SlideShare a Scribd company logo
1 of 19
Download to read offline
รายงานการวิจัยในชั้นเรียน
เรื่องผลการจัดกิจกรรม Calm Classroom
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนโกสัมพีวิทยา
ของ
นางโสภิญญา ดารา
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะชำนาญการ
โรงเรียนโกสัมพีวิทยา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
2
รายงานการวิจัยในชั้นเรียน
เรื่อง ผลการจัดกิจกรรม Calm Classroom ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3/2
โรงเรียนโกสัมพีวิทยา
ความสำคัญของปัญหาการวิจัย
เนื่องจากโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้บุคคลต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถ
ดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนที่เกิดขึ้น บุคคลที่ไม่สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับการ
เปลี่ยนแปลงได้ ย่อมส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพจิตของบุคคลเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยรุ่น โดยวัยรุ่น
ที่สามารถรับรู้ว่าตนเองนั้นเหมาะสมกับอะไรในแต่ละสภาวะ ย่อมทำให้เป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ดี สามารถ
ตัดสินใจที่ถูกต้องมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน วัยรุ่นที่ขาดการตระหนักรู้ต่อตนเองขาดสติในการทำงาน
หรือการตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันนั้น จะทำให้สับสนเกี่ยวกับตนเอง ไม่
สามารถแสดงบทบาทที่เหมาะสมกับตนเองได้อย่างถูกต้อง ขาดความเป็นตัวของตัวเอง ไม่ว่าจะในด้าน
ของการดำรงชีวิตในครอบครัว เพื่อน หรือสภาพแวดล้อมที่ตนเองทำงาน ส่งผลให้มีปัญหาบุคลิกภาพ และ
ไม่สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข ดังนั้นการตระหนักรู้ต่อตนเอง ต่อการมีสติในการพิจารณาไตร่ตรอง
ในด้านต่างๆ จึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิต ในสังคมปัจจุบัน (เรวัต เงินเย็น, กิตติศักดิ์
นิวรัตน์ และปริมินทร์ อริเดช, 2558, น. 184-185; นาถยา คงขาว, 2559, น. 1) ซึ่งการตระหนักรู้
ต่อตนเอง (Self-awareness) จัดเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความฉลาดทางอารมณ์ โดยเป็นความสามารถ
ในการรู้จักและเข้าใจตนเอง ประกอบด้วย 1) ตระหนักรู้อารมณ์ของตนเอง คือความสามารถในการรับรู้
อารมณ์ ความรู้สึก ความคิดของตนเองตามความเป็นจริง 2) การประเมินตนเองตามความเป็นจริง คือ
ความสามารถในวิเคราะห์ตนเองตามสภาพความเป็นจริง สามารถบอกถึงจุดแข็งและข้อจำกัดของตนเอง
ได้ตามความเป็นจริง และ 3) ความมั่นใจในตนเอง การรับรู้ว่าตนเองมีคุณค่า มีความสำคัญ สามารถ
ประสบความสำเร็จได้ด้วยตัวเอง มีจุดยืนในตัวเอง กล้ายืนยันในความคิดของตนเอง (Goleman, 1998,
pp. 54-72)
จากการที่ผู้วิจัยได้เป็นครูในระบบดูแลและช่วยเหลือผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ในโรงเรียน
ระดับมัธยมศึกษา พบว่าผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนโกสัมพีวิทยา ที่ผู้วิจัยได้รับผิดชอบดูแล
นั้น ส่วนมากยังขาดความสามารถในการตระหนักรู้ต่อตนเอง และการมีสติ โดยพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่
มักขาดความสามารถในการรับรู้อารมณ์ ความรู้สึก ความคิดของตนเองที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง และยัง
พบอีกว่านักเรียนบางส่วนไม่มีความมั่นใจในตนเอง จนทำให้ไม่กล้าที่จะแสดงออก ไม่ค่อยให้ความร่วมมือ
ในการเรียนการสอนหรือการทำกิจกรรมของโรงเรียน โดยเมื่อสัมภาษณ์นักเรียนเหล่านั้น ทำให้ได้ข้อมูล
เพิ่มเติมว่า นักเรียนไม่ทราบว่าตนเองมีส่วนดีอะไรบ้างและที่ไม่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็น
เพราะคิดว่าตนเองจะไม่สามารถทำได้ดีและมีคนที่สามารถทำได้เก่งกว่าตนเองมากนั้นเอง วัยรุ่นเป็นวัยที่มี
การเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจเป็นอย่างมากเป็นวัยที่มีจิตใจเปราะบาง ซึ่งปัญหาหลายๆสิ่ง
หลายอย่างที่เข้ามาถาโถมในชีวิต สามารถส่งผลกระทบต่อทั้งทางร่างกายและจิตใจได้ และต้องพยายาม
ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เพราะวัยรุ่นเป็นวัยเปลี่ยนผ่านจากวัยเด็กกำลังจะก้าวสู่วัยผู้ใหญ่
มักจะเผชิญกับสถานการณ์ที่ท้าทายความสามารถ จึงจะเกิดความเครียดได้ง่ายเนื่องจากเป็นวัยอยากรู้
อยากลอง หรือที่เราเรียกว่าวัยพายุ บุแคม สิ่งที่ทำให้วัยรุ่นประมาทในการดำเนินชีวิตมี ๓ สาเหตุ คือ (๑)
ปัญหาที่เกิดจากตัว ของวัยรุ่นเอง (๒) ปัญหาที่เกิดจากครอบครัว และ (๓) ปัญหาที่เกิดจาก
3
สภาพแวดล้อมทางสังคม ปัจจุบันส่งผลกระทบให้สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ประกอบกับ
เทคโนโลยีเข้าถึงวัยรุ่นรวดเร็ว ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ ในปัจจุบันก่อให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในสังคมไทย เนื่องมาจากความทันสมัย และ ความก้าวหน้าทุก ๆ ด้านซึ่งบทบาทที่
สำคัญต่อการแสดงพฤติกรรมทั้งด้านร่างกาย และ จิตใจในชีวิตประจำวันของคนในสังคมไทย สภาพสังคม
ที่เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสยุค ความปกติวิถีใหม่ ปัจจุบันบุคคลให้ความสำคัญกับวัตถุเป็นอย่างมากจึง
แสวงหาวัตถุต่าง ๆ มาสนองความต้องการของตนเองโดยมิได้สนใจว่าจะทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนอย่างไร ส่งผล
ให้เกิดปัญหาเช่นปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่น
ความเครียดความรุนแรงในสังคม ความก้าวร้าวต่างเป็นสาเหตุของการทำให้บุคคลในสังคมไม่มีความสุข
ภาพข่าวที่ปรากฏในสื่อหลักของไทยส่วนใหญ่ข่าวเด็กและเยาวชนไทยถูกละเมิด ถูกกลั่นแกล้งถูกกระทำ
ความรุนแรงประกอบกับการเลี้ยงลูกของพ่อแม่ยุคใหม่ที่รักลูกแบบไม่ถูกทาง ส่งผลกระทบให้เด็กและ
เยาวชนมีสติและสมาธิไม่มั่นคงในการเรียนและการใช้ชีวิตประจำวัน และผู้เรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3/2
เองก็เช่นกัน นักเรียนส่วนใหญ่อยุ่ในช่วงวัยรุ่น อายุ 14-15 ปี เป็นวัยที่มีอารมณ์รุนแรง เริ่มก้าวร้าว เอา
แต่ใจตนเองเป็นใหญ่ กล้าแสดงออกในทางที่ผิด ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้จัดกิจกรรม Calm Classroom หรือ
ห้องเรียนแห่งสติขึ้นมาเพื่อใช้ในการปรับสภาพจิตใจ อารมณ์ พฤติกรรมที่ก้าวร้าว และการตระหนักรู้
ตนเองของผู้เรียนว่าอะไรควร อะไรไม่ควรประพฤติ ปฏิบัติ ของนักเรียนให้ปรับลดลง และค่อยๆลดจน
ปราศจากพฤติกรรมเหล่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อตัวของพวกเขาจะได้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคม ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน พ่อ
แม่ ญาติพี่น้อง หรือคนรอบข้างหรือในชุมชนที่เขาอยู่ และดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
ความสำคัญของสติ ท่าน ว.วชิรเมธี ได้กล่าวไว้ในบทความ“สติ” รากฐานมั่นคงชีวิต สร้างสุข
ภาวะทางใจ “สติ” เป็นสิ่งสําคัญมากในการดําเนินชีวิต เวลาที่เราทุกข์ ถ้าเราขาดสติ เราจะคิดว่าเราทุกข์
อยู่คนเดียว แต่ถ้าเรามีสติ เราจะเข้าใจว่า เรามีเพื่อนร่วมทุกข์มากมาย เราจะแบ่งปันเรื่องราวความทุกข์
ของเราให้ผู้อื่นฟัง ซึ่งจะทําให้ทุกข์ในหัวใจของเราเบาบางลง สติทําให้เรารู้จักคิด รู้จักยับยั้งชั่งใจ ทําให้เรา
มองหาหนทางที่ถูกต้องสําหรับชีวิต และทําให้เราหาหนทางออกจากวิกฤตได้ทุกครั้ง “ ( ว.วชิรเมธี
,2563, https://www.thaihealth.or.th/Content/) และโสภณ ศุภมั่งมี ได้กล่าวไว้ในบทความ
ความสำคัญของ ‘สติ’ ในโลกปัจจุบัน”การมีสติอธิบายง่ายๆ ก็คือการอยู่กับปัจจุบัน ไม่ยึดติดกับอดีต ไม่
กังวลกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง มันไม่ใช่การปล่อยวาง หรือไม่คิดอะไรเลย แต่เป็นการโฟกัสความสนใจของ
เราให้กับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า หรือ ‘Now’ เพียงอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เราเห็น รู้สึก ได้กลิ่น รส สัมผัส
ในตอนนี้เพียงเท่านั้นแต่ ‘สติ’ ก็ยังถือเป็นเครื่องมือหรือเทคนิคที่หลายล้านคนบนโลกใบนี้ใช้เพื่อจัดการ
กับความเครียดและแรงกดดันในชีวิตที่ต้องเผชิญอยู่ทุกวี่วัน คำถามคือแล้วมันเหมาะกับเรารึเปล่า? มัน
เป็นแค่เทรนด์ที่มาแล้วก็หายไปเหมือนหลายๆ อย่างใช่หรือไม่? คงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะคิดแบบนั้นเพราะ
เทรนด์หลายอย่างเกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็ว (โสภณ ศุภมั่งมี,2564,https://gqthailand.com)
ปัจจุบันการฝึกสติ (Mindfulness) เป็นศาสตร์ทางตะวันออกที่มาจากคำสอนทางพระพุทธศาสนา ซึ่ง
สามารถฝึกปฏิบัติได้ไม่เกี่ยวกับความเชื่อหรือศาสนา กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในหมู่
คนดัง ไม่ว่าจะเป็น ไทเกอร์ วู้ดฟิลิป แจ็กสันโอปราห์ วินฟรีย์ เป็นต้น (Gonzalez & Byron, 2010,
pp.10) หรือแม้แต่ในระดับองค์กรก็มีการนำศาสตร์การฝึกสติมาใช้ในการฝึกอบรมพนักงาน เช่น บริษัท
กูเกิล (Google) ได้ใช้โปรแกรมการฝึกสติที่ชื่อ Search Inside yourself ฝึกฝนพนักงาน โดยการใช้สติ
ติดตามดูลมหายใจ วันละ 1-2 นาที (สุวัฒน์ ธนกรนุวัฒน์, สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต และสิริวัฒน์ ศรีเครือ
ดง, 2562, น. 202) โดยการฝึกสตินั้นเป็นการระลึกรู้เท่าทันกายและใจของตนเองตามความเป็นจริงใน
4
ปัจจุบันขณะตามสภาวะของจิตตื่นรู้ (Awareness of the change in one’s body and mind)
(แผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต, 2559, น. 19) ทั้งนี้ การฝึกสติ ไม่ใช่เพียงแต่การนั่งทำ
สมาธิเท่านั้น หากมีกิจกรรมที่หลากหลายที่สามารถนำมาใช้ในการฝึกสติได้ (วิเชียร ไชยบัง, 2558, น.
179) ทำให้ผู้วิจัยมีมุมมองว่า ถ้านักเรียนได้รับการฝึกสติ ก็ย่อมส่งผลให้นักเรียนมีความสามารถในการ
ควบคุมตนเองจากภายในจิตใจ สามารถที่จะรู้ทันความคิดหรืออารมณ์ที่เกิดขึ้น จนส่งผลให้เกิดความ
ตระหนักรู้เข้าใจต่อตนเองต่อการมีสติในที่สุด จากเหตุที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะนำเทคนิค
การฝึกสติมาใช้ร่วมกับการจัดกิจกรรม Calm Classroom ได้แก่ การบริหารสมอง (Brain Gym) การนั่ง
สร้างจังหวะตามแนวทางของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ การเดินอย่างมีสติการฝึกสติโดยการนับ และการฝึก
สติในชีวิตประจำวัน เพื่อพัฒนาการตระหนักรู้ต่อตนเองต่อการมีสติในผู้เรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3/๒
โรงเรียนโกสัมพีวิทยา จังหวัดกำแพงเพชร
จากพฤติกรรมของ ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 แต่เดิมผู้เรียนส่วนใหญ่ ยังมีปัญหาพฤติกรรม
ผู้เรียนที่ไม่พึงประสงค์ในเรื่องการทะเลาะวิวาท ก้าวร้าว การพูดเท็จ และการเสพสิ่งเสพติด การมาสาย
หนีเรียน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้จาการสังเกตพฤติกรรมผู้เรียนและการสัมภาษณ์ครูผู้สอน ครูฝ่ายปกครอง
ผู้ปกครองผู้เรียน และผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 สำหรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของผู้เรียนควร
ได้รับการแก้ไขและพัฒนา ด้วยกิจกรรม Calm Classroom การฝึกสติและสมาธิเป็นประจำสมํ่าเสมอจะ
ช่วยป้องกัน บรรเทาและบำบัดอาการเจ็บป่วยได้อย่างหลากหลายเช่น ความวิตกกังวลอาการซึมเศร้าโรค
ตื่นตระหนกหรือโรคแพนิค(Panicdisorder)การติดสารเสพติดหากนำการพัฒนาสติและสมาธิไปใช้ใน
องค์กรแล้วพนักงานที่ได้ฝึกสติและสมาธิจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น จะเห็นได้ว่าจิตในขณะที่
มีสติจะทำงานโดยไม่วอกแวกและควบคุมอารมณ์และความคิดได้ ส่วนจิตในขณะที่มีสมาธิจะหยุดคิดจน
เกิดความสงบและผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจแต่ทั้งสติและสมาธิต่างก็มีความสัมพันธ์และเกื้อกูลกัน
นั่นคือเมื่อจิตออกจากสมาธิแล้วย่อมมีสติได้ง่าย และการฝึกสติเป็นประจำก็จะทำ ให้ฝึกสมาธิได้โดยไม่
ลำบากช่วยให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความขัดแย้งระหว่างกัน และเสริมสร้างความสุขให้
มากขึ้นทั้งในระดับบุคคลองค์กรครอบครัวและชุมชนต่อไปด้วย(นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานต,2560,
