SlideShare a Scribd company logo
2




         เกมภาษา (Language Game) คือกิจกรรมสนับสนุนการ
เรียนรู้ภาษาที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนภาษาในทางที่ผ่อนคลายส่ง
ผลให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านภาษาและทักษะด้านความคิด ซึ่งในเกม
ภาษานี้ช่วยให้ผู้เรียนสามารถพูดหรือแสดงออกมาได้อย่างชัดเจน
และสามารถสร้างโอกาสในการใช้ภาษาได้อย่างมีความหมาย
(Chanda. 2008 : Web Site) ส่งผลให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกฝน
ด้านภาษาอย่างเข้มข้นและมีความหมายได้ ส่วนหนึ่งที่สำาคัญของ
การใช้เกมภาษาคือ ความท้าทาย ซึ่งความท้าทายนั้นมีความหมาย
ไม่เหมือนกันกับการแข่งขันเนื่องจากความท้าทายเป็นการสร้างแรง
จูงใจในการทำากิจกรรมแต่การแข่งขันเป็นการสร้างความ
กระตือรือร้นที่จะเอาชนะอยู่เหนือคนอื่น นอกเหนือจากการเรียนรู้
ภาษาจากเกมแล้วในเวลาเดียวกันผลพลอยได้ที่ได้จากเกมภาษาคือ
ความสามัคคีและความร่วมมือร่วมใจในชั้นเรียน (Wright. 1989 :
2-9) ดังนั้นเกมภาษาจึงเป็นเทคนิคการสอนภาษาที่มีประสิทธิภาพ
มาก ช่วยเพิ่มความสามารถในการพูดของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี เป็น
วิธีที่สามารถทำาให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเรียนได้ เพราะ
มีการสร้างแรงจูงใจและมีการเสริมแรงทางบวกด้วยของรางวัล
(Chanda. 2008 : Web Site)
           การเสริมแรงเป็นกระบวนการที่ทำาให้ผู้เรียนเกิดความ
กระตือรือร้นและเป็นการเพิ่มอัตราความถี่ของพฤติกรรมที่ตอบ
สนอง (Miller. 2006 : Web Site) และยังเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วย
ปรับปรุงและพัฒนาความประพฤติของผู้เรียน ถือว่าเป็นเทคนิคที่ถูก
ใช้มากในการจัดการกิจกรรมในชั้นเรียน (Darch. 2004 : 127)
ซึ่งการเสริมแรงทางบวกนั้นเป็น กลยุทธ์ในการจัดการพฤติกรรมที่มี
อิทธิพลต่อการแสดงออกทางพฤติกรรมเป็นอย่างมาก โดยมีเป้า
หมายคือ ความต้องการในการตอบสนอง หรือสิงที่ช่วยให้เพิ่มแนว
โน้มของการตอบสนองต่อพฤติกรรมมากขึ้น (Daymut. 2009 :
Web site) ทั้งนี้เพราะการแก้ไขพฤติกรรมของผู้เรียนโดยใช้การ
เสริมแรงจะช่วยให้ผู้เรียนมีกำาลังใจและมีความต้องการที่จะทำา
กิจกรรมในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นอีกหนึ่งกลวิธีที่ช่วยสร้าง
แรงกระตุ้นในการเรียนรู้และส่งเสริมบรรยากาศในชั้นเรียนให้มี
ความสนุกสนาน (Hammond. 2011 : Web Site)
           ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงเห็นว่า ทักษะการพูดนั้นเป็นทักษะที่มี
ความสำาคัญเป็นอย่างมากในการเรียนรู้ภาษา ซึ่งในการเรียนรู้
ภาษานั้นควรมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาในการพูดติดต่อ
สือสารด้วยประโยคสนทนาพื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจำาวันได้ การ
  ่
เรียนรู้ภาษาจะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพหากผู้เรียนมีทัศนคติ
3




