SlideShare a Scribd company logo
1 of 31
Download to read offline
1
การบาเพ็ญบารมี ๑๐ พระชาติ ตอนที่ ๘ (อุเบกขาบารมี)
๘. มหานารทกัสสปชาดก
พลตรี มารวย ส่งทานินทร์
๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
เกริ่นนา
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ อุทยานลัฏฐิวัน ทรงปรารภการที่ทรงทรมานอุรุเวลกัสสปะ ตรัส
มหานารทกัสสปชาดกซึ่งมีคาเริ่มต้นว่า ได้มีพระราชาแห่งกรุงวิเทหะ ดังนี้ เป็นต้น
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
๘. มหานารทกัสสปชาดก
ว่าด้วยพระมหานารทกัสสปะทรงบาเพ็ญอุเบกขาบารมี
(พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า)
[๑๑๕๓] พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นพระราชาของชาวแคว้นวิเทหะ ทรงพระนามว่าอังคติ ทรงมี
พระราชยาน พระราชทรัพย์มากมาย ทรงมีพลนิกายเหลือที่จะคณานับ
[๑๑๕๔] เมื่อปฐมยามคืนวันเพ็ญเดือน ๔ ซึ่งเป็นเวลาที่ดอกโกมุทบานยังไม่ผ่านไป พระองค์
รับสั่งให้ประชุมเหล่าอามาตย์
[๑๑๕๕] ราชบัณฑิตผู้ถึงพร้อมด้วยการศึกษาเล่าเรียน มีปกติยิ้มก่อนจึงพูด เฉลียวฉลาด และ
อามาตย์ผู้ใหญ่อีก ๓ นาย คือ (๑) วิชัยอามาตย์ (๒) สุนามอามาตย์ (๓) อลาตเสนาบดีอามาตย์
[๑๑๕๖] พระเจ้าวิเทหะตรัสถามอามาตย์ ๓ นายนั้นทีละคนว่า ท่านทั้งหลายจงกล่าวตามความ
พอใจของตนๆ ว่า ในคืนวันเพ็ญเดือน ๔ นี้ ดวงจันทร์แจ่มจรัส กลางคืนวันนี้ เราทั้งหลายจะพึงพักอยู่ตลอด
ฤดูกาลเช่นนี้ นี้ ด้วยความยินดีอะไร
[๑๑๕๗] ลาดับนั้น อลาตเสนาบดีอามาตย์ได้กราบทูล คานี้ แด่พระราชาว่า “ข้าพระพุทธเจ้า
ทั้งหลายพึงจัดราชยาน กองพลช้าง กองพลม้า กองพลเสนา ที่ยินดีร่าเริงแล้วให้พร้อมสรรพ
[๑๑๕๘] ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะนากองทัพ ที่ทรงพลังเกรียงไกรออกต่อสู้การยุทธ์ให้
ได้ พวกใดยังไม่มาสู่อานาจ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะนามาสู่อานาจ นี้ เป็นความเห็นส่วนตัวของ
ข้าพระพุทธเจ้า เราทั้งหลายจะได้ชัยชนะผู้ที่ยังไม่ชนะ”
[๑๑๕๙] สุนามอามาตย์ได้ฟังคาของอลาตเสนาบดีอามาตย์แล้ว ได้กราบทูลดังนี้ ว่า “ข้าแต่
มหาราช พวกศัตรูของฝ่าพระบาทมาสู่พระราชอานาจหมดแล้ว
2
[๑๑๖๐] ต่างพากันวางศัสตรา ยอมสวามิภักดิ์แล้วทั้งหมด วันนี้ เป็นวันมหรสพสนุกสนานยิ่ง การ
รบข้าพระพุทธเจ้าไม่ชอบใจ
[๑๑๖๑] ขอชนทั้งหลายจงรีบนาข้าวน้าและของควรเคี้ยวมาเพื่อพระองค์เถิด ขอเดชะ ขอฝ่าพระ
บาทจงทรงรื่นรมย์ด้วยกามคุณ ในการฟ้อนรา ขับร้อง และการประโคมอันไพเราะเถิด”
[๑๑๖๒] วิชัยอามาตย์ได้ฟังคาของสุนามอามาตย์แล้ว ได้กราบทูลดังนี้ ว่า “ข้าแต่มหาราช กามทุก
อย่างได้ปรากฏแก่พระองค์อยู่เป็นนิตย์แล้ว
[๑๑๖๓] ขอเดชะ การเพลิดเพลินด้วยกามคุณทั้งหลาย พระองค์ทรงหาได้ไม่ยากเลย ทรง
ปรารถนาก็ได้ทุกเมื่อ การรื่นรมย์กามคุณทั้งหลายมิใช่ความคิดเห็นของข้าพระองค์
[๑๑๖๔] วันนี้ เราทั้งหลายควรพากันเข้าไปหาสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เป็นพหูสูต รู้แจ้งอรรถธรรม
ผู้แสวงหาคุณ ที่ท่านจะพึงกาจัดความสงสัยของพวกเราได้ดีกว่า”
[๑๑๖๕] พระเจ้าอังคติได้สดับคาของวิชัยอามาตย์แล้ว ได้ตรัสว่า แม้เราก็ชอบใจคาพูดของวิชัย
อามาตย์ตามที่พูดไว้
[๑๑๖๖] วันนี้ เราทั้งหลายควรพากันเข้าไปหาสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เป็นพหูสูต รู้แจ้งอรรถธรรม
ผู้แสวงหาคุณ ที่ท่านจะพึงกาจัดความสงสัยของพวกเราได้ดีกว่า
[๑๑๖๗] ท่านที่อยู่ ณ ที่นี้ ทุกท่านจงลงมติว่า “วันนี้ เราทั้งหลายควรพากันเข้าไปหาบัณฑิต ผู้รู้
แจ้งอรรถธรรม ผู้แสวงหาคุณ ที่ท่านจะพึงกาจัดความสงสัยของพวกเราได้”
[๑๑๖๘] อลาตเสนาบดีได้ฟังพระดารัสของพระเจ้าวิเทหะแล้ว ได้กราบทูลดังนี้ ว่า ได้มีชีเปลือยที่
ชาวโลกยอมรับว่าเป็นนักปราชญ์อยู่ในมฤคทายวัน
[๑๑๖๙] ชีเปลือยผู้นี้ ชื่อว่าคุณะ ผู้กัสสปโคตร เป็นพหูสูต พูดจาไพเราะ เป็นเจ้าหมู่คณะ ขอเดชะ
เราทั้งหลายควรพากันเข้าไปหาท่าน ท่านจักกาจัดความสงสัยของพวกเราได้”
[๑๑๗๐] พระราชาได้ทรงสดับคาของอลาตเสนาบดีแล้ว ได้รับสั่งสารถีว่า “เราจะไปยังฤคทายวัน
ท่านจงนายานที่เทียมม้าแล้วมาที่นี้ ”
[๑๑๗๑] พวกนายสารถีได้จัดเทียมพระราชยานที่ทาด้วยงา มีกระพองเป็นเงิน และจัดรถพระที่นั่ง
รองที่บุผ้าขาว อันผุดผ่องดังดวงจันทร์ในราตรีที่ปราศจากมลทินโทษ มาถวายแด่พระราชานั้น
[๑๑๗๒] รถนั้นเทียมด้วยม้าสินธพ ๔ ตัวล้วนแต่มีสีดังดอกโกมุท เป็นม้ามีฝีเท้าเร็วดังลมพัด วิ่ง
เรียบ ประดับด้วยดอกไม้ทอง
[๑๑๗๓] ฉัตร รถ ม้า และพัดวีชนีล้วนมีสีขาว พระเจ้าวิเทหะพร้อมด้วยหมู่อามาตย์ เสด็จออก
ย่อมงดงามเหมือนดวงจันทร์
[๑๑๗๔] หมู่พลราชบริพารผู้กล้าหาญอยู่บนหลังม้า ถือหอกดาบตามเสด็จจอมกษัตริย์ผู้ประเสริฐ
กว่านรชน
[๑๑๗๕] พระเจ้าวิเทหะบรมกษัตริย์พระองค์นั้น เสด็จไปถึงมฤคทายวันโดยครู่เดียว เสด็จลงจาก
พระราชยานแล้ว ทรงดาเนินเข้าไปหาคุณาชีวก พร้อมด้วยหมู่อามาตย์
3
[๑๑๗๖] ในคราวนั้น มีพราหมณ์และคหบดีแม้เหล่าใด มาประชุมกันในพระราชอุทยานนั้น
พระราชามิให้พราหมณ์และคหบดีเหล่านั้น ผู้นั่งอยู่ที่ภาคพื้นซึ่งไม่ได้เว้นที่ไว้ลุกหนีไป
[๑๑๗๗] ลาดับนั้น พระราชาเสด็จเข้าไปประทับนั่งบนราชอาสน์ ที่ปูลาดด้วยพระยี่ภู่มีสัมผัสอ่อน
นุ่ม ณ ที่อันสมควร
[๑๑๗๘] ได้ทรงปราศรัยไต่ถามสุขทุกข์ว่า “พระคุณเจ้าสบายดีอยู่หรือ ลมมิได้กาเริบเสียดแทง
หรือ
[๑๑๗๙] พระคุณเจ้าเลี้ยงชีวิตโดยไม่ฝืดเคืองหรือ ได้บิณฑบาตพอประทังชีวิตให้เป็นไปอยู่หรือ
พระคุณเจ้ามีอาพาธน้อยหรือ จักษุมิได้เสื่อมไปหรือ”
[๑๑๘๐] คุณาชีวกทูลปราศรัยกับพระเจ้าวิเทหะผู้ทรงยินดีในวินัยว่า “ถวายพระพรมหาบพิตร อา
ตมภาพสบายดีทุกประการ
[๑๑๘๑] บ้านเมืองของพระองค์ไม่กาเริบหรือ ช้างม้าของพระองค์มิได้มีโรคหรือ ราชพาหนะก็ยัง
เป็นไปหรือ พยาธิไม่มีมาเบียดเบียนพระวรกายของพระองค์บ้างหรือ”
[๑๑๘๒] ลาดับนั้น พระราชาผู้เป็นจอมทัพทรงใคร่ธรรม อันอาชีวกทูลชมเชยแล้ว ได้ตรัสถาม
อรรถธรรมและเหตุในลาดับว่า
[๑๑๘๓] “ท่านกัสสปะ นรชนพึงประพฤติธรรมในบิดาและมารดาอย่างไร พึงประพฤติธรรมใน
อาจารย์อย่างไร พึงประพฤติธรรมในบุตรภรรยาอย่างไร
[๑๑๘๔] พึงประพฤติธรรมในวุฑฒบุคคลอย่างไร พึงประพฤติธรรมในสมณะและพราหมณ์
อย่างไร พึงประพฤติธรรมในพลนิกายอย่างไร พึงประพฤติธรรมในชาวชนบทอย่างไร
[๑๑๘๕] ชนทั้งหลายประพฤติธรรมอย่างไร ละโลกนี้ แล้วจึงไปสู่สุคติ ส่วนคนบางพวกไม่ดารงอยู่
ในธรรม ทาไมจึงตกนรก”
[๑๑๘๖] คุณาชีวกกัสสปโคตรได้ฟังพระดารัสของพระเจ้าวิเทหะแล้ว ได้กราบทูลดังนี้ ว่า “ขอ
ถวายพระพรมหาบพิตร ขอพระองค์ทรงสดับทางที่จริงแท้ของพระองค์เถิด
[๑๑๘๗] ผลดีผลชั่วแห่งธรรมที่ประพฤติแล้วไม่มี ข้าแต่สมมติเทพ โลกอื่นไม่มี ใครเล่าจากโลก
อื่นนั้นมาสู่โลกนี้
[๑๑๘๘] ข้าแต่สมมติเทพ ปู่ย่าตายายไม่มี มารดาบิดาจะมีได้ที่ไหน ชื่อว่าอาจารย์ไม่มี ใครจักฝึก
คนที่ยังไม่ฝึก
[๑๑๘๙] สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ทัดเทียมกันหมด ผู้ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้เจริญไม่มี กาลังหรือ
ความเพียรไม่มี บุรุษผู้มีความหมั่นจะได้รับผลแต่ที่ไหน สัตว์ทั้งหลายย่อมเกิดตามกันมาเหมือนเรือพ่วงตาม
เรือไป
[๑๑๙๐] สัตว์ย่อมได้สิ่งที่ควรจะได้ ในข้อนั้น ผลทานจะมีแต่ที่ไหน ข้าแต่สมมติเทพ ผลทานไม่มี
เขาไม่มีอานาจ ไม่มีความเพียร (เขาไม่มีอานาจ ไม่มีความเพียร หมายถึงเมื่อผลทานไม่มีอย่างนี้ ใครคนใด
คนหนึ่งซึ่งเป็นคนโง่ก็ยังให้ทานอยู่ แต่เขาไม่มีอานาจ ไม่มีความเพียร โดยสรุปอาชีวกกราบทูลชี้แจงว่า คน
4
ผู้นั้นไม่เชื่อว่าให้ทานด้วยอานาจ ด้วยกาลังของตน แต่สาคัญว่า ผลทานมีจึงให้ทาน เพราะเชื่อคนโง่พวก
อื่น) พระเจ้าข้า
[๑๑๙๑] พวกคนพาลบัญญัติทาน พวกบัณฑิตรับทาน พวกคนพาลถือตนว่าเป็นบัณฑิต เป็นผู้ไร้
อานาจ ย่อมให้ทานแก่นักปราชญ์ทั้งหลาย
[๑๑๙๒] รูปกายอันเป็นที่รวม ๗ ประการนี้ คือ (๑) ดิน (๒) น้า (๓) ไฟ (๔) ลม (๕) สุข (๖)
ทุกข์ (๗) ชีวิต เป็นของเที่ยง ไม่ขาดสูญ ไม่กาเริบความขาดสูญไม่มีแก่สัตว์เหล่าใด รูปกาย ๗ ประการนี้
ย่อมมีแก่สัตว์เหล่านั้น
[๑๑๙๓] ผู้ฆ่า ผู้ตัด หรือใครๆ ผู้ถูกฆ่า ก็ไม่มี ศัสตราทั้งหลายสอดแทรกเข้าไปในระหว่างรูปกาย
๗ ประการนี้
[๑๑๙๔] ผู้ใดตัดศีรษะของผู้อื่นด้วยดาบที่ลับแล้ว ผู้นั้นไม่ชื่อว่าตัดรูปกายเหล่านั้น ในการทา
เช่นนั้น ผลบาปจะมีแต่ที่ไหน
[๑๑๙๕] สัตว์ทุกจาพวกท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสาร ๘๔ มหากัป ย่อมบริสุทธิ์ได้เอง เมื่อยังไม่ถึง
กาลนั้น แม้สารวมดีแล้วก็บริสุทธิ์ไม่ได้
[๑๑๙๖] เมื่อยังไม่ถึงกาลนั้น แม้จะประพฤติความดีมากมายก็บริสุทธิ์ไม่ได้ แม้ถ้าทาบาปไว้
มากมายก็ไม่ล่วงพ้นขณะนั้นไปได้
[๑๑๙๗] ในวาทะของเราทั้งหลาย ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ตามลาดับ เมื่อถึง ๘๔ กัป พวกเราย่อม
ไม่ล่วงเลยเขตที่แน่นอนนั้น เหมือนสาครไม่ล้นฝั่งไป”
[๑๑๙๘] อลาตเสนาบดีได้ฟังคาของคุณาชีวกกัสสปโคตรแล้ว ได้กล่าวดังนี้ ว่า “ข้าพเจ้าชอบใจคา
ของท่านผู้เจริญตามที่กล่าวไว้
[๑๑๙๙] แม้ข้าพเจ้าเองก็ระลึกชาติก่อนที่ตนท่องเที่ยวไปได้ คือ ในชาติก่อน ข้าพเจ้าเกิดในกรุง
พาราณสี ที่เป็นเมืองมั่งคั่ง เป็นพรานฆ่าโคชื่อปิงคละ
[๑๒๐๐] ข้าพเจ้าเกิดในกรุงพาราณสีที่เป็นเมืองมั่งคั่งแล้ว ได้ทาบาปกรรมไว้เป็นอันมาก คือ ได้
ฆ่าสัตว์มีชีวิต ได้แก่ กระบือ สุกร แพะเป็นจานวนมาก
[๑๒๐๑] จุติจากชาตินั้นแล้วมาเกิดในตระกูลเสนาบดีอันบริบูรณ์นี้ บาปไม่มีผลแน่นอน ข้าพเจ้า
จึงไม่ต้องไปตกนรก”
[๑๒๐๒] ครั้งนั้น ในกรุงมิถิลานี้ ได้มีคนเข็ญใจเป็นทาสชื่อว่าวีชกะ กาลังรักษาอุโบสถ เข้าไปยัง
สานักของคุณาชีวก
[๑๒๐๓] ได้ฟังคาของกัสสปคุณาชีวกและของอลาตเสนาบดีกล่าวกันแล้ว จึงถอนหายใจอึดอัด
ร้องไห้หลั่งน้าตา
[๑๒๐๔] พระเจ้าวิเทหะได้ตรัสถามนายวีชกะนั้นว่า “สหาย เจ้าร้องไห้ทาไม เจ้าได้ฟังได้เห็นอะไร
มาหรือ เจ้าได้รับทุกขเวทนาอะไร จงบอกให้เราทราบเถิด”
[๑๒๐๕] นายวีชกะได้ฟังพระราชดารัสของพระเจ้าวิเทหะแล้ว ได้กราบทูลให้ทรงทราบดังนี้ ว่า
“ข้าแต่มหาราชข้าพระองค์ไม่มีทุกขเวทนาเลย ขอพระองค์ได้ทรงสดับคาของข้าพระพุทธเจ้าเถิด
5
[๑๒๐๖] แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ยังระลึกถึง ความสุขในชาติก่อนของตนเองได้ คือ ในชาติก่อน
ข้าพระพุทธเจ้าได้เคยเกิดเป็นเศรษฐี ชื่อว่าภาวเศรษฐี ยินดีในคุณธรรมอยู่ในเมืองสาเกต
[๑๒๐๗] ข้าพระพุทธเจ้านั้นได้รับการยกย่องจากพราหมณ์และคหบดี ยินดีในการบริจาคทาน มี
การงานสะอาด ระลึกถึงบาปกรรมชั่วที่ตนเคยทาไว้ไม่ได้เลย
[๑๒๐๘] ข้าแต่พระเจ้าวิเทหะ ข้าพระพุทธเจ้าจุติจากชาตินั้นแล้ว มาเกิดในครรภ์ของนางกุมภ
ทาสี ซึ่งเป็นหญิงขัดสนยากจนในกรุงมิถิลานี้ ตั้งแต่เวลาที่เกิดมา ข้าพระพุทธเจ้าก็เป็นยาจกเข็ญใจตลอดมา
[๑๒๐๙] แม้ข้าพระพุทธเจ้าจะเป็นคนยากจนอย่างนี้ ก็ยังตั้งมั่นอยู่ในความประพฤติชอบ ได้ให้
อาหารกึ่งหนึ่งแก่ผู้ที่ปรารถนา
[๑๒๑๐] ข้าพระพุทธเจ้านั้นได้รักษาอุโบสถศีล ในวัน ๑๔ ค่า ๑๕ ค่าทุกเมื่อ ไม่เบียดเบียนสัตว์
และไม่ลักทรัพย์
[๑๒๑๑] กรรมทั้งปวงที่ข้าพระพุทธเจ้าได้ประพฤติมาดีแล้วนี้ ไร้ผลแน่ ศีลนี้ เห็นจะไร้ประโยชน์
เหมือนอลาตเสนาบดีกล่าว
[๑๒๑๒] ข้าพระพุทธเจ้ากาเอาแต่ความปราชัยไว้ เหมือนนักเลงผู้ไร้ศิลปะเป็นแน่ ส่วนอลาต
เสนาบดีกาเอาไว้แต่ชัยชนะ เหมือนนักเลงผู้ฝึกฝนการพนัน
[๑๒๑๓] ข้าแต่พระราชา ข้าพระพุทธเจ้ายังมองไม่เห็นประตู ที่จะเป็นทางไปสู่สุคติเลย ฉะนั้น
ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังคาของกัสสปคุณาชีวกแล้ว จึงร้องไห้”
[๑๒๑๔] พระเจ้าอังคติได้สดับคาพูดของนายวีชกะแล้ว ได้ตรัสว่า “ประตูสุคติไม่มี ท่านยังสงสัย
อีกหรือวีชกะ”
[๑๒๑๕] ได้ทราบว่า “สุขหรือทุกข์สัตว์ได้เองแน่นอน สัตว์ทั้งหลายหมดจดได้ด้วยการท่องเที่ยว
ไปในสังสารวัฏ เมื่อยังไม่ถึงเวลา ท่านอย่าได้รีบด่วนไปเลย
[๑๒๑๖] เมื่อก่อน แม้เราก็เคยทาความดีมา ขวนขวายช่วยเหลือพราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย สั่ง
สอนราชกิจอยู่เนืองๆ งดเว้นจากความยินดี(ในกามคุณ) ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้
[๑๒๑๗] ท่านผู้เจริญ พวกเราจะได้พบกันอีก ถ้าจักมีการคบหาสมาคมกัน” พระเจ้าวิเทหะครั้น
ตรัสอย่างนี้ แล้ว ก็ได้เสด็จกลับไปยังพระราชนิเวศน์ของพระองค์
[๑๒๑๘] ต่อจากนั้น เมื่อราตรีสว่างแล้ว พระเจ้าอังคติรับสั่งให้ประชุมเหล่าอามาตย์ ในสถานที่
ประทับสาราญของพระองค์แล้วได้ตรัสพระดารัสนี้ ว่า
[๑๒๑๙] “ขอเหล่าอามาตย์จงจัดกามคุณทั้งหลายให้แก่เราทุกเมื่อ ในจันทกปราสาทของเรา เมื่อ
ราชการลับถูกเปิดเผยขึ้น ใครๆ อย่าได้เข้ามาหาเรา
[๑๒๒๐] อามาตย์ฉลาดในราชกิจ ๓ นาย คือ (๑) วิชัยอามาตย์ (๒) สุนามอามาตย์ (๓) อลาต
เสนาบดี จงนั่งพิจารณาข้อราชการเหล่านี้ ”
[๑๒๒๑] พระเจ้าวิเทหะครั้นตรัสดังนี้ แล้ว จึงตรัสพระดารัสนี้ ว่า “ขอท่านทั้งหลายจงใส่ใจในกาม
คุณให้มาก และอย่าได้ไปยุ่งในกิจการอะไรๆ ในพวกพราหมณ์และคหบดีเลย”
6
[๑๒๒๒] ตั้งแต่วันนั้นมา ๒ สัปดาห์ พระราชกัญญาพระนามว่ารุจา ผู้เป็นพระธิดาเป็นที่โปรด
ปรานของพระเจ้าวิเทหะ ได้ตรัสกับพระพี่เลี้ยงว่า
[๑๒๒๓] “ขอพวกท่านจงช่วยกันประดับประดาให้ฉันด้วย และขอให้เพื่อนหญิงของฉันจงช่วยกัน
ประดับ พรุ่งนี้ ๑๕ ค่าเป็นวันทิพย์ (วันทิพย์ หมายถึงวันที่เทวดาประชุมกันประดับตกแต่งร่างกาย) ฉันจะ
ไปเฝ้าพระบิดา”
[๑๒๒๔] พระพี่เลี้ยงทั้งหลายได้จัดมาลัย แก่นจันทน์ แก้วมณี สังข์ แก้วมุกดา และผ้าสีต่างๆ ที่มี
ค่ามากมาถวายแด่พระนางรุจานั้น
[๑๒๒๕] หญิงเป็นอันมากแวดล้อมพระนางรุจาราชธิดา ผู้มีพระฉวีวรรณงามนั้น ผู้ประทับนั่งอยู่
บนพระภัทรบิฐ (ภัทรบิฐ หมายถึงตั่งทอง) สวยงามยิ่งนักดังนางเทพกัญญา
[๑๒๒๖] พระนางรุจาราชธิดานั้นทรงประดับสรรพาภรณ์ เสด็จไป ณ ท่ามกลางเพื่อนหญิง
เหมือนสายฟ้าแลบออกจากเมฆ ได้เสด็จเข้าสู่จันทกปราสาท
[๑๒๒๗] ครั้นเสด็จเข้าไปเฝ้าพระเจ้าวิเทหะ ถวายบังคมพระบิดาผู้ทรงยินดีในคาแนะนาแล้ว
ประทับอยู่บนพระภัทรบิฐอันขจิตด้วยทอง ณ ที่อันสมควร
[๑๒๒๘] พระเจ้าวิเทหะทอดพระเนตรเห็นพระนางรุจา ประทับอยู่ท่ามกลางพระสหายหญิง ซึ่ง
เป็นเหมือนสมาคมของนางเทพอัปสร จึงได้ตรัสพระดารัสดังนี้ ว่า
[๑๒๒๙] “ลูกหญิงยังรื่นรมย์อยู่ในปราสาท และสระโบกขรณีในภายในอุทยานอยู่หรือ คน
เหล่านั้นยังนาของเสวยเป็นอันมากมาให้ลูกหญิงอยู่เสมอหรือ
[๑๒๓๐] ลูกหญิงและเพื่อนหญิงของลูก ยังเก็บดอกไม้หลายชนิดมาร้อยเป็นพวงมาลัย ทาเรือน
หลังเล็กๆ แต่ละหลังเล่นเพลิดเพลินอยู่หรือ
[๑๒๓๑] อีกประการหนึ่ง ลูกหญิงยังขาดแคลนบกพร่องอะไรบ้าง คนเหล่านั้นรีบนาสิ่งของมาให้
ทันใจลูกหรือ ลูกรักผู้มีพักตร์ผ่องใส ลูกจงทาใจของเจ้าให้ผ่องใสเช่นกับดวงจันทร์เถิด”
[๑๒๓๒] พระนางรุจาราชธิดาได้สดับพระราชดารัสของพระเจ้าวิเทหะแล้ว ได้กราบทูลพระบิดาว่า
“ข้าแต่มหาราช หม่อมฉันได้สิ่งนี้ ทั้งหมดในสานักของพระองค์
[๑๒๓๓] พรุ่งนี้ ๑๕ ค่า เป็นวันทิพย์ ขอราชบุรุษทั้งหลายจงนาพระราชทรัพย์พันหนึ่งมาให้หม่อม
