SlideShare a Scribd company logo
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)
*เรียบเรียงจากเวบไซด์ของวัดโพธิ์ www.watpho.com/th
ภาพถ่ายมุมสูงวัดโพธิ์ ภาพจาก http://www.watpho.com/th/history
วัดโพธิ์ หรือวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก และเป็นวัด
ประจารัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดโพธารามวัดเก่าที่เมืองบางกอกครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นวัดหลวงข้างพระบรมมหาราชวัง
และที่ฐานชุกชีของพระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระองค์ท่าน
พระอารามหลวงแห่งนี้ มีเนื้อที่ 51 ไร่ 2 งาน 98 ตารางวา (ประมาณ 20.45 เอเคอร์ หรือ 82,784
ตารางเมตร หรือ 0.08 ตารางกิโลเมตร) อยู่ด้านทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง ทิศเหนือจดถนนท้ายวัง ทิศ
ตะวันออกจดถนนสนามไชย ทิศใต้จดถนนเศรษฐการ ทิศตะวันตกจดถนนมหาราช มีถนนเชตุพนขนาบด้วย
กาแพงสูงสีขาวแบ่งเขตพุทธาวาสและสังฆาวาสชัดเจนมีหลักฐานปรากฏในศิลาจารึกไว้ว่า หลังจากที่พระบาท
สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนาพระบรมมหาราชวังแล้วทรงพระราชดาริว่ามีวัดเก่าขนาบ
พระบรมมหาราชวัง 2 วัด ด้านเหนือคือวัดสลัก (วัดมหาธาตุ) ด้านใต้คือวัดโพธาราม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ขุนนางเจ้าทรงกรมช่างสิบหมู่อานวยการบูรณปฏิสังขรณ์เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2331 ใช้เวลา 7 ปี 5 เดือน 28 วัน
จึงแล้วเสร็จ และโปรดเกล้าฯ ให้มีการฉลองเมื่อ พ.ศ. 2344 พระราชทานนามใหม่ว่า“วัดพระเชตุพนวิมลมัง
คลาวาศ” ต่อมารัชกาลที่ 4 ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนท้ายนามวัดเป็น “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม”
ครั้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้
บูรณปฏิสังขรณ์ ครั้งใหญ่นานถึง 16 ปี 7 เดือน ขยายเขตพระอารามด้านเหนือและตะวันตกคือส่วนที่เป็น
พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ และสวนมิสกวัน สถาปนาขึ้นใหม่เป็นโบราณสถานในพระอารามหลวงที่ปรากฏอยู่
ทุกวันนี้ แม้การบูรณปฏิสังขรณ์ได้ดาเนินการตามลาดับจนถึงปัจจุบัน ทางวัดได้ดาเนินการบูรณปฏิสังขรณ์
ครั้งใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2550 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญ
พระชนมพรรษา 80 พรรษา เพื่อให้พระอารามแห่งนี้มีความสวยงามมั่นคงอยู่เสมอ
2
วัดโพธิ์นับเป็นปูชนียสถานที่สาคัญแห่งหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ที่นักท่องเที่ยวทุกคนมีเป้าหมายใน
การเดินทางไปชมคือ พุทธศิลป์ที่งามวิจิตรผสมผสานกับภูมิปัญญาไทยที่ยังเป็นอยู่ สถานที่สาคัญในวัดมีดังนี้
พระวิหารพระพุทธไสยาสน์
พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/261
พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ หรือวิหารพระนอนตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือในเขตพุทธาวาส
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างพระพุทธไสยาสน์ขึ้นคราวบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน
ครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2375 พร้อมด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังที่บันทึกสรรพวิชารายล้อมรอบตัวพระวิหารตาม
แบบไทยประเพณี
จิตรกรรมในพระวิหารพระพุทธไสยาสน์มีสรรพวิชาดังต่อไปนี้
1. ผนังระหว่างช่องหน้าต่างและประตู ที่เรียกว่า "ห้อง" มี 32 ห้องเขียนภาพเรื่อง เอตทัคคะใน
พระพุทธศาสนาต่อจากเรื่องที่เขียนในพระอุโบสถตามจารึกที่ติดบอกไว้ ได้แก่เรื่อง พระสาวิกาเอตทัคคะ ที่
เป็นภิกษุณี 13 องค์ อุบาสกเอตทัคคะ 10 คน และอุบาสิกาเอตทัคคะ 10 คน
2. ผนังเหนือบานประตูและหน้าต่าง เขียนเรื่องมหาวงศ์ พงศาวดารลังกาทวีป คือประวัติราชวงศ์
และพระพุทธศาสนาในลังกา ตั้งแต่ต้นเรื่องกาเนิดพระเจ้าสีหพาหุ จนถึงพระเจ้าอภัยทุฏฐคามินีรบชนะทมิฬ
ได้ครอบกรุงอนุราธปุระ
3. คอสอง เขียนเรื่องสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และการรบระหว่างเทวดาและ อสูร เรียกว่า เทวาสุรสงคราม
3
4. บานประตู ด้านนอกเขียนลายรดน้าลายผูกอาวุธ เป็นภาพเครื่องศัตราวุธโบราณ ด้านในสีน้ามัน
พื้นสีแดงเป็นรูปพระยานาคราช
5. บานหน้าต่าง ด้านนอกเขียนลายรดน้า เป็นภาพเครื่องศัสตราวุธโบราณ ด้านในเขียนภาพสีน้ามัน
ลายดอกพุดตานก้านแย่ง
6. พื้นที่ส่วนบนและส่วนล่างของบานประตูและบานหน้าต่างด้านนอก เป็นภาพเบ็ดเตล็ด ตอนบนส่วน
หนึ่งเป็นภาพตาราดาว คือ กลุ่มดาวนักษัตรประจาเดือนทางสุริยคติ (เหมือนกับภาพเขียนในหอไตรกรมสมเด็จ
พระปรมานุชิตชิโนรส) ภาพนิทานชาดกและวรรณคดีไทย เช่นเดียวกับตอนล่าง เช่นเรื่อง รามเกียรติ์พระสุธน
- มโนรา พระลอ ไกรทอง กากี และ เรื่องในคัมภีร์มหาวงศ์บางตอน ฯลฯ
พระพุทธไสยาสน์
พระพุทธไสยาสน์ ภาพจาก http://www.watpho.com/th/buddha/detail/204
พระพุทธไสยาสน์ หรือที่เรียกกันว่า พระนอนวัดโพธิ์ ประดิษฐานในพระวิหารพระพุทธไสยาสน์
ภายในเขตพุทธาวาส บริเวณมุมกาแพงทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัด เป็นพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ ก่ออิฐ
ถือปูนลงรักปิดทอง ขนาดองค์พระยาว 1 เส้น 3 วา (46 เมตร) สูงจากพื้นถึงยอดพระเกตุมาลา 15 เมตร
เฉพาะพระพักตร์จากไรพระศก (ไรผม) ถึงพระหนุ (คาง) ยาว 10 ศอก (5 เมตร) กว้าง 5 ศอก (2.50 เมตร)
พระพุทธบาทยาว 5 เมตร สูง 3 เมตร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง
ขึ้นในคราวปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนครั้งใหญ่เมื่อ จ.ศ. 1193 พ.ศ. 2375 จัดว่าเป็นพระนอนที่ใหญ่ที่สุดใน
กรุงเทพฯ และใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศ
4
พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล
พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/262
พระมหาเจดีย์สี่รัชกาลประดิษฐานอยู่ในบริเวณกาแพงสีขาว ซุ้มประตูทางเข้าเป็นสถาปัตยกรรมไทย
ประยุกต์แบบจีน ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ เครื่องถ้วยหลากสี มีตุ๊กตาหินจีนประตูละคู่ พระมหาเจดีย์แต่ละ
องค์เป็นเจดีย์ย่อไม้สิบสอง เพิ่มมุมสูง 42 เมตร ประดับกระเบื้องเคลือบและกระเบื้องเครื่องถ้วยลวดลายต่างๆ
สังเกตได้ง่าย
พระมหาเจดีย์องค์ประกอบด้วยกระเบื้องเคลือบสีเขียวนามว่า พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ
สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 เพื่อครอบพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่สูง 16 เมตร ได้ชะลอมา
จากพระราชวังที่กรุงศรีอยุธยา ภายในบรรจุพระบรมธาตุ นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจารัชกาลที่ 1
พระมหาเจดีย์องค์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาวนามว่า พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิทาน
สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงพระราชอุทิศถวายแด่พระบรมราชชนก คือรัชกาลที่ 2 นับเป็นพระมหาเจดีย์
ประจารัชกาลที่ 2
พระมหาเจดีย์องค์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลืองนามว่า พระมหาเจดีย์มุนีบัตบริขาร สร้าง
ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงพระราชถวายอุทิศถวายเป็นพุทธบูชา นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจาพระองค์
พระมหาเจดีย์องค์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีน้าเงินเข้ม เป็นพระมหาเจดีย์ที่รัชกาลที่ 4 ทรง
สร้างขึ้นตามแบบพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย กรุงศรีอยุธยานามว่า พระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย เพื่อถวาย
เป็นพุทธบูชา สมัยรัชกาลที่ 4 นั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัยไว้
1 องค์ แต่ยังไม่แล้วเสร็จ ครั้นใกล้จะเสด็จสวรรคตได้มีพระราชดารัสเฉพาะกับรัชกาลที่ 5 ว่า "พระเจดีย์วัด
พระเชตุพนฯ นั้นกลายเป็นใส่คะแนนพระเจ้าแผ่นดินไป ถ้าจะใส่คะแนนอยู่เสมอจะไม่มีที่สร้าง ควรจะถือว่า
พระเจ้าแผ่นดินทั้งสี่พระองค์นั้นท่านได้เคยเห็นกันทั้งสี่ พระองค์จึงควรมีพระเจดีย์อยู่ด้วยกัน ต่อไปอย่าให้ต้อง
สร้างทุกแผ่นดินเลย" (พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เรื่อง จดหมาย
เหตุความทรงจาของกรมหลวงนรินทรเทวี)
5
พระอุโบสถ
พระอุโบสถ ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/261
พระอุโบสถ ตามคติความเชื่อของพุทธศาสนิกชน เขตวิสุงคามสีมาหรือพระอุโบสถเป็นพุทธศาสนสถาน
ที่สาคัญที่สุด โดยสร้างสมัยรัชกาลที่ 1 ตามแบบศิลปะอยุธยาตอนปลาย และขยายใหญ่ขึ้นเท่าที่เห็นในสมัย
รัชกาลที่ 3 ซุ้มจรณัมประจาประตูหน้าต่างฉลัก (สลัก) ด้วยไม้แก่น ยอดเป็นทรงมงกุฎลงรักปิดทอง ประดับ
กระจก บานประตูพระอุโบสถ ด้านนอกลายประดับมุก เป็นลายภาพเรื่องรามเกียรติ์ ด้านในเขียนลายรดน้า
รูปพัดยศพระราชาคณะ พระครูสัญญาบัตร ฐานานุกรมเปรียญทั้งฝ่ายคามวาสีและอรัญวาสีในกรุงและหัวเมือง
พระประธานในพระอุโบสถ
พระพุทธเทวปฏิมากร ภาพจาก http://www.watpho.com/th/buddha/detail/263
6
พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางสมาธินามว่า พระพุทธเทวปฏิมากร ที่ฐานชุกชีก่อไว้ 3 ชั้น ชั้นที่ 1
บรรจุพระบรมอัฐิและพระราชสรีรังคารรัชกาลที่ 1 ชั้นที่ 2 ประดิษฐานรูปพระอัครสาวกทั้งสององค์ ฐานชุกชี
ชั้นล่างสุดประดิษฐานพระมหาสาวก 8 องค์ (พระอรหันต์ 8 ทิศ)
จิตรกรรมประดับผนังพระอุโบสถเหนือต่างขึ้นไปเขียนเรื่องมโหสถบัณฑิต (มหาบัณฑิตแห่งมิถิลานคร)
คอสองในประธานทั้งสองข้างเขียนเรื่องเมืองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช ผนังประตูหน้าต่างเขียนเรื่องพระสาวก
เอตทัคคะ 41 องค์บานหน้าต่างด้านในเขียนลายรดน้าเป็นรูปตราประจาตาแหน่งเจ้าคณะสงฆ์ในกรุงและหัวเมือง
สมัยรัชกาลที่ 3 ด้านนอกแกะสลักเป็นลายแก้วชิงดวง
พระระเบียง
พระระเบียง ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/267
พระระเบียง เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งที่สร้างล้อมรอบพระอุโบสถ มีอยู่ 2 ชั้น ทั้งสองชั้นเชื่อมต่อ
ด้วยพระวิหารทิศอยู่รอบพระอุโบสถทั้งสี่ทิศซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปสาคัญ และสร้างพระวิหาร
ไว้ประจาสี่ทิศ
พระระเบียงชั้นในประดิษฐานพระพุทธรูป 150 องค์ พระระเบียงชั้นนอกประดิษฐานพระพุทธรูป
244 องค์ เป็นพระพุทธรูปที่รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือ ปัจจุบันทางวัดได้
บูรณปฏิสังขรณ์ลงรักปิดทอง พระพุทธรูปทุกองค์ล้วนแต่เป็นเนื้อสาริด (โลหะผสม เช่น ทองแดง, ตะกั่ว, ดีบุก
ปรอท, สังกะสี, เงิน, ทองคา เป็นต้น) มีพุทธลักษณะงดงาม เป็นพุทธศิลป์ในยุคสมัยต่างๆ เช่น สุโขทัย
เชียงแสน ลพบุรี อู่ทอง และอยุธยา ตามเสาพระระเบียง รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้จารึกเพลงยาวกลอักษร
เพลงยาวกลบท และตาราฉันท์ต่างๆอยู่ในกรอบศิลา รวม 100 แผ่น
7
เขามอและเขาฤาษีดัดตน
เขามอฤาษี ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/264
เขามอ หรือสวนหย่อม เป็นสวนหินปลูกไม้ประดับที่รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้รื้อขนก้อนศิลาใหญ่
และเล็กซึ่งก่อเป็นภูเขาในสวนขวาในพระบรมมหาราชวัง แต่ครั้งรัชกาลที่ 2 มาก่อเป็นภูเขาเป็นสวนประดับ
รอบวัด ปลูกต้นไม้ไว้ตามเชิงเขาและบนเขา มีทั้งสถูปและเสาโคมแบบจีน รูปตุ๊กตาจีนและรูปสัตว์จัตุบาท
(สัตว์สี่เท้า) ต่างๆ เรียงรายอยู่ทั่วไปทั้งบนเขา และเชิงเขา เขามอมีทั้งหมด 24 ลูก เช่น เขาประดู่ เขาสะเดา
เขาอโศก เขาสมอ เขาฤาษดัดตน เขาศิวลึงค์ เป็นต้น พรรณไม้ที่ปลูกประดับส่วนใหญ่ตายลงทางวัดได้ปรับปรุง
เป็นสวนหิน ประดับด้วยไม้ดอกไม้ใบนับเป็นมุมนั่งพักผ่อน
เขามอฤาษีดัดตน คือสวนสุขภาพแห่งหนึ่งอยู่ใกล้กับพระวิหารทิศใต้ เป็นพระราชประสงค์ของรัชกาล
ที่ 1 ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมการแพทย์แผนโบราณ และศิลปวิทยาการครั้งกรุงศรีอยุธยาไว้
ทรงพระราชดาริเอาท่าดัดตนอันเป็นการพักผ่อนอิริยาบถ แก้ปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ประยุกต์
รวมกับคติไทยที่ยกย่องฤาษีเป็นครูผู้ประสิทธิ์ประสาทศิลปวิทยาการต่างๆ เป็นรูปปั้นฤาษีดัดตนท่าต่างๆ สมัย
แรกสร้างนั้นปั้นด้วยดิน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 หล่อเป็นเนื้อชิน (แร่ตะกั่ว, ดีบุก, และผสมปรอท) เดิมมี
ทั้งหมด 80 ท่า แต่ปัจจุบันคงเหลืออยู่ 24 ท่า
รูปปั้นฤาษีดัดตนเป็นท่าตรงตามหลักโยคะของโยคีอินเดีย เป็นการออกกาลังกายที่ใช้ศิลปะ เพื่อการ
มีสุขภาพที่แข็งแรง นอกจากนั้นยังมีโคลงสี่สุภาพ ซึ่งจารึกไว้ในแผ่นศิลาประดับอยู่ตามศาลาราย ปัจจุบันได้
รวบรวมไว้ที่ศาลาราย เช่น ศาลาเปลื้องเครื่อง (โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ) เป็นต้น โคลงภาพฤาษีดัดตน เป็น
ตารากายภาพบาบัดของแพทย์ไทย แผนโบราณอันเป็นพระราชประสงค์ ขององค์พระพุทธบุรพมหากษัตริย์ที่
ทรงพระราชดาริให้วัดนี้เป็นแหล่งรวมวิชาการ
8
พระมณฑป (หอไตรจตุรมุข)
ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/266
พระมณฑป หรือหอไตรจตุรมุข รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สถาปนาเป็นสถาปัตยกรรม
จตุรมุขเครื่องยอดทรงมงกุฎ ประดับกระเบื้องเคลือบและถ้วยหลากสี ลวดลายงามวิจิตร ภายในมีตู้เก็บ
พระไตรปิฎก มีศาลาทิศรอบพระมณฑป ผนังภายในศาลาทิศมีภาพจิตรกรรม กาเนิดรามเกียรติ์ ประเพณี
รามัญกวนข้าวทิพย์ เป็นต้น ผนังภายนอกมีศิลาจารึกโคลงสุภาษิต เรียกว่า โคลงโลกนิติ ที่ซุ้มประตูทางเข้า
มณฑปทั้งสองข้างมียักษ์วัดโพธิ์ ที่มีตานานเล่าว่าไปรบกับยักษ์วัดแจ้งจนเป็นต้นกาเนิดท่าเตียน
กลอนตานานท่าเตียนกับยักษ์วัดโพธิ์ – วัดแจ้ง
ยักษ์วัดโพธิ์อวดโตยืนจังก้า
ขู่ตะคอกบอกว่าอย่าลวนราม
ข้านั้นหรือคือมือเก่าเฝ้าวัดนี้
อันทรัพย์สินไม่เคยหายในเวลา
เป็นเรื่องจริงใช้คุยคุ้ยเอาเรื่อง
ยักษ์วัดแจ้งคอยระแวงแกล้งชิงชัง
เราก็ชายชาติยักษ์รักถิ่นฐาน
สงครามขั้นพันตูดูไม่เบา
