SlideShare a Scribd company logo
เอกสารประกอบการสอน
ชุดที่ 2
รายวิชา ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ง 20201
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564
ครูผู้สอน นางสาวพลอยกานต์ ลำดวล / นางสาวกนกวรรณ สายหงษ์ทอง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพ โรงเรียนสายธรรมจันทร์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี
ชื่อ - นามสกุล.......................................................................
ชั้น ม.1/......... เลขที่............
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 มีอะไรให้ห้องสมุด
ผลการเรียนรู้
2. ใช้ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้เพื่อการศึกษาค้นคว้าอย่างเหมาะสม
3. ใช้เครื่องมือสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากสื่อต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. รักการอ่าน รักการเขียน และการศึกษาค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง
สาระสำคัญ
ทรัพยากรสารสนเทศคือวัสดุที่ใช้ในการบันทึกความรู้ ประสบการณ์ ภูมิปัญญาของมนุษย์ ซึ่งในปัจจุบัน
มีเทคโนโลยีและวิธีการในการบันทึกความรู้มากมาย นอกเหนือจากการเขียนหรือการผลิตหนังสือ ทรัพยากร
สารสนเทศ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ สารสนเทศตีพิมพ์ สารสนเทศไม่ตีพิมพ์ และสารสนเทศ
อิเล็กทรอนิกส์ แหล่งสารสนเทศคือแหล่งกำเนิดหรือรวบรวมข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ความรู้ต่าง ๆ สำหรับ
ผู้สนใจ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ บุคคล สื่อมวลชน สถาบันบริการ และอินเทอร์เน็ต
สาระการเรียนรู้
เรื่องที่ 1 ทรัพยากรสารสนเทศ
เรื่องที่ 2 การประเมินค่าสารสนเทศ
เรื่องที่ 3 แหล่งสารสนเทศ
หน้า 1
แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 มีอะไรในห้องสมุด
คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านโจทย์คำถามและพิจารณาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดในแต่ละข้อ แล้วระบายคำตอบที่
ถูกต้องด้วยดินสอ 2B ลงในวงกลมตัวเลือก  ในกระดาษคำตอบในหน้าถัดไป
1. ทรัพยากรสารสนเทศหมายถึงข้อใด
ก. หนังสือที่อยู่ในห้องสมุด
ข. แหล่งกำเนิดความรู้ของมนุษย์
ค. วัสดุที่บันทึกความรู้ของมนุษย์
ง. ข้อมูลที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต
2. ข้อใดคือสารสนเทศประเภทสิ่งตีพิมพ์
ก. หนังสือพิมพ์
ข. คลิปวิดีโอ
ค. แผ่นซีดี
ง. รูปถ่าย
3. สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องมีลักษณะแตกต่างจากสิ่งพิมพ์
อื่นอย่างไร
ก. มีคนแต่งเพียงคนเดียว
ข. ไม่มีหน้าปกหนังสือ
ค. อ่านเนื้อหาได้จบในเล่ม
ง. มีกำหนดออกเป็นวาระแน่นอน
4. คลิปวิดีโอสอนทำไข่เจียวในเว็บไซต์ยูทูปจัดเป็น
ทรัพยากรสารสนเทศประเภทใด
ก. สื่อตีพิมพ์
ข. สื่อเคลื่อนไหว
ค. สื่ออิเล็กทรอนิกส์
ง. สื่อทัศนวัสดุ
5. ข้อเสียของข้อมูลที่สืบค้นได้จากเว็บไซต์ใน
อินเทอร์เน็ตคือข้อใด
ก. สืบค้นข้อมูลได้สะดวกทุกที่ทุกเวลา
ข. ข้อมูลค้นหาได้ง่าย
ค. ข้อมูลมีทั้งข้อความ ภาพเคลื่อนไหว
และเสียง
ง. ข้อมูลบางอย่างไม่น่าเชื่อถือ
6. ทรัพยากรสารสนเทศข้อใดแตกต่างจากข้ออื่น
ก. หนังสือ วารสาร
ข. รูปภาพ เทปเสียง
ค. ม้วนวิดีโอ แผ่นเสียง
ง. หุ่นจำลอง ฟิล์มภาพยนตร์
7. ทรัพยากรสารสนเทศมีกี่ประเภท
ก. 2 ประเภท
ข. 3 ประเภท
ค. 4 ประเภท
ง. 5 ประเภท
8. ทรัพยากรสารสนเทศมีความสำคัญที่สุดอย่างไร
ก. ใช้เป็นอาหาร เครื่องนุ่งห่ม
ข. ใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ
ค. ใช้เป็นแหล่งความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง
ง. ใช้รักษาโรค
9. ข้อใดเป็นแหล่งสารสนเทศประเภทสื่อมวลชน
ก. ห้องสมุด
ข. พิพิธภัณฑ์
ค. ครูพลอยกานต์
ง. ศูนย์ข้อมูลหนังสือพิมพ์มติชน
10. แหล่งสารสนเทศในข้อใดที่สามารถเก็บข้อมูล
สารสนเทศได้อย่างมหาศาล
ก. บุคคล
ข. อินเทอร์เน็ต
ค. ห้องสมุด
ง. สื่อมวลชน
หน้า 2
กระดาษคำตอบ
แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 มีอะไรในห้องสมุด
คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนชื่อ - นามสกุล ชั้น และเลขที่ลงในช่องว่างของกระดาษคำตอบ และระบายตัวเลือก
ที่ถูกต้องที่สุดในแต่ละข้อด้วยดินสอ 2B ลงในวงกลมตัวเลือก  ในกระดาษคำตอบ
คำแนะนำ
• ใช้ดินสอดำ 2B เท่านั้น ระบายวงกลมทุกวงที่ต้องการให้ดำเต็มวง
• ถ้าต้องการแก้ไข ให้ใช้ยางลบลบให้สะอาดก่อน จึงระบายวงใหม่
• ห้ามขีดเขียนสิ่งอื่นใดนอกเหนือจากที่ระบุไว้
ระดับคุณภาพ
คะแนน
เต็ม
เกณฑ์คะแนน
ผ่าน
คะแนนที่
ได้
ระดับ
คุณภาพ
4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8
10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน
ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน
ก่อน
หน้า 3
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 มีอะไรในห้องสมุด
เรื่องที่ 1 ทรัพยากรสารสนเทศ
1. ความหมายของทรัพยากรสารสนเทศ
ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง วัสดุที่บันทึกข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ประสบการณ์ที่เกิด
จากสติปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์แสดงออกให้ปรากฏโดยใช้ภาษา สัญลักษณ์ ภาพ รหัสอื่น ๆ ที่
สื่อสารสัมผัสได้ ห้องสมุดยุคใหม่ไม่จำเป็นต้องเก็บสะสมทรัพยากรสารสนเทศให้มากที่สุด แต่เน้นการจัดหา
ทรัพยากรสารสนเทศที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้เป็นสำคัญ
2. ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ
ทรัพยากรสารสนเทศแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1.
2.
3.
2.1 ทรัพยากรสารสนเทศตีพิมพ์ (Printed Materials)
1. สารสนเทศตีพิมพ์ หมายถึง
ข้อดีของวัสดุตีพิมพ์ คือ ใช้ได้ง่าย สะดวก และไม่ต้องมีอุปกรณ์ช่วยในการอ่าน แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเทคโนโลยี
สมัยใหม่ช่วยในการบันทึกความรู้หลากหลายชนิดขึ้นก็ตาม แต่วัสดุตีพิมพ์ก็ยังมีความสำคัญและนิยมใช้กันอยู่
ทั่วไป
ตัวอย่างของสารสนเทศตีพิมพ์
1. หนังสือ คือ สิ่งพิมพ์ที่รวบรวมข้อมูล ความรู้ โดยการเขียนหรือพิมพ์ลงบนกระดาษ มีลักษณะเป็น
เล่ม เนื้อหาจบสมบูรณ์ในเล่มเดียวหรือหลายเล่มที่เรียกว่า หนังสือชุด ส่วนใหญ่จะมีผู้แต่ง 1 – 3 คน
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.1 หนังสือสารคดี คือ หนังสือด้านทางวิชาการ ให้ความรู้เฉพาะทาง เช่น หนังสือความรู้ทั่วไป
ตำราเรียน หนังสืออ่านเพิ่มเติม หนังสือคู่มือ หนังสืออ้างอิง เป็นต้น
หน้า 4
1.2 หนังสือบันเทิงคดี คือ หนังสือที่มีเนื้อหาสนุกเพลิดเพลิน แต่งจากจินตนาการของผู้เขียน อาจ
สอดแทรกความรู้และความคิดต่าง ๆ ไว้ด้วย เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น หนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน เป็นต้น
2. สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง คือ สิ่งพิมพ์ที่มีกำหนดออกเป็นวาระที่แน่นอน เช่น ออกทุกวัน ออกทุก 1
สัปดาห์ ออกทุก 1 เดือน ออกทุก 3 เดือน เป็นต้น มีผู้แต่งหลายคน แบ่งเนื้อหาเป็นคอลัมม์ อาจมีเนื้อหา
ต่อเนื่องกันได้ ตัวอย่างของสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง เช่น
2.1 หนังสือพิมพ์ คือ สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องที่มุ่งเน้นการนำเสนอ
ข่าวสาร ทันสมัย หรือเรื่องราวที่กำลังเป็นที่สนใจ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ
สังคม ธุรกิจ การศึกษา อาชีพ กีฬาและบันเทิง ปกติจะมีกำหนดออกทุกวัน
ห้องสมุดจะให้บริการหนังสือพิมพ์ไว้ใกล้กับวารสาร
2.2 วารสาร คือ สิ่งพิมพ์ที่ให้ข้อมูลทันสมัย เกร็ดความรู้ หรือข่าวประชาสัมพันธ์ มีเนื้อหาเชิง
วิชาการ มีหลายคอลัมน์ มีผู้แต่งหลายคน เช่น วารสารโรงเรียน วารสารวิชาการ
2.3 นิตยสาร คือ สิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเหมือนกันวารสาร แต่ละมีเนื้อหาสนุกสนาน เพลินเพลิด
มากกว่า มักมีเนื้อหาเฉพาะ เช่น นิตยสารเกี่ยวกับการจัดสวน นิตยสารเกี่ยวกับผู้หญิง เป็นต้น
3. กฤตภาค คือ สิ่งพิมพ์ที่ห้องสมุดจัดทำขึ้นเอง โดยตัดหรือถ่ายเอกสาร
จากหนังสือพิมพ์ วารสาร/นิตยสาร มาแปะลงบนกระดาษเอ 4 แล้วจัดเป็น
หมวดหมู่ เพื่อให้หาได้ง่าย
นี่คือวารสาร นี่คือนิตยสาร
กฤตภาค อ่านว่า กิด-ตะ-พาก
คือการตัดบทความจากหนังสือพิมพ์
มาแปะลงเอ 4
หน้า 5
2. สารสนเทศไม่ตีพิมพ์ หมายถึง
แต่บันทึกข้อมูล ความรู้ โดยอาศัย ภาพ เสียง สัญลักษณ์ หรือรหัส เป็นต้น
ตัวอย่างของสารสนเทศไม่ตีพิมพ์
1. โสตวัสดุ คือ วัสดุที่บันทึก “เสียง” เป็นสื่อในการถ่ายทอดความรู้ เช่น
2. ทัศนวัสดุ คือ วัสดุที่ต้องใช้สายตารับรู้ข้อมูลความรู้ โดยอาจดูด้วยตาเปล่าหรือใช้เครื่องมือช่วยก็ได้
เช่น
2. โสตทัศนวัสดุ คือ วัสดุที่ถ่ายทอดความรู้ โดยใช้ทั้ง “ภาพและเสียง” ประกอบกัน เช่น
3. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง ข้อมูล ความรู้ ข่าวสารที่รวบรวมและจัดเก็บไว้ในรูปแบบที่
อ่าน ดู ฟัง หรือสืบค้นได้ด้วยคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือในอินเทอร์เน็ต เช่น
หน้า 6
แบบฝึกหัดที่ 2.1
แผนผังทรัพยากรสารสนเทศ
คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนแผนผังมโนทัศน์ (Mind Mapping) ในหัวข้อทรัพยากรสารสนเทศ โดยวาด
ภาพประกอบและตกแต่งให้สวยงามได้
ชื่อ - นามสกุล ชั้น เลขที่
ระดับคุณภาพ
คะแนน
เต็ม
เกณฑ์คะแนน
ผ่าน
คะแนนที่
ได้
ระดับ
คุณภาพ
4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8
10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน
ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน
หน้า 7
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 มีอะไรในห้องสมุด
เรื่องที่ 2 การประเมินค่าสารสนเทศ
1. ความหมายของการประเมินค่าสารสนเทศ
การประเมินค่าสารสนเทศ หมายถึง การพิจารณาตัดสินทรัพยากรสารสนเทศแต่ละรายการว่ามีคุณค่า
มีความน่าเชื่อถือในทางวิชาการหรือตรงกับความต้องการหรือไม่ เพื่อสามารถนำสารสนเทศไปประยุกต์ใช้งานได้
อย่างเหมาะสม
2. ความสำคัญของการประเมินค่าสารสนเทศ
1. ได้สารสนเทศที่มีคุณภาพเหมาะกับการใช้งาน
2. เป็นแนวทางในการเลือกและจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเข้าห้องสมุด
3. เป็นประโยชน์ในการแนะนำผู้ใช้ห้องสมุด
4. รู้จักทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ ในแต่ละสาขาวิชากว้างขวางขึ้น
3. หลักการประเมินค่าสารสนเทศ
1. พิจารณาความน่าเชื่อถือ 2. พิจารณาแหล่งที่มาของสารสนเทศ
3. พิจารณาขอบเขตเนื้อหา 4. พิจารณาให้ตรงกับความต้องการ
5. พิจารณาช่วงเวลาที่เผยแพร่
3.1 พิจารณาความน่าเชื่อถือ
- พิจารณาความถูกต้องของข้อมูล โดยดูจากหลาย ๆ แหล่งว่าสอดคล้องกันหรือไม่ มีการเขียนอ้างอิง
หรือบรรณานุกรมหรือไม่ ลักษณะการสะกดคำถูกต้องหรือไม่
- พิจารณาความเที่ยงตรงของข้อมูล โดยดูว่าผู้แต่งมีความลำเอียงหรือไม่ มีการใช้เหตุผลสนับสนุน
ข้อเท็จจริงหรือไม่
3.2 พิจารณาแหล่งที่มาของสารสนเทศ
- ผู้แต่ง ดูว่าผู้แต่งมีชื่อเสียง คุณวุฒิ ประสบการณ์ มีผลงานอื่น ๆ ในสาขาวิชาที่เขียนหรือไม่
- สำนักพิมพ์หรือแหล่งผลิต ผู้จัดพิมพ์มีความน่าเชื่อถือ ติดต่อได้ หรือเป็นองค์กรสมาคมมืออาชีพ
หรือไม่
3.3 พิจารณาขอบเขตเนื้อหา ดูว่าเนื้อหามีความครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่ เป็นความรู้ระดับพื้นฐานหรือเป็น
ความรู้ระดับสูง เนื้อหาเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายหรือไม่
3.4 พิจารณาให้ตรงตามความต้องการ ต้องการสารสนเทศที่มีเนื้อหาอะไร จากแหล่งใด และเอาสารสนเทศไป
ทำอะไร
3.5 การพิจารณาช่วงเวลาที่เผยแพร่ ควรพิจารณาสารสนเทศที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์ หากเป็นข้อมูลใน
อินเทอร์เน็ตควรดูวันเวลาในการปรับปรุงเว็บไซต์ ซึ่งมักจะอยู่บริเวณใต้ชื่อบทความหรือท้ายบทความ
หน้า 8
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 มีอะไรในห้องสมุด
เรื่องที่ 3 แหล่งสารสนเทศ
1. ความหมายของแหล่งสารสนเทศ
แหล่งสารสนเทศ หมายถึง แหล่งกำเนิดหรือรวบรวมข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ความรู้ต่าง ๆ สำหรับ
ผู้สนใจ
2. ประเภทของแหล่งสารสนเทศ
แหล่งสารสนเทศ แบ่งออกเป็น...................ประเภท ได้แก่
1. แหล่งสารสนเทศประเภทบุคคล คือ บุคคลที่ ให้ความรู้ ข้อมูล กับผู้อื่นได้ เช่น.............................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
2. แหล่งสารสนเทศประเภทสื่อมวลชน คือ แหล่งกำเนิดข่าวผ่านสื่อมวลชนต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์
โทรทัศน์ วิทยุ เน้นข่าวสารที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์ แต่ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลให้แน่ชัดก่อน
นำมาใช้ เช่น................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
3. แหล่งสารสนเทศประเภทสถาบันบริการ คือ หน่วยงานที่จัดตั้งโดยหน่วยงานของรัฐและเอกชน
จัดหารวบรวม วิเคราะห์ จัดเก็บ และให้บริการอย่างเป็นระบบ เช่น........................................................................
.....................................................................................................................................................................................
4. แหล่งสารสนเทศประเภทสื่ออินเทอร์เน็ต คือ แหล่งสารสนเทศไร้พรมแดน บนเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก เช่น.......................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
หน้า 9
แบบฝึกหัดที่ 2.2
แหล่งสารสนเทศ
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ และบอกถึงแหล่งที่มาว่านักเรียนหาคำตอบมาจากแหล่งใด
ชื่อ - นามสกุล ชั้น เลขที่
ข้อ คำถาม คำตอบ แหล่งสารสนเทศ
1 วันเกิดของปู่ หรือย่า หรือตา หรือยาย
ของนักเรียน (ให้เลือกตอบแค่วันเกิด
ของ 1 คน)
2 ตัวอักษรของชาวอียิปต์มีชื่อเรียกว่า
อะไร
3 ใครเป็นคนแต่งเพลงชาติไทย
4 ครูประจำชั้นของนักเรียนสอนวิชา
อะไร
5 Cotton แปลเป็นภาษาไทยว่าอะไร
6 น้ำมีจุดเดือดอยู่ที่กี่องศาเซลเซียส
7 ชื่อเพื่อนสนิทของผู้ปกครองนักเรียน
8 จงยกตัวอย่างจำนวนเต็มมา 1 จำนวน
9 วิฬารหมายถึงอะไร
10 สีแดงในธงชาติมีความหมายอย่างไร
ระดับคุณภาพ
คะแนน
เต็ม
เกณฑ์คะแนน
ผ่าน
คะแนนที่
ได้
ระดับ
คุณภาพ
4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8
10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน
ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน
หน้า 10
แบบทดสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 มีอะไรในห้องสมุด
คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านโจทย์คำถามและพิจารณาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดในแต่ละข้อ แล้วระบายคำตอบที่
ถูกต้องด้วยดินสอ 2B ลงในวงกลมตัวเลือก  ในกระดาษคำตอบในหน้าถัดไป
1. ทรัพยากรสารสนเทศมีกี่ประเภท
ก. 5 ประเภท
ข. 4 ประเภท
ค. 3 ประเภท
ง. 2 ประเภท
2. สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องมีลักษณะแตกต่างจากสิ่งพิมพ์
อื่นอย่างไร
ก. ไม่มีหน้าปกหนังสือ
ข. อ่านเนื้อหาได้จบในเล่ม
ค. มีคนแต่งเพียงคนเดียว
ง. มีกำหนดออกเป็นวาระแน่นอน
3. ทรัพยากรสารสนเทศหมายถึงข้อใด
ก. วัสดุที่บันทึกความรู้ของมนุษย์
ข. ข้อมูลที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต
ค. หนังสือที่อยู่ในห้องสมุด
ง. แหล่งกำเนิดความรู้ของมนุษย์
4. ข้อเสียของข้อมูลที่สืบค้นได้จากเว็บไซต์ใน
อินเทอร์เน็ตคือข้อใด
ก. ข้อมูลมีทั้งข้อความ ภาพเคลื่อนไหว
และเสียง
ข. สืบค้นข้อมูลได้สะดวกทุกที่ทุกเวลา
ค. ข้อมูลบางอย่างไม่น่าเชื่อถือ
ง. ข้อมูลค้นหาได้ง่าย
5. ข้อใดคือสารสนเทศประเภทสิ่งตีพิมพ์
ก. แผ่นซีดี
ข. หนังสือพิมพ์
ค. รูปถ่าย
ง. คลิปวิดีโอ
6. ข้อใดเป็นแหล่งสารสนเทศประเภทสื่อมวลชน
ก. ศูนย์ข้อมูลหนังสือพิมพ์มติชน
ข. ครูพลอยกานต์
ค. ห้องสมุด
ง. พิพิธภัณฑ์
7. ทรัพยากรสารสนเทศมีความสำคัญที่สุดอย่างไร
ก. ใช้รักษาโรค
ข. ใช้เป็นอาหาร เครื่องนุ่งห่ม
ค. ใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ
ง. ใช้เป็นแหล่งความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง
8. แหล่งสารสนเทศในข้อใดที่สามารถเก็บข้อมูล
สารสนเทศได้อย่างมหาศาล
ก. ห้องสมุด
ข. อินเทอร์เน็ต
ค. สื่อมวลชน
ง. บุคคล
9. ทรัพยากรสารสนเทศข้อใดแตกต่างจากข้ออื่น
ก. วารสาร นิตยสาร
ข. ฟิล์มภาพยนตร์ หุ่นจำลอง
ค. แผ่นเสียง ม้วนวิดีโอ
ง. รูปภาพ เทปเสียง
10. คลิปวิดีโอสอนทำไข่เจียวในเว็บไซต์ยูทูปจัดเป็น
ทรัพยากรสารสนเทศประเภทใด
ก. สื่ออิเล็กทรอนิกส์
ข. สื่อทัศนวัสดุ
ค. สื่อตีพิมพ์
ง. สื่อเคลื่อนไหว
หน้า 11
กระดาษคำตอบ
แบบทดสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 มีอะไรในห้องสมุด
คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนชื่อ - นามสกุล ชั้น และเลขที่ลงในช่องว่างของกระดาษคำตอบ และระบายตัวเลือก
ที่ถูกต้องที่สุดในแต่ละข้อด้วยดินสอ 2B ลงในวงกลมตัวเลือก  ในกระดาษคำตอบ
คำแนะนำ
• ใช้ดินสอดำ 2B เท่านั้น ระบายวงกลมทุกวงที่ต้องการให้ดำเต็มวง
• ถ้าต้องการแก้ไข ให้ใช้ยางลบลบให้สะอาดก่อน จึงระบายวงใหม่
• ห้ามขีดเขียนสิ่งอื่นใดนอกเหนือจากที่ระบุไว้
ระดับคุณภาพ
คะแนน
เต็ม
เกณฑ์คะแนน
ผ่าน
คะแนนที่
ได้
ระดับ
คุณภาพ
4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8
10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน
ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน
หลัง
หน้า 12
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
ผลการเรียนรู้
2. ใช้ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้เพื่อการศึกษาค้นคว้าอย่างเหมาะสม
4. รักการอ่าน รักการเขียน และการศึกษาค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง
6. นำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนเองและเป็นความรู้พื้นฐานในการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจ
พอเพียง
สาระสำคัญ
การจัดหมวดหมู่หนังสือคือการจัดหนังสือที่มีเนื้อหาคล้ายกันไว้ด้วยกัน โดยกำหนดสัญลักษณ์แทนเนื้อหา
ของหนังสือแต่ละประเภท การจัดหมวดหมู่หนังสือมีหลายระบบ ระบบที่นิยมใช้ในห้องสมุดโรงเรียนคือระบบ
ทศนิยมดิวอี้ ซึ่งแบ่งเนื้อหาออกเป็น 10 หมวดหมู่ และใช้ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์
สาระการเรียนรู้
เรื่องที่ 1 การจัดหมวดหมู่หนังสือ
เรื่องที่ 2 ระบบทศนิยมดิวอี้
เรื่องที่ 3 การเรียงหนังสือขึ้นชั้น
หน้า 13
แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านโจทย์คำถามและพิจารณาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดในแต่ละข้อ แล้วระบายคำตอบที่
ถูกต้องด้วยดินสอ 2B ลงในวงกลมตัวเลือก  ในกระดาษคำตอบในหน้าถัดไป
1. ข้อใดคือวัตถุประสงค์หลักของการจัดหมวดหมู่
หนังสือ
ก. เพื่อให้หนังสือมีที่อยู่แน่นอน
ข. เพื่อให้หนังสือเป็นระเบียบสวยงาม
ค. เพื่อให้หนังสือที่เนื้อหาคล้ายกันอยู่
ด้วยกัน จะได้ค้นหาได้ง่าย
ง. เพื่อให้จัดเก็บหนังสือได้
2. ระบบทศนิยมดิวอี้แบ่งออกเป็นกี่หมวดใหญ่
ก. 10 หมวด
ข. 15 หมวด
ค. 8 หมวด
ง. 20 หมวด
3. ข้อใดคือประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของการจัด
หมวดหมู่หนังสือ
ก. ทำให้หนังสือมีสัญลักษณ์แทนเนื้อหา
ข. ทำให้ค้นหาหนังสือได้ง่าย
ค. ทำให้ทราบจำนวนหนังสือ
ง. ทำให้จัดหนังสือได้มีระเบียบ
4. หากนักเรียนต้องการหาหนังสือเกี่ยวกับ
วิทยาศาสตร์ ต้องค้นหาที่หมวดใด
ก. 200
ข. 300
ค. 400
ง. 500
5. หนังสือเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าอยู่ในหมวดหมู่ใด
ก. 100
ข. 300
ค. 900
ง. 200
6. ข้อใดคือหนังสือในหมวด 900
ก. ประวัติศาสตร์ชาติไทย
ข. เรียนภาษาอังกฤษง่ายนิดเดียว
ค. ประดิษฐ์กระทงใบตอง
ง. เล่นหุ้นไม่ยาก
7. หนังสือเกี่ยวกับฟุตบอลอยู่ในหมวดใด
ก. 300
ข. 400
ค. 000
ง. 700
8. เด็กหญิงปลาทองต้องการเรียนภาษาเกาหลีเพื่อ
เอาไปคุยกับอปป้า เด็กหญิงปลาทองต้องไปหา
หนังสือที่หมวดหมู่ใด
ก. 100
ข. 200
ค. 400
ง. 800
9. เลขหมู่หนังสือข้อใดมาก่อนเลขหมู่หนังสือข้ออื่น
ก. 123.4
ข. 123.04
ค. 123.44
ง. 123.401
10. เลขผู้แต่งข้อใดอยู่ในลำดับท้ายสุด
ก. พ214ก
ข. ฮ745ญ
ค. ฟ456ต
ง. ก368ข
หน้า 14
กระดาษคำตอบ
แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนชื่อ - นามสกุล ชั้น และเลขที่ลงในช่องว่างของกระดาษคำตอบ และระบายตัวเลือก
ที่ถูกต้องที่สุดในแต่ละข้อด้วยดินสอ 2B ลงในวงกลมตัวเลือก  ในกระดาษคำตอบ
คำแนะนำ
• ใช้ดินสอดำ 2B เท่านั้น ระบายวงกลมทุกวงที่ต้องการให้ดำเต็มวง
• ถ้าต้องการแก้ไข ให้ใช้ยางลบลบให้สะอาดก่อน จึงระบายวงใหม่
• ห้ามขีดเขียนสิ่งอื่นใดนอกเหนือจากที่ระบุไว้
ระดับคุณภาพ
คะแนน
เต็ม
เกณฑ์คะแนน
ผ่าน
คะแนนที่
ได้
ระดับ
คุณภาพ
4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8
10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน
ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน
ก่อน
หน้า 15
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
เรื่องที่ 1 การจัดหมวดหมู่หนังสือ
1. ความหมายของการจัดหมวดหมู่หนังสือ
การจัดหมวดหมู่หนังสือ หมายถึง การจัดหนังสือที่มีเนื้อเรื่องคล้ายกันไว้ด้วยกัน โดยกำหนดสัญลักษณ์
แทนเนื้อหาของหนังสือแต่ละประเภท เพื่อเป็นเครื่องหมายระบุตำแหน่งของหนังสือ
การจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศอย่างง่าย
2. ความสำคัญของการจัดหมวดหมู่หนังสือ
1. ผู้ใช้และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดสามารถค้นหาและจัดเก็บหนังสือที่ต้องการได้ง่ายและประหยัดเวลา
2. หนังสือที่มีเนื้อหาวิชาเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันจะรวมอยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน
3. เมื่อมีหนังสือใหม่ก็สามารถจัดหมวดหมู่ แล้วนำออกขึ้นชั้นรวมกับหนังสือที่มีอยู่ก่อนแล้วเพื่อให้บริการ
ได้อย่างรวดเร็ว
3. ประโยชน์ของการจัดหมวดหมู่หนังสือ
1. หนังสือแต่ละเล่มจะมีสัญลักษณ์แทนเนื้อหาของหนังสือ
2. ช่วยให้ผู้ใช้มีโอกาสเลือกหนังสือได้หลากหลายขึ้น เนื่องจากหนังสือที่เนื้อหาคล้ายกันวางอยู่ใกล้ ๆ กัน
3. หนังสือชุดเรียงต่อกัน ทำให้อ่านได้ครบชุดสมบูรณ์
4. หนังสือที่มีลักษณะคำประพันธ์แบบเดียวกันจะอยู่ใกล้กัน
5. เพิ่มประสิทธิภาพในการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด ช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาหนังสือได้อย่าง
สะดวก รวดเร็ว และประหยัดเวลา เจ้าหน้าที่ก็สามารถจัดเก็บเข้าที่ได้ถูกต้อง รวดเร็ว
6. ช่วยให้รู้จำนวนหนังสือแต่ละสาขาวิชาคร่าว ๆ ว่ามีจำนวนมากน้อยเท่าใด เพื่อให้จัดหาเพิ่มเติมได้
เหมาะสม
1. แยกตามประเภทของวัสดุ (หนังสือ, วารสาร,ฯลฯ)
2. แยกตามภาษา (ภาษาไทย, ภาษาต่างประเทศ)
3. จัดหมวดหมู่ตามความเหมาะสมแต่ละประเภทสื่อ
ทำไมต้องมีการจัดหมวดหมู่หนังสือ ? แล้วน้อง ๆ คิดว่าจะจัดหมวดหมู่
หนังสือยังไงดี ?
หน้า 16
แบบฝึกหัดที่ 3.1
ระบบทศนิยมดิวอี้ มีอะไรบ้าง ??
คำชี้แจง ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตว่าการจัดหมวดหมู่หนังสือในระบบทศนิยมดิวอี้แบ่งออกเป็น
หมวดหมู่อะไรบ้าง ตามสัญลักษณ์ทั้ง 10 หมวดหมู่
ชื่อ - นามสกุล ชั้น เลขที่
เลขหมู่ ชื่อหมวดหมู่
000
100
200
300
400
500
600
700
800
900
ระดับคุณภาพ
คะแนน
เต็ม
เกณฑ์คะแนน
ผ่าน
คะแนนที่
ได้
ระดับ
คุณภาพ
4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8
10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน
ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน
หน้า 17
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
เรื่องที่ 2 ระบบทศนิยมดิวอี้
1. ระบบการจัดหมวดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้
การจัดหมวดหมู่หนังสือในระบบทศนิยมดิวอี้คิดค้นโดย เมลวิล ดิวอี้ (Mevil Dewey) บรรณารักษ์
และนักการศึกษาชาวอเมริกัน โดยแบ่งเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ออกเป็น 10 หมวดหมู่ และใช้ตัวเลขสามหลักเป็น
สัญลักษณ์ในการแบ่งหมวดหมู่ ระบบทศนิยมดิวอี้เหมาะสำหรับห้องสมุดขนาดเล็กและขนาดกลาง นิยมใช้ใน
ห้องสมุดโรงเรียนและห้องสมุดประชาชน
2. การแบ่งหมวดหมู่ในระบบทศนิยมดิวอี้
๏ ใช้ตัวเลขสามหลักเป็นสัญลักษณ์ในการแบ่งหมวดใหญ่ เป็น 10 หมวดใหญ่
๏ แต่ละหมวดใหญ่แบ่งออกเป็น 10 หมวดย่อย
๏ แต่ละหมวดย่อยแบ่งออกเป็น 10 หมู่
๏ ในแต่ละหมู่แบ่งออกเป็นหมู่ย่อย โดยใช้จุดทศนิยม
การกระจายตัวเลขในระบบทศนิยมดิวอี้
000
100
200
300
400
500
600
700
800
900
300
310
320
330
340
350
360
370
380
390
370
371
372
373
374
375
376
377
378
379
378.1
378.12
378.134
378.2
หมวดใหญ่ หมวด หมู่ หมู่ย่อย
หน้า 18
3. หมวดหมู่ใหญ่ในระบบทศนิยมดิวอี้
หมวด 100 แทน ปรัชญา จิตวิทยา
หมวด 200 แทน ศาสนา
หมวด 300 แทน สังคมศาสตร์
หมวด 400 แทน ภาษาศาสตร์
หมวด 500 แทน วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
หมวด 600 แทน เทคโนโลยี สุขภาพ เกษตรกรรม คหกรรม
หมวด 700 แทน ศิลปะและการแสดง ดนตรี กีฬา งานประดิษฐ์
หมวด 800 แทน วรรณคดี
หมวด 900 แทน ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การท่องเที่ยว และชีวประวัติ
หมวด 000 แทน ทั่วไปหรือเบ็ดเตล็ด คอมพิวเตอร์ บรรณารักษ์ ห้องสมุด
ท่องจำให้แม่น ๆ นะ
เด็ก ๆ
หน้า 19
แบบฝึกหัดที่ 3.2
จับคู่ดิวอี้แสนสนุก
คำชี้แจง ให้นักเรียนจับคู่เลขหมู่หนังสือในระบบทศนิยมดิวอี้ กับ ชื่อหนังสือต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
ชื่อ - นามสกุล ชั้น เลขที่
เลขหมู่ ชื่อหนังสือ
000   จิตสงบพบธรรมะ
200   เทคนิคฟุตบอลนอกสนาม
900   7 สิ่งมหัศจรรย์โลกยุคใหม่
700   ฟัง พูด เกาหลีง่ายนิดเดียว
400   ไกรทอง
500   ชาติไทยในอดีต
100   10 การทดลองวิทย์ในครัว
300   กลไกหุ่นยนต์ล้ำโลก
600   ประเพณีไทย 4 ภาค
800   จิตวิทยาวัยรุ่น
ระดับคุณภาพ
คะแนน
เต็ม
เกณฑ์คะแนน
ผ่าน
คะแนนที่
ได้
ระดับ
คุณภาพ
4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8
10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน
ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน
หน้า 20
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
เรื่องที่ 3 การเรียงหนังสือขึ้นชั้น
1. เลขเรียกหนังสือ (Call Number)
เลขเรียกหนังสือ คือ สัญลักษณ์ที่ห้องสมุดกำหนดให้กับหนังสือแต่ละเล่ม ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2
ส่วน คือ
ปรากฏอยู่บริเวณสันหนังสือ เช่น
2. การจัดเรียงชั้นหนังสือ
1. หนังสือภาษาไทยจัดเรียงแยกจากหนังสือภาษาอังกฤษ
2. ถ้าหนังสือภาษาไทยปนอยู่กับหนังสือภาษาอังกฤษให้จัดเรียงหนังสือภาษาไทยก่อนหนังสือ
ภาษาอังกฤษ
3. เรียงหนังสือบนชั้นจากซ้ายไปขวา และจากบนลงล่าง
4. เรียงหนังสือตามลำดับเลขเรียกหนังสือเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก เช่น
200 >> 210 >> 220 >> 230
5. ถ้าหนังสือหลายเล่มมีเลขหมู่ซ้ำกัน ให้เรียงอันดับอักษรย่อของชื่อผู้แต่งใต้เลขหมู่ตามลำดับตัวอักษร
เช่น
เลขหมู่
หนังสือ
เลข
ผู้แต่ง
เลขเรียก
หนังสือ
710 710 710 710
ก114ค ว214ป ส114ข ห121จ
398.2
ท63ม
2560
ล.1 ฉ.2
เลขหมู่
เลขผู้แต่ง
ปีที่พิมพ์
ลักษณะพิเศษ
เลขเรียกหนังสือ
หน้า 21
6. ถ้าหนังสือหลายเล่มมีเลขหมู่ซ้ำกัน อักษรย่อชื่อผู้แต่งซ้ำกัน ให้เรียงเลขประจำตัวผู้แต่ง
7. ถ้าเลขหมู่เหมือนกัน ชื่อผู้แต่ง เลขผู้แต่งเหมือนกัน ให้เรียงตามลำดับชื่อเรื่อง
สรุปวิธีการเรียงหนังสือขึ้นชั้น
เลขหมู่ ตัวอักษรผู้แต่ง เลขผู้แต่ง ตัวอักษรชื่อเรื่อง
520 520 520 520
ม122จ ม431จ ม563จ ม695จ
594.3 594.3 594.3 594.3
พ82ก พ82จ พ82บ พ82อ
หน้า 22
แบบฝึกหัดที่ 3.3
เรียงหนังสือง่าย ๆ ไม่สับสน
คำชี้แจง ให้นักเรียนเรียงเลขเรียกหนังสือต่อไปนี้ ตามหลักเกณฑ์การเรียงหนังสือบนชั้นหนังสือ
ข้อ เบอร์ 1 เบอร์ 2 เบอร์ 3 เบอร์ 4
ตัวอย่าง 100
จ436ก
624
ณ125อ
810
บ235ก
524
น238น
ตอบ 1 – 4 – 2 – 3
ชื่อ - นามสกุล ชั้น เลขที่
ข้อ เบอร์ 1 เบอร์ 2 เบอร์ 3 เบอร์ 4
1 241
จ436ก
420
ณ125อ
123
บ235ก
420
น238น
ตอบ
2 495
ค253ด
423
ก254พ
486
ห365อ
444
ป254ข
ตอบ
3 954.5
ย254ก
954.7
ศ254ข
954.32
ป324ฟ
956
ถ254ข
ตอบ
4 177.6
ย235พ
177.6
พ654ก
177.6
ส255ห
177.6
ษ254ช
ตอบ
5 500
ก254ห
500
ข231ป
500
ก254ช
500
ข231ง
ตอบ
ระดับคุณภาพ
คะแนน
เต็ม
เกณฑ์คะแนน
ผ่าน
คะแนนที่
ได้
ระดับ
คุณภาพ
4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8
10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน
ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน
หน้า 23
แบบทดสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านโจทย์คำถามและพิจารณาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดในแต่ละข้อ แล้วระบายคำตอบที่
ถูกต้องด้วยดินสอ 2B ลงในวงกลมตัวเลือก  ในกระดาษคำตอบในหน้าถัดไป
1. เด็กหญิงปลาทองต้องการเรียนภาษาเกาหลีเพื่อ
เอาไปคุยกับอปป้า เด็กหญิงปลาทองต้องไปหา
หนังสือที่หมวดหมู่ใด
ก. 800
ข. 400
ค. 200
ง. 100
2. เลขผู้แต่งข้อใดอยู่ในลำดับท้ายสุด
ก. ฟ456ต
ข. ฮ745ญ
ค. ก368ข
ง. พ214ก
3. ข้อใดคือหนังสือในหมวด 900
ก. เล่นหุ้นไม่ยาก
ข. ประดิษฐ์กระทงใบตอง
ค. เรียนภาษาอังกฤษง่ายนิดเดียว
ง. ประวัติศาสตร์ชาติไทย
4. ข้อใดคือประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของการจัด
หมวดหมู่หนังสือ
ก. ทำให้ค้นหาหนังสือได้ง่าย
ข. ทำให้จัดหนังสือได้มีระเบียบ
ค. ทำให้ทราบจำนวนหนังสือ
ง. ทำให้หนังสือมีสัญลักษณ์แทนเนื้อหา
5. หนังสือเกี่ยวกับฟุตบอลอยู่ในหมวดใด
ก. 900
ข. 200
ค. 700
ง. 000
6. ข้อใดคือวัตถุประสงค์หลักของการจัดหมวดหมู่
หนังสือ
ก. เพื่อให้หนังสือที่เนื้อหาคล้ายกันอยู่
ด้วยกัน จะได้ค้นหาได้ง่าย
ข. เพื่อให้หนังสือเป็นระเบียบสวยงาม
ค. เพื่อให้จัดเก็บหนังสือได้
ง. เพื่อให้หนังสือมีที่อยู่แน่นอน
7. เลขหมู่หนังสือข้อใดมาก่อนเลขหมู่หนังสือข้ออื่น
ก. 123.44
ข. 123.401
ค. 123.4
ง. 123.04
8. ระบบทศนิยมดิวอี้แบ่งออกเป็นกี่หมวดใหญ่
ก. 10 หมวด
ข. 20 หมวด
ค. 9 หมวด
ง. 5 หมวด
9. หากนักเรียนต้องการหาหนังสือเกี่ยวกับวิทยา-
ศาสตร์ ต้องค้นหาที่หมวดใด
ก. 600
ข. 200
ค. 300
ง. 500
10. หนังสือเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าอยู่ในหมวดหมู่ใด
ก. 100
ข. 200
ค. 300
ง. 400
หน้า 24
กระดาษคำตอบ
แบบทดสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนชื่อ - นามสกุล ชั้น และเลขที่ลงในช่องว่างของกระดาษคำตอบ และระบายตัวเลือก
ที่ถูกต้องที่สุดในแต่ละข้อด้วยดินสอ 2B ลงในวงกลมตัวเลือก  ในกระดาษคำตอบ
คำแนะนำ
• ใช้ดินสอดำ 2B เท่านั้น ระบายวงกลมทุกวงที่ต้องการให้ดำเต็มวง
• ถ้าต้องการแก้ไข ให้ใช้ยางลบลบให้สะอาดก่อน จึงระบายวงใหม่
• ห้ามขีดเขียนสิ่งอื่นใดนอกเหนือจากที่ระบุไว้
ระดับคุณภาพ
คะแนน
เต็ม
เกณฑ์คะแนน
ผ่าน
คะแนนที่
ได้
ระดับ
คุณภาพ
4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8
10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน
ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน
หลัง
หน้า 25

More Related Content

What's hot

เฉลยแบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docx
เฉลยแบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docxเฉลยแบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docx
เฉลยแบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docx
Supaporn Khiewwan
 
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุด
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุดความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุด
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุด
พัน พัน
 
LibJu - 3.1 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
LibJu - 3.1 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือLibJu - 3.1 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
LibJu - 3.1 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
Ploykarn Lamdual
 
LibJu - 1.3 งานบริการห้องสมุด
LibJu - 1.3 งานบริการห้องสมุดLibJu - 1.3 งานบริการห้องสมุด
LibJu - 1.3 งานบริการห้องสมุด
Ploykarn Lamdual
 
แบบทดสอบ เลขเรียกหนังสือ
แบบทดสอบ เลขเรียกหนังสือแบบทดสอบ เลขเรียกหนังสือ
แบบทดสอบ เลขเรียกหนังสือ
Supaporn Khiewwan
 
แผนการจัดการาเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการาเรียนรู้ที่  1แผนการจัดการาเรียนรู้ที่  1
แผนการจัดการาเรียนรู้ที่ 1kruruttika
 
การเรียงหนังสือบนชั้นเนื้อหา
การเรียงหนังสือบนชั้นเนื้อหาการเรียงหนังสือบนชั้นเนื้อหา
การเรียงหนังสือบนชั้นเนื้อหาkrujee
 
LibJu - 1.2 ประเภทของห้องสมุด
LibJu - 1.2 ประเภทของห้องสมุดLibJu - 1.2 ประเภทของห้องสมุด
LibJu - 1.2 ประเภทของห้องสมุด
Ploykarn Lamdual
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่   2แผนการจัดการเรียนรู้ที่   2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2kruruttika
 
แบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docx
แบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docxแบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docx
แบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docx
Supaporn Khiewwan
 
วิชางานห้องสมุด
วิชางานห้องสมุดวิชางานห้องสมุด
วิชางานห้องสมุด25462554
 
ส่วนประกอบหนังสือและสิ่งพิมพ์
ส่วนประกอบหนังสือและสิ่งพิมพ์ส่วนประกอบหนังสือและสิ่งพิมพ์
ส่วนประกอบหนังสือและสิ่งพิมพ์krujee
 
3.1 การจัดหมวดหมู่ห้องสมุด classification
3.1 การจัดหมวดหมู่ห้องสมุด classification3.1 การจัดหมวดหมู่ห้องสมุด classification
3.1 การจัดหมวดหมู่ห้องสมุด classification
Ploykarn Lamdual
 
2.1 ทรัพยากรสารสนเทศ Library material
2.1 ทรัพยากรสารสนเทศ Library material2.1 ทรัพยากรสารสนเทศ Library material
2.1 ทรัพยากรสารสนเทศ Library material
Ploykarn Lamdual
 
เฉลยแบบทดสอบหนังสือเลขเรียกหนังสือ
เฉลยแบบทดสอบหนังสือเลขเรียกหนังสือเฉลยแบบทดสอบหนังสือเลขเรียกหนังสือ
เฉลยแบบทดสอบหนังสือเลขเรียกหนังสือ
Supaporn Khiewwan
 
เลขเรียกหนังสือ.Ppt
เลขเรียกหนังสือ.Pptเลขเรียกหนังสือ.Ppt
เลขเรียกหนังสือ.Ppt
Supaporn Khiewwan
 
เฉลยแบบฝึกหัดทรัพยากรสารสนเทศ
เฉลยแบบฝึกหัดทรัพยากรสารสนเทศเฉลยแบบฝึกหัดทรัพยากรสารสนเทศ
เฉลยแบบฝึกหัดทรัพยากรสารสนเทศ
Supaporn Khiewwan
 
เฉลยแบบฝึกหัดหนังสืออ้างอิง
เฉลยแบบฝึกหัดหนังสืออ้างอิงเฉลยแบบฝึกหัดหนังสืออ้างอิง
เฉลยแบบฝึกหัดหนังสืออ้างอิง
Supaporn Khiewwan
 
3.2 การจัดหมวดหมู่ในระบบทศนิยมดิวอี้ dewey classification
3.2 การจัดหมวดหมู่ในระบบทศนิยมดิวอี้ dewey classification3.2 การจัดหมวดหมู่ในระบบทศนิยมดิวอี้ dewey classification
3.2 การจัดหมวดหมู่ในระบบทศนิยมดิวอี้ dewey classification
Ploykarn Lamdual
 
เฉลยแบบฝึกหัดทรัพยากรสารนิเทศ ม.4 2560
เฉลยแบบฝึกหัดทรัพยากรสารนิเทศ ม.4 2560เฉลยแบบฝึกหัดทรัพยากรสารนิเทศ ม.4 2560
เฉลยแบบฝึกหัดทรัพยากรสารนิเทศ ม.4 2560
Supaporn Khiewwan
 

What's hot (20)

เฉลยแบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docx
เฉลยแบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docxเฉลยแบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docx
เฉลยแบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docx
 
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุด
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุดความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุด
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุด
 
LibJu - 3.1 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
LibJu - 3.1 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือLibJu - 3.1 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
LibJu - 3.1 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
 
LibJu - 1.3 งานบริการห้องสมุด
LibJu - 1.3 งานบริการห้องสมุดLibJu - 1.3 งานบริการห้องสมุด
LibJu - 1.3 งานบริการห้องสมุด
 
แบบทดสอบ เลขเรียกหนังสือ
แบบทดสอบ เลขเรียกหนังสือแบบทดสอบ เลขเรียกหนังสือ
แบบทดสอบ เลขเรียกหนังสือ
 
แผนการจัดการาเรียนรู้ที่ 1
แผนการจัดการาเรียนรู้ที่  1แผนการจัดการาเรียนรู้ที่  1
แผนการจัดการาเรียนรู้ที่ 1
 
การเรียงหนังสือบนชั้นเนื้อหา
การเรียงหนังสือบนชั้นเนื้อหาการเรียงหนังสือบนชั้นเนื้อหา
การเรียงหนังสือบนชั้นเนื้อหา
 
LibJu - 1.2 ประเภทของห้องสมุด
LibJu - 1.2 ประเภทของห้องสมุดLibJu - 1.2 ประเภทของห้องสมุด
LibJu - 1.2 ประเภทของห้องสมุด
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่   2แผนการจัดการเรียนรู้ที่   2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
 
แบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docx
แบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docxแบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docx
แบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docx
 
วิชางานห้องสมุด
วิชางานห้องสมุดวิชางานห้องสมุด
วิชางานห้องสมุด
 
ส่วนประกอบหนังสือและสิ่งพิมพ์
ส่วนประกอบหนังสือและสิ่งพิมพ์ส่วนประกอบหนังสือและสิ่งพิมพ์
ส่วนประกอบหนังสือและสิ่งพิมพ์
 
3.1 การจัดหมวดหมู่ห้องสมุด classification
3.1 การจัดหมวดหมู่ห้องสมุด classification3.1 การจัดหมวดหมู่ห้องสมุด classification
3.1 การจัดหมวดหมู่ห้องสมุด classification
 
2.1 ทรัพยากรสารสนเทศ Library material
2.1 ทรัพยากรสารสนเทศ Library material2.1 ทรัพยากรสารสนเทศ Library material
2.1 ทรัพยากรสารสนเทศ Library material
 
เฉลยแบบทดสอบหนังสือเลขเรียกหนังสือ
เฉลยแบบทดสอบหนังสือเลขเรียกหนังสือเฉลยแบบทดสอบหนังสือเลขเรียกหนังสือ
เฉลยแบบทดสอบหนังสือเลขเรียกหนังสือ
 
เลขเรียกหนังสือ.Ppt
เลขเรียกหนังสือ.Pptเลขเรียกหนังสือ.Ppt
เลขเรียกหนังสือ.Ppt
 
เฉลยแบบฝึกหัดทรัพยากรสารสนเทศ
เฉลยแบบฝึกหัดทรัพยากรสารสนเทศเฉลยแบบฝึกหัดทรัพยากรสารสนเทศ
เฉลยแบบฝึกหัดทรัพยากรสารสนเทศ
 
เฉลยแบบฝึกหัดหนังสืออ้างอิง
เฉลยแบบฝึกหัดหนังสืออ้างอิงเฉลยแบบฝึกหัดหนังสืออ้างอิง
เฉลยแบบฝึกหัดหนังสืออ้างอิง
 
3.2 การจัดหมวดหมู่ในระบบทศนิยมดิวอี้ dewey classification
3.2 การจัดหมวดหมู่ในระบบทศนิยมดิวอี้ dewey classification3.2 การจัดหมวดหมู่ในระบบทศนิยมดิวอี้ dewey classification
3.2 การจัดหมวดหมู่ในระบบทศนิยมดิวอี้ dewey classification
 
เฉลยแบบฝึกหัดทรัพยากรสารนิเทศ ม.4 2560
เฉลยแบบฝึกหัดทรัพยากรสารนิเทศ ม.4 2560เฉลยแบบฝึกหัดทรัพยากรสารนิเทศ ม.4 2560
เฉลยแบบฝึกหัดทรัพยากรสารนิเทศ ม.4 2560
 

Similar to ใบความรู้วิชาห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ 2

ทรัพยากรสารสนเทศ
ทรัพยากรสารสนเทศทรัพยากรสารสนเทศ
ทรัพยากรสารสนเทศอิ่' เฉิ่ม
 
ใบงานที่ 2.1.doc
ใบงานที่ 2.1.docใบงานที่ 2.1.doc
ใบงานที่ 2.1.doc
NatakarnSuwanmanee1
 
ชุดที่3 เล่ม2 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่3 เล่ม2 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...ชุดที่3 เล่ม2 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่3 เล่ม2 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...sornordon
 
ส่วนประกอบหนังสือวารสารและหนังสือพิมพ์
ส่วนประกอบหนังสือวารสารและหนังสือพิมพ์ส่วนประกอบหนังสือวารสารและหนังสือพิมพ์
ส่วนประกอบหนังสือวารสารและหนังสือพิมพ์
Supaporn Khiewwan
 
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ (Introductory Stories)
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ (Introductory Stories)แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ (Introductory Stories)
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ (Introductory Stories)
Sommawan Keawsangthongcharoen
 
ทัศนธาตุ นวัตกรรมเล่ม 2 ส่งเผยแพร่
ทัศนธาตุ นวัตกรรมเล่ม 2 ส่งเผยแพร่ทัศนธาตุ นวัตกรรมเล่ม 2 ส่งเผยแพร่
ทัศนธาตุ นวัตกรรมเล่ม 2 ส่งเผยแพร่
Nichakorn Sengsui
 
8. ภาษาอังกฤษ
8. ภาษาอังกฤษ8. ภาษาอังกฤษ
8. ภาษาอังกฤษnang_phy29
 
เอกสารประกอบการเรียนการสอน2
เอกสารประกอบการเรียนการสอน2เอกสารประกอบการเรียนการสอน2
เอกสารประกอบการเรียนการสอน2Pak Ubss
 
งานนำเสนอบทที่7
งานนำเสนอบทที่7งานนำเสนอบทที่7
งานนำเสนอบทที่7amphaiboon
 
งานนำเสนอบทที่7
งานนำเสนอบทที่7งานนำเสนอบทที่7
งานนำเสนอบทที่7sawitri555
 
แผน GPAS 5 STEP แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 วัฒนธรรมไทย PA 66 PLC.pdf
แผน GPAS 5 STEP แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 วัฒนธรรมไทย PA 66 PLC.pdfแผน GPAS 5 STEP แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 วัฒนธรรมไทย PA 66 PLC.pdf
แผน GPAS 5 STEP แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 วัฒนธรรมไทย PA 66 PLC.pdf
ssuser6a0d4f
 
I 30291 หน่วย1 เรื่อง 3 ทรัพยากรสารสนเทศ
I 30291  หน่วย1 เรื่อง 3 ทรัพยากรสารสนเทศI 30291  หน่วย1 เรื่อง 3 ทรัพยากรสารสนเทศ
I 30291 หน่วย1 เรื่อง 3 ทรัพยากรสารสนเทศK-Vi Wijittra
 
ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 2
ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 2ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 2
ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 2
โรงเรียนมหาธิคุณวิทยา
 
ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 2
ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 2ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 2
ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 2
โรงเรียนมหาธิคุณวิทยา
 
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2Napadon Yingyongsakul
 
รายงานผลการปฏิบัติงานและการประเมินตนเองTeacher Self Assessment Report : T-SAR...
รายงานผลการปฏิบัติงานและการประเมินตนเองTeacher Self Assessment Report : T-SAR...รายงานผลการปฏิบัติงานและการประเมินตนเองTeacher Self Assessment Report : T-SAR...
รายงานผลการปฏิบัติงานและการประเมินตนเองTeacher Self Assessment Report : T-SAR...
KruKaiNui
 
Supervision in the classroom
Supervision in the classroomSupervision in the classroom
Supervision in the classroom
peter dontoom
 
Supervision in the classroom
Supervision in the classroomSupervision in the classroom
Supervision in the classroom
peter dontoom
 

Similar to ใบความรู้วิชาห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ 2 (20)

ทรัพยากรสารสนเทศ
ทรัพยากรสารสนเทศทรัพยากรสารสนเทศ
ทรัพยากรสารสนเทศ
 
ใบงานที่ 2.1.doc
ใบงานที่ 2.1.docใบงานที่ 2.1.doc
ใบงานที่ 2.1.doc
 
ชุดที่3 เล่ม2 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่3 เล่ม2 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...ชุดที่3 เล่ม2 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
ชุดที่3 เล่ม2 เทคนิค วิธีการและสื่อ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียน...
 
ส่วนประกอบหนังสือวารสารและหนังสือพิมพ์
ส่วนประกอบหนังสือวารสารและหนังสือพิมพ์ส่วนประกอบหนังสือวารสารและหนังสือพิมพ์
ส่วนประกอบหนังสือวารสารและหนังสือพิมพ์
 
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ (Introductory Stories)
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ (Introductory Stories)แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ (Introductory Stories)
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ (Introductory Stories)
 
ทัศนธาตุ นวัตกรรมเล่ม 2 ส่งเผยแพร่
ทัศนธาตุ นวัตกรรมเล่ม 2 ส่งเผยแพร่ทัศนธาตุ นวัตกรรมเล่ม 2 ส่งเผยแพร่
ทัศนธาตุ นวัตกรรมเล่ม 2 ส่งเผยแพร่
 
8. ภาษาอังกฤษ
8. ภาษาอังกฤษ8. ภาษาอังกฤษ
8. ภาษาอังกฤษ
 
เอกสารประกอบการเรียนการสอน2
เอกสารประกอบการเรียนการสอน2เอกสารประกอบการเรียนการสอน2
เอกสารประกอบการเรียนการสอน2
 
งานนำเสนอบทที่7
งานนำเสนอบทที่7งานนำเสนอบทที่7
งานนำเสนอบทที่7
 
งานนำเสนอบทที่7
งานนำเสนอบทที่7งานนำเสนอบทที่7
งานนำเสนอบทที่7
 
Krathong5
Krathong5Krathong5
Krathong5
 
แผน GPAS 5 STEP แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 วัฒนธรรมไทย PA 66 PLC.pdf
แผน GPAS 5 STEP แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 วัฒนธรรมไทย PA 66 PLC.pdfแผน GPAS 5 STEP แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 วัฒนธรรมไทย PA 66 PLC.pdf
แผน GPAS 5 STEP แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 วัฒนธรรมไทย PA 66 PLC.pdf
 
I 30291 หน่วย1 เรื่อง 3 ทรัพยากรสารสนเทศ
I 30291  หน่วย1 เรื่อง 3 ทรัพยากรสารสนเทศI 30291  หน่วย1 เรื่อง 3 ทรัพยากรสารสนเทศ
I 30291 หน่วย1 เรื่อง 3 ทรัพยากรสารสนเทศ
 
ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 2
ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 2ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 2
ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 2
 
ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 2
ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 2ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 2
ผลการดำเนินงานจุดเน้นที่ 2
 
แผนที่ 1
แผนที่ 1แผนที่ 1
แผนที่ 1
 
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
ชุดที่1เตรียมความพร้อม เล่ม2
 
รายงานผลการปฏิบัติงานและการประเมินตนเองTeacher Self Assessment Report : T-SAR...
รายงานผลการปฏิบัติงานและการประเมินตนเองTeacher Self Assessment Report : T-SAR...รายงานผลการปฏิบัติงานและการประเมินตนเองTeacher Self Assessment Report : T-SAR...
รายงานผลการปฏิบัติงานและการประเมินตนเองTeacher Self Assessment Report : T-SAR...
 
Supervision in the classroom
Supervision in the classroomSupervision in the classroom
Supervision in the classroom
 
Supervision in the classroom
Supervision in the classroomSupervision in the classroom
Supervision in the classroom
 

More from Ploykarn Lamdual

หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 4 คำวิเศษณ์ ป.4.pdf
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 4  คำวิเศษณ์ ป.4.pdfหน่วยที่ 4 เรื่องที่ 4  คำวิเศษณ์ ป.4.pdf
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 4 คำวิเศษณ์ ป.4.pdf
Ploykarn Lamdual
 
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 1 คำนาม ป.4.pdf
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 1 คำนาม ป.4.pdfหน่วยที่ 4 เรื่องที่ 1 คำนาม ป.4.pdf
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 1 คำนาม ป.4.pdf
Ploykarn Lamdual
 
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 3 คำกริยา ป.4.pdf
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 3  คำกริยา ป.4.pdfหน่วยที่ 4 เรื่องที่ 3  คำกริยา ป.4.pdf
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 3 คำกริยา ป.4.pdf
Ploykarn Lamdual
 
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 2 คำสรรพนาม ป.4.pdf
หน่วยที่ 4 เรื่องที่  2 คำสรรพนาม ป.4.pdfหน่วยที่ 4 เรื่องที่  2 คำสรรพนาม ป.4.pdf
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 2 คำสรรพนาม ป.4.pdf
Ploykarn Lamdual
 
วิธีทำ Liveworksheets
วิธีทำ Liveworksheetsวิธีทำ Liveworksheets
วิธีทำ Liveworksheets
Ploykarn Lamdual
 
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 งานธุรกิจ
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 งานธุรกิจบทที่ 1 เรื่องที่ 1 งานธุรกิจ
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 งานธุรกิจ
Ploykarn Lamdual
 
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 การออกแบบงานประดิษฐ์
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 การออกแบบงานประดิษฐ์บทที่ 1 เรื่องที่ 1 การออกแบบงานประดิษฐ์
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 การออกแบบงานประดิษฐ์
Ploykarn Lamdual
 
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 ความหมายและประเภทของของชำร่วย
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 ความหมายและประเภทของของชำร่วยบทที่ 1 เรื่องที่ 1 ความหมายและประเภทของของชำร่วย
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 ความหมายและประเภทของของชำร่วย
Ploykarn Lamdual
 
เอกสารประกอบการสอนงานประดิษฐ์ดอกไม้
เอกสารประกอบการสอนงานประดิษฐ์ดอกไม้เอกสารประกอบการสอนงานประดิษฐ์ดอกไม้
เอกสารประกอบการสอนงานประดิษฐ์ดอกไม้
Ploykarn Lamdual
 
LibJu - 4.2 cyberbullying
LibJu - 4.2 cyberbullyingLibJu - 4.2 cyberbullying
LibJu - 4.2 cyberbullying
Ploykarn Lamdual
 
LibJu - 4.3 การเขียนบรรณานุกรม
LibJu - 4.3 การเขียนบรรณานุกรมLibJu - 4.3 การเขียนบรรณานุกรม
LibJu - 4.3 การเขียนบรรณานุกรม
Ploykarn Lamdual
 
LibJu - 3.3 ทบทวนบทที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
LibJu - 3.3 ทบทวนบทที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือLibJu - 3.3 ทบทวนบทที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
LibJu - 3.3 ทบทวนบทที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
Ploykarn Lamdual
 
LibJu - 3.2 ระบบทศนิยมดิวอี้
LibJu - 3.2 ระบบทศนิยมดิวอี้LibJu - 3.2 ระบบทศนิยมดิวอี้
LibJu - 3.2 ระบบทศนิยมดิวอี้
Ploykarn Lamdual
 
LibJu - 2.2 การประเมินค่าสารสนเทศ
LibJu - 2.2 การประเมินค่าสารสนเทศLibJu - 2.2 การประเมินค่าสารสนเทศ
LibJu - 2.2 การประเมินค่าสารสนเทศ
Ploykarn Lamdual
 
LibJu - 2.3 แหล่งสารสนเทศ
LibJu - 2.3 แหล่งสารสนเทศLibJu - 2.3 แหล่งสารสนเทศ
LibJu - 2.3 แหล่งสารสนเทศ
Ploykarn Lamdual
 
วิธีการเข้าชั้นเรียน Google Classroom
วิธีการเข้าชั้นเรียน Google Classroomวิธีการเข้าชั้นเรียน Google Classroom
วิธีการเข้าชั้นเรียน Google Classroom
Ploykarn Lamdual
 
วิธีส่งงานด้วยรูปภาพใน Google Classroom
วิธีส่งงานด้วยรูปภาพใน Google Classroomวิธีส่งงานด้วยรูปภาพใน Google Classroom
วิธีส่งงานด้วยรูปภาพใน Google Classroom
Ploykarn Lamdual
 
Craft - Doodle Arts
Craft - Doodle ArtsCraft - Doodle Arts
Craft - Doodle Arts
Ploykarn Lamdual
 
Craft - ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประดิษฐ์วัสดุเหลือใช้
Craft - ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประดิษฐ์วัสดุเหลือใช้Craft - ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประดิษฐ์วัสดุเหลือใช้
Craft - ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประดิษฐ์วัสดุเหลือใช้
Ploykarn Lamdual
 
Printing - ระบบการพิมพ์
Printing - ระบบการพิมพ์Printing - ระบบการพิมพ์
Printing - ระบบการพิมพ์
Ploykarn Lamdual
 

More from Ploykarn Lamdual (20)

หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 4 คำวิเศษณ์ ป.4.pdf
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 4  คำวิเศษณ์ ป.4.pdfหน่วยที่ 4 เรื่องที่ 4  คำวิเศษณ์ ป.4.pdf
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 4 คำวิเศษณ์ ป.4.pdf
 
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 1 คำนาม ป.4.pdf
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 1 คำนาม ป.4.pdfหน่วยที่ 4 เรื่องที่ 1 คำนาม ป.4.pdf
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 1 คำนาม ป.4.pdf
 
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 3 คำกริยา ป.4.pdf
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 3  คำกริยา ป.4.pdfหน่วยที่ 4 เรื่องที่ 3  คำกริยา ป.4.pdf
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 3 คำกริยา ป.4.pdf
 
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 2 คำสรรพนาม ป.4.pdf
หน่วยที่ 4 เรื่องที่  2 คำสรรพนาม ป.4.pdfหน่วยที่ 4 เรื่องที่  2 คำสรรพนาม ป.4.pdf
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 2 คำสรรพนาม ป.4.pdf
 
วิธีทำ Liveworksheets
วิธีทำ Liveworksheetsวิธีทำ Liveworksheets
วิธีทำ Liveworksheets
 
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 งานธุรกิจ
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 งานธุรกิจบทที่ 1 เรื่องที่ 1 งานธุรกิจ
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 งานธุรกิจ
 
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 การออกแบบงานประดิษฐ์
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 การออกแบบงานประดิษฐ์บทที่ 1 เรื่องที่ 1 การออกแบบงานประดิษฐ์
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 การออกแบบงานประดิษฐ์
 
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 ความหมายและประเภทของของชำร่วย
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 ความหมายและประเภทของของชำร่วยบทที่ 1 เรื่องที่ 1 ความหมายและประเภทของของชำร่วย
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 ความหมายและประเภทของของชำร่วย
 
เอกสารประกอบการสอนงานประดิษฐ์ดอกไม้
เอกสารประกอบการสอนงานประดิษฐ์ดอกไม้เอกสารประกอบการสอนงานประดิษฐ์ดอกไม้
เอกสารประกอบการสอนงานประดิษฐ์ดอกไม้
 
LibJu - 4.2 cyberbullying
LibJu - 4.2 cyberbullyingLibJu - 4.2 cyberbullying
LibJu - 4.2 cyberbullying
 
LibJu - 4.3 การเขียนบรรณานุกรม
LibJu - 4.3 การเขียนบรรณานุกรมLibJu - 4.3 การเขียนบรรณานุกรม
LibJu - 4.3 การเขียนบรรณานุกรม
 
LibJu - 3.3 ทบทวนบทที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
LibJu - 3.3 ทบทวนบทที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือLibJu - 3.3 ทบทวนบทที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
LibJu - 3.3 ทบทวนบทที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
 
LibJu - 3.2 ระบบทศนิยมดิวอี้
LibJu - 3.2 ระบบทศนิยมดิวอี้LibJu - 3.2 ระบบทศนิยมดิวอี้
LibJu - 3.2 ระบบทศนิยมดิวอี้
 
LibJu - 2.2 การประเมินค่าสารสนเทศ
LibJu - 2.2 การประเมินค่าสารสนเทศLibJu - 2.2 การประเมินค่าสารสนเทศ
LibJu - 2.2 การประเมินค่าสารสนเทศ
 
LibJu - 2.3 แหล่งสารสนเทศ
LibJu - 2.3 แหล่งสารสนเทศLibJu - 2.3 แหล่งสารสนเทศ
LibJu - 2.3 แหล่งสารสนเทศ
 
วิธีการเข้าชั้นเรียน Google Classroom
วิธีการเข้าชั้นเรียน Google Classroomวิธีการเข้าชั้นเรียน Google Classroom
วิธีการเข้าชั้นเรียน Google Classroom
 
วิธีส่งงานด้วยรูปภาพใน Google Classroom
วิธีส่งงานด้วยรูปภาพใน Google Classroomวิธีส่งงานด้วยรูปภาพใน Google Classroom
วิธีส่งงานด้วยรูปภาพใน Google Classroom
 
Craft - Doodle Arts
Craft - Doodle ArtsCraft - Doodle Arts
Craft - Doodle Arts
 
Craft - ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประดิษฐ์วัสดุเหลือใช้
Craft - ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประดิษฐ์วัสดุเหลือใช้Craft - ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประดิษฐ์วัสดุเหลือใช้
Craft - ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประดิษฐ์วัสดุเหลือใช้
 
Printing - ระบบการพิมพ์
Printing - ระบบการพิมพ์Printing - ระบบการพิมพ์
Printing - ระบบการพิมพ์
 

Recently uploaded

ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdfงานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
Prachyanun Nilsook
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 

Recently uploaded (10)

ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
 
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdfงานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
 

ใบความรู้วิชาห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ 2

  • 1. เอกสารประกอบการสอน ชุดที่ 2 รายวิชา ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ง 20201 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ครูผู้สอน นางสาวพลอยกานต์ ลำดวล / นางสาวกนกวรรณ สายหงษ์ทอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพ โรงเรียนสายธรรมจันทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี ชื่อ - นามสกุล....................................................................... ชั้น ม.1/......... เลขที่............
  • 2. หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 มีอะไรให้ห้องสมุด ผลการเรียนรู้ 2. ใช้ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้เพื่อการศึกษาค้นคว้าอย่างเหมาะสม 3. ใช้เครื่องมือสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากสื่อต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. รักการอ่าน รักการเขียน และการศึกษาค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง สาระสำคัญ ทรัพยากรสารสนเทศคือวัสดุที่ใช้ในการบันทึกความรู้ ประสบการณ์ ภูมิปัญญาของมนุษย์ ซึ่งในปัจจุบัน มีเทคโนโลยีและวิธีการในการบันทึกความรู้มากมาย นอกเหนือจากการเขียนหรือการผลิตหนังสือ ทรัพยากร สารสนเทศ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ สารสนเทศตีพิมพ์ สารสนเทศไม่ตีพิมพ์ และสารสนเทศ อิเล็กทรอนิกส์ แหล่งสารสนเทศคือแหล่งกำเนิดหรือรวบรวมข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ความรู้ต่าง ๆ สำหรับ ผู้สนใจ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ บุคคล สื่อมวลชน สถาบันบริการ และอินเทอร์เน็ต สาระการเรียนรู้ เรื่องที่ 1 ทรัพยากรสารสนเทศ เรื่องที่ 2 การประเมินค่าสารสนเทศ เรื่องที่ 3 แหล่งสารสนเทศ หน้า 1
  • 3. แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 มีอะไรในห้องสมุด คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านโจทย์คำถามและพิจารณาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดในแต่ละข้อ แล้วระบายคำตอบที่ ถูกต้องด้วยดินสอ 2B ลงในวงกลมตัวเลือก  ในกระดาษคำตอบในหน้าถัดไป 1. ทรัพยากรสารสนเทศหมายถึงข้อใด ก. หนังสือที่อยู่ในห้องสมุด ข. แหล่งกำเนิดความรู้ของมนุษย์ ค. วัสดุที่บันทึกความรู้ของมนุษย์ ง. ข้อมูลที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต 2. ข้อใดคือสารสนเทศประเภทสิ่งตีพิมพ์ ก. หนังสือพิมพ์ ข. คลิปวิดีโอ ค. แผ่นซีดี ง. รูปถ่าย 3. สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องมีลักษณะแตกต่างจากสิ่งพิมพ์ อื่นอย่างไร ก. มีคนแต่งเพียงคนเดียว ข. ไม่มีหน้าปกหนังสือ ค. อ่านเนื้อหาได้จบในเล่ม ง. มีกำหนดออกเป็นวาระแน่นอน 4. คลิปวิดีโอสอนทำไข่เจียวในเว็บไซต์ยูทูปจัดเป็น ทรัพยากรสารสนเทศประเภทใด ก. สื่อตีพิมพ์ ข. สื่อเคลื่อนไหว ค. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ง. สื่อทัศนวัสดุ 5. ข้อเสียของข้อมูลที่สืบค้นได้จากเว็บไซต์ใน อินเทอร์เน็ตคือข้อใด ก. สืบค้นข้อมูลได้สะดวกทุกที่ทุกเวลา ข. ข้อมูลค้นหาได้ง่าย ค. ข้อมูลมีทั้งข้อความ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ง. ข้อมูลบางอย่างไม่น่าเชื่อถือ 6. ทรัพยากรสารสนเทศข้อใดแตกต่างจากข้ออื่น ก. หนังสือ วารสาร ข. รูปภาพ เทปเสียง ค. ม้วนวิดีโอ แผ่นเสียง ง. หุ่นจำลอง ฟิล์มภาพยนตร์ 7. ทรัพยากรสารสนเทศมีกี่ประเภท ก. 2 ประเภท ข. 3 ประเภท ค. 4 ประเภท ง. 5 ประเภท 8. ทรัพยากรสารสนเทศมีความสำคัญที่สุดอย่างไร ก. ใช้เป็นอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ข. ใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ ค. ใช้เป็นแหล่งความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง ง. ใช้รักษาโรค 9. ข้อใดเป็นแหล่งสารสนเทศประเภทสื่อมวลชน ก. ห้องสมุด ข. พิพิธภัณฑ์ ค. ครูพลอยกานต์ ง. ศูนย์ข้อมูลหนังสือพิมพ์มติชน 10. แหล่งสารสนเทศในข้อใดที่สามารถเก็บข้อมูล สารสนเทศได้อย่างมหาศาล ก. บุคคล ข. อินเทอร์เน็ต ค. ห้องสมุด ง. สื่อมวลชน หน้า 2
  • 4. กระดาษคำตอบ แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 มีอะไรในห้องสมุด คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนชื่อ - นามสกุล ชั้น และเลขที่ลงในช่องว่างของกระดาษคำตอบ และระบายตัวเลือก ที่ถูกต้องที่สุดในแต่ละข้อด้วยดินสอ 2B ลงในวงกลมตัวเลือก  ในกระดาษคำตอบ คำแนะนำ • ใช้ดินสอดำ 2B เท่านั้น ระบายวงกลมทุกวงที่ต้องการให้ดำเต็มวง • ถ้าต้องการแก้ไข ให้ใช้ยางลบลบให้สะอาดก่อน จึงระบายวงใหม่ • ห้ามขีดเขียนสิ่งอื่นใดนอกเหนือจากที่ระบุไว้ ระดับคุณภาพ คะแนน เต็ม เกณฑ์คะแนน ผ่าน คะแนนที่ ได้ ระดับ คุณภาพ 4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8 10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน ก่อน หน้า 3
  • 5. หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 มีอะไรในห้องสมุด เรื่องที่ 1 ทรัพยากรสารสนเทศ 1. ความหมายของทรัพยากรสารสนเทศ ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง วัสดุที่บันทึกข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ประสบการณ์ที่เกิด จากสติปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์แสดงออกให้ปรากฏโดยใช้ภาษา สัญลักษณ์ ภาพ รหัสอื่น ๆ ที่ สื่อสารสัมผัสได้ ห้องสมุดยุคใหม่ไม่จำเป็นต้องเก็บสะสมทรัพยากรสารสนเทศให้มากที่สุด แต่เน้นการจัดหา ทรัพยากรสารสนเทศที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้เป็นสำคัญ 2. ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ ทรัพยากรสารสนเทศแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. 2. 3. 2.1 ทรัพยากรสารสนเทศตีพิมพ์ (Printed Materials) 1. สารสนเทศตีพิมพ์ หมายถึง ข้อดีของวัสดุตีพิมพ์ คือ ใช้ได้ง่าย สะดวก และไม่ต้องมีอุปกรณ์ช่วยในการอ่าน แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเทคโนโลยี สมัยใหม่ช่วยในการบันทึกความรู้หลากหลายชนิดขึ้นก็ตาม แต่วัสดุตีพิมพ์ก็ยังมีความสำคัญและนิยมใช้กันอยู่ ทั่วไป ตัวอย่างของสารสนเทศตีพิมพ์ 1. หนังสือ คือ สิ่งพิมพ์ที่รวบรวมข้อมูล ความรู้ โดยการเขียนหรือพิมพ์ลงบนกระดาษ มีลักษณะเป็น เล่ม เนื้อหาจบสมบูรณ์ในเล่มเดียวหรือหลายเล่มที่เรียกว่า หนังสือชุด ส่วนใหญ่จะมีผู้แต่ง 1 – 3 คน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1.1 หนังสือสารคดี คือ หนังสือด้านทางวิชาการ ให้ความรู้เฉพาะทาง เช่น หนังสือความรู้ทั่วไป ตำราเรียน หนังสืออ่านเพิ่มเติม หนังสือคู่มือ หนังสืออ้างอิง เป็นต้น หน้า 4
  • 6. 1.2 หนังสือบันเทิงคดี คือ หนังสือที่มีเนื้อหาสนุกเพลิดเพลิน แต่งจากจินตนาการของผู้เขียน อาจ สอดแทรกความรู้และความคิดต่าง ๆ ไว้ด้วย เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น หนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน เป็นต้น 2. สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง คือ สิ่งพิมพ์ที่มีกำหนดออกเป็นวาระที่แน่นอน เช่น ออกทุกวัน ออกทุก 1 สัปดาห์ ออกทุก 1 เดือน ออกทุก 3 เดือน เป็นต้น มีผู้แต่งหลายคน แบ่งเนื้อหาเป็นคอลัมม์ อาจมีเนื้อหา ต่อเนื่องกันได้ ตัวอย่างของสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง เช่น 2.1 หนังสือพิมพ์ คือ สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องที่มุ่งเน้นการนำเสนอ ข่าวสาร ทันสมัย หรือเรื่องราวที่กำลังเป็นที่สนใจ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ธุรกิจ การศึกษา อาชีพ กีฬาและบันเทิง ปกติจะมีกำหนดออกทุกวัน ห้องสมุดจะให้บริการหนังสือพิมพ์ไว้ใกล้กับวารสาร 2.2 วารสาร คือ สิ่งพิมพ์ที่ให้ข้อมูลทันสมัย เกร็ดความรู้ หรือข่าวประชาสัมพันธ์ มีเนื้อหาเชิง วิชาการ มีหลายคอลัมน์ มีผู้แต่งหลายคน เช่น วารสารโรงเรียน วารสารวิชาการ 2.3 นิตยสาร คือ สิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเหมือนกันวารสาร แต่ละมีเนื้อหาสนุกสนาน เพลินเพลิด มากกว่า มักมีเนื้อหาเฉพาะ เช่น นิตยสารเกี่ยวกับการจัดสวน นิตยสารเกี่ยวกับผู้หญิง เป็นต้น 3. กฤตภาค คือ สิ่งพิมพ์ที่ห้องสมุดจัดทำขึ้นเอง โดยตัดหรือถ่ายเอกสาร จากหนังสือพิมพ์ วารสาร/นิตยสาร มาแปะลงบนกระดาษเอ 4 แล้วจัดเป็น หมวดหมู่ เพื่อให้หาได้ง่าย นี่คือวารสาร นี่คือนิตยสาร กฤตภาค อ่านว่า กิด-ตะ-พาก คือการตัดบทความจากหนังสือพิมพ์ มาแปะลงเอ 4 หน้า 5
  • 7. 2. สารสนเทศไม่ตีพิมพ์ หมายถึง แต่บันทึกข้อมูล ความรู้ โดยอาศัย ภาพ เสียง สัญลักษณ์ หรือรหัส เป็นต้น ตัวอย่างของสารสนเทศไม่ตีพิมพ์ 1. โสตวัสดุ คือ วัสดุที่บันทึก “เสียง” เป็นสื่อในการถ่ายทอดความรู้ เช่น 2. ทัศนวัสดุ คือ วัสดุที่ต้องใช้สายตารับรู้ข้อมูลความรู้ โดยอาจดูด้วยตาเปล่าหรือใช้เครื่องมือช่วยก็ได้ เช่น 2. โสตทัศนวัสดุ คือ วัสดุที่ถ่ายทอดความรู้ โดยใช้ทั้ง “ภาพและเสียง” ประกอบกัน เช่น 3. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง ข้อมูล ความรู้ ข่าวสารที่รวบรวมและจัดเก็บไว้ในรูปแบบที่ อ่าน ดู ฟัง หรือสืบค้นได้ด้วยคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือในอินเทอร์เน็ต เช่น หน้า 6
  • 8. แบบฝึกหัดที่ 2.1 แผนผังทรัพยากรสารสนเทศ คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนแผนผังมโนทัศน์ (Mind Mapping) ในหัวข้อทรัพยากรสารสนเทศ โดยวาด ภาพประกอบและตกแต่งให้สวยงามได้ ชื่อ - นามสกุล ชั้น เลขที่ ระดับคุณภาพ คะแนน เต็ม เกณฑ์คะแนน ผ่าน คะแนนที่ ได้ ระดับ คุณภาพ 4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8 10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน หน้า 7
  • 9. หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 มีอะไรในห้องสมุด เรื่องที่ 2 การประเมินค่าสารสนเทศ 1. ความหมายของการประเมินค่าสารสนเทศ การประเมินค่าสารสนเทศ หมายถึง การพิจารณาตัดสินทรัพยากรสารสนเทศแต่ละรายการว่ามีคุณค่า มีความน่าเชื่อถือในทางวิชาการหรือตรงกับความต้องการหรือไม่ เพื่อสามารถนำสารสนเทศไปประยุกต์ใช้งานได้ อย่างเหมาะสม 2. ความสำคัญของการประเมินค่าสารสนเทศ 1. ได้สารสนเทศที่มีคุณภาพเหมาะกับการใช้งาน 2. เป็นแนวทางในการเลือกและจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเข้าห้องสมุด 3. เป็นประโยชน์ในการแนะนำผู้ใช้ห้องสมุด 4. รู้จักทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ ในแต่ละสาขาวิชากว้างขวางขึ้น 3. หลักการประเมินค่าสารสนเทศ 1. พิจารณาความน่าเชื่อถือ 2. พิจารณาแหล่งที่มาของสารสนเทศ 3. พิจารณาขอบเขตเนื้อหา 4. พิจารณาให้ตรงกับความต้องการ 5. พิจารณาช่วงเวลาที่เผยแพร่ 3.1 พิจารณาความน่าเชื่อถือ - พิจารณาความถูกต้องของข้อมูล โดยดูจากหลาย ๆ แหล่งว่าสอดคล้องกันหรือไม่ มีการเขียนอ้างอิง หรือบรรณานุกรมหรือไม่ ลักษณะการสะกดคำถูกต้องหรือไม่ - พิจารณาความเที่ยงตรงของข้อมูล โดยดูว่าผู้แต่งมีความลำเอียงหรือไม่ มีการใช้เหตุผลสนับสนุน ข้อเท็จจริงหรือไม่ 3.2 พิจารณาแหล่งที่มาของสารสนเทศ - ผู้แต่ง ดูว่าผู้แต่งมีชื่อเสียง คุณวุฒิ ประสบการณ์ มีผลงานอื่น ๆ ในสาขาวิชาที่เขียนหรือไม่ - สำนักพิมพ์หรือแหล่งผลิต ผู้จัดพิมพ์มีความน่าเชื่อถือ ติดต่อได้ หรือเป็นองค์กรสมาคมมืออาชีพ หรือไม่ 3.3 พิจารณาขอบเขตเนื้อหา ดูว่าเนื้อหามีความครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่ เป็นความรู้ระดับพื้นฐานหรือเป็น ความรู้ระดับสูง เนื้อหาเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ 3.4 พิจารณาให้ตรงตามความต้องการ ต้องการสารสนเทศที่มีเนื้อหาอะไร จากแหล่งใด และเอาสารสนเทศไป ทำอะไร 3.5 การพิจารณาช่วงเวลาที่เผยแพร่ ควรพิจารณาสารสนเทศที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์ หากเป็นข้อมูลใน อินเทอร์เน็ตควรดูวันเวลาในการปรับปรุงเว็บไซต์ ซึ่งมักจะอยู่บริเวณใต้ชื่อบทความหรือท้ายบทความ หน้า 8
  • 10. หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 มีอะไรในห้องสมุด เรื่องที่ 3 แหล่งสารสนเทศ 1. ความหมายของแหล่งสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศ หมายถึง แหล่งกำเนิดหรือรวบรวมข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ความรู้ต่าง ๆ สำหรับ ผู้สนใจ 2. ประเภทของแหล่งสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศ แบ่งออกเป็น...................ประเภท ได้แก่ 1. แหล่งสารสนเทศประเภทบุคคล คือ บุคคลที่ ให้ความรู้ ข้อมูล กับผู้อื่นได้ เช่น............................. ..................................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................................... 2. แหล่งสารสนเทศประเภทสื่อมวลชน คือ แหล่งกำเนิดข่าวผ่านสื่อมวลชนต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ เน้นข่าวสารที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์ แต่ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลให้แน่ชัดก่อน นำมาใช้ เช่น................................................................................................................................................................ ..................................................................................................................................................................................... 3. แหล่งสารสนเทศประเภทสถาบันบริการ คือ หน่วยงานที่จัดตั้งโดยหน่วยงานของรัฐและเอกชน จัดหารวบรวม วิเคราะห์ จัดเก็บ และให้บริการอย่างเป็นระบบ เช่น........................................................................ ..................................................................................................................................................................................... 4. แหล่งสารสนเทศประเภทสื่ออินเทอร์เน็ต คือ แหล่งสารสนเทศไร้พรมแดน บนเครือข่าย คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก เช่น....................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................................... หน้า 9
  • 11. แบบฝึกหัดที่ 2.2 แหล่งสารสนเทศ คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ และบอกถึงแหล่งที่มาว่านักเรียนหาคำตอบมาจากแหล่งใด ชื่อ - นามสกุล ชั้น เลขที่ ข้อ คำถาม คำตอบ แหล่งสารสนเทศ 1 วันเกิดของปู่ หรือย่า หรือตา หรือยาย ของนักเรียน (ให้เลือกตอบแค่วันเกิด ของ 1 คน) 2 ตัวอักษรของชาวอียิปต์มีชื่อเรียกว่า อะไร 3 ใครเป็นคนแต่งเพลงชาติไทย 4 ครูประจำชั้นของนักเรียนสอนวิชา อะไร 5 Cotton แปลเป็นภาษาไทยว่าอะไร 6 น้ำมีจุดเดือดอยู่ที่กี่องศาเซลเซียส 7 ชื่อเพื่อนสนิทของผู้ปกครองนักเรียน 8 จงยกตัวอย่างจำนวนเต็มมา 1 จำนวน 9 วิฬารหมายถึงอะไร 10 สีแดงในธงชาติมีความหมายอย่างไร ระดับคุณภาพ คะแนน เต็ม เกณฑ์คะแนน ผ่าน คะแนนที่ ได้ ระดับ คุณภาพ 4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8 10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน หน้า 10
  • 12. แบบทดสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 มีอะไรในห้องสมุด คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านโจทย์คำถามและพิจารณาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดในแต่ละข้อ แล้วระบายคำตอบที่ ถูกต้องด้วยดินสอ 2B ลงในวงกลมตัวเลือก  ในกระดาษคำตอบในหน้าถัดไป 1. ทรัพยากรสารสนเทศมีกี่ประเภท ก. 5 ประเภท ข. 4 ประเภท ค. 3 ประเภท ง. 2 ประเภท 2. สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องมีลักษณะแตกต่างจากสิ่งพิมพ์ อื่นอย่างไร ก. ไม่มีหน้าปกหนังสือ ข. อ่านเนื้อหาได้จบในเล่ม ค. มีคนแต่งเพียงคนเดียว ง. มีกำหนดออกเป็นวาระแน่นอน 3. ทรัพยากรสารสนเทศหมายถึงข้อใด ก. วัสดุที่บันทึกความรู้ของมนุษย์ ข. ข้อมูลที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต ค. หนังสือที่อยู่ในห้องสมุด ง. แหล่งกำเนิดความรู้ของมนุษย์ 4. ข้อเสียของข้อมูลที่สืบค้นได้จากเว็บไซต์ใน อินเทอร์เน็ตคือข้อใด ก. ข้อมูลมีทั้งข้อความ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ข. สืบค้นข้อมูลได้สะดวกทุกที่ทุกเวลา ค. ข้อมูลบางอย่างไม่น่าเชื่อถือ ง. ข้อมูลค้นหาได้ง่าย 5. ข้อใดคือสารสนเทศประเภทสิ่งตีพิมพ์ ก. แผ่นซีดี ข. หนังสือพิมพ์ ค. รูปถ่าย ง. คลิปวิดีโอ 6. ข้อใดเป็นแหล่งสารสนเทศประเภทสื่อมวลชน ก. ศูนย์ข้อมูลหนังสือพิมพ์มติชน ข. ครูพลอยกานต์ ค. ห้องสมุด ง. พิพิธภัณฑ์ 7. ทรัพยากรสารสนเทศมีความสำคัญที่สุดอย่างไร ก. ใช้รักษาโรค ข. ใช้เป็นอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ค. ใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ ง. ใช้เป็นแหล่งความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง 8. แหล่งสารสนเทศในข้อใดที่สามารถเก็บข้อมูล สารสนเทศได้อย่างมหาศาล ก. ห้องสมุด ข. อินเทอร์เน็ต ค. สื่อมวลชน ง. บุคคล 9. ทรัพยากรสารสนเทศข้อใดแตกต่างจากข้ออื่น ก. วารสาร นิตยสาร ข. ฟิล์มภาพยนตร์ หุ่นจำลอง ค. แผ่นเสียง ม้วนวิดีโอ ง. รูปภาพ เทปเสียง 10. คลิปวิดีโอสอนทำไข่เจียวในเว็บไซต์ยูทูปจัดเป็น ทรัพยากรสารสนเทศประเภทใด ก. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ข. สื่อทัศนวัสดุ ค. สื่อตีพิมพ์ ง. สื่อเคลื่อนไหว หน้า 11
  • 13. กระดาษคำตอบ แบบทดสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 มีอะไรในห้องสมุด คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนชื่อ - นามสกุล ชั้น และเลขที่ลงในช่องว่างของกระดาษคำตอบ และระบายตัวเลือก ที่ถูกต้องที่สุดในแต่ละข้อด้วยดินสอ 2B ลงในวงกลมตัวเลือก  ในกระดาษคำตอบ คำแนะนำ • ใช้ดินสอดำ 2B เท่านั้น ระบายวงกลมทุกวงที่ต้องการให้ดำเต็มวง • ถ้าต้องการแก้ไข ให้ใช้ยางลบลบให้สะอาดก่อน จึงระบายวงใหม่ • ห้ามขีดเขียนสิ่งอื่นใดนอกเหนือจากที่ระบุไว้ ระดับคุณภาพ คะแนน เต็ม เกณฑ์คะแนน ผ่าน คะแนนที่ ได้ ระดับ คุณภาพ 4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8 10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน หลัง หน้า 12
  • 14. หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ ผลการเรียนรู้ 2. ใช้ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้เพื่อการศึกษาค้นคว้าอย่างเหมาะสม 4. รักการอ่าน รักการเขียน และการศึกษาค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง 6. นำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนเองและเป็นความรู้พื้นฐานในการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจ พอเพียง สาระสำคัญ การจัดหมวดหมู่หนังสือคือการจัดหนังสือที่มีเนื้อหาคล้ายกันไว้ด้วยกัน โดยกำหนดสัญลักษณ์แทนเนื้อหา ของหนังสือแต่ละประเภท การจัดหมวดหมู่หนังสือมีหลายระบบ ระบบที่นิยมใช้ในห้องสมุดโรงเรียนคือระบบ ทศนิยมดิวอี้ ซึ่งแบ่งเนื้อหาออกเป็น 10 หมวดหมู่ และใช้ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ สาระการเรียนรู้ เรื่องที่ 1 การจัดหมวดหมู่หนังสือ เรื่องที่ 2 ระบบทศนิยมดิวอี้ เรื่องที่ 3 การเรียงหนังสือขึ้นชั้น หน้า 13
  • 15. แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านโจทย์คำถามและพิจารณาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดในแต่ละข้อ แล้วระบายคำตอบที่ ถูกต้องด้วยดินสอ 2B ลงในวงกลมตัวเลือก  ในกระดาษคำตอบในหน้าถัดไป 1. ข้อใดคือวัตถุประสงค์หลักของการจัดหมวดหมู่ หนังสือ ก. เพื่อให้หนังสือมีที่อยู่แน่นอน ข. เพื่อให้หนังสือเป็นระเบียบสวยงาม ค. เพื่อให้หนังสือที่เนื้อหาคล้ายกันอยู่ ด้วยกัน จะได้ค้นหาได้ง่าย ง. เพื่อให้จัดเก็บหนังสือได้ 2. ระบบทศนิยมดิวอี้แบ่งออกเป็นกี่หมวดใหญ่ ก. 10 หมวด ข. 15 หมวด ค. 8 หมวด ง. 20 หมวด 3. ข้อใดคือประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของการจัด หมวดหมู่หนังสือ ก. ทำให้หนังสือมีสัญลักษณ์แทนเนื้อหา ข. ทำให้ค้นหาหนังสือได้ง่าย ค. ทำให้ทราบจำนวนหนังสือ ง. ทำให้จัดหนังสือได้มีระเบียบ 4. หากนักเรียนต้องการหาหนังสือเกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์ ต้องค้นหาที่หมวดใด ก. 200 ข. 300 ค. 400 ง. 500 5. หนังสือเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าอยู่ในหมวดหมู่ใด ก. 100 ข. 300 ค. 900 ง. 200 6. ข้อใดคือหนังสือในหมวด 900 ก. ประวัติศาสตร์ชาติไทย ข. เรียนภาษาอังกฤษง่ายนิดเดียว ค. ประดิษฐ์กระทงใบตอง ง. เล่นหุ้นไม่ยาก 7. หนังสือเกี่ยวกับฟุตบอลอยู่ในหมวดใด ก. 300 ข. 400 ค. 000 ง. 700 8. เด็กหญิงปลาทองต้องการเรียนภาษาเกาหลีเพื่อ เอาไปคุยกับอปป้า เด็กหญิงปลาทองต้องไปหา หนังสือที่หมวดหมู่ใด ก. 100 ข. 200 ค. 400 ง. 800 9. เลขหมู่หนังสือข้อใดมาก่อนเลขหมู่หนังสือข้ออื่น ก. 123.4 ข. 123.04 ค. 123.44 ง. 123.401 10. เลขผู้แต่งข้อใดอยู่ในลำดับท้ายสุด ก. พ214ก ข. ฮ745ญ ค. ฟ456ต ง. ก368ข หน้า 14
  • 16. กระดาษคำตอบ แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนชื่อ - นามสกุล ชั้น และเลขที่ลงในช่องว่างของกระดาษคำตอบ และระบายตัวเลือก ที่ถูกต้องที่สุดในแต่ละข้อด้วยดินสอ 2B ลงในวงกลมตัวเลือก  ในกระดาษคำตอบ คำแนะนำ • ใช้ดินสอดำ 2B เท่านั้น ระบายวงกลมทุกวงที่ต้องการให้ดำเต็มวง • ถ้าต้องการแก้ไข ให้ใช้ยางลบลบให้สะอาดก่อน จึงระบายวงใหม่ • ห้ามขีดเขียนสิ่งอื่นใดนอกเหนือจากที่ระบุไว้ ระดับคุณภาพ คะแนน เต็ม เกณฑ์คะแนน ผ่าน คะแนนที่ ได้ ระดับ คุณภาพ 4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8 10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน ก่อน หน้า 15
  • 17. หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ เรื่องที่ 1 การจัดหมวดหมู่หนังสือ 1. ความหมายของการจัดหมวดหมู่หนังสือ การจัดหมวดหมู่หนังสือ หมายถึง การจัดหนังสือที่มีเนื้อเรื่องคล้ายกันไว้ด้วยกัน โดยกำหนดสัญลักษณ์ แทนเนื้อหาของหนังสือแต่ละประเภท เพื่อเป็นเครื่องหมายระบุตำแหน่งของหนังสือ การจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศอย่างง่าย 2. ความสำคัญของการจัดหมวดหมู่หนังสือ 1. ผู้ใช้และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดสามารถค้นหาและจัดเก็บหนังสือที่ต้องการได้ง่ายและประหยัดเวลา 2. หนังสือที่มีเนื้อหาวิชาเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันจะรวมอยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน 3. เมื่อมีหนังสือใหม่ก็สามารถจัดหมวดหมู่ แล้วนำออกขึ้นชั้นรวมกับหนังสือที่มีอยู่ก่อนแล้วเพื่อให้บริการ ได้อย่างรวดเร็ว 3. ประโยชน์ของการจัดหมวดหมู่หนังสือ 1. หนังสือแต่ละเล่มจะมีสัญลักษณ์แทนเนื้อหาของหนังสือ 2. ช่วยให้ผู้ใช้มีโอกาสเลือกหนังสือได้หลากหลายขึ้น เนื่องจากหนังสือที่เนื้อหาคล้ายกันวางอยู่ใกล้ ๆ กัน 3. หนังสือชุดเรียงต่อกัน ทำให้อ่านได้ครบชุดสมบูรณ์ 4. หนังสือที่มีลักษณะคำประพันธ์แบบเดียวกันจะอยู่ใกล้กัน 5. เพิ่มประสิทธิภาพในการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด ช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาหนังสือได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว และประหยัดเวลา เจ้าหน้าที่ก็สามารถจัดเก็บเข้าที่ได้ถูกต้อง รวดเร็ว 6. ช่วยให้รู้จำนวนหนังสือแต่ละสาขาวิชาคร่าว ๆ ว่ามีจำนวนมากน้อยเท่าใด เพื่อให้จัดหาเพิ่มเติมได้ เหมาะสม 1. แยกตามประเภทของวัสดุ (หนังสือ, วารสาร,ฯลฯ) 2. แยกตามภาษา (ภาษาไทย, ภาษาต่างประเทศ) 3. จัดหมวดหมู่ตามความเหมาะสมแต่ละประเภทสื่อ ทำไมต้องมีการจัดหมวดหมู่หนังสือ ? แล้วน้อง ๆ คิดว่าจะจัดหมวดหมู่ หนังสือยังไงดี ? หน้า 16
  • 18. แบบฝึกหัดที่ 3.1 ระบบทศนิยมดิวอี้ มีอะไรบ้าง ?? คำชี้แจง ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตว่าการจัดหมวดหมู่หนังสือในระบบทศนิยมดิวอี้แบ่งออกเป็น หมวดหมู่อะไรบ้าง ตามสัญลักษณ์ทั้ง 10 หมวดหมู่ ชื่อ - นามสกุล ชั้น เลขที่ เลขหมู่ ชื่อหมวดหมู่ 000 100 200 300 400 500 600 700 800 900 ระดับคุณภาพ คะแนน เต็ม เกณฑ์คะแนน ผ่าน คะแนนที่ ได้ ระดับ คุณภาพ 4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8 10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน หน้า 17
  • 19. หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ เรื่องที่ 2 ระบบทศนิยมดิวอี้ 1. ระบบการจัดหมวดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ การจัดหมวดหมู่หนังสือในระบบทศนิยมดิวอี้คิดค้นโดย เมลวิล ดิวอี้ (Mevil Dewey) บรรณารักษ์ และนักการศึกษาชาวอเมริกัน โดยแบ่งเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ออกเป็น 10 หมวดหมู่ และใช้ตัวเลขสามหลักเป็น สัญลักษณ์ในการแบ่งหมวดหมู่ ระบบทศนิยมดิวอี้เหมาะสำหรับห้องสมุดขนาดเล็กและขนาดกลาง นิยมใช้ใน ห้องสมุดโรงเรียนและห้องสมุดประชาชน 2. การแบ่งหมวดหมู่ในระบบทศนิยมดิวอี้ ๏ ใช้ตัวเลขสามหลักเป็นสัญลักษณ์ในการแบ่งหมวดใหญ่ เป็น 10 หมวดใหญ่ ๏ แต่ละหมวดใหญ่แบ่งออกเป็น 10 หมวดย่อย ๏ แต่ละหมวดย่อยแบ่งออกเป็น 10 หมู่ ๏ ในแต่ละหมู่แบ่งออกเป็นหมู่ย่อย โดยใช้จุดทศนิยม การกระจายตัวเลขในระบบทศนิยมดิวอี้ 000 100 200 300 400 500 600 700 800 900 300 310 320 330 340 350 360 370 380 390 370 371 372 373 374 375 376 377 378 379 378.1 378.12 378.134 378.2 หมวดใหญ่ หมวด หมู่ หมู่ย่อย หน้า 18
  • 20. 3. หมวดหมู่ใหญ่ในระบบทศนิยมดิวอี้ หมวด 100 แทน ปรัชญา จิตวิทยา หมวด 200 แทน ศาสนา หมวด 300 แทน สังคมศาสตร์ หมวด 400 แทน ภาษาศาสตร์ หมวด 500 แทน วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หมวด 600 แทน เทคโนโลยี สุขภาพ เกษตรกรรม คหกรรม หมวด 700 แทน ศิลปะและการแสดง ดนตรี กีฬา งานประดิษฐ์ หมวด 800 แทน วรรณคดี หมวด 900 แทน ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การท่องเที่ยว และชีวประวัติ หมวด 000 แทน ทั่วไปหรือเบ็ดเตล็ด คอมพิวเตอร์ บรรณารักษ์ ห้องสมุด ท่องจำให้แม่น ๆ นะ เด็ก ๆ หน้า 19
  • 21. แบบฝึกหัดที่ 3.2 จับคู่ดิวอี้แสนสนุก คำชี้แจง ให้นักเรียนจับคู่เลขหมู่หนังสือในระบบทศนิยมดิวอี้ กับ ชื่อหนังสือต่อไปนี้ให้ถูกต้อง ชื่อ - นามสกุล ชั้น เลขที่ เลขหมู่ ชื่อหนังสือ 000   จิตสงบพบธรรมะ 200   เทคนิคฟุตบอลนอกสนาม 900   7 สิ่งมหัศจรรย์โลกยุคใหม่ 700   ฟัง พูด เกาหลีง่ายนิดเดียว 400   ไกรทอง 500   ชาติไทยในอดีต 100   10 การทดลองวิทย์ในครัว 300   กลไกหุ่นยนต์ล้ำโลก 600   ประเพณีไทย 4 ภาค 800   จิตวิทยาวัยรุ่น ระดับคุณภาพ คะแนน เต็ม เกณฑ์คะแนน ผ่าน คะแนนที่ ได้ ระดับ คุณภาพ 4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8 10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน หน้า 20
  • 22. หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ เรื่องที่ 3 การเรียงหนังสือขึ้นชั้น 1. เลขเรียกหนังสือ (Call Number) เลขเรียกหนังสือ คือ สัญลักษณ์ที่ห้องสมุดกำหนดให้กับหนังสือแต่ละเล่ม ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ ปรากฏอยู่บริเวณสันหนังสือ เช่น 2. การจัดเรียงชั้นหนังสือ 1. หนังสือภาษาไทยจัดเรียงแยกจากหนังสือภาษาอังกฤษ 2. ถ้าหนังสือภาษาไทยปนอยู่กับหนังสือภาษาอังกฤษให้จัดเรียงหนังสือภาษาไทยก่อนหนังสือ ภาษาอังกฤษ 3. เรียงหนังสือบนชั้นจากซ้ายไปขวา และจากบนลงล่าง 4. เรียงหนังสือตามลำดับเลขเรียกหนังสือเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก เช่น 200 >> 210 >> 220 >> 230 5. ถ้าหนังสือหลายเล่มมีเลขหมู่ซ้ำกัน ให้เรียงอันดับอักษรย่อของชื่อผู้แต่งใต้เลขหมู่ตามลำดับตัวอักษร เช่น เลขหมู่ หนังสือ เลข ผู้แต่ง เลขเรียก หนังสือ 710 710 710 710 ก114ค ว214ป ส114ข ห121จ 398.2 ท63ม 2560 ล.1 ฉ.2 เลขหมู่ เลขผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ ลักษณะพิเศษ เลขเรียกหนังสือ หน้า 21
  • 23. 6. ถ้าหนังสือหลายเล่มมีเลขหมู่ซ้ำกัน อักษรย่อชื่อผู้แต่งซ้ำกัน ให้เรียงเลขประจำตัวผู้แต่ง 7. ถ้าเลขหมู่เหมือนกัน ชื่อผู้แต่ง เลขผู้แต่งเหมือนกัน ให้เรียงตามลำดับชื่อเรื่อง สรุปวิธีการเรียงหนังสือขึ้นชั้น เลขหมู่ ตัวอักษรผู้แต่ง เลขผู้แต่ง ตัวอักษรชื่อเรื่อง 520 520 520 520 ม122จ ม431จ ม563จ ม695จ 594.3 594.3 594.3 594.3 พ82ก พ82จ พ82บ พ82อ หน้า 22
  • 24. แบบฝึกหัดที่ 3.3 เรียงหนังสือง่าย ๆ ไม่สับสน คำชี้แจง ให้นักเรียนเรียงเลขเรียกหนังสือต่อไปนี้ ตามหลักเกณฑ์การเรียงหนังสือบนชั้นหนังสือ ข้อ เบอร์ 1 เบอร์ 2 เบอร์ 3 เบอร์ 4 ตัวอย่าง 100 จ436ก 624 ณ125อ 810 บ235ก 524 น238น ตอบ 1 – 4 – 2 – 3 ชื่อ - นามสกุล ชั้น เลขที่ ข้อ เบอร์ 1 เบอร์ 2 เบอร์ 3 เบอร์ 4 1 241 จ436ก 420 ณ125อ 123 บ235ก 420 น238น ตอบ 2 495 ค253ด 423 ก254พ 486 ห365อ 444 ป254ข ตอบ 3 954.5 ย254ก 954.7 ศ254ข 954.32 ป324ฟ 956 ถ254ข ตอบ 4 177.6 ย235พ 177.6 พ654ก 177.6 ส255ห 177.6 ษ254ช ตอบ 5 500 ก254ห 500 ข231ป 500 ก254ช 500 ข231ง ตอบ ระดับคุณภาพ คะแนน เต็ม เกณฑ์คะแนน ผ่าน คะแนนที่ ได้ ระดับ คุณภาพ 4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8 10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน หน้า 23
  • 25. แบบทดสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านโจทย์คำถามและพิจารณาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดในแต่ละข้อ แล้วระบายคำตอบที่ ถูกต้องด้วยดินสอ 2B ลงในวงกลมตัวเลือก  ในกระดาษคำตอบในหน้าถัดไป 1. เด็กหญิงปลาทองต้องการเรียนภาษาเกาหลีเพื่อ เอาไปคุยกับอปป้า เด็กหญิงปลาทองต้องไปหา หนังสือที่หมวดหมู่ใด ก. 800 ข. 400 ค. 200 ง. 100 2. เลขผู้แต่งข้อใดอยู่ในลำดับท้ายสุด ก. ฟ456ต ข. ฮ745ญ ค. ก368ข ง. พ214ก 3. ข้อใดคือหนังสือในหมวด 900 ก. เล่นหุ้นไม่ยาก ข. ประดิษฐ์กระทงใบตอง ค. เรียนภาษาอังกฤษง่ายนิดเดียว ง. ประวัติศาสตร์ชาติไทย 4. ข้อใดคือประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของการจัด หมวดหมู่หนังสือ ก. ทำให้ค้นหาหนังสือได้ง่าย ข. ทำให้จัดหนังสือได้มีระเบียบ ค. ทำให้ทราบจำนวนหนังสือ ง. ทำให้หนังสือมีสัญลักษณ์แทนเนื้อหา 5. หนังสือเกี่ยวกับฟุตบอลอยู่ในหมวดใด ก. 900 ข. 200 ค. 700 ง. 000 6. ข้อใดคือวัตถุประสงค์หลักของการจัดหมวดหมู่ หนังสือ ก. เพื่อให้หนังสือที่เนื้อหาคล้ายกันอยู่ ด้วยกัน จะได้ค้นหาได้ง่าย ข. เพื่อให้หนังสือเป็นระเบียบสวยงาม ค. เพื่อให้จัดเก็บหนังสือได้ ง. เพื่อให้หนังสือมีที่อยู่แน่นอน 7. เลขหมู่หนังสือข้อใดมาก่อนเลขหมู่หนังสือข้ออื่น ก. 123.44 ข. 123.401 ค. 123.4 ง. 123.04 8. ระบบทศนิยมดิวอี้แบ่งออกเป็นกี่หมวดใหญ่ ก. 10 หมวด ข. 20 หมวด ค. 9 หมวด ง. 5 หมวด 9. หากนักเรียนต้องการหาหนังสือเกี่ยวกับวิทยา- ศาสตร์ ต้องค้นหาที่หมวดใด ก. 600 ข. 200 ค. 300 ง. 500 10. หนังสือเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าอยู่ในหมวดหมู่ใด ก. 100 ข. 200 ค. 300 ง. 400 หน้า 24
  • 26. กระดาษคำตอบ แบบทดสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนชื่อ - นามสกุล ชั้น และเลขที่ลงในช่องว่างของกระดาษคำตอบ และระบายตัวเลือก ที่ถูกต้องที่สุดในแต่ละข้อด้วยดินสอ 2B ลงในวงกลมตัวเลือก  ในกระดาษคำตอบ คำแนะนำ • ใช้ดินสอดำ 2B เท่านั้น ระบายวงกลมทุกวงที่ต้องการให้ดำเต็มวง • ถ้าต้องการแก้ไข ให้ใช้ยางลบลบให้สะอาดก่อน จึงระบายวงใหม่ • ห้ามขีดเขียนสิ่งอื่นใดนอกเหนือจากที่ระบุไว้ ระดับคุณภาพ คะแนน เต็ม เกณฑ์คะแนน ผ่าน คะแนนที่ ได้ ระดับ คุณภาพ 4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8 10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน หลัง หน้า 25