SlideShare a Scribd company logo
1 of 39
องค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
 
ประวัติพระปฐมเจดีย์   พระปฐมเจดีย์นับเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยที่สำคัญและเก่าแก่ที่สุด  องค์พระปฐมเจดีย์ปูชนียสถานสำคัญทางพระพุทธศาสนา  เป็นเจดีย์องค์แรกในดินแดนสุวรรณภูมิใหญ่ที่สุดในโลก  จึงเป็นที่เชิดหน้าชูตาของชาวไทยทั้งชาติ  แทบทุกวันจะมีนักทัศนาจรทั้งชาวไทยและต่างประเทศมานมัสการอยู่เสมอ  เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์  เนื่องจากรวมโบราณวัตถุไว้มากมายเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจากหนังสือเรื่องพระปฐมเจดีย์กับนำเที่ยวของ ม . จ . สุภัทรดิส  ดิศกุล  ทรงนิพนธ์ไว้
ท่านให้ความเห็นเกี่ยวกับการสร้างพระปฐมเจดีย์ว่า  การที่จะทราบว่าพระปฐมเจดีย์สร้างขึ้นเมื่อใด  และใครเป็นผู้สร้างนั้นจะต้องย้อนกล่าว ตั้งแต่  พระพุทธองค์เสด็จดับขันปรินิพาน พระพุทธศาสนาได้แพร่หลายอยู่ในมัชฌิมประเทศ  คือ อินเดียตอนกลาง แต่ยังหาได้เป็นศาสนาประธานของประเทศไม่
ต่อมาสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชขึ้นครองราชย์สมบัติในแคว้นมคธของอินเดีย  เมื่อ  พ . ศ .   ๒๗๔  ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระเดชานุภาพใหญ่หลวง  พระองค์สลดพระทัยในการรบพุ่ง  มุ่งหมายจะแผ่พระเดชานุภาพทางธรรม  เพราะทรงเห็นว่า พระพุทธศาสนามีคติธรรมล้ำเลิศกว่าศาสนาอื่น ๆ  จึงทรงอุปถัมภ์  และเผยแพร่ไปนานาประเทศ  โดยส่งพระสงฆ์เป็นสมณทูตออกไปมีข้อความตอนหนึ่งในหนังสือมหาวงศ์ คือ พงศาวดารของเกาะลังกา  โดยกล่าวไว้ว่า ให้พระโสณเถระและพระอุตรไปยังสุวรรณภูมิ  นักปราชญ์ทั้งหลายเห็นพ้องกับอาจารย์ริสเดวิดส์ที่ว่า  เริ่มต้นแต่ รามัญประเทศ  ( คือเมืองมอญ )  ไปจดเมืองญวน  และตั้งแต่พม่าไปจนถึงปลายแหลมมลายู  เมืองนครปฐมน่าจะเป็นราชธานีของสุวรรณภูมิและคงเรียกว่า  สุวรรณภูมิซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศด้วย
หลักฐานที่ปรากฏชัดว่าเมืองนครปฐมเป็นเมืองที่พระพุทธศาสนามาเผยแพร่เป็นครั้งแรกที่นี่ ก็คือ องค์พุทธเจดีย์ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยเดียวกับพระเจ้าอโศก มหาราชยังครองราชย์สมบัติอยู่แน่นอน เพราะลักษณะองค์เจดีย์นั้นเดิมเป็นแบบสถูปกลมรูปทรงคล้ายๆ บาตรคว่ำ  ( โอคว่ำ )  แบบสัญจิเจดีย์ ในประเทศอินเดียที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้และวัดที่สร้างขึ้นเป็นวัดแรกในประเทศก็คือ วัดพระปฐมเจดีย์นี่เอง
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงกล่าวไว้ในหนังสือมูลเหตุแห่งการสร้างวัดในประเทศสยาม ข้อ ๓ ว่า ... ที่ลานพระปฐมเจดีย์ข้าพเจ้าได้ลองให้ขุดคูแห่งหนึ่งที่ริมถนนขวาพระ ก็พบรากห้องกุฏิพระสงฆ์แต่โบราณ ก็แสดงว่าวัดแรกของประเทศไทย ก็คือวัดพระปฐมเจดีย์นี่เอง และกุฏิสมัยนั้นอยู่ทางด้านขวาพระ
เมืองนครปฐมๆได้เจริญและเสื่อมลง วัดพระปฐมเจดีย์ก็เช่นเดียวกัน ได้ชำรุดทรุดโทรมและรกร้าง ไปตามสภาพบ้านเมืองจนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่สอง ในราชวงศ์จักรี กุฏิของพระสงฆ์ได้ย้ายมาอยู่ทางด้านทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์ คือทางด้านวิหารพระร่วงโรจนฤทธิ์ ศาลาการเปรียญอยู่บริเวณต้นพระศรีมหาโพธิ์ หมู่กุฏิพระสงฆ์ ปลูกอยู่ทางด้านตะวันตกของศาลาการเปรียญ ส่วนพระอุโบสถคงอยู่ ณ ที่เดิม คือด้านตะวันออก ตรงกับพระอุโบสถในปัจจุบัน เพียงแต่ว่าตั้งอยู่กับพื้นดิน
การสร้างพระเจดีย์จะต้องบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแน่นอน เพราะสมัยที่พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงมอบพระบรมสารีริกธาตุให้สมณทูตทุกสาย สมณทูตเหล่านั้นเมื่อประกาศพระพุทธศาสนา ณ ที่ใด เป็นหลักฐานมั่งคงแล้วก็จะสร้างพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเช่นเดียวกับที่พระองค์ได้ทรงกระทำในชมพูทวีป  พระปฐมเจดีย์ได้รับการปฏิสังขรณ์มาหลายสมัยจากสถูปทรงโอคว่ำ คือ ๑ .  สมัยสุวรรณภูมิ ตั้งแต่แรกสร้างปฐมเจดีย์ ราว พ . ศ .  ๓๕๐ ราว พ . ศ .  ๑๐๐๐ ๒ .  สมัยทวารวดี เป็นสมัยที่ก่อสร้างเพิ่มเติมองค์พระปฐมเจดีย์ตั้งแต่แรกราว พ . ศ .  ๑๐๐๐ จนถึง พ . ศ .  ๑๖๐๐ ๓ .  สมัยพระปฐมเจดีย์ทรุดโทรม ตั้งแต่ พ . ศ .  ๑๖๐๐ จนถึง พ . ศ .  ๒๓๙๖ จนถึง สมัยปัจจุบัน
มีเล่าสืบๆกันมาเป็นตำนานอยู่หลายตำนานด้วยกัน ดังจะยกจากเรื่องพระปฐมเจดีย์ ของท่านเจ้าพระยาทิพากรวงศ์  ( ขำ บุนนาค )  เรียบเรียงไว้แต่ปีฉลู พ . ศ .  ๒๔๐๘ ซึ่งสำนักงานจัดหาประโยชน์และรักษาองค์พระปฐมเจดีย์จัดพิมพ์เมื่อ ๘ พฤษภาคม พ . ศ .  ๒๕๑๖ เป็นตำนานฉบับพระยาราชสัมภากร และฉบับตาปะขาวรอด ได้เล่าไว้ว่า  ท้าวสีการาช ครองเมืองศรีวิชัย  ( คือเมืองนครชัยศรี )  มีบุตรชายชื่อพระยากง ต่อมาพระยากงได้ครองราชย์สมบัติแทนบิดาที่สวรรคตไป พระยากงมีมเหสีและพระกุมารองค์หนึ่งโหรทำนายว่า กุมารองค์นี้มีบุญญาธิการมาก แต่จะทำปิตุฆาต พระยากงจึงรับสั่งให้นำกุมารไปทิ้งเสีย ราชบุรุษก็นำกุมารไปทิ้งไว้ในป่าไผ่ข้างบ้านยายหอม
ยายพรหมก็ได้เลี้ยงกุมารไว้โดยไม่ทราบว่าเป็นบุตรของผู้ใด ต่อมายายพรหมยกกุมารให้ยายหอมซึ่งเป็นญาติเลี้ยงต่อ เพราะครอบครัวของยายหอมไม่มีบุตร ยายหอมเลี้ยงกุมารไว้จนโต กุมารพายายหอมขึ้นไปเมืองเหนือถึงสุโขทัย บังเอิญไปพบช้างพระเจ้าแผ่นดินสุโขทัยอาละวาดสลัดหมอควาญไล่แทงผู้คนอยู่แต่ไม่มีผู้ใดสามารถจับช้างนั้นได้ กุมารเข้าไปดูช้างก็อาละวาดไล่แทงกุมาร กุมารจึงจับช้างกดลงไว้กับดิน คนทั้งปวงจึงจับช้างได้ ความทราบถึงพระเจ้าแผ่นดินสุโขทัย จึงชุบเลี้ยงกุมารไว้เป็นบุตรบุญธรรม จนกระทั่งเจริญวัย พอที่จะปกครองเมืองได้ จึงจัดให้กุมารไปตั้งที่บ้านเจ็ดเสมียนได้ซ่องสุมผู้คนไว้เป็นอันมากแล้ว จึงยกมาตั้งอยู่บ้านเล่า ได้รวบรวมพลอีกประมาณสี่หมื่นยกมาบ้านยายหอม มาตั้งอยู่ที่ป่าแดง แล้วมีหนังสือเข้าไปถึงพระยากงให้พระยากงออกมาทำยุทธหัตถี
พระยากงเสียทีถูกกุมารฟันด้วยข้อง้าวคอขาดกับช้างพระที่นั่ง  ที่ตรงนั้นจึงเรียกว่า ถนนขาด  และเรียกตำบลนั้นว่าตำบลถนนขาดมาจนถึงทุกวันนี้ กุมารจึงยกรี้พลเข้าไปตั้งอยู่ในเมืองกาญจนบุรี และต้องการให้ พระมเหสีพระยากงซึ่งเป็นมารดาของตนเป็นภรรยาแต่ก็มีเหตุดลใจให้ทราบว่าเป็นมารดาเสียก่อน  เมื่อพบพระมเหสีกุมารจึงตั้งสัจอธิฐานว่า ถ้าหญิงคนนี้เป็นมารดาจริงขอให้น้ำนมไหลออกจากถันทั้งคู่ ถ้าไม่ใช่ก็อย่าให้เกิดปรากฏเช่นนั้นออกมา ปรากฏว่ามีน้ำนมไหลออกมาจากถันทั้งคู้จริง เมื่อแม่ลูกรู้จักกันก็ทราบว่าพระยากงเป็นพระบิดาบังเกิดเกล้าก็เสียใจโกรธยายหอมที่ไม่บอกให้ทราบตั้งแต่ต้น จึงจับยายหอมฆ่าเสีย ยายหอมก่อนจะตายด้วยความเสียใจก็ร่ำไห้ ครั้นตายแล้วแร้งลงมากินศพยายหอม บ้านยายหอมก็เรียกว่า โคกยายหอมมาจนทุกวันนี้
เหตุที่เป็นผู้ฆ่าบิดาและยายหอมนี้เองจึงเกิดวิตกว่าจะรับกรรมหนัก เมื่อพุทธศักราชล่วงได้ ๕๖๙ ปี จึงได้ประชุมพระอรหันต์ และพระสงฆ์ทั้งปวงว่าจะทำกุศลสิ่งใดกรรมนั้นจึงจะเบาลง ที่ประชุมมีมติให้สร้างพระมหาเจดีย์ใหญ่ สูงชั่วนกเขาเหิน กรรมจึงจะเบาบางลง พระอรหันต์ที่มาประชุมนั้นชื่อ พระศิริมานนท์ พระองคุลิมาล ที่ประชุมพระอรหันต์เรียกว่า ธรรมศาลามาจนถึงทุกวันนี้
พระยาพานให้ทำฐานเพื่อก่อพระเจดีย์ที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาบรรทมในที่สวมแท่นไว้ท้ายมหาพรหม แล้วเอาฆ้องที่ตีสามโหม่งแล้วดังกระหึ่มไปจนค่ำ มาหนุนไว้ใต้แท่นบรรทมแล้วก่อเจดีย์ขึ้นเป็นลอมฟาง  ( คล้ายกองฟาง )  สูงชั่วนกเขาเหิน พร้อมกับบรรจุพระทันตธาตุ  ( พระเขี้ยวแก้ว )  ไว้องค์หนึ่ง สร้างเสด็จถวายเขตแดนโดยรอบ ชั่วเสียงช้างร้อง คำว่าสูงชั่วนกเขาเหินคงจะหมายถึง มองเห็นนกขนาดตัวเท่านกเขาบินสูงจนเห็นเป็นจุด หรือระยะความสูงที่สุดที่นกเขาสามารถบินได้ ถ้าสูงกว่านั้นแล้วไม่สามารถบินต่อไปได้ หรือคำว่าอาณาเขตชั่วเสียงช้างร้อง คงจะไกลขนาด ๓ - ๔ กิโลเมตร  ในสมัยนั้น เพราะไม่มีเสียงยวดยานรบกวน คำว่าฆ้องตีสามโหม่งดังกระหึ่มไปจนค่ำก็คงจะดังประมาณเกือบครึ่งวันแต่ไม่ได้บอกว่าตีเวลาใด จึงคาดคะเนยาก
มีกษัตริย์ปกครองต่อมาอีกหลายองค์จนถึงสมัยพระเจ้าหงสาวดีแห่งเมืองมอญ มีพระราชประสงค์ฆ้องตีสามโหม่งดังไปจนค่ำ จึงยกรี้พลมาขุดฆ้องที่ฝังไว้ใต้แท่นบรรทม พอขุดลงไปถึงฆ้อง ฆ้องก็ทรุดลงไป พระเจดีย์ก็ทรุดไปด้วยเจ้าเมืองหงสาวดีเห็นว่าการกระทำของพระองค์ไม่สมควรแน่ คงจะเป็นบาปกรรมเพราะเจ้าของคงไม่อนุญาตจึงให้ก่อเป็นองค์ปรางค์ต่อตั้งขึ้นบนหลักองค์ระฆังเดิม ที่พังแต่ก็ยังสูงไม่เท่าเดิม  สำหรับตำนานพระปฐมเจดีย์ฉบับพระยาอรรคนิกรและฉบับนายทองก็ได้เล่าถึงการสร้างพระปฐมเจดีย์ ซึ่งมีข้อความเกี่ยวข้องกับการสร้างพระประโฑณเจดีย์ด้วย แต่สร้างเมื่อพุทธศักราชล่วงได้ ๑๑๙๔ พรรษา ในหนังสือไตรภูมิพระร่วงก็บอกเวลาไว้ตรงกัน ตำบลบ้านพราหมณ์ก็มีมาก่อนเมืองนครชัยศรี เรียกบ้านพราหมณ์ว่า บ้านโฑณะพราหมณ์ คือ ทะนานทอง ที่ตวงพระบรมสารีริกธาตุพระพุทธเจ้า ซึ่งบรรจุไว้ในเรือนหินเมื่อพุทธศักราชล่วงได้ ๑๑๓๓ พรรษา
