SlideShare a Scribd company logo
1 of 8
Download to read offline
การขอปรึกษาและความคิดเห็นต่อการปรับรูปแบบโครงสร้างระบบวิจัยเพื่อนวัตกรรมทางสุขภาพ
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนานโยบาย (สวน.) ได้รับการมอบหมายจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
ให้ทบทวน ประมวล และจัดทำรูปแบบ โครงสร้าง ของระบบวิจัยทางคลีนิก ที่มุ่งให้เกิดนวัตกรรมทางสุขภาพ ในขณะ
ที่ รัฐบาลกำลังปรับโครงสร้างของการวิจัย และนวัตกรรม เพื่อให้ก้าวไปได้เท่าทันกับการก้าวกระโดดของวิวัฒนาการ
ด้านต่างๆ สืบเนื่องจาก การพลิกผันทางเทคโนโลยี (Disruptive Technology) และการพลิกผันทางเทคนิคสังคม
(Disruptive Social Technic) ในโลก ณ ปัจจุบัน
จากการทบทวนกรอบการวางแผนที่วิจัย (Research Mapping) ทางสุขภาพของหลายหน่วยงานที่ดำเนินงาน
ในประเทศไทย และเปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงการจัดวางระบบสุขภาพใหม่ ในนานาประเทศ ตลอดจนเปรียบ
เทียบกับการพลิกผันของวิถีการวางนโยบาย และยุทธศาสตร์ ในระดับโลก โดยทบทวนแผนงานวิจัย 6 กรณี คือ
ก. การจัดการและวางแผนวิจัยการป้องกันควบคุมไข้เลือดออก (Dengue Haemorrhegic Fever)
ข. การจัดการและวางแผนวิจัยการป้องกันควบคุมวัณโรค (Tuberculosis Control Program)
ค. การควบคุมและป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน (Diabetic Mellitus Control)
ง. การป้องกันและแก้ไขปัญหาทางสังคม ท้องไม่พร้อมในวัยรุ่น (Youths' Unwanted Pregnancy)
จ. การวิจัยสมุนไพร โดยใช้กรณีการวางแผนวิจัยกัญชา (Medical Cannabis Research)
ฉ. การวิจัยบริการและนวัตกรรมการจัดการทางสาธารณสุข (Public Health Innovation)
ผลการทบทวนดังกล่าว บ่งชี้ข้อจำกัดสำคัญ ของกรอบการวางแผนงานวิจัยทางสุขภาพ ในประเทศไทย ดังนี้
1) การวิจัยทางสุขภาพมีมิติที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันตั้งแต่ การทบทวนพรมแดนความรู้ (State of the Arts) ที่
เกี่ยวข้อง ทั้งทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ไปจนถึงเทคนิคทางสังคม ไปจนถึงการประยุกต์ใช้ กับการดำเนินงาน
(Intervention) ในระดับนโยบาย รูปแบบการจัดการร่วมภาคี ตลอดจน การปรับสร้างเครื่องมือ และวิธีการทาง
ชีวะวิทยาการแพทย์ และเครื่องมือนโยบาย เช่น กฎหมาย การปรับแก้พฤติกรรม การสื่อความเข้าใจทางสุขภาพ
(Health Literacy) สำหรับการแก้ไขปัญหาตั้งแต่ในเชิงการสร้างเสริมสุขภาพ การปกป้องคุ้มครอง การป้องกัน
ภาวะคุกคาม การดูแลรักษา และการฟื้นฟูสุขภาพ หากแต่ กระบวนการศึกษาวิจัยแต่ละด้าน เป็นไปอย่างแยกส่วน
และมีความก้าวหน้า (Advancement) ในเชิงประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ที่แตกต่างกัน จึงไม่อาจนำมาใช้ในการ
วางแผนร่วมกันอย่างเป็นระบบ หรือ มุ่งเป้าหมายการจัดการกับปัญหาให้สอดรับซึ่งกันและกัน ได้อย่างชัดเจน
2) แนวการวางเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ในปัจจุบัน ได้ปรับเปลี่ยนจากการแก้ไขป้องกันปัญหาเฉพาะหน้า ไปสู่
การวางรูปแบบและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและระบบงาน (Transformation Change) เพื่อวางมรรควิถีที่นำ
ไปสู่ภาพอนาคตทางสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และกรอบการร่วมจัดการ (Governance) ภาคีข่ายงานและภาค
ประชาคม ให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว (Sustainable Development) หากแต่การกำหนดแผนที่งานวิจัยทาง
สุขภาพของหน่วยงานทางสุขภาพยังมิได้นำเอาข้อจำกัดทางเทคโนโลยี (เช่น ปัญหาวัณโรคดื้อยา การควบคุมลด
พาหะนำไข้เลือดออก และวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก การค้นหาผู้ที่เป็น Pre Diabetic Cases การคุ้มครองปกป้อง
เด็กและเยาวชนในครอบครัวเปราะบางมิให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น และการเตรียมระเบียบวิธีการวิจัย
แบบ Reverse Pharmacology Approach ในการใช้กับการแผนการวิจัยกัญชาทางการแพทย์) และข้อจำกัดทาง
เทคนิคสังคม (เช่น ขาดระบบการจัดการมุ่งอนาคต การคาดการณ์อนาคต ชาดการปรับใช้ Disruptive Social
Technic ในการจัดบริการสุขภาพ ฯลฯ) ทำให้ไม่สามารถขับเคลื่อนนโยบายยุทธศาสชาติ 20 ปี ได้
3) การวางแผนจัดการงานวิจัยในประเทศไทยขับเคลื่อนจากทุนการวิจัยในประเทศที่จำกัด ทำรูปแบบการสนับ
สนุนงานวิจัยทางการแพทย์ส่วนใหญ่ต้องอาศัยการสนับสนุนชี้นำจากทุนวิจัยของประเทศอุตสาหกรรม แบบแผน
การวางเป้าหมายจึงไม่อาจตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาของประเทศได้เต็มที่ แต่กลับต้องตอบคำถามการวิจัยใน
ระดับสากล เช่น แนวทางการวิจัยขององค์การอนามัยโลก (ในกรณีตัวอย่างของการวิจัยไข้เลือดออก วัณโรค) หรือ
การวิจัยของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมยา (กรณีของการขับเคลื่อนการวิจัยทางการแพทย์ร่วมหลายสถาบัน) ทำให้
ขาดโอกาสยกระดับสู่ประเทศที่มีรายได้ระดับกลางที่มีนวัตกรรม (เช่น เกาหลี จีน สิงคโปร์) อย่างไรก็ตาม ในวาระ
F1
ของความพยายามที่จะพลิกผันประเทศ ด้วยการปรับโครงสร้างวางแผนยุทธศาสตร์ชาติ1 และการจัดตั้งโครงสร้าง
ของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม2 มุ่งสู่การรื้อสร้างมรรควิถีสู่การจัดการงานวิจัยอย่างเป็น
ระบบ ให้ตอบสนองต่อเป้าหมายสุขภาวะของประเทศแต่ละด้านที่ชัดเจนขึ้น
กรอบการปรับเปลี่ยนระบบและโครงสร้าง (Transformation Framework)
การปรับสร้างระบบงานและโครงสร้างมักกระทบต่อความนึกคิดระดับบุคคล ซึ่งครอบคลุมถึง ผู้รับบริการ ผู้ให้
บริการ ผู้บริหาร และผู้กำหนดนโยบายในแต่ละภาคส่วน จึงต้องเปิดโอกาสแก่คนเหล่านี้เข้ามามีส่วนร่วมกับการปรับ
สร้างระบบงานและโครงสร้าง เพื่อให้เห็นด้วยและได้รับการร่วมสนับสนุนจากทุกกลุ่มตั้งแต่เบื้องต้น มิเพียงมุ่งเน้นไปที่
ผู้กำหนดนโยบายเท่านั้น เพราะแรงต่อต้านของผู้รับบริการ ผู้ให้บริการและผู้ปฏิบัติการ จะต่อต้านอย่างรุนแรงยิ่งขึ้น
หากปล่อยขาดความรับรู้ และยอมรับกระบวนการวางแผนและกรอบการปรับเปลี่ยน
ภาพที่ 1 แสดงองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการปรับสร้างระบบงานและโครงสร้างที่มีความสัมพันธ์กับวาระ
โอกาสทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจและเทคโนโลยี กับขั้นตอนขับเคล่ือนเข้าแทนที่ระบบงานและโครงสร้างเดิม3
การปรับสร้างระบบงานและโครงสร้างอาจแบ่งได้เป็น 3 ช่วงกิจกรรม คือ ช่วงการเตรียมการ (Preparing) ช่วง
หาเส้นทางและควบคุมการดำเนินงาน (Navigating) และช่วงปรับให้มั่นคง (Stabilising) ชั่วขณะที่อยู่ระหว่างช่วงการ
เตรียมการ กับ ช่วงหาเส้นทางและควบคุมการดำเนินงาน คือ วาระโอกาส (Window of Opportunity) ซึ่งเปิดช่อง
ให้สามารถเสนอทางเลือกสำหรับนำไปสู่การปรับสร้างระบบและโครงสร้างใหม่3 ดังนั้น นักวิจัยทางสุขภาพ หรือ งาน
สาธารณสุข น่าจะใช้วาระยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี1 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน4 เป็นวาระโอกาสที่เปิดรออยู่
ภาพที่ 1 เป็นรูปแบบการปรับสร้างระบบงานและโครงสร้างจากงานวิจัยเข้าสู่กระบวนการนโยบายโดยมีแกนตั้ง
แทนมิติทัศนะต่างระดับ ในระดับบนสุดท่ีครอบงำวิถีคิดและระบบงานได้ เช่น การกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ในระดับโลกถึง พ.ศ. 2573 ซึ่งลงมาส่งอิทธิพลต่อยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ส่วนระดับกลาง คือ การกำหนดกฎเกณฑ์ของ
ภาระงานของภาคส่วนต่างๆ งบประมาณ รวมทั้งเป้าหมายภารกิจของแต่ละหน่วยงานที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ และระดับ
ล่างสุด คือ การจัดกลไกและภารกิจนวัตกรรมของหน่วยงานและภาคส่วนต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
ส่วนแกนนอนในภาพ เป็น กรอบเวลาที่ผู้กำหนดวิจัยและนวัตกรรมทางระบบงาน และโครงสร้าง (Research
