SlideShare a Scribd company logo
1 of 13
Download to read offline
1
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
รหัสวิชา ง33201 ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 5
ปีการศึกษา 2562
ชื่อโครงงาน การพัฒนาการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรไทย
ชื่อผู้ทำโครงงาน
ชื่อ นางสาวสโรชา สมบุญ เลขที่ 27 ชั้น ม.6 ห้อง 6
นางสาวณัฏณิชา เหล่าชุมแพ เลขที่ 31 ชั้น ม.6 ห้อง 6
อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์
ระยะเวลาดำเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2
ปีการศึกษา 2562
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
2
ใบงาน
การจัดทำข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์
สมาชิกในกลุ่ม
1.นางสาว สโรชา สมบุญ เลขที่ 27 ชั้น ม.6 ห้อง 6
2.นางสาวณัฏฐณิชา เหล่าชุมแพ เลขที่ 31 ชั้น ม.6 ห้อง 6
คำชี้แจง ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเขียนข้อเสนอโครงงานตามหัวข้อต่อไปนี้
ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย)
การพัฒนาการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพร
ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ)
The Development of Utilization of Herbs.
ประเภทโครงงาน จำลองทฤษฎี
ชื่อผู้ทำโครงงาน นางสาวสโรชา สมบุญ
นางสาวณัฏฐณิชา เหล่าชุมแพ
ชื่อที่ปรึกษา ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์
ระยะเวลาดำเนินงาน ภาคเรียนที่1-2
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ปัจจุบัน สมุนไพรถูกนำมาใช้มากขึ้นในรูปแบบของยา ผลิตภัณฑ์ต่างๆ แสดงให้เห็นว่าผู้คนเล็งเห็นถึง
ความสำคัญและสรรพคุณของสมุนไพรกันมากขึ้น นอกจากจะทำยารักษาโรคแล้วยังมี การทำครีมทาผิวจาก
กวาวเครือขาว สบู่ขมิ้นชันผสมมะขาม แชมพูสระผมจากมะกรูด และอื่นๆ โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้ผสมสารสกัดจาก
สมุนไพรที่มีประโยชน์และสรรพคุณต่างๆนานา แต่อย่างไรก็ตาม สมุนไพรก็ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก การแพทย์แผน
ไทยได้นำสมุนไพรไทยมาใช้ประโยชน์มากขึ้น สมุนไพรจึงกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งหนึ่ง ผู้จัดทำจึงมีความสนใจ
ในหัวข้อนี้ เพราะ สมุนไพรเป็นพืชที่หาได้ตามท้องถิ่นและมีในประเทศไทยจำนวนมาก มีผู้นำมาใช้อย่างแพร่หลาย แต่
ก็ยังไม่ได้รับความนิยมเท่ากับยาแผนปัจจุบัน ทำให้เกิดความสงสัยว่า เพราะเหตุใดสมุนไพรที่มีสรรพคุณมากมายและ
รักษาโรคได้จึงไม่ได้รับความนิยม ผู้คนไม่ค่อยให้ความสำคัญ ประกอบกับต้องการศึกษาสรรพคุณสมุนไพรเพื่อเป็น
ความรู้เพิ่มเติมและต่อยอดในอนาคตได้
วัตถุประสงค์
1.เผยแพร่ การใช้ประโยชน์และพัฒนาการใช้ประโยชน์จากสมุนไพร
2.นำเสนอแนวทางการนำสมุนไพรไปใช้ในการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย
3.ต้องการให้บุคคลทั่วไปรู้จักสมุนไพรมากขึ้นและเห็นความสำคัญของสมุนไพร
ขอบเขตโครงงาน
1.ความหมาย ประเภทและสรรพคุณของสมุนไพร ตัวที่มีการใช้ในปัจจุบัน
2.การนำสมุนไพรมาใช้และวิธีการใช้ที่ถูกต้อง
3.การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรในด้านต่างๆ เช่น รักษาโรค บำรุงร่างกาย
3
4.การพัฒนาการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ทำเป็นผลิตภัณฑ์หลายชนิดมากขึ้นไม่ใช่เพียงแค่ยา
รักษาโรค หรือ ทำให้ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรน่าสนใจ ดึงจุดเเด่นของสมุนไพรออกมาให้ผู้คนได้ทราบมากขึ้น เป็นต้น
หลักการและทฤษฎี
การจำแนกรูปแบบของสมุนไพรที่ใช้เป็นยา
สมุนไพรไม่ว่าจะเป็นส่วนที่มาจากพืชวัตถุ สัตว์วัตถุ หรือธาตุวัตถุก็ตาม เวลาจะนำมาใช้เพื่อบริโภค หรือเพื่อการรักษา
ตามกรรมวิธีจำเพาะอันใดก็ตาม พอจะจำแนกรูปแบบของสมุนไพรที่ใช้เป็นยาได้ดังนี้คือ
1. รูปแบบที่เป็นของเหลว ยาเหล่านี้มักได้จากกรรมวิธีต่างๆ กันเช่น ยาต้มคือหั่นต้นยาแล้วต้มกับน้ำ ยาชงเป็นยา
แห้งหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ คั่วแล้วนำไปชงกับน้ำ น้ำคั้นสมุนไพรเตรียมโดยการเอาต้นสมุนไพรสดๆ ตำให้ละเอียด เติมน้ำ
แล้วคั้นเอาน้ำยามารับประทาน และยาดองเตรียมโดยบดสมุนไพรให้แห้งห่อด้วยผ้าขาวบาง ดองในสุรา
2. รูปแบบที่เป็นของแข็ง ยาปั้นลูกกลอน เตรียมโดยหั่นต้นไม้ยาสดให้เป็นแว่นบางๆ ตากแดดให้แห้ง บดเป็นผง
ผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อม 1 ส่วน ปั้นเป็นลูกกลมๆ เล็กๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร ปั้นเสร็จผึ่งแดดจน
แห้ง
3. รูปแบบกึ่งแข็งกึ่งเหลว สมุนไพรเหล่านี้จะทำให้อยู่ในลักษณะพอทรงตัวได้ มักใช้เพื่อการรักษาภายนอก เช่น ยา
พอก เตรียมโดยใช้ต้นสดตำให้แหลกหรือเหลว
4. รูปแบบอื่นๆ ที่มีลักษณะการใช้พิเศษ เช่นใช้วิธีรมควัน เพื่อรักษาโรคของทางเดินหายใจ หรือการรมควันเพื่อ
รักษาแผล และให้มดลูกเข้าอู่ในสตรีภายหลังคลอด
ประเภทของสมุนไพร
สำหรับการแบบประเภทของสมุนไพรไทย นั้น เราใช้การแบ่งประเภทของสมุนไพร ออกเป็น 2 ประเภท คือ สมุนไพร
แผนโบราณ และสมุนไพรแผนปัจจุบัน ซึ่ง รายละเอียด แตกต่างกันอย่างไร มีรายละเอียดดังนี้
สมุนไพรแผนโบราณ คือ สิ่งที่ใช้ในการรักษาโรคต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้จาก พืช สัตว์ หรือแร่ธาตุ ซึ่งลักษณะการใช้งาน
ในการรักษา เช่น ใช้ทำเป็นส่วนประกอบของอาหาร เครื่องดื่ม ยา หรือเครื่องสำอาง ซึ่งสมุนไพรแผนโบราณ เป็น
ความรู้และภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอด จากอดีตสู่ปัจจุบัน สำหรับสมุนไพรไทย ตามแบบฉบับแพทย์แผนไทย นั้น
สามารถแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ สมุนไพรไทยแผนโบราณ และสมุนไพรจีนแผนโบราณ รายละเอียดดังต่อไปนี้
4
● สมุนไพรไทยแผนโบราณ คือ พืช สัตว์ หรือแร่ธาตุ ที่สามารถหาได้ในท้องถิ่นของประเทศไทย ซึ่งแพทย์ใช้
สิ่งเหล่านี้มาเป็นส่วนประกอบของยารักษาโรค อาหาร เครื่องดื่ม หรือเครื่องสำอาง
● สมุนไพรจีนแผนโบราณ คือ พืช สัตว์ หรือแร่ธาตุ ที่ใช้ในการรักษาโรค โดยเป็นสมุนไพร ที่มีอยู่ในประเทศ
จีน เป็นความรู้และภูมิปัญญาการรักษาโรคที่ได้จากชนชาติจีน และสมุนไพรเหล่านี้ ส่วนใหญ่หาได้ที่ประเทศ
จีน หรือประเทศที่มีภูมิอากาศใกล้เคียงกับประเทศจีน
สมุนไพรแผนปัจจุบัน คือ พืช สัตว์ หรือแร่ธาตุ ที่ทางการแพทย์และเภสัชกร สมัยใหม่ ได้ศึกษา และทดลองแล้ว ให้
การยอมรับถึงผลของสมุนไพร เพื่อใช้ในการรักษาโรคต่างๆ ซึ่งสมุนไพรแผนปัจจุบัน สามารถสกัดพืช สัตว์หรือแร่ธาตุ
ต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบผง เม็ด น้ำ หรือ ครีม เป็นต้น เรียกลักษณะนี้ว่าการสกัดเอาสารบางชนิดจากสมุนไพรมาใช้
ประโยชน์ทางการแพทย์
● ประเภทของสมุนไพรตามหลักเภสัชกรรม
สำหรับประเภทของสมุนไพร ตามแบบเภสัชกร นั้น เราแบ่งสมุนไพรออกเป็นชนิดต่างๆ ตามความแตกต่างของ
วัตถุดิบ ประกอบด้วย พืช สุตว์และแร่ธาตุ รายละเอียดของสมุนไพรที่แบ่งตามหลักเภสัชศาสตร์ มี ดังนี้
❖ พืชสมุนไพร
สมุนไพรชนิดพืช สามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ซึ่งประกอบด้วย แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
● ชนิดต้นไม้ อาทิ เช่น ต้นพิกุล ต้นขี้เหล็ก ต้นมะตูม เป็นต้น
● ชนิดเถาหรือเครือ อาทิ เช่น บอระเพ็ด เถาคันแดง เป็นต้น
● ชนิดหัวหรือเหง้า อาทิ เช่น ข่า ขิง กระชาย กวาวเครือ เป็นต้น
● ชนิดผัก อาทิ เช่น ผักบุ้ง ผักชี ผักกาด เป็นต้น
● ชนิดหญ้า อาทิ เช่น หญ้าแพรก หญ้าคา ตะไคร้ เป็นต้น
❖ สัตว์สมุนไพร
สมุนไพรที่ได้จากสัตว์ต่างๆ สามารถแบ่งประเภทของสัตว์สมุนไพรออกเป็น 3 ประเภท คือ สัตว์บกสมุนไพร สัตว์น้ำ
สมุนไพร และสัตว์ปีกสมุนไพร รายละเอียด ดังนี้
● สัตว์บกสมุนไพร อาทิ เช่น ควายเผือก หมีควาย เสือ ตุ๊กแก งู เป็นต้น
● สัตว์น้ำสมุนไพร อาทิ เช่น ปลาฉลาม เต่า ปลาหมึก หอยสังข์ เป็นต้น
● สัตว์ปีกสมุนไพร อาทิ เช่น นกนางแอ่น ผึ้ง เป็นต้น
❖ แร่ธาตุสมุนไพร
สมุนไพร ที่ได้จากแร่ธาตุต่างๆ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สมุนไพรแร่ธาตุที่สลายตัวยาก และสมุนไพรแร่
ธาตุที่สลายตัวเร็ว รายละเอียด ดังนี้
● ชนิดสลายตัวยาก อาทิ เช่น เหล็ก ทองคำ เงิน เป็นต้น
● ชนิดสลายตัวเร็ว อาทิเช่น สารส้ม พิมเสน เกลือ เป็นต้น
5
ประเภทสมุนไพรแบ่งตามคุณสมบัติของสมุนไพร
การแบ่งชนิดของสมุนไพร ยังมีการแบ่งตามรสชาติของสมุนไพร ชนิดนั้นๆ ด้วย ซึ่ง สมุนไพร ที่มีรสชาติต่างกัน ให้
สรรพคุณในการรักษาโรคที่ต่างกัน รสชาติจึงสามารถบ่งบอกประโยชน์ด้านการรักษาโรคได้ด้วย ซึ่งรายละเอียดของ
สมุนไพรรสชาติ ต่างๆ สามารถแบ่งได้ มี 9 รสชาติ ประกอบด้วย รสฝาด รสหวาน รสเมา รสขม รสเผ็ด รสมัน รส
หอม รสเค็ม และรสเปรี้ยว รายละเอียดดังนี้
● รสฝาด จะมีประโยชน์ด้านการรักษาแผล ช่วยสมานแผล ได้ดี
● รสหวาน จะมีประโยชน์ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยเพิ่มกำลังวังชา ให้กระชุ่มกระชวย เป็นต้น
● รสเมาเบื่อ จะช่วยให้ขัยของเสียออกจากร่างกายได้ดี แก้พิษ ได้
● รสขม สมุนไพรรสขม ช่วยทำให้เจริญอาหาร กระตุ้นน้ำลาย แก้กระหายน้ำ และบำรุงเลือด เป็นต้น
● รสเผ็ดร้อน จะมีประโยชน์ช่วยบำรุงธาตุขัน ช่วยขับลม บำรุงระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น
● รสมัน ช่วยในการแก้อาการปวดเมื่อย บำรุงเส้นเอ็น แก้ปวดเข่าปวดข้อ เป็นต้น
● รสหอมเย็น ช่วยบำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย แก้ไข้ แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ เป็นต้น
● รสเค็ม ช่วยรักษาโรคผิวหนัง แก้ลมพิษ ได้ดี เป็นต้น
