SlideShare a Scribd company logo
1 of 5
Download to read offline
1
การบาเพ็ญบารมีของพระผู้มีพระภาคเจ้า ตอนที่ ๕ มหาสุทัสสนจริยา
พลตรี มารวย ส่งทานินทร์
๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๖
เกริ่นนา
เราบาเพ็ญทานให้บริบูรณ์โดยไม่มีส่วนเหลือ เพื่อทาใจที่พร่องให้เต็ม จึงให้ทานแก่วณิพก เรา
มิได้อาลัย มิได้หวังอะไร ได้ให้ทาน เพื่อบรรลุสัมโพธิญาณ ฉะนี้ แล
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
๔. มหาสุทัสสนจริยา
ว่าด้วยพระจริยาของพระเจ้าจักรพรรดิทรงพระนามว่ามหาสุทัสสนะ
[๒๘] ในกาลที่เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดินามว่ามหาสุทัสสนะ มีพลานุภาพมาก ได้เป็นพระเจ้า
แผ่นดินในกรุงกุสาวดี
[๒๙] ครั้งนั้น เราได้สั่งให้ประกาศทุกๆ วัน วันละ ๓ ครั้งว่า “ใครอยากได้อะไร ปรารถนาอะไร
ใครจะให้ทรัพย์อะไร
[๓๐] ใครหิว ใครกระหาย ใครต้องการดอกไม้ ใครต้องการเครื่องลูบไล้ ใครเปลือย จักนุ่งห่มผ้า
สีต่างๆ
[๓๑] ใครต้องการร่มสาหรับไปในหนทาง ก็จงมารับเอาไป ใครต้องการรองเท้าที่อ่อนนุ่ม
สวยงาม ก็จงมารับเอาไป เราให้ประกาศดังนี้ ทั้งเวลาเช้าและเวลาเย็นทุกๆ วัน
[๓๒] ทานนั้นเราไม่ตกแต่งไว้ในที่ ๑๐ แห่ง หรือในที่ ๑๐๐ แห่ง แต่เราตกแต่งทรัพย์ไว้สาหรับ
ยาจกในที่หลายร้อยแห่ง
[๓๓] วณิพกจะมาในเวลากลางวันหรือจะมาในเวลากลางคืนก็ตาม ก็จะได้โภคะตามความ
ปรารถนาพอเต็มมือกลับไปเสมอ
[๓๔] เราได้ให้มหาทานเห็นปานนี้ จนตลอดชีวิต เราจะให้ทรัพย์ที่น่ารังเกียจก็หาไม่ และเราจะ
ไม่มีการสั่งสมก็หาไม่
[๓๕] เหมือนคนไข้กระสับกระส่าย เพื่อจะพ้นจากโรค ต้องให้หมอพอใจด้วยทรัพย์จึงจะพ้นจาก
โรคได้ฉันใด
[๓๖] เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน รู้อยู่ เพื่อบาเพ็ญทานให้บริบูรณ์โดยไม่มีส่วนเหลือ เพื่อทาใจที่
พร่องให้เต็ม จึงให้ทานแก่วณิพก เรามิได้อาลัย มิได้หวังอะไร ได้ให้ทาน เพื่อบรรลุสัมโพธิญาณ ฉะนี้ แล
มหาสุทัสสนจริยาที่ ๔ จบ
2
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
ขุททกนิกาย จริยาปิฎก การบาเพ็ญทานบารมี
๔. มหาสุทัสนจริยา
อรรถกถามหาสุทัศนจริยาที่ ๔
ในนครชื่อว่ากุสาวดี. ณ ที่นั้น บัดนี้ เป็นที่ตั้งเมืองกุสินารา. มีกษัตริย์พระนามว่ามหาสุทัศนะ.
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ คือยังจักรรัตนะให้หมุนไป หรือหมุนไปด้วยจักรสมบัติ ๔. เพราะมีความหมุนไปแห่ง
จักร คืออาณาเขตอันผู้อื่นครอบงาไม่ได้ ล่วงล้าไม่ได้ ประกอบด้วยสังคหวัตถุอันเป็นอัจฉริยธรรม ๔
ประการ. มีพลานุภาพมาก เพราะประกอบด้วยหมู่กาลังมาก อันมีปริณายกแก้วเป็นผู้นา มีช้างแก้วเป็นต้น
เป็นประมุข และกาลังพระวรกายอันเกิดด้วยบุญญานุภาพ.
ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระมหาบุรุษบังเกิดในตระกูลคฤหบดีในอัตภาพที่ ๓ จากอัตภาพที่เป็น
พระเจ้าจักรพรรดิมหาสุทัศนะเข้าไปยังป่าด้วยการงานของตน เห็นพระเถระรูปหนึ่งในศาสนาของ
พระพุทธเจ้าผู้ดารงพระชนม์อยู่ อาศัยอยู่ในป่า นั่งอยู่ ณ โคนต้นไม้ คิดว่าเราควรจะสร้างบรรณศาลาให้แก่
พระคุณเจ้าในป่านี้ แล้ว ละการงานของตนตัดเครื่องก่อสร้างปลูกบรรณศาลาให้เป็นที่สมควรจะอยู่ ประกอบ
ประตู กระทาเครื่องปูลาดด้วยไม้ คิดว่าพระเถระจักใช้หรือไม่ใช้หนอ แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
พระเถระมาจากภายในบ้านเข้าไปยังบรรณศาลา นั่ง ณ ที่ปูลาดด้วยไม้.
แม้พระมหาสัตว์ก็เข้าไปหาพระเถระนั้นแล้วถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า บรรณศาลาเป็นที่ผาสุข
อยู่หรือ.
พระเถระตอบว่า ท่านผู้มีหน้างาม เป็นที่ผาสุขดี สมควรแก่สมณะ. ข้าแต่พระคุณเจ้า พระคุณ
เจ้าจักอยู่ ณ ที่นี้ หรือ. ถูกแล้ว อุบาสก.
มหาบุรุษทราบว่าพระเถระจักอยู่ โดยอาการแห่งการรับนิมนต์ จึงขอให้พระเถระรับปฏิญญาว่า
จะมายังประตูเรือนของเราตลอดไป แล้วสละภัตตาหารในเรือนของตนเป็นนิจ.
มหาบุรุษปูเสื่อลาแพนในบรรณศาลาแล้วตั้งเตียงและตั่งไว้. วางแท่นพิงไว้. ตั้งไม้เช็ดเท้าไว้. ขุด