และมีแรงจูงใจที่ดีในการพูดโดยมีการเสริมแรงทางบวกเพื่อที่จะ
ทำาให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะพยายามใช้ภาษาในการพูด ซึ่ง
กลวิธีที่จะทำาให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะเรียนรู้ภาษาได้นั้น
จำาเป็นต้องมีสิ่งเร้า โดยการนำาเกมภาษามาเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้ผู้
เรียนมีความสนใจในการเรียนภาษามากขึ้น แล้วเสริมแรงด้วย
รางวัลเพื่อสร้างกำาลังใจให้ผู้เรียนและทำาให้เกิดความอยากมีส่วน
ร่วมในการทำากิจกรรมต่อๆไป นอกจากนั้นยังเกิดปฏิสัมพันธ์แลก
เปลี่ยนความคิดเห็นทำาให้ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และกระตือรือร้นที่จะ
ใช้ภาษาในการสื่อสารมากขึ้น

ความมุ่งหมายของงานวิจัย
   1. เปรียบเทียบความสามารถในการพูดก่อน-หลังการทำากิจกรรม
พัฒนาทักษะการพูด โดยใช้เกมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 4
  2. ศึกษาพฤติกรรมการเรียนระหว่างการใช้เกมแข่งขันที่ไม่เสริม
แรงด้วยของรางวัล และการใช้เกมแข่งขันที่เสริมแรงด้วยของ
รางวัล
ความสำาคัญของงานวิจัย
  1. นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้รับการพัฒนาทักษะ
     การพูดที่ดีขึ้น
   2. เป็นแนวทางในการทำากิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อการ
พัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โดยใช้เกมภาษา
   3.ทราบพฤติกรรมความสนใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ในการพูดภาษาอังกฤษ จากการใช้เกมภาษาที่แข่งขันแบบไม่เสริม
แรงด้วยของรางวัล และการแข่งขันแบบเสริมแรงด้วยของรางวัล
สมมติฐาน
        ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยใช้เกมภาษาใน
การเรียนการสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษ
4




ขอบเขตของงานวิจัย
        การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองซึ่งผู้วิจัยได้ดำาเนิน
การทดลอง (Experimental Research) ซึ่งผู้วิจัยได้ดำาเนินการ
ทดลองตามแบบแผนการวิจัยแบบ One group pretest–post-test
design โดยมีขอบเขตการวิจัยดังนี้
        1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
            1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยนักเรียนระดับชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลกันทรวิชัย อำาเภอกันทรวิชัย จังหวัด
มหาสารคาม จำานวนทั้งหมด 2 ห้อง นักเรียน 82 คน
             1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยชั้นประถมศึกษาปีที่
4/1 โรงเรียนอนุบาลกันทรวิชัย อำาเภอกันทรวิชัย จังหวัด
มหาสารคาม จำานวน 41 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ
เจาะจง (Purposive sampling)
        2. เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยเลือกจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ
ที่สอดคล้องกับหลักสูตรกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ 2551
            2.1 Unit: Shopping
               Topic: Clothes
              มีจำานวน 1 แผนการสอน ใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง
            2.2 Unit: Free time
               Topic: Movie
               มีจำานวน 1 แผนการสอน ใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง
            2.3 Unit: Travel
               Topic: Transportation
               มีจำานวน 1 แผนการสอน ใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง
            2.4 Unit: Relationship with other people
               Topic: Special day
               มีจำานวน 1 แผนการสอน ใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง
        3. ตัวแปรที่ศึกษา
           ตัวแปรอิสระ คือ เกมภาษา
           ตัวแปรตาม ได้แก่
              1.ทักษะการพูด
              2.พฤติกรรมการเรียนระหว่างการใช้เกมแข่งขันที่ไม่
                เสริมแรงด้วยของรางวัล
5




