SlideShare a Scribd company logo
1 of 48
Download to read offline
แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี
ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 1
แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์
ครูของแผ่นดิน
รวมข้อเขียนในวาระ การเกษียณอายุราชการ ปี 2562
ของ ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์
สนับสนุนโดย
กลุ่ม Buriram Forum
ศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนา จ.บุรีรัมย์
ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง จ.บุรีรัมย์
2562
โครงการหนังสืออาศรมสวนนํ้าเพียงดิน
400 หมู่ 4 ต.ชุมเห็ด อ.เมือง บุรีรัมย์ 31000
กองบรรณาธิการ : ธงชัย สนหอม ชมพู อิสริยาวัฒน์ สุธีกิติ์ ฝอดสูงเนิน
สุรพงค์ กันถัด กริช เบียนรัมย์ ธงชัย สีโสภณ กังวาน วงศ์วัฒนโสภณ
ออกแบบปก : สุรพงค์ กันถัด
พิมพ์ : สิงหาคม 2562
พิมพ์ที่ โรงพิมพ์วินัย
แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี
ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน2
คำ�นำ�
	 หนังสือเล่มนี้จัดทำ�เนื่องในโอกาสที่ผศ.ดร.นิรันดร์กุลฑานันท์เกษียณอายุ
ราชการ ในเล่มจะเป็นข้อเขียนของอาจารย์รุ่นน้องในมหาวิทยาลัย เพื่อนร่วมงาน
ในภาคประชาสังคม ลูกน้องที่เคยทำ�งานกับอาจารย์ ได้สะท้อนเรื่องราวเกี่ยวกับ
อาจารย์ที่แต่ละคนรับรู้เมื่ออ่านข้อเขียนเล่านี้จะมองเห็นภาพของอาจารย์รอบด้าน
มากขึ้นแล้วเราจะเข้าใจที่อาจารย์นักกิจกรรมหลายคนเรียกท่านว่ามังกรซ่อนตน
เราจะได้อ่านบทกวีของปราชญ์สองท่านที่เขียนถึงอาจารย์ คือ อ.บำ�รุง บุญปัญญา
นักพัฒนาอาวุโสภาคอีสาน(ราชสีห์อีสาน) และ อ.ปราโมทย์ ในจิต อดีตประธาน
สโมสรนักเขียนภาคอีสาน เพราะอาจารย์ได้ออกไปทำ�งานพัฒนาชุมชนช่วยเหลือ
ชาวบ้านที่เชื่อมโยงกับเครือข่ายนักพัฒนา นักเขียน ระดับภาค นอกจากนี้ยังมีบท
กวี ข้อเขียนจากลูกศิษย์ เพื่อนครู และข้อคิดที่อาจารย์ชอบ งานเขียนเล่านี้เป็น
เพียงส่วนหนึ่งที่สะท้อนแง่มุมบางด้านของอาจารย์ถ้าจะได้ความรู้เพิ่มเติมก็คือการ
เข้าไปเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดกับอาจารย์จะได้ข้อมูลความรู้ที่ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น
กองบรรณาธิการ
อาศรมนํ้าเพียงดิน 2562
แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี
ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 3
	 มีลูกศิษย์ อาจารย์รุ่นน้อง เพื่อนฝูง หลายคนถามผมว่าเกษียณแล้วจะทำ�
อะไรต่อผมก็จะตอบว่ายังทำ�งานกับชุมชนชาวบ้านและภาคประชาสังคมเหมือน
เดิม เพราะการทำ�งานเพื่อสังคม ช่วยเหลือผู้ยากไร้ ทำ�งานแบบจิตอาสานั้นทำ�ได้
ตลอดชีวิต เพียงแต่เปลี่ยนลักษณะการทำ�งานจากการสอนหนังสือนักศึกษา มา
ทำ�งานประชุม อบรม กับชาวบ้าน เปลี่ยนสถานที่ทำ�งานจากในมหาวิทยาลัยมา
เป็นศาลาในหมู่บ้าน ในวัด ในสวนป่าก็เท่านั้น
	 ผมเห็นตัวอย่างนักวิชาการหมอข้าราชการหลายคนที่เกษียณอายุแล้วยัง
ทำ�งานเพื่อสังคมต่อไป อย่าง นพ.ประเวศ วะสี ราษฏรอาวุโส อายุ 87 ปีแล้ว ท่าน
ยังทำ�งานพัฒนาชุมชน ทำ�งานกับภาคประชาสังคมตามปกติ ทั้งเป็นวิทยากร ร่วม
ประชุมสัมมนา จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำ�งานกับเครือข่ายสมัชชาสุขภาพ ร่วม
กับเครือข่ายพลเมืองอาสาที่ช่วยเหลือผู้ยากไร้ในชนบทส่วนดร.โคทมอารียาอดีต
กกต.อายุ76ปีแล้วท่านยังทำ�งานช่วยองค์กรพัฒนาหลายแห่งในการทำ�งานช่วย
เหลือผู้ยากไร้ในชนบทและทำ�งานด้านพิทักษ์สิทธิมนุษยชนให้กับผู้ด้อยโอกาสจึง
ได้ข้อสรุปกับตัวเองว่าคงเดินตามรอยนักวิชาการรุ่นก่อนที่ยังทำ�งานพัฒนาทำ�งาน
เพื่อสังคมต่อไปและอาจมาช่วยเป็นวิทยากรพิเศษสอนนักศึกษาบ้างเมื่อได้รับเชิญ
จากอาจารย์รุ่นน้อง
	 งานที่ผมต้องสานต่อคือ การสนับสนุนการทำ�งานของเครือข่ายพลเมือง
อาสาในแต่ละอำ�เภอในการลงไปช่วยเหลือผู้ยากไร้ คนจนที่เปราะบางในชนบท
ทั้งการเก็บรวบรวมข้อมูล การประสานความช่วยเหลือจากหน่วยงาน โดยทำ�ใน
นาม“ศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนาจ.บุรีรัมย์(ศปจ.บุรีรัมย์)”รวมทั้งการขับเคลื่อน
ความในใจจาก อ.นิรันดร์
การเดินทางหลังจากเกษียณ...คือการทำ�งานเพื่อผู้ยากไร้
แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี
ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน4
ธรรมนูญสุขภาพชุมชน ให้ชุมชนพี่งตนเองได้ ก็ยังขับเคลื่อนต่อไป ส่วนการเชื่อม
ประสานองค์กรชุมชนและเครือข่ายที่ต่อเนื่องจากโครงการ SIF และการรณรงค์
ประเด็นชุมชนเข้มแข็ง ก็ทำ�ในนามกลุ่ม Buriram Forum การลงพื้นที่ไปเยี่ยม
ศูนย์การเรียนรู้ สวนเกษตร สวนป่า กลุ่มชาวบ้าน ก็คงจะทำ�มากขึ้น โดยเฉพาะ
กลุ่มชาวบ้านที่เคยรับการสนับสนุนจาก SIF และองค์กรชาวบ้านที่เคยอยู่ในพึ้นที่
วิจัยของสกว.อีสานใต้
	 งานส่งเสริมความเข้มแข็งของภาคพลเมือง ผมก็ยังขับเคลื่อนต่อไป โดย
ร่วมงานกับคณะกรรมการศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า
จ.บุรีรัมย์ ในการจัดอบรมเยาวชนและชาวบ้าน เกี่ยวกับประชาธิปไตย สิทธิชุมชน
รัฐธรรมนูญ การขับเคลื่อนแนวทางชุมชนเข้มแข็ง จังหวัดจัดการตนเอง การฟื้นฟู
สภาพแวดล้อมในลุ่มนํ้ามูลตอนกลาง การส่งเสริมเครือข่ายเยาวชน เครือข่ายพระ
สงฆ์เพื่อการพัฒนา เครือข่ายฝายมีชีวิต เครือข่ายป่าไม้-ที่ดิน เพื่อให้การพัฒนา
ท้องถิ่นในทุกด้าน
	 งานที่ประสานกับทางสาขาวิชาคือการที่ผมร่วมกับชมรมศิษย์เก่า
บรรณารักษศาสตร์และอาจารย์ในสาขาทำ�ผ้าป่าการศึกษาระดมปัจจัยมาพัฒนา
ห้องปฏิบัติการบรรณารักษ์โดยใช้ชื่อว่า“ห้องปฏิบัติการนิรันดร์ กุลฑานันท์”ซึ่ง
เป็นทั้งห้องสมุด ห้องไอที ห้องนั่งเรียนหรือนั่งทำ�งานของนักศึกษาสาขาบรรณา
รักษ์ฯ จะตั้งอยู่ชั้น 5 อาคารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์(หลังใหม่) ซึ่งจะ
เป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนของสาขาวิชาสืบไปและอาจจะขอใช้ห้อง
นี้เป็นที่ตั้งของชมรมศิษย์เก่าด้วย
	 งานที่ประสานกับพระสงฆ์คือผมร่วมกับศิษย์เก่าและเครือข่ายภาคประชา
สังคมจะไปพัฒนาจัดตั้งห้องสมุด ที่ โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี
ประจำ�อำ�เภอกระสัง วัดบัวถนน ต.สูงเนิน อ.กระสัง บุรีรัมย์ เพื่อจัดเก็บหนังสือ
สารสนเทศ ที่เกี่ยวกับธรรมะ ภาษาบาลี พุทธศาสนา ประเพณีวัฒนธรรมของท้อง
ถิ่น การทำ�การเกษตร เศรษฐกิจพอเพียง ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น ห้องสมุดนี้ใช้
แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี
ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 5
ชื่อว่า “ห้องสมุด ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์” เน้นให้บริการพระเณรที่มาเรียนภาษา
บาลีและธรรมะ และบริการชาวบ้านทั่วไป
	 ส่วนงานจัดรายการวิทยุเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชนทางสวท.บุรีรัมย์และวิทยุ
ชุมชนอื่นๆร่วมทั้งสื่อเผยแพร่ทางโซเชี่ยลมีเดียก็คงดำ�เนินงานต่อไปเพื่อประโยชน์
ของส่วนรวมโดยจะนำ�ข้อมูลจากการทำ�งานในชุมชนหมู่บ้านมาเผยแพร่ออกอากาศ
ให้สาธารณะชนได้ทราบต่อไป คงต้องอาศัยทีมงานคนรุ่นใหม่ที่เก่งไอทีมาแนะนำ�
การใช้สื่อเผยแพรทางโซเชี่ยลมีเดียทั้งยูทูป เฟสบุ๊ค ไลน์ ฯลฯ สื่อดิจิตัลเหล่านี้
นับวันจะใช้แพร่หลายมากขึ้นในหมู่ประชาชน ทำ�ให้เราต้องศึกษาเรียนรู้ เป็นการ
ศึกษาตลอดชีวิตครับ งานเขียนหนังสือ งานวิจัย งานวิชาการ งานเขียนต่างๆ ก็จะ
ทำ�ต่อ แต่จะเน้นการเขียนเผยแพร่ทางโซเชี่ยลมีเดียเช่นเฟสบุ๊ค และบล็อกเกอร์
ต่างๆ เพราะทำ�ได้ง่าย รวดเร็ว ผู้อ่านเข้าถึงได้ง่าย ถ้ามีจำ�นวนมากพอก็อาจจะนำ�
มาพิมพ์รวมเล่มแจกลูกศิษย์ เครือข่าย และชาวบ้าน เป็นช่วงๆ ถือว่าเป็นการคืน
ความรู้สู่แผ่นดิน
	 ส่วนด้านการศึกษาและปฏิบัติธรรมกับครูบาอาจารย์คงจะทำ�เข้มข้นขึ้น
เพื่อเข้าถึงหลักธรรมคำ�สอนของพุทธะ มีพระอาจารย์ นักคิด ผู้อาวุโสหลายท่าน
ที่ผมต้องการไปกราบ ขอความรู้ และแลกเปลี่ยนความคิดด้วย เป็นการพัฒนาสติ
ปัญญาของเราให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นก็คงจะมีการเดินทางไปตามวัดวาอารามกราบ
ไหว้พระอาจารย์ ไปตามอาศรม สำ�นัก ศูนย์เรียนรู้ ไปพบกับผู้อาวุโสต่างๆ แล้วก็
เอาข้อมูล ความรู้เหล่านั้นมาเผยแพร่สู่สาธารณะทางโซเชี่ยลมีเดีย ซึ่งงานเหล่านี้
ทำ�ได้ตลอดชีวิต.
นิรันดร์ กุลฑานันท์
อาศรมสวนนํ้าเพียงดิน
9 สิงหาคม 2562
แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี
ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน6
	 อ.ชมพู อิสริยาวัฒน์
	 รองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
	 “ความยิ่งใหญ่ คุณธรรมความดี พลังอำ�นาจ ความกล้าหาญ ความเข้ม
แข็ง แข็งแกร่ง และทรนง” คือคุณลักษณ์ของมังกร ตรงกับบุคลิกของ อ.นิรันดร์
ซึ่งอาจารย์หลายคนให้ฉายาว่า“มังกรซ่อนตัว”ผมได้รู้จักท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ มายาวนานและได้ทำ�งานกับท่านมาตลอดได้เรียนรู้การ
ทำ�งานการขับเคลื่อนองค์กรหลายหน่วยงานที่ท่านมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐและเอกชน
ภาคประชาสังคม เห็นความยิ่งใหญ่ความกล้าหาญและความเข้มแข็งสิ่งที่สำ�คัญ
มากกว่านั้นคือคุณธรรมความดีที่ท่านมีในการทำ�งานเพื่อช่วยเหลือคนยากจนใน
ชนบทแม้แต่งานบริหารในมหาวิทยาลัยสมัยท่านเป็นรองอธิการบดีท่านก็สนับสนุน
ให้ทีมงานอาจารย์รุ่นน้องได้แสดงศักยภาพในการทำ�งานเต็มที่ทำ�ให้ทีมงานมีความ
สุขในการทำ�งานและขับเคลื่อนงานอย่างแข็งแกร่งแต่เรียบง่าย
	 อาจารย์หลายคนในมหาวิทยาลัยอาจมองไม่ออก ว่าอ.นิรันดร์ มีผลงาน
อะไรบ้าง ถึงได้รับรางวัลระดับชาติคือ “รางวัลแทนคุณแผ่นดิน” ปี 2559 ของ
เครือเนชั่น รางวัลเดียวกัน กับที่ ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ปราชญ์ชาวบ้านได้
รับ ด้วยบุคลิกที่ ดร.นิรันดร์เป็นคนถ่อมตน พูดน้อยฟังมาก ชอบทำ�งานเพื่อชุมชน
อย่างเงียบๆ ชอบทำ�งานแบบปิดทองหลังพระ ท่านเป็นนักวิชาการที่ทำ�งานช่วย
เหลือชุมชน ชาวบ้าน และช่วยสังคมมายาวนานกว่า30 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 ที่
เริ่มรับราชการที่วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ มาจนปัจุบัน ก็ทำ�งานกับภาคประชาสังคม
ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ มังกรซ่อนตัวแห่งราชภัฏ
ครูผู้เป็นที่เคารพรักของลูกศิษย์ และเป็นนักวิชาการ
ของประชาชน
แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี
ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 7
ช่วยเหลือชาวบ้าน ชุมชน ในชนบท ทั้งทำ�งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ทำ�งานพัฒนาแก้
ปัญหาความยากจนในหมู่บ้าน การทำ�งานที่ต่อเนื่องยาวนานจนเป็นที่ยอมรับจาก
สังคมจนได้รับรางวัลดังกล่าว อาจารย์บางส่วนในมหาวิทยาลัยไม่รู้จักท่าน ยกเว้น
เพื่อนอาจารย์ที่สนิทและทำ�งานชุมชนด้วยกันจนอาจารย์บางท่านให้ฉายาท่านว่า
“มังกรซ่อนตัว”ผมได้ติดตามท่านได้เรียนรู้วิธีการทำ�งานพัฒนาเครือข่ายชาวบ้าน
จากท่าน บทความนี้เรียบเรียงจากประสบการณ์ของตนที่ร่วมงานกับ ดร.นิรันดร์
และจากการสัมภาษณ์ท่านอีกส่วนหนึ่ง
	 อ.นิรันดร์ บ้านเกิดอยู่ที่ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ คนแถวนั้นเชื้อสายไท
ลาวเหมือนทางภาคอีสาน แต่เป็นลาวตอนเหนือที่มีสำ�เนียงพูดเหมือนชาวหลวง
พระบาง ไชยะบุรี ในสปป.ลาว และชาวเมืองเลย ทางอีสาน เรียนระดับมัธยมต้นที่
หล่มสักแล้วมาเรียนวิทยาลัยครูเพชรบูรณ์รุ่น1ในระดับป.กศ.ต้นก่อนที่จะแยก
จากเพื่อนมาสอบเอ็นทรานซ์เข้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น เรียนปริญญาตรี 4 ปี เมื่อ
จบการศึกษาในปี 2524 ก็มาทำ�งานที่บุรีรัมย์ต่อเนื่องมา 37 ปี มีบ้าน มีครอบครัว
มีลูกศิษย์และเครือข่ายประชาสังคมอยู่บุรีรัมย์ จึงเป็นชาวบุรีรัมย์โดยปริยาย
	 พ.ศ. 2525 อ.นิรันดร์ เริ่มรับราชการที่วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ ท่านก็สอน
นักศึกษาทั้งระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี ในสาขาบรรณารักษศาสตร์ และ
สาขาอื่นๆเช่น พัฒนาชุมชน สังคมศึกษา รัฐประศาสนศาสตร์ ประถมศึกษา(ครุ
ทายาท)โดยเฉพาะในรุ่นเก่าๆที่จบไปทำ�งานแล้วนับสิบปีจะรู้จักกันดีและยังติดต่อ
ท่านเสมอรวมทั้งท่านเคยเป็นที่ปรึกษาให้กับคณะกรรมการองค์การนักศึกษาสมัย
แรกๆติดต่อกันหลายสมัยจึงรู้จักกับอดีตนักกิจกรรมของมหาวิทยาลัยหลายรุ่นและ
การที่ท่านมีบุคลิกเป็นคนกันเองมีรูปแบบการสอนแบบประชาธิปไตยรับฟังความ
คิดเห็นของนักศึกษาเน้นให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนฝึกให้กล้าพูด
กล้าแสดงออก
	 และเน้นให้นักศึกษาไปค้นคว้าและมานำ�เสนอในชั้นเน้นการให้นักศึกษา
ไปค้นคว้าอ่านหนังสือ ค้นจากอินเตอร์เน็ต แล้วมานำ�เสนอแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ
ท่านเป็นครูใจดี กันเองกับนักศึกษาทำ�ให้นักศึกษาความเคารพรักท่านมาก ตลอด
แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี
ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน8
ระยะเวลา 37 ปี(พ.ศ.2525-2562) ของการเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยท่านชอบ
งานสอน แม้ในช่วงที่ดำ�รงตำ�แหน่งเป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยก็ยังมีชั่วโมงสอน ได้
นำ�ประสบการณ์ ความรู้ใหม่ๆมาสอนนักศึกษา ลักษณะการสอนของอาจารย์จะ
ยึดนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง อาจารย์จะเป็นเหมือนโค๊ช เทรนเนอร์ ที่คอยชี้แนะ
ให้นักศึกษาแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ แล้วนำ�ความรู้มาบอกเล่ารายงานให้
เพื่อนๆฟัง นักศึกษาจึงเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีต่างๆในการเรียนการนำ�เสนองาน
เช่น โปรแกรม powerpoint โน๊ตบุ๊ค โปรเจคเตอร์ ยูทูป โซเชี่ยลมีเดียอื่นๆ ใน
ขณะสอนจะแทรกอุดมคติที่ดีงาม เช่น ความเสียสละ ความซื่อสัตย์ อดทน ความ
เอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น การทำ�งานหนัก การทำ�งานเพื่อส่วนรวม การประหยัด พอเพียง
เข้าใจปัญหาสังคม เป็นต้น เพราะมองว่าคุณสมบัติเหล่านี้จะทำ�ให้นักศึกษาจบไป
ทำ�งานแล้วจะเป็นที่พึงพอใจของผู้บังคับบัญชาจะเจริญก้าวหน้าในการทำ�งานศิษย์
เก่าหลายคนที่ประสบความสำ�เร็จ เมื่อจบไปทำ�งาน 5-10 ปี ถึงจะเข้าใจเป้าหมาย
การสอนของอาจารย์
	 อ.นิรันดร์ชอบงานกิจกรรมนักศึกษาและงานค่ายอาสาพัฒนาของนักศึกษา
เพราะในสมัยที่ท่านเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ท่านก็เป็นนักกิจกรรม
ทำ�งานค่าย งานชมชรม งานสโมสรคณะ และงานองค์การนักศึกษา(โดยท่านเป็น
นายกองค์การนักศึกษา มข. ตอนเรียนชั้นปีที่ 4) ท่านจึงส่งเสริมให้นักศึกษามี
จิตสำ�นึกรับใช้ประชาชนและชอบพานักศึกษาศึกษาธรรมชาติสภาพแวดล้อมโดย
เคยพานักศึกษาไปเดินป่าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ภูกระดึง ภูหินร่องกล้า และ
เขตป่าสงวนดงใหญ่ อ.ปะคำ� บุรีรัมย์ โดยเฉพาะการร่วมรณรงค์อนุรักษ์ป่าดงใหญ่
กับหลวงพ่อประจักษ์ คุตตะจิตโต พระนักอนุรักษ์ป่าดงใหญ่ในช่วงปี 2532-2533
ศิษย์เก่าหลายคนยังจำ�ได้ดี เพราะหลวงพ่อประจักษ์เป็นผู้นำ�นักศึกษาเดินสำ�รวจ
ป่าด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังพานักศึกษาออกค่ายพัฒนาห้องสมุด สอนหนังสือ
เด็ก อาจารย์จะสอนให้นักศึกษาใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อ ซื่อสัตย์ เสียสละ
เพื่อส่วนรวม อดทนในการทำ�งาน หนักเอาเบาสู้ ใจกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้
อื่น ศิษย์หลายคนนำ�คำ�สอนมาปฏิบัติจนก้าวหน้าในหน้าที่การงานเป็นผู้บริหาร
แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี
ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 9
ทั้งเป็นศึกษาธิการจังหวัด ผู้อำ�นวยการโรงเรียน ผู้อำ�นวยการ กศน. ครูอาจารย์
บรรณารักษ์ นักพัฒนา นักธุรกิจ ฯลฯ
	 ในช่วงปี 2528-2530 อ.นิรันดร์ ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่กรุงเทพฯ
ท่านรักการเรียน ได้สมัครเรียนปริญญาโท 2 มหาวิทยาลัยพร้อมกัน คือสาขา
บรรณารักษศาสตร์ เรียนที่ มศว.ประสานมิตร และสาขาการเมืองการปกครอง
เรียนที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ในช่วงเย็นหรือคํ่า) ด้วยความขยัน อดทน ทำ�ให้
ท่านสำ�เร็จการศึกษาทั้งสองสาขาในช่วงที่ศึกษาที่กรุงเทพฯท่านชอบไปศึกษาการ
ทำ�งาน และช่วยงานองค์กรพัฒนาภาคเอกชน เช่น มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม
(มอส.) มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก(มพด.) สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.)
เป็นต้นและลงไปศึกษาวิถีชาวบ้านคนจนเมืองในย่านสลัมหลายแห่งในช่วงนี้ท่าน
ได้ศึกษาแนวคิดของ ดร.ปรีดี พนมยงค์ และ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่เกี่ยวกับการจัด
สวัสดิการเพื่อคนจนรัฐสวัสดิการประชาธิปไตยและการพัฒนาชุมชนเมื่อกลับไป