สู้กันได้หลายตั้งยังไม่แพ้
กระแสชลวนแหวกกระแทกกัน
แสนสงสารชาวท่าหน้าตลาด
บ้างบนบานศาลกล่าวเจ้าโลกา
ครั้นเมื่อยักษ์เลิกรบสงบศึก
จะยลหน้าไปมองแห่งหนใด
ตั้งแต่นั้นจึงพากันขนาน
ว่า “ท่าเตียน” เปลี่ยนให้ด้วยใจจง
ทายักท่านักเลงให้เกรงขาม
ใครยุ่มย่ามเป็นไม่ไว้ชีวา
มาหลายปีดีดักนานนักหนา
พระท่านมาอยู่ด้วยช่วยระวัง
เคยขุ่นเคืองมาก่อนกลับย้อนหลัง
เหาะข้ามฝั่งมาราวีถึงที่เรา
ใครรุกรานต้องขย้าซ้าให้เน่า
พองต่อพองจ้องเข้าประหัตถ์กัน
บ้านเรือนแพริ่มฝั่งพังสะบั้น
ดังสะนั่นลั่นรัวทั่วพารา
ต้องอนาถอกหักเพราะยักษา
เชิญท่านมาอยู่ด้วยช่วยกันภัย
ใจระทึกหม่นหมองนั่งร้องไห้
ดูไม่ได้มีแต่เหี้ยนเตียนราบลง
นามเรียกขานกันใหม่ไม่ใหลหลง
ชื่อยังคงมีอยู่มิรู้ลืม
9
ศาลาราย
ศาลาราย (ศาลานวด) ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/307
ศาลารายล้อมลานวัดทั้งข้างใน (รอบพระอุโบสถ) และข้างนอก ของเดิมไม่มีเฉลียง ก่อล้อมเป็นช่อ
มงกุฎ รื้อก่อใหม่ในรัชกาลที่ ๓ ต่อเฉลียงออกไปรอบตัว ลดพื้นเป็นสองชั้นแต่สามด้าน (คือด้านหน้าและ
ด้านหลังสกัดออกทั้งสองด้าน)
ศาลารายคู่หน้าพระมหาเจดีย์ (ศาลาหมอนวดและศาลาแม่ซื้อ) ศาลาคู่นี้อยู่ระหว่างพระมหาเจดีย์
กับพระอุโบสถ ศาลารายหลังเหนือ (ศาลาหมอนวด) จารึกตารานวดแผนโบราณ มีจิตรกรรมลายเส้นบอก
ตาแหน่งนวด จารึกอยู่ที่คอสองเฉลียงลด มีจานวน ๓๒ แผ่น ด้านหลังจารึกสุภาษิตพระร่วง (ปฐมสุภาษิต
ของไทย) กฤษณาสอนน้องคาฉันท์ และภาพเขียนกระบวนแห่กฐินพยุหยาตราสถลมารค (แห่พระกฐินบก)
ศาลารายรอบวัดมีทั้งหมด ๑๖ หลัง คอสองเฉลียงและคอสองในพระประธาน มีจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง
นิบาตรชาดก (พระเจ้าห้าร้อยห้าสิบชาติ) เขียนศาลาละ ๓๖ เรื่อง ศาลาทศชาติอยู่ด้านทิศใต้ของศาลาการ
เปรียญในศาลารายแต่ละหลัง นอกจากมีจิตรกรรมแล้ว ก็ยังมีภาพฉลักไม้ในวรรณคดีพระอภัยมณี และชีวิต
พื้นบ้านทั่วไป ส่วนฤๅษีดัดตนนั้นจารึกอยู่ในช่องกุฎของศาลาและยังคงมีให้เห็นในปัจจุบันนี้
9
ตานานยักษ์วัดโพธิ์
ยักษ์วัดโพธิ์ ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/265
โดยตานานนั้นมีอยู่ว่า ยักษ์วัดโพธิ์ซึ่งทาหน้าที่ดูแลวัดโพธิ์ และยักษ์วัดแจ้งซึ่งทาหน้าที่ดูแลวัดแจ้ง
หรือวัดอรุณฯ ฝั่งตรงข้ามนั้น ทั้ง 2 ตนเป็นเพื่อนรักกัน วันหนึ่งทางฝ่ายยักษ์วัดโพธิ์ไม่มีเงิน จึงข้ามแม่น้า
เจ้าพระยาไปขอยืมเงินจากยักษ์วัดแจ้งพร้อมทั้งนัดวันที่จะนาเงินไปส่งคืน เมื่อถึงกาหนดส่งเงินคืนยักษ์วัดโพธิ์กลับ
ไม่ยอมจ่าย เบี้ยวเอาเสียดื้อๆ ยักษ์วัดแจ้งเมื่อรอแล้วรอเล่าจนทนไม่ไหว จึงตัดสินใจข้ามแม่น้าเจ้าพระยามา
ทวงเงินคืน แต่ยักษ์วัดโพธิ์ไม่ยอมให้ ดังนั้นในที่สุดยักษ์ทั้ง 2 ตน จึงเกิดการทะเลาะถึงขั้นต่อสู้กัน แต่เพราะ
รูปร่างที่ใหญ่โตมหึมาและมีกาลังมหาศาลของยักษ์ทั้ง 2 ตน เมื่อต่อสู้กันจึงทาให้ต้นไม้ในบริเวณนั้นถูกยักษ์ทั้ง
สองเหยียบย่าจนล้มตายลงหมด หลังจากที่เลิกต่อสู้กันแล้วบริเวณที่ทั้งสองประลองกาลังกันนั้นจึงราบเรียบ
กลายเป็นสถานที่ที่โล่งเตียนไปหมดไม่มีอะไรเหลือเลย
ครั้นเมื่อพระอิศวร (พระศิวะ) ได้ทราบเรื่องราวการต่อสู้กัน ทาให้บรรดามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายใน
บริเวณนั้นเดือดร้อน จึงได้ลงโทษโดยการสาปให้ยักษ์ทั้ง 2 กลายเป็นหิน แล้วให้ยักษ์วัดโพธิ์ทาหน้าที่ยืนเฝ้า
หน้าพระอุโบสถ และให้ยักษ์วัดแจ้งทาหน้าที่ยืนเฝ้าพระอุโบสถวัดแจ้งเรื่อยมา ส่วนฤทธิ์จากการสู้รบของยักษ์
ทั้งคู่ที่ทาชุมชนละแวกนี้ราบเรียบเป็นหน้ากลอง ทาให้ชาวบ้านพากันเรียกว่า "ท่าเตียน" เรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้
ส่วนประวัติการสร้างเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการโปรดเกล้าฯ ให้รื้ออสูรเฝ้าประจาประตูทั้ง 4
ประตูออก แล้วนาลั่นถันหรือตุ๊กตาศิลาจีนมาแทน และได้โปรดเกล้าฯ ให้หล่อรูปยักษ์ขนาดเล็ก สูงประมาณ
175 เซนติเมตร จานวน 8 ตน ตั้งไว้ที่ทางเข้าหอไตรจตุรมุข (พระมณฑป) ตรงซุ้มประตูทั้ง 4 ด้าน ด้านละ 1 คู่
เพื่อให้ทาหน้าที่พิทักษ์รักษาหอพระไตรปิฎก เมื่อครั้งทาระเบียงพระมหาเจดีย์ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้รื้อซุ้ม
ประตูออกไป 2 ซุ้ม ปัจจุบันจึงปรากฏรูปยักษ์อยู่เพียง 2 คู่ คือ มัยราพณ์กับแสงอาทิตย์ อยู่ที่ประตูทิศ
ตะวันตกเฉียงใต้ และพญาขรกับสัทธาสูร อยู่ที่ประตูทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ส่วนซุ้มประตูด้านที่รื้อไปนั้นเดิม
เป็นทศกัณฐ์กับสหัสเดชะ อยู่ที่ประตูทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และ อินทรชิตกับสุริยภพ อยู่ที่ประตูทิศ
ตะวันออกเฉียงใต้
10
พระวิหารทิศ
พระวิหารทิศ ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/268
พระวิหารทิศเชื่อมต่อกับพระระเบียงอยู่รอบพระอุโบสถทั้งสี่ทิศ คือ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก
ทิศเหนือและทิศใต้ แต่ละหลังอัญเชิญพระพุทธรูปสาคัญมาประดิษฐานไว้เป็นพระพุทธปฏิมาประธาน
พระวิหารทิศตะวันออกประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยนามว่า “พระเจ้าตรัสในควงไม้พระมหา
โพธิ์” (พระพุทธเจ้าตรัสรู้ประทับใต้ต้นโพธิ์) ต่อมารัชกาลที่ 4 ถวายพระนามใหม่ว่า “พระพุทธมารวิชัย อภัย
ปรปักษ์อัครพฤกษ์โพธิภิรมย์ อภิสมพุทธบพิตร” มุขหลังประดิษฐานพระพุทธรูปยืนสูง 10 เมตร หล่อด้วย
สาริดอัญเชิญมาจากวัดพระศรีสรรเพชญ์กรุงเก่ามีนามว่า “พระพุทธโลกนาถศาสดาจารย์”และมีแผ่นศิลาจารึก
การสถาปนาวัดโพธิ์ที่ผนังด้านตะวันตก มีซุ้มประตูหิน (แบบจีน) หน้าพุทธโลกนาถบางท่านเรียกว่า
“โขลนทวาร” (ประตูป่าหรือประตูสวรรค์) เข้าใจว่านามาจากประเทศจีน
พระวิหารทิศใต้ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาอัญเชิญมาจากกรุงเก่านามว่า “พระพุทธชินราช
วโรวาทธรรมจักร อัครปฐมเทศนา นราศภบพิตร” หรือ พระพุทธชินราช
พระวิหารทิศตะวันตก ประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก อัญเชิญมาจากลพบุรี นามว่า “พระพุทธ
ชินศรีมุนีนาถ อุรุคอาสนบัลลังก์ อุทธังทิศภาคนาคปรก ดิลกภพบพิตร” หรือ พระพุทธชินศรี
พระวิหารทิศเหนือประดิษฐานพระปางป่าเลไลยก์ นามว่า“พระพุทธปาลิไลยภิรัติไตรวิเวก เอกจาริก
สมาจาร วิมุติญาณบพิตร” หรือ พระพุทธปาลิไลย เป็นพระพุทธรูปที่หล่อขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ 1 เพียงองค์เดียว
เท่านั้น
11
พระวิหารคด
พระวิหารคด ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/269
พระวิหารคดเป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นเพื่อแสดงเขตบริเวณพุทธสถานสาคัญ คือ พระอุโบสถหรือ
พระเจดีย์ เป็นรูปคดแบบหักศอก ให้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่พุทธศาสนิกชนสร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา
และเป็นที่สาหรับให้พระภิกษุสงฆ์ใช้เดินจงกรม
พระวิหารคดตั้งอยู่มุมกาแพงรอบพระอุโบสถทั้ง 4 ด้าน 1) ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือนามว่า
พระวิหารคดพระฉาย (คดเณรเต่อ), 2) ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้นามว่า พระวิหารคดพระพุทธเจ้าเข้านิพพาน,
3) ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้นามว่า วิหารคดสมอ (คดกรมหลวงชุมพร), และ 4) ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
นามว่า วิหารคดหน้าแดง
พระตาหนักวาสุกรี
พระตาหนักวาสุกรี ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/302
13
พระตาหนักวาสุกรี เป็นพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สมเด็จ
พระสังฆราชเจ้า พระองค์ที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงเป็นเจ้านายชั้นสูงพระองค์แรกที่ได้รับการสถาปนา
เป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า พระผู้ทรงเป็นรัตนกวีของชาติโดยองค์การยูเนสโกแห่งสหประชาชาติประกาศ
ยกย่องให้เป็นพระผู้มีผลงานดีเด่นทางด้าวัฒนธรรมระดับโลก (กวีเอกของโลก) ตาหนักนี้เคยเป็นที่ประทับของ
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ตั้งอยู่ในเขตสังฆาวาส ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานพระโกศ
ทรงฝรั่ง บรรจุพระอัฐิของพระองค์ท่าน จัดเป็นบ้านกวีและอนุสรณ์สถานที่น่าสนใจผลงานของรัตนกวีพระองค์
นี้ ชาวไทยที่ผ่านการศึกษาระดับมัธยมต้นทุกคนต้องอ่านบทพระนิพนธ์ โคลงสี่สุภาพ ฉันท์ ลิลิต และยังคงจา
ได้ดี อาทิ ลิลิตตะเลงพ่าย กฤษณาสอนน้องคาฉันท์
ซุ้มประตูทรงมงกุฏ
ซุ้มประตูทรงมงกุฏ ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/304
ซุ้มประตูทางเข้าวัดโพธิ์จะสร้างเป็นทรงมงกุฎประดับกระเบื้องที่ตัดเป็นรูปกลีบดอกไม้เรียงกัน
ลดหลั่นสีสันสดสวยงานกระเบื้องเครื่องถ้วยลวดลายสีสันต่างๆ นามาตัดด้วยคีมเหล็กและเล็มจนมนเป็นกลีบ
ดอกไม้ แล้วนามาเรียงเป็นลวดลายดอกไม้ ประดับอยู่ตามพุทธสถานต่างๆ ในวัดนี้นับเป็นประณีตศิลป์ที่เห็น
ทั่วไป ซุ้มประตูเข้าเขตพุทธาวาส มีทั้งหมด 16 ประตู เกร็ดประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า งานสถาปัตยกรรม
เครื่องยอดทรงมงกุฎนี้เป็นรูปแบบที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพอพระราชหฤทัย
เป็นพิเศษ
เมื่อลอดซุ้มประตูทรงมงกุฎเข้าไปทุกประตู จะเห็นตุ๊กตารูปสลักศิลาหน้าตาเป็นจีน มือถือศาสตราวุธ
ยืนเฝ้าด้านซ้ายขวาเรียกว่า “ลั่นถัน นายทวารบาล” ทาหน้าที่คอยเฝ้าระวังและป้องกันสิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้ามา
ในวัด
14
ศาลาการเปรียญ
ศาลาการเปรียญ (อุโบสถหลังเก่า) ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/304
ศาลาการเปรียญ เป็นพุทธสถานที่ปฏิบัติธรรมแทนพระวิหารเพราะมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่
ใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจ ฟังเทศน์ ทาบุญ และใช้เป็นที่เรียนธรรมของพระภิกษุสงฆ์
ศาลาการเปรียญแห่งนี้ เดิมเป็นอุโบสถวัดโพธารามสร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา พระประธานที่ประดิษฐาน
คือ พระประธานองค์เดิมของวัดโพธาราม เป็นปางสมาธิมีนามว่า พระพุทธศาสดา รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าให้
บูรณปฏิสังขรณ์ ประทับบนฐานชุกชีงดงาม ตามเสาและเหนือขอบประตูหน้าต่าง ภายในมีกรอบไม้สัก
แกะสลักลวดลายดอกพุดตาน ที่คอสองมุขหน้าและด้านหลัง มีภาพจิตรกรรมนรกขุมต่างๆ และเปรต 12
จาพวก
ในปี พ.ศ. 2547 มีการบูรณะศาลาการเปรียญเพิ่มอีก ที่ผนังด้านทิศตะวันออกสร้างซุ้มประดิษฐาน
พระพุทธรูปประทับยืนปางเปิดโลก มีภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในศาลาการเปรียญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบ
ศาสนกิจและฝึกสมาธิ ใกล้กับประตูกลางตรงหน้าพระประธานตั้งธรรมมาสน์บุษบกไม้แกะสลักฝีมือสกุลช่าง
อยุธยาตอนปลายประณีตงดงาม
15
สถูปหรือพระปรางค์
พระสถูปหรือพระปรางค์ ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/305
สถูปหรือพระปรางค์ เป็นพุทธสถานที่สร้างขึ้นเพื่อบรรจุสิ่งของที่ควรบูชาไว้ภายใน มหาสถูปจึงเป็น
สถูปองค์ใหญ่ ประดิษฐานอยู่มุมลานพระอุโบสถชั้นนอกทั้ง 4 ด้าน 4 องค์ พระปรางค์แบบนี้มีชื่อเรียกเฉพาะ
ว่า “พระอัคฆีย์เจดีย์” บุด้วยหินอ่อนมีเทวรูป ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่หล่อด้วยดีบุกลงรักปิดทองประดับกระจก
ประจาทั้งสี่ทิศขององค์พระปรางค์
องค์ที่ประดิษฐานด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือด้านหน้าพระอุโบสถนามว่า “พระพุทธมังคละกาย
พันธนามหาสถูป”
ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้นามว่า “พระพุทธธรรมจักปวัตนะปาทุกามหาสถูป”
ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้หลังพระอุโบสถนามว่า “พระพุทธวิไนยปิฏกะสูจิฆรามหาสถูป”
และด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือนามว่า “พระพุทธอภิธรรมธระวาสีปริกขาระมหาสถูป”
16
กาแพงแก้ว
กาแพงแก้ว ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/306
กาแพงแก้วนั้นมิได้สร้างด้วยแก้ว แต่คาว่า “แก้ว” นิยมใช้เรียกบุคคล, สัตว์ และสิ่งของที่มีค่ามี
ความสาคัญ เช่น ลูกแก้ว, ช้างแก้ว-ม้าแก้ว เป็นต้น กาแพงแก้วเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อกาหนด
เขตพัทธสีมาและกั้นพุทธสถานที่สาคัญ โดยเฉพาะพระอุโบสถที่ถือว่ามีความสาคัญที่สุดของวัด
กาแพงแก้ว ล้อมลานพระอุโบสถ มีซุ้มประตู 8 ซุ้มและพัทธสีมา 8 ซุ้ม กาแพงแก้วด้านนอกประดับ
ศิลาลายฉลัก (สลัก) เป็นรูปภูเขา ต้นไม้ และรูปสัตว์ต่างๆ ซุ้มประตูทางเข้า 8 ซุ้ม (ประตูทรงมงคล) สร้างด้วย
หินแกรนิตแกะสลักมีรูปหล่อสางแปลงเนื้อสาริดประตูละหนึ่งคู่
พนักระหว่างเสาเฉลียงพระอุโบสถด้านนอกประดับศิลาจาหลักภาพเรื่องรามเกียรติ์ 152 ภาพ มีโคลง
จารึกบอกเนื้อเรื่องติดไว้ ภาพสลักศิลาเหล่านี้มาจากภาพหนังใหญ่ รัชกาลที่ 3 มีพระราชปรารภว่า “หนังใหญ่
เป็นการเล่มมหรสพของไทยมาแต่อยุธยาตอนต้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ การเล่นหนังใหญ่ต้องใช้ศิลปะชั้นสูง
หลายด้าน เพราะเหตุนี้การเล่นหนังใหญ่จึงเป็นของเล่นให้ดีได้ยาก นับวันแต่จะเสื่อมโทรมลงไป เพื่อให้อนุชน
ได้ชมภาพตัวหนังดังกล่าว จึงให้เอาตัวหนังใหญ่มาแกะลงบนแผ่นศิลาให้เหมือนหนังฉลุทุกส่วนติดไว้ให้ชม
ท่านจะเห็นฝีมือลวดลายจาหลักเหล่านี้ละเอียดประณีตวิจิตรงดงามยิ่งนัก”
มีผู้สนใจงานศิลปะมาขอลอกภาพกันมาก ภาพรามเกียรติ์เหล่านี้เคยเป็นสินค้าของที่ระลึกสัญลักษณ์
ของวัดโพธิ์ ต่อมาแรงกดลอกลายภาพซ้าๆ นับแรมปีทาให้ลวดลายจางลง จึงมีประกาศห้ามลอกลายภาพ
ดังกล่าว
17
รูปสลักหิน (ตุ๊กตาจีน)
รูปสลักหิน (ตุ๊กตาจีน) ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/308
รูปสลักหิน (ตุ๊กตาจีน) ที่ตั้งประดับตามซุ้มประตูและที่ต่างๆ มีทั้งสลักจากหินและปูนปั้น หากเราพินิจ
พิจารณารูปปั้นรูปสลักจีนแต่ละรูปแบบแล้ว ย่อมทาให้รู้จักและเข้าใจต่อการที่ช่างไทยขนเอาเครื่องอับเฉาที่ใช้
เป็นอุปกรณ์ถ่วงเรือสาเภาตอนขากลับจากการพาณิชย์นาวีที่ประเทศจีน (ในสมัยรัชกาลที่ 3) แล้วนาไปตั้ง
ประดับอย่างมีศิลปะ ประยุกต์เอารูปปั้นเหล่านั้นตั้งประดับดูเข้ากันได้ไม่ขัดตา
