SlideShare a Scribd company logo
1 of 49
Download to read offline
1
บทที่ 1
ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา
ประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของชนชาติเขมร นอกจากจะทาให้มีการพัฒนาด้านงานศิลปกรรมที่
เป็นเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง แล้วยังแผ่อิทธิพลไปในอาณาจักรใกล้เคียงในละแวกอินโดจีน รวมไปถึง
อาณาจักรสยาม อารยธรรมเขมรเข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทย ในราวๆ พุทธศตวรรษที่ 12 ในสมัย
อาณาจักรเจนละ ซึ่งตรงกับยุคทวารวดีของไทย โดยเข้ามาทางภาคอีสานเป็นแห่งแรก ผ่านทาง
ศาสนาทั้งศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธมหายาน หลังจากยุคทวารวดีมายังยุคสุโขทัย อยุธยา จนมาถึง
รัตนโกสินทร์ ก็ยังได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะเขมร และนามาผสมผสานเข้ากับศิลปะท้องถิ่นของตัวเอง
โดยเฉพาะสถาปัตยกรรม ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสถาปัตยกรรมที่อยู่ภายในวัด และส่วนที่ปรากฏให้
เห็นอิทธิพลจากศิลปะเขมรได้อย่างเด่นชัด คือปราสาทหินต่างๆ ที่ตั้งอยู่บนแผ่นดินไทย ที่คนทั่วไป
รู้จักก็คือดินแดนทางภาคอีสานตอนใต้ (จังหวัดนครราชสีมา,บุรีรัมย์,สุรินทร์,ศรีสะเกษ,อุบราชธานี)
ซึ่งในอดีตเมื่อสมัยเมืองพระนคร ของอาณาจักรเขมรเมืองดังกล่าว เป็นเส้นทางจากเมืองพระนครไป
ถึงยังเมืองวิมาย (หรือเมืองพิมาย) มีการสร้างถนนติดต่อถึงกัน สร้างที่พักคนเดินทาง ศาสนสถาน
ต่างๆ จนทาให้บริเวณนี้เป็นแหล่งของปราสาทขอม โดยปราสาทขอมในเมืองไทยที่ขึ้นชื่อก็มี อาทิ
ปราสาทหินพิมาย(นครราชสีมา) ปราสาทหินพนมรุ้ง(บุรีรัมย์) ปราสาทเมืองต่า(บุรีรัมย์) เป็นต้น
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี พบว่าดินแดนส่วนหนึ่ง ของประเทศไทย แถบ
จังหวัดทางภาคตะวันออก และตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จันทบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว นครราชสีมา
บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ เคยตกอยู่ใต้อิทธิพลของอาณาจักรเขมรหรือเขมรโบราณ เมื่อ
ราวพุทธศตวรรษที่ 12 - 18 มาก่อน เพราะมีอาคารทรงปราสาทในวัฒนธรรมเขมรที่เรียกว่า
“ปราสาทขอม” กระจัดกระจายอยู่มากมายในบริเวณดังกล่าว ปราสาทขอมเป็นศาสนสถานสาหรับ
ประดิษฐานรูปเคารพ และเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ก่อสร้างด้วยวัสดุที่มั่นคงแข็งแรงประเภท
อิฐหรือหิน จึงค่อนข้างคงทนถาวร แม้เวลาจะล่วงเลย ไปนาน แต่ยังคงปรากฏให้เห็นเป็น
โบราณสถานอยู่ในปัจจุบัน
“ปราสาทขอม” หมายถึง อาคารทรงปราสาทที่สร้างขึ้นในวัฒนธรรมเขมรโบราณ เพื่อใช้
เป็นศาสนสถานในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ทั้งในศาสนาฮินดู และพระพุทธศาสนานิกาย
มหายาน ส่วนคาว่า “ปราสาทขอมในประเทศไทย” นั้น หมายถึง อาคารทรงปราสาทในวัฒนธรรม
เขมร ที่พบในดินแดนไทยในปัจจุบัน ซึ่งดินแดนเหล่านี้ครั้งหนึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเขมร
รวมทั้งบางส่วนได้มีการรับอิทธิพลทางศาสนา และงานศิลปกรรมขอมมาสร้าง โดยคนในท้องถิ่น แต่
2
เดิมมักเรียกงานศิลปะของวัฒนธรรมขอมในประเทศไทยว่า “ศิลปะลพบุรี” เนื่องจากเชื่อว่า เมือง
ลพบุรี เคยเป็นเมืองศูนย์กลางของขอมในประเทศไทย ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16 - 18 และมี
ลักษณะของงานศิลปกรรมบางอย่าง ที่แตกต่างจากศิลปะขอม แต่ในปัจจุบันนิยมเรียกว่า “ศิลปะขอม
ที่พบในประเทศไทย” เพราะเป็นคารวมที่ครอบคลุมพื้นที่และระยะเวลามากกว่า กล่าวคือ พื้นที่ของ
ประเทศไทย ที่รับวัฒนธรรมขอมอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 - 18
การสร้างอาคารทรงปราสาทมาจากคติความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ของชาวอินเดียที่ว่า
เทพเจ้าทั้งหลายสถิตอยู่ ณ เขาพระสุเมรุ เช่น มีปราสาทประธานตรงกลาง มีปราสาทบริวารล้อมรอบ
ถัดออกมามีสระน้า และกาแพงล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง การที่ทาหลังคาปราสาทเป็นเรือนซ้อนชั้นก็
หมายถึง สวรรค์หรือวิมานของเทพเทวดานั่นเอง ด้วยเหตุที่เป็นการจาลองจักรวาลมาไว้บนการสร้าง
อาคารทรงปราสาทมาจากคติความเชื่อของชาวอินเดียที่ว่า เทพเจ้าทั้งหลายสถิตอยู่ ณ เขาไกรลาส
อันเป็นแกนกลางของจักรวาล ซึ่งอยู่บนสวรรค์ การสร้างปราสาทจึงเปรียบเสมือนการจาลองเขา
ไกรลาสมายังโลกมนุษย์ เพื่อเป็นที่สถิตของเทพเจ้า และมีการสร้างรูปเคารพของเทพเจ้าขึ้น เพื่อ
ประดิษฐานไว้ภายใน โดยตัวปราสาทมีสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้แทนความหมายโลกมนุษย์ และเป็นที่
สถิตของเทพเจ้า จึงต้องมีระเบียบกฎเกณฑ์ ตามที่กาหนดไว้ในคัมภีร์ทางศาสนาอย่างเคร่งครัด ตัว
ปราสาทจึงมีขนาดใหญ่โต และใช้เวลาก่อสร้างยาวนาน
ปราสาทหินบนยอดเขาหรือที่เรียกว่า “ศาสนบรรพต” ที่สร้างขึ้นมาอยู่ทางทิศเหนือสุดของ
ภูมิภาคอีสานเหนือและอีสานใต้ นับเรื่อยลงไปยังเขตเขมรต่า (ขะแมร์กรอม) ทางทิศใต้ อันเป็นที่ตั้ง
ของศูนย์กลางอานาจการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของอาณาจักรเขมรโบราณ ตามคติศาสนา
พราหมณ์ ไศวะนิกายที่สร้าง “เทวาลัย” ขึ้นบนยอดเขาเพื่อสมมุติให้เป็นเขาไกรลาสบนพื้นโลก เพื่อ
ประดิษฐานรูปประติมากรรม “ศิวลึงค์” ที่มีองค์ประกอบอันซับซ้อน เป็นสัญลักษณ์สาคัญแทนองค์
พระศิวะ ประดิษฐานอยู่เป็นประธานในอาคารปราสาทประธานที่เรียกว่า “วิมาน”
อาเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เดิมอาณาเขตของ
อาเภอขุนหาญ เป็นอาณาเขตเมืองกันทรลักษณ์เดิมทั้งหมด อาเภอขุนหาญมีเนื้อที่ทั้งหมด 723.05
ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 483,062.05 ไร่ มีพรมแดนติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีแนว
เขตเทือกเขาพนมดงรักเป็นแนวพรมแดน ซึ่งในอดีตเป็นที่อยู่อาศัยของชาวขอมหรือเขมร และส่วย
(กุย,กวย) จึงมีการเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมและความเชื่อ โดยมีโบราณสถานที่ปรากฏเป็นหลักฐาน คือ
ปราสาทภูฝ้าย ( ปราสาทพนมกะบาร์ ) ปราสาทอิฐบนเนินเขาขนาดเล็กที่เรียกว่าภูฝ้าย ในเขต
ตาบลภูฝ้าย อาเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นเทวาลัยบนยอดเขาตามคติความเชื่อของ
ศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวะนิกาย กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ประกาศกาหนด
จานวนโบราณสถานแห่งชาติ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478
และประกาศกาหนดขอบเขตที่ดินโบราณสถานภูเขาฝ้าย พื้นที่โบราณสถานประมาณ 405 ไร่ 1 งาน
3
93 ตารางวา ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 110 ตอนที่ 220 วันที่ 24 ธันวาคม
2536 ปราสาทภูฝ้าย จึงเป็นโบราณสถานที่สาคัญยิ่งในเขตจังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบันได้รับการขุดแต่ง
และบูรณะโบราณสถานปราสาทภูฝ้ายโดยกรมศิลปากร สานักศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานี เมื่อปี
พ.ศ. 2556
คณะผู้จัดทาโครงงานเรื่อง นักสืบประวัติศาสตร์ ตอน ปราสาทภูฝ้าย(พนมกะบาร์)
โบราณสถานที่ถูกลืม จึงเห็นความสาคัญของโบราณสถานปราสาทภูฝ้าย ที่เป็นแหล่งโบราณคดีที่
สาคัญแห่งหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
โดยทาการศึกษาปราสาทภูฝ้าย ในด้านประวัติความเป็นมา รูปแบบสถาปัตยกรรม คติความเชื่อ ใน
การสร้างโบราณสถานปราสาทภูฝ้าย
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของโบราณสถานปราสาทภูฝ้าย(พนมกะบาร์)
ตาบลภูฝ้าย อาเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
2.2 เพื่อศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมและคติความเชื่อในการสร้างโบราณสถานปราสาทภูฝ้าย
(พนมกะบาร์) ตาบลภูฝ้าย อาเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
3. สมมติฐานของการศึกษา
จากการค้นคว้าเอกสาร เดินทางสารวจพื้นที่ที่ศึกษาในขั้นต้น และการสัมภาษณ์ ทาให้คณะ
ผู้จัดทาโครงงานตั้งสมมติฐานได้ว่าปราสาทภูฝ้ายสร้างขึ้นในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15 – 16 รูปแบบ
สถาปัตยกรรมเป็นปราสาทหลังเดียว บนภูฝ้าย ก่อสร้างด้วยศิลาแลง หินทราย และอิฐผิวเรียบมี
ลักษณะเป็นศาสนสถานศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ลัทธิไศวะนิกาย โดยการสร้างปราสาทภูฝ้ายบนภูเขา
ลูกโดด เสมือนเป็นยอดเขาพระสเมรุ
4. ขอบเขตการศึกษา
คณะผู้จัดทาโครงงานเรื่อง นักสืบประวัติศาสตร์ ตอน ปราสาทภูฝ้าย(พนมกะบาร์)
โบราณสถานที่ถูกลืม ได้ศึกษาในเขตพื้นที่ ตาบลภูฝ้าย อาเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ในบริเวณ
ภูเขาหินลูกโดด ที่มีชื่อว่า ภูฝ้าย ที่มีโบราณสถานปราสาทหินภูฝ้ายตั้งอยู่ โดยทาการศึกษาในประเด็น
ประวัติความเป็นมา รูปแบบสถาปัตยกรรม คติความเชื่อ การสร้างโบราณสถานปราสาทภูฝ้าย ช่วง
ระยะเวลาที่ทาการเก็บข้อมูลศึกษา คือ ระหว่างเดือน ธันวาคม 2557 – มกราคม 2558
4
5. วิธีดาเนินการศึกษา
การดาเนินการศึกษาโครงงานในครั้งนี้ คณะผู้จัดทาโครงงานได้ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ใน
การศึกษาค้นคว้า ดังนี้
5.1 การค้นคว้าข้อมูลทางเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบถึงประวัติความเป็นมา
รูปแบบสถาปัตยกรรม คติความเชื่อการสร้างโบราณสถานปราสาทภูฝ้าย
5.2 การค้นคว้าข้อมูลภาคสนาม ประกอบด้วยการออกสารวจและถ่ายภาพปราสาทภูฝ้าย
บริเวณภูฝ้าย และปราสาทที่มีลักษณะใกล้เคียง เช่น ปราสาทบ้านจารย์(สังข์ศิลป์ชัย) จังหวัดสุรินทร์
ปราสาทเขาปลายบัด1 จังหวัดบุรีรัมย์เป็นต้น และออกสารวจ สัมภาษณ์และถ่ายภาพเพื่อเก็บข้อมูล
เกี่ยวกับปราสาทภูฝ้าย จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
5.3 การเรียบเรียงตรวจสอบข้อมูล นาข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 5.1 และขั้นตอนที่ 5.2 มา
ตรวจสอบจากเอกสารในเรื่องของ ประวัติความเป็นมา รูปแบบสถาปัตยกรรม คติความเชื่อการสร้าง
โบราณสถานปราสาทภูฝ้าย จัดหาภาพถ่ายเพิ่มเติมในส่วนที่ขาดหายและมีผู้ถ่ายไว้แล้ว
5.4 การวิเคราะห์ข้อมูล นาข้อมูลที่จาแนกหมวดหมู่แล้ว มาวิเคราะห์หาคาตอบตาม
สมมติฐานที่ตั้งไว้
5.5 การเรียบเรียงข้อมูลนาเสนอ เรียบเรียงผลการศึกษาเป็นขั้นตอนจนถึงบทวิเคราะห์และ
บทสรุปออกมาเป็นรูปแบบของรายงานการศึกษาโครงงาน
6. ข้อตกลงเบื้องต้น
ปราสาทภูฝ้าย หมายถึง ปราสาทพนมกะบาร์ ในภาษาเขมรที่ชาวบ้านเชื้อสายเขมรในแถบ
หมู่บ้านกุดนาแก้ว บ้านพรานใช้เรียกปราสาทภูฝ้าย เป็นปราสาทหลังเดียว ที่ตั้งอยู่สันเขาด้านทิศ
เหนือของภูฝ้าย ภูเขาลูกโดด รูปค่อนข้างรี อยู่ในเขตบ้านภูฝ้าย ตาบลภูฝ้าย อาเภอขุนหาญ จังหวัด
ศรีสะเกษ
เขมร หมายถึง กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในดินแดนประเทศกัมพูชาและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตอนล่างของประเทศไทย(จังหวัดนครราชสีมา,บุรีรัมย์,สุรินทร์,ศรีสะเกษ,อุบราชธานี) ในช่วง
ระยะเวลาประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 –18 โดยใช้คาว่าศิลปะเขมร แทนการเรียกชื่อ ศิลปะขอม และ
ศิลปะลพบุรี เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการสื่อสาร
ศาสนบรรพต หมายถึง ปราสาทหรือศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ ที่สร้างบนยอดเขา
ปราสาทขอม หมายถึง ศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ ที่สร้างขึ้นโดยอาณาจักรเขมร ตั้งแต่
พุทธศตวรรษที่ 12 ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เป็นต้นมา พบมากในประเทศกัมพูชา ในเขตอีสานใต้
ของประเทศไทยปราสาทขอมก่อสร้างด้วยวัสดุอิฐ ศิลาทราย และศิลาแลง ในรูปแบบศิลปะเขมร
5
7. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
7.1 เป็นข้อมูลพื้นฐานสาหรับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการอนุรักษ์และดูแลโบราณสถานปราสาท
ภูฝ้ายในการเผยแพร่ความรู้และประชาสัมพันธ์ปราสาทภูฝ้าย
7.2 เป็นข้อมูลใช้ในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โบราณสถานปราสาทภูฝ้ายถึงประวัติ
ความเป็นมา รูปแบบสถาปัตยกรรม คติความเชื่อและการบูรณะโบราณสถานปราสาทภูฝ้าย
7.3 มีแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โบราณสถานปราสาทภูฝ้าย ที่ทาให้เกิดความรัก
ความภาคภูมิใจในท้องถิ่น
6
บทที่ 2
แนวคิด ทฤษฏี และงานที่เกี่ยวข้อง
การดาเนินการศึกษาโครงงานในครั้งนี้ เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โบราณสถาน
ปราสาทภูฝ้าย ตาบลภูฝ้าย อาเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ในด้านประวัติความเป็นมา รูปแบบ
สถาปัตยกรรม คติความเชื่อ และการบูรณะซ่อมแซมโบราณสถานปราสาทภูฝ้าย ตาบลภูฝ้าย อาเภอ
ขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ คณะผู้จัดทาโครงงานได้ทบทวนแนวคิด ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ดังต่อไปนี้
1. ศิลปะเขมรในประเทศไทย
2. การแบ่งยุคสมัยศิลปะเขมร
3. ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรเขมรโบราณกับดินแดนประเทศไทย
4. ปราสาทขอม
4.1 คติการสร้าง ความสาคัญของปราสาทขอม
4.2 ประเภทของปราสาทขอม
4.3 ส่วนประกอบของปราสาทขอม
1. ศิลปะเขมรในประเทศไทย
ดินแดนประเทศไทยในอดีตมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ในแต่ละภูมิภาคได้พบหลักฐาน
ทางศิลปกรรมต่างๆมากมาย ในช่วงระยะเวลาหนึ่งราวพุทธศตวรรษที่ 12 ถึงพุทธศตวรรษที่ 18
ดินแดนประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้พบศิลปกรรมกลุ่มหนึ่งซึ่งมี
ลักษณะเดียวกันหรือใกล้เคียงกันกับศิลปะในประเทศกัมพูชา ศิลปกรรมกลุ่มนี้ได้แก่ ศิลปะลพบุรี
หรือที่ปัจจุบันนิยมเรียกว่าศิลปะขอมในประเทศไทย หรือศิลปะเขมรในประเทศไทย
ศิลปะลพบุรี หรือศิลปะเขมรในประเทศไทย หมายถึงศิลปกรรมแบบหนึ่งที่พบในประเทศ
ไทยอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 18 โดยที่มีรูปแบบคติความเชื่อ กรรมวิธีการ
สร้างเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกันกับศิลปกรรมในประเทศกัมพูขาที่มีอายุอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าว
ศิลปกรรมกลุ่มที่มีลักษณะเหมือนหรือใกล้เคียงกับศิลปกรรมที่พบในประเทศกัมพูชา ตั้งแต่
อดีตจนถึงปัจจุบัน นักวิชาการได้ตั้งชื่อเรียกแตกต่างออกไปมากมาย ดังนี้
7
1.1 ศิลปะลพบุรี
คาว่า “ลพบุรี” ใช้เรียกศิลปะกลุ่มดังกล่าวมาตั้งแต่สมัยแรกเริ่มทาการศึกษา โดยมีความ
หมายถึงโบราณสถานวัตถุที่เป็นฝีมือขอมซึ่งสร้างขึ้งมาครั้งทีพวกขอมมาปกครองเมืองลพบุรี แม้ว่าจะ
พบจากเมืองอื่นๆ แต่หากมีลักษณะเป็นฝีมือขอมก็จัดเข้ารวมในสมัยขอมทั้งสิ้น
การเรียกชื่อ “ลพบุรี” อาจมีเหตุผลเรื่องราวการเมืองระหว่างประเทศในช่วงเวลานั้นด้วย ซึ่ง
ลัทธิจักรวรรดินิยมกาลังรุกรานประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไทย โดยหากเรียกศิลปะกลุ่มนี้ว่า
ศิลปะเขมรอาจเป็นเหตุผลให้ประเทศฝรั่งเศสซึ่งขณะนั้นได้ปกครองประเทศกัมพูชาแล้วอ้างว่า
ดินแดนไทยเคยอยู่ใต้การปกครองของอาณาจักรเขมรโบราณ ดังนั้นฝรั่งเศสจึงมีความชอบธรรมใน
การปกครองดินแดนของไทยด้วย
อย่างไรก็ตาม นักวิชาการบางท่านเห็นว่าชื่อศิลปะลพบุรียังมีความเหมาะสมอยู่บางประการ
กล่าวคือ ในราวพุทธศตวรรษที่ 12-15 ดินแดนเมืองลพบุรียังคงอยู่ภายใต้วัฒนธรรมทวารวดี เพิ่ง
ได้รับวัฒนธรรมเขมรอย่างแท้จริงตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 เท่านั้น จากเหตุผลดังกล่าวจึงเห็น
ว่า ไม่น่าเหมาะสมที่จะเรียกศิลปะกลุ่มนี้ว่าลพบุรี ซึ่งอายุเก่าถึงพุทธศตวรรษที่ 12
1.2 ศิลปะเขมร หรือศิลปะขอม
“เขมร” กับ “ขอม” หลายท่านเชื่อว่าน่าจะเป็นกลุ่มเดียวกันและเป็นกลุ่มที่สร้างสรรค์