for Transformation) ควรจะคาดประมาณเวลาที่จะใช้ สำหรับจัดกิจกรรมสำหรับตอบประเด็นการปรับสร้างฯ และ
F2
บูรณาการเข้าสู่ภาระงานกระแสหลักของประเทศไทย ในระดับส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่น และชุมชน โดยปรับเข้ากับ
ยุทธศาสตร์ด้านต่างๆ ด้วยรูปแบบ (Model) ที่เอื้อให้เกิดการสร้างผลงานร่วมกัน (Coproduction) สู่ประชาชนกลุ่ม
เป้าหมายต่างๆ ระหว่างภาคส่วนต่างๆ โดยมีจุดผ่านของมรรควิถี ของแต่ละทีมวิจัยทางสุขภาพ ดังนี้
จุดที่ 1 การปรับตัวของการจัดการงานวิจัยในกระบวนการนวัตกรรมของโครงสร้างภาคส่วนใหม่
จุดที่ 2 บ่งชี้ให้เห็นช่องว่างระหว่างเป้าหมายที่จะบรรลุในอีก 20 ปี ซึ่งตอบได้ด้วยงานวิจัยเชิงนวัตกรรมเท่านั้น
จุดที่ 3 และ 4 คือ การจัดแผนงานนวัตกรรมประเด็นต่างๆ ที่จำเป็นสู่เป้าหมายยุทธศาสตร์ และ SDG
จุดที่ 5 คือ การจัดการงานวิจัยร่วมกับหน่วยงานปฏิบัติสู่กลุ่มเป้าหมายร่วมกันของภาคส่วนต่างๆ
จุดที่ 6 คือ การขยายผลและเสริมสมรรถนะขององค์กรที่จัดตั้งไว้ แต่ยังขาดกรอบกำหนดรูปแบบ (Model)
ในการจัดการและควบคุมกำกับ ในรูปของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Operation Research) และสร้างวิธีการที่สามา
รถประเมินประสิทธิผล และประสิทธิภาพได้ (Implemenation Reseasrch) ในระดับพื้นที่ชุมชน
จุดที่ 7 การทดสอบรูปแบบ (Models) ที่วิจัยและนวัตกรรมขึ้น เพื่อขยายผลให้ครอบคลุมกว้างขวางขึ้น
จุดที่ 8 นำเสนอกรอบและเกณฑ์การจัดการของรูปแบบที่เป็นนวัตกรรมเข้าสู่กรอบงานตามยุทธศาสตร์ชาติ1
จากแผนที่การวิจัย (Research Roadmap) สู่ มรรควิถีการวิจัย (Research Pathway)
การวางแบบแผนงานวิจัยด้วยการประมวลข่าวสารการดำเนินงานของกลุ่มสนใจ หรือ มีนักวิจัยที่ทำงานแต่ละ
ด้าน และมีประสบการณ์ในการวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้อง มาประมวลเป็นหัวข้อการวิจัยที่ควรให้ทุน และแนวทางที่
จะเชื่อมโยงทีมวิจัยเหล่านี้เข้าด้วยกัน ที่มักดำเนินการอยู่ในประเทศไทย เป็นวิธีการจัดการที่ช่วยให้เห็นปริทรรศน์ของ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หากแต่ยังขาดความเชื่อมโยงระหว่างพรมแดนความรู้ (State of the Arts) ของงานวิจัยแขนงการ
วิจัยต่างพื้นฐานความรู้เข้าด้วยกันโดยเปรียบเทียบกับเป้าหมายการใช้ความรู้จากฐานวิชาชีพต่างๆ สู่เป้าหมายสัมฤทธิ
ผลทางสุขภาพของประเทศชาติ และประชาคมกลุ่มต่างๆ อย่างจริงจัง ส่งผลให้การจัดการงานวิจัยเพื่อนวัตกรรมขาด
การสนับสนุนอย่างจริงจัง เนื่องจากฝ่ายนโยบายและการเงินการคลังมุ่งเพียงแค่ ปฏิบัติการที่แสดงให้เห็นถึง "ความ
เพียรพยายามเชิงการเมือง (Political Afford)" เป็น ภารกิจเชิงประจักษ์ (Explicit Evidence) ที่สำคัญเท่านั้น
แต่จากการทบทวนแผนงานเชิงยุทธศาสตร์ ในระดับนานาชาติและระดับประเทศ แสดงให้เห็นว่า แผนการควบ
คุมไข้เลือดออก5 การควบคุมวรรณโรค6,7 การควบคุมโรคเบาหวาน8,9 การดำเนินงานให้สำเร็จตามเป้าหมายระยะยาว
ควรบูรณาการเข้ากับการวางเป้าหมายผลสำเร็จของงาน พร้อมกับบ่งชี้ให้ชัดเจนว่า จุดพลิกผันสำคัญของความสำเร็จ
เชิงยุทธศาสตร์ต้องการผลงานวิจัยเชิงนวัตกรรมในส่วนใด? และต้องการเร่งด่วนเพียงไร? ทำให้เห็นความจำเป็นของ
การลงทุนภาครัฐที่สำคัญ และความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงไปถึงผลสำเร็จเชิงยุทธศาสตร์ชาติที่มุ่งหมาย
นอกจากนั้น แนวทางที่กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้วางเป้าหมายของสถาบันอุ
ดมศึกษาให้ใช้งานวิจัยและนวัตกรรมเป็นฐานงาน (Platform) ที่สร้างงานวิจัย พร้อมไปกับสร้างคน และผลประโยชน์
ให้กับสังคมแบบบูรณาการ
ยุทธศาสตร์การสร้างระบบนิเวศน์ของฐานงานร่วม (Platform Strategy) เป็นแนวคิด และแนวปฏิบัติใหม่ ที่
พลิกผันจาก รูปแบบและยุทธศาสตร์ธุรกิจแบบฐานการตลาดรวม (Pipeline Strategy) ที่เคยเป็นวิถีการควบคุมการ
ดำเนินธุรกิจในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ดังตัวอย่าง งห้างสรรพสินค้าใหญ่ ที่รวมเอาร้านเล็กๆ จำนวนมากให้เข้าไปอยู่
ในพื้นที่เดียวกัน ซึ่งมีเจ้าของเพียงเจ้าเดียวเป็นผู้ควบคุมเพียงรายเดียว หากแต่ ธุรกิจ หรือ ธุรกรรมแบบสร้างระบบ
นิเวศน์ของฐานงานร่วมภาคีเป็นนวัตกรรม ที่พลิกผันเทคโนโลยีข่าวสารและดิจิทัล ที่อาศัยโลกไซเบอร์ (Cyberspace)
ในการสื่อสารแลกเปลี่ยนใน ช่วง พ.ศ. 2550 โดยกลุ่ม Apple แล้วกระจายไปสู่กลุ่ม อื่นๆ ในรูปของ Software
Platform ต่อมาจึงกระจายไปสู่ระบบธุรกิจ เช่น AirBNB เป็นระบบการขายบริการห้องพัก ที่พัก โดยหลายฝ่ายเข้า
มามีส่วนร่วมด้วยกัน ทดแทนระบบโรงแรมข่ายงาน (Chained Hotel) ที่เติบโตอยู่แต่เดิม หรือ Uber เป็นระบบที่เจ้า
ของรถส่วนตัวเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดบริการรถเช่า แทนรูปแบบบริษัท หรือ สหกรณแท็กซี่ แบบดั้งเดิม10
ในระยะหลัง มีการใช้ระบบนิเวศน์ (Platform Strategy) ในการทำงานวิจัยแต่ละด้าน เปิดพื้นที่ให้สถาบัน
หรือ กลุ่มสถาบัน หรือ บุคคล ร่วมกันสร้างสรรค์ หรือ พัฒนาเทคโนโลยี หรือ ผลิตภัณฑ์ร่วมกัน เป็นพื้นที่จัดการงาน
วิจัยร่วมกัน จึงเกิดเป็น Platform Entrprise ร่วมกัน11 ซึ่งอาจจำแนกเป็น
F3
1. Innovation Platform เปิดโอกาสให้ร่วมกันพัฒนา หรือ ร่วมสร้างผลิตภัณฑ์ หรือ บริการใหม่ แล้วนำมา
วาง หรือ เผยแพร่ ในระบบนิเวศน์นวัตกรรมต่อยอดกันไปเรื่อยๆ
2. Transaction Platform มีลักษณะเหมือนนิเวศน์ของการตลาด ที่ช่วยเปิดช่องทางให้ผู้ต้องการใช้ผลิตภัณฑ์
หรือ ผู้ซื้อ ได้พบกับผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือ ผู้ขาย
3. Investment Platform เป็นเครือนักลงทุน ที่เน้นการเข้าไปร่วมลงทุนกับทีมนักวิจัย หรือ สถาบันวิชาการ
ที่สร้างนวัตกรรมขึ้น สร้างเป็น Start Up สนับสนุนภารกิจของนักวิจัย
การเติมเต็มแผนปฏิบัติการทางสุขภาพให้ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติด้านสาธารณสุข และแผนปฏิรูป
ประเทศในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้วยการทำความเข้าใจกับข้อจำกัดของการดำเนินงาน หรือ ระบบริการที่
ขาดประสิทธิผล และไร้ประสิทธิภาพ เนื่องจากมิได้ปรับแก้ระบบและโครงสร้างของบริการสุขภาพให้เท่าทันกับปัญหา
ทางสังคม และเทคโนโลยี ที่แปรเปลี่ยนในสังคมไทยไปอย่างรวดเร็ว และอาศัยกระบวนการจัดการวิจัยในพื้นที่กลุ่มนัก
วิจัยต่างสาขาที่ร่วมจัดการแผนงานวิจัยข้ามสาขา ให้สนองต่อการแก้ไขปัญหาตามเงื่อนไขเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ได้
การปรับโครงสร้างแยกกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ออกไปรับพันธกิจขับเคลื่อนพลัง
รูปแบบใหม่ในสหัสวรรษนี้ เพื่อให้ก้าวทันกับนานาประเทศ ซึ่งได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วถึงความสำคัญของนวัตกรรมที่สร้าง
สรรค์โดยมนุษย์ อันจะเป็นเงื่อนไขของความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมได้จริง2
ภาพที่ 2 แสดงมรรควิถี (Pathway) ของการใช้งานวิจัยในพื้นสาขา (Platform) ต่างๆ สู่เป้าหมายนวัตกรรม
บริการทางสุขภาพ ต่อปัญหาทางสุขภาพแต่ละประเด็น โดยมีการจัดการร่วม (Portfolio Management)
ภาพที่ 2 เป็นข้อเสนอในการกจัดวาง "มรรควิถี (Pathway)" การวิจัย ที่มุ่งขับเคลื่อนกลุ่มนักวิชาการและนัก
วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ให้หันมาให้ความสำคัญกับนัยทางนวัตกรรม โดยนำเอาเทคโนโลยี และเทคนิคทางสังคม
ใหม่ มาปรับใช้กับระบบบริการ ให้ตอบสนองต่อความจำเป็น และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ การวิจัย
F4
ระบบนโยบาย การบริหารจัดการ ทั้งในระดับส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่น และชุมชน เพื่อให้การแปลนโยบายสุขภาพ
ลงสู่พื้นที่เป้าหมายได้จริง ตลอดจนมุ่งเน้นที่การวิจัยปฏิบัติการ (Operation Research) และวิจัยการดำเนินงาน
