SlideShare a Scribd company logo
1
อาณาจักรศรีวิชัยและนครศรีธรรมราช
อาณาจักรศรีวิชัย
จุดเริ่มต้นของชื่ออาณาจักรศรีวิชัยมาจากการอ่านศิลาจารึกหลักที่23 ซึ่งมีศักราชกากับว่าปี
พุทธศักราช 1318 ที่พบทางภาคใต้ของประเทศไทยในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชหรือสุราษฎร์ธานี จารึกมี
ข้อความที่กล่าวถึง “พระเจ้ากรุงศรีวิชัย” และเมื่อนาไปประกอบกับบันทึกของภิษุอี้จิง(I-Ching) ซึ่งได้ได้เดิน
โดยทางเรือจากเมืองกวางตุ้งมาศึกษาพระธรรมวินัยในปี พ.ศ.1214 ได้กล่าวถึงเมื่อเดินทางเรือมาได้ 20 วัน ได้
แวะอาณาจักรโฟชิ (Fo-Shih) ท่านได้แวะศึกษาไวยากรณ์ภาษาสันสกฤตอยู่ 6 เดือนก่อนที่จะเดินทางไป
อินเดีย หลังจากศึกษาที่อินเดียอยู่ 10 ปี ได้กลับมาที่โฟชิอีกครั้ง ซึ่งขณะนั้นได้กลายเป็นอาณาจักร ชิลิโฟชิ
(Shih-li-Fo-Shih) ไปแล้ว ศาสตราจารย์ยอร์จ เซเดย์ สรุปว่าอาณาจักรเชลิโฟชิ ก็คือ อาณาจักรศรีวิชัยอันเป็น
อาณาจักรหนึ่งที่มีอานาจทางการเมืองมั่นคง มีอาณาเขตกว้างขวางครอบคลุมหมู่เกาะต่าง ๆ บริเวณตอนใต้
ของคาบสมุทรมาเลย์ ตลอดขึ้นมาถึงดินแดนบางส่วนของคาบสมุทร โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองปา
เล็มบัง เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย
นักโบราณคดีหลายท่านมีความเห็นสอดคล้องกับศาสตราจารย์ยอร์จ เซเดย์ เนื่องจากได้พบศิลา
จารึก 8 หลักบนเกาะสุมาตรา มีอยู่2 หลัก กาหนดอายุในช่วงเดียวกับการเดินทางมาถึงของภิกษุอี้จิง อย่างไร
ก็ตามนักวิชาการ เช่น ราเมชจันทร์ มาชุมดาร์ ควอริทช์-เวลส์ และหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี มีความเห็นว่า
ศูนย์กลางของ ศรีวิชัยควรจะอยู่บนคาบสมุทรมาเลย์ โดยเฉพาะหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี มีความเห็นว่า
จารึกที่กล่าวถึงอาณาจักรศรีวิชัยที่พบที่ไชยา สุราษฎร์ธานี นั้น เป็นจารึกภาษาสันสกฤตซึ่งตรงกับบันทึกของ
ภิกษุอี้จิง ในขณะที่จารึกที่พบบนเกาะสุมาตราเป็นภาษามลายูโบราณ และเมื่อพิจารณาถึงการเดินเรือ
เพียง 20 วัน ของภิกษุอี้จิงควรถึงแค่เมืองไชยา สุราษฎร์ธานี และคงไม่ผ่านเส้นศูนย์สูตรไปถึงเกาะสุมาตรา
รวมทั้งทางภาคใต้ของประเทศไทยก็ได้พบโบราณวัตถุ โบราณสถาน ซึ่งมีลักษณะที่เรียว่า“ศิลปกรรมแบบศรี
วิชัย” กาหนดอายุในช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-18
ลักษณะศิลปะแบบศรีวิชัยส่วนมากเป็นศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน จึงมัก
พบพระรูปพระโพธิสัตว์ เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระศรีอาริยเมตไตรยโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ไวโรจ
นะ และศิลปะวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาพราหมณ์ในลัทธิไวษณพนิกาย นอกจากนั้นยังพบร่องรอยของ
สถาปัตยกรรมตลอดจนโบราณสถานในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้ ทั้งในปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา และคาบสมุทร
2
มาเลย์ทางภาคใต้ของประเทศไทย
อย่างไรก็ตามปัญหาเกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัยที่ยังเป็นประเด็นของการศึกษาค้นคว้า
จาก นักวิชาการยังมีข้อถกเถียงกัน 2 ประเด็นที่สาคัญคือ
1. รูปแบบทางการเมือง เมืองต่าง ๆ บนคาบสมุทรหรือหมู่เกาะต่างมีพัฒนาการและมีความสัมพันธ์
ทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ในลักษณะที่เป็นสมาพันธรัฐ ที่มีศูนย์กลางของอานาจที่เปลี่ยนไปตามการ
ผันแปรทางการเมืองและเศรษฐกิจ
2. รูปแบบทางศิลปวัฒนธรรม เมืองต่าง ๆ เหล่านี้มีวัฒนธรรมร่วมกัน คือ การนับถือพุทธศาสนา
ลัทธิมหายาน ซึ่งแสดงออกด้วยรูปแบบที่เรียกว่า“ศิลปกรรมแบบศรีวิชัย”
จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบโดยกว้างจากปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย มาจนถึง
คาบสมุทรมาเย์และทางภาคใต้ของประเทศไทย ได้มีข้อสรุปเกี่ยวกับศรีวิชัยคือ“ศรีวิชัย” ไม่ใช่ชื่ออาณาจักรที่
มีศูนย์กลางของอานาจในทางการเมืองและควบคุมเศรษฐกิจอยู่เมืองใดเมืองหนึ่งเพียงแห่งเดียวแต่ศรีวิชัยเป็น
ชื่อกว้าง ๆ ทางศิลปะ และวัฒนธรรมของบ้านเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางการค้าทางทะเลแถบคาบสมุทรกลุ่ม
บ้านเมืองหรือแว่นแคว้นต่าง ๆ เหล่านี้มีวัฒนธรรมร่วมกันคือ การนับถือพุทธศาสนามหายานและมีรูปแบบ
ศิลปกรรมแบบศรีวิชัยเช่นเดียวกัน แว่นแคว้นและบ้านเมืองทั้งบนผืนแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะเกี่ยวข้องกันใน
ลักษณะของสหพันธรัฐที่มีศูนย์กลางอานาจเปลี่ยนแปลงไปตามความผันแปรทางเศรษฐกิจ
ความสาคัญของศรีวิชัยที่ปรากฏจากจดหมายเหตุของจีนสมัยราชวงศ์ถังคือเป็นศูนย์กลางการค้าขาย
สินค้าข้ามสมุทรทางฝั่งทะเลตะวันตกและตะวันออก ผ่านช่องแคบมะละกา ดังนั้นจึงได้พบ ลูกปัดจากดินแดน
ทางตะวันตกและเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งพบเรื่อยลงมาทั้งที่เกาะสุมาตราและทางภาคใต้ของประเทศ
ไทย แต่ในที่สุดความรุ่งเรื่องทางการค้าของศรีวิชัยก็ลดลงเมื่อจีนได้พัฒนาเรือที่ค้าขายและทาการค้าขาย