ฉัน หม่อมฉันจักให้ทานแก่วณิพกทั้งปวงตามที่เคยให้มา”
[๑๒๓๔] พระเจ้าอังคติได้สดับพระดารัสของพระนางรุจาแล้วตรัสว่า ลูกหญิงทาลายทรัพย์ให้
พินาศไปเสียเป็นจานวนมาก หาผลประโยชน์มิได้
[๑๒๓๕] ลูกหญิงรักษาอุโบสถศีล ไม่บริโภคข้าวน้าเป็นนิตย์ ลูกหญิงจักต้องไม่บริโภคข้าวน้าเป็น
นิตย์ บุญไม่มีแก่ผู้ไม่บริโภค
[๑๒๓๖] แม้นายวีชกะได้ฟังคาพูดของคุณาชีวกกัสสปโคตรในเวลานั้น ถอนหายใจฮึดฮัด ร้องไห้
หลั่งน้าตาแล้ว
[๑๒๓๗] ลูกหญิงรุจาเอ๋ย ตราบใดที่ลูกยังมีชีวิตอยู่ ก็อย่าได้อดอาหารเลย ปรโลกไม่มีหรอก ลูก
หญิงจะลาบากเดือดร้อนไปทาไมไร้ประโยชน์”
7
[๑๒๓๘] พระนางรุจาผู้มีพระฉวีวรรณงดงาม ได้สดับพระราชดารัสของพระเจ้าวิเทหะแล้ว ก็ทรง
ทราบกฎธรรมดาในอดีต ๗ ชาติ ในอนาคต ๗ ชาติ กราบทูลพระบิดาดังนี้ ว่า
[๑๒๓๙] “แต่ก่อน หม่อมฉันได้แต่ฟังเท่านั้น หม่อมฉันได้เห็นข้อนี้ อย่างประจักษ์ว่า ผู้ใดคบหาคน
พาล ผู้นั้นก็พลอยเป็นพาลไปด้วย
[๑๒๔๐] เพราะว่าคนหลงอาศัยคนหลง ก็ยิ่งเข้าถึงความหลงหนักขึ้น อลาตเสนาบดี และนายวีช
กะสมควรจะหลง
[๑๒๔๑] ข้าแต่สมมติเทพ ส่วนพระองค์ทรงพระปรีชา เป็นนักปราชญ์ ทรงฉลาดในอรรถ จะทรง
เป็นเหมือนพวกคนพาลเข้าถึงทิฏฐิต่าทรามได้อย่างไร
[๑๒๔๒] แม้ถ้าสัตว์จะบริสุทธิ์ได้ด้วยการท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ การบวชของคุณาชีวกก็ไร้
ประโยชน์ เขาเป็นคนหลงใหลงมงายจะเข้าถึงความเป็นคนเปลือย เหมือนแมลงหลงบินเข้ากองไฟที่ลุกโชน
[๑๒๔๓] คนส่วนมากผู้ไม่รู้อะไร พอได้ฟังคาของคุณาชีวกว่า ความหมดจดมีได้ด้วยการท่องเที่ยว
ไปในสังสารวัฏ ก็เชื่อมั่นเสียก่อนทีเดียว จึงพากันปฏิเสธกรรมและผลของกรรม ผลที่เคยยึดถือผิดมาก่อน
ยากที่จะแก้ได้ เหมือนปลาติดเบ็ดยากที่จะแก้ตนออกจากเบ็ดได้
[๑๒๔๔] ข้าแต่มหาราช หม่อมฉันจักยกตัวอย่างมาเปรียบเทียบ เพื่อประโยชน์แก่ทูลกระหม่อม
เอง บัณฑิตบางพวกในโลกนี้ ย่อมรู้เนื้ อความได้ด้วยการเปรียบเทียบ
[๑๒๔๕] เหมือนเรือของพ่อค้าบรรทุกสินค้าหนักเกินประมาณ ย่อมทาสินค้าที่หนักยิ่งจมดิ่งลงใน
มหาสมุทรฉันใด
[๑๒๔๖] คนสั่งสมบาปกรรมไว้ทีละน้อยๆ ก็จะพาเอาบาปกรรมที่หนักอย่างยิ่ง จมดิ่งลงในนรก
ฉันนั้นเหมือนกัน
[๑๒๔๗] ขอเดชะเสด็จพ่อ ผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน อกุศลอันหนักของอลาตเสนาบดียังไม่บริบูรณ์
ก่อน อลาตเสนาบดีสั่งสมแต่บาปที่เป็นเหตุให้ไปทุคติ
[๑๒๔๘] ขอเดชะเสด็จพ่อ ผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน การที่อลาตเสนาบดีได้รับความสุขอยู่ในบัดนี้
เป็นผลบุญที่ตนได้เคยทาไว้ในปางก่อนนั่นเอง พระเจ้าข้า
[๑๒๔๙] บุญของอลาตเสนาบดีนั้นกาลังจะหมดสิ้น จริงอย่างนั้น บัดนี้ อลาตเสนาบดี จึงกลับมา
ยินดีในอกุศลกรรมที่ไม่ใช่คุณ เลิกละทางตรงไปตามทางผิด
[๑๒๕๐] ตราชั่งที่กาลังชั่งของต่าลงข้างหนึ่ง เมื่อเอาของหนักออก ข้างที่ต่าจะสูงขึ้นฉันใด
[๑๒๕๑] นรชนก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสั่งสมบุญทีละน้อยๆ ย่อมไปสู่สวรรค์ เหมือนนายวีชกะผู้
เป็นทาสยินดีในกรรมอันงาม
[๑๒๕๒] นายวีชกะผู้เป็นทาสเห็นทุกข์ในตนวันนี้ เพราะได้ประสบบาปกรรม ที่ตนเคยได้ทาไว้ใน
ปางก่อนนั่นเอง
[๑๒๕๓] บาปกรรมของเขากาลังจะหมดสิ้นไป บัดนี้ เขาจึงกลับมายินดีในข้อแนะนา
ทูลกระหม่อมอย่าคบกัสสปคุณาชีวกเลย ขอพระองค์อย่าดาเนินทางผิดเลย
8
[๑๒๕๔] ข้าแต่พระบิดา บุคคลคบบุคคลเช่นใด เป็นสัตบุรุษผู้มีศีล หรืออสัตบุรุษผู้ไม่มีศีล เขา
ย่อมตกอยู่ในอานาจของบุคคลนั้นเท่านั้น
[๑๒๕๕] บุคคลทาคนเช่นใดให้เป็นมิตรและคบหาคนเช่นใด แม้เขาก็ย่อมเป็นคนเช่นนั้น เพราะ
การอยู่ร่วมกันก็เป็นเช่นนั้น
[๑๒๕๖] ผู้คบย่อมแปดเปื้ อนคนคบ ผู้สัมผัสย่อมแปดเปื้ อนคนสัมผัส เหมือนลูกศรอาบยาพิษ
ย่อมเปื้ อนแล่ง เพราะกลัวจะแปดเปื้ อน นักปราชญ์ไม่ควรมีคนชั่วเป็นสหาย
[๑๒๕๗] การคบหาคนพาลก็เหมือนคนเอาใบไม้ห่อปลาเน่า แม้ใบไม้ก็มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไปด้วย
[๑๒๕๘] การคบนักปราชญ์ก็เหมือนคนเอาใบไม้ห่อกฤษณา แม้ใบไม้ก็มีกลิ่นหอมฟุ้งไปด้วย
[๑๒๕๙] เพราะฉะนั้น บัณฑิตรู้ความเป็นบัณฑิตของตน ดังใบไม้สาหรับห่อแล้ว จึงเลิกคบอ
สัตบุรุษ คบแต่สัตบุรุษ อสัตบุรุษย่อมนาไปสู่นรก ส่วนสัตบุรุษย่อมนาให้ถึงสุคติ
[๑๒๖๐] แม้หม่อมฉันก็ระลึกชาติที่ตนได้ท่องเที่ยวมาแล้ว ได้ ๗ ชาติ และรู้ชาติที่ตนจุติจากโลกนี้
แล้ว จักไปเกิดในอนาคตอีก ๗ ชาติ
[๑๒๖๑] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงปกครองประชาชน ชาติที่ ๗ ของหม่อมฉันในอดีต หม่อมฉันได้เกิด
เป็นบุตรชายของนายช่างทอง ในกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ
[๑๒๖๒] หม่อมฉันอาศัยสหายชั่วทาบาปกรรมไว้มาก เที่ยวประพฤติผิดในภรรยาของผู้อื่นเหมือน
จะไม่ตาย
[๑๒๖๓] กรรมนั้นยังไม่ทันให้ผลเหมือนไฟที่ถูกกลบไว้ด้วยเถ้า ต่อมา ด้วยกรรมอื่นๆ หม่อมฉัน
จึงได้เกิดในแคว้นวังสะ
[๑๒๖๔] ข้าแต่มหาราช หม่อมฉันเป็นบุตรคนเดียว ในตระกูลเศรษฐีที่มั่งคั่งสมบูรณ์ มีทรัพย์มาก
ในกรุงโกสัมพี ได้รับสักการะบูชาอยู่เป็นนิตย์
[๑๒๖๕] ในชาตินั้น หม่อมฉันได้คบหามิตรสหาย ผู้ยินดีในกรรมอันงาม ผู้เป็นบัณฑิต เป็นพหูสูต
สหายนั้นได้แนะนาให้หม่อมฉันตั้งอยู่ในกรรมอันเป็นประโยชน์
[๑๒๖๖] หม่อมฉันได้รักษาอุโบสถศีล ในวัน ๑๔ ค่า ๑๕ ค่า ตลอดราตรีเป็นอันมาก กรรมนั้นยัง
ไม่ทันให้ผลเหมือนขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ใต้น้า
[๑๒๖๗] ครั้นต่อมา บรรดาบาปกรรมทั้งหลาย กรรมคือการล่วงละเมิดภรรยาของผู้อื่นใด ที่
หม่อมฉันได้กระทาไว้ในแคว้นมคธ ผลของกรรมนั้นได้มาถึงหม่อมฉันเข้าแล้วในภายหลัง เหมือนดื่มยาพิษ
อันร้ายแรง
[๑๒๖๘] ข้าแต่พระเจ้าวิเทหะ หม่อมฉันจุติจากตระกูลเศรษฐีในกรุงโกสัมพีนั้นแล้ว ต้องหมกไหม้
อยู่ในโรรุวนรกตลอดกาลนาน เพราะกรรมของตน หม่อมฉันระลึกถึงทุกข์ ที่ตนเคยได้เสวยมาในนรกนั้น
ไม่ได้รับความสุขเลย
[๑๒๖๙] หม่อมฉันทาทุกข์มากมายให้หมดสิ้นไป ในนรกนั้นมากมายหลายปีแล้ว จึงเกิดเป็นลา
ถูกตอนอยู่ในภินนาคตนคร พระเจ้าข้า
9
[๑๒๗๐] หม่อมฉันต้องพาลูกอามาตย์ไปด้วยหลังบ้าง ด้วยรถบ้าง นั่นเป็นผลของกรรมที่ล่วง
ละเมิดภรรยาของคนอื่นของหม่อมฉัน
[๑๒๗๑] ข้าแต่พระองค์ผู้ครองแคว้นวิเทหะ หม่อมฉันจุติจากชาติเป็นลานั้นแล้วได้ไปเกิดเป็นลิง
ในป่าใหญ่ ถูกหัวหน้าฝูงตัวคะนองกัดลูกอัณฑะออก นั่นเป็นผลของกรรมที่ล่วงละเมิดภรรยาของคนอื่นของ
หม่อมฉัน
[๑๒๗๒] ข้าแต่พระเจ้าวิเทหะ หม่อมฉันจุติจากชาติเป็นลิงนั้นแล้ว ได้ไปเกิดเป็นโคในแคว้นทสัน
นะ ถูกตอน มีกาลังแข็งแรงดี หม่อมฉันต้องเทียมยานอยู่เป็นเวลานาน นั่นเป็นผลของกรรมที่ล่วงละเมิด
ภรรยาผู้อื่นของหม่อมฉัน
[๑๒๗๓] ข้าแต่พระเจ้าวิเทหะ หม่อมฉันจุติจากชาติเป็นโคนั้นแล้ว ได้ไปเกิดเป็นกะเทยในตระกูล
ที่มีโภคสมบัติมากในแคว้นวัชชี จะได้เกิดเป็นมนุษย์ก็แสนยาก นั่นเป็นผลของกรรมคือการล่วงละเมิด
ภรรยาคนอื่นของหม่อมฉัน
[๑๒๗๔] ข้าแต่พระเจ้าวิเทหะ หม่อมฉันจุติจากชาติเป็นกะเทยนั้นแล้ว ได้ไปเกิดเป็นนางอัปสรใน
พระอุทยานนันทวันชั้นดาวดึงสพิภพ มีฉวีวรรณงามน่ารักใคร่
[๑๒๗๕] มีผ้าและอาภรณ์งามวิจิตร ใส่ตุ้มหูแก้วมณี เก่งในการฟ้อนราขับร้อง เป็นปริจาริกาของ
ท้าวสักกะ
[๑๒๗๖] ข้าแต่พระเจ้าวิเทหะ เมื่อหม่อมฉันอยู่ในชั้นดาวดึงสพิภพนั้น ระลึกชาติแม้ในอนาคตได้
อีก ๗ ชาติ ที่หม่อมฉันจุติจากดาวดึงสพิภพนั้นแล้วจักเกิดต่อไป
[๑๒๗๗] กุศลที่หม่อมฉันได้ทาไว้ในกรุงโกสัมพีได้ตามมาให้ผล หม่อมฉันจุติจากดาวดึงสพิภพ
แล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์
[๑๒๗๘] ข้าแต่มหาราช หม่อมฉันนั้น ได้รับสักการะบูชาเป็นนิตย์มาตลอด ๗ ชาติ หม่อมฉันไม่
พ้นจากความเป็นหญิงตลอด ๖ ชาติ
[๑๒๗๙] ข้าแต่สมมติเทพ ชาติที่ ๗ หม่อมฉันจักได้เกิดเป็นเทวดาผู้ชาย คือ เป็นเทพบุตรผู้มีฤทธิ์
มาก เป็นผู้สูงสุดในหมู่เทวดา
[๑๒๘๐] แม้วันนี้ เหล่านางอัปสรผู้เป็นปริจาริกาของหม่อมฉัน ยังช่วยกันร้อยดอกไม้เป็น
พวงมาลัยอยู่ในพระอุทยานนันทวัน เทพบุตรนามว่าชวะ ยังรับพวงมาลัยของหม่อมฉันอยู่
[๑๒๘๑] ๑๖ ปีในมนุษย์นี้ เป็นเหมือนครู่หนึ่งของเทวดา ๑๐๐ ปีของมนุษย์เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่ง
ของเทวดา
[๑๒๘๒] ดังที่ได้กราบทูลมานี้ กรรมทั้งหลายติดตามไปได้ แม้ตั้งอสงไขยชาติ ด้วยว่ากรรมจะดี
หรือชั่วก็ตามย่อมไม่พินาศไป
[๑๒๘๓] บุคคลใดปรารถนาจะเป็นชายทุกๆ ชาติไป บุคคลนั้นพึงเว้นภรรยาผู้อื่นเสีย เหมือนคน
ล้างเท้าสะอาดแล้วเว้นเปือกตม
[๑๒๘๔] หญิงใดปรารถนาจะเป็นชายทุกๆ ชาติไป หญิงนั้นก็พึงยาเกรงสามีเหมือนนางเทพอัปสร
ผู้เป็นปริจาริกายาเกรงพระอินทร์
10
[๑๒๘๕] ผู้ใดปรารถนาโภคทรัพย์ อายุ ยศ และสุขทิพย์ ผู้นั้นพึงเว้นบาปทั้งหลายแล้วประพฤติ
ธรรม ๓ อย่าง (ธรรม ๓ อย่าง ในที่นี้ หมายถึงสุจริต ๓ ที่เป็นไปทางกาย วาจา ใจ) เถิด
[๑๒๘๖] หญิงหรือชายก็ตาม ไม่ประมาทด้วยกาย วาจา ใจ เป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเพื่อ
ประโยชน์ของตน
[๑๒๘๗] มนุษย์เหล่าใดในชีวโลกนี้ เป็นผู้มียศ มีโภคทรัพย์บริบูรณ์ทุกอย่าง มนุษย์เหล่านั้นได้สั่ง
สมกรรมดีไว้ในปางก่อนโดยไม่ต้องสงสัย สัตว์ทั้งปวงล้วนมีกรรมเป็นของของตน
[๑๒๘๘] ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์ทรงพระราชดาริด้วยพระองค์เถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอม
แห่งชน พระสนมผู้ทรงโฉมงามปานดังนางเทพอัปสร ประดับประดาคลุมกายด้วยข่ายทองเหล่านี้ พระองค์
ทรงได้มาเพราะผลแห่งกรรมอะไร”
[๑๒๘๙] พระนางรุจาราชกัญญาทรงให้พระเจ้าอังคติ พระชนกนาถพอพระทัย พระราชกุมารีผู้มี
วัตรดีงาม ทรงกราบทูลทางแห่งสุคติแก่พระชนกนาถพระองค์นั้นแล้ว เหมือนบอกทางให้แก่คนหลงทาง
และได้กราบทูลข้อธรรมถวายด้วยประการฉะนี้
[๑๒๙๐] ต่อมา นารทมหาพรหมตรวจดูชมพูทวีป ได้เห็นพระเจ้าอังคติ จึงมาจากพรหมโลกถึงถิ่น
มนุษย์
[๑๒๙๑] ลาดับนั้น นารทมหาพรหมได้ยืนอยู่ที่ปราสาท เบื้องพระพักตร์ของพระเจ้าวิเทหะ พระ
นางรุจาราชกัญญาได้เห็นนารทฤๅษีนั้นมาถึงที่แล้ว จึงนมัสการ
[๑๒๙๒] ครั้งนั้น พระราชาทรงมีพระทัยหวาดกลัว เสด็จลงจากราชอาสน์ เมื่อจะตรัสถามนารท
ฤๅษี จึงได้ตรัสพระดารัสดังนี้ ว่า
[๑๒๙๓] “ท่านผู้มีผิวงามดังเทวดา ส่องสว่างไปทั่วทุกทิศดังดวงจันทร์ ท่านมาจากที่ไหนหนอ
ข้าพเจ้าถามแล้ว ขอท่านจงบอกนามและโคตรแก่ข้าพเจ้า คนทั้งหลายในมนุษยโลกย่อมรู้จักท่านได้
อย่างไร”
(นารทฤๅษีกราบทูลว่า)
[๑๒๙๔] อาตมภาพมาจากเทวโลก ณ บัดนี้ เอง ส่องสว่างไปทั่วทุกทิศดังดวงจันทร์ มหาบพิตร
ตรัสถามแล้ว อาตมภาพขอถวายพระพรนามและโคตรให้ทรงทราบ คนทั้งหลายรู้จักอาตมภาพโดยนามว่า
นารทะ และโดยโคตรว่า กัสสปะ
(พระราชาตรัสถามว่า)
[๑๒๙๕] สัณฐานของท่าน การที่ท่านเหาะไป และยืนอยู่บนอากาศได้น่าอัศจรรย์ ท่านนารทะ
ข้าพเจ้าขอถามเนื้ อความนี้ กับท่าน เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ท่านจึงมีฤทธิ์เช่นนี้
(นารทฤๅษีทูลตอบว่า)
[๑๒๙๖] คุณธรรม ๔ ประการนี้ คือ (๑) สัจจะ (๒) ธรรม (๓) ทมะ (๔) จาคะ (คุณธรรม ๔
ประการนี้ มีอธิบาย ดังนี้ สัจจะ หมายถึงวจีสัจที่เว้นจากมุสาวาท ธรรม หมายถึงธรรมคือสุจริต ๓ และ
ธรรมคือการเพ่งกสิณบริกรรม (การปฏิบัติสมถกัมมัฏฐาน) ทมะ หมายถึงการฝึกอินทรีย์ (สารวมทวาร ๖)
11
จาคะ หมายถึงการสละกิเลสและการสละไทยธรรม) อาตมภาพได้ทาไว้แล้วในภพก่อน เพราะคุณธรรมที่อา
ตมภาพได้เสพมาดีแล้วนั้นแหละ อาตมภาพจึงไปได้เร็วทันใจตามความปรารถนา
(พระราชาตรัสถามว่า)
[๑๒๙๗] เมื่อท่านบอกความสาเร็จแห่งบุญ ชื่อว่าท่านบอกความอัศจรรย์ ถ้าเป็นจริงอย่างที่ท่าน
กล่าว ท่านนารทะ ข้าพเจ้าขอถามเนื้ อความนี้ กับท่าน ขอท่านจงพยากรณ์ให้ดี
(นารทฤๅษีทูลตอบว่า)
[๑๒๙๘] ขอถวายพระพรมหาบพิตร ข้อใดพระองค์ทรงสงสัย ขอเชิญมหาบพิตรตรัสถามข้อนั้นกับ
อาตมภาพเถิด อาตมภาพจะวิสัชนาถวายให้มหาบพิตรทรงสิ้นสงสัย ทั้งโดยนัยด้วยความรู้และด้วยเหตุผล
(พระราชาตรัสถามว่า)
[๑๒๙๙] ท่านนารทะ ข้าพเจ้าขอถามเนื้ อความนี้ กับท่าน ท่านอย่าได้กล่าวมุสาต่อข้าพเจ้า ที่คน
พูดกันว่า “เทวดามี มารดาและบิดามี ปรโลกมี” นั้นเป็นจริงหรือ
(นารทฤๅษีทูลตอบว่า)
[๑๓๐๐] ที่คนพูดกันว่า “เทวดามี มารดาและบิดามี และปรโลกมี” นั้นเป็นจริงทั้งนั้น แต่คน
ทั้งหลายหมกมุ่น ติดใจ หลงใหล งมงายในกามคุณ จึงไม่รู้จักปรโลก
(พระราชาตรัสถามว่า)
[๑๓๐๑] ท่านนารทะ ถ้าท่านเชื่อว่า “ปรโลกมีจริง” เหล่าสัตว์ที่ตายไปแล้วก็ต้องมีที่อยู่ในปรโลก
ขอท่านจงให้ทรัพย์ ๕๐๐ แก่ข้าพเจ้าในโลกนี้ แหละ ข้าพเจ้าจักให้แก่ท่านพันหนึ่งในปรโลก
(นารทฤๅษีทูลตอบว่า)
[๑๓๐๒] ถ้าอาตมภาพรู้ว่า “มหาบพิตรทรงมีศีล ทรงรู้ความประสงค์ของพวกผู้ขอ อาตมภาพก็จะ
ให้มหาบพิตรสัก ๕๐๐ แต่มหาบพิตรหยาบช้า ทรงจุติจากโลกนี้ แล้วจะต้องไปอยู่ในนรก ใครเล่าจะพึงไป
ทวงทรัพย์ ๑,๐๐๐ ในปรโลกได้
[๑๓๐๓] ผู้ใดในโลกนี้ ไม่มีศีลธรรม ประพฤติชั่ว เกียจคร้าน มีกรรมหยาบ บัณฑิตทั้งหลายไม่ให้กู้
หนี้ ในผู้นั้น เพราะจะไม่ได้ทรัพย์คืนจากคนเช่นนั้น
[๑๓๐๔] ส่วนคนขยันหมั่นเพียร มีศีล รู้ความประสงค์ของผู้ขอ คนทั้งหลายรู้แล้วย่อมนาโภค
ทรัพย์มาเชื้อเชิญเอง ด้วยคิดว่า “ผู้นี้ ทาการงานเสร็จแล้วพึงนามาใช้คืนให้”
[๑๓๐๕] ขอถวายพระพร มหาบพิตรจุติจากที่นี่แล้ว จักทอดพระเนตรเห็นพระองค์เองอยู่ในนรก
นั้น ผู้ถูกฝูงกายื้อแย่งฉุดคร่าอยู่ ใครเล่าจะไปทวงทรัพย์ ๑,๐๐๐ ในปรโลกกับมหาบพิตรผู้ตกอยู่ในนรกซึ่ง
ถูกฝูงกา แร้ง และสุนัขรุมกัดกิน ตัวขาดกระจัดกระจาย เลือดไหลโทรมอยู่
[๑๓๐๖] ในโลกันตนรกนั้นมืดมิดที่สุด ไม่มีดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ โลกันตนรกนั้นมืดมิดอยู่
เป็นนิตย์ น่ากลัว กลางคืนกลางวันไม่ปรากฏ ผู้ต้องการทรัพย์ ใครเล่าจะพึงเที่ยวไปในสถานที่นั้นได้
[๑๓๐๗] ในโลกันตนรกนั้นมีสุนัข ๒ ตัว คือ สุนัขด่างและสุนัขดาคล้า มีตัวกายา ล่าสัน แข็งแรง
พากันใช้เขี้ยวเหล็กกัดกินผู้ที่จุติจากมนุษยโลกนี้ แล้ว ไปตกอยู่ในนรก
12
[๑๓๐๘] ใครเล่าจะพึงไปทวงทรัพย์ ๑,๐๐๐ ในปรโลกกับมหาบพิตร ผู้ถูกฝูงสุนัขทารุณโหดร้าย
ตัวนาทุกข์มาให้รุมกัดกินอยู่ อยู่ในนรกจนตัวขาดกระจัดกระจาย เลือดไหลโทรม
[๑๓๐๙] และในนรกที่โหดร้าย มีพวกนายนิรยบาลชื่อกาฬะและอุปกาฬะ ผู้เป็นข้าศึกใช้ดาบและ
หอกที่ลับไว้เป็นอย่างดี เชือดเฉือนและทิ่มแทงคนผู้ทากรรมชั่วไว้ในภพก่อน
[๑๓๑๐] ใครเล่าจะพึงไปทวงถามเอาทรัพย์ ๑,๐๐๐ ในปรโลก กับมหาบพิตรผู้ถูกทิ่มแทงเข้าที่
พระอุทร ที่พระปรัศว์ มีพระอุทรพรุนวิ่งไปมาอยู่ในนรก มีตัวขาดกระจัดกระจายเลือดไหลโทรมได้
[๑๓๑๑] ในโลกันตนรกนั้น มีห่าฝนชนิดต่างๆ คือ ฝนหอก ฝนดาบ ฝนแหลน ฝนหลาว มี
ประกายลุกวาวเหมือนถ่านเพลิงตกลงบนศีรษะ สายอัสนีบาตศิลาแดงโชนตกลงทับสัตว์นรกผู้มีกรรมหยาบ
ช้า
[๑๓๑๒] และในนรกนั้น มีลมร้อนอันยากที่จะทนได้ สัตว์ในนรกนั้นไม่ได้รับความสุขแม้แต่น้อย
ใครเล่าจะพึงไปทวงทรัพย์ ๑,๐๐๐ ในปรโลกกับมหาบพิตร ผู้ทรงกระสับกระส่ายวิ่งพล่านไปมา หาที่ซ่อน
เร้นมิได้