น.8) โรงเรียนโกสัมพีวิทยาได้ตระหนักถึงความสำคัญของ การใช้กิจกรรม Calm Classroom ในการปรับ
พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของผู้เรียน ดังนั้นจึงจัดทำโครงการโรงเรียนแห่งความสุข และเล็งเห็นว่าการ
พัฒนาสติจะนำไปสู่ความสุข ดังจะเห็นได้จากแนวคิดของ นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานต ที่ได้อธิบาย
ในหนังสือเรื่อง สร้างสุขด้วยสติในองค์กร เอาไว้ว่าการพัฒนาจิตในความเข้าใจของคนส่วนใหญ่จะถือเป็น
เรื่องของปัจเจกบุคคลและเกี่ยวข้องโดยตรงกับศาสนา แต่ความเปลี่ยนแปลงของสังคมปัจจุบันทำ ให้ความ
ต้องการพัฒนาจิตมีความหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาจิตในรูปแบบที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของ
สังคมเมือง ความต้องการคำอธิบายในเชิงเหตุผล เช่น การทำงานของสมองรวมทั้งกระบวนการเรียนรู้ที่
ทันสมัยให้เกิดองค์ความรู้และวิธีในการพัฒนาจิตขึ้นมากมาย แต่ส่วนใหญ่ก็จะมีพื้นฐานมาจากพุทธรรม
เป็นสำคัญ ดังนั้น เมื่อมีความสุขแล้วจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี รวมถึงได้จัดอบรมพัฒนาครูเพื่อพัฒนา
สติให้กับผู้เรียน โดยผศ.ดร.จักรกฤษณ์ จันทะคุณ นักวิจัย จากคณะศึกษาฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เสนอ
แนวคิด Calm classroom ให้ครูประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน กิจกรรม Calm Classroom Mindfulness จะ
ช่วยพัฒนาสติของผู้เรียนในให้ปราศจากปัญหาพฤติกรรมผู้เรียนที่ไม่พึงประสงค์ดังกล่าว
5
จากความสำคัญปัญหา และแนวคิดข้างต้น ผู้วิจัยจึงสนใจพัฒนากิจกรรม Calm Classroom ของ
ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3/2 โรงเรียนโกสัมพีวิทยา เพื่อพัฒนาลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนด้วย
การฝึกสติก่อนที่จะเรียนในคาบต่อไป
คำถามการวิจัย
กิจกรรม Calm Classroom จะช่วยให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 มีสติดีขึ้นหรือไม่
อย่างไร หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรม Calm Classroom ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้แผนการกิจกรรม Calm Classroom สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3/2
2. นักเรียนมีสติเกี่ยวกับการเรียน เพิ่มมากขึ้น ตระหนักรู้ต่อตนเอง มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์
ภายในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนดีขึ้น อีกทั้งยังมีความสนใจในการเรียนมากขึ้น มีความสุขในการเรียน
มากขึ้นเป็นผลสืบเนื่องจากการมีสติ
3. ได้แนวทางในการจัดกิจกรรม Calm Classroomสำหรับครูนำไปใช้ในจัดกิจกรรมแห่งสติ
สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3/2
ตัวแปรที่ศึกษา
ผลการจัดกิจกรรม Calm Classroom ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2
วิธีดำเนินการวิจัย
รูปแบบการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action
Reseach)
1. กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนโกสัมพีวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง
2. เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่
1. แผนการจัดกิจกรรม กิจกรรม Calm Classroom จำนวน 80 กิจกรรม โดย
ประยุกต์จาก ดร.จอน คาแบต-ซินน์ ผสมผสานการฝึกสติ ความสำนึกในร่างกาย เพื่อช่วยให้มีสติเพิ่มขึ้น
(Pickert K (2014-02). ) รวมถึงใช้เทคนิคจากแนวคิดพระพุทธศาสนา คือหลักสติปัฏฐาน 4 ที่มี 4
ลักษณะ ได้แก่
6
วัน ชื่อกิจกรรม
แนวทางการจัดกิจกรรม
Calm Classroom
กระบวนการ สื่อ/อุปกรณ์
วันจันทร์ กิจกรรม ภาพมี
ชีวิต 1. Breathing มีสติอยู่
กับลมายใจ
2. Relaxation มีสติกับ
การผ่อนคลาย
3. Sketching มีสติกับ
การยืด เหยียด หรือการ
เคลื่อนไหว
4. Focusing มีสติกับ
การจดจ่อ
ขั้นนำ:
๑. หายใจเข้าค้างไว้นับ ๔
หายใจนับ ๔
๒. โดยใช้เพลงสปาเบาๆ
เพื่อความผ่อนคลาย
๓. ทำ Brain Gym ๓
ท่า
ขั้นกิจกรรม:
วา 1. วาดภาพที่ตนเองชื่น
ชอบลงในกระดาษ พร้อม
ตั้งชื่อภาพนั้น
2. นำเสนอภาพที่ตนเอง
วาด ว่าคือภาพอะไร และ
ทำไมถึงวาดภาพนี้
ขั้นจบ : ขอบคุณกันและ
กัน
1. เพลงสปา
2. กระดาษ
วันอังคาร กิจกรรม ฮีโร่อยู่ใน
ตัวคุณเอง 1. Breathing มีสติอยู่
กับลมายใจ
2. Relaxation มีสติกับ
การผ่อนคลาย
3. Sketching มีสติกับ
การยืด เหยียด หรือการ
เคลื่อนไหว
4. Focusing มีสติกับ
การจดจ่อ
ขั้นนำ:
1. หายใจเข้าค้างไว้นับ ๔
หายใจนับ ๔
2. โดยใช้เพลงสปาเบาๆ
เพื่อความผ่อนคลาย
3. Brain Gym แบบแตะ
ส่วนต่างๆ ของร่างกาย
ขั้นกิจกรรม:
1. ตั้งคำถามกระตุ้นคิด
“นักเรียนเคยมีฮีโรอยู่ใน
ใจบ้างหรือไม่?”
2. เปิดเพลง “Hero” ซี่ง
เป็นเพลงสากล มีเนื้อแปล
เป็นไทยให้นักเรียน
ฟังและดูคำแปล
ตั้งคำถามกระตุ้นคิด “
นักเรียนรู้สึกว่าเพลงนี้
กำลังบอกอะไร ? ”/
แสดงความคิดเห็น
7
วัน ชื่อกิจกรรม
แนวทางการจัดกิจกรรม
Calm Classroom
กระบวนการ สื่อ/อุปกรณ์
ขั้นจบ : ขอบคุณกันและ
กัน
1. เพลงสปา
2. เพลงHero
วันพุธ กิจกรรม ดอกไม้
บานในจินตนาการ
ของฉัน
1. Breathing มีสติอยู่
กับลมายใจ
2. Relaxation มีสติกับ
การผ่อนคลาย
3. Sketching มีสติกับ
การยืด เหยียด หรือการ
เคลื่อนไหว
4. Focusing มีสติกับ
การจดจ่อ
ขั้นนำ:
1. หายใจเข้าค้างไว้นับ ๔
หายใจนับ ๔
2. โดยใช้เพลงสปาเบาๆ
เพื่อความผ่อนคลาย
3. ทำท่าประกอบบทเพลง
ดั่งดอกไม้บาน
ขั้นกิจกรรม:
1. วาดรูปดอกไม้ใน
จินตนาการของตนเองคน
ละ ๑ รูป
2. นักเรียนนำเสนอ
หน้าชั้น
ขั้นจบ : ขอบคุณกัน
และกัน
1. เพลงสปา
2. เพลงดั่ง
ดอกไม้บาน
วันพฤหัสบดี กิจกรรม รางวัล
ของครู 1. Breathing มีสติอยู่
กับลมายใจ
2. Relaxation มีสติกับ
การผ่อนคลาย
3. Sketching มีสติกับ
การยืด เหยียด หรือการ
เคลื่อนไหว
4. Focusing มีสติกับ
การจดจ่อ
ขั้นนำ:
1. หายใจเข้าค้างไว้นับ ๔
หายใจนับ ๔
2. โดยใช้เพลงสปาเบาๆ
เพื่อความผ่อนคลาย
3. Brain Gym เตรียม
ความพรั่งพร้อมกาย-ใจ
ด้วยเพลงสติ
ขั้นกิจกรรม:
1. เปิดเพลง รางวัลของครู
ให้นักเรียนชมและฟัง
พร้อมทั้งร่วมกันร้อง
2. ตั้งคำถามให้นักเรียน
สะท้อนคิดในประเด็นดังนี้
1. เพลงสปา
2. เพลง
รางวัลของครู
ของปาน ธน
พร
3. ใบสะท้อน
คิด
8
วัน ชื่อกิจกรรม
แนวทางการจัดกิจกรรม
Calm Classroom
กระบวนการ สื่อ/อุปกรณ์
3. ตั้งคำถามให้นักเรียน
สะท้อนคิดในประเด็นดังนี้
“เรารู้สึกอย่างไรหลังจาก
ชมคลิปเพลงนี้?”
“เราเรียนรู้อะไรจากเพลง
นี้”“คลิปเพลงนี้มี
ประโยชน์ต่อเราอย่างไร”
4. เขียนเพื่อสื่อความคิด
และมุมมองของตนเอง
5. นำเสนอผลงาน
ขั้นจบ : ขอบคุณกัน
และกัน
วันศุกร์ กิจกรรม อยู่ที่
เรียนรู้ 1. Breathing มีสติอยู่
กับลมายใจ
2. Relaxation มีสติกับ
การผ่อนคลาย
3. Sketching มีสติกับ
การยืด เหยียด หรือการ
เคลื่อนไหว
4. Focusing มีสติกับ
การจดจ่อ
ขั้นนำ:
1. หายใจเข้าค้างไว้นับ ๔
หายใจนับ ๔
2. โดยใช้เพลงสปาเบาๆ
เพื่อความผ่อนคลาย
3. Brain Gym กับเพลง
สติ พร้อมทั้งทำท่าทาง
ขั้นกิจกรรม:
1. นักเรียนฟังเพลง อยู่ที่
เรียนรู้ ของ กมลา สุโกศล
2. ใช้คำถามกระตุ้นการ
คิด นักเรียนเห็นอะไร รู้สึก
อย่างไร สามารถเชื่อมโยง
กับสถานการณ์ปัจจุบันได้
อย่างไร
ขั้นจบ :ขอบคุณกันและกัน
1. เพลงสปา
2. เพลงอยู่ที่
เรียนรู้ ของ
กมลา สุโกศล
ผู้วิจัยค้นคว้าจากเอกสารของ ดร. จอน คาแบต-ซินน์ ผสมผสานการฝึกสติ ความสำนึกใน
ร่างกาย เพื่อช่วยให้มีสติเพิ่มขึ้น (Pickert K (2014-02). ) แล้วนำมาสังเคราะห์ คัดเลือกที่เหมาะสมกับ
นักเรียน หรือตรวจสอบความเหมาะสมจากผู้บริหาร คณะครู และผู้เชี่ยวชาญในชั่วโมง PLC แล้วปรับปรุง
9
จากนั้นนำไปทดลองฝึกกิจกรรม Calm Classroom นำไป PLC เพื่อแลกเปลี่ยนกับครูในการ
ตัดสินใจเลือกรูปแบบกิจกรรมฝึกสติและนำไปใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ในช่วงเวลาก่อนเริ่ม
การเรียนการสอนหรือ ช่วงกิจกรรม Home room โดยในการทำกิจกรรม Calm Classroom นั้นจะมี
การสะท้อนคิด ซึ่งให้นักเรียนได้พูดหรือเขียนเกี่ยวกับความคิด ความรู้สึกที่นักเรียนได้ทำกิจกรรม จากนั้น
นำการสะท้อนคิดเป็นข้อมูลและรวบรวมเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูล
นำแผนการจัดกิจกรรม Calm Classroom ไปใช้ในช่วงก่อนเรียนในแต่ละรายวิชา เป็นเวลา
๒0 นาที
2. แบบสัมภาษณ์เพื่อศึกษาการมีสติ เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ๔ ฉบับ ได้แก่
๑) แบบสัมภาษณ์เพื่อศึกษาการมีสติจากนักเรียน จำนวน ๒ ข้อ ๒) แบบสัมภาษณ์เพื่อศึกษาการมีสติ
จากผู้ปกครอง จำนวน ๒ ข้อ และ๓) แบบสัมภาษณ์เพื่อศึกษาการมีสติจากครูผู้สอน จำนวน ๒ ข้อ
๔) แบบประเมินหลังเข้าร่วมกิจกรรมAAR (After Action Review: AAR)
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ตามขั้นตอนดังนี้
1.นำกิจกรรมที่ออกแบบไปใช้กับนักเรียน ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ระหว่าง
เดือน พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ถึงเดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เป็นเวลา ๑๖ สัปดาห์
2. ระหว่างจัดกิจกรรมผู้วิจัยสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน
๓. หลังร่วมกิจกรรมให้นักเรียนทำแบบประเมิน AAR
4. สัมภาษณ์นักเรียน ครู ผู้ปกครองด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเพื่อศึกษาผลการ
เปลี่ยนแปลง
การวิเคราะห์ข้อมูล
คณะผู้วิจัยนำข้อมูล จากการสัมภาษณ์ และการทำแบบประเมิน AAR มาสร้างข้อสรุปอุปนัย
(Analytical Induction)
๑. ศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนด้วยกิจกรรม Calm Classroom ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
๓/๒
2. การเปรียบเทียบพฤติกรรมของนักเรียนก่อนและหลังการทำกิจกรรม Calm Classroom ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๒
ผลการวิจัย
๑. ผู้วิจัยนำผลการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาการมีสติ ของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๒
จากการสัมภาษณ์นักเรียนนำมาสรุปภายหลังจากการจัดกิจกรรม Calm Classroom เป็นประเด็น
ดังต่อไปนี้
๑.๑ นักเรียนเห็นว่ากิจกรรมนี้มีความสำคัญ มีประโยชน์ต่อการฝึกสติ
1.2 นักเรียนมีสติ มีสมาธิมากขึ้น รู้จักควบคุมอารมณ์
๑.3 นักเรียนมีความสามัคคี มีน้ำใจ
๑.4 นักเรียนมีระเบียบวินัยปฏิบัติตามข้อตกลงของห้องเรียน
๑.5 นักเรียนมีจิตอาสาเห็นคุณค่าในตนเอง และ
๑.6 มีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรม ดังข้อความที่นักเรียนสะท้อนว่า
10
“เป็นกิจกรรมที่ดี สร้างสมาธิและสติ รู้จักควบคุมอารมณ์ ควบคุมตนเองมีความขยันหมั่นเพียร
การฝึกสติสร้างความสามัคคี มีน้ำใจรู้จักแบ่งปัน มีการพัฒนาด้านการเรียนมากขึ้นมีสัมพันธภาพที่ดีทั้งกับ
ครูและเพื่อนเพิ่มมากขึ้น และมีความสุขการกับการทำกิจกรรม รู้สึกมีความสุขที่ครูเสียสละเวลาให้ความรู้
กับตน” (นักเรียนคนที่ ๕,๒๕๖๔); (นักเรียนคนที่ 13,๒๕๖๔); (นักเรียนคนที่ ๒๐,๒๕๖๔); (นักเรียนคนที่
๒๓,๒๕๖๔); (นักเรียนคนที่ ๒4,๒๕๖๔)
๒. นักเรียนมีทักษะในการทำงานเป็นทีม มีความมั่นใจและกล้าแสดงออก มีความภาคภูมิใจใน
ตนเอง ยอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในชั้นเรียน และมีความอ่อนน้อมถ่อมตนมากขึ้น ดังข้อความที่
นักเรียนสะท้อนว่า
“จากการที่ทำงานแบบต่างคนต่างทำ ไม่สนใจใครก็หันมายอมรับฟังซึ่งกันและกัน มีผู้นำผู้ตาม
มั่นใจและเชื่อมั่นในสิ่งที่เราแสดงออกมา กล้าคิดและกล้าตัดสินใจมากขึ้น รู้สึกเคารพและรักครูมากขึ้นที่
ท่านได้เสียสละเวลาทั้งในด้านการสอนและการให้ความรักแก่เรา” (นักเรียนคนที่ 1,๒๕๖๔); (นักเรียนคน
ที่ 10,๒๕๖๔); (นักเรียนคนที่ 17,๒๕๖๔); (นักเรียนคนที่ 19,๒๕๖๔); (นักเรียนคนที่ 25,๒๕๖๔)
ผลจากการสัมภาษณ์ครูผู้สอน
“จากการได้สอนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๒ จากเดิมนักเรียนจะสนใจเล่นเกม ร่วมจับ
กลุ่ม เล่นโทรศัพท์ ไม่สนใจการเรียน หลังจากมีกิจกรรม Calm Classroom ทำให้นักเรียนมีความสนใจ
กล้าแสดงออกมากขึ้นนักเรียนมีความจดจ่อในการเรียน มีความสามารถในการกำกับตัวเอง มีความจำดีขึ้น
มีวินัยมีระเบียบ”
ผลจากการสัมภาษณ์ผู้ปกครอง
“นักเรียนมีพฤติกรรมไปในทางดีขึ้น ใจเย็นสุขุมมากขึ้น มีน้ำใจมากขึ้น ตั้งใจอ่านหนังสือ ทำ
การบ้าน”
การสะท้อนผลการวิจัย
งานวิจัยเรื่องนี้ ทำให้ผู้วิจัย มีความภาคภูมิใจ ในความสำเร็จอย่างยิ่ง เนื่องจาก พบว่าหลังจาก