และการใช้เกมแข่งขันที่เสริมแรงด้วยของรางวัล
นิยามศัพท์เฉพาะ
        1.ทักษะการพูด หมายถึง ความสามารถในการสื่อสารด้วย
การพูดสื่อความหมาย โดยสามารถพูดสนทนาโต้ตอบ ออกคำาสั่ง
พูดลำาดับเหตุการณ์ พูดสือความหมาย พูดซักถามข้อมูล พูดอธิบาย
                            ่
ให้ข้อมูล และพูดแสดงความรู้สึกตามบทบาทที่ได้รับได้
        2.เกมภาษา หมายถึง กิจกรรมทางภาษาที่ส่งเสริม
สมรรถภาพในการเรียนรู้ภาษาของผู้เรียนโดยเน้นหนักในส่วนของ
กิจกรรมที่สร้างความผ่อนคลายเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน มีการ
แข่งขันทั้งในตัวบุคคลเองและระหว่างกลุ่มเป็นสิ่งเร้าที่ทำาให้ผู้เรียน
เกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ภาษา ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัย
ใช้เกม 4 ลักษณะดังนี้
          2.1       เกมเรียงลำาดับ จัดลำาดับ หรือการจัดเตรียม
(Sorting, ordering, or arranging games) หมายถึง เกมที่เน้นให้
ผู้เล่นสามารถพูดเรียงลำาดับความสัมพันธ์รวมทั้งการพูดเรียงลำาดับ
เหตุการณ์ต่างๆ และสามารถแบ่งประเภทสิ่งต่างๆได้ เกมที่ใช้ได้แก่
Sentence telepathy game, Find Find Find game, Popular
activity game
          2.2 เกมทาย (Guessing games) หมายถึง เกมที่ผู้เล่นจะ
ต้องพูดเดาความหมาย และต้องใช้ความพยามในการทาย มุ่งเน้น
ให้ผู้เล่นได้ใช้ความรู้เดิมที่ได้เรียนผ่านมาพูดเดาความหมายหรือ
ทายความหมาย นอกจากนั้นยังกระคุ้นให้ผู้เรียนใช้กลวิธีสื่อสารที่
หลากหลาย และฝึกให้ผู้เรียนได้พยายามใช้ภาษาในการพูดสื่อ
ความหมาย เกมที่ใช้ได้แก่ Get a word game, My favorite
holiday game, Personalizing game, Movie guessing game
          2.3 เกมค้นหา (Search games) หมายถึง เกมที่มุ่งให้ผู้
เรียนได้ฝึกทักษะทางด้านการหาข้อมูลและให้ข้อมูล แล้วสามารถ
พูดซักถามเพื่อทราบข้อมูลและพูดอธิบายให้ข้อมูลได้ เกมที่ใช้ได้
แก่ Blind man’s bluff game, Find the shop
             2.4 เกมเล่นตามบทบาท (Role play games) หมายถึง เกมที่ผู้เล่น
สมมติรับบทบาทเป็นตัวละคร โดยดำาเนินเนื้อเรื่องตามคำาสั่ง เงื่อนไข
หรือหัวข้อที่กำาหนด โดยผู้เล่นต้องพูดแสดงความรู้สึกหรือพูดตาม
บทบาทที่ตนได้รับ เพื่อให้ผู้ชมเข้าใจถึงสิ่งที่ผู้รับบทบาทพูดหรือสื่อ
ออกมา เกมที่ใช้ได้แก่ Superstar award, Most famous
          3. การเสริมแรง หมายถึง การทำาให้ผู้เรียนเกิดความพึง
พอใจเมื่อทำาพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งแล้วเพื่อให้ทำาพฤติกรรม
6




นั้นซำ้า เช่น เมื่อผู้เรียนตอบคำาถามถูกต้องแล้วผู้สอนให้รางวัล ทำาให้
ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจและอยากจะตอบคำาถามอีกเมื่อผู้สอนถาม
ครั้งต่อๆไป กล่าวคือเป็นการกระตุ้นหรือสร้างกำาลังใจให้ผู้เรียนมี
ความต้องการที่จะมีส่วนร่วมในการทำากิจกรรมและเกิดพฤติกรรม
ซำ้าๆ ซึ่งในการเสริมแรงทางบวกนั้นจะทำาให้ผู้เรียนมีความต้องการ
ที่จะทำาพฤติกรรมซำ้า มีความสนใจในการทำากิจกรรม
มีความกระตือรือร้นในการทำากิจกรรม และมีความสนุกสนานใน
การทำากิจกรรม