[๑๓๑๓] ใครเล่าจะพึงไปทวงทรัพย์ ๑,๐๐๐ ในปรโลกกับมหาบพิตร ผู้ถูกเทียมไว้ในรถวิ่งไปมาอยู่
ต้องทรงเหยียบแผ่นดินที่ลุกโชน ถูกทิ่มแทงด้วยดีด้วยปฏักอยู่ได้
[๑๓๑๔] ใครเล่าจะพึงไปทวงทรัพย์ ๑,๐๐๐ กับมหาบพิตร ผู้ทนอยู่ไม่ได้วิ่งไปขึ้นภูเขาที่ดารดาษ
ไปด้วยขวากกรด ลุกโชนน่าสยดสยองอย่างยิ่ง มีตัวถูกตัดขาด หลั่งเลือดไหลโทรมอยู่ได้
[๑๓๑๕] ใครเล่าจะพึงไปทวงทรัพย์ ๑,๐๐๐ ในปรโลกกับมหาบพิตร ผู้ต้องวิ่งขึ้นไปเหยียบถ่าน
เพลิงกองเท่าภูเขาที่ลุกโชน น่ากลัว มีตัวถูกไฟไหม้ทนไม่ไหว ร้องครวญครางอย่างน่าสงสารอยู่ได้
[๑๓๑๖] ต้นงิ้วสูงเทียมเมฆ เต็มไปด้วยหนามเหล็กคม กระหายจะดูดดื่มเลือดคน
[๑๓๑๗] หญิงทั้งหลายที่ประพฤตินอกใจสามี และชายหญิงทั้งหลายที่เป็นชู้กับภรรยาของคนอื่น
ถูกนายนิรยบาลผู้ทาตามคาสั่งของพญายม ถือหอกไล่ทิ่มแทงให้ขึ้นต้นงิ้วนั้น
[๑๓๑๘] ใครเล่าจะพึงไปทวงทรัพย์นั้น กับมหาบพิตรผู้ต้องปีนขึ้นต้นงิ้วในนรก มีเลือดไหลเปรอะ
เปื้ อน มีกายไหม้เกรียม มีหนังและเนื้ อถลอกปอกเปิกกระสับกระส่าย เสวยเวทนาอย่างหนัก
[๑๓๑๙] ใครเล่าจะพึงไปทวงทรัพย์นั้นกับมหาบพิตร ผู้เหนื่อยหอบมีความผิดเพราะบุรพกรรม
ในทางผิด เนื้ อตัวมีหนังถลอกปอกเปิกไป
[๑๓๒๐] ต้นงิ้วสูงเทียมเมฆ เต็มไปด้วยใบเหล็กคมดังดาบ กระหายจะดูดดื่มเลือดคน
[๑๓๒๑] ใครเล่าจะพึงไปทวงทรัพย์ ๑,๐๐๐ กับมหาบพิตร ผู้กาลังปีนขึ้นต้นงิ้วนั้น ก้าวไปเหยียบ
ใบเหล็กอันคมเหมือนดาบ ก็ถูกดาบอันคมนั้นบาด ตัวขาดกระจัดกระจาย เลือดไหลโทรมอยู่ในปรโลกได้
[๑๓๒๒] ทรัพย์จานวนนั้น ใครเล่าจะพึงไปขอกับมหาบพิตร ผู้เดินหนีออกจากขุมนรกไม้งิ้วมีใบ
เป็นดาบ พลัดตกลงไปสู่แม่น้าเวตตรณีได้
[๑๓๒๓] แม่น้าเวตตรณีมีน้าเป็นกรด หยาบแข็ง เผ็ดร้อน ข้ามได้ยาก ปกคลุมไปด้วยบัวเหล็กมีใบ
คมไหลไปอยู่
13
[๑๓๒๔] ทรัพย์จานวนนั้น ใครเล่าจะไปขอกับมหาบพิตร ผู้มีตัวขาดกระจัดกระจาย มีเลือดเปรอะ
เปื้ อน ลอยอยู่ในแม่น้าเวตตรณี ที่นั้นหาที่เกาะมิได้
(พระราชาตรัสว่า)
[๑๓๒๕] ข้าพเจ้าแทบจะล้มเหมือนต้นไม้ที่ถูกตัด ข้าพเจ้าหลงสาคัญผิด จึงไม่รู้จักทิศ ท่านฤๅษี
ข้าพเจ้าได้ฟังคาถาภาษิตของท่านแล้ว ร้อนใจ เพราะกลัวมหาภัย
[๑๓๒๖] ท่านฤๅษี ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า เหมือนน้าสาหรับแก้กระหายในเวลาร้อน
เหมือนเกาะเป็นที่พึ่งของพวกคนที่มีเรืออับปาง หาที่พึ่งไม่ได้ในมหาสมุทร และเหมือนดวงประทีปสาหรับ
ส่องทาง ของพวกคนผู้เดินทางมืดเถิด
[๑๓๒๗] ท่านฤๅษี ขอท่านจงสอนอรรถและธรรมแก่ข้าพเจ้า ในกาลก่อน ข้าพเจ้าได้ทาความผิด
ไว้ส่วนเดียว ท่านนารทะ ขอท่านจงบอกทางบริสุทธิ์แก่ข้าพเจ้า โดยที่ข้าพเจ้าจะไม่พึงตกไปในนรกด้วยเถิด
(นารทฤๅษีกราบทูลว่า)
[๑๓๒๘] พระราชา ๖ พระองค์นี้ คือ (๑) ท้าวธตรัฏฐะ (๒) ท้าวเวสสามิตะ (๓) ท้าวอัฏฐกะ (๔)
ท้าวยมทัคคิ (๕) ท้าวอุสินนระ (๖) ท้าวสิวิราช ได้ทรงบารุงสมณะและพราหมณ์ทั้งหลายแล้ว
[๑๓๒๙] พระราชาเหล่านั้นและพระราชาเหล่าอื่นเสด็จไปสู่สวรรค์ฉันใด มหาบพิตรผู้เป็นเจ้า
แผ่นดิน แม้มหาบพิตรก็ฉันนั้น จงทรงเว้นอธรรมแล้วทรงประพฤติธรรมเถิด
[๑๓๓๐] ราชบุรุษทั้งหลายจงถืออาหารไปประกาศในพระราชนิเวศน์ และภายในพระนครว่า ใคร
หิว ใครกระหาย ใครปรารถนาดอกไม้ ใครปรารถนาเครื่องลูบไล้ ใครไม่มีผ้านุ่งห่ม ก็จงนุ่งห่มผ้าสีต่างๆ
ตามปรารถนาเถิด
[๑๓๓๑] ใครต้องการร่ม ใครต้องการรองเท้าที่อ่อนนุ่ม สวยงาม ในทางเปลี่ยว ราชบุรุษทั้งหลาย
จงประกาศไปดังนี้ ในพระนครของพระองค์ทั้งในเวลาเย็นและเวลาเช้า
[๑๓๓๒] มหาบพิตรจงอย่าใช้งานคนแก่ โคแก่ และม้าแก่เหมือนแต่ก่อน และจงพระราชทาน
เครื่องบริหารแก่คนที่เป็นกาลัง ซึ่งเคยได้ทาความดีไว้เท่าเดิมเถิด
[๑๓๓๓] มหาบพิตรจงสาคัญพระวรกายของพระองค์ว่าเป็นดังรถ มีใจเป็นนายสารถี
กระปรี้กระเปร่า มีอวิหิงสาเป็นเพลา มีปริจาคะเป็นหลังคา
[๑๓๓๔] มีการสารวมเท้าเป็นกง มีการสารวมมือเป็นดุม มีการสารวมท้องเป็นน้ามันหยอด มี
การสารวมวาจาเป็นความเงียบสนิท
[๑๓๓๕] มีการกล่าวคาสัตย์เป็นส่วนประกอบรถที่บริสุทธิ์ มีการไม่กล่าวคาส่อเสียดเป็นการเข้า
หน้าไม้ได้สนิท มีการกล่าวคาอ่อนหวานเป็นเครื่องรถที่เกลี้ยงเกลา มีการกล่าวพอประมาณเป็นเครื่อง
ผูกมัด
[๑๓๓๖] มีศรัทธาและความไม่โลภเป็นเครื่องประดับ มีความถ่อมตนและการทาอัญชลีเป็นธูป มี
ความไม่แข็งกระด้างเป็นงอน มีความสารวมศีลเป็นเชือกขันชะเนาะ
[๑๓๓๗] มีความไม่โกรธเป็นเครื่องกันกระทบกระทั่ง มีคุณธรรมเป็นเศวตฉัตร มีพาหุสัจจะเป็น
สายพาน มีจิตตั้งมั่นเป็นที่มั่น
14
[๑๓๓๘] มีความคิดรู้จักกาลเป็นไม้แก่น มีความแกล้วกล้าเป็นไม้ค้าสามแฉก มีความประพฤติ
ถ่อมตนเป็นเชือกขันแอก มีความไม่เย่อหยิ่งเป็นแอกเบา
[๑๓๓๙] มีจิตไม่หดหู่เป็นเครื่องลาด มีการคบคนผู้เจริญเป็นเครื่องกาจัดธุลี นักปราชญ์มีสติเป็น
ปฏัก มีความเพียรและการใช้การปฏิบัติเกื้อกูลเป็นสายบังเหียน
[๑๓๔๐] มีใจที่ฝึกฝนดีแล้วเหมือนม้า ที่ได้รับฝึกสม่าเสมอเป็นเครื่องนาทาง ความปรารถนาและ
ความโลภเป็นทางคด ส่วนความสารวมเป็นทางตรง
[๑๓๔๑] ขอถวายพระพรมหาบพิตร ปัญญาเป็นเครื่องทิ่มแทงม้า ในรถคือพระวรกายของ
มหาบพิตร ที่กาลังโลดแล่นไปในรูป เสียง กลิ่น รส ในรถคือพระวรกายของมหาบพิตรนั้น มีตนคือจิตของ
พระองค์เท่านั้นเป็นนายสารถี
[๑๓๔๒] ถ้าความประพฤติชอบ และความเพียรมั่นคงมีอยู่กับยานนี้ รถนั้นจะให้สมบัติที่น่าใคร่ได้
ทุกอย่างและไม่นาไปเกิดในนรก
(พระศาสดาทรงประชุมชาดก ดังนี้ )
[๑๓๔๓] อลาตเสนาบดีเป็นพระเทวทัต สุนามอามาตย์เป็นพระภัททชิ วิชัยอามาตย์เป็นพระสารี
บุตร ชีวกบุรุษเป็นพระโมคคัลลานะ
[๑๓๔๔] สุนักขัตตะเป็นบุตรของเจ้าลิจฉวี คุณาชีวกเป็นชีเปลือย พระนางรุจาราชธิดาผู้ทรงนา
พระราชาให้ทรงเลื่อมใสเป็นพระอานนท์
[๑๓๔๕] พระเจ้าอังคติผู้มีทิฏฐิชั่วในครั้งนั้นเป็นพระอุรุเวลกัสสปะ ท้าวมหาพรหมโพธิสัตว์เป็น
เราตถาคต พวกเธอจงทรงจาชาดกไว้ด้วยประการฉะนี้ แล
มหานารทกัสสปชาดกที่ ๘ จบ
-----------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา มหานารทกัสสปชาดก
ว่าด้วย พระมหานารทกัสสปะทรงบาเพ็ญอุเบกขาบารมี
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในสวนตาลหนุ่ม ทรงปรารภถึงการทรงทรมานท่านอุรุเวลกัสสป
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคาเริ่มต้นว่า อหุ ราชา วิเทหาน ดังนี้ .
ดังจะกล่าวโดยพิศดาร ในกาลที่พระศาสดาทรงประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ ทรงทรมาน
ชฏิล ๓ คนพี่น้องมีอุรุเวลกัสสปชฏิลเป็นต้น แวดล้อมไปด้วยปุราณชฏิล ๑,๐๐๐ คน เสด็จไปยังสวนตาล
หนุ่ม เพื่อพระประสงค์จะทรงเปลื้องปฏิญญาที่ได้ทรงให้ไว้แก่พระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นเจ้าแผ่นดินแห่งมคธรัฐ.
ในกาลนั้น เมื่อพระเจ้าพิมพิสารพระเจ้าแผ่นดินมคธรัฐ พร้อมด้วยบริษัทประมาณ ๑๒ นหุต
เสด็จมาถวายบังคมพระทศพล แล้วประทับนั่งอยู่ ขณะนั้น พวกพราหมณ์คหบดีในภายในราชบริษัทเกิด
ความปริวิตกขึ้นว่า ท่านพระอุรุเวลกัสสป ประพฤติพรหมจรรย์ในพระมหาสมณโคดม หรือพระมหาสมณโค
ดมประพฤติพรหมจรรย์ในท่านพระอุรุเวลกัสสป.
15
ลาดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ ความปริวิตกแห่งใจของพวกบริษัทเหล่านั้นด้วย
พระทัย จึงทรงพระดาริว่า จักต้องประกาศภาวะที่กัสสปมาบวชในสานักของเราให้พวกนี้ รู้ ดังนี้ แล้ว จึงตรัส
พระคาถาว่า
กัสสป ผู้อยู่ในอุรุเวลประเทศ ท่านเคยเป็นอาจารย์สั่งสอนหมู่ชฏิล ผู้ผอมเพราะกาลังประพฤติ
พรต. ท่านเห็นอะไร จึงได้ละไฟที่เคยบูชาเสีย เราถามเนื้ อความนั้นกะท่าน อย่างไรท่านจึงละการบูชาเพลิง
ของท่านเสีย.
ฝ่ายพระเถระก็ทราบพระพุทธประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ใคร่จะแสดงเหตุ จึงกราบทูลว่า
ยัญทั้งหลายย่อมกล่าวสรรเสริญรูป เสียง กลิ่น รส และหญิงที่น่าใคร่ทั้งหลาย ข้าพระองค์รู้ว่า
ของน่ารักใคร่นั้นๆ เป็นมลทิน ตกอยู่ในอุปกิเลสทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงมิได้ยินดี ในการเซ่น
สรวงและการบูชาเพลิง ข้าพระองค์ได้เห็นธรรมอันระงับแล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องเศร้าหมอง อันเป็นเหตุ
ก่อให้เกิดทุกข์ ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่ติดข้องอยู่ในกามภพ มิใช่วิสัยที่ผู้อื่นจะนามาให้ผู้อื่นรู้ได้ ไม่
แปรปรวนกลายเป็นอย่างอื่น เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงไม่ยินดีในการเซ่นสรวงและการบูชาไฟ.
ครั้นพระอุรุเวลกัสสปกล่าวคาถาเหล่านี้ แล้ว เพื่อจะประกาศภาวะที่ตนเป็นพุทธสาวก จึงซบ
ศีรษะลงที่หลังพระบาทของพระตถาคต ทูลประกาศว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวกของพระองค์
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวกของพระองค์
ดังนี้ แล้วเหาะขึ้นสู่เวหาส ๗ ครั้ง คือ ครั้งที่ ๑ สูงชั่วลาตาล ๑. ครั้งที่ ๒ สูงชั่ว ๒ ลาตาล. จนถึง
ครั้งที่ ๗ สูง ๗ ชั่วลาตาล. แล้วลงมาถวายบังคมพระตถาคต นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. มหาชนเห็น
ปาฏิหาริย์ดังนั้น ก็ได้กล่าวสรรเสริญคุณของพระศาสดาว่า น่าอัศจรรย์จริง พระพุทธเจ้ามีอานุภาพมาก.
ธรรมดาผู้มีความเห็นผิดที่มีกาลังถึงอย่างนี้ เมื่อสาคัญตนว่า เป็นพระอรหันต์. แม้ท่านพระอุรุเวลกัสสป
พระองค์ก็ทรงทาลายข่าย คือทิฏฐิ ทรมานเสียได้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย การที่เราถึงซึ่ง
สัพพัญญุตญาณ ทรมานอุรุเวลกัสสปนี้ ในบัดนี้ ไม่น่าอัศจรรย์เท่ากับครั้งก่อน แม้ในเวลาที่ เรายังมีราคะ
โทสะและโมหะ เป็นพรหมชื่อว่านารทะ ทาลายข่ายคือทิฏฐิของเธอ กระทาเธอให้หมดพยศ ดังนี้ แล้ว ก็ทรง
ดุษณีภาพ.
อันบริษัทนั้นกราบทูลอาราธนา จึงทรงนาอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้ .
ในอดีตกาล ยังมีพระราชาพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่าพระเจ้าอังคติราช เสวยราชสมบัติ ใน
กรุงมิถิลามหานคร ณ วิเทหรัฐ พระองค์ทรงตั้งอยู่ในธรรม เป็นพระธรรมราชา พระองค์มีพระราชธิดาองค์
หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระนางรุจาราชกุมารี มีพระรูปโฉมสวยงาม ชวนดู ชวนชม มีบุญมาก. ได้ทรงตั้ง
ปณิธาน ความปรารถนาไว้สิ้นแสนกัป จึงได้มาเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสี. ส่วนพระเทวีนอกนั้นของ
พระองค์ ๑๖,๐๐๐ คน ได้เป็นหญิงหมัน. พระนางรุจาราชกุมารีนั้น จึงเป็นที่โปรดปรานของพระองค์ยิ่งนัก.
พระองค์ได้ทรงจัดผ้าเนื้ อละเอียดอย่างยิ่ง หาค่ามิได้พร้อมกับผอบดอกไม้ ๒๕ ผอบ อันเต็มไปด้วย
บุปผาชาตินานาชนิด ส่งไปพระราชทานพระราชธิดาทุกๆ วัน ด้วยทรงพระประสงค์จะให้ พระราชธิดาทรง
16
ประดับพระองค์ด้วยของเหล่านี้ และของเสวยที่จัดส่งไปประทานนั้น เป็นขาทนียะและโภชนียะ อันหา
ประมาณมิได้ ทุกกึ่งเดือนได้ทรงส่งพระราชทานทรัพย์ ๑,๐๐๐ ไปพระราชทานพระราชธิดา โดยตรัสสั่งว่า
ส่วนนี้ ลูกจงให้ทานเถิด. และพระองค์มีอามาตย์อยู่ ๓ นาย คือ วิชยอามาตย์ ๑ สุนามอามาตย์ ๑ อลาต
อามาตย์ ๑.
ครั้นถึงคืนกลางเดือน ๑๒ ดอกโกมุทบานเทศกาลมหรพ มหาชนพากันตบแต่งพระนคร และ
ภายในพระราชฐานไว้อย่างตระการ ปานประหนึ่งว่าเทพนคร จึงพระเจ้าอังคติราชเข้าโสรจสรง ทรงลูบไล้
พระองค์ ประหนึ่งเครื่องราชอลังการ เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว เสด็จประทับนั่งเหนือราชอาสน์ บนพื้น
ปราสาทใหญ่ ริมสีหบัญชรไชยมีหมู่อามาตย์แวดล้อม ทอดพระเนตรดูจันทมณฑลอันทรงกรดหมดราคีลอย
เด่นอยู่ ณ พื้นคัคนานต์อากาศ. จึงมีพระราชดารัสถามเหล่าอามาตย์ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ราตรีอัน
บริสุทธิ์เช่นนี้ น่ารื่นรมย์หนอ วันนี้ เราพึงเพลิดเพลินกันด้วยเรื่องอะไรดี.
พระศาสดา เมื่อทรงประกาศเนื้ อความนั้นได้ตรัสว่า
[๘๓๔] พระเจ้าอังคติ ผู้เป็นพระราชาของชนชาววิเทหรัฐ. พระองค์มีช้างม้าพลโยธามากมาย
เหลือที่จะนับ ทั้งพระราชทรัพย์ก็เหลือหลาย. ก็คืนหนึ่งในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่า กลางเดือน ๑๒ ดอกโกมุท
บาน ตอนปฐมยาม.
พระองค์ทรงประชุมเหล่าอามาตย์ราชบัณฑิตผู้เป็นพหูสูต เฉลียวฉลาด ผู้ทรงเคยรู้จัก ทั้ง
อามาตย์ผู้ใหญ่อีก ๓ นาย คือ วิชัยอามาตย์ ๑ สุนามอามาตย์ ๑ อลาตอามาตย์ ๑ แล้ว. จึงตรัสถาม
ตามลาดับว่า เธอจงแสดงความเห็นของตนมาว่า ในวันกลางเดือน ๑๒ เช่นนี้ พระจันทร์แจ่มกระจ่าง
กลางคืนวันนี้ . พวกเราจะยังฤดูเช่นนี้ ให้เป็นไป ด้วยความยินดีอะไร.
ลาดับนั้น พระราชาจึงตรัสถามพวกอามาตย์ทั้งหลาย อามาตย์เหล่านั้นถูกพระองค์ตรัสถาม
แล้ว จึงกราบทูลถ้อยคา อันสมควรแก่อัธยาศัยของตนๆ.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศความนั้น จึงตรัสว่า
[๘๓๕] ลาดับนั้น อลาตเสนาบดีได้กราบทูลแด่พระราชาว่า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงจัดพล
ช้าง พลม้า พลเสนา จะนาชายฉกรรจ์ออกรบ พวกใดยังไม่มาสู่อานาจ. ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็จะนามาสู่
อานาจ นี่เป็นความเห็นของข้าพระพุทธเจ้า. เราทั้งหลายจะได้ชัยชนะ ผู้ที่เรายังไม่ชนะ. (ขอเดชะ ขอ
พระองค์จงทรงรื่นรมย์ด้วยการรบ นี้ เป็นเพียงความคิดของข้าพระพุทธเจ้า).
[๘๓๖] สุนามอามาตย์ได้ฟังคาของอลาตเสนาบดีแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชา พวก
ศัตรูของพระองค์มาสู่พระราชอานาจหมดแล้ว ต่างพากันวางศาสตรา ยอมสวามิภักดิ์แล้วทั้งหมด วันนี้ เป็น
วันมหรสพ สนุกสนานยิ่ง. การรบข้าพระพุทธเจ้าไม่ชอบใจ ชนทั้งหลายจงรีบนาข้าวน้า และของควรเคี้ยวมา
เพื่อพระองค์เถิด. ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงรื่นรมย์ด้วยกามคุณ และในการฟ้อนรา ขับร้อง การประโคม
เถิดพระเจ้าข้า.
[๘๓๗] วิชยอามาตย์ ได้ฟังคาของสุนามอามาตย์แล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชา กาม
คุณทุกอย่าง บาเรอพระองค์อยู่เป็นนิตย์แล้ว การทรงเพลิดเพลิน ด้วยกามคุณทั้งหลาย พระองค์ทรงหาได้
โดยไม่ยากเลย. ทรงปรารถนาก็ได้ทุกเมื่อ การรื่นรมย์ด้วยกามคุณทั้งหลายนี้ ไม่ใช่เป็นความคิดของข้าพระ
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdf
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdf
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdf
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdf
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdf
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdf
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdf
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdf
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdf
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdf
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdf
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdf
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdf
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdf
๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdf

More Related Content

Similar to ๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdf

๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
Tri91 64+พระสุตตันตปิฎก+ขุททกนิกาย+ชาดก+เล่ม+๔+ภาค+๓
Tri91 64+พระสุตตันตปิฎก+ขุททกนิกาย+ชาดก+เล่ม+๔+ภาค+๓Tri91 64+พระสุตตันตปิฎก+ขุททกนิกาย+ชาดก+เล่ม+๔+ภาค+๓
Tri91 64+พระสุตตันตปิฎก+ขุททกนิกาย+ชาดก+เล่ม+๔+ภาค+๓
Tongsamut vorasan
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
บทสวด
บทสวดบทสวด
บทสวด
sanunya
 
พระคาถาชินบัญชร
พระคาถาชินบัญชร พระคาถาชินบัญชร
พระคาถาชินบัญชร
คน มีดี
 

Similar to ๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdf (20)

๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๖๒. ตติยนาควิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf
 
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
๐๖. ภูริทัตตชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
๐๙. วิธุรชาดก.pdf
๐๙. วิธุรชาดก.pdf๐๙. วิธุรชาดก.pdf
๐๙. วิธุรชาดก.pdf
 
๑๗ มหาปทานสูตร มจร.pdf
๑๗ มหาปทานสูตร มจร.pdf๑๗ มหาปทานสูตร มจร.pdf
๑๗ มหาปทานสูตร มจร.pdf
 
Tri91 64+พระสุตตันตปิฎก+ขุททกนิกาย+ชาดก+เล่ม+๔+ภาค+๓
Tri91 64+พระสุตตันตปิฎก+ขุททกนิกาย+ชาดก+เล่ม+๔+ภาค+๓Tri91 64+พระสุตตันตปิฎก+ขุททกนิกาย+ชาดก+เล่ม+๔+ภาค+๓
Tri91 64+พระสุตตันตปิฎก+ขุททกนิกาย+ชาดก+เล่ม+๔+ภาค+๓
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุ...
 
08 จันทกุมารจริยา มจร.pdf
08 จันทกุมารจริยา มจร.pdf08 จันทกุมารจริยา มจร.pdf
08 จันทกุมารจริยา มจร.pdf
 
บทสวด
บทสวดบทสวด
บทสวด
 
20 ชยทิสจริยา มจร.pdf
20 ชยทิสจริยา มจร.pdf20 ชยทิสจริยา มจร.pdf
20 ชยทิสจริยา มจร.pdf
 
พระคาถาชินบัญชร
พระคาถาชินบัญชร พระคาถาชินบัญชร
พระคาถาชินบัญชร
 
(๒๓) พระปฏาจาราเถรี มจร.pdf
(๒๓) พระปฏาจาราเถรี มจร.pdf(๒๓) พระปฏาจาราเถรี มจร.pdf
(๒๓) พระปฏาจาราเถรี มจร.pdf
 
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๑.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๑.pdf๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๑.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๑.pdf
 
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
(๑๓) สีวลีเถราปทาน มจร.pdf
 
๔๘. อุจฉุวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๔๘. อุจฉุวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...๔๘. อุจฉุวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
๔๘. อุจฉุวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ])...
 