โดยตรงกับบ้านเมืองที่อยู่ชายฝั่งทะเลตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 16 และการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้ทาให้เมืองทาง
แถบคาบสมุทรทางภาคใต้ของประเทศไทยรุ่งเรืองขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
สาหรับทางภาคใต้ของประเทศไทย พบหลักฐานทางโบราณคดีที่เป็นบ้านเมืองและแคว้นหรือรัฐร่วม
สมัยอาณาจักรศรีวิชัยคือ (สุจิตต์ วงษ์เทศ และคณะ, 2531 : 58-70) แคว้นไชยา มีขอบเขตตั้งแต่อาเภอท่า
3
ชนะ อาเภอไชยา อาเภอเมือง และอาเภออื่น ๆ ในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีไชยาเป็นศูนย์กลาง พบศาสน
สถานและศิลปกรรมหลายแห่ง เช่น ที่วัดแก้วไชยา พระพุทธรูปและพระพิมพ์ต่าง ๆ แคว้นนครศรีธรรมราช
มีขอบเขตในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช ชื่อที่ปรากฏตามหลักฐานและเอกสารต่าง ๆ คือ“ตามพร
ลิงค์” แคว้นสทิงพระมีขอบเขตจากบริเวณรอบทะเลสาบสงขลาถึงจังหวัดพัทลุง พบร่องรอยโบราณศิลปวัตถุ
สถานที่นับถือศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนา แคว้นปัตตานี มีขอบเขตครอบคลุมพื้นที่จังหวัดปัตตานีและ
จังหวัดยะลา พบร่องรอยเมืองท่าที่สาคัญคือตรังและเมืองตะกั่วป่า
---------------------------------------------------------------------------------------------
ประวัตินครศรีธรรมราช
ประวัติเมืองนครศรีธรรมราช
จากการขุดค้นและโบราณสถานโบราณวัตถุต่างๆ สามารถย้อนไปได้ถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ นับ
พันหมื่นปี จนกระทั่งเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ที่มีหลักฐานบันทึกปรากฏชื่อเป็นที่รู้จักในหมู่นักเดินเรือ และพ่อค้า
ชาวอินเดีย อาหรับและจีน ในชื่อว่า ตามพรลิงค์ บ้าง กะมะลิง บ้าง ตั้งมาหลิ่ง บ้าง ตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 600-700
และชุมชนนครศรีธรรมราชได้พัฒนาจนเป็นชุมชนใหญ่ รับอิทธิพลศาสนาพราหมณ์จากอินเดียตลอดแนว
ชายฝั่ง ตั้งแต่เขตสิชลจนถึงเขตตาบลท่าเรือของอาเภอเมืองในปัจจุบัน มีโบราณสถานหลงเหลืออยู่มากมาย
โดยเฉพาะที่บริเวณ อุทยานประวัติศาสตร์เขาคาและเขตอาเภอสิชลซึ่งได้ค้นพบเทวรูปพระวิษณุศิลา ที่มีอายุ
เก่าแก่ที่สุดในเอเซียอาคเนย์คือประมาณพุทธศตวรรษที่ 9-10 กับยังพบศิลาจารึกขนาดใหญ่ ที่เก่าแก่ที่สุดหลัก
หนึ่งของประเทศไทย คือมีอายุครั้งพุทธศตวรรษที่ 11 ณ หุบเขาช่องคอย อาเภอร่อนพิบูลย์ มีข้อความบูชา
พระศิวะและเชิดชูคนดีว่า "ถ้าคนดีอยู่ในหมู่บ้านของชนเหล่าใดความสุขและผล(ประโยชน์) จักมีแก่ชน
เหล่านั้น" อีกด้วย
หลังพุทธศตวรรษที่ 10 เริ่มพบร่องรอยพุทธศาสนาในนครศรีธรรมราช และเชื่อว่านครศรีธรรมราช
พัฒนาจนเป็นศูนย์กลาง ของอาณาจักรศรีวิชัย ดังปรากฏหลักฐานบน ศิลาจารึกหลักที่ 23 วัดเสมาเมืองที่
จารึกไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 1318 ว่า
"พระเจ้ากรุงศรีวิชัยผู้ประกอบด้วยคุณความดีและเป็นเจ้าแห่งพระราชาทั้งหลาย ในโลกทั้งปวงได้
ทรงสร้างปราสาทอิฐทั้งสามนี้ เป็นที่บูชาพระโพธิสัตว์เจ้าผู้ถือดอกบัว(คือปทุมปาณี) พระผู้ผจญพระยามาร
(คือพระพุทธเจ้า) และพระโพธิสัตว์เจ้าผู้ถือวัชระ (คือวัชรปาณี) พระองค์ได้ถวายปราสาททั้งสามนี้แก่บรรดา
4
พระชินราชอันประเสริฐสุดซึ่งสถิตอยู่ในทศทิศ ณ สถานที่แห่งนี้" ร่วมกับศิลจารึกอีกหลายหลัก เช่น ศิลา
จารึกหลักที่ 29 วัดพระบรมธาตุเมืองนคร ภาษาทมิฬ พุทธศตวรรษที่ 9-10, ศิลาจารึกหลักที่ 28 วัดพระบรม
ธาตุเมืองนคร ภาษา มอญโบราณ พุทธศตวรรษที่ 12 และศิลาจารึกหลักที่ 27 วัดมเหยงค์ ภาษาสันสกฤต
อักษรคล้ายเขมร พุทธศตวรรษที่ 12-14 ที่จารึกไว้ว่า
"...บุญกุศลอื่นๆ ตามคาสอนคือการปฏิบัติพระธรรมไม่ขาดสักเวลา การบริบาลประชาราษฎร์ การ
ทนต่ออิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ การชานะอินทรีย์..."
นอกจากนี้ยังมีหลักฐานจากจดหมายเหตุพงศาวดารของชนชาติต่างๆ ซึ่งเรียกชื่อนครศรีธรรมราช
ต่างๆ กันไปดังนี้ ตามพลิงคม,ตามพรลิงค, มาหมาลิงคม, ตั้งมาหลิ่ง, ตันมาลิง, ตมลิงคาม, ตามพรลิงเกศวร,
ตามโพลิงเกศวร, โฮลิง, โพลิง, เชียะโท้ว, โลแค็ก, ลิกอร์, ละคอน,คิวคูตอน,สิริธรรมนคร, ศรีธรรมราช, สุวรรณ
ปุระ,ปาฏลีบุตร, ชิหลีโฟซี, ชวกะ, ซาบัก
ช่วงที่นครศรีธรรมราชมั่นคงที่สุดในประวัติศาสตร์คือในพุทธศตวรรษที่ 17-19 อันเป็นรัชสมัยของ
ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช ซึ่งได้สถาปนาพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ลงในนครศรีธรรมราชอย่างมั่นคง
ก่อนที่จะแผ่ขยายไปยังดินแดนของแหลมทอง นครศรีธรรมราชครั้งนั้นกว้างขวาง มีเมืองขึ้นรายรอบ 12 เมือง
เรียกว่าเมืองสิบสองนักษัตรตั้งแต่ชุมพรลงไปถึงเมืองปาหัง กลันตันและไทรบุรี กับนครศรีธรรมราชยังเคย
กรีฑาทัพเรือที่มีแสนยานุภาพไปตีลังกาถึง 2 ครั้ง นอกจากนี้ยังพบร่องรอยความสัมพันธ์และยกทัพสู้รบ
ระหว่างกันของนครศรีธรรมราชกับเขมรโบราณ ละโว้ ตลอดจนชวาโบราณอีกด้วย
หลังจากพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา นครศรีธรรมราชเข้ารวมอยู่ในราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ครั้ง
กรุงสุโขทัยตลอดมาจนอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ทั้งในฐานะเมืองประเทศราช เมืองพระยามหานครและหัว
เมืองเอกเป็นหลักเมืองเดียวของไทยทางภาคใต้ตลอดมา เป็นแหล่งวิทยาการความรู้ ศูนย์กลาง
พระพุทธศาสนาและการค้าขายต่างชาติทั้งกับจีน อินเดีย และชาวยุโรป และเมื่อใดที่เกิดเหตุการณ์
ระส่าระสายในราชธานีนครศรีธรรมราชก็จะมีบทบาทแข็งขันขึ้นมา เช่น ครั้งผลัดเปลี่ยนแผ่นดินพระเจ้าอาทิต
ยวงศ์ผู้เยาว์เมื่อ พ.ศ. 2172 ซึ่งพระยากลาโหมสุริยวงศ์ต้องการขึ้นครองราชแทน โดยวางแผนกาจัดออกยาเส
นาภิมุข (ยามาดา)เจ้ากรมอาสาญี่ปุ่นผู้มีอานาจมากในกรุงศรีอยุธยาในเวลานั้น ให้ออกไปเสียจากกรุงศรี
อยุธยา ขณะที่นครศรีธรรมราช ซึ่งกบฏเพราะเห็นความวุ่นวายในกรุง จึงถูกกาหนดมอบหมายให้ออกญาเส
5
นาภิมุขยกทัพไปปราบสาเร็จ แต่ออกญาเสนาภิมุขก็เสียที่กบฏที่ปัตตานีบาดเจ็บ แล้วถูกยาพิษของพระยา
มะริด ที่ออกมาช่วยราชการเมืองนครศรีธรรมราชถึงแก่กรรมลงพร้อมกับพระยากลาโหมสุริยวงศ์
ปราบดาภิเษกขึ้นเป็น พระเจ้าปราสาททอง นครศรีธรรมราชจึงกบฏตั้งตนเป็นอิสระอีก แต่ก็ถูกปราบลงด้วย
ทัพของกรุงศรีอยุธยาอีกคารบหนึ่ง
ครั้งต่อมา ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งศรีปราชญ์กวีเอกในสมัยนั้น ก็ถูกเนรเทศมาจบ
ชีวิตที่นครศรีธรรมราช ครั้นสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. 2227 พระเพทราชาปราบดาภิเษก
ขึ้นครองราช เมืองนครศรีธรรมราชเป็นกบฏอีกครั้งซึ่งกว่าจะตีแตกต้องรบพุ่งกันอยู่นานถึง3 ปี จากนั้น
นครศรีธรรมราชได้มีสัมพันธภาพที่ดีกับกรุงศรีอยุธยาช่วงสั้นๆ ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ มีการ
บูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระบรมธาตุมากมายทั้งองค์พระบรมธาตุ เจดีย์ ลายปูนปั้นพระมหาภิเนกษกรรมและพระ
วิหารหลวง แต่พอสิ้นรัชกาลกรุงศรีอยุธยาก็ระส่าระสายกระทั่งเสียกรุงครั้งที่2 พ.ศ. 2310 พระปลัดหนูเมือง
นครศรีธรรมราช จึงรวบรวมผู้คนตั้งตัวเป็นชุมชุมเจ้านครศรีธรรมราช แล้วรบพุ่งแพ้ต่อสมเด็จพระเจ้าตากสิน
มหาราช ซึ่งทรงมีพระราชดาริว่า เจ้านครไม่มีความผิดที่ได้รบพุ่งกันก็เพราะต่างคนต่างถือตัวเป็นใหญ่ หลังกรุง
แตก ไม่ทรงลงความเห็นว่าเจ้านครเป็นขบถ ทรงให้กลับออกไปครองเมืองนครศรีธรรมราชอีก เป็นพระเจ้า
ขัติยราชนิคม สมมติมไหศวรรย์ พระเจ้านครศรีธรรมราช เจ้าขัณฑสีมา มีเกียรติเสมอเจ้าประเทศราช ทั้งนี้
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชวิจารณ์ว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงปรารภ
เรื่องสืบสันตติวงศ์โดยให้กรมขุนอินทรพิทักษ์ ลูกเธอองค์หนึ่งครองกรุงกัมพูชา ให้เจ้าทัศพงศ์ลูกเธอองค์หนึ่ง
ซึ่งภายหลังเป็นพระพงศ์นรินทร์ ซึ่งเป็นหลานเจ้านครครองเมืองนครศรีธรรมราช ส่วนกรุงธนบุรีนั้นจะมอบ
ราชสมบัติประทานเจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ ที่เรียกว่าเจ้าฟ้าเหม็น ด้วยเป็นพระราชนัดดาพระบาทสมเด็จพระพุทธ
ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงตั้งเมืองนครศรีธรรมราชเป็นเมืองประเทศราชไว้
ในตอนต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ นครศรีธรรมราชนอกจากจะเป็นแหล่งศิลปวิทยาการ ตลอดจนแบบ
แผนประเพณี และพระไตรปิฏกซึ่งกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ต้องคัดลอก เพราะของเดิมที่กรุงศรีอยุธยา ถูก
พม่าทาลายเสียหายมากแล้ว นครศรีธรรมราชภายใต้การปกครองของเจ้านครนับแต่เจ้านครหนู, เจ้า
นครพัฒน์, เจ้านครน้อย ยังเจริญก้าวหน้า ปกครองหัวเมืองภาคใต้ตลอดจนมลายูสงบราบคาบกับยังเป็นสถานี
ค้าขายที่สาคัญของชาติตะวันตกอีกด้วย ขณะเดียวกันความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์จักรีกับสายเจ้านครก็
ผูกพันแน่นแฟ้น เช่น คุณหญิงนุ้ยใหญ่ บุตรีเจ้าพระยานครพัฒน์ ถวายทาราชการในพระราชวังหลวงในรัชกาล
6
ที่ 1 มีพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าอรุโณทัย ได้เป็นกรมหมื่นศักดิพลเสพในรัชกาลที่2, และเป็นกรมพระราชวัง
บวรมหาศักดิพลเสพในรัชกาลที่ 3 ท่านผู้หญิงอิน ภรรยาเจ้าพระยานครน้อยเป็นราชนิกูลตระกูล ณ บางช้าง
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเรียกว่าพี่อิน และบุตรีของเจ้าพระยา นครน้อยกับท่านผู้หญิงอิน 2
คนก็ได้ถวายเป็นเจ้าจอมมารดาน้อยใหญ่และเจ้าจอมมารดาน้อยเล็กในรัชกาลที่3
ต่อมาในรัชกาลที่ 5 ทรงให้มีการปกครองแบบเทศาภิบาล เจ้าพระยานครน้อยกลางจึงลดอานาจลง
ทรงให้พระยาสุขุมนัยวินิต (ปั้น สุขุม) มาเป็นข้าหลวงเทศาภิบาล มณฑลนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ. 2439
นครศรีธรรมราช จึงลดฐานะลงมาตามลาดับ และเป็นที่หนึ่งใน73 จังหวัดในที่สุด โดยครั้งหนึ่งในรัชสมัย
รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ มาดารงตาแหน่ง
อุปราชปักต์ใต้ ประทับ ณ วังโพธิยายรด จังหวัดนครศรีธรรมราช (รพ.มหาราชนครศรีธรรมราชปัจจุบัน)
ข้อมูลจาก http://www.krusungsak.com/mirror/nakon/nakon.htm