สระโบกขรณี, ทาที่จงกรมเกลี่ยทราย. ล้อมบรรณศาลาด้วยรั้วหนามเพื่อป้องกันอันตราย. โบกขรณีและที่
จงกรมก็ล้อมเหมือนกัน. ที่สุดภายในรั้วแห่งสถานที่เหล่านั้นปลูกต้นตาลไว้เป็นแถว.
ครั้นให้ที่อยู่สาเร็จลงด้วยวิธีอย่างนี้ แล้ว จึงได้ถวายสมณบริขารทั้งหมดมีไตรจีวรเป็นต้นแก่พระ
เถระ.
จริงอยู่ ในกาลนั้นเครื่องใช้สอยของบรรพชิตมีอาทิ ไตรจีวร บิณฑบาต ถลกบาตร หม้อกรองน้า
ภาชนะใส่ของบริโภค ร่ม รองเท้า หม้อน้า เข็ม กรรไกร ไม้เท้า สว่าน ดีปลี มีดตัดเล็บ ประทีป.
ชื่อว่าพระโพธิสัตว์มิได้ถวายแก่พระเถระ มิได้มีเลย.
พระโพธิสัตว์รักษาศีล ๕ รักษาศีลอุโบสถ บารุงพระเถระตลอดชีวิต.
พระเถระอาศัยอยู่ ณ ที่นั้นได้บรรลุพระอรหัตแล้วปรินิพพาน.
แม้พระโพธิสัตว์ก็ได้ทาบุญตราบเท่าอายุไปบังเกิดในเทวโลก จุติจากเทวโลกนั้นมาสู่มนุษยโลก
3
บังเกิดในราชธานีกุสาวดี ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่ามหาสุทัศนะราชา.
อานุภาพแห่งความเป็นใหญ่ของพระราชามหาสุทัศนะนั้น พระราชามหาสุทัศนะนั้น มีเมือง
ประเทศราช ๘๔,๐๐๐ อันมีเมืองกุสาวดีราชธานีเป็นประมุข. มีปราสาท ๘๔,๐๐๐ มีธรรมปราสาทเป็น
ประมุข. มีเรือนยอด ๘๔,๐๐๐ มีเรือนยอดหมู่ใหญ่เป็นประมุข.
ทั้งหมดเหล่านั้นเกิดด้วยอานิสงส์แห่งบรรณศาลาหลังหนึ่งซึ่งพระองค์สร้างถวายแก่พระเถระ
นั้น. บัลลังก์ ๘๔,๐๐๐ ช้าง ๑,๐๐๐ ม้า ๑,๐๐๐ รถ ๑,๐๐๐ เกิดด้วยอานิสงส์แห่งเตียงและตั่งที่พระองค์ถวาย
แก่พระเถระนั้น. แก้วมณี ๘๔,๐๐๐ เกิดด้วยอานิสงส์แห่งประทีปที่พระองค์ถวายแก่พระเถระ. สระโบกขรณี
๘๔,๐๐๐ เกิดด้วยอานิสงส์ แห่งสระโบกขรณีสระหนึ่ง. สตรี ๘๔,๐๐๐ บุตร ๑,๐๐๐ และคฤหบดี ๑,๐๐๐
เกิดด้วยอานิสงส์แห่งการถวายเครื่องบริขารของบรรพชิตอันสมควรแก่สมณบริโภคมีถลกบาตรเป็นต้น. แม้
โคนม ๘๔,๐๐๐ เกิดด้วยอานิสงส์แห่งการถวายเบญจโครส. คลังผ้า ๘๔,๐๐๐ เกิดด้วยอานิสงส์แห่งการ
ถวายเครื่องนุ่งห่ม. หม้อหุงข้าว ๘๔,๐๐๐ เกิดด้วยอานิสงส์แห่งการถวายโภชนะ.
พระโพธิสัตว์เป็นพระราชาธิราชประกอบด้วย รตนะ ๗ และฤทธิ์ ๔ ทรงชนะครอบครองปฐพี
มณฑลมีสาครเป็นที่สุดทั้งสิ้นโดยธรรม ทรงสร้างโรงทานในที่หลายร้อยที่ตั้งมหาทาน. ทรงให้ราชบุรุษตี
กลองป่าวประกาศในพระนคร วันละ ๓ ครั้งว่า ผู้ใดปรารถนาสิ่งใด ผู้นั้นจงมาที่โรงทานรับเอาสิ่งนั้นเถิด.
ด้วยบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง สรุปด้วยทานบารมี.
เพราะในนครยาว ๗ โยชน์ กว้าง ๗ โยชน์ ล้อมไปด้วยแนวต้นตาล ๗ แถว. ณ แนวต้นตาล
เหล่านั้น มีสระโบกขรณี ๘๔,๐๐๐ สระ เราตั้งมหาทานไว้ที่ฝั่งสระโบกขรณี เฉพาะสระหนึ่งๆ.
สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนอานนท์ พระราชามหาสุทัศนะทรงตั้งทานเห็นปานนี้ ไว้ ณ ฝั่งสระโบกขรณีเหล่านั้น คือ
ตั้งข้าวไว้สาหรับผู้ต้องการข้าว ตั้งน้าไว้สาหรับผู้ต้องการน้า ตั้งผ้าไว้สาหรับผู้ต้องการผ้า ตั้งยานไว้สาหรับผู้
ต้องการยาน ตั้งที่นอนไว้สาหรับผู้ต้องการที่นอน ตั้งสตรีไว้สาหรับผู้ต้องการสตรี ตั้งเงินไว้สาหรับผู้ต้องการ
เงิน ตั้งทองไว้สาหรับผู้ต้องการทอง.
จริงอยู่ มหาบุรุษปรารถนาแต่จะให้ทาน จึงสร้างเครื่องประดับอันสมควรแก่สตรีและบุรุษ ตั้ง
สตรีไว้เพื่อให้รับใช้ในที่นั้น และตั้งทานทั้งหมดนั้นไว้เพื่อบริจาค จึงให้ตีกลองป่าวร้องว่า พระราชามหาสุ
ทัศนะพระราชทานทาน พวกท่านจงบริโภคทานนั้นตามสบายเถิด.
มหาชนไปยังฝั่งสระโบกขรณีอาบน้า นุ่งห่มผ้าเป็นต้นแล้วเสวยมหาสมบัติ ผู้ใดมีสมบัติเช่นนี้
แล้ว ผู้นั้นก็ละไป ผู้ใดไม่มี ผู้นั้นก็ถือเอาไป. ผู้ใดนั่งบนยานช้างเป็นต้นก็ดี เที่ยวไปตามสบาย นอนบนที่
นอนอันประเสริฐก็ดี ก็เอาสมบัติไปเสวยความสุขกับสตรีบ้าง ประดับเครื่องประดับล้วนแก้ว ๗ ประการก็
เอาสมบัติไป ถือเอาสมบัติจากสานักที่ได้เอาไป เมื่อไม่ต้องการก็ละไป.
พระราชามหาสุทัศนะทรงกระวีกระวาดบริจาคทานแม้ทุกๆ วัน.
ในครั้งนั้น ชาวชมพูทวีปไม่มีการงานอย่างอื่น บริโภคทาน เสวยสมบัติเที่ยวเตร่กันไป. ทานนั้น
มิได้มีกาหนดแล ผู้มีความต้องการจะมาเมื่อใดทั้งกลางคืนทั้งกลางวัน ก็พระราชทานเมื่อนั้น.