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก.pdf
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก.pdf๑๐. มหาเวสสันดรชาดก.pdf
๑๐. มหาเวสสันดรชาดก.pdf
 
๓๘. ปาริจฉัตตกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๘. ปาริจฉัตตกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...๓๘. ปาริจฉัตตกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
๓๘. ปาริจฉัตตกวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุ...
 
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
13 ภูริทัตตจริยา มจร.pdf
 
บทสวดมนต์
บทสวดมนต์บทสวดมนต์
บทสวดมนต์
 
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๘๒. อเนกวัณณวิมาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 

More from maruay songtanin

200 สาธุสีลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
200 สาธุสีลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....200 สาธุสีลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
200 สาธุสีลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
198 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
198 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx198 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
198 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
197 มิตตามิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
197 มิตตามิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...197 มิตตามิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
197 มิตตามิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
195 ปัพพตูปัตถรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
195 ปัพพตูปัตถรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...195 ปัพพตูปัตถรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
195 ปัพพตูปัตถรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
193 จูฬปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
193 จูฬปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....193 จูฬปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
193 จูฬปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
192 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
192 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...192 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
192 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
191 รุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
191 รุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx191 รุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
191 รุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
190 สีลานิสังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
190 สีลานิสังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...190 สีลานิสังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
190 สีลานิสังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
188 สีหโกตถุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
188 สีหโกตถุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...188 สีหโกตถุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
188 สีหโกตถุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
186 ทธิวาหนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
186 ทธิวาหนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....186 ทธิวาหนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
186 ทธิวาหนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
185 อนภิรติชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
185 อนภิรติชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....185 อนภิรติชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
185 อนภิรติชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
183 วาโลทกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
183 วาโลทกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx183 วาโลทกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
183 วาโลทกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
182 สังคามาวจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
182 สังคามาวจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...182 สังคามาวจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
182 สังคามาวจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
181 อสทิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
181 อสทิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx181 อสทิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
181 อสทิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
180 ทุทททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
180 ทุทททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx180 ทุทททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
180 ทุทททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
179 สตธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
179 สตธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx179 สตธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
179 สตธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

200 สาธุสีลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
200 สาธุสีลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....200 สาธุสีลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
200 สาธุสีลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
198 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
198 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx198 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
198 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
197 มิตตามิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
197 มิตตามิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...197 มิตตามิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
197 มิตตามิตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
195 ปัพพตูปัตถรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
195 ปัพพตูปัตถรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...195 ปัพพตูปัตถรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
195 ปัพพตูปัตถรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
 
194 มณิโจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
194 มณิโจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx194 มณิโจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
194 มณิโจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
193 จูฬปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
193 จูฬปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....193 จูฬปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
193 จูฬปทุมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
192 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
192 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...192 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
192 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
 
191 รุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
191 รุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx191 รุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
191 รุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
190 สีลานิสังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
190 สีลานิสังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...190 สีลานิสังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
190 สีลานิสังสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
189 สีหจัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
189 สีหจัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....189 สีหจัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
189 สีหจัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
188 สีหโกตถุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
188 สีหโกตถุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...188 สีหโกตถุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
188 สีหโกตถุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
186 ทธิวาหนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
186 ทธิวาหนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....186 ทธิวาหนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
186 ทธิวาหนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
185 อนภิรติชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
185 อนภิรติชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....185 อนภิรติชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
185 อนภิรติชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
184 คิริทัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
184 คิริทัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...184 คิริทัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
184 คิริทัตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
183 วาโลทกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
183 วาโลทกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx183 วาโลทกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
183 วาโลทกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
182 สังคามาวจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
182 สังคามาวจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...182 สังคามาวจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
182 สังคามาวจรชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬา...
 
181 อสทิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
181 อสทิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx181 อสทิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
181 อสทิสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
180 ทุทททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
180 ทุทททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx180 ทุทททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
180 ทุทททชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
179 สตธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
179 สตธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx179 สตธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
179 สตธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 

