SlideShare a Scribd company logo
1 of 36
ประวัติความเป็นมา      ข้อมูลจังหวัดลำพูน          จังหวัดลำพูน เดิมชื่อเมืองหริภุญไชย เป็นเมืองโบราณ มีอายุประมาณ  1,342  ปี ตามพงศาวดารโยนกเล่าสืบต่อกันถึงการสร้างเมืองหริภุญไชยว่า    ฤาษีวาสุเทพเป็นผู้เกณฑ์พวกเม็งคบุตรหรือชนเชื้อชาติมอญมาสร้างเมืองนี้ขึ้น ในพื้นที่ระหว่างแม่น้ำสองสายคือ แม่น้ำกวงและแม่น้ำปิง   เมื่อมาสร้างเสร็จได้ส่งทูตไปเชิญราชธิดากษัตริย์เมืองละโว้พระนาม   " จามเทวี "                                                 
มาเป็นปฐมกษัตริย์ปกครองเมืองหริภุญไชยสืบราชวงศ์กษัตริย์ต่อมาหลายพระองค์จนกระทั่งถึงสมัยพระยายีบาจึงได้เสียการปกครองให้แก่พ่อขุนเม็งรายมหาราช ผู้รวบรวมแว่นแคว้นทางเหนือเข้าเป็นอาณาจักรล้านนา เมืองลำพูน ถึงแม้ว่าจะตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนาแต่ก็ได้เป็นผู้ถ่ายทอดมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมให้แก่ผู้ที่เข้ามาปกครอง ดังปรากฏหลักฐานทั่วไปในเวียงกุมกาม เชียงใหม่และเชียงราย เมืองลำพูนจึงยังคงความสำคัญในทางศิลปะและวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนา จนกระทั่งสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมืองลำพูนจึงได้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย มีผู้ครองนครสืบต่อกันมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ . ศ .  2475  เมื่อเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้าย คือ พลตรีเจ้าจักรคำ ขจรศักดิ์ ถึงแก่พิราลัย เมืองลำพูนจึงเปลี่ยนเป็นจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปกครองสืบมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ลักษณะทางภูมิศาสตร์               ที่ตั้งและขนาด                 หมายเหตุ .    รูปแผนที่สามารถคลิ๊กขยายขนาดใหญ่
                         แผนที่เมืองลำพูน แผนที่จังหวัดลำพูน
ที่ตั้ง                จังหวัดลำพูน ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  11 ( สายเอเซีย )  เป็นระยะทาง  689  กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินสายพหลโยธิน เป็นระยะทาง  724  กิโลเมตร และตามทางรถไฟ  729  กิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่  18  องศาเหนือ และเส้นแวงที่  99  องศาตะวันออก อยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน อยู่ห่างจากจังหวัดเชียงใหม่เพียง  22  ก . ม .  เป็นพื้นที่ ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นศูนย์กลางความเจริญของภาคเหนือตอนบน และอนุภูมิภาค ลุ่มน้ำโขง    หรือพื้นที่สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจร่วมกับ จังหวัดเชียงใหม่
  ขนาด              จังหวัดลำพูนเป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดของภาคเหนือมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ   4,505.882  ตร . กม .  หรือประมาณ  2,815,675  ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ  4.85  ของพื้นที่ ภาคเหนือตอนบน บริเวณที่กว้างที่สุดประมาณ  43  กม .  และยาวจากเหนือจดใต้  136  กม .
ตารางที่ตั้งและขนาดพื้นที่ของจังหวัดลำพูน จำแนกเป็นรายอำเภอ / กิ่งอำเภอ
45 1.24 49.433 -  กิ่งอำเภอเวียงหนองล่อง   26 2.72 129.024 -  อำเภอบ้านธิ 105 10.79 486.129 -  อำเภอทุ่งหัวช้าง 105 37.96 1,701.99 -  อำเภอลี้ 25 16.68 762.63 -  อำเภอแม่ทา 36 13.31 596.901 -  อำเภอบ้านโฮ่ง 11 6.52 299.950 -  อำเภอป่าซาง 2 10.78 473.825 -  อำเภอเมืองลำพูน - - 4,505.882 จังหวัดลำพูน ระยะทางห่างจาก จังหวัด ร้อยละ ขนาด ตร . กม . ส่วนราชการ
อาณาเขต              ทิศเหนือ ติดต่อกับ อ . สารภี อ . สันกำแพง จ . เชียงใหม่              ทิศใต้ ติดต่อกับ อ . เถิน จ . ลำปาง และ อ . สามเงา จ . ตาก                ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อ . ห้างฉัตร อ . สบปราบ อ . เสริมงาม จ . ลำปาง              ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อ . ฮอด อ . จอมทอง อ . หางดง อ . สันป่าตอง จ . เชียงใหม่
ลักษณะภูมิอากาศ         จังหวัดลำพูนตั้งอยู่ในภาคเหนือ ซึ่งตามตำแหน่งที่ตั้งอยู่ในเขตร้อนที่ค่อนไปทาง  เขตอากาศอบอุ่น ในฤดูหนาวจึงมีอากาศเย็นค่อนข้างหนาว แต่เนื่องจากอยู่ลึกเข้าไปใน  แผ่นดินห่างไกลจากทะเล จึงมีฤดูแล้งที่ยาวนานและอากาศจะร้อนถึงร้อนจัดในฤดูร้อน   จังหวัดลำพูนมีสภาพภูมิอากาศแตกต่างกันอย่างเด่นชัด  3  ช่วงฤดู คือช่วงเดือนมีนาคมกับเมษายนมีอากาศร้อน ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม จะมีฝนตกชุกเป็นฤดูฝนและช่วงเดือนพฤศจิกายนถึง เดือนกุมภาพันธ์มีอากาศหนาวเย็นเป็นฤดูหนาว   ซึ่งฤดูหนาวและฤดูร้อนนั้น เป็นช่วงฤดูแล้ง ที่มีระยะเวลาติดต่อกันประมาณ  6  เดือน   ในช่วงฤดูฝนอีก  6  เดือน นั้น อากาศจะไม่ร้อนเท่ากับ ในฤดูร้อน และไม่หนาวเย็นเท่า ฤดูหนาว คือมีอุณหภูมิปานกลางอยู่ระหว่างสองฤดูดังกล่าว
               อุณหภูมิ ในปี  2545      อุณหภูมิสูงสุด ในปี  2545  ในเดือนเมษายน วัดได้  41.2  องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด ในปี  2545  ในเดือนธันวาคม วัดได้  11.4  เซลเซียส   อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี  2545  เท่ากับ  24.17  องศเซลเซียส   ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย ร้อยละ  74.78  ปริมาณฝน  ( ระหว่างปี  2541 - 2545)  1.  ปริมาณน้ำฝนของจังหวัดลำพูนเฉลี่ย  1,026.06  มิลลิเมตร   2.  ปริมาณน้ำฝนสูงสุดต่อวัน  156.0  มิลลิเมตร เมื่อวันที่   22  สิงหาคม  2545  3.  ฝนตกมากที่สุดในปี  2545  วัดได้ถึง  1,320.0  ม . ม .  จำนวนวันฝนตก  119  วัน      4.  ฝนตกน้อยที่สุดในปี  2541  วัดได้  642.2  ม .. ม .  จำนวนวันฝนตก  95  วัน       5.  ในปี  2545  ปริมาณน้ำฝน รวม  1,320.0  มิลลิเมตร จำนวนวันฝนตก  119  วัน
 
ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย  
พระบรมธาตุหริภุญชัย เป็นปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งของจังหวัดลำพูนเป็นจอมเจดีย์องค์หนึ่งในจำนวนแปดแห่งของประเทศไทย    เป็นเจดีย์ที่เก่าแก่ที่สร้างในสมัยพระเจ้าอาทิตยราช    พระบรมธาตุหริภุญชัยเป็นศูนย์รวมความศรัทธาของประชาชนโดยทั่วไป    ประเพณีสรงน้ำพระธาตุเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ เป็นที่สนใจของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดลำพูน และจังหวัดใกล้เคียง ประเพณีนี้ ยึดถือและปฏิบัติมาเป็นประจำทุกปี    โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ   ๑ .  เพื่อเป็นการสักการะพระบรมธาตุฯ ซึ่งเป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่ของวัดพระธาตุหริภุญชัยวรวิหาร และนับเป็นโบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ของชาวลำพูน และชาวพุทธทั่วไป       ๒ .  เพื่อสักการะพระบรมธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า       ๓ .  เพื่อเป็นการบูชาเสาหลักเมือง ทั้งนี้เพราะประชาชนชาวจังหวัดลำพูนถือว่าเจดีย์พระบรมธาตุหริภุญชัยเป็นเสาหลักเมือง เมื่อทำพิธีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย จึงเท่ากับได้ทำบุญเสาหลักเมืองลำพูนด้วย    
ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย กำหนดจัดขึ้น ณ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรวิหาร อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน    ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ หรือที่ชาวเหนือ เรียกว่าวันแปดเป็ง  ( ราวเดือนพฤษภาคม ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ของภาคกลาง )  หรือวันวิสาขบูชา    งานประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุฯ มักจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น ๙ ค่ำ เป็นต้นไป ผู้คนจะหลั่งไหลมาร่วมงานสรงน้ำพระธาตุฯ ผู้ที่อยู่ห่างไกลก็จะเดินทางมาอาศัยพักบ้านญาติมิตร มีหลายพวกหลายเผ่า ทั้งคนพื้นบ้าน พื้นเมือง ชาวเขาและต่างถิ่น    มีการแต่งกายกันตามประเพณีท้องถิ่นทั้งชุดพื้นเมือง ชุดชาวเขา มีการเตรียมข้าวของเรียกว่า ดาครัว ซึ่งญาติพี่น้อง จากต่างบ้าน ต่างถิ่น จะมาช่วยกันแต่งดา เป็นการรวมญาติพี่น้องให้ได้มาเยี่ยมเยียนมาพบกัน    สำหรับในส่วนของทางวัด จะมีการเตรียมงาน และกิจกรรมที่จัดขึ้นถึง ๗ วัน ๗ คืน    ได้แก่    การแข่งขันตีกลองหลวง การแข่งขันกลองบูชา    การประกวดฟ้อนพื้นเมือง การประกวดจัดโต๊ะหมู่บูชา โคมวิสาขะ นอกจากนี้ ยังมีพิธีราษฎร์และพิธีหลวง
พระรอด วัดมหาวัน ลำพูน
ลักษณะ :  พระเนื้อดิน เป็นพระพิมพ์ขนาดเล็ก ชื่อพระรอดนั้นมีข้อสันนิษฐาน  3  ทางได้แก่         1.  ออกเสียงตามผู้ที่สร้างขึ้น คือ พระฤาษีนารอด ซึ่งออกเสียงตามภาษามอญ         2.  ผู้ที่สักการะบูชา และนำติดตัวไปยังที่ต่าง ๆ สามารถรอดพ้นจากอันตรายเป็นอย่างดี จึงเรียกว่าพระรอด         3.  เนื่องจากเป็นพระเครื่องที่มีขนาดเล็กกว่าพิมพ์อื่นๆ จึงได้ชื่อว่าพระลอด และเพี้ยนมาเป็นพระรอด                 ลักษณะทั่วไปของพระรอด    เป็นพระปางมารวิชัย มีฐานอยู่ใต้ที่นั่ง และมีผ้านิสีทนะ  ( ผ้านั่งปู )  รองรับปูไว้บนฐานข้างหลังองค์พระมีลวดลายกระจัง ชาวพื้นเมืองเหนือเรียกกันว่า ใบโพธิ์ เพราะกระจังนั้นดูคล้ายๆใบโพธิ์มีกิ่งก้านไม่อยู่ในเรือนแก้ว    พระพักตร์จะปรากฏพระเนตร  ( ตา )  พระกรรณ  ( หู )  ยาวลงมาเกือบจรดพระอังสะ  ( บ่าหรือไหล่ )  ทั้งสองข้าง    ส่วนด้านหล้งนั้นไม่มีลวดลายอะไรนอกจากรอยนิ้วมือ เป็นเนื้อดินทั้งหมด บางองค์มีลักษณะนูนบ้างแบนบ้าง
วัดมหาวัน อำเภอเมือง เป็นวัดสำคัญเก่าแก่ ที่สร้างมาตั้งแต่ครั้งพระนางจามเทวีขึ้นครองนครหริภุญไชย    เมื่อประมาณปี     พ . ศ .  ๑๒๐๐ เศษ     และได้อัญเชิญ พระพุทธรูปนาคปรก หรือ พระดิลกดำ จากเมืองละโว้ มาไว้ที่วัดนี้ ชาวเมืองเรียกกันว่า พระรอดหลวง หรือ พระรอดลำพูน ซึ่งต่อมาได้เป็น แบบพิมพ์จำลอง พระเครื่อง ที่ลือชื่อกรุหนึ่ง ชื่อ พระรอดมหาวัน      ซึ่งพระอารามนี้ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันตกห่างจากประตู มหาวัน อันเป็นประตูเมืองด้านทิศตะวันตก    ประมาณ ๕๐ เมตร    หน้าพระอารามหันไปทางทิศตะวันออก    ตรงกันข้ามกับคูเมือง    ที่ตั้งวัดนี้เดิมเป็นมหาวนาราม พระอารามหลวง    ซึ่งพระนางจามเทวีโปรดให้สร้างขึ้น เมื่อประมาณ ปี พ . ศ .  ๑๒๐๐ เศษ    
ในสมัยต่อๆ มามีการขุดพบพระรอดอยู่เสมอ แต่มีจำนวนไม่มากนักข้อสังเกตในการขุดพบพระรอด ในปี พ . ศ .  ๒๔๙๘ ซึ่งพบมากถึงประมาณ ๒๐๐ องค์    บริเวณที่พบพระรอดมักจะมีอิฐโบราณสลับซับซ้อนอยู่โดยรอบพระรอด และพระรอดจะฝังอยู่ในดินหรดาลซึ่งเป็นดินเนื้อละเอียดที่สุด มีสีเหลือง และมีกลิ่นหอมนวลๆ ซึ่งในการสร้างพระรอดสมัยต่อมา ได้นำดินหรดาล ผสมกับเศษพระรอด และพระอื่นๆสร้างป็นพระรอดขึ้นมา เช่น พระรอดครูบากองแก้ว           ตำนานการสร้างพระรอด กล่าวถึงสุกกทันต์ฤษี และวาสุเทพฤษี ประชุมฤษี ๑๐๘ รูป    มาชุมนุมสร้างโดยเอาดินบริสุทธิ์จากใจกลางทวีปทั้ง ๕    ตัวยา ๑ , ๐๐๐ ชนิด    เกสรดอกไม้ ๑ , ๐๐๐ ชนิด    และว่าน ๑ , ๐๐๐ ชนิด    มาผสมกันจนละเอียดกดลงในพิมพ์นำไปเผา    เสร็จแล้ว           สุกกทันตฤษี    วาสุเทพฤษี    ได้ทำพิธีปลุกเสกด้วยเวทมนต์อันศักดิ์สิทธิ์และเนื่องจากการสร้างพระรอดจากวัสดุต่างๆ นำมาผสมกัน ดังกล่าวแล้วจึงปรากฏว่าองค์พระ ที่สร้างมีสีหลายสีเนื่องจากส่วนผสมและการเผา จึงได้พบสีต่างๆ ได้แก่    สีเขียว    สีเขียวอ่อน    สีขาวปนเหลือง    สีดำ    สีแดงสีดอกพิกุล    เป็นต้น    นอกจากนี้ ยังมีแม่พระรอดซึ่งเป็นพระที่สร้างขึ้นด้วยหินศิลาดำอ่อนๆ หน้าตักกว้าง ๑๗ นิ้ว    สูง ๓๖ นิ้ว    นั่งขัดสมาธิเพชรปัจจุบัน ประดิษฐานไว้ด้านหน้าพระประธานในวิหารวัดมหาวัน โดยชื่อเรียกว่า พระพุทธสักขีปฏิมากรณ์ สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปที่พระนางจาม
ครูบาศรีวิชัย  เกิดที่บ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีนามเดิมว่า อ้ายฟ้าร้อง เพราะในขณะที่ท่านเกิด อากาศวิปริตมีลมฝน ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า จึงถือเอานิมิตนั้นมาตั้งชื่อ ท่านเกิดเมื่อวัน
           การบรรพชา อุปสมบท           ครูบาศรีวิชัย ได้เริ่มบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๘ ปี ณ วัดบ้านปาง อำเภอลี้ ซึ่งเป็นอารามเล็กๆ ประจำหมู่บ้าน มี ครูบาขัติยะ วัดบ้านปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อ พ . ศ .  ๒๔๓๙ อายุครบ ๒๐ ปี ก็อุปสมบท มี พระครูสุมโณ วัดบ้านโฮ่งหลวงเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า สิริวิชโย ต่อมาได้เดินทางไปศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานจาก ครูบาอุปละ วัดดอยแต อำเภอแม่ทา   ( ปัจจุบันอยู่ในตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมืองลำพูน )  ด้วยเหตุที่มีอุปนิสัยชอบสงบเสงี่ยม เจียมตัว พูดน้อย กินน้อย และรู้แนวทางปฏิบัติธรรมบ้างแล้ว จึงถือโอกาศขึ้นไปอยู่ปฏิบัติกัมมัฏฐานบนดอยทิศใต้ของหมู่บ้าน   ( ที่ท่านสร้างเป็นวัดบ้านปางเดี๋ยวนี้ ) เมื่อท่านได้วิเวกทางกาย จิตใจก็หยั่งรู้เข้าสู่สมาธิหยั่งลงสู่วิปัสสนาญาณ ท่านก็ยิ่งมีความพากเพียรในการปฏิบัติกัมมัฏฐานมากขึ้นเคร่งครัดในวินัย ไม่แตะต้องลาภสักการะปัจจัย ฉันอาหารมังสะวิรัติ ประชาชนจึงเกิดความเลื่อมใส ชื่อเสียงของท่านก็ยิ่งโด่งดังไกลออกไป ชาวบ้านหลั่งไหลเข้ามาเคารพบูชาท่านมากขึ้น ต่อมา ครูบาขัติยะย้ายไปจำพรรษาที่อื่น
   ผลงานการก่อสร้างศาสนาสถาน และสาธารณสมบัติ          บูรณะซ่อมแซมบริเวณหน้าวิหารหลวงและพระบรมธาตุ วัดพระธาตุหริภุญชัย  ( พ . ศ . ๒๔๖๓ )  หลังจากกลับจากกรุงเทพฯแล้วไปบูรณะพระเจดีย์ พระธาตุดอยเกิ้ง อำเภอฮอด  ( พ . ศ . ๒๔๖๔ )  สร้างวิหาร วัดพระเจ้าตนหลวง จังหวัดพะเยา  ( พ . ศ . ๒๔๖๕ )  บูรณะพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่  ( พ . ศ . ๒๔๖๖ )  วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่  ( พ . ศ . ๒๔๖๗ )  สร้างธาตุและบันไดนาค วัดบ้านปางพระธาตุเกตุสร้อยแก่งน้ำปิง  ( พ . ศ .  ๒๔๖๘ )  รวบรวมพระไตรปิฏกฉบับอักษรล้านนาจำนวน ๕ , ๔๐๘ ผูก  ( พ . ศ . ๒๔๖๙ - ๒๔๗๑ )  บูรณะวัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่  ( พ . ศ . ๒๔๗๔ )  และ
 