เมื่อท้าวศรีสิทธิชัยสร้างเมืองนครชัยศรีเป็นเมืองหลวง เจ้าเมืองลังกาต้องการทะนานทอง จึงขอให้พระยากัลดิศเถระมาขอเพื่อชาวลังกาไว้นมัสการ ท้าวศรีสิทธิชัยยินดีแต่ขอเปลี่ยนกับพระบรมสารีริกธาตุทะนานหนึ่ง พระยาลังกาก็ยินดี พระยัลดิสเถระก็รับพระบรมสารีริกธาตุมามอบให้พระยาศรีสิทธิชัย พระยาศรีสิทธิชัยจึงให้ขอทะนานทองจากหมู่พราหมณ์ หมู่พราหมณ์ไม่ยอมให้เพราะบรรพบุรุษของตนได้สั่งไว้ว่า ท้าวพระยาสามลราชและเทวดาอินทร์พรหมท่านชิงเอาพระบรมสารีริกธาตุไปสิ้นแล้ว ยังเหลือแต่ทะนานทองไว้บูชาเท่านั้น  เมื่อไม่ได้ทะนานทอง พระยาศรีสิทธิชัยขัดเคืองมาก จึงยกรี้พลออกไปตั้งเมืองอยู่ต่างหาก ใช้ชื่อเมืองว่าปาวัน ท่านจึงให้สร้างพระปฐมไสยาสน์ใหญ่ยาวมหึมา หรือจะเป็นพระปฐมเจดีย์ ความตอนนี้กล่าวไว้ไม่ชัดเจน อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมากบรรจุไว้ในนั้น แล้วหักหาญเอาทะนานทองให้พระยากัลดิศเถระนำไปถวายเจ้าเมืองลังกา
เจ้าเมืองนำไปบรรจุไว้ในสุวรรณเจดีย์แรกสร้างพระปฐมเจดีย์นั้น กล่าวว่าพุทธศักราชล่วงไว้วัสสาหรึ่ง  ( วัสสา มาจาก วัสสะ แปลว่า ฤดูฝน , ปี )  ส่วนพระประโฑณเจดีย์สร้างเมื่อพุทธศักราชล่วงได้ ๑๑๙๙ พรรษา โดยเจ้าเมืองละโว้ชื่อ กากะวรรณดิศราช ได้ก่อพระเจดีย์ล้อมเรือนศิลา ครั้งนั้นพระยาภาลีบดีใจครองเมืองหลวงต่อแดนยโสธร และพระยาใสทองสมครองเมืองนครชัยศรี  ( คือนครปฐม )  บางตำนานครองเมืองราชบุรี มีเหตุฆ่าพระยาภาลีธิราชผู้เป็นบิดา แล้วปลงพระมารดาของตัว รู้สังเวชใจ จึงคิดกันมาซ่อมแปลงวัดพระสังฆรัตนธาตุ พระอารามบ้านธรรมศาลาที่พระยาศรีสิทธิชัยสร้างไว้แต่ก่อน เรื่องต่อจากนี้ไปก็คล้ายกับเรื่องของพระยาราชสัมภากรและตะปะขาวรอตกล่าวไว้
มีผู้มาสร้างเพิ่มเติมพระปฐมเจดีย์เมื่อภายหลัง คือยอดปรางค์สร้างซ้อนองค์พระสถูปเดิม แต่นิทานเรื่องพระยากงพระยาพานเป็นเรื่องของมอญ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ และ ม . จ . สุภุทรดิศ ดิศกุล ให้ความเห็นว่า ส่วนที่เป็นองค์ปรางค์นั้นเป็นแบบเขมร ครั้งที่เขมรเป็นใหญ่ในดินแดนมอญ  ( ละว้า )  ราว พ . ศ .  ๑๕๐๐  เป็นต้นมาหลังจากพุทธศักราช ๑๕๐๐ เป็นต้นมา พระพุทธเจดีย์ก็ทรุดโทรมคงเนื่องมาจากขาดการทำนุบำรุงรักษา เหตุที่เจ้าเมืองอ่อนแอก็เป็นได้ จนกระทั่งถูกพระเจ้าอนุรุธแห่งพม่ามาตีเมืองนครปฐม เพราะหลักฐานวัตถุโบราณที่ขุดได้จากเมืองนครปฐม ก็ขุดได้ที่เมืองพุกามแห่งเดียว เช่น พระพิมพ์และเงินเหรียญของโบราณ เป็นรูปสังข์ข้างหนึ่ง ปราสาทข้างหนึ่ง อานันทเจดีย์ที่เมืองพุกามซึ่งสร้างขึ้นหลังพระเจ้าอนุรุธที่ ๑ นั้น ก็เป็นแบบเดียวกับวัดพระเมรุที่จังหวัดนครปฐมทุกอย่าง
  ยกเว้น พระพุทธรูปในซุ้มทั้งสี่ เป็นพระยืน ที่วัดพระเมรุเป็นพระนั่งห้อยพระบาท หลังจากที่พระเจ้าอนุรุธตีเมืองนครปฐมได้ก็กวาดต้อนผู้คนไป เมืองนี้ก็กลายเป็นเมืองร้าง อู่ทองจึงเป็นเมืองหลวงต่อมา สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงพิจารณาว่า ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง พ . ศ .  ๑๘๓๕ ยังมีชื่อเมืองสุพรรณภูมิ ซึ่งก็คืออู่ทองนั้นเอง ซึ่งเป็นเมืองหลวงสุดท้ายของอาณาจักรทวาราวดีตามที่ ม . จ . สุภุทรดิศ  ดิศกุล ทรงกล่าวว่า ถ้าพระวินิจฉัยของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เรื่องพงศาวดาร ของพระเจ้าอู่ทองถูกต้องแล้ว ร้อยปีต่อมาเมื่อราว พ . ศ .  ๑๗๓๑ พระเจ้าไชยศิริต้นวงศ์ของพระเจ้าอู่ทองสู้มอญไม่ได้ ก็อพยพลงมาตั้งที่เมืองนี้อีกครั้งหนึ่ง ต่อมาเมืองร้างไปอีกเพราะแม่น้ำตื้นเขิน
ครั้นถึงแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราว พ . ศ .  ๒๐๙๑ จึงตั้งเมืองนี้ขึ้นเรียกว่า เมืองนครไชยศรี เพื่อเป็นเมืองต่อต้านข้าศึก  ( รับศึก )  และเนื่องจากพระปฐมเจดีย์ห่างไกลจากเมืองนี้ และในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ เมืองไทยต้องคอยรับศึกจากพม่าจนปล่อยให้พระปฐมเจดีย์ปรักหักพังเต็มไปด้วยป่ารกไม่มีผู้คนดูแลเป็นเวลานาน  จนถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พบว่าศาลาการเปรียญอยู่บริเวณต้นพระศรีมหาโพธิ์ หมู่กุฏิพระสงฆ์ปลูกอยู่ทางด้านตะวันตกของศาลาการเปรียญ ส่วนพระอุโบสถคงอยู่ ณ ที่เดิม คือด้านตะวันออกตรงกับพระอุโบสถในขณะนี้ เพียงแต่อยู่กับพื้นดิน
ในสมัย รัชกาลที่ ๓ พ . ศ .  ๒๓๗๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครั้งยังทรงผนวช ณ วัด สมอราย  ( วัดราชาธิวาส )  ได้เสด็จธุดงค์มาที่เมืองนครปฐม พร้อมด้วยคณะสงฆ์และทรงปักกลดประทับ ณ โคนต้นตะคร้อได้สังเกตลักษณะขององค์พระปฐมเจดีย์ ทรงเห็นว่าไม่มีเจดีย์ใดที่เก่าแก่และยิ่งใหญ่เท่าเจดีย์องค์นี้ ตั้งแต่เสด็จไปพบเห็นมาทั่วประเทศไทย พระองค์ทรงเห็นว่าน่าจะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้เป็นแน่ หลังจากที่พระองค์เสด็จขึ้นสวดมนต์บนลานพระปฐมเจดีย์จบแล้ว ทรงอธิฐานว่า ถ้าพระมหาเจดีย์นี้มี พระบรมธาตุบรรจุไว้ภายใน  ขอเทพยดาผู้รักษาจงได้แบ่งให้สักสององค์จะนำไปบรรจุไว้ภายในพระพุทธรูปที่สร้างใหม่ และในพระเจดีย์เงินเพื่อไว้บูชาในกรุงเทพฯ แล้วรับสั่งให้นายรื่นมหาดเล็กนำผอบใส่พานขึ้นไปตั้งไว้ในโพรงพระเจดีย์ ทางด้านทิศตะวันออก ในตอนบ่ายวันที่จะเสด็จกลับก็ให้เชิญผอบลงมาก็หาได้มีอะไรไม่
หลังจากที่ท่านเสด็จกลับได้ประมาณเดือนเศษ คืนหนึ่งประมาณ ๕ ทุ่ม ขณะที่พระสงฆ์ สวดมนต์ในหอพระสงฆ์สวดมนต์ในหอวัดพระธาตุซึ่งพระองค์ทรงสร้างพระเนาวรัตน์ไว้องค์หนึ่งปรากฏว่า พระสงฆ์สวดมนต์ไปได้ครึ่งหนึ่งก็มีกลุ่มควันสีแดง กลิ่นหอมเหมือนควันธูป  ควันนั้นมากขึ้นจนพระพุทธรูปแลดูแดงเหมือนสีนาก  พระสงฆ์ทั้งปวงตกใจลุกไปดูด้วยสำคัญว่าไฟไหม้แต่ก็ไม่เห็นอะไร จึงสวดมนต์ต่อไปจนจบเมื่อสวดมนต์จบแล้ว  ควันจางลง จึงช่วยกันค้นดูว่าใครสุมไฟไว้ที่ไหนก็ไม่พบรุ่งขึ้นไปกราบทูลให้ทราบ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าจึงเสด็จทอดพระเนตร พระพุทธรูปพระเนาวรัตน์ พบพระธาตุมากขึ้นกว่าเก่า ๒ องค์  รับสั่งถามพระสงฆ์ก็ไม่มีผู้ใดทราบ พระธาตุนั้นเล็กเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดสีขาวเหมือนดอกพิกุลจึงโปรดบรรจุไว้ในพระสัมพุทธพรรณีองค์หนึ่ง
ในพระเจดีย์สุวรรณผลึกองค์หนึ่งพระองค์มีศรัทธามากมุ่งจะทรงสถาปนาบูรณะ ปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ด้วยมั่นพระทัยว่ามีพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าบรรจุอยู่  จึงนำความกราบทูลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ พระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงโปรดฯ เพราะทรงเห็นว่าเป็นของอยู่ในป่ารก จะทำขึ้นก็ไม่เห็นเป็นประโยชน์ใด  จึงทรงพระจินตนาไว้ว่าจะทรงบูรณปฏิสังขรณ์ให้จงได้
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเสวยราชย์ได้ ๒ ปี โปรดให้เริ่มลงมือก่อสร้างปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์เป็นการใหญ่ ในปีแรก พ . ศ .  ๒๓๙๕ โปรดให้สมเด็จพระยาพระบรมมหาประยูรวงศ์เป็นแม่กองจัดสร้าง ต่อเมื่อ พ . ศ .  ๒๓๙๘ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ถึงแก่พิราลัย จึงโปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดีเป็นแม่กองเจ้าของการจัดทำต่อไป
เมื่อวันอังคารที่  ๒๓  มีนาคม  พ . ศ .  ๒๔๐๐   ( เดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีมะเมีย )  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังวัดพระปฐมเจดีย์และทรงก่อพระปฐมเจดีย์เป็นปฐมฤกษ์  ตามรูปแบบที่ช่างได้จัดทำรูปถวาย โดยจัดทำครอบองค์เดิมไว้ภายใน การเสด็จครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่เสด็จขึ้นครองราชย์ โดยเสด็จทางเรือขึ้นที่วัดไชยพฤกษมาลา ตอนนั้นคลองมหาสวัสดิ์ คลองเจดีย์บูชาขุดยังไม่เสร็จ  แล้วเสด็จทางสถลมารคไประทับแรมที่พลับพลาท่าหวด  คืนหนึ่งวันรุ่งขึ้นคืนวันพุธที่ ๒๔ มีนาคม  พ . ศ .  ๒๔๐๐   ( เดือน ๕ ขึ้น ๑๐ ค่ำ )  เสด็จทางชลมารค ขึ้นที่คลองเจดีย์บูชาแล้วเสด็จทางสถลมารถถึงองค์พระปฐมเจดีย์ ประทับที่พลับพลาค่ายหลวง เวลาบ่ายห้าโมงเย็นเสด็จขึ้นประทับพลับพลาบนลานพระปฐมเจดีย์ฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
จบแล้วเสด็จพระราชดำเนินปทักษิณ  ( เวียนเทียน )  แล้วจุดดอกไม้เพลิงกระทำสักการบูชา พอทรงจุดฝักแคก็เห็นดวงย้อยออกมาจากซุ้มคูหาด้านทิศตะวันออกเป็นรัศมีขาวตกลงมาหลังพระวิหารพระไสยาสน์เก่า ซึ่งอยู่ที่วิหารหลวงเดี๋ยวนี้ บรรดาผู้เข้าเฝ้าได้เห็นเป็นอันมาก  วันพฤหัสบดี ๒๕ มีนาคม พ . ศ .  ๒๔๐๐ ทรงก่อพระปฐมเจดีย์เป็นพระฤกษ์โปรดให้มีการเวียนเทียน สมโภชต่าง ๆ พระราชทานเงินสามสิบชั่งเป็นพระราชกุศล และทรงโปรยทานแจกราษฎรที่มาชมพระบารมี ข้าราชการที่ตามเสด็จก็เกิดศรัทธา บริจาคเงินโดยเสด็จพระราชกุศลทั่วทุกคน กับโปรดเกล้าฯให้ชายฉกรรจ์ที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงปฐมเจดีย์ถวายเป็นเข้าพระ  ๑๒๖  คน และทรงตั้งผู้ดูแลรักษาพระราชทานนามว่า ขุนพุทธเกษตรารักษ์ และผู้ช่วยพระราชทานว่า ขุนพุทธจักรรักษา สมุห์บัญชี พระราชทานนามว่าหมื่น ฐานาภิบาลทรงยกค่านาและสมพัตสร  ( สมพัตสรคืออากรที่เรียกเก็บเป็นรายปีส่วนใหญ่เก็บจากผลไม้ยืนต้น )
