SlideShare a Scribd company logo
1 of 26
Download to read offline
ตานานกาเนิดแคน



( จากบทสัมภาษณ์ นายจันทร์ ผาบุตรา ชาวจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อพ.ศ. 2523)

นายพรานผู้หนึ่งตามล่ากวางเข้าไปในป่าลึก บังเอิญไปได้ยินเสียงนกการเวก เสียงนั้นหวานเสนาะ
ไพเราะจับใจเหลือประมาณ ทาเอาความเหน็ดเหนื่อยหิวกระหายของเขาปลาสน์สิ้น เมื่อกลับมายัง
หมู่บ้านก็อดไม่ได้ที่จะเล่าถึงเสียงอันวิเศษนั้นให้ใครต่อใครฟัง ทาเอาสาวแม่ม่ายนางหนึ่งรบเร้าขอ
ติดตามเข้าไปในป่า เพื่อฟังเสียงนกการเวกนั้นให้ได้ นายพรานเองก็ยินดีให้นางติดตาม ในคราวเข้า
ป่าล่าสัตว์ในเที่ยวถัดมา
เสียงของนกการเวกวิเศษจริงดังที่นายพรานเล่า หญิงแม่ม่ายได้ฟังแล้วติดใจ อยากจะจับมาเลี้ยงไว้ก็
สุดปัญญา เพราะนกตัวเล็กบินว่องไว นางจึงพยายามจดจาเสียงนั้นไว้ให้แม่นยา ตั้งใจว่าจักต้อง
ประดิษฐ์เครื่องดนตรีสักอย่างหนึ่ง มาบรรเลงให้เหมือนเสียงนกการเวกนั้นให้จงได้

นางได้ทดลองทาเครื่องดนตรีขึ้นหลายชนิด มีทั้งดีดสีตีเป่า แต่ก็ยังไม่มีเสียงใดเหมือนเสียงนก
การเวกเลยสักเครื่องเดียว นางพยายามคิดค้นและประดิษฐ์เครื่องดนตรีชนิดใหม่ต่อไปเรื่อยๆ นาน
จนแทบหมดความพยายาม ในที่สุดก็พบว่า เครื่องดนตรีที่ให้คุณภาพเสียงใกล้เคียงกับเสียงนก
การเวกมากที่สุดคือ เครื่องที่ทาจากท่อไม่ไผ่ลาเล็กๆหลายลา แต่ละลามีลิ้นฝังแล้วจัดเรียงลาไม้ไผ่
ส่วนที่ฝังลิ้นผนึกไว้ในเต้า บรรเลงด้วยการเป่าลมผ่านเต้าเข้าไปสั่นลิ้น นางทดลองและปรับปรุง
เครื่องดนตรีชนิดนี้ทั้งรูปลักษณ์และวิธีเล่นจนเป็นที่พอใจ ตั้งใจว่าจักต้องนาออกแสดงต่อที่ชุมนุม
ชนให้เป็นที่ประจักษ์ มีผู้แนะนาให้นางหาทางแสดงถวายต่อหน้าพระที่นั่งพระมหากษัตริย์ จะทา
ให้เสียงดนตรีที่วิเศษอยู่แล้วมีเกียรติปรากฏเลื่องลือไปได้อย่างรวดเร็ว

ด้วยความพยายามของนาง และความช่วยเหลือชี้นาของข้าราชบริพารผู้ใหญ่ นางได้มีโอกาสแสดง
ดนตรีชนิดนั้นต่อหน้าพระที่นั่งจนได้ นางได้บรรเลงเพลงหลายแนวทานองให้ทรงสดับ ดูเหมือน
องค์พระราชาจะตอบสนองนาง ด้วยอากัปกิริยาเยือกเย็นโดยตลอด ทาให้นางกังขาว่าเสียงดนตรีที่
บรรเลงออกไป น่าจะไม่ต้องพระราชหฤทัย นางจึงเปลี่ยนทานองลีลาใหม่ บรรเลงเป็นเสมือนเสียง
นกการเวกร้องอยู่ริมธารน้าตก มีเสียงจักจั่นเรไรร้องเซ็งแซ่ประสาน (น่าจะเป็นลายสุดสะแนน)

เมื่อพระราชาได้สดับเพลงนั้นก็ทรงพอพระทัย ตรัสว่า “เออ อันนี้แค่นด” ซึ่งมีความหมายว่า “เออ อันนี้
                                                                 ี
เข้มข้นด”
        ี

คนทั้งหลายจึงเรียกเครื่องดนตรีชนิดนั้นว่า “แค่น” และกลายมาเป็น “แคน” ในที่สุด
ความรู้ทั่วไปเรื่องแคน
นักวิชาการด้านมานุษยดุริยางควิทยา จาแนกเครื่องดนตรีจาพวกแคนไว้ในกลุ่มเครื่องลม
(Aerophone) ชนิดที่มีเสียงลิ้นอิสระ เสียงแคนเกิดจากการเป่า และการดูดกระแสลมผ่านลิ้นโลหะที่
ฝังอยู่ในรูบากข้างลาท่อ ลิ้นแคนลิ้นเดิมให้เสียงระดับเดิมทั้งขาเป่า และขาดูดกระแสลมผ่าน จึง
เรียกว่าเป็นลิ้นแบบอิสระ ดังกล่าวแล้ว

การเป่าแคนใช้มือทั้งสองข้าง ใช้นิ้วทั้งสิบนิ้ว ผู้เป่าควบคุมระดับเสียงของลูกแคนได้ ด้วยการขยับ
ปลายนิ้วมือทั้งสองข้างปิดเปิดรูนับ ซึ่งเจาะไว้ที่ส่วนเหนือเต้าของลูกแคนทุกลูก ลูกใดถูกปิดรู ลูก
นั้นจะส่งเสียง นั่นคือ ใช้นิ้วบังคับระดับเสียง ใช้ลมบังคับเสียงและจังหวะ ตามอารมณ์ลายเพลง
เสียงแคนที่ออกมานั้น มีทั้งทานองเพลง เสียงประสาน เสียงสอดแทรก แสดงถึงอารมณ์ และ
ความรู้สึกต่าง ๆ อย่างพร้อมมูลทีเดียว .....เป็นเครื่องดนตรีที่ไม่สามารถใช้ อุปกรณ์อีเลกทรอนิกส์
เลียนเสียงได้เหมือน เพราะอุปกรณ์อีเลกทรอนิกส์ ให้อารมณ์เพลงไม่ได้ ยิ่งถ้าได้หมอแคนที่มี
ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญมากๆ มาเป่าแคน ยิ่งจะเพิ่มความไพเราะ ซาบซึ้งจับใจมากยิ่งขึ้น ฟัง
แล้ว เกิดความรู้สึกที่เรียกว่า “ ออนซอน ” ยากที่จะหาเครื่องดนตรีอื่น ๆ มาเทียบได้

นักดนตรีชาวไทยเรียกแคน 1 เครื่องว่า “แคน 1 เต้า” ....ในขณะที่นักดนตรีชาวลาว เรียกว่า “แคน
1 ดวง” แคนเต้าหนึ่งประกอบด้วยลูกแคนหลายลูก ลูกแคนต่างลูก ให้เสียงต่างระดับกัน ระบบเสียง
ของแคน จึงขึ้นอยู่กับระดับเสียงต่างๆ ของลูกแคนที่รวมอยู่ในแคนแต่ละเต้า

แคนทาจากไม้เฮี้ยน้อย ซึ่งช่างแคนไทยเรียกว่าไม้กู่แคน เกิดเสียงได้เพราะมีลิ้นโลหะติดอยู่ที่รอย
เจาะข้างลาท่อลูกแคนลูกละลิน ลูกแคนแต่ละลูกมีระดับเสียงต่างกัน เพราะมีระยะห่างระว่างลิ้นกับ
                              ้
รูแพวไม่เท่ากัน... รูแพวคือรูเสียงเจาะไว้ 2 รู เหนือและล่างลูกแคน ลูกแคนของแคน 1 เต้า จะถูก
จัดเป็น 2 แพ สอดเรียงไว้ในเต้าแคน ผนึกส่วนที่ฝังลิ้นไว้ในเต้าแคน ด้วยขี้สูด มัดปลายแพลูกแคน
ที่โผล่ออกนอกเต้าทั้งด้านบนและด้านล่าง ด้วยตอกเครือหญ้านาง หรือตอกหวาย
การจาแนกประเภทของแคน จาแนกตามจานวนลูกแคนที่ประกอบรวมกันอยู่ในเต้า มี 5 ประเภท
    คือ

    แคนหก มีลูกแคน 6 ลูก (3 คู่)

    แคนเจ็ด มีลูกแคน 7 คู่ (14 ลูก )

    แคนแปด มีลูกแคน 8 คู่ (16 ลูก)

    แคนเก้า มีลูกแคน 9 คู่ (18 ลูก)

    แคนสิบ มีลูกแคน 10 ลูก (5 คู่)

    แคนหกมีระดับเสียงอยู่ในมาตราเพนตะโทนิค (มี 5 โน้ต) นอกนั้น มีระบบเสียงเป็นมาตราไดอะโท
    นิค (มี 7 โน้ต)

    การเรียกบันไดเสียงของแคนแต่ละเต้า เรียกเป็นตัวเลขบอกจานวนนิ้วโป้ง โดยยึดเอาลูกแคนเสียง
    “ลาต่า” (motive) เป็นเสียงหลัก ระยะห่างระหว่างลิ้นแคนกับรูแพว ที่เจาะไว้ส่วนล่างของลูกแคนนี้
    วัดได้กี่นิ้วโป้ง ก็จะใช้เลขจานวนนั้น เป็นชื่อเรียกบันไดเสียงของแคนทั้งเต้า เช่น ถ้าลูกเสียง “ลา
    ต่า” ของแคนเต้าหนึ่ง วัดระยะห่างระหว่างลิ้นแคนกับรูแพวล่างได้ 7 นิ้วโป้ง ก็เรียกบันไดเสียงของ
    แคนเต้านั้นว่าเป็น “แคนเจ็ดโป้” (โป้ เป็นภาษาอีสาน แปลว่านิ้วโป้ง) เทียบได้กับประมาณบันไดเอ
    ไมเนอร์หรือซีเมเจอร์ ของสเกลดนตรีสากล


                                       การประกอบส่วนต่าง ๆ ให้เป็นแคน




อันดับแรก ช่างแคนจะจัดทาลูกแคนลูกแรก ขึ้นมาเป็นแม่แบบ เรียกลูกแคนนี้ว่า ลูกยั้ง เพราะถือเป็นฐาน
หรือแม่แบบ แล้วสืบสาวออกไปยังเสียงอื่นๆ ต่อไป นอกจากนั้น ลูกแคนลูกแรกนี้ จะเป็นตัวกาหนดขนาด
ความยาวต่าสุดของแคนดวงนั้น คือจะสั้นกว่าลูกนี้ไปไม่ได้... ลูกแรกนี้ จึงต้องเป็นลูกที่ยาวที่สุด... ลูกแคน
ที่น่าจะยาวที่สุด คือลูกที่รูแพวบนอยู่ไกลที่สุด และลูกแคนที่รูแพวบนอยู่ไกลที่สุด จะให้เสียงต่าที่สุด และ
ในแคนทุกดวง เสียงที่ต่าที่สุด คือเสียงลูกทุ้ง หรือโป้ขวา ซึ่งหมอแคนสมัยใหม่ เมื่อเทียบกับดนตรีสากล จึง
ตั้งชื่อลูกนี้ว่า เสียงลาต่า
ช่างแคน จะจัดทาลูกโป้ขวา เป็นอันดับแรก โดยมีบันไดเสียง หรือคีย์ ตามที่ผู้มาซื้อแคนร้องขอ เช่น หากผู้
มาซื้อแคน ต้องการแคน แปดโป้ ช่างแคน ก็จะบากรูสาหรับใส่ลิ้น จากนั้น ก็วัดนับจากรูลิ้นนั้นลงไป
ด้านล่างให้ได้ระยะ แปดโป้ (ความกว้างนิ้วหัวแม่มือต่อกันแปดครั้ง) แล้วบากตรงจุดนั้น เรียกว่า รูแพวล่าง
จากนั้น ก็บากรูแพวบน โดยวัดนับจากลิ้นแคนขึ้นไปด้านบน ระยะประมาณ 3 ทบของรูแพวล่าง เช่น รูแพว
ล่าง แปดโป้ รูแพวบน ก็ประมาณ 24 โป้ ...เมื่อบากรูแพวบนเสร็จแล้ว ใส่ลิ้นที่เตรียมไว้เข้าไป ลองเป่า ได้
เสียงที่พอใจแล้ว ถือว่า ลูกแคนนี้ คือลูกมาสเตอร์(ลูกยั้ง)ของแคนดวงนั้น

กรณีที่ ผู้ซื้อ ต้องการระดับเสียงที่แน่นอน ควรเอาตัวอย่างเสียง ตัวอย่างเครื่องดนตรีซึ่งมีคีย์เสียงที่เรา
ต้องการ ไปให้ช่างแคนเทียบด้วย เพื่อให้ได้เสียงที่ถูกต้องแม่นยา

ซึ่งหากระบุคีย์เสียงที่แน่นอน ช่างแคน ก็จะขูดลิ้น ปรับแต่งเสียงแคนของลูกมาสเตอร์ให้ได้ตามเสียงที่เรา
ต้องการก่อน

เมื่อได้ลูกมาสเตอร์แล้ว ช่างแคน ก็จะสืบสาวไปหาลูกอื่นๆ ที่เสียงเดียวกันแต่อยู่คนละช่วงทบเสียง (เสียง
ถูกกัน) เช่น ลา ต่า กับ ลา กลาง กับ ลา สูง เป็นต้น สืบไปหาเสียงร่วมคอร์ด (เสียงกินกัน) เช่น เทียบ ลา กับ
โด, เทียบ ลา กับ มี, เทียบ ลา กับ เร, เทียบ เร กับซอล, เทียบ ซอล กับ โด, เทียบ โด กับฟา, เทียบ ฟา กับ ที,
เทียบ ที กับ มี, ซึ่งการเทียบเสียง หาเสียงที่กินกัน และถูกกันนี้ เป็นความสามารถพิเศษของหูช่างแคน...

หลังจาก เสร็จทุกลูกแล้ว ช่างแคน ก็จะประกอบลูกแคนทั้งหมด เข้าในเต้าแคนที่เตรียมไว้ โดยเรียงลาดับลูก
แคน ดังนี้ (กรณีแคนแปด)

                                            ลาดับลูกแคน เรียกชื่อตามช่างแคนไทย

                คู่ที่1           คู่ที่2      คู่ที่3     คู่ที่4        คู่ที่5       คู่ที่6    คู่ที่7    คู่ที่8
                              เวียงใหญ่ หรือ
 ซ้ายมือ       โป้ซ้าย                         แม่แก่    แม่ก้อยขวา    แม่ก้อยซ้าย     สะแนน      ก้อยซ้าย   เสพซ้าย
                                  แม่เวียง
           ลูกทุ้ง หรือ โป้                                           เวียงน้อย หรือ
 ขวามือ                           แม่เซ        สะแนน       ฮับทุ่ง                     แก่น้อย    ก้อยขวา    เสพขวา
                  ขวา                                                     ลูกเวียง
ลาดับลูกแคน เรียกชื่อตามช่างแคนลาว

           คู่ที่1            คู่ที่2          คู่ที่3        คู่ที่4            คู่ที่5         คู่ที่6      คู่ที่7    คู่ที่8
                                                                                                                        สร้อยสุด
ซ้ายมือ    โป้ซ้าย            ซี้ซ้าย         แม่เวียง        ซะซ้าย         จุ้มเมืองหลวง     สุดสะแนน     ก้อยซ้าย
                                                                                                                        สะแนน

ขวามือ     ลูกทุ้ง          ติดสูดใหญ่       สุดสะแนน         ฮับทุ้ง          ลูกสอง          ติดสูดน้อย   สร้อยล่อง    สร้อย




                          แคนแต่ละลูกข้างต้น เมื่อนามาเทียบเป็นโน้ตดนตรีสากล จะได้ดังนี้

               คู่ที่1             คู่ที่2         คู่ที่3         คู่ที่4           คู่ที่5      คู่ที่6     คู่ที่7    คู่ที่8
 ซ้ายมือ             ด                  ทฺ               รฺ             มฺ             ฟ            ซ           ฟ          ซ
 ขวามือ              ลฺ                 ดฺ           ซ                  ล              ท            ร            ม         ล
โดยขณะที่ใส่ลูกแคนเข้าไปในโพรงเต้าแคนแต่ละลูก ก็จะใช้ขี้สูดติดลุกแคนกับเต้าแคน และเมื่อเรียงครบ
ทุกลูกแล้ว ก็จะติดขี้สูดปิดผนึกให้ทั่วอุดรูรั่วให้มิด... เมื่อเสร็จแล้ว ช่างแคนจะลองเป่าดูอีกทีสารวจ
ตรวจสอบว่ายังมีเสียงไหนที่ยังเพี้ยนอยู่หรือไม่... หลังจากปรับแต่งเสียงจนกลมกล่อมถูกต้องดีแล้ว ช่าง
แคน ก็จะนาเครือหญ้านาง หรือเส้นตอกหวายที่เตรียมไว้แล้ว มาจัดการมัดรอบลูกแคน ทั้งสามจุด คือ
ด้านล่างของแคน, ตรงช่วงปลายลูกแคนที่สั้นที่สุด และตรงช่วงปลายลูกแคนที่ยาวที่สุด โดยจุดที่มัดนี้ จะใส่
ไม้หมอน หรือไม้กั้นระหว่างลูกแคนแพซ้ายกับแพขวา... เป็นอันทาแคนเสร็จหนึ่งดวง

แคนที่ทาเสร็จแล้วใหม่ๆ หลาบโลหะลิ้นแคน ยังไม่อยู่ตัว คือเมื่อเป่าไปๆ มาๆ ลิ้นแคนอาจเด้งออกมา หรือ
หลบเข้าไป เป็นผลให้เกิดอาการที่เรียกว่า “ ลิ้นนอง ” ได้ ดังนั้น แคนที่ทาเสร็จใหม่ๆ ยังไม่ถือว่าเป็นแคนที่
คุณภาพดี เพราะลิ้นยังไม่อยู่ตัว... ช่างแคน จะคอยหมุนเวียนเป่าแคนที่ทาเสร็จแล้วอยู่บ่อยๆ เพื่อให้ลิ้นแคน
เซ็ตตัวเองจนเข้าที่ เมื่อพบว่าลูกใดลิ้นนอง ก็จะทาการปรับแก้ไข ดังนั้น หากผู้ซื้อไม่รีบเอาไปจนเกินไป ช่าง
แคน เมื่อทาแคนเสร็จแล้ว อาจจะยังไม่ใช้เชือกมัดแคน เพราะมัดแล้วก็ต้องแก้เชือกออก ถอดลูกแคนออกมา
แต่งลิ้นอยู่ดี.... แคนที่เป่าจนลิ้นอยู่ตัวแล้วช่างแคนปรับแก้ให้หายลิ้นนองนี่แล ถือว่าเป็นแคนคุณภาพดี
สมบูรณ์




                                       ตัวอย่างแคนที่เสร็จสมบูรณ์
ประเภทของแคน




ประเภทของแคน อาจแบ่งได้หลายลักษณะ ในที่นี้ จะแบ่งประเภทของแคน ใน 3 ลักษณะ คือ แบ่ง
ตามจานวนลูกแคน, แบ่งตามระดับเสียงหรือคีย์ แบ่งตามลิ้นแคน



แบ่งตามจานวนลูกจะได้ดังนี้

แคนหก มีลูกแคน 6 ลูก (3 คู่)

แคนเจ็ด มีลูกแคน 7 คู่ (14 ลูก )

แคนแปด มีลูกแคน 8 คู่ (16 ลูก)

แคนเก้า มีลูกแคน 9 คู่ (18 ลูก)

แคนสิบ มีลูกแคน 10 ลูก (5 คู่)

โดยแคนที่นิยมและถือว่าเป็นมาตรฐานคือ แคนแปด




แบ่งตามระดับเสียงหรือคีย์ เช่น

แคนห้าโป้

แคนหกโป้

แคนเจ็ดโป้

แคนแปดโป้

แคนเก้าโป้...