          วาระสุดท้ายชีวิต          ผลงานชิ้นสุดท้ายของท่านคือ การสร้างสะพานข้ามลำน้ำปิง ระหว่างบ้านริมปิง จังหวัดลำพูน กับอำเภอหางดงจังหวัดเชียงใหม่เมื่อ พ . ศ .  ๒๔๘๐ สะพานยังไม่ทันเสร็จ โรคริดสีดวงทวารของท่านกำเริบ จึงต้องไปพักที่วัดจามเทวี อำเภอเมือง จังหวัดลำพูนเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ก็รับสั่งให้หาหมอดีๆ มารักษา แต่อาการก็ไม่ทุเลา ท่านจึงกลับวัดบ้านปาง อำเภอลี้ อาการของท่านมีแต่ทรงกับทรุดจนถึงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ . ศ . ๒๔๘๑ เวลา ๐๐ . ๐๕ นาฬิกา กับ ๓๐ วินาที ท่านก็ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ ศพของท่านได้เก็บไว้ที่วัดบ้านปางเป็นเวลา ๑ ปี เมื่อวิหารที่วัดบ้านปางเสร็จเรียบร้อยแล้วก็นำศพของท่านแห่เป็นขบวนใหญ่กลับเข้าสู่วัดจามเทวี จังหวัดลำพูนเป็นเวลา ๗ ปี เพื่อให้ลูกศิษย์ได้พึ่งบารมีของท่าน ทำการสร้างสะพานข้ามแม่น้าปิงให้เสร็จตามคำสั่งของท่าน          ต่อมาเมื่อเดือน มีนาคม พ . ศ . ๒๔๘๙ ทางจังหวัดลำพูนจึงได้บำเพ็ญกุศลฌาปนกิจศพของท่านอย่างใหญ่โตถึง ๑๕ วัน ๑๕ คืนตำรวจ ทหาร เข้ารักษาการณ์อย่างเข้มแข็ง เพื่อมิให้ใครเข้ายื้อแย่ง
อัฐิของท่าน และได้มีการตกลงแบ่งอัฐิของท่านออกเป็น ๖ ส่วน คือ            บรรจุไว้ที่วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ส่วนหนึ่ง            บรรจุไว้ที่วัดจามเทวี อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ส่วนหนึ่ง            บรรจุไว้ที่วัดสวนดอก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ส่วนหนึ่ง            บรรจุไว้ที่วัดพระแก้วดอนเต้า จังหวัดลำปางส่วนหนึ่ง            บรรจุไว้ที่วัดพระเจ้าตนหลวง จังหวัดเชียงราย  ( ปัจจุบันจังหวัดพะเยา )  ส่วนหนึ่ง            บรรจุไว้ที่วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่ส่วนหนึ่งเพื่อให้ประชาชนผู้มีจิตศรัทธา และเคารพนับถือท่านจะได้กราบไหว้สักการบูชาต่อไป          ครูบาศรีวิชัย คือนักบุญในกึ่งยุคพุทธกาล ที่ได้สร้างคุณประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ สรรพสัตว์ และพุทธศาสนาด้วยความเมตตากรุณาอันเปี่ยมล้นด้วยความศรัทธาอันแน่วแน่ ท่านจึงได้รับการขนานนามว่า นักบุญแห่งล้านนาไทย  ( ต๋นบุญ โพธิสัตว์ )
วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร            วัดพระธาตุหริภุญชัย เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูนมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๒๗ ไร่ ๓ งาน ๘๘ ตารางวา ทิศเหนือ จรดถนนอัฏฐารส    ทิศใต้ จรดถนนสุพรรณรังษี    ทิศตะวันออก จรดประตูท่าสิงห์   ทิศตะวันตก จรดถนนอินทยงยศ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ในรัชสมัยของพญาอาทิตยราช กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ โดยที่แห่งนี้ เคยเป็นพระราชฐานของพระองค์ซึ่งพระราชทานอุทิศถวายให้เป็นวัดพระธาตุฯ เพื่อเป็นพุทธบูชาหลังจากที่พระบรมสารีริกธาตุได้ปรากฏ ให้พระองค์ได้ทอดพระเนตรในบริเวณดังกล่าวโบราณสถานที่สำคัญในวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร
     1.  พระธาตุหริภุญชัย    เป็นโบราณสถานอันสำคัญของนครหริภุญชัยที่พญาอาทิตยราชเป็นผู้สถาปนาขึ้นในราว พุทธศตวรรษที่ ๑๗ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อันมี    ธาตุกระหม่อม    ธาตุกระดูกอก    ธาตุกระดูกนิ้วมือ และธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง    ตามพุทธทำนายลักษณะทางสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุหริภุญชัย ตามที่ปรากฏในหนังสือตำนาน พระธาตุหริภุญชัย กล่าวว่า มีลักษณะ เป็นสถูปสี่เหลี่ยมทรงปราสาท ที่มีซุ้มทวาร เข้า -  ออกทะลุกันได้ทั้งสี่ด้าน มีปราสาท สี่เหลี่ยมอยู่ตรงมุมละองค์ก่อด้วยศิลาแลงซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมากอยู่ในเมืองนี้ ภายในเป็นแท่น สำหรับประดิษฐาน พระโกศที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ     ในสมัยของพญาสรรพสิทธิ์ กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ ทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์เจดีย์เดิมที่พญาอาทิตยราชทรงสร้างไว้และได้ขุดร่อง ทวารประตูเข้า - ออก ทั้งสี่เพื่อความปลอดภัย    รูปทรงสันฐานขององค์พระบรมธาตุยังคงเป็นลักษณะเดิม คือ เป็นทรงปราสาทสี่เหลี่ยมที่กว้างใหญ่ และสูง พระธาตุเจ้าหริภุญชัยเป็นที่ เคารพสักการบูชาของชาวลำพูนและชาวเมืองเหนือมาแต่โบราณกาล ตราบเท่าทุกวันนี้  
      3.  หอระฆัง    ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์พระธาตุหริภุญชัย    เป็นหอสำหรับแขวนระฆังและกังสดาลขนาดใหญ่ สร้างขึ้นโดย พระครูพิทักษ์เจติยานุกิจ  ( ครูบาคำฟู )  เมื่อ พ . ศ .  ๒๔๘๑ ด้านบนแขวนระฆังขนาดใหญ่ซึ่งหล่อ ขึ้นในสมัยเจ้าหลวงดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๗    และชั้นล่างห้อยกังสดาลขนาดใหญ่ซึ่งหล่อขึ้นเมื่อ พ . ศ .  ๒๔๐๓    ฝีมือครูบาสูงเม่นโดยกัญจนมหาเถระ เจ้าอาวาส วัดป่าเมืองแพร่ และเจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่ เป็นศรัทธาสร้างหล่อกังสดาลนี้ ในวัดพระสิงห์เมืองเชียงใหม่เพื่อไว้เป็นเครื่องบูชาพระธาตุหริภุญชัย
อุทยานแห่งชาติแม่ปิง                    เดิมอุทยานนี้เป็นป่าสงวนแห่งชาติแม่หาด  -  แม่ก้อ มีเนื้อที่ทั้งหมด ๑ , ๐๐๓ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๖๒๗ , ๓๔๖ ไร่ได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ ๓๒ ของประเทศ เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม พ . ศ . ๒๕๒๔ ครอบคลุมพื้นที่     อำเภอดอยเต่าจังหวัดเชียงใหม่     อำเภอสามเงา     จังหวัดตาก     อำเภอลี้     จังหวัดลำพูน     ที่ทำการอุทยานอยู่ในท้องที่ตำบลแม่ลาน อำเภอลี้จังหวัดลำพูน    การเดินทางทางรถยนต์ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖  (  สายลี้   -  ลำพูน  )  บริเวณกิโลเมตรที่    ๔๗แยกเข้าทางหลวงหมายเลข ๑๐๘๗ ระยะทางประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ถึงหน่วยพิทักษ์แก่งก้อ  (  เรือนแพแก่งก้อ  )  เดินทางต่อเข้าไปอีกประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ก็ถึงที่ทำการอุทยานฯ    พื้นที่ภายในอุทยานบางส่วนเป็นลำน้ำแม่ปิงซึ่งทอดยาวประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตรสองฝั่งแม่น้ำประกอบด้วยหินผา    หินงอก    หินย้อยตามธรรมชาติ    สามารถเดินทางโดยทางเรือได้ทั้งจากอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ หรือจากเขื่อนภูมิพล    อำเภอสามเงา จังหวัดตาก
         ลักษณะป่าของอุทยานแห่งชาติแม่ปิง             ลักษณะโดยทั่วไปของอุทยานมีเทือกเขาสลับซับซ้อน    มียอดเขาสูงสุด คือ ดอยห้วยหลาว สูงจากระดับน้ำทะเล ๑ , ๒๓๘ เมตร    และเป็นต้นน้ำลำธารหลายสาย คือ ห้วยแม่หาด ห้วยแม่ก้อ ห้วยโป่งกะ ห้วยม่วง ห้วยไคร้ ห้วยขุนแผน มีป่าไม้บริเวณนี้ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ  สถานที่ฟสำคัญในอุทยาน           ถ้ำยางวี    เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่    ภายในมีหินงอกหินย้อย    ค้างคาว    บริเวณใกล้เคียงมีป่า    เรียกว่า    ป่าพระบาทยางวีมีลักษณะเป็นป่าสนเขา    มีธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวยงาม           ทุ่งกิ๊ก  -  ทุ่งนางู    ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอุทยาน    ห่างจากที่ทำการประมาณ   ๑๕   กิโลเมตร    มีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติที่กว้างใหญ่    และเป็นที่ราบเนินเขาปกคลุมด้วยทุ่งหญ้าสลับป่าเต็งรัง    มีต้นแป้งหรือต้นปรงขึ้นอยู่ทั่วไป
บ่าลำไย        ลำไยมีชื่อเรียกพื้นบ้านว่า บ่าลำไย ชื่อภาษาอังกฤษว่าลองแกน   (Longan)  ชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Nephelium ,Canb. หรือ Euphorialongana,Lamk. วงศ์ Sapedadceae ทีน ( Native) ในพื้นที่ราบต่ำของลังกาอินเดียตอนใต้ เบงกอลพม่าและจีนภาคใต้ เป็นพืชไม้ผลเขตร้อนและกึ่งร้อน  
ประวัติลำไย       ลำไยเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและกึ่งร้อนของเอเชีย ซึ่งอาจมีถิ่นกำเนิดในลังกาอินเดียพม่าหรือจีนแต่ที่พบหลักฐานที่ปรากฏในวรรณคดีของจีนในสมัยพระเจ้าเซ็งแทงของจีนเมื่อ ๑ , ๗๖๖ ปีก่อนคริสกาลและจากหนังสือ RuYa ของจีนเมื่อ ๑๑๐ ปีก่อนคริสตกาลได้มีการกล่าวถึงลำไยไว้แล้ว และชาวยุโรปได้เดินทางไปยังประเทศจีนเมื่อปีพ . ศ . ๑๕๑๔ ก็เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับลำไยไว้ในปีพ . ศ . ๑๕๘๕ แสดงว่าลำไยมีการปลูกในจีนที่มณฑลกวางตุ้งเสฉวนมีศูนย์กลางอยู่ที่มณฑลฟูเกียน
ประโยชน์ของลำไย        เปลือกของต้นมีสีน้ำตาลอ่อนหรือเทาและมีรสฝาดใช้ต้มเป็นยาหม้อแก้ท้องร่วง ลำต้นมีขนาดใหญ่    สูงประมาณ ๓๐ - ๔๐ ฟุต เนื้อไม้มีสีแดงและแข็งสามารถใช้ทำเครื่องใช้ประดับบ้านได้         ผลลำไยมีเปลือกสีน้ำตาลอมเขียวภายในมีเนื้อขาวอมชมพูขาวอมเลืองแล้วแต่สายพันธุ์เนื้อลำไย สามารถ บริโภคสด บรรจุกระป๋อง ตากแห้งสามารถทำเป็นชาชงใช้ดื่ม เป็นยาบำรุงกำลังช่วยให้หลับสบายเจริญอาหาร
พันธุ์ลำไย        ลำไยปลูกในหลายประเทศที่สำคัญคือประเทศจีนมีการปลูกลำไยถึง ๒๖ พันธุ์ คือพันธุ์ที่ปลูกในมณฑล กวางตุ้ง ๑๒ สายพันธุ์ปลูกในประเทศไต้หวันอีก ๑๕ สายพันธุ์ปลูกในสหรัฐอเมริกามี ๑ สายพันธุ์คือ พันธุ์โคฮาลาพันธุ์ลำไยในประเทศไทย จำแนกออกตามลักษณะผลเนื้อเมล็ดและรสชาติแบ่งได้ ๕ พวก คือ       ลำไยกะโหลก   เป็นพันธุ์ลำไยที่ให้ผลขนาดใหญ่มีเนื้อหนารสหวานมีหลายสายพันธุ์คือ       ๑ . สีชมพู ผลใหญ ่เนื้อหนา เมล็ดเล็ก เนื้อมีสีชมพู รสดีมากที่สุด       ๒ . ตลับนาค ผลใหญ่ เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบแห้ง เปลือกบาง       ๓ . เบี้ยวเขียว ผลใหญ่กลมเบี้ยว เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบ แต่พันธุ์หนักร่องเก่ง       ๔ . อีดอ ผลขนาดปานกลาง เมล็ดเล็ก รสหวาน แบ่งเป็น ๒ ชนิดคือ               -  อีดอยอดแดง    ใบอ่อนมีสีแดง                 -  อีดอยอดเขียว    ใบอ่อนมีสีเขียว         ๕ . อีแดง สีเปลือกของผลค่อนข้างแดง เป็นพันธุ์กลาง กิ่งเปราะหักง่าย ผลกลมใหญ ่เมล็ดใหญ่ รสหวานแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ                 -  อีแดง   ( อีแดงเปลือกหนา )    มีใบป้อมใหญ่ผลใหญ่                 -  อีแดง   ( อีแดงเปลือกบาง )    ใบยาวผลเล็กกว่าอีแดงเปลือกหนา         ๖ . อีดำ ผลใหญ ่ใบดำ เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบ แบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ              -  อีแห้วยอดแดง เมล็ดปานกลาง              -  อีแห้วยอดขาว ผลกลมใหญ่ หัวเบี้ยว เนื้อกรอบ ไม่หวาน
           คุณค่าทางอาหารของลำไยกองวิทยาศาสตร์กรมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยได้ทำการวิเคราะห์ส่วนปรักอบของลำไยปรากฏผลว่า       ๑ . ลำไยสดทั่วไปประกอบด้วยน้ำ๘๑ . ๑ % คาร์โบไฮเดรต๑๖ . ๙๘ % โปรตีน๐ . ๙๗ % เถ้า๐ . ๕๖ % กาก๐ . ๒๘ % และไขมัน ๐ . ๑๑ %       ๒ . ในลำไยสด๑๐๐กรัมจะมีค่าความร้อน๗๒ . ๘แคลอรีและมีวิตามิน๖๙ . ๒มิลลิกรัมแคลเซียม๕๗มิลลิกรัมฟอสฟอรัส๓๕ . ๑๗มิลลิกรัมและธาตุเหล็ก๐ . ๓๕มิลลิกรัม       ๓ . ลำไยแห้งประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต ๖๙ . ๐๖ % น้ำ ๒๑ . ๒๗ % โปรตีน ๔ . ๖๑ % เถ้า ๓ . ๓๓ % กาก ๑ . ๕๐ % และไขมัน ๐ . ๑๗๑ %       ๔ . ลำไยแห้ง ๑๐๐กรัมจะมีค่าความร้อน ๒๙๖ . ๑แคลอรี แคลเซียม ๓๒ . ๐๕มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส ๑๕๐ . ๕มิลลิกรัมโซเดียม ๔ . ๗๘มิลลิกรัม เหล็ก ๒ . ๘๕มิลลิกรัม โพแทสเซียม ๑๓๙๐ . ๓มิลลิกรัม กรดแฟนโทซินิค ๐ . ๗๒มิลลิกรัมวิตามินบี ๑๒จำนวน ๑ . ๐๘มิลลิกรัม         ลำไยกระดูก  เป็นพันธุ์พื้นเมือง ทรงพุ่มกว้างใบหนาทึบ ผลเล็กมีน้ำมาก เนื้อน้อยไม่หวาน มีน้ำตาลประมาณ ๑๓ . ๗๕ %  ขึ้นได้ทั่วไปปลูกง่าย เหลือให้เห็นน้อย เพราะไม่นิยมปลูก ไม่มีราคา       ลำไยธรรมดา  ผลปานกลาง   เนื้อหนากว่าลำไยพันธุ์กระดูก   เนื้อกรอบบางมีน้ำมาก   ให้ผลดก       ลำไยสายน้ำผึ้ง   ลักษณะคล้ายลำไยธรรมดา   แต่เนื้อมีสีเหลืองอ่อน   เนื้อมีรสดี   หอมกรอบ   เมล็ดเล็ก       ลำไยเถาหรือลำไยเครือ   มีลำต้นเลื้อยคล้ายเถาวัลย์   นิยมปลูกไว้ประดับมากกว่าปลูกไว้รับประทาน   ชอบขึ้นตามป่าแถบภูเขาบรรทัด   ภูเขาดงเล็ก   ลำต้นไม่มีแก่นจึงพันเข้ากับรั้วหรือหลัก
รายงาน เรื่องประเทศกานา จัดทำโดย นางาสาวจุรีพร  เพ็งวิชัย ม .5/2  เลขที่ 15 เสนอ คุณครูสฤษดิ์ศักดิ์  ชิ้นเขมจารี โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ร้อยเอ็ด