๐๘. มหานารทกัสสปชาดก.pdf

  • 1. 1 การบาเพ็ญบารมี ๑๐ พระชาติ ตอนที่ ๘ (อุเบกขาบารมี) ๘. มหานารทกัสสปชาดก พลตรี มารวย ส่งทานินทร์ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เกริ่นนา พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ อุทยานลัฏฐิวัน ทรงปรารภการที่ทรงทรมานอุรุเวลกัสสปะ ตรัส มหานารทกัสสปชาดกซึ่งมีคาเริ่มต้นว่า ได้มีพระราชาแห่งกรุงวิเทหะ ดังนี้ เป็นต้น พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒ ๘. มหานารทกัสสปชาดก ว่าด้วยพระมหานารทกัสสปะทรงบาเพ็ญอุเบกขาบารมี (พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า) [๑๑๕๓] พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นพระราชาของชาวแคว้นวิเทหะ ทรงพระนามว่าอังคติ ทรงมี พระราชยาน พระราชทรัพย์มากมาย ทรงมีพลนิกายเหลือที่จะคณานับ [๑๑๕๔] เมื่อปฐมยามคืนวันเพ็ญเดือน ๔ ซึ่งเป็นเวลาที่ดอกโกมุทบานยังไม่ผ่านไป พระองค์ รับสั่งให้ประชุมเหล่าอามาตย์ [๑๑๕๕] ราชบัณฑิตผู้ถึงพร้อมด้วยการศึกษาเล่าเรียน มีปกติยิ้มก่อนจึงพูด เฉลียวฉลาด และ อามาตย์ผู้ใหญ่อีก ๓ นาย คือ (๑) วิชัยอามาตย์ (๒) สุนามอามาตย์ (๓) อลาตเสนาบดีอามาตย์ [๑๑๕๖] พระเจ้าวิเทหะตรัสถามอามาตย์ ๓ นายนั้นทีละคนว่า ท่านทั้งหลายจงกล่าวตามความ พอใจของตนๆ ว่า ในคืนวันเพ็ญเดือน ๔ นี้ ดวงจันทร์แจ่มจรัส กลางคืนวันนี้ เราทั้งหลายจะพึงพักอยู่ตลอด ฤดูกาลเช่นนี้ นี้ ด้วยความยินดีอะไร [๑๑๕๗] ลาดับนั้น อลาตเสนาบดีอามาตย์ได้กราบทูล คานี้ แด่พระราชาว่า “ข้าพระพุทธเจ้า ทั้งหลายพึงจัดราชยาน กองพลช้าง กองพลม้า กองพลเสนา ที่ยินดีร่าเริงแล้วให้พร้อมสรรพ [๑๑๕๘] ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะนากองทัพ ที่ทรงพลังเกรียงไกรออกต่อสู้การยุทธ์ให้ ได้ พวกใดยังไม่มาสู่อานาจ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะนามาสู่อานาจ นี้ เป็นความเห็นส่วนตัวของ ข้าพระพุทธเจ้า เราทั้งหลายจะได้ชัยชนะผู้ที่ยังไม่ชนะ” [๑๑๕๙] สุนามอามาตย์ได้ฟังคาของอลาตเสนาบดีอามาตย์แล้ว ได้กราบทูลดังนี้ ว่า “ข้าแต่ มหาราช พวกศัตรูของฝ่าพระบาทมาสู่พระราชอานาจหมดแล้ว
  • 2. 2 [๑๑๖๐] ต่างพากันวางศัสตรา ยอมสวามิภักดิ์แล้วทั้งหมด วันนี้ เป็นวันมหรสพสนุกสนานยิ่ง การ รบข้าพระพุทธเจ้าไม่ชอบใจ [๑๑๖๑] ขอชนทั้งหลายจงรีบนาข้าวน้าและของควรเคี้ยวมาเพื่อพระองค์เถิด ขอเดชะ ขอฝ่าพระ บาทจงทรงรื่นรมย์ด้วยกามคุณ ในการฟ้อนรา ขับร้อง และการประโคมอันไพเราะเถิด” [๑๑๖๒] วิชัยอามาตย์ได้ฟังคาของสุนามอามาตย์แล้ว ได้กราบทูลดังนี้ ว่า “ข้าแต่มหาราช กามทุก อย่างได้ปรากฏแก่พระองค์อยู่เป็นนิตย์แล้ว [๑๑๖๓] ขอเดชะ การเพลิดเพลินด้วยกามคุณทั้งหลาย พระองค์ทรงหาได้ไม่ยากเลย ทรง ปรารถนาก็ได้ทุกเมื่อ การรื่นรมย์กามคุณทั้งหลายมิใช่ความคิดเห็นของข้าพระองค์ [๑๑๖๔] วันนี้ เราทั้งหลายควรพากันเข้าไปหาสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เป็นพหูสูต รู้แจ้งอรรถธรรม ผู้แสวงหาคุณ ที่ท่านจะพึงกาจัดความสงสัยของพวกเราได้ดีกว่า” [๑๑๖๕] พระเจ้าอังคติได้สดับคาของวิชัยอามาตย์แล้ว ได้ตรัสว่า แม้เราก็ชอบใจคาพูดของวิชัย อามาตย์ตามที่พูดไว้ [๑๑๖๖] วันนี้ เราทั้งหลายควรพากันเข้าไปหาสมณะ หรือพราหมณ์ผู้เป็นพหูสูต รู้แจ้งอรรถธรรม ผู้แสวงหาคุณ ที่ท่านจะพึงกาจัดความสงสัยของพวกเราได้ดีกว่า [๑๑๖๗] ท่านที่อยู่ ณ ที่นี้ ทุกท่านจงลงมติว่า “วันนี้ เราทั้งหลายควรพากันเข้าไปหาบัณฑิต ผู้รู้ แจ้งอรรถธรรม ผู้แสวงหาคุณ ที่ท่านจะพึงกาจัดความสงสัยของพวกเราได้” [๑๑๖๘] อลาตเสนาบดีได้ฟังพระดารัสของพระเจ้าวิเทหะแล้ว ได้กราบทูลดังนี้ ว่า ได้มีชีเปลือยที่ ชาวโลกยอมรับว่าเป็นนักปราชญ์อยู่ในมฤคทายวัน [๑๑๖๙] ชีเปลือยผู้นี้ ชื่อว่าคุณะ ผู้กัสสปโคตร เป็นพหูสูต พูดจาไพเราะ เป็นเจ้าหมู่คณะ ขอเดชะ เราทั้งหลายควรพากันเข้าไปหาท่าน ท่านจักกาจัดความสงสัยของพวกเราได้” [๑๑๗๐] พระราชาได้ทรงสดับคาของอลาตเสนาบดีแล้ว ได้รับสั่งสารถีว่า “เราจะไปยังฤคทายวัน ท่านจงนายานที่เทียมม้าแล้วมาที่นี้ ” [๑๑๗๑] พวกนายสารถีได้จัดเทียมพระราชยานที่ทาด้วยงา มีกระพองเป็นเงิน และจัดรถพระที่นั่ง รองที่บุผ้าขาว อันผุดผ่องดังดวงจันทร์ในราตรีที่ปราศจากมลทินโทษ มาถวายแด่พระราชานั้น [๑๑๗๒] รถนั้นเทียมด้วยม้าสินธพ ๔ ตัวล้วนแต่มีสีดังดอกโกมุท เป็นม้ามีฝีเท้าเร็วดังลมพัด วิ่ง เรียบ ประดับด้วยดอกไม้ทอง [๑๑๗๓] ฉัตร รถ ม้า และพัดวีชนีล้วนมีสีขาว พระเจ้าวิเทหะพร้อมด้วยหมู่อามาตย์ เสด็จออก ย่อมงดงามเหมือนดวงจันทร์ [๑๑๗๔] หมู่พลราชบริพารผู้กล้าหาญอยู่บนหลังม้า ถือหอกดาบตามเสด็จจอมกษัตริย์ผู้ประเสริฐ กว่านรชน [๑๑๗๕] พระเจ้าวิเทหะบรมกษัตริย์พระองค์นั้น เสด็จไปถึงมฤคทายวันโดยครู่เดียว เสด็จลงจาก พระราชยานแล้ว ทรงดาเนินเข้าไปหาคุณาชีวก พร้อมด้วยหมู่อามาตย์
  • 3. 3 [๑๑๗๖] ในคราวนั้น มีพราหมณ์และคหบดีแม้เหล่าใด มาประชุมกันในพระราชอุทยานนั้น พระราชามิให้พราหมณ์และคหบดีเหล่านั้น ผู้นั่งอยู่ที่ภาคพื้นซึ่งไม่ได้เว้นที่ไว้ลุกหนีไป [๑๑๗๗] ลาดับนั้น พระราชาเสด็จเข้าไปประทับนั่งบนราชอาสน์ ที่ปูลาดด้วยพระยี่ภู่มีสัมผัสอ่อน นุ่ม ณ ที่อันสมควร [๑๑๗๘] ได้ทรงปราศรัยไต่ถามสุขทุกข์ว่า “พระคุณเจ้าสบายดีอยู่หรือ ลมมิได้กาเริบเสียดแทง หรือ [๑๑๗๙] พระคุณเจ้าเลี้ยงชีวิตโดยไม่ฝืดเคืองหรือ ได้บิณฑบาตพอประทังชีวิตให้เป็นไปอยู่หรือ พระคุณเจ้ามีอาพาธน้อยหรือ จักษุมิได้เสื่อมไปหรือ” [๑๑๘๐] คุณาชีวกทูลปราศรัยกับพระเจ้าวิเทหะผู้ทรงยินดีในวินัยว่า “ถวายพระพรมหาบพิตร อา ตมภาพสบายดีทุกประการ [๑๑๘๑] บ้านเมืองของพระองค์ไม่กาเริบหรือ ช้างม้าของพระองค์มิได้มีโรคหรือ ราชพาหนะก็ยัง เป็นไปหรือ พยาธิไม่มีมาเบียดเบียนพระวรกายของพระองค์บ้างหรือ” [๑๑๘๒] ลาดับนั้น พระราชาผู้เป็นจอมทัพทรงใคร่ธรรม อันอาชีวกทูลชมเชยแล้ว ได้ตรัสถาม อรรถธรรมและเหตุในลาดับว่า [๑๑๘๓] “ท่านกัสสปะ นรชนพึงประพฤติธรรมในบิดาและมารดาอย่างไร พึงประพฤติธรรมใน อาจารย์อย่างไร พึงประพฤติธรรมในบุตรภรรยาอย่างไร [๑๑๘๔] พึงประพฤติธรรมในวุฑฒบุคคลอย่างไร พึงประพฤติธรรมในสมณะและพราหมณ์ อย่างไร พึงประพฤติธรรมในพลนิกายอย่างไร พึงประพฤติธรรมในชาวชนบทอย่างไร [๑๑๘๕] ชนทั้งหลายประพฤติธรรมอย่างไร ละโลกนี้ แล้วจึงไปสู่สุคติ ส่วนคนบางพวกไม่ดารงอยู่ ในธรรม ทาไมจึงตกนรก” [๑๑๘๖] คุณาชีวกกัสสปโคตรได้ฟังพระดารัสของพระเจ้าวิเทหะแล้ว ได้กราบทูลดังนี้ ว่า “ขอ ถวายพระพรมหาบพิตร ขอพระองค์ทรงสดับทางที่จริงแท้ของพระองค์เถิด [๑๑๘๗] ผลดีผลชั่วแห่งธรรมที่ประพฤติแล้วไม่มี ข้าแต่สมมติเทพ โลกอื่นไม่มี ใครเล่าจากโลก อื่นนั้นมาสู่โลกนี้ [๑๑๘๘] ข้าแต่สมมติเทพ ปู่ย่าตายายไม่มี มารดาบิดาจะมีได้ที่ไหน ชื่อว่าอาจารย์ไม่มี ใครจักฝึก คนที่ยังไม่ฝึก [๑๑๘๙] สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้ทัดเทียมกันหมด ผู้ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้เจริญไม่มี กาลังหรือ ความเพียรไม่มี บุรุษผู้มีความหมั่นจะได้รับผลแต่ที่ไหน สัตว์ทั้งหลายย่อมเกิดตามกันมาเหมือนเรือพ่วงตาม เรือไป [๑๑๙๐] สัตว์ย่อมได้สิ่งที่ควรจะได้ ในข้อนั้น ผลทานจะมีแต่ที่ไหน ข้าแต่สมมติเทพ ผลทานไม่มี เขาไม่มีอานาจ ไม่มีความเพียร (เขาไม่มีอานาจ ไม่มีความเพียร หมายถึงเมื่อผลทานไม่มีอย่างนี้ ใครคนใด คนหนึ่งซึ่งเป็นคนโง่ก็ยังให้ทานอยู่ แต่เขาไม่มีอานาจ ไม่มีความเพียร โดยสรุปอาชีวกกราบทูลชี้แจงว่า คน
  • 4. 4 ผู้นั้นไม่เชื่อว่าให้ทานด้วยอานาจ ด้วยกาลังของตน แต่สาคัญว่า ผลทานมีจึงให้ทาน เพราะเชื่อคนโง่พวก อื่น) พระเจ้าข้า [๑๑๙๑] พวกคนพาลบัญญัติทาน พวกบัณฑิตรับทาน พวกคนพาลถือตนว่าเป็นบัณฑิต เป็นผู้ไร้ อานาจ ย่อมให้ทานแก่นักปราชญ์ทั้งหลาย [๑๑๙๒] รูปกายอันเป็นที่รวม ๗ ประการนี้ คือ (๑) ดิน (๒) น้า (๓) ไฟ (๔) ลม (๕) สุข (๖) ทุกข์ (๗) ชีวิต เป็นของเที่ยง ไม่ขาดสูญ ไม่กาเริบความขาดสูญไม่มีแก่สัตว์เหล่าใด รูปกาย ๗ ประการนี้ ย่อมมีแก่สัตว์เหล่านั้น [๑๑๙๓] ผู้ฆ่า ผู้ตัด หรือใครๆ ผู้ถูกฆ่า ก็ไม่มี ศัสตราทั้งหลายสอดแทรกเข้าไปในระหว่างรูปกาย ๗ ประการนี้ [๑๑๙๔] ผู้ใดตัดศีรษะของผู้อื่นด้วยดาบที่ลับแล้ว ผู้นั้นไม่ชื่อว่าตัดรูปกายเหล่านั้น ในการทา เช่นนั้น ผลบาปจะมีแต่ที่ไหน [๑๑๙๕] สัตว์ทุกจาพวกท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสาร ๘๔ มหากัป ย่อมบริสุทธิ์ได้เอง เมื่อยังไม่ถึง กาลนั้น แม้สารวมดีแล้วก็บริสุทธิ์ไม่ได้ [๑๑๙๖] เมื่อยังไม่ถึงกาลนั้น แม้จะประพฤติความดีมากมายก็บริสุทธิ์ไม่ได้ แม้ถ้าทาบาปไว้ มากมายก็ไม่ล่วงพ้นขณะนั้นไปได้ [๑๑๙๗] ในวาทะของเราทั้งหลาย ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ตามลาดับ เมื่อถึง ๘๔ กัป พวกเราย่อม ไม่ล่วงเลยเขตที่แน่นอนนั้น เหมือนสาครไม่ล้นฝั่งไป” [๑๑๙๘] อลาตเสนาบดีได้ฟังคาของคุณาชีวกกัสสปโคตรแล้ว ได้กล่าวดังนี้ ว่า “ข้าพเจ้าชอบใจคา ของท่านผู้เจริญตามที่กล่าวไว้ [๑๑๙๙] แม้ข้าพเจ้าเองก็ระลึกชาติก่อนที่ตนท่องเที่ยวไปได้ คือ ในชาติก่อน ข้าพเจ้าเกิดในกรุง พาราณสี ที่เป็นเมืองมั่งคั่ง เป็นพรานฆ่าโคชื่อปิงคละ [๑๒๐๐] ข้าพเจ้าเกิดในกรุงพาราณสีที่เป็นเมืองมั่งคั่งแล้ว ได้ทาบาปกรรมไว้เป็นอันมาก คือ ได้ ฆ่าสัตว์มีชีวิต ได้แก่ กระบือ สุกร แพะเป็นจานวนมาก [๑๒๐๑] จุติจากชาตินั้นแล้วมาเกิดในตระกูลเสนาบดีอันบริบูรณ์นี้ บาปไม่มีผลแน่นอน ข้าพเจ้า จึงไม่ต้องไปตกนรก” [๑๒๐๒] ครั้งนั้น ในกรุงมิถิลานี้ ได้มีคนเข็ญใจเป็นทาสชื่อว่าวีชกะ กาลังรักษาอุโบสถ เข้าไปยัง สานักของคุณาชีวก [๑๒๐๓] ได้ฟังคาของกัสสปคุณาชีวกและของอลาตเสนาบดีกล่าวกันแล้ว จึงถอนหายใจอึดอัด ร้องไห้หลั่งน้าตา [๑๒๐๔] พระเจ้าวิเทหะได้ตรัสถามนายวีชกะนั้นว่า “สหาย เจ้าร้องไห้ทาไม เจ้าได้ฟังได้เห็นอะไร มาหรือ เจ้าได้รับทุกขเวทนาอะไร จงบอกให้เราทราบเถิด” [๑๒๐๕] นายวีชกะได้ฟังพระราชดารัสของพระเจ้าวิเทหะแล้ว ได้กราบทูลให้ทรงทราบดังนี้ ว่า “ข้าแต่มหาราชข้าพระองค์ไม่มีทุกขเวทนาเลย ขอพระองค์ได้ทรงสดับคาของข้าพระพุทธเจ้าเถิด
  • 5. 5 [๑๒๐๖] แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็ยังระลึกถึง ความสุขในชาติก่อนของตนเองได้ คือ ในชาติก่อน ข้าพระพุทธเจ้าได้เคยเกิดเป็นเศรษฐี ชื่อว่าภาวเศรษฐี ยินดีในคุณธรรมอยู่ในเมืองสาเกต [๑๒๐๗] ข้าพระพุทธเจ้านั้นได้รับการยกย่องจากพราหมณ์และคหบดี ยินดีในการบริจาคทาน มี การงานสะอาด ระลึกถึงบาปกรรมชั่วที่ตนเคยทาไว้ไม่ได้เลย [๑๒๐๘] ข้าแต่พระเจ้าวิเทหะ ข้าพระพุทธเจ้าจุติจากชาตินั้นแล้ว มาเกิดในครรภ์ของนางกุมภ ทาสี ซึ่งเป็นหญิงขัดสนยากจนในกรุงมิถิลานี้ ตั้งแต่เวลาที่เกิดมา ข้าพระพุทธเจ้าก็เป็นยาจกเข็ญใจตลอดมา [๑๒๐๙] แม้ข้าพระพุทธเจ้าจะเป็นคนยากจนอย่างนี้ ก็ยังตั้งมั่นอยู่ในความประพฤติชอบ ได้ให้ อาหารกึ่งหนึ่งแก่ผู้ที่ปรารถนา [๑๒๑๐] ข้าพระพุทธเจ้านั้นได้รักษาอุโบสถศีล ในวัน ๑๔ ค่า ๑๕ ค่าทุกเมื่อ ไม่เบียดเบียนสัตว์ และไม่ลักทรัพย์ [๑๒๑๑] กรรมทั้งปวงที่ข้าพระพุทธเจ้าได้ประพฤติมาดีแล้วนี้ ไร้ผลแน่ ศีลนี้ เห็นจะไร้ประโยชน์ เหมือนอลาตเสนาบดีกล่าว [๑๒๑๒] ข้าพระพุทธเจ้ากาเอาแต่ความปราชัยไว้ เหมือนนักเลงผู้ไร้ศิลปะเป็นแน่ ส่วนอลาต เสนาบดีกาเอาไว้แต่ชัยชนะ เหมือนนักเลงผู้ฝึกฝนการพนัน [๑๒๑๓] ข้าแต่พระราชา ข้าพระพุทธเจ้ายังมองไม่เห็นประตู ที่จะเป็นทางไปสู่สุคติเลย ฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังคาของกัสสปคุณาชีวกแล้ว จึงร้องไห้” [๑๒๑๔] พระเจ้าอังคติได้สดับคาพูดของนายวีชกะแล้ว ได้ตรัสว่า “ประตูสุคติไม่มี ท่านยังสงสัย อีกหรือวีชกะ” [๑๒๑๕] ได้ทราบว่า “สุขหรือทุกข์สัตว์ได้เองแน่นอน สัตว์ทั้งหลายหมดจดได้ด้วยการท่องเที่ยว ไปในสังสารวัฏ เมื่อยังไม่ถึงเวลา ท่านอย่าได้รีบด่วนไปเลย [๑๒๑๖] เมื่อก่อน แม้เราก็เคยทาความดีมา ขวนขวายช่วยเหลือพราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย สั่ง สอนราชกิจอยู่เนืองๆ งดเว้นจากความยินดี(ในกามคุณ) ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ [๑๒๑๗] ท่านผู้เจริญ พวกเราจะได้พบกันอีก ถ้าจักมีการคบหาสมาคมกัน” พระเจ้าวิเทหะครั้น ตรัสอย่างนี้ แล้ว ก็ได้เสด็จกลับไปยังพระราชนิเวศน์ของพระองค์ [๑๒๑๘] ต่อจากนั้น เมื่อราตรีสว่างแล้ว พระเจ้าอังคติรับสั่งให้ประชุมเหล่าอามาตย์ ในสถานที่ ประทับสาราญของพระองค์แล้วได้ตรัสพระดารัสนี้ ว่า [๑๒๑๙] “ขอเหล่าอามาตย์จงจัดกามคุณทั้งหลายให้แก่เราทุกเมื่อ ในจันทกปราสาทของเรา เมื่อ ราชการลับถูกเปิดเผยขึ้น ใครๆ อย่าได้เข้ามาหาเรา [๑๒๒๐] อามาตย์ฉลาดในราชกิจ ๓ นาย คือ (๑) วิชัยอามาตย์ (๒) สุนามอามาตย์ (๓) อลาต เสนาบดี จงนั่งพิจารณาข้อราชการเหล่านี้ ” [๑๒๒๑] พระเจ้าวิเทหะครั้นตรัสดังนี้ แล้ว จึงตรัสพระดารัสนี้ ว่า “ขอท่านทั้งหลายจงใส่ใจในกาม คุณให้มาก และอย่าได้ไปยุ่งในกิจการอะไรๆ ในพวกพราหมณ์และคหบดีเลย”
  • 6. 6 [๑๒๒๒] ตั้งแต่วันนั้นมา ๒ สัปดาห์ พระราชกัญญาพระนามว่ารุจา ผู้เป็นพระธิดาเป็นที่โปรด ปรานของพระเจ้าวิเทหะ ได้ตรัสกับพระพี่เลี้ยงว่า [๑๒๒๓] “ขอพวกท่านจงช่วยกันประดับประดาให้ฉันด้วย และขอให้เพื่อนหญิงของฉันจงช่วยกัน ประดับ พรุ่งนี้ ๑๕ ค่าเป็นวันทิพย์ (วันทิพย์ หมายถึงวันที่เทวดาประชุมกันประดับตกแต่งร่างกาย) ฉันจะ ไปเฝ้าพระบิดา” [๑๒๒๔] พระพี่เลี้ยงทั้งหลายได้จัดมาลัย แก่นจันทน์ แก้วมณี สังข์ แก้วมุกดา และผ้าสีต่างๆ ที่มี ค่ามากมาถวายแด่พระนางรุจานั้น [๑๒๒๕] หญิงเป็นอันมากแวดล้อมพระนางรุจาราชธิดา ผู้มีพระฉวีวรรณงามนั้น ผู้ประทับนั่งอยู่ บนพระภัทรบิฐ (ภัทรบิฐ หมายถึงตั่งทอง) สวยงามยิ่งนักดังนางเทพกัญญา [๑๒๒๖] พระนางรุจาราชธิดานั้นทรงประดับสรรพาภรณ์ เสด็จไป ณ ท่ามกลางเพื่อนหญิง เหมือนสายฟ้าแลบออกจากเมฆ ได้เสด็จเข้าสู่จันทกปราสาท [๑๒๒๗] ครั้นเสด็จเข้าไปเฝ้าพระเจ้าวิเทหะ ถวายบังคมพระบิดาผู้ทรงยินดีในคาแนะนาแล้ว ประทับอยู่บนพระภัทรบิฐอันขจิตด้วยทอง ณ ที่อันสมควร [๑๒๒๘] พระเจ้าวิเทหะทอดพระเนตรเห็นพระนางรุจา ประทับอยู่ท่ามกลางพระสหายหญิง ซึ่ง เป็นเหมือนสมาคมของนางเทพอัปสร จึงได้ตรัสพระดารัสดังนี้ ว่า [๑๒๒๙] “ลูกหญิงยังรื่นรมย์อยู่ในปราสาท และสระโบกขรณีในภายในอุทยานอยู่หรือ คน เหล่านั้นยังนาของเสวยเป็นอันมากมาให้ลูกหญิงอยู่เสมอหรือ [๑๒๓๐] ลูกหญิงและเพื่อนหญิงของลูก ยังเก็บดอกไม้หลายชนิดมาร้อยเป็นพวงมาลัย ทาเรือน หลังเล็กๆ แต่ละหลังเล่นเพลิดเพลินอยู่หรือ [๑๒๓๑] อีกประการหนึ่ง ลูกหญิงยังขาดแคลนบกพร่องอะไรบ้าง คนเหล่านั้นรีบนาสิ่งของมาให้ ทันใจลูกหรือ ลูกรักผู้มีพักตร์ผ่องใส ลูกจงทาใจของเจ้าให้ผ่องใสเช่นกับดวงจันทร์เถิด” [๑๒๓๒] พระนางรุจาราชธิดาได้สดับพระราชดารัสของพระเจ้าวิเทหะแล้ว ได้กราบทูลพระบิดาว่า “ข้าแต่มหาราช หม่อมฉันได้สิ่งนี้ ทั้งหมดในสานักของพระองค์ [๑๒๓๓] พรุ่งนี้ ๑๕ ค่า เป็นวันทิพย์ ขอราชบุรุษทั้งหลายจงนาพระราชทรัพย์พันหนึ่งมาให้หม่อม ฉัน หม่อมฉันจักให้ทานแก่วณิพกทั้งปวงตามที่เคยให้มา” [๑๒๓๔] พระเจ้าอังคติได้สดับพระดารัสของพระนางรุจาแล้วตรัสว่า ลูกหญิงทาลายทรัพย์ให้ พินาศไปเสียเป็นจานวนมาก หาผลประโยชน์มิได้ [๑๒๓๕] ลูกหญิงรักษาอุโบสถศีล ไม่บริโภคข้าวน้าเป็นนิตย์ ลูกหญิงจักต้องไม่บริโภคข้าวน้าเป็น นิตย์ บุญไม่มีแก่ผู้ไม่บริโภค [๑๒๓๖] แม้นายวีชกะได้ฟังคาพูดของคุณาชีวกกัสสปโคตรในเวลานั้น ถอนหายใจฮึดฮัด ร้องไห้ หลั่งน้าตาแล้ว [๑๒๓๗] ลูกหญิงรุจาเอ๋ย ตราบใดที่ลูกยังมีชีวิตอยู่ ก็อย่าได้อดอาหารเลย ปรโลกไม่มีหรอก ลูก หญิงจะลาบากเดือดร้อนไปทาไมไร้ประโยชน์”