More Related Content

What's hot

รายงานโครงงานสังคมศึกษา
รายงานโครงงานสังคมศึกษารายงานโครงงานสังคมศึกษา
รายงานโครงงานสังคมศึกษา
เดชฤทธิ์ ทองประภา
 
07อาณาจักรอยุธยา
07อาณาจักรอยุธยา07อาณาจักรอยุธยา
07อาณาจักรอยุธยาJulPcc CR
 
Key of 4 การสถาปนาอยุธยา-57
Key of 4 การสถาปนาอยุธยา-57Key of 4 การสถาปนาอยุธยา-57
Key of 4 การสถาปนาอยุธยา-57Pracha Wongsrida
 
ประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรมประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรมDos Zaa
 
05อาณาจักรโบราณในประเทศไทย
05อาณาจักรโบราณในประเทศไทย05อาณาจักรโบราณในประเทศไทย
05อาณาจักรโบราณในประเทศไทยJulPcc CR
 
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทยวัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทยchickyshare
 
~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา
~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา
~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา
chakaew4524
 
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาค
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาคสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาค
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาคchickyshare
 
Key of 5 การสถาปนาธนบุรี
Key of 5 การสถาปนาธนบุรีKey of 5 การสถาปนาธนบุรี
Key of 5 การสถาปนาธนบุรีPracha Wongsrida
 
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหารวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหารzubasa_potato
 
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหารวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหารPRINTT
 
คร งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ย
คร  งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ยคร  งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ย
คร งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ย
ปาล์มมี่ ไม่เล่นเกมส์
 
ผลงานนักเรียนชั้นม.6/1 เรื่องการสถาปนา สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
ผลงานนักเรียนชั้นม.6/1 เรื่องการสถาปนา สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรีผลงานนักเรียนชั้นม.6/1 เรื่องการสถาปนา สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
ผลงานนักเรียนชั้นม.6/1 เรื่องการสถาปนา สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
Princess Chulabhorn's College, Chiang Rai Thailand
 

What's hot (18)

รายงานโครงงานสังคมศึกษา
รายงานโครงงานสังคมศึกษารายงานโครงงานสังคมศึกษา
รายงานโครงงานสังคมศึกษา
 
07อาณาจักรอยุธยา
07อาณาจักรอยุธยา07อาณาจักรอยุธยา
07อาณาจักรอยุธยา
 
Key of 4 การสถาปนาอยุธยา-57
Key of 4 การสถาปนาอยุธยา-57Key of 4 การสถาปนาอยุธยา-57
Key of 4 การสถาปนาอยุธยา-57
 
81311
8131181311
81311
 
ประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรมประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรม
 
05อาณาจักรโบราณในประเทศไทย
05อาณาจักรโบราณในประเทศไทย05อาณาจักรโบราณในประเทศไทย
05อาณาจักรโบราณในประเทศไทย
 
ประณต วิริบูลย์ 5/4
ประณต วิริบูลย์ 5/4ประณต วิริบูลย์ 5/4
ประณต วิริบูลย์ 5/4
 
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทยวัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
วัด พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ในประเทศไทย
 
~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา
~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา
~$วข้อที่ ๗ กรุงศรีอยุธยา
 
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาค
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาคสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาค
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 4 ภาค
 
Key of 5 การสถาปนาธนบุรี
Key of 5 การสถาปนาธนบุรีKey of 5 การสถาปนาธนบุรี
Key of 5 การสถาปนาธนบุรี
 
Indus1
Indus1Indus1
Indus1
 
อารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียอารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดีย
 
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหารวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
 
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหารวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
 
คร งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ย
คร  งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ยคร  งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ย
คร งท__ 02 - อาณาจ_กรตอนเหน_อล__มน_ำเจ_าพระยาก_อนส_โขท_ย
 
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
 
ผลงานนักเรียนชั้นม.6/1 เรื่องการสถาปนา สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
ผลงานนักเรียนชั้นม.6/1 เรื่องการสถาปนา สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรีผลงานนักเรียนชั้นม.6/1 เรื่องการสถาปนา สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
ผลงานนักเรียนชั้นม.6/1 เรื่องการสถาปนา สมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
 

Similar to 357

ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์A'mp Minoz
 
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครPRINTT
 
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
111006099222748 13010713133143
111006099222748 13010713133143111006099222748 13010713133143
111006099222748 13010713133143
sibsakul jutaphan
 
เรื่องที่ 2 ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
เรื่องที่ 2 ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์เรื่องที่ 2 ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
เรื่องที่ 2 ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์numattapon
 
Unit 1 early thailand from prehistory to sukhothai
Unit 1  early thailand from prehistory to sukhothaiUnit 1  early thailand from prehistory to sukhothai
Unit 1 early thailand from prehistory to sukhothaiThaiway Thanathep
 
สุสานจักรพรรดิฉินที่ 2 ส่ง
สุสานจักรพรรดิฉินที่ 2  ส่งสุสานจักรพรรดิฉินที่ 2  ส่ง
สุสานจักรพรรดิฉินที่ 2 ส่งSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
สุสานจักรพรรดิฉินที่ 2 ส่ง
สุสานจักรพรรดิฉินที่ 2  ส่งสุสานจักรพรรดิฉินที่ 2  ส่ง
สุสานจักรพรรดิฉินที่ 2 ส่งSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
เล่มที่ 7 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เล่มที่ 7  สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเล่มที่ 7  สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เล่มที่ 7 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
Choengchai Rattanachai
 