ถะ (เจดีย์ศิลปะจีน) ตั้งอยู่ระหว่างพระระเบียงชั้นนอกและชั้นใน รวม 20 องค์
ลั่นถัน คือ ตุ๊กตาหินยืนท้าวเอวถืออาวุธ แต่งกายแบบงิ้ว เป็นขุนนางฝ่ายบู๊ เป็นนักรบ มือถือ
อาวุธ หน้าตาดุเหมือนจ้องมอง มีเสื้อเกราะรัดตัวอย่างทะมัดทะแมง บางรูปก็เหมือนทหารยืนประจาการ
เป็นนักรบระดับขุนพล
ตุ๊กตาจีนแต่งกายแบบฝรั่ง เป็นรูปมาร์โคโปโล คือ ฝรั่งคนแรกที่เดินทางเข้าไปในประเทศจีน และ
เผยแพร่อารยธรรมตะวันตกให้แก่ชาวจีน มีอยู่ 4 คู่ เป็นภาพสะท้อนของช่างจีน มองเห็นฝรั่งสมัยล่าอาณา
นิคมเป็นคนดุร้าย ก่อสงครามชิงเอาบ้านเมืองอยู่เนืองๆ
ตุ๊กตาจีนขุนนางฝ่ายพลเรือนหรือฝ่ายบุ๋น หน้าตาอมยิ้มนิดๆสวมหมวกทรงสูงมือข้างหนึ่งถือ
หนังสือ ข้างหนึ่งลูบหนวดเคราเหมือนกาลังครุ่นคิด สวมเสื้อคลุมยาวและรองเท้า มองเป็นคนภูมิฐาน
เป็นนักปกครอง นักวางแผน และขุนนางแห่งราชสานัก
ตุ๊กตาจีนนักปราชญ์หรือซิ่วจ๋าย หน้าตาอมยิ้มสบายๆ สวมหมวกทรงสูงมีรอยพับ ใบหน้าเรียบ
ไม่มีหนวดเครา เหมือนคนหนุ่ม แต่งตัวภูมิฐาน สวมเสื้อคลุมยาวพร้อมรองเท้า มือข้างหนึ่งถือพัด หรือถือ
หนังสือ ท่าทางเป็นคนมีความรู้
ตุ๊กตาจีนสามัญชน คนทางาน ส่วนมากเป็นรูปชายไว้เครา ใส่หมวกฟาง มือข้างหนึ่งถือเครื่องมือ
ทางาน ถือจอบ ถือแห
18
ตุ๊กตาสาวจีน รูปปั้นแบบต่างๆส่วนมากมีหน้าตาสดชื่นยิ้มแย้ม มีทั้งรูปเกล้ามวยผมผูกผ้า และมีผ้า
คลุมผมพลิ้วบาง สวมเสื้อคลุมยาวกรอมรองเท้า
ตุ๊กตารูปสิงโตคาบแก้ว รูปสลักสิงโตนิยมตั้งประดับที่เชิงบันได หรือหน้าประตูทางเข้าออก
ตามแต่ขนาด อ้าปากแยกเขี้ยว ในปากมีหินก้อนกลมเล็กๆ สามารถเอามือสอดเข้าไปกลิ้งเล่นได้
รูปสลักสิงโตนี้ ช่างสลักได้จัดทาไว้ 2 เพศ ตัวเมียมีลูกเล็กๆ อยู่ที่ซอกอกและเท้าเป็นสัญลักษณ์
ตัวผู้อยู่ในท่าวางเท้ามีกงเล็บจับลูกแก้วหรือลูกโลกหรือสิ่งมงคลตามความเชื่อในคติจีน
รูปสลักและรูปปั้นศิลาแบบจีน นอกจากมีรูปลักษณ์เหมือนคนแล้ว ยังมีรูปกลอง รูป สัตว์ ช้าง ม้า
ควาย ไก่ ลิง หมู ตั้งประดับตามลานบริเวณเขตพุทธาวาส บางแห่งอยู่ข้างสวนหินขนาดใหญ่เล็ก ทุกตัวนั้น
ไม่เพียงแต่เป็นตัวแทนแห่งศิลปกรรมจีนเท่านั้น ยังบอกถึงฝีมือช่างสลัก ช่างปั้นว่ามีชั้นเชิงแฝงด้วยภูมิธรรม
ภูมิปัญญา และปรัชญาอันลุ่มลึกไว้ด้วย
วิถีชีวิตของชุมชน
วิถีชีวิตชุมชนบริเวณรอบๆ วัดโพธิ์ ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/309
สาหรับนักท่องเที่ยวที่มีโอกาสเที่ยวชมวัดพระเชตุพนกันแล้ว หากท่านยังพอมีเวลาขอแนะนาให้ท่าน
เดินดูวิถีชีวิตของชุมชนชาวกรุงเทพมหานครที่น่าสนใจอยู่ริมแม่น้าเจ้าพระยาด้านตะวันตกของวัดคือ
1. ชุมชนท่าเตียน
เป็นย่านการค้าใหญ่ที่เก่าแก่ครั้นก่อนสร้างพระบรมหาราชวังเลยทีเดียว สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็น
ตลาดจีน ทั้งตลาดบกและตลาดน้า มีท่าเรือใหญ่ขนส่งสินค้า ชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนท่าเตียนยังคงสืบสาน
กันมาแต่อดีตกาลคู่กับวัดโพธิ์ แม้ว่าโรงเรียน ร้านค้า จะพัฒนาจากเรือนไม้ เรือนแพ เป็นตึกแถว ตลาดน้าที่มี
เรือผักผลไม้หายไปกลายเป็นการขนส่งทางรถบรรทุกก็ตาม การค้ายังคงคึกคักเช่นเก่าก่อน ริมแม่น้าเจ้าพระยา
ยังคงมีท่าเรือ ทั้งเรือเมล์ข้ามฟากไปวัดอรุณฯ เรือด่วนเจ้าพระยา รับส่งผู้โดยสารตั้งแต่เช้าตรู่ถึงเย็นค่า
19
2. ชุมชนปากคลองตลาด
แม้เป็นย่านการค้าที่เกิดขึ้นหลังย่านท่าเตียนก็ตาม นับเป็นการค้าที่ใหญ่และคึกคักเช่นกัน
ปากคลองตลาดเป็นตลาดกลางขายส่งผักผลไม้และดอกไม้ใหญ่ที่สุดของกรุงเทพฯ เปิดขายของกัน
ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน มีชาวสวนนาผลิตภัณฑ์จากสวนมาขาย ยังได้เห็นช่างฝีมือร้อยมาลัยประดิษฐ์ดอกไม้
ตามแบบไทยวางขายกันดาษดื่น ชาวกรุงเทพฯ และใกล้เคียงที่ต้องการดอกไม้ไปใช้งาน ตกแต่งบ้าน, งานบุญ,
งานบวช, งานรับปริญญา, งานต้อนรับแขก, งานแต่งงาน จนถึงงานศพ ก็มาหาซื้อดอกไม้ที่นี่ ผู้ประดิษฐ์นั่งทา
กันอย่างขะมักเขม้น ผู้ขายก็หยิบขายกันอย่างพลันวันเป็นภาพชีวิตที่ดูคึกคักยิ่งนัก
จารึกวัดโพธิ์: มรดกความทรงจาแห่งโลก
จารึกวัดโพธิ์ ภาพจาก http://www.watpho.com/th/inscription
เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2550 คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจาแห่งโลกได้จัดสัมมนา
เครือข่ายระดับชาติด้านการอนุรักษ์และเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาไทยครั้งที่ 2 เรื่อง “การเสนอจารึกวัดพระเชตุพนฯ
เป็นมรดกความทรงจาแห่งโลก”เพื่อนาประสบการณ์ที่ได้จากการสัมมนามาพิจารณาคุณสมบัติความหมายและ
คุณค่าความโดดเด่นของจารึกวัดโพธิ์ พบว่าจารึกวัดโพธิ์ถือเป็นมรดกภูมิปัญญาไทยที่มีความสาคัญเทียบเท่า
ระดับสากล มีความล้าค่า ประวัติความเป็นมาและเนื้อหาในจารึกวัดโพธิ์บอกเล่าวิชาความรู้หลากหลาย ไม่ว่า
จะเป็นจารึกสรรพวิชาบนแผ่นศิลาเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
รัชกาลที่ 1 จารึกสุภาษิตพระร่วง รวมถึงรูปปูนปั้นฤๅษีดัดตน แสดงท่าทางการนวดแผนโบราณที่รัชกาลที่ 1
และรัชกาลที่ 3 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดทาขึ้น
20
การประชุมคณะกรรมการแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่าด้วยแผนงานความทรงจาแห่งโลกของยูเนสโก
(UNESCO Memory of the World Regional Committee for Asia/Pacific-MOWCAP) ณ กรุงแคนเบอร์ร่า
ประเทศออสเตรเลีย มีมติรับรองจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ขึ้นทะเบียนเป็น
มรดกความทรงจาของโลกในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตามที่ประเทศไทยโดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วย
แผนงานความทรงจาแห่งโลกเสนอและต่อมาคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจาโลกได้
ดาเนินงานนาเสนอขึ้นทะเบียนจารึกวัดโพธิ์เป็นมรดกความทรงจาโลกในระดับนานาชาติโดยความร่วมมือจาก
กระทรวงศึกษาธิการ, สานักหอสมุดแห่งชาติกรมศิลปากร, จึงจัดทาแผนการอนุรักษ์จารึกวัดโพธิ์เพิ่มเติมและ
เสนอเป็นส่วนประกอบการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจาแห่งโลกระดับนานาชาติต่อองค์การยูเนสโกจาก
คุณสมบัติจารึกวัดโพธิ์ที่มีความโดดเด่นด้านรูปแบบการรวบรวมข้อมูลและนาเสนอต่อประชาชน ประกอบด้วย
ความรู้หลากหลายสรรพวิชา เช่น พุทธศาสนา, ประวัติศาสตร์, ภาษา, วรรณกรรม, ภูมิศาสตร์, วิทยาศาสตร์,
การปกครอง จารึกจานวนมากเกี่ยวข้องกับการแพทย์ สุขภาพอนามัย รวมทั้งการนวดวัดโพธิ์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับ
และปฏิบัติกันทั่วโลก มีจารึกเกี่ยวกับรามเกียรติ์ หรือ รามายณะ และเรื่องนิทานสิบสองเหลี่ยมหรือ ชาห์นามห์
วรรณกรรมคาสอนระดับโลก ความรู้ที่ปรากฏบนจารึกวัดโพธิ์คือองค์ความรู้ของโลกตะวันออกในเวลาที่มีภัย
คุกคามจากโลกตะวันตก
จารึกวัดโพธิ์ ภาพจาก http://www.watpho.com/th/inscription
ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2554 องค์การยูเนสโก ได้มีมติรับรองให้จารึกวัดโพธิ์ ขึ้นทะเบียนเป็น มรดก
แห่งความทรงจาแห่งโลกในระดับนานาชาติ ในวาระการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติว่าด้วย
แผนงานความทรงจาแห่งโลกของยูเนสโก ครั้งที่ 10 (The Tenth Meeting of the International Advisory
Committee for the Memory of the World Programme of UNESCO) ณ มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์
เมืองแมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร
จารึกวัดโพธิ์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจาแห่งโลก จานวน 1,440 แผ่น (ที่ปรากฏ
อยู่ในปัจจุบัน) ส่วนใหญ่เป็นจารึกอักษรไทย ภาษาไทยส่วนอักษรขอม ภาษาบาลี และภาษาไทยมีเพียง
เล็กน้อยเท่านั้น คณะทางานสารวจและจัดทาทะเบียนจารึกวัดโพธิ์ ได้จาแนกออกเป็น 6 หมวดดังนี้
21
1. หมวดพระพุทธศาสนา จานวน 310 แผ่น มี 12 เรื่อง ได้แก่ เรื่องมหาวงษ์ พระสาวกเอตทัคคะ พระ
สาวิกาเอตทัคคะ อุบาสกเอตทัคคะ อุบาสิกาเอตทัคคะ พาหิรนิทาน ทศชาติชาดก เวสสันดรชาดก อรรถกถา
ชาดก ญาณ 10 นิรยกถา และเปรตกถา
2. หมวดเวชศาสตร์ จานวน 608 แผ่น มี 9 เรื่อง ได้แก่ ตารายา แผนเส้น แผนฝี แผนปลิง แม่ซื้อ ลาบอง
ราหู โองการปัดพิษแสลง อาธิไท้โพธิบาท และโคลงภาพฤาษีดัดตน
3. หมวดวรรณคดีและสุภาษิต จานวน 341 แผ่น มี 11 เรื่อง ได้แก่ โคลงกลบท โคลงภาพจาหลักเรื่อง
รามเกียรติ์ โคลงโลกนิติ เพลงยาวกลบท ตาราฉันท์มาตราพฤติ ตาราฉันท์วรรณพฤติ ฉันท์พาลีสอนน้อง ฉันท์
กฤษณาสอนน้อง ฉันท์อัษฎาพานร สุภาษิตพระร่วง และนิทาน 12 เหลี่ยม
4. หมวดทาเนียบ จานวน 124 แผ่น มี 3 เรื่อง ได้แก่ ทาเนียบหัวเมืองและผู้ครองเมือง ทาเนียบสมณศักดิ์
และโคลงภาพคนต่างภาษา
5. หมวดประวัติ จานวน 21 แผ่น มี 2 เรื่อง ได้แก่ ประวัติการบูรณปฏิสังขรณ์แต่ละอาคาร และจารึกชื่อ
เฉพาะต่างๆ ได้แก่ วิหารทิศ พระมหาเจดีย์ และสถูป
6. หมวดประเพณี จานวน 36 แผ่น มี 1 เรื่อง ได้แก่ ริ้วกระบวนแห่พระกฐินทางสถลมารค
ประกาศนียบัตรจาก UNESCO รับรองจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ขึ้นทะเบียนเป็น
มรดกความทรงจาของโลกในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ภาพจาก http://www.watpho.com/th/inscription
กระบวนการสารวจและจัดทาทะเบียนจารึกวัดโพธิ์ครั้งนี้ยังพบว่ามีต้นฉบับหนังสือไทยที่ร่างเตรียม
ไว้เพื่อที่จะจารึกลงบนแผ่นศิลาแต่งยังไม่ได้จารึกให้ปรากฏเป็นหลักฐาน เช่น "สาเนาจาฤกแผ่นศิลาว่าด้วยการ
ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน สาเนาพระราชดาริห์ว่าด้วยการทรงสร้างพระพุทธไสยาศนวัดพระเชตุพน และพระ
ราชกฤษฎีการาชานุสาสน์ วัดพระเชตุพน " เป็นต้น
22
ตานานพระพุทธรูปสาคัญ: พระพุทธเทวปฏิมากร
พระพุทธเทวปฏิมากร ภาพจาก http://www.watpho.com/th/buddha/detail/198
พระพุทธเทวปฏิมากร
พระพุทธเทวปฏิมากรเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เดิมประดิษฐาน
เป็นพระประธานอยู่ที่วัดศาลาสี่หน้าหรือวัดคูหาสวรรค์ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
โปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดยสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ และโปรดเกล้าฯ
ให้อัญเชิญพระพุทธเทวปฏิมากรมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถที่สร้างขึ้นใหม่นี้พร้อมทั้งยังได้
ทรงถวายนามใหม่ว่า "พระพุทธเทวปฏิมากร"
พระพุทธไสยาสน์
พระพุทธไสยาสน์ ภาพจาก http://www.watpho.com/th/buddha/detail/204
23
พระพุทธไสยาสน์ หรือที่เรียกกันว่า พระนอนวัดโพธิ์ ประดิษฐานในพระวิหารพระพุทธไสยาสน์
ภายในเขตพุทธาวาส บริเวณมุมกาแพงทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัด เป็นพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ ก่ออิฐ
ถือปูนลงรักปิดทอง ขนาดองค์พระยาว 1 เส้น 3 วา (46 เมตร) สูงจากพื้นถึงยอดพระเกตุมาลา 15 เมตร
เฉพาะพระพักตร์จากไรพระศก (ไรผม) ถึงพระหนุ (คาง) ยาว 10 ศอก (5 เมตร) กว้าง 5 ศอก (2.50 เมตร)
พระพุทธบาท ยาว 5 เมตร สูง 3 เมตร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง
ขึ้นในคราวปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนครั้งใหญ่เมื่อ จ.ศ. 1193 พ.ศ. 2375 จัดว่าเป็นพระนอนที่ใหญ่ที่สุดใน
กรุงเทพมหานคร และใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศ
พระพุทธไสยาสน์เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามโดยเฉพาะศิลปะการประดับมุกที่ฝ่าพระบาท
ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระนอนองค์ใหญ่ที่มีความงดงามเป็นเอกในบรรดาพระนอนด้วยกันเป็นที่เคารพสักการะ
เลื่อมใสศรัทธาอย่างยิ่งทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ นับเป็นพระพุทธปฏิมากรสาคัญคู่บ้านคู่เมือง เป็นที่เชิด
หน้าชูตาแก่บ้านเมืองอย่างหนึ่ง ทั้งยังนับเนื่องอยู่ในคติการไหว้พระ 9 วัด ของพุทธศาสนิกชน โดยมีคติว่าจะได้
ร่มเย็นเป็นสุข
ประวัติการสร้างและมูลเหตุการณ์สร้างพระพุทธไสยาสน์
พระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนนี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง
ขึ้นด้วยทรงมีพระราชดาริว่า พระพุทธรูปปางสาคัญได้สร้างขึ้นในวัดนี้หลายปางแล้ว ขาดแต่ปางไสยาสเท่านั้น
กล่าวกันว่าพระบาทมุกเป็นผลงานอันยอดเยี่ยมหาที่ติมิได้ พระพุทธไสยาสน์ จึงเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นด้วย
ฝีมือช่างในยุคทองแห่งศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ที่รุ่งโรจน์ที่สุด ด้วยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมี
พระทัยใฝ่ในการกุศลจนมีคากล่าวว่า "ใครสร้างวัดก็โปรด"
มงคล 108 ประการที่ผ่าพระบาทพระพุทธไสยาสน์
พระพุทธไสยาสน์ มีการประดับมุกประณีตศิลป์ที่ฝ่าพระบาททั้ง 2 ข้าง ซ้าย-ขวา เป็นรูปอัฎฐตตรสตมงคล
หรือมงคล 108 ประการ ซึ่งเป็นคติความเชื่อที่ปรากฏในคัมภีร์ชินาลังการฎีกาของลังกา โดยระบุว่าเป็นมงคล
ที่พราหมณ์ได้เห็นจากฝ่าพระบาทของเจ้าชายสิทธัตถะเมื่อประสูติได้ 5 วัน แต่ปรากฏว่าไม่มีการสร้างพระพุทธ
บาทรูปลักษณ์นี้ในลังกา หากแต่พบที่พุกาม ประเทศพม่า กล่าวกันว่ามงคล 108 ประการนี้เป็นการพัฒนา
แนวความคิดและสืบทอดมาจากรูปมงคล 8
มงคล 108 ประการ ประกอบด้วยมงคลต่างๆ แบ่งประเภทได้ดังนี้
1. เป็นลักษณะแห่งโชคลาภและความอุดมสมบูรณ์ เช่นหม้อน้า ปลาคู่ สวัสดิกะ พวงมณี ดอกบัว เป็นต้น
2. เป็นเครื่องประกอบพระบารมีของกษัตริย์และพระเจ้าจักรพรรดิ เช่น สัตตรัตนะ 7 ประการ เครื่องราช
กกุธภัณฑ์ บัลลังก์ เครื่องสูง เครื่องยศ เครื่องตันต่างๆ และราชพาหนะ เป็นต้น
3. เป็นส่วนประกอบของพระภูมิในจักรวาลตามความเชื่อของพระพุทธศาสนา เช่น เขาจักรวาล มหาสมุทร
ทวีปทั้ง 4 เขาพระสุเมรุเขาสัตตบริภัณฑ์ ป่าหิมพานต์ เป็นต้น
วัดโพธิ์ ตั้งอยู่ริมถนนสนามไชยและถนนมหาราช ติดกับพระบรมมหาราชวัง เปิดให้เข้าชมทุกวัน
ระหว่างเวลา 08.00-18.30 น. ชาวต่างชาติจะต้องซื้อบัตรเข้าชมคนละ 200 บาท สาหรับนักท่องเที่ยวต้อง
แต่งกายสุภาพ สุภาพสตรีห้ามสวมกางเกงขาสั้นเหนือเข่าเข้าเยี่ยมชม อีเมล์: watpho.th@gmail.com
โทร.02-226 0335