ที่ใกล้องค์พระเป็นกัลปนา  ( กัลปนาคือ สิ่งอื่นซึ่งเจ้าของอุทิศผลประโยชน์ให้แก่วัด ส่วนบุญที่ผู้ทำอุทิศให้ผู้ตาย )  ขึ้นวัด ทรงถวายนิตยภัตด้วย  ( นิตยภัต คือ อาหารหรือค่าอาหารที่ถวายภิกษุสามเณรเป็นนิตย์ )  แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับพระนคร   การปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์หุ้มองค์เดิมเปลี่ยนจากบาตรคว่ำมีพุทธบัลลังก์  ฐานสี่เหลี่ยมซ้อนระฆัง มียอดนพศูลและมีพระมหามงกุฎสวมไว้บนยอดองค์พระเจดีย์  ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือ งดงาม แวววาว มีขนาดสูง ๓ เส้น ๑ คืบ ๖ นิ้ว  ( ๑๒๐ . ๕ ม .)  ฐานโดยรอบยาว ๕ เส้น ๑๗ วา ๓ ศอก  ( ๒๓๓ ม .)  รอบฐานองค์ปฐมเจดีย์สร้างเป็นบาตร หินกลมล้อมรอบเป็น ๒ ชั้น ทั้ง ๔ ทิศมีพระวิหารและพระระเบียงต่อเชื่อมกันรอบพระเจดีย์พร้อมกับสร้างพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ไว้ที่วิหารทั้ง ๔ ทิศ ดังนี้
วิหารทิศตะวันออก เรียกว่า  “ พระวิหารหลวง ”  ห้องนอกประดิษฐานพระพุทธรูปปางตรัสรู้  ประทับนั่งขัดสมาธิอยู่ใต้ต้นโพธิ์บัลลังก์  ต้นโพธิ์เป็นภาพเขียนฝีมืองดงามเหมือนของจริงมาก ส่วนห้องในพระวิหารหลวงปล่อยไว้โล่ง ๆ มีแท่นบูชาเป็นของเก่าในรัชกาลที่ ๔ ซึ่งเป็นที่นมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ในสมัยรัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ โปรดให้วาดรูปองค์พระปฐมเจดีย์แสดงให้เห็นลักษณะขององค์เจดีย์ ตั้งแต่สมัยเริ่มสร้างมาจนถึงปัจจุบัน  ผนังห้องทั้งสองข้างเป็นภาพวาดรูปเทวดา นักพรต ฤาษี และพระยาครุฑ  ทุกภาพประนมมือแสดงการสักการบูชาพระปฐมเจดีย์ ที่ระเบียงกลม  ( วิหารคด )  ล้อมรอบองค์พระเจดีย์ภายในจารึกกถาธรรมทุก้องรอบนอกก่อหอระฆังไว้เป็นระยะ ๆ มี ๒๔ หอ  ชั้นล่างก่อกำแพงถมดินเป็นกระเปาะขึ้นมาทั้ง ๔ ทิศ
บนกระเปาะด้านตะวันออกทำโรงธรรมและพระอุโบสถ  ด้านใต้ประดิษฐานพระคันธาราฐ  ( พระพุทธรูปศิลาขาว )  ซึ่งได้มาจากวัดพระเมรุ  และจำลองพระปฐมเจดีย์ไว้ทางด้านทิศตะวันออกหรือทางซ้ายของพระพุทธคันธาราฐได้จำลองรูปพระเจดีย์เมืองนครศรีธรรมราชที่เรียกว่า พระบรมธาตุใหญ่   กระเปาะด้านตะวันตก  ชั้นบนได้ประดิษฐานพระศรีมหาโพธิ์  ชั้นล่างประดิษฐานไม้สำคัญที่ควรสักการะบาจะขอแทรกประวัติของไม้สำคัญซึ่งรวบรวมจากหนังสือเรื่องพัดยศและต้นไม้สำคัญในพุทธประวัติของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ  และหนังสือปฐมมโพธิกถาของกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส  ( ๒๕๐๕ )
๑ .  ต้นศรีมหาโพธิ์เป็นต้นไม้สำคัญยิ่งเพราะพระสิทธัตถะได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธญาณเป็นพระพุทธเจ้า  ใต้ร่มไม้นี้มีชื่อสามัญของอินเดียว่า  Peepul of India  ลังกาเรียกว่า  Bo tree  แสดงว่าไทยเรียกตามชาวลังกา  ไม้วงศ์นี้มีมากในเมืองไทย เช่น ไทร  กร่าง มะเดื่อ และอื่น ๆ อีกมาก  แต่ไม้มีต้นโพธิ์คงมีแต่ในเมืองไทยแห่งเดียว  ต้นโพธิ์มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า  Ficus reliqiosa  วงศ์  Moraceae ๒ .  ต้นไทร  ( นิโครธ หรือ อชะปาลนิโครธ ) เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ร่ม ๗ วัน  หลังจากประทับใต้ต้นโพธิ์แล้วต้นไทรมีชื่อสามัญว่า  Banyan Tree  ชื่อพฤกษศาสตร์ว่า  Ficusbenghalensis,Linn  วงศ์  Moraceae  วงศ์เดียวกับต้นมหาโพธิ์ถิ่นกำเนิดอยู่ในอินเดียว  ลังกา  พม่า ไทย เขมร  และญวน
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ปฏิสังขรณ์วิหารหลวงและให้เขียนภาพพระปฐมเจดีย์ตั้งแต่ที่มีอยู่เดิมกับภาพเทวดา ครุฑ นาค และนักบวชในศาสนาต่าง ๆ ไว้ที่ผนังวิหาร ยังโปรดให้สร้างวิหารสำหรับประดิษฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ซึ่งเดิมได้อัญเชิญชิ้นส่วนพระเศียร  พระหัตถ์และพระบาท ซึ่งเป็นศิลปะสมัยสุโขทัยมาจากสวรรคโลกนำมาปฏิสังขรณ์จนเป็นพระพุทธรูปยืนที่สมบูรณ์ ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้บรรจุพระอังคารของพระองค์ไว้ในฐานพระพุทธรูปองค์นี้ด้วย ทรงโปรดให้สร้างพระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ และมาเสร็จสิ้นในรัชกาลที่ ๗ พระปฐมเจดีย์นี้หน้าที่ธุรการขึ้นอยู่กับกระทรวงศึกษาธิการ หน้าที่ทางวิชาการขึ้นอยู่กับกรมศิลปากร
๓ . ต้นจิกหรือมุจลินทร์  เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ร่ม ๗ วันเพื่อเสวยวิมติสุขสมาบัติ  อยู่ทางทิศตะวันตกของศรีมหาโพธิ์  หลังจากประทับต้นไทรมาแล้ว  ภายใต้ต้นไม้นี้  ขณะที่พระพุทธองค์ประทับอยู่เกิดพายุฝนตกหนักพญานาคในสระโบกขรณีใกล้ต้นไม้นี้ขึ้นมาขดกาย ๗ รอบพระสัพพัญญู  แล้วแผ่พังพานอันใหญ่ปกป้องเบื้องบนพระเศียร  ฝนก็ไม่รั่ว น้ำก็ไม่ท่วมถึงพระวรกายเมื่อฝนตกไว้ ๓  วันหาย  ไม้นี้ถิ่นกำเนิดอยู่ในอินเดีย  ลังกา ไทย  มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า  Barringtonea  speciosa, Roxb.  วงศ์  Lecythidaceae
๔ .  ต้นเกตุ  ( ราชายตนะ )  อยู่ทางทิศใต้ของต้นจิก  เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับที่ใต้ร่มเสยวิมุติสุข  ๗  วัน เป็น อวสาน  หลังจากที่ประทับใต้ร่มจิกแล้วต้นเหตุมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า  Manikara hexandra,Dub.  วงศ์ Sapotaceae  วงศ์เดียวกับละมุดสีดาและพิกุล  ถิ่นกำเนิดในถิ่นร้อนโดยเฉพาะอินเดีย  พม่า  และไทย  ภายใต้ต้นนี้พรุทธองค์ได้รับสตูก้อน  สตูผง  ของนายตปุสสภัลลิกะพ่อค้าเกวียนตั้งแต่ได้ตรัสรู้สี่สิบแปดวันมาเสวยพระกระยาหารในวันที่ ๔๙  พระกระยาหารคือ  ผลสมอ
๕ .  ต้นกร่าง  ( พหูปตตนิโครธ )  เป็นต้นไม้ที่พระพุทธองค์ประทับแล้วได้พบพระมหากัสสปเป็นครั้งแรก ๖ .   ต้นสาละ  ( สาลรุกโข )  เป็นต้นไม้ที่พระพุทธองค์ได้ประสูติและนิพพาน และเป็นไม้ที่ประทับใต้ร่มก่อนตรัสรู้ไม้นี้สกุลเดียวกับไม้เต็ง  ไม้พะยอม  ไม้ยาง  แต่คนละสกุลกับต้นรัง  ทั้งหมดนี้เป็นไว้วงศ์เดียวกัน  ต้นสาบะมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า  Shorea  robusta, Gaertn,  วงศ์  Dipterocapaceae  ชื่อสามัญว่า  Sal Tree Sal of India, Pentacme siamensis, Kurz.  Dipterocapaceae
๗ .  ต้นหว้า  ( ไม้ชมพู )  ต้นไม้นี้เมื่อพระพุทธองค์ยังทรงพระเยาว์อยู่ตามเสด็จพระราชบิดาไปแรกนาขวัญ  ได้ประทับอยู่ใต้ไม้นี้  ทรงพิจารณากรรมฐานจนถึงขั้นปฐมญาณจนเกิดอัศจรรย์หลายอย่างจนแผ่นดินไหว  แม้พระอาทิตย์จะเคลื่อนย้ายไป  เงาก็มิได้เคลื่อนตามไปด้วย  และเมื่ออุรุเวลกัสสปไปทูลนิมนต์  ภัตกิจพระพุทธองค์ตรัสให้ไปก่อน  พระองค์เหาะไปนำเผลหว้าใหญ่ประจำทวีปในป่าหิมพานต์แล้วเสด็จมาถึงก่อนอุรุเวลกัสสปจะไปถึง ๘ .  ต้นอัมพวา  ( ไม้มะม่วง )  พระพุทธองค์ได้กระทำยมกปาฏิหาริย์คือ ปาฏิหาริย์ที่แสดงเป็นคู่ ๆ  ภายใต้ไม้นี้ ซึ่งเรียกว่า คัณฑามพฤกษ์ ทรงบาดาลท่อน้ำท่อไฟออกจากส่วนของพระกายทรงเนรมิตพระกายเปล่งรัศมี ๖ อย่างเป็นคู่ ๆ กันไป
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้ายังโปรดให้สร้างพระราชวังที่ประทับไว้คู่กันกับวัดชื่อว่า วังปฐมนครปัจจุบันพระตำหนักได้ปรับปรุงเป็นที่ทำการเทศบาลจังหวัดนครปฐม การที่สร้างขึ้นเป็นวังเพราะเหตุเป็นเมืองโบราณ พระราชวังเดิมนั้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกขององค์พระปฐมเจดีย์ห่างประมาณ ๓๐ เส้น เดี๋ยวนี้มีตึกรามบ้านช่องแน่นขนัดไปหมดจนไม่ปรากฏหลักฐานเลย คลองเจดีย์บูชาก็ขุดในสมัยนี้ ทรงตัดถนนสายหนึ่งไว้เสด็จในฤดูแล้ง ตั้งแต่ช่องสะเดาถึงวัง การสร้างยังไม่เสร็จก็เสด็จสวรรคตก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้ปฏิสังขรณ์ต่อไปเมื่อ พ . ศ .  ๒๔๑๓ ได้เสด็จพระราชดำเนินมายกยอดพระปฐมเจดีย์โปรดให้สั่งกระเบื้องเคลือบสีเหลืองทองจากเมืองจีนมาประดับมหาสถูปทั้งองค์ ซึ่งมาแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ ๖
การปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ มีมาตั้งแต่พระมหากษัตริย์ต้นรัตนโกสินทร์มาจนปัจจุบัน ก็ยังต้องบูรณะซ่อมแซมกันอยู่เรื่อย และต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก ๆ ก็ยังไม่เพียงพอ คณะกรรมการวัดพระปฐมเจดีย์จึงได้จัดงานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ขึ้นทุกปี เพื่อรวบรวมรายได้จากผู้ที่มาทำบุญและผู้ที่บริจาคเพื่อทำนุบำรุงปฏิสังขรณ์โบราณสถานที่สำคัญยิ่งของชาติไทยให้คงอยู่ชั่วกาลนาน โดยปกติจะจัดงานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ระหว่างเดือนพฤศจิกายน หรือระหว่างกลางเดือน ๑๒   ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า งานกลางเดือน มีงานทั้งหมด ๙   วัน ๙   คืน เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วทุกสารทิศได้มากราบไหว้นมัสการร่วมกันทำบุญการจัดงานทุกครั้ง นับเป็นการจัดงานที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดนครปฐมเลยทีเดียว
 