ศิลปกรรมยุคโบราณของกัมพูชา ทั้งปราสาทนครวัด เมืองนครธม บางท่านเชื่อว่าเป็นคนละกลุ่ม
อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าชาวกัมพูชาตั้งแต่อดีตไม่เคยเรียกตนเองว่าขอมเลย คาว่าขอม
นี้ว่าปรากฏเฉพาะก็แต่ในเอกสารของไทยเท่านั้น โดยอาจจะแผลงมาจากคาว่า “ ขแมร์กรอม” ซึ่ง
หมายถึงเขมรต่า ส่วนคาว่าเขมรเป็นคาที่ชาวเขมรใช้เรียกตัวเอง ซึ่งเห็นได้จากจารึกโบราณหลายหลัก
ศิลปะเขมรหรือศิลปะขอม เกิดจากการใช้เชื้อชาติมาเป็นชื่อเรียกศิลปกรรม ความจริงการ
เรียกในลักษณะเช่นนี้ ปรากฏมานานแล้วเพียงแต่ไม่เป็นที่นิยมมากนักในประเทศไทย เพิ่งได้รับความ
นิยมในวงกว้างก็เมื่อราว 20 ปีมานี้
การเรียกศิลปะกลุ่มนี้ว่าศิลปะเขมรหรือศิลปะขอมนั้น นอกจากกระแสการแบ่งศิลปกรรม
ออกตามเชื้อชาติแล้ว ยังคานึงถึงความไม่เหมาะสมของชื่อศิลปะลพบุรี และข้อเท็จจริงที่ว่าอาณาจักร
เขมรโบราณเคยครอบครองดินแดนไทยไว้ และกษัตริย์ของอาณาจักรเขมรโบราณได้มีผู้อุปถัมภ์ให้
สร้างโบราณวัตถุต่างๆเหล่านี้ขึ้น
8
2. การแบ่งยุคสมัย
นักวิชาการชาวฝรั่งเศสทาการศึกษาศิลปะเขมรโบราณซึ่งมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่
12-18 ไว้ โดยในช่วงเวลากว่า 700 ปี แบ่งออกเป็นสมัยย่อยๆ จานวนมาก ดังต่อไปนี้
2.1 ศิลปะสมัยก่อนเมืองนคร
1) ศิลปะแบบพนมดา (ราว พ.ศ. 1080-1140)
2) ศิลปะถาราบริวัติ (ราว พ.ศ. 1150)
3) ศิลปะสมโบร์ไพรกุก (พ.ศ. 1140-1190)
4) ศิลปะแบบไพรกเมง (ราว พ.ศ. 1175-1240)
5) ศิลปะกาพงพระ (ราว พ.ศ. 1246-หลัง พ.ศ. 1340)
2.2 ศิลปะสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อ
1) ศิลปะกุเลน (ราว พ.ศ. 1365-1415)
2.3 ศิลปะสมัยเมืองพระนคร
1) ศิลปะพระโค (ราว พ.ศ. 1415-หลัง พ.ศ. 1433)
2) ศิลปะบาแค็ง (ราวหลัง พ.ศ.1433-1465)
3) ศอลปะเการ์แกร์ (ราวปี พ.ศ.1464-1485)
4) ศิลปะแปรรูป (ราว พ.ศ. 1490-1505)
5) ศิลปะบันทายสรี (ราว พ.ศ. 1510 - ราว พ.ศ.1540)
6) ศิลปะคลัง (เกลียง) (ราว พ.ศ.1505-1550)
7) ศิลปะปาปวน (ราว พ.ศ.1550-1620)
8) ศิลปะแบบนครวัด (ราว พ.ศ.1640-1715)
9) ศิลปะบายน (หลัง พ.ศ. 1720- ราว พ.ศ. 1770)
ชื่อสมัยใหญ่ๆ ได้แก่ สมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนครนั้น แบ่งจากกันโดยการ
รวมอานาจอาณาจักรให้เป็นปึกแผ่นของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1345-1393) เป็นสาคัญ
สมัยก่อนเมืองพระนครจึงหมายถึงช่วงเวลาก่อนรัชกาลของพระองค์ และตั้งแต่รัชกาลของพระองค์
เป็นต้นไปจัดเป็นสมัยเมืองพระนคร พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ทรงย้ายเมืองหลวงไปยังที่ต่างๆ หลายครั้ง
จวบจนกระทั่งรัชกาลของพระเจ้าโศวรมันที่ 1 ( พ.ศ.1432-1443) จึงมีการสร้างเมืองพระนครหรือ
เมืองยโศธรปุระขึ้น และตั้งแต่นี้ไปเมืองแห่งนี้ก็จะเป็นราชธานีอย่างสืบเนื่องยาวนาน ( ด้วยเหตุที่เมือง
พระนครเพิ่งสร้างขึ้นในรัชกาลของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ทาให้นักวิชาการส่วนใหญ่จัดศิลปะที่เกิดขึ้น
รัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 คือศิลปะกุเลน ว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยงหัวต่อ )
9
ส่วนชื่อศิลปะแบบย่อยๆนั้น ใช้ชื่อศาสนสถานที่สาคัญในช่วงเวลาต่างๆเป็นชื่อเรียก เช่น
ศิลปะนครวัดมาจากชื่อปราสาทนครวัด ศิลปะบายนมาจากชื่อปราสาทบายน เป็นต้น
สาหรับศิลปะขอมในประเทศไทยหรือศิลปะเขมรในประเทศไทยนั้น โดยทั่วไปใช้ชื่อเรียกยุค
สมัยและกาหนดอายุตามศิลปะในประเทศกัมพูชาก็อาจมีอายุที่หลังกว่าได้ เนื่องจากกว่าที่ศิลปะแบบ
หนึ่งแบบใดจะได้รับความนิยมและส่งอิทธิพลต่อดินแดนไทยได้จาเป็นต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง
3. ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรเขมรโบราณกับดินแดนประเทศไทย
ในอดีตอาณาจักรเขมรโบราณถือได้ว่าเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้
กษัตริย์เขมรหลายพระองค์แผ่ขยายอานาจไปสู่ดินแดนใกล้เคียง ไม่เว้นแม้กระทั่งดินแดน
ประเทศไทย กล่าวได้ว่ากษัตริย์เขมรเกือบทุกพระองค์ได้แผ่ขยายอานาจเข้าสู่ดินแดนประเทศไทย ดัง
เห็นได้จากหลักศิลาจารึกที่กล่าวถึงพระนามของกษัตริย์เขมรโบราณ ไล่มาตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระ
นครเรื่อยมาถึงสมัยเมืองพระนคร และโบราณสถานวัตถุต่างๆ แต่ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะที่สาคัญๆ
เท่านั้น
3.1 สมัยก่อนเมืองพระนคร
สมัยก่อนเมืองพระนคร กษัตริย์เขมรองค์แรกสุดที่พบจากรึกในดินแดนไทยน่าจะได้แก่ พระ
เจ้าภววรมันที่ 1 (พ.ศ.1141) โดยพบจารึกของพระองค์จากบิเวณเมืองศรีเทพ หลังจากนั้นก็มีการ
จารึกของพระมเหนทรวรมัน (ราว พ.ศ.1150-1159) ซึ่งพบจารึกของพระองค์ในแถบจังหวัดบุรีรัมย์
อุบลราชธานี ขอนแก่น และสระแก้ว
กษัตริย์พระองค์ต่อมาได้แก่ พระเจ้า พระเจ้าอิสานวรมันที่ 1 (ราว พ.ศ. 1159-1180) พบ
ศิลาจารึกของพระองค์ในจังหวัดจันทบุรีและบุรีรัมย์
สาหรับโบราณวัตถุในช่วงก่อนเมืองนครนี้ไม่พบมากนัก ทั้งนี้อาจเนื่องจากมีการสร้างน้อย
หรือถูกปฏิสังขรณ์ในสมัยหลังตัวอย่างที่สาคัญได้แก่ โบราณสถานที่เมืองโบราณดงเมืองเตย จังหวัด
ยโสธร ประสาทภูมิโพน จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มประติมากรรมสาริดจากจังหวัดบุรีรัมย์ รวมถึงทับหลัง
และเสาประดับกรอบประตูบางชิ้นที่พบในเขตจังหวัดจันทบุรี สระแก้ว และจังหวัดอุบลราชธานี
เป็นต้น
3.2 สมัยเมืองพระนคร
เมื่อเข้าสู่สมัยเมืองพระนครดินแดนประเทศไทยได้พบจารึกของกษัตริย์เขมรได้หลายพระองค์
ที่สาคัญได้แก่พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1432-1443) ได้พบจารึกของพระองค์ที่ปราสาทพนมวัน
จังหวัดนครราชสีมา และเมืองเพนียด จังหวัดจันทบุรี หลังจากนั้นได้พบจารึกของกษัตริย์เขมรอีก
หลายพระองค์ ทั้งพระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1443-หลัง พ.ศ. 1456) พระเจ้าอิสานวรมันที่ 2
10
(พ.ศ. 1468) พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 (พ.ศ. 1471-1485) พระเจ้าราเชนทรวรมัน (พ.ศ. 1487-1511)
พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ. 1511-1544) สะท้อนให้เห็นถึงอานาจทางการเมืองที่ต่อเนื่องและยาวนาน
ของกษัตริย์เขมรที่มีเหนือดินแดนประเทศไทย
ช่วงกลางพุทธศตวรรษ 16 พบศิลาจารึกของพระเจ้าสูรยวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1545-1593) ที่
สาคัญได้แก่ จารึกศาลสูงหลักที่ 1 จังหวัดลพบุรี เนื้อความในศิลาจารึกระบุถึงพระราชโองการของ
พระเจ้าสูรยวรมันที่ 1 ว่าให้ดาบส ภิกษุในพุทธศาสนามหายานและเถรวาทถวายตบะแก่พระองค์
เป็นหลักฐานสาคัญที่แสดงให้เห็นถึงอานาจของเขมรที่เข้ามาสู่ภาคกลางของประเทศไทยอย่างชัดเจน
และอาจเป็นเหตุผลที่ทาให้วัฒนธรรมทวารวดีค่อยๆเสื่อมลงไปในที่สุดด้วย
รัชกาลพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 (พ.ศ.1593-1609) พบจารึกที่สาคัญเป็นอย่างยิ่งใน
การศีกษาประวัติศาสตร์อาณาจักรเขมรโบราณ ได้แก่ จารึกสด๊กก๊อกธม 2 จากปราสาทสด๊กก๊อกธม
อาเภอตราพระยา จังหวัดสระแก้ว เป็นจารึกที่กล่าวถึงเรื่อง “เทวราชา” ซึ่งป็นความเชื่อที่กษัตริย์
เขมรให้การนับถือเป็นอย่างยิ่ง และยังกล่าวถึงตระกูลพราหมณ์ที่ทาหน้าที่ประกอบพิธีดังกล่าวด้วย
ช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 17 เป็นต้นไป อาณาจักรเขมรโบราณมีกษัตริย์หลายพระองค์ขึ้น
ครองราชย์สมบัติ ในจานวนนี้มีกษัตริย์บางพระองค์เป็นผู้สืบเชื้อสายจากราชวงศ์มหิธรปุระ ซึ่งเป็น
ราชวงศ์ที่อยู่ในดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทย กษัตริย์ที่กล่าวถึงนี้ได้แก่ พระเจ้า
ชัยวรมันที่ 6 (พ.ศ. 1623-1609) พระเจ้าธรณีรฃนทวรรมันที่ 1 (พ.ศ. 1650-1656) และที่สาคัญ
ที่สุดได้แก่ พระเจ้าสูรยวรมันที่ 2 (พ.ศ.1656-หลัง 1688)ผู้สร้างนครวัด และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
(พ.ศ.1724-ราว พ.ศ. 1763) กษัตริย์ผู้สร้างเมืองนครธม
มีการค้นพบจารึกของพระเจ้าวรมันที่ 7 หลายหลังในดินแดนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจารึก
ประจาอโรคยศาล ซึ่งพบหลายหลักในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ปราสาทพระขรรค์
ประเทศกัมพูชา ได้กล่าวถึงพระองค์ว่า ทรงสร้างพระชัยพุทธมหานา-ขึ้นในวิหารต่างๆ 23 แห่ง โดย
บางแห่งอาจเป็นวิหารประจาเมืองที่อยู่ภาคกลางและภาคตะวันออกของไทย ได้แก่ ลโว้ทยปุระ
สุวรรณปุระ ศัมพูกปัฏฏนะ ชัยราชบุรี ศรีชยสิงหบุรี ศรีชยวัชรปุรี ซึ่งหมายถึงลพบุรี สุวรรณบุรี สระ
โกสินารายณ์ ราชบุรี เมืองสิงห์ เพชรบุรี นอกจากนี้ยังกล่าวถึงการสร้างวหนิคคฤหะ หรือบ้างพร้อม
ไฟตามเส้นทางจากเมืองพระนครไปสู่เมืองอื่นๆ รวมถึงเส้นทางที่มาสู่เมืองพิมายในจังหวัดนครราชศรี
มาด้วย จึงอาจอาจกล่าวได้ว่าในสมัยของพระองค์เป็นช่วงเวลาที่อาณาจักรเขมรแพร่ขยายอานาจทาง
การเมืองและอานางทางวัฒนธรรม เข้าสู่ดินแดนไทยได้กว้างไกลกว่าสมัยอื่นๆ
สาหรับโบราณสถานวัตถุในช่วงเมืองพระนครพบมากขึ้นกว่าสมัยก่อนหน้านี้เป็นจานวนมาก
โดยเฉพาะช่วงตั้งแต่ช่วงศิลปะบาปวน ศิลปะนครวัด และศิลปะบายน พบหลักฐานทั้งสถาปัตยกรรม
และประติมากรรมเป็นจานวนมาก ในด้านการกระจายตัวก็มิได้ปรากฏเฉพาะภาคตะวันออกและภาค
11
ตะวันออกเฉียงเหนือ หรือจังหวัดที่อยู่ติดกับประเทศกัมพูชาเท่านั้น แต่ว่าเข้าสู่ภูมิภาคตอนในของ
ประเทศไทยด้วย ดังนี้
ภาคเหนือตอนล่างแถบจังหวัดสุโขทัย พบหลักฐานคือ ปราสาทเขาปู่จา ศาลตาผาแดง
ปราสาทวัดพระพายหลวง ปราสาทวัดเจ้าจันทร์ เป็นต้น
ภาคตะวันตกพบหลักฐานคือ ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี โบราณสถานสระโกสิ
นารายณ์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี และปราสาทวัดกาแพงแลง จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น
ภาคกลาง พบหลักฐานคือ ปรางค์แขก ศาลพระกาฬ พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี
โบราณสถานที่เนินทางพระ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นต้น
ซึ่งทั้งหมดอาจเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเข้มข้นที่มากขึ้นของอานาจวัฒนธรรมและ
อานาจทางการเมืองของศิลปะเขมร
อย่างไรก็ตามในช่วงเวลาที่กษัตริย์เขมรแผ่อานาจเข้ามายังดินแดนไทยนี้ ก็ได้พบศิลาจารึกที่
กล่าวถึงชื่อเมือง และรายชื่อกษัตริย์ที่ต่างไปจากชื่อของกษัตริย์เขมรด้วย อาจแสดงให้เห็นว่าบางพื้นที่
บางช่วงเวลา ดินแดนประเทศไทยมีผู้นาปกครองตนเอง เป็นอิสระจากอานาจของกษัตริย์เขมร
จากที่กล่าวมาทั้งหมดอาจกล่าวได้ว่า สมัยก่อนเมืองพระนคร อานาจทางการเมือง และ
อานาจทางวัฒนธรรมของอาณาจักรเขมรโบราณได้แผ่เข้าสู่ดินแดนประเทศไทยแล้ว แต่จะหนาแน่น
ในเขตจังหวัดที่ติดกับประเทศกัมพูชาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก เมื่อเข้าสู่ใน
สมัยเมืองพระนคร ความเกี่ยวข้องกับอาณาจักรเขมรซึ่งมีทั้งเรื่องอานาจทางการเมืองและอานาจทาง
วัฒนธรรมได้เข้ามามีบทบาทต่อดินแดนประเทศไทยมากขึ้นกว่าสมัยก่อนเมืองพระนครเป็นอย่างมาก
ดังเห็นได้จากความหนาแน่นของจารึก ศาสนสถานวัตถุ และขอบเขตและการกระจายตัวที่กว้างมาก
ขึ้น ในขณะเดียวกันดินแดนประเทศไทยในช่วงเวลาก็มีผู้นาเป็นของตนเองด้วย
4. ปราสาทขอม
ปราสาทขอมคืออะไร
โดยปกติคาว่าปราสาทมีความหมายถึงเรือนฐานันดรสูง ซึ่งมีชั้นซ้อนของเรือนหรือของง
หลังคาต่อขึ้นไปหลายชั้น และโดยทั่วไปเป็นคาที่ใช้เรียกพระราชวัง หรือที่ประทับของ
พระมหากษัตริย์ แต่ปราสาทขอมหรือปราสาทเขมรมีความหมายเฉพาะที่ต่างแกไปโดยมีความหมาย
2 นัย นัยแรก หมายถึงศาสนสถานในวัฒนธรรมเขมรทั้งบริเวณ และนัยที่สองหมายถึง เฉพาะอาคาร
ที่สาคัญ ใช้สาหรับประดิษฐานรูปเคารพ
ปราสาทขอมเหล่านี้มักทาด้วยหิน ไม่ว่าจะเป็นหินทรายหรือหินแลง ดังนั้นจึงนิยมเรียกกันว่า
ปราสาทหิน อย่างไรก็ตามปราสาทบางองค์ก็อาจใช้อิฐเป็นวัสดุหลักในการสร้าง
12
ปราสาทเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายให้เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ หรือศาสนาพุทธ
มหายาน ดังนั้นปราสาทเหล่านี้จึงเปรียบเหมือนที่ประทับของเทพหรือพระพุทธเจ้าเหล่านั้น
4.1 คติการสร้าง และความสาคัญของปราสาทขอม
4.1.1 คติการสร้าง
การสร้างอาคารทรงปราสาทมาจากคติความเชื่อของชาวอินเดียที่ว่า เทพเจ้า
ทั้งหลายสถิตอยู่ ณ เขาพระสุเมรุ อันเป็นแกนกลางของจักรวาล ซึ่งอยู่บนสวรรค์ การสร้างปราสาทจึง
เปรียบเสมือนการจาลองเขาพระสุเมรุมายังโลกมนุษย์ เพื่อเป็นที่สถิตของเทพเจ้า และมีการสร้างรูป
เคารพของเทพเจ้าขึ้น เพื่อประดิษฐานไว้ภายใน โดยตัวปราสาทมีสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้แทน
ความหมายของเขาพระสุเมรุ เช่น มีปราสาทประธานตรงกลาง มีปราสาทบริวารล้อมรอบ ถัดออกมา
มีสระน้า และกาแพงล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง การที่ทาหลังคาปราสาทเป็นเรือนซ้อนชั้นก็หมายถึง สวรรค์
หรือวิมานของเทพเทวดานั่นเอง ด้วยเหตุที่เป็นการจาลองจักรวาลมาไว้บนโลกมนุษย์ และเป็นที่สถิต
ของเทพเจ้า จึงต้องมีระเบียบกฎเกณฑ์ ตามที่กาหนดไว้ในคัมภีร์ทางศาสนาอย่างเคร่งครัด ตัว
ปราสาทจึงมีขนาดใหญ่โต และใช้เวลาก่อสร้างยาวนาน
ภาพที่ 1 คติเขาพระสุเมรุตามคติในศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนา คือภูเขาที่เป็นหลักของโลก
ตั้งอยู่จุดศูนย์กลางของโลกหรือจักรวาล เป็นที่อยู่ของสิ่งมีวิญญาณในภพและภูมิต่างๆ
คาภีร์ศิวะปุราณะกล่าวว่า พระอิศวรทรงน้าด้วยพระเสโท สร้างแผ่นดินด้วยเมโท
ใช้จุฑามณีปักลงที่ใจกลางของพื้นภพเป็นเขาพระสุเมรุให้เป็นหลักของโลก และจักรวาล นาพระ
สังวาลมาสร้างเป็นทิวเขาสวมรอบเขาพระสุเมรุอีก 7 ทิว เรียกว่า สัตบริภัณฑคีรีเป็นที่สถิตของเทวดา
สูงจากพื้นน้า 84,000 โยชน์ มียอด 5 ยอด คือ สุทัศนกูฏ จิตรกูฏ กาลกูฏ ไกรลาส
(ที่สถิตของพระอิศวร) และ คันธมาทกูฏ ที่ฐานมีเขา 3 ลูกรองรับ เรียกว่า ตรีกูฏ
13
มหาทวีปทั้ง 4 ล้อมรอบคือ ชมพูทวีป อมรโคยาน ปุพพวิเทห และ อุตรกุระ มีทวีป
น้อยๆ เป็นบริวาร 2,000
มีมหาสมุทรทั้ง 4 ทิศล้อมรอบ คือปิตสาคร ผลิกสาคร ขีรสาคร น้าสีขาว (ทะเล
น้านมเกษียรสมุทรที่สถิตย์ของพระนารายณ์) และนิลสาคร
มีพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาวนพเคราะห์น้อยใหญ่ หมุนเวียนล้อมรอบ
ภาพที่ 2 แผนผังปราสาทพนมบางแค็ง พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 (พ.ศ.1432 - 1444) สร้างเมืองพระ
นครมาใช้ ทรงเลือก เขาพนมบาแค็ง เป็นศูนย์กลางเมืองพระนคร และสร้างปราสาทพนมบาแค็งเป็น
ปราสาท 5 หลัง แสดงถึงยอด 5 ยอดของเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นที่ประทับของเทวดา
4.1.2 ความสาคัญ
ด้วยเหตุที่ปราสาทขอมคือ ศูนย์กลางของจักรวาล ดังนั้น ตัวปราสาท และเขตศาสน
สถานจึงถือว่า เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และใช้ในความหมายที่เป็นศูนย์กลางของเมืองหรือชุมชน
ปราสาทเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพ และใช้ทาพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งในศาสนาฮินดูจะมีพราหมณ์
เป็นผู้ทาพิธี เช่น การสรงน้ารูปเคารพที่อยู่ภายในห้องครรภคฤหะ น้าที่สรงแล้วจะไหลออกมาทางท่อ
น้าเรียกว่า ท่อโสมสูตร ซึ่งต่อออกมาภายนอกตัวปราสาท เพื่อที่ชาวบ้านจะได้นาน้าศักดิ์สิทธิ์นี้ไปใช้
นอกเหนือจากปราสาทที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนแล้ว การสร้างสระน้าและบาราย (สระน้าขนาด
ใหญ่) ก็เป็นส่วนหนึ่งของปราสาท เพื่อเป็นอ่างเก็บน้า สาหรับชุมชน ในการอุปโภคบริโภค ดังนั้น การ
สร้างปราสาทจึงเป็นภาระสาคัญของพระมหากษัตริย์ ที่เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว ต้องสร้างขึ้น เพื่ออุทิศ