More Related Content

What's hot

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาguest70f05c
 
เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัดเที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัดslide-001
 
องค์พระปฐมเจดีย์...
องค์พระปฐมเจดีย์...องค์พระปฐมเจดีย์...
องค์พระปฐมเจดีย์...A'mp Minoz
 
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์A'mp Minoz
 
เมืองน่าน
เมืองน่านเมืองน่าน
เมืองน่านkrunoony
 
เมืองโบราณหริภุญไชย
เมืองโบราณหริภุญไชยเมืองโบราณหริภุญไชย
เมืองโบราณหริภุญไชย4lifesecret
 
วัดในบางกอก ม.3/3 กลุ่มที่ 1
วัดในบางกอก ม.3/3 กลุ่มที่ 1  วัดในบางกอก ม.3/3 กลุ่มที่ 1
วัดในบางกอก ม.3/3 กลุ่มที่ 1 Junior'z Pimmada Saelim
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยfernbamoilsong
 
งานนำเสนอ1 โครงการพระราชดำริ
งานนำเสนอ1 โครงการพระราชดำริงานนำเสนอ1 โครงการพระราชดำริ
งานนำเสนอ1 โครงการพระราชดำริPare Taepthai
 
เปิดตำนานบ้านหนองแวง
เปิดตำนานบ้านหนองแวงเปิดตำนานบ้านหนองแวง
เปิดตำนานบ้านหนองแวงloveonlyone
 
จังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดปราจีนบุรีKKloveyou
 
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านหนองเต่า
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านหนองเต่าประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านหนองเต่า
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านหนองเต่าnongtaoschool
 

What's hot (18)

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
 
Nuin
NuinNuin
Nuin
 
จังหวัดน่าน
จังหวัดน่านจังหวัดน่าน
จังหวัดน่าน
 
เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัดเที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
 
พระนครศรีอยุธยา
พระนครศรีอยุธยาพระนครศรีอยุธยา
พระนครศรีอยุธยา
 
องค์พระปฐมเจดีย์...
องค์พระปฐมเจดีย์...องค์พระปฐมเจดีย์...
องค์พระปฐมเจดีย์...
 
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์
 
เมืองน่าน
เมืองน่านเมืองน่าน
เมืองน่าน
 
เมืองโบราณหริภุญไชย
เมืองโบราณหริภุญไชยเมืองโบราณหริภุญไชย
เมืองโบราณหริภุญไชย
 
วัดในบางกอก ม.3/3 กลุ่มที่ 1
วัดในบางกอก ม.3/3 กลุ่มที่ 1  วัดในบางกอก ม.3/3 กลุ่มที่ 1
วัดในบางกอก ม.3/3 กลุ่มที่ 1
 
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
 
งานนำเสนอ1 โครงการพระราชดำริ
งานนำเสนอ1 โครงการพระราชดำริงานนำเสนอ1 โครงการพระราชดำริ
งานนำเสนอ1 โครงการพระราชดำริ
 
เปิดตำนานบ้านหนองแวง
เปิดตำนานบ้านหนองแวงเปิดตำนานบ้านหนองแวง
เปิดตำนานบ้านหนองแวง
 
Key of sheet 8 56x
Key of sheet 8 56xKey of sheet 8 56x
Key of sheet 8 56x
 
สมุทรสงคราม
สมุทรสงครามสมุทรสงคราม
สมุทรสงคราม
 
จังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดปราจีนบุรี
 
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรีประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
 
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านหนองเต่า
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านหนองเต่าประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านหนองเต่า
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านหนองเต่า
 

Similar to ลำพูน

ภาคเหนือเจ้า3
ภาคเหนือเจ้า3ภาคเหนือเจ้า3
ภาคเหนือเจ้า3aoysumatta
 
โครงานคอมSlide
โครงานคอมSlideโครงานคอมSlide
โครงานคอมSlidecom_2556
 
โครงานคอมSlide
โครงานคอมSlideโครงานคอมSlide
โครงานคอมSlidecom_2556
 
ตามรอย ร.5 ค้นคุณค่าเกาะพะงัน
ตามรอย ร.5 ค้นคุณค่าเกาะพะงันตามรอย ร.5 ค้นคุณค่าเกาะพะงัน
ตามรอย ร.5 ค้นคุณค่าเกาะพะงันTat Samui
 
งานคนไทยภาคกลาง
งานคนไทยภาคกลางงานคนไทยภาคกลาง
งานคนไทยภาคกลางorawan155
 
ที่ท่องเที่ยวจังหวัดหนองคาย
ที่ท่องเที่ยวจังหวัดหนองคายที่ท่องเที่ยวจังหวัดหนองคาย
ที่ท่องเที่ยวจังหวัดหนองคายOraya Saekhu
 
นิราศภูเขาทอง
นิราศภูเขาทอง นิราศภูเขาทอง
นิราศภูเขาทอง Patzuri Orz
 
งานสังคม ภาคเหนือ
งานสังคม ภาคเหนืองานสังคม ภาคเหนือ
งานสังคม ภาคเหนือtonsocial
 
จังหวัดหนองบัวลำภู
จังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองบัวลำภู
จังหวัดหนองบัวลำภูYingying Naja
 