ด้วยประการฉะนี้ มหาบุรุษทรงทาชมพูทวีปทั้งสิ้นให้สนุกสนานรื่นเริง ยังมหาทานให้เป็นไป
4
ตลอดพระชนมายุ.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วณิพกจะมาในเวลากลางวันก็ตามหรือในเวลา
กลางคืนก็ตาม เป็นต้น.
ท่านกล่าวถึงทานตามความชอบใจ เพราะว่าผู้ขอคนใดปรารถนาไทยธรรมใดๆ พระโพธิสัตว์
ทรงให้ทานนั้นๆ แก่ผู้ขอคนนั้น. พระโพธิสัตว์มิได้ทรงคิดถึงความที่ไทยธรรมนั้นมีค่ามากหาได้ยากอันเป็น
การกีดขวางพระองค์เลย. แสดงถึงทานตามความปรารถนา เพราะว่าผู้ขอทั้งหลายปรารถนาเท่าใด พระ
มหาสัตว์ทรงให้เท่านั้นไม่ลดหย่อน เพราะมีพระอัธยาศัยกว้างขวางและเพราะมีอานาจมาก.
เราได้ให้ทรัพย์ที่น่าเกลียดก็หามิได้ คือทรัพย์ของเรานี้ น่าเกลียดไม่น่าพอใจก็หามิได้ เพราะเหตุ
นั้น เราเมื่อให้มหาทานเห็นปานนี้ จึงให้นาทรัพย์ออกจากเรือน. เราไม่มีการสะสมก็หามิได้ คือการสะสม
ทรัพย์ การสงเคราะห์ด้วยทรัพย์ในที่ใกล้ไม่มีแก่เราก็หามิได้.
มหาทานนี้ ของพระมหาสัตว์นั้นเป็นไปแล้วด้วยอัธยาศัยใด เพื่อแสดงถึงอัธยาศัยนั้นท่านจึง
กล่าวไว้. เหมือนคนไข้กระสับกระส่าย ดังนี้ เป็นต้น. บทนี้ แสดงเนื้ อความพร้อมด้วยการเปรียบเทียบโดย
อุปมา เหมือนบุรุษถูกโรคครอบงากระสับกระส่าย ประสงค์จะให้ตนพ้นจากโรค ต้องการให้หมอผู้เยี่ยวยา
พอใจ คือยินดีด้วยทรัพย์มีเงินและทองเป็นต้น แล้วปฏิบัติตามวิธีก็พ้นจากโรคนั้นฉันใด แม้เราก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ประสงค์จะเปลื้องสัตว์โลกทั้งสิ้นอันได้รับทุกข์จากโรคคือกิเลส และจากโรคคือทุกข์ในสงสาร
ทั้งสิ้น รู้อยู่ว่าการบริจาคสมบัติทั้งปวงนี้ เป็นทานบารมี เป็นอุบายแห่งการปลดเปลื้องจากโลกนั้น เพื่อยัง
อัธยาศัยของสัตว์ทั้งหลายให้บริบูรณ์ ด้วยอานาจแห่งผู้รับไทยธรรมโดยไม่มีเศษเหลือ และด้วยอานาจแห่ง
มหาทานโดยไม่มีเศษเหลือ.
อนึ่ง ทานบารมีของเรายังไม่บริบูรณ์แก่ตน เพราะฉะนั้น เพื่อยังใจที่บกพร่องให้เต็ม จึงได้ให้
ทานนั้นแก่วณิพกคือผู้ขอ เราให้มหาทานเห็นปานนี้ เรามิได้อาลัยมิได้หวังอะไรในการให้ทานนั้นและในผล
ของการให้นั้น ให้เพื่อบรรลุพระสัมโพธิญาณ คือเพื่อบรรลุพระสัพพัญญุตญาณอย่างเดียว.
พระมหาสัตว์ยังมหาทานให้เป็นไปอย่างนี้ เสด็จขึ้นสู่ธรรมปราสาทอันเกิดด้วยบุญญานุภาพของ
พระองค์ ทาลายกามวิตกเป็นต้น ณ ประตูเรือนยอดหมู่ใหญ่นั่นเอง ประทับนั่งเหนือราชบัลลังก์ทาด้วย
ทองคา ณ ประตูเรือนยอดนั้นยังฌานและอภิญญาให้เกิด เสด็จออกจากที่นั้น เสด็จเข้าไปยังเรือนยอดสาเร็จ
ด้วยทอง ประทับนั่งเหนือบัลลังก์สาเร็จด้วยเงิน ณ เรือนยอดนั้นทรงเจริญพรหมวิหาร ๔ ยังกาลเวลาให้
น้อมล่วงไปด้วยฌานและสมาบัติตลอด ๘๔,๐๐๐ ปี.
ทรงให้โอวาทแก่นางสนมกานัลใน ๘๔,๐๐๐ คนมีพระนางสุภัททาเทวีเป็นหัวหน้า และอามาตย์
กับสมาชิกที่ประชุมกันเป็นต้น ซึ่งเข้าไปเพื่อเฝ้าในมรณสมัยด้วยคาถานี้ ว่า
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีการเกิดขึ้น และมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา สังขารทั้งหลายครั้น
เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป การเข้าไปสงบสังขารเหล่านั้นเป็นสุข.
เมื่อสิ้นสุดพระชนมายุ ก็ได้เสด็จสู่พรหมโลก.
พระนางสุภัททาเทวีในครั้งนั้น ได้เป็นพระมารดาพระราหุลในครั้งนี้ .
ปริณายกแก้ว คือ พระราหุล.
5
บริษัทที่เหลือ คือ พุทธบริษัท.
ส่วนพระราชามหาสุทัศนะ คือพระโลกนาถ.
แม้ในจริยานี้ เป็นอันได้บารมี ๑๐ โดยสรุป. ทานบารมีเท่านั้นมาในบาลี เพราะอัธยาศัยในการ
ให้กว้างขวางมาก. แม้ดารงอยู่ในความเป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ อันรุ่งเรืองด้วยรตนะ ๗ อย่างมากมาย ก็ไม่
พอใจโภคสุขเช่นนั้น ข่มกามวิตกเป็นต้นแต่ไกล ยังกาลเวลาให้น้อมไปด้วยสมาบัติตลอด ๘๔,๐๐๐ ปี ของผู้
ประพฤติในมหาทานเห็นปานนั้น แม้กระทาธรรมกถาปฏิสังยุตด้วยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ก็ไม่
ทอดทิ้งความขวนขวายในวิปัสสนาในที่ทั้งปวง.
จบอรรถกถามหาสุทัศนจริยาที่ ๔
-----------------------------------------------------