  จัดทำโดย  กลุ่มที่  112 นางสาวจิราพร  สิงห์งาม   รหัส  06520213 นางสาวจุฑารัตน์ วงศ์ภักดี   รหัส  06520214 นางสาวดวงกมล  เสนเพ็ชร   รหัส  06520218 นางสาววิภาดา รุ่งเรือง   รหัส  06520237 นางสาวสุวิมล  สาสังข์   รหัส  06520239 นางสาวอโนชา  มากผล   รหัส  06520240 นางสาวสุขุมาภรณ์ คันธบุตร   รหัส   07520624 นางสาวอาภาภรณ์ สันติบวรวงศ์    รหัส  07520634 นายทิชากร   พุทธิระพิพรรณ    รหัส  09520729 นายสุชาติ    พุทธาราม   รหัส  09520816

More Related Content

What's hot

เมืองโบราณหริภุญไชย
เมืองโบราณหริภุญไชยเมืองโบราณหริภุญไชย
เมืองโบราณหริภุญไชย4lifesecret
 
แผ่นพับ
แผ่นพับแผ่นพับ
แผ่นพับnuttawon
 
วิเคราะห์จินตภาพในนรกภูมิ
วิเคราะห์จินตภาพในนรกภูมิวิเคราะห์จินตภาพในนรกภูมิ
วิเคราะห์จินตภาพในนรกภูมิdektupluang
 
07อาณาจักรอยุธยา
07อาณาจักรอยุธยา07อาณาจักรอยุธยา
07อาณาจักรอยุธยาJulPcc CR
 
เล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชChoengchai Rattanachai
 
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรีพัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรีพัน พัน
 
ศิริวรรณ เคนมา
ศิริวรรณ เคนมาศิริวรรณ เคนมา
ศิริวรรณ เคนมาaon1112
 
ประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรมประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรมDos Zaa
 
Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57
Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57
Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57Pracha Wongsrida
 
พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601
พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601
พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601Princess Chulabhorn's College, Chiang Rai Thailand
 

What's hot (20)

Nuin
NuinNuin
Nuin
 
สุนทรภู่
สุนทรภู่สุนทรภู่
สุนทรภู่
 
เมืองโบราณหริภุญไชย
เมืองโบราณหริภุญไชยเมืองโบราณหริภุญไชย
เมืองโบราณหริภุญไชย
 
แผ่นพับ
แผ่นพับแผ่นพับ
แผ่นพับ
 
Key of sheet 8 56x
Key of sheet 8 56xKey of sheet 8 56x
Key of sheet 8 56x
 
วิเคราะห์จินตภาพในนรกภูมิ
วิเคราะห์จินตภาพในนรกภูมิวิเคราะห์จินตภาพในนรกภูมิ
วิเคราะห์จินตภาพในนรกภูมิ
 
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยาพัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
 
07อาณาจักรอยุธยา
07อาณาจักรอยุธยา07อาณาจักรอยุธยา
07อาณาจักรอยุธยา
 
จ.แพร่
จ.แพร่จ.แพร่
จ.แพร่
 
เล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เล่มที่ 8 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
 
ใบความรู้ ขุนช้างขุนแผน
ใบความรู้  ขุนช้างขุนแผนใบความรู้  ขุนช้างขุนแผน
ใบความรู้ ขุนช้างขุนแผน
 
Sss
SssSss
Sss
 
ขุนช้างขุนแผนฉบับร้อยแก้ว
ขุนช้างขุนแผนฉบับร้อยแก้วขุนช้างขุนแผนฉบับร้อยแก้ว
ขุนช้างขุนแผนฉบับร้อยแก้ว
 
Boominone
BoominoneBoominone
Boominone
 
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรีพัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
 
ศิริวรรณ เคนมา
ศิริวรรณ เคนมาศิริวรรณ เคนมา
ศิริวรรณ เคนมา
 
ประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรมประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรม
 
ลำพูน
ลำพูนลำพูน
ลำพูน
 
Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57
Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57
Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57
 
พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601
พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601
พัฒนาการทางสังคมและศิลปวัฒนธรรม601
 

Similar to องค์พระปฐมเจดีย์...