● รสเปรี้ยว ช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงระบบการทำงานของเลือด ได้ดี เป็นต้น
การแปรรูปพืชเพื่อนำมาใช้เป็นสมุนไพร
สำหรับ สมุนไพร สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งสดๆ และการแปรรูป การแปรรูปประโยชน์เพื่อการเก็บไว้ได้นานๆและใน
ปริมาณมากๆ รูปแบบการแปรรูปสมุนไพร มีหลายรูปแบบ รายละเอียด ดังนี้
● ตากแห้ง เป็นการเก็บรักษาสมุนไพรให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีทีสุด ทั้งในแง่ของคุณภาพ ปริมาณและน้ำหนัก
● ทำให้ขนาดเล็กลง เป็นการนำเอาสมุนไพรมาทำให้ขนาดเล็กลง และนำไปตากแห้ง เพื่อให้ปริมาณน้ำของ
สมุนไพรลดลง นิยมใช้กับ ราก เปลือก ลำต้น
● บดปั่นให้เป็นผง เป็นวิธีที่สะดวกในการใช้งานมาก สมันโบราณนิยมนำมาตากแห้งและใช้ครกโขรกให้
ละเอียด
● สกัดน้ำมันหอมระเหย ในสมุนไพรบางชนิดที่มีกลิ่นหอม นำมาต้มสกัดนำน้ำมันจากสมุนไพร มาปรุงเป็นยา
ดม ยาหอม ยาทา เป็นต้น
โทษและอันตรายจากการใช้ยาสมุนไพร
สมุนไพรนอกจากจะมีประโยชน์ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บแล้ว ในทางตรงกันข้าม ถ้าใช้ไม่ถูกต้องก็อาจมีโทษและ
อันตรายได้เช่นกัน อันตรายจากสมุนไพรนั้นอาจแยกออกเป็น 3 ประการคือ
ประการที่หนึ่ง อันตรายที่เกิดจากโรคที่ขาดการรักษาเช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือโรคหืด ซึ่ง
การแพทย์ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การให้ยานั้นเพื่อบรรเทาอาการและป้องกันโรคแทรกซ้อนที่
อาจจะเกิดขึ้น ถ้าไม่เข้าใจเกี่ยวกับโรคที่ถูกต้องอาจจะเบื่อก็เลยหยุดยา แล้วรักษาด้วยสมุนไพร มียาสมุนไพรหลาย
ชนิดที่อาจจะไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรค นอกจากนั้นโรคที่ท่านเป็นอยู่บางครั้งก็อาจจะไม่มีอาการเด่นชัด ทำ
ให้เข้าใจผิดคิดว่าโรคหายแล้วก็ละเลยกับการรักษาที่ถูกต้อง นานๆ ไปโรคเดิมอาจจะกำเริบเช่น เป็นความดันโลหิตสูง
มากๆ ไม่ได้รักษาก็อาจจะทำให้เส้นเลือดแตกในสมองเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตได้
6
ประการที่สอง เป็นอันตรายที่เกิดจากฤทธิ์ของสมุนไพรโดยตรง มีสมุนไพรหลายชนิดที่มีสารเคมีที่เป็นพิษร้ายแรง ถ้า
ได้รับเข้าไปจะทำให้เกิดอาการจากพิษของสารชนิดนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น มะเกลือ (มะเกลือเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง)
เป็นที่ทราบกันมานานแล้วว่าผลมะเกลือมีสารเคมีที่สำคัญหลายชนิดที่มีสรรพคุณในการขับถ่ายพยาธิ ตำรับยา
กลางบ้านได้แนะนำให้ใช้ผลมะเกลือสดตำคั้นผสมกะทิ ได้มีรายงานผู้ป่วยหลายรายที่ได้รับพิษจากมะเกลือ ผู้ป่วยมี
อาการไข้ อาเจียน ท้องเดิน หลังจากนั้นจะมีอาการตามัว ตามองไม่เห็น ตาบอดได้ จากการศึกษาวิจัยพบว่า ผล
มะเกลือที่แก่เต็มที่จนมีสีดำนั้น อาจจะมีสาร nepthalene ซึ่งเป็นพิษต่อประสาทตาโดยตรง
ยี่โถ ไม้พุ่มประดับที่นิยมปลูกกันตามบ้านเรือน เคยมีผู้แนะนำให้เอาใบ
ยี่โถต้มน้ำรับประทานเพื่อแก้โรคพิษสุราเรื้อรัง หลังจากรับประทานเข้าไป
มีอาการอาเจียน ท้องเดิน ปวดศีรษะ และปวดท้อง ถ้ารับประทานมาก
พิษของสารเคมีในใบยี่โถจะกดการเต้นของหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นช้าลง
และอาจจะหยุดได้ ดังนั้นจึงควรจะต้องระมัดระวังโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
เด็ก อาจรับประทานเข้าไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ลำโพง มีพิษต่อระบบประสาทโดยตรง ถ้าได้รับเข้าไปมากคนไข้จะมีอาการตาพร่า
มัว ปากแห้ง กระหายน้ำ ม่านตาขยาย ไม่สู้แสง ผิวหนังร้อนแดง ถ้าเป็นมากอาจ
ถึงขั้นสับสน จิตประสาทหลอน และคลุ้มคลั่ง
ประการที่สาม อันตรายจากสารเจือปนในสมุนไพร ทางคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ทำการตรวจ
วิเคราะห์ยาสมุนไพร เพื่อจะหาสารเจือปนที่อาจจะเป็นอันตรายจากตัวอย่างจำนวนร่วมร้อย พบว่ามี arsenic 60% มี
สาร steroids 30% นอกจากนั้นมีสารปรอทและตะกั่วประปราย
• สารปรอท ปรอทที่ผสมในสมุนไพร อาจจะทำให้เป็นพิษ โดยมีอาการปากเปื่อย เหงือกอักเสบ ฟันหลุด
น้ำลายไหลมากผิดปกติ และไตวาย เป็นต้น
• สารตะกั่ว พิษของสารตะกั่วเป็นที่รู้จักกันดี ตะกั่วเป็นพิษทำให้มีอาการปวดท้อง โลหิตจาง กล้ามเนื้ออ่อน
แรงจากปลายประสาทผิดปกติ เป็นต้น
• Arsenic ในสมัยก่อนนิยมใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนังเรื้อนกวาง และรักษาโรค syphilis ในปัจจุบันเลิกใช้
เพราะเป็นยาอันตราย ในตำราแพทย์โบราณทั้งของไทยและจีนเชื่อว่า arsenic มีคุณสมบัติกระตุ้นให้
กระชุ่มกระชวย แต่ถ้าผู้ป่วยได้รับมากเกินไปก็อาจจะเกิดพิษของ arsenic ได้ ในระยะแรกผู้ป่วยจะมีอาการ
เจ็บคอ ปวดท้อง ท้องเสีย ต่อมาผู้ป่วยมีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณปลายประสาทแปร็บๆ แบบถูกไฟฟ้า
ช็อต ระยะหลังจะมีผื่นตามตัวสีดำ ผิวหนังหนาขึ้น ผู้ป่วยที่ได้รับ arsenic อาจจะมีโอกาสเป็นมะเร็งได้มาก
ขึ้น เช่น มะเร็งผิวหนัง มะเร็งปอด เป็นต้น
• Steroids มีคุณสมบัติบรรเทาอาการของโรคหลายชนิด จึงนิยมเจือปนในสมุนไพร ทำให้โรคบางอย่างดู
เหมือนดีขึ้น เช่น โรคหืด โรคไขข้ออักเสบ แต่ถ้าใช้นานๆ จะมีอาการข้างเคียงและอันตรายอย่างมาก ผู้ป่วยมี
หน้าบวมฉุ เป็นสิว ลำตัวอ้วนกลม ผิวหนังลายเป็นจ้ำเลือดได้ง่าย และกระดูกผุ เป็นต้น ถ้าใช้ติดต่อกันนาน
ทำให้ติดยาและถ้าหยุดยาเฉียบพลัน อาจทำให้ช็อคได้
7
คำแนะนำในการใช้สมุนไพร
สมุนไพรเป็นดาบสองคม พึงระลึกเสมอว่าอะไรก็ตามที่มีประโยชน์มาก ก็อาจมีโทษได้เช่นกัน การใช้สมุนไพรควร
จะต้องระมัดระวัง
หลักการในการใช้สมุนไพรคือ
1. ถ้าเป็นโรคที่ยังพิสูจน์ไม่ได้แน่ชัดว่ารักษาด้วยสมุนไพรได้ผลดี ก็ไม่ควรรักษาด้วยสมุนไพร เช่น งูพิษกัด สุนัขบ้ากัด
โรคบาดทะยัก กระดูกหัก วัณโรค เบาหวาน เป็นต้น
2. กลุ่มอาการบางอย่างที่บ่งชี้ว่า อาจจะเป็นโรคร้ายแรงที่จำเป็นต้องรักษาอย่างรีบด่วนเช่น ไข้สูง ซึม ไม่รู้สึกตัว ปวด
อย่างรุนแรง อาเจียนเป็นเลือด ตกเลือดจากช่องคลอด ท้องเดินอย่างรุนแรง หรือคนไข้เป็นเด็กและสตรีมีครรภ์ ควร
รีบนำปรึกษาแพทย์ แทนที่จะรักษาด้วยสมุนไพร
3. การใช้ยาสมุนไพรนั้น ควรค้นคว้าจากตำรา หรือปรึกษาท่านผู้รู้ โดยใช้ให้ถูกต้อง ใช้ให้ถูกส่วน ใช้ให้ถูกขนาด ใช้ให้
ถูกวิธี ใช้ให้ถูกโรค ใช้ให้ถูกคน
4. ไม่ควรใช้สมุนไพรติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เพราะพิษอาจจะสะสมได้ เมื่อใช้ยาหลายสัปดาห์ อาการไม่ดีขึ้น ควร
ปรึกษาแพทย์
5. ถ้ามีอาการพิษที่เกิดขึ้นจากยาสมุนไพร ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ควรรีบหยุดยาโดยเร็ว
ประโยชน์ของการใช้ยาสมุนไพร
1. ราคาถูกกว่ายาแผนใหม่ (ยาแผนปัจจุบัน) มาก
2. มีพิษและผลข้างเคียงน้อยกว่ายาแผนใหม่
3. สมุนไพรบางชนิดเป็นทั้งอาหารและยาด้วย
4. ไม่ต้องซื้อหา สามารถปลูกได้เองในบ้าน
5. เหมาะกับคนส่วนใหญ่ เพราะสามารถนำมาใช้ได้เอง เมื่อรู้จักวิธีใช้
6. ช่วยลดดุลการค้า ในการสั่งยาจากต่างประเทศ
7. ทำให้คนเห็นคุณค่า และกลับมาดำเนินชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้น
8. ทำให้เกิดความภูมิใจ ในวัฒนธรรม และคุณค่าของความเป็นไทยเพื่อเป็นการอนุรักษ์มรดกไทยในการ
สนับสนุนให้ประชาชนช่วยตนเองในการใช้ยาสมุนไพรตามแบบแผนโบราณ
ปฏิรูปแพทย์แผนไทย ควบคู่กับพัฒนาสมุนไพรไทย
ผ.ศ. ยุพา เต็งวัฒนโชติ วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวถึงการปฏิรูปแพทย์แผน
ไทย ในรายการวิสดอม ทอล์กของอาร์เอสยู วิสดอม ทีวี ว่า “แพทย์แผนไทยจะมองคนแบบองค์รวมทั้งร่างกายและ
จิตใจ เมื่อระบบการทำงานส่วนหนึ่งส่วนใดเสียก็จะไปกระทบอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งแพทย์แผนไทยจะเหมาะสมกับโรคเรื้อรัง
8
ทั้งหลาย เพราะแพทย์แผนปัจจุบันจะบรรเทาอาการ แต่ต้องกินยาควบคุมอาการต่อเนื่อง เมื่อกินไปนานๆจะไปมี
ผลกระทบต่อตับไต ซึ่งจะพาโรคอื่นๆมาอีก”เห็นควรอย่างยิ่งว่าควรเผยแพร่หรือประชาสัมพันธ์ให้คนไทยได้ใช้
หลักการแพทย์แผนไทย โดยการรักษาที่ต้นเหตุ อาการที่จะสืบเนื่องไปอาการต่างๆก็จะน้อยลง สุขภาพจะดีขึ้น ไม่ต้อง
กินยาตลอดชีวิตซึ่งต้องแก้ที่ต้นเหตุคือระบบในร่างกาย
การผลิตยาสมุนไพร ในตำรับหนึ่งจะมีสมุนไพรมากกว่า 10 ชนิดต้องใช้องค์ความรู้ทางการแพทย์แผนไทย
เลือกตำรายาที่ดีแล้วพัฒนาให้ทันสมัย แทนที่จะกินยาต้มนำมาปรับให้สะดวกขึ้น ผลิตในโรงงานมาตรฐาน มีการ
ควบคุมตามมาตรฐานGMP (Good Manufacturing Practice หรือหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร
จัดทำขึ้นโดยหน่วยงานมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ)
การยกระดับแพทย์แผนไทยขึ้นมาให้ได้รับการยอมรับมากขึ้นและทำงานร่วมกันกับแพทย์แผนปัจจุบัน โดยมี
ค่าทางวิทยาศาสตร์มารองรับว่าเมื่อให้ยาไปแล้วผลการรักษาดีขึ้นหรือไม่ก็จะเป็นการยืนยันอย่างหนึ่ง แพทย์แผน
ปัจจุบันก็จะช่วยยืนยันว่ารักษาแล้วดีขึ้นจริงทำให้ได้รับการเชื่อถือมากขึ้น
การพัฒนาสมุนไพรไทยสู่ตลาดโลก ไทยมีความพร้อมในการเข้าร่วมแข่งขันหรือไม่ ?
รองศาสตราจารย์ ดร.สุรพจน์ วงศ์ใหญ่ ผู้เชี่ยวชาญสมุนไพรของสหประชาชาติ และอาจารย์ประจำ
วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ประเทศไทยมีการใช้สมุนไพรเพื่อการรักษามานาน
บรรพบุรุษได้สั่งสมองค์ความรู้ด้านนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยกระทรวงสาธารณสุขได้มีการออกประกาศ กระทรวงฯ
คุ้มครองตําราการแพทย์แผนไทยของชาติ 198 ตํารา และตํารับยาแผนไทยของชาติ 30,000 ตํารับ ตํารายาสมุนไพรที่