More Related Content

Similar to 05 มหาสุทัสสนจริยา มจร.pdf

Tri91 15+ทีฆนิกาย+ปาฏิกวรรค+เล่ม+๓+ภาค+๑ (1)
Tri91 15+ทีฆนิกาย+ปาฏิกวรรค+เล่ม+๓+ภาค+๑ (1)Tri91 15+ทีฆนิกาย+ปาฏิกวรรค+เล่ม+๓+ภาค+๑ (1)
Tri91 15+ทีฆนิกาย+ปาฏิกวรรค+เล่ม+๓+ภาค+๑ (1)Tongsamut vorasan
 
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
(๕) มหากัสสปเถราปทาน มจร.pdf
(๕) มหากัสสปเถราปทาน มจร.pdf(๕) มหากัสสปเถราปทาน มจร.pdf
(๕) มหากัสสปเถราปทาน มจร.pdfmaruay songtanin
 
(๘) พระอุปาลิเถราปทาน มจร.pdf
(๘) พระอุปาลิเถราปทาน มจร.pdf(๘) พระอุปาลิเถราปทาน มจร.pdf
(๘) พระอุปาลิเถราปทาน มจร.pdfmaruay songtanin
 
Tri91 64+พระสุตตันตปิฎก+ขุททกนิกาย+ชาดก+เล่ม+๔+ภาค+๓
Tri91 64+พระสุตตันตปิฎก+ขุททกนิกาย+ชาดก+เล่ม+๔+ภาค+๓Tri91 64+พระสุตตันตปิฎก+ขุททกนิกาย+ชาดก+เล่ม+๔+ภาค+๓
Tri91 64+พระสุตตันตปิฎก+ขุททกนิกาย+ชาดก+เล่ม+๔+ภาค+๓Tongsamut vorasan
 
สวดมนต์ข้ามปี ๒๕๕๖ (ฉบับ สสส.)
สวดมนต์ข้ามปี ๒๕๕๖ (ฉบับ สสส.)สวดมนต์ข้ามปี ๒๕๕๖ (ฉบับ สสส.)
สวดมนต์ข้ามปี ๒๕๕๖ (ฉบับ สสส.)Ballista Pg
 
บทสวดมนต์ข้ามปี
บทสวดมนต์ข้ามปีบทสวดมนต์ข้ามปี
บทสวดมนต์ข้ามปีTongsamut vorasan
 
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนาเกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนาTongsamut vorasan
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdf
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdf๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdf
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdfmaruay songtanin
 
06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf
06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf
06 มหาโควินทจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
๒๑.๑ สัมมาปริพพาชนียสูตร มจร.pdf
๒๑.๑ สัมมาปริพพาชนียสูตร มจร.pdf๒๑.๑ สัมมาปริพพาชนียสูตร มจร.pdf
๒๑.๑ สัมมาปริพพาชนียสูตร มจร.pdfmaruay songtanin
 
(๒๓) พระปฏาจาราเถรี มจร.pdf
(๒๓) พระปฏาจาราเถรี มจร.pdf(๒๓) พระปฏาจาราเถรี มจร.pdf
(๒๓) พระปฏาจาราเถรี มจร.pdfmaruay songtanin
 
7 61+ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล+ภาค+๓
7 61+ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล+ภาค+๓7 61+ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล+ภาค+๓
7 61+ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล+ภาค+๓Tongsamut vorasan
 
บาลี 61 80
บาลี 61 80บาลี 61 80
บาลี 61 80Rose Banioki
 
สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้
สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้
สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้Tongsamut vorasan
 
(๙) พระอัญญาโกณฑัญญเถราปทาน มจร.pdf
(๙) พระอัญญาโกณฑัญญเถราปทาน มจร.pdf(๙) พระอัญญาโกณฑัญญเถราปทาน มจร.pdf
(๙) พระอัญญาโกณฑัญญเถราปทาน มจร.pdfmaruay songtanin
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...maruay songtanin
 

Similar to 05 มหาสุทัสสนจริยา มจร.pdf (20)

Tri91 15+ทีฆนิกาย+ปาฏิกวรรค+เล่ม+๓+ภาค+๑ (1)
Tri91 15+ทีฆนิกาย+ปาฏิกวรรค+เล่ม+๓+ภาค+๑ (1)Tri91 15+ทีฆนิกาย+ปาฏิกวรรค+เล่ม+๓+ภาค+๑ (1)
Tri91 15+ทีฆนิกาย+ปาฏิกวรรค+เล่ม+๓+ภาค+๑ (1)
 
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
 
45 พรรษา
45 พรรษา45 พรรษา
45 พรรษา
 
(๕) มหากัสสปเถราปทาน มจร.pdf
(๕) มหากัสสปเถราปทาน มจร.pdf(๕) มหากัสสปเถราปทาน มจร.pdf
(๕) มหากัสสปเถราปทาน มจร.pdf
 
(๘) พระอุปาลิเถราปทาน มจร.pdf
(๘) พระอุปาลิเถราปทาน มจร.pdf(๘) พระอุปาลิเถราปทาน มจร.pdf
(๘) พระอุปาลิเถราปทาน มจร.pdf
 
Tri91 64+พระสุตตันตปิฎก+ขุททกนิกาย+ชาดก+เล่ม+๔+ภาค+๓
Tri91 64+พระสุตตันตปิฎก+ขุททกนิกาย+ชาดก+เล่ม+๔+ภาค+๓Tri91 64+พระสุตตันตปิฎก+ขุททกนิกาย+ชาดก+เล่ม+๔+ภาค+๓
Tri91 64+พระสุตตันตปิฎก+ขุททกนิกาย+ชาดก+เล่ม+๔+ภาค+๓
 
สวดมนต์ข้ามปี ๒๕๕๖ (ฉบับ สสส.)
สวดมนต์ข้ามปี ๒๕๕๖ (ฉบับ สสส.)สวดมนต์ข้ามปี ๒๕๕๖ (ฉบับ สสส.)
สวดมนต์ข้ามปี ๒๕๕๖ (ฉบับ สสส.)
 