(Implementation Research) เพื่อทดสอบ และสร้างรูปแบบ การให้บริการทางสุขภาพบนพื้นฐาน และระบบสร้าง
นิเวศน์สำหรับบริการสุขภาพ (Platform of Health Service) ที่อาจแตกต่างไปจากระบบงานดั้งเดิม แต่เอื้อให้เกิด
การปรับแก้ และนวัตกรรมบริการสุขภาพ ที่เท่าทันกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างต่อเนื่อง
การดำเนินงานของกองทุนโลกเพื่อต่อสู้โรคเอดส์ วัณโรค และมาเลเรีย ได้กำหนดให้ใชัสัดส่วนของงบประมาณ
สำหรับดำเนินการ จัดเป็นงบประมาณเฉพาะเพื่อใช้วางระบบจัดการวิจัยเชิงปฏิบัติงาน และการวิจัยการดำเนินงาน
ส่งผลให้เกิดความมั่นใจกิจกรรมที่ดำเนินอยู่ได้รับการตรวจสอบประสิทธิผลทุกขั้นตอนได้อย่างจริงจัง12 หากแต่ ในประ
เทศไทย ยังขาดทีมงานวิจัยที่จะนำการวิจัยในลักษณะนี้ลงไปสู่การใช้งานได้จริง ตลอดจนหน่วยงานผู้รับผิดชอบการ
ดำเนินงานในพื้นที่ ก็ขาดความรู้ที่จะปรับใช้ระเบียบวิธีการวิจัยดังกล่าว ส่งผลให้กิจกรรมด้อยประสิทธิผลลงเรื่อยๆ
ผังมรรควิถีการวิจัย แสดงให้เห็นถึงประเด็นการทำงานสำคัญตามขั้นตอนในภาพที่ 2 ประกอบด้วย
1. การผนึกพลังของทีมนักวิจัยกับฝ่ายกำหนดนโยบาย ร่วมกันประเมิน "มรรควิถี" ของการวิจัยที่จะนำไปสู่เป้า
หมายยุทธศาสตร์ชาติทางด้านสุขภาพ และทรัพยากรมนุษย์ โดยนำเสนอช่องว่างของสมรรถนะการดำเนินงาน และ
ประสิทธิผลของการดำเนินกิจกรรมในปัจจุบัน เพื่อแสดงข้อจำกัดของการดำเนินนโยบายที่เป็นอยู่ ในขณะเดียวกัน ก็
ใช้ข่าวสารเชิงยุทธศาสตร์ดังกล่าว ในการกำหนดลำดับความสำคัญของงานวิจัยทั้งในระดับพื้นฐาน ระดับห้องปฏิบัติ
การ ระดับการวิจัยคลินิก และระดับการจัดรูปแบบบริการ ให้เชื่อมโยงได้อย่างสอดคล้องกับสถานการณ์แต่ละปัญหา
2. การทบทวนติดตามความก้าวหน้า (State of the Arts) ทางเทคโนโลยี และเทคนิคสังคม แต่ละด้าน เพื่อให้
รู้และเข้าใจ ช่องว่างทางความรู้ ข้อจำกัดทางสมรรถนะการวิจัย เพื่อให้สามารถวางแผนการถ่ายทอดเทคโนโ่ลยี และ
เทคนิคสังคม (Technology Transfer) เข้ามาสู่กลุ่มนักวิจัย ที่ควรจัดภายใต้ระบบนิเวศน์ฐานงานร่วมวิจัย เพื่อให้นำ
เอาความรู้และเทคโนโ่ลยีเฉพาะแต่ละด้าน มาทดสอบประยุกต์ใช้ในประเทศไทยอย่างเป็นระบบ และทำการทดสอบ
กันในแต่ละกลุ่มปฏิบัติการ และพัฒนาขึ้นใช้ในประเทศได้อย่างต่อเนื่อง
3. กลุ่มการวิจัยด้านล่าง เป็นกลุ่มที่สร้างการเชื่อมโยงระหว่าง กลุ่มนิเวศน์งานวิจัยแต่ละด้าน เช่น กลุ่มที่ทำงาน
ในห้องปฏิบัติการด้านอณูวิทยาสำหรับพัฒนาวัคซีน ยา เวชภัณฑ์ การทดสอบทางชีวภาพ (Bio Markers) สำหรับช่วย
ในการวินิจฉัยระยะ หรือ ความรุนแรงของโรค หรือ ใช้พยากรณ์ความรุนแรงของโรค กับ การวิจัยทางคลินิค ซึ่งมีทั้ง
การจัดวางข่ายงานหลายคลินิค (Multi-Center Study) การพัฒนาและรับรองจริยธรรมการวิจัย การเก็บรวบรวม
สารทดสอบ กับ ข่ายงานผลิตยา วัคซีน หรือ Bio-Markers ต่าง
4. กลุ่มการวิจัยด้านบน เป็นกลุ่มที่สร้างการเชื่อมโยงนิเวศน์งานวิจัยทางพฤติกรรม สังคม การจัดการและนโย
บาย ซึ่งอาจมีระบบนิเวศน์ของกลุ่มพัฒนาทฤษฎี และปรับใช้้ในชุมชนต่างๆ ของประเทศไทย กับ กลุ่มทำการทดสอบ
และติดตามประสิทธิผลการดำเนินงานในพื้นที่ชุมชนต่างๆ เพื่อพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมกับเงื่อนไขแต่ละชุมชน
ตลอดจนนำมาทดสอบกับระบบงานที่มีผู้ดำเนินงานร่วมกันหลายภาคส่วน (Multi-Sector and Multi-level
Governance) เพื่อให้มั่นใจว่าจะจัดบริการ และควบคุมคุณภาพในระดับปฏิบัติการได้จริง
5. กลุ่มที่ประมวลนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยี และเทคนิคสังคม เทียบกับวิวัฒนาการของแต่ละกลุ่มนิเวศน์
วิทยา เพื่อให้สามารถวางแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากภายนอก หรือ สากล เข้ามาใช้ขับเคลื่อนนโยบายภายในประ
เทศอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการจัดเตรียมสร้างนักวิจัยแต่ละด้านให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ
6. กลุ่มที่ติดตามกำกับ และประเมินผล การแปลผลจากงานวิจัยไปสู่การขับเคลื่อนนโยบาย เพื่อปรับแก้ข้อ
จำกัด และอุปสรรคเชิงโครงสร้างของการพัฒนานโยบายทั้งในส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่น และชุมชน ในขณะเดียว
กันก็ต้องปรับปรุงการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิผลจริงของหน่วยงานในทุกระดับ
การจัดพันธกิจของกลุ่มที่จัดระบบนิเวศน์เดียวกันนี้ เริ่มมีขึ้นบ้าง เช่น ในการจัดกลุ่มวิจัยทางคลินิกในข่ายงาน
โรงเรียนแพทย์ ตลอดจนมีการจัดตั้งเป็นบริษัท และการของบประมาณจากภาครัฐเข้าสนับสนุนในการอบรม และจัด
วางเครื่องมือช่วยในการวางแผนการวิจัยร่วมกัน แต่ยังไม่อยู่ในรูปของ Platform อย่างจริงจัง
F5
ประเด็นที่ขอคำปรึกษาและเสนอแนะ
1. ขอทราบแนวคิด ความก้าวหน้า ปัญหา และอุปสรรค ของการพัฒนาระบบวิจัย จากประสบการณ์ที่รับผิด
ชอบงานวิจัยและพัฒนาของประเทศที่ผ่านมา
2. ขอทราบแนวคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ที่กำลังดำเนินไปในขณะ
นี้ และความเห็นเกี่ยวกับการปรับงานวิจัยจาก "เพื่อการพัฒนา" ไปเป็น "เพื่อนวัตกรรม"
3. ขอคำความเห็น และข้อแนะนำเกี่ยวกับการปรับรูปจัดการงานวิจัย จาก Research Mapping มาสู่
Research Pathway โดยใช้ Platform Strategy เป็นกรอบยุทธศาสตร์
F6
เอกสารอ้างอิง
1. ราชกิจจานุเบกษา "พระราชโองการ เรื่องยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐)" ประกาศ ณ วันที่ ๘ ตุลาคม
พ.ศ. ๒๕๖๑ เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๘๒ ก วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
2. ราชกิจจานุเบกษา "พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัต
กรรม พ.ศ. ๒๕๖๑ เล่มที่ ๑๓๖ ตอนที่ ๕๗ ก วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑
3. R, Roggema, T. Vermeend, and A.V.D. Dobbelsteen, "Incremental Change, Transition or
Transformation? Optimising Change Pathways for Climate Adaptation in Spatial Planning",
Sustainability pp. 2525 - 2549, doi:10.3390/su4102525, 2012.
4. United Nations, "Transforming our World : The 2030 Agenda for Sustainable Development",
Declaration from meeting at United Nations Headquarters in New York on September 2015.
5. WHO, "Global Strategy for Dengue Prevention and Control: 2012 - 2020", Print in France,
2012.
6. WHO, "The End TB Strategy: Global Strategy and targets for Tuberculosis Prevention, Care and
Control after 2015", The official text approved by the sixty seventh World Health Assembly, May
2014.
7. EU, "TB Vaccine Initiative Focus Area", European Parliament adopts resolution on the
Tuberculosis Vaccine Initiative (TBVI), Feb 17, 2011.
8. CDC, USA, "The National Diabetes Prevention Program", Congress authorised the CDC to
establish and lead the National Diabetes Prevention, 2011
9. NHS, "Diabetes Prevention Programme", https://www.england.nhs.uk/wp-content/uploads/
2016/08/dpp-faq.pdf
10.M.W. Van Alstyne, G.G. Parker and S.P. Choudary, "Pipelines, Platform, and the New Rules of
Strategy", Harvard Business Review, from the April, 2016 Issue.
11.รศ. ดร. พสุ เดชะรินร์ "กลยุทธ์ Platform" คอลัมน์มองมุมใหม่ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ 6 ธันวาคม 2559
12.The Global Fund to fight AIDS, Tuberculosis and Malaria, USAID, WHO, TDR, "Framework for
Operations and Implementation Research in Health and Disease Control
Programs",Technical working group members and consultation meeting participants, Geneva,
July, 2003
F7
F8