จารึกอักษรบนกระดองเต่า
จารึกอักษรบนกระดองเต่าจารึกอักษรบนกระดองเต่า
จารึกอักษรบนกระดองเต่าSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
แผ่นพับ
แผ่นพับแผ่นพับ
แผ่นพับnuttawon
 
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนาวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
พระอภิชัช ธมฺมโชโต
 
Brands so(o net)
Brands so(o net)Brands so(o net)
Tutor social science
Tutor social scienceTutor social science
Tutor social science
Kwandjit Boonmak
 
การสถาปนา..
การสถาปนา..การสถาปนา..
1.2 หลักฐานทางปวศ.
1.2 หลักฐานทางปวศ.1.2 หลักฐานทางปวศ.
1.2 หลักฐานทางปวศ.Jitjaree Lertwilaiwittaya
 

Similar to 357 (20)

ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์
 
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
 
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
111006099222748 13010713133143
111006099222748 13010713133143111006099222748 13010713133143
111006099222748 13010713133143
 
เรื่องที่ 2 ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
เรื่องที่ 2 ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์เรื่องที่ 2 ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
เรื่องที่ 2 ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
 
Unit 1 early thailand from prehistory to sukhothai
Unit 1  early thailand from prehistory to sukhothaiUnit 1  early thailand from prehistory to sukhothai
Unit 1 early thailand from prehistory to sukhothai
 
สุสานจักรพรรดิฉินที่ 2 ส่ง
สุสานจักรพรรดิฉินที่ 2  ส่งสุสานจักรพรรดิฉินที่ 2  ส่ง
สุสานจักรพรรดิฉินที่ 2 ส่ง
 
สุสานจักรพรรดิฉินที่ 2 ส่ง
สุสานจักรพรรดิฉินที่ 2  ส่งสุสานจักรพรรดิฉินที่ 2  ส่ง
สุสานจักรพรรดิฉินที่ 2 ส่ง
 
เล่มที่ 7 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เล่มที่ 7  สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเล่มที่ 7  สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เล่มที่ 7 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
 
จารึกอักษรบนกระดองเต่า
จารึกอักษรบนกระดองเต่าจารึกอักษรบนกระดองเต่า
จารึกอักษรบนกระดองเต่า
 
แผ่นพับ
แผ่นพับแผ่นพับ
แผ่นพับ
 
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนาวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
 
Brands so(o net)
Brands so(o net)Brands so(o net)
Brands so(o net)
 
Tutor social science
Tutor social scienceTutor social science
Tutor social science
 
ลังกากถา โดย ปิยเมธี
ลังกากถา โดย ปิยเมธีลังกากถา โดย ปิยเมธี
ลังกากถา โดย ปิยเมธี
 
พัฒนาการทางด้านสังคม วัฒนธรรม
พัฒนาการทางด้านสังคม วัฒนธรรมพัฒนาการทางด้านสังคม วัฒนธรรม
พัฒนาการทางด้านสังคม วัฒนธรรม
 
กลุ่ม 1 การสถาปนา
กลุ่ม 1 การสถาปนากลุ่ม 1 การสถาปนา
กลุ่ม 1 การสถาปนา
 
Art
ArtArt
Art
 
การสถาปนา..
การสถาปนา..การสถาปนา..
การสถาปนา..
 
1.2 หลักฐานทางปวศ.
1.2 หลักฐานทางปวศ.1.2 หลักฐานทางปวศ.
1.2 หลักฐานทางปวศ.
 

More from Matdavit Physics

___ 5 _____
  ___ 5 _____  ___ 5 _____
___ 5 _____
Matdavit Physics
 
___ 8 ______________
  ___ 8 ______________  ___ 8 ______________
___ 8 ______________
Matdavit Physics
 
___ 7 __________
  ___ 7 __________  ___ 7 __________
___ 7 __________
Matdavit Physics
 
การคิด วิทย์ มัธยม
การคิด วิทย์ มัธยม การคิด วิทย์ มัธยม
การคิด วิทย์ มัธยม
Matdavit Physics
 
หลักสูตรแกนกลาง ฟิสิกส์ม6
หลักสูตรแกนกลาง ฟิสิกส์ม6หลักสูตรแกนกลาง ฟิสิกส์ม6
หลักสูตรแกนกลาง ฟิสิกส์ม6
Matdavit Physics
 
Electrostatics clipvidva 1
Electrostatics clipvidva 1Electrostatics clipvidva 1
Electrostatics clipvidva 1
Matdavit Physics
 
Best parichart
 Best parichart Best parichart
Best parichart
Matdavit Physics
 
367
367367
367
367367

More from Matdavit Physics (20)

___ 5 _____
  ___ 5 _____  ___ 5 _____
___ 5 _____
 
___ 8 ______________
  ___ 8 ______________  ___ 8 ______________
___ 8 ______________
 
___ 7 __________
  ___ 7 __________  ___ 7 __________
___ 7 __________
 
การคิด วิทย์ มัธยม
การคิด วิทย์ มัธยม การคิด วิทย์ มัธยม
การคิด วิทย์ มัธยม
 
Plasma ball
Plasma ballPlasma ball
Plasma ball
 
M200
M200M200
M200
 
M6
M6M6
M6
 
A50343134
A50343134A50343134
A50343134
 
หลักสูตรแกนกลาง ฟิสิกส์ม6
หลักสูตรแกนกลาง ฟิสิกส์ม6หลักสูตรแกนกลาง ฟิสิกส์ม6
หลักสูตรแกนกลาง ฟิสิกส์ม6
 
Electrostatics clipvidva 1
Electrostatics clipvidva 1Electrostatics clipvidva 1
Electrostatics clipvidva 1
 