บทสวดมนต์ข้ามปี
บทสวดมนต์ข้ามปีบทสวดมนต์ข้ามปี
บทสวดมนต์ข้ามปี
 
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนาเกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
เกณฑ์การรับกุลบุตรเพื่ออุปสมบทในพระพุทธศาสนา
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdf
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdf๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdf
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdf
 
06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf
06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf
06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf
 
-------------- --- 1
 -------------- --- 1 -------------- --- 1
-------------- --- 1
 
๒๑.๑ สัมมาปริพพาชนียสูตร มจร.pdf
๒๑.๑ สัมมาปริพพาชนียสูตร มจร.pdf๒๑.๑ สัมมาปริพพาชนียสูตร มจร.pdf
๒๑.๑ สัมมาปริพพาชนียสูตร มจร.pdf
 
(๒๓) พระปฏาจาราเถรี มจร.pdf
(๒๓) พระปฏาจาราเถรี มจร.pdf(๒๓) พระปฏาจาราเถรี มจร.pdf
(๒๓) พระปฏาจาราเถรี มจร.pdf
 
7 61+ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล+ภาค+๓
7 61+ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล+ภาค+๓7 61+ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล+ภาค+๓
7 61+ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล+ภาค+๓
 
บาลี 61 80
บาลี 61 80บาลี 61 80
บาลี 61 80
 
สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้
สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้
สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้
 
(๙) พระอัญญาโกณฑัญญเถราปทาน มจร.pdf
(๙) พระอัญญาโกณฑัญญเถราปทาน มจร.pdf(๙) พระอัญญาโกณฑัญญเถราปทาน มจร.pdf
(๙) พระอัญญาโกณฑัญญเถราปทาน มจร.pdf
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
 
45 พรรษา
45 พรรษา45 พรรษา
45 พรรษา
 

More from maruay songtanin

200 สาธุสีลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
200 สาธุสีลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....200 สาธุสีลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
200 สาธุสีลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....maruay songtanin
 
198 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
198 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx198 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
198 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docxmaruay songtanin
 
197 มิตตามิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
197 มิตตามิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...197 มิตตามิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
197 มิตตามิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
195 ปัพพตูปัตถรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
195 ปัพพตูปัตถรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...195 ปัพพตูปัตถรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
195 ปัพพตูปัตถรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...maruay songtanin
 
194 มณิโจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
194 มณิโจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx194 มณิโจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
194 มณิโจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docxmaruay songtanin
 
193 จูฬปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
193 จูฬปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....193 จูฬปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
193 จูฬปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....maruay songtanin
 
192 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
192 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...192 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
192 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
191 รุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
191 รุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx191 รุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
191 รุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docxmaruay songtanin
 
190 สีลานิสังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
190 สีลานิสังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...190 สีลานิสังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
190 สีลานิสังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
189 สีหจัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
189 สีหจัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....189 สีหจัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
189 สีหจัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....maruay songtanin
 
188 สีหโกตถุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
188 สีหโกตถุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...188 สีหโกตถุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
188 สีหโกตถุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...maruay songtanin
 
187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....maruay songtanin
 
186 ทธิวาหนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
186 ทธิวาหนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....186 ทธิวาหนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
186 ทธิวาหนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....maruay songtanin
 
185 อนภิรติชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
185 อนภิรติชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....185 อนภิรติชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
185 อนภิรติชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....maruay songtanin
 
184 คิริทัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
184 คิริทัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...184 คิริทัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
184 คิริทัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...maruay songtanin
 
183 วาโลทกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
183 วาโลทกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx183 วาโลทกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
183 วาโลทกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docxmaruay songtanin
 
182 สังคามาวจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
182 สังคามาวจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...182 สังคามาวจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
182 สังคามาวจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
181 อสทิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
181 อสทิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx181 อสทิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
181 อสทิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docxmaruay songtanin
 
180 ทุทททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
180 ทุทททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx180 ทุทททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
180 ทุทททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docxmaruay songtanin
 
179 สตธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
179 สตธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx179 สตธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
179 สตธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docxmaruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

200 สาธุสีลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
200 สาธุสีลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....200 สาธุสีลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
200 สาธุสีลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
198 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
198 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx198 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
198 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
197 มิตตามิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
197 มิตตามิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...197 มิตตามิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
197 มิตตามิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
195 ปัพพตูปัตถรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
195 ปัพพตูปัตถรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...195 ปัพพตูปัตถรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
195 ปัพพตูปัตถรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
 
194 มณิโจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
194 มณิโจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx194 มณิโจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
194 มณิโจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
193 จูฬปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
193 จูฬปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....193 จูฬปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
193 จูฬปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
192 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
192 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...192 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
192 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
 
191 รุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
191 รุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx191 รุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
191 รุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
190 สีลานิสังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
190 สีลานิสังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...190 สีลานิสังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
190 สีลานิสังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
189 สีหจัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
189 สีหจัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....189 สีหจัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
189 สีหจัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
188 สีหโกตถุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
188 สีหโกตถุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...188 สีหโกตถุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
188 สีหโกตถุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
186 ทธิวาหนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
186 ทธิวาหนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....186 ทธิวาหนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
186 ทธิวาหนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
185 อนภิรติชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
185 อนภิรติชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....185 อนภิรติชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
185 อนภิรติชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
184 คิริทัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
184 คิริทัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...184 คิริทัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
184 คิริทัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
183 วาโลทกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
183 วาโลทกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx183 วาโลทกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
183 วาโลทกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
182 สังคามาวจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
182 สังคามาวจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...182 สังคามาวจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
182 สังคามาวจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
181 อสทิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
181 อสทิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx181 อสทิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
181 อสทิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
180 ทุทททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
180 ทุทททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx180 ทุทททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
180 ทุทททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
179 สตธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
179 สตธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx179 สตธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
179 สตธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 