นักเรียนร่วมกิจกรรม Calm Classroom นักเรียนมีสติ มีสมาธิมากขึ้น รู้จักควบคุมอารมณ์
เห็นความสำคัญ เห็นประโยชน์ของการฝึกสติ ทำงานร่วมกันด้วยความสามัคคี มีน้ำใจรู้จักแบ่งปัน
ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นอกจากนี้นักเรียนยังประพฤติปฏิบัติตามกฎระเบียบของห้องเรียนซึ่งได้ร่วม
ตกลงกันไว้ มีจิตอาสา กล้าแสดงออกอย่างเชื่อมั่นและสร้างสรรค์ รวมทั้งเห็นคุณค่าในตนเอง และ
ผลพลอยได้จากการร่วมกิจกรรมนี้คือนักเรียนมีพัฒนาการทางด้านการเรียนสูงขึ้น และมีความสุขกับ
การเรียน การอยู่ร่วมกันกับเพื่อนในชั้นเรียนมากขึ้น รวมทั้งมีสัมพันธภาพที่ดีต่อครู อาจารย์ที่ให้ความรู้
เมื่อนำผลงานวิจัยนี้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครูในโรงเรียน ในรูปแบบกระบวนการ PLC ทำให้เพื่อน
ครูมีแนวทางและมีกำลังใจในการแก้ปัญหา นอกจากนี้ผู้วิจัยตั้งใจที่จะพัฒนากิจกรรม Calm Classroom
เพื่อส่งเสริมในด้าน การคิดแก้ปัญหา เพื่อใช้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแก่นักเรียนในโอกาสต่อไป โดยต้องใช้
กระบวนการมีส่วนร่วมหรือสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับเพื่อนครูภายในโรงเรียนและนอกโรงเรียน
11
เอกสารอ้างอิง
นาถยา คงขาว. (2559). ผลของการปรึกษากลุ่มแบบอัตถิ ภาวะนิยมต่อการตระหนักรู้ในตนเองของ
นักเรียน มัธยมศึกษาตอนต้น (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานต. (2560). สร้างสุขด้วยสติในองค์กร (Mindfulness in Organization:
MIO)(พิมพ์ครั้งที่ 4 ).กลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข:บริษัท บียอนด์พับลิสชิ่ง
จำกัด,น.8
แผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. (2559). จับใจ โปรแกรมการฝึกสติเพื่อการยอมรับและ
พัฒนาตนเอง (Mindfulness-based acceptance and self-development; MBASD).
นครราชสีมา: อินดี้อาร์ต.
เรวัต เงินเย็น, กิตติศักดิ์ นิวรัตน์ และปริมินทร์ อริเดช (2558). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความ
ตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงราย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8(18),
น. 183-188.
โสภณ ศุภมั่งมี.(2563).ความสำคัญของ ‘สติ’ ในโลกปัจจุบัน. https://gqthailand.com
ว.วชิรเมธี.(2563).“สติ” รากฐานมั่นคงชีวิต สร้างสุขภาวะทางใจ.https://www.thaihealth.or.th
วิเชียร ไชยบัง. (2558). จิตศึกษาพัฒนาปัญญาภายใน(พิมพ์ครั้งที่ 2). บุรีรัมย์: เรียนนอกกะลา.
สุวัฒน์ ธนกรนุวัฒน์, สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต และสิริวัฒน์ ศรีเครือดง. (2562). การเจริญสติในวิถีพุทธ
จิตวิทยา. มจร. มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 5(2),น. 201-212.
Goleman, D. (1998). Working with emotion intelligence.New York: Bantam
Books.Gonzalez, M. & Byron, G. (2010). The mindful investor: how a calm mind can bring
you inner peace and financial security. Ontario Canada: John Wiley & Sons.
12
ภาคผนวก
- ตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรม Calm Classroom
- ภาพประกอบการจัดกิจกรรม Calm Classroom
13
แผนที่ 41 วันพุธที่ 29 ธันวาคม ๒๕๖๔
แผนการจัดกิจกรรม Calm Classroom/ห้องเรียนแห่งสติ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนโกสัมพีวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
กำแพงเพชร
1. ชื่อกิจกรรม สถานการณ์นี้เราต้องรอด
2. จุดประสงค์
2.1 เพื่อสร้างห้องเรียนแห่งสติ ฝึกปฏิบัติที่ใช้ความตั้งมั่น จดจ่อ อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในช่วง
ระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติเกิดความสงบหรือมีสติในการใช้ชีวิตมากขึ้น
2.2 เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้กับผู้เรียน
๒.๓ เพื่อให้ครูที่ปรึกษาประจำชั้นได้พบนักเรียนของตนอย่างใกล้ชิด ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์
อย่าง
เต็มที่ และมีเป้าหมายนอกเหนือจากการสอนตามปกติ
3. แผนการจัดกิจกรรม
๓.๑ ขั้นเตรียม
Breathing มีสติอยู่กับลมหายใจ
Focusing มี สติกับการจดจ่อ
Sketching มีสติกับการยืด เหยียด หรือการเคลื่อนไหว
Relaxation มีสติกับการผ่อนคลาย
วิธีดำเนินการ
๑. เปิดเพลงบรรเลง PIANO เพื่อผ่อนคลายแล้วให้นักเรียนนั่งเป็นวงกลม แล้วพานวดผ่อน
คลาย
เริ่มจาก ศีรษะ ต้นคอ ไหล่แขนซ้าย ไหล่แขนขวา และไล่ลงมาถึง
๒. ให้นักเรียนนั่งเป็นวงกลม แล้วพาทำ Braim Gym ๔ ท่า
ท่าที่ ๑ ท่ากำแบ : ยกมือขึ้นสองข้างจากนั้นให้กำมือขวาส่วนมือซ้ายแบ ทำสลับกัน ๑๐
ครั้ง
ท่าที่ ๒ ท่าจีบกับแอล : ยกมือขึ้นสองข้างให้มือขวาท าเป็นรูปตัวแอลและมือซ้ายท
าเป็นรูปจีบ ท าสลับกัน ๑๐ ครั้ง
ท่าที่ ๓ ท่าโป้งก้อย : ยกมือขึ้นสองข้างให้มือขวายกนิ้วหัวแม่มือขึ้นและมือซ้ายยก
นิ้วก้อย
ทำสลับกัน ๑๐ ครั้ง
ท่าที่ ๔ ท่าหูกับจมูก : ยกมือขวาข้ามศีรษะไปจับหูซ้ายและ
เอามือซ้ายมาจับที่ปลายจมูก ทำสลับกัน ๑๐ ครั้ง
3.๒ ขั้นกิจกรรม
๑. ให้นักเรียนชมคลิปและร่วมร้องเพลง เธอผู้ไม่แพ้
ของธงไชย แมคอินไตย
๒. นักเรียนทุกคนร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากการชม
ในประเด็น ดังนี้
เธอผู้ไม่แพ้
14
- ใจความสำคัญจากเพลง
- เพลงนี้ให้ประโยชน์อะไรกับเรา สามารถปรับประยุกต์ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ได้
อย่างไร
3.3 บันทึกหลังกิจกรรม (ผลสำเร็จ/ปัญหา/ข้อเสนอแนะ)
หลังทำกิจกรรมพบว่านักเรียนทุกคนสนใจในกิจกรรมสถานการณ์นี้เราต้องรอดเป็นอย่างมาก
นักเรียนทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี นักเรียนทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็นอย่าง
สร้างสรรค์ และที่สำคัญนักเรียนมีสมาธิพร้อมที่จะเรียน
ลงชื่อ
..............................................................
(นางโสภิญญา ดารา)
ผู้บันทึกกิจกรรม
15
แผนที่ 42 วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม ๒๕๖๔
แผนการจัดกิจกรรม Calm Classroom/ห้องเรียนแห่งสติ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนโกสัมพีวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
กำแพงเพชร
1. ชื่อกิจกรรม ความสามัคคีไม่มีขาย สร้างได้ด้วยตัวเรา
2. จุดประสงค์
2.1 เพื่อสร้างห้องเรียนแห่งสติ ฝึกปฏิบัติที่ใช้ความตั้งมั่น จดจ่อ อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในช่วง
ระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติเกิดความสงบหรือมีสติในการใช้ชีวิตมากขึ้น
2.2 เพื่อส่งเสริมความสามัคคีให้กับผู้เรียน
๒.๓ เพื่อให้ครูที่ปรึกษาประจำชั้นได้พบนักเรียนของตนอย่างใกล้ชิด ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์
อย่าง
เต็มที่ และมีเป้าหมายนอกเหนือจากการสอนตามปกติ
3. แผนการจัดกิจกรรม
๓.๑ ขั้นเตรียม
Breathing มีสติอยู่กับลมหายใจ
Focusing มี สติกับการจดจ่อ
Sketching มีสติกับการยืด เหยียด หรือการเคลื่อนไหว
Relaxation มีสติกับการผ่อนคลาย
วิธีดำเนินการ
๑. เปิดเพลงผ่อนคลายสมอง ฝึกสมาธิ ธิเบตตันเพื่อผ่อนคลายแล้วให้นักเรียนนั่งเป็นวงกลม แล้ว
พานวด
ผ่อนคลาย เริ่มจาก ศีรษะ ต้นคอ ไหล่แขนซ้าย ไหล่แขนขวา และไล่ลงมาถึง
๒. ให้นักเรียนนั่งเป็นวงกลม แล้วพาทำ Braim Gym ๔ ท่า
ท่าที่ ๑ ท่ากำแบ : ยกมือขึ้นสองข้างจากนั้นให้กำมือขวาส่วนมือซ้ายแบ ทำสลับกัน ๑๐
ครั้ง
ท่าที่ ๒ ท่าจีบกับแอล : ยกมือขึ้นสองข้างให้มือขวาท าเป็นรูปตัวแอลและมือซ้ายท
าเป็นรูปจีบ ท าสลับกัน ๑๐ ครั้ง
ท่าที่ ๓ ท่าโป้งก้อย : ยกมือขึ้นสองข้างให้มือขวายกนิ้วหัวแม่มือขึ้นและมือซ้ายยก
นิ้วก้อย
ทำสลับกัน ๑๐ ครั้ง
ท่าที่ ๔ ท่าหูกับจมูก : ยกมือขวาข้ามศีรษะไปจับหูซ้ายและ
เอามือซ้ายมาจับที่ปลายจมูก ทำสลับกัน ๑๐ ครั้ง
3.๒ ขั้นกิจกรรม
๑. ให้นักเรียนชมคลิปละครสั้นส่งเสริมคุณธรรม
"ความสามัคคี..เชือก..JUMP UP"
๒. นักเรียนทุกคนร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากการชม
ในประเด็น ดังนี้
ความสามัคคี..เชือก..JUMP UP
16
- ใจความสำคัญจากละครคุณธรรมที่ชม
- ถ้านักเรียนเป็น ไอเดียนักเรียนจะทำอย่างไร
- นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับละครที่ชม
- ละครเรื่องนี้ให้ประโยชน์อะไรกับเรา สามารถปรับประยุกต์ในสถานการณ์ปัจจุบัน
นี้ได้
อย่างไร
3.3 บันทึกหลังกิจกรรม (ผลสำเร็จ/ปัญหา/ข้อเสนอแนะ)
หลังทำกิจกรรมพบว่านักเรียนทุกคนสนใจในกิจกรรม ความสามัคคีไม่มีขาย สร้างได้ด้วยตัวเรา
นักเรียนสามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่งได้จากการนั่งสมาธิ ซึ่งช่วยให้เกิดความสงบ
และสติในการทำกิจกรรม Sketching 16 จังหวะ และการสะท้อนคิดจากละครได้เป็นอย่างดี นักเรียนมี
ส่วนร่วมในการทำกิจกรรม สามารถสร้างความตระหนัก
ลงชื่อ
..............................................................
(นางโสภิญญา ดารา)
ผู้บันทึกกิจกรรม
17
แผนที่ 4๔ วันพุธที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๕
แผนการจัดกิจกรรม Calm Classroom/ห้องเรียนแห่งสติ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนโกสัมพีวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
กำแพงเพชร
1. ชื่อกิจกรรม มิตรภาพที่สวยงาม
2. จุดประสงค์
2.1 เพื่อสร้างห้องเรียนแห่งสติ ฝึกปฏิบัติที่ใช้ความตั้งมั่น จดจ่อ อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในช่วง
ระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติเกิดความสงบหรือมีสติในการใช้ชีวิตมากขึ้น
2.2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนตระหนักถึงการแบ่งปันความรู้สึกและปรารถนาดีต่อผู้อื่น
๒.๓ เพื่อให้ครูที่ปรึกษาประจำชั้นได้พบนักเรียนของตนอย่างใกล้ชิด ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์
อย่าง
เต็มที่ และมีเป้าหมายนอกเหนือจากการสอนตามปกติ
3. แผนการจัดกิจกรรม
๓.๑ ขั้นเตรียม
Breathing มีสติอยู่กับลมหายใจ
Focusing มี สติกับการจดจ่อ
Sketching มีสติกับการยืด เหยียด หรือการเคลื่อนไหว
Relaxation มีสติกับการผ่อนคลาย
วิธีดำเนินการ
๑. เปิดเพลงบทสวดบูชาเจ้าแม่กวนอิม ไต่ปุยจิ่ว เพราะๆฝึกจิตใจให้สงบ ฝึกสมาธิเพื่อผ่อนคลาย
แล้วให้
นักเรียนนั่งประจำอยู่ที่โต๊ะนักเรียนหลับตาพร้อมทั้งสูดลมหายเข้า - ออก ลึกๆ ประมาณ ๑-๒ นาที
๒. ครูกระตุ้นด้วย Brain Gym (แบบสลับข้างท่างูใหญ่กับสุนัขจิ้งจอก , ท่าจีบแอล)
3.๒ ขั้นกิจกรรม
๑. ครูส่งกล่องอุปกรณ์ที่มีกระดาษให้นักเรียนส่งต่อๆกันไปเมื่อได้รับกระดาษครบทุกคนก่อนที่จะ
รับกล่องอุปกรณ์ทุกคนจะไหว้ขอบคุณกันอย่างนอบน้อมทั้งคนรับและคนส่งแล้วครูเปิดเพลง “วันเดือนปี”
ให้นักเรียนรับฟัง
๒. ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด (ในแต่ละคำถาม นักเรียนจะร่วมแสดงความคิดเห็น 3-4 คน)
”นักเรียนเคยมีวีรกรรมใดที่ทำกับเพื่อนแล้วส่งผลให้เพื่อนโกรธมากที่สุดจนทำให้เรารู้สึกผิด?”
“ถ้าอยากบอกเพื่อนต่อการกระทำในครั้งนั้นอยากจะบอกอะไรเพื่อน?”
๓. นักเรียนเขียนเรื่องราวบรรยาย ลงในสมุดบันทึกความทรงจำแห่งปัญญาภายใน
๔. นักเรียนนำเสนอผลงาน
๕ เรียนเก็บผลงานและอุปกรณ์ใส่ตะกร้า โดยเริ่มจากคนที่มีตะกร้าอยู่ด้านหลัง และส่งต่อให้
เพื่อนทีละคนจนมาถึงคุณครู
๖. ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด
“นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากกิจกรรมนี้ และตลอดกิจกรรมที่ได้ร่วมเรียนรู้ นักเรียนเกิดความคิด
อะไรบ้าง?”
18
๗. นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น
๘. ครูพูด Empower ชื่นชม เสริมแรง ขอบคุณทุกสรรพสิ่ง
3.3 บันทึกหลังกิจกรรม (ผลสำเร็จ/ปัญหา/ข้อเสนอแนะ)
หลังทำกิจกรรมพบว่านักเรียนทุกคนสนใจในกิจกรรม มิตรภาพที่สวยงาม มีสติ จดจ่อกับสิ่งที่ฟัง
เห็นความเชื่อมโยงเรื่องราวของตนเองและผู้อื่น ฝึกการมีสติ มีสมาธิในการจดจ่อ แบ่งปันความรู้สึกและ
ปรารถนาดีต่อผู้อื่น สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้ เคารพคุณค่าของตนเองและผู้อื่น
ลงชื่อ
..............................................................
(นางโสภิญญา ดารา)
ผู้บันทึกกิจกรรม
วันเดือนปี
19
ภาพประกอบการจัดกิจกรรม Calm Classroom