More Related Content

What's hot

คีตกวีเอกของไทย
คีตกวีเอกของไทยคีตกวีเอกของไทย
คีตกวีเอกของไทย
leemeanshun minzstar
 
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
Theeraphisith Candasaro
 
สิทธิคุ้มครองผู้บริโภค
สิทธิคุ้มครองผู้บริโภคสิทธิคุ้มครองผู้บริโภค
สิทธิคุ้มครองผู้บริโภค
krupeem
 
กาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
กาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรกาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
กาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
kruthai40
 
Microsoft power point presentation ใหม่
Microsoft power point presentation ใหม่Microsoft power point presentation ใหม่
Microsoft power point presentation ใหม่
อาจารย์ โจ้
 
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
เพ็ญลักษณ์ สุวรรณาโชติ
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออก
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออกปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออก
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออก
Padvee Academy
 
ชีวประวัติท่านพุทธทาส แก่นพุทธศาสน์
ชีวประวัติท่านพุทธทาส แก่นพุทธศาสน์ชีวประวัติท่านพุทธทาส แก่นพุทธศาสน์
ชีวประวัติท่านพุทธทาส แก่นพุทธศาสน์พระอภิชัช ธมฺมโชโต
 
พระมหาชนกพร้อมแบบฝึกหัด
พระมหาชนกพร้อมแบบฝึกหัดพระมหาชนกพร้อมแบบฝึกหัด
พระมหาชนกพร้อมแบบฝึกหัดTong Thitiphong
 
นิราศภูเขาทอง
นิราศภูเขาทอง นิราศภูเขาทอง
นิราศภูเขาทอง
Patzuri Orz
 
การปฏิรูปศาสนา
การปฏิรูปศาสนาการปฏิรูปศาสนา
การปฏิรูปศาสนาsupppad
 
PPT คำราชาศัพท์
PPT คำราชาศัพท์PPT คำราชาศัพท์
PPT คำราชาศัพท์KruBowbaro
 
อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่ออังกฤษ
อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่ออังกฤษอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่ออังกฤษ
อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่ออังกฤษ
Padvee Academy
 
Key of 3 การสถาปนาสุโขทัย-57
Key of 3 การสถาปนาสุโขทัย-57Key of 3 การสถาปนาสุโขทัย-57
Key of 3 การสถาปนาสุโขทัย-57Pracha Wongsrida
 
รายงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง วัดป่าประดู่
รายงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง วัดป่าประดู่รายงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง วัดป่าประดู่
รายงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง วัดป่าประดู่
ธณัชช์ภรณ์ ศิริวัชเดชากุล
 
คัมภีร์ฉันทศาสตร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
คัมภีร์ฉันทศาสตร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์คัมภีร์ฉันทศาสตร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
คัมภีร์ฉันทศาสตร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ทัศนะ แก้วช่วย
 
Key of 5 การสถาปนาธนบุรี
Key of 5 การสถาปนาธนบุรีKey of 5 การสถาปนาธนบุรี
Key of 5 การสถาปนาธนบุรีPracha Wongsrida
 
Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57
Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57
Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57Pracha Wongsrida
 
พระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนา
นายวินิตย์ ศรีทวี
 
Key of sheet 8 56x
Key of sheet 8 56xKey of sheet 8 56x
Key of sheet 8 56x
Pracha Wongsrida
 

What's hot (20)

คีตกวีเอกของไทย
คีตกวีเอกของไทยคีตกวีเอกของไทย
คีตกวีเอกของไทย
 
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
หนังสือเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักธรรมชั้นตรี แผนใหม่
 
สิทธิคุ้มครองผู้บริโภค
สิทธิคุ้มครองผู้บริโภคสิทธิคุ้มครองผู้บริโภค
สิทธิคุ้มครองผู้บริโภค
 
กาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
กาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรกาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
กาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
 
Microsoft power point presentation ใหม่
Microsoft power point presentation ใหม่Microsoft power point presentation ใหม่
Microsoft power point presentation ใหม่
 
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออก
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออกปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออก
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๖ ปรัชญาตะวันออก
 
ชีวประวัติท่านพุทธทาส แก่นพุทธศาสน์
ชีวประวัติท่านพุทธทาส แก่นพุทธศาสน์ชีวประวัติท่านพุทธทาส แก่นพุทธศาสน์
ชีวประวัติท่านพุทธทาส แก่นพุทธศาสน์
 
พระมหาชนกพร้อมแบบฝึกหัด
พระมหาชนกพร้อมแบบฝึกหัดพระมหาชนกพร้อมแบบฝึกหัด
พระมหาชนกพร้อมแบบฝึกหัด
 
นิราศภูเขาทอง
นิราศภูเขาทอง นิราศภูเขาทอง
นิราศภูเขาทอง
 
การปฏิรูปศาสนา
การปฏิรูปศาสนาการปฏิรูปศาสนา
การปฏิรูปศาสนา
 
PPT คำราชาศัพท์
PPT คำราชาศัพท์PPT คำราชาศัพท์
PPT คำราชาศัพท์
 
อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่ออังกฤษ
อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่ออังกฤษอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่ออังกฤษ
อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่ออังกฤษ
 
Key of 3 การสถาปนาสุโขทัย-57
Key of 3 การสถาปนาสุโขทัย-57Key of 3 การสถาปนาสุโขทัย-57
Key of 3 การสถาปนาสุโขทัย-57
 
รายงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง วัดป่าประดู่
รายงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง วัดป่าประดู่รายงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง วัดป่าประดู่
รายงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง วัดป่าประดู่
 
คัมภีร์ฉันทศาสตร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
คัมภีร์ฉันทศาสตร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์คัมภีร์ฉันทศาสตร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
คัมภีร์ฉันทศาสตร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
 
Key of 5 การสถาปนาธนบุรี
Key of 5 การสถาปนาธนบุรีKey of 5 การสถาปนาธนบุรี
Key of 5 การสถาปนาธนบุรี
 
Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57
Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57
Key of 2 อาณาจักรโบราณ-57
 
พระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนา
 
Key of sheet 8 56x
Key of sheet 8 56xKey of sheet 8 56x
Key of sheet 8 56x
 

Similar to Wat pho part01

วัดในบางกอก ของ ม.3/3 กลุ่มที่ 1
วัดในบางกอก ของ ม.3/3 กลุ่มที่ 1วัดในบางกอก ของ ม.3/3 กลุ่มที่ 1
วัดในบางกอก ของ ม.3/3 กลุ่มที่ 1Junior'z Pimmada Saelim
 
วัดในบางกอก ม.3/3 กลุ่มที่ 1
วัดในบางกอก ม.3/3 กลุ่มที่ 1  วัดในบางกอก ม.3/3 กลุ่มที่ 1
วัดในบางกอก ม.3/3 กลุ่มที่ 1 Junior'z Pimmada Saelim
 
ภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอกภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอกMakuro DarkSoul
 
ภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอกภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอกMakuro DarkSoul
 
วัดพระแก้ว วัดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ย่อ)
วัดพระแก้ว วัดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ย่อ)วัดพระแก้ว วัดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ย่อ)
วัดพระแก้ว วัดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ย่อ)sungetbackers
 