More Related Content

Viewers also liked

CBI
CBI CBI
แปดวิธีการสอน -Darunee
แปดวิธีการสอน -Daruneeแปดวิธีการสอน -Darunee
แปดวิธีการสอน -Darunee
Darunee Sriyangnok
 
B slim แอ๊ป10
B slim แอ๊ป10B slim แอ๊ป10
B slim แอ๊ป10
Darunee Sriyangnok
 
การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
Darunee Sriyangnok
 
Clil
ClilClil
Authentic material movie-Darunee
Authentic material movie-DaruneeAuthentic material movie-Darunee
Authentic material movie-Darunee
Darunee Sriyangnok
 

Viewers also liked (10)

บทที่ ๒.๑
บทที่ ๒.๑บทที่ ๒.๑
บทที่ ๒.๑
 
บทที่ ๒.๑
บทที่ ๒.๑บทที่ ๒.๑
บทที่ ๒.๑
 
CBI
CBI CBI
CBI
 
แปดวิธีการสอน -Darunee
แปดวิธีการสอน -Daruneeแปดวิธีการสอน -Darunee
แปดวิธีการสอน -Darunee
 
B slim แอ๊ป10
B slim แอ๊ป10B slim แอ๊ป10
B slim แอ๊ป10
 
การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
 
Clil
ClilClil
Clil
 
Paper journal
Paper journalPaper journal
Paper journal
 
Authentic material movie-Darunee
Authentic material movie-DaruneeAuthentic material movie-Darunee
Authentic material movie-Darunee
 
บทที่ ๑.๑
บทที่ ๑.๑บทที่ ๑.๑
บทที่ ๑.๑
 

Similar to บทที่ ๑.๒

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่  2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องบทที่  2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
moohhack
 
เทคนิคการสอน กระบวนการกลุ่ม
เทคนิคการสอน  กระบวนการกลุ่มเทคนิคการสอน  กระบวนการกลุ่ม
เทคนิคการสอน กระบวนการกลุ่มJunya Punngam
 
นำเสนอ23สิงหาคม
นำเสนอ23สิงหาคมนำเสนอ23สิงหาคม
นำเสนอ23สิงหาคมAtima Teraksee
 
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
อรรถกร ใจชาย
 
โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์Patchara Pussadee
 
บทที่ 2วิจัยการอ่าน
บทที่ 2วิจัยการอ่านบทที่ 2วิจัยการอ่าน
บทที่ 2วิจัยการอ่านKanjana Pothinam
 
การจัดการเรียนการสอนโครงงาน
การจัดการเรียนการสอนโครงงานการจัดการเรียนการสอนโครงงาน
การจัดการเรียนการสอนโครงงานKhwankamon Changwiriya
 
นำเสนองานสื่อกิจกรรม
นำเสนองานสื่อกิจกรรมนำเสนองานสื่อกิจกรรม
นำเสนองานสื่อกิจกรรมnutchakaka
 
บทท 3-6 กศบป
บทท   3-6 กศบปบทท   3-6 กศบป
บทท 3-6 กศบปNamfon Wannapa
 
บทบาทครู
บทบาทครูบทบาทครู
บทบาทครู
Pnong Club
 
Chapter 5
Chapter 5Chapter 5
Chapter 5
Tannoi Tesprasit
 

Similar to บทที่ ๑.๒ (20)

บทที่ ๕
บทที่ ๕บทที่ ๕
บทที่ ๕
 
3 lang
3 lang3 lang
3 lang
 
B slim
B slim B slim
B slim
 
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่  2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องบทที่  2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
 
เทคนิคการสอน กระบวนการกลุ่ม
เทคนิคการสอน  กระบวนการกลุ่มเทคนิคการสอน  กระบวนการกลุ่ม
เทคนิคการสอน กระบวนการกลุ่ม
 
