lắc đơn - Con lắc lò xo - Tổng hợpBài tập tổng hợp dao động điều hòa - Con lắc đơn - Con lắc lò xo - Tổng hợp
Bài tập tổng hợp dao động điều hòa - Con lắc đơn - Con lắc lò xo - Tổng hợpVan-Duyet Le
 
Daiso11 chuong-2a (3)
Daiso11 chuong-2a (3)Daiso11 chuong-2a (3)
Daiso11 chuong-2a (3)truongducvu
 
đáP án 24 đề tin
đáP án 24 đề tinđáP án 24 đề tin
đáP án 24 đề tinTtx Love
 
Bac 2022 - Corrigé maths
Bac 2022 - Corrigé mathsBac 2022 - Corrigé maths
Bac 2022 - Corrigé mathsLETUDIANT1
 
Pt mũ, logarit huỳnh đức khánh
Pt mũ, logarit  huỳnh đức khánhPt mũ, logarit  huỳnh đức khánh
Pt mũ, logarit huỳnh đức khánhThế Giới Tinh Hoa
 
Tuyen tap de thi chon hsg keydoc
Tuyen tap de thi chon hsg  keydocTuyen tap de thi chon hsg  keydoc
Tuyen tap de thi chon hsg keydocHườngg Thu
 
Chuyên đề hàm số
Chuyên đề hàm sốChuyên đề hàm số
Chuyên đề hàm sốToán THCS
 
Biện luận phương trình chứa dấu giá trị tuyệt đối
Biện luận phương trình chứa dấu giá trị tuyệt đốiBiện luận phương trình chứa dấu giá trị tuyệt đối
Biện luận phương trình chứa dấu giá trị tuyệt đốiThopeo Kool
 
11 การแก้ระยะโซ่หรือเทป
11 การแก้ระยะโซ่หรือเทป11 การแก้ระยะโซ่หรือเทป
11 การแก้ระยะโซ่หรือเทปNut Seraphim
 
BAC 2022 - Corrigé NSI
BAC 2022 - Corrigé NSIBAC 2022 - Corrigé NSI
BAC 2022 - Corrigé NSILETUDIANT1
 
Xác suất thống kê - Đào Hữu Hồ
Xác suất thống kê - Đào Hữu HồXác suất thống kê - Đào Hữu Hồ
Xác suất thống kê - Đào Hữu HồVuKirikou
 
завдання контрольної № 2 по темах 8 20
завдання контрольної № 2 по темах 8 20завдання контрольної № 2 по темах 8 20
завдання контрольної № 2 по темах 8 20cit-cit
 
Bai tap dao ham va vi phan
Bai tap dao ham va vi phanBai tap dao ham va vi phan
Bai tap dao ham va vi phanTran Duong
 
CEHv7 Question Collection
CEHv7 Question CollectionCEHv7 Question Collection
CEHv7 Question CollectionManish Luintel
 

What's hot (20)

Baigiangtracdiadaicuongbk 130109061511-phpapp01
Baigiangtracdiadaicuongbk 130109061511-phpapp01Baigiangtracdiadaicuongbk 130109061511-phpapp01
Baigiangtracdiadaicuongbk 130109061511-phpapp01
 
tổng hợp câu lượng giác trong đề thi đại học 2002-2016 co loi giai
tổng hợp câu lượng giác trong đề thi đại học 2002-2016 co loi giaitổng hợp câu lượng giác trong đề thi đại học 2002-2016 co loi giai
tổng hợp câu lượng giác trong đề thi đại học 2002-2016 co loi giai
 
Đề tài: Giải bài tập thấu kính và ứng dụng vào thực tiễn, HAY
Đề tài: Giải bài tập thấu kính và ứng dụng vào thực tiễn, HAYĐề tài: Giải bài tập thấu kính và ứng dụng vào thực tiễn, HAY
Đề tài: Giải bài tập thấu kính và ứng dụng vào thực tiễn, HAY
 
Tìm trị riêng bằng pp qr
Tìm trị riêng bằng pp qrTìm trị riêng bằng pp qr
Tìm trị riêng bằng pp qr
 
BTL-thuyet-trinh (1).pptx
BTL-thuyet-trinh (1).pptxBTL-thuyet-trinh (1).pptx
BTL-thuyet-trinh (1).pptx
 
Bài tập tổng hợp dao động điều hòa - Con lắc đơn - Con lắc lò xo - Tổng hợp
Bài tập tổng hợp dao động điều hòa - Con lắc đơn - Con lắc lò xo - Tổng hợpBài tập tổng hợp dao động điều hòa - Con lắc đơn - Con lắc lò xo - Tổng hợp
Bài tập tổng hợp dao động điều hòa - Con lắc đơn - Con lắc lò xo - Tổng hợp
 