พระสามพี่น้อง
พระสามพี่น้องพระสามพี่น้อง
พระสามพี่น้องsupakitza
 
พระเวสสันดร
พระเวสสันดรพระเวสสันดร
พระเวสสันดรkhaek
 
พระเวสสันดร
พระเวสสันดรพระเวสสันดร
พระเวสสันดรkhaek
 
ลอยกระทง
ลอยกระทงลอยกระทง
ลอยกระทงwilasinee k
 
ประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรมประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรมsupreedada
 
เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัดเที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัดslide-001
 
โครงานคอมSlide
โครงานคอมSlideโครงานคอมSlide
โครงานคอมSlidecom_2556
 
โครงานคอมSlide
โครงานคอมSlideโครงานคอมSlide
โครงานคอมSlidecom_2556
 
พุทธประวัติ
พุทธประวัติพุทธประวัติ
พุทธประวัติgueste13f2b
 

Similar to องค์พระปฐมเจดีย์... (20)

พระสามพี่น้อง
พระสามพี่น้องพระสามพี่น้อง
พระสามพี่น้อง
 
แนะนำจังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอราชสาส์น
แนะนำจังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอราชสาส์นแนะนำจังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอราชสาส์น
แนะนำจังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอราชสาส์น
 
พระเวสสันดร
พระเวสสันดรพระเวสสันดร
พระเวสสันดร
 
พระเวสสันดร
พระเวสสันดรพระเวสสันดร
พระเวสสันดร
 
File
FileFile
File
 
ลอยกระทง
ลอยกระทงลอยกระทง
ลอยกระทง
 
มหาเวสสันดรชาดก
มหาเวสสันดรชาดกมหาเวสสันดรชาดก
มหาเวสสันดรชาดก
 
Ppt 1
Ppt 1Ppt 1
Ppt 1
 
Learn good
Learn goodLearn good
Learn good
 
Learn good
Learn goodLearn good
Learn good
 
Learn good
Learn goodLearn good
Learn good
 
ประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรมประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรม
 
หนังสือธรรมะใกล้ตัว
หนังสือธรรมะใกล้ตัวหนังสือธรรมะใกล้ตัว
หนังสือธรรมะใกล้ตัว
 
006
006006
006
 
006
006006
006
 
006
006006
006
 
เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัดเที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
 
โครงานคอมSlide
โครงานคอมSlideโครงานคอมSlide
โครงานคอมSlide
 
โครงานคอมSlide
โครงานคอมSlideโครงานคอมSlide
โครงานคอมSlide
 
พุทธประวัติ
พุทธประวัติพุทธประวัติ
พุทธประวัติ
 

องค์พระปฐมเจดีย์...