ทำ�งานท่านก็นำ�แนวคิดนี้ไปใช้ในการทำ�งานกับภาคประชาสังคม และองค์กรชาว
บ้านในภาคอีสาน
	 เมื่อมาทำ�งานอ.นิรันดร์เริ่มพัฒนาห้องสมุดของมหาวิทยาลัยได้นำ�นักศึกษา
สาขาบรรณารักษ์ พัฒนาทั้งภายนอกภายในห้องสมุดจนได้มาตรฐานของการเป็น
ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา สมัยก่อนท่านพานักศีกษาเอกบบรรณารักษ์พัฒนา
ห้องสมุดจนดึกดื่น นักศึกษาหลายรุ่นเคยขนย้าย จัดชั้นหนังสือ ทั้งกลางวันและ
กลางคืน และทำ�อาหารทานร่วมกัน ศิษย์เก่าหลายคนจดจำ�บรรยากาศเหล่านั้น
ได้ดี หลายคนนำ�ประสบการณ์เล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในการทำ�งานของตนเองจน
ประสบความสำ�เร็จ เมื่อมาเป็นหัวหน้าฝ่ายห้องสมุดท่านพัฒนาให้มีห้องค้นคว้า
ส่วนบุคคล บริการโสตทัศนศึกษา บริการฐานขัอมูล มุมค้นคว้าข้อสารสนเทศท้อง
ถิ่น มุมข้อมูลจังหวัดบุรีรัมย์ มุมหนังสือของคำ�พูน บุญทวี นักเขียนซีไรท์(ที่มอบให้
ตอนมาบรรยายที่บุรีรัมย์)และเป็นผู้ไปร่วมวางแผนของบประมาณสร้างอาคารห้อง
สมุดหลังใหม่(อาคาร 6 ชั้น) จนห้องสมุดได้ย้ายจากอาคารเก่ามาอยู่อาคารใหม่ 6
ชั้น
แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี
ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน10
	 ด้านศาสนาท่านศึกษาธรรมะของพระอาจารย์ หลายสำ�นัก โดยเฉพาะ
พระอาจารย์ที่เน้น การสอนในคิดเป็นเหตุเป็นผล ให้มีสติ อาทิ หลวงพ่อชา สุภั
ทโท หลวงพ่อพุทธทาส หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ(วัดป่าเขาน้อย บุรีรัมย์) หลงพ่อสมภพ
โชติปัญโญพระอาจารย์ไพศาลวิสาโลและหลวงพ่อสุวรรณนาคสุวัณโณ(วัดพนม
ดินสุวรรณาราม ต.สูงเนิน อ.กระสัง จังหวัดบุรีรัมย์) สมัยที่ อ.นิรันดร์ บวชเป็น
พระได้ธุดงค์ไปปฏิบัติธรรมกับพระวัดป่าที่เพชรบูรณ์ ขอนแก่นและสุรินทร์ ท่าน
อ่านหนังสือธรรมะ ฟังเทป ชมจากยูทูป ในหลักธรรมที่พระอาจารย์เล่านี้บรรยาย
และนำ�มาปฏิบัติ ใช้ในการทำ�งาน และได้แลกเปลี่ยนกับอาจารย์ที่สนใจธรรมะอยู่
เสมอด้านวัตรปฏิบัติท่านได้ใส่บาตรพระยามเช้าทุกวันที่หน้าบ้านพักที่บ้านตราด
ตรวน ต.ชุมเห็ด บุรีรัมย์ เป็นพระจากวัดป่ารุ่งอรุณ ใกล้ๆหมู่บ้าน และร่วมงานบุญ
ของวัดอยู่อย่างสมํ่าเสมอ
	 ในช่วงปี 2539-2540 ดร.นิรันดร์ นำ�นักศึกษาและภาคประชาสังคมร่วม
รณรงค์สนับสนุนรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน2540จนผ่านการพิจารณาของรัฐสภา
จนนำ�ไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปและเป็นยุคที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมากสิทธิชุมชน
ได้รับการยอมรับมากการทำ�งานกับองค์กรชาวบ้านจึงเป็นไปอย่างคึกคักในยุคนั้น
ในยุคนั้นเป็นช่วงที่กลุ่ม นพ.ประเวศ วะสี กำ�ลังรณรงค์เสริมสร้างความเข็มแข็ง
ให้ภาคประชาสังคม(Civil Society) มีการก่อตัวตั้งประชาคมขึ้นในจังหวัดต่างๆ
ดร.นิรันดร์ ร่วมกับเครือข่ายต่างๆในบุรีรัมย์ได้จัดตั้งประชาคมบุรีรัมย์หรือประชา
สังคมบุรีรัมย์ โดยใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Buriram Forum” ซึ่งในจังหวัดอื่นก็ใช้
ชื่อคล้ายๆกัน เช่น Korat Forum, Khonkaen Forum เป็นต้น และได้ทำ�งาน
ภาคประชาสังคมกับเครือข่ายพหุภาคี ทั้ง ครู อาจารย์ ข้าราชการ ทนายความ
สื่อมวลชน พระสงฆ์ ผู้นำ�ชาวบ้าน เอ็นจีโอ ในจังหวัดบุรีรัมย์ ในการพัฒนาท้อง
ถิ่นมาจนถึงปัจจุบัน
	 ในปี 2541-2542 ดร.นิรันดร์ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการกองทุนชุมชน
(SIF)จังหวัดบุรีรัมย์โดยทางธนาคารโลกได้สนับสนุนงบประมาณผ่านรัฐบาลผ่าน
คณะกรรมการกองทุนชุมชนจังหวัด ลงสู่ชุมชนระดับกลุ่มอาชีพของชาวบ้าน เพื่อ
แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี
ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 11
ทำ�กิจกรรมส่งเสริอาชีพอบรมต่างๆให้ทุนหมุนเวียนก่อสร้างอาคารศูนย์เด็กศูนย์
อบรมชาวบ้าน โรงสีชุมชน ด้วยการเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ดร.นิรันดร์ ในฐานะประธาน
คณะกรรมการกองทุนได้กระจายงบประมาณลงช่วยเหลือชุมชนชาวบ้านครอบคลุม
ทุกอำ�เภอทั่วจังหวัด ผลักดัน งบประมาณก่อสร้างอาคารให้ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน
หลายคน รวมทั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านของสหายในเขตงานอีสานใต้ ที่อนุสรณ์สถาน
ประชาชน อีสานใต้ วัดโคกเขา ต.โคกมะม่วง อ.ปะคำ� บุรีรัมย์ และศูนย์พัฒนาเด็ก
เล็กในวัดหลายแห่ง เนื่องจากโครงการ SIF มีพี้นที่กิจกรรมพัฒนาครอบคลุมทุก
อำ�เภอทุกตำ�บลในจังหวัดบุรีรัมย์ภายหลังสิ้นสุดโครงการปี2542ทางดร.นิรันดร์
และทีมงานได้จัดตั้งประชาสังคมบุรีรัมย์หรือกลุ่ม Buriram Forum เพื่อติดตาม
ให้การสนับสนุนกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับการส่งเสริมจากโครงการSIFมาอย่างต่อเนื่อง
จนถึงปัจุจบันทำ�ให้ชุมชนเกิดการทักถอเครือข่ายมีความเข้มแข็งและอาจารย์เป็น
นักวิชาการที่อยู่ในใจชาวบ้านมาตั้งแต่นนั้น
	 เมื่อช่วงปีพ.ศ.2544-2546ดร.นิรันดร์ได้รับการประสานจากทางสำ�นักงาน
กองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ให้เป็น ผอ. สำ�นักงานประสานงานวิจัยเพื่อท้อง
ถิ่นอีสานใต้ ของ สกว.ทำ�หน้าที่ส่งเสริมให้ ชาวบ้าน ครู นักวิชาการในท้องถิ่น ใน
พี้นที่ 8 จังหวัดอีสานใต้ ได้ทำ�วิจัยเพื่อท้องถิ่น ได้แก่ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์
สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบล อำ�นาจเจริญ ยโสธร และมุกดาหาร โดยมีนักวิจัยพี่เลี้ยง
ในทุกจังหวัดลงส่งเสริมติดตามนิเทศโครงการวิจัยซึ่งมีโครงการวิจัยกระจายอยู่ใน
8 จังหวัด รวมแล้วไปตํ่ากว่า 50 โครงการ ส่งผลให้เกิดกระแสการศึกษา วิจัยโดย
ชาวบ้าน ครู นักวิชาการท้องถิ่น พระสงฆ์ ปราชญ์ชาวบ้าน และ NGOs เกิดการ
ประสานความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพชุมชนในภาคอีสานใต้อย่างเข้มแข็ง
	 ช่วงปี 2545-2547 ดร.นิรันดร์ เริ่มเข้าทำ�งานในตำ�แหน่งผู้บริหารของ
มหาวิทยาลัยในตำ�แหน่งผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศดูแลศูนย์
คอมพิวเตอร์และพัฒนาระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ได้ร่วมกับคณาจารย์
สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์กับสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศวางเครือข่ายอินเตอร์
เนตให้ครอบคลุมอาคารเรียน อาคารสำ�นักงานให้มหาวิทยาลัย และริเริ่มตั้งเสา
แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี
ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน12
ส่งสัญญาณไวไฟตามหอพักนักศึกษา บริเวณลานนั่งพักผ่อนของนักศึกษา และได้
จัดหาเครื่อง Server แม่ข่ายใหม่สำ�หรับศูนย์คอมพิวเตอร์ยี่ห้อ Cisco ทำ�ให้การ
ให้บริการสะดวกรวดเร็วมากขึ้น
	 ช่วงปี 2548-2551 ดร.นิรันดร์ เป็นผู้อำ�นวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนา
(สวพ.)เป็นช่วงที่คณาจารย์ยังทำ�วิจัยกันน้อยอาจารย์รุ่นใหม่ยังมีประสบการณ์ทำ�
วิจัยน้อย อ.นิรันดร์ มีเป้าหมายจะพัฒนาอาจารย์รุ่นใหม่ให้เก่งด้านวิจัยและด้าน
บริหาร จึงดึงอาจารย์รุ่นใหม่ไฟแรงมาเป็นรองผู้อำ�นวยการหลายคน และส่งให้
ไปประชุม สัมมนา อบรม ทำ�วิจัย กับ สกว. วช. หรือหน่วยวิจัยอื่นๆ จนหลายคน
ประสบความสำ�เร็จ เช่น ดร.เชาวลิต สิมสวย(ปัจจุบันเป็น ผอ.สวพ.) รศ.ดร.ปรีชา
ปาโนรัมย์(ปัจจุบันเป็นคณบดีคณะวิทยาการจัดการ) อ.สนิท พาราษฏร์(อดีตรอง
ผอ.สวพ.) อ.ณัฐพล แสนคำ�(ปัจจุบันรองผอ.สำ�นักวิทยบริการฯ) ผศ.ดร.สมหมาย
ปะติตังโข(นักวิจัยดีเด่น ) อ.อัจฉรา หลาวทอง (นักวิจัยและวิทยากรของ สมาพันธ์
เอสเอ็มอี จ.บุรีรัมย์)เป็นต้น และการใช้นโยบายกระจายทุนวิจัยขนาดเล็กๆ ให้
อาจารย์รุ่นใหม่ได้ทดลองทำ�วิจัยริเริ่มทำ�วารสารวิจัยและพัฒนาเผยแพร่บทความ
งานวิจัย จัดงานแสดงผลงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นทุกปี มีชาวบ้าน พระสงฆ์ ตัวแทน
ชุมชน มาชมผลงานวิจัย มาฟังการเสนองานวิจัย
	 ช่วงปี 2553-2555 อ.นิรันดร์ ได้เข้าศึกษาระดับปริญญาเอก แบบทำ�วิจัย
ที่MagadhUniversityอินเดียโดยทำ�วิจัยเกี่ยวกับการวางนโยบายและแผนของ
รัฐไทยในการปฏิรูประบบราชการและระบบธุรกิจ ในช่วงที่ทำ�วิจัยและเดินทางไป
อินเดียได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักวิชาการนักคิดนักปรัชญาหลายคนและ
ท่านได้ศึกษาแนวคิดของมหาตมะ คานธี และดร. เอ็มเบดการ์ (Dr. Ambedkar)
บิดาแห่งรัฐธรรมนูญอินเดียโดยท่านสนใจศึกษาแนวคิดดร.เอ็มเบดการ์อย่างลึก
ซึ้ง ดร.เอ็มเบดการ์ เป็นผู้เสียสละทำ�งานให้คนยากคนจนในชนบท และต่อสู้ เพื่อ
ความเท่าเทียมให้กับคนวรรณะจัณฑาลในอินเดียท่านทำ�งานพัฒนาชุมชนในชนบท
อินเดียตลอดอายุขัย และท่านยังนับถือศาสนาพุทธ ท่านนำ�ประชาชนนับแสนเข้า
มานับถือพุทธศาสนา ในแทบทุกเมือง ทุกหมู่บ้านในชนบทที่ยากจนที่อินเดียจะมี
แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี
ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 13
รูปปั้น ดร.เอ็ม เบดการ์ ตั้งอยู่ แสดงถึงแรงศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อท่าน ดร.นิ
รันดร์ ได้นำ�แนวคิดของ ดร.เอ็ม เบดการ์ มาประยุกต์ใช้ในการทำ�งานช่วยเหลือ
คนยากจนผ่านการทำ�งานของ ศปจ.บุรีรัมย์และกลุ่ม Buriram Forum โดยการ
สำ�รวจข้อมูลคนจนที่เปราะบางในชนบทเช่น คนแก่ คนพิการ ผู้ป่วยติดเตียง เด็ก
ยากจน บุคคลไร้สัญชาติ เป็นต้นและให้การช่วยเหลือเบื้องต้น เป็นงานที่ทำ�ผ่าน
ศูนย์พลเมืองอาสาระดับอำ�เภอทุกอำ�เภอ ครอบคลุมทั้งจังหวัดบุรีรัมย์
	 ช่วงปี 2555-2558 ดร.นิรันดร์ เป็นรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
ของมหาวิทยาลัย ท่านได้ดึงอาจารย์รุ่นใหม่ๆเข้ามาร่วมงาน ได้สอนให้คำ�แนะนำ�
เทคนิคการทำ�งานการบริหารงานฝึกวิทยายุทธ์การเดินเกมบริหารให้รุ่นน้องที่มา
ร่วมงานจนหลายคนเป็นผู้บริหารระดับต้น เช่น ผมเอง(อ.ชมพู)ปัจจุบันเป็นรอง
คณบดีอ.ธงชัยสีโสภณเป็นรองหัวหน้าฝ่ายยานพาหนะเป็นต้นเนื่องจากในอดีต
รองนิรันดร์เคยทำ�กิจกรรมสมัยเรียนมหาวิทยาลัยขอนแก่นเคยเป็นนายกองค์การ
นักศึกษาจึงมีประสบการณ์ในการทำ�กิจการนักศึกษามาเป็นอย่างดีได้มอบหมาย
ให้ผมและอ.ธงชัยไปเป็นที่ปรึกษาองค์การนักศึกษาและชมรมต่างๆจนสนิทสนม
เป็นทีมงานเดียวกัน เมื่อทำ�กิจกรรมใดก็ให้ผู้นำ�นักศึกษามีส่วนร่วมทุกระดับ ทั้ง
กิจกรรมภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย การขับเคลื่อนงานกิจการนักศึกษาจีง
เจริญรุดหน้ามีประสิทธิภาพงานกิจกรรมภายนอกได้สนับสนุนให้นักศึกษาไปออก
ค่ายอาสาพัฒนาในชนบทห่างไกล และไปร่วมรณรงค์ประเด็นทางสังคมต่างๆ ไป
ศึกษาการทำ�งานขององค์กรชาวบ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน และองค์กรพัฒนาเอกชน
งานภายในก็สนับสนุนกิจกรรมแข่งกีฬา การเชียร์ ไหว้ครู ปฐมนิเทศนักศีกษาใหม่
งานทางศาสนาก็จัดงานเทศน์มหาชาติ เป็นต้น ผลจากการพัฒนาผู้นำ�นักศึกษา
ยุคนั้น มีผู้นำ�นักศึกษาส่วนหนึ่งเมื่อเรียนจบแล้ว ก็กลับมาบรรจุเป็นเจ้าหน้าที่งาน
กิจการนักศึกษาทั้งส่วนกลาง และของคณะ สไตล์การบริหารของรองนิรันดร์ คือ
นอกจากการดำ�เนินงานในหน้าที่รับผิดชอบให้ลุล่วงแล้วยังเน้นพัฒนาทีมงานให้
เป็นผู้บริหาร ผู้นำ�รุ่นใหม่ของมหาวิทยาลัย ในตอนแรกลูกน้องอาจจะมองไม่เห็น
แต่เมื่อเวลาผ่านไปหลายปีมองย้อนกลับไปจะเริ่มเข้าใจ
แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี
ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน14
	 ช่วงปี 2559-2562 หลังจากหมดวาระผู้บริหารแล้ว ดร.นิรันดร์ มาสอน
นักศึกษาตามปกติและให้เวลากับการไปลงพื้นที่ ทำ�งานกับชุมชนเป็นหลัก เพราะ
ท่านบอกน้องๆว่าช่วงใกล้เกษียณอายุจะไปทุ่มเทกับการทำ�งานภายนอกมหาวิทยาลัย
ทำ�งานกับชุมชนภาคประชาสังคมโดยเน้นทำ�งานของศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนา
จ.บุรีรัมย์(ศปจ.บุรีรัมย์) ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า
จ.บุรีรัมย์ และ กลุ่ม Buriram Forum (เครือข่ายประชาสังคมบุรีรัมย์) นอกจากนี้
ยังไปจัดรายการวิทยุทันโลกทันเหตุการณ์ ทาง สวท.บุรีรัมย์ (FM 101.75 MHz.)
ทุกวันพฤหัสบดี เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร ความรู้ สู่ประชาชนทั่วไป เป็นรายการที่จัด
ต่อเนื่องยาวนานกว่า 20 กว่าปี
	 ดร.นิรันดร์ ได้รับรางวัลใหญ่ระดับชาติคือ รางวัลแทนคุณแผ่นดิน
ปี 2559 ของเครือเนชั่น ที่จัดที่ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จัดโดย นสพ.คมชัดลึก
และทีวีเนชั่น 22 โดยจะคัดเลือก ปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปัญญาชน
ผู้นำ� ที่ทำ�งานพัฒนาชุมชนท้องถิ่นมายาวนาน จังหวัดละหนึ่งคนเพื่อเข้ารับรางวัล
จากองคมนตรีในจังหวัดบุรีรัมย์ผู้ที่เคยรับรางวัลนี้คือครูบาสุทธินันท์ปรัชญพฤทธิ์
ปราชญ์ชาวบ้าน แห่งมหาชีวาลัยอีสาน ต.สนามชัย อ.สตึก
	 ด้านการส่งเสริมการเรียนการสอนนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัย ดร.นิรัน
ดร์ ร่วมกับศิษย์เก่าจะจัดทำ�ผ้าป่าการศึกษาระดมทุน พัฒนาห้องปฏิบัติการของ
นักศึกษาสาขาบรรณารักษศาสตร์ ใช้ชื่อ “ห้องปฏิบัติการ นิรันดร์ กุลฑานันท์”
เพื่อเป็นห้องที่นักศึกษาใช้ฝึกปฏิบัติงานหลายด้านที่เกี่ยวกับห้องสมุด เช่น งาน
คอมพิวเตอร์ งานฐานข้อมูล งานสืบค้นสารสนเทศ งานซ่อมหนังสือ เป็นต้น เมื่อ
สำ�เร็จการศึกษา นักศึกษาจะมีทักษะในงานด้านต่างๆ อันจะเป็นทรัพยากรบุคคล
ที่มีคุณภาพของหน่วยงาน โดยจะทำ�การทอดผ้าป่ารุ่นแรก ในวันที่ 24 สิงหาคม
2562ซึ่งเป็นวันที่จัดเสวนาทางวิชาการเนื่องในโอกาสเกษียณอายุของรองนิรันดร์
ด้านการช่วยเหลือสังคมภายนอกดร.นิรันดร์ร่วมกับลูกศิษย์และเครือข่ายประชา
สังคม กำ�ลังทำ�บุญผ้าป่าการศึกษา เพื่อพัฒนาห้องสมุดให้ รร.พระปริยัติธรรม
บาลี วัดบัวถนน ต.สูงเนิน อ.กระสัง บุรีรัมย์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของชาวบ้านและ
แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี
ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 15
พระ เณรจากครอบครัวยากจนที่มาเรียน ภาษาบาลี ได้ศึกษาค้นคว้า อาจารย์ได้
นำ�นักศึกษา สาขาบรรณารักษศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มาพัฒนาห้อง
สมุดที่วัดบัวถนนด้วย โดยตั้งชื่อว่า “ห้องสมุด ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์” โดยการ
พัฒนาห้องสมุดจะใช้ระยะเวลา3ปีแบบค่อยเป็นค่อยไปเพราะต้องใช้เวลาให้การ
เก็บรวบรวมหนังสือ สารสนเทศที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาและอื่นๆ
	 ทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือเส้นทางชีวิตดร.นิรันดร์ครูที่เป็นที่เคารพรักของ
ลูกศิษย์ นักวิชาการรุ่นพี่ที่น้องอาจารย์รุ่นหลังจะยึดเป็นต้นแบบ นักวิชาการที่
เป็นที่รักของชาวบ้านของเครือข่ายประชาสังคมชนรุ่นหลังจะยึดหลักคุณธรรม
แนวคิด คุณความดีที่ท่านทำ�ไว้เพื่อสืบสานต่อไป
						 ชมพู อิสริยาวัฒน์
						 9 มิถุนายน 2562
แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี
ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน16
	 ข่าวแว่วมาว่าเรียนจบครบห้ารอบ
	 ชีวิตนี้มีคำ�ตอบสิ่งใดหรือ
	 งานเกษียณซํ้าซากจนบ่คือ
	 ทุกอย่างก้าวแต่ละมื้อคือสิ่งใด
	 ทุกคำ�ถามคือนิยามแห่งชีวิต
	 กุลฑานันท์มีนิมิตคนเมืองหล่ม
	 จากหล่มสักเกิดอยู่ในโคลนตม
	 จึงนิยมช่วยชนชั้นคนตํ่าตาม
	 เขาจึงเลือกวิชาการแบบบ้านๆ
	 สัตย์ซื่อต่อการงานช่วยแบกหาม
	 ทุกข์หรือสุขก็มานะพยายาม
	 ยืนต่อต้านคนทรามของแผ่นดิน
บทกวีของ อ.บำ�รุง บุญปัญญา นักพัฒนาอาวุโส
แต่งให้ อ.นิรันดร์ สดุดี อ.นิรันดร์น้องรัก
แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี
ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 17
	 เส้นทางแห่งวิถีที่เขาเลือก
	 เหมือนว่าเสือกเหมือนว่าโง่เหมือนว่าใช่
	 ยืนหยัดในสิทธิความเป็นไท
	 มีความนัยลึกลํ้าในสำ�นึก
	 ปลุกสำ�นึกศิษย์สาวหนุ่มอีสานใต้
	 รุ่นต่อรุ่นส่งไม้ให้ต่อสู้
	 อยู่กับทุกข์ผองชน....นี่คือครู
	 ผู้ยืนอยู่สู้อธรรมมาเนิ่นนาน
	 จาก คจก.สู่ปากมูลก็ยืนต้าน
	 สสส.ยืนนานขบวนใหญ่
	 สกยอ. โดดเด่นกว่าใครๆ
	 เขาก็ไหวในเหตุการณ์ที่ผ่านมา
	 ใช้ชีวิตคุ้มค่าความเป็นคน
	 นิรันดรนิสัยสนงามสง่า
	 เขาก็คือสามัญชนคนธรรมดา
	 ยืนคงเส้นคงวาตราบนิรันดร์
บำ�รุง บุญปัญญา
5 กรกฏาคม 2562
แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี
ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน18
ปราโมทย์ ในจิต
	 ๏๑
วันคืนกลืนอัตอั้น		จักรวาล
	 เอกภพกลืนกินกาล		ชัดนี้
	 อนิจจังฝังฉาน	 ผลาญสืบ
	 นิรนามหยัดชี้	 อยู่ยั้งยงยืน ฯ
	 ๏๒
หากเติบตื่นชื่นช้อย		คุณธรรม
	 มุ่งสืบสร้างสรรค์นำ�		ก่อเกื้อ
	 สังคมส่องภูมิลํ้า	 กล้าแกร่ง
	 สืบเนื่องเปรื่องปราดเอื้อ		โอบอุ้มแผ่นดิน ฯ
	 ๏๓
คุณธรณินตื่นฟื้น		ชุมชน
	 เสริมสั่งสมภูมิคน		เติบกล้า
	 ปันปัญญาสง่าท้น		ถ้วนทั่ว
	 เสียสละถ่อมทายท้า		ค่าล้นคนจริง ฯ
	 ๏๔