วัดโพธิ์
วัดโพธิ์วัดโพธิ์
วัดโพธิ์
suriya phosri
 
Wat arun
Wat arunWat arun
งานหนังสือเล่มเล็ก คอม2003
งานหนังสือเล่มเล็ก คอม2003งานหนังสือเล่มเล็ก คอม2003
งานหนังสือเล่มเล็ก คอม2003
Natti_kim
 
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาguest70f05c
 
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหารวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหารzubasa_potato
 
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหารวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหารPRINTT
 
วัดโบราณในไทย
วัดโบราณในไทยวัดโบราณในไทย
วัดโบราณในไทย
chanaporn sornnuwat
 
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครPRINTT
 
สถาปัตยกรรมไทยที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์
สถาปัตยกรรมไทยที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์สถาปัตยกรรมไทยที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์
สถาปัตยกรรมไทยที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์
Patcha Jirasuwanpong
 
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์A'mp Minoz
 
เล่มเล็ก
เล่มเล็กเล่มเล็ก
เล่มเล็ก
Kanyanat Khanthaporn
 

Similar to Wat pho part01 (20)

วัด
วัดวัด
วัด
 
วัดในบางกอก ของ ม.3/3 กลุ่มที่ 1
วัดในบางกอก ของ ม.3/3 กลุ่มที่ 1วัดในบางกอก ของ ม.3/3 กลุ่มที่ 1
วัดในบางกอก ของ ม.3/3 กลุ่มที่ 1
 
วัดในบางกอก ม.3/3 กลุ่มที่ 1
วัดในบางกอก ม.3/3 กลุ่มที่ 1  วัดในบางกอก ม.3/3 กลุ่มที่ 1
วัดในบางกอก ม.3/3 กลุ่มที่ 1
 
ภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอกภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอก
 
ภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอกภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอก
 
วัดพระแก้ว วัดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ย่อ)
วัดพระแก้ว วัดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ย่อ)วัดพระแก้ว วัดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ย่อ)
วัดพระแก้ว วัดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (ย่อ)
 
วัดโพธิ์
วัดโพธิ์วัดโพธิ์
วัดโพธิ์
 
Wat arun
Wat arunWat arun
Wat arun
 
Bangkok
BangkokBangkok
Bangkok
 
Bangkok
BangkokBangkok
Bangkok
 
Bangkok
BangkokBangkok
Bangkok
 
งานหนังสือเล่มเล็ก คอม2003
งานหนังสือเล่มเล็ก คอม2003งานหนังสือเล่มเล็ก คอม2003
งานหนังสือเล่มเล็ก คอม2003
 
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
 
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหารวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
 
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหารวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
 
วัดโบราณในไทย
วัดโบราณในไทยวัดโบราณในไทย
วัดโบราณในไทย
 
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
 
สถาปัตยกรรมไทยที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์
สถาปัตยกรรมไทยที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์สถาปัตยกรรมไทยที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์
สถาปัตยกรรมไทยที่เกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์
 
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์
 
เล่มเล็ก
เล่มเล็กเล่มเล็ก
เล่มเล็ก
 

More from Panich Buasam-ang

Soeng Kratip Thai Folk Dance
Soeng Kratip   Thai Folk DanceSoeng Kratip   Thai Folk Dance
Soeng Kratip Thai Folk Dance
Panich Buasam-ang
 
Buddhist Pilgrims to India and Nepal
Buddhist Pilgrims to India and NepalBuddhist Pilgrims to India and Nepal
Buddhist Pilgrims to India and Nepal
Panich Buasam-ang
 
My first school in thailand
My first school in thailandMy first school in thailand
My first school in thailand
Panich Buasam-ang
 
5 Thai Ancient Dances
5 Thai Ancient Dances5 Thai Ancient Dances
5 Thai Ancient Dances
Panich Buasam-ang
 
Music of Indonesia
Music of Indonesia Music of Indonesia
Music of Indonesia
Panich Buasam-ang
 
Traditional Thai Musical Instrument 2/2
Traditional Thai Musical Instrument 2/2Traditional Thai Musical Instrument 2/2
Traditional Thai Musical Instrument 2/2
Panich Buasam-ang
 
Traditional Thai Musical Instruments (1/ 2)
Traditional Thai Musical Instruments (1/ 2)Traditional Thai Musical Instruments (1/ 2)
Traditional Thai Musical Instruments (1/ 2)
Panich Buasam-ang
 
Music instruments of india (3/3)
Music instruments of india (3/3)Music instruments of india (3/3)
Music instruments of india (3/3)
Panich Buasam-ang
 
Music Instruments of India (2/3)
Music Instruments of India (2/3)Music Instruments of India (2/3)
Music Instruments of India (2/3)
Panich Buasam-ang
 
Music Instruments of India (1/3)
Music Instruments of India (1/3)Music Instruments of India (1/3)
Music Instruments of India (1/3)
Panich Buasam-ang
 
8 famous classical dance styles of india slide share-net
8 famous classical dance styles of india slide share-net8 famous classical dance styles of india slide share-net
8 famous classical dance styles of india slide share-net
Panich Buasam-ang
 
Chinese traditional music slide share-version
Chinese traditional music slide share-versionChinese traditional music slide share-version
Chinese traditional music slide share-version
Panich Buasam-ang
 
Persian traditional music slide share-version
Persian traditional music slide share-versionPersian traditional music slide share-version
Persian traditional music slide share-version
Panich Buasam-ang
 
India country and people
India country and peopleIndia country and people
India country and people
Panich Buasam-ang
 
Turkish/Ottoman traditional music
Turkish/Ottoman traditional musicTurkish/Ottoman traditional music
Turkish/Ottoman traditional music
Panich Buasam-ang
 

More from Panich Buasam-ang (15)

Soeng Kratip Thai Folk Dance
Soeng Kratip   Thai Folk DanceSoeng Kratip   Thai Folk Dance
Soeng Kratip Thai Folk Dance
 
Buddhist Pilgrims to India and Nepal
Buddhist Pilgrims to India and NepalBuddhist Pilgrims to India and Nepal
Buddhist Pilgrims to India and Nepal
 
My first school in thailand
My first school in thailandMy first school in thailand
My first school in thailand
 
5 Thai Ancient Dances
5 Thai Ancient Dances5 Thai Ancient Dances
5 Thai Ancient Dances
 
Music of Indonesia
Music of Indonesia Music of Indonesia
Music of Indonesia
 
Traditional Thai Musical Instrument 2/2
Traditional Thai Musical Instrument 2/2Traditional Thai Musical Instrument 2/2
Traditional Thai Musical Instrument 2/2
 
Traditional Thai Musical Instruments (1/ 2)
Traditional Thai Musical Instruments (1/ 2)Traditional Thai Musical Instruments (1/ 2)
Traditional Thai Musical Instruments (1/ 2)
 
Music instruments of india (3/3)
Music instruments of india (3/3)Music instruments of india (3/3)
Music instruments of india (3/3)
 
Music Instruments of India (2/3)
Music Instruments of India (2/3)Music Instruments of India (2/3)
Music Instruments of India (2/3)
 
Music Instruments of India (1/3)
Music Instruments of India (1/3)Music Instruments of India (1/3)
Music Instruments of India (1/3)
 
8 famous classical dance styles of india slide share-net
8 famous classical dance styles of india slide share-net8 famous classical dance styles of india slide share-net
8 famous classical dance styles of india slide share-net
 
Chinese traditional music slide share-version
Chinese traditional music slide share-versionChinese traditional music slide share-version
Chinese traditional music slide share-version
 
Persian traditional music slide share-version
Persian traditional music slide share-versionPersian traditional music slide share-version
Persian traditional music slide share-version
 
India country and people
India country and peopleIndia country and people
India country and people
 
Turkish/Ottoman traditional music
Turkish/Ottoman traditional musicTurkish/Ottoman traditional music
Turkish/Ottoman traditional music
 