ให้แก่บรรพบุรุษ หรือให้แก่พระองค์เอง และสร้างบารายให้แก่ประชาชน การสร้างปราสาทที่มีขนาด
ใหญ่จึงแสดงให้เห็นถึงบุญบารมี และพระราชอานาจของกษัตริย์แต่ละพระองค์ด้วย
14
4.1.3 ความเกี่ยวเนื่องระหว่างปราสาทกับศาสนา
โดยทั่วไปศาสนสถานในศิลปะขอม จะสร้างขึ้น เนื่องในศาสนาฮินดูเป็นส่วนใหญ่ มี
เพียงบางแห่ง หรือบางสมัยเท่านั้น ที่สร้างขึ้น เนื่องในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน เช่น ปราสาทที่
สร้างขึ้นในศิลปะแบบบายนทั้งหมด เพราะในขณะนั้น มีการเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนานิกาย
มหายานแล้ว วิธีสังเกตว่า ศาสนสถานแห่งนั้นๆ สร้างขึ้น เนื่องในศาสนา และลัทธิใด ดูได้จาก
รูปเคารพ ที่ประดิษฐานภายในปราสาทประธานเป็นสาคัญ ถ้าไม่ปรากฏรูปเคารพ ให้ดูได้จากภาพเล่า
เรื่องบนทับหลัง โดยเฉพาะทับหลังประดับด้านหน้าของห้องครรภคฤหะ จะเป็น ตัวบอกได้ดีที่สุด ใน
ส่วนของปราสาทที่สร้างขึ้นในศาสนาฮินดูแยกออกเป็น ๒ ลัทธิ ได้แก่ "ไศวนิกาย" คือ การบูชาพระ
อิศวร หรือพระศิวะเป็นใหญ่ เช่น ปราสาทพนมรุ้ง และ "ไวษณพนิกาย" คือ การบูชาพระนารายณ์
หรือพระวิษณุเป็นใหญ่ เช่น ปราสาทนครวัด ส่วนปราสาทหินพิมาย และกลุ่มปราสาทรุ่นหลัง ใน
ศิลปะแบบบายน ที่พบทางภาคกลางของประเทศไทยทั้งหมดนั้น สร้างขึ้น เนื่องในพระพุทธศาสนา
นิกายมหายาน เช่น พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี
4.2 ปราสาทขอมแบบต่างๆ
หากแบ่งปราสาทขอมออกตามวัตถุประสงค์การสร้าง สามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้
4.2.1 ปราสาทที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานประจารัชกาล
ปราสาทแบบนี้กษัตริย์เท่านั้นที่สามารถสร้างได้ มีลักษณะเป็นปราสาทที่สร้างขึ้นบน
ฐานที่ซ้อนลดกลั่นกันหลายชั้น โดยทั่วไปมีทั้งสิ้น 3-5 ชั้น ฐานเป็นชั้นเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อสื่อความ
หมายถึงเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นศูนย์กลางจักรวาลตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ
การสร้างปราสาทเหล่านี้เกิดจากความเชื่อว่า เมื่อกษัตริย์สวรรคตไปแล้วปราสาทดังกล่าวจะเป็น
สถานที่ที่พระองค์ไปรวมกับเทพเจ้าที่พระองค์นับถือ เช่นปราสาทนครวัด ซึ่งพระเจ้าสูรยวรมันที่ 2
(พ.ศ. 1656-หลัง พ.ศ. 1688) ทรงสร้างขึ้น เมื่อพระองค์สวรรคตไปแล้วจะไปรวมกับพระวิษณุที่
ปราสาทหลังนี้ และโดยนัยนี้ปราสาทนนครวัดจึงเป็นที่ประทับของพระองค์เมื่อสวรรคตไปแล้วนั่นเอง
รูปเคารพประธานก็จะมิใช่หมายถึงแต่เพียงพระวิษณุตามธรรมเนียมทั่วไป หากแต่หมายถึงองค์พระ
เจ้าสูรยวรมันที่ 2 ที่รวมเข้ากับองค์พระวิษณุแล้ว
อนึ่ง ชื่อของรูปเคารพประธานมักเป็นชื่อที่เกิดจากการผสมระหว่างชื่อกษัตริย์กับชื่อ
เทพเจ้า
ปราสาทบนฐานเป็นชั้นบางหลังมีจุดมุ่งหมายให้เป็นศูนย์กลางของพระนครด้วย เช่น
ปราสาทพนมบาแค็ง ตั้งอยู่บนยอดเขาบาแค็งซึ่งเป็นภูเขาที่ตั้งอยู่กลางเมืองพระนคร
นักวิขาการหลายท่านอธิบายว่าปราสาทที่สร้างขึ้นบนฐานเป็นชั้นที่เกี่ยวข้องกับ
“คติเทวราชา” ซึ่งเป็นคติที่กษัตริย์เขมรฝห้ความเคารพนับถือเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยของ
พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1345-1393) พระองค์ทรงทาพิธีกรรมเพื่อประกาศถึงความเป็นเอกราช
15
ไม่ขึ้นต่อชวาและได้สถาปนา “เทวราชา” ซึ่งภาษาเขมรใช้คาว่า “กมรเตง ชคต ต ราชา” นักวิชาการ
บางท่านสันนิษฐานว่าเทวราชาเป็นพิธีกรรมที่ยกฐานะของกษัตริย์ให้เทียบเท่ากับเทพ หรืออาจเป็น
พิธีที่ยกกษัตริย์ ขึ้นเป็นพระจักรวรรดิผู้ยิ่งใหญ่กว่ากษัตริย์ทั้งหลาย แต่บางท่านสันนิษฐานว่าเทวราชา
อาจเป็นรูปเคารพ เช่น ศิวลึงค์ ซึ่งมีหน้าที่ปกปักรักษาราชบัลลังก์กษัตริย์หลายพระองค์ได้สร้าง
ปราสาทบนฐานเป็นชั้นก็เพื่อประดิษฐานเทวราชาประจาพระองค์
ภาพที่ 3 ปราสาทนครวัด ประทศกัมพูชา พระเจ้าสูรยวรวันที่ 2 สร้างอุทิศให้กับพระวิษณุและตัว
พระองค์เอง และเป็นสถานที่ที่พระองค์ไปรวมกับพระวิษณุภายหลังสิ้นพระชนม์
ภาพที่ 4 ปราสาทพนมบาแค็ง ตั้งอยู่บนยอดเขาบาแค็งซึ่งเป็นภูเขาที่ตั้งอยู่กลางเมืองพระนคร
16
4.2.2 ปราสาทที่สร้าขึ้นภายใต้คติบูชาบรรพบุรุษและผู้วายชนม์
ปราสาทเขมรหลายหลังหากดูเผินๆ ดูเหมือนว่าทุกแห่งจะสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่
เทพเจ้าแต่เพียงอย่างเดียว แต่ความเป็นจริงหลายๆแห่ง สร้างขึ้นภายใต้คติบูชาบรรพบุรุษและผู้
วายชนม์ด้วย
กษัตริย์หลายพระองค์นอกจากสร้างศาสนสถานให้แก่พระองค์เองแล้ว ยังต้องสร้าง
ปราสาทให้แก่บรรพบุรุษของพระองค์ด้วย เช่น ปราสาทพระโค ซึ่งเป็นปราสาท 6 หลังตั้งบนฐาน
เดียวกัน พระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 (พ.ศ.1420-1432) ททรงสร้างถวายพระชนกกับพระชนนี พระอัยกา
กับพระอัยกี และกษัตริย์ที่ขึ้นครองราชย์มาก่อน คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 กับชายา
ประติมากรรมเทพเจ้าอยู่ในปราสาทเหล่านั้นจึงมิใช่รูปแทนองค์เทพเจ้าแต่เพียง
อย่างเดียว แต่ยังป็นรูปของบุคคลที่วายชนม์ซึ่งได้เข้าร่วมกับเทพเจ้าแล้ว ชื่อของรูปเคารพของเทพ
เหล่านี้ก็เป็นส่วนผสมระหว่างชื่อผู้วายชนม์กับชื่อของเทพเจ้า
ภาพที่ 5 ปราสาทพระโค ประเทศกัมพูชา พระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 ทรงสร้างอุทิศให้แก่พระชนก
กับพระชนนี พระอัยกา กับพระอัยกี และกษัตริย์ที่ขึ้นครองราชย์มาก่อน คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 1
กับชายา
4.2.3 ปราสาทประจาชุมชน
ปราสาทประจาชุมชน คือปราสาทที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางของชุมชน โดย
ผู้สร้างอาจเป็นกษัตริย์ หรืออาจเป็นพราหมณ์ปุหิต ผู้นาท้องถิ่นก็ได้ ปราสาทเขมรในดินแดนประเทศ
ไทยส่วนใหญ่สร้างขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ดังกล่าวนี้
17
สาหรับรูปเคารพที่ปรากฏทั่วไปย่อมหมายถึงรูปของเทพเจ้าองค์นั้นๆ มิได้เป็น
ตัวแทนของมนุษย์ที่วายชนม์แล้ว แต่อย่างไรก็ตามรูปตัวแทนผู้วายชนม์ก็อาจประดิษฐานอยู่ภายใน
ปราสาทประเภทนี้
ภาพที่ 6 ปราสาทเมืองต่่า จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทที่ส่าคัญอีกแห่งหนึ่ง
4.2.3 ปราสาทในลักษณะอื่น
นอกจากศาสนสถานต่างๆ ข้างต้น ยังมีศาสนสถานที่ทาหน้าที่เฉพาะด้วย ได้แก่
อโรคยศาล หรือศาสนสถานประจาโรงพยาบาล และธรรมศาลา หรือศาสนสถานประจาที่พักคน
เดินทาง ศาสนสถานทั้งสองประเภทสร้างขึ้นโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ภาพที่ 7 ปราสาทสระก่าแพงน้อย จังหวัดศรีสะเกษ เป็นศาสนสถานอโรคยศาลที่ส่าคัญอีกแห่งหนึ่ง
18
4.3 ส่วนประกอบต่างๆของปราสาทขอม
4.3.1 แผนผัง
ปราสาทขอมมีทั้งสร้างขึ้นบนพื้นราบ และสร้างขึ้นบนภูเขา โดยทั่วไปมีรูปแบบ
แผนผังที่เหมือนกัน แต่ในหลายๆครั้งพบว่าปราสาทที่สร้างขึ้นบนภูเขาจาเป็นต้องทาทางเดินที่ยื่นยาว
เข้าสู่ศาสนสถาน ทั้งนี้เพื่ออานวยความสะดวกแก่ผู้มาบวงสรวงบูชา จนนักวิชาการบางท่านตั้ง
ข้อสังเกตว่าการทาทางเดินที่ยื่นยาวเช่นนี้ ทาให้ศาสนสถานมีแผนผังแบบวิ่งเข้าหาปราสาทประธาน
ในขณะที่ปราสาทที่สร้างขึ้นบนพื้นราบมิจาเป็นต้องทาทางเดินเข้ายื่นยาว ส่งผลให้ศาสนสถานมี
แผนผังสมดุลทุกทิศทาง ซึ่งเป็นแผนผังแบบล้อมรอบปราสาทประธาน
อย่างไรก็ตาม กฎเกณฑ์เช่นนี้มิใช่สิ่งตายตัว เพราะบางครั้งแผนผังแบบวิ่งเข้าหา
ปราสาทประธานก็ใช้สาหรับปราสาทบนพื้นราบ และในทางกลับกันปราสาทบนภูเขาก็ใช้แผนผังแบบ
สมดุลหรือล้อมรอบปราสาทประธานได้
ปกติปราสาทเขมรนิยมหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เนื่องจากเป็นทิศแห่งความเป็น
สวัสดิมงคล แต่ปราสาทที่สร้างขึ้นบนภูเขาบางครั้งไม่สามารถหันหน้าไปทางทิศตะวันออกได้ เนื่อง
ด้วยสภาพภูมิประเทศไม่อานวย เช่น ปราสาทพระวิหาร หันหน้าสู่ทิศเหนือเพราะเป็นทิศที่สะดวกต่อ
การขึ้นมาบวงสรวงเทพเจ้า เป็นต้น ทาให้ปราสาทที่สร้างขึ้นบนภูเขามีโอกาสที่จะหันหน้าไปทางทิศ
อื่นๆมากกว่าปราสาทที่สร้างขึ้นบนพื้นราบ
อย่างไรก็ตาม บางครั้งปราสาทที่สร้างขึ้นบนพื้นราบก็อาจจะหันหน้าไปทางทิศอื่นได้
ขึ้นอยู่กับเหตุผลเฉพาะของแต่ละแห่ง เช่น ปราสาทนครวัด หันหน้าไปทางทิศตะวันตกเพราะเป็น
ปราสาทที่เกี่ยวข้องกับความตายและการเป็นสุสานของพระเจ้าสูรยวรมันที่ 2 เป็นต้น
สิ่งก่อสร้างสาคัญ
1) ปราสาทประธาน (ปรางค์ประธาน)
ปราสาทประธาน หมายถึงอาคารที่สาคัญที่สุดของศาสนสถานแห่งนั้น สร้างขึ้น
สาหรับประดิษฐานรูปเคารพที่สาคัญที่สุด โดยปกติจะตั้งอยู่กึ่งกลางของศาสนสถาน อาจมีเพียง 1
องค์ หรือหลายองค์มักเรียกรวมกันว่ากลุ่มปราสาทประธาน ซึ่งมักมีจานวนทั้งสิ้น 3 องค์ หรือ 5 องค์
ในกรณีที่สร้างปราสาทประธาน 1องค์ หากสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพราหมณ์แบบ
ไศวะนิกาย รูปเคารพในปราสาทประธานนิยมทาเป็นศิวลึงค์หรือองค์พระศิวะ หากสร้างขึ้นเนื่องใน
ศาสนาพราหมณ์แบบไวษณพนิกาย รูปเคารพก็จะเป็นพระวิษณุ และหากสร้างขึ้นเนื่องในศาสนา
พุทธก็มักเป็นพระพุทธรูปนาคปรก
ในกรณีที่สร้างกลุ่มปราสาท 3 องค์ มักสร้างเรียงกันในแนวเหนือ-ใต้ โดยทั่วไปใช้
สาหรับประดิษฐานเทพเจ้าตรีมูรติในศาสนาพราหมณ์ ปราสาทองค์กลางสร้างถวายพระศิวะ ปราสาท
องค์เหนือสร้างถวายพระวิษณุ และปราสาทองค์ใต้สร้างถวายพระพรหม หากสร้างเนื่องในพุทธ
19
ศาสนามหายาน เช่น พระปรางค์สามยอด ปราสาทองค์กลางสันนิษฐานว่า ประดิษฐานพระพุทธรูป
นาคปรก ปราสาทองค์ใต้ประดิษฐานพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และปราสาทองค์เหนือประดิษฐาน
นางปรัชญาปารมิตา
ภาพที่ 8 ปราสาทประธานของประสาทหินพนมรุ้ง เป็นปราสาทองค์เดียวสร้างขึ้นเพื่อถวายพระศิวะ
2) ปราสาทบริวาร (ปรางค์บริวาร)
ปราสาทบริวาร หมายถึง ปราสาทที่ใช้สาหรับประดิษฐานรูปเคารพที่มิใช่รูปเคารพ
ประธาน ไม่เจาะจงว่าจะต้องสร้างขึ้นส่วนใดของศาสนสถาน
ภาพที่ 9 ปราสาทเมืองต่่า จังหวัดบุรีรัมย์ ปัจจุบันปราสาทประธานพังทลายลงไปแล้วเหลือแต่
ปราสาทบริวารทั้ง 4
20
ทั้งปราสาทประธานและปราสาทบรวารมีรูปทรงที่คล้ายคลึงกัน องค์ประกอบไล่
จากส่วนล่างไปสู่ส่วนบนมีดังต่อไปนี้
ภาพที่ 10 แผนภาพแสดงองค์ประกอบ ของปรางค์แบบเขมรที่ใช้เป็นปรางค์ประธานของปราสาทหิน
ฐานไพที
ฐานไพที คือ ฐานที่ใช้รองรับสิ่งก่อสร้างมากกว่า 1 องค์ เช่น กลุ่มปราสาทประธาน
3 องค์ หรือ 5 องค์ เป็นต้น หากเป็นปราสาทเดียวไม่นิยมตั้งบนฐานไพที
ฐาน
ฐาน คือ ตาแหน่งล่างสุดของปราสาท เปรียบได้กับส่วนพื้นของบ้าน ทาหน้าที่
รองรับส่วนเรือนธาตุ มักอยู่ในทรงของฐานบัว และนิยมประดัลประดาด้วยลวดลายสลัก
เรือนธาตุ
เรือนธาตุ คือ ส่วนกลาง อยู่ใต้ชั้นซ้อนของส่วนยอด เทียบได้กับผนังของบ้าน เป็น
ตาแหน่งที่ใช้สาหรับประดิษฐานรูปเคารพ หรือสิ่งสักการะอื่นๆ ในสมัยก่อนเมืองพระนครนิยมผังเป็น
รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ส่วนในสมัยเมืองพระนครนิยมผังสี่เหลี่ยมจตุรัสเพิ่มมุมโดยปกติเรือนธาตุมีทางเข้าสู่
ห้องภายใน 1 ทาง แต่ในบางองค์อาจมี 4 ทาง
เรือนธาตุมีองค์ประกอบสาคัญดังนี้
ครรภคฤหะหรือคูหา
ภายในเรือนธาตุเป็นห้องประดิษฐานรูปเคารพ เรียกว่า ครรภคฤหะหรือคูหา
สาหรับประดิษฐานรูปเคารพ เป็นส่วนสาคัญที่สุดของปราสาท เพราะถือว่าเป็นที่ประทับส่วนพระองค์
ของเทพเจ้า ไม่มีผู้ใดสามารถเข้าไปได้ ยกเว้นพราหมณ์ผู้ทาพิธีกรรมเท่านั้น
21
ภาพที่ 11 ห้อง "ครรภคฤหะ" ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพที่ส่าคัญ
ที่สุด ซึ่งเชื่อกันว่าน่าจะเป็นศิวลึงค์
มุข
มุข หมายถึง ห้องสี่เหลี่ยมขนาดไม่ยาวนักที่ต่อยื่นออกมาจากด้านของเรือนธาตุ ใช้
เป็นทางเข้าสู่ครรภคฤหะ บางแห่งอาจมีมุขทางด้านหน้าเพียงด้านเดียว บางแห่งอาจมีมากถึง 4 ด้าน
มณฑป
ปราสาทบางองค์มีห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดยาวต่อยื่นจากด้านหน้าของเรือนธาตุ
ห้องนี้เรียกว่า มณฑป ใช้สาหรับประกอบพิธีกรรม และมักเป็นที่ประดิษฐานสัตว์พาหนะของเทพเจ้า
องค์ที่ประดิษฐานในห้องอยู่ในห้องครรภคฤหะ เช่น หากรูปเคารพในห้องครรภคฤหะเป็นพระศิวะ
พาหนะที่อยู่ในมณฑปคือโคนนทิ เป็นต้น
อันตราละ
อันตราละ หมายถึง ฉนวนที่เชื่อมระหว่างห้องครรภคฤหะกับมณฑป
ทับหลัง
ทับหลัง หมายถึง แผ่นหินสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่วางไว้เหนือวงกบประตู นิยมสลักลวดลาย
ประดับ ลวดลายจะแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เช่น บางสมัยนิยมลายพรรณพฤกษา โดยตรงกลางทา
เป็นรูปเทพเจ้า บางสมัยนิยมสลักภาพเล่าเรื่องเทพปกรณัมทั้งแผ่น เป็นต้น
ด้วยเหตุที่ทับหลังแต่ละสมัยมีลักษณะต่างกัน ทาให้สามารถนารูปแบบทับหลังมา
กาหนดอายุศาสนสถานหลังนั้นๆ ได้ในระดับหนึ่ง
22
ภาพที่ 13
องค์ประกอบ
สถาปัตยกรรมที่ปรากฏ
อยู่ส่วนกลางหรือ
เรือนธาตุ
ภาพที่ 12 ทับหลังปราสาทศีขรภูมิลวดลายเป็นรูป “ศิวะนาฎราช” ในท่วงท่าร่ายร่าอ่อนช้อย
เสาประดับกรอบประตู
เสาประดับกรอบประตู คือ เสาที่วางขนาบอยู่สองข้างของประตูทาจากหินทราย มี
ทั้งเสาทรงกลมและทรงแปดเหลี่ยม นิยมประดับด้วยลายที่เรียกกันว่า วงแหวน และลายใบไม้
สามเหลี่ยมเสาประดับกรอบประตูแต่ละยุคสมัยมีลักษณะต่างกันออกไป ดังนั้นจึงใช้เป็นตัวกาหนด
อายุศาสนสถานได้ในระดับหนึ่งเช่นกัน
หน้าบัน
บัน คือ แผงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มักอยู่เหนือขึ้นไปจากทับหลัง หน้าบันมี
ส่วนประกอบสาคัญ 2 ส่วน ได้แก่ พื้นที่ภายในหน้าบันและกรอบหน้าบัน
พื้นที่ภายในของหน้าบันมีลวดลายแตกต่างไปตามยุคสมัย ในดินดินแดนไทยพบ 2
แบบ ได้แก่ แบบสลักภาพเล่าเรื่องเต็ม และแบบเทพเจ้าตรงกลางล้อมรอบด้วยลายพรรณพฤกษา
สาหรับกรอบหน้าบันนั้น ช่างเขมรได้ประดิษฐ์คิดค้นจากลายเป็นกรอบคดดค้งไปมา
ดูคล้ายการเลื้อยคดโค้งของงู เมิ่อเป็นดังนี้ปลายกรอบหน้าบันนิยมประดับด้วยเศียรนาค เพื่อให้
ประกอบหน้าบันกลายเป็นลาตัวของ
23
ส่วนยอด
ส่วนยอด หมายถึง ส่วนที่อยู่เหนือขึ้นไปจากเรือนธาตุ ทาเป็นชั้นซ้อนลดหลั่นกันขึ้น
ไป เป็นสัญลักษณ์ของเรือนซ้อนชั้นหรือปราสาท ซึ่งเป็นเรือนฐานันดรสูง องค์ประกอบของส่วนยอดมี
ดังนี้
ภาพที่ 14 องค์ประกอบส่วนยอดปราสาทขอม
ชั้นวิมาน
ชั้นวิมาน คือ ชั้นแต่ละชั้นที่ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไปของส่วนยอดแต่ละชั้นเป็นการ
จาลองย่อส่วนเรือนธาตุมานั่นเอง
ซุ้มบัญชร
กึ่งกลางของชั้นวิมานสลักประตู เสาประดับกรอบประตู ทับหลัง หน้าบัน เหมือน
ที่ปรากฏในส่วนเรือนธาตุ เรียกส่วนดังกล่าวนี้ว่า ซุ้มบัญชร
บรรพ์แถลง (บันแถลง หรือ บรรพแถลง)
แถลง หมายถึง รูปจั่วหรือซุ้มหน้าต่าง ซึ่งในปราสาทขอมใช้เรียกแผ่นหินสามเหลี่ยม
ปักอยู่ที่กึ่งกลางด้านและที่มุมย่อยของชั้นวิมาน สลักรูปเทพเจ้าอยู่ภายในซุ้ม เทพเหล่านี้มีทั้งที่เป็น
เทพประจาทิศ เทพผู้พิทักษ์ นางเทพธิดา ฤาษี
อนึ่ง บางท่านเรียกองค์ประกอบนี้ว่ากลีบขนุน
ปราสาทจ่าลองและนาคปรก
ปราสาทจาลอง หมายถึง ปราสาทสลักจากหินทรายขนาดเล็กวางอยู่ที่มุมประธาน
นิยมในช่วงสมัยก่อนนครวัด แต่ถึงสมัยนครวัดเปลี่ยนมาใช้นาคหลายเศียรแทน เรียกว่า นาคปรก
รายงานโครงงานสังคมศึกษา
รายงานโครงงานสังคมศึกษา
รายงานโครงงานสังคมศึกษา
รายงานโครงงานสังคมศึกษา
รายงานโครงงานสังคมศึกษา
รายงานโครงงานสังคมศึกษา
รายงานโครงงานสังคมศึกษา
รายงานโครงงานสังคมศึกษา
รายงานโครงงานสังคมศึกษา
รายงานโครงงานสังคมศึกษา
รายงานโครงงานสังคมศึกษา
รายงานโครงงานสังคมศึกษา
รายงานโครงงานสังคมศึกษา
รายงานโครงงานสังคมศึกษา
รายงานโครงงานสังคมศึกษา
รายงานโครงงานสังคมศึกษา
รายงานโครงงานสังคมศึกษา
รายงานโครงงานสังคมศึกษา
รายงานโครงงานสังคมศึกษา
รายงานโครงงานสังคมศึกษา
รายงานโครงงานสังคมศึกษา
รายงานโครงงานสังคมศึกษา
รายงานโครงงานสังคมศึกษา
รายงานโครงงานสังคมศึกษา
รายงานโครงงานสังคมศึกษา
รายงานโครงงานสังคมศึกษา