More Related Content

Similar to Research pathway

ตัวอย่างงานบริหาร
ตัวอย่างงานบริหารตัวอย่างงานบริหาร
ตัวอย่างงานบริหารNithimar Or
 
แนวทางการเขียนรายงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ การป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพโดยกล...
แนวทางการเขียนรายงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ การป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพโดยกล...แนวทางการเขียนรายงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ การป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพโดยกล...
แนวทางการเขียนรายงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ การป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพโดยกล...ssuserbaf627
 
Proposing thailand40
Proposing thailand40Proposing thailand40
Proposing thailand40Pattie Pattie
 
บทความวิจัยดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ภาคภาษาไทย ผอ.เชิดศักดิ์ ศุภโสภณ
บทความวิจัยดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ภาคภาษาไทย ผอ.เชิดศักดิ์  ศุภโสภณบทความวิจัยดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ภาคภาษาไทย ผอ.เชิดศักดิ์  ศุภโสภณ
บทความวิจัยดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ภาคภาษาไทย ผอ.เชิดศักดิ์ ศุภโสภณKobwit Piriyawat
 
Pmt ผลการประชุม ร่างเป้าหมายและยุทธศาสตร์หลัก
Pmt ผลการประชุม ร่างเป้าหมายและยุทธศาสตร์หลักPmt ผลการประชุม ร่างเป้าหมายและยุทธศาสตร์หลัก
Pmt ผลการประชุม ร่างเป้าหมายและยุทธศาสตร์หลักpromboon09
 
การจัดการเชิงยุทธศาสตร์
การจัดการเชิงยุทธศาสตร์การจัดการเชิงยุทธศาสตร์
การจัดการเชิงยุทธศาสตร์jeabjeabloei
 
การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ
การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบการจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ
การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบsomporn Isvilanonda
 
การบริหารโรงเรียนเพื่อคุณภาพ
การบริหารโรงเรียนเพื่อคุณภาพการบริหารโรงเรียนเพื่อคุณภาพ
การบริหารโรงเรียนเพื่อคุณภาพChalermpon Dondee
 
Proposal54 mk 8_nov10(final)
Proposal54 mk 8_nov10(final)Proposal54 mk 8_nov10(final)
Proposal54 mk 8_nov10(final)chorchamp
 
9789740330325
97897403303259789740330325
9789740330325CUPress
 

Similar to Research pathway (20)

ตัวอย่างงานบริหาร
ตัวอย่างงานบริหารตัวอย่างงานบริหาร
ตัวอย่างงานบริหาร
 
Po
PoPo
Po
 
Po
PoPo
Po
 
No1
No1No1
No1
 
Watsubsamosorn
WatsubsamosornWatsubsamosorn
Watsubsamosorn
 
D:\2
D:\2D:\2
D:\2
 
Thai Research Databases
Thai Research DatabasesThai Research Databases
Thai Research Databases
 
แนวทางการเขียนรายงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ การป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพโดยกล...
แนวทางการเขียนรายงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ การป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพโดยกล...แนวทางการเขียนรายงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ การป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพโดยกล...
แนวทางการเขียนรายงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ การป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพโดยกล...
 