มิ่งมังกรซ่อนซึ้ง		หนึ่งเข้ม
	 เสริมส่งสังคมเต็ม		ถ่องแท้
	 ครูยิ่งใหญ่ให้เปรม		เกริกค่า
	 จงเกษมเปี่ยมแปล้		อยู่ยั้งตราบนิรันดร์ ฯ
บทกวีที่ อ.ปราโมทย์ ในจิต อดีตประธานสโมสร
นักเขียนภาคอีสาน เขียนให้ อ.นิรันดร์
มิ่งมังกรซ่อนซึ้ง
แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี
ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 19
	 นิรันดร์ รุจิระก้อง ขจรไกล
	 กุล เกียรติผ่องอำ�ไพ ทั่วหล้า
	 ฑา แต้มแต่งกาลสมัย ปราชญ์แห่ง ชีวา
	 นันท์ เอกแห่งคุณค่า ส่องหล้าคุณธรรม
	 ครูคือผู้ก่อเกื้อ เจือจุน
	 ผู้กอปรเกิดวิชชาบุญ ช่วยคํ้า
	 สร้างทางต่อเติมทุน เสริมส่ง
	 ศิษย์เจริญเลิศลํ้า นอบน้อมพระคุณครู
ครูวสุพล ลือนาม : ประพันธ์
บทกวีที่เพื่อนครู แต่งให้ อ.นิรันดร์
บทร้อยกรองสดุดี อ.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ชุด 1
แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี
ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน20
	 นิ ราศร่าย เรื่องราว พราวชีวิต
	 รันดร์ วิจิตร ศิษย์ประจักษ์ สลักสมัย
	 กุล ธชาติ ปราชญ์ครูบา คว้าเส้นชัย
	 ฑา ฤทัย มุฑิตาจิต พิศพนม
	 นันท์ นภัส นวัตวิถี ที่สร้างสรรค์
	 ครู นิรันดร์ สานพันธกิจ สฤษดิ์สม
	 ศรี ประชา แซ่ซ้อง สมาคม
	 แผ่นดิน อุดม ชมปรัชญา ศาสตราจารย์
โกศล ชิณภา ศิษย์เอกบรรณ(คบ.)2536 : ประพันธ์
บทกวีที่ลูกศิษย์ แต่งให้ อ.นิรันดร์
บทร้อยกรองสดุดี อ.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ชุด 2
แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี
ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 21
เรียบเรียงโดย ผอ.ธงชัย สนหอม
ประธาน ศปจ.บุรีรัมย์
	 ผมรู้จักอ.นิรันดร์กุลฑานันท์ มากกว่า30ปี ได้มีโอกาสร่วมทำ�กิจกรรม
เพื่อสังคมด้วยกันมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 ที่มีการก่อตั้ง โครงการเสริม
สร้างสิทธิเสรีภาพของประชาชนของสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.)ที่มี
รศ.ดร.โคทมอารียาจากจุฬาฯ(อดีตกกต.ชุดแรก)เป็นประธานในส่วนกลาง มีการ
ขยายกิจกรรมอบรมชาวบ้านเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนสิทธิชุมชนและกฎหมายเบื้อง
ต้น มาเริ่มจัดตั้งสาขาในจังหวัดบุรีรัมย์ มีผู้นำ�ครู อาจารย์ ทนายความ สื่อมวลชน
เอ็นจีโอ เข้าร่วมเป็นกรรมการ สสส.บุรีรัมย์ ซึ่ง อ.นิรันดร์ ได้เข้ามาร่วมงาน สสส.
จึงได้รู้จักคุ้นเคยมาตั้งแต่นั้น และทำ�งานในองค์กรภาคประชาชนต่างๆ ที่ทำ�งาน
เพื่อชุมชนหลายวาระหลายองค์กรยาวนานกว่า30ปี ปัจจุบันก็ได้ทำ�งานที่ศูนย์
ประสานงานภาคีพัฒนา จ.บุรีรัมย์ (ศปจ.บุรีรัมย์)ร่วมกัน ซึ่งเน้นงานช่วยเหลือคน
ยากจน คนเปราะบางในชนบท งานเฝ้าระวังภัยพิบัติ และงานพัฒนา ธรรมนูญ
สุขภาพตำ�บล ในทุกอำ�เภอทั่วจังหวัด
	 ศปจ.บุรีรัมย์ เป็นองค์กรภาคประชาสังคมที่สืบเนื่องมาจากกลุ่มBuriram
Forum ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาสังคม ที่เป็นความร่วมมือของประชาชนจาก
หลากหลายอาชีพ ทั้งครู อาจารย์ ข้าราชการ ทนายความ สื่อมวลชน เอ็นจีโอ
ผู้นำ�ชาวบ้าน พระสงฆ์ ฯลฯ ที่มารวมตัวกันทำ�งานพัฒนาท้องถิ่น ปัจจุบันมีเครือ
ข่ายประชาคมอยู่ทุกอำ�เภอในบุรีรัมย์เรียกว่า ศูนย์พลเมืองอาสาอำ�เภอ(ศพอ.)...
อ.นิรันดร์ นักวิชาการผู้อยู่ในอ้อมกอด
ของประชาชน และภาคประชาสังคม
แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี
ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน22
เป็นภาคประชาสังคมระดับอำ�เภอที่ลงทำ�งานประสานในระดับตำ�บลและหมู่บ้าน
ต่อไปอ.นิรันดร์ในฐานะผอ.ศูนย์พลเมืองอาสาระดับจังหวัดได้ขับเคลื่อนงานกับ
ศูนย์อำ�เภอทั้ง 23 อำ�เภอ ภารกิจที่ขับเคลื่อนคือ การสำ�รวจคนยากจน คนเปราะ
บาง คนป่วยคนพิการในชุมชน และประสานหน่วยงานรัฐมาช่วยเหลือ บางครั้งก็
มอบของใช้จำ�เป็นให้คนจนเหล่านั้นมีการสำ�รวจพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติเช่นน้ำ�ท่วม
และประสานหน่วยงานรัฐมาเฝ้าระวัง รวมทั้งปัจจุบันมีการขับเคลื่อนการยกร่าง
ธรรมนูญสุขภาพตำ�บลเพื่อวางแผนแม่บทในการพัฒนาท้องถิ่นกิจกรรมเหล่านี้ได้
รับการสนับสนุนจากสำ�นักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.)และเครือข่าย
ประชาสังคมสาย นพ.ประเวศ วะสี และนพ.พลเดช ปิ่นประทีป ให้การสนับสนุน
กิจกรรม ผมและอ.นิรันดร์ได้ลงไปร่วมกิจกรรมของศูนย์อำ�เภอได้เห็นการทำ�งาน
ของอาสาสมัครที่ช่วยเหลือคนจนและจัดเวทีธรรมนูญชุมชนอย่างเข้มแข็งจากการ
ทำ�งานแบบติดดินและเป็นกันเองกับทุกคนทำ�ให้อ.นิรันดร์เป็นที่รักของชาวบ้าน
และเครือข่ายเป็นนักวิชาการที่อยู่ในอ้อมกอดของประชาชนและจากการที่อ.นิรัน
ดร์ทำ�งานกับชุมชนมายาวนานแม้ตอนเป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยก็ยังแบ่งเวลามา
ทำ�งานชุมชน ผมเห็นตอนเป็นรองอธิการบดี ก็เห็นอาจารย์แบ่งเวลาช่วงวันหยุด
มาทำ�งานกับชาวบ้านและประสานงานกับภาคประชาสังคมทั่วประเทศโดยเฉพาะ
องค์กรพัฒนา ประชาสังคมในภาคอีสาน ทำ�ให้ได้รับความชื่นชมยกย่องในหมู่นัก
พัฒนานักวิชาการนักกิจกรรมในระดับภาคและประเทศการได้รับการยอมรับของ
สังคมระดับประเทศทำ�ให้อาจารย์ได้รับคัดเลือกให้เข้ารับรางวัลแทนคุณแผ่นดิน
ปี 2559 ของเครือเนชั่น ซึ่งเป็นรางวัลเดียวกับที่ ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์
ปราชญ์ชาวบ้านที่มีชื่อเสียงได้รับ
	 จากประสบการณ์ที่เคยร่วมงานกับ อ.นิรันดร์ และจากการเสวนาแลก
เปลี่ยนกับอาจารย์ พอจะเรียบเรียงประสบการณ์การทำ�งานเพื่อสังคมการศึกษา
หาความรู้ การทำ�ประโยชน์เพื่อชุมชน ในลำ�ดับถัดไป
แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี
ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 23
	 พ.ศ. 2526 อ.นิรันดร์ ร่วมก่อตั้ง โครงการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของ
ประชาชน ภาคอีสาน ของสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.)และนำ�พาทีม
งานอบรม เผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน ประชาธิปไตย ให้แก่ชาว
บ้าน เยาวชน มาอย่างต่อเนื่องนานกว่า 30 ปี จนถึงปัจจุบัน
	 พ.ศ.2532 อ.นิรันดร์พานักศึกษาชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ร่วมอนุรักษ์ป่าดงใหญ๋อ.ปะคำ�ร่วมกับหลวงพ่อประจักษ์ คุตตะจิตโตพระนักอนุรักษ์
ชื่อดัง(ปรากฏในเพลงของแอ๊ด คาราบาว) ทำ�งานอนุรักษ์ป่ากับหลวงพ่อประจักษ์
	 พ.ศ. 2532 เริ่มทำ�งานพัฒนา โครงการส่งเสริมการเลี้ยงวัวเพื่อแก้ปัญหา
ความยากจน ที่ บ้านหนองเชือก ต.เมืองแก อ.สตึก บุรีรัมย์ โดยจัดหาพ่อวัวพันธุ์
อเมริกัน-บรามันให้กลุ่มชาวบ้านนำ�ไปผสมและแบ่งลูกกับทางโครงการโดยมีอ.ไพ
รัตน์ ชื่นศรี สมัยก่อนเป็นครูที่ ต.เมืองแก ช่วยประสาน (ปัจจุบัน อ.ไพรัตน์ เป็น
ปราชญ์ชาวบ้าน จ.บุรีรัมย์)
	 พ.ศ. 2532 อาจารย์เริ่มจัดรายการวิทยุเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ชื่อ
รายการ “ทันโลกทันเหตุการณ์” ที่ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
จ.บุรีรัมย์ ทั้งภาค AM และ FM จัดสัปดาห์ละครั้ง ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันเป็น
เวลา30ปีเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการวิเคราะห์ข่าวเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิ
ประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญ ประชาสังคม การเมือง ชุมชน
	 พ.ศ. 2534 อาจารย์ร่วมงานกับองค์กรกลาง ในการส่งอาสาสมัครร่วม
สังเกตการณ์เลือกตั้งสส.ที่หน่วยเลือกตั้งทั่วจังหวัดบุรีรัมย์มีผู้นำ�ครูชาวบ้านนัก
วิทยุสมัครเล่นกู้ภัยข้าราชการเอ็นจีโอมาร่วมเป็นอาสาสมัครจำ�นวนมากจึงเกิด
การถักทอเชื่อมร้อยเป็นเครือข่ายภาคประชาสังคมของบุรีรัมย์สืบต่อมา โดยท่าน
ได้ร่วมงานกับองค์กรกลางหรือP-NETเข้าร่วมสังเกตการณ์เลือกตั้งสส.อีกหลาย
ครั้ง ทำ�ให้ประสานเครือข่ายครอบคลุมทั้งจังหวัด
การทำ�งานเพื่อสังคมของ อ.นิรันดร์
ผมขอลำ�ดับการทำ�งานเพื่อสังคมของ อ.นิรันดร์ ดังนี้
แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี
ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน24
	 พ.ศ.2535 ร่วมรณรงค์เรื่องสิทธิเสรีภาพกับครป.(คณะกรรมการรณรงค์
เพื่อประชาธิปไตย) จัดเวทีประชาธิปไตยในชุมชน และหมู่บ้าน
	 พ.ศ. 2536 ดร.นิรันดร์เดินทางไปประเทศอังกฤษ ไปนำ�เสนอบทความ
ทางวิชาการในการประชุมไทยศึกษาที่SchoolofOrientalandAfricanStudies
(SOAS), University of London. โดยร่วมทีมกับนักวิชาการส่วนกลาง เช่น
ศ.สุริชัย หวันแก้ว(จุฬา) ศ.ดร.ธเนศร์ เจริญเมือง (มช.) เป็นต้น บทความเรื่อง
ขบวนการภาคประชาชนในภาคอีสาน ในระยะเปลี่ยนผ่าน เพราะเป็นช่วงหลัง
เหตุการณ์พฤษภาทมิฬได้ดูงานที่มหาวิทยาลัยลอนดอนพิพิธภัณฑ์แห่งชาติอังกฤษ
และสัมผัสวิถีชาวบ้านในชานกรุงลอนดอน
	 พ.ศ.2537 อาจารย์ไปประเทศฟิลิบปินส์ ไปร่วมประชุมและอบรมเกี่ยวกับ
การทำ�งานส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคอาเซียน ที่กรุงมะนิลา ในนามกรรมการ
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.) ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนนักสิทธิ
มนุษยชนจากหลายประเทศในกลุ่มอาเซียน ทั้ง อินโดนีเซีย สิงคโปค์ มาเลย์ พม่า
ลาว กัมพูชา เวียตนาม และมีโอกาสไปสัมผัสวิถีชีวิตคนจนในสลัม และชาวนาใน
ชนบท ทำ�ให้เข้าใจเพื่อนบ้านอาเซียนมากขึ้น
	 พ.ศ. 2538 ดร.นิรันดร์ เดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อนอบรม
และฝึกปฏิบัติงานที่ องค์การ OCLC- Online Computer Library Center และ
มหาวิทยาลัยOhio State University(OSU) รัฐโอไฮโอ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการ
วางระบบฐานข้อมูลออนไลน์ของห้องสมุดทั่วโลก นอกจากได้ศึกษาเรียนรู้ในองค์การ
ระหว่างประเทศและในรั้วมหาวิทยาลัยของอเมริกาแล้ว อ.นิรันดร์ ได้ลงไปศึกษา
วิถีชีวิตคนจนเมืองชาวนาเกษตรกรในชนบท ชุมชนคนไทย-ลาวในเมืองโคลัมบัส
เมืองดับบลิน และพื้นที่อื่นในรัฐโอไฮโอ ทำ�ให้เข้าใจวิถีชีวิตของชาวบ้านที่นั่น
	 พ.ศ. 2539 ร่วมรณรงค์สนับสนุนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน กับ
สสร.จนได้รัฐธรรมนูญปี2540ที่เป็นประชาธิปไตยมากมีเครือข่ายพหุภาคีมาร่วม
ด้วยมากมายโดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษามีการจัดเดินรณรงค์ในเมืองถือธงสีเขียว
สนับสนุนให้สภาผ่านร่างรัฐธรรมนูญ 2540
แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี
ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 25
	 พ.ศ. 2540 อาจารย์ร่วมกับเครือข่ายต่างๆในบุรีรัมย์ได้จัดตั้งประชาคม
บุรีรัมย์หรือประชาสังคมบุรีรัมย์ โดยใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Buriram Forum”
รวมพลังพหุภาคีมาร่วมกันพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่ต่อยอดมาจากอาสาสมัคร
ขององค์กรกลาง และ สมาคมสิทธิเสรีภาพฯ (FB เพจบุรีรัมย์พอรั่ม)
	 พ.ศ. 2541 อ.นิรันดร์ได้รับแต่งตั้งให้เป็น รักษาการ ผอ.สำ�นักงานคณะ
กรรมการเลือกตั้ง(กกต.)จ.บุรีรัมย์คนแรกได้ประสานทางจังหวัดขอใช้หอประชุม
วุฒิจาตุรงคการมาเป็นสำ�นักงานกกต.จ.บุรีรัมย์จนได้ก่อสร้างอาคารหลังใหม่ท่าน
ได้ดึงครู แกนนำ�องค์กรกลางมาช่วยงาน กกต.หลายคน เช่น อ.จารุณี โอรสรัมย์
	 พ.ศ.2542อาจารย์ร่วมกับโครงการเพื่อการลงทุนทางสังคม(SIF-Social
InvesmentFund) สนับสนุนทุนให้กลุ่มวิสาหกิจองค์กรชาวบ้านในการฝึกอบรม
อาชีพ ให้ทุนหมุนเวียนในกิจกรรมกลุ่มสร้างศูนย์เด็กร้านค้าชุมชนฯลฯ โดยการ
สนับสนุนครอบคลุมทุกอำ�เภอทั่วจังหวัดบุรีรัมย์ ประสานเป็นเครือข่ายมาจนปัจจุบัน
	 พ.ศ. 2543 ร่วมกับ สำ�นักงานปฏิรูประบบสุขภาพ(สป.รส.) กระทรวง
สาธารณสุขรณรงค์การสร้างเสริมสุขภาพของชาวบ้านในชุมชนและจัดการประชุม
สมัชชาสุขภาพในระดับจังหวัดเพื่อระดมปัญหา ข้อเสนอแนะ นำ�เสนอต่อสมัชชา
สุขภาพแห่งชาติ ที่จัดในส่วนกลางต่อไป
	 พ.ศ.2544-2546ดร.นิรันดร์ร่วมกับสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
(สกว.) โดย ศ.ดร.ปิยะวัติ บุญหลง จัดตั้ง โหนดย่อยคือ สำ�นักงานประสานงาน
วิจัยเพื่อท้องถิ่นอีสานใต้ ของสกว.ทำ�หน้าที่ส่งเสริมให้ ชาวบ้าน ครู นักวิชาการใน
ท้องถิ่นในพี้นที่8จังหวัดอีสานใต้ได้ทำ�วิจัยเพื่อท้องถิ่นได้แก่ชัยภูมินครราชสีมา
บุรีรัมย์สุรินทร์ศรีสะเกษอุบลอำ�นาจเจริญยโสธรและมุกดาหารโดยมีนักวิจัยพี่
เลี้ยงในทุกจังหวัดลงส่งเสริม ติดตามนิเทศโครงการวิจัยซึ่งมีโครงการวิจัยกระจาย
อยู่ใน 8 จังหวัด จึงเกิดเครือข่ายภาคประชาสังคมอีสานใต้สืบต่อมาจนปัจจุบัน
	 พ.ศ. 2546 ดร.นิรันดร์ ไปประชุมและศึกษาดูงานที่ ประเทศเยอรมัน
เกี่ยวกับองค์กรภาคประชาสังคม ที่ เมืองคอนสแตน สตุ๊ดการ์ดและแฟรงก์เฟิร์ต
แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี
ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน26
(Frankfurt)ประเทศเยอรมัน ร่วมกับนักวิชาการที่ทำ�งานภาคประชาสังคมหลาย
คน เช่น ผศ.ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ (มสธ.) อ.ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ ดร.ปรีชา
อุยตระกูล(มรภ.นม) เป็นต้น ได้แลกเปลี่ยนกับนักวิชาการ นักกิจกรรม นักพัฒนา
เยอรมันเกี่ยวกับประชาธิปไตย สิทธิพลเมือง สื่อสารมวลชน วิทยุชุมชน เป็นต้น
ได้มีโอกาสลงชุมชนศึกษาวิถีชีวิตชาวเยอรมัน การทำ�งานของภาคประชาสังคม
สื่อวิทยุชุมชน ได้แลกเปลี่ยนกับอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยคอนสแตนซ์(University
of Konstanz)
	 พ.ศ.2548-ปัจจุบันร่วมกับสถาบันพระปกเกล้าดำ�เนินงานศูนย์กิจกรรม
ร่วมรัฐสภา-ประชาสังคม จ.บุรีรัมย์ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์พัฒนาการเมือง
ภาคพลเมือง) เพื่ออบรม เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย สิทธิ
ชุมชน แก่ประชาชนทั่วไป มีการจัดเวที การอบรม ในหลายอำ�เภอ และรณรงค์
ด้านสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูอนุรักษ์แม่นํ้ามูล การทุ่มเททำ�งานของศูนย์มายาวนาน
ทำ�ให้ ดร.นิรันดร์ ได้รับคัดเลือกให้ได้รับเข็มกิตติคุณสถาบันพระปกเกล้า ประจำ�
ปี 2561
	 พ.ศ.2552-2562อ.นิรันดร์ร่วมงานกับคณะกรรมการธรรมาภิบาลจ.บุรีรัมย์
ในตำ�แหน่งที่ปรึกษาทางวิชาการ ในการทำ�งานตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ
โครงการใหญ่ของหน่วยราชการในจังหวัด ให้เป็นไปอย่างโปร่งใส
	 พ.ศ. 2552-2562 อาจารย์ร่วมเป็นกรรมการมูลนิธิชุมชนอีสาน(ECF) ซึ่ง
เป็นกลไกหลักขององค์พัฒนาเอกชนในภาคอีสาน ที่ทำ�งานพัฒนาชุมชนในทุกด้าน
เช่น สิ่งแวดล้อม ป่าไม้ที่ดิน เกษตรอินทรีย์ เด็ก สตรี เป็นต้น
	 พ.ศ.2554-2562 ร่วมงานกับทีมนพ.ประเวศวะสีนพ.พลเดชปิ่นประทีป
และสำ�นักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) จัดตั้งศูนย์ประสานงานภาคี
พัฒนา จ.บุรีรัมย์ (ศปจ.บุรีรัมย์) เพื่อขับเคลื่อนงานพัฒนา ช่วยเหลือคนยากจน
สำ�รวจพื้นที่ภัยพิบัติ และขับเคลื่อนการจัดทำ�ธรรมนูญสุขภาพตำ�บลในพื้นที่
นำ�ร่องทั้ง23อำ�เภอ จนเกิดเครือข่ายพลเมืองอาสารวมกันในรูปแบบประชาสังคม
ลงทำ�งานกับชุมชนในทุกอำ�เภอ
หนังสือ 60 ปี ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์
หนังสือ 60 ปี ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์
หนังสือ 60 ปี ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์
หนังสือ 60 ปี ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์
หนังสือ 60 ปี ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์
หนังสือ 60 ปี ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์
หนังสือ 60 ปี ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์
หนังสือ 60 ปี ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์
หนังสือ 60 ปี ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์
หนังสือ 60 ปี ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์
หนังสือ 60 ปี ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์
หนังสือ 60 ปี ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์
หนังสือ 60 ปี ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์
หนังสือ 60 ปี ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์
หนังสือ 60 ปี ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์
หนังสือ 60 ปี ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์
หนังสือ 60 ปี ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์
หนังสือ 60 ปี ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์
หนังสือ 60 ปี ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์
หนังสือ 60 ปี ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์
หนังสือ 60 ปี ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์
หนังสือ 60 ปี ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์