05 มหาสุทัสสนจริยา มจร.pdf

  • 1. 1 การบาเพ็ญบารมีของพระผู้มีพระภาคเจ้า ตอนที่ ๕ มหาสุทัสสนจริยา พลตรี มารวย ส่งทานินทร์ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เกริ่นนา เราบาเพ็ญทานให้บริบูรณ์โดยไม่มีส่วนเหลือ เพื่อทาใจที่พร่องให้เต็ม จึงให้ทานแก่วณิพก เรา มิได้อาลัย มิได้หวังอะไร ได้ให้ทาน เพื่อบรรลุสัมโพธิญาณ ฉะนี้ แล พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก ๔. มหาสุทัสสนจริยา ว่าด้วยพระจริยาของพระเจ้าจักรพรรดิทรงพระนามว่ามหาสุทัสสนะ [๒๘] ในกาลที่เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดินามว่ามหาสุทัสสนะ มีพลานุภาพมาก ได้เป็นพระเจ้า แผ่นดินในกรุงกุสาวดี [๒๙] ครั้งนั้น เราได้สั่งให้ประกาศทุกๆ วัน วันละ ๓ ครั้งว่า “ใครอยากได้อะไร ปรารถนาอะไร ใครจะให้ทรัพย์อะไร [๓๐] ใครหิว ใครกระหาย ใครต้องการดอกไม้ ใครต้องการเครื่องลูบไล้ ใครเปลือย จักนุ่งห่มผ้า สีต่างๆ [๓๑] ใครต้องการร่มสาหรับไปในหนทาง ก็จงมารับเอาไป ใครต้องการรองเท้าที่อ่อนนุ่ม สวยงาม ก็จงมารับเอาไป เราให้ประกาศดังนี้ ทั้งเวลาเช้าและเวลาเย็นทุกๆ วัน [๓๒] ทานนั้นเราไม่ตกแต่งไว้ในที่ ๑๐ แห่ง หรือในที่ ๑๐๐ แห่ง แต่เราตกแต่งทรัพย์ไว้สาหรับ ยาจกในที่หลายร้อยแห่ง [๓๓] วณิพกจะมาในเวลากลางวันหรือจะมาในเวลากลางคืนก็ตาม ก็จะได้โภคะตามความ ปรารถนาพอเต็มมือกลับไปเสมอ [๓๔] เราได้ให้มหาทานเห็นปานนี้ จนตลอดชีวิต เราจะให้ทรัพย์ที่น่ารังเกียจก็หาไม่ และเราจะ ไม่มีการสั่งสมก็หาไม่ [๓๕] เหมือนคนไข้กระสับกระส่าย เพื่อจะพ้นจากโรค ต้องให้หมอพอใจด้วยทรัพย์จึงจะพ้นจาก โรคได้ฉันใด [๓๖] เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน รู้อยู่ เพื่อบาเพ็ญทานให้บริบูรณ์โดยไม่มีส่วนเหลือ เพื่อทาใจที่ พร่องให้เต็ม จึงให้ทานแก่วณิพก เรามิได้อาลัย มิได้หวังอะไร ได้ให้ทาน เพื่อบรรลุสัมโพธิญาณ ฉะนี้ แล มหาสุทัสสนจริยาที่ ๔ จบ
  • 2. 2 คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา ขุททกนิกาย จริยาปิฎก การบาเพ็ญทานบารมี ๔. มหาสุทัสนจริยา อรรถกถามหาสุทัศนจริยาที่ ๔ ในนครชื่อว่ากุสาวดี. ณ ที่นั้น บัดนี้ เป็นที่ตั้งเมืองกุสินารา. มีกษัตริย์พระนามว่ามหาสุทัศนะ. เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ คือยังจักรรัตนะให้หมุนไป หรือหมุนไปด้วยจักรสมบัติ ๔. เพราะมีความหมุนไปแห่ง จักร คืออาณาเขตอันผู้อื่นครอบงาไม่ได้ ล่วงล้าไม่ได้ ประกอบด้วยสังคหวัตถุอันเป็นอัจฉริยธรรม ๔ ประการ. มีพลานุภาพมาก เพราะประกอบด้วยหมู่กาลังมาก อันมีปริณายกแก้วเป็นผู้นา มีช้างแก้วเป็นต้น เป็นประมุข และกาลังพระวรกายอันเกิดด้วยบุญญานุภาพ. ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระมหาบุรุษบังเกิดในตระกูลคฤหบดีในอัตภาพที่ ๓ จากอัตภาพที่เป็น พระเจ้าจักรพรรดิมหาสุทัศนะเข้าไปยังป่าด้วยการงานของตน เห็นพระเถระรูปหนึ่งในศาสนาของ พระพุทธเจ้าผู้ดารงพระชนม์อยู่ อาศัยอยู่ในป่า นั่งอยู่ ณ โคนต้นไม้ คิดว่าเราควรจะสร้างบรรณศาลาให้แก่ พระคุณเจ้าในป่านี้ แล้ว ละการงานของตนตัดเครื่องก่อสร้างปลูกบรรณศาลาให้เป็นที่สมควรจะอยู่ ประกอบ ประตู กระทาเครื่องปูลาดด้วยไม้ คิดว่าพระเถระจักใช้หรือไม่ใช้หนอ แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พระเถระมาจากภายในบ้านเข้าไปยังบรรณศาลา นั่ง ณ ที่ปูลาดด้วยไม้. แม้พระมหาสัตว์ก็เข้าไปหาพระเถระนั้นแล้วถามว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า บรรณศาลาเป็นที่ผาสุข อยู่หรือ. พระเถระตอบว่า ท่านผู้มีหน้างาม เป็นที่ผาสุขดี สมควรแก่สมณะ. ข้าแต่พระคุณเจ้า พระคุณ เจ้าจักอยู่ ณ ที่นี้ หรือ. ถูกแล้ว อุบาสก. มหาบุรุษทราบว่าพระเถระจักอยู่ โดยอาการแห่งการรับนิมนต์ จึงขอให้พระเถระรับปฏิญญาว่า จะมายังประตูเรือนของเราตลอดไป แล้วสละภัตตาหารในเรือนของตนเป็นนิจ. มหาบุรุษปูเสื่อลาแพนในบรรณศาลาแล้วตั้งเตียงและตั่งไว้. วางแท่นพิงไว้. ตั้งไม้เช็ดเท้าไว้. ขุด