  • 2.  
  • 3. ประวัติพระปฐมเจดีย์ พระปฐมเจดีย์นับเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยที่สำคัญและเก่าแก่ที่สุด องค์พระปฐมเจดีย์ปูชนียสถานสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นเจดีย์องค์แรกในดินแดนสุวรรณภูมิใหญ่ที่สุดในโลก จึงเป็นที่เชิดหน้าชูตาของชาวไทยทั้งชาติ แทบทุกวันจะมีนักทัศนาจรทั้งชาวไทยและต่างประเทศมานมัสการอยู่เสมอ เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากรวมโบราณวัตถุไว้มากมายเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจากหนังสือเรื่องพระปฐมเจดีย์กับนำเที่ยวของ ม . จ . สุภัทรดิส ดิศกุล ทรงนิพนธ์ไว้
  • 4. ท่านให้ความเห็นเกี่ยวกับการสร้างพระปฐมเจดีย์ว่า การที่จะทราบว่าพระปฐมเจดีย์สร้างขึ้นเมื่อใด และใครเป็นผู้สร้างนั้นจะต้องย้อนกล่าว ตั้งแต่ พระพุทธองค์เสด็จดับขันปรินิพาน พระพุทธศาสนาได้แพร่หลายอยู่ในมัชฌิมประเทศ คือ อินเดียตอนกลาง แต่ยังหาได้เป็นศาสนาประธานของประเทศไม่
  • 5. ต่อมาสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชขึ้นครองราชย์สมบัติในแคว้นมคธของอินเดีย เมื่อ พ . ศ . ๒๗๔ ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระเดชานุภาพใหญ่หลวง พระองค์สลดพระทัยในการรบพุ่ง มุ่งหมายจะแผ่พระเดชานุภาพทางธรรม เพราะทรงเห็นว่า พระพุทธศาสนามีคติธรรมล้ำเลิศกว่าศาสนาอื่น ๆ จึงทรงอุปถัมภ์ และเผยแพร่ไปนานาประเทศ โดยส่งพระสงฆ์เป็นสมณทูตออกไปมีข้อความตอนหนึ่งในหนังสือมหาวงศ์ คือ พงศาวดารของเกาะลังกา โดยกล่าวไว้ว่า ให้พระโสณเถระและพระอุตรไปยังสุวรรณภูมิ นักปราชญ์ทั้งหลายเห็นพ้องกับอาจารย์ริสเดวิดส์ที่ว่า เริ่มต้นแต่ รามัญประเทศ ( คือเมืองมอญ ) ไปจดเมืองญวน และตั้งแต่พม่าไปจนถึงปลายแหลมมลายู เมืองนครปฐมน่าจะเป็นราชธานีของสุวรรณภูมิและคงเรียกว่า สุวรรณภูมิซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศด้วย
  • 6. หลักฐานที่ปรากฏชัดว่าเมืองนครปฐมเป็นเมืองที่พระพุทธศาสนามาเผยแพร่เป็นครั้งแรกที่นี่ ก็คือ องค์พุทธเจดีย์ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยเดียวกับพระเจ้าอโศก มหาราชยังครองราชย์สมบัติอยู่แน่นอน เพราะลักษณะองค์เจดีย์นั้นเดิมเป็นแบบสถูปกลมรูปทรงคล้ายๆ บาตรคว่ำ ( โอคว่ำ ) แบบสัญจิเจดีย์ ในประเทศอินเดียที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้และวัดที่สร้างขึ้นเป็นวัดแรกในประเทศก็คือ วัดพระปฐมเจดีย์นี่เอง
  • 7. สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงกล่าวไว้ในหนังสือมูลเหตุแห่งการสร้างวัดในประเทศสยาม ข้อ ๓ ว่า ... ที่ลานพระปฐมเจดีย์ข้าพเจ้าได้ลองให้ขุดคูแห่งหนึ่งที่ริมถนนขวาพระ ก็พบรากห้องกุฏิพระสงฆ์แต่โบราณ ก็แสดงว่าวัดแรกของประเทศไทย ก็คือวัดพระปฐมเจดีย์นี่เอง และกุฏิสมัยนั้นอยู่ทางด้านขวาพระ
  • 8. เมืองนครปฐมๆได้เจริญและเสื่อมลง วัดพระปฐมเจดีย์ก็เช่นเดียวกัน ได้ชำรุดทรุดโทรมและรกร้าง ไปตามสภาพบ้านเมืองจนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่สอง ในราชวงศ์จักรี กุฏิของพระสงฆ์ได้ย้ายมาอยู่ทางด้านทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์ คือทางด้านวิหารพระร่วงโรจนฤทธิ์ ศาลาการเปรียญอยู่บริเวณต้นพระศรีมหาโพธิ์ หมู่กุฏิพระสงฆ์ ปลูกอยู่ทางด้านตะวันตกของศาลาการเปรียญ ส่วนพระอุโบสถคงอยู่ ณ ที่เดิม คือด้านตะวันออก ตรงกับพระอุโบสถในปัจจุบัน เพียงแต่ว่าตั้งอยู่กับพื้นดิน
  • 9. การสร้างพระเจดีย์จะต้องบรรจุพระบรมสารีริกธาตุแน่นอน เพราะสมัยที่พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงมอบพระบรมสารีริกธาตุให้สมณทูตทุกสาย สมณทูตเหล่านั้นเมื่อประกาศพระพุทธศาสนา ณ ที่ใด เป็นหลักฐานมั่งคงแล้วก็จะสร้างพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเช่นเดียวกับที่พระองค์ได้ทรงกระทำในชมพูทวีป พระปฐมเจดีย์ได้รับการปฏิสังขรณ์มาหลายสมัยจากสถูปทรงโอคว่ำ คือ ๑ . สมัยสุวรรณภูมิ ตั้งแต่แรกสร้างปฐมเจดีย์ ราว พ . ศ . ๓๕๐ ราว พ . ศ . ๑๐๐๐ ๒ . สมัยทวารวดี เป็นสมัยที่ก่อสร้างเพิ่มเติมองค์พระปฐมเจดีย์ตั้งแต่แรกราว พ . ศ . ๑๐๐๐ จนถึง พ . ศ . ๑๖๐๐ ๓ . สมัยพระปฐมเจดีย์ทรุดโทรม ตั้งแต่ พ . ศ . ๑๖๐๐ จนถึง พ . ศ . ๒๓๙๖ จนถึง สมัยปัจจุบัน
  • 10. มีเล่าสืบๆกันมาเป็นตำนานอยู่หลายตำนานด้วยกัน ดังจะยกจากเรื่องพระปฐมเจดีย์ ของท่านเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ( ขำ บุนนาค ) เรียบเรียงไว้แต่ปีฉลู พ . ศ . ๒๔๐๘ ซึ่งสำนักงานจัดหาประโยชน์และรักษาองค์พระปฐมเจดีย์จัดพิมพ์เมื่อ ๘ พฤษภาคม พ . ศ . ๒๕๑๖ เป็นตำนานฉบับพระยาราชสัมภากร และฉบับตาปะขาวรอด ได้เล่าไว้ว่า ท้าวสีการาช ครองเมืองศรีวิชัย ( คือเมืองนครชัยศรี ) มีบุตรชายชื่อพระยากง ต่อมาพระยากงได้ครองราชย์สมบัติแทนบิดาที่สวรรคตไป พระยากงมีมเหสีและพระกุมารองค์หนึ่งโหรทำนายว่า กุมารองค์นี้มีบุญญาธิการมาก แต่จะทำปิตุฆาต พระยากงจึงรับสั่งให้นำกุมารไปทิ้งเสีย ราชบุรุษก็นำกุมารไปทิ้งไว้ในป่าไผ่ข้างบ้านยายหอม
  • 11. ยายพรหมก็ได้เลี้ยงกุมารไว้โดยไม่ทราบว่าเป็นบุตรของผู้ใด ต่อมายายพรหมยกกุมารให้ยายหอมซึ่งเป็นญาติเลี้ยงต่อ เพราะครอบครัวของยายหอมไม่มีบุตร ยายหอมเลี้ยงกุมารไว้จนโต กุมารพายายหอมขึ้นไปเมืองเหนือถึงสุโขทัย บังเอิญไปพบช้างพระเจ้าแผ่นดินสุโขทัยอาละวาดสลัดหมอควาญไล่แทงผู้คนอยู่แต่ไม่มีผู้ใดสามารถจับช้างนั้นได้ กุมารเข้าไปดูช้างก็อาละวาดไล่แทงกุมาร กุมารจึงจับช้างกดลงไว้กับดิน คนทั้งปวงจึงจับช้างได้ ความทราบถึงพระเจ้าแผ่นดินสุโขทัย จึงชุบเลี้ยงกุมารไว้เป็นบุตรบุญธรรม จนกระทั่งเจริญวัย พอที่จะปกครองเมืองได้ จึงจัดให้กุมารไปตั้งที่บ้านเจ็ดเสมียนได้ซ่องสุมผู้คนไว้เป็นอันมากแล้ว จึงยกมาตั้งอยู่บ้านเล่า ได้รวบรวมพลอีกประมาณสี่หมื่นยกมาบ้านยายหอม มาตั้งอยู่ที่ป่าแดง แล้วมีหนังสือเข้าไปถึงพระยากงให้พระยากงออกมาทำยุทธหัตถี
  • 12. พระยากงเสียทีถูกกุมารฟันด้วยข้อง้าวคอขาดกับช้างพระที่นั่ง ที่ตรงนั้นจึงเรียกว่า ถนนขาด และเรียกตำบลนั้นว่าตำบลถนนขาดมาจนถึงทุกวันนี้ กุมารจึงยกรี้พลเข้าไปตั้งอยู่ในเมืองกาญจนบุรี และต้องการให้ พระมเหสีพระยากงซึ่งเป็นมารดาของตนเป็นภรรยาแต่ก็มีเหตุดลใจให้ทราบว่าเป็นมารดาเสียก่อน เมื่อพบพระมเหสีกุมารจึงตั้งสัจอธิฐานว่า ถ้าหญิงคนนี้เป็นมารดาจริงขอให้น้ำนมไหลออกจากถันทั้งคู่ ถ้าไม่ใช่ก็อย่าให้เกิดปรากฏเช่นนั้นออกมา ปรากฏว่ามีน้ำนมไหลออกมาจากถันทั้งคู้จริง เมื่อแม่ลูกรู้จักกันก็ทราบว่าพระยากงเป็นพระบิดาบังเกิดเกล้าก็เสียใจโกรธยายหอมที่ไม่บอกให้ทราบตั้งแต่ต้น จึงจับยายหอมฆ่าเสีย ยายหอมก่อนจะตายด้วยความเสียใจก็ร่ำไห้ ครั้นตายแล้วแร้งลงมากินศพยายหอม บ้านยายหอมก็เรียกว่า โคกยายหอมมาจนทุกวันนี้
  • 13. เหตุที่เป็นผู้ฆ่าบิดาและยายหอมนี้เองจึงเกิดวิตกว่าจะรับกรรมหนัก เมื่อพุทธศักราชล่วงได้ ๕๖๙ ปี จึงได้ประชุมพระอรหันต์ และพระสงฆ์ทั้งปวงว่าจะทำกุศลสิ่งใดกรรมนั้นจึงจะเบาลง ที่ประชุมมีมติให้สร้างพระมหาเจดีย์ใหญ่ สูงชั่วนกเขาเหิน กรรมจึงจะเบาบางลง พระอรหันต์ที่มาประชุมนั้นชื่อ พระศิริมานนท์ พระองคุลิมาล ที่ประชุมพระอรหันต์เรียกว่า ธรรมศาลามาจนถึงทุกวันนี้
  • 14. พระยาพานให้ทำฐานเพื่อก่อพระเจดีย์ที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาบรรทมในที่สวมแท่นไว้ท้ายมหาพรหม แล้วเอาฆ้องที่ตีสามโหม่งแล้วดังกระหึ่มไปจนค่ำ มาหนุนไว้ใต้แท่นบรรทมแล้วก่อเจดีย์ขึ้นเป็นลอมฟาง ( คล้ายกองฟาง ) สูงชั่วนกเขาเหิน พร้อมกับบรรจุพระทันตธาตุ ( พระเขี้ยวแก้ว ) ไว้องค์หนึ่ง สร้างเสด็จถวายเขตแดนโดยรอบ ชั่วเสียงช้างร้อง คำว่าสูงชั่วนกเขาเหินคงจะหมายถึง มองเห็นนกขนาดตัวเท่านกเขาบินสูงจนเห็นเป็นจุด หรือระยะความสูงที่สุดที่นกเขาสามารถบินได้ ถ้าสูงกว่านั้นแล้วไม่สามารถบินต่อไปได้ หรือคำว่าอาณาเขตชั่วเสียงช้างร้อง คงจะไกลขนาด ๓ - ๔ กิโลเมตร ในสมัยนั้น เพราะไม่มีเสียงยวดยานรบกวน คำว่าฆ้องตีสามโหม่งดังกระหึ่มไปจนค่ำก็คงจะดังประมาณเกือบครึ่งวันแต่ไม่ได้บอกว่าตีเวลาใด จึงคาดคะเนยาก
  • 15. มีกษัตริย์ปกครองต่อมาอีกหลายองค์จนถึงสมัยพระเจ้าหงสาวดีแห่งเมืองมอญ มีพระราชประสงค์ฆ้องตีสามโหม่งดังไปจนค่ำ จึงยกรี้พลมาขุดฆ้องที่ฝังไว้ใต้แท่นบรรทม พอขุดลงไปถึงฆ้อง ฆ้องก็ทรุดลงไป พระเจดีย์ก็ทรุดไปด้วยเจ้าเมืองหงสาวดีเห็นว่าการกระทำของพระองค์ไม่สมควรแน่ คงจะเป็นบาปกรรมเพราะเจ้าของคงไม่อนุญาตจึงให้ก่อเป็นองค์ปรางค์ต่อตั้งขึ้นบนหลักองค์ระฆังเดิม ที่พังแต่ก็ยังสูงไม่เท่าเดิม สำหรับตำนานพระปฐมเจดีย์ฉบับพระยาอรรคนิกรและฉบับนายทองก็ได้เล่าถึงการสร้างพระปฐมเจดีย์ ซึ่งมีข้อความเกี่ยวข้องกับการสร้างพระประโฑณเจดีย์ด้วย แต่สร้างเมื่อพุทธศักราชล่วงได้ ๑๑๙๔ พรรษา ในหนังสือไตรภูมิพระร่วงก็บอกเวลาไว้ตรงกัน ตำบลบ้านพราหมณ์ก็มีมาก่อนเมืองนครชัยศรี เรียกบ้านพราหมณ์ว่า บ้านโฑณะพราหมณ์ คือ ทะนานทอง ที่ตวงพระบรมสารีริกธาตุพระพุทธเจ้า ซึ่งบรรจุไว้ในเรือนหินเมื่อพุทธศักราชล่วงได้ ๑๑๓๓ พรรษา