จังหวัดหนองบัวลำภู
จังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองบัวลำภู
จังหวัดหนองบัวลำภูYingying Naja
 
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22Nongruk Srisukha
 

Similar to ลำพูน (20)

Nuin
NuinNuin
Nuin
 
3
33
3
 
ภาคเหนือเจ้า3
ภาคเหนือเจ้า3ภาคเหนือเจ้า3
ภาคเหนือเจ้า3
 
โครงานคอมSlide
โครงานคอมSlideโครงานคอมSlide
โครงานคอมSlide
 
โครงานคอมSlide
โครงานคอมSlideโครงานคอมSlide
โครงานคอมSlide
 
ตามรอย ร.5 ค้นคุณค่าเกาะพะงัน
ตามรอย ร.5 ค้นคุณค่าเกาะพะงันตามรอย ร.5 ค้นคุณค่าเกาะพะงัน
ตามรอย ร.5 ค้นคุณค่าเกาะพะงัน
 
งานคนไทยภาคกลาง
งานคนไทยภาคกลางงานคนไทยภาคกลาง
งานคนไทยภาคกลาง
 
จังหวัดร้อยเอ็ด
จังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดร้อยเอ็ด
จังหวัดร้อยเอ็ด
 
ราชบุรี
ราชบุรีราชบุรี
ราชบุรี
 
7
77
7
 
ที่ท่องเที่ยวจังหวัดหนองคาย
ที่ท่องเที่ยวจังหวัดหนองคายที่ท่องเที่ยวจังหวัดหนองคาย
ที่ท่องเที่ยวจังหวัดหนองคาย
 
ราชบุรี
ราชบุรีราชบุรี
ราชบุรี
 
จ.นครพนม
จ.นครพนมจ.นครพนม
จ.นครพนม
 
นิราศภูเขาทอง
นิราศภูเขาทอง นิราศภูเขาทอง
นิราศภูเขาทอง
 
นำเสนอนครนายก
นำเสนอนครนายกนำเสนอนครนายก
นำเสนอนครนายก
 
งานสังคม ภาคเหนือ
งานสังคม ภาคเหนืองานสังคม ภาคเหนือ
งานสังคม ภาคเหนือ
 
จังหวัดหนองบัวลำภู
จังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองบัวลำภู
จังหวัดหนองบัวลำภู
 
จังหวัดหนองบัวลำภู
จังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองบัวลำภู
จังหวัดหนองบัวลำภู
 
การสถาปนา..
การสถาปนา..การสถาปนา..
การสถาปนา..
 
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22
ภูมิศาสตร์ประเทศไทย22
 

More from SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL

เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถานเตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถานSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมานนางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมานSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนาสอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนาSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 

More from SRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL (20)

Is
IsIs
Is
 
นัทธพงศ์ ดอนศรี.
นัทธพงศ์ ดอนศรี.นัทธพงศ์ ดอนศรี.
นัทธพงศ์ ดอนศรี.
 
นายคงศักดิ์ สงสุรีย์
นายคงศักดิ์ สงสุรีย์นายคงศักดิ์ สงสุรีย์
นายคงศักดิ์ สงสุรีย์
 
ปวีณ์ธิดา สีหวาด
ปวีณ์ธิดา สีหวาดปวีณ์ธิดา สีหวาด
ปวีณ์ธิดา สีหวาด
 
จารุวรรณ ลำพองชาติ
จารุวรรณ ลำพองชาติจารุวรรณ ลำพองชาติ
จารุวรรณ ลำพองชาติ
 
Isมิ้น
Isมิ้นIsมิ้น
Isมิ้น
 
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถานเตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
เตชินท์ประเทศอัฟกานิสถาน
 
Isประเทศบังกลาเทศ
IsประเทศบังกลาเทศIsประเทศบังกลาเทศ
Isประเทศบังกลาเทศ
 
อาเซอร์ไบจาน
อาเซอร์ไบจานอาเซอร์ไบจาน
อาเซอร์ไบจาน
 
คองโก
คองโกคองโก
คองโก
 
Is1
Is1Is1
Is1
 
ตุรกี
ตุรกีตุรกี
ตุรกี
 
มัลดีฟ
มัลดีฟมัลดีฟ
มัลดีฟ
 
อาร์เมเนีย
อาร์เมเนียอาร์เมเนีย
อาร์เมเนีย
 
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมานนางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
นางสาวนภาพร คำภักดี เลขที่19 รัฐสุลต่านโอมาน
 
สอบกลางภาค
สอบกลางภาคสอบกลางภาค
สอบกลางภาค
 
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนาสอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
สอบกลางภาคIs ธิรดา-น้อยเสนา
 