Wat pho part01

  • 1. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) *เรียบเรียงจากเวบไซด์ของวัดโพธิ์ www.watpho.com/th ภาพถ่ายมุมสูงวัดโพธิ์ ภาพจาก http://www.watpho.com/th/history วัดโพธิ์ หรือวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก และเป็นวัด ประจารัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดโพธารามวัดเก่าที่เมืองบางกอกครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นวัดหลวงข้างพระบรมมหาราชวัง และที่ฐานชุกชีของพระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระองค์ท่าน พระอารามหลวงแห่งนี้ มีเนื้อที่ 51 ไร่ 2 งาน 98 ตารางวา (ประมาณ 20.45 เอเคอร์ หรือ 82,784 ตารางเมตร หรือ 0.08 ตารางกิโลเมตร) อยู่ด้านทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง ทิศเหนือจดถนนท้ายวัง ทิศ ตะวันออกจดถนนสนามไชย ทิศใต้จดถนนเศรษฐการ ทิศตะวันตกจดถนนมหาราช มีถนนเชตุพนขนาบด้วย กาแพงสูงสีขาวแบ่งเขตพุทธาวาสและสังฆาวาสชัดเจนมีหลักฐานปรากฏในศิลาจารึกไว้ว่า หลังจากที่พระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนาพระบรมมหาราชวังแล้วทรงพระราชดาริว่ามีวัดเก่าขนาบ พระบรมมหาราชวัง 2 วัด ด้านเหนือคือวัดสลัก (วัดมหาธาตุ) ด้านใต้คือวัดโพธาราม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุนนางเจ้าทรงกรมช่างสิบหมู่อานวยการบูรณปฏิสังขรณ์เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2331 ใช้เวลา 7 ปี 5 เดือน 28 วัน จึงแล้วเสร็จ และโปรดเกล้าฯ ให้มีการฉลองเมื่อ พ.ศ. 2344 พระราชทานนามใหม่ว่า“วัดพระเชตุพนวิมลมัง คลาวาศ” ต่อมารัชกาลที่ 4 ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนท้ายนามวัดเป็น “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม” ครั้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ บูรณปฏิสังขรณ์ ครั้งใหญ่นานถึง 16 ปี 7 เดือน ขยายเขตพระอารามด้านเหนือและตะวันตกคือส่วนที่เป็น พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ และสวนมิสกวัน สถาปนาขึ้นใหม่เป็นโบราณสถานในพระอารามหลวงที่ปรากฏอยู่ ทุกวันนี้ แม้การบูรณปฏิสังขรณ์ได้ดาเนินการตามลาดับจนถึงปัจจุบัน ทางวัดได้ดาเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ ครั้งใหญ่ เมื่อ พ.ศ. 2550 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญ พระชนมพรรษา 80 พรรษา เพื่อให้พระอารามแห่งนี้มีความสวยงามมั่นคงอยู่เสมอ
  • 2. 2 วัดโพธิ์นับเป็นปูชนียสถานที่สาคัญแห่งหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ที่นักท่องเที่ยวทุกคนมีเป้าหมายใน การเดินทางไปชมคือ พุทธศิลป์ที่งามวิจิตรผสมผสานกับภูมิปัญญาไทยที่ยังเป็นอยู่ สถานที่สาคัญในวัดมีดังนี้ พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/261 พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ หรือวิหารพระนอนตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือในเขตพุทธาวาส พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างพระพุทธไสยาสน์ขึ้นคราวบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน ครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2375 พร้อมด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังที่บันทึกสรรพวิชารายล้อมรอบตัวพระวิหารตาม แบบไทยประเพณี จิตรกรรมในพระวิหารพระพุทธไสยาสน์มีสรรพวิชาดังต่อไปนี้ 1. ผนังระหว่างช่องหน้าต่างและประตู ที่เรียกว่า "ห้อง" มี 32 ห้องเขียนภาพเรื่อง เอตทัคคะใน พระพุทธศาสนาต่อจากเรื่องที่เขียนในพระอุโบสถตามจารึกที่ติดบอกไว้ ได้แก่เรื่อง พระสาวิกาเอตทัคคะ ที่ เป็นภิกษุณี 13 องค์ อุบาสกเอตทัคคะ 10 คน และอุบาสิกาเอตทัคคะ 10 คน 2. ผนังเหนือบานประตูและหน้าต่าง เขียนเรื่องมหาวงศ์ พงศาวดารลังกาทวีป คือประวัติราชวงศ์ และพระพุทธศาสนาในลังกา ตั้งแต่ต้นเรื่องกาเนิดพระเจ้าสีหพาหุ จนถึงพระเจ้าอภัยทุฏฐคามินีรบชนะทมิฬ ได้ครอบกรุงอนุราธปุระ 3. คอสอง เขียนเรื่องสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และการรบระหว่างเทวดาและ อสูร เรียกว่า เทวาสุรสงคราม
  • 3. 3 4. บานประตู ด้านนอกเขียนลายรดน้าลายผูกอาวุธ เป็นภาพเครื่องศัตราวุธโบราณ ด้านในสีน้ามัน พื้นสีแดงเป็นรูปพระยานาคราช 5. บานหน้าต่าง ด้านนอกเขียนลายรดน้า เป็นภาพเครื่องศัสตราวุธโบราณ ด้านในเขียนภาพสีน้ามัน ลายดอกพุดตานก้านแย่ง 6. พื้นที่ส่วนบนและส่วนล่างของบานประตูและบานหน้าต่างด้านนอก เป็นภาพเบ็ดเตล็ด ตอนบนส่วน หนึ่งเป็นภาพตาราดาว คือ กลุ่มดาวนักษัตรประจาเดือนทางสุริยคติ (เหมือนกับภาพเขียนในหอไตรกรมสมเด็จ พระปรมานุชิตชิโนรส) ภาพนิทานชาดกและวรรณคดีไทย เช่นเดียวกับตอนล่าง เช่นเรื่อง รามเกียรติ์พระสุธน - มโนรา พระลอ ไกรทอง กากี และ เรื่องในคัมภีร์มหาวงศ์บางตอน ฯลฯ พระพุทธไสยาสน์ พระพุทธไสยาสน์ ภาพจาก http://www.watpho.com/th/buddha/detail/204 พระพุทธไสยาสน์ หรือที่เรียกกันว่า พระนอนวัดโพธิ์ ประดิษฐานในพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ ภายในเขตพุทธาวาส บริเวณมุมกาแพงทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัด เป็นพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ ก่ออิฐ ถือปูนลงรักปิดทอง ขนาดองค์พระยาว 1 เส้น 3 วา (46 เมตร) สูงจากพื้นถึงยอดพระเกตุมาลา 15 เมตร เฉพาะพระพักตร์จากไรพระศก (ไรผม) ถึงพระหนุ (คาง) ยาว 10 ศอก (5 เมตร) กว้าง 5 ศอก (2.50 เมตร) พระพุทธบาทยาว 5 เมตร สูง 3 เมตร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง ขึ้นในคราวปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนครั้งใหญ่เมื่อ จ.ศ. 1193 พ.ศ. 2375 จัดว่าเป็นพระนอนที่ใหญ่ที่สุดใน กรุงเทพฯ และใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศ
  • 4. 4 พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/262 พระมหาเจดีย์สี่รัชกาลประดิษฐานอยู่ในบริเวณกาแพงสีขาว ซุ้มประตูทางเข้าเป็นสถาปัตยกรรมไทย ประยุกต์แบบจีน ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ เครื่องถ้วยหลากสี มีตุ๊กตาหินจีนประตูละคู่ พระมหาเจดีย์แต่ละ องค์เป็นเจดีย์ย่อไม้สิบสอง เพิ่มมุมสูง 42 เมตร ประดับกระเบื้องเคลือบและกระเบื้องเครื่องถ้วยลวดลายต่างๆ สังเกตได้ง่าย พระมหาเจดีย์องค์ประกอบด้วยกระเบื้องเคลือบสีเขียวนามว่า พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 เพื่อครอบพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่สูง 16 เมตร ได้ชะลอมา จากพระราชวังที่กรุงศรีอยุธยา ภายในบรรจุพระบรมธาตุ นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจารัชกาลที่ 1 พระมหาเจดีย์องค์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาวนามว่า พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิทาน สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงพระราชอุทิศถวายแด่พระบรมราชชนก คือรัชกาลที่ 2 นับเป็นพระมหาเจดีย์ ประจารัชกาลที่ 2 พระมหาเจดีย์องค์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลืองนามว่า พระมหาเจดีย์มุนีบัตบริขาร สร้าง ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงพระราชถวายอุทิศถวายเป็นพุทธบูชา นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจาพระองค์ พระมหาเจดีย์องค์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีน้าเงินเข้ม เป็นพระมหาเจดีย์ที่รัชกาลที่ 4 ทรง สร้างขึ้นตามแบบพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย กรุงศรีอยุธยานามว่า พระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย เพื่อถวาย เป็นพุทธบูชา สมัยรัชกาลที่ 4 นั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัยไว้ 1 องค์ แต่ยังไม่แล้วเสร็จ ครั้นใกล้จะเสด็จสวรรคตได้มีพระราชดารัสเฉพาะกับรัชกาลที่ 5 ว่า "พระเจดีย์วัด พระเชตุพนฯ นั้นกลายเป็นใส่คะแนนพระเจ้าแผ่นดินไป ถ้าจะใส่คะแนนอยู่เสมอจะไม่มีที่สร้าง ควรจะถือว่า พระเจ้าแผ่นดินทั้งสี่พระองค์นั้นท่านได้เคยเห็นกันทั้งสี่ พระองค์จึงควรมีพระเจดีย์อยู่ด้วยกัน ต่อไปอย่าให้ต้อง สร้างทุกแผ่นดินเลย" (พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เรื่อง จดหมาย เหตุความทรงจาของกรมหลวงนรินทรเทวี)
  • 5. 5 พระอุโบสถ พระอุโบสถ ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/261 พระอุโบสถ ตามคติความเชื่อของพุทธศาสนิกชน เขตวิสุงคามสีมาหรือพระอุโบสถเป็นพุทธศาสนสถาน ที่สาคัญที่สุด โดยสร้างสมัยรัชกาลที่ 1 ตามแบบศิลปะอยุธยาตอนปลาย และขยายใหญ่ขึ้นเท่าที่เห็นในสมัย รัชกาลที่ 3 ซุ้มจรณัมประจาประตูหน้าต่างฉลัก (สลัก) ด้วยไม้แก่น ยอดเป็นทรงมงกุฎลงรักปิดทอง ประดับ กระจก บานประตูพระอุโบสถ ด้านนอกลายประดับมุก เป็นลายภาพเรื่องรามเกียรติ์ ด้านในเขียนลายรดน้า รูปพัดยศพระราชาคณะ พระครูสัญญาบัตร ฐานานุกรมเปรียญทั้งฝ่ายคามวาสีและอรัญวาสีในกรุงและหัวเมือง พระประธานในพระอุโบสถ พระพุทธเทวปฏิมากร ภาพจาก http://www.watpho.com/th/buddha/detail/263
  • 6. 6 พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางสมาธินามว่า พระพุทธเทวปฏิมากร ที่ฐานชุกชีก่อไว้ 3 ชั้น ชั้นที่ 1 บรรจุพระบรมอัฐิและพระราชสรีรังคารรัชกาลที่ 1 ชั้นที่ 2 ประดิษฐานรูปพระอัครสาวกทั้งสององค์ ฐานชุกชี ชั้นล่างสุดประดิษฐานพระมหาสาวก 8 องค์ (พระอรหันต์ 8 ทิศ) จิตรกรรมประดับผนังพระอุโบสถเหนือต่างขึ้นไปเขียนเรื่องมโหสถบัณฑิต (มหาบัณฑิตแห่งมิถิลานคร) คอสองในประธานทั้งสองข้างเขียนเรื่องเมืองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช ผนังประตูหน้าต่างเขียนเรื่องพระสาวก เอตทัคคะ 41 องค์บานหน้าต่างด้านในเขียนลายรดน้าเป็นรูปตราประจาตาแหน่งเจ้าคณะสงฆ์ในกรุงและหัวเมือง สมัยรัชกาลที่ 3 ด้านนอกแกะสลักเป็นลายแก้วชิงดวง พระระเบียง พระระเบียง ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/267 พระระเบียง เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งที่สร้างล้อมรอบพระอุโบสถ มีอยู่ 2 ชั้น ทั้งสองชั้นเชื่อมต่อ ด้วยพระวิหารทิศอยู่รอบพระอุโบสถทั้งสี่ทิศซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปสาคัญ และสร้างพระวิหาร ไว้ประจาสี่ทิศ พระระเบียงชั้นในประดิษฐานพระพุทธรูป 150 องค์ พระระเบียงชั้นนอกประดิษฐานพระพุทธรูป 244 องค์ เป็นพระพุทธรูปที่รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือ ปัจจุบันทางวัดได้ บูรณปฏิสังขรณ์ลงรักปิดทอง พระพุทธรูปทุกองค์ล้วนแต่เป็นเนื้อสาริด (โลหะผสม เช่น ทองแดง, ตะกั่ว, ดีบุก ปรอท, สังกะสี, เงิน, ทองคา เป็นต้น) มีพุทธลักษณะงดงาม เป็นพุทธศิลป์ในยุคสมัยต่างๆ เช่น สุโขทัย เชียงแสน ลพบุรี อู่ทอง และอยุธยา ตามเสาพระระเบียง รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้จารึกเพลงยาวกลอักษร เพลงยาวกลบท และตาราฉันท์ต่างๆอยู่ในกรอบศิลา รวม 100 แผ่น
  • 7. 7 เขามอและเขาฤาษีดัดตน เขามอฤาษี ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/264 เขามอ หรือสวนหย่อม เป็นสวนหินปลูกไม้ประดับที่รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้รื้อขนก้อนศิลาใหญ่ และเล็กซึ่งก่อเป็นภูเขาในสวนขวาในพระบรมมหาราชวัง แต่ครั้งรัชกาลที่ 2 มาก่อเป็นภูเขาเป็นสวนประดับ รอบวัด ปลูกต้นไม้ไว้ตามเชิงเขาและบนเขา มีทั้งสถูปและเสาโคมแบบจีน รูปตุ๊กตาจีนและรูปสัตว์จัตุบาท (สัตว์สี่เท้า) ต่างๆ เรียงรายอยู่ทั่วไปทั้งบนเขา และเชิงเขา เขามอมีทั้งหมด 24 ลูก เช่น เขาประดู่ เขาสะเดา เขาอโศก เขาสมอ เขาฤาษดัดตน เขาศิวลึงค์ เป็นต้น พรรณไม้ที่ปลูกประดับส่วนใหญ่ตายลงทางวัดได้ปรับปรุง เป็นสวนหิน ประดับด้วยไม้ดอกไม้ใบนับเป็นมุมนั่งพักผ่อน เขามอฤาษีดัดตน คือสวนสุขภาพแห่งหนึ่งอยู่ใกล้กับพระวิหารทิศใต้ เป็นพระราชประสงค์ของรัชกาล ที่ 1 ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมการแพทย์แผนโบราณ และศิลปวิทยาการครั้งกรุงศรีอยุธยาไว้ ทรงพระราชดาริเอาท่าดัดตนอันเป็นการพักผ่อนอิริยาบถ แก้ปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ประยุกต์ รวมกับคติไทยที่ยกย่องฤาษีเป็นครูผู้ประสิทธิ์ประสาทศิลปวิทยาการต่างๆ เป็นรูปปั้นฤาษีดัดตนท่าต่างๆ สมัย แรกสร้างนั้นปั้นด้วยดิน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 หล่อเป็นเนื้อชิน (แร่ตะกั่ว, ดีบุก, และผสมปรอท) เดิมมี ทั้งหมด 80 ท่า แต่ปัจจุบันคงเหลืออยู่ 24 ท่า รูปปั้นฤาษีดัดตนเป็นท่าตรงตามหลักโยคะของโยคีอินเดีย เป็นการออกกาลังกายที่ใช้ศิลปะ เพื่อการ มีสุขภาพที่แข็งแรง นอกจากนั้นยังมีโคลงสี่สุภาพ ซึ่งจารึกไว้ในแผ่นศิลาประดับอยู่ตามศาลาราย ปัจจุบันได้ รวบรวมไว้ที่ศาลาราย เช่น ศาลาเปลื้องเครื่อง (โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ) เป็นต้น โคลงภาพฤาษีดัดตน เป็น ตารากายภาพบาบัดของแพทย์ไทย แผนโบราณอันเป็นพระราชประสงค์ ขององค์พระพุทธบุรพมหากษัตริย์ที่ ทรงพระราชดาริให้วัดนี้เป็นแหล่งรวมวิชาการ
  • 8. 8 พระมณฑป (หอไตรจตุรมุข) ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/266 พระมณฑป หรือหอไตรจตุรมุข รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สถาปนาเป็นสถาปัตยกรรม จตุรมุขเครื่องยอดทรงมงกุฎ ประดับกระเบื้องเคลือบและถ้วยหลากสี ลวดลายงามวิจิตร ภายในมีตู้เก็บ พระไตรปิฎก มีศาลาทิศรอบพระมณฑป ผนังภายในศาลาทิศมีภาพจิตรกรรม กาเนิดรามเกียรติ์ ประเพณี รามัญกวนข้าวทิพย์ เป็นต้น ผนังภายนอกมีศิลาจารึกโคลงสุภาษิต เรียกว่า โคลงโลกนิติ ที่ซุ้มประตูทางเข้า มณฑปทั้งสองข้างมียักษ์วัดโพธิ์ ที่มีตานานเล่าว่าไปรบกับยักษ์วัดแจ้งจนเป็นต้นกาเนิดท่าเตียน กลอนตานานท่าเตียนกับยักษ์วัดโพธิ์ – วัดแจ้ง ยักษ์วัดโพธิ์อวดโตยืนจังก้า ขู่ตะคอกบอกว่าอย่าลวนราม ข้านั้นหรือคือมือเก่าเฝ้าวัดนี้ อันทรัพย์สินไม่เคยหายในเวลา เป็นเรื่องจริงใช้คุยคุ้ยเอาเรื่อง ยักษ์วัดแจ้งคอยระแวงแกล้งชิงชัง เราก็ชายชาติยักษ์รักถิ่นฐาน สงครามขั้นพันตูดูไม่เบา สู้กันได้หลายตั้งยังไม่แพ้ กระแสชลวนแหวกกระแทกกัน แสนสงสารชาวท่าหน้าตลาด บ้างบนบานศาลกล่าวเจ้าโลกา ครั้นเมื่อยักษ์เลิกรบสงบศึก จะยลหน้าไปมองแห่งหนใด ตั้งแต่นั้นจึงพากันขนาน ว่า “ท่าเตียน” เปลี่ยนให้ด้วยใจจง ทายักท่านักเลงให้เกรงขาม ใครยุ่มย่ามเป็นไม่ไว้ชีวา มาหลายปีดีดักนานนักหนา พระท่านมาอยู่ด้วยช่วยระวัง เคยขุ่นเคืองมาก่อนกลับย้อนหลัง เหาะข้ามฝั่งมาราวีถึงที่เรา ใครรุกรานต้องขย้าซ้าให้เน่า พองต่อพองจ้องเข้าประหัตถ์กัน บ้านเรือนแพริ่มฝั่งพังสะบั้น ดังสะนั่นลั่นรัวทั่วพารา ต้องอนาถอกหักเพราะยักษา เชิญท่านมาอยู่ด้วยช่วยกันภัย ใจระทึกหม่นหมองนั่งร้องไห้ ดูไม่ได้มีแต่เหี้ยนเตียนราบลง นามเรียกขานกันใหม่ไม่ใหลหลง ชื่อยังคงมีอยู่มิรู้ลืม