จริงๆแล้ว การแบ่งแบบนี้ ไม่ใช่ประเภทของแคน แต่เป็นชื่อเรียกของคีย์แคน
แบ่งตามลิ้นแคน จะได้

แคนลิ้นเงิน

แคนลิ้นทอง (แดง)

แคนลิ้นทอง (เหลือง)

โดยแคนลิ้นเงิน เป็นแคนที่ให้เสียงไพเราะ นุ่มนวล เป็นที่นิยมของหมอแคนอาชีพ ที่สุด

                                    การเลือกแคน
แคนจะมีเสียงดีหรือไม่เพียงใด ขึ้นอยู่กับคุณภาพของแคนเป็นสาคัญ วิธีการเลือกแคนให้ได้แคนที่ดี
มีคุณภาพดี นอกจากดูรูปลักษณ์ภายนอก เช่นลูกแคน ต้องไม่แตก เป็นต้นแล้ว อาจพิจารณาได้ดังนี้

       ไม่กินลม หมายความว่า เวลาเป่าไม่ต้องใช้ลมมากนักก็ดัง แคนที่ใช้ลมเป่ามากจะทาให้ผู้ที่
        เป่าเหนื่อยเร็ว ซึ่งสาเหตุสาคัญ มักจะเนื่องมาจากลิ้นแคนที่หนาและแข็งมักจะกินลมมาก
        หรืออาจจะเป็นเพราะแคนมีรูรั่วตามเต้าของแคน ซึ่งขี้สูดอุดไม่สนิทก็อาจเป็นได้

       เสียงหนึ่ง ๆ ควรจะดังเท่ากันทั้งเวลาสูดลมเข้าและเป่าลมออก

       เสียงทุกเสียงควรจะดังเท่ากันเมื่อใช้ลมเป่าเท่ากัน

       คู่เสียงของแคนซึ่งเป็นคู่แปดทุกคู่ ควรจะดังเท่ากัน และมีระดับเสียงเข้าคู่กัน อย่างสนิทไม่
        ผิดเพี้ยน จึงจะได้คู่เสียงที่กลมกลืน และควรดังเท่ากัน ทั้งเวลาดูดลมเข้าและเป่าลมออก

       ลิ้นแคน ต้องไม่ “นอง” คือ เมื่อไม่ปิดรูใดๆ เลย แล้วลองเป่าลมเข้า หรือดูดออกอย่างแผ่ว
        เบา แคนต้องไม่มีเสียง... ถ้ามีเสียงครางสั่นเบาๆ เรียกว่าแคนลิ้นนอง

       เป่าแล้ว นอกจากไม่กินลม เสียงต้องแน่น ใส ไม่โปร่งจนเกินไป

       แคนที่ใช้ลิ้นแคนคุณภาพดี แม้จะเป่าหรือดูดแรงๆ ปานใดก็ตาม ลิ้นต้องไม่เสียรูป ถ้าเป่า
        หรือดูดแรงๆ แล้ว ลิ้นเสียรูป โดยงอออกด้านนอกก็ดี หลบงุ้มเข้าด้านในก็ดี แสดงว่าลิ้น
        แคนอ่อนเกินไป ขาดการสปริงตัวที่ดี... อันเป็นสาเหตุให้แคนลิ้นนอง และลิ้นหัก ได้ง่าย
   ลิ้นแคนคุณภาพดี คือลิ้นเงิน (สตางค์แดงผสมโลหะเงิน) และลิ้นทอง(สตางค์แดงล้วนๆ)
        ส่วนลิ้นทอง(ทองเหลือง) คุณภาพไม่ค่อยดี อายุการใช้งานน้อย

** แคนที่ลูกแคนบาง เสียงจะก้องกังวานดี เพราะลูกแคนเกิดกาทอนดี แต่ข้อเสียคือ ลูกแคนที่บาง
จะแตกง่าย

** ลิ้นแคนที่บาง เป่าง่าย แต่ข้อเสียคือลิ้นนองง่ายะหักง่าย ดังนั้น สูตรผสมโลหะ จึงสาคัญมาก

                               การเก็บและดูแลรักษาแคน
แคน เป็นเครื่องดนตรีที่ต้องการความเอาใจใส่ ทะนุถนอมดูแลรักษา เป็นอย่างมาก เพราะว่าแคน
เป็นเครื่องดนตรีที่เปราะบาง ชารุดเสียหายง่าย ผู้ใช้จึงควรทราบวิธีการดูแลรักษาอย่างง่ายๆ
ดังต่อไปนี้

       ควรจะเป่าอยู่เสมอ การเป่าบ่อย ๆ จะทาให้แคนมีเสียงดีและนุ่มนวล หากปล่อยไว้นาน ไม่
        เป่าเลย ลิ้นแคนอาจขึ้นสนิมเขียว สนิมดา ทาให้เสียงเพี้ยนได้

       ควรเก็บแคนไว้ในกล่องที่แข็งแรง และมีฝาปิดที่มิดชิด เพื่อกันการกระแทก กันแตก กัน
        แมลงและฝุ่นมิให้ไปจับเกาะ ตามรูลูกแคนและตามลิ้นแคน จะทาให้แคนชารุดได้ อย่าง
        น้อยที่สุดก็ควรเก็บรักษาแคนไว้ในถุงผ้าที่ปิดได้สนิท และแขวนไว้ในที่ที่ทนทาน ปลอด
        ภัย... หากวางตั้งไว้ อาจล้มแตกเสียหายได้

       ไม่ควรนาแคนไปวางตากแดด หรือเอาไว้ใกล้ไฟ หรือเผลอวางไว้ในที่อุณหภูมิสูง เพราะ
        จะทาให้ขี้สูดที่อุดตามเต้าแคนเยิ้ม ไปเกาะติดลิ้นแคน อาจเป็นสาเหตุให้เป่าไม่ดัง เพราะ
        ลิ้นแคนไม่สั่นสะเทือน

       ไม่ควรนาแคนไปจุ่มน้า โดยเข้าใจผิดว่าจะเป็นการทาความสะอาดแคน เพราะจะทาให้ลิ้น
        แคนเป็นสนิมได้

       ถ้าลูกแคนแตกเพียงเล็กน้อย อาจซ่อมแซมได้ โดยใช้กาวตราช้างติด หรือใช้เทปใสพันติด
        ไว้ ให้คงรูปในสภาพที่ดีอย่างเดิม แต่ถ้าแตกมากก็ต้องเปลี่ยนลูกแคนนั้นใหม่ จึงจะใช้การ
        ได้ดีเช่นเดิม
    ลูกแคนที่ แตกเลยรูแพวล่างขึ้นมาทางเต้าแคนก็ดี แตกเลยรูแพวบนลงมาทางเต้าแคนก็ดี จะ
              ทาให้เสียงเพี้ยน ต้องใช้กาวตราช้างติดรอยแตกให้สนิท แต่ถ้าแตกมาก ไม่สามารถติดซ่อม
              ได้ ควรนาไปให้ช่างแคนเปลี่ยนลูกใหม่

             การซ่อมแคนกรณีปัญหาลิ้นนอง ช่างแคนทุกคน สามารถซ่อมแก้ไขให้ดีได้ดังเดิม แต่หาก
              เป็นการเปลี่ยนลูกแคน การเปลี่ยนลิ้นแคน ควรนาไปให้ช่างแคนที่ทาแคนเต้านั้น เป็นคน
              ซ่อม จะดีที่สุด เพราะหากนาไปให้ช่างแคนคนอื่นเปลี่ยนลิ้น ลิ้นแคนที่ช่างแคนแต่ละคน
              ใช้ อาจจะมีคุณสมบัติไม่เหมือนกัน อันเป็นสาเหตุให้ เมื่อใช้ลมเท่ากัน ลิ้นแคนเดิมกับลิ้น
              แคนใหม่ ให้เสียงดังไม่เท่ากัน... แต่ถ้าจาเป็น ควรให้ช่างแคนนั้น เปลี่ยนลิ้นแคนใหม่
         

         

             ทั้งหมด เพื่อคุณภาพเสียงที่ดี




                                                    คีย์ลายแคน



คีย์ลายใหญ่


ลายใหญ่ หมายถึงทานองที่อยูในบันไดเสียงทุ้มต่า ภาษาไทย-ลาว เรียกเสียงทุ้มต่าว่า เสียงใหญ่... เสียง ลา เป็นเสียงทุ้มต่า
                             ่
ที่สุดในแคนแต่ละเต้า เมื่อลายใหญ่มีเสียง ลา เป็นศูนย์กลางของทานอง จึงมีชื่อเรียกว่า ลายใหญ่....

ลายใหญ่ มีเสียงลาต่า (เสียง A เมื่ออยู่บันไดเนเจอรัล) เป็นเสียงศูนย์กลางของทานอง ใช้โน้ตในทานองได้
เพียง 6 โน้ต คือ ล ท ด ร ม ซ

เสียงฟา เป็นเสียงส้มของลายใหญ่ ... “ส้ม” หมายถึง เปรี้ยว เสียงส้ม หมายถึง เสียงที่ไม่เข้าพวกกับเสียงอื่น
เมื่อบรรเลงทานอง หากนาเสียงนี้มาใช้ร่วมทานอง จะฟังดูแปร่งๆ หู เปรี้ยวหู ก็เลยเรียกว่าเสียงส้ม

เสียงฟา เมื่อนามาใช้ในคีย์ลายใหญ่ จะไม่เข้าพวกเขา.... หากจะให้เข้าพวกจริงๆ ต้องเป็นเสียงฟาชาร์ป (F#)
ซึ่งแคนไม่มีเสียงฟาชาร์ป

อีกอย่างหนึ่ง ทานองลายเพลงอีสาน โดยมาก เป็นทานองโน้ตกระโดด ใช้โน้ตในแต่ละลายเพลง 5 โน้ต ซึ่ง
โน้ตหลัก 5 โน้ตของลายใหญ่คือ “ล ด ร ม ซ” ส่วนลายเพลงที่มี 6 โน้ต (เพิ่มเสียง ท) และ 7 โน้ต (เพิ่มเสียง
ท และ ฟ) จะมีน้อย ถ้ามีบรรเลง ก็เป็นเพลงที่ยืมทานองมาจากถิ่นอื่น หรือเป็นลายเพลงกาเนิดใหม่ (ซึ่งถ้ามี
7 โน้ต แคนจะบรรเลงได้เฉพาะลายน้อยเท่านั้น)

มาตราเสียงของลายใหญ่ จัดอยู่ใน “A Mode” (คือเพลงจบลงด้วยเสียง ลา ... เมื่อเทียบลา = A) ออกสาเนียง
ไมเนอร์ หรือจะว่าเป็นบันไดเอไมเนอร์ ก็ไม่ผิด

การบรรเลงลายใหญ่ ต้องใช้เสียงลา และ เสียง มี เป็นเสียงประสานยืน หรือเสียง Drone ตลอดทั้งลาย ดังนั้น
ผู้เป่า มักบิขี้สูดก้อนเล็กๆ ออกมาอุดรูเสียงลาสูง (เสียงเสพ แพขวามือลูกที่แปด) ไว้ ส่วนรูนับเสียงมี (ลูกที่7
แพขวามือ) จะใช้นิ้วนางขวา ปิดไว้ เพื่อเป็นการสะดวกในอันที่จะเลื่อนไปปิดรูนับเสียงเร (ลูกที่6 แพ
ขวามือ) เมื่อเปลี่ยนไปเล่นลายน้อย... แต่ถ้าเป็นการบรรเลงลายใหญ่ล้วนๆ ไม่ออกลายอื่น หมอแคนอาจใช้
ก้อนขี้สูดเล็กๆ ปิดตายไว้ทั้งสองรู

เสียงประสานยืนหรือเสียงโดรนนั้น หมอแคนเรียกว่าเสียงเสพ...

ลองดูตัวอย่างเพลงพม่าราขวาน เมื่อใช้บันไดลายใหญ่ ไม่สามารถใช้โน้ตเสียง ฟ# ได้



                                         พม่าราขวานคีย์ลายใหญ่

    ----         ----          ----         ----          ----        -ล-ร         -ซลท          ร-ลล
   -ทลซ         ลทลด         -ซลท          ร–ลล           ----       ซมซซ          ลทลซ         ฟ# ม ร ม
    ----        ซมซซ         ลทลซ         ฟ# ม ร ม       -มซร         -ม-ร         -ดลด          รมรด
   -ดลด         -ดรม         ซลซม          ซมรด         -ทลซ          -ซลท         ลซลท         รดทล

*** แคน ไม่มีเสียง ฟ# มีเฉพาะเสียง ฟ ซึ่งเป็นเสียงส้มของลายใหญ่
คีย์ลายน้อย


ลายน้อย หมายถึงทานองที่อยูในบันไดแหลมสูง ภาษาไทย-ลาว เรียกเสียงแหลมว่า เสียงน้อย... เสียง เร ซึ่งเป็นเสียง
                          ่
ศูนย์กลางของทานองลายน้อย แหลมกว่าเสียงลา ของทานองลายใหญ่ จึงได้ชื่อว่า ลายน้อย เพราะมีเสียงแหลมกว่าลายใหญ่

ลายน้อย ก็คือทานองลายใหญ่ ที่เลื่อนบันไดเสียง จาก เอโหมด มาเป็น ดีโหมด นั่นเอง และออกสาเนียงไม
เนอร์เหมือนกัน

ลายน้อย มีเสียงเรต่า (เสียง D เมื่ออยู่บันไดเนเจอรัล) เป็นเสียงศูนย์กลางของทานอง ใช้โน้ตในทานองได้
ครบทั้ง 7 โน้ต คือ ร ม ฟ ซ ล ท ด

อย่างไรก็ตาม ทานองลายเพลงอีสาน โดยมาก เป็นทานองโน้ตกระโดด ใช้โน้ตในแต่ละลายเพลง 5 โน้ต ซึ่ง
โน้ตหลัก 5 โน้ตของลายน้อยคือ “ร ฟ ซ ล ด” ส่วนลายเพลงที่มี 6 โน้ต (เพิ่มเสียง ม) และ 7 โน้ต (เพิ่มเสียง
ม และ ท) จะมีน้อย ถ้ามีบรรเลง ก็เป็นเพลงที่ยืมทานองมาจากถิ่นอื่น หรือเป็นลายเพลงกาเนิดใหม่ ซึ่งถ้ามี 7
โน้ต แคนจะบรรเลงได้เฉพาะลายน้อยเท่านั้น

มาตราเสียงของลายน้อย จัดอยู่ใน “D Mode” (คือเพลงจบลงด้วยเสียงเร ... เมื่อเทียบเร= D) ออกสาเนียงไม
เนอร์ หรือจะว่าเป็นบันไดดีไมเนอร์ ก็ไม่ผิด

การบรรเลงลายน้อย ต้องใช้เสียงลา และ เสียง เร เป็นเสียงประสานยืน หรือเสียง Drone ตลอดทั้งลาย ดังนั้น
ผู้เป่า มักบิขี้สูดก้อนเล็กๆ ออกมาอุดรูเสียงลาสูง (เสียงเสพ แพขวามือลูกที่แปด) ไว้ ส่วนรูนับเสียงเร (ลูกที่6
แพขวามือ) จะใช้นิ้วนางขวา ปิดไว้ เพื่อเป็นการสะดวกในอันที่จะเลื่อนไปปิดรูนับเสียงมี (ลูกที่7 แพ
ขวามือ) เมื่อเปลี่ยนไปเล่นลายใหญ่

เสียงประสานยืนหรือเสียงโดรนนั้น หมอแคนเรียกว่าเสียงเสพ...