More Related Content

What's hot

หน้าปกโครงงาน
หน้าปกโครงงานหน้าปกโครงงาน
หน้าปกโครงงานKanistha Chudchum
 
เล่มที่ 7 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เล่มที่ 7  สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเล่มที่ 7  สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เล่มที่ 7 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชChoengchai Rattanachai
 
เครื่องมือสำคัญทางภูมิศาสตร์ ม.1
เครื่องมือสำคัญทางภูมิศาสตร์ ม.1เครื่องมือสำคัญทางภูมิศาสตร์ ม.1
เครื่องมือสำคัญทางภูมิศาสตร์ ม.1จารุ โสภาคะยัง
 
ปฏิทินปฏิบัติงาน ปีการศึกษา 2565
ปฏิทินปฏิบัติงาน ปีการศึกษา 2565ปฏิทินปฏิบัติงาน ปีการศึกษา 2565
ปฏิทินปฏิบัติงาน ปีการศึกษา 2565MungMink2
 
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.1
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.1วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.1
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.1วรรณา ไชยศรี
 
เล่มที่ 6 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เล่มที่ 6  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเล่มที่ 6  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เล่มที่ 6 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถChoengchai Rattanachai
 
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรม
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรมสมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรม
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรมniralai
 
ใบงานเศรษฐกิจพอเพียง
ใบงานเศรษฐกิจพอเพียงใบงานเศรษฐกิจพอเพียง
ใบงานเศรษฐกิจพอเพียงKruPor Sirirat Namthai
 
รายงานเชิงวิชาการ ประวัติเขากระโดง
รายงานเชิงวิชาการ ประวัติเขากระโดงรายงานเชิงวิชาการ ประวัติเขากระโดง
รายงานเชิงวิชาการ ประวัติเขากระโดงkongdech
 
10บรรณานุกรม
10บรรณานุกรม10บรรณานุกรม
10บรรณานุกรมkrupornpana55
 
โครงงานคอม เรื่อง ผลไม้แปรรูปจังหวัดระยอง
โครงงานคอม เรื่อง ผลไม้แปรรูปจังหวัดระยองโครงงานคอม เรื่อง ผลไม้แปรรูปจังหวัดระยอง
โครงงานคอม เรื่อง ผลไม้แปรรูปจังหวัดระยองPeerawat Prasanphanich
 
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)sudoooooo
 
สรุป การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์สากล
สรุป การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์สากลสรุป การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์สากล
สรุป การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์สากลKittayaporn Changpan
 
6การปกครองประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
6การปกครองประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น6การปกครองประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
6การปกครองประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นPrincess Chulabhorn's College, Chiang Rai Thailand
 

What's hot (20)

หน้าปก
หน้าปกหน้าปก
หน้าปก
 
หน้าปกโครงงาน
หน้าปกโครงงานหน้าปกโครงงาน
หน้าปกโครงงาน
 
เล่มที่ 7 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เล่มที่ 7  สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเล่มที่ 7  สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
เล่มที่ 7 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
 
เครื่องมือสำคัญทางภูมิศาสตร์ ม.1
เครื่องมือสำคัญทางภูมิศาสตร์ ม.1เครื่องมือสำคัญทางภูมิศาสตร์ ม.1
เครื่องมือสำคัญทางภูมิศาสตร์ ม.1
 
ปฏิทินปฏิบัติงาน ปีการศึกษา 2565
ปฏิทินปฏิบัติงาน ปีการศึกษา 2565ปฏิทินปฏิบัติงาน ปีการศึกษา 2565
ปฏิทินปฏิบัติงาน ปีการศึกษา 2565
 
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.1
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.1วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.1
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.1
 
เล่มที่ 6 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เล่มที่ 6  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเล่มที่ 6  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เล่มที่ 6 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
 
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรม
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรมสมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรม
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรม
 
ใบงานเศรษฐกิจพอเพียง
ใบงานเศรษฐกิจพอเพียงใบงานเศรษฐกิจพอเพียง
ใบงานเศรษฐกิจพอเพียง
 
รายงานเชิงวิชาการ ประวัติเขากระโดง
รายงานเชิงวิชาการ ประวัติเขากระโดงรายงานเชิงวิชาการ ประวัติเขากระโดง
รายงานเชิงวิชาการ ประวัติเขากระโดง
 
10บรรณานุกรม
10บรรณานุกรม10บรรณานุกรม
10บรรณานุกรม
 
โครงงานคอม เรื่อง ผลไม้แปรรูปจังหวัดระยอง
โครงงานคอม เรื่อง ผลไม้แปรรูปจังหวัดระยองโครงงานคอม เรื่อง ผลไม้แปรรูปจังหวัดระยอง
โครงงานคอม เรื่อง ผลไม้แปรรูปจังหวัดระยอง
 