More Related Content

What's hot

ใบความรู้ พุทธสาวก ป.1+417+dltvsocp1+55t2soc p01 f26-4page
ใบความรู้ พุทธสาวก ป.1+417+dltvsocp1+55t2soc p01 f26-4pageใบความรู้ พุทธสาวก ป.1+417+dltvsocp1+55t2soc p01 f26-4page
ใบความรู้ พุทธสาวก ป.1+417+dltvsocp1+55t2soc p01 f26-4pagePrachoom Rangkasikorn
 
2562 final project 26,31
2562 final project 26,312562 final project 26,31
2562 final project 26,31Sarocha Somboon
 
งานโก๋แก้
งานโก๋แก้งานโก๋แก้
งานโก๋แก้Pornthip Nabnain
 
มูลนิธิอานันทมหิดล
มูลนิธิอานันทมหิดลมูลนิธิอานันทมหิดล
มูลนิธิอานันทมหิดลmomocrd
 
2562 final-project-2731 (1)
2562 final-project-2731 (1)2562 final-project-2731 (1)
2562 final-project-2731 (1)Sarocha Somboon
 
2562 final-project-2731 (1)
2562 final-project-2731 (1)2562 final-project-2731 (1)
2562 final-project-2731 (1)Sarocha Somboon
 
2562 final project 26,31
2562 final project 26,312562 final project 26,31
2562 final project 26,31Sarocha Somboon
 
หลักสูตรสถานศึกษา23
หลักสูตรสถานศึกษา23หลักสูตรสถานศึกษา23
หลักสูตรสถานศึกษา23mariamsamadeng
 
หลักสูตรสถานศึกษา23
หลักสูตรสถานศึกษา23หลักสูตรสถานศึกษา23
หลักสูตรสถานศึกษา23mariamsamadeng
 

What's hot (11)

V 293
V 293V 293
V 293
 
ใบความรู้ พุทธสาวก ป.1+417+dltvsocp1+55t2soc p01 f26-4page
ใบความรู้ พุทธสาวก ป.1+417+dltvsocp1+55t2soc p01 f26-4pageใบความรู้ พุทธสาวก ป.1+417+dltvsocp1+55t2soc p01 f26-4page
ใบความรู้ พุทธสาวก ป.1+417+dltvsocp1+55t2soc p01 f26-4page
 
2562 final project 26,31
2562 final project 26,312562 final project 26,31
2562 final project 26,31
 
งานโก๋แก้
งานโก๋แก้งานโก๋แก้
งานโก๋แก้
 
มูลนิธิอานันทมหิดล
มูลนิธิอานันทมหิดลมูลนิธิอานันทมหิดล
มูลนิธิอานันทมหิดล
 
5 3-4
5 3-45 3-4
5 3-4
 
2562 final-project-2731 (1)
2562 final-project-2731 (1)2562 final-project-2731 (1)
2562 final-project-2731 (1)
 
2562 final-project-2731 (1)
2562 final-project-2731 (1)2562 final-project-2731 (1)
2562 final-project-2731 (1)
 
2562 final project 26,31
2562 final project 26,312562 final project 26,31
2562 final project 26,31
 
หลักสูตรสถานศึกษา23
หลักสูตรสถานศึกษา23หลักสูตรสถานศึกษา23
หลักสูตรสถานศึกษา23
 
หลักสูตรสถานศึกษา23
หลักสูตรสถานศึกษา23หลักสูตรสถานศึกษา23
หลักสูตรสถานศึกษา23
 

Similar to หนังสือ 60 ปี ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์

ชีวิตและงานเพื่อสังคมของ อ.นิรันดร์-ฉบับร่าง101.docx
ชีวิตและงานเพื่อสังคมของ อ.นิรันดร์-ฉบับร่าง101.docxชีวิตและงานเพื่อสังคมของ อ.นิรันดร์-ฉบับร่าง101.docx
ชีวิตและงานเพื่อสังคมของ อ.นิรันดร์-ฉบับร่าง101.docxNiran Kultanan
 
เมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคม
เมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคมเมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคม
เมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคมFURD_RSU
 
เมืองผาปัง ต้นแบบเมืองสุขภาพดี มีตังค์ ยั่งยืน
เมืองผาปัง ต้นแบบเมืองสุขภาพดี มีตังค์ ยั่งยืนเมืองผาปัง ต้นแบบเมืองสุขภาพดี มีตังค์ ยั่งยืน
เมืองผาปัง ต้นแบบเมืองสุขภาพดี มีตังค์ ยั่งยืนFURD_RSU
 
โครงงานหนูชื่ออาเซียน
โครงงานหนูชื่ออาเซียนโครงงานหนูชื่ออาเซียน
โครงงานหนูชื่ออาเซียนJar 'zzJuratip
 
หนังสือ ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมือง
หนังสือ ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมืองหนังสือ ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมือง
หนังสือ ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมืองFURD_RSU
 
งานนำเสนอกลุ่ม ( 97 2003 )
งานนำเสนอกลุ่ม ( 97 2003 )งานนำเสนอกลุ่ม ( 97 2003 )
งานนำเสนอกลุ่ม ( 97 2003 )Pornthip Tanamai
 
นำเสนอ การจัดการศึกษาสำหรับมวลชน
นำเสนอ การจัดการศึกษาสำหรับมวลชนนำเสนอ การจัดการศึกษาสำหรับมวลชน
นำเสนอ การจัดการศึกษาสำหรับมวลชนก้องภพ เหมือนใจ
 
วารสาร ม.ค. ก.พ.2559
วารสาร ม.ค. ก.พ.2559วารสาร ม.ค. ก.พ.2559
วารสาร ม.ค. ก.พ.2559Yui Yuyee
 
แบบสอบถามการใช้โทรศัพท์มือถือ
แบบสอบถามการใช้โทรศัพท์มือถือแบบสอบถามการใช้โทรศัพท์มือถือ
แบบสอบถามการใช้โทรศัพท์มือถือchaimate
 