ดูตัวอย่างเพลงพม่าราขวาน เมื่อใช้บันไดลายน้อย สามารถบรรเลงได้ครบทุกโน้ต

                                          พม่าราขวานคีย์ลายน้อย

     ----         ----         ----          ----         ----         -ร-ซ         -ดรม          ซ-รร
    -มรด         รมรซ          -ดรม         ซ–รร          ----         ดลดด         รมรด          ทลซล
     ----        ดลดด          รมรด         ทลซล          -ลดซ         -ล-ซ         -ฟรฟ         ซลซฟ
    -ฟรฟ         -ฟซล          ดรดล         ดลซฟ          -มรด         -ดรม         รดรม          ซฟมร
คีย์ลายเซ


ลายเซ คือทานองลายใหญ่ ที่เลื่อนบันไดเสียง จากเอโหมด มาเป็นอีโหมด หรือ คือทานองลายน้อย ที่เลื่อน
บันไดเสียง จาก ดีโหมด มาเป็น อีโหมด และออกสาเนียงทางไมเนอร์เหมือนกัน

ลายเซ ที่ได้ชื่อว่า ลายเซ เพราะมีทานองบางตอน เซออกนอกมาตราเสียง ทาให้ฟังดูแปร่งๆ หู และที่เซออก
นอกมาตรานี้ ก็เนื่องจากว่า บันไดลายเซ มีเสียงไม่ครบ7 โน้ต ทาให้บางตอนที่หมอแคนใช้โน้ตเสียงส้มของ
ลายเซ ฟังดูแปร่งๆ หู ดูเหมือนเซออกนอกทานอง แล้ววกกลับเข้ามาหาทานองใหม่

ลายเซ มีเสียงมีต่า (เสียง E เมื่ออยู่บันไดเนเจอรัล) เป็นเสียงศูนย์กลางของทานอง ใช้โน้ตในทานองได้เพียง
6 โน้ต คือ ม ซ ล ท ด ร

เสียงฟา เป็นเสียงส้มของลายเซ ... “ส้ม” หมายถึง เปรี้ยว เสียงส้ม หมายถึง เสียงทีไม่เข้าพวกกับเสียงอื่นเมื่อ
                                                                               ่
บรรเลงทานอง หากนาเสียงนี้มาใช้ร่วมทานอง จะฟังดูแปร่งๆ หู เปรี้ยวหู ก็เลยเรียกว่าเสียงส้ม

เสียงฟา เมื่อนามาใช้ในคีย์ลายเซ จะไม่เข้าพวกเขา.... หากจะให้เข้าพวกจริงๆ ต้องเป็นเสียงฟาชาร์ป (F#) ซึ่ง
แคนไม่มีเสียงฟาชาร์ป

อีกอย่างหนึ่ง ทานองลายเพลงอีสาน โดยมาก เป็นทานองโน้ตกระโดด ใช้โน้ตในแต่ละลายเพลง 5 โน้ต ซึ่ง
โน้ตหลัก 5 โน้ตของลายเซคือ “ม ซ ล ท ร” ส่วนลายเพลงที่มี 6 โน้ต (เพิ่มเสียง ฟ) และ 7 โน้ต (เพิ่มเสียง ฟ
และ ด) จะมีน้อย ถ้ามีบรรเลง ก็เป็นเพลงที่ยืมทานองมาจากถิ่นอื่น หรือเป็นลายเพลงกาเนิดใหม่ (ซึ่งถ้าลาย
เพลงใดมีโน้ตเสียงฟา แคนจะไม่สามารถบรรเลงในลายเซได้ดี พอถึง ฟา ก็จะเซออกนอกมาตรา เพราะไม่
มีฟาชาร์ป นั่นเอง)

มาตราเสียงของลายเซ จัดอยู่ใน “E Mode” (คือเพลงจบลงด้วยเสียง มี ... เมื่อเทียบมี= E) ออกสาเนียงไม
เนอร์ หรือจะว่าเป็นบันไดอีไมเนอร์ ก็ไม่ผิด

การบรรเลงลายเซ ต้องใช้เสียงลา และ เสียง มี เป็นเสียงประสานยืน หรือเสียง Drone ตลอดทั้งลาย ดังนั้น ผู้
เป่า มักบิขี้สูดก้อนเล็กๆ ออกมาอุดรูเสียงลาสูง (เสียงเสพ แพขวามือลูกที่แปด) ไว้ ส่วนรูนับเสียงมี (ลูกที่7
แพขวามือ) จะใช้นิ้วนางขวา ปิดไว้ เพื่อเป็นการสะดวกในอันที่จะเลื่อนไปปิดรูนับเสียงเร (ลูกที่6 แพ
ขวามือ) เมื่อเปลี่ยนไปเล่นลายน้อย... แต่ถ้าเป็นการบรรเลงลายเซล้วนๆ ไม่ออกลายอื่น หมอแคนอาจใช้
ก้อนขี้สูดเล็กๆ ปิดตายไว้ทั้งสองรู
เสียงประสานยืนหรือเสียงโดรนนั้น หมอแคนเรียกว่าเสียงเสพ...

ลองดูตัวอย่างเพลงพม่าราขวาน เมื่อใช้บันไดลายเซ ไม่สามารถใช้โน้ตเสียง ฟ# ได้



                                             พม่าราขวานคีย์ลายเซ

     ----          ----          ----          ----             ----   -ม-ล       - ร ม ฟ#    ล-มม
    - ฟ# ม ร     ม ฟ# ม ล       - ร ม ฟ#      ล–มม              ----   รทรร       ม ฟ# ม ร    ดทลท
     ----         รทรร         ม ฟ# ม ร       ดทลท          -ทรล       -ท-ล       -ซมซ        ลทลซ
    -ซมซ          -ซลท          รมรท          รทลซ          - ฟ# ม ร   - ร ม ฟ#   ม ร ม ฟ#   ล ซ ฟ# ม



*** แคน ไม่มีเสียง ฟ# มีเฉพาะเสียง ฟ ซึ่งเป็นเสียงส้มของลายเซ

คีย์ลายสุดสะแนน


ลายสุดสะแนน เป็นลายที่เวลาบรรเลงแล้ว ทุกครั้งที่จบลายเพลง ต้องลงที่เสียงซอล อันเป็นเสียงหลักของ
ทานอง เสมอ และลูกแคนเสียงซอลนี้ มีชื่อว่า สะแนน เมื่อเพลงจบ หรือสิ้นสุดลงที่ลูกสะแนน จึงเรียกลายนี้
ว่า “ลายสุดสะแนน” ซึ่งสื่อความหมายว่า สิ้นสุดเพลงที่ลูกสะแนน....

ส่วนอีกความหมายหนึ่งของลายสุดสะแนน คือ ลายนี้เป็นลายที่ไพเราะมากๆ เป็นที่สุดของที่สุดของลาย
แคนทั้งหลาย ถือว่าเป็นลายชั้นครูของแคน เพราะเล่นได้ยากกว่าลายอื่นใดทั้งหลาย หมายถึงบรรเลงให้ได้
ระดับชั้นครูนั้น ยาก..... ใครเล่นได้ ก็ถือว่าสุดยอดทางการเป่าแคนเลย ทีเดียว ...ดังนั้น บรรดาลายทั้งหลาย
ยากสุดๆ ก็ลายนี้ ไพเราะสุดๆ ก็ลายนี้ ...จึงเรียกลายนี้ว่า “สุดสะแนน” ..... อันหมายถึง สิ้นสุดของเส้นสาย
แนน … สาว(ชัก)ดึงสายแนนมาเรื่อยๆ ในที่สุดก็พบจุดสิ้นสุด... จุดสิ้นสุด คือจุดหมายปลายทาง เมื่อพบ
จุดสิ้นสุดอันเป็นเป้าหมายสุดท้ายแล้ว ถือว่า สิ้นสุดสายแนน.... การฝึกแคนก็เช่นกัน เมื่อฝึกไปเรื่อยๆ จนฝึก
ได้ลายที่ยากที่สุด อันเป็นลายชั้นครูของแคนแล้ว การฝึกแคนนั้น ก็ถือว่าสุดสายแนน เช่นกัน... สายแนนก็
คือสะแนน ... สุดสายแนน ก็คือสุดสะแนน (เกี่ยวกับสายแนน ขอให้ค้นดูจากวรรณคดีอีสาน เรื่อง สายแนน
นาแก่น)

ลายสุดสะแนน มีเสียงซอล (เสียง G เมื่ออยู่บันไดเนเจอรัล) เป็นเสียงศูนย์กลางของทานอง ใช้โน้ตใน
ทานอง 6 โน้ต คือ ซ ล ท ด ร ม

เสียงฟา เป็นเสียงส้มของลายสุดสะแนน ... “ส้ม” หมายถึง เปรี้ยว เสียงส้ม หมายถึง เสียงที่ไม่เข้าพวกกับ
เสียงอื่นเมื่อบรรเลงทานอง หากนาเสียงนี้มาใช้ร่วมทานอง จะฟังดูแปร่งๆ หู เปรี้ยวหู ก็เลยเรียกว่าเสียงส้ม

เสียงฟา เมื่อนามาใช้ในคีย์ลายสุดสะแนน จะไม่เข้าพวกเขา.... หากจะให้เข้าพวกจริงๆ ต้องเป็นเสียงฟา
ชาร์ป (F#) ซึ่งแคนไม่มีเสียงฟาชาร์ป

อีกอย่างหนึ่ง ทานองลายเพลงอีสาน โดยมาก เป็นทานองโน้ตกระโดด ใช้โน้ตในแต่ละลายเพลง 5 โน้ต ซึ่ง
โน้ตหลัก 5 โน้ตของลายสุดสะแนนคือ “ซ ล ด ร ม”

บันไดเสียงลายสุดสะแนน ควรเรียกว่าอยู่ในบันไดจีโหมด ออกสาเนียงเมเจอร์ ไม่ใช่บันได จีเมเจอร์ แม้ว่า
ทานองจะจบลงที่เสียง ซอล หรือจี และใช้เสียงซอล เป็นเสียงประสานยืน ก็ตาม ถ้าจะจัดเข้าบันไดทาง
เมเจอร์ ควรจะเรียกว่าอยู่ในบันไดซีเมเจอร์ แต่ใช้เสียงในขั้นที่5 (dominant) คือเสียง G เป็นเสียงเอก
(primary tone ไม่ใช่ Tonic) การจัดเช่นนี้ มีเหตุผลตรงที่ ลายสุดสะแนน มีลายใหญ่เป็นเครือญาติทางไม
เนอร์ (relative minor) และลายใหญ่มีเสียง A หรือลา เป็น โทนิค หรือเสียงศูนย์กลาง เพราะฉะนั้น ลายสุด
สะแนน จึงต้องมีเสียง C หรือ โด เป็นโทนิค จึงจะถูกต้อง บันไดเสียงที่มีเสียงโด หรือ C เป็นโทนิค ก็คือ
บันไดซีเมเจอร์ นั่นเอง



                               ดูตารางเทียบคู่โทนิคทางเมเจอร์และไมเนอร์

                                              Tonic Major            Tonic Minor
                                                    C                     Am
                         คู่โทนิค                   F                     Dm
                                                    G                     Em

การบรรเลงลายสุดสะแนน ต้องใช้เสียงซอล เป็นเสียงประสานยืน หรือเสียง Drone ตลอดทั้งลาย ดังนั้น ผู้
เป่า มักบิขี้สูดก้อนเล็กๆ ออกมาอุดรูเสียงซอลสูง (ลูกที่8 แพซ้ายมือ) ไว้ ส่วนเสียงซอลของลูกที่6 แพซ้ายมือ
จะใช้นิ้วนาง ปิดรูนับไว้ เพื่อให้ทั้งสองลูกนั้นเกิดเสียงประสานตลอดการบรรเลงลาย

ลายสุดสะแนน นอกจากจะใช้เสียงประสานยืนคือซอลแล้ว ขณะบรรเลง ยังมีการจับคู่ประสานคอร์ดเสียง
อื่นๆ ด้วย เช่น เสียงลากับเสียงมี, เสียงโดกับเสียงซอล ดังนั้น เสียงแคนของลายสุดสะแนน จึงออกมา
ลักษณะคอร์ดประสานจังหวะแบบกระชับ... กล่อมประสานกันไพเราะเพราะพริ้งมาก

คีย์ลายโป้ซ้าย


ลายโป้ซ้าย คือทานองลายสุดสะแนน ที่เลื่อนบันไดจากบันไดจีโหมด มาเป็นบันไดซีโหมด และออก
สาเนียงทางเมเจอร์เหมือนกัน

ชื่อลายโป้ซ้าย ตั้งขึ้นตามอากัปกิริยาของผู้เป่าแคน ที่ต้องใช้นิ้วโป้ซ้าย ปิดรูนับของลูกแคนเสียง โด (ลูกที่1
แพซ้าย) ไว้ตลอดเวลาที่บรรเลงลายโป้ซ้าย

ลายโป้ซ้ายมีเสียงโด (เสียง C เมื่ออยู่บันไดเนเจอรัล) เป็นเสียงศูนย์กลางของทานอง ใช้โน้ตในทานองได้
ครบทั้ง 7 โน้ต คือ ด ร ม ฟ ซ ล ท

แต่อย่างไรก็ตาม ทานองลายเพลงอีสาน โดยมาก เป็นทานองโน้ตกระโดด ใช้โน้ตในแต่ละลายเพลง 5 โน้ต
ซึ่งโน้ตหลัก 5 โน้ตของลายโป้ซ้ายคือ “ด ร ฟ ซ ล”

บันไดเสียงลายโป้ซ้าย ควรเรียกว่าอยู่ในบันได C Mode ออกสาเนียง Major ไม่ใช่บันได C Major แม้ว่า
ทานองจะจบลงที่เสียง โด หรือ C และใช้เสียงโด เป็นเสียงประสานยืน ก็ตาม ถ้าจะจัดเข้าบันไดทางเมเจอร์
ควรจะเรียกว่าอยู่ในบันได F Major แต่ใช้เสียงในขั้นที่5 (dominant) คือเสียง C เป็นเสียงเอก (primary tone
ไม่ใช่ Tonic) การจัดเช่นนี้ มีเหตุผลตรงที่ ลายโป้ซ้าย มีลายน้อยเป็นเครือญาติทางไมเนอร์ (relative minor)
และลายน้อยมีเสียง D หรือเร เป็น โทนิค หรือเสียงศูนย์กลาง เพราะฉะนั้น ลายโป้ซ้าย จึงต้องมีเสียง F หรือ
ฟา เป็นโทนิค จึงจะถูกต้อง บันไดเสียงที่มีเสียงฟา หรือ F เป็นโทนิค ก็คือบันได F Major นั่นเอง
ดูตารางเทียบคู่โทนิคทางเมเจอร์และไมเนอร์

                                               Tonic Major            Tonic Minor
                                                     C                     Am
                          คู่โทนิค                   F                     Dm
                                                     G                     Em

การบรรเลงลายโป้ซ้าย ต้องใช้เสียงซอลสูง (ลูกที่8 แพซ้ายมือ) และเสียงโดสูง (ลูกที1 แพซ้ายมือ) เป็นเสียง
                                                                                ่
ประสานยืน หรือเสียง Drone ตลอดทั้งลาย โดยลูกที่ 8 แพซ้าย มักปิดรูนับด้วยขี้สูดก้อนเล็กๆ แต่ลูกที่1 แพ
ขวา ปิดรูนับด้วยนิ้วหัวแม่มือซ้ายไว้ เพื่อให้ทั้งสองลูกนั้นเกิดเสียงประสานตลอดการบรรเลงลาย

ลายโป้ซ้าย นอกจากจะใช้เสียงประสานยืนคือซอลสูงและโดสูงแล้ว ขณะบรรเลง ยังมีการจับคู่ประสาน
คอร์ดเสียงอื่นๆ ด้วย เช่น

ถ้าโน้ตลงเสียงโด จะจับคู่กับเสียงซอล, เสียงเร จับคู่กับเสียงลากลาง(ลูกที่4แพขวา), เสียงฟา คู่กับเสียงฟา,
เสียงซอลคู่กับเสียงซอล, เสียงลา จับคู่กับเสียงเร

*** การใช้เสียงซอล ประสานคู่กับเสียงฟา และเสียงลา จะฟังดูแข็งกระด้าง... ดังนั้น หมอแคนบางคน จะ
ไม่ใช้เสียงซอลสูง (ลูกที่8 แพซ้าย) เป็นเสียงประสานยืน หรือเสียงเสพลายโป้ซ้าย

คีย์ลายสร้อย


ลายสร้อย คือทานองลายโป้ซ้าย ที่เลื่อนบันไดจากบันไดซีโหมด มาเป็นบันไดดีโหมด และออกสาเนียงทาง
เมเจอร์เหมือนกัน

ชื่อลายสร้อย น่าจะมาจากภาษาไทยลาว ซึ่ง สร้อย แปลว่า ฉีกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เพราะลายสร้อย คือ
ลายที่ฉีกหรือแตกออกมา จากลายสุดสะแนนและลายโป้ซ้าย แต่เดินทานองเหมือนทั้งสองลายดังกล่าว ได้
ไม่ครบถ้วน อันเนื่องมาจากข้อจากัดเรื่องช่วงทบเสียงไม่ครบ 2 ช่วงทบดี... จึงถือว่าเป็นเพียง สร้อย หรือ
ส่วนย่อยของลายทั้งสองเท่านั้น

ลายสร้อยมีเสียงเร (เสียง D เมื่ออยู่บันไดเนเจอรัล) เป็นเสียงศูนย์กลางของทานอง ใช้โน้ตในทานอง 6 โน้ต
คือ ร ม ซ ล ท ด

แต่อย่างไรก็ตาม ทานองลายเพลงอีสาน โดยมาก เป็นทานองโน้ตกระโดด ใช้โน้ตในแต่ละลายเพลง 5 โน้ต
ซึ่งโน้ตหลัก 5 โน้ตของลายสร้อยคือ “ร ม ซ ล ท”

บันไดเสียงลายสร้อย ควรเรียกว่าอยู่ในบันได D Mode ออกสาเนียง Major ไม่ใช่บันได D Major แม้ว่า
ทานองจะจบลงที่เสียง เร หรือ D และใช้เสียงเร เป็นเสียงประสานยืน ก็ตาม ถ้าจะจัดเข้าบันไดทางเมเจอร์
ควรจะเรียกว่าอยู่ในบันได G Major แต่ใช้เสียงในขั้นที่5 (dominant) คือเสียง D เป็นเสียงเอก (primary tone
ไม่ใช่ Tonic) การจัดเช่นนี้ มีเหตุผลตรงที่ ลายสร้อย มีลายเซเป็นเครือญาติทางไมเนอร์ (relative minor) และ
ลายเซมีเสียง E หรือมี เป็น โทนิค หรือเสียงศูนย์กลาง เพราะฉะนั้น ลายสร้อย จึงต้องมีเสียง G หรือ ซอล
เป็นโทนิค จึงจะถูกต้อง บันไดเสียงที่มีเสียงซอล หรือ G เป็นโทนิค ก็คือบันได G Major นั่นเอง



                                ดูตารางเทียบคู่โทนิคทางเมเจอร์และไมเนอร์

                                                 Tonic Major            Tonic Minor
                                                      C                      Am
                          คู่โทนิค                    F                      Dm
                                                      G                      Em

การบรรเลงลายสร้อย ต้องใช้เสียงเรสูง (ลูกที่6 แพขวามือ) และเสียงลาสูง (ลูกที่8 แพขวามือ) เป็นเสียง
ประสานยืน หรือเสียง Drone ตลอดทั้งลาย โดยลูกที่ 8 แพขวา มักปิดรูนับด้วยขี้สูดก้อนเล็กๆ ส่วนลูกที่6
แพขวา ปิดรูนับด้วยนิ้วนางขวาไว้ เพื่อให้ทั้งสองลูกนั้นเกิดเสียงประสานตลอดการบรรเลงลาย

ลายสร้อย นอกจากจะใช้เสียงประสานยืนคือลาสูงและเรสูงแล้ว ขณะบรรเลง ยังมีการจับคู่ประสานคอร์ด
เสียงอื่นๆ ด้วย เช่น

ถ้าโน้ตลงเสียงลาต่า จะจับคู่กับเสียงเร และลากลาง, เสียงที จับคู่กับเสียงมี และทีสูง, เสียงเร จับคู่กับเสียงลา
กลาง, เสียงมี จับคู่กับเสียงที และมีสูง, ส่วนเสียงซอล และเสียงลากลาง มักใช้เป็นเสียงเดี่ยว
.:: เทคนิคการเป่าแคน ::.