สระโบกขรณี, ทาที่จงกรมเกลี่ยทราย. ล้อมบรรณศาลาด้วยรั้วหนามเพื่อป้องกันอันตราย. โบกขรณีและที่ จงกรมก็ล้อมเหมือนกัน. ที่สุดภายในรั้วแห่งสถานที่เหล่านั้นปลูกต้นตาลไว้เป็นแถว. ครั้นให้ที่อยู่สาเร็จลงด้วยวิธีอย่างนี้ แล้ว จึงได้ถวายสมณบริขารทั้งหมดมีไตรจีวรเป็นต้นแก่พระ เถระ. จริงอยู่ ในกาลนั้นเครื่องใช้สอยของบรรพชิตมีอาทิ ไตรจีวร บิณฑบาต ถลกบาตร หม้อกรองน้า ภาชนะใส่ของบริโภค ร่ม รองเท้า หม้อน้า เข็ม กรรไกร ไม้เท้า สว่าน ดีปลี มีดตัดเล็บ ประทีป. ชื่อว่าพระโพธิสัตว์มิได้ถวายแก่พระเถระ มิได้มีเลย. พระโพธิสัตว์รักษาศีล ๕ รักษาศีลอุโบสถ บารุงพระเถระตลอดชีวิต. พระเถระอาศัยอยู่ ณ ที่นั้นได้บรรลุพระอรหัตแล้วปรินิพพาน. แม้พระโพธิสัตว์ก็ได้ทาบุญตราบเท่าอายุไปบังเกิดในเทวโลก จุติจากเทวโลกนั้นมาสู่มนุษยโลก
  • 3. 3 บังเกิดในราชธานีกุสาวดี ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่ามหาสุทัศนะราชา. อานุภาพแห่งความเป็นใหญ่ของพระราชามหาสุทัศนะนั้น พระราชามหาสุทัศนะนั้น มีเมือง ประเทศราช ๘๔,๐๐๐ อันมีเมืองกุสาวดีราชธานีเป็นประมุข. มีปราสาท ๘๔,๐๐๐ มีธรรมปราสาทเป็น ประมุข. มีเรือนยอด ๘๔,๐๐๐ มีเรือนยอดหมู่ใหญ่เป็นประมุข. ทั้งหมดเหล่านั้นเกิดด้วยอานิสงส์แห่งบรรณศาลาหลังหนึ่งซึ่งพระองค์สร้างถวายแก่พระเถระ นั้น. บัลลังก์ ๘๔,๐๐๐ ช้าง ๑,๐๐๐ ม้า ๑,๐๐๐ รถ ๑,๐๐๐ เกิดด้วยอานิสงส์แห่งเตียงและตั่งที่พระองค์ถวาย แก่พระเถระนั้น. แก้วมณี ๘๔,๐๐๐ เกิดด้วยอานิสงส์แห่งประทีปที่พระองค์ถวายแก่พระเถระ. สระโบกขรณี ๘๔,๐๐๐ เกิดด้วยอานิสงส์ แห่งสระโบกขรณีสระหนึ่ง. สตรี ๘๔,๐๐๐ บุตร ๑,๐๐๐ และคฤหบดี ๑,๐๐๐ เกิดด้วยอานิสงส์แห่งการถวายเครื่องบริขารของบรรพชิตอันสมควรแก่สมณบริโภคมีถลกบาตรเป็นต้น. แม้ โคนม ๘๔,๐๐๐ เกิดด้วยอานิสงส์แห่งการถวายเบญจโครส. คลังผ้า ๘๔,๐๐๐ เกิดด้วยอานิสงส์แห่งการ ถวายเครื่องนุ่งห่ม. หม้อหุงข้าว ๘๔,๐๐๐ เกิดด้วยอานิสงส์แห่งการถวายโภชนะ. พระโพธิสัตว์เป็นพระราชาธิราชประกอบด้วย รตนะ ๗ และฤทธิ์ ๔ ทรงชนะครอบครองปฐพี มณฑลมีสาครเป็นที่สุดทั้งสิ้นโดยธรรม ทรงสร้างโรงทานในที่หลายร้อยที่ตั้งมหาทาน. ทรงให้ราชบุรุษตี กลองป่าวประกาศในพระนคร วันละ ๓ ครั้งว่า ผู้ใดปรารถนาสิ่งใด ผู้นั้นจงมาที่โรงทานรับเอาสิ่งนั้นเถิด. ด้วยบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง สรุปด้วยทานบารมี. เพราะในนครยาว ๗ โยชน์ กว้าง ๗ โยชน์ ล้อมไปด้วยแนวต้นตาล ๗ แถว. ณ แนวต้นตาล เหล่านั้น มีสระโบกขรณี ๘๔,๐๐๐ สระ เราตั้งมหาทานไว้ที่ฝั่งสระโบกขรณี เฉพาะสระหนึ่งๆ. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ พระราชามหาสุทัศนะทรงตั้งทานเห็นปานนี้ ไว้ ณ ฝั่งสระโบกขรณีเหล่านั้น คือ ตั้งข้าวไว้สาหรับผู้ต้องการข้าว ตั้งน้าไว้สาหรับผู้ต้องการน้า ตั้งผ้าไว้สาหรับผู้ต้องการผ้า ตั้งยานไว้สาหรับผู้ ต้องการยาน ตั้งที่นอนไว้สาหรับผู้ต้องการที่นอน ตั้งสตรีไว้สาหรับผู้ต้องการสตรี ตั้งเงินไว้สาหรับผู้ต้องการ เงิน ตั้งทองไว้สาหรับผู้ต้องการทอง. จริงอยู่ มหาบุรุษปรารถนาแต่จะให้ทาน จึงสร้างเครื่องประดับอันสมควรแก่สตรีและบุรุษ ตั้ง สตรีไว้เพื่อให้รับใช้ในที่นั้น และตั้งทานทั้งหมดนั้นไว้เพื่อบริจาค จึงให้ตีกลองป่าวร้องว่า พระราชามหาสุ ทัศนะพระราชทานทาน พวกท่านจงบริโภคทานนั้นตามสบายเถิด. มหาชนไปยังฝั่งสระโบกขรณีอาบน้า นุ่งห่มผ้าเป็นต้นแล้วเสวยมหาสมบัติ ผู้ใดมีสมบัติเช่นนี้ แล้ว ผู้นั้นก็ละไป ผู้ใดไม่มี ผู้นั้นก็ถือเอาไป. ผู้ใดนั่งบนยานช้างเป็นต้นก็ดี เที่ยวไปตามสบาย นอนบนที่ นอนอันประเสริฐก็ดี ก็เอาสมบัติไปเสวยความสุขกับสตรีบ้าง ประดับเครื่องประดับล้วนแก้ว ๗ ประการก็ เอาสมบัติไป ถือเอาสมบัติจากสานักที่ได้เอาไป เมื่อไม่ต้องการก็ละไป. พระราชามหาสุทัศนะทรงกระวีกระวาดบริจาคทานแม้ทุกๆ วัน. ในครั้งนั้น ชาวชมพูทวีปไม่มีการงานอย่างอื่น บริโภคทาน เสวยสมบัติเที่ยวเตร่กันไป. ทานนั้น มิได้มีกาหนดแล ผู้มีความต้องการจะมาเมื่อใดทั้งกลางคืนทั้งกลางวัน ก็พระราชทานเมื่อนั้น. ด้วยประการฉะนี้ มหาบุรุษทรงทาชมพูทวีปทั้งสิ้นให้สนุกสนานรื่นเริง ยังมหาทานให้เป็นไป