  • 16. เมื่อท้าวศรีสิทธิชัยสร้างเมืองนครชัยศรีเป็นเมืองหลวง เจ้าเมืองลังกาต้องการทะนานทอง จึงขอให้พระยากัลดิศเถระมาขอเพื่อชาวลังกาไว้นมัสการ ท้าวศรีสิทธิชัยยินดีแต่ขอเปลี่ยนกับพระบรมสารีริกธาตุทะนานหนึ่ง พระยาลังกาก็ยินดี พระยัลดิสเถระก็รับพระบรมสารีริกธาตุมามอบให้พระยาศรีสิทธิชัย พระยาศรีสิทธิชัยจึงให้ขอทะนานทองจากหมู่พราหมณ์ หมู่พราหมณ์ไม่ยอมให้เพราะบรรพบุรุษของตนได้สั่งไว้ว่า ท้าวพระยาสามลราชและเทวดาอินทร์พรหมท่านชิงเอาพระบรมสารีริกธาตุไปสิ้นแล้ว ยังเหลือแต่ทะนานทองไว้บูชาเท่านั้น เมื่อไม่ได้ทะนานทอง พระยาศรีสิทธิชัยขัดเคืองมาก จึงยกรี้พลออกไปตั้งเมืองอยู่ต่างหาก ใช้ชื่อเมืองว่าปาวัน ท่านจึงให้สร้างพระปฐมไสยาสน์ใหญ่ยาวมหึมา หรือจะเป็นพระปฐมเจดีย์ ความตอนนี้กล่าวไว้ไม่ชัดเจน อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมากบรรจุไว้ในนั้น แล้วหักหาญเอาทะนานทองให้พระยากัลดิศเถระนำไปถวายเจ้าเมืองลังกา
  • 17. เจ้าเมืองนำไปบรรจุไว้ในสุวรรณเจดีย์แรกสร้างพระปฐมเจดีย์นั้น กล่าวว่าพุทธศักราชล่วงไว้วัสสาหรึ่ง ( วัสสา มาจาก วัสสะ แปลว่า ฤดูฝน , ปี ) ส่วนพระประโฑณเจดีย์สร้างเมื่อพุทธศักราชล่วงได้ ๑๑๙๙ พรรษา โดยเจ้าเมืองละโว้ชื่อ กากะวรรณดิศราช ได้ก่อพระเจดีย์ล้อมเรือนศิลา ครั้งนั้นพระยาภาลีบดีใจครองเมืองหลวงต่อแดนยโสธร และพระยาใสทองสมครองเมืองนครชัยศรี ( คือนครปฐม ) บางตำนานครองเมืองราชบุรี มีเหตุฆ่าพระยาภาลีธิราชผู้เป็นบิดา แล้วปลงพระมารดาของตัว รู้สังเวชใจ จึงคิดกันมาซ่อมแปลงวัดพระสังฆรัตนธาตุ พระอารามบ้านธรรมศาลาที่พระยาศรีสิทธิชัยสร้างไว้แต่ก่อน เรื่องต่อจากนี้ไปก็คล้ายกับเรื่องของพระยาราชสัมภากรและตะปะขาวรอตกล่าวไว้
  • 18. มีผู้มาสร้างเพิ่มเติมพระปฐมเจดีย์เมื่อภายหลัง คือยอดปรางค์สร้างซ้อนองค์พระสถูปเดิม แต่นิทานเรื่องพระยากงพระยาพานเป็นเรื่องของมอญ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ และ ม . จ . สุภุทรดิศ ดิศกุล ให้ความเห็นว่า ส่วนที่เป็นองค์ปรางค์นั้นเป็นแบบเขมร ครั้งที่เขมรเป็นใหญ่ในดินแดนมอญ ( ละว้า ) ราว พ . ศ . ๑๕๐๐ เป็นต้นมาหลังจากพุทธศักราช ๑๕๐๐ เป็นต้นมา พระพุทธเจดีย์ก็ทรุดโทรมคงเนื่องมาจากขาดการทำนุบำรุงรักษา เหตุที่เจ้าเมืองอ่อนแอก็เป็นได้ จนกระทั่งถูกพระเจ้าอนุรุธแห่งพม่ามาตีเมืองนครปฐม เพราะหลักฐานวัตถุโบราณที่ขุดได้จากเมืองนครปฐม ก็ขุดได้ที่เมืองพุกามแห่งเดียว เช่น พระพิมพ์และเงินเหรียญของโบราณ เป็นรูปสังข์ข้างหนึ่ง ปราสาทข้างหนึ่ง อานันทเจดีย์ที่เมืองพุกามซึ่งสร้างขึ้นหลังพระเจ้าอนุรุธที่ ๑ นั้น ก็เป็นแบบเดียวกับวัดพระเมรุที่จังหวัดนครปฐมทุกอย่าง
  • 19. ยกเว้น พระพุทธรูปในซุ้มทั้งสี่ เป็นพระยืน ที่วัดพระเมรุเป็นพระนั่งห้อยพระบาท หลังจากที่พระเจ้าอนุรุธตีเมืองนครปฐมได้ก็กวาดต้อนผู้คนไป เมืองนี้ก็กลายเป็นเมืองร้าง อู่ทองจึงเป็นเมืองหลวงต่อมา สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงพิจารณาว่า ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง พ . ศ . ๑๘๓๕ ยังมีชื่อเมืองสุพรรณภูมิ ซึ่งก็คืออู่ทองนั้นเอง ซึ่งเป็นเมืองหลวงสุดท้ายของอาณาจักรทวาราวดีตามที่ ม . จ . สุภุทรดิศ ดิศกุล ทรงกล่าวว่า ถ้าพระวินิจฉัยของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เรื่องพงศาวดาร ของพระเจ้าอู่ทองถูกต้องแล้ว ร้อยปีต่อมาเมื่อราว พ . ศ . ๑๗๓๑ พระเจ้าไชยศิริต้นวงศ์ของพระเจ้าอู่ทองสู้มอญไม่ได้ ก็อพยพลงมาตั้งที่เมืองนี้อีกครั้งหนึ่ง ต่อมาเมืองร้างไปอีกเพราะแม่น้ำตื้นเขิน
  • 20. ครั้นถึงแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราว พ . ศ . ๒๐๙๑ จึงตั้งเมืองนี้ขึ้นเรียกว่า เมืองนครไชยศรี เพื่อเป็นเมืองต่อต้านข้าศึก ( รับศึก ) และเนื่องจากพระปฐมเจดีย์ห่างไกลจากเมืองนี้ และในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ เมืองไทยต้องคอยรับศึกจากพม่าจนปล่อยให้พระปฐมเจดีย์ปรักหักพังเต็มไปด้วยป่ารกไม่มีผู้คนดูแลเป็นเวลานาน จนถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พบว่าศาลาการเปรียญอยู่บริเวณต้นพระศรีมหาโพธิ์ หมู่กุฏิพระสงฆ์ปลูกอยู่ทางด้านตะวันตกของศาลาการเปรียญ ส่วนพระอุโบสถคงอยู่ ณ ที่เดิม คือด้านตะวันออกตรงกับพระอุโบสถในขณะนี้ เพียงแต่อยู่กับพื้นดิน
  • 21. ในสมัย รัชกาลที่ ๓ พ . ศ . ๒๓๗๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครั้งยังทรงผนวช ณ วัด สมอราย ( วัดราชาธิวาส ) ได้เสด็จธุดงค์มาที่เมืองนครปฐม พร้อมด้วยคณะสงฆ์และทรงปักกลดประทับ ณ โคนต้นตะคร้อได้สังเกตลักษณะขององค์พระปฐมเจดีย์ ทรงเห็นว่าไม่มีเจดีย์ใดที่เก่าแก่และยิ่งใหญ่เท่าเจดีย์องค์นี้ ตั้งแต่เสด็จไปพบเห็นมาทั่วประเทศไทย พระองค์ทรงเห็นว่าน่าจะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้เป็นแน่ หลังจากที่พระองค์เสด็จขึ้นสวดมนต์บนลานพระปฐมเจดีย์จบแล้ว ทรงอธิฐานว่า ถ้าพระมหาเจดีย์นี้มี พระบรมธาตุบรรจุไว้ภายใน ขอเทพยดาผู้รักษาจงได้แบ่งให้สักสององค์จะนำไปบรรจุไว้ภายในพระพุทธรูปที่สร้างใหม่ และในพระเจดีย์เงินเพื่อไว้บูชาในกรุงเทพฯ แล้วรับสั่งให้นายรื่นมหาดเล็กนำผอบใส่พานขึ้นไปตั้งไว้ในโพรงพระเจดีย์ ทางด้านทิศตะวันออก ในตอนบ่ายวันที่จะเสด็จกลับก็ให้เชิญผอบลงมาก็หาได้มีอะไรไม่
  • 22. หลังจากที่ท่านเสด็จกลับได้ประมาณเดือนเศษ คืนหนึ่งประมาณ ๕ ทุ่ม ขณะที่พระสงฆ์ สวดมนต์ในหอพระสงฆ์สวดมนต์ในหอวัดพระธาตุซึ่งพระองค์ทรงสร้างพระเนาวรัตน์ไว้องค์หนึ่งปรากฏว่า พระสงฆ์สวดมนต์ไปได้ครึ่งหนึ่งก็มีกลุ่มควันสีแดง กลิ่นหอมเหมือนควันธูป ควันนั้นมากขึ้นจนพระพุทธรูปแลดูแดงเหมือนสีนาก พระสงฆ์ทั้งปวงตกใจลุกไปดูด้วยสำคัญว่าไฟไหม้แต่ก็ไม่เห็นอะไร จึงสวดมนต์ต่อไปจนจบเมื่อสวดมนต์จบแล้ว ควันจางลง จึงช่วยกันค้นดูว่าใครสุมไฟไว้ที่ไหนก็ไม่พบรุ่งขึ้นไปกราบทูลให้ทราบ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าจึงเสด็จทอดพระเนตร พระพุทธรูปพระเนาวรัตน์ พบพระธาตุมากขึ้นกว่าเก่า ๒ องค์ รับสั่งถามพระสงฆ์ก็ไม่มีผู้ใดทราบ พระธาตุนั้นเล็กเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดสีขาวเหมือนดอกพิกุลจึงโปรดบรรจุไว้ในพระสัมพุทธพรรณีองค์หนึ่ง
  • 23. ในพระเจดีย์สุวรรณผลึกองค์หนึ่งพระองค์มีศรัทธามากมุ่งจะทรงสถาปนาบูรณะ ปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ด้วยมั่นพระทัยว่ามีพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าบรรจุอยู่ จึงนำความกราบทูลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ พระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงโปรดฯ เพราะทรงเห็นว่าเป็นของอยู่ในป่ารก จะทำขึ้นก็ไม่เห็นเป็นประโยชน์ใด จึงทรงพระจินตนาไว้ว่าจะทรงบูรณปฏิสังขรณ์ให้จงได้
  • 24. เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯเสวยราชย์ได้ ๒ ปี โปรดให้เริ่มลงมือก่อสร้างปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์เป็นการใหญ่ ในปีแรก พ . ศ . ๒๓๙๕ โปรดให้สมเด็จพระยาพระบรมมหาประยูรวงศ์เป็นแม่กองจัดสร้าง ต่อเมื่อ พ . ศ . ๒๓๙๘ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ถึงแก่พิราลัย จึงโปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดีเป็นแม่กองเจ้าของการจัดทำต่อไป
  • 25. เมื่อวันอังคารที่ ๒๓ มีนาคม พ . ศ . ๒๔๐๐ ( เดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีมะเมีย ) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมายังวัดพระปฐมเจดีย์และทรงก่อพระปฐมเจดีย์เป็นปฐมฤกษ์ ตามรูปแบบที่ช่างได้จัดทำรูปถวาย โดยจัดทำครอบองค์เดิมไว้ภายใน การเสด็จครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่เสด็จขึ้นครองราชย์ โดยเสด็จทางเรือขึ้นที่วัดไชยพฤกษมาลา ตอนนั้นคลองมหาสวัสดิ์ คลองเจดีย์บูชาขุดยังไม่เสร็จ แล้วเสด็จทางสถลมารคไประทับแรมที่พลับพลาท่าหวด คืนหนึ่งวันรุ่งขึ้นคืนวันพุธที่ ๒๔ มีนาคม พ . ศ . ๒๔๐๐ ( เดือน ๕ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ) เสด็จทางชลมารค ขึ้นที่คลองเจดีย์บูชาแล้วเสด็จทางสถลมารถถึงองค์พระปฐมเจดีย์ ประทับที่พลับพลาค่ายหลวง เวลาบ่ายห้าโมงเย็นเสด็จขึ้นประทับพลับพลาบนลานพระปฐมเจดีย์ฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
  • 26. จบแล้วเสด็จพระราชดำเนินปทักษิณ ( เวียนเทียน ) แล้วจุดดอกไม้เพลิงกระทำสักการบูชา พอทรงจุดฝักแคก็เห็นดวงย้อยออกมาจากซุ้มคูหาด้านทิศตะวันออกเป็นรัศมีขาวตกลงมาหลังพระวิหารพระไสยาสน์เก่า ซึ่งอยู่ที่วิหารหลวงเดี๋ยวนี้ บรรดาผู้เข้าเฝ้าได้เห็นเป็นอันมาก วันพฤหัสบดี ๒๕ มีนาคม พ . ศ . ๒๔๐๐ ทรงก่อพระปฐมเจดีย์เป็นพระฤกษ์โปรดให้มีการเวียนเทียน สมโภชต่าง ๆ พระราชทานเงินสามสิบชั่งเป็นพระราชกุศล และทรงโปรยทานแจกราษฎรที่มาชมพระบารมี ข้าราชการที่ตามเสด็จก็เกิดศรัทธา บริจาคเงินโดยเสด็จพระราชกุศลทั่วทุกคน กับโปรดเกล้าฯให้ชายฉกรรจ์ที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงปฐมเจดีย์ถวายเป็นเข้าพระ ๑๒๖ คน และทรงตั้งผู้ดูแลรักษาพระราชทานนามว่า ขุนพุทธเกษตรารักษ์ และผู้ช่วยพระราชทานว่า ขุนพุทธจักรรักษา สมุห์บัญชี พระราชทานนามว่าหมื่น ฐานาภิบาลทรงยกค่านาและสมพัตสร ( สมพัตสรคืออากรที่เรียกเก็บเป็นรายปีส่วนใหญ่เก็บจากผลไม้ยืนต้น )