การเป่าแคนจะนั่งเป่าหรือยืนเป่าก็ได้ โดยมีวิธีการเป่าแคนดังนี้
      1. จับแคนโดยใช้มือทั้ง 2 ข้าง จับที่เต้าแคน ให้แน่น ในอุ้ง
มือ
      2. ใช้นิ้วทั้ง 5 ปิดรูเสียงตามที่ต้องการ
      3. ใช้ปากเป่า โดยใช้ลมเข้า-ออก ตามเสียงที่ต้องการ
      4. ขยับนิ้วตามเสียงที่ต้องการ


  โน้ตแคน

                      มือซ้ายลูกที่          มือขวาลูกที่        ระดับเสียงที่ได้
                           1                      2                    โด
                           3                      6                    เร
                           4                      7                    มี
                          5-7                     -                    ฟา
                           6                      3                   ซอล
                            -                    1-4                   ลา
                           2                      5                    ที


  การใช้นิ้วปิดรูเสียงแคน
  โน้ตแคน

                       นิ้วมือซ้าย               ลูกที่          ระดับเสียงที่ได้
                       หัวแม่มือ                   1                  โด
                            ชี้                  2-3                  ที-เร
                           กลาง                  4-5                 มี-ฟา
                           นาง                   6-7               ซอล-ฟา
                           ก้อย                    8                เสพซ้าย
การใช้นิ้วปิดรูเสียงแคน
   โน้ตแคน


                        นิ้วมือซ้าย             ลูกที่           ระดับเสียงที่ได้
                        หัวแม่มือ                 1                    ลา
                             ชี้                2-3                โด-ซอล
                            กลาง                4-5                  ลา-ที
                            นาง                 6-7                   เร-มี
                            ก้อย                  8                 เสพขวา

ตาแหน่งเสียงแคนแปด
แคนแปด ประกอบด้วยลูกแคน 8 คู่ (16 ลูก) จัดเรียงเข้าอยู่ในเต้าเป็นสองแพ ซ้ายขวา แพละ8
ลูก มีระบบเสียงอยู่ในมาตราไดอะโทนิค (Diatonic scale) ครบ2ช่วงทบเสียงอย่างสมบูรณ์
แคนแปดวางตาแหน่งเสียงของลูกแคนเหมือนกับแคนเจ็ดทุกประการ เพียงแต่เพิ่มลูกแคนเข้า
มาอีก 1 คู่ ( 2ลูก แพละลูก) ที่ด้านปลายนอกสุดของเต้าแคน คู่ที่เพิ่มเข้ามานี้ ใช้เป็นเสียง
ประสานยืน (drone) เรียกเสียงนี้ว่า “ เสียงเสพ ” หรือเรียกว่า “ เสพก้อย ” เพราะเวลาบรรเลง
มักใช้นิ้วก้อยของผู้บรรเลงปิดรูนับ แต่หมอแคนผู้มีทักษะน้อย มักใช้ขี้สูดก้อนเล็กๆ ปิดรูนับ
เสียงเสพนี้ เพื่อให้ดังไปตลอดการบรรเลง เสียงเสพขวา เป็นเสียงลา(สูง) ใช้สาหรับประสาน
ให้กับทานองเพลงทางไมเนอร์ ส่วนเสียงเสพซ้าย เป็นเสียงซอล(สูง) ใช้สาหรับประสานให้กับ
ทานองเพลงทางเมเจอร์

แคนแปด เป็นแคนที่หมอแคนนิยมใช้มากที่สุด มีวางขายทั่วไปในปัจจุบัน และถือว่าเป็นแคน
มาตรฐาน เพราะมีช่วงทบเสียง ครบ 2 ช่วงทบเสียง แถมยังมีคู่เสียงเสพ ใช้เป็นเสียงประสาน
ยืนร่วมคอร์ดได้อีก 2 ทาง (2โหมด) คือทางไมเนอร์และทางเมเจอร์ อีกด้วย

แคนแปด มีเสียงโน้ตครบทั้ง 7 เสียง ไล่จากต่าไปสูงคือ ลา ที โด เร มี ฟา ซอล แต่ละเสียงมีคู่
เสียงเป็นคู่ 8 เฟอร์เฟคท์ หรือคู่เสียงอ็อคเทฟ ส่วนเสียงซอล นอกจากมีคู่เสียงอ็อคเทฟแล้ว ยังมี
เสียงคู่ 1เปอร์เฟคท์ หรือเสียงคู่ยูนิซัน (unison) คือเป็นเสียงคู่ในระดับเสียงเดียวกัน หนึ่งคู่ ด้วย
แคนแปด จึงมีสองช่วงทบเสียง ( 2 octaves) เรียงระดับจากต่าไปสูงได้ 15 เสียง คือ ลา ที โด เร
มี ฟา ซอล ลา ที โด เร มี ฟา ซอล ลา ทาให้แคนแปดเหมาะสาหรับใช้บรรเลงทานองใน 6
บันไดเสียง คือ บันไดโทนิค (tonic) บันได dominant และบันได subdominant ทั้งทางเมเจอร์
และทางไมเนอร์ ตัวอย่างเช่น สมมติแคนแปดเต้าหนึ่งถูกประดิษฐ์ขึ้นให้เสียงโป้ซ้าย (ซึ่งคือ
โด) ตรงกับ เสียง C ของเปียโน หรือคีย์บอร์ด แคนแปดเต้านั้น สามารถบรรเลงทานองได้ใน
บันไดเสียง ดังนี้

1. บันได tonic ทาง Major ซึงก็คือ C Major
                           ่

2. บันได tonic ทาง Minor ซึงก็คือ A Minor
                           ่

3. บันได dominant ทาง Major ซึ่งก็คือ G Major

4. บันได dominant ทาง Minor ซึ่งก็คือ E Minor

5. บันได subdominant ทาง Major ซึ่งก็คือ F Major

6. บันได subdominant ทาง Minor ซึ่งก็คือ D Minor



แต่ถ้าเสียงโป้ซ้ายของแคนแปด ตรงกับระดับของโน้ตเสียงอื่น ๆ ของเปียโน แคนแปดเต้านั้นๆ
ก็ยังคงบรรเลงได้ใน 6 บันไดเสียงเช่นเดิม แต่ชื่อบันไดเสียง ต้องเลื่อนไปตามเสียงโป้ซ้าย(ของ
แคนเต้านั้น) อันเป็นเสียงโทนิค เช่น ถ้าเสียงโป้ซ้าย(ของแคนเต้านั้น) ตรงกับ เสียง G ของ
เปียโน แคนแปดเต้านั้น ก็จะบรรเลงทานองในบันไดเสียง ดังนี้

1. บันได tonic ทาง Major ซึงก็คือ G Major
                           ่

2. บันได tonic ทาง Minor ซึงก็คือ E Minor
                           ่

3. บันได dominant ทาง Major ซึ่งก็คือ C Major

4. บันได dominant ทาง Minor ซึ่งก็คือ A Minor

5. บันได subdominant ทาง Major ซึ่งก็คือ D Major

6. บันได subdominant ทาง Minor ซึ่งก็คือ B Minor
แคนลูกที่   1    2    3    4    5    6   7   8
แพซ้าย      ด    ทฺ   รฺ   มฺ   ฟฺ   ซ   ฟ   ซํ
 แพขวา      ลฺ   ด    ซ    ล    ท    ร   ม   ลํ
ลายโปงลาง
                                จังหวะช้า

----     ---มฺ    -ซฺ-ลฺ    -ซฺ-ลฺ                  ----     ---ร     -ดฺ-ลฺ   -ซฺ-ลฺ
----     ---ดฺ    -ร-ม      -ร-ม                    ----    ---ล-     -ซ-ม     -ร-ม
----     ---ม     -ซ-ล      -ซ-ล                    ----     ---ร     -ด-ล     -ซ-ล
 ---     ---ซ     -ม-ล      -ซ-ม                    ----    ---ดฺ     -ร-ซ     -ร-ม
 ---     ---ซ     -ม-ล      -ซ-ม                    ----    ---ดฺ     -ร-ซ     -ร-ม
----     -ม-ร     -ดฺ-ลฺ    -ซฺ-ลฺ                 -ดฺ-รฺ   -ม-ร      -ดฺ-ลฺ   -ซฺ-ลฺ



                           ลายเต้ยธรรมดา
                                      จังหวะเร็ว



 ---ลฺ    -ดฺ-ร   -มรดฺ     -ลฺลฺลฺ                 ----    -ซมซ      -ซมดฺ    รมซม
 ----     -ล-ม    ซลดล      ซมรม                   -มซร     -ดฺลฺดฺ    -ดฺ-ร   -ม-ซ
-ซ-ดฺ    รมซม     -มซร      -ดฺลฺดฺ                -ซ-ดฺ    รมซม      -มซร     ดฺลฺ-ดฺ
-ล-ม     -มซร      -ดฺ-ร    มซฺ-ลฺ



                            ลายเต้ยโขง
                                      จังหวะเร็ว



----     -ม-ล     -ล-ซ      -ม-ล                   ---ซ     -ด-ล      -ล-ซ     -ม-ล
----     -ม-ล     -ล-ซ      -ม-ล                   ---ซ     -ด-ล      -ล-ซ     -ม-ล
----     -ซ-ม     -ม-ร      -ดฺ-ม                  ---ร     -ซ-ม      -ม-ร     -ด-ลฺ
---ด     -ร-ม     -ร-ด      -ซฺ-ลฺ                 ---ด     -ร-ม      -ร-ด     -ซฺ-ลฺ
ลายเต้ยพม่า
                                     จังหวะเร็ว



----       -ล-ท     -ล-ท    -ล-ซ                  -ล-ซ     -ท-ล     -ซ-ดฺ     -ร-ม
----       -ล-ท     -ล-ท    -ล-ซ                  -ล-ซ     -ท-ล     -ซ-ดฺ     -ร-ม
----       --มม     -ล-ซ    -ม-ร                  -ด-ร     -ลฺ-ด    -ร-ม      -ร-ด
----       -ลฺ-ด     ----   -ร-ม                  -ซ-ล     -ซ-ม     -ซ-ร      -ร-ร
----       -ล-รฺ     ----   -ลฺ-ทฺ                -ลฺ-ซฺ   -ลฺ-ทฺ   -ร-ด      -ทฺ-ลฺ
----       -ล-รฺ     ----   -ลฺ-ทฺ                -ลฺ-ซฺ   -ลฺ-ทฺ   -ร-ด      -ทฺ-ลฺ
 -ทฺลฺซฺ   -ลฺ-ทฺ   -ร-ด    -ทฺ-ลฺ

                               ลายบายศรี
                                     จังหวะช้า



 ----      -ร-ม     -ซ-ล    ----                   -ซ-ม    -ร-ด      -ม-ร      ----
-ซ-ม       -ร-ด     -ม-ร    -----                  -ม-ร    -ด-ทฺ     -ลฺ-ซฺ    ----
 ----      -ลฺ-ด    -ลฺ-ด   ---ด                   -ร-ม    -ร-ด      -ลฺ-ด    ---ด
   -ร-ม    -ซ-ล     -ซ-ล    ----                  (-มรด    -ร-ม     -ฟ)-ซ      ----
-ด-ล       -ซ-ม     -ร-ซ    ----                   (---ล   -ซ-ม     -ร)-ด      ----
-ม-ร       -ด-ลฺ    -ซฺ-ด   ----                    ----    ----     ---ด      ----
-ร-ม       -ซ-ม     -ร-ม    ----                  (-ซ-ด     ---ด    -ร)-ม     ---ม
   -ซ-ล    -ด-ล     -ซ-ซ    ----                  (-มรด    -ร-ม     -ฟ)-ซ      ----
-ด-ล       -ซ-ม     -ร-ซ    ----                    ---ล   -ซ-ม      -ร-ด      ----
-ม-ร       -ด-ลฺ    -ซ-ด    ----                    ----    ----     ---ด      ----
-ร-ม       -ซ-ลฺ    -ด-ร    ----                   -ม-ร     ----     -ด-ลฺ    -ซฺ-ลฺ
-ด-ซฺ      -ลฺ-ด    -ลฺ-ด   ----                  (-ม-ร    -ด-ร      -ม-ร      ----
ที่มาของแหล่งข้อมูล
ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
http://www.isan.clubs.chula.ac.th/th/
อาจารย์สุรพล เนสุสินธ์
http://std.kku.ac.th/4632200551/kan4.html

More Related Content

What's hot

เฉลยละเอียดข้อสอบคณิตศาสตร์นานาชาติ สพฐ ปี 2555 รอบที่ 1
เฉลยละเอียดข้อสอบคณิตศาสตร์นานาชาติ สพฐ ปี 2555 รอบที่ 1เฉลยละเอียดข้อสอบคณิตศาสตร์นานาชาติ สพฐ ปี 2555 รอบที่ 1
เฉลยละเอียดข้อสอบคณิตศาสตร์นานาชาติ สพฐ ปี 2555 รอบที่ 1sawed kodnara
 
ภูมิศาสตร์
ภูมิศาสตร์ภูมิศาสตร์
ภูมิศาสตร์koorimkhong
 
ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.1 เทอม 2 ชุดที่ 1
ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.1 เทอม 2 ชุดที่ 1ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.1 เทอม 2 ชุดที่ 1
ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.1 เทอม 2 ชุดที่ 1คุณครูพี่อั๋น
 
ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.3 เทอม 1 ชุดที่ 2
ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.3 เทอม 1 ชุดที่ 2ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.3 เทอม 1 ชุดที่ 2
ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.3 เทอม 1 ชุดที่ 2คุณครูพี่อั๋น
 
การจัดหมู่
การจัดหมู่การจัดหมู่
การจัดหมู่supamit jandeewong
 
ใบงาน 12.1
ใบงาน 12.1ใบงาน 12.1
ใบงาน 12.1oraneehussem
 
แบบฝึกหัด เรื่อง สมการและอสมการพหุนาม ชุดที่ 2
แบบฝึกหัด เรื่อง สมการและอสมการพหุนาม ชุดที่ 2แบบฝึกหัด เรื่อง สมการและอสมการพหุนาม ชุดที่ 2
แบบฝึกหัด เรื่อง สมการและอสมการพหุนาม ชุดที่ 2คุณครูพี่อั๋น
 
แบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจ
แบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจแบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจ
แบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจWeevy Wee
 
การแก้สมการ
การแก้สมการการแก้สมการ
การแก้สมการAon Narinchoti
 
แผนภูมิเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ(หน้าทับ 2 ไม้ลาว อัตรา 2 ชั้น )
แผนภูมิเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ(หน้าทับ 2 ไม้ลาว อัตรา 2 ชั้น )แผนภูมิเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ(หน้าทับ 2 ไม้ลาว อัตรา 2 ชั้น )
แผนภูมิเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ(หน้าทับ 2 ไม้ลาว อัตรา 2 ชั้น )พัน พัน
 
เอกสารสอนปรับพื้นฐานคณิตศาสตร์พื้นฐาน-ม.1.pdf
เอกสารสอนปรับพื้นฐานคณิตศาสตร์พื้นฐาน-ม.1.pdfเอกสารสอนปรับพื้นฐานคณิตศาสตร์พื้นฐาน-ม.1.pdf
เอกสารสอนปรับพื้นฐานคณิตศาสตร์พื้นฐาน-ม.1.pdfssusera0c3361
 
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2Tanchanok Pps
 
ตารางฟังก์ชันตรีโกณมิติ
ตารางฟังก์ชันตรีโกณมิติตารางฟังก์ชันตรีโกณมิติ
ตารางฟังก์ชันตรีโกณมิติAon Narinchoti
 
01 52 01-0334 แผนฯ คณิตศาสตร์ ม 1 เล่ม 1
01 52 01-0334 แผนฯ คณิตศาสตร์ ม 1 เล่ม 101 52 01-0334 แผนฯ คณิตศาสตร์ ม 1 เล่ม 1
01 52 01-0334 แผนฯ คณิตศาสตร์ ม 1 เล่ม 1Siwaphon Tonpui
 

What's hot (20)

เฉลยละเอียดข้อสอบคณิตศาสตร์นานาชาติ สพฐ ปี 2555 รอบที่ 1
เฉลยละเอียดข้อสอบคณิตศาสตร์นานาชาติ สพฐ ปี 2555 รอบที่ 1เฉลยละเอียดข้อสอบคณิตศาสตร์นานาชาติ สพฐ ปี 2555 รอบที่ 1
เฉลยละเอียดข้อสอบคณิตศาสตร์นานาชาติ สพฐ ปี 2555 รอบที่ 1
 
ความหมายทรงกลม
ความหมายทรงกลมความหมายทรงกลม
ความหมายทรงกลม
 
ภูมิศาสตร์
ภูมิศาสตร์ภูมิศาสตร์
ภูมิศาสตร์
 
ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.1 เทอม 2 ชุดที่ 1
ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.1 เทอม 2 ชุดที่ 1ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.1 เทอม 2 ชุดที่ 1
ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.1 เทอม 2 ชุดที่ 1
 
Thai music13
Thai music13Thai music13
Thai music13
 
ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.3 เทอม 1 ชุดที่ 2
ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.3 เทอม 1 ชุดที่ 2ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.3 เทอม 1 ชุดที่ 2
ข้อสอบคณิตศาสตร์ ม.3 เทอม 1 ชุดที่ 2
 
การจัดหมู่
การจัดหมู่การจัดหมู่
การจัดหมู่
 
ใบงาน 12.1
ใบงาน 12.1ใบงาน 12.1
ใบงาน 12.1
 
Thai music10
Thai music10Thai music10
Thai music10
 
แบบฝึกหัด เรื่อง สมการและอสมการพหุนาม ชุดที่ 2
แบบฝึกหัด เรื่อง สมการและอสมการพหุนาม ชุดที่ 2แบบฝึกหัด เรื่อง สมการและอสมการพหุนาม ชุดที่ 2
แบบฝึกหัด เรื่อง สมการและอสมการพหุนาม ชุดที่ 2
 
แบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจ
แบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจแบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจ
แบบฟอร์มหนังสือมอบอำนาจ
 
