SlideShare a Scribd company logo
1 of 17
Download to read offline
1
พระประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก
ตอนที่ ๕ มหากัสสปเถราปทาน
พลตรี มารวย ส่งทานินทร์
๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
๓. มหากัสสปเถราปทาน
ประวัติในอดีตชาติของพระมหากัสสปเถระ
เกริ่นนา
ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลพราหมณ์ สะสมรัตนะไว้เป็นอันมาก สละทรัพย์ ๘๐ โกฏิ แล้วออกบวช คุณ
วิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทาให้แจ้งแล้ว คาสั่งสอนของ
พระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทาสาเร็จแล้ว
(พระมหากัสสปเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า)
[๓๙๘] ประชาชนพากันทาการบูชาพระผู้มีพระภาค ผู้ศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้เจริญที่สุด
ในโลก ผู้คงที่ ในเมื่อพระองค์ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์โลก ได้เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
[๓๙๙] หมู่ชนมีจิตร่าเริง บันเทิงเบิกบาน ทาการบูชา เมื่อหมู่ชนนั้นเกิดความสังเวช แต่ข้าพเจ้า
เกิดความปีติยินดี
[๔๐๐] ข้าพเจ้าได้เชิญญาติมิตรมาประชุมกันแล้วได้กล่าวคานี้ ว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีความเพียร
มากได้ปรินิพพานแล้ว ขอเชิญพวกเรามาทาการบูชาเถิด
[๔๐๑] ญาติมิตรของข้าพเจ้าเหล่านั้นรับคาแล้ว ก็ทาให้ข้าพเจ้าเกิดความร่าเริงเป็นอย่างยิ่งว่า
พวกเราจักทาการสั่งสมบุญในพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์โลก
[๔๐๒] ข้าพเจ้าได้ช่วยกันสร้างอัคฆิยเจดีย์ เป็นเจดีย์ที่สร้างอย่างดี สูง ๑๐๐ ศอก กว้าง ๑๕๐
ศอก เป็นดังวิมานสูงเสียดฟ้า สั่งสมบุญไว้แล้ว
[๔๐๓] ข้าพเจ้าครั้นสร้างอัคฆิยเจดีย์ ซึ่งงดงามด้วยแนวแห่งต้นตาล ไว้ใกล้สถานที่ที่ทาการบูชา
เจดีย์นั้นแล้ว ทาจิตของตนให้เลื่อมใส บูชาเจดีย์อันสูงสุด
[๔๐๔] พระเจดีย์นั้นรุ่งเรืองอยู่ (ด้วยรัตนะทั้ง ๗) ดุจกองไฟลุกโพลงอยู่ ส่องสว่างทั่วทั้ง ๔ ทิศ
ดุจต้นพญาไม้สาละออกดอกบานสะพรั่ง และดุจสายรุ้งในอากาศ
[๔๐๕] ข้าพเจ้าทาจิตให้เลื่อมใสในห้องบรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้น สร้างกุศลเป็นอันมากแล้ว
ระลึกถึงบุพกรรมแล้ว จึงไปเกิดยังสวรรค์ชั้นไตรทิพย์
2
[๔๐๖] ข้าพเจ้าอธิษฐานยานทิพย์เทียมด้วยม้าสินธพ ๑,๐๐๐ ตัว วิมานของข้าพเจ้า สูงตระหง่าน
๗ ชั้น
[๔๐๗] (ในวิมานนั้น) มีเรือนยอด ๑,๐๐๐ หลัง ทาด้วยทองคาล้วน รุ่งเรืองด้วยเดชของตน ส่อง
สว่างทั่วทุกทิศ
[๔๐๘] ครั้งนั้น มีศาลาหน้ามุขทาด้วยแก้วทับทิมแม้เหล่าอื่นอยู่ ศาลาหน้ามุขแม้เหล่านั้นมีรัศมี
โชติช่วงรอบๆ ทั้ง ๔ ทิศ
[๔๐๙] เรือนยอดซึ่งเกิดขึ้นด้วยบุญกรรม ที่บุญกรรมเนรมิตไว้อย่างดี ทาด้วยแก้วมณี โชติช่วง
โดยรอบทั่วทุกทิศ
[๔๑๐] แสงสว่างแห่งเรือนยอดซึ่งโชติช่วงอยู่เหล่านั้นได้สว่างเจิดจ้า ข้าพเจ้าปกครองเทวดาทั้ง
ปวง นี้ เป็นผลแห่งบุญกรรม
[๔๑๑] ในกัปที่ ๖๐,๐๐๐ (นับแต่กัปนี้ ไป) ข้าพเจ้าเป็นกษัตริย์นามว่าอุพพิทธะ มีชัยชนะ มีทวีป
ทั้ง ๔ เป็นขอบเขต ครองแผ่นดิน
[๔๑๒] ในภัทรกัปก็อย่างนั้นเหมือนกัน ข้าพเจ้าได้เกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้มีพลานุภาพมาก
ยินดีพอใจในกรรมของตน (กรรมของตน ในที่นี้ หมายถึงทศพิธราชธรรม ธรรมสาหรับพระเจ้าแผ่นดิน ๑๐
ประการ คือ ทาน (การให้สิ่งของ) ศีล (ประพฤติดีงาม) ปริจจาคะ (ความเสียสละ) อาชชวะ (ความ
ซื่อตรง) มัททวะ (ความอ่อนโยน) ตบะ (ไม่หมกมุ่นในความสุขสาราญ) อักโกธะ (ความไม่โกรธ) อวิหิงสา
(ความไม่ข่มเหงเบียดเบียน) ขันติ (ความอดทน) อวิโรธนะ (ความไม่คลาดธรรม)) ถึง ๓๐ ชาติ
[๔๑๓] ข้าพเจ้าเป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ ในคราวเป็นพระเจ้า
จักรพรรดินั้น ปราสาทของข้าพเจ้าสูงตระหง่านดังสายรุ้ง
[๔๑๔] ปราสาทนั้นยาว ๒๔ โยชน์ กว้าง ๑๒ โยชน์ มีกรุงชื่อว่ารัมมกะ มีกาแพงและค่ายมั่นคง
[๔๑๕] นครนั้น มีกาแพงและค่ายยาว ๕๐๐ โยชน์ กว้าง ๒๕๐ โยชน์ มีหมู่ชนพลุกพล่านขวักไขว่
ดังเมืองสวรรค์ชั้นไตรทิพย์
[๔๑๖] เข็ม ๒๕ เล่มที่ใส่ไว้ในกล่องเข็มแล้ว ย่อมกระทบกันและกัน เบียดเสียดกันเป็นนิตย์ ฉันใด
[๔๑๗] แม้กรุงของข้าพเจ้าก็ฉันนั้น พลุกพล่านขวักไขว่ไปด้วยช้าง ม้า และรถ มีมนุษย์ ขวักไขว่น่า
รื่นรมย์ เป็นกรุงอันอุดม
[๔๑๘] ข้าพเจ้า ดื่ม กิน อยู่ในกรุงนั้น แล้วกลับไปเกิดเป็นเทวดาอีก ในภพสุดท้าย กุศลสมบัติได้
มีแก่ข้าพเจ้า
[๔๑๙] ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลพราหมณ์ สะสมรัตนะไว้เป็นอันมาก สละทรัพย์ ๘๐ โกฏิ แล้วออก
บวช
[๔๒๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทาให้แจ้งแล้ว
คาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทาสาเร็จแล้ว ดังนี้ แล
ได้ทราบว่า ท่านพระมหากัสสปเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้
มหากัสสปเถราปทานที่ ๓ จบ
3
------------------------------
คาอธิบายนี้ นามาจากบางส่วนของอรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
เถราปทาน ๑. พุทธวรรค
พรรณนามหากัสสปเถราปทาน
แม้พระมหากัสสปเถระนี้ ก็ได้ทาบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญสมภารอัน
เป็นอุปนิสัยแห่งวิวัฏฏะไว้ในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ได้เป็นกุฎุมพีมี
ทรัพย์สมบัติ ๘๐ โกฏิ มีนามว่า เวเทหะ อยู่ในนครหังสวดี.
กุฎุมพีนั้นเป็นอุบาสกนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นของเราอยู่ ในวันอุโบสถวัน
หนึ่ง บริโภคโภชนะดีแต่เช้าตรู่ อธิษฐานองค์อุโบสถแล้ว ถือของหอมและดอกไม้ไปวิหาร บูชาพระศาสดา
นมัสการแล้วนั่งอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
ก็ขณะนั้น พระศาสดาทรงตั้งพระสาวกที่สามนามว่า มหานิสภเถระ ไว้ในตาแหน่งเอตทัคคะว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิสภะนี้ เป็นเลิศแห่งภิกษุสาวกทั้งหลายของเราผู้ทรงธุดงค์และกล่าวสอนเรื่องธุดงค์.
อุบาสกได้ฟังดังนั้นก็เลื่อมใส ในเวลาจบธรรมกถา เมื่อมหาชนลุกไปแล้ว จึงถวายบังคมพระ
ศาสดาแล้วทูลนิมนต์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงรับภิกษาของข้าพระองค์ ในวันพรุ่งนี้ .
พระศาสดาตรัสว่า อุบาสก ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่มาก.
อุบาสกทูลถามว่า ภิกษุสงฆ์มีประมาณเท่าไร พระเจ้าข้า.
พระศาสดาตรัสว่า มีภิกษุประมาณหกล้านแปดแสน.
อุบาสกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงรับภิกษาของข้าพระองค์ อย่าให้เหลือ
แม้สามเณรรูปเดียวไว้ในวิหาร.
พระศาสดาทรงรับนิมนต์แล้ว.
อุบาสกรู้ว่า พระศาสดาทรงรับนิมนต์แล้ว จึงไปเรือนตระเตรียมมหาทาน ในวันรุ่งขึ้นใช้ให้คน
ไปกราบทูลเวลาเสวยภัตตาหารแด่พระศาสดา.
พระศาสดาทรงถือบาตรและจีวรมีภิกษุสงฆ์แวดล้อม เสด็จไปยังเรือนของอุบาสก ประทับนั่งบน
อาสนะที่เขาปูลาดไว้แล้ว ในเวลาเสร็จการถวายน้าทักษิโณทก ทรงรับข้าวยาคูเป็นต้น ได้ทรงกระทาการ
สละภัตตาหารเสีย. แม้อุบาสกก็นั่งอยู่ในที่ใกล้พระศาสดา.
ในระหว่างนั้น พระมหานิสภเถระเที่ยวบิณฑบาตอยู่ ได้ดาเนินไปยังถนนนั้นเหมือนกัน. อุบาสก
เห็น จึงลุกไปไหว้พระเถระแล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงให้บาตร.
พระเถระจึงได้ให้บาตร.
อุบาสกกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงเข้าไปในที่นี้ เถิด แม้พระศาสดาก็ประทับนั่งอยู่ในเรือน.
4
พระเถระกล่าวว่า ไม่ควรดอก อุบาสก.
เขาจึงถือเอาบาตรของพระเถระบรรจุให้เต็มด้วยบิณฑบาตแล้วถวาย. แต่นั้น เขาตามส่งพระ
เถระแล้วกลับมานั่งในที่ใกล้พระศาสดา แล้วกราบทูลอย่างนี้ ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระมหานิสภเถระ
แม้เมื่อข้าพระองค์กล่าวว่า แม้พระศาสดาก็ประทับนั่งในเรือน ดังนี้ ก็ไม่ปรารถนาจะเข้ามา พระมหานิสภ
เถระนี้ มีคุณยิ่งกว่าคุณทั้งหลายของพระองค์หรือ.
อันธรรมดาว่า วรรณมัจฉริยะ การตระหนี่คุณความดี ย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
เพราะฉะนั้น พระศาสดาจึงตรัสอย่างนี้ ว่า ดูก่อนอุบาสก เราทั้งหลายนั่งคอยภิกษาอยู่ในเรือน ภิกษุนั้นไม่
นั่งมองดูภิกษาอย่างนั้น เราทั้งหลายอยู่เสนาสนะใกล้บ้าน ภิกษุนั้นอยู่เฉพาะในป่ าเท่านั้น. เราทั้งหลายอยู่
ในที่มุงบัง ภิกษุนั้นอยู่เฉพาะกลางแจ้งเท่านั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคุณของพระนิสภเถระว่า คุณของเธอดังนี้ และดังนี้ ประหนึ่งจะทา
มหาสมุทรให้เต็ม.
ฝ่ายอุบาสกเป็นผู้เลื่อมใสดียิ่งขึ้น เหมือนประทีปที่ลุกโพลงอยู่ตามปกติ ถูกราดด้วยน้ามันฉะนั้น
จึงคิดว่า เราจะประโยชน์อะไรด้วยสมบัติอย่างอื่น ถ้ากระไรเราจักกระทาความปรารถนา เพื่อความเป็นผู้
เลิศแห่งภิกษุทั้งหลายผู้ทรงธุดงค์และกล่าวสอนธุดงค์ในศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ในอนาคตกาล.
เขาจึงนิมนต์พระศาสดาอีกครั้ง แล้วถวายมหาทานโดยทานองนั้นนั่นแหละตลอด ๗ วัน ในวันที่
๗ ถวายไตรจีวรแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วหมอบลงแทบพระบาทของพระศาสดา กราบ
ทูลอย่างนี้ ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ถวายทานอยู่ตลอด ๗ วัน เข้าไปตั้งเมตตากายกรรม
เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรมอันใด ด้วยเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรมอันนี้ ข้า
พระองค์ไม่ปรารถนาสมบัติอย่างอื่น จะเป็นเทวสมบัติหรือสักกสมบัติ มารสมบัติและพรหมสมบัติก็ตาม, ก็
กรรมของข้าพระองค์นี้ จงเป็นอธิการความดีแก่ความเป็นเลิศแห่งภิกษุทั้งหลายผู้ทรงธุดงค์ ๑๓ เพื่อต้องการ
ถึงฐานันดรที่พระมหานิสภเถระถึงแล้ว ในสานักของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ในอนาคตกาล.
พระศาสดาทรงตรวจดูว่า อุบาสกนี้ ปรารถนาตาแหน่งใหญ่หลวง จักสาเร็จหรือไม่หนอ ทรงเห็น
ว่าสาเร็จ จึงตรัสพยากรณ์ว่า ท่านปรารถนาตาแหน่งอันเป็นที่ชื่นใจ, ในอนาคตกาล ในที่สุดแสนกัป
พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมจักอุบัติขึ้น ท่านจักเป็นพระสาวกที่สามของพระพุทธเจ้านั้น จักเป็นผู้ชื่อว่า
มหากัสสปเถระ. อุบาสกได้ฟังดังนั้น จึงมนสิการว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีพระดารัสเป็นสอง ได้
สาคัญสมบัตินั้น ประหนึ่งจะพึงได้ในวันรุ่งขึ้น.
เขาให้ทาน สมาทานศีล แล้วรักษาไว้ตลอดชั่วอายุ กระทาบุญกรรมมีประการต่างๆ กระทากา
ละแล้วไปบังเกิดในสวรรค์.
จาเดิมแต่นั้น อุบาสกนั้นเสวยสมบัติอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เมื่อ
พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปอาศัยพันธุมดีนคร ประทับอยู่ในเขมมฤคทายวัน จึงจุติจากเทวโลก
บังเกิดในตระกูลพราหมณ์แก่ตระกูลหนึ่ง.
ก็ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสีตรัสธรรม ในปีที่ ๗. ได้มีความโกลาหลอย่าง
ใหญ่หลวง. เหล่าเทวดาในชมพูทวีปทั้งสิ้นบอกกันว่า พระศาสดาจักตรัสธรรม.
5
พราหมณ์ได้ยินข่าวนั้น.
พราหมณ์นั้นมีผ้าสาฎกสาหรับนุ่งผืนเดียวเท่านั้น นางพราหมณีก็มีผ้าสาฎกสาหรับนุ่งผืนเดียว
เหมือนกัน. แต่คนทั้งสองมีผ้าห่มผืนเดียวเท่านั้น. พราหมณ์นั้นจึงปรากฏในพระนครทั้งสิ้นว่า เอกสาฎก
พราหมณ์.
พราหมณ์นั้น เมื่อมีการประชุมพวกพราหมณ์ด้วยกิจเฉพาะบางอย่าง จึงเว้นนางพราหมณีไว้ใน
เรือน ตนเองห่มผ้าผืนนั้นไป. เมื่อมีการประชุมพวกนางพราหมณี ตนเองก็อยู่ในเรือน นางพราหมณีจึงห่ม
ผ้าผืนนั้นไป.
ก็ในวันนั้น พราหมณ์นั้นกล่าวกะนางพราหมณีว่า นี่แน่ะนางผู้เจริญ เธอจักฟังธรรมกลางคืน
หรือกลางวัน.
นางพราหมณีกล่าวว่า นาย ดิฉันเป็นมาตุคามมีชาติขลาดกลัว ไม่อาจฟังธรรมในตอนกลางคืน
ดิฉันจักฟังกลางวัน จึงเว้นพราหมณ์นั้นไว้ในเรือน ห่มผ้านั้นไปวิหารพร้อมกับเหล่าอุบาสิกา ถวายบังคม
พระศาสดาแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ฟังธรรมแล้วได้ไปกับพวกอุบาสิกา.
ทีนั้น พราหมณ์จึงเว้นนางพราหมณีไว้ในเรือน แล้วห่มผ้านั้นไปวิหาร.
ก็สมัยนั้น พระศาสดาประทับนั่งบนธรรมาสน์ที่ประดับประดา อยู่ในท่ามกลางบริษัท ทรงจับ
พัดอันวิจิตรตรัสธรรมกถา เสมือนทาคงคา ในอากาศให้หลั่งลง และดุจกระทาเขาสิเนรุให้เป็นโม่แล้วกวน
สาครฉะนั้น.
เมื่อพราหมณ์นั่งอยู่ท้ายสุดบริษัทฟังธรรมอยู่ ปีติมีวรรณะ ๕ ประการ ทาสรีระให้เต็มเกิดขึ้น
ในเวลาปฐมยามทีเดียว. เขาจึงพับผ้าที่ห่มแล้วคิดว่าจักถวายแด่พระทศพล. ทีนั้น ความตระหนี่อันแสดง
โทษตั้งพันเกิดแก่พราหมณ์นั้น เขาคิดว่า นางพราหมณีและเรามีผ้าห่มผืนเดียวเท่านั้น ชื่อว่าผ้าห่มไรๆ อื่น
ย่อมไม่มี เราไม่อาจเพื่อจะไม่ห่มผ้าเที่ยวไปข้างนอกได้ ดังนี้ จึงได้เป็นผู้ประสงค์จะไม่ถวายแม้โดยประการ
ทั้งปวง.
ครั้นเมื่อปฐมยามล่วงไป แม้ในมัชฌิมยาม ปีติก็เกิดแก่เขาเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. เขาคิด
เหมือนอย่างนั้น ได้เป็นผู้ประสงค์จะไม่ถวายอย่างนั้นเหมือนกัน. ครั้นเมื่อมัชฌิมยามล่วงไป ปีติเกิดขึ้นแก่
เขา แม้ในปัจฉิมยามเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. ในกาลนั้น เขาชนะความตระหนี่ พับผ้าแล้ววางไว้แทบพระ
บาทของพระศาสดา แต่นั้น จึงงอมือซ้าย เอามือขวาปรบบันลือ ๓ ครั้ง ว่า ชิต เม ชิต เม เราชนะแล้วๆ.
สมัยนั้น พระเจ้าพันธุมราชประทับนั่งสดับธรรมอยู่ภายในม่านหลังธรรมาสน์.
ก็ธรรมดาพระราชาย่อมไม่ทรงโปรดเสียงว่า ชิต เม เราชนะ. พระราชาจึงทรงสั่งบุรุษว่า พนาย
เธอจงไปถามพราหมณ์นั่นว่า เขาพูดอะไร.
พราหมณ์อันบุรุษนั้นมาถามแล้ว จึงกล่าวว่า พวกคนที่เหลือขึ้นยานคือช้างเป็นต้น ถือดาบและ
โล่เป็นต้น จึงชนะเสนาของพระราชาอื่น ข้อนั้นไม่น่าอัศจรรย์ ส่วนเราชนะจิตอันตระหนี่ ได้ถวายผ้าห่มแด่
พระทศพล เหมือนคนเอาค้อนทุบหัวโคโกงที่เดินตามมาข้างหลัง ทาให้มันหนีไปฉะนั้น. ความตระหนี่ที่เรา
ชนะนั้นน่าอัศจรรย์.
บุรุษนั้นจึงกลับมากราบทูลเรื่องราวนั้นแก่พระราชา.
6
พระราชาตรัสว่า นี่แน่ะพนาย เราทั้งหลายไม่รู้ความเหมาะสมแก่พระทศพล พราหมณ์ย่อมรู้
ดังนี้ . ทรงเลื่อมใสพราหมณ์นั้นได้ทรงส่งคู่ผ้าไปให้.
พราหมณ์เห็นดังนั้นจึงคิดว่า พระราชาไม่ทรงประทานอะไรๆ ครั้งแรกแก่เราผู้นั่งนิ่ง แล้วได้
ประทานแก่เราผู้กล่าวคุณทั้งหลายของพระศาสดา ผ้าคู่นี้ เกิดขึ้นเพราะอาศัยพระคุณทั้งหลายของพระ
ศาสดา จึงสมควรแก่พระศาสดาเท่านั้น ครั้นคิดแล้วได้ถวายคู่ผ้าแม้นั้นแก่พระทศพล.
พระราชาตรัสถามว่า พราหมณ์กระทาอย่างไร. ทรงสดับว่า เขาถวายคู่ผ้าแม้นั้นแก่พระตถาคต
เท่านั้น จึงให้ส่งคู่ผ้า ๒ คู่แม้อื่นไปให้. พราหมณ์ก็ได้ถวายคู่ผ้าแม้เหล่านั้นแก่พระศาสดา. พระราชาทรงให้
ส่งคู่ผ้า ๔ คู่แม้อื่นอีกไปประทาน รวมความว่า ตรัสอย่างนั้นแล้วทรงให้ส่งคู่ผ้าไปจนกระทั่ง ๓๒ คู่.
ลาดับนั้น พราหมณ์คิดว่า การกระทาดังนี้ ย่อมเป็นเสมือนจะให้เพิ่มขึ้นๆ (มากๆ) แล้วจึงรับเอา
คือรับเอาคู่ผ้า ๒ คู่ คือคู่หนึ่งเพื่อตน คู่หนึ่งเพื่อนางพราหมณี แล้วได้ถวายเฉพาะตถาคต ๓๐ คู่ และตั้งแต่
นั้น เขาเป็นผู้คุ้นเคยกับพระศาสดา.
ครั้นวันหนึ่ง ในฤดูหนาวเย็น พระราชาทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์นั้นฟังธรรมอยู่ในสานักของ
พระศาสดา จึงประทานผ้ากัมพลแดงที่พระองค์ห่มอันมีค่าแสนหนึ่ง แล้วตรัสว่า ตั้งแต่นี้ ไป ท่านจงห่มผ้า
กัมพลนี้ ฟังธรรม.