บทนำ แผนพัฒนา 3 ปี
บทนำ แผนพัฒนา 3 ปีบทนำ แผนพัฒนา 3 ปี
บทนำ แผนพัฒนา 3 ปี
 
Proposing thailand40
Proposing thailand40Proposing thailand40
Proposing thailand40
 
NSTDA Plan 2552
NSTDA Plan 2552NSTDA Plan 2552
NSTDA Plan 2552
 
บทความวิจัยดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ภาคภาษาไทย ผอ.เชิดศักดิ์ ศุภโสภณ
บทความวิจัยดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ภาคภาษาไทย ผอ.เชิดศักดิ์  ศุภโสภณบทความวิจัยดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ภาคภาษาไทย ผอ.เชิดศักดิ์  ศุภโสภณ
บทความวิจัยดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา ภาคภาษาไทย ผอ.เชิดศักดิ์ ศุภโสภณ
 
Pmt ผลการประชุม ร่างเป้าหมายและยุทธศาสตร์หลัก
Pmt ผลการประชุม ร่างเป้าหมายและยุทธศาสตร์หลักPmt ผลการประชุม ร่างเป้าหมายและยุทธศาสตร์หลัก
Pmt ผลการประชุม ร่างเป้าหมายและยุทธศาสตร์หลัก
 
การจัดการเชิงยุทธศาสตร์
การจัดการเชิงยุทธศาสตร์การจัดการเชิงยุทธศาสตร์
การจัดการเชิงยุทธศาสตร์
 
การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ
การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบการจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ
การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ
 
การบริหารโรงเรียนเพื่อคุณภาพ
การบริหารโรงเรียนเพื่อคุณภาพการบริหารโรงเรียนเพื่อคุณภาพ
การบริหารโรงเรียนเพื่อคุณภาพ
 
17
1717
17
 
Proposal54 mk 8_nov10(final)
Proposal54 mk 8_nov10(final)Proposal54 mk 8_nov10(final)
Proposal54 mk 8_nov10(final)
 
แนวข้อสอบ Comprehensive 2
แนวข้อสอบ Comprehensive 2แนวข้อสอบ Comprehensive 2
แนวข้อสอบ Comprehensive 2
 
9789740330325
97897403303259789740330325
9789740330325
 

More from Pattie Pattie

สรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศ
สรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศสรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศ
สรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศPattie Pattie
 
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567Pattie Pattie
 
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉินรูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉินPattie Pattie
 
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิรAIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิรPattie Pattie
 
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชการบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชPattie Pattie
 
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...Pattie Pattie
 
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganizationคณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganizationPattie Pattie
 
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสีการประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสีPattie Pattie
 
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567Pattie Pattie
 
ResearchfoundationPro.pdf
ResearchfoundationPro.pdfResearchfoundationPro.pdf
ResearchfoundationPro.pdfPattie Pattie
 
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdfPMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdfPattie Pattie
 
KrungthepThaonUniv.pptx
KrungthepThaonUniv.pptxKrungthepThaonUniv.pptx
KrungthepThaonUniv.pptxPattie Pattie
 
จาก KM สู่ SLC.pptx
จาก KM สู่ SLC.pptxจาก KM สู่ SLC.pptx
จาก KM สู่ SLC.pptxPattie Pattie
 

More from Pattie Pattie (20)

สรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศ
สรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศสรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศ
สรุปการประชุม AAR การเข้าร่วมงาน HA National Forum ครั้งที่ 24 จาก กสศ
 
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
 
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉินรูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
 
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิรAIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
 
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชการบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
 
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
 
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganizationคณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
 
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสีการประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
 
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
 
ResearchfoundationPro.pdf
ResearchfoundationPro.pdfResearchfoundationPro.pdf
ResearchfoundationPro.pdf
 
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdfPMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
 
670111_PDF.pdf
670111_PDF.pdf670111_PDF.pdf
670111_PDF.pdf
 
NoteMemoCare.pdf
NoteMemoCare.pdfNoteMemoCare.pdf
NoteMemoCare.pdf
 
KrungthepThaonUniv.pptx
KrungthepThaonUniv.pptxKrungthepThaonUniv.pptx
KrungthepThaonUniv.pptx
 