More Related Content

What's hot

สารบัญภาษาไทย
สารบัญภาษาไทยสารบัญภาษาไทย
สารบัญภาษาไทย
Poppy Nana
 
41ตัวอย่าง เครื่องมือประเมินรายมาตรฐาน
41ตัวอย่าง เครื่องมือประเมินรายมาตรฐาน41ตัวอย่าง เครื่องมือประเมินรายมาตรฐาน
41ตัวอย่าง เครื่องมือประเมินรายมาตรฐาน
Pochchara Tiamwong
 
ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม
ปรัชญาพิพัฒนาการนิยมปรัชญาพิพัฒนาการนิยม
ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม
Proud N. Boonrak
 
ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลาม
พัน พัน
 
โวหารในการเขียน
โวหารในการเขียนโวหารในการเขียน
โวหารในการเขียน
krubuatoom
 
สถาบันทางการเมือง
สถาบันทางการเมืองสถาบันทางการเมือง
สถาบันทางการเมือง
kroobannakakok
 

What's hot (20)

การอ้างอิงทางวิชาการ
การอ้างอิงทางวิชาการการอ้างอิงทางวิชาการ
การอ้างอิงทางวิชาการ
 
Case study โรคลม
Case study โรคลมCase study โรคลม
Case study โรคลม
 
โครงงานพวงกุญแจผ้าสักหลาด
โครงงานพวงกุญแจผ้าสักหลาดโครงงานพวงกุญแจผ้าสักหลาด
โครงงานพวงกุญแจผ้าสักหลาด
 
หัวใจชายหนุ่ม
หัวใจชายหนุ่มหัวใจชายหนุ่ม
หัวใจชายหนุ่ม
 
มาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
มาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน  มาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
มาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
 
ใบความรู้ สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 1+443+dltvsocp3+T1 p1 3-sheet
ใบความรู้  สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 1+443+dltvsocp3+T1 p1 3-sheetใบความรู้  สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 1+443+dltvsocp3+T1 p1 3-sheet
ใบความรู้ สังคม ป.1-3 ภาคเรียนที่ 1+443+dltvsocp3+T1 p1 3-sheet
 
สารบัญภาษาไทย
สารบัญภาษาไทยสารบัญภาษาไทย
สารบัญภาษาไทย
 
1.แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน (1)
1.แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน (1)1.แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน (1)
1.แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน (1)
 
พฤติกรรมการมาสาย
พฤติกรรมการมาสายพฤติกรรมการมาสาย
พฤติกรรมการมาสาย
 
41ตัวอย่าง เครื่องมือประเมินรายมาตรฐาน
41ตัวอย่าง เครื่องมือประเมินรายมาตรฐาน41ตัวอย่าง เครื่องมือประเมินรายมาตรฐาน
41ตัวอย่าง เครื่องมือประเมินรายมาตรฐาน
 
แบบประเมิน ความพึงพอใจ
แบบประเมิน ความพึงพอใจแบบประเมิน ความพึงพอใจ
แบบประเมิน ความพึงพอใจ
 
ผังมโนทัศน์ สังคม ป.4-6+494+dltvsocp6+T2 p4 6-soc_mindmap
ผังมโนทัศน์ สังคม ป.4-6+494+dltvsocp6+T2 p4 6-soc_mindmapผังมโนทัศน์ สังคม ป.4-6+494+dltvsocp6+T2 p4 6-soc_mindmap
ผังมโนทัศน์ สังคม ป.4-6+494+dltvsocp6+T2 p4 6-soc_mindmap
 
ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม
ปรัชญาพิพัฒนาการนิยมปรัชญาพิพัฒนาการนิยม
ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม
 
ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลาม
 
พุทธสาวก : พระราธะ ส16101 ป.6
พุทธสาวก :  พระราธะ  ส16101 ป.6พุทธสาวก :  พระราธะ  ส16101 ป.6
พุทธสาวก : พระราธะ ส16101 ป.6
 
คู่มือ PCA เล่มฟ้า
คู่มือ PCA  เล่มฟ้าคู่มือ PCA  เล่มฟ้า
คู่มือ PCA เล่มฟ้า
 
โวหารในการเขียน
โวหารในการเขียนโวหารในการเขียน
โวหารในการเขียน
 
สถาบันทางการเมือง
สถาบันทางการเมืองสถาบันทางการเมือง
สถาบันทางการเมือง
 
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ โรงเรียน...
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ  โรงเรียน...คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ  โรงเรียน...
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ โรงเรียน...
 
ปรัชญาตะวันตก บทที่ ๕ ปรัชญากรีกสมัยรุ่งเรื่อง
ปรัชญาตะวันตก บทที่ ๕ ปรัชญากรีกสมัยรุ่งเรื่องปรัชญาตะวันตก บทที่ ๕ ปรัชญากรีกสมัยรุ่งเรื่อง
ปรัชญาตะวันตก บทที่ ๕ ปรัชญากรีกสมัยรุ่งเรื่อง
 

Similar to วิจัยห้องเรียนแห่งสติ.pdf

สุขศึกษา พลศึกษา ม.ปลาย ทช31002
สุขศึกษา พลศึกษา ม.ปลาย ทช31002สุขศึกษา พลศึกษา ม.ปลาย ทช31002
สุขศึกษา พลศึกษา ม.ปลาย ทช31002
Thidarat Termphon
 
สิ่งพิมพ์12
สิ่งพิมพ์12สิ่งพิมพ์12
สิ่งพิมพ์12
PaChArIn27
 
จุลสารโครงงานสุขภาพ
จุลสารโครงงานสุขภาพจุลสารโครงงานสุขภาพ
จุลสารโครงงานสุขภาพ
tassanee chaicharoen
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
Wichai Likitponrak
 
แผนการเรียนรู้บูรณาการ
แผนการเรียนรู้บูรณาการแผนการเรียนรู้บูรณาการ
แผนการเรียนรู้บูรณาการ
tassanee chaicharoen
 

Similar to วิจัยห้องเรียนแห่งสติ.pdf (20)

Isstrain
IsstrainIsstrain
Isstrain
 
Ngan ku krongrang1
Ngan ku krongrang1Ngan ku krongrang1
Ngan ku krongrang1
 
Ngan ku krongrang1
Ngan ku krongrang1Ngan ku krongrang1
Ngan ku krongrang1
 
นิ่ง
นิ่งนิ่ง
นิ่ง
 
ชุดส่งเสริมการเรียนรู้เวิชาสุขศึกษา ม.2
ชุดส่งเสริมการเรียนรู้เวิชาสุขศึกษา ม.2ชุดส่งเสริมการเรียนรู้เวิชาสุขศึกษา ม.2
ชุดส่งเสริมการเรียนรู้เวิชาสุขศึกษา ม.2
 
เรื่อง การดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
เรื่อง  การดำรงชีวิตอย่างมีความสุขเรื่อง  การดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
เรื่อง การดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
 