พราหมณ์คิดว่า เราจะประโยชน์อะไรด้วยผ้ากัมพลนี้ อันจะนาเข้าไปในกายอันเปื่อยเน่านี้ จึง
กระทาเพดานในเบื้องบนเตียงของพระตถาคตในภายในพระคันธกุฎีแล้วก็ไป.
อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปยังพระวิหารแต่เช้าตรู่ ประทับนั่งในสานักของพระศาสดา ใน
ภายในพระคันธกุฎี. ขณะนั้น พระพุทธรัศมีมีพรรณะ ๖ ประการกระทบที่ผ้ากัมพล. ผ้ากัมพลเปล่งแสงเจิด
จ้า. พระราชาทรงแหงนดู ทรงจาได้ รับสั่งว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี่ผ้ากัมพลของกระหม่อมฉันๆ ให้เอก
สาฎกพราหมณ์.
พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร พระองค์บูชาพราหมณ์ พราหมณ์บูชาเราตถาคต.
พระราชาทรงดาริว่า พราหมณ์รู้สิ่งที่ควร เราไม่รู้ จึงทรงเลื่อมใส ได้ทรงกระทาสิ่งที่เป็น
อุปการะแก่หมู่คนทั้งหมดนั้นให้เป็น ๘ หมวดหมวดละ ๘ สิ่ง ทรงให้ทานชื่อว่าสัพพัตถกะ (สารพัด
ประโยชน์) แล้วทรงตั้งพราหมณ์ไว้ในตาแหน่งปุโรหิต.
ฝ่ายพราหมณ์นั้นเข้าไปตั้งสลากภัต ๖๔ ที่ คือชื่อว่าหมวดละแปด ๘ ที่ เป็น ๖๔ ที่ แล้วให้ทาน
รักษาศีลตลอดชีวิต จุติจากอัตภาพนั้นแล้วบังเกิดในสวรรค์.
จุติจากสวรรค์นั้นอีก ในกัปนี้ บังเกิดในตระกูลกุฎุมพีในนครพาราณสี ระหว่างพระพุทธเจ้า ๒
พระองค์ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ และพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ. เขา
อาศัยความเจริญอยู่ครองเรือน วันหนึ่ง เดินเที่ยวพักผ่อนอยู่ในป่า.
ก็สมัยนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้ากระทาจีวรกรรมอยู่ที่ฝั่งแม่น้า เมื่อผ้าอนุวาตไม่เพียงพอจึงเริ่มพับ
เก็บไว้. เขาเห็นดังนั้นจึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ เพราะเหตุไร ท่านจึงพับเก็บไว้.
พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า ผ้าอนุวาตไม่เพียงพอ. เขาจึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงทาด้วย
ผ้านี้ แล้วถวายผ้าห่ม ได้กระทาความปรารถนาว่า ความเสื่อมไรๆ จงอย่าใดมีแก่ข้าพเจ้าในที่ที่เกิดแล้วๆ.
7
เมื่อภรรยากับน้องสาวก่อการทะเลาะกัน พระปัจเจกพุทธเจ้าเข้าไปบิณฑบาตแม้ในเรือนของ
เขา.
ครั้งนั้น น้องสาวของเขาได้ถวายบิณฑบาตแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วหมายเอาภรรยาของเขา
ตั้งความปรารถนาว่า เราพึงเว้นหญิงพาลเห็นปานนี้ ๑๐๐ โยชน์. นางยืนอยู่ที่ลานบ้านได้ยินเข้าจึงคิดว่า
พระปัจเจกพุทธเจ้านี้ จงอย่าได้บริโภคภัตที่หญิงนี้ ถวาย จึงรับบาตรเทภัตทิ้งเสีย แล้วได้บรรจุให้เต็มด้วย
เปือกตมถวาย.
น้องสาวของเขาเห็นจึงกล่าวว่า นางหญิงพาล เจ้าจงด่าหรือจงประหารเราก่อนเถอะ ก็การทิ้งภัต
จากบาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ได้บาเพ็ญบารมีมาสองอสงไขยเห็นปานนี้ แล้วให้เปือกตม ไม่ควร.
ครั้งนั้น ภรรยาของเขาเกิดการพิจารณาขึ้นมาได้.
นางจึงกล่าวว่า โปรดหยุดก่อนเจ้าข้า แล้วเทเปือกตมทิ้ง ล้างบาตรแล้วระบมด้วยผงเครื่องหอม
บรรจุให้เต็มด้วยภัตอันประณีต และด้วยของมีรสอร่อยทั้งสี่ให้เต็ม แล้ววางบาตรอันแพรวพราวด้วยเนยใสมี
สีดังกลีบปทุมลาดไว้ข้างบน ลงในมือของพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วได้กระทาความปรารถนาว่า บิณฑบาตนี้
เกิดโอภาสได้ ฉันใด ร่างกายของเราจงเกิดโอภาส ฉันนั้นเถิด.
พระปัจเจกพุทธเจ้าอนุโมทนาแล้วเหาะไปยังอากาศ.
ผัวเมียทั้งสองแม้นั้นดารงอยู่ตลอดชั่วอายุ เคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้วบังเกิดในสวรรค์. จุติจาก
สวรรค์นั้นอีก เกิดเป็นอุบาสกในตระกูลที่สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ ๘๐ โกฏิในนครพาราณสี ในกาลแห่ง
พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า.
ฝ่ายภรรยาบังเกิดเป็นธิดาของเศรษฐีผู้เช่นนั้นเหมือนกัน. เมื่อเขาเจริญวัยแล้ว บิดามารดาจึง
นาธิดาของเศรษฐีนั้นนั่นแหละมา.
ด้วยอานุภาพของกรรมอันลามกซึ่งมีวิบากอันไม่น่าปรารถนาในชาติก่อน เมื่อนางสักว่าเข้าไป
ยังตระกูลสามี เรือนทั้งสิ้น จาเดิมแต่ระหว่างธรณีประตูเข้าไป เกิดกลิ่นเหม็นประดุจหลุมคูถที่เขาเปิดไว้
ฉะนั้น.
กุมารถามว่า นี่กลิ่นของใคร ได้ฟังว่าของธิดาเศรษฐี. จึงกล่าวว่า จงนานางออกไป แล้วให้ส่งไป
ยังเรือนตระกูลของนางทันที.
นางกลับมาโดยทานองนั้นนั่นแล ๗ ฐานะ.
สมัยนั้น พระกัสสปทศพลปรินิพพานแล้ว. ชนทั้งหลายก่อพระเจดีย์ของพระองค์สูงโยชน์หนึ่ง
ด้วยอิฐทองคามีค่าแสนหนึ่ง. เมื่อเขากาลังพากันก่อเจดีย์นั้นอยู่ ธิดาเศรษฐีนั้นคิดว่า เรากลับแล้วในฐานะ
ทั้ง ๗ เราจะประโยชน์อะไรด้วยชีวิต จึงให้หักยุบสิ่งของเครื่องประดับของตนให้กระทาเป็นอิฐทองคา ยาว ๑
ศอก กว้าง ๑ คืบ สูง ๔ นิ้ ว. แต่นั้นจึงถือเอาก้อนหรดาลและมโนศิลา แล้วถือดอกอุบล ๘ กาไปยังที่ที่ก่อ
พระเจดีย์.
ก็ขณะนั้น แถวอิฐแห่งหนึ่งวงมาขาดอิฐสาหรับเชื่อมต่อ. ธิดาเศรษฐีจึงกล่าวกะนายช่างว่า ท่าน
จงวางอิฐของเราก้อนนี้ ลงในที่นี้ .
นายช่างกล่าวว่า แม่นาง ท่านมาได้เวลาพอดี ท่านจงวางด้วยตัวเองเถิด.
8
นางจึงขึ้นไปเอาน้ามันเคลือบก้อนหรดาลและมโนศิลาแล้ว เอาเครื่องเชื่อมนั้นตั้งติดอิฐ. แล้วทา
การบูชาด้วยดอกอุบล ๘ กานั้นในเบื้องบน ไหว้แล้วทาความปรารถนาว่า ในที่ที่เกิดแล้วๆ ขอให้กลิ่นจันทน์
ฟุ้งออกจากกายของข้าพเจ้า ขอให้กลิ่นอุบลฟุ้งออกจากปาก เสร็จแล้วไหว้พระเจดีย์ กระทาประทักษิณแล้ว
ได้กลับไปเรือน.
ขณะนั้นเอง สติปรารภถึงนางเกิดขึ้นแก่บุตรเศรษฐีผู้ที่นานางไปเรือนครั้งแรก. แม้ในพระนครก็
มีการป่าวร้องการนักขัตฤกษ์.
บุตรเศรษฐีนั้นกล่าวกะพวกอุปัฏฐากว่า ธิดาเศรษฐีที่นามาที่นี้ อยู่ไหน.
พวกอุปัฏฐากกล่าวว่า อยู่ที่เรือนของตระกูลครับนาย.
บุตรเศรษฐีกล่าวว่า พวกท่านจงไปนานางมา เราจักเล่นนักขัตฤกษ์.
อุปัฏฐากเหล่านั้นไปไหว้นางแล้วยืนอยู่. ผู้อันนางถามว่า นี่แน่ะพ่อทั้งหลาย พวกท่านมาทาไม
กัน จึงพากันบอกเรื่องราวนั้นแก่นาง. นางกล่าวว่า พ่อทั้งหลาย เราเอาสิ่งของเครื่องประดับบูชาพระเจดีย์
เสียแล้ว เราไม่มีเครื่องประดับ.
อุปัฏฐากเหล่านั้นจึงไปบอกแก่บุตรเศรษฐี. บุตรเศรษฐีกล่าวว่า พวกท่านจงนานางมาเถอะ นาง
จักได้เครื่องประดับ. อุปัฏฐากเหล่านั้นจึงนานางมา. พร้อมกับให้นางเข้าไปยังเรือน กลิ่นจันทน์และกลิ่น
อุบลฟุ้งไปตลอดทั้งเรือน.
บุตรเศรษฐีถามนางว่า นางผู้เจริญ ทีแรก กลิ่นเหม็นฟุ้งออกจากร่างกายของเธอ แต่บัดนี้ กลิ่น
จันทน์ฟุ้งออกจากร่างกายของเธอ กลิ่นอุบลฟุ้งออกจากปาก, นี่อะไรกัน?
นางจึงบอกกรรมที่ตนกระทาตั้งแต่ต้น.
บุตรเศรษฐีคิดว่า พระพุทธศาสนาเป็นเครื่องนาออกจากทุกข์หนอ จึงเลื่อมใส ให้เอาเสื้อที่ทา
ด้วยผ้ากัมพลหุ้มพระเจดีย์ทองอันสูงหนึ่งโยชน์ แล้วได้ประดับประดาด้วยปทุมทอง ขนาดเท่าล้อรถในที่
นั้นๆ เหล่าปทุมทองที่ห้อยมีประมาณ ๑๒ ศอก.
บุตรเศรษฐีนั้นดารงอยู่ในอัตภาพนั้นตลอดชั่วอายุ จุติจากอัตภาพนั้นไปบังเกิดในสวรรค์ จุติ
จากสวรรค์นั้นอีก แล้วมาบังเกิดในตระกูลอามาตย์ตระกูลหนึ่ง ในที่ประมาณหนึ่งโยชน์จากนครพาราณสี.
ส่วนภรรยาของเขาจุติจากเทวโลกเกิดเป็นราชธิดาพระองค์ใหญ่ในราชสกุล เมื่อคนทั้งสองนั้น
ถึงความเจริญวัยแล้ว เขาป่าวร้องงานนักขัตฤกษ์ในบ้านที่อยู่ของกุมาร.
กุมารนั้นกล่าวกะมารดาว่า แม่จ๋า แม่จงให้ผ้าสาฎกฉัน ฉันจักเล่นงานนักขัตฤกษ์. มารดาจึงได้
นาผ้าที่ซักแล้วมาให้. กุมารกล่าวว่า แม่จ๋า ผ้าผืนนี้ หยาบ. มารดาจึงได้นาผ้าผืนอื่นมาให้. แม้ผ้าผืนนั้น เขาก็
ปฏิเสธเสีย.
ทีนั้น มารดาจึงกล่าวกะเขาว่า นี่แน่ะพ่อ พวกเราเกิดในเรือนเช่นไร พวกเราไม่มีบุญเพื่อจะได้ผ้า
ที่เนื้ อละเอียดกว่านี้ . กุมารกล่าวว่า แม่จ๋า ถ้าอย่างนั้น ฉันจะไปยังที่ที่จะได้. มารดากล่าวว่า ลูกเอ๋ย แม่
ปรารถนาจะให้เจ้าได้ราชสมบัติในนครพาราณสี ในวันนี้ ทีเดียว. กุมารไหว้มารดาแล้วกล่าวว่า ฉันไปละแม่.
มารดากล่าวว่า ไปเถอะพ่อ.
ก็กุมารนั้นออกไปตามกาหนดของบุญ ไปถึงนครพาราณสี แล้วนอนคลุมโปงอยู่บนแผ่นศิลาอัน
9
เป็นมงคลในอุทยาน.
ก็วันนั้นเป็นวันที่ ๗ ที่พระเจ้าพาราณสีสวรรคต.
อามาตย์ทั้งหลายทาการถวายพระเพลิงแล้ว นั่งอยู่ที่พระลานหลวง ปรึกษากันว่า พระราชาทรง
มีแต่พระธิดาองค์เดียว ไม่มีพระโอรส ราชสมบัติที่ไม่มีพระราชาจักพินาศ ใครควรเป็นพระราชา.
พวกอามาตย์ต่างกล่าวว่า ท่านจงเป็น ท่านจงเป็น.
ปุโรหิตกล่าวว่า ไม่ควรเลือกมาก พวกเราจักปล่อยผุสสรถ.
อามาตย์เหล่านั้นจึงเทียมม้าสินธพ ๔ ตัว มีสีดังดอกโกมุทแล้ววางราชกกุธภัณฑ์ ๕ อย่างและ
เศวตฉัตรไว้บนผุสสรถนั้น แล้วปล่อยรถไป ให้ประโคมดนตรีตามหลังไป รถออกทางประตูด้านทิศ
ตะวันออก มุ่งหน้าไปยังอุทยาน. อามาตย์บางพวกกล่าวว่า รถบ่ายหน้ามุ่งไปอุทยาน เพราะความคุ้นเคย
พวกเราจงให้รถกลับ.
ปุโรหิตกล่าวว่า พวกท่านอย่าให้รถกลับ. รถไปกระทาประทักษิณกุมารแล้วทาท่าจะเกยขึ้นก็
หยุดอยู่.
ปุโรหิตเลิกชายผ้าห่มตรวจดูพื้นเท้ากล่าวว่า ทวีปนี้ จงยกไว้ ผู้นี้ สมควรครองราชสมบัติในมหา
ทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวาร แล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงประโคมดนตรี แล้วให้ประโคมดนตรี
๓ ครั้ง.
ลาดับนั้น กุมารเปิดหน้าแลดูอยู่พลางกล่าวว่า ท่านทั้งหลายพากันมาด้วยกรรมอะไร. อามาตย์
ทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่เทวะ ราชสมบัติถึงแก่พระองค์. กุมารกล่าวว่า พระราชาของพวกท่านไปไหน. พวก
อามาตย์กล่าวว่า ข้าแต่นาย พระราชาเสด็จไปสู่ความเป็นเทวดาเสียแล้ว. กุมารกล่าวว่า ล่วงไปกี่วันแล้ว.
อามาตย์. วันนี้ เป็นวันที่ ๗.
กุมาร. พระโอรสหรือพระธิดาไม่มีหรือ.
พวกอามาตย์. ข้าแต่เทวะ พระธิดามี, พระโอรสไม่มี.
กุมารกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น เราจักครองราชสมบัติ.
อามาตย์เหล่านั้นจึงให้สร้างมณฑปสาหรับอภิเษกขึ้นในทันใดนั้น แล้วประดับประดาพระราช
ธิดาด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง พาไปอุทยาน ได้กระทาการอภิเษกแก่กุมาร.
ลาดับนั้น อามาตย์ทั้งหลายจึงนาผ้ามีค่าแสนหนึ่งเข้าไปเพื่อกุมารผู้ทาการอภิเษกแล้ว.
พระกุมารตรัสว่า พ่อทั้งหลาย นี้ อะไรกัน.
พวกอามาตย์. ข้าแต่เทวะ ผ้าสาหรับนุ่ง.
พระกุมาร. พ่อทั้งหลาย ผ้าเนื้ อหยาบมิใช่หรือ.
พวกอามาตย์. ข้าแต่เทวะ บรรดาผ้าสาหรับใช้สอยของมนุษย์ ผ้าที่เนื้ อนุ่มกว่านี้ ไม่มี.
พระกุมาร. พระราชาของท่านทั้งหลาย ทรงนุ่งผ้าเห็นปานนี้ หรือ.
พวกอามาตย์. ข้าแต่เทวะ พระเจ้าข้า.
พระกุมารตรัสว่า พระราชาของท่านทั้งหลายเห็นจะไม่มีบุญ แล้วให้นาพระสุวรรณภิงคารมา
ด้วยพระดารัสว่า ท่านทั้งหลายจงนาสุวรรณภิงคารมา เราจักได้ผ้า แล้วเสด็จลุกขึ้นไปล้างพระหัตถ์ บ้วนพระ
10
โอฐแล้วเอาพระหัตถ์วักน้าประพรมไปในทิศตะวันออก ต้นกัลปพฤกษ์ ๘ ต้นชาแรกแผ่นดินทึบผุดขึ้น. ทรง
วักน้าประพรมไปในทิศใต้ ทิศตะวันตกและทิศเหนืออีก รวมความว่าทรงประพรมไปทั้ง ๔ ทิศ. ต้น
กัลปพฤกษ์ ๓๒ ต้นผุดขึ้นโดยทาให้มีทิศละ ๘ ต้นๆ ในทิศทั้งปวง.
พระกุมารนั้นทรงนุ่งผ้าทิพย์ผืนหนึ่ง ทรงห่มผืนหนึ่ง แล้วตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงเที่ยวตีกลอง
ป่าวร้องอย่างนี้ ว่า ในแว่นแคว้นของพระเจ้านันทราช สตรีทั้งหลายผู้กรอด้าย อย่ากรอด้ายเลย แล้วให้ยก
ฉัตร ประดับตกแต่งเสด็จไปบนคอช้างตัวประเสริฐ เสด็จเข้าพระนคร ขึ้นสู่ปราสาทเสวยมหาสมบัติอยู่.
เมื่อเวลาดาเนินไปอยู่อย่างนี้ พระเทวีเห็นสมบัติของพระราชาแล้ว ทรงแสดงอาการของผู้มี
ความสงสารว่า โอ น่าสงสารหนอ ท่านผู้มีตบะ, ถูกพระราชาตรัสถามว่า เทวี นี้ อะไรกัน? จึงทูลว่า ข้าแต่เท
วะ สมบัติของพระองค์ใหญ่ยิ่งนัก ผลแห่งกรรมดีที่พระองค์ทรงเชื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้วกระทาไว้ใน
อดีต แต่เดี๋ยวนี้ พระองค์ไม่ทรงกระทาบุญอันเป็นปัจจัยแก่อนาคต.
พระราชาตรัสว่า เราจักให้แก่ใคร ผู้มีศีลไม่มี.
พระเทวีทูลว่า เทวะ ชมพูทวีปไม่สูญจากพระอรหันต์ทั้งหลาย, เทวะ ขอพระองค์จงตระเตรียม
ทานไว้ หม่อมฉันจักได้พระอรหันต์.
ในวันรุ่งขึ้น พระราชาทรงให้ตระเตรียมทานไว้ที่ประตูด้านทิศตะวันออก. พระเทวีทรงอธิษฐาน
องค์อุโบสถแต่เช้าตรู่ นอนพังพาบ บ่ายหน้าไปทางทิศตะวันออก ณ ปราสาทชั้นบน แล้วกล่าวว่า ถ้าพระ
อรหันต์ทั้งหลายมีอยู่ในทิศนี้ พรุ่งนี้ ขอจงมารับภิกษาของข้าพเจ้าทั้งหลาย. ในทิศนั้นไม่มีพระอรหันต์ จึงได้
ประทานสักการะนั้นแก่คนกาพร้าและยาจกทั้งหลาย.
ในวันรุ่งขึ้น ทรงตระเตรียมทานไว้ที่ประตูด้านทิศใต้ ไม่ได้พระทักขิไณยบุคคลเหมือนอย่างนั้น
แหละ.
แม้ในวันรุ่งขึ้นก็ทรงตระเตรียมไว้ที่ประตูด้านทิศตะวันตก ก็ไม่ได้พระทักขิไณยบุคคลเหมือน
อย่างนั้นนั่นแหละ.
แต่ในวันที่ได้ตระเตรียมไว้ที่ประตูด้านทิศเหนือ เมื่อพระเทวีนิมนต์เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ.
พระมหาปทุมปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นพี่ชายของพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ ผู้เป็นโอรสของ พระนาง
ปทุมวดี ซึ่งอยู่ในหิมวันตประเทศ เรียกพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นน้องชายมาว่า ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย พระ
เจ้านันทราชนิมนต์ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงรับนิมนต์ของท้าวเธอเถิด.
พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นรับนิมนต์แล้ว
ในวันรุ่งขึ้นล้างหน้าที่สระอโนดาตแล้ว เหาะมาทางอากาศลงที่ประตูด้านทิศเหนือ. คนทั้งหลาย
เห็นแล้ว จึงไปกราบทูลแด่พระราชาว่า ข้าแต่เทวะ พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์มาแล้ว.
พระราชาพร้อมกับพระเทวีพากันไปไหว้แล้วนาขึ้นสู่ปราสาท ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า
เหล่านั้น ณ ปราสาทนั้น ในเวลาเสร็จภัตกิจ พระราชาทรงหมอบลงแทบเท้าของพระสังฆเถระ พระเทวีทรง
หมอบลงแทบเท้าพระสังฆนวกะ แล้วตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจักไม่ลาบากเรื่อง
ปัจจัย และข้าพเจ้าทั้งหลายจักไม่เสื่อมจากบุญ ขอท่านทั้งหลายจงให้ปฏิญญาแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อจะอยู่
ในที่นี้ ตลอดชั่วอายุ. ให้พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นทาปฏิญญาแล้ว ทาที่อยู่อาศัยให้พร้อมเสร็จด้วยอาการ
11
ทุกอย่าง คือบรรณศาลา ๕๐๐ ที่จงกรม ๕๐๐ ในพระอุทยาน แล้วให้อยู่ในที่นั้น.
เมื่อกาลเวลาล่วงไปอย่างนี้ เมื่อปัจจันตชนบทของพระราชาเกิดจลาจลขึ้น พระราชาตรัสว่า เรา
จะไปปราบปรามปัจจันตชนบทให้สงบราบคาบ เธออย่าประมาทพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายดังนี้ ทรง
โอวาทพระเทวีแล้วเสด็จไป.
เมื่อพระราชายังไม่ทันจะเสด็จกลับมา อายุสังขารของพระปัจเจกพุทธเจ้าก็สิ้นไป.
พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหมดนั่นแลปรินิพพานแล้วด้วยประการดังนี้ คือ พระมหาปทุมปัจเจก
พุทธเจ้าเล่นฌานอยู่ตลอดยามสามแห่งราตรี ในเวลาอรุณขึ้น ได้ยืนเหนี่ยวแผ่นกระดานสาหรับเหนี่ยว
ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.
ฝ่ายพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายที่เหลือก็ปรินิพพานโดยอุบายนั้น.
วันรุ่งขึ้น พระเทวีจัดแจงที่นั่งสาหรับพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แล้วโปรยดอกไม้อบธูป
ประทับนั่งแลดูการมาของพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ครั้นไม่เห็นมาจึงส่งพวกบุรุษไปด้วยพระดารัสว่า นี่