จาก KM สู่ SLC.pptx
จาก KM สู่ SLC.pptxจาก KM สู่ SLC.pptx
จาก KM สู่ SLC.pptx
 
Udom_Pdf.pdf
Udom_Pdf.pdfUdom_Pdf.pdf
Udom_Pdf.pdf
 
Kregrit_Pdf.pdf
Kregrit_Pdf.pdfKregrit_Pdf.pdf
Kregrit_Pdf.pdf
 
Phuket_sandbox.pdf
Phuket_sandbox.pdfPhuket_sandbox.pdf
Phuket_sandbox.pdf
 
Surin_ppt.pptx
Surin_ppt.pptxSurin_ppt.pptx
Surin_ppt.pptx
 
Nakornsawan.pdf
Nakornsawan.pdfNakornsawan.pdf
Nakornsawan.pdf
 

Research pathway

  • 1. การขอปรึกษาและความคิดเห็นต่อการปรับรูปแบบโครงสร้างระบบวิจัยเพื่อนวัตกรรมทางสุขภาพ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนานโยบาย (สวน.) ได้รับการมอบหมายจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ให้ทบทวน ประมวล และจัดทำรูปแบบ โครงสร้าง ของระบบวิจัยทางคลีนิก ที่มุ่งให้เกิดนวัตกรรมทางสุขภาพ ในขณะ ที่ รัฐบาลกำลังปรับโครงสร้างของการวิจัย และนวัตกรรม เพื่อให้ก้าวไปได้เท่าทันกับการก้าวกระโดดของวิวัฒนาการ ด้านต่างๆ สืบเนื่องจาก การพลิกผันทางเทคโนโลยี (Disruptive Technology) และการพลิกผันทางเทคนิคสังคม (Disruptive Social Technic) ในโลก ณ ปัจจุบัน จากการทบทวนกรอบการวางแผนที่วิจัย (Research Mapping) ทางสุขภาพของหลายหน่วยงานที่ดำเนินงาน ในประเทศไทย และเปรียบเทียบกับการเปลี่ยนแปลงการจัดวางระบบสุขภาพใหม่ ในนานาประเทศ ตลอดจนเปรียบ เทียบกับการพลิกผันของวิถีการวางนโยบาย และยุทธศาสตร์ ในระดับโลก โดยทบทวนแผนงานวิจัย 6 กรณี คือ ก. การจัดการและวางแผนวิจัยการป้องกันควบคุมไข้เลือดออก (Dengue Haemorrhegic Fever) ข. การจัดการและวางแผนวิจัยการป้องกันควบคุมวัณโรค (Tuberculosis Control Program) ค. การควบคุมและป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน (Diabetic Mellitus Control) ง. การป้องกันและแก้ไขปัญหาทางสังคม ท้องไม่พร้อมในวัยรุ่น (Youths' Unwanted Pregnancy) จ. การวิจัยสมุนไพร โดยใช้กรณีการวางแผนวิจัยกัญชา (Medical Cannabis Research) ฉ. การวิจัยบริการและนวัตกรรมการจัดการทางสาธารณสุข (Public Health Innovation) ผลการทบทวนดังกล่าว บ่งชี้ข้อจำกัดสำคัญ ของกรอบการวางแผนงานวิจัยทางสุขภาพ ในประเทศไทย ดังนี้ 1) การวิจัยทางสุขภาพมีมิติที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันตั้งแต่ การทบทวนพรมแดนความรู้ (State of the Arts) ที่ เกี่ยวข้อง ทั้งทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ไปจนถึงเทคนิคทางสังคม ไปจนถึงการประยุกต์ใช้ กับการดำเนินงาน (Intervention) ในระดับนโยบาย รูปแบบการจัดการร่วมภาคี ตลอดจน การปรับสร้างเครื่องมือ และวิธีการทาง ชีวะวิทยาการแพทย์ และเครื่องมือนโยบาย เช่น กฎหมาย การปรับแก้พฤติกรรม การสื่อความเข้าใจทางสุขภาพ (Health Literacy) สำหรับการแก้ไขปัญหาตั้งแต่ในเชิงการสร้างเสริมสุขภาพ การปกป้องคุ้มครอง การป้องกัน ภาวะคุกคาม การดูแลรักษา และการฟื้นฟูสุขภาพ หากแต่ กระบวนการศึกษาวิจัยแต่ละด้าน เป็นไปอย่างแยกส่วน และมีความก้าวหน้า (Advancement) ในเชิงประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ที่แตกต่างกัน จึงไม่อาจนำมาใช้ในการ วางแผนร่วมกันอย่างเป็นระบบ หรือ มุ่งเป้าหมายการจัดการกับปัญหาให้สอดรับซึ่งกันและกัน ได้อย่างชัดเจน 2) แนวการวางเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ในปัจจุบัน ได้ปรับเปลี่ยนจากการแก้ไขป้องกันปัญหาเฉพาะหน้า ไปสู่ การวางรูปแบบและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและระบบงาน (Transformation Change) เพื่อวางมรรควิถีที่นำ ไปสู่ภาพอนาคตทางสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และกรอบการร่วมจัดการ (Governance) ภาคีข่ายงานและภาค ประชาคม ให้เกิดความยั่งยืนในระยะยาว (Sustainable Development) หากแต่การกำหนดแผนที่งานวิจัยทาง สุขภาพของหน่วยงานทางสุขภาพยังมิได้นำเอาข้อจำกัดทางเทคโนโลยี (เช่น ปัญหาวัณโรคดื้อยา การควบคุมลด พาหะนำไข้เลือดออก และวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก การค้นหาผู้ที่เป็น Pre Diabetic Cases การคุ้มครองปกป้อง เด็กและเยาวชนในครอบครัวเปราะบางมิให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น และการเตรียมระเบียบวิธีการวิจัย แบบ Reverse Pharmacology Approach ในการใช้กับการแผนการวิจัยกัญชาทางการแพทย์) และข้อจำกัดทาง เทคนิคสังคม (เช่น ขาดระบบการจัดการมุ่งอนาคต การคาดการณ์อนาคต ชาดการปรับใช้ Disruptive Social Technic ในการจัดบริการสุขภาพ ฯลฯ) ทำให้ไม่สามารถขับเคลื่อนนโยบายยุทธศาสชาติ 20 ปี ได้ 3) การวางแผนจัดการงานวิจัยในประเทศไทยขับเคลื่อนจากทุนการวิจัยในประเทศที่จำกัด ทำรูปแบบการสนับ สนุนงานวิจัยทางการแพทย์ส่วนใหญ่ต้องอาศัยการสนับสนุนชี้นำจากทุนวิจัยของประเทศอุตสาหกรรม แบบแผน การวางเป้าหมายจึงไม่อาจตอบสนองต่อการแก้ไขปัญหาของประเทศได้เต็มที่ แต่กลับต้องตอบคำถามการวิจัยใน ระดับสากล เช่น แนวทางการวิจัยขององค์การอนามัยโลก (ในกรณีตัวอย่างของการวิจัยไข้เลือดออก วัณโรค) หรือ การวิจัยของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมยา (กรณีของการขับเคลื่อนการวิจัยทางการแพทย์ร่วมหลายสถาบัน) ทำให้ ขาดโอกาสยกระดับสู่ประเทศที่มีรายได้ระดับกลางที่มีนวัตกรรม (เช่น เกาหลี จีน สิงคโปร์) อย่างไรก็ตาม ในวาระ F1
  • 2. ของความพยายามที่จะพลิกผันประเทศ ด้วยการปรับโครงสร้างวางแผนยุทธศาสตร์ชาติ1 และการจัดตั้งโครงสร้าง ของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม2 มุ่งสู่การรื้อสร้างมรรควิถีสู่การจัดการงานวิจัยอย่างเป็น ระบบ ให้ตอบสนองต่อเป้าหมายสุขภาวะของประเทศแต่ละด้านที่ชัดเจนขึ้น กรอบการปรับเปลี่ยนระบบและโครงสร้าง (Transformation Framework) การปรับสร้างระบบงานและโครงสร้างมักกระทบต่อความนึกคิดระดับบุคคล ซึ่งครอบคลุมถึง ผู้รับบริการ ผู้ให้ บริการ ผู้บริหาร และผู้กำหนดนโยบายในแต่ละภาคส่วน จึงต้องเปิดโอกาสแก่คนเหล่านี้เข้ามามีส่วนร่วมกับการปรับ สร้างระบบงานและโครงสร้าง เพื่อให้เห็นด้วยและได้รับการร่วมสนับสนุนจากทุกกลุ่มตั้งแต่เบื้องต้น มิเพียงมุ่งเน้นไปที่ ผู้กำหนดนโยบายเท่านั้น เพราะแรงต่อต้านของผู้รับบริการ ผู้ให้บริการและผู้ปฏิบัติการ จะต่อต้านอย่างรุนแรงยิ่งขึ้น หากปล่อยขาดความรับรู้ และยอมรับกระบวนการวางแผนและกรอบการปรับเปลี่ยน ภาพที่ 1 แสดงองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการปรับสร้างระบบงานและโครงสร้างที่มีความสัมพันธ์กับวาระ โอกาสทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจและเทคโนโลยี กับขั้นตอนขับเคล่ือนเข้าแทนที่ระบบงานและโครงสร้างเดิม3 การปรับสร้างระบบงานและโครงสร้างอาจแบ่งได้เป็น 3 ช่วงกิจกรรม คือ ช่วงการเตรียมการ (Preparing) ช่วง หาเส้นทางและควบคุมการดำเนินงาน (Navigating) และช่วงปรับให้มั่นคง (Stabilising) ชั่วขณะที่อยู่ระหว่างช่วงการ เตรียมการ กับ ช่วงหาเส้นทางและควบคุมการดำเนินงาน คือ วาระโอกาส (Window of Opportunity) ซึ่งเปิดช่อง ให้สามารถเสนอทางเลือกสำหรับนำไปสู่การปรับสร้างระบบและโครงสร้างใหม่3 ดังนั้น นักวิจัยทางสุขภาพ หรือ งาน สาธารณสุข น่าจะใช้วาระยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี1 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน4 เป็นวาระโอกาสที่เปิดรออยู่ ภาพที่ 1 เป็นรูปแบบการปรับสร้างระบบงานและโครงสร้างจากงานวิจัยเข้าสู่กระบวนการนโยบายโดยมีแกนตั้ง แทนมิติทัศนะต่างระดับ ในระดับบนสุดท่ีครอบงำวิถีคิดและระบบงานได้ เช่น การกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ในระดับโลกถึง พ.ศ. 2573 ซึ่งลงมาส่งอิทธิพลต่อยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ส่วนระดับกลาง คือ การกำหนดกฎเกณฑ์ของ ภาระงานของภาคส่วนต่างๆ งบประมาณ รวมทั้งเป้าหมายภารกิจของแต่ละหน่วยงานที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ และระดับ ล่างสุด คือ การจัดกลไกและภารกิจนวัตกรรมของหน่วยงานและภาคส่วนต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน ส่วนแกนนอนในภาพ เป็น กรอบเวลาที่ผู้กำหนดวิจัยและนวัตกรรมทางระบบงาน และโครงสร้าง (Research for Transformation) ควรจะคาดประมาณเวลาที่จะใช้ สำหรับจัดกิจกรรมสำหรับตอบประเด็นการปรับสร้างฯ และ F2