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
 
แบบสอบถาม
แบบสอบถามแบบสอบถาม
แบบสอบถาม
 
สรุป การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์สากล
สรุป การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์สากลสรุป การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์สากล
สรุป การแบ่งยุคทางประวัติศาสตร์สากล
 
Art
ArtArt
Art
 
ก.ค.ศ.1
ก.ค.ศ.1ก.ค.ศ.1
ก.ค.ศ.1
 
ใบงาน2
ใบงาน2ใบงาน2
ใบงาน2
 
คำนำ
คำนำคำนำ
คำนำ
 
6การปกครองประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
6การปกครองประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น6การปกครองประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
6การปกครองประเทศสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
 

Similar to รายงานโครงงานสังคมศึกษา

อาณาจักรอยุธยา
อาณาจักรอยุธยาอาณาจักรอยุธยา
อาณาจักรอยุธยาsangworn
 
ถ้ำโม่เกาเมืองตุนหวง
ถ้ำโม่เกาเมืองตุนหวงถ้ำโม่เกาเมืองตุนหวง
ถ้ำโม่เกาเมืองตุนหวงSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครPRINTT
 
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนาวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนาพระอภิชัช ธมฺมโชโต
 
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์Pannaray Kaewmarueang
 
ความเป็นมา ความสำคัญของภาพและการถ่ายภาพวัฒนธรรม
ความเป็นมา ความสำคัญของภาพและการถ่ายภาพวัฒนธรรมความเป็นมา ความสำคัญของภาพและการถ่ายภาพวัฒนธรรม
ความเป็นมา ความสำคัญของภาพและการถ่ายภาพวัฒนธรรมguestf6be25a
 
1.2 ประวัติศาสตร์ (รวม) new
1.2 ประวัติศาสตร์ (รวม) new 1.2 ประวัติศาสตร์ (รวม) new
1.2 ประวัติศาสตร์ (รวม) new Jitjaree Lertwilaiwittaya
 
อาณาจักรสมัยโบราณ
อาณาจักรสมัยโบราณอาณาจักรสมัยโบราณ
อาณาจักรสมัยโบราณyeanpean
 
วิหารล้านนา: มรดกภูมิปัญญา พุทธสถาปัตยกรรม Book Review: “The Lanna Vihara: An...
วิหารล้านนา: มรดกภูมิปัญญา พุทธสถาปัตยกรรม Book Review: “The Lanna Vihara: An...วิหารล้านนา: มรดกภูมิปัญญา พุทธสถาปัตยกรรม Book Review: “The Lanna Vihara: An...
วิหารล้านนา: มรดกภูมิปัญญา พุทธสถาปัตยกรรม Book Review: “The Lanna Vihara: An...ชัยวัฒน์ ปะสุนะ
 
1.2 หลักฐานทางปวศ.
1.2 หลักฐานทางปวศ.1.2 หลักฐานทางปวศ.
1.2 หลักฐานทางปวศ.Jitjaree Lertwilaiwittaya
 
ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมไทย
ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมไทยประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมไทย
ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมไทยPatcha Jirasuwanpong
 
04ประวัติชนชาติไทย
04ประวัติชนชาติไทย04ประวัติชนชาติไทย
04ประวัติชนชาติไทยJulPcc CR
 
สื่อศิลปะ ครูรัตติยา
สื่อศิลปะ ครูรัตติยาสื่อศิลปะ ครูรัตติยา
สื่อศิลปะ ครูรัตติยาPuchida Saingchin
 

Similar to รายงานโครงงานสังคมศึกษา (20)

อาณาจักรอยุธยา
อาณาจักรอยุธยาอาณาจักรอยุธยา
อาณาจักรอยุธยา
 
ถ้ำโม่เกาเมืองตุนหวง
ถ้ำโม่เกาเมืองตุนหวงถ้ำโม่เกาเมืองตุนหวง
ถ้ำโม่เกาเมืองตุนหวง
 
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
 
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนาวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
 
ศ ลปะอ นเด_ย
ศ ลปะอ นเด_ยศ ลปะอ นเด_ย
ศ ลปะอ นเด_ย
 
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
 
Nuin
NuinNuin
Nuin
 
Nuin
NuinNuin
Nuin
 
ความเป็นมา ความสำคัญของภาพและการถ่ายภาพวัฒนธรรม
ความเป็นมา ความสำคัญของภาพและการถ่ายภาพวัฒนธรรมความเป็นมา ความสำคัญของภาพและการถ่ายภาพวัฒนธรรม
ความเป็นมา ความสำคัญของภาพและการถ่ายภาพวัฒนธรรม
 
1.2 ประวัติศาสตร์ (รวม) new
1.2 ประวัติศาสตร์ (รวม) new 1.2 ประวัติศาสตร์ (รวม) new
1.2 ประวัติศาสตร์ (รวม) new
 
พัฒนาการทางด้านสังคม วัฒนธรรม
พัฒนาการทางด้านสังคม วัฒนธรรมพัฒนาการทางด้านสังคม วัฒนธรรม
พัฒนาการทางด้านสังคม วัฒนธรรม
 
อาณาจักรสมัยโบราณ
อาณาจักรสมัยโบราณอาณาจักรสมัยโบราณ
อาณาจักรสมัยโบราณ
 
Key of sheet 8 56x
Key of sheet 8 56xKey of sheet 8 56x
Key of sheet 8 56x
 
357
357357
357
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1
 
วิหารล้านนา: มรดกภูมิปัญญา พุทธสถาปัตยกรรม Book Review: “The Lanna Vihara: An...
วิหารล้านนา: มรดกภูมิปัญญา พุทธสถาปัตยกรรม Book Review: “The Lanna Vihara: An...วิหารล้านนา: มรดกภูมิปัญญา พุทธสถาปัตยกรรม Book Review: “The Lanna Vihara: An...
วิหารล้านนา: มรดกภูมิปัญญา พุทธสถาปัตยกรรม Book Review: “The Lanna Vihara: An...
 
1.2 หลักฐานทางปวศ.
1.2 หลักฐานทางปวศ.1.2 หลักฐานทางปวศ.
1.2 หลักฐานทางปวศ.
 
ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมไทย
ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมไทยประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมไทย
ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมไทย
 
04ประวัติชนชาติไทย
04ประวัติชนชาติไทย04ประวัติชนชาติไทย
04ประวัติชนชาติไทย
 
สื่อศิลปะ ครูรัตติยา
สื่อศิลปะ ครูรัตติยาสื่อศิลปะ ครูรัตติยา
สื่อศิลปะ ครูรัตติยา
 