สุขศึกษา พลศึกษา ม.ปลาย ทช31002
สุขศึกษา พลศึกษา ม.ปลาย ทช31002สุขศึกษา พลศึกษา ม.ปลาย ทช31002
สุขศึกษา พลศึกษา ม.ปลาย ทช31002
 
ทักษะการขอความช่วยเหลือ
ทักษะการขอความช่วยเหลือทักษะการขอความช่วยเหลือ
ทักษะการขอความช่วยเหลือ
 
การดูแลสุขภาพในวัยรุ่น
การดูแลสุขภาพในวัยรุ่นการดูแลสุขภาพในวัยรุ่น
การดูแลสุขภาพในวัยรุ่น
 
แผนการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
แผนการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพแผนการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
แผนการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
 
สิ่งพิมพ์12
สิ่งพิมพ์12สิ่งพิมพ์12
สิ่งพิมพ์12
 
จิตวิทยาการแนะแนวและการให้คำปรึกษา
จิตวิทยาการแนะแนวและการให้คำปรึกษาจิตวิทยาการแนะแนวและการให้คำปรึกษา
จิตวิทยาการแนะแนวและการให้คำปรึกษา
 
แผนการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
แผนการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพแผนการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
แผนการเรียนรู้ เรื่อง โภชนาการกับสุขภาพ
 
Ha forum20
Ha forum20Ha forum20
Ha forum20
 
จุลสารโครงงานสุขภาพ
จุลสารโครงงานสุขภาพจุลสารโครงงานสุขภาพ
จุลสารโครงงานสุขภาพ
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง วิวัฒนาการ
 
โครงงานคอมเทอม2
โครงงานคอมเทอม2โครงงานคอมเทอม2
โครงงานคอมเทอม2
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘
 
แผนการเรียนรู้บูรณาการ
แผนการเรียนรู้บูรณาการแผนการเรียนรู้บูรณาการ
แผนการเรียนรู้บูรณาการ
 
วัยใส ใส่ใจสุขภาพ
วัยใส ใส่ใจสุขภาพวัยใส ใส่ใจสุขภาพ
วัยใส ใส่ใจสุขภาพ
 

More from SophinyaDara

เอกสารประกอบการพิจารณาส่งเสริมและคัดเลือกนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี
เอกสารประกอบการพิจารณาส่งเสริมและคัดเลือกนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดีเอกสารประกอบการพิจารณาส่งเสริมและคัดเลือกนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี
เอกสารประกอบการพิจารณาส่งเสริมและคัดเลือกนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี
SophinyaDara
 
ภาพหน้าปกแบบขอรับรางวัลคุรุชนคนคุณธรรม ครูโสภิญญา
ภาพหน้าปกแบบขอรับรางวัลคุรุชนคนคุณธรรม ครูโสภิญญาภาพหน้าปกแบบขอรับรางวัลคุรุชนคนคุณธรรม ครูโสภิญญา
ภาพหน้าปกแบบขอรับรางวัลคุรุชนคนคุณธรรม ครูโสภิญญา
SophinyaDara
 
แบบรายงานคุรุชนคนคุณธรรม เครดิตโดยครูโสภิญญา
แบบรายงานคุรุชนคนคุณธรรม เครดิตโดยครูโสภิญญาแบบรายงานคุรุชนคนคุณธรรม เครดิตโดยครูโสภิญญา
แบบรายงานคุรุชนคนคุณธรรม เครดิตโดยครูโสภิญญา
SophinyaDara
 

More from SophinyaDara (13)

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ gpas 5 step ภาษาไทย.docx
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ gpas 5 step ภาษาไทย.docxหน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ gpas 5 step ภาษาไทย.docx
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ gpas 5 step ภาษาไทย.docx
 
แบบรายงานการสร้างนวัตกรรม โสภิญญา.pdf
แบบรายงานการสร้างนวัตกรรม โสภิญญา.pdfแบบรายงานการสร้างนวัตกรรม โสภิญญา.pdf
แบบรายงานการสร้างนวัตกรรม โสภิญญา.pdf
 
วิจัยห้องเรียนแห่งสติ.pdf
วิจัยห้องเรียนแห่งสติ.pdfวิจัยห้องเรียนแห่งสติ.pdf
วิจัยห้องเรียนแห่งสติ.pdf
 
ปกโครงงานคุณธรรม
ปกโครงงานคุณธรรมปกโครงงานคุณธรรม
ปกโครงงานคุณธรรม
 
เอกสารประกอบการพิจารณาส่งเสริมและคัดเลือกนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี
เอกสารประกอบการพิจารณาส่งเสริมและคัดเลือกนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดีเอกสารประกอบการพิจารณาส่งเสริมและคัดเลือกนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี
เอกสารประกอบการพิจารณาส่งเสริมและคัดเลือกนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี
 
บทเพลงบอกเรื่องราว
บทเพลงบอกเรื่องราวบทเพลงบอกเรื่องราว
บทเพลงบอกเรื่องราว
 
รายงานผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาxu 256464
รายงานผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาxu 256464รายงานผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาxu 256464
รายงานผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาxu 256464
 
ภาพหน้าปกแบบขอรับรางวัลคุรุชนคนคุณธรรม ครูโสภิญญา
ภาพหน้าปกแบบขอรับรางวัลคุรุชนคนคุณธรรม ครูโสภิญญาภาพหน้าปกแบบขอรับรางวัลคุรุชนคนคุณธรรม ครูโสภิญญา
ภาพหน้าปกแบบขอรับรางวัลคุรุชนคนคุณธรรม ครูโสภิญญา
 
เผยแพร่แผนการจัดการเรียนรู้วิชาหลักภาษาไทย ม.5 โดยครูโสภิญญา
เผยแพร่แผนการจัดการเรียนรู้วิชาหลักภาษาไทย ม.5 โดยครูโสภิญญาเผยแพร่แผนการจัดการเรียนรู้วิชาหลักภาษาไทย ม.5 โดยครูโสภิญญา
เผยแพร่แผนการจัดการเรียนรู้วิชาหลักภาษาไทย ม.5 โดยครูโสภิญญา
 
แบบรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โสภิญญา
แบบรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โสภิญญาแบบรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โสภิญญา
แบบรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โสภิญญา
 
เกมตอบได้ให้เลย เครดิตโดยครูโสภิญญา..
เกมตอบได้ให้เลย เครดิตโดยครูโสภิญญา..เกมตอบได้ให้เลย เครดิตโดยครูโสภิญญา..
เกมตอบได้ให้เลย เครดิตโดยครูโสภิญญา..
 
รายงานการอบรมออนไลน์หน้าเดียวทักษะการสอนออนไลน์ของ สพฐ.วันที่- 14-15 สิงหาคม ...
รายงานการอบรมออนไลน์หน้าเดียวทักษะการสอนออนไลน์ของ สพฐ.วันที่- 14-15 สิงหาคม ...รายงานการอบรมออนไลน์หน้าเดียวทักษะการสอนออนไลน์ของ สพฐ.วันที่- 14-15 สิงหาคม ...
รายงานการอบรมออนไลน์หน้าเดียวทักษะการสอนออนไลน์ของ สพฐ.วันที่- 14-15 สิงหาคม ...
 
แบบรายงานคุรุชนคนคุณธรรม เครดิตโดยครูโสภิญญา
แบบรายงานคุรุชนคนคุณธรรม เครดิตโดยครูโสภิญญาแบบรายงานคุรุชนคนคุณธรรม เครดิตโดยครูโสภิญญา
แบบรายงานคุรุชนคนคุณธรรม เครดิตโดยครูโสภิญญา
 