นำเสนอ23สิงหาคม
นำเสนอ23สิงหาคมนำเสนอ23สิงหาคม
นำเสนอ23สิงหาคม
 
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
 
ค่าย
ค่ายค่าย
ค่าย
 
Web
WebWeb
Web
 
โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
บทที่ 2วิจัยการอ่าน
บทที่ 2วิจัยการอ่านบทที่ 2วิจัยการอ่าน
บทที่ 2วิจัยการอ่าน
 
1
11
1
 
การจัดการเรียนการสอนโครงงาน
การจัดการเรียนการสอนโครงงานการจัดการเรียนการสอนโครงงาน
การจัดการเรียนการสอนโครงงาน
 
02
0202
02
 
นำเสนองานสื่อกิจกรรม
นำเสนองานสื่อกิจกรรมนำเสนองานสื่อกิจกรรม
นำเสนองานสื่อกิจกรรม
 
บทท 3-6 กศบป
บทท   3-6 กศบปบทท   3-6 กศบป
บทท 3-6 กศบป
 
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรมระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
 
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรมระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
 
บทบาทครู
บทบาทครูบทบาทครู
บทบาทครู
 
Chapter 5
Chapter 5Chapter 5
Chapter 5
 

More from Darunee Sriyangnok

Paper Journal - Tsal - base on group -Darunee
Paper Journal - Tsal - base on group -DaruneePaper Journal - Tsal - base on group -Darunee
Paper Journal - Tsal - base on group -DaruneeDarunee Sriyangnok
 
MI
MIMI
Learning stratagy cognitive -Darunee
Learning stratagy cognitive -DaruneeLearning stratagy cognitive -Darunee
Learning stratagy cognitive -Darunee
Darunee Sriyangnok
 
EJ
EJEJ
book
bookbook
บรรณานุกรม
บรรณานุกรมบรรณานุกรม
บรรณานุกรมDarunee Sriyangnok
 
สารบัญวิจัย
สารบัญวิจัยสารบัญวิจัย
สารบัญวิจัยDarunee Sriyangnok
 
Writing
WritingWriting
Speaking
SpeakingSpeaking
Reading
ReadingReading
PPP plan.ppt
PPP plan.pptPPP plan.ppt
PPP plan.ppt
Darunee Sriyangnok
 
B-slim
B-slim B-slim
Pyramid of wonder[Story telling]
Pyramid of wonder[Story telling]Pyramid of wonder[Story telling]
Pyramid of wonder[Story telling]Darunee Sriyangnok
 

More from Darunee Sriyangnok (17)

Paper Journal - Tsal - base on group -Darunee
Paper Journal - Tsal - base on group -DaruneePaper Journal - Tsal - base on group -Darunee
Paper Journal - Tsal - base on group -Darunee
 
MI
MIMI
MI
 
Learning stratagy cognitive -Darunee
Learning stratagy cognitive -DaruneeLearning stratagy cognitive -Darunee
Learning stratagy cognitive -Darunee
 
EJ
EJEJ
EJ
 
cooperative
cooperativecooperative
cooperative
 
book
bookbook
book
 
บรรณานุกรม
บรรณานุกรมบรรณานุกรม
บรรณานุกรม
 
บทที่ ๔
บทที่ ๔บทที่ ๔
บทที่ ๔
 
บทที่ ๓
บทที่ ๓บทที่ ๓
บทที่ ๓
 
บทที่ ๒.๒
บทที่ ๒.๒บทที่ ๒.๒
บทที่ ๒.๒
 
สารบัญวิจัย
สารบัญวิจัยสารบัญวิจัย
สารบัญวิจัย
 
Writing
WritingWriting
Writing
 
Speaking
SpeakingSpeaking
Speaking
 
Reading
ReadingReading
Reading
 
PPP plan.ppt
PPP plan.pptPPP plan.ppt
PPP plan.ppt
 
B-slim
B-slim B-slim
B-slim
 
Pyramid of wonder[Story telling]
Pyramid of wonder[Story telling]Pyramid of wonder[Story telling]
Pyramid of wonder[Story telling]
 