  • 7. 7 [๑๒๓๘] พระนางรุจาผู้มีพระฉวีวรรณงดงาม ได้สดับพระราชดารัสของพระเจ้าวิเทหะแล้ว ก็ทรง ทราบกฎธรรมดาในอดีต ๗ ชาติ ในอนาคต ๗ ชาติ กราบทูลพระบิดาดังนี้ ว่า [๑๒๓๙] “แต่ก่อน หม่อมฉันได้แต่ฟังเท่านั้น หม่อมฉันได้เห็นข้อนี้ อย่างประจักษ์ว่า ผู้ใดคบหาคน พาล ผู้นั้นก็พลอยเป็นพาลไปด้วย [๑๒๔๐] เพราะว่าคนหลงอาศัยคนหลง ก็ยิ่งเข้าถึงความหลงหนักขึ้น อลาตเสนาบดี และนายวีช กะสมควรจะหลง [๑๒๔๑] ข้าแต่สมมติเทพ ส่วนพระองค์ทรงพระปรีชา เป็นนักปราชญ์ ทรงฉลาดในอรรถ จะทรง เป็นเหมือนพวกคนพาลเข้าถึงทิฏฐิต่าทรามได้อย่างไร [๑๒๔๒] แม้ถ้าสัตว์จะบริสุทธิ์ได้ด้วยการท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ การบวชของคุณาชีวกก็ไร้ ประโยชน์ เขาเป็นคนหลงใหลงมงายจะเข้าถึงความเป็นคนเปลือย เหมือนแมลงหลงบินเข้ากองไฟที่ลุกโชน [๑๒๔๓] คนส่วนมากผู้ไม่รู้อะไร พอได้ฟังคาของคุณาชีวกว่า ความหมดจดมีได้ด้วยการท่องเที่ยว ไปในสังสารวัฏ ก็เชื่อมั่นเสียก่อนทีเดียว จึงพากันปฏิเสธกรรมและผลของกรรม ผลที่เคยยึดถือผิดมาก่อน ยากที่จะแก้ได้ เหมือนปลาติดเบ็ดยากที่จะแก้ตนออกจากเบ็ดได้ [๑๒๔๔] ข้าแต่มหาราช หม่อมฉันจักยกตัวอย่างมาเปรียบเทียบ เพื่อประโยชน์แก่ทูลกระหม่อม เอง บัณฑิตบางพวกในโลกนี้ ย่อมรู้เนื้ อความได้ด้วยการเปรียบเทียบ [๑๒๔๕] เหมือนเรือของพ่อค้าบรรทุกสินค้าหนักเกินประมาณ ย่อมทาสินค้าที่หนักยิ่งจมดิ่งลงใน มหาสมุทรฉันใด [๑๒๔๖] คนสั่งสมบาปกรรมไว้ทีละน้อยๆ ก็จะพาเอาบาปกรรมที่หนักอย่างยิ่ง จมดิ่งลงในนรก ฉันนั้นเหมือนกัน [๑๒๔๗] ขอเดชะเสด็จพ่อ ผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน อกุศลอันหนักของอลาตเสนาบดียังไม่บริบูรณ์ ก่อน อลาตเสนาบดีสั่งสมแต่บาปที่เป็นเหตุให้ไปทุคติ [๑๒๔๘] ขอเดชะเสด็จพ่อ ผู้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน การที่อลาตเสนาบดีได้รับความสุขอยู่ในบัดนี้ เป็นผลบุญที่ตนได้เคยทาไว้ในปางก่อนนั่นเอง พระเจ้าข้า [๑๒๔๙] บุญของอลาตเสนาบดีนั้นกาลังจะหมดสิ้น จริงอย่างนั้น บัดนี้ อลาตเสนาบดี จึงกลับมา ยินดีในอกุศลกรรมที่ไม่ใช่คุณ เลิกละทางตรงไปตามทางผิด [๑๒๕๐] ตราชั่งที่กาลังชั่งของต่าลงข้างหนึ่ง เมื่อเอาของหนักออก ข้างที่ต่าจะสูงขึ้นฉันใด [๑๒๕๑] นรชนก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสั่งสมบุญทีละน้อยๆ ย่อมไปสู่สวรรค์ เหมือนนายวีชกะผู้ เป็นทาสยินดีในกรรมอันงาม [๑๒๕๒] นายวีชกะผู้เป็นทาสเห็นทุกข์ในตนวันนี้ เพราะได้ประสบบาปกรรม ที่ตนเคยได้ทาไว้ใน ปางก่อนนั่นเอง [๑๒๕๓] บาปกรรมของเขากาลังจะหมดสิ้นไป บัดนี้ เขาจึงกลับมายินดีในข้อแนะนา ทูลกระหม่อมอย่าคบกัสสปคุณาชีวกเลย ขอพระองค์อย่าดาเนินทางผิดเลย
  • 8. 8 [๑๒๕๔] ข้าแต่พระบิดา บุคคลคบบุคคลเช่นใด เป็นสัตบุรุษผู้มีศีล หรืออสัตบุรุษผู้ไม่มีศีล เขา ย่อมตกอยู่ในอานาจของบุคคลนั้นเท่านั้น [๑๒๕๕] บุคคลทาคนเช่นใดให้เป็นมิตรและคบหาคนเช่นใด แม้เขาก็ย่อมเป็นคนเช่นนั้น เพราะ การอยู่ร่วมกันก็เป็นเช่นนั้น [๑๒๕๖] ผู้คบย่อมแปดเปื้ อนคนคบ ผู้สัมผัสย่อมแปดเปื้ อนคนสัมผัส เหมือนลูกศรอาบยาพิษ ย่อมเปื้ อนแล่ง เพราะกลัวจะแปดเปื้ อน นักปราชญ์ไม่ควรมีคนชั่วเป็นสหาย [๑๒๕๗] การคบหาคนพาลก็เหมือนคนเอาใบไม้ห่อปลาเน่า แม้ใบไม้ก็มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไปด้วย [๑๒๕๘] การคบนักปราชญ์ก็เหมือนคนเอาใบไม้ห่อกฤษณา แม้ใบไม้ก็มีกลิ่นหอมฟุ้งไปด้วย [๑๒๕๙] เพราะฉะนั้น บัณฑิตรู้ความเป็นบัณฑิตของตน ดังใบไม้สาหรับห่อแล้ว จึงเลิกคบอ สัตบุรุษ คบแต่สัตบุรุษ อสัตบุรุษย่อมนาไปสู่นรก ส่วนสัตบุรุษย่อมนาให้ถึงสุคติ [๑๒๖๐] แม้หม่อมฉันก็ระลึกชาติที่ตนได้ท่องเที่ยวมาแล้ว ได้ ๗ ชาติ และรู้ชาติที่ตนจุติจากโลกนี้ แล้ว จักไปเกิดในอนาคตอีก ๗ ชาติ [๑๒๖๑] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงปกครองประชาชน ชาติที่ ๗ ของหม่อมฉันในอดีต หม่อมฉันได้เกิด เป็นบุตรชายของนายช่างทอง ในกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ [๑๒๖๒] หม่อมฉันอาศัยสหายชั่วทาบาปกรรมไว้มาก เที่ยวประพฤติผิดในภรรยาของผู้อื่นเหมือน จะไม่ตาย [๑๒๖๓] กรรมนั้นยังไม่ทันให้ผลเหมือนไฟที่ถูกกลบไว้ด้วยเถ้า ต่อมา ด้วยกรรมอื่นๆ หม่อมฉัน จึงได้เกิดในแคว้นวังสะ [๑๒๖๔] ข้าแต่มหาราช หม่อมฉันเป็นบุตรคนเดียว ในตระกูลเศรษฐีที่มั่งคั่งสมบูรณ์ มีทรัพย์มาก ในกรุงโกสัมพี ได้รับสักการะบูชาอยู่เป็นนิตย์ [๑๒๖๕] ในชาตินั้น หม่อมฉันได้คบหามิตรสหาย ผู้ยินดีในกรรมอันงาม ผู้เป็นบัณฑิต เป็นพหูสูต สหายนั้นได้แนะนาให้หม่อมฉันตั้งอยู่ในกรรมอันเป็นประโยชน์ [๑๒๖๖] หม่อมฉันได้รักษาอุโบสถศีล ในวัน ๑๔ ค่า ๑๕ ค่า ตลอดราตรีเป็นอันมาก กรรมนั้นยัง ไม่ทันให้ผลเหมือนขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ใต้น้า [๑๒๖๗] ครั้นต่อมา บรรดาบาปกรรมทั้งหลาย กรรมคือการล่วงละเมิดภรรยาของผู้อื่นใด ที่ หม่อมฉันได้กระทาไว้ในแคว้นมคธ ผลของกรรมนั้นได้มาถึงหม่อมฉันเข้าแล้วในภายหลัง เหมือนดื่มยาพิษ อันร้ายแรง [๑๒๖๘] ข้าแต่พระเจ้าวิเทหะ หม่อมฉันจุติจากตระกูลเศรษฐีในกรุงโกสัมพีนั้นแล้ว ต้องหมกไหม้ อยู่ในโรรุวนรกตลอดกาลนาน เพราะกรรมของตน หม่อมฉันระลึกถึงทุกข์ ที่ตนเคยได้เสวยมาในนรกนั้น ไม่ได้รับความสุขเลย [๑๒๖๙] หม่อมฉันทาทุกข์มากมายให้หมดสิ้นไป ในนรกนั้นมากมายหลายปีแล้ว จึงเกิดเป็นลา ถูกตอนอยู่ในภินนาคตนคร พระเจ้าข้า
  • 9. 9 [๑๒๗๐] หม่อมฉันต้องพาลูกอามาตย์ไปด้วยหลังบ้าง ด้วยรถบ้าง นั่นเป็นผลของกรรมที่ล่วง ละเมิดภรรยาของคนอื่นของหม่อมฉัน [๑๒๗๑] ข้าแต่พระองค์ผู้ครองแคว้นวิเทหะ หม่อมฉันจุติจากชาติเป็นลานั้นแล้วได้ไปเกิดเป็นลิง ในป่าใหญ่ ถูกหัวหน้าฝูงตัวคะนองกัดลูกอัณฑะออก นั่นเป็นผลของกรรมที่ล่วงละเมิดภรรยาของคนอื่นของ หม่อมฉัน [๑๒๗๒] ข้าแต่พระเจ้าวิเทหะ หม่อมฉันจุติจากชาติเป็นลิงนั้นแล้ว ได้ไปเกิดเป็นโคในแคว้นทสัน นะ ถูกตอน มีกาลังแข็งแรงดี หม่อมฉันต้องเทียมยานอยู่เป็นเวลานาน นั่นเป็นผลของกรรมที่ล่วงละเมิด ภรรยาผู้อื่นของหม่อมฉัน [๑๒๗๓] ข้าแต่พระเจ้าวิเทหะ หม่อมฉันจุติจากชาติเป็นโคนั้นแล้ว ได้ไปเกิดเป็นกะเทยในตระกูล ที่มีโภคสมบัติมากในแคว้นวัชชี จะได้เกิดเป็นมนุษย์ก็แสนยาก นั่นเป็นผลของกรรมคือการล่วงละเมิด ภรรยาคนอื่นของหม่อมฉัน [๑๒๗๔] ข้าแต่พระเจ้าวิเทหะ หม่อมฉันจุติจากชาติเป็นกะเทยนั้นแล้ว ได้ไปเกิดเป็นนางอัปสรใน พระอุทยานนันทวันชั้นดาวดึงสพิภพ มีฉวีวรรณงามน่ารักใคร่ [๑๒๗๕] มีผ้าและอาภรณ์งามวิจิตร ใส่ตุ้มหูแก้วมณี เก่งในการฟ้อนราขับร้อง เป็นปริจาริกาของ ท้าวสักกะ [๑๒๗๖] ข้าแต่พระเจ้าวิเทหะ เมื่อหม่อมฉันอยู่ในชั้นดาวดึงสพิภพนั้น ระลึกชาติแม้ในอนาคตได้ อีก ๗ ชาติ ที่หม่อมฉันจุติจากดาวดึงสพิภพนั้นแล้วจักเกิดต่อไป [๑๒๗๗] กุศลที่หม่อมฉันได้ทาไว้ในกรุงโกสัมพีได้ตามมาให้ผล หม่อมฉันจุติจากดาวดึงสพิภพ แล้ว ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ [๑๒๗๘] ข้าแต่มหาราช หม่อมฉันนั้น ได้รับสักการะบูชาเป็นนิตย์มาตลอด ๗ ชาติ หม่อมฉันไม่ พ้นจากความเป็นหญิงตลอด ๖ ชาติ [๑๒๗๙] ข้าแต่สมมติเทพ ชาติที่ ๗ หม่อมฉันจักได้เกิดเป็นเทวดาผู้ชาย คือ เป็นเทพบุตรผู้มีฤทธิ์ มาก เป็นผู้สูงสุดในหมู่เทวดา [๑๒๘๐] แม้วันนี้ เหล่านางอัปสรผู้เป็นปริจาริกาของหม่อมฉัน ยังช่วยกันร้อยดอกไม้เป็น พวงมาลัยอยู่ในพระอุทยานนันทวัน เทพบุตรนามว่าชวะ ยังรับพวงมาลัยของหม่อมฉันอยู่ [๑๒๘๑] ๑๖ ปีในมนุษย์นี้ เป็นเหมือนครู่หนึ่งของเทวดา ๑๐๐ ปีของมนุษย์เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่ง ของเทวดา [๑๒๘๒] ดังที่ได้กราบทูลมานี้ กรรมทั้งหลายติดตามไปได้ แม้ตั้งอสงไขยชาติ ด้วยว่ากรรมจะดี หรือชั่วก็ตามย่อมไม่พินาศไป [๑๒๘๓] บุคคลใดปรารถนาจะเป็นชายทุกๆ ชาติไป บุคคลนั้นพึงเว้นภรรยาผู้อื่นเสีย เหมือนคน ล้างเท้าสะอาดแล้วเว้นเปือกตม [๑๒๘๔] หญิงใดปรารถนาจะเป็นชายทุกๆ ชาติไป หญิงนั้นก็พึงยาเกรงสามีเหมือนนางเทพอัปสร ผู้เป็นปริจาริกายาเกรงพระอินทร์
  • 10. 10 [๑๒๘๕] ผู้ใดปรารถนาโภคทรัพย์ อายุ ยศ และสุขทิพย์ ผู้นั้นพึงเว้นบาปทั้งหลายแล้วประพฤติ ธรรม ๓ อย่าง (ธรรม ๓ อย่าง ในที่นี้ หมายถึงสุจริต ๓ ที่เป็นไปทางกาย วาจา ใจ) เถิด [๑๒๘๖] หญิงหรือชายก็ตาม ไม่ประมาทด้วยกาย วาจา ใจ เป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเพื่อ ประโยชน์ของตน [๑๒๘๗] มนุษย์เหล่าใดในชีวโลกนี้ เป็นผู้มียศ มีโภคทรัพย์บริบูรณ์ทุกอย่าง มนุษย์เหล่านั้นได้สั่ง สมกรรมดีไว้ในปางก่อนโดยไม่ต้องสงสัย สัตว์ทั้งปวงล้วนมีกรรมเป็นของของตน [๑๒๘๘] ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์ทรงพระราชดาริด้วยพระองค์เถิด ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอม แห่งชน พระสนมผู้ทรงโฉมงามปานดังนางเทพอัปสร ประดับประดาคลุมกายด้วยข่ายทองเหล่านี้ พระองค์ ทรงได้มาเพราะผลแห่งกรรมอะไร” [๑๒๘๙] พระนางรุจาราชกัญญาทรงให้พระเจ้าอังคติ พระชนกนาถพอพระทัย พระราชกุมารีผู้มี วัตรดีงาม ทรงกราบทูลทางแห่งสุคติแก่พระชนกนาถพระองค์นั้นแล้ว เหมือนบอกทางให้แก่คนหลงทาง และได้กราบทูลข้อธรรมถวายด้วยประการฉะนี้ [๑๒๙๐] ต่อมา นารทมหาพรหมตรวจดูชมพูทวีป ได้เห็นพระเจ้าอังคติ จึงมาจากพรหมโลกถึงถิ่น มนุษย์ [๑๒๙๑] ลาดับนั้น นารทมหาพรหมได้ยืนอยู่ที่ปราสาท เบื้องพระพักตร์ของพระเจ้าวิเทหะ พระ นางรุจาราชกัญญาได้เห็นนารทฤๅษีนั้นมาถึงที่แล้ว จึงนมัสการ [๑๒๙๒] ครั้งนั้น พระราชาทรงมีพระทัยหวาดกลัว เสด็จลงจากราชอาสน์ เมื่อจะตรัสถามนารท ฤๅษี จึงได้ตรัสพระดารัสดังนี้ ว่า [๑๒๙๓] “ท่านผู้มีผิวงามดังเทวดา ส่องสว่างไปทั่วทุกทิศดังดวงจันทร์ ท่านมาจากที่ไหนหนอ ข้าพเจ้าถามแล้ว ขอท่านจงบอกนามและโคตรแก่ข้าพเจ้า คนทั้งหลายในมนุษยโลกย่อมรู้จักท่านได้ อย่างไร” (นารทฤๅษีกราบทูลว่า) [๑๒๙๔] อาตมภาพมาจากเทวโลก ณ บัดนี้ เอง ส่องสว่างไปทั่วทุกทิศดังดวงจันทร์ มหาบพิตร ตรัสถามแล้ว อาตมภาพขอถวายพระพรนามและโคตรให้ทรงทราบ คนทั้งหลายรู้จักอาตมภาพโดยนามว่า นารทะ และโดยโคตรว่า กัสสปะ (พระราชาตรัสถามว่า) [๑๒๙๕] สัณฐานของท่าน การที่ท่านเหาะไป และยืนอยู่บนอากาศได้น่าอัศจรรย์ ท่านนารทะ ข้าพเจ้าขอถามเนื้ อความนี้ กับท่าน เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ท่านจึงมีฤทธิ์เช่นนี้ (นารทฤๅษีทูลตอบว่า) [๑๒๙๖] คุณธรรม ๔ ประการนี้ คือ (๑) สัจจะ (๒) ธรรม (๓) ทมะ (๔) จาคะ (คุณธรรม ๔ ประการนี้ มีอธิบาย ดังนี้ สัจจะ หมายถึงวจีสัจที่เว้นจากมุสาวาท ธรรม หมายถึงธรรมคือสุจริต ๓ และ ธรรมคือการเพ่งกสิณบริกรรม (การปฏิบัติสมถกัมมัฏฐาน) ทมะ หมายถึงการฝึกอินทรีย์ (สารวมทวาร ๖)
  • 11. 11 จาคะ หมายถึงการสละกิเลสและการสละไทยธรรม) อาตมภาพได้ทาไว้แล้วในภพก่อน เพราะคุณธรรมที่อา ตมภาพได้เสพมาดีแล้วนั้นแหละ อาตมภาพจึงไปได้เร็วทันใจตามความปรารถนา (พระราชาตรัสถามว่า) [๑๒๙๗] เมื่อท่านบอกความสาเร็จแห่งบุญ ชื่อว่าท่านบอกความอัศจรรย์ ถ้าเป็นจริงอย่างที่ท่าน กล่าว ท่านนารทะ ข้าพเจ้าขอถามเนื้ อความนี้ กับท่าน ขอท่านจงพยากรณ์ให้ดี (นารทฤๅษีทูลตอบว่า) [๑๒๙๘] ขอถวายพระพรมหาบพิตร ข้อใดพระองค์ทรงสงสัย ขอเชิญมหาบพิตรตรัสถามข้อนั้นกับ อาตมภาพเถิด อาตมภาพจะวิสัชนาถวายให้มหาบพิตรทรงสิ้นสงสัย ทั้งโดยนัยด้วยความรู้และด้วยเหตุผล (พระราชาตรัสถามว่า) [๑๒๙๙] ท่านนารทะ ข้าพเจ้าขอถามเนื้ อความนี้ กับท่าน ท่านอย่าได้กล่าวมุสาต่อข้าพเจ้า ที่คน พูดกันว่า “เทวดามี มารดาและบิดามี ปรโลกมี” นั้นเป็นจริงหรือ (นารทฤๅษีทูลตอบว่า) [๑๓๐๐] ที่คนพูดกันว่า “เทวดามี มารดาและบิดามี และปรโลกมี” นั้นเป็นจริงทั้งนั้น แต่คน ทั้งหลายหมกมุ่น ติดใจ หลงใหล งมงายในกามคุณ จึงไม่รู้จักปรโลก (พระราชาตรัสถามว่า) [๑๓๐๑] ท่านนารทะ ถ้าท่านเชื่อว่า “ปรโลกมีจริง” เหล่าสัตว์ที่ตายไปแล้วก็ต้องมีที่อยู่ในปรโลก ขอท่านจงให้ทรัพย์ ๕๐๐ แก่ข้าพเจ้าในโลกนี้ แหละ ข้าพเจ้าจักให้แก่ท่านพันหนึ่งในปรโลก (นารทฤๅษีทูลตอบว่า) [๑๓๐๒] ถ้าอาตมภาพรู้ว่า “มหาบพิตรทรงมีศีล ทรงรู้ความประสงค์ของพวกผู้ขอ อาตมภาพก็จะ ให้มหาบพิตรสัก ๕๐๐ แต่มหาบพิตรหยาบช้า ทรงจุติจากโลกนี้ แล้วจะต้องไปอยู่ในนรก ใครเล่าจะพึงไป ทวงทรัพย์ ๑,๐๐๐ ในปรโลกได้ [๑๓๐๓] ผู้ใดในโลกนี้ ไม่มีศีลธรรม ประพฤติชั่ว เกียจคร้าน มีกรรมหยาบ บัณฑิตทั้งหลายไม่ให้กู้ หนี้ ในผู้นั้น เพราะจะไม่ได้ทรัพย์คืนจากคนเช่นนั้น [๑๓๐๔] ส่วนคนขยันหมั่นเพียร มีศีล รู้ความประสงค์ของผู้ขอ คนทั้งหลายรู้แล้วย่อมนาโภค ทรัพย์มาเชื้อเชิญเอง ด้วยคิดว่า “ผู้นี้ ทาการงานเสร็จแล้วพึงนามาใช้คืนให้” [๑๓๐๕] ขอถวายพระพร มหาบพิตรจุติจากที่นี่แล้ว จักทอดพระเนตรเห็นพระองค์เองอยู่ในนรก นั้น ผู้ถูกฝูงกายื้อแย่งฉุดคร่าอยู่ ใครเล่าจะไปทวงทรัพย์ ๑,๐๐๐ ในปรโลกกับมหาบพิตรผู้ตกอยู่ในนรกซึ่ง ถูกฝูงกา แร้ง และสุนัขรุมกัดกิน ตัวขาดกระจัดกระจาย เลือดไหลโทรมอยู่ [๑๓๐๖] ในโลกันตนรกนั้นมืดมิดที่สุด ไม่มีดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ โลกันตนรกนั้นมืดมิดอยู่ เป็นนิตย์ น่ากลัว กลางคืนกลางวันไม่ปรากฏ ผู้ต้องการทรัพย์ ใครเล่าจะพึงเที่ยวไปในสถานที่นั้นได้ [๑๓๐๗] ในโลกันตนรกนั้นมีสุนัข ๒ ตัว คือ สุนัขด่างและสุนัขดาคล้า มีตัวกายา ล่าสัน แข็งแรง พากันใช้เขี้ยวเหล็กกัดกินผู้ที่จุติจากมนุษยโลกนี้ แล้ว ไปตกอยู่ในนรก