วิจัยห้องเรียนแห่งสติ.pdf

  • 1. รายงานการวิจัยในชั้นเรียน เรื่องผลการจัดกิจกรรม Calm Classroom ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนโกสัมพีวิทยา ของ นางโสภิญญา ดารา ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนโกสัมพีวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
  • 2. 2 รายงานการวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง ผลการจัดกิจกรรม Calm Classroom ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3/2 โรงเรียนโกสัมพีวิทยา ความสำคัญของปัญหาการวิจัย เนื่องจากโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้บุคคลต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถ ดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนที่เกิดขึ้น บุคคลที่ไม่สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับการ เปลี่ยนแปลงได้ ย่อมส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพจิตของบุคคลเหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยรุ่น โดยวัยรุ่น ที่สามารถรับรู้ว่าตนเองนั้นเหมาะสมกับอะไรในแต่ละสภาวะ ย่อมทำให้เป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ดี สามารถ ตัดสินใจที่ถูกต้องมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน วัยรุ่นที่ขาดการตระหนักรู้ต่อตนเองขาดสติในการทำงาน หรือการตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันนั้น จะทำให้สับสนเกี่ยวกับตนเอง ไม่ สามารถแสดงบทบาทที่เหมาะสมกับตนเองได้อย่างถูกต้อง ขาดความเป็นตัวของตัวเอง ไม่ว่าจะในด้าน ของการดำรงชีวิตในครอบครัว เพื่อน หรือสภาพแวดล้อมที่ตนเองทำงาน ส่งผลให้มีปัญหาบุคลิกภาพ และ ไม่สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข ดังนั้นการตระหนักรู้ต่อตนเอง ต่อการมีสติในการพิจารณาไตร่ตรอง ในด้านต่างๆ จึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิต ในสังคมปัจจุบัน (เรวัต เงินเย็น, กิตติศักดิ์ นิวรัตน์ และปริมินทร์ อริเดช, 2558, น. 184-185; นาถยา คงขาว, 2559, น. 1) ซึ่งการตระหนักรู้ ต่อตนเอง (Self-awareness) จัดเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความฉลาดทางอารมณ์ โดยเป็นความสามารถ ในการรู้จักและเข้าใจตนเอง ประกอบด้วย 1) ตระหนักรู้อารมณ์ของตนเอง คือความสามารถในการรับรู้ อารมณ์ ความรู้สึก ความคิดของตนเองตามความเป็นจริง 2) การประเมินตนเองตามความเป็นจริง คือ ความสามารถในวิเคราะห์ตนเองตามสภาพความเป็นจริง สามารถบอกถึงจุดแข็งและข้อจำกัดของตนเอง ได้ตามความเป็นจริง และ 3) ความมั่นใจในตนเอง การรับรู้ว่าตนเองมีคุณค่า มีความสำคัญ สามารถ ประสบความสำเร็จได้ด้วยตัวเอง มีจุดยืนในตัวเอง กล้ายืนยันในความคิดของตนเอง (Goleman, 1998, pp. 54-72) จากการที่ผู้วิจัยได้เป็นครูในระบบดูแลและช่วยเหลือผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ในโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษา พบว่าผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนโกสัมพีวิทยา ที่ผู้วิจัยได้รับผิดชอบดูแล นั้น ส่วนมากยังขาดความสามารถในการตระหนักรู้ต่อตนเอง และการมีสติ โดยพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ มักขาดความสามารถในการรับรู้อารมณ์ ความรู้สึก ความคิดของตนเองที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง และยัง พบอีกว่านักเรียนบางส่วนไม่มีความมั่นใจในตนเอง จนทำให้ไม่กล้าที่จะแสดงออก ไม่ค่อยให้ความร่วมมือ ในการเรียนการสอนหรือการทำกิจกรรมของโรงเรียน โดยเมื่อสัมภาษณ์นักเรียนเหล่านั้น ทำให้ได้ข้อมูล เพิ่มเติมว่า นักเรียนไม่ทราบว่าตนเองมีส่วนดีอะไรบ้างและที่ไม่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็น เพราะคิดว่าตนเองจะไม่สามารถทำได้ดีและมีคนที่สามารถทำได้เก่งกว่าตนเองมากนั้นเอง วัยรุ่นเป็นวัยที่มี การเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจเป็นอย่างมากเป็นวัยที่มีจิตใจเปราะบาง ซึ่งปัญหาหลายๆสิ่ง หลายอย่างที่เข้ามาถาโถมในชีวิต สามารถส่งผลกระทบต่อทั้งทางร่างกายและจิตใจได้ และต้องพยายาม ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เพราะวัยรุ่นเป็นวัยเปลี่ยนผ่านจากวัยเด็กกำลังจะก้าวสู่วัยผู้ใหญ่ มักจะเผชิญกับสถานการณ์ที่ท้าทายความสามารถ จึงจะเกิดความเครียดได้ง่ายเนื่องจากเป็นวัยอยากรู้ อยากลอง หรือที่เราเรียกว่าวัยพายุ บุแคม สิ่งที่ทำให้วัยรุ่นประมาทในการดำเนินชีวิตมี ๓ สาเหตุ คือ (๑) ปัญหาที่เกิดจากตัว ของวัยรุ่นเอง (๒) ปัญหาที่เกิดจากครอบครัว และ (๓) ปัญหาที่เกิดจาก
  • 3. 3 สภาพแวดล้อมทางสังคม ปัจจุบันส่งผลกระทบให้สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ประกอบกับ เทคโนโลยีเข้าถึงวัยรุ่นรวดเร็ว ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ ในปัจจุบันก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในสังคมไทย เนื่องมาจากความทันสมัย และ ความก้าวหน้าทุก ๆ ด้านซึ่งบทบาทที่ สำคัญต่อการแสดงพฤติกรรมทั้งด้านร่างกาย และ จิตใจในชีวิตประจำวันของคนในสังคมไทย สภาพสังคม ที่เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสยุค ความปกติวิถีใหม่ ปัจจุบันบุคคลให้ความสำคัญกับวัตถุเป็นอย่างมากจึง แสวงหาวัตถุต่าง ๆ มาสนองความต้องการของตนเองโดยมิได้สนใจว่าจะทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนอย่างไร ส่งผล ให้เกิดปัญหาเช่นปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่น ความเครียดความรุนแรงในสังคม ความก้าวร้าวต่างเป็นสาเหตุของการทำให้บุคคลในสังคมไม่มีความสุข ภาพข่าวที่ปรากฏในสื่อหลักของไทยส่วนใหญ่ข่าวเด็กและเยาวชนไทยถูกละเมิด ถูกกลั่นแกล้งถูกกระทำ ความรุนแรงประกอบกับการเลี้ยงลูกของพ่อแม่ยุคใหม่ที่รักลูกแบบไม่ถูกทาง ส่งผลกระทบให้เด็กและ เยาวชนมีสติและสมาธิไม่มั่นคงในการเรียนและการใช้ชีวิตประจำวัน และผู้เรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3/2 เองก็เช่นกัน นักเรียนส่วนใหญ่อยุ่ในช่วงวัยรุ่น อายุ 14-15 ปี เป็นวัยที่มีอารมณ์รุนแรง เริ่มก้าวร้าว เอา แต่ใจตนเองเป็นใหญ่ กล้าแสดงออกในทางที่ผิด ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้จัดกิจกรรม Calm Classroom หรือ ห้องเรียนแห่งสติขึ้นมาเพื่อใช้ในการปรับสภาพจิตใจ อารมณ์ พฤติกรรมที่ก้าวร้าว และการตระหนักรู้ ตนเองของผู้เรียนว่าอะไรควร อะไรไม่ควรประพฤติ ปฏิบัติ ของนักเรียนให้ปรับลดลง และค่อยๆลดจน ปราศจากพฤติกรรมเหล่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อตัวของพวกเขาจะได้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคม ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน พ่อ แม่ ญาติพี่น้อง หรือคนรอบข้างหรือในชุมชนที่เขาอยู่ และดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข ความสำคัญของสติ ท่าน ว.วชิรเมธี ได้กล่าวไว้ในบทความ“สติ” รากฐานมั่นคงชีวิต สร้างสุข ภาวะทางใจ “สติ” เป็นสิ่งสําคัญมากในการดําเนินชีวิต เวลาที่เราทุกข์ ถ้าเราขาดสติ เราจะคิดว่าเราทุกข์ อยู่คนเดียว แต่ถ้าเรามีสติ เราจะเข้าใจว่า เรามีเพื่อนร่วมทุกข์มากมาย เราจะแบ่งปันเรื่องราวความทุกข์ ของเราให้ผู้อื่นฟัง ซึ่งจะทําให้ทุกข์ในหัวใจของเราเบาบางลง สติทําให้เรารู้จักคิด รู้จักยับยั้งชั่งใจ ทําให้เรา มองหาหนทางที่ถูกต้องสําหรับชีวิต และทําให้เราหาหนทางออกจากวิกฤตได้ทุกครั้ง “ ( ว.วชิรเมธี ,2563, https://www.thaihealth.or.th/Content/) และโสภณ ศุภมั่งมี ได้กล่าวไว้ในบทความ ความสำคัญของ ‘สติ’ ในโลกปัจจุบัน”การมีสติอธิบายง่ายๆ ก็คือการอยู่กับปัจจุบัน ไม่ยึดติดกับอดีต ไม่ กังวลกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง มันไม่ใช่การปล่อยวาง หรือไม่คิดอะไรเลย แต่เป็นการโฟกัสความสนใจของ เราให้กับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า หรือ ‘Now’ เพียงอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เราเห็น รู้สึก ได้กลิ่น รส สัมผัส ในตอนนี้เพียงเท่านั้นแต่ ‘สติ’ ก็ยังถือเป็นเครื่องมือหรือเทคนิคที่หลายล้านคนบนโลกใบนี้ใช้เพื่อจัดการ กับความเครียดและแรงกดดันในชีวิตที่ต้องเผชิญอยู่ทุกวี่วัน คำถามคือแล้วมันเหมาะกับเรารึเปล่า? มัน เป็นแค่เทรนด์ที่มาแล้วก็หายไปเหมือนหลายๆ อย่างใช่หรือไม่? คงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะคิดแบบนั้นเพราะ เทรนด์หลายอย่างเกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็ว (โสภณ ศุภมั่งมี,2564,https://gqthailand.com) ปัจจุบันการฝึกสติ (Mindfulness) เป็นศาสตร์ทางตะวันออกที่มาจากคำสอนทางพระพุทธศาสนา ซึ่ง สามารถฝึกปฏิบัติได้ไม่เกี่ยวกับความเชื่อหรือศาสนา กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในหมู่ คนดัง ไม่ว่าจะเป็น ไทเกอร์ วู้ดฟิลิป แจ็กสันโอปราห์ วินฟรีย์ เป็นต้น (Gonzalez & Byron, 2010, pp.10) หรือแม้แต่ในระดับองค์กรก็มีการนำศาสตร์การฝึกสติมาใช้ในการฝึกอบรมพนักงาน เช่น บริษัท กูเกิล (Google) ได้ใช้โปรแกรมการฝึกสติที่ชื่อ Search Inside yourself ฝึกฝนพนักงาน โดยการใช้สติ ติดตามดูลมหายใจ วันละ 1-2 นาที (สุวัฒน์ ธนกรนุวัฒน์, สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต และสิริวัฒน์ ศรีเครือ ดง, 2562, น. 202) โดยการฝึกสตินั้นเป็นการระลึกรู้เท่าทันกายและใจของตนเองตามความเป็นจริงใน
  • 4. 4 ปัจจุบันขณะตามสภาวะของจิตตื่นรู้ (Awareness of the change in one’s body and mind) (แผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต, 2559, น. 19) ทั้งนี้ การฝึกสติ ไม่ใช่เพียงแต่การนั่งทำ สมาธิเท่านั้น หากมีกิจกรรมที่หลากหลายที่สามารถนำมาใช้ในการฝึกสติได้ (วิเชียร ไชยบัง, 2558, น. 179) ทำให้ผู้วิจัยมีมุมมองว่า ถ้านักเรียนได้รับการฝึกสติ ก็ย่อมส่งผลให้นักเรียนมีความสามารถในการ ควบคุมตนเองจากภายในจิตใจ สามารถที่จะรู้ทันความคิดหรืออารมณ์ที่เกิดขึ้น จนส่งผลให้เกิดความ ตระหนักรู้เข้าใจต่อตนเองต่อการมีสติในที่สุด จากเหตุที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะนำเทคนิค การฝึกสติมาใช้ร่วมกับการจัดกิจกรรม Calm Classroom ได้แก่ การบริหารสมอง (Brain Gym) การนั่ง สร้างจังหวะตามแนวทางของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ การเดินอย่างมีสติการฝึกสติโดยการนับ และการฝึก สติในชีวิตประจำวัน เพื่อพัฒนาการตระหนักรู้ต่อตนเองต่อการมีสติในผู้เรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3/๒ โรงเรียนโกสัมพีวิทยา จังหวัดกำแพงเพชร จากพฤติกรรมของ ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 แต่เดิมผู้เรียนส่วนใหญ่ ยังมีปัญหาพฤติกรรม ผู้เรียนที่ไม่พึงประสงค์ในเรื่องการทะเลาะวิวาท ก้าวร้าว การพูดเท็จ และการเสพสิ่งเสพติด การมาสาย หนีเรียน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้จาการสังเกตพฤติกรรมผู้เรียนและการสัมภาษณ์ครูผู้สอน ครูฝ่ายปกครอง ผู้ปกครองผู้เรียน และผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 สำหรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของผู้เรียนควร ได้รับการแก้ไขและพัฒนา ด้วยกิจกรรม Calm Classroom การฝึกสติและสมาธิเป็นประจำสมํ่าเสมอจะ ช่วยป้องกัน บรรเทาและบำบัดอาการเจ็บป่วยได้อย่างหลากหลายเช่น ความวิตกกังวลอาการซึมเศร้าโรค ตื่นตระหนกหรือโรคแพนิค(Panicdisorder)การติดสารเสพติดหากนำการพัฒนาสติและสมาธิไปใช้ใน องค์กรแล้วพนักงานที่ได้ฝึกสติและสมาธิจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น จะเห็นได้ว่าจิตในขณะที่ มีสติจะทำงานโดยไม่วอกแวกและควบคุมอารมณ์และความคิดได้ ส่วนจิตในขณะที่มีสมาธิจะหยุดคิดจน เกิดความสงบและผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจแต่ทั้งสติและสมาธิต่างก็มีความสัมพันธ์และเกื้อกูลกัน นั่นคือเมื่อจิตออกจากสมาธิแล้วย่อมมีสติได้ง่าย และการฝึกสติเป็นประจำก็จะทำ ให้ฝึกสมาธิได้โดยไม่ ลำบากช่วยให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความขัดแย้งระหว่างกัน และเสริมสร้างความสุขให้ มากขึ้นทั้งในระดับบุคคลองค์กรครอบครัวและชุมชนต่อไปด้วย(นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานต,2560, น.8) โรงเรียนโกสัมพีวิทยาได้ตระหนักถึงความสำคัญของ การใช้กิจกรรม Calm Classroom ในการปรับ พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของผู้เรียน ดังนั้นจึงจัดทำโครงการโรงเรียนแห่งความสุข และเล็งเห็นว่าการ พัฒนาสติจะนำไปสู่ความสุข ดังจะเห็นได้จากแนวคิดของ นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานต ที่ได้อธิบาย ในหนังสือเรื่อง สร้างสุขด้วยสติในองค์กร เอาไว้ว่าการพัฒนาจิตในความเข้าใจของคนส่วนใหญ่จะถือเป็น เรื่องของปัจเจกบุคคลและเกี่ยวข้องโดยตรงกับศาสนา แต่ความเปลี่ยนแปลงของสังคมปัจจุบันทำ ให้ความ ต้องการพัฒนาจิตมีความหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาจิตในรูปแบบที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของ สังคมเมือง ความต้องการคำอธิบายในเชิงเหตุผล เช่น การทำงานของสมองรวมทั้งกระบวนการเรียนรู้ที่ ทันสมัยให้เกิดองค์ความรู้และวิธีในการพัฒนาจิตขึ้นมากมาย แต่ส่วนใหญ่ก็จะมีพื้นฐานมาจากพุทธรรม เป็นสำคัญ ดังนั้น เมื่อมีความสุขแล้วจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี รวมถึงได้จัดอบรมพัฒนาครูเพื่อพัฒนา สติให้กับผู้เรียน โดยผศ.ดร.จักรกฤษณ์ จันทะคุณ นักวิจัย จากคณะศึกษาฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เสนอ แนวคิด Calm classroom ให้ครูประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน กิจกรรม Calm Classroom Mindfulness จะ ช่วยพัฒนาสติของผู้เรียนในให้ปราศจากปัญหาพฤติกรรมผู้เรียนที่ไม่พึงประสงค์ดังกล่าว