บทที่ ๑.๒

  • 1. 2 เกมภาษา (Language Game) คือกิจกรรมสนับสนุนการ เรียนรู้ภาษาที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนภาษาในทางที่ผ่อนคลายส่ง ผลให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านภาษาและทักษะด้านความคิด ซึ่งในเกม ภาษานี้ช่วยให้ผู้เรียนสามารถพูดหรือแสดงออกมาได้อย่างชัดเจน และสามารถสร้างโอกาสในการใช้ภาษาได้อย่างมีความหมาย (Chanda. 2008 : Web Site) ส่งผลให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกฝน ด้านภาษาอย่างเข้มข้นและมีความหมายได้ ส่วนหนึ่งที่สำาคัญของ การใช้เกมภาษาคือ ความท้าทาย ซึ่งความท้าทายนั้นมีความหมาย ไม่เหมือนกันกับการแข่งขันเนื่องจากความท้าทายเป็นการสร้างแรง จูงใจในการทำากิจกรรมแต่การแข่งขันเป็นการสร้างความ กระตือรือร้นที่จะเอาชนะอยู่เหนือคนอื่น นอกเหนือจากการเรียนรู้ ภาษาจากเกมแล้วในเวลาเดียวกันผลพลอยได้ที่ได้จากเกมภาษาคือ ความสามัคคีและความร่วมมือร่วมใจในชั้นเรียน (Wright. 1989 : 2-9) ดังนั้นเกมภาษาจึงเป็นเทคนิคการสอนภาษาที่มีประสิทธิภาพ มาก ช่วยเพิ่มความสามารถในการพูดของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี เป็น วิธีที่สามารถทำาให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเรียนได้ เพราะ มีการสร้างแรงจูงใจและมีการเสริมแรงทางบวกด้วยของรางวัล (Chanda. 2008 : Web Site) การเสริมแรงเป็นกระบวนการที่ทำาให้ผู้เรียนเกิดความ กระตือรือร้นและเป็นการเพิ่มอัตราความถี่ของพฤติกรรมที่ตอบ สนอง (Miller. 2006 : Web Site) และยังเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วย ปรับปรุงและพัฒนาความประพฤติของผู้เรียน ถือว่าเป็นเทคนิคที่ถูก ใช้มากในการจัดการกิจกรรมในชั้นเรียน (Darch. 2004 : 127) ซึ่งการเสริมแรงทางบวกนั้นเป็น กลยุทธ์ในการจัดการพฤติกรรมที่มี อิทธิพลต่อการแสดงออกทางพฤติกรรมเป็นอย่างมาก โดยมีเป้า หมายคือ ความต้องการในการตอบสนอง หรือสิงที่ช่วยให้เพิ่มแนว โน้มของการตอบสนองต่อพฤติกรรมมากขึ้น (Daymut. 2009 : Web site) ทั้งนี้เพราะการแก้ไขพฤติกรรมของผู้เรียนโดยใช้การ เสริมแรงจะช่วยให้ผู้เรียนมีกำาลังใจและมีความต้องการที่จะทำา กิจกรรมในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นอีกหนึ่งกลวิธีที่ช่วยสร้าง แรงกระตุ้นในการเรียนรู้และส่งเสริมบรรยากาศในชั้นเรียนให้มี ความสนุกสนาน (Hammond. 2011 : Web Site) ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงเห็นว่า ทักษะการพูดนั้นเป็นทักษะที่มี ความสำาคัญเป็นอย่างมากในการเรียนรู้ภาษา ซึ่งในการเรียนรู้ ภาษานั้นควรมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาในการพูดติดต่อ สือสารด้วยประโยคสนทนาพื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจำาวันได้ การ ่ เรียนรู้ภาษาจะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพหากผู้เรียนมีทัศนคติ