  • 9. 9 ศาลาราย ศาลาราย (ศาลานวด) ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/307 ศาลารายล้อมลานวัดทั้งข้างใน (รอบพระอุโบสถ) และข้างนอก ของเดิมไม่มีเฉลียง ก่อล้อมเป็นช่อ มงกุฎ รื้อก่อใหม่ในรัชกาลที่ ๓ ต่อเฉลียงออกไปรอบตัว ลดพื้นเป็นสองชั้นแต่สามด้าน (คือด้านหน้าและ ด้านหลังสกัดออกทั้งสองด้าน) ศาลารายคู่หน้าพระมหาเจดีย์ (ศาลาหมอนวดและศาลาแม่ซื้อ) ศาลาคู่นี้อยู่ระหว่างพระมหาเจดีย์ กับพระอุโบสถ ศาลารายหลังเหนือ (ศาลาหมอนวด) จารึกตารานวดแผนโบราณ มีจิตรกรรมลายเส้นบอก ตาแหน่งนวด จารึกอยู่ที่คอสองเฉลียงลด มีจานวน ๓๒ แผ่น ด้านหลังจารึกสุภาษิตพระร่วง (ปฐมสุภาษิต ของไทย) กฤษณาสอนน้องคาฉันท์ และภาพเขียนกระบวนแห่กฐินพยุหยาตราสถลมารค (แห่พระกฐินบก) ศาลารายรอบวัดมีทั้งหมด ๑๖ หลัง คอสองเฉลียงและคอสองในพระประธาน มีจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง นิบาตรชาดก (พระเจ้าห้าร้อยห้าสิบชาติ) เขียนศาลาละ ๓๖ เรื่อง ศาลาทศชาติอยู่ด้านทิศใต้ของศาลาการ เปรียญในศาลารายแต่ละหลัง นอกจากมีจิตรกรรมแล้ว ก็ยังมีภาพฉลักไม้ในวรรณคดีพระอภัยมณี และชีวิต พื้นบ้านทั่วไป ส่วนฤๅษีดัดตนนั้นจารึกอยู่ในช่องกุฎของศาลาและยังคงมีให้เห็นในปัจจุบันนี้
  • 10. 9 ตานานยักษ์วัดโพธิ์ ยักษ์วัดโพธิ์ ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/265 โดยตานานนั้นมีอยู่ว่า ยักษ์วัดโพธิ์ซึ่งทาหน้าที่ดูแลวัดโพธิ์ และยักษ์วัดแจ้งซึ่งทาหน้าที่ดูแลวัดแจ้ง หรือวัดอรุณฯ ฝั่งตรงข้ามนั้น ทั้ง 2 ตนเป็นเพื่อนรักกัน วันหนึ่งทางฝ่ายยักษ์วัดโพธิ์ไม่มีเงิน จึงข้ามแม่น้า เจ้าพระยาไปขอยืมเงินจากยักษ์วัดแจ้งพร้อมทั้งนัดวันที่จะนาเงินไปส่งคืน เมื่อถึงกาหนดส่งเงินคืนยักษ์วัดโพธิ์กลับ ไม่ยอมจ่าย เบี้ยวเอาเสียดื้อๆ ยักษ์วัดแจ้งเมื่อรอแล้วรอเล่าจนทนไม่ไหว จึงตัดสินใจข้ามแม่น้าเจ้าพระยามา ทวงเงินคืน แต่ยักษ์วัดโพธิ์ไม่ยอมให้ ดังนั้นในที่สุดยักษ์ทั้ง 2 ตน จึงเกิดการทะเลาะถึงขั้นต่อสู้กัน แต่เพราะ รูปร่างที่ใหญ่โตมหึมาและมีกาลังมหาศาลของยักษ์ทั้ง 2 ตน เมื่อต่อสู้กันจึงทาให้ต้นไม้ในบริเวณนั้นถูกยักษ์ทั้ง สองเหยียบย่าจนล้มตายลงหมด หลังจากที่เลิกต่อสู้กันแล้วบริเวณที่ทั้งสองประลองกาลังกันนั้นจึงราบเรียบ กลายเป็นสถานที่ที่โล่งเตียนไปหมดไม่มีอะไรเหลือเลย ครั้นเมื่อพระอิศวร (พระศิวะ) ได้ทราบเรื่องราวการต่อสู้กัน ทาให้บรรดามนุษย์และสัตว์ทั้งหลายใน บริเวณนั้นเดือดร้อน จึงได้ลงโทษโดยการสาปให้ยักษ์ทั้ง 2 กลายเป็นหิน แล้วให้ยักษ์วัดโพธิ์ทาหน้าที่ยืนเฝ้า หน้าพระอุโบสถ และให้ยักษ์วัดแจ้งทาหน้าที่ยืนเฝ้าพระอุโบสถวัดแจ้งเรื่อยมา ส่วนฤทธิ์จากการสู้รบของยักษ์ ทั้งคู่ที่ทาชุมชนละแวกนี้ราบเรียบเป็นหน้ากลอง ทาให้ชาวบ้านพากันเรียกว่า "ท่าเตียน" เรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนประวัติการสร้างเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการโปรดเกล้าฯ ให้รื้ออสูรเฝ้าประจาประตูทั้ง 4 ประตูออก แล้วนาลั่นถันหรือตุ๊กตาศิลาจีนมาแทน และได้โปรดเกล้าฯ ให้หล่อรูปยักษ์ขนาดเล็ก สูงประมาณ 175 เซนติเมตร จานวน 8 ตน ตั้งไว้ที่ทางเข้าหอไตรจตุรมุข (พระมณฑป) ตรงซุ้มประตูทั้ง 4 ด้าน ด้านละ 1 คู่ เพื่อให้ทาหน้าที่พิทักษ์รักษาหอพระไตรปิฎก เมื่อครั้งทาระเบียงพระมหาเจดีย์ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้รื้อซุ้ม ประตูออกไป 2 ซุ้ม ปัจจุบันจึงปรากฏรูปยักษ์อยู่เพียง 2 คู่ คือ มัยราพณ์กับแสงอาทิตย์ อยู่ที่ประตูทิศ ตะวันตกเฉียงใต้ และพญาขรกับสัทธาสูร อยู่ที่ประตูทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ส่วนซุ้มประตูด้านที่รื้อไปนั้นเดิม เป็นทศกัณฐ์กับสหัสเดชะ อยู่ที่ประตูทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และ อินทรชิตกับสุริยภพ อยู่ที่ประตูทิศ ตะวันออกเฉียงใต้
  • 11. 10 พระวิหารทิศ พระวิหารทิศ ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/268 พระวิหารทิศเชื่อมต่อกับพระระเบียงอยู่รอบพระอุโบสถทั้งสี่ทิศ คือ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือและทิศใต้ แต่ละหลังอัญเชิญพระพุทธรูปสาคัญมาประดิษฐานไว้เป็นพระพุทธปฏิมาประธาน พระวิหารทิศตะวันออกประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยนามว่า “พระเจ้าตรัสในควงไม้พระมหา โพธิ์” (พระพุทธเจ้าตรัสรู้ประทับใต้ต้นโพธิ์) ต่อมารัชกาลที่ 4 ถวายพระนามใหม่ว่า “พระพุทธมารวิชัย อภัย ปรปักษ์อัครพฤกษ์โพธิภิรมย์ อภิสมพุทธบพิตร” มุขหลังประดิษฐานพระพุทธรูปยืนสูง 10 เมตร หล่อด้วย สาริดอัญเชิญมาจากวัดพระศรีสรรเพชญ์กรุงเก่ามีนามว่า “พระพุทธโลกนาถศาสดาจารย์”และมีแผ่นศิลาจารึก การสถาปนาวัดโพธิ์ที่ผนังด้านตะวันตก มีซุ้มประตูหิน (แบบจีน) หน้าพุทธโลกนาถบางท่านเรียกว่า “โขลนทวาร” (ประตูป่าหรือประตูสวรรค์) เข้าใจว่านามาจากประเทศจีน พระวิหารทิศใต้ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาอัญเชิญมาจากกรุงเก่านามว่า “พระพุทธชินราช วโรวาทธรรมจักร อัครปฐมเทศนา นราศภบพิตร” หรือ พระพุทธชินราช พระวิหารทิศตะวันตก ประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก อัญเชิญมาจากลพบุรี นามว่า “พระพุทธ ชินศรีมุนีนาถ อุรุคอาสนบัลลังก์ อุทธังทิศภาคนาคปรก ดิลกภพบพิตร” หรือ พระพุทธชินศรี พระวิหารทิศเหนือประดิษฐานพระปางป่าเลไลยก์ นามว่า“พระพุทธปาลิไลยภิรัติไตรวิเวก เอกจาริก สมาจาร วิมุติญาณบพิตร” หรือ พระพุทธปาลิไลย เป็นพระพุทธรูปที่หล่อขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ 1 เพียงองค์เดียว เท่านั้น
  • 12. 11 พระวิหารคด พระวิหารคด ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/269 พระวิหารคดเป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นเพื่อแสดงเขตบริเวณพุทธสถานสาคัญ คือ พระอุโบสถหรือ พระเจดีย์ เป็นรูปคดแบบหักศอก ให้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่พุทธศาสนิกชนสร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชา และเป็นที่สาหรับให้พระภิกษุสงฆ์ใช้เดินจงกรม พระวิหารคดตั้งอยู่มุมกาแพงรอบพระอุโบสถทั้ง 4 ด้าน 1) ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือนามว่า พระวิหารคดพระฉาย (คดเณรเต่อ), 2) ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้นามว่า พระวิหารคดพระพุทธเจ้าเข้านิพพาน, 3) ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้นามว่า วิหารคดสมอ (คดกรมหลวงชุมพร), และ 4) ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ นามว่า วิหารคดหน้าแดง พระตาหนักวาสุกรี พระตาหนักวาสุกรี ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/302
  • 13. 13 พระตาหนักวาสุกรี เป็นพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สมเด็จ พระสังฆราชเจ้า พระองค์ที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงเป็นเจ้านายชั้นสูงพระองค์แรกที่ได้รับการสถาปนา เป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้า พระผู้ทรงเป็นรัตนกวีของชาติโดยองค์การยูเนสโกแห่งสหประชาชาติประกาศ ยกย่องให้เป็นพระผู้มีผลงานดีเด่นทางด้าวัฒนธรรมระดับโลก (กวีเอกของโลก) ตาหนักนี้เคยเป็นที่ประทับของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ตั้งอยู่ในเขตสังฆาวาส ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานพระโกศ ทรงฝรั่ง บรรจุพระอัฐิของพระองค์ท่าน จัดเป็นบ้านกวีและอนุสรณ์สถานที่น่าสนใจผลงานของรัตนกวีพระองค์ นี้ ชาวไทยที่ผ่านการศึกษาระดับมัธยมต้นทุกคนต้องอ่านบทพระนิพนธ์ โคลงสี่สุภาพ ฉันท์ ลิลิต และยังคงจา ได้ดี อาทิ ลิลิตตะเลงพ่าย กฤษณาสอนน้องคาฉันท์ ซุ้มประตูทรงมงกุฏ ซุ้มประตูทรงมงกุฏ ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/304 ซุ้มประตูทางเข้าวัดโพธิ์จะสร้างเป็นทรงมงกุฎประดับกระเบื้องที่ตัดเป็นรูปกลีบดอกไม้เรียงกัน ลดหลั่นสีสันสดสวยงานกระเบื้องเครื่องถ้วยลวดลายสีสันต่างๆ นามาตัดด้วยคีมเหล็กและเล็มจนมนเป็นกลีบ ดอกไม้ แล้วนามาเรียงเป็นลวดลายดอกไม้ ประดับอยู่ตามพุทธสถานต่างๆ ในวัดนี้นับเป็นประณีตศิลป์ที่เห็น ทั่วไป ซุ้มประตูเข้าเขตพุทธาวาส มีทั้งหมด 16 ประตู เกร็ดประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า งานสถาปัตยกรรม เครื่องยอดทรงมงกุฎนี้เป็นรูปแบบที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพอพระราชหฤทัย เป็นพิเศษ เมื่อลอดซุ้มประตูทรงมงกุฎเข้าไปทุกประตู จะเห็นตุ๊กตารูปสลักศิลาหน้าตาเป็นจีน มือถือศาสตราวุธ ยืนเฝ้าด้านซ้ายขวาเรียกว่า “ลั่นถัน นายทวารบาล” ทาหน้าที่คอยเฝ้าระวังและป้องกันสิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้ามา ในวัด
  • 14. 14 ศาลาการเปรียญ ศาลาการเปรียญ (อุโบสถหลังเก่า) ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/304 ศาลาการเปรียญ เป็นพุทธสถานที่ปฏิบัติธรรมแทนพระวิหารเพราะมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ ใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจ ฟังเทศน์ ทาบุญ และใช้เป็นที่เรียนธรรมของพระภิกษุสงฆ์ ศาลาการเปรียญแห่งนี้ เดิมเป็นอุโบสถวัดโพธารามสร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา พระประธานที่ประดิษฐาน คือ พระประธานองค์เดิมของวัดโพธาราม เป็นปางสมาธิมีนามว่า พระพุทธศาสดา รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าให้ บูรณปฏิสังขรณ์ ประทับบนฐานชุกชีงดงาม ตามเสาและเหนือขอบประตูหน้าต่าง ภายในมีกรอบไม้สัก แกะสลักลวดลายดอกพุดตาน ที่คอสองมุขหน้าและด้านหลัง มีภาพจิตรกรรมนรกขุมต่างๆ และเปรต 12 จาพวก ในปี พ.ศ. 2547 มีการบูรณะศาลาการเปรียญเพิ่มอีก ที่ผนังด้านทิศตะวันออกสร้างซุ้มประดิษฐาน พระพุทธรูปประทับยืนปางเปิดโลก มีภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในศาลาการเปรียญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบ ศาสนกิจและฝึกสมาธิ ใกล้กับประตูกลางตรงหน้าพระประธานตั้งธรรมมาสน์บุษบกไม้แกะสลักฝีมือสกุลช่าง อยุธยาตอนปลายประณีตงดงาม
  • 15. 15 สถูปหรือพระปรางค์ พระสถูปหรือพระปรางค์ ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/305 สถูปหรือพระปรางค์ เป็นพุทธสถานที่สร้างขึ้นเพื่อบรรจุสิ่งของที่ควรบูชาไว้ภายใน มหาสถูปจึงเป็น สถูปองค์ใหญ่ ประดิษฐานอยู่มุมลานพระอุโบสถชั้นนอกทั้ง 4 ด้าน 4 องค์ พระปรางค์แบบนี้มีชื่อเรียกเฉพาะ ว่า “พระอัคฆีย์เจดีย์” บุด้วยหินอ่อนมีเทวรูป ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่หล่อด้วยดีบุกลงรักปิดทองประดับกระจก ประจาทั้งสี่ทิศขององค์พระปรางค์ องค์ที่ประดิษฐานด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือด้านหน้าพระอุโบสถนามว่า “พระพุทธมังคละกาย พันธนามหาสถูป” ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้นามว่า “พระพุทธธรรมจักปวัตนะปาทุกามหาสถูป” ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้หลังพระอุโบสถนามว่า “พระพุทธวิไนยปิฏกะสูจิฆรามหาสถูป” และด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือนามว่า “พระพุทธอภิธรรมธระวาสีปริกขาระมหาสถูป”
  • 16. 16 กาแพงแก้ว กาแพงแก้ว ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/306 กาแพงแก้วนั้นมิได้สร้างด้วยแก้ว แต่คาว่า “แก้ว” นิยมใช้เรียกบุคคล, สัตว์ และสิ่งของที่มีค่ามี ความสาคัญ เช่น ลูกแก้ว, ช้างแก้ว-ม้าแก้ว เป็นต้น กาแพงแก้วเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อกาหนด เขตพัทธสีมาและกั้นพุทธสถานที่สาคัญ โดยเฉพาะพระอุโบสถที่ถือว่ามีความสาคัญที่สุดของวัด กาแพงแก้ว ล้อมลานพระอุโบสถ มีซุ้มประตู 8 ซุ้มและพัทธสีมา 8 ซุ้ม กาแพงแก้วด้านนอกประดับ ศิลาลายฉลัก (สลัก) เป็นรูปภูเขา ต้นไม้ และรูปสัตว์ต่างๆ ซุ้มประตูทางเข้า 8 ซุ้ม (ประตูทรงมงคล) สร้างด้วย หินแกรนิตแกะสลักมีรูปหล่อสางแปลงเนื้อสาริดประตูละหนึ่งคู่ พนักระหว่างเสาเฉลียงพระอุโบสถด้านนอกประดับศิลาจาหลักภาพเรื่องรามเกียรติ์ 152 ภาพ มีโคลง จารึกบอกเนื้อเรื่องติดไว้ ภาพสลักศิลาเหล่านี้มาจากภาพหนังใหญ่ รัชกาลที่ 3 มีพระราชปรารภว่า “หนังใหญ่ เป็นการเล่มมหรสพของไทยมาแต่อยุธยาตอนต้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ การเล่นหนังใหญ่ต้องใช้ศิลปะชั้นสูง หลายด้าน เพราะเหตุนี้การเล่นหนังใหญ่จึงเป็นของเล่นให้ดีได้ยาก นับวันแต่จะเสื่อมโทรมลงไป เพื่อให้อนุชน ได้ชมภาพตัวหนังดังกล่าว จึงให้เอาตัวหนังใหญ่มาแกะลงบนแผ่นศิลาให้เหมือนหนังฉลุทุกส่วนติดไว้ให้ชม ท่านจะเห็นฝีมือลวดลายจาหลักเหล่านี้ละเอียดประณีตวิจิตรงดงามยิ่งนัก” มีผู้สนใจงานศิลปะมาขอลอกภาพกันมาก ภาพรามเกียรติ์เหล่านี้เคยเป็นสินค้าของที่ระลึกสัญลักษณ์ ของวัดโพธิ์ ต่อมาแรงกดลอกลายภาพซ้าๆ นับแรมปีทาให้ลวดลายจางลง จึงมีประกาศห้ามลอกลายภาพ ดังกล่าว