Daiso11 chuong-2a (3)
Daiso11 chuong-2a (3)Daiso11 chuong-2a (3)
Daiso11 chuong-2a (3)
 
Nghiên Cứu Chế Tạo Và Tính Chất Từ Của Mẫu Bột Bifeo3 Pha Tạp Mn.doc
Nghiên Cứu Chế Tạo Và Tính Chất Từ Của Mẫu Bột Bifeo3 Pha Tạp Mn.docNghiên Cứu Chế Tạo Và Tính Chất Từ Của Mẫu Bột Bifeo3 Pha Tạp Mn.doc
Nghiên Cứu Chế Tạo Và Tính Chất Từ Của Mẫu Bột Bifeo3 Pha Tạp Mn.doc
 
đáP án 24 đề tin
đáP án 24 đề tinđáP án 24 đề tin
đáP án 24 đề tin
 
Bac 2022 - Corrigé maths
Bac 2022 - Corrigé mathsBac 2022 - Corrigé maths
Bac 2022 - Corrigé maths
 
Pt mũ, logarit huỳnh đức khánh
Pt mũ, logarit  huỳnh đức khánhPt mũ, logarit  huỳnh đức khánh
Pt mũ, logarit huỳnh đức khánh
 
Tuyen tap de thi chon hsg keydoc
Tuyen tap de thi chon hsg  keydocTuyen tap de thi chon hsg  keydoc
Tuyen tap de thi chon hsg keydoc
 
Chuyên đề hàm số
Chuyên đề hàm sốChuyên đề hàm số
Chuyên đề hàm số
 
Biện luận phương trình chứa dấu giá trị tuyệt đối
Biện luận phương trình chứa dấu giá trị tuyệt đốiBiện luận phương trình chứa dấu giá trị tuyệt đối
Biện luận phương trình chứa dấu giá trị tuyệt đối
 
11 การแก้ระยะโซ่หรือเทป
11 การแก้ระยะโซ่หรือเทป11 การแก้ระยะโซ่หรือเทป
11 การแก้ระยะโซ่หรือเทป
 
BAC 2022 - Corrigé NSI
BAC 2022 - Corrigé NSIBAC 2022 - Corrigé NSI
BAC 2022 - Corrigé NSI
 
Xác suất thống kê - Đào Hữu Hồ
Xác suất thống kê - Đào Hữu HồXác suất thống kê - Đào Hữu Hồ
Xác suất thống kê - Đào Hữu Hồ
 
завдання контрольної № 2 по темах 8 20
завдання контрольної № 2 по темах 8 20завдання контрольної № 2 по темах 8 20
завдання контрольної № 2 по темах 8 20
 
Bai tap dao ham va vi phan
Bai tap dao ham va vi phanBai tap dao ham va vi phan
Bai tap dao ham va vi phan
 
CEHv7 Question Collection
CEHv7 Question CollectionCEHv7 Question Collection
CEHv7 Question Collection
 

Similar to 9789740333524

ปลายภาค ม4
ปลายภาค ม4ปลายภาค ม4
ปลายภาค ม4peter dontoom
 
ประวัติกำเนิดนาฏศิลป์ไทย ม.4
ประวัติกำเนิดนาฏศิลป์ไทย ม.4ประวัติกำเนิดนาฏศิลป์ไทย ม.4
ประวัติกำเนิดนาฏศิลป์ไทย ม.4Panomporn Chinchana
 
ความเข้าใจในทัศนศิลป์
ความเข้าใจในทัศนศิลป์ความเข้าใจในทัศนศิลป์
ความเข้าใจในทัศนศิลป์Chanon Moongkhetklang
 
Class 7 รีวิว The Master กระบวนการถ่ายทอดผลงานทางศิลปะ การทำงานศิลปะอย่างมีจิ...
Class 7 รีวิว The Master กระบวนการถ่ายทอดผลงานทางศิลปะ การทำงานศิลปะอย่างมีจิ...Class 7 รีวิว The Master กระบวนการถ่ายทอดผลงานทางศิลปะ การทำงานศิลปะอย่างมีจิ...
Class 7 รีวิว The Master กระบวนการถ่ายทอดผลงานทางศิลปะ การทำงานศิลปะอย่างมีจิ...Banyapon Poolsawas
 
018 neo–classic พรหมพิเชฐ สนธิเมือง
018 neo–classic พรหมพิเชฐ สนธิเมือง018 neo–classic พรหมพิเชฐ สนธิเมือง
018 neo–classic พรหมพิเชฐ สนธิเมืองAniwat Suyata
 

Similar to 9789740333524 (14)