  • 5. 5 จากความสำคัญปัญหา และแนวคิดข้างต้น ผู้วิจัยจึงสนใจพัฒนากิจกรรม Calm Classroom ของ ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3/2 โรงเรียนโกสัมพีวิทยา เพื่อพัฒนาลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนด้วย การฝึกสติก่อนที่จะเรียนในคาบต่อไป คำถามการวิจัย กิจกรรม Calm Classroom จะช่วยให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 มีสติดีขึ้นหรือไม่ อย่างไร หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรม Calm Classroom ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ได้แผนการกิจกรรม Calm Classroom สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3/2 2. นักเรียนมีสติเกี่ยวกับการเรียน เพิ่มมากขึ้น ตระหนักรู้ต่อตนเอง มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ภายในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนดีขึ้น อีกทั้งยังมีความสนใจในการเรียนมากขึ้น มีความสุขในการเรียน มากขึ้นเป็นผลสืบเนื่องจากการมีสติ 3. ได้แนวทางในการจัดกิจกรรม Calm Classroomสำหรับครูนำไปใช้ในจัดกิจกรรมแห่งสติ สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ตัวแปรที่ศึกษา ผลการจัดกิจกรรม Calm Classroom ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 วิธีดำเนินการวิจัย รูปแบบการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Reseach) 1. กลุ่มเป้าหมาย นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนโกสัมพีวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง 2. เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 1. แผนการจัดกิจกรรม กิจกรรม Calm Classroom จำนวน 80 กิจกรรม โดย ประยุกต์จาก ดร.จอน คาแบต-ซินน์ ผสมผสานการฝึกสติ ความสำนึกในร่างกาย เพื่อช่วยให้มีสติเพิ่มขึ้น (Pickert K (2014-02). ) รวมถึงใช้เทคนิคจากแนวคิดพระพุทธศาสนา คือหลักสติปัฏฐาน 4 ที่มี 4 ลักษณะ ได้แก่
  • 6. 6 วัน ชื่อกิจกรรม แนวทางการจัดกิจกรรม Calm Classroom กระบวนการ สื่อ/อุปกรณ์ วันจันทร์ กิจกรรม ภาพมี ชีวิต 1. Breathing มีสติอยู่ กับลมายใจ 2. Relaxation มีสติกับ การผ่อนคลาย 3. Sketching มีสติกับ การยืด เหยียด หรือการ เคลื่อนไหว 4. Focusing มีสติกับ การจดจ่อ ขั้นนำ: ๑. หายใจเข้าค้างไว้นับ ๔ หายใจนับ ๔ ๒. โดยใช้เพลงสปาเบาๆ เพื่อความผ่อนคลาย ๓. ทำ Brain Gym ๓ ท่า ขั้นกิจกรรม: วา 1. วาดภาพที่ตนเองชื่น ชอบลงในกระดาษ พร้อม ตั้งชื่อภาพนั้น 2. นำเสนอภาพที่ตนเอง วาด ว่าคือภาพอะไร และ ทำไมถึงวาดภาพนี้ ขั้นจบ : ขอบคุณกันและ กัน 1. เพลงสปา 2. กระดาษ วันอังคาร กิจกรรม ฮีโร่อยู่ใน ตัวคุณเอง 1. Breathing มีสติอยู่ กับลมายใจ 2. Relaxation มีสติกับ การผ่อนคลาย 3. Sketching มีสติกับ การยืด เหยียด หรือการ เคลื่อนไหว 4. Focusing มีสติกับ การจดจ่อ ขั้นนำ: 1. หายใจเข้าค้างไว้นับ ๔ หายใจนับ ๔ 2. โดยใช้เพลงสปาเบาๆ เพื่อความผ่อนคลาย 3. Brain Gym แบบแตะ ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ขั้นกิจกรรม: 1. ตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนเคยมีฮีโรอยู่ใน ใจบ้างหรือไม่?” 2. เปิดเพลง “Hero” ซี่ง เป็นเพลงสากล มีเนื้อแปล เป็นไทยให้นักเรียน ฟังและดูคำแปล ตั้งคำถามกระตุ้นคิด “ นักเรียนรู้สึกว่าเพลงนี้ กำลังบอกอะไร ? ”/ แสดงความคิดเห็น
  • 7. 7 วัน ชื่อกิจกรรม แนวทางการจัดกิจกรรม Calm Classroom กระบวนการ สื่อ/อุปกรณ์ ขั้นจบ : ขอบคุณกันและ กัน 1. เพลงสปา 2. เพลงHero วันพุธ กิจกรรม ดอกไม้ บานในจินตนาการ ของฉัน 1. Breathing มีสติอยู่ กับลมายใจ 2. Relaxation มีสติกับ การผ่อนคลาย 3. Sketching มีสติกับ การยืด เหยียด หรือการ เคลื่อนไหว 4. Focusing มีสติกับ การจดจ่อ ขั้นนำ: 1. หายใจเข้าค้างไว้นับ ๔ หายใจนับ ๔ 2. โดยใช้เพลงสปาเบาๆ เพื่อความผ่อนคลาย 3. ทำท่าประกอบบทเพลง ดั่งดอกไม้บาน ขั้นกิจกรรม: 1. วาดรูปดอกไม้ใน จินตนาการของตนเองคน ละ ๑ รูป 2. นักเรียนนำเสนอ หน้าชั้น ขั้นจบ : ขอบคุณกัน และกัน 1. เพลงสปา 2. เพลงดั่ง ดอกไม้บาน วันพฤหัสบดี กิจกรรม รางวัล ของครู 1. Breathing มีสติอยู่ กับลมายใจ 2. Relaxation มีสติกับ การผ่อนคลาย 3. Sketching มีสติกับ การยืด เหยียด หรือการ เคลื่อนไหว 4. Focusing มีสติกับ การจดจ่อ ขั้นนำ: 1. หายใจเข้าค้างไว้นับ ๔ หายใจนับ ๔ 2. โดยใช้เพลงสปาเบาๆ เพื่อความผ่อนคลาย 3. Brain Gym เตรียม ความพรั่งพร้อมกาย-ใจ ด้วยเพลงสติ ขั้นกิจกรรม: 1. เปิดเพลง รางวัลของครู ให้นักเรียนชมและฟัง พร้อมทั้งร่วมกันร้อง 2. ตั้งคำถามให้นักเรียน สะท้อนคิดในประเด็นดังนี้ 1. เพลงสปา 2. เพลง รางวัลของครู ของปาน ธน พร 3. ใบสะท้อน คิด
  • 8. 8 วัน ชื่อกิจกรรม แนวทางการจัดกิจกรรม Calm Classroom กระบวนการ สื่อ/อุปกรณ์ 3. ตั้งคำถามให้นักเรียน สะท้อนคิดในประเด็นดังนี้ “เรารู้สึกอย่างไรหลังจาก ชมคลิปเพลงนี้?” “เราเรียนรู้อะไรจากเพลง นี้”“คลิปเพลงนี้มี ประโยชน์ต่อเราอย่างไร” 4. เขียนเพื่อสื่อความคิด และมุมมองของตนเอง 5. นำเสนอผลงาน ขั้นจบ : ขอบคุณกัน และกัน วันศุกร์ กิจกรรม อยู่ที่ เรียนรู้ 1. Breathing มีสติอยู่ กับลมายใจ 2. Relaxation มีสติกับ การผ่อนคลาย 3. Sketching มีสติกับ การยืด เหยียด หรือการ เคลื่อนไหว 4. Focusing มีสติกับ การจดจ่อ ขั้นนำ: 1. หายใจเข้าค้างไว้นับ ๔ หายใจนับ ๔ 2. โดยใช้เพลงสปาเบาๆ เพื่อความผ่อนคลาย 3. Brain Gym กับเพลง สติ พร้อมทั้งทำท่าทาง ขั้นกิจกรรม: 1. นักเรียนฟังเพลง อยู่ที่ เรียนรู้ ของ กมลา สุโกศล 2. ใช้คำถามกระตุ้นการ คิด นักเรียนเห็นอะไร รู้สึก อย่างไร สามารถเชื่อมโยง กับสถานการณ์ปัจจุบันได้ อย่างไร ขั้นจบ :ขอบคุณกันและกัน 1. เพลงสปา 2. เพลงอยู่ที่ เรียนรู้ ของ กมลา สุโกศล ผู้วิจัยค้นคว้าจากเอกสารของ ดร. จอน คาแบต-ซินน์ ผสมผสานการฝึกสติ ความสำนึกใน ร่างกาย เพื่อช่วยให้มีสติเพิ่มขึ้น (Pickert K (2014-02). ) แล้วนำมาสังเคราะห์ คัดเลือกที่เหมาะสมกับ นักเรียน หรือตรวจสอบความเหมาะสมจากผู้บริหาร คณะครู และผู้เชี่ยวชาญในชั่วโมง PLC แล้วปรับปรุง
  • 9. 9 จากนั้นนำไปทดลองฝึกกิจกรรม Calm Classroom นำไป PLC เพื่อแลกเปลี่ยนกับครูในการ ตัดสินใจเลือกรูปแบบกิจกรรมฝึกสติและนำไปใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ในช่วงเวลาก่อนเริ่ม การเรียนการสอนหรือ ช่วงกิจกรรม Home room โดยในการทำกิจกรรม Calm Classroom นั้นจะมี การสะท้อนคิด ซึ่งให้นักเรียนได้พูดหรือเขียนเกี่ยวกับความคิด ความรู้สึกที่นักเรียนได้ทำกิจกรรม จากนั้น นำการสะท้อนคิดเป็นข้อมูลและรวบรวมเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูล นำแผนการจัดกิจกรรม Calm Classroom ไปใช้ในช่วงก่อนเรียนในแต่ละรายวิชา เป็นเวลา ๒0 นาที 2. แบบสัมภาษณ์เพื่อศึกษาการมีสติ เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ๔ ฉบับ ได้แก่ ๑) แบบสัมภาษณ์เพื่อศึกษาการมีสติจากนักเรียน จำนวน ๒ ข้อ ๒) แบบสัมภาษณ์เพื่อศึกษาการมีสติ จากผู้ปกครอง จำนวน ๒ ข้อ และ๓) แบบสัมภาษณ์เพื่อศึกษาการมีสติจากครูผู้สอน จำนวน ๒ ข้อ ๔) แบบประเมินหลังเข้าร่วมกิจกรรมAAR (After Action Review: AAR) 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ตามขั้นตอนดังนี้ 1.นำกิจกรรมที่ออกแบบไปใช้กับนักเรียน ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ระหว่าง เดือน พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ถึงเดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เป็นเวลา ๑๖ สัปดาห์ 2. ระหว่างจัดกิจกรรมผู้วิจัยสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน ๓. หลังร่วมกิจกรรมให้นักเรียนทำแบบประเมิน AAR 4. สัมภาษณ์นักเรียน ครู ผู้ปกครองด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเพื่อศึกษาผลการ เปลี่ยนแปลง การวิเคราะห์ข้อมูล คณะผู้วิจัยนำข้อมูล จากการสัมภาษณ์ และการทำแบบประเมิน AAR มาสร้างข้อสรุปอุปนัย (Analytical Induction) ๑. ศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนด้วยกิจกรรม Calm Classroom ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๒ 2. การเปรียบเทียบพฤติกรรมของนักเรียนก่อนและหลังการทำกิจกรรม Calm Classroom ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๒ ผลการวิจัย ๑. ผู้วิจัยนำผลการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาการมีสติ ของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๒ จากการสัมภาษณ์นักเรียนนำมาสรุปภายหลังจากการจัดกิจกรรม Calm Classroom เป็นประเด็น ดังต่อไปนี้ ๑.๑ นักเรียนเห็นว่ากิจกรรมนี้มีความสำคัญ มีประโยชน์ต่อการฝึกสติ 1.2 นักเรียนมีสติ มีสมาธิมากขึ้น รู้จักควบคุมอารมณ์ ๑.3 นักเรียนมีความสามัคคี มีน้ำใจ ๑.4 นักเรียนมีระเบียบวินัยปฏิบัติตามข้อตกลงของห้องเรียน ๑.5 นักเรียนมีจิตอาสาเห็นคุณค่าในตนเอง และ ๑.6 มีความสุขในการเข้าร่วมกิจกรรม ดังข้อความที่นักเรียนสะท้อนว่า
  • 10. 10 “เป็นกิจกรรมที่ดี สร้างสมาธิและสติ รู้จักควบคุมอารมณ์ ควบคุมตนเองมีความขยันหมั่นเพียร การฝึกสติสร้างความสามัคคี มีน้ำใจรู้จักแบ่งปัน มีการพัฒนาด้านการเรียนมากขึ้นมีสัมพันธภาพที่ดีทั้งกับ ครูและเพื่อนเพิ่มมากขึ้น และมีความสุขการกับการทำกิจกรรม รู้สึกมีความสุขที่ครูเสียสละเวลาให้ความรู้ กับตน” (นักเรียนคนที่ ๕,๒๕๖๔); (นักเรียนคนที่ 13,๒๕๖๔); (นักเรียนคนที่ ๒๐,๒๕๖๔); (นักเรียนคนที่ ๒๓,๒๕๖๔); (นักเรียนคนที่ ๒4,๒๕๖๔) ๒. นักเรียนมีทักษะในการทำงานเป็นทีม มีความมั่นใจและกล้าแสดงออก มีความภาคภูมิใจใน ตนเอง ยอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในชั้นเรียน และมีความอ่อนน้อมถ่อมตนมากขึ้น ดังข้อความที่ นักเรียนสะท้อนว่า “จากการที่ทำงานแบบต่างคนต่างทำ ไม่สนใจใครก็หันมายอมรับฟังซึ่งกันและกัน มีผู้นำผู้ตาม มั่นใจและเชื่อมั่นในสิ่งที่เราแสดงออกมา กล้าคิดและกล้าตัดสินใจมากขึ้น รู้สึกเคารพและรักครูมากขึ้นที่ ท่านได้เสียสละเวลาทั้งในด้านการสอนและการให้ความรักแก่เรา” (นักเรียนคนที่ 1,๒๕๖๔); (นักเรียนคน ที่ 10,๒๕๖๔); (นักเรียนคนที่ 17,๒๕๖๔); (นักเรียนคนที่ 19,๒๕๖๔); (นักเรียนคนที่ 25,๒๕๖๔) ผลจากการสัมภาษณ์ครูผู้สอน “จากการได้สอนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๒ จากเดิมนักเรียนจะสนใจเล่นเกม ร่วมจับ กลุ่ม เล่นโทรศัพท์ ไม่สนใจการเรียน หลังจากมีกิจกรรม Calm Classroom ทำให้นักเรียนมีความสนใจ กล้าแสดงออกมากขึ้นนักเรียนมีความจดจ่อในการเรียน มีความสามารถในการกำกับตัวเอง มีความจำดีขึ้น มีวินัยมีระเบียบ” ผลจากการสัมภาษณ์ผู้ปกครอง “นักเรียนมีพฤติกรรมไปในทางดีขึ้น ใจเย็นสุขุมมากขึ้น มีน้ำใจมากขึ้น ตั้งใจอ่านหนังสือ ทำ การบ้าน” การสะท้อนผลการวิจัย งานวิจัยเรื่องนี้ ทำให้ผู้วิจัย มีความภาคภูมิใจ ในความสำเร็จอย่างยิ่ง เนื่องจาก พบว่าหลังจาก นักเรียนร่วมกิจกรรม Calm Classroom นักเรียนมีสติ มีสมาธิมากขึ้น รู้จักควบคุมอารมณ์ เห็นความสำคัญ เห็นประโยชน์ของการฝึกสติ ทำงานร่วมกันด้วยความสามัคคี มีน้ำใจรู้จักแบ่งปัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นอกจากนี้นักเรียนยังประพฤติปฏิบัติตามกฎระเบียบของห้องเรียนซึ่งได้ร่วม ตกลงกันไว้ มีจิตอาสา กล้าแสดงออกอย่างเชื่อมั่นและสร้างสรรค์ รวมทั้งเห็นคุณค่าในตนเอง และ ผลพลอยได้จากการร่วมกิจกรรมนี้คือนักเรียนมีพัฒนาการทางด้านการเรียนสูงขึ้น และมีความสุขกับ การเรียน การอยู่ร่วมกันกับเพื่อนในชั้นเรียนมากขึ้น รวมทั้งมีสัมพันธภาพที่ดีต่อครู อาจารย์ที่ให้ความรู้ เมื่อนำผลงานวิจัยนี้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครูในโรงเรียน ในรูปแบบกระบวนการ PLC ทำให้เพื่อน ครูมีแนวทางและมีกำลังใจในการแก้ปัญหา นอกจากนี้ผู้วิจัยตั้งใจที่จะพัฒนากิจกรรม Calm Classroom เพื่อส่งเสริมในด้าน การคิดแก้ปัญหา เพื่อใช้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแก่นักเรียนในโอกาสต่อไป โดยต้องใช้ กระบวนการมีส่วนร่วมหรือสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับเพื่อนครูภายในโรงเรียนและนอกโรงเรียน