เล่มที่ 6 ประเพณี
เล่มที่ 6 ประเพณีเล่มที่ 6 ประเพณี
เล่มที่ 6 ประเพณีหรร 'ษๅ
 
วิจัยญี่ปุ่น
วิจัยญี่ปุ่นวิจัยญี่ปุ่น
วิจัยญี่ปุ่นKritsadin Khemtong
 
กลุ่มกระบือตัวที่สี่แห่งกัตตาก้า --สู่คลื่นลูกที่สี่...หลักจากเทคโนโลยีเปลี่ย...
กลุ่มกระบือตัวที่สี่แห่งกัตตาก้า --สู่คลื่นลูกที่สี่...หลักจากเทคโนโลยีเปลี่ย...กลุ่มกระบือตัวที่สี่แห่งกัตตาก้า --สู่คลื่นลูกที่สี่...หลักจากเทคโนโลยีเปลี่ย...
กลุ่มกระบือตัวที่สี่แห่งกัตตาก้า --สู่คลื่นลูกที่สี่...หลักจากเทคโนโลยีเปลี่ย...freelance
 
โครงการช่วยเหลือเจือปัน
โครงการช่วยเหลือเจือปันโครงการช่วยเหลือเจือปัน
โครงการช่วยเหลือเจือปันPawitporn Piromruk
 

Similar to หนังสือ 60 ปี ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ (20)

ชีวิตและงานเพื่อสังคมของ อ.นิรันดร์-ฉบับร่าง101.docx
ชีวิตและงานเพื่อสังคมของ อ.นิรันดร์-ฉบับร่าง101.docxชีวิตและงานเพื่อสังคมของ อ.นิรันดร์-ฉบับร่าง101.docx
ชีวิตและงานเพื่อสังคมของ อ.นิรันดร์-ฉบับร่าง101.docx
 
V 304
V 304V 304
V 304
 
เมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคม
เมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคมเมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคม
เมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคม
 
เมืองผาปัง ต้นแบบเมืองสุขภาพดี มีตังค์ ยั่งยืน
เมืองผาปัง ต้นแบบเมืองสุขภาพดี มีตังค์ ยั่งยืนเมืองผาปัง ต้นแบบเมืองสุขภาพดี มีตังค์ ยั่งยืน
เมืองผาปัง ต้นแบบเมืองสุขภาพดี มีตังค์ ยั่งยืน
 
โครงงานหนูชื่ออาเซียน
โครงงานหนูชื่ออาเซียนโครงงานหนูชื่ออาเซียน
โครงงานหนูชื่ออาเซียน
 
Work1 pjcom
Work1 pjcomWork1 pjcom
Work1 pjcom
 
หนังสือ ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมือง
หนังสือ ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมืองหนังสือ ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมือง
หนังสือ ความคิดและข้อเสนอในการขับเคลื่อนความเป็นเมือง
 
งานนำเสนอกลุ่ม ( 97 2003 )
งานนำเสนอกลุ่ม ( 97 2003 )งานนำเสนอกลุ่ม ( 97 2003 )
งานนำเสนอกลุ่ม ( 97 2003 )
 
นำเสนอ การจัดการศึกษาสำหรับมวลชน
นำเสนอ การจัดการศึกษาสำหรับมวลชนนำเสนอ การจัดการศึกษาสำหรับมวลชน
นำเสนอ การจัดการศึกษาสำหรับมวลชน
 
บทที่ 4 การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
บทที่ 4 การจัดการสารสนเทศท้องถิ่นบทที่ 4 การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
บทที่ 4 การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
 
Academic Service
Academic ServiceAcademic Service
Academic Service
 
วารสาร ม.ค. ก.พ.2559
วารสาร ม.ค. ก.พ.2559วารสาร ม.ค. ก.พ.2559
วารสาร ม.ค. ก.พ.2559
 
แบบสอบถามการใช้โทรศัพท์มือถือ
แบบสอบถามการใช้โทรศัพท์มือถือแบบสอบถามการใช้โทรศัพท์มือถือ
แบบสอบถามการใช้โทรศัพท์มือถือ
 
เล่มที่ 6 ประเพณี
เล่มที่ 6 ประเพณีเล่มที่ 6 ประเพณี
เล่มที่ 6 ประเพณี
 
วิจัยญี่ปุ่น
วิจัยญี่ปุ่นวิจัยญี่ปุ่น
วิจัยญี่ปุ่น
 
V 289
V 289V 289
V 289
 
กลุ่มกระบือตัวที่สี่แห่งกัตตาก้า --สู่คลื่นลูกที่สี่...หลักจากเทคโนโลยีเปลี่ย...
กลุ่มกระบือตัวที่สี่แห่งกัตตาก้า --สู่คลื่นลูกที่สี่...หลักจากเทคโนโลยีเปลี่ย...กลุ่มกระบือตัวที่สี่แห่งกัตตาก้า --สู่คลื่นลูกที่สี่...หลักจากเทคโนโลยีเปลี่ย...
กลุ่มกระบือตัวที่สี่แห่งกัตตาก้า --สู่คลื่นลูกที่สี่...หลักจากเทคโนโลยีเปลี่ย...
 
Warasanonline255
Warasanonline255Warasanonline255
Warasanonline255
 
โครงการช่วยเหลือเจือปัน
โครงการช่วยเหลือเจือปันโครงการช่วยเหลือเจือปัน
โครงการช่วยเหลือเจือปัน
 
V 283
V 283V 283
V 283
 

More from Niran Kultanan

หนังสือหนังสือบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น รุ่นที่ 15
หนังสือหนังสือบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น รุ่นที่ 15หนังสือหนังสือบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น รุ่นที่ 15
หนังสือหนังสือบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น รุ่นที่ 15Niran Kultanan
 
หนังสือเกษียณอายุ ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ในส่วนคณะมนุษยศาสตร์ฯ
หนังสือเกษียณอายุ ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ในส่วนคณะมนุษยศาสตร์ฯหนังสือเกษียณอายุ ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ในส่วนคณะมนุษยศาสตร์ฯ
หนังสือเกษียณอายุ ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ในส่วนคณะมนุษยศาสตร์ฯNiran Kultanan
 
อบรมวิจัย-ผศ.ไพโรจน์-ยาง
อบรมวิจัย-ผศ.ไพโรจน์-ยางอบรมวิจัย-ผศ.ไพโรจน์-ยาง
อบรมวิจัย-ผศ.ไพโรจน์-ยางNiran Kultanan
 
ยุทธศาสตร์การเมืองภาคพลเมือง ดร.อรัญ
ยุทธศาสตร์การเมืองภาคพลเมือง ดร.อรัญยุทธศาสตร์การเมืองภาคพลเมือง ดร.อรัญ
ยุทธศาสตร์การเมืองภาคพลเมือง ดร.อรัญNiran Kultanan
 
วิจัยท่องเที่ยว ดร.นิรันดร์
วิจัยท่องเที่ยว ดร.นิรันดร์วิจัยท่องเที่ยว ดร.นิรันดร์
วิจัยท่องเที่ยว ดร.นิรันดร์Niran Kultanan
 
หนังสือบัณฑิต มข.15
หนังสือบัณฑิต มข.15หนังสือบัณฑิต มข.15
หนังสือบัณฑิต มข.15Niran Kultanan
 

More from Niran Kultanan (6)

หนังสือหนังสือบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น รุ่นที่ 15
หนังสือหนังสือบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น รุ่นที่ 15หนังสือหนังสือบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น รุ่นที่ 15
หนังสือหนังสือบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น รุ่นที่ 15
 
หนังสือเกษียณอายุ ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ในส่วนคณะมนุษยศาสตร์ฯ
หนังสือเกษียณอายุ ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ในส่วนคณะมนุษยศาสตร์ฯหนังสือเกษียณอายุ ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ในส่วนคณะมนุษยศาสตร์ฯ
หนังสือเกษียณอายุ ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ในส่วนคณะมนุษยศาสตร์ฯ
 
อบรมวิจัย-ผศ.ไพโรจน์-ยาง
อบรมวิจัย-ผศ.ไพโรจน์-ยางอบรมวิจัย-ผศ.ไพโรจน์-ยาง
อบรมวิจัย-ผศ.ไพโรจน์-ยาง
 
ยุทธศาสตร์การเมืองภาคพลเมือง ดร.อรัญ
ยุทธศาสตร์การเมืองภาคพลเมือง ดร.อรัญยุทธศาสตร์การเมืองภาคพลเมือง ดร.อรัญ
ยุทธศาสตร์การเมืองภาคพลเมือง ดร.อรัญ
 
วิจัยท่องเที่ยว ดร.นิรันดร์
วิจัยท่องเที่ยว ดร.นิรันดร์วิจัยท่องเที่ยว ดร.นิรันดร์
วิจัยท่องเที่ยว ดร.นิรันดร์
 