แน่ะพ่อทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงไป จงรู้พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายไม่ผาสุกอย่างไร.
บุรุษเหล่านั้นพากันไป แล้วเปิดประตูบรรณศาลาของพระมหาปทุม เมื่อไม่เห็นท่านในที่นั้น จึง
ไปยังที่จงกรม เห็นท่านยืนพิงแผ่นกระดานสาหรับเหนี่ยว จึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ได้เวลาแล้ว. สรีระของ
ท่านผู้ปรินิพพานแล้วจักพูดได้อย่างไร.
บุรุษเหล่านั้นกล่าวว่า เห็นจะหลับ จึงเอามือลูบที่หลังเท้า รู้ว่าปรินิพพานแล้ว เพราะเท้าทั้งสอง
เย็นและแข็ง จึงไปยังสานักของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ที่สอง รู้ได้อย่างนั้นเหมือนกัน จึงไปยังสานักของพระ
ปัจเจกพุทธเจ้าองค์ที่สาม เขาแม้ทั้งหมดรู้ว่าท่านปรินิพพานแล้วอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ จึงพากันกลับมา
ยังราชสกุล อันพระเทวีตรัสถามว่า พ่อทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าไปไหน จึงกราบทูลว่า ปรินิพพานแล้ว
พระเจ้าข้า.
พระเทวีทรงกันแสงคร่าครวญ เสด็จออกไป ณ ที่นั้นพร้อมกับพวกชาวเมือง ทรงให้กระทาสาธุ
กีฬา แล้วทรงให้ทาฌาปนกิจสรีระของพระปัจเจกพุทธจ้าทั้งหลาย แล้วให้เอาพระธาตุทั้งหลายมาก่อพระ
เจดีย์ไว้.
พระราชาทรงปราบปรามปัจจันตชนบทให้สงบราบคาบแล้วเสด็จกลับมา จึงตรัสถามพระเทวีผู้
เสด็จมาต้อนรับว่า พระนางผู้เจริญ เธอไม่ประมาทในพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายหรือ พระผู้เป็นเจ้า
ทั้งหลายสบายดีหรือ.
พระเทวีกราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายปรินิพพานเสียแล้ว.
พระราชาได้ทรงสดับดังนั้น ทรงดาริว่า ความตายยังเกิดขึ้นแก่บัณฑิตทั้งหลายแม้เห็นปานนี้
ความพ้นจากความตาย จักมีแก่พวกเรามาแต่ไหน. พระองค์ไม่เสด็จเข้าพระนคร เสด็จไปยังพระอุทยาน
ทันที แล้วรับสั่งให้เรียกพระโอรสองค์ใหญ่มา ทรงมอบราชสมบัติให้แก่พระโอรสนั้นแล้ว ทรงผนวชเป็น
สมณะด้วยพระองค์เอง.
ฝ่ายพระเทวีทรงดาริว่า เมื่อพระราชาทรงผนวชแล้ว เราจักทาอะไร จึงทรงผนวชในพระอุทยาน
เหมือนอย่างนั้นแหละ. ทั้งสองพระองค์ทรงทาฌานให้เกิดแล้ว จุติจากอัตภาพนั้นไปบังเกิดในพรหมโลก.
12
เมื่อพระราชาและพระเทวีทั้งสองนั้น อยู่ในพรหมโลกนั้นนั่นแหละ พระศาสดาของเราทั้งหลาย
เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวรแล้ว เสด็จถึงนครราชคฤห์โดยลาดับ. เมื่อพระศาสดา
เสด็จอาศัยอยู่ในนครราชคฤห์นั้น ปิปผลิมาณพนี้ บังเกิดในท้องของภรรยากบิลพราหมณ์ ในพราหมณคาม
ชื่อว่า มหาติตถะ.
นางภัททกาปิลานีนี้ บังเกิดในท้องของภรรยาพราหมณ์โกสิยโคตร ในสาคลนคร แคว้นมัททราฐ.
เมื่อคนทั้งสองนั้นเติบโตโดยลาดับ เมื่อปิปผลิมาณพบรรลุวัยที่ ๒๐ นางภัททาบรรลุวัยที่ ๑๖
บิดามารดาแลดูบุตรแล้วจึงคาดคั้นว่า นี่แน่ะพ่อ เจ้าก็เจริญวัยแล้ว สมควรดารงวงศ์สกุล.
มาณพกล่าวว่า คุณพ่อคุณแม่อย่าได้กล่าวถ้อยคาเห็นปานนี้ ในคลองแห่งโสตของผมเลย กระผม
จักปฏิบัติตราบเท่าที่คุณพ่อคุณแม่ยังมีชีวิตอยู่ ต่อเมื่อคุณพ่อคุณแม่ล่วงลับไปแล้ว กระผมจักออกบวช. ล่วง
ไปได้ ๒-๓ วัน บิดามารดาก็กล่าวอีก. ฝ่ายมาณพนั้นก็ปฏิเสธอีก. ตั้งแต่นั้น มารดาคงกล่าวอยู่เนืองๆ
ทีเดียว.
มาณพคิดว่าจักให้มารดายินยอม จึงให้ทองคาสีสุกปลั่งพันลิ่มแล้วให้พวกช่างทองทารูปหญิง ใน
เวลาเสร็จกรรมมีการขัดและการบุรูปนั้นเป็นต้น จึงให้รูปนั้นนุ่งผ้าแดง ให้ประดับดอกไม้และเครื่องอลังการ
ต่างๆ อันเพียบพร้อมไปด้วยทอง แล้วกล่าวว่า คุณแม่ ผมได้อารมณ์เห็นปานนี้ จึงจักอยู่ครองเรือน เมื่อไม่ได้
ก็จักไม่อยู่.
นางพราหมณีผู้มีปัญญาคิดว่า บุตรของเรามีบุญ ได้ให้ทานสร้างอภินีหารไว้แล้ว เมื่อทาบุญ
ทั้งหลายในชาติก่อน คงจะไม่ได้ทาคนเดียว. หญิงผู้ทาบุญร่วมกับบุตรของเรานี้ จักเป็นหญิงเปรียบปานรูป
ทองเป็นแน่. นางจึงให้เชิญพราหมณ์ ๘ คนมา เลี้ยงดูให้อิ่มหนาด้วยโภคะทั้งปวงแล้ว ยกรูปทองขึ้นบนรถ
แล้วส่งไปด้วยคาว่า พ่อทั้งหลาย พวกท่านจงพากันไป เห็นทาริกาเห็นปานนี้ ในตระกูลที่มีชาติ โคตรและ
โภคะเป็นต้น เสมอกันกับเราทั้งหลายในที่ใด จงให้รูปทองนี้ แหละให้เป็นอาการแสดงความสัตย์จริงไว้ในที่
นั้น.
พราหมณ์เหล่านั้นพากันออกไปด้วยคิดว่า นี่เป็นการงานของพวกเรา แล้วปรึกษากันว่า พวกเรา
จักได้ที่ไหน ขึ้นชื่อว่ามัททราฐเป็นตาหนักฝ่ายใน พวกเราจักไปยังมัททราฐ แล้วได้ไปยังสาคลนคร
ในมัททราฐ. ตั้งรูปทองนั้นไว้ที่ท่าสาหรับอาบน้า ในแคว้นมัททราฐนั้น แล้วนั่งอยู่ ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง.
ลาดับนั้น แม่นมของนางภัททาให้นางภัททาอาบน้าแต่งตัวแล้ว ตนเองไปท่าน้าเพื่อจะอาบ เห็น
รูปทองจึงคิดว่า แม่ภัททานี้ แนะนาไม่ได้ มายืนอยู่ที่นี้ เพื่ออะไร จึงตีที่ข้างหลัง รู้ว่าเป็นรูปทองจึงกล่าวว่า เรา
ทาความสาคัญให้เกิดขึ้นว่า เป็นธิดาแห่งแม่เจ้าของเรา หญิงนี้ เมื่อธิดาแห่งแม่เจ้าแม้รับเอาผ้านุ่งแล้ว ก็จะ
ไม่เหมือน.
ลาดับนั้น พราหมณ์เหล่านั้นจึงถามแม่นมนั้นว่า ได้ยินว่า ธิดาแห่งนายของท่านเห็นปานนี้ . แม่
นมนั้นกล่าวว่า ธิดาแห่งแม่เจ้าของเราเป็นหญิงมีรูปงามกว่ารูปเปรียบทองนี้ ร้อยเท่า พันเท่า จริงอย่างนั้น
เธอนั่งอยู่ในห้องประมาณ ๑๒ ศอก แม้จะไม่มีประทีป ก็กาจัดความมืดได้ด้วยแสงสว่างจากร่างกาย.
พวกพราหมณ์กล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น เราทั้งหลายจะไปยังสานักแห่งบิดามารดาของนาง แล้วยก
รูปทองขึ้นรถตามแม่นมนั้นไป แล้วยืนอยู่ที่ประตูเรือนให้บอกถึงการมา.
13
พราหมณ์ปฏิสันถารแล้วถามว่า ท่านทั้งหลายมาจากไหน?
พราหมณ์เหล่านั้นกล่าวว่า เราทั้งหลายมาจากเรือนของกบิลพราหมณ์ ณ บ้านมหาติตถคามใน
แคว้นมคธ ด้วยเหตุชื่อนี้ . พราหมณ์กล่าวว่า ดีละพ่อ พราหมณ์นั้นมีชาติ โคตรและทรัพย์สมบัติเสมอกับเรา
เราจักให้ทาริกา แล้วรับเครื่องบรรณาการไว้.
พราหมณ์เหล่านั้นจึงส่งข่าวแก่กบิลพราหมณ์ว่า ทาริกาชื่อว่าภัททา พวกเราได้แล้ว ท่านจงรู้กิจ
ที่ควรกระทาต่อไป.
บิดามารดาได้ฟังข่าวนั้นแล้ว จึงบอกแก่ปิปผลิมาณพว่าได้นางทาริกาแล้ว.
ปิปผลิมาณพคิดว่า เราคิดว่าจักไม่ได้ พราหมณ์เหล่านี้ ส่งข่าวมาว่าได้แล้ว, เราไม่มีความ
ต้องการ จักส่งหนังสือไป แล้วไปในที่ลับเขียนหนังสือว่า แม่ภัททาจงได้สามีผู้สมควรแก่ชาติโคตรและโภค
ทรัพย์ของตนเถิด เราจักออกบวช ท่านอย่าได้ร้อนใจในภายหลัง.
ฝ่ายนางภัททาได้ฟังว่า นัยว่า บิดามารดาประสงค์จะให้เราแก่ผู้โน้น จึงไปในที่ลับเขียนหนังสือ
ว่า ลูกเจ้าจงได้ทาริกาผู้เหมาะสมแก่ชาติโคตรและโภคทรัพย์ของตน เราจักบวช ท่านจงอย่าได้ร้อนใจ
ภายหลัง.
หนังสือทั้งสองฉบับมาประจวบกันระหว่างทาง. พวกนางภัททาถามว่า นี้ หนังสือของใคร.
พวกปิปผลิมาณพตอบว่า หนังสือนี้ ปิปผลิมาณพส่งไปให้นางภัททา. เมื่อพวกปิปผลิมาณพกล่าวว่า นี้ หนังสือ
ของใคร และเมื่อพวกนางภัททากล่าวว่า หนังสือนี้ นางภัททาส่งไปให้ปิปผลิมาณพ คนเหล่านั้นจึงอ่าน
หนังสือทั้งสองฉบับแล้วกล่าวกันว่า ท่านทั้งหลายจงดูการกระทาของพวกเด็กๆ ดังนี้ แล้วฉีกทิ้งไปในป่า แล้ว
เขียนหนังสือฉบับอื่นซึ่งเสมอเหมือนกับหนังสือนั้น แล้วส่งไปทั้งข้างนี้ และข้างนี้ . ดังนั้น หนังสือของกุมาร
และกุมาริกาจึงเหมือนกัน เป็นหนังสือเอื้อเฟื้ อและเกื้อกูลแก่ทางโลกเท่านั้น เพราะเหตุนั้น คนทั้งสองนั้นแม้
จะไม่ต้องการก็ได้มาร่วมกัน.
ในวันนั้นเอง ฝ่ายปิปผลิมาณพก็ให้นางภัททาถือดอกไม้พวงหนึ่ง. ฝ่ายนางภัททาก็วางดอกไม้
เหล่านั้นไว้ท่ามกลางที่นอน. คนทั้งสองบริโภคอาหารเย็นแล้วเริ่มเข้านอน. ในสองคนนั้น มาณพขึ้นที่นอน
ทางด้านขวา นางภัททาขึ้นทางด้านซ้าย แล้วกล่าวว่า พวกเราจักรู้ชัดแจ้งว่า ดอกไม้ในด้านของผู้ใดเหี่ยว
ราคะจิตเกิดขึ้นแล้วแก่ผู้นั้น ใครๆ ไม่พึงติดพวงดอกไม้นี้ . ก็คนทั้งสองนั้นไม่หลับเลยตลอดราตรีทั้งสิ้น
เพราะกลัวจะถูกต้องร่างกายของกันและกัน ให้เวลาล่วงไปแล้ว.
ก็ในเวลากลางวัน แม้แต่ความยิ้มแย้มก็ไม่ได้กระทา. คนทั้งสองไม่เกี่ยวข้องกันด้วยอามิสทาง
โลก ไม่จัดแจงการงานตราบเท่าที่บิดามารดายังมีชีวิตอยู่ เมื่อบิดามารดากระทากาละแล้ว จึงจัดแจง.
สมบัติของมาณพมีมากมาย ผงทองคาที่เขาเพิกออกจากร่างกายแล้วทิ้งไปในวันหนึ่งเท่านั้น ควรได้ประมาณ
๑๒ ทะนานโดยทะนานมคธ. มาณพมีบึงใหญ่ติดเครื่องยนต์ ๖๐ แห่ง มีเนื้ อที่ทางาน ๑๒ โยชน์ มีบ้าน ๑๔
บ้านขนาดเมืองอนุราธปุระ มีพลช้าง ๑๔ กอง พลม้า ๑๔ กองและพลรถ ๑๔ กอง.
วันหนึ่ง เขาขี่ม้าตัวที่ประดับแล้วอันมหาชนแวดล้อม ไปยังสถานที่ทาการงานยืนอยู่ปลายนา
เห็นพวกนกมีกาเป็นต้นดึงสัตว์ทั้งหลายมีไส้เดือนเป็นต้น ขึ้นมาจากที่แบะออกด้วยไถแล้วกินอยู่ จึงถามว่า
พ่อทั้งหลาย นกเหล่านี้ กินอะไร. บริวารชนบอกว่า ข้าแต่เจ้า มันกินไส้เดือน.
14
มาณพกล่าวว่า บาปที่พวกนกทาจะมีแก่ใคร. บริวารชนตอบว่า ข้าแต่เจ้าจะมีแก่ท่าน.
เขาจึงคิดว่า ถ้าบาปที่นกเหล่านี้ ทามีแก่เราละ ก็ทรัพย์ ๘๗ โกฏิจักทาอะไรแก่เรา การงาน ๑๒
โยชน์จักทาอะไร บึงติดเครื่องยนต์จักทาอะไร และบ้าน ๑๔ บ้านจักทาอะไร, เราจักมอบสมบัติทั้งหมดนี้ แก่
นางภัททากาปิลานี แล้วจักออกบวช.
ขณะนั้น นางภัททากาปิลานีหว่านเมล็ดงา ๓ หม้อในระหว่างไร่ พวกแม่นมแวดล้อมนั่งอยู่ เห็น
พวกกากินสัตว์ในเมล็ดงา จึงถามว่าแม่ทั้งหลาย กาเหล่านี้ กินอะไร? พวกแม่นมกล่าวว่า กินสัตว์จ้ะ แม่เจ้า.
นางภัททาถามว่า อกุศลจะมีแก่ใคร? พวกแม่นมตอบว่า มีแก่ท่านจ้ะ แม่เจ้า.
นางจึงคิดว่า เราได้ผ้า ๔ ศอกและภัตสักว่าข้าวสุกทะนานหนึ่งย่อมควร ก็ถ้าอกุศลที่สัตว์เหล่านี้
ทาจะเป็นของเรา แม้พันภพ เราก็ไม่อาจยกหัวขึ้นจากวัฏฏะได้ เมื่อลูกเจ้าพอมาถึงเท่านั้น เราจักมอบสมบัติ
ทั้งหมดแก่ลูกเจ้าแล้วจักออกบวช.
มาณพมาแล้วอาบน้าขึ้นสู่ปราสาท นั่งบนบัลลังก์อันควรค่ามาก.
ลาดับนั้น บริวารชนน้อมนาโภชนะอันสมควรแก่พระเจ้าจักรพรรดิเข้าไปให้แก่มาณพ. คนทั้ง
สองบริโภคแล้ว เมื่อบริวารชนออกไปแล้ว จึงไปในที่ลับนั่งในที่ผาสุก.
ลาดับนั้น มาณพจึงกล่าวกะนางภัททาว่า นี่แน่ะภัททา เธอเมื่อมายังเรือนนี้ นาทรัพย์มี
ประมาณเท่าไรมา นางภัททากล่าวว่า ข้าแต่เจ้า นามาห้าหมื่นห้าพันเล่มเกวียน.
มาณพกล่าวว่า ทรัพย์ทั้งหมดนั้นและสมบัติอันมีประเภทอาทิอย่างนี้ คือทรัพย์ ๘๗ โกฏิใน
เรือนนี้ และบึงติดเครื่องยนต์ ๖๐ บึงซึ่งมีอยู่ทั้งหมดนั้น ฉันขอมอบแก่เธอเท่านั้น.
นางภัททากล่าวว่า ข้าแต่เจ้า ก็ท่านเล่าจะไปไหน. มาณพกล่าวว่า ฉันจักบวช.
นางภัททากล่าวว่า ข้าแต่เจ้า แม้ฉันก็นั่งคอยการมาของท่าน แม้ฉันก็จักบวช.
ภพทั้งสามปรากฏแก่คนทั้งสองนั้น เหมือนกุฎีใบไม้ถูกไฟติดทั่วแล้วฉะนั้น. คนทั้งสองนั้นกล่าว
ว่า เราทั้งสองจักบวช จึงให้คนไปนาจีวรที่ย้อมด้วยรสน้าฝาดและบาตรดินมาจากร้านตลาด แล้วให้กันและ
กันปลงผมแล้วกล่าวว่า พระอรหันต์เหล่าใดมีอยู่ในโลก เราทั้งหลายบวชอุทิศพระอรหันต์เหล่านั้นดังนี้ แล้ว
บวช ใส่บาตรในถุงคล้องที่ไหล่แล้วลงจากปราสาท.
บรรดาทาสและกรรมกรในเรือน ใครๆ จาไม่ได้.
ครั้งนั้น คนทั้งสองนั้นออกจากบ้านพราหมณ์ไปทางประตูบ้านทาส พวกชาวบ้านทาสจาได้ด้วย
อานาจอาการและท่าทาง. ทาสเหล่านั้นร้องไห้ หมอบลงที่เท้าแล้วกล่าวว่า ข้าแต่เจ้า เหตุไร ท่านทั้งหลาย
จึงกระทาพวกข้าพเจ้าให้เป็นคนอนาถาหาที่พึ่งมิได้.
คนทั้งสองกล่าวว่า นี่แน่ะพนาย เราทั้งสองบวชด้วยเห็นว่า ภพทั้งสามเป็นประดุจบรรณศาลา
อันไฟติดทั่วแล้ว ถ้าเราทั้งสองจะทาท่านทั้งหลาย แต่ละคนให้เป็นไทไซร้ แม้ร้อยปีก็ไม่พอ ท่านทั้งหลายจง
ชาระศีรษะของพวกท่าน แล้วจงเป็นไทเลี้ยงชีวิตอยู่เถิด.
เมื่อทาสเหล่านั้นร้องไห้อยู่นั่นแหละได้พากันหลีกไปแล้ว.
พระเถระเดินไปข้างหน้าหันกลับมามองดู พลางคิดว่า นางภัททากาปิลานีนี้ เป็นหญิงมีค่าควร
แก่ชมพูทวีปทั้งสิ้น เดินมาข้างหลังเรา. ก็ข้อที่ใครๆ จะพึงคิดอย่างนี้ ว่า คนเหล่านี้ แม้บวชแล้วก็ไม่อาจเว้น
15
จากกัน กระทากรรมอันไม่สมควร เป็นฐานะที่จะมีได้. จึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า ใครๆ พึงประทุษร้ายด้วย
ใจอันลามกอย่างนี้ แล้ว พึงทาอบายให้เต็ม ดังนี้ พลางเดินไปข้างหน้า เห็นทางสองแพร่งจึงได้หยุดอยู่ที่ต้น
ทางนั้น.
ฝ่ายนางภัททามาถึงจึงไหว้แล้วได้ยืนอยู่.
ลาดับนั้น พระเถระกล่าวกะนางภัททาว่า นี่แน่ะภัททา มหาชนเห็นหญิงผู้เช่นท่านเดินมาข้าง
หลังเรา มีจิตคิดประทุษร้ายในพวกเราว่า คนเหล่านี้ แม้บวชแล้วก็ไม่อาจเว้นจากกัน จะพึงเป็นผู้ยังอบายให้
เต็ม. ในทางสองแพร่งนี้ ท่านจงถือเอาทางหนึ่ง เราจักไปโดยทางหนึ่ง.
นางภัททากล่าวว่า เจ้าข้า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า มาตุคามเป็นปลิโพธกังวลของบรรพชิตทั้งหลาย,
คนทั้งหลายจะพึงแสดงโทษแก่พวกเราว่า คนเหล่านี้ แม้บวชแล้วก็ไม่เว้นจากกัน ดังนี้ แล้วทาประทักษิณ ๓
ครั้งไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ในที่ทั้ง ๔ แห่ง แล้วประคองอัญชลีอันรุ่งเรืองด้วยการประชุมนิ้ วทั้ง ๑๐ แล้ว
กล่าวว่า ความสนิทสนมโดยความเป็นมิตรที่ทาไว้ในกาลนานประมาณแสนกัป แตกในวันนี้ ท่านนั่นแหละ
ชื่อว่าเป็นเบื้องขวา ทางขวาย่อมควรแก่ท่าน ดิฉันชื่อว่ามาตุคาม เป็นผู้มีชาติเบื้องซ้าย ทางซ้ายย่อมควรแก่
ดิฉัน ดังนี้ จึงไหว้แล้วเดินทางไป.
ในเวลาที่ชนทั้งสองนั้นเป็นสองฝ่าย มหาปฐพีนี้ ได้ไหวครวญครางประหนึ่งจะกล่าวว่า เราแม้
สามารถรองรับเขาจักรวาลและเขาสิเนรุเป็นต้น ก็ไม่สามารถรองรับคุณทั้งหลายของท่านทั้งสองได้. เหมือน
เสียงสายฟ้าดังอยู่ในอากาศ เขาจักรวาลบันลือลั่น.
ฝ่ายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่ในพระคันธกุฎี ในพระเวฬุวันมหาวิหาร ทรงสดับเสียง
แผ่นดินไหว ทรงราพึงว่า ปฐพีไหวเพื่ออะไรหนอ ทรงทราบว่า ปิปผลิมาณพและนางภัททากาปิลานีละ
สมบัติประมาณไม่ได้ บวชอุทิศเรา, เพราะกาลังแห่งคุณความดีของคนทั้งสอง การไหวแห่งปฐพีนี้ จึงเกิดในที่
ที่คนทั้งสองนั้นพรากจากกัน, แม้เราก็ควรทาการสงเคราะห์คนทั้งสองนี้ จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี ทรง
ถือบาตรและจีวรเอง ไม่บอกใครๆ ในบรรดาพระมหาเถระ ๘๐ องค์ ทรงทาการต้อนรับสิ้นหนทาง ๓ คาวุต
ทรงนั่งขัดสมาธิอยู่ที่ควงไม้พหุปุตตนิโครธ ในระหว่างเมืองราชคฤห์กับเมืองนาลันทา.
ก็พระองค์ประทับนั่ง มิได้ทรงนั่งอย่างภิกษุผู้ถือบังสุกุลเป็นวัตรรูปใดรูปหนึ่ง ทรงถือเอาเพศของ
พระพุทธเจ้า แล้วประทับนั่งเปล่งพระพุทธรัศมีประมาณ ๘๐ ศอก.
ขณะนั้น พระพุทธรัศมีมีขนาดเท่าร่มใบไม้ ล้อเกวียนและเรือนยอดเป็นต้น แผ่ฉวัดเฉวียนไป
รอบๆ กระทาให้เหมือนเวลาที่พระจันทร์พันดวงและพระอาทิตย์พันดวงขึ้นอยู่ฉะนั้น ได้ทาระหว่างป่านั้นให้
มีแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน.
ระหว่างป่าไพโรจน์ด้วยสิริแห่ง พระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ เหมือนท้องฟ้าไพโรจน์ด้วย
หมู่ดาวอันโชติช่วง และเหมือนน้าไพโรจน์ด้วยกอบัวอันบานสะพรั่งฉะนั้น. ตามปกติลาต้นนิโครธขาว ใบ
เขียว ผลสุกแดง. แต่วันนั้น ต้นนิโครธทั้งต้นได้มีสีเหมือนสีทองไปหมดทั้งต้น.
พระมหากัสสปเถระเห็นดังนั้นจึงคิดว่า ผู้นี้ จักเป็นพระศาสดาของเราทั้งหลาย เราบวชอุทิศพระ
ศาสดาพระองค์นี้ จึงน้อมตัวลงเดินไปจาเดิมแต่ที่ที่ตนเห็นแล้ว ไหว้ในที่ ๓ แห่งแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
(๕) มหากัสสปเถราปทาน มจร.pdf
(๕) มหากัสสปเถราปทาน มจร.pdf

More Related Content

Similar to (๕) มหากัสสปเถราปทาน มจร.pdf

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช   พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช   พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...Tongsamut vorasan
 
(๑๔) กุมารกัสสปเถระ มจร.pdf
(๑๔) กุมารกัสสปเถระ มจร.pdf(๑๔) กุมารกัสสปเถระ มจร.pdf
(๑๔) กุมารกัสสปเถระ มจร.pdfmaruay songtanin
 
๐๖ วัมมิกสูตร มจร.pdf
๐๖ วัมมิกสูตร มจร.pdf๐๖ วัมมิกสูตร มจร.pdf
๐๖ วัมมิกสูตร มจร.pdfmaruay songtanin
 
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdfmaruay songtanin
 
สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้
สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้
สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้Tongsamut vorasan
 
Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒
Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒
Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒Tongsamut vorasan
 
พุทธประวัติ
พุทธประวัติพุทธประวัติ
พุทธประวัติgueste13f2b
 
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์Padvee Academy
 
๑๗ มหาปทานสูตร มจร.pdf
๑๗ มหาปทานสูตร มจร.pdf๑๗ มหาปทานสูตร มจร.pdf
๑๗ มหาปทานสูตร มจร.pdfmaruay songtanin
 
สาวิณี
สาวิณีสาวิณี
สาวิณีsawinee37
 
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๖.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๖.pdf๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๖.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๖.pdfmaruay songtanin
 
๒๑.๑ สัมมาปริพพาชนียสูตร มจร.pdf
๒๑.๑ สัมมาปริพพาชนียสูตร มจร.pdf๒๑.๑ สัมมาปริพพาชนียสูตร มจร.pdf
๒๑.๑ สัมมาปริพพาชนียสูตร มจร.pdfmaruay songtanin
 
Tri91 20+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๑
Tri91 20+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๑Tri91 20+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๑
Tri91 20+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๑Tongsamut vorasan
 
สวดมนต์ข้ามปี ๒๕๕๖ (ฉบับ สสส.)
สวดมนต์ข้ามปี ๒๕๕๖ (ฉบับ สสส.)สวดมนต์ข้ามปี ๒๕๕๖ (ฉบับ สสส.)
สวดมนต์ข้ามปี ๒๕๕๖ (ฉบับ สสส.)Ballista Pg
 
บทสวดมนต์ข้ามปี
บทสวดมนต์ข้ามปีบทสวดมนต์ข้ามปี
บทสวดมนต์ข้ามปีTongsamut vorasan
 
(๒๐) พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี มจร.pdf
(๒๐) พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี มจร.pdf(๒๐) พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี มจร.pdf
(๒๐) พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี มจร.pdfmaruay songtanin
 
(๖) พระอนุรุทธเถราปทาน มจร.pdf
(๖) พระอนุรุทธเถราปทาน มจร.pdf(๖) พระอนุรุทธเถราปทาน มจร.pdf
(๖) พระอนุรุทธเถราปทาน มจร.pdfmaruay songtanin
 

Similar to (๕) มหากัสสปเถราปทาน มจร.pdf (20)

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช   พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช   พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระพุทธเจ้าสอนอะไร What did the buddha t...
 
006
006006
006
 
006
006006
006
 
006
006006
006
 
(๑๔) กุมารกัสสปเถระ มจร.pdf
(๑๔) กุมารกัสสปเถระ มจร.pdf(๑๔) กุมารกัสสปเถระ มจร.pdf
(๑๔) กุมารกัสสปเถระ มจร.pdf
 
๐๖ วัมมิกสูตร มจร.pdf
๐๖ วัมมิกสูตร มจร.pdf๐๖ วัมมิกสูตร มจร.pdf
๐๖ วัมมิกสูตร มจร.pdf
 
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
 
สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้
สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้
สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้
 
Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒
Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒
Tri91 07+มหาวรรค+เล่ม+๕+ภาค+๒
 
พุทธประวัติ
พุทธประวัติพุทธประวัติ
พุทธประวัติ
 
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
ชีวิตและผลงานของพระสุมังคลาจารย์
 
๑๗ มหาปทานสูตร มจร.pdf
๑๗ มหาปทานสูตร มจร.pdf๑๗ มหาปทานสูตร มจร.pdf
๑๗ มหาปทานสูตร มจร.pdf
 
สาวิณี
สาวิณีสาวิณี
สาวิณี
 
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๖.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๖.pdf๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๖.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๖.pdf
 
๒๑.๑ สัมมาปริพพาชนียสูตร มจร.pdf
๒๑.๑ สัมมาปริพพาชนียสูตร มจร.pdf๒๑.๑ สัมมาปริพพาชนียสูตร มจร.pdf
๒๑.๑ สัมมาปริพพาชนียสูตร มจร.pdf
 
Tri91 20+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๑
Tri91 20+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๑Tri91 20+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๑
Tri91 20+มัชฌิมนิกาย+มัชฌิมปัณณาสก์+เล่ม+๒+ภาค+๑
 
สวดมนต์ข้ามปี ๒๕๕๖ (ฉบับ สสส.)
สวดมนต์ข้ามปี ๒๕๕๖ (ฉบับ สสส.)สวดมนต์ข้ามปี ๒๕๕๖ (ฉบับ สสส.)
สวดมนต์ข้ามปี ๒๕๕๖ (ฉบับ สสส.)
 
บทสวดมนต์ข้ามปี
บทสวดมนต์ข้ามปีบทสวดมนต์ข้ามปี
บทสวดมนต์ข้ามปี
 
(๒๐) พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี มจร.pdf
(๒๐) พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี มจร.pdf(๒๐) พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี มจร.pdf
(๒๐) พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี มจร.pdf
 
(๖) พระอนุรุทธเถราปทาน มจร.pdf
(๖) พระอนุรุทธเถราปทาน มจร.pdf(๖) พระอนุรุทธเถราปทาน มจร.pdf
(๖) พระอนุรุทธเถราปทาน มจร.pdf
 

More from maruay songtanin

7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdfmaruay songtanin
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...maruay songtanin
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...maruay songtanin
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docxmaruay songtanin
 
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfOperational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfmaruay songtanin
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...maruay songtanin
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...maruay songtanin
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...maruay songtanin
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...maruay songtanin
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...maruay songtanin
 
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
7 proven leadership principles หลักการผู้นำ 7 ประการ.pdf
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
 
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๙. วิธุรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจ...
 
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๗. จันทกุมารชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๕. มโหสธชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐๔. เนมิราชชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
๐๓. สุวรรณสามชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๐๒. มหาชนกชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๐๑. เตมิยชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
๐๐ บทนำ มหานิบาตชาดก (พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย).docx
 
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdfOperational Resilience  ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
Operational Resilience ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน.pdf
 
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๘๕. สุนิกขิตตวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๘๔. เสริสสกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๘๓. มัฏฐกุณฑลีวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๑. กัณฐกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๘๐. โคปาลวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
๗๙. อัมพวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])....
 

(๕) มหากัสสปเถราปทาน มจร.pdf

  • 1. 1 พระประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก ตอนที่ ๕ มหากัสสปเถราปทาน พลตรี มารวย ส่งทานินทร์ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ ๓. มหากัสสปเถราปทาน ประวัติในอดีตชาติของพระมหากัสสปเถระ เกริ่นนา ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลพราหมณ์ สะสมรัตนะไว้เป็นอันมาก สละทรัพย์ ๘๐ โกฏิ แล้วออกบวช คุณ วิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทาให้แจ้งแล้ว คาสั่งสอนของ พระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทาสาเร็จแล้ว (พระมหากัสสปเถระ เมื่อจะประกาศประวัติในอดีตชาติของตน จึงกล่าวว่า) [๓๙๘] ประชาชนพากันทาการบูชาพระผู้มีพระภาค ผู้ศาสดาพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้เจริญที่สุด ในโลก ผู้คงที่ ในเมื่อพระองค์ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์โลก ได้เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว [๓๙๙] หมู่ชนมีจิตร่าเริง บันเทิงเบิกบาน ทาการบูชา เมื่อหมู่ชนนั้นเกิดความสังเวช แต่ข้าพเจ้า เกิดความปีติยินดี [๔๐๐] ข้าพเจ้าได้เชิญญาติมิตรมาประชุมกันแล้วได้กล่าวคานี้ ว่า พระผู้มีพระภาคผู้มีความเพียร มากได้ปรินิพพานแล้ว ขอเชิญพวกเรามาทาการบูชาเถิด [๔๐๑] ญาติมิตรของข้าพเจ้าเหล่านั้นรับคาแล้ว ก็ทาให้ข้าพเจ้าเกิดความร่าเริงเป็นอย่างยิ่งว่า พวกเราจักทาการสั่งสมบุญในพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสัตว์โลก [๔๐๒] ข้าพเจ้าได้ช่วยกันสร้างอัคฆิยเจดีย์ เป็นเจดีย์ที่สร้างอย่างดี สูง ๑๐๐ ศอก กว้าง ๑๕๐ ศอก เป็นดังวิมานสูงเสียดฟ้า สั่งสมบุญไว้แล้ว [๔๐๓] ข้าพเจ้าครั้นสร้างอัคฆิยเจดีย์ ซึ่งงดงามด้วยแนวแห่งต้นตาล ไว้ใกล้สถานที่ที่ทาการบูชา เจดีย์นั้นแล้ว ทาจิตของตนให้เลื่อมใส บูชาเจดีย์อันสูงสุด [๔๐๔] พระเจดีย์นั้นรุ่งเรืองอยู่ (ด้วยรัตนะทั้ง ๗) ดุจกองไฟลุกโพลงอยู่ ส่องสว่างทั่วทั้ง ๔ ทิศ ดุจต้นพญาไม้สาละออกดอกบานสะพรั่ง และดุจสายรุ้งในอากาศ [๔๐๕] ข้าพเจ้าทาจิตให้เลื่อมใสในห้องบรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้น สร้างกุศลเป็นอันมากแล้ว ระลึกถึงบุพกรรมแล้ว จึงไปเกิดยังสวรรค์ชั้นไตรทิพย์
  • 2. 2 [๔๐๖] ข้าพเจ้าอธิษฐานยานทิพย์เทียมด้วยม้าสินธพ ๑,๐๐๐ ตัว วิมานของข้าพเจ้า สูงตระหง่าน ๗ ชั้น [๔๐๗] (ในวิมานนั้น) มีเรือนยอด ๑,๐๐๐ หลัง ทาด้วยทองคาล้วน รุ่งเรืองด้วยเดชของตน ส่อง สว่างทั่วทุกทิศ [๔๐๘] ครั้งนั้น มีศาลาหน้ามุขทาด้วยแก้วทับทิมแม้เหล่าอื่นอยู่ ศาลาหน้ามุขแม้เหล่านั้นมีรัศมี โชติช่วงรอบๆ ทั้ง ๔ ทิศ [๔๐๙] เรือนยอดซึ่งเกิดขึ้นด้วยบุญกรรม ที่บุญกรรมเนรมิตไว้อย่างดี ทาด้วยแก้วมณี โชติช่วง โดยรอบทั่วทุกทิศ [๔๑๐] แสงสว่างแห่งเรือนยอดซึ่งโชติช่วงอยู่เหล่านั้นได้สว่างเจิดจ้า ข้าพเจ้าปกครองเทวดาทั้ง ปวง นี้ เป็นผลแห่งบุญกรรม [๔๑๑] ในกัปที่ ๖๐,๐๐๐ (นับแต่กัปนี้ ไป) ข้าพเจ้าเป็นกษัตริย์นามว่าอุพพิทธะ มีชัยชนะ มีทวีป ทั้ง ๔ เป็นขอบเขต ครองแผ่นดิน [๔๑๒] ในภัทรกัปก็อย่างนั้นเหมือนกัน ข้าพเจ้าได้เกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้มีพลานุภาพมาก ยินดีพอใจในกรรมของตน (กรรมของตน ในที่นี้ หมายถึงทศพิธราชธรรม ธรรมสาหรับพระเจ้าแผ่นดิน ๑๐ ประการ คือ ทาน (การให้สิ่งของ) ศีล (ประพฤติดีงาม) ปริจจาคะ (ความเสียสละ) อาชชวะ (ความ ซื่อตรง) มัททวะ (ความอ่อนโยน) ตบะ (ไม่หมกมุ่นในความสุขสาราญ) อักโกธะ (ความไม่โกรธ) อวิหิงสา (ความไม่ข่มเหงเบียดเบียน) ขันติ (ความอดทน) อวิโรธนะ (ความไม่คลาดธรรม)) ถึง ๓๐ ชาติ [๔๑๓] ข้าพเจ้าเป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ ในคราวเป็นพระเจ้า จักรพรรดินั้น ปราสาทของข้าพเจ้าสูงตระหง่านดังสายรุ้ง [๔๑๔] ปราสาทนั้นยาว ๒๔ โยชน์ กว้าง ๑๒ โยชน์ มีกรุงชื่อว่ารัมมกะ มีกาแพงและค่ายมั่นคง [๔๑๕] นครนั้น มีกาแพงและค่ายยาว ๕๐๐ โยชน์ กว้าง ๒๕๐ โยชน์ มีหมู่ชนพลุกพล่านขวักไขว่ ดังเมืองสวรรค์ชั้นไตรทิพย์ [๔๑๖] เข็ม ๒๕ เล่มที่ใส่ไว้ในกล่องเข็มแล้ว ย่อมกระทบกันและกัน เบียดเสียดกันเป็นนิตย์ ฉันใด [๔๑๗] แม้กรุงของข้าพเจ้าก็ฉันนั้น พลุกพล่านขวักไขว่ไปด้วยช้าง ม้า และรถ มีมนุษย์ ขวักไขว่น่า รื่นรมย์ เป็นกรุงอันอุดม [๔๑๘] ข้าพเจ้า ดื่ม กิน อยู่ในกรุงนั้น แล้วกลับไปเกิดเป็นเทวดาอีก ในภพสุดท้าย กุศลสมบัติได้ มีแก่ข้าพเจ้า [๔๑๙] ข้าพเจ้าเกิดในตระกูลพราหมณ์ สะสมรัตนะไว้เป็นอันมาก สละทรัพย์ ๘๐ โกฏิ แล้วออก บวช [๔๒๐] คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ข้าพเจ้าได้ทาให้แจ้งแล้ว คาสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้ทาสาเร็จแล้ว ดังนี้ แล ได้ทราบว่า ท่านพระมหากัสสปเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้ มหากัสสปเถราปทานที่ ๓ จบ
  • 3. 3 ------------------------------ คาอธิบายนี้ นามาจากบางส่วนของอรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ เถราปทาน ๑. พุทธวรรค พรรณนามหากัสสปเถราปทาน แม้พระมหากัสสปเถระนี้ ก็ได้ทาบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญสมภารอัน เป็นอุปนิสัยแห่งวิวัฏฏะไว้ในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ได้เป็นกุฎุมพีมี ทรัพย์สมบัติ ๘๐ โกฏิ มีนามว่า เวเทหะ อยู่ในนครหังสวดี. กุฎุมพีนั้นเป็นอุบาสกนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นของเราอยู่ ในวันอุโบสถวัน หนึ่ง บริโภคโภชนะดีแต่เช้าตรู่ อธิษฐานองค์อุโบสถแล้ว ถือของหอมและดอกไม้ไปวิหาร บูชาพระศาสดา นมัสการแล้วนั่งอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ก็ขณะนั้น พระศาสดาทรงตั้งพระสาวกที่สามนามว่า มหานิสภเถระ ไว้ในตาแหน่งเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิสภะนี้ เป็นเลิศแห่งภิกษุสาวกทั้งหลายของเราผู้ทรงธุดงค์และกล่าวสอนเรื่องธุดงค์. อุบาสกได้ฟังดังนั้นก็เลื่อมใส ในเวลาจบธรรมกถา เมื่อมหาชนลุกไปแล้ว จึงถวายบังคมพระ ศาสดาแล้วทูลนิมนต์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงรับภิกษาของข้าพระองค์ ในวันพรุ่งนี้ . พระศาสดาตรัสว่า อุบาสก ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่มาก. อุบาสกทูลถามว่า ภิกษุสงฆ์มีประมาณเท่าไร พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า มีภิกษุประมาณหกล้านแปดแสน. อุบาสกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงรับภิกษาของข้าพระองค์ อย่าให้เหลือ แม้สามเณรรูปเดียวไว้ในวิหาร. พระศาสดาทรงรับนิมนต์แล้ว. อุบาสกรู้ว่า พระศาสดาทรงรับนิมนต์แล้ว จึงไปเรือนตระเตรียมมหาทาน ในวันรุ่งขึ้นใช้ให้คน ไปกราบทูลเวลาเสวยภัตตาหารแด่พระศาสดา. พระศาสดาทรงถือบาตรและจีวรมีภิกษุสงฆ์แวดล้อม เสด็จไปยังเรือนของอุบาสก ประทับนั่งบน อาสนะที่เขาปูลาดไว้แล้ว ในเวลาเสร็จการถวายน้าทักษิโณทก ทรงรับข้าวยาคูเป็นต้น ได้ทรงกระทาการ สละภัตตาหารเสีย. แม้อุบาสกก็นั่งอยู่ในที่ใกล้พระศาสดา. ในระหว่างนั้น พระมหานิสภเถระเที่ยวบิณฑบาตอยู่ ได้ดาเนินไปยังถนนนั้นเหมือนกัน. อุบาสก เห็น จึงลุกไปไหว้พระเถระแล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงให้บาตร. พระเถระจึงได้ให้บาตร. อุบาสกกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงเข้าไปในที่นี้ เถิด แม้พระศาสดาก็ประทับนั่งอยู่ในเรือน.
  • 4. 4 พระเถระกล่าวว่า ไม่ควรดอก อุบาสก. เขาจึงถือเอาบาตรของพระเถระบรรจุให้เต็มด้วยบิณฑบาตแล้วถวาย. แต่นั้น เขาตามส่งพระ เถระแล้วกลับมานั่งในที่ใกล้พระศาสดา แล้วกราบทูลอย่างนี้ ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระมหานิสภเถระ แม้เมื่อข้าพระองค์กล่าวว่า แม้พระศาสดาก็ประทับนั่งในเรือน ดังนี้ ก็ไม่ปรารถนาจะเข้ามา พระมหานิสภ เถระนี้ มีคุณยิ่งกว่าคุณทั้งหลายของพระองค์หรือ. อันธรรมดาว่า วรรณมัจฉริยะ การตระหนี่คุณความดี ย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พระศาสดาจึงตรัสอย่างนี้ ว่า ดูก่อนอุบาสก เราทั้งหลายนั่งคอยภิกษาอยู่ในเรือน ภิกษุนั้นไม่ นั่งมองดูภิกษาอย่างนั้น เราทั้งหลายอยู่เสนาสนะใกล้บ้าน ภิกษุนั้นอยู่เฉพาะในป่ าเท่านั้น. เราทั้งหลายอยู่ ในที่มุงบัง ภิกษุนั้นอยู่เฉพาะกลางแจ้งเท่านั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคุณของพระนิสภเถระว่า คุณของเธอดังนี้ และดังนี้ ประหนึ่งจะทา มหาสมุทรให้เต็ม. ฝ่ายอุบาสกเป็นผู้เลื่อมใสดียิ่งขึ้น เหมือนประทีปที่ลุกโพลงอยู่ตามปกติ ถูกราดด้วยน้ามันฉะนั้น จึงคิดว่า เราจะประโยชน์อะไรด้วยสมบัติอย่างอื่น ถ้ากระไรเราจักกระทาความปรารถนา เพื่อความเป็นผู้ เลิศแห่งภิกษุทั้งหลายผู้ทรงธุดงค์และกล่าวสอนธุดงค์ในศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ในอนาคตกาล. เขาจึงนิมนต์พระศาสดาอีกครั้ง แล้วถวายมหาทานโดยทานองนั้นนั่นแหละตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๗ ถวายไตรจีวรแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วหมอบลงแทบพระบาทของพระศาสดา กราบ ทูลอย่างนี้ ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ถวายทานอยู่ตลอด ๗ วัน เข้าไปตั้งเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรมอันใด ด้วยเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรมอันนี้ ข้า พระองค์ไม่ปรารถนาสมบัติอย่างอื่น จะเป็นเทวสมบัติหรือสักกสมบัติ มารสมบัติและพรหมสมบัติก็ตาม, ก็ กรรมของข้าพระองค์นี้ จงเป็นอธิการความดีแก่ความเป็นเลิศแห่งภิกษุทั้งหลายผู้ทรงธุดงค์ ๑๓ เพื่อต้องการ ถึงฐานันดรที่พระมหานิสภเถระถึงแล้ว ในสานักของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ในอนาคตกาล. พระศาสดาทรงตรวจดูว่า อุบาสกนี้ ปรารถนาตาแหน่งใหญ่หลวง จักสาเร็จหรือไม่หนอ ทรงเห็น ว่าสาเร็จ จึงตรัสพยากรณ์ว่า ท่านปรารถนาตาแหน่งอันเป็นที่ชื่นใจ, ในอนาคตกาล ในที่สุดแสนกัป พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมจักอุบัติขึ้น ท่านจักเป็นพระสาวกที่สามของพระพุทธเจ้านั้น จักเป็นผู้ชื่อว่า มหากัสสปเถระ. อุบาสกได้ฟังดังนั้น จึงมนสิการว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีพระดารัสเป็นสอง ได้ สาคัญสมบัตินั้น ประหนึ่งจะพึงได้ในวันรุ่งขึ้น. เขาให้ทาน สมาทานศีล แล้วรักษาไว้ตลอดชั่วอายุ กระทาบุญกรรมมีประการต่างๆ กระทากา ละแล้วไปบังเกิดในสวรรค์. จาเดิมแต่นั้น อุบาสกนั้นเสวยสมบัติอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในกัปที่ ๙๑ แต่กัปนี้ เมื่อ พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปอาศัยพันธุมดีนคร ประทับอยู่ในเขมมฤคทายวัน จึงจุติจากเทวโลก บังเกิดในตระกูลพราหมณ์แก่ตระกูลหนึ่ง. ก็ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสีตรัสธรรม ในปีที่ ๗. ได้มีความโกลาหลอย่าง ใหญ่หลวง. เหล่าเทวดาในชมพูทวีปทั้งสิ้นบอกกันว่า พระศาสดาจักตรัสธรรม.
  • 5. 5 พราหมณ์ได้ยินข่าวนั้น. พราหมณ์นั้นมีผ้าสาฎกสาหรับนุ่งผืนเดียวเท่านั้น นางพราหมณีก็มีผ้าสาฎกสาหรับนุ่งผืนเดียว เหมือนกัน. แต่คนทั้งสองมีผ้าห่มผืนเดียวเท่านั้น. พราหมณ์นั้นจึงปรากฏในพระนครทั้งสิ้นว่า เอกสาฎก พราหมณ์. พราหมณ์นั้น เมื่อมีการประชุมพวกพราหมณ์ด้วยกิจเฉพาะบางอย่าง จึงเว้นนางพราหมณีไว้ใน เรือน ตนเองห่มผ้าผืนนั้นไป. เมื่อมีการประชุมพวกนางพราหมณี ตนเองก็อยู่ในเรือน นางพราหมณีจึงห่ม ผ้าผืนนั้นไป. ก็ในวันนั้น พราหมณ์นั้นกล่าวกะนางพราหมณีว่า นี่แน่ะนางผู้เจริญ เธอจักฟังธรรมกลางคืน หรือกลางวัน. นางพราหมณีกล่าวว่า นาย ดิฉันเป็นมาตุคามมีชาติขลาดกลัว ไม่อาจฟังธรรมในตอนกลางคืน ดิฉันจักฟังกลางวัน จึงเว้นพราหมณ์นั้นไว้ในเรือน ห่มผ้านั้นไปวิหารพร้อมกับเหล่าอุบาสิกา ถวายบังคม พระศาสดาแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ฟังธรรมแล้วได้ไปกับพวกอุบาสิกา. ทีนั้น พราหมณ์จึงเว้นนางพราหมณีไว้ในเรือน แล้วห่มผ้านั้นไปวิหาร. ก็สมัยนั้น พระศาสดาประทับนั่งบนธรรมาสน์ที่ประดับประดา อยู่ในท่ามกลางบริษัท ทรงจับ พัดอันวิจิตรตรัสธรรมกถา เสมือนทาคงคา ในอากาศให้หลั่งลง และดุจกระทาเขาสิเนรุให้เป็นโม่แล้วกวน สาครฉะนั้น. เมื่อพราหมณ์นั่งอยู่ท้ายสุดบริษัทฟังธรรมอยู่ ปีติมีวรรณะ ๕ ประการ ทาสรีระให้เต็มเกิดขึ้น ในเวลาปฐมยามทีเดียว. เขาจึงพับผ้าที่ห่มแล้วคิดว่าจักถวายแด่พระทศพล. ทีนั้น ความตระหนี่อันแสดง โทษตั้งพันเกิดแก่พราหมณ์นั้น เขาคิดว่า นางพราหมณีและเรามีผ้าห่มผืนเดียวเท่านั้น ชื่อว่าผ้าห่มไรๆ อื่น ย่อมไม่มี เราไม่อาจเพื่อจะไม่ห่มผ้าเที่ยวไปข้างนอกได้ ดังนี้ จึงได้เป็นผู้ประสงค์จะไม่ถวายแม้โดยประการ ทั้งปวง. ครั้นเมื่อปฐมยามล่วงไป แม้ในมัชฌิมยาม ปีติก็เกิดแก่เขาเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. เขาคิด เหมือนอย่างนั้น ได้เป็นผู้ประสงค์จะไม่ถวายอย่างนั้นเหมือนกัน. ครั้นเมื่อมัชฌิมยามล่วงไป ปีติเกิดขึ้นแก่ เขา แม้ในปัจฉิมยามเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. ในกาลนั้น เขาชนะความตระหนี่ พับผ้าแล้ววางไว้แทบพระ บาทของพระศาสดา แต่นั้น จึงงอมือซ้าย เอามือขวาปรบบันลือ ๓ ครั้ง ว่า ชิต เม ชิต เม เราชนะแล้วๆ. สมัยนั้น พระเจ้าพันธุมราชประทับนั่งสดับธรรมอยู่ภายในม่านหลังธรรมาสน์. ก็ธรรมดาพระราชาย่อมไม่ทรงโปรดเสียงว่า ชิต เม เราชนะ. พระราชาจึงทรงสั่งบุรุษว่า พนาย เธอจงไปถามพราหมณ์นั่นว่า เขาพูดอะไร. พราหมณ์อันบุรุษนั้นมาถามแล้ว จึงกล่าวว่า พวกคนที่เหลือขึ้นยานคือช้างเป็นต้น ถือดาบและ โล่เป็นต้น จึงชนะเสนาของพระราชาอื่น ข้อนั้นไม่น่าอัศจรรย์ ส่วนเราชนะจิตอันตระหนี่ ได้ถวายผ้าห่มแด่ พระทศพล เหมือนคนเอาค้อนทุบหัวโคโกงที่เดินตามมาข้างหลัง ทาให้มันหนีไปฉะนั้น. ความตระหนี่ที่เรา ชนะนั้นน่าอัศจรรย์. บุรุษนั้นจึงกลับมากราบทูลเรื่องราวนั้นแก่พระราชา.
  • 6. 6 พระราชาตรัสว่า นี่แน่ะพนาย เราทั้งหลายไม่รู้ความเหมาะสมแก่พระทศพล พราหมณ์ย่อมรู้ ดังนี้ . ทรงเลื่อมใสพราหมณ์นั้นได้ทรงส่งคู่ผ้าไปให้. พราหมณ์เห็นดังนั้นจึงคิดว่า พระราชาไม่ทรงประทานอะไรๆ ครั้งแรกแก่เราผู้นั่งนิ่ง แล้วได้ ประทานแก่เราผู้กล่าวคุณทั้งหลายของพระศาสดา ผ้าคู่นี้ เกิดขึ้นเพราะอาศัยพระคุณทั้งหลายของพระ ศาสดา จึงสมควรแก่พระศาสดาเท่านั้น ครั้นคิดแล้วได้ถวายคู่ผ้าแม้นั้นแก่พระทศพล. พระราชาตรัสถามว่า พราหมณ์กระทาอย่างไร. ทรงสดับว่า เขาถวายคู่ผ้าแม้นั้นแก่พระตถาคต เท่านั้น จึงให้ส่งคู่ผ้า ๒ คู่แม้อื่นไปให้. พราหมณ์ก็ได้ถวายคู่ผ้าแม้เหล่านั้นแก่พระศาสดา. พระราชาทรงให้ ส่งคู่ผ้า ๔ คู่แม้อื่นอีกไปประทาน รวมความว่า ตรัสอย่างนั้นแล้วทรงให้ส่งคู่ผ้าไปจนกระทั่ง ๓๒ คู่. ลาดับนั้น พราหมณ์คิดว่า การกระทาดังนี้ ย่อมเป็นเสมือนจะให้เพิ่มขึ้นๆ (มากๆ) แล้วจึงรับเอา คือรับเอาคู่ผ้า ๒ คู่ คือคู่หนึ่งเพื่อตน คู่หนึ่งเพื่อนางพราหมณี แล้วได้ถวายเฉพาะตถาคต ๓๐ คู่ และตั้งแต่ นั้น เขาเป็นผู้คุ้นเคยกับพระศาสดา. ครั้นวันหนึ่ง ในฤดูหนาวเย็น พระราชาทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์นั้นฟังธรรมอยู่ในสานักของ พระศาสดา จึงประทานผ้ากัมพลแดงที่พระองค์ห่มอันมีค่าแสนหนึ่ง แล้วตรัสว่า ตั้งแต่นี้ ไป ท่านจงห่มผ้า กัมพลนี้ ฟังธรรม. พราหมณ์คิดว่า เราจะประโยชน์อะไรด้วยผ้ากัมพลนี้ อันจะนาเข้าไปในกายอันเปื่อยเน่านี้ จึง กระทาเพดานในเบื้องบนเตียงของพระตถาคตในภายในพระคันธกุฎีแล้วก็ไป. อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปยังพระวิหารแต่เช้าตรู่ ประทับนั่งในสานักของพระศาสดา ใน ภายในพระคันธกุฎี. ขณะนั้น พระพุทธรัศมีมีพรรณะ ๖ ประการกระทบที่ผ้ากัมพล. ผ้ากัมพลเปล่งแสงเจิด จ้า. พระราชาทรงแหงนดู ทรงจาได้ รับสั่งว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี่ผ้ากัมพลของกระหม่อมฉันๆ ให้เอก สาฎกพราหมณ์. พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร พระองค์บูชาพราหมณ์ พราหมณ์บูชาเราตถาคต. พระราชาทรงดาริว่า พราหมณ์รู้สิ่งที่ควร เราไม่รู้ จึงทรงเลื่อมใส ได้ทรงกระทาสิ่งที่เป็น อุปการะแก่หมู่คนทั้งหมดนั้นให้เป็น ๘ หมวดหมวดละ ๘ สิ่ง ทรงให้ทานชื่อว่าสัพพัตถกะ (สารพัด ประโยชน์) แล้วทรงตั้งพราหมณ์ไว้ในตาแหน่งปุโรหิต. ฝ่ายพราหมณ์นั้นเข้าไปตั้งสลากภัต ๖๔ ที่ คือชื่อว่าหมวดละแปด ๘ ที่ เป็น ๖๔ ที่ แล้วให้ทาน รักษาศีลตลอดชีวิต จุติจากอัตภาพนั้นแล้วบังเกิดในสวรรค์. จุติจากสวรรค์นั้นอีก ในกัปนี้ บังเกิดในตระกูลกุฎุมพีในนครพาราณสี ระหว่างพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ และพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ. เขา อาศัยความเจริญอยู่ครองเรือน วันหนึ่ง เดินเที่ยวพักผ่อนอยู่ในป่า. ก็สมัยนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้ากระทาจีวรกรรมอยู่ที่ฝั่งแม่น้า เมื่อผ้าอนุวาตไม่เพียงพอจึงเริ่มพับ เก็บไว้. เขาเห็นดังนั้นจึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ เพราะเหตุไร ท่านจึงพับเก็บไว้. พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า ผ้าอนุวาตไม่เพียงพอ. เขาจึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงทาด้วย ผ้านี้ แล้วถวายผ้าห่ม ได้กระทาความปรารถนาว่า ความเสื่อมไรๆ จงอย่าใดมีแก่ข้าพเจ้าในที่ที่เกิดแล้วๆ.
  • 7. 7 เมื่อภรรยากับน้องสาวก่อการทะเลาะกัน พระปัจเจกพุทธเจ้าเข้าไปบิณฑบาตแม้ในเรือนของ เขา. ครั้งนั้น น้องสาวของเขาได้ถวายบิณฑบาตแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วหมายเอาภรรยาของเขา ตั้งความปรารถนาว่า เราพึงเว้นหญิงพาลเห็นปานนี้ ๑๐๐ โยชน์. นางยืนอยู่ที่ลานบ้านได้ยินเข้าจึงคิดว่า พระปัจเจกพุทธเจ้านี้ จงอย่าได้บริโภคภัตที่หญิงนี้ ถวาย จึงรับบาตรเทภัตทิ้งเสีย แล้วได้บรรจุให้เต็มด้วย เปือกตมถวาย. น้องสาวของเขาเห็นจึงกล่าวว่า นางหญิงพาล เจ้าจงด่าหรือจงประหารเราก่อนเถอะ ก็การทิ้งภัต จากบาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ได้บาเพ็ญบารมีมาสองอสงไขยเห็นปานนี้ แล้วให้เปือกตม ไม่ควร. ครั้งนั้น ภรรยาของเขาเกิดการพิจารณาขึ้นมาได้. นางจึงกล่าวว่า โปรดหยุดก่อนเจ้าข้า แล้วเทเปือกตมทิ้ง ล้างบาตรแล้วระบมด้วยผงเครื่องหอม บรรจุให้เต็มด้วยภัตอันประณีต และด้วยของมีรสอร่อยทั้งสี่ให้เต็ม แล้ววางบาตรอันแพรวพราวด้วยเนยใสมี สีดังกลีบปทุมลาดไว้ข้างบน ลงในมือของพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วได้กระทาความปรารถนาว่า บิณฑบาตนี้ เกิดโอภาสได้ ฉันใด ร่างกายของเราจงเกิดโอภาส ฉันนั้นเถิด. พระปัจเจกพุทธเจ้าอนุโมทนาแล้วเหาะไปยังอากาศ. ผัวเมียทั้งสองแม้นั้นดารงอยู่ตลอดชั่วอายุ เคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้วบังเกิดในสวรรค์. จุติจาก สวรรค์นั้นอีก เกิดเป็นอุบาสกในตระกูลที่สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ ๘๐ โกฏิในนครพาราณสี ในกาลแห่ง พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า. ฝ่ายภรรยาบังเกิดเป็นธิดาของเศรษฐีผู้เช่นนั้นเหมือนกัน. เมื่อเขาเจริญวัยแล้ว บิดามารดาจึง นาธิดาของเศรษฐีนั้นนั่นแหละมา. ด้วยอานุภาพของกรรมอันลามกซึ่งมีวิบากอันไม่น่าปรารถนาในชาติก่อน เมื่อนางสักว่าเข้าไป ยังตระกูลสามี เรือนทั้งสิ้น จาเดิมแต่ระหว่างธรณีประตูเข้าไป เกิดกลิ่นเหม็นประดุจหลุมคูถที่เขาเปิดไว้ ฉะนั้น. กุมารถามว่า นี่กลิ่นของใคร ได้ฟังว่าของธิดาเศรษฐี. จึงกล่าวว่า จงนานางออกไป แล้วให้ส่งไป ยังเรือนตระกูลของนางทันที. นางกลับมาโดยทานองนั้นนั่นแล ๗ ฐานะ. สมัยนั้น พระกัสสปทศพลปรินิพพานแล้ว. ชนทั้งหลายก่อพระเจดีย์ของพระองค์สูงโยชน์หนึ่ง ด้วยอิฐทองคามีค่าแสนหนึ่ง. เมื่อเขากาลังพากันก่อเจดีย์นั้นอยู่ ธิดาเศรษฐีนั้นคิดว่า เรากลับแล้วในฐานะ ทั้ง ๗ เราจะประโยชน์อะไรด้วยชีวิต จึงให้หักยุบสิ่งของเครื่องประดับของตนให้กระทาเป็นอิฐทองคา ยาว ๑ ศอก กว้าง ๑ คืบ สูง ๔ นิ้ ว. แต่นั้นจึงถือเอาก้อนหรดาลและมโนศิลา แล้วถือดอกอุบล ๘ กาไปยังที่ที่ก่อ พระเจดีย์. ก็ขณะนั้น แถวอิฐแห่งหนึ่งวงมาขาดอิฐสาหรับเชื่อมต่อ. ธิดาเศรษฐีจึงกล่าวกะนายช่างว่า ท่าน จงวางอิฐของเราก้อนนี้ ลงในที่นี้ . นายช่างกล่าวว่า แม่นาง ท่านมาได้เวลาพอดี ท่านจงวางด้วยตัวเองเถิด.
  • 8. 8 นางจึงขึ้นไปเอาน้ามันเคลือบก้อนหรดาลและมโนศิลาแล้ว เอาเครื่องเชื่อมนั้นตั้งติดอิฐ. แล้วทา การบูชาด้วยดอกอุบล ๘ กานั้นในเบื้องบน ไหว้แล้วทาความปรารถนาว่า ในที่ที่เกิดแล้วๆ ขอให้กลิ่นจันทน์ ฟุ้งออกจากกายของข้าพเจ้า ขอให้กลิ่นอุบลฟุ้งออกจากปาก เสร็จแล้วไหว้พระเจดีย์ กระทาประทักษิณแล้ว ได้กลับไปเรือน. ขณะนั้นเอง สติปรารภถึงนางเกิดขึ้นแก่บุตรเศรษฐีผู้ที่นานางไปเรือนครั้งแรก. แม้ในพระนครก็ มีการป่าวร้องการนักขัตฤกษ์. บุตรเศรษฐีนั้นกล่าวกะพวกอุปัฏฐากว่า ธิดาเศรษฐีที่นามาที่นี้ อยู่ไหน. พวกอุปัฏฐากกล่าวว่า อยู่ที่เรือนของตระกูลครับนาย. บุตรเศรษฐีกล่าวว่า พวกท่านจงไปนานางมา เราจักเล่นนักขัตฤกษ์. อุปัฏฐากเหล่านั้นไปไหว้นางแล้วยืนอยู่. ผู้อันนางถามว่า นี่แน่ะพ่อทั้งหลาย พวกท่านมาทาไม กัน จึงพากันบอกเรื่องราวนั้นแก่นาง. นางกล่าวว่า พ่อทั้งหลาย เราเอาสิ่งของเครื่องประดับบูชาพระเจดีย์ เสียแล้ว เราไม่มีเครื่องประดับ. อุปัฏฐากเหล่านั้นจึงไปบอกแก่บุตรเศรษฐี. บุตรเศรษฐีกล่าวว่า พวกท่านจงนานางมาเถอะ นาง จักได้เครื่องประดับ. อุปัฏฐากเหล่านั้นจึงนานางมา. พร้อมกับให้นางเข้าไปยังเรือน กลิ่นจันทน์และกลิ่น อุบลฟุ้งไปตลอดทั้งเรือน. บุตรเศรษฐีถามนางว่า นางผู้เจริญ ทีแรก กลิ่นเหม็นฟุ้งออกจากร่างกายของเธอ แต่บัดนี้ กลิ่น จันทน์ฟุ้งออกจากร่างกายของเธอ กลิ่นอุบลฟุ้งออกจากปาก, นี่อะไรกัน? นางจึงบอกกรรมที่ตนกระทาตั้งแต่ต้น. บุตรเศรษฐีคิดว่า พระพุทธศาสนาเป็นเครื่องนาออกจากทุกข์หนอ จึงเลื่อมใส ให้เอาเสื้อที่ทา ด้วยผ้ากัมพลหุ้มพระเจดีย์ทองอันสูงหนึ่งโยชน์ แล้วได้ประดับประดาด้วยปทุมทอง ขนาดเท่าล้อรถในที่ นั้นๆ เหล่าปทุมทองที่ห้อยมีประมาณ ๑๒ ศอก. บุตรเศรษฐีนั้นดารงอยู่ในอัตภาพนั้นตลอดชั่วอายุ จุติจากอัตภาพนั้นไปบังเกิดในสวรรค์ จุติ จากสวรรค์นั้นอีก แล้วมาบังเกิดในตระกูลอามาตย์ตระกูลหนึ่ง ในที่ประมาณหนึ่งโยชน์จากนครพาราณสี. ส่วนภรรยาของเขาจุติจากเทวโลกเกิดเป็นราชธิดาพระองค์ใหญ่ในราชสกุล เมื่อคนทั้งสองนั้น ถึงความเจริญวัยแล้ว เขาป่าวร้องงานนักขัตฤกษ์ในบ้านที่อยู่ของกุมาร. กุมารนั้นกล่าวกะมารดาว่า แม่จ๋า แม่จงให้ผ้าสาฎกฉัน ฉันจักเล่นงานนักขัตฤกษ์. มารดาจึงได้ นาผ้าที่ซักแล้วมาให้. กุมารกล่าวว่า แม่จ๋า ผ้าผืนนี้ หยาบ. มารดาจึงได้นาผ้าผืนอื่นมาให้. แม้ผ้าผืนนั้น เขาก็ ปฏิเสธเสีย. ทีนั้น มารดาจึงกล่าวกะเขาว่า นี่แน่ะพ่อ พวกเราเกิดในเรือนเช่นไร พวกเราไม่มีบุญเพื่อจะได้ผ้า ที่เนื้ อละเอียดกว่านี้ . กุมารกล่าวว่า แม่จ๋า ถ้าอย่างนั้น ฉันจะไปยังที่ที่จะได้. มารดากล่าวว่า ลูกเอ๋ย แม่ ปรารถนาจะให้เจ้าได้ราชสมบัติในนครพาราณสี ในวันนี้ ทีเดียว. กุมารไหว้มารดาแล้วกล่าวว่า ฉันไปละแม่. มารดากล่าวว่า ไปเถอะพ่อ. ก็กุมารนั้นออกไปตามกาหนดของบุญ ไปถึงนครพาราณสี แล้วนอนคลุมโปงอยู่บนแผ่นศิลาอัน
  • 9. 9 เป็นมงคลในอุทยาน. ก็วันนั้นเป็นวันที่ ๗ ที่พระเจ้าพาราณสีสวรรคต. อามาตย์ทั้งหลายทาการถวายพระเพลิงแล้ว นั่งอยู่ที่พระลานหลวง ปรึกษากันว่า พระราชาทรง มีแต่พระธิดาองค์เดียว ไม่มีพระโอรส ราชสมบัติที่ไม่มีพระราชาจักพินาศ ใครควรเป็นพระราชา. พวกอามาตย์ต่างกล่าวว่า ท่านจงเป็น ท่านจงเป็น. ปุโรหิตกล่าวว่า ไม่ควรเลือกมาก พวกเราจักปล่อยผุสสรถ. อามาตย์เหล่านั้นจึงเทียมม้าสินธพ ๔ ตัว มีสีดังดอกโกมุทแล้ววางราชกกุธภัณฑ์ ๕ อย่างและ เศวตฉัตรไว้บนผุสสรถนั้น แล้วปล่อยรถไป ให้ประโคมดนตรีตามหลังไป รถออกทางประตูด้านทิศ ตะวันออก มุ่งหน้าไปยังอุทยาน. อามาตย์บางพวกกล่าวว่า รถบ่ายหน้ามุ่งไปอุทยาน เพราะความคุ้นเคย พวกเราจงให้รถกลับ. ปุโรหิตกล่าวว่า พวกท่านอย่าให้รถกลับ. รถไปกระทาประทักษิณกุมารแล้วทาท่าจะเกยขึ้นก็ หยุดอยู่. ปุโรหิตเลิกชายผ้าห่มตรวจดูพื้นเท้ากล่าวว่า ทวีปนี้ จงยกไว้ ผู้นี้ สมควรครองราชสมบัติในมหา ทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวาร แล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงประโคมดนตรี แล้วให้ประโคมดนตรี ๓ ครั้ง. ลาดับนั้น กุมารเปิดหน้าแลดูอยู่พลางกล่าวว่า ท่านทั้งหลายพากันมาด้วยกรรมอะไร. อามาตย์ ทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่เทวะ ราชสมบัติถึงแก่พระองค์. กุมารกล่าวว่า พระราชาของพวกท่านไปไหน. พวก อามาตย์กล่าวว่า ข้าแต่นาย พระราชาเสด็จไปสู่ความเป็นเทวดาเสียแล้ว. กุมารกล่าวว่า ล่วงไปกี่วันแล้ว. อามาตย์. วันนี้ เป็นวันที่ ๗. กุมาร. พระโอรสหรือพระธิดาไม่มีหรือ. พวกอามาตย์. ข้าแต่เทวะ พระธิดามี, พระโอรสไม่มี. กุมารกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น เราจักครองราชสมบัติ. อามาตย์เหล่านั้นจึงให้สร้างมณฑปสาหรับอภิเษกขึ้นในทันใดนั้น แล้วประดับประดาพระราช ธิดาด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง พาไปอุทยาน ได้กระทาการอภิเษกแก่กุมาร. ลาดับนั้น อามาตย์ทั้งหลายจึงนาผ้ามีค่าแสนหนึ่งเข้าไปเพื่อกุมารผู้ทาการอภิเษกแล้ว. พระกุมารตรัสว่า พ่อทั้งหลาย นี้ อะไรกัน. พวกอามาตย์. ข้าแต่เทวะ ผ้าสาหรับนุ่ง. พระกุมาร. พ่อทั้งหลาย ผ้าเนื้ อหยาบมิใช่หรือ. พวกอามาตย์. ข้าแต่เทวะ บรรดาผ้าสาหรับใช้สอยของมนุษย์ ผ้าที่เนื้ อนุ่มกว่านี้ ไม่มี. พระกุมาร. พระราชาของท่านทั้งหลาย ทรงนุ่งผ้าเห็นปานนี้ หรือ. พวกอามาตย์. ข้าแต่เทวะ พระเจ้าข้า. พระกุมารตรัสว่า พระราชาของท่านทั้งหลายเห็นจะไม่มีบุญ แล้วให้นาพระสุวรรณภิงคารมา ด้วยพระดารัสว่า ท่านทั้งหลายจงนาสุวรรณภิงคารมา เราจักได้ผ้า แล้วเสด็จลุกขึ้นไปล้างพระหัตถ์ บ้วนพระ
  • 10. 10 โอฐแล้วเอาพระหัตถ์วักน้าประพรมไปในทิศตะวันออก ต้นกัลปพฤกษ์ ๘ ต้นชาแรกแผ่นดินทึบผุดขึ้น. ทรง วักน้าประพรมไปในทิศใต้ ทิศตะวันตกและทิศเหนืออีก รวมความว่าทรงประพรมไปทั้ง ๔ ทิศ. ต้น กัลปพฤกษ์ ๓๒ ต้นผุดขึ้นโดยทาให้มีทิศละ ๘ ต้นๆ ในทิศทั้งปวง. พระกุมารนั้นทรงนุ่งผ้าทิพย์ผืนหนึ่ง ทรงห่มผืนหนึ่ง แล้วตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงเที่ยวตีกลอง ป่าวร้องอย่างนี้ ว่า ในแว่นแคว้นของพระเจ้านันทราช สตรีทั้งหลายผู้กรอด้าย อย่ากรอด้ายเลย แล้วให้ยก ฉัตร ประดับตกแต่งเสด็จไปบนคอช้างตัวประเสริฐ เสด็จเข้าพระนคร ขึ้นสู่ปราสาทเสวยมหาสมบัติอยู่. เมื่อเวลาดาเนินไปอยู่อย่างนี้ พระเทวีเห็นสมบัติของพระราชาแล้ว ทรงแสดงอาการของผู้มี ความสงสารว่า โอ น่าสงสารหนอ ท่านผู้มีตบะ, ถูกพระราชาตรัสถามว่า เทวี นี้ อะไรกัน? จึงทูลว่า ข้าแต่เท วะ สมบัติของพระองค์ใหญ่ยิ่งนัก ผลแห่งกรรมดีที่พระองค์ทรงเชื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้วกระทาไว้ใน อดีต แต่เดี๋ยวนี้ พระองค์ไม่ทรงกระทาบุญอันเป็นปัจจัยแก่อนาคต. พระราชาตรัสว่า เราจักให้แก่ใคร ผู้มีศีลไม่มี. พระเทวีทูลว่า เทวะ ชมพูทวีปไม่สูญจากพระอรหันต์ทั้งหลาย, เทวะ ขอพระองค์จงตระเตรียม ทานไว้ หม่อมฉันจักได้พระอรหันต์. ในวันรุ่งขึ้น พระราชาทรงให้ตระเตรียมทานไว้ที่ประตูด้านทิศตะวันออก. พระเทวีทรงอธิษฐาน องค์อุโบสถแต่เช้าตรู่ นอนพังพาบ บ่ายหน้าไปทางทิศตะวันออก ณ ปราสาทชั้นบน แล้วกล่าวว่า ถ้าพระ อรหันต์ทั้งหลายมีอยู่ในทิศนี้ พรุ่งนี้ ขอจงมารับภิกษาของข้าพเจ้าทั้งหลาย. ในทิศนั้นไม่มีพระอรหันต์ จึงได้ ประทานสักการะนั้นแก่คนกาพร้าและยาจกทั้งหลาย. ในวันรุ่งขึ้น ทรงตระเตรียมทานไว้ที่ประตูด้านทิศใต้ ไม่ได้พระทักขิไณยบุคคลเหมือนอย่างนั้น แหละ. แม้ในวันรุ่งขึ้นก็ทรงตระเตรียมไว้ที่ประตูด้านทิศตะวันตก ก็ไม่ได้พระทักขิไณยบุคคลเหมือน อย่างนั้นนั่นแหละ. แต่ในวันที่ได้ตระเตรียมไว้ที่ประตูด้านทิศเหนือ เมื่อพระเทวีนิมนต์เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. พระมหาปทุมปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นพี่ชายของพระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ ผู้เป็นโอรสของ พระนาง ปทุมวดี ซึ่งอยู่ในหิมวันตประเทศ เรียกพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นน้องชายมาว่า ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย พระ เจ้านันทราชนิมนต์ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงรับนิมนต์ของท้าวเธอเถิด. พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นรับนิมนต์แล้ว ในวันรุ่งขึ้นล้างหน้าที่สระอโนดาตแล้ว เหาะมาทางอากาศลงที่ประตูด้านทิศเหนือ. คนทั้งหลาย เห็นแล้ว จึงไปกราบทูลแด่พระราชาว่า ข้าแต่เทวะ พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์มาแล้ว. พระราชาพร้อมกับพระเทวีพากันไปไหว้แล้วนาขึ้นสู่ปราสาท ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า เหล่านั้น ณ ปราสาทนั้น ในเวลาเสร็จภัตกิจ พระราชาทรงหมอบลงแทบเท้าของพระสังฆเถระ พระเทวีทรง หมอบลงแทบเท้าพระสังฆนวกะ แล้วตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจักไม่ลาบากเรื่อง ปัจจัย และข้าพเจ้าทั้งหลายจักไม่เสื่อมจากบุญ ขอท่านทั้งหลายจงให้ปฏิญญาแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อจะอยู่ ในที่นี้ ตลอดชั่วอายุ. ให้พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นทาปฏิญญาแล้ว ทาที่อยู่อาศัยให้พร้อมเสร็จด้วยอาการ
  • 11. 11 ทุกอย่าง คือบรรณศาลา ๕๐๐ ที่จงกรม ๕๐๐ ในพระอุทยาน แล้วให้อยู่ในที่นั้น. เมื่อกาลเวลาล่วงไปอย่างนี้ เมื่อปัจจันตชนบทของพระราชาเกิดจลาจลขึ้น พระราชาตรัสว่า เรา จะไปปราบปรามปัจจันตชนบทให้สงบราบคาบ เธออย่าประมาทพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายดังนี้ ทรง โอวาทพระเทวีแล้วเสด็จไป. เมื่อพระราชายังไม่ทันจะเสด็จกลับมา อายุสังขารของพระปัจเจกพุทธเจ้าก็สิ้นไป. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหมดนั่นแลปรินิพพานแล้วด้วยประการดังนี้ คือ พระมหาปทุมปัจเจก พุทธเจ้าเล่นฌานอยู่ตลอดยามสามแห่งราตรี ในเวลาอรุณขึ้น ได้ยืนเหนี่ยวแผ่นกระดานสาหรับเหนี่ยว ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ. ฝ่ายพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายที่เหลือก็ปรินิพพานโดยอุบายนั้น. วันรุ่งขึ้น พระเทวีจัดแจงที่นั่งสาหรับพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แล้วโปรยดอกไม้อบธูป ประทับนั่งแลดูการมาของพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ครั้นไม่เห็นมาจึงส่งพวกบุรุษไปด้วยพระดารัสว่า นี่ แน่ะพ่อทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงไป จงรู้พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายไม่ผาสุกอย่างไร. บุรุษเหล่านั้นพากันไป แล้วเปิดประตูบรรณศาลาของพระมหาปทุม เมื่อไม่เห็นท่านในที่นั้น จึง ไปยังที่จงกรม เห็นท่านยืนพิงแผ่นกระดานสาหรับเหนี่ยว จึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ได้เวลาแล้ว. สรีระของ ท่านผู้ปรินิพพานแล้วจักพูดได้อย่างไร. บุรุษเหล่านั้นกล่าวว่า เห็นจะหลับ จึงเอามือลูบที่หลังเท้า รู้ว่าปรินิพพานแล้ว เพราะเท้าทั้งสอง เย็นและแข็ง จึงไปยังสานักของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ที่สอง รู้ได้อย่างนั้นเหมือนกัน จึงไปยังสานักของพระ ปัจเจกพุทธเจ้าองค์ที่สาม เขาแม้ทั้งหมดรู้ว่าท่านปรินิพพานแล้วอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ จึงพากันกลับมา ยังราชสกุล อันพระเทวีตรัสถามว่า พ่อทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าไปไหน จึงกราบทูลว่า ปรินิพพานแล้ว พระเจ้าข้า. พระเทวีทรงกันแสงคร่าครวญ เสด็จออกไป ณ ที่นั้นพร้อมกับพวกชาวเมือง ทรงให้กระทาสาธุ กีฬา แล้วทรงให้ทาฌาปนกิจสรีระของพระปัจเจกพุทธจ้าทั้งหลาย แล้วให้เอาพระธาตุทั้งหลายมาก่อพระ เจดีย์ไว้. พระราชาทรงปราบปรามปัจจันตชนบทให้สงบราบคาบแล้วเสด็จกลับมา จึงตรัสถามพระเทวีผู้ เสด็จมาต้อนรับว่า พระนางผู้เจริญ เธอไม่ประมาทในพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายหรือ พระผู้เป็นเจ้า ทั้งหลายสบายดีหรือ. พระเทวีกราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายปรินิพพานเสียแล้ว. พระราชาได้ทรงสดับดังนั้น ทรงดาริว่า ความตายยังเกิดขึ้นแก่บัณฑิตทั้งหลายแม้เห็นปานนี้ ความพ้นจากความตาย จักมีแก่พวกเรามาแต่ไหน. พระองค์ไม่เสด็จเข้าพระนคร เสด็จไปยังพระอุทยาน ทันที แล้วรับสั่งให้เรียกพระโอรสองค์ใหญ่มา ทรงมอบราชสมบัติให้แก่พระโอรสนั้นแล้ว ทรงผนวชเป็น สมณะด้วยพระองค์เอง. ฝ่ายพระเทวีทรงดาริว่า เมื่อพระราชาทรงผนวชแล้ว เราจักทาอะไร จึงทรงผนวชในพระอุทยาน เหมือนอย่างนั้นแหละ. ทั้งสองพระองค์ทรงทาฌานให้เกิดแล้ว จุติจากอัตภาพนั้นไปบังเกิดในพรหมโลก.
  • 12. 12 เมื่อพระราชาและพระเทวีทั้งสองนั้น อยู่ในพรหมโลกนั้นนั่นแหละ พระศาสดาของเราทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวรแล้ว เสด็จถึงนครราชคฤห์โดยลาดับ. เมื่อพระศาสดา เสด็จอาศัยอยู่ในนครราชคฤห์นั้น ปิปผลิมาณพนี้ บังเกิดในท้องของภรรยากบิลพราหมณ์ ในพราหมณคาม ชื่อว่า มหาติตถะ. นางภัททกาปิลานีนี้ บังเกิดในท้องของภรรยาพราหมณ์โกสิยโคตร ในสาคลนคร แคว้นมัททราฐ. เมื่อคนทั้งสองนั้นเติบโตโดยลาดับ เมื่อปิปผลิมาณพบรรลุวัยที่ ๒๐ นางภัททาบรรลุวัยที่ ๑๖ บิดามารดาแลดูบุตรแล้วจึงคาดคั้นว่า นี่แน่ะพ่อ เจ้าก็เจริญวัยแล้ว สมควรดารงวงศ์สกุล. มาณพกล่าวว่า คุณพ่อคุณแม่อย่าได้กล่าวถ้อยคาเห็นปานนี้ ในคลองแห่งโสตของผมเลย กระผม จักปฏิบัติตราบเท่าที่คุณพ่อคุณแม่ยังมีชีวิตอยู่ ต่อเมื่อคุณพ่อคุณแม่ล่วงลับไปแล้ว กระผมจักออกบวช. ล่วง ไปได้ ๒-๓ วัน บิดามารดาก็กล่าวอีก. ฝ่ายมาณพนั้นก็ปฏิเสธอีก. ตั้งแต่นั้น มารดาคงกล่าวอยู่เนืองๆ ทีเดียว. มาณพคิดว่าจักให้มารดายินยอม จึงให้ทองคาสีสุกปลั่งพันลิ่มแล้วให้พวกช่างทองทารูปหญิง ใน เวลาเสร็จกรรมมีการขัดและการบุรูปนั้นเป็นต้น จึงให้รูปนั้นนุ่งผ้าแดง ให้ประดับดอกไม้และเครื่องอลังการ ต่างๆ อันเพียบพร้อมไปด้วยทอง แล้วกล่าวว่า คุณแม่ ผมได้อารมณ์เห็นปานนี้ จึงจักอยู่ครองเรือน เมื่อไม่ได้ ก็จักไม่อยู่. นางพราหมณีผู้มีปัญญาคิดว่า บุตรของเรามีบุญ ได้ให้ทานสร้างอภินีหารไว้แล้ว เมื่อทาบุญ ทั้งหลายในชาติก่อน คงจะไม่ได้ทาคนเดียว. หญิงผู้ทาบุญร่วมกับบุตรของเรานี้ จักเป็นหญิงเปรียบปานรูป ทองเป็นแน่. นางจึงให้เชิญพราหมณ์ ๘ คนมา เลี้ยงดูให้อิ่มหนาด้วยโภคะทั้งปวงแล้ว ยกรูปทองขึ้นบนรถ แล้วส่งไปด้วยคาว่า พ่อทั้งหลาย พวกท่านจงพากันไป เห็นทาริกาเห็นปานนี้ ในตระกูลที่มีชาติ โคตรและ โภคะเป็นต้น เสมอกันกับเราทั้งหลายในที่ใด จงให้รูปทองนี้ แหละให้เป็นอาการแสดงความสัตย์จริงไว้ในที่ นั้น. พราหมณ์เหล่านั้นพากันออกไปด้วยคิดว่า นี่เป็นการงานของพวกเรา แล้วปรึกษากันว่า พวกเรา จักได้ที่ไหน ขึ้นชื่อว่ามัททราฐเป็นตาหนักฝ่ายใน พวกเราจักไปยังมัททราฐ แล้วได้ไปยังสาคลนคร ในมัททราฐ. ตั้งรูปทองนั้นไว้ที่ท่าสาหรับอาบน้า ในแคว้นมัททราฐนั้น แล้วนั่งอยู่ ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง. ลาดับนั้น แม่นมของนางภัททาให้นางภัททาอาบน้าแต่งตัวแล้ว ตนเองไปท่าน้าเพื่อจะอาบ เห็น รูปทองจึงคิดว่า แม่ภัททานี้ แนะนาไม่ได้ มายืนอยู่ที่นี้ เพื่ออะไร จึงตีที่ข้างหลัง รู้ว่าเป็นรูปทองจึงกล่าวว่า เรา ทาความสาคัญให้เกิดขึ้นว่า เป็นธิดาแห่งแม่เจ้าของเรา หญิงนี้ เมื่อธิดาแห่งแม่เจ้าแม้รับเอาผ้านุ่งแล้ว ก็จะ ไม่เหมือน. ลาดับนั้น พราหมณ์เหล่านั้นจึงถามแม่นมนั้นว่า ได้ยินว่า ธิดาแห่งนายของท่านเห็นปานนี้ . แม่ นมนั้นกล่าวว่า ธิดาแห่งแม่เจ้าของเราเป็นหญิงมีรูปงามกว่ารูปเปรียบทองนี้ ร้อยเท่า พันเท่า จริงอย่างนั้น เธอนั่งอยู่ในห้องประมาณ ๑๒ ศอก แม้จะไม่มีประทีป ก็กาจัดความมืดได้ด้วยแสงสว่างจากร่างกาย. พวกพราหมณ์กล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น เราทั้งหลายจะไปยังสานักแห่งบิดามารดาของนาง แล้วยก รูปทองขึ้นรถตามแม่นมนั้นไป แล้วยืนอยู่ที่ประตูเรือนให้บอกถึงการมา.
  • 13. 13 พราหมณ์ปฏิสันถารแล้วถามว่า ท่านทั้งหลายมาจากไหน? พราหมณ์เหล่านั้นกล่าวว่า เราทั้งหลายมาจากเรือนของกบิลพราหมณ์ ณ บ้านมหาติตถคามใน แคว้นมคธ ด้วยเหตุชื่อนี้ . พราหมณ์กล่าวว่า ดีละพ่อ พราหมณ์นั้นมีชาติ โคตรและทรัพย์สมบัติเสมอกับเรา เราจักให้ทาริกา แล้วรับเครื่องบรรณาการไว้. พราหมณ์เหล่านั้นจึงส่งข่าวแก่กบิลพราหมณ์ว่า ทาริกาชื่อว่าภัททา พวกเราได้แล้ว ท่านจงรู้กิจ ที่ควรกระทาต่อไป. บิดามารดาได้ฟังข่าวนั้นแล้ว จึงบอกแก่ปิปผลิมาณพว่าได้นางทาริกาแล้ว. ปิปผลิมาณพคิดว่า เราคิดว่าจักไม่ได้ พราหมณ์เหล่านี้ ส่งข่าวมาว่าได้แล้ว, เราไม่มีความ ต้องการ จักส่งหนังสือไป แล้วไปในที่ลับเขียนหนังสือว่า แม่ภัททาจงได้สามีผู้สมควรแก่ชาติโคตรและโภค ทรัพย์ของตนเถิด เราจักออกบวช ท่านอย่าได้ร้อนใจในภายหลัง. ฝ่ายนางภัททาได้ฟังว่า นัยว่า บิดามารดาประสงค์จะให้เราแก่ผู้โน้น จึงไปในที่ลับเขียนหนังสือ ว่า ลูกเจ้าจงได้ทาริกาผู้เหมาะสมแก่ชาติโคตรและโภคทรัพย์ของตน เราจักบวช ท่านจงอย่าได้ร้อนใจ ภายหลัง. หนังสือทั้งสองฉบับมาประจวบกันระหว่างทาง. พวกนางภัททาถามว่า นี้ หนังสือของใคร. พวกปิปผลิมาณพตอบว่า หนังสือนี้ ปิปผลิมาณพส่งไปให้นางภัททา. เมื่อพวกปิปผลิมาณพกล่าวว่า นี้ หนังสือ ของใคร และเมื่อพวกนางภัททากล่าวว่า หนังสือนี้ นางภัททาส่งไปให้ปิปผลิมาณพ คนเหล่านั้นจึงอ่าน หนังสือทั้งสองฉบับแล้วกล่าวกันว่า ท่านทั้งหลายจงดูการกระทาของพวกเด็กๆ ดังนี้ แล้วฉีกทิ้งไปในป่า แล้ว เขียนหนังสือฉบับอื่นซึ่งเสมอเหมือนกับหนังสือนั้น แล้วส่งไปทั้งข้างนี้ และข้างนี้ . ดังนั้น หนังสือของกุมาร และกุมาริกาจึงเหมือนกัน เป็นหนังสือเอื้อเฟื้ อและเกื้อกูลแก่ทางโลกเท่านั้น เพราะเหตุนั้น คนทั้งสองนั้นแม้ จะไม่ต้องการก็ได้มาร่วมกัน. ในวันนั้นเอง ฝ่ายปิปผลิมาณพก็ให้นางภัททาถือดอกไม้พวงหนึ่ง. ฝ่ายนางภัททาก็วางดอกไม้ เหล่านั้นไว้ท่ามกลางที่นอน. คนทั้งสองบริโภคอาหารเย็นแล้วเริ่มเข้านอน. ในสองคนนั้น มาณพขึ้นที่นอน ทางด้านขวา นางภัททาขึ้นทางด้านซ้าย แล้วกล่าวว่า พวกเราจักรู้ชัดแจ้งว่า ดอกไม้ในด้านของผู้ใดเหี่ยว ราคะจิตเกิดขึ้นแล้วแก่ผู้นั้น ใครๆ ไม่พึงติดพวงดอกไม้นี้ . ก็คนทั้งสองนั้นไม่หลับเลยตลอดราตรีทั้งสิ้น เพราะกลัวจะถูกต้องร่างกายของกันและกัน ให้เวลาล่วงไปแล้ว. ก็ในเวลากลางวัน แม้แต่ความยิ้มแย้มก็ไม่ได้กระทา. คนทั้งสองไม่เกี่ยวข้องกันด้วยอามิสทาง โลก ไม่จัดแจงการงานตราบเท่าที่บิดามารดายังมีชีวิตอยู่ เมื่อบิดามารดากระทากาละแล้ว จึงจัดแจง. สมบัติของมาณพมีมากมาย ผงทองคาที่เขาเพิกออกจากร่างกายแล้วทิ้งไปในวันหนึ่งเท่านั้น ควรได้ประมาณ ๑๒ ทะนานโดยทะนานมคธ. มาณพมีบึงใหญ่ติดเครื่องยนต์ ๖๐ แห่ง มีเนื้ อที่ทางาน ๑๒ โยชน์ มีบ้าน ๑๔ บ้านขนาดเมืองอนุราธปุระ มีพลช้าง ๑๔ กอง พลม้า ๑๔ กองและพลรถ ๑๔ กอง. วันหนึ่ง เขาขี่ม้าตัวที่ประดับแล้วอันมหาชนแวดล้อม ไปยังสถานที่ทาการงานยืนอยู่ปลายนา เห็นพวกนกมีกาเป็นต้นดึงสัตว์ทั้งหลายมีไส้เดือนเป็นต้น ขึ้นมาจากที่แบะออกด้วยไถแล้วกินอยู่ จึงถามว่า พ่อทั้งหลาย นกเหล่านี้ กินอะไร. บริวารชนบอกว่า ข้าแต่เจ้า มันกินไส้เดือน.
  • 14. 14 มาณพกล่าวว่า บาปที่พวกนกทาจะมีแก่ใคร. บริวารชนตอบว่า ข้าแต่เจ้าจะมีแก่ท่าน. เขาจึงคิดว่า ถ้าบาปที่นกเหล่านี้ ทามีแก่เราละ ก็ทรัพย์ ๘๗ โกฏิจักทาอะไรแก่เรา การงาน ๑๒ โยชน์จักทาอะไร บึงติดเครื่องยนต์จักทาอะไร และบ้าน ๑๔ บ้านจักทาอะไร, เราจักมอบสมบัติทั้งหมดนี้ แก่ นางภัททากาปิลานี แล้วจักออกบวช. ขณะนั้น นางภัททากาปิลานีหว่านเมล็ดงา ๓ หม้อในระหว่างไร่ พวกแม่นมแวดล้อมนั่งอยู่ เห็น พวกกากินสัตว์ในเมล็ดงา จึงถามว่าแม่ทั้งหลาย กาเหล่านี้ กินอะไร? พวกแม่นมกล่าวว่า กินสัตว์จ้ะ แม่เจ้า. นางภัททาถามว่า อกุศลจะมีแก่ใคร? พวกแม่นมตอบว่า มีแก่ท่านจ้ะ แม่เจ้า. นางจึงคิดว่า เราได้ผ้า ๔ ศอกและภัตสักว่าข้าวสุกทะนานหนึ่งย่อมควร ก็ถ้าอกุศลที่สัตว์เหล่านี้ ทาจะเป็นของเรา แม้พันภพ เราก็ไม่อาจยกหัวขึ้นจากวัฏฏะได้ เมื่อลูกเจ้าพอมาถึงเท่านั้น เราจักมอบสมบัติ ทั้งหมดแก่ลูกเจ้าแล้วจักออกบวช. มาณพมาแล้วอาบน้าขึ้นสู่ปราสาท นั่งบนบัลลังก์อันควรค่ามาก. ลาดับนั้น บริวารชนน้อมนาโภชนะอันสมควรแก่พระเจ้าจักรพรรดิเข้าไปให้แก่มาณพ. คนทั้ง สองบริโภคแล้ว เมื่อบริวารชนออกไปแล้ว จึงไปในที่ลับนั่งในที่ผาสุก. ลาดับนั้น มาณพจึงกล่าวกะนางภัททาว่า นี่แน่ะภัททา เธอเมื่อมายังเรือนนี้ นาทรัพย์มี ประมาณเท่าไรมา นางภัททากล่าวว่า ข้าแต่เจ้า นามาห้าหมื่นห้าพันเล่มเกวียน. มาณพกล่าวว่า ทรัพย์ทั้งหมดนั้นและสมบัติอันมีประเภทอาทิอย่างนี้ คือทรัพย์ ๘๗ โกฏิใน เรือนนี้ และบึงติดเครื่องยนต์ ๖๐ บึงซึ่งมีอยู่ทั้งหมดนั้น ฉันขอมอบแก่เธอเท่านั้น. นางภัททากล่าวว่า ข้าแต่เจ้า ก็ท่านเล่าจะไปไหน. มาณพกล่าวว่า ฉันจักบวช. นางภัททากล่าวว่า ข้าแต่เจ้า แม้ฉันก็นั่งคอยการมาของท่าน แม้ฉันก็จักบวช. ภพทั้งสามปรากฏแก่คนทั้งสองนั้น เหมือนกุฎีใบไม้ถูกไฟติดทั่วแล้วฉะนั้น. คนทั้งสองนั้นกล่าว ว่า เราทั้งสองจักบวช จึงให้คนไปนาจีวรที่ย้อมด้วยรสน้าฝาดและบาตรดินมาจากร้านตลาด แล้วให้กันและ กันปลงผมแล้วกล่าวว่า พระอรหันต์เหล่าใดมีอยู่ในโลก เราทั้งหลายบวชอุทิศพระอรหันต์เหล่านั้นดังนี้ แล้ว บวช ใส่บาตรในถุงคล้องที่ไหล่แล้วลงจากปราสาท. บรรดาทาสและกรรมกรในเรือน ใครๆ จาไม่ได้. ครั้งนั้น คนทั้งสองนั้นออกจากบ้านพราหมณ์ไปทางประตูบ้านทาส พวกชาวบ้านทาสจาได้ด้วย อานาจอาการและท่าทาง. ทาสเหล่านั้นร้องไห้ หมอบลงที่เท้าแล้วกล่าวว่า ข้าแต่เจ้า เหตุไร ท่านทั้งหลาย จึงกระทาพวกข้าพเจ้าให้เป็นคนอนาถาหาที่พึ่งมิได้. คนทั้งสองกล่าวว่า นี่แน่ะพนาย เราทั้งสองบวชด้วยเห็นว่า ภพทั้งสามเป็นประดุจบรรณศาลา อันไฟติดทั่วแล้ว ถ้าเราทั้งสองจะทาท่านทั้งหลาย แต่ละคนให้เป็นไทไซร้ แม้ร้อยปีก็ไม่พอ ท่านทั้งหลายจง ชาระศีรษะของพวกท่าน แล้วจงเป็นไทเลี้ยงชีวิตอยู่เถิด. เมื่อทาสเหล่านั้นร้องไห้อยู่นั่นแหละได้พากันหลีกไปแล้ว. พระเถระเดินไปข้างหน้าหันกลับมามองดู พลางคิดว่า นางภัททากาปิลานีนี้ เป็นหญิงมีค่าควร แก่ชมพูทวีปทั้งสิ้น เดินมาข้างหลังเรา. ก็ข้อที่ใครๆ จะพึงคิดอย่างนี้ ว่า คนเหล่านี้ แม้บวชแล้วก็ไม่อาจเว้น
  • 15. 15 จากกัน กระทากรรมอันไม่สมควร เป็นฐานะที่จะมีได้. จึงยังความคิดให้เกิดขึ้นว่า ใครๆ พึงประทุษร้ายด้วย ใจอันลามกอย่างนี้ แล้ว พึงทาอบายให้เต็ม ดังนี้ พลางเดินไปข้างหน้า เห็นทางสองแพร่งจึงได้หยุดอยู่ที่ต้น ทางนั้น. ฝ่ายนางภัททามาถึงจึงไหว้แล้วได้ยืนอยู่. ลาดับนั้น พระเถระกล่าวกะนางภัททาว่า นี่แน่ะภัททา มหาชนเห็นหญิงผู้เช่นท่านเดินมาข้าง หลังเรา มีจิตคิดประทุษร้ายในพวกเราว่า คนเหล่านี้ แม้บวชแล้วก็ไม่อาจเว้นจากกัน จะพึงเป็นผู้ยังอบายให้ เต็ม. ในทางสองแพร่งนี้ ท่านจงถือเอาทางหนึ่ง เราจักไปโดยทางหนึ่ง. นางภัททากล่าวว่า เจ้าข้า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า มาตุคามเป็นปลิโพธกังวลของบรรพชิตทั้งหลาย, คนทั้งหลายจะพึงแสดงโทษแก่พวกเราว่า คนเหล่านี้ แม้บวชแล้วก็ไม่เว้นจากกัน ดังนี้ แล้วทาประทักษิณ ๓ ครั้งไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ในที่ทั้ง ๔ แห่ง แล้วประคองอัญชลีอันรุ่งเรืองด้วยการประชุมนิ้ วทั้ง ๑๐ แล้ว กล่าวว่า ความสนิทสนมโดยความเป็นมิตรที่ทาไว้ในกาลนานประมาณแสนกัป แตกในวันนี้ ท่านนั่นแหละ ชื่อว่าเป็นเบื้องขวา ทางขวาย่อมควรแก่ท่าน ดิฉันชื่อว่ามาตุคาม เป็นผู้มีชาติเบื้องซ้าย ทางซ้ายย่อมควรแก่ ดิฉัน ดังนี้ จึงไหว้แล้วเดินทางไป. ในเวลาที่ชนทั้งสองนั้นเป็นสองฝ่าย มหาปฐพีนี้ ได้ไหวครวญครางประหนึ่งจะกล่าวว่า เราแม้ สามารถรองรับเขาจักรวาลและเขาสิเนรุเป็นต้น ก็ไม่สามารถรองรับคุณทั้งหลายของท่านทั้งสองได้. เหมือน เสียงสายฟ้าดังอยู่ในอากาศ เขาจักรวาลบันลือลั่น. ฝ่ายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่ในพระคันธกุฎี ในพระเวฬุวันมหาวิหาร ทรงสดับเสียง แผ่นดินไหว ทรงราพึงว่า ปฐพีไหวเพื่ออะไรหนอ ทรงทราบว่า ปิปผลิมาณพและนางภัททากาปิลานีละ สมบัติประมาณไม่ได้ บวชอุทิศเรา, เพราะกาลังแห่งคุณความดีของคนทั้งสอง การไหวแห่งปฐพีนี้ จึงเกิดในที่ ที่คนทั้งสองนั้นพรากจากกัน, แม้เราก็ควรทาการสงเคราะห์คนทั้งสองนี้ จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี ทรง ถือบาตรและจีวรเอง ไม่บอกใครๆ ในบรรดาพระมหาเถระ ๘๐ องค์ ทรงทาการต้อนรับสิ้นหนทาง ๓ คาวุต ทรงนั่งขัดสมาธิอยู่ที่ควงไม้พหุปุตตนิโครธ ในระหว่างเมืองราชคฤห์กับเมืองนาลันทา. ก็พระองค์ประทับนั่ง มิได้ทรงนั่งอย่างภิกษุผู้ถือบังสุกุลเป็นวัตรรูปใดรูปหนึ่ง ทรงถือเอาเพศของ พระพุทธเจ้า แล้วประทับนั่งเปล่งพระพุทธรัศมีประมาณ ๘๐ ศอก. ขณะนั้น พระพุทธรัศมีมีขนาดเท่าร่มใบไม้ ล้อเกวียนและเรือนยอดเป็นต้น แผ่ฉวัดเฉวียนไป รอบๆ กระทาให้เหมือนเวลาที่พระจันทร์พันดวงและพระอาทิตย์พันดวงขึ้นอยู่ฉะนั้น ได้ทาระหว่างป่านั้นให้ มีแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน. ระหว่างป่าไพโรจน์ด้วยสิริแห่ง พระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ เหมือนท้องฟ้าไพโรจน์ด้วย หมู่ดาวอันโชติช่วง และเหมือนน้าไพโรจน์ด้วยกอบัวอันบานสะพรั่งฉะนั้น. ตามปกติลาต้นนิโครธขาว ใบ เขียว ผลสุกแดง. แต่วันนั้น ต้นนิโครธทั้งต้นได้มีสีเหมือนสีทองไปหมดทั้งต้น. พระมหากัสสปเถระเห็นดังนั้นจึงคิดว่า ผู้นี้ จักเป็นพระศาสดาของเราทั้งหลาย เราบวชอุทิศพระ ศาสดาพระองค์นี้ จึงน้อมตัวลงเดินไปจาเดิมแต่ที่ที่ตนเห็นแล้ว ไหว้ในที่ ๓ แห่งแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