สําคัญ เช่น “แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์” ซึ่งเป็นตําราที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดําริให้รวบรวมไว้กว่า 1,200
ตํารับ และยังมีตํารายาวัดโพธิ์ที่รวบรวมจากจารึก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น ซึ่งจาก
เอกสารและจารึกเหล่านี้เป็นสิ่งยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า ประเทศไทยมีการรักษาโรคด้วยยาสมุนไพรมานาน
แต่เมื่อยาเคมีจากต่างชาติเริ่มมามีบทบาทในวิถีชีวิตคนไทย ทําให้ความนิยมใช้ยาสมุนไพรลดลง ภก.รศ.ดร.สุรพจน์
กล่าวว่า ประเทศไทยขาดโอกาสทางการแข่งขันในตลาดยารักษาโรคไปอย่างน่าเสียดาย ทั้งที่ประเทศไทยมีวัตถุดิบคือ
สมุนไพรที่มีคุณภาพ มีสารสําคัญที่จะสกัดออกมา แปรรูปเป็นยาสมุนไพร ที่มีมูลค่าสูง
9
ปัญหาคือ การขาด Know-How เทคโนโลยีสมุนไพรขั้นสูง ซึ่งทําให้ไม่สามารถสร้างนวัตกรรมยาสมุนไพรได้
ตั้งแต่ต้นน้ำคือ การคุมการปลูกพืชสมุนไพรให้ได้คุณภาพ ตัวยาสม่ำเสมอ การขาดเทคโนโลยีการสกัดและการผลิตที่
ทันสมัยเพื่อรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามมาตรฐานสากล อันจะทําให้สามารถส่งไปจําหน่ายได้ทั่วโลก
“เวลานี้กระแสความต้องการสมุนไพรเพิ่มขึ้นสูงมากในตลาดโลกเพราะสมุนไพรช่วยทั้งการรักษาโรคป้องกันและ
ส่งเสริมสุขภาพประเทศเรามีสมุนไพรมากมายและหลากหลายแต่ขาดการสร้างนวัตกรรมเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ดีมี
คุณภาพมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
ในขณะที่การผลิตผลิตภัณฑ์ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการปลูกสมุนไพรต้องปลอดจากสารเคมีหาก
ต้องการแข่งขันในตลาดโลกจะต้องเร่งพัฒนานวัตกรรมทั้งการปลูกสมุนไพรให้ได้คุณภาพสม่ำเสมอปลอดสารพิษ
ไม่ใช้สารเคมีและต้องมีกระบวนการผลิตที่ได้คุณภาพเป็นที่ยอมรับมีการวิจัยเพื่อยืนยันว่าเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ดี
จริงๆ หากทําได้ก็จะสร้างรายได้ให้แก่ประเทศอย่างมหาศาล”
ส่วนเหตุที่ทําให้ความต้องการใช้ยาสมุนไพรเพิ่มมากขึ้นนั้น ภก.รศ.ดร.สุรพจน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เวลานี้ยาเคมี
กําลังประสบปัญหาหลายประการ กล่าวคือ การวิจัยและพัฒนายาใหม่แต่ละตัวนั้นต้องสูงทุนสูงมาก และต้องใช้
เวลานานยาเคมีบางชนิดก็จะมีอาการข้างเคียงที่เป็นพิษไม่สามารถนําวัตถุดิบเคมีในกระบวนการสังเคราะห์ที่ใช้แล้ว
กลับมาใช้ใหม่ได้
โรงงานที่สังเคราะห์ตัวยาเคมีอาจก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ยาเคมีมีราคาแพงทําให้ประชาชนเข้าถึงยากโดยเฉพาะใน
กลุ่มประเทศกําลังพัฒนา นอกจากนั้นมีข้อจํากัดในประสิทธิภาพการรักษาโดยเฉพาะการรักษากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
บางชนิดที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่น โรคหัวใจหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง เบาหวาน มะเร็ง เป็นต้น
การที่รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนการพัฒนาสมุนไพรไทยนั้นนับเป็นเรื่องที่ดีทําให้เปิดโอกาสให้มีการศึกษาวิจัย
ค้นคว้าสมุนไพรมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การพัฒนาจะต้องได้รับความร่วมมือจากหลายๆภาคส่วนมาทำงานร่วม และ
ปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ต้องเรียนรู้ว่าตลาดโลกต้องการอะไร แล้วดําเนินการกําหนดกฎเกณฑ์เพื่อผลิตสินค้าให้
ได้มาตรฐานมีการขึ้นทะเบียนตํารับยาสมุนไพรไทยเพื่อการส่งออกหากทําสําเร็จและได้ผลจริงก็จะก่อให้เกิดประโยชน์
ต่อประเทศชาติอย่างแท้จริงเพราะประชาชนทุกภาคส่วนได้ประโยชน์เป็นการต่อยอดสร้างเศรษฐกิจของประเทศบน
พื้นฐานที่เป็นจุดแข็งของประเทศเรา จะช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นผู้นําของโลกด้านยาสมุนไพรต่อไป
10
แผนแม่บทว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพร ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564
เป้าหมาย
● ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกวัตถุดิบสมุนไพรคุณภาพและผลิตภัณฑ์สมุนไพรชั้นนำ
ของภูมิภาคอาเซียน
● มูลค่าวัตถุดิบสมุนไพรคุณภาพและผลิตภัณฑ์สมุนไพรภายในประเทศเพิ่มขึ้น อย่างน้อย 1
เท่าตัว
พันธกิจ
● พัฒนาสมุนไพรให้เป็นที่ยอมรับ
● ผลิตภัณฑ์สมุนไพรได้มาตรฐานมีคุณภาพและสร้างมูลค่าเพิ่ม
● เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสมุนไพรไทย
● ส่งเสริมให้เกิดความรู้ คามเข้าใจ และการใช้สมุนไพรไทย
ยุทธศาสตร์
➔ส่งเสริมผลิตผลของสมุนไพรที่มีศักยภาพตามความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ
❏ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน
❏ การวิจัยและการจัดทำข้อกำหนดมาตรฐานวัตถุดิบสมุนไพร
❏ การอนุรักษ์และการใช้พืชสมุนไพรจากป่าที่ยั่งยืน
➔พัฒนาอุตสาหกรรมและการตลาดสมุนไพรให้มีคุณภาพระดับสากล
❏ การพัฒนาอุตสาหกรรมสมุนไพรไทย
❏ การพัฒนาการตลาดสมุนไพรไทย
❏ การวิจัยและพัฒนาสมุนไพรไทย
➔ส่งเสริมการใช้สมุนไพรเพื่อรักษาโรคและการสร้างเสริม สุขภาพ
11
❏ การพัฒนาโครงสร้างส่งเสริมการจัดบริการและการใช้สมุนไพรในสถานบริการ
สาธารณสุข
❏ การวิจัย เสริมสร้างองค์ความรู้ มาตรฐาน คุณภาพ
และความเสี่ยง
❏ พัฒนาความเข้มแข็งทางวิชาการของการแพทย์แผนไทย
❏ การจัดการและการเข้าถึงยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ
❏ การใช้สมุนไพรในการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชนและบทบาทของ
หมอพื้นบ้าน
❏ การสื่อสารเพื่อสร้างความรู้ที่ถูกต้อง ความเข้าใจ ความเชื่อมั่น
➔สร้างความเข้มแข็งของการบริหารและนโยบายภาครัฐเพื่อการขับเคลื่อนสมุนไพรไทยอย่าง
ยั่งยืน
❏ พัฒนาโครงสร้างการบริหารสมุนไพรไทย
❏ พัฒนากฎหมายด้านการส่งเสริมและควบคุมผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย
❏ พัฒนาระบบฐานข้อมูลสมุนไพรและระบบประเมินขีดความสามารถในการแข่งขัน
ด้านสมุนไพร
❏ การเสริมสร้างกลไกบริหารงานวิจัยและพัฒนาสมุนไพร
❏ การเสริมสร้างและพัฒนาสมุนไพร
❏ การพัฒนาเมืองสมุนไพร (Herbal City)
วิธีดำเนินงาน
แนวทางการดำเนินงาน
1.เลือกหัวข้อที่สงสัยและปรึกษากับครูผู้สอน
2.ศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
3.จัดทำรายงาน
4.นำเสนอครูผู้สอน
5.ปรับปรุงและแก้ไข
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้
-อินเตอร์เน็ต
-หนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จัดทำ
-คอมพิวเตอร์
-โทรศัพท์มือถือ
งบประมาณ
50-150 บาท
12
ขั้นตอนและแผนดำเนินงาน
ลำดั
บ
ที่
ขั้นตอน สัปดาห์ที่ ผู้รับผิดชอบ
1 2 3 4 5 6 7 8 9
1
0
1
1
12
1
3
1
4
1
5
1
6
1
7
1 คิดหัวข้อโครงงาน x
2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล x x x x
3 จัดทำโครงร่างงาน x x x
4 ปฏิบัติการสร้างโครงงาน x x x x x
5 ปรับปรุงทดสอบ x x x
6 การทำเอกสารรายงาน x x
7 ประเมินผลงาน x x
8 นำเสนอโครงงาน x
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ส่งเสริมให้มีการใช้สมุนไพรมากขึ้น ทำให้สมุนไพรไทยเป็นที่รู้จัก มีความสำคัญมากขึ้นในสังคมไทย
2.เผยแพร่ให้บุคคลทั่วไปได้ทราบถึงสรรพคุณของสมุนไพรไทยอย่างคร่าวๆ
3.ทำให้เรารู้จักสมุนไพรไทยที่มีในประเทศของเราเองมากขึ้น ทราบสรรพคุณ เนื่องจากสมุนไพรไทยนั้นมีหลายชนิด
สรรพคุณของสมุนไพรแต่ละตัวสามารถใช้รักษาโรคได้อย่างดี และที่สำคัญไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมากเท่ายาจาก
สารเคมี สามารถใช้เป็นความรู้รอบตัวไว้ใช้ในยามจำเป็น
สถานที่ดำเนินการ
1.ห้องคอมพิวเตอร์ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่
2.ห้องสมุด โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่
กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง
1.กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
2.กลุ่มสาระการเรียนรู้คอมพิวเตอร์
3.กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
บรรณานุกรม
-สารรังสิตONLINE : การพัฒนาสมุนไพรไทยสู่ตลาดโลก ไทยมีความพร้อมในการเข้าร่วมแข่งขันหรือไม่?.[ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก https://www2.rsu.ac.th/sarnrangsit-online-detail/herb01
(วันที่สืบค้นข้อมูล: 26 สิงหาคม 2562)
-รูปแบบและประเภทของสมุนไพร.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
จาก https://beezab.com/สมุนไพร-มีอะไรบ้าง/
(วันที่สืบค้นข้อมูล: 24 สิงหาคม 2562)
13
-ประโยชน์ของการใช้สมุนไพร.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
จาก http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs1-11.htm
(วันที่สืบค้นข้อมูล: 23 สิงหาคม 2562)
-คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี : สมุนไพร .[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
https://med.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/pois-cov/Herbal
(วันที่สืบค้นข้อมูล: 23 สิงหาคม 2562)
-โพสต์ทูเดย์ สุขภาพ : สมุนไพรแห่งชาติ .[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
จาก https://www.posttoday.com/life/healthy/498479
(วันที่สืบค้นข้อมูล: 26 สิงหาคม 2562)
-กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก : หนังสือแผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพร ฉบับที่ 1 พ.ศ
2560-2564.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
https://www.dtam.moph.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1672:dl0021&catid
=42&Itemid=334&lang=th
(วันที่สืบค้นข้อมูล: 26 สิงหาคม 2562)