หนังสือบัณฑิต มข.15
หนังสือบัณฑิต มข.15หนังสือบัณฑิต มข.15
หนังสือบัณฑิต มข.15
 

หนังสือ 60 ปี ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์

  • 1. แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 1 แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน รวมข้อเขียนในวาระ การเกษียณอายุราชการ ปี 2562 ของ ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ สนับสนุนโดย กลุ่ม Buriram Forum ศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนา จ.บุรีรัมย์ ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง จ.บุรีรัมย์ 2562 โครงการหนังสืออาศรมสวนนํ้าเพียงดิน 400 หมู่ 4 ต.ชุมเห็ด อ.เมือง บุรีรัมย์ 31000 กองบรรณาธิการ : ธงชัย สนหอม ชมพู อิสริยาวัฒน์ สุธีกิติ์ ฝอดสูงเนิน สุรพงค์ กันถัด กริช เบียนรัมย์ ธงชัย สีโสภณ กังวาน วงศ์วัฒนโสภณ ออกแบบปก : สุรพงค์ กันถัด พิมพ์ : สิงหาคม 2562 พิมพ์ที่ โรงพิมพ์วินัย
  • 2. แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน2 คำ�นำ� หนังสือเล่มนี้จัดทำ�เนื่องในโอกาสที่ผศ.ดร.นิรันดร์กุลฑานันท์เกษียณอายุ ราชการ ในเล่มจะเป็นข้อเขียนของอาจารย์รุ่นน้องในมหาวิทยาลัย เพื่อนร่วมงาน ในภาคประชาสังคม ลูกน้องที่เคยทำ�งานกับอาจารย์ ได้สะท้อนเรื่องราวเกี่ยวกับ อาจารย์ที่แต่ละคนรับรู้เมื่ออ่านข้อเขียนเล่านี้จะมองเห็นภาพของอาจารย์รอบด้าน มากขึ้นแล้วเราจะเข้าใจที่อาจารย์นักกิจกรรมหลายคนเรียกท่านว่ามังกรซ่อนตน เราจะได้อ่านบทกวีของปราชญ์สองท่านที่เขียนถึงอาจารย์ คือ อ.บำ�รุง บุญปัญญา นักพัฒนาอาวุโสภาคอีสาน(ราชสีห์อีสาน) และ อ.ปราโมทย์ ในจิต อดีตประธาน สโมสรนักเขียนภาคอีสาน เพราะอาจารย์ได้ออกไปทำ�งานพัฒนาชุมชนช่วยเหลือ ชาวบ้านที่เชื่อมโยงกับเครือข่ายนักพัฒนา นักเขียน ระดับภาค นอกจากนี้ยังมีบท กวี ข้อเขียนจากลูกศิษย์ เพื่อนครู และข้อคิดที่อาจารย์ชอบ งานเขียนเล่านี้เป็น เพียงส่วนหนึ่งที่สะท้อนแง่มุมบางด้านของอาจารย์ถ้าจะได้ความรู้เพิ่มเติมก็คือการ เข้าไปเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดกับอาจารย์จะได้ข้อมูลความรู้ที่ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น กองบรรณาธิการ อาศรมนํ้าเพียงดิน 2562
  • 3. แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 3 มีลูกศิษย์ อาจารย์รุ่นน้อง เพื่อนฝูง หลายคนถามผมว่าเกษียณแล้วจะทำ� อะไรต่อผมก็จะตอบว่ายังทำ�งานกับชุมชนชาวบ้านและภาคประชาสังคมเหมือน เดิม เพราะการทำ�งานเพื่อสังคม ช่วยเหลือผู้ยากไร้ ทำ�งานแบบจิตอาสานั้นทำ�ได้ ตลอดชีวิต เพียงแต่เปลี่ยนลักษณะการทำ�งานจากการสอนหนังสือนักศึกษา มา ทำ�งานประชุม อบรม กับชาวบ้าน เปลี่ยนสถานที่ทำ�งานจากในมหาวิทยาลัยมา เป็นศาลาในหมู่บ้าน ในวัด ในสวนป่าก็เท่านั้น ผมเห็นตัวอย่างนักวิชาการหมอข้าราชการหลายคนที่เกษียณอายุแล้วยัง ทำ�งานเพื่อสังคมต่อไป อย่าง นพ.ประเวศ วะสี ราษฏรอาวุโส อายุ 87 ปีแล้ว ท่าน ยังทำ�งานพัฒนาชุมชน ทำ�งานกับภาคประชาสังคมตามปกติ ทั้งเป็นวิทยากร ร่วม ประชุมสัมมนา จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำ�งานกับเครือข่ายสมัชชาสุขภาพ ร่วม กับเครือข่ายพลเมืองอาสาที่ช่วยเหลือผู้ยากไร้ในชนบทส่วนดร.โคทมอารียาอดีต กกต.อายุ76ปีแล้วท่านยังทำ�งานช่วยองค์กรพัฒนาหลายแห่งในการทำ�งานช่วย เหลือผู้ยากไร้ในชนบทและทำ�งานด้านพิทักษ์สิทธิมนุษยชนให้กับผู้ด้อยโอกาสจึง ได้ข้อสรุปกับตัวเองว่าคงเดินตามรอยนักวิชาการรุ่นก่อนที่ยังทำ�งานพัฒนาทำ�งาน เพื่อสังคมต่อไปและอาจมาช่วยเป็นวิทยากรพิเศษสอนนักศึกษาบ้างเมื่อได้รับเชิญ จากอาจารย์รุ่นน้อง งานที่ผมต้องสานต่อคือ การสนับสนุนการทำ�งานของเครือข่ายพลเมือง อาสาในแต่ละอำ�เภอในการลงไปช่วยเหลือผู้ยากไร้ คนจนที่เปราะบางในชนบท ทั้งการเก็บรวบรวมข้อมูล การประสานความช่วยเหลือจากหน่วยงาน โดยทำ�ใน นาม“ศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนาจ.บุรีรัมย์(ศปจ.บุรีรัมย์)”รวมทั้งการขับเคลื่อน ความในใจจาก อ.นิรันดร์ การเดินทางหลังจากเกษียณ...คือการทำ�งานเพื่อผู้ยากไร้
  • 4. แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน4 ธรรมนูญสุขภาพชุมชน ให้ชุมชนพี่งตนเองได้ ก็ยังขับเคลื่อนต่อไป ส่วนการเชื่อม ประสานองค์กรชุมชนและเครือข่ายที่ต่อเนื่องจากโครงการ SIF และการรณรงค์ ประเด็นชุมชนเข้มแข็ง ก็ทำ�ในนามกลุ่ม Buriram Forum การลงพื้นที่ไปเยี่ยม ศูนย์การเรียนรู้ สวนเกษตร สวนป่า กลุ่มชาวบ้าน ก็คงจะทำ�มากขึ้น โดยเฉพาะ กลุ่มชาวบ้านที่เคยรับการสนับสนุนจาก SIF และองค์กรชาวบ้านที่เคยอยู่ในพึ้นที่ วิจัยของสกว.อีสานใต้ งานส่งเสริมความเข้มแข็งของภาคพลเมือง ผมก็ยังขับเคลื่อนต่อไป โดย ร่วมงานกับคณะกรรมการศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จ.บุรีรัมย์ ในการจัดอบรมเยาวชนและชาวบ้าน เกี่ยวกับประชาธิปไตย สิทธิชุมชน รัฐธรรมนูญ การขับเคลื่อนแนวทางชุมชนเข้มแข็ง จังหวัดจัดการตนเอง การฟื้นฟู สภาพแวดล้อมในลุ่มนํ้ามูลตอนกลาง การส่งเสริมเครือข่ายเยาวชน เครือข่ายพระ สงฆ์เพื่อการพัฒนา เครือข่ายฝายมีชีวิต เครือข่ายป่าไม้-ที่ดิน เพื่อให้การพัฒนา ท้องถิ่นในทุกด้าน งานที่ประสานกับทางสาขาวิชาคือการที่ผมร่วมกับชมรมศิษย์เก่า บรรณารักษศาสตร์และอาจารย์ในสาขาทำ�ผ้าป่าการศึกษาระดมปัจจัยมาพัฒนา ห้องปฏิบัติการบรรณารักษ์โดยใช้ชื่อว่า“ห้องปฏิบัติการนิรันดร์ กุลฑานันท์”ซึ่ง เป็นทั้งห้องสมุด ห้องไอที ห้องนั่งเรียนหรือนั่งทำ�งานของนักศึกษาสาขาบรรณา รักษ์ฯ จะตั้งอยู่ชั้น 5 อาคารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์(หลังใหม่) ซึ่งจะ เป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนของสาขาวิชาสืบไปและอาจจะขอใช้ห้อง นี้เป็นที่ตั้งของชมรมศิษย์เก่าด้วย งานที่ประสานกับพระสงฆ์คือผมร่วมกับศิษย์เก่าและเครือข่ายภาคประชา สังคมจะไปพัฒนาจัดตั้งห้องสมุด ที่ โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี ประจำ�อำ�เภอกระสัง วัดบัวถนน ต.สูงเนิน อ.กระสัง บุรีรัมย์ เพื่อจัดเก็บหนังสือ สารสนเทศ ที่เกี่ยวกับธรรมะ ภาษาบาลี พุทธศาสนา ประเพณีวัฒนธรรมของท้อง ถิ่น การทำ�การเกษตร เศรษฐกิจพอเพียง ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น ห้องสมุดนี้ใช้
  • 5. แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 5 ชื่อว่า “ห้องสมุด ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์” เน้นให้บริการพระเณรที่มาเรียนภาษา บาลีและธรรมะ และบริการชาวบ้านทั่วไป ส่วนงานจัดรายการวิทยุเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชนทางสวท.บุรีรัมย์และวิทยุ ชุมชนอื่นๆร่วมทั้งสื่อเผยแพร่ทางโซเชี่ยลมีเดียก็คงดำ�เนินงานต่อไปเพื่อประโยชน์ ของส่วนรวมโดยจะนำ�ข้อมูลจากการทำ�งานในชุมชนหมู่บ้านมาเผยแพร่ออกอากาศ ให้สาธารณะชนได้ทราบต่อไป คงต้องอาศัยทีมงานคนรุ่นใหม่ที่เก่งไอทีมาแนะนำ� การใช้สื่อเผยแพรทางโซเชี่ยลมีเดียทั้งยูทูป เฟสบุ๊ค ไลน์ ฯลฯ สื่อดิจิตัลเหล่านี้ นับวันจะใช้แพร่หลายมากขึ้นในหมู่ประชาชน ทำ�ให้เราต้องศึกษาเรียนรู้ เป็นการ ศึกษาตลอดชีวิตครับ งานเขียนหนังสือ งานวิจัย งานวิชาการ งานเขียนต่างๆ ก็จะ ทำ�ต่อ แต่จะเน้นการเขียนเผยแพร่ทางโซเชี่ยลมีเดียเช่นเฟสบุ๊ค และบล็อกเกอร์ ต่างๆ เพราะทำ�ได้ง่าย รวดเร็ว ผู้อ่านเข้าถึงได้ง่าย ถ้ามีจำ�นวนมากพอก็อาจจะนำ� มาพิมพ์รวมเล่มแจกลูกศิษย์ เครือข่าย และชาวบ้าน เป็นช่วงๆ ถือว่าเป็นการคืน ความรู้สู่แผ่นดิน ส่วนด้านการศึกษาและปฏิบัติธรรมกับครูบาอาจารย์คงจะทำ�เข้มข้นขึ้น เพื่อเข้าถึงหลักธรรมคำ�สอนของพุทธะ มีพระอาจารย์ นักคิด ผู้อาวุโสหลายท่าน ที่ผมต้องการไปกราบ ขอความรู้ และแลกเปลี่ยนความคิดด้วย เป็นการพัฒนาสติ ปัญญาของเราให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นก็คงจะมีการเดินทางไปตามวัดวาอารามกราบ ไหว้พระอาจารย์ ไปตามอาศรม สำ�นัก ศูนย์เรียนรู้ ไปพบกับผู้อาวุโสต่างๆ แล้วก็ เอาข้อมูล ความรู้เหล่านั้นมาเผยแพร่สู่สาธารณะทางโซเชี่ยลมีเดีย ซึ่งงานเหล่านี้ ทำ�ได้ตลอดชีวิต. นิรันดร์ กุลฑานันท์ อาศรมสวนนํ้าเพียงดิน 9 สิงหาคม 2562
  • 6. แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน6 อ.ชมพู อิสริยาวัฒน์ รองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ “ความยิ่งใหญ่ คุณธรรมความดี พลังอำ�นาจ ความกล้าหาญ ความเข้ม แข็ง แข็งแกร่ง และทรนง” คือคุณลักษณ์ของมังกร ตรงกับบุคลิกของ อ.นิรันดร์ ซึ่งอาจารย์หลายคนให้ฉายาว่า“มังกรซ่อนตัว”ผมได้รู้จักท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ มายาวนานและได้ทำ�งานกับท่านมาตลอดได้เรียนรู้การ ทำ�งานการขับเคลื่อนองค์กรหลายหน่วยงานที่ท่านมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐและเอกชน ภาคประชาสังคม เห็นความยิ่งใหญ่ความกล้าหาญและความเข้มแข็งสิ่งที่สำ�คัญ มากกว่านั้นคือคุณธรรมความดีที่ท่านมีในการทำ�งานเพื่อช่วยเหลือคนยากจนใน ชนบทแม้แต่งานบริหารในมหาวิทยาลัยสมัยท่านเป็นรองอธิการบดีท่านก็สนับสนุน ให้ทีมงานอาจารย์รุ่นน้องได้แสดงศักยภาพในการทำ�งานเต็มที่ทำ�ให้ทีมงานมีความ สุขในการทำ�งานและขับเคลื่อนงานอย่างแข็งแกร่งแต่เรียบง่าย อาจารย์หลายคนในมหาวิทยาลัยอาจมองไม่ออก ว่าอ.นิรันดร์ มีผลงาน อะไรบ้าง ถึงได้รับรางวัลระดับชาติคือ “รางวัลแทนคุณแผ่นดิน” ปี 2559 ของ เครือเนชั่น รางวัลเดียวกัน กับที่ ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ปราชญ์ชาวบ้านได้ รับ ด้วยบุคลิกที่ ดร.นิรันดร์เป็นคนถ่อมตน พูดน้อยฟังมาก ชอบทำ�งานเพื่อชุมชน อย่างเงียบๆ ชอบทำ�งานแบบปิดทองหลังพระ ท่านเป็นนักวิชาการที่ทำ�งานช่วย เหลือชุมชน ชาวบ้าน และช่วยสังคมมายาวนานกว่า30 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 ที่ เริ่มรับราชการที่วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ มาจนปัจุบัน ก็ทำ�งานกับภาคประชาสังคม ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ มังกรซ่อนตัวแห่งราชภัฏ ครูผู้เป็นที่เคารพรักของลูกศิษย์ และเป็นนักวิชาการ ของประชาชน
  • 7. แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 7 ช่วยเหลือชาวบ้าน ชุมชน ในชนบท ทั้งทำ�งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ทำ�งานพัฒนาแก้ ปัญหาความยากจนในหมู่บ้าน การทำ�งานที่ต่อเนื่องยาวนานจนเป็นที่ยอมรับจาก สังคมจนได้รับรางวัลดังกล่าว อาจารย์บางส่วนในมหาวิทยาลัยไม่รู้จักท่าน ยกเว้น เพื่อนอาจารย์ที่สนิทและทำ�งานชุมชนด้วยกันจนอาจารย์บางท่านให้ฉายาท่านว่า “มังกรซ่อนตัว”ผมได้ติดตามท่านได้เรียนรู้วิธีการทำ�งานพัฒนาเครือข่ายชาวบ้าน จากท่าน บทความนี้เรียบเรียงจากประสบการณ์ของตนที่ร่วมงานกับ ดร.นิรันดร์ และจากการสัมภาษณ์ท่านอีกส่วนหนึ่ง อ.นิรันดร์ บ้านเกิดอยู่ที่ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ คนแถวนั้นเชื้อสายไท ลาวเหมือนทางภาคอีสาน แต่เป็นลาวตอนเหนือที่มีสำ�เนียงพูดเหมือนชาวหลวง พระบาง ไชยะบุรี ในสปป.ลาว และชาวเมืองเลย ทางอีสาน เรียนระดับมัธยมต้นที่ หล่มสักแล้วมาเรียนวิทยาลัยครูเพชรบูรณ์รุ่น1ในระดับป.กศ.ต้นก่อนที่จะแยก จากเพื่อนมาสอบเอ็นทรานซ์เข้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น เรียนปริญญาตรี 4 ปี เมื่อ จบการศึกษาในปี 2524 ก็มาทำ�งานที่บุรีรัมย์ต่อเนื่องมา 37 ปี มีบ้าน มีครอบครัว มีลูกศิษย์และเครือข่ายประชาสังคมอยู่บุรีรัมย์ จึงเป็นชาวบุรีรัมย์โดยปริยาย พ.ศ. 2525 อ.นิรันดร์ เริ่มรับราชการที่วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ ท่านก็สอน นักศึกษาทั้งระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี ในสาขาบรรณารักษศาสตร์ และ สาขาอื่นๆเช่น พัฒนาชุมชน สังคมศึกษา รัฐประศาสนศาสตร์ ประถมศึกษา(ครุ ทายาท)โดยเฉพาะในรุ่นเก่าๆที่จบไปทำ�งานแล้วนับสิบปีจะรู้จักกันดีและยังติดต่อ ท่านเสมอรวมทั้งท่านเคยเป็นที่ปรึกษาให้กับคณะกรรมการองค์การนักศึกษาสมัย แรกๆติดต่อกันหลายสมัยจึงรู้จักกับอดีตนักกิจกรรมของมหาวิทยาลัยหลายรุ่นและ การที่ท่านมีบุคลิกเป็นคนกันเองมีรูปแบบการสอนแบบประชาธิปไตยรับฟังความ คิดเห็นของนักศึกษาเน้นให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนฝึกให้กล้าพูด กล้าแสดงออก และเน้นให้นักศึกษาไปค้นคว้าและมานำ�เสนอในชั้นเน้นการให้นักศึกษา ไปค้นคว้าอ่านหนังสือ ค้นจากอินเตอร์เน็ต แล้วมานำ�เสนอแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ ท่านเป็นครูใจดี กันเองกับนักศึกษาทำ�ให้นักศึกษาความเคารพรักท่านมาก ตลอด
  • 8. แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน8 ระยะเวลา 37 ปี(พ.ศ.2525-2562) ของการเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยท่านชอบ งานสอน แม้ในช่วงที่ดำ�รงตำ�แหน่งเป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยก็ยังมีชั่วโมงสอน ได้ นำ�ประสบการณ์ ความรู้ใหม่ๆมาสอนนักศึกษา ลักษณะการสอนของอาจารย์จะ ยึดนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง อาจารย์จะเป็นเหมือนโค๊ช เทรนเนอร์ ที่คอยชี้แนะ ให้นักศึกษาแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ แล้วนำ�ความรู้มาบอกเล่ารายงานให้ เพื่อนๆฟัง นักศึกษาจึงเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีต่างๆในการเรียนการนำ�เสนองาน เช่น โปรแกรม powerpoint โน๊ตบุ๊ค โปรเจคเตอร์ ยูทูป โซเชี่ยลมีเดียอื่นๆ ใน ขณะสอนจะแทรกอุดมคติที่ดีงาม เช่น ความเสียสละ ความซื่อสัตย์ อดทน ความ เอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น การทำ�งานหนัก การทำ�งานเพื่อส่วนรวม การประหยัด พอเพียง เข้าใจปัญหาสังคม เป็นต้น เพราะมองว่าคุณสมบัติเหล่านี้จะทำ�ให้นักศึกษาจบไป ทำ�งานแล้วจะเป็นที่พึงพอใจของผู้บังคับบัญชาจะเจริญก้าวหน้าในการทำ�งานศิษย์ เก่าหลายคนที่ประสบความสำ�เร็จ เมื่อจบไปทำ�งาน 5-10 ปี ถึงจะเข้าใจเป้าหมาย การสอนของอาจารย์ อ.นิรันดร์ชอบงานกิจกรรมนักศึกษาและงานค่ายอาสาพัฒนาของนักศึกษา เพราะในสมัยที่ท่านเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ท่านก็เป็นนักกิจกรรม ทำ�งานค่าย งานชมชรม งานสโมสรคณะ และงานองค์การนักศึกษา(โดยท่านเป็น นายกองค์การนักศึกษา มข. ตอนเรียนชั้นปีที่ 4) ท่านจึงส่งเสริมให้นักศึกษามี จิตสำ�นึกรับใช้ประชาชนและชอบพานักศึกษาศึกษาธรรมชาติสภาพแวดล้อมโดย เคยพานักศึกษาไปเดินป่าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ภูกระดึง ภูหินร่องกล้า และ เขตป่าสงวนดงใหญ่ อ.ปะคำ� บุรีรัมย์ โดยเฉพาะการร่วมรณรงค์อนุรักษ์ป่าดงใหญ่ กับหลวงพ่อประจักษ์ คุตตะจิตโต พระนักอนุรักษ์ป่าดงใหญ่ในช่วงปี 2532-2533 ศิษย์เก่าหลายคนยังจำ�ได้ดี เพราะหลวงพ่อประจักษ์เป็นผู้นำ�นักศึกษาเดินสำ�รวจ ป่าด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังพานักศึกษาออกค่ายพัฒนาห้องสมุด สอนหนังสือ เด็ก อาจารย์จะสอนให้นักศึกษาใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อ ซื่อสัตย์ เสียสละ เพื่อส่วนรวม อดทนในการทำ�งาน หนักเอาเบาสู้ ใจกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้ อื่น ศิษย์หลายคนนำ�คำ�สอนมาปฏิบัติจนก้าวหน้าในหน้าที่การงานเป็นผู้บริหาร