จิราภา ธรรมรักษ์
จิราภา ธรรมรักษ์จิราภา ธรรมรักษ์
จิราภา ธรรมรักษ์
 
ณัฎฐณิชา
ณัฎฐณิชาณัฎฐณิชา
ณัฎฐณิชา
 
กลางภาค
กลางภาคกลางภาค
กลางภาค
 

ลำพูน

  • 1. ประวัติความเป็นมา      ข้อมูลจังหวัดลำพูน         จังหวัดลำพูน เดิมชื่อเมืองหริภุญไชย เป็นเมืองโบราณ มีอายุประมาณ 1,342 ปี ตามพงศาวดารโยนกเล่าสืบต่อกันถึงการสร้างเมืองหริภุญไชยว่า   ฤาษีวาสุเทพเป็นผู้เกณฑ์พวกเม็งคบุตรหรือชนเชื้อชาติมอญมาสร้างเมืองนี้ขึ้น ในพื้นที่ระหว่างแม่น้ำสองสายคือ แม่น้ำกวงและแม่น้ำปิง   เมื่อมาสร้างเสร็จได้ส่งทูตไปเชิญราชธิดากษัตริย์เมืองละโว้พระนาม " จามเทวี "                                                 
  • 2. มาเป็นปฐมกษัตริย์ปกครองเมืองหริภุญไชยสืบราชวงศ์กษัตริย์ต่อมาหลายพระองค์จนกระทั่งถึงสมัยพระยายีบาจึงได้เสียการปกครองให้แก่พ่อขุนเม็งรายมหาราช ผู้รวบรวมแว่นแคว้นทางเหนือเข้าเป็นอาณาจักรล้านนา เมืองลำพูน ถึงแม้ว่าจะตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนาแต่ก็ได้เป็นผู้ถ่ายทอดมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมให้แก่ผู้ที่เข้ามาปกครอง ดังปรากฏหลักฐานทั่วไปในเวียงกุมกาม เชียงใหม่และเชียงราย เมืองลำพูนจึงยังคงความสำคัญในทางศิลปะและวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนา จนกระทั่งสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมืองลำพูนจึงได้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย มีผู้ครองนครสืบต่อกันมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ . ศ . 2475 เมื่อเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้าย คือ พลตรีเจ้าจักรคำ ขจรศักดิ์ ถึงแก่พิราลัย เมืองลำพูนจึงเปลี่ยนเป็นจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปกครองสืบมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
  • 3. ลักษณะทางภูมิศาสตร์               ที่ตั้งและขนาด                 หมายเหตุ .   รูปแผนที่สามารถคลิ๊กขยายขนาดใหญ่
  • 4.                         แผนที่เมืองลำพูน แผนที่จังหวัดลำพูน
  • 5. ที่ตั้ง              จังหวัดลำพูน ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ( สายเอเซีย ) เป็นระยะทาง 689 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินสายพหลโยธิน เป็นระยะทาง 724 กิโลเมตร และตามทางรถไฟ 729 กิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 18 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศาตะวันออก อยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน อยู่ห่างจากจังหวัดเชียงใหม่เพียง 22 ก . ม . เป็นพื้นที่ ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นศูนย์กลางความเจริญของภาคเหนือตอนบน และอนุภูมิภาค ลุ่มน้ำโขง    หรือพื้นที่สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจร่วมกับ จังหวัดเชียงใหม่
  • 6.   ขนาด              จังหวัดลำพูนเป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดของภาคเหนือมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4,505.882 ตร . กม . หรือประมาณ 2,815,675 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 4.85 ของพื้นที่ ภาคเหนือตอนบน บริเวณที่กว้างที่สุดประมาณ 43 กม . และยาวจากเหนือจดใต้ 136 กม .
  • 8. 45 1.24 49.433 - กิ่งอำเภอเวียงหนองล่อง 26 2.72 129.024 - อำเภอบ้านธิ 105 10.79 486.129 - อำเภอทุ่งหัวช้าง 105 37.96 1,701.99 - อำเภอลี้ 25 16.68 762.63 - อำเภอแม่ทา 36 13.31 596.901 - อำเภอบ้านโฮ่ง 11 6.52 299.950 - อำเภอป่าซาง 2 10.78 473.825 - อำเภอเมืองลำพูน - - 4,505.882 จังหวัดลำพูน ระยะทางห่างจาก จังหวัด ร้อยละ ขนาด ตร . กม . ส่วนราชการ
  • 9. อาณาเขต              ทิศเหนือ ติดต่อกับ อ . สารภี อ . สันกำแพง จ . เชียงใหม่              ทิศใต้ ติดต่อกับ อ . เถิน จ . ลำปาง และ อ . สามเงา จ . ตาก              ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อ . ห้างฉัตร อ . สบปราบ อ . เสริมงาม จ . ลำปาง              ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อ . ฮอด อ . จอมทอง อ . หางดง อ . สันป่าตอง จ . เชียงใหม่
  • 10. ลักษณะภูมิอากาศ         จังหวัดลำพูนตั้งอยู่ในภาคเหนือ ซึ่งตามตำแหน่งที่ตั้งอยู่ในเขตร้อนที่ค่อนไปทาง เขตอากาศอบอุ่น ในฤดูหนาวจึงมีอากาศเย็นค่อนข้างหนาว แต่เนื่องจากอยู่ลึกเข้าไปใน แผ่นดินห่างไกลจากทะเล จึงมีฤดูแล้งที่ยาวนานและอากาศจะร้อนถึงร้อนจัดในฤดูร้อน จังหวัดลำพูนมีสภาพภูมิอากาศแตกต่างกันอย่างเด่นชัด 3 ช่วงฤดู คือช่วงเดือนมีนาคมกับเมษายนมีอากาศร้อน ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม จะมีฝนตกชุกเป็นฤดูฝนและช่วงเดือนพฤศจิกายนถึง เดือนกุมภาพันธ์มีอากาศหนาวเย็นเป็นฤดูหนาว ซึ่งฤดูหนาวและฤดูร้อนนั้น เป็นช่วงฤดูแล้ง ที่มีระยะเวลาติดต่อกันประมาณ 6 เดือน ในช่วงฤดูฝนอีก 6 เดือน นั้น อากาศจะไม่ร้อนเท่ากับ ในฤดูร้อน และไม่หนาวเย็นเท่า ฤดูหนาว คือมีอุณหภูมิปานกลางอยู่ระหว่างสองฤดูดังกล่าว
  • 11.                อุณหภูมิ ในปี 2545      อุณหภูมิสูงสุด ในปี 2545 ในเดือนเมษายน วัดได้ 41.2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด ในปี 2545 ในเดือนธันวาคม วัดได้ 11.4 เซลเซียส   อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 2545 เท่ากับ 24.17 องศเซลเซียส   ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย ร้อยละ 74.78 ปริมาณฝน ( ระหว่างปี 2541 - 2545) 1. ปริมาณน้ำฝนของจังหวัดลำพูนเฉลี่ย 1,026.06 มิลลิเมตร   2. ปริมาณน้ำฝนสูงสุดต่อวัน 156.0 มิลลิเมตร เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2545  3. ฝนตกมากที่สุดในปี 2545 วัดได้ถึง 1,320.0 ม . ม . จำนวนวันฝนตก 119 วัน      4. ฝนตกน้อยที่สุดในปี 2541 วัดได้ 642.2 ม .. ม . จำนวนวันฝนตก 95 วัน       5. ในปี 2545 ปริมาณน้ำฝน รวม 1,320.0 มิลลิเมตร จำนวนวันฝนตก 119 วัน
  • 12.  
  • 14. พระบรมธาตุหริภุญชัย เป็นปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งของจังหวัดลำพูนเป็นจอมเจดีย์องค์หนึ่งในจำนวนแปดแห่งของประเทศไทย   เป็นเจดีย์ที่เก่าแก่ที่สร้างในสมัยพระเจ้าอาทิตยราช   พระบรมธาตุหริภุญชัยเป็นศูนย์รวมความศรัทธาของประชาชนโดยทั่วไป   ประเพณีสรงน้ำพระธาตุเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ เป็นที่สนใจของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดลำพูน และจังหวัดใกล้เคียง ประเพณีนี้ ยึดถือและปฏิบัติมาเป็นประจำทุกปี   โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ   ๑ . เพื่อเป็นการสักการะพระบรมธาตุฯ ซึ่งเป็นปูชนียสถานที่เก่าแก่ของวัดพระธาตุหริภุญชัยวรวิหาร และนับเป็นโบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ของชาวลำพูน และชาวพุทธทั่วไป    ๒ . เพื่อสักการะพระบรมธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า    ๓ . เพื่อเป็นการบูชาเสาหลักเมือง ทั้งนี้เพราะประชาชนชาวจังหวัดลำพูนถือว่าเจดีย์พระบรมธาตุหริภุญชัยเป็นเสาหลักเมือง เมื่อทำพิธีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย จึงเท่ากับได้ทำบุญเสาหลักเมืองลำพูนด้วย  
  • 15. ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย กำหนดจัดขึ้น ณ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรวิหาร อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน   ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ หรือที่ชาวเหนือ เรียกว่าวันแปดเป็ง ( ราวเดือนพฤษภาคม ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ของภาคกลาง ) หรือวันวิสาขบูชา   งานประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุฯ มักจะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น ๙ ค่ำ เป็นต้นไป ผู้คนจะหลั่งไหลมาร่วมงานสรงน้ำพระธาตุฯ ผู้ที่อยู่ห่างไกลก็จะเดินทางมาอาศัยพักบ้านญาติมิตร มีหลายพวกหลายเผ่า ทั้งคนพื้นบ้าน พื้นเมือง ชาวเขาและต่างถิ่น   มีการแต่งกายกันตามประเพณีท้องถิ่นทั้งชุดพื้นเมือง ชุดชาวเขา มีการเตรียมข้าวของเรียกว่า ดาครัว ซึ่งญาติพี่น้อง จากต่างบ้าน ต่างถิ่น จะมาช่วยกันแต่งดา เป็นการรวมญาติพี่น้องให้ได้มาเยี่ยมเยียนมาพบกัน   สำหรับในส่วนของทางวัด จะมีการเตรียมงาน และกิจกรรมที่จัดขึ้นถึง ๗ วัน ๗ คืน   ได้แก่   การแข่งขันตีกลองหลวง การแข่งขันกลองบูชา   การประกวดฟ้อนพื้นเมือง การประกวดจัดโต๊ะหมู่บูชา โคมวิสาขะ นอกจากนี้ ยังมีพิธีราษฎร์และพิธีหลวง