01
0101
01
 
Best parichart
 Best parichart Best parichart
Best parichart
 
355
355355
355
 
360
360360
360
 
349 2
349 2349 2
349 2
 
367
367367
367
 
367
367367
367
 
1047
10471047
1047
 
1072
10721072
1072
 
928
928928
928
 

357

  • 1. 1 อาณาจักรศรีวิชัยและนครศรีธรรมราช อาณาจักรศรีวิชัย จุดเริ่มต้นของชื่ออาณาจักรศรีวิชัยมาจากการอ่านศิลาจารึกหลักที่23 ซึ่งมีศักราชกากับว่าปี พุทธศักราช 1318 ที่พบทางภาคใต้ของประเทศไทยในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชหรือสุราษฎร์ธานี จารึกมี ข้อความที่กล่าวถึง “พระเจ้ากรุงศรีวิชัย” และเมื่อนาไปประกอบกับบันทึกของภิษุอี้จิง(I-Ching) ซึ่งได้ได้เดิน โดยทางเรือจากเมืองกวางตุ้งมาศึกษาพระธรรมวินัยในปี พ.ศ.1214 ได้กล่าวถึงเมื่อเดินทางเรือมาได้ 20 วัน ได้ แวะอาณาจักรโฟชิ (Fo-Shih) ท่านได้แวะศึกษาไวยากรณ์ภาษาสันสกฤตอยู่ 6 เดือนก่อนที่จะเดินทางไป อินเดีย หลังจากศึกษาที่อินเดียอยู่ 10 ปี ได้กลับมาที่โฟชิอีกครั้ง ซึ่งขณะนั้นได้กลายเป็นอาณาจักร ชิลิโฟชิ (Shih-li-Fo-Shih) ไปแล้ว ศาสตราจารย์ยอร์จ เซเดย์ สรุปว่าอาณาจักรเชลิโฟชิ ก็คือ อาณาจักรศรีวิชัยอันเป็น อาณาจักรหนึ่งที่มีอานาจทางการเมืองมั่นคง มีอาณาเขตกว้างขวางครอบคลุมหมู่เกาะต่าง ๆ บริเวณตอนใต้ ของคาบสมุทรมาเลย์ ตลอดขึ้นมาถึงดินแดนบางส่วนของคาบสมุทร โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองปา เล็มบัง เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย นักโบราณคดีหลายท่านมีความเห็นสอดคล้องกับศาสตราจารย์ยอร์จ เซเดย์ เนื่องจากได้พบศิลา จารึก 8 หลักบนเกาะสุมาตรา มีอยู่2 หลัก กาหนดอายุในช่วงเดียวกับการเดินทางมาถึงของภิกษุอี้จิง อย่างไร ก็ตามนักวิชาการ เช่น ราเมชจันทร์ มาชุมดาร์ ควอริทช์-เวลส์ และหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี มีความเห็นว่า ศูนย์กลางของ ศรีวิชัยควรจะอยู่บนคาบสมุทรมาเลย์ โดยเฉพาะหม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี มีความเห็นว่า จารึกที่กล่าวถึงอาณาจักรศรีวิชัยที่พบที่ไชยา สุราษฎร์ธานี นั้น เป็นจารึกภาษาสันสกฤตซึ่งตรงกับบันทึกของ ภิกษุอี้จิง ในขณะที่จารึกที่พบบนเกาะสุมาตราเป็นภาษามลายูโบราณ และเมื่อพิจารณาถึงการเดินเรือ เพียง 20 วัน ของภิกษุอี้จิงควรถึงแค่เมืองไชยา สุราษฎร์ธานี และคงไม่ผ่านเส้นศูนย์สูตรไปถึงเกาะสุมาตรา รวมทั้งทางภาคใต้ของประเทศไทยก็ได้พบโบราณวัตถุ โบราณสถาน ซึ่งมีลักษณะที่เรียว่า“ศิลปกรรมแบบศรี วิชัย” กาหนดอายุในช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-18 ลักษณะศิลปะแบบศรีวิชัยส่วนมากเป็นศิลปะที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน จึงมัก พบพระรูปพระโพธิสัตว์ เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระศรีอาริยเมตไตรยโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ไวโรจ นะ และศิลปะวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนาพราหมณ์ในลัทธิไวษณพนิกาย นอกจากนั้นยังพบร่องรอยของ สถาปัตยกรรมตลอดจนโบราณสถานในช่วงระยะเวลาเดียวกันนี้ ทั้งในปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา และคาบสมุทร
  • 2. 2 มาเลย์ทางภาคใต้ของประเทศไทย อย่างไรก็ตามปัญหาเกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัยที่ยังเป็นประเด็นของการศึกษาค้นคว้า จาก นักวิชาการยังมีข้อถกเถียงกัน 2 ประเด็นที่สาคัญคือ 1. รูปแบบทางการเมือง เมืองต่าง ๆ บนคาบสมุทรหรือหมู่เกาะต่างมีพัฒนาการและมีความสัมพันธ์ ทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ในลักษณะที่เป็นสมาพันธรัฐ ที่มีศูนย์กลางของอานาจที่เปลี่ยนไปตามการ ผันแปรทางการเมืองและเศรษฐกิจ 2. รูปแบบทางศิลปวัฒนธรรม เมืองต่าง ๆ เหล่านี้มีวัฒนธรรมร่วมกัน คือ การนับถือพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน ซึ่งแสดงออกด้วยรูปแบบที่เรียกว่า“ศิลปกรรมแบบศรีวิชัย” จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบโดยกว้างจากปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย มาจนถึง คาบสมุทรมาเย์และทางภาคใต้ของประเทศไทย ได้มีข้อสรุปเกี่ยวกับศรีวิชัยคือ“ศรีวิชัย” ไม่ใช่ชื่ออาณาจักรที่ มีศูนย์กลางของอานาจในทางการเมืองและควบคุมเศรษฐกิจอยู่เมืองใดเมืองหนึ่งเพียงแห่งเดียวแต่ศรีวิชัยเป็น ชื่อกว้าง ๆ ทางศิลปะ และวัฒนธรรมของบ้านเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางการค้าทางทะเลแถบคาบสมุทรกลุ่ม บ้านเมืองหรือแว่นแคว้นต่าง ๆ เหล่านี้มีวัฒนธรรมร่วมกันคือ การนับถือพุทธศาสนามหายานและมีรูปแบบ ศิลปกรรมแบบศรีวิชัยเช่นเดียวกัน แว่นแคว้นและบ้านเมืองทั้งบนผืนแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะเกี่ยวข้องกันใน ลักษณะของสหพันธรัฐที่มีศูนย์กลางอานาจเปลี่ยนแปลงไปตามความผันแปรทางเศรษฐกิจ ความสาคัญของศรีวิชัยที่ปรากฏจากจดหมายเหตุของจีนสมัยราชวงศ์ถังคือเป็นศูนย์กลางการค้าขาย สินค้าข้ามสมุทรทางฝั่งทะเลตะวันตกและตะวันออก ผ่านช่องแคบมะละกา ดังนั้นจึงได้พบ ลูกปัดจากดินแดน ทางตะวันตกและเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งพบเรื่อยลงมาทั้งที่เกาะสุมาตราและทางภาคใต้ของประเทศ ไทย แต่ในที่สุดความรุ่งเรื่องทางการค้าของศรีวิชัยก็ลดลงเมื่อจีนได้พัฒนาเรือที่ค้าขายและทาการค้าขาย โดยตรงกับบ้านเมืองที่อยู่ชายฝั่งทะเลตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 16 และการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้ทาให้เมืองทาง แถบคาบสมุทรทางภาคใต้ของประเทศไทยรุ่งเรืองขึ้นอีกครั้งหนึ่ง สาหรับทางภาคใต้ของประเทศไทย พบหลักฐานทางโบราณคดีที่เป็นบ้านเมืองและแคว้นหรือรัฐร่วม สมัยอาณาจักรศรีวิชัยคือ (สุจิตต์ วงษ์เทศ และคณะ, 2531 : 58-70) แคว้นไชยา มีขอบเขตตั้งแต่อาเภอท่า