ศิลปะสมัยใหม่
ศิลปะสมัยใหม่ศิลปะสมัยใหม่
ศิลปะสมัยใหม่
 
Content05
Content05Content05
Content05
 
Content04
Content04Content04
Content04
 
Content07
Content07Content07
Content07
 
Content07
Content07Content07
Content07
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
ปลายภาค ม4
ปลายภาค ม4ปลายภาค ม4
ปลายภาค ม4
 
ประวัติกำเนิดนาฏศิลป์ไทย ม.4
ประวัติกำเนิดนาฏศิลป์ไทย ม.4ประวัติกำเนิดนาฏศิลป์ไทย ม.4
ประวัติกำเนิดนาฏศิลป์ไทย ม.4
 
ความเข้าใจในทัศนศิลป์
ความเข้าใจในทัศนศิลป์ความเข้าใจในทัศนศิลป์
ความเข้าใจในทัศนศิลป์
 
Class 7 รีวิว The Master กระบวนการถ่ายทอดผลงานทางศิลปะ การทำงานศิลปะอย่างมีจิ...
Class 7 รีวิว The Master กระบวนการถ่ายทอดผลงานทางศิลปะ การทำงานศิลปะอย่างมีจิ...Class 7 รีวิว The Master กระบวนการถ่ายทอดผลงานทางศิลปะ การทำงานศิลปะอย่างมีจิ...
Class 7 รีวิว The Master กระบวนการถ่ายทอดผลงานทางศิลปะ การทำงานศิลปะอย่างมีจิ...
 
Content 05final
Content 05finalContent 05final
Content 05final
 
018 neo–classic พรหมพิเชฐ สนธิเมือง
018 neo–classic พรหมพิเชฐ สนธิเมือง018 neo–classic พรหมพิเชฐ สนธิเมือง
018 neo–classic พรหมพิเชฐ สนธิเมือง
 
มีเกลันเจโล หรือชื่อเต็มว่า
มีเกลันเจโล  หรือชื่อเต็มว่ามีเกลันเจโล  หรือชื่อเต็มว่า
มีเกลันเจโล หรือชื่อเต็มว่า
 