  • 2. 3 และมีแรงจูงใจที่ดีในการพูดโดยมีการเสริมแรงทางบวกเพื่อที่จะ ทำาให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะพยายามใช้ภาษาในการพูด ซึ่ง กลวิธีที่จะทำาให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะเรียนรู้ภาษาได้นั้น จำาเป็นต้องมีสิ่งเร้า โดยการนำาเกมภาษามาเป็นตัวช่วยกระตุ้นให้ผู้ เรียนมีความสนใจในการเรียนภาษามากขึ้น แล้วเสริมแรงด้วย รางวัลเพื่อสร้างกำาลังใจให้ผู้เรียนและทำาให้เกิดความอยากมีส่วน ร่วมในการทำากิจกรรมต่อๆไป นอกจากนั้นยังเกิดปฏิสัมพันธ์แลก เปลี่ยนความคิดเห็นทำาให้ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และกระตือรือร้นที่จะ ใช้ภาษาในการสื่อสารมากขึ้น ความมุ่งหมายของงานวิจัย 1. เปรียบเทียบความสามารถในการพูดก่อน-หลังการทำากิจกรรม พัฒนาทักษะการพูด โดยใช้เกมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 2. ศึกษาพฤติกรรมการเรียนระหว่างการใช้เกมแข่งขันที่ไม่เสริม แรงด้วยของรางวัล และการใช้เกมแข่งขันที่เสริมแรงด้วยของ รางวัล ความสำาคัญของงานวิจัย 1. นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้รับการพัฒนาทักษะ การพูดที่ดีขึ้น 2. เป็นแนวทางในการทำากิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อการ พัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้เกมภาษา 3.ทราบพฤติกรรมความสนใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในการพูดภาษาอังกฤษ จากการใช้เกมภาษาที่แข่งขันแบบไม่เสริม แรงด้วยของรางวัล และการแข่งขันแบบเสริมแรงด้วยของรางวัล สมมติฐาน ความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยใช้เกมภาษาใน การเรียนการสอนทักษะการพูดภาษาอังกฤษ
  • 3. 4 ขอบเขตของงานวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองซึ่งผู้วิจัยได้ดำาเนิน การทดลอง (Experimental Research) ซึ่งผู้วิจัยได้ดำาเนินการ ทดลองตามแบบแผนการวิจัยแบบ One group pretest–post-test design โดยมีขอบเขตการวิจัยดังนี้ 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยนักเรียนระดับชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลกันทรวิชัย อำาเภอกันทรวิชัย จังหวัด มหาสารคาม จำานวนทั้งหมด 2 ห้อง นักเรียน 82 คน 1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนอนุบาลกันทรวิชัย อำาเภอกันทรวิชัย จังหวัด มหาสารคาม จำานวน 41 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ เจาะจง (Purposive sampling) 2. เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยเลือกจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ที่สอดคล้องกับหลักสูตรกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ 2551 2.1 Unit: Shopping Topic: Clothes มีจำานวน 1 แผนการสอน ใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง 2.2 Unit: Free time Topic: Movie มีจำานวน 1 แผนการสอน ใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง 2.3 Unit: Travel Topic: Transportation มีจำานวน 1 แผนการสอน ใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง 2.4 Unit: Relationship with other people Topic: Special day มีจำานวน 1 แผนการสอน ใช้เวลาทั้งหมด 2 ชั่วโมง 3. ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรอิสระ คือ เกมภาษา ตัวแปรตาม ได้แก่ 1.ทักษะการพูด 2.พฤติกรรมการเรียนระหว่างการใช้เกมแข่งขันที่ไม่ เสริมแรงด้วยของรางวัล