การแก้สมการ
การแก้สมการการแก้สมการ
การแก้สมการ
 
แผนภูมิเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ(หน้าทับ 2 ไม้ลาว อัตรา 2 ชั้น )
แผนภูมิเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ(หน้าทับ 2 ไม้ลาว อัตรา 2 ชั้น )แผนภูมิเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ(หน้าทับ 2 ไม้ลาว อัตรา 2 ชั้น )
แผนภูมิเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ(หน้าทับ 2 ไม้ลาว อัตรา 2 ชั้น )
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๕
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๕แผนการจัดการเรียนรู้ที่๕
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๕
 
Trigonometry1
Trigonometry1Trigonometry1
Trigonometry1
 
เอกสารสอนปรับพื้นฐานคณิตศาสตร์พื้นฐาน-ม.1.pdf
เอกสารสอนปรับพื้นฐานคณิตศาสตร์พื้นฐาน-ม.1.pdfเอกสารสอนปรับพื้นฐานคณิตศาสตร์พื้นฐาน-ม.1.pdf
เอกสารสอนปรับพื้นฐานคณิตศาสตร์พื้นฐาน-ม.1.pdf
 
การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
 
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2
 
ตารางฟังก์ชันตรีโกณมิติ
ตารางฟังก์ชันตรีโกณมิติตารางฟังก์ชันตรีโกณมิติ
ตารางฟังก์ชันตรีโกณมิติ
 
01 52 01-0334 แผนฯ คณิตศาสตร์ ม 1 เล่ม 1
01 52 01-0334 แผนฯ คณิตศาสตร์ ม 1 เล่ม 101 52 01-0334 แผนฯ คณิตศาสตร์ ม 1 เล่ม 1
01 52 01-0334 แผนฯ คณิตศาสตร์ ม 1 เล่ม 1
 

Viewers also liked

ดนตรีพื้นบ้าน
ดนตรีพื้นบ้านดนตรีพื้นบ้าน
ดนตรีพื้นบ้านJakkrit Supokam
 
ชื่อของเครื่องดนตรีไทย
ชื่อของเครื่องดนตรีไทยชื่อของเครื่องดนตรีไทย
ชื่อของเครื่องดนตรีไทยleemeanshun minzstar
 
แบบฝึกการตีโปงลาง
แบบฝึกการตีโปงลางแบบฝึกการตีโปงลาง
แบบฝึกการตีโปงลางbawtho
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 10 เรื่อง การอ่านและการบันทึกโน้ตสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 10 เรื่อง การอ่านและการบันทึกโน้ตสากลใบความรู้ที่ 1 บทที่ 10 เรื่อง การอ่านและการบันทึกโน้ตสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 10 เรื่อง การอ่านและการบันทึกโน้ตสากลleemeanshun minzstar
 
พิณ
พิณพิณ
พิณbawtho
 
แบบฝึกการเป่าโหวด
แบบฝึกการเป่าโหวดแบบฝึกการเป่าโหวด
แบบฝึกการเป่าโหวดbawtho
 
การเป่าเมโลเดี้ยน บทที่ 1
การเป่าเมโลเดี้ยน บทที่ 1การเป่าเมโลเดี้ยน บทที่ 1
การเป่าเมโลเดี้ยน บทที่ 1gueste0411f21
 
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : แก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : แก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : แก้ไขเพิ่มเติมBoonlert Aroonpiboon
 
รวมคอร์ดเพลง
รวมคอร์ดเพลงรวมคอร์ดเพลง
รวมคอร์ดเพลงearthtorres
 

Viewers also liked (16)

ดนตรีพื้นบ้าน
ดนตรีพื้นบ้านดนตรีพื้นบ้าน
ดนตรีพื้นบ้าน
 
ชื่อของเครื่องดนตรีไทย
ชื่อของเครื่องดนตรีไทยชื่อของเครื่องดนตรีไทย
ชื่อของเครื่องดนตรีไทย
 
แบบฝึกการตีโปงลาง
แบบฝึกการตีโปงลางแบบฝึกการตีโปงลาง
แบบฝึกการตีโปงลาง
 
Thai music10
Thai music10Thai music10
Thai music10
 
10 การฝึกเป่าเสียงลา
10 การฝึกเป่าเสียงลา10 การฝึกเป่าเสียงลา
10 การฝึกเป่าเสียงลา
 
Thai music7
Thai music7Thai music7
Thai music7
 
06 ตำแหน่งของเสียงแคน
06 ตำแหน่งของเสียงแคน06 ตำแหน่งของเสียงแคน
06 ตำแหน่งของเสียงแคน
 
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 10 เรื่อง การอ่านและการบันทึกโน้ตสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 10 เรื่อง การอ่านและการบันทึกโน้ตสากลใบความรู้ที่ 1 บทที่ 10 เรื่อง การอ่านและการบันทึกโน้ตสากล
ใบความรู้ที่ 1 บทที่ 10 เรื่อง การอ่านและการบันทึกโน้ตสากล
 
พิณ
พิณพิณ
พิณ
 
แบบฝึกการเป่าโหวด
แบบฝึกการเป่าโหวดแบบฝึกการเป่าโหวด
แบบฝึกการเป่าโหวด
 
15 การฝึกเป่าเสียงโด
15 การฝึกเป่าเสียงโด15 การฝึกเป่าเสียงโด
15 การฝึกเป่าเสียงโด
 
09 โน้ตเพลงไทยเบื้องต้น
09 โน้ตเพลงไทยเบื้องต้น09 โน้ตเพลงไทยเบื้องต้น
09 โน้ตเพลงไทยเบื้องต้น
 
การเป่าเมโลเดี้ยน บทที่ 1
การเป่าเมโลเดี้ยน บทที่ 1การเป่าเมโลเดี้ยน บทที่ 1
การเป่าเมโลเดี้ยน บทที่ 1
 
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : แก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : แก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 : แก้ไขเพิ่มเติม
 
Edu reform-draft
Edu reform-draftEdu reform-draft
Edu reform-draft
 
รวมคอร์ดเพลง
รวมคอร์ดเพลงรวมคอร์ดเพลง
รวมคอร์ดเพลง
 

Similar to เนื้อหาวิชา ดนตรีพื้นเมืองอีสาน แคน โดย นายชาติชาย พลจารย์

Similar to เนื้อหาวิชา ดนตรีพื้นเมืองอีสาน แคน โดย นายชาติชาย พลจารย์ (16)

ทักษ์ดนัย
ทักษ์ดนัยทักษ์ดนัย
ทักษ์ดนัย
 
บทที่ 2
บทที่ 2 บทที่ 2
บทที่ 2
 
Th plays
Th playsTh plays
Th plays
 
Th plays
Th playsTh plays
Th plays
 
Th plays
Th playsTh plays
Th plays
 
Th plays
Th playsTh plays
Th plays
 
ติวเตรียมสอบ O net
ติวเตรียมสอบ O netติวเตรียมสอบ O net
ติวเตรียมสอบ O net
 
แบบฝึกการเป่าแคน
แบบฝึกการเป่าแคนแบบฝึกการเป่าแคน
แบบฝึกการเป่าแคน
 
แบบฝึกการเป่าแคน
แบบฝึกการเป่าแคนแบบฝึกการเป่าแคน
แบบฝึกการเป่าแคน
 
Korat
KoratKorat
Korat
 
ครั้ง๗
ครั้ง๗ครั้ง๗
ครั้ง๗
 
ภาษาไทย
ภาษาไทยภาษาไทย
ภาษาไทย
 
ดนตรีอีสานเหนือ
ดนตรีอีสานเหนือดนตรีอีสานเหนือ
ดนตรีอีสานเหนือ
 
เสียงกับการได้ยิน
เสียงกับการได้ยินเสียงกับการได้ยิน
เสียงกับการได้ยิน
 
รำวงมาตรฐาน
รำวงมาตรฐานรำวงมาตรฐาน
รำวงมาตรฐาน
 
Guitar
GuitarGuitar
Guitar
 

More from nongklongdondaeng school khonkaen 3 (7)

หน่วยการเรียนรู้รายปีเรื่องแคน
หน่วยการเรียนรู้รายปีเรื่องแคนหน่วยการเรียนรู้รายปีเรื่องแคน
หน่วยการเรียนรู้รายปีเรื่องแคน
 
Lesson 5 construct
Lesson 5 constructLesson 5 construct
Lesson 5 construct
 
Concept map edtech
Concept map edtechConcept map edtech
Concept map edtech
 
คู่มื่อการใช้ Adobe capitvate3
คู่มื่อการใช้ Adobe capitvate3คู่มื่อการใช้ Adobe capitvate3
คู่มื่อการใช้ Adobe capitvate3
 