วิเคราะห์ทัศนศิลป์
วิเคราะห์ทัศนศิลป์ วิเคราะห์ทัศนศิลป์
วิเคราะห์ทัศนศิลป์
 

More from CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740333524

  • 2. 2 … แอ็พโพรพริเอชันอาร์ต : ศิลปะแห่งการหยิบยืม การเข้าสู่ความหมายของศิลปะแอ็พโพรพริเอชัน ผลงานศิลปะเกิดขึ้นตลอดเวลามีการเดินทางมายาวนานและยังคงด�ำเนินการสร้างสรรค์ ศิลปะต่อไปอย่างต่อเนื่องยากที่จะหยุดนิ่ง ตราบใดที่มนุษย์ยังมีความคิดสร้างสรรค์และผ่าน สู่การถ่ายทอดออกมา ผลงานศิลปะที่สร้างขึ้นจึงมีจ�ำนวนมากมหาศาลมีการคัดสรร รวบรวม และบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ศิลปะเก็บไว้ เป็นสมบัติของมนุษยชาติให้ได้ศึกษาในหลายประเด็น โดยเฉพาะการศึกษาถึงจินตนาการความคิดต่าง ๆ จากศิลปินซึ่งมีพัฒนาการของแต่ละยุคสมัย อย่างเต็มไปด้วยความน่าสนใจ รวมทั้งเป็นแหล่งข้อมูลที่ส�ำคัญให้กับศิลปินรุ่นต่อมาได้ศึกษา และพัฒนาการสร้างสรรค์ต่อไป เป็นที่ทราบกันดีว่า สภาวะธรรมชาติ ชีวิต สิ่งแวดล้อม มนุษย์ สังคม ศาสนา และความเชื่อ คือสิ่งส�ำคัญที่มีผลต่อจินตนาการและความคิดในการสร้างสรรค์ของศิลปินมาโดยตลอด ดังนั้น ค�ำว่า แรงบันดาลใจ (Inspiration) และ อิทธิพล (Influence) จึงเป็นสิ่งส�ำคัญที่บอก ถึงที่มาแห่งการสร้างสรรค์ การที่ผู้สร้างสรรค์งานศิลปะสนใจศึกษาเรียนรู้จากผลงานศิลปะและ จากศิลปินนั้นมักจะเกิดการรับลักษณะหรือความคิดที่ชมชอบมาจากผลงานศิลปินนั้น ๆ ซึ่งถือว่า เป็นเรื่องปกติที่ศิลปะจะส่งต่อให้กันและเป็นที่เข้าใจกันดีว่าจัดอยู่ในข่ายของทั้งแรงบันดาลใจ และอิทธิพลที่ได้รับ แต่ทว่าในระยะแรก ๆ นั้น การรับมาแล้วถ่ายทอดใหม่จะปรับสร้างให้มี ลักษณะเฉพาะของตนเองเป็นหน้าตาใหม่ที่ไม่เหมือนกับรูปต้นแบบ ดังการลอกหรือถอดยก มาทุกประการ นี่คือการสร้างสรรค์ที่ส่งผ่านกันมาอย่างยาวนาน แต่ถึงกระนั้นก็มิใช่กฎเกณฑ์ ที่ตายตัว ศิลปินที่ชื่นชมผลงานของศิลปินรุ่นก่อนแล้วน�ำมาถ่ายทอดใหม่โดยยังคงลักษณะ ที่เป็นต้นแบบนั้น ๆ ไว้ก็มีเช่นกัน ศิลปินบางคนเพิ่มเติมสิ่งหรือส่วนที่คิดใหม่ลงไปด้วยพร้อม กับลักษณะเฉพาะตัว บางคนลอกส�ำหรับการศึกษา ลอกโครงสร้างองค์ประกอบทั้งหมดหรือ เฉพาะส่วนซึ่งเห็นได้ในผลงานบางชิ้นของทิเชียน (Titian) หลายชิ้นของเอดัวร์ มาเน่ต์ (Édouard Manet) และปาโบล ปีกัสโซ (Pablo Picasso) โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปินกลุ่มอิมเพรสชันนิสต์ (Impressionist) หรือกลุ่มลุทธิประทับใจ กลุ่มโพสต์อิมเพรสชันนิสต์ (Post Impressionist) หรือกลุ่มลัทธิประทับใจยุคหลัง กลุ่มนีโออิมเพรสชันนิสต์ (Neo-Impressionist) หรือกลุ่ม ลัทธิประทับใจใหม่ และอาร์ตนูโว (Art Nouveau) หรือนวศิลป์ ซึ่งชื่นชมอย่างหลงใหลใน ศิลปะภาพพิมพ์แกะไม้ของญี่ปุ่นในช่วงสมัยเอโดะ ต่างได้ทั้งแรงบันดาลใจและอิทธิพลต่อ _14-17(001-012)P3.indd 2 6/12/58 BE 2:24 PM