  • 4. 5 และการใช้เกมแข่งขันที่เสริมแรงด้วยของรางวัล นิยามศัพท์เฉพาะ 1.ทักษะการพูด หมายถึง ความสามารถในการสื่อสารด้วย การพูดสื่อความหมาย โดยสามารถพูดสนทนาโต้ตอบ ออกคำาสั่ง พูดลำาดับเหตุการณ์ พูดสือความหมาย พูดซักถามข้อมูล พูดอธิบาย ่ ให้ข้อมูล และพูดแสดงความรู้สึกตามบทบาทที่ได้รับได้ 2.เกมภาษา หมายถึง กิจกรรมทางภาษาที่ส่งเสริม สมรรถภาพในการเรียนรู้ภาษาของผู้เรียนโดยเน้นหนักในส่วนของ กิจกรรมที่สร้างความผ่อนคลายเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน มีการ แข่งขันทั้งในตัวบุคคลเองและระหว่างกลุ่มเป็นสิ่งเร้าที่ทำาให้ผู้เรียน เกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ภาษา ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัย ใช้เกม 4 ลักษณะดังนี้ 2.1 เกมเรียงลำาดับ จัดลำาดับ หรือการจัดเตรียม (Sorting, ordering, or arranging games) หมายถึง เกมที่เน้นให้ ผู้เล่นสามารถพูดเรียงลำาดับความสัมพันธ์รวมทั้งการพูดเรียงลำาดับ เหตุการณ์ต่างๆ และสามารถแบ่งประเภทสิ่งต่างๆได้ เกมที่ใช้ได้แก่ Sentence telepathy game, Find Find Find game, Popular activity game 2.2 เกมทาย (Guessing games) หมายถึง เกมที่ผู้เล่นจะ ต้องพูดเดาความหมาย และต้องใช้ความพยามในการทาย มุ่งเน้น ให้ผู้เล่นได้ใช้ความรู้เดิมที่ได้เรียนผ่านมาพูดเดาความหมายหรือ ทายความหมาย นอกจากนั้นยังกระคุ้นให้ผู้เรียนใช้กลวิธีสื่อสารที่ หลากหลาย และฝึกให้ผู้เรียนได้พยายามใช้ภาษาในการพูดสื่อ ความหมาย เกมที่ใช้ได้แก่ Get a word game, My favorite holiday game, Personalizing game, Movie guessing game 2.3 เกมค้นหา (Search games) หมายถึง เกมที่มุ่งให้ผู้ เรียนได้ฝึกทักษะทางด้านการหาข้อมูลและให้ข้อมูล แล้วสามารถ พูดซักถามเพื่อทราบข้อมูลและพูดอธิบายให้ข้อมูลได้ เกมที่ใช้ได้ แก่ Blind man’s bluff game, Find the shop 2.4 เกมเล่นตามบทบาท (Role play games) หมายถึง เกมที่ผู้เล่น สมมติรับบทบาทเป็นตัวละคร โดยดำาเนินเนื้อเรื่องตามคำาสั่ง เงื่อนไข หรือหัวข้อที่กำาหนด โดยผู้เล่นต้องพูดแสดงความรู้สึกหรือพูดตาม บทบาทที่ตนได้รับ เพื่อให้ผู้ชมเข้าใจถึงสิ่งที่ผู้รับบทบาทพูดหรือสื่อ ออกมา เกมที่ใช้ได้แก่ Superstar award, Most famous 3. การเสริมแรง หมายถึง การทำาให้ผู้เรียนเกิดความพึง พอใจเมื่อทำาพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งแล้วเพื่อให้ทำาพฤติกรรม
  • 5. 6 นั้นซำ้า เช่น เมื่อผู้เรียนตอบคำาถามถูกต้องแล้วผู้สอนให้รางวัล ทำาให้ ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจและอยากจะตอบคำาถามอีกเมื่อผู้สอนถาม ครั้งต่อๆไป กล่าวคือเป็นการกระตุ้นหรือสร้างกำาลังใจให้ผู้เรียนมี ความต้องการที่จะมีส่วนร่วมในการทำากิจกรรมและเกิดพฤติกรรม ซำ้าๆ ซึ่งในการเสริมแรงทางบวกนั้นจะทำาให้ผู้เรียนมีความต้องการ ที่จะทำาพฤติกรรมซำ้า มีความสนใจในการทำากิจกรรม มีความกระตือรือร้นในการทำากิจกรรม และมีความสนุกสนานใน การทำากิจกรรม