  • 17. 17 รูปสลักหิน (ตุ๊กตาจีน) รูปสลักหิน (ตุ๊กตาจีน) ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/308 รูปสลักหิน (ตุ๊กตาจีน) ที่ตั้งประดับตามซุ้มประตูและที่ต่างๆ มีทั้งสลักจากหินและปูนปั้น หากเราพินิจ พิจารณารูปปั้นรูปสลักจีนแต่ละรูปแบบแล้ว ย่อมทาให้รู้จักและเข้าใจต่อการที่ช่างไทยขนเอาเครื่องอับเฉาที่ใช้ เป็นอุปกรณ์ถ่วงเรือสาเภาตอนขากลับจากการพาณิชย์นาวีที่ประเทศจีน (ในสมัยรัชกาลที่ 3) แล้วนาไปตั้ง ประดับอย่างมีศิลปะ ประยุกต์เอารูปปั้นเหล่านั้นตั้งประดับดูเข้ากันได้ไม่ขัดตา ถะ (เจดีย์ศิลปะจีน) ตั้งอยู่ระหว่างพระระเบียงชั้นนอกและชั้นใน รวม 20 องค์ ลั่นถัน คือ ตุ๊กตาหินยืนท้าวเอวถืออาวุธ แต่งกายแบบงิ้ว เป็นขุนนางฝ่ายบู๊ เป็นนักรบ มือถือ อาวุธ หน้าตาดุเหมือนจ้องมอง มีเสื้อเกราะรัดตัวอย่างทะมัดทะแมง บางรูปก็เหมือนทหารยืนประจาการ เป็นนักรบระดับขุนพล ตุ๊กตาจีนแต่งกายแบบฝรั่ง เป็นรูปมาร์โคโปโล คือ ฝรั่งคนแรกที่เดินทางเข้าไปในประเทศจีน และ เผยแพร่อารยธรรมตะวันตกให้แก่ชาวจีน มีอยู่ 4 คู่ เป็นภาพสะท้อนของช่างจีน มองเห็นฝรั่งสมัยล่าอาณา นิคมเป็นคนดุร้าย ก่อสงครามชิงเอาบ้านเมืองอยู่เนืองๆ ตุ๊กตาจีนขุนนางฝ่ายพลเรือนหรือฝ่ายบุ๋น หน้าตาอมยิ้มนิดๆสวมหมวกทรงสูงมือข้างหนึ่งถือ หนังสือ ข้างหนึ่งลูบหนวดเคราเหมือนกาลังครุ่นคิด สวมเสื้อคลุมยาวและรองเท้า มองเป็นคนภูมิฐาน เป็นนักปกครอง นักวางแผน และขุนนางแห่งราชสานัก ตุ๊กตาจีนนักปราชญ์หรือซิ่วจ๋าย หน้าตาอมยิ้มสบายๆ สวมหมวกทรงสูงมีรอยพับ ใบหน้าเรียบ ไม่มีหนวดเครา เหมือนคนหนุ่ม แต่งตัวภูมิฐาน สวมเสื้อคลุมยาวพร้อมรองเท้า มือข้างหนึ่งถือพัด หรือถือ หนังสือ ท่าทางเป็นคนมีความรู้ ตุ๊กตาจีนสามัญชน คนทางาน ส่วนมากเป็นรูปชายไว้เครา ใส่หมวกฟาง มือข้างหนึ่งถือเครื่องมือ ทางาน ถือจอบ ถือแห
  • 18. 18 ตุ๊กตาสาวจีน รูปปั้นแบบต่างๆส่วนมากมีหน้าตาสดชื่นยิ้มแย้ม มีทั้งรูปเกล้ามวยผมผูกผ้า และมีผ้า คลุมผมพลิ้วบาง สวมเสื้อคลุมยาวกรอมรองเท้า ตุ๊กตารูปสิงโตคาบแก้ว รูปสลักสิงโตนิยมตั้งประดับที่เชิงบันได หรือหน้าประตูทางเข้าออก ตามแต่ขนาด อ้าปากแยกเขี้ยว ในปากมีหินก้อนกลมเล็กๆ สามารถเอามือสอดเข้าไปกลิ้งเล่นได้ รูปสลักสิงโตนี้ ช่างสลักได้จัดทาไว้ 2 เพศ ตัวเมียมีลูกเล็กๆ อยู่ที่ซอกอกและเท้าเป็นสัญลักษณ์ ตัวผู้อยู่ในท่าวางเท้ามีกงเล็บจับลูกแก้วหรือลูกโลกหรือสิ่งมงคลตามความเชื่อในคติจีน รูปสลักและรูปปั้นศิลาแบบจีน นอกจากมีรูปลักษณ์เหมือนคนแล้ว ยังมีรูปกลอง รูป สัตว์ ช้าง ม้า ควาย ไก่ ลิง หมู ตั้งประดับตามลานบริเวณเขตพุทธาวาส บางแห่งอยู่ข้างสวนหินขนาดใหญ่เล็ก ทุกตัวนั้น ไม่เพียงแต่เป็นตัวแทนแห่งศิลปกรรมจีนเท่านั้น ยังบอกถึงฝีมือช่างสลัก ช่างปั้นว่ามีชั้นเชิงแฝงด้วยภูมิธรรม ภูมิปัญญา และปรัชญาอันลุ่มลึกไว้ด้วย วิถีชีวิตของชุมชน วิถีชีวิตชุมชนบริเวณรอบๆ วัดโพธิ์ ภาพจาก http://www.watpho.com/th/architecture/detail/309 สาหรับนักท่องเที่ยวที่มีโอกาสเที่ยวชมวัดพระเชตุพนกันแล้ว หากท่านยังพอมีเวลาขอแนะนาให้ท่าน เดินดูวิถีชีวิตของชุมชนชาวกรุงเทพมหานครที่น่าสนใจอยู่ริมแม่น้าเจ้าพระยาด้านตะวันตกของวัดคือ 1. ชุมชนท่าเตียน เป็นย่านการค้าใหญ่ที่เก่าแก่ครั้นก่อนสร้างพระบรมหาราชวังเลยทีเดียว สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็น ตลาดจีน ทั้งตลาดบกและตลาดน้า มีท่าเรือใหญ่ขนส่งสินค้า ชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนท่าเตียนยังคงสืบสาน กันมาแต่อดีตกาลคู่กับวัดโพธิ์ แม้ว่าโรงเรียน ร้านค้า จะพัฒนาจากเรือนไม้ เรือนแพ เป็นตึกแถว ตลาดน้าที่มี เรือผักผลไม้หายไปกลายเป็นการขนส่งทางรถบรรทุกก็ตาม การค้ายังคงคึกคักเช่นเก่าก่อน ริมแม่น้าเจ้าพระยา ยังคงมีท่าเรือ ทั้งเรือเมล์ข้ามฟากไปวัดอรุณฯ เรือด่วนเจ้าพระยา รับส่งผู้โดยสารตั้งแต่เช้าตรู่ถึงเย็นค่า
  • 19. 19 2. ชุมชนปากคลองตลาด แม้เป็นย่านการค้าที่เกิดขึ้นหลังย่านท่าเตียนก็ตาม นับเป็นการค้าที่ใหญ่และคึกคักเช่นกัน ปากคลองตลาดเป็นตลาดกลางขายส่งผักผลไม้และดอกไม้ใหญ่ที่สุดของกรุงเทพฯ เปิดขายของกัน ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน มีชาวสวนนาผลิตภัณฑ์จากสวนมาขาย ยังได้เห็นช่างฝีมือร้อยมาลัยประดิษฐ์ดอกไม้ ตามแบบไทยวางขายกันดาษดื่น ชาวกรุงเทพฯ และใกล้เคียงที่ต้องการดอกไม้ไปใช้งาน ตกแต่งบ้าน, งานบุญ, งานบวช, งานรับปริญญา, งานต้อนรับแขก, งานแต่งงาน จนถึงงานศพ ก็มาหาซื้อดอกไม้ที่นี่ ผู้ประดิษฐ์นั่งทา กันอย่างขะมักเขม้น ผู้ขายก็หยิบขายกันอย่างพลันวันเป็นภาพชีวิตที่ดูคึกคักยิ่งนัก จารึกวัดโพธิ์: มรดกความทรงจาแห่งโลก จารึกวัดโพธิ์ ภาพจาก http://www.watpho.com/th/inscription เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2550 คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจาแห่งโลกได้จัดสัมมนา เครือข่ายระดับชาติด้านการอนุรักษ์และเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาไทยครั้งที่ 2 เรื่อง “การเสนอจารึกวัดพระเชตุพนฯ เป็นมรดกความทรงจาแห่งโลก”เพื่อนาประสบการณ์ที่ได้จากการสัมมนามาพิจารณาคุณสมบัติความหมายและ คุณค่าความโดดเด่นของจารึกวัดโพธิ์ พบว่าจารึกวัดโพธิ์ถือเป็นมรดกภูมิปัญญาไทยที่มีความสาคัญเทียบเท่า ระดับสากล มีความล้าค่า ประวัติความเป็นมาและเนื้อหาในจารึกวัดโพธิ์บอกเล่าวิชาความรู้หลากหลาย ไม่ว่า จะเป็นจารึกสรรพวิชาบนแผ่นศิลาเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 จารึกสุภาษิตพระร่วง รวมถึงรูปปูนปั้นฤๅษีดัดตน แสดงท่าทางการนวดแผนโบราณที่รัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 3 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดทาขึ้น
  • 20. 20 การประชุมคณะกรรมการแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่าด้วยแผนงานความทรงจาแห่งโลกของยูเนสโก (UNESCO Memory of the World Regional Committee for Asia/Pacific-MOWCAP) ณ กรุงแคนเบอร์ร่า ประเทศออสเตรเลีย มีมติรับรองจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ขึ้นทะเบียนเป็น มรดกความทรงจาของโลกในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตามที่ประเทศไทยโดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วย แผนงานความทรงจาแห่งโลกเสนอและต่อมาคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจาโลกได้ ดาเนินงานนาเสนอขึ้นทะเบียนจารึกวัดโพธิ์เป็นมรดกความทรงจาโลกในระดับนานาชาติโดยความร่วมมือจาก กระทรวงศึกษาธิการ, สานักหอสมุดแห่งชาติกรมศิลปากร, จึงจัดทาแผนการอนุรักษ์จารึกวัดโพธิ์เพิ่มเติมและ เสนอเป็นส่วนประกอบการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจาแห่งโลกระดับนานาชาติต่อองค์การยูเนสโกจาก คุณสมบัติจารึกวัดโพธิ์ที่มีความโดดเด่นด้านรูปแบบการรวบรวมข้อมูลและนาเสนอต่อประชาชน ประกอบด้วย ความรู้หลากหลายสรรพวิชา เช่น พุทธศาสนา, ประวัติศาสตร์, ภาษา, วรรณกรรม, ภูมิศาสตร์, วิทยาศาสตร์, การปกครอง จารึกจานวนมากเกี่ยวข้องกับการแพทย์ สุขภาพอนามัย รวมทั้งการนวดวัดโพธิ์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับ และปฏิบัติกันทั่วโลก มีจารึกเกี่ยวกับรามเกียรติ์ หรือ รามายณะ และเรื่องนิทานสิบสองเหลี่ยมหรือ ชาห์นามห์ วรรณกรรมคาสอนระดับโลก ความรู้ที่ปรากฏบนจารึกวัดโพธิ์คือองค์ความรู้ของโลกตะวันออกในเวลาที่มีภัย คุกคามจากโลกตะวันตก จารึกวัดโพธิ์ ภาพจาก http://www.watpho.com/th/inscription ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2554 องค์การยูเนสโก ได้มีมติรับรองให้จารึกวัดโพธิ์ ขึ้นทะเบียนเป็น มรดก แห่งความทรงจาแห่งโลกในระดับนานาชาติ ในวาระการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติว่าด้วย แผนงานความทรงจาแห่งโลกของยูเนสโก ครั้งที่ 10 (The Tenth Meeting of the International Advisory Committee for the Memory of the World Programme of UNESCO) ณ มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ เมืองแมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร จารึกวัดโพธิ์ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจาแห่งโลก จานวน 1,440 แผ่น (ที่ปรากฏ อยู่ในปัจจุบัน) ส่วนใหญ่เป็นจารึกอักษรไทย ภาษาไทยส่วนอักษรขอม ภาษาบาลี และภาษาไทยมีเพียง เล็กน้อยเท่านั้น คณะทางานสารวจและจัดทาทะเบียนจารึกวัดโพธิ์ ได้จาแนกออกเป็น 6 หมวดดังนี้
  • 21. 21 1. หมวดพระพุทธศาสนา จานวน 310 แผ่น มี 12 เรื่อง ได้แก่ เรื่องมหาวงษ์ พระสาวกเอตทัคคะ พระ สาวิกาเอตทัคคะ อุบาสกเอตทัคคะ อุบาสิกาเอตทัคคะ พาหิรนิทาน ทศชาติชาดก เวสสันดรชาดก อรรถกถา ชาดก ญาณ 10 นิรยกถา และเปรตกถา 2. หมวดเวชศาสตร์ จานวน 608 แผ่น มี 9 เรื่อง ได้แก่ ตารายา แผนเส้น แผนฝี แผนปลิง แม่ซื้อ ลาบอง ราหู โองการปัดพิษแสลง อาธิไท้โพธิบาท และโคลงภาพฤาษีดัดตน 3. หมวดวรรณคดีและสุภาษิต จานวน 341 แผ่น มี 11 เรื่อง ได้แก่ โคลงกลบท โคลงภาพจาหลักเรื่อง รามเกียรติ์ โคลงโลกนิติ เพลงยาวกลบท ตาราฉันท์มาตราพฤติ ตาราฉันท์วรรณพฤติ ฉันท์พาลีสอนน้อง ฉันท์ กฤษณาสอนน้อง ฉันท์อัษฎาพานร สุภาษิตพระร่วง และนิทาน 12 เหลี่ยม 4. หมวดทาเนียบ จานวน 124 แผ่น มี 3 เรื่อง ได้แก่ ทาเนียบหัวเมืองและผู้ครองเมือง ทาเนียบสมณศักดิ์ และโคลงภาพคนต่างภาษา 5. หมวดประวัติ จานวน 21 แผ่น มี 2 เรื่อง ได้แก่ ประวัติการบูรณปฏิสังขรณ์แต่ละอาคาร และจารึกชื่อ เฉพาะต่างๆ ได้แก่ วิหารทิศ พระมหาเจดีย์ และสถูป 6. หมวดประเพณี จานวน 36 แผ่น มี 1 เรื่อง ได้แก่ ริ้วกระบวนแห่พระกฐินทางสถลมารค ประกาศนียบัตรจาก UNESCO รับรองจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ขึ้นทะเบียนเป็น มรดกความทรงจาของโลกในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ภาพจาก http://www.watpho.com/th/inscription กระบวนการสารวจและจัดทาทะเบียนจารึกวัดโพธิ์ครั้งนี้ยังพบว่ามีต้นฉบับหนังสือไทยที่ร่างเตรียม ไว้เพื่อที่จะจารึกลงบนแผ่นศิลาแต่งยังไม่ได้จารึกให้ปรากฏเป็นหลักฐาน เช่น "สาเนาจาฤกแผ่นศิลาว่าด้วยการ ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน สาเนาพระราชดาริห์ว่าด้วยการทรงสร้างพระพุทธไสยาศนวัดพระเชตุพน และพระ ราชกฤษฎีการาชานุสาสน์ วัดพระเชตุพน " เป็นต้น
  • 22. 22 ตานานพระพุทธรูปสาคัญ: พระพุทธเทวปฏิมากร พระพุทธเทวปฏิมากร ภาพจาก http://www.watpho.com/th/buddha/detail/198 พระพุทธเทวปฏิมากร พระพุทธเทวปฏิมากรเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เดิมประดิษฐาน เป็นพระประธานอยู่ที่วัดศาลาสี่หน้าหรือวัดคูหาสวรรค์ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดยสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ และโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธเทวปฏิมากรมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถที่สร้างขึ้นใหม่นี้พร้อมทั้งยังได้ ทรงถวายนามใหม่ว่า "พระพุทธเทวปฏิมากร" พระพุทธไสยาสน์ พระพุทธไสยาสน์ ภาพจาก http://www.watpho.com/th/buddha/detail/204
  • 23. 23 พระพุทธไสยาสน์ หรือที่เรียกกันว่า พระนอนวัดโพธิ์ ประดิษฐานในพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ ภายในเขตพุทธาวาส บริเวณมุมกาแพงทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัด เป็นพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ ก่ออิฐ ถือปูนลงรักปิดทอง ขนาดองค์พระยาว 1 เส้น 3 วา (46 เมตร) สูงจากพื้นถึงยอดพระเกตุมาลา 15 เมตร เฉพาะพระพักตร์จากไรพระศก (ไรผม) ถึงพระหนุ (คาง) ยาว 10 ศอก (5 เมตร) กว้าง 5 ศอก (2.50 เมตร) พระพุทธบาท ยาว 5 เมตร สูง 3 เมตร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง ขึ้นในคราวปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนครั้งใหญ่เมื่อ จ.ศ. 1193 พ.ศ. 2375 จัดว่าเป็นพระนอนที่ใหญ่ที่สุดใน กรุงเทพมหานคร และใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศ พระพุทธไสยาสน์เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามโดยเฉพาะศิลปะการประดับมุกที่ฝ่าพระบาท ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระนอนองค์ใหญ่ที่มีความงดงามเป็นเอกในบรรดาพระนอนด้วยกันเป็นที่เคารพสักการะ เลื่อมใสศรัทธาอย่างยิ่งทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ นับเป็นพระพุทธปฏิมากรสาคัญคู่บ้านคู่เมือง เป็นที่เชิด หน้าชูตาแก่บ้านเมืองอย่างหนึ่ง ทั้งยังนับเนื่องอยู่ในคติการไหว้พระ 9 วัด ของพุทธศาสนิกชน โดยมีคติว่าจะได้ ร่มเย็นเป็นสุข ประวัติการสร้างและมูลเหตุการณ์สร้างพระพุทธไสยาสน์ พระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนนี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง ขึ้นด้วยทรงมีพระราชดาริว่า พระพุทธรูปปางสาคัญได้สร้างขึ้นในวัดนี้หลายปางแล้ว ขาดแต่ปางไสยาสเท่านั้น กล่าวกันว่าพระบาทมุกเป็นผลงานอันยอดเยี่ยมหาที่ติมิได้ พระพุทธไสยาสน์ จึงเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นด้วย ฝีมือช่างในยุคทองแห่งศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ที่รุ่งโรจน์ที่สุด ด้วยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมี พระทัยใฝ่ในการกุศลจนมีคากล่าวว่า "ใครสร้างวัดก็โปรด" มงคล 108 ประการที่ผ่าพระบาทพระพุทธไสยาสน์ พระพุทธไสยาสน์ มีการประดับมุกประณีตศิลป์ที่ฝ่าพระบาททั้ง 2 ข้าง ซ้าย-ขวา เป็นรูปอัฎฐตตรสตมงคล หรือมงคล 108 ประการ ซึ่งเป็นคติความเชื่อที่ปรากฏในคัมภีร์ชินาลังการฎีกาของลังกา โดยระบุว่าเป็นมงคล ที่พราหมณ์ได้เห็นจากฝ่าพระบาทของเจ้าชายสิทธัตถะเมื่อประสูติได้ 5 วัน แต่ปรากฏว่าไม่มีการสร้างพระพุทธ บาทรูปลักษณ์นี้ในลังกา หากแต่พบที่พุกาม ประเทศพม่า กล่าวกันว่ามงคล 108 ประการนี้เป็นการพัฒนา แนวความคิดและสืบทอดมาจากรูปมงคล 8 มงคล 108 ประการ ประกอบด้วยมงคลต่างๆ แบ่งประเภทได้ดังนี้ 1. เป็นลักษณะแห่งโชคลาภและความอุดมสมบูรณ์ เช่นหม้อน้า ปลาคู่ สวัสดิกะ พวงมณี ดอกบัว เป็นต้น 2. เป็นเครื่องประกอบพระบารมีของกษัตริย์และพระเจ้าจักรพรรดิ เช่น สัตตรัตนะ 7 ประการ เครื่องราช กกุธภัณฑ์ บัลลังก์ เครื่องสูง เครื่องยศ เครื่องตันต่างๆ และราชพาหนะ เป็นต้น 3. เป็นส่วนประกอบของพระภูมิในจักรวาลตามความเชื่อของพระพุทธศาสนา เช่น เขาจักรวาล มหาสมุทร ทวีปทั้ง 4 เขาพระสุเมรุเขาสัตตบริภัณฑ์ ป่าหิมพานต์ เป็นต้น วัดโพธิ์ ตั้งอยู่ริมถนนสนามไชยและถนนมหาราช ติดกับพระบรมมหาราชวัง เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 08.00-18.30 น. ชาวต่างชาติจะต้องซื้อบัตรเข้าชมคนละ 200 บาท สาหรับนักท่องเที่ยวต้อง แต่งกายสุภาพ สุภาพสตรีห้ามสวมกางเกงขาสั้นเหนือเข่าเข้าเยี่ยมชม อีเมล์: watpho.th@gmail.com โทร.02-226 0335