  • 3. บทที่ 1 การเข้าสู่ความหมายของศิลปะแอ็พโพรพริเอชัน … 3 การสร้างสรรค์ผลงานของตนเองหยิบยืมหรือน�ำเอาหลายลักษณะจากภาพพิมพ์แกะไม้ของ ญี่ปุ่นมาปรับอยู่ในผลงานตนเองรวมทั้งการลอกยกมาทั้งภาพ แม้ว่าพัฒนาการของงานสร้างสรรค์ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมากที่เป็นสิ่งเร้าต่อศิลปินใน การสร้างสรรค์ออกมาโดยไม่ซํ้ากัน แต่การได้แรงบันดาลใจหรือรับอิทธิพลจากศิลปินรุ่นก่อน ก็ยังคงด�ำเนินไปอย่างปกติ เพียงแต่การถ่ายทอดออกนั้นจะต่างกันไป ความพึงพอใจต่อสิ่งที่ ศิลปินพบเห็นแล้วเกิดประเด็นคิดที่ต้องการน�ำมาใช้ในผลงานของตนเองนั้น มาจากทั้งความรู้สึก ส่วนตัว เจตจ�ำนงเฉพาะ และเงื่อนไขในบริบทสังคมหลายประการ ซึ่งเห็นได้จากการขับเคลื่อน ไปของผลงานศิลปะแต่ละยุคสมัย ค�ำว่า แรงบันดาลใจ และอิทธิพล มีการตีความที่มองกันคนละมุม ศิลปินหลายคน มีความเห็นว่าการรับรูปแบบบางอย่างจากศิลปินอื่นมาสร้างสรรค์ใหม่แม้จะมีกลิ่นอายของ ต้นแบบปรากฏอยู่ก็มิใช่เรื่องของการรับอิทธิพล แต่เป็นเรื่องของการรับหรือได้แรงบันดาลใจ มาสร้างผลงาน แต่ถ้าลักษณะของต้นแบบปรากฏอยู่มากจึงจะเป็นการรับอิทธิพล บ้าง ก็มีการตีความตรงกันข้าม ไม่ว่าจะมีการให้ความหมายค�ำอย่างไร ความหมายทั้ง 2 นี้ ก็ถูกใช้ร่วมกันจนเกิดการคละเคล้าความเข้าใจจนก่อให้เกิดพัฒนาการของ 2 ค�ำนี้และ ยังได้แตกค�ำใหม่ขึ้นคือค�ำว่า การหยิบยืมหรือการเอามาครอบครอง ซึ่งมาจากค�ำศัพท์ว่า “แอ็พโพรพริเอชัน” (appropriation) ในขณะเดียวกันค�ำว่าแรงบันดาลใจและอิทธิพลก็ยัง คงใช้อยู่อย่างปกติ ค�ำว่า “แอ็พโพรพริเอชัน” มีการอธิบายที่มักอ้างถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ถูกหยิบยืมมาสร้างสรรค์ ขึ้นใหม่ สิ่งที่หยิบยืมมาอาจรวมถึงภาพ รูปทรง หรือรูปแบบต่าง ๆ จากประวัติศาสตร์ศิลปะ จากวัฒนธรรมป็อปปูลาร์หรือวัสดุและเทคนิคต่าง ๆ จากสิ่งที่ไม่เป็นศิลปะ เมื่อเข้าสู่ช่วงทศวรรษ ที่ 1980 ค�ำศัพท์นี้ใช้กันมากขึ้นด้วยการเรียกลักษณะพิเศษเฉพาะที่ศิลปินน�ำเอาผลงาน ของศิลปินอื่นมาสร้างสรรค์เป็นผลงานชิ้นใหม่ขึ้น ซึ่งงานชิ้นใหม่นี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือ ไม่เปลี่ยนแปลงจากผลงานต้นแบบ เมื่อย้อนกลับเข้าทบทวนประวัติศาสตร์ศิลปะ ศึกษาถึงการเดินทางเข้าสู่ความหมายของ ค�ำว่า “แอ็พโพรพริเอชัน” ซึ่งระบุความหมายถึงการหยิบยืมหรือการเอามาครอบครองแล้ว _14-17(001-012)P3.indd 3 6/12/58 BE 2:24 PM
  • 4. 4 … แอ็พโพรพริเอชันอาร์ต : ศิลปะแห่งการหยิบยืม สามารถย้อนไปที่ช่วง ค.ศ. 1912-1913 จะเห็นได้ว่า ศิลปินคู่แรกคือปาโบล ปีกัสโซ และ จอร์ช บร๊าค (Georges Braque) ได้หยิบยืมหรือน�ำสิ่งที่พบเห็นทั่วไปซึ่งในเวลานั้นยัง ไม่ได้นับว่าเป็นวัสดุศิลปะ เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ ขวด และเศษผ้านํ้ามัน มาท�ำคอลลาจ (Collage) หรือปะติดอยู่ในงานจิตรกรรมของตนเอง ซึ่งเป็นการรวมลักษณะหน้าตาของ ความเป็นจริงที่เห็นอยู่ทั่วไปในชีวิตประจ�ำวันมาเข้าสู่งานสร้างสรรค์โดยการจัดวางไว้ ด้วยกันบนผืนผ้าใบหลายชิ้น ผลงานลักษณะนี้ของศิลปินทั้งสองกล่าวได้ว่าเป็นการเปิดสู่ การอภิปรายถึงการแสดงออกเกี่ยวกับศิลปะและผลที่ตามมา (ภาพ 1-2) ภาพ 1 Pablo Picasso. Still Life with Chair Caning, 1912. Oil and oilcloth on canvas with rope. 27 × 35 cm. Musée Picasso, Paris. ภาพ 2 Georges Braque. Bottle, Newspaper, Pipe and Glass, 1913. Charcoal and collage on paper. 48 × 64 cm. Private Collection. _14-17(001-012)P3.indd 4 6/12/58 BE 2:24 PM