แบคำขอกู้ ชพค.7
แบคำขอกู้ ชพค.7แบคำขอกู้ ชพค.7
แบคำขอกู้ ชพค.7
 
พิธีไหว้ครู
พิธีไหว้ครูพิธีไหว้ครู
พิธีไหว้ครู
 
Movie maker
Movie makerMovie maker
Movie maker
 

เนื้อหาวิชา ดนตรีพื้นเมืองอีสาน แคน โดย นายชาติชาย พลจารย์

  • 1. ตานานกาเนิดแคน ( จากบทสัมภาษณ์ นายจันทร์ ผาบุตรา ชาวจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อพ.ศ. 2523) นายพรานผู้หนึ่งตามล่ากวางเข้าไปในป่าลึก บังเอิญไปได้ยินเสียงนกการเวก เสียงนั้นหวานเสนาะ ไพเราะจับใจเหลือประมาณ ทาเอาความเหน็ดเหนื่อยหิวกระหายของเขาปลาสน์สิ้น เมื่อกลับมายัง หมู่บ้านก็อดไม่ได้ที่จะเล่าถึงเสียงอันวิเศษนั้นให้ใครต่อใครฟัง ทาเอาสาวแม่ม่ายนางหนึ่งรบเร้าขอ ติดตามเข้าไปในป่า เพื่อฟังเสียงนกการเวกนั้นให้ได้ นายพรานเองก็ยินดีให้นางติดตาม ในคราวเข้า ป่าล่าสัตว์ในเที่ยวถัดมา เสียงของนกการเวกวิเศษจริงดังที่นายพรานเล่า หญิงแม่ม่ายได้ฟังแล้วติดใจ อยากจะจับมาเลี้ยงไว้ก็ สุดปัญญา เพราะนกตัวเล็กบินว่องไว นางจึงพยายามจดจาเสียงนั้นไว้ให้แม่นยา ตั้งใจว่าจักต้อง ประดิษฐ์เครื่องดนตรีสักอย่างหนึ่ง มาบรรเลงให้เหมือนเสียงนกการเวกนั้นให้จงได้ นางได้ทดลองทาเครื่องดนตรีขึ้นหลายชนิด มีทั้งดีดสีตีเป่า แต่ก็ยังไม่มีเสียงใดเหมือนเสียงนก การเวกเลยสักเครื่องเดียว นางพยายามคิดค้นและประดิษฐ์เครื่องดนตรีชนิดใหม่ต่อไปเรื่อยๆ นาน จนแทบหมดความพยายาม ในที่สุดก็พบว่า เครื่องดนตรีที่ให้คุณภาพเสียงใกล้เคียงกับเสียงนก การเวกมากที่สุดคือ เครื่องที่ทาจากท่อไม่ไผ่ลาเล็กๆหลายลา แต่ละลามีลิ้นฝังแล้วจัดเรียงลาไม้ไผ่ ส่วนที่ฝังลิ้นผนึกไว้ในเต้า บรรเลงด้วยการเป่าลมผ่านเต้าเข้าไปสั่นลิ้น นางทดลองและปรับปรุง เครื่องดนตรีชนิดนี้ทั้งรูปลักษณ์และวิธีเล่นจนเป็นที่พอใจ ตั้งใจว่าจักต้องนาออกแสดงต่อที่ชุมนุม ชนให้เป็นที่ประจักษ์ มีผู้แนะนาให้นางหาทางแสดงถวายต่อหน้าพระที่นั่งพระมหากษัตริย์ จะทา ให้เสียงดนตรีที่วิเศษอยู่แล้วมีเกียรติปรากฏเลื่องลือไปได้อย่างรวดเร็ว ด้วยความพยายามของนาง และความช่วยเหลือชี้นาของข้าราชบริพารผู้ใหญ่ นางได้มีโอกาสแสดง ดนตรีชนิดนั้นต่อหน้าพระที่นั่งจนได้ นางได้บรรเลงเพลงหลายแนวทานองให้ทรงสดับ ดูเหมือน องค์พระราชาจะตอบสนองนาง ด้วยอากัปกิริยาเยือกเย็นโดยตลอด ทาให้นางกังขาว่าเสียงดนตรีที่ บรรเลงออกไป น่าจะไม่ต้องพระราชหฤทัย นางจึงเปลี่ยนทานองลีลาใหม่ บรรเลงเป็นเสมือนเสียง นกการเวกร้องอยู่ริมธารน้าตก มีเสียงจักจั่นเรไรร้องเซ็งแซ่ประสาน (น่าจะเป็นลายสุดสะแนน) เมื่อพระราชาได้สดับเพลงนั้นก็ทรงพอพระทัย ตรัสว่า “เออ อันนี้แค่นด” ซึ่งมีความหมายว่า “เออ อันนี้ ี เข้มข้นด” ี คนทั้งหลายจึงเรียกเครื่องดนตรีชนิดนั้นว่า “แค่น” และกลายมาเป็น “แคน” ในที่สุด
  • 2. ความรู้ทั่วไปเรื่องแคน นักวิชาการด้านมานุษยดุริยางควิทยา จาแนกเครื่องดนตรีจาพวกแคนไว้ในกลุ่มเครื่องลม (Aerophone) ชนิดที่มีเสียงลิ้นอิสระ เสียงแคนเกิดจากการเป่า และการดูดกระแสลมผ่านลิ้นโลหะที่ ฝังอยู่ในรูบากข้างลาท่อ ลิ้นแคนลิ้นเดิมให้เสียงระดับเดิมทั้งขาเป่า และขาดูดกระแสลมผ่าน จึง เรียกว่าเป็นลิ้นแบบอิสระ ดังกล่าวแล้ว การเป่าแคนใช้มือทั้งสองข้าง ใช้นิ้วทั้งสิบนิ้ว ผู้เป่าควบคุมระดับเสียงของลูกแคนได้ ด้วยการขยับ ปลายนิ้วมือทั้งสองข้างปิดเปิดรูนับ ซึ่งเจาะไว้ที่ส่วนเหนือเต้าของลูกแคนทุกลูก ลูกใดถูกปิดรู ลูก นั้นจะส่งเสียง นั่นคือ ใช้นิ้วบังคับระดับเสียง ใช้ลมบังคับเสียงและจังหวะ ตามอารมณ์ลายเพลง เสียงแคนที่ออกมานั้น มีทั้งทานองเพลง เสียงประสาน เสียงสอดแทรก แสดงถึงอารมณ์ และ ความรู้สึกต่าง ๆ อย่างพร้อมมูลทีเดียว .....เป็นเครื่องดนตรีที่ไม่สามารถใช้ อุปกรณ์อีเลกทรอนิกส์ เลียนเสียงได้เหมือน เพราะอุปกรณ์อีเลกทรอนิกส์ ให้อารมณ์เพลงไม่ได้ ยิ่งถ้าได้หมอแคนที่มี ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญมากๆ มาเป่าแคน ยิ่งจะเพิ่มความไพเราะ ซาบซึ้งจับใจมากยิ่งขึ้น ฟัง แล้ว เกิดความรู้สึกที่เรียกว่า “ ออนซอน ” ยากที่จะหาเครื่องดนตรีอื่น ๆ มาเทียบได้ นักดนตรีชาวไทยเรียกแคน 1 เครื่องว่า “แคน 1 เต้า” ....ในขณะที่นักดนตรีชาวลาว เรียกว่า “แคน 1 ดวง” แคนเต้าหนึ่งประกอบด้วยลูกแคนหลายลูก ลูกแคนต่างลูก ให้เสียงต่างระดับกัน ระบบเสียง ของแคน จึงขึ้นอยู่กับระดับเสียงต่างๆ ของลูกแคนที่รวมอยู่ในแคนแต่ละเต้า แคนทาจากไม้เฮี้ยน้อย ซึ่งช่างแคนไทยเรียกว่าไม้กู่แคน เกิดเสียงได้เพราะมีลิ้นโลหะติดอยู่ที่รอย เจาะข้างลาท่อลูกแคนลูกละลิน ลูกแคนแต่ละลูกมีระดับเสียงต่างกัน เพราะมีระยะห่างระว่างลิ้นกับ ้ รูแพวไม่เท่ากัน... รูแพวคือรูเสียงเจาะไว้ 2 รู เหนือและล่างลูกแคน ลูกแคนของแคน 1 เต้า จะถูก จัดเป็น 2 แพ สอดเรียงไว้ในเต้าแคน ผนึกส่วนที่ฝังลิ้นไว้ในเต้าแคน ด้วยขี้สูด มัดปลายแพลูกแคน ที่โผล่ออกนอกเต้าทั้งด้านบนและด้านล่าง ด้วยตอกเครือหญ้านาง หรือตอกหวาย
  • 3. การจาแนกประเภทของแคน จาแนกตามจานวนลูกแคนที่ประกอบรวมกันอยู่ในเต้า มี 5 ประเภท คือ แคนหก มีลูกแคน 6 ลูก (3 คู่) แคนเจ็ด มีลูกแคน 7 คู่ (14 ลูก ) แคนแปด มีลูกแคน 8 คู่ (16 ลูก) แคนเก้า มีลูกแคน 9 คู่ (18 ลูก) แคนสิบ มีลูกแคน 10 ลูก (5 คู่) แคนหกมีระดับเสียงอยู่ในมาตราเพนตะโทนิค (มี 5 โน้ต) นอกนั้น มีระบบเสียงเป็นมาตราไดอะโท นิค (มี 7 โน้ต) การเรียกบันไดเสียงของแคนแต่ละเต้า เรียกเป็นตัวเลขบอกจานวนนิ้วโป้ง โดยยึดเอาลูกแคนเสียง “ลาต่า” (motive) เป็นเสียงหลัก ระยะห่างระหว่างลิ้นแคนกับรูแพว ที่เจาะไว้ส่วนล่างของลูกแคนนี้ วัดได้กี่นิ้วโป้ง ก็จะใช้เลขจานวนนั้น เป็นชื่อเรียกบันไดเสียงของแคนทั้งเต้า เช่น ถ้าลูกเสียง “ลา ต่า” ของแคนเต้าหนึ่ง วัดระยะห่างระหว่างลิ้นแคนกับรูแพวล่างได้ 7 นิ้วโป้ง ก็เรียกบันไดเสียงของ แคนเต้านั้นว่าเป็น “แคนเจ็ดโป้” (โป้ เป็นภาษาอีสาน แปลว่านิ้วโป้ง) เทียบได้กับประมาณบันไดเอ ไมเนอร์หรือซีเมเจอร์ ของสเกลดนตรีสากล การประกอบส่วนต่าง ๆ ให้เป็นแคน อันดับแรก ช่างแคนจะจัดทาลูกแคนลูกแรก ขึ้นมาเป็นแม่แบบ เรียกลูกแคนนี้ว่า ลูกยั้ง เพราะถือเป็นฐาน หรือแม่แบบ แล้วสืบสาวออกไปยังเสียงอื่นๆ ต่อไป นอกจากนั้น ลูกแคนลูกแรกนี้ จะเป็นตัวกาหนดขนาด ความยาวต่าสุดของแคนดวงนั้น คือจะสั้นกว่าลูกนี้ไปไม่ได้... ลูกแรกนี้ จึงต้องเป็นลูกที่ยาวที่สุด... ลูกแคน ที่น่าจะยาวที่สุด คือลูกที่รูแพวบนอยู่ไกลที่สุด และลูกแคนที่รูแพวบนอยู่ไกลที่สุด จะให้เสียงต่าที่สุด และ ในแคนทุกดวง เสียงที่ต่าที่สุด คือเสียงลูกทุ้ง หรือโป้ขวา ซึ่งหมอแคนสมัยใหม่ เมื่อเทียบกับดนตรีสากล จึง ตั้งชื่อลูกนี้ว่า เสียงลาต่า
  • 4. ช่างแคน จะจัดทาลูกโป้ขวา เป็นอันดับแรก โดยมีบันไดเสียง หรือคีย์ ตามที่ผู้มาซื้อแคนร้องขอ เช่น หากผู้ มาซื้อแคน ต้องการแคน แปดโป้ ช่างแคน ก็จะบากรูสาหรับใส่ลิ้น จากนั้น ก็วัดนับจากรูลิ้นนั้นลงไป ด้านล่างให้ได้ระยะ แปดโป้ (ความกว้างนิ้วหัวแม่มือต่อกันแปดครั้ง) แล้วบากตรงจุดนั้น เรียกว่า รูแพวล่าง จากนั้น ก็บากรูแพวบน โดยวัดนับจากลิ้นแคนขึ้นไปด้านบน ระยะประมาณ 3 ทบของรูแพวล่าง เช่น รูแพว ล่าง แปดโป้ รูแพวบน ก็ประมาณ 24 โป้ ...เมื่อบากรูแพวบนเสร็จแล้ว ใส่ลิ้นที่เตรียมไว้เข้าไป ลองเป่า ได้ เสียงที่พอใจแล้ว ถือว่า ลูกแคนนี้ คือลูกมาสเตอร์(ลูกยั้ง)ของแคนดวงนั้น กรณีที่ ผู้ซื้อ ต้องการระดับเสียงที่แน่นอน ควรเอาตัวอย่างเสียง ตัวอย่างเครื่องดนตรีซึ่งมีคีย์เสียงที่เรา ต้องการ ไปให้ช่างแคนเทียบด้วย เพื่อให้ได้เสียงที่ถูกต้องแม่นยา ซึ่งหากระบุคีย์เสียงที่แน่นอน ช่างแคน ก็จะขูดลิ้น ปรับแต่งเสียงแคนของลูกมาสเตอร์ให้ได้ตามเสียงที่เรา ต้องการก่อน เมื่อได้ลูกมาสเตอร์แล้ว ช่างแคน ก็จะสืบสาวไปหาลูกอื่นๆ ที่เสียงเดียวกันแต่อยู่คนละช่วงทบเสียง (เสียง ถูกกัน) เช่น ลา ต่า กับ ลา กลาง กับ ลา สูง เป็นต้น สืบไปหาเสียงร่วมคอร์ด (เสียงกินกัน) เช่น เทียบ ลา กับ โด, เทียบ ลา กับ มี, เทียบ ลา กับ เร, เทียบ เร กับซอล, เทียบ ซอล กับ โด, เทียบ โด กับฟา, เทียบ ฟา กับ ที, เทียบ ที กับ มี, ซึ่งการเทียบเสียง หาเสียงที่กินกัน และถูกกันนี้ เป็นความสามารถพิเศษของหูช่างแคน... หลังจาก เสร็จทุกลูกแล้ว ช่างแคน ก็จะประกอบลูกแคนทั้งหมด เข้าในเต้าแคนที่เตรียมไว้ โดยเรียงลาดับลูก แคน ดังนี้ (กรณีแคนแปด) ลาดับลูกแคน เรียกชื่อตามช่างแคนไทย คู่ที่1 คู่ที่2 คู่ที่3 คู่ที่4 คู่ที่5 คู่ที่6 คู่ที่7 คู่ที่8 เวียงใหญ่ หรือ ซ้ายมือ โป้ซ้าย แม่แก่ แม่ก้อยขวา แม่ก้อยซ้าย สะแนน ก้อยซ้าย เสพซ้าย แม่เวียง ลูกทุ้ง หรือ โป้ เวียงน้อย หรือ ขวามือ แม่เซ สะแนน ฮับทุ่ง แก่น้อย ก้อยขวา เสพขวา ขวา ลูกเวียง
  • 5. ลาดับลูกแคน เรียกชื่อตามช่างแคนลาว คู่ที่1 คู่ที่2 คู่ที่3 คู่ที่4 คู่ที่5 คู่ที่6 คู่ที่7 คู่ที่8 สร้อยสุด ซ้ายมือ โป้ซ้าย ซี้ซ้าย แม่เวียง ซะซ้าย จุ้มเมืองหลวง สุดสะแนน ก้อยซ้าย สะแนน ขวามือ ลูกทุ้ง ติดสูดใหญ่ สุดสะแนน ฮับทุ้ง ลูกสอง ติดสูดน้อย สร้อยล่อง สร้อย แคนแต่ละลูกข้างต้น เมื่อนามาเทียบเป็นโน้ตดนตรีสากล จะได้ดังนี้ คู่ที่1 คู่ที่2 คู่ที่3 คู่ที่4 คู่ที่5 คู่ที่6 คู่ที่7 คู่ที่8 ซ้ายมือ ด ทฺ รฺ มฺ ฟ ซ ฟ ซ ขวามือ ลฺ ดฺ ซ ล ท ร ม ล
  • 6. โดยขณะที่ใส่ลูกแคนเข้าไปในโพรงเต้าแคนแต่ละลูก ก็จะใช้ขี้สูดติดลุกแคนกับเต้าแคน และเมื่อเรียงครบ ทุกลูกแล้ว ก็จะติดขี้สูดปิดผนึกให้ทั่วอุดรูรั่วให้มิด... เมื่อเสร็จแล้ว ช่างแคนจะลองเป่าดูอีกทีสารวจ ตรวจสอบว่ายังมีเสียงไหนที่ยังเพี้ยนอยู่หรือไม่... หลังจากปรับแต่งเสียงจนกลมกล่อมถูกต้องดีแล้ว ช่าง แคน ก็จะนาเครือหญ้านาง หรือเส้นตอกหวายที่เตรียมไว้แล้ว มาจัดการมัดรอบลูกแคน ทั้งสามจุด คือ ด้านล่างของแคน, ตรงช่วงปลายลูกแคนที่สั้นที่สุด และตรงช่วงปลายลูกแคนที่ยาวที่สุด โดยจุดที่มัดนี้ จะใส่ ไม้หมอน หรือไม้กั้นระหว่างลูกแคนแพซ้ายกับแพขวา... เป็นอันทาแคนเสร็จหนึ่งดวง แคนที่ทาเสร็จแล้วใหม่ๆ หลาบโลหะลิ้นแคน ยังไม่อยู่ตัว คือเมื่อเป่าไปๆ มาๆ ลิ้นแคนอาจเด้งออกมา หรือ หลบเข้าไป เป็นผลให้เกิดอาการที่เรียกว่า “ ลิ้นนอง ” ได้ ดังนั้น แคนที่ทาเสร็จใหม่ๆ ยังไม่ถือว่าเป็นแคนที่ คุณภาพดี เพราะลิ้นยังไม่อยู่ตัว... ช่างแคน จะคอยหมุนเวียนเป่าแคนที่ทาเสร็จแล้วอยู่บ่อยๆ เพื่อให้ลิ้นแคน เซ็ตตัวเองจนเข้าที่ เมื่อพบว่าลูกใดลิ้นนอง ก็จะทาการปรับแก้ไข ดังนั้น หากผู้ซื้อไม่รีบเอาไปจนเกินไป ช่าง แคน เมื่อทาแคนเสร็จแล้ว อาจจะยังไม่ใช้เชือกมัดแคน เพราะมัดแล้วก็ต้องแก้เชือกออก ถอดลูกแคนออกมา
  • 8. ประเภทของแคน ประเภทของแคน อาจแบ่งได้หลายลักษณะ ในที่นี้ จะแบ่งประเภทของแคน ใน 3 ลักษณะ คือ แบ่ง ตามจานวนลูกแคน, แบ่งตามระดับเสียงหรือคีย์ แบ่งตามลิ้นแคน แบ่งตามจานวนลูกจะได้ดังนี้ แคนหก มีลูกแคน 6 ลูก (3 คู่) แคนเจ็ด มีลูกแคน 7 คู่ (14 ลูก ) แคนแปด มีลูกแคน 8 คู่ (16 ลูก) แคนเก้า มีลูกแคน 9 คู่ (18 ลูก) แคนสิบ มีลูกแคน 10 ลูก (5 คู่) โดยแคนที่นิยมและถือว่าเป็นมาตรฐานคือ แคนแปด แบ่งตามระดับเสียงหรือคีย์ เช่น แคนห้าโป้ แคนหกโป้ แคนเจ็ดโป้ แคนแปดโป้ แคนเก้าโป้... จริงๆแล้ว การแบ่งแบบนี้ ไม่ใช่ประเภทของแคน แต่เป็นชื่อเรียกของคีย์แคน
  • 9. แบ่งตามลิ้นแคน จะได้ แคนลิ้นเงิน แคนลิ้นทอง (แดง) แคนลิ้นทอง (เหลือง) โดยแคนลิ้นเงิน เป็นแคนที่ให้เสียงไพเราะ นุ่มนวล เป็นที่นิยมของหมอแคนอาชีพ ที่สุด การเลือกแคน แคนจะมีเสียงดีหรือไม่เพียงใด ขึ้นอยู่กับคุณภาพของแคนเป็นสาคัญ วิธีการเลือกแคนให้ได้แคนที่ดี มีคุณภาพดี นอกจากดูรูปลักษณ์ภายนอก เช่นลูกแคน ต้องไม่แตก เป็นต้นแล้ว อาจพิจารณาได้ดังนี้  ไม่กินลม หมายความว่า เวลาเป่าไม่ต้องใช้ลมมากนักก็ดัง แคนที่ใช้ลมเป่ามากจะทาให้ผู้ที่ เป่าเหนื่อยเร็ว ซึ่งสาเหตุสาคัญ มักจะเนื่องมาจากลิ้นแคนที่หนาและแข็งมักจะกินลมมาก หรืออาจจะเป็นเพราะแคนมีรูรั่วตามเต้าของแคน ซึ่งขี้สูดอุดไม่สนิทก็อาจเป็นได้  เสียงหนึ่ง ๆ ควรจะดังเท่ากันทั้งเวลาสูดลมเข้าและเป่าลมออก  เสียงทุกเสียงควรจะดังเท่ากันเมื่อใช้ลมเป่าเท่ากัน  คู่เสียงของแคนซึ่งเป็นคู่แปดทุกคู่ ควรจะดังเท่ากัน และมีระดับเสียงเข้าคู่กัน อย่างสนิทไม่ ผิดเพี้ยน จึงจะได้คู่เสียงที่กลมกลืน และควรดังเท่ากัน ทั้งเวลาดูดลมเข้าและเป่าลมออก  ลิ้นแคน ต้องไม่ “นอง” คือ เมื่อไม่ปิดรูใดๆ เลย แล้วลองเป่าลมเข้า หรือดูดออกอย่างแผ่ว เบา แคนต้องไม่มีเสียง... ถ้ามีเสียงครางสั่นเบาๆ เรียกว่าแคนลิ้นนอง  เป่าแล้ว นอกจากไม่กินลม เสียงต้องแน่น ใส ไม่โปร่งจนเกินไป  แคนที่ใช้ลิ้นแคนคุณภาพดี แม้จะเป่าหรือดูดแรงๆ ปานใดก็ตาม ลิ้นต้องไม่เสียรูป ถ้าเป่า หรือดูดแรงๆ แล้ว ลิ้นเสียรูป โดยงอออกด้านนอกก็ดี หลบงุ้มเข้าด้านในก็ดี แสดงว่าลิ้น แคนอ่อนเกินไป ขาดการสปริงตัวที่ดี... อันเป็นสาเหตุให้แคนลิ้นนอง และลิ้นหัก ได้ง่าย