รายงานโครงงานสังคมศึกษา

  • 1. 1 บทที่ 1 ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา ประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของชนชาติเขมร นอกจากจะทาให้มีการพัฒนาด้านงานศิลปกรรมที่ เป็นเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง แล้วยังแผ่อิทธิพลไปในอาณาจักรใกล้เคียงในละแวกอินโดจีน รวมไปถึง อาณาจักรสยาม อารยธรรมเขมรเข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทย ในราวๆ พุทธศตวรรษที่ 12 ในสมัย อาณาจักรเจนละ ซึ่งตรงกับยุคทวารวดีของไทย โดยเข้ามาทางภาคอีสานเป็นแห่งแรก ผ่านทาง ศาสนาทั้งศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธมหายาน หลังจากยุคทวารวดีมายังยุคสุโขทัย อยุธยา จนมาถึง รัตนโกสินทร์ ก็ยังได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะเขมร และนามาผสมผสานเข้ากับศิลปะท้องถิ่นของตัวเอง โดยเฉพาะสถาปัตยกรรม ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นสถาปัตยกรรมที่อยู่ภายในวัด และส่วนที่ปรากฏให้ เห็นอิทธิพลจากศิลปะเขมรได้อย่างเด่นชัด คือปราสาทหินต่างๆ ที่ตั้งอยู่บนแผ่นดินไทย ที่คนทั่วไป รู้จักก็คือดินแดนทางภาคอีสานตอนใต้ (จังหวัดนครราชสีมา,บุรีรัมย์,สุรินทร์,ศรีสะเกษ,อุบราชธานี) ซึ่งในอดีตเมื่อสมัยเมืองพระนคร ของอาณาจักรเขมรเมืองดังกล่าว เป็นเส้นทางจากเมืองพระนครไป ถึงยังเมืองวิมาย (หรือเมืองพิมาย) มีการสร้างถนนติดต่อถึงกัน สร้างที่พักคนเดินทาง ศาสนสถาน ต่างๆ จนทาให้บริเวณนี้เป็นแหล่งของปราสาทขอม โดยปราสาทขอมในเมืองไทยที่ขึ้นชื่อก็มี อาทิ ปราสาทหินพิมาย(นครราชสีมา) ปราสาทหินพนมรุ้ง(บุรีรัมย์) ปราสาทเมืองต่า(บุรีรัมย์) เป็นต้น จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี พบว่าดินแดนส่วนหนึ่ง ของประเทศไทย แถบ จังหวัดทางภาคตะวันออก และตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จันทบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ เคยตกอยู่ใต้อิทธิพลของอาณาจักรเขมรหรือเขมรโบราณ เมื่อ ราวพุทธศตวรรษที่ 12 - 18 มาก่อน เพราะมีอาคารทรงปราสาทในวัฒนธรรมเขมรที่เรียกว่า “ปราสาทขอม” กระจัดกระจายอยู่มากมายในบริเวณดังกล่าว ปราสาทขอมเป็นศาสนสถานสาหรับ ประดิษฐานรูปเคารพ และเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ก่อสร้างด้วยวัสดุที่มั่นคงแข็งแรงประเภท อิฐหรือหิน จึงค่อนข้างคงทนถาวร แม้เวลาจะล่วงเลย ไปนาน แต่ยังคงปรากฏให้เห็นเป็น โบราณสถานอยู่ในปัจจุบัน “ปราสาทขอม” หมายถึง อาคารทรงปราสาทที่สร้างขึ้นในวัฒนธรรมเขมรโบราณ เพื่อใช้ เป็นศาสนสถานในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ทั้งในศาสนาฮินดู และพระพุทธศาสนานิกาย มหายาน ส่วนคาว่า “ปราสาทขอมในประเทศไทย” นั้น หมายถึง อาคารทรงปราสาทในวัฒนธรรม เขมร ที่พบในดินแดนไทยในปัจจุบัน ซึ่งดินแดนเหล่านี้ครั้งหนึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเขมร รวมทั้งบางส่วนได้มีการรับอิทธิพลทางศาสนา และงานศิลปกรรมขอมมาสร้าง โดยคนในท้องถิ่น แต่
  • 2. 2 เดิมมักเรียกงานศิลปะของวัฒนธรรมขอมในประเทศไทยว่า “ศิลปะลพบุรี” เนื่องจากเชื่อว่า เมือง ลพบุรี เคยเป็นเมืองศูนย์กลางของขอมในประเทศไทย ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 16 - 18 และมี ลักษณะของงานศิลปกรรมบางอย่าง ที่แตกต่างจากศิลปะขอม แต่ในปัจจุบันนิยมเรียกว่า “ศิลปะขอม ที่พบในประเทศไทย” เพราะเป็นคารวมที่ครอบคลุมพื้นที่และระยะเวลามากกว่า กล่าวคือ พื้นที่ของ ประเทศไทย ที่รับวัฒนธรรมขอมอยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 - 18 การสร้างอาคารทรงปราสาทมาจากคติความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ของชาวอินเดียที่ว่า เทพเจ้าทั้งหลายสถิตอยู่ ณ เขาพระสุเมรุ เช่น มีปราสาทประธานตรงกลาง มีปราสาทบริวารล้อมรอบ ถัดออกมามีสระน้า และกาแพงล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง การที่ทาหลังคาปราสาทเป็นเรือนซ้อนชั้นก็ หมายถึง สวรรค์หรือวิมานของเทพเทวดานั่นเอง ด้วยเหตุที่เป็นการจาลองจักรวาลมาไว้บนการสร้าง อาคารทรงปราสาทมาจากคติความเชื่อของชาวอินเดียที่ว่า เทพเจ้าทั้งหลายสถิตอยู่ ณ เขาไกรลาส อันเป็นแกนกลางของจักรวาล ซึ่งอยู่บนสวรรค์ การสร้างปราสาทจึงเปรียบเสมือนการจาลองเขา ไกรลาสมายังโลกมนุษย์ เพื่อเป็นที่สถิตของเทพเจ้า และมีการสร้างรูปเคารพของเทพเจ้าขึ้น เพื่อ ประดิษฐานไว้ภายใน โดยตัวปราสาทมีสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้แทนความหมายโลกมนุษย์ และเป็นที่ สถิตของเทพเจ้า จึงต้องมีระเบียบกฎเกณฑ์ ตามที่กาหนดไว้ในคัมภีร์ทางศาสนาอย่างเคร่งครัด ตัว ปราสาทจึงมีขนาดใหญ่โต และใช้เวลาก่อสร้างยาวนาน ปราสาทหินบนยอดเขาหรือที่เรียกว่า “ศาสนบรรพต” ที่สร้างขึ้นมาอยู่ทางทิศเหนือสุดของ ภูมิภาคอีสานเหนือและอีสานใต้ นับเรื่อยลงไปยังเขตเขมรต่า (ขะแมร์กรอม) ทางทิศใต้ อันเป็นที่ตั้ง ของศูนย์กลางอานาจการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของอาณาจักรเขมรโบราณ ตามคติศาสนา พราหมณ์ ไศวะนิกายที่สร้าง “เทวาลัย” ขึ้นบนยอดเขาเพื่อสมมุติให้เป็นเขาไกรลาสบนพื้นโลก เพื่อ ประดิษฐานรูปประติมากรรม “ศิวลึงค์” ที่มีองค์ประกอบอันซับซ้อน เป็นสัญลักษณ์สาคัญแทนองค์ พระศิวะ ประดิษฐานอยู่เป็นประธานในอาคารปราสาทประธานที่เรียกว่า “วิมาน” อาเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เดิมอาณาเขตของ อาเภอขุนหาญ เป็นอาณาเขตเมืองกันทรลักษณ์เดิมทั้งหมด อาเภอขุนหาญมีเนื้อที่ทั้งหมด 723.05 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 483,062.05 ไร่ มีพรมแดนติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีแนว เขตเทือกเขาพนมดงรักเป็นแนวพรมแดน ซึ่งในอดีตเป็นที่อยู่อาศัยของชาวขอมหรือเขมร และส่วย (กุย,กวย) จึงมีการเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมและความเชื่อ โดยมีโบราณสถานที่ปรากฏเป็นหลักฐาน คือ ปราสาทภูฝ้าย ( ปราสาทพนมกะบาร์ ) ปราสาทอิฐบนเนินเขาขนาดเล็กที่เรียกว่าภูฝ้าย ในเขต ตาบลภูฝ้าย อาเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นเทวาลัยบนยอดเขาตามคติความเชื่อของ ศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวะนิกาย กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ประกาศกาหนด จานวนโบราณสถานแห่งชาติ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478 และประกาศกาหนดขอบเขตที่ดินโบราณสถานภูเขาฝ้าย พื้นที่โบราณสถานประมาณ 405 ไร่ 1 งาน
  • 3. 3 93 ตารางวา ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 110 ตอนที่ 220 วันที่ 24 ธันวาคม 2536 ปราสาทภูฝ้าย จึงเป็นโบราณสถานที่สาคัญยิ่งในเขตจังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบันได้รับการขุดแต่ง และบูรณะโบราณสถานปราสาทภูฝ้ายโดยกรมศิลปากร สานักศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ. 2556 คณะผู้จัดทาโครงงานเรื่อง นักสืบประวัติศาสตร์ ตอน ปราสาทภูฝ้าย(พนมกะบาร์) โบราณสถานที่ถูกลืม จึงเห็นความสาคัญของโบราณสถานปราสาทภูฝ้าย ที่เป็นแหล่งโบราณคดีที่ สาคัญแห่งหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ โดยทาการศึกษาปราสาทภูฝ้าย ในด้านประวัติความเป็นมา รูปแบบสถาปัตยกรรม คติความเชื่อ ใน การสร้างโบราณสถานปราสาทภูฝ้าย 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของโบราณสถานปราสาทภูฝ้าย(พนมกะบาร์) ตาบลภูฝ้าย อาเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ 2.2 เพื่อศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมและคติความเชื่อในการสร้างโบราณสถานปราสาทภูฝ้าย (พนมกะบาร์) ตาบลภูฝ้าย อาเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ 3. สมมติฐานของการศึกษา จากการค้นคว้าเอกสาร เดินทางสารวจพื้นที่ที่ศึกษาในขั้นต้น และการสัมภาษณ์ ทาให้คณะ ผู้จัดทาโครงงานตั้งสมมติฐานได้ว่าปราสาทภูฝ้ายสร้างขึ้นในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15 – 16 รูปแบบ สถาปัตยกรรมเป็นปราสาทหลังเดียว บนภูฝ้าย ก่อสร้างด้วยศิลาแลง หินทราย และอิฐผิวเรียบมี ลักษณะเป็นศาสนสถานศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ลัทธิไศวะนิกาย โดยการสร้างปราสาทภูฝ้ายบนภูเขา ลูกโดด เสมือนเป็นยอดเขาพระสเมรุ 4. ขอบเขตการศึกษา คณะผู้จัดทาโครงงานเรื่อง นักสืบประวัติศาสตร์ ตอน ปราสาทภูฝ้าย(พนมกะบาร์) โบราณสถานที่ถูกลืม ได้ศึกษาในเขตพื้นที่ ตาบลภูฝ้าย อาเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ในบริเวณ ภูเขาหินลูกโดด ที่มีชื่อว่า ภูฝ้าย ที่มีโบราณสถานปราสาทหินภูฝ้ายตั้งอยู่ โดยทาการศึกษาในประเด็น ประวัติความเป็นมา รูปแบบสถาปัตยกรรม คติความเชื่อ การสร้างโบราณสถานปราสาทภูฝ้าย ช่วง ระยะเวลาที่ทาการเก็บข้อมูลศึกษา คือ ระหว่างเดือน ธันวาคม 2557 – มกราคม 2558
  • 4. 4 5. วิธีดาเนินการศึกษา การดาเนินการศึกษาโครงงานในครั้งนี้ คณะผู้จัดทาโครงงานได้ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ใน การศึกษาค้นคว้า ดังนี้ 5.1 การค้นคว้าข้อมูลทางเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบถึงประวัติความเป็นมา รูปแบบสถาปัตยกรรม คติความเชื่อการสร้างโบราณสถานปราสาทภูฝ้าย 5.2 การค้นคว้าข้อมูลภาคสนาม ประกอบด้วยการออกสารวจและถ่ายภาพปราสาทภูฝ้าย บริเวณภูฝ้าย และปราสาทที่มีลักษณะใกล้เคียง เช่น ปราสาทบ้านจารย์(สังข์ศิลป์ชัย) จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทเขาปลายบัด1 จังหวัดบุรีรัมย์เป็นต้น และออกสารวจ สัมภาษณ์และถ่ายภาพเพื่อเก็บข้อมูล เกี่ยวกับปราสาทภูฝ้าย จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 5.3 การเรียบเรียงตรวจสอบข้อมูล นาข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 5.1 และขั้นตอนที่ 5.2 มา ตรวจสอบจากเอกสารในเรื่องของ ประวัติความเป็นมา รูปแบบสถาปัตยกรรม คติความเชื่อการสร้าง โบราณสถานปราสาทภูฝ้าย จัดหาภาพถ่ายเพิ่มเติมในส่วนที่ขาดหายและมีผู้ถ่ายไว้แล้ว 5.4 การวิเคราะห์ข้อมูล นาข้อมูลที่จาแนกหมวดหมู่แล้ว มาวิเคราะห์หาคาตอบตาม สมมติฐานที่ตั้งไว้ 5.5 การเรียบเรียงข้อมูลนาเสนอ เรียบเรียงผลการศึกษาเป็นขั้นตอนจนถึงบทวิเคราะห์และ บทสรุปออกมาเป็นรูปแบบของรายงานการศึกษาโครงงาน 6. ข้อตกลงเบื้องต้น ปราสาทภูฝ้าย หมายถึง ปราสาทพนมกะบาร์ ในภาษาเขมรที่ชาวบ้านเชื้อสายเขมรในแถบ หมู่บ้านกุดนาแก้ว บ้านพรานใช้เรียกปราสาทภูฝ้าย เป็นปราสาทหลังเดียว ที่ตั้งอยู่สันเขาด้านทิศ เหนือของภูฝ้าย ภูเขาลูกโดด รูปค่อนข้างรี อยู่ในเขตบ้านภูฝ้าย ตาบลภูฝ้าย อาเภอขุนหาญ จังหวัด ศรีสะเกษ เขมร หมายถึง กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในดินแดนประเทศกัมพูชาและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่างของประเทศไทย(จังหวัดนครราชสีมา,บุรีรัมย์,สุรินทร์,ศรีสะเกษ,อุบราชธานี) ในช่วง ระยะเวลาประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 –18 โดยใช้คาว่าศิลปะเขมร แทนการเรียกชื่อ ศิลปะขอม และ ศิลปะลพบุรี เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการสื่อสาร ศาสนบรรพต หมายถึง ปราสาทหรือศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ ที่สร้างบนยอดเขา ปราสาทขอม หมายถึง ศาสนสถานในศาสนาพราหมณ์ ที่สร้างขึ้นโดยอาณาจักรเขมร ตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 12 ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เป็นต้นมา พบมากในประเทศกัมพูชา ในเขตอีสานใต้ ของประเทศไทยปราสาทขอมก่อสร้างด้วยวัสดุอิฐ ศิลาทราย และศิลาแลง ในรูปแบบศิลปะเขมร
  • 5. 5 7. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 7.1 เป็นข้อมูลพื้นฐานสาหรับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการอนุรักษ์และดูแลโบราณสถานปราสาท ภูฝ้ายในการเผยแพร่ความรู้และประชาสัมพันธ์ปราสาทภูฝ้าย 7.2 เป็นข้อมูลใช้ในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โบราณสถานปราสาทภูฝ้ายถึงประวัติ ความเป็นมา รูปแบบสถาปัตยกรรม คติความเชื่อและการบูรณะโบราณสถานปราสาทภูฝ้าย 7.3 มีแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โบราณสถานปราสาทภูฝ้าย ที่ทาให้เกิดความรัก ความภาคภูมิใจในท้องถิ่น
  • 6. 6 บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฏี และงานที่เกี่ยวข้อง การดาเนินการศึกษาโครงงานในครั้งนี้ เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โบราณสถาน ปราสาทภูฝ้าย ตาบลภูฝ้าย อาเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ในด้านประวัติความเป็นมา รูปแบบ สถาปัตยกรรม คติความเชื่อ และการบูรณะซ่อมแซมโบราณสถานปราสาทภูฝ้าย ตาบลภูฝ้าย อาเภอ ขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ คณะผู้จัดทาโครงงานได้ทบทวนแนวคิด ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้ 1. ศิลปะเขมรในประเทศไทย 2. การแบ่งยุคสมัยศิลปะเขมร 3. ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรเขมรโบราณกับดินแดนประเทศไทย 4. ปราสาทขอม 4.1 คติการสร้าง ความสาคัญของปราสาทขอม 4.2 ประเภทของปราสาทขอม 4.3 ส่วนประกอบของปราสาทขอม 1. ศิลปะเขมรในประเทศไทย ดินแดนประเทศไทยในอดีตมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ในแต่ละภูมิภาคได้พบหลักฐาน ทางศิลปกรรมต่างๆมากมาย ในช่วงระยะเวลาหนึ่งราวพุทธศตวรรษที่ 12 ถึงพุทธศตวรรษที่ 18 ดินแดนประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้พบศิลปกรรมกลุ่มหนึ่งซึ่งมี ลักษณะเดียวกันหรือใกล้เคียงกันกับศิลปะในประเทศกัมพูชา ศิลปกรรมกลุ่มนี้ได้แก่ ศิลปะลพบุรี หรือที่ปัจจุบันนิยมเรียกว่าศิลปะขอมในประเทศไทย หรือศิลปะเขมรในประเทศไทย ศิลปะลพบุรี หรือศิลปะเขมรในประเทศไทย หมายถึงศิลปกรรมแบบหนึ่งที่พบในประเทศ ไทยอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 18 โดยที่มีรูปแบบคติความเชื่อ กรรมวิธีการ สร้างเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกันกับศิลปกรรมในประเทศกัมพูขาที่มีอายุอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าว ศิลปกรรมกลุ่มที่มีลักษณะเหมือนหรือใกล้เคียงกับศิลปกรรมที่พบในประเทศกัมพูชา ตั้งแต่ อดีตจนถึงปัจจุบัน นักวิชาการได้ตั้งชื่อเรียกแตกต่างออกไปมากมาย ดังนี้