  • 4. 4 ตลอดพระชนมายุ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วณิพกจะมาในเวลากลางวันก็ตามหรือในเวลา กลางคืนก็ตาม เป็นต้น. ท่านกล่าวถึงทานตามความชอบใจ เพราะว่าผู้ขอคนใดปรารถนาไทยธรรมใดๆ พระโพธิสัตว์ ทรงให้ทานนั้นๆ แก่ผู้ขอคนนั้น. พระโพธิสัตว์มิได้ทรงคิดถึงความที่ไทยธรรมนั้นมีค่ามากหาได้ยากอันเป็น การกีดขวางพระองค์เลย. แสดงถึงทานตามความปรารถนา เพราะว่าผู้ขอทั้งหลายปรารถนาเท่าใด พระ มหาสัตว์ทรงให้เท่านั้นไม่ลดหย่อน เพราะมีพระอัธยาศัยกว้างขวางและเพราะมีอานาจมาก. เราได้ให้ทรัพย์ที่น่าเกลียดก็หามิได้ คือทรัพย์ของเรานี้ น่าเกลียดไม่น่าพอใจก็หามิได้ เพราะเหตุ นั้น เราเมื่อให้มหาทานเห็นปานนี้ จึงให้นาทรัพย์ออกจากเรือน. เราไม่มีการสะสมก็หามิได้ คือการสะสม ทรัพย์ การสงเคราะห์ด้วยทรัพย์ในที่ใกล้ไม่มีแก่เราก็หามิได้. มหาทานนี้ ของพระมหาสัตว์นั้นเป็นไปแล้วด้วยอัธยาศัยใด เพื่อแสดงถึงอัธยาศัยนั้นท่านจึง กล่าวไว้. เหมือนคนไข้กระสับกระส่าย ดังนี้ เป็นต้น. บทนี้ แสดงเนื้ อความพร้อมด้วยการเปรียบเทียบโดย อุปมา เหมือนบุรุษถูกโรคครอบงากระสับกระส่าย ประสงค์จะให้ตนพ้นจากโรค ต้องการให้หมอผู้เยี่ยวยา พอใจ คือยินดีด้วยทรัพย์มีเงินและทองเป็นต้น แล้วปฏิบัติตามวิธีก็พ้นจากโรคนั้นฉันใด แม้เราก็ฉันนั้น เหมือนกัน ประสงค์จะเปลื้องสัตว์โลกทั้งสิ้นอันได้รับทุกข์จากโรคคือกิเลส และจากโรคคือทุกข์ในสงสาร ทั้งสิ้น รู้อยู่ว่าการบริจาคสมบัติทั้งปวงนี้ เป็นทานบารมี เป็นอุบายแห่งการปลดเปลื้องจากโลกนั้น เพื่อยัง อัธยาศัยของสัตว์ทั้งหลายให้บริบูรณ์ ด้วยอานาจแห่งผู้รับไทยธรรมโดยไม่มีเศษเหลือ และด้วยอานาจแห่ง มหาทานโดยไม่มีเศษเหลือ. อนึ่ง ทานบารมีของเรายังไม่บริบูรณ์แก่ตน เพราะฉะนั้น เพื่อยังใจที่บกพร่องให้เต็ม จึงได้ให้ ทานนั้นแก่วณิพกคือผู้ขอ เราให้มหาทานเห็นปานนี้ เรามิได้อาลัยมิได้หวังอะไรในการให้ทานนั้นและในผล ของการให้นั้น ให้เพื่อบรรลุพระสัมโพธิญาณ คือเพื่อบรรลุพระสัพพัญญุตญาณอย่างเดียว. พระมหาสัตว์ยังมหาทานให้เป็นไปอย่างนี้ เสด็จขึ้นสู่ธรรมปราสาทอันเกิดด้วยบุญญานุภาพของ พระองค์ ทาลายกามวิตกเป็นต้น ณ ประตูเรือนยอดหมู่ใหญ่นั่นเอง ประทับนั่งเหนือราชบัลลังก์ทาด้วย ทองคา ณ ประตูเรือนยอดนั้นยังฌานและอภิญญาให้เกิด เสด็จออกจากที่นั้น เสด็จเข้าไปยังเรือนยอดสาเร็จ ด้วยทอง ประทับนั่งเหนือบัลลังก์สาเร็จด้วยเงิน ณ เรือนยอดนั้นทรงเจริญพรหมวิหาร ๔ ยังกาลเวลาให้ น้อมล่วงไปด้วยฌานและสมาบัติตลอด ๘๔,๐๐๐ ปี. ทรงให้โอวาทแก่นางสนมกานัลใน ๘๔,๐๐๐ คนมีพระนางสุภัททาเทวีเป็นหัวหน้า และอามาตย์ กับสมาชิกที่ประชุมกันเป็นต้น ซึ่งเข้าไปเพื่อเฝ้าในมรณสมัยด้วยคาถานี้ ว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีการเกิดขึ้น และมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา สังขารทั้งหลายครั้น เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป การเข้าไปสงบสังขารเหล่านั้นเป็นสุข. เมื่อสิ้นสุดพระชนมายุ ก็ได้เสด็จสู่พรหมโลก. พระนางสุภัททาเทวีในครั้งนั้น ได้เป็นพระมารดาพระราหุลในครั้งนี้ . ปริณายกแก้ว คือ พระราหุล.
  • 5. 5 บริษัทที่เหลือ คือ พุทธบริษัท. ส่วนพระราชามหาสุทัศนะ คือพระโลกนาถ. แม้ในจริยานี้ เป็นอันได้บารมี ๑๐ โดยสรุป. ทานบารมีเท่านั้นมาในบาลี เพราะอัธยาศัยในการ ให้กว้างขวางมาก. แม้ดารงอยู่ในความเป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ อันรุ่งเรืองด้วยรตนะ ๗ อย่างมากมาย ก็ไม่ พอใจโภคสุขเช่นนั้น ข่มกามวิตกเป็นต้นแต่ไกล ยังกาลเวลาให้น้อมไปด้วยสมาบัติตลอด ๘๔,๐๐๐ ปี ของผู้ ประพฤติในมหาทานเห็นปานนั้น แม้กระทาธรรมกถาปฏิสังยุตด้วยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ก็ไม่ ทอดทิ้งความขวนขวายในวิปัสสนาในที่ทั้งปวง. จบอรรถกถามหาสุทัศนจริยาที่ ๔ -----------------------------------------------------