  • 3. บูรณาการเข้าสู่ภาระงานกระแสหลักของประเทศไทย ในระดับส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่น และชุมชน โดยปรับเข้ากับ ยุทธศาสตร์ด้านต่างๆ ด้วยรูปแบบ (Model) ที่เอื้อให้เกิดการสร้างผลงานร่วมกัน (Coproduction) สู่ประชาชนกลุ่ม เป้าหมายต่างๆ ระหว่างภาคส่วนต่างๆ โดยมีจุดผ่านของมรรควิถี ของแต่ละทีมวิจัยทางสุขภาพ ดังนี้ จุดที่ 1 การปรับตัวของการจัดการงานวิจัยในกระบวนการนวัตกรรมของโครงสร้างภาคส่วนใหม่ จุดที่ 2 บ่งชี้ให้เห็นช่องว่างระหว่างเป้าหมายที่จะบรรลุในอีก 20 ปี ซึ่งตอบได้ด้วยงานวิจัยเชิงนวัตกรรมเท่านั้น จุดที่ 3 และ 4 คือ การจัดแผนงานนวัตกรรมประเด็นต่างๆ ที่จำเป็นสู่เป้าหมายยุทธศาสตร์ และ SDG จุดที่ 5 คือ การจัดการงานวิจัยร่วมกับหน่วยงานปฏิบัติสู่กลุ่มเป้าหมายร่วมกันของภาคส่วนต่างๆ จุดที่ 6 คือ การขยายผลและเสริมสมรรถนะขององค์กรที่จัดตั้งไว้ แต่ยังขาดกรอบกำหนดรูปแบบ (Model) ในการจัดการและควบคุมกำกับ ในรูปของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Operation Research) และสร้างวิธีการที่สามา รถประเมินประสิทธิผล และประสิทธิภาพได้ (Implemenation Reseasrch) ในระดับพื้นที่ชุมชน จุดที่ 7 การทดสอบรูปแบบ (Models) ที่วิจัยและนวัตกรรมขึ้น เพื่อขยายผลให้ครอบคลุมกว้างขวางขึ้น จุดที่ 8 นำเสนอกรอบและเกณฑ์การจัดการของรูปแบบที่เป็นนวัตกรรมเข้าสู่กรอบงานตามยุทธศาสตร์ชาติ1 จากแผนที่การวิจัย (Research Roadmap) สู่ มรรควิถีการวิจัย (Research Pathway) การวางแบบแผนงานวิจัยด้วยการประมวลข่าวสารการดำเนินงานของกลุ่มสนใจ หรือ มีนักวิจัยที่ทำงานแต่ละ ด้าน และมีประสบการณ์ในการวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้อง มาประมวลเป็นหัวข้อการวิจัยที่ควรให้ทุน และแนวทางที่ จะเชื่อมโยงทีมวิจัยเหล่านี้เข้าด้วยกัน ที่มักดำเนินการอยู่ในประเทศไทย เป็นวิธีการจัดการที่ช่วยให้เห็นปริทรรศน์ของ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หากแต่ยังขาดความเชื่อมโยงระหว่างพรมแดนความรู้ (State of the Arts) ของงานวิจัยแขนงการ วิจัยต่างพื้นฐานความรู้เข้าด้วยกันโดยเปรียบเทียบกับเป้าหมายการใช้ความรู้จากฐานวิชาชีพต่างๆ สู่เป้าหมายสัมฤทธิ ผลทางสุขภาพของประเทศชาติ และประชาคมกลุ่มต่างๆ อย่างจริงจัง ส่งผลให้การจัดการงานวิจัยเพื่อนวัตกรรมขาด การสนับสนุนอย่างจริงจัง เนื่องจากฝ่ายนโยบายและการเงินการคลังมุ่งเพียงแค่ ปฏิบัติการที่แสดงให้เห็นถึง "ความ เพียรพยายามเชิงการเมือง (Political Afford)" เป็น ภารกิจเชิงประจักษ์ (Explicit Evidence) ที่สำคัญเท่านั้น แต่จากการทบทวนแผนงานเชิงยุทธศาสตร์ ในระดับนานาชาติและระดับประเทศ แสดงให้เห็นว่า แผนการควบ คุมไข้เลือดออก5 การควบคุมวรรณโรค6,7 การควบคุมโรคเบาหวาน8,9 การดำเนินงานให้สำเร็จตามเป้าหมายระยะยาว ควรบูรณาการเข้ากับการวางเป้าหมายผลสำเร็จของงาน พร้อมกับบ่งชี้ให้ชัดเจนว่า จุดพลิกผันสำคัญของความสำเร็จ เชิงยุทธศาสตร์ต้องการผลงานวิจัยเชิงนวัตกรรมในส่วนใด? และต้องการเร่งด่วนเพียงไร? ทำให้เห็นความจำเป็นของ การลงทุนภาครัฐที่สำคัญ และความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงไปถึงผลสำเร็จเชิงยุทธศาสตร์ชาติที่มุ่งหมาย นอกจากนั้น แนวทางที่กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้วางเป้าหมายของสถาบันอุ ดมศึกษาให้ใช้งานวิจัยและนวัตกรรมเป็นฐานงาน (Platform) ที่สร้างงานวิจัย พร้อมไปกับสร้างคน และผลประโยชน์ ให้กับสังคมแบบบูรณาการ ยุทธศาสตร์การสร้างระบบนิเวศน์ของฐานงานร่วม (Platform Strategy) เป็นแนวคิด และแนวปฏิบัติใหม่ ที่ พลิกผันจาก รูปแบบและยุทธศาสตร์ธุรกิจแบบฐานการตลาดรวม (Pipeline Strategy) ที่เคยเป็นวิถีการควบคุมการ ดำเนินธุรกิจในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ดังตัวอย่าง งห้างสรรพสินค้าใหญ่ ที่รวมเอาร้านเล็กๆ จำนวนมากให้เข้าไปอยู่ ในพื้นที่เดียวกัน ซึ่งมีเจ้าของเพียงเจ้าเดียวเป็นผู้ควบคุมเพียงรายเดียว หากแต่ ธุรกิจ หรือ ธุรกรรมแบบสร้างระบบ นิเวศน์ของฐานงานร่วมภาคีเป็นนวัตกรรม ที่พลิกผันเทคโนโลยีข่าวสารและดิจิทัล ที่อาศัยโลกไซเบอร์ (Cyberspace) ในการสื่อสารแลกเปลี่ยนใน ช่วง พ.ศ. 2550 โดยกลุ่ม Apple แล้วกระจายไปสู่กลุ่ม อื่นๆ ในรูปของ Software Platform ต่อมาจึงกระจายไปสู่ระบบธุรกิจ เช่น AirBNB เป็นระบบการขายบริการห้องพัก ที่พัก โดยหลายฝ่ายเข้า มามีส่วนร่วมด้วยกัน ทดแทนระบบโรงแรมข่ายงาน (Chained Hotel) ที่เติบโตอยู่แต่เดิม หรือ Uber เป็นระบบที่เจ้า ของรถส่วนตัวเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดบริการรถเช่า แทนรูปแบบบริษัท หรือ สหกรณแท็กซี่ แบบดั้งเดิม10 ในระยะหลัง มีการใช้ระบบนิเวศน์ (Platform Strategy) ในการทำงานวิจัยแต่ละด้าน เปิดพื้นที่ให้สถาบัน หรือ กลุ่มสถาบัน หรือ บุคคล ร่วมกันสร้างสรรค์ หรือ พัฒนาเทคโนโลยี หรือ ผลิตภัณฑ์ร่วมกัน เป็นพื้นที่จัดการงาน วิจัยร่วมกัน จึงเกิดเป็น Platform Entrprise ร่วมกัน11 ซึ่งอาจจำแนกเป็น F3
  • 4. 1. Innovation Platform เปิดโอกาสให้ร่วมกันพัฒนา หรือ ร่วมสร้างผลิตภัณฑ์ หรือ บริการใหม่ แล้วนำมา วาง หรือ เผยแพร่ ในระบบนิเวศน์นวัตกรรมต่อยอดกันไปเรื่อยๆ 2. Transaction Platform มีลักษณะเหมือนนิเวศน์ของการตลาด ที่ช่วยเปิดช่องทางให้ผู้ต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ หรือ ผู้ซื้อ ได้พบกับผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือ ผู้ขาย 3. Investment Platform เป็นเครือนักลงทุน ที่เน้นการเข้าไปร่วมลงทุนกับทีมนักวิจัย หรือ สถาบันวิชาการ ที่สร้างนวัตกรรมขึ้น สร้างเป็น Start Up สนับสนุนภารกิจของนักวิจัย การเติมเต็มแผนปฏิบัติการทางสุขภาพให้ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติด้านสาธารณสุข และแผนปฏิรูป ประเทศในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้วยการทำความเข้าใจกับข้อจำกัดของการดำเนินงาน หรือ ระบบริการที่ ขาดประสิทธิผล และไร้ประสิทธิภาพ เนื่องจากมิได้ปรับแก้ระบบและโครงสร้างของบริการสุขภาพให้เท่าทันกับปัญหา ทางสังคม และเทคโนโลยี ที่แปรเปลี่ยนในสังคมไทยไปอย่างรวดเร็ว และอาศัยกระบวนการจัดการวิจัยในพื้นที่กลุ่มนัก วิจัยต่างสาขาที่ร่วมจัดการแผนงานวิจัยข้ามสาขา ให้สนองต่อการแก้ไขปัญหาตามเงื่อนไขเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ได้ การปรับโครงสร้างแยกกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ออกไปรับพันธกิจขับเคลื่อนพลัง รูปแบบใหม่ในสหัสวรรษนี้ เพื่อให้ก้าวทันกับนานาประเทศ ซึ่งได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วถึงความสำคัญของนวัตกรรมที่สร้าง สรรค์โดยมนุษย์ อันจะเป็นเงื่อนไขของความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมได้จริง2 ภาพที่ 2 แสดงมรรควิถี (Pathway) ของการใช้งานวิจัยในพื้นสาขา (Platform) ต่างๆ สู่เป้าหมายนวัตกรรม บริการทางสุขภาพ ต่อปัญหาทางสุขภาพแต่ละประเด็น โดยมีการจัดการร่วม (Portfolio Management) ภาพที่ 2 เป็นข้อเสนอในการกจัดวาง "มรรควิถี (Pathway)" การวิจัย ที่มุ่งขับเคลื่อนกลุ่มนักวิชาการและนัก วิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ให้หันมาให้ความสำคัญกับนัยทางนวัตกรรม โดยนำเอาเทคโนโลยี และเทคนิคทางสังคม ใหม่ มาปรับใช้กับระบบบริการ ให้ตอบสนองต่อความจำเป็น และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ การวิจัย F4