  • 10. ลิ้นแคนคุณภาพดี คือลิ้นเงิน (สตางค์แดงผสมโลหะเงิน) และลิ้นทอง(สตางค์แดงล้วนๆ) ส่วนลิ้นทอง(ทองเหลือง) คุณภาพไม่ค่อยดี อายุการใช้งานน้อย ** แคนที่ลูกแคนบาง เสียงจะก้องกังวานดี เพราะลูกแคนเกิดกาทอนดี แต่ข้อเสียคือ ลูกแคนที่บาง จะแตกง่าย ** ลิ้นแคนที่บาง เป่าง่าย แต่ข้อเสียคือลิ้นนองง่ายะหักง่าย ดังนั้น สูตรผสมโลหะ จึงสาคัญมาก การเก็บและดูแลรักษาแคน แคน เป็นเครื่องดนตรีที่ต้องการความเอาใจใส่ ทะนุถนอมดูแลรักษา เป็นอย่างมาก เพราะว่าแคน เป็นเครื่องดนตรีที่เปราะบาง ชารุดเสียหายง่าย ผู้ใช้จึงควรทราบวิธีการดูแลรักษาอย่างง่ายๆ ดังต่อไปนี้  ควรจะเป่าอยู่เสมอ การเป่าบ่อย ๆ จะทาให้แคนมีเสียงดีและนุ่มนวล หากปล่อยไว้นาน ไม่ เป่าเลย ลิ้นแคนอาจขึ้นสนิมเขียว สนิมดา ทาให้เสียงเพี้ยนได้  ควรเก็บแคนไว้ในกล่องที่แข็งแรง และมีฝาปิดที่มิดชิด เพื่อกันการกระแทก กันแตก กัน แมลงและฝุ่นมิให้ไปจับเกาะ ตามรูลูกแคนและตามลิ้นแคน จะทาให้แคนชารุดได้ อย่าง น้อยที่สุดก็ควรเก็บรักษาแคนไว้ในถุงผ้าที่ปิดได้สนิท และแขวนไว้ในที่ที่ทนทาน ปลอด ภัย... หากวางตั้งไว้ อาจล้มแตกเสียหายได้  ไม่ควรนาแคนไปวางตากแดด หรือเอาไว้ใกล้ไฟ หรือเผลอวางไว้ในที่อุณหภูมิสูง เพราะ จะทาให้ขี้สูดที่อุดตามเต้าแคนเยิ้ม ไปเกาะติดลิ้นแคน อาจเป็นสาเหตุให้เป่าไม่ดัง เพราะ ลิ้นแคนไม่สั่นสะเทือน  ไม่ควรนาแคนไปจุ่มน้า โดยเข้าใจผิดว่าจะเป็นการทาความสะอาดแคน เพราะจะทาให้ลิ้น แคนเป็นสนิมได้  ถ้าลูกแคนแตกเพียงเล็กน้อย อาจซ่อมแซมได้ โดยใช้กาวตราช้างติด หรือใช้เทปใสพันติด ไว้ ให้คงรูปในสภาพที่ดีอย่างเดิม แต่ถ้าแตกมากก็ต้องเปลี่ยนลูกแคนนั้นใหม่ จึงจะใช้การ ได้ดีเช่นเดิม
  • 11. ลูกแคนที่ แตกเลยรูแพวล่างขึ้นมาทางเต้าแคนก็ดี แตกเลยรูแพวบนลงมาทางเต้าแคนก็ดี จะ ทาให้เสียงเพี้ยน ต้องใช้กาวตราช้างติดรอยแตกให้สนิท แต่ถ้าแตกมาก ไม่สามารถติดซ่อม ได้ ควรนาไปให้ช่างแคนเปลี่ยนลูกใหม่  การซ่อมแคนกรณีปัญหาลิ้นนอง ช่างแคนทุกคน สามารถซ่อมแก้ไขให้ดีได้ดังเดิม แต่หาก เป็นการเปลี่ยนลูกแคน การเปลี่ยนลิ้นแคน ควรนาไปให้ช่างแคนที่ทาแคนเต้านั้น เป็นคน ซ่อม จะดีที่สุด เพราะหากนาไปให้ช่างแคนคนอื่นเปลี่ยนลิ้น ลิ้นแคนที่ช่างแคนแต่ละคน ใช้ อาจจะมีคุณสมบัติไม่เหมือนกัน อันเป็นสาเหตุให้ เมื่อใช้ลมเท่ากัน ลิ้นแคนเดิมกับลิ้น แคนใหม่ ให้เสียงดังไม่เท่ากัน... แต่ถ้าจาเป็น ควรให้ช่างแคนนั้น เปลี่ยนลิ้นแคนใหม่    ทั้งหมด เพื่อคุณภาพเสียงที่ดี คีย์ลายแคน คีย์ลายใหญ่ ลายใหญ่ หมายถึงทานองที่อยูในบันไดเสียงทุ้มต่า ภาษาไทย-ลาว เรียกเสียงทุ้มต่าว่า เสียงใหญ่... เสียง ลา เป็นเสียงทุ้มต่า ่ ที่สุดในแคนแต่ละเต้า เมื่อลายใหญ่มีเสียง ลา เป็นศูนย์กลางของทานอง จึงมีชื่อเรียกว่า ลายใหญ่.... ลายใหญ่ มีเสียงลาต่า (เสียง A เมื่ออยู่บันไดเนเจอรัล) เป็นเสียงศูนย์กลางของทานอง ใช้โน้ตในทานองได้ เพียง 6 โน้ต คือ ล ท ด ร ม ซ เสียงฟา เป็นเสียงส้มของลายใหญ่ ... “ส้ม” หมายถึง เปรี้ยว เสียงส้ม หมายถึง เสียงที่ไม่เข้าพวกกับเสียงอื่น เมื่อบรรเลงทานอง หากนาเสียงนี้มาใช้ร่วมทานอง จะฟังดูแปร่งๆ หู เปรี้ยวหู ก็เลยเรียกว่าเสียงส้ม เสียงฟา เมื่อนามาใช้ในคีย์ลายใหญ่ จะไม่เข้าพวกเขา.... หากจะให้เข้าพวกจริงๆ ต้องเป็นเสียงฟาชาร์ป (F#) ซึ่งแคนไม่มีเสียงฟาชาร์ป อีกอย่างหนึ่ง ทานองลายเพลงอีสาน โดยมาก เป็นทานองโน้ตกระโดด ใช้โน้ตในแต่ละลายเพลง 5 โน้ต ซึ่ง
  • 12. โน้ตหลัก 5 โน้ตของลายใหญ่คือ “ล ด ร ม ซ” ส่วนลายเพลงที่มี 6 โน้ต (เพิ่มเสียง ท) และ 7 โน้ต (เพิ่มเสียง ท และ ฟ) จะมีน้อย ถ้ามีบรรเลง ก็เป็นเพลงที่ยืมทานองมาจากถิ่นอื่น หรือเป็นลายเพลงกาเนิดใหม่ (ซึ่งถ้ามี 7 โน้ต แคนจะบรรเลงได้เฉพาะลายน้อยเท่านั้น) มาตราเสียงของลายใหญ่ จัดอยู่ใน “A Mode” (คือเพลงจบลงด้วยเสียง ลา ... เมื่อเทียบลา = A) ออกสาเนียง ไมเนอร์ หรือจะว่าเป็นบันไดเอไมเนอร์ ก็ไม่ผิด การบรรเลงลายใหญ่ ต้องใช้เสียงลา และ เสียง มี เป็นเสียงประสานยืน หรือเสียง Drone ตลอดทั้งลาย ดังนั้น ผู้เป่า มักบิขี้สูดก้อนเล็กๆ ออกมาอุดรูเสียงลาสูง (เสียงเสพ แพขวามือลูกที่แปด) ไว้ ส่วนรูนับเสียงมี (ลูกที่7 แพขวามือ) จะใช้นิ้วนางขวา ปิดไว้ เพื่อเป็นการสะดวกในอันที่จะเลื่อนไปปิดรูนับเสียงเร (ลูกที่6 แพ ขวามือ) เมื่อเปลี่ยนไปเล่นลายน้อย... แต่ถ้าเป็นการบรรเลงลายใหญ่ล้วนๆ ไม่ออกลายอื่น หมอแคนอาจใช้ ก้อนขี้สูดเล็กๆ ปิดตายไว้ทั้งสองรู เสียงประสานยืนหรือเสียงโดรนนั้น หมอแคนเรียกว่าเสียงเสพ... ลองดูตัวอย่างเพลงพม่าราขวาน เมื่อใช้บันไดลายใหญ่ ไม่สามารถใช้โน้ตเสียง ฟ# ได้ พม่าราขวานคีย์ลายใหญ่ ---- ---- ---- ---- ---- -ล-ร -ซลท ร-ลล -ทลซ ลทลด -ซลท ร–ลล ---- ซมซซ ลทลซ ฟ# ม ร ม ---- ซมซซ ลทลซ ฟ# ม ร ม -มซร -ม-ร -ดลด รมรด -ดลด -ดรม ซลซม ซมรด -ทลซ -ซลท ลซลท รดทล *** แคน ไม่มีเสียง ฟ# มีเฉพาะเสียง ฟ ซึ่งเป็นเสียงส้มของลายใหญ่
  • 13. คีย์ลายน้อย ลายน้อย หมายถึงทานองที่อยูในบันไดแหลมสูง ภาษาไทย-ลาว เรียกเสียงแหลมว่า เสียงน้อย... เสียง เร ซึ่งเป็นเสียง ่ ศูนย์กลางของทานองลายน้อย แหลมกว่าเสียงลา ของทานองลายใหญ่ จึงได้ชื่อว่า ลายน้อย เพราะมีเสียงแหลมกว่าลายใหญ่ ลายน้อย ก็คือทานองลายใหญ่ ที่เลื่อนบันไดเสียง จาก เอโหมด มาเป็น ดีโหมด นั่นเอง และออกสาเนียงไม เนอร์เหมือนกัน ลายน้อย มีเสียงเรต่า (เสียง D เมื่ออยู่บันไดเนเจอรัล) เป็นเสียงศูนย์กลางของทานอง ใช้โน้ตในทานองได้ ครบทั้ง 7 โน้ต คือ ร ม ฟ ซ ล ท ด อย่างไรก็ตาม ทานองลายเพลงอีสาน โดยมาก เป็นทานองโน้ตกระโดด ใช้โน้ตในแต่ละลายเพลง 5 โน้ต ซึ่ง โน้ตหลัก 5 โน้ตของลายน้อยคือ “ร ฟ ซ ล ด” ส่วนลายเพลงที่มี 6 โน้ต (เพิ่มเสียง ม) และ 7 โน้ต (เพิ่มเสียง ม และ ท) จะมีน้อย ถ้ามีบรรเลง ก็เป็นเพลงที่ยืมทานองมาจากถิ่นอื่น หรือเป็นลายเพลงกาเนิดใหม่ ซึ่งถ้ามี 7 โน้ต แคนจะบรรเลงได้เฉพาะลายน้อยเท่านั้น มาตราเสียงของลายน้อย จัดอยู่ใน “D Mode” (คือเพลงจบลงด้วยเสียงเร ... เมื่อเทียบเร= D) ออกสาเนียงไม เนอร์ หรือจะว่าเป็นบันไดดีไมเนอร์ ก็ไม่ผิด การบรรเลงลายน้อย ต้องใช้เสียงลา และ เสียง เร เป็นเสียงประสานยืน หรือเสียง Drone ตลอดทั้งลาย ดังนั้น ผู้เป่า มักบิขี้สูดก้อนเล็กๆ ออกมาอุดรูเสียงลาสูง (เสียงเสพ แพขวามือลูกที่แปด) ไว้ ส่วนรูนับเสียงเร (ลูกที่6 แพขวามือ) จะใช้นิ้วนางขวา ปิดไว้ เพื่อเป็นการสะดวกในอันที่จะเลื่อนไปปิดรูนับเสียงมี (ลูกที่7 แพ ขวามือ) เมื่อเปลี่ยนไปเล่นลายใหญ่ เสียงประสานยืนหรือเสียงโดรนนั้น หมอแคนเรียกว่าเสียงเสพ... ดูตัวอย่างเพลงพม่าราขวาน เมื่อใช้บันไดลายน้อย สามารถบรรเลงได้ครบทุกโน้ต พม่าราขวานคีย์ลายน้อย ---- ---- ---- ---- ---- -ร-ซ -ดรม ซ-รร -มรด รมรซ -ดรม ซ–รร ---- ดลดด รมรด ทลซล ---- ดลดด รมรด ทลซล -ลดซ -ล-ซ -ฟรฟ ซลซฟ -ฟรฟ -ฟซล ดรดล ดลซฟ -มรด -ดรม รดรม ซฟมร
  • 14. คีย์ลายเซ ลายเซ คือทานองลายใหญ่ ที่เลื่อนบันไดเสียง จากเอโหมด มาเป็นอีโหมด หรือ คือทานองลายน้อย ที่เลื่อน บันไดเสียง จาก ดีโหมด มาเป็น อีโหมด และออกสาเนียงทางไมเนอร์เหมือนกัน ลายเซ ที่ได้ชื่อว่า ลายเซ เพราะมีทานองบางตอน เซออกนอกมาตราเสียง ทาให้ฟังดูแปร่งๆ หู และที่เซออก นอกมาตรานี้ ก็เนื่องจากว่า บันไดลายเซ มีเสียงไม่ครบ7 โน้ต ทาให้บางตอนที่หมอแคนใช้โน้ตเสียงส้มของ ลายเซ ฟังดูแปร่งๆ หู ดูเหมือนเซออกนอกทานอง แล้ววกกลับเข้ามาหาทานองใหม่ ลายเซ มีเสียงมีต่า (เสียง E เมื่ออยู่บันไดเนเจอรัล) เป็นเสียงศูนย์กลางของทานอง ใช้โน้ตในทานองได้เพียง 6 โน้ต คือ ม ซ ล ท ด ร เสียงฟา เป็นเสียงส้มของลายเซ ... “ส้ม” หมายถึง เปรี้ยว เสียงส้ม หมายถึง เสียงทีไม่เข้าพวกกับเสียงอื่นเมื่อ ่ บรรเลงทานอง หากนาเสียงนี้มาใช้ร่วมทานอง จะฟังดูแปร่งๆ หู เปรี้ยวหู ก็เลยเรียกว่าเสียงส้ม เสียงฟา เมื่อนามาใช้ในคีย์ลายเซ จะไม่เข้าพวกเขา.... หากจะให้เข้าพวกจริงๆ ต้องเป็นเสียงฟาชาร์ป (F#) ซึ่ง แคนไม่มีเสียงฟาชาร์ป อีกอย่างหนึ่ง ทานองลายเพลงอีสาน โดยมาก เป็นทานองโน้ตกระโดด ใช้โน้ตในแต่ละลายเพลง 5 โน้ต ซึ่ง โน้ตหลัก 5 โน้ตของลายเซคือ “ม ซ ล ท ร” ส่วนลายเพลงที่มี 6 โน้ต (เพิ่มเสียง ฟ) และ 7 โน้ต (เพิ่มเสียง ฟ และ ด) จะมีน้อย ถ้ามีบรรเลง ก็เป็นเพลงที่ยืมทานองมาจากถิ่นอื่น หรือเป็นลายเพลงกาเนิดใหม่ (ซึ่งถ้าลาย เพลงใดมีโน้ตเสียงฟา แคนจะไม่สามารถบรรเลงในลายเซได้ดี พอถึง ฟา ก็จะเซออกนอกมาตรา เพราะไม่ มีฟาชาร์ป นั่นเอง) มาตราเสียงของลายเซ จัดอยู่ใน “E Mode” (คือเพลงจบลงด้วยเสียง มี ... เมื่อเทียบมี= E) ออกสาเนียงไม เนอร์ หรือจะว่าเป็นบันไดอีไมเนอร์ ก็ไม่ผิด การบรรเลงลายเซ ต้องใช้เสียงลา และ เสียง มี เป็นเสียงประสานยืน หรือเสียง Drone ตลอดทั้งลาย ดังนั้น ผู้ เป่า มักบิขี้สูดก้อนเล็กๆ ออกมาอุดรูเสียงลาสูง (เสียงเสพ แพขวามือลูกที่แปด) ไว้ ส่วนรูนับเสียงมี (ลูกที่7 แพขวามือ) จะใช้นิ้วนางขวา ปิดไว้ เพื่อเป็นการสะดวกในอันที่จะเลื่อนไปปิดรูนับเสียงเร (ลูกที่6 แพ ขวามือ) เมื่อเปลี่ยนไปเล่นลายน้อย... แต่ถ้าเป็นการบรรเลงลายเซล้วนๆ ไม่ออกลายอื่น หมอแคนอาจใช้ ก้อนขี้สูดเล็กๆ ปิดตายไว้ทั้งสองรู
  • 15. เสียงประสานยืนหรือเสียงโดรนนั้น หมอแคนเรียกว่าเสียงเสพ... ลองดูตัวอย่างเพลงพม่าราขวาน เมื่อใช้บันไดลายเซ ไม่สามารถใช้โน้ตเสียง ฟ# ได้ พม่าราขวานคีย์ลายเซ ---- ---- ---- ---- ---- -ม-ล - ร ม ฟ# ล-มม - ฟ# ม ร ม ฟ# ม ล - ร ม ฟ# ล–มม ---- รทรร ม ฟ# ม ร ดทลท ---- รทรร ม ฟ# ม ร ดทลท -ทรล -ท-ล -ซมซ ลทลซ -ซมซ -ซลท รมรท รทลซ - ฟ# ม ร - ร ม ฟ# ม ร ม ฟ# ล ซ ฟ# ม *** แคน ไม่มีเสียง ฟ# มีเฉพาะเสียง ฟ ซึ่งเป็นเสียงส้มของลายเซ คีย์ลายสุดสะแนน ลายสุดสะแนน เป็นลายที่เวลาบรรเลงแล้ว ทุกครั้งที่จบลายเพลง ต้องลงที่เสียงซอล อันเป็นเสียงหลักของ ทานอง เสมอ และลูกแคนเสียงซอลนี้ มีชื่อว่า สะแนน เมื่อเพลงจบ หรือสิ้นสุดลงที่ลูกสะแนน จึงเรียกลายนี้ ว่า “ลายสุดสะแนน” ซึ่งสื่อความหมายว่า สิ้นสุดเพลงที่ลูกสะแนน.... ส่วนอีกความหมายหนึ่งของลายสุดสะแนน คือ ลายนี้เป็นลายที่ไพเราะมากๆ เป็นที่สุดของที่สุดของลาย แคนทั้งหลาย ถือว่าเป็นลายชั้นครูของแคน เพราะเล่นได้ยากกว่าลายอื่นใดทั้งหลาย หมายถึงบรรเลงให้ได้ ระดับชั้นครูนั้น ยาก..... ใครเล่นได้ ก็ถือว่าสุดยอดทางการเป่าแคนเลย ทีเดียว ...ดังนั้น บรรดาลายทั้งหลาย ยากสุดๆ ก็ลายนี้ ไพเราะสุดๆ ก็ลายนี้ ...จึงเรียกลายนี้ว่า “สุดสะแนน” ..... อันหมายถึง สิ้นสุดของเส้นสาย แนน … สาว(ชัก)ดึงสายแนนมาเรื่อยๆ ในที่สุดก็พบจุดสิ้นสุด... จุดสิ้นสุด คือจุดหมายปลายทาง เมื่อพบ จุดสิ้นสุดอันเป็นเป้าหมายสุดท้ายแล้ว ถือว่า สิ้นสุดสายแนน.... การฝึกแคนก็เช่นกัน เมื่อฝึกไปเรื่อยๆ จนฝึก ได้ลายที่ยากที่สุด อันเป็นลายชั้นครูของแคนแล้ว การฝึกแคนนั้น ก็ถือว่าสุดสายแนน เช่นกัน... สายแนนก็ คือสะแนน ... สุดสายแนน ก็คือสุดสะแนน (เกี่ยวกับสายแนน ขอให้ค้นดูจากวรรณคดีอีสาน เรื่อง สายแนน นาแก่น) ลายสุดสะแนน มีเสียงซอล (เสียง G เมื่ออยู่บันไดเนเจอรัล) เป็นเสียงศูนย์กลางของทานอง ใช้โน้ตใน