  • 17. ลักษณะ : พระเนื้อดิน เป็นพระพิมพ์ขนาดเล็ก ชื่อพระรอดนั้นมีข้อสันนิษฐาน 3 ทางได้แก่        1. ออกเสียงตามผู้ที่สร้างขึ้น คือ พระฤาษีนารอด ซึ่งออกเสียงตามภาษามอญ         2. ผู้ที่สักการะบูชา และนำติดตัวไปยังที่ต่าง ๆ สามารถรอดพ้นจากอันตรายเป็นอย่างดี จึงเรียกว่าพระรอด        3. เนื่องจากเป็นพระเครื่องที่มีขนาดเล็กกว่าพิมพ์อื่นๆ จึงได้ชื่อว่าพระลอด และเพี้ยนมาเป็นพระรอด               ลักษณะทั่วไปของพระรอด   เป็นพระปางมารวิชัย มีฐานอยู่ใต้ที่นั่ง และมีผ้านิสีทนะ ( ผ้านั่งปู ) รองรับปูไว้บนฐานข้างหลังองค์พระมีลวดลายกระจัง ชาวพื้นเมืองเหนือเรียกกันว่า ใบโพธิ์ เพราะกระจังนั้นดูคล้ายๆใบโพธิ์มีกิ่งก้านไม่อยู่ในเรือนแก้ว   พระพักตร์จะปรากฏพระเนตร ( ตา ) พระกรรณ ( หู ) ยาวลงมาเกือบจรดพระอังสะ ( บ่าหรือไหล่ ) ทั้งสองข้าง   ส่วนด้านหล้งนั้นไม่มีลวดลายอะไรนอกจากรอยนิ้วมือ เป็นเนื้อดินทั้งหมด บางองค์มีลักษณะนูนบ้างแบนบ้าง
  • 18. วัดมหาวัน อำเภอเมือง เป็นวัดสำคัญเก่าแก่ ที่สร้างมาตั้งแต่ครั้งพระนางจามเทวีขึ้นครองนครหริภุญไชย   เมื่อประมาณปี    พ . ศ . ๑๒๐๐ เศษ    และได้อัญเชิญ พระพุทธรูปนาคปรก หรือ พระดิลกดำ จากเมืองละโว้ มาไว้ที่วัดนี้ ชาวเมืองเรียกกันว่า พระรอดหลวง หรือ พระรอดลำพูน ซึ่งต่อมาได้เป็น แบบพิมพ์จำลอง พระเครื่อง ที่ลือชื่อกรุหนึ่ง ชื่อ พระรอดมหาวัน      ซึ่งพระอารามนี้ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันตกห่างจากประตู มหาวัน อันเป็นประตูเมืองด้านทิศตะวันตก   ประมาณ ๕๐ เมตร   หน้าพระอารามหันไปทางทิศตะวันออก   ตรงกันข้ามกับคูเมือง   ที่ตั้งวัดนี้เดิมเป็นมหาวนาราม พระอารามหลวง   ซึ่งพระนางจามเทวีโปรดให้สร้างขึ้น เมื่อประมาณ ปี พ . ศ . ๑๒๐๐ เศษ  
  • 19. ในสมัยต่อๆ มามีการขุดพบพระรอดอยู่เสมอ แต่มีจำนวนไม่มากนักข้อสังเกตในการขุดพบพระรอด ในปี พ . ศ . ๒๔๙๘ ซึ่งพบมากถึงประมาณ ๒๐๐ องค์   บริเวณที่พบพระรอดมักจะมีอิฐโบราณสลับซับซ้อนอยู่โดยรอบพระรอด และพระรอดจะฝังอยู่ในดินหรดาลซึ่งเป็นดินเนื้อละเอียดที่สุด มีสีเหลือง และมีกลิ่นหอมนวลๆ ซึ่งในการสร้างพระรอดสมัยต่อมา ได้นำดินหรดาล ผสมกับเศษพระรอด และพระอื่นๆสร้างป็นพระรอดขึ้นมา เช่น พระรอดครูบากองแก้ว        ตำนานการสร้างพระรอด กล่าวถึงสุกกทันต์ฤษี และวาสุเทพฤษี ประชุมฤษี ๑๐๘ รูป   มาชุมนุมสร้างโดยเอาดินบริสุทธิ์จากใจกลางทวีปทั้ง ๕   ตัวยา ๑ , ๐๐๐ ชนิด   เกสรดอกไม้ ๑ , ๐๐๐ ชนิด   และว่าน ๑ , ๐๐๐ ชนิด   มาผสมกันจนละเอียดกดลงในพิมพ์นำไปเผา   เสร็จแล้ว        สุกกทันตฤษี   วาสุเทพฤษี   ได้ทำพิธีปลุกเสกด้วยเวทมนต์อันศักดิ์สิทธิ์และเนื่องจากการสร้างพระรอดจากวัสดุต่างๆ นำมาผสมกัน ดังกล่าวแล้วจึงปรากฏว่าองค์พระ ที่สร้างมีสีหลายสีเนื่องจากส่วนผสมและการเผา จึงได้พบสีต่างๆ ได้แก่   สีเขียว   สีเขียวอ่อน   สีขาวปนเหลือง   สีดำ   สีแดงสีดอกพิกุล   เป็นต้น   นอกจากนี้ ยังมีแม่พระรอดซึ่งเป็นพระที่สร้างขึ้นด้วยหินศิลาดำอ่อนๆ หน้าตักกว้าง ๑๗ นิ้ว   สูง ๓๖ นิ้ว   นั่งขัดสมาธิเพชรปัจจุบัน ประดิษฐานไว้ด้านหน้าพระประธานในวิหารวัดมหาวัน โดยชื่อเรียกว่า พระพุทธสักขีปฏิมากรณ์ สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปที่พระนางจาม
  • 20. ครูบาศรีวิชัย เกิดที่บ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มีนามเดิมว่า อ้ายฟ้าร้อง เพราะในขณะที่ท่านเกิด อากาศวิปริตมีลมฝน ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า จึงถือเอานิมิตนั้นมาตั้งชื่อ ท่านเกิดเมื่อวัน
  • 21.           การบรรพชา อุปสมบท           ครูบาศรีวิชัย ได้เริ่มบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๘ ปี ณ วัดบ้านปาง อำเภอลี้ ซึ่งเป็นอารามเล็กๆ ประจำหมู่บ้าน มี ครูบาขัติยะ วัดบ้านปาง เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อ พ . ศ . ๒๔๓๙ อายุครบ ๒๐ ปี ก็อุปสมบท มี พระครูสุมโณ วัดบ้านโฮ่งหลวงเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า สิริวิชโย ต่อมาได้เดินทางไปศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานจาก ครูบาอุปละ วัดดอยแต อำเภอแม่ทา ( ปัจจุบันอยู่ในตำบลเหมืองจี้ อำเภอเมืองลำพูน ) ด้วยเหตุที่มีอุปนิสัยชอบสงบเสงี่ยม เจียมตัว พูดน้อย กินน้อย และรู้แนวทางปฏิบัติธรรมบ้างแล้ว จึงถือโอกาศขึ้นไปอยู่ปฏิบัติกัมมัฏฐานบนดอยทิศใต้ของหมู่บ้าน ( ที่ท่านสร้างเป็นวัดบ้านปางเดี๋ยวนี้ ) เมื่อท่านได้วิเวกทางกาย จิตใจก็หยั่งรู้เข้าสู่สมาธิหยั่งลงสู่วิปัสสนาญาณ ท่านก็ยิ่งมีความพากเพียรในการปฏิบัติกัมมัฏฐานมากขึ้นเคร่งครัดในวินัย ไม่แตะต้องลาภสักการะปัจจัย ฉันอาหารมังสะวิรัติ ประชาชนจึงเกิดความเลื่อมใส ชื่อเสียงของท่านก็ยิ่งโด่งดังไกลออกไป ชาวบ้านหลั่งไหลเข้ามาเคารพบูชาท่านมากขึ้น ต่อมา ครูบาขัติยะย้ายไปจำพรรษาที่อื่น
  • 22.    ผลงานการก่อสร้างศาสนาสถาน และสาธารณสมบัติ          บูรณะซ่อมแซมบริเวณหน้าวิหารหลวงและพระบรมธาตุ วัดพระธาตุหริภุญชัย ( พ . ศ . ๒๔๖๓ ) หลังจากกลับจากกรุงเทพฯแล้วไปบูรณะพระเจดีย์ พระธาตุดอยเกิ้ง อำเภอฮอด ( พ . ศ . ๒๔๖๔ ) สร้างวิหาร วัดพระเจ้าตนหลวง จังหวัดพะเยา ( พ . ศ . ๒๔๖๕ ) บูรณะพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่ ( พ . ศ . ๒๔๖๖ ) วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ ( พ . ศ . ๒๔๖๗ ) สร้างธาตุและบันไดนาค วัดบ้านปางพระธาตุเกตุสร้อยแก่งน้ำปิง ( พ . ศ . ๒๔๖๘ ) รวบรวมพระไตรปิฏกฉบับอักษรล้านนาจำนวน ๕ , ๔๐๘ ผูก ( พ . ศ . ๒๔๖๙ - ๒๔๗๑ ) บูรณะวัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ ( พ . ศ . ๒๔๗๔ ) และ
  • 23.  
  • 24.           วาระสุดท้ายชีวิต          ผลงานชิ้นสุดท้ายของท่านคือ การสร้างสะพานข้ามลำน้ำปิง ระหว่างบ้านริมปิง จังหวัดลำพูน กับอำเภอหางดงจังหวัดเชียงใหม่เมื่อ พ . ศ . ๒๔๘๐ สะพานยังไม่ทันเสร็จ โรคริดสีดวงทวารของท่านกำเริบ จึงต้องไปพักที่วัดจามเทวี อำเภอเมือง จังหวัดลำพูนเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ก็รับสั่งให้หาหมอดีๆ มารักษา แต่อาการก็ไม่ทุเลา ท่านจึงกลับวัดบ้านปาง อำเภอลี้ อาการของท่านมีแต่ทรงกับทรุดจนถึงวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ . ศ . ๒๔๘๑ เวลา ๐๐ . ๐๕ นาฬิกา กับ ๓๐ วินาที ท่านก็ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ ศพของท่านได้เก็บไว้ที่วัดบ้านปางเป็นเวลา ๑ ปี เมื่อวิหารที่วัดบ้านปางเสร็จเรียบร้อยแล้วก็นำศพของท่านแห่เป็นขบวนใหญ่กลับเข้าสู่วัดจามเทวี จังหวัดลำพูนเป็นเวลา ๗ ปี เพื่อให้ลูกศิษย์ได้พึ่งบารมีของท่าน ทำการสร้างสะพานข้ามแม่น้าปิงให้เสร็จตามคำสั่งของท่าน          ต่อมาเมื่อเดือน มีนาคม พ . ศ . ๒๔๘๙ ทางจังหวัดลำพูนจึงได้บำเพ็ญกุศลฌาปนกิจศพของท่านอย่างใหญ่โตถึง ๑๕ วัน ๑๕ คืนตำรวจ ทหาร เข้ารักษาการณ์อย่างเข้มแข็ง เพื่อมิให้ใครเข้ายื้อแย่ง
  • 25. อัฐิของท่าน และได้มีการตกลงแบ่งอัฐิของท่านออกเป็น ๖ ส่วน คือ            บรรจุไว้ที่วัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ส่วนหนึ่ง         บรรจุไว้ที่วัดจามเทวี อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ส่วนหนึ่ง         บรรจุไว้ที่วัดสวนดอก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ส่วนหนึ่ง         บรรจุไว้ที่วัดพระแก้วดอนเต้า จังหวัดลำปางส่วนหนึ่ง         บรรจุไว้ที่วัดพระเจ้าตนหลวง จังหวัดเชียงราย ( ปัจจุบันจังหวัดพะเยา ) ส่วนหนึ่ง         บรรจุไว้ที่วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่ส่วนหนึ่งเพื่อให้ประชาชนผู้มีจิตศรัทธา และเคารพนับถือท่านจะได้กราบไหว้สักการบูชาต่อไป          ครูบาศรีวิชัย คือนักบุญในกึ่งยุคพุทธกาล ที่ได้สร้างคุณประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ สรรพสัตว์ และพุทธศาสนาด้วยความเมตตากรุณาอันเปี่ยมล้นด้วยความศรัทธาอันแน่วแน่ ท่านจึงได้รับการขนานนามว่า นักบุญแห่งล้านนาไทย ( ต๋นบุญ โพธิสัตว์ )
  • 26. วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร            วัดพระธาตุหริภุญชัย เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูนมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๒๗ ไร่ ๓ งาน ๘๘ ตารางวา ทิศเหนือ จรดถนนอัฏฐารส   ทิศใต้ จรดถนนสุพรรณรังษี   ทิศตะวันออก จรดประตูท่าสิงห์   ทิศตะวันตก จรดถนนอินทยงยศ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ในรัชสมัยของพญาอาทิตยราช กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ โดยที่แห่งนี้ เคยเป็นพระราชฐานของพระองค์ซึ่งพระราชทานอุทิศถวายให้เป็นวัดพระธาตุฯ เพื่อเป็นพุทธบูชาหลังจากที่พระบรมสารีริกธาตุได้ปรากฏ ให้พระองค์ได้ทอดพระเนตรในบริเวณดังกล่าวโบราณสถานที่สำคัญในวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร
  • 27.     1. พระธาตุหริภุญชัย   เป็นโบราณสถานอันสำคัญของนครหริภุญชัยที่พญาอาทิตยราชเป็นผู้สถาปนาขึ้นในราว พุทธศตวรรษที่ ๑๗ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อันมี   ธาตุกระหม่อม   ธาตุกระดูกอก   ธาตุกระดูกนิ้วมือ และธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง   ตามพุทธทำนายลักษณะทางสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุหริภุญชัย ตามที่ปรากฏในหนังสือตำนาน พระธาตุหริภุญชัย กล่าวว่า มีลักษณะ เป็นสถูปสี่เหลี่ยมทรงปราสาท ที่มีซุ้มทวาร เข้า - ออกทะลุกันได้ทั้งสี่ด้าน มีปราสาท สี่เหลี่ยมอยู่ตรงมุมละองค์ก่อด้วยศิลาแลงซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมากอยู่ในเมืองนี้ ภายในเป็นแท่น สำหรับประดิษฐาน พระโกศที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ    ในสมัยของพญาสรรพสิทธิ์ กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ ทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์เจดีย์เดิมที่พญาอาทิตยราชทรงสร้างไว้และได้ขุดร่อง ทวารประตูเข้า - ออก ทั้งสี่เพื่อความปลอดภัย   รูปทรงสันฐานขององค์พระบรมธาตุยังคงเป็นลักษณะเดิม คือ เป็นทรงปราสาทสี่เหลี่ยมที่กว้างใหญ่ และสูง พระธาตุเจ้าหริภุญชัยเป็นที่ เคารพสักการบูชาของชาวลำพูนและชาวเมืองเหนือมาแต่โบราณกาล ตราบเท่าทุกวันนี้  
  • 28.      3. หอระฆัง   ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์พระธาตุหริภุญชัย   เป็นหอสำหรับแขวนระฆังและกังสดาลขนาดใหญ่ สร้างขึ้นโดย พระครูพิทักษ์เจติยานุกิจ ( ครูบาคำฟู ) เมื่อ พ . ศ . ๒๔๘๑ ด้านบนแขวนระฆังขนาดใหญ่ซึ่งหล่อ ขึ้นในสมัยเจ้าหลวงดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๗   และชั้นล่างห้อยกังสดาลขนาดใหญ่ซึ่งหล่อขึ้นเมื่อ พ . ศ . ๒๔๐๓   ฝีมือครูบาสูงเม่นโดยกัญจนมหาเถระ เจ้าอาวาส วัดป่าเมืองแพร่ และเจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่ เป็นศรัทธาสร้างหล่อกังสดาลนี้ ในวัดพระสิงห์เมืองเชียงใหม่เพื่อไว้เป็นเครื่องบูชาพระธาตุหริภุญชัย
  • 29. อุทยานแห่งชาติแม่ปิง                   เดิมอุทยานนี้เป็นป่าสงวนแห่งชาติแม่หาด - แม่ก้อ มีเนื้อที่ทั้งหมด ๑ , ๐๐๓ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๖๒๗ , ๓๔๖ ไร่ได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ ๓๒ ของประเทศ เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม พ . ศ . ๒๕๒๔ ครอบคลุมพื้นที่     อำเภอดอยเต่าจังหวัดเชียงใหม่    อำเภอสามเงา    จังหวัดตาก    อำเภอลี้    จังหวัดลำพูน    ที่ทำการอุทยานอยู่ในท้องที่ตำบลแม่ลาน อำเภอลี้จังหวัดลำพูน    การเดินทางทางรถยนต์ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ ( สายลี้ - ลำพูน ) บริเวณกิโลเมตรที่    ๔๗แยกเข้าทางหลวงหมายเลข ๑๐๘๗ ระยะทางประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ถึงหน่วยพิทักษ์แก่งก้อ ( เรือนแพแก่งก้อ ) เดินทางต่อเข้าไปอีกประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ก็ถึงที่ทำการอุทยานฯ    พื้นที่ภายในอุทยานบางส่วนเป็นลำน้ำแม่ปิงซึ่งทอดยาวประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตรสองฝั่งแม่น้ำประกอบด้วยหินผา    หินงอก    หินย้อยตามธรรมชาติ   สามารถเดินทางโดยทางเรือได้ทั้งจากอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ หรือจากเขื่อนภูมิพล    อำเภอสามเงา จังหวัดตาก
  • 30.          ลักษณะป่าของอุทยานแห่งชาติแม่ปิง             ลักษณะโดยทั่วไปของอุทยานมีเทือกเขาสลับซับซ้อน    มียอดเขาสูงสุด คือ ดอยห้วยหลาว สูงจากระดับน้ำทะเล ๑ , ๒๓๘ เมตร    และเป็นต้นน้ำลำธารหลายสาย คือ ห้วยแม่หาด ห้วยแม่ก้อ ห้วยโป่งกะ ห้วยม่วง ห้วยไคร้ ห้วยขุนแผน มีป่าไม้บริเวณนี้ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ สถานที่ฟสำคัญในอุทยาน           ถ้ำยางวี    เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่    ภายในมีหินงอกหินย้อย    ค้างคาว    บริเวณใกล้เคียงมีป่า    เรียกว่า    ป่าพระบาทยางวีมีลักษณะเป็นป่าสนเขา    มีธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวยงาม           ทุ่งกิ๊ก - ทุ่งนางู    ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอุทยาน    ห่างจากที่ทำการประมาณ   ๑๕   กิโลเมตร    มีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติที่กว้างใหญ่    และเป็นที่ราบเนินเขาปกคลุมด้วยทุ่งหญ้าสลับป่าเต็งรัง    มีต้นแป้งหรือต้นปรงขึ้นอยู่ทั่วไป
  • 31. บ่าลำไย        ลำไยมีชื่อเรียกพื้นบ้านว่า บ่าลำไย ชื่อภาษาอังกฤษว่าลองแกน (Longan) ชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Nephelium ,Canb. หรือ Euphorialongana,Lamk. วงศ์ Sapedadceae ทีน ( Native) ในพื้นที่ราบต่ำของลังกาอินเดียตอนใต้ เบงกอลพม่าและจีนภาคใต้ เป็นพืชไม้ผลเขตร้อนและกึ่งร้อน  
  • 32. ประวัติลำไย       ลำไยเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและกึ่งร้อนของเอเชีย ซึ่งอาจมีถิ่นกำเนิดในลังกาอินเดียพม่าหรือจีนแต่ที่พบหลักฐานที่ปรากฏในวรรณคดีของจีนในสมัยพระเจ้าเซ็งแทงของจีนเมื่อ ๑ , ๗๖๖ ปีก่อนคริสกาลและจากหนังสือ RuYa ของจีนเมื่อ ๑๑๐ ปีก่อนคริสตกาลได้มีการกล่าวถึงลำไยไว้แล้ว และชาวยุโรปได้เดินทางไปยังประเทศจีนเมื่อปีพ . ศ . ๑๕๑๔ ก็เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับลำไยไว้ในปีพ . ศ . ๑๕๘๕ แสดงว่าลำไยมีการปลูกในจีนที่มณฑลกวางตุ้งเสฉวนมีศูนย์กลางอยู่ที่มณฑลฟูเกียน
  • 33. ประโยชน์ของลำไย       เปลือกของต้นมีสีน้ำตาลอ่อนหรือเทาและมีรสฝาดใช้ต้มเป็นยาหม้อแก้ท้องร่วง ลำต้นมีขนาดใหญ่    สูงประมาณ ๓๐ - ๔๐ ฟุต เนื้อไม้มีสีแดงและแข็งสามารถใช้ทำเครื่องใช้ประดับบ้านได้       ผลลำไยมีเปลือกสีน้ำตาลอมเขียวภายในมีเนื้อขาวอมชมพูขาวอมเลืองแล้วแต่สายพันธุ์เนื้อลำไย สามารถ บริโภคสด บรรจุกระป๋อง ตากแห้งสามารถทำเป็นชาชงใช้ดื่ม เป็นยาบำรุงกำลังช่วยให้หลับสบายเจริญอาหาร
  • 34. พันธุ์ลำไย       ลำไยปลูกในหลายประเทศที่สำคัญคือประเทศจีนมีการปลูกลำไยถึง ๒๖ พันธุ์ คือพันธุ์ที่ปลูกในมณฑล กวางตุ้ง ๑๒ สายพันธุ์ปลูกในประเทศไต้หวันอีก ๑๕ สายพันธุ์ปลูกในสหรัฐอเมริกามี ๑ สายพันธุ์คือ พันธุ์โคฮาลาพันธุ์ลำไยในประเทศไทย จำแนกออกตามลักษณะผลเนื้อเมล็ดและรสชาติแบ่งได้ ๕ พวก คือ       ลำไยกะโหลก   เป็นพันธุ์ลำไยที่ให้ผลขนาดใหญ่มีเนื้อหนารสหวานมีหลายสายพันธุ์คือ       ๑ . สีชมพู ผลใหญ ่เนื้อหนา เมล็ดเล็ก เนื้อมีสีชมพู รสดีมากที่สุด       ๒ . ตลับนาค ผลใหญ่ เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบแห้ง เปลือกบาง       ๓ . เบี้ยวเขียว ผลใหญ่กลมเบี้ยว เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบ แต่พันธุ์หนักร่องเก่ง       ๔ . อีดอ ผลขนาดปานกลาง เมล็ดเล็ก รสหวาน แบ่งเป็น ๒ ชนิดคือ              - อีดอยอดแดง   ใบอ่อนมีสีแดง                - อีดอยอดเขียว   ใบอ่อนมีสีเขียว       ๕ . อีแดง สีเปลือกของผลค่อนข้างแดง เป็นพันธุ์กลาง กิ่งเปราะหักง่าย ผลกลมใหญ ่เมล็ดใหญ่ รสหวานแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ                - อีแดง ( อีแดงเปลือกหนา )    มีใบป้อมใหญ่ผลใหญ่              - อีแดง ( อีแดงเปลือกบาง )    ใบยาวผลเล็กกว่าอีแดงเปลือกหนา       ๖ . อีดำ ผลใหญ ่ใบดำ เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบ แบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ              - อีแห้วยอดแดง เมล็ดปานกลาง              - อีแห้วยอดขาว ผลกลมใหญ่ หัวเบี้ยว เนื้อกรอบ ไม่หวาน
  • 35.            คุณค่าทางอาหารของลำไยกองวิทยาศาสตร์กรมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยได้ทำการวิเคราะห์ส่วนปรักอบของลำไยปรากฏผลว่า       ๑ . ลำไยสดทั่วไปประกอบด้วยน้ำ๘๑ . ๑ % คาร์โบไฮเดรต๑๖ . ๙๘ % โปรตีน๐ . ๙๗ % เถ้า๐ . ๕๖ % กาก๐ . ๒๘ % และไขมัน ๐ . ๑๑ %       ๒ . ในลำไยสด๑๐๐กรัมจะมีค่าความร้อน๗๒ . ๘แคลอรีและมีวิตามิน๖๙ . ๒มิลลิกรัมแคลเซียม๕๗มิลลิกรัมฟอสฟอรัส๓๕ . ๑๗มิลลิกรัมและธาตุเหล็ก๐ . ๓๕มิลลิกรัม       ๓ . ลำไยแห้งประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต ๖๙ . ๐๖ % น้ำ ๒๑ . ๒๗ % โปรตีน ๔ . ๖๑ % เถ้า ๓ . ๓๓ % กาก ๑ . ๕๐ % และไขมัน ๐ . ๑๗๑ %       ๔ . ลำไยแห้ง ๑๐๐กรัมจะมีค่าความร้อน ๒๙๖ . ๑แคลอรี แคลเซียม ๓๒ . ๐๕มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส ๑๕๐ . ๕มิลลิกรัมโซเดียม ๔ . ๗๘มิลลิกรัม เหล็ก ๒ . ๘๕มิลลิกรัม โพแทสเซียม ๑๓๙๐ . ๓มิลลิกรัม กรดแฟนโทซินิค ๐ . ๗๒มิลลิกรัมวิตามินบี ๑๒จำนวน ๑ . ๐๘มิลลิกรัม       ลำไยกระดูก เป็นพันธุ์พื้นเมือง ทรงพุ่มกว้างใบหนาทึบ ผลเล็กมีน้ำมาก เนื้อน้อยไม่หวาน มีน้ำตาลประมาณ ๑๓ . ๗๕ % ขึ้นได้ทั่วไปปลูกง่าย เหลือให้เห็นน้อย เพราะไม่นิยมปลูก ไม่มีราคา       ลำไยธรรมดา ผลปานกลาง   เนื้อหนากว่าลำไยพันธุ์กระดูก   เนื้อกรอบบางมีน้ำมาก   ให้ผลดก       ลำไยสายน้ำผึ้ง   ลักษณะคล้ายลำไยธรรมดา   แต่เนื้อมีสีเหลืองอ่อน   เนื้อมีรสดี   หอมกรอบ   เมล็ดเล็ก       ลำไยเถาหรือลำไยเครือ   มีลำต้นเลื้อยคล้ายเถาวัลย์   นิยมปลูกไว้ประดับมากกว่าปลูกไว้รับประทาน   ชอบขึ้นตามป่าแถบภูเขาบรรทัด   ภูเขาดงเล็ก   ลำต้นไม่มีแก่นจึงพันเข้ากับรั้วหรือหลัก
  • 36. รายงาน เรื่องประเทศกานา จัดทำโดย นางาสาวจุรีพร เพ็งวิชัย ม .5/2 เลขที่ 15 เสนอ คุณครูสฤษดิ์ศักดิ์ ชิ้นเขมจารี โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ร้อยเอ็ด