  • 5. ระบบนโยบาย การบริหารจัดการ ทั้งในระดับส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่น และชุมชน เพื่อให้การแปลนโยบายสุขภาพ ลงสู่พื้นที่เป้าหมายได้จริง ตลอดจนมุ่งเน้นที่การวิจัยปฏิบัติการ (Operation Research) และวิจัยการดำเนินงาน (Implementation Research) เพื่อทดสอบ และสร้างรูปแบบ การให้บริการทางสุขภาพบนพื้นฐาน และระบบสร้าง นิเวศน์สำหรับบริการสุขภาพ (Platform of Health Service) ที่อาจแตกต่างไปจากระบบงานดั้งเดิม แต่เอื้อให้เกิด การปรับแก้ และนวัตกรรมบริการสุขภาพ ที่เท่าทันกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างต่อเนื่อง การดำเนินงานของกองทุนโลกเพื่อต่อสู้โรคเอดส์ วัณโรค และมาเลเรีย ได้กำหนดให้ใชัสัดส่วนของงบประมาณ สำหรับดำเนินการ จัดเป็นงบประมาณเฉพาะเพื่อใช้วางระบบจัดการวิจัยเชิงปฏิบัติงาน และการวิจัยการดำเนินงาน ส่งผลให้เกิดความมั่นใจกิจกรรมที่ดำเนินอยู่ได้รับการตรวจสอบประสิทธิผลทุกขั้นตอนได้อย่างจริงจัง12 หากแต่ ในประ เทศไทย ยังขาดทีมงานวิจัยที่จะนำการวิจัยในลักษณะนี้ลงไปสู่การใช้งานได้จริง ตลอดจนหน่วยงานผู้รับผิดชอบการ ดำเนินงานในพื้นที่ ก็ขาดความรู้ที่จะปรับใช้ระเบียบวิธีการวิจัยดังกล่าว ส่งผลให้กิจกรรมด้อยประสิทธิผลลงเรื่อยๆ ผังมรรควิถีการวิจัย แสดงให้เห็นถึงประเด็นการทำงานสำคัญตามขั้นตอนในภาพที่ 2 ประกอบด้วย 1. การผนึกพลังของทีมนักวิจัยกับฝ่ายกำหนดนโยบาย ร่วมกันประเมิน "มรรควิถี" ของการวิจัยที่จะนำไปสู่เป้า หมายยุทธศาสตร์ชาติทางด้านสุขภาพ และทรัพยากรมนุษย์ โดยนำเสนอช่องว่างของสมรรถนะการดำเนินงาน และ ประสิทธิผลของการดำเนินกิจกรรมในปัจจุบัน เพื่อแสดงข้อจำกัดของการดำเนินนโยบายที่เป็นอยู่ ในขณะเดียวกัน ก็ ใช้ข่าวสารเชิงยุทธศาสตร์ดังกล่าว ในการกำหนดลำดับความสำคัญของงานวิจัยทั้งในระดับพื้นฐาน ระดับห้องปฏิบัติ การ ระดับการวิจัยคลินิก และระดับการจัดรูปแบบบริการ ให้เชื่อมโยงได้อย่างสอดคล้องกับสถานการณ์แต่ละปัญหา 2. การทบทวนติดตามความก้าวหน้า (State of the Arts) ทางเทคโนโลยี และเทคนิคสังคม แต่ละด้าน เพื่อให้ รู้และเข้าใจ ช่องว่างทางความรู้ ข้อจำกัดทางสมรรถนะการวิจัย เพื่อให้สามารถวางแผนการถ่ายทอดเทคโนโ่ลยี และ เทคนิคสังคม (Technology Transfer) เข้ามาสู่กลุ่มนักวิจัย ที่ควรจัดภายใต้ระบบนิเวศน์ฐานงานร่วมวิจัย เพื่อให้นำ เอาความรู้และเทคโนโ่ลยีเฉพาะแต่ละด้าน มาทดสอบประยุกต์ใช้ในประเทศไทยอย่างเป็นระบบ และทำการทดสอบ กันในแต่ละกลุ่มปฏิบัติการ และพัฒนาขึ้นใช้ในประเทศได้อย่างต่อเนื่อง 3. กลุ่มการวิจัยด้านล่าง เป็นกลุ่มที่สร้างการเชื่อมโยงระหว่าง กลุ่มนิเวศน์งานวิจัยแต่ละด้าน เช่น กลุ่มที่ทำงาน ในห้องปฏิบัติการด้านอณูวิทยาสำหรับพัฒนาวัคซีน ยา เวชภัณฑ์ การทดสอบทางชีวภาพ (Bio Markers) สำหรับช่วย ในการวินิจฉัยระยะ หรือ ความรุนแรงของโรค หรือ ใช้พยากรณ์ความรุนแรงของโรค กับ การวิจัยทางคลินิค ซึ่งมีทั้ง การจัดวางข่ายงานหลายคลินิค (Multi-Center Study) การพัฒนาและรับรองจริยธรรมการวิจัย การเก็บรวบรวม สารทดสอบ กับ ข่ายงานผลิตยา วัคซีน หรือ Bio-Markers ต่าง 4. กลุ่มการวิจัยด้านบน เป็นกลุ่มที่สร้างการเชื่อมโยงนิเวศน์งานวิจัยทางพฤติกรรม สังคม การจัดการและนโย บาย ซึ่งอาจมีระบบนิเวศน์ของกลุ่มพัฒนาทฤษฎี และปรับใช้้ในชุมชนต่างๆ ของประเทศไทย กับ กลุ่มทำการทดสอบ และติดตามประสิทธิผลการดำเนินงานในพื้นที่ชุมชนต่างๆ เพื่อพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมกับเงื่อนไขแต่ละชุมชน ตลอดจนนำมาทดสอบกับระบบงานที่มีผู้ดำเนินงานร่วมกันหลายภาคส่วน (Multi-Sector and Multi-level Governance) เพื่อให้มั่นใจว่าจะจัดบริการ และควบคุมคุณภาพในระดับปฏิบัติการได้จริง 5. กลุ่มที่ประมวลนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยี และเทคนิคสังคม เทียบกับวิวัฒนาการของแต่ละกลุ่มนิเวศน์ วิทยา เพื่อให้สามารถวางแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากภายนอก หรือ สากล เข้ามาใช้ขับเคลื่อนนโยบายภายในประ เทศอย่างเป็นระบบ ตลอดจนการจัดเตรียมสร้างนักวิจัยแต่ละด้านให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ 6. กลุ่มที่ติดตามกำกับ และประเมินผล การแปลผลจากงานวิจัยไปสู่การขับเคลื่อนนโยบาย เพื่อปรับแก้ข้อ จำกัด และอุปสรรคเชิงโครงสร้างของการพัฒนานโยบายทั้งในส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่น และชุมชน ในขณะเดียว กันก็ต้องปรับปรุงการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิผลจริงของหน่วยงานในทุกระดับ การจัดพันธกิจของกลุ่มที่จัดระบบนิเวศน์เดียวกันนี้ เริ่มมีขึ้นบ้าง เช่น ในการจัดกลุ่มวิจัยทางคลินิกในข่ายงาน โรงเรียนแพทย์ ตลอดจนมีการจัดตั้งเป็นบริษัท และการของบประมาณจากภาครัฐเข้าสนับสนุนในการอบรม และจัด วางเครื่องมือช่วยในการวางแผนการวิจัยร่วมกัน แต่ยังไม่อยู่ในรูปของ Platform อย่างจริงจัง F5
  • 6. ประเด็นที่ขอคำปรึกษาและเสนอแนะ 1. ขอทราบแนวคิด ความก้าวหน้า ปัญหา และอุปสรรค ของการพัฒนาระบบวิจัย จากประสบการณ์ที่รับผิด ชอบงานวิจัยและพัฒนาของประเทศที่ผ่านมา 2. ขอทราบแนวคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ที่กำลังดำเนินไปในขณะ นี้ และความเห็นเกี่ยวกับการปรับงานวิจัยจาก "เพื่อการพัฒนา" ไปเป็น "เพื่อนวัตกรรม" 3. ขอคำความเห็น และข้อแนะนำเกี่ยวกับการปรับรูปจัดการงานวิจัย จาก Research Mapping มาสู่ Research Pathway โดยใช้ Platform Strategy เป็นกรอบยุทธศาสตร์ F6
  • 7. เอกสารอ้างอิง 1. ราชกิจจานุเบกษา "พระราชโองการ เรื่องยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐)" ประกาศ ณ วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๘๒ ก วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ 2. ราชกิจจานุเบกษา "พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัต กรรม พ.ศ. ๒๕๖๑ เล่มที่ ๑๓๖ ตอนที่ ๕๗ ก วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ 3. R, Roggema, T. Vermeend, and A.V.D. Dobbelsteen, "Incremental Change, Transition or Transformation? Optimising Change Pathways for Climate Adaptation in Spatial Planning", Sustainability pp. 2525 - 2549, doi:10.3390/su4102525, 2012. 4. United Nations, "Transforming our World : The 2030 Agenda for Sustainable Development", Declaration from meeting at United Nations Headquarters in New York on September 2015. 5. WHO, "Global Strategy for Dengue Prevention and Control: 2012 - 2020", Print in France, 2012. 6. WHO, "The End TB Strategy: Global Strategy and targets for Tuberculosis Prevention, Care and Control after 2015", The official text approved by the sixty seventh World Health Assembly, May 2014. 7. EU, "TB Vaccine Initiative Focus Area", European Parliament adopts resolution on the Tuberculosis Vaccine Initiative (TBVI), Feb 17, 2011. 8. CDC, USA, "The National Diabetes Prevention Program", Congress authorised the CDC to establish and lead the National Diabetes Prevention, 2011 9. NHS, "Diabetes Prevention Programme", https://www.england.nhs.uk/wp-content/uploads/ 2016/08/dpp-faq.pdf 10.M.W. Van Alstyne, G.G. Parker and S.P. Choudary, "Pipelines, Platform, and the New Rules of Strategy", Harvard Business Review, from the April, 2016 Issue. 11.รศ. ดร. พสุ เดชะรินร์ "กลยุทธ์ Platform" คอลัมน์มองมุมใหม่ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ 6 ธันวาคม 2559 12.The Global Fund to fight AIDS, Tuberculosis and Malaria, USAID, WHO, TDR, "Framework for Operations and Implementation Research in Health and Disease Control Programs",Technical working group members and consultation meeting participants, Geneva, July, 2003 F7
  • 8. F8