  • 5. บทที่ 1 การเข้าสู่ความหมายของศิลปะแอ็พโพรพริเอชัน … 5 ต่อมาใน ค.ศ. 1917 มาร์เซล ดูชอง (Marcel Duchamp) ได้น�ำเสนอความคิดเกี่ยวกับ วัสดุส�ำเร็จรูป (Readymade) โดยการเริ่มที่โถปัสสาวะในชื่อผลงานว่า “นํ้าพุ” (Fountain) และใน ค.ศ. 1919 ในผลงานที่ใช้ชื่อว่า แอล.เอช.โอ.โอ.คิว. (L.H.O.O.Q.) ดูชองหยิบยืม หรือน�ำเอารูปก๊อปปี้ของโมนาลิช่าซึ่งเป็นวัสดุส�ำเร็จรูปหนึ่งมาเข้าสู่ผลงานของตนเองโดย การเพิ่มเรียวหนวดบนริมฝีปากและเคราแพะตรงปลายคางบนรูปโมนาลิซ่า พร้อมทั้งเขียน ตัวอักษร แอล.เอช.โอ.โอ.คิว. ไว้ใต้ภาพ ถึงกระนั้นก็ตาม ก็ยังเป็นการน�ำเอามาใช้ทั้งภาพ เช่นเดียวกับการน�ำเอาโถปัสสาวะมาตั้งแสดงโดยตรง (ภาพ 3-5) ภาพ 3 Leonardo da Vinci. Mona Lisa (La Gioconda), ภาพ 4 Marcel Duchamp. L.H.O.O.Q., 1919. c.1503-1505. Oil on canvas. 77 × 53 cm. Color reproduction of Mona Lisa altered Louvre, Paris, France. with a pencil. Private Collection. ภาพ 5 Marcel Duchamp. Fountain (Urnal), 1917. Glazed ceramic replica (original lost). 36 × 48 ×61 cm. _14-17(001-012)P3.indd 5 6/12/58 BE 2:24 PM
  • 6. 6 … แอ็พโพรพริเอชันอาร์ต : ศิลปะแห่งการหยิบยืม การเดินทางของค�ำแอ็พโพรพริเอชัน เห็นได้ชัดเจนในกลุ่มศิลปินดาดาซึ่งรวมทั้งดูชอง ด้วยศิลปินกลุ่มนี้ได้หยิบยืม สิ่งของที่พบเห็นอยู่ในชีวิตทุกวันมาใช้เป็นงานศิลปะดังเช่น ผลงาน ของคุร์ท ชวิทเทอร์ (Kurt Schwitters) จีน อ๊าพ (Jean Arp) และฟรานซีส พีคาเบีย (Francis Picabia) เช่นกันกับศิลปินเซอร์เรียลิสต์ เมเร่ต์ ออพเพนไฮม์ (Méret Oppenheim) ก็นิยม ใช้วัตถุสิ่งของที่พบเห็นอยู่ทั่วไปในชีวิตประจ�ำวันดังเช่นผลงาน “วัตถุ (อาหารกลางวันในภาชนะ หุ้มขนสัตว์)” Object (Luncheon in Fur, 1936) (ภาพ 6) ศิลปินน�ำขนเฟอร์มาหุ้มถ้วยกาแฟ ซึ่งสิ่งที่ศิลปินหยิบเอามาใช้ร่วมกันนี้ จะให้ความหมายใหม่ต่อการรับรู้ ภาพ 6 Méret Oppenheim. Object, 1936. Fur-covered cup, saucer, and spoon. Overall height 27/8 inches. Museum of Modern Art, New York. โดยปกติแล้วการลอกหรือท�ำซํ้าใหม่นั้นไม่ได้รับการพิจารณายอมรับว่าเป็นงานศิลปะที่ดี จนกระทั่งดูชองได้เปลี่ยนความคิดนี้ด้วยการสร้างผลงานศิลปะจากวัตถุส�ำเร็จรูปดังที่กล่าว มาแล้ว ดูชองให้วัตถุในงานของเขาเป็นตัวเรียกร้องยืนกรานว่าคุณค่าของงานศิลปะไม่ได้ขึ้นอยู่กับ การสร้างสรรค์ตามจารีตนิยมแต่ขึ้นอยู่กับความคิดทั้งหลายที่ยืนหยัดอยู่เบื้องหลังของผลงาน เมื่อเข้าสู่ช่วง ค.ศ. 1950-1970 โรเบิร์ต เราเชนเบิร์ก (Robert Rauschenberg) น�ำเอาวัสดุและวัตถุส�ำเร็จรูปวัตถุที่ทิ้งแล้วไม่ว่าจะเป็นยางรถยนต์ ที่นอนเก่า สัตว์สตาฟฟ์ และรูปถ่าย มารวมกันกับจิตรกรรมที่ศิลปินแสดงลักษณะของฝีแปรงและการเทสีต่าง ๆ เข้าร่วมกันซึ่งรวมการใช้เทคนิคพิมพ์สกรีนและคอลลาจด้วย (ภาพ 7-8) เช่นกันกับเจสเปอร์ จอห์น (Jasper Johns) ที่น�ำวัตถุทิ้งไม่ใช้แล้วซึ่งพบอยู่ในชีวิตประจ�ำวันมาใช้อยู่ในผลงาน และสร้างให้ท�ำงานร่วมกับฝีแปรงของศิลปินส่วนผลงานชิ้นที่มีความชัดเจนถึงการหยิบยืม _14-17(001-012)P3.indd 6 6/12/58 BE 2:24 PM