  • 3. 3 ชนะ อาเภอไชยา อาเภอเมือง และอาเภออื่น ๆ ในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีไชยาเป็นศูนย์กลาง พบศาสน สถานและศิลปกรรมหลายแห่ง เช่น ที่วัดแก้วไชยา พระพุทธรูปและพระพิมพ์ต่าง ๆ แคว้นนครศรีธรรมราช มีขอบเขตในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช ชื่อที่ปรากฏตามหลักฐานและเอกสารต่าง ๆ คือ“ตามพร ลิงค์” แคว้นสทิงพระมีขอบเขตจากบริเวณรอบทะเลสาบสงขลาถึงจังหวัดพัทลุง พบร่องรอยโบราณศิลปวัตถุ สถานที่นับถือศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนา แคว้นปัตตานี มีขอบเขตครอบคลุมพื้นที่จังหวัดปัตตานีและ จังหวัดยะลา พบร่องรอยเมืองท่าที่สาคัญคือตรังและเมืองตะกั่วป่า --------------------------------------------------------------------------------------------- ประวัตินครศรีธรรมราช ประวัติเมืองนครศรีธรรมราช จากการขุดค้นและโบราณสถานโบราณวัตถุต่างๆ สามารถย้อนไปได้ถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ นับ พันหมื่นปี จนกระทั่งเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์ที่มีหลักฐานบันทึกปรากฏชื่อเป็นที่รู้จักในหมู่นักเดินเรือ และพ่อค้า ชาวอินเดีย อาหรับและจีน ในชื่อว่า ตามพรลิงค์ บ้าง กะมะลิง บ้าง ตั้งมาหลิ่ง บ้าง ตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 600-700 และชุมชนนครศรีธรรมราชได้พัฒนาจนเป็นชุมชนใหญ่ รับอิทธิพลศาสนาพราหมณ์จากอินเดียตลอดแนว ชายฝั่ง ตั้งแต่เขตสิชลจนถึงเขตตาบลท่าเรือของอาเภอเมืองในปัจจุบัน มีโบราณสถานหลงเหลืออยู่มากมาย โดยเฉพาะที่บริเวณ อุทยานประวัติศาสตร์เขาคาและเขตอาเภอสิชลซึ่งได้ค้นพบเทวรูปพระวิษณุศิลา ที่มีอายุ เก่าแก่ที่สุดในเอเซียอาคเนย์คือประมาณพุทธศตวรรษที่ 9-10 กับยังพบศิลาจารึกขนาดใหญ่ ที่เก่าแก่ที่สุดหลัก หนึ่งของประเทศไทย คือมีอายุครั้งพุทธศตวรรษที่ 11 ณ หุบเขาช่องคอย อาเภอร่อนพิบูลย์ มีข้อความบูชา พระศิวะและเชิดชูคนดีว่า "ถ้าคนดีอยู่ในหมู่บ้านของชนเหล่าใดความสุขและผล(ประโยชน์) จักมีแก่ชน เหล่านั้น" อีกด้วย หลังพุทธศตวรรษที่ 10 เริ่มพบร่องรอยพุทธศาสนาในนครศรีธรรมราช และเชื่อว่านครศรีธรรมราช พัฒนาจนเป็นศูนย์กลาง ของอาณาจักรศรีวิชัย ดังปรากฏหลักฐานบน ศิลาจารึกหลักที่ 23 วัดเสมาเมืองที่ จารึกไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 1318 ว่า "พระเจ้ากรุงศรีวิชัยผู้ประกอบด้วยคุณความดีและเป็นเจ้าแห่งพระราชาทั้งหลาย ในโลกทั้งปวงได้ ทรงสร้างปราสาทอิฐทั้งสามนี้ เป็นที่บูชาพระโพธิสัตว์เจ้าผู้ถือดอกบัว(คือปทุมปาณี) พระผู้ผจญพระยามาร (คือพระพุทธเจ้า) และพระโพธิสัตว์เจ้าผู้ถือวัชระ (คือวัชรปาณี) พระองค์ได้ถวายปราสาททั้งสามนี้แก่บรรดา
  • 4. 4 พระชินราชอันประเสริฐสุดซึ่งสถิตอยู่ในทศทิศ ณ สถานที่แห่งนี้" ร่วมกับศิลจารึกอีกหลายหลัก เช่น ศิลา จารึกหลักที่ 29 วัดพระบรมธาตุเมืองนคร ภาษาทมิฬ พุทธศตวรรษที่ 9-10, ศิลาจารึกหลักที่ 28 วัดพระบรม ธาตุเมืองนคร ภาษา มอญโบราณ พุทธศตวรรษที่ 12 และศิลาจารึกหลักที่ 27 วัดมเหยงค์ ภาษาสันสกฤต อักษรคล้ายเขมร พุทธศตวรรษที่ 12-14 ที่จารึกไว้ว่า "...บุญกุศลอื่นๆ ตามคาสอนคือการปฏิบัติพระธรรมไม่ขาดสักเวลา การบริบาลประชาราษฎร์ การ ทนต่ออิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ การชานะอินทรีย์..." นอกจากนี้ยังมีหลักฐานจากจดหมายเหตุพงศาวดารของชนชาติต่างๆ ซึ่งเรียกชื่อนครศรีธรรมราช ต่างๆ กันไปดังนี้ ตามพลิงคม,ตามพรลิงค, มาหมาลิงคม, ตั้งมาหลิ่ง, ตันมาลิง, ตมลิงคาม, ตามพรลิงเกศวร, ตามโพลิงเกศวร, โฮลิง, โพลิง, เชียะโท้ว, โลแค็ก, ลิกอร์, ละคอน,คิวคูตอน,สิริธรรมนคร, ศรีธรรมราช, สุวรรณ ปุระ,ปาฏลีบุตร, ชิหลีโฟซี, ชวกะ, ซาบัก ช่วงที่นครศรีธรรมราชมั่นคงที่สุดในประวัติศาสตร์คือในพุทธศตวรรษที่ 17-19 อันเป็นรัชสมัยของ ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช ซึ่งได้สถาปนาพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ลงในนครศรีธรรมราชอย่างมั่นคง ก่อนที่จะแผ่ขยายไปยังดินแดนของแหลมทอง นครศรีธรรมราชครั้งนั้นกว้างขวาง มีเมืองขึ้นรายรอบ 12 เมือง เรียกว่าเมืองสิบสองนักษัตรตั้งแต่ชุมพรลงไปถึงเมืองปาหัง กลันตันและไทรบุรี กับนครศรีธรรมราชยังเคย กรีฑาทัพเรือที่มีแสนยานุภาพไปตีลังกาถึง 2 ครั้ง นอกจากนี้ยังพบร่องรอยความสัมพันธ์และยกทัพสู้รบ ระหว่างกันของนครศรีธรรมราชกับเขมรโบราณ ละโว้ ตลอดจนชวาโบราณอีกด้วย หลังจากพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา นครศรีธรรมราชเข้ารวมอยู่ในราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ครั้ง กรุงสุโขทัยตลอดมาจนอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ทั้งในฐานะเมืองประเทศราช เมืองพระยามหานครและหัว เมืองเอกเป็นหลักเมืองเดียวของไทยทางภาคใต้ตลอดมา เป็นแหล่งวิทยาการความรู้ ศูนย์กลาง พระพุทธศาสนาและการค้าขายต่างชาติทั้งกับจีน อินเดีย และชาวยุโรป และเมื่อใดที่เกิดเหตุการณ์ ระส่าระสายในราชธานีนครศรีธรรมราชก็จะมีบทบาทแข็งขันขึ้นมา เช่น ครั้งผลัดเปลี่ยนแผ่นดินพระเจ้าอาทิต ยวงศ์ผู้เยาว์เมื่อ พ.