  • 12. 12 [๑๓๐๘] ใครเล่าจะพึงไปทวงทรัพย์ ๑,๐๐๐ ในปรโลกกับมหาบพิตร ผู้ถูกฝูงสุนัขทารุณโหดร้าย ตัวนาทุกข์มาให้รุมกัดกินอยู่ อยู่ในนรกจนตัวขาดกระจัดกระจาย เลือดไหลโทรม [๑๓๐๙] และในนรกที่โหดร้าย มีพวกนายนิรยบาลชื่อกาฬะและอุปกาฬะ ผู้เป็นข้าศึกใช้ดาบและ หอกที่ลับไว้เป็นอย่างดี เชือดเฉือนและทิ่มแทงคนผู้ทากรรมชั่วไว้ในภพก่อน [๑๓๑๐] ใครเล่าจะพึงไปทวงถามเอาทรัพย์ ๑,๐๐๐ ในปรโลก กับมหาบพิตรผู้ถูกทิ่มแทงเข้าที่ พระอุทร ที่พระปรัศว์ มีพระอุทรพรุนวิ่งไปมาอยู่ในนรก มีตัวขาดกระจัดกระจายเลือดไหลโทรมได้ [๑๓๑๑] ในโลกันตนรกนั้น มีห่าฝนชนิดต่างๆ คือ ฝนหอก ฝนดาบ ฝนแหลน ฝนหลาว มี ประกายลุกวาวเหมือนถ่านเพลิงตกลงบนศีรษะ สายอัสนีบาตศิลาแดงโชนตกลงทับสัตว์นรกผู้มีกรรมหยาบ ช้า [๑๓๑๒] และในนรกนั้น มีลมร้อนอันยากที่จะทนได้ สัตว์ในนรกนั้นไม่ได้รับความสุขแม้แต่น้อย ใครเล่าจะพึงไปทวงทรัพย์ ๑,๐๐๐ ในปรโลกกับมหาบพิตร ผู้ทรงกระสับกระส่ายวิ่งพล่านไปมา หาที่ซ่อน เร้นมิได้ [๑๓๑๓] ใครเล่าจะพึงไปทวงทรัพย์ ๑,๐๐๐ ในปรโลกกับมหาบพิตร ผู้ถูกเทียมไว้ในรถวิ่งไปมาอยู่ ต้องทรงเหยียบแผ่นดินที่ลุกโชน ถูกทิ่มแทงด้วยดีด้วยปฏักอยู่ได้ [๑๓๑๔] ใครเล่าจะพึงไปทวงทรัพย์ ๑,๐๐๐ กับมหาบพิตร ผู้ทนอยู่ไม่ได้วิ่งไปขึ้นภูเขาที่ดารดาษ ไปด้วยขวากกรด ลุกโชนน่าสยดสยองอย่างยิ่ง มีตัวถูกตัดขาด หลั่งเลือดไหลโทรมอยู่ได้ [๑๓๑๕] ใครเล่าจะพึงไปทวงทรัพย์ ๑,๐๐๐ ในปรโลกกับมหาบพิตร ผู้ต้องวิ่งขึ้นไปเหยียบถ่าน เพลิงกองเท่าภูเขาที่ลุกโชน น่ากลัว มีตัวถูกไฟไหม้ทนไม่ไหว ร้องครวญครางอย่างน่าสงสารอยู่ได้ [๑๓๑๖] ต้นงิ้วสูงเทียมเมฆ เต็มไปด้วยหนามเหล็กคม กระหายจะดูดดื่มเลือดคน [๑๓๑๗] หญิงทั้งหลายที่ประพฤตินอกใจสามี และชายหญิงทั้งหลายที่เป็นชู้กับภรรยาของคนอื่น ถูกนายนิรยบาลผู้ทาตามคาสั่งของพญายม ถือหอกไล่ทิ่มแทงให้ขึ้นต้นงิ้วนั้น [๑๓๑๘] ใครเล่าจะพึงไปทวงทรัพย์นั้น กับมหาบพิตรผู้ต้องปีนขึ้นต้นงิ้วในนรก มีเลือดไหลเปรอะ เปื้ อน มีกายไหม้เกรียม มีหนังและเนื้ อถลอกปอกเปิกกระสับกระส่าย เสวยเวทนาอย่างหนัก [๑๓๑๙] ใครเล่าจะพึงไปทวงทรัพย์นั้นกับมหาบพิตร ผู้เหนื่อยหอบมีความผิดเพราะบุรพกรรม ในทางผิด เนื้ อตัวมีหนังถลอกปอกเปิกไป [๑๓๒๐] ต้นงิ้วสูงเทียมเมฆ เต็มไปด้วยใบเหล็กคมดังดาบ กระหายจะดูดดื่มเลือดคน [๑๓๒๑] ใครเล่าจะพึงไปทวงทรัพย์ ๑,๐๐๐ กับมหาบพิตร ผู้กาลังปีนขึ้นต้นงิ้วนั้น ก้าวไปเหยียบ ใบเหล็กอันคมเหมือนดาบ ก็ถูกดาบอันคมนั้นบาด ตัวขาดกระจัดกระจาย เลือดไหลโทรมอยู่ในปรโลกได้ [๑๓๒๒] ทรัพย์จานวนนั้น ใครเล่าจะพึงไปขอกับมหาบพิตร ผู้เดินหนีออกจากขุมนรกไม้งิ้วมีใบ เป็นดาบ พลัดตกลงไปสู่แม่น้าเวตตรณีได้ [๑๓๒๓] แม่น้าเวตตรณีมีน้าเป็นกรด หยาบแข็ง เผ็ดร้อน ข้ามได้ยาก ปกคลุมไปด้วยบัวเหล็กมีใบ คมไหลไปอยู่
  • 13. 13 [๑๓๒๔] ทรัพย์จานวนนั้น ใครเล่าจะไปขอกับมหาบพิตร ผู้มีตัวขาดกระจัดกระจาย มีเลือดเปรอะ เปื้ อน ลอยอยู่ในแม่น้าเวตตรณี ที่นั้นหาที่เกาะมิได้ (พระราชาตรัสว่า) [๑๓๒๕] ข้าพเจ้าแทบจะล้มเหมือนต้นไม้ที่ถูกตัด ข้าพเจ้าหลงสาคัญผิด จึงไม่รู้จักทิศ ท่านฤๅษี ข้าพเจ้าได้ฟังคาถาภาษิตของท่านแล้ว ร้อนใจ เพราะกลัวมหาภัย [๑๓๒๖] ท่านฤๅษี ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า เหมือนน้าสาหรับแก้กระหายในเวลาร้อน เหมือนเกาะเป็นที่พึ่งของพวกคนที่มีเรืออับปาง หาที่พึ่งไม่ได้ในมหาสมุทร และเหมือนดวงประทีปสาหรับ ส่องทาง ของพวกคนผู้เดินทางมืดเถิด [๑๓๒๗] ท่านฤๅษี ขอท่านจงสอนอรรถและธรรมแก่ข้าพเจ้า ในกาลก่อน ข้าพเจ้าได้ทาความผิด ไว้ส่วนเดียว ท่านนารทะ ขอท่านจงบอกทางบริสุทธิ์แก่ข้าพเจ้า โดยที่ข้าพเจ้าจะไม่พึงตกไปในนรกด้วยเถิด (นารทฤๅษีกราบทูลว่า) [๑๓๒๘] พระราชา ๖ พระองค์นี้ คือ (๑) ท้าวธตรัฏฐะ (๒) ท้าวเวสสามิตะ (๓) ท้าวอัฏฐกะ (๔) ท้าวยมทัคคิ (๕) ท้าวอุสินนระ (๖) ท้าวสิวิราช ได้ทรงบารุงสมณะและพราหมณ์ทั้งหลายแล้ว [๑๓๒๙] พระราชาเหล่านั้นและพระราชาเหล่าอื่นเสด็จไปสู่สวรรค์ฉันใด มหาบพิตรผู้เป็นเจ้า แผ่นดิน แม้มหาบพิตรก็ฉันนั้น จงทรงเว้นอธรรมแล้วทรงประพฤติธรรมเถิด [๑๓๓๐] ราชบุรุษทั้งหลายจงถืออาหารไปประกาศในพระราชนิเวศน์ และภายในพระนครว่า ใคร หิว ใครกระหาย ใครปรารถนาดอกไม้ ใครปรารถนาเครื่องลูบไล้ ใครไม่มีผ้านุ่งห่ม ก็จงนุ่งห่มผ้าสีต่างๆ ตามปรารถนาเถิด [๑๓๓๑] ใครต้องการร่ม ใครต้องการรองเท้าที่อ่อนนุ่ม สวยงาม ในทางเปลี่ยว ราชบุรุษทั้งหลาย จงประกาศไปดังนี้ ในพระนครของพระองค์ทั้งในเวลาเย็นและเวลาเช้า [๑๓๓๒] มหาบพิตรจงอย่าใช้งานคนแก่ โคแก่ และม้าแก่เหมือนแต่ก่อน และจงพระราชทาน เครื่องบริหารแก่คนที่เป็นกาลัง ซึ่งเคยได้ทาความดีไว้เท่าเดิมเถิด [๑๓๓๓] มหาบพิตรจงสาคัญพระวรกายของพระองค์ว่าเป็นดังรถ มีใจเป็นนายสารถี กระปรี้กระเปร่า มีอวิหิงสาเป็นเพลา มีปริจาคะเป็นหลังคา [๑๓๓๔] มีการสารวมเท้าเป็นกง มีการสารวมมือเป็นดุม มีการสารวมท้องเป็นน้ามันหยอด มี การสารวมวาจาเป็นความเงียบสนิท [๑๓๓๕] มีการกล่าวคาสัตย์เป็นส่วนประกอบรถที่บริสุทธิ์ มีการไม่กล่าวคาส่อเสียดเป็นการเข้า หน้าไม้ได้สนิท มีการกล่าวคาอ่อนหวานเป็นเครื่องรถที่เกลี้ยงเกลา มีการกล่าวพอประมาณเป็นเครื่อง ผูกมัด [๑๓๓๖] มีศรัทธาและความไม่โลภเป็นเครื่องประดับ มีความถ่อมตนและการทาอัญชลีเป็นธูป มี ความไม่แข็งกระด้างเป็นงอน มีความสารวมศีลเป็นเชือกขันชะเนาะ [๑๓๓๗] มีความไม่โกรธเป็นเครื่องกันกระทบกระทั่ง มีคุณธรรมเป็นเศวตฉัตร มีพาหุสัจจะเป็น สายพาน มีจิตตั้งมั่นเป็นที่มั่น
  • 14. 14 [๑๓๓๘] มีความคิดรู้จักกาลเป็นไม้แก่น มีความแกล้วกล้าเป็นไม้ค้าสามแฉก มีความประพฤติ ถ่อมตนเป็นเชือกขันแอก มีความไม่เย่อหยิ่งเป็นแอกเบา [๑๓๓๙] มีจิตไม่หดหู่เป็นเครื่องลาด มีการคบคนผู้เจริญเป็นเครื่องกาจัดธุลี นักปราชญ์มีสติเป็น ปฏัก มีความเพียรและการใช้การปฏิบัติเกื้อกูลเป็นสายบังเหียน [๑๓๔๐] มีใจที่ฝึกฝนดีแล้วเหมือนม้า ที่ได้รับฝึกสม่าเสมอเป็นเครื่องนาทาง ความปรารถนาและ ความโลภเป็นทางคด ส่วนความสารวมเป็นทางตรง [๑๓๔๑] ขอถวายพระพรมหาบพิตร ปัญญาเป็นเครื่องทิ่มแทงม้า ในรถคือพระวรกายของ มหาบพิตร ที่กาลังโลดแล่นไปในรูป เสียง กลิ่น รส ในรถคือพระวรกายของมหาบพิตรนั้น มีตนคือจิตของ พระองค์เท่านั้นเป็นนายสารถี [๑๓๔๒] ถ้าความประพฤติชอบ และความเพียรมั่นคงมีอยู่กับยานนี้ รถนั้นจะให้สมบัติที่น่าใคร่ได้ ทุกอย่างและไม่นาไปเกิดในนรก (พระศาสดาทรงประชุมชาดก ดังนี้ ) [๑๓๔๓] อลาตเสนาบดีเป็นพระเทวทัต สุนามอามาตย์เป็นพระภัททชิ วิชัยอามาตย์เป็นพระสารี บุตร ชีวกบุรุษเป็นพระโมคคัลลานะ [๑๓๔๔] สุนักขัตตะเป็นบุตรของเจ้าลิจฉวี คุณาชีวกเป็นชีเปลือย พระนางรุจาราชธิดาผู้ทรงนา พระราชาให้ทรงเลื่อมใสเป็นพระอานนท์ [๑๓๔๕] พระเจ้าอังคติผู้มีทิฏฐิชั่วในครั้งนั้นเป็นพระอุรุเวลกัสสปะ ท้าวมหาพรหมโพธิสัตว์เป็น เราตถาคต พวกเธอจงทรงจาชาดกไว้ด้วยประการฉะนี้ แล มหานารทกัสสปชาดกที่ ๘ จบ ----------------------- คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา มหานารทกัสสปชาดก ว่าด้วย พระมหานารทกัสสปะทรงบาเพ็ญอุเบกขาบารมี พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในสวนตาลหนุ่ม ทรงปรารภถึงการทรงทรมานท่านอุรุเวลกัสสป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคาเริ่มต้นว่า อหุ ราชา วิเทหาน ดังนี้ . ดังจะกล่าวโดยพิศดาร ในกาลที่พระศาสดาทรงประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ ทรงทรมาน ชฏิล ๓ คนพี่น้องมีอุรุเวลกัสสปชฏิลเป็นต้น แวดล้อมไปด้วยปุราณชฏิล ๑,๐๐๐ คน เสด็จไปยังสวนตาล หนุ่ม เพื่อพระประสงค์จะทรงเปลื้องปฏิญญาที่ได้ทรงให้ไว้แก่พระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นเจ้าแผ่นดินแห่งมคธรัฐ. ในกาลนั้น เมื่อพระเจ้าพิมพิสารพระเจ้าแผ่นดินมคธรัฐ พร้อมด้วยบริษัทประมาณ ๑๒ นหุต เสด็จมาถวายบังคมพระทศพล แล้วประทับนั่งอยู่ ขณะนั้น พวกพราหมณ์คหบดีในภายในราชบริษัทเกิด ความปริวิตกขึ้นว่า ท่านพระอุรุเวลกัสสป ประพฤติพรหมจรรย์ในพระมหาสมณโคดม หรือพระมหาสมณโค ดมประพฤติพรหมจรรย์ในท่านพระอุรุเวลกัสสป.
  • 15. 15 ลาดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ ความปริวิตกแห่งใจของพวกบริษัทเหล่านั้นด้วย พระทัย จึงทรงพระดาริว่า จักต้องประกาศภาวะที่กัสสปมาบวชในสานักของเราให้พวกนี้ รู้ ดังนี้ แล้ว จึงตรัส พระคาถาว่า กัสสป ผู้อยู่ในอุรุเวลประเทศ ท่านเคยเป็นอาจารย์สั่งสอนหมู่ชฏิล ผู้ผอมเพราะกาลังประพฤติ พรต. ท่านเห็นอะไร จึงได้ละไฟที่เคยบูชาเสีย เราถามเนื้ อความนั้นกะท่าน อย่างไรท่านจึงละการบูชาเพลิง ของท่านเสีย. ฝ่ายพระเถระก็ทราบพระพุทธประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ใคร่จะแสดงเหตุ จึงกราบทูลว่า ยัญทั้งหลายย่อมกล่าวสรรเสริญรูป เสียง กลิ่น รส และหญิงที่น่าใคร่ทั้งหลาย ข้าพระองค์รู้ว่า ของน่ารักใคร่นั้นๆ เป็นมลทิน ตกอยู่ในอุปกิเลสทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงมิได้ยินดี ในการเซ่น สรวงและการบูชาเพลิง ข้าพระองค์ได้เห็นธรรมอันระงับแล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องเศร้าหมอง อันเป็นเหตุ ก่อให้เกิดทุกข์ ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่ติดข้องอยู่ในกามภพ มิใช่วิสัยที่ผู้อื่นจะนามาให้ผู้อื่นรู้ได้ ไม่ แปรปรวนกลายเป็นอย่างอื่น เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์จึงไม่ยินดีในการเซ่นสรวงและการบูชาไฟ. ครั้นพระอุรุเวลกัสสปกล่าวคาถาเหล่านี้ แล้ว เพื่อจะประกาศภาวะที่ตนเป็นพุทธสาวก จึงซบ ศีรษะลงที่หลังพระบาทของพระตถาคต ทูลประกาศว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวกของพระองค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวกของพระองค์ ดังนี้ แล้วเหาะขึ้นสู่เวหาส ๗ ครั้ง คือ ครั้งที่ ๑ สูงชั่วลาตาล ๑. ครั้งที่ ๒ สูงชั่ว ๒ ลาตาล. จนถึง ครั้งที่ ๗ สูง ๗ ชั่วลาตาล. แล้วลงมาถวายบังคมพระตถาคต นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. มหาชนเห็น ปาฏิหาริย์ดังนั้น ก็ได้กล่าวสรรเสริญคุณของพระศาสดาว่า น่าอัศจรรย์จริง พระพุทธเจ้ามีอานุภาพมาก. ธรรมดาผู้มีความเห็นผิดที่มีกาลังถึงอย่างนี้ เมื่อสาคัญตนว่า เป็นพระอรหันต์. แม้ท่านพระอุรุเวลกัสสป พระองค์ก็ทรงทาลายข่าย คือทิฏฐิ ทรมานเสียได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย การที่เราถึงซึ่ง สัพพัญญุตญาณ ทรมานอุรุเวลกัสสปนี้ ในบัดนี้ ไม่น่าอัศจรรย์เท่ากับครั้งก่อน แม้ในเวลาที่ เรายังมีราคะ โทสะและโมหะ เป็นพรหมชื่อว่านารทะ ทาลายข่ายคือทิฏฐิของเธอ กระทาเธอให้หมดพยศ ดังนี้ แล้ว ก็ทรง ดุษณีภาพ. อันบริษัทนั้นกราบทูลอาราธนา จึงทรงนาอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้ . ในอดีตกาล ยังมีพระราชาพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่าพระเจ้าอังคติราช เสวยราชสมบัติ ใน กรุงมิถิลามหานคร ณ วิเทหรัฐ พระองค์ทรงตั้งอยู่ในธรรม เป็นพระธรรมราชา พระองค์มีพระราชธิดาองค์ หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระนางรุจาราชกุมารี มีพระรูปโฉมสวยงาม ชวนดู ชวนชม มีบุญมาก. ได้ทรงตั้ง ปณิธาน ความปรารถนาไว้สิ้นแสนกัป จึงได้มาเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสี. ส่วนพระเทวีนอกนั้นของ พระองค์ ๑๖,๐๐๐ คน ได้เป็นหญิงหมัน. พระนางรุจาราชกุมารีนั้น จึงเป็นที่โปรดปรานของพระองค์ยิ่งนัก. พระองค์ได้ทรงจัดผ้าเนื้ อละเอียดอย่างยิ่ง หาค่ามิได้พร้อมกับผอบดอกไม้ ๒๕ ผอบ อันเต็มไปด้วย บุปผาชาตินานาชนิด ส่งไปพระราชทานพระราชธิดาทุกๆ วัน ด้วยทรงพระประสงค์จะให้ พระราชธิดาทรง
  • 16. 16 ประดับพระองค์ด้วยของเหล่านี้ และของเสวยที่จัดส่งไปประทานนั้น เป็นขาทนียะและโภชนียะ อันหา ประมาณมิได้ ทุกกึ่งเดือนได้ทรงส่งพระราชทานทรัพย์ ๑,๐๐๐ ไปพระราชทานพระราชธิดา โดยตรัสสั่งว่า ส่วนนี้ ลูกจงให้ทานเถิด. และพระองค์มีอามาตย์อยู่ ๓ นาย คือ วิชยอามาตย์ ๑ สุนามอามาตย์ ๑ อลาต อามาตย์ ๑. ครั้นถึงคืนกลางเดือน ๑๒ ดอกโกมุทบานเทศกาลมหรพ มหาชนพากันตบแต่งพระนคร และ ภายในพระราชฐานไว้อย่างตระการ ปานประหนึ่งว่าเทพนคร จึงพระเจ้าอังคติราชเข้าโสรจสรง ทรงลูบไล้ พระองค์ ประหนึ่งเครื่องราชอลังการ เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว เสด็จประทับนั่งเหนือราชอาสน์ บนพื้น ปราสาทใหญ่ ริมสีหบัญชรไชยมีหมู่อามาตย์แวดล้อม ทอดพระเนตรดูจันทมณฑลอันทรงกรดหมดราคีลอย เด่นอยู่ ณ พื้นคัคนานต์อากาศ. จึงมีพระราชดารัสถามเหล่าอามาตย์ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ราตรีอัน บริสุทธิ์เช่นนี้ น่ารื่นรมย์หนอ วันนี้ เราพึงเพลิดเพลินกันด้วยเรื่องอะไรดี. พระศาสดา เมื่อทรงประกาศเนื้ อความนั้นได้ตรัสว่า [๘๓๔] พระเจ้าอังคติ ผู้เป็นพระราชาของชนชาววิเทหรัฐ. พระองค์มีช้างม้าพลโยธามากมาย เหลือที่จะนับ ทั้งพระราชทรัพย์ก็เหลือหลาย. ก็คืนหนึ่งในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่า กลางเดือน ๑๒ ดอกโกมุท บาน ตอนปฐมยาม. พระองค์ทรงประชุมเหล่าอามาตย์ราชบัณฑิตผู้เป็นพหูสูต เฉลียวฉลาด ผู้ทรงเคยรู้จัก ทั้ง อามาตย์ผู้ใหญ่อีก ๓ นาย คือ วิชัยอามาตย์ ๑ สุนามอามาตย์ ๑ อลาตอามาตย์ ๑ แล้ว. จึงตรัสถาม ตามลาดับว่า เธอจงแสดงความเห็นของตนมาว่า ในวันกลางเดือน ๑๒ เช่นนี้ พระจันทร์แจ่มกระจ่าง กลางคืนวันนี้ . พวกเราจะยังฤดูเช่นนี้ ให้เป็นไป ด้วยความยินดีอะไร. ลาดับนั้น พระราชาจึงตรัสถามพวกอามาตย์ทั้งหลาย อามาตย์เหล่านั้นถูกพระองค์ตรัสถาม แล้ว จึงกราบทูลถ้อยคา อันสมควรแก่อัธยาศัยของตนๆ. พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศความนั้น จึงตรัสว่า [๘๓๕] ลาดับนั้น อลาตเสนาบดีได้กราบทูลแด่พระราชาว่า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงจัดพล ช้าง พลม้า พลเสนา จะนาชายฉกรรจ์ออกรบ พวกใดยังไม่มาสู่อานาจ. ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็จะนามาสู่ อานาจ นี่เป็นความเห็นของข้าพระพุทธเจ้า. เราทั้งหลายจะได้ชัยชนะ ผู้ที่เรายังไม่ชนะ. (ขอเดชะ ขอ พระองค์จงทรงรื่นรมย์ด้วยการรบ นี้ เป็นเพียงความคิดของข้าพระพุทธเจ้า). [๘๓๖] สุนามอามาตย์ได้ฟังคาของอลาตเสนาบดีแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชา พวก ศัตรูของพระองค์มาสู่พระราชอานาจหมดแล้ว ต่างพากันวางศาสตรา ยอมสวามิภักดิ์แล้วทั้งหมด วันนี้ เป็น วันมหรสพ สนุกสนานยิ่ง. การรบข้าพระพุทธเจ้าไม่ชอบใจ ชนทั้งหลายจงรีบนาข้าวน้า และของควรเคี้ยวมา เพื่อพระองค์เถิด. ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงรื่นรมย์ด้วยกามคุณ และในการฟ้อนรา ขับร้อง การประโคม เถิดพระเจ้าข้า. [๘๓๗] วิชยอามาตย์ ได้ฟังคาของสุนามอามาตย์แล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชา กาม คุณทุกอย่าง บาเรอพระองค์อยู่เป็นนิตย์แล้ว การทรงเพลิดเพลิน ด้วยกามคุณทั้งหลาย พระองค์ทรงหาได้ โดยไม่ยากเลย. ทรงปรารถนาก็ได้ทุกเมื่อ การรื่นรมย์ด้วยกามคุณทั้งหลายนี้ ไม่ใช่เป็นความคิดของข้าพระ