  • 7. 7 1.1 ศิลปะลพบุรี คาว่า “ลพบุรี” ใช้เรียกศิลปะกลุ่มดังกล่าวมาตั้งแต่สมัยแรกเริ่มทาการศึกษา โดยมีความ หมายถึงโบราณสถานวัตถุที่เป็นฝีมือขอมซึ่งสร้างขึ้งมาครั้งทีพวกขอมมาปกครองเมืองลพบุรี แม้ว่าจะ พบจากเมืองอื่นๆ แต่หากมีลักษณะเป็นฝีมือขอมก็จัดเข้ารวมในสมัยขอมทั้งสิ้น การเรียกชื่อ “ลพบุรี” อาจมีเหตุผลเรื่องราวการเมืองระหว่างประเทศในช่วงเวลานั้นด้วย ซึ่ง ลัทธิจักรวรรดินิยมกาลังรุกรานประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไทย โดยหากเรียกศิลปะกลุ่มนี้ว่า ศิลปะเขมรอาจเป็นเหตุผลให้ประเทศฝรั่งเศสซึ่งขณะนั้นได้ปกครองประเทศกัมพูชาแล้วอ้างว่า ดินแดนไทยเคยอยู่ใต้การปกครองของอาณาจักรเขมรโบราณ ดังนั้นฝรั่งเศสจึงมีความชอบธรรมใน การปกครองดินแดนของไทยด้วย อย่างไรก็ตาม นักวิชาการบางท่านเห็นว่าชื่อศิลปะลพบุรียังมีความเหมาะสมอยู่บางประการ กล่าวคือ ในราวพุทธศตวรรษที่ 12-15 ดินแดนเมืองลพบุรียังคงอยู่ภายใต้วัฒนธรรมทวารวดี เพิ่ง ได้รับวัฒนธรรมเขมรอย่างแท้จริงตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 เท่านั้น จากเหตุผลดังกล่าวจึงเห็น ว่า ไม่น่าเหมาะสมที่จะเรียกศิลปะกลุ่มนี้ว่าลพบุรี ซึ่งอายุเก่าถึงพุทธศตวรรษที่ 12 1.2 ศิลปะเขมร หรือศิลปะขอม “เขมร” กับ “ขอม” หลายท่านเชื่อว่าน่าจะเป็นกลุ่มเดียวกันและเป็นกลุ่มที่สร้างสรรค์ ศิลปกรรมยุคโบราณของกัมพูชา ทั้งปราสาทนครวัด เมืองนครธม บางท่านเชื่อว่าเป็นคนละกลุ่ม อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่าชาวกัมพูชาตั้งแต่อดีตไม่เคยเรียกตนเองว่าขอมเลย คาว่าขอม นี้ว่าปรากฏเฉพาะก็แต่ในเอกสารของไทยเท่านั้น โดยอาจจะแผลงมาจากคาว่า “ ขแมร์กรอม” ซึ่ง หมายถึงเขมรต่า ส่วนคาว่าเขมรเป็นคาที่ชาวเขมรใช้เรียกตัวเอง ซึ่งเห็นได้จากจารึกโบราณหลายหลัก ศิลปะเขมรหรือศิลปะขอม เกิดจากการใช้เชื้อชาติมาเป็นชื่อเรียกศิลปกรรม ความจริงการ เรียกในลักษณะเช่นนี้ ปรากฏมานานแล้วเพียงแต่ไม่เป็นที่นิยมมากนักในประเทศไทย เพิ่งได้รับความ นิยมในวงกว้างก็เมื่อราว 20 ปีมานี้ การเรียกศิลปะกลุ่มนี้ว่าศิลปะเขมรหรือศิลปะขอมนั้น นอกจากกระแสการแบ่งศิลปกรรม ออกตามเชื้อชาติแล้ว ยังคานึงถึงความไม่เหมาะสมของชื่อศิลปะลพบุรี และข้อเท็จจริงที่ว่าอาณาจักร เขมรโบราณเคยครอบครองดินแดนไทยไว้ และกษัตริย์ของอาณาจักรเขมรโบราณได้มีผู้อุปถัมภ์ให้ สร้างโบราณวัตถุต่างๆเหล่านี้ขึ้น
  • 8. 8 2. การแบ่งยุคสมัย นักวิชาการชาวฝรั่งเศสทาการศึกษาศิลปะเขมรโบราณซึ่งมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-18 ไว้ โดยในช่วงเวลากว่า 700 ปี แบ่งออกเป็นสมัยย่อยๆ จานวนมาก ดังต่อไปนี้ 2.1 ศิลปะสมัยก่อนเมืองนคร 1) ศิลปะแบบพนมดา (ราว พ.ศ. 1080-1140) 2) ศิลปะถาราบริวัติ (ราว พ.ศ. 1150) 3) ศิลปะสมโบร์ไพรกุก (พ.ศ. 1140-1190) 4) ศิลปะแบบไพรกเมง (ราว พ.ศ. 1175-1240) 5) ศิลปะกาพงพระ (ราว พ.ศ. 1246-หลัง พ.ศ. 1340) 2.2 ศิลปะสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อ 1) ศิลปะกุเลน (ราว พ.ศ. 1365-1415) 2.3 ศิลปะสมัยเมืองพระนคร 1) ศิลปะพระโค (ราว พ.ศ. 1415-หลัง พ.ศ. 1433) 2) ศิลปะบาแค็ง (ราวหลัง พ.ศ.1433-1465) 3) ศอลปะเการ์แกร์ (ราวปี พ.ศ.1464-1485) 4) ศิลปะแปรรูป (ราว พ.ศ. 1490-1505) 5) ศิลปะบันทายสรี (ราว พ.ศ. 1510 - ราว พ.ศ.1540) 6) ศิลปะคลัง (เกลียง) (ราว พ.ศ.1505-1550) 7) ศิลปะปาปวน (ราว พ.ศ.1550-1620) 8) ศิลปะแบบนครวัด (ราว พ.ศ.1640-1715) 9) ศิลปะบายน (หลัง พ.ศ. 1720- ราว พ.ศ. 1770) ชื่อสมัยใหญ่ๆ ได้แก่ สมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนครนั้น แบ่งจากกันโดยการ รวมอานาจอาณาจักรให้เป็นปึกแผ่นของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1345-1393) เป็นสาคัญ สมัยก่อนเมืองพระนครจึงหมายถึงช่วงเวลาก่อนรัชกาลของพระองค์ และตั้งแต่รัชกาลของพระองค์ เป็นต้นไปจัดเป็นสมัยเมืองพระนคร พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ทรงย้ายเมืองหลวงไปยังที่ต่างๆ หลายครั้ง จวบจนกระทั่งรัชกาลของพระเจ้าโศวรมันที่ 1 ( พ.ศ.1432-1443) จึงมีการสร้างเมืองพระนครหรือ เมืองยโศธรปุระขึ้น และตั้งแต่นี้ไปเมืองแห่งนี้ก็จะเป็นราชธานีอย่างสืบเนื่องยาวนาน ( ด้วยเหตุที่เมือง พระนครเพิ่งสร้างขึ้นในรัชกาลของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ทาให้นักวิชาการส่วนใหญ่จัดศิลปะที่เกิดขึ้น รัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 คือศิลปะกุเลน ว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยงหัวต่อ )
  • 9. 9 ส่วนชื่อศิลปะแบบย่อยๆนั้น ใช้ชื่อศาสนสถานที่สาคัญในช่วงเวลาต่างๆเป็นชื่อเรียก เช่น ศิลปะนครวัดมาจากชื่อปราสาทนครวัด ศิลปะบายนมาจากชื่อปราสาทบายน เป็นต้น สาหรับศิลปะขอมในประเทศไทยหรือศิลปะเขมรในประเทศไทยนั้น โดยทั่วไปใช้ชื่อเรียกยุค สมัยและกาหนดอายุตามศิลปะในประเทศกัมพูชาก็อาจมีอายุที่หลังกว่าได้ เนื่องจากกว่าที่ศิลปะแบบ หนึ่งแบบใดจะได้รับความนิยมและส่งอิทธิพลต่อดินแดนไทยได้จาเป็นต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง 3. ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรเขมรโบราณกับดินแดนประเทศไทย ในอดีตอาณาจักรเขมรโบราณถือได้ว่าเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ กษัตริย์เขมรหลายพระองค์แผ่ขยายอานาจไปสู่ดินแดนใกล้เคียง ไม่เว้นแม้กระทั่งดินแดน ประเทศไทย กล่าวได้ว่ากษัตริย์เขมรเกือบทุกพระองค์ได้แผ่ขยายอานาจเข้าสู่ดินแดนประเทศไทย ดัง เห็นได้จากหลักศิลาจารึกที่กล่าวถึงพระนามของกษัตริย์เขมรโบราณ ไล่มาตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระ นครเรื่อยมาถึงสมัยเมืองพระนคร และโบราณสถานวัตถุต่างๆ แต่ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะที่สาคัญๆ เท่านั้น 3.1 สมัยก่อนเมืองพระนคร สมัยก่อนเมืองพระนคร กษัตริย์เขมรองค์แรกสุดที่พบจากรึกในดินแดนไทยน่าจะได้แก่ พระ เจ้าภววรมันที่ 1 (พ.ศ.1141) โดยพบจารึกของพระองค์จากบิเวณเมืองศรีเทพ หลังจากนั้นก็มีการ จารึกของพระมเหนทรวรมัน (ราว พ.ศ.1150-1159) ซึ่งพบจารึกของพระองค์ในแถบจังหวัดบุรีรัมย์ อุบลราชธานี ขอนแก่น และสระแก้ว กษัตริย์พระองค์ต่อมาได้แก่ พระเจ้า พระเจ้าอิสานวรมันที่ 1 (ราว พ.ศ. 1159-1180) พบ ศิลาจารึกของพระองค์ในจังหวัดจันทบุรีและบุรีรัมย์ สาหรับโบราณวัตถุในช่วงก่อนเมืองนครนี้ไม่พบมากนัก ทั้งนี้อาจเนื่องจากมีการสร้างน้อย หรือถูกปฏิสังขรณ์ในสมัยหลังตัวอย่างที่สาคัญได้แก่ โบราณสถานที่เมืองโบราณดงเมืองเตย จังหวัด ยโสธร ประสาทภูมิโพน จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มประติมากรรมสาริดจากจังหวัดบุรีรัมย์ รวมถึงทับหลัง และเสาประดับกรอบประตูบางชิ้นที่พบในเขตจังหวัดจันทบุรี สระแก้ว และจังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น 3.2 สมัยเมืองพระนคร เมื่อเข้าสู่สมัยเมืองพระนครดินแดนประเทศไทยได้พบจารึกของกษัตริย์เขมรได้หลายพระองค์ ที่สาคัญได้แก่พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1432-1443) ได้พบจารึกของพระองค์ที่ปราสาทพนมวัน จังหวัดนครราชสีมา และเมืองเพนียด จังหวัดจันทบุรี หลังจากนั้นได้พบจารึกของกษัตริย์เขมรอีก หลายพระองค์ ทั้งพระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1443-หลัง พ.ศ. 1456) พระเจ้าอิสานวรมันที่ 2
  • 10. 10 (พ.ศ. 1468) พระเจ้าชัยวรมันที่ 4 (พ.ศ. 1471-1485) พระเจ้าราเชนทรวรมัน (พ.ศ. 1487-1511) พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 (พ.ศ. 1511-1544) สะท้อนให้เห็นถึงอานาจทางการเมืองที่ต่อเนื่องและยาวนาน ของกษัตริย์เขมรที่มีเหนือดินแดนประเทศไทย ช่วงกลางพุทธศตวรรษ 16 พบศิลาจารึกของพระเจ้าสูรยวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1545-1593) ที่ สาคัญได้แก่ จารึกศาลสูงหลักที่ 1 จังหวัดลพบุรี เนื้อความในศิลาจารึกระบุถึงพระราชโองการของ พระเจ้าสูรยวรมันที่ 1 ว่าให้ดาบส ภิกษุในพุทธศาสนามหายานและเถรวาทถวายตบะแก่พระองค์ เป็นหลักฐานสาคัญที่แสดงให้เห็นถึงอานาจของเขมรที่เข้ามาสู่ภาคกลางของประเทศไทยอย่างชัดเจน และอาจเป็นเหตุผลที่ทาให้วัฒนธรรมทวารวดีค่อยๆเสื่อมลงไปในที่สุดด้วย รัชกาลพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 (พ.ศ.1593-1609) พบจารึกที่สาคัญเป็นอย่างยิ่งใน การศีกษาประวัติศาสตร์อาณาจักรเขมรโบราณ ได้แก่ จารึกสด๊กก๊อกธม 2 จากปราสาทสด๊กก๊อกธม อาเภอตราพระยา จังหวัดสระแก้ว เป็นจารึกที่กล่าวถึงเรื่อง “เทวราชา” ซึ่งป็นความเชื่อที่กษัตริย์ เขมรให้การนับถือเป็นอย่างยิ่ง และยังกล่าวถึงตระกูลพราหมณ์ที่ทาหน้าที่ประกอบพิธีดังกล่าวด้วย ช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 17 เป็นต้นไป อาณาจักรเขมรโบราณมีกษัตริย์หลายพระองค์ขึ้น ครองราชย์สมบัติ ในจานวนนี้มีกษัตริย์บางพระองค์เป็นผู้สืบเชื้อสายจากราชวงศ์มหิธรปุระ ซึ่งเป็น ราชวงศ์ที่อยู่ในดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทย กษัตริย์ที่กล่าวถึงนี้ได้แก่ พระเจ้า ชัยวรมันที่ 6 (พ.ศ. 1623-1609) พระเจ้าธรณีรฃนทวรรมันที่ 1 (พ.ศ. 1650-1656) และที่สาคัญ ที่สุดได้แก่ พระเจ้าสูรยวรมันที่ 2 (พ.ศ.1656-หลัง 1688)ผู้สร้างนครวัด และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ.1724-ราว พ.ศ. 1763) กษัตริย์ผู้สร้างเมืองนครธม มีการค้นพบจารึกของพระเจ้าวรมันที่ 7 หลายหลังในดินแดนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจารึก ประจาอโรคยศาล ซึ่งพบหลายหลักในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ปราสาทพระขรรค์ ประเทศกัมพูชา ได้กล่าวถึงพระองค์ว่า ทรงสร้างพระชัยพุทธมหานา-ขึ้นในวิหารต่างๆ 23 แห่ง โดย บางแห่งอาจเป็นวิหารประจาเมืองที่อยู่ภาคกลางและภาคตะวันออกของไทย ได้แก่ ลโว้ทยปุระ สุวรรณปุระ ศัมพูกปัฏฏนะ ชัยราชบุรี ศรีชยสิงหบุรี ศรีชยวัชรปุรี ซึ่งหมายถึงลพบุรี สุวรรณบุรี สระ โกสินารายณ์ ราชบุรี เมืองสิงห์ เพชรบุรี นอกจากนี้ยังกล่าวถึงการสร้างวหนิคคฤหะ หรือบ้างพร้อม ไฟตามเส้นทางจากเมืองพระนครไปสู่เมืองอื่นๆ รวมถึงเส้นทางที่มาสู่เมืองพิมายในจังหวัดนครราชศรี มาด้วย จึงอาจอาจกล่าวได้ว่าในสมัยของพระองค์เป็นช่วงเวลาที่อาณาจักรเขมรแพร่ขยายอานาจทาง การเมืองและอานางทางวัฒนธรรม เข้าสู่ดินแดนไทยได้กว้างไกลกว่าสมัยอื่นๆ สาหรับโบราณสถานวัตถุในช่วงเมืองพระนครพบมากขึ้นกว่าสมัยก่อนหน้านี้เป็นจานวนมาก โดยเฉพาะช่วงตั้งแต่ช่วงศิลปะบาปวน ศิลปะนครวัด และศิลปะบายน พบหลักฐานทั้งสถาปัตยกรรม และประติมากรรมเป็นจานวนมาก ในด้านการกระจายตัวก็มิได้ปรากฏเฉพาะภาคตะวันออกและภาค
  • 11. 11 ตะวันออกเฉียงเหนือ หรือจังหวัดที่อยู่ติดกับประเทศกัมพูชาเท่านั้น แต่ว่าเข้าสู่ภูมิภาคตอนในของ ประเทศไทยด้วย ดังนี้ ภาคเหนือตอนล่างแถบจังหวัดสุโขทัย พบหลักฐานคือ ปราสาทเขาปู่จา ศาลตาผาแดง ปราสาทวัดพระพายหลวง ปราสาทวัดเจ้าจันทร์ เป็นต้น ภาคตะวันตกพบหลักฐานคือ ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี โบราณสถานสระโกสิ นารายณ์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี และปราสาทวัดกาแพงแลง จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น ภาคกลาง พบหลักฐานคือ ปรางค์แขก ศาลพระกาฬ พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี โบราณสถานที่เนินทางพระ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดอาจเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเข้มข้นที่มากขึ้นของอานาจวัฒนธรรมและ อานาจทางการเมืองของศิลปะเขมร อย่างไรก็ตามในช่วงเวลาที่กษัตริย์เขมรแผ่อานาจเข้ามายังดินแดนไทยนี้ ก็ได้พบศิลาจารึกที่ กล่าวถึงชื่อเมือง และรายชื่อกษัตริย์ที่ต่างไปจากชื่อของกษัตริย์เขมรด้วย อาจแสดงให้เห็นว่าบางพื้นที่ บางช่วงเวลา ดินแดนประเทศไทยมีผู้นาปกครองตนเอง เป็นอิสระจากอานาจของกษัตริย์เขมร จากที่กล่าวมาทั้งหมดอาจกล่าวได้ว่า สมัยก่อนเมืองพระนคร อานาจทางการเมือง และ อานาจทางวัฒนธรรมของอาณาจักรเขมรโบราณได้แผ่เข้าสู่ดินแดนประเทศไทยแล้ว แต่จะหนาแน่น ในเขตจังหวัดที่ติดกับประเทศกัมพูชาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก เมื่อเข้าสู่ใน สมัยเมืองพระนคร ความเกี่ยวข้องกับอาณาจักรเขมรซึ่งมีทั้งเรื่องอานาจทางการเมืองและอานาจทาง วัฒนธรรมได้เข้ามามีบทบาทต่อดินแดนประเทศไทยมากขึ้นกว่าสมัยก่อนเมืองพระนครเป็นอย่างมาก ดังเห็นได้จากความหนาแน่นของจารึก ศาสนสถานวัตถุ และขอบเขตและการกระจายตัวที่กว้างมาก ขึ้น ในขณะเดียวกันดินแดนประเทศไทยในช่วงเวลาก็มีผู้นาเป็นของตนเองด้วย 4. ปราสาทขอม ปราสาทขอมคืออะไร โดยปกติคาว่าปราสาทมีความหมายถึงเรือนฐานันดรสูง ซึ่งมีชั้นซ้อนของเรือนหรือของง หลังคาต่อขึ้นไปหลายชั้น และโดยทั่วไปเป็นคาที่ใช้เรียกพระราชวัง หรือที่ประทับของ พระมหากษัตริย์ แต่ปราสาทขอมหรือปราสาทเขมรมีความหมายเฉพาะที่ต่างแกไปโดยมีความหมาย 2 นัย นัยแรก หมายถึงศาสนสถานในวัฒนธรรมเขมรทั้งบริเวณ และนัยที่สองหมายถึง เฉพาะอาคาร ที่สาคัญ ใช้สาหรับประดิษฐานรูปเคารพ ปราสาทขอมเหล่านี้มักทาด้วยหิน ไม่ว่าจะเป็นหินทรายหรือหินแลง ดังนั้นจึงนิยมเรียกกันว่า ปราสาทหิน อย่างไรก็ตามปราสาทบางองค์ก็อาจใช้อิฐเป็นวัสดุหลักในการสร้าง
  • 12. 12 ปราสาทเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายให้เทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ หรือศาสนาพุทธ มหายาน ดังนั้นปราสาทเหล่านี้จึงเปรียบเหมือนที่ประทับของเทพหรือพระพุทธเจ้าเหล่านั้น 4.1 คติการสร้าง และความสาคัญของปราสาทขอม 4.1.1 คติการสร้าง การสร้างอาคารทรงปราสาทมาจากคติความเชื่อของชาวอินเดียที่ว่า เทพเจ้า ทั้งหลายสถิตอยู่ ณ เขาพระสุเมรุ อันเป็นแกนกลางของจักรวาล ซึ่งอยู่บนสวรรค์ การสร้างปราสาทจึง เปรียบเสมือนการจาลองเขาพระสุเมรุมายังโลกมนุษย์ เพื่อเป็นที่สถิตของเทพเจ้า และมีการสร้างรูป เคารพของเทพเจ้าขึ้น เพื่อประดิษฐานไว้ภายใน โดยตัวปราสาทมีสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้แทน ความหมายของเขาพระสุเมรุ เช่น มีปราสาทประธานตรงกลาง มีปราสาทบริวารล้อมรอบ ถัดออกมา มีสระน้า และกาแพงล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง การที่ทาหลังคาปราสาทเป็นเรือนซ้อนชั้นก็หมายถึง สวรรค์ หรือวิมานของเทพเทวดานั่นเอง ด้วยเหตุที่เป็นการจาลองจักรวาลมาไว้บนโลกมนุษย์ และเป็นที่สถิต ของเทพเจ้า จึงต้องมีระเบียบกฎเกณฑ์ ตามที่กาหนดไว้ในคัมภีร์ทางศาสนาอย่างเคร่งครัด ตัว ปราสาทจึงมีขนาดใหญ่โต และใช้เวลาก่อสร้างยาวนาน ภาพที่ 1 คติเขาพระสุเมรุตามคติในศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนา คือภูเขาที่เป็นหลักของโลก ตั้งอยู่จุดศูนย์กลางของโลกหรือจักรวาล เป็นที่อยู่ของสิ่งมีวิญญาณในภพและภูมิต่างๆ คาภีร์ศิวะปุราณะกล่าวว่า พระอิศวรทรงน้าด้วยพระเสโท สร้างแผ่นดินด้วยเมโท ใช้จุฑามณีปักลงที่ใจกลางของพื้นภพเป็นเขาพระสุเมรุให้เป็นหลักของโลก และจักรวาล นาพระ สังวาลมาสร้างเป็นทิวเขาสวมรอบเขาพระสุเมรุอีก 7 ทิว เรียกว่า สัตบริภัณฑคีรีเป็นที่สถิตของเทวดา สูงจากพื้นน้า 84,000 โยชน์ มียอด 5 ยอด คือ สุทัศนกูฏ จิตรกูฏ กาลกูฏ ไกรลาส (ที่สถิตของพระอิศวร) และ คันธมาทกูฏ ที่ฐานมีเขา 3 ลูกรองรับ เรียกว่า ตรีกูฏ
  • 13. 13 มหาทวีปทั้ง 4 ล้อมรอบคือ ชมพูทวีป อมรโคยาน ปุพพวิเทห และ อุตรกุระ มีทวีป น้อยๆ เป็นบริวาร 2,000 มีมหาสมุทรทั้ง 4 ทิศล้อมรอบ คือปิตสาคร ผลิกสาคร ขีรสาคร น้าสีขาว (ทะเล น้านมเกษียรสมุทรที่สถิตย์ของพระนารายณ์) และนิลสาคร มีพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาวนพเคราะห์น้อยใหญ่ หมุนเวียนล้อมรอบ ภาพที่ 2 แผนผังปราสาทพนมบางแค็ง พระเจ้ายโศวรมันที่ 1 (พ.ศ.1432 - 1444) สร้างเมืองพระ นครมาใช้ ทรงเลือก เขาพนมบาแค็ง เป็นศูนย์กลางเมืองพระนคร และสร้างปราสาทพนมบาแค็งเป็น ปราสาท 5 หลัง แสดงถึงยอด 5 ยอดของเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นที่ประทับของเทวดา 4.1.2 ความสาคัญ ด้วยเหตุที่ปราสาทขอมคือ ศูนย์กลางของจักรวาล ดังนั้น ตัวปราสาท และเขตศาสน สถานจึงถือว่า เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และใช้ในความหมายที่เป็นศูนย์กลางของเมืองหรือชุมชน ปราสาทเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพ และใช้ทาพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งในศาสนาฮินดูจะมีพราหมณ์ เป็นผู้ทาพิธี เช่น การสรงน้ารูปเคารพที่อยู่ภายในห้องครรภคฤหะ น้าที่สรงแล้วจะไหลออกมาทางท่อ น้าเรียกว่า ท่อโสมสูตร ซึ่งต่อออกมาภายนอกตัวปราสาท เพื่อที่ชาวบ้านจะได้นาน้าศักดิ์สิทธิ์นี้ไปใช้ นอกเหนือจากปราสาทที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนแล้ว การสร้างสระน้าและบาราย (สระน้าขนาด ใหญ่) ก็เป็นส่วนหนึ่งของปราสาท เพื่อเป็นอ่างเก็บน้า สาหรับชุมชน ในการอุปโภคบริโภค ดังนั้น การ สร้างปราสาทจึงเป็นภาระสาคัญของพระมหากษัตริย์ ที่เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว ต้องสร้างขึ้น เพื่ออุทิศ ให้แก่บรรพบุรุษ หรือให้แก่พระองค์เอง และสร้างบารายให้แก่ประชาชน การสร้างปราสาทที่มีขนาด ใหญ่จึงแสดงให้เห็นถึงบุญบารมี และพระราชอานาจของกษัตริย์แต่ละพระองค์ด้วย