  • 7. บทที่ 1 การเข้าสู่ความหมายของศิลปะแอ็พโพรพริเอชัน … 7 มาสร้างใหม่ คือการน�ำเอาสัญลักษณ์ส�ำคัญดังเช่น ธงชาติของชาวอเมริกัน มาใช้ในผลงาน หลายชิ้นด้วยกัน (ภาพ 9-10) ภาพ 7 Robert Rauschenberg. Canyon, 1959. ภาพ 8 Robert Rauschenberg. Trophy III Combine painting: mixed media (for Jean Tinguely), 1961. on canvas with objects. Combine painting: mixed and objects. 207.5 × 178 × 61 cm. 240 × 167 cm. Sonnabend Collection, New York. The Museum of Contemporary Art, Los Angeles. ภาพ 9 Jasper Johns. Three Flags, 1958. ภาพ 10 Jasper Johns. Watchman, 1964. Encaustic on canvas. 78.4 × 115.6 × 12.7 cm. Oil on canvas with objects. 216 × 153 × 24 cm. Whitney Museum of American Art, New York, USA. Mr. Hiroshi Teshigahara. _14-17(001-012)P3.indd 7 6/12/58 BE 2:24 PM
  • 8. 8 … แอ็พโพรพริเอชันอาร์ต : ศิลปะแห่งการหยิบยืม ศิลปินป๊อปอาร์ตหรือศิลปินในศิลปะประชานิยมดังเช่น รอย ลิกเตนสไตน์ (Roy Lichtenstein) คลอส โอเดนเบิร์ก (Claes Oldenburg) และแอนดี้วอร์ฮอล (Andy Warhol) ได้รับแรงบันดาลใจจากดูชองและนิยมหยิบยืมภาพมาจากงานพาณิชยศิลป์ และวัฒนธรรม ป็อปปูลาร์พร้อมไปกับการใช้เทคนิคของทางอุตสาหกรรมซึ่งได้ช่วยชี้วิถีทางส�ำหรับศิลปินในยุค ค.ศ. 1970-1980 (ภาพ 11-16) ภาพ 11 Roy Lichtenstein. Blang, 1962. ภาพ 12 Roy Lichtenstein. M-May be Oil on canvas. 174 × 150 cm. (A Girl’s Picture), 1965. Magna on canvas. Seibu Department Stores, Limited, Tokyo. 152 × 152 cm. Museum Ludwig, Cologne. ภาพ 13 Claes Oldenburg. Ice Cream Cone, 1962. ภาพ 14 Claes Oldenburg. Meats, 1964. Plaster and metal painted with enamel. Plaster, Clay and marble, painted. 35 × 95 × 34 cm. Sonnabend Collection, New York. 57 × 96 × 96 cm. Private Collection. _14-17(001-012)P3.indd 8 6/12/58 BE 2:24 PM
  • 9. บทที่ 1 การเข้าสู่ความหมายของศิลปะแอ็พโพรพริเอชัน … 9 ภาพ 15 Andy Warhol. ภาพ 16 Andy Warhol. 210 Coca-Cola Bottles, 1962. Twenty-Five Colored Marilyns, 1962. Silkscreen ink, acrylic and pencil Acrylic on canvas. 209 × 169.5 cm. on canvas. 209.5 × 266.5 cm. Collection of the Modern Art Courtesy: Thomas Ammann Fine Art AG, Zurich. Museum of Fort Worth, Texas. ชารอน แมต แอตคินส์ (Sharon Matt Atkins) ผู้ท�ำงานวิจัยเรื่อง “ศิลปะแอ็พโพรพริเอชัน และเอกลักษณ์ตั้งแต่ ค.ศ. 1980” ได้อธิบายถึงแอ็พโพรพริเอชันว่า ตามความหมายที่สืบทอด กันมานั้นอ้างถึงการครอบครองบางสิ่งที่เป็นของคนอื่น เป็นค�ำที่ไม่ใช่การอธิบายความแตกต่าง ในชนิดของวัตถุที่ถูกหยิบยืมมาหรือเป้าหมายของสุนทรีย์ที่แตกต่างกัน “แอ็พโพรพริเอชัน” เป็นค�ำอธิบายประวัติศาสตร์ศิลปะหนึ่งที่ผลิแตกออกมาของยุคโพสต์โมเดิร์น (Postmodern) ค�ำนี้เข้าสู่การอภิปรายศิลปะร่วมสมัยที่เป็นผลของอิทธิพลจากนิทรรศการ “รูปภาพ” (Pictures) และการสร้างทฤษฎีในเวลาต่อมาของศิลปินจากการแสดงนิทรรศการ “รูปภาพ” ซึ่งได้รวบรวมผลงานของศิลปินที่หยิบยืมภาพจากวัฒนธรรมป็อปปูลาร์ หรือข้อมูลจากศิลปะชั้น สูงที่ผู้ชมสามารถจดจ�ำได้ บุคลิกของภาพเป็นดังการสะท้อนการเปรียบเทียบแรงดลใจและเพิ่ม ความหมายอื่นลงไป การทดลองอย่างยิ่งใหญ่ครั้งแรกของแอ็พโพรพริเอชันเกิดขึ้นในนิทรรศการ “อาร์ต อะเบาต์ อาร์ต” (Art about Art) ค.