  • 9. แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 9 ทั้งเป็นศึกษาธิการจังหวัด ผู้อำ�นวยการโรงเรียน ผู้อำ�นวยการ กศน. ครูอาจารย์ บรรณารักษ์ นักพัฒนา นักธุรกิจ ฯลฯ ในช่วงปี 2528-2530 อ.นิรันดร์ ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่กรุงเทพฯ ท่านรักการเรียน ได้สมัครเรียนปริญญาโท 2 มหาวิทยาลัยพร้อมกัน คือสาขา บรรณารักษศาสตร์ เรียนที่ มศว.ประสานมิตร และสาขาการเมืองการปกครอง เรียนที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ในช่วงเย็นหรือคํ่า) ด้วยความขยัน อดทน ทำ�ให้ ท่านสำ�เร็จการศึกษาทั้งสองสาขาในช่วงที่ศึกษาที่กรุงเทพฯท่านชอบไปศึกษาการ ทำ�งาน และช่วยงานองค์กรพัฒนาภาคเอกชน เช่น มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก(มพด.) สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.) เป็นต้นและลงไปศึกษาวิถีชาวบ้านคนจนเมืองในย่านสลัมหลายแห่งในช่วงนี้ท่าน ได้ศึกษาแนวคิดของ ดร.ปรีดี พนมยงค์ และ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ที่เกี่ยวกับการจัด สวัสดิการเพื่อคนจนรัฐสวัสดิการประชาธิปไตยและการพัฒนาชุมชนเมื่อกลับไป ทำ�งานท่านก็นำ�แนวคิดนี้ไปใช้ในการทำ�งานกับภาคประชาสังคม และองค์กรชาว บ้านในภาคอีสาน เมื่อมาทำ�งานอ.นิรันดร์เริ่มพัฒนาห้องสมุดของมหาวิทยาลัยได้นำ�นักศึกษา สาขาบรรณารักษ์ พัฒนาทั้งภายนอกภายในห้องสมุดจนได้มาตรฐานของการเป็น ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา สมัยก่อนท่านพานักศีกษาเอกบบรรณารักษ์พัฒนา ห้องสมุดจนดึกดื่น นักศึกษาหลายรุ่นเคยขนย้าย จัดชั้นหนังสือ ทั้งกลางวันและ กลางคืน และทำ�อาหารทานร่วมกัน ศิษย์เก่าหลายคนจดจำ�บรรยากาศเหล่านั้น ได้ดี หลายคนนำ�ประสบการณ์เล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในการทำ�งานของตนเองจน ประสบความสำ�เร็จ เมื่อมาเป็นหัวหน้าฝ่ายห้องสมุดท่านพัฒนาให้มีห้องค้นคว้า ส่วนบุคคล บริการโสตทัศนศึกษา บริการฐานขัอมูล มุมค้นคว้าข้อสารสนเทศท้อง ถิ่น มุมข้อมูลจังหวัดบุรีรัมย์ มุมหนังสือของคำ�พูน บุญทวี นักเขียนซีไรท์(ที่มอบให้ ตอนมาบรรยายที่บุรีรัมย์)และเป็นผู้ไปร่วมวางแผนของบประมาณสร้างอาคารห้อง สมุดหลังใหม่(อาคาร 6 ชั้น) จนห้องสมุดได้ย้ายจากอาคารเก่ามาอยู่อาคารใหม่ 6 ชั้น
  • 10. แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน10 ด้านศาสนาท่านศึกษาธรรมะของพระอาจารย์ หลายสำ�นัก โดยเฉพาะ พระอาจารย์ที่เน้น การสอนในคิดเป็นเหตุเป็นผล ให้มีสติ อาทิ หลวงพ่อชา สุภั ทโท หลวงพ่อพุทธทาส หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ(วัดป่าเขาน้อย บุรีรัมย์) หลงพ่อสมภพ โชติปัญโญพระอาจารย์ไพศาลวิสาโลและหลวงพ่อสุวรรณนาคสุวัณโณ(วัดพนม ดินสุวรรณาราม ต.สูงเนิน อ.กระสัง จังหวัดบุรีรัมย์) สมัยที่ อ.นิรันดร์ บวชเป็น พระได้ธุดงค์ไปปฏิบัติธรรมกับพระวัดป่าที่เพชรบูรณ์ ขอนแก่นและสุรินทร์ ท่าน อ่านหนังสือธรรมะ ฟังเทป ชมจากยูทูป ในหลักธรรมที่พระอาจารย์เล่านี้บรรยาย และนำ�มาปฏิบัติ ใช้ในการทำ�งาน และได้แลกเปลี่ยนกับอาจารย์ที่สนใจธรรมะอยู่ เสมอด้านวัตรปฏิบัติท่านได้ใส่บาตรพระยามเช้าทุกวันที่หน้าบ้านพักที่บ้านตราด ตรวน ต.ชุมเห็ด บุรีรัมย์ เป็นพระจากวัดป่ารุ่งอรุณ ใกล้ๆหมู่บ้าน และร่วมงานบุญ ของวัดอยู่อย่างสมํ่าเสมอ ในช่วงปี 2539-2540 ดร.นิรันดร์ นำ�นักศึกษาและภาคประชาสังคมร่วม รณรงค์สนับสนุนรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน2540จนผ่านการพิจารณาของรัฐสภา จนนำ�ไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปและเป็นยุคที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมากสิทธิชุมชน ได้รับการยอมรับมากการทำ�งานกับองค์กรชาวบ้านจึงเป็นไปอย่างคึกคักในยุคนั้น ในยุคนั้นเป็นช่วงที่กลุ่ม นพ.ประเวศ วะสี กำ�ลังรณรงค์เสริมสร้างความเข็มแข็ง ให้ภาคประชาสังคม(Civil Society) มีการก่อตัวตั้งประชาคมขึ้นในจังหวัดต่างๆ ดร.นิรันดร์ ร่วมกับเครือข่ายต่างๆในบุรีรัมย์ได้จัดตั้งประชาคมบุรีรัมย์หรือประชา สังคมบุรีรัมย์ โดยใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Buriram Forum” ซึ่งในจังหวัดอื่นก็ใช้ ชื่อคล้ายๆกัน เช่น Korat Forum, Khonkaen Forum เป็นต้น และได้ทำ�งาน ภาคประชาสังคมกับเครือข่ายพหุภาคี ทั้ง ครู อาจารย์ ข้าราชการ ทนายความ สื่อมวลชน พระสงฆ์ ผู้นำ�ชาวบ้าน เอ็นจีโอ ในจังหวัดบุรีรัมย์ ในการพัฒนาท้อง ถิ่นมาจนถึงปัจจุบัน ในปี 2541-2542 ดร.นิรันดร์ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการกองทุนชุมชน (SIF)จังหวัดบุรีรัมย์โดยทางธนาคารโลกได้สนับสนุนงบประมาณผ่านรัฐบาลผ่าน คณะกรรมการกองทุนชุมชนจังหวัด ลงสู่ชุมชนระดับกลุ่มอาชีพของชาวบ้าน เพื่อ
  • 11. แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 11 ทำ�กิจกรรมส่งเสริอาชีพอบรมต่างๆให้ทุนหมุนเวียนก่อสร้างอาคารศูนย์เด็กศูนย์ อบรมชาวบ้าน โรงสีชุมชน ด้วยการเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ดร.นิรันดร์ ในฐานะประธาน คณะกรรมการกองทุนได้กระจายงบประมาณลงช่วยเหลือชุมชนชาวบ้านครอบคลุม ทุกอำ�เภอทั่วจังหวัด ผลักดัน งบประมาณก่อสร้างอาคารให้ศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน หลายคน รวมทั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านของสหายในเขตงานอีสานใต้ ที่อนุสรณ์สถาน ประชาชน อีสานใต้ วัดโคกเขา ต.โคกมะม่วง อ.ปะคำ� บุรีรัมย์ และศูนย์พัฒนาเด็ก เล็กในวัดหลายแห่ง เนื่องจากโครงการ SIF มีพี้นที่กิจกรรมพัฒนาครอบคลุมทุก อำ�เภอทุกตำ�บลในจังหวัดบุรีรัมย์ภายหลังสิ้นสุดโครงการปี2542ทางดร.นิรันดร์ และทีมงานได้จัดตั้งประชาสังคมบุรีรัมย์หรือกลุ่ม Buriram Forum เพื่อติดตาม ให้การสนับสนุนกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับการส่งเสริมจากโครงการSIFมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจุจบันทำ�ให้ชุมชนเกิดการทักถอเครือข่ายมีความเข้มแข็งและอาจารย์เป็น นักวิชาการที่อยู่ในใจชาวบ้านมาตั้งแต่นนั้น เมื่อช่วงปีพ.ศ.2544-2546ดร.นิรันดร์ได้รับการประสานจากทางสำ�นักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ให้เป็น ผอ. สำ�นักงานประสานงานวิจัยเพื่อท้อง ถิ่นอีสานใต้ ของ สกว.ทำ�หน้าที่ส่งเสริมให้ ชาวบ้าน ครู นักวิชาการในท้องถิ่น ใน พี้นที่ 8 จังหวัดอีสานใต้ ได้ทำ�วิจัยเพื่อท้องถิ่น ได้แก่ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบล อำ�นาจเจริญ ยโสธร และมุกดาหาร โดยมีนักวิจัยพี่เลี้ยง ในทุกจังหวัดลงส่งเสริมติดตามนิเทศโครงการวิจัยซึ่งมีโครงการวิจัยกระจายอยู่ใน 8 จังหวัด รวมแล้วไปตํ่ากว่า 50 โครงการ ส่งผลให้เกิดกระแสการศึกษา วิจัยโดย ชาวบ้าน ครู นักวิชาการท้องถิ่น พระสงฆ์ ปราชญ์ชาวบ้าน และ NGOs เกิดการ ประสานความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพชุมชนในภาคอีสานใต้อย่างเข้มแข็ง ช่วงปี 2545-2547 ดร.นิรันดร์ เริ่มเข้าทำ�งานในตำ�แหน่งผู้บริหารของ มหาวิทยาลัยในตำ�แหน่งผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศดูแลศูนย์ คอมพิวเตอร์และพัฒนาระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ได้ร่วมกับคณาจารย์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์กับสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศวางเครือข่ายอินเตอร์ เนตให้ครอบคลุมอาคารเรียน อาคารสำ�นักงานให้มหาวิทยาลัย และริเริ่มตั้งเสา
  • 12. แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน12 ส่งสัญญาณไวไฟตามหอพักนักศึกษา บริเวณลานนั่งพักผ่อนของนักศึกษา และได้ จัดหาเครื่อง Server แม่ข่ายใหม่สำ�หรับศูนย์คอมพิวเตอร์ยี่ห้อ Cisco ทำ�ให้การ ให้บริการสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ช่วงปี 2548-2551 ดร.นิรันดร์ เป็นผู้อำ�นวยการ สถาบันวิจัยและพัฒนา (สวพ.)เป็นช่วงที่คณาจารย์ยังทำ�วิจัยกันน้อยอาจารย์รุ่นใหม่ยังมีประสบการณ์ทำ� วิจัยน้อย อ.นิรันดร์ มีเป้าหมายจะพัฒนาอาจารย์รุ่นใหม่ให้เก่งด้านวิจัยและด้าน บริหาร จึงดึงอาจารย์รุ่นใหม่ไฟแรงมาเป็นรองผู้อำ�นวยการหลายคน และส่งให้ ไปประชุม สัมมนา อบรม ทำ�วิจัย กับ สกว. วช. หรือหน่วยวิจัยอื่นๆ จนหลายคน ประสบความสำ�เร็จ เช่น ดร.เชาวลิต สิมสวย(ปัจจุบันเป็น ผอ.สวพ.) รศ.ดร.ปรีชา ปาโนรัมย์(ปัจจุบันเป็นคณบดีคณะวิทยาการจัดการ) อ.สนิท พาราษฏร์(อดีตรอง ผอ.สวพ.) อ.ณัฐพล แสนคำ�(ปัจจุบันรองผอ.สำ�นักวิทยบริการฯ) ผศ.ดร.สมหมาย ปะติตังโข(นักวิจัยดีเด่น ) อ.อัจฉรา หลาวทอง (นักวิจัยและวิทยากรของ สมาพันธ์ เอสเอ็มอี จ.บุรีรัมย์)เป็นต้น และการใช้นโยบายกระจายทุนวิจัยขนาดเล็กๆ ให้ อาจารย์รุ่นใหม่ได้ทดลองทำ�วิจัยริเริ่มทำ�วารสารวิจัยและพัฒนาเผยแพร่บทความ งานวิจัย จัดงานแสดงผลงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นทุกปี มีชาวบ้าน พระสงฆ์ ตัวแทน ชุมชน มาชมผลงานวิจัย มาฟังการเสนองานวิจัย ช่วงปี 2553-2555 อ.นิรันดร์ ได้เข้าศึกษาระดับปริญญาเอก แบบทำ�วิจัย ที่MagadhUniversityอินเดียโดยทำ�วิจัยเกี่ยวกับการวางนโยบายและแผนของ รัฐไทยในการปฏิรูประบบราชการและระบบธุรกิจ ในช่วงที่ทำ�วิจัยและเดินทางไป อินเดียได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักวิชาการนักคิดนักปรัชญาหลายคนและ ท่านได้ศึกษาแนวคิดของมหาตมะ คานธี และดร. เอ็มเบดการ์ (Dr. Ambedkar) บิดาแห่งรัฐธรรมนูญอินเดียโดยท่านสนใจศึกษาแนวคิดดร.เอ็มเบดการ์อย่างลึก ซึ้ง ดร.เอ็มเบดการ์ เป็นผู้เสียสละทำ�งานให้คนยากคนจนในชนบท และต่อสู้ เพื่อ ความเท่าเทียมให้กับคนวรรณะจัณฑาลในอินเดียท่านทำ�งานพัฒนาชุมชนในชนบท อินเดียตลอดอายุขัย และท่านยังนับถือศาสนาพุทธ ท่านนำ�ประชาชนนับแสนเข้า มานับถือพุทธศาสนา ในแทบทุกเมือง ทุกหมู่บ้านในชนบทที่ยากจนที่อินเดียจะมี
  • 13. แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 13 รูปปั้น ดร.เอ็ม เบดการ์ ตั้งอยู่ แสดงถึงแรงศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อท่าน ดร.นิ รันดร์ ได้นำ�แนวคิดของ ดร.เอ็ม เบดการ์ มาประยุกต์ใช้ในการทำ�งานช่วยเหลือ คนยากจนผ่านการทำ�งานของ ศปจ.บุรีรัมย์และกลุ่ม Buriram Forum โดยการ สำ�รวจข้อมูลคนจนที่เปราะบางในชนบทเช่น คนแก่ คนพิการ ผู้ป่วยติดเตียง เด็ก ยากจน บุคคลไร้สัญชาติ เป็นต้นและให้การช่วยเหลือเบื้องต้น เป็นงานที่ทำ�ผ่าน ศูนย์พลเมืองอาสาระดับอำ�เภอทุกอำ�เภอ ครอบคลุมทั้งจังหวัดบุรีรัมย์ ช่วงปี 2555-2558 ดร.นิรันดร์ เป็นรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ของมหาวิทยาลัย ท่านได้ดึงอาจารย์รุ่นใหม่ๆเข้ามาร่วมงาน ได้สอนให้คำ�แนะนำ� เทคนิคการทำ�งานการบริหารงานฝึกวิทยายุทธ์การเดินเกมบริหารให้รุ่นน้องที่มา ร่วมงานจนหลายคนเป็นผู้บริหารระดับต้น เช่น ผมเอง(อ.ชมพู)ปัจจุบันเป็นรอง คณบดีอ.ธงชัยสีโสภณเป็นรองหัวหน้าฝ่ายยานพาหนะเป็นต้นเนื่องจากในอดีต รองนิรันดร์เคยทำ�กิจกรรมสมัยเรียนมหาวิทยาลัยขอนแก่นเคยเป็นนายกองค์การ นักศึกษาจึงมีประสบการณ์ในการทำ�กิจการนักศึกษามาเป็นอย่างดีได้มอบหมาย ให้ผมและอ.ธงชัยไปเป็นที่ปรึกษาองค์การนักศึกษาและชมรมต่างๆจนสนิทสนม เป็นทีมงานเดียวกัน เมื่อทำ�กิจกรรมใดก็ให้ผู้นำ�นักศึกษามีส่วนร่วมทุกระดับ ทั้ง กิจกรรมภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย การขับเคลื่อนงานกิจการนักศึกษาจีง เจริญรุดหน้ามีประสิทธิภาพงานกิจกรรมภายนอกได้สนับสนุนให้นักศึกษาไปออก ค่ายอาสาพัฒนาในชนบทห่างไกล และไปร่วมรณรงค์ประเด็นทางสังคมต่างๆ ไป ศึกษาการทำ�งานขององค์กรชาวบ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน และองค์กรพัฒนาเอกชน งานภายในก็สนับสนุนกิจกรรมแข่งกีฬา การเชียร์ ไหว้ครู ปฐมนิเทศนักศีกษาใหม่ งานทางศาสนาก็จัดงานเทศน์มหาชาติ เป็นต้น ผลจากการพัฒนาผู้นำ�นักศึกษา ยุคนั้น มีผู้นำ�นักศึกษาส่วนหนึ่งเมื่อเรียนจบแล้ว ก็กลับมาบรรจุเป็นเจ้าหน้าที่งาน กิจการนักศึกษาทั้งส่วนกลาง และของคณะ สไตล์การบริหารของรองนิรันดร์ คือ นอกจากการดำ�เนินงานในหน้าที่รับผิดชอบให้ลุล่วงแล้วยังเน้นพัฒนาทีมงานให้ เป็นผู้บริหาร ผู้นำ�รุ่นใหม่ของมหาวิทยาลัย ในตอนแรกลูกน้องอาจจะมองไม่เห็น แต่เมื่อเวลาผ่านไปหลายปีมองย้อนกลับไปจะเริ่มเข้าใจ
  • 14. แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน14 ช่วงปี 2559-2562 หลังจากหมดวาระผู้บริหารแล้ว ดร.นิรันดร์ มาสอน นักศึกษาตามปกติและให้เวลากับการไปลงพื้นที่ ทำ�งานกับชุมชนเป็นหลัก เพราะ ท่านบอกน้องๆว่าช่วงใกล้เกษียณอายุจะไปทุ่มเทกับการทำ�งานภายนอกมหาวิทยาลัย ทำ�งานกับชุมชนภาคประชาสังคมโดยเน้นทำ�งานของศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนา จ.บุรีรัมย์(ศปจ.บุรีรัมย์) ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จ.บุรีรัมย์ และ กลุ่ม Buriram Forum (เครือข่ายประชาสังคมบุรีรัมย์) นอกจากนี้ ยังไปจัดรายการวิทยุทันโลกทันเหตุการณ์ ทาง สวท.บุรีรัมย์ (FM 101.75 MHz.) ทุกวันพฤหัสบดี เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร ความรู้ สู่ประชาชนทั่วไป เป็นรายการที่จัด ต่อเนื่องยาวนานกว่า 20 กว่าปี ดร.นิรันดร์ ได้รับรางวัลใหญ่ระดับชาติคือ รางวัลแทนคุณแผ่นดิน ปี 2559 ของเครือเนชั่น ที่จัดที่ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จัดโดย นสพ.คมชัดลึก และทีวีเนชั่น 22 โดยจะคัดเลือก ปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปัญญาชน ผู้นำ� ที่ทำ�งานพัฒนาชุมชนท้องถิ่นมายาวนาน จังหวัดละหนึ่งคนเพื่อเข้ารับรางวัล จากองคมนตรีในจังหวัดบุรีรัมย์ผู้ที่เคยรับรางวัลนี้คือครูบาสุทธินันท์ปรัชญพฤทธิ์ ปราชญ์ชาวบ้าน แห่งมหาชีวาลัยอีสาน ต.สนามชัย อ.สตึก ด้านการส่งเสริมการเรียนการสอนนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัย ดร.นิรัน ดร์ ร่วมกับศิษย์เก่าจะจัดทำ�ผ้าป่าการศึกษาระดมทุน พัฒนาห้องปฏิบัติการของ นักศึกษาสาขาบรรณารักษศาสตร์ ใช้ชื่อ “ห้องปฏิบัติการ นิรันดร์ กุลฑานันท์” เพื่อเป็นห้องที่นักศึกษาใช้ฝึกปฏิบัติงานหลายด้านที่เกี่ยวกับห้องสมุด เช่น งาน คอมพิวเตอร์ งานฐานข้อมูล งานสืบค้นสารสนเทศ งานซ่อมหนังสือ เป็นต้น เมื่อ สำ�เร็จการศึกษา นักศึกษาจะมีทักษะในงานด้านต่างๆ อันจะเป็นทรัพยากรบุคคล ที่มีคุณภาพของหน่วยงาน โดยจะทำ�การทอดผ้าป่ารุ่นแรก ในวันที่ 24 สิงหาคม 2562ซึ่งเป็นวันที่จัดเสวนาทางวิชาการเนื่องในโอกาสเกษียณอายุของรองนิรันดร์ ด้านการช่วยเหลือสังคมภายนอกดร.นิรันดร์ร่วมกับลูกศิษย์และเครือข่ายประชา สังคม กำ�ลังทำ�บุญผ้าป่าการศึกษา เพื่อพัฒนาห้องสมุดให้ รร.พระปริยัติธรรม บาลี วัดบัวถนน ต.สูงเนิน อ.กระสัง บุรีรัมย์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของชาวบ้านและ
  • 15. แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 15 พระ เณรจากครอบครัวยากจนที่มาเรียน ภาษาบาลี ได้ศึกษาค้นคว้า อาจารย์ได้ นำ�นักศึกษา สาขาบรรณารักษศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มาพัฒนาห้อง สมุดที่วัดบัวถนนด้วย โดยตั้งชื่อว่า “ห้องสมุด ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์” โดยการ พัฒนาห้องสมุดจะใช้ระยะเวลา3ปีแบบค่อยเป็นค่อยไปเพราะต้องใช้เวลาให้การ เก็บรวบรวมหนังสือ สารสนเทศที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาและอื่นๆ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือเส้นทางชีวิตดร.นิรันดร์ครูที่เป็นที่เคารพรักของ ลูกศิษย์ นักวิชาการรุ่นพี่ที่น้องอาจารย์รุ่นหลังจะยึดเป็นต้นแบบ นักวิชาการที่ เป็นที่รักของชาวบ้านของเครือข่ายประชาสังคมชนรุ่นหลังจะยึดหลักคุณธรรม แนวคิด คุณความดีที่ท่านทำ�ไว้เพื่อสืบสานต่อไป ชมพู อิสริยาวัฒน์ 9 มิถุนายน 2562
  • 16. แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน16 ข่าวแว่วมาว่าเรียนจบครบห้ารอบ ชีวิตนี้มีคำ�ตอบสิ่งใดหรือ งานเกษียณซํ้าซากจนบ่คือ ทุกอย่างก้าวแต่ละมื้อคือสิ่งใด ทุกคำ�ถามคือนิยามแห่งชีวิต กุลฑานันท์มีนิมิตคนเมืองหล่ม จากหล่มสักเกิดอยู่ในโคลนตม จึงนิยมช่วยชนชั้นคนตํ่าตาม เขาจึงเลือกวิชาการแบบบ้านๆ สัตย์ซื่อต่อการงานช่วยแบกหาม ทุกข์หรือสุขก็มานะพยายาม ยืนต่อต้านคนทรามของแผ่นดิน บทกวีของ อ.บำ�รุง บุญปัญญา นักพัฒนาอาวุโส แต่งให้ อ.นิรันดร์ สดุดี อ.นิรันดร์น้องรัก