  • 11. 11 เอกสารอ้างอิง นาถยา คงขาว. (2559). ผลของการปรึกษากลุ่มแบบอัตถิ ภาวะนิยมต่อการตระหนักรู้ในตนเองของ นักเรียน มัธยมศึกษาตอนต้น (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา). ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานต. (2560). สร้างสุขด้วยสติในองค์กร (Mindfulness in Organization: MIO)(พิมพ์ครั้งที่ 4 ).กลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข:บริษัท บียอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด,น.8 แผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต. (2559). จับใจ โปรแกรมการฝึกสติเพื่อการยอมรับและ พัฒนาตนเอง (Mindfulness-based acceptance and self-development; MBASD). นครราชสีมา: อินดี้อาร์ต. เรวัต เงินเย็น, กิตติศักดิ์ นิวรัตน์ และปริมินทร์ อริเดช (2558). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความ ตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงราย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8(18), น. 183-188. โสภณ ศุภมั่งมี.(2563).ความสำคัญของ ‘สติ’ ในโลกปัจจุบัน. https://gqthailand.com ว.วชิรเมธี.(2563).“สติ” รากฐานมั่นคงชีวิต สร้างสุขภาวะทางใจ.https://www.thaihealth.or.th วิเชียร ไชยบัง. (2558). จิตศึกษาพัฒนาปัญญาภายใน(พิมพ์ครั้งที่ 2). บุรีรัมย์: เรียนนอกกะลา. สุวัฒน์ ธนกรนุวัฒน์, สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต และสิริวัฒน์ ศรีเครือดง. (2562). การเจริญสติในวิถีพุทธ จิตวิทยา. มจร. มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 5(2),น. 201-212. Goleman, D. (1998). Working with emotion intelligence.New York: Bantam Books.Gonzalez, M. & Byron, G. (2010). The mindful investor: how a calm mind can bring you inner peace and financial security. Ontario Canada: John Wiley & Sons.
  • 12. 12 ภาคผนวก - ตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรม Calm Classroom - ภาพประกอบการจัดกิจกรรม Calm Classroom
  • 13. 13 แผนที่ 41 วันพุธที่ 29 ธันวาคม ๒๕๖๔ แผนการจัดกิจกรรม Calm Classroom/ห้องเรียนแห่งสติ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนโกสัมพีวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กำแพงเพชร 1. ชื่อกิจกรรม สถานการณ์นี้เราต้องรอด 2. จุดประสงค์ 2.1 เพื่อสร้างห้องเรียนแห่งสติ ฝึกปฏิบัติที่ใช้ความตั้งมั่น จดจ่อ อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในช่วง ระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติเกิดความสงบหรือมีสติในการใช้ชีวิตมากขึ้น 2.2 เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้กับผู้เรียน ๒.๓ เพื่อให้ครูที่ปรึกษาประจำชั้นได้พบนักเรียนของตนอย่างใกล้ชิด ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ อย่าง เต็มที่ และมีเป้าหมายนอกเหนือจากการสอนตามปกติ 3. แผนการจัดกิจกรรม ๓.๑ ขั้นเตรียม Breathing มีสติอยู่กับลมหายใจ Focusing มี สติกับการจดจ่อ Sketching มีสติกับการยืด เหยียด หรือการเคลื่อนไหว Relaxation มีสติกับการผ่อนคลาย วิธีดำเนินการ ๑. เปิดเพลงบรรเลง PIANO เพื่อผ่อนคลายแล้วให้นักเรียนนั่งเป็นวงกลม แล้วพานวดผ่อน คลาย เริ่มจาก ศีรษะ ต้นคอ ไหล่แขนซ้าย ไหล่แขนขวา และไล่ลงมาถึง ๒. ให้นักเรียนนั่งเป็นวงกลม แล้วพาทำ Braim Gym ๔ ท่า ท่าที่ ๑ ท่ากำแบ : ยกมือขึ้นสองข้างจากนั้นให้กำมือขวาส่วนมือซ้ายแบ ทำสลับกัน ๑๐ ครั้ง ท่าที่ ๒ ท่าจีบกับแอล : ยกมือขึ้นสองข้างให้มือขวาท าเป็นรูปตัวแอลและมือซ้ายท าเป็นรูปจีบ ท าสลับกัน ๑๐ ครั้ง ท่าที่ ๓ ท่าโป้งก้อย : ยกมือขึ้นสองข้างให้มือขวายกนิ้วหัวแม่มือขึ้นและมือซ้ายยก นิ้วก้อย ทำสลับกัน ๑๐ ครั้ง ท่าที่ ๔ ท่าหูกับจมูก : ยกมือขวาข้ามศีรษะไปจับหูซ้ายและ เอามือซ้ายมาจับที่ปลายจมูก ทำสลับกัน ๑๐ ครั้ง 3.๒ ขั้นกิจกรรม ๑. ให้นักเรียนชมคลิปและร่วมร้องเพลง เธอผู้ไม่แพ้ ของธงไชย แมคอินไตย ๒. นักเรียนทุกคนร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากการชม ในประเด็น ดังนี้ เธอผู้ไม่แพ้
  • 14. 14 - ใจความสำคัญจากเพลง - เพลงนี้ให้ประโยชน์อะไรกับเรา สามารถปรับประยุกต์ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ได้ อย่างไร 3.3 บันทึกหลังกิจกรรม (ผลสำเร็จ/ปัญหา/ข้อเสนอแนะ) หลังทำกิจกรรมพบว่านักเรียนทุกคนสนใจในกิจกรรมสถานการณ์นี้เราต้องรอดเป็นอย่างมาก นักเรียนทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี นักเรียนทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็นอย่าง สร้างสรรค์ และที่สำคัญนักเรียนมีสมาธิพร้อมที่จะเรียน ลงชื่อ .............................................................. (นางโสภิญญา ดารา) ผู้บันทึกกิจกรรม
  • 15. 15 แผนที่ 42 วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม ๒๕๖๔ แผนการจัดกิจกรรม Calm Classroom/ห้องเรียนแห่งสติ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนโกสัมพีวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กำแพงเพชร 1. ชื่อกิจกรรม ความสามัคคีไม่มีขาย สร้างได้ด้วยตัวเรา 2. จุดประสงค์ 2.1 เพื่อสร้างห้องเรียนแห่งสติ ฝึกปฏิบัติที่ใช้ความตั้งมั่น จดจ่อ อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในช่วง ระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติเกิดความสงบหรือมีสติในการใช้ชีวิตมากขึ้น 2.2 เพื่อส่งเสริมความสามัคคีให้กับผู้เรียน ๒.๓ เพื่อให้ครูที่ปรึกษาประจำชั้นได้พบนักเรียนของตนอย่างใกล้ชิด ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ อย่าง เต็มที่ และมีเป้าหมายนอกเหนือจากการสอนตามปกติ 3. แผนการจัดกิจกรรม ๓.๑ ขั้นเตรียม Breathing มีสติอยู่กับลมหายใจ Focusing มี สติกับการจดจ่อ Sketching มีสติกับการยืด เหยียด หรือการเคลื่อนไหว Relaxation มีสติกับการผ่อนคลาย วิธีดำเนินการ ๑. เปิดเพลงผ่อนคลายสมอง ฝึกสมาธิ ธิเบตตันเพื่อผ่อนคลายแล้วให้นักเรียนนั่งเป็นวงกลม แล้ว พานวด ผ่อนคลาย เริ่มจาก ศีรษะ ต้นคอ ไหล่แขนซ้าย ไหล่แขนขวา และไล่ลงมาถึง ๒. ให้นักเรียนนั่งเป็นวงกลม แล้วพาทำ Braim Gym ๔ ท่า ท่าที่ ๑ ท่ากำแบ : ยกมือขึ้นสองข้างจากนั้นให้กำมือขวาส่วนมือซ้ายแบ ทำสลับกัน ๑๐ ครั้ง ท่าที่ ๒ ท่าจีบกับแอล : ยกมือขึ้นสองข้างให้มือขวาท าเป็นรูปตัวแอลและมือซ้ายท าเป็นรูปจีบ ท าสลับกัน ๑๐ ครั้ง ท่าที่ ๓ ท่าโป้งก้อย : ยกมือขึ้นสองข้างให้มือขวายกนิ้วหัวแม่มือขึ้นและมือซ้ายยก นิ้วก้อย ทำสลับกัน ๑๐ ครั้ง ท่าที่ ๔ ท่าหูกับจมูก : ยกมือขวาข้ามศีรษะไปจับหูซ้ายและ เอามือซ้ายมาจับที่ปลายจมูก ทำสลับกัน ๑๐ ครั้ง 3.๒ ขั้นกิจกรรม ๑. ให้นักเรียนชมคลิปละครสั้นส่งเสริมคุณธรรม "ความสามัคคี..เชือก..JUMP UP" ๒. นักเรียนทุกคนร่วมกันแสดงความคิดเห็นจากการชม ในประเด็น ดังนี้ ความสามัคคี..เชือก..JUMP UP
  • 16. 16 - ใจความสำคัญจากละครคุณธรรมที่ชม - ถ้านักเรียนเป็น ไอเดียนักเรียนจะทำอย่างไร - นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับละครที่ชม - ละครเรื่องนี้ให้ประโยชน์อะไรกับเรา สามารถปรับประยุกต์ในสถานการณ์ปัจจุบัน นี้ได้ อย่างไร 3.3 บันทึกหลังกิจกรรม (ผลสำเร็จ/ปัญหา/ข้อเสนอแนะ) หลังทำกิจกรรมพบว่านักเรียนทุกคนสนใจในกิจกรรม ความสามัคคีไม่มีขาย สร้างได้ด้วยตัวเรา นักเรียนสามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่งได้จากการนั่งสมาธิ ซึ่งช่วยให้เกิดความสงบ และสติในการทำกิจกรรม Sketching 16 จังหวะ และการสะท้อนคิดจากละครได้เป็นอย่างดี นักเรียนมี ส่วนร่วมในการทำกิจกรรม สามารถสร้างความตระหนัก ลงชื่อ .............................................................. (นางโสภิญญา ดารา) ผู้บันทึกกิจกรรม
  • 17. 17 แผนที่ 4๔ วันพุธที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๕ แผนการจัดกิจกรรม Calm Classroom/ห้องเรียนแห่งสติ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนโกสัมพีวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กำแพงเพชร 1. ชื่อกิจกรรม มิตรภาพที่สวยงาม 2. จุดประสงค์ 2.1 เพื่อสร้างห้องเรียนแห่งสติ ฝึกปฏิบัติที่ใช้ความตั้งมั่น จดจ่อ อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในช่วง ระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติเกิดความสงบหรือมีสติในการใช้ชีวิตมากขึ้น 2.2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนตระหนักถึงการแบ่งปันความรู้สึกและปรารถนาดีต่อผู้อื่น ๒.๓ เพื่อให้ครูที่ปรึกษาประจำชั้นได้พบนักเรียนของตนอย่างใกล้ชิด ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ อย่าง เต็มที่ และมีเป้าหมายนอกเหนือจากการสอนตามปกติ 3. แผนการจัดกิจกรรม ๓.๑ ขั้นเตรียม Breathing มีสติอยู่กับลมหายใจ Focusing มี สติกับการจดจ่อ Sketching มีสติกับการยืด เหยียด หรือการเคลื่อนไหว Relaxation มีสติกับการผ่อนคลาย วิธีดำเนินการ ๑. เปิดเพลงบทสวดบูชาเจ้าแม่กวนอิม ไต่ปุยจิ่ว เพราะๆฝึกจิตใจให้สงบ ฝึกสมาธิเพื่อผ่อนคลาย แล้วให้ นักเรียนนั่งประจำอยู่ที่โต๊ะนักเรียนหลับตาพร้อมทั้งสูดลมหายเข้า - ออก ลึกๆ ประมาณ ๑-๒ นาที ๒. ครูกระตุ้นด้วย Brain Gym (แบบสลับข้างท่างูใหญ่กับสุนัขจิ้งจอก , ท่าจีบแอล) 3.๒ ขั้นกิจกรรม ๑. ครูส่งกล่องอุปกรณ์ที่มีกระดาษให้นักเรียนส่งต่อๆกันไปเมื่อได้รับกระดาษครบทุกคนก่อนที่จะ รับกล่องอุปกรณ์ทุกคนจะไหว้ขอบคุณกันอย่างนอบน้อมทั้งคนรับและคนส่งแล้วครูเปิดเพลง “วันเดือนปี” ให้นักเรียนรับฟัง ๒. ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด (ในแต่ละคำถาม นักเรียนจะร่วมแสดงความคิดเห็น 3-4 คน) ”นักเรียนเคยมีวีรกรรมใดที่ทำกับเพื่อนแล้วส่งผลให้เพื่อนโกรธมากที่สุดจนทำให้เรารู้สึกผิด?” “ถ้าอยากบอกเพื่อนต่อการกระทำในครั้งนั้นอยากจะบอกอะไรเพื่อน?” ๓. นักเรียนเขียนเรื่องราวบรรยาย ลงในสมุดบันทึกความทรงจำแห่งปัญญาภายใน ๔. นักเรียนนำเสนอผลงาน ๕ เรียนเก็บผลงานและอุปกรณ์ใส่ตะกร้า โดยเริ่มจากคนที่มีตะกร้าอยู่ด้านหลัง และส่งต่อให้ เพื่อนทีละคนจนมาถึงคุณครู ๖. ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากกิจกรรมนี้ และตลอดกิจกรรมที่ได้ร่วมเรียนรู้ นักเรียนเกิดความคิด อะไรบ้าง?”
  • 18. 18 ๗. นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น ๘. ครูพูด Empower ชื่นชม เสริมแรง ขอบคุณทุกสรรพสิ่ง 3.3 บันทึกหลังกิจกรรม (ผลสำเร็จ/ปัญหา/ข้อเสนอแนะ) หลังทำกิจกรรมพบว่านักเรียนทุกคนสนใจในกิจกรรม มิตรภาพที่สวยงาม มีสติ จดจ่อกับสิ่งที่ฟัง เห็นความเชื่อมโยงเรื่องราวของตนเองและผู้อื่น ฝึกการมีสติ มีสมาธิในการจดจ่อ แบ่งปันความรู้สึกและ ปรารถนาดีต่อผู้อื่น สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้ เคารพคุณค่าของตนเองและผู้อื่น ลงชื่อ .............................................................. (นางโสภิญญา ดารา) ผู้บันทึกกิจกรรม วันเดือนปี