  • 27. ที่ใกล้องค์พระเป็นกัลปนา ( กัลปนาคือ สิ่งอื่นซึ่งเจ้าของอุทิศผลประโยชน์ให้แก่วัด ส่วนบุญที่ผู้ทำอุทิศให้ผู้ตาย ) ขึ้นวัด ทรงถวายนิตยภัตด้วย ( นิตยภัต คือ อาหารหรือค่าอาหารที่ถวายภิกษุสามเณรเป็นนิตย์ ) แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับพระนคร การปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์หุ้มองค์เดิมเปลี่ยนจากบาตรคว่ำมีพุทธบัลลังก์ ฐานสี่เหลี่ยมซ้อนระฆัง มียอดนพศูลและมีพระมหามงกุฎสวมไว้บนยอดองค์พระเจดีย์ ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือ งดงาม แวววาว มีขนาดสูง ๓ เส้น ๑ คืบ ๖ นิ้ว ( ๑๒๐ . ๕ ม .) ฐานโดยรอบยาว ๕ เส้น ๑๗ วา ๓ ศอก ( ๒๓๓ ม .) รอบฐานองค์ปฐมเจดีย์สร้างเป็นบาตร หินกลมล้อมรอบเป็น ๒ ชั้น ทั้ง ๔ ทิศมีพระวิหารและพระระเบียงต่อเชื่อมกันรอบพระเจดีย์พร้อมกับสร้างพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ไว้ที่วิหารทั้ง ๔ ทิศ ดังนี้
  • 28. วิหารทิศตะวันออก เรียกว่า “ พระวิหารหลวง ” ห้องนอกประดิษฐานพระพุทธรูปปางตรัสรู้ ประทับนั่งขัดสมาธิอยู่ใต้ต้นโพธิ์บัลลังก์ ต้นโพธิ์เป็นภาพเขียนฝีมืองดงามเหมือนของจริงมาก ส่วนห้องในพระวิหารหลวงปล่อยไว้โล่ง ๆ มีแท่นบูชาเป็นของเก่าในรัชกาลที่ ๔ ซึ่งเป็นที่นมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ในสมัยรัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯ โปรดให้วาดรูปองค์พระปฐมเจดีย์แสดงให้เห็นลักษณะขององค์เจดีย์ ตั้งแต่สมัยเริ่มสร้างมาจนถึงปัจจุบัน ผนังห้องทั้งสองข้างเป็นภาพวาดรูปเทวดา นักพรต ฤาษี และพระยาครุฑ ทุกภาพประนมมือแสดงการสักการบูชาพระปฐมเจดีย์ ที่ระเบียงกลม ( วิหารคด ) ล้อมรอบองค์พระเจดีย์ภายในจารึกกถาธรรมทุก้องรอบนอกก่อหอระฆังไว้เป็นระยะ ๆ มี ๒๔ หอ ชั้นล่างก่อกำแพงถมดินเป็นกระเปาะขึ้นมาทั้ง ๔ ทิศ
  • 29. บนกระเปาะด้านตะวันออกทำโรงธรรมและพระอุโบสถ ด้านใต้ประดิษฐานพระคันธาราฐ ( พระพุทธรูปศิลาขาว ) ซึ่งได้มาจากวัดพระเมรุ และจำลองพระปฐมเจดีย์ไว้ทางด้านทิศตะวันออกหรือทางซ้ายของพระพุทธคันธาราฐได้จำลองรูปพระเจดีย์เมืองนครศรีธรรมราชที่เรียกว่า พระบรมธาตุใหญ่ กระเปาะด้านตะวันตก ชั้นบนได้ประดิษฐานพระศรีมหาโพธิ์ ชั้นล่างประดิษฐานไม้สำคัญที่ควรสักการะบาจะขอแทรกประวัติของไม้สำคัญซึ่งรวบรวมจากหนังสือเรื่องพัดยศและต้นไม้สำคัญในพุทธประวัติของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ และหนังสือปฐมมโพธิกถาของกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ( ๒๕๐๕ )
  • 30. ๑ . ต้นศรีมหาโพธิ์เป็นต้นไม้สำคัญยิ่งเพราะพระสิทธัตถะได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธญาณเป็นพระพุทธเจ้า ใต้ร่มไม้นี้มีชื่อสามัญของอินเดียว่า Peepul of India ลังกาเรียกว่า Bo tree แสดงว่าไทยเรียกตามชาวลังกา ไม้วงศ์นี้มีมากในเมืองไทย เช่น ไทร กร่าง มะเดื่อ และอื่น ๆ อีกมาก แต่ไม้มีต้นโพธิ์คงมีแต่ในเมืองไทยแห่งเดียว ต้นโพธิ์มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Ficus reliqiosa วงศ์ Moraceae ๒ . ต้นไทร ( นิโครธ หรือ อชะปาลนิโครธ ) เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ร่ม ๗ วัน หลังจากประทับใต้ต้นโพธิ์แล้วต้นไทรมีชื่อสามัญว่า Banyan Tree ชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Ficusbenghalensis,Linn วงศ์ Moraceae วงศ์เดียวกับต้นมหาโพธิ์ถิ่นกำเนิดอยู่ในอินเดียว ลังกา พม่า ไทย เขมร และญวน
  • 31. ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ปฏิสังขรณ์วิหารหลวงและให้เขียนภาพพระปฐมเจดีย์ตั้งแต่ที่มีอยู่เดิมกับภาพเทวดา ครุฑ นาค และนักบวชในศาสนาต่าง ๆ ไว้ที่ผนังวิหาร ยังโปรดให้สร้างวิหารสำหรับประดิษฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ซึ่งเดิมได้อัญเชิญชิ้นส่วนพระเศียร พระหัตถ์และพระบาท ซึ่งเป็นศิลปะสมัยสุโขทัยมาจากสวรรคโลกนำมาปฏิสังขรณ์จนเป็นพระพุทธรูปยืนที่สมบูรณ์ ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้บรรจุพระอังคารของพระองค์ไว้ในฐานพระพุทธรูปองค์นี้ด้วย ทรงโปรดให้สร้างพระอุโบสถวัดพระปฐมเจดีย์ และมาเสร็จสิ้นในรัชกาลที่ ๗ พระปฐมเจดีย์นี้หน้าที่ธุรการขึ้นอยู่กับกระทรวงศึกษาธิการ หน้าที่ทางวิชาการขึ้นอยู่กับกรมศิลปากร
  • 32. ๓ . ต้นจิกหรือมุจลินทร์ เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ร่ม ๗ วันเพื่อเสวยวิมติสุขสมาบัติ อยู่ทางทิศตะวันตกของศรีมหาโพธิ์ หลังจากประทับต้นไทรมาแล้ว ภายใต้ต้นไม้นี้ ขณะที่พระพุทธองค์ประทับอยู่เกิดพายุฝนตกหนักพญานาคในสระโบกขรณีใกล้ต้นไม้นี้ขึ้นมาขดกาย ๗ รอบพระสัพพัญญู แล้วแผ่พังพานอันใหญ่ปกป้องเบื้องบนพระเศียร ฝนก็ไม่รั่ว น้ำก็ไม่ท่วมถึงพระวรกายเมื่อฝนตกไว้ ๓ วันหาย ไม้นี้ถิ่นกำเนิดอยู่ในอินเดีย ลังกา ไทย มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Barringtonea speciosa, Roxb. วงศ์ Lecythidaceae
  • 33. ๔ . ต้นเกตุ ( ราชายตนะ ) อยู่ทางทิศใต้ของต้นจิก เป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับที่ใต้ร่มเสยวิมุติสุข ๗ วัน เป็น อวสาน หลังจากที่ประทับใต้ร่มจิกแล้วต้นเหตุมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Manikara hexandra,Dub. วงศ์ Sapotaceae วงศ์เดียวกับละมุดสีดาและพิกุล ถิ่นกำเนิดในถิ่นร้อนโดยเฉพาะอินเดีย พม่า และไทย ภายใต้ต้นนี้พรุทธองค์ได้รับสตูก้อน สตูผง ของนายตปุสสภัลลิกะพ่อค้าเกวียนตั้งแต่ได้ตรัสรู้สี่สิบแปดวันมาเสวยพระกระยาหารในวันที่ ๔๙ พระกระยาหารคือ ผลสมอ
  • 34. ๕ . ต้นกร่าง ( พหูปตตนิโครธ ) เป็นต้นไม้ที่พระพุทธองค์ประทับแล้วได้พบพระมหากัสสปเป็นครั้งแรก ๖ . ต้นสาละ ( สาลรุกโข ) เป็นต้นไม้ที่พระพุทธองค์ได้ประสูติและนิพพาน และเป็นไม้ที่ประทับใต้ร่มก่อนตรัสรู้ไม้นี้สกุลเดียวกับไม้เต็ง ไม้พะยอม ไม้ยาง แต่คนละสกุลกับต้นรัง ทั้งหมดนี้เป็นไว้วงศ์เดียวกัน ต้นสาบะมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Shorea robusta, Gaertn, วงศ์ Dipterocapaceae ชื่อสามัญว่า Sal Tree Sal of India, Pentacme siamensis, Kurz. Dipterocapaceae
  • 35. ๗ . ต้นหว้า ( ไม้ชมพู ) ต้นไม้นี้เมื่อพระพุทธองค์ยังทรงพระเยาว์อยู่ตามเสด็จพระราชบิดาไปแรกนาขวัญ ได้ประทับอยู่ใต้ไม้นี้ ทรงพิจารณากรรมฐานจนถึงขั้นปฐมญาณจนเกิดอัศจรรย์หลายอย่างจนแผ่นดินไหว แม้พระอาทิตย์จะเคลื่อนย้ายไป เงาก็มิได้เคลื่อนตามไปด้วย และเมื่ออุรุเวลกัสสปไปทูลนิมนต์ ภัตกิจพระพุทธองค์ตรัสให้ไปก่อน พระองค์เหาะไปนำเผลหว้าใหญ่ประจำทวีปในป่าหิมพานต์แล้วเสด็จมาถึงก่อนอุรุเวลกัสสปจะไปถึง ๘ . ต้นอัมพวา ( ไม้มะม่วง ) พระพุทธองค์ได้กระทำยมกปาฏิหาริย์คือ ปาฏิหาริย์ที่แสดงเป็นคู่ ๆ ภายใต้ไม้นี้ ซึ่งเรียกว่า คัณฑามพฤกษ์ ทรงบาดาลท่อน้ำท่อไฟออกจากส่วนของพระกายทรงเนรมิตพระกายเปล่งรัศมี ๖ อย่างเป็นคู่ ๆ กันไป
  • 36. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้ายังโปรดให้สร้างพระราชวังที่ประทับไว้คู่กันกับวัดชื่อว่า วังปฐมนครปัจจุบันพระตำหนักได้ปรับปรุงเป็นที่ทำการเทศบาลจังหวัดนครปฐม การที่สร้างขึ้นเป็นวังเพราะเหตุเป็นเมืองโบราณ พระราชวังเดิมนั้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกขององค์พระปฐมเจดีย์ห่างประมาณ ๓๐ เส้น เดี๋ยวนี้มีตึกรามบ้านช่องแน่นขนัดไปหมดจนไม่ปรากฏหลักฐานเลย คลองเจดีย์บูชาก็ขุดในสมัยนี้ ทรงตัดถนนสายหนึ่งไว้เสด็จในฤดูแล้ง ตั้งแต่ช่องสะเดาถึงวัง การสร้างยังไม่เสร็จก็เสด็จสวรรคตก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้ปฏิสังขรณ์ต่อไปเมื่อ พ . ศ . ๒๔๑๓ ได้เสด็จพระราชดำเนินมายกยอดพระปฐมเจดีย์โปรดให้สั่งกระเบื้องเคลือบสีเหลืองทองจากเมืองจีนมาประดับมหาสถูปทั้งองค์ ซึ่งมาแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ ๖
  • 37. การปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ มีมาตั้งแต่พระมหากษัตริย์ต้นรัตนโกสินทร์มาจนปัจจุบัน ก็ยังต้องบูรณะซ่อมแซมกันอยู่เรื่อย และต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก ๆ ก็ยังไม่เพียงพอ คณะกรรมการวัดพระปฐมเจดีย์จึงได้จัดงานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ขึ้นทุกปี เพื่อรวบรวมรายได้จากผู้ที่มาทำบุญและผู้ที่บริจาคเพื่อทำนุบำรุงปฏิสังขรณ์โบราณสถานที่สำคัญยิ่งของชาติไทยให้คงอยู่ชั่วกาลนาน โดยปกติจะจัดงานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ระหว่างเดือนพฤศจิกายน หรือระหว่างกลางเดือน ๑๒ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า งานกลางเดือน มีงานทั้งหมด ๙ วัน ๙ คืน เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วทุกสารทิศได้มากราบไหว้นมัสการร่วมกันทำบุญการจัดงานทุกครั้ง นับเป็นการจัดงานที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดนครปฐมเลยทีเดียว
  • 38.  
  • 39.   จัดทำโดย กลุ่มที่ 112 นางสาวจิราพร สิงห์งาม รหัส 06520213 นางสาวจุฑารัตน์ วงศ์ภักดี รหัส 06520214 นางสาวดวงกมล เสนเพ็ชร รหัส 06520218 นางสาววิภาดา รุ่งเรือง รหัส 06520237 นางสาวสุวิมล สาสังข์ รหัส 06520239 นางสาวอโนชา มากผล รหัส 06520240 นางสาวสุขุมาภรณ์ คันธบุตร รหัส 07520624 นางสาวอาภาภรณ์ สันติบวรวงศ์ รหัส 07520634 นายทิชากร พุทธิระพิพรรณ รหัส 09520729 นายสุชาติ พุทธาราม รหัส 09520816