  • 17. แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 17 เส้นทางแห่งวิถีที่เขาเลือก เหมือนว่าเสือกเหมือนว่าโง่เหมือนว่าใช่ ยืนหยัดในสิทธิความเป็นไท มีความนัยลึกลํ้าในสำ�นึก ปลุกสำ�นึกศิษย์สาวหนุ่มอีสานใต้ รุ่นต่อรุ่นส่งไม้ให้ต่อสู้ อยู่กับทุกข์ผองชน....นี่คือครู ผู้ยืนอยู่สู้อธรรมมาเนิ่นนาน จาก คจก.สู่ปากมูลก็ยืนต้าน สสส.ยืนนานขบวนใหญ่ สกยอ. โดดเด่นกว่าใครๆ เขาก็ไหวในเหตุการณ์ที่ผ่านมา ใช้ชีวิตคุ้มค่าความเป็นคน นิรันดรนิสัยสนงามสง่า เขาก็คือสามัญชนคนธรรมดา ยืนคงเส้นคงวาตราบนิรันดร์ บำ�รุง บุญปัญญา 5 กรกฏาคม 2562
  • 18. แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน18 ปราโมทย์ ในจิต ๏๑ วันคืนกลืนอัตอั้น จักรวาล เอกภพกลืนกินกาล ชัดนี้ อนิจจังฝังฉาน ผลาญสืบ นิรนามหยัดชี้ อยู่ยั้งยงยืน ฯ ๏๒ หากเติบตื่นชื่นช้อย คุณธรรม มุ่งสืบสร้างสรรค์นำ� ก่อเกื้อ สังคมส่องภูมิลํ้า กล้าแกร่ง สืบเนื่องเปรื่องปราดเอื้อ โอบอุ้มแผ่นดิน ฯ ๏๓ คุณธรณินตื่นฟื้น ชุมชน เสริมสั่งสมภูมิคน เติบกล้า ปันปัญญาสง่าท้น ถ้วนทั่ว เสียสละถ่อมทายท้า ค่าล้นคนจริง ฯ ๏๔ มิ่งมังกรซ่อนซึ้ง หนึ่งเข้ม เสริมส่งสังคมเต็ม ถ่องแท้ ครูยิ่งใหญ่ให้เปรม เกริกค่า จงเกษมเปี่ยมแปล้ อยู่ยั้งตราบนิรันดร์ ฯ บทกวีที่ อ.ปราโมทย์ ในจิต อดีตประธานสโมสร นักเขียนภาคอีสาน เขียนให้ อ.นิรันดร์ มิ่งมังกรซ่อนซึ้ง
  • 19. แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 19 นิรันดร์ รุจิระก้อง ขจรไกล กุล เกียรติผ่องอำ�ไพ ทั่วหล้า ฑา แต้มแต่งกาลสมัย ปราชญ์แห่ง ชีวา นันท์ เอกแห่งคุณค่า ส่องหล้าคุณธรรม ครูคือผู้ก่อเกื้อ เจือจุน ผู้กอปรเกิดวิชชาบุญ ช่วยคํ้า สร้างทางต่อเติมทุน เสริมส่ง ศิษย์เจริญเลิศลํ้า นอบน้อมพระคุณครู ครูวสุพล ลือนาม : ประพันธ์ บทกวีที่เพื่อนครู แต่งให้ อ.นิรันดร์ บทร้อยกรองสดุดี อ.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ชุด 1
  • 20. แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน20 นิ ราศร่าย เรื่องราว พราวชีวิต รันดร์ วิจิตร ศิษย์ประจักษ์ สลักสมัย กุล ธชาติ ปราชญ์ครูบา คว้าเส้นชัย ฑา ฤทัย มุฑิตาจิต พิศพนม นันท์ นภัส นวัตวิถี ที่สร้างสรรค์ ครู นิรันดร์ สานพันธกิจ สฤษดิ์สม ศรี ประชา แซ่ซ้อง สมาคม แผ่นดิน อุดม ชมปรัชญา ศาสตราจารย์ โกศล ชิณภา ศิษย์เอกบรรณ(คบ.)2536 : ประพันธ์ บทกวีที่ลูกศิษย์ แต่งให้ อ.นิรันดร์ บทร้อยกรองสดุดี อ.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ชุด 2
  • 21. แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 21 เรียบเรียงโดย ผอ.ธงชัย สนหอม ประธาน ศปจ.บุรีรัมย์ ผมรู้จักอ.นิรันดร์กุลฑานันท์ มากกว่า30ปี ได้มีโอกาสร่วมทำ�กิจกรรม เพื่อสังคมด้วยกันมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 ที่มีการก่อตั้ง โครงการเสริม สร้างสิทธิเสรีภาพของประชาชนของสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.)ที่มี รศ.ดร.โคทมอารียาจากจุฬาฯ(อดีตกกต.ชุดแรก)เป็นประธานในส่วนกลาง มีการ ขยายกิจกรรมอบรมชาวบ้านเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนสิทธิชุมชนและกฎหมายเบื้อง ต้น มาเริ่มจัดตั้งสาขาในจังหวัดบุรีรัมย์ มีผู้นำ�ครู อาจารย์ ทนายความ สื่อมวลชน เอ็นจีโอ เข้าร่วมเป็นกรรมการ สสส.บุรีรัมย์ ซึ่ง อ.นิรันดร์ ได้เข้ามาร่วมงาน สสส. จึงได้รู้จักคุ้นเคยมาตั้งแต่นั้น และทำ�งานในองค์กรภาคประชาชนต่างๆ ที่ทำ�งาน เพื่อชุมชนหลายวาระหลายองค์กรยาวนานกว่า30ปี ปัจจุบันก็ได้ทำ�งานที่ศูนย์ ประสานงานภาคีพัฒนา จ.บุรีรัมย์ (ศปจ.บุรีรัมย์)ร่วมกัน ซึ่งเน้นงานช่วยเหลือคน ยากจน คนเปราะบางในชนบท งานเฝ้าระวังภัยพิบัติ และงานพัฒนา ธรรมนูญ สุขภาพตำ�บล ในทุกอำ�เภอทั่วจังหวัด ศปจ.บุรีรัมย์ เป็นองค์กรภาคประชาสังคมที่สืบเนื่องมาจากกลุ่มBuriram Forum ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาสังคม ที่เป็นความร่วมมือของประชาชนจาก หลากหลายอาชีพ ทั้งครู อาจารย์ ข้าราชการ ทนายความ สื่อมวลชน เอ็นจีโอ ผู้นำ�ชาวบ้าน พระสงฆ์ ฯลฯ ที่มารวมตัวกันทำ�งานพัฒนาท้องถิ่น ปัจจุบันมีเครือ ข่ายประชาคมอยู่ทุกอำ�เภอในบุรีรัมย์เรียกว่า ศูนย์พลเมืองอาสาอำ�เภอ(ศพอ.)... อ.นิรันดร์ นักวิชาการผู้อยู่ในอ้อมกอด ของประชาชน และภาคประชาสังคม
  • 22. แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน22 เป็นภาคประชาสังคมระดับอำ�เภอที่ลงทำ�งานประสานในระดับตำ�บลและหมู่บ้าน ต่อไปอ.นิรันดร์ในฐานะผอ.ศูนย์พลเมืองอาสาระดับจังหวัดได้ขับเคลื่อนงานกับ ศูนย์อำ�เภอทั้ง 23 อำ�เภอ ภารกิจที่ขับเคลื่อนคือ การสำ�รวจคนยากจน คนเปราะ บาง คนป่วยคนพิการในชุมชน และประสานหน่วยงานรัฐมาช่วยเหลือ บางครั้งก็ มอบของใช้จำ�เป็นให้คนจนเหล่านั้นมีการสำ�รวจพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติเช่นน้ำ�ท่วม และประสานหน่วยงานรัฐมาเฝ้าระวัง รวมทั้งปัจจุบันมีการขับเคลื่อนการยกร่าง ธรรมนูญสุขภาพตำ�บลเพื่อวางแผนแม่บทในการพัฒนาท้องถิ่นกิจกรรมเหล่านี้ได้ รับการสนับสนุนจากสำ�นักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.)และเครือข่าย ประชาสังคมสาย นพ.ประเวศ วะสี และนพ.พลเดช ปิ่นประทีป ให้การสนับสนุน กิจกรรม ผมและอ.นิรันดร์ได้ลงไปร่วมกิจกรรมของศูนย์อำ�เภอได้เห็นการทำ�งาน ของอาสาสมัครที่ช่วยเหลือคนจนและจัดเวทีธรรมนูญชุมชนอย่างเข้มแข็งจากการ ทำ�งานแบบติดดินและเป็นกันเองกับทุกคนทำ�ให้อ.นิรันดร์เป็นที่รักของชาวบ้าน และเครือข่ายเป็นนักวิชาการที่อยู่ในอ้อมกอดของประชาชนและจากการที่อ.นิรัน ดร์ทำ�งานกับชุมชนมายาวนานแม้ตอนเป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยก็ยังแบ่งเวลามา ทำ�งานชุมชน ผมเห็นตอนเป็นรองอธิการบดี ก็เห็นอาจารย์แบ่งเวลาช่วงวันหยุด มาทำ�งานกับชาวบ้านและประสานงานกับภาคประชาสังคมทั่วประเทศโดยเฉพาะ องค์กรพัฒนา ประชาสังคมในภาคอีสาน ทำ�ให้ได้รับความชื่นชมยกย่องในหมู่นัก พัฒนานักวิชาการนักกิจกรรมในระดับภาคและประเทศการได้รับการยอมรับของ สังคมระดับประเทศทำ�ให้อาจารย์ได้รับคัดเลือกให้เข้ารับรางวัลแทนคุณแผ่นดิน ปี 2559 ของเครือเนชั่น ซึ่งเป็นรางวัลเดียวกับที่ ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ ปราชญ์ชาวบ้านที่มีชื่อเสียงได้รับ จากประสบการณ์ที่เคยร่วมงานกับ อ.นิรันดร์ และจากการเสวนาแลก เปลี่ยนกับอาจารย์ พอจะเรียบเรียงประสบการณ์การทำ�งานเพื่อสังคมการศึกษา หาความรู้ การทำ�ประโยชน์เพื่อชุมชน ในลำ�ดับถัดไป
  • 23. แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 23 พ.ศ. 2526 อ.นิรันดร์ ร่วมก่อตั้ง โครงการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของ ประชาชน ภาคอีสาน ของสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.)และนำ�พาทีม งานอบรม เผยแพร่ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชน ประชาธิปไตย ให้แก่ชาว บ้าน เยาวชน มาอย่างต่อเนื่องนานกว่า 30 ปี จนถึงปัจจุบัน พ.ศ.2532 อ.นิรันดร์พานักศึกษาชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมอนุรักษ์ป่าดงใหญ๋อ.ปะคำ�ร่วมกับหลวงพ่อประจักษ์ คุตตะจิตโตพระนักอนุรักษ์ ชื่อดัง(ปรากฏในเพลงของแอ๊ด คาราบาว) ทำ�งานอนุรักษ์ป่ากับหลวงพ่อประจักษ์ พ.ศ. 2532 เริ่มทำ�งานพัฒนา โครงการส่งเสริมการเลี้ยงวัวเพื่อแก้ปัญหา ความยากจน ที่ บ้านหนองเชือก ต.เมืองแก อ.สตึก บุรีรัมย์ โดยจัดหาพ่อวัวพันธุ์ อเมริกัน-บรามันให้กลุ่มชาวบ้านนำ�ไปผสมและแบ่งลูกกับทางโครงการโดยมีอ.ไพ รัตน์ ชื่นศรี สมัยก่อนเป็นครูที่ ต.เมืองแก ช่วยประสาน (ปัจจุบัน อ.ไพรัตน์ เป็น ปราชญ์ชาวบ้าน จ.บุรีรัมย์) พ.ศ. 2532 อาจารย์เริ่มจัดรายการวิทยุเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ชื่อ รายการ “ทันโลกทันเหตุการณ์” ที่ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จ.บุรีรัมย์ ทั้งภาค AM และ FM จัดสัปดาห์ละครั้ง ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันเป็น เวลา30ปีเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการวิเคราะห์ข่าวเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิ ประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญ ประชาสังคม การเมือง ชุมชน พ.ศ. 2534 อาจารย์ร่วมงานกับองค์กรกลาง ในการส่งอาสาสมัครร่วม สังเกตการณ์เลือกตั้งสส.ที่หน่วยเลือกตั้งทั่วจังหวัดบุรีรัมย์มีผู้นำ�ครูชาวบ้านนัก วิทยุสมัครเล่นกู้ภัยข้าราชการเอ็นจีโอมาร่วมเป็นอาสาสมัครจำ�นวนมากจึงเกิด การถักทอเชื่อมร้อยเป็นเครือข่ายภาคประชาสังคมของบุรีรัมย์สืบต่อมา โดยท่าน ได้ร่วมงานกับองค์กรกลางหรือP-NETเข้าร่วมสังเกตการณ์เลือกตั้งสส.อีกหลาย ครั้ง ทำ�ให้ประสานเครือข่ายครอบคลุมทั้งจังหวัด การทำ�งานเพื่อสังคมของ อ.นิรันดร์ ผมขอลำ�ดับการทำ�งานเพื่อสังคมของ อ.นิรันดร์ ดังนี้
  • 24. แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน24 พ.ศ.2535 ร่วมรณรงค์เรื่องสิทธิเสรีภาพกับครป.(คณะกรรมการรณรงค์ เพื่อประชาธิปไตย) จัดเวทีประชาธิปไตยในชุมชน และหมู่บ้าน พ.ศ. 2536 ดร.นิรันดร์เดินทางไปประเทศอังกฤษ ไปนำ�เสนอบทความ ทางวิชาการในการประชุมไทยศึกษาที่SchoolofOrientalandAfricanStudies (SOAS), University of London. โดยร่วมทีมกับนักวิชาการส่วนกลาง เช่น ศ.สุริชัย หวันแก้ว(จุฬา) ศ.ดร.ธเนศร์ เจริญเมือง (มช.) เป็นต้น บทความเรื่อง ขบวนการภาคประชาชนในภาคอีสาน ในระยะเปลี่ยนผ่าน เพราะเป็นช่วงหลัง เหตุการณ์พฤษภาทมิฬได้ดูงานที่มหาวิทยาลัยลอนดอนพิพิธภัณฑ์แห่งชาติอังกฤษ และสัมผัสวิถีชาวบ้านในชานกรุงลอนดอน พ.ศ.2537 อาจารย์ไปประเทศฟิลิบปินส์ ไปร่วมประชุมและอบรมเกี่ยวกับ การทำ�งานส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคอาเซียน ที่กรุงมะนิลา ในนามกรรมการ สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.) ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนนักสิทธิ มนุษยชนจากหลายประเทศในกลุ่มอาเซียน ทั้ง อินโดนีเซีย สิงคโปค์ มาเลย์ พม่า ลาว กัมพูชา เวียตนาม และมีโอกาสไปสัมผัสวิถีชีวิตคนจนในสลัม และชาวนาใน ชนบท ทำ�ให้เข้าใจเพื่อนบ้านอาเซียนมากขึ้น พ.ศ. 2538 ดร.นิรันดร์ เดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อนอบรม และฝึกปฏิบัติงานที่ องค์การ OCLC- Online Computer Library Center และ มหาวิทยาลัยOhio State University(OSU) รัฐโอไฮโอ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการ วางระบบฐานข้อมูลออนไลน์ของห้องสมุดทั่วโลก นอกจากได้ศึกษาเรียนรู้ในองค์การ ระหว่างประเทศและในรั้วมหาวิทยาลัยของอเมริกาแล้ว อ.นิรันดร์ ได้ลงไปศึกษา วิถีชีวิตคนจนเมืองชาวนาเกษตรกรในชนบท ชุมชนคนไทย-ลาวในเมืองโคลัมบัส เมืองดับบลิน และพื้นที่อื่นในรัฐโอไฮโอ ทำ�ให้เข้าใจวิถีชีวิตของชาวบ้านที่นั่น พ.ศ. 2539 ร่วมรณรงค์สนับสนุนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน กับ สสร.จนได้รัฐธรรมนูญปี2540ที่เป็นประชาธิปไตยมากมีเครือข่ายพหุภาคีมาร่วม ด้วยมากมายโดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษามีการจัดเดินรณรงค์ในเมืองถือธงสีเขียว สนับสนุนให้สภาผ่านร่างรัฐธรรมนูญ 2540
  • 25. แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน 25 พ.ศ. 2540 อาจารย์ร่วมกับเครือข่ายต่างๆในบุรีรัมย์ได้จัดตั้งประชาคม บุรีรัมย์หรือประชาสังคมบุรีรัมย์ โดยใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Buriram Forum” รวมพลังพหุภาคีมาร่วมกันพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่ต่อยอดมาจากอาสาสมัคร ขององค์กรกลาง และ สมาคมสิทธิเสรีภาพฯ (FB เพจบุรีรัมย์พอรั่ม) พ.ศ. 2541 อ.นิรันดร์ได้รับแต่งตั้งให้เป็น รักษาการ ผอ.สำ�นักงานคณะ กรรมการเลือกตั้ง(กกต.)จ.บุรีรัมย์คนแรกได้ประสานทางจังหวัดขอใช้หอประชุม วุฒิจาตุรงคการมาเป็นสำ�นักงานกกต.จ.บุรีรัมย์จนได้ก่อสร้างอาคารหลังใหม่ท่าน ได้ดึงครู แกนนำ�องค์กรกลางมาช่วยงาน กกต.หลายคน เช่น อ.จารุณี โอรสรัมย์ พ.ศ.2542อาจารย์ร่วมกับโครงการเพื่อการลงทุนทางสังคม(SIF-Social InvesmentFund) สนับสนุนทุนให้กลุ่มวิสาหกิจองค์กรชาวบ้านในการฝึกอบรม อาชีพ ให้ทุนหมุนเวียนในกิจกรรมกลุ่มสร้างศูนย์เด็กร้านค้าชุมชนฯลฯ โดยการ สนับสนุนครอบคลุมทุกอำ�เภอทั่วจังหวัดบุรีรัมย์ ประสานเป็นเครือข่ายมาจนปัจจุบัน พ.ศ. 2543 ร่วมกับ สำ�นักงานปฏิรูประบบสุขภาพ(สป.รส.) กระทรวง สาธารณสุขรณรงค์การสร้างเสริมสุขภาพของชาวบ้านในชุมชนและจัดการประชุม สมัชชาสุขภาพในระดับจังหวัดเพื่อระดมปัญหา ข้อเสนอแนะ นำ�เสนอต่อสมัชชา สุขภาพแห่งชาติ ที่จัดในส่วนกลางต่อไป พ.ศ.2544-2546ดร.นิรันดร์ร่วมกับสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดย ศ.ดร.ปิยะวัติ บุญหลง จัดตั้ง โหนดย่อยคือ สำ�นักงานประสานงาน วิจัยเพื่อท้องถิ่นอีสานใต้ ของสกว.ทำ�หน้าที่ส่งเสริมให้ ชาวบ้าน ครู นักวิชาการใน ท้องถิ่นในพี้นที่8จังหวัดอีสานใต้ได้ทำ�วิจัยเพื่อท้องถิ่นได้แก่ชัยภูมินครราชสีมา บุรีรัมย์สุรินทร์ศรีสะเกษอุบลอำ�นาจเจริญยโสธรและมุกดาหารโดยมีนักวิจัยพี่ เลี้ยงในทุกจังหวัดลงส่งเสริม ติดตามนิเทศโครงการวิจัยซึ่งมีโครงการวิจัยกระจาย อยู่ใน 8 จังหวัด จึงเกิดเครือข่ายภาคประชาสังคมอีสานใต้สืบต่อมาจนปัจจุบัน พ.ศ. 2546 ดร.นิรันดร์ ไปประชุมและศึกษาดูงานที่ ประเทศเยอรมัน เกี่ยวกับองค์กรภาคประชาสังคม ที่ เมืองคอนสแตน สตุ๊ดการ์ดและแฟรงก์เฟิร์ต
  • 26. แทนคุณแผ่นดิน 60 ปี ผศ.ดร.นิรันดร์ กุลฑานันท์ ครูของแผ่นดิน26 (Frankfurt)ประเทศเยอรมัน ร่วมกับนักวิชาการที่ทำ�งานภาคประชาสังคมหลาย คน เช่น ผศ.ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ (มสธ.) อ.ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ ดร.ปรีชา อุยตระกูล(มรภ.นม) เป็นต้น ได้แลกเปลี่ยนกับนักวิชาการ นักกิจกรรม นักพัฒนา เยอรมันเกี่ยวกับประชาธิปไตย สิทธิพลเมือง สื่อสารมวลชน วิทยุชุมชน เป็นต้น ได้มีโอกาสลงชุมชนศึกษาวิถีชีวิตชาวเยอรมัน การทำ�งานของภาคประชาสังคม สื่อวิทยุชุมชน ได้แลกเปลี่ยนกับอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยคอนสแตนซ์(University of Konstanz) พ.ศ.2548-ปัจจุบันร่วมกับสถาบันพระปกเกล้าดำ�เนินงานศูนย์กิจกรรม ร่วมรัฐสภา-ประชาสังคม จ.บุรีรัมย์ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์พัฒนาการเมือง ภาคพลเมือง) เพื่ออบรม เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย สิทธิ ชุมชน แก่ประชาชนทั่วไป มีการจัดเวที การอบรม ในหลายอำ�เภอ และรณรงค์ ด้านสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูอนุรักษ์แม่นํ้ามูล การทุ่มเททำ�งานของศูนย์มายาวนาน ทำ�ให้ ดร.นิรันดร์ ได้รับคัดเลือกให้ได้รับเข็มกิตติคุณสถาบันพระปกเกล้า ประจำ� ปี 2561 พ.ศ.2552-2562อ.นิรันดร์ร่วมงานกับคณะกรรมการธรรมาภิบาลจ.บุรีรัมย์ ในตำ�แหน่งที่ปรึกษาทางวิชาการ ในการทำ�งานตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ โครงการใหญ่ของหน่วยราชการในจังหวัด ให้เป็นไปอย่างโปร่งใส พ.ศ. 2552-2562 อาจารย์ร่วมเป็นกรรมการมูลนิธิชุมชนอีสาน(ECF) ซึ่ง เป็นกลไกหลักขององค์พัฒนาเอกชนในภาคอีสาน ที่ทำ�งานพัฒนาชุมชนในทุกด้าน เช่น สิ่งแวดล้อม ป่าไม้ที่ดิน เกษตรอินทรีย์ เด็ก สตรี เป็นต้น พ.ศ.2554-2562 ร่วมงานกับทีมนพ.ประเวศวะสีนพ.พลเดชปิ่นประทีป และสำ�นักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) จัดตั้งศูนย์ประสานงานภาคี พัฒนา จ.บุรีรัมย์ (ศปจ.บุรีรัมย์) เพื่อขับเคลื่อนงานพัฒนา ช่วยเหลือคนยากจน สำ�รวจพื้นที่ภัยพิบัติ และขับเคลื่อนการจัดทำ�ธรรมนูญสุขภาพตำ�บลในพื้นที่ นำ�ร่องทั้ง23อำ�เภอ จนเกิดเครือข่ายพลเมืองอาสารวมกันในรูปแบบประชาสังคม ลงทำ�งานกับชุมชนในทุกอำ�เภอ