More Related Content

What's hot

โครงงานภูมิปัญญาพื้นบ้าน
โครงงานภูมิปัญญาพื้นบ้านโครงงานภูมิปัญญาพื้นบ้าน
โครงงานภูมิปัญญาพื้นบ้านMo Taengmo
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อออนไลน์พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
โครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อออนไลน์พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพโครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อออนไลน์พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
โครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อออนไลน์พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพศิริวรรณ นามสวัสดิ์
 
ใบงานที่5 โครงร่างโครงาน
ใบงานที่5 โครงร่างโครงานใบงานที่5 โครงร่างโครงาน
ใบงานที่5 โครงร่างโครงานPopeye Kotchakorn
 
2562 final-project 37-609_pornchita
2562 final-project 37-609_pornchita2562 final-project 37-609_pornchita
2562 final-project 37-609_pornchitaPornchita Taejanung
 
Present โครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อออนไลน์พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
Present โครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อออนไลน์พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพPresent โครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อออนไลน์พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
Present โครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อออนไลน์พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพศิริวรรณ นามสวัสดิ์
 
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีรูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีอาภัสรา ยิ่งคำแหง
 
เค้าโครงร่างอีฟ
เค้าโครงร่างอีฟเค้าโครงร่างอีฟ
เค้าโครงร่างอีฟJah Jadeite
 
งานคอมสาว
งานคอมสาวงานคอมสาว
งานคอมสาวChatika Ruankaew
 
รายงานโครงการเครื่องจักสานงานไม้ไผ่ภูมิปัญญาไทอีสาน2558ศพว2
รายงานโครงการเครื่องจักสานงานไม้ไผ่ภูมิปัญญาไทอีสาน2558ศพว2รายงานโครงการเครื่องจักสานงานไม้ไผ่ภูมิปัญญาไทอีสาน2558ศพว2
รายงานโครงการเครื่องจักสานงานไม้ไผ่ภูมิปัญญาไทอีสาน2558ศพว2Sircom Smarnbua
 
เค้าโครงร่างคู่
เค้าโครงร่างคู่เค้าโครงร่างคู่
เค้าโครงร่างคู่Jah Jadeite
 
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...Suricha Phichan
 
แบบเสนอร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอร่างโครงงานคอมพิวเตอร์jokercoke
 
แบบเสนอร่างโครงงาน
แบบเสนอร่างโครงงานแบบเสนอร่างโครงงาน
แบบเสนอร่างโครงงานjokercoke
 

What's hot (19)

โครงงานภูมิปัญญาพื้นบ้าน
โครงงานภูมิปัญญาพื้นบ้านโครงงานภูมิปัญญาพื้นบ้าน
โครงงานภูมิปัญญาพื้นบ้าน
 
คอม1
คอม1คอม1
คอม1
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อออนไลน์พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
โครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อออนไลน์พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพโครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อออนไลน์พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
โครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อออนไลน์พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
 
ใบงานที่5 โครงร่างโครงาน
ใบงานที่5 โครงร่างโครงานใบงานที่5 โครงร่างโครงาน
ใบงานที่5 โครงร่างโครงาน
 
2562 final-project 37-609_pornchita
2562 final-project 37-609_pornchita2562 final-project 37-609_pornchita
2562 final-project 37-609_pornchita
 
Present โครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อออนไลน์พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
Present โครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อออนไลน์พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพPresent โครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อออนไลน์พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
Present โครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อออนไลน์พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
 
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีรูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
 