  • 16. ทานอง 6 โน้ต คือ ซ ล ท ด ร ม เสียงฟา เป็นเสียงส้มของลายสุดสะแนน ... “ส้ม” หมายถึง เปรี้ยว เสียงส้ม หมายถึง เสียงที่ไม่เข้าพวกกับ เสียงอื่นเมื่อบรรเลงทานอง หากนาเสียงนี้มาใช้ร่วมทานอง จะฟังดูแปร่งๆ หู เปรี้ยวหู ก็เลยเรียกว่าเสียงส้ม เสียงฟา เมื่อนามาใช้ในคีย์ลายสุดสะแนน จะไม่เข้าพวกเขา.... หากจะให้เข้าพวกจริงๆ ต้องเป็นเสียงฟา ชาร์ป (F#) ซึ่งแคนไม่มีเสียงฟาชาร์ป อีกอย่างหนึ่ง ทานองลายเพลงอีสาน โดยมาก เป็นทานองโน้ตกระโดด ใช้โน้ตในแต่ละลายเพลง 5 โน้ต ซึ่ง โน้ตหลัก 5 โน้ตของลายสุดสะแนนคือ “ซ ล ด ร ม” บันไดเสียงลายสุดสะแนน ควรเรียกว่าอยู่ในบันไดจีโหมด ออกสาเนียงเมเจอร์ ไม่ใช่บันได จีเมเจอร์ แม้ว่า ทานองจะจบลงที่เสียง ซอล หรือจี และใช้เสียงซอล เป็นเสียงประสานยืน ก็ตาม ถ้าจะจัดเข้าบันไดทาง เมเจอร์ ควรจะเรียกว่าอยู่ในบันไดซีเมเจอร์ แต่ใช้เสียงในขั้นที่5 (dominant) คือเสียง G เป็นเสียงเอก (primary tone ไม่ใช่ Tonic) การจัดเช่นนี้ มีเหตุผลตรงที่ ลายสุดสะแนน มีลายใหญ่เป็นเครือญาติทางไม เนอร์ (relative minor) และลายใหญ่มีเสียง A หรือลา เป็น โทนิค หรือเสียงศูนย์กลาง เพราะฉะนั้น ลายสุด สะแนน จึงต้องมีเสียง C หรือ โด เป็นโทนิค จึงจะถูกต้อง บันไดเสียงที่มีเสียงโด หรือ C เป็นโทนิค ก็คือ บันไดซีเมเจอร์ นั่นเอง ดูตารางเทียบคู่โทนิคทางเมเจอร์และไมเนอร์ Tonic Major Tonic Minor C Am คู่โทนิค F Dm G Em การบรรเลงลายสุดสะแนน ต้องใช้เสียงซอล เป็นเสียงประสานยืน หรือเสียง Drone ตลอดทั้งลาย ดังนั้น ผู้ เป่า มักบิขี้สูดก้อนเล็กๆ ออกมาอุดรูเสียงซอลสูง (ลูกที่8 แพซ้ายมือ) ไว้ ส่วนเสียงซอลของลูกที่6 แพซ้ายมือ จะใช้นิ้วนาง ปิดรูนับไว้ เพื่อให้ทั้งสองลูกนั้นเกิดเสียงประสานตลอดการบรรเลงลาย ลายสุดสะแนน นอกจากจะใช้เสียงประสานยืนคือซอลแล้ว ขณะบรรเลง ยังมีการจับคู่ประสานคอร์ดเสียง
  • 17. อื่นๆ ด้วย เช่น เสียงลากับเสียงมี, เสียงโดกับเสียงซอล ดังนั้น เสียงแคนของลายสุดสะแนน จึงออกมา ลักษณะคอร์ดประสานจังหวะแบบกระชับ... กล่อมประสานกันไพเราะเพราะพริ้งมาก คีย์ลายโป้ซ้าย ลายโป้ซ้าย คือทานองลายสุดสะแนน ที่เลื่อนบันไดจากบันไดจีโหมด มาเป็นบันไดซีโหมด และออก สาเนียงทางเมเจอร์เหมือนกัน ชื่อลายโป้ซ้าย ตั้งขึ้นตามอากัปกิริยาของผู้เป่าแคน ที่ต้องใช้นิ้วโป้ซ้าย ปิดรูนับของลูกแคนเสียง โด (ลูกที่1 แพซ้าย) ไว้ตลอดเวลาที่บรรเลงลายโป้ซ้าย ลายโป้ซ้ายมีเสียงโด (เสียง C เมื่ออยู่บันไดเนเจอรัล) เป็นเสียงศูนย์กลางของทานอง ใช้โน้ตในทานองได้ ครบทั้ง 7 โน้ต คือ ด ร ม ฟ ซ ล ท แต่อย่างไรก็ตาม ทานองลายเพลงอีสาน โดยมาก เป็นทานองโน้ตกระโดด ใช้โน้ตในแต่ละลายเพลง 5 โน้ต ซึ่งโน้ตหลัก 5 โน้ตของลายโป้ซ้ายคือ “ด ร ฟ ซ ล” บันไดเสียงลายโป้ซ้าย ควรเรียกว่าอยู่ในบันได C Mode ออกสาเนียง Major ไม่ใช่บันได C Major แม้ว่า ทานองจะจบลงที่เสียง โด หรือ C และใช้เสียงโด เป็นเสียงประสานยืน ก็ตาม ถ้าจะจัดเข้าบันไดทางเมเจอร์ ควรจะเรียกว่าอยู่ในบันได F Major แต่ใช้เสียงในขั้นที่5 (dominant) คือเสียง C เป็นเสียงเอก (primary tone ไม่ใช่ Tonic) การจัดเช่นนี้ มีเหตุผลตรงที่ ลายโป้ซ้าย มีลายน้อยเป็นเครือญาติทางไมเนอร์ (relative minor) และลายน้อยมีเสียง D หรือเร เป็น โทนิค หรือเสียงศูนย์กลาง เพราะฉะนั้น ลายโป้ซ้าย จึงต้องมีเสียง F หรือ ฟา เป็นโทนิค จึงจะถูกต้อง บันไดเสียงที่มีเสียงฟา หรือ F เป็นโทนิค ก็คือบันได F Major นั่นเอง
  • 18. ดูตารางเทียบคู่โทนิคทางเมเจอร์และไมเนอร์ Tonic Major Tonic Minor C Am คู่โทนิค F Dm G Em การบรรเลงลายโป้ซ้าย ต้องใช้เสียงซอลสูง (ลูกที่8 แพซ้ายมือ) และเสียงโดสูง (ลูกที1 แพซ้ายมือ) เป็นเสียง ่ ประสานยืน หรือเสียง Drone ตลอดทั้งลาย โดยลูกที่ 8 แพซ้าย มักปิดรูนับด้วยขี้สูดก้อนเล็กๆ แต่ลูกที่1 แพ ขวา ปิดรูนับด้วยนิ้วหัวแม่มือซ้ายไว้ เพื่อให้ทั้งสองลูกนั้นเกิดเสียงประสานตลอดการบรรเลงลาย ลายโป้ซ้าย นอกจากจะใช้เสียงประสานยืนคือซอลสูงและโดสูงแล้ว ขณะบรรเลง ยังมีการจับคู่ประสาน คอร์ดเสียงอื่นๆ ด้วย เช่น ถ้าโน้ตลงเสียงโด จะจับคู่กับเสียงซอล, เสียงเร จับคู่กับเสียงลากลาง(ลูกที่4แพขวา), เสียงฟา คู่กับเสียงฟา, เสียงซอลคู่กับเสียงซอล, เสียงลา จับคู่กับเสียงเร *** การใช้เสียงซอล ประสานคู่กับเสียงฟา และเสียงลา จะฟังดูแข็งกระด้าง... ดังนั้น หมอแคนบางคน จะ ไม่ใช้เสียงซอลสูง (ลูกที่8 แพซ้าย) เป็นเสียงประสานยืน หรือเสียงเสพลายโป้ซ้าย คีย์ลายสร้อย ลายสร้อย คือทานองลายโป้ซ้าย ที่เลื่อนบันไดจากบันไดซีโหมด มาเป็นบันไดดีโหมด และออกสาเนียงทาง เมเจอร์เหมือนกัน ชื่อลายสร้อย น่าจะมาจากภาษาไทยลาว ซึ่ง สร้อย แปลว่า ฉีกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เพราะลายสร้อย คือ ลายที่ฉีกหรือแตกออกมา จากลายสุดสะแนนและลายโป้ซ้าย แต่เดินทานองเหมือนทั้งสองลายดังกล่าว ได้ ไม่ครบถ้วน อันเนื่องมาจากข้อจากัดเรื่องช่วงทบเสียงไม่ครบ 2 ช่วงทบดี... จึงถือว่าเป็นเพียง สร้อย หรือ ส่วนย่อยของลายทั้งสองเท่านั้น ลายสร้อยมีเสียงเร (เสียง D เมื่ออยู่บันไดเนเจอรัล) เป็นเสียงศูนย์กลางของทานอง ใช้โน้ตในทานอง 6 โน้ต
  • 19. คือ ร ม ซ ล ท ด แต่อย่างไรก็ตาม ทานองลายเพลงอีสาน โดยมาก เป็นทานองโน้ตกระโดด ใช้โน้ตในแต่ละลายเพลง 5 โน้ต ซึ่งโน้ตหลัก 5 โน้ตของลายสร้อยคือ “ร ม ซ ล ท” บันไดเสียงลายสร้อย ควรเรียกว่าอยู่ในบันได D Mode ออกสาเนียง Major ไม่ใช่บันได D Major แม้ว่า ทานองจะจบลงที่เสียง เร หรือ D และใช้เสียงเร เป็นเสียงประสานยืน ก็ตาม ถ้าจะจัดเข้าบันไดทางเมเจอร์ ควรจะเรียกว่าอยู่ในบันได G Major แต่ใช้เสียงในขั้นที่5 (dominant) คือเสียง D เป็นเสียงเอก (primary tone ไม่ใช่ Tonic) การจัดเช่นนี้ มีเหตุผลตรงที่ ลายสร้อย มีลายเซเป็นเครือญาติทางไมเนอร์ (relative minor) และ ลายเซมีเสียง E หรือมี เป็น โทนิค หรือเสียงศูนย์กลาง เพราะฉะนั้น ลายสร้อย จึงต้องมีเสียง G หรือ ซอล เป็นโทนิค จึงจะถูกต้อง บันไดเสียงที่มีเสียงซอล หรือ G เป็นโทนิค ก็คือบันได G Major นั่นเอง ดูตารางเทียบคู่โทนิคทางเมเจอร์และไมเนอร์ Tonic Major Tonic Minor C Am คู่โทนิค F Dm G Em การบรรเลงลายสร้อย ต้องใช้เสียงเรสูง (ลูกที่6 แพขวามือ) และเสียงลาสูง (ลูกที่8 แพขวามือ) เป็นเสียง ประสานยืน หรือเสียง Drone ตลอดทั้งลาย โดยลูกที่ 8 แพขวา มักปิดรูนับด้วยขี้สูดก้อนเล็กๆ ส่วนลูกที่6 แพขวา ปิดรูนับด้วยนิ้วนางขวาไว้ เพื่อให้ทั้งสองลูกนั้นเกิดเสียงประสานตลอดการบรรเลงลาย ลายสร้อย นอกจากจะใช้เสียงประสานยืนคือลาสูงและเรสูงแล้ว ขณะบรรเลง ยังมีการจับคู่ประสานคอร์ด เสียงอื่นๆ ด้วย เช่น ถ้าโน้ตลงเสียงลาต่า จะจับคู่กับเสียงเร และลากลาง, เสียงที จับคู่กับเสียงมี และทีสูง, เสียงเร จับคู่กับเสียงลา กลาง, เสียงมี จับคู่กับเสียงที และมีสูง, ส่วนเสียงซอล และเสียงลากลาง มักใช้เป็นเสียงเดี่ยว
  • 20. .:: เทคนิคการเป่าแคน ::. การเป่าแคนจะนั่งเป่าหรือยืนเป่าก็ได้ โดยมีวิธีการเป่าแคนดังนี้ 1. จับแคนโดยใช้มือทั้ง 2 ข้าง จับที่เต้าแคน ให้แน่น ในอุ้ง มือ 2. ใช้นิ้วทั้ง 5 ปิดรูเสียงตามที่ต้องการ 3. ใช้ปากเป่า โดยใช้ลมเข้า-ออก ตามเสียงที่ต้องการ 4. ขยับนิ้วตามเสียงที่ต้องการ โน้ตแคน มือซ้ายลูกที่ มือขวาลูกที่ ระดับเสียงที่ได้ 1 2 โด 3 6 เร 4 7 มี 5-7 - ฟา 6 3 ซอล - 1-4 ลา 2 5 ที การใช้นิ้วปิดรูเสียงแคน โน้ตแคน นิ้วมือซ้าย ลูกที่ ระดับเสียงที่ได้ หัวแม่มือ 1 โด ชี้ 2-3 ที-เร กลาง 4-5 มี-ฟา นาง 6-7 ซอล-ฟา ก้อย 8 เสพซ้าย
  • 21. การใช้นิ้วปิดรูเสียงแคน โน้ตแคน นิ้วมือซ้าย ลูกที่ ระดับเสียงที่ได้ หัวแม่มือ 1 ลา ชี้ 2-3 โด-ซอล กลาง 4-5 ลา-ที นาง 6-7 เร-มี ก้อย 8 เสพขวา ตาแหน่งเสียงแคนแปด แคนแปด ประกอบด้วยลูกแคน 8 คู่ (16 ลูก) จัดเรียงเข้าอยู่ในเต้าเป็นสองแพ ซ้ายขวา แพละ8 ลูก มีระบบเสียงอยู่ในมาตราไดอะโทนิค (Diatonic scale) ครบ2ช่วงทบเสียงอย่างสมบูรณ์ แคนแปดวางตาแหน่งเสียงของลูกแคนเหมือนกับแคนเจ็ดทุกประการ เพียงแต่เพิ่มลูกแคนเข้า มาอีก 1 คู่ ( 2ลูก แพละลูก) ที่ด้านปลายนอกสุดของเต้าแคน คู่ที่เพิ่มเข้ามานี้ ใช้เป็นเสียง ประสานยืน (drone) เรียกเสียงนี้ว่า “ เสียงเสพ ” หรือเรียกว่า “ เสพก้อย ” เพราะเวลาบรรเลง มักใช้นิ้วก้อยของผู้บรรเลงปิดรูนับ แต่หมอแคนผู้มีทักษะน้อย มักใช้ขี้สูดก้อนเล็กๆ ปิดรูนับ เสียงเสพนี้ เพื่อให้ดังไปตลอดการบรรเลง เสียงเสพขวา เป็นเสียงลา(สูง) ใช้สาหรับประสาน ให้กับทานองเพลงทางไมเนอร์ ส่วนเสียงเสพซ้าย เป็นเสียงซอล(สูง) ใช้สาหรับประสานให้กับ ทานองเพลงทางเมเจอร์ แคนแปด เป็นแคนที่หมอแคนนิยมใช้มากที่สุด มีวางขายทั่วไปในปัจจุบัน และถือว่าเป็นแคน มาตรฐาน เพราะมีช่วงทบเสียง ครบ 2 ช่วงทบเสียง แถมยังมีคู่เสียงเสพ ใช้เป็นเสียงประสาน ยืนร่วมคอร์ดได้อีก 2 ทาง (2โหมด) คือทางไมเนอร์และทางเมเจอร์ อีกด้วย แคนแปด มีเสียงโน้ตครบทั้ง 7 เสียง ไล่จากต่าไปสูงคือ ลา ที โด เร มี ฟา ซอล แต่ละเสียงมีคู่ เสียงเป็นคู่ 8 เฟอร์เฟคท์ หรือคู่เสียงอ็อคเทฟ ส่วนเสียงซอล นอกจากมีคู่เสียงอ็อคเทฟแล้ว ยังมี เสียงคู่ 1เปอร์เฟคท์ หรือเสียงคู่ยูนิซัน (unison) คือเป็นเสียงคู่ในระดับเสียงเดียวกัน หนึ่งคู่ ด้วย แคนแปด จึงมีสองช่วงทบเสียง ( 2 octaves) เรียงระดับจากต่าไปสูงได้ 15 เสียง คือ ลา ที โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด เร มี ฟา ซอล ลา ทาให้แคนแปดเหมาะสาหรับใช้บรรเลงทานองใน 6
  • 22. บันไดเสียง คือ บันไดโทนิค (tonic) บันได dominant และบันได subdominant ทั้งทางเมเจอร์ และทางไมเนอร์ ตัวอย่างเช่น สมมติแคนแปดเต้าหนึ่งถูกประดิษฐ์ขึ้นให้เสียงโป้ซ้าย (ซึ่งคือ โด) ตรงกับ เสียง C ของเปียโน หรือคีย์บอร์ด แคนแปดเต้านั้น สามารถบรรเลงทานองได้ใน บันไดเสียง ดังนี้ 1. บันได tonic ทาง Major ซึงก็คือ C Major ่ 2. บันได tonic ทาง Minor ซึงก็คือ A Minor ่ 3. บันได dominant ทาง Major ซึ่งก็คือ G Major 4. บันได dominant ทาง Minor ซึ่งก็คือ E Minor 5. บันได subdominant ทาง Major ซึ่งก็คือ F Major 6. บันได subdominant ทาง Minor ซึ่งก็คือ D Minor แต่ถ้าเสียงโป้ซ้ายของแคนแปด ตรงกับระดับของโน้ตเสียงอื่น ๆ ของเปียโน แคนแปดเต้านั้นๆ ก็ยังคงบรรเลงได้ใน 6 บันไดเสียงเช่นเดิม แต่ชื่อบันไดเสียง ต้องเลื่อนไปตามเสียงโป้ซ้าย(ของ แคนเต้านั้น) อันเป็นเสียงโทนิค เช่น ถ้าเสียงโป้ซ้าย(ของแคนเต้านั้น) ตรงกับ เสียง G ของ เปียโน แคนแปดเต้านั้น ก็จะบรรเลงทานองในบันไดเสียง ดังนี้ 1. บันได tonic ทาง Major ซึงก็คือ G Major ่ 2. บันได tonic ทาง Minor ซึงก็คือ E Minor ่ 3. บันได dominant ทาง Major ซึ่งก็คือ C Major 4. บันได dominant ทาง Minor ซึ่งก็คือ A Minor 5. บันได subdominant ทาง Major ซึ่งก็คือ D Major 6. บันได subdominant ทาง Minor ซึ่งก็คือ B Minor
  • 23. แคนลูกที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 แพซ้าย ด ทฺ รฺ มฺ ฟฺ ซ ฟ ซํ แพขวา ลฺ ด ซ ล ท ร ม ลํ
  • 24. ลายโปงลาง จังหวะช้า ---- ---มฺ -ซฺ-ลฺ -ซฺ-ลฺ ---- ---ร -ดฺ-ลฺ -ซฺ-ลฺ ---- ---ดฺ -ร-ม -ร-ม ---- ---ล- -ซ-ม -ร-ม ---- ---ม -ซ-ล -ซ-ล ---- ---ร -ด-ล -ซ-ล --- ---ซ -ม-ล -ซ-ม ---- ---ดฺ -ร-ซ -ร-ม --- ---ซ -ม-ล -ซ-ม ---- ---ดฺ -ร-ซ -ร-ม ---- -ม-ร -ดฺ-ลฺ -ซฺ-ลฺ -ดฺ-รฺ -ม-ร -ดฺ-ลฺ -ซฺ-ลฺ ลายเต้ยธรรมดา จังหวะเร็ว ---ลฺ -ดฺ-ร -มรดฺ -ลฺลฺลฺ ---- -ซมซ -ซมดฺ รมซม ---- -ล-ม ซลดล ซมรม -มซร -ดฺลฺดฺ -ดฺ-ร -ม-ซ -ซ-ดฺ รมซม -มซร -ดฺลฺดฺ -ซ-ดฺ รมซม -มซร ดฺลฺ-ดฺ -ล-ม -มซร -ดฺ-ร มซฺ-ลฺ ลายเต้ยโขง จังหวะเร็ว ---- -ม-ล -ล-ซ -ม-ล ---ซ -ด-ล -ล-ซ -ม-ล ---- -ม-ล -ล-ซ -ม-ล ---ซ -ด-ล -ล-ซ -ม-ล ---- -ซ-ม -ม-ร -ดฺ-ม ---ร -ซ-ม -ม-ร -ด-ลฺ ---ด -ร-ม -ร-ด -ซฺ-ลฺ ---ด -ร-ม -ร-ด -ซฺ-ลฺ
  • 25. ลายเต้ยพม่า จังหวะเร็ว ---- -ล-ท -ล-ท -ล-ซ -ล-ซ -ท-ล -ซ-ดฺ -ร-ม ---- -ล-ท -ล-ท -ล-ซ -ล-ซ -ท-ล -ซ-ดฺ -ร-ม ---- --มม -ล-ซ -ม-ร -ด-ร -ลฺ-ด -ร-ม -ร-ด ---- -ลฺ-ด ---- -ร-ม -ซ-ล -ซ-ม -ซ-ร -ร-ร ---- -ล-รฺ ---- -ลฺ-ทฺ -ลฺ-ซฺ -ลฺ-ทฺ -ร-ด -ทฺ-ลฺ ---- -ล-รฺ ---- -ลฺ-ทฺ -ลฺ-ซฺ -ลฺ-ทฺ -ร-ด -ทฺ-ลฺ -ทฺลฺซฺ -ลฺ-ทฺ -ร-ด -ทฺ-ลฺ ลายบายศรี จังหวะช้า ---- -ร-ม -ซ-ล ---- -ซ-ม -ร-ด -ม-ร ---- -ซ-ม -ร-ด -ม-ร ----- -ม-ร -ด-ทฺ -ลฺ-ซฺ ---- ---- -ลฺ-ด -ลฺ-ด ---ด -ร-ม -ร-ด -ลฺ-ด ---ด -ร-ม -ซ-ล -ซ-ล ---- (-มรด -ร-ม -ฟ)-ซ ---- -ด-ล -ซ-ม -ร-ซ ---- (---ล -ซ-ม -ร)-ด ---- -ม-ร -ด-ลฺ -ซฺ-ด ---- ---- ---- ---ด ---- -ร-ม -ซ-ม -ร-ม ---- (-ซ-ด ---ด -ร)-ม ---ม -ซ-ล -ด-ล -ซ-ซ ---- (-มรด -ร-ม -ฟ)-ซ ---- -ด-ล -ซ-ม -ร-ซ ---- ---ล -ซ-ม -ร-ด ---- -ม-ร -ด-ลฺ -ซ-ด ---- ---- ---- ---ด ---- -ร-ม -ซ-ลฺ -ด-ร ---- -ม-ร ---- -ด-ลฺ -ซฺ-ลฺ -ด-ซฺ -ลฺ-ด -ลฺ-ด ---- (-ม-ร -ด-ร -ม-ร ----