ศ. 2172 ซึ่งพระยากลาโหมสุริยวงศ์ต้องการขึ้นครองราชแทน โดยวางแผนกาจัดออกยาเส นาภิมุข (ยามาดา)เจ้ากรมอาสาญี่ปุ่นผู้มีอานาจมากในกรุงศรีอยุธยาในเวลานั้น ให้ออกไปเสียจากกรุงศรี อยุธยา ขณะที่นครศรีธรรมราช ซึ่งกบฏเพราะเห็นความวุ่นวายในกรุง จึงถูกกาหนดมอบหมายให้ออกญาเส
  • 5. 5 นาภิมุขยกทัพไปปราบสาเร็จ แต่ออกญาเสนาภิมุขก็เสียที่กบฏที่ปัตตานีบาดเจ็บ แล้วถูกยาพิษของพระยา มะริด ที่ออกมาช่วยราชการเมืองนครศรีธรรมราชถึงแก่กรรมลงพร้อมกับพระยากลาโหมสุริยวงศ์ ปราบดาภิเษกขึ้นเป็น พระเจ้าปราสาททอง นครศรีธรรมราชจึงกบฏตั้งตนเป็นอิสระอีก แต่ก็ถูกปราบลงด้วย ทัพของกรุงศรีอยุธยาอีกคารบหนึ่ง ครั้งต่อมา ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชซึ่งศรีปราชญ์กวีเอกในสมัยนั้น ก็ถูกเนรเทศมาจบ ชีวิตที่นครศรีธรรมราช ครั้นสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. 2227 พระเพทราชาปราบดาภิเษก ขึ้นครองราช เมืองนครศรีธรรมราชเป็นกบฏอีกครั้งซึ่งกว่าจะตีแตกต้องรบพุ่งกันอยู่นานถึง3 ปี จากนั้น นครศรีธรรมราชได้มีสัมพันธภาพที่ดีกับกรุงศรีอยุธยาช่วงสั้นๆ ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ มีการ บูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระบรมธาตุมากมายทั้งองค์พระบรมธาตุ เจดีย์ ลายปูนปั้นพระมหาภิเนกษกรรมและพระ วิหารหลวง แต่พอสิ้นรัชกาลกรุงศรีอยุธยาก็ระส่าระสายกระทั่งเสียกรุงครั้งที่2 พ.ศ. 2310 พระปลัดหนูเมือง นครศรีธรรมราช จึงรวบรวมผู้คนตั้งตัวเป็นชุมชุมเจ้านครศรีธรรมราช แล้วรบพุ่งแพ้ต่อสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช ซึ่งทรงมีพระราชดาริว่า เจ้านครไม่มีความผิดที่ได้รบพุ่งกันก็เพราะต่างคนต่างถือตัวเป็นใหญ่ หลังกรุง แตก ไม่ทรงลงความเห็นว่าเจ้านครเป็นขบถ ทรงให้กลับออกไปครองเมืองนครศรีธรรมราชอีก เป็นพระเจ้า ขัติยราชนิคม สมมติมไหศวรรย์ พระเจ้านครศรีธรรมราช เจ้าขัณฑสีมา มีเกียรติเสมอเจ้าประเทศราช ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชวิจารณ์ว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงปรารภ เรื่องสืบสันตติวงศ์โดยให้กรมขุนอินทรพิทักษ์ ลูกเธอองค์หนึ่งครองกรุงกัมพูชา ให้เจ้าทัศพงศ์ลูกเธอองค์หนึ่ง ซึ่งภายหลังเป็นพระพงศ์นรินทร์ ซึ่งเป็นหลานเจ้านครครองเมืองนครศรีธรรมราช ส่วนกรุงธนบุรีนั้นจะมอบ ราชสมบัติประทานเจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ ที่เรียกว่าเจ้าฟ้าเหม็น ด้วยเป็นพระราชนัดดาพระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงตั้งเมืองนครศรีธรรมราชเป็นเมืองประเทศราชไว้ ในตอนต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ นครศรีธรรมราชนอกจากจะเป็นแหล่งศิลปวิทยาการ ตลอดจนแบบ แผนประเพณี และพระไตรปิฏกซึ่งกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ต้องคัดลอก เพราะของเดิมที่กรุงศรีอยุธยา ถูก พม่าทาลายเสียหายมากแล้ว นครศรีธรรมราชภายใต้การปกครองของเจ้านครนับแต่เจ้านครหนู, เจ้า นครพัฒน์, เจ้านครน้อย ยังเจริญก้าวหน้า ปกครองหัวเมืองภาคใต้ตลอดจนมลายูสงบราบคาบกับยังเป็นสถานี ค้าขายที่สาคัญของชาติตะวันตกอีกด้วย ขณะเดียวกันความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์จักรีกับสายเจ้านครก็ ผูกพันแน่นแฟ้น เช่น คุณหญิงนุ้ยใหญ่ บุตรีเจ้าพระยานครพัฒน์ ถวายทาราชการในพระราชวังหลวงในรัชกาล
  • 6. 6 ที่ 1 มีพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าอรุโณทัย ได้เป็นกรมหมื่นศักดิพลเสพในรัชกาลที่2, และเป็นกรมพระราชวัง บวรมหาศักดิพลเสพในรัชกาลที่ 3 ท่านผู้หญิงอิน ภรรยาเจ้าพระยานครน้อยเป็นราชนิกูลตระกูล ณ บางช้าง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเรียกว่าพี่อิน และบุตรีของเจ้าพระยา นครน้อยกับท่านผู้หญิงอิน 2 คนก็ได้ถวายเป็นเจ้าจอมมารดาน้อยใหญ่และเจ้าจอมมารดาน้อยเล็กในรัชกาลที่3 ต่อมาในรัชกาลที่ 5 ทรงให้มีการปกครองแบบเทศาภิบาล เจ้าพระยานครน้อยกลางจึงลดอานาจลง ทรงให้พระยาสุขุมนัยวินิต (ปั้น สุขุม) มาเป็นข้าหลวงเทศาภิบาล มณฑลนครศรีธรรมราช เมื่อ พ.ศ. 2439 นครศรีธรรมราช จึงลดฐานะลงมาตามลาดับ และเป็นที่หนึ่งใน73 จังหวัดในที่สุด โดยครั้งหนึ่งในรัชสมัย รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ มาดารงตาแหน่ง อุปราชปักต์ใต้ ประทับ ณ วังโพธิยายรด จังหวัดนครศรีธรรมราช (รพ.มหาราชนครศรีธรรมราชปัจจุบัน) ข้อมูลจาก http://www.krusungsak.com/mirror/nakon/nakon.htm