เค้าโครงร่างอีฟ
เค้าโครงร่างอีฟเค้าโครงร่างอีฟ
เค้าโครงร่างอีฟ
 
งานคอมสาว
งานคอมสาวงานคอมสาว
งานคอมสาว
 
รายงานโครงการเครื่องจักสานงานไม้ไผ่ภูมิปัญญาไทอีสาน2558ศพว2
รายงานโครงการเครื่องจักสานงานไม้ไผ่ภูมิปัญญาไทอีสาน2558ศพว2รายงานโครงการเครื่องจักสานงานไม้ไผ่ภูมิปัญญาไทอีสาน2558ศพว2
รายงานโครงการเครื่องจักสานงานไม้ไผ่ภูมิปัญญาไทอีสาน2558ศพว2
 
เค้าโครงร่างคู่
เค้าโครงร่างคู่เค้าโครงร่างคู่
เค้าโครงร่างคู่
 
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
 
รายงานคอม
รายงานคอมรายงานคอม
รายงานคอม
 
แบบเสนอร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
แบบเสนอร่างโครงงาน
แบบเสนอร่างโครงงานแบบเสนอร่างโครงงาน
แบบเสนอร่างโครงงาน
 
Bathbomb
BathbombBathbomb
Bathbomb
 
Bathbomb
BathbombBathbomb
Bathbomb
 
File
FileFile
File
 
Bathbomb
BathbombBathbomb
Bathbomb
 

Similar to 2562 final-project-2731 (1)

2561 project
2561 project 2561 project
2561 project asirwa04
 
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้KuNg Pw
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์Sk'b Methasith
 
กิจกรรมที่5
กิจกรรมที่5กิจกรรมที่5
กิจกรรมที่5Manop Amphonyothin
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์Sk'b Methasith
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์Sk'b Methasith
 
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้KuNg Pw
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ (1)
โครงงานคอมพิวเตอร์ (1)โครงงานคอมพิวเตอร์ (1)
โครงงานคอมพิวเตอร์ (1)Thanarak Karunyarat
 
โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์Sompoii Tnpc
 
10657065 747554985324701 2086860594_n
10657065 747554985324701 2086860594_n10657065 747554985324701 2086860594_n
10657065 747554985324701 2086860594_nMilk MK
 
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้KuNg Pw
 
2557 โครงงาน 3-
2557 โครงงาน  3-2557 โครงงาน  3-
2557 โครงงาน 3-Milk MK
 
2557 โครงงาน 2-
2557 โครงงาน  2-2557 โครงงาน  2-
2557 โครงงาน 2-Milk MK
 

Similar to 2562 final-project-2731 (1) (20)

2561 project
2561 project 2561 project
2561 project
 
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
 
งานคอมพ
งานคอมพ งานคอมพ
งานคอมพ
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
กิจกรรมที่5
กิจกรรมที่5กิจกรรมที่5
กิจกรรมที่5
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
สบู่สมุนไพร
สบู่สมุนไพรสบู่สมุนไพร
สบู่สมุนไพร
 
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ (1)
โครงงานคอมพิวเตอร์ (1)โครงงานคอมพิวเตอร์ (1)
โครงงานคอมพิวเตอร์ (1)
 
ใบงานคอม
ใบงานคอมใบงานคอม
ใบงานคอม
 
ใบงานคอม
ใบงานคอมใบงานคอม
ใบงานคอม
 
Achi
AchiAchi
Achi
 
โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
Projectm6 2-2556
Projectm6 2-2556Projectm6 2-2556
Projectm6 2-2556
 
10657065 747554985324701 2086860594_n
10657065 747554985324701 2086860594_n10657065 747554985324701 2086860594_n
10657065 747554985324701 2086860594_n
 
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
โครงงาน สุดยอดว่านหางจระเข้
 
2557 โครงงาน 3-
2557 โครงงาน  3-2557 โครงงาน  3-
2557 โครงงาน 3-
 
2557 โครงงาน 2-
2557 โครงงาน  2-2557 โครงงาน  2-
2557 โครงงาน 2-
 
Healthy food
Healthy foodHealthy food
Healthy food
 

2562 final-project-2731 (1)