  • 14. 14 4.1.3 ความเกี่ยวเนื่องระหว่างปราสาทกับศาสนา โดยทั่วไปศาสนสถานในศิลปะขอม จะสร้างขึ้น เนื่องในศาสนาฮินดูเป็นส่วนใหญ่ มี เพียงบางแห่ง หรือบางสมัยเท่านั้น ที่สร้างขึ้น เนื่องในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน เช่น ปราสาทที่ สร้างขึ้นในศิลปะแบบบายนทั้งหมด เพราะในขณะนั้น มีการเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนานิกาย มหายานแล้ว วิธีสังเกตว่า ศาสนสถานแห่งนั้นๆ สร้างขึ้น เนื่องในศาสนา และลัทธิใด ดูได้จาก รูปเคารพ ที่ประดิษฐานภายในปราสาทประธานเป็นสาคัญ ถ้าไม่ปรากฏรูปเคารพ ให้ดูได้จากภาพเล่า เรื่องบนทับหลัง โดยเฉพาะทับหลังประดับด้านหน้าของห้องครรภคฤหะ จะเป็น ตัวบอกได้ดีที่สุด ใน ส่วนของปราสาทที่สร้างขึ้นในศาสนาฮินดูแยกออกเป็น ๒ ลัทธิ ได้แก่ "ไศวนิกาย" คือ การบูชาพระ อิศวร หรือพระศิวะเป็นใหญ่ เช่น ปราสาทพนมรุ้ง และ "ไวษณพนิกาย" คือ การบูชาพระนารายณ์ หรือพระวิษณุเป็นใหญ่ เช่น ปราสาทนครวัด ส่วนปราสาทหินพิมาย และกลุ่มปราสาทรุ่นหลัง ใน ศิลปะแบบบายน ที่พบทางภาคกลางของประเทศไทยทั้งหมดนั้น สร้างขึ้น เนื่องในพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน เช่น พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี 4.2 ปราสาทขอมแบบต่างๆ หากแบ่งปราสาทขอมออกตามวัตถุประสงค์การสร้าง สามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้ 4.2.1 ปราสาทที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานประจารัชกาล ปราสาทแบบนี้กษัตริย์เท่านั้นที่สามารถสร้างได้ มีลักษณะเป็นปราสาทที่สร้างขึ้นบน ฐานที่ซ้อนลดกลั่นกันหลายชั้น โดยทั่วไปมีทั้งสิ้น 3-5 ชั้น ฐานเป็นชั้นเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อสื่อความ หมายถึงเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นศูนย์กลางจักรวาลตามคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ การสร้างปราสาทเหล่านี้เกิดจากความเชื่อว่า เมื่อกษัตริย์สวรรคตไปแล้วปราสาทดังกล่าวจะเป็น สถานที่ที่พระองค์ไปรวมกับเทพเจ้าที่พระองค์นับถือ เช่นปราสาทนครวัด ซึ่งพระเจ้าสูรยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1656-หลัง พ.ศ. 1688) ทรงสร้างขึ้น เมื่อพระองค์สวรรคตไปแล้วจะไปรวมกับพระวิษณุที่ ปราสาทหลังนี้ และโดยนัยนี้ปราสาทนนครวัดจึงเป็นที่ประทับของพระองค์เมื่อสวรรคตไปแล้วนั่นเอง รูปเคารพประธานก็จะมิใช่หมายถึงแต่เพียงพระวิษณุตามธรรมเนียมทั่วไป หากแต่หมายถึงองค์พระ เจ้าสูรยวรมันที่ 2 ที่รวมเข้ากับองค์พระวิษณุแล้ว อนึ่ง ชื่อของรูปเคารพประธานมักเป็นชื่อที่เกิดจากการผสมระหว่างชื่อกษัตริย์กับชื่อ เทพเจ้า ปราสาทบนฐานเป็นชั้นบางหลังมีจุดมุ่งหมายให้เป็นศูนย์กลางของพระนครด้วย เช่น ปราสาทพนมบาแค็ง ตั้งอยู่บนยอดเขาบาแค็งซึ่งเป็นภูเขาที่ตั้งอยู่กลางเมืองพระนคร นักวิขาการหลายท่านอธิบายว่าปราสาทที่สร้างขึ้นบนฐานเป็นชั้นที่เกี่ยวข้องกับ “คติเทวราชา” ซึ่งเป็นคติที่กษัตริย์เขมรฝห้ความเคารพนับถือเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (พ.ศ. 1345-1393) พระองค์ทรงทาพิธีกรรมเพื่อประกาศถึงความเป็นเอกราช
  • 15. 15 ไม่ขึ้นต่อชวาและได้สถาปนา “เทวราชา” ซึ่งภาษาเขมรใช้คาว่า “กมรเตง ชคต ต ราชา” นักวิชาการ บางท่านสันนิษฐานว่าเทวราชาเป็นพิธีกรรมที่ยกฐานะของกษัตริย์ให้เทียบเท่ากับเทพ หรืออาจเป็น พิธีที่ยกกษัตริย์ ขึ้นเป็นพระจักรวรรดิผู้ยิ่งใหญ่กว่ากษัตริย์ทั้งหลาย แต่บางท่านสันนิษฐานว่าเทวราชา อาจเป็นรูปเคารพ เช่น ศิวลึงค์ ซึ่งมีหน้าที่ปกปักรักษาราชบัลลังก์กษัตริย์หลายพระองค์ได้สร้าง ปราสาทบนฐานเป็นชั้นก็เพื่อประดิษฐานเทวราชาประจาพระองค์ ภาพที่ 3 ปราสาทนครวัด ประทศกัมพูชา พระเจ้าสูรยวรวันที่ 2 สร้างอุทิศให้กับพระวิษณุและตัว พระองค์เอง และเป็นสถานที่ที่พระองค์ไปรวมกับพระวิษณุภายหลังสิ้นพระชนม์ ภาพที่ 4 ปราสาทพนมบาแค็ง ตั้งอยู่บนยอดเขาบาแค็งซึ่งเป็นภูเขาที่ตั้งอยู่กลางเมืองพระนคร
  • 16. 16 4.2.2 ปราสาทที่สร้าขึ้นภายใต้คติบูชาบรรพบุรุษและผู้วายชนม์ ปราสาทเขมรหลายหลังหากดูเผินๆ ดูเหมือนว่าทุกแห่งจะสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่ เทพเจ้าแต่เพียงอย่างเดียว แต่ความเป็นจริงหลายๆแห่ง สร้างขึ้นภายใต้คติบูชาบรรพบุรุษและผู้ วายชนม์ด้วย กษัตริย์หลายพระองค์นอกจากสร้างศาสนสถานให้แก่พระองค์เองแล้ว ยังต้องสร้าง ปราสาทให้แก่บรรพบุรุษของพระองค์ด้วย เช่น ปราสาทพระโค ซึ่งเป็นปราสาท 6 หลังตั้งบนฐาน เดียวกัน พระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 (พ.ศ.1420-1432) ททรงสร้างถวายพระชนกกับพระชนนี พระอัยกา กับพระอัยกี และกษัตริย์ที่ขึ้นครองราชย์มาก่อน คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 กับชายา ประติมากรรมเทพเจ้าอยู่ในปราสาทเหล่านั้นจึงมิใช่รูปแทนองค์เทพเจ้าแต่เพียง อย่างเดียว แต่ยังป็นรูปของบุคคลที่วายชนม์ซึ่งได้เข้าร่วมกับเทพเจ้าแล้ว ชื่อของรูปเคารพของเทพ เหล่านี้ก็เป็นส่วนผสมระหว่างชื่อผู้วายชนม์กับชื่อของเทพเจ้า ภาพที่ 5 ปราสาทพระโค ประเทศกัมพูชา พระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 ทรงสร้างอุทิศให้แก่พระชนก กับพระชนนี พระอัยกา กับพระอัยกี และกษัตริย์ที่ขึ้นครองราชย์มาก่อน คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 1 กับชายา 4.2.3 ปราสาทประจาชุมชน ปราสาทประจาชุมชน คือปราสาทที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางของชุมชน โดย ผู้สร้างอาจเป็นกษัตริย์ หรืออาจเป็นพราหมณ์ปุหิต ผู้นาท้องถิ่นก็ได้ ปราสาทเขมรในดินแดนประเทศ ไทยส่วนใหญ่สร้างขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ดังกล่าวนี้
  • 17. 17 สาหรับรูปเคารพที่ปรากฏทั่วไปย่อมหมายถึงรูปของเทพเจ้าองค์นั้นๆ มิได้เป็น ตัวแทนของมนุษย์ที่วายชนม์แล้ว แต่อย่างไรก็ตามรูปตัวแทนผู้วายชนม์ก็อาจประดิษฐานอยู่ภายใน ปราสาทประเภทนี้ ภาพที่ 6 ปราสาทเมืองต่่า จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทที่ส่าคัญอีกแห่งหนึ่ง 4.2.3 ปราสาทในลักษณะอื่น นอกจากศาสนสถานต่างๆ ข้างต้น ยังมีศาสนสถานที่ทาหน้าที่เฉพาะด้วย ได้แก่ อโรคยศาล หรือศาสนสถานประจาโรงพยาบาล และธรรมศาลา หรือศาสนสถานประจาที่พักคน เดินทาง ศาสนสถานทั้งสองประเภทสร้างขึ้นโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ภาพที่ 7 ปราสาทสระก่าแพงน้อย จังหวัดศรีสะเกษ เป็นศาสนสถานอโรคยศาลที่ส่าคัญอีกแห่งหนึ่ง
  • 18. 18 4.3 ส่วนประกอบต่างๆของปราสาทขอม 4.3.1 แผนผัง ปราสาทขอมมีทั้งสร้างขึ้นบนพื้นราบ และสร้างขึ้นบนภูเขา โดยทั่วไปมีรูปแบบ แผนผังที่เหมือนกัน แต่ในหลายๆครั้งพบว่าปราสาทที่สร้างขึ้นบนภูเขาจาเป็นต้องทาทางเดินที่ยื่นยาว เข้าสู่ศาสนสถาน ทั้งนี้เพื่ออานวยความสะดวกแก่ผู้มาบวงสรวงบูชา จนนักวิชาการบางท่านตั้ง ข้อสังเกตว่าการทาทางเดินที่ยื่นยาวเช่นนี้ ทาให้ศาสนสถานมีแผนผังแบบวิ่งเข้าหาปราสาทประธาน ในขณะที่ปราสาทที่สร้างขึ้นบนพื้นราบมิจาเป็นต้องทาทางเดินเข้ายื่นยาว ส่งผลให้ศาสนสถานมี แผนผังสมดุลทุกทิศทาง ซึ่งเป็นแผนผังแบบล้อมรอบปราสาทประธาน อย่างไรก็ตาม กฎเกณฑ์เช่นนี้มิใช่สิ่งตายตัว เพราะบางครั้งแผนผังแบบวิ่งเข้าหา ปราสาทประธานก็ใช้สาหรับปราสาทบนพื้นราบ และในทางกลับกันปราสาทบนภูเขาก็ใช้แผนผังแบบ สมดุลหรือล้อมรอบปราสาทประธานได้ ปกติปราสาทเขมรนิยมหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เนื่องจากเป็นทิศแห่งความเป็น สวัสดิมงคล แต่ปราสาทที่สร้างขึ้นบนภูเขาบางครั้งไม่สามารถหันหน้าไปทางทิศตะวันออกได้ เนื่อง ด้วยสภาพภูมิประเทศไม่อานวย เช่น ปราสาทพระวิหาร หันหน้าสู่ทิศเหนือเพราะเป็นทิศที่สะดวกต่อ การขึ้นมาบวงสรวงเทพเจ้า เป็นต้น ทาให้ปราสาทที่สร้างขึ้นบนภูเขามีโอกาสที่จะหันหน้าไปทางทิศ อื่นๆมากกว่าปราสาทที่สร้างขึ้นบนพื้นราบ อย่างไรก็ตาม บางครั้งปราสาทที่สร้างขึ้นบนพื้นราบก็อาจจะหันหน้าไปทางทิศอื่นได้ ขึ้นอยู่กับเหตุผลเฉพาะของแต่ละแห่ง เช่น ปราสาทนครวัด หันหน้าไปทางทิศตะวันตกเพราะเป็น ปราสาทที่เกี่ยวข้องกับความตายและการเป็นสุสานของพระเจ้าสูรยวรมันที่ 2 เป็นต้น สิ่งก่อสร้างสาคัญ 1) ปราสาทประธาน (ปรางค์ประธาน) ปราสาทประธาน หมายถึงอาคารที่สาคัญที่สุดของศาสนสถานแห่งนั้น สร้างขึ้น สาหรับประดิษฐานรูปเคารพที่สาคัญที่สุด โดยปกติจะตั้งอยู่กึ่งกลางของศาสนสถาน อาจมีเพียง 1 องค์ หรือหลายองค์มักเรียกรวมกันว่ากลุ่มปราสาทประธาน ซึ่งมักมีจานวนทั้งสิ้น 3 องค์ หรือ 5 องค์ ในกรณีที่สร้างปราสาทประธาน 1องค์ หากสร้างขึ้นเนื่องในศาสนาพราหมณ์แบบ ไศวะนิกาย รูปเคารพในปราสาทประธานนิยมทาเป็นศิวลึงค์หรือองค์พระศิวะ หากสร้างขึ้นเนื่องใน ศาสนาพราหมณ์แบบไวษณพนิกาย รูปเคารพก็จะเป็นพระวิษณุ และหากสร้างขึ้นเนื่องในศาสนา พุทธก็มักเป็นพระพุทธรูปนาคปรก ในกรณีที่สร้างกลุ่มปราสาท 3 องค์ มักสร้างเรียงกันในแนวเหนือ-ใต้ โดยทั่วไปใช้ สาหรับประดิษฐานเทพเจ้าตรีมูรติในศาสนาพราหมณ์ ปราสาทองค์กลางสร้างถวายพระศิวะ ปราสาท องค์เหนือสร้างถวายพระวิษณุ และปราสาทองค์ใต้สร้างถวายพระพรหม หากสร้างเนื่องในพุทธ
  • 19. 19 ศาสนามหายาน เช่น พระปรางค์สามยอด ปราสาทองค์กลางสันนิษฐานว่า ประดิษฐานพระพุทธรูป นาคปรก ปราสาทองค์ใต้ประดิษฐานพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และปราสาทองค์เหนือประดิษฐาน นางปรัชญาปารมิตา ภาพที่ 8 ปราสาทประธานของประสาทหินพนมรุ้ง เป็นปราสาทองค์เดียวสร้างขึ้นเพื่อถวายพระศิวะ 2) ปราสาทบริวาร (ปรางค์บริวาร) ปราสาทบริวาร หมายถึง ปราสาทที่ใช้สาหรับประดิษฐานรูปเคารพที่มิใช่รูปเคารพ ประธาน ไม่เจาะจงว่าจะต้องสร้างขึ้นส่วนใดของศาสนสถาน ภาพที่ 9 ปราสาทเมืองต่่า จังหวัดบุรีรัมย์ ปัจจุบันปราสาทประธานพังทลายลงไปแล้วเหลือแต่ ปราสาทบริวารทั้ง 4
  • 20. 20 ทั้งปราสาทประธานและปราสาทบรวารมีรูปทรงที่คล้ายคลึงกัน องค์ประกอบไล่ จากส่วนล่างไปสู่ส่วนบนมีดังต่อไปนี้ ภาพที่ 10 แผนภาพแสดงองค์ประกอบ ของปรางค์แบบเขมรที่ใช้เป็นปรางค์ประธานของปราสาทหิน ฐานไพที ฐานไพที คือ ฐานที่ใช้รองรับสิ่งก่อสร้างมากกว่า 1 องค์ เช่น กลุ่มปราสาทประธาน 3 องค์ หรือ 5 องค์ เป็นต้น หากเป็นปราสาทเดียวไม่นิยมตั้งบนฐานไพที ฐาน ฐาน คือ ตาแหน่งล่างสุดของปราสาท เปรียบได้กับส่วนพื้นของบ้าน ทาหน้าที่ รองรับส่วนเรือนธาตุ มักอยู่ในทรงของฐานบัว และนิยมประดัลประดาด้วยลวดลายสลัก เรือนธาตุ เรือนธาตุ คือ ส่วนกลาง อยู่ใต้ชั้นซ้อนของส่วนยอด เทียบได้กับผนังของบ้าน เป็น ตาแหน่งที่ใช้สาหรับประดิษฐานรูปเคารพ หรือสิ่งสักการะอื่นๆ ในสมัยก่อนเมืองพระนครนิยมผังเป็น รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ส่วนในสมัยเมืองพระนครนิยมผังสี่เหลี่ยมจตุรัสเพิ่มมุมโดยปกติเรือนธาตุมีทางเข้าสู่ ห้องภายใน 1 ทาง แต่ในบางองค์อาจมี 4 ทาง เรือนธาตุมีองค์ประกอบสาคัญดังนี้ ครรภคฤหะหรือคูหา ภายในเรือนธาตุเป็นห้องประดิษฐานรูปเคารพ เรียกว่า ครรภคฤหะหรือคูหา สาหรับประดิษฐานรูปเคารพ เป็นส่วนสาคัญที่สุดของปราสาท เพราะถือว่าเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ ของเทพเจ้า ไม่มีผู้ใดสามารถเข้าไปได้ ยกเว้นพราหมณ์ผู้ทาพิธีกรรมเท่านั้น
  • 21. 21 ภาพที่ 11 ห้อง "ครรภคฤหะ" ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพที่ส่าคัญ ที่สุด ซึ่งเชื่อกันว่าน่าจะเป็นศิวลึงค์ มุข มุข หมายถึง ห้องสี่เหลี่ยมขนาดไม่ยาวนักที่ต่อยื่นออกมาจากด้านของเรือนธาตุ ใช้ เป็นทางเข้าสู่ครรภคฤหะ บางแห่งอาจมีมุขทางด้านหน้าเพียงด้านเดียว บางแห่งอาจมีมากถึง 4 ด้าน มณฑป ปราสาทบางองค์มีห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดยาวต่อยื่นจากด้านหน้าของเรือนธาตุ ห้องนี้เรียกว่า มณฑป ใช้สาหรับประกอบพิธีกรรม และมักเป็นที่ประดิษฐานสัตว์พาหนะของเทพเจ้า องค์ที่ประดิษฐานในห้องอยู่ในห้องครรภคฤหะ เช่น หากรูปเคารพในห้องครรภคฤหะเป็นพระศิวะ พาหนะที่อยู่ในมณฑปคือโคนนทิ เป็นต้น อันตราละ อันตราละ หมายถึง ฉนวนที่เชื่อมระหว่างห้องครรภคฤหะกับมณฑป ทับหลัง ทับหลัง หมายถึง แผ่นหินสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่วางไว้เหนือวงกบประตู นิยมสลักลวดลาย ประดับ ลวดลายจะแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เช่น บางสมัยนิยมลายพรรณพฤกษา โดยตรงกลางทา เป็นรูปเทพเจ้า บางสมัยนิยมสลักภาพเล่าเรื่องเทพปกรณัมทั้งแผ่น เป็นต้น ด้วยเหตุที่ทับหลังแต่ละสมัยมีลักษณะต่างกัน ทาให้สามารถนารูปแบบทับหลังมา กาหนดอายุศาสนสถานหลังนั้นๆ ได้ในระดับหนึ่ง
  • 22. 22 ภาพที่ 13 องค์ประกอบ สถาปัตยกรรมที่ปรากฏ อยู่ส่วนกลางหรือ เรือนธาตุ ภาพที่ 12 ทับหลังปราสาทศีขรภูมิลวดลายเป็นรูป “ศิวะนาฎราช” ในท่วงท่าร่ายร่าอ่อนช้อย เสาประดับกรอบประตู เสาประดับกรอบประตู คือ เสาที่วางขนาบอยู่สองข้างของประตูทาจากหินทราย มี ทั้งเสาทรงกลมและทรงแปดเหลี่ยม นิยมประดับด้วยลายที่เรียกกันว่า วงแหวน และลายใบไม้ สามเหลี่ยมเสาประดับกรอบประตูแต่ละยุคสมัยมีลักษณะต่างกันออกไป ดังนั้นจึงใช้เป็นตัวกาหนด อายุศาสนสถานได้ในระดับหนึ่งเช่นกัน หน้าบัน บัน คือ แผงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มักอยู่เหนือขึ้นไปจากทับหลัง หน้าบันมี ส่วนประกอบสาคัญ 2 ส่วน ได้แก่ พื้นที่ภายในหน้าบันและกรอบหน้าบัน พื้นที่ภายในของหน้าบันมีลวดลายแตกต่างไปตามยุคสมัย ในดินดินแดนไทยพบ 2 แบบ ได้แก่ แบบสลักภาพเล่าเรื่องเต็ม และแบบเทพเจ้าตรงกลางล้อมรอบด้วยลายพรรณพฤกษา สาหรับกรอบหน้าบันนั้น ช่างเขมรได้ประดิษฐ์คิดค้นจากลายเป็นกรอบคดดค้งไปมา ดูคล้ายการเลื้อยคดโค้งของงู เมิ่อเป็นดังนี้ปลายกรอบหน้าบันนิยมประดับด้วยเศียรนาค เพื่อให้ ประกอบหน้าบันกลายเป็นลาตัวของ
  • 23. 23 ส่วนยอด ส่วนยอด หมายถึง ส่วนที่อยู่เหนือขึ้นไปจากเรือนธาตุ ทาเป็นชั้นซ้อนลดหลั่นกันขึ้น ไป เป็นสัญลักษณ์ของเรือนซ้อนชั้นหรือปราสาท ซึ่งเป็นเรือนฐานันดรสูง องค์ประกอบของส่วนยอดมี ดังนี้ ภาพที่ 14 องค์ประกอบส่วนยอดปราสาทขอม ชั้นวิมาน ชั้นวิมาน คือ ชั้นแต่ละชั้นที่ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไปของส่วนยอดแต่ละชั้นเป็นการ จาลองย่อส่วนเรือนธาตุมานั่นเอง ซุ้มบัญชร กึ่งกลางของชั้นวิมานสลักประตู เสาประดับกรอบประตู ทับหลัง หน้าบัน เหมือน ที่ปรากฏในส่วนเรือนธาตุ เรียกส่วนดังกล่าวนี้ว่า ซุ้มบัญชร บรรพ์แถลง (บันแถลง หรือ บรรพแถลง) แถลง หมายถึง รูปจั่วหรือซุ้มหน้าต่าง ซึ่งในปราสาทขอมใช้เรียกแผ่นหินสามเหลี่ยม ปักอยู่ที่กึ่งกลางด้านและที่มุมย่อยของชั้นวิมาน สลักรูปเทพเจ้าอยู่ภายในซุ้ม เทพเหล่านี้มีทั้งที่เป็น เทพประจาทิศ เทพผู้พิทักษ์ นางเทพธิดา ฤาษี อนึ่ง บางท่านเรียกองค์ประกอบนี้ว่ากลีบขนุน ปราสาทจ่าลองและนาคปรก ปราสาทจาลอง หมายถึง ปราสาทสลักจากหินทรายขนาดเล็กวางอยู่ที่มุมประธาน นิยมในช่วงสมัยก่อนนครวัด แต่ถึงสมัยนครวัดเปลี่ยนมาใช้นาคหลายเศียรแทน เรียกว่า นาคปรก