ศ. 1978 ซึ่งจัดโดยพิพิธภัณฑ์วิทนีย์แห่งศิลปะ อเมริกัน (The Whitney Museum of American Art) มีสาระส�ำคัญของเนื้อหาที่ศิลปิน ร่วมสมัยผู้ได้รับเชิญมาทั้งหมด ท�ำการหยิบยืมข้อมูลจากประวัติศาสตร์ศิลปะมาใช้ ในผลงานของตนเอง การแสดงครั้งนี้ได้พิสูจน์ถึงการเกิดขึ้นในเวลาอันเหมาะสมอย่างทีเดียว _14-17(001-012)P3.indd 9 6/12/58 BE 2:24 PM
  • 10. 10 … แอ็พโพรพริเอชันอาร์ต : ศิลปะแห่งการหยิบยืม ด้วยเพราะ “แอ็พโพรพริเอชัน” กลายเป็นลักษณะหนึ่งของแบบนิยมหลักแห่งยุค จะเห็นได้ว่า ในช่วงต้นของทศวรรษที่ 1980 ศิลปินเริ่มคัดเลือกรูปต่าง ๆ จากประวัติศาสตร์ศิลปะ โฆษณา ทีวี และสื่ออื่น ๆ น�ำมาเป็นส่วนส�ำคัญหลักในผลงานของเขา ศิลปินหลายคนลอกตรงยกมา โดยปราศจากการปรับแปร บ้างก็เชื่อมกับภาพอื่น ๆ ซึ่งจะไม่เหมือนกับการอ้างมาก่อนที่สร้าง ขึ้นด้วยการแสดงความคารวะหรือสร้างขึ้นด้วยจุดประสงค์ของการศึกษา นอกจากนี้ชารอนยังกล่าวถึงลักษณะผลงานแอ็พโพรพริเอชันในช่วงต้นของทศวรรษ ที่ 1980 และช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ว่า - ในช่วงปีแรก ๆ ของทศวรรษที่ 1980 เป็นผลงานที่อ้างอิงถึงข้อมูลแหล่งที่มาอื่นที่ไม่ใช่ ศิลปะ ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากผลงานของครูเกอร์ (Kruger) เกี่ยวกับการตัดค�ำตัวอักษรพิมพ์ มาใช้ในผลงาน รวมทั้งผลงานชุดเครื่องดูดฝุ่นฮูเวอร์ (Hoover) ของคูนส์ (Koons) ด้วย - ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 จะเป็นผลงานที่อ้างอิงภาพจากประวัติศาสตร์ศิลปะ เมื่อศิลปินยืมภาพต้นแบบมาแล้วก็จะจัดการแก้ปัญหาทางความคิดและท�ำระบบการน�ำเสนอ ใหม่ ใช้กลวิธีต่อการประลองความคิดกับภาพต้นแบบ ต่อมาศิลปินก็ได้อิทธิพลอย่างมากจาก ความสนใจต่อเรื่องราวของการเมือง ศิลปินเชื่อมความสามารถพิเศษในการสร้างสรรค์กับการ พิจารณาประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตก มีการก่อรูปแบบ เพศสภาพ เชื้อชาติ และพื้นเพของ ชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ (Atkins, 2004: 10) ปัจจุบันนักวิจารณ์และนักประวัติศาสตร์ใช้ค�ำ “แอ็พโพรพริเอชัน” ในการอธิบาย ผลงานศิลปะถึงลักษณะที่หยิบยืมมาใช้ซึ่งจ�ำแนกความแตกต่างกันออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้ - กลุ่มแรก สร้างสรรค์โดยการเชื่อมและก�ำหนดรูปทรงที่หยิบยืมมาเข้าสู่วิถีทางของ ตนเองดังเช่นผลงานของ เจสเปอร์ จอห์น โรเบิร์ต เราเชนเบิร์ก จูเลียน ชนาเบล (Julian Schnabel) และซิกมาร์ โพลเก้ (Sigmar Polke) - กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มที่นิยมหยิบยืมมาใช้โดยตรง ศิลปินจะท�ำคัดลอกขึ้นใหม่หรือท�ำการ ถ่ายภาพจากรูปถ่ายประวัติศาสตร์ศิลปะจากงานพาณิชยศิลป์ แล้วน�ำเสนอตรงดังที่ต้นแบบ เป็นแต่เดิม แต่ทว่าเป็นการแสดงออกถึงความคิดที่ซ้อนอยู่ดังเช่น ผลงานของเชอรี่ เลวายน์ (Sherrie Levine) และเบทตี้ ซาร์ (Betye Saar) (Stokstad, 2002: 1166) _14-17(001-012)P3.indd 10 6/12/58 BE 2:24 PM