  • 1. 1 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา ง33201 ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 5 ปีการศึกษา 2562 ชื่อโครงงาน การพัฒนาการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรไทย ชื่อผู้ทำโครงงาน ชื่อ นางสาวสโรชา สมบุญ เลขที่ 27 ชั้น ม.6 ห้อง 6 นางสาวณัฏณิชา เหล่าชุมแพ เลขที่ 31 ชั้น ม.6 ห้อง 6 อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์ ระยะเวลาดำเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
  • 2. 2 ใบงาน การจัดทำข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์ สมาชิกในกลุ่ม 1.นางสาว สโรชา สมบุญ เลขที่ 27 ชั้น ม.6 ห้อง 6 2.นางสาวณัฏฐณิชา เหล่าชุมแพ เลขที่ 31 ชั้น ม.6 ห้อง 6 คำชี้แจง ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเขียนข้อเสนอโครงงานตามหัวข้อต่อไปนี้ ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย) การพัฒนาการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพร ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ) The Development of Utilization of Herbs. ประเภทโครงงาน จำลองทฤษฎี ชื่อผู้ทำโครงงาน นางสาวสโรชา สมบุญ นางสาวณัฏฐณิชา เหล่าชุมแพ ชื่อที่ปรึกษา ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์ ระยะเวลาดำเนินงาน ภาคเรียนที่1-2 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน ปัจจุบัน สมุนไพรถูกนำมาใช้มากขึ้นในรูปแบบของยา ผลิตภัณฑ์ต่างๆ แสดงให้เห็นว่าผู้คนเล็งเห็นถึง ความสำคัญและสรรพคุณของสมุนไพรกันมากขึ้น นอกจากจะทำยารักษาโรคแล้วยังมี การทำครีมทาผิวจาก กวาวเครือขาว สบู่ขมิ้นชันผสมมะขาม แชมพูสระผมจากมะกรูด และอื่นๆ โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้ผสมสารสกัดจาก สมุนไพรที่มีประโยชน์และสรรพคุณต่างๆนานา แต่อย่างไรก็ตาม สมุนไพรก็ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก การแพทย์แผน ไทยได้นำสมุนไพรไทยมาใช้ประโยชน์มากขึ้น สมุนไพรจึงกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งหนึ่ง ผู้จัดทำจึงมีความสนใจ ในหัวข้อนี้ เพราะ สมุนไพรเป็นพืชที่หาได้ตามท้องถิ่นและมีในประเทศไทยจำนวนมาก มีผู้นำมาใช้อย่างแพร่หลาย แต่ ก็ยังไม่ได้รับความนิยมเท่ากับยาแผนปัจจุบัน ทำให้เกิดความสงสัยว่า เพราะเหตุใดสมุนไพรที่มีสรรพคุณมากมายและ รักษาโรคได้จึงไม่ได้รับความนิยม ผู้คนไม่ค่อยให้ความสำคัญ ประกอบกับต้องการศึกษาสรรพคุณสมุนไพรเพื่อเป็น ความรู้เพิ่มเติมและต่อยอดในอนาคตได้ วัตถุประสงค์ 1.เผยแพร่ การใช้ประโยชน์และพัฒนาการใช้ประโยชน์จากสมุนไพร 2.นำเสนอแนวทางการนำสมุนไพรไปใช้ในการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย 3.ต้องการให้บุคคลทั่วไปรู้จักสมุนไพรมากขึ้นและเห็นความสำคัญของสมุนไพร ขอบเขตโครงงาน 1.ความหมาย ประเภทและสรรพคุณของสมุนไพร ตัวที่มีการใช้ในปัจจุบัน 2.การนำสมุนไพรมาใช้และวิธีการใช้ที่ถูกต้อง 3.การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรในด้านต่างๆ เช่น รักษาโรค บำรุงร่างกาย
  • 3. 3 4.การพัฒนาการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ทำเป็นผลิตภัณฑ์หลายชนิดมากขึ้นไม่ใช่เพียงแค่ยา รักษาโรค หรือ ทำให้ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรน่าสนใจ ดึงจุดเเด่นของสมุนไพรออกมาให้ผู้คนได้ทราบมากขึ้น เป็นต้น หลักการและทฤษฎี การจำแนกรูปแบบของสมุนไพรที่ใช้เป็นยา สมุนไพรไม่ว่าจะเป็นส่วนที่มาจากพืชวัตถุ สัตว์วัตถุ หรือธาตุวัตถุก็ตาม เวลาจะนำมาใช้เพื่อบริโภค หรือเพื่อการรักษา ตามกรรมวิธีจำเพาะอันใดก็ตาม พอจะจำแนกรูปแบบของสมุนไพรที่ใช้เป็นยาได้ดังนี้คือ 1. รูปแบบที่เป็นของเหลว ยาเหล่านี้มักได้จากกรรมวิธีต่างๆ กันเช่น ยาต้มคือหั่นต้นยาแล้วต้มกับน้ำ ยาชงเป็นยา แห้งหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ คั่วแล้วนำไปชงกับน้ำ น้ำคั้นสมุนไพรเตรียมโดยการเอาต้นสมุนไพรสดๆ ตำให้ละเอียด เติมน้ำ แล้วคั้นเอาน้ำยามารับประทาน และยาดองเตรียมโดยบดสมุนไพรให้แห้งห่อด้วยผ้าขาวบาง ดองในสุรา 2. รูปแบบที่เป็นของแข็ง ยาปั้นลูกกลอน เตรียมโดยหั่นต้นไม้ยาสดให้เป็นแว่นบางๆ ตากแดดให้แห้ง บดเป็นผง ผสมกับน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อม 1 ส่วน ปั้นเป็นลูกกลมๆ เล็กๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร ปั้นเสร็จผึ่งแดดจน แห้ง 3. รูปแบบกึ่งแข็งกึ่งเหลว สมุนไพรเหล่านี้จะทำให้อยู่ในลักษณะพอทรงตัวได้ มักใช้เพื่อการรักษาภายนอก เช่น ยา พอก เตรียมโดยใช้ต้นสดตำให้แหลกหรือเหลว 4. รูปแบบอื่นๆ ที่มีลักษณะการใช้พิเศษ เช่นใช้วิธีรมควัน เพื่อรักษาโรคของทางเดินหายใจ หรือการรมควันเพื่อ รักษาแผล และให้มดลูกเข้าอู่ในสตรีภายหลังคลอด ประเภทของสมุนไพร สำหรับการแบบประเภทของสมุนไพรไทย นั้น เราใช้การแบ่งประเภทของสมุนไพร ออกเป็น 2 ประเภท คือ สมุนไพร แผนโบราณ และสมุนไพรแผนปัจจุบัน ซึ่ง รายละเอียด แตกต่างกันอย่างไร มีรายละเอียดดังนี้ สมุนไพรแผนโบราณ คือ สิ่งที่ใช้ในการรักษาโรคต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้จาก พืช สัตว์ หรือแร่ธาตุ ซึ่งลักษณะการใช้งาน ในการรักษา เช่น ใช้ทำเป็นส่วนประกอบของอาหาร เครื่องดื่ม ยา หรือเครื่องสำอาง ซึ่งสมุนไพรแผนโบราณ เป็น ความรู้และภูมิปัญญาที่ได้รับการถ่ายทอด จากอดีตสู่ปัจจุบัน สำหรับสมุนไพรไทย ตามแบบฉบับแพทย์แผนไทย นั้น สามารถแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ สมุนไพรไทยแผนโบราณ และสมุนไพรจีนแผนโบราณ รายละเอียดดังต่อไปนี้
  • 4. 4 ● สมุนไพรไทยแผนโบราณ คือ พืช สัตว์ หรือแร่ธาตุ ที่สามารถหาได้ในท้องถิ่นของประเทศไทย ซึ่งแพทย์ใช้ สิ่งเหล่านี้มาเป็นส่วนประกอบของยารักษาโรค อาหาร เครื่องดื่ม หรือเครื่องสำอาง ● สมุนไพรจีนแผนโบราณ คือ พืช สัตว์ หรือแร่ธาตุ ที่ใช้ในการรักษาโรค โดยเป็นสมุนไพร ที่มีอยู่ในประเทศ จีน เป็นความรู้และภูมิปัญญาการรักษาโรคที่ได้จากชนชาติจีน และสมุนไพรเหล่านี้ ส่วนใหญ่หาได้ที่ประเทศ จีน หรือประเทศที่มีภูมิอากาศใกล้เคียงกับประเทศจีน สมุนไพรแผนปัจจุบัน คือ พืช สัตว์ หรือแร่ธาตุ ที่ทางการแพทย์และเภสัชกร สมัยใหม่ ได้ศึกษา และทดลองแล้ว ให้ การยอมรับถึงผลของสมุนไพร เพื่อใช้ในการรักษาโรคต่างๆ ซึ่งสมุนไพรแผนปัจจุบัน สามารถสกัดพืช สัตว์หรือแร่ธาตุ ต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบผง เม็ด น้ำ หรือ ครีม เป็นต้น เรียกลักษณะนี้ว่าการสกัดเอาสารบางชนิดจากสมุนไพรมาใช้ ประโยชน์ทางการแพทย์ ● ประเภทของสมุนไพรตามหลักเภสัชกรรม สำหรับประเภทของสมุนไพร ตามแบบเภสัชกร นั้น เราแบ่งสมุนไพรออกเป็นชนิดต่างๆ ตามความแตกต่างของ วัตถุดิบ ประกอบด้วย พืช สุตว์และแร่ธาตุ รายละเอียดของสมุนไพรที่แบ่งตามหลักเภสัชศาสตร์ มี ดังนี้ ❖ พืชสมุนไพร สมุนไพรชนิดพืช สามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ซึ่งประกอบด้วย แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ ● ชนิดต้นไม้ อาทิ เช่น ต้นพิกุล ต้นขี้เหล็ก ต้นมะตูม เป็นต้น ● ชนิดเถาหรือเครือ อาทิ เช่น บอระเพ็ด เถาคันแดง เป็นต้น ● ชนิดหัวหรือเหง้า อาทิ เช่น ข่า ขิง กระชาย กวาวเครือ เป็นต้น ● ชนิดผัก อาทิ เช่น ผักบุ้ง ผักชี ผักกาด เป็นต้น ● ชนิดหญ้า อาทิ เช่น หญ้าแพรก หญ้าคา ตะไคร้ เป็นต้น ❖ สัตว์สมุนไพร สมุนไพรที่ได้จากสัตว์ต่างๆ สามารถแบ่งประเภทของสัตว์สมุนไพรออกเป็น 3 ประเภท คือ สัตว์บกสมุนไพร สัตว์น้ำ สมุนไพร และสัตว์ปีกสมุนไพร รายละเอียด ดังนี้ ● สัตว์บกสมุนไพร อาทิ เช่น ควายเผือก หมีควาย เสือ ตุ๊กแก งู เป็นต้น ● สัตว์น้ำสมุนไพร อาทิ เช่น ปลาฉลาม เต่า ปลาหมึก หอยสังข์ เป็นต้น ● สัตว์ปีกสมุนไพร อาทิ เช่น นกนางแอ่น ผึ้ง เป็นต้น ❖ แร่ธาตุสมุนไพร สมุนไพร ที่ได้จากแร่ธาตุต่างๆ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สมุนไพรแร่ธาตุที่สลายตัวยาก และสมุนไพรแร่ ธาตุที่สลายตัวเร็ว รายละเอียด ดังนี้ ● ชนิดสลายตัวยาก อาทิ เช่น เหล็ก ทองคำ เงิน เป็นต้น ● ชนิดสลายตัวเร็ว อาทิเช่น สารส้ม พิมเสน เกลือ เป็นต้น
  • 5. 5 ประเภทสมุนไพรแบ่งตามคุณสมบัติของสมุนไพร การแบ่งชนิดของสมุนไพร ยังมีการแบ่งตามรสชาติของสมุนไพร ชนิดนั้นๆ ด้วย ซึ่ง สมุนไพร ที่มีรสชาติต่างกัน ให้ สรรพคุณในการรักษาโรคที่ต่างกัน รสชาติจึงสามารถบ่งบอกประโยชน์ด้านการรักษาโรคได้ด้วย ซึ่งรายละเอียดของ สมุนไพรรสชาติ ต่างๆ สามารถแบ่งได้ มี 9 รสชาติ ประกอบด้วย รสฝาด รสหวาน รสเมา รสขม รสเผ็ด รสมัน รส หอม รสเค็ม และรสเปรี้ยว รายละเอียดดังนี้ ● รสฝาด จะมีประโยชน์ด้านการรักษาแผล ช่วยสมานแผล ได้ดี ● รสหวาน จะมีประโยชน์ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยเพิ่มกำลังวังชา ให้กระชุ่มกระชวย เป็นต้น ● รสเมาเบื่อ จะช่วยให้ขัยของเสียออกจากร่างกายได้ดี แก้พิษ ได้ ● รสขม สมุนไพรรสขม ช่วยทำให้เจริญอาหาร กระตุ้นน้ำลาย แก้กระหายน้ำ และบำรุงเลือด เป็นต้น ● รสเผ็ดร้อน จะมีประโยชน์ช่วยบำรุงธาตุขัน ช่วยขับลม บำรุงระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น ● รสมัน ช่วยในการแก้อาการปวดเมื่อย บำรุงเส้นเอ็น แก้ปวดเข่าปวดข้อ เป็นต้น ● รสหอมเย็น ช่วยบำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย แก้ไข้ แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ เป็นต้น ● รสเค็ม ช่วยรักษาโรคผิวหนัง แก้ลมพิษ ได้ดี เป็นต้น ● รสเปรี้ยว ช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงระบบการทำงานของเลือด ได้ดี เป็นต้น การแปรรูปพืชเพื่อนำมาใช้เป็นสมุนไพร สำหรับ สมุนไพร สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งสดๆ และการแปรรูป การแปรรูปประโยชน์เพื่อการเก็บไว้ได้นานๆและใน ปริมาณมากๆ รูปแบบการแปรรูปสมุนไพร มีหลายรูปแบบ รายละเอียด ดังนี้ ● ตากแห้ง เป็นการเก็บรักษาสมุนไพรให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีทีสุด ทั้งในแง่ของคุณภาพ ปริมาณและน้ำหนัก ● ทำให้ขนาดเล็กลง เป็นการนำเอาสมุนไพรมาทำให้ขนาดเล็กลง และนำไปตากแห้ง เพื่อให้ปริมาณน้ำของ สมุนไพรลดลง นิยมใช้กับ ราก เปลือก ลำต้น ● บดปั่นให้เป็นผง เป็นวิธีที่สะดวกในการใช้งานมาก สมันโบราณนิยมนำมาตากแห้งและใช้ครกโขรกให้ ละเอียด ● สกัดน้ำมันหอมระเหย ในสมุนไพรบางชนิดที่มีกลิ่นหอม นำมาต้มสกัดนำน้ำมันจากสมุนไพร มาปรุงเป็นยา ดม ยาหอม ยาทา เป็นต้น โทษและอันตรายจากการใช้ยาสมุนไพร สมุนไพรนอกจากจะมีประโยชน์ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บแล้ว ในทางตรงกันข้าม ถ้าใช้ไม่ถูกต้องก็อาจมีโทษและ อันตรายได้เช่นกัน อันตรายจากสมุนไพรนั้นอาจแยกออกเป็น 3 ประการคือ ประการที่หนึ่ง อันตรายที่เกิดจากโรคที่ขาดการรักษาเช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือโรคหืด ซึ่ง การแพทย์ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การให้ยานั้นเพื่อบรรเทาอาการและป้องกันโรคแทรกซ้อนที่ อาจจะเกิดขึ้น ถ้าไม่เข้าใจเกี่ยวกับโรคที่ถูกต้องอาจจะเบื่อก็เลยหยุดยา แล้วรักษาด้วยสมุนไพร มียาสมุนไพรหลาย ชนิดที่อาจจะไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรค นอกจากนั้นโรคที่ท่านเป็นอยู่บางครั้งก็อาจจะไม่มีอาการเด่นชัด ทำ ให้เข้าใจผิดคิดว่าโรคหายแล้วก็ละเลยกับการรักษาที่ถูกต้อง นานๆ ไปโรคเดิมอาจจะกำเริบเช่น เป็นความดันโลหิตสูง มากๆ ไม่ได้รักษาก็อาจจะทำให้เส้นเลือดแตกในสมองเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตได้
  • 6. 6 ประการที่สอง เป็นอันตรายที่เกิดจากฤทธิ์ของสมุนไพรโดยตรง มีสมุนไพรหลายชนิดที่มีสารเคมีที่เป็นพิษร้ายแรง ถ้า ได้รับเข้าไปจะทำให้เกิดอาการจากพิษของสารชนิดนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น มะเกลือ (มะเกลือเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง) เป็นที่ทราบกันมานานแล้วว่าผลมะเกลือมีสารเคมีที่สำคัญหลายชนิดที่มีสรรพคุณในการขับถ่ายพยาธิ ตำรับยา กลางบ้านได้แนะนำให้ใช้ผลมะเกลือสดตำคั้นผสมกะทิ ได้มีรายงานผู้ป่วยหลายรายที่ได้รับพิษจากมะเกลือ ผู้ป่วยมี อาการไข้ อาเจียน ท้องเดิน หลังจากนั้นจะมีอาการตามัว ตามองไม่เห็น ตาบอดได้ จากการศึกษาวิจัยพบว่า ผล มะเกลือที่แก่เต็มที่จนมีสีดำนั้น อาจจะมีสาร nepthalene ซึ่งเป็นพิษต่อประสาทตาโดยตรง ยี่โถ ไม้พุ่มประดับที่นิยมปลูกกันตามบ้านเรือน เคยมีผู้แนะนำให้เอาใบ ยี่โถต้มน้ำรับประทานเพื่อแก้โรคพิษสุราเรื้อรัง หลังจากรับประทานเข้าไป มีอาการอาเจียน ท้องเดิน ปวดศีรษะ และปวดท้อง ถ้ารับประทานมาก พิษของสารเคมีในใบยี่โถจะกดการเต้นของหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นช้าลง และอาจจะหยุดได้ ดังนั้นจึงควรจะต้องระมัดระวังโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน เด็ก อาจรับประทานเข้าไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ลำโพง มีพิษต่อระบบประสาทโดยตรง ถ้าได้รับเข้าไปมากคนไข้จะมีอาการตาพร่า มัว ปากแห้ง กระหายน้ำ ม่านตาขยาย ไม่สู้แสง ผิวหนังร้อนแดง ถ้าเป็นมากอาจ ถึงขั้นสับสน จิตประสาทหลอน และคลุ้มคลั่ง ประการที่สาม อันตรายจากสารเจือปนในสมุนไพร ทางคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ทำการตรวจ วิเคราะห์ยาสมุนไพร เพื่อจะหาสารเจือปนที่อาจจะเป็นอันตรายจากตัวอย่างจำนวนร่วมร้อย พบว่ามี arsenic 60% มี สาร steroids 30% นอกจากนั้นมีสารปรอทและตะกั่วประปราย • สารปรอท ปรอทที่ผสมในสมุนไพร อาจจะทำให้เป็นพิษ โดยมีอาการปากเปื่อย เหงือกอักเสบ ฟันหลุด น้ำลายไหลมากผิดปกติ และไตวาย เป็นต้น • สารตะกั่ว พิษของสารตะกั่วเป็นที่รู้จักกันดี ตะกั่วเป็นพิษทำให้มีอาการปวดท้อง โลหิตจาง กล้ามเนื้ออ่อน แรงจากปลายประสาทผิดปกติ เป็นต้น • Arsenic ในสมัยก่อนนิยมใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนังเรื้อนกวาง และรักษาโรค syphilis ในปัจจุบันเลิกใช้ เพราะเป็นยาอันตราย ในตำราแพทย์โบราณทั้งของไทยและจีนเชื่อว่า arsenic มีคุณสมบัติกระตุ้นให้ กระชุ่มกระชวย แต่ถ้าผู้ป่วยได้รับมากเกินไปก็อาจจะเกิดพิษของ arsenic ได้ ในระยะแรกผู้ป่วยจะมีอาการ เจ็บคอ ปวดท้อง ท้องเสีย ต่อมาผู้ป่วยมีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณปลายประสาทแปร็บๆ แบบถูกไฟฟ้า ช็อต ระยะหลังจะมีผื่นตามตัวสีดำ ผิวหนังหนาขึ้น ผู้ป่วยที่ได้รับ arsenic อาจจะมีโอกาสเป็นมะเร็งได้มาก ขึ้น เช่น มะเร็งผิวหนัง มะเร็งปอด เป็นต้น • Steroids มีคุณสมบัติบรรเทาอาการของโรคหลายชนิด จึงนิยมเจือปนในสมุนไพร ทำให้โรคบางอย่างดู เหมือนดีขึ้น เช่น โรคหืด โรคไขข้ออักเสบ แต่ถ้าใช้นานๆ จะมีอาการข้างเคียงและอันตรายอย่างมาก ผู้ป่วยมี หน้าบวมฉุ เป็นสิว ลำตัวอ้วนกลม ผิวหนังลายเป็นจ้ำเลือดได้ง่าย และกระดูกผุ เป็นต้น ถ้าใช้ติดต่อกันนาน ทำให้ติดยาและถ้าหยุดยาเฉียบพลัน อาจทำให้ช็อคได้
  • 7. 7 คำแนะนำในการใช้สมุนไพร สมุนไพรเป็นดาบสองคม พึงระลึกเสมอว่าอะไรก็ตามที่มีประโยชน์มาก ก็อาจมีโทษได้เช่นกัน การใช้สมุนไพรควร จะต้องระมัดระวัง หลักการในการใช้สมุนไพรคือ 1. ถ้าเป็นโรคที่ยังพิสูจน์ไม่ได้แน่ชัดว่ารักษาด้วยสมุนไพรได้ผลดี ก็ไม่ควรรักษาด้วยสมุนไพร เช่น งูพิษกัด สุนัขบ้ากัด โรคบาดทะยัก กระดูกหัก วัณโรค เบาหวาน เป็นต้น 2. กลุ่มอาการบางอย่างที่บ่งชี้ว่า อาจจะเป็นโรคร้ายแรงที่จำเป็นต้องรักษาอย่างรีบด่วนเช่น ไข้สูง ซึม ไม่รู้สึกตัว ปวด อย่างรุนแรง อาเจียนเป็นเลือด ตกเลือดจากช่องคลอด ท้องเดินอย่างรุนแรง หรือคนไข้เป็นเด็กและสตรีมีครรภ์ ควร รีบนำปรึกษาแพทย์ แทนที่จะรักษาด้วยสมุนไพร 3. การใช้ยาสมุนไพรนั้น ควรค้นคว้าจากตำรา หรือปรึกษาท่านผู้รู้ โดยใช้ให้ถูกต้อง ใช้ให้ถูกส่วน ใช้ให้ถูกขนาด ใช้ให้ ถูกวิธี ใช้ให้ถูกโรค ใช้ให้ถูกคน 4. ไม่ควรใช้สมุนไพรติดต่อกันเป็นเวลานานๆ เพราะพิษอาจจะสะสมได้ เมื่อใช้ยาหลายสัปดาห์ อาการไม่ดีขึ้น ควร ปรึกษาแพทย์ 5. ถ้ามีอาการพิษที่เกิดขึ้นจากยาสมุนไพร ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ควรรีบหยุดยาโดยเร็ว ประโยชน์ของการใช้ยาสมุนไพร 1. ราคาถูกกว่ายาแผนใหม่ (ยาแผนปัจจุบัน) มาก 2. มีพิษและผลข้างเคียงน้อยกว่ายาแผนใหม่ 3. สมุนไพรบางชนิดเป็นทั้งอาหารและยาด้วย 4. ไม่ต้องซื้อหา สามารถปลูกได้เองในบ้าน 5. เหมาะกับคนส่วนใหญ่ เพราะสามารถนำมาใช้ได้เอง เมื่อรู้จักวิธีใช้ 6. ช่วยลดดุลการค้า ในการสั่งยาจากต่างประเทศ 7. ทำให้คนเห็นคุณค่า และกลับมาดำเนินชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้น 8. ทำให้เกิดความภูมิใจ ในวัฒนธรรม และคุณค่าของความเป็นไทยเพื่อเป็นการอนุรักษ์มรดกไทยในการ สนับสนุนให้ประชาชนช่วยตนเองในการใช้ยาสมุนไพรตามแบบแผนโบราณ ปฏิรูปแพทย์แผนไทย ควบคู่กับพัฒนาสมุนไพรไทย ผ.ศ. ยุพา เต็งวัฒนโชติ วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวถึงการปฏิรูปแพทย์แผน ไทย ในรายการวิสดอม ทอล์กของอาร์เอสยู วิสดอม ทีวี ว่า “แพทย์แผนไทยจะมองคนแบบองค์รวมทั้งร่างกายและ จิตใจ เมื่อระบบการทำงานส่วนหนึ่งส่วนใดเสียก็จะไปกระทบอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งแพทย์แผนไทยจะเหมาะสมกับโรคเรื้อรัง
  • 8. 8 ทั้งหลาย เพราะแพทย์แผนปัจจุบันจะบรรเทาอาการ แต่ต้องกินยาควบคุมอาการต่อเนื่อง เมื่อกินไปนานๆจะไปมี ผลกระทบต่อตับไต ซึ่งจะพาโรคอื่นๆมาอีก”เห็นควรอย่างยิ่งว่าควรเผยแพร่หรือประชาสัมพันธ์ให้คนไทยได้ใช้ หลักการแพทย์แผนไทย โดยการรักษาที่ต้นเหตุ อาการที่จะสืบเนื่องไปอาการต่างๆก็จะน้อยลง สุขภาพจะดีขึ้น ไม่ต้อง กินยาตลอดชีวิตซึ่งต้องแก้ที่ต้นเหตุคือระบบในร่างกาย การผลิตยาสมุนไพร ในตำรับหนึ่งจะมีสมุนไพรมากกว่า 10 ชนิดต้องใช้องค์ความรู้ทางการแพทย์แผนไทย เลือกตำรายาที่ดีแล้วพัฒนาให้ทันสมัย แทนที่จะกินยาต้มนำมาปรับให้สะดวกขึ้น ผลิตในโรงงานมาตรฐาน มีการ ควบคุมตามมาตรฐานGMP (Good Manufacturing Practice หรือหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร จัดทำขึ้นโดยหน่วยงานมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ) การยกระดับแพทย์แผนไทยขึ้นมาให้ได้รับการยอมรับมากขึ้นและทำงานร่วมกันกับแพทย์แผนปัจจุบัน โดยมี ค่าทางวิทยาศาสตร์มารองรับว่าเมื่อให้ยาไปแล้วผลการรักษาดีขึ้นหรือไม่ก็จะเป็นการยืนยันอย่างหนึ่ง แพทย์แผน ปัจจุบันก็จะช่วยยืนยันว่ารักษาแล้วดีขึ้นจริงทำให้ได้รับการเชื่อถือมากขึ้น การพัฒนาสมุนไพรไทยสู่ตลาดโลก ไทยมีความพร้อมในการเข้าร่วมแข่งขันหรือไม่ ? รองศาสตราจารย์ ดร.สุรพจน์ วงศ์ใหญ่ ผู้เชี่ยวชาญสมุนไพรของสหประชาชาติ และอาจารย์ประจำ วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ประเทศไทยมีการใช้สมุนไพรเพื่อการรักษามานาน บรรพบุรุษได้สั่งสมองค์ความรู้ด้านนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยกระทรวงสาธารณสุขได้มีการออกประกาศ กระทรวงฯ คุ้มครองตําราการแพทย์แผนไทยของชาติ 198 ตํารา และตํารับยาแผนไทยของชาติ 30,000 ตํารับ ตํารายาสมุนไพรที่ สําคัญ เช่น “แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์” ซึ่งเป็นตําราที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดําริให้รวบรวมไว้กว่า 1,200 ตํารับ และยังมีตํารายาวัดโพธิ์ที่รวบรวมจากจารึก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น ซึ่งจาก เอกสารและจารึกเหล่านี้เป็นสิ่งยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า ประเทศไทยมีการรักษาโรคด้วยยาสมุนไพรมานาน แต่เมื่อยาเคมีจากต่างชาติเริ่มมามีบทบาทในวิถีชีวิตคนไทย ทําให้ความนิยมใช้ยาสมุนไพรลดลง ภก.รศ.ดร.สุรพจน์ กล่าวว่า ประเทศไทยขาดโอกาสทางการแข่งขันในตลาดยารักษาโรคไปอย่างน่าเสียดาย ทั้งที่ประเทศไทยมีวัตถุดิบคือ สมุนไพรที่มีคุณภาพ มีสารสําคัญที่จะสกัดออกมา แปรรูปเป็นยาสมุนไพร ที่มีมูลค่าสูง
  • 9. 9 ปัญหาคือ การขาด Know-How เทคโนโลยีสมุนไพรขั้นสูง ซึ่งทําให้ไม่สามารถสร้างนวัตกรรมยาสมุนไพรได้ ตั้งแต่ต้นน้ำคือ การคุมการปลูกพืชสมุนไพรให้ได้คุณภาพ ตัวยาสม่ำเสมอ การขาดเทคโนโลยีการสกัดและการผลิตที่ ทันสมัยเพื่อรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ได้ตามมาตรฐานสากล อันจะทําให้สามารถส่งไปจําหน่ายได้ทั่วโลก “เวลานี้กระแสความต้องการสมุนไพรเพิ่มขึ้นสูงมากในตลาดโลกเพราะสมุนไพรช่วยทั้งการรักษาโรคป้องกันและ ส่งเสริมสุขภาพประเทศเรามีสมุนไพรมากมายและหลากหลายแต่ขาดการสร้างนวัตกรรมเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ดีมี คุณภาพมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ในขณะที่การผลิตผลิตภัณฑ์ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการปลูกสมุนไพรต้องปลอดจากสารเคมีหาก ต้องการแข่งขันในตลาดโลกจะต้องเร่งพัฒนานวัตกรรมทั้งการปลูกสมุนไพรให้ได้คุณภาพสม่ำเสมอปลอดสารพิษ ไม่ใช้สารเคมีและต้องมีกระบวนการผลิตที่ได้คุณภาพเป็นที่ยอมรับมีการวิจัยเพื่อยืนยันว่าเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ดี จริงๆ หากทําได้ก็จะสร้างรายได้ให้แก่ประเทศอย่างมหาศาล” ส่วนเหตุที่ทําให้ความต้องการใช้ยาสมุนไพรเพิ่มมากขึ้นนั้น ภก.รศ.ดร.สุรพจน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เวลานี้ยาเคมี กําลังประสบปัญหาหลายประการ กล่าวคือ การวิจัยและพัฒนายาใหม่แต่ละตัวนั้นต้องสูงทุนสูงมาก และต้องใช้ เวลานานยาเคมีบางชนิดก็จะมีอาการข้างเคียงที่เป็นพิษไม่สามารถนําวัตถุดิบเคมีในกระบวนการสังเคราะห์ที่ใช้แล้ว กลับมาใช้ใหม่ได้ โรงงานที่สังเคราะห์ตัวยาเคมีอาจก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ยาเคมีมีราคาแพงทําให้ประชาชนเข้าถึงยากโดยเฉพาะใน กลุ่มประเทศกําลังพัฒนา นอกจากนั้นมีข้อจํากัดในประสิทธิภาพการรักษาโดยเฉพาะการรักษากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง บางชนิดที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เช่น โรคหัวใจหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง เบาหวาน มะเร็ง เป็นต้น การที่รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนการพัฒนาสมุนไพรไทยนั้นนับเป็นเรื่องที่ดีทําให้เปิดโอกาสให้มีการศึกษาวิจัย ค้นคว้าสมุนไพรมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การพัฒนาจะต้องได้รับความร่วมมือจากหลายๆภาคส่วนมาทำงานร่วม และ ปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ต้องเรียนรู้ว่าตลาดโลกต้องการอะไร แล้วดําเนินการกําหนดกฎเกณฑ์เพื่อผลิตสินค้าให้ ได้มาตรฐานมีการขึ้นทะเบียนตํารับยาสมุนไพรไทยเพื่อการส่งออกหากทําสําเร็จและได้ผลจริงก็จะก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อประเทศชาติอย่างแท้จริงเพราะประชาชนทุกภาคส่วนได้ประโยชน์เป็นการต่อยอดสร้างเศรษฐกิจของประเทศบน พื้นฐานที่เป็นจุดแข็งของประเทศเรา จะช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นผู้นําของโลกด้านยาสมุนไพรต่อไป
  • 10. 10 แผนแม่บทว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพร ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564 เป้าหมาย ● ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกวัตถุดิบสมุนไพรคุณภาพและผลิตภัณฑ์สมุนไพรชั้นนำ ของภูมิภาคอาเซียน ● มูลค่าวัตถุดิบสมุนไพรคุณภาพและผลิตภัณฑ์สมุนไพรภายในประเทศเพิ่มขึ้น อย่างน้อย 1 เท่าตัว พันธกิจ ● พัฒนาสมุนไพรให้เป็นที่ยอมรับ ● ผลิตภัณฑ์สมุนไพรได้มาตรฐานมีคุณภาพและสร้างมูลค่าเพิ่ม ● เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสมุนไพรไทย ● ส่งเสริมให้เกิดความรู้ คามเข้าใจ และการใช้สมุนไพรไทย ยุทธศาสตร์ ➔ส่งเสริมผลิตผลของสมุนไพรที่มีศักยภาพตามความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ❏ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน ❏ การวิจัยและการจัดทำข้อกำหนดมาตรฐานวัตถุดิบสมุนไพร ❏ การอนุรักษ์และการใช้พืชสมุนไพรจากป่าที่ยั่งยืน ➔พัฒนาอุตสาหกรรมและการตลาดสมุนไพรให้มีคุณภาพระดับสากล ❏ การพัฒนาอุตสาหกรรมสมุนไพรไทย ❏ การพัฒนาการตลาดสมุนไพรไทย ❏ การวิจัยและพัฒนาสมุนไพรไทย ➔ส่งเสริมการใช้สมุนไพรเพื่อรักษาโรคและการสร้างเสริม สุขภาพ
  • 11. 11 ❏ การพัฒนาโครงสร้างส่งเสริมการจัดบริการและการใช้สมุนไพรในสถานบริการ สาธารณสุข ❏ การวิจัย เสริมสร้างองค์ความรู้ มาตรฐาน คุณภาพ และความเสี่ยง ❏ พัฒนาความเข้มแข็งทางวิชาการของการแพทย์แผนไทย ❏ การจัดการและการเข้าถึงยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ ❏ การใช้สมุนไพรในการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชนและบทบาทของ หมอพื้นบ้าน ❏ การสื่อสารเพื่อสร้างความรู้ที่ถูกต้อง ความเข้าใจ ความเชื่อมั่น ➔สร้างความเข้มแข็งของการบริหารและนโยบายภาครัฐเพื่อการขับเคลื่อนสมุนไพรไทยอย่าง ยั่งยืน ❏ พัฒนาโครงสร้างการบริหารสมุนไพรไทย ❏ พัฒนากฎหมายด้านการส่งเสริมและควบคุมผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย ❏ พัฒนาระบบฐานข้อมูลสมุนไพรและระบบประเมินขีดความสามารถในการแข่งขัน ด้านสมุนไพร ❏ การเสริมสร้างกลไกบริหารงานวิจัยและพัฒนาสมุนไพร ❏ การเสริมสร้างและพัฒนาสมุนไพร ❏ การพัฒนาเมืองสมุนไพร (Herbal City) วิธีดำเนินงาน แนวทางการดำเนินงาน 1.เลือกหัวข้อที่สงสัยและปรึกษากับครูผู้สอน 2.ศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 3.จัดทำรายงาน 4.นำเสนอครูผู้สอน 5.ปรับปรุงและแก้ไข เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ -อินเตอร์เน็ต -หนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จัดทำ -คอมพิวเตอร์ -โทรศัพท์มือถือ งบประมาณ 50-150 บาท
  • 12. 12 ขั้นตอนและแผนดำเนินงาน ลำดั บ ที่ ขั้นตอน สัปดาห์ที่ ผู้รับผิดชอบ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 0 1 1 12 1 3 1 4 1 5 1 6 1 7 1 คิดหัวข้อโครงงาน x 2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล x x x x 3 จัดทำโครงร่างงาน x x x 4 ปฏิบัติการสร้างโครงงาน x x x x x 5 ปรับปรุงทดสอบ x x x 6 การทำเอกสารรายงาน x x 7 ประเมินผลงาน x x 8 นำเสนอโครงงาน x ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.ส่งเสริมให้มีการใช้สมุนไพรมากขึ้น ทำให้สมุนไพรไทยเป็นที่รู้จัก มีความสำคัญมากขึ้นในสังคมไทย 2.เผยแพร่ให้บุคคลทั่วไปได้ทราบถึงสรรพคุณของสมุนไพรไทยอย่างคร่าวๆ 3.ทำให้เรารู้จักสมุนไพรไทยที่มีในประเทศของเราเองมากขึ้น ทราบสรรพคุณ เนื่องจากสมุนไพรไทยนั้นมีหลายชนิด สรรพคุณของสมุนไพรแต่ละตัวสามารถใช้รักษาโรคได้อย่างดี และที่สำคัญไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมากเท่ายาจาก สารเคมี สามารถใช้เป็นความรู้รอบตัวไว้ใช้ในยามจำเป็น สถานที่ดำเนินการ 1.ห้องคอมพิวเตอร์ โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ 2.ห้องสมุด โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง 1.กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2.กลุ่มสาระการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ 3.กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ บรรณานุกรม -สารรังสิตONLINE : การพัฒนาสมุนไพรไทยสู่ตลาดโลก ไทยมีความพร้อมในการเข้าร่วมแข่งขันหรือไม่?.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www2.rsu.ac.th/sarnrangsit-online-detail/herb01 (วันที่สืบค้นข้อมูล: 26 สิงหาคม 2562) -รูปแบบและประเภทของสมุนไพร.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก จาก https://beezab.com/สมุนไพร-มีอะไรบ้าง/ (วันที่สืบค้นข้อมูล: 24 สิงหาคม 2562)
  • 13. 13 -ประโยชน์ของการใช้สมุนไพร.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก จาก http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs1-11.htm (วันที่สืบค้นข้อมูล: 23 สิงหาคม 2562) -คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี : สมุนไพร .[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://med.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/pois-cov/Herbal (วันที่สืบค้นข้อมูล: 23 สิงหาคม 2562) -โพสต์ทูเดย์ สุขภาพ : สมุนไพรแห่งชาติ .[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก จาก https://www.posttoday.com/life/healthy/498479 (วันที่สืบค้นข้อมูล: 26 สิงหาคม 2562) -กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก : หนังสือแผนแม่บทแห่งชาติ ว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพร ฉบับที่ 1 พ.ศ 2560-2564.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.dtam.moph.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1672:dl0021&catid =42&Itemid=334&lang=th (วันที่สืบค้นข้อมูล: 26 สิงหาคม 2562)