SlideShare a Scribd company logo
เอกสารประกอบการสอน
รายวิชาห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ (ง20201)
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
ชื่อ – นามสกุล...................................................................................................................
ชั้น ม.2/......... เลขที่............
ครูผู้สอน นางสาวพลอยกานต์ ลำดวล
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ โรงเรียนสายธรรมจันทร์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี
คำอธิบายรายวิชา
ง 20201 ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เวลา 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ จำนวน 0.5 หน่วยกิต
ศึกษากฎระเบียบ วิธีการใช้บริการแหล่งการเรียนรู้และห้องสมุด ลักษณะและวิธีใช้ทรัพยากรสารสนเทศ
เพื่อการศึกษาค้นคว้าความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร
โดยใช้กระบวนการศึกษา สำรวจ สังเกต การใช้ห้องสมุด การอ่าน และการค้นหาสารสนเทศจาก
แหล่งข้อมูลต่าง ๆ
เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ วิธีการแสวงหาความรู้ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน
สามารถนำทักษะการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้กับการเรียนและชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และ
ค่านิยมที่เหมาะสม
ผลการเรียนรู้
1. ใช้บริการแหล่งการเรียนรู้และห้องสมุดเพื่อการศึกษาค้นคว้าได้
2. ปฏิบัติตามระเบียบการใช้ห้องสมุดได้
3. อธิบายลักษณะและวิธีการใช้ทรัพยากรและแหล่งสารสนเทศได้
4. ค้นหาความรู้ ข้อมูล ข่าวสารที่ต้องการได้
5. รู้หลักและวิธีการเขียนอ้างอิง
รวม 5 ผลการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้
เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร
การแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีคุณธรรม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พื้นฐานงานห้องสมุด
เรื่องที่ 1 ความรู้เบื้องค้นเกี่ยวกับห้องสมุด
1. ความหมายของห้องสมุด
ห้องสมุด หมายถึง สถานที่รวบรวมสรรพวิทยาการต่าง ๆ ทรัพยากรสารสนเทศทุกสาขาวิชาและทุก
ประเภท มีบรรณารักษ์เป็นผู้ดำเนินงานและจัดบริการต่าง ๆ อย่างมีระบบ และมีหน้าที่หลักในการให้บริการผู้ใช้
2. ความสำคัญของห้องสมุด
1. ช่วยให้รู้ข่าวสารและเป็นคนทันสมัยเสมอ
2. ช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน
3. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
4. พัฒนาคุณภาพชีวิตและการศึกษา
5. ทำนุบำรุงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี
6. ส่งเสริมความมีระเบียบวินัย
3. วัตถุประสงค์ของห้องสมุด
1. เพื่อการศึกษา
2. เพื่อความรู้
3. เพื่อการค้นคว้าวิจัย
4. เพื่อความจรรโลงใจ
5. เพื่อความเพลิดเพลิน
4. ประเภทของห้องสมุด
ห้องสมุดแบ่งออกเป็น 5 ประเภทตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง ได้แก่
4.1 ห้องสมุดเฉพาะ
ห้องสมุดเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นเฉพาะสำหรับกลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน หรือจัดตั้ง
เฉพาะในหน่วยงานหรือสถาบันใด ๆ เพื่อรวบรวมสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งหรือเฉพาะเรื่องที่สนใจ
เท่านั้น มีวัตถุประสงค์เฉพาะกลุ่ม เช่น ห้องสมุดธนาคารแห่งประเทศไทย, ห้องสมุด TCDC, ห้องสมุดมารวย
เป็นต้น
เด็ก ๆ คิดว่าก่อนจะมีห้องสมุดจะต้องมีอะไรเกิดขึ้นมาก่อนนะ ?
หน้า 1
4.2 ห้องสมุดโรงเรียน
ห้องสมุดโรงเรียนคือห้องสมุดที่อยู่ในสถาบันการศึกษาระดับชั้นประถมหรือมัธยม เพื่อสนับสนุน
การเรียนการสอนในโรงเรียนตามนโยบายของโรงเรียน เช่น ห้องสมุดโรงเรียนสายธรรมจันทร์, ห้องสมุดโรงเรียน
วัดอมรญาติสมาคม เป็นต้น
4.3 ห้องสมุดมหาวิทยาลัย
ห้องสมุดมหาวิทยาลัยคือห้องสมุดที่ตั้งอยู่ในสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา เพื่อสนับสนุน
การเรียนการสอนในระดับที่สูงขึ้นและเน้นการวิจัยเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้ง โดยจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน
หลายชื่อ เช่น หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร, หอสมุดแห่ง
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นต้น
4.4 ห้องสมุดประชาชน
ห้องสมุดประชาชนคือห้องสมุดที่ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป ไม่จำกัดเพศ อาชีพ วัย มีหน้าที่
จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและอาชีพให้แก่ชุมชน และจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
(กศน.) เช่น ห้องสมุดประชาชนอำเภอดำเนินสะดวก, หอสมุดรัชมังคลาภิเษก, ห้องสมุด TK Park เป็นต้น
4.5 ห้องสมุดแห่งชาติ
ห้องสมุดแห่งชาติคือห้องสมุดประจำประเทศนั้น ๆ รวบรวมสารสนเทศต่าง ๆ ที่ผลิตในประเทศ
ให้บริการการอ่านแก่ประชาชนทั่วไป อ่านหนังสือได้เฉพาะภายในเขตห้องสมุด ยืมหนังสือออกไม่ได้ ปัจจุบันมี
การให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) หลายประเภทรวมทั้งหนังสือเก่าและหนังสือหายาก
5. เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับห้องสมุดยุคใหม่
1. ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (Library Automation) คือ การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ
เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการจัดการงานพื้นฐานของห้องสมุด เป็นโปรแกรมอัตโนมัติที่ประกอบด้วยโมดูล
ต่าง ๆ เช่น การสืบค้นสารสนเทศแบบออนไลน์ (OPAC), การยืม – คืน, การจัดทำรายการสารสนเทศ เป็นต้น
2. การสืบค้นสารสนเทศทางออนไลน์ (Online Searching) คือ การให้บริการสืบค้นหนังสือที่มีใน
ห้องสมุดผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
3. การให้บริการสารสนเทศดิจิทัล (Digital information) คือ การให้บริการสารสนเทศในรูปแบบ
ดิจิทัล เช่น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book), วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal), หนังสือเสียง (Audiobook)
เป็นต้น ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ ห้องสมุดผลิตขึ้นเองและห้องสมุดจัดซื้อเข้ามา
4. ระบบยืม – คืนอัตโนมัติ (Automatic circulation system) คือ การนำบาร์โค้ด (Barcode)
หรือ RFID มาช่วยให้การระบุตัวเล่มของหนังสือแต่ละเล่ม เพื่อให้เกิดความสะดวกในการยืม - คืน
RFID (Radio Frequency Identification) คือ ระบบที่นำสัญญาณคลื่นวิทยุความถี่สูงมาใช้ในการ
ตรวจจับวัตถุผ่านอุปกรณ์รับ สามารถใช้ป้องกันการขโมยหนังสือออกจากห้องสมุดได้
หน้า 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พื้นฐานงานห้องสมุด
เรื่องที่ 2 งานบริการห้องสมุด
1. ความหมายของงานบริการห้องสมุด
งานบริการห้องสมุด หมายถึง งานที่ห้องสมุดจัดทำขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ในด้านการ
อ่าน การค้นคว้าหาความรู้ และการส่งเสริมการอ่านให้กว้างขวางและทั่วถึง เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับสารสนเทศ
อย่างรวดเร็ว ตรงตามความต้องการมากที่สุด รวมถึงการจัดบรรยากาศที่ดีในห้องสมุดให้สะอาด มีระเบียบ
เรียบร้อย และมีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ใช้บริการเกิดความรู้สึกที่ดีและประทับใจ
2. ความสำคัญของงานบริการห้องสมุด
งานบริการเป็นหัวใจสำคัญของห้องสมุด เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ทุกระดับ สำหรับงานบริการของ
ห้องสมุดโรงเรียน มีส่วนสำคัญที่ทำให้นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนมาใช้ห้องสมุดมากขึ้น งานบริการเป็นงานที่
ห้องสมุดทำขึ้น เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอน ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ รู้จักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
ใช้ประโยชน์จากการอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ตลอดจนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
3. วัตถุประสงค์ของการให้บริการห้องสมุด
1. เพื่อส่งเสริมการอ่านและสนับสนุนการเรียนการสอน
2. เพื่อให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ห้องสมุด
3. เพื่อให้เกิดความรู้ ความเพลิดเพลิน ความจรรโลงใจ และสามารถนำสิ่งที่ได้จากการอ่านไปปฏิบัติ
เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
4. งานบริการห้องสมุด
1. บริการการอ่าน เป็นบริการหลักของห้องสมุดที่จัดหาและคัดเลือกหนังสือ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ มา
ไว้เพื่อให้บริการ และจัดเตรียมสถานที่ให้อำนวยความสะดวกต่อการอ่าน เพื่อตอบสนองความต้องการและความ
สนใจของผู้ใช้มากที่สุด
2. บริการยืม - คืน เป็นบริการสำหรับให้ยืมทรัพยากรสารสนเทศ เช่น หนังสือ ออกนอก
ห้องสมุด โดยมีกำหนดการคืนตามระเบียบการยืมของห้องสมุดแต่ละแห่ง หากยืมเกินกำหนดผู้ยืมจะต้องเสีย
ค่าปรับตามอัตราที่ห้องสมุดกำหนด
3. บริการหนังสือจอง เป็นบริการที่ห้องสมุดจัดแยกหนังสือรายวิชาต่าง ๆ ที่ครูผู้สอนกำหนดให้
นักเรียนอ่านประกอบ รวมทั้งเป็นบริการพิเศษที่จัดขึ้นในกรณีที่หนังสือนั้นมีจำนวนน้อย แต่มีผู้ใช้ต้องการจำนวน
มาก โดยแยกไว้ต่างหากและมีกำหนดระยะเวลาให้ยืมสั้นกว่าหนังสือทั่วไป
หน้า 3
4. บริการแนะนำการใช้ห้องสมุด เป็นบริการเพื่อแนะนำผู้ใช้ให้ทราบว่า ห้องสมุดจัดบริการ
อะไรบ้างและมีระเบียบการอย่างไร เช่น การปฐมนิเทศแนะนำแก่นักเรียนที่เข้าเรียนในชั้นปีแรก ห้องสมุดส่วนใหญ่จะ
จัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุด เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับห้องสมุด เช่น ประวัติของห้องสมุด ระเบียบการยืม – คืน มารยาท
ในการใช้ห้องสมุด บริการและกิจกรรมต่าง ๆ ของห้องสมุด เป็นต้น
5. บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า เป็นบริการที่บรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุดจะ
ช่วยให้คำแนะนำและบริการตอบคำถามแก่ผู้ใช้ ทั้งคำถามทั่วไปเกี่ยวกับการใช้ห้องสมุด และคำถามที่ต้องค้นหา
คำตอบจากทรัพยากรสารสนเทศต่าง ๆ ในห้องสมุด
6. บริการแนะแนวการอ่าน เป็นบริการสำคัญที่ห้องสมุดจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการอ่าน พัฒนานิสัย
รักการอ่าน และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยเหลือผู้ใช้ห้องสมุดที่มีปัญหาในการอ่าน
ผู้ที่ไม่อยากอ่านหนังสือหรือเลือกหนังสืออ่านไม่เหมาะสมกับความต้องการของตน เช่น บริการแนะนำหนังสือใหม่
บริการแนะนำหนังสือยอดนิยม เป็นต้น
7. บริการสืบค้นฐานข้อมูล เป็นบริการสืบค้นฐานข้อมูลหนังสือของห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้สามารถ
ค้นหาหนังสือด้วยตนเองได้สะดวก รวดเร็วขึ้น
8. บริการรวบรวมบรรณานุกรม เป็นการรวบรวมรายชื่อหนังสือ สำหรับใช้ประกอบการเรียน
การสอนในรายวิชาต่าง ๆ หรือการทำรายงาน การวิจัย รวมถึงการรวบรวมบรรณานุกรมหนังสือใหม่ประจำเดือน
ที่ห้องสมุดออกให้บริการแก่ผู้ใช้
9. บริการข่าวสารทันสมัย เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดได้ทราบข้อมูลใหม่ ๆ ในสาขาวิชา
ต่าง ๆ โดยการถ่ายสำเนาหน้าสารบัญวารสารฉบับล่าสุดที่ห้องสมุดได้รับรวบรวมไว้ในแฟ้ม เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้
ในการศึกษาค้นคว้า
10. บริการมุมศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เป็นการจัดบริการคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
สำหรับให้ผู้ใช้สืบค้นข้อมูลออนไลน์ หรือใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อทำรายงาน หรือพิมพ์งานเอกสารต่าง ๆ ซึ่งทำให้
ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ทันสมัยได้มากขึ้น ตรงตามความต้องการและสะดวกรวดเร็ว
11. บริการอื่น ๆ เป็นงานบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุด แต่ไม่จำเป็นต้องจัดให้บริการ
ทุกห้องสมุด เช่น บริการโสตทัศนวัสดุ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ บริการห้องสมุดเคลื่อนที่ บริการชุมชน บริการขอใช้
สถานที่ประชุม บริการถ่ายสำเนาเอกสารและสิ่งพิมพ์ เป็นต้น
5. มาตรฐานห้องสมุด 3D
D1 หนังสือดี คือ หนังสือที่สร้างสรรค์ปัญญา ตรงใจผู้อ่าน และเนื้อหาถูกต้องไม่มีพิษภัย
D2 บรรยากาศดี คือ มีสถานที่พร้อมสำหรับให้บริการ สะอาด ปลอดภัย ทันสมัย
D3 บรรณารักษ์ดี คือ บรรณารักษ์มีอัธยาศัยน้ำใจดี มีใจรักบริการ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ
หน้า 4
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พื้นฐานงานห้องสมุด
เรื่องที่ 3 ระเบียบการและมารยาทใช้งานห้องสมุด
ห้องสมุดเป็นพื้นที่สาธารณะที่ให้บริการคนหมู่มาก เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ใช้บริการ ห้องสมุดจึง
ต้องมีกฎระเบียบ เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติอย่างเสมอภาค ในขณะเดียวกันผู้ใช้บริการก็จะต้องมีมารยาท ให้เกียรติแก่
สถานที่ด้วย มารยาทในการใช้ห้องสมุดจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ใช้บริการ เพื่อให้
บรรยากาศในห้องสมุดมีความเรียบร้อยน่าเข้าใช้บริการ
1. ความหมายของระเบียบและมารยาทการใช้ห้องสมุด
ระเบียบ หมายถึง ข้อบังคับที่จะให้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้สังคมอยู่อย่างสงบ
สุขและเป็นธรรม ผู้ฝ่าฝืนจะได้รับโทษ
มารยาท หมายถึง ข้อพึงปฏิบัติ โดยเกิดจากสำนึกรู้จักสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำของผู้นั้นเอง
ระเบียบและมารยาทการใช้ห้องสมุด หมายถึง ข้อบังคับที่จะให้ปฏิบัติหรือข้อพึงปฏิบัติ โดยเกิดจาก
จิตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติตนของผู้ใช้บริการ เพื่อความสงบเรียบร้อยเมื่อเข้าใช้บริการห้องสมุด
2. ระเบียบการใช้ห้องสมุดโดยทั่วไป
1. สมาชิกห้องสมุดมีสิทธิเข้าใช้บริการตามวันและเวลาทำการของห้องสมุด
ตัวอย่าง
วัน – เวลาทำการของห้องสมุดโรงเรียนสายธรรมจันทร์
วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 07.30 น. – 16.00 น.
เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดราชการ
ตัวอย่าง
สมาชิกห้องสมุดโรงเรียนสายธรรมจันทร์
1. นักเรียนโรงเรียนสายธรรมจันทร์
2. ครูและบุคลากรโรงเรียนสายธรรมจันทร์
3. ศิษย์เก่าโรงเรียนสายธรรมจันทร์
4. ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสายธรรมจันทร์
หน้า 5
2. สมาชิกห้องสมุดมีสิทธิยืมทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด ตามระเบียบการที่แต่ละห้องสมุดกำหนด
ตัวอย่าง
ระเบียบการยืม - คืนห้องสมุดโรงเรียนสายธรรมจันทร์
1. นักเรียน
ยืมหนังสือได้ ครั้งละ 5 เล่ม กำหนดส่งภายใน 7 วัน
2. ครูและบุคลากรโรงเรียน
ยืมหนังสือได้ ครั้งละ 12 เล่ม กำหนดส่งภายใน 14 วัน
3. ไม่อนุญาตให้ยืมหนังสือแทนผู้อื่น หากมีการยืมหนังสือแทนผู้อื่น ชื่อของผู้ยืมในระบบ
จะต้องรับผิดชอบหากเสียค่าปรับหรือหนังสือชำรุดเสียหาย
4. เมื่ออ่านหนังสือจบให้นำมาคืนได้ ไม่ต้องรอให้ถึงวันกำหนดส่ง
5. คืนหนังสือเกินกำหนด เสียค่าปรับวันละ 1 บาท / 1 เล่ม
6. กรณีที่หนังสือชำรุดหรือสูญหาย ต้องปฏิบัติดังนี้
- แจ้งบรรณารักษ์ห้องสมุดทันที
- หาซื้อหนังสือชื่อที่สูญหายชดใช้คืน หากหาซื้อไม่ได้ต้องเสียค่าปรับเท่าราคาหนังสือ
3. สมาชิกห้องสมุดใช้บริการห้องสมุดตามกฎระเบียบอื่น ๆ ที่ห้องสมุดกำหนด เช่น
ตัวอย่าง
ขั้นตอนการยืม – คืนหนังสือ ห้องสมุดโรงเรียนสายธรรมจันทร์
1. นำหนังสือที่ต้องการยืมมาที่เคาน์เตอร์บริการและแจ้งยืมหนังสือกับบรรณารักษ์หรือ
เจ้าหน้าที่
2. ดูกำหนดส่งทุกครั้ง เพื่อส่งหนังสือตามเวลา
3. เมื่อต้องการนำหนังสือมาคืน ให้นำหนังสือวางไว้ในตะกร้าบริเวณเคาน์เตอร์บริการ
ทรัพยากรสารสนเทศที่ ไม่อนุญาต ให้ยืมออกจากห้องสมุดได้
1. หนังสืออ้างอิง (พจนานุกรม สารานุกรม)
2. หนังสือพระราชนิพนธ์
3. วารสาร
4. หนังสือพิมพ์
ระเบียบการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาค้นคว้าและบริการเครื่องพิมพ์เอกสาร
1. ลงชื่อเข้าใช้บริการคอมพิวเตอร์และบริการพิมพ์งานก่อนเข้าใช้งานทุกครั้ง
2. ใช้บริการเท่าที่จำเป็น เพื่อแบ่งปันให้ผู้อื่นได้ใช้ด้วย
3. หากเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องปริ้นเตอร์มีปัญหาให้ติดต่อครูบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่
ทันที ห้ามสั่งพิมพ์ซ้ำติดต่อกันในกรณีที่เครื่องปริ้นเตอร์ไม่สามารถพิมพ์งานได้
หน้า 6
3. มารยาทการใช้ห้องสมุดโดยทั่วไป
1. ผู้เข้าใช้ห้องสมุดควรแต่งกายสุภาพ
2. ให้นำกระเป๋าและสิ่งของวางไว้ข้างนอกห้องสมุดในที่จัดไว้ให้เท่านั้น ยกเว้นสมุด ปากกา ดินสอ
และสิ่งของมีค่าอื่น ๆ สามารถนำเข้าห้องสมุดได้
3. ไม่ส่งเสียงรบกวนสมาธิของผู้อื่น
4. ไม่นำขนมหวาน อาหาร เครื่องดื่ม ตลอดจนของขบเคี้ยวทุกชนิดเข้ามารับประทานภายในห้องสมุด
โดยเด็ดขาด หากพบเห็นให้รีบแจ้งบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่
5. ไม่ขีดเขียน ฉีก หรือทำลายหนังสือ รวมทั้งวัสดุครุภัณฑ์อื่น ๆ ในห้องสมุกทุกชนิด เช่น โต๊ะ เก้าอี้
6. เมื่ออ่านหนังสือเสร็จแล้ว ให้นำหนังสือไปไว้ที่พักหนังสือ
7. เลื่อนเก้าอี้เก็บเข้าที่เดิม หลังจากเลิกใช้ทุกครั้ง
8. ถ้าพบผู้กระทำความผิดไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตามจะถูกลงโทษตามควรแก่กรณี
4. กิจกรรมห้องสมุด
กิจกรรมห้องสมุด หมายถึง กิจกรรมหรืองานที่ห้องสมุดจัดขึ้นเป็นครั้งคราวหรือในโอกาสต่าง ๆ เพื่อ
ส่งเสริมการอ่านหนังสือ การศึกษาค้นคว้า และส่งเสริมการใช้บริการห้องสมุดมากขึ้น
ความสำคัญของกิจกรรมห้องสมุด
การจัดกิจกรรมห้องสมุดเป็นการประชาสัมพันธ์ห้องสมุดทำให้ผู้ใช้ได้รู้จักห้องสมุด มีความกระตือรือร้นใน
การติดตามอ่านหนังสือหรือค้นคว้า มีส่วนช่วยเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ สามารถค้นคว้าหา
ข้อมูลมาจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมห้องสมุด
1. เพื่อกระตุ้นความสนใจให้อ่านหนังสือ
2. เพื่อจูงใจให้อ่านหนังสือและเกิดนิสัยรักการอ่าน
3. เปิดโอกาสให้นักเรียนทำงานร่วมกัน
4. เพื่อเกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ
5. เพื่อให้ผู้ใช้มาใช้บริการห้องสมุดเพิ่มขึ้น
เด็ก ๆ เข้าไปดูคลิปวิดีโอเพิ่มเติม
เกี่ยวกับมารยาทในการใช้ห้องสมุด
ได้ที่คลิปนี้
หน้า 7
ประเภทของกิจกรรมห้องสมุด
1. กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เป็นกิจกรรมที่จูงใจให้นักเรียนสนใจในการอ่าน และเกิดนิสัยรักการอ่าน
เช่น การเล่านิทาน การเล่าเรื่องจากหนังสือ การตอบปัญหาจากหนังสือ การแสดงละครหุ่นมือ การประกวด
แข่งขัน การจัดแสดงหนังสือใหม่ เป็นต้น
2. กิจกรรมส่งเสริมความรู้เรื่องห้องสมุด เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักห้องสมุด ในการศึกษา
ค้นคว้าด้วยตนเอง เช่น การแนะนำการใช้ห้องสมุด การปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด การอบรมยุวบรรณารักษ์
เป็นต้น
3. กิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน เป็นกิจกรรมที่ห้องสมุดจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนของแต่
ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ เช่น การจัดนิทรรศการ การประกวดคำขวัญ การตอบปัญหา บริการครูนำนักเรียนมา
ศึกษาค้นคว้าในชั่วโมงเรียน เป็นต้น
4. กิจกรรมส่งเสริมความรู้ทั่วไป เป็นกิจกรรมที่ห้องสมุดจัดขึ้น เพื่อเสริมความรู้ให้แก่ผู้ใช้บริการ เช่น
จัดสัปดาห์ห้องสมุด ป้ายนิเทศเสริมความรู้ การจัดนิทรรศการ เป็นต้น
5. กิจกรรมส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็น
ประโยชน์จากการอ่าน ได้แก่ มุมรักการอ่าน มุมหนังสือในห้องเรียน ห้องสมุดเคลื่อนที่ เป็นต้น
หน้า 8
แบบฝึกหัดที่ 1.1
พื้นฐานงานห้องสมุด
คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านโจทย์ต่อไปนี้ แล้วทำเครื่องหมายถูก (✓) หน้าข้อความที่ถูกต้อง และทำ
เครื่องหมายผิด () หน้าข้อความที่ไม่ถูกต้อง
ชื่อ - นามสกุล ชั้น เลขที่
1. บริการที่ทุกห้องสมุดต้องมีคือบริการการอ่าน
2. ห้องสมุดคือสถานที่รวบรวมความรู้สารสนเทศต่าง ๆ และให้บริการบุคคลทั่วไป
3. นักเรียนสามารถนำลูกอมเข้าห้องสมุดได้ เพราะเป็นขนมไม่ใช่อาหารหลัก
4. โรงเรียนไม่จำเป็นต้องมีห้องสมุดก็ได้ เพราะนักเรียนส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตค้นหาข้อมูล
5. การจัดการศึกษานอกระบบ (กศน.) เป็นหน้าที่ของห้องสมุดประชาชน
6. ผู้ที่มาใช้บริการห้องสมุดต้องมาศึกษาหาความรู้เท่านั้น ห้ามใช้เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ
7. ห้องสมุดแต่ละประเภทมีลักษณะและวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งแตกต่างกัน
8. ห้องสมุดประชาชนเป็นห้องสมุดที่ใครจะเข้ามาใช้บริการก็ได้ ไม่เสียค่าใช้จ่าย
9. หากนักเรียนไม่นำหนังสือของห้องสมุดมาคืนตามกำหนดจะเสียค่าปรับตามระเบียบของห้องสมุด
10. หนึ่งในมาตรฐานของห้องสมุด 3D คือ ผู้ใช้ห้องสมุดมีมารยาทดี
ระดับคุณภาพ
คะแนน
เต็ม
เกณฑ์คะแนน
ผ่าน
คะแนนที่
ได้
ระดับ
คุณภาพ
4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8
10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน
ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน
หน้า 9
แบบทดสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พื้นฐานงานห้องสมุด
คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านโจทย์คำถามและพิจารณาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดในแต่ละข้อ แล้วระบายคำตอบที่
ถูกต้องด้วยดินสอ 2B ลงในวงกลมตัวเลือก  ในกระดาษคำตอบในหน้าถัดไป
1. ข้อใดให้ความหมายของห้องสมุดครบถ้วนที่สุด
ก. สถานที่เก็บหนังสือ
ข. สถานที่สำหรับทำการบ้าน
ค. สถานที่รวบรวมและให้บริการความรู้
ง. สถานที่รวบรวมข่าวสารข้อมูล
2. ห้องสมุดมีความสำคัญที่สุดอย่างไร
ก. ใช้เป็นที่ประชุม
ข. ใช้เป็นที่พบปะเพื่อนฝูง
ค. ใช้เป็นแหล่งข่าวซุบซิบและข้อมูลต่าง ๆ
ง. ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และให้บริการข้อมูล
สารสนเทศ
3. ถ้านักเรียนเข้าห้องสมุดเพื่ออ่านหนังสือการ์ตูน
ถือว่านักเรียนได้ทำตามวัตถุประสงค์ของ
ห้องสมุดข้อใด
ก. เพื่อนันทนาการ
ข. เพื่อความจรรโลงใจ
ค. เพื่อการศึกษาหาความรู้
ง. เพื่อการศึกษาค้นคว้าวิจัย
4. ห้องสมุดมีกี่ประเภท
ก. 3 ประเภท
ข. 4 ประเภท
ค. 5 ประเภท
ง. 6 ประเภท
5. ข้อใดคือห้องสมุดเฉพาะ
ก. ห้องสมุดอำเภอดำเนินสะดวก
ข. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร
ค. ห้องสมุดโรงเรียนสายธรรมจันทร์
ง. ห้องสมุดธนาคารแห่งประเทศไทย
6. เทคโนโลยีใดที่นำมาใช้ป้องกันการขโมยหนังสือ
ของห้องสมุด
ก. RFID
ข. บาร์โค้ด
ค. CPU
ง. ไมโครชิพ
7. หากต้องการนำหนังสือกลับไปอ่านที่บ้าน
นักเรียนต้องใช้บริการใดของห้องสมุด
ก. บริการการอ่าน
ข. บริการมุมค้นคว้าด้วยตนเอง
ค. บริการยืม - คืน
ง. บริการแนะนำการใช้ห้องสมุด
8. ข้อใด ไม่ใช่ วัตถุประสงค์ของงานบริการห้องสมุด
ก. เพื่อส่งเสริมการอ่าน
ข. เพื่อสนับสนุนการศึกษาค้นคว้า
ค. เพื่อให้เกิดการจ้างงานบรรณารักษ์
ง. เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ
9. หากไม่ปฏิบัติตามระเบียบการของห้องสมุดจะมี
ผลอย่างไร
ก. ห้องสมุดต้องปิดบริการ
ข. ผู้ใช้คนอื่นเกิดความรำคาญ
ค. ผู้ใช้คนอื่นเข้าใช้บริการไม่ได้
ง. ไม่มีผลอะไร เพราะคนใช้ห้องสมุดน้อย
10. บุคคลใดใช้บริการห้องสมุดได้อย่างเหมาะสม
ก. เต๋าเก็บเก้าอี้เข้าที่ก่อนออกจากห้องสมุด
ข. ตุ๊กนำขนมเข้ามากินระหว่างอ่านหนังสือ
ค. ต่ายเอาหนังสือกลับบ้านโดยไม่ได้ยืม
ง. เต้ยเปิดมือถือเสียงดังขณะเล่นเกมใน
ห้องสมุดเพื่อความสนุก
หน้า 10
กระดาษคำตอบ
แบบทดสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พื้นฐานงานห้องสมุด
คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนชื่อ - นามสกุล ชั้น และเลขที่ลงในช่องว่างของกระดาษคำตอบ และระบายตัวเลือก
ที่ถูกต้องที่สุดในแต่ละข้อด้วยดินสอ 2B ลงในวงกลมตัวเลือก  ในกระดาษคำตอบ
คำแนะนำ
• ใช้ดินสอดำ 2B เท่านั้น ระบายวงกลมทุกวงที่ต้องการให้ดำเต็มวง
• ถ้าต้องการแก้ไข ให้ใช้ยางลบลบให้สะอาดก่อน จึงระบายวงใหม่
• ห้ามขีดเขียนสิ่งอื่นใดนอกเหนือจากที่ระบุไว้
ระดับคุณภาพ
คะแนน
เต็ม
เกณฑ์คะแนน
ผ่าน
คะแนนที่
ได้
ระดับ
คุณภาพ
4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8
10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน
ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน
หน่วยที่ 1 พื้นฐานงานห้องสมุด
หน้า 11
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 แหล่งและทรัพยากรสารสนเทศ
เรื่องที่ 1 แหล่งสารสนเทศ
1. ความหมายของแหล่งสารสนเทศ
แหล่งสารสนเทศ หมายถึง แหล่งกำเนิดหรือรวบรวมข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ความรู้ต่าง ๆ สำหรับ
ผู้สนใจ
2. ประเภทของแหล่งสารสนเทศ
แหล่งสารสนเทศ แบ่งออกเป็น...................ประเภท ได้แก่
1. แหล่งสารสนเทศประเภทบุคคล คือ บุคคลที่ ให้ความรู้ ข้อมูล กับผู้อื่นได้ เช่น.............................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
2. แหล่งสารสนเทศประเภทสื่อมวลชน คือ แหล่งกำเนิดข่าวผ่านสื่อมวลชนต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์
โทรทัศน์ วิทยุ เน้นข่าวสารที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์ แต่ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลให้แน่ชัดก่อน
นำมาใช้ เช่น................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
3. แหล่งสารสนเทศประเภทสถาบันบริการ คือ หน่วยงานที่จัดตั้งโดยหน่วยงานของรัฐและเอกชน
จัดหารวบรวม วิเคราะห์ จัดเก็บ และให้บริการอย่างเป็นระบบ เช่น........................................................................
.....................................................................................................................................................................................
4. แหล่งสารสนเทศประเภทสื่ออินเทอร์เน็ต คือ แหล่งสารสนเทศไร้พรมแดน บนเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก เช่น.......................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................
หน้า 12
แบบฝึกหัดที่ 2.1
แหล่งสารสนเทศ
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ และบอกถึงแหล่งที่มาว่านักเรียนหาคำตอบมาจากแหล่งใด
ชื่อ - นามสกุล ชั้น เลขที่
ข้อ คำถาม คำตอบ แหล่งสารสนเทศ
1 วันเกิดของผู้ปกครองของนักเรียน
2 ครูประจำชั้นของนักเรียนสอนวิชาอะไร
3 ใครเป็นคนแต่งเพลงชาติไทย
4 น้ำมีจุดเยือกแข็งอยู่ที่กี่องศาเซลเซียส
5 เพื่อนสนิทของผู้ปกครองนักเรียนชื่ออะไร
6 “ไถง” อ่านว่าอะไรและหมายความว่าอย่างไร
7 สีขาวในธงชาติมีความหมายอย่างไร
8 ห้องสมุด แปลเป็นภาษาอังกฤษว่าอะไร
9 หนังสือเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ม.1 มีชื่อเรื่อง
ว่าอะไร
10 จงยกตัวอย่างจำนวนเต็มพันมา 1 จำนวน
ระดับคุณภาพ
คะแนน
เต็ม
เกณฑ์คะแนน
ผ่าน
คะแนนที่
ได้
ระดับ
คุณภาพ
4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8
10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน
ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน
หน้า 13
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 แหล่งและทรัพยากรสารสนเทศ
เรื่องที่ 2 ทรัพยากรสารสนเทศ
1. ความหมายของทรัพยากรสารสนเทศ
ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง วัสดุที่บันทึกข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ประสบการณ์ที่เกิด
จากสติปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์แสดงออกให้ปรากฏโดยใช้ภาษา สัญลักษณ์ ภาพ รหัสอื่น ๆ ที่
สื่อสารสัมผัสได้ ห้องสมุดยุคใหม่ไม่จำเป็นต้องเก็บสะสมทรัพยากรสารสนเทศให้มากที่สุด แต่เน้นการจัดหา
ทรัพยากรสารสนเทศที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้เป็นสำคัญ
2. ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ
ทรัพยากรสารสนเทศแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1.
2.
3.
2.1 ทรัพยากรสารสนเทศตีพิมพ์ (Printed Materials)
1. สารสนเทศตีพิมพ์ หมายถึง
ข้อดีของวัสดุตีพิมพ์ คือ ใช้ได้ง่าย สะดวก และไม่ต้องมีอุปกรณ์ช่วยในการอ่าน แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเทคโนโลยี
สมัยใหม่ช่วยในการบันทึกความรู้หลากหลายชนิดขึ้นก็ตาม แต่วัสดุตีพิมพ์ก็ยังมีความสำคัญและนิยมใช้กันอยู่
ทั่วไป
ตัวอย่างของสารสนเทศตีพิมพ์
1. หนังสือ คือ สิ่งพิมพ์ที่รวบรวมข้อมูล ความรู้ โดยการเขียนหรือพิมพ์ลงบนกระดาษ มีลักษณะเป็น
เล่ม เนื้อหาจบสมบูรณ์ในเล่มเดียวหรือหลายเล่มที่เรียกว่า หนังสือชุด ส่วนใหญ่จะมีผู้แต่ง 1 – 3 คน
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.1 หนังสือสารคดี คือ หนังสือด้านทางวิชาการ ให้ความรู้เฉพาะทาง เช่น หนังสือความรู้ทั่วไป
ตำราเรียน หนังสืออ่านเพิ่มเติม หนังสือคู่มือ หนังสืออ้างอิง เป็นต้น
หน้า 14
1.2 หนังสือบันเทิงคดี คือ หนังสือที่มีเนื้อหาสนุกเพลิดเพลิน แต่งจากจินตนาการของผู้เขียน อาจ
สอดแทรกความรู้และความคิดต่าง ๆ ไว้ด้วย เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น หนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน เป็นต้น
2. สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง คือ สิ่งพิมพ์ที่มีกำหนดออกเป็นวาระที่แน่นอน เช่น ออกทุกวัน ออกทุก 1
สัปดาห์ ออกทุก 1 เดือน ออกทุก 3 เดือน เป็นต้น มีผู้แต่งหลายคน แบ่งเนื้อหาเป็นคอลัมม์ อาจมีเนื้อหา
ต่อเนื่องกันได้ ตัวอย่างของสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง เช่น
2.1 หนังสือพิมพ์ คือ สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องที่มุ่งเน้นการนำเสนอ
ข่าวสาร ทันสมัย หรือเรื่องราวที่กำลังเป็นที่สนใจ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ
สังคม ธุรกิจ การศึกษา อาชีพ กีฬาและบันเทิง ปกติจะมีกำหนดออกทุกวัน
ห้องสมุดจะให้บริการหนังสือพิมพ์ไว้ใกล้กับวารสาร
2.2 วารสาร คือ สิ่งพิมพ์ที่ให้ข้อมูลทันสมัย เกร็ดความรู้ หรือข่าวประชาสัมพันธ์ มีเนื้อหาเชิง
วิชาการ มีหลายคอลัมน์ มีผู้แต่งหลายคน เช่น วารสารโรงเรียน วารสารวิชาการ
2.3 นิตยสาร คือ สิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเหมือนกันวารสาร แต่ละมีเนื้อหาสนุกสนาน เพลินเพลิด
มากกว่า มักมีเนื้อหาเฉพาะ เช่น นิตยสารเกี่ยวกับการจัดสวน นิตยสารเกี่ยวกับผู้หญิง เป็นต้น
3. กฤตภาค คือ สิ่งพิมพ์ที่ห้องสมุดจัดทำขึ้นเอง โดยตัดหรือถ่ายเอกสาร
จากหนังสือพิมพ์ วารสาร/นิตยสาร มาแปะลงบนกระดาษเอ 4 แล้วจัดเป็น
หมวดหมู่ เพื่อให้หาได้ง่าย
นี่คือวารสาร นี่คือนิตยสาร
กฤตภาค อ่านว่า กิด-ตะ-พาก
คือการตัดบทความจากหนังสือพิมพ์
มาแปะลงเอ 4
หน้า 15
2. สารสนเทศไม่ตีพิมพ์ หมายถึง
แต่บันทึกข้อมูล ความรู้ โดยอาศัย ภาพ เสียง สัญลักษณ์ หรือรหัส เป็นต้น
ตัวอย่างของสารสนเทศไม่ตีพิมพ์
1. โสตวัสดุ คือ วัสดุที่บันทึก “เสียง” เป็นสื่อในการถ่ายทอดความรู้ เช่น
2. ทัศนวัสดุ คือ วัสดุที่ต้องใช้สายตารับรู้ข้อมูลความรู้ โดยอาจดูด้วยตาเปล่าหรือใช้เครื่องมือช่วยก็ได้
เช่น
2. โสตทัศนวัสดุ คือ วัสดุที่ถ่ายทอดความรู้ โดยใช้ทั้ง “ภาพและเสียง” ประกอบกัน เช่น
3. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง ข้อมูล ความรู้ ข่าวสารที่รวบรวมและจัดเก็บไว้ในรูปแบบที่
อ่าน ดู ฟัง หรือสืบค้นได้ด้วยคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือในอินเทอร์เน็ต เช่น
หน้า 16
แบบฝึกหัดที่ 2.2
แผนผังทรัพยากรสารสนเทศ
คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนแผนผังมโนทัศน์ (Mind Mapping) ในหัวข้อทรัพยากรสารสนเทศ โดยวาด
ภาพประกอบและตกแต่งให้สวยงามได้
ชื่อ - นามสกุล ชั้น เลขที่
ระดับคุณภาพ
คะแนน
เต็ม
เกณฑ์คะแนน
ผ่าน
คะแนนที่
ได้
ระดับ
คุณภาพ
4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8
10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน
ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน
ทรัพยากร
สารสนเทศ
โสตวัสดุ
สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง
หน้า 17
แบบทดสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 แหล่งและทรัพยากรสารสนเทศ
คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านโจทย์คำถามและพิจารณาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดในแต่ละข้อ แล้วระบายคำตอบที่
ถูกต้องด้วยดินสอ 2B ลงในวงกลมตัวเลือก  ในกระดาษคำตอบในหน้าถัดไป
1. ทรัพยากรสารสนเทศมีกี่ประเภท
ก. 5 ประเภท
ข. 4 ประเภท
ค. 3 ประเภท
ง. 2 ประเภท
2. สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องมีลักษณะแตกต่างจากสิ่งพิมพ์
อื่นอย่างไร
ก. ไม่มีหน้าปกหนังสือ
ข. อ่านเนื้อหาได้จบในเล่ม
ค. มีคนแต่งเพียงคนเดียว
ง. มีกำหนดออกเป็นวาระแน่นอน
3. ทรัพยากรสารสนเทศหมายถึงข้อใด
ก. วัสดุที่บันทึกความรู้ของมนุษย์
ข. ข้อมูลที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต
ค. หนังสือที่อยู่ในห้องสมุด
ง. แหล่งกำเนิดความรู้ของมนุษย์
4. ข้อเสียของข้อมูลที่สืบค้นได้จากเว็บไซต์ใน
อินเทอร์เน็ตคือข้อใด
ก. ข้อมูลมีทั้งข้อความ ภาพเคลื่อนไหว
และเสียง
ข. สืบค้นข้อมูลได้สะดวกทุกที่ทุกเวลา
ค. ข้อมูลบางอย่างไม่น่าเชื่อถือ
ง. ข้อมูลค้นหาได้ง่าย
5. ข้อใดคือสารสนเทศประเภทสิ่งตีพิมพ์
ก. แผ่นซีดี
ข. หนังสือพิมพ์
ค. รูปถ่าย
ง. คลิปวิดีโอ
6. ข้อใดเป็นแหล่งสารสนเทศประเภทสื่อมวลชน
ก. ศูนย์ข้อมูลหนังสือพิมพ์มติชน
ข. ครูพลอยกานต์
ค. ห้องสมุด
ง. พิพิธภัณฑ์
7. ทรัพยากรสารสนเทศมีความสำคัญที่สุดอย่างไร
ก. ใช้รักษาโรค
ข. ใช้เป็นอาหาร เครื่องนุ่งห่ม
ค. ใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ
ง. ใช้เป็นแหล่งความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง
8. แหล่งสารสนเทศในข้อใดที่สามารถเก็บข้อมูล
สารสนเทศได้อย่างมหาศาล
ก. ห้องสมุด
ข. อินเทอร์เน็ต
ค. สื่อมวลชน
ง. บุคคล
9. ทรัพยากรสารสนเทศข้อใดแตกต่างจากข้ออื่น
ก. วารสาร นิตยสาร
ข. ฟิล์มภาพยนตร์ หุ่นจำลอง
ค. แผ่นเสียง ม้วนวิดีโอ
ง. รูปภาพ เทปเสียง
10. คลิปวิดีโอสอนทำไข่เจียวในเว็บไซต์ยูทูปจัดเป็น
ทรัพยากรสารสนเทศประเภทใด
ก. สื่ออิเล็กทรอนิกส์
ข. สื่อทัศนวัสดุ
ค. สื่อตีพิมพ์
ง. สื่อเคลื่อนไหว
หน้า 18
กระดาษคำตอบ
แบบทดสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 แหล่งและทรัพยากรสารสนเทศ
คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนชื่อ - นามสกุล ชั้น และเลขที่ลงในช่องว่างของกระดาษคำตอบ และระบายตัวเลือก
ที่ถูกต้องที่สุดในแต่ละข้อด้วยดินสอ 2B ลงในวงกลมตัวเลือก  ในกระดาษคำตอบ
คำแนะนำ
• ใช้ดินสอดำ 2B เท่านั้น ระบายวงกลมทุกวงที่ต้องการให้ดำเต็มวง
• ถ้าต้องการแก้ไข ให้ใช้ยางลบลบให้สะอาดก่อน จึงระบายวงใหม่
• ห้ามขีดเขียนสิ่งอื่นใดนอกเหนือจากที่ระบุไว้
ระดับคุณภาพ
คะแนน
เต็ม
เกณฑ์คะแนน
ผ่าน
คะแนนที่
ได้
ระดับ
คุณภาพ
4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8
10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน
ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน
หน่วยที่ 2 แหล่งและทรัพยากรสารสนเทศ
หน้า 19
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ระบบทศนิยมดิวอี้
เรื่องที่ 1 การจัดหมวดหมู่หนังสือ
1. ความหมายของการจัดหมวดหมู่หนังสือ
การจัดหมวดหมู่หนังสือ หมายถึง การจัดหนังสือที่มีเนื้อเรื่องคล้ายกันไว้ด้วยกัน โดยกำหนดสัญลักษณ์
แทนเนื้อหาของหนังสือแต่ละประเภท เพื่อเป็นเครื่องหมายระบุตำแหน่งของหนังสือ
การจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศอย่างง่าย
2. ความสำคัญของการจัดหมวดหมู่หนังสือ
1. ผู้ใช้และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดสามารถค้นหาและจัดเก็บหนังสือที่ต้องการได้ง่ายและประหยัดเวลา
2. หนังสือที่มีเนื้อหาวิชาเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันจะรวมอยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน
3. เมื่อมีหนังสือใหม่ก็สามารถจัดหมวดหมู่ แล้วนำออกขึ้นชั้นรวมกับหนังสือที่มีอยู่ก่อนแล้วเพื่อให้บริการ
ได้อย่างรวดเร็ว
3. ประโยชน์ของการจัดหมวดหมู่หนังสือ
1. หนังสือแต่ละเล่มจะมีสัญลักษณ์แทนเนื้อหาของหนังสือ
2. ช่วยให้ผู้ใช้มีโอกาสเลือกหนังสือได้หลากหลายขึ้น เนื่องจากหนังสือที่เนื้อหาคล้ายกันวางอยู่ใกล้ ๆ กัน
3. หนังสือชุดเรียงต่อกัน ทำให้อ่านได้ครบชุดสมบูรณ์
4. หนังสือที่มีลักษณะคำประพันธ์แบบเดียวกันจะอยู่ใกล้กัน
5. เพิ่มประสิทธิภาพในการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด ช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาหนังสือได้อย่าง
สะดวก รวดเร็ว และประหยัดเวลา เจ้าหน้าที่ก็สามารถจัดเก็บเข้าที่ได้ถูกต้อง รวดเร็ว
6. ช่วยให้รู้จำนวนหนังสือแต่ละสาขาวิชาคร่าว ๆ ว่ามีจำนวนมากน้อยเท่าใด เพื่อให้จัดหาเพิ่มเติมได้
เหมาะสม
1. แยกตามประเภทของวัสดุ (หนังสือ, วารสาร,ฯลฯ)
2. แยกตามภาษา (ภาษาไทย, ภาษาต่างประเทศ)
3. จัดหมวดหมู่ตามความเหมาะสมแต่ละประเภทสื่อ
ทำไมต้องมีการจัดหมวดหมู่หนังสือ ? แล้วน้อง ๆ คิดว่าจะจัดหมวดหมู่
หนังสือยังไงดี ?
หน้า 20
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
เรื่องที่ 2 ระบบทศนิยมดิวอี้
1. ระบบการจัดหมวดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้
การจัดหมวดหมู่หนังสือในระบบทศนิยมดิวอี้คิดค้นโดย เมลวิล ดิวอี้ (Mevil Dewey) บรรณารักษ์
และนักการศึกษาชาวอเมริกัน โดยแบ่งเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ออกเป็น 10 หมวดหมู่ และใช้ตัวเลขสามหลักเป็น
สัญลักษณ์ในการแบ่งหมวดหมู่ ระบบทศนิยมดิวอี้เหมาะสำหรับห้องสมุดขนาดเล็กและขนาดกลาง นิยมใช้ใน
ห้องสมุดโรงเรียนและห้องสมุดประชาชน
2. การแบ่งหมวดหมู่ในระบบทศนิยมดิวอี้
๏ ใช้ตัวเลขสามหลักเป็นสัญลักษณ์ในการแบ่งหมวดใหญ่ เป็น 10 หมวดใหญ่
๏ แต่ละหมวดใหญ่แบ่งออกเป็น 10 หมวดย่อย
๏ แต่ละหมวดย่อยแบ่งออกเป็น 10 หมู่
๏ ในแต่ละหมู่แบ่งออกเป็นหมู่ย่อย โดยใช้จุดทศนิยม
การกระจายตัวเลขในระบบทศนิยมดิวอี้
000
100
200
300
400
500
600
700
800
900
300
310
320
330
340
350
360
370
380
390
370
371
372
373
374
375
376
377
378
379
378.1
378.12
378.134
378.2
หมวดใหญ่ หมวด หมู่ หมู่ย่อย
หน้า 21
3. หมวดหมู่ใหญ่ในระบบทศนิยมดิวอี้
หมวด 100 แทน ปรัชญา จิตวิทยา
หมวด 200 แทน ศาสนา
หมวด 300 แทน สังคมศาสตร์
หมวด 400 แทน ภาษาศาสตร์
หมวด 500 แทน วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
หมวด 600 แทน เทคโนโลยี สุขภาพ เกษตรกรรม คหกรรม
หมวด 700 แทน ศิลปะและการแสดง ดนตรี กีฬา งานประดิษฐ์
หมวด 800 แทน วรรณคดี
หมวด 900 แทน ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การท่องเที่ยว และชีวประวัติ
หมวด 000 แทน ทั่วไปหรือเบ็ดเตล็ด คอมพิวเตอร์ บรรณารักษ์ ห้องสมุด
ท่องจำให้แม่น ๆ นะ
เด็ก ๆ
หน้า 22
แบบฝึกหัดที่ 3.1
ระบบทศนิยมดิวอี้ มีอะไรบ้าง ??
คำชี้แจง ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตว่าการจัดหมวดหมู่หนังสือในระบบทศนิยมดิวอี้แบ่งออกเป็น
หมวดหมู่อะไรบ้าง ตามสัญลักษณ์ทั้ง 10 หมวดหมู่
ชื่อ - นามสกุล ชั้น เลขที่
เลขหมู่ ชื่อหมวดหมู่
000
100
200
300
400
500
600
700
800
900
ระดับคุณภาพ
คะแนน
เต็ม
เกณฑ์คะแนน
ผ่าน
คะแนนที่
ได้
ระดับ
คุณภาพ
4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8
10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน
ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน
หน้า 23
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
เรื่องที่ 3 การเรียงหนังสือขึ้นชั้น
1. เลขเรียกหนังสือ (Call Number)
เลขเรียกหนังสือ คือ สัญลักษณ์ที่ห้องสมุดกำหนดให้กับหนังสือแต่ละเล่ม ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2
ส่วน คือ
ปรากฏอยู่บริเวณสันหนังสือ เช่น
2. การจัดเรียงชั้นหนังสือ
1. หนังสือภาษาไทยจัดเรียงแยกจากหนังสือภาษาอังกฤษ
2. ถ้าหนังสือภาษาไทยปนอยู่กับหนังสือภาษาอังกฤษให้จัดเรียงหนังสือภาษาไทยก่อนหนังสือ
ภาษาอังกฤษ
3. เรียงหนังสือบนชั้นจากซ้ายไปขวา และจากบนลงล่าง
4. เรียงหนังสือตามลำดับเลขเรียกหนังสือเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก เช่น
200 >> 210 >> 220 >> 230
5. ถ้าหนังสือหลายเล่มมีเลขหมู่ซ้ำกัน ให้เรียงอันดับอักษรย่อของชื่อผู้แต่งใต้เลขหมู่ตามลำดับตัวอักษร
เช่น
เลขหมู่
หนังสือ
เลข
ผู้แต่ง
เลขเรียก
หนังสือ
710 710 710 710
ก114ค ว214ป ส114ข ห121จ
398.2
ท63ม
2560
ล.1 ฉ.2
เลขหมู่
เลขผู้แต่ง
ปีที่พิมพ์
ลักษณะพิเศษ
เลขเรียกหนังสือ
หน้า 24
6. ถ้าหนังสือหลายเล่มมีเลขหมู่ซ้ำกัน อักษรย่อชื่อผู้แต่งซ้ำกัน ให้เรียงเลขประจำตัวผู้แต่ง
7. ถ้าเลขหมู่เหมือนกัน ชื่อผู้แต่ง เลขผู้แต่งเหมือนกัน ให้เรียงตามลำดับชื่อเรื่อง
สรุปวิธีการเรียงหนังสือขึ้นชั้น
เลขหมู่ ตัวอักษรผู้แต่ง เลขผู้แต่ง ตัวอักษรชื่อเรื่อง
520 520 520 520
ม122จ ม431จ ม563จ ม695จ
594.3 594.3 594.3 594.3
พ82ก พ82จ พ82บ พ82อ
หน้า 25
แบบฝึกหัดที่ 3.2
จับคู่ดิวอี้แสนสนุก
คำชี้แจง ให้นักเรียนจับคู่เลขหมู่หนังสือในระบบทศนิยมดิวอี้ กับ ชื่อหนังสือต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
ชื่อ - นามสกุล ชั้น เลขที่
เลขหมู่ ชื่อหนังสือ
100   ภาษาจีนติดกระเป๋า
700   พืชผักปลอดสารพิษสยบโรค
300   ทุบสถิติที่สุดของโลก
200   กรีฑาทัพพ่ายหัวใจ
900   การทดลองเคมี
400   วันสำคัญของไทย
600   ประวัติศาสตร์พม่า
800   จิตวิทยาความรัก
500   เทคนิคการเต้นบัลเล่ต์
000   มีทำไมธรรมะ ?
ระดับคุณภาพ
คะแนน
เต็ม
เกณฑ์คะแนน
ผ่าน
คะแนนที่
ได้
ระดับ
คุณภาพ
4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8
10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน
ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน
หน้า 26
แบบทดสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ระบบทศนิยมดิวอี้
คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านโจทย์คำถามและพิจารณาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดในแต่ละข้อ แล้วระบายคำตอบที่
ถูกต้องด้วยดินสอ 2B ลงในวงกลมตัวเลือก  ในกระดาษคำตอบในหน้าถัดไป
1. เด็กหญิงปลาทองต้องการเรียนภาษาเกาหลีเพื่อ
เอาไปคุยกับอปป้า เด็กหญิงปลาทองต้องไปหา
หนังสือที่หมวดหมู่ใด
ก. 800
ข. 400
ค. 200
ง. 100
2. เลขผู้แต่งข้อใดอยู่ในลำดับท้ายสุด
ก. ฟ456ต
ข. ฮ745ญ
ค. ก368ข
ง. พ214ก
3. ข้อใดคือหนังสือในหมวด 900
ก. เล่นหุ้นไม่ยาก
ข. ประดิษฐ์กระทงใบตอง
ค. เรียนภาษาอังกฤษง่ายนิดเดียว
ง. ประวัติศาสตร์ชาติไทย
4. ข้อใดคือประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของการจัด
หมวดหมู่หนังสือ
ก. ทำให้ค้นหาหนังสือได้ง่าย
ข. ทำให้จัดหนังสือได้มีระเบียบ
ค. ทำให้ทราบจำนวนหนังสือ
ง. ทำให้หนังสือมีสัญลักษณ์แทนเนื้อหา
5. หนังสือเกี่ยวกับฟุตบอลอยู่ในหมวดใด
ก. 900
ข. 200
ค. 700
ง. 000
6. ข้อใดคือวัตถุประสงค์หลักของการจัดหมวดหมู่
หนังสือ
ก. เพื่อให้หนังสือที่เนื้อหาคล้ายกันอยู่
ด้วยกัน จะได้ค้นหาได้ง่าย
ข. เพื่อให้หนังสือเป็นระเบียบสวยงาม
ค. เพื่อให้จัดเก็บหนังสือได้
ง. เพื่อให้หนังสือมีที่อยู่แน่นอน
7. เลขหมู่หนังสือข้อใดมาก่อนเลขหมู่หนังสือข้ออื่น
ก. 123.44
ข. 123.401
ค. 123.4
ง. 123.04
8. ระบบทศนิยมดิวอี้แบ่งออกเป็นกี่หมวดใหญ่
ก. 10 หมวด
ข. 20 หมวด
ค. 9 หมวด
ง. 5 หมวด
9. หากนักเรียนต้องการหาหนังสือเกี่ยวกับวิทยา-
ศาสตร์ ต้องค้นหาที่หมวดใด
ก. 600
ข. 200
ค. 300
ง. 500
10. หนังสือเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าอยู่ในหมวดหมู่ใด
ก. 100
ข. 200
ค. 300
ง. 400
หน้า 27
กระดาษคำตอบ
แบบทดสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ระบบทศนิยมดิวอี้
คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนชื่อ - นามสกุล ชั้น และเลขที่ลงในช่องว่างของกระดาษคำตอบ และระบายตัวเลือก
ที่ถูกต้องที่สุดในแต่ละข้อด้วยดินสอ 2B ลงในวงกลมตัวเลือก  ในกระดาษคำตอบ
คำแนะนำ
• ใช้ดินสอดำ 2B เท่านั้น ระบายวงกลมทุกวงที่ต้องการให้ดำเต็มวง
• ถ้าต้องการแก้ไข ให้ใช้ยางลบลบให้สะอาดก่อน จึงระบายวงใหม่
• ห้ามขีดเขียนสิ่งอื่นใดนอกเหนือจากที่ระบุไว้
ระดับคุณภาพ
คะแนน
เต็ม
เกณฑ์คะแนน
ผ่าน
คะแนนที่
ได้
ระดับ
คุณภาพ
4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8
10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน
ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน
หน่วยที่ 3 ระบบทศนิยมดิวอี้
หน้า 28
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การเขียนบรรณานุกรม
เรื่องที่ 1 การลงรายการผู้แต่งฉบับย่อ
บรรณานุกรม (Bibliography) หมายถึง รายชื่อเอกสารทั้งหมดที่ได้ใช้ประกอบการศึกษาค้นคว้า แต่
ไม่จำเป็นต้องนำมาอ้างอิงในเนื้อหาทั้งหมด นำรายชื่อเอกสารมาจัดเรียงไว้ท้ายเล่มตามลำดับอักษรของผู้แต่งหรือ
นามสกุลผู้แต่งหากเป็นชาวต่างชาติ
การเขียนบรรณานุกรมนิยมใช้มาตรฐานการเขียนที่ชื่อว่า APA หรือ (American Psychological
Association) เพื่อเป็นมาตรฐานในการเขียนอย่างเป็นระบบ การเขียนบรรณานุกรมรูปแบบ APA ได้พัฒนา
มาถึงเวอร์ชั่นที่ 6 ที่มีมาตราฐานใหม่ที่เป็นแปลงจากเดิมไปพอสมควร ในบทเรียนนี้จะยกตัวอย่างการเขียน
บรรณานุกรมที่จำเป็นและใช้เป็นแหล่งอ้างอิงกันมากคือหนังสือและสื่อออนไลน์
หลักการเขียนบรรณานุกรมแบบ APA v.6
1. หลักการลงรายการผู้แต่ง
ผู้แต่ง (Author) คือ บุคคลหรือหน่วยงานที่รับผิดชบอในการเขียนหรือผลิตเอกสาร สื่อต่าง ๆ
1.1 ผู้แต่งชาวไทยให้ลงรายการด้วยชื่อและนามสกุลของผู้แต่งตามลำดับ เช่น
1.2 ผู้แต่งชาวต่างประเทศให้ใช้นามสกุลขึ้นก่อนคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) แล้วตามด้วยอักษรย่อ
ของชื่อต้นและชื่อกลาง เช่น Campbell, John
1.3 บุคคลธรรมดาให้ลงรายการเฉพาะชื่อ – นามสกุลเท่านั้น ไม่ต้องเขียนคำนำหน้า ตำแหน่ง คุณวุฒิ
ทางการศึกษา หรือตำแหน่งวิชาการ
1.4 หากไม่มีชื่อผู้แต่งจริง ๆ ให้ใส่ชื่อหนังสือหรือบทความแทน
1.5 ผู้แต่ง 1 คน ใส่ชื่อ 1 คน
1.6 ผู้แต่ง 2 - 6 คน ให้ใส่ชื่อทุกคนคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) และหน้าชื่อคนสุดท้ายให้ใส่คำว่า
“และ”
1.7 ผู้แต่ง 7 คนขึ้นไป ให้ใส่ชื่อคนแรกจนถึงคนที่ 6 ตามด้วย . . . (จุด 3 จุด) และตามด้วยชื่อผู้แต่งคนท้าย
1.8 ผู้แต่งที่เป็นสถาบัน องค์กร ส่วนราชการ ให้ใส่ชื่อหน่วยงานใหญ่ก่อน ตามด้วยหน่วยงานย่อย
ตัวอย่างการลงรายการผู้แต่ง
ผู้แต่ง 1 คน ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์.
ผู้แต่ง 2 คน นิพนธ์ วิสารทานนท์ และจักรพงษ์ เจิมศิริ.
ผู้แต่ง 3 - 6 คน หิรัญ หิรัญประดิษฐ์, สุขวัฒน์ จันทรปรณิก และเสริมสุข สลักเพ็ชร.
ผู้แต่ง 7 คนขึ้นไป นพรัตน์ เศรษฐกุล, เอกชัย เอกทัฬห์, พงศ์ธร บรรณโสภิษฐ์, ชยุตม์ สุขทิพย์, ปรีชา
วิทยพันธุ์, จีรศักดิ์ แสงศิริ, . . . ดาริน รุ่งกลิ่น.
ผู้แต่งเป็นสถาบัน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. สถาบันวิจัยและพัฒนา.
หน้า 29
แบบฝึกหัดที่ 4.1
การลงรายการผู้แต่ง
คำชี้แจง ให้นักเรียนลงรายการผู้แต่งใหม่จากชื่อผู้แต่งที่กำหนดให้ตามหลักการเขียนบรรณานุกรม
ชื่อ - นามสกุล ชั้น เลขที่
1. แพทย์หญิงสุภา ณ นคร
ตอบ
2. นายประหยัด ศ. นาคะนาท
ตอบ
3. นางโมนิก้า โฮล์ม
ตอบ
4. พ.อ.อาทิตย์ เจริญพิพัฒน์
ตอบ
5. นางสาวเดือนเพ็ญ สว่างวงศ์ และนางสาวอันนา วอเตอร์
ตอบ
6. ศาสตราจารย์ ดร.โรเบิร์ต แมคกินสัน
ตอบ
7. นายวิทยากร เชียงกูล ร่วมเขียนกับว่าที่ร้อยตรีอัศวิน เย็นอุรา
ตอบ
8. มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์
ตอบ
9. ฮิงาชิโนะ เคโงะ, ผู้เขียน พรพิรุณ เอื้อสุนทร, ผู้แปล
ตอบ
10. ฉางโกวลั่วเยวี่ย
ตอบ
ระดับคุณภาพ
คะแนน
เต็ม
เกณฑ์คะแนน
ผ่าน
คะแนนที่
ได้
ระดับ
คุณภาพ
4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8
10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน
ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน
หน้า 30
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การเขียนบรรณานุกรม
เรื่องที่ 2 รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมหนังสือ
หนังสือ
กรณีพิมพ์ครั้งแรก
ตัวอย่าง
ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์. (2548). ใต้ทะเลมีความรัก ภาคสาม : หลังคลื่นอันดามัน. กรุงเทพฯ : บ้านพระอาทิตย์.
กรณีพิมพ์มาแล้วหลายครั้ง
ตัวอย่าง
ไบลตัน, อีนิด. (2547). ความลับฟาร์มผีเสื้อ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
เว็บไซต์
ตัวอย่าง
พัฒนา ค้าขาย. (2563). 15 ข้อที่ทำให้ ‘ยาหม่องตราถ้วยทอง’ เป็นมิตรคู่เรือน เพื่อนคู่ตัวคนไทยตลอด 70 ปี.
สืบค้น 22 ตุลาคม 2564, จาก https://adaymagazine.com/golden-cup/
ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ.//เมืองที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์.
ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ./(พิมพ์ครั้งที่ ).
////////เมืองที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์.
ชื่อผู้เขียนบทความหรือหน่วยงานเจ้าของเว็บไซต์./(ปีที่โพสต์).
////////ชื่อบทความ./สืบค้น วันเดือนปีที่สืบค้น,//จาก/Url ของเว็บไซต์แบบเต็ม.
หน้า 31
ใบความรู้ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้  ม.2

More Related Content

What's hot

เฉลยแบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docx
เฉลยแบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docxเฉลยแบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docx
เฉลยแบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docx
Supaporn Khiewwan
 
แบบทดสอบ เลขเรียกหนังสือ
แบบทดสอบ เลขเรียกหนังสือแบบทดสอบ เลขเรียกหนังสือ
แบบทดสอบ เลขเรียกหนังสือ
Supaporn Khiewwan
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่   2แผนการจัดการเรียนรู้ที่   2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2kruruttika
 
เฉลยแบบฝึกหัดทรัพยากรสารสนเทศ
เฉลยแบบฝึกหัดทรัพยากรสารสนเทศเฉลยแบบฝึกหัดทรัพยากรสารสนเทศ
เฉลยแบบฝึกหัดทรัพยากรสารสนเทศ
Supaporn Khiewwan
 
LibJu - 3.1 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
LibJu - 3.1 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือLibJu - 3.1 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
LibJu - 3.1 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
Ploykarn Lamdual
 
แบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docx
แบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docxแบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docx
แบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docx
Supaporn Khiewwan
 
LibJu - 2.1 ทรัพยากรสารสนเทศ
LibJu - 2.1 ทรัพยากรสารสนเทศLibJu - 2.1 ทรัพยากรสารสนเทศ
LibJu - 2.1 ทรัพยากรสารสนเทศ
Ploykarn Lamdual
 
การเรียงหนังสือบนชั้นเนื้อหา
การเรียงหนังสือบนชั้นเนื้อหาการเรียงหนังสือบนชั้นเนื้อหา
การเรียงหนังสือบนชั้นเนื้อหาkrujee
 
ส่วนประกอบหนังสือและสิ่งพิมพ์
ส่วนประกอบหนังสือและสิ่งพิมพ์ส่วนประกอบหนังสือและสิ่งพิมพ์
ส่วนประกอบหนังสือและสิ่งพิมพ์krujee
 
เฉลยแบบฝึกหัด เรื่อง ส่วนประกอบของสื่อสิ่งพิมพ์
เฉลยแบบฝึกหัด เรื่อง ส่วนประกอบของสื่อสิ่งพิมพ์เฉลยแบบฝึกหัด เรื่อง ส่วนประกอบของสื่อสิ่งพิมพ์
เฉลยแบบฝึกหัด เรื่อง ส่วนประกอบของสื่อสิ่งพิมพ์
Supaporn Khiewwan
 
ใบงานที่ 1-5 ม.1 1/61
ใบงานที่ 1-5 ม.1 1/61ใบงานที่ 1-5 ม.1 1/61
ใบงานที่ 1-5 ม.1 1/61
Beerza Kub
 
หัวกระดาษข้อสอบ
หัวกระดาษข้อสอบหัวกระดาษข้อสอบ
หัวกระดาษข้อสอบ
worapanthewaha
 
เฉลยแบบฝึกหัดหนังสืออ้างอิง
เฉลยแบบฝึกหัดหนังสืออ้างอิงเฉลยแบบฝึกหัดหนังสืออ้างอิง
เฉลยแบบฝึกหัดหนังสืออ้างอิง
Supaporn Khiewwan
 
เฉลยแบบฝึกหัดทรัพยากรสารนิเทศ ม.4 2560
เฉลยแบบฝึกหัดทรัพยากรสารนิเทศ ม.4 2560เฉลยแบบฝึกหัดทรัพยากรสารนิเทศ ม.4 2560
เฉลยแบบฝึกหัดทรัพยากรสารนิเทศ ม.4 2560
Supaporn Khiewwan
 
ความหมายของห้องสมุด
ความหมายของห้องสมุดความหมายของห้องสมุด
ความหมายของห้องสมุดพัน พัน
 
การเขียนบรรณานุกรม
การเขียนบรรณานุกรมการเขียนบรรณานุกรม
การเขียนบรรณานุกรม
Supaporn Khiewwan
 
แบบบันทึกการศึกษาแหล่งเรียนรู้
แบบบันทึกการศึกษาแหล่งเรียนรู้แบบบันทึกการศึกษาแหล่งเรียนรู้
แบบบันทึกการศึกษาแหล่งเรียนรู้เทวัญ ภูพานทอง
 
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
Thanawut Rattanadon
 
LibJu - 1.1 ประวัติความเป็นมาของห้องสมุด
LibJu - 1.1 ประวัติความเป็นมาของห้องสมุดLibJu - 1.1 ประวัติความเป็นมาของห้องสมุด
LibJu - 1.1 ประวัติความเป็นมาของห้องสมุด
Ploykarn Lamdual
 
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงาน
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า  ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงานชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า  ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงาน
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงาน
SAKANAN ANANTASOOK
 

What's hot (20)

เฉลยแบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docx
เฉลยแบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docxเฉลยแบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docx
เฉลยแบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docx
 
แบบทดสอบ เลขเรียกหนังสือ
แบบทดสอบ เลขเรียกหนังสือแบบทดสอบ เลขเรียกหนังสือ
แบบทดสอบ เลขเรียกหนังสือ
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่   2แผนการจัดการเรียนรู้ที่   2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
 
เฉลยแบบฝึกหัดทรัพยากรสารสนเทศ
เฉลยแบบฝึกหัดทรัพยากรสารสนเทศเฉลยแบบฝึกหัดทรัพยากรสารสนเทศ
เฉลยแบบฝึกหัดทรัพยากรสารสนเทศ
 
LibJu - 3.1 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
LibJu - 3.1 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือLibJu - 3.1 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
LibJu - 3.1 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
 
แบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docx
แบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docxแบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docx
แบบฝึกวิเคราะห์หมวดหมู่.Docx
 
LibJu - 2.1 ทรัพยากรสารสนเทศ
LibJu - 2.1 ทรัพยากรสารสนเทศLibJu - 2.1 ทรัพยากรสารสนเทศ
LibJu - 2.1 ทรัพยากรสารสนเทศ
 
การเรียงหนังสือบนชั้นเนื้อหา
การเรียงหนังสือบนชั้นเนื้อหาการเรียงหนังสือบนชั้นเนื้อหา
การเรียงหนังสือบนชั้นเนื้อหา
 
ส่วนประกอบหนังสือและสิ่งพิมพ์
ส่วนประกอบหนังสือและสิ่งพิมพ์ส่วนประกอบหนังสือและสิ่งพิมพ์
ส่วนประกอบหนังสือและสิ่งพิมพ์
 
เฉลยแบบฝึกหัด เรื่อง ส่วนประกอบของสื่อสิ่งพิมพ์
เฉลยแบบฝึกหัด เรื่อง ส่วนประกอบของสื่อสิ่งพิมพ์เฉลยแบบฝึกหัด เรื่อง ส่วนประกอบของสื่อสิ่งพิมพ์
เฉลยแบบฝึกหัด เรื่อง ส่วนประกอบของสื่อสิ่งพิมพ์
 
ใบงานที่ 1-5 ม.1 1/61
ใบงานที่ 1-5 ม.1 1/61ใบงานที่ 1-5 ม.1 1/61
ใบงานที่ 1-5 ม.1 1/61
 
หัวกระดาษข้อสอบ
หัวกระดาษข้อสอบหัวกระดาษข้อสอบ
หัวกระดาษข้อสอบ
 
เฉลยแบบฝึกหัดหนังสืออ้างอิง
เฉลยแบบฝึกหัดหนังสืออ้างอิงเฉลยแบบฝึกหัดหนังสืออ้างอิง
เฉลยแบบฝึกหัดหนังสืออ้างอิง
 
เฉลยแบบฝึกหัดทรัพยากรสารนิเทศ ม.4 2560
เฉลยแบบฝึกหัดทรัพยากรสารนิเทศ ม.4 2560เฉลยแบบฝึกหัดทรัพยากรสารนิเทศ ม.4 2560
เฉลยแบบฝึกหัดทรัพยากรสารนิเทศ ม.4 2560
 
ความหมายของห้องสมุด
ความหมายของห้องสมุดความหมายของห้องสมุด
ความหมายของห้องสมุด
 
การเขียนบรรณานุกรม
การเขียนบรรณานุกรมการเขียนบรรณานุกรม
การเขียนบรรณานุกรม
 
แบบบันทึกการศึกษาแหล่งเรียนรู้
แบบบันทึกการศึกษาแหล่งเรียนรู้แบบบันทึกการศึกษาแหล่งเรียนรู้
แบบบันทึกการศึกษาแหล่งเรียนรู้
 
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
 
LibJu - 1.1 ประวัติความเป็นมาของห้องสมุด
LibJu - 1.1 ประวัติความเป็นมาของห้องสมุดLibJu - 1.1 ประวัติความเป็นมาของห้องสมุด
LibJu - 1.1 ประวัติความเป็นมาของห้องสมุด
 
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงาน
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า  ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงานชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า  ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงาน
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงาน
 

Similar to ใบความรู้ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ม.2

Sar peter 60
Sar peter 60Sar peter 60
Sar peter 60
peter dontoom
 
Ssr รร 2555
Ssr รร 2555Ssr รร 2555
Ssr รร 2555
supphawan
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
Nattanan Rassameepak
 
Port arom 2561
Port arom 2561Port arom 2561
Port arom 2561
peter dontoom
 
Port peter
Port peterPort peter
Port peter
peter dontoom
 
เอกสารประกอบการสอนงานประดิษฐ์ดอกไม้
เอกสารประกอบการสอนงานประดิษฐ์ดอกไม้เอกสารประกอบการสอนงานประดิษฐ์ดอกไม้
เอกสารประกอบการสอนงานประดิษฐ์ดอกไม้
Ploykarn Lamdual
 
ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่นชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ครูเย็นจิตร บุญศรี
 
2.หลักสูตรคณิต
2.หลักสูตรคณิต2.หลักสูตรคณิต
2.หลักสูตรคณิตnang_phy29
 
โครงร างโครงงานคอม602
โครงร างโครงงานคอม602โครงร างโครงงานคอม602
โครงร างโครงงานคอม602Scott Tape
 

Similar to ใบความรู้ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ม.2 (15)

Sar peter 60
Sar peter 60Sar peter 60
Sar peter 60
 
Ssr รร 2555
Ssr รร 2555Ssr รร 2555
Ssr รร 2555
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
Port arom 2561
Port arom 2561Port arom 2561
Port arom 2561
 
Port peter
Port peterPort peter
Port peter
 
เอกสารประกอบการสอนงานประดิษฐ์ดอกไม้
เอกสารประกอบการสอนงานประดิษฐ์ดอกไม้เอกสารประกอบการสอนงานประดิษฐ์ดอกไม้
เอกสารประกอบการสอนงานประดิษฐ์ดอกไม้
 
ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่นชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชุดการสอนประกอบการเรียนรู้ เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และภูมิปัญญาท้องถิ่น
 
2.หลักสูตรคณิต
2.หลักสูตรคณิต2.หลักสูตรคณิต
2.หลักสูตรคณิต
 
โครงร างโครงงานคอม602
โครงร างโครงงานคอม602โครงร างโครงงานคอม602
โครงร างโครงงานคอม602
 
Pancom m1
Pancom m1Pancom m1
Pancom m1
 
Pancom m1
Pancom m1Pancom m1
Pancom m1
 
Pancom m1
Pancom m1Pancom m1
Pancom m1
 
Pancom m1
Pancom m1Pancom m1
Pancom m1
 
Pancom m1
Pancom m1Pancom m1
Pancom m1
 
A
AA
A
 

More from Ploykarn Lamdual

หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 4 คำวิเศษณ์ ป.4.pdf
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 4  คำวิเศษณ์ ป.4.pdfหน่วยที่ 4 เรื่องที่ 4  คำวิเศษณ์ ป.4.pdf
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 4 คำวิเศษณ์ ป.4.pdf
Ploykarn Lamdual
 
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 1 คำนาม ป.4.pdf
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 1 คำนาม ป.4.pdfหน่วยที่ 4 เรื่องที่ 1 คำนาม ป.4.pdf
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 1 คำนาม ป.4.pdf
Ploykarn Lamdual
 
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 3 คำกริยา ป.4.pdf
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 3  คำกริยา ป.4.pdfหน่วยที่ 4 เรื่องที่ 3  คำกริยา ป.4.pdf
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 3 คำกริยา ป.4.pdf
Ploykarn Lamdual
 
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 2 คำสรรพนาม ป.4.pdf
หน่วยที่ 4 เรื่องที่  2 คำสรรพนาม ป.4.pdfหน่วยที่ 4 เรื่องที่  2 คำสรรพนาม ป.4.pdf
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 2 คำสรรพนาม ป.4.pdf
Ploykarn Lamdual
 
วิธีทำ Liveworksheets
วิธีทำ Liveworksheetsวิธีทำ Liveworksheets
วิธีทำ Liveworksheets
Ploykarn Lamdual
 
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 งานธุรกิจ
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 งานธุรกิจบทที่ 1 เรื่องที่ 1 งานธุรกิจ
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 งานธุรกิจ
Ploykarn Lamdual
 
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 การออกแบบงานประดิษฐ์
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 การออกแบบงานประดิษฐ์บทที่ 1 เรื่องที่ 1 การออกแบบงานประดิษฐ์
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 การออกแบบงานประดิษฐ์
Ploykarn Lamdual
 
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 ความหมายและประเภทของของชำร่วย
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 ความหมายและประเภทของของชำร่วยบทที่ 1 เรื่องที่ 1 ความหมายและประเภทของของชำร่วย
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 ความหมายและประเภทของของชำร่วย
Ploykarn Lamdual
 
LibJu - 4.2 cyberbullying
LibJu - 4.2 cyberbullyingLibJu - 4.2 cyberbullying
LibJu - 4.2 cyberbullying
Ploykarn Lamdual
 
LibJu - 4.3 การเขียนบรรณานุกรม
LibJu - 4.3 การเขียนบรรณานุกรมLibJu - 4.3 การเขียนบรรณานุกรม
LibJu - 4.3 การเขียนบรรณานุกรม
Ploykarn Lamdual
 
LibJu - 3.3 ทบทวนบทที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
LibJu - 3.3 ทบทวนบทที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือLibJu - 3.3 ทบทวนบทที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
LibJu - 3.3 ทบทวนบทที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
Ploykarn Lamdual
 
LibJu - 3.2 ระบบทศนิยมดิวอี้
LibJu - 3.2 ระบบทศนิยมดิวอี้LibJu - 3.2 ระบบทศนิยมดิวอี้
LibJu - 3.2 ระบบทศนิยมดิวอี้
Ploykarn Lamdual
 
LibJu - 2.2 การประเมินค่าสารสนเทศ
LibJu - 2.2 การประเมินค่าสารสนเทศLibJu - 2.2 การประเมินค่าสารสนเทศ
LibJu - 2.2 การประเมินค่าสารสนเทศ
Ploykarn Lamdual
 
LibJu - 2.3 แหล่งสารสนเทศ
LibJu - 2.3 แหล่งสารสนเทศLibJu - 2.3 แหล่งสารสนเทศ
LibJu - 2.3 แหล่งสารสนเทศ
Ploykarn Lamdual
 
วิธีการเข้าชั้นเรียน Google Classroom
วิธีการเข้าชั้นเรียน Google Classroomวิธีการเข้าชั้นเรียน Google Classroom
วิธีการเข้าชั้นเรียน Google Classroom
Ploykarn Lamdual
 
วิธีส่งงานด้วยรูปภาพใน Google Classroom
วิธีส่งงานด้วยรูปภาพใน Google Classroomวิธีส่งงานด้วยรูปภาพใน Google Classroom
วิธีส่งงานด้วยรูปภาพใน Google Classroom
Ploykarn Lamdual
 
LibJu - 1.3 งานบริการห้องสมุด
LibJu - 1.3 งานบริการห้องสมุดLibJu - 1.3 งานบริการห้องสมุด
LibJu - 1.3 งานบริการห้องสมุด
Ploykarn Lamdual
 
LibJu - 1.2 ประเภทของห้องสมุด
LibJu - 1.2 ประเภทของห้องสมุดLibJu - 1.2 ประเภทของห้องสมุด
LibJu - 1.2 ประเภทของห้องสมุด
Ploykarn Lamdual
 
Craft - Doodle Arts
Craft - Doodle ArtsCraft - Doodle Arts
Craft - Doodle Arts
Ploykarn Lamdual
 
Craft - ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประดิษฐ์วัสดุเหลือใช้
Craft - ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประดิษฐ์วัสดุเหลือใช้Craft - ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประดิษฐ์วัสดุเหลือใช้
Craft - ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประดิษฐ์วัสดุเหลือใช้
Ploykarn Lamdual
 

More from Ploykarn Lamdual (20)

หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 4 คำวิเศษณ์ ป.4.pdf
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 4  คำวิเศษณ์ ป.4.pdfหน่วยที่ 4 เรื่องที่ 4  คำวิเศษณ์ ป.4.pdf
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 4 คำวิเศษณ์ ป.4.pdf
 
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 1 คำนาม ป.4.pdf
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 1 คำนาม ป.4.pdfหน่วยที่ 4 เรื่องที่ 1 คำนาม ป.4.pdf
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 1 คำนาม ป.4.pdf
 
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 3 คำกริยา ป.4.pdf
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 3  คำกริยา ป.4.pdfหน่วยที่ 4 เรื่องที่ 3  คำกริยา ป.4.pdf
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 3 คำกริยา ป.4.pdf
 
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 2 คำสรรพนาม ป.4.pdf
หน่วยที่ 4 เรื่องที่  2 คำสรรพนาม ป.4.pdfหน่วยที่ 4 เรื่องที่  2 คำสรรพนาม ป.4.pdf
หน่วยที่ 4 เรื่องที่ 2 คำสรรพนาม ป.4.pdf
 
วิธีทำ Liveworksheets
วิธีทำ Liveworksheetsวิธีทำ Liveworksheets
วิธีทำ Liveworksheets
 
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 งานธุรกิจ
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 งานธุรกิจบทที่ 1 เรื่องที่ 1 งานธุรกิจ
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 งานธุรกิจ
 
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 การออกแบบงานประดิษฐ์
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 การออกแบบงานประดิษฐ์บทที่ 1 เรื่องที่ 1 การออกแบบงานประดิษฐ์
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 การออกแบบงานประดิษฐ์
 
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 ความหมายและประเภทของของชำร่วย
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 ความหมายและประเภทของของชำร่วยบทที่ 1 เรื่องที่ 1 ความหมายและประเภทของของชำร่วย
บทที่ 1 เรื่องที่ 1 ความหมายและประเภทของของชำร่วย
 
LibJu - 4.2 cyberbullying
LibJu - 4.2 cyberbullyingLibJu - 4.2 cyberbullying
LibJu - 4.2 cyberbullying
 
LibJu - 4.3 การเขียนบรรณานุกรม
LibJu - 4.3 การเขียนบรรณานุกรมLibJu - 4.3 การเขียนบรรณานุกรม
LibJu - 4.3 การเขียนบรรณานุกรม
 
LibJu - 3.3 ทบทวนบทที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
LibJu - 3.3 ทบทวนบทที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือLibJu - 3.3 ทบทวนบทที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
LibJu - 3.3 ทบทวนบทที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ
 
LibJu - 3.2 ระบบทศนิยมดิวอี้
LibJu - 3.2 ระบบทศนิยมดิวอี้LibJu - 3.2 ระบบทศนิยมดิวอี้
LibJu - 3.2 ระบบทศนิยมดิวอี้
 
LibJu - 2.2 การประเมินค่าสารสนเทศ
LibJu - 2.2 การประเมินค่าสารสนเทศLibJu - 2.2 การประเมินค่าสารสนเทศ
LibJu - 2.2 การประเมินค่าสารสนเทศ
 
LibJu - 2.3 แหล่งสารสนเทศ
LibJu - 2.3 แหล่งสารสนเทศLibJu - 2.3 แหล่งสารสนเทศ
LibJu - 2.3 แหล่งสารสนเทศ
 
วิธีการเข้าชั้นเรียน Google Classroom
วิธีการเข้าชั้นเรียน Google Classroomวิธีการเข้าชั้นเรียน Google Classroom
วิธีการเข้าชั้นเรียน Google Classroom
 
วิธีส่งงานด้วยรูปภาพใน Google Classroom
วิธีส่งงานด้วยรูปภาพใน Google Classroomวิธีส่งงานด้วยรูปภาพใน Google Classroom
วิธีส่งงานด้วยรูปภาพใน Google Classroom
 
LibJu - 1.3 งานบริการห้องสมุด
LibJu - 1.3 งานบริการห้องสมุดLibJu - 1.3 งานบริการห้องสมุด
LibJu - 1.3 งานบริการห้องสมุด
 
LibJu - 1.2 ประเภทของห้องสมุด
LibJu - 1.2 ประเภทของห้องสมุดLibJu - 1.2 ประเภทของห้องสมุด
LibJu - 1.2 ประเภทของห้องสมุด
 
Craft - Doodle Arts
Craft - Doodle ArtsCraft - Doodle Arts
Craft - Doodle Arts
 
Craft - ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประดิษฐ์วัสดุเหลือใช้
Craft - ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประดิษฐ์วัสดุเหลือใช้Craft - ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประดิษฐ์วัสดุเหลือใช้
Craft - ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประดิษฐ์วัสดุเหลือใช้
 

Recently uploaded

3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
การเคลื่อนที่ของคลื่น ปรากฎการคลื่นกล ความเร็วคลื่น ส่วนประกอบของคลื่น
การเคลื่อนที่ของคลื่น ปรากฎการคลื่นกล ความเร็วคลื่น ส่วนประกอบของคลื่นการเคลื่อนที่ของคลื่น ปรากฎการคลื่นกล ความเร็วคลื่น ส่วนประกอบของคลื่น
การเคลื่อนที่ของคลื่น ปรากฎการคลื่นกล ความเร็วคลื่น ส่วนประกอบของคลื่น
RSapeTuaprakhon
 
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdfงานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
Prachyanun Nilsook
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 

Recently uploaded (11)

3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
 
การเคลื่อนที่ของคลื่น ปรากฎการคลื่นกล ความเร็วคลื่น ส่วนประกอบของคลื่น
การเคลื่อนที่ของคลื่น ปรากฎการคลื่นกล ความเร็วคลื่น ส่วนประกอบของคลื่นการเคลื่อนที่ของคลื่น ปรากฎการคลื่นกล ความเร็วคลื่น ส่วนประกอบของคลื่น
การเคลื่อนที่ของคลื่น ปรากฎการคลื่นกล ความเร็วคลื่น ส่วนประกอบของคลื่น
 
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdfงานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
 

ใบความรู้ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ม.2

  • 1. เอกสารประกอบการสอน รายวิชาห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ (ง20201) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ชื่อ – นามสกุล................................................................................................................... ชั้น ม.2/......... เลขที่............ ครูผู้สอน นางสาวพลอยกานต์ ลำดวล กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ โรงเรียนสายธรรมจันทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี
  • 2. คำอธิบายรายวิชา ง 20201 ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เวลา 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ จำนวน 0.5 หน่วยกิต ศึกษากฎระเบียบ วิธีการใช้บริการแหล่งการเรียนรู้และห้องสมุด ลักษณะและวิธีใช้ทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อการศึกษาค้นคว้าความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร โดยใช้กระบวนการศึกษา สำรวจ สังเกต การใช้ห้องสมุด การอ่าน และการค้นหาสารสนเทศจาก แหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ วิธีการแสวงหาความรู้ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน สามารถนำทักษะการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้กับการเรียนและชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และ ค่านิยมที่เหมาะสม ผลการเรียนรู้ 1. ใช้บริการแหล่งการเรียนรู้และห้องสมุดเพื่อการศึกษาค้นคว้าได้ 2. ปฏิบัติตามระเบียบการใช้ห้องสมุดได้ 3. อธิบายลักษณะและวิธีการใช้ทรัพยากรและแหล่งสารสนเทศได้ 4. ค้นหาความรู้ ข้อมูล ข่าวสารที่ต้องการได้ 5. รู้หลักและวิธีการเขียนอ้างอิง รวม 5 ผลการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีคุณธรรม
  • 3. หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พื้นฐานงานห้องสมุด เรื่องที่ 1 ความรู้เบื้องค้นเกี่ยวกับห้องสมุด 1. ความหมายของห้องสมุด ห้องสมุด หมายถึง สถานที่รวบรวมสรรพวิทยาการต่าง ๆ ทรัพยากรสารสนเทศทุกสาขาวิชาและทุก ประเภท มีบรรณารักษ์เป็นผู้ดำเนินงานและจัดบริการต่าง ๆ อย่างมีระบบ และมีหน้าที่หลักในการให้บริการผู้ใช้ 2. ความสำคัญของห้องสมุด 1. ช่วยให้รู้ข่าวสารและเป็นคนทันสมัยเสมอ 2. ช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน 3. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 4. พัฒนาคุณภาพชีวิตและการศึกษา 5. ทำนุบำรุงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี 6. ส่งเสริมความมีระเบียบวินัย 3. วัตถุประสงค์ของห้องสมุด 1. เพื่อการศึกษา 2. เพื่อความรู้ 3. เพื่อการค้นคว้าวิจัย 4. เพื่อความจรรโลงใจ 5. เพื่อความเพลิดเพลิน 4. ประเภทของห้องสมุด ห้องสมุดแบ่งออกเป็น 5 ประเภทตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง ได้แก่ 4.1 ห้องสมุดเฉพาะ ห้องสมุดเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นเฉพาะสำหรับกลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน หรือจัดตั้ง เฉพาะในหน่วยงานหรือสถาบันใด ๆ เพื่อรวบรวมสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งหรือเฉพาะเรื่องที่สนใจ เท่านั้น มีวัตถุประสงค์เฉพาะกลุ่ม เช่น ห้องสมุดธนาคารแห่งประเทศไทย, ห้องสมุด TCDC, ห้องสมุดมารวย เป็นต้น เด็ก ๆ คิดว่าก่อนจะมีห้องสมุดจะต้องมีอะไรเกิดขึ้นมาก่อนนะ ? หน้า 1
  • 4. 4.2 ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดโรงเรียนคือห้องสมุดที่อยู่ในสถาบันการศึกษาระดับชั้นประถมหรือมัธยม เพื่อสนับสนุน การเรียนการสอนในโรงเรียนตามนโยบายของโรงเรียน เช่น ห้องสมุดโรงเรียนสายธรรมจันทร์, ห้องสมุดโรงเรียน วัดอมรญาติสมาคม เป็นต้น 4.3 ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ห้องสมุดมหาวิทยาลัยคือห้องสมุดที่ตั้งอยู่ในสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา เพื่อสนับสนุน การเรียนการสอนในระดับที่สูงขึ้นและเน้นการวิจัยเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลึกซึ้ง โดยจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน หลายชื่อ เช่น หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร, หอสมุดแห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นต้น 4.4 ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดประชาชนคือห้องสมุดที่ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป ไม่จำกัดเพศ อาชีพ วัย มีหน้าที่ จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและอาชีพให้แก่ชุมชน และจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เช่น ห้องสมุดประชาชนอำเภอดำเนินสะดวก, หอสมุดรัชมังคลาภิเษก, ห้องสมุด TK Park เป็นต้น 4.5 ห้องสมุดแห่งชาติ ห้องสมุดแห่งชาติคือห้องสมุดประจำประเทศนั้น ๆ รวบรวมสารสนเทศต่าง ๆ ที่ผลิตในประเทศ ให้บริการการอ่านแก่ประชาชนทั่วไป อ่านหนังสือได้เฉพาะภายในเขตห้องสมุด ยืมหนังสือออกไม่ได้ ปัจจุบันมี การให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) หลายประเภทรวมทั้งหนังสือเก่าและหนังสือหายาก 5. เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับห้องสมุดยุคใหม่ 1. ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (Library Automation) คือ การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการจัดการงานพื้นฐานของห้องสมุด เป็นโปรแกรมอัตโนมัติที่ประกอบด้วยโมดูล ต่าง ๆ เช่น การสืบค้นสารสนเทศแบบออนไลน์ (OPAC), การยืม – คืน, การจัดทำรายการสารสนเทศ เป็นต้น 2. การสืบค้นสารสนเทศทางออนไลน์ (Online Searching) คือ การให้บริการสืบค้นหนังสือที่มีใน ห้องสมุดผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการตลอด 24 ชั่วโมง 3. การให้บริการสารสนเทศดิจิทัล (Digital information) คือ การให้บริการสารสนเทศในรูปแบบ ดิจิทัล เช่น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book), วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal), หนังสือเสียง (Audiobook) เป็นต้น ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ ห้องสมุดผลิตขึ้นเองและห้องสมุดจัดซื้อเข้ามา 4. ระบบยืม – คืนอัตโนมัติ (Automatic circulation system) คือ การนำบาร์โค้ด (Barcode) หรือ RFID มาช่วยให้การระบุตัวเล่มของหนังสือแต่ละเล่ม เพื่อให้เกิดความสะดวกในการยืม - คืน RFID (Radio Frequency Identification) คือ ระบบที่นำสัญญาณคลื่นวิทยุความถี่สูงมาใช้ในการ ตรวจจับวัตถุผ่านอุปกรณ์รับ สามารถใช้ป้องกันการขโมยหนังสือออกจากห้องสมุดได้ หน้า 2
  • 5. หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พื้นฐานงานห้องสมุด เรื่องที่ 2 งานบริการห้องสมุด 1. ความหมายของงานบริการห้องสมุด งานบริการห้องสมุด หมายถึง งานที่ห้องสมุดจัดทำขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ในด้านการ อ่าน การค้นคว้าหาความรู้ และการส่งเสริมการอ่านให้กว้างขวางและทั่วถึง เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับสารสนเทศ อย่างรวดเร็ว ตรงตามความต้องการมากที่สุด รวมถึงการจัดบรรยากาศที่ดีในห้องสมุดให้สะอาด มีระเบียบ เรียบร้อย และมีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ใช้บริการเกิดความรู้สึกที่ดีและประทับใจ 2. ความสำคัญของงานบริการห้องสมุด งานบริการเป็นหัวใจสำคัญของห้องสมุด เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ทุกระดับ สำหรับงานบริการของ ห้องสมุดโรงเรียน มีส่วนสำคัญที่ทำให้นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนมาใช้ห้องสมุดมากขึ้น งานบริการเป็นงานที่ ห้องสมุดทำขึ้น เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอน ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ รู้จักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ใช้ประโยชน์จากการอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ตลอดจนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน 3. วัตถุประสงค์ของการให้บริการห้องสมุด 1. เพื่อส่งเสริมการอ่านและสนับสนุนการเรียนการสอน 2. เพื่อให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ห้องสมุด 3. เพื่อให้เกิดความรู้ ความเพลิดเพลิน ความจรรโลงใจ และสามารถนำสิ่งที่ได้จากการอ่านไปปฏิบัติ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ 4. งานบริการห้องสมุด 1. บริการการอ่าน เป็นบริการหลักของห้องสมุดที่จัดหาและคัดเลือกหนังสือ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ มา ไว้เพื่อให้บริการ และจัดเตรียมสถานที่ให้อำนวยความสะดวกต่อการอ่าน เพื่อตอบสนองความต้องการและความ สนใจของผู้ใช้มากที่สุด 2. บริการยืม - คืน เป็นบริการสำหรับให้ยืมทรัพยากรสารสนเทศ เช่น หนังสือ ออกนอก ห้องสมุด โดยมีกำหนดการคืนตามระเบียบการยืมของห้องสมุดแต่ละแห่ง หากยืมเกินกำหนดผู้ยืมจะต้องเสีย ค่าปรับตามอัตราที่ห้องสมุดกำหนด 3. บริการหนังสือจอง เป็นบริการที่ห้องสมุดจัดแยกหนังสือรายวิชาต่าง ๆ ที่ครูผู้สอนกำหนดให้ นักเรียนอ่านประกอบ รวมทั้งเป็นบริการพิเศษที่จัดขึ้นในกรณีที่หนังสือนั้นมีจำนวนน้อย แต่มีผู้ใช้ต้องการจำนวน มาก โดยแยกไว้ต่างหากและมีกำหนดระยะเวลาให้ยืมสั้นกว่าหนังสือทั่วไป หน้า 3
  • 6. 4. บริการแนะนำการใช้ห้องสมุด เป็นบริการเพื่อแนะนำผู้ใช้ให้ทราบว่า ห้องสมุดจัดบริการ อะไรบ้างและมีระเบียบการอย่างไร เช่น การปฐมนิเทศแนะนำแก่นักเรียนที่เข้าเรียนในชั้นปีแรก ห้องสมุดส่วนใหญ่จะ จัดทำคู่มือการใช้ห้องสมุด เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับห้องสมุด เช่น ประวัติของห้องสมุด ระเบียบการยืม – คืน มารยาท ในการใช้ห้องสมุด บริการและกิจกรรมต่าง ๆ ของห้องสมุด เป็นต้น 5. บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า เป็นบริการที่บรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุดจะ ช่วยให้คำแนะนำและบริการตอบคำถามแก่ผู้ใช้ ทั้งคำถามทั่วไปเกี่ยวกับการใช้ห้องสมุด และคำถามที่ต้องค้นหา คำตอบจากทรัพยากรสารสนเทศต่าง ๆ ในห้องสมุด 6. บริการแนะแนวการอ่าน เป็นบริการสำคัญที่ห้องสมุดจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการอ่าน พัฒนานิสัย รักการอ่าน และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยเหลือผู้ใช้ห้องสมุดที่มีปัญหาในการอ่าน ผู้ที่ไม่อยากอ่านหนังสือหรือเลือกหนังสืออ่านไม่เหมาะสมกับความต้องการของตน เช่น บริการแนะนำหนังสือใหม่ บริการแนะนำหนังสือยอดนิยม เป็นต้น 7. บริการสืบค้นฐานข้อมูล เป็นบริการสืบค้นฐานข้อมูลหนังสือของห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้สามารถ ค้นหาหนังสือด้วยตนเองได้สะดวก รวดเร็วขึ้น 8. บริการรวบรวมบรรณานุกรม เป็นการรวบรวมรายชื่อหนังสือ สำหรับใช้ประกอบการเรียน การสอนในรายวิชาต่าง ๆ หรือการทำรายงาน การวิจัย รวมถึงการรวบรวมบรรณานุกรมหนังสือใหม่ประจำเดือน ที่ห้องสมุดออกให้บริการแก่ผู้ใช้ 9. บริการข่าวสารทันสมัย เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดได้ทราบข้อมูลใหม่ ๆ ในสาขาวิชา ต่าง ๆ โดยการถ่ายสำเนาหน้าสารบัญวารสารฉบับล่าสุดที่ห้องสมุดได้รับรวบรวมไว้ในแฟ้ม เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ ในการศึกษาค้นคว้า 10. บริการมุมศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เป็นการจัดบริการคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต สำหรับให้ผู้ใช้สืบค้นข้อมูลออนไลน์ หรือใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อทำรายงาน หรือพิมพ์งานเอกสารต่าง ๆ ซึ่งทำให้ ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ทันสมัยได้มากขึ้น ตรงตามความต้องการและสะดวกรวดเร็ว 11. บริการอื่น ๆ เป็นงานบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุด แต่ไม่จำเป็นต้องจัดให้บริการ ทุกห้องสมุด เช่น บริการโสตทัศนวัสดุ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ บริการห้องสมุดเคลื่อนที่ บริการชุมชน บริการขอใช้ สถานที่ประชุม บริการถ่ายสำเนาเอกสารและสิ่งพิมพ์ เป็นต้น 5. มาตรฐานห้องสมุด 3D D1 หนังสือดี คือ หนังสือที่สร้างสรรค์ปัญญา ตรงใจผู้อ่าน และเนื้อหาถูกต้องไม่มีพิษภัย D2 บรรยากาศดี คือ มีสถานที่พร้อมสำหรับให้บริการ สะอาด ปลอดภัย ทันสมัย D3 บรรณารักษ์ดี คือ บรรณารักษ์มีอัธยาศัยน้ำใจดี มีใจรักบริการ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ หน้า 4
  • 7. หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พื้นฐานงานห้องสมุด เรื่องที่ 3 ระเบียบการและมารยาทใช้งานห้องสมุด ห้องสมุดเป็นพื้นที่สาธารณะที่ให้บริการคนหมู่มาก เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ใช้บริการ ห้องสมุดจึง ต้องมีกฎระเบียบ เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติอย่างเสมอภาค ในขณะเดียวกันผู้ใช้บริการก็จะต้องมีมารยาท ให้เกียรติแก่ สถานที่ด้วย มารยาทในการใช้ห้องสมุดจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ใช้บริการ เพื่อให้ บรรยากาศในห้องสมุดมีความเรียบร้อยน่าเข้าใช้บริการ 1. ความหมายของระเบียบและมารยาทการใช้ห้องสมุด ระเบียบ หมายถึง ข้อบังคับที่จะให้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้สังคมอยู่อย่างสงบ สุขและเป็นธรรม ผู้ฝ่าฝืนจะได้รับโทษ มารยาท หมายถึง ข้อพึงปฏิบัติ โดยเกิดจากสำนึกรู้จักสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำของผู้นั้นเอง ระเบียบและมารยาทการใช้ห้องสมุด หมายถึง ข้อบังคับที่จะให้ปฏิบัติหรือข้อพึงปฏิบัติ โดยเกิดจาก จิตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติตนของผู้ใช้บริการ เพื่อความสงบเรียบร้อยเมื่อเข้าใช้บริการห้องสมุด 2. ระเบียบการใช้ห้องสมุดโดยทั่วไป 1. สมาชิกห้องสมุดมีสิทธิเข้าใช้บริการตามวันและเวลาทำการของห้องสมุด ตัวอย่าง วัน – เวลาทำการของห้องสมุดโรงเรียนสายธรรมจันทร์ วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 07.30 น. – 16.00 น. เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดราชการ ตัวอย่าง สมาชิกห้องสมุดโรงเรียนสายธรรมจันทร์ 1. นักเรียนโรงเรียนสายธรรมจันทร์ 2. ครูและบุคลากรโรงเรียนสายธรรมจันทร์ 3. ศิษย์เก่าโรงเรียนสายธรรมจันทร์ 4. ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสายธรรมจันทร์ หน้า 5
  • 8. 2. สมาชิกห้องสมุดมีสิทธิยืมทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด ตามระเบียบการที่แต่ละห้องสมุดกำหนด ตัวอย่าง ระเบียบการยืม - คืนห้องสมุดโรงเรียนสายธรรมจันทร์ 1. นักเรียน ยืมหนังสือได้ ครั้งละ 5 เล่ม กำหนดส่งภายใน 7 วัน 2. ครูและบุคลากรโรงเรียน ยืมหนังสือได้ ครั้งละ 12 เล่ม กำหนดส่งภายใน 14 วัน 3. ไม่อนุญาตให้ยืมหนังสือแทนผู้อื่น หากมีการยืมหนังสือแทนผู้อื่น ชื่อของผู้ยืมในระบบ จะต้องรับผิดชอบหากเสียค่าปรับหรือหนังสือชำรุดเสียหาย 4. เมื่ออ่านหนังสือจบให้นำมาคืนได้ ไม่ต้องรอให้ถึงวันกำหนดส่ง 5. คืนหนังสือเกินกำหนด เสียค่าปรับวันละ 1 บาท / 1 เล่ม 6. กรณีที่หนังสือชำรุดหรือสูญหาย ต้องปฏิบัติดังนี้ - แจ้งบรรณารักษ์ห้องสมุดทันที - หาซื้อหนังสือชื่อที่สูญหายชดใช้คืน หากหาซื้อไม่ได้ต้องเสียค่าปรับเท่าราคาหนังสือ 3. สมาชิกห้องสมุดใช้บริการห้องสมุดตามกฎระเบียบอื่น ๆ ที่ห้องสมุดกำหนด เช่น ตัวอย่าง ขั้นตอนการยืม – คืนหนังสือ ห้องสมุดโรงเรียนสายธรรมจันทร์ 1. นำหนังสือที่ต้องการยืมมาที่เคาน์เตอร์บริการและแจ้งยืมหนังสือกับบรรณารักษ์หรือ เจ้าหน้าที่ 2. ดูกำหนดส่งทุกครั้ง เพื่อส่งหนังสือตามเวลา 3. เมื่อต้องการนำหนังสือมาคืน ให้นำหนังสือวางไว้ในตะกร้าบริเวณเคาน์เตอร์บริการ ทรัพยากรสารสนเทศที่ ไม่อนุญาต ให้ยืมออกจากห้องสมุดได้ 1. หนังสืออ้างอิง (พจนานุกรม สารานุกรม) 2. หนังสือพระราชนิพนธ์ 3. วารสาร 4. หนังสือพิมพ์ ระเบียบการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาค้นคว้าและบริการเครื่องพิมพ์เอกสาร 1. ลงชื่อเข้าใช้บริการคอมพิวเตอร์และบริการพิมพ์งานก่อนเข้าใช้งานทุกครั้ง 2. ใช้บริการเท่าที่จำเป็น เพื่อแบ่งปันให้ผู้อื่นได้ใช้ด้วย 3. หากเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องปริ้นเตอร์มีปัญหาให้ติดต่อครูบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ ทันที ห้ามสั่งพิมพ์ซ้ำติดต่อกันในกรณีที่เครื่องปริ้นเตอร์ไม่สามารถพิมพ์งานได้ หน้า 6
  • 9. 3. มารยาทการใช้ห้องสมุดโดยทั่วไป 1. ผู้เข้าใช้ห้องสมุดควรแต่งกายสุภาพ 2. ให้นำกระเป๋าและสิ่งของวางไว้ข้างนอกห้องสมุดในที่จัดไว้ให้เท่านั้น ยกเว้นสมุด ปากกา ดินสอ และสิ่งของมีค่าอื่น ๆ สามารถนำเข้าห้องสมุดได้ 3. ไม่ส่งเสียงรบกวนสมาธิของผู้อื่น 4. ไม่นำขนมหวาน อาหาร เครื่องดื่ม ตลอดจนของขบเคี้ยวทุกชนิดเข้ามารับประทานภายในห้องสมุด โดยเด็ดขาด หากพบเห็นให้รีบแจ้งบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ 5. ไม่ขีดเขียน ฉีก หรือทำลายหนังสือ รวมทั้งวัสดุครุภัณฑ์อื่น ๆ ในห้องสมุกทุกชนิด เช่น โต๊ะ เก้าอี้ 6. เมื่ออ่านหนังสือเสร็จแล้ว ให้นำหนังสือไปไว้ที่พักหนังสือ 7. เลื่อนเก้าอี้เก็บเข้าที่เดิม หลังจากเลิกใช้ทุกครั้ง 8. ถ้าพบผู้กระทำความผิดไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตามจะถูกลงโทษตามควรแก่กรณี 4. กิจกรรมห้องสมุด กิจกรรมห้องสมุด หมายถึง กิจกรรมหรืองานที่ห้องสมุดจัดขึ้นเป็นครั้งคราวหรือในโอกาสต่าง ๆ เพื่อ ส่งเสริมการอ่านหนังสือ การศึกษาค้นคว้า และส่งเสริมการใช้บริการห้องสมุดมากขึ้น ความสำคัญของกิจกรรมห้องสมุด การจัดกิจกรรมห้องสมุดเป็นการประชาสัมพันธ์ห้องสมุดทำให้ผู้ใช้ได้รู้จักห้องสมุด มีความกระตือรือร้นใน การติดตามอ่านหนังสือหรือค้นคว้า มีส่วนช่วยเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ สามารถค้นคว้าหา ข้อมูลมาจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมห้องสมุด 1. เพื่อกระตุ้นความสนใจให้อ่านหนังสือ 2. เพื่อจูงใจให้อ่านหนังสือและเกิดนิสัยรักการอ่าน 3. เปิดโอกาสให้นักเรียนทำงานร่วมกัน 4. เพื่อเกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ 5. เพื่อให้ผู้ใช้มาใช้บริการห้องสมุดเพิ่มขึ้น เด็ก ๆ เข้าไปดูคลิปวิดีโอเพิ่มเติม เกี่ยวกับมารยาทในการใช้ห้องสมุด ได้ที่คลิปนี้ หน้า 7
  • 10. ประเภทของกิจกรรมห้องสมุด 1. กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เป็นกิจกรรมที่จูงใจให้นักเรียนสนใจในการอ่าน และเกิดนิสัยรักการอ่าน เช่น การเล่านิทาน การเล่าเรื่องจากหนังสือ การตอบปัญหาจากหนังสือ การแสดงละครหุ่นมือ การประกวด แข่งขัน การจัดแสดงหนังสือใหม่ เป็นต้น 2. กิจกรรมส่งเสริมความรู้เรื่องห้องสมุด เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักห้องสมุด ในการศึกษา ค้นคว้าด้วยตนเอง เช่น การแนะนำการใช้ห้องสมุด การปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด การอบรมยุวบรรณารักษ์ เป็นต้น 3. กิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน เป็นกิจกรรมที่ห้องสมุดจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนของแต่ ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ เช่น การจัดนิทรรศการ การประกวดคำขวัญ การตอบปัญหา บริการครูนำนักเรียนมา ศึกษาค้นคว้าในชั่วโมงเรียน เป็นต้น 4. กิจกรรมส่งเสริมความรู้ทั่วไป เป็นกิจกรรมที่ห้องสมุดจัดขึ้น เพื่อเสริมความรู้ให้แก่ผู้ใช้บริการ เช่น จัดสัปดาห์ห้องสมุด ป้ายนิเทศเสริมความรู้ การจัดนิทรรศการ เป็นต้น 5. กิจกรรมส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็น ประโยชน์จากการอ่าน ได้แก่ มุมรักการอ่าน มุมหนังสือในห้องเรียน ห้องสมุดเคลื่อนที่ เป็นต้น หน้า 8
  • 11. แบบฝึกหัดที่ 1.1 พื้นฐานงานห้องสมุด คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านโจทย์ต่อไปนี้ แล้วทำเครื่องหมายถูก (✓) หน้าข้อความที่ถูกต้อง และทำ เครื่องหมายผิด () หน้าข้อความที่ไม่ถูกต้อง ชื่อ - นามสกุล ชั้น เลขที่ 1. บริการที่ทุกห้องสมุดต้องมีคือบริการการอ่าน 2. ห้องสมุดคือสถานที่รวบรวมความรู้สารสนเทศต่าง ๆ และให้บริการบุคคลทั่วไป 3. นักเรียนสามารถนำลูกอมเข้าห้องสมุดได้ เพราะเป็นขนมไม่ใช่อาหารหลัก 4. โรงเรียนไม่จำเป็นต้องมีห้องสมุดก็ได้ เพราะนักเรียนส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตค้นหาข้อมูล 5. การจัดการศึกษานอกระบบ (กศน.) เป็นหน้าที่ของห้องสมุดประชาชน 6. ผู้ที่มาใช้บริการห้องสมุดต้องมาศึกษาหาความรู้เท่านั้น ห้ามใช้เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ 7. ห้องสมุดแต่ละประเภทมีลักษณะและวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งแตกต่างกัน 8. ห้องสมุดประชาชนเป็นห้องสมุดที่ใครจะเข้ามาใช้บริการก็ได้ ไม่เสียค่าใช้จ่าย 9. หากนักเรียนไม่นำหนังสือของห้องสมุดมาคืนตามกำหนดจะเสียค่าปรับตามระเบียบของห้องสมุด 10. หนึ่งในมาตรฐานของห้องสมุด 3D คือ ผู้ใช้ห้องสมุดมีมารยาทดี ระดับคุณภาพ คะแนน เต็ม เกณฑ์คะแนน ผ่าน คะแนนที่ ได้ ระดับ คุณภาพ 4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8 10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน หน้า 9
  • 12. แบบทดสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พื้นฐานงานห้องสมุด คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านโจทย์คำถามและพิจารณาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดในแต่ละข้อ แล้วระบายคำตอบที่ ถูกต้องด้วยดินสอ 2B ลงในวงกลมตัวเลือก  ในกระดาษคำตอบในหน้าถัดไป 1. ข้อใดให้ความหมายของห้องสมุดครบถ้วนที่สุด ก. สถานที่เก็บหนังสือ ข. สถานที่สำหรับทำการบ้าน ค. สถานที่รวบรวมและให้บริการความรู้ ง. สถานที่รวบรวมข่าวสารข้อมูล 2. ห้องสมุดมีความสำคัญที่สุดอย่างไร ก. ใช้เป็นที่ประชุม ข. ใช้เป็นที่พบปะเพื่อนฝูง ค. ใช้เป็นแหล่งข่าวซุบซิบและข้อมูลต่าง ๆ ง. ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และให้บริการข้อมูล สารสนเทศ 3. ถ้านักเรียนเข้าห้องสมุดเพื่ออ่านหนังสือการ์ตูน ถือว่านักเรียนได้ทำตามวัตถุประสงค์ของ ห้องสมุดข้อใด ก. เพื่อนันทนาการ ข. เพื่อความจรรโลงใจ ค. เพื่อการศึกษาหาความรู้ ง. เพื่อการศึกษาค้นคว้าวิจัย 4. ห้องสมุดมีกี่ประเภท ก. 3 ประเภท ข. 4 ประเภท ค. 5 ประเภท ง. 6 ประเภท 5. ข้อใดคือห้องสมุดเฉพาะ ก. ห้องสมุดอำเภอดำเนินสะดวก ข. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร ค. ห้องสมุดโรงเรียนสายธรรมจันทร์ ง. ห้องสมุดธนาคารแห่งประเทศไทย 6. เทคโนโลยีใดที่นำมาใช้ป้องกันการขโมยหนังสือ ของห้องสมุด ก. RFID ข. บาร์โค้ด ค. CPU ง. ไมโครชิพ 7. หากต้องการนำหนังสือกลับไปอ่านที่บ้าน นักเรียนต้องใช้บริการใดของห้องสมุด ก. บริการการอ่าน ข. บริการมุมค้นคว้าด้วยตนเอง ค. บริการยืม - คืน ง. บริการแนะนำการใช้ห้องสมุด 8. ข้อใด ไม่ใช่ วัตถุประสงค์ของงานบริการห้องสมุด ก. เพื่อส่งเสริมการอ่าน ข. เพื่อสนับสนุนการศึกษาค้นคว้า ค. เพื่อให้เกิดการจ้างงานบรรณารักษ์ ง. เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ 9. หากไม่ปฏิบัติตามระเบียบการของห้องสมุดจะมี ผลอย่างไร ก. ห้องสมุดต้องปิดบริการ ข. ผู้ใช้คนอื่นเกิดความรำคาญ ค. ผู้ใช้คนอื่นเข้าใช้บริการไม่ได้ ง. ไม่มีผลอะไร เพราะคนใช้ห้องสมุดน้อย 10. บุคคลใดใช้บริการห้องสมุดได้อย่างเหมาะสม ก. เต๋าเก็บเก้าอี้เข้าที่ก่อนออกจากห้องสมุด ข. ตุ๊กนำขนมเข้ามากินระหว่างอ่านหนังสือ ค. ต่ายเอาหนังสือกลับบ้านโดยไม่ได้ยืม ง. เต้ยเปิดมือถือเสียงดังขณะเล่นเกมใน ห้องสมุดเพื่อความสนุก หน้า 10
  • 13. กระดาษคำตอบ แบบทดสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พื้นฐานงานห้องสมุด คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนชื่อ - นามสกุล ชั้น และเลขที่ลงในช่องว่างของกระดาษคำตอบ และระบายตัวเลือก ที่ถูกต้องที่สุดในแต่ละข้อด้วยดินสอ 2B ลงในวงกลมตัวเลือก  ในกระดาษคำตอบ คำแนะนำ • ใช้ดินสอดำ 2B เท่านั้น ระบายวงกลมทุกวงที่ต้องการให้ดำเต็มวง • ถ้าต้องการแก้ไข ให้ใช้ยางลบลบให้สะอาดก่อน จึงระบายวงใหม่ • ห้ามขีดเขียนสิ่งอื่นใดนอกเหนือจากที่ระบุไว้ ระดับคุณภาพ คะแนน เต็ม เกณฑ์คะแนน ผ่าน คะแนนที่ ได้ ระดับ คุณภาพ 4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8 10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน หน่วยที่ 1 พื้นฐานงานห้องสมุด หน้า 11
  • 14. หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 แหล่งและทรัพยากรสารสนเทศ เรื่องที่ 1 แหล่งสารสนเทศ 1. ความหมายของแหล่งสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศ หมายถึง แหล่งกำเนิดหรือรวบรวมข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ความรู้ต่าง ๆ สำหรับ ผู้สนใจ 2. ประเภทของแหล่งสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศ แบ่งออกเป็น...................ประเภท ได้แก่ 1. แหล่งสารสนเทศประเภทบุคคล คือ บุคคลที่ ให้ความรู้ ข้อมูล กับผู้อื่นได้ เช่น............................. ..................................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................................... 2. แหล่งสารสนเทศประเภทสื่อมวลชน คือ แหล่งกำเนิดข่าวผ่านสื่อมวลชนต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ เน้นข่าวสารที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์ แต่ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลให้แน่ชัดก่อน นำมาใช้ เช่น................................................................................................................................................................ ..................................................................................................................................................................................... 3. แหล่งสารสนเทศประเภทสถาบันบริการ คือ หน่วยงานที่จัดตั้งโดยหน่วยงานของรัฐและเอกชน จัดหารวบรวม วิเคราะห์ จัดเก็บ และให้บริการอย่างเป็นระบบ เช่น........................................................................ ..................................................................................................................................................................................... 4. แหล่งสารสนเทศประเภทสื่ออินเทอร์เน็ต คือ แหล่งสารสนเทศไร้พรมแดน บนเครือข่าย คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก เช่น....................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................................... หน้า 12
  • 15. แบบฝึกหัดที่ 2.1 แหล่งสารสนเทศ คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ และบอกถึงแหล่งที่มาว่านักเรียนหาคำตอบมาจากแหล่งใด ชื่อ - นามสกุล ชั้น เลขที่ ข้อ คำถาม คำตอบ แหล่งสารสนเทศ 1 วันเกิดของผู้ปกครองของนักเรียน 2 ครูประจำชั้นของนักเรียนสอนวิชาอะไร 3 ใครเป็นคนแต่งเพลงชาติไทย 4 น้ำมีจุดเยือกแข็งอยู่ที่กี่องศาเซลเซียส 5 เพื่อนสนิทของผู้ปกครองนักเรียนชื่ออะไร 6 “ไถง” อ่านว่าอะไรและหมายความว่าอย่างไร 7 สีขาวในธงชาติมีความหมายอย่างไร 8 ห้องสมุด แปลเป็นภาษาอังกฤษว่าอะไร 9 หนังสือเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ม.1 มีชื่อเรื่อง ว่าอะไร 10 จงยกตัวอย่างจำนวนเต็มพันมา 1 จำนวน ระดับคุณภาพ คะแนน เต็ม เกณฑ์คะแนน ผ่าน คะแนนที่ ได้ ระดับ คุณภาพ 4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8 10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน หน้า 13
  • 16. หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 แหล่งและทรัพยากรสารสนเทศ เรื่องที่ 2 ทรัพยากรสารสนเทศ 1. ความหมายของทรัพยากรสารสนเทศ ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง วัสดุที่บันทึกข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ประสบการณ์ที่เกิด จากสติปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์แสดงออกให้ปรากฏโดยใช้ภาษา สัญลักษณ์ ภาพ รหัสอื่น ๆ ที่ สื่อสารสัมผัสได้ ห้องสมุดยุคใหม่ไม่จำเป็นต้องเก็บสะสมทรัพยากรสารสนเทศให้มากที่สุด แต่เน้นการจัดหา ทรัพยากรสารสนเทศที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้เป็นสำคัญ 2. ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ ทรัพยากรสารสนเทศแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. 2. 3. 2.1 ทรัพยากรสารสนเทศตีพิมพ์ (Printed Materials) 1. สารสนเทศตีพิมพ์ หมายถึง ข้อดีของวัสดุตีพิมพ์ คือ ใช้ได้ง่าย สะดวก และไม่ต้องมีอุปกรณ์ช่วยในการอ่าน แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเทคโนโลยี สมัยใหม่ช่วยในการบันทึกความรู้หลากหลายชนิดขึ้นก็ตาม แต่วัสดุตีพิมพ์ก็ยังมีความสำคัญและนิยมใช้กันอยู่ ทั่วไป ตัวอย่างของสารสนเทศตีพิมพ์ 1. หนังสือ คือ สิ่งพิมพ์ที่รวบรวมข้อมูล ความรู้ โดยการเขียนหรือพิมพ์ลงบนกระดาษ มีลักษณะเป็น เล่ม เนื้อหาจบสมบูรณ์ในเล่มเดียวหรือหลายเล่มที่เรียกว่า หนังสือชุด ส่วนใหญ่จะมีผู้แต่ง 1 – 3 คน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1.1 หนังสือสารคดี คือ หนังสือด้านทางวิชาการ ให้ความรู้เฉพาะทาง เช่น หนังสือความรู้ทั่วไป ตำราเรียน หนังสืออ่านเพิ่มเติม หนังสือคู่มือ หนังสืออ้างอิง เป็นต้น หน้า 14
  • 17. 1.2 หนังสือบันเทิงคดี คือ หนังสือที่มีเนื้อหาสนุกเพลิดเพลิน แต่งจากจินตนาการของผู้เขียน อาจ สอดแทรกความรู้และความคิดต่าง ๆ ไว้ด้วย เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น หนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน เป็นต้น 2. สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง คือ สิ่งพิมพ์ที่มีกำหนดออกเป็นวาระที่แน่นอน เช่น ออกทุกวัน ออกทุก 1 สัปดาห์ ออกทุก 1 เดือน ออกทุก 3 เดือน เป็นต้น มีผู้แต่งหลายคน แบ่งเนื้อหาเป็นคอลัมม์ อาจมีเนื้อหา ต่อเนื่องกันได้ ตัวอย่างของสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง เช่น 2.1 หนังสือพิมพ์ คือ สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องที่มุ่งเน้นการนำเสนอ ข่าวสาร ทันสมัย หรือเรื่องราวที่กำลังเป็นที่สนใจ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ธุรกิจ การศึกษา อาชีพ กีฬาและบันเทิง ปกติจะมีกำหนดออกทุกวัน ห้องสมุดจะให้บริการหนังสือพิมพ์ไว้ใกล้กับวารสาร 2.2 วารสาร คือ สิ่งพิมพ์ที่ให้ข้อมูลทันสมัย เกร็ดความรู้ หรือข่าวประชาสัมพันธ์ มีเนื้อหาเชิง วิชาการ มีหลายคอลัมน์ มีผู้แต่งหลายคน เช่น วารสารโรงเรียน วารสารวิชาการ 2.3 นิตยสาร คือ สิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเหมือนกันวารสาร แต่ละมีเนื้อหาสนุกสนาน เพลินเพลิด มากกว่า มักมีเนื้อหาเฉพาะ เช่น นิตยสารเกี่ยวกับการจัดสวน นิตยสารเกี่ยวกับผู้หญิง เป็นต้น 3. กฤตภาค คือ สิ่งพิมพ์ที่ห้องสมุดจัดทำขึ้นเอง โดยตัดหรือถ่ายเอกสาร จากหนังสือพิมพ์ วารสาร/นิตยสาร มาแปะลงบนกระดาษเอ 4 แล้วจัดเป็น หมวดหมู่ เพื่อให้หาได้ง่าย นี่คือวารสาร นี่คือนิตยสาร กฤตภาค อ่านว่า กิด-ตะ-พาก คือการตัดบทความจากหนังสือพิมพ์ มาแปะลงเอ 4 หน้า 15
  • 18. 2. สารสนเทศไม่ตีพิมพ์ หมายถึง แต่บันทึกข้อมูล ความรู้ โดยอาศัย ภาพ เสียง สัญลักษณ์ หรือรหัส เป็นต้น ตัวอย่างของสารสนเทศไม่ตีพิมพ์ 1. โสตวัสดุ คือ วัสดุที่บันทึก “เสียง” เป็นสื่อในการถ่ายทอดความรู้ เช่น 2. ทัศนวัสดุ คือ วัสดุที่ต้องใช้สายตารับรู้ข้อมูลความรู้ โดยอาจดูด้วยตาเปล่าหรือใช้เครื่องมือช่วยก็ได้ เช่น 2. โสตทัศนวัสดุ คือ วัสดุที่ถ่ายทอดความรู้ โดยใช้ทั้ง “ภาพและเสียง” ประกอบกัน เช่น 3. สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง ข้อมูล ความรู้ ข่าวสารที่รวบรวมและจัดเก็บไว้ในรูปแบบที่ อ่าน ดู ฟัง หรือสืบค้นได้ด้วยคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือในอินเทอร์เน็ต เช่น หน้า 16
  • 19. แบบฝึกหัดที่ 2.2 แผนผังทรัพยากรสารสนเทศ คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนแผนผังมโนทัศน์ (Mind Mapping) ในหัวข้อทรัพยากรสารสนเทศ โดยวาด ภาพประกอบและตกแต่งให้สวยงามได้ ชื่อ - นามสกุล ชั้น เลขที่ ระดับคุณภาพ คะแนน เต็ม เกณฑ์คะแนน ผ่าน คะแนนที่ ได้ ระดับ คุณภาพ 4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8 10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน ทรัพยากร สารสนเทศ โสตวัสดุ สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง หน้า 17
  • 20. แบบทดสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 แหล่งและทรัพยากรสารสนเทศ คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านโจทย์คำถามและพิจารณาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดในแต่ละข้อ แล้วระบายคำตอบที่ ถูกต้องด้วยดินสอ 2B ลงในวงกลมตัวเลือก  ในกระดาษคำตอบในหน้าถัดไป 1. ทรัพยากรสารสนเทศมีกี่ประเภท ก. 5 ประเภท ข. 4 ประเภท ค. 3 ประเภท ง. 2 ประเภท 2. สิ่งพิมพ์ต่อเนื่องมีลักษณะแตกต่างจากสิ่งพิมพ์ อื่นอย่างไร ก. ไม่มีหน้าปกหนังสือ ข. อ่านเนื้อหาได้จบในเล่ม ค. มีคนแต่งเพียงคนเดียว ง. มีกำหนดออกเป็นวาระแน่นอน 3. ทรัพยากรสารสนเทศหมายถึงข้อใด ก. วัสดุที่บันทึกความรู้ของมนุษย์ ข. ข้อมูลที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต ค. หนังสือที่อยู่ในห้องสมุด ง. แหล่งกำเนิดความรู้ของมนุษย์ 4. ข้อเสียของข้อมูลที่สืบค้นได้จากเว็บไซต์ใน อินเทอร์เน็ตคือข้อใด ก. ข้อมูลมีทั้งข้อความ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ข. สืบค้นข้อมูลได้สะดวกทุกที่ทุกเวลา ค. ข้อมูลบางอย่างไม่น่าเชื่อถือ ง. ข้อมูลค้นหาได้ง่าย 5. ข้อใดคือสารสนเทศประเภทสิ่งตีพิมพ์ ก. แผ่นซีดี ข. หนังสือพิมพ์ ค. รูปถ่าย ง. คลิปวิดีโอ 6. ข้อใดเป็นแหล่งสารสนเทศประเภทสื่อมวลชน ก. ศูนย์ข้อมูลหนังสือพิมพ์มติชน ข. ครูพลอยกานต์ ค. ห้องสมุด ง. พิพิธภัณฑ์ 7. ทรัพยากรสารสนเทศมีความสำคัญที่สุดอย่างไร ก. ใช้รักษาโรค ข. ใช้เป็นอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ค. ใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ ง. ใช้เป็นแหล่งความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง 8. แหล่งสารสนเทศในข้อใดที่สามารถเก็บข้อมูล สารสนเทศได้อย่างมหาศาล ก. ห้องสมุด ข. อินเทอร์เน็ต ค. สื่อมวลชน ง. บุคคล 9. ทรัพยากรสารสนเทศข้อใดแตกต่างจากข้ออื่น ก. วารสาร นิตยสาร ข. ฟิล์มภาพยนตร์ หุ่นจำลอง ค. แผ่นเสียง ม้วนวิดีโอ ง. รูปภาพ เทปเสียง 10. คลิปวิดีโอสอนทำไข่เจียวในเว็บไซต์ยูทูปจัดเป็น ทรัพยากรสารสนเทศประเภทใด ก. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ข. สื่อทัศนวัสดุ ค. สื่อตีพิมพ์ ง. สื่อเคลื่อนไหว หน้า 18
  • 21. กระดาษคำตอบ แบบทดสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 แหล่งและทรัพยากรสารสนเทศ คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนชื่อ - นามสกุล ชั้น และเลขที่ลงในช่องว่างของกระดาษคำตอบ และระบายตัวเลือก ที่ถูกต้องที่สุดในแต่ละข้อด้วยดินสอ 2B ลงในวงกลมตัวเลือก  ในกระดาษคำตอบ คำแนะนำ • ใช้ดินสอดำ 2B เท่านั้น ระบายวงกลมทุกวงที่ต้องการให้ดำเต็มวง • ถ้าต้องการแก้ไข ให้ใช้ยางลบลบให้สะอาดก่อน จึงระบายวงใหม่ • ห้ามขีดเขียนสิ่งอื่นใดนอกเหนือจากที่ระบุไว้ ระดับคุณภาพ คะแนน เต็ม เกณฑ์คะแนน ผ่าน คะแนนที่ ได้ ระดับ คุณภาพ 4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8 10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน หน่วยที่ 2 แหล่งและทรัพยากรสารสนเทศ หน้า 19
  • 22. หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ระบบทศนิยมดิวอี้ เรื่องที่ 1 การจัดหมวดหมู่หนังสือ 1. ความหมายของการจัดหมวดหมู่หนังสือ การจัดหมวดหมู่หนังสือ หมายถึง การจัดหนังสือที่มีเนื้อเรื่องคล้ายกันไว้ด้วยกัน โดยกำหนดสัญลักษณ์ แทนเนื้อหาของหนังสือแต่ละประเภท เพื่อเป็นเครื่องหมายระบุตำแหน่งของหนังสือ การจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศอย่างง่าย 2. ความสำคัญของการจัดหมวดหมู่หนังสือ 1. ผู้ใช้และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดสามารถค้นหาและจัดเก็บหนังสือที่ต้องการได้ง่ายและประหยัดเวลา 2. หนังสือที่มีเนื้อหาวิชาเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันจะรวมอยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน 3. เมื่อมีหนังสือใหม่ก็สามารถจัดหมวดหมู่ แล้วนำออกขึ้นชั้นรวมกับหนังสือที่มีอยู่ก่อนแล้วเพื่อให้บริการ ได้อย่างรวดเร็ว 3. ประโยชน์ของการจัดหมวดหมู่หนังสือ 1. หนังสือแต่ละเล่มจะมีสัญลักษณ์แทนเนื้อหาของหนังสือ 2. ช่วยให้ผู้ใช้มีโอกาสเลือกหนังสือได้หลากหลายขึ้น เนื่องจากหนังสือที่เนื้อหาคล้ายกันวางอยู่ใกล้ ๆ กัน 3. หนังสือชุดเรียงต่อกัน ทำให้อ่านได้ครบชุดสมบูรณ์ 4. หนังสือที่มีลักษณะคำประพันธ์แบบเดียวกันจะอยู่ใกล้กัน 5. เพิ่มประสิทธิภาพในการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด ช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาหนังสือได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว และประหยัดเวลา เจ้าหน้าที่ก็สามารถจัดเก็บเข้าที่ได้ถูกต้อง รวดเร็ว 6. ช่วยให้รู้จำนวนหนังสือแต่ละสาขาวิชาคร่าว ๆ ว่ามีจำนวนมากน้อยเท่าใด เพื่อให้จัดหาเพิ่มเติมได้ เหมาะสม 1. แยกตามประเภทของวัสดุ (หนังสือ, วารสาร,ฯลฯ) 2. แยกตามภาษา (ภาษาไทย, ภาษาต่างประเทศ) 3. จัดหมวดหมู่ตามความเหมาะสมแต่ละประเภทสื่อ ทำไมต้องมีการจัดหมวดหมู่หนังสือ ? แล้วน้อง ๆ คิดว่าจะจัดหมวดหมู่ หนังสือยังไงดี ? หน้า 20
  • 23. หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ เรื่องที่ 2 ระบบทศนิยมดิวอี้ 1. ระบบการจัดหมวดหมู่ระบบทศนิยมดิวอี้ การจัดหมวดหมู่หนังสือในระบบทศนิยมดิวอี้คิดค้นโดย เมลวิล ดิวอี้ (Mevil Dewey) บรรณารักษ์ และนักการศึกษาชาวอเมริกัน โดยแบ่งเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ออกเป็น 10 หมวดหมู่ และใช้ตัวเลขสามหลักเป็น สัญลักษณ์ในการแบ่งหมวดหมู่ ระบบทศนิยมดิวอี้เหมาะสำหรับห้องสมุดขนาดเล็กและขนาดกลาง นิยมใช้ใน ห้องสมุดโรงเรียนและห้องสมุดประชาชน 2. การแบ่งหมวดหมู่ในระบบทศนิยมดิวอี้ ๏ ใช้ตัวเลขสามหลักเป็นสัญลักษณ์ในการแบ่งหมวดใหญ่ เป็น 10 หมวดใหญ่ ๏ แต่ละหมวดใหญ่แบ่งออกเป็น 10 หมวดย่อย ๏ แต่ละหมวดย่อยแบ่งออกเป็น 10 หมู่ ๏ ในแต่ละหมู่แบ่งออกเป็นหมู่ย่อย โดยใช้จุดทศนิยม การกระจายตัวเลขในระบบทศนิยมดิวอี้ 000 100 200 300 400 500 600 700 800 900 300 310 320 330 340 350 360 370 380 390 370 371 372 373 374 375 376 377 378 379 378.1 378.12 378.134 378.2 หมวดใหญ่ หมวด หมู่ หมู่ย่อย หน้า 21
  • 24. 3. หมวดหมู่ใหญ่ในระบบทศนิยมดิวอี้ หมวด 100 แทน ปรัชญา จิตวิทยา หมวด 200 แทน ศาสนา หมวด 300 แทน สังคมศาสตร์ หมวด 400 แทน ภาษาศาสตร์ หมวด 500 แทน วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ หมวด 600 แทน เทคโนโลยี สุขภาพ เกษตรกรรม คหกรรม หมวด 700 แทน ศิลปะและการแสดง ดนตรี กีฬา งานประดิษฐ์ หมวด 800 แทน วรรณคดี หมวด 900 แทน ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การท่องเที่ยว และชีวประวัติ หมวด 000 แทน ทั่วไปหรือเบ็ดเตล็ด คอมพิวเตอร์ บรรณารักษ์ ห้องสมุด ท่องจำให้แม่น ๆ นะ เด็ก ๆ หน้า 22
  • 25. แบบฝึกหัดที่ 3.1 ระบบทศนิยมดิวอี้ มีอะไรบ้าง ?? คำชี้แจง ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตว่าการจัดหมวดหมู่หนังสือในระบบทศนิยมดิวอี้แบ่งออกเป็น หมวดหมู่อะไรบ้าง ตามสัญลักษณ์ทั้ง 10 หมวดหมู่ ชื่อ - นามสกุล ชั้น เลขที่ เลขหมู่ ชื่อหมวดหมู่ 000 100 200 300 400 500 600 700 800 900 ระดับคุณภาพ คะแนน เต็ม เกณฑ์คะแนน ผ่าน คะแนนที่ ได้ ระดับ คุณภาพ 4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8 10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน หน้า 23
  • 26. หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 จัดหมวดหมู่ตู้หนังสือ เรื่องที่ 3 การเรียงหนังสือขึ้นชั้น 1. เลขเรียกหนังสือ (Call Number) เลขเรียกหนังสือ คือ สัญลักษณ์ที่ห้องสมุดกำหนดให้กับหนังสือแต่ละเล่ม ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ ปรากฏอยู่บริเวณสันหนังสือ เช่น 2. การจัดเรียงชั้นหนังสือ 1. หนังสือภาษาไทยจัดเรียงแยกจากหนังสือภาษาอังกฤษ 2. ถ้าหนังสือภาษาไทยปนอยู่กับหนังสือภาษาอังกฤษให้จัดเรียงหนังสือภาษาไทยก่อนหนังสือ ภาษาอังกฤษ 3. เรียงหนังสือบนชั้นจากซ้ายไปขวา และจากบนลงล่าง 4. เรียงหนังสือตามลำดับเลขเรียกหนังสือเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก เช่น 200 >> 210 >> 220 >> 230 5. ถ้าหนังสือหลายเล่มมีเลขหมู่ซ้ำกัน ให้เรียงอันดับอักษรย่อของชื่อผู้แต่งใต้เลขหมู่ตามลำดับตัวอักษร เช่น เลขหมู่ หนังสือ เลข ผู้แต่ง เลขเรียก หนังสือ 710 710 710 710 ก114ค ว214ป ส114ข ห121จ 398.2 ท63ม 2560 ล.1 ฉ.2 เลขหมู่ เลขผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ ลักษณะพิเศษ เลขเรียกหนังสือ หน้า 24
  • 27. 6. ถ้าหนังสือหลายเล่มมีเลขหมู่ซ้ำกัน อักษรย่อชื่อผู้แต่งซ้ำกัน ให้เรียงเลขประจำตัวผู้แต่ง 7. ถ้าเลขหมู่เหมือนกัน ชื่อผู้แต่ง เลขผู้แต่งเหมือนกัน ให้เรียงตามลำดับชื่อเรื่อง สรุปวิธีการเรียงหนังสือขึ้นชั้น เลขหมู่ ตัวอักษรผู้แต่ง เลขผู้แต่ง ตัวอักษรชื่อเรื่อง 520 520 520 520 ม122จ ม431จ ม563จ ม695จ 594.3 594.3 594.3 594.3 พ82ก พ82จ พ82บ พ82อ หน้า 25
  • 28. แบบฝึกหัดที่ 3.2 จับคู่ดิวอี้แสนสนุก คำชี้แจง ให้นักเรียนจับคู่เลขหมู่หนังสือในระบบทศนิยมดิวอี้ กับ ชื่อหนังสือต่อไปนี้ให้ถูกต้อง ชื่อ - นามสกุล ชั้น เลขที่ เลขหมู่ ชื่อหนังสือ 100   ภาษาจีนติดกระเป๋า 700   พืชผักปลอดสารพิษสยบโรค 300   ทุบสถิติที่สุดของโลก 200   กรีฑาทัพพ่ายหัวใจ 900   การทดลองเคมี 400   วันสำคัญของไทย 600   ประวัติศาสตร์พม่า 800   จิตวิทยาความรัก 500   เทคนิคการเต้นบัลเล่ต์ 000   มีทำไมธรรมะ ? ระดับคุณภาพ คะแนน เต็ม เกณฑ์คะแนน ผ่าน คะแนนที่ ได้ ระดับ คุณภาพ 4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8 10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน หน้า 26
  • 29. แบบทดสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ระบบทศนิยมดิวอี้ คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านโจทย์คำถามและพิจารณาเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดในแต่ละข้อ แล้วระบายคำตอบที่ ถูกต้องด้วยดินสอ 2B ลงในวงกลมตัวเลือก  ในกระดาษคำตอบในหน้าถัดไป 1. เด็กหญิงปลาทองต้องการเรียนภาษาเกาหลีเพื่อ เอาไปคุยกับอปป้า เด็กหญิงปลาทองต้องไปหา หนังสือที่หมวดหมู่ใด ก. 800 ข. 400 ค. 200 ง. 100 2. เลขผู้แต่งข้อใดอยู่ในลำดับท้ายสุด ก. ฟ456ต ข. ฮ745ญ ค. ก368ข ง. พ214ก 3. ข้อใดคือหนังสือในหมวด 900 ก. เล่นหุ้นไม่ยาก ข. ประดิษฐ์กระทงใบตอง ค. เรียนภาษาอังกฤษง่ายนิดเดียว ง. ประวัติศาสตร์ชาติไทย 4. ข้อใดคือประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของการจัด หมวดหมู่หนังสือ ก. ทำให้ค้นหาหนังสือได้ง่าย ข. ทำให้จัดหนังสือได้มีระเบียบ ค. ทำให้ทราบจำนวนหนังสือ ง. ทำให้หนังสือมีสัญลักษณ์แทนเนื้อหา 5. หนังสือเกี่ยวกับฟุตบอลอยู่ในหมวดใด ก. 900 ข. 200 ค. 700 ง. 000 6. ข้อใดคือวัตถุประสงค์หลักของการจัดหมวดหมู่ หนังสือ ก. เพื่อให้หนังสือที่เนื้อหาคล้ายกันอยู่ ด้วยกัน จะได้ค้นหาได้ง่าย ข. เพื่อให้หนังสือเป็นระเบียบสวยงาม ค. เพื่อให้จัดเก็บหนังสือได้ ง. เพื่อให้หนังสือมีที่อยู่แน่นอน 7. เลขหมู่หนังสือข้อใดมาก่อนเลขหมู่หนังสือข้ออื่น ก. 123.44 ข. 123.401 ค. 123.4 ง. 123.04 8. ระบบทศนิยมดิวอี้แบ่งออกเป็นกี่หมวดใหญ่ ก. 10 หมวด ข. 20 หมวด ค. 9 หมวด ง. 5 หมวด 9. หากนักเรียนต้องการหาหนังสือเกี่ยวกับวิทยา- ศาสตร์ ต้องค้นหาที่หมวดใด ก. 600 ข. 200 ค. 300 ง. 500 10. หนังสือเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าอยู่ในหมวดหมู่ใด ก. 100 ข. 200 ค. 300 ง. 400 หน้า 27
  • 30. กระดาษคำตอบ แบบทดสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ระบบทศนิยมดิวอี้ คำชี้แจง ให้นักเรียนเขียนชื่อ - นามสกุล ชั้น และเลขที่ลงในช่องว่างของกระดาษคำตอบ และระบายตัวเลือก ที่ถูกต้องที่สุดในแต่ละข้อด้วยดินสอ 2B ลงในวงกลมตัวเลือก  ในกระดาษคำตอบ คำแนะนำ • ใช้ดินสอดำ 2B เท่านั้น ระบายวงกลมทุกวงที่ต้องการให้ดำเต็มวง • ถ้าต้องการแก้ไข ให้ใช้ยางลบลบให้สะอาดก่อน จึงระบายวงใหม่ • ห้ามขีดเขียนสิ่งอื่นใดนอกเหนือจากที่ระบุไว้ ระดับคุณภาพ คะแนน เต็ม เกณฑ์คะแนน ผ่าน คะแนนที่ ได้ ระดับ คุณภาพ 4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8 10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน หน่วยที่ 3 ระบบทศนิยมดิวอี้ หน้า 28
  • 31. หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การเขียนบรรณานุกรม เรื่องที่ 1 การลงรายการผู้แต่งฉบับย่อ บรรณานุกรม (Bibliography) หมายถึง รายชื่อเอกสารทั้งหมดที่ได้ใช้ประกอบการศึกษาค้นคว้า แต่ ไม่จำเป็นต้องนำมาอ้างอิงในเนื้อหาทั้งหมด นำรายชื่อเอกสารมาจัดเรียงไว้ท้ายเล่มตามลำดับอักษรของผู้แต่งหรือ นามสกุลผู้แต่งหากเป็นชาวต่างชาติ การเขียนบรรณานุกรมนิยมใช้มาตรฐานการเขียนที่ชื่อว่า APA หรือ (American Psychological Association) เพื่อเป็นมาตรฐานในการเขียนอย่างเป็นระบบ การเขียนบรรณานุกรมรูปแบบ APA ได้พัฒนา มาถึงเวอร์ชั่นที่ 6 ที่มีมาตราฐานใหม่ที่เป็นแปลงจากเดิมไปพอสมควร ในบทเรียนนี้จะยกตัวอย่างการเขียน บรรณานุกรมที่จำเป็นและใช้เป็นแหล่งอ้างอิงกันมากคือหนังสือและสื่อออนไลน์ หลักการเขียนบรรณานุกรมแบบ APA v.6 1. หลักการลงรายการผู้แต่ง ผู้แต่ง (Author) คือ บุคคลหรือหน่วยงานที่รับผิดชบอในการเขียนหรือผลิตเอกสาร สื่อต่าง ๆ 1.1 ผู้แต่งชาวไทยให้ลงรายการด้วยชื่อและนามสกุลของผู้แต่งตามลำดับ เช่น 1.2 ผู้แต่งชาวต่างประเทศให้ใช้นามสกุลขึ้นก่อนคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) แล้วตามด้วยอักษรย่อ ของชื่อต้นและชื่อกลาง เช่น Campbell, John 1.3 บุคคลธรรมดาให้ลงรายการเฉพาะชื่อ – นามสกุลเท่านั้น ไม่ต้องเขียนคำนำหน้า ตำแหน่ง คุณวุฒิ ทางการศึกษา หรือตำแหน่งวิชาการ 1.4 หากไม่มีชื่อผู้แต่งจริง ๆ ให้ใส่ชื่อหนังสือหรือบทความแทน 1.5 ผู้แต่ง 1 คน ใส่ชื่อ 1 คน 1.6 ผู้แต่ง 2 - 6 คน ให้ใส่ชื่อทุกคนคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) และหน้าชื่อคนสุดท้ายให้ใส่คำว่า “และ” 1.7 ผู้แต่ง 7 คนขึ้นไป ให้ใส่ชื่อคนแรกจนถึงคนที่ 6 ตามด้วย . . . (จุด 3 จุด) และตามด้วยชื่อผู้แต่งคนท้าย 1.8 ผู้แต่งที่เป็นสถาบัน องค์กร ส่วนราชการ ให้ใส่ชื่อหน่วยงานใหญ่ก่อน ตามด้วยหน่วยงานย่อย ตัวอย่างการลงรายการผู้แต่ง ผู้แต่ง 1 คน ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์. ผู้แต่ง 2 คน นิพนธ์ วิสารทานนท์ และจักรพงษ์ เจิมศิริ. ผู้แต่ง 3 - 6 คน หิรัญ หิรัญประดิษฐ์, สุขวัฒน์ จันทรปรณิก และเสริมสุข สลักเพ็ชร. ผู้แต่ง 7 คนขึ้นไป นพรัตน์ เศรษฐกุล, เอกชัย เอกทัฬห์, พงศ์ธร บรรณโสภิษฐ์, ชยุตม์ สุขทิพย์, ปรีชา วิทยพันธุ์, จีรศักดิ์ แสงศิริ, . . . ดาริน รุ่งกลิ่น. ผู้แต่งเป็นสถาบัน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. สถาบันวิจัยและพัฒนา. หน้า 29
  • 32. แบบฝึกหัดที่ 4.1 การลงรายการผู้แต่ง คำชี้แจง ให้นักเรียนลงรายการผู้แต่งใหม่จากชื่อผู้แต่งที่กำหนดให้ตามหลักการเขียนบรรณานุกรม ชื่อ - นามสกุล ชั้น เลขที่ 1. แพทย์หญิงสุภา ณ นคร ตอบ 2. นายประหยัด ศ. นาคะนาท ตอบ 3. นางโมนิก้า โฮล์ม ตอบ 4. พ.อ.อาทิตย์ เจริญพิพัฒน์ ตอบ 5. นางสาวเดือนเพ็ญ สว่างวงศ์ และนางสาวอันนา วอเตอร์ ตอบ 6. ศาสตราจารย์ ดร.โรเบิร์ต แมคกินสัน ตอบ 7. นายวิทยากร เชียงกูล ร่วมเขียนกับว่าที่ร้อยตรีอัศวิน เย็นอุรา ตอบ 8. มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ ตอบ 9. ฮิงาชิโนะ เคโงะ, ผู้เขียน พรพิรุณ เอื้อสุนทร, ผู้แปล ตอบ 10. ฉางโกวลั่วเยวี่ย ตอบ ระดับคุณภาพ คะแนน เต็ม เกณฑ์คะแนน ผ่าน คะแนนที่ ได้ ระดับ คุณภาพ 4 (ดีมาก) 3 (ดี) 2 (พอใช้) 1 (ปรับปรุง) 10 8 10 คะแนน 9 - 8 คะแนน 7 – 5 คะแนน 0 – 4 คะแนน ผลการประเมิน  ผ่าน  ไม่ผ่าน ลงชื่อ........................................................ครูผู้สอน หน้า 30
  • 33. หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การเขียนบรรณานุกรม เรื่องที่ 2 รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมหนังสือ หนังสือ กรณีพิมพ์ครั้งแรก ตัวอย่าง ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์. (2548). ใต้ทะเลมีความรัก ภาคสาม : หลังคลื่นอันดามัน. กรุงเทพฯ : บ้านพระอาทิตย์. กรณีพิมพ์มาแล้วหลายครั้ง ตัวอย่าง ไบลตัน, อีนิด. (2547). ความลับฟาร์มผีเสื้อ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์. เว็บไซต์ ตัวอย่าง พัฒนา ค้าขาย. (2563). 15 ข้อที่ทำให้ ‘ยาหม่องตราถ้วยทอง’ เป็นมิตรคู่เรือน เพื่อนคู่ตัวคนไทยตลอด 70 ปี. สืบค้น 22 ตุลาคม 2564, จาก https://adaymagazine.com/golden-cup/ ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ.//เมืองที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์. ชื่อผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ./(พิมพ์ครั้งที่ ). ////////เมืองที่พิมพ์/:/สำนักพิมพ์. ชื่อผู้เขียนบทความหรือหน่วยงานเจ้าของเว็บไซต์./(ปีที่โพสต์). ////////ชื่อบทความ./สืบค้น วันเดือนปีที่สืบค้น,//จาก/Url ของเว็บไซต